จักรวรรดิบริติช (อังกฤษ: British Empire) ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน ค.ศ. 1922 จักรวรรดิบริติชปกครองประชากรประมาณ 458 ล้านคน หรือกว่าหนึ่งในห้าของประชากรโลกในเวลานั้น ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 33,000,000 ตารางกิโลเมตร เกือบหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก เป็นผลให้มรดกทางการเมือง กฎหมาย ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษแผ่ขยาย ในยุคที่จักรวรรดิบริติชรุ่งเรืองที่สุด มักใช้คำวลี "จักรวรรดิที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดิน" เพราะดินแดนที่มีอยู่ทั่วโลกทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่ในดินแดนใต้ปกครองอย่างน้อยที่สุดหนึ่งแห่งตลอดเวลา
จักรวรรดิบริติช | |
---|---|
ค.ศ. 1707–ค.ศ. 1997 | |
| |
พื้นที่ต่าง ๆ ของโลกซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบริติช ปัจจุบันดินแดนโพ้นทะเลอังกฤษถูกขีดเส้นใต้สีแดง | |
สถานะ | จักรวรรดิ |
เมืองหลวง | ลอนดอน |
ประวัติศาสตร์ | |
ค.ศ. 1707 | |
• เสียสิบสามอาณานิคม | ค.ศ. 1776 |
ค.ศ. 1801 | |
ค.ศ. 1858 | |
• สนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ | ค.ศ. 1922 |
ค.ศ. 1931 | |
• อินเดียได้รับเอกราช | ค.ศ. 1947 |
• การส่งมอบฮ่องกง | ค.ศ. 1997 |
ระหว่างยุคแห่งการสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 สเปนและโปรตุเกสบุกเบิกการสำรวจโลกของชาวยุโรป และสร้างจักรวรรดิโพ้นทะเลขนาดใหญ่ไปพร้อมกัน จากความอิจฉาในความมั่งคั่งของจักรวรรดิทั้งสอง อังกฤษ ฝรั่งเศส และดัตช์จึงเริ่มก่อตั้งอาณานิคมและเครือข่ายการค้าของตนในทวีปอเมริกาและเอเชีย สงครามอย่างต่อเนื่องกับเนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ทำให้อังกฤษ (หรือบริเตนใหญ่ หลังสหภาพระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ใน ค.ศ. 1707) เป็นมหาอำนาจด้านอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือและอินเดียอย่างเด็ดขาด
เอกราชของสิบสามอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือให้หลังสงครามประกาศอิสรภาพอเมริกาใน ค.ศ. 1783 ทำให้บริเตนเสียอาณานิคมที่เก่าแก่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดไปหลายแห่ง ไม่นานบริเตนหันความสนใจไปทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และแปซิฟิกแทน หลังฝรั่งเศสสมัยนโปเลียนปราชัยใน ค.ศ. 1815 บริเตนก้าวเป็นมหาอำนาจทางทะเลและจักรวรรดิหลักในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีกรุงลอนดอนเป็นนครใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1830 ภาวะครอบงำของบริเตนที่ไร้ผู้ต่อกรในทะเลภายหลังมีผู้อธิบายว่าเป็น ระยะที่ค่อนข้างสันติในทวีปยุโรปและโลก (ค.ศ. 1815–1914) ซึ่งระหว่างนั้นจักรวรรดิบริติชเป็นผู้ครองความเป็นใหญ่ในโลกและรับบทบาทตำรวจโลก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนแปลงบริเตน ในขณะที่มีนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ใน ค.ศ. 1851 จักรวรรดิบริติชมีผู้อธิบายว่า "โรงซ่อมสร้างของโลก" จักรวรรดิบริติชขยายไปรวมอินเดีย ส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา และดินแดนอื่นอีกลหายดินแดนทั่วโลก นอกจากใช้การควบคุมอย่างเป็นทางการเหนืออาณานิคมของตนแล้ว ภาวะครอบงำของบริเตนเหนือการค้าโลกปริมาณมากหมายความว่า จักรวรรดิควบคุมเศรษฐกิจของหลายภูมิภาคได้ชะงัด เช่น ทวีปเอเชียและละตินอเมริกา ในประเทศ ทัศนะทางการเมืองนิยมการค้าเสรีและนโยบายปล่อยให้ทำไปและการค่อย ๆ ขยายสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ระหว่างศตวรรษนั้น ประชากรเพิ่มจำนวนในอัตราน่าตกใจ ร่วมกับการทำให้เป็นเมืองอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความเครียดทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างสำคัญ ในการแสวงตลาดและแหล่งวัตถุดิบใหม่ พรรคอนุรักษนิยมภายใต้การนำของเบนจามิน ดิสราเอลีเริ่มสมัยการขยายจักรวรรดินิยมในอียิปต์ แอฟริกาใต้และที่อื่น แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กลายเป็นประเทศในเครือจักรภพที่ปกครองตนเอง
เมื่อเริ่มคริสต์ศตวรรษที่ 20 เยอรมนีและสหรัฐท้าทายความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของบริเตน ความตึงเครียดทางทหารและเศรษฐกิจต่อมาระหว่างบริเตนและเยอรมนีเป็นสาเหตุหลักของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งระหว่างสงคราม บริเตนพึ่งพาจักรวรรดิของตนอย่างหนัก ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิดความเครียดต่อทรัพยากรทหาร การเงินและกำลังคนอย่างมโหฬารแก่บริเตน แม้จักรวรรดิมีดินแดนไพศาลที่สุดทันทีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่บริเตนก็มิใช่มหาอำนาจทางทหารหรืออุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของโลกอีกต่อไป ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นยึดครองอาณานิคมของบริเตนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้บริเตนและพันธมิตรชนะในบั้นปลายก็ตาม ความเสียหายต่อเกียรติภูมิของบริเตนช่วยเร่งความเสื่อมของจักรวรรดิ อินเดีย การครอบครองที่มีมูลค่าที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของบริเตน ได้รับเอกราชโดยเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการปลดปล่อยอาณานิคมซึ่งบริเตนให้เอกราชแก่ดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิ หลายคนนับว่าการคืนฮ่องกงให้จีนใน ค.ศ. 1997 เป็นการสิ้นสุดของจักรวรดิบริติช ดินแดน 14 แห่งยังอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของอังกฤษ หลังได้รับเอกราช อดีตอาณานิคมหลายแห่งเข้าร่วมเครือจักรภพแห่งชาติ เป็นสมาคมอิสระของรัฐเอกราช บัดนี้สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งใน 16 ชาติเครือจักรภพ โดยมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกันคือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
จุดเริ่มต้น (1497–1583)
มีการวางรากฐานจักรวรรดิบริติชตั้งแต่อังกฤษและสกอตแลนด์ยังเป็นราชอาณาจักรแยกกัน ใน ค.ศ. 1496 หลังโปรตุเกสและสเปนประสบความสำเร็จในการสำรวจโพ้นทะเล พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งให้จอห์น คาบ็อตนำการเดินทางทางเรือเพื่อสำรวจหาเส้นทางไปทวีปเอเชียผ่านทางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ต่อมาใน ค.ศ. 1497 ห้าปีหลังการค้นพบทวีปอเมริกา คาบ็อตแล่นเรือจากอังกฤษ และแม้เขาขึ้นฝั่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ได้สำเร็จ (ซึ่งเข้าใจผิดว่าเขาได้ถึงทวีปเอเชียแล้ว เช่นเดียวกับคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส) แต่ไม่มีความพยายามตั้งอาณานิคม คาบ็อตนำการเดินทางด้วยเรือไปทวีปอเมริกาอีกครั้งในปีต่อมา แต่ไม่มีผู้ทราบข่าวจากเรือของเขาอีกเลย
อังกฤษไม่พยายามก่อตั้งอาณานิคมอีกในทวีปอเมริกาเรื่อยมาจนรัชกาลพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ขณะเดียวกันทำให้อังกฤษกับสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิกเป็นศัตรูกัน ใน ค.ศ. 1562 พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงส่งเสริมให้นักเดินเรือส่วนตัว (prirateer) และฟรานซิส เดรก โจมตีปล้นทาสตามเรือสเปนและโปรตุเกสซึ่งแล่นจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก มีเป้าหมายเพื่อทำลายระบบการค้าแอตแลนติก ความพยายามดังกล่าวถูกหยุดยั้ง และเมื่อสงครามอังกฤษ-สเปนทวีความรุนแรงขึ้น พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงอนุญาตให้ขยายโจมตีแบบโจรสลัดไปถึงเมืองท่าของสเปนในทวีปอเมริกาและการเดินเรือที่แล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกกลับมา ซึ่งเรือนี้เต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติซึ่งขนกลับจากโลกใหม่ ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มีอิทธิพล อาทิ และ (เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า "จักรวรรดิบริติช") กำลังเริ่มผลักดันให้มีการก่อตั้งจักรวรรดิของอังกฤษเอง จนถึงเวลานี้ สเปนเป็นชาติที่ครอบงำในทวีปอเมริกาและกำลังสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนโปรตุเกสสร้างสถานีการค้าและค่ายทหารตั้งแต่ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและบราซิลจนถึงจีน และฝรั่งเศสเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ที่ต่อมากลายเป็นอาณานิคมนิวฟรานซ์
การตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์
แม้อังกฤษล่าอาณานิคมล้าหลังเมื่อเทียบกับสเปนและโปรตุเกส ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษก็เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์ด้วยชาวโปรเตสแตนท์จากอังกฤษและสกอตแลนด์ คล้ายกับใน ค.ศ. 1169 หลายคนซึ่งช่วยตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์ยังมีส่วนในการตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือในช่วงเริ่มแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ชายเวสต์คันทรี" (West Country men)
"จักรวรรดิบริติชที่หนึ่ง" (1583–1783)
ใน ค.ศ. 1578 พระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 พระราชทานเอกสารสิทธิ์ (patent) แก่ ในการค้นพบและการสำรวจโพ้นทะเล ปีนั้น กิลเบิร์ตเดินเรือมุ่งหมู่เกาะอินเดียตะวันตก โดยเจตนาปล้นสะดมและตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ แต่การเดินทางดังกล่าวถูกยกเลิกก่อนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ค.ศ. 1583 กิลเบิร์ตออกเดินทางครั้งที่สอง โดยครั้งนี้ไปเกาะนิวฟันด์แลนด์ ซึ่งเขาอ้างสิทธิท่าเรือให้อังกฤษอย่างเป็นทางการ แม้ยังไม่มีผู้ตั้งถิ่นฐาน กิลเบิร์ตเสียชีวิตขณะเดินทางกลับอังกฤษ และน้องชายต่างมารดา สืบหน้าที่ต่อ เขาได้รับพระราชทานเอกสารสิทธิ์ของเขาเองจากพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ใน ค.ศ. 1584 ในปีเดียวกัน เขาก่อตั้งบนชายฝั่งรัฐนอร์ทแคโรไลนาในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดแคลนเสบียง
ใน ค.ศ. 1603 พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ทรงสืบราชบัลลังก์อังกฤษต่อมา และใน ค.ศ. 1604 ทรงเจรจาสนธิสัญญาลอนดอน ซึ่งยุติความบาดหมางกับสเปน หลังการสงบศึกกับคู่แข่งหลัก ความสนใจของอังกฤษเปลี่ยนจากการหาผลประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางอาณานิคมของชาติอื่นมาเป็นธุระการก่อตั้งอาณานิคมโพ้นทะเลของตนเอง จักรวรรดิบริติชเริ่มเป็นรูปร่างขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยนิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเล็ก ๆ แถบแคริบเบียน ตลอดจนการจัดตั้งบริษัทเอกชน ซึ่งที่เลื่องชื่อที่สุดคือ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เพื่อบริหารอาณานิคมและการค้าโพ้นทะเล ในช่วงนี้จนถึงการเสียสิบสามอาณานิคมหลังสงครามประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์บางคนต่อมาเรียก "จักรวรรดิบริติชที่หนึ่ง"
ทวีปอเมริกา แอฟริกา และการค้าทาส
ทีแรกแคริบเบียนเป็นอาณานิคมที่สำคัญและให้กำไรมากที่สุดของอังกฤษ แต่ก่อนหน้านั้นการยึดเป็นอาณานิคมล้มเหลวหลายครั้ง ความพยายามตั้งอาณานิคมในเมื่อ ค.ศ. 1604 อยู่ได้เพียงสองปี และไม่ประสบความสำเร็จวัตถุประสงค์หลักในการหาแหล่งแร่ทองคำ อาณานิคมในเซนต์ลูเชีย (ค.ศ. 1605) และเกรนาดา (ค.ศ. 1609) ถูกล้มเลิกอย่างรวดเร็ว แต่มีการตั้งนิคมสำเร็จในเซนต์คิตส์ (ค.ศ. 1624) บาร์เบโดส (ค.ศ. 1627) และเนวิส (ค.ศ. 1628) ไม่ช้าอาณานิคมก็รับเอาระบบการปลูกน้ำตาลที่ชาวโปรตุเกสใช้อย่างได้ผลในบราซิล ซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานทาส และเรือสินค้าดัตช์ในตอนแรก เพื่อขายทาสและซื้อน้ำตาล เพื่อรับประกันให้กำไรงามที่เพิ่มขึ้นจากการค้านี้อยู่ในมืออังกฤษ รัฐสภาจึงออกพระราชกฤษฎีกาใน ค.ศ. 1651 ว่าให้เรือสินค้าอังกฤษเท่านั้นที่สามารถค้าขายในอาณานิคมอังกฤษได้ เหตุนี้นำไปสู่ความเป็นปรปักษ์กับสหจังหวัดดัตช์ คือ ชุด ซึ่งสุดท้ายทำให้ฐานะของอังกฤษในทวีปอเมริกาแข็งแกร่งขึ้น ขณะที่ดัตช์อ่อนแอลง ใน ค.ศ. 1655 อังกฤษผนวกจาเมกาจากสเปนและใน ค.ศ. 1656 ก็ยึดบาฮามาสเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ
นิคมถาวรแห่งแรกของอังกฤษในทวีปอเมริกาก่อตั้งใน ค.ศ. 1607 ณ เจมส์ทาวน์ นำโดยกัปตันจอห์น สมิธ และมีจัดการ มีการตั้งถิ่นฐานบนเบอร์มิวดาและอังกฤษอ้างสิทธิ์หลังเรือธงของบริษัทเวอร์จิเนียล่มที่นั่นใน ค.ศ. 1609 และใน ค.ศ. 1615 ถูกมอบให้บริษัทหมู่เกาะซอเมอส์ (Somers Isles Company) ที่เพิ่งตั้ง กฎบัตรของบริษัทเวอร์จิเนียถูกเพิกถอนใน ค.ศ. 1624 และพระมหากษัตริย์เข้าควบคุมเวอร์จิเนียโดยตรง จึงตั้งเป็นอาณานิคมเวอร์จิเนีย ส่วนตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1610 มุ่งก่อตั้งนิคมถาวรบนเกาะนิวฟันด์แลนด์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จอย่างมาก ใน ค.ศ. 1620 มีการตั้งเป็นที่พำนักแก่พวกแบ่งแยกศาสนากลุ่มเพียวริตัน ซึ่งต่อมาเรียกว่า (Pilgrim) การหลบหนีจากการเบียดเบียนทางศาสนาจะเป็นแรงกระตุ้นให้เหล่าว่าที่ชาวอาณานิคมอังกฤษหลายคนเสี่ยงกับการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอันยากเข็ญ กล่าวคือ ถูกตั้งเป็นที่พำนักแก่นิกายโรมันคาทอลิก (ค.ศ. 1634) อาณานิคมโรดไอส์แลนด์ (ค.ศ. 1636) เป็นอาณานิคมที่ยอมรับทุกศาสนา และอาณานิคมคอนเน็กติกัต (ค.ศ. 1639) สำหรับนิกายคอนเกรเกชันนอลลิสต์ ตั้งใน ค.ศ. 1663 หลังฟอร์ทอัมสเตอร์ดัมยอมจำนนใน ค.ศ. 1664 อังกฤษควบคุมอาณานิคมของดัตช์ และเปลี่ยนชื่อเป็นนิวยอร์ก การควบคุมดังกล่าวมีการทำให้เป็นทางการในการเจรจาให้หลัง เพื่อแลกเปลี่ยนกับซูรินาม และใน ค.ศ. 1681 ก่อตั้งอาณานิคมเพนซิลเวเนีย อาณานิคมบนทวีปอเมริกาประสบความสำเร็จทางการเงินน้อยกว่าในแคริบเบียน แต่อาณานิคมเหล่านี้มีพื้นที่เกษตรกรรมดีขนาดใหญ่ และดึงดูดผู้ย้ายถิ่นออกชาวอังกฤษซึ่งชื่นชอบภูมิอากาศอบอุ่นของอาณานิคมเหล่านี้
ใน ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บริษัทอ่าวฮัดสัน โดยให้บริษัทผูกขาดการค้าขนสัตว์ในดินแดนซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า รูเพิตส์แลนด์ ซึ่งต่อมากลายเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศในเครือจักรภพแคนาดา บริษัทอ่าวฮัดสันตั้งค่ายทหารและสถานีการค้าซึ่งบ่อยครั้งตกเป็นเป้าการโจมตีของฝรั่งเศส ซึ่งตั้งอาณานิคมค้าขนสัตว์ของตนในนิวฟรานซ์ที่อยู่ใกล้เคียง
อีกสองปีต่อมา มีการสถาปนาบริษัทรอยัลแอฟริกันโดยได้รับพระราชทานสิทธิ์จากพระเจ้าชาร์ลส์ให้ผูกขาดการค้าเพื่อจัดหาทาสให้อาณานิคมบริติชในแคริบเบียน จากแรกเริ่ม ทาสถือเป็นรากฐานของจักรวรรดิบริติชในอินเดียตะวันตก จนการยกเลิกการค้าทาสใน ค.ศ. 1807 บริเตนเป็นผู้ขนส่งทาสชาวแอฟริกันกว่า 3.5 ล้านคนไปทวีปอเมริกา คิดเป็นหนึ่งในสามของทาสทั้งหมดที่ถูกขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การค้านี้ จึงมีการตั้งค่ายทหารตามชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก อย่างเช่น เกาะเจมส์, อักกรา และเกาะบันซ์ ในบริติชแคริบเบียน ร้อยละของประชากรผิวดำเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 ใน ค.ศ. 1650 เป็นราวร้อยละ 80 ใน ค.ศ. 1780 และในสิบสามอาณานิคม อัตราส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 40 ในช่วงเวลาเดียวกัน (ส่วนใหญ่ในอาณานิคมตอนใต้) สำหรับนักค้าทาส การค้าสร้างกำไรมหาศาล และกลายเป็นหลักสำคัญทางเศรษฐกิจใหญ่สำหรับนครบริเตนทางตะวันตก อย่างเช่น บริสตอลและลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นมุมที่สามของการค้าสามเหลี่ยมกับทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกา สำหรับผู้ที่ถูกขนส่ง สภาพรุนแรงและไม่มีสุขอนามัยบนเรือทาสและอาหารเลว ทำให้อัตราการเสียชีวิตระหว่างการเดินทางเฉลี่ยมีมากถึง 1 ใน 7
ใน ค.ศ. 1695 รัฐสภาสกอตแลนด์ให้กฎบัตรแก่บริษัทสกอตแลนด์ ซึ่งตั้งนิคมใน ค.ศ. 1698 บนคอคอดปานามา อาณานิคมถูกแวดล้อมโดยชาวอาณานิคมสเปนเพื่อนบ้าน และมีโรคมาลาเรีย อาณานิคมจึงถูกละทิ้งในอีกสองปีต่อมา ถือเป็นหายนะทางการเงินสำหรับสกอตแลนด์ โดยทุนหนึ่งในสี่ของสกอตแลนด์เสียไปในวิสาหกิจดังกล่าว และยุติความหวังของสกอตแลนด์ที่จะก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลของตัวอย่างสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวยังมีผลกระทบทางการเมืองสำคัญ โดยชวนให้รัฐบาลของทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์เห็นประโยชน์ของสหภาพของสองประเทศ มากกว่ามีพระมหากษัตริย์ร่วมกันเท่านั้น การรวมประเทศเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1707 ด้วยพระราชบัญญัติสหภาพ และสถาปนาราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
การแข่งขันกับเนเธอร์แลนด์ในทวีปเอเชีย
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษและเนเธอร์แลนด์เริ่มท้าทายการผูกขาดการค้ากับทวีปเอเชียของโปรตุเกส โดยก่อตั้งบริษัทร่วมหุ้นเอกชนเพื่อหาเงินสนับสนุนการออกเดินเรือ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ ได้รับพระบรมราชานุญาตและกฎบัตรใน ค.ศ. 1600 และ 1602 ตามลำดับ เป้าหมายหลักของบริษัทดังกล่าว คือ การเจาะการค้าเครื่องเทศซึ่งกำไรงาม เป็นความพยายามที่มุ่งไปสองภูมิภาคเป็นหลัก คือ กลุ่มเกาะอินเดียตะวันออก และอินเดีย ศูนย์กลางสำคัญในเครือข่ายการค้านี้ ที่นั่น ทั้งสองแข่งครองความเป็นใหญ่ทางการค้ากับโปรตุเกสและระหว่างกัน แม้สุดท้ายอังกฤษจะบดบังเนเธอร์แลนด์ในฐานะมหาอำนาจอาณานิคม แต่ในระยะสั้นระบบการเงินที่ก้าวหน้ากว่าของเนเธอร์แลนด์และสงครามอังกฤษ–ดัตช์สามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้เนเธอร์แลนด์มีฐานะเข้มแข็งกว่าในทวีปเอเชีย ความเป็นปรปักษ์ยุติหลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ค.ศ. 1688 เมื่อวิลเลียมแห่งออเรนจ์ ชาวดัตช์ ขึ้นครองบัลลังก์อังกฤษ นำมาซี่งสันติภาพระหว่างเนเธอร์แลนด์และอังกฤษ ข้อตกลงระหว่างชาติทั้งสองให้การค้าเครื่องเทศในกลุ่มเกาะอินเดียตะวันออกเป็นของเนเธอร์แลนด์ และอุตสาหกรรมสิ่งทออินเดียเป็นของอังกฤษ แต่ในไม่ช้า สิ่งทอได้กำไรมากกว่าเรื่องเทศ และในแง่ยอดขายใน ค.ศ. 1720 บริษัทบริติชแซงหน้าบริษัทดัตช์
ความขัดแย้งกับฝรั่งเศสในระดับโลก
สันติภาพระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1688 หมายความว่าทั้งสองประเทศเข้าสู่สงครามเก้าปีโดยเป็นพันธมิตรกัน แต่ความขัดแย้งซึ่งปะทุในทวีปยุโรปและดินแดนโพ้นทะเลระหว่างฝรั่งเศส สเปน และพันธมิตรอังกฤษ-ดัตช์ ทำให้อังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคมที่แข็งแกร่งกว่าดัตช์ ซึ่งถูกบีบให้ทุ่มงบประมาณทางทหารในสงครามทางบกราคาแพงในทวีปยุโรป ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษก้าวเป็นอำนาจอาณานิคมของโลกอย่างเด็ดขาด และฝรั่งเศสกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญในเวทีจักรวรรดิ
การสวรรคตของพระเจ้าการ์โลสที่ 2 แห่งสเปน ใน ค.ศ. 1700 และพินัยกรรมยกสเปนและจักรวรรดิอาณานิคมสเปนให้เฟลีเปแห่งอันจู หลานชายพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส เร่งให้เกิดความหวังในการรวมฝรั่งเศส สเปน และอาณานิคมของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่รับไม่ได้สำหรับอังกฤษและอำนาจอื่นในทวีปยุโรป ใน ค.ศ. 1701 อังกฤษ โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์เข้าพวกกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อต้านสเปนและฝรั่งเศสในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนซึ่งกินเวลาถึง ค.ศ. 1714
สงครามยุติลงด้วยสนธิสัญญาอูเทร็คท์ เฟลีเปทรงบอกเลิกสิทธิของพระองค์และผู้สืบสันดานเหนือราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและสเปนเสียจักรวรรดิในทวีปยุโรป ดินแดนของจักรวรรดิบริติชขยาย บริเตนได้นิวฟันด์แลนด์และจากฝรั่งเศส และยิบรอลตาร์และจากสเปน ยิบรอลตาร์กลายมาเป็นฐานทัพเรือสำคัญยิ่ง และให้บริเตนควบคุมจุดเข้าและออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนสู่แอตแลนติก สเปนยังมอบสิทธิ์ (การอนุญาตให้ขายทาสใน) กำไรงามแก่บริเตน
ระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีความขัดแย้งทางทหารอุบัติหลายครั้งในอนุทวีปอินเดีย บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (บริษัท) และบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสต่อสู้ร่วมกันผู้ปกครองท้องถิ่นเพื่อเติมสุญญากาศที่เกิดหลังจักรวรรดิโมกุลเสื่อมอำนาจ ยุทธการที่ปลาศีใน ค.ศ. 1757 ซึ่งฝ่ายบริเตน นำโดย รอเบิร์ต คลีฟ พิชิตนาวาบแห่งเบงกอลและพันธมิตรชาวฝรั่งเศส ทำให้บริษัทควบคุมเบงกอลและเป็นประเทศทางทหารและการเมืองสำคัญในอินเดีย ฝรั่งเศสเหลือการควบคุมดินแดนแทรกแต่ด้วยการจำกัดทางทหารและพันธะให้สนับสนุนรัฐบริวารของบริเตน ยุติความหวังของฝรั่งเศสในการควบคุมอินเดีย ในหลายทศวรรษให้หลังบริษัทค่อย ๆ เพิ่มขนาดของดินแดนที่อยู่ในการควบคุม ไม่ว่าปกครองโดยตรงหรือผ่านทางผู้ปกครองท้องถิ่นภายใต้การขู่ใช้กำลังจากกองทัพบริติชอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยอินเดีย
การสู้รบระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสในอินเดียกลายเป็นยุทธบริเวณหนึ่งของสงครามเจ็ดปี (1756–1763) ที่แผ่ไปทั่วโลก สงครามนี้เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส บริเตนและมหาอำนาจยุโรปอื่น การลงนามสนธิสัญญาปารีสมีผลกระทบสำคัญต่ออนาคตของจักรวรรดิบริติช ในทวีปอเมริกาเหนือ อนาคตของฝรั่งเศสในการเป็นเจ้าอาณานิคมจบลงอย่างสิ้นเชิงด้วยการรับรองการอ้างสิทธิ์ของบริเตนเหนือ และการยกนิวฟรานซ์ให้บริเตน (ทำให้ประชากรพูดภาษาฝรั่งเศสจำนวนมากอยู่ในการปกครองของอังกฤษ) และให้สเปน ให้บริเตน ร่วมกับชัยชนะเหนือฝรั่งเศสในอินเดีย สงครามเจ็ดปีทำให้บริเตนเป็นมหาอำนาจทางทะเลที่ทรงอำนาจที่สุดในโลก
การเสียสิบสามอาณานิคม
