กรุงศรีอยุธยา หรือ อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยสยาม (ไทยภาคกลาง) ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐชานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน
อาณาจักรอยุธยา เมืองไท | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตราประจำพระองค์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช | |||||||||||||||||
แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณปี พ.ศ. 2083: สีม่วงน้ำเงิน: อยุธยา สีชมพู: ล้านช้าง สีน้ำเงิน: ล้านนา สีเขียวอ่อน: กัมพูชา สีม่วง: สีชมพู:จามปา | |||||||||||||||||
อาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 2148 ภายหลังการทัพของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช | |||||||||||||||||
สถานะ | ราชอาณาจักร | ||||||||||||||||
เมืองหลวง | อยุธยา (1893–2006, 2031–2209, 2231–2310) พิษณุโลก (2006–2031) ลพบุรี (2209–2231) | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ไทย | ||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยแบบศักดินา | ||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||||
• 1893–1913 1931–1952 | ราชวงศ์อู่ทอง | ||||||||||||||||
• 1913–1931 1952–2112 | ราชวงศ์สุพรรณภูมิ | ||||||||||||||||
• 2112–2172 | ราชวงศ์สุโขทัย | ||||||||||||||||
• 2172–2231 | ราชวงศ์ปราสาททอง | ||||||||||||||||
• 2231–2310 | ราชวงศ์บ้านพลูหลวง | ||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา | ||||||||||||||||
• สถาปนา | 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 (นับแบบปฏิทินไทยสากล 12 มีนาคม พ.ศ. 1894) | ||||||||||||||||
• รัฐร่วมประมุขกับอาณาจักรสุโขทัย | พ.ศ. 2011 | ||||||||||||||||
• เริ่มติดต่อกับโปรตุเกส | พ.ศ. 2054 | ||||||||||||||||
พ.ศ. 2112 | |||||||||||||||||
• สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ | พ.ศ. 2127 | ||||||||||||||||
พ.ศ. 2231 | |||||||||||||||||
7 เมษายน พ.ศ. 2310 | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย กัมพูชา มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม จีน |
ศัพทมูลวิทยา
ชื่อของอาณาจักรอยุธยามาจากคำว่า อโยธยา หรือ สุริอโยทยา (จารึกลานทองวัดส่องคบ ๑ จังหวัดชัยนาท พ.ศ. 1951) อโยชฌ หรือ อโยชฌปุระ (จารึกวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี ลานที่ ๑) อายุทธิยา หรือ โยธิยา (ตำนานพระธาตุดอยสุเทพ) ศรีโยทญา (สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา) สรียุทธยา (จารึกพระราชมุนี หลักที่ 314) หมายถึง เมืองที่ศัตรูไม่อาจรบชนะได้ เป็นชื่อมาจากชื่อเมืองของพระรามในนิทานอินเดียเรื่อง รามายณะ ต่อมา ประเสริฐ ณ นคร ได้เสนอแก้เป็น อยุธยา จึงใช้คำว่า อยุธยา มาโดยตลอด: 13 ส่วนนักประวัติศาสตร์รุ่นต่อมาสันนิษฐานว่า อโยธยา มาจากจารึกเขากบ จังหวัดนครสวรรค์ คำจารึกปรากฏชื่อว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร: 125 ส่วนชื่ออาณาจักรอยุธยาในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา และพระราชพงศาวดารพม่าในการรับรู้ของชาวพม่าปรากฏชื่อ โยเดีย โยธยา อโยชะ (Ayoja) หรือ คฺยวม (Gywan) กร่อนมาจากคำว่า อโยธยา หมายถึง ชาวไทยจากภาคกลาง และภาคใต้ของไทย (ไม่รวมไทใหญ่ และล้านนา) และยังหมายถึง ราชธานีและอาณาจักรทวารวดีศรีอยุธยาซึ่งสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1893: 122
ชื่ออาณาจักรอยุธยาในบันทึกต่างชาติฝั่งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ พบในบันทึกของราชทูตเปอร์เซียชื่อ The Ship of Sulaiman ที่เข้ามาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า ชะฮฺริ เนาว์: 118 : 118 (เปอร์เซีย: شهر نو: 168 ; อังกฤษ: Shahr-i Nau: 168 , shahr i nâv: 132 , Shahr-i-Nao: 125 ) ชะฮฺริ หรือ ชะฮฺร์ หมายถึง เมือง เนาว์ หมายถึง เมืองใหม่ หรือ เรือ: 118:เชิงอรรถ ๑ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง เมืองใหม่อันเป็นเมืองแห่งนาวา มีเรือ และแม่น้ำลำคลองมากมาย : 146 นักประวัติศาสตร์ศิลป์และนักโบราณคดีของไทยมีความเห็นว่า บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะอยุธยาอาจเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเก่ามาก่อนที่จะสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นราว ค.ศ. 1350: 74:เชิงอรรถ ๒
ชื่อของอาณาจักรอยุธยาในบันทึกของชาวตะวันตกอื่นๆ เพี้ยนมาจาก ชะฮฺริ เนาว์ ในภาษาเปอร์เซีย เช่น แชร์นอเนิม (Cernonem) พบใน บันทึกการเดินทางของนิกโกโล เด คงติ (Niccolò de’ Giovanni Conti) ที่เดินมาเข้ามายังอุษาคเนย์ราว ค.ศ. 1425-1430 ชิแอร์โน (Scierno) ในภาษาอิตาลีพบในแผนที่โลก Il Mappamondo di Fra Mauro เขียนโดย ฟรา เมาโร เมื่อ ค.ศ. 1450 ส่วนเอกสารโปรตุเกสชื่อ ซาร์เนาซ์ (Xarnauz) เพี้ยนมาจากภาษาเปอร์เซียเช่นกัน พบใน จดหมายเหตุการเดินทางสู่อินเดียครั้งที่ 1 ของวาสโก ดา กามา ค.ศ. 1497-1499 (Roteiro da primeira viagem de Vasco da Gama à Índia, 1497-1499) เข้าใจว่าจดหมายเหตุนี้เขียนโดย เวลญู (Álvaro Velho) เป็นต้น ชื่ออื่นๆ ในเอกสารสเปนยังปรากฏว่า โอเดีย (Odia, Iudua, Iudiad, Iudia) หรือ ยูเดีย (Judia, Juthia, Yuthia): 125 หรือ พระมหานครโยเดีย บันทึกของนีกอลา แฌร์แวซ ซึ่งเดินทางเข้ามาเมื่อปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีชื่อว่า Meüang Sijouthia (Ayut'ia): 15 ส่วนชาวญี่ปุ่นเรียกอยุธยาว่า ชามโร (Shamro): 153
ที่ตั้ง
กรุงศรีอยุธยาเป็นเกาะซึ่งมีแม่น้ำสามสายล้อมรอบอยู่ ได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้งสามสาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และอาจถือว่าเป็น "เมืองท่าตอนใน" เนื่องจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค มีสินค้ากว่า 40 ชนิดจากสงครามและรัฐบรรณาการ แม้ว่าตัวเมืองจะไม่ติดทะเลก็ตาม
มีการประเมินว่า ราว พ.ศ. 2143 กรุงศรีอยุธยามีประชากรประมาณ 300,000 คน และอาจสูงถึง 1,000,000 คน ราว พ.ศ. 2243 บางครั้งมีผู้เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า "เวนิสแห่งตะวันออก"
ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เคยเป็นเมืองหลวงของไทยนั้น คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาตัวนครปัจจุบันถูกตั้งขึ้นใหม่ห่างจากกรุงเก่าไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร
ประวัติ
การกำเนิด
ความเป็นมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยานั้นมีปรากฏในกฎหมายเก่าชื่อ พระอัยการเบ็ดเสร็จ (อายการเบดเสรจ) มหาศักราช ๑๑๔๖ ปีมะแม (พ.ศ. 1768) ตราขึ้นก่อนการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา ระบุพระนามกษัตริย์เมืองอโยธยาเดิมว่า "พระบาทสมเดจ์พระรามาธิบดีศรีวิสุทธิบุรุโสดมบรมจักรพรรดิธรรมิกกราชเดโชไชเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศ บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว" ส่วนเอกสารของทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ อาทิ พงศาวดารเหนือในส่วนที่เกี่ยวกับ พงศาวดารล้านช้างที่ว่าขุนบรมได้ให้กำเนิดบุตรเจ็ดคนไปครองเมืองต่าง ๆ โดยคนที่ห้าคือ "งัวอิน" ได้ครองเมืองอโยธยา และพงศาวดารราชวงศ์หยวนที่แม้ไม่ปรากฏชื่อ "อโยธยา" แต่ปรากฏชื่อแคว้น "เซียม" และ "หลอโว้ก" ที่อาจหมายถึงแคว้นสุพรรณบุรีและละโว้
การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุด คือ เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเป็นการรวมอำนาจกันระหว่างอาณาจักรละโว้และอาณาจักรสุพรรณภูมิ โดยช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาจจะเพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักมายังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหนองโสนบนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา นครใหม่นี้ได้รับการขนานนามว่า กรุงพระนครศรีอยุธยา หรือ กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตน ราชธานีบุรีรมย์ หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลความหมายว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้
พระบริหารเทพธานี อธิบายว่า ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและก่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่โดยส่งคณะช่างก่อสร้างไปยังอินเดียและได้ลอกเลียนแบบผังเมืองอโยธยามาสร้างและสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา
ในส่วนวันสถาปนากรุงศรีอยุธยา ที่ผ่านมาได้มีการคำนวณปรับเทียบวันเดือนปีทางจันทรคติที่มีระบุในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ความว่า "ศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า....." ว่าตรงกับวันศุกร์ที่ "4 มีนาคม จ.ศ. 712" จากนั้นบวก 1181 เข้าไปเพื่อแปลงจุลศักราชให้เป็นพุทธศักราช จึงได้ว่า ตรงกับวันศุกร์ที่ "4 มีนาคม พ.ศ. 1893" และเผยแพร่กันโดยทั่วไปนั้น หากพิจารณาและปรับแก้ให้สอดคล้องกับปฏิทินไทยสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 มกราคม วันสถาปนาจะตรงกับ วันศุกร์ที่ "12 มีนาคม พ.ศ. 1894 (ค.ศ. 1351)"
การขยายอาณาเขต
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยาได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจที่สุดแห่งหนึ่งในอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ และได้เริ่มครองความเป็นใหญ่โดยเริ่มจากการพิชิตราชอาณาจักรและนครรัฐทางเหนือ อาทิ สุโขทัย กำแพงเพชรและพิษณุโลก มีการโจมตีเมืองพระนครแห่งอาณาจักรขอมซึ่งเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคในขณะนั้น จนอิทธิพลของอาณาจักรขอมค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่แทน
อย่างไรก็ดี อาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็นหน่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจ (Circle of Power) หรือระบบมณฑล (mandala) ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนอ อาณาเขตเหล่านี้อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่เมืองหลวงยามสงครามก็ได้ อย่างไรก็ดีมีหลักฐานว่า บางครั้งที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่นำโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้นเพื่อตั้งตนเป็นเอกราช อยุธยาก็จำต้องปราบปราม
ด้วยไร้ซึ่งกฎการสืบราชสันติวงศ์และมโนทัศน์คุณธรรมนิยม (ในบางสมัย) (meritocracy) อันรุนแรง ทำให้เมื่อใดก็ตามที่การสืบราชสันติวงศ์เป็นที่พิพาท เจ้าปกครองหัวเมืองหรือผู้สูงศักดิ์ (dignitary) ที่ทรงอำนาจจะอ้างคุณความดีของตนรวบรวมไพร่พลและยกทัพมายังเมืองหลวงเพื่อกดดันตามข้อเรียกร้อง จนลงเอยด้วยรัฐประหารอันนองเลือดหลายครั้ง
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 อยุธยาแสดงความสนใจในคาบสมุทรมลายู ที่ซึ่งมะละกาเมืองท่าสำคัญ อยุธยาพยายามยกทัพไปตีมะละกาหลายครั้งแต่ไร้ผล มะละกามีความเข้มแข็งทั้งทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ด้วยได้รับการสนับสนุนทางทหารจากราชวงศ์หมิงของจีน หนึ่งในนั้นคือการที่แม่ทัพเรือเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิงได้สถาปนาฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งขึ้นที่มะละกา เป็นเหตุให้จีนไม่อาจยอมสูญเสียตำแหน่งยุทธศาสตร์นี้แก่รัฐอื่น ๆ ภายใต้การคุ้มครองนี้ มะละกาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ของอยุธยา กระทั่งถูกโปรตุเกสพิชิตเมื่อ พ.ศ. 2054
เริ่มตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 อาณาจักรอยุธยาถูกราชวงศ์ตองอูโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เมื่อ พ.ศ. 2091-92 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่สองของราชวงศ์ตองอู หรือเรียกว่า "สงครามช้างเผือก"สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมจำนน พระบรมวงศานุวงศ์บางส่วนถูกพาไปยังกรุงหงสาวดี และสมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสองค์โต ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าประเทศราช เมื่อ พ.ศ. 2112 ราชวงศ์ตองอูรุกรานอีกเป็นครั้งที่สาม และสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ในปีต่อมา หนนี้พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นเจ้าประเทศราช
การฟื้นตัว
ภายหลังที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศเอกราชแก่กรุงศรีอยุธยาอีกสามปีให้หลัง อยุธยาต่อสู้ป้องกันการรุกรานของรัฐหงสาวดีหลายครั้ง จนในครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปลงพระชนม์เมงจีสวา (Mingyi Swa) อุปราชาของราชวงศ์ตองอูได้ในสงครามยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2135 จากนั้นอยุธยากลับเป็นฝ่ายบุกโดยยึดชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดขึ้นไปจนถึงเมาะตะมะใน พ.ศ. 2138 และล้านนาใน พ.ศ. 2145 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพเข้าไปในพม่าลึกถึงตองอูใน พ.ศ. 2143 แต่ทรงถูกขับกลับมา หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2148 ตะนาวศรีตอนเหนือและล้านนาก็ตกเป็นของอาณาจักรตองอูอีกครั้งใน พ.ศ. 2157 อยุธยาพยายามยึครองล้านนาและตะนาวศรีตอนเหนือกลับคืนระหว่าง พ.ศ. 2205-07 แต่ล้มเหลว
การค้าขายกับต่างชาติไม่เพียงแต่ให้อยุธยามีสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แต่ยังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่กลับสูญเสียการควบคุมเหนือหัวเมืองรอบนอก ผู้ปกครองท้องถิ่นใช้อำนาจของตนอย่างอิสระ และเริ่มกบฏต่อเมืองหลวงมากขึ้น
การล่มสลาย
หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห่งการต่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ "ยุคทอง" เมื่อศิลปะ วรรณกรรมและการเรียนรู้เฟื่องฟู ยังมีสงครามกับต่างชาติ กรุงศรีอยุธยาสู้รบกับเจ้าเหงียน (Nguyễn Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้ เพื่อการควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามาจากราชวงศ์อลองพญาซึ่งได้ผนวกรัฐชานเข้ามาอยู่ในอำนาจ
ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร พระอนุชาธิราช ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้นสละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน
พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกภายนอกมานานกว่า 150 ปี จะมีก็เพียงการนำไพร่พลเข้าต่อตีกันเองเพื่อแย่งชิงอำนาจเท่านั้น ซึ่งในขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พระเจ้าอลองพญาไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น
แต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้าอลองพญา ทรงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน และเตรียมการกว่าสามปี มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทานการล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการกองทัพรัฐอังวะได้ เนื่องจากมีกำลังมาก และต้องการทำลายศูนย์อำนาจอย่างอยุธยาลงเพื่อป้องกันการกลับมามีอำนาจ อีกทั้งกองทัพอังวะยังติดศึกกับจีนราชวงศ์ชิงอยู่เนือง ๆ หากปล่อยให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อต่อไปอีก ก็จะเป็นภัยแก่อังวะ และมีสงครามไม่จบสิ้น ในที่สุดกองทัพอังวะสามารถเข้าพระนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
ในช่วงปี พ.ศ. 2303-2310 มีเหตุการณ์เผาทำลายเมืองและปล้นเมืองไปส่วนใหญ่ โดยในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาทำลายกรุงศรีอยุธยาตามพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทุมาศ (เจิม) ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์วัดพระเชตุพน หลักฐานอื่น ๆ เช่น คำให้การขุนหลวงหาวัด หนังสือสังคีติยวงศ์ และบันทึกของชาวต่างชาติเช่น โรแบรต์ โกสเต (Robert Goste), ฟร็องซัว-อ็องรี ตูร์แป็ง, และ คุณพ่อกอร์ ที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรและได้บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ โดยตูร์แป็งได้บันทึกไว้ว่า: 149
วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2310 บ้านเมืองถูกข้าศึกบุกเข้าโจมตีทรัพย์สมบัติในพระราชวังและวัดวาอารามต่าง ๆ แทบไม่เหลือสิ่งใดนอกจากซากปรักหักพังและเถ้าถ่าน พระพุทธรูปถูกข้าศึกเผาจนหลอมละลาย เปลวเพลิงที่ลุกลามทำให้ผู้ชนะที่ป่าเถื่อนต้องสูญเสียสิ่งของที่ปล้นชิงมา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้กระตุ้นให้พวกเขาเกิดความละโมบ พวกพม่ายังได้ระบายความโกรธแค้นของพวกเขาจากการสูญเสียในครั้งนี้ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ
รายพระนามพระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา มีทั้งสิ้น 33 พระองค์ โดยมีรายพระนามดังต่อไปนี้
พระมหากษัตริย์ | ครองราชย์ | |||
---|---|---|---|---|
รัชกาล | พระรูป | พระนาม | ระหว่าง | หมายเหตุ |
กัมพูชาในช่วงการปฏิวัติขอม (พ.ศ. 1879) | ||||
อาณาจักรอยุธยา (พ.ศ. 1894 – 2310) | ||||
ราชวงศ์อู่ทอง ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 1894 – 1913) | ||||
11 | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (3 เมษายน พ.ศ. 1857 – พ.ศ. 1912; 55 พรรษา) | 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 – พ.ศ. 1912 (20 ปี) | หรือพระนาม พระเจ้าอู่ทอง เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อู่ทอง | |
12 (1) | สมเด็จพระราเมศวร (พ.ศ. 1882 – 1938; 56 พรรษา) | พ.ศ. 1912 – 1913 (1 ปี) | ครองราชย์ครั้งที่ 1 | |
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 1913 – 1931) | ||||
13 | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ. 1853 – 1931; 78 พรรษา) | พ.ศ. 1913 – 1931 (18 ปี) | หรือพระนาม ขุนหลวงพะงั่ว เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ | |
14 | สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พ.ศ. 1917 – 1931; 14 พรรษา) | พ.ศ. 1931 (7 วัน) | หรือพระนาม เจ้าทองจันทร์ หรือ เจ้าทองลั่น หรือ เจ้าทองจัน หรือ เจ้าทองลันทร์ | |
ราชวงศ์อู่ทอง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 1931 – 1952) | ||||
12 (2) | สมเด็จพระราเมศวร (พ.ศ. 1882 – 1938; 56 พรรษา) | พ.ศ. 1931 – 1938 (7 ปี) | ครองราชย์ ครั้งที่ 2 | |
15 | สมเด็จพระเจ้ารามราชา (พ.ศ. 1899 – 1952; 53 พรรษา) | พ.ศ. 1938 – 1952 (14 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพญารามเจ้า หรือ สมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช | |
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 1952 – 2112) | ||||
16 | สมเด็จพระอินทราชา (พ.ศ. 1902 – 1967; 65 พรรษา) | พ.ศ. 1952 – 1967 (15 ปี) | หรือพระนาม เจ้านครอินทร์ หรือ สมเด็จพระนครินทราธิราช | |
17 | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (พ.ศ. 1929 – 1991; 62 พรรษา) | พ.ศ. 1967 – 1991 (24 ปี) | หรือพระนาม เจ้าสามพระยา | |
18 | สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1974 – 2031; 57 พรรษา) | พ.ศ. 1991 – 2031 (40 ปี) | หรือกฎมนเทียรบาล ออกพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีบรมไตรโลกนาถ มหามงกุฎเทพยมนุษย์ บริสุทธิสุริยวงศ์ องค์พุทธางกูรบรมบพิตร | |
ปฏิรูปการปกครองจตุสดมภ์ (พ.ศ. 2006) | ||||
19 | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พ.ศ. 2005 – 2034; 29 พรรษา) | พ.ศ. 2031 – 2034 (3 ปี) | หรือพระนาม พระบรมราชา | |
20 | สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2015 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072; 57 พรรษา) | พ.ศ. 2034 – 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072 | หรือพระนาม พระเชษฐา หรือครั้งทรงดำรงพระยศเป็นอุปราชทรงพระนามว่า พระเอกสัตราช | |
