ฝ่ายอักษะ (อังกฤษ: Axis Powers; เยอรมัน: Achsenmächte; อิตาลี: Potenze dell'Asse; ญี่ปุ่น: 枢軸国 Sūjikukoku) เดิมมีชื่อว่า อักษะ โรม–เบอร์ลิน (Rome–Berlin Axis) เป็นพันธมิตรทางทหารที่ริเริ่มสงครามโลกครั้งที่สองและสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตร สมาชิกหลักคือ นาซีเยอรมนี ราชอาณาจักรอิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ฝ่ายอักษะเป็นการร่วมมือกันเพื่อต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร แต่กลับขาดการประสานงานและความสอดคล้องทางอุดมการณ์ที่พอเทียบกันได้
ฝ่ายอักษะ | |
---|---|
ค.ศ. 1936–1945 | |
ฝ่ายอักษะหลัก | |
สถานะ | |
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1936 | |
22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 | |
27 กันยายน ค.ศ. 1940 | |
• (พ่ายแพ้) | 2 กันยายน ค.ศ. 1945 |
เชิงอรรถ
|
| ||
ผู้นำรองฝ่ายอักษะ: (ฮังการี), (บัลแกเรีย), เอียน อันโตเนสคู (โรมาเนีย), จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (ไทย), (ฟินแลนด์) และ (อิรัก) |
ฝ่ายอักษะเติบโตจากความพยายามทางการทูตอย่างต่อเนื่องของเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองโดยเฉพาะในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 ขั้นตอนแรกคือ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 ภายหลังจากผู้นำอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้ประกาศว่า ประเทศอื่น ๆ ในยุโรปทั้งหมดจะถูกหมุนเวียนกันบนอักษะ โรม-เบอร์ลิน ดังนั้นจึงสร้างคำว่า "อักษะ" ขึ้นมา ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนได้แสดงให้เห็นถึงการให้สัตยาบันต่อกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งเป็นสนธิสัญญาต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่น อิตาลีได้เข้าร่วมกติสัญญาใน ค.ศ. 1937 ตามมาด้วยฮังการีและสเปนใน ค.ศ. 1939 "อักษะ โรม-เบอร์ลิน" กลายเป็นพันธมิตรทางทหารใน ค.ศ. 1939 ภายใต้สิ่งที่เรียกกันว่า "กติกาสัญญาเหล็ก" พร้อมด้วยกติกาสัญญาไตรภาคี ค.ศ. 1940 ได้รวมเป้าหมายทางการทหารของเยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ที่ตามมาในภายหลัง กติกาสัญญาทั้งสามถือเป็นรากฐานของพันธมิตรฝ่ายอักษะ
ณ จุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะมีอำนาจเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป แอฟริกาเหนือ เอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะด้วยการยึดครอง การผนวกรวม หรือรัฐหุ่นเชิด ในทางตรงกันข้ามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ไม่มีการจัดงานประชุมสุดยอดสามทาง และความร่วมมือและประสานงานนั้นมีน้อย ในบางโอกาส ผลประโยชน์ของฝ่ายอักษะที่สำคัญยังคงแตกต่างกันอีกด้วย สงครามได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 ด้วยความปราชัยของฝ่ายอักษะและการล่มสลายของพันธมิตรของพวกเขา ในกรณีของพันธมิตร สมาชิกในฝ่ายอักษะนั้นสามารถที่จะแปรเปลี่ยนได้โดยง่าย โดยบางประเทศได้ทำการเปลี่ยนข้างฝ่ายหรือเปลี่ยนระดับของการมีส่วนร่วมทางทหารตลอดในช่วงสงคราม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป การใช้คำว่า "ฝ่ายอักษะ" จะกล่าวถึงพันธมิตรระหว่างอิตาลีและเยอรมนีเป็นหลัก แม้ว่าภายนอกยุโรปจะเข้าใจโดยทั่วไปว่าได้รวมถึงญี่ปุ่นด้วย
จุดกำเนิดและการสร้าง
คำว่า "อักษะ" ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกถึงความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและเยอรมนีโดยนายกรัฐมนตรีอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1923 เมื่อเขาได้เขียนบทนำของ Germania Repubblica ของ Roberto Suster ว่า "ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในขณะนี้ แกนกลาง(อักษะ)ของยุโรปกำลังเคลื่อนผ่านทางกรุงเบอร์ลิน" (อิตาลี: non v'ha dubbio che in questo momento l'asse della storia europea passa per Berlino) ในช่วงเวลานั้น เขากำลังหาพันธมิตรกับสาธารณรัฐไวมาร์เพื่อต่อต้านยูโกสลาเวียและฝรั่งเศลในข้อพิพาทเรื่อง
คำนี้ถูกใช้โดยนายกรัฐมนตรีฮังการี เมื่อให้การสนับสนุนในการเป็นพันธมิตรระหว่างฮังการีกับเยอรมนีและอิตาลีในช่วงต้น ค.ศ. 1930 ความพยายามของเกิมเบิสส่งผลทำให้เกิดพิธีตราสารโรมระหว่างอิตาลี-ฮังการี แต่เขากลับเสียชีวิตอย่างกระทันหันใน ค.ศ. 1936 ในขณะที่กำลังเจรจากับเยอรมนีในมิวนิค และการมาถึงของ Kálmán Darányi ผู้สืบทอดตำแน่งต่อจากเขา ได้ยุติการมีส่วนร่วมของฮังการีในการติดตามไตรภาคีฝ่ายอักษะ การเจราจาที่ดูขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี กาลีซโซ ชิอาโน และเอกอัครราชทูตของเยอรมนี Ulrich von Hassell ส่งผลก่อให้เกิดพิธีตราสารสิบเก้าจุด(Nineteen-Point Protocol) ซึ่งถูกลงนามโดยชิอาโนและชาวเยอรมันผู้ที่มีความคล้ายกันกับเขา ค็อนสตันทีน ฟ็อน น็อยราท ใน ค.ศ. 1936 เมื่อมุสโสลินีได้ประกาศเปิดเผยถึงการลงนามต่อสาธารณชน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน เขาได้ประกาศก่อตั้งอักษะ โรม-เบอร์ลิน ขึ้นมา
ข้อเสนอเบื้องต้นของพันธมิตรระหว่างเยอรมนี-อิตาลี
อิตาลีภายใต้ เบนิโต มุสโสลินีได้ติดตามพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของอิตาลีกับเยอรมนีต่อต้านฝรั่งเศสนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 ก่อนที่จะกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลในอิตาลีในฐานะผู้นำขบวนการฟาสซิสต์อิตาลี มุสโสลินีเคยสนับสนุนการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีที่เป็นผู้แพ้สงคราม ภายหลังจากการประชุมสันติภาพปารีส (ค.ศ. 1919–1920) จุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาเชื่อว่าอิตาลีสามารถขยายอิทธิพลได้ในยุโรปโดยการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ในช่วงแรกของ ค.ศ. 1923 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงสันถวไมตรีที่ดีต่อเยอรมนี อิตาลีได้ส่งอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพบกเยอรมัน ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับการลดอาวุธครั้งใหญ่ภายใต้บทบัญญัติของสนธิสัญญาแวร์ซาย
นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1920 อิตาลีได้ระบุว่า ใน ค.ศ. 1935 เป็นวันสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำสงครามฝรั่งเศส เนื่องจากปี ค.ศ. 1935 เป็นปีที่พันธกรณีของเยอรมนีภายใต้สนธิสัญญาแวร์ซายได้ถูกกำหนดให้สิ้นสุดลง การประชุมเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1924 ระหว่างนายพล Luigi Capello และบุคคลสำคัญในกองทัพเยอรมัน เช่น von Seeckt และเอริช ลูเดินดอร์ฟ เกี่ยวกับความร่วมมือทางทหารระหว่างเยอรมนีและอิตาลี บทสนทนาได้ข้อสรุปว่า เยอรมันยังคงต้องการทำสงครามล้างแค้นกับฝรั่งเศส แต่ยังขาดอาวุธและหวังว่าอิตาลีจะช่วยเหลือเยอรมนีได้
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้เน้นย้ำเงื่อนไขที่สำคัญประการหนึ่งที่อิตาลีจะติดตามในการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี: อิตาลี "จะต้อง...ลากจูงพวกเขา ไม่ใช่ถูกพวกเขาลากจูง" Dino Grandi รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลีในช่วงแรกปี ค.ศ. 1930 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ "น้ำหนักชี้ขาด" ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของอิตาลีระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งเขาได้รับรู้ว่าอิตาลียังไม่ได้เป็นมหาอำนาจ แต่รับรู้ว่าอิตาลีมีอิทธิพลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรปโดยวางน้ำหนักของการสนับสนุนไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสามฝ่าย
พันธมิตรแม่น้ำดานูบ ข้อพิพาทเหนือออสเตรีย
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้สนับสนุนการเป็นพันธมิตรระหว่างเยอรมนีและอิตาลีนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 ภายหลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีได้ไม่นาน ฮิตเลอร์ได้ส่งข้อความส่วนตัวไปยังมุสโสลินี ประกาศถึง "ความชื่นชมยินดีและการแสดงความเคารพ" และประกาศความคาดหมายของเขาเกี่ยวกับโอกาสของมิตรภาพระหว่างเยอรมันและอิตาลีและแม้แต่กระทั่งเป็นพันธมิตร ฮิตเลอร์ทราบดีว่าอิตาลีมีความกังวลเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์ในที่ดินของเยอรมนีที่อาจจะเกิดขึ้นในทีโรลทางตอนใต้ และให้การรับรองกับมุสโสลินีว่า เยอรมนีไม่สนใจเมืองทีโรลทางตอนใต้ ฮิตเลอร์ในหนังสือไมน์คัมพฟ์ได้ประกาศว่า ทีโรลทางตอนใต้ไม่ใช่ประเด็นเมื่อพิจารณาถึงข้อได้เปรียบที่จะได้รับจากพันธมิตรระหว่างเยอรมนี-อิตาลี ภายหลังจากการก้าวขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ข้อเสนอของคณะกรรมการมหาอำนาจทั้งสี่ที่ถูกเสนอโดยอิตาลีได้รับการพิจารณาด้วยความสนใจจากบริติช แต่ฮิตเลอร์ไม่ได้ให้คำมั่นในข้อเสนอนี้ ส่งผลทำให้มุสโสลินีกระตุ้นเร่งเร้าให้ฮิตเลอร์พิจารณาถึงข้อได้เปรียบทางการทูตที่เยอรมนีจะได้รับโดยการแยกตัวออกจากความโดดเดี่ยวโดยการเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางอาวุธทันที ข้อเสนอของคณะกรรมการมหาอำนาจทั้งสี่ได้ระบุว่าเยอรมนีไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดอาวุธอีกต่อไป และจะได้รับสิทธิ์ในการฟื้นฟูแสนยานุภาพภายใต้การควบคุมดูแลของต่างชาติเป็นระยะ ๆ ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธแนวคิดของการควบคุมแสนยานุภาพภายใต้การควบคุมดูแลของต่างชาติอย่างสิ้นเชิง