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1760 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1770 ความสัมพันธ์ระหว่างสิบสามอาณานิคมและอังกฤษตึงเครียดมากขึ้น หลัก ๆ เนื่องจากความไม่พอใจต่อความพยายามของรัฐสภาบริติชในการปกครองและเก็บภาษีผู้อยู่ในนิคมอเมริกันโดยปราศจากความยินยอมของพวกเขา ในเวลานั้น มีการสรุปเป็นคำขวัญว่า "ไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน" โดยมองว่าเป็นการฝ่าฝืนที่ได้รับประกัน การปฏิวัติอเมริกาเริ่มต้นจากการปฏิเสธอำนาจของรัฐสภาและการเคลื่อนไหวสู่การปกครองตนเอง บริเตนสนองโดยส่งทหารมาบังคับการปกครองโดยตรง ทำให้สงครามอุบัติใน ค.ศ. 1775 ในปีต่อมา สหรัฐประกาศอิสรภาพ การเข้าสู่สงครามของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1778 ทำให้ดุลทหารเข้าข้างฝ่ายอเมริกาและหลังความปราชัยเด็ดขาดที่ยอร์กทาวน์ใน ค.ศ. 1781 บริเตนเริ่มเจรจาเงื่อนไขสันติภาพ เอกราชของอเมริกาได้รับการรับรองในสนธิสัญญาสันติภาพปารีสใน ค.ศ. 1783
นักประวัติศาสตร์มองว่าการเสียดินแดนกว้างใหญ่ของบริติชอเมริกา ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลซึ่งมีประชากรมากที่สุดของบริเตนในเวลานั้น เป็นเหตุการณ์ซึ่งนิยามการเปลี่ยนผ่านระหว่างจักรวรรดิ "ที่หนึ่ง" และ "ที่สอง" ซึ่งบริเตนหันความสนใจจากทวีปอเมริกาไปทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปแอฟริกาในภายหลัง ความมั่งคั่งของประชาชาติ ของอดัม สมิธ ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1776 โต้แย้งว่าอาณานิคมนั้นมีมากเกินไป และควรนำระบบการค้าเสรีมาแทนนโยบายพาณิชยนิยมแบบเก่า อันเป็นลักษณะของการขยายอาณานิคมในช่วงแรกซึ่งย้อนไปถึงลัทธิคุ้มครองของสเปนและโปรตุเกส การเติบโตของการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชกับบริเตนหลัง ค.ศ. 1783 ดูเหมือนยืนยันมุมมองของสมิธที่ว่าการควบคุมทางการเมืองไม่จำเป็นต่อความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ
เหตุการณ์ในอเมริกามีอิทธิพลต่อนโยบายของบริเตนในแคนาดา ที่ซึ่งพวกที่แพ้สงครามจำนวนระหว่าง 40,000 ถึง 100,000 คน อพยพจากอเมริกาหลังอิสรภาพ ลอยัลลิสต์ 14,000 คนผู้ซึ่งไปซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโนวาสโกเทียรู้สึกว่าอยู่ห่างไกลจากรัฐบาลจังหวัดใน ฉะนั้นรัฐบาลบริติชจึงแบ่งนิวบรันสวิกเป็นอาณานิคมต่างหากใน ค.ศ. 1784 ตั้งมณฑล (ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษ) และ (ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส) เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างชุมชนชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศส และนำรูปแบบการปกครองซึ่งคล้ายกับรูปแบบซึ่งใช้ในอังกฤษมาใช้ โดยเจตนาแสดงอำนาจของจักรวรรดิและไม่อนุญาตการควบคุมการปกครองของปวงชนอย่างที่ถูกมองว่านำไปสู่การปฏิวัติอเมริกา
ความตึงเครียดระหว่าบริเตนและสหรัฐเพิ่มขึ้นอีกครั้งระหว่างสงครามนโปเลียน บริเตนพยายามตัดการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับฝรั่งเศส และส่งคนขึ้นเรืออเมริกันเพื่อเกณฑ์ลูกเรือเข้าราชนาวี สหรัฐอเมริกาประกาศสงคราม สงคราม ค.ศ. 1812 และบุกครองดินแดนแคนาดาขณะบริเตนบุกครองดินแดนอเมริกา แต่ดินแดนก่อนสงครามได้รับการยืนยันอีกใน ค.ศ. 1814 รับประกันว่าอนาคตของแคนาดาจะแยกจากสหรัฐ
ความรุ่งเรืองของ "จักรวรรดิบริติชที่สอง" (1783–1815)
การสำรวจแปซิฟิก
นับแต่ ค.ศ. 1718 การขนส่งไปอาณานิคมอเมริกาเป็นการลงโทษสำหรับอาชญากรรมหลายอย่างในบริเตน โดยนักโทษประมาณ 1,000 คนถูกขนส่งข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกต่อปี หลังการเสียสิบสามอาณานิคมใน ค.ศ. 1783 รัฐบาลบริติชถูกบีบให้หาที่ใหม่ และหันไปดินแดนออสเตรเลียซึ่งเพิ่งค้นพบ ชาวยุโรปเคยสำรวจชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลียแล้ว โดยนักสำรวจชาวดัตช์ ใน ค.ศ. 1606 และภายหลังบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เปลี่ยนชื่อเป็นนิวฮอลแลนด์ แต่ไม่มีความพยายามยึดเป็นอาณานิคม ใน ค.ศ. 1770 เจมส์ คุกค้นพบชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียระหว่างการเดินเรือเที่ยววิทยาศาสตร์ไปมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เขาอ้างสิทธิ์ทวีปเป็นของบริเตน และตั้งชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ใน ค.ศ. 1778 นักพฤกษศาสตร์ซึ่งเดินทางไปกับคุก นำเสนอหลักฐานต่อรัฐบาลถึงความเหมาะสมของในการตั้งทัณฑนิคม และใน ค.ศ. 1787 เรือขนนักโทษเที่ยวแรกก็ออกเดินทาง โดยมาถึงใน ค.ศ. 1788 บริเตนดยังส่งนักโทษมายังนิวเซาท์เวลส์เรื่อยมาจน ค.ศ. 1840 อาณานิคมออสเตรเลียกลายเป็นผู้ส่งออกขนสัตว์และทองคำซึ่งมีรายได้มหาศาล หลัก ๆ เพราะการตื่นทองในอาณานิคมวิกตอเรียทำให้เมืองหลวงเมลเบิร์นเป็นเมืองที่รวยที่สุดในโลก และนครใหญ่สุดในจักรวรรดิบริติชรองจากกรุงลอนดอน
ระหว่างการเดินทางของเขา คุกยังเดินทางไปนิวซีแลนด์ ซึ่งนักสำรวจชาวดัตช์ แอเบล แทสมัน ค้นพบครั้งแรกใน ค.ศ. 1642 และอ้างสิทธิ์ทั้งเกาะเหนือและเกาะใต้ให้เป็นของใน ค.ศ. 1769 และ ค.ศ. 1770 ตามลำดับ เดิมทีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชากรชนพื้นเมืองมาวรีและชาวยุโรปจำกัดอยู่เพียงการค้าสินค้าเท่านั้น นิคมชาวยุโรปได้ขยายตัวในทศวรรษแรก ๆ ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีการตั้งสถานีการค้าจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกาะเหนือ ใน ค.ศ. 1839 ประกาศแผนซื้อที่ดินขนาดใหญ่และสถาปนาอาณานิคมในนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1840 กัปตันและหัวหน้าชนเผ่ามาวรีอีกราว 40 คนลงนามสนธิสัญญาไวทังกิ คนส่วนใหญ่ถือว่าสนธิสัญญาดังกล่าวเป็นเอกสารก่อตั้งนิวซีแลนด์ แต่การตีความที่แตกต่างกันของข้อความฉบับภาษามาวรีและภาษาอังกฤษ หมายความว่ามันจะยังเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งต่อไป
สงครามกับฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน
บริเตนถูกท้าทายอีกหนหนึ่งโดยฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน ในการต่อสู้ที่ไม่เหมือนกับสงครามครั้งที่ผ่านมา โดยมีลักษณะการประชันอุดมการณ์ระหว่างสองชาติ ไม่เพียงฐานะของบริเตนในเวทีโลกเท่านั้นที่ถูกคุกคาม นโปเลียนยังคุกคามจะบุกครองเกาะบริเตนเลยทีเดียว เมื่อกองทัพของเขายึดครองหลายประเทศในยุโรปภาคพื้นทวีปเวลานั้น
ฉะนั้นสงครามนโปเลียนจึงเป็นสงครามที่บริเตนลงทุนและทุ่มทรัพยากรมหาศาลเพื่อเอาชนะ เมืองท่าของฝรั่งเศสถูกราชนาวีปิดล้อม ซึ่งชนะกองทัพเรือฝรั่งเศส-สเปนที่อย่างเด็ดขาดใน ค.ศ. 1805 อาณานิคมโพ้นทะเลถูกโจมตีและถูกยึดครอง รวมถึงอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งนโปเลียนผนวกใน ค.ศ. 1810 สุดท้ายฝรั่งเศสปราชัยต่อกองทัพผสมยุโรปใน ค.ศ. 1815 บริเตนได้รับผลประโยชน์จากสนธิสัญญาสันติภาพหลายฉบับอีกครั้ง คือ ฝรั่งเศสยก มอลตา (ซึ่งถูกยึดครองใน ค.ศ. 1797 และ 1798 ตามลำดับ) เซเชลส์ มอริเชียส เซนต์ลูเชีย และ สเปนยกตรินิแดด เนเธอร์แลนด์และอาณานิคมเคป บริเตนคืนกัวเดอลุป มาร์ตีนิก เฟรนช์เกียนา และเรอูว์นียงให้ฝรั่งเศส รวมทั้งคืนเกาะชวาและซูรินามให้แก่เนเธอร์แลนด์ ขณะที่ได้ควบคุมซีลอน (ค.ศ. 1795–1815)
การเลิกทาส
ด้วยการสนับสนุนจากขบวนการชาวบริติช รัฐสภาตราใน ค.ศ. 1807 ซึ่งเลิกการค้าทาสในจักรวรรดิ ใน ค.ศ. 1808 เซียร์ราลีโอนได้รับประกาศให้เป็นอาณานิคมบริติชอย่างเป็นทางการสำหรับทาสผู้เป็นไทผ่านใน ค.ศ. 1833 เลิกทาสในจักรวรรดิบริติชในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1834 (โดยยกเว้นเซนต์เฮเลนา ซีลอนและดินแดนที่บริษัทอินเดียตะวันออกบริหาร แม้ข้อยกเว้นเหล่านี้ถูกยกเลิกภายหลังเช่นกัน) ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว ทาสได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระสมบูรณ์หลัง "การเป็นลูกมือฝึกหัด" ระยะ 4 ถึง 6 ปี
ศตวรรษแห่งจักรวรรดิของบริเตน (1815–1914)
ระหว่าง ค.ศ. 1815 และ ค.ศ. 1914 เป็นช่วงที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนเรียกว่า "ศตวรรษแห่งจักรวรรดิ" ของบริเตน โดยพื้นที่ราว 26,000,000 ตารางกิโลเมตร และประชากรราว 400 ล้านคนเพิ่มเข้าจักรวรรดิบริติช ชัยชนะเหนือนโปเลียนทำให้บริเตนไม่มีคู่แข่งในระดับนานาชาติที่สำคัญ นอกจากรัสเซียในเอเชียกลาง บริเตนไร้ผู้คัดค้านในทะเล และรับดำเนินบทบาทของตำรวจโลก เป็นสภาพซึ่งต่อมาเรียกว่า และนโยบายต่างประเทศ "การโดดเดี่ยวอย่างสง่างาม" พร้อม ๆ กับความพยายามใช้การควบคุมอย่างเป็นทางหารเหนืออาณานิคมของตน ฐานะของบริเตนซึ่งครอบงำการค้าโลกอยู่นั้น หมายความว่า บริเตนสามารถควบคุมเศรษฐกิจของหลายประเทศได้ชะงัด อาทิ จีน อาร์เจนตินา และสยาม ซึ่งเป็นลักษณะที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "จักรวรรดิไม่เป็นทางการ"
ความแข็งแกร่งของจักรวรรดิบริติชได้รับการส่งเสริมจากและโทรเลข เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้จักรวรรดิบริติชสามารถควบคุมและป้องกันจักรวรรดิได้ ใน ค.ศ. 1902 จักรวรรดิบริติชเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยสายโทรเลข ซึ่งเรียกว่า ""
บริษัทอินเดียตะวันออกในอินเดีย
บริษัทอินเดียตะวันออกขับเคลื่อนการขยายของจักรวรรดิบริติชในทวีปเอเชีย กองทัพของบริษัทเข้าร่วมกับราชนาวีระหว่างสงครามเจ็ดปีก่อน และทั้งสองกองทัพยังร่วมมือในสมรภูมิอื่นนอกเหนือจากอินเดีย ได้แก่ การขับไล่นโปเลียนออกจากอียิปต์ (ค.ศ. 1799) การยึดเกาะชวาจากเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1811) การเข้าควบคุมสิงคโปร์ (ค.ศ. 1819) และมะละกา (ค.ศ. 1824) และการพิชิตพม่า (ค.ศ. 1826)
จากฐานของบริษัทในอินเดีย บริษัทยังค้าส่งออกฝิ่นอันสร้างรายได้เพิ่มขึ้นไปจีนนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 การค้าดังกล่าว ซึ่งราชวงศ์ชิงประกาศให้มิชอบด้วยกฎหมายใน ค.ศ. 1729 ช่วยพลิกการขาดดุลการค้าอันเป็นผลมาจากการนำเข้าชาของบริเตน โดยมีการไหลออกจากเงินจากบริเตนไปจีนเป็นอันมาก ใน ค.ศ. 1839 การริบฝิ่นกว่า 20,000 ลังที่กวางตุ้งโดยทางการจีน ทำให้บริเตนโจมตีจีนในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และนำไปสู่การยึดเกาะฮ่องกงของบริเตน ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นนิคมขนาดเล็ก
ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระมหากษัตริย์บริติชเริ่มเข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นในกิจการของบริษัท มีการผ่านพระราชบัญญัติหลายฉบับซึ่งรวมพระราชบัญญัติวางระเบียบ ค.ศ. 1773 พระราชบัญญัติอินเดียของพิตต์ ค.ศ. 1784 และพระราชบัญญัติพระบรมราชานุญาต ค.ศ. 1813 ซึ่งวางระเบียบกิจการของบริษัทและสถาปนาอำนาจอธิปไตยของพระมหากษัตริย์เหนือดินแดนที่บริษัทได้ การกบฏอินเดียนำมาซึ่งการสิ้นสุดของบริษัทในท้ายสุด การกบฏอินเดียเป็นความขัดแย้งซึ่งเริ่มจากการก่อการกำเริบของ ทหารอินเดียซึ่งอยู่ภายใต้นายทหารและระเบียบวินัยของบริเตน การกบฏใช้เวลาปราบปรามหกเดือนโดยทั้งสองฝ่ายเสียเลือดเนื้ออย่างหนัก ปีต่อมา รัฐบาลบริติชยุบบริษัทและเข้าควบคุมอินเดียโดยตรงผ่านพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 สถาปนาบริติชราช ซึ่งข้าหลวงใหญ่ที่ได้รับแต่งตั้งปกครองอินเดียและพระราชินีนาถวิกตอเรียราชาภิเษกเป็น อินเดียกลายเป็นการครอบครองทรงคุณค่าที่สุดของจักรวรรดิ "เพชรพลอยในมงกุฎ" และเป็นบ่อเกิดความแข็งแกร่งของบริเตนที่สำคัญที่สุด
เหตุพืชผลล่มจมร้ายแรงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นำสู่ในอนุทวีปอินเดียซึ่งมีการประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 15 ล้านคน บริษัทอินเดียตะวันออกไม่สามารถนำนโยบายประสานงานไปปฏิบัติเพื่อรับมือกับทุพภิกขภัยได้เลยระหว่างสมัยการปกครอง ต่อมา ภายใต้การปกครองของบริเตนโดยตรง มีการตั้งคณะกรรมการหลังทุพภิกขภัยแต่ละครั้งเพื่อสืบสวนสาเหตุและนำนโยบายใหม่ไปปฏิบัติ ซึ่งใช้เวลาจนต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 จึงมีผล
การแข่งขันกับรัสเซีย
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 บริเตนและรัสเซียแข่งกันเพื่อเติมเต็มสุญญากาศแห่งอำนาจหลังจากการเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน ราชวงศ์กอญัร และราชวงศ์ชิง ความขัดแย้งในยูเรเชียนี้ได้ชื่อว่า "เกมใหญ่" เท่าที่บริเตนเกรง ความปราชัยของเปอร์เซียและตุรกีต่อรัสเซียแสดงความทะเยอทะยานและขีดความสามารถของจักรวรรดิ และสร้างความกลัวในบริเตนว่าจะมีการบุกครองอินเดียทางบก ใน ค.ศ. 1839 บริเตนชิงตัดหน้าโดยการบุกครองอัฟกานิสถาน แต่เป็นหายนะสำหรับบริเตน
เมื่อรัสเซียบุกครองบอลข่านของตุรกีใน ค.ศ. 1853 ความกลัวภาวะครอบงำของรัสเซียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลาง ทำให้บริเตนและฝรั่งเศสร่วมกันบุกครองคาบสมุทรไครเมียเพื่อทำลายขีดความสามารถของกองทัพเรือรัสเซียสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1854–1856) ที่เกิดให้หลังซึ่งเกี่ยวข้องกับ และเป็นสงครามระดับโลกครั้งเดียวระหว่างบริเตนและเจ้าจักรวรรดิอื่นระหว่างสันติภาพบริเตน ยุติลงด้วยความปราชัยครั้งใหญ่ของรัสเซีย สถานการณ์ในเอเชียกลางนี้ยังไม่ยุติไปอีกสองทศวรรษ โดยบริเตนผนวกบาโลชิสถานใน ค.ศ. 1876 และรัสเซียผนวกเคอร์กิเซีย คาซัคสถาน และเติร์กเมนิสถาน ชั่วขณะหนึ่งดูเหมือนว่าจะเลี่ยงสงครามอีกหนหนึ่งไม่ได้นั้น แต่สองประเทศบรรลุความตกลงเรื่องเขตอิทธิพลของสองประเทศในภูมิภาคใน ค.ศ. 1878 และประเด็นที่ค้างอยู่ทั้งหมดใน ค.ศ. 1907 โดยการลงนามความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย การทำลายกองทัพเรือรัสเซียโดยญี่ปุ่นที่ยุทธนาวีที่พอร์ตอาเธอร์ระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1904-1905 ยังจำกัดภัยคุกคามของกองทัพเรือรัสเซียต่อบริเตน
จากแหลมถึงไคโร
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ตั้งอาณานิคมเคป ณ ปลายใต้สุดของทวีปแอฟริกาใน ค.ศ. 1652 เป็นสถานีทางผ่านสำหรับเรือดัตช์ในการเดินทางไปและกลับจากอาณานิคมในอินเดียตะวันออก บริเตนได้อาณานิคมดังกล่าวอย่างเป็นทางการรวมทั้งประชากร (หรือ) ขนาดใหญ่ใน ค.ศ. 1806 หลังจากยึดครองมาตั้งแต่ ค.ศ. 1795 เพื่อป้องกันมิให้อาณานิคมแห่งนี้ตกอยู่ในมือฝรั่งเศส หลังจากการบุกครองเนเธอร์แลนด์ของฝรั่งเศส การเข้าเมืองของชาวบริติชเริ่มเพิ่มขึ้นหลังจาก ค.ศ. 1820 และผลักดันชาวบัวร์นับพันซึ่งไม่พอใจกับการปกครองของอังกฤษขึ้นไปทางเหนือเพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐอิสระปกครองตนเองในช่วง ปลายคริสต์ทศวรรษ 1830 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1840 ระหว่างนั้น ปะทะกับชาวบริติชบ่อยครั้ง ซึ่งมีแรงจูงใจของตนเกี่ยวกับการขยายอาณานิคมในแอฟริกาใต้และต่อองค์กรการเมืองแอฟริกาหลายแห่ง รวมถึงชาติและซูลู สุดท้ายชาวโบร์สถาปนาสาธารณรัฐสองแห่งที่มีอายุยืนยาวกว่าแห่งอื่น ๆ ได้แก่ หรือสาธารณรัฐทรานส์วัลล์ (ค.ศ. 1852–1877; 1881–1902) และเสรีรัฐออเรนจ์ (ค.ศ. 1854–1902) ใน ค.ศ. 1902 บริเตนยึดครองทั้งสองสาธารณรัฐ โดยบรรลุสนธิสัญญากับสองให้หลัง (ค.ศ. 1899–1902)
ใน ค.ศ. 1869 คลองสุเอซเปิดภายใต้นโปเลียนที่ 3 ซึ่งเชื่อมระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรอินเดีย เดิมบริเตนต่อต้านคลองสุเอซ แต่เมื่อเปิดแล้ว คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของคลองได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วและกลายเป็น "หลอดเลือดดำคอของจักรวรรดิ" ใน ค.ศ. 1875 รัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมนายกรัฐมนตรีเบนจามิน ดิสราเอลีซื้อหุ้นคลองสุเอซร้อยละ 44 เป็นจำนวนเงิน 4 ล้านปอนด์ (340 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 2013) จากผู้ปกครองอียิปต์ อิสมาอิล ปาชาซึ่งเป็นหนี้ แม้ว่าจำนวนหุ้นดังกล่าวไม่ได้ทำให้บริเตนได้ควบคุมเส้นทางน้ำยุทธศาสตร์นี้โดยสมบูรณ์ แต่ก็ทำให้บริเตนมีความได้เปรียบ การควบคุมทางการเงินร่วมกันของบริเตนและฝรั่งเศสเหนืออียิปต์ยุติลงเมื่อบริเตนยึดครองโดยสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1882 ฝรั่งเศสยังเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากของคลองสุเอซและพยายามทำให้ฐานะของบริเตนอ่อนแอลง แต่มีการบรรลุการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในอนุสัญญาคอนสแตนติโนเปิล ค.ศ. 1888 ทำให้คลองสุเอซเป็นดินแดนเป็นกลางอย่างเป็นทางการ
เนื่องจากกิจกรรมของฝรั่งเศส เบลเยียมและโปรตุเกสในภูมิภาคแม่น้ำคองโกตอนล่างบ่อนทำลายการแทรกซึมแอฟริกาเขตร้อนอย่างเป็นระบบ ค.ศ. 1884-1885 จัดขึ้นเพื่อวางระเบียบการแข่งขันระหว่างอำนาจยุโรปในสิ่งที่เรียกว่า "" (Scramble for Africa) โดยนิยาม "การยึดครองอย่างมีประสิทธิภาพ" เป็นเกณฑ์การรับรองของนานาชาติต่อการอ้างสิทธิ์ดินแดน ยุคล่าอาณานิคมดังกล่าวดำเนินไปจนคริสต์ทศวรรษ 1890 และทำให้บริเตนพิจารณาการตัดสินใจของตนใหม่ที่จะถอนตัวออกจากซูดานใน ค.ศ. 1885 กำลังร่วมบริเตนและอียิปต์สามารถพิชิตใน ค.ศ. 1896 และขัดขวางความพยายามของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1898 ซูดานกลายเป็นในนาม แต่ที่จริงเป็นอาณานิคมบริติช
ดินแดนที่บริติชได้ในแอฟริกาใต้และแอฟริกาตะวันออกทำให้ ผู้บุกเบิกการขยายตัวของบริติชในแอฟริกา กระตุ้นให้สร้างทางรถไฟ "" เชื่อมคลองสุเอซอันมีความสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์กับแอฟริกาใต้ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1880 และ 1890 โรดส์และซึ่งเขาเป็นเจ้าของ ยึดครองและผนวกดินแดนซึ่งต่อมาได้ชื่อตามเขาว่า โรดีเซีย
การเปลี่ยนสถานภาพของอาณานิคมผิวขาว
เส้นทางสู่อิสรภาพของอาณานิคมผิวขาวของจักรวรรดิบริติชเริ่มต้นขึ้นด้วย ค.ศ. 1839 ซึ่งเสนอการสร้างเอกภาพและการปกครองตนเองสำหรับทั้งอัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ไขความไม่สงบทางการเมืองในพื้นที่ได้ เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นจากการผ่าน ซึ่งได้ก่อตั้ง ได้มีให้สิทธิ์แก่โนวาสโกเทียเป็นแห่งแรกในปี ค.ศ. 1848 และได้ขยายไปยังอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษที่เหลืออย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 1867 อัปเปอร์และโลวเออร์แคนาดา นิวบรันสวิก และโนวาสโกเทียได้รวมเข้าด้วยกันเป็น สมาพันธรัฐแห่งนี้มีสิทธิในการปกครองตนเอง ยกเว้นเพียงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่านั้น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้รับระดับการปกครองตนเองระดับเดียวกันหลังจาก ค.ศ. 1900 โดยอาณานิคมออสเตรเลียได้รวมเข้าด้วยกันเป็นใน ค.ศ. 1901 คำว่า "สถานภาพดินแดนในปกครอง" มีที่มาอย่างเป็นทางการจาก โดยหมายถึงแคนาดา นิวฟันด์แลนด์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ใน ค.ศ. 1910 อาณานิคมเคป นาทัล ทรานสวัล และเสรีรัฐออเรนจ์ได้ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับสถานภาพดินแดนในปกครองเช่นเดียวกัน
ทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการรณรงค์ทางการเมืองอย่างพร้อมเพรียงกันของการปกครองตนเองไอริช ไอร์แลนด์ถูกรวมกับสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์โดยพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 หลังจาก และประสบทุพภิกขภัยรุนแรงระหว่าง ค.ศ. 1845 ถึง 1852 การปกครองตนเองได้รับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ผู้ซึ่งหวังว่าไอร์แลนด์จะตามรอยของแคนาดาในการเป็นประเทศในเครือจักรภพภายในจักรวรรดิ แต่ร่างกฎหมายปกครองตนเอง ค.ศ. 1886 ของเขาไม่ผ่านรัฐสภา แม้ว่าหากร่างกฎหมาสยนี้ผ่านจะให้อัตตาณัติน้อยลงในสหราชอาณาจักรกว่าที่มณฑลของแคนาดามีในสหพันธรัฐของตน สมาชิกรัฐสภาหลายคนเกรงว่าไอร์แลนด์ที่มีอำนาจอธิปไตยบางส่วนอาจเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของบริเตนใหญ่หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายจักรวรรดิก็พ่ายแพ้ด้วยเหตุผลที่คล้ายกันได้ผ่านโดยรัฐสภาในปี ค.ศ. 1914 แต่มิได้นำออกมาบังคับใช้เนื่องจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งนำไปสู่ใน ค.ศ. 1916
สงครามโลก (1914–1945)
เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความกลัวเริ่มแพร่ขยายขึ้นในหมู่ชาวอังกฤษว่าอังกฤษอาจะไม่สามารถป้องกันเมืองแม่และจักรวรรดิทั้งหมดในขณะเดียวกับการดำเนินนโยบาย "การโดดเดี่ยวอย่างสง่างาม" เยอรมนีได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะอำนาจทางการทหารและอุตสาหกรรม และถูกมองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคู่แข่งของอังกฤษในสงครามอนาคต เนื่องจากทราบดีว่าตนถูกบีบให้ทำเกินความสามารถในแปซิฟิก และถูกคุกคามที่แผ่นดินแม่โดยกองทัพเรือเยอรมัน อังกฤษจึงได้ก่อตั้งพันธมิตรกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1902 และศัตรูเก่า ได้แก่ และรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1904 และ ค.ศ. 1907 ตามลำดับ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
มีการตระหนักถึงความกลัวสงครามกับเยอรมนีของบริเตนใน ค.ศ. 1914 ด้วยการอุบัติของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บริเตนบุกครองและยึดครองอาณานิคมโพ้นทะเลในทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่ของเยอรมนี ในมหาสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยึดครองเยอรมันนิวกินีและซามัวตามลำดับ มีการร่างแผนสำหรับการแบ่งจักรวรรดิออตโตมันหลังสงครามซึ่งเข้าฝ่ายกับเยอรมนีอย่างลับ ๆ โดยบริเตนและฝรั่งเศสหลังความตกลงไซคส์–ปิโก ค.ศ. 1916 ความตกลงนี้มิได้เปิดเผยแก่ชาริฟเมกกะที่บริเตนส่งเสริมให้เปิดฉากการก่อการกำเริบต่อผู้ปกครองออตโตมันของตน ทำให้มีภาพลักษณ์ว่าบริเตนกำลังสนับสนุนการสถาปนารัฐอาหรับอิสระ
การประกาศสงครามต่อเยอรมนีและพันธมิตรยังผูกมัดอาณานิคมและประเทศในเครือจักรภพด้วย ซึ่งให้การสนับสนุนทางทหาร การเงิน และวัตถุดิบอย่างหาค่ามิได้ มีทหารกว่า 2.5 ล้านนายรับราชการในกองทัพประเทศในเครือจักรภพทั้งหมด เช่นเดียวกับอาสาสมัครหลายพันคนจากคราวน์โคโลนี การมีส่วนร่วมของกำลังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1915 ต่อจักรวรรดิออตโตมันส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อสำนึกแห่งชาติที่ประเทศแม่ และเป็นจุดต้นกำเนิดของการเปลี่ยนผ่านของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จากอาณานิคมเป็นชาติซึ่งมีสิทธิ์ของตน ทั้งสองประเทศยังจัดพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในวันแอนแซก ชาวแคนาดามองว่าในทำนองเดียวกัน การมีส่วนร่วมอย่างสำคัญของประเทศในเครือจักรภพในความพยายามสงครามได้รับการรับรองใน ค.ศ. 1917 โดยนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เดวิด ลอยด์ จอร์จ เมื่อเขาเชิญนายกรัฐมนตรีของประเทศในเครือจักภพเข้าร่วมเพื่อประสานงานนโยบายจักรวรรดิ
ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งลงนามใน ค.ศ. 1919 จักรวรรดิบริติชขยายตัวกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด เมื่อได้ดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4,700,000 ตารางกิโลเมตร และประชากรเพิ่มขึ้นอีก 13 ล้านคนอาณานิคมของเยอรมนีและจักรวรรดิออตโตมันถูกแจกจ่ายให้กับอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรเป็น บริเตนได้ควบคุมปาเลสไตน์ ทรานสจอร์แดน อิรัก บางส่วนของแคเมอรูนและโตโก และ ประเทศในเครือจักรภพเองก็ได้อาณัติของตนเองเช่นกัน คือ สหภาพแอฟริกาใต้ได้แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (ปัจจุบัน คือ นามิเบีย) ออสเตรเลียได้ นิวซีแลนด์ได้เวสเทิร์นซามัว นาอูรูก็เป็นอาณัติร่วมของบริเตนและสองประเทศในเครือจักรภพแปซิฟิก
สมัยระหว่างสงคราม
ระเบียบโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงที่นำพามาโดยสงคราม โดยเฉพาะการเติบโตของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นในฐานะมหาอำนาจทางทะเล และความเจริญของขบวนการเรียกร้องเอกราชในอินเดียและไอร์แลนด์ ทำให้มีการประเมินนโยบายจักรวรรดิบริติชใหม่ครั้งสำคัญ อังกฤษถูกบีบให้เลือกระหว่างปรับแนวกับสหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น อังกฤษเลือกไม่ต่ออายุพันธมิตรกับญี่ปุ่นและลงนามในสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน ค.ศ. 1922 แทน ซึ่งอังกฤษยอมรับความเสมอกันทางนาวิกกับสหรัฐอเริกา การตัดสินใจนี้เป็นที่มาของการโต้เถียงอย่างมากในอังกฤษระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 เพราะรัฐบาลนิยมทหารถือการช่วยเหลือญี่ปุ่นและเยอรมนีบางส่วนโดยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพราะเกรงว่าจักรวรรดิไม่สามารถอยู่รอดจากการโจมตีพร้อมกันของทั้งสองประเทศได้ แม้ประเด็นความมั่นคงของจักรวรรดิเป็นความกังวลใหญ่หลวงในอังกฤษ แต่ขณะเดียวกันจักรวรรดิก็สำคัญต่อเศรษฐกิจอังกฤษเช่นกัน
ใน ค.ศ. 1919 ความขัดข้องอันเกิดจากความล่าช้าต่อสมาชิกพรรคซินน์เฟน พรรคนิยมเอกราชที่ได้รับเสียงข้างมากในที่นั่งไอร์แลนด์ในเวสต์มินสเตอร์ในการเลือกตั้งทั่วไปในอังกฤษ ค.ศ. 1918 ผู้นำขบวนการปกครองตนเองของไอร์แลนด์ (Irish home rule) ในการจัดตั้งสมัชชาไอร์แลนด์ในดับลิน ที่ซึ่งมีการประกาศเอกราชของไอร์แลนด์ พร้อมกันนั้น กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์เริ่มสงครามกองโจรต่อรัฐบาลอังกฤษ สงครามอังกฤษ-ไอร์แลนด์สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1921 ด้วยการคุมเชิงกันอยู่ และการลงนามสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ สถาปนารัฐอิสระไอร์แลนด์ ประเทศในเครือจักรภพในจักรวรรดิอังกฤษ โดยเอกราชภายในมีผลแต่ยังเชื่อมโยงกับพระมหากษัตริย์อังกฤษในทางรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งประกอบด้วย เทศมณฑล 6 จาก 32 แห่งของไอร์แลนด์ ซึ่งได้ถูกสถาปนาเป็นภูมิภาคที่ได้รับถ่ายโอนอำนาจ (devolved region) ภายใต้พระราชบัญญัติรัฐบาลไอร์แลนด์ ค.ศ. 1920 ซึ่งใช้ทางเลือกของตนภายใต้สนธิสัญญาทันทีเพื่อคงสถานภาพที่มีอยู่ในสหราชอาณาจักร
การต่อสู้คล้ายกันเริ่มในประเทศอินเดียเมื่อพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1919 ไม่ตอบสนองข้อเรียกร้องเอกราช ความกังวลต่อแผนคอมมิวนิสต์และต่างชาติให้หลังกบฏกาดาร์ (Ghadar Mutiny) รับรองว่าโครงสร้างยามสงครามถูกรื้อฟื้นโดยพระราชบัญญัติโรว์ลัตต์ (Rowlatt Acts) ซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียด โดยเฉพาะในภูมิภาคปัญจาบ ซึ่งมาตรการกดขี่ลงเอยด้วยการสังหารหมู่อมฤตสาร์ (Amritsar Massacre) ในบริเตน ความเห็นสาธารณะแตกออกในเรื่องศีลธรรมของเหตุการณ์ดังกล่าว ระหว่างผู้ที่มองว่าเป็นการช่วยอินเดียให้พ้นจากอนาธิปไตย และผู้ที่มองอย่างแขยง มีการเลื่อนขบวนการไม่ร่วมมือต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1922 หลังเหตุการณ์เชารีเชารา (Chauri Chaura incident) และความไม่พอใจคุกรุ่นอยู่อีก 25 ปีจากนี้ไป
ใน ค.ศ. 1922 อียิปต์ ซึ่งถูกประกาศเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติ ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการ แม้ยังเป็นรัฐบริวารของอังกฤษต่อไปจน ค.ศ. 1954 ทหารอังกฤษยังประจำอยู่ในประเทศอียิปต์กระทั่งการลงนามสนธิสัญญาอังกฤษ-อียิปต์ใน ค.ศ. 1936 ซึ่งในสนธิสัญญา ทั้งสองตกลงว่า จะถอนทหารแต่ยังยึดครองและป้องกันเขตคลองสุเอซ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน อียิปต์ได้รับสนับสนุนให้เข้าร่วมสันนิบาตชาติ ประเทศอิรัก อาณัติของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1920 ยังได้สมาชิกภาพสันนิบาตชาติในสิทธิของตนหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1932 ในปาเลสไตน์ อังกฤษประสบปัญหาการไกล่เกลี่ยระหว่างชุมชนอาหรับและยิว ในปฏิญญาแบลฟะ (Balfour Declaration) ค.ศ. 1917 ซึ่งถูกรวมอยู่ในเงื่อนไขอาณัติด้วย แถลงว่า จะสถาปนาบ้านชนชาติสำหรับชาวยิวในปาเลสไตน์ และอนุญาตการเข้าเมืองของชาวยิวถึงขีดจำกัดซึ่งจะตัดสินโดยอำนาจอาณัติ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้นกับประชากรอาหรับ ซึ่งก่อการกำเริบอย่างเปิดเผยใน ค.ศ. 1936 เมื่อภัยคุกคามสงครามกับเยอรมนีเพิ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 อังกฤษตัดสินว่าการสนับสนุนประชากรอาหรับในตะวันออกกลางสำคัญกว่าการสถาปนาบ้านเกิดเมืองนอนยิว และเปลี่ยนท่าทีเป็นนิยมอาหรับ จำกัดการเข้าเมืองของชาวยิว แล้วจุดชนวนการก่อการกำเริบของชาวยิวแทน
ประเทศในเครือจักรภพสามารถกำหนดนโยบายต่างประเทศของตนเป็นอิสระจากบริเตนได้ โดยได้รับการรับรองที่การประชุมจักรวรรดิ ค.ศ. 1923 คำขอความช่วยเหลือทางทหารของบริเตนจากประเทศในเครือจักรภพเมื่อวิกฤตชานัก (Chanak Crisis) อุบัติเมื่อปีกลายถูกแคนาดาและแอฟริกาใต้ปฏิเสธ และแคนาดาปฏิเสธถูกผูกมัดโดยสนธิสัญญาโลซาน ค.ศ. 1923 หลังแรงกดดันจากไอร์แลนด์และแอฟริกาใต้ การประชุมจักรวรรดิ ค.ศ. 1926 ออกปฏิญญาแบลฟะ ประกาศให้ประเทศในเครือจักรภพเป็น "ชุมชนปกครองตนเองในจักรวรรดิบริติช มีสถานภาพเท่าเทียมกัน ไม่เป็นรองชุมชนอื่นในทางหนึ่งทางใด" ใน "เครือจักรภพแห่งประชาชาติบริติช" ปฏิญญานี้มีสถานะเป็นกฎหมาย (legal substance) ภายใต้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ (Statute of Westminster) ค.ศ. 1931 รัฐสภาแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหภาพแอฟริกาใต้ เสรีรัฐไอร์แลนด์และนิวฟันด์แลนด์บัดนี้เป็นอิสระจากการควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติของบริติช ประเทศเหล่านี้สามารถทำให้กฎหมายบริติชเป็นโมฆะและบริเตนไม่สามารถผ่านกฎหมายให้ได้โดยปราศจากความยินยอมอีก นิวฟันด์แลนด์กลับเป็นสถานะอาณานิคมอีกใน ค.ศ. 1933 โดยประสบความเดือดร้อนทางการเงินระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ไอร์แลนด์เว้นระยะจากบริเตนมากขึ้นโดยการริเริ่มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน ค.ศ. 1937 ทำให้เป็นสาธารณรัฐโดยพฤตินัย
สงครามโลกครั้งที่สอง
การประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนีของบริเตนเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 รวมคราวน์โคโลนีและอินเดียด้วย แต่ไม่ผูกมัดประเทศในเครือจักรภพโดยอัตโนมัติ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ นิวฟันด์แลนด์และแอฟริกาใต้ล้วนประกาศสงครามต่อเยอรมนีในไม่ช้า แต่เสรีรัฐไอร์แลนด์เลือกเป็นกลางทางกฎหมายตลอดสงคราม
หลังการยึดครองฝรั่งเศสของเยอรมนีใน ค.ศ. 1940 บริเตนและจักรวรรดิยืนต่อกรเยอรมนีเพียงลำพัง จนสหภาพโซเวียตเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1941 นายกรัฐมนตรีบริติช วินสตัน เชอร์ชิลล์ วิ่งเต้นประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เพื่อขอความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ แต่โรสเวลต์ยังไม่พร้อมขอรัฐสภาให้ผูกมัดประเทศเข้าร่วมสงคราม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 เชอร์ชิลล์และโรสเวลต์พบกันและลงนามกฎบัตรแอตแลนติก ซึ่งรวมถ้อยแถลงว่า ควรเคารพ "สิทธิเลือกระบอบการปกครองที่พวกตนอาศัยอยู่ของประชาชนทั้งปวง" การใช้คำนี้เคลือบคลุมว่าหมายถึงประเทศยุโรปที่ถูกเยอรมนีบุกครอง หรือผู้ที่ถูกชาติยุโรปตั้งนิคม และต่อมาชาวบริติช อเมริกันและขบวนการชาตินิยมตีความต่างกัน
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นเปิดฉากการเข้าตีบริติชมาลายา ฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ท่าจอดเรือเพิร์ล และฮ่องกงต่อ ๆ กันอย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาของเชอร์ชิลล์ต่อการเข้าสู่สงครามของสหรัฐอเมริกา คือ บริเตนได้รับประกันชัยชนะและอนาคตของจักรวรรดิปลอดภัย แต่จริตของการยอมจำนนอย่างรวดเร็วของบริเตนเป็นผลเสียต่อฐานะและเกียรติภูมิของบริเตนในฐานะอำนาจจักรวรรดิอย่างไม่อาจผันกลับได้ ที่เสียหายหนักที่สุด คือ การเสียสิงคโปร์ ซึ่งเคยได้รับการเชิดชูเป็นปราการไม่อาจทะลวงและเทียบเท่ากับยิบรอลตาร์แห่งทิศตะวันออก การตระหนักว่า บริเตนไม่สามารถป้องกันทั้งจักรวรรดิของตนได้ผลักดันให้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งบัดนี้ราวกับถูกกองทัพญี่ปุ่นคุกคาม ให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น จนให้เกิด ค.ศ. 1951 ระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา
การปลดปล่อยอาณานิคมและความเสื่อม (1945–1997)
แม้บริเตนและจักรวรรดิคว้าชัยจากสงครามโลกครั้งที่สอง ผลของความขัดแย้งนั้นล้ำลึก ทั้งในบริเตนและโพ้นทะเล ทวีปยุโรปบริเวณกว้าง อันเป็นทวีปซึ่งครอบงำโลกมาหลายศตวรรษ เป็นซากปรักหักพัง และมีกองทัพสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งบัดนี้ถือดุลอำนาจโลก อังกฤษล้มละลายโดยสิ้นเชิง โดยปัดป้องการไม่สามารถชำระหนี้ได้เฉพาะใน ค.ศ. 1946 หลังเจรจาขอกู้เงิน 4,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2012) จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่อนชำระงวดสุดท้ายใน ค.ศ. 2006 ขณะเดียวกัน ขบวนการต่อต้านอาณานิคมเจริญในอาณานิคมของชาติยุโรป สถานการณ์ซับซ้อนขึ้นอีกโดยความเป็นปรปักษ์ที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต โดยหลักการ ทั้งสองชาติคัดค้านลัทธิอาณานิคมยุโรป ทว่าในทางปฏิบัติ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหรัฐอยู่เหนือการต่อต้านจักรวรรดินิยม ฉะนั้น สหรัฐอเมริกาจึงสนับสนุนการมีอยู่ของจักรวรรดิบริติชต่อไปเพื่อถ่วงดุลการขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ สุดท้าย "สายลมการเปลี่ยนแปลง" หมายความว่า วันแห่งจักรวรรดิบริติชเหลือน้อยแล้ว และโดยรวม บริเตนใช้นโยบายการปล่อยอาณานิคมเมื่อมีรัฐบาลซึ่งมีเสถียรภาพและมิใช่คอมมิวนิสต์ให้ถ่ายโอนอำนาจไป ซึ่งตรงข้ามกับประเทศยุโรปอ่นอย่างฝรั่งเศสและโปรตุเกส ซึ่งทำสงครามราคาแพงและสุดท้ายล้มเหลวเพื่อรักษาจักรวรรดิของตนให้สมบูรณ์ ระหว่าง ค.ศ. 1945 ถึง 1965 จำนวนประชากรในการปกครองของอังกฤษนอกสหราชอาณาจักรลดลงจาก 700 ล้านคนเหลือ 5 ล้านคน ซึ่ง 3 ล้านคนในจำนวนนี้อยู่ในฮ่องกง
การปล่อยขั้นต้น
รัฐบาลพรรคแรงงานซึ่งนิยมการให้เอกราชได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1945 และมีคลีเมนต์ แอตลีเป็นหัวหน้า ขยับอย่างรวดเร็วเพื่อจัดการปัญหาซึ่งกดดันที่สุดซึ่งจักรวรรดิกำลังเผชิญ คือ ปัญหาเอกราชของอินเดีย พรรคการเมืองหลักสองพรรคของอินเดีย คองเกรสแห่งชาติอินเดียและสันนิบาตมุสลิม รณรงค์เรียกร้องเอกราชมาหลายทศวรรษแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ว่าควรนำไปปฏิบัติอย่างไร พรรคคองเกรสนิยมรัฐเดี่ยวฆราวาสอินเดีย แต่พรรคสันนิบาต ด้วยเกรงถูกฝ่ายข้างมากฮินดูครอบงำ ปรารถนารัฐอิสลามต่างหากสำหรับภูมิภาคซึ่งมีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ ความไม่สงบของพลเมืองที่เพิ่มขึ้นและการก่อการกำเริบในราชนาวีอินเดียระหว่าง ค.ศ. 1946 นำให้แอตลีสัญญาเอกราชไม่เกิน ค.ศ. 1948 เมื่อความเร่งด่วนของสถาบการณ์และความเสี่ยงสงครามกลางเมืองประจักษ์ชัด ลอร์ดเมานท์บัตเทิน (Lord Mountbatten) อุปราชซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้ง (และคนสุดท้าย) เลื่อนเวลามาเป็นวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 โดยด่วน เขตแดนที่บริเตนลากเพื่อแบ่งอินเดียเป็นพื้นที่ฮินดูและมุสลิมทำให้หลายสิบล้านคนเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐเอกราชใหม่อินเดียและปากีสถาน ต่อมา มุสลิมหลายล้านคนข้ามจากอินเดียไปปากีสถาน และกลับกันสำหรับชาวฮินดู และความรุนแรงระหว่างสองชุมชนทำให้มีการเสียชีวิตนับหลายแสน พม่าซึ่งถูกปกครองเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราชและศรีลังกาได้รับเอกราชในปีถัดมา คือ ค.ศ. 1948 อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกากลายเป็นสมาชิกเครือจักรภพ แต่พม่าเลือกไม่เข้าร่วม
อาณัติปาเลสไตน์ของบริเตน ซึ่งประชากรอาหรับส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกับชนกลุ่มน้อยชาวยิว นำปัญหาให้บริเตนคล้ายกับในกรณีอินเดีย แต่ปาเลสไตน์ยุ่งยากเพราะผู้ลี้ภัยชาวยิวจำนวนมากแสวงการรับเข้าปาเลสไตน์หลังฮอโลคอสต์ แต่ชาวอาหรับคัดค้านการสถาปนารัฐยิว ด้วยท้อกับความยากของปัญหา การโจมตีขององค์การกึ่งทหารยิวและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการคงทหารไว้ บริเตนจึงประกาศใน ค.ศ. 1947 ว่าจะถอนทหารใน ค.ศ. 1948 และทิ้งปัญหาให้สหประชาชาติแก้ไข ต่อมา สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติสนับสนุนแผนแบ่งปาเลสไตน์เป็นรัฐยิวและอาหรับ
หลังญี่ปุ่นปราชัยในสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการต่อต้านต่อต้านญี่ปุ่นในมาลายาหันความสนใจไปยังบริติชแทน ซึ่งกลับควบคุมอาณานิคมอย่างรวดเร็ว โดยให้มูลค่าเพราะเป็นแหล่งยางและดีบุก ข้อเท็จจริงที่ว่ากองโจรเป็นคอมมิวนิสต์ชาวมลายู-จีนเป็นหลักหมายความว่า ชาวมลายูมุสลิมส่วนใหญ่สนับสนุนความพยายามปราบปรามการก่อการกำเริบนี้ของอังกฤษ โดยความเข้าใจว่าเมื่อปราบปรามการก่อการกำเริบดังกล่าวแล้ว จะได้รับเอกราช ภาวะฉุกเฉินมาลายา ตามที่ถูกเรียก เริ่มใน ค.ศ. 1948 และกินเวลาถึง ค.ศ. 1960 แต่ใน ค.ศ. 1957 บริเตนรู้สึกมั่นใจพอให้เอกราชแก่สหพันธรัฐมาลายาในเครือจักรภพ ใน ค.ศ. 1963 สิบเอ็ดรัฐแห่งสหพันธรัฐร่วมกับสิงคโปร์ ซาราวักและบอร์เนียวเหนือ แต่ใน ค.ศ. 1965 สิงคโปร์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนถูกขับออกจากสหภาพหลังความตึงเครียดที่เกิดตามมาระหว่างประชากรชาวมลายูกับชาวจีน บรูไนซึ่งเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ ค.ศ. 1888 ปฏิเสธเข้าร่วมสหภาพ และธำรงสถานภาพของตนจนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1984
สุเอซและผลลัพธ์
ค.ศ. 1951 พรรคอนุรักษนิยมหวนสู่อำนาจในบริเตน ภายใต้การนำของวินสตัน เชอร์ชิลล์ เชอร์ชิลล์และพรรคอนุรักษนิยมเชื่อว่าฐานะมหาอำนาจโลกของบริเตนขึ้นอยู่กับการดำรงอยู่ต่อไปของจักรวรรดิ โดยฐานที่คลองสุเอซทำให้บริเตนธำรงฐานะเด่นในตะวันออกกลางแม้เสียอินเดียไปแล้ว ทว่า เชอร์ชิลล์ไม่อาจเพิกเฉยต่อรัฐบาลปฏิวัติใหม่ของญะมาล อับดุนนาศิรซึ่งเถลิงอำนาจใน ค.ศ. 1952 และในปีต่อมา มีการตกลงว่าจะมีการถอนทหารบริติชจากเขตคลองสุเอซและซูดานจะได้รับการกำหนดการปกครองด้วยตัวเองภายใน ค.ศ. 1955 โดยจะได้รับเอกราชตามมา ซูดานได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1956
เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1956 นาศิรโอนคลองสุเอซเป็นของรัฐฝ่ายเดียว แอนโทนี อีเดน นายกรัฐมนตรีคนถัดจากเชอร์ชิลล์ สนองโดยการคบคิดกับฝรั่งเศสวางแผนให้อิสราเอลเข้าตีอียิปต์ซึ่งจะทำให้บริเตนและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงทางทหารและยึดคลองคืน อีเดนทำให้ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์แห่งสหรัฐโกรธเนื่องจากไม่ได้ปรึกษาเขา และไอเซนฮาวร์ไม่ยอมสนับสนุนการบุกครองนี้ ข้อกังวลอีกอย่างหนึ่งของไอเซนฮาวร์คือ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดสงครามวงกว้างขึ้นกับสหภาพโซเวียตหลังโซเวียตขู่แทรกแซงโดยเข้ากับฝ่ายอียิปต์ ไอเซนฮาวร์ใช้เลฟเวอริจทางการเงิน (financial leverage) โดยขู่ขายเงินปอนด์บริติชสำรองของสหรัฐและจะเร่งให้เกิดการล่มสลายของเงินตราบริติช แม้กำลังบุกครองจะประสบความสำเร็จทางทหารตามวัตถุประสงค์ แต่การเข้าแทรกแซงของสหประชาชาติและแรงกดดันจากสหรัฐบีบให้บริเตนถอนกำลังของตนอย่างขายหน้าและอีเดนลาออก
วิกฤตการณ์สุเอซเผยข้อจำกัดของบริเตนต่อโลกและยืนยันความเสื่อมของบริเตนบนเวทีโลก แสดงให้เห็นว่าสืบแต่นั้นบริเตนไม่สามารถกระทำการใดได้โดยปราศจากความยินยอมหรือการสนับสนุนอย่างเต็มขั้นของสหรัฐ เหตุการณ์ที่สุเอซทำให้ความภูมิใจในชาติบริเตนเสียหาย ทำให้สมาชิกรัฐสภาผู้หนึ่งอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "วอเตอร์ลูของบริเตน" และอีกคนแนะว่า บริเตนกลายเป็น "บริวารของอเมริกา" ภายหลังมาร์กาเรต แทตเชอร์อธิบายกรอบความเชื่อ (mindset) ที่นางเชื่อว่าเกิดกับสถาบันการเมืองของบริเตนว่า "กลุ่มอาการสุเอซ" ซึ่งบริเตนไม่ฟื้นตัวจนยึดหมู่เกาะฟอล์คแลนด์คืนจากอาร์เจนตินาใน ค.ศ. 1982
แม้วิกฤตการณ์สุเอซทำให้อำนาจของบริเตนในตะวันออกกลางอ่อนแอลง แต่ก็มิได้ล่มสลายทีเดียว บริเตนเริ่มวางกำลังกองทัพเข้าไปในภูมิภาคนั้นใหม่ โดยเข้าแทรกแซงในโอมาน (ค.ศ. 1957), จอร์แดน (ค.ศ. 1958) และคูเวต (ค.ศ. 1961) แม้โอกาสเหล่านี้จะได้รับความยินยอมจากอเมริกา เนื่องจากนโยบายต่างประเทศของฮาโรลด์ แมคมิลแลน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ การคงเข้ากับสหรัฐอย่างเหนียวแน่น บริเตนคงทหารในตะวันออกกลางอีกทศวรรษ เดือนมกราคม ค.ศ. 1968 ไม่กี่สัปดาห์หลังการลดค่าเงินตราปอนด์ นายกรัฐมนตรีฮาโรลด์ วิลสัน และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ประกาศว่าจะถอนกำลังกำลังบริเตนจากฐานทัพใหญ่ทางตะวันออกของสุเอซ ซึ่งรวมถึงฐานทัพในตะวันออกกลาง และมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นหลัก บริเตนถอนทหารจากเอเดนใน ค.ศ. 1967, บาห์เรนใน ค.ศ. 1971 และมัลดีฟส์ใน ค.ศ. 1976
ลมแห่งการเปลี่ยนแปลง
แมคมิลแลนกล่าวสุนทรพจน์ในเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1960 ซึ่งเขากล่าวว่า "ลมแห่งการเปลี่ยนแปลงกำลังพัดผ่านทวีปนี้" แมคมิลแลนปรารถนาหลีกเลี่ยงสงครามอาณานิคมแบบเดียวกับที่ฝรั่งเศสกำลังสู้รบอยู่ในอัลจีเรีย และภายใต้การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา การปลดปล่อยอาณานิคมดำเนินอย่างรวดเร็ว จากสามอาณานิคมที่ได้รับเอกราชในคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้แก่ ซูดาน โกลด์โคสตฺและมาลายา มีเพิ่มขึ้นอีกเกือบสิบเท่าระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960
อาณานิคมของบริเตนที่ยังเหลืออยู่ในทวีปแอฟริกา ยกเว้นเซาเทิร์นโรดีเชียที่ปกครองตนเอง ได้รับเอกราชทั่วกันภายใน ค.ศ. 1968 การถอนตัวจากส่วนใต้และตะวันออกของทวีปแอฟริกาของบริเตนมิใช่กระบวนการอย่างสันติ เอกราชของเคนยาเกิดให้หลัง (Mau Mau Uprising) นาน 8 ปี ในโรดีเซีย คำประกาศเอกราชฝ่ายเดียว ค.ศ. 1965 โดยฝ่ายข้างน้อยผิวขาวทำให้เกิดสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลาจนความตกลงแลงคาสเตอร์เฮาส์ ค.ศ. 1979 ซึ่งตั้งข้อกำหนดสำหรับเอกราชที่ได้รับการรับรองใน ค.ศ. 1980 เป็นประเทศใหม่ซิมบับเว
ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สงครามกองโจรที่ (Greek Cypriots) เป็นผู้ก่อลงเอยด้วยประเทศไซปรัสที่มีเอกราชใน ค.ศ. 1960 โดยสหราชอาณาจักรคงฐานทัพแอโครเทียรีและดิเคเลีย เกาะมอลตาและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้รับเอกราชฉันมิตรจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1964 แม้มีการเสนอความคิดให้รวมกับบริเตนใน ค.ศ. 1955
ดินแดนแคริบเบียนของสหราชอาณาจักรส่วนมากได้รับเอกราชหลังจาไมกาและตรินิแดดออกจากใน ค.ศ. 1961 และ 1962 สหพันธ์อินเดียตะวันตกสถาปนาใน ค.ศ. 1958 ในความพยายามรวมอาณานิคมแคริบเบียนบริติชภายใต้รัฐบาลเดียว แต่ล่มสลายหลังการเสียสมาชิกใหญ่สุดสองชาติบาร์บาโดสได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1966 และเกาะแคริบเบียนตะวันออกต่าง ๆ ที่เหลือในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980 แต่แองกวิลลาและหมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอสเลือกกลับสู่การปกครองของบริเตนหลังเริ่มเส้นทางสู่เอกราชแล้วหมู่เกาะบริติชเวอร์จินหมู่เกาะเคย์แมนและมอนต์เซอร์รัตเลือกคงความสัมพันธ์กับบริเตน ขณะที่กายอานาได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1966 อาณานิคมสุดท้ายของบริเตนบนแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกา บริติชฮอนดูรัส กลายเป็นอาณานิคมปกครองตนเองใน ค.ศ. 1964 และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นเบลีซใน ค.ศ. 1973 และได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1981 ข้อพิพาทระหว่างเบลีซกับกัวเตมาลาเรื่องดินแดนยังไม่ยุติ
ดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกของบริเตนได้รับเอกราชในคริสต์ทศวรรษ 1970 เริ่มจากฟิจิใน ค.ศ. 1970 และจบด้วยวานูอาตูใน ต.ศ. 1980 เอกราชของวานูอาตูล่าไปเพราะข้อพิพาททางการเมืองระหว่างชุมชนที่พูดภาษาอังกฤษกับฝรั่งเศส เพราะหมู่เกาะนั้นมีการปกครองร่วมเป็นดินแดนใต้การปกครองร่วมกับฝรั่งเศส ฟิจิ ตูวาลู หมู่เกาะโซโลมอนและปาปัวนิวกินี เลือกเป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ
จุดจบของจักรวรรดิ