21 | สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พ.ศ. 2031 –2076; 45 พรรษา) | พ.ศ. 10 ตุลาคม พ.ศ. 2072 – 2076 | หรือพระนาม หน่อพุทธางกูร | |
22 | สมเด็จพระรัษฎาธิราช (พ.ศ. 2072 – 2077; 5 พรรษา) | พ.ศ. 2077 (5 เดือน) | ||
23 | สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2042 – 2089; 47 พรรษา) | พ.ศ. 2077 – 2089 (13 ปี) | ||
24 | สมเด็จพระยอดฟ้า (พ.ศ. 2078 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2091; 13 พรรษา) | พ.ศ. 2089 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2091 | หรือพระนาม พระแก้วฟ้า | |
– | ขุนวรวงศาธิราช (พ.ศ. 2046 – 2091; 45 พรรษา) | พ.ศ. 2091 (42 วัน) | นักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านไม่นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์เพราะถือว่าเป็นกบฏสมคบกับนางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์แย่งชิงราชบัลลังก์จากสมเด็จพระยอดฟ้า อย่างไรก็ตาม ในพงศาวดารได้ระบุว่าพระองค์ได้ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว | |
25 | สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2048 – 2111; 63 พรรษา) | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2091 – 2111 (20 ปี) | หรือพระนาม พระเจ้าช้างเผือก | |
26 | สมเด็จพระมหินทราธิราช (พ.ศ. 2082 – 2112; 30 พรรษา) | พ.ศ. 2111 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 (1 ปี) | ||
เสียกรุงครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112) | ||||
ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 – 2231) | ||||
27 | สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พ.ศ. 2057 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133; 76 พรรษา) | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 (21 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 | |
กอบกู้เอกราชหลุดพ้นจากการปกครองของอาณาจักรตองอู (พ.ศ. 2135) | ||||
28 | สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2098 – 25 เมษายน พ.ศ. 2148; 50 พรรษา) | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 – 25 เมษายน พ.ศ. 2148 (15 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 หรือ พระองค์ดำ | |
29 | สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2103 – 2153; 50 พรรษา) | 25 เมษายน พ.ศ. 2148 – 2153 (5 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 หรือ พระองค์ขาว | |
30 | สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (พ.ศ. 2128 – 2154; 26 พรรษา) | พ.ศ. 2153 – 2154 (1 ปี 2 เดือน) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4 | |
31 | สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2135 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171; 36 พรรษา) | พ.ศ. 2154 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 (17 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระบรมราชาที่ 1 | |
32 | สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2155 – 2173; 18 พรรษา) | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 – 2173 (1 ปี 7 เดือน) | หรือพระนาม สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 | |
33 | สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (พ.ศ. 2161 – 2178; 17 พรรษา) | พ.ศ. 2173 – 2173 (36 วัน) | ||
ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2173 – 2231) | ||||
34 | สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2143 – 2199; 56 พรรษา) | พ.ศ. 2173 – 2199 (25 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 | |
35 | สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พ.ศ. 2173 – 2199; 26 พรรษา) | พ.ศ. 2199 (9 เดือน) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6 | |
36 | สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พ.ศ. 2143 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2199; 56 พรรษา) | พ.ศ. 2199 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2199 (2 เดือน 20 วัน) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7 | |
37 | สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231; 56 พรรษา) | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2199 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 (32 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 | |
การปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2231) | ||||
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 – 2310) | ||||
38 | สมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2175 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246; 71 พรรษา) | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246 | หรือพระนาม สมเด็จพระมหาบุรุษ วิสุทธิเดชอุดม | |
39 | สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (พ.ศ. 2204 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2251; 47 พรรษา) | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2246 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2251 | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ | |
40 | สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ (พ.ศ. 2221 – 2275; 54 พรรษา) | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2251 – พ.ศ. 2275 (24 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ พระเจ้าท้ายสระ | |
41 | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2223 – 26 เมษายน พ.ศ. 2301; 78 พรรษา) | พ.ศ. 2275 – 26 เมษายน พ.ศ. 2301 | หรือพระนาม สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 | |
42 | สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พ.ศ. 2265 – 2339; 74 พรรษา) | พ.ศ. 2301 (2 เดือน) | หรือพระนาม สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 3 หรือ ขุนหลวงหาวัด | |
43 | สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พ.ศ. 2252 – 2310; 58 พรรษา) | พ.ศ. 2301 – 7 เมษายน พ.ศ. 2310 (9 ปี) | หรือพระนาม สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือ พระเจ้าเอกทัศ หรือ ขุนหลวงขี้เรื้อน | |
เสียกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2310) |
การปกครอง
ช่วงแรกมีการปกครองคล้ายคลึงกับในสมัยสุโขทัย พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรงในราชธานี หากทรงใช้อำนาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา
การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง แต่รูปแบบนี้นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัดออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดยเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนในราชการสงคราม และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ราชธานีทุกปี
ต่อมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991–2031) ทรงยกเลิกระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ และขยายอำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชธานี สำหรับระบบจตุสดมภ์ ทรงแยกกิจการพลเรือนออกจากกิจการทหารอย่างชัดเจน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหนายกและสมุหกลาโหมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อกรมและชื่อตำแหน่งเสนาบดี แต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเดิม
ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช
ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (ครองราชย์ พ.ศ. 2231–2246) ทรงกระจายอำนาจทางทหารซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็นสามส่วน โดยให้สมุหกลาโหมเปลี่ยนไปควบคุมกิจการทหารในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ ให้สมุหนายกควบคุมกิจการพลเรือนในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือ และพระโกษาธิบดี ให้ดูแลกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2275-2301) ทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดีด้วย
นอกจากนี้ ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2112–2133) ยังได้จัดกำลังป้องกันราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่ วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางเหนือ วังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก ระบบดังกล่าวใช้มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พัฒนาการ
คนไทยไม่เคยขาดแคลนเสบียงอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ชาวนาปลูกข้าวเพื่อการบริโภคของตนเองและเพื่อจ่ายภาษี ผลผลิตส่วนที่เหลืออยู่ใช้สนับสนุนสถาบันศาสนา อย่างไรก็ดี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 15 มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตในการปลูกข้าวของไทย บนที่สูง ซึ่งปริมาณฝนไม่เพียงพอ ต้องได้รับน้ำเพิ่มจากระบบชลประทานที่ควบคุมระดับน้ำในที่นาน้ำท่วม คนไทยหว่านเมล็ดข้าวเหนียวที่ยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์หลักในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือปัจจุบัน แต่ในที่ราบน้ำท่วมถึงเจ้าพระยา ชาวนาหันมาปลูกข้าวหลายชนิด ที่เรียกว่า หรือข้าวนาเมือง (floating rice) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ยาวเรียว ไม่เหนียวที่รับมาจากเบงกอล ซึ่งจะเติบโตอย่างรวดเร็วทันพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำในที่ลุ่ม
สายพันธุ์ใหม่นี้เติบโตอย่างง่ายดายและอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีผลผลิตส่วนเกินที่สามารถขายต่างประเทศได้ในราคาถูก ฉะนั้น กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ใต้สุดของที่ราบน้ำท่วมถึง จึงกลายเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระมหากษัตริย์ แรงงานกอร์เวขุดคลองซึ่งจะมีการนำข้าวจากนาไปยังเรือของหลวงเพื่อส่งออกไปยังจีน ในขบวนการนี้ หาดโคลนระหว่างทะเลและดินแน่นซึ่งถูกมองว่าไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ถูกถมและเตรียมดินสำหรับเพาะปลูก ตามประเพณี พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อประสาทพรการปลูกข้าว
แม้ข้าวจะอุดมสมบูรณ์ในกรุงศรีอยุธยา แต่การส่งออกข้าวก็ถูกห้ามเป็นบางครั้งเมื่อเกิดทุพภิกขภัย เพราะภัยพิบัติธรรมชาติหรือสงคราม โดยปกติขาวถูกแลกเปลี่ยนกับสินค้าฟุ่มเฟือยและอาวุธยุทธภัณฑ์จากชาวตะวันตก แต่การปลูกข้าวนั้นมีเพื่อตลาดภายในประเทศเป็นหลัก และการส่งออกข้าวนั้นเชื่อถือไม่ได้อย่างชัดเจน การค้ากับชาวยุโรปคึกคักในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อันที่จริง พ่อค้ายุโรปขายสินค้าของตน ซึ่งเป็นอาวุธสมัยใหม่ เช่น ไรเฟิลและปืนใหญ่ เป็นหลัก กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากป่าในแผ่นดิน เช่น ไม้สะพาน หนังกวางและข้าว นักเดินเรือชาวโปรตุเกส กล่าวถึงในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ว่า กรุงศรีอยุธยานั้น "อุดมไปด้วยสินค้าดี ๆ" พ่อค้าต่างชาติส่วนมากที่มายังกรุงศรีอยุธยาเป็นชาวยุโรปและชาวจีน และถูกทางการเก็บภาษี ราชอาณาจักรมีข้าว เกลือ ปลาแห้ง เหล้าโรง (arrack) และพืชผักอยู่ดาษดื่น
การค้ากับชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นชาวฮอลันดาเป็นหลัก ถึงระดับสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 กรุงศรีอยุธยากลายมาเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับพ่อค้าจากจีนและญี่ปุ่น ชัดเจนว่า ชาวต่างชาติเริ่มเข้ามามีส่วนในการเมืองของราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาวางกำลังทหารรับจ้างต่างด้าวซึ่งบางครั้งก็เข้าร่วมรบกับอริราชศัตรูในศึกสงคราม อย่างไรก็ดี หลังจากการกวาดล้างชาวฝรั่งเศสในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ค้าหลักของกรุงศรีอยุธยาเป็นชาวจีน ฮอลันดาจากบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ยังมีการค้าขายอยู่ เศรษฐกิจของอาณาจักรเสื่อมลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ 18
พัฒนาการทางสังคมและการเมือง
นับแต่การปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งลำดับชั้นทางสังคมและการเมืองที่จัดช่วงชั้นอย่างสูง ซึ่งแผ่ไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยขาดหลักฐาน จึงเชื่อกันว่า หน่วยพื้นฐานของการจัดระเบียบสังคมในราชอาณาจักรอยุธยา คือ ชุมชนหมู่บ้าน ที่ประกอบด้วยครัวเรือนครอบครัวขยาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่กับผู้นำ ที่ถือไว้ในนามของชุมชน แม้ชาวนาเจ้าของทรัพย์สินจะพอใจการใช้ที่ดินเฉพาะเท่าที่ใช้เพาะปลูกเท่านั้น ขุนนางค่อย ๆ กลายไปเป็นข้าราชสำนัก (หรืออำมาตย์) และผู้ปกครองบรรณาการ (tributary ruler) ในนครที่สำคัญรองลงมา ท้ายที่สุด พระมหากษัตริย์ทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นพระศิวะ (หรือพระวิษณุ) ลงมาจุติบนโลก และทรงกลายมาเป็นสิ่งมงคลแก่พิธีปฏิบัติในทางการเมือง-ศาสนา ที่มีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งเป็นข้าราชบริพารในราชสำนัก ในบริบทศาสนาพุทธ เทวราชาเป็นพระโพธิสัตว์ ความเชื่อในเทวราชย์ (divine kingship) คงอยู่ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ถึงขณะนั้น นัยทางศาสนาของมันจะมีผลกระทบจำกัดก็ตาม
เมื่อมีที่ดินสำรองเพียงพอสำหรับการกสิกรรม ราชอาณาจักรจึงอาศัยการได้มาและการควบคุมกำลังคนอย่างพอเพียงเพื่อเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นาและการป้องกันประเทศ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอยุธยานำมาซึ่งการสงครามอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากไม่มีแว่นแคว้นใดในภูมิภาคมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยี ผลแห่งยุทธการจึงมักตัดสินด้วยขนาดของกองทัพ หลังจากการทัพที่ได้รับชัยชนะในแต่ละครั้ง อยุธยาได้กวาดต้อนผู้คนที่ถูกพิชิตกลับมายังราชอาณาจักรจำนวนหนึ่ง ที่ซึ่งพวกเขาจะถูกกลืนและเพิ่มเข้าไปในกำลังแรงงาน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสถาปนาระบบกอร์เว (Corvée) แบบไทยขึ้น ซึ่งเสรีชนทุกคนจำต้องขึ้นทะเบียนเป็นข้า (หรือไพร่) กับเจ้านายท้องถิ่น เป็นการใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ไพร่ชายต้องถูกเกณฑ์ในยามเกิดศึกสงคราม เหนือกว่าไพร่คือนาย ผู้รับผิดชอบต่อราชการทหาร แรงงานกอร์เวในการโยธาสาธารณะ และบนที่ดินของข้าราชการที่เขาสังกัด ไพร่ส่วยจ่ายภาษีแทนการใช้แรงงาน หากเขาเกลียดการใช้แรงงานแบบบังคับภายใต้นาย เขาสามารถขายตัวเป็นทาสแก่นายหรือเจ้าที่น่าดึงดูดกว่า ผู้จะจ่ายค่าตอบแทนแก่การสูญเสียแรงงานกอร์เว จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 กำลังคนกว่าหนึ่งในสามเป็นไพร่
ระบบไพร่เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่ ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากเจ้านายหรือขุนนางเบียดบังไพร่ไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร
ความมั่งคั่ง สถานภาพ และอิทธิพลทางการเมืองสัมพันธ์ร่วมกัน พระมหากษัตริย์ทรงแบ่งสรรนาข้าวให้แก่ข้าราชสำนัก ผู้ว่าราชการท้องถิ่น ผู้บัญชาการทหาร เป็นการตอบแทนความดีความชอบที่มีต่อพระองค์ ตามระบบศักดินา ขนาดของการแบ่งสรรแก่ข้าราชการแต่ละคนนั้นตัดสินจากจำนวนไพร่หรือสามัญชนที่เขาสามารถบัญชาให้ทำงานได้ จำนวนกำลังคนที่ผู้นำหรือข้าราชการสามารถบัญชาได้นั้น ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้นั้นเทียบกับผู้อื่นในลำดับขั้นและความมั่งคั่งของเขา ที่ยอดของลำดับขั้น พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักร ตามทฤษฎีแล้วทรงบัญชาไพร่จำนวนมากที่สุด เรียกว่า ไพร่หลวง ที่มีหน้าที่จ่ายภาษี รับราชการในกองทัพ และทำงานบนที่ดินของพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ดี การเกณฑ์กองทัพขึ้นอยู่กับมูลนาย ที่บังคับบัญชาไพร่สมของตนเอง มูลนายเหล่านี้จำต้องส่งไพร่สมให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพระมหากษัตริย์ในยามศึกสงคราม ฉะนั้น มูลนายจึงเป็นบุคคลสำคัญในการเมืองของอยุธยา มีมูลนายอย่างน้อยสองคนก่อรัฐประหารยึดราชบัลลังก์มาเป็นของตน ขณะที่การสู้รบนองเลือดระหว่างพระมหากษัตริย์กับมูลนายหลังจากการกวาดล้างข้าราชสำนัก พบเห็นได้บ่อยครั้ง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกำหนดการแบ่งสรรที่ดินและไพร่ที่แน่นอนให้แก่ข้าราชการแต่ละขั้นในลำดับชั้นบังคับบัญชา ซึ่งกำหนดโครงสร้างสังคมของประเทศกระทั่งมีการนำระบบเงินเดือนมาใช้แก่ข้าราชการในสมัยรัตนโกสินทร์
พระสงฆ์อยู่นอกระบบนี้ ซึ่งชายไทยทุกชนชั้นสามารถเข้าสู่ชนชั้นนี้ได้ รวมถึงชาวจีนด้วย วัดกลายมาเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวัฒนธรรม ระหว่างช่วงนี้ ชาวจีนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา และไม่นานก็เริ่มควบคุมชีวิตเศรษฐกิจของประเทศ อันเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นช้านานอีกประการหนึ่ง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเป็นผู้รวบรวม (Dharmashastra) ประมวลกฎหมายที่อิงที่มาในภาษาฮินดูและธรรมเนียมไทยแต่โบราณ ธรรมศาสตรายังเป็นเครื่องมือสำหรับกฎหมายไทยกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการนำระบบข้าราชการประจำที่อิงลำดับชั้นบังคับบัญชาของข้าราชการที่มีชั้นยศและบรรดาศักดิ์มาใช้ และมีการจัดระเบียบสังคมในแบบที่สอดคล้องกัน แต่ไม่มีการนำระบบวรรณะในศาสนาฮินดูมาใช้
หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ตองอู พระองค์ทรงจัดการรวมการปกครองประเทศอยู่ใต้ราชสำนักที่กรุงศรีอยุธยาโดยตรง เพื่อป้องกันมิให้ซ้ำรอยพระราชบิดาที่แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายราชวงศ์ตองอูเมื่อครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระองค์ทรงยุติการเสนอชื่อเจ้านายไปปกครองหัวเมืองของราชอาณาจักร แต่แต่งตั้งข้าราชสำนักที่คาดว่าจะดำเนินนโยบายที่พระมหากษัตริย์ส่งไป ฉะนั้น เจ้านายทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในพระนคร การช่วงชิงอำนาจยังคงมีต่อไป แต่อยู่ใต้สายพระเนตรที่คอยระวังของพระมหากษัตริย์
เพื่อประกันการควบคุมของพระองค์เหนือชนชั้นผู้ว่าราชการใหม่นี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีกฤษฎีกาให้เสรีชนทุกคนที่อยู่ในระบบไพร่มาเป็นไพร่หลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งจะเป็นผู้แจกจ่ายการใช้งานแก่ข้าราชการ วิธีการนี้ให้พระมหากษัตริย์ผู้ขาดแรงงานทั้งหมดในทางทฤษฎี และเนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของกำลังของทุกคน พระองค์ก็ทรงครอบครองที่ดินทั้งหมดด้วย ตำแหน่งรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการ และศักดินาที่อยู่กับพวกเขา โดยปกติเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทในไม่กี่ตระกูลที่มักมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์โดยการแต่งงาน อันที่จริง พระมหากษัตริย์ไทยใช้การแต่งงานบ่อยครั้งเพื่อเชื่อมพันธมิตรระหว่างพระองค์กับตระกูลที่ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผลของนโยบายนี้ทำให้พระมเหสีในพระมหากษัตริย์มักมีหลายสิบพระองค์
หากแม้จะมีการปฏิรูปโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ตาม ประสิทธิภาพของรัฐบาลอีก 150 ปีถัดมาก็ยังไม่มั่นคง พระราชอำนาจนอกที่ดินของพระมหากษัตริย์ แม้จะเด็ดขาดในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติถูกจำกัดโดยความหละหลวมของการปกครองพลเรือน อิทธิพลของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์อยู่ไม่เกินพระนคร เมื่อเกิดสงครามกับพม่า หัวเมืองต่าง ๆ ทิ้งพระนครอย่างง่ายดาย เนื่องจากกำลังที่บังคับใช้ไม่สามารถเกณฑ์มาป้องกันพระนครได้โดยง่าย กรุงศรีอยุธยาจึงไม่อาจต้านทานผู้รุกรานได้
ศิลปะและวัฒนธรรม
การแสดงโขน และศิลปะนาฏศิลป์สยามประเภทต่างๆนั้นมีหลักฐานอย่างชัดเจนว่า มีการให้จัดแสดงขึ้นในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาในลักษณะที่กล่าวได้ว่าเกือบจะเหมือนกับรูปแบบของนาฏศิลป์ไทยที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน และที่แพร่หลายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สันนิษฐานได้ว่าศิลปะการละครของไทยน่าจะต้องถูกพัฒนาขึ้นจนสมบูรณ์ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ตามสมัยคริสตกาลเป็นอย่างน้อย โดยในระหว่างที่ราชอาณาจักรอยุธยายังมีสัมพันธ์ทางการทูตโดยตรงกับฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สุริยะกษัตริย์ (Sun King) แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ได้ส่งราชทูต ชื่อ ซีมง เดอ ลาลูแบร์ มายังประเทศสยาม ในปี ค.ศ. 1687 และพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้จดบันทึกทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศสยาม ตั้งแต่การปกครอง ภาษา ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณี โดย ลา ลูแบร์ ได้มีโอกาสได้สังเกตการแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่างๆในราชสำนักไทย และจดบันทึกไว้โดยละเอียดดังนี้:
"ชาวสยามมีศิลปะการเวทีอยู่สามประเภท: ประเภทที่เรียกว่า "โขน" นั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควร แต่ก็มีการหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำอยู่ไม่ได้ขาด หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร หรือไม่เป็นหน้าอสูรปีศาจ " ส่วนการแสดงประเภทที่เรียกว่า "ละคร" นั้นเป็นบทกวีที่ผสมผสานกัน ระหว่างมหากาพย์ และบทละครพูด ซึ่งแสดงกันยืดยาวไปสามวันเต็มๆ ตั้งแต่ ๘ โมงเช้า จนถึง ๑ ทุ่ม ละครเหล่านี้เป็น ประวัติศาสตร์ที่ร้อยเรียงเป็นบทกลอนที่เคร่งครึม และขับร้องโดยผู้แสดงหลายคนที่อยู่ในฉากพร้อมๆกัน และเพียงแต่ร้องโต้ตอบกันเท่านั้น โดยมีคนหนึ่งขับร้องในส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เหลือจะกล่าวบทพูด แต่ทั้งหมดที่ขับร้องล้วนเป็นผู้ชาย ไม่มีผู้หญิงเลย ... ส่วน "ระบำ" นั้นเป็นการรำคู่ของหญิงชาย ซึ่งแสดงออกอย่างอาจหาญ ... นักเต้นทั้งหญิงและชายจะสวมเล็บปลอมซึ่งยาวมาก และทำจากทองแดง นักแสดงจะขับร้องไปด้วยรำไปด้วย พวกเขาสามารถรำได้โดยไม่เข้าพัวพันกัน เพราะลักษณะการเต้นเป็นการเดินไปรอบๆ อย่างช้าๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว แต่เต็มไปด้วยการบิดและดัดลำตัว และท่อนแขน"
— ซีมง เดอ ลาลูแบร์, จดหมายเหตุว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม (ค.ศ. 1693), หน้า 49
ในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งกายของนักแสดงโขน ลา ลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า: "นักเต้นใน "ระบำ" และ "โขน" จะสวมชฎาปลายแหลมทำด้วยกระดาษมีลวดลายสีทอง ซึ่งดูคล้ายๆหมวกของพวกข้าราชการสยามที่ใส่ในงานพิธี แต่จะหุ้มตลอดศีรษะด้านข้างไปจนถึงใต้หู และตกแต่งด้วยหินอัญมณีเลียนแบบ โดยมีห้อยพู่สองข้างเป็นไม้ฉาบสีทอง"
เนื่องจากในสมัยอยุธยามีการสร้างสรรค์วรรณคดีไว้มาก วัตถุดิบวรรณคดีเหล่านั้นส่งผลให้การนาฏศิลป์ และการละครของสยาม ได้รับพัฒนาขึ้นจนมีความสมบูรณ์แบบทั้งในการแต่งกาย และการแสดงออกในระดับสูง และมีอิทธิพลต่ออาณาจักรข้างเคียงมาก ดังที่ กัปตันเจมส์ โลว์ นักวิชาการอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้บันทึกไว้ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์:
"พวกชาวสยามได้พัฒนาศิลปะการแสดงละครของตนจนเข้าถึงความสมบูรณ์แบบในระดับสูง -- และในแง่นี้ศิลปะของสยามจึงเผยแพร่ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งล้วนแต่เสาะหานักรำละครของสยามทั้งสิ้น"
ประชากรศาสตร์
กลุ่มชาติพันธุ์
ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก แอนโธนี เรด นักวิชาการด้านอุษาคเนย์เทียบหลักฐานจากคำบอกเล่าต่างๆ แล้วประมาณว่า กรุงศรีอยุธยามีประชากร ในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ราว 200,000 ถึง 240,000 คน มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือไทยสยามซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่ใช้ภาษาตระกูลขร้า-ไท ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลขร้า-ไทเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบกว่างซี คาบเกี่ยวไปถึงกวางตุ้งและแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงในเวียดนามตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความเคลื่อนไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย ในยุคอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี พ.ศ. 1100 ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบสุพรรณบุรี ราชบุรี ถึงเพชรบุรีและเกี่ยวข้องไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ให้ความเห็นส่วนตัวว่า ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชาติเดียวกัน นอกจากนี้ลาลูแบร์ยังอธิบายเพิ่มว่าตามธรรมเนียมแต่โบราณแล้ว ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าตนรับกฎหมายของตนมาจากอีกฝ่าย กล่าวคือฝ่ายสยามเชื่อว่ากฎหมาย และเชื้อสายกษัตริย์ของตนมาจากลาว และฝ่ายลาวก็เชื่อว่ากฎหมาย และกษัตริย์ของตนมาจากสยาม นอกจากนี้ลาลูแบร์สังเกตเห็นว่าสังคมอยุธยานั้นมีคนปะปนกันหลายชนชาติ และ "เป็นที่แน่ว่าสายเลือดสยามนั้นผสมกับของชาติอื่น" เนื่องจากมีคนต่างชาติต่างภาษาจำนวนมากอพยบเข้ามาอยู่ในอยุธยาเพราะทราบถึงชื่อเสียงเรื่องเสรีภาพทางการค้า
เอกสารจีนที่บันทึกโดยหม่าฮวนได้กล่าวไว้ว่า ชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาพูดจาด้วยภาษาอย่างเดียวกับกลุ่มชนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน คือพวกที่อยู่ในมณฑลกวางตุ้งกับกว่างซี และด้วยความที่ดินแดนแถบอุษาคเนย์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายตั้งหลักแหล่งอยู่ปะปนกันจึงเกิดการประสมประสานทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาจนไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน และด้วยการผลักดันของรัฐละโว้ ทำให้เกิดรัฐอโยธยาศรีรามเทพนคร ภายหลังปี พ.ศ. 1700 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลายอย่าง
ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรือง กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เชลยที่ถูกกวาดต้อน ตลอดจนถึงชาวเอเชียและชาวตะวันตกที่เข้ามาเพื่อการค้าขาย ในกฎมนเทียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยาได้เรียกชื่อชนพื้นเมืองต่าง ๆ ได้แก่ "ขอมลาวพม่าเมงมอญมสุมแสงจีนจามชวา..." ซึ่งมีการเรียกชนพื้นเมืองที่อาศัยปะปนกันโดยไม่จำแนกว่า ชาวสยาม ในจำนวนนี้มีชาวมอญอพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากชาวมอญไม่สามารถทนการบีบคั้นจากการปกครองของพม่าในช่วงราชวงศ์ตองอู จนในปี พ.ศ. 2295 พม่าได้ปราบชาวมอญอย่างรุนแรง จึงมีการลี้ภัยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก โดยชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เช่น บ้านขมิ้นริมวัดขุนแสน ตำบลบ้านหลังวัดนก ตำบลสามโคก และวัดท่าหอย ชาวเขมรอยู่วัดค้างคาว ชาวพม่าอยู่ข้างวัดมณเฑียร ส่วนชาวตังเกี๋ยและชาวโคชินไชน่า (ญวน) ก็มีหมู่บ้านเช่นกัน เรียกว่าหมู่บ้านโคชินไชน่า นอกจากนี้ชาวลาวและชาวไทยวนก็มีจำนวนมากเช่นกัน โดยในรัชสมัยของสมเด็จพระราเมศวรครองราชย์ครั้งที่สอง ได้กวาดต้อนครัวไทยวนจากเชียงใหม่ส่งไปไว้ยังจังหวัดพัทลุง, สงขลา, นครศรีธรรมราช และจันทบุรี และในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงยกทัพไปตีล้านนาในปี พ.ศ. 2204 ได้เมืองลำปาง, ลำพูน, เชียงใหม่, เชียงแสน และได้กวาดต้อนมาจำนวนหนึ่งเป็นต้น โดยเหตุผลที่กวาดต้อนเข้ามา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร และนอกจากกลุ่มประชาชนแล้วกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่เป็นเชลยสงครามและผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีทั้งเชื้อพระวงศ์ลาว, เชื้อพระวงศ์เชียงใหม่ (Chiamay), เชื้อพระวงศ์พะโค (Banca), และเชื้อพระวงศ์กัมพูชา
นอกจากชุมชนชาวเอเชียที่ถูกกวาดต้อนมาแล้วก็ยังมีชุมชนของกลุ่มผู้ค้าขายและผู้เผยแผ่ศาสนาทั้งชาวเอเชียจากส่วนอื่นและชาวตะวันตก เช่น ชุมชนชาวฝรั่งเศสที่บ้านปลาเห็ด ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้นอกเกาะอยุธยาใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งภายหลังบ้านปลาเห็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเซนต์โยเซฟ หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ริมแม่น้ำระหว่างหมู่บ้านชาวมอญและโรงกลั่นสุราของชาวจีน ถัดไปเป็นชุมชนชาวฮอลันดา ทางใต้ของชุมชนฮอลันดาเป็นถิ่นพำนักของชาวอังกฤษ, มลายู และมอญจากพะโค นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนของชาวอาหรับ เปอร์เซีย และกลิงก์ (คนจากแคว้นกลิงคราษฎร์จากอินเดีย) ส่วนชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งอยู่ตรงข้ามชุมชนญี่ปุ่น ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่มักสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวสยาม จีน และมอญ ส่วนชุมชนชาวจาม มีหลักแหล่งแถบคลองตะเคียนทางใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า ปทาคูจาม มีบทบาทสำคัญด้านการค้าทางทะเล และตำแหน่งในกองทัพเรือ เรียกว่า อาษาจาม และเรียกตำแหน่งหัวหน้าว่า
นักวิชาการด้านอุษาเคนย์ ให้ข้อสังเกตว่า ในขณะที่อยุธยามีความหลายหลายทางเชื้อชาติสูงด้วยเหตุผลทางการค้าขาย และการเทครัวประชากรจากภูมิภาคอื่น แต่ประชากรทั้งในและรอบนอกอยุธยาก็แสดงออกว่ามีใจฝักใฝ่ และสวามิภักดิ์ต่ออยุธยาสูง อยุธยาจึงมิได้มีปัญหาความขัดแย้งทางชาติพันธุ์เหมือนอย่างในแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี เอกสารจากฝั่งพม่าในคริสต์ ศ.ที่ 16 อ้างถึงผู้คนทางตอนใต้ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยารวม ๆ ว่า "ชาวอยุธยา" หรือ "ทหารอยุธยา" นอกจากนี้สำนึกในความเป็นชาติ หรือความเป็นสยาม ก็ได้เริ่มปรากฏรูปร่างแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ในบันทึกของ วันวลิต (ฟาน วลีต) พ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ ที่เข้ามาค้าขายในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองระบุว่า ชาวสยามมีความโดดเด่นในเรื่องความภาคภูมิใจในชาติของตน โดยชาวสยาม "เชื่อว่าไม่มีชาติอื่นที่จะเทียบกับตนได้ และเห็นว่ากฎหมาย ขนบธรรมเนียม และความรู้ของตนนั้นดีกว่าที่ไหนทุกแห่งในโลก" วิกเตอร์ ลีเบอร์แมน เชื่อว่าสาเหตุที่ราชอาณาจักรอยุธยา มีความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ค่อนข้างน้อยนั้น ก็เนื่องมาจากมูลเหตุ 4 ประการ ได้แก่
- สัดส่วนของจำนวนประชากรชาวสยาม ต่อประชากรชาติพันธุ์อื่นนั้นค่อนข้างต่ำ
- ชาวสยามมีชนชาติอื่นที่อพยพเข้ามาเพราะสงครามในพม่า เช่น ชาวมอญ และชาวไทยวนซึ่งมีใจฝักใฝ่สยามมากกว่าพม่า
- ความเป็นนานาชาติพันธุ์ของบรรยากาศการค้าขายในอยุธยา ทำให้การเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์มีความเบาบางลง นอกจากนี้ยังมีคนต่างชาติรับราชการในกรุงศรีอยุธยาอยู่เป็นจำนวนมาก
- สงครามระหว่างสยามกับชาติเพื่อนบ้าน ไม่ยืดเยื้อยาวนานเท่าฝั่งพม่า ทำให้แนวคิดขัดแย้งทางชาติพันธุ์ไม่ฝังรากลึก ในสมัยพระเจ้าอลองพญาแม้จะตีเอาเมืองท่าสำคัญของมอญ เช่น นครย่างกุ้ง ได้ แต่ก็ปกครองเมืองท่าเหล่านี้อยู่ห่างๆ ไม่ย้ายเมืองหลวงลงมา เนื่องจากอาจเป็นจุดล่อแหลมต่อการถูกโจมตีจากทางทะเล
ภาษา
สำเนียงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยามีความเชื่อมโยงกับชนพื้นเมืองตั้งแต่ลุ่มน้ำยมที่เมืองสุโขทัยลงมาทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในแถบสุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี ซึ่งสำเนียงดังกล่าวมีความใกล้ชิดกับสำเนียงหลวงพระบาง โดยเฉพาะสำเนียงเหน่อของสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงหลวงพระบาง ซึ่งสำเนียงเหน่อดังกล่าวเป็นสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวกรุงศรีอยุธยาทั้งพระเจ้าแผ่นดินจนถึงไพร่ฟ้าราษฏรก็ล้วนตรัสและพูดจาในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นอยู่ในการละเล่นโขนที่ต้องใช้สำเนียงเหน่อ โดยหากเปรียบเทียบกับสำเนียงกรุงเทพฯ ในปัจจุบันนี้ ที่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นสำเนียงบ้านนอกถิ่นเล็ก ๆ ของราชธานีที่แปร่งและเยื้องจากสำเนียงมาตรฐานของกรุงศรีอยุธยา และถือว่าผิดขนบ
ภาษาดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาปรากฏอยู่ในโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นร้อยกรองที่เต็มไปด้วยฉันทลักษณ์ที่แพร่หลายแถบแว่นแคว้นสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์ และภายหลังได้พากันเรียกว่า เนื่องจากเข้าใจว่าได้รับแบบแผนมาจากอินเดีย ซึ่งแท้จริงคือโคลงลาว หรือ ที่เป็นต้นแบบของและโคลงสี่สุภาพ โดยในโองการแช่งน้ำเต็มไปด้วยศัพท์แสงพื้นเมืองของไทย-ลาว ส่วนคำที่มาจากบาลี-สันสกฤต และเขมรอยู่น้อย โดยหากอ่านเปรียบเทียบก็จะพบว่าสำนวนภาษาใกล้เคียงกับข้อความในจารึกสมัยสุโขทัย และ
ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลและเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติทำให้สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต่างกับบ้านเมืองแถบสองฝั่งโขงที่ห่างทะเล อันเป็นเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่ล้าหลังกว่าจึงสืบทอดสำเนียงและระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมไว้ได้เกือบทั้งหมด ส่วนภาษาในกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับอิทธิพลของภาษาจากต่างประเทศจึงรับคำในภาษาต่าง ๆ มาใช้ เช่นคำว่า กุหลาบ ที่ยืมมาจากคำว่า กุล้อบ ในภาษาเปอร์เซีย ที่มีความหมายเดิมว่า น้ำดอกไม้ และยืมคำว่า ปาดรื (Padre) จากภาษาโปรตุเกส แล้วออกเสียงเรียกเป็น บาทหลวง เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
อาณาจักรอยุธยามักส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกสามปี เครื่องบรรณาการนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าวแฝงจุดประสงค์ทางธุรกิจไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะมีขุนนางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายด้วย
พ.ศ. 2054 ทันทีหลังจากที่ยึดครองมะละกา โปรตุเกสได้ส่งผู้แทนทางการทูต นำโดย ดูอาร์เต เฟอร์นันเดส (Duarte Fernandes) มายังราชสำนักสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างราชอาณาจักรโปรตุเกสและราชอาณาจักรอยุธยาแล้ว ผู้แทนทางการทูตโปรตุเกสก็ได้กลับประเทศแม่ไปพร้อมกับผู้แทนทางทูตของอยุธยา ซึ่งมีของกำนัลและพระราชสาส์นถึงพระเจ้าโปรตุเกสด้วย ผู้แทนทางการทูตโปรตุเกสชุดนี้อาจเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยก็เป็นได้ ห้าปีให้หลังการติดต่อครั้งแรก ทั้งสองได้บรรลุสนธิสัญญาซึ่งอนุญาตให้โปรตุเกสเข้ามาค้าขายในราชอาณาจักรอยุธยา สนธิสัญญาที่คล้ายกันใน พ.ศ. 2135 ได้ให้พวกดัตช์มีฐานะเอกสิทธิ์ในการค้าข้าว
ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ บันทึกของฮอลันดาระบุว่ามีการส่งคณะทูตานุทูตไปยังฮอลันดาจำนวน 20 คน ไปในเรือลำเดียวกันกับพ่อค้าชาวฮอลันดา ในแบบอย่างเต็มยศ คือมีพระราชสาส์น ตลอดจนเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ ที่มีค่าตามแบบแผนประเพณีของการเจริญพระราชไมตรีสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้เดินทางไปถึงกรุงเฮก เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2151 ซึ่งคณะทูตานุทูตคณะนี้ถือเป็นการส่งคณะทูตครั้งแรกไปเจริญทางสัมพันธไมตรีกับประเทศในยุโรป อย่างไรก็ตามในบันทึกไม่ได้ระบุชื่อราชทูตหรือบุคคลใดๆ ในคณะทูต ทราบเพียงแต่จำนวนว่ามีหัวหน้าสองท่าน (ราชทูตและอุปทูต) พนักงานรักษาเครื่องราชบรรณาการ เจ้าพนักงานพระราชสาส์น และอื่นๆ ซึ่งได้เข้าเฝ้าในวันถัดจากที่เดินทางมาถึง
ชาวต่างชาติได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นที่ราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้ทรงมีทัศนะสากลนิยม (cosmopolitan) และทรงตระหนักถึงอิทธิพลจากภายนอก ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ที่สำคัญกับญี่ปุ่น บริษัทการค้าของเนเธอร์แลนด์และอังกฤษได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงงาน และมีการส่งคณะผู้แทนทางการทูตของอยุธยาไปยังกรุงปารีสและกรุงเฮก ด้วยการธำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ ราชสำนักอยุธยาได้ใช้เนเธอร์แลนด์คานอำนาจกับอังกฤษและฝรั่งเศสอย่างชำนาญ ทำให้สามารถเลี่ยงมิให้ชาติใดชาติหนึ่งเข้ามามีอิทธิพลมากเกินไป
ในปี พ.ศ. 2207 เนเธอร์แลนด์ใช้กำลังบังคับเพื่อให้ได้สนธิสัญญาที่ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต เช่นเดียวกับการเข้าถึงการค้าอย่างเสรี คอนสแตนติน ฟอลคอน นักผจญภัยชาวกรีกผู้เข้ามาเป็นเสนาบดีต่างประเทศในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กราบทูลให้พระองค์หันไปพึ่งความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส วิศวกรฝรั่งเศสก่อสร้างป้อมค่ายแก่คนไทย และสร้างพระราชวังแห่งใหม่ที่ลพบุรี นอกเหนือจากนี้ มิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทในการศึกษาและการแพทย์ ตลอดจนนำแท่นพิมพ์เครื่องแรกเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยในรายงานจากมิชชันนารีที่เสนอว่า สมเด็จพระนารายณ์อาจเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ได้
อาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในด้านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา โดยชาวตะวันตกได้นำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาด้วย ต่อมา คอนสแตนติน ฟอลคอนได้เข้ามามีอิทธิพลและยัง บรรดาขุนนางจึงประหารฟอลคอนเสีย และลดระดับความสำคัญกับชาติตะวันตกตลอดช่วงเวลาที่เหลือของอาณาจักรอยุธยา
อย่างไรก็ดี การเข้ามาของฝรั่งเศสกระตุ้นให้เกิดความแค้นและความหวาดระแวงแก่หมู่ชนชั้นสูงของไทยและนักบวชในศาสนาพุทธ ทั้งมีหลักฐานว่าคบคิดกับฝรั่งเศสจะยึดกรุงศรีอยุธยา เมื่อข่าวสมเด็จพระนารายณ์กำลังจะเสด็จสวรรคตแพร่ออกไป พระเพทราชา ผู้สำเร็จราชการ ก็ได้สังหารรัชทายาทที่ทรงได้รับแต่งตั้ง คริสเตียนคนหนึ่ง และสั่งประหารชีวิตฟอลคอน และมิชชันนารีอีกจำนวนหนึ่ง การมาถึงของเรือรบอังกฤษยิ่งยั่วยุให้เกิดการสังหารหมู่ชาวยุโรปมากขึ้นไปอีก พระเพทราชาเมื่อปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ทรงขับชาวต่างชาติออกจากราชอาณาจักร รายงานการศึกษาบางส่วนระบุว่า อยุธยาเริ่มต้นสมัยแห่งการตีตัวออกห่างพ่อค้ายุโรป ขณะที่ต้อนรับวาณิชจีนมากขึ้น แต่ในการศึกษาปัจจุบันอื่น ๆ เสนอว่า สงครามและความขัดแย้งในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นเหตุให้พ่อค้ายุโรปลดกิจกรรมในทางตะวันออก อย่างไรก็ดี เป็นที่ประจักษ์ว่า บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ยังทำธุรกิจกับอยุธยาอยู่ แม้จะประสบกับความยากลำบากทางการเมือง
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Description du Royaume Thai ou Siam" (1854)
- สุจิตต์ วงษ์เทศ (25 กุมภาพันธ์ 2018). "คนไทยเป็นชาวสยาม ของชาวยุโรปยุคอยุธยา". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2023.
- ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 305.
- ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2542). ท่องเที่ยวไทย. สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง. หน้า 40. ISBN .
- Hooker, Virginia Matheson (2003). A Short History of Malaysia: Linking East and West. St Leonards, New South Wales, Australia: Allen and Unwin. p. 72. ISBN .
- คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2563). ประวัติศาสตร์อยุธยา: ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่. กรุงเทพฯ: มติชน. 463 หน้า. ISBN
- ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2553). กระดานทองสองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: มติชน. 231 หน้า. ISBN
- The Text Publication Fund of the Burma Research Society. (1923). The Glass Palace Chronicle of the Kings of Burma. (Translated by Pe Maung Tin and G.H. Luce). LONDON: Oxford University Press. pp. 92, 106.
- ศานติ ภักดีคำ. (2561). "เชลยชาวโยเดีย", ขุนหลวงหาวัด กษัตริย์ผู้เสียสละราชย์. กรุงเทพฯ: มติชน. 166 หน้า. ISBN
- ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์. (2517). ความสัมพันธ์ของมุสลิมทางประวัติศาสตร์ และวรรณคดีไทย และสำเภากษัตริย์สุลัยมาน (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สมาคมภาษา และหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. 201 หน้า.
- ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน. (2538). การสัมมนาเรื่อง เจ้าพระยาบวรราชนายก (เชค อหมัด คูมี) กับประวัติศาสตร์สยาม (Sheikh Ahmad Qomi and the history of Siam) วันที่ 15 พฤษภาคม 2537 ห้องประชุมศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา: รวมคําบรรยายและบทความทางวิชาการ. แปลโดย กิติมา อมรทัต. กรุงเทพฯ: ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน. 288 หน้า. ISBN
- Oliver Codrington. (1904). A MANUAL OF MUSALMAN NUMISMATICS, The Royal Asiatic Society Monographs Vol. VII. LONDONS: Stephen Austin and Sons. 239 pp.
- Kertas Kerja. (1997). Cultures in Contact: Kertas kerja Simposium antarabangsa mengenai hubungan antara kebudayaan, Kuala Lumpur, 2-3 April 1996. Kem. Kebudayaan, Kesenian & Pelancongan ; Ecole française d'Extrême-Orient (EFEO), Kuala Lumpur, Paris. 240 pp. ISBN
- Academic and Cultural Publications Charitable Trust (Hyderabad, India), Islamic Culture Board, Marmaduke William Pickthall, Muhammad Asad. Islamic Culture, 77(1-2), (2003): p. 62, p.69.
- ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช. (2566, 5 มีนาคม). "จาก “แชร์นอเนิม” มาเป็น “ซาร์เนา” ชื่อเก่า อยุธยา ก่อนการเข้ามาของโปรตุเกส". ศิลปวัฒนธรรมออนไลน์. (14 กันยายน 2562). สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2566.
- จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. (2543). "ชะตากรรมพระยาละแวกถูกปฐมกรรมจริงหรือ?", ศิลปวัฒนธรรม 21(10-11), (กันยายน 2543): 31.
- Nicolas Gervaise and Herbert Stanley O'Neill. (1928). The Natural and Political History of the Kingdom of Siam A.D. 1688. Translated by Herbert Stanley O'Neill. Bangkok: Siam Observer Press. 150 pp.
- อาทร จันทรวิมล. (2546). ประวัติของแผ่นดินไทย. กรุงเทพฯ: อักษรไทย. 445 หน้า
- , World Cities: –3000 to 2000, Washington DC: FAROS 2000, 2003. ISBN . See also . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2008.
- "Ayutthaya, Thailand's historic city". The Times Of India. 31 กรกฎาคม 2008.
- Derick Garnier (2004). Ayutthaya: Venice of the East. River books. ISBN .
- . Asia's World Publishing Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2011.
- ธนโชติ เกียรติณภัทร. "อโยธยา ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๓ ความทรงจำจากเอกสารและตำนาน (กฎหมาย ๔ ฉบับ และปีที่สร้างพระเจ้าแพนงเชิง)," ศิลปวัฒนธรรม 44(10)(สิงหาคม 2566):20. อ้างใน กฏหมายตราสามดวง เล่ม ๓. หน้า 173.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน?. กรุงเทพฯ : มติชน. 2549, หน้า 95
- การปรับแก้เทียบศักราช และ อธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 13-14
- การปรับแก้เทียบศักราช และ อธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 14
- พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัดถเลขา (2455)/ภาค 1/แผ่นดินที่ 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2021.
- . The Nation: Thailand's World. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2009.
- พระบริหารเทพธานี. (2541). ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 67.
- อาณาจักรอยุธยา ตอนที่ 1 First Revision: July 18, 2015 Last Change: Jan.13, 2020 สืบค้น รวบรวม เรียบเรียง และปริวรรตโดย อภิรักษ์ กาญจนคงคา.
- การปรับแก้เทียบศักราช และ อธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, หน้า 2
- ทั้งนี้ เมื่อปรับแก้ให้เป็นวันที่ตามระบบปฏิทินสุริยคติแบบจูเลียนแล้ว ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1894 (ค.ศ. 1351) และเมื่อปรับแก้เป็นปฏิทินสุริยคติแบบกริกอเรียนซึ่งเป็นปฏิทินสากลที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน ตรงกับวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 (ค.ศ. 1351) ; วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 เป็นวันสถาปนากรุงศรีอยุธยาจริงหรือ?
- Higham 1989, p. 355
- "The Aytthaya Era, 1350–1767". U. S. Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009.
- Jin, Shaoqing (2005). Office of the People's Goverernment of Fujian Province (บ.ก.). Zheng He's voyages down the western seas. Fujian, China: China Intercontinental Press. p. 58. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2009.
- Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta. p. 111.
- GE Harvey (1925). History of Burma. London: Frank Cass & Co. Ltd. pp. 167–170.
- Phayre, pp. 127–130
- Phayre, p. 139
- Wyatt 2003, pp. 90–121
- Christopher John Baker; Pasuk Phongpaichit (14 เมษายน 2009). A history of Thailand. Cambridge University Press. p. 22. ISBN . สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2023.
- ประเสริฐ ณ นคร. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2552.
- "แถลงงานคณะกรรมการชำาระประวัติศาสตร์ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๔" (PDF). กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. 2022. p. 145-150. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2023.
- ตรงใจ หุตางกูร.(2561) ปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
- Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN .
- (25 มีนาคม 2560). "อย่าลืม! ราชสำนักเมืองเหนือ ที่พิษณุโลก". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 5.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 6.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 7.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 9.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 10.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 11.
- . The Ayutthaya Administration. Department of Provincial Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2010.
- Tome Pires. The Suma Oriental of Tome Pires. London, The Hakluyt Society,1944, p.107
- . Mahidol University. 1 พฤศจิกายน 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 12.
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 13.
- "Background Note: Thailand". U.S. Department of State. กรกฎาคม 2009. จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009.
- Sharon La Boda (1994). Trudy Ring; Robert M. Salkin (บ.ก.). International Dictionary of Historic Places: Asia and Oceania. Vol. 5. Taylor & Francis. p. 56. ISBN . สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2009.
- Simon de La Loubère, "The Kingdom of Siam" (Oxford Univ Press, 1986) (1693), p. 49
- La Loubère (1693), at 49
- James Low (1839). (PDF). p. 177. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2022.
- มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า. 2510, หน้า 46
- มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 47
- Anthony Reid, South East Asia in the Age of Commerce: Expansion and Crisis (1988), p.71–73
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 128
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 130
- มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, หน้า 45
- Simon de La Loubère, The Kingdom of Siam (Oxford Univ. Press 1986) (1693), at 9
- La Loubère (1693), p.10
- La Loubère (1693), p.10
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 129
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. หน้า 188
- สุภรณ์ โอเจริญ. ชาวมอญในประเทศไทย:วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2519), หน้า 48–68
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) . พระนคร:คลังวิทยา, 2507, หน้า 145 และ 403
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) , หน้า 446
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) , หน้า 463
- นิโกลาส์ แชรแวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) . แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2506, หน้า 62
- ประชุมพงศาวดารภาคที่ 36 ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, เล่ม 9. พระนคร:ก้าวหน้า, 2507, หน้า 150
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด), หน้า 507-508
- สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า. พระนคร:คลังวิทยา, 2514. หน้า 235–237
- บังอร ปิยะพันธุ์, หน้า 11
- บาทหลวงตาชารด์, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2517, หน้า 46
- เซอร์จอห์น เบาริง แปล นันทนา ตันติเวสส์. หน้า 73
- พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสสมัยกรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพฯ:บรรณกิจ, 2523. หน้า 72
- เซอร์จอห์น เบาริง แปล นันทนา ตันติเวสส์. หน้า 95–115
- สุภัตรา ภูมิประภาส. นางออสุต: เมียลับผู้ทรงอิทธิพลแห่งการค้าเมืองสยาม. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 93.
- ภาสกร วงศ์ตาวัน. ไพร่ ขุนนาง เจ้า แย่งชิงบัลลังก์สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: ยิปซี. หน้า 80.
- ไกรฤกษ์ นานา. 500 ปี สายสัมพันธ์สองแผ่นดินไทย-โปรตุเกส. กรุงเทพฯ: มติชน, 2553. หน้า 126.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. หน้า 190.
- Liberman (2003), "Strange Parallel Southeast Asia in Global Context c. 800 - 1830, Vol. 1", at 313–314
- Liberman (2003), Strange Parallel Southeast Asia in Global Context, at 324
- Van Vliet (1692), "Description of the Kingdom of Siam" (L.F. Van Ravenswaay trans.), at 82
- Liberman (2003), "Strange Parallel Southeast Asia in Global Context", at 329–330
- "สุเนตร ชุตินธรานนท์: ไขคติ "เบิกยุค" ของพม่า เหตุย้ายเมืองหลวงไป "เนปิดอว์"". ประชาไท.
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 132
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 133
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 130
- สุดารา สุจฉายา. ประวัติศาสตร์เก็บตกที่อิหร่านย้อนรอยสายสัมพันธ์ไทย-อิหร่าน. กรุ่นกลิ่นอารยธรรมเปอร์เซียในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2550. หน้า 144
- อาทิตย์ ทรงกลด. เรื่องลับเขมรที่คนไทยควรรู้. กรุงเทพฯ:สยามบันทึก, 2552. หน้า 106
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 14.
- Donald Frederick Lach, Edwin J. Van Kley, "Asia in the making of Europe", pp. 520–521, University of Chicago Press, 1994, ISBN .
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2018.
- . Thai Ministry of Foreign Affairs. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2010.
- Smithies, Michael (2002). Three military accounts of the 1688 "Revolution" in Siam. Bangkok: Orchid Press. pp. 12, 100, 183. ISBN .
บรรณานุกรม
- Van Vliet, Jeremias, "Description of the Kingdom of Siam" (L.F. Van Ravenswaay trans.) (1692).
- Higham, Charles (1989). The Archaeology of Mainland Southeast Asia. Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN . สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2009.
- Liberman, Victor, "Strange Parallel Southeast Asia in Global Context c. 800 - 1830, Vol. 1: Integration on the Mainland" (Cambridge Univ. Press, 2003).
- Wyatt, David K. (2003). Thailand: A Short History. New Haven, Connecticut: Yale University Press. ISBN .
- โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ.
- นิโกลาส์ แชรแวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) , แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2506
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด).พระนคร: คลังวิทยา, 2507
- บาทหลวงตาชารด์, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2517
- ตรงใจ หุตางกูร. การปรับแก้เทียบศักราช และ อธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2561. ISBN
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548. ISBN
- เซอร์จอห์น เบาริง, แปล นันทนา ตันติเวสส์. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสยามกับต่างประเทศสมัยกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2527
- บังอร ปิยะพันธุ์. ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541. ISBN
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548. ISBN
- Suthachai Yimprasert, "Portuguese Lancados in Asia in the Sixteenth and Seventeenth Centuries, " Ph.D. Dissertation, University of Bristol, 1998.
แหล่งข้อมูลอื่น
- นเรศวรดอตคอม
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2008.
- . วิชาการ.คอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2007.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2008.
