ระบอบนาซี (เยอรมัน: Nazismus) หรือชื่อทางการคือ ระบอบชาติสังคมนิยม (เยอรมัน: Nationalsozialismus) เป็นแนวปฏิบัติและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จขวาจัด ที่เกี่ยวข้องกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือพรรคนาซีในนาซีเยอรมนี ในยุโรปในช่วงของการเถลิงอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ระบอบมักถูกเรียกในอีกชื่อว่า ลัทธิฮิตเลอร์ (เยอรมัน: Hitlerfaschismus) คำที่มีความเกี่ยวข้องในภายหลังคำว่า "นีโอนาซี" ใช้หมายถึงกลุ่มการเมืองขวาจัดอื่น ๆ ที่มีแนวคิดคล้ายกันที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ระบอบนาซีเป็นลัทธิฟาสซิสต์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งดูถูกเหยียดหยามประชาธิปไตยเสรีนิยมและระบบรัฐสภา โดยรวมระบอบเผด็จการการต่อต้านยิวอย่างกระตือรือร้น การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ (scientific racism) และการใช้งานสุพันธุศาสตร์เข้าด้วยกันเป็นหลักความเชื่อของระบอบ ความเป็นชาตินิยมสุดโต่งของมันมีต้นตอมาจากอุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมันและขบวนการ (ethnic nationalism) (neopagan) นามว่า (Völkisch movement) ซึ่งได้กลายมาเป็นลักษณะสำคัญของ (German nationalism) นับแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังได้รับอิทธิพลโดดเด่นจากกองกำลังกึ่งทหารไฟรคอร์ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นหลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และเป็นแหล่งที่มาของ "ลัทธิบูชาความรุนแรง" (cult of violence) ที่เป็นพื้นเดิมของพรรค ระบอบนาซีเห็นด้วยกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์เทียมที่เกี่ยวกับ (racial hierarchy) และทฤษฎีดาร์วินทางสังคม นาซีกล่าวอ้างว่าชาวเยอรมันเป็นเชื้อชาติอารยะที่สูงส่งที่สุด โดยระบุว่าชาวเยอรมันเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พวกนาซีถือว่าคือเชื้อชาติเจ้านายเชื้อชาติ (Aryan race) หรือ (Nordic race) โดยมีเป้าหมายเพื่อก้าวข้ามความแบ่งแยกในสังคมและสร้างสังคมเยอรมันที่เป็น (Homogeneity and heterogeneity) บนฐานของซึ่งเป็นภาพแทนของประชาคมของประชาชน ( (Volksgemeinschaft)) พวกนาซีมุ่งที่จะเชื่อมผสานชาวเยอรมันทุกคนที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตของเยอรมนีในประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน และหาแผ่นดินมาเพิ่มสำหรับการขยายตัวของเยอรมนีภายใต้หลักการเลเบินส์เราม์ และกีดกันผู้ใดก็ตามที่พวกเขามองว่าเป็นคนต่างด้าวในประชาคม (community alien) หรือเป็นเชื้อชาติที่ "ต่ำกว่า" (อุนเทอร์เม็นช์)
คำว่า "ชาติสังคมนิยม" เกิดขึ้นจากความพยายามในการให้นิยามใหม่กับ สังคมนิยม ให้เป็นทางเลือกแทนไม่ว่าจะเป็นสังคมนิยมสากลนิยมมากซิสต์หรือทุนนิยมตลาดเสรีก็ตาม ระบอบนาซีปฏิเสธแนวคิดมากซิสต์เกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นและอันเป็นสากล ต่อต้าน (internationalism (politics)) (cosmopolitanism) และต้องการโน้มน้าวใจสังคมเยอรมันใหม่ในทุกภาคส่วนให้วางผลประโยชน์ส่วนตัวของพวกเขาอยู่ใต้ "" (common good) และยอมรับเอาผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นเป้าหมายหลักของการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ ซึ่งมักตรงกับทัศนะทั่วไปของ (collectivism) หรือ (communitarianism) มากกว่าจะเป็นสังคมนิยมเศรษฐศาสตร์ ต้นเค้าของพรรคนาซี กล่าวคือพรรคกรรมกรเยอรมัน (DAP) ซึ่งต่อต้านยิวและเป็นชาตินิยมรวมกลุ่มเยอรมัน ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1919 และจนกระทั่งช่วงตั้นคริสต์ทศวรรษ 1920 พรรคถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันเพื่อดึงดูดกรรมกรที่นิยมการเมืองฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนชื่อที่ฮิตเลอร์ต่อต้านในตอนแรก (National Socialist Program) หรือแนวนโยบาย "25 ข้อ" ถูกรับมาใช้ใน ค.ศ. 1920 และเรียกร้องให้มีเยอรมนีใหญ่ที่เป็นปึกแผ่นที่จะไม่ให้ชาวยิวหรือบุคคลที่เป็นทายาทชาวยิวเป็นพลเมือง และในขณะเดียวกันสนับสนุนการปฏิรูปที่ดินและการโอนบางอุตสาหกรรมมาเป็นของรัฐ ในไมน์คัมพฟ์ ซึ่งแปลว่า "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" ที่เผยแพร่ระหว่าง ค.ศ. 1925 และ 1926 ฮิตเลอร์ได้ร่างเค้าโครงให้การต่อต้านยิวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นใจกลางของปรัชญาการเมืองของเขา เช่นเดียวกันกับความรังเกียจของเขาต่อประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและความเชื่อว่าประเทศเยอรมนีถือสิทธิที่จะขยายเขตแดนของตัวเองออกไป
พวกเขากล่าวอ้างว่าความอยู่รอดของประเทศเยอรมนีในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่ในสมัยใหม่นี้จำต้องสร้างระเบียบโลกใหม่ขึ้น เป็นจักรวรรดิในทวีปยุโรปซึ่งจะทำให้ชาติเยอรมันมีผืนดินขนาดใหญ่ ทรัพยากร ตลอดจนการขยายตัวของประชากรที่จำเป็นต่อการแข่งขันกับมหาอำนาจอื่น ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหาร
พวกนาซีกล่าวอ้างว่าชาวยิวเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของเชื้อชาติอารยะเยอรมัน พวกเขาพิจารณาว่าชาวยิวเป็นเชื้อชาติเบียดเบียนซึ่งแนบตนเองเข้ากับอุดมการณ์และขบวนการอื่น ๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของตนเอง อาทิ การเรืองปัญญา เสรีนิยม ประชาธิปไตย ระบบรัฐสภา ทุนนิยม มาร์กซิสต์ และสหภาพแรงงาน
เพื่อกอบกู้เยอรมนีจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีเสนอในทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจภายใต้การจัดการซึ่งมิใช่ทั้งทุนนิยมหรือคอมมิวนิสต์ นาซีกล่าวโทษคอมมิวนิสต์และทุนนิยมว่าเข้าร่วมกับอิทธิพลและผลประโยชน์ของชาวยิว พวกเขาสนับสนุนสังคมนิยมรูปแบบชาตินิยมซึ่งเป็นหลักการสำหรับเชื้อชาติอารยันและชาติเยอรมัน: ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โครงการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้ใช้แรงงาน ค่าจ้างที่ยุติธรรม เกียรติยศสำหรับความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่มีต่อชาติ และการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์อันไม่ชอบธรรมของทุนนิยม
พรรคนาซีได้รับส่วนแบ่งคะแนนเสียงของประชาชนสูงที่สุดในการเลือกตั้งสมาชิกไรชส์ทาคเป็นการทั่วไปทั้งสองครั้งใน ค.ศ. 1932 ทำให้เป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภานิติบัญญัติอย่างชัดเจน แม้ว่าจะยังไม่ถึงกับเป็นเสียงส่วนใหญ่ทีเดียว ( (July 1932 German federal election) และ (November 1932 German federal election)) แต่ในเมื่อไม่มีพรรคใดต้องการหรือสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ ประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค จึงได้แต่งตั้งฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมนีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ด้วยแรงสนับสนุนและความรู้เห็นเป็นใจจากนักชาตินิยมอนุรักษ์นิยมจารีตประเพณีซึ่งเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถควบคุมฮิตเลอร์และพรรคของเขาได้ ในไม่ช้าพวกนาซีก็สถาปนารัฐพรรคการเมืองเดียวและเริ่มดำเนินการไกลช์ชัลทุง โดยใช้รัฐกำหนดของประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คและการแก้ไขเพิ่มเติม (Weimar Constitution) ซึ่งให้อำนาจกับคณะรัฐมนตรีในการปกครองผ่านการออกฎหมายโดยตรงได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านทั้งประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คหรือสภาไรชส์ทาคก็ตาม
ชตวร์มอัพไทลุง (SA) และชุทซ์ชตัฟเฟิล (SS) ทำหน้าที่เป็นองค์กรกึ่งทหารของพรรคนาซี ในช่วงกลาง ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์ใช้กองกำลัง SS กวาดล้างปีกของพรรคซึ่งมูลวิวัติในทางสังคมและเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่งรวมถึงกลุ่มผู้นำของ SA ด้วย เหตุการณ์เป็นที่รู้จักในชื่อคืนมีดยาว อำนาจทางการเมืองหลังจากอสัญกรรมของประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1934 ถูกรวมศูนย์เข้าเงื้อมมือฮิตเลอร์ เขาจึงได้กลายเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลในตำแหน่งฟือเรอร์อุนท์ไรช์คันท์ซเลอร์ซึ่งแปลว่า "ผู้นำและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี" (ดูเพิ่มที่ (1934 German referendum)) นับแต่นั้นมา ในทางปฏิบัติ ฮิตเลอร์ได้กลายเป็นผู้เผด็จการนาซีเยอรมนีหรือในอีกชื่อว่าไรช์ที่สาม ซึ่งภายใต้เขานั้น ชาวยิว ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และองค์ประกอบ "อันไม่พึงประสงค์" อื่น ๆ จะถูก(เบียดตกขอบ คุมขัง หรือฆ่า) ผู้คนหลายล้านคนซึ่งรวมถึงประชากรยิวกว่าสองในสามที่อยู่ในยุโรปถูกฆ่าหมดสิ้นไปในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อฮอโลคอสต์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองและการค้นพบขอบเขตเต็มของเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ อุดมการณ์นาซีจึงกลายเป็นความอัปยศโดยสากล และถูกถืออย่างกว้างขวางว่าเป็นความผิดศีลธรรมและความชั่วร้าย โดยมีเพียงกลุ่มเหยียดเชื้อชาติตกขอบจำนวนน้อยเท่านั้นที่กล่าวว่าตนเป็นผู้ติดตามอุดมการณ์ชาติสังคมนิยม โดยมักถูกเรียกว่าเป็นนีโอนาซีที่แปลว่านาซีใหม่
ศัพทมูลวิทยา
ชื่อเต็มของพรรคคือ Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei (ไทย: พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน) และในทางการใช้ตัวย่อ NSDAP คำว่า "Nazi" เองมีใช้อยู่แล้วก่อนกำเนิดของพรรคนาซี โดยเป็นคำภาษาปากและคำดูถูกไว้เรียกชาวนาและชาวสวน เป็นภาพลักษณ์ของคนซุ่มซ่ามและเคอะเขิน กล่าวคือ (yokel) คำว่านาซีในความหมายนี้เป็นชื่อเล่นจากชื่อเต็มของชายชาวเยอรมัน Ignatz/Ignaz (อีคนัทซ์) (ซึ่งมันเองผันมาจากชื่อ Ignatius) ซึ่งเป็นชื่อโหลในไบเอิร์นในสมัยนั้น เป็นบริเวณเดียวกันที่พรรคนาซีถือกำเนิดขึ้นมา
ในคริสต์ทศวรรษ 1920 ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของพรรคนาซีในเยอรมันได้ฉวยโอกาสนี้ไว้ โดยล้อตามชื่อย่อ "Sozi" (โซทซี) สำหรับ Sozialist (โซทซีอาลิสต์) ชื่อของพรรคนาซี Nationalsozialistische (นัทซีโอนาลโซทซีอาลิสทิชเชอ) จึงถูกย่อเป็น "Nazi" (นัทซี หรือนาซี) ในเชิงดูถูกเพื่อสัมพันธ์พวกเขากับการใช้งานคำในอีกความหมายดังที่อธิบายไว้ด้านบน การใช้งานคำว่า "Nazi" โดยพวกชาติสังคมนิยมเองมีอยู่ใน ค.ศ. 1926 ในงานของโยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ ที่ชื่อว่า Der Nazi-Sozi (แดร์ นัทซี-โซทซี) ในจุลสารของเกิบเบิลส์ คำว่า "Nazi" ปรากฏเคียงกับคำว่า "Sozi" เท่านั้นในฐานะตัวย่อของคำว่า "Nationalsozialistische"
หลังจากพรรค NSDAP หรือพรรคนาซีขึ้นสู่อำนาจในคริสต์ทศวรรษ 1930 การใช้คำว่า "Nazi" แบบโดดหรือในคำอย่างนาซีเยอรมนี ระบอบนาซี และอื่น ๆ เกิดเป็นที่รู้จักจากผู้ถูกเนรเทศชาวเยอรมันที่อยู่นอกประเทศ แต่ในเยอรมนีเองกลับไม่ คำนี้จากพวกเขาก็กระจายไปยังภาษาต่าง ๆ และในที่สุดถูกนำย้อนกลับเข้ามาในประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง พรรค NSDAP รับเอาชื่อ "นาซี" มาใช้อยู่สักครู่หนึ่งเพื่อพยายาม (reappropriation) แต่ในไม่นานก็ล้มเลิกความพยายามนี้ไป และโดยทั่วไปจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้คำนี้ระหว่างที่ยังอยู่ในอำนาจ ในแต่ละกรณี ผู้เขียนมักเรียกตัวเองว่าเป็น "National Socialists" และเรียกขบวนการว่า "National Socialism" แต่ไม่เรียกว่า "Nazi" เลย เอกสารรวบรวมบทสนทนาของฮิตเลอร์จาก ค.ศ. 1941 ถึง 1944 ชื่อว่า ไม่มีคำว่า "Nazi" เช่นกัน ในคำปราศรัยของแฮร์มัน เกอริง เขาไม่เคยใช้คำว่า "Nazi" ผู้นำยุวชนฮิตเลอร์ (Melita Maschmann) ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประสบการณ์ของเธอไว้ชื่อว่า Account Rendered แต่เธอไม่เรียกตัวเองว่าเป็น "Nazi" แม้ว่าจะถูกเขียนขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองพอสมควร ใน ค.ศ. 1933 สมาชิกพรรคนาซี 581 คนได้ตอบคำถามสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ (Theodore Fred Abel) จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พวกเขาก็ไม่ได้เรียกตัวเองว่าเป็น "Nazi" เหมือนกัน
ตำแหน่งในสเปกตรัมการเมือง
นักวิชาการส่วนใหญ่จัดว่าระบอบนาซีทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติเป็นการเมืองฝ่ายขวาจัด ลักษณะความเป็นขวาจัดในระบอบนาซีเช่น การอ้างว่าผู้ที่สูงส่งมีสิทธิที่จะครอบงำผู้อื่นและกวาดล้างให้สิ้นองค์ประกอบที่ต่ำต้อยไปจากสังคม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และผู้สนับสนุนปฏิเสธว่าระบอบนาซีไม่ได้เป็นทั้งฝ่ายซ้ายหรือขวา แต่วาดภาพแสดงระบอบนาซีเป็น (Syncretic politics) แทนในทางการ ในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์โจมตีทั้งการเมืองฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาในเยอรมนีโดยตรง โดยกล่าวว่า:
ในวันนี้ โดยเฉพาะนักการเมืองฝ่ายซ้ายของเรา พวกเขาคะยั้นคะยออยู่เสมอว่านโยบายต่างประเทศขี้ขลาดตาขาวและประจบสอพลอของพวกเขานั้นเป็นผลอันจำเป็นจากการลดอาวุธของเยอรมนี แม้ความจริงนั้นคือนี่เป็นนโยบายของพวกทรยศ ... แต่นักการเมืองฝ่ายขวาก็สมควรถูกตำหนิแบบเดียวกัน ก็เป็นเพราะความขี้ขลาดน่าสมเพชของพวกเขาที่ทำให้อันธพาลยิวพวกนั้นที่ขึ้นมามีอำนาจในปี 1918 ได้สามารถปล้นอาวุธไปจากชาติได้
ในคำปราศรัยที่มิวนิกเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1922 ฮิตเลอร์กล่าวว่า:
มีความเป็นไปได้สองทางเท่านั้นในเยอรมนี อย่าคิดว่าผู้คนจะเลือกพรรคกลางพรรคแห่งการประนีประนอมตลอดไป วันหนึ่งพวกเขาจะหันมาหาคนเหล่านั้นที่ได้ทำนายอย่างสม่ำเสมอถึงความย่อยยับที่ใกล้เข้ามาและที่พยายามแยกตัวห่างจากมัน และพรรคนั้นก็จะเป็นพวกฝ่ายซ้าย พระเจ้าช่วยเราด้วย! มันจะนำเราไปสู่การทำลายล้างสิ้น จะกลายเป็นลัทธิบอลเชวิค หรือไม่อย่างนั้นก็จะเป็นพรรคพวกฝ่ายขวาซึ่งในตอนสุดท้ายที่ผู้คนหมดหวังเต็มทีแล้ว และได้เสียกำลังใจไปหมดสิ้นไม่เหลือความศรัทธาในสิ่งใด ๆ พวกเขาเป็นแน่ที่จะเข้ายึดบังเหียนอำนาจอย่างไร้ปรานี นั่นเองจะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านที่ผมได้พูดถึงไปไม่กี่นาทีที่แล้ว
บางครั้งฮิตเลอร์จะให้นิยามใหม่กับสังคมนิยม ตอนที่ (George Sylvester Viereck) ได้สัมภาษณ์ฮิตเลอร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1923 และถามเขาว่าทำไมจึงเรียกพรรคตัวเองว่าเป็น 'สังคมนิยม' เขาตอบว่า:
สังคมนิยมเป็นศาสตร์ของการจัดการสวัสดิภาพของส่วนรวม ลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ใช่สังคมนิยม ลัทธิมากซ์ไม่ใช่สังคมนิยม พวกมากซิสต์ขโมยคำนี้ไปแล้วสับสนความหมายของมัน ผมสมควรที่จะเอาสังคมนิยมกลับมาจากพวกสังคมนิยม สังคมนิยมเป็นสถาบันเจอร์แมนิกอารยันโบราณ บรรพบุรุษเยอรมันของเราถือครองที่ดินบางส่วนเป็นส่วนรวม พวกเขาได้ปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับสวัสดิภาพของส่วนรวม ลัทธิมากซ์ไม่มีสิทธิที่จะจำแลงกายเป็นสังคมนิยม สังคมนิยมนั้นต่างจากลัทธิมากซ์ตรงที่มันไม่ยกเลิกทรัพย์สินส่วนบุคคล ต่างจากลัทธิมากซ์ตรงที่มันไม่ปฏิเสธบุคลิกลักษณะ และต่างจากลัทธิมากซ์ตรงที่มันรักชาติ
ใน ค.ศ. 1929 ฮิตเลอร์ได้ปราศรัยให้แก่กลุ่มผู้นำนาซี และทำให้คำว่า 'สังคมนิยม' ง่ายลงอีกให้แปลว่า "สังคมนิยม! เป็นคำอัปมงคลทีเดียว ... จริง ๆ แล้วสังคมนิยมแปลว่าอะไร? ถ้าผู้คนมีของให้กินและมีความสุขแล้ว พวกเขาก็มีสังคมนิยมของพวกเขา"
เมื่อถูกถามถึงในการสัมภาษณ์เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1934 ว่าเขาสนับสนุน "ฝ่ายขวากระฎุมพี" หรือไม่ ฮิตเลอร์อ้างว่าระบอบนาซีนั้นไม่ได้มีไว้สำหรับชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง และชี้ว่าไม่ได้สนับสนุนฝ่ายใดไม่ว่าซ้ายหรือขวา แต่เก็บองค์ประกอบ "บริสุทธิ์" มาจากทั้งสอง "ค่าย" โดยกล่าวว่า: "จากค่ายของประเพณีกระฎุมพี มันจะได้แก้ไขปัญหาระดับชาติ และจากวัตถุนิยมของลัทธิมากซ์ คือสังคมนิยมที่สร้างสรรค์และมีชีวิต"
นักประวัติศาสตร์ถือว่าการจับระบอบนาซีมาเท่ากับ "ลัทธิฮิตเลอร์" นั้นเป็นการง่ายเกินไป เพราะเป็นคำที่มีใช้อยู่แล้วก่อนฮิตเลอร์และนาซีได้อำนาจ และอุดมการณ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมอยู่ในระบอบนาซีนั้นมีรากฐานที่แข็งแรงอยู่แล้วในบางส่วนของสังคมเยอรมันก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พวกนาซีได้รับอิทธิพลอย่างมากจากฝ่ายขวาจัดหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในเยอรมนี ซึ่งถือคติร่วมกันอาทิ การต่อต้านลัทธิมากซ์ การต่อต้านเสรีนิยม และการต่อต้านยิว พร้อมกับแนวคิดชาตินิยม ความรังเกียจในสนธิสัญญาแวร์ซาย และการประณามสาธารณรัฐไวมาร์ที่ไปลงนามสงบศึกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งนำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายในภายหลัง แรงบันดาลใจหลักของนาซีมาจากกองกำลังกึ่งทหารชาตินิยมขวาจัดไฟรคอร์ซึ่งมี่ความเกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในตอนแรก ฝ่ายขวาจัดเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถูกควบคุมโดยฝ่าย แต่คนรุ่นเด็กกว่าซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดชาตินิยมเฟิลคิช เป็นมูลวิวัติมากกว่าและไม่ได้ให้ความสนใจในการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยเยอรมันเลย คนรุ่นเด็กกว่ากลุ่มนี้ต้องการรื้อถอนสาธารณรัฐไวมาร์และสร้างใหม่เป็นรัฐที่แข็งแกร่งและมูลวิวัติบนฐานของชาติพันธุ์ชนชั้นปกครองที่จะทำศึกสงครามและจะสามารถรื้อฟื้น "" (Spirit of 1914) ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับความเป็นเอกภาพของชาติเยอรมันกลับมาได้ ()
พวกนาซี พวกราชาธิปไตยนิยมขวาจัด พวกปฏิกิริยาพรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน (DNVP) และกลุ่มอื่น ๆ อย่างเช่นนายทหารที่สนับสนุนราชาธิปไตยในกองทัพเยอรมัน และนักอุตสาหกรรมคนสำคัญหลายคนได้ร่วมสร้างพันธมิตรต่อต้านสาธารณรัฐไวมาร์เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1931 ที่ (Bad Harzburg) ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการว่า "Nationalen Front" (แนวร่วมแห่งชาติ) แต่มักถูกเรียกในชื่อ (Harzburg Front) พวกนาซีกล่าวว่าพันธมิตรนี้เป็นแค่พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ล้วน ๆ และยังพวกเขายังคงมีความแตกต่างจากพรรค DNVP แล้วพันธมิตรก็พังทลายลงเมื่อพรรค DNVP เสียที่นั่งจำนวนมากในไรชส์ทาคหลังจากการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932 พวกนาซีกล่าวหาว่าพวกเขาเป็น "กลุ่มก้อนปฏิกิริยาที่ไม่มีความสำคัญ" พรรค DNVP จึงตอบกลับด้วยการกล่าวหาพวกนาซีเรื่องสังคมนิยม ความรุนแรงบนท้องถนน และ "การทดลองทางเศรษฐกิจ" ที่จะเกิดขึ้นหากพวกเขาได้ขึ้นสู่อำนาจ แต่ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ไร้บทสรุปที่นักการเมืองอนุรักษ์นิยมฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน และควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้หากไร้พวกนาซี พาเพินจึงได้เสนอกับประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คให้แต่งตั้งฮิตเลอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหัวหน้ารัฐบาลที่ประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมเป็นส่วนใหญ่ และมีรัฐมนตรีนาซีเพียงสามคน ฮินเดินบวร์คทำเช่นนั้น และตรงข้ามกับความคาดหวังของพาเพินและพรรค DNVP ในไม่ช้าฮิตเลอร์จะสามารถก่อตั้งเผด็จการนาซีพรรคเดี่ยวได้
ไคเซอร์วิลเฮ็ล์มที่ 2 ซึ่งถูกกดดันให้สละราชบัลลังก์และลี้ภัยหนีไปท่ามกลางความพยายามปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในเยอรมนี ซึ่งในตอนแรกพรรคนาซีสนับสนุน โอรสของเขาสี่คนซึ่งรวมถึงเจ้าชายไอเทิล ฟรีดริช และ (Prince Oskar of Prussia) เข้าเป็นสมาชิกพรรคนาซีโดยหวังว่าพวกนาซีจะการฟื้นฟูระบอบราชาธิปไตยกลับมาเพื่อแลกกับการสนับสนุนของพวกเขา
ข้างในพรรคนาซีก็มีการแบ่งฝักฝ่าย ทั้งอนุรักษ์นิยมและมูลวิวัติ นาซีอนุรักษ์นิยมแฮร์มัน เกอริง แนะนำให้ฮิตเลอร์ประนีประนอมกับพวกทุนนิยมและพวกปฏิกิริยา นาซีอนุรักษ์นิยมคนสำคัญคนอื่นเช่นไฮน์ริช ฮิมเลอร์ และไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ในขณะที่นาซีมูลวิวัติโยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ ต่อต้านทุนนิยม โดยมองว่ามีชาวยิวเป็นศูนย์กลางและเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่พรรคต้องเน้นภาพลักษณ์แบบชนกรรมาชีพและชาตินิยม อ็อทโท ชตรัสเซอร์ มีมุมมองเหล่านั้นร่วมด้วย และในภายหลังเขาออกจากพรรคนาซีไปตั้งแนวร่วมดำโดยเชื่อและกล่าวหาว่าฮิตเลอร์ได้ทรยศเป้าหมายสังคมนิยมของพรรคด้วยการสนับสนุนระบอบทุนนิยม
จากที่ไม่มีใครรู้จัก พรรคนาซีกลายเป็นอิทธิพลการเมืองหลักหลัง ค.ศ. 1929 ปีกอนุรักษ์นิยมมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อผู้บริจาคที่ร่ำรวยหันมาให้ความสนใจกับศักยภาพของนาซีที่จะเป็นปราการป้องกันลัทธิคอมมิวนิสต์ ก่อนหน้านั้นพรรคนาซีได้รับเงินทุนเกือบทั้งสิ้นจากค่าสมาชิก แต่หลังจาก ค.ศ. 1929 กลุ่มผู้นำเริ่มรุกแสวงหาเงินบริจาคจากนักอุตสาหกรรมเยอรมัน และฮิตเลอร์เริ่มจัดการประชุมระดมทุนกับกลุ่มผู้นำธุรกิจในหลายโอกาส ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ธุรกิจเยอรมันซึ่งเผชิญกับความเป็นไปได้ของหายนะทางเศรษฐกิจในมือหนึ่ง และในอีกข้างเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยสังคมนิยมหรือรัฐบาลคอมมิวนิสต์ พวกเขาเริ่มหันมาหาระบอบนาซีกันมากขึ้นเพื่อเป็นทางออกจากสถานการณ์นั้นด้วยสัญญาของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยรัฐที่จะสนับสนุนผลประโยชน์ของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แทนที่จะโจมตี จนกระทั่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 พรรคนาซีได้รับความสนับสนุนจากอุตสาหกรรมเยอรมันในภาคส่วนที่มีความสำคัญ กล่าวคือผู้ผลิตถ่านหินและเหล็ก ธุรกิจประกันภัย และอุตสาหกรรมเคมีเป็นหลัก
สัดส่วนขนาดใหญ่ของพรรคนาซี โดยเฉพาะในหมู่สมาชิกชตวร์มอัพไทลุง (SA) มุ่งมั่นในจุดยืนสังคมนิยม ปฏิวัติ และ (anti-capitalism) ที่เป็นทางการของพรรค และคาดหวังถึงการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจหลังจากพรรคได้อำนาจมาใน ค.ศ. 1933 ทันที่ก่อนที่นาซีจะเข้ายึดอำนาจ ก็ยังมีแม้แต่พวกประชาธิปไตยสังคมนิยมและพวกคอมมิวนิสต์ที่เปลี่ยนฝั่งแล้วถูกเรียกว่า "" (Beefsteak Nazi): ข้างนอกสีน้ำตาลแต่ข้างในสีแดง ผู้นำ SA แอ็นสท์ เริห์ม ผลักดันให้มี "การปฏิวัติครั้งที่สอง" ("การปฏิวัติครั้งที่หนึ่ง" คือที่นาซีเข้ายึดอำนาจ) ที่จะบัญญัตินโยบายสังคมนิยม มากไปกว่านั้นเริห์มยังต้องการให้กองทัพเยอรมันซึ่งมีขนาดเล็กกว่ารวมเข้ากับ SA ให้อยู่ภายใต้บัญชาของเขา เมื่อนาซีได้อำนาจแล้ว ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้ SA ของเริห์มเข้าปราบปรามพรรคฝ่ายซ้ายอย่างรุนแรง และก็เริ่มโจมตีปัจเจกบุคคลที่ถือว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาอนุรักษ์นิยมด้วย ฮิตเลอร์มองว่าการกระทำโดยอิสระของเริห์มนั้นละเมิดและอาจเป็นภัยต่อภาวะผู้นำของเขา และยังเป็นอันตรายต่อระบอบด้วยความบาดหมางกับประธานาธิบดีอนุรักษ์นิยมเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค และกองทัพเยอรมันที่เอียงไปทางอนุรักษ์นิยม นี่ส่งผลให้ฮิตเลอร์กวาดล้างเริห์มและสมาชิกสายมูลวิวัติคนอื่น ๆ ใน SA ไปใน ค.ศ. 1934 เป็นที่รู้จักในชื่อคืนมีดยาว
ก่อนฮิตเลอร์เข้าร่วมกองทัพกองทัพบาวาเรียเพื่อต่อสู้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขามี (Bohemianism) เป็นศิลปินสีน้ำขนาดย่อมตามท้องถนนในเวียนนาและมิวนิก และเขายังคงบางส่วนของวิถีชีวิตนี้ไว้ในภายหลัง โดยเข้านอนดึกมากแล้วตื่นตอนบ่ายของวัน แม้ว่าหลังจากเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีและฟือเรอร์แล้วก็ตาม หลังสงครามสิ้นสุด กองพันที่เขาอยู่ถูกรวมเข้ากับ (Bavarian Soviet Republic) ระหว่าง ค.ศ. 1918 ถึง 1919 ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งเป็นรองผู้แทนกองพัน นักประวัติศาสตร์ (Thomas Weber (historian)) กล่าวว่าฮิตเลอร์เข้าร่วมงานศพของคอมมิวนิสต์ (Kurt Eisner) (ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว) โดยสวมปลอกแขนไว้อาลัยสีดำไว้ข้างหนึ่ง และอีกข้างสวมปลอกแขนคอมมิวนิสต์สีแดง ซึ่งเขามองว่าเป็นหลักฐานว่าความเชื่อทางการเมืองของฮิตเลอร์นั้นยังไม่ตกผลึก ในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์ไม่เคยกล่าวถึงการรับราชการให้กับสาธารณรัฐโซเวียตไบเอิร์น และกล่าวว่าเขากลายเป็นพวกต่อต้านยิวใน ค.ศ. 1913 ขณะที่อยู่ในเวียนนา ข้อความนี้ถูกแย้งว่าในตอนนั้นเขายังไม่เป็นพวกต่อต้านยิว แม้ว่าเป็นที่ยอมรับแล้วว่าในช่วงเวลานั้นเขาได้อ่านหนังสือและวารสารต่อต้านยิวหลายฉบับและชื่นชมนายกเทศมนตรีเวียนนาที่ต่อต้านยิว (Karl Lueger) ฮิตเลอร์เปลี่ยนมุมมองทางการเมืองของเขาหลังจากการลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1919 และเมื่อนั้นเองเขาได้กลายเป็นชาตินิยมเยอรมันที่ต่อต้านยิว
ฮิตเลอร์ต่อต้านทุนนิยมโดยถือว่ามีต้นกำเนิดจากยิว และกล่าวหาว่าทุนนิยมกำลังจับประเทศชาติเป็นตัวประกันเรียกค่าไถ่ให้กับผลประโยชน์ของชนชั้นปรสิตของ (rentier capitalism) เขาก็ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมรูปแบบสมภาคนิยมด้วย โดยอ้างว่าความไม่เท่าเทียมและการมีลำดับชั้นนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เขาเชื่อว่าชาวยิวเป็นผู้ประดิษฐ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเพื่อทำให้ประเทศชาติอ่อนแอด้วยการส่งเสริมการต่อสู้ทางชนชั้น หลังจากเขาได้ขึ้นสู่อำนาจ ฮิตเลอร์มีจุดยืนทางเศรษฐศาสตร์แบบปฏิบัตินิยม โดยอนุญาตให้มีทรัพย์สินส่วนบุคคลและให้วิสาหกิจเอกชนทุนนิยมดำรงอยู่ตราบใดที่พวกเขายึดโยงกับเป้าหมายของรัฐนาซี แต่ไม่ยอมทนกับวิสาหกิจที่พวกเขามองว่าขัดแย้งกับผลประโยชน์ของชาติ
ผู้นำธุรกิจเยอรมันไม่ชอบอุดมการณ์นาซีแต่สนับสนุนฮิตเลอร์เพราะพวกเขามองว่าพวกนาซีเป็นพันธมิตรที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมผลประโยชน์ของพวกเขา กลุ่มธุรกิจมีส่วนสำคัญในเงินทุนของพรรคนาซีทั้งก่อนและหลังการยึดอำนาจ โดยพวกเขาหวังว่าเผด็จการนาซีจะกำจัดจัดตั้งและพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายให้หมดไป ฮิตเลอร์แสวงหาการสนับสนุนจากผู้นำธุรกิจอย่างแข็งขันด้วยการอ้างว่าวิสาหกิจเอกชนนั้นเข้ากันไม่ได้กับระบอบประชาธิปไตย
ถึงแม้ว่าฮิตเลอร์จะต่อต้านอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ แต่เขาชื่นชมผู้นำสหภาพโซเวียตโจเซฟ สตาลิน และลัทธิสตาลินอย่างเปิดเผยในหลายโอกาส ฮิตเลอร์ยกย่องสตาลินที่เขาพยายามชำระล้างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตให้สิ้นอิทธิพลยิว โดยระบุถึงการที่สตาลินได้กวาดล้างคอมมิวนิสต์ชาวยิวไม่ว่าจะเป็นเลออน ทรอตสกี, กรีโกรี ซีโนเวียฟ (Grigory Zinoviev), เลฟ คาเมเนฟ (Lev Kamenev) และ (Karl Radek) ในขณะที่ฮิตเลอร์มีเจตนาที่จะให้ประเทศเยอรมนีมีความขัดแย้งกับสหภาพโซเวียตมาตลอดเพื่อให้สามารถเพิ่มเลเบินส์เราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") ได้ แต่เขาก็สนับสนุนพันมิตรยุทธศาสตร์ชั่วคราวระหว่างนาซีเยอรมนีกับสหภาพโซเวียตเพื่อสร้างแนวร่วมต่อต้านเสรีนิยมร่วมกันให้เอาชนะระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมให้ได้ โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส
ฮิตเลอร์ชื่นชมจักรวรรดิบริติชและ (Analysis of Western European colonialism and colonization) ของจักรวรรดิว่าเป็นบทพิสูจน์ซึ่งดำรงอยู่ที่แสดงถึงความเหนือกว่าของเชื้อชาติเจอร์แมนิกเหนือเชื้อชาติที่ "ต่ำ" กว่า และมองสหราชอาณาจักรเป็นพันธมิตรโดยธรรมชาติของประเทศเยอรมนี เขาเขียนไว้ในไมน์คัมพฟ์ว่า: "เวลาอีกยาวนานที่กำลังจะถึง ในยุโรปจะมีเพียงสองอำนาจที่อาจจะสามารถลงเอยเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีได้ อำนาจเหล่านี้คือบริเตนใหญ่และอิตาลี"
กำเนิด
รากทางประวัติศาสตร์ของระบอบนาซีพบได้ในหลากหลายองค์ประกอบของวัฒนธรรมการเมืองยุโรปซึ่งหมุนเวียนอยู่ภายในเมืองศูนย์กลางทางปัญญาต่าง ๆ ในทวีป หรือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ (Joachim Fest) เรียกว่า "กองเศษวัสดุมโนคติ" (scrapheap of ideas) ที่แพร่หลายในสมัยนั้น นักประวัติศาสตร์ (Martin Broszat) ชี้ว่า:
องค์ประกอบสำคัญของอุดมการณ์นาซีเกือบทั้งสิ้นสามารถพบได้ในจุดยืนสายมูลวิวัติของขบวนการประท้วงเชิงอุดมการณ์ในประเทศเยอรมนีก่อน ค.ศ. 1914 เหล่านั้นเช่น: การต่อต้านยิวอย่างรุนแรง อุดมการณ์เลือดและดิน แนวคิดเชื้อชาติเจ้านาย และแนวคิดการเข้ายึดครองและตั้งถิ่นฐานในตะวันออก ความคิดเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในแนวคิดชาตินิยมประชานิยมซึ่งต่อต้านนวนิยมและมนุษยนิยมอย่างแข็งขัน และเป็นเชิงศาสนาเทียม"
เมื่อรวมกันแล้ว ผลลัพธ์เป็นอุดมการณ์ที่ต่อต้านปัญญาชนและกึ่งไม่รู้ความในทางการเมืองซึ่งขาดความเชื่อมโยง อันเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมมวลชนซึ่งมอบความผูกพันทางอารมณ์และโลกทัศน์ที่ย่อยง่ายและเรียบง่ายที่มีรากฐานเป็นปกรณัมทางการเมืองสำหรับมวลชนให้แก่ผู้ที่ติดตามมัน
ชาตินิยมเฟิลคิช
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และสมาชิกคนอื่น ๆ ของพรรคนาซีในสาธารณรัฐไวมาร์ (ค.ศ. 1918–1933) ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนักคิดและผู้ที่นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับ (ecological anthropology), (scientific racism), (Holism in science), และ (organicism) ในเชิงปรัญชา ภว-ญาณวิทยา และทฤษฎีจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลายคน ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของ (complex system) และการสร้างทฤษฎีว่าด้วยสังคมของเชื้อชาติที่มีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักปรัชญายุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 โยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ หนึ่งในอิทธิพลที่สำคัญที่สุดที่มีต่ออุดมการณ์ของพวกนาซี ผลงานของเขาได้ทำหน้าที่เป็นแรงบันดาลใจแด่ฮิตเลอร์และสมาชิกพรรคนาซีคนอื่น ๆ และแนวคิดของเขาถูกนำไปปฏิบัติใช้เป็นส่วนหนึ่งของรากฐานทางปรัชญาและอุดมการณ์ของแนวนาซี
ผลงานของโยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ ทำหน้าที่เป็นแรงบันดาลใจแด่ฮิตเลอร์และสมาชิกพรรคนาซีคนอื่น ๆ เช่น (Dietrich Eckart) และ (Arnold Fanck) ใน Speeches to the German Nation (ค.ศ. 1808) ซึ่งเขียนขึ้นมาระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งเข้าครอบครองเบอร์ลินในช่วงสงครามนโปเลียน ฟิชเทอเรียกร้องให้มีการปฏิวัติแห่งชาติเยอรมันต่อต้าน (French Imperial Army (1804–1815)) ผู้ครอบครอง โดยปราศรัยในที่สาธารณะด้วยแรงกล้า ติดอาวุธศิษย์ของเขาเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการกระทำโดยชาติเยอรมันเพื่อให้สามารถปลดปล่อยตนเองได้ของฟิชเทอเป็นประชานิยมและตรงข้ามกับของอภิชนจารีตประเพณี โดยกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมี "สงครามของประชาชน" (Volkskrieg) และนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งคล้ายกับที่นาซีดัดแปลงมาใช้ ฟิชเทอสนับสนุนเยอรมัน (exceptionalism) และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ชาติเยอรมันจะต้องทำให้ตนเองบริสุทธิ์ (ประกอบด้วยการชำระล้างคำภาษาฝรั่งเศสออกไปจากภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นนโยบายที่พวกนาซีนำไปปฏิบัติเมื่อได้อำนาจ)
อีกบุคคลหนึ่งที่สำคัญในแนวคิดแบบเฟิลคิชยุคก่อนนาซีคือ (Wilhelm Heinrich Riehl) ผลงานของเขา ลันท์อุนท์ล็อยเทอ (Land und Leute "แผ่นดินและผู้คน" เขียนขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1857 และ 1863) ผูกมัดฟ็อล์ค (ประชาชน) เยอรมันที่มีชีวิตรวมเข้ากับธรรมชาติและภูมิทัศน์พื้นถิ่นของพวกเขารวมกัน ซึ่งเป็นการจับคู่ที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับอารยธรรมแบบวัตถุนิยมและเชิงกลซึ่งในขณะนั้นกำลังพัฒนาขึ้นมาเนื่องมาจาก (industrialisation) นักภูมิศาสตร์ฟรีดริช รัทเซิล และ (Karl Haushofer) ได้หยิบยืมงานของรีห์ลมาใช้ เช่นเดียวกับผู้ติดตามอุดมการณ์นาซีอัลเฟรท โรเซินแบร์ค และ (Paul Schultze-Naumburg) ทั้งสองได้นำเอาปรัชญาของรีห์ลบางส่วนมาใช้อ้างว่า "แต่ละรัฐประชาชาตินั้นเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งต้องการพื้นที่อยู่อาศัยประมาณหนึ่งเพื่อเอาชีวิตให้รอด" อิทธิพลของรีห์ลนั้นมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากปรัชญา (Blut und Boden "เลือดและดิน") ที่ (Oswald Spengler) เป็นผู้นำเสนอ ซึ่งนักเกษตรศาสตร์นาซี (Richard Walther Darré) และนาซีคนสำคัญคนอื่น ๆ นำไปใช้
ประณามวัตถุนิยม, (individualism) และสังคมอุตสาหกรรมโลกวิสัยที่ไร้จิตวิญญาณ และสนับสนุนสังคมที่ "เหนือ" กว่าบนรากฐานของวัฒนธรรม "พื้นบ้าน" ชาติพันธุ์เยอรมันและ "เลือด" เยอรมัน แนวคิดนี้ประณามคนต่างชาติและแนวคิดต่างชาติ และประกาศว่าชาวยิว ฟรีเมสัน และคนอื่น ๆ นั้นเป็น "พวกทรยศชาติ" และไม่สมควรถูกรวมเข้า ชาตินิยมเฟิลคิชมองโลกผ่านแว่นของ (natural law) และจินตนิยม (romanticism) และมองว่าสังคมนั้นมีชีวิต ยกย่องคุณธรรมของชีวิตชนบท ประณามการทอดทิ้งประเพณีและการเสื่อมของศีลธรรม ประณามการทำลายล้างธรรชาติแวดล้อม และประณามวัฒนธรรมแบบ "พลเมืองโลก" เช่นชาวยิวและชาวโรมานี
พรรคการเมืองพรรคแรกที่พยายามผสมชาตินิยมเข้ากับสังคมนิยมคือ (German Workers' Party (Austria-Hungary)) ซึ่งเป็นหลักแล้วมุ่งเน้นที่จะแก้ไขความขัดแย้งระหว่างชาวเยอรมันเชื้อสายออสเตรียกับชาวเช็กในจักรวรรดิออสเตรียซึ่งหลากชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสมัยนั้น ใน ค.ศ. 1896 นักการเมืองชาวเยอรมันฟรีดริช เนามันน์ (Friedrich Naumann) ได้ก่อตั้งสมาคมชาติสังคม (National-Social Association) ซึ่งมุ่งเน้นที่จะผสมชาตินิยมเยอรมันเข้ากับสังคมนิยมในรูปแบบที่ไม่ใช่มากซิสต์ ความพยายามกลับล้มเหลว แล้วความคิดที่จะเชื่อมต่อชาตินิยมเข้ากับสังคมนิยมถูกมองว่าเท่ากับการต่อต้านยิว ชาตินิยมเยอรมันสุดโต่ง และขบวนการเฟิลคิชโดยทั่วไปอย่างรวดเร็ว
ในสมัยจักรวรรดิเยอรมัน ชาตินิยมเฟิลคิชถูกบดบังโดยอุดมการณ์รักชาติปรัสเซียและประเพณีสหพันธรัฐของรัฐสมาชิกแต่ละรัฐของมัน เหตุการณ์ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและจุดจบของระบอบราชาธิปไตยปรัสเซียในเยอรมนีส่งผลให้ชาตินิยมเฟิลคิชปฏิวัติเติบโตขึ้นมา พวกนาซีสนับสนุนนโยบายชาตินิยมปฏิวัติแบบเฟิลคิชเหล่านั้น และอ้างว่าอุดมการณ์ของพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากการนำและนโยบายของนายกรัฐมนตรีเยอรมนีอ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ซึ่งมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมัน พวกนาซีประกาศว่าพวกเขานั้นมีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อกระบวนการก่อสร้างรัฐชาติเยอรมันที่เป็นปึกแผ่นที่บิสมาร์คได้ริเริ่มไว้และต้องการทำให้สำเร็จ แม้ว่าฮิตเลอร์จะสนับสนุนการก่อสร้างจักรวรรดิเยอรมันของบิสมาร์ค แต่เขาวิพากษ์นโยบายในประเทศแบบสายกลางของบิสมาร์ค ฮิตเลอร์กล่าวถึงประเด็นที่บิสมาร์คสนับสนุน (Kleindeutschland "เยอรมนีเล็ก" ซึ่งไม่รวมออสเตรีย) มากกว่า(โกรสด็อยชลันท์) (Großdeutschland "เยอรมนีใหญ่") แบบรวมกลุ่มเยอรมันที่นาซีสนับสนุนไว้ว่า ที่บิสมาร์คสามารถสร้างไคลน์ด็อยชลันท์ได้สำเร็จนั้นเป็น "ความสำเร็จสูงสุด" ที่บิสมาร์คสามารถทำได้ "ภายใต้ข้อจำกัดที่ทำได้ในช่วงเวลานั้น" ในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์นำเสนอตัวเองเป็น "บิสมาร์คคนที่สอง"
ฮิตเลอร์ในวัยเด็กของเขาที่ออสเตรียได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากผู้สนับสนุนการรวมกลุ่มเยอรมันชาวออสเตรีย (Georg Ritter von Schönerer) ซึ่งสนับสนุนมูลวิวัติ (German nationalism in Austria), การต่อต้านยิว, (anti-Catholicism), (anti-Slavic sentiment) และการต่อต้านราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ฮิตเลอร์ดัดแปลงการทักทายด้วยไฮล์ (Heil) มาใช้ในขบวนการนาซี ตำแหน่งฟือเรอร์ และตัวแบบการนำพรรคแบบสมบูรณาญาสิทธิ์มาจากฟ็อน เชอเนอเรอร์ และผู้ติดตามของเขา ฮิตเลอร์ยังมีความประทับใจกับการต่อต้านยิวแบบประชานิยมและการปลุกปั่นต่อต้านกระฎุมพีเสรีนิยมของ ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีของเวียนนาในขณะที่ฮิตเลอร์อยู่ที่นั่น เขาใช้การปราศรัยปลุกระดมที่ดึงดูดใจมวลชนวงกว้าง ลูเอเกอร์ไม่ได้เป็นชาตินิยมเยอรมันซึ่งต่างจากต่างจากฟ็อน เชอเนอเรอร์ แต่เป็นผู้สนับสนุนราชวงศ์ฮาพส์บวร์คและคาทอลิกและใช้วาทกรรมชาตินิยมเยอรมันเป็นบางครั้งก็เมื่อเป็นประโยชน์กับวาระทางการเมืองของเขาเท่านั้น แม้ว่าฮิตเลอร์จะชื่นชมทั้งลูเอเกอร์และเชอเนอเรอร์ แต่เขาวิจารณ์ลูเอเกอร์ที่ไม่ปฏิบัติใช้หลักคำสอนทางเชื้อชาติกับชาวยิวและชาวสลาฟ
ทฤษฎีเชื้อชาติและการต่อต้านยิว
แนวคิดเกี่ยวกับที่พวกนาซีส่งเสริมนั้นมีรากมาจากทฤษฎีเชื้อชาติที่กล่าวว่าคนยุโรปเป็นทายาทของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอินโด-อิหร่าน ซึ่งเป็นผู้คนจากอินเดียโบราณและเปอร์เซียโบราณ ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ใช้ข้อเท็จจริงที่ว่าคำในภาษาแถบยุโรปมีการออกเสียงและความหมายที่คล้ายคลึงกับคำในกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียนโยฮัน ก็อทฟรีท แฮร์เดอร์ อ้างว่าชาวเจอร์แมนิกมีความเชื่อมโยงทางเชื้อชาติที่ใกล้ชิดกับชาวอินเดียโบราณและชาวเปอร์เซียโบราณ ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นผู้คนขั้นสูงที่มีความสามารถยิ่งใหญ่ในทางสติปัญญา ความสูงศักดิ์ ความอดกลั้น และวิทยาศาสตร์ ผู้คนในสมัยเดียวกับแฮร์เดอร์ใช้แนวคิดเรื่องเชื้อชาติอารยันเพื่อลากเส้นแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นวัฒนธรรมอารยันที่ "สูงส่งและสูงศักดิ์" ออกจากสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมเซมีติกซึ่งเป็น "ปรสิต"
แนวคิดเกี่ยวกับ (white supremacy) และความเหนือกว่าของเชื้อชาติอารยันถูกหลอมรวมเข้ากันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อพวกที่เชื่อในความสูงสุดของคนผิวขาวยึดในความเชื่อว่าบางกลุ่มนั้นเป็นสมาชิกของ "เชื้อชาติเจ้านาย" ที่เหนือกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเหนือกว่าเชื้อชาติเซมีติก ซึ่งพวกเขาสัมพันธ์มันกับ "ความเป็นหมันทางวัฒนธรรม" (Arthur de Gobineau) นักทฤษฎีเชื้อชาติและชนชั้นสูงชาวฝรั่งเศสกล่าวโทษว่าการล่มสลายของอองเซียงเรฌีมในประเทศฝรั่งเศสนั้นเป็นเหตุจากความเสื่อมทรามทางเชื้อชาติที่เกิดจาก (Miscegenation) ซึ่งเขาอ้างว่าได้ทำลายความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติอารยัน เขาใช้คำนี้สำหรับหมายถึงชาวเจอร์แมนิกเท่านั้น ทฤษฎีของกอบีโนซึ่งได้ดึงดูดผู้ติดตามที่เข้มแข็งในเยอรมนี เน้นย้ำถึงการดำรงอยู่ของ (polarity (international relations)) ระหว่างวัฒนธรรมอารยัน ( (Germanic culture)) กับ (Jewish culture) ที่ปรองดองกันไม่ได้
รหัสยลัทธิอารยันอ้างว่าศาสนาคริสต์มีต้นกำเนิดมาจากประเพณีศาสนาอารยัน และชาวยิวแย่งชิงตำนานนั้นไปจากชาวอารยัน ผู้สนับสนุนทฤษฎีเชื้อชาติชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน (Houston Stewart Chamberlain) สนับสนุนแนวคิดความสูงสุดของกลุ่มชนเจอร์แมนิกและการต่อต้านยิวในเยอรมนี งานของเชมเบอร์ลิน (ค.ศ. 1899 "รากฐานของคริสต์ศตวรรษที่ 19") สรรเสริญความสร้างสรรค์และของชาวเจอร์แมนิกและกล่าวว่าจิตวิญญาณเจอร์แมนิกนั้นถูกขู่เข็ญจากจิตวิญญาณ "ยิว" ซึ่งเห็นแก่ตัวและเป็นวัตถุนิยม เชมเบอร์ลินใช้สมมติฐานของเขาเพื่อส่งเสริมแนวคิดอนุรักษนิยมและประณามระบอบประชาธิปไตย, เสรีนิยม และสังคมนิยม หนังสือเล่มนี้กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาโดยเฉพาะในประเทศเยอรมนี เชมเบอร์ลินเน้นย้ำว่าชาติจำเป็นที่จะต้องรักษาความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติไว้เพื่อป้องกันจากความเสื่อมทรามและอ้างว่าการผสมเชื้อชาติกับชาวยิวนั้นควรถูกห้าม ใน ค.ศ. 1923 เชมเบอร์ลินได้พบกับฮิตเลอร์ ซึ่งเป็นผู้นำที่เขายกย่องว่าเป็นจิตวิญญาณเสรีที่กลับมาเกิดใหม่ หนังสือเล่มหนึ่งที่ฮิตเลอร์อ่านแล้วกล่าวว่าเป็น "ไบเบิลของผม" คืองานของ (Madison Grant) (ค.ศ. 1916 "สิ้นเชื้อชาติอันยิ่งใหญ่") ที่สนับสนุน (Nordicism) และนำเสนอให้มีการปฏิบัติใช้โครงการสุพันธุศาสตร์เพื่ออนุรักษ์ความบริสุทธิ์ของ
ในประเทศเยอรมนี ความเชื่อว่าชาวยิวนั้นกำลังใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากชาวเยอรมันกลายเป็นที่นิยมเพราะชาวยิวผู้มั่งคั่งหลายคนได้ขึ้นรับตำแหน่งสำคัญในการรวมชาติเยอรมันเมื่อ ค.ศ. 1871 ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 จนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวมีอยู่มากในชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในขณะที่ในชนชั้นล่างของประเทศเยอรมนีกลับมีอยู่น้อย โดยเฉพาะในภาคส่วนของแรงงานเกษตรและอุตสาหกรรม นักการเงินการธนาคารชาวเยอรมันเชื้อสายยิวมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมันระหว่าง ค.ศ. 1871 จนถึง 1913 และพวกเขาได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากการขยายตัวนี้ ใน ค.ศ. 1908 ในยี่สิบเก้าตระกูลชาวเยอรมันที่ร่ำรวยที่สุดซึ่งความมั่งคั่งรวมกันแล้วกว่า 55 ล้านมาร์คในสมัยนั้น ห้าตระกูลเป็นเชื้อสายยิวและตระกูลชาวเยอรมันที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับสองคือตระกูลรอธส์ไชลด์ ชาวยิวมีความเด่นชัดมากในภาคการธนาคาร การพาณิชย์ และอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมนีในช่วงเวลานี้ แม้ว่าชาวยิวนั้นประกอบเพียงร้อยละ 1 ของประชากรในประเทศเยอรมนีเท่านั้นโดยประมาณ ชาวยิวที่ประกอบเป็นจำนวนมากเกินสัดส่วนในสาขาเหล่านี้กลายเป็นเชื้อเพลิงให้กับความขุ่นเคืองของชาวเยอรมันที่ไม่ได้มีเชื้อสายยิวในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์ตลาดหุ้นตกใน ค.ศ. 1873 และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ตามมาส่งผลให้เกิดกระแสการโจมตีชาวยิวที่ถูกกล่าวหาว่าครอบงำเศรษฐกิจเยอรมนี และการต่อต้านยิวก็เพิ่มขึ้น ในช่วงเวลานี้ ในคริสต์ทศวรรษ 1860 เยอรมันรวมทั้งขบวนการการเมืองฝ่ายขวามูลวิวัติอีกหลายกลุ่มเริ่มนำประเด็นการเหยียดเชื้อชาติและการต่อต้านยิวมาใช้
ผู้สนับสนุนชาตินิยมเฟิลคิชคนสำคัญหลายคนส่งเสริมการต่อต้านยิวแบบมูลวิวัติ เช่น (Eugen Diederichs), (Paul de Lagarde) และ (Julius Langbehn) เดอ ลาการ์ด เรียกชาวยิวว่าเป็น " พาหะของความเสื่อมโทรม ... เป็นมลทินต่อวัฒนธรรมทุก ๆ ชาติ ... และทำลายล้างศรัทธาทั้งสิ้นด้วยเสรีนิยมแบบวัตถุนิยมของพวกเขา" และเรียกร้องให้มีการกำจัดชาวยิวให้สิ้นไป ลังเบห์นเรียกร้องให้มีสงครามทำลายล้างชาวยิว และในภายหลังพวกนาซีได้เผยแพร่นโยบายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเขาจำหน่ายให้กับทหารแนวหน้าระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้สนับสนุนอุดมการณ์ต่อต้านยิวอีกคนหนึ่งในสมัยนั้น (Friedrich Lange (journalist)) ยังได้ใช้คำว่า "ชาติสังคมนิยม" ไว้เรียกแม่แบบชาตินิยมเฟิลคิชแนวต่อต้านทุนนิยมของเขาเอง
โยฮัน ก็อทลีพ ฟิชเทอ กล่าวหาว่าชาวยิวในประเทศเยอรมนีเป็น "รัฐซ้อนรัฐ" ที่เป็นภัยต่อเอกภาพของชาติเยอรมันและจะเป็นต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟิชเทอเสนอสองตัวเลือกสำหรับการจัดการกับเรื่องนี้ ประการแรกคือการก่อสร้างรัฐยิวในภูมิภาคปาเลสไตน์เพื่อจูงใจให้ชาวยิวย้ายออกจากยุโรป ตัวเลือกที่สองคือการใช้ความรุนแรงต่อชาวยิว และเขากล่าวว่าเป้าหมายของความรุนแรงนั้นคือเพื่อ "ตัดหัวของพวกเขาให้หมดภายในหนึ่งคืน ตั้งหัวใหม่ไว้บนไหล่ของพวกเขา ซึ่งควรจะไม่มีแนวคิดยิวอยู่ในนั้นแม้แต่เสี้ยวเดียว"
(ค.ศ. 1912 "พิธีสารปราชญ์แห่งไซออน") เป็นงานที่ถูกปลอมแปลงขึ้นโดย (okhrana) หน่วยงานลับของจักรวรรดิรัสเซีย พวกต่อต้านยิวหลายคนเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริงและมันจึงกลายเป็นที่โด่งดังหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งพิธีสารนั้นอ้างถึงการสมคบคิดอย่างลับของชาวยิวจากนานาชาติที่จะเข้ายึดครองโลกอัลเฟรท โรเซินแบร์ค เป็นผู้แนะนำให้ฮิตเลอร์ได้รู้จักกับพิธีสารนั้น และตั้งแต่ ค.ศ. 1920 เป็นต้นมาเขามุ่งเน้นการโจมตีด้วยการอ้างว่าลัทธิมากซ์และศาสนายูดาห์มีความเกี่ยวโยงกันโดยตรง ว่าชาวยิวและพวกบอลเชวิคเป็นคนกลุ่มเดียวกลุ่มเดียวกัน และว่าลัทธิมากซ์เป็นอุดมการณ์ยิว ซึ่งเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักว่า "ลัทธิบอลเชวิกยิว" ฮิตเลอร์เชื่อว่าพิธีสารชิ้นนั้นเป็นของแท้
ก่อนนาซีขึ้นสู่อำนาจ ฮิตเลอร์มักกล่าวโทษว่าศีลธรรมนั้นเสื่อมลงเพราะ (Rassenschande "ความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติ") ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้ติดตามของเขาว่ายังคงต่อต้านยิวอยู่ ซึ่งถูกทำให้เจือจางลงไว้สำหรับคนส่วนมาก ก่อนที่พวกนาซีออกกฎหมายเชื้อชาติเนือร์นแบร์คมาใน ค.ศ. 1935 พวกชาตินิยมเยอรมันหลายคนสนับสนุนกฎหมายที่ห้ามรัสเซินชันเดอระหว่างชาวอารยันกับชาวยิวโดยให้ถือเป็นการกบฏต่อเชื้อชาติ เช่นโรลันท์ ไฟรส์เลอร์ และแม้กระทั่งก่อนกฎหมายจะออกมาอย่างเป็นทางการเสียอีก พวกนาซีก็ได้ห้ามเพศสัมพันธ์และการสมรสกันระหว่างสมาชิกพรรคกับชาวยิวแล้ว สมาชิกพรรคที่พบว่ามีความผิดฐานรัสเซินชันเดอจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง สมาชิกพรรคบางคนถูกตัดสินให้รับโทษประหารชีวิตก็มี
พวกนาซีอ้างว่าบิสมาร์คไม่สามารถรวมชาติเยอรมันได้สำเร็จเพราะมีชาวยิวแทรกซึมอยู่ในรัฐสภาเยอรมัน และอ้างว่าการที่พวกเขายุบสภาได้ทำให้อุปสรรคต่อการรวมชาตินี้สิ้นสุดลง พวกนาซีกล่าวหาชาวยิวและประชากรกลุ่มอื่น ๆ ที่พวกเขาถือว่าไม่เป็นเยอรมันว่ามีความภักดีต่อต่างชาติด้วยตำนานแทงข้างหลัง นี่จึงทำให้การต่อต้านยิวในเยอรมนีเรื่องยูเดินฟราเกอ (ปัญหาชาวยิว) รุนแรงขึ้น กล่าวคือ (Antisemitic canard) ของการเมืองฝ่ายขวาจัดซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงที่เชิงชาติพันธุ์และนโยบาย (romantic nationalism) เพื่อสถาปนา(โกรสด็อยชลันท์) (เยอรมนีใหญ่) ของมันกำลังเข้มแข็ง
นโยบายเชื้อชาติของระบอบนาซีอาจพัฒนามาจากมุมมองของนักชีววิทยาคนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทินักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส (Jean-Baptiste Lamarck) ผ่านทฤษฎีของลามาร์กแบบจิตนิยมของ (Ernst Haeckel) และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันบิดาของวิชาพันธุศาสตร์เกรกอร์ เม็นเดิล ในภายหลัง พวกนาซีประณามงานของเฮ็ตเติลว่าไม่เหมาะสมสำหรับ "การก่อร่างและการศึกษาแบบชาติสังคมนิยในไรช์ที่สาม" ส่วนหนึ่งอาจเป็นจากปรัชญาวัตถุนิยมและอเทวนิยม "แบบ" ของเขาซึ่งพวกนาซีไม่นิยม พร้อมทั้งความเป็นมิตรที่เขามีต่อชาวยิว การต่อต้าน (militarism) และการสนับสนุน (altruism) โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐนาซีคนหนึ่งเรียกร้องให้ประณามเขา ทฤษฎีของลามาร์กจัดลำดับชั้นเชื้อชาติตามวิวัฒนการจากเอป ซึ่งต่างจากทฤษฎีของเม็นเดิลซึ่งไม่ได้จัดลำดับชั้นของเชื้อชาติว่ามีวิวัฒนาการที่สูงหรือต่ำกว่าจากเอป เพียงแต่กล่าวว่ามนุษย์ล้วนวิวัฒน์มาจากเอปด้วยกัน ผู้สนับสนุนลามาร์กมองว่าเชื้อชาติที่ "ต่ำกว่า" ได้ประสบกับสภาวะที่ทรุดโทรมมานานเกินพอที่ "การพัฒนา" ของสภาวะของพวกเขาอย่างมีนัยสำคัญใด ๆ จะสามารถเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เฮ็คเคิลใช้ทฤษฎีของลามาร์กเพื่ออธิบายถึงการต่อสู้ระหว่างเชื้อชาติที่เกิดขึ้นและจัดวางแต่ละเชื้อชาติลงบนลำดับชั้นของวิวัฒนาการ โดยเรียงลงมาตั้งแต่มนุษย์เต็มตัวจนถึงต่ำกว่ามนุษย์
พวกนาซีและนักสุพันธุศาสตร์กระแสหลักในสมัยนั้นสนับสนุนพันธุศาสตร์ของเม็นเดิลหรือทฤษฎีของเม็นเดิล ทฤษฎีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเม็นเดิลกล่าวว่าลักษณะทางพันธุกรรมจะถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น นักสุพันธุศาสตร์ใช้ทฤษฎีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเม็นเดิลเพื่อแสดงการถ่ายทอดโรคและความบกพร่องทางชีววิทยาจากบุพการีสู่บุตร ซึ่งรวมถึงความผิดปกติทางจิต ในขณะที่ผู้อื่นใช้ทฤษฎีของเม็นเดิลเพื่อแสดงการถ่ายทอดลักษณะทางสังคม โดยพวกถือคตินิยมเชื้อชาติอ้างว่าเบื้องหลังลักษณะทั่วไปบางประการเช่นความคิดสร้างสรรค์หรือพฤติกรรมอาชญากรนั้นมีธรรมชาติเชิงเชื้อชาติอยู่
การใช้ตัวแบบการเหยียดเชื้อชาติแบบอเมริกัน
ฮิตเลอร์และนักทฤษฎีกฎหมายนาซีหลายคนได้รับแรงบันดาลใจจาก (institutional racism) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและมองเห็นเป็นมันตัวแบบสำหรับทำตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขามองเห็นมันเป็นตัวแบบสำหรับการขยายเขตแดนและการขจัดผู้อยู่อาศัยพื้นเมืองออกไป เห็น (Disfranchisement after the Reconstruction era) เป็นตัวแบบที่พวกเขาต้องการปฏิบัติใช้ในแบบเดียวกันกับชาวยิว และเห็น (Immigration Act of 1924) ที่ห้ามบางเชื้อชาติเป็นตัวแบบ ในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์สรรเสริญว่าประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นตัวอย่างร่วมสมัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่มีกฎหมายพลเมืองแบบเหยียดเชื้อชาติ (หรือแบบ "เฟิลคิช") อยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1920 และนักกฎหมายนาซีได้นำตัวแบบอเมริกันไปใช้ในการประดิษฐ์กฎหมายสำหรับใช้ในนาซีเยอรมนี กฎหมายความเป็นพลเมืองสหรัฐและ (Anti-miscegenation laws in the United States) เป็นแรงบันดาลใจโดยตรงให้กับกฎหมายเนือร์นแบร์คที่สำคัญสองฉบับ กฎหมายว่าด้วยความเป็นพลเมืองไรช์และกฎหมายเพื่อคุ้มครองสายเลือดเยอรมันและเกียรติภูมิเยอรมัน
การตอบสนองต่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและลัทธิฟาสชิสต์อิตาลี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน (Johann Plenge) กล่าวถึงการเติบโตของ "ชาติสังคมนิยม" ท่ามกลางสิ่งที่เขาเรียกว่า "" ว่าเป็นการประกาศสงครามต่อ "แนวคิดของปี 1789" (การปฏิวัติฝรั่งเศส) อ้างอิงตามเพล็งเกอ "แนวคิดของปี 1789" เช่นสิทธิของมนุษย์ ประชาธิปไตย ปัจเจกนิยม และเสรีนิยมกำลังถูกปฏิเสธและแทนที่ด้วย "แนวคิดของปี 1914" เช่น "คุณค่าเยอรมัน" เรื่องหน้าที่ วินัย กฎหมาย และระเบียบ เพล็งเกอเชื่อว่าความสามัคคีทางชาติพันธุ์ () จะมาแทนที่การแบ่งแยกทางชนชั้น และ "สหายเชื้อชาติ" จะรวมกันสร้างสังคมแบบสังคมนิยม ประเทศเยอรมนีของ "ชนกรรมาชีพ" ปะทะบริเตนของ "ทุนนิยม" เขาเชื่อว่า "จิตวิญญาณแห่งปี 1914" ได้ปรากฏตัวเป็นมโนทัศน์ของ "สันนิบาตประชาชนแห่งชาติสังคมนิยม" (People's League of National Socialism) ชาติสังคมนิยมนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบที่ปฏิเสธ "แนวคดิเกี่ยวกับเสรีภาพแบบไร้ขอบเขต" และสนับสนุนเศรษฐกิจที่จะรับใช้ประเทศเยอรมนีทั้งมวลภายใต้การนำของรัฐ ชาติสังคมนิยมนี้ต่อต้านทุนนิยมเพราะมีส่วนประกอบซึ่งขัดกับ "ผลประโยชน์แห่งชาติ" ของเยอรมนี แต่ยืนกรานว่าชาติสังคมนิยมจะแสวงหาเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า เพล็งเกอสนับสนุนให้อภิชนปกครองที่ใช้เหตุผลและอำนาจนิยมพัฒนาระบอบชาติสังคมนิยมผ่านรัฐเทคโนแครตที่มีลำดับชั้น และแนวคิดของเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรากฐานของระบอบนาซี
นักปรัชญาวัฒนธรรมชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในอิทธิพลหลักที่มีต่อระบอบนาซี แม้ว่าหลัง ค.ศ. 1933 เขาถูกแปลกแยกจากระบอบนาซีและถูกพวกนาซีประณามในภายหลังเพราะวิจารณ์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พวกนาซีและ (Conservative revolution) ยึดถือมโนทัศน์ว่าด้วยชาติสังคมนิยมของชเป็งเลอร์และมุมมองทางการเมืองของเขาร่วมกัน มุมมองของชเป็งเลอร์ก็เป็นที่นิยมในหมู่ (Italian fascism) ด้วย ซึ่งรวมถึงเบนิโต มุสโสลินี
หนังสือของชเป็งเลอร์ (ค.ศ. 1918 "ความตกต่ำของตะวันตก") ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงเดือนท้าย ๆ ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กล่าวถึง (decadence) ของอารยธรรมยุโรปสมัยใหม่ที่สมมุติขึ้นมา เขาอ้างว่ามันเกิดจากกระบวนการทำให้เป็นปัจเจกอะตอมและไร้ศาสนา กับ สมมติฐานหลักของชเป็งเลอร์กล่าวว่ามีกฎของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อยู่ซึ่งประกอบด้วยวัฏจักรของกำเนิด ความเจริญ ชราภาพ และมรณภาพเมื่อถึงรูปแบบสุดท้ายของอารยธรรมของมันแล้ว เมื่อถึงจุดแห่งอารยธรรม วัฒนธรรมจะสูญเสียความสามารถคิดสร้างสรรค์ไปและยอมจำนนต่อจนกว่าการปรากฏตัวของ "อนารยชน" จะมาสร้างยุคสมัยใหม่ ชเป็งเลอร์พิจารณาว่าโลกตะวันตกได้ยอมจำนนต่อความเสื่อมของปัญญา เงินตรา ชีวิตในเมืองแบบ ชีวิตที่ไร้ศาสนา ปรมาณู และเชื่อว่ามันกำลังอยู่ที่จุดจบของภาวะเจริญพันธุ์ทั้งในทางชีววิทยาและ "ทางจิตวิญญาณ" ของมันแล้ว เขาเชื่อว่าชาติเยอรมัน "อันเยาว์วัย" เมื่อเป็นอำนาจจักรวรรดิจะสืบทอดมรดกของโรมโบราณมา และนำไปสู่การฟื้นฟูของคุณค่าภายใน "สายเลือด" และสัญชาตญาณ และในขณะเดียวกันอุดมคติของจะถูกเปิดเผยว่าไร้เหตุผล
แนวคิด "สังคมนิยมปรัสเซีย" ของชเป็งเลอร์อย่างที่อธิบายไว้ในหนังสือของเขา (ค.ศ. 1919 "ความเป็นปรัสเซียและสังคมนิยม") ได้มีอิทธิพลต่อระบอบนาซีและ ชเป็งเลอร์เขียนว่า: "ความหมายของสังคมนิยมคือชีวิตที่มิได้ถูกควบคุมโดยความขัดแย้งกันระหว่างความรวยกับความจน แต่โดยลำดับชั้นซึ่งได้มาด้วยความสำเร็จและความสามารถ นั่นคือเสรีภาพของเรา เสรีภาพจากอำนาจเด็ดขาดทางเศรษฐกิจของปัจเจก" ชเป็งเลอร์รับเอาแนวคิดต่อต้านอังกฤษที่เพล็งเกอและซ็อมบาร์ทพูดถึงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งประณาม (Liberalism in the United Kingdom) และระบบรัฐสภาแบบอังกฤษและสนับสนุนระบบชาติสังคมนิยมที่เป็นอิสระจากลัทธิมากซ์และจะเชื่อมโยงปัจเจกชนเข้ากับรัฐผ่านองค์กรแบบมาปรับใช้ ชเป็งเลอร์อ้างว่าคุณลักษณะของปรัสเซียแบบสังคมนิยมนั้นดำรงอยู่ทั่วทั้งประเทศเยอรมนี ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ วินัย ความเห็นแก่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ผลิตภาพ และการเสียสละตนเอง เขาเสนอว่าสงครามเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยกล่าวว่า: "สงครามเป็นรูปนิรันดร์ของการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่เหนือกว่า และรัฐดำรงอยู่ก็เพื่อสงคราม: มันเป็นการแสดงออกถึงความอยากทำสงคราม"
นิยามของสังคมนิยมของชเป็งเลอร์ไม่ได้มีการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน เขาประณามลัทธิมากซ์ว่าพยายามฝึกซ้อมชนกรรมาชีพให้ไป "ยึดทรัพย์จากผู้ยึดทรัพย์" หรือนายทุน แล้วให้ใช้ชีวิตที่สุขสบายด้วยทรัพย์ที่ยึดมาเหล่านี้ เขาอ้างว่า "ลัทธิมากซ์คือทุนนิยมของชนชั้นแรงงาน" และไม่ใช่สังคมนิยมที่แท้จริง อ้างอิงตามชเป็งเลอร์ สังคมนิยมที่แท้จริงจะเป็นบรรษัทนิยมรูปแบบหนึ่ง เขากล่าว "องค์กรบรรษัทท้องถิ่นที่จัดระเบียบตามความสำคัญที่แต่ละวิชาชีพมีต่อประชาชนโดยรวม การมีผู้แทนในลำดับที่สูงขึ้นไปจนถึงสภาสูงสุดแห่งรัฐ ที่อาณัติสามารถถูกถอดถอนได้ทุกเมื่อ ไม่มีพรรคการเมืองจัดตั้ง ไม่มีนักการเมืองมืออาชีพ ไม่มีการเลือกตั้งเป็นประจำ"
ปัญญาชนต่อต้านยิวชาวเยอรมัน (Wilhelm Stapel) ใช้สมมติฐานของชเป็งเลอร์ว่าด้วยการปะทะกันทางวัฒนธรรมระหว่างชาวยิวที่ชเป็งเลอร์อธิบายว่าเป็นคนจำพวกเมไจ (Magi) กับ (Ethnic groups in Europe) ซึ่งเป็นคนจำพวกเฟาสต์ ชตาเพิลพรรณนาว่าชาวยิวเป็นชนร่อนเร่ไร้แผ่นดินที่กำลังตามหาวัฒนธรรมนานาชาติที่จะใช้เพื่อปรับตัวเขากับอารยธรรมตะวันตก ดังนั้น ชตาเพิลจึงอ้างว่าสังคมนิยม สันตินิยม หรือทุนนิยมในรูปแบบ "สากล" จึงดึงดูดใจชาวยิว เพราะชาวยิวซึ่งเป็นผู้คนที่ไม่มีแผ่นดินได้รุกล้ำเขตแดนของชาติและวัฒนธรรมมามากมายแล้ว
ในช่วงแรก (Arthur Moeller van den Bruck) เป็นบุคคลสำคัญของระบอบนาซีที่ได้รับอิทธิพลจากนักปฏิวัติอนุรักษ์นิยม เขาปฏิเสธอนุรักษ์นิยมแบบปฏิกิริยาและเสนอให้มีรัฐใหม่ซึ่งเขาบัญญัติชื่อว่า "ไรช์ที่สาม" ซึ่งจะประสานทุก ๆ ชนชั้นภายใต้การปกครองแบบอำนาจนิยม ฟัน เดน บรุค สนับสนุนส่วนผสมระหว่างชาตินิยมจากฝ่ายขวาและสังคมนิยมจากฝ่ายซ้าย