ค.ศ. 1980 โรดีเซีย อาณานิคมสุดท้ายของบริเตนในทวีปแอฟริกา กลายเป็นรัฐเอกราชซิมบับเว (New Hebrides) ได้รับเอกราชในชื่อวานูอาตูใน ค.ศ. 1980 ตามด้วยเบลีซใน ค.ศ. 1981 การผ่านพระราชบัญญัติสัญชาติบริติช ค.ศ. 1981 ซึ่งจัดแบ่งคราวน์โคโลนีที่เหลืออยู่เป็น "ดินแดนในภาวะพึ่งพาบริติช" และเปลีย่นชื่อเป็นดินแดนโพ้นทะเลบริติชใน ค.ศ. 2002 หมายความว่า นอกจากเกาะและด่านหน้ากระจัดกระจาย (และการได้ โขดหินไม่มีคนอยู่อาศัยในมหาสมุทรแอตแลนติกใน ค.ศ. 1955) กระบวนการการปลดปล่อยอาณานิคมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองสำเร็จไปแล้วส่วนใหญ่ ใน ค.ศ. 1982 ความเด็ดเดี่ยวในการปกป้องดินแดนโพ้นทะเลที่เหลืออยู่ของบริเตนถูกทดสอบเมื่ออาร์เจนตินาบุกครองหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ โดยการอ้างสิทธิ์ยาวนานซึ่งย้อนไปถึงสมัยจักรวรรดิสเปน การสนองทางทหารที่สัมฤทธิ์ผลในท้ายสุดของบริเตนในการยึดหมู่เกาะคืนระหว่างสงครามฟอล์กแลนด์มีหลายคนมองว่าช่วยพลิกแนวโน้มสถานภาพมหาอำนาจโลกของบริเตนที่ลดลง ในปีเดียวกัน รัฐบาลแคนาดาตัดความเชื่อมโยงทางกฎหมายสุดท้ายกับบริเตนโดยการทวง (Patriation) รัฐธรรมนูญแคนาดาจากบริเตน รัฐสภาบริเตนผ่านพระราชบัญญัติแคนาดา ค.ศ. 1982 ทำให้การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแคนาดาไม่ต้องมีบริเตนเข้ามาเกี่ยวข้อง คล้ายกัน พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1986 ปฏิรูปรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์เพื่อตัดความเชื่อมโยงตามรัฐธรรมนญกับบริเตน และพระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 ตัดความเชื่อมโยงตามรัฐธรรมนูญระหว่างบริเตนและรัฐออสเตรเลียต่าง ๆ
เดือนกันยายน ค.ศ. 1982 นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต แทตเชอร์เดินทางเยือนกรุงปักกิ่งเพื่อเจรจากับรัฐบาลจีนเรื่องอนาคตของฮ่องกงซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลใหญ่สุดท้ายและมีประชากรมากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญานานกิง ค.ศ. 1842 เกาะฮ่องกงถูกยกให้บริเตนตลอดกาล แต่อาณานิคมส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากซึ่งได้มาภายใต้การเช่า 99 ปีใน ค.ศ. 1898 ซึ่งจะหมดอายุใน ค.ศ. 1997 แทตเชอร์ซึ่งมองเห็นความคล้ายกับหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ทีแรกปรารถนาถือครองฮ่องกงและเสนอการปกครองของบริติชโดยอยู่ภายใต้เอกราชของจีน แต่ถูกจีนปฏิเสธ มีการบรรลุข้อตกลงใน ค.ศ. 1984 ภายใต้เงื่อนไขของ ฮ่องกงจะเป็นเขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยธำรงวิถีชีวิตเป็นเวลาอย่างน้อย 50 ปี มีพิธีส่งมอบใน ค.ศ. 1997 ซึ่งหลายคนซึ่งรวมถึงเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ซึ่งทรงร่วมพิธีด้วย ว่า "จุดจบของจักรวรรดิ"
มรดกตกทอด
บริเตนยังคงอำนาจอธิปไตยเหนือ 14 ดินแดนนอกหมู่เกาะบริติช ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นดินแดนโพ้นทะเลบริติชใน ค.ศ. 2002 บางแห่งไม่มีผู้อยู่อาศัยยกเว้นบุคลากรทางทหารหรือวิทยาศาสตร์ชั่วคราว ที่เหลือมีการปกครองตนเองในระดับต่าง ๆ และอาศัยสหราชอาณาจักรในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการป้องกัน รัฐบาลบริติชแถลงเจตนาในการสนับสนุนดินแดนโพ้นทะเลใด ๆ ที่ปรารถนาดำเนินสู่เอกราชซึ่งเป็นตัวเลือกหนึ่ง อำนาจอธิปไตยของบริเตนเหนือดินแดนโพ้นทะเลหลายแห่งถูกประเทศเพื่อนบ้านทางภูมิศาสตร์พิพาท คือ สเปนอ้างสิทธิ์ยิบรอลตาร์ อาร์เจนตินาอ้างสิทธิ์หมู่เกาะฟอล์กแลนด์และเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช และมอริเชียสและเซเชลส์อ้างสิทธิ์บริติชอินเดียนโอเชียนเทร์ริทอรีบริติชแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีมีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกับอาร์เจนตินาและชิลี ส่วนหลายประเทศไม่รับรองการอ้างสิทธิ์ดินแดนใด ๆ ในทวีปแอนตาร์กติกา
อดีตอาณานิคมและรัฐในอารักขาของบริเตนส่วนใหญ่เป็นรัฐสมาชิก 53 ประเทศของเครือจักรภพแห่งชาติ เป็นสมาคมที่มิใช่ทางการเมืองโดยความสมัครใจของสมาชิกที่มีฐานะเสมอกัน มีประชากรราว 2,200 ล้านคน ราชอาณาจักรเครือจักรภพ 16 แห่งสมัครใจมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกัน คือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขแห่งรัฐ 16 ชาติเหล่านี้ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์บาโดส เบลีซ เกรนาดา จาไมกา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ หมู่เกาะโซโลมอนและตูวาลู
การปกครองและการย้ายถิ่นของบริเตนหลายทศวรรษและหลายศตวรรษในบางกรณีทิ้งร่องรอยบนชาติที่ได้รับเอกราชที่เกิดจากจักรวรรดิบริติช จักรวรรดิสถาปนาการใช้ภาษาอังกฤษในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักของคน 400 ล้านคนและมีผู้พูดเป็นภาษาแรก ที่สองหรือต่างด้าวประมาณ 1,500 ล้านคน
อิทธิพลทางวัฒนธรรมของสหรัฐมีส่วนช่วยการเผยแพร่ภาษาอังกฤษตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ซึ่งสหรัฐเองก็กำเนิดจากอาณานิคมของบริเตน มีการใช้ระบบรัฐสภาอังกฤษเป็นแม่แบบสำหรับรัฐบาลในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง (ยกเว้นในทวีปแอฟริกาซึ่งอดีตอาณานิคมเกือบทั้งหมดรับระบบประธานาธิบดี) และคอมมอนลอว์อังกฤษเป็นระบบกฎหมาย
คณะกรรมการตุลาการบริติชของคณะองคมนตรียังเป็นศาลอุทธรณ์สูงสุดสำหรับอดีตอาณานิคมหลายแห่งในแคริบเบียนและแปซิฟิก มิชชันนารีโปรเตสแตนท์อังกฤษผู้ท่องรอบโลกซึ่งบ่อยครั้งล่วงหน้าทหารและข้าราชการเผยแพร่แองกลิคันคอมมิวเนียนไปทุกทวีป พบเห็นสถาปัตยกรรมอาณานิคมบริติชดังเช่นในโบสถ์ สถานีรถไฟและอาคารรัฐบาลได้ในหลายนครซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบริติช
มีการพัฒนากีฬาปัจเจกและทีมต่าง ๆ ในบริเตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟุตบอล คริกเกต รักบี้ เทนนิสและกอล์ฟ ก็ถูกส่งออกด้วย ยังมีการใช้ ซึ่งเป็นทางเลือกระบบการวัดของบริติช ในบางประเทศในหลายทาง ธรรมเนียมการขับรถชิดซ้ายของถนนก็ยังอยู่ในหลายส่วนของอดีตจักรวรรดิ
เขตแดนทางการเมืองที่บริเตนลากไม่สะท้อนชาติพันธุ์หรือศาสนาเดียวกันเสมอไป ส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่อดีตอาณานิคมหลายแห่ง จักรวรรดิบริติชยังทำให้มีการย้ายถิ่นประชากรขนานใหญ่ หลายล้านคนออกจากหมู่เกาะบริเตน โดยประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานของสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่มาจากบริเตนและไอร์แลนด์ ยังมีความตึงเครียดระหว่างประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวของประเทศเหล่านี้กับชนกลุ่มน้อยพื้นเมือง และระหว่างชนกลุ่มน้อยผู้ตั้งถิ่นฐานผิวขาวและฝ่ายข้างมากพื้นเมืองในแอฟริกาใต้และซิมบับเว ผู้ตั้งถิ่นฐานในไอร์แลนด์จากบริเตนใหญ่ทิ้งร่องรอยในรูปชุมชนชาตินิยมและสหภาพนิยมที่แตกแยกในไอร์แลนด์เหนือ หลายล้านคนย้ายเข้าและออกจากอาณานิคมบริติช โดยมีชาวอินเดียจำนวนมากย้ายถิ่นไปส่วนอื่นของจักรวรรดิ เช่น มาเลเซียและฟิจิ และชาวจีนไปมาเลเซีย สิงคโปร์และแคริบเบียน ประชากรศาสตร์ของบริเตนเองก็เปลี่ยนหลังสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากมีการเข้าเมืองบริเตนจากอดีตอาณานิคม
อ้างอิง
- Ferguson, Niall (2004). Empire, The rise and demise of the British world order and the lessons for global power. Basic Books. ISBN .
- Maddison 2001, pp. 98, 242.
- Ferguson 2004, p. 15., saying: "At its maximum extent between the world wars the British Empire covered more than 13 million square miles, approximately 23 percent of the world's land surface."
- Elkins2005, p. 5.saying: "The British Empire encompassed nearly 13 million square miles or roughly 25 percent of the world's total landmass"
- Ferguson 2004, p. 2.
- Tellier, L.-N. (2009). Urban World History: an Economic and Geographical Perspective. Quebec: PUQ. p. 463. .
- Johnston, pp. 508-10.
- Porter, p. 332.
- Sondhaus, L. (2004). Navies in Modern World History. London: Reaktion Books. p. 9. .
- Porter, Andrew (1998). The Nineteenth Century, The Oxford History of the British Empire Volume III. Oxford University Press. p. 332. ISBN .
- "The Workshop of the World". BBC History. สืบค้นเมื่อ 28 April 2013.
- Porter, Andrew (1998). The Nineteenth Century, The Oxford History of the British Empire Volume III. Oxford University Press. p. 8. ISBN .
- Marshall, P.J. (1996). The Cambridge Illustrated History of the British Empire. Cambridge University Press. pp. 156–57. ISBN .
- Tompson, Richard S. (2003). Great Britain: a reference guide from the Renaissance to the present. New York: Facts on File. p. 63. ISBN .
- Hosch, William L. (2009). World War I: People, Politics, and Power. America at War. New York: Britannica Educational Publishing. p. 21. ISBN .
- (Brendon), p. 660.
- "Charles' diary lays thoughts bare". BBC News. 22 February 2006. สืบค้นเมื่อ 13 December 2008.
- Brown, p. 594.
- "BBC – History – Britain, the Commonwealth and the End of Empire". BBC News. สืบค้นเมื่อ 13 December 2008.
- Ferguson 2004, p. 3.
- Andrews 1985, p. 45.
- Ferguson 2004, p. 4.
- Canny, p. 35.
- Thomas, pp. 155–158
- Ferguson 2004, p. 7.
- Canny, p. 62.
- (Lloyd), pp. 4–8.
- Canny, p. 7.
- Kenny, p. 5.
- Alan, Taylor (2001). American Colonies, The Settling of North America. Penguin. p. 119.
- Olson, p. 466.
- Andrews, p. 188.
- Canny, p. 63.
- Canny, pp. 63–64.
- Canny, p. 70.
- Canny, p. 34.
- James, p. 17.
- Canny, p. 71.
- Canny, p. 221.
- (Lloyd), pp. 22–23.
- (Lloyd), p. 32.
- (Lloyd), pp. 33, 43.
- (Lloyd), pp. 15–20.
- Olson, p. 600.
- Andrews, pp. 20–22.
- Olson, p. 897.
- (Lloyd), p. 40.
- Ferguson 2004, pp. 72–73.
- (Buckner), p. 25.
- (Lloyd), p. 37.
- Ferguson 2004, p. 62.
- Canny, p. 228.
- Marshall, pp. 440–64.
- Magnusson, p. 531.
- Macaulay, p. 509.
- (Lloyd), p. 13.
- Ferguson 2004, p. 19.
- Canny, p. 441.
- Pagden, p. 90.
- Olson, p. 1045.
- Olson, p. 1122.
- Olson, pp. 1121–22.
- Smith, p. 17.
- Bandyopādhyāẏa, pp. 49–52
- Smith, pp. 18–19.
- Pagden, p. 91.
- Ferguson 2004, p. 73.
- Marshall, pp. 312–23.
- Canny, p. 92.
- Olson, p. 1026.
- James, p. 119.
- Marshall, p. 585.
- Olson, p. 685.
- Olson, p. 796.
- Smith, p. 28.
- Latimer, pp. 8, 30–34, 389–92.
- Marshall, pp. 388.
- Smith, p. 20.
- Smith, pp. 20–21.
- Mulligan & Hill, pp. 20–23.
- Peters, pp. 5–23.
- James, p. 142.
- Britain and the Dominions, p. 159.
- Fieldhouse, pp. 145–149
- Cervero, Robert B. (1998). The Transit Metropolis: A Global Inquiry. Chicago: Island Press. p. 320. ISBN .
- Statesmen's Year Book 1889
- Olson, p. 1137.
- "Waitangi Day". History Group, New Zealand Ministry for Culture and Heritage. สืบค้นเมื่อ 13 December 2008.
- Porter, p. 579.
- Mein Smith, p. 49.
- James, p. 152.
- (Lloyd), pp. 115–118.
- James, p. 165.
- Porter, p. 14.
- Porter, p. 204.
- Hyam, p. 1.
- Smith, p. 71.
- Parsons, p. 3.
- Porter, p. 401.
- Olson, p. 285.
- Porter, p. 8.
- Marshall, pp. 156–57.
- Dalziel, pp. 88–91.
- Martin, pp. 146–148.
- Olson, p. 293.
- Keay, p. 393
- Parsons, pp. 44–46.
- Smith, pp. 50–57.
- Brown, p. 5.
- Marshall, pp. 133–34.
- Olson, p. 478.
- James, p. 181.
- James, p. 182.
- Royle, preface.
- Williams, Beryl J. (1966). "The Strategic Background to the Anglo-Russian Entente of August 1907". The Historical Journal. 9 (3): 360–373. doi:10.1017/S0018246X00026698. JSTOR 2637986.
- Hodge, p. 47.
- Smith, p. 85.
- Smith, pp. 85–86.
- (Lloyd), pp. 168, 186, 243.
- (Lloyd), p. 255.
- Olson, p. 1070.
- Roger 1986, p. 718.
- Ferguson 2004, pp. 230–33.
- James, p. 274.
- . Egypt Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2010. สืบค้นเมื่อ 20 October 2010.
- Herbst, pp. 71–72.
- Vandervort, pp. 169–183.
- Olson, p. 248.
- (Lloyd), p. 215.
- Smith, pp. 28–29.
- Porter, p. 187
- Smith, p. 30.
- Rhodes, Wanna & Weller, pp. 5–15.
- (Lloyd), p. 213
- James, p. 315.
- Smith, p. 92.
- O'Brien, p. 1.
- Brown, p. 667.
- Lloyd, p. 275.
- Brown, pp. 494–495.
- Marshall, pp. 78–79.
- Lloyd, p. 277.
- Lloyd, p. 278.
- Ferguson 2004, p. 315.
- Olson, p. 658.
- Goldstein, p. 4.
- Louis, p. 302.
- Louis, p. 294.
- Louis, p. 303.
- Lee 1996, p. 305.
- Brown, p. 143.
- Smith, p. 95.
- Magee, p. 108.
- Ferguson 2004, p. 330.
- James, p. 416.
- Low, D.A. (February 1966). "The Government of India and the First Non-Cooperation Movement-—1920–1922". The Journal of Asian Studies. 25 (2): 241–259. doi:10.2307/2051326.
- Smith, p. 104.
- Brown, p. 292.
- Smith, p. 101.
- Louis, p. 271.
- McIntyre, p. 187.
- Brown, p. 68.
- McIntyre, p. 186.
- Brown, p. 69.
- Turpin & Tomkins, p. 48.
- (Lloyd), p. 300.
- Kenny, p. 21.
- Lloyd, pp. 313–14.
- (Gilbert), p. 234.
- Lloyd, p. 316.
- James, p. 513.
- Gilbert, p. 244.
- Louis, p. 337.
- Brown, p. 319.
- James, p. 460.
- Abernethy, p. 146.
- Brown, p. 331.
- "What's a little debt between friends?". BBC News. 10 May 2006. สืบค้นเมื่อ 20 November 2008.
- Levine, p. 193.
- Abernethy, p. 148.
- Brown, p. 330.
- Lloyd, p. 322.
- Smith, p. 67.
- Lloyd, p. 325.
- McIntyre, pp. 355–356.
- Lloyd, p. 327.
- Lloyd, p. 328.
- (Lloyd), p. 335.
- (Lloyd), p. 364.
- (Lloyd), p. 396.
- Brown, pp. 339–40.
- James, p. 581.
- Ferguson 2004, p. 355.
- Ferguson 2004, p. 356.
- James, p. 583.
- Combs, pp. 161–163.
- "Suez Crisis: Key players". BBC News. 21 July 2006. สืบค้นเมื่อ 19 October 2010.
- Brown, p. 342.
- Smith, p. 105.
- Burk, p. 602.
- Brown, p. 343.
- James, p. 585.
- Thatcher.
- Smith, p. 106.
- James, p. 586.
- Pham 2010
- (Lloyd), pp. 370–371.
- James, p. 616.
- Louis, p. 46.
- (Lloyd), pp. 427–433.
- James, pp. 618–621.
- Springhall, pp. 100–102.
- Knight & Palmer, pp. 14–15.
- Clegg, p. 128.
- (Lloyd), p. 428.
- James, p. 622.
- (Lloyd), pp. 401, 427–429.
- Macdonald, pp. 171–191.
- "British Overseas Territories Act 2002". legislation.gov.uk.
- "1955: Britain claims Rockall". BBC News. 21 September 1955. สืบค้นเมื่อ 13 December 2008.
- James, pp. 624–625.
- James, p. 629.
- Brown, p. 689.
- (Brendon), p. 654.
- Joseph, p. 355.
- Rothermund, p. 100.
- (Brendon), pp. 654–55.
- (Brendon), p. 656.
- House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Report, pp. 145–147
- House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Report, pp. 146,153
- . The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 13 December 2008.
- House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Report, p. 136
- The Commonwealth - About Us; Online September 2014
- "Head of the Commonwealth". Commonwealth Secretariat. สืบค้นเมื่อ 9 October 2010.
- Hogg, p. 424 chapter 9 English Worldwide by : "approximately one in four of the worlds population are capable of communicating to a useful level in English".
- Ferguson 2004, p. 307.
- Marshall, pp. 238–40.
- Torkildsen, p. 347.
- Parsons, p. 1.
- Marshall, p. 286.
- Dalziel, p. 135.
บรรณานุกรม
- Abernethy, David (2000). The Dynamics of Global Dominance, European Overseas Empires 1415–1980. Yale University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Andrews, Kenneth (1984). Trade, Plunder and Settlement: Maritime Enterprise and the Genesis of the British Empire, 1480–1630. Cambridge University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Bandyopādhyāẏa, Śekhara (2004). From Plassey to partition: a history of modern India. Orient Longman. ISBN .
- (2007). The Decline and Fall of the British Empire, 1781–1997. Random House. ISBN .
- Brock, W.R. (n.d.). Britain and the Dominions. Cambridge University Press.
- Brown, Judith (1998). The Twentieth Century, The Oxford History of the British Empire Volume IV. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Louis, Roger (1986). The British Empire in the Middle East, 1945–1951: Arab Nationalism, the United States, and Postwar Imperialism. Oxford University Press. p. 820. ISBN . สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
- Buckner, Phillip (2008). Canada and the British Empire. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Burk, Kathleen (2008). Old World, New World: Great Britain and America from the Beginning. Atlantic Monthly Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 January 2012.
- Canny, Nicholas (1998). The Origins of Empire, The Oxford History of the British Empire Volume I. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Clegg, Peter (2005). "The UK Caribbean Overseas Territories". ใน de Jong, Lammert; Kruijt, Dirk (บ.ก.). Extended Statehood in the Caribbean. Rozenberg Publishers. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: multiple names: editors list () - Combs, Jerald A. (2008). The History of American Foreign Policy: From 1895. M.E. Sharpe. ISBN .
- Dalziel, Nigel (2006). The Penguin Historical Atlas of the British Empire. Penguin. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (2003). The Indian Mutiny. Penguin. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Elkins, Caroline (2005). Imperial Reckoning: The Untold Story of Britain's Gulag in Kenya. Owl Books. ISBN .
- (2004). Colossus: The Price of America's Empire. Penguin. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.[]
- (2004). Empire. Basic Books. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Fieldhouse, David Kenneth (1999). The West and the Third World: trade, colonialism, dependence, and development. Blackwell Publishing. ISBN .
- Fox, Gregory H. (2008). Humanitarian Occupation. Cambridge University Press. ISBN .
- Games, Alison (2002). Armitage, David; (บ.ก.). The British Atlantic world, 1500–1800. Palgrave Macmillan. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: multiple names: editors list () - Gapes, Mike (2008). HC Paper 147-II House of Commons Foreign Affairs Committee: Overseas Territories, Volume II. The Stationery Office. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (2005). Churchill and America. Simon and Schuster. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Goldstein, Erik (1994). The Washington Conference, 1921–22: Naval Rivalry, East Asian Stability and the Road to Pearl Harbor. Routledge. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Goodlad, Graham David (2000). British foreign and imperial policy, 1865–1919. Psychology Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 18 September 2010.
- (2000). States and power in Africa: comparative lessons in authority and control. Princeton University Press. ISBN .
- Hinks, Peter (2007). Encyclopedia of antislavery and abolition. Greenwood Publishing Group. ISBN . สืบค้นเมื่อ 1 August 2010.
- Hodge, Carl Cavanagh (2007). Encyclopedia of the Age of Imperialism, 1800–1914. Greenwood Publishing Group. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Hogg, Richard (2008). A History of the English Language. Cambridge University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 13 April 2010.
- (2002). . . ISBN .
- Hollowell, Jonathan (1992). Britain Since 1945. Blackwell Publishing. ISBN .
- Hyam, Ronald (2002). Britain's Imperial Century, 1815–1914: A Study of Empire and Expansion. Palgrave Macmillan. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (2001). The Rise and Fall of the British Empire. Abacus. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Janin, Hunt (1999). The India–China opium trade in the nineteenth century. McFarland. ISBN .
- Joseph, William A. (2010). Politics in China. Oxford University Press. ISBN .
- Keay, John (1991). The Honourable Company. Macmillan Publishing Company.
- Kelley, Ninette; Trebilcock, Michael (2010). The Making of the Mosaic (2nd ed.). University of Toronto Press. ISBN .
- Kenny, Kevin (2006). Ireland and the British Empire. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Knight, Franklin W.; Palmer, Colin A. (1989). The Modern Caribbean. University of North Carolina Press. ISBN .
- (2007). War with America. Harvard University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Lee, Stephen J. (1994). Aspects of British political history, 1815–1914. Routledge. ISBN .
- Lee, Stephen J. (1996). Aspects of British political history, 1914–1995. Routledge. ISBN .