- กรุงศรีอยุธยา
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2012.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
krungsrixyuthya hrux xanackrxyuthya epnxanackrkhxngchnchatiithysyam ithyphakhklang inlumaemnaecaphrayainchwng ph s 1893 thung ph s 2310 mikrungsrixyuthyaepnsunyklangxanachruxrachthani thngyngmikhwamsmphnththangkarkhakbhlaychati cnthuxidwaepnsunyklangkarkhainradbnanachati echn cin ewiydnam xinediy yipun epxresiy rwmthngchatitawntk echn oprtueks sepn enethxraelnd hxlnda xngkvs aelafrngess sunginchwngewlahnungekhysamarthkhyayxanaekhtpraethsrachthungrthchankhxngphma xanackrlanna mnthlyunnan xanackrlanchang xanackrkhxm aelakhabsmuthrmlayuinpccubnxanackrxyuthya emuxngiththngkhakhay ph s 2223 2310 trapracaphraxngkhsmysmedcphranaraynmharachaephnthiexechiytawnxxkechiyngitpramanpi ph s 2083 simwngnaengin xyuthya sichmphu lanchang sinaengin lanna siekhiywxxn kmphucha simwng sichmphu campaxanackrxyuthyainpi ph s 2148 phayhlngkarthphkhxng smedcphranerswrmharachsthanarachxanackremuxnghlwngxyuthya 1893 2006 2031 2209 2231 2310 phisnuolk 2006 2031 lphburi 2209 2231 phasathwipithykarpkkhrxngrachathipityaebbskdinaphramhakstriy 1893 1913 1931 1952rachwngsxuthxng 1913 1931 1952 2112rachwngssuphrrnphumi 2112 2172rachwngssuokhthy 2172 2231rachwngsprasaththxng 2231 2310rachwngsbanphluhlwngyukhprawtisastrsmyklangaelasmyfunfusilpwithya sthapna4 minakhm ph s 1893 nbaebbptithinithysakl 12 minakhm ph s 1894 rthrwmpramukhkbxanackrsuokhthyph s 2011 erimtidtxkboprtueksph s 2054 esiykrungkhrngthihnungph s 2112 smedcphranerswrprakasxisrphaphph s 2127 karyudxanacodyphraephthrachaph s 2231 esiykrungkhrngthisxng7 emsayn ph s 2310kxnhna thdipxanackrlaowaekhwnsuphrrnphumixanackrsuokhthyxanackrnkhrsrithrrmrach xanackrthnburirachwngsoknbxngpccubnepnswnhnungkhxng ithy kmphucha maelesiy phma law ewiydnam cinsphthmulwithyachuxkhxngxanackrxyuthyamacakkhawa xoythya hrux surixoythya caruklanthxngwdsxngkhb 1 cnghwdchynath ph s 1951 xoychch hrux xoychchpura carukwdphrasrirtnmhathatusuphrrnburi lanthi 1 xayuththiya hrux oythiya tananphrathatudxysuethph srioythya smudphaphitrphumi chbbkrungsrixyuthya sriyuththya carukphrarachmuni hlkthi 314 hmaythung emuxngthistruimxacrbchnaid epnchuxmacakchuxemuxngkhxngphraraminnithanxinediyeruxng ramayna txma praesrith n nkhr idesnxaekepn xyuthya cungichkhawa xyuthya maodytlxd 13 swnnkprawtisastrruntxmasnnisthanwa xoythya macakcarukekhakb cnghwdnkhrswrrkh khacarukpraktchuxwa xoythyasriramethphnkhr 125 swnchuxxanackrxyuthyainphrarachphngsawdarkrungsrixyuthya aelaphrarachphngsawdarphmainkarrbrukhxngchawphmapraktchux oyediy oythya xoycha Ayoja hrux kh ywm Gywan krxnmacakkhawa xoythya hmaythung chawithycakphakhklang aelaphakhitkhxngithy imrwmithihy aelalanna aelaynghmaythung rachthaniaelaxanackrthwarwdisrixyuthyasungsthapnakhunin ph s 1893 122 chuxxanackrxyuthyainbnthuktangchatifngexechiytawntkechiyngit phbinbnthukkhxngrachthutepxresiychux The Ship of Sulaiman thiekhamainrchkalsmedcphranaraynmharachwa chah ri enaw 118 118 epxresiy شهر نو 168 xngkvs Shahr i Nau 168 shahr i nav 132 Shahr i Nao 125 chah ri hrux chah r hmaythung emuxng enaw hmaythung emuxngihm hrux erux 118 echingxrrth 1 emuxrwmkncunghmaythung emuxngihmxnepnemuxngaehngnawa mierux aelaaemnalakhlxngmakmay 146 nkprawtisastrsilpaelankobrankhdikhxngithymikhwamehnwa briewnfngtawnxxkkhxngekaaxyuthyaxacekhyepnthitngkhxngemuxngekamakxnthicasthapnaxanackrxyuthyakhunraw kh s 1350 74 echingxrrth 2 chuxkhxngxanackrxyuthyainbnthukkhxngchawtawntkxun ephiynmacak chah ri enaw inphasaepxresiy echn aechrnxenim Cernonem phbin bnthukkaredinthangkhxngnikokol ed khngti Niccolo de Giovanni Conti thiedinmaekhamayngxusakhenyraw kh s 1425 1430 chiaexron Scierno inphasaxitaliphbinaephnthiolk Il Mappamondo di Fra Mauro ekhiynody fra emaor emux kh s 1450 swnexksaroprtuekschux sarenas Xarnauz ephiynmacakphasaepxresiyechnkn phbin cdhmayehtukaredinthangsuxinediykhrngthi 1 khxngwasok da kama kh s 1497 1499 Roteiro da primeira viagem de Vasco da Gama a India 1497 1499 ekhaicwacdhmayehtuniekhiynody ewlyu Alvaro Velho epntn chuxxun inexksarsepnyngpraktwa oxediy Odia Iudua Iudiad Iudia hrux yuediy Judia Juthia Yuthia 125 hrux phramhankhroyediy bnthukkhxngnikxla aechraews sungedinthangekhamaemuxplayrchkalsmedcphranaraynmharach michuxwa Meuang Sijouthia Ayut ia 15 swnchawyipuneriykxyuthyawa chamor Shamro 153 thitngkrungsrixyuthyaepnekaasungmiaemnasamsaylxmrxbxyu idaek aemnapaskthangthistawnxxk aemnaecaphrayathangthistawntkaelathisit aelaaemnalphburithangthisehnux edimthibriewnniimidmisphaphepnekaa aetsmedcphraecaxuthxngthrngdariihkhudkhuechuxmaemnathngsamsay ephuxihepnprakarthrrmchatipxngknkhasuk thitngkrungsrixyuthyayngxyuhangcakxawithyimmaknk thaihkrungsrixyuthyaepnsunyklangkarkhakbchawtangpraeths aelaxacthuxwaepn emuxngthatxnin enuxngcakepnsunyklangesrsthkickhxngphumiphakh misinkhakwa 40 chnidcaksngkhramaelarthbrrnakar aemwatwemuxngcaimtidthaelktam mikarpraeminwa raw ph s 2143 krungsrixyuthyamiprachakrpraman 300 000 khn aelaxacsungthung 1 000 000 khn raw ph s 2243 bangkhrngmiphueriykkrungsrixyuthyawa ewnisaehngtawnxxk pccubnbriewnniepnswnhnungkhxngxaephxphrankhrsrixyuthya cnghwdphrankhrsrixyuthya phunthithiekhyepnemuxnghlwngkhxngithynn khux xuthyanprawtisastrphrankhrsrixyuthyatwnkhrpccubnthuktngkhunihmhangcakkrungekaipephiyngimkikiolemtrprawtikarkaenid khwamepnmakxnkarsthapnakrungsrixyuthyaepnrachthanikhxngxanackrxyuthyannmipraktinkdhmayekachux phraxykarebdesrc xaykarebdesrc mhaskrach 1146 pimaaem ph s 1768 trakhunkxnkarsthapnaxanackrxyuthya rabuphranamkstriyemuxngxoythyaedimwa phrabathsmedcphraramathibdisriwisuththiburuosdmbrmckrphrrdithrrmikkrachedochichethphadiethphtriphuwnathiebs brmbphitrphraphuththiecaxyuhw swnexksarkhxngthngfayithyaelatangpraeths xathi phngsawdarehnuxinswnthiekiywkb phngsawdarlanchangthiwakhunbrmidihkaenidbutrecdkhnipkhrxngemuxngtang odykhnthihakhux ngwxin idkhrxngemuxngxoythya aelaphngsawdarrachwngshywnthiaemimpraktchux xoythya aetpraktchuxaekhwn esiym aela hlxowk thixachmaythungaekhwnsuphrrnburiaelalaow karkaenidxanackrxyuthyathiidrbkaryxmrbkwangkhwangthisud khux epnrththimisunyklangxyuthikrungsrixyuthyainthirablumaemnaecaphraya odyepnkarrwmxanacknrahwangxanackrlaowaelaxanackrsuphrrnphumi odychwngplayphuththstwrrsthi 19 xaccaephraaphyorkhrabadkhukkham smedcphraecaxuthxngcungthrngyayrachsankmayngthirablumnathwmthungxnxudmsmburnkhxngaemnaecaphraya briewnhnxngosnbnekaathilxmrxbdwyaemnasunginxditekhyepnnkhrthaeruxedinthael chux xoythya nkhrihmniidrbkarkhnannamwa krungphrankhrsrixyuthya hrux krungethphmhankhrbwrthwarawdisrixyuththya mhadilkphphnphrtn rachthaniburirmy hrux xoythyasriramethphnkhr sungphayhlngmkeriykwa krungsrixyuthya aeplkhwamhmaywa nkhrthiimxacthalayid phrabriharethphthani xthibaywa chawithyerimtngthinthanbriewntxnklang aelatxnlangkhxnglumaemnaecaphrayamatngaetphuththstwrrsthi 18 aelw thngyngekhyepnthitngkhxngemuxngsngkhburi xoythya esnarachnkhr aelakmophchnkhr txma rawplayphuththstwrrsthi 19 xanackrkhxmaelasuokhthyerimesuxmxanaclng phraecaxuthxngthrngdaricayayemuxngaelakxsrangemuxngkhunmaihmodysngkhnachangkxsrangipyngxinediyaelaidlxkeliynaebbphngemuxngxoythyamasrangaelasthapnaihmichuxwa krungsrixyuthya inswnwnsthapnakrungsrixyuthya thiphanmaidmikarkhanwnprbethiybwneduxnpithangcnthrkhtithimirabuinphrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith khwamwa skrach 712 khalsk wnsukr khun 6 kha eduxnha watrngkbwnsukrthi 4 minakhm c s 712 caknnbwk 1181 ekhaipephuxaeplngculskrachihepnphuththskrach cungidwa trngkbwnsukrthi 4 minakhm ph s 1893 aelaephyaephrknodythwipnn hakphicarnaaelaprbaekihsxdkhlxngkbptithinithysaklthiichknxyuinpccubnsungkhunpiihminwnthi 1 mkrakhm wnsthapnacatrngkb wnsukrthi 12 minakhm ph s 1894 kh s 1351 karkhyayxanaekht krungsrixyuthya ph s 2209 wadodybristhxinediytawnxxkkhxngenethxraelndaephnthikrungsrixyuthya chbbphimphpi kh s 1696 ph s 2239 krungewnis wadody winechngos marixa okholenlli nkphumisastr changwadaephnthi aelachangthalukolkchawxitalithimichuxesiyngthisudinyuorpinkhriststwrrsthi 17 SIAM o IUDIA Dedicata Dal P Cosmografo Coronelli All Illustriſsimo Sig Giovanni Emo Figliuolo dell Eccellentissimo S Pietro inchwngphuththstwrrsthi 20 xanackrxyuthyaidrbkaryxmrbwaepnhnunginchatimhaxanacthisudaehnghnunginxusakhenyaephndinihy aelaiderimkhrxngkhwamepnihyodyerimcakkarphichitrachxanackraelankhrrththangehnux xathi suokhthy kaaephngephchraelaphisnuolk mikarocmtiemuxngphrankhraehngxanackrkhxmsungepnmhaxanackhxngphumiphakhinkhnann cnxiththiphlkhxngxanackrkhxmkhxy canghayipcaklumaemnaecaphraya aelaxyuthyaklaymaepnmhaxanacihmaethn xyangirkdi xanackrxyuthyamiidepnrththirwmepnhnwyediywkn hakepnkarpatidpatxknkhxngxanaekht principality thipkkhrxngtnexng aelapraethsrachthiswamiphkditxphramhakstriykrungsrixyuthyaphayitprimnthlaehngxanac Circle of Power hruxrabbmnthl mandala dngthinkwichakarbangfayesnx xanaekhtehlanixacpkkhrxngodyphrabrmwngsanuwngskrungsrixyuthya hruxphupkkhrxngthxngthinthimikxngthphxisrakhxngtnexng thimihnathiihkarsnbsnunaekemuxnghlwngyamsngkhramkid xyangirkdimihlkthanwa bangkhrngthiekidkarkbtthxngthinthinaodyecahruxphramhakstriythxngthinkhunephuxtngtnepnexkrach xyuthyakcatxngprabpram dwyirsungkdkarsubrachsntiwngsaelamonthsnkhunthrrmniym inbangsmy meritocracy xnrunaerng thaihemuxidktamthikarsubrachsntiwngsepnthiphiphath ecapkkhrxnghwemuxnghruxphusungskdi dignitary thithrngxanaccaxangkhunkhwamdikhxngtnrwbrwmiphrphlaelaykthphmayngemuxnghlwngephuxkddntamkhxeriykrxng cnlngexydwyrthpraharxnnxngeluxdhlaykhrng inchwngphuththstwrrsthi 21 xyuthyaaesdngkhwamsnicinkhabsmuthrmlayu thisungmalakaemuxngthasakhy xyuthyaphyayamykthphiptimalakahlaykhrngaetirphl malakamikhwamekhmaekhngthngthangkarthutaelathangesrsthkic dwyidrbkarsnbsnunthangthharcakrachwngshmingkhxngcin hnunginnnkhuxkarthiaemthpheruxecingehxaehngrachwngshmingidsthapnathanptibtikaraehnghnungkhunthimalaka epnehtuihcinimxacyxmsuyesiytaaehnngyuththsastrniaekrthxun phayitkarkhumkhrxngni malakacungecriyrungeruxngkhunepnhnunginkhuaekhngthangkarkhathiyingihykhxngxyuthya krathngthukoprtueksphichitemux ph s 2054 karesiykrungsrixyuthyakhrngthihnung erimtngaetplayphuththstwrrsthi 21 xanackrxyuthyathukrachwngstxngxuocmtihlaykhrng sngkhramkhrngaerkkhux sngkhramphraecataebngchewti emux ph s 2091 92 aetlmehlw karrukrankhrngthisxngkhxngrachwngstxngxu hruxeriykwa sngkhramchangephuxk smyphramhackrphrrdi emux ph s 2106 phraecabuerngnxngthrngihsmedcphramhackrphrrdiyxmcann phrabrmwngsanuwngsbangswnthukphaipyngkrunghngsawdi aelasmedcphramhinthrathirach phrarachoxrsxngkhot thrngidrbaetngtngepnecapraethsrach emux ph s 2112 rachwngstxngxurukranxikepnkhrngthisam aelasamarthyudkrungsrixyuthyaidinpitxma hnniphraecabuerngnxngthrngaetngtngsmedcphramhathrrmrachathirachepnecapraethsrach karfuntw phayhlngthiphraecabuerngnxngswrrkhtemux ph s 2124 smedcphranerswrmharachthrngprakasexkrachaekkrungsrixyuthyaxiksampiihhlng xyuthyatxsupxngknkarrukrankhxngrthhngsawdihlaykhrng cninkhrngsudthay smedcphranerswrmharachthrngplngphrachnmemngciswa Mingyi Swa xuprachakhxngrachwngstxngxuidinsngkhramyuththhtthiemux ph s 2135 caknnxyuthyaklbepnfaybukodyyudchayfngtanawsrithnghmdkhunipcnthungemaatamain ph s 2138 aelalannain ph s 2145 smedcphranerswrmharachthrngykthphekhaipinphmalukthungtxngxuin ph s 2143 aetthrngthukkhbklbma hlngsmedcphranerswrmharachesdcswrrkhtemux ph s 2148 tanawsritxnehnuxaelalannaktkepnkhxngxanackrtxngxuxikkhrngin ph s 2157 xyuthyaphyayamyukhrxnglannaaelatanawsritxnehnuxklbkhunrahwang ph s 2205 07 aetlmehlw karkhakhaykbtangchatiimephiyngaetihxyuthyamisinkhafumefuxyethann aetyngidrbxawuthyuthothpkrnihm dwy odyechphaainrchsmysmedcphranaraynmharach xyuthyamikhwamecriyrungeruxngmak aetklbsuyesiykarkhwbkhumehnuxhwemuxngrxbnxk phupkkhrxngthxngthinichxanackhxngtnxyangxisra aelaerimkbttxemuxnghlwngmakkhun karlmslay hlngcakyukhsmyxnnxngeluxdaehngkartxsukhxngrachwngs krungsrixyuthyaekhasu yukhthxng emuxsilpa wrrnkrrmaelakareriynruefuxngfu yngmisngkhramkbtangchati krungsrixyuthyasurbkbecaehngiyn Nguyễn Lords sungepnphupkkhrxngewiydnamit ephuxkarkhwbkhumkmphucha erimtngaet ph s 2258 aetphykhukkhamthiihykwamacakrachwngsxlxngphyasungidphnwkrthchanekhamaxyuinxanac chwng 50 pisudthaykhxngrachxanackrmikarsurbxnnxngeluxdrahwangecanay odymiphrarachbllngkepnepahmayhlk ekidkarkwadlangkharachsankaelaaemthphnaykxngthimikhwamsamarthtamma smedcphrathinngsuriyasnxmrinthr phraecaexkths phramhakstriyphraxngkhsudthay bngkhbihsmedcphraecaxuthumphr phraxnuchathirach sungepnphramhakstriyxyukhnannslarachsmbtiaelakhunkhrxngrachyaethn ph s 2303 phraecaxlxngphyathrngykthphrukranxanackrxyuthya hlngcakxyuthyawangewnsukphaynxkmanankwa 150 pi camikephiyngkarnaiphrphlekhatxtiknexngephuxaeyngchingxanacethann sunginkhnann xyuthyaekidkaraeyngchingbllngkrahwangecafaexkthskbecafaxuthumphr xyangirkdi phraecaxlxngphyaimxachkexakrungsrixyuthyaidinkarthphkhrngnn aetin ph s 2308 phraecamngra phrarachoxrsaehngphraecaxlxngphya thrngaebngkalngxxkepnsxngswn aelaetriymkarkwasampi mungekhatixanackrxyuthyaphrxmknthngsxngdan fayxyuthyatanthankarlxmkhxngthphphmaiwid 14 eduxn aetkimxachyudyngkarkxngthphrthxngwaid enuxngcakmikalngmak aelatxngkarthalaysunyxanacxyangxyuthyalngephuxpxngknkarklbmamixanac xikthngkxngthphxngwayngtidsukkbcinrachwngschingxyuenuxng hakplxyihekidkarsurbyudeyuxtxipxik kcaepnphyaekxngwa aelamisngkhramimcbsin inthisudkxngthphxngwasamarthekhaphrankhridinwnthi 7 emsayn ph s 2310 inchwngpi ph s 2303 2310 miehtukarnephathalayemuxngaelaplnemuxngipswnihy odyinpi ph s 2310 phmaidephathalaykrungsrixyuthyatamphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthumas ecim chbbsmedcphraphnrtnwdphraechtuphn hlkthanxun echn khaihkarkhunhlwnghawd hnngsuxsngkhitiywngs aelabnthukkhxngchawtangchatiechn oraebrt okset Robert Goste frxngsw xxngri turaepng aela khunphxkxr thixasyxyuinrachxanackraelaidbnthukehtukarnexaiw odyturaepngidbnthukiwwa 149 wnthi 28 emsayn ph s 2310 banemuxngthukkhasukbukekhaocmtithrphysmbtiinphrarachwngaelawdwaxaramtang aethbimehluxsingidnxkcaksakprkhkphngaelaethathan phraphuththrupthukkhasukephacnhlxmlalay eplwephlingthiluklamthaihphuchnathipaethuxntxngsuyesiysingkhxngthiplnchingma sungkxnhnaniidkratunihphwkekhaekidkhwamlaomb phwkphmayngidrabaykhwamokrthaekhnkhxngphwkekhacakkarsuyesiyinkhrngniipynghwemuxngtang rayphranamphramhakstriyphramhakstriyaehngxanackrxyuthya mithngsin 33 phraxngkh odymirayphranamdngtxipni phramhakstriy khrxngrachyrchkal phrarup phranam rahwang hmayehtukmphuchainchwngkarptiwtikhxm ph s 1879 xanackrxyuthya ph s 1894 2310 rachwngsxuthxng khrngthi 1 ph s 1894 1913 11 smedcphraramathibdithi 1 3 emsayn ph s 1857 ph s 1912 55 phrrsa 12 minakhm ph s 1894 ph s 1912 20 pi hruxphranam phraecaxuthxng epnpthmkstriyaehngxanackrxyuthya aelaepnpthmkstriyaehngrachwngsxuthxng12 1 smedcphraraemswr ph s 1882 1938 56 phrrsa ph s 1912 1913 1 pi khrxngrachykhrngthi 1rachwngssuphrrnphumi khrngthi 1 ph s 1913 1931 13 smedcphrabrmrachathirachthi 1 ph s 1853 1931 78 phrrsa ph s 1913 1931 18 pi hruxphranam khunhlwngphangw epnpthmkstriyaehngrachwngssuphrrnphumi14 smedcphraecathxngln ph s 1917 1931 14 