ลัทธิฟาสซิสต์เป็นหนึ่งในอิทธิพลหลักที่มีต่อระบอบนาซี การยึดอำนาจโดยผู้นำฟาสชิสต์ชาวอิตาลีเบนิโต มุสโสลินี ในการเดินขบวนสู่โรมใน ค.ศ. 1922 ได้ดึงดูดความชื่นชมจากฮิตเลอร์ ซึ่งไม่ถึงเดือนถัดมาก็ได้เริ่มจำลองตัวเองและพรรคนาซีตามแบบมุสโสลินีและพวกฟาสชิสต์ ฮิตเลอร์นำเสนอให้พวกนาซีเป็นลัทธิฟาสชิสต์เยอรมันรูปแบบหนึ่ง ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1923 พวกนาซีได้พยายามทำ "การเดินขบวนสู่เบอร์ลิน" ตามแบบอย่างการเดินขบวนสู่โรม ซึ่งนำไปสู่กบฏโรงเบียร์ที่มิวนิกซึ่งล้มเหลว
ฮิตเลอร์กล่าวถึงหนี้ที่ระบอบนาซีมีต่อความสำเร็จในการขึ้นสู่อำนาจของลัทธิฟาสชิสต์ในประเทศอิตาลี ในการสนทนาส่วนตัวเมื่อ ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์กล่าวว่า "พวกชุดน้ำตาลคงไม่เกิดขึ้นหากไม่มีพวกชุดดำ" โดยที่ "พวกชุดน้ำตาล" หมายถึงกองกำลังนาซีและ "พวกชุดดำ" หมายถึง (blackshirts) เขากล่าวถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ด้วยว่า: "หากมุสโสลินีถูกลัทธิมากซ์แซงไป ผมก็ไม่รู้ว่าเราจะรอดมาได้สำเร็จหรือเปล่า ในช่วงเวลานั้นชาติสังคมนิยมยังเติบโตอย่างเปราะบางมาก"
นาซีคนอื่น ๆ โดยเฉพาะพวกซึ่งในสมัยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับปีกสายมูลวิวัติกว่าของพรรค อาทิเกรกอร์ ชตรัสเซอร์, โยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ และไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ปฏิเสธ (italian fascism) และกล่าวหาว่ามันเป็นอนุรักษ์นิยมหรือทุนนิยมมากเกินไปอัลเฟรท โรเซินแบร์ค ประณามลัทธิฟาสชิสต์อิตาลีว่าสบสันทางเชื้อชาติและมีอิทธิพลของ (Philosemitism) ชตรัสเซอร์วิจารณ์นโยบาย (Führerprinzip) ว่าเป็นสิ่งประกอบสร้างของมุสโสลินีและถือว่าเป็นแนวคิดต่างด้าวที่ถูกนำเข้ามาอยู่ในระบอบนาซี ตลอดความสัมพันธ์ระหว่างนาซีเยอรมนีและอิตาลีฟาสชิสต์ นาซีชั้นผู้น้อยหลายคนมองลัทธิฟาสชิสต์ด้วยความเหยียดหยามว่าเป็นขบวนการอนุรักษ์นิยมที่ขาดศักยภาพในการปฏิวัติอย่างเต็มที่
อุดมการณ์และแนวนโยบาย
นักประวัติศาสตร์ เขียนไว้ในหนังสือของเขา The Hitler State (Der Staat Hitlers) ว่า:
...ชาติสังคมนิยมไม่ได้เป็นในเชิงอุดมการณ์หรือแนวนโยบายเป็นหลัก แต่เป็น (charismatic authority) ซึ่งอุดมการณ์นั้นรวมเข้าอยู่ในตัวฟือเรอร์ฮิตเลอร์ และมันจะเสียอำนาจรวบรวมของมันไปสิ้นหากไร้ซึ่งเขา ... อุดมการณ์ชาติสังคมนิยมที่คลุมเครือ ยูโทเปีย และนามธรรมนั้นประสบความเร็จกลายเป็นจริงและแน่นอนเพียงเท่าที่มันทำได้ผ่านฮิตเลอร์เป็นสื่อกลาง
ดังนั้น การอธิบายอุดมการณ์ของระบอบนาซีจะต้องเป็นการอธิบายแบบพรรณนา เพราะมันไม่ได้เป็นผลผลิตจากหลักการเบื้องต้นเป็นหลัก แต่เป็นผลมาจากปัจจัยหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นมุมมองส่วนตัวที่ฮิตเลอร์ถือไว้อย่างเข้มแข็ง บางส่วนจาก เป้าหมายโดยทั่วไปของขบวนการชาตินิยมและ และความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในพรรคนาซีที่ต่อสู้กันแก่งแย่ง "เอาชนะใจฮิตเลอร์ให้ยอมรับการตีความชาติสังคมนิยมของพวกเขาแต่ละคน" และหลังจากพรรคเริ่มกวาดล้างอิทธิพลเบี่ยงเบนเช่นลัทธิชตรัสเซอร์ออกไปแล้ว กลุ่มผู้นำของพรรคได้ยอมรับให้ฮิตเลอร์เป็น "อำนาจสูงสุดในการตัดสินใจประเด็นเชิงอุดมการณ์"
ชาตินิยมและคตินิยมเชื้อชาติ
ระบอบนาซีเน้นความสำคัญของ ไม่ว่าจะเป็น (irredentism) หรือ (expansionism) ระบอบนาซียึดถือทฤษฎีเชื้อชาติที่มีรากฐานอยู่บนความเชื่อว่ามีซึ่งเหนือกว่าเชื้อชาติอื่นใดทั้งมวลอยู่ พวกนาซีเน้นความสำคัญของการดำรงอยู่ซึ่งความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างกับเชื้อชาติอื่น ๆ โดยเฉพาะชาวยิวซึ่งพวกนาซีมองว่าเป็นเชื้อชาติผสมที่ได้แทรกซึมเข้าไปในหลายสังคมและมีส่วนในการเอาเปรียบและกดทับเชื้อชาติอารยัน พวกนาซีก็จัดประเภทชาวสลาฟเป็นอุนเทอร์เม็นช์ (ต่ำกว่ามนุษย์) ด้วย
นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันว็อล์ฟกัง บีอาลาส (Wolfgang Bialas) อ้างว่าสำนึกในศีลธรรมของนาซีสามารถอธิบายได้ว่าเป็น (virtue ethics) เชิงกระบวนการรูปแบบหนึ่ง เพราะว่ามันต้องการให้เชื่อฟังต่อคุณธรรมสัมบูรณ์อย่างไร้เงื่อนไขพร้อมด้วยเจตคติของการวิศวกรรมสังคม และได้แทนที่อัชฌัตติกญาณสามัญด้วยคำสั่งและคุณธรรมเชิงอุดมการณ์ชุดหนึ่ง บุรุษแบบใหม่ในอุดมคติของนาซีต้องมีจิตสำนึกทางเชื้อชาติและเป็นนักรบผู้อุทิศตนแด่อุดมการณ์ซึ่งจะสามารถกระทำการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แห่งเชื้อชาติเยอรมันและเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเที่ยงธรรมไปในเวลาเดียวกัน พวกนาซีเชื่อว่าปัจเจกจะสามารถพัฒนาความสามารถและคุณลักษณะปัจเจกของตนได้เพียงภายใต้กรอบของเชื้อชาติที่ปัจเจกนั้นเป็นสมาชิกอยู่เท่านั้น เชื้อชาติที่เขาเป็นจะเป็นตัวกำหนดว่าเขาสมควรได้รับการดูแลอย่างถูกศีลธรรมหรือไม่ มโนทัศน์ของ (self-denial) แบบคริสเตียนจะถูกแทนที่ด้วยการเสนอตนเองเหนือพวกที่เขาถือว่าต่ำกว่า พวกนาซีประกาศให้การคัดเลือกโดยธรรมชาติและการต่อสู่แย่งชิงการดำรงอยู่เป็นกฎที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด พวกเขากล่าวว่าผู้คนและปัจเจกซึ่งถือว่าต่ำกว่าจะไม่สามารถเอาชีวิตรอดได้โดยไม่มีพวกที่ถือว่าเหนือว่า ทว่าการกระทำเช่นนี้ก็เป็นการที่พวกเขาเพิ่มภาระให้กับพวกที่เหนือกว่า พวกเขาถือว่าการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเห็นชอบความแข็งแกร่งเหนือความอ่อนแอ และพวกนาซีถือว่าการปกป้องพวกที่ถือว่าต่ำกว่าเป็นการป้องกันมิให้ธรรมชาติดำเนินตามครรลองของมัน พวกเขามองว่าพวกที่ไม่สามารถเสนอตนได้ถูกกำหนดให้พบกับหายนะ และพวกที่จะได้รับสิทธิในการมีชีวิตคือพวกที่สามารถเอาชีวิตรอดด้วยตนเองได้เท่านั้น
ลัทธิเรียกร้องดินแดนคืนและลัทธิการขยายอาณาเขต
พรรคนาซีเยอรมันสนับสนุนการอ้างสิทธิ์เรียกร้องดินแดนประเทศออสเตรีย อาลซัส-ลอแรน ภูมิภาคที่ปัจจุบันเป็นสาธารณรัฐเช็ก และภูมิภาคที่เป็นที่รู้จักตั้งแต่ ค.ศ. 1919 ว่าฉนวนโปแลนด์กลับคืนประเทศเยอรมนี หนึ่งในนโยบายหลักของพรรคนาซีเยอรมันคือเลเบินส์เราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") สำหรับชาติเยอรมันซึ่งอ้างอิงข้ออ้างว่าหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งประเทศเยอรมนีประสบกับวิกฤตประชากรล้นเกินและจะต้องขยายอาณาเขตเพื่อให้ปัญหาประชากรล้นประเทศหมดไปจากเขตแดนจำกัดที่มีอยู่ และเพื่อจัดหาทรัพยากรอันจำเป็นต่อสวัสดิภาพของประชาชนของประเทศ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 พรรคนาซีส่งเสริมการขยายอาณาเขตชองประเทศเยอรมนีเข้าไปในอาณาเขตที่สหภาพโซเวียตถือครองอยู่อย่างเปิดเผย
ในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์กล่าวว่าจะหาเลเบินส์เราม์มาได้จากยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะประเทศรัสเซีย ในปีแรก ๆ ในตำแหน่งผู้นำนาซี ฮิตเลอร์กล่าวอ้างว่าเขายินดีน้อมรับความสัมพันธ์แบบเป็นมิตรกับประเทศรัสเซียบนเงื่อนไขเชิงยุทธศาสตร์ที่รัสเซียจะยอมคืนเส้นแบ่งเขตแดนกลับไปแบบที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศเยอรมนีและประเทศรัสเซียสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ซึ่งลงนามโดย (Grigori Sokolnikov) จากสาธารณรัฐโซเวียตรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 1918 ที่มอบอาณาเขตผืนใหญ่ที่รัสเซียถือครองมาอยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมนีเพื่อแลกกับสันติภาพ ใน ค.ศ. 1921 ฮิตเลอร์ชมเชยสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้แก่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและรัสเซียว่า:
ผ่านสันติภาพกับรัสเซีย การยังชีพเยอรมนีและการจัดหางานจะหามาได้จากการครอบครองแผ่นดินและผืนดิน จากการเข้าถึงวัตถุดิบ และจากมิตรสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ
— อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ระหว่าง ค.ศ. 1921 ถึง 1922 ฮิตเลอร์ปลุกเรียกใช้ทั้งวาทกรรมของความสำเร็จของเลเบินส์เราม์ซึ่งจะประกอบด้วยการยอมรับประเทศรัสเซียที่มีอาณาเขตลดลง และการสนับสนุนพวก (Russian nationalism) ให้โค่นล้มบอลเชวิคและสถาปนารัฐบาลรัสเซียขาวใหม่ แต่จุดยืนของฮิตเลอร์เปลี่ยนไปเมื่อสิ้นปี 1922 เมื่อเขาหันมาสนับสนุนให้มีพันธมิตรระหว่างเยอรมนีกับบริเตนเพื่อทำลายรัสเซีย ในภายหลังฮิตเลอร์ประกาศว่าเขาตั้งใจขยายประเทศเยอรมนีเข้าไปในประเทศรัสเซียถึงเท่าใด:
ทวีปเอเชีย แหล่งกักเก็บมนุษย์ที่น่ากังวลเหลือเกิน! เราไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยของทวีปยุโรปจนกว่าเราจะขับไล่เอเชียไปอยู่หลังยูรัลได้ ไม่ควรมีรัฐรัสเซียจัดตั้งอยู่เลยเส้นนั้นมาทางทิศตะวันตก
— อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
นโยบายสำหรับเลเบินส์เราม์วางแผนให้มีการขยายอาณาเขตของเยอรมนีอย่างมหาศาลไปทางตะวันออกของเทือกเขายูรัล ฮิตเลอร์วางแผนเนรเทศประชากรรัสเซีย "ส่วนเกิน" ที่อาศัยทางตะวันตกของเทือกเขายูรัลไปยังฝั่งตะวันออกของเทือกเขายูรัล
นักประวัติศาสตร์อดัม ทูซ (Adam Tooze) อธิบายว่า ฮิตเลอร์เชื่อว่าเลเบินส์เราม์นั้นมีความสำคัญต่อการจัดหาความมั่งคั่งแบบบริโภคนิยมแนวอเมริกันมาให้แก่ชาวเยอรมัน ทูซอ้างว่าเพราะเหตุนี้การมองว่าระบอบนาซีประสบกับข้อขัดแย้งระหว่าง "" (guns and butter) นั้นเป็นการมองที่ผิด แม้ว่าจะจริงที่ทรัพยากรถูกเบี่ยงออกจากการบริโภคของภาคพลเรือนมาใช้ในการผลิตทางทหาร แต่ทูซอธิบายว่าในระดับยุทธศาสตร์แล้ว "ในท้ายที่สุด ปืนถูกมองว่าเป็นวิธีการหาเนยมาเพิ่ม"
ในขณะที่ความหมกมุ่นที่พวกนาซีมีกับวิถีชีวิตเกษตรกรรมและการผลิตอาหารนั้นมักถูกมองว่าเป็นนัยที่สื่อถึงความล้าหลังของพวกเขา แต่ทูซอธิบายว่าความจริงแล้วเหล่านั้นเป็นหนึ่งในประเด็นขับเคลื่อนหลักของสังคมยุโรปเป็นเวลาอย่างน้อยสองศตวรรษที่ผ่านมา หนึ่งในปัญหาหลักที่ยุโรปต้องประสบพบเจอในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือปัญหาว่าสังคมยุโรปควรตอบสนองต่อ (world economy) ใหม่ของอาหารอย่างไร วิถีชีวิตเกษตรกรรมมีอยู่แพร่หลายอย่างยิ่งในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 ในทวีปยุโรป (อาจยกเว้นเกาะบริเตนใหญ่) และชาวเยอรมันกว่า 9 ล้านคน (เกือบหนึ่งในสามของกำลังแรงงาน) ยังทำงานอยู่ในภาคการเกษตร และหลายคนที่ไม่ได้ทำงานเกษตรกรรมก็ยังมีแปลงจัดสรรขนาดเล็กหรือปลูกอาหารไว้บริโภคเอง ทูซประมาณการณ์ว่ากว่าครึ่งของประชากรเยอรมันในคริสต์ทศวรรษ 1930 อาศัยอยู่ในเมืองเล็ก ๆ และหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งมีประชากรต่ำกว่า 20,000 คน หลายคนที่อาศัยในเมืองใหญ่ยังคงมีความทรงจำถึงการย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองจากชนบทอยู่ ทูซจึงอธิบายว่าความหมกมุ่นที่พวกนาซีมีกับแนวคิดเกษตรนิยมนั้นไม่ใช่การเคลือบเงาความล้าสมัยลงบนชาติอุตสาหกรรมสมัยใหม่ แต่เป็นผลพวงมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าระบอบนาซี (ทั้งในฐานของอุดมการณ์และขบวนการ) เป็นผลผลิตของสังคมที่ยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ
ความหมกมุ่นของพวกนาซีในเรื่องการผลิตอาหารเป็นผลของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้ว่าทวีปยุโรปจะสามารถหลีกเลี่ยงทุพภิกขภัยได้ด้วยการนำเข้าจากนานาชาติ แต่การปิดล้อมได้นำเอาประเด็น (food security) กลับเข้ามาในการเมืองยุโรป (blockade of Germany) โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหลังสงครามไม่ได้ทำให้เกิดทุพภิกขภัยโดยสมบูรณ์ แต่ภาวะขาดสารอาหารเรื้อรังได้คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 600,000 คนโดยประมาณในประเทศเยอรมนีและออสเตรีย วิกฤตเศรษฐกิจในยุคระหว่างสงครามหมายความว่าชาวเยอรมันส่วนใหญ่มีความทรงจำถึงอาการหิวเฉียบพลัน ทูซจึงสรุปว่าความหมกมุ่นของพวกนาซีในเรื่องการหาที่ดินเพิ่มไม่ได้เป็นเรื่องของ "การเดินทวนเข็มนาฬิกา" แต่เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับว่าการแบ่งสรรที่ดิน ทรัพยากร และประชากรอันเป็นผลมาจากสงครามจักรวรรดินิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 นั้นควรถูกยอมรับว่าเป็นที่สิ้นสุดเสียมากกว่า ในขณะที่ผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีอาจมีที่ดินทำการเกษตรที่เหมาะสมกับสัดส่วนประชากรหรือจักวรรดิขนาดใหญ่ (หรือทั้งสองอย่าง) ซึ่งทำให้พวกเขาสรุปประเด็นเรื่องพื้นที่อยู่อาศัยให้เป็นที่สิ้นสุดได้ แต่พวกนาซีซึ่งรู้ว่าประเทศเยอรมนีขาดทั้งสองอย่างนี้ได้ปฏิเสธที่จะยอมรับให้ที่ยืนของประเทศเยอรมนีบนโลกเป็นโรงงานขนาดกลางซึ่งต้องพึ่งพาอาหารนำเข้า
หากอิงตามเกิบเบิลส์ การพิชิตล่าหาเลเบินส์เราม์นั้นมีความตั้งใจให้เป็นก้าวแรก สู่เป้าหมายสุดท้ายของอุดมการณ์นาซี ซึ่งคือการสถาปนา (Hyperpower) ของเยอรมนีอย่างสมบูรณ์รูด็อล์ฟ เฮ็ส บอกกล่าวแก่วัลเทอร์ เฮเวิล ถึงความเชื่อของฮิตเลอร์ว่าจะเกิดขึ้น "ก็ต่อเมื่ออำนาจหนึ่ง ซึ่งเป็น (supremacism) ได้มาซึ่งความสูงสุดอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง" และเมื่อได้อำนาจควบคุมนี้แล้ว อำนาจนี้จะสามารถตั้งตนเป็นตำรวจโลกได้และรับประกันให้กับตัวเองซึ่ง "พื้นที่อยู่อาศัยอันจำเป็น [...] เชื้อชาติที่ต่ำกว่าจะต้องจำกัดตนเองตามจากนั้น"
ทฤษฎีเชื้อชาติ
การจัดเชื้อชาติแบบนาซีมองว่าเป็นเชื้อชาติเจ้านายของโลก เป็นเชื้อชาติที่เหนือว่าเชื้อชาติอื่นใด โดยมองว่าชาวอารยันมีความขัดแย้งทางเชื้อชาติกับกลุ่มชนเชื้อชาติผสมกลุ่มหนึ่ง กล่าวคือชาวยิว ซึ่งพวกนาซีชี้ว่าเป็นศัตรูร้ายของชาวอารยัน และมองกลุ่มชนอื่น ๆ หลายกลุ่มว่าเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของเชื้อชาติอารยัน ใน ค.ศ. 1935 มีการออกประมวลกฎหมายเชื้อชาติมาเพื่อสงวนไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติอารยันที่พวกเขามองนามว่ากฎหมายเนือร์นแบร์ค ในช่วงแรกกฎหมายนี้ห้ามเฉพาะเพศสัมพันธ์และการสมรสระหว่างชาวเยอรมันกับชาวยิว แต่ในภายหลังถูกขยายให้ครอบคลุมถึง "ยิปซี และทายาทลูกผสมของพวกเขา" ด้วย ซึ่งพวกนาซีบรรยายว่าเป็นผู้คน "สายเลือดต่างด้าว" ความสัมพันธ์เช่นนั้นระหว่างชาวอารยัน (ดูที่ (Aryan certificate)) กับคนที่มิใช่ชาวอารยันสามารถถูกลงโทษได้ภายใต้กฎหมายเชื้อชาติฐานเป็น หรือ "ความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติ" หลังสงครามเริ่มต้นขึ้น กฎหมายความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติถูกขยายครอบคลุมถึงคนต่างชาติทั้งหมด (คนที่มิใช่ชาวเยอรมัน) เชื้อชาติที่มิใช่อารยันที่อันดับล่างสุดมีชาวยิว ชาวโรมานี ชาวสลาฟ และ ในที่สุดพวกนาซีพยายามฆ่าล้างชาวยิว ชาวโรมานี ชาวสลาฟ และ (Physical disability) และทาง (Developmental disability) เพื่อรักษา "ความบริสุทธิ์และความแข็งแกร่ง" ของเชื้อชาติอารยัน กลุ่มอื่น ๆ ที่ถูกชี้ว่า "" (Social degeneration) และ "" (Asociality) ที่ไม่ถูกเพ่งเล็งสำหรับฆ่าล้างแต่ได้รับการปฏิบัติแบบกีดกันจากรัฐนาซีเช่นคนรักร่วมเพศ (Black people in Nazi Germany) ศาสนิกชนพยานพระยะโฮวา และศัตรูทางการเมือง ความมุ่งมั่นหนึ่งของฮิตเลอร์ในตอนต้นสงครามคือการฆ่าล้าง ขับไล่ หรือจับเป็นทาสชาวสลาฟส่วนใหญ่หรือทั้งหมดจากยุโรปกลางและตะวันออกเพื่อหาเลเบินส์เราม์ให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมัน
หนังสือเรียนสำหรับนักเรียนเยอรมันสมัยนาซีชื่อว่า Heredity and Racial Biology for Students (กรรมพันธุ์และชีววิทยาเชื้อชาติสำหรับนักเรียน) ที่เขียนขึ้นโดยยาค็อพ กรัฟ (Jakob Graf) อธิบายมโนทัศน์ว่าด้วยเชื้อชาติอารยันของนาซีให้นักเรียนไว้ในส่วน "The Aryan: The Creative Force in Human History" (ชาวอารยัน: แรงสร้างสรรค์ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ) กรัฟอ้างว่าชาวอารยันดั้งเดิมพัฒนามาจากชาวนอร์ดิกที่เข้าบุกรุก(อินเดียโบราณ) พวกเขาเริ่มพัฒนาวัฒนธรรมอารยันในช่วงแรกที่นั่น และในภายหลังก็กระจายเข้าสู่ (ancient Persia) เขาอ้างว่าเปอร์เซียพัฒนากลายเป็นจักรวรรดิได้เพราะมีชาวอารยันอาศัยอยู่ เขาอ้างว่าชาวนอร์ดิกเป็นชนผู้พัฒนาวัฒนธรรมกรีกโบราณเพราะในภาพวาดจากสมัยนั้นแสดงถึงชาวกรีกซึ่งตัวสูง ผิวสีอ่อน ตาสีอ่อน และผมสีทอง เขากล่าวว่า (Italic peoples) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับชาวเคลต์เป็นชนผู้พัฒนาจักรวรรดิโรมันและเป็นชาวนอร์ดิกด้วย เขาเชื้อว่าเพราะประชากรนอร์ดิกหายไปจากประชากรของกรีซโบราณและโรมโบราณจึงนำไปสู่ความล่มสลายของทั้งสอง เขาอ้างว่าสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาพัฒนาขึ้นมาในจักรวรรดิโรมันตะวันตกเพราะสายเลือดนอร์ดิกระลอกใหม่เข้ามาสู่ดินแดนของจักรวรรดิในสมัยการย้ายถิ่น เช่นสายเลือดนอร์ดิกที่มีอยู่ในชาวลอมบาร์ด (ในหนังสือใช้คำว่าลองโกบาร์ด) และอ้างว่ากลุ่มชาววิซิกอทที่หลงเหลืออยู่เป็นชนผู้สร้างจักรวรรดิสเปน และอ้างว่ามรดกของชาวแฟรงก์ ชาวกอท และกลุ่มชนเจอร์แมนิกในประเทศฝรั่งเศสเป็นเหตุให้มันสามารถโตขึ้นเป็นมหาอำนาจได้ เขาอ้างว่าจักรวรรดิรัสเซียเถลิงอำนาจขึ้นมาได้เพราะนำโดยกลุ่มชนทายาทนอร์มัน เขาอธิบายว่าสังคมแอลโกล-แซกซันเติบโตขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศแอฟริกาใต้ และประเทศออสเตรเลียเพราะเป็นผลมาจากมรดกนอร์ดิกของชาวแองโกล-แซกซัน เขาสรุปความประเด็นเหล่านี้ด้วยการกล่าวว่า: "ในทุก ๆ แห่ง แรงสร้างสรรค์ของชาวนอร์ดิกได้สร้างจักวรรดิที่ยิ่งใหญ่ด้วยความคิดจิตใจสูงส่ง และตราบจนวันนี้ภาษาและคุณค่าวัฒนาธรรมของชาวอารยันก็กระจายอยู่ทั่วส่วนใหญ่ของโลก แม้ว่าสายเลือดนอร์ดิกที่สร้างสรรค์นั้นจะได้หายไปจากหลายแห่งนานแล้วก็ตาม"
ในนาซีเยอรมนี ความคิดการสร้างเชื้อชาติเจ้านายทำให้เกิดความพยายามทำให้ด็อยท์เชอฟ็อลค์ (ชาวเยอรมัน) บริสุทธิ์ด้วย (Nazi eugenics) และผลสุดท้ายกลายเป็น (compulsory sterilisation) หรือ (involuntary euthanasia) ของผู้พิการทางร่างกายหรือสติปัญญา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการการุณยฆาตดังกล่าวถูกเรียกว่าอัคซีโยน เทเฟียร์ ข้อแก้ตัวทางอุดมการณ์สำหรับการุณยฆาตมาจากมุมมองที่ฮิตเลอร์มีต่อสปาร์ตา (ระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึงปี 195 ก่อนคริสตกาล) ว่าเป็นรัฐเฟิลคิชต้นฉบับ เขาชื่นชมที่สปาร์ตาทำลายทารกกำเนิดผิดรูปอย่างไร้อารมณ์ความรู้สึกเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ ในองค์กรนาซีเช่นยุวชนฮิตเลอร์และแวร์มัคท์มีคนที่ไม่ใช่ชาวอารยันสมัครเข้าร่วมอยู่บางคน ประกอบด้วยชาวเยอรมันเชื้อสายแอฟริกา และเชื้อสายยิว พวกนาซีเริ่มนำนโยบาย "อนามัยทางเชื้อชาติ" มาปฏิบัติใช้ทันทีที่ได้อำนาจมา "" (Law for the Prevention of Hereditarily Diseased Offspring) ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 กำหนดให้ผู้คนที่มีอาการต่าง ๆ ซึ่งถูกมองว่าเป็นตามกรรมพันธุ์ เช่นโรคจิตเภท โรคลมชัก โรคฮันติงตัน และ "ปัญญาอ่อน" นอกจากนี้ยังบังคับทำหมันผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและมี (deviance (sociology)) ด้วย ผู้คนประมาณ 360,000 คนถูกทำหมันจากกฎหมายนี้ระหว่าง ค.ศ. 1933 ถึง 1939 แม้ว่านาซีบางคนเสนอให้ขยายโครงการครอบคลุมถึงผู้พิการทางร่างกายด้วย แต่ความคิดนั้นต้องแสดงออกมาอย่างระมัดระวัง ด้วยข้อเท็จจริงว่านาซีบางคนมีความพิการทางร่างกาย ตัวอย่างหนึ่งเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจมากที่สุดของระบอบ นั่นคือโยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ ซึ่งมี (clubfoot)
นักทฤษฎีเชื้อชาตินาซี (Hans F. K. Günther) อ้างว่าชาวยุโรปสามารถแบ่งออกได้เป็นห้าเชื้อชาติ กล่าวคือเชื้อชาติ (Mediterranean race) (dinaric race) (alpine race) และ (east baltic race) กึนเทอร์ใช้มโนทัศน์แบบเพื่อให้เหตุผลกับความเชื่อของเขาว่าชาวนอร์ดิกอยู่สูงที่สุดบนลำดับชั้นของเชื้อชาติ ในหนังสือของเขา (ค.ศ. 1922 "ศาสตร์เชื้อชาติของชาวเยอรมัน") กึนเทอร์ให้ชาวเยอรมันประกอบด้วยทั้งห้าเชื้อชาติ แต่เน้นว่าพวกเขามีมรดกจากนอร์ดิกที่เข้มข้ม ฮิตเลอร์ได้อ่าน Rassenkunde des deutschen Volkes ซึ่งส่งอิทธิพลต่อนโยบายด้านเชื้อชาติของเขา กึนเทอร์เชื้อว่าชาวสลาฟอยู่ใน "เชื้อชาติตะวันออก" และเตือนชาวเยอรมันว่าอย่าผสมกับพวกเขา พวกนาซีบรรยายถึงชาวยิวว่าเป็นกลุ่มชนเชื้อชาติผสมระหว่างเชื้อชาติ (Armenoid race) และ (Arabid race) เป็นหลัก เพราะเชื้อชาติดังกล่าวเหล่านั้นถูกถือว่ามีศูนย์กลางอยู่นอกทวีปยุโรป พวกนาซีจึงอ้างว่าชาวยิวเป็น "เชื้อชาติต่างด้าว" จากชาวยุโรปทั้งมวลและไม่มีรากเหง้าทางเชื้อชาติที่ลึกซึ้งในทวีปยุโรป
กึนเทอร์เน้นยำว่าชาวยิวมีมรดกทางเชื้อชาติแบบตะวันออกใกล้ เขาชี้ว่ามีชาวยิวอยู่สองกลุ่มหลัก ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนศาสนาครั้งใหญ่ของ (Khazars) มาเป็นศาสนายูดาห์ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 กลุ่มที่มีมรดกทางเชื้อชาติแบบตะวันออกใกล้เป็นหลักกลายเป็นชาวยิวอัชเกนัซ (ซึ่งเขาเรียกว่าชาวยิวตะวันออก) ในขณะที่กลุ่มที่มีมรดกทางเชื้อชาติแบบบูรพาเป็นหลักกลายเป็นชาวยิวเซฟาร์ดี (ซึ่งเขาเรียกว่าชาวยิวใต้) กึนเทอร์อ้างว่ากลุ่มตะวันออกใกล้ประกอบด้วยผู้ค้าที่มีชั้นเชิงและจิตวิญญาณค้าขาย ว่ากลุ่มนั้นมีทักษะการชักจูงทางจิตวิทยาที่เข้มแข็งซึ่งช่วยพวกเขาในการค้าขาย เขาอ้างว่าเชื้อชาติตะวันออกใกล้นั้น "ไม่ได้ผสมพันธุ์มาเพื่อการพิชิตและการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเท่าใดนัก เพราะตลอดมานั้นคือเพื่อการพิชิตและการใช้ประโยชน์จากผู้คน" กึนเทอร์เชื่อว่าชาวยุโรปมีความรังเกียจผู้คนที่มีต้นกำเนิดจากเชื้อชาติตะวันออกใกล้และคุณลักษณะของพวกเขาโดยมีเชื้อชาติเป็นแรงจูงใจ และเขาแสดงหลักฐานสนับสนุนสิ่งนี้ด้วยการแสดงตัวอย่างของภาพวาดแสดงรูปของซาตานหลายชิ้นในศิลปะยุโรปที่มีลักษณะหน้าตาแบบตะวันออกใกล้
มโนทัศน์ว่าด้วยแฮร์เรินฟ็อลค์อารยัน ("เชื้อชาติเจ้านายอารยัน") ของฮิตเลอร์ไม่รวมถึงชาวสลาฟส่วนใหญ่จาก (Central and Eastern Europe) (อาทิ (Nazi crimes against the Polish nation) ชาวรัสเซีย ชาวยูเครน ฯลฯ) พวกเขาถูกมองว่าเป็นเชื้อชาติของคนที่ไม่มีแนวโน้มไปทางอารยธรรมขั้นที่สูงกว่าซึ่งตกอยู่ใต้อำนาจของที่คืนสภาพพวกเขากลับสู่ธรรมชาติ พวกนาซีมองว่าชาวสลาฟมีอิทธิพลแบบยิวและเอเซียติก (หมายถึงมองโกล) ที่อันตรายอยู่ด้วย เพราะเช่นนี้เอง พวกนาซีประกาศให้ชาวสลาฟเป็นอุนเทอร์เม็นเชิน ("ต่ำกว่ามนุษย์") นักมานุษยวิทยานาซีพยายามพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ถึงส่วนผสมทางประวัติศาสตร์ของชาวสลาฟซึ่งอาศัยอยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก และนักทฤษฎีเชื้อชาตินาซีชั้นนำ ถือว่าชาวสลาฟเป็นนอร์ดิกเป็นหลักเมื่อหลายศตวรรษที่แล้ว แต่เขาเชื่อว่าพวกเขาได้ผสมกับพวกที่ไม่ใช่นอร์ดิกเมื่อเวลาผ่านไป มีข้อยกเว้นให้กับชาวสลาฟสัดส่วนเล็ก ๆ ที่พวกนาซีมองว่าเป็นทายาทของผู้ตั้งถิ่นฐานเยอรมันและจึงเหมาะสมที่จะถูกเปลี่ยนเป็นเยอรมันและยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อชาติเจ้านายอารยัน ฮิตเลอร์บรรยายว่าชาวสลาฟเป็น "มวลชนของข้าทาสแต่กำเนิดซึ่งรู้สึกถึงความต้องการเจ้านาย" นิยามว่าด้วยชาวสลาฟของนาซีที่บอกว่าอยู่ต่ำกว่าได้ทำหน้าที่เป็นข้ออ้างให้ความชอบธรรมแก่ความต้องการสร้างเลเบินส์เราม์ให้กับชาวเยอรมันและกลุ่มชนเจอร์แมนิกอื่น ๆ ในยุโรปตะวันออก ที่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเยอรมันและเจอร์แมนิกอื่น ๆ หลายล้านคนจะย้ายเข้าไปอยู่เมื่อสามารถยึดครองพื้นที่เหล่านั้นได้แล้ว ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยชาวสลาฟดั้งเดิมก็จะถูกกวาดล้าง ลบทิ้ง หรือตกเป็นทาส นโยบายของนาซีเยอรมนีที่มีต่อชาวสลาฟได้เปลี่ยนไปเพื่อตอบสนองต่อความขาดแคลนกำลังทหาร และถูกบังคับให้ต้องอนุญาตชาวสลาฟเข้าทำงานในกองกำลังติดอาวุธภายในพื้นที่ที่กำลังยึดครองอยู่ได้ แม้ว่าพวกเขาจะถูกมองว่าเป็นพวก "ต่ำกว่ามนุษย์" ก็ตาม
ฮิตเลอร์ประกาศว่าความขัดแย้งทางเชื้อชาติต่อชาวยิวเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยให้เยอรมนีรอดพ้นจากความทุกข์ทรมานของการอยู่ใต้พวกเขา และปัดทิ้งความกังวลว่าความขัดแย้งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ไร้มนุษยธรรมและอยุติธรรมไว้ว่า:
เราอาจไร้มนุษยธรรม แต่หากเราช่วยเหลือเยอรมนีได้เราก็ได้กระทำการอันยิ่งใหญ่สูงสุดในโลกนี้สำเร็จแล้ว เราอาจทำการอยุติธรรม แต่หากเราช่วยเหลือเยอรมนีได้เราก็ได้ลบล้างอยุติธรรมสูงสุดในโลกนี้แล้ว เราอาจผิดศีลธรรม แต่หากช่วยเหลือประชาชนของเราให้รอดได้เราก็ได้เปิดหนทางสู่ศีลธรรมแล้ว
นักโฆษณาชวนเชื่อนาซีโยเซ็ฟ เกิบเบิลส์ มักใช้วาทกรรมต่อต้านยิวเพื่อขีดเส้นใต้มุมมองนี้อยู่บ่อย ๆ: "พวกยิวเป็นศัตรูและเป็นผู้ทำลายสายเลือดอันบริสุทธิ์ ผู้ทำลายเชื้อชาติของเราโดยเจตนา"
ชนชั้นทางสังคม
การเมืองชาติสังคมนิยมมีหลักการการจัดตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันและการต่อสู้ และพวกนาซีเชื่อว่า "ชีวิตมนุษย์ประกอบขึ้นด้วยการต่อสู้และการแข่งขันอันเป็นนิรันดร์ และความหมายของมันมาจากการต่อสู้และการแข่งขัน" พวกนาซีมองการต่อสู้นิรันดร์นี้ผ่านแว่นตาแบบทหาร และสนับสนุนให้มีสังคมซึ่งจัดระเบียบคล้ายกับกองทัพเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น พวกเขาส่งเสริมแนวคิด "ประชาคมของประชาชน" แห่งชาติและเชื้อชาติ () เพื่อบรรลุผล "การดำเนินการต่อสู้กับชนและรัฐอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ"ฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์นี้คล้ายกับกองทัพและตั้งใจให้ประกอบขึ้นด้วยลำดับชั้นของยศและชนชั้นของผู้คน บางส่วนสั่งการและส่วนอื่นเชื่อฟัง ทั้งมวลทำงานด้วยกันโดยมีเป้าหมายร่วมกัน มโนทัศน์มีรากเหง้ามาจากงานเขียนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของนักเขียนเฟิลคิชที่เชิดชูสังคมเยอรมันยุคกลาง โดยมองว่าเป็น "ประชาคมซึ่งหยั่งรากลงในแผ่นดินและมัดรวมกันด้วยขนบธรรมเนียมและประเพณี" ซึ่งไม่มีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นหรือปัจเจกนิยมเห็นแก่ตัว มโนทัศน์ว่าด้วยฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์ของนาซีดึงดูดใจคนจำนวนมาก เพราะอย่างที่เคยเป็นครั้งหนึ่ง มันถูกมองว่าเป็นการยืนยันความตั้งใจต่อสังคมชนิดใหม่สำหรับยุคสมัยใหม่ แต่ก็ยังมอบความคุ้มครองจากความตึงเครียดและความไม่มั่นคงของความทันสมัย (modernisation) ซึ่งจะรักษาสมดุลระหว่างความสำเร็จของปัจเจกกับความสามัคคีของกลุ่ม และระหว่างการร่วมมือกันกับการแข่งขัน เมื่อริบผิวหน้าอุดมการณ์ออกไปแล้ว วิสัยทัศน์ของการทำให้ทันสมัยที่ไร้ความขัดแย้งภายในและประชาคมการเมืองที่มอบความมั่นคงและโอกาสให้ของนาซีเป็นวิสัยทัศน์ของอนาคตที่มีศักยภาพอย่างยิ่งเสียจนชาวเยอรมันหลายคนพร้อมมองข้ามเนื้อแท้ที่เหยียดเชื้อชาติและต่อต้านยิวของมันไป
ระบอบนาซีปฏิเสธแนวคิดการต่อสู้ทางชนชั้นของลัทธิมากซ์ และชมเชยทั้งนายทุนและกรรมกรเยอรมันว่าทั้งสองเป็นส่วนสำคัญของฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์ ในฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์ ชนชั้นทางสังคมจะยังดำรงอยู่ แต่จะไม่มีความขัดแย้งทางชนชั้นระหว่างกัน ฮิตเลอร์กล่าวว่า "พวกนายทุนเขาทำงานไต่เต้าขึ้นไปบนยอดด้วยความสามารถของพวกเขา และด้วยพื้นฐานการคัดเลือกนี้ ซึ่งพิสูจน์ว่าพวกเขาเป็นเชื้อชาติที่เหนือกว่าก็เท่านั้น พวกเขาจึงมีสิทธิที่จะนำ" ผู้นำธุรกิจเยอรมันร่วมมือกับนาซีในช่วงที่พวกเขากำลังขึ้นสู่อำนาจและได้รับผลประโยชน์มากมายจากรัฐนาซีหลังถูกสถาปนาขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผลกำไรที่สูงและการผูกขาดและสร้างคาร์เทลที่รัฐอนุญาต มีการเฉลิมฉลองขนาดใหญ่และการใช้สัญลักษณ์อย่างทั่วถึงเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ใช้แรงงานทางกายภาพในนามของเยอรมนี โดยนาซีชั้นนำหลายคนมักสรรเสริญ "เกียรติของแรงงาน" ซึ่งปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นประชาคม (เกอไมน์ชัฟท์) ให้กับชาวเยอรมันและส่งเสริมความสมานฉันท์ในอุดมการณ์นาซี บางครั้งโฆษณาชวนเชื่อนาซีนำเสนอเป้าหมายของนโยบายขยายดินแดนว่าเป็น "การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชาติ" เพื่อแย่งชิงกรรมกรจากลัทธิมากซ์ หมวกแก๊ปหลากสีของเด็กนักเรียนถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในกองไฟเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเอกภาพระหว่างชนชั้นทางสังคมต่าง ๆ
ใน ค.ศ. 1922 ฮิตเลอร์ดูถูกพรรคการเมืองชาตินิยมและอื่น ๆ ว่าลอยตัวอยู่เหนือมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นเด็กในชนชั้นแรงงานและชนชั้นล่าง ว่า:
พวกเชื้อชาตินิยมไม่มีความสามารถดึงเอาข้อสรุปเชิงปฏิบัติมาจากการตัดสินทางทฤษฎีที่ถูกต้องได้ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาชาวยิว ในการนี้ขบวนการเชื้อชาตินิยมเยอรมันพัฒนาแบบแผนที่คล้ายกับอย่างในทศวรรษ 1880 และ 1890 ในสมัยนั้นตำแหน่งผู้นำของมันค่อย ๆ ตกกลายเป็นของพวกที่มีเกียรติยศสูงส่ง แต่เป็นผู้มีการศึกษา ศาสตราจารย์ สมาชิกสภาเขต ผู้อำนวยการโรงเรียน และนักกฎหมายที่ไร้เดียงสาจนน่าอัศจรรย์ กล่าวสั้น ๆ คือพวกชนชั้นกระฎุมพี และสุภาพบุรุษ มันขาดลมหายใจอันอบอุ่นของพลังอันเยาว์วัยของชาติ
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ฐานคะแนนเสียงของพรรคนาซีกลับเป็นเกษตรกรและชนชั้นกลางเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงกลุ่มข้ารัฐการรัฐบาลไวมาร์ ครูบาอาจารย์ แพทย์ เสมียน นักธุรกิจส่วนตัว พนักงานขาย ข้ารัฐการเกษียณ วิศวกร และนักเรียน ความต้องการของพวกเขาประกอบด้วยการลดภาษี การขึ้นราคาอาหาร การจำกัดควบคุมห้างสรรพสินค้าและสหกรณ์ผู้บริโภค และการลดบริการทางสังคมและค่าจ้าง ความจำเป็นที่จะต้องรักษาคนกลุ่มเหล่านี้ไว้ทำให้พวกนาซีดึงดูดชนชั้นแรงงานได้อย่างยากลำบาก เพราะชนชั้นแรงงานมักมีความต้องการไปในทางตรงกันข้าม
จาก ค.ศ. 1928 เป็นต้นมา พรรคนาซีขยายกลายเป็นขบวนการการเมืองระดับชาติขนาดใหญ่โดยพึ่งพาการสนับสนุนของชนชั้นกลาง และภาพลักษณ์ที่มีต่อสาธารณะซึ่ง "สัญญาว่าจะอยู่ข้างชนชั้นกลาง และเผชิญหน้ากับอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของชนชั้นแรงงาน" ความล้มละลายทางการเงินของชนชั้นกลาง (White-collar worker) ในคริสต์ทศวรรษ 1920 เป็นโดยส่วนมากว่าทำไมพวกเขาจึงสนับสนุนระบอบนาซีอย่างเข้มแข็ง ถึงแม้ว่าพวกนาซีพยายามดึงดูดใจ "กรรมกรเยอรมัน" ต่อ แต่นักประวัติศาสตร์ทิโมธี เมสัน (Timothy Mason) สรุปว่า "ฮิตเลอร์ไม่มีอะไรให้กับชนชั้นแรงงานนอกจากคำขวัญ"
นักประวัติศาสตร์โคนัน ฟิชเชอร์ (Conan Fischer) และเด็ทเล็ฟ มืห์ลแบร์เกอร์ (Detlef Mühlberger) อ้างว่า แม้ว่าพวกนาซีมีฐานรากเป็นชนชั้นกลางค่อนล่างเป็นหลัก แต่สามารถดึงดูดใจคนจากทุกชนชั้นในสังคมได้ และแม้ว่ากรรมกรโดยทั่วไปมีแสดงตนอยู่น้อย แต่ก็ยังเป็นฐานเสียงสนับสนุนที่มีน้ำหนักสำหรับนาซี เอช. แอล. อันส์บัคเคอร์ กล่าวอ้างว่าทหารที่มาจากชนชั้นแรงงานเป็นส่วนที่มีความศรัทธาในตัวฮิตเลอร์มากกว่ากลุ่มวิชาชีพใด ๆ ในประเทศเยอรมนี
พวกนาซียังได้สร้างค่านิยมว่ากรรมกรคนงานทุก ๆ คนควรที่จะมีทักษะอยู่บ้าง นี่ไม่ได้เป็นเพียงแค่วาทกรรม จำนวนผู้ชายที่ลาออกจากการเรียนเพื่อหางานทำเป็นผู้ใช้แรงงานไม่มีฝีมือลดลงจาก ค.ศ. 1934 ที่ 200,000 คนกลายเป็น 30,000 คนใน ค.ศ. 1934 สำหรับครอบครัวชนชั้นแรงงานหลายครัวเรือน คริสต์ทศวรรษ 1930 และ 1940 เป็นสมัยของการขยับสถานะทางสังคม แต่ไม่ใช่ในความหมายที่เป็นการขยับเข้าสู่ชนชั้นกลาง แต่เป็นการขยับภายในลำดับชั้นทักษะแรงงานคอปกน้ำเงิน โดยรวมแล้วประสบการณ์ของคนทำงานในระบอบนาซีมีความแตกต่างกันอย่างมาก ค่าจ้างของคนทำงานไม่ได้เพิ่มขึ้นมากในระบอบนาซี เนื่องมาจากการจำกัดการขึ้นค่าจ้างของรัฐบาลที่กลัวเงินเฟ้อจากค่าจ้างและราคา ราคาอาหารและเครื่องนุ่งห่มสูงขึ้น แต่ราคาสำหรับทำความร้อน ค่าเช่า และแสงไฟลดลง มีการขาดแคลนคนงานฝีมือตั้งแต่ ค.ศ. 1936 เป็นต้นไป หมายความว่าคนทำงานที่จบอาชีวศึกษามีโอกาสได้รับค่าจ้างที่สูงพอสมควร สิทธิประโยชน์ที่ได้จากแนวร่วมแรงงานเยอรมันถูกมองในแง่บวกโดยทั่วไป แม้ว่าคนงานจะไม่เชื่อในโฆษณาเรื่องฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์เสมอไป คนทำงานน้อมรับโอกาสการจ้างงานหลังจากหลายปีที่ลำบากในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ซึ่งสร้างความเชื่อร่วมกันว่านาซีได้แก้ปัญหาความไม่มั่นคงของการว่างงานได้แล้ว คนทำงานที่ยังคงไม่พอใจเสี่ยงถูกจับได้จากสายของเกสตาโพ ในตอนสุดท้ายนาซีต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งระหว่างโครงการสะสมกำลังรบซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเสียสละทางวัตถุสภาพจากคนงาน (เวลาทำงานที่ยาวขึ้นและคุณภาพชีวิตที่ต่ำลง) กับความจำเป็นที่จะต้องรักษาความไว้วางใจจากชนชั้นแรงงานที่มีต่อระบอบ ฮิตเลอร์มีความเห็นใจต่อมุมมองที่เน้นย้ำให้ใช้มาตรการเพิ่มเติมสำหรับการสะสมกำลังรบ แต่เขาไม่ได้นำมาตรการเหล่านั้นมาใช้โดยสมบูรณ์เท่าที่จำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างความแปลกแยกต่อชนชั้นแรงงาน
แม้ว่านาซีจะมีแรงสนับสนุนที่มีน้ำหนักจากชนชั้นกลาง แต่พวกเขามักโจมตีคุณค่าของชนชั้นกลางแบบประเพณีดั้งเดิม และฮิตเลอร์รังเกียจพวกเขาเป็นการส่วนตัว นี่เป็นเพราะภาพจำดั้งเดิมของชนชั้นกลางนั้นเป็นภาพของกลุ่มคนที่หมกมุ่นกับสถานะของตน ความสำเร็จทางวัตถุ และการดำเนินชีวิตที่สุขสบาย ซึ่งตรงกันข้ามกับบุรุษแบบใหม่ในอุดมคติของนาซี วิสัยทัศน์ของบุรุษแบบใหม่ของนาซีเป็นวีรบุรุษซึ่งปฏิเสธชีวิตส่วนตัวและวัตถุนิยมและหันมาหาชีวิตสาธารณะและสำนึกในหน้าที่ที่หยั่งลึก ซึ่งพร้อมสละทุกสิ่งเพื่อชาติ แต่พวกนาซียังคงสามารถรักษาคะแนนเสียงของชนชั้นกลางหลายล้านเสียงได้ถึงแม้ว่าจะรังเกียจคุณค่าของพวกเขาก็ตาม เฮอร์แมนน์ เบค (Hermann Beck) อ้างว่าถึงชนชั้นกลางบางคนปัดว่าเหล่านี้เป็นแค่วาทกรรม คนอื่น ๆ หลายคนเห็นด้วยกับพวกนาซีในหลายแง่ ความพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1918 และความล้มเหลวของยุคไวมาร์ได้ทำให้ชาวเยอรมันชนชั้นกลางหลายคนตั้งข้อสงสัยกับอัตลักษณ์ของตน โดยคิดว่าคุณค่าจารีตประเพณีดั้งเดิมของพวกเขาเป็นสิ่งหลงยุคและเห็นด้วยกับนาซีว่าคุณค่าเหล่านี้ใช้ไม่ได้อีกต่อไป แม้ว่าวาทกรรมนี้เริ่มน้อยลงหลัง ค.ศ. 1933 จากการเน้นในแนวคิดฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์ มากขึ้น และวาทกรรมและแนวคิดของมันจะยังไม่หายไปจริง ๆ จนกระทั่งระบอบถูกโค่นล้ม พวกนาซีเน้นว่าชนชั้นกลางจะต้องกลายเป็นชตาทสเบือเกอร์ (staatsbürger) พลเมืองซึ่งตื่นรู้และมีส่วนร่วมในสาธารณะ แทนที่จะเป็นชปีสเบือเกอร์ (spießbürger) ที่เห็นแก่ตัวและวัตถุนิยมซึ่งสนใจแต่ชีวิตส่วนตัว
เพศและเพศสภาพ
ระบอบนาซีสนับสนุนให้กีดกันผู้หญิงออกจากการยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และจำกัดให้พวกเขาอยู่ในขอบเขตของ "" (Kinder, Küche, Kirche "เด็ก ครัว โบสถ์") เท่านั้น ผู้หญิงหลายคนสนับสนุนระบอบอย่างกระตือรือร้น แต่ก็สร้างลำดับชั้นภายในกลุ่มของพวกเขาเอง ฮิตเลอร์มีความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับประเด็นเรื่องผู้หญิงในนาซีเยอรมนีว่า ประวัติศาสตร์เยอรมันยุคอื่น ๆ ประสบกับพัฒนาการและการปลดปล่อยความคิดของผู้หญิง แต่เป้าหมายของชาติสังคมนิยมมีเพียงหนึ่งเดียวคือให้พวกเขาผลิตเด็กออกมา ฮิตเลอร์ครั้งหนึ่งกล่าวถึงผู้หญิงโดยอิงฐานความคิดนี้ว่า "เด็กทุกคนที่เธอนำออกมาสู่โลก คือการต่อสู้เพื่อชาติของเธอ ผู้ชายลุกขึ้นยืนเพื่อ ฟ็อล์ค เหมือนกับที่ผู้หญิงลุกขึ้นยืนเพื่อครอบครัว" โครงการมูลเดิมก่อน (natalism) ในนาซีเยอรมนีมีการให้เงินกู้และเงินทุนแก่คู่สมรสใหม่ และส่งเสริมให้พวกเขาให้กำเนิดบุตรออกมาด้วยการเพิ่มแรงจูงใจต่าง ๆ ผู้หญิงที่ "มีคุณค่า" ทางเชื้อชาติในนาซีเยอรมนีถูกโน้มน้าวให้ไม่ใช้การคุมกำเนิดและมีการห้ามทำแท้งด้วยกฎหมายที่เคร่งครัด โดยระบุโทษจำคุกให้ผู้หญิงที่แสวงหาบริการและโทษจำคุกให้แพทย์ที่ให้บริการพวกเขา แต่กับผู้ที่มีเชื้อชาติ "อันไม่พึงประสงค์" กลับส่งเสริมให้เข้ารับการทำแท้ง
ฮิตเลอร์มักใช้ข้ออ้างว่าชีวิตยุ่งซึ่งทำให้ขาดโอกาสในการสมรสใด ๆ และจนกระทั่งสิ้นระบอบแล้วเขาก็ยังคงไม่ได้แต่งงาน สำหรับผู้สนับสนุนอุดมการณ์นาซี การสมรสไม่ได้มีคุณค่าเพราะเหตุผลทางศีลธรรม แต่เพราะมันเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดสำหรับการผสมพันธุ์ มีการกล่าวว่า ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ เคยบอกกับคนสนิทคนหนึ่งว่าในตอนที่เขาจัดตั้งโครงการเลเบินส์บอร์นขึ้นมา ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อการเพิ่มอัตราการเกิดของเด็ก "อารยัน" ให้มากขึ้นอย่างล้นหลามด้วยความสัมพันธ์นอกสมรสระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายซึ่งทั้งสองถูกจัดประเภทว่ามีเชื้อชาติบริสุทธิ์ เขาพิจารณาเฉพาะ "ผู้ช่วยการตั้งครรภ์" เพศชายที่บริสุทธิ์ที่สุดเท่านั้น
ตั้งแต่ที่นาซีได้ขยายกฎหมาย ("ความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติ") ให้ครอบคลุมชาวต่างชาติทั้งหมดเมื่อสงครามเริ่มต้นขึ้น ก็มีจุลสารที่เผยแพร่ออกมาให้แก่ผู้หญิงชาวเยอรมันที่สั่งให้พวกเขาหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับกรรมกรต่างชาติซึ่งถูกนำเข้ามาในประเทศเยอรมนี จุลสารเหล่านั้นยังได้สั่งให้ผู้หญิงชาวเยอรมันมองกรรมกรต่างชาติเหล่านี้เป็นภยันตรายต่อสายเลือดของพวกเขาอีกด้วย แม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะใช้ได้กับทั้งสองเพศสภาพ แต่ผู้หญิงชาวเยอรมันถูกลงโทษด้วยความรุนแรงมากกว่าสำหรับการมีเพศสัมพันธ์กับแรงงานเกณฑ์ต่างชาติในเยอรมนี พวกนาซีออก (Polish decrees) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1940 ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดว่าด้วยแรงงานเกณฑ์ชาวโปแลนด์ ( (Zivilarbeiter)) ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศเยอรมนีระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หนึ่งในนั้นกล่าวว่าชาวโปแลนด์คนใด "ผู้มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายหรือผู้หญิงชาวเยอรมัน หรือเข้าหาพวกเขาด้วยกิริยาอันไม่สมควรอย่างอื่นอย่างใดก็ตาม จะได้รับโทษประหารชีวิต" หลังจากกฎหมายฉบับนี้ออกมา ฮิมเลอร์กล่าวว่า:
พี่น้องเยอรมันคนใดที่มีเพศสัมพันธ์กับกรรมกรพลเมืองสัญชาติโปแลนด์ไม่ว่าชายหรือหญิง กระทำการอันผิดศีลธรรมอื่น ๆ หรือมีความสัมพันธ์รักใคร่ ก็จะถูกจับทันที
ในภายหลังพวกนาซีได้ออกข้อกำหนดที่คล้ายกันสำหรับกรรมกรจากแถบตะวันออก ( (Ostarbeiter)) ซึ่งประกอบด้วยโทษประหารชีวิตหากพวกเขามีเพศสัมพันธ์กับชาวเยอรมัน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ไฮดริชได้ออกรัฐบัญญัติซึ่งประกาศว่าการร่วมเพศระหว่างผู้หญิงชาวเยอรมันกับกรรมกรหรือเชลยศึกชาวรัสเซียจะนำไปสู่การลงโทษประหารชีวิตฝ่ายชายชาวรัสเซีย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1942 ฮิมเลอร์ได้ออกรัฐบัญญัติซึ่งกล่าวว่า "การร่วมเพศที่ไม่ได้รับอนุญาต" จะนำไปสู่โทษประหารชีวิต แต่เพราะกฎหมายเพื่อคุ้มครองสายเลือดเยอรมันและเกียรติภูมิเยอรมันไม่อนุญาตให้ใช้โทษประหารชีวิตกับความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติ จึงมีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นมาเพื่อให้สามารถตัดสินประหารชีวิตในบางกรณีได้ ผู้หญิงชาวเยอรมันซึ่งถูกกล่าวหาว่าสร้างความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติจะถูกโกนหัวและห้อยป้ายที่ระบุอาชญากรรมของพวกเขาเดินแห่ไปบนท้องถนน และผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดเสื่อมเสียต่อเชื้อชาติจะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันต่าง ๆ มีรายงานว่าเมื่อฮิมเลอร์ถามฮิตเลอร์ว่าโทษสำหรับเด็กผู้หญิงและผู้หญิงชาวเยอรมันซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดเสื่อมเสียต่อเชื้อชาติกับเชลยศึกควรเป็นอย่างไร เขาสั่งว่า "เชลยศึกทุกคนซึ่งมีความสัมพันธ์กับเด็กผู้หญิงชาวเยอรมันหรือชาวเยอรมันจะโดนยิง" และผู้หญิงชาวเยอรมันจะถูกทำให้อับอายขายหน้าในที่สาธารณะด้วยการ "โกนผมและส่งตัวไปยังค่ายกักกัน"
มีการกล่าวถึงสันนิบาตสาวเยอรมันโดยเฉพาะ ว่าได้สั่งให้เด็กผู้หญิงชาวเยอรมันหลีกเลี่ยงความเสื่อมเสียทางเชื้อชาติ ซึ่งได้รับความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับกรณีของผู้หญิงวัยเยาว์
การต่อต้านรักร่วมเพศ
ภายหลังเหตุการณ์คืนมีดยาว ฮิตเลอร์ได้เลื่อนยศฮิมเลอร์และส่งเสริมชุทซ์ชตัฟเฟิล ซึ่งต่อมาปราบปรามรักร่วมเพศด้วยความกระตือรือร้น โดยกล่าวว่า: "เราจะต้องถอนรากถอนโคนคนพวกนี้ ... พวกรักร่วมเพศจะต้องโดนกวาดล้าง" ใน ค.ศ. 1936 ฮิมเลอร์ได้ก่อตั้ง "" (Reichszentrale zur Bekämpfung der Homosexualität und Abtreibung) ขึ้นมา ระบอบนาซีคุมขังคนรักร่วมเพศกว่า 100,000 คนในคริสต์ทศวรรษ 1930 นักโทษชายรักร่วมเพศในค่ายกักกันถูกบังคับให้ติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมชมพู[] อุดมการณ์นาซีมองว่าผู้ชายชาวเยอรมันซึ่งเป็นเกย์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อชาติเจ้านายอารยัน แต่ระบอบนาซีพยายามบังคับให้พวกเขาเปลี่ยนคล้อยตามแบบแผนทางเพศและสังคม คนรักร่วมเพศถูกมองว่าล้มเหลวในการทำหน้าที่ร่วมเพศและขยายพ้นธุ์ให้แก่ชาติอารยัน เกย์เพศชายที่ไม่ยอมเปลี่ยนหรือเสแสร้งว่าเปลี่ยนรสนิยมทางเพศของตนถูกส่งไปยังค่ายกักกันภายใต้โครงการ "การกำจัดผ่านการใช้แรงงาน"
ศาสนา
ใน ค.ศ. 1920 รับประกันเสรีภาพให้กับทุกศาสนานิกายที่ไม่เป็นศัตรูต่อรัฐ และสนับสนุนศาสนาคริสต์เชิงบวกเพื่อต่อสู้ต้าน "จิตวิญญาณวัตถุนิยมยิว" ศาสนาคริสต์เชิงบวกเป็นคริสต์ศาสนาฉบับดัดแปลงซึ่งให้ความสำคัญกับ (Racial hygiene) และชาตินิยม นักเทววิทยาอย่าง (Ernst Bergmann (philosopher)) ให้ความช่วยเหลือพวกนาซี ในงานของเขา Die 25 Thesen der Deutschreligion ("25 ข้อแห่งศาสนาเยอรมัน") แบร์คมันน์มีมุมมองว่าคัมภีร์ไบเบิลพันธสัญญาเดิมมีความไม่สอดคล้องกันกับบางส่วนในพันธสัญญาใหม่ อ้างว่าพระเยซูไม่ใช่ชาวยิวแต่เป็นชาวอารยัน และอ้างว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นพระผู้ช่วยให้รอดองค์ใหม่
ฮิตเลอร์ประณามว่าพันธสัญญาเดิมเป็น "ไบเบิลของซาตาน" และพยายามใช้บางชิ้นบางตอนในพันธสัญญาใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าพระเยซูเป็นทั้งชาวอารยันและเป็นพวกต่อต้านยิวโดยอ้างอิงข้อพระคำภีร์ยอห์นบทที่ 8 ข้อที่ 44 ว่าพระเยซูตะโกนใส่ "พวกยิว" แล้วกล่าวต่อพวกเขาว่า "พ่อของท่านคือมาร" กับเหตุการณ์ (Cleansing of the Temple) ที่บรรยายว่าพระเยซูใช้แส้ขับไล่ "ลูกของมาร" ฮิตเลอร์อ้างว่าพันธสัญญาใหม่ถูกเปาโลอัครทูตบิดเบือน ฮิตเลอร์บรรยายว่าเขาเป็น "ฆาตกรหมู่ที่กลายเป็นนักบุญ" พวกนาซีใช้งานเขียนของนักปฏิรูปโปรเตสแตนต์มาร์ติน ลูเทอร์ ในโฆษณาชวนเชื่อ และจัดแสดงต้นฉบับงานเขียนของลูเทอร์ Von den Jüden und iren Lügen ("ว่าด้วยยิวและคำโกหกของพวกเขา") ออกสู่สาธารณะในการเดินขบวนประจำปีที่เนือร์นแบร์ค พวกนาซีรับรององค์กรที่สนับสนุนนาซี
ในตอนแรกนาซีเป็นศัตรูกับคาทอลิกเพราะคาทอลิกส่วนใหญ่สนับสนุนพรรคกลางเยอรมัน ผู้นับถือนิกายคาทอลิกต่อต้านมาตรการผู้ที่ถูกมองว่าต่ำกว่าที่นาซีสนับสนุน และพระศาสนจักรคาทอลิกห้ามไม่ให้สมาชิกลงคะแนนเลือกพรรคนาซี นาซีใช้ความรุนแรงต่อคาทอลิกใน ค.ศ. 1933 อันเนื่องจากการสมาคมกับพรรคกลางและการต่อต้านกฎหมายการทำหมันของระบอบนาซีของชาวคาทอลิก พวกนาซีเรียกร้องให้ชาวคาทอลิกประกาศความภักดีต่อรัฐเยอรมัน พวกนาซีใช้องค์ประกอบต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์คาทอลิกของประเทศเยอรมนีในโฆษณาชวนเชื่อ โดยเฉพาะคณะอัศวินท็อยโทคาทอลิกเยอรมันและศึกสู้รบของพวกเขาในยุโรปตะวันออก พวกนาซีชี้ว่าคนกลุ่มนี้เป็น "องครักษ์" ในตะวันออกที่ต่อต้าน "ความวุ่นวายสลาฟ" แต่นอกจากเรื่องเชิงสัญลักษณ์แล้วคณะอัศวินท็อยโทมีอิทธิพลต่อระบอบนาซีที่จำกัด ฮิตเลอร์ยอมรับว่าการเดินขบวนยามค่ำคืนของนาซีได้รับแรงบันดาลใจมาจากพิธีกรรมคาทอลิกที่เขาพบเจอมาแต่วัยเด็ก พวกนาซีพยายามคืนดีกับพระศาสนจักรคาทอลิกอย่างเป็นทางการ และเห็นด้วยกับการจัดตั้งองค์กรคาทอลิกที่สนับสนุนนาซี (Kreuz und Adler "ไม้กางเขนและเหยี่ยว") ซึ่งสนับสนุนฉบับหนึ่งของ (national Catholicism) ซึ่งจะเป็นการปรองดองกันระหว่างความเชื่อของศาสนจักรกับของระบอบนาซี ในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1933 นาซีเยอรมนีและพระศาสนจักรคาทอลิกลงนามร่วมกันในสัญญา) (Reichskonkordat) ซึ่งเป็นเงื่อนไขให้คาทอลิกชาวเยอรมันภักดีต่อรัฐเยอรมันเพื่อแลกกับการยอมรับพระศาสนจักรคาทอลิกในเยอรมนี แล้วทางศาสนจักรจึงได้ยกเลิกข้อห้ามให้สมาชิกสามารถสนับสนุนพรรคนาซีได้
เกสตาโพและชุทซ์ชตัฟเฟิลเริ่มให้ความสนใจกับบาทหลวงและแม่ชีมากขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองและกระแสคลั่งไคล้นาซี มีการจัดตั้งเขตแยกสำหรับนักบวชในค่ายกักกัน และการต่อต้านจากศาสนาจักรใด ๆ จะถูกลงโทษอย่างเด็ดขาด (ภคินี) (Maria Restituta Kafka) ถูกศาลประชาชนตัดสินประหารชีวิตเหตุเพียงจากเพลงวิพากษ์ระบอบซึ่งไร้พิษภัย นักบวชชาวโปแลนด์เข้าค่ายกักกันเอาช์วิทซ์เป็นจำนวนมาก กลุ่มคาทอลิกต่อต้านอย่างเช่นคนรอบข้าง (Roman Karl Scholz) ถูกประหัตประหารอย่างไม่ประนีประนอม ในขณะที่กลุ่มคาทอลิกต่อต้านมักต่อต้านสงครามและไม่ต่อสู้ แต่ก็มีตัวอย่างของพวกที่ต่อสู้กับชาติสังคมนิยมอย่างแข็งขัน เช่นกลุ่มคนรอบข้างบาทหลวง (Heinrich Maier) ที่เข้าหาหน่วยงานลับสหรัฐและประกอบภาพร่างแผนและทำเลที่ตั้งของจรวดวี-2, รถถังทีเกอร์ (1/2), เม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 109 และ (Messerschmitt Me 163 Komet) และโรงผลิตของเหล่านี้ให้พวกเขาสามารถทิ้งระเบิดโรงงานได้สำเร็จ ประวัติศาสตร์ของพวกเขามักถูกลืมเลือนหลังช่วงสงคราม เพราะพวกเขาปฏิบัติขัดกับคำสั่งด่วนจากเจ้าหน้าที่ศาสนจักรของพวกเขา
นักประวัติศาสตร์ (Michael Burleigh) อ้างว่าระบอบนาซีใช้คริสต์ศาสนาเพื่อประโยชน์ทางการเมือง แต่ในการนั้น "หลักคำสอนพื้นฐานถูกถอนทิ้งไป แต่อารมณ์ร่วมทางศาสนาซึ่งแพร่หลายที่เหลือมียังประโยชน์ของมันอยู่" เบอร์ลีห์กล่าวว่ามโนทัศน์เรื่องจิตวิญญาณของระบอบนาซีเป็น "แบบเพแกนและบุพกาลโดยรู้ตัวเอง" นักประวัติศาสตร์ (Roger Griffin) ปฏิเสธคำกล่าวอ้างว่าระบอบนาซีเป็นแบบเพแกนโดยหลัก โดยชี้ว่าแม้จะมีพวกเพแกนใหม่ที่ทรงอิทธิพลบางคนอยู่ในพรรคนาซี อาทิไฮน์ริช ฮิมเลอร์ และอัลเฟรท โรเซินแบร์ค แต่พวกเขาเป็นส่วนน้อยและมุมมองของพวกเขาไม่ได้ส่งอิทธิพลต่ออุดมการณ์นาซีมากไปกว่าเชิงสัญลักษณ์ และชี้ว่าในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์ประณามลัทธิเพแกนเจอร์แมนิกและกล่าวโทษว่าลัทธิเพแกนของฮิมเลอร์กับโรเซินแบร์คเป็นเรื่อง "ไร้สาระ"
เศรษฐศาสตร์
นาซีเถลิงอำนาจท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่ออัตราการว่างงานเข้าใกล้ร้อยละ 30 กล่าวโดยทั่วไป นักทฤษฎีและนักการเมืองนาซีกล่าวโทษว่าความผิดพลาดทางเศรษฐกิจในอดีตของเยอรมนีมีเหตุจากอิทธิพลของลัทธิมากซ์ต่อกำลังแรงงาน แผนการชั่วร้ายและฉวยโอกาสที่พวกเขาเรียกว่าพวกยิวนานาชาติ และความอาฆาตพยาบาทของผู้นำทางการเมืองชาติตะวันตกที่เรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พวกนาซีเสนอการแก้ไขปัญหาด้วยการเมืองแทนแรงจูงใจทางเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม เช่นการขจัดสหภาพแรงงานจัดตั้งทิ้ง การติดอาวุธครั้งใหม่ (ซึ่งละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซาย) และการเมืองเชิงชีววิทยา มีการจัดตั้งหลายโครงการอาชีพที่ถูกออกแบบมาเพื่อการจ้างงานชาวเยอรมันให้สมบูรณ์เมื่อพวกนาซีได้เข้ายึดอำนาจระดับชาติ ฮิตเลอร์ส่งเสริมโครงการสนับสนุนระดับชาติต่าง ๆ อาทิการก่อสร้างระบบทางด่วนเอาโทบาน การริเริ่มรถยนต์ของประชาชนในราคาที่จับต้องได้ (ฟ็อลคส์วาเกิน) และต่อมาพวกนาซีค้ำจุนเศรษฐกิจด้วยธุรกิจและการจ้างงานอันเป็นผลผลิตจากการติดอาวุธทหารครั้งใหม่ พวกนาซีได้รับประโยชน์ในช่วงแรกของการดำรงอยู่ของระบอบจากเศรษฐกิจขาขึ้นครั้งแรกหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และนี่ประกอบกับโครงการ (public works) ต่าง ๆ โครงการจัดหางาน และโครงการสนับสนุนการซ่อมแซมบ้านเรือน จึงได้ลดการว่างงานลงไปมากถึงร้อยละ 40 ภายในหนึ่งปี พัฒนาการเหล่านี้ลดบรรยากาศทางจิตวิทยาอันไม่พึงประสงค์จากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งก่อน และจูงใจให้ชาวเยอรมันก้าวเดินไปพร้อมกับระบอบ นโยบายทางเศรษฐกิจของนาซีในหลายแง่มุมสืบเนื่องมาจากนโยบายของพรรคประชาชนแห่งชาติเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองแนว (national conservatism) และเป็นพันธมิตรร่วมรัฐบาลกับพรรคนาซี ในขณะเดียวกันที่ประเทศทุนนิยมตะวันตกแห่งอื่นตั้งเป้าให้อุตสาหกรรมตกเป็น (state ownership) เพิ่มมากขึ้น พวกนาซีกลับถ่ายโอนให้กับ (private sector) และมอบงานบริการสาธารณะบางส่วนให้กับองค์กรเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคนาซี โดยที่เป็นนโยบายโดยเจตนาที่มีจุดประสงค์หลากหลายมากกว่าการขับเคลื่อนทางอุดมการณ์ และเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างแรงสนับสนุนให้กับรัฐบาลและพรรคนาซี นักประวัติศาสตร์ (Richard Overy) กล่าวว่าเศรษฐกิจสงครามของนาซีเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมระหว่างตลาดเสรีกับ (Economic planning) และบรรยายว่าเป็นระบบเศรษฐกิจที่อยู่กึ่งกลางระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบควบคุมของสหภาพโซเวียต (Economy of the Soviet Union) กับสหรัฐ (Economy of the United States)
รัฐบาลนาซีสานต่อนโยบายเศรษฐกิจที่ริเริ่มโดยรัฐบาลของควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ ใน ค.ศ. 1932 เพื่อจัดการกับผลของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งนั้น เมื่อฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1933 เขาได้แต่งตั้งฮยัลมาร์ ชัคท์ อดีตสมาชิก (German Democratic Party) ขึ้นเป็นประธาน (Reichsbank) ใน ค.ศ. 1933 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจไรช์ใน ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์ให้สัญญาว่าจะเพิ่มการจ้างงาน ปกป้องเงินตราเยอรมัน และส่งเสริมการฟื้นตัวหลังจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เหล่านี้ประกอบด้วยโครงการตั้งถิ่นฐานกสิกรรม การรับรัฐการแรงงาน และการประกันการให้บริการสุขภาพและบำนาญ อย่างไรก็ตาม นโยบายและโครงการเหล่านี้ซึ่งได้รับการอุดหนุนจาก (deficit spending) โดยเป็นโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ เช่นการก่อสร้างโครงข่ายเอาโทบานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดการว่างงาน[277] ตกทอดและวางแผนดำเนินการมาตั้งแต่สาธารณรัฐไวมาร์ระหว่างวาระของประธานาธิบดีอนุรักษ์นิยมเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค และถูกพวกนาซีอ้างว่าเป็นของพวกเขาเองหลังจากขึ้นสู่อำนาจแล้ว เป้าหมายของฮิตเลอร์ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือการติดอาวุธและเสริมกำลังให้กับกองทัพเยอรมันเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสงครามเพื่อเข้ายึดครองเลเบินส์เราม์ทางทิศตะวันออกที่จะเกิดขึ้น นโยบายของชัคท์ได้วางแผนไว้สำหรับการคลังแบบขาดดุล โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ใช้จ่ายกับโครงการขนาดใหญ่ชื่อว่า (Mefo bills) ซึ่งบริษัทต่าง ๆ สามารถใช้ในการค้าขายระหว่างกันได้ ตั๋วเงินเมโฟนี้มีประโยชน์เป็นสำคัญในการทำให้เยอรมนีสามารถติดอาวุธใหม่ได้เพราะมันไม่ใช่ไรชส์มาร์คและจึงไม่ปรากฏอยู่ในงบประมาณสหพันธ์ และช่วยปิดบังการติดอาวุธใหม่ ฮิตเลอร์กล่าวในช่วงแรกของการอยู่ในอำนาจว่า "อนาคตของเยอรมนีขึ้นอยู่กับการปฏิสังขรณ์แวร์มัคท์ขึ้นมาใหม่เท่านั้น ภารกิจอื่นทั้งหมดจะต้องยอมถอยให้กับภารกิจของการติดอาวุธใหม่" นโยบายนี้ถูกนำมาปฏิบัติใช้ในทันที และงบประมาณรายจ่ายของกองทัพโตขึ้นสูงกว่าของโครงการสร้างงานภาคพลเรือนอย่างรวดเร็ว เพียงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1933 งบประมาณรายจ่ายของกองทัพในปีนั้นสูงกว่ารายจ่ายในมาตรการการสร้างงานภาคพลเรือนทั้งของ ค.ศ. 1932 และ 1933 รวมกันถึงสามเท่า นาซีเยอรมนีเพิ่มรายจ่ายของกองทัพได้เร็วกว่ารัฐใด ๆ ระหว่างช่วงสงบ โดยรายจ่ายของกองทัพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 10 ของรายได้ประชาชาติภายในสองปีแรกของระบอบเท่านั้น จนกระทั่งสูงขึ้นเหยียบร้อยละ 75 ใน ค.ศ. 1944
แม้ก่อนเถลิงอำนาจนาซีจะใช้วาทกรรมประณาม (big business) แต่พวกเขาเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับธุรกิจเยอรมันอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1933 ในเดือนนั้น หลังจากที่ฮิตเลอร์ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก่อนที่เขาจะได้อำนาจเผด็จการ เขาร้องขอผู้นำภาคธุรกิจเยอรมันเป็นการส่วนตัวให้ช่วยเหลือด้านเงินทุนกับพรรคนาซีในเดือนต่อ ๆ มาที่จะเป็นการขี้ขาด เขาให้เหตุผลว่าพวกเขาควรสนับสนุนให้เขาจัดตั้งเผด็จการให้ได้เพราะ "วิสาหกิจเอกชนจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยของประชาธิปไตย" และเพราะประชาธิปไตยจะนำทางไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ตามที่เขากล่าวอ้าง เขาสัญญาว่าจะทำลายสหภาพแรงงานและฝ่ายซ้ายเยอรมัน โดยไม่กล่าวถึงนโยบายต่อต้านยิวหรือการพิชิตดินแดนต่างชาติ ในสัปดาห์ถัดจากนั้นมา พรรคนาซีได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ กว่าสิบเจ็ดกลุ่ม โดยที่ขนาดใหญ่ที่สุดมาจากบริษัทเคมี (IG Farben) และธนาคารเยอรมัน นักประวัติศาสตร์อดัม ทูซ เขียนว่าผู้นำธุรกิจเยอรมันจึงเป็น "หุ้นส่วนกันโดยเจตนาในการทำลายล้างพหุนิยมทางการเมืองในประเทศเยอรมนี" เจ้าของและผู้จัดการกิจการเยอรมันต่าง ๆ จึงได้รับอำนาจในการควบคุมกำลังแรงงานของตนอย่างไม่เคยมีมาก่อนเป็นการแลกเปลี่ยน (collective bargaining) ถูกยกเลิกไป และค่าจ้างถูกแช่แข็งไว้ที่ระดับต่ำพอสมควร กำไรของธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การลงทุนของบริษัทก็เช่นกัน นอกจากนั้น นาซียังได้ถ่ายโอนทรัพย์สินสาธารณะและบริการสาธารณะไปเป็นของเอกชน และเพิ่มการควบคุมเศรษฐกิจโดยรัฐผ่านระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้น ฮิตเลอร์เชื่อว่ากรรมสิทธิส่วนบุคคลมีประโยชน์เพราะว่ามันส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่สร้างสรรค์และนวัตกรรมทางเทคนิค แต่ยืนยันว่ามันจะต้องสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศและควรมี "ผลิตภาพ" แทนที่จะเป็น "ปรสิต" สิทธิทรัพย์สินส่วนบุคคลนั้นมีเงื่อนไขอยู่บนฐานของลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ผู้นำนาซีกำหนด โดยใช้กำไรที่สูงเป็นรางวัลแด่สถานประกอบการที่ทำตามพวกเขา และใช้การโอนเป็นของรัฐเพื่อขู่เข็ญผู้ที่ไม่ทำตาม ในเศรษฐศาสตร์แบบนาซี การแข่งขันโดยเสรีและตลาดที่กำกับดูแลตนเองลดความสำคัญลงไป แต่ความเชื่อในทฤษฎีดาร์วินทางสังคมของฮิตเลอร์ทำให้เขายังคงเก็บการแข่งขันของธุรกิจและทรัพย์สินส่วนบุคคลไว้ในฐานะของเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ
พวกนาซีต่อต้านแนวคิดสวัสดิการสังคม (social welfare) โดยหลักการ และยึดแนวคิดแบบทฤษฎีดาร์วินทางสังคมแทนว่าผู้ที่อ่อนแอและอ่อนด้อยควรดับสูญไป พวกเขาประณามระบบสวัสดิการของสาธารณรัฐไวมาร์และการกุศลของเอกชน โดยกล่าวหาว่าเป็นการช่วยเหลือผู้คนที่พวกเขามองว่ามีเชื้อชาติที่อ่อนแอและต่ำต้อยซึ่งควรถูกถอนรากถอนโคนทิ้งผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการว่างงานและความยากจนอย่างแพร่หลายจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พวกนาซีจำเป็นต้องจัดตั้งสถาบันการกุศลมาช่วยเหลือชาวเยอรมันที่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์เพื่อรักษาฐานเสียงสนับสนุนจากประชาชน และในขณะเดียวกันอ้างว่านี่เป็นการแสดงถึง "การช่วยเหลือตนเองทางเชื้อชาติ" และไม่ใช่การกุศลแบบไม่เลือกหน้าหรือระบบสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า โครงการนาซีอาทิ (Winterhilfswerk) และโครงการ (National Socialist People's Welfare; NSV) ที่ครอบคลุมกว่าถูกจัดระเบียบในรูปสถาบันกึ่งเอกชน โดยตามหลักการจะพึ่งพาทุนบริจาคเอกชนจากชาวเยอรมันเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่มีเชื้อชาติเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติผู้ที่ไม่ยอมบริจาคอาจได้พบกับผลร้ายแรงที่จะตามมา ระบบ NSV ต่างจากสถาบันสวัสดิการสังคมสมัยสาธารณรัฐไวมาร์และองค์กรการกุศลคริสเตียน โดยที่จะให้ความช่วยเหลือบนฐานของเชื้อชาติอย่างชัดเจน ความช่วยเหลือมีไว้สำหรับเฉพาะผู้ที่ "มีความสมบูรณ์ทางเชื้อชาติ สามารถและพร้อมทำงาน เชื่อถือได้ในทางการเมือง กับพร้อมและสามารถสืบพันธุ์" ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ชาวอารยันจะถูกยกเว้น รวมถึงผู้ที่ "ขี้เกียจทำงาน" "ไม่เข้าสังคม" และ "เจ็บป่วยทางพันธุกรรม" มีความพยายามนำผู้หญิงชนชั้นกลางเข้าทำงานเพื่อสังคมในการสนับสนุนครอบครัวขนาดใหญ่ซึ่งประสบความสำเร็จ และโครงการบรรเทาทุกข์ฤดูหนาวมีบทบาทเป็นพิธีกรรมเพื่อผลิตความเห็นอกเห็นใจจากสาธารณชน