- Levine, Philippa (2007). The British Empire: Sunrise to Sunset. Pearson Education Limited. ISBN . สืบค้นเมื่อ 19 August 2010.
- Lloyd, Trevor Owen (1996). The British Empire 1558–1995. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Louis, Wm. Roger (2006). Ends of British Imperialism: The Scramble for Empire, Suez and Decolonization. I. B. Tauris. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (1848). . Penguin. ISBN .
- Macdonald, Barrie (1994). "Britain". ใน Howe, K.R.; Kiste, Robert C.; Lal, Brij V (บ.ก.). Tides of history: the Pacific Islands in the twentieth century. University of Hawaii Press. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: multiple names: editors list () - McIntyre, W. Donald (1977). The Commonwealth of Nations. University of Minnesota Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- McLean, Iain (2001). Rational Choice and British Politics: An Analysis of Rhetoric and Manipulation from Peel to Blair. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Maddison, Angus (2001). The World Economy: A Millennial Perspective. Organisation for Economic Co-operation and Development. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Magee, John (1974). Northern Ireland: Crisis and Conflict. Taylor & Francis. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (2003). Scotland: The Story of a Nation. Grove Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Marshall, PJ (1998). The Eighteenth Century, The Oxford History of the British Empire Volume II. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Marshall, PJ (1996). The Cambridge Illustrated History of the British Empire. Cambridge University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Martin, Laura C (2007). Tea: the drink that changed the world. Tuttle Publishing. ISBN .
- Mein Smith, Philippa (2005). A Concise History of New Zealand. Cambridge University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Mulligan, Martin; Hill, Stuart (2001). Ecological pioneers. Cambridge University Press. ISBN .
- O'Brien, Phillips Payson (2004). The Anglo–Japanese Alliance, 1902–1922. Routledge. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (2003). Peoples and Empires: A Short History of European Migration, Exploration, and Conquest, from Greece to the Present. Modern Library. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Parsons, Timothy H (1999). The British Imperial Century, 1815–1914: A World History Perspective. Rowman & Littlefield. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Peters, Nonja (2006). The Dutch down under, 1606–2006. University of Western Australia Press. ISBN .
- Pham, P.L. (2010). Ending 'East of Suez': The British Decision to Withdraw from Malaysia and Singapore, 1964–1968. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.
- Porter, Andrew (1998). The Nineteenth Century, The Oxford History of the British Empire Volume III. Oxford University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Rhodes, R.A.W.; Wanna, John; Weller, Patrick (2009). Comparing Westminster. Oxford University Press. ISBN .
- Rothermund, Dietmar (2006). The Routledge companion to decolonization. Routledge. ISBN .
- Royle, Trevor (2000). Crimea: The Great Crimean War, 1854–1856. Palgrave Macmillan. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Shennan, J.H (1995). International relations in Europe, 1689–1789. Routledge. ISBN .
- Smith, Simon (1998). British Imperialism 1750–1970. Cambridge University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Springhall, John (2001). Decolonization since 1945: the collapse of European overseas empires. Palgrave. ISBN .
- (2001). American Colonies, The Settling of North America. Penguin. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- Thatcher, Margaret (1993). The Downing Street Years. Harper Collins. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (1997). The Slave Trade: The History of The Atlantic Slave Trade. Picador, Phoenix/Orion. ISBN . สืบค้นเมื่อ 22 July 2009.
- (2009). British India 1600–1828. BiblioLife. ISBN .
- Torkildsen, George (2005). Leisure and recreation management. Routledge. ISBN .
- Turpin, Colin; Tomkins, Adam (2007). British government and the constitution (6th ed.). Cambridge University Press. ISBN .
- Vandervort, Bruce (1998). Wars of imperial conquest in Africa, 1830–1914. University College London Press. ISBN .
- Zolberg, Aristide R (2006). A nation by design: immigration policy in the fashioning of America. Russell Sage. ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
- The British Empire. An Internet Gateway
- The British Empire
- The British Empire audio resources at TheEnglishCollection.com เก็บถาวร 2012-12-05 ที่
- British Colonial Regime: Considering the Administration of British Colony in Burma and Malay Peninsular between the 19th and 20th Centuries.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ckrwrrdibritich xngkvs British Empire prakxbdwypraethsinekhruxckrphph khrawnokholni rthinxarkkha rthinxanti aeladinaednxunsungshrachxanackrpkkhrxnghruxbrihar ckrwrrdikaenidcakdinaednxananikhmophnthaelaelasthanikarkhathirachxanackrxngkvskxtngrahwangplaykhriststwrrsthi 16 aelatnkhriststwrrsthi 18 inchwngthiecriythungkhidsud ckrwrrdibritichepnckrwrrdithiihythisudinprawtisastr aelaepnmhaxanacolkchnaenwhnanankwahnungstwrrs in kh s 1922 ckrwrrdibritichpkkhrxngprachakrpraman 458 lankhn hruxkwahnunginhakhxngprachakrolkinewlann khrxbkhlumphunthimakkwa 33 000 000 tarangkiolemtr ekuxbhnunginsikhxngphundinthnghmdkhxngolk epnphlihmrdkthangkaremuxng kdhmay phasaaelawthnthrrmkhxngxngkvsaephkhyay inyukhthickrwrrdibritichrungeruxngthisud mkichkhawli ckrwrrdithidwngxathityimekhytkdin ephraadinaednthimixyuthwolkthaihdwngxathityyngsxngaesngxyuindinaednitpkkhrxngxyangnxythisudhnungaehngtlxdewlackrwrrdibritichkh s 1707 kh s 1997say kh s 1707 1800 khwa thngchatishrachxanackr kh s 1801 pccubn phunthitang khxngolksungkhrnghnungekhyepnswnhnungkhxngckrwrrdibritich pccubndinaednophnthaelxngkvsthukkhidesnitsiaedngsthanackrwrrdiemuxnghlwnglxndxnprawtisastr phrarachbyytishphaph kh s 1707kh s 1707 esiysibsamxananikhmkh s 1776 phrarachbyytishphaph kh s 1801kh s 1801 phrarachbyytirthbalxinediy kh s 1858kh s 1858 snthisyyaxngkvs ixraelndkh s 1922 thrrmnuyewstminsetxr kh s 1931kh s 1931 xinediyidrbexkrachkh s 1947 karsngmxbhxngkngkh s 1997 rahwangyukhaehngkarsarwcinkhriststwrrsthi 15 aela 16 sepnaelaoprtueksbukebikkarsarwcolkkhxngchawyuorp aelasrangckrwrrdiophnthaelkhnadihyipphrxmkn cakkhwamxicchainkhwammngkhngkhxngckrwrrdithngsxng xngkvs frngess aeladtchcungerimkxtngxananikhmaelaekhruxkhaykarkhakhxngtninthwipxemrikaaelaexechiy sngkhramxyangtxenuxngkbenethxraelndaelafrngessinkhriststwrrsthi 17 aela 18 thaihxngkvs hruxbrietnihy hlngshphaphrahwangxngkvsaelaskxtaelndin kh s 1707 epnmhaxanacdanxananikhminthwipxemrikaehnuxaelaxinediyxyangeddkhad exkrachkhxngsibsamxananikhminthwipxemrikaehnuxihhlngsngkhramprakasxisrphaphxemrikain kh s 1783 thaihbrietnesiyxananikhmthiekaaekthisudaelamiprachakrmakthisudiphlayaehng imnanbrietnhnkhwamsnicipthwipaexfrika thwipexechiy aelaaepsifikaethn hlngfrngesssmynopeliynprachyin kh s 1815 brietnkawepnmhaxanacthangthaelaelackrwrrdihlkinkhriststwrrsthi 19 mikrunglxndxnepnnkhrihythisudinolktngaetpraman kh s 1830 phawakhrxbngakhxngbrietnthiirphutxkrinthaelphayhlngmiphuxthibaywaepn rayathikhxnkhangsntiinthwipyuorpaelaolk kh s 1815 1914 sungrahwangnnckrwrrdibritichepnphukhrxngkhwamepnihyinolkaelarbbthbathtarwcolk tnkhriststwrrsthi 19 karptiwtixutsahkrrmerimepliynaeplngbrietn inkhnathiminithrrskarkhrngyingihyin kh s 1851 ckrwrrdibritichmiphuxthibaywa orngsxmsrangkhxngolk ckrwrrdibritichkhyayiprwmxinediy swnihykhxngthwipaexfrika aeladinaednxunxiklhaydinaednthwolk nxkcakichkarkhwbkhumxyangepnthangkarehnuxxananikhmkhxngtnaelw phawakhrxbngakhxngbrietnehnuxkarkhaolkprimanmakhmaykhwamwa ckrwrrdikhwbkhumesrsthkickhxnghlayphumiphakhidchangd echn thwipexechiyaelalatinxemrika inpraeths thsnathangkaremuxngniymkarkhaesriaelanoybayplxyihthaipaelakarkhxy khyaysiththixxkesiyngeluxktng rahwangstwrrsnn prachakrephimcanwninxtranatkic rwmkbkarthaihepnemuxngxyangrwderwthaihekidkhwamekhriydthangsngkhmaelaesrsthkicxyangsakhy inkaraeswngtladaelaaehlngwtthudibihm phrrkhxnurksniymphayitkarnakhxngebncamin disraexlierimsmykarkhyayckrwrrdiniyminxiyipt aexfrikaitaelathixun aekhnada xxsetreliyaelaniwsiaelndklayepnpraethsinekhruxckrphphthipkkhrxngtnexng emuxerimkhriststwrrsthi 20 eyxrmniaelashrththathaykhwamepnphunathangesrsthkickhxngbrietn khwamtungekhriydthangthharaelaesrsthkictxmarahwangbrietnaelaeyxrmniepnsaehtuhlkkhxngsngkhramolkkhrngthihnung sungrahwangsngkhram brietnphungphackrwrrdikhxngtnxyanghnk khwamkhdaeyngdngklawthaihekidkhwamekhriydtxthrphyakrthhar karenginaelakalngkhnxyangmohlaraekbrietn aemckrwrrdimidinaedniphsalthisudthnthihlngcaksngkhramolkkhrngthihnung aetbrietnkmiichmhaxanacthangthharhruxxutsahkrrmxndbhnungkhxngolkxiktxip insngkhramolkkhrngthisxng yipunyudkhrxngxananikhmkhxngbrietninexechiytawnxxkechiyngit aembrietnaelaphnthmitrchnainbnplayktam khwamesiyhaytxekiyrtiphumikhxngbrietnchwyerngkhwamesuxmkhxngckrwrrdi xinediy karkhrxbkhrxngthimimulkhathisudaelamiprachakrmakthisudkhxngbrietn idrbexkrachodyepnswnhnungkhxngkhbwnkarpldplxyxananikhmsungbrietnihexkrachaekdinaednswnihykhxngckrwrrdi hlaykhnnbwakarkhunhxngkngihcinin kh s 1997 epnkarsinsudkhxngckrwrdibritich dinaedn 14 aehngyngxyuphayitxanacxthipitykhxngxngkvs hlngidrbexkrach xditxananikhmhlayaehngekharwmekhruxckrphphaehngchati epnsmakhmxisrakhxngrthexkrach bdnishrachxanackrepnhnungin 16 chatiekhruxckrphph odymiphramhakstriyphraxngkhediywknkhux smedcphrarachininathexlisaebththi 2cuderimtn 1497 1583 rupthxdaebberux edxaaemththiw eruxkhxngcxhn khabxtinkaredineruxipolkihmethiywthisxngkhxngekha mikarwangrakthanckrwrrdibritichtngaetxngkvsaelaskxtaelndyngepnrachxanackraeykkn in kh s 1496 hlngoprtueksaelasepnprasbkhwamsaercinkarsarwcophnthael phraecaehnrithi 7 aehngxngkvsthrngaetngtngihcxhn khabxtnakaredinthangthangeruxephuxsarwchaesnthangipthwipexechiyphanthangmhasmuthraextaelntikehnux txmain kh s 1497 hapihlngkarkhnphbthwipxemrika khabxtaelneruxcakxngkvs aelaaemekhakhunfngekaaniwfndaelndidsaerc sungekhaicphidwaekhaidthungthwipexechiyaelw echnediywkbkhrisotefxr okhlmbs aetimmikhwamphyayamtngxananikhm khabxtnakaredinthangdwyeruxipthwipxemrikaxikkhrnginpitxma aetimmiphuthrabkhawcakeruxkhxngekhaxikely xngkvsimphyayamkxtngxananikhmxikinthwipxemrikaeruxymacnrchkalphrarachininathexlisaebththi 1 inchwngthswrrssudthaykhxngkhriststwrrsthi 16 khnaediywknthaihxngkvskbsepnthinbthuxnikaykhathxlikepnstrukn in kh s 1562 phramhakstriyxngkvsthrngsngesrimihnkedineruxswntw prirateer aelafransis edrk ocmtiplnthastameruxsepnaelaoprtuekssungaelncakchayfngaexfrikatawntk miepahmayephuxthalayrabbkarkhaaextaelntik khwamphyayamdngklawthukhyudyng aelaemuxsngkhramxngkvs sepnthwikhwamrunaerngkhun phrarachininathexlisaebththi 1 thrngxnuyatihkhyayocmtiaebbocrsldipthungemuxngthakhxngsepninthwipxemrikaaelakaredineruxthiaelnkhammhasmuthraextaelntikklbma sungeruxnietmipdwythrphysmbtisungkhnklbcakolkihm khnaediywkn nkekhiynthimixiththiphl xathi aela epnkhnaerkthiichkhawa ckrwrrdibritich kalngerimphlkdnihmikarkxtngckrwrrdikhxngxngkvsexng cnthungewlani sepnepnchatithikhrxbngainthwipxemrikaaelakalngsarwcmhasmuthraepsifik swnoprtuekssrangsthanikarkhaaelakhaythhartngaetchayfngthwipaexfrikaaelabrasilcnthungcin aelafrngesserimtngthinthanbriewnaemnaesntlxwerns thitxmaklayepnxananikhmniwfrans kartngthinthaninixraelnd aemxngkvslaxananikhmlahlngemuxethiybkbsepnaelaoprtueks rahwangkhriststwrrsthi 16 xngkvskekhaipmiswnekiywkhxnginkartngthinthaninixraelnddwychawopretsaetnthcakxngkvsaelaskxtaelnd khlaykbin kh s 1169 hlaykhnsungchwytngthinthaninixraelndyngmiswninkartngthinthaninthwipxemrikaehnuxinchwngerimaerk odyechphaaxyangying klumkhnsungepnthiruckknwa chayewstkhnthri West Country men ckrwrrdibritichthihnung 1583 1783 in kh s 1578 phrarachininathexlisaebththi 1 phrarachthanexksarsiththi patent aek inkarkhnphbaelakarsarwcophnthael pinn kilebirtedineruxmunghmuekaaxinediytawntk odyectnaplnsadmaelatngxananikhminthwipxemrikaehnux aetkaredinthangdngklawthukykelikkxnkhammhasmuthraextaelntik kh s 1583 kilebirtxxkedinthangkhrngthisxng odykhrngniipekaaniwfndaelnd sungekhaxangsiththithaeruxihxngkvsxyangepnthangkar aemyngimmiphutngthinthan kilebirtesiychiwitkhnaedinthangklbxngkvs aelanxngchaytangmarda subhnathitx ekhaidrbphrarachthanexksarsiththikhxngekhaexngcakphrarachininathexlisaebththi 1 in kh s 1584 inpiediywkn ekhakxtngbnchayfngrthnxrthaekhorilnainpccubn aetkimprasbkhwamsaercenuxngcakkhadaekhlnesbiyng in kh s 1603 phraecaecmsthi 6 aehngskxtaelndthrngsubrachbllngkxngkvstxma aelain kh s 1604 thrngecrcasnthisyyalxndxn sungyutikhwambadhmangkbsepn hlngkarsngbsukkbkhuaekhnghlk khwamsnickhxngxngkvsepliyncakkarhaphlpraoychncakokhrngsrangphunthanthangxananikhmkhxngchatixunmaepnthurakarkxtngxananikhmophnthaelkhxngtnexng ckrwrrdibriticherimepnruprangkhuninchwngtnkhriststwrrsthi 17 dwynikhmkhxngxngkvsinthwipxemrikaehnuxaelahmuekaaelk aethbaekhribebiyn tlxdcnkarcdtngbristhexkchn sungthieluxngchuxthisudkhux bristhxinediytawnxxkkhxngxngkvs ephuxbriharxananikhmaelakarkhaophnthael inchwngnicnthungkaresiysibsamxananikhmhlngsngkhramprakasxisrphaphshrthxemrikaemuxsinkhriststwrrsthi 18 nkprawtisastrbangkhntxmaeriyk ckrwrrdibritichthihnung thwipxemrika aexfrika aelakarkhathas thiaerkaekhribebiynepnxananikhmthisakhyaelaihkairmakthisudkhxngxngkvs aetkxnhnannkaryudepnxananikhmlmehlwhlaykhrng khwamphyayamtngxananikhminemux kh s 1604 xyuidephiyngsxngpi aelaimprasbkhwamsaercwtthuprasngkhhlkinkarhaaehlngaerthxngkha xananikhminesntluechiy kh s 1605 aelaekrnada kh s 1609 thuklmelikxyangrwderw aetmikartngnikhmsaercinesntkhits kh s 1624 barebods kh s 1627 aelaenwis kh s 1628 imchaxananikhmkrbexarabbkarpluknatalthichawoprtueksichxyangidphlinbrasil sungtxngphungphaaerngnganthas aelaeruxsinkhadtchintxnaerk ephuxkhaythasaelasuxnatal ephuxrbpraknihkairngamthiephimkhuncakkarkhanixyuinmuxxngkvs rthsphacungxxkphrarachkvsdikain kh s 1651 waiheruxsinkhaxngkvsethannthisamarthkhakhayinxananikhmxngkvsid ehtuninaipsukhwamepnprpkskbshcnghwddtch khux chud sungsudthaythaihthanakhxngxngkvsinthwipxemrikaaekhngaekrngkhun khnathidtchxxnaexlng in kh s 1655 xngkvsphnwkcaemkacaksepnaelain kh s 1656 kyudbahamasepnxananikhmidsaerc xananikhmkhxngxngkvsinthwipxemrikaehnux raw kh s 1750 1 niwfndaelnd 2 onwasokethiy 3 sibsamxananikhm 4 ebxrmiwda 5 bahamas 6 eblis 7 caemka 8 nikhmthawraehngaerkkhxngxngkvsinthwipxemrikakxtngin kh s 1607 n ecmsthawn naodykptncxhn smith aelamicdkar mikartngthinthanbnebxrmiwdaaelaxngkvsxangsiththihlngeruxthngkhxngbristhewxrcieniylmthinnin kh s 1609 aelain kh s 1615 thukmxbihbristhhmuekaasxemxs Somers Isles Company thiephingtng kdbtrkhxngbristhewxrcieniythukephikthxnin kh s 1624 aelaphramhakstriyekhakhwbkhumewxrcieniyodytrng cungtngepnxananikhmewxrcieniy swntngkhunin kh s 1610 mungkxtngnikhmthawrbnekaaniwfndaelnd aetimprasbphlsaercxyangmak in kh s 1620 mikartngepnthiphankaekphwkaebngaeyksasnaklumephiywritn sungtxmaeriykwa Pilgrim karhlbhnicakkarebiydebiynthangsasnacaepnaerngkratunihehlawathichawxananikhmxngkvshlaykhnesiyngkbkaredinthangkhammhasmuthraextaelntikxnyakekhy klawkhux thuktngepnthiphankaeknikayormnkhathxlik kh s 1634 xananikhmordixsaelnd kh s 1636 epnxananikhmthiyxmrbthuksasna aelaxananikhmkhxnenktikt kh s 1639 sahrbnikaykhxnekrekchnnxllist tngin kh s 1663 hlngfxrthxmsetxrdmyxmcannin kh s 1664 xngkvskhwbkhumxananikhmkhxngdtch aelaepliynchuxepnniwyxrk karkhwbkhumdngklawmikarthaihepnthangkarinkarecrcaihhlng ephuxaelkepliynkbsurinam aelain kh s 1681 kxtngxananikhmephnsileweniy xananikhmbnthwipxemrikaprasbkhwamsaercthangkarenginnxykwainaekhribebiyn aetxananikhmehlanimiphunthiekstrkrrmdikhnadihy aeladungdudphuyaythinxxkchawxngkvssungchunchxbphumixakasxbxunkhxngxananikhmehlani in kh s 1670 phraecacharlsthi 2 phrarachthanphrabrmrachanuyatihbristhxawhdsn odyihbristhphukkhadkarkhakhnstwindinaednsungepnthiruckknwa ruephitsaelnd sungtxmaklayepnphunthikhnadihykhxngpraethsinekhruxckrphphaekhnada bristhxawhdsntngkhaythharaelasthanikarkhasungbxykhrngtkepnepakarocmtikhxngfrngess sungtngxananikhmkhakhnstwkhxngtninniwfransthixyuiklekhiyng xiksxngpitxma mikarsthapnabristhrxylaexfriknodyidrbphrarachthansiththicakphraecacharlsihphukkhadkarkhaephuxcdhathasihxananikhmbritichinaekhribebiyn cakaerkerim thasthuxepnrakthankhxngckrwrrdibritichinxinediytawntk cnkarykelikkarkhathasin kh s 1807 brietnepnphukhnsngthaschawaexfriknkwa 3 5 lankhnipthwipxemrika khidepnhnunginsamkhxngthasthnghmdthithukkhnsngkhammhasmuthraextaelntik ephuxxanwykhwamsadwkaekkarkhani cungmikartngkhaythhartamchayfngaexfrikatawntk xyangechn ekaaecms xkkra aelaekaabns inbritichaekhribebiyn rxylakhxngprachakrphiwdaephimkhuncakrxyla 25 in kh s 1650 epnrawrxyla 80 in kh s 1780 aelainsibsamxananikhm xtraswnephimkhuncakrxyla 10 epnrxyla 40 inchwngewlaediywkn swnihyinxananikhmtxnit sahrbnkkhathas karkhasrangkairmhasal aelaklayepnhlksakhythangesrsthkicihysahrbnkhrbrietnthangtawntk xyangechn bristxlaelaliewxrphul sungepnmumthisamkhxngkarkhasamehliymkbthwipaexfrikaaelathwipxemrika sahrbphuthithukkhnsng sphaphrunaerngaelaimmisukhxnamybneruxthasaelaxaharelw thaihxtrakaresiychiwitrahwangkaredinthangechliymimakthung 1 in 7 in kh s 1695 rthsphaskxtaelndihkdbtraekbristhskxtaelnd sungtngnikhmin kh s 1698 bnkhxkhxdpanama xananikhmthukaewdlxmodychawxananikhmsepnephuxnban aelamiorkhmalaeriy xananikhmcungthuklathinginxiksxngpitxma thuxepnhaynathangkarenginsahrbskxtaelnd odythunhnunginsikhxngskxtaelndesiyipinwisahkicdngklaw aelayutikhwamhwngkhxngskxtaelndthicakxtngckrwrrdixananikhmophnthaelkhxngtwxyangsineching krnidngklawyngmiphlkrathbthangkaremuxngsakhy odychwnihrthbalkhxngthngxngkvsaelaskxtaelndehnpraoychnkhxngshphaphkhxngsxngpraeths makkwamiphramhakstriyrwmknethann karrwmpraethsekidkhunin kh s 1707 dwyphrarachbyytishphaph aelasthapnarachxanackrbrietnihy karaekhngkhnkbenethxraelndinthwipexechiy fxrtesntcxrc kxtnginmlthras kh s 1639 playkhriststwrrsthi 16 xngkvsaelaenethxraelnderimthathaykarphukkhadkarkhakbthwipexechiykhxngoprtueks odykxtngbristhrwmhunexkchnephuxhaenginsnbsnunkarxxkedinerux bristhxinediytawnxxkkhxngxngkvsaelabristhxinediytawnxxkkhxngdtch idrbphrabrmrachanuyataelakdbtrin kh s 1600 aela 1602 tamladb epahmayhlkkhxngbristhdngklaw khux karecaakarkhaekhruxngethssungkairngam epnkhwamphyayamthimungipsxngphumiphakhepnhlk khux klumekaaxinediytawnxxk aelaxinediy sunyklangsakhyinekhruxkhaykarkhani thinn thngsxngaekhngkhrxngkhwamepnihythangkarkhakboprtueksaelarahwangkn aemsudthayxngkvscabdbngenethxraelndinthanamhaxanacxananikhm aetinrayasnrabbkarenginthikawhnakwakhxngenethxraelndaelasngkhramxngkvs dtchsamkhrnginkhriststwrrsthi 17 thaihenethxraelndmithanaekhmaekhngkwainthwipexechiy khwamepnprpksyutihlngkarptiwtixnrungorcn kh s 1688 emuxwileliymaehngxxernc chawdtch khunkhrxngbllngkxngkvs namasingsntiphaphrahwangenethxraelndaelaxngkvs khxtklngrahwangchatithngsxngihkarkhaekhruxngethsinklumekaaxinediytawnxxkepnkhxngenethxraelnd aelaxutsahkrrmsingthxxinediyepnkhxngxngkvs aetinimcha singthxidkairmakkwaeruxngeths aelainaengyxdkhayin kh s 1720 bristhbritichaesnghnabristhdtch khwamkhdaeyngkbfrngessinradbolk khwamprachykhxngfrngessthikhwiebk kh s 1759chychnakhxnginyuththkarthiplasithaihbristhklayepnxanacthangthharaeladanphanichy sntiphaphrahwangxngkvskbenethxraelndin kh s 1688 hmaykhwamwathngsxngpraethsekhasusngkhramekapiodyepnphnthmitrkn aetkhwamkhdaeyngsungpathuinthwipyuorpaeladinaednophnthaelrahwangfrngess sepn aelaphnthmitrxngkvs dtch thaihxngkvsepnecaxananikhmthiaekhngaekrngkwadtch sungthukbibihthumngbpramanthangthharinsngkhramthangbkrakhaaephnginthwipyuorp inkhriststwrrsthi 18 xngkvskawepnxanacxananikhmkhxngolkxyangeddkhad aelafrngesskalngcaklayepnkhuaekhngsakhyinewthickrwrrdi karswrrkhtkhxngphraecakarolsthi 2 