phrrsa ph s 1931 7 wn hruxphranam ecathxngcnthr hrux ecathxngln hrux ecathxngcn hrux ecathxnglnthrrachwngsxuthxng khrngthi 2 ph s 1931 1952 12 2 smedcphraraemswr ph s 1882 1938 56 phrrsa ph s 1931 1938 7 pi khrxngrachy khrngthi 215 smedcphraecaramracha ph s 1899 1952 53 phrrsa ph s 1938 1952 14 pi hruxphranam smedcphyarameca hrux smedcphraecaramrachathirachrachwngssuphrrnphumi khrngthi 2 ph s 1952 2112 16 smedcphraxinthracha ph s 1902 1967 65 phrrsa ph s 1952 1967 15 pi hruxphranam ecankhrxinthr hrux smedcphrankhrinthrathirach17 smedcphrabrmrachathirachthi 2 ph s 1929 1991 62 phrrsa ph s 1967 1991 24 pi hruxphranam ecasamphraya18 smedcphrabrmitrolknath ph s 1974 2031 57 phrrsa ph s 1991 2031 40 pi hruxkdmnethiyrbal xxkphranamwa smedcphraramathibdibrmitrolknath mhamngkudethphymnusy brisuththisuriywngs xngkhphuththangkurbrmbphitrptirupkarpkkhrxngctusdmph ph s 2006 19 smedcphrabrmrachathirachthi 3 ph s 2005 2034 29 phrrsa ph s 2031 2034 3 pi hruxphranam phrabrmracha20 smedcphraramathibdithi 2 ph s 2015 10 tulakhm ph s 2072 57 phrrsa ph s 2034 10 tulakhm ph s 2072 38 pi hruxphranam phraechstha hruxkhrngthrngdarngphraysepnxuprachthrngphranamwa phraexkstrach21 smedcphrabrmrachathirachthi 4 ph s 2031 2076 45 phrrsa ph s 10 tulakhm ph s 2072 2076 4 pi hruxphranam hnxphuththangkur22 smedcphrarsdathirach ph s 2072 2077 5 phrrsa ph s 2077 5 eduxn 23 smedcphraichyrachathirach ph s 2042 2089 47 phrrsa ph s 2077 2089 13 pi 24 smedcphrayxdfa ph s 2078 10 mithunayn ph s 2091 13 phrrsa ph s 2089 10 mithunayn ph s 2091 2 pi hruxphranam phraaekwfa khunwrwngsathirach ph s 2046 2091 45 phrrsa ph s 2091 42 wn nkprawtisastrithybangthanimnbwaphraxngkhepnphramhakstriyephraathuxwaepnkbtsmkhbkbnangphrayaaemxyuhwsrisudacnthraeyngchingrachbllngkcaksmedcphrayxdfa xyangirktam inphngsawdaridrabuwaphraxngkhidphanphrarachphithibrmrachaphieskaelw25 smedcphramhackrphrrdi ph s 2048 2111 63 phrrsa 29 krkdakhm ph s 2091 2111 20 pi hruxphranam phraecachangephuxk26 smedcphramhinthrathirach ph s 2082 2112 30 phrrsa ph s 2111 7 singhakhm ph s 2112 1 pi esiykrungkhrngthi 1 ph s 2112 rachwngssuokhthy ph s 2112 2231 27 smedcphramhathrrmrachathirach ph s 2057 29 krkdakhm ph s 2133 76 phrrsa 7 singhakhm ph s 2112 29 krkdakhm ph s 2133 21 pi hruxphranam smedcphrasrrephchythi 1kxbkuexkrachhludphncakkarpkkhrxngkhxngxanackrtxngxu ph s 2135 28 smedcphranerswrmharach ph s 2098 25 emsayn ph s 2148 50 phrrsa 29 krkdakhm ph s 2133 25 emsayn ph s 2148 15 pi hruxphranam smedcphrasrrephchythi 2 hrux phraxngkhda29 smedcphraexkathsrth ph s 2103 2153 50 phrrsa 25 emsayn ph s 2148 2153 5 pi hruxphranam smedcphrasrrephchythi 3 hrux phraxngkhkhaw30 smedcphrasriesawphakhy ph s 2128 2154 26 phrrsa ph s 2153 2154 1 pi 2 eduxn hruxphranam smedcphrasrrephchythi 431 smedcphraecathrngthrrm ph s 2135 12 thnwakhm ph s 2171 36 phrrsa ph s 2154 12 thnwakhm ph s 2171 17 pi hruxphranam smedcphrabrmrachathi 132 smedcphraechsthathirach ph s 2155 2173 18 phrrsa 12 thnwakhm ph s 2171 2173 1 pi 7 eduxn hruxphranam smedcphrabrmrachathi 233 smedcphraxathitywngs ph s 2161 2178 17 phrrsa ph s 2173 2173 36 wn rachwngsprasaththxng ph s 2173 2231 34 smedcphraecaprasaththxng ph s 2143 2199 56 phrrsa ph s 2173 2199 25 pi hruxphranam smedcphrasrrephchythi 535 smedcecafaichy ph s 2173 2199 26 phrrsa ph s 2199 9 eduxn hruxphranam smedcphrasrrephchythi 636 smedcphrasrisuthrrmracha ph s 2143 26 tulakhm ph s 2199 56 phrrsa ph s 2199 26 tulakhm ph s 2199 2 eduxn 20 wn hruxphranam smedcphrasrrephchythi 737 smedcphranaraynmharach 16 kumphaphnth ph s 2175 11 krkdakhm ph s 2231 56 phrrsa 26 tulakhm ph s 2199 11 krkdakhm ph s 2231 32 pi hruxphranam smedcphraramathibdithi 3karptiwtisyam ph s 2231 rachwngsbanphluhlwng ph s 2231 2310 38 smedcphraephthracha ph s 2175 6 kumphaphnth ph s 2246 71 phrrsa 11 krkdakhm ph s 2231 6 kumphaphnth ph s 2246 15 pi hruxphranam smedcphramhaburus wisuththiedchxudm39 smedcphraecasurieynthrathibdi ph s 2204 9 kumphaphnth ph s 2251 47 phrrsa 6 kumphaphnth ph s 2246 9 kumphaphnth ph s 2251 5 pi hruxphranam smedcphrasrrephchythi 8 hrux phraecaesux40 smedcphrathinngthaysra ph s 2221 2275 54 phrrsa 9 kumphaphnth ph s 2251 ph s 2275 24 pi hruxphranam smedcphrasrrephchythi 9 hrux phraecathaysra41 smedcphraecaxyuhwbrmoks ph s 2223 26 emsayn ph s 2301 78 phrrsa ph s 2275 26 emsayn ph s 2301 26 pi hruxphranam smedcphramhathrrmrachathirachthi 242 smedcphraecaxuthumphr ph s 2265 2339 74 phrrsa ph s 2301 2 eduxn hruxphranam smedcphramhathrrmrachathirachthi 3 hrux khunhlwnghawd43 smedcphrathinngsuriyasnxmrinthr ph s 2252 2310 58 phrrsa ph s 2301 7 emsayn ph s 2310 9 pi hruxphranam smedcphrabrmrachathi 3 hrux phraecaexkths hrux khunhlwngkhieruxnesiykrungkhrngthi 2 ph s 2310 karpkkhrxngchwngaerkmikarpkkhrxngkhlaykhlungkbinsmysuokhthy phramhakstriymisiththipkkhrxngodytrnginrachthani hakthrngichxanacphankharachkaraelakhunnangechnkn nxkcakniyngmirabbkarpkkhrxngphayinrachthanithieriykwa ctusdmph tamkareriykkhxngsmedcphraecabrmwngsethxkrmphrayadarngrachanuphaph xnidaek krmewiyng krmwng krmkhlng aelakrmna karpkkhrxngnxkrachthani prakxbdwy emuxnghnadan emuxngchnin emuxngphrayamhankhr aelaemuxngpraethsrach odymirupaebbkracayxanacxxkcaksunyklangkhxnkhangmak emuxnghnadan idaek lphburi nkhrnayk phrapraaedng aelasuphrrnburi tngxyurxbrachthanithngsithis rayaedinthangcakrachthanisxngwn phramhakstriythrngsngechuxphrawngsthiiwwangphrathyippkkhrxng aetrupaebbninamasungpyhakaraeyngchingrachsmbtixyubxykhrng emuxngchninthrngpkkhrxngodyphurng thdxxkipepnemuxngphrayamhankhrhruxhwemuxngchnnxk pkkhrxngodyecaemuxngthisubechuxsaymaaetedim mihnathicayphasiaelaeknthphukhninrachkarsngkhram aelasudthaykhuxemuxngpraethsrach phramhakstriyplxyihpkkhrxngknexng ephiyngaettxngsngekhruxngbrrnakarmaihrachthanithukpi txma smedcphrabrmitrolknath khrxngrachy ph s 1991 2031 thrngykelikrabbemuxnghnadanephuxkhcdpyhakaraeyngchingrachsmbti aelakhyayxanackhxngrachthaniodykarklunemuxngrxbkhangekhaepnswnhnungkhxngrachthani sahrbrabbctusdmph thrngaeykkickarphleruxnxxkcakkickarthharxyangchdecn ihxyuphayitkhwamrbphidchxbkhxngsmuhnaykaelasmuhklaohmtamladb nxkcakniyngmikarepliynchuxkrmaelachuxtaaehnngesnabdi aetyngkhngiwsunghnathikhwamrbphidchxbedim swnkarpkkhrxngswnphumiphakhmilksnaepliynipinthangkarrwmxanacekhasusunyklangihmakthisud odyihemuxngchnnxkekhamaxyuphayitxanackhxngrachthani mirabbkarpkkhrxngthilxkmacakrachthani mikarladbkhwamsakhykhxnghwemuxngxxkepnchnexk oth tri sahrbhwemuxngpraethsrachnnswnihyimkhxymikarepliynaeplngkarpkkhrxngmaknk hakaetphramhakstriycamiwithikarkhwbkhumkhwamcngrkphkditxrachthanihlaywithi echn kareriykecaemuxngpraethsrachmapruksarachkar hruxmarwmphrarachphithibrmrachaphieskhruxthwayphraephlingphrabrmsphinrachthani karxphiesksmrsodykarihsngrachthidamaepnsnm aelakarsngkharachkarippkkhrxngemuxngiklekhiyngkbemuxngpraethsrachephuxkhxysngkhaw sungemuxngthimihnathidngklaw echn phisnuolkaelankhrsrithrrmrach inrchsmysmedcphraephthracha khrxngrachy ph s 2231 2246 thrngkracayxanacthangthharsungedimkhunxyukbsmuhklaohmaetphuediywxxkepnsamswn odyihsmuhklaohmepliynipkhwbkhumkickarthharinrachthani kickarthharaelaphleruxnkhxnghwemuxngthangit ihsmuhnaykkhwbkhumkickarphleruxninrachthani kickarthharaelaphleruxnkhxnghwemuxngthangehnux aelaphraoksathibdi ihduaelkickarthharaelaphleruxnkhxnghwemuxngtawnxxk txma smysmedcphraecaxyuhwbrmoks 2275 2301 thrngldxanackhxngsmuhklaohmehluxephiyngthipruksarachkar aelaihhwemuxngthangitipkhunkbphraoksathibdidwy nxkcakni insmysmedcphramhathrrmrachathirach khrxngrachy ph s 2112 2133 yngidcdkalngpxngknrachthanixxkepnsamwng idaek wnghlwng mihnathipxngknphrankhrthangehnux wnghna mihnathipxngknphrankhrthangtawnxxk aelawnghlng mihnathipxngknphrankhrthangtawntk rabbdngklawichmacnthungsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwphthnakarkhnithyimekhykhadaekhlnesbiyngxaharxnxudmsmburn chawnaplukkhawephuxkarbriophkhkhxngtnexngaelaephuxcayphasi phlphlitswnthiehluxxyuichsnbsnunsthabnsasna xyangirkdi tngaetkhriststwrrsthi 13 thung 15 mikarepliynaeplngthinasngektinkarplukkhawkhxngithy bnthisung sungprimanfnimephiyngphx txngidrbnaephimcakrabbchlprathanthikhwbkhumradbnainthinanathwm khnithyhwanemldkhawehniywthiyngepnsinkhaophkhphnthhlkinphakhehnuxaelatawnxxkechiyngehnuxpccubn aetinthirabnathwmthungecaphraya chawnahnmaplukkhawhlaychnid thieriykwa hruxkhawnaemuxng floating rice sungepnsayphnthuyaweriyw imehniywthirbmacakebngkxl sungcaetibotxyangrwderwthnphrxmkbkarephimkhunkhxngradbnainthilum sayphnthuihmnietibotxyangngaydayaelaxudmsmburn thaihmiphlphlitswnekinthisamarthkhaytangpraethsidinrakhathuk chann krungsrixyuthya sungtngxyuitsudkhxngthirabnathwmthung cungklayepnsunyklangkickrrmthangesrsthkic phayitkarxupthmphkhxngphramhakstriy aerngngankxrewkhudkhlxngsungcamikarnakhawcaknaipyngeruxkhxnghlwngephuxsngxxkipyngcin inkhbwnkarni hadokhlnrahwangthaelaeladinaennsungthukmxngwaimehmaaaekkarxyuxasy thukthmaelaetriymdinsahrbephaapluk tampraephni phramhakstriymihnathiprakxbphithikrrmthangsasnaephuxprasathphrkarplukkhaw aemkhawcaxudmsmburninkrungsrixyuthya aetkarsngxxkkhawkthukhamepnbangkhrngemuxekidthuphphikkhphy ephraaphyphibtithrrmchatihruxsngkhram odypktikhawthukaelkepliynkbsinkhafumefuxyaelaxawuthyuththphnthcakchawtawntk aetkarplukkhawnnmiephuxtladphayinpraethsepnhlk aelakarsngxxkkhawnnechuxthuximidxyangchdecn karkhakbchawyuorpkhukkhkinkhriststwrrsthi 17 xnthicring phxkhayuorpkhaysinkhakhxngtn sungepnxawuthsmyihm echn irefilaelapunihy epnhlk kbphlitphnththxngthincakpainaephndin echn imsaphan hnngkwangaelakhaw nkedineruxchawoprtueks klawthunginkhriststwrrsthi 16 wa krungsrixyuthyann xudmipdwysinkhadi phxkhatangchatiswnmakthimayngkrungsrixyuthyaepnchawyuorpaelachawcin aelathukthangkarekbphasi rachxanackrmikhaw eklux plaaehng ehlaorng arrack aelaphuchphkxyudasdun karkhakbchawtangchati sungepnchawhxlndaepnhlk thungradbsungsudinkhriststwrrsthi 17 krungsrixyuthyaklaymaepncudhmayplaythanghlksahrbphxkhacakcinaelayipun chdecnwa chawtangchatierimekhamamiswninkaremuxngkhxngrachxanackr phramhakstriykrungsrixyuthyawangkalngthharrbcangtangdawsungbangkhrngkekharwmrbkbxrirachstruinsuksngkhram xyangirkdi hlngcakkarkwadlangchawfrngessinplaykhriststwrrsthi 17 phukhahlkkhxngkrungsrixyuthyaepnchawcin hxlndacakbristhxinediytawnxxkkhxngenethxraelndyngmikarkhakhayxyu esrsthkickhxngxanackresuxmlngxyangrwderwinkhriststwrrsthi 18phthnakarthangsngkhmaelakaremuxngkhunnangsmyxyuthyaswmlxmphxk nbaetkarptirupkhxngsmedcphrabrmitrolknath phramhakstriyxyuthyathrngxyu n sunyklangaehngladbchnthangsngkhmaelakaremuxngthicdchwngchnxyangsung sungaephipthwrachxanackr dwykhadhlkthan cungechuxknwa hnwyphunthankhxngkarcdraebiybsngkhminrachxanackrxyuthya khux chumchnhmuban thiprakxbdwykhrweruxnkhrxbkhrwkhyay krrmsiththiinthidinxyukbphuna thithuxiwinnamkhxngchumchn aemchawnaecakhxngthrphysincaphxickarichthidinechphaaethathiichephaaplukethann khunnangkhxy klayipepnkharachsank hruxxamaty aelaphupkkhrxngbrrnakar tributary ruler innkhrthisakhyrxnglngma thaythisud phramhakstriythrngidrbkaryxmrbwaepnphrasiwa hruxphrawisnu lngmacutibnolk aelathrngklaymaepnsingmngkhlaekphithiptibtiinthangkaremuxng sasna thimiphrahmnepnphuprakxbphithi sungepnkharachbripharinrachsank inbribthsasnaphuthth ethwrachaepnphraophthistw khwamechuxinethwrachy divine kingship khngxyuthungkhriststwrrsthi 18 aemthungkhnann nythangsasnakhxngmncamiphlkrathbcakdktam emuxmithidinsarxngephiyngphxsahrbkarksikrrm rachxanackrcungxasykaridmaaelakarkhwbkhumkalngkhnxyangphxephiyngephuxepnphuichaerngnganinirnaaelakarpxngknpraeths karetibotxyangrwderwkhxngxyuthyanamasungkarsngkhramxyangtxenuxng aelaenuxngcakimmiaewnaekhwnidinphumiphakhmikhwamidepriybthangethkhonolyi phlaehngyuththkarcungmktdsindwykhnadkhxngkxngthph hlngcakkarthphthiidrbchychnainaetlakhrng xyuthyaidkwadtxnphukhnthithukphichitklbmayngrachxanackrcanwnhnung thisungphwkekhacathukklunaelaephimekhaipinkalngaerngngan smedcphraramathibdithi 2 thrngsthapnarabbkxrew Corvee aebbithykhun sungesrichnthukkhncatxngkhunthaebiynepnkha hruxiphr kbecanaythxngthin epnkarichaerngnganodyimidrbkhatxbaethnid iphrchaytxngthukeknthinyamekidsuksngkhram ehnuxkwaiphrkhuxnay phurbphidchxbtxrachkarthhar aerngngankxrewinkaroythasatharna aelabnthidinkhxngkharachkarthiekhasngkd iphrswycayphasiaethnkarichaerngngan hakekhaekliydkarichaerngnganaebbbngkhbphayitnay ekhasamarthkhaytwepnthasaeknayhruxecathinadungdudkwa phucacaykhatxbaethnaekkarsuyesiyaerngngankxrew cnthungkhriststwrrsthi 19 kalngkhnkwahnunginsamepniphr rabbiphrepnkarlidrxnsiththiesriphaphkhxngprachachnxyangmakemuxethiybkbsmysuokhthy odykahndihchaythukkhnthisungtngaet 1 25 emtrkhuniptxnglngthaebiyniphr rabbiphrmikhwamsakhytxkarrksaxanacthangkaremuxngkhxngphramhakstriy ephraahakecanayhruxkhunnangebiydbngiphriwepncanwnmakaelw yxmsngphltxesthiyrphaphkhxngrachbllngk tlxdcnsngphlihkalnginkarpxngknxanackrxxnaex imepnpukaephn nxkcakni rabbiphryngepnkareknthaerngnganephuxichpraoychninokhrngkarkxsrangtang sunglwnaetekiywkhxngkbmatrthanchiwitaelakhwammnkhngkhxngxanackr khwammngkhng sthanphaph aelaxiththiphlthangkaremuxngsmphnthrwmkn phramhakstriythrngaebngsrrnakhawihaekkharachsank phuwarachkarthxngthin phubychakarthhar epnkartxbaethnkhwamdikhwamchxbthimitxphraxngkh tamrabbskdina khnadkhxngkaraebngsrraekkharachkaraetlakhnnntdsincakcanwniphrhruxsamychnthiekhasamarthbychaihthanganid canwnkalngkhnthiphunahruxkharachkarsamarthbychaidnn khunxyukbsthanphaphkhxngphunnethiybkbphuxuninladbkhnaelakhwammngkhngkhxngekha thiyxdkhxngladbkhn phramhakstriyepnesmuxnphuthuxkhrxngthidinrayihythisudinrachxanackr tamthvsdiaelwthrngbychaiphrcanwnmakthisud eriykwa iphrhlwng thimihnathicayphasi rbrachkarinkxngthph aelathanganbnthidinkhxngphramhakstriy xyangirkdi kareknthkxngthphkhunxyukbmulnay thibngkhbbychaiphrsmkhxngtnexng mulnayehlanicatxngsngiphrsmihxyuphayitbngkhbbychakhxngphramhakstriyinyamsuksngkhram chann mulnaycungepnbukhkhlsakhyinkaremuxngkhxngxyuthya mimulnayxyangnxysxngkhnkxrthpraharyudrachbllngkmaepnkhxngtn khnathikarsurbnxngeluxdrahwangphramhakstriykbmulnayhlngcakkarkwadlangkharachsank phbehnidbxykhrng smedcphrabrmitrolknaththrngkahndkaraebngsrrthidinaelaiphrthiaennxnihaekkharachkaraetlakhninladbchnbngkhbbycha sungkahndokhrngsrangsngkhmkhxngpraethskrathngmikarnarabbengineduxnmaichaekkharachkarinsmyrtnoksinthr phrasngkhxyunxkrabbni sungchayithythukchnchnsamarthekhasuchnchnniid rwmthungchawcindwy wdklaymaepnsunyklangkarsuksaaelawthnthrrm rahwangchwngni chawcinerimekhamatngthinthaninxyuthya aelaimnankerimkhwbkhumchiwitesrsthkickhxngpraeths xnepnpyhasngkhmthiekidkhunchananxikprakarhnung smedcphraramathibdithi 1 thrngepnphurwbrwm Dharmashastra pramwlkdhmaythixingthimainphasahinduaelathrrmeniymithyaetobran thrrmsastrayngepnekhruxngmuxsahrbkdhmayithykrathngplaykhriststwrrsthi 19 mikarnarabbkharachkarpracathixingladbchnbngkhbbychakhxngkharachkarthimichnysaelabrrdaskdimaich aelamikarcdraebiybsngkhminaebbthisxdkhlxngkn aetimmikarnarabbwrrnainsasnahindumaich hlngsmedcphranerswrmharachthrngprakasxisrphaphcakrachwngstxngxu phraxngkhthrngcdkarrwmkarpkkhrxngpraethsxyuitrachsankthikrungsrixyuthyaodytrng