นโยบายกสิกรรมมีความสำคัญต่อนาซี เพราะนอกจากเป็นการตอบสนองต่อเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการตอบสนองต่อมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับเลเบินส์เราม์ของพวกเขาเช่นกัน ในความคิดของฮิตเลอร์ การหาที่ดินและผืนดินมาเพิ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นในการขึ้นรูปเศรษฐกิจเยอรมนี และเพื่อผูกมัดเกษตรกรกับที่ดินของเขา การซื้อขายที่ดินทำเกษตรถูกห้าม กรรมสิทธิ์ไร่นายังคงเป็นของเอกชน แต่มีการมอบสิทธิผูกขาดธุรกิจให้กับคณะกรรมการการตลาดในการควบคุมราคาและการผลิตด้วยระบบโควตา (Reichserbhofgesetz) ค.ศ. 1933 ได้จัดตั้งโครงสร้างกลุ่มผูกขาดขึ้นภายใต้องค์กรรัฐนามว่า (Reichsnährstand; RNST) ซึ่งกำหนด "ทุกอย่างตั้งแต่เมล็ดพันธุ์และปุ๋ยที่ให้ใช่จนถึงวิธีการสืบทอดที่ดิน" ฮิตเลอร์มองว่าเศรษฐกิจเยอรมันเป็นเครื่องมือทรงอำนาจเป็นหลัก และเชื่อว่าเศรษฐกิจนั้นไม่ได้มีไว้สร้างความมั่งคั่งหรือความก้าวหน้าทางเทคนิคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองประชาชาติ แต่เชื่อว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการจัดหาปัจจัยและวัสดุพื้นฐานที่จำเป็นในการพิชิตดินแดนทางทหาร แม้ว่าพัฒนาการทางเศรษฐกิจอันเป็นผลจากโครงการชาติสังคมนิยมต่าง ๆ จะมีบทบาทในการสนองต่อประชาชนเยอรมัน แต่นาซีและฮิตเลอร์โดยเฉพาะไม่เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวจะเพียงพอต่อการผลักดันเยอรมนีขึ้นเป็นมหาอำนาจในเวทีโลก พวกนาซีจึงพยายามพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยทั่วไปไปพร้อมกับการใช้จ่ายทางทหารอย่างมหาศาลเพื่อติดอาวุธใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปฏิบัติใช้แผนสี่ปี ซึ่งรวบอำนาจปกครองให้กับพวกเขาและความสัมพันธ์แบบสั่งการที่เหนียวแน่นระหว่างรัฐบาลชาติสังคมนิยมกับอุตสาหกรรมอาวุธเยอรมัน งบประมาณรายจ่ายของกองทัพระหว่าง ค.ศ. 1933 และ 1939 สูงถึงแปดหมื่นสองพันล้านไรชส์มาร์ค และนับเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติเยอรมนี เมื่อพวกนาซีได้เคลื่อนขบวนประชาชนและเศรษฐกิจของพวกเขาเข้าทำสงคราม
การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
พวกนาซีอ้างว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของชาติ เพราะมันมีเจตนาที่จะยกเลิกทรัพย์สินส่วนบุคคล สนับสนุนการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ต่อต้านชนชั้นกลาง มุ่งร้ายต่อธุรกิจขนาดเล็ก และเป็นอเทวนิยม ระบอบนาซีปฏิเสธสังคมนิยมที่อยู่บนฐานของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นและทางเศรษฐกิจ (economic egalitarianism) และนิยมเศรษฐกิจแบบมีลำดับชั้นทางสังคมบนฐานของคุณธรรมและความสามารถแทน ที่จะรักษาทรัพย์สินส่วนบุคคลไว้และสรรสร้างความสามัคคีซึ่งก้าวข้ามความแบ่งแยกระหว่างชนชั้น
ในไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์กล่าวถึงความปรารถนาของเขาที่จะ "ทำสงครามต่อหลักการมากซิสต์ที่ว่ามนุษย์ทั้งปวงนั้นเท่ากัน" เขาเชื่อว่า "คติเรื่องความเท่าเทียมเป็นบาปกรรมต่อธรรมชาติ" ระบอบนาซีค้ำจุน "ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์" อาทิความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ และภายในเชื้อชาติเช่นกัน รัฐนาซีมุ่งที่จะผลักดันปัจเจกชนที่มีความสามารถและความฉลาดเป็นพิเศษเพื่อให้พวกเขาปกครองมวลชนได้ อุดมการณ์นาซีพึ่งพาแนวคิดอภิชนนิยมและ (หลักการท่านผู้นำ) เพื่ออ้างว่าชนกลุ่มน้อยอภิสิทธิชนควรมีหน้าที่เป็นผู้นำเหนือชนส่วนใหญ่ และชนกลุ่มน้อยอภิสิทธิชนเองนั้นควรถูกจัดระเบียบตาม "ลำดับชั้นของความสามารถ" โดยมีผู้นำแต่เพียงหนึ่งเดียว คือฟือเรอร์ที่จุดสุดยอด หลักการฟือเรอร์พรินท์ซีพกล่าวว่าสมาชิกแต่ละคนภายในลำดับชั้นหนึ่งอยู่ในโอวาทของผู้ที่อยู่เหนือเขาโดยสมบูรณ์ และควรถืออำนาจโดยสมบูรณ์เหนือผู้ที่อยู่ต่ำกว่าเขา
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1920 ฮิตเลอร์หนุนให้นาซีแต่ละเหล่าที่มีความแตกต่างกันหันมาร่วมกันต่อต้านลัทธิบอลเชวิกยิว ฮิตเลอร์กล่าวว่า "ความชั่วสามประการ" ของ "ลัทธิมากซ์ยิว" ประกอบด้วยประชาธิปไตย สันตินิยม และ ขบวนการคอมมิวนิสต์ สหภาพแรงงาน พรรคสังคมประชาธิปไตย และสื่อฝ่ายซ้ายทั้งหมดถูกมองว่าถูกพวกยิวควบคุมและเป็นส่วนหนึ่งของ "การสมคบคิดของยิวนานาชาติ" ที่จะทำให้ชา
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
rabxbnasi eyxrmn Nazismus hruxchuxthangkarkhux rabxbchatisngkhmniym eyxrmn Nationalsozialismus epnaenwptibtiaelaxudmkarnthangkaremuxngaebbrwbxanacebdesrckhwacd thiekiywkhxngkbxdxlf hitelxr aelaphrrkhkrrmkrchatisngkhmniymeyxrmnhruxphrrkhnasiinnasieyxrmni inyuorpinchwngkhxngkarethlingxanackhxngxdxlf hitelxr inkhristthswrrs 1930 rabxbmkthukeriykinxikchuxwa lththihitelxr eyxrmn Hitlerfaschismus khathimikhwamekiywkhxnginphayhlngkhawa nioxnasi ichhmaythungklumkaremuxngkhwacdxun thimiaenwkhidkhlayknthiekidkhunhlngsngkhramolkkhrngthisxng rabxbnasiepnlththifassistrupaebbhnung sungduthukehyiydhyamprachathipityesriniymaelarabbrthspha odyrwmrabxbephdckarkartxtanyiwxyangkratuxruxrn kartxtanlththikhxmmiwnist scientific racism aelakarichngansuphnthusastrekhadwyknepnhlkkhwamechuxkhxngrabxb khwamepnchatiniymsudotngkhxngmnmitntxmacakxudmkarnrwmklumeyxrmnaelakhbwnkar ethnic nationalism neopagan namwa Volkisch movement sungidklaymaepnlksnasakhykhxng German nationalism nbaetchwngplaykhriststwrrsthi 19 aelayngidrbxiththiphloddedncakkxngkalngkungthharifrkhxr sungthuxkaenidkhunhlngcakkhwamphayaephkhxngeyxrmniinsngkhramolkkhrngthihnung aelaepnaehlngthimakhxng lththibuchakhwamrunaerng cult of violence thiepnphunedimkhxngphrrkh rabxbnasiehndwykbthvsdiwithyasastrethiymthiekiywkb racial hierarchy aelathvsdidarwinthangsngkhm nasiklawxangwachaweyxrmnepnechuxchatixaryathisungsngthisud odyrabuwachaweyxrmnepnswnhnungkhxngsingthiphwknasithuxwakhuxechuxchatiecanayechuxchati Aryan race hrux Nordic race odymiepahmayephuxkawkhamkhwamaebngaeykinsngkhmaelasrangsngkhmeyxrmnthiepn Homogeneity and heterogeneity bnthankhxngsungepnphaphaethnkhxngprachakhmkhxngprachachn Volksgemeinschaft phwknasimungthicaechuxmphsanchaweyxrmnthukkhnthixasyxyuinxanaekhtkhxngeyxrmniinprawtisastrekhadwykn aelahaaephndinmaephimsahrbkarkhyaytwkhxngeyxrmniphayithlkkarelebinseram aelakidknphuidktamthiphwkekhamxngwaepnkhntangdawinprachakhm community alien hruxepnechuxchatithi takwa xunethxremnch khawa chatisngkhmniym ekidkhuncakkhwamphyayaminkarihniyamihmkb sngkhmniym ihepnthangeluxkaethnimwacaepnsngkhmniymsaklniymmaksisthruxthunniymtladesriktam rabxbnasiptiesthaenwkhidmaksistekiywkbkartxsuthangchnchnaelaxnepnsakl txtan internationalism politics cosmopolitanism aelatxngkaronmnawicsngkhmeyxrmnihminthukphakhswnihwangphlpraoychnswntwkhxngphwkekhaxyuit common good aelayxmrbexaphlpraoychnthangkaremuxngepnepahmayhlkkhxngkarcdraebiybthangesrsthkic sungmktrngkbthsnathwipkhxng collectivism hrux communitarianism makkwacaepnsngkhmniymesrsthsastr tnekhakhxngphrrkhnasi klawkhuxphrrkhkrrmkreyxrmn DAP sungtxtanyiwaelaepnchatiniymrwmklumeyxrmn thukkxtngkhunemuxwnthi 5 mkrakhm kh s 1919 aelacnkrathngchwngtnkhristthswrrs 1920 phrrkhthukepliynchuxepnphrrkhkrrmkrchatisngkhmniymeyxrmnephuxdungdudkrrmkrthiniymkaremuxngfaysay sungepnkarepliynchuxthihitelxrtxtanintxnaerk National Socialist Program hruxaenwnoybay 25 khx thukrbmaichin kh s 1920 aelaeriykrxngihmieyxrmniihythiepnpukaephnthicaimihchawyiwhruxbukhkhlthiepnthayathchawyiwepnphlemuxng aelainkhnaediywknsnbsnunkarptirupthidinaelakaroxnbangxutsahkrrmmaepnkhxngrth inimnkhmphf sungaeplwa kartxsukhxngkhapheca thiephyaephrrahwang kh s 1925 aela 1926 hitelxridrangekhaokhrngihkartxtanyiwaelakartxtanlththikhxmmiwnistepnicklangkhxngprchyakaremuxngkhxngekha echnediywknkbkhwamrngekiyckhxngekhatxprachathipityaebbmiphuaethnaelakhwamechuxwapraethseyxrmnithuxsiththithicakhyayekhtaednkhxngtwexngxxkip phwkekhaklawxangwakhwamxyurxdkhxngpraethseyxrmniinthanachatithiyingihyinsmyihmnicatxngsrangraebiybolkihmkhun epnckrwrrdiinthwipyuorpsungcathaihchatieyxrmnmiphundinkhnadihy thrphyakr tlxdcnkarkhyaytwkhxngprachakrthicaepntxkaraekhngkhnkbmhaxanacxun thngthangesrsthkicaelathangthhar phwknasiklawxangwachawyiwepnphykhukkhamthirayaerngthisudkhxngechuxchatixaryaeyxrmn phwkekhaphicarnawachawyiwepnechuxchatiebiydebiynsungaenbtnexngekhakbxudmkarnaelakhbwnkarxun ephuxtharngiwsungkhwamxyurxdkhxngtnexng xathi kareruxngpyya esriniym prachathipity rabbrthspha thunniym marksist aelashphaphaerngngan ephuxkxbkueyxrmnicakphlkrathbkhxngphawaesrsthkictktakhrngihy nasiesnxinthangesrsthkic sungepnrabbesrsthkicphayitkarcdkarsungmiichthngthunniymhruxkhxmmiwnist nasiklawothskhxmmiwnistaelathunniymwaekharwmkbxiththiphlaelaphlpraoychnkhxngchawyiw phwkekhasnbsnunsngkhmniymrupaebbchatiniymsungepnhlkkarsahrbechuxchatixarynaelachatieyxrmn khwammnkhngthangesrsthkic okhrngkarswsdikarsngkhmsahrbphuichaerngngan khacangthiyutithrrm ekiyrtiyssahrbkhwamsakhykhxngphuichaerngnganthimitxchati aelakarpxngknkaraeswnghaphlpraoychnxnimchxbthrrmkhxngthunniym phrrkhnasiidrbswnaebngkhaaennesiyngkhxngprachachnsungthisudinkareluxktngsmachikirchsthakhepnkarthwipthngsxngkhrngin kh s 1932 thaihepnphrrkhthiihythisudinsphanitibyytixyangchdecn aemwacayngimthungkbepnesiyngswnihythiediyw July 1932 German federal election aela November 1932 German federal election aetinemuximmiphrrkhidtxngkarhruxsamarthcdtngrthbalphsmid prathanathibdiephal fxn hinedinbwrkh cungidaetngtnghitelxrkhunepnnaykrthmntrieyxrmniemuxwnthi 30 mkrakhm kh s 1933 dwyaerngsnbsnunaelakhwamruehnepniccaknkchatiniymxnurksniymcaritpraephnisungechuxwaphwkekhacasamarthkhwbkhumhitelxraelaphrrkhkhxngekhaid inimchaphwknasiksthapnarthphrrkhkaremuxngediywaelaerimdaeninkariklchchlthung odyichrthkahndkhxngprathanathibdihinedinbwrkhaelakaraekikhephimetim Weimar Constitution sungihxanackbkhnarthmntriinkarpkkhrxngphankarxxkdhmayodytrngidodyimcaepntxngphanthngprathanathibdihinedinbwrkhhruxsphairchsthakhktam chtwrmxphithlung SA aelachuthschtfefil SS thahnathiepnxngkhkrkungthharkhxngphrrkhnasi inchwngklang kh s 1934 hitelxrichkxngkalng SS kwadlangpikkhxngphrrkhsungmulwiwtiinthangsngkhmaelaesrsthkicmakkwa sungrwmthungklumphunakhxng SA dwy ehtukarnepnthiruckinchuxkhunmidyaw xanacthangkaremuxnghlngcakxsykrrmkhxngprathanathibdihinedinbwrkhemuxwnthi 2 singhakhm kh s 1934 thukrwmsunyekhaenguxmmuxhitelxr ekhacungidklayepnthngpramukhaehngrthaelahwhnarthbalintaaehnngfuxerxrxunthirchkhnthselxrsungaeplwa phunaaelanaykrthmntrieyxrmni duephimthi 1934 German referendum nbaetnnma inthangptibti hitelxridklayepnphuephdckarnasieyxrmnihruxinxikchuxwairchthisam sungphayitekhann chawyiw faytrngkhamthangkaremuxng aelaxngkhprakxb xnimphungprasngkh xun cathukebiydtkkhxb khumkhng hruxkha phukhnhlaylankhnsungrwmthungprachakryiwkwasxnginsamthixyuinyuorpthukkhahmdsinipinkarkhalangephaphnthusungepnthiruckinchuxhxolkhxstrahwangsngkhramolkkhrngthisxng hlngcakkhwamphayaephkhxngeyxrmniinsngkhramolkkhrngthisxngaelakarkhnphbkhxbekhtetmkhxngehtukarnhxolkhxst xudmkarnnasicungklayepnkhwamxpysodysakl aelathukthuxxyangkwangkhwangwaepnkhwamphidsilthrrmaelakhwamchwray odymiephiyngklumehyiydechuxchatitkkhxbcanwnnxyethannthiklawwatnepnphutidtamxudmkarnchatisngkhmniym odymkthukeriykwaepnnioxnasithiaeplwanasiihmsphthmulwithyathngphrrkhnasi khlayaetimehmuxnkbthngchatinasieyxrmni kh s 1933 1945 sungswstikacaechcaktrngklangelknxy chuxetmkhxngphrrkhkhux Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei ithy phrrkhkrrmkrchatisngkhmniymeyxrmn aelainthangkarichtwyx NSDAP khawa Nazi exngmiichxyuaelwkxnkaenidkhxngphrrkhnasi odyepnkhaphasapakaelakhaduthukiweriykchawnaaelachawswn epnphaphlksnkhxngkhnsumsamaelaekhxaekhin klawkhux yokel khawanasiinkhwamhmayniepnchuxelncakchuxetmkhxngchaychaweyxrmn Ignatz Ignaz xikhnths sungmnexngphnmacakchux Ignatius sungepnchuxohlinibexirninsmynn epnbriewnediywknthiphrrkhnasithuxkaenidkhunma inkhristthswrrs 1920 faytrngkhamthangkaremuxngkhxngphrrkhnasiineyxrmnidchwyoxkasniiw odylxtamchuxyx Sozi osthsi sahrb Sozialist osthsixalist chuxkhxngphrrkhnasi Nationalsozialistische nthsioxnalosthsixalisthichechx cungthukyxepn Nazi nthsi hruxnasi inechingduthukephuxsmphnthphwkekhakbkarichngankhainxikkhwamhmaydngthixthibayiwdanbn karichngankhawa Nazi odyphwkchatisngkhmniymexngmixyuin kh s 1926 inngankhxngoyesf ekibebils thichuxwa Der Nazi Sozi aedr nthsi osthsi inculsarkhxngekibebils khawa Nazi praktekhiyngkbkhawa Sozi ethanninthanatwyxkhxngkhawa Nationalsozialistische hlngcakphrrkh NSDAP hruxphrrkhnasikhunsuxanacinkhristthswrrs 1930 karichkhawa Nazi aebboddhruxinkhaxyangnasieyxrmni rabxbnasi aelaxun ekidepnthiruckcakphuthukenrethschaweyxrmnthixyunxkpraeths aetineyxrmniexngklbim khanicakphwkekhakkracayipyngphasatang aelainthisudthuknayxnklbekhamainpraethseyxrmnihlngsngkhramolkkhrngthisxng phrrkh NSDAP rbexachux nasi maichxyuskkhruhnungephuxphyayam reappropriation aetinimnanklmelikkhwamphyayamniip aelaodythwipcahlikeliyngthicaichkhanirahwangthiyngxyuinxanac inaetlakrni phuekhiynmkeriyktwexngwaepn National Socialists aelaeriykkhbwnkarwa National Socialism aetimeriykwa Nazi ely exksarrwbrwmbthsnthnakhxnghitelxrcak kh s 1941 thung 1944 chuxwa immikhawa Nazi echnkn inkhaprasrykhxngaehrmn ekxring ekhaimekhyichkhawa Nazi phunayuwchnhitelxr Melita Maschmann idekhiynhnngsuxekiywkbprasbkarnkhxngethxiwchuxwa Account Rendered aetethximeriyktwexngwaepn Nazi aemwacathukekhiynkhunmahlngsngkhramolkkhrngthisxngphxsmkhwr in kh s 1933 smachikphrrkhnasi 581 khnidtxbkhathamsmphasnkhxngsastracary Theodore Fred Abel cakmhawithyalyokhlmebiy phwkekhakimideriyktwexngwaepn Nazi ehmuxnkntaaehnnginsepktrmkaremuxngcaksayipkhwa xdxlf hitelxr aehrmn ekxring rthmntrikrathrwngokhsnakaroyesf ekibebils aelarudxlf ehsnasiaelasmachikkhxngphrrkhprachachnaehngchatieyxrmn DNVP phrrkhkaremuxngptikiriya monarchist khwacd rahwangphnthmitrrayasnrahwang NSDAP DNVP incak kh s 1931 thung 1932 nkwichakarswnihycdwarabxbnasithnginthangthvsdiaelainthangptibtiepnkaremuxngfaykhwacd lksnakhwamepnkhwacdinrabxbnasiechn karxangwaphuthisungsngmisiththithicakhrxbngaphuxunaelakwadlangihsinxngkhprakxbthitatxyipcaksngkhm xdxlf hitelxr aelaphusnbsnunptiesthwarabxbnasiimidepnthngfaysayhruxkhwa aetwadphaphaesdngrabxbnasiepn Syncretic politics aethninthangkar inimnkhmphf hitelxrocmtithngkaremuxngfaysayaelafaykhwaineyxrmniodytrng odyklawwa inwnni odyechphaankkaremuxngfaysaykhxngera phwkekhakhaynkhayxxyuesmxwanoybaytangpraethskhikhladtakhawaelapracbsxphlxkhxngphwkekhannepnphlxncaepncakkarldxawuthkhxngeyxrmni aemkhwamcringnnkhuxniepnnoybaykhxngphwkthrys aetnkkaremuxngfaykhwaksmkhwrthuktahniaebbediywkn kepnephraakhwamkhikhladnasmephchkhxngphwkekhathithaihxnthphalyiwphwknnthikhunmamixanacinpi 1918 idsamarthplnxawuthipcakchatiid inkhaprasrythimiwnikemuxwnthi 12 emsayn kh s 1922 hitelxrklawwa mikhwamepnipidsxngthangethannineyxrmni xyakhidwaphukhncaeluxkphrrkhklangphrrkhaehngkarpranipranxmtlxdip wnhnungphwkekhacahnmahakhnehlannthiidthanayxyangsmaesmxthungkhwamyxyybthiiklekhamaaelathiphyayamaeyktwhangcakmn aelaphrrkhnnkcaepnphwkfaysay phraecachwyeradwy mncanaeraipsukarthalaylangsin caklayepnlththibxlechwikh hruximxyangnnkcaepnphrrkhphwkfaykhwasungintxnsudthaythiphukhnhmdhwngetmthiaelw aelaidesiykalngiciphmdsinimehluxkhwamsrththainsingid phwkekhaepnaenthicaekhayudbngehiynxanacxyangirprani nnexngcaepncuderimtnkhxngkartxtanthiphmidphudthungipimkinathithiaelw bangkhrnghitelxrcaihniyamihmkbsngkhmniym txnthi George Sylvester Viereck idsmphasnhitelxrineduxntulakhm kh s 1923 aelathamekhawathaimcungeriykphrrkhtwexngwaepn sngkhmniym ekhatxbwa sngkhmniymepnsastrkhxngkarcdkarswsdiphaphkhxngswnrwm lththikhxmmiwnistimichsngkhmniym lththimaksimichsngkhmniym phwkmaksistkhomykhaniipaelwsbsnkhwamhmaykhxngmn phmsmkhwrthicaexasngkhmniymklbmacakphwksngkhmniym sngkhmniymepnsthabnecxraemnikxarynobran brrphburuseyxrmnkhxngerathuxkhrxngthidinbangswnepnswnrwm phwkekhaidplukfngaenwkhidekiywkbswsdiphaphkhxngswnrwm lththimaksimmisiththithicacaaelngkayepnsngkhmniym sngkhmniymnntangcaklththimakstrngthimnimykelikthrphysinswnbukhkhl tangcaklththimakstrngthimnimptiesthbukhliklksna aelatangcaklththimakstrngthimnrkchati in kh s 1929 hitelxridprasryihaekklumphunanasi aelathaihkhawa sngkhmniym ngaylngxikihaeplwa sngkhmniym epnkhaxpmngkhlthiediyw cring aelwsngkhmniymaeplwaxair thaphukhnmikhxngihkinaelamikhwamsukhaelw phwkekhakmisngkhmniymkhxngphwkekha emuxthukthamthunginkarsmphasnemuxwnthi 27 mkrakhm kh s 1934 waekhasnbsnun faykhwakradumphi hruxim hitelxrxangwarabxbnasinnimidmiiwsahrbchnchnidchnchnhnung aelachiwaimidsnbsnunfayidimwasayhruxkhwa aetekbxngkhprakxb brisuththi macakthngsxng khay odyklawwa cakkhaykhxngpraephnikradumphi mncaidaekikhpyharadbchati aelacakwtthuniymkhxnglththimaks khuxsngkhmniymthisrangsrrkhaelamichiwit nkprawtisastrthuxwakarcbrabxbnasimaethakb lththihitelxr nnepnkarngayekinip ephraaepnkhathimiichxyuaelwkxnhitelxraelanasiidxanac aelaxudmkarntang sungrwmxyuinrabxbnasinnmirakthanthiaekhngaerngxyuaelwinbangswnkhxngsngkhmeyxrmnkxnsngkhramolkkhrngthihnung phwknasiidrbxiththiphlxyangmakcakfaykhwacdhlngsngkhramolkkhrngthihnungineyxrmni sungthuxkhtirwmknxathi kartxtanlththimaks kartxtanesriniym aelakartxtanyiw phrxmkbaenwkhidchatiniym khwamrngekiycinsnthisyyaaewrsay aelakarpranamsatharnrthiwmarthiiplngnamsngbsukemuxeduxnphvscikayn kh s 1918 sungnaipsukarlngnamsnthisyyaaewrsayinphayhlng aerngbndalichlkkhxngnasimacakkxngkalngkungthharchatiniymkhwacdifrkhxrsungmikhwamekiywkhxngkbkhwamrunaerngthangkaremuxngthiekidkhunhlngsngkhramolkkhrngthihnung intxnaerk faykhwacdeyxrmnhlngsngkhramolkkhrngthihnungthukkhwbkhumodyfay aetkhnrunedkkwasungmikhwamekiywkhxngkbaenwkhidchatiniymefilkhich epnmulwiwtimakkwaaelaimidihkhwamsnicinkarfunfurabxbrachathipityeyxrmnely khnrunedkkwaklumnitxngkarruxthxnsatharnrthiwmaraelasrangihmepnrththiaekhngaekrngaelamulwiwtibnthankhxngchatiphnthuchnchnpkkhrxngthicathasuksngkhramaelacasamarthruxfun Spirit of 1914 sungthukechuxmoyngkbkhwamepnexkphaphkhxngchatieyxrmnklbmaid phwknasi phwkrachathipityniymkhwacd phwkptikiriyaphrrkhprachachnaehngchatieyxrmn DNVP aelaklumxun xyangechnnaythharthisnbsnunrachathipityinkxngthpheyxrmn aelankxutsahkrrmkhnsakhyhlaykhnidrwmsrangphnthmitrtxtansatharnrthiwmaremuxwnthi 11 tulakhm kh s 1931 thi Bad Harzburg sungepnthiruckxyangepnthangkarwa Nationalen Front aenwrwmaehngchati aetmkthukeriykinchux Harzburg Front phwknasiklawwaphnthmitrniepnaekhphnthmitrthangyuththsastrlwn aelayngphwkekhayngkhngmikhwamaetktangcakphrrkh DNVP aelwphnthmitrkphngthlaylngemuxphrrkh DNVP esiythinngcanwnmakinirchsthakhhlngcakkareluxktngineduxnkrkdakhm kh s 1932 phwknasiklawhawaphwkekhaepn klumkxnptikiriyathiimmikhwamsakhy phrrkh DNVP cungtxbklbdwykarklawhaphwknasieruxngsngkhmniym khwamrunaerngbnthxngthnn aela karthdlxngthangesrsthkic thicaekidkhunhakphwkekhaidkhunsuxanac aetthamklangsthankarnkaremuxngthiirbthsrupthinkkaremuxngxnurksniymfrnths fxn phaephin aelakhwrth fxn chilechxr imsamarthcdtngrthbalthimiesthiyrphaphidhakirphwknasi phaephincungidesnxkbprathanathibdihinedinbwrkhihaetngtnghitelxrkhunepnnaykrthmntrihwhnarthbalthiprakxbipdwyphwkxnurksniymepnswnihy aelamirthmntrinasiephiyngsamkhn hinedinbwrkhthaechnnn aelatrngkhamkbkhwamkhadhwngkhxngphaephinaelaphrrkh DNVP inimchahitelxrcasamarthkxtngephdckarnasiphrrkhediywid ikhesxrwilehlmthi 2 sungthukkddnihslarachbllngkaelaliphyhniipthamklangkhwamphyayamptiwtikhxmmiwnistineyxrmni sungintxnaerkphrrkhnasisnbsnun oxrskhxngekhasikhnsungrwmthungecachayixethil fridrich aela Prince Oskar of Prussia ekhaepnsmachikphrrkhnasiodyhwngwaphwknasicakarfunfurabxbrachathipityklbmaephuxaelkkbkarsnbsnunkhxngphwkekha khanginphrrkhnasikmikaraebngfkfay thngxnurksniymaelamulwiwti nasixnurksniymaehrmn ekxring aenanaihhitelxrpranipranxmkbphwkthunniymaelaphwkptikiriya nasixnurksniymkhnsakhykhnxunechnihnrich himelxr aelairnharth ihdrich inkhnathinasimulwiwtioyesf ekibebils txtanthunniym odymxngwamichawyiwepnsunyklangaelaennyathungkhwamcaepnthiphrrkhtxngennphaphlksnaebbchnkrrmachiphaelachatiniym xxthoth chtrsesxr mimummxngehlannrwmdwy aelainphayhlngekhaxxkcakphrrkhnasiiptngaenwrwmdaodyechuxaelaklawhawahitelxridthrysepahmaysngkhmniymkhxngphrrkhdwykarsnbsnunrabxbthunniym cakthiimmiikhrruck phrrkhnasiklayepnxiththiphlkaremuxnghlkhlng kh s 1929 pikxnurksniymmixiththiphlmakyingkhunxyangrwderwemuxphubricakhthirarwyhnmaihkhwamsnickbskyphaphkhxngnasithicaepnprakarpxngknlththikhxmmiwnist kxnhnannphrrkhnasiidrbenginthunekuxbthngsincakkhasmachik aethlngcak kh s 1929 klumphunaerimrukaeswnghaenginbricakhcaknkxutsahkrrmeyxrmn aelahitelxrerimcdkarprachumradmthunkbklumphunathurkicinhlayoxkas thamklangphawaesrsthkictktakhrngihy thurkiceyxrmnsungephchiykbkhwamepnipidkhxnghaynathangesrsthkicinmuxhnung aelainxikkhangepnrthbalprachathipitysngkhmniymhruxrthbalkhxmmiwnist phwkekhaerimhnmaharabxbnasiknmakkhunephuxepnthangxxkcaksthankarnnndwysyyakhxngesrsthkicthikhbekhluxnodyrththicasnbsnunphlpraoychnkhxngthurkicthidaeninkarxyuaethnthicaocmti cnkrathngemuxeduxnmkrakhm kh s 1933 phrrkhnasiidrbkhwamsnbsnuncakxutsahkrrmeyxrmninphakhswnthimikhwamsakhy klawkhuxphuphlitthanhinaelaehlk thurkicpraknphy aelaxutsahkrrmekhmiepnhlk sdswnkhnadihykhxngphrrkhnasi odyechphaainhmusmachikchtwrmxphithlung SA mungmnincudyunsngkhmniym ptiwti aela anti capitalism thiepnthangkarkhxngphrrkh aelakhadhwngthungkarptiwtithangsngkhmaelaesrsthkichlngcakphrrkhidxanacmain kh s 1933 thnthikxnthinasicaekhayudxanac kyngmiaemaetphwkprachathipitysngkhmniymaelaphwkkhxmmiwnistthiepliynfngaelwthukeriykwa Beefsteak Nazi khangnxksinatalaetkhanginsiaedng phuna SA aexnsth erihm phlkdnihmi karptiwtikhrngthisxng karptiwtikhrngthihnung khuxthinasiekhayudxanac thicabyytinoybaysngkhmniym makipkwannerihmyngtxngkarihkxngthpheyxrmnsungmikhnadelkkwarwmekhakb SA ihxyuphayitbychakhxngekha emuxnasiidxanacaelw hitelxridsngkarih SA khxngerihmekhaprabpramphrrkhfaysayxyangrunaerng aelakerimocmtipceckbukhkhlthithuxwaekiywkhxngkbptikiriyaxnurksniymdwy hitelxrmxngwakarkrathaodyxisrakhxngerihmnnlaemidaelaxacepnphytxphawaphunakhxngekha aelayngepnxntraytxrabxbdwykhwambadhmangkbprathanathibdixnurksniymephal fxn hinedinbwrkh aelakxngthpheyxrmnthiexiyngipthangxnurksniym nisngphlihhitelxrkwadlangerihmaelasmachiksaymulwiwtikhnxun in SA ipin kh s 1934 epnthiruckinchuxkhunmidyaw kxnhitelxrekharwmkxngthphkxngthphbawaeriyephuxtxsuinsngkhramolkkhrngthihnung ekhami Bohemianism epnsilpinsinakhnadyxmtamthxngthnninewiynnaaelamiwnik aelaekhayngkhngbangswnkhxngwithichiwitniiwinphayhlng odyekhanxndukmakaelwtuntxnbaykhxngwn aemwahlngcakekhaidepnnaykrthmntriaelafuxerxraelwktam hlngsngkhramsinsud kxngphnthiekhaxyuthukrwmekhakb Bavarian Soviet Republic rahwang kh s 1918 thung 1919 sungekhaidrbeluxktngepnrxngphuaethnkxngphn nkprawtisastr Thomas Weber historian klawwahitelxrekharwmngansphkhxngkhxmmiwnist Kurt Eisner chaweyxrmnechuxsayyiw odyswmplxkaekhniwxalysidaiwkhanghnung aelaxikkhangswmplxkaekhnkhxmmiwnistsiaedng sungekhamxngwaepnhlkthanwakhwamechuxthangkaremuxngkhxnghitelxrnnyngimtkphluk inimnkhmphf hitelxrimekhyklawthungkarrbrachkarihkbsatharnrthosewiytibexirn aelaklawwaekhaklayepnphwktxtanyiwin kh s 1913 khnathixyuinewiynna khxkhwamnithukaeyngwaintxnnnekhayngimepnphwktxtanyiw aemwaepnthiyxmrbaelwwainchwngewlannekhaidxanhnngsuxaelawarsartxtanyiwhlaychbbaelachunchmnaykethsmntriewiynnathitxtanyiw Karl Lueger hitelxrepliynmummxngthangkaremuxngkhxngekhahlngcakkarlngnamsnthisyyaaewrsayemuxeduxnmithunayn kh s 1919 aelaemuxnnexngekhaidklayepnchatiniymeyxrmnthitxtanyiw hitelxrtxtanthunniymodythuxwamitnkaenidcakyiw aelaklawhawathunniymkalngcbpraethschatiepntwprakneriykkhaithihkbphlpraoychnkhxngchnchnprsitkhxng rentier capitalism ekhaktxtanlththikhxmmiwnistaelasngkhmniymrupaebbsmphakhniymdwy odyxangwakhwamimethaethiymaelakarmiladbchnnnepnpraoychntxpraethschati ekhaechuxwachawyiwepnphupradisthlththikhxmmiwnistkhunmaephuxthaihpraethschatixxnaexdwykarsngesrimkartxsuthangchnchn hlngcakekhaidkhunsuxanac hitelxrmicudyunthangesrsthsastraebbptibtiniym odyxnuyatihmithrphysinswnbukhkhlaelaihwisahkicexkchnthunniymdarngxyutrabidthiphwkekhayudoyngkbepahmaykhxngrthnasi aetimyxmthnkbwisahkicthiphwkekhamxngwakhdaeyngkbphlpraoychnkhxngchati phunathurkiceyxrmnimchxbxudmkarnnasiaetsnbsnunhitelxrephraaphwkekhamxngwaphwknasiepnphnthmitrthimipraoychninkarsngesrimphlpraoychnkhxngphwkekha klumthurkicmiswnsakhyinenginthunkhxngphrrkhnasithngkxnaelahlngkaryudxanac odyphwkekhahwngwaephdckarnasicakacdcdtngaelaphrrkhkaremuxngfaysayihhmdip hitelxraeswnghakarsnbsnuncakphunathurkicxyangaekhngkhndwykarxangwawisahkicexkchnnnekhaknimidkbrabxbprachathipity thungaemwahitelxrcatxtanxudmkarnkhxmmiwnist aetekhachunchmphunashphaphosewiytocesf stalin aelalththistalinxyangepidephyinhlayoxkas