aehngsepn in kh s 1700 aelaphinykrrmyksepnaelackrwrrdixananikhmsepnihefliepaehngxncu hlanchayphramhakstriyfrngess erngihekidkhwamhwnginkarrwmfrngess sepn aelaxananikhmkhxngthngsxngpraeths sungepnehtukarnthirbimidsahrbxngkvsaelaxanacxuninthwipyuorp in kh s 1701 xngkvs oprtueks aelaenethxraelndekhaphwkkbckrwrrdiormnxnskdisiththitxtansepnaelafrngessinsngkhramsubrachbllngksepnsungkinewlathung kh s 1714 sngkhramyutilngdwysnthisyyaxuethrkhth efliepthrngbxkeliksiththikhxngphraxngkhaelaphusubsndanehnuxrachbllngkfrngessaelasepnesiyckrwrrdiinthwipyuorp dinaednkhxngckrwrrdibritichkhyay brietnidniwfndaelndaelacakfrngess aelayibrxltaraelacaksepn yibrxltarklaymaepnthanthpheruxsakhyying aelaihbrietnkhwbkhumcudekhaaelaxxkthaelemdietxrereniynsuaextaelntik sepnyngmxbsiththi karxnuyatihkhaythasin kairngamaekbrietn rahwangklangkhriststwrrsthi 18 mikhwamkhdaeyngthangthharxubtihlaykhrnginxnuthwipxinediy bristhxinediytawnxxkkhxngxngkvs bristh aelabristhxinediytawnxxkkhxngfrngesstxsurwmknphupkkhrxngthxngthinephuxetimsuyyakasthiekidhlngckrwrrdiomkulesuxmxanac yuththkarthiplasiin kh s 1757 sungfaybrietn naody rxebirt khlif phichitnawabaehngebngkxlaelaphnthmitrchawfrngess thaihbristhkhwbkhumebngkxlaelaepnpraethsthangthharaelakaremuxngsakhyinxinediy frngessehluxkarkhwbkhumdinaednaethrkaetdwykarcakdthangthharaelaphnthaihsnbsnunrthbriwarkhxngbrietn yutikhwamhwngkhxngfrngessinkarkhwbkhumxinediy inhlaythswrrsihhlngbristhkhxy ephimkhnadkhxngdinaednthixyuinkarkhwbkhum imwapkkhrxngodytrnghruxphanthangphupkkhrxngthxngthinphayitkarkhuichkalngcakkxngthphbritichxinediy sungswnihyprakxbdwyxinediy karsurbrahwangbrietnaelafrngessinxinediyklayepnyuththbriewnhnungkhxngsngkhramecdpi 1756 1763 thiaephipthwolk sngkhramniekiywkhxngkbfrngess brietnaelamhaxanacyuorpxun karlngnamsnthisyyaparismiphlkrathbsakhytxxnakhtkhxngckrwrrdibritich inthwipxemrikaehnux xnakhtkhxngfrngessinkarepnecaxananikhmcblngxyangsinechingdwykarrbrxngkarxangsiththikhxngbrietnehnux aelakarykniwfransihbrietn thaihprachakrphudphasafrngesscanwnmakxyuinkarpkkhrxngkhxngxngkvs aelaihsepn ihbrietn rwmkbchychnaehnuxfrngessinxinediy sngkhramecdpithaihbrietnepnmhaxanacthangthaelthithrngxanacthisudinolk karesiysibsamxananikhm rahwangkhristthswrrs 1760 aelatnkhristthswrrs 1770 khwamsmphnthrahwangsibsamxananikhmaelaxngkvstungekhriydmakkhun hlk enuxngcakkhwamimphxictxkhwamphyayamkhxngrthsphabritichinkarpkkhrxngaelaekbphasiphuxyuinnikhmxemriknodyprascakkhwamyinyxmkhxngphwkekha inewlann mikarsrupepnkhakhwywa imcayphasihakimmiphuaethn odymxngwaepnkarfafunthiidrbprakn karptiwtixemrikaerimtncakkarptiesthxanackhxngrthsphaaelakarekhluxnihwsukarpkkhrxngtnexng brietnsnxngodysngthharmabngkhbkarpkkhrxngodytrng thaihsngkhramxubtiin kh s 1775 inpitxma shrthprakasxisrphaph karekhasusngkhramkhxngfrngessin kh s 1778 thaihdulthharekhakhangfayxemrikaaelahlngkhwamprachyeddkhadthiyxrkthawnin kh s 1781 brietnerimecrcaenguxnikhsntiphaph exkrachkhxngxemrikaidrbkarrbrxnginsnthisyyasntiphaphparisin kh s 1783 karyxmcannkhxngkhxrnwllisthiyxrkthawn karsuyesiyxananikhmxemriknepnekhruxnghmaykarsinsudkhxng ckrwrrdibritichthihnung nkprawtisastrmxngwakaresiydinaednkwangihykhxngbritichxemrika sungepnxananikhmophnthaelsungmiprachakrmakthisudkhxngbrietninewlann epnehtukarnsungniyamkarepliynphanrahwangckrwrrdi thihnung aela thisxng sungbrietnhnkhwamsniccakthwipxemrikaipthwipexechiy mhasmuthraepsifik aelathwipaexfrikainphayhlng khwammngkhngkhxngprachachati khxngxdm smith sungtiphimphin kh s 1776 otaeyngwaxananikhmnnmimakekinip aelakhwrnarabbkarkhaesrimaaethnnoybayphanichyniymaebbeka xnepnlksnakhxngkarkhyayxananikhminchwngaerksungyxnipthunglththikhumkhrxngkhxngsepnaelaoprtueks karetibotkhxngkarkharahwangshrthxemrikasungephingidrbexkrachkbbrietnhlng kh s 1783 duehmuxnyunynmummxngkhxngsmiththiwakarkhwbkhumthangkaremuxngimcaepntxkhwamsaercinthangesrsthkic ehtukarninxemrikamixiththiphltxnoybaykhxngbrietninaekhnada thisungphwkthiaephsngkhramcanwnrahwang 40 000 thung 100 000 khn xphyphcakxemrikahlngxisrphaph lxyllist 14 000 khnphusungipsungkhnannepnswnhnungkhxngonwasokethiyrusukwaxyuhangiklcakrthbalcnghwdin channrthbalbritichcungaebngniwbrnswikepnxananikhmtanghakin kh s 1784 tngmnthl prachakrswnihyphudphasaxngkvs aela prachakrswnihyphudphasafrngess ephuxldkhwamtungekhriydrahwangchumchnchawxngkvsaelachawfrngess aelanarupaebbkarpkkhrxngsungkhlaykbrupaebbsungichinxngkvsmaich odyectnaaesdngxanackhxngckrwrrdiaelaimxnuyatkarkhwbkhumkarpkkhrxngkhxngpwngchnxyangthithukmxngwanaipsukarptiwtixemrika khwamtungekhriydrahwabrietnaelashrthephimkhunxikkhrngrahwangsngkhramnopeliyn brietnphyayamtdkarkharahwangshrthxemrikakbfrngess aelasngkhnkhuneruxxemriknephuxeknthlukeruxekharachnawi shrthxemrikaprakassngkhram sngkhram kh s 1812 aelabukkhrxngdinaednaekhnadakhnabrietnbukkhrxngdinaednxemrika aetdinaednkxnsngkhramidrbkaryunynxikin kh s 1814 rbpraknwaxnakhtkhxngaekhnadacaaeykcakshrthkhwamrungeruxngkhxng ckrwrrdibritichthisxng 1783 1815 karsarwcaepsifik karedineruxaehngkarkhnphbodyecms khuk inmhasmuthraepsifiknaipsukarkxtngxananikhmshrachxanackrhlayaehngrwmipthungxxsereliyaelaniwsiaelnd nbaet kh s 1718 karkhnsngipxananikhmxemrikaepnkarlngothssahrbxachyakrrmhlayxyanginbrietn odynkothspraman 1 000 khnthukkhnsngkhammhasmuthraextaelntiktxpi hlngkaresiysibsamxananikhmin kh s 1783 rthbalbritichthukbibihhathiihm aelahnipdinaednxxsetreliysungephingkhnphb chawyuorpekhysarwcchayfngtawntkkhxngxxsetreliyaelw odynksarwcchawdtch in kh s 1606 aelaphayhlngbristhxinediytawnxxkkhxngdtchepliynchuxepnniwhxlaelnd aetimmikhwamphyayamyudepnxananikhm in kh s 1770 ecms khukkhnphbchayfngtawnxxkkhxngxxsetreliyrahwangkaredineruxethiywwithyasastripmhasmuthraepsifikit ekhaxangsiththithwipepnkhxngbrietn aelatngchuxwaniwesathewls in kh s 1778 nkphvkssastrsungedinthangipkbkhuk naesnxhlkthantxrthbalthungkhwamehmaasmkhxnginkartngthnthnikhm aelain kh s 1787 eruxkhnnkothsethiywaerkkxxkedinthang odymathungin kh s 1788 brietndyngsngnkothsmayngniwesathewlseruxymacn kh s 1840 xananikhmxxsetreliyklayepnphusngxxkkhnstwaelathxngkhasungmirayidmhasal hlk ephraakartunthxnginxananikhmwiktxeriythaihemuxnghlwngemlebirnepnemuxngthirwythisudinolk aelankhrihysudinckrwrrdibritichrxngcakkrunglxndxn rahwangkaredinthangkhxngekha khukyngedinthangipniwsiaelnd sungnksarwcchawdtch aexebl aethsmn khnphbkhrngaerkin kh s 1642 aelaxangsiththithngekaaehnuxaelaekaaitihepnkhxngin kh s 1769 aela kh s 1770 tamladb edimthiptismphnthrahwangprachakrchnphunemuxngmawriaelachawyuorpcakdxyuephiyngkarkhasinkhaethann nikhmchawyuorpidkhyaytwinthswrrsaerk khxngkhriststwrrsthi 19 odymikartngsthanikarkhacanwnmak odyechphaaxyangyinginekaaehnux in kh s 1839 prakasaephnsuxthidinkhnadihyaelasthapnaxananikhminniwsiaelnd emuxwnthi 6 kumphaphnth kh s 1840 kptnaelahwhnachnephamawrixikraw 40 khnlngnamsnthisyyaiwthngki khnswnihythuxwasnthisyyadngklawepnexksarkxtngniwsiaelnd aetkartikhwamthiaetktangknkhxngkhxkhwamchbbphasamawriaelaphasaxngkvs hmaykhwamwamncayngepnbxekidkhxngkhwamkhdaeyngtxip sngkhramkbfrngesssmynopeliyn brietnthukthathayxikhnhnungodyfrngesssmynopeliyn inkartxsuthiimehmuxnkbsngkhramkhrngthiphanma odymilksnakarprachnxudmkarnrahwangsxngchati imephiyngthanakhxngbrietninewthiolkethannthithukkhukkham nopeliynyngkhukkhamcabukkhrxngekaabrietnelythiediyw emuxkxngthphkhxngekhayudkhrxnghlaypraethsinyuorpphakhphunthwipewlann channsngkhramnopeliyncungepnsngkhramthibrietnlngthunaelathumthrphyakrmhasalephuxexachna emuxngthakhxngfrngessthukrachnawipidlxm sungchnakxngthpheruxfrngess sepnthixyangeddkhadin kh s 1805 xananikhmophnthaelthukocmtiaelathukyudkhrxng rwmthungxananikhmkhxngenethxraelnd sungnopeliynphnwkin kh s 1810 sudthayfrngessprachytxkxngthphphsmyuorpin kh s 1815 brietnidrbphlpraoychncaksnthisyyasntiphaphhlaychbbxikkhrng khux frngessyk mxlta sungthukyudkhrxngin kh s 1797 aela 1798 tamladb esechls mxriechiys esntluechiy aela sepnyktriniaedd enethxraelndaelaxananikhmekhp brietnkhunkwedxlup martinik efrnchekiyna aelaerxuwniyngihfrngess rwmthngkhunekaachwaaelasurinamihaekenethxraelnd khnathiidkhwbkhumsilxn kh s 1795 1815 karelikthas dwykarsnbsnuncakkhbwnkarchawbritich rthsphatrain kh s 1807 sungelikkarkhathasinckrwrrdi in kh s 1808 esiyrralioxnidrbprakasihepnxananikhmbritichxyangepnthangkarsahrbthasphuepnithphanin kh s 1833 elikthasinckrwrrdibritichinwnthi 1 singhakhm kh s 1834 odyykewnesntehelna silxnaeladinaednthibristhxinediytawnxxkbrihar aemkhxykewnehlanithukykelikphayhlngechnkn phayitphrarachbyytidngklaw thasidrbkarpldplxyihepnxisrasmburnhlng karepnlukmuxfukhd raya 4 thung 6 pistwrrsaehngckrwrrdikhxngbrietn 1815 1914 ckrwrrdibritichinpi kh s 1897 xananikhmkhxngckrwrrdibritichaesdngdwysiaedng rahwang kh s 1815 aela kh s 1914 epnchwngthinkprawtisastrbangswneriykwa stwrrsaehngckrwrrdi khxngbrietn odyphunthiraw 26 000 000 tarangkiolemtr aelaprachakrraw 400 lankhnephimekhackrwrrdibritich chychnaehnuxnopeliynthaihbrietnimmikhuaekhnginradbnanachatithisakhy nxkcakrsesiyinexechiyklang brietnirphukhdkhaninthael aelarbdaeninbthbathkhxngtarwcolk epnsphaphsungtxmaeriykwa aelanoybaytangpraeths karoddediywxyangsngangam phrxm kbkhwamphyayamichkarkhwbkhumxyangepnthangharehnuxxananikhmkhxngtn thanakhxngbrietnsungkhrxbngakarkhaolkxyunn hmaykhwamwa brietnsamarthkhwbkhumesrsthkickhxnghlaypraethsidchangd xathi cin xarecntina aelasyam sungepnlksnathinkprawtisastreriykwa ckrwrrdiimepnthangkar khwamaekhngaekrngkhxngckrwrrdibritichidrbkarsngesrimcakaelaothrelkh ethkhonolyiihm sungthukkhidkhnkhuninchwngkhrunghlngkhxngkhriststwrrsthi 19 thaihckrwrrdibritichsamarthkhwbkhumaelapxngknckrwrrdiid in kh s 1902 ckrwrrdibritichechuxmoyngekhadwyknodysayothrelkh sungeriykwa bristhxinediytawnxxkinxinediy kartunkaremuxnginpi kh s 1876 khxngebncamin disraexli epnphaphphrarachiniwiktxeriy thrngidrbphraxisriyysckrphrrdiniaehngxinediy khaxthibayitphaphekhinywa mngkudihmsahrbkstriyxngkheka bristhxinediytawnxxkkhbekhluxnkarkhyaykhxngckrwrrdibritichinthwipexechiy kxngthphkhxngbristhekharwmkbrachnawirahwangsngkhramecdpikxn aelathngsxngkxngthphyngrwmmuxinsmrphumixunnxkehnuxcakxinediy idaek karkhbilnopeliynxxkcakxiyipt kh s 1799 karyudekaachwacakenethxraelnd kh s 1811 karekhakhwbkhumsingkhopr kh s 1819 aelamalaka kh s 1824 aelakarphichitphma kh s 1826 cakthankhxngbristhinxinediy bristhyngkhasngxxkfinxnsrangrayidephimkhunipcinnbaetkhristthswrrs 1930 karkhadngklaw sungrachwngschingprakasihmichxbdwykdhmayin kh s 1729 chwyphlikkarkhaddulkarkhaxnepnphlmacakkarnaekhachakhxngbrietn odymikarihlxxkcakengincakbrietnipcinepnxnmak in kh s 1839 karribfinkwa 20 000 lngthikwangtungodythangkarcin thaihbrietnocmticininsngkhramfinkhrngthihnung aelanaipsukaryudekaahxngkngkhxngbrietn sunginewlannyngepnnikhmkhnadelk rahwangplaykhriststwrrsthi 18 aelatnkhriststwrrsthi 19 phramhakstriybriticherimekhamamibthbathephimkhuninkickarkhxngbristh mikarphanphrarachbyytihlaychbbsungrwmphrarachbyytiwangraebiyb kh s 1773 phrarachbyytixinediykhxngphitt kh s 1784 aelaphrarachbyytiphrabrmrachanuyat kh s 1813 sungwangraebiybkickarkhxngbristhaelasthapnaxanacxthipitykhxngphramhakstriyehnuxdinaednthibristhid karkbtxinediynamasungkarsinsudkhxngbristhinthaysud karkbtxinediyepnkhwamkhdaeyngsungerimcakkarkxkarkaeribkhxng thharxinediysungxyuphayitnaythharaelaraebiybwinykhxngbrietn karkbtichewlaprabpramhkeduxnodythngsxngfayesiyeluxdenuxxyanghnk pitxma rthbalbritichyubbristhaelaekhakhwbkhumxinediyodytrngphanphrarachbyytirthbalxinediy kh s 1858 sthapnabritichrach sungkhahlwngihythiidrbaetngtngpkkhrxngxinediyaelaphrarachininathwiktxeriyrachaphieskepn xinediyklayepnkarkhrxbkhrxngthrngkhunkhathisudkhxngckrwrrdi ephchrphlxyinmngkud aelaepnbxekidkhwamaekhngaekrngkhxngbrietnthisakhythisud ehtuphuchphllmcmrayaernginplaykhriststwrrsthi 19 nasuinxnuthwipxinediysungmikarpramanwamiphuesiychiwitkwa 15 lankhn bristhxinediytawnxxkimsamarthnanoybayprasannganipptibtiephuxrbmuxkbthuphphikkhphyidelyrahwangsmykarpkkhrxng txma phayitkarpkkhrxngkhxngbrietnodytrng mikartngkhnakrrmkarhlngthuphphikkhphyaetlakhrngephuxsubswnsaehtuaelananoybayihmipptibti sungichewlacntnkhristthswrrs 1900 cungmiphl karaekhngkhnkbrsesiy rahwangkhriststwrrsthi 19 brietnaelarsesiyaekhngknephuxetimetmsuyyakasaehngxanachlngcakkaresuxmthxykhxngckrwrrdixxtotmn rachwngskxyr aelarachwngsching khwamkhdaeynginyuerechiyniidchuxwa ekmihy ethathibrietnekrng khwamprachykhxngepxresiyaelaturkitxrsesiyaesdngkhwamthaeyxthayanaelakhidkhwamsamarthkhxngckrwrrdi aelasrangkhwamklwinbrietnwacamikarbukkhrxngxinediythangbk in kh s 1839 brietnchingtdhnaodykarbukkhrxngxfkanisthan aetepnhaynasahrbbrietn emuxrsesiybukkhrxngbxlkhankhxngturkiin kh s 1853 khwamklwphawakhrxbngakhxngrsesiyinthaelemdietxrereniynaelatawnxxkklang thaihbrietnaelafrngessrwmknbukkhrxngkhabsmuthrikhremiyephuxthalaykhidkhwamsamarthkhxngkxngthpheruxrsesiysngkhramikhremiy kh s 1854 1856 thiekidihhlngsungekiywkhxngkb aelaepnsngkhramradbolkkhrngediywrahwangbrietnaelaecackrwrrdixunrahwangsntiphaphbrietn yutilngdwykhwamprachykhrngihykhxngrsesiy sthankarninexechiyklangniyngimyutiipxiksxngthswrrs odybrietnphnwkbaolchisthanin kh s 1876 aelarsesiyphnwkekhxrkiesiy khaskhsthan aelaetirkemnisthan chwkhnahnungduehmuxnwacaeliyngsngkhramxikhnhnungimidnn aetsxngpraethsbrrlukhwamtklngeruxngekhtxiththiphlkhxngsxngpraethsinphumiphakhin kh s 1878 aelapraednthikhangxyuthnghmdin kh s 1907 odykarlngnamkhwamtklngxngkvs rsesiy karthalaykxngthpheruxrsesiyodyyipunthiyuththnawithiphxrtxaethxrrahwangsngkhramrsesiy yipunin kh s 1904 1905 yngcakdphykhukkhamkhxngkxngthpheruxrsesiytxbrietn cakaehlmthungikhor edxaordsokhlxsss kangaekhn cakaehlmthungikhor bristhxinediytawnxxkkhxngdtchtngxananikhmekhp n playitsudkhxngthwipaexfrikain kh s 1652 epnsthanithangphansahrberuxdtchinkaredinthangipaelaklbcakxananikhminxinediytawnxxk brietnidxananikhmdngklawxyangepnthangkarrwmthngprachakr hrux khnadihyin kh s 1806 hlngcakyudkhrxngmatngaet kh s 1795 ephuxpxngknmiihxananikhmaehngnitkxyuinmuxfrngess hlngcakkarbukkhrxngenethxraelndkhxngfrngess karekhaemuxngkhxngchawbriticherimephimkhunhlngcak kh s 1820 aelaphlkdnchawbwrnbphnsungimphxickbkarpkkhrxngkhxngxngkvskhunipthangehnuxephuxkxtngsatharnrthxisrapkkhrxngtnexnginchwng playkhristthswrrs 1830 aelatnkhristthswrrs 1840 rahwangnn pathakbchawbritichbxykhrng sungmiaerngcungickhxngtnekiywkbkarkhyayxananikhminaexfrikaitaelatxxngkhkrkaremuxngaexfrikahlayaehng rwmthungchatiaelasulu sudthaychawobrsthapnasatharnrthsxngaehngthimixayuyunyawkwaaehngxun idaek hruxsatharnrththranswll kh s 1852 1877 1881 1902 aelaesrirthxxernc kh s 1854 1902 in kh s 1902 brietnyudkhrxngthngsxngsatharnrth odybrrlusnthisyyakbsxngihhlng kh s 1899 1902 in kh s 1869 khlxngsuexsepidphayitnopeliynthi 3 sungechuxmrahwangthaelemdietxrereniynkbmhasmuthrxinediy edimbrietntxtankhlxngsuexs aetemuxepidaelw khunkhathangyuththsastrkhxngkhlxngidrbkaryxmrbxyangrwderwaelaklayepn hlxdeluxddakhxkhxngckrwrrdi in kh s 1875 rthbalphrrkhxnurksniymnaykrthmntriebncamin disraexlisuxhunkhlxngsuexsrxyla 44 epncanwnengin 4 lanpxnd 340 lanpxndin kh s 2013 cakphupkkhrxngxiyipt xismaxil pachasungepnhni aemwacanwnhundngklawimidthaihbrietnidkhwbkhumesnthangnayuththsastrniodysmburn aetkthaihbrietnmikhwamidepriyb karkhwbkhumthangkarenginrwmknkhxngbrietnaelafrngessehnuxxiyiptyutilngemuxbrietnyudkhrxngodysmburnin kh s 1882 frngessyngepnphuthuxhunesiyngkhangmakkhxngkhlxngsuexsaelaphyayamthaihthanakhxngbrietnxxnaexlng aetmikarbrrlukariklekliykhxphiphathinxnusyyakhxnsaetntionepil kh s 1888 thaihkhlxngsuexsepndinaednepnklangxyangepnthangkar enuxngcakkickrrmkhxngfrngess ebleyiymaelaoprtueksinphumiphakhaemnakhxngoktxnlangbxnthalaykaraethrksumaexfrikaekhtrxnxyangepnrabb kh s 1884 1885 cdkhunephuxwangraebiybkaraekhngkhnrahwangxanacyuorpinsingthieriykwa Scramble for Africa odyniyam karyudkhrxngxyangmiprasiththiphaph epneknthkarrbrxngkhxngnanachatitxkarxangsiththidinaedn yukhlaxananikhmdngklawdaeninipcnkhristthswrrs 1890 aelathaihbrietnphicarnakartdsinickhxngtnihmthicathxntwxxkcaksudanin kh s 1885 kalngrwmbrietnaelaxiyiptsamarthphichitin kh s 1896 aelakhdkhwangkhwamphyayamkhxngfrngessin kh s 1898 sudanklayepninnam aetthicringepnxananikhmbritich dinaednthibritichidinaexfrikaitaelaaexfrikatawnxxkthaih phubukebikkarkhyaytwkhxngbritichinaexfrika kratunihsrangthangrthif echuxmkhlxngsuexsxnmikhwamsakhyyingthangyuththsastrkbaexfrikaitsungxudmipdwyaer rahwangkhristthswrrs 1880 aela 1890 ordsaelasungekhaepnecakhxng yudkhrxngaelaphnwkdinaednsungtxmaidchuxtamekhawa ordiesiy karepliynsthanphaphkhxngxananikhmphiwkhaw esnthangsuxisrphaphkhxngxananikhmphiwkhawkhxngckrwrrdibriticherimtnkhundwy kh s 1839 sungesnxkarsrangexkphaphaelakarpkkhrxngtnexngsahrbthngxpepxraelaolwexxraekhnada sungcaepnaenwthangaekikhkhwamimsngbthangkaremuxnginphunthiid ehtukarndngklawerimkhuncakkarphan sungidkxtng idmiihsiththiaekonwasokethiyepnaehngaerkinpi kh s 1848 aelaidkhyayipyngxananikhmxemrikaehnuxkhxngxngkvsthiehluxxyangrwderw inpi kh s 1867 xpepxraelaolwexxraekhnada niwbrnswik aelaonwasokethiyidrwmekhadwyknepn smaphnthrthaehngnimisiththiinkarpkkhrxngtnexng ykewnephiyngkhwamsmphnthrahwangpraethsethann xxsetreliyaelaniwsiaelndidrbradbkarpkkhrxngtnexngradbediywknhlngcak kh s 1900 odyxananikhmxxsetreliyidrwmekhadwyknepnin kh s 1901 khawa sthanphaphdinaedninpkkhrxng mithimaxyangepnthangkarcak odyhmaythungaekhnada niwfndaelnd xxsetreliyaelaniwsiaelnd in kh s 1910 xananikhmekhp nathl thranswl aelaesrirthxxerncidthukrwmekhadwyknephuxcdtngshphaphaexfrikait sungidrbsthanphaphdinaedninpkkhrxngechnediywkn thswrrssudthaykhxngkhriststwrrsthi 19 mikarrnrngkhthangkaremuxngxyangphrxmephriyngknkhxngkarpkkhrxngtnexngixrich ixraelndthukrwmkbshrachxanackrbrietnihyaelaixraelndodyphrarachbyytishphaph kh s 1800 hlngcak aelaprasbthuphphikkhphyrunaerngrahwang kh s 1845 thung 1852 karpkkhrxngtnexngidrbkarsnbsnuncaknaykrthmntrishrachxanackr phusunghwngwaixraelndcatamrxykhxngaekhnadainkarepnpraethsinekhruxckrphphphayinckrwrrdi aetrangkdhmaypkkhrxngtnexng kh s 1886 khxngekhaimphanrthspha aemwahakrangkdhmasyniphancaihxttantinxylnginshrachxanackrkwathimnthlkhxngaekhnadamiinshphnthrthkhxngtn smachikrthsphahlaykhnekrngwaixraelndthimixanacxthipitybangswnxacepnphykhukkhamkhwammnkhngkhxngbrietnihyhruxepncuderimtnkhxngkarthalayckrwrrdikphayaephdwyehtuphlthikhlayknidphanodyrthsphainpi kh s 1914 aetmiidnaxxkmabngkhbichenuxngcakkarpathukhxngsngkhramolkkhrngthihnung sungnaipsuin kh s 1916sngkhramolk 1914 1945 emuxthungkhriststwrrsthi 20 khwamklwerimaephrkhyaykhuninhmuchawxngkvswaxngkvsxacaimsamarthpxngknemuxngaemaelackrwrrdithnghmdinkhnaediywkbkardaeninnoybay karoddediywxyangsngangam eyxrmniidecriyrungeruxngkhunxyangrwderwinthanaxanacthangkarthharaelaxutsahkrrm aelathukmxngwamikhwamepnipidthicaepnkhuaekhngkhxngxngkvsinsngkhramxnakht enuxngcakthrabdiwatnthukbibihthaekinkhwamsamarthinaepsifik aelathukkhukkhamthiaephndinaemodykxngthpheruxeyxrmn xngkvscungidkxtngphnthmitrkbyipunin kh s 1902 aelastrueka idaek aelarsesiy inpi kh s 1904 aela kh s 1907 tamladb sngkhramolkkhrngthihnung munghnaipyng kh s 1916 mikartrahnkthungkhwamklwsngkhramkbeyxrmnikhxngbrietnin kh s 1914 dwykarxubtikhxngsngkhramolkkhrngthihnung brietnbukkhrxngaelayudkhrxngxananikhmophnthaelinthwipaexfrikaswnihykhxngeyxrmni inmhasmuthraepsifik xxsetreliyaelaniwsiaelndyudkhrxngeyxrmnniwkiniaelasamwtamladb mikarrangaephnsahrbkaraebngckrwrrdixxtotmnhlngsngkhramsungekhafaykbeyxrmnixyanglb odybrietnaelafrngesshlngkhwamtklngiskhs piok kh s 1916 khwamtklngnimiidepidephyaekcharifemkkathibrietnsngesrimihepidchakkarkxkarkaeribtxphupkkhrxngxxtotmnkhxngtn thaihmiphaphlksnwabrietnkalngsnbsnunkarsthapnarthxahrbxisra karprakassngkhramtxeyxrmniaelaphnthmitryngphukmdxananikhmaelapraethsinekhruxckrphphdwy sungihkarsnbsnunthangthhar karengin aelawtthudibxyanghakhamiid mithharkwa 2 5 lannayrbrachkarinkxngthphpraethsinekhruxckrphphthnghmd echnediywkbxasasmkhrhlayphnkhncakkhrawnokholni karmiswnrwmkhxngkalngxxsetreliyaelaniwsiaelndrahwang kh s 1915 txckrwrrdixxtotmnsngphlkrathbihyhlwngtxsanukaehngchatithipraethsaem