ephuxpxngknmiihsarxyphrarachbidathiaeprphktrekhakbfayrachwngstxngxuemuxkhrngkaresiykrungsrixyuthyakhrngthihnung phraxngkhthrngyutikaresnxchuxecanayippkkhrxnghwemuxngkhxngrachxanackr aetaetngtngkharachsankthikhadwacadaeninnoybaythiphramhakstriysngip chann ecanaythnghlaycungthukcakdxyuinphrankhr karchwngchingxanacyngkhngmitxip aetxyuitsayphraentrthikhxyrawngkhxngphramhakstriy ephuxpraknkarkhwbkhumkhxngphraxngkhehnuxchnchnphuwarachkarihmni smedcphranerswrmharachmikvsdikaihesrichnthukkhnthixyuinrabbiphrmaepniphrhlwng khuntrngtxphramhakstriyodytrng sungcaepnphuaeckcaykarichnganaekkharachkar withikarniihphramhakstriyphukhadaerngnganthnghmdinthangthvsdi aelaenuxngcakphramhakstriythrngepnecakhxngkalngkhxngthukkhn phraxngkhkthrngkhrxbkhrxngthidinthnghmddwy taaehnngrthmntriaelaphuwarachkar aelaskdinathixyukbphwkekha odypktiepntaaehnngthitkthxdthungthayathinimkitrakulthimkmikhwamsmphnthkbphramhakstriyodykaraetngngan xnthicring phramhakstriyithyichkaraetngnganbxykhrngephuxechuxmphnthmitrrahwangphraxngkhkbtrakulthithrngxanac sungepnthrrmeniymthiptibtisubtxmathungsmyrtnoksinthr phlkhxngnoybaynithaihphramehsiinphramhakstriymkmihlaysibphraxngkh hakaemcamikarptirupodysmedcphranerswrmharachktam prasiththiphaphkhxngrthbalxik 150 pithdmakyngimmnkhng phrarachxanacnxkthidinkhxngphramhakstriy aemcaeddkhadinthangthvsdi aetinthangptibtithukcakdodykhwamhlahlwmkhxngkarpkkhrxngphleruxn xiththiphlkhxngrthbalklangaelaphramhakstriyxyuimekinphrankhr emuxekidsngkhramkbphma hwemuxngtang thingphrankhrxyangngayday enuxngcakkalngthibngkhbichimsamartheknthmapxngknphrankhridodyngay krungsrixyuthyacungimxactanthanphurukranidsilpaaelawthnthrrmkaraesdngokhn aelasilpanatsilpsyampraephthtangnnmihlkthanxyangchdecnwa mikarihcdaesdngkhuninphrarachwnghlwngkhxngkrungsrixyuthyainlksnathiklawidwaekuxbcaehmuxnkbrupaebbkhxngnatsilpithythipraktxyuinpraethsithyinpccubn aelathiaephrhlayipyngpraethsephuxnban thaihsnnisthanidwasilpakarlakhrkhxngithynacatxngthukphthnakhuncnsmburn matngaetstwrrsthi 17 tamsmykhristkalepnxyangnxy odyinrahwangthirachxanackrxyuthyayngmismphnththangkarthutodytrngkbfrngess phraecahluysthi 14 suriyakstriy Sun King aehngrachxanackrfrngess idsngrachthut chux simng edx laluaebr mayngpraethssyam inpi kh s 1687 aelaphankxyuinkrungsrixyuthyaepnewla 3 eduxn ephuxihcdbnthukthukxyangekiywkbpraethssyam tngaetkarpkkhrxng phasa tlxdcnwthnthrrmpraephni ody la luaebr idmioxkasidsngektkaraesdngnatsilppraephthtanginrachsankithy aelacdbnthukiwodylaexiyddngni chawsyammisilpakarewthixyusampraephth praephththieriykwa okhn nn epnkarrayraekha xxk hlaykharb tamcnghwasxaelaekhruxngdntrixyangxunxik phuaesdngnnswmhnakak aelathuxxawuth aesdngbthhnkipinthangsurbknmakkwacaepnkarrayra aelamatrwakaraesdngswnihycahnkipinthangoldetnephnophnocnthayan aelawangthaxyangekinsmkhwr aetkmikarhyudecrcaxxkmaskkhasxngkhaxyuimidkhad hnakak hwokhn swnihynnnaekliyd epnhnastwthimirupphrrnwitthar hruximepnhnaxsurpisac swnkaraesdngpraephththieriykwa lakhr nnepnbthkwithiphsmphsankn rahwangmhakaphy aelabthlakhrphud sungaesdngknyudyawipsamwnetm tngaet 8 omngecha cnthung 1 thum lakhrehlaniepn prawtisastrthirxyeriyngepnbthklxnthiekhrngkhrum aelakhbrxngodyphuaesdnghlaykhnthixyuinchakphrxmkn aelaephiyngaetrxngottxbknethann odymikhnhnungkhbrxnginswnenuxeruxng swnthiehluxcaklawbthphud aetthnghmdthikhbrxnglwnepnphuchay immiphuhyingely swn raba nnepnkarrakhukhxnghyingchay sungaesdngxxkxyangxachay nketnthnghyingaelachaycaswmelbplxmsungyawmak aelathacakthxngaedng nkaesdngcakhbrxngipdwyraipdwy phwkekhasamarthraidodyimekhaphwphnkn ephraalksnakaretnepnkarediniprxb xyangcha odyimmikarekhluxnihwthirwderw aetetmipdwykarbidaeladdlatw aelathxnaekhn simng edx laluaebr cdhmayehtuwadwyrachxanackrsyam kh s 1693 hna 49 phaphchnchnsungchawsyam caksmudphaph smyrachwngsching aelwesrcemux ph s 2294 inswnthiekiywkbkaraetngkaykhxngnkaesdngokhn la luaebr idbnthukiwwa nketnin raba aela okhn caswmchdaplayaehlmthadwykradasmilwdlaysithxng sungdukhlayhmwkkhxngphwkkharachkarsyamthiisinnganphithi aetcahumtlxdsirsadankhangipcnthungithu aelatkaetngdwyhinxymnieliynaebb odymihxyphusxngkhangepnimchabsithxng enuxngcakinsmyxyuthyamikarsrangsrrkhwrrnkhdiiwmak wtthudibwrrnkhdiehlannsngphlihkarnatsilp aelakarlakhrkhxngsyam idrbphthnakhuncnmikhwamsmburnaebbthnginkaraetngkay aelakaraesdngxxkinradbsung aelamixiththiphltxxanackrkhangekhiyngmak dngthi kptnecms olw nkwichakarxngkvsphuechiywchaydanwthnthrrmexechiytawnxxkechiyngitidbnthukiwinchwngtnrtnoksinthr phwkchawsyamidphthnasilpakaraesdnglakhrkhxngtncnekhathungkhwamsmburnaebbinradbsung aelainaengnisilpakhxngsyamcungephyaephripsupraethsephuxnban thnginphma law aelakmphucha sunglwnaetesaahankralakhrkhxngsyamthngsin prachakrsastrklumchatiphnthu phaphchawsyamcakcdhmayehtulaluaebr ph s 2236 inchwngplayphuththstwrrsthi 20 xanackrxyuthyamiprachakrpraman 1 900 000 khn sungnbchayhyingaelaedkxyangkhrbthwn aetlaluaebrklawwa twelkhdngklawnacaimthuktxngenuxngcakmiphuhnikaresiyphasixakripxyutampatamdngxikmak aexnothni erd nkwichakardanxusakhenyethiybhlkthancakkhabxkelatang aelwpramanwa krungsrixyuthyamiprachakr inchwngkhriststwrrs thi 17 raw 200 000 thung 240 000 khn miklumchatiphnthuhlkkhuxithysyamsungepnklumchatiphnthuhnungthiichphasatrakulkhra ith sungbrrphburuskhxngithysyamprakthlkaehlngkhxngklumkhnthiichphasatrakulkhra ithekaaekthisudxayukwa 3 000 pi sungmihlkaehlngaethbkwangsi khabekiywipthungkwangtungaelaaethblumaemnada aednginewiydnamtxnbn sungklumchnnimikhwamekhluxnihwipmakbdinaednithyinpccubnthngthangbkaelathangthaelaelamikarekhluxnihwipmaxyangimkhadsay inyukhxanackrthwarwdiinaethblumaemnaecaphrayachwnghlngpi ph s 1100 kmiprachakrtrakulithy law epnprachakrphunthanrwmxyudwy sungepnklumchnxphyphlngmacakbriewnsxngfngokhnglngthanglumnananaelwlngsulumaemnaecaphrayafaktawntkaethbsuphrrnburi rachburi thungephchrburiaelaekiywkhxngipthungemuxngnkhrsrithrrmrach sunginswnnilaluaebr exkxkhrrachthutfrngessinrchsmykhxngsmedcphranaraynmharach idihkhwamehnswntwwa chawlawkbchawsyamekuxbcaepnchatiediywkn nxkcaknilaluaebryngxthibayephimwatamthrrmeniymaetobranaelw thngsxngfayxangwatnrbkdhmaykhxngtnmacakxikfay klawkhuxfaysyamechuxwakdhmay aelaechuxsaykstriykhxngtnmacaklaw aelafaylawkechuxwakdhmay aelakstriykhxngtnmacaksyam nxkcaknilaluaebrsngektehnwasngkhmxyuthyannmikhnpapnknhlaychnchati aela epnthiaenwasayeluxdsyamnnphsmkbkhxngchatixun enuxngcakmikhntangchatitangphasacanwnmakxphybekhamaxyuinxyuthyaephraathrabthungchuxesiyngeruxngesriphaphthangkarkha exksarcinthibnthukodyhmahwnidklawiwwa chawemuxngphrankhrsrixyuthyaphudcadwyphasaxyangediywkbklumchnthangtawnxxkechiyngitkhxngcin khuxphwkthixyuinmnthlkwangtungkbkwangsi aeladwykhwamthidinaednaethbxusakhenyepndinaednthixudmsmburncungmiklumchatiphnthuhlakhlaytnghlkaehlngxyupapnkncungekidkarprasmprasanthangephaphnthu wthnthrrm aelaphasacnimxacaeykxxkcakknidxyangchdecn aeladwykarphlkdnkhxngrthlaow thaihekidrthxoythyasriramethphnkhr phayhlngpi ph s 1700 kidmikarepliynaeplngthangsngkhmaelawthnthrrmhlayxyang dwyehtuthikrungsrixyuthyaepnxanackrthimikhwamecriyrungeruxng klumchatiphnthuklumxun idxphyphekhamaphungphrabrmophthismphar echlythithukkwadtxn tlxdcnthungchawexechiyaelachawtawntkthiekhamaephuxkarkhakhay inkdmnethiyrbalyukhtnkrungsrixyuthyaideriykchuxchnphunemuxngtang idaek khxmlawphmaemngmxymsumaesngcincamchwa sungmikareriykchnphunemuxngthixasypapnknodyimcaaenkwa chawsyam incanwnnimichawmxyxphyphekhamainsmysmedcphramhathrrmracha smedcphranerswrmharach smedcphraecaprasaththxng smedcphranaraynmharach aelasmedcphraecaxyuhwbrmoks enuxngcakchawmxyimsamarththnkarbibkhncakkarpkkhrxngkhxngphmainchwngrachwngstxngxu cninpi ph s 2295 phmaidprabchawmxyxyangrunaerng cungmikarliphyekhamainkrungsrixyuthyacanwnmak odychawmxyinkrungsrixyuthyatngthinthanxyurimaemna echn bankhminrimwdkhunaesn tablbanhlngwdnk tablsamokhk aelawdthahxy chawekhmrxyuwdkhangkhaw chawphmaxyukhangwdmnethiyr swnchawtngekiyaelachawokhchinichna ywn kmihmubanechnkn eriykwahmubanokhchinichna nxkcaknichawlawaelachawithywnkmicanwnmakechnkn odyinrchsmykhxngsmedcphraraemswrkhrxngrachykhrngthisxng idkwadtxnkhrwithywncakechiyngihmsngipiwyngcnghwdphthlung sngkhla nkhrsrithrrmrach aelacnthburi aelainrchsmykhxngsmedcphranaraynmharachthithrngykthphiptilannainpi ph s 2204 idemuxnglapang laphun echiyngihm echiyngaesn aelaidkwadtxnmacanwnhnungepntn odyehtuphlthikwadtxnekhama kephuxwtthuprasngkhthangdanesrsthkicaelakarthhar aelanxkcakklumprachachnaelwklumechuxphrawngsthiepnechlysngkhramaelaphuthiekhamaphungphrabrmophthismphar mithngechuxphrawngslaw echuxphrawngsechiyngihm Chiamay echuxphrawngsphaokh Banca aelaechuxphrawngskmphucha nxkcakchumchnchawexechiythithukkwadtxnmaaelwkyngmichumchnkhxngklumphukhakhayaelaphuephyaephsasnathngchawexechiycakswnxunaelachawtawntk echn chumchnchawfrngessthibanplaehd pccubnxyuthangthisitnxkekaaxyuthyaiklkbwdphuthithswrry sungphayhlngbanplaehtidepliynchuxepnbanesntoyesf hmubanyipunxyurimaemnarahwanghmubanchawmxyaelaorngklnsurakhxngchawcin thdipepnchumchnchawhxlnda thangitkhxngchumchnhxlndaepnthinphankkhxngchawxngkvs mlayu aelamxycakphaokh nxkcaknikyngmichumchnkhxngchawxahrb epxresiy aelaklingk khncakaekhwnklingkhrasdrcakxinediy swnchumchnchawoprtuekstngxyutrngkhamchumchnyipun chawoprtueksswnihymksmrskhamchatiphnthukbchawsyam cin aelamxy swnchumchnchawcam mihlkaehlngaethbkhlxngtaekhiynthangitkhxngekaaemuxngphrankhrsrixyuthyaeriykwa pthakhucam mibthbathsakhydankarkhathangthael aelataaehnnginkxngthpherux eriykwa xasacam aelaeriyktaaehnnghwhnawa nkwichakardanxusaekhny ihkhxsngektwa inkhnathixyuthyamikhwamhlayhlaythangechuxchatisungdwyehtuphlthangkarkhakhay aelakarethkhrwprachakrcakphumiphakhxun aetprachakrthnginaelarxbnxkxyuthyakaesdngxxkwamiicfkif aelaswamiphkditxxyuthyasung xyuthyacungmiidmipyhakhwamkhdaeyngthangchatiphnthuehmuxnxyanginaethblumaemnaxirwdi exksarcakfngphmainkhrist s thi 16 xangthungphukhnthangtxnitlumaemnaecaphrayarwm wa chawxyuthya hrux thharxyuthya nxkcaknisanukinkhwamepnchati hruxkhwamepnsyam kiderimpraktruprangaelwtngaetsmyxyuthya inbnthukkhxng wnwlit fan wlit phxkhachawenethxraelnd thiekhamakhakhayinrchkalsmedcphraecaprasaththxngrabuwa chawsyammikhwamoddednineruxngkhwamphakhphumiicinchatikhxngtn odychawsyam echuxwaimmichatixunthicaethiybkbtnid aelaehnwakdhmay khnbthrrmeniym aelakhwamrukhxngtnnndikwathiihnthukaehnginolk wiketxr liebxraemn echuxwasaehtuthirachxanackrxyuthya mikhwamkhdaeyngrahwangchatiphnthukhxnkhangnxynn kenuxngmacakmulehtu 4 prakar idaek sdswnkhxngcanwnprachakrchawsyam txprachakrchatiphnthuxunnnkhxnkhangta chawsyammichnchatixunthixphyphekhamaephraasngkhraminphma echn chawmxy aelachawithywnsungmiicfkifsyammakkwaphma khwamepnnanachatiphnthukhxngbrryakaskarkhakhayinxyuthya thaihkareluxkptibtithangchatiphnthumikhwamebabanglng nxkcakniyngmikhntangchatirbrachkarinkrungsrixyuthyaxyuepncanwnmak sngkhramrahwangsyamkbchatiephuxnban imyudeyuxyawnanethafngphma thaihaenwkhidkhdaeyngthangchatiphnthuimfngrakluk insmyphraecaxlxngphyaaemcatiexaemuxngthasakhykhxngmxy echn nkhryangkung id aetkpkkhrxngemuxngthaehlanixyuhang imyayemuxnghlwnglngma enuxngcakxacepncudlxaehlmtxkarthukocmticakthangthaelphasa saeniyngdngedimkhxngkrungsrixyuthyamikhwamechuxmoyngkbchnphunemuxngtngaetlumnaymthiemuxngsuokhthylngmathanglumnaecaphrayafngtawntkinaethbsuphrrnburi rachburi ephchrburi sungsaeniyngdngklawmikhwamiklchidkbsaeniynghlwngphrabang odyechphaasaeniyngehnxkhxngsuphrrnburimikhwamiklekhiyngkbsaeniynghlwngphrabang sungsaeniyngehnxdngklawepnsaeniynghlwngkhxngkrungsrixyuthya prachachnchawkrungsrixyuthyathngphraecaaephndincnthungiphrfarastrklwntrsaelaphudcainchiwitpracawn sungpccubnepnxyuinkarlaelnokhnthitxngichsaeniyngehnx odyhakepriybethiybkbsaeniyngkrungethph inpccubnni thiinsmynnthuxwaepnsaeniyngbannxkthinelk khxngrachthanithiaeprngaelaeyuxngcaksaeniyngmatrthankhxngkrungsrixyuthya aelathuxwaphidkhnb phasadngedimkhxngkrungsrixyuthyapraktxyuinoxngkaraechngna sungepnrxykrxngthietmipdwychnthlksnthiaephrhlayaethbaewnaekhwnsxngfnglumaemnaokhngmaaetdukdabrrph aelaphayhlngidphakneriykwa enuxngcakekhaicwaidrbaebbaephnmacakxinediy sungaethcringkhuxokhlnglaw hrux thiepntnaebbkhxngaelaokhlngsisuphaph odyinoxngkaraechngnaetmipdwysphthaesngphunemuxngkhxngithy law swnkhathimacakbali snskvt aelaekhmrxyunxy odyhakxanepriybethiybkcaphbwasanwnphasaiklekhiyngkbkhxkhwamincaruksmysuokhthy aela dwyehtuthikrungsrixyuthyatngxyuiklthaelaelaepnsunyklangkarkhananachatithaihsngkhmaelawthnthrrmepliynipxyangrwderw tangkbbanemuxngaethbsxngfngokhngthihangthael xnepnehtuthithaihmilksnathilahlngkwacungsubthxdsaeniyngaelarabbkhwamechuxaebbdngedimiwidekuxbthnghmd swnphasainkrungsrixyuthyakidrbxiththiphlkhxngphasacaktangpraethscungrbkhainphasatang maich echnkhawa kuhlab thiyummacakkhawa kulxb inphasaepxresiy thimikhwamhmayedimwa nadxkim aelayumkhawa padru Padre cakphasaoprtueks aelwxxkesiyngeriykepn bathhlwng epntnkhwamsmphnthkbtangpraethsrachthutithythithuksngipekhaefaphraecahluysthi 14 emux ph s 2229xxkkhunchanayiccng nkkarthutsyamthiedinthangeyuxnfrngessaelaorminpi kh s 1688 wadody xanackrxyuthyamksngekhruxngrachbrrnakaripthwayckrphrrdicinepnpracathuksampi ekhruxngbrrnakarnieriykwa cimkxng nkprawtisastrechuxwakarsngekhruxngrachbrrnakardngklawaefngcudprasngkhthangthurkiciwdwy khux emuxxanackrxyuthyaidsngekhruxngrachbrrnakaripthwayaelwkcaidekhruxngrachbrrnakarklbmaepnmulkhasxngetha thngyngepnthurkicthiimmikhwamesiyng cungmkcamikhunnangaelaphxkhaedinthangipphrxmkbkarnaekhruxngrachbrrnakaripthwaydwy ph s 2054 thnthihlngcakthiyudkhrxngmalaka oprtueksidsngphuaethnthangkarthut naody duxaret efxrnneds Duarte Fernandes mayngrachsanksmedcphraramathibdithi 2 hlngidmikarsthapnakhwamsmphnthchnthmitrrahwangrachxanackroprtueksaelarachxanackrxyuthyaaelw phuaethnthangkarthutoprtuekskidklbpraethsaemipphrxmkbphuaethnthangthutkhxngxyuthya sungmikhxngkanlaelaphrarachsasnthungphraecaoprtueksdwy phuaethnthangkarthutoprtuekschudnixacepnchawyuorpklumaerkthiedinthangekhamainpraethsithykepnid hapiihhlngkartidtxkhrngaerk thngsxngidbrrlusnthisyyasungxnuyatihoprtueksekhamakhakhayinrachxanackrxyuthya snthisyyathikhlayknin ph s 2135 idihphwkdtchmithanaexksiththiinkarkhakhaw inrchkalsmedcphraexkathsrth bnthukkhxnghxlndarabuwamikarsngkhnathutanuthutipynghxlndacanwn 20 khn ipineruxlaediywknkbphxkhachawhxlnda inaebbxyangetmys khuxmiphrarachsasn tlxdcnekhruxngrachbrrnakartang thimikhatamaebbaephnpraephnikhxngkarecriyphrarachimtrismykrungsrixyuthya odyidedinthangipthungkrungehk emuxwnthi 10 knyayn ph s 2151 sungkhnathutanuthutkhnanithuxepnkarsngkhnathutkhrngaerkipecriythangsmphnthimtrikbpraethsinyuorp xyangirktaminbnthukimidrabuchuxrachthuthruxbukhkhlid inkhnathut thrabephiyngaetcanwnwamihwhnasxngthan rachthutaelaxupthut phnknganrksaekhruxngrachbrrnakar ecaphnknganphrarachsasn aelaxun sungidekhaefainwnthdcakthiedinthangmathung chawtangchatiidrbkartxnrbxyangxbxunthirachsanksmedcphranaraynmharach phuthrngmithsnasaklniym cosmopolitan aelathrngtrahnkthungxiththiphlcakphaynxk idmikarsthapnakhwamsmphnthechingphanichythisakhykbyipun bristhkarkhakhxngenethxraelndaelaxngkvsidrbxnuyatihcdtngorngngan aelamikarsngkhnaphuaethnthangkarthutkhxngxyuthyaipyngkrungparisaelakrungehk