มุสโสลินีไม่ไว้วางใจต่อเจตจำนงของฮิตเลอร์เกี่ยวกับอันชลุส หรือไม่ก็คำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ที่จะไม่อ้างสิทธิ์ในดินแดนทีโรลทางตอนใต้ มุสโสลินีได้แจ้งแก่ฮิตเลอร์ว่าเขาพึงพอใจต่อการมีอยู่ของรัฐบาลต่อต้านมาร์กซิสต์ของด็อลฟูสในออสเตรีย และเตือนฮิตเลอร์ว่า เขายืนกรานที่จะต่อต้านอันชลุส ฮิตเลอร์ได้ตอบโต้ด้วยการดูถูกมุสโสลินีว่า เขามีความตั้งใจ"ที่จะโยนด็อลฟูสลงไปในทะเล" ด้วยความไม่เห็นด้วยในเรื่องเกี่ยวกับออสเตรียนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างฮิตเลอร์และมุสโสลินีจึงห่างไกลออกไปมากขึ้น
ฮิตเลอร์ได้พยายามที่จะทำลายหนทางตันกับอิตาลีเหนือออสเตรียโดยส่งแฮร์มัน เกอริงไปเจรจากับมุสโสลินีใน ค.ศ. 1933 เพื่อเกลี้ยกล่อมมุสโสลินีให้ทำการกดดันรัฐบาลออสเตรียให้แต่งตั้งสมาชิกพรรคนาซีในออสเตรียเข้าสู่รัฐบาล เกอริงอ้างว่าการครอบงำออสเตรียของนาซีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และอิตาลีควรที่จะยอมรับเรื่องนี้ เช่นเดียวกับการทบทวนมุสโสลินีต่อคำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ว่า "จะพิจารณาปัญหาเรื่องชายแดนทีโรลทางตอนใต้ที่จะถูกยุติลงในที่สุดโดยสนธิสัญญาสันติภาพ" ในการตอบสนองต่อการเข้าพบของเกอริ่งกับมุสโสลินี ด็อลฟูสจึงเดินทางไปยังอิตาลีโดยทันทีเพื่อตอบโต้ความคืบหน้าแต่อย่างใดจากทางการทูตของเยอรมนี ด็อลฟูสได้กล่าวอ้างว่ารัฐบาลของเขากำลังถูกมาร์กซิสต์ท้าทายในออสเตรีย และอ้างว่าเมื่อมาร์กซิสต์ได้รับชัยชนะในออสเตรีย การสนับสนุนออสเตรียของนาซีจะอ่อนกำลังลง
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1934 ฮิตเลอร์และมุสโสลินีได้พบกันครั้งแรกที่เวนิส การประชุมไม่เป็นไปอย่างราบรื่น ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้มุสโสลินีทำการประนีประนอมกับออสเตรียโดยทำการกดดันด็อลฟูสแต่งตั้งให้สมาชิกพรรคนาซีในออสเตรียเข้าไปในคณะรัฐมนตรีของเขา ซึ่งมุสโสลินีได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องอย่างตรงไปตรงมา ในการตอบโต้ ฮิตเลอร์ได้ให้สัญญาว่าเขาจะยอมรับเอกราชของออสเตรียในขณะนี้ โดยกล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดภายในเยอรมนี (ซึ่งหมายถึงหน่วยเอ็สอาของนาซีที่ฮิตเลอร์จะทำการสังหารในไม่ช้าในคืนมีดยาว) ที่เยอรมนีไม่อาจที่จะทำการยั่วยุอิตาลีได้กาลีซโซ ชิอาโนได้บอกกับสื่อมวลชนว่า ผู้นำทั้งสองได้ทำ"ข้อตกลงสุภาพบุรุษ"เพื่อหลีกเลี่ยงการแทรกแซงในออสเตรีย
หลายสัปดาห์ต่อมาภายหลังการประชุมที่เวนิส เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 นาซีชาวออสเตรียได้ทำการลอบสังหารด็อลฟูส มุสโสลินีรู้สึกโกรธเคือง ในขณะที่เขาถือว่า ฮิตเลอร์มีส่วนต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการลอบสังหารที่ได้ละเมิดคำมั่นสัญญาของฮิตเลอร์ที่ถูกทำขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนเพื่อเคารพความเป็นเอกราชของออสเตรีย มุสโสลินีได้ส่งกองพลกองทัพบกหลายกองพลและฝูงบินไปยังช่องเขาเบรนเนอร์ และเตือนว่าการที่เยอรมนีโจมตีออสเตรียจะส่งผลทำให้เกิดสงครามระหว่างเยอรมนีและอิตาลี ฮิตเลอร์ได้ตอบโต้ด้วยการปฏิเสธความรับผิดชอบของนาซีในการลอบสังหารและออกคำสั่งให้ยุบความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างพรรคนาซีเยอรมันและพรรคนาซีสาขาออสเตรีย ซึ่งเยอรมนีได้กล่าวอ้างว่าเป็นความรับผิดชอบต่อวิกฤตการณ์ทางการเมือง
อิตาลีได้ละทิ้งความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ได้หันเข้าหาฝรั่งเศสเพื่อเป็นการท้าทายต่อการดื้อแพ่งของเยอรมนีด้วยการลงนามในข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-อิตาลีเพื่อปกป้องเอกราชของออสเตรีย เสนาธิการทหารจากกองทัพฝรั่งเศสและอิตาลีได้หารือถึงความร่วมมือทางทหารที่เป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสงครามกับเยอรมนี หากฮิตเลอร์กล้าที่จะโจมตีออสเตรีย
ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและอิตาลีได้รับการฟื้นฟู เนื่องจากการสนับสนุนของฮิตเลอร์ในการรุกรานเอธิโอเปียของอิตาลีใน ค.ศ. 1935 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้ประณามการรุกรานและให้การสนับสนุนการคว่ำบาตรต่ออิตาลี
การพัฒนาของพันธมิตรระหว่างเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น
ความสนใจในเยอรมนีและญี่ปุ่นในการจัดตั้งพันธมิตรได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อนักการทูตชาวญี่ปุ่นนามว่า ได้เข้าพบกับโยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพในเบอร์ลินใน ค.ศ. 1935 โอชิมะได้แจ้งแก่ฟ็อน ริบเบินทร็อพเกี่ยวกับความสนใจของญี่ปุ่นในการจัดตั้งพันธมิตรระหว่างเยอรมัน-ญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต ฟ็อน ริบเบินทร็อพได้ขยายข้อเสนอของโอชิมะโดยสนับสนุนให้พันธมิตรอยู่ในบริบททางการเมืองของกติกาสัญญาเพื่อต่อต้านโคมินเทิร์น ข้อเสนอในกติกาสัญญาได้พบกับความคิดเห็นที่หลากหลายในญี่ปุ่น โดยมีกลุ่มผู้คลั่งชาติภายในรัฐบาลที่สนับสนุนกติกาสัญญาฉบับนี้ ในขณะที่กองทัพเรือญี่ปุ่นและกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นต่างไม่เห็นด้วยกับกติกาสัญญาฉบับนี้อย่างแข็งขัน มีความกังวลอย่างมากในรัฐบาลญี่ปุ่นว่ากติกาสัญญาฉบับนี้กับเยอรมนีอาจจะทำลายความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับบริติช ซึ่งเป็นปีที่อันตรายของข้อตกลงระหว่างบริติช-ญี่ปุ่นเป็นประโยชน์ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นสามารถก้าวขึ้นสู่ประชาคมระหว่างประเทศได้ช่วงแรก การตอบสนองต่อกติกาสัญญาได้พบกับหมวดที่คล้ายกันในเยอรมนี ในขณะที่ข้อเสนอในกติกาสัญญาได้รับความนิยมในท่ามกลางผู้นำระดับสูงของพรรคนาซี ถูกต่อต้านโดยคนจำนวนมากในกระทรวงต่างประเทศ กองทัพบก และชุมชนธุรกิจที่มีผลประโยชน์ทางการเงินในจีนซึ่งญี่ปุ่นเป็นศัตรู
ในการเรียนรู้ชองการเจรจาระหว่างเยอรมัน-ญี่ปุ่น อิตาลีก็เริ่มที่จะสนใจที่จะก่อตั้งพันธมิตรกับญี่ปุ่น อิตาลีคาดหวังว่า เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในระยะยาวของญี่ปุ่นกับบริติช พันธมิตรระหว่างอิตาลีและญี่ปุ่นสามารถกดดันให้บริติชยอมรับท่าทีที่เอื้ออำนวยต่ออิตาลีในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้มากขึ้น ในฤดูร้อน ค.ศ. 1936 รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลี ชิอาโนได้แจ้งแก่ซูกิมูระ โยตาโระ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำอิตาลี "ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าข้อตกลงญี่ปุ่น-เยอรมันเกี่ยวกับสหภาพโซเวียตได้บรรลุผลแล้ว และข้าพเจ้าคิดว่าคงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันระหว่างอิตาลีและญี่ปุ่น" ทัศนคติของญี่ปุ่นในช่วงแรกต่อข้อเสนอของอิตาลีนั้นมักจะมองข้าม โดยมองว่าพันธมิตรระหว่างเยอรมันและญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียตเป็นสิ่งจำเป็น ในขณะที่พันธมิตรระหว่างอิตาลี-ญี่ปุ่นเป็นเรืองรอง เนื่องจากญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าพันธมิตรระหว่างอิตาลี-ญี่ปุ่นจะทำให้เป็นปรปักษ์กับบริติชที่ประณามการรุกรานเอธิโอเปียของอิตาลี ทัศนคตินี้ของญี่ปุ่นที่มีต่ออิตาลีได้เปลี่ยนแปลงไปใน ค.ศ. 1937 ภายหลังสันนิบาตชาติได้กล่าวประณามญี่ปุ่น เนื่องจากได้ทำการรุกรานในจีนและเผชิญกับการแยกตัวออกจากนานาชาติ ในขณะที่อิตาลียังคงชื่นขมต่อญี่ปุ่นอยู่ อันเป็นผลทำให้การสนับสนุนของอิตาลีสำหรับญี่ปุ่นในการต้านทานการประณามจากนานาชาติ ญี่ปุ่นจึงทัศนคติเชิงบวกต่ออิตาลีมากขึ้นและได้ให้ข้อเสนอในการทำข้อตกลงไม่รุกรานระหว่างกันหรือกติกาสัญญาวางตัวเป็นกลางกับอิตาลี
กติกาสัญญาไตรภาคีได้ถูกลงนามโดยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1940 ในกรุงเบอร์ลิน โดยฮังการี (20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) โรมาเนีย (23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) สโลวาเกีย (24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940) และบัลแกเรีย (1 มีนาคม ค.ศ. 1941) ได้เข้าร่วมกติกาสัญญาดังกล่าวในภายหลัง
อุดมการณ์
เป้าหมายหลักของฝ่ายอักษะคือการขยายอาณาเขตของตนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ในแง่ของอุดมการณ์ ฝ่ายอักษะได้บรรยายถึงเป้าหมายของพวกเขาว่าเป็นการทำลายอำนาจครอบงำของมหาอำนาจตะวันตกที่ยึดถืออุดมการณ์ระบอบเศรษฐยาธิปไตย และปกป้องอารยธรรมจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ฝ่ายอักษะให้การสนับสนุนรูปแบบต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสต์ และ การสร้างจักรวรรดิลัทธิการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจที่อยู่ติดกันในอาณาเขตเป็นเป้าหมายร่วมกันของทั้งสามประเทศของฝ่ายอักษะ
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