hitelxrykyxngstalinthiekhaphyayamcharalangphrrkhkhxmmiwnistaehngshphaphosewiytihsinxiththiphlyiw odyrabuthungkarthistalinidkwadlangkhxmmiwnistchawyiwimwacaepnelxxn thrxtski kriokri sionewiyf Grigory Zinoviev elf khaemenf Lev Kamenev aela Karl Radek inkhnathihitelxrmiectnathicaihpraethseyxrmnimikhwamkhdaeyngkbshphaphosewiytmatlxdephuxihsamarthephimelebinseram phunthixyuxasy id aetekhaksnbsnunphnmitryuththsastrchwkhrawrahwangnasieyxrmnikbshphaphosewiytephuxsrangaenwrwmtxtanesriniymrwmknihexachnarabxbprachathipityesriniymihid odyechphaapraethsfrngess hitelxrchunchmckrwrrdibritichaela Analysis of Western European colonialism and colonization khxngckrwrrdiwaepnbthphisucnsungdarngxyuthiaesdngthungkhwamehnuxkwakhxngechuxchatiecxraemnikehnuxechuxchatithi ta kwa aelamxngshrachxanackrepnphnthmitrodythrrmchatikhxngpraethseyxrmni ekhaekhiyniwinimnkhmphfwa ewlaxikyawnanthikalngcathung inyuorpcamiephiyngsxngxanacthixaccasamarthlngexyepnphnthmitrkbeyxrmniid xanacehlanikhuxbrietnihyaelaxitali kaenidrakthangprawtisastrkhxngrabxbnasiphbidinhlakhlayxngkhprakxbkhxngwthnthrrmkaremuxngyuorpsunghmunewiynxyuphayinemuxngsunyklangthangpyyatang inthwip hruxsingthinkprawtisastr Joachim Fest eriykwa kxngesswsdumonkhti scrapheap of ideas thiaephrhlayinsmynn nkprawtisastr Martin Broszat chiwa xngkhprakxbsakhykhxngxudmkarnnasiekuxbthngsinsamarthphbidincudyunsaymulwiwtikhxngkhbwnkarprathwngechingxudmkarninpraethseyxrmnikxn kh s 1914 ehlannechn kartxtanyiwxyangrunaerng xudmkarneluxdaeladin aenwkhidechuxchatiecanay aelaaenwkhidkarekhayudkhrxngaelatngthinthanintawnxxk khwamkhidehlanifngtwxyuinaenwkhidchatiniymprachaniymsungtxtannwniymaelamnusyniymxyangaekhngkhn aelaepnechingsasnaethiym emuxrwmknaelw phllphthepnxudmkarnthitxtanpyyachnaelakungimrukhwaminthangkaremuxngsungkhadkhwamechuxmoyng xnepnphlphlitkhxngwthnthrrmmwlchnsungmxbkhwamphukphnthangxarmnaelaolkthsnthiyxyngayaelaeriybngaythimirakthanepnpkrnmthangkaremuxngsahrbmwlchnihaekphuthitidtammn chatiniymefilkhich oyhn kxthliph fichethx phuthithuxwaepnhnunginbidaaehng xdxlf hitelxr aelasmachikkhnxun khxngphrrkhnasiinsatharnrthiwmar kh s 1918 1933 idrbxiththiphlxyangmakcaknkkhidaelaphuthinaesnxmummxngekiywkb ecological anthropology scientific racism Holism in science aela organicism inechingprycha phw yanwithya aelathvsdicaksmykhriststwrrsthi 19 aelachwngtnkhriststwrrsthi 20 hlaykhn inswnthiekiywkbxngkhprakxbkhxng complex system aelakarsrangthvsdiwadwysngkhmkhxngechuxchatithimichiwit odyechphaaxyangyingnkprchyayukhkhriststwrrsthi 19 oyhn kxthliph fichethx hnunginxiththiphlthisakhythisudthimitxxudmkarnkhxngphwknasi phlngankhxngekhaidthahnathiepnaerngbndalicaedhitelxraelasmachikphrrkhnasikhnxun aelaaenwkhidkhxngekhathuknaipptibtiichepnswnhnungkhxngrakthanthangprchyaaelaxudmkarnkhxngaenwnasi phlngankhxngoyhn kxthliph fichethx thahnathiepnaerngbndalicaedhitelxraelasmachikphrrkhnasikhnxun echn Dietrich Eckart aela Arnold Fanck in Speeches to the German Nation kh s 1808 sungekhiynkhunmarahwangckrwrrdifrngessthihnungekhakhrxbkhrxngebxrlininchwngsngkhramnopeliyn fichethxeriykrxngihmikarptiwtiaehngchatieyxrmntxtan French Imperial Army 1804 1815 phukhrxbkhrxng odyprasryinthisatharnadwyaerngkla tidxawuthsisykhxngekhaephuxtxsukbfrngess aelaennyathungkhwamcaepnkhxngkarkrathaodychatieyxrmnephuxihsamarthpldplxytnexngidkhxngfichethxepnprachaniymaelatrngkhamkbkhxngxphichncaritpraephni odyklawthungkhwamcaepnthicatxngmi sngkhramkhxngprachachn Volkskrieg aelanaesnxaenwkhidtang sungkhlaykbthinasiddaeplngmaich fichethxsnbsnuneyxrmn exceptionalism aelaennyathungkhwamcaepnthichatieyxrmncatxngthaihtnexngbrisuththi prakxbdwykarcharalangkhaphasafrngessxxkipcakphasaeyxrmn sungepnnoybaythiphwknasinaipptibtiemuxidxanac xikbukhkhlhnungthisakhyinaenwkhidaebbefilkhichyukhkxnnasikhux Wilhelm Heinrich Riehl phlngankhxngekha lnthxunthlxyethx Land und Leute aephndinaelaphukhn ekhiynkhunrahwang kh s 1857 aela 1863 phukmdfxlkh prachachn eyxrmnthimichiwitrwmekhakbthrrmchatiaelaphumithsnphunthinkhxngphwkekharwmkn sungepnkarcbkhuthitrngkhamknxyangsinechingkbxarythrrmaebbwtthuniymaelaechingklsunginkhnannkalngphthnakhunmaenuxngmacak industrialisation nkphumisastrfridrich rthesil aela Karl Haushofer idhyibyumngankhxngrihlmaich echnediywkbphutidtamxudmkarnnasixlefrth oresinaebrkh aela Paul Schultze Naumburg thngsxngidnaexaprchyakhxngrihlbangswnmaichxangwa aetlarthprachachatinnepnsingmichiwitsungtxngkarphunthixyuxasypramanhnungephuxexachiwitihrxd xiththiphlkhxngrihlnnmxngehnidxyangchdecncakprchya Blut und Boden eluxdaeladin thi Oswald Spengler epnphunaesnx sungnkekstrsastrnasi Richard Walther Darre aelanasikhnsakhykhnxun naipich pranamwtthuniym individualism aelasngkhmxutsahkrrmolkwisythiircitwiyyan aelasnbsnunsngkhmthi ehnux kwabnrakthankhxngwthnthrrm phunban chatiphnthueyxrmnaela eluxd eyxrmn aenwkhidnipranamkhntangchatiaelaaenwkhidtangchati aelaprakaswachawyiw friemsn aelakhnxun nnepn phwkthryschati aelaimsmkhwrthukrwmekha chatiniymefilkhichmxngolkphanaewnkhxng natural law aelacintniym romanticism aelamxngwasngkhmnnmichiwit ykyxngkhunthrrmkhxngchiwitchnbth pranamkarthxdthingpraephniaelakaresuxmkhxngsilthrrm pranamkarthalaylangthrrchatiaewdlxm aelapranamwthnthrrmaebb phlemuxngolk echnchawyiwaelachawormani phrrkhkaremuxngphrrkhaerkthiphyayamphsmchatiniymekhakbsngkhmniymkhux German Workers Party Austria Hungary sungepnhlkaelwmungennthicaaekikhkhwamkhdaeyngrahwangchaweyxrmnechuxsayxxsetriykbchawechkinckrwrrdixxsetriysunghlakchatiphnthu sungepnswnhnungkhxngckrwrrdixxsetriy hngkariinsmynn in kh s 1896 nkkaremuxngchaweyxrmnfridrich enamnn Friedrich Naumann idkxtngsmakhmchatisngkhm National Social Association sungmungennthicaphsmchatiniymeyxrmnekhakbsngkhmniyminrupaebbthiimichmaksist khwamphyayamklblmehlw aelwkhwamkhidthicaechuxmtxchatiniymekhakbsngkhmniymthukmxngwaethakbkartxtanyiw chatiniymeyxrmnsudotng aelakhbwnkarefilkhichodythwipxyangrwderw phusnbsnunkhnhlkkhxngxudmkarnrwmklumeyxrmninxxsetriy insmyckrwrrdieyxrmn chatiniymefilkhichthukbdbngodyxudmkarnrkchatiprsesiyaelapraephnishphnthrthkhxngrthsmachikaetlarthkhxngmn ehtukarninsngkhramolkkhrngthihnungaelacudcbkhxngrabxbrachathipityprsesiyineyxrmnisngphlihchatiniymefilkhichptiwtietibotkhunma phwknasisnbsnunnoybaychatiniymptiwtiaebbefilkhichehlann aelaxangwaxudmkarnkhxngphwkekhaidrbxiththiphlmacakkarnaaelanoybaykhxngnaykrthmntrieyxrmnixxthoth fxn bismarkh sungmiswnsakhyinkarkxtngckrwrrdieyxrmn phwknasiprakaswaphwkekhannmikhwammungmnthicasantxkrabwnkarkxsrangrthchatieyxrmnthiepnpukaephnthibismarkhidrierimiwaelatxngkarthaihsaerc aemwahitelxrcasnbsnunkarkxsrangckrwrrdieyxrmnkhxngbismarkh aetekhawiphaksnoybayinpraethsaebbsayklangkhxngbismarkh hitelxrklawthungpraednthibismarkhsnbsnun Kleindeutschland eyxrmnielk sungimrwmxxsetriy makkwaokrsdxychlnth Grossdeutschland eyxrmniihy aebbrwmklumeyxrmnthinasisnbsnuniwwa thibismarkhsamarthsrangikhlndxychlnthidsaercnnepn khwamsaercsungsud thibismarkhsamarththaid phayitkhxcakdthithaidinchwngewlann inimnkhmphf hitelxrnaesnxtwexngepn bismarkhkhnthisxng hitelxrinwyedkkhxngekhathixxsetriyidrbxiththiphlthangkaremuxngcakphusnbsnunkarrwmklumeyxrmnchawxxsetriy Georg Ritter von Schonerer sungsnbsnunmulwiwti German nationalism in Austria kartxtanyiw anti Catholicism anti Slavic sentiment aelakartxtanrachwngshaphsbwrkh hitelxrddaeplngkarthkthaydwyihl Heil maichinkhbwnkarnasi taaehnngfuxerxr aelatwaebbkarnaphrrkhaebbsmburnayasiththimacakfxn echxenxerxr aelaphutidtamkhxngekha hitelxryngmikhwamprathbickbkartxtanyiwaebbprachaniymaelakarplukpntxtankradumphiesriniymkhxng sungepnnaykethsmntrikhxngewiynnainkhnathihitelxrxyuthinn ekhaichkarprasryplukradmthidungdudicmwlchnwngkwang luexekxrimidepnchatiniymeyxrmnsungtangcaktangcakfxn echxenxerxr aetepnphusnbsnunrachwngshaphsbwrkhaelakhathxlikaelaichwathkrrmchatiniymeyxrmnepnbangkhrngkemuxepnpraoychnkbwarathangkaremuxngkhxngekhaethann aemwahitelxrcachunchmthngluexekxraelaechxenxerxr aetekhawicarnluexekxrthiimptibtiichhlkkhasxnthangechuxchatikbchawyiwaelachawslaf thvsdiechuxchatiaelakartxtanyiw hnunginphupradisthkhnsakhykhxngthvsdiwadwy aenwkhidekiywkbthiphwknasisngesrimnnmirakmacakthvsdiechuxchatithiklawwakhnyuorpepnthayathkhxngphutngthinthanchawxinod xihran sungepnphukhncakxinediyobranaelaepxresiyobran phuthisnbsnunthvsdiniichkhxethccringthiwakhainphasaaethbyuorpmikarxxkesiyngaelakhwamhmaythikhlaykhlungkbkhainklumphasaxinod xiereniynoyhn kxthfrith aehredxr xangwachawecxraemnikmikhwamechuxmoyngthangechuxchatithiiklchidkbchawxinediyobranaelachawepxresiyobran sungekhaxangwaepnphukhnkhnsungthimikhwamsamarthyingihyinthangstipyya khwamsungskdi khwamxdkln aelawithyasastr phukhninsmyediywkbaehredxrichaenwkhideruxngechuxchatixarynephuxlakesnaebngaeykrahwangsingthiphwkekhamxngwaepnwthnthrrmxarynthi sungsngaelasungskdi xxkcaksingthiepnwthnthrrmesmitiksungepn prsit aenwkhidekiywkb white supremacy aelakhwamehnuxkwakhxngechuxchatixarynthukhlxmrwmekhakninkhriststwrrsthi 19 emuxphwkthiechuxinkhwamsungsudkhxngkhnphiwkhawyudinkhwamechuxwabangklumnnepnsmachikkhxng echuxchatiecanay thiehnuxkwaechuxchatixun aelaodyechphaaxyangyingehnuxkwaechuxchatiesmitik sungphwkekhasmphnthmnkb khwamepnhmnthangwthnthrrm Arthur de Gobineau nkthvsdiechuxchatiaelachnchnsungchawfrngessklawothswakarlmslaykhxngxxngesiyngerchiminpraethsfrngessnnepnehtucakkhwamesuxmthramthangechuxchatithiekidcak Miscegenation sungekhaxangwaidthalaykhwambrisuththikhxngechuxchatixaryn ekhaichkhanisahrbhmaythungchawecxraemnikethann thvsdikhxngkxbionsungiddungdudphutidtamthiekhmaekhngineyxrmni ennyathungkardarngxyukhxng polarity international relations rahwangwthnthrrmxaryn Germanic culture kb Jewish culture thiprxngdxngknimid hnngsuxkhxng The Foundations of the Nineteenth Century idphisucnaelwwaepnphlngantnechuxinprawtisastrkhxngchatiniymeyxrmn rhsylththixarynxangwasasnakhristmitnkaenidmacakpraephnisasnaxaryn aelachawyiwaeyngchingtanannnipcakchawxaryn phusnbsnunthvsdiechuxchatichawxngkvsechuxsayeyxrmn Houston Stewart Chamberlain snbsnunaenwkhidkhwamsungsudkhxngklumchnecxraemnikaelakartxtanyiwineyxrmni ngankhxngechmebxrlin kh s 1899 rakthankhxngkhriststwrrsthi 19 srresriykhwamsrangsrrkhaelakhxngchawecxraemnikaelaklawwacitwiyyanecxraemniknnthukkhuekhycakcitwiyyan yiw sungehnaektwaelaepnwtthuniym echmebxrlinichsmmtithankhxngekhaephuxsngesrimaenwkhidxnurksniymaelapranamrabxbprachathipity esriniym aelasngkhmniym hnngsuxelmniklayepnthiniymkhunmaodyechphaainpraethseyxrmni echmebxrlinennyawachaticaepnthicatxngrksakhwambrisuththithangechuxchatiiwephuxpxngkncakkhwamesuxmthramaelaxangwakarphsmechuxchatikbchawyiwnnkhwrthukham in kh s 1923 echmebxrlinidphbkbhitelxr sungepnphunathiekhaykyxngwaepncitwiyyanesrithiklbmaekidihm hnngsuxelmhnungthihitelxrxanaelwklawwaepn ibebilkhxngphm khuxngankhxng Madison Grant kh s 1916 sinechuxchatixnyingihy thisnbsnun Nordicism aelanaesnxihmikarptibtiichokhrngkarsuphnthusastrephuxxnurkskhwambrisuththikhxng inpraethseyxrmni khwamechuxwachawyiwnnkalngichpraoychnthangesrsthkiccakchaweyxrmnklayepnthiniymephraachawyiwphumngkhnghlaykhnidkhunrbtaaehnngsakhyinkarrwmchatieyxrmnemux kh s 1871 tngaet kh s 1871 cnthungchwngtnkhriststwrrsthi 20 chaweyxrmnechuxsayyiwmixyumakinchnchnklangaelachnchnsunginkhnathiinchnchnlangkhxngpraethseyxrmniklbmixyunxy odyechphaainphakhswnkhxngaerngnganekstraelaxutsahkrrm nkkarenginkarthnakharchaweyxrmnechuxsayyiwmibthbathsakhyinkarsngesrimkaretibotkhxngesrsthkiceyxrmnrahwang kh s 1871 cnthung 1913 aelaphwkekhaidrbphlpraoychnmhasalcakkarkhyaytwni in kh s 1908 inyisibekatrakulchaweyxrmnthirarwythisudsungkhwammngkhngrwmknaelwkwa 55 lanmarkhinsmynn hatrakulepnechuxsayyiwaelatrakulchaweyxrmnthirarwythisudepnxndbsxngkhuxtrakulrxthsichld chawyiwmikhwamednchdmakinphakhkarthnakhar karphanichy aelaxutsahkrrmkhxngpraethseyxrmniinchwngewlani aemwachawyiwnnprakxbephiyngrxyla 1 khxngprachakrinpraethseyxrmniethannodypraman chawyiwthiprakxbepncanwnmakekinsdswninsakhaehlaniklayepnechuxephlingihkbkhwamkhunekhuxngkhxngchaweyxrmnthiimidmiechuxsayyiwinchwngwikvtthangesrsthkic ehtukarntladhuntkin kh s 1873 aelaphawaesrsthkictktathitammasngphlihekidkraaeskarocmtichawyiwthithukklawhawakhrxbngaesrsthkiceyxrmni aelakartxtanyiwkephimkhun inchwngewlani inkhristthswrrs 1860 eyxrmnrwmthngkhbwnkarkaremuxngfaykhwamulwiwtixikhlayklumerimnapraednkarehyiydechuxchatiaelakartxtanyiwmaich phusnbsnunchatiniymefilkhichkhnsakhyhlaykhnsngesrimkartxtanyiwaebbmulwiwti echn Eugen Diederichs Paul de Lagarde aela Julius Langbehn edx lakard eriykchawyiwwaepn phahakhxngkhwamesuxmothrm epnmlthintxwthnthrrmthuk chati aelathalaylangsrththathngsindwyesriniymaebbwtthuniymkhxngphwkekha aelaeriykrxngihmikarkacdchawyiwihsinip lngebhneriykrxngihmisngkhramthalaylangchawyiw aelainphayhlngphwknasiidephyaephrnoybaykhalangephaphnthukhxngekhacahnayihkbthharaenwhnarahwangsngkhramolkkhrngthisxng phusnbsnunxudmkarntxtanyiwxikkhnhnunginsmynn Friedrich Lange journalist yngidichkhawa chatisngkhmniym iweriykaemaebbchatiniymefilkhichaenwtxtanthunniymkhxngekhaexng oyhn kxthliph fichethx klawhawachawyiwinpraethseyxrmniepn rthsxnrth thiepnphytxexkphaphkhxngchatieyxrmnaelacaepntxipxyanghlikeliyngimid fichethxesnxsxngtweluxksahrbkarcdkarkberuxngni prakaraerkkhuxkarkxsrangrthyiwinphumiphakhpaelsitnephuxcungicihchawyiwyayxxkcakyuorp tweluxkthisxngkhuxkarichkhwamrunaerngtxchawyiw aelaekhaklawwaepahmaykhxngkhwamrunaerngnnkhuxephux tdhwkhxngphwkekhaihhmdphayinhnungkhun tnghwihmiwbnihlkhxngphwkekha sungkhwrcaimmiaenwkhidyiwxyuinnnaemaetesiywediyw kh s 1912 phithisarprachyaehngisxxn epnnganthithukplxmaeplngkhunody okhrana hnwynganlbkhxngckrwrrdirsesiy phwktxtanyiwhlaykhnechuxwamnepneruxngcringaelamncungklayepnthiodngdnghlngcaksngkhramolkkhrngthihnungphithisarnnxangthungkarsmkhbkhidxyanglbkhxngchawyiwcaknanachatithicaekhayudkhrxngolkxlefrth oresinaebrkh epnphuaenanaihhitelxridruckkbphithisarnn aelatngaet kh s 1920 epntnmaekhamungennkarocmtidwykarxangwalththimaksaelasasnayudahmikhwamekiywoyngknodytrng wachawyiwaelaphwkbxlechwikhepnkhnklumediywklumediywkn aelawalththimaksepnxudmkarnyiw sungehlaniklayepnthiruckwa lththibxlechwikyiw hitelxrechuxwaphithisarchinnnepnkhxngaeth kxnnasikhunsuxanac hitelxrmkklawothswasilthrrmnnesuxmlngephraa Rassenschande khwamesuxmesiythangechuxchati sungepnwithikarephimkhwamechuxmnkhxngphutidtamkhxngekhawayngkhngtxtanyiwxyu sungthukthaihecuxcanglngiwsahrbkhnswnmak kxnthiphwknasixxkkdhmayechuxchatienuxrnaebrkhmain kh s 1935 phwkchatiniymeyxrmnhlaykhnsnbsnunkdhmaythihamrsesinchnedxrahwangchawxarynkbchawyiwodyihthuxepnkarkbttxechuxchati echnorlnth ifrselxr aelaaemkrathngkxnkdhmaycaxxkmaxyangepnthangkaresiyxik phwknasikidhamephssmphnthaelakarsmrsknrahwangsmachikphrrkhkbchawyiwaelw smachikphrrkhthiphbwamikhwamphidthanrsesinchnedxcathuklngothsxyangrunaerng smachikphrrkhbangkhnthuktdsinihrbothspraharchiwitkmi phwknasixangwabismarkhimsamarthrwmchatieyxrmnidsaercephraamichawyiwaethrksumxyuinrthsphaeyxrmn aelaxangwakarthiphwkekhayubsphaidthaihxupsrrkhtxkarrwmchatinisinsudlng phwknasiklawhachawyiwaelaprachakrklumxun thiphwkekhathuxwaimepneyxrmnwamikhwamphkditxtangchatidwytananaethngkhanghlng nicungthaihkartxtanyiwineyxrmnieruxngyuedinfraekx pyhachawyiw runaerngkhun klawkhux Antisemitic canard khxngkaremuxngfaykhwacdsungepnthiniyminchwngthiechingchatiphnthuaelanoybay romantic nationalism ephuxsthapnaokrsdxychlnth eyxrmniihy khxngmnkalngekhmaekhng noybayechuxchatikhxngrabxbnasixacphthnamacakmummxngkhxngnkchiwwithyakhnsakhyinkhriststwrrsthi 19 xathinkchiwwithyachawfrngess Jean Baptiste Lamarck phanthvsdikhxnglamarkaebbcitniymkhxng Ernst Haeckel aelankphvkssastrchaweyxrmnbidakhxngwichaphnthusastrekrkxr emnedil inphayhlng phwknasipranamngankhxngehtetilwaimehmaasmsahrb karkxrangaelakarsuksaaebbchatisngkhmniyinirchthisam swnhnungxacepncakprchyawtthuniymaelaxethwniym aebb khxngekhasungphwknasiimniym phrxmthngkhwamepnmitrthiekhamitxchawyiw kartxtan militarism aelakarsnbsnun altruism odymiecahnathirthnasikhnhnungeriykrxngihpranamekha thvsdikhxnglamarkcdladbchnechuxchatitamwiwthnkarcakexp sungtangcakthvsdikhxngemnedilsungimidcdladbchnkhxngechuxchatiwamiwiwthnakarthisunghruxtakwacakexp ephiyngaetklawwamnusylwnwiwthnmacakexpdwykn phusnbsnunlamarkmxngwaechuxchatithi takwa idprasbkbsphawathithrudothrmmananekinphxthi karphthna khxngsphawakhxngphwkekhaxyangminysakhyid casamarthekidkhuninxnakhtxnikl ehkhekhilichthvsdikhxnglamarkephuxxthibaythungkartxsurahwangechuxchatithiekidkhunaelacdwangaetlaechuxchatilngbnladbchnkhxngwiwthnakar odyeriynglngmatngaetmnusyetmtwcnthungtakwamnusy phwknasiaelanksuphnthusastrkraaeshlkinsmynnsnbsnunphnthusastrkhxngemnedilhruxthvsdikhxngemnedil thvsdikarthaythxdlksnathangphnthukrrmkhxngemnedilklawwalksnathangphnthukrrmcathuksngtxcakrunsurun nksuphnthusastrichthvsdikarthaythxdlksnathangphnthukrrmkhxngemnedilephuxaesdngkarthaythxdorkhaelakhwambkphrxngthangchiwwithyacakbuphkarisubutr sungrwmthungkhwamphidpktithangcit inkhnathiphuxunichthvsdikhxngemnedilephuxaesdngkarthaythxdlksnathangsngkhm odyphwkthuxkhtiniymechuxchatixangwaebuxnghlnglksnathwipbangprakarechnkhwamkhidsrangsrrkhhruxphvtikrrmxachyakrnnmithrrmchatiechingechuxchatixyu karichtwaebbkarehyiydechuxchatiaebbxemrikn hitelxraelankthvsdikdhmaynasihlaykhnidrbaerngbndaliccak institutional racism khxngpraethsshrthxemrikaaelamxngehnepnmntwaebbsahrbthatam odyechphaaxyangying phwkekhamxngehnmnepntwaebbsahrbkarkhyayekhtaednaelakarkhcdphuxyuxasyphunemuxngxxkip ehn Disfranchisement after the Reconstruction era epntwaebbthiphwkekhatxngkarptibtiichinaebbediywknkbchawyiw aelaehn Immigration Act of 1924 thihambangechuxchatiepntwaebb inimnkhmphf hitelxrsrresriywapraethsshrthxemrikannepntwxyangrwmsmyephiyngpraethsediywethannthimikdhmayphlemuxngaebbehyiydechuxchati hruxaebb efilkhich xyuinkhristthswrrs 1920 aelankkdhmaynasiidnatwaebbxemriknipichinkarpradisthkdhmaysahrbichinnasieyxrmni kdhmaykhwamepnphlemuxngshrthaela Anti miscegenation laws in the United States epnaerngbndalicodytrngihkbkdhmayenuxrnaebrkhthisakhysxngchbb kdhmaywadwykhwamepnphlemuxngirchaelakdhmayephuxkhumkhrxngsayeluxdeyxrmnaelaekiyrtiphumieyxrmn kartxbsnxngtxsngkhramolkkhrngthihnungaelalththifaschistxitali inchwngsngkhramolkkhrngthihnung nksngkhmwithyachaweyxrmn Johann Plenge klawthungkaretibotkhxng chatisngkhmniym thamklangsingthiekhaeriykwa waepnkarprakassngkhramtx aenwkhidkhxngpi 1789 karptiwtifrngess xangxingtamephlngekx aenwkhidkhxngpi 1789 echnsiththikhxngmnusy prachathipity pceckniym aelaesriniymkalngthukptiesthaelaaethnthidwy aenwkhidkhxngpi 1914 echn khunkhaeyxrmn eruxnghnathi winy kdhmay aelaraebiyb ephlngekxechuxwakhwamsamkhkhithangchatiphnthu camaaethnthikaraebngaeykthangchnchn aela shayechuxchati carwmknsrangsngkhmaebbsngkhmniym praethseyxrmnikhxng chnkrrmachiph pathabrietnkhxng thunniym ekhaechuxwa citwiyyanaehngpi 1914 idprakttwepnmonthsnkhxng snnibatprachachnaehngchatisngkhmniym People s League of National Socialism chatisngkhmniymniepnrupaebbhnungkhxngrabxbthiptiesth aenwkhdiekiywkbesriphaphaebbirkhxbekht aelasnbsnunesrsthkicthicarbichpraethseyxrmnithngmwlphayitkarnakhxngrth chatisngkhmniymnitxtanthunniymephraamiswnprakxbsungkhdkb phlpraoychnaehngchati khxngeyxrmni aetyunkranwachatisngkhmniymcaaeswnghaesrsthkicthimiprasiththiphaphthidikwa ephlngekxsnbsnunihxphichnpkkhrxngthiichehtuphlaelaxanacniymphthnarabxbchatisngkhmniymphanrthethkhonaekhrtthimiladbchn aelaaenwkhidkhxngekhaidklayepnswnhnungkhxngrakthankhxngrabxbnasi nkprchyaprawtisastr nkprchyawthnthrrmchaweyxrmn epnhnunginxiththiphlhlkthimitxrabxbnasi aemwahlng kh s 1933 ekhathukaeplkaeykcakrabxbnasiaelathukphwknasipranaminphayhlngephraawicarnxdxlf hitelxr phwknasiaela Conservative revolution yudthuxmonthsnwadwychatisngkhmniymkhxngchepngelxraelamummxngthangkaremuxngkhxngekharwmkn mummxngkhxngchepngelxrkepnthiniyminhmu Italian fascism dwy sungrwmthungebniot musoslini hnngsuxkhxngchepngelxr kh s 1918 khwamtktakhxngtawntk sungekhiynkhuninchwngeduxnthay khxngsngkhramolkkhrngthihnung klawthung decadence khxngxarythrrmyuorpsmyihmthismmutikhunma ekhaxangwamnekidcakkrabwnkarthaihepnpceckxatxmaelairsasna kb smmtithanhlkkhxngchepngelxrklawwamikdkhxngphthnakarthangprawtisastrxyusungprakxbdwywtckrkhxngkaenid khwamecriy chraphaph aelamrnphaphemuxthungrupaebbsudthaykhxngxarythrrmkhxngmnaelw emuxthungcudaehngxarythrrm wthnthrrmcasuyesiykhwamsamarthkhidsrangsrrkhipaelayxmcanntxcnkwakarprakttwkhxng xnarychn camasrangyukhsmyihm chepngelxrphicarnawaolktawntkidyxmcanntxkhwamesuxmkhxngpyya engintra chiwitinemuxngaebb chiwitthiirsasna prmanu aelaechuxwamnkalngxyuthicudcbkhxngphawaecriyphnthuthnginthangchiwwithyaaela thangcitwiyyan khxngmnaelw ekhaechuxwachatieyxrmn xneyawwy emuxepnxanacckrwrrdicasubthxdmrdkkhxngormobranma aelanaipsukarfunfukhxngkhunkhaphayin sayeluxd aelasychatyan aelainkhnaediywknxudmkhtikhxngcathukepidephywairehtuphl aenwkhid sngkhmniymprsesiy khxngchepngelxrxyangthixthibayiwinhnngsuxkhxngekha kh s 1919 khwamepnprsesiyaelasngkhmniym idmixiththiphltxrabxbnasiaela chepngelxrekhiynwa khwamhmaykhxngsngkhmniymkhuxchiwitthimiidthukkhwbkhumodykhwamkhdaeyngknrahwangkhwamrwykbkhwamcn aetodyladbchnsungidmadwykhwamsaercaelakhwamsamarth nnkhuxesriphaphkhxngera esriphaphcakxanaceddkhadthangesrsthkickhxngpceck chepngelxrrbexaaenwkhidtxtanxngkvsthiephlngekxaelasxmbarthphudthungrahwangsngkhramolkkhrngthihnungsungpranam Liberalism in the United Kingdom aelarabbrthsphaaebbxngkvsaelasnbsnunrabbchatisngkhmniymthiepnxisracaklththimaksaelacaechuxmoyngpceckchnekhakbrthphanxngkhkraebbmaprbich chepngelxrxangwakhunlksnakhxngprsesiyaebbsngkhmniymnndarngxyuthwthngpraethseyxrmni imwacaepnkhwamkhidsrangsrrkh winy khwamehnaekpraoychnkhxngkhnswnihy phlitphaph aelakaresiyslatnexng ekhaesnxwasngkhramepnsingthicaepn odyklawwa sngkhramepnrupnirndrkhxngkardarngxyukhxngmnusythiehnuxkwa aelarthdarngxyukephuxsngkhram mnepnkaraesdngxxkthungkhwamxyakthasngkhram Marinebrigade Erhardt rahwang Kapp Putsch thiebxrlin kh s 1920 kxngphlnxynawikoythinaexrharthichswstikaepnsylksnkhxnghnwy ehnidcakhmwkaelarthbrrthuk sungepnaerngbndalicihphrrkhnasinamaichepnsylksnkhxngkhbwnkar niyamkhxngsngkhmniymkhxngchepngelxrimidmikareriykrxngihepliynaeplngkhwamsmphnththangthrphysin ekhapranamlththimakswaphyayamfuksxmchnkrrmachiphihip yudthrphycakphuyudthrphy hruxnaythun aelwihichchiwitthisukhsbaydwythrphythiyudmaehlani ekhaxangwa lththimakskhuxthunniymkhxngchnchnaerngngan aelaimichsngkhmniymthiaethcring xangxingtamchepngelxr sngkhmniymthiaethcringcaepnbrrsthniymrupaebbhnung ekhaklaw xngkhkrbrrsththxngthinthicdraebiybtamkhwamsakhythiaetlawichachiphmitxprachachnodyrwm karmiphuaethninladbthisungkhunipcnthungsphasungsudaehngrth thixantisamarththukthxdthxnidthukemux immiphrrkhkaremuxngcdtng imminkkaremuxngmuxxachiph immikareluxktngepnpraca hnngsux kh s 1923 aeplwa irchthisam khxng pyyachntxtanyiwchaweyxrmn Wilhelm Stapel ichsmmtithankhxngchepngelxrwadwykarpathaknthangwthnthrrmrahwangchawyiwthichepngelxrxthibaywaepnkhncaphwkemic Magi kb Ethnic groups in Europe sungepnkhncaphwkefast chtaephilphrrnnawachawyiwepnchnrxneriraephndinthikalngtamhawthnthrrmnanachatithicaichephuxprbtwekhakbxarythrrmtawntk dngnn chtaephilcungxangwasngkhmniym sntiniym hruxthunniyminrupaebb sakl cungdungdudicchawyiw ephraachawyiwsungepnphukhnthiimmiaephndinidruklaekhtaednkhxngchatiaelawthnthrrmmamakmayaelw inchwngaerk Arthur Moeller van den Bruck epnbukhkhlsakhykhxngrabxbnasithiidrbxiththiphlcaknkptiwtixnurksniym ekhaptiesthxnurksniymaebbptikiriyaaelaesnxihmirthihmsungekhabyytichuxwa irchthisam sungcaprasanthuk chnchnphayitkarpkkhrxngaebbxanacniym fn edn brukh snbsnunswnphsmrahwangchatiniymcakfaykhwaaelasngkhmniymcakfaysay lththifassistepnhnunginxiththiphlhlkthimitxrabxbnasi karyudxanacodyphunafaschistchawxitaliebniot musoslini inkaredinkhbwnsuormin kh s 1922 iddungdudkhwamchunchmcakhitelxr sungimthungeduxnthdmakiderimcalxngtwexngaelaphrrkhnasitamaebbmusosliniaelaphwkfaschist hitelxrnaesnxihphwknasiepnlththifaschisteyxrmnrupaebbhnung ineduxnphvscikayn kh s 1923 phwknasiidphyayamtha karedinkhbwnsuebxrlin tamaebbxyangkaredinkhbwnsuorm sungnaipsukbtorngebiyrthimiwniksunglmehlw hitelxrklawthunghnithirabxbnasimitxkhwamsaercinkarkhunsuxanackhxnglththifaschistinpraethsxitali inkarsnthnaswntwemux kh s 1941 hitelxrklawwa phwkchudnatalkhngimekidkhunhakimmiphwkchudda odythi phwkchudnatal hmaythungkxngkalngnasiaela phwkchudda hmaythung blackshirts ekhaklawthungchwngkhristthswrrs 1920 dwywa hakmusoslinithuklththimaksaesngip phmkimruwaeracarxdmaidsaerchruxepla inchwngewlannchatisngkhmniymyngetibotxyangepraabangmak nasikhnxun odyechphaaphwksunginsmynnmikhwamekiywkhxngkbpiksaymulwiwtikwakhxngphrrkh xathiekrkxr chtrsesxr oyesf ekibebils aelaihnrich himelxr ptiesth italian fascism aelaklawhawamnepnxnurksniymhruxthunniymmakekinipxlefrth oresinaebrkh pranamlththifaschistxitaliwasbsnthangechuxchatiaelamixiththiphlkhxng Philosemitism chtrsesxrwicarnnoybay Fuhrerprinzip waepnsingprakxbsrangkhxngmusosliniaelathuxwaepnaenwkhidtangdawthithuknaekhamaxyuinrabxbnasi tlxdkhwamsmphnthrahwangnasieyxrmniaelaxitalifaschist nasichnphunxyhlaykhnmxnglththifaschistdwykhwamehyiydhyamwaepnkhbwnkarxnurksniymthikhadskyphaphinkarptiwtixyangetmthixudmkarnaelaaenwnoybaynkprawtisastr ekhiyniwinhnngsuxkhxngekha The Hitler State Der Staat Hitlers wa chatisngkhmniymimidepninechingxudmkarnhruxaenwnoybayepnhlk aetepn charismatic authority sungxudmkarnnnrwmekhaxyuintwfuxerxrhitelxr aelamncaesiyxanacrwbrwmkhxngmnipsinhakirsungekha xudmkarnchatisngkhmniymthikhlumekhrux yuothepiy aelanamthrrmnnprasbkhwamercklayepncringaelaaennxnephiyngethathimnthaidphanhitelxrepnsuxklang dngnn karxthibayxudmkarnkhxngrabxbnasicatxngepnkarxthibayaebbphrrnna ephraamnimidepnphlphlitcakhlkkarebuxngtnepnhlk aetepnphlmacakpccyhlayswn imwacaepnmummxngswntwthihitelxrthuxiwxyangekhmaekhng bangswncak epahmayodythwipkhxngkhbwnkarchatiniymaela aelakhwamkhdaeyngrahwangecahnathiphayinphrrkhnasithitxsuknaekngaeyng exachnaichitelxrihyxmrbkartikhwamchatisngkhmniymkhxngphwkekhaaetlakhn aelahlngcakphrrkherimkwadlangxiththiphlebiyngebnechnlththichtrsesxrxxkipaelw klumphunakhxngphrrkhidyxmrbihhitelxrepn xanacsungsudinkartdsinicpraednechingxudmkarn chatiniymaelakhtiniymechuxchati rabxbnasiennkhwamsakhykhxng imwacaepn irredentism hrux expansionism rabxbnasiyudthuxthvsdiechuxchatithimirakthanxyubnkhwamechuxwamisungehnuxkwaechuxchatixunidthngmwlxyu phwknasiennkhwamsakhykhxngkardarngxyusungkhwamkhdaeyngthangechuxchatirahwangkbechuxchatixun odyechphaachawyiwsungphwknasimxngwaepnechuxchatiphsmthiidaethrksumekhaipinhlaysngkhmaelamiswninkarexaepriybaelakdthbechuxchatixaryn phwknasikcdpraephthchawslafepnxunethxremnch takwamnusy dwy nkprawtisastrchaweyxrmnwxlfkng bixalas Wolfgang Bialas xangwasanukinsilthrrmkhxngnasisamarthxthibayidwaepn virtue ethics echingkrabwnkarrupaebbhnung ephraawamntxngkarihechuxfngtxkhunthrrmsmburnxyangirenguxnikhphrxmdwyectkhtikhxngkarwiswkrrmsngkhm aelaidaethnthixchchttikyansamydwykhasngaelakhunthrrmechingxudmkarnchudhnung burusaebbihminxudmkhtikhxngnasitxngmicitsanukthangechuxchatiaelaepnnkrbphuxuthistnaedxudmkarnsungcasamarthkrathakartang ephuxpraoychnaehngechuxchatieyxrmnaelaechuxmnwasingthiekhakalngthaxyunnepnsingthithuktxngaelaethiyngthrrmipinewlaediywkn phwknasiechuxwapceckcasamarthphthnakhwamsamarthaelakhunlksnapceckkhxngtnidephiyngphayitkrxbkhxngechuxchatithipcecknnepnsmachikxyuethann echuxchatithiekhaepncaepntwkahndwaekhasmkhwridrbkarduaelxyangthuksilthrrmhruxim monthsnkhxng self denial aebbkhrisetiyncathukaethnthidwykaresnxtnexngehnuxphwkthiekhathuxwatakwa phwknasiprakasihkarkhdeluxkodythrrmchatiaelakartxsuaeyngchingkardarngxyuepnkdthiskdisiththisungsud phwkekhaklawwaphukhnaelapcecksungthuxwatakwacaimsamarthexachiwitrxdidodyimmiphwkthithuxwaehnuxwa thwakarkrathaechnnikepnkarthiphwkekhaephimpharaihkbphwkthiehnuxkwa phwkekhathuxwakarkhdeluxkodythrrmchaticaehnchxbkhwamaekhngaekrngehnuxkhwamxxnaex aelaphwknasithuxwakarpkpxngphwkthithuxwatakwaepnkarpxngknmiihthrrmchatidaenintamkhrrlxngkhxngmn phwkekhamxngwaphwkthiimsamarthesnxtnidthukkahndihphbkbhayna aelaphwkthicaidrbsiththiinkarmichiwitkhuxphwkthisamarthexachiwitrxddwytnexngidethann lththieriykrxngdinaednkhunaelalththikarkhyayxanaekht Trial of Neumann and Sass thiekansemux kh s 1935 caelyxangwa Klaipeda Region khwrepnswnhnungkhxngpraethseyxrmniimichpraethslithweniy aelaaephrkracayokhsnachwnechuxetriymphrxmsahrbkarkarkxkarkaeribtidxawuth phrrkhnasieyxrmnsnbsnunkarxangsiththieriykrxngdinaednpraethsxxsetriy xalss lxaern phumiphakhthipccubnepnsatharnrthechk aelaphumiphakhthiepnthirucktngaet kh s 1919 wachnwnopaelndklbkhunpraethseyxrmni hnunginnoybayhlkkhxngphrrkhnasieyxrmnkhuxelebinseram phunthixyuxasy sahrbchatieyxrmnsungxangxingkhxxangwahlngsngkhramolkkhrngthihnungpraethseyxrmniprasbkbwikvtprachakrlnekinaelacatxngkhyayxanaekhtephuxihpyhaprachakrlnpraethshmdipcakekhtaedncakdthimixyu aelaephuxcdhathrphyakrxncaepntxswsdiphaphkhxngprachachnkhxngpraeths tngaetkhristthswrrs 1920 phrrkhnasisngesrimkarkhyayxanaekhtchxngpraethseyxrmniekhaipinxanaekhtthishphaphosewiytthuxkhrxngxyuxyangepidephy chwngerimaerkkhxngelebinseram karkhbilchawopaelndodynasieyxrmnixxkcakopaelndemux kh s 1939 inimnkhmphf hitelxrklawwacahaelebinserammaidcakyuorptawnxxk odyechphaapraethsrsesiy inpiaerk intaaehnngphunanasi hitelxrklawxangwaekhayindinxmrbkhwamsmphnthaebbepnmitrkbpraethsrsesiybnenguxnikhechingyuththsastrthirsesiycayxmkhunesnaebngekhtaednklbipaebbthikahndiwinsnthisyyasntiphaphrahwangpraethseyxrmniaelapraethsrsesiysnthisyyaebrsth litxfsksunglngnamody Grigori Sokolnikov caksatharnrthosewiytrsesiyemux kh s 1918 thimxbxanaekhtphunihythirsesiythuxkhrxngmaxyuphayitkarkhwbkhumkhxngeyxrmniephuxaelkkbsntiphaph in kh s 1921 hitelxrchmechysnthisyyaebrsth litxfskwaepnkarepidoxkasihaekkarfunfukhwamsmphnthrahwangeyxrmniaelarsesiywa phansntiphaphkbrsesiy karyngchipheyxrmniaelakarcdhangancahamaidcakkarkhrxbkhrxngaephndinaelaphundin cakkarekhathungwtthudib aelacakmitrsmphnthrahwangthngsxngpraeths xdxlf hitelxraephnthiphumipraethskhxngthwipyuorp phrrkhnasiprakassnbsnun Drang nach Osten khbsutawnxxk karkhyayxanaekhteyxrmnixxkipthangtawnxxkkhxngethuxkekhayurl aesdngepnesnaenwthaeyngsinatalthangkhwabnkhxngaephnthi rahwang kh s 1921 thung 1922 hitelxrplukeriykichthngwathkrrmkhxngkhwamsaerckhxngelebinseramsungcaprakxbdwykaryxmrbpraethsrsesiythimixanaekhtldlng aelakarsnbsnunphwk Russian nationalism ihokhnlmbxlechwikhaelasthapnarthbalrsesiykhawihm aetcudyunkhxnghitelxrepliynipemuxsinpi 1922 emuxekhahnmasnbsnunihmiphnthmitrrahwangeyxrmnikbbrietnephuxthalayrsesiy inphayhlnghitelxrprakaswaekhatngickhyaypraethseyxrmniekhaipinpraethsrsesiythungethaid thwipexechiy aehlngkkekbmnusythinakngwlehluxekin eraimsamarthrbpraknkhwamplxdphykhxngthwipyuorpcnkwaeracakhbilexechiyipxyuhlngyurlid imkhwrmirthrsesiycdtngxyuelyesnnnmathangthistawntk xdxlf hitelxr noybaysahrbelebinseramwangaephnihmikarkhyayxanaekhtkhxngeyxrmnixyangmhasalipthangtawnxxkkhxngethuxkekhayurl hitelxrwangaephnenrethsprachakrrsesiy swnekin thixasythangtawntkkhxngethuxkekhayurlipyngfngtawnxxkkhxngethuxkekhayurl nkprawtisastrxdm thus Adam Tooze xthibaywa hitelxrechuxwaelebinseramnnmikhwamsakhytxkarcdhakhwammngkhngaebbbriophkhniymaenwxemriknmaihaekchaweyxrmn thusxangwaephraaehtunikarmxngwarabxbnasiprasbkbkhxkhdaeyngrahwang guns and butter nnepnkarmxngthiphid aemwacacringthithrphyakrthukebiyngxxkcakkarbriophkhkhxngphakhphleruxnmaichinkarphlitthangthhar aetthusxthibaywainradbyuththsastraelw inthaythisud punthukmxngwaepnwithikarhaenymaephim inkhnathikhwamhmkmunthiphwknasimikbwithichiwitekstrkrrmaelakarphlitxaharnnmkthukmxngwaepnnythisuxthungkhwamlahlngkhxngphwkekha aetthusxthibaywakhwamcringaelwehlannepnhnunginpraednkhbekhluxnhlkkhxngsngkhmyuorpepnewlaxyangnxysxngstwrrsthiphanma hnunginpyhahlkthiyuorptxngprasbphbecxinchwngtnkhriststwrrsthi 20 khuxpyhawasngkhmyuorpkhwrtxbsnxngtx world economy ihmkhxngxaharxyangir withichiwitekstrkrrmmixyuaephrhlayxyangyinginchwngtnkhristthswrrs 1930 inthwipyuorp xacykewnekaabrietnihy aelachaweyxrmnkwa 9 lankhn ekuxbhnunginsamkhxngkalngaerngngan yngthanganxyuinphakhkarekstr aelahlaykhnthiimidthanganekstrkrrmkyngmiaeplngcdsrrkhnadelkhruxplukxahariwbriophkhexng thuspramankarnwakwakhrungkhxngprachakreyxrmninkhristthswrrs 1930 xasyxyuinemuxngelk aelahmubantang sungmiprachakrtakwa 20 000 khn hlaykhnthixasyinemuxngihyyngkhngmikhwamthrngcathungkaryaythinthanekhaemuxngcakchnbthxyu thuscungxthibaywakhwamhmkmunthiphwknasimikbaenwkhidekstrniymnnimichkarekhluxbengakhwamlasmylngbnchatixutsahkrrmsmyihm aetepnphlphwngmacakkhxethccringthiwarabxbnasi thnginthankhxngxudmkarnaelakhbwnkar epnphlphlitkhxngsngkhmthiyngxyuinchwngepliynphanthangesrsthkic khwamhmkmunkhxngphwknasiineruxngkarphlitxaharepnphlkhxngsngkhramolkkhrngthihnung aemwathwipyuorpcasamarthhlikeliyngthuphphikkhphyiddwykarnaekhacaknanachati aetkarpidlxmidnaexapraedn food security klbekhamainkaremuxngyuorp blockade of Germany odyfaysmphnthmitrinsngkhramolkkhrngthihnungaelahlngsngkhramimidthaihekidthuphphikkhphyodysmburn aetphawakhadsarxahareruxrngidkhrachiwitphukhnipkwa 600 000 khnodypramaninpraethseyxrmniaelaxxsetriy wikvtesrsthkicinyukhrahwangsngkhramhmaykhwamwachaweyxrmnswnihymikhwamthrngcathungxakarhiwechiybphln thuscungsrupwakhwamhmkmunkhxngphwknasiineruxngkarhathidinephimimidepneruxngkhxng karedinthwnekhmnalika aetepnkarptiesththicayxmrbwakaraebngsrrthidin thrphyakr aelaprachakrxnepnphlmacaksngkhramckrwrrdiniyminkhriststwrrsthi 18 aela 19 nnkhwrthukyxmrbwaepnthisinsudesiymakkwa inkhnathiphuchnainsngkhramolkkhrngthihnungmixacmithidinthakarekstrthiehmaasmkbsdswnprachakrhruxckwrrdikhnadihy hruxthngsxngxyang sungthaihphwkekhasruppraedneruxngphunthixyuxasyihepnthisinsudid aetphwknasisungruwapraethseyxrmnikhadthngsxngxyangniidptiesththicayxmrbihthiyunkhxngpraethseyxrmnibnolkepnorngngankhnadklangsungtxngphungphaxaharnaekha hakxingtamekibebils karphichitlahaelebinseramnnmikhwamtngicihepnkawaerk suepahmaysudthaykhxngxudmkarnnasi sungkhuxkarsthapna Hyperpower khxngeyxrmnixyangsmburnrudxlf ehs bxkklawaekwlethxr ehewil thungkhwamechuxkhxnghitelxrwacaekidkhun ktxemuxxanachnung sungepn supremacism idmasungkhwamsungsudxyangimmikhxotaeyng aelaemuxidxanackhwbkhumniaelw xanacnicasamarthtngtnepntarwcolkidaelarbpraknihkbtwexngsung phunthixyuxasyxncaepn echuxchatithitakwacatxngcakdtnexngtamcaknn thvsdiechuxchati karcdechuxchatiaebbnasimxngwaepnechuxchatiecanaykhxngolk epnechuxchatithiehnuxwaechuxchatixunid odymxngwachawxarynmikhwamkhdaeyngthangechuxchatikbklumchnechuxchatiphsmklumhnung klawkhuxchawyiw sungphwknasichiwaepnstruraykhxngchawxaryn aelamxngklumchnxun hlayklumwaepnphytxswsdiphaphkhxngechuxchatixaryn in kh s 1935 mikarxxkpramwlkdhmayechuxchatimaephuxsngwniwsungkhwambrisuththikhxngechuxchatixarynthiphwkekhamxngnamwakdhmayenuxrnaebrkh inchwngaerkkdhmaynihamechphaaephssmphnthaelakarsmrsrahwangchaweyxrmnkbchawyiw aetinphayhlngthukkhyayihkhrxbkhlumthung yipsi aelathayathlukphsmkhxngphwkekha dwy sungphwknasibrryaywaepnphukhn sayeluxdtangdaw khwamsmphnthechnnnrahwangchawxaryn duthi Aryan certificate kbkhnthimiichchawxarynsamarththuklngothsidphayitkdhmayechuxchatithanepn hrux khwamesuxmesiythangechuxchati hlngsngkhramerimtnkhun kdhmaykhwamesuxmesiythangechuxchatithukkhyaykhrxbkhlumthungkhntangchatithnghmd khnthimiichchaweyxrmn echuxchatithimiichxarynthixndblangsudmichawyiw chawormani chawslaf aela inthisudphwknasiphyayamkhalangchawyiw chawormani chawslaf aela Physical disability aelathang Developmental disability ephuxrksa khwambrisuththiaelakhwamaekhngaekrng khxngechuxchatixaryn klumxun thithukchiwa Social degeneration aela Asociality thiimthukephngelngsahrbkhalangaetidrbkarptibtiaebbkidkncakrthnasiechnkhnrkrwmephs Black people in Nazi Germany sasnikchnphyanphrayaohwa aelastruthangkaremuxng khwammungmnhnungkhxnghitelxrintxntnsngkhramkhuxkarkhalang khbil hruxcbepnthaschawslafswnihyhruxthnghmdcakyuorpklangaelatawnxxkephuxhaelebinseramihkbphutngthinthanchaweyxrmn khxmulbnibpid caknithrrskar Miracle of Life khwammhscrrykhxngchiwit thiebxrlinemux kh s 1935 hnngsuxeriynsahrbnkeriyneyxrmnsmynasichuxwa Heredity and Racial Biology for Students krrmphnthuaelachiwwithyaechuxchatisahrbnkeriyn thiekhiynkhunodyyakhxph krf Jakob Graf xthibaymonthsnwadwyechuxchatixarynkhxngnasiihnkeriyniwinswn The Aryan The Creative Force in Human History chawxaryn aerngsrangsrrkhinprawtisastrmnusychati krfxangwachawxaryndngedimphthnamacakchawnxrdikthiekhabukrukxinediyobran phwkekhaerimphthnawthnthrrmxaryninchwngaerkthinn aelainphayhlngkkracayekhasu ancient Persia ekhaxangwaepxresiyphthnaklayepnckrwrrdiidephraamichawxarynxasyxyu ekhaxangwachawnxrdikepnchnphuphthnawthnthrrmkrikobranephraainphaphwadcaksmynnaesdngthungchawkriksungtwsung phiwsixxn tasixxn aelaphmsithxng ekhaklawwa Italic peoples sungmikhwamekiywkhxngkbchawekhltepnchnphuphthnackrwrrdiormnaelaepnchawnxrdikdwy ekhaechuxwaephraaprachakrnxrdikhayipcakprachakrkhxngkrisobranaelaormobrancungnaipsukhwamlmslaykhxngthngsxng ekhaxangwasmyfunfusilpwithyaphthnakhunmainckrwrrdiormntawntkephraasayeluxdnxrdikralxkihmekhamasudinaednkhxngckrwrrdiinsmykaryaythin echnsayeluxdnxrdikthimixyuinchawlxmbard inhnngsuxichkhawalxngokbard aelaxangwaklumchawwisikxththihlngehluxxyuepnchnphusrangckrwrrdisepn aelaxangwamrdkkhxngchawaefrngk chawkxth aelaklumchnecxraemnikinpraethsfrngessepnehtuihmnsamarthotkhunepnmhaxanacid ekhaxangwackrwrrdirsesiyethlingxanackhunmaidephraanaodyklumchnthayathnxrmn ekhaxthibaywasngkhmaexlokl aesksnetibotkhuninthwipxemrikaehnux praethsaexfrikait aelapraethsxxsetreliyephraaepnphlmacakmrdknxrdikkhxngchawaexngokl aesksn ekhasrupkhwampraednehlanidwykarklawwa inthuk aehng aerngsrangsrrkhkhxngchawnxrdikidsrangckwrrdithiyingihydwykhwamkhidciticsungsng aelatrabcnwnniphasaaelakhunkhawthnathrrmkhxngchawxarynkkracayxyuthwswnihykhxngolk aemwasayeluxdnxrdikthisrangsrrkhnncaidhayipcakhlayaehngnanaelwktam krabakhnsphkxngsungkhangnxkthiephasphinkhaykkknbuekhinwlth innasieyxrmni khwamkhidkarsrangechuxchatiecanaythaihekidkhwamphyayamthaihdxythechxfxlkh chaweyxrmn brisuththidwy Nazi eugenics aelaphlsudthayklayepn compulsory sterilisation hrux involuntary euthanasia khxngphuphikarthangrangkayhruxstipyya phayhlngsngkhramolkkhrngthisxng okhrngkarkarunykhatdngklawthukeriykwaxkhsioyn ethefiyr khxaektwthangxudmkarnsahrbkarunykhatmacakmummxngthihitelxrmitxsparta rahwangstwrrsthi 11 thungpi 195 kxnkhristkal waepnrthefilkhichtnchbb ekhachunchmthispartathalaytharkkaenidphidrupxyangirxarmnkhwamrusukephuxrksakhwambrisuththikhxngechuxchati inxngkhkrnasiechnyuwchnhitelxraelaaewrmkhthmikhnthiimichchawxarynsmkhrekharwmxyubangkhn prakxbdwychaweyxrmnechuxsayaexfrika aelaechuxsayyiw phwknasierimnanoybay xnamythangechuxchati maptibtiichthnthithiidxanacma Law for the Prevention of Hereditarily Diseased Offspring ineduxnkrkdakhm kh s 1933 kahndihphukhnthimixakartang sungthukmxngwaepntamkrrmphnthu echnorkhcitephth orkhlmchk orkhhntingtn aela pyyaxxn nxkcakniyngbngkhbthahmnphuthiepnorkhphissuraeruxrngaelami deviance sociology dwy phukhnpraman 360 000 khnthukthahmncakkdhmaynirahwang kh s 1933 thung 1939 aemwanasibangkhnesnxihkhyayokhrngkarkhrxbkhlumthungphuphikarthangrangkaydwy aetkhwamkhidnntxngaesdngxxkmaxyangramdrawng dwykhxethccringwanasibangkhnmikhwamphikarthangrangkay twxyanghnungepnhnunginphuthrngxanacmakthisudkhxngrabxb nnkhuxoyesf ekibebils sungmi clubfoot nkthvsdiechuxchatinasi Hans F K Gunther xangwachawyuorpsamarthaebngxxkidepnhaechuxchati klawkhuxechuxchati Mediterranean race dinaric race alpine race aela east baltic race kunethxrichmonthsnaebbephuxihehtuphlkbkhwamechuxkhxngekhawachawnxrdikxyusungthisudbnladbchnkhxngechuxchati inhnngsuxkhxngekha kh s 1922 sastrechuxchatikhxngchaweyxrmn kunethxrihchaweyxrmnprakxbdwythnghaechuxchati aetennwaphwkekhamimrdkcaknxrdikthiekhmkhm hitelxridxan Rassenkunde des deutschen Volkes sungsngxiththiphltxnoybaydanechuxchatikhxngekha kunethxrechuxwachawslafxyuin echuxchatitawnxxk aelaetuxnchaweyxrmnwaxyaphsmkbphwkekha phwknasibrryaythungchawyiwwaepnklumchnechuxchatiphsmrahwangechuxchati Armenoid race aela Arabid race epnhlk ephraaechuxchatidngklawehlannthukthuxwamisunyklangxyunxkthwipyuorp phwknasicungxangwachawyiwepn echuxchatitangdaw cakchawyuorpthngmwlaelaimmirakehngathangechuxchatithiluksunginthwipyuorp kunethxrennyawachawyiwmimrdkthangechuxchatiaebbtawnxxkikl ekhachiwamichawyiwxyusxngklumhlk sungekidkhuncakkarepliynsasnakhrngihykhxng Khazars maepnsasnayudahinkhriststwrrsthi 8 klumthimimrdkthangechuxchatiaebbtawnxxkiklepnhlkklayepnchawyiwxchekns sungekhaeriykwachawyiwtawnxxk inkhnathiklumthimimrdkthangechuxchatiaebbburphaepnhlkklayepnchawyiwesfardi sungekhaeriykwachawyiwit kunethxrxangwaklumtawnxxkiklprakxbdwyphukhathimichnechingaelacitwiyyankhakhay waklumnnmithksakarchkcungthangcitwithyathiekhmaekhngsungchwyphwkekhainkarkhakhay ekhaxangwaechuxchatitawnxxkiklnn imidphsmphnthumaephuxkarphichitaelakarichpraoychncakthrrmchatiethaidnk ephraatlxdmannkhuxephuxkarphichitaelakarichpraoychncakphukhn kunethxrechuxwachawyuorpmikhwamrngekiycphukhnthimitnkaenidcakechuxchatitawnxxkiklaelakhunlksnakhxngphwkekhaodymiechuxchatiepnaerngcungic aelaekhaaesdnghlkthansnbsnunsingnidwykaraesdngtwxyangkhxngphaphwadaesdngrupkhxngsatanhlaychininsilpayuorpthimilksnahnataaebbtawnxxkikl monthsnwadwyaehrerinfxlkhxaryn echuxchatiecanayxaryn khxnghitelxrimrwmthungchawslafswnihycak Central and Eastern Europe xathi Nazi crimes against the Polish nation chawrsesiy chawyuekhrn l phwkekhathukmxngwaepnechuxchatikhxngkhnthiimmiaenwonmipthangxarythrrmkhnthisungkwasungtkxyuitxanackhxngthikhunsphaphphwkekhaklbsuthrrmchati phwknasimxngwachawslafmixiththiphlaebbyiwaelaexesiytik hmaythungmxngokl thixntrayxyudwy ephraaechnniexng phwknasiprakasihchawslafepnxunethxremnechin takwamnusy nkmanusywithyanasiphyayamphisucninthangwithyasastrthungswnphsmthangprawtisastrkhxngchawslafsungxasyxyuiklxxkipthangthistawnxxk aelankthvsdiechuxchatinasichnna thuxwachawslafepnnxrdikepnhlkemuxhlaystwrrsthiaelw aetekhaechuxwaphwkekhaidphsmkbphwkthiimichnxrdikemuxewlaphanip mikhxykewnihkbchawslafsdswnelk thiphwknasimxngwaepnthayathkhxngphutngthinthaneyxrmnaelacungehmaasmthicathukepliynepneyxrmnaelayxmrbepnswnhnungkhxngechuxchatiecanayxaryn hitelxrbrryaywachawslafepn mwlchnkhxngkhathasaetkaenidsungrusukthungkhwamtxngkarecanay niyamwadwychawslafkhxngnasithibxkwaxyutakwaidthahnathiepnkhxxangihkhwamchxbthrrmaekkhwamtxngkarsrangelebinseramihkbchaweyxrmnaelaklumchnecxraemnikxun inyuorptawnxxk thiphutngthinthanchaweyxrmnaelaecxraemnikxun hlaylankhncayayekhaipxyuemuxsamarthyudkhrxngphunthiehlannidaelw inkhnathiphuxyuxasychawslafdngedimkcathukkwadlang lbthing hruxtkepnthas noybaykhxngnasieyxrmnithimitxchawslafidepliynipephuxtxbsnxngtxkhwamkhadaekhlnkalngthhar aelathukbngkhbihtxngxnuyatchawslafekhathanganinkxngkalngtidxawuthphayinphunthithikalngyudkhrxngxyuid aemwaphwkekhacathukmxngwaepnphwk takwamnusy ktam hitelxrprakaswakhwamkhdaeyngthangechuxchatitxchawyiwepnsingcaepnephuxchwyiheyxrmnirxdphncakkhwamthukkhthrmankhxngkarxyuitphwkekha aelapdthingkhwamkngwlwakhwamkhdaeyngdngklawnnepnsingthiirmnusythrrmaelaxyutithrrmiwwa eraxacirmnusythrrm aethakerachwyehluxeyxrmniiderakidkrathakarxnyingihysungsudinolknisaercaelw eraxacthakarxyutithrrm aethakerachwyehluxeyxrmniiderakidlblangxyutithrrmsungsudinolkniaelw eraxacphidsilthrrm aethakchwyehluxprachachnkhxngeraihrxdiderakidepidhnthangsusilthrrmaelw nkokhsnachwnechuxnasioyesf ekibebils mkichwathkrrmtxtanyiwephuxkhidesnitmummxngnixyubxy phwkyiwepnstruaelaepnphuthalaysayeluxdxnbrisuththi phuthalayechuxchatikhxngeraodyectna chnchnthangsngkhm karemuxngchatisngkhmniymmihlkkarkarcdtngxyubnphunthankhxngkaraekhngkhnaelakartxsu aelaphwknasiechuxwa chiwitmnusyprakxbkhundwykartxsuaelakaraekhngkhnxnepnnirndr aelakhwamhmaykhxngmnmacakkartxsuaelakaraekhngkhn phwknasimxngkartxsunirndrniphanaewntaaebbthhar aelasnbsnunihmisngkhmsungcdraebiybkhlaykbkxngthphephuxbrrluepahmaynn phwkekhasngesrimaenwkhid prachakhmkhxngprachachn aehngchatiaelaechuxchati ephuxbrrluphl kardaeninkartxsukbchnaelarthxun xyangmiprasiththiphaph fxlkhsekximnchfthnikhlaykbkxngthphaelatngicihprakxbkhundwyladbchnkhxngysaelachnchnkhxngphukhn bangswnsngkaraelaswnxunechuxfng thngmwlthangandwyknodymiepahmayrwmkn monthsnmirakehngamacaknganekhiynyukhkhriststwrrsthi 19 khxngnkekhiynefilkhichthiechidchusngkhmeyxrmnyukhklang odymxngwaepn prachakhmsunghyngraklnginaephndinaelamdrwmkndwykhnbthrrmeniymaelapraephni sungimmikhwamkhdaeyngrahwangchnchnhruxpceckniymehnaektw monthsnwadwyfxlkhsekximnchfthkhxngnasidungdudickhncanwnmak ephraaxyangthiekhyepnkhrnghnung mnthukmxngwaepnkaryunynkhwamtngictxsngkhmchnidihmsahrbyukhsmyihm aetkyngmxbkhwamkhumkhrxngcakkhwamtungekhriydaelakhwamimmnkhngkhxngkhwamthnsmy modernisation sungcarksasmdulrahwangkhwamsaerckhxngpceckkbkhwamsamkhkhikhxngklum aelarahwangkarrwmmuxknkbkaraekhngkhn emuxribphiwhnaxudmkarnxxkipaelw wisythsnkhxngkarthaihthnsmythiirkhwamkhdaeyngphayinaelaprachakhmkaremuxngthimxbkhwammnkhngaelaoxkasihkhxngnasiepnwisythsnkhxngxnakhtthimiskyphaphxyangyingesiycnchaweyxrmnhlaykhnphrxmmxngkhamenuxaeththiehyiydechuxchatiaelatxtanyiwkhxngmnip rabxbnasiptiesthaenwkhidkartxsuthangchnchnkhxnglththimaks aelachmechythngnaythunaelakrrmkreyxrmnwathngsxngepnswnsakhykhxngfxlkhsekximnchfth infxlkhsekximnchfth chnchnthangsngkhmcayngdarngxyu aetcaimmikhwamkhdaeyngthangchnchnrahwangkn hitelxrklawwa phwknaythunekhathanganitetakhunipbnyxddwykhwamsamarthkhxngphwkekha aeladwyphunthankarkhdeluxkni sungphisucnwaphwkekhaepnechuxchatithiehnuxkwakethann phwkekhacungmisiththithicana phunathurkiceyxrmnrwmmuxkbnasiinchwngthiphwkekhakalngkhunsuxanacaelaidrbphlpraoychnmakmaycakrthnasihlngthuksthapnakhunaelw imwacaepnphlkairthisungaelakarphukkhadaelasrangkharethlthirthxnuyat mikarechlimchlxngkhnadihyaelakarichsylksnxyangthwthungephuxsrangkalngicihaekphuichaerngnganthangkayphaphinnamkhxngeyxrmni odynasichnnahlaykhnmksrresriy ekiyrtikhxngaerngngan sungplukfngcitsanukkhwamepnprachakhm ekximnchfth ihkbchaweyxrmnaelasngesrimkhwamsmanchnthinxudmkarnnasi bangkhrngokhsnachwnechuxnasinaesnxepahmaykhxngnoybaykhyaydinaednwaepn kartxsuthangchnchnrahwangchati ephuxaeyngchingkrrmkrcaklththimaks hmwkaekphlaksikhxngedknkeriynthukichepnechuxephlinginkxngifephuxepnsylksnkhxngexkphaphrahwangchnchnthangsngkhmtang in kh s 1922 hitelxrduthukphrrkhkaremuxngchatiniymaelaxun walxytwxyuehnuxmwlchn odyechphaaxyangyingkhnrunedkinchnchnaerngnganaelachnchnlang wa phwkechuxchatiniymimmikhwamsamarthdungexakhxsrupechingptibtimacakkartdsinthangthvsdithithuktxngid odyechphaaeruxngpyhachawyiw inkarnikhbwnkarechuxchatiniymeyxrmnphthnaaebbaephnthikhlaykbxyanginthswrrs 1880 aela 1890 insmynntaaehnngphunakhxngmnkhxy tkklayepnkhxngphwkthimiekiyrtiyssungsng aetepnphumikarsuksa sastracary smachiksphaekht phuxanwykarorngeriyn aelankkdhmaythiirediyngsacnnaxscrry klawsn khuxphwkchnchnkradumphi aelasuphaphburus mnkhadlmhayicxnxbxunkhxngphlngxneyawwykhxngchati thungxyangnnktam thankhaaennesiyngkhxngphrrkhnasiklbepnekstrkraelachnchnklangepnhlk sungrwmthungklumkharthkarrthbaliwmar khrubaxacary aephthy esmiyn nkthurkicswntw phnkngankhay kharthkareksiyn wiswkr aelankeriyn khwamtxngkarkhxngphwkekhaprakxbdwykarldphasi karkhunrakhaxahar karcakdkhwbkhumhangsrrphsinkhaaelashkrnphubriophkh aelakarldbrikarthangsngkhmaelakhacang khwamcaepnthicatxngrksakhnklumehlaniiwthaihphwknasidungdudchnchnaerngnganidxyangyaklabak ephraachnchnaerngnganmkmikhwamtxngkaripinthangtrngknkham cak kh s 1928 epntnma phrrkhnasikhyayklayepnkhbwnkarkaremuxngradbchatikhnadihyodyphungphakarsnbsnunkhxngchnchnklang aelaphaphlksnthimitxsatharnasung syyawacaxyukhangchnchnklang aelaephchiyhnakbxanacthangkaremuxngaelathangesrsthkickhxngchnchnaerngngan khwamlmlalaythangkarenginkhxngchnchnklang White collar worker inkhristthswrrs 1920 epnodyswnmakwathaimphwkekhacungsnbsnunrabxbnasixyangekhmaekhng thungaemwaphwknasiphyayamdungdudic krrmkreyxrmn tx aetnkprawtisastrthiomthi emsn Timothy Mason srupwa hitelxrimmixairihkbchnchnaerngngannxkcakkhakhwy nkprawtisastrokhnn fichechxr Conan Fischer aelaedthelf muhlaebrekxr Detlef Muhlberger xangwa aemwaphwknasimithanrakepnchnchnklangkhxnlangepnhlk aetsamarthdungdudickhncakthukchnchninsngkhmid aelaaemwakrrmkrodythwipmiaesdngtnxyunxy aetkyngepnthanesiyngsnbsnunthiminahnksahrbnasi exch aexl xnsbkhekhxr klawxangwathharthimacakchnchnaerngnganepnswnthimikhwamsrththaintwhitelxrmakkwaklumwichachiphid inpraethseyxrmni phwknasiyngidsrangkhaniymwakrrmkrkhnnganthuk khnkhwrthicamithksaxyubang niimidepnephiyngaekhwathkrrm canwnphuchaythilaxxkcakkareriynephuxhanganthaepnphuichaerngnganimmifimuxldlngcak kh s 1934 thi 200 000 khnklayepn 30 000 khnin kh s 1934 sahrbkhrxbkhrwchnchnaerngnganhlaykhrweruxn khristthswrrs 1930 aela 1940 epnsmykhxngkarkhybsthanathangsngkhm aetimichinkhwamhmaythiepnkarkhybekhasuchnchnklang aetepnkarkhybphayinladbchnthksaaerngngankhxpknaengin odyrwmaelwprasbkarnkhxngkhnthanganinrabxbnasimikhwamaetktangknxyangmak khacangkhxngkhnthanganimidephimkhunmakinrabxbnasi enuxngmacakkarcakdkarkhunkhacangkhxngrthbalthiklwenginefxcakkhacangaelarakha rakhaxaharaelaekhruxngnunghmsungkhun aetrakhasahrbthakhwamrxn khaecha aelaaesngifldlng mikarkhadaekhlnkhnnganfimuxtngaet kh s 1936 epntnip hmaykhwamwakhnthanganthicbxachiwsuksamioxkasidrbkhacangthisungphxsmkhwr siththipraoychnthiidcakaenwrwmaerngnganeyxrmnthukmxnginaengbwkodythwip aemwakhnngancaimechuxinokhsnaeruxngfxlkhsekximnchfthesmxip khnthangannxmrboxkaskarcangnganhlngcakhlaypithilabakinchwngphawaesrsthkictktakhrngihy sungsrangkhwamechuxrwmknwanasiidaekpyhakhwamimmnkhngkhxngkarwangnganidaelw khnthanganthiyngkhngimphxicesiyngthukcbidcaksaykhxngekstaoph intxnsudthaynasitxngephchiyhnakbkhwamkhdaeyngrahwangokhrngkarsasmkalngrbsungcaepntxngichkhwamesiyslathangwtthusphaphcakkhnngan ewlathanganthiyawkhunaelakhunphaphchiwitthitalng kbkhwamcaepnthicatxngrksakhwamiwwangiccakchnchnaerngnganthimitxrabxb hitelxrmikhwamehnictxmummxngthiennyaihichmatrkarephimetimsahrbkarsasmkalngrb aetekhaimidnamatrkarehlannmaichodysmburnethathicaepn ephuxhlikeliyngkarsrangkhwamaeplkaeyktxchnchnaerngngan aemwanasicamiaerngsnbsnunthiminahnkcakchnchnklang aetphwkekhamkocmtikhunkhakhxngchnchnklangaebbpraephnidngedim aelahitelxrrngekiycphwkekhaepnkarswntw niepnephraaphaphcadngedimkhxngchnchnklangnnepnphaphkhxngklumkhnthihmkmunkbsthanakhxngtn khwamsaercthangwtthu aelakardaeninchiwitthisukhsbay sungtrngknkhamkbburusaebbihminxudmkhtikhxngnasi wisythsnkhxngburusaebbihmkhxngnasiepnwirburussungptiesthchiwitswntwaelawtthuniymaelahnmahachiwitsatharnaaelasanukinhnathithihyngluk sungphrxmslathuksingephuxchati aetphwknasiyngkhngsamarthrksakhaaennesiyngkhxngchnchnklanghlaylanesiyngidthungaemwacarngekiyckhunkhakhxngphwkekhaktam ehxraemnn ebkh Hermann Beck xangwathungchnchnklangbangkhnpdwaehlaniepnaekhwathkrrm khnxun hlaykhnehndwykbphwknasiinhlayaeng khwamphayaephin kh s 1918 aelakhwamlmehlwkhxngyukhiwmaridthaihchaweyxrmnchnchnklanghlaykhntngkhxsngsykbxtlksnkhxngtn odykhidwakhunkhacaritpraephnidngedimkhxngphwkekhaepnsinghlngyukhaelaehndwykbnasiwakhunkhaehlaniichimidxiktxip aemwawathkrrmnierimnxylnghlng kh s 1933 cakkarenninaenwkhidfxlkhsekximnchfthmakkhun aelawathkrrmaelaaenwkhidkhxngmncayngimhayipcring cnkrathngrabxbthukokhnlm phwknasiennwachnchnklangcatxngklayepnchtathsebuxekxr staatsburger phlemuxngsungtunruaelamiswnrwminsatharna aethnthicaepnchpisebuxekxr spiessburger thiehnaektwaelawtthuniymsungsnicaetchiwitswntw ephsaelaephssphaph khxkahndsahrbkhnnganchawopaelndinpraethseyxrmni khaetuxnothspraharchiwitsahrbkickrrmthangephsid rahwangchaweyxrmnkbchawopaelnd rabxbnasisnbsnunihkidknphuhyingxxkcakkaryungekiywkbkaremuxng aelacakdihphwkekhaxyuinkhxbekhtkhxng Kinder Kuche Kirche edk khrw obsth ethann phuhyinghlaykhnsnbsnunrabxbxyangkratuxruxrn aetksrangladbchnphayinklumkhxngphwkekhaexng hitelxrmikhwamkhidehnswntwekiywkbpraedneruxngphuhyinginnasieyxrmniwa prawtisastreyxrmnyukhxun prasbkbphthnakaraelakarpldplxykhwamkhidkhxngphuhying aetepahmaykhxngchatisngkhmniymmiephiynghnungediywkhuxihphwkekhaphlitedkxxkma hitelxrkhrnghnungklawthungphuhyingodyxingthankhwamkhidniwa edkthukkhnthiethxnaxxkmasuolk khuxkartxsuephuxchatikhxngethx phuchaylukkhunyunephux fxlkh ehmuxnkbthiphuhyinglukkhunyunephuxkhrxbkhrw okhrngkarmuledimkxn natalism innasieyxrmnimikarihenginkuaelaenginthunaekkhusmrsihm aelasngesrimihphwkekhaihkaenidbutrxxkmadwykarephimaerngcungictang phuhyingthi mikhunkha thangechuxchatiinnasieyxrmnithukonmnawihimichkarkhumkaenidaelamikarhamthaaethngdwykdhmaythiekhrngkhrd odyrabuothscakhukihphuhyingthiaeswnghabrikaraelaothscakhukihaephthythiihbrikarphwkekha aetkbphuthimiechuxchati xnimphungprasngkh klbsngesrimihekharbkarthaaethng hitelxrmkichkhxxangwachiwityungsungthaihkhadoxkasinkarsmrsid aelacnkrathngsinrabxbaelwekhakyngkhngimidaetngngan sahrbphusnbsnunxudmkarnnasi karsmrsimidmikhunkhaephraaehtuphlthangsilthrrm aetephraamnepnsphaphaewdlxmthidithisudsahrbkarphsmphnthu mikarklawwa irchsfuxerxr exsexs ihnrich himelxr ekhybxkkbkhnsnithkhnhnungwaintxnthiekhacdtngokhrngkarelebinsbxrnkhunma sungepnxngkhkrephuxkarephimxtrakarekidkhxngedk xaryn ihmakkhunxyanglnhlamdwykhwamsmphnthnxksmrsrahwangphuhyingkbphuchaysungthngsxngthukcdpraephthwamiechuxchatibrisuththi ekhaphicarnaechphaa phuchwykartngkhrrph ephschaythibrisuththithisudethann tngaetthinasiidkhyaykdhmay khwamesuxmesiythangechuxchati ihkhrxbkhlumchawtangchatithnghmdemuxsngkhramerimtnkhun kmiculsarthiephyaephrxxkmaihaekphuhyingchaweyxrmnthisngihphwkekhahlikeliyngkarmiephssmphnthkbkrrmkrtangchatisungthuknaekhamainpraethseyxrmni culsarehlannyngidsngihphuhyingchaweyxrmnmxngkrrmkrtangchatiehlaniepnphyntraytxsayeluxdkhxngphwkekhaxikdwy aemwakdhmaychbbnicaichidkbthngsxngephssphaph aetphuhyingchaweyxrmnthuklngothsdwykhwamrunaerngmakkwasahrbkarmiephssmphnthkbaerngnganeknthtangchatiineyxrmni phwknasixxk Polish decrees emuxwnthi 8 minakhm kh s 1940 sungprakxbdwykhxkahndwadwyaerngnganeknthchawopaelnd Zivilarbeiter thithuknaekhamainpraethseyxrmnirahwangchwngsngkhramolkkhrngthisxng hnunginnnklawwachawopaelndkhnid phumiephssmphnthkbphuchayhruxphuhyingchaweyxrmn hruxekhahaphwkekhadwykiriyaxnimsmkhwrxyangxunxyangidktam caidrbothspraharchiwit hlngcakkdhmaychbbnixxkma himelxrklawwa phinxngeyxrmnkhnidthimiephssmphnthkbkrrmkrphlemuxngsychatiopaelndimwachayhruxhying krathakarxnphidsilthrrmxun hruxmikhwamsmphnthrkikhr kcathukcbthnthi inphayhlngphwknasiidxxkkhxkahndthikhlayknsahrbkrrmkrcakaethbtawnxxk Ostarbeiter sungprakxbdwyothspraharchiwithakphwkekhamiephssmphnthkbchaweyxrmn emuxwnthi 20 kumphaphnth kh s 1942 ihdrichidxxkrthbyytisungprakaswakarrwmephsrahwangphuhyingchaweyxrmnkbkrrmkrhruxechlysukchawrsesiycanaipsukarlngothspraharchiwitfaychaychawrsesiy emuxwnthi 7 thnwakhm kh s 1942 himelxridxxkrthbyytisungklawwa karrwmephsthiimidrbxnuyat canaipsuothspraharchiwit aetephraakdhmayephuxkhumkhrxngsayeluxdeyxrmnaelaekiyrtiphumieyxrmnimxnuyatihichothspraharchiwitkbkhwamesuxmesiythangechuxchati cungmikarcdtngsalphiesskhunmaephuxihsamarthtdsinpraharchiwitinbangkrniid phuhyingchaweyxrmnsungthukklawhawasrangkhwamesuxmesiythangechuxchaticathukoknhwaelahxypaythirabuxachyakrrmkhxngphwkekhaedinaehipbnthxngthnn aelaphuthithuktdsinwamikhwamphidesuxmesiytxechuxchaticathuksngtwipyngkhaykkkntang miraynganwaemuxhimelxrthamhitelxrwaothssahrbedkphuhyingaelaphuhyingchaweyxrmnsungthuktdsinwamikhwamphidesuxmesiytxechuxchatikbechlysukkhwrepnxyangir ekhasngwa echlysukthukkhnsungmikhwamsmphnthkbedkphuhyingchaweyxrmnhruxchaweyxrmncaodnying aelaphuhyingchaweyxrmncathukthaihxbxaykhayhnainthisatharnadwykar oknphmaelasngtwipyngkhaykkkn mikarklawthungsnnibatsaweyxrmnodyechphaa waidsngihedkphuhyingchaweyxrmnhlikeliyngkhwamesuxmesiythangechuxchati sungidrbkhwamsakhyepnphiesssahrbkrnikhxngphuhyingwyeyaw kartxtanrkrwmephs xnusrnsthanehyuxhxolkhxstrkrwmephsthiebxrlin oththekxchlaekin oththekxchwiekin Totgeschlagen Totgeschwiegen titay pidpak phayhlngehtukarnkhunmidyaw hitelxrideluxnyshimelxraelasngesrimchuthschtfefil sungtxmaprabpramrkrwmephsdwykhwamkratuxruxrn odyklawwa eracatxngthxnrakthxnokhnkhnphwkni phwkrkrwmephscatxngodnkwadlang in kh s 1936 himelxridkxtng Reichszentrale zur Bekampfung der Homosexualitat und Abtreibung khunma rabxbnasikhumkhngkhnrkrwmephskwa 100 000 khninkhristthswrrs 1930 nkothschayrkrwmephsinkhaykkknthukbngkhbihtidekhruxnghmaysamehliymchmphu txngkarelkhhna xudmkarnnasimxngwaphuchaychaweyxrmnsungepnekyyngkhngepnswnhnungkhxngechuxchatiecanayxaryn aetrabxbnasiphyayambngkhbihphwkekhaepliynkhlxytamaebbaephnthangephsaelasngkhm khnrkrwmephsthukmxngwalmehlwinkarthahnathirwmephsaelakhyayphnthuihaekchatixaryn ekyephschaythiimyxmepliynhruxesaesrngwaepliynrsniymthangephskhxngtnthuksngipyngkhaykkknphayitokhrngkar karkacdphankarichaerngngan sasna smachikxngkhkr German Christians movement kalngechlimchlxngwnluethxr wnptirupsasna thiebxrlin kh s 1933 phrakhunecahxsesinefledxr Hossenfelder epnphuprasryhitelxrin kh s 1935 kb Apostolic Nunciature to Germany aehngphrasasnckrkhathxlik Cesare Orsenigo in kh s 1920 rbpraknesriphaphihkbthuksasnanikaythiimepnstrutxrth aelasnbsnunsasnakhristechingbwkephuxtxsutan citwiyyanwtthuniymyiw sasnakhristechingbwkepnkhristsasnachbbddaeplngsungihkhwamsakhykb Racial hygiene aelachatiniym nkethwwithyaxyang Ernst Bergmann philosopher ihkhwamchwyehluxphwknasi inngankhxngekha Die 25 Thesen der Deutschreligion 25 khxaehngsasnaeyxrmn aebrkhmnnmimummxngwakhmphiribebilphnthsyyaedimmikhwamimsxdkhlxngknkbbangswninphnthsyyaihm xangwaphraeysuimichchawyiwaetepnchawxaryn aelaxangwaxdxlf hitelxr epnphraphuchwyihrxdxngkhihm hitelxrpranamwaphnthsyyaedimepn ibebilkhxngsatan aelaphyayamichbangchinbangtxninphnthsyyaihmephuxphisucnwaphraeysuepnthngchawxarynaelaepnphwktxtanyiwodyxangxingkhxphrakhaphiryxhnbththi 8 khxthi 44 waphraeysutaoknis phwkyiw aelwklawtxphwkekhawa phxkhxngthankhuxmar kbehtukarn Cleansing of the Temple thibrryaywaphraeysuichaeskhbil lukkhxngmar hitelxrxangwaphnthsyyaihmthukepaolxkhrthutbidebuxn hitelxrbrryaywaekhaepn khatkrhmuthiklayepnnkbuy phwknasiichnganekhiynkhxngnkptirupopretsaetntmartin luethxr inokhsnachwnechux aelacdaesdngtnchbbnganekhiynkhxngluethxr Von den Juden und iren Lugen wadwyyiwaelakhaokhkkhxngphwkekha xxksusatharnainkaredinkhbwnpracapithienuxrnaebrkh phwknasirbrxngxngkhkrthisnbsnunnasi intxnaerknasiepnstrukbkhathxlikephraakhathxlikswnihysnbsnunphrrkhklangeyxrmn phunbthuxnikaykhathxliktxtanmatrkarphuthithukmxngwatakwathinasisnbsnun aelaphrasasnckrkhathxlikhamimihsmachiklngkhaaenneluxkphrrkhnasi nasiichkhwamrunaerngtxkhathxlikin kh s 1933 xnenuxngcakkarsmakhmkbphrrkhklangaelakartxtankdhmaykarthahmnkhxngrabxbnasikhxngchawkhathxlik phwknasieriykrxngihchawkhathxlikprakaskhwamphkditxrtheyxrmn phwknasiichxngkhprakxbtang inprawtisastrkhathxlikkhxngpraethseyxrmniinokhsnachwnechux odyechphaakhnaxswinthxyothkhathxlikeyxrmnaelasuksurbkhxngphwkekhainyuorptawnxxk phwknasichiwakhnklumniepn xngkhrks intawnxxkthitxtan khwamwunwayslaf aetnxkcakeruxngechingsylksnaelwkhnaxswinthxyothmixiththiphltxrabxbnasithicakd hitelxryxmrbwakaredinkhbwnyamkhakhunkhxngnasiidrbaerngbndalicmacakphithikrrmkhathxlikthiekhaphbecxmaaetwyedk phwknasiphyayamkhundikbphrasasnckrkhathxlikxyangepnthangkar aelaehndwykbkarcdtngxngkhkrkhathxlikthisnbsnunnasi Kreuz und Adler imkangekhnaelaehyiyw sungsnbsnunchbbhnungkhxng national Catholicism sungcaepnkarprxngdxngknrahwangkhwamechuxkhxngsasnckrkbkhxngrabxbnasi inwnthi 20 krkdakhm kh s 1933 nasieyxrmniaelaphrasasnckrkhathxliklngnamrwmkninsyya Reichskonkordat sungepnenguxnikhihkhathxlikchaweyxrmnphkditxrtheyxrmnephuxaelkkbkaryxmrbphrasasnckrkhathxlikineyxrmni aelwthangsasnckrcungidykelikkhxhamihsmachiksamarthsnbsnunphrrkhnasiid ekstaophaelachuthschtfefilerimihkhwamsnickbbathhlwngaelaaemchimakkhunrahwangsngkhramolkkhrngthisxngaelakraaeskhlngikhlnasi mikarcdtngekhtaeyksahrbnkbwchinkhaykkkn aelakartxtancaksasnackrid cathuklngothsxyangeddkhad phkhini Maria Restituta Kafka thuksalprachachntdsinpraharchiwitehtuephiyngcakephlngwiphaksrabxbsungirphisphy nkbwchchawopaelndekhakhaykkknexachwithsepncanwnmak klumkhathxliktxtanxyangechnkhnrxbkhang Roman Karl Scholz thukprahtpraharxyangimpranipranxm inkhnathiklumkhathxliktxtanmktxtansngkhramaelaimtxsu aetkmitwxyangkhxngphwkthitxsukbchatisngkhmniymxyangaekhngkhn echnklumkhnrxbkhangbathhlwng Heinrich Maier thiekhahahnwynganlbshrthaelaprakxbphaphrangaephnaelathaelthitngkhxngcrwdwi 2 rththngthiekxr 1 2 emsesxrchmith ebexf 109 aela Messerschmitt Me 163 Komet aelaorngphlitkhxngehlaniihphwkekhasamarththingraebidorngnganidsaerc prawtisastrkhxngphwkekhamkthuklumeluxnhlngchwngsngkhram ephraaphwkekhaptibtikhdkbkhasngdwncakecahnathisasnckrkhxngphwkekha nkprawtisastr Michael Burleigh xangwarabxbnasiichkhristsasnaephuxpraoychnthangkaremuxng aetinkarnn hlkkhasxnphunthanthukthxnthingip aetxarmnrwmthangsasnasungaephrhlaythiehluxmiyngpraoychnkhxngmnxyu ebxrlihklawwamonthsneruxngcitwiyyankhxngrabxbnasiepn aebbephaeknaelabuphkalodyrutwexng nkprawtisastr Roger Griffin ptiesthkhaklawxangwarabxbnasiepnaebbephaeknodyhlk odychiwaaemcamiphwkephaeknihmthithrngxiththiphlbangkhnxyuinphrrkhnasi xathiihnrich himelxr aelaxlefrth oresinaebrkh aetphwkekhaepnswnnxyaelamummxngkhxngphwkekhaimidsngxiththiphltxxudmkarnnasimakipkwaechingsylksn aelachiwainimnkhmphf hitelxrpranamlththiephaeknecxraemnikaelaklawothswalththiephaeknkhxnghimelxrkboresinaebrkhepneruxng irsara esrsthsastr dxythechisfxlkh dxythechisxaribt Deutsches Volk Deutsche Arbeit prachachneyxrmn aerngnganeyxrmn kh s 1934 twxyangkhxng reactionary modernism nasiethlingxanacthamklangphawaesrsthkictktakhrngihy emuxxtrakarwangnganekhaiklrxyla 30 klawodythwip nkthvsdiaelankkaremuxngnasiklawothswakhwamphidphladthangesrsthkicinxditkhxngeyxrmnimiehtucakxiththiphlkhxnglththimakstxkalngaerngngan aephnkarchwrayaelachwyoxkasthiphwkekhaeriykwaphwkyiwnanachati aelakhwamxakhatphyabathkhxngphunathangkaremuxngchatitawntkthieriykrxngkhaptikrrmsngkhramolkkhrngthihnung phwknasiesnxkaraekikhpyhadwykaremuxngaethnaerngcungicthangesrsthkicaebbdngedim echnkarkhcdshphaphaerngngancdtngthing kartidxawuthkhrngihm sunglaemidsnthisyyaaewrsay aelakaremuxngechingchiwwithya mikarcdtnghlayokhrngkarxachiphthithukxxkaebbmaephuxkarcangnganchaweyxrmnihsmburnemuxphwknasiidekhayudxanacradbchati hitelxrsngesrimokhrngkarsnbsnunradbchatitang xathikarkxsrangrabbthangdwnexaothban karrierimrthyntkhxngprachachninrakhathicbtxngid fxlkhswaekin aelatxmaphwknasikhacunesrsthkicdwythurkicaelakarcangnganxnepnphlphlitcakkartidxawuththharkhrngihm phwknasiidrbpraoychninchwngaerkkhxngkardarngxyukhxngrabxbcakesrsthkickhakhunkhrngaerkhlngphawaesrsthkictkta aelaniprakxbkbokhrngkar public works tang okhrngkarcdhangan aelaokhrngkarsnbsnunkarsxmaesmbaneruxn cungidldkarwangnganlngipmakthungrxyla 40 phayinhnungpi phthnakarehlanildbrryakasthangcitwithyaxnimphungprasngkhcakwikvtkarnesrsthkickhrngkxn aelacungicihchaweyxrmnkawedinipphrxmkbrabxb noybaythangesrsthkickhxngnasiinhlayaengmumsubenuxngmacaknoybaykhxngphrrkhprachachnaehngchatieyxrmn sungepnphrrkhkaremuxngaenw national conservatism aelaepnphnthmitrrwmrthbalkbphrrkhnasi inkhnaediywknthipraethsthunniymtawntkaehngxuntngepaihxutsahkrrmtkepn state ownership ephimmakkhun phwknasiklbthayoxnihkb private sector aelamxbnganbrikarsatharnabangswnihkbxngkhkrexkchn sungswnihymikhwamekiywkhxngkbphrrkhnasi odythiepnnoybayodyectnathimicudprasngkhhlakhlaymakkwakarkhbekhluxnthangxudmkarn aelaepnekhruxngmuxinkaresrimsrangaerngsnbsnunihkbrthbalaelaphrrkhnasi nkprawtisastr Richard Overy klawwaesrsthkicsngkhramkhxngnasiepnrabbesrsthkicaebbphsmrahwangtladesrikb Economic planning aelabrryaywaepnrabbesrsthkicthixyukungklangrahwangrabbesrsthkicaebbkhwbkhumkhxngshphaphosewiyt Economy of the Soviet Union kbshrth Economy of the United States rthbalnasisantxnoybayesrsthkicthirierimodyrthbalkhxngkhwrth fxn chilechxr in kh s 1932 ephuxcdkarkbphlkhxngphawaesrsthkictktakhrngnn emuxhitelxridrbaetngtngepnnaykrthmntriin kh s 1933 ekhaidaetngtnghylmar chkhth xditsmachik German Democratic Party khunepnprathan Reichsbank in kh s 1933 aelarthmntriwakarkrathrwngesrsthkicirchin kh s 1934 hitelxrihsyyawacaephimkarcangngan pkpxngengintraeyxrmn aelasngesrimkarfuntwhlngcakphawaesrsthkictktakhrngihy ehlaniprakxbdwyokhrngkartngthinthanksikrrm karrbrthkaraerngngan aelakarpraknkarihbrikarsukhphaphaelabanay xyangirktam noybayaelaokhrngkarehlanisungidrbkarxudhnuncak deficit spending odyepnokhrngkarkhnadihytang echnkarkxsrangokhrngkhayexaothbanephuxkratunesrsthkicaelaldkarwangngan 277 tkthxdaelawangaephndaeninkarmatngaetsatharnrthiwmarrahwangwarakhxngprathanathibdixnurksniymephal fxn hinedinbwrkh aelathukphwknasixangwaepnkhxngphwkekhaexnghlngcakkhunsuxanacaelw epahmaykhxnghitelxrthisakhyehnuxsingxunidkhuxkartidxawuthaelaesrimkalngihkbkxngthpheyxrmnephuxetriymphrxmsahrbsngkhramephuxekhayudkhrxngelebinseramthangthistawnxxkthicaekidkhun noybaykhxngchkhthidwangaephniwsahrbkarkhlngaebbkhaddul odyxxktwsyyaichenginiwichcaykbokhrngkarkhnadihychuxwa Mefo bills sungbristhtang samarthichinkarkhakhayrahwangknid twenginemofnimipraoychnepnsakhyinkarthaiheyxrmnisamarthtidxawuthihmidephraamnimichirchsmarkhaelacungimpraktxyuinngbpramanshphnth aelachwypidbngkartidxawuthihm hitelxrklawinchwngaerkkhxngkarxyuinxanacwa xnakhtkhxngeyxrmnikhunxyukbkarptisngkhrnaewrmkhthkhunmaihmethann pharkicxunthnghmdcatxngyxmthxyihkbpharkickhxngkartidxawuthihm noybaynithuknamaptibtiichinthnthi aelangbpramanraycaykhxngkxngthphotkhunsungkwakhxngokhrngkarsrangnganphakhphleruxnxyangrwderw ephiyngeduxnmithunayn kh s 1933 ngbpramanraycaykhxngkxngthphinpinnsungkwaraycayinmatrkarkarsrangnganphakhphleruxnthngkhxng kh s 1932 aela 1933 rwmknthungsametha nasieyxrmniephimraycaykhxngkxngthphiderwkwarthid rahwangchwngsngb odyraycaykhxngkxngthphephimkhuncakrxyla 1 epnrxyla 10 khxngrayidprachachatiphayinsxngpiaerkkhxngrabxbethann cnkrathngsungkhunehyiybrxyla 75 in kh s 1944 aemkxnethlingxanacnasicaichwathkrrmpranam big business aetphwkekhaekharwmepnphnthmitrkbthurkiceyxrmnxyangrwderwtngaeteduxnkumphaphnth kh s 1933 ineduxnnn hlngcakthihitelxridrbaetngtngkhunepnnaykrthmntri aetkxnthiekhacaidxanacephdckar ekharxngkhxphunaphakhthurkiceyxrmnepnkarswntwihchwyehluxdanenginthunkbphrrkhnasiineduxntx mathicaepnkarkhikhad ekhaihehtuphlwaphwkekhakhwrsnbsnunihekhacdtngephdckarihidephraa wisahkicexkchncaimsamarthdarngxyuidinyukhsmykhxngprachathipity aelaephraaprachathipitycanathangipsulththikhxmmiwnist tamthiekhaklawxang ekhasyyawacathalayshphaphaerngnganaelafaysayeyxrmn odyimklawthungnoybaytxtanyiwhruxkarphichitdinaedntangchati inspdahthdcaknnma phrrkhnasiidrbkarsnbsnuncakklumthurkictang kwasibecdklum odythikhnadihythisudmacakbristhekhmi IG Farben aelathnakhareyxrmn nkprawtisastrxdm thus ekhiynwaphunathurkiceyxrmncungepn hunswnknodyectnainkarthalaylangphhuniymthangkaremuxnginpraethseyxrmni ecakhxngaelaphucdkarkickareyxrmntang cungidrbxanacinkarkhwbkhumkalngaerngngankhxngtnxyangimekhymimakxnepnkaraelkepliyn collective bargaining thukykelikip aelakhacangthukaechaekhngiwthiradbtaphxsmkhwr kairkhxngthurkicetibotkhunxyangrwderw karlngthunkhxngbristhkechnkn nxkcaknn nasiyngidthayoxnthrphysinsatharnaaelabrikarsatharnaipepnkhxngexkchn aelaephimkarkhwbkhumesrsthkicodyrthphanraebiybkhxbngkhbtang ethann hitelxrechuxwakrrmsiththiswnbukhkhlmipraoychnephraawamnsngesrimihekidkaraekhngkhnthisrangsrrkhaelanwtkrrmthangethkhnikh aetyunynwamncatxngsxdkhlxngkbphlpraoychnkhxngpraethsaelakhwrmi phlitphaph aethnthicaepn prsit siththithrphysinswnbukhkhlnnmienguxnikhxyubnthankhxngladbkhwamsakhythangesrsthkicthiphunanasikahnd odyichkairthisungepnrangwlaedsthanprakxbkarthithatamphwkekha aelaichkaroxnepnkhxngrthephuxkhuekhyphuthiimthatam inesrsthsastraebbnasi karaekhngkhnodyesriaelatladthikakbduaeltnexngldkhwamsakhylngip aetkhwamechuxinthvsdidarwinthangsngkhmkhxnghitelxrthaihekhayngkhngekbkaraekhngkhnkhxngthurkicaelathrphysinswnbukhkhliwinthanakhxngekhruxngyntthangesrsthkic phwknasitxtanaenwkhidswsdikarsngkhm social welfare odyhlkkar aelayudaenwkhidaebbthvsdidarwinthangsngkhmaethnwaphuthixxnaexaelaxxndxykhwrdbsuyip phwkekhapranamrabbswsdikarkhxngsatharnrthiwmaraelakarkuslkhxngexkchn odyklawhawaepnkarchwyehluxphukhnthiphwkekhamxngwamiechuxchatithixxnaexaelatatxysungkhwrthukthxnrakthxnokhnthingphankrabwnkarkhdeluxkodythrrmchati xyangirktam emuxtxngephchiyhnakbkarwangnganaelakhwamyakcnxyangaephrhlaycakphawaesrsthkictktakhrngihy phwknasicaepntxngcdtngsthabnkarkuslmachwyehluxchaweyxrmnthimiechuxchatibrisuththiephuxrksathanesiyngsnbsnuncakprachachn aelainkhnaediywknxangwaniepnkaraesdngthung karchwyehluxtnexngthangechuxchati aelaimichkarkuslaebbimeluxkhnahruxrabbswsdikarsngkhmthwnhna okhrngkarnasixathi Winterhilfswerk aelaokhrngkar National Socialist People s Welfare NSV thikhrxbkhlumkwathukcdraebiybinrupsthabnkungexkchn odytamhlkkarcaphungphathunbricakhexkchncakchaweyxrmnephuxchwyehluxphuxunthimiechuxchatiediywkn aetinthangptibtiphuthiimyxmbricakhxacidphbkbphlrayaerngthicatamma rabb NSV tangcaksthabnswsdikarsngkhmsmysatharnrthiwmaraelaxngkhkrkarkuslkhrisetiyn odythicaihkhwamchwyehluxbnthankhxngechuxchatixyangchdecn khwamchwyehluxmiiwsahrbechphaaphuthi mikhwamsmburnthangechuxchati samarthaelaphrxmthangan echuxthuxidinthangkaremuxng kbphrxmaelasamarthsubphnthu swnphuthiimichchawxaryncathukykewn rwmthungphuthi khiekiycthangan imekhasngkhm aela ecbpwythangphnthukrrm mikhwamphyayamnaphuhyingchnchnklangekhathanganephuxsngkhminkarsnbsnunkhrxbkhrwkhnadihysungprasbkhwamsaerc aelaokhrngkarbrrethathukkhvduhnawmibthbathepnphithikrrmephuxphlitkhwamehnxkehniccaksatharnchn noybayksikrrmmikhwamsakhytxnasi ephraanxkcakepnkartxbsnxngtxesrsthkicaelw yngepnkartxbsnxngtxmonthsnthangphumisastrkaremuxngekiywkbelebinseramkhxngphwkekhaechnkn inkhwamkhidkhxnghitelxr karhathidinaelaphundinmaephimepnsingthicaepninkarkhunrupesrsthkiceyxrmni aelaephuxphukmdekstrkrkbthidinkhxngekha karsuxkhaythidinthaekstrthukham krrmsiththiirnayngkhngepnkhxngexkchn aetmikarmxbsiththiphukkhadthurkicihkbkhnakrrmkarkartladinkarkhwbkhumrakhaaelakarphlitdwyrabbokhwta Reichserbhofgesetz kh s 1933 idcdtngokhrngsrangklumphukkhadkhunphayitxngkhkrrthnamwa Reichsnahrstand RNST sungkahnd thukxyangtngaetemldphnthuaelapuythiihichcnthungwithikarsubthxdthidin hitelxrmxngwaesrsthkiceyxrmnepnekhruxngmuxthrngxanacepnhlk aelaechuxwaesrsthkicnnimidmiiwsrangkhwammngkhnghruxkhwamkawhnathangethkhnikhephuxphthnakhunphaphchiwitkhxngphlemuxngprachachati aetechuxwakhwamsaercthangesrsthkicnnepnsingsakhyinkarcdhapccyaelawsduphunthanthicaepninkarphichitdinaednthangthhar aemwaphthnakarthangesrsthkicxnepnphlcakokhrngkarchatisngkhmniymtang camibthbathinkarsnxngtxprachachneyxrmn aetnasiaelahitelxrodyechphaaimechuxwakaraekikhpyhathangesrsthkicephiyngxyangediywcaephiyngphxtxkarphlkdneyxrmnikhunepnmhaxanacinewthiolk phwknasicungphyayamphlikfunesrsthkicodythwipipphrxmkbkarichcaythangthharxyangmhasalephuxtidxawuthihm odyechphaaxyangyingphayhlngkarptibtiichaephnsipi sungrwbxanacpkkhrxngihkbphwkekhaaelakhwamsmphnthaebbsngkarthiehniywaennrahwangrthbalchatisngkhmniymkbxutsahkrrmxawutheyxrmn ngbpramanraycaykhxngkxngthphrahwang kh s 1933 aela 1939 sungthungaepdhmunsxngphnlanirchsmarkh aelanbepnsdswnrxyla 23 khxngphlphlitmwlrwmprachachatieyxrmni emuxphwknasiidekhluxnkhbwnprachachnaelaesrsthkickhxngphwkekhaekhathasngkhram kartxtanlththikhxmmiwnist ibpidokhsnachwnechuxtxtanyiwaelatxtankhxmmiwnistinnasieyxrmni phwknasixangwalththikhxmmiwnistepnxntraytxswsdiphaphkhxngchati ephraamnmiectnathicaykelikthrphysinswnbukhkhl snbsnunkartxsurahwangchnchn txtanchnchnklang mungraytxthurkickhnadelk aelaepnxethwniym rabxbnasiptiesthsngkhmniymthixyubnthankhxngkartxsurahwangchnchnaelathangesrsthkic economic egalitarianism aelaniymesrsthkicaebbmiladbchnthangsngkhmbnthankhxngkhunthrrmaelakhwamsamarthaethn thicarksathrphysinswnbukhkhliwaelasrrsrangkhwamsamkhkhisungkawkhamkhwamaebngaeykrahwangchnchn inimnkhmphf hitelxrklawthungkhwamprarthnakhxngekhathica thasngkhramtxhlkkarmaksistthiwamnusythngpwngnnethakn ekhaechuxwa khtieruxngkhwamethaethiymepnbapkrrmtxthrrmchati rabxbnasikhacun khwamimethaethiymknkhxngmnusy xathikhwamimethaethiymknrahwangechuxchatitang aelaphayinechuxchatiechnkn rthnasimungthicaphlkdnpceckchnthimikhwamsamarthaelakhwamchladepnphiessephuxihphwkekhapkkhrxngmwlchnid xudmkarnnasiphungphaaenwkhidxphichnniymaela hlkkarthanphuna ephuxxangwachnklumnxyxphisiththichnkhwrmihnathiepnphunaehnuxchnswnihy aelachnklumnxyxphisiththichnexngnnkhwrthukcdraebiybtam ladbchnkhxngkhwamsamarth odymiphunaaetephiynghnungediyw khuxfuxerxrthicudsudyxd hlkkarfuxerxrphrinthsiphklawwasmachikaetlakhnphayinladbchnhnungxyuinoxwathkhxngphuthixyuehnuxekhaodysmburn aelakhwrthuxxanacodysmburnehnuxphuthixyutakwaekha rahwangkhristthswrrs 1920 hitelxrhnunihnasiaetlaehlathimikhwamaetktangknhnmarwmkntxtanlththibxlechwikyiw hitelxrklawwa khwamchwsamprakar khxng lththimaksyiw prakxbdwyprachathipity sntiniym aela khbwnkarkhxmmiwnist shphaphaerngngan phrrkhsngkhmprachathipity aelasuxfaysaythnghmdthukmxngwathukphwkyiwkhwbkhumaelaepnswnhnungkhxng karsmkhbkhidkhxngyiwnanachati thicathaihcha