dwykartharngiwsungkhwamsmphnthehlani rachsankxyuthyaidichenethxraelndkhanxanackbxngkvsaelafrngessxyangchanay thaihsamartheliyngmiihchatiidchatihnungekhamamixiththiphlmakekinip inpi ph s 2207 enethxraelndichkalngbngkhbephuxihidsnthisyyathiihsiththisphaphnxkxanaekht echnediywkbkarekhathungkarkhaxyangesri khxnsaetntin fxlkhxn nkphcyphychawkrikphuekhamaepnesnabditangpraethsinrachsanksmedcphranaraynmharach krabthulihphraxngkhhnipphungkhwamchwyehluxcakfrngess wiswkrfrngesskxsrangpxmkhayaekkhnithy aelasrangphrarachwngaehngihmthilphburi nxkehnuxcakni michchnnarichawfrngessekhamamibthbathinkarsuksaaelakaraephthy tlxdcnnaaethnphimphekhruxngaerkekhamainrachxanackrdwy phraecahluysthi 14 thrngsnphrarachhvthyinrayngancakmichchnnarithiesnxwa smedcphranaraynxacepliynmanbthuxsasnakhristid xanackrxyuthyamikhwamsmphnthkbchatitawntkindankarkhakhayaelakarephyaephsasna odychawtawntkidnaexawithyakarihm ekhamadwy txma khxnsaetntin fxlkhxnidekhamamixiththiphlaelayng brrdakhunnangcungpraharfxlkhxnesiy aelaldradbkhwamsakhykbchatitawntktlxdchwngewlathiehluxkhxngxanackrxyuthya xyangirkdi karekhamakhxngfrngesskratunihekidkhwamaekhnaelakhwamhwadraaewngaekhmuchnchnsungkhxngithyaelankbwchinsasnaphuthth thngmihlkthanwakhbkhidkbfrngesscayudkrungsrixyuthya emuxkhawsmedcphranaraynkalngcaesdcswrrkhtaephrxxkip phraephthracha phusaercrachkar kidsngharrchthayaththithrngidrbaetngtng khrisetiynkhnhnung aelasngpraharchiwitfxlkhxn aelamichchnnarixikcanwnhnung karmathungkhxngeruxrbxngkvsyingywyuihekidkarsngharhmuchawyuorpmakkhunipxik phraephthrachaemuxprabdaphieskepnphramhakstriyaelw thrngkhbchawtangchatixxkcakrachxanackr rayngankarsuksabangswnrabuwa xyuthyaerimtnsmyaehngkartitwxxkhangphxkhayuorp khnathitxnrbwanichcinmakkhun aetinkarsuksapccubnxun esnxwa sngkhramaelakhwamkhdaeynginyuorpchwngkhriststwrrsthi 18 epnehtuihphxkhayuorpldkickrrminthangtawnxxk xyangirkdi epnthiprackswa bristhxinediytawnxxkkhxngenethxraelndyngthathurkickbxyuthyaxyu aemcaprasbkbkhwamyaklabakthangkaremuxngduephimehtukarnsakhyinxanackrxyuthya phrarachwnghlwngaehngkrungethphthwarwdisrixyuthya wdphrasrisrrephchyxangxingDescription du Royaume Thai ou Siam 1854 sucitt wngseths 25 kumphaphnth 2018 khnithyepnchawsyam khxngchawyuorpyukhxyuthya mtichnsudspdah subkhnemux 14 mithunayn 2023 dny ichyoytha 2543 phthnakarkhxngmnusykbxarythrrminrachxanackrithy elm 1 ox exs phrinting ehas hna 305 chnida skdisirismphnth 2542 thxngethiywithy sankphimphhnatangsuolkkwang hna 40 ISBN 974 86261 9 9 Hooker Virginia Matheson 2003 A Short History of Malaysia Linking East and West St Leonards New South Wales Australia Allen and Unwin p 72 ISBN 1864489553 khris ebekhxr aela phasuk phngsiphcitr 2563 prawtisastrxyuthya hastwrrssuolkihm krungethph mtichn 463 hna ISBN 978 974 0 21721 3 pridi phisphumiwithi 2553 kradanthxngsxngaephndin krungethph mtichn 231 hna ISBN 978 974 0 20626 2 The Text Publication Fund of the Burma Research Society 1923 The Glass Palace Chronicle of the Kings of Burma Translated by Pe Maung Tin and G H Luce LONDON Oxford University Press pp 92 106 santi phkdikha 2561 echlychawoyediy khunhlwnghawd kstriyphuesiyslarachy krungethph mtichn 166 hna ISBN 978 974 0 21612 4 dierk kulsiriswsdi 2517 khwamsmphnthkhxngmuslimthangprawtisastr aelawrrnkhdiithy aelasaephakstriysulyman chbbyx krungethph smakhmphasa aelahnngsuxaehngpraethsithy inphrabrmrachupthmph 201 hna sunywthnthrrm satharnrthxislamaehngxihran 2538 karsmmnaeruxng ecaphrayabwrrachnayk echkh xhmd khumi kbprawtisastrsyam Sheikh Ahmad Qomi and the history of Siam wnthi 15 phvsphakhm 2537 hxngprachumsunysuksaprawtisastr cnghwdphrankhrsrixyuthya rwmkhabrryayaelabthkhwamthangwichakar aeplody kitima xmrtht krungethph sunywthnthrrm satharnrthxislamaehngxihran 288 hna ISBN 978 974 8 92697 1 Oliver Codrington 1904 A MANUAL OF MUSALMAN NUMISMATICS The Royal Asiatic Society Monographs Vol VII LONDONS Stephen Austin and Sons 239 pp Kertas Kerja 1997 Cultures in Contact Kertas kerja Simposium antarabangsa mengenai hubungan antara kebudayaan Kuala Lumpur 2 3 April 1996 Kem Kebudayaan Kesenian amp Pelancongan Ecole francaise d Extreme Orient EFEO Kuala Lumpur Paris 240 pp ISBN 978 967 9 03018 1 Academic and Cultural Publications Charitable Trust Hyderabad India Islamic Culture Board Marmaduke William Pickthall Muhammad Asad Islamic Culture 77 1 2 2003 p 62 p 69 thwchchy tngsiriwanich 2566 5 minakhm cak aechrnxenim maepn sarena chuxeka xyuthya kxnkarekhamakhxngoprtueks silpwthnthrrmxxniln 14 knyayn 2562 subkhnemux 19 phvscikayn 2566 cnthrchay phkhxthikhm 2543 chatakrrmphrayalaaewkthukpthmkrrmcringhrux silpwthnthrrm 21 10 11 knyayn 2543 31 Nicolas Gervaise and Herbert Stanley O Neill 1928 The Natural and Political History of the Kingdom of Siam A D 1688 Translated by Herbert Stanley O Neill Bangkok Siam Observer Press 150 pp xathr cnthrwiml 2546 prawtikhxngaephndinithy krungethph xksrithy 445 hna World Cities 3000 to 2000 Washington DC FAROS 2000 2003 ISBN 978 0 9676230 1 6 See also khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 28 thnwakhm 2008 Ayutthaya Thailand s historic city The Times Of India 31 krkdakhm 2008 Derick Garnier 2004 Ayutthaya Venice of the East River books ISBN 974 8225 60 7 Asia s World Publishing Limited khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 5 tulakhm 2011 subkhnemux 22 knyayn 2011 thnochti ekiyrtinphthr xoythya kxn ph s 1893 khwamthrngcacakexksaraelatanan kdhmay 4 chbb aelapithisrangphraecaaephnngeching silpwthnthrrm 44 10 singhakhm 2566 20 xangin kthmaytrasamdwng elm 3 hna 173 sucitt wngseths phlnglaw chawxisan macakihn krungethph mtichn 2549 hna 95 karprbaekethiybskrach aela xthibaykhwam phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith hna 13 14 karprbaekethiybskrach aela xthibaykhwam phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith hna 14 phrarachphngsawdar chbbphrarachhdthelkha 2455 phakh 1 aephndinthi 1 smedcphraramathibdithi 1 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 21 krkdakhm 2021 The Nation Thailand s World 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 21 krkdakhm 2008 subkhnemux 28 mithunayn 2009 phrabriharethphthani 2541 prawtisastrithy elm 2 osphnkarphimph hna 67 xanackrxyuthya txnthi 1 First Revision July 18 2015 Last Change Jan 13 2020 subkhn rwbrwm eriyberiyng aelapriwrrtody xphirks kaycnkhngkha karprbaekethiybskrach aela xthibaykhwam phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith hna 2 thngni emuxprbaekihepnwnthitamrabbptithinsuriykhtiaebbcueliynaelw trngkbwnsukrthi 4 minakhm ph s 1894 kh s 1351 aelaemuxprbaekepnptithinsuriykhtiaebbkrikxeriynsungepnptithinsaklthiichknxyupccubn trngkbwnsukrthi 12 minakhm ph s 1894 kh s 1351 wnthi 4 minakhm ph s 1893 epnwnsthapnakrungsrixyuthyacringhrux Higham 1989 p 355 The Aytthaya Era 1350 1767 U S Library of Congress subkhnemux 25 krkdakhm 2009 Jin Shaoqing 2005 Office of the People s Goverernment of Fujian Province b k Zheng He s voyages down the western seas Fujian China China Intercontinental Press p 58 subkhnemux 2 singhakhm 2009 Lt Gen Sir Arthur P Phayre 1883 History of Burma 1967 ed London Susil Gupta p 111 GE Harvey 1925 History of Burma London Frank Cass amp Co Ltd pp 167 170 Phayre pp 127 130 Phayre p 139 Wyatt 2003 pp 90 121 Christopher John Baker Pasuk Phongpaichit 14 emsayn 2009 A history of Thailand Cambridge University Press p 22 ISBN 978 0 521 76768 2 subkhnemux 25 mithunayn 2023 praesrith n nkhr warsarrachbnthitysthan subkhnemux 14 thnwakhm 2552 aethlngngankhnakrrmkarchaaraprawtisastrithy phuththskrach 2564 PDF krmsilpakr krathrwngwthnthrrm 2022 p 145 150 subkhnemux 11 emsayn 2023 trngic hutangkur 2561 prbaekethiybskrach aela karxthibaykhwam phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith krungethph sunymnusywithyasirinthr xngkhkarmhachn Coedes George 1968 Walter F Vella b k The Indianized States of Southeast Asia trans Susan Brown Cowing University of Hawaii Press ISBN 978 0 8248 0368 1 25 minakhm 2560 xyalum rachsankemuxngehnux thiphisnuolk silpwthnthrrm subkhnemux 20 tulakhm 2560 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help okwith wngssurwthn hna 5 okwith wngssurwthn hna 6 okwith wngssurwthn hna 7 okwith wngssurwthn hna 9 okwith wngssurwthn hna 10 okwith wngssurwthn hna 11 The Ayutthaya Administration Department of Provincial Administration khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 20 phvscikayn 2010 subkhnemux 30 mkrakhm 2010 Tome Pires The Suma Oriental of Tome Pires London The Hakluyt Society 1944 p 107 Mahidol University 1 phvscikayn 2002 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 23 kumphaphnth 2010 subkhnemux 1 phvscikayn 2009 okwith wngssurwthn hna 12 okwith wngssurwthn hna 13 Background Note Thailand U S Department of State krkdakhm 2009 cakaehlngedimemux 4 phvscikayn 2009 subkhnemux 8 phvscikayn 2009 Sharon La Boda 1994 Trudy Ring Robert M Salkin b k International Dictionary of Historic Places Asia and Oceania Vol 5 Taylor amp Francis p 56 ISBN 1 884964 04 4 subkhnemux 10 thnwakhm 2009 Simon de La Loubere The Kingdom of Siam Oxford Univ Press 1986 1693 p 49 La Loubere 1693 at 49 James Low 1839 PDF p 177 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 12 phvscikayn 2022 mr edxa laluaebr cdhmayehtulaluaebr chbbsmburn elmthi 1 aepl snt th okmlbutr phrankhr kawhna 2510 hna 46 mr edxa laluaebr cdhmayehtulaluaebr chbbsmburn hna 47 Anthony Reid South East Asia in the Age of Commerce Expansion and Crisis 1988 p 71 73 sucitt wngseths xksrithymacakihn hna 128 sucitt wngseths xksrithymacakihn hna 130 mr edxa laluaebr cdhmayehtulaluaebr chbbsmburn hna 45 Simon de La Loubere The Kingdom of Siam Oxford Univ Press 1986 1693 at 9 La Loubere 1693 p 10 La Loubere 1693 p 10 sucitt wngseths xksrithymacakihn hna 129 sucitt wngseths krungethph macakihn hna 188 suphrn oxecriy chawmxyinpraethsithy wiekhraahthanaaelabthbathinsngkhmithytngaetsmyxyuthyatxnklangcnthungsmyrtnoksinthrtxntn withyaniphnthpriyyamhabnthitbnthitwithyaly culalngkrnmhawithyaly ph s 2519 hna 48 68 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthyachbbphnthanumas ecim kbphrackrphrrdiphngs cad phrankhr khlngwithya 2507 hna 145 aela 403 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthyachbbphnthanumas ecim kbphrackrphrrdiphngs cad hna 446 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthyachbbphnthanumas ecim kbphrackrphrrdiphngs cad hna 463 nioklas aechraews prawtisastrthrrmchatiaelakaremuxngaehngrachxanackrsyam inaephndinsmedcphranaraynmharach aeplody snt th okmlbutr phrankhr kawhna 2506 hna 62 prachumphngsawdarphakhthi 36 chbbhxsmudaehngchati elm 9 phrankhr kawhna 2507 hna 150 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthyachbbphnthanumas ecim kbphrackrphrrdiphngs cad hna 507 508 smedckrmphrayadarngrachanuphaph ithyrbphma phrankhr khlngwithya 2514 hna 235 237 bngxr piyaphnthu hna 11 bathhlwngtachard aepl snt th okmlbutr cdhmayehtukaredinthangsupraethssyamkhxngbathhlwngtachard krungethph krmsilpakr 2517 hna 46 esxrcxhn ebaring aepl nnthna tntiewss hna 73 phlbphlung mulsilp khwamsmphnthithy frngesssmykrungsrixyuthya krungethph brrnkic 2523 hna 72 esxrcxhn ebaring aepl nnthna tntiewss hna 95 115 suphtra phumipraphas nangxxsut emiylbphuthrngxiththiphlaehngkarkhaemuxngsyam insilpwthnthrrm pithi 30 chbbthi 11 knyayn 2552 krungethph sankphimphmtichn 2552 hna 93 phaskr wngstawn iphr khunnang eca aeyngchingbllngksmyxyuthya krungethph yipsi hna 80 ikrvks nana 500 pi saysmphnthsxngaephndinithy oprtueks krungethph mtichn 2553 hna 126 sucitt wngseths krungethph macakihn hna 190 Liberman 2003 Strange Parallel Southeast Asia in Global Context c 800 1830 Vol 1 at 313 314 Liberman 2003 Strange Parallel Southeast Asia in Global Context at 324 Van Vliet 1692 Description of the Kingdom of Siam L F Van Ravenswaay trans at 82 Liberman 2003 Strange Parallel Southeast Asia in Global Context at 329 330 suentr chutinthrannth ikhkhti ebikyukh khxngphma ehtuyayemuxnghlwngip enpidxw prachaith sucitt wngseths xksrithymacakihn hna 132 sucitt wngseths xksrithymacakihn hna 133 sucitt wngseths xksrithymacakihn hna 130 sudara succhaya prawtisastrekbtkthixihranyxnrxysaysmphnthithy xihran krunklinxarythrrmepxresiyinemuxngsyam krungethph mtichn 2550 hna 144 xathity thrngkld eruxnglbekhmrthikhnithykhwrru krungethph syambnthuk 2552 hna 106 okwith wngssurwthn hna 14 Donald Frederick Lach Edwin J Van Kley Asia in the making of Europe pp 520 521 University of Chicago Press 1994 ISBN 978 0 226 46731 3 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 14 krkdakhm 2021 subkhnemux 25 phvsphakhm 2018 Thai Ministry of Foreign Affairs 2006 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 21 mithunayn 2009 subkhnemux 11 kumphaphnth 2010 Smithies Michael 2002 Three military accounts of the 1688 Revolution in Siam Bangkok Orchid Press pp 12 100 183 ISBN 974 524 005 2 brrnanukrm Van Vliet Jeremias Description of the Kingdom of Siam L F Van Ravenswaay trans 1692 Higham Charles 1989 The Archaeology of Mainland Southeast Asia Cambridge England Cambridge University Press ISBN 0 521 27525 3 subkhnemux 6 knyayn 2009 Liberman Victor Strange Parallel Southeast Asia in Global Context c 800 1830 Vol 1 Integration on the Mainland Cambridge Univ Press 2003 Wyatt David K 2003 Thailand A Short History New Haven Connecticut Yale University Press ISBN 0 300 08475 7 okwith wngssurwthn karemuxngkarpkkhrxngithy hlaymiti nioklas aechraews prawtisastrthrrmchatiaelakaremuxngaehngrachxanackrsyam inaephndinsmedcphranaraynmharach aeplody snt th okmlbutr phrankhr kawhna 2506 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthyachbbphnthanumas ecim kbphrackrphrrdiphngs cad phrankhr khlngwithya 2507 bathhlwngtachard aepl snt th okmlbutr cdhmayehtukaredinthangsupraethssyamkhxngbathhlwngtachard krungethph krmsilpakr 2517 trngic hutangkur karprbaekethiybskrach aela xthibaykhwam phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith krungethph sunymanusywithyasirinthr xngkhkarmhachn 2561 ISBN 978 616 7154 73 2 sucitt wngseths xksrithymacakihn krungethph mtichn 2548 ISBN 974 323 547 7 esxrcxhn ebaring aepl nnthna tntiewss khwamsmphnthrahwangpraethssyamkbtangpraethssmykrungsrixyuthya krungethph krmsilpakr 2527 bngxr piyaphnthu lawinkrungrtnoksinthr krungethph mhawithyalythrrmsastr 2541 ISBN 974 86304 7 1 sucitt wngseths krungethph macakihn krungethph mtichn 2548 ISBN 974 323 436 5 Suthachai Yimprasert Portuguese Lancados in Asia in the Sixteenth and Seventeenth Centuries Ph D Dissertation University of Bristol 1998 aehlngkhxmulxunwikisxrs mingantnchbbekiywkb pramwlnganprawtisastrkrungsrixyuthya nerswrdxtkhxm khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 12 phvsphakhm 2013 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 25 minakhm 2008 wichakar khxm khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 28 knyayn 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 12 kumphaphnth 2008 krungsrixyuthya khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 16 kumphaphnth 2012