ประชากรฝ่ายอักษะใน ค.ศ. 1938 มีจำนวน 258.9 ล้านคน ในขณะที่ประชากรฝ่ายสัมพันธมิตร (ยกเว้นสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ซึ่งภายหลังได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร) มีจำนวน 689.7 ล้านคน ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรมีจำนวนมากกว่าฝ่ายอักษะ 2.7 ต่อ 1 รัฐฝ่ายอักษะที่เป็นผู้นำมีจำนวนประชากรในประเทศดังต่อไปนี้: เยอรมนี 75.5 ล้านคน (รวมทั้งจำนวน 6.8 ล้านคนจากการผนวกรวมออสเตรียเข้าด้วยกันได้ไม่นานมานี้) ญี่ปุ่น 71.9 ล้านคน (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) และอิตาลี 43.4 ล้านคน (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) สหราชอาณาจักร(ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) มีจำนวนประชากร 47.5 ล้านคน และฝรั่งเศส (ยกเว้นดินแดนอาณานิคม) มีจำนวน 42 ล้านคน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในช่วงสงครามของฝ่ายอักษะ ราคาอยู่ที่ 911 พันล้านดอลลาร์ ณ จุดสูงสุดใน ค.ศ. 1941 ในราคาสกุลเงินดอลลาร์ระดับสากลใน ค.ศ. 1990 จีดีพีของฝ่ายสัมพันธมิตร ราคาอยู่ที่ 1,798 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริการาคาตั้งอยู่ที่ 1,094 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าฝ่ายอักษะโดยรวม
ภาระของการทำสงครามกับประเทศที่เข้าร่วมวัดจากเปอร์เซ็นของ (GNP) ที่อุทิศให้กับการใช้จ่ายทางทหาร เกือบหนึ่งในสี่ของ GNP ของเยอรมนีได้ถูกนำไปใช้ในการทำสงครามใน ค.ศ. 1939 และเพิ่มขึ้นเป็นสามในสี่ของ GNP ใน ค.ศ. 1944 ก่อนช่วงการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ใน ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นได้ใช้ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของ GNP ในการทำสงครามในจีน ได้เพิ่มขึ้นเป็นสามในสี่ของ GNP ใน ค.ศ. 1944 อิตาลีไม่ได้ระดมกำลังทางเศรษฐกิจ GNP ที่ถูกนำไปใช้ในการทำสงครามยังคงอยู่ที่ระดับช่วงก่อนสงคราม
อิตาลีและญี่ปุ่นขาดความสามารุถทางอุตสาหกรรม เศรษฐกิจของพวกเขามีขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับการค้าระหว่างประเทศ แหล่งเชื้อเพลิงจากภายนอก และทรัพยากรอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นผลทำให้การระดมพลกำลังของอิตาลีและญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าจะอยู่ใน ค.ศ. 1943 ก็ตาม
ท่ามกลางสามประเทศหลักของฝ่ายอักษะ ญี่ปุ่นมีรายได้ต่อหัวที่ต่ำที่สุด ในขณะที่เยอรมนีและอิตาลีมีรายได้ระดับที่เทียบเท่ากับสหราชอาณาจักร
ประเทศสมาชิกหลัก
เหตุผลในการทำสงคราม
ในปี ค.ศ. 1941 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้บรรยายถึงการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองว่าเป็นข้อผิดพลาดของการแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตกต่อเยอรมนีในช่วงที่ได้ทำสงครามกับโปแลนด์ โดยอธิบายว่าเป็นผลของ"ชาวยุโรปและอเมริกันผู้กระหายสงคราม" ฮิตเลอร์ได้ออกแบบให้เยอรมนีกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจครอบงำและมีความสำคัญของโลก เช่น เจตจำนงของเขาที่จะทำให้กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีกลายเป็น Welthauptstadt (เมืองหลวงโลก) เปลี่ยนชื่อเป็น รัฐบาลเยอรมันยังได้แสดงเหตุผลในการกระทำของตนโดยอ้างว่า เยอรมนีจำเป็นต้องขยายอาณาเขตอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกำลังเผชิญกับวิกฤตประชากรล้นเกินที่ฮิตเลอร์ได้อธิบายว่า "เรามีประชากรมากเกินไปและไม่สามารถเลี้ยงตนเองจากทรัพยากรของเราเองได้" ดังนั้นการขยายตัวจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการจัดหาเลเบินส์เราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") สำหรับประเทศชาติเยอรมันและยุติการมีประชากรมากเกินไปของประเทศภายในอาณาเขตจำกัดที่มีอยู่ และจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 พรรคนาซีได้เผยแพร่ต่อสาธารณชนในการขยายเยอรมนีไปสู่ดินแดนที่สหภาพโซเวียตถือครอง
เยอรมนีได้ให้เหตุผลในการทำสงครามกับโปแลนด์ในประเด็นเรื่องของชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันภายในโปแลนด์ และโปแลนด์คัดค้านในการผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิชที่มีชนกลุ่มใหญ่ชาวเยอรมันส่วนใหญ่เข้ากับเยอรมนี ในขณะที่ฮิตเลอร์และพรรคนาซีก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจได้พูดคุยกันอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการทำลายโปแลนด์และเป็นศัตรูกับโปแลนด์ ภายหลังจากได้ขึ้นสู่อำนาจจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้พยายามปกปิดเจตนาที่แท้จริงของเขาที่มีต่อโปแลนด์ และลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันเป็นเวลา 10 ปีใน ค.ศ. 1934 ได้เปิดเผยแผนการของเขาให้เห็นได้แค่เฉพาะเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดที่สุดเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและโปแลนด์ได้เปลี่ยนไปตั้งแต่ต้นถึงปลาย ค.ศ. 1930 ในขณะที่เยอรมนีพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์กับโปแลนด์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่โปแลนด์จะเข้าสู่เขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต และเรียกร้องความรู้สึกต่อต้านโซเวียตในโปแลนด์ ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียตกำลังแข่งขันกับเยอรมนีเพื่อแย่งชิงอำนาจอิทธิพลในโปแลนด์ ในเวลาเดียวกัน เยอรมนีกำลังเตรียมทำสงครามกับโปแลนด์ และกำลังเตรียมชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันในโปแลนด์อย่างลับ ๆ เพื่อทำสงคราม
ภายหลังจากฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้ผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิชเข้ากับเยอรมนี ซึ่งนำโดยรัฐบาลนาซีต้องการที่จะผนวกเข้ากับเยอรมนี เยอรมนีได้ใช้แบบอย่างทางกฎหมายเพื่อแสดงเหตุผลในการแทรกแซงโปแลนด์และการผนวกรวมเสรีนครดันท์ซิช (นำโดยรัฐบาลนาซีท้องถิ่นที่พยายามรวมตัวเข้ากับเยอรมนี) ใน ค.ศ. 1939 โปแลนด์ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของเยอรมนี และเยอรมนีได้เตรียมระดมพลในเช้าวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940
เยอรมนีได้ให้เหตุผลในการบุกครองกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 โดยกล่าวอ้างว่าตนเองกำลังสงสัยที่บริติชและฝรั่งเศสกำลังเตรียมที่จะใช้กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเพื่อที่จะบุกรุกภูมิภาครัวร์ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมของเยอรมนี เมื่อเกิดสงครามระหว่างเยอรมนีกับบริติชและฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ประกาศว่าเนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมจะต้องถูกยึดครอง โดยกล่าวว่า "ฐานทัพอากาศยานของดัตซ์และเบลเยียมจะต้องถูกยึด....คำประกาศวางตัวเป็นกลางจะต้องถูกละเลย" ในการประชุมร่วมกับผู้นำทางทหารของเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ฮิตเลอร์ได้ประกาศกับผู้นำทหารว่า "เรามีจุดอ่อนที่รัวร์" และกล่าวว่า "หากอังกฤษและฝรั่งเศสผลักดันผ่านทางเบลเยียมและฮอลแลนด์เข้าสู่รัวร์ เราจะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง" จึงกล่าวอ้างว่า เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ต้องถูกเยอรมนียึดครอง เพื่อปกป้องเยอรมนีจากการรุกรานของบริติชและฝรั่งเศสต่อรัวร์ โดยไม่คำนึงถึงคำกล่าวอ้างของพวกเขาว่าได้วางตัวเป็นกลาง
การรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมนีใน ค.ศ. 1941 เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเลเบินส์เราม์ การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต ภายหลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 ท่าทีของระบอบนาซีที่มีต่อรัสเซียที่ดินแดนกำลังลดน้อยลงและเป็นอิสระได้รับผลกระทบจากแรงกดดันที่เริ่มต้นขึ้นใน ค.ศ. 1942 จากกองทัพเยอรมันต่อฮิตเลอร์เพื่อรับรองกองทัพรัสเซียภายใต้การนำโดยอันเดรย์ วลาซอฟ ในช่วงแรก ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนกองทัพรัสเซียที่ต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์ได้ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงโดยฮิตเลอร์ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1944 เมื่อเยอรมนีได้ประสบความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นในแนวรบด้านตะวันออก กองกำลังของวลาซอฟได้รับการยอมรับจากเยอรมนีในฐานะพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมเลอร์
ภายหลังญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และการปะทุของสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐ เยอรมนีได้สนับสนุนแก่ญี่ปุ่นโดยการประกาศสงครามกับสหรัฐในช่วงสงคราม เยอรมนีได้ประณามกฎบัตรแอตแลนติกและรัฐบัญญัติการให้ยืม-เช่าที่สหรัฐประกาศใช้เพื่อสนับสนุนมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมมุ่งเป้าไปที่การครอบงำและแสวงหาผลประโยชน์จากประเทศภายนอกทวีปอเมริกา ฮิตเลอร์ประณามต่อประธานาธิบดีอเมริกา รูสเวสต์ ที่ใช้คำว่า "เสรีภาพ" เพื่ออธิบายถึงการกระทำของสหรัฐในสงคราม และกล่าวหาชาวอเมริกันว่า "เสรีภาพ" คือ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยในการแสวงหาผลประชน์จากโลก และเสรีภาพสำหรับผู้มั่งคั่งในระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวเพื่อเอารัดเอาเปรียบมวลชน
ประวัติศาสตร์
เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ประชาชนชาวเยอรมันรู้สึกว่าประเทศของตนได้รับความอัปยศอดสอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาแวร์ซาย รวมทั้งถูกกล่าวโทษว่าเป็นผู้ก่อสงครามขึ้นมาและบังคับให้เยอรมนีจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอันมหาศาลและทำการริบดินแดนที่เคยถูกควบคุมโดยจักรวรรดิเยอรมันและดินแดนอาณานิคมทั้งหมด แรงกดดันของค่าปฏิกรรมต่อเศรษฐกิจของเยอรมนีทำให้เกิด ใน ค.ศ. 1923 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองภูมิภาครูร์ เมื่อเยอรมนีได้ผิดนัดชำระจ่ายค่าปฏิกรรม แม้ว่าเยอรมนีจะเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงกลางปี ค.ศ. 1920 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้สร้างความยากลำบากทางเศรษฐกิจมากขึ้นและการลุกฮือในกองกำลังทางการเมืองที่สนับสนุนการแก้ปัญหาที่รุนแรงต่อความทุกข์ยากของเยอรมนี นาซีภายใต้ฮิตเลอร์ได้ส่งเสริมเรื่องตำนานนักชาตินิยมถูกแทงข้างหลังโดยระบุว่าเยอรมนีถูกชาวยิวและคอมมิวนิสต์หักหลัง พรรคได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างเยอรมนีขึ้นมาใหม่กลายเป็นมหาอำนาจที่สำคัญและสร้างมหาประเทศเยอรมนี ซึ่งจะรวมทั้งอาลซัส-ลอแรน ออสเตรีย ซูเดเทินลันท์ และดินแดนอื่น ๆ ซึ่งมีชาวเยอรมันอาศัยอยู่ในทวีปยุโรป นาซียังได้ตั้งเป้าหมายที่จะครอบครองและก่อตั้งดินแดนอาณานิคมที่ไม่ใช่ของเยอรมันในโปแลนด์ รัฐบอลติก และสหภาพโซเวียต โดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของนาซีในการแสวงหาเลเบินส์เราม์("พื้นที่อยู่อาศัย") ในยุโรปตะวันออก
เยอรมนีได้ละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายและส่งทหารกลับเข้าสู่ไรน์ลันท์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 เยอรมนีได้กลับมาเกณฑ์ทหารอีกครั้งและประกาศถึงการมีอยู่ของกองทัพอากาศเยอรมันอย่างลุฟท์วัฟเฟอ และกองทัพเรือเยอรมันอย่างครีคส์มารีเนอ ใน ค.ศ. 1935 เยอรมนีได้ทำการผนวกรวมออสเตรียใน ค.ศ. 1938 ซูเดเทินลันท์จากเชโกสโลวาเกีย และดินแดนเมเมลจากลิทัวเนียใน ค.ศ. 1939 เยอรมนีได้บุกครองส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1939 ก่อตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียและประเทศสโลวาเกียขึ้นมา
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ซึ่งมาพร้อมด้วยตราสารลับที่จะทำการแบ่งยุโรปตะวันออกเป็นเขตอิทธิพล เยอรมันได้เข้ารุกรานส่วนหนึ่งของโปแลนด์ภายใต้กติกาสัญญาแปดวันต่อมา ได้จุดชนวนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1941 เยอรมนีได้ยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรป และกองกำลังทหารของเยอรมนีกำลังสู้รบกับสหภาพโซเวียต เกือบจะยึดครองกรุงมอสโกได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่สตาลินกราดและยุทธการที่คูสค์ได้ทำลายล้างกองทัพเยอรมัน เมื่อรวมกับการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในฝรั่งเศสและอิตาลี นำไปสู่สงครามทั้งสามแนวรบที่ทำให้กองทัพเยอรมันละลายหายหมดสิ้น และส่งผลทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945
ดินแดนยึดครอง
รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียถูกสร้างขึ้นมาจากการแบ่งแยกเชโกสโลวาเกีย ไม่นานหลังจากที่เยอรมนีได้ผนวกภูมิภาคซูเดเทินลันท์ของเชโกสโลวาเกีย สโลวาเกียได้ประกาศอิสรภาพ รัฐสโลวีกใหม่เป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ส่วนที่เหลือของประเทศถูกกองทัพเยอรมันเข้ายึดครองและก่อตั้งรัฐในอารักขา สถาบันพลเมืองชาวเช็กได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ แต่รัฐในอารักขาได้ถูกพิจารณาภายในอาณาเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนี
เขตปกครองสามัญ เป็นชื่อที่ถูกตั้งไว้แก่ดินแดนของโปแลนด์ที่ถูกยึดครองซึ่งไม่ได้ถูกผนวกรวมโดยตรงกับจังหวัดต่าง ๆ ของเยอรมนี แต่เป็นเช่นเดียวกับโบฮีเมียและมอเรเวียที่ได้ถูกพิจารณาให้อยู่ภายในอาณาเขตอำนาจอธิปไตยของเยอรมนีโดยทางการนาซี
ไรชส์ค็อมมิสซารีอาท ได้ก่อตั้งขึ้นในเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และนอร์เวย์ โดยกำหนดให้เป็นสถานที่ที่ประชากร"ชาวเจอร์มานิก" ซึ่งจะถูกรวมเข้าไปอยู่ในแผนการมหาประเทศเจอร์มานิกไรช์ ในทางตรงกันข้าม ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทที่ก่อตั้งขึ้นในตะวันออก(ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทอ็อสท์ลันท์ในทะเลบอลติก ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทยูเครนในยูเครน) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอาณานิคมเพื่อการตั้งถิ่นฐานโดยชาวเยอรมัน
ในนอร์เวย์ ภายใต้ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทในนอร์เวเกน ระบอบควิสลิงภายใต้การนำโดยวิดกึน ควิสลิง ได้รับการแต่งตั้งโดยเยอรมันในฐานะระบอบรัฐบริวารในช่วงการยึกครอง ในขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 และรัฐบาลโดยชอบธรรมทางกฎหมายได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ควิสลิงได้สนับสนุนให้ชาวนอร์เวย์เข้าไปเป็นทหารอาสาสมัครในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ให้ความร่วมมือในการขับไล่เนรเทศชาวยิวและมีส่วนรับผิดชอบในการประหารชีวิตสมาชิกของขบวนการต่อต้านชาวนอร์เวย์ ชาวนอร์เวย์จำนวนประมาณ 45,000 คนที่เป็นผู้ให้ความร่วมมือได้เข้าร่วมกับ Nasjonal Samling(สหภาพชาติ) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นิยมนาซี และกรมตำรวจบางหน่วยได้ช่วยเหลือในการจับกุมชาวยิวจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม นอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศแรกที่ทำการต่อต้านในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างแพร่หลายก่อนถึงช่วงจุดเปลี่ยนสงครามใน ค.ศ. 1943 ภายหลังสงคราม ควิสลิงและผู้ให้ความร่วมมือคนอื่น ๆ ล้วนถูกประหารชีวิต ชื่อของควิสลิงกลายเป็นภาษิตสำหรับ "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "คนทรยศ"
เหตุผลในการทำสงคราม
เบนิโต มุสโสลินีได้บรรยายถึงการประกาศสงครามของอิตาลีกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกของบริติชและฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ดังต่อไปนี้ว่า: "พวกเรากำลังจะทำสงครามกับระบอบประชาธิปไตยของเหล่าผู้มั่งคั่งและพวกปฏิกิริยาของพวกตะวันตกที่ขัดขวางความก้าวหน้าอย่างถาวรและมักคุกคามการดำรงอยู่ของประชาชนชาวอิตาลี" อิตาลีประณามมหาอำนาจตะวันตกในการออกมาตราการคว่ำบาตรอิตาลีใน ค.ศ. 1935 สำหรับการกระทำของตนในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง เมื่ออิตาลีได้กล่าวอ้างว่าเป็นการตอบโต้ต่อการกระทำอันก้าวร้าวของชาวเอธิโอเปียต่อชนเผ่าในอิตาเลียนเอริเทีย ในเหตุการณ์วาลวาลใน ค.ศ. 1934 อิตาลีได้เหตุผลเดียวกันกับการกระทำของตนเหมือนกับเยอรมนี โดยอ้างว่า อิตาลีจำเป็นต้องขยายอาณาเขตเพื่อจัดหา ("พื้นที่อยู่อาศัย") ให้แก่ประเทศอิตาลี
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ภายหลังข้อตกลงมิวนิก อิตาลีได้เรียกร้องการสัมปทานจากฝรั่งเศสเพื่อยินยอมยกให้แก่อิตาลีในแอฟริกา ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสกลับแย่ลง เมื่อฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเรียกร้องของอิตาลี ฝรั่งเศสได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของอิตาลีด้วยการข่มขู่ว่าจะซ้อมการรบทางทะเลเพื่อเป็นการตักเตือนต่ออิตาลี เมื่อความตึงเครียดระหว่างอิตาลีและฝรั่งเศสเพิ่มมากขึ้น ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1939 โดยเขาให้คำมั่นสัญญาว่าการสนับสนุนทางทหารของเยอรมนีในกรณีการทำสงครามกับอิตาลีโดยปราศจากการยั่วยุ
อิตาลีได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อิตาลีได้ให้เหตุผลในการแทรกแซงกรีซในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 โดยการกล่าวหาว่าบริติชกำลังใช้กรีซต่อกรกับอิตาลี มุสโสลินีได้แจ้งเรื่องนี้แก่ฮิตเลอร์ว่า "กรีซเป็นส่วนหนึ่งในประเด็นหลักของบริติช ยุทธศาสตร์ทางทะเลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน"
อิตาลีได้ให้เหตุผลในการแทรกแซงยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 โดยเรียกร้องให้ทั้งชาวอิตาลีทำการกล่าวอ้างสิทธิ์ในการเรียกร้องดินแดนกลับคืนและข้อเท็จจริงของพวกแบ่งแยกดินแดนของชาวแอลเบเนีย โครเอเชีย และมาซิโดเนียที่ไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย การแบ่งแยกดินแดนในโครเอเชียเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองของโครเอเชียในรัฐสภายูโกสลาเวียใน ค.ศ. 1928 รวมทั้งการเสียชีวิตของ Stjepan Radić อิตาลีได้ให้การรับรองแก่ อานเต ปาเวลิช ผู้แบ่งแยกชาวโครเอเชียและขบวนการอูสตาเชที่ยึดถืออุดมการณ์ฟาสซิสต์ของเขาซึ่งมีพื้นฐานและการฝึกฝนในอิตาลีโดยได้รับการสนับสนุนจากระบอบฟาสซิสต์ก่อนที่จะมีการแทรกแซงต่อยูโกสลาเวีย
ประวัติศาสตร์
ความตั้งใจของระบอบฟาสซิสต์คือการสร้าง"จักรวรรดิโรมันใหม่" ซึ่งอิตาลีจะครอบครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใน ค.ศ. 1935 - 1936 อิตาลีได้เข้ารุกรานและผนวกเอธิโอเปียและรัฐบาลฟาสซิสต์ได้ประกาศก่อตั้ง "จักรวรรดิอิตาลี" คำประท้วงโดยสันนิบาตชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ บริติช ซึ่งมีผลประโยชน์ในพื้นที่นั้น ทำให้ไม่มีการดำเนินจัดการอย่างจริงจัง แม้ว่าสันนิบาตชาติจะพยายามบังคับใช้มาตราการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิตาลี แต่กลับไร้ผล เหตุการณ์ดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความอ่อนแอของฝรั่งเศสและบริติช โดยแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างจากความไม่เต็มใจของพวกเขาที่จะบาดหมางอิตาลีและสูญเสียไปในฐานะพันธมิตรของพวกเขา การกระทำที่จำกัดโดยมหาอำนาจตะวันตกได้ผลักดันอิตาลีของมุสโสลินีหันไปเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีของฮิตเลอร์อยู่ดี ใน ค.ศ. 1937 อิตาลีได้ออกจากสันนิบาตชาติและเข้าร่วมกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งถูกลงนามโดยเยอรมนีและญี่ปุ่นในปีที่แล้ว ในเดือนมีนาคม/เมษายน ค.ศ. 1939 กองกำลังทหารอิตาลีได้รุกรานและยึดครองแอลเบเนีย เยอรมนีและอิตาลีได้ลงนามในกติกาสัญญาเหล็ก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม
อิตาลีไม่พร้อมที่จะทำสงคราม แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ครั้งแรกกับเอธิโอเปียในปี ค.ศ. 1935-1936 และต่อมาในสงครามกลางเมืองสเปนในฝ่ายชาตินิยมของฟรันซิสโก ฟรังโก มุสโสลินีปฏิเสธที่จะฟังคำเตือนจาก Felice Guarneri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการแลกเปลี่ยนและเงินตรา ผู้ซึ่งกล่าวว่าการกระทำของอิตาลีในเอธิโอเปียและเสปนซึ่งหมายความอิตาลีใกล้ที่จะล้มละลายแล้ว ในปี ค.ศ. 1939 ค่าใช้จ่ายทางทหารของบริติชและฝรั่งเศลพุ่งสูงขึ้นเกินกว่าที่อิตาลีพอจะจ่ายได้ อันเป็นผลมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจกิจของอิตาลี ทหารอิตาลีได้รับค่าจ้างต่ำ มักจะขาดแคลนยุทโธปกรณ์และซัพพลายที่แย่ และความเกลี่ยดชังที่เกิดขึ้นระหว่างทหารและเจ้าหน้าที่นายทหารระดับสูง สิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ขวัญกำลังใจตกต่ำลงในท่ามกลางหมู่ทหารอิตาลี
ในช่วงต้น ค.ศ. 1940 อิตาลียังคงไม่ใช่คู่ต่อสู้รบ และมุสโสลินีได้แจ้งกับฮิตเลอร์ว่าอิตาลีไม่พร้อมที่จะเข้าไปแทรกแซงในไม่ช้า ภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ตัดสินใจว่าอิตาลีจะทำการเข้าแทรกแซงแล้ว แต่วันที่ยังไม่ได้เลือก ผู้นำทางทหารระดับอาวุโสได้มีมติคัดค้านอย่างเป็นเอกฉันท์ในการกระทำดังกล่าว เนื่องจากอิตาลีไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ ไม่มีแร่วัตถุดิบที่คงเหลืออยู่ในคลังพัสดุและปริมาณสำรองที่มีอยู่กำลังจะหมดลงในไม่ช้า อุตสาหกรรมของอิตาลีเป็นเพียงแค่หนึ่งในสิบของเยอรมนี และแม้แต่กระทั่งซับพลายที่กองทัพอิตาลีไม่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อจัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นในการสู้รบกับสงครามสมัยในระยะยาว โครงการการฟื้นแสนยานุภาพที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานแทบที่จะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการสำรองทองคำและสกุลเงินต่างประเทศที่จำกัดของอิตาลี และการขาดแคลนแร่วัตถุดิบ มุสโสลินีได้เมินเฉยต่อข้อคิดเห็นเชิงลบ
ใน ค.ศ. 1941 ความพยายามของอิตาลีในการดำเนินการทัพอย่างมีอิสระจากเยอรมนีก็ต้องพังทลายลงอันเป็นผลมาจากความพ่ายแพ้ทางการทหารในกรีซ แอฟริกาเหนือ และแอฟริกาตะวันออก และประเทศก็ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเยอรมนีอย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังจากการรุกรานและเข้ายึดครองยูโกสลาเวียและกรีซซึ่งนำโดยเยอรมัน ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นเป้าหมายของมุ่งหมายในการทำสงครามของอิตาลี อิตาลีถูกบังคับให้ยอมรับการครอบงำของเยอรมันในทั้งสองประเทศที่ถูกยึดครอง นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 1941 กองกำลังเยอรมันในแอฟริกาเหนือภายใต้การนำโดยแอร์วีน ร็อมเมิล ได้เข้าควบคุมความพยายามทางทหารอย่างมีประสิทธิภาพในการขับไล่กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรออกไปจากลิเบีย ดินแดนอาณานิคมของอิตาลี และกองทัพเยอรมันได้เข้าประจำการอยู่ที่เกาะซิซิลีในช่วงปีนั้น ความอวดดีของเยอรมนีที่มีต่ออิตาลีในฐานะพันธมิตรได้แสดงให้เห็นในปีนั้น เมื่ออิตาลีถูกกดดันให้ส่ง "แรงงานผู้รับเชิญ" จำนวน 350,000 คน ไปยังเยอรมนีซึ่งถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์บังคับ ในขณะที่ฮิตเลอร์รู้สึกผิดหวังกับสมรรถภาพทางทหารของอิตาลี เขายังคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับอิตาลีโดยรวม เนื่องจากมิตรภาพอันส่วนตัวของเขากับมุสโสลินี
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองเกาะซิซิลี พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงรับสั่งปลดมุสโสลินีออกจากตำแหน่ง พร้อมกับจับกุมและคุมขังเขาเอาไว้ และเริ่มทำการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก การสงบศึกได้ถูกลงนาม เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1943 และสี่วันต่อมา มุสโสลินีได้รับการช่วยเหลือจากเยอรมันในปฏิบัติการโอ้กและได้รับมอบหมายในการดูแลรัฐหุ่นเชิดที่ถูกเรียกว่า สาธารณรัฐสังคมอิตาลี (Repubblica Sociale Italiana/RSI, หรือ สาธารณรัฐซาโล) ทางตอนเหนือของอิตาลี เพื่อเป็นการปลดปล่อยประเทศจากเยอรมันและฟาสซิสต์ อิตาลีได้กลายเป็นคู่ต่อสู้ร่วมของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นผลทำให้ประเทศได้รับการสืบทอดในสงครามกลางเมือง โดยมีและของอิตาลีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรเข้าต่อสู้รบกับกองทัพของสาธารณรัฐสังคมอิตาลีและเยอรมันที่เป็นพันธมิตร บางพื้นที่ในภาคเหนือของอิตาลีได้รับการปลดปล่อยจากเยอรมันในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 โดยพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี เมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะที่พยายามจะหลบหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์
อาณานิคมและเมืองขึ้น
ในทวีปยุโรป
เป็นเมืองขึ้นของอิตาลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1943
มอนเตเนโกรเป็นเมืองขึ้นของอิตาลี ตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1943 เป็นที่รู้จักกันคือ เขตผู้ว่าการแห่งมอนเตรเนโกร ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ว่าการทหารของอิตาลี ในช่วงแรก อิตาลีตั้งใจที่จะทำให้มอนเตรเนโกรกลายเป็นรัฐอิสระซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับอิตาลี โดยได้รับการสนับสนุนผ่านการเชื่อมโยงทางราชวงศ์ที่เข้มแข็งระหว่างอิตาลีและมอนเตเนโกร เนื่องจากสมเด็จพระราชินีเอเลนาแห่งอิตาลีทรงเป็นพระธิดาของพระเจ้านิกอลาที่ 1 กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอนเตเนโกร นักชาตินิยมชาวมอนเตเนโกรที่ได้รับการสนับสนุนจากอิตาลีและผู้ติดตามของเขาได้พยายามที่จะสร้างรัฐมอนเตเนโกรขึ้นมา เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 พวกเขาได้ประกาศสถาปนา "ราชอาณาจักรมอนเตเนโกร" ภายใต้การอารักขาของอิตาลี ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ภายในสามสัปดาห์ ผู้ก่อการกำเริบสามารถยึดดินแดนเกือบทั้งหมดของมอนเตเนโกรไว้ได้ กองกำลังทหารอิตาลีจำนวนกว่า 70,000 นาย และทหารที่ไม่ได้เข้าประจำการซึ่งมาจากชาวอัลเบเนียและชาวมุสลิมจำนวน 20,000 คน ได้ถูกส่งเพื่อเข้าปราบปรามกลุ่มกบฏ เดอร์เยวิชถูกขับไล่ออกจากมอนเตเนโกรในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 จากนั้นมอนเตเนโกรก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอิตาลีโดยตรง ด้วยการยอมจำนนของอิตาลีใน ค.ศ. 1943 มอนเตเนโกรได้เข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมนีโดยตรงแทน
อิตาลีได้เข้าครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจตั้งแต่การก่อตั้งใน ค.ศ. 1913 อัลแบเนียถูกกองกำลังทหารอิตาลีเข้ายึดครองใน ค.ศ. 1939 ในขณะที่พระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนียทรงลี้ภัยออกนอกประเทศพร้อมราชวงศ์ของพระองค์ รัฐสภาแอลเบเนียได้ลงมติถวายบัลลังก์แอลเบเนียแด่กษัตริย์แห่งอิตาลี ส่งผลทำให้เกิดสหภาพส่วนบุคคลระหว่างสองประเทศ
ในแอฟริกา
เป็นอาณานิคมของอิตาลีที่ดำรงอยู่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1943 ช่วงก่อนการบุกครองและผนวกรวมเอธิโอเปียเข้าสู่อาณานิคมที่เป็นเอกภาพใน ค.ศ. 1936 อิตาลีมีอาณานิคมสองแห่ง ได้แก่ เอริเทรียและโซมาเลีย นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880
ลิเบีย เป็นอาณานิคมของอิตาลีที่ดำรงอยู่ ตั้งแต่ ค.ศ. 1912 ถึง ค.ศ. 1943 ส่วนทางตอนเหนือของลิเบียถูกรวมเข้ากับอิตาลีโดยตรงใน ค.ศ. 1939 อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้ยังคงถูกรวมกันเป็นอาณานิคมภายใต้ข้าหลวงอาณานิคม
เหตุผลในการทำสงคราม
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้เหตุผลในการกระทำของตนโดยอ้างว่ากำลังพยายามที่จะรวบรวมเอเชียตะวันออกภายใต้การนำของญี่ปุ่นในวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา เพื่อที่จะปลดปล่อยชาวเอเชียตะวนออกจากการครอบงำและถูกปกครองในฐานะรัฐบริวารของมหาอำนาจตะวันตก ญี่ปุ่นได้ปลุกระดมแนวคิดอุดมการณ์รวมกลุ่มชาวเอเชียและกล่าวว่าประชาชาวเอเชียมีความจำเป็นที่จะเป็นอิสระจากอิทธิพลตะวันตก
สหรัฐได้ต่อต้านสงครามญี่ปุ่นในจีน และให้การยอมรับรัฐบาลชาตินิยมของเจียงไคเชกว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกตัองตามกฎหมายของจีน ด้วยเหตุนี้ สหรัฐจีงพยายามยุติความพยายามในการทำสงครามของญี่ปุ่นโดยกำหนดมาตราการคว่ำบาตรการค้าทั้งหมดระหว่างสหรัฐและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องพึ่งพาสหรัฐคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของเชื้อเพลิงปิโตรเลียม และผลที่ตามมาก็คือ การคว่ำบาตรดังกล่าวส่งผลก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและการทหารของญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นไม่สามารถทำสงครามกับจีนได้อีกต่อไป ถ้าหากไม่สามารถเข้าถึงเชื้อเพลิงปิโตรเลียม