aelaepncudtnkaenidkhxngkarepliynphankhxngxxsetreliyaelaniwsiaelndcakxananikhmepnchatisungmisiththikhxngtn thngsxngpraethsyngcdphithiralukthungehtukarndngklawinwnaexnaesk chawaekhnadamxngwainthanxngediywkn karmiswnrwmxyangsakhykhxngpraethsinekhruxckrphphinkhwamphyayamsngkhramidrbkarrbrxngin kh s 1917 odynaykrthmntrishrachxanackr edwid lxyd cxrc emuxekhaechiynaykrthmntrikhxngpraethsinekhruxckphphekharwmephuxprasanngannoybayckrwrrdi phayitenguxnikhkhxngsnthisyyaaewrsay sunglngnamin kh s 1919 ckrwrrdibritichkhyaytwkwangihyiphsalthisud emuxiddinaednephimekhamaxik 4 700 000 tarangkiolemtr aelaprachakrephimkhunxik 13 lankhnxananikhmkhxngeyxrmniaelackrwrrdixxtotmnthukaeckcayihkbxanacfaysmphnthmitrepn brietnidkhwbkhumpaelsitn thranscxraedn xirk bangswnkhxngaekhemxrunaelaotok aela praethsinekhruxckrphphexngkidxantikhxngtnexngechnkn khux shphaphaexfrikaitidaexfrikatawntkechiyngit pccubn khux namiebiy xxsetreliyid niwsiaelndidewsethirnsamw naxurukepnxantirwmkhxngbrietnaelasxngpraethsinekhruxckrphphaepsifik smyrahwangsngkhram ckrwrrdibritichemuxmidinaednmakthisudin kh s 1921 raebiybolkthikalngepliynaeplngthinaphamaodysngkhram odyechphaakaretibotkhxngshrthxemrikaaelayipuninthanamhaxanacthangthael aelakhwamecriykhxngkhbwnkareriykrxngexkrachinxinediyaelaixraelnd thaihmikarpraeminnoybayckrwrrdibritichihmkhrngsakhy xngkvsthukbibiheluxkrahwangprbaenwkbshrthxemrikahruxyipun xngkvseluxkimtxxayuphnthmitrkbyipunaelalngnaminsnthisyyanawikwxchingtn kh s 1922 aethn sungxngkvsyxmrbkhwamesmxknthangnawikkbshrthxerika kartdsinicniepnthimakhxngkarotethiyngxyangmakinxngkvsrahwangkhristthswrrs 1930 ephraarthbalniymthharthuxkarchwyehluxyipunaelaeyxrmnibangswnodyphawaesrsthkictktakhrngihy ephraaekrngwackrwrrdiimsamarthxyurxdcakkarocmtiphrxmknkhxngthngsxngpraethsid aempraednkhwammnkhngkhxngckrwrrdiepnkhwamkngwlihyhlwnginxngkvs aetkhnaediywknckrwrrdiksakhytxesrsthkicxngkvsechnkn in kh s 1919 khwamkhdkhxngxnekidcakkhwamlachatxsmachikphrrkhsinnefn phrrkhniymexkrachthiidrbesiyngkhangmakinthinngixraelndinewstminsetxrinkareluxktngthwipinxngkvs kh s 1918 phunakhbwnkarpkkhrxngtnexngkhxngixraelnd Irish home rule inkarcdtngsmchchaixraelndindblin thisungmikarprakasexkrachkhxngixraelnd phrxmknnn kxngthphsatharnrthixraelnderimsngkhramkxngocrtxrthbalxngkvs sngkhramxngkvs ixraelndsinsudlngin kh s 1921 dwykarkhumechingknxyu aelakarlngnamsnthisyyaxngkvs ixraelnd sthapnarthxisraixraelnd praethsinekhruxckrphphinckrwrrdixngkvs odyexkrachphayinmiphlaetyngechuxmoyngkbphramhakstriyxngkvsinthangrththrrmnuyixraelndehnux sungprakxbdwy ethsmnthl 6 cak 32 aehngkhxngixraelnd sungidthuksthapnaepnphumiphakhthiidrbthayoxnxanac devolved region phayitphrarachbyytirthbalixraelnd kh s 1920 sungichthangeluxkkhxngtnphayitsnthisyyathnthiephuxkhngsthanphaphthimixyuinshrachxanackr kartxsukhlaykneriminpraethsxinediyemuxphrarachbyytirthbalxinediy kh s 1919 imtxbsnxngkhxeriykrxngexkrach khwamkngwltxaephnkhxmmiwnistaelatangchatiihhlngkbtkadar Ghadar Mutiny rbrxngwaokhrngsrangyamsngkhramthukruxfunodyphrarachbyytiorwltt Rowlatt Acts sungnaipsukhwamtungekhriyd odyechphaainphumiphakhpycab sungmatrkarkdkhilngexydwykarsngharhmuxmvtsar Amritsar Massacre inbrietn khwamehnsatharnaaetkxxkineruxngsilthrrmkhxngehtukarndngklaw rahwangphuthimxngwaepnkarchwyxinediyihphncakxnathipity aelaphuthimxngxyangaekhyng mikareluxnkhbwnkarimrwmmuxtxmaineduxnminakhm kh s 1922 hlngehtukarnechariechara Chauri Chaura incident aelakhwamimphxickhukrunxyuxik 25 picakniip in kh s 1922 xiyipt sungthukprakasepnrthinxarkkhakhxngxngkvsemuxsngkhramolkkhrngthihnungxubti idrbexkrachxyangepnthangkar aemyngepnrthbriwarkhxngxngkvstxipcn kh s 1954 thharxngkvsyngpracaxyuinpraethsxiyiptkrathngkarlngnamsnthisyyaxngkvs xiyiptin kh s 1936 sunginsnthisyya thngsxngtklngwa cathxnthharaetyngyudkhrxngaelapxngknekhtkhlxngsuexs ephuxepnkaraelkepliyn xiyiptidrbsnbsnunihekharwmsnnibatchati praethsxirk xantikhxngxngkvstngaet kh s 1920 yngidsmachikphaphsnnibatchatiinsiththikhxngtnhlngidrbexkrachcakxngkvsin kh s 1932 inpaelsitn xngkvsprasbpyhakariklekliyrahwangchumchnxahrbaelayiw inptiyyaaeblfa Balfour Declaration kh s 1917 sungthukrwmxyuinenguxnikhxantidwy aethlngwa casthapnabanchnchatisahrbchawyiwinpaelsitn aelaxnuyatkarekhaemuxngkhxngchawyiwthungkhidcakdsungcatdsinodyxanacxanti sungnaipsukhwamkhdaeyngephimkhunkbprachakrxahrb sungkxkarkaeribxyangepidephyin kh s 1936 emuxphykhukkhamsngkhramkbeyxrmniephimkhunrahwangkhristthswrrs 1930 xngkvstdsinwakarsnbsnunprachakrxahrbintawnxxkklangsakhykwakarsthapnabanekidemuxngnxnyiw aelaepliynthathiepnniymxahrb cakdkarekhaemuxngkhxngchawyiw aelwcudchnwnkarkxkarkaeribkhxngchawyiwaethn praethsinekhruxckrphphsamarthkahndnoybaytangpraethskhxngtnepnxisracakbrietnid odyidrbkarrbrxngthikarprachumckrwrrdi kh s 1923 khakhxkhwamchwyehluxthangthharkhxngbrietncakpraethsinekhruxckrphphemuxwikvtchank Chanak Crisis xubtiemuxpiklaythukaekhnadaaelaaexfrikaitptiesth aelaaekhnadaptiesththukphukmdodysnthisyyaolsan kh s 1923 hlngaerngkddncakixraelndaelaaexfrikait karprachumckrwrrdi kh s 1926 xxkptiyyaaeblfa prakasihpraethsinekhruxckrphphepn chumchnpkkhrxngtnexnginckrwrrdibritich misthanphaphethaethiymkn imepnrxngchumchnxuninthanghnungthangid in ekhruxckrphphaehngprachachatibritich ptiyyanimisthanaepnkdhmay legal substance phayitbthkdhmayewstminsetxr Statute of Westminster kh s 1931 rthsphaaekhnada xxsetreliy niwsiaelnd shphaphaexfrikait esrirthixraelndaelaniwfndaelndbdniepnxisracakkarkhwbkhumfaynitibyytikhxngbritich praethsehlanisamarththaihkdhmaybritichepnomkhaaelabrietnimsamarthphankdhmayihidodyprascakkhwamyinyxmxik niwfndaelndklbepnsthanaxananikhmxikin kh s 1933 odyprasbkhwameduxdrxnthangkarenginrahwangphawaesrsthkictktakhrngihy ixraelndewnrayacakbrietnmakkhunodykarrierimrththrrmnuychbbihmin kh s 1937 thaihepnsatharnrthodyphvtiny sngkhramolkkhrngthisxng rahwangsngkhramolkkhrngthisxng kxngthphthiaepdprakxbkhuncakhnwycakpraethstang canwnmakinckrwrrdibritichaelaekhruxckrphph kxngthphnisurbinkarthphaexfrikaehnuxaelaxitali karprakassngkhramtxnasieyxrmnikhxngbrietnemuxeduxnknyayn kh s 1939 rwmkhrawnokholniaelaxinediydwy aetimphukmdpraethsinekhruxckrphphodyxtonmti xxsetreliy aekhnada niwsiaelnd niwfndaelndaelaaexfrikaitlwnprakassngkhramtxeyxrmniinimcha aetesrirthixraelndeluxkepnklangthangkdhmaytlxdsngkhram hlngkaryudkhrxngfrngesskhxngeyxrmniin kh s 1940 brietnaelackrwrrdiyuntxkreyxrmniephiynglaphng cnshphaphosewiytekhasusngkhramin kh s 1941 naykrthmntribritich winstn echxrchill wingetnprathanathibdiaefrngklin di orsewlt ephuxkhxkhwamchwyehluxthangthharcakshrthxemrikaidsaerc aetorsewltyngimphrxmkhxrthsphaihphukmdpraethsekharwmsngkhram ineduxnsinghakhm kh s 1941 echxrchillaelaorsewltphbknaelalngnamkdbtraextaelntik sungrwmthxyaethlngwa khwrekharph siththieluxkrabxbkarpkkhrxngthiphwktnxasyxyukhxngprachachnthngpwng karichkhaniekhluxbkhlumwahmaythungpraethsyuorpthithukeyxrmnibukkhrxng hruxphuthithukchatiyuorptngnikhm aelatxmachawbritich xemriknaelakhbwnkarchatiniymtikhwamtangkn ineduxnthnwakhm kh s 1941 yipunepidchakkarekhatibritichmalaya thanthpheruxshrthxemrikathithacxderuxephirl aelahxngkngtx knxyangrwderw ptikiriyakhxngechxrchilltxkarekhasusngkhramkhxngshrthxemrika khux brietnidrbpraknchychnaaelaxnakhtkhxngckrwrrdiplxdphy aetcritkhxngkaryxmcannxyangrwderwkhxngbrietnepnphlesiytxthanaaelaekiyrtiphumikhxngbrietninthanaxanacckrwrrdixyangimxacphnklbid thiesiyhayhnkthisud khux karesiysingkhopr sungekhyidrbkarechidchuepnprakarimxacthalwngaelaethiybethakbyibrxltaraehngthistawnxxk kartrahnkwa brietnimsamarthpxngknthngckrwrrdikhxngtnidphlkdnihxxsetreliyaelaniwsiaelnd sungbdnirawkbthukkxngthphyipunkhukkham ihmikhwamsmphnthiklchidkbshrthxemrikamakkhun cnihekid kh s 1951 rahwangxxsetreliy niwsiaelndaelashrthxemrikakarpldplxyxananikhmaelakhwamesuxm 1945 1997 aembrietnaelackrwrrdikhwachycaksngkhramolkkhrngthisxng phlkhxngkhwamkhdaeyngnnlaluk thnginbrietnaelaophnthael thwipyuorpbriewnkwang xnepnthwipsungkhrxbngaolkmahlaystwrrs epnsakprkhkphng aelamikxngthphshrthxemrikaaelashphaphosewiyt sungbdnithuxdulxanacolk xngkvslmlalayodysineching odypdpxngkarimsamarthcharahniidechphaain kh s 1946 hlngecrcakhxkuengin 4 330 landxllarshrth 56 000 landxllarshrthin kh s 2012 cakshrthxemrika sungphxncharangwdsudthayin kh s 2006 khnaediywkn khbwnkartxtanxananikhmecriyinxananikhmkhxngchatiyuorp sthankarnsbsxnkhunxikodykhwamepnprpksthiephimkhunrahwangshrthxemrikaaelashphaphosewiyt odyhlkkar thngsxngchatikhdkhanlththixananikhmyuorp thwainthangptibti kartxtanlththikhxmmiwnistkhxngshrthxyuehnuxkartxtanckrwrrdiniym chann shrthxemrikacungsnbsnunkarmixyukhxngckrwrrdibritichtxipephuxthwngdulkarkhyaykhxnglththikhxmmiwnist sudthay saylmkarepliynaeplng hmaykhwamwa wnaehngckrwrrdibritichehluxnxyaelw aelaodyrwm brietnichnoybaykarplxyxananikhmemuxmirthbalsungmiesthiyrphaphaelamiichkhxmmiwnistihthayoxnxanacip sungtrngkhamkbpraethsyuorpxnxyangfrngessaelaoprtueks sungthasngkhramrakhaaephngaelasudthaylmehlwephuxrksackrwrrdikhxngtnihsmburn rahwang kh s 1945 thung 1965 canwnprachakrinkarpkkhrxngkhxngxngkvsnxkshrachxanackrldlngcak 700 lankhnehlux 5 lankhn sung 3 lankhnincanwnnixyuinhxngkng karplxykhntn praman 14 5 lankhnesiybanepnphlcakkaraebngpraethsxinediyin kh s 1947 rthbalphrrkhaerngngansungniymkarihexkrachidrbeluxktnginkareluxktngthwip kh s 1945 aelamikhliemnt aextliepnhwhna khybxyangrwderwephuxcdkarpyhasungkddnthisudsungckrwrrdikalngephchiy khux pyhaexkrachkhxngxinediy phrrkhkaremuxnghlksxngphrrkhkhxngxinediy khxngekrsaehngchatixinediyaelasnnibatmuslim rnrngkheriykrxngexkrachmahlaythswrrsaelw aettklngknimidwakhwrnaipptibtixyangir phrrkhkhxngekrsniymrthediywkhrawasxinediy aetphrrkhsnnibat dwyekrngthukfaykhangmakhindukhrxbnga prarthnarthxislamtanghaksahrbphumiphakhsungmimuslimepnswnihy khwamimsngbkhxngphlemuxngthiephimkhunaelakarkxkarkaeribinrachnawixinediyrahwang kh s 1946 naihaextlisyyaexkrachimekin kh s 1948 emuxkhwamerngdwnkhxngsthabkarnaelakhwamesiyngsngkhramklangemuxngprackschd lxrdemanthbtethin Lord Mountbatten xuprachsungephingidrbaetngtng aelakhnsudthay eluxnewlamaepnwnthi 15 singhakhm kh s 1947 odydwn ekhtaednthibrietnlakephuxaebngxinediyepnphunthihinduaelamuslimthaihhlaysiblankhnepnchnklumnxyinrthexkrachihmxinediyaelapakisthan txma muslimhlaylankhnkhamcakxinediyippakisthan aelaklbknsahrbchawhindu aelakhwamrunaerngrahwangsxngchumchnthaihmikaresiychiwitnbhlayaesn phmasungthukpkkhrxngepnswnhnungkhxngbritichrachaelasrilngkaidrbexkrachinpithdma khux kh s 1948 xinediy pakisthan aelasrilngkaklayepnsmachikekhruxckrphph aetphmaeluxkimekharwm xantipaelsitnkhxngbrietn sungprachakrxahrbswnihyxasyxyurwmkbchnklumnxychawyiw napyhaihbrietnkhlaykbinkrnixinediy aetpaelsitnyungyakephraaphuliphychawyiwcanwnmakaeswngkarrbekhapaelsitnhlnghxolkhxst aetchawxahrbkhdkhankarsthapnarthyiw dwythxkbkhwamyakkhxngpyha karocmtikhxngxngkhkarkungthharyiwaelakhaichcaythiephimkhuncakkarkhngthhariw brietncungprakasin kh s 1947 wacathxnthharin kh s 1948 aelathingpyhaihshprachachatiaekikh txma smchchaihyaehngshprachachatilngmtisnbsnunaephnaebngpaelsitnepnrthyiwaelaxahrb hlngyipunprachyinsngkhramolkkhrngthisxng khbwnkartxtantxtanyipuninmalayahnkhwamsnicipyngbritichaethn sungklbkhwbkhumxananikhmxyangrwderw odyihmulkhaephraaepnaehlngyangaeladibuk khxethccringthiwakxngocrepnkhxmmiwnistchawmlayu cinepnhlkhmaykhwamwa chawmlayumuslimswnihysnbsnunkhwamphyayamprabpramkarkxkarkaeribnikhxngxngkvs odykhwamekhaicwaemuxprabpramkarkxkarkaeribdngklawaelw caidrbexkrach phawachukechinmalaya tamthithukeriyk erimin kh s 1948 aelakinewlathung kh s 1960 aetin kh s 1957 brietnrusukmnicphxihexkrachaekshphnthrthmalayainekhruxckrphph in kh s 1963 sibexdrthaehngshphnthrthrwmkbsingkhopr sarawkaelabxreniywehnux aetin kh s 1965 singkhoprsungprachakrswnihyepnchawcinthukkhbxxkcakshphaphhlngkhwamtungekhriydthiekidtammarahwangprachakrchawmlayukbchawcin bruinsungepnrthinxarkkhakhxngbrietntngaet kh s 1888 ptiesthekharwmshphaph aelatharngsthanphaphkhxngtncnidrbexkrachin kh s 1984 suexsaelaphllphth kartdsinickhxngnaykrthmntribritich aexnothni xiedninkarbukkhrxngxiyiptrahwangwikvtkarnsuexsyutixachiphkaremuxngkhxngekhaaelaephykhwamxxnaexkhxngbrietninthanachatickrwrrdi kh s 1951 phrrkhxnurksniymhwnsuxanacinbrietn phayitkarnakhxngwinstn echxrchill echxrchillaelaphrrkhxnurksniymechuxwathanamhaxanacolkkhxngbrietnkhunxyukbkardarngxyutxipkhxngckrwrrdi odythanthikhlxngsuexsthaihbrietntharngthanaednintawnxxkklangaemesiyxinediyipaelw thwa echxrchillimxacephikechytxrthbalptiwtiihmkhxngyamal xbdunnasirsungethlingxanacin kh s 1952 aelainpitxma mikartklngwacamikarthxnthharbritichcakekhtkhlxngsuexsaelasudancaidrbkarkahndkarpkkhrxngdwytwexngphayin kh s 1955 odycaidrbexkrachtamma sudanidrbexkrachemuxwnthi 1 mkrakhm kh s 1956 eduxnkrkdakhm kh s 1956 nasiroxnkhlxngsuexsepnkhxngrthfayediyw aexnothni xiedn naykrthmntrikhnthdcakechxrchill snxngodykarkhbkhidkbfrngesswangaephnihxisraexlekhatixiyiptsungcathaihbrietnaelafrngessekhaaethrkaesngthangthharaelayudkhlxngkhun xiednthaihprathanathibdidiwt di ixesnhawraehngshrthokrthenuxngcakimidpruksaekha aelaixesnhawrimyxmsnbsnunkarbukkhrxngni khxkngwlxikxyanghnungkhxngixesnhawrkhux khwamepnipidthicaekidsngkhramwngkwangkhunkbshphaphosewiythlngosewiytkhuaethrkaesngodyekhakbfayxiyipt ixesnhawrichelfewxricthangkarengin financial leverage odykhukhayenginpxndbritichsarxngkhxngshrthaelacaerngihekidkarlmslaykhxngengintrabritich aemkalngbukkhrxngcaprasbkhwamsaercthangthhartamwtthuprasngkh aetkarekhaaethrkaesngkhxngshprachachatiaelaaerngkddncakshrthbibihbrietnthxnkalngkhxngtnxyangkhayhnaaelaxiednlaxxk wikvtkarnsuexsephykhxcakdkhxngbrietntxolkaelayunynkhwamesuxmkhxngbrietnbnewthiolk aesdngihehnwasubaetnnbrietnimsamarthkrathakarididodyprascakkhwamyinyxmhruxkarsnbsnunxyangetmkhnkhxngshrth ehtukarnthisuexsthaihkhwamphumiicinchatibrietnesiyhay thaihsmachikrthsphaphuhnungxthibayehtukarndngklawwa wxetxrlukhxngbrietn aelaxikkhnaenawa brietnklayepn briwarkhxngxemrika phayhlngmarkaert aethtechxrxthibaykrxbkhwamechux mindset thinangechuxwaekidkbsthabnkaremuxngkhxngbrietnwa klumxakarsuexs sungbrietnimfuntwcnyudhmuekaafxlkhaelndkhuncakxarecntinain kh s 1982 aemwikvtkarnsuexsthaihxanackhxngbrietnintawnxxkklangxxnaexlng aetkmiidlmslaythiediyw brietnerimwangkalngkxngthphekhaipinphumiphakhnnihm odyekhaaethrkaesnginoxman kh s 1957 cxraedn kh s 1958 aelakhuewt kh s 1961 aemoxkasehlanicaidrbkhwamyinyxmcakxemrika enuxngcaknoybaytangpraethskhxnghaorld aemkhmilaeln naykrthmntrikhnihm khux karkhngekhakbshrthxyangehniywaenn brietnkhngthharintawnxxkklangxikthswrrs eduxnmkrakhm kh s 1968 imkispdahhlngkarldkhaengintrapxnd naykrthmntrihaorld wilsn aela rthmntriwakarkrathrwngklaohminkhnann prakaswacathxnkalngkalngbrietncakthanthphihythangtawnxxkkhxngsuexs sungrwmthungthanthphintawnxxkklang aelamaelesiyaelasingkhoprepnhlk brietnthxnthharcakexednin kh s 1967 bahernin kh s 1971 aelamldifsin kh s 1976 lmaehngkarepliynaeplng karpldplxyxananikhminthwipaexfrikakhxngbrietn emuxsinkhristthswrrs 1960 thukpraethsykewnordiesiy khux simbbewinxnakht aelaxantiaexfrikatawntkechiyngit namiebiy khxngaexfrikaitidrbrxngexkrach aemkhmilaelnklawsunthrphcninekhpthawn praethsaexfrikaitineduxnkumphaphnth kh s 1960 sungekhaklawwa lmaehngkarepliynaeplngkalngphdphanthwipni aemkhmilaelnprarthnahlikeliyngsngkhramxananikhmaebbediywkbthifrngesskalngsurbxyuinxlcieriy aelaphayitkardarngtaaehnngnaykrthmntrikhxngekha karpldplxyxananikhmdaeninxyangrwderw caksamxananikhmthiidrbexkrachinkhristthswrrs 1950 idaek sudan okldokhst aelamalaya miephimkhunxikekuxbsibetharahwangkhristthswrrs 1960 xananikhmkhxngbrietnthiyngehluxxyuinthwipaexfrika ykewnesaethirnordiechiythipkkhrxngtnexng idrbexkrachthwknphayin kh s 1968 karthxntwcakswnitaelatawnxxkkhxngthwipaexfrikakhxngbrietnmiichkrabwnkarxyangsnti exkrachkhxngekhnyaekidihhlng Mau Mau Uprising nan 8 pi inordiesiy khaprakasexkrachfayediyw kh s 1965 odyfaykhangnxyphiwkhawthaihekidsngkhramklangemuxngsungkinewlacnkhwamtklngaelngkhasetxrehas kh s 1979 sungtngkhxkahndsahrbexkrachthiidrbkarrbrxngin kh s 1980 epnpraethsihmsimbbew inthaelemdietxrereniyn sngkhramkxngocrthi Greek Cypriots epnphukxlngexydwypraethsisprsthimiexkrachin kh s 1960 odyshrachxanackrkhngthanthphaexokhrethiyriaeladiekheliy ekaamxltaaelainthaelemdietxrereniynidrbexkrachchnmitrcakshrachxanackrin kh s 1964 aemmikaresnxkhwamkhidihrwmkbbrietnin kh s 1955 dinaednaekhribebiynkhxngshrachxanackrswnmakidrbexkrachhlngcaimkaaelatriniaeddxxkcakin kh s 1961 aela 1962 shphnthxinediytawntksthapnain kh s 1958 inkhwamphyayamrwmxananikhmaekhribebiynbritichphayitrthbalediyw aetlmslayhlngkaresiysmachikihysudsxngchatibarbaodsidrbexkrachin kh s 1966 aelaekaaaekhribebiyntawnxxktang thiehluxinkhristthswrrs 1970 aela 1980 aetaexngkwillaaelahmuekaaetiksaelahmuekaaekhkhxseluxkklbsukarpkkhrxngkhxngbrietnhlngerimesnthangsuexkrachaelwhmuekaabritichewxrcinhmuekaaekhyaemnaelamxntesxrrteluxkkhngkhwamsmphnthkbbrietn khnathikayxanaidrbexkrachin kh s 1966 xananikhmsudthaykhxngbrietnbnaephndinihythwipxemrika britichhxndurs klayepnxananikhmpkkhrxngtnexngin kh s 1964 aelamikarepliynchuxepneblisin kh s 1973 aelaidrbexkrachxyangsmburnin kh s 1981 khxphiphathrahwangebliskbkwetmalaeruxngdinaednyngimyuti dinaedninmhasmuthraepsifikkhxngbrietnidrbexkrachinkhristthswrrs 1970 erimcakficiin kh s 1970 aelacbdwywanuxatuin t s 1980 exkrachkhxngwanuxatulaipephraakhxphiphaththangkaremuxngrahwangchumchnthiphudphasaxngkvskbfrngess ephraahmuekaannmikarpkkhrxngrwmepndinaednitkarpkkhrxngrwmkbfrngess fici tuwalu hmuekaaosolmxnaelapapwniwkini eluxkepnrachxanackrekhruxckrphph cudcbkhxngckrwrrdi sunyprachumhxngkngepnsthanthicdphithikarsngmxbxanacxthipityehnuxhxngkngcakbrietnihcinin kh s 1997 epnsylksncudcbkhxngckrwrrdi kh s 1980 ordiesiy xananikhmsudthaykhxngbrietninthwipaexfrika klayepnrthexkrachsimbbew New Hebrides idrbexkrachinchuxwanuxatuin kh s 1980 tamdwyeblisin kh s 1981 karphanphrarachbyytisychatibritich kh s 1981 sungcdaebngkhrawnokholnithiehluxxyuepn dinaedninphawaphungphabritich aelaepliynchuxepndinaednophnthaelbritichin kh s 2002 hmaykhwamwa nxkcakekaaaeladanhnakracdkracay aelakarid okhdhinimmikhnxyuxasyinmhasmuthraextaelntikin kh s 1955 krabwnkarkarpldplxyxananikhmsungerimmatngaethlngsngkhramolkkhrngthisxngsaercipaelwswnihy in kh s 1982 khwameddediywinkarpkpxngdinaednophnthaelthiehluxxyukhxngbrietnthukthdsxbemuxxarecntinabukkhrxnghmuekaafxlkhaelnd odykarxangsiththiyawnansungyxnipthungsmyckrwrrdisepn karsnxngthangthharthismvththiphlinthaysudkhxngbrietninkaryudhmuekaakhunrahwangsngkhramfxlkaelndmihlaykhnmxngwachwyphlikaenwonmsthanphaphmhaxanacolkkhxngbrietnthildlng inpiediywkn rthbalaekhnadatdkhwamechuxmoyngthangkdhmaysudthaykbbrietnodykarthwng Patriation rththrrmnuyaekhnadacakbrietn rthsphabrietnphanphrarachbyytiaekhnada kh s 1982 thaihkarepliynaeplngrththrrmnuyaekhnadaimtxngmibrietnekhamaekiywkhxng khlaykn phrarachbyytirththrrmnuy kh s 1986 ptiruprththrrmnuyniwsiaelndephuxtdkhwamechuxmoyngtamrththrrmnykbbrietn aelaphrarachbyytixxsetreliy kh s 1986 tdkhwamechuxmoyngtamrththrrmnuyrahwangbrietnaelarthxxsetreliytang eduxnknyayn kh s 1982 naykrthmntrimarkaert aethtechxredinthangeyuxnkrungpkkingephuxecrcakbrthbalcineruxngxnakhtkhxnghxngkngsungepndinaednophnthaelihysudthayaelamiprachakrmakthisud phayitenguxnikhkhxngsnthisyyananking kh s 1842 ekaahxngkngthukykihbrietntlxdkal aetxananikhmswnihyprakxbkhuncaksungidmaphayitkarecha 99 piin kh s 1898 sungcahmdxayuin kh s 1997 aethtechxrsungmxngehnkhwamkhlaykbhmuekaafxlkaelnd thiaerkprarthnathuxkhrxnghxngkngaelaesnxkarpkkhrxngkhxngbritichodyxyuphayitexkrachkhxngcin aetthukcinptiesth mikarbrrlukhxtklngin kh s 1984 phayitenguxnikhkhxng hxngkngcaepnekhtbriharphiesskhxngsatharnrthprachachncin odytharngwithichiwitepnewlaxyangnxy 50 pi miphithisngmxbin kh s 1997 sunghlaykhnsungrwmthungecachaychals ecachayaehngewls sungthrngrwmphithidwy wa cudcbkhxngckrwrrdi mrdktkthxddinaednophnthaelbritichsibsidinaedn brietnyngkhngxanacxthipityehnux 14 dinaednnxkhmuekaabritich sungepliynchuxepndinaednophnthaelbritichin kh s 2002 