แอ็นสท์ ยูลีอุส กึนเทอร์ เริห์ม (เยอรมัน: Ernst Julius Günther Röhm) เป็นนายทหารเยอรมัน และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนาซี และเป็นผู้นำของชตวร์มอัพไทลุง (กองพันพายุ)
แอ็นสท์ เริห์ม Ernst Röhm | |
---|---|
เริห์มในปี ค.ศ. 1933 | |
เกิด | แอ็นสท์ ยูลีอุส กึนเทอร์ เริห์ม 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 มิวนิก จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 มิวนิก นาซีเยอรมนี | (46 ปี)
สัญชาติ | เยอรมัน |
อาชีพ | ผู้บัญชาการหน่วยชตวร์มอัพไทลุง (เอ็สอา) |
พรรคการเมือง | พรรคนาซี |
บิดามารดา | ยูลีอุสและเอมิเลีย เริห์ม |
ลายมือชื่อ | |
แอ็นสท์ เริห์ม เป็นนายทหารบกในกองทัพราชอาณาจักรบาวาเรีย และเคยผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับบาดเจ็บในหน้าที่สามครั้งจนได้รับกางเขนเหล็กชั้นที่หนึ่ง ต่อมาหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เริห์มในชั้นยศร้อยเอกก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังไรชส์แวร์ ซึ่งในปี 1919 เขาเข้าร่วมพรรคกรรมกรเยอรมัน (ซึ่งเป็นต้นกำเนิดพรรคนาซี) จนได้รู้จักกับสิบตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งเข้ามาสอดแนมพรรคกรรมกรเยอรมัน
ในช่วงแรก เริห์มกับฮิตเลอร์เป็นเพื่อนสนิทและพันธมิตรกัน เริห์มใช้เส้นสายทางทหารจัดตั้งกองกำลังกึ่งทหารที่ชื่อว่าชตวร์มอัพไทลุง (เอ็สอา) ต่อมาในปี 1923 เขามีส่วนร่วมในกบฏโรงเบียร์ ซึ่งจบลงบนความล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกพิพากษาว่ามีความผิดฐานกบฏต่อแผ่นดินและถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ทางด้านเริห์มได้รับการรอลงอาญา
ในปี 1924 ขณะที่ฮิตเลอร์ยังคงอยู่ในเรือนจำ เริห์มได้เป็นสมาชิกไรชส์ทาคสังกัดพรรคนาซีเป็นเวลาครึ่งปี ในช่วงนี้ เริห์มมีความคิดไม่ลงรอยกับฮิตเลอร์และลูเดินดอร์ฟ ในประเด็นเส้นทางอนาคตของพรรค เขาจึงลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรค ต่อมาในปี 1928 เริห์มเดินทางไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประจำกองทัพโบลิเวีย และได้รับยศพลโท
ในปี 1930 เริห์มได้รับการติดต่อจากฮิตเลอร์ ซึ่งเชิญเขากลับเยอรมนีเพื่อรับตำแหน่งเป็นเสนาธิการเอ็สอา ต่อมาในปี 1934 ฮิตเลอร์เห็นว่าเขาเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพและน่ากลัวจนหวาดระแวงว่าจะโค่มล้มอำนาจของตน จึงชิงกำจัดเขาในช่วงคืนแห่งมีดยาว โดยออกประกาศกล่าวหาว่าเริห์มรับเงินจากรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อโค่นล้มฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์ลังเลในการลงนามให้ประหารชีวิตเริห์ม ท้ายที่สุดเขาตัดสินใจให้เริห์มฆ่าตัวตาย จึงส่งนายพลเอ็สเอ็สชื่อว่าไอค์เคอกับลิพแพร์ท ไปหาเริห์มที่ห้องขังและโยนปืนพกให้เริห์ม เริห์มกล่าวว่าถ้าจะฆ่าเขาก็ให้ฮิตเลอร์เป็นคนฆ่า และยืนถอดเสื้อเบ่งอกท้าทาย นายพลเอ็สเอ็สจึงยิงเริห์มตายในห้องขัง
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แอ็นสท์ เริห์ม
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ แอ็นสท์ เริห์ม
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aexnsth yulixus kunethxr erihm eyxrmn Ernst Julius Gunther Rohm epnnaythhareyxrmn aelasmachikphurwmkxtngphrrkhnasi aelaepnphunakhxngchtwrmxphithlung kxngphnphayu aexnsth erihm Ernst Rohmerihminpi kh s 1933ekidaexnsth yulixus kunethxr erihm 28 phvscikayn kh s 1887 1887 11 28 miwnik ckrwrrdieyxrmnesiychiwit1 krkdakhm kh s 1934 1934 07 01 46 pi miwnik nasieyxrmnisychatieyxrmnxachiphphubychakarhnwychtwrmxphithlung exsxa phrrkhkaremuxngphrrkhnasibidamardayulixusaelaexmieliy erihmlaymuxchux aexnsth erihm epnnaythharbkinkxngthphrachxanackrbawaeriy aelaekhyphansngkhramolkkhrngthihnung ekhaidrbbadecbinhnathisamkhrngcnidrbkangekhnehlkchnthihnung txmahlngsinsudsngkhramolkkhrngthihnung erihminchnysrxyexkkyngkhngptibtihnathiinkxngkalngirchsaewr sunginpi 1919 ekhaekharwmphrrkhkrrmkreyxrmn sungepntnkaenidphrrkhnasi cnidruckkbsibtrixdxlf hitelxr sungekhamasxdaenmphrrkhkrrmkreyxrmn inchwngaerk erihmkbhitelxrepnephuxnsnithaelaphnthmitrkn erihmichesnsaythangthharcdtngkxngkalngkungthharthichuxwachtwrmxphithlung exsxa txmainpi 1923 ekhamiswnrwminkbtorngebiyr sungcblngbnkhwamlmehlw hitelxrthukphiphaksawamikhwamphidthankbttxaephndinaelathuksngtwekhaeruxnca thangdanerihmidrbkarrxlngxaya inpi 1924 khnathihitelxryngkhngxyuineruxnca erihmidepnsmachikirchsthakhsngkdphrrkhnasiepnewlakhrungpi inchwngni erihmmikhwamkhidimlngrxykbhitelxraelaluedindxrf inpraednesnthangxnakhtkhxngphrrkh ekhacunglaxxkcakthuktaaehnnginphrrkh txmainpi 1928 erihmedinthangipepnphuthrngkhunwuthipracakxngthphobliewiy aelaidrbysphloth inpi 1930 erihmidrbkartidtxcakhitelxr sungechiyekhaklbeyxrmniephuxrbtaaehnngepnesnathikarexsxa txmainpi 1934 hitelxrehnwaekhaepnkhuaekhngthimiskyphaphaelanaklwcnhwadraaewngwacaokhmlmxanackhxngtn cungchingkacdekhainchwngkhunaehngmidyaw odyxxkprakasklawhawaerihmrbengincakrthbalfrngessephuxokhnlmhitelxr hitelxrlngelinkarlngnamihpraharchiwiterihm thaythisudekhatdsiniciherihmkhatwtay cungsngnayphlexsexschuxwaixkhekhxkbliphaephrth iphaerihmthihxngkhngaelaoynpunphkiherihm erihmklawwathacakhaekhakihhitelxrepnkhnkha aelayunthxdesuxebngxkthathay nayphlexsexscungyingerihmtayinhxngkhngaehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb aexnsth erihm wikikhakhm mikhakhmthiklawody hruxekiywkb aexnsth erihm