เพื่อที่จะยืนยันในการทัพทางทหารในจีนโดยสูญเสียการค้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมกับสหรัฐครั้งใหญ่ ญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงวิธีที่ดีที่สุดในการหาแหล่งทางเลือกของเชื้อเพลิงปิโตรเลียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมไปด้วยเชื้อเพลิงปิโตรเลียมและทรัพยากรทางธรรมชาติมากมาย การข่มขู่ว่าจะตอบโต้โดยญี่ปุ่นต่อการคว่ำบาตรการค้าทั้งหมดโดยสหรัฐ เป็นที่รับรู้โดยรัฐบาลอเมริกัน รวมทั้งรัฐมนตรีแห่งรัฐของอเมริกานามว่า Cordell Hull ซึ่งกำลังเจรจากับญี่ปุ่นเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม โดยเกรงว่าการคว่ำบาตรทั้งหมด จะทำให้ญี่ปุ่นชิงลงมือในเข้าโจมตีหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์
ญี่ปุ่นระบุว่ากองเรือแปซิฟิกของอเมริกันซึ่งตั้งฐานทัพเรืออยู่ในเพิร์ลฮาร์เบอร์เป็นภัยคุกคามหลักต่อการออกแบบในการรุกรานและเข้ายึดครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงริเริ่มโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เพื่อยับยั้งการตอบสนองต่อการรุกรานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และซื้อเวลาเพื่อให้ญี่ปุ่นทำการรวบรวมทรัพยากรเหล่านี้ด้วยตัวเองเพื่อทำสงครามทั้งหมดกับสหรัฐ และบังคับให้สหรัฐยอมรับการครอบครองของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิบริติช
ประวัติศาสตร์
จักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ถูกปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะทรงเป็นประมุข เป็นประเทศมหาอำนาจฝ่ายอักษะหลักในทวีปเอเชียและทะเลแปซิฟิก ภายใต้จักรพรรดิ มีคณะรัฐมนตรีทางการเมืองและกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งจักรวรรดิซึ่งมีหัวหน้าเสนาธิการทหารอยู่สองคน ใน ค.ศ. 1945 จักรพรรดิญี่ปุ่นทรงเป็นมากกว่าผู้นำเชิงสัญลักษณ์ พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อรักษาราชบังลังก์ของพระองค์เอาไว้
ณ จุดสูงสุด วงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น รวมทั้งแมนจูเรีย มองโกเลียใน ส่วนใหญ่ของแผ่นดินจีน มาเลเซีย อินโดจีนฝรั่งเศส หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์ ฟิลิปปินส์ พม่า ส่วนขนาดเล็กของอินเดีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในภาคกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก
อันเป็นผลมาจากความไม่ลงรอยกันภายในและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำใน ค.ศ. 1920 องค์ประกอบทางทหารทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในเส้นทางของลัทธิการขยายอาณาเขต เนื่องจากหมู่เกาะอันเป็นบ้านเกิดของญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการเติบโต ญี่ปุ่นจึงวางแผนที่จะก่อตั้งสถาปนาอำนาจในทวีปเอเชียและพึ่งพาตนเองได้โดยการเข้ายึดดินแดนที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ นโยบายการขยายอาณาเขตของญี่ปุ่นทำให้ตนเองดูแปลกแยกจากประเทศอื่น ๆ ในสันนิบาตชาติ และในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 ได้ทำให้ญี่ปุ่นใกล้ชิดกับเยอรมนีและอิตาลีมากขึ้น ซึ่งทั้งสองประเทศก็ดำเนินนโยบายการขยายอาณาเขตที่คล้ายคลึงกัน ความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและเยอรมนีได้เริ่มต้นด้วยกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ซึ่งทั้งสองประเทศตกลงที่จะเป็นพันธมิตรเพื่อท้าทายต่อการโจมตีใด ๆ จากสหภาพโซเวียต
ญี่ปุ่นได้เข้าสู่ความขัดแย้งกับจีนใน ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นเข้ารุกรานและยึดครองพื้นที่บางส่วนของจีนทำให้เกิดการกระทำความโหดร้ายทารุณต่อพลเรือนจำนวนมากมาย เช่น การสังหารหมู่ที่นานกิง และนโยบายทั้งสามประการ ญี่ปุ่นได้ต่อสู้รบอย่างประปรายกับกองทัพโซเวียต-มองโกเลียในแมนจูกัวใน ค.ศ. 1938 และ ค.ศ. 1939 ญี่ปุ่นต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการทำสงครามกับสหภาพโซเวียตโดยการลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันใน ค.ศ. 1941
ผู้นำทางทหารของญี่ปุ่นได้แตกแยกจากความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีและอิตาลี และทัศนคติต่อสหรัฐ กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นสนับสนุนการทำสงครามกับสหรัฐแต่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะคัดค้านอย่างรุนแรง เมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น พลเอก ฮิเดกิ โทโจ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของสหรัฐให้ญี่ปุ่นถอนกำลังทหารออกจากจีน การเผชิญหน้ามีแนวโน้มมากขึ้น การทำสงครามกับสหรัฐกำลังถูกปรึกษาหารือภายในรัฐบาลญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1940 ผู้บัญชาการกองเรือผสม พลเรือเอก อิโซโรกุ ยามาโมโตะ ได้เปิดเผยในการแสดงคัดค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาไตรภาคี โดยบอกกล่าวไว้ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1940 "การสู้รบกับสหรัฐก็เหมือนกับการสู้รบกับคนทั้งโลก แต่ก็ได้ตัดสินใจไปแล้ว ดังนั้นข้าพเจ้าจะสู้อย่างสุดความสามารถ แน่นอนว่าข้าพเจ้าจะต้องตายบนเรือนางาโตะ[เรือธงของเขา] ในขณะเดียวกัน โตเกียวจะถูกแผดเผาพื้นถึงสามครั้ง โคโนเอะและคนอื่น ๆ จะถูกฉีกเป็นชิ้น ๆ โดยประชาชนผู้เคียดแค้น ข้าพเจ้า[ไม่ควร] ที่จะประหลาดใจ" ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ยามาโมโตะได้ติดต่อสื่อสารกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกองทัพเรือ โออิคาวะ และกล่าวว่า "มันไม่เหมือนในช่วงก่อนไตรภาคี ต้องมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งเพื่อทำให้แน่ใจว่าเราหลีกเลี่ยงอันตรายจากการไปทำสงคราม"
ด้วยมหาอำนาจยุโรปที่มุ่งแต่ทำสงครามในยุโรป ญี่ปุ่นจึงต้องการที่จะเข้ายึดครองอาณานิคมของพวกเขา ใน ค.ศ. 1940 ญี่ปุ่นได้ตอบสนองต่อการรุกรานฝรั่งเศสของเยอรมันโดยการเข้ายึดครองทางตอนเหนือของอินโดจีนฝรั่งเศส ระบอบวิชีฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรโดยพฤตินัยของเยอรมนี ได้ให้การยอมรับในการครอบครอง กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ตอบโต้ด้วยการทำสงคราม อย่างไรก็ตาม สหรัฐได้เริ่มต้นการคว่ำบาตรต่อญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 เนื่องจากการทำสงครามอย่างต่อเนื่องในจีน สิ่งนี้จะเป็นการตัดซัพพลายอย่างเศษเหล็กและน้ำมันของญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรม การค้า และความพยายามการทำสงคราม
เพื่อทำการแบ่งแยกกองกำลังสหรัฐที่ประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์แเพื่อลดอำนาจของกองทัพเรือสหรัฐ กองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งจักรวรรดิได้สั่งให้โจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ เกาะฮาวาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พวกเขายังได้เข้ารุกรานหมู่เกาะมลายูและฮ่องกง ในช่วงแรกได้รับชัยชนะมาหลายครั้ง ใน ค.ศ. 1943 กองทัพญี่ปุ่นได้ผลักดันล่าถอยกลับไปยังหมู่เกาะบ้านเกิด สงครามแปซิฟิกได้กินเวลาจนกระทั่งการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิใน ค.ศ. 1945 โซเวียตประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 และเข้าปะทะกองทัพญี่ปุ่นในแมนจูเรียและจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ดินแดนอาณานิคมและเมืองขึ้น
เกาะไต้หวัน เป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1895 เกาหลีเป็นรัฐในอารักขาและเมืองขึ้นของญี่ปุ่นซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลี ค.ศ. 1910
แปซิฟิกใต้ในอาณัติ เป็นดินแดนที่ถูกมอบให้แก่ญี่ปุ่น ในข้อตกลงสันติภาพของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งได้กำหนดให้หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ของเยอรมันตกเป็นของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้รับดินแดนเหล่านี้เป็นรางวัลจากฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อญี่ปุ่นเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านเยอรมัน
ญี่ปุ่นเข้ายึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตซ์ในช่วงสงคราม ญี่ปุ่นวางแผนที่จะเปลี่ยนดินแดนเหล่านี้เป็นรัฐบริวารของอินโดนีเซียและเสาะหาพันธมิตรกับนักชาตินิยมชาวอินโดนีเซียรวมถึงซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในอนาคต อย่างไรก็ตาม ความพยายามเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เกิดรัฐอินโดนีเซียขึ้นมาจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนน
ประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี
นอกจากประเทศทั้งสามหลักของฝ่ายอักษะ ยังมีอีกหกประเทศที่ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีในฐานะประเทศสมาชิก ในบรรดาประเทศอื่น ๆ เช่น โรมาเนีย ฮังการี บัลแกเรีย รัฐเอกราชโครเอเชีย และสโลวาเกีย ต่างได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารต่าง ๆ ของฝ่ายอักษะด้วยกองกำลังติดอาวุธประจำชาติ ในขณะที่ประเทศที่หก ยูโกสลาเวีย ได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลที่ให้การสนับสนุนนาซีได้ถูกโค่นล้มก่อนหน้านี้ในการก่อรัฐประหารเพียงไม่กี่วัน ภายหลังจากที่ได้ลงนามในกติกาสัญญาและสมาชิกก็ถูกถอดถอน