bangaehngimmiphuxyuxasyykewnbukhlakrthangthharhruxwithyasastrchwkhraw thiehluxmikarpkkhrxngtnexnginradbtang aelaxasyshrachxanackrindankhwamsmphnthrahwangpraethsaelakarpxngkn rthbalbritichaethlngectnainkarsnbsnundinaednophnthaelid thiprarthnadaeninsuexkrachsungepntweluxkhnung xanacxthipitykhxngbrietnehnuxdinaednophnthaelhlayaehngthukpraethsephuxnbanthangphumisastrphiphath khux sepnxangsiththiyibrxltar xarecntinaxangsiththihmuekaafxlkaelndaelaekaaesathcxreciyaelahmuekaaesathaesndwich aelamxriechiysaelaesechlsxangsiththibritichxinediynoxechiynethrrithxribritichaexntarktikethrrithxrimikarxangsiththithbsxnkbxarecntinaaelachili swnhlaypraethsimrbrxngkarxangsiththidinaednid inthwipaexntarktika xakharrthsphainkrungaekhnebxrra praethsxxsetreliy rabbewstminsetxrkhxngbrietnehluxmrdkprachathipityrabbrthsphainxditxananikhmhlaypraethskarelnkhrikektinpraethsxinediy kilakhxngbrietnyngmikarsnbsnunxyangaekhngkhninhlayswnkhxngxditckwrrdi xditxananikhmaelarthinxarkkhakhxngbrietnswnihyepnrthsmachik 53 praethskhxngekhruxckrphphaehngchati epnsmakhmthimiichthangkaremuxngodykhwamsmkhrickhxngsmachikthimithanaesmxkn miprachakrraw 2 200 lankhn rachxanackrekhruxckrphph 16 aehngsmkhricmiphramhakstriyphraxngkhediywkn khux smedcphrarachininathexlisaebththi 2 epnpramukhaehngrth 16 chatiehlaniidaek shrachxanackr xxsetreliy aekhnada niwsiaelnd papwniwkini aexntikaaelabarbuda bahamas barbaods eblis ekrnada caimka esntkhitsaelaenwis esntluechiy esntwinesntaelaekrnadins hmuekaaosolmxnaelatuwalu karpkkhrxngaelakaryaythinkhxngbrietnhlaythswrrsaelahlaystwrrsinbangkrnithingrxngrxybnchatithiidrbexkrachthiekidcakckrwrrdibritich ckrwrrdisthapnakarichphasaxngkvsinphumiphakhtang thwolk pccubn phasaxngkvsepnphasahlkkhxngkhn 400 lankhnaelamiphuphudepnphasaaerk thisxnghruxtangdawpraman 1 500 lankhn xiththiphlthangwthnthrrmkhxngshrthmiswnchwykarephyaephrphasaxngkvstngaetkhrunghlngkhxngstwrrsthi 20 sungshrthexngkkaenidcakxananikhmkhxngbrietn mikarichrabbrthsphaxngkvsepnaemaebbsahrbrthbalinxditxananikhmhlayaehng ykewninthwipaexfrikasungxditxananikhmekuxbthnghmdrbrabbprathanathibdi aelakhxmmxnlxwxngkvsepnrabbkdhmay khnakrrmkartulakarbritichkhxngkhnaxngkhmntriyngepnsalxuththrnsungsudsahrbxditxananikhmhlayaehnginaekhribebiynaelaaepsifik michchnnariopretsaetnthxngkvsphuthxngrxbolksungbxykhrnglwnghnathharaelakharachkarephyaephraexngklikhnkhxmmiweniynipthukthwip phbehnsthaptykrrmxananikhmbritichdngechninobsth sthanirthifaelaxakharrthbalidinhlaynkhrsungekhyepnswnhnungkhxngckrwrrdibritich mikarphthnakilapceckaelathimtang inbrietn odyechphaaxyangyingfutbxl khrikekt rkbi ethnnisaelakxlf kthuksngxxkdwy yngmikarich sungepnthangeluxkrabbkarwdkhxngbritich inbangpraethsinhlaythang thrrmeniymkarkhbrthchidsaykhxngthnnkyngxyuinhlayswnkhxngxditckrwrrdi ekhtaednthangkaremuxngthibrietnlakimsathxnchatiphnthuhruxsasnaediywknesmxip sngesrimihekidkhwamkhdaeynginphunthixditxananikhmhlayaehng ckrwrrdibritichyngthaihmikaryaythinprachakrkhnanihy hlaylankhnxxkcakhmuekaabrietn odyprachakrphutngthinthankhxngshrth aekhnada xxsetreliyaelaniwsiaelndswnihymacakbrietnaelaixraelnd yngmikhwamtungekhriydrahwangprachakrphutngthinthanphiwkhawkhxngpraethsehlanikbchnklumnxyphunemuxng aelarahwangchnklumnxyphutngthinthanphiwkhawaelafaykhangmakphunemuxnginaexfrikaitaelasimbbew phutngthinthaninixraelndcakbrietnihythingrxngrxyinrupchumchnchatiniymaelashphaphniymthiaetkaeykinixraelndehnux hlaylankhnyayekhaaelaxxkcakxananikhmbritich odymichawxinediycanwnmakyaythinipswnxunkhxngckrwrrdi echn maelesiyaelafici aelachawcinipmaelesiy singkhopraelaaekhribebiyn prachakrsastrkhxngbrietnexngkepliynhlngsngkhramolkkhrngthisxngenuxngcakmikarekhaemuxngbrietncakxditxananikhmxangxingFerguson Niall 2004 Empire The rise and demise of the British world order and the lessons for global power Basic Books ISBN 0 465 02328 2 Maddison 2001 pp 98 242 Ferguson 2004 p 15 saying At its maximum extent between the world wars the British Empire covered more than 13 million square miles approximately 23 percent of the world s land surface Elkins2005 p 5 saying The British Empire encompassed nearly 13 million square miles or roughly 25 percent of the world s total landmass Ferguson 2004 p 2 Tellier L N 2009 Urban World History an Economic and Geographical Perspective Quebec PUQ p 463 ISBN 2 7605 1588 5 Johnston pp 508 10 Porter p 332 Sondhaus L 2004 Navies in Modern World History London Reaktion Books p 9 ISBN 1 86189 202 0 Porter Andrew 1998 The Nineteenth Century The Oxford History of the British Empire Volume III Oxford University Press p 332 ISBN 0 19 924678 5 The Workshop of the World BBC History subkhnemux 28 April 2013 Porter Andrew 1998 The Nineteenth Century The Oxford History of the British Empire Volume III Oxford University Press p 8 ISBN 0 19 924678 5 Marshall P J 1996 The Cambridge Illustrated History of the British Empire Cambridge University Press pp 156 57 ISBN 0 521 00254 0 Tompson Richard S 2003 Great Britain a reference guide from the Renaissance to the present New York Facts on File p 63 ISBN 978 0 8160 4474 0 Hosch William L 2009 World War I People Politics and Power America at War New York Britannica Educational Publishing p 21 ISBN 978 1 61530 048 8 Brendon p 660 Charles diary lays thoughts bare BBC News 22 February 2006 subkhnemux 13 December 2008 Brown p 594 BBC History Britain the Commonwealth and the End of Empire BBC News subkhnemux 13 December 2008 Ferguson 2004 p 3 Andrews 1985 p 45 Ferguson 2004 p 4 Canny p 35 Thomas pp 155 158 Ferguson 2004 p 7 Canny p 62 Lloyd pp 4 8 Canny p 7 Kenny p 5 Alan Taylor 2001 American Colonies The Settling of North America Penguin p 119 Olson p 466 Andrews p 188 Canny p 63 Canny pp 63 64 Canny p 70 Canny p 34 James p 17 Canny p 71 Canny p 221 Lloyd pp 22 23 Lloyd p 32 Lloyd pp 33 43 Lloyd pp 15 20 Olson p 600 Andrews pp 20 22 Olson p 897 Lloyd p 40 Ferguson 2004 pp 72 73 Buckner p 25 Lloyd p 37 Ferguson 2004 p 62 Canny p 228 Marshall pp 440 64 Magnusson p 531 Macaulay p 509 Lloyd p 13 Ferguson 2004 p 19 Canny p 441 Pagden p 90 Olson p 1045 Olson p 1122 Olson pp 1121 22 Smith p 17 Bandyopadhyaẏa pp 49 52 Smith pp 18 19 Pagden p 91 Ferguson 2004 p 73 Marshall pp 312 23 Canny p 92 Olson p 1026 James p 119 Marshall p 585 Olson p 685 Olson p 796 Smith p 28 Latimer pp 8 30 34 389 92 Marshall pp 388 Smith p 20 Smith pp 20 21 Mulligan amp Hill pp 20 23 Peters pp 5 23 James p 142 Britain and the Dominions p 159 Fieldhouse pp 145 149 Cervero Robert B 1998 The Transit Metropolis A Global Inquiry Chicago Island Press p 320 ISBN 1 55963 591 6 Statesmen s Year Book 1889 Olson p 1137 Waitangi Day History Group New Zealand Ministry for Culture and Heritage subkhnemux 13 December 2008 Porter p 579 Mein Smith p 49 James p 152 Lloyd pp 115 118 James p 165 Porter p 14 Porter p 204 Hyam p 1 Smith p 71 Parsons p 3 Porter p 401 Olson p 285 Porter p 8 Marshall pp 156 57 Dalziel pp 88 91 Martin pp 146 148 Olson p 293 Keay p 393 Parsons pp 44 46 Smith pp 50 57 Brown p 5 Marshall pp 133 34 Olson p 478 James p 181 James p 182 Royle preface Williams Beryl J 1966 The Strategic Background to the Anglo Russian Entente of August 1907 The Historical Journal 9 3 360 373 doi 10 1017 S0018246X00026698 JSTOR 2637986 Hodge p 47 Smith p 85 Smith pp 85 86 Lloyd pp 168 186 243 Lloyd p 255 Olson p 1070 Roger 1986 p 718 Ferguson 2004 pp 230 33 James p 274 Egypt Ministry of Foreign Affairs khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 15 September 2010 subkhnemux 20 October 2010 Herbst pp 71 72 Vandervort pp 169 183 Olson p 248 Lloyd p 215 Smith pp 28 29 Porter p 187 Smith p 30 Rhodes Wanna amp Weller pp 5 15 Lloyd p 213 James p 315 Smith p 92 O Brien p 1 Brown p 667 Lloyd p 275 Brown pp 494 495 Marshall pp 78 79 Lloyd p 277 Lloyd p 278 Ferguson 2004 p 315 Olson p 658 Goldstein p 4 Louis p 302 Louis p 294 Louis p 303 Lee 1996 p 305 Brown p 143 Smith p 95 Magee p 108 Ferguson 2004 p 330 James p 416 Low D A February 1966 The Government of India and the First Non Cooperation Movement 1920 1922 The Journal of Asian Studies 25 2 241 259 doi 10 2307 2051326 Smith p 104 Brown p 292 Smith p 101 Louis p 271 McIntyre p 187 Brown p 68 McIntyre p 186 Brown p 69 Turpin amp Tomkins p 48 Lloyd p 300 Kenny p 21 Lloyd pp 313 14 Gilbert p 234 Lloyd p 316 James p 513 Gilbert p 244 Louis p 337 Brown p 319 James p 460 Abernethy p 146 Brown p 331 What s a little debt between friends BBC News 10 May 2006 subkhnemux 20 November 2008 Levine p 193 Abernethy p 148 Brown p 330 Lloyd p 322 Smith p 67 Lloyd p 325 McIntyre pp 355 356 Lloyd p 327 Lloyd p 328 Lloyd p 335 Lloyd p 364 Lloyd p 396 Brown pp 339 40 James p 581 Ferguson 2004 p 355 Ferguson 2004 p 356 James p 583 Combs pp 161 163 Suez Crisis Key players BBC News 21 July 2006 subkhnemux 19 October 2010 Brown p 342 Smith p 105 Burk p 602 Brown p 343 James p 585 Thatcher Smith p 106 James p 586 Pham 2010 Lloyd pp 370 371 James p 616 Louis p 46 Lloyd pp 427 433 James pp 618 621 Springhall pp 100 102 Knight amp Palmer pp 14 15 Clegg p 128 Lloyd p 428 James p 622 Lloyd pp 401 427 429 Macdonald pp 171 191 British Overseas Territories Act 2002 legislation gov uk 1955 Britain claims Rockall BBC News 21 September 1955 subkhnemux 13 December 2008 James pp 624 625 James p 629 Brown p 689 Brendon p 654 Joseph p 355 Rothermund p 100 Brendon pp 654 55 Brendon p 656 House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Report pp 145 147 House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Report pp 146 153 The World Factbook CIA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2018 12 25 subkhnemux 13 December 2008 House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Report p 136 The Commonwealth About Us Online September 2014 Head of the Commonwealth Commonwealth Secretariat subkhnemux 9 October 2010 Hogg p 424 chapter 9 English Worldwide by approximately one in four of the worlds population are capable of communicating to a useful level in English Ferguson 2004 p 307 Marshall pp 238 40 Torkildsen p 347 Parsons p 1 Marshall p 286 Dalziel p 135 brrnanukrm Abernethy David 2000 The Dynamics of Global Dominance European Overseas Empires 1415 1980 Yale University Press ISBN 0 300 09314 4 subkhnemux 22 July 2009 Andrews Kenneth 1984 Trade Plunder and Settlement Maritime Enterprise and the Genesis of the British Empire 1480 1630 Cambridge University Press ISBN 0 521 27698 5 subkhnemux 22 July 2009 Bandyopadhyaẏa Sekhara 2004 From Plassey to partition a history of modern India Orient Longman ISBN 81 250 2596 0 2007 The Decline and Fall of the British Empire 1781 1997 Random House ISBN 0 224 06222 0 Brock W R n d Britain and the Dominions Cambridge University Press Brown Judith 1998 The Twentieth Century The Oxford History of the British Empire Volume IV Oxford University Press ISBN 0 19 924679 3 subkhnemux 22 July 2009 Louis Roger 1986 The British Empire in the Middle East 1945 1951 Arab Nationalism the United States and Postwar Imperialism Oxford University Press p 820 ISBN 978 0 19 822960 5 subkhnemux 24 August 2012 Buckner Phillip 2008 Canada and the British Empire Oxford University Press ISBN 978 0 19 927164 1 subkhnemux 22 July 2009 Burk Kathleen 2008 Old World New World Great Britain and America from the Beginning Atlantic Monthly Press ISBN 0 87113 971 5 subkhnemux 22 January 2012 Canny Nicholas 1998 The Origins of Empire The Oxford History of the British Empire Volume I Oxford University Press ISBN 0 19 924676 9 subkhnemux 22 July 2009 Clegg Peter 2005 The UK Caribbean Overseas Territories in de Jong Lammert Kruijt Dirk b k Extended Statehood in the Caribbean Rozenberg Publishers ISBN 90 5170 686 3 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint multiple names editors list Combs Jerald A 2008 The History of American Foreign Policy From 1895 M E Sharpe ISBN 978 0 7656 2056 9 Dalziel Nigel 2006 The Penguin Historical Atlas of the British Empire Penguin ISBN 0 14 101844 5 subkhnemux 22 July 2009 2003 The Indian Mutiny Penguin ISBN 0 670 91137 2 subkhnemux 22 July 2009 Elkins Caroline 2005 Imperial Reckoning The Untold Story of Britain s Gulag in Kenya Owl Books ISBN 0 8050 8001 5 2004 Colossus The Price of America s Empire Penguin ISBN 1 59420 013 0 subkhnemux 22 July 2009 lingkesiy 2004 Empire Basic Books ISBN 0 465 02329 0 subkhnemux 22 July 2009 Fieldhouse David Kenneth 1999 The West and the Third World trade colonialism dependence and development Blackwell Publishing ISBN 0 631 19439 8 Fox Gregory H 2008 Humanitarian Occupation Cambridge University Press ISBN 978 0 521 85600 3 Games Alison 2002 Armitage David b k The British Atlantic world 1500 1800 Palgrave Macmillan ISBN 0 333 96341 5 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint multiple names editors list Gapes Mike 2008 HC Paper 147 II House of Commons Foreign Affairs Committee Overseas Territories Volume II The Stationery Office ISBN 0 215 52150 1 subkhnemux 22 July 2009 2005 Churchill and America Simon and Schuster ISBN 0 7432 9122 0 subkhnemux 22 July 2009 Goldstein Erik 1994 The Washington Conference 1921 22 Naval Rivalry East Asian Stability and the Road to Pearl Harbor Routledge ISBN 0 7146 4559 1 subkhnemux 22 July 2009 Goodlad Graham David 2000 British foreign and imperial policy 1865 1919 Psychology Press ISBN 0 415 20338 4 subkhnemux 18 September 2010 2000 States and power in Africa comparative lessons in authority and control Princeton University Press ISBN 0 691 01028 5 Hinks Peter 2007 Encyclopedia of antislavery and abolition Greenwood Publishing Group ISBN 978 0 313 33143 5 subkhnemux 1 August 2010 Hodge Carl Cavanagh 2007 Encyclopedia of the Age of Imperialism 1800 1914 Greenwood Publishing Group ISBN 0 313 33404 8 subkhnemux 22 July 2009 Hogg Richard 2008 A History of the English Language Cambridge University Press ISBN 978 0 521 66227 7 subkhnemux 13 April 2010 2002 ISBN 4 7700 1703 0 Hollowell Jonathan 1992 Britain Since 1945 Blackwell Publishing ISBN 0 631 20968 9 Hyam Ronald 2002 Britain s Imperial Century 1815 1914 A Study of Empire and Expansion Palgrave Macmillan ISBN 978 0 7134 3089 9 subkhnemux 22 July 2009 2001 The Rise and Fall of the British Empire Abacus ISBN 978 0 312 16985 5 subkhnemux 22 July 2009 Janin Hunt 1999 The India China opium trade in the nineteenth century McFarland ISBN 0 7864 0715 8 Joseph William A 2010 Politics in China Oxford University Press ISBN 978 0 19 533530 9 Keay John 1991 The Honourable Company Macmillan Publishing Company Kelley Ninette Trebilcock Michael 2010 The Making of the Mosaic 2nd ed University of Toronto Press ISBN 978 0 8020 9536 7 Kenny Kevin 2006 Ireland and the British Empire Oxford University Press ISBN 0 19 925184 3 subkhnemux 22 July 2009 Knight Franklin W Palmer Colin A 1989 The Modern Caribbean University of North Carolina Press ISBN 0 8078 1825 9 2007 War with America Harvard University Press ISBN 0 674 02584 9 subkhnemux 22 July 2009 Lee Stephen J 1994 Aspects of British political history 1815 1914 Routledge ISBN 0 415 09006 7 Lee Stephen J 1996 Aspects of British political history 1914 1995 Routledge ISBN 0 415 13102 2 Levine Philippa 2007 The British Empire Sunrise to Sunset Pearson Education Limited ISBN 978 0 582 47281 5 subkhnemux 19 August 2010 Lloyd Trevor Owen 1996 The British Empire 1558 1995 Oxford University Press ISBN 0 19 873134 5 subkhnemux 22 July 2009 Louis Wm Roger 2006 Ends of British Imperialism The Scramble for Empire Suez and Decolonization I B Tauris ISBN 1 84511 347 0 subkhnemux 22 July 2009 1848 Penguin ISBN 0 14 043133 0 Macdonald Barrie 1994 Britain in Howe K R Kiste Robert C Lal Brij V b k Tides of history the Pacific Islands in the twentieth century University of Hawaii Press ISBN 0 8248 1597 1 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint multiple names editors list McIntyre W Donald 1977 The Commonwealth of Nations University of Minnesota Press ISBN 0 8166 0792 3 subkhnemux 22 July 2009 McLean Iain 2001 Rational Choice and British Politics An Analysis of Rhetoric and Manipulation from Peel to Blair Oxford University Press ISBN 0 19 829529 4 subkhnemux 22 July 2009 Maddison Angus 2001 The World Economy A Millennial Perspective Organisation for Economic Co operation and Development ISBN 92 64 18608 5 subkhnemux 22 July 2009 Magee John 1974 Northern Ireland Crisis and Conflict Taylor amp Francis ISBN 0 7100 7947 8 subkhnemux 22 July 2009 2003 Scotland The Story of a Nation Grove Press ISBN 0 8021 3932 9 subkhnemux 22 July 2009 Marshall PJ 1998 The Eighteenth Century The Oxford History of the British Empire Volume II Oxford University Press ISBN 0 19 924677 7 subkhnemux 22 July 2009 Marshall PJ 1996 The Cambridge Illustrated History of the British Empire Cambridge University Press ISBN 0 521 00254 0 subkhnemux 22 July 2009 Martin Laura C 2007 Tea the drink that changed the world Tuttle Publishing ISBN 0 8048 3724 4 Mein Smith Philippa 2005 A Concise History of New Zealand Cambridge University Press ISBN 0 521 54228 6 subkhnemux 22 July 2009 Mulligan Martin Hill Stuart 2001 Ecological pioneers Cambridge University Press ISBN 0 521 81103 1 O Brien Phillips Payson 2004 The Anglo Japanese Alliance 1902 1922 Routledge ISBN 0 415 32611 7 subkhnemux 22 July 2009 2003 Peoples and Empires A Short History of European Migration Exploration and Conquest from Greece to the Present Modern Library ISBN 0 8129 6761 5 subkhnemux 22 July 2009 Parsons Timothy H 1999 The British Imperial Century 1815 1914 A World History Perspective Rowman amp Littlefield ISBN 0 8476 8825 9 subkhnemux 22 July 2009 Peters Nonja 2006 The Dutch down under 1606 2006 University of Western Australia Press ISBN 1 920694 75 7 Pham P L 2010 Ending East of Suez The British Decision to Withdraw from Malaysia and Singapore 1964 1968 Oxford University Press ISBN 978 0 19 958036 1 subkhnemux 24 August 2012 Porter Andrew 1998 The Nineteenth Century The Oxford History of the British Empire Volume III Oxford University Press ISBN 0 19 924678 5 subkhnemux 22 July 2009 Rhodes R A W Wanna John Weller Patrick 2009 Comparing Westminster Oxford University Press ISBN 978 0 19 956349 4 Rothermund Dietmar 2006 The Routledge companion to decolonization Routledge ISBN 0 415 35632 6 Royle Trevor 2000 Crimea The Great Crimean War 1854 1856 Palgrave Macmillan ISBN 1 4039 6416 5 subkhnemux 22 July 2009 Shennan J H 1995 International relations in Europe 1689 1789 Routledge ISBN 0 415 07780 X Smith Simon 1998 British Imperialism 1750 1970 Cambridge University Press ISBN 978 3 12 580640 5 subkhnemux 22 July 2009 Springhall John 2001 Decolonization since 1945 the collapse of European overseas empires Palgrave ISBN 0 333 74600 7 2001 American Colonies The Settling of North America Penguin ISBN 0 14 200210 0 subkhnemux 22 July 2009 Thatcher Margaret 1993 The Downing Street Years Harper Collins ISBN 0 06 017056 5 subkhnemux 22 July 2009 1997 The Slave Trade The History of The Atlantic Slave Trade Picador Phoenix Orion ISBN 0 7538 2056 0 subkhnemux 22 July 2009 2009 British India 1600 1828 BiblioLife ISBN 978 1 113 14290 0 Torkildsen George 2005 Leisure and recreation management Routledge ISBN 978 0 415 30995 0 Turpin Colin Tomkins Adam 2007 British government and the constitution 6th ed Cambridge University Press ISBN 978 0 521 69029 4 Vandervort Bruce 1998 Wars of imperial conquest in Africa 1830 1914 University College London Press ISBN 1 85728 486 0 Zolberg Aristide R 2006 A nation by design immigration policy in the fashioning of America Russell Sage ISBN 0 674 02218 1 aehlngkhxmulxunThe British Empire An Internet Gateway The British Empire The British Empire audio resources at TheEnglishCollection com ekbthawr 2012 12 05 thi British Colonial Regime Considering the Administration of British Colony in Burma and Malay Peninsular between the 19th and 20th Centuries