ราชอาณาจักรบัลแกเรียถูกปกครองโดยพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 เมื่อลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1941 บัลแกเรียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและต้องการเอาคืนในสิ่งที่ผู้นำบัลแกเรียเห็นว่าเป็นดินแดนที่สูญเสียไปทั้งทางชาติพันธ์และประวัติศาสตร์ของบัลแกเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาซิโดเนียและเทรซ(ทั้งหมดอยู่ในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ราชอาณาจักรกรีซ และตุรกี) ในช่วงปี ค.ศ. 1930 เนื่องจากองค์ประกอบดั้งเดิมของฝ่ายขวา บัลแกเรียจึงเข้าใกล้นาซีเยอรมนีมากขึ้น ใน ค.ศ. 1940 เยอรมนีได้กดดันให้โรมาเนียลงนามใน โดยทำการส่งคืนภูมิภาคดอบรูจาใต้แก่บัลแกเรีย ซึ่งสูญเสียไปใน ค.ศ. 1913 เยอรมันยังได้ให้คำมั่นสัญญากับบัลแกเรีย - หากเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ - การขยายอาณาเขตของตนไปยังชายแดนที่ได้ระบุเอาไว้ใน
บัลแกเรียได้เข้าร่วมในการรุกรานยูโกสลาเวียและกรีซของฝ่ายอักษะโดยปล่อยให้กองกำลังทหารเยอรมันเข้าโจมตีดินแดนของตนและส่งกองกำลังทหารไปยังกรีซ เมื่อวันที่ 20 เมษายน เพื่อเป็นรางวัล ฝ่ายอักษะได้อนุญาตให้บัลแกเรียครอบครองพื้นที่บางส่วนของทั้งสองประเทศ - ทางใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูโกสลาเวีย() และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกรีซ(ส่วนหนึ่งของกรีกมาซิโดเนียและ) กองกำลังบัลแกเรียในพื้นที่เหล่านี้ได้ใช้เวลาหลายปีในการต่อสู้รบกับกลุ่มฝ่ายชาตินิยมและต่าง ๆ แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากเยอรมนี บัลแกเรียไม่ได้มีส่วนร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะและไม่เคยประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตเลย อย่างไรก็ตาม ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสู้รบหลายครั้งกับกองเรือทะเลดำของโซเวียต ซึ่งได้เข้าโจมตีเรือขนส่งสินค้าของบัลแกเรีย
ภายหลังจากญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 รัฐบาลบัลแกเรียได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก การกระทำนี้ยังคงเป็นสัญลักษณ์ส่วนใหญ่(อย่างน้อยก็ในมุมมองของบัลแกเรีย) จนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมื่อการป้องกันทางอากศและกองทัพอากาศของบัลแกเรียได้โจมตีเครื่องบินทิ้งระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตร การกลับมา(ได้รับความเสียหายอย่างหนัก) จากภารกิจเหนือโรงกลั่นน้ำมันของโรมาเนีย สิ่งนี้กลายเป็นหายนะสำหรับพลเมืองในโซเฟียและเมืองที่สำคัญอื่น ๆ ของบัลแกเรีย ซึ่งถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1943-1944
เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1944 กองทัพแดงได้เข้าใกล้ชายแดนบัลแกเรีย รัฐบาลบัลแกเรียชุดใหม่ได้เข้ามามีอำนาจและต้องการที่จะเจรจาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ขับไล่กองกำลังทหารเยอรมันที่หลงเหลืออยู่ไม่มาก และประกาศวางตัวเป็นกลาง อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ไม่อาจขัดขวางสหภาพโซเวียตประกาศสงครามกับบัลแกเรียในวันที่ 5 กันยายน และวันที่ 8 กันยายน กองทัพแดงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ประเทศ โดยแทบไร้การต่อต้าน ซึ่งตามมาด้วย ซึ่งทำให้รัฐบาลของที่สนับสนุนโซเวียตขึ้นสู่อำนาจ ภายหลังจากนั้น กองทัพบัลแกเรีย(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ของกองทัพแดง) ได้เข้าต่อสู้รบกับเยอรมันในยูโกสลาเวียและฮังการี ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ได้ถือว่าบัลแกเรียเป็นหนึ่งในประเทศที่พ่ายแพ้สงคราม บัลแกเรียได้รับอนุญาตในการรักษาภูมิภาคดอบรูจาใต้เอาไว้ แต่ต้องยกเลิกการอ้างสิทธิ์ในดินแดนกรีกและยูโกสลาเวียทั้งหมด
ฮังการีถูกปกครองโดยผู้สำเร็จราชการนามว่า พลเรือเอก มิกโลช โฮร์ตี เป็นประเทศแรกที่นอกเหนือจากเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งได้ยึดมั่นตามกติกาสัญญาไตรภาคี ถูกลงนามในข้อตกลง เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
ด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมืองได้ก่อกวนประเทศ จนกระทั่งมิกโลช โฮร์ตี ขุนนางฮังการีและได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใน ค.ศ. 1920 ชาวฮังการีส่วนใหญ่ต้องการที่จะกอบกู้ดินแดนที่เสียไปโดยสนธิสัญญาทรียานง ในช่วงรัฐบาลของ ฮังการีได้เข้าใกล้ชิดกับเยอรมนีและอิตาลีมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการร่วมกันที่จะแก้ไขการตั้งถิ่นฐานอย่างสันติที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[86] หลายคนต่างเห็นด้วยกับนโยบายต่อต้านชาวยิวของระบอบนาซี เนื่องจากจุดยืนที่ให้การสนับสนุนเยอรมนีและความพยายามครั้งใหม่ในนโยบายระหว่างประเทศ ฮังการีจึงได้รับการตั้งถิ่นฐานในดินแดนอย่างเป็นที่น่าพอใจโดยรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง ภายหลังจากการล่มสลายของเชโกสโลวาเกียซึ่งได้เข้ายึดครองและผนวกส่วนที่เหลือของ และใน ค.ศ. 1940 ได้รับจากโรมาเนียผ่านทางรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง ฮังการีได้อนุญาตให้ทหารเยอรมันเดินทางผ่านอาณาเขตของตนในช่วงการรุกรานยูโกสลาเวีย และกองกำลังฮังการีได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารภายหลังการประกาศสถาปนารัฐเอกราชโครเอเชีย บางส่วนของอดีตยูโกสลาเวียได้ถูกผนวกรวมเข้ากับฮังการี สหราชอาณาจักรได้ยุติความสัมพันธ์ทางการทูตโดยทันทีเพื่อเป็นการตอบโต้
แม้ว่าฮังการีจะไม่ได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมันในช่วงแรก แต่ฮังการีและสหภาพโซเวียตได้กลายเป็นคู่สงครามในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1941 จำนวนทหารกว่า 500,000 นายได้ปฏิบัติการรบบนแนวรบด้านตะวันออก กองทัพภาคสนามทั้งห้าได้เข้าร่วมในสงครามต่อต้านสหภาพโซเวียตในที่สุด ส่วนที่สนับสนุนที่สำคัญโดย
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ฮังการีเป็นหนึ่งในสิบสามประเทศที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นซึ่งได้เริ่มทำใหม่ กองกำลังทหารฮังการีเช่นเดียวกับฝ่ายอักษะ มีส่วนร่วมในปฏิบัติการรบในการต่อต้านโซเวียตจำนวนมากมาย ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 โซเวียตได้เปรียบในการรบและเยอรมันต้องล่าถอย กองทัพบกฮังการีที่สองถูกทำลายล้างในการสู้รบกับ บนริมฝั่งแม่น้ำดอน
ก่อนที่เยอรมนีจะเข้ายึดครองภายในพื้นที่ฮังการี ชาวยิวจำนวนประมาณ 63,000 คนได้สูญสิ้นไปหมดแล้ว ภายหลังจากนั้น ในช่วงปลาย ปี ค.ศ. 1944 ชาวยิวจำนวน 437,000 คนได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเสียชีวิตทั้งหมด โดยรวมแล้ว ชาวยิวเชื้อสายฮังการีได้ประสบความสูญเสียจำนวนเกือบ 560,000 คน
ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดินของมิกโลช โฮร์ตีได้ล่มสลายใน ค.ศ. 1944 เมื่อโฮร์ตีได้พยายามที่จะเจรจาทำข้อตกลงสันติภาพกับโซเวียตและกระโดดออกจากสงครามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเยอรมัน โฮร์ตีได้ถูกบีบบังคับให้สละตำแหน่ง ภายหลังจากหน่วยคอมมานโดเยอรมัน ซึ่งนำโดยพันเอก ออทโท สกอร์เซนี ทำการจับลูกชายของเขาไว้เป็นตัวประกันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการพันแซร์เฟาสท์ ฮังการีได้รับการปรับปรุงใหม่ภายหลังจากการสละตำแหน่งของโฮร์ตี้ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 ให้กลายเป็นระบอบเผด็จการที่เรียกว่า รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติฮังการี ซึ่งนำโดยแฟแร็นตส์ ซาลอชี เขาเป็นนายกรัฐมนตรีของฮังการีนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 และเป็นผู้นำของพรรคแอร์โรว์ครอสส์แห่งฮังการี เขตอำนาจได้ถูกจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งกลุ่มอาณาเขตที่หดแคบลงเรื่อย ๆ ในภาคกลางของฮังการี รอบกรุงบูดาเปสต์นับตั้งแต่ที่พวกเขาเข้ายึดอำนาจ กองทัพแดงซึ่งอยู่ห่างไกลจากภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ทีมสังหารของแอร์โรว์ครอสส์ได้สังหารชาวยิวเชื้อสายฮังการีมากถึง 38,000 คน เจ้าหน้าที่แอร์โรว์ครอสส์ได้ช่วยเหลืออาด็อล์ฟ ไอช์มันในการเปิดใช้งานกระบวนการขับไล่เนรเทศอีกครั้ง ซึ่งชาวยิวในกรุงบูดาเปสต์ได้รับการไว้ชีวิตเป็นการชั่วคราว ทำการส่งชาวยิวจำนวนประมาณ 80,000 คน ออกจากเมืองเพื่อถูกใช้เป็นแรงงานเกณฑ์และจำนวนอีกมายมายถูกส่งตรงไปยังค่ายมรณะ พวกเขาส่วนใหญ่ล้วนเสียชีวิต รวมทั้งหลายคนที่ถูกฆ่าตายทันทีภายหลังการสู้รบจบลงในขณะที่พวกเขากำลังเดินทางกลับบ้าน หลายวันภายหลังรัฐบาลซาลอซีเข้ายึดอำนาจ กรุงบูดาเปสต์ที่เป็นเมืองหลวงถูกล้อมรอบไปด้วยกองทัพแดงของโซเวียต กองทัพเยอรมันและฮังการีได้พยายามที่จะหยุดยั้งการรุกของโซเวียตแต่กลับล้มเหลว ภายหลังการสู้รบอย่างดุเดือด กรุงบูดาเปสต์ก็ถูกโซเวียตยึดครอง ชาวฮังการีที่สนับสนุนเยอรมันจำนวนมากได้ล่าถอยไปยังอิตาลีและเยอรมนี ที่พวกเขาต่อสู้รบกันจนสงครามยุติลง
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ซาลอชีได้ลี้ภัยไปยังเยอรมนีในฐานะผู้นำรัฐบาลผลัดถิ่น จนกระทั่งการยอมจำนนของเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945
รัฐเอกราชโครเอเชีย
เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1941 ได้ถูกเรียกว่า รัฐเอกราชโครเอเชีย (Nezavisna Država Hrvatska, หรือ NDH) ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน-อิตาลีซึ่งได้ร่วมกันก่อตั้ง ได้ลงนามร่วมในกติกาสัญญาไตรภาคี รัฐเอกราชโครเอเชียยังคงเป็นประเทศสมาชิกของฝ่ายอักษะจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง กองกำลังของตนได้ต่อสู้รบเพื่อเยอรมนี แม้ว่าดินแดนขอวงตนจะถูกบุกรุกโดยพลพรรคยูโกสลาเวีย เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1941 อานเต ปาเวลิช นักชาตินิยมชาวโครเอเชียและหนึ่งในผู้ก่อตั้งอูสตาเช("ขบวนการปลดปล่อยโครเอเชีย") ได้รับการประกาศแต่งตั้งเป็น Poglavnik (ท่านผู้นำ) ของระบอบใหม่
ในช่วงแรก อูสตาเชได้รับอิทธิพลอย่างมากมาจากอิตาลี พวกเขาได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากระบอบฟาสซิสต์ของมุสโสลินีในอิตาลี ซึ่งได้ส่งมอบพื้นที่ในการฝึกซ้อมแก่ขบวนการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามต่อต้านยูโกสลาเวีย รวมทั้วได้ให้การยอมรับปาเวลิชเป็นผู้ลี้ภัยและอนุญาตให้เขามาพำนักอยู่ในกรุงโรม ใน ค.ศ. 1941 ในช่วงการรุกรานกรีซของอิตาลี มุสโสลินีได้ร้องขอให้เยอรมนีเข้ารุกรานยูโกสลาเวียเพื่อรักษากองทัพอิตาลีในกรีซ ฮิตเลอร์ตอบตกลงอย่างไม่เต็มใจ ยูโกสลาเวียถูกรุกรานและรัฐเอกราชโครเอเชียก็ถูกสร้างขึ้น ปาเวลิชได้นำกลุ่มผู้แทนไปยังกรุงโรมและเสนอถวายมงกุฎแห่งรัฐเอกราชโครเอเชียแก่เจ้าชายอิตาลีแห่งราชวงศ์ซาวอย ผู้ที่ได้รับการสวมมงกุฎพระนามว่า ตอมิสลัฟที่ 2 วันรุ่งขึ้น ปาเวลิชได้ลงนามในสัญญาแห่งกรุงโรมกับมุสโสลินี โดยยกให้ภูมิภาคแดลเมเชียแก่อิตาลี และทำการแก้ไขชายแดนถาวรระหว่างรัฐเอกราชโครเอเชียและอิตาลี กองทัพอิตาลีได้รับอนุญาตให้ควบคุมแนวชายฝั่งทั้งหมกของรัฐเอกราชโครเอเชีย ทำให้อิตาลีเข้าควบคุมแนวชายฝั่งทะเลเอเดรียติกเอาไว้ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อกษัตริย์อิตาลีได้ทำการขับไล่มุสโสลินีออกจากอำนาจและอิตาลีได้ยอมจำนน รัฐเอกราชโครเอเชียก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมันอย่างสมบูรณ์
พื้นเวทีของขบวนการอูสตาเชได้ประกาศว่า ชาวโครเอเชียได้ถูกกดขี่ข่มเหงโดยราชอาณาจักรยูโกสลาเวียที่ถูกครอบงำโดบชาวเซิร์บ และชาวโครเอเชียสมควรที่จะมีประเทศเอกราชภายหลังหลายปีที่ถูกครอบงำโดยจักรวรรดิต่างชาติ อูสตาเชได้มองชาวเซิร์บดูด้อยกว่าชาวโครเอเชีย และมองเห็นว่าพวกเขาเป็นผู้บุกรุกที่ครอบครองดินแดนโครเอเชีย พวกเขาได้มองเห็นถึงการกำจัดและการขับไล่หรือเนรเทศชาวเซิร์บตามความจำเป็นเพื่อทำให้โครเอเชียมีความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ ในขณะที่เป็นส่วนหนึ่งของยูโกสลาเวีย นักชาตินิยมชาวโครเอเชียจำนวนมากต่อต้านระบอบกษัตริย์ยูโกสลาเวียที่ถูกครอบงำโดบชาวเซิร์บและทำการลอบปลงพระชนม์ต่อสมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย ร่วมกับ ระบอบการปกครองได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักชาตินิยมชาวโครเอเชียหัวรุนแรง กองกำลังอูสตาเชได้ต่อสู้รบกับกองโจรพลพรรคคอมมิวนิสต์ชาวยูโกสลาฟตลอดช่วงสงคราม
เมื่อเข้าสู่อำนาจ ปาเวลิชได้ก่อตั้ง(Hrvatsko domobranstvo) ในฐานะกองกำลังทหารอย่างเป็นทางการของรัฐเอกราชโครเอเชีย แต่เดิมได้รับอำนาจในการมีกองกำลังจำนวน 16,000 นาย ได้เติบโตเป็นกองกำลังสู้รบสูงสุดจำนวน 130,000 นาย กองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชียรวมทั้งกองทัพอากาศและกองทัพเรือ แม้ว่ากองทัพเรือจะถูกจำกัดขนาดโดยสัญญาแห่งกรุงโรม นอกจากกองอารักขาบ้านเกิดโครเอเชียแล้ว ปาเวลิชยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทหารอาสาอูสตาเช แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว หน่วยทหารของรัฐเอกราชโครเอเชียทั้งหมดจะอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกองทัพเยอรมันหรืออิตาลีในพื้นที่ปฏิบัติการ
ขบวนการอูสตาเชได้ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 และส่งกองกำลังทหารไปยังแนวรบด้านตะวันออกของเยอรมนี กองทหารอาสาอูสตาเชได้ถูกส่งไปรักษาการในบอลข่าน ต่อสู้รบกับพลพรรคคอมมิวนิสต์
รัฐบาลอูสตาเชได้ใช้กฎหมายทางเชื้อชาติกับชาวเซิร์บ ชาวยิว และชาวโรมานี รวมทั้งกำหนดเป้าหมายถึงผู้ที่ต่อต้านระบอบฟาสซิสต์ และภายหลังเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ได้ทำการเนรเทศพวกเขาไปยัง(Jasenovac concentration camp) หรือค่ายของเยอรมันในโปแลนด์ กฎหมายทางเชื้อชาติที่ถูกบังคับใช้โดยกองทหารอาสาอูสตาเช จำนวนผู้ที่ตกเป๋นเหยื่อของระบอบอูสตาเชนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากมีการทำลายเอกสารและตัวเลขที่แตกต่างกันโดยนักประวัติศาสตร์ ตามข้อมูลของพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานรำลึกฮอโลคอสต์ของสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี ซี จำนวนชาวเซิร์บ ระหว่าง 320,000 คน และ 340,000 คนล้วนถูกสังหารในรัฐเอกราชโครเอเชีย
เมื่อสงครามปะทุขึ้นในยุโรป เศรษฐกิจของราชอาณาจักรโรมาเนียดูด้อยกว่าผลประโยชน์ของนาซีเยอรมนีผ่านทางสนธิสัญญาที่ลงนามในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1939 อย่างไรก็ตาม ประเทศไม่ได้ละทิ้งความเห็นอกเห็นใจที่สนับสนุนต่อบริติชโดยสิ้นเชิง โรมาเนียยังเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์ตลอดในช่วงระหว่างสงคราม ภายหลังจากการรุกรานโปแลนด์โดยเยอรมนีและสหภาพโซเวียต และการพิชิตฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนี โรมาเนียพบว่าตนเองโดดเดี่ยวมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ฝ่ายสนับสนุนเยอรมันและฝ่ายสนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์ก็เริ่มเติบโตขึ้น
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพระหว่างเยอรมนีและโซเวียตซึ่งประกอบไปด้วยพิธีตราสารลับว่าด้วยได้ยกดินแดนและให้แก่สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1940 สหภาพโซเวียตและ[92] เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1940 อันเป็นผลมาจากการตัดสินด้วยอนุญาโตตุลาการของเยอรมัน-อิตาลีในรางวัลเวียนนาครั้งที่สอง โรมาเนียต้องยกดินแดนให้แก่ฮังการี ดอบรูจาใต้ถูกยกให้แก่บัลแกเรียในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 ในความพยายามที่จะเอาใจพวกฟาสซิสต์ภายในประเทศและได้รับการคุ้มครองจากเยอรมัน พระเจ้าคาโรลที่ 2 ทรงแต่งตั้งให้นายพล อียอน อันตอเนสกู เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1940
สองวันต่อมา อันตอเนสกูได้บีบบังคับกษัตริย์ให้ทำการสละราชบังลังก์และแต่งตั้งพระราชโอรสองค์เล็กพระนามว่า ไมเคิล(มีไฮ) ขึ้นครองราชย์ และประกาศแต่งตั้งตนเองเป็น Conducător(ท่านผู้นำ) ด้วยอำนาจเผด็จการ ได้ถูกประกาศสถาปนา เมื่อวันที่ 14 กันยายน โดยมีกลุ่มผู้พิทักษ์เหล็กปกครองร่วมกับอันตอเนสกู ซึ่งเป็นขบวนการทางการเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายเพียงหนึ่งเดียวในโรมาเนีย ภายใต้กษัตริย์มีไฮที่ 1 และรัฐบาลทหารของอันตอเนสกู โรมาเนียได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ทหารเยอรมันได้เข้าสู่ประเทศ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1941 เพื่อทำการฝึกแก่กองทัพโรมาเนีย คำสั่งของฮิตเลอร์ต่อทหาร เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ได้ระบุว่า "จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแม้แต่การยึดครองทางทหารของโรมาเนียเพียงน้อยนิด" การเข้ามาของทหารเยอรมันในโรมาเนียได้ทำให้เบนิโต มุสโสลินี เผด็จการอิตาลีตัดสินใจในการเปิดฉากการรุกรานกรีซ เริ่มต้นสงครามกรีซ-อิตาลี ภายหลังจากได้รับอนุมัติจากฮิตเลอร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 อันตอเนสกูออกจากอำนาจ
ต่อมาโรมาเนียถูกใช้เป็นเวทีสำหรับการรุกรานยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต แม้จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทางทหารในการรุกรานยูโกสลาเวีย โรมาเนียได้ร้องขอให้ทหารฮังการีไม่ปฏิบัติการใน ดังนั้น เพาลุสจึงแก้ไขแผนการของฮังการีและเก็บทหารของตนไว้ทางตะวันตกของแม่น้ำติซอ
โรมาเนียได้เข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตซึ่งนำโดยเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 อันตอเนสกูเป็นผู้นำต่างประเทศเพียงคนเดียวที่ฮิตเลอร์ปรึกษาหารือเรื่องทางทหาร และทั้งสองคนจะพบกันไม่น้อยกว่าสิบครั้งตลอดช่วงสงคราม โรมาเนียได้ยึดดินแดนเบสซาราเบียและบูโควินาทางตอนเหนือกลับคืนมาในช่วงปฏิบัติการมึนเชินก่อนที่จะยึดครองดินแดนโซเวียตต่อไปและก่อตั้ง ภายหลังการล้อมออแดซา เมืองกลายเป็นเมืองหลวงของเขตผู้ว่าการ กองทหารโรมาเนียพร้อมกับกองทหารเยอรมันและมีส่วนสำคัญในการล้อมเซวัสโตปอล ต่อมา กองทหารภูเขาได้ร่วมการทัพของเยอรมันในเทือกเขาคอเคซัสไปจนถึงนัลชิค ภายหลังจากประสบความสูญเสียอย่างร้ายแรง เจ้าหน้าที่โรมาเนียได้เริ่มทำการเจรจาทำข้อตกลงเพื่อสันติภาพอย่างลับ ๆ กับฝ่ายสัมพันธมิตร
อุตสาหกรรมทางทหารของโรมาเนียนั้นมีขนาดเล็กแต่เต็มไปด้วยความอเนกประสงค์ สามารถคัดลอกและผลิตระบบอาวุธของฝรั่งเศส โซเวียต เยอรมัน บริติช และเชโกสโลวักได้หลายพันรายการ รวมไปถึงการผลิตผลผลิตแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพ โรมาเนียยังได้สร้างเรือรบขนาดใหญ่มาก เช่น เรือวางทุ่นระเบิด NMS Amiral Murgescu และ เรือดำน้ำ NMS Rechinul และ NMS Marsuinul มีการผลิตเครื่องบินที่ถูกออกแบบแต่เดิมจำนวนหลายร้อยลำ เช่น เครื่องบินขับไล่อย่าง IAR 80 และเครื่องบินทิ้งระเบิดเบาอย่าง IAR 37 ประเทศนี้ได้สร้างยานรบหุ้มเกราะอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ยานเกราะพิฆาตรถถัง Mareșal ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่ามีอิทธิพลต่อการออกแบบของยานเกราะพิฆาตรถถัง เฮ็ทเซอร์ ของเยอรมัน โรมาเนียยังเป็นประเทศที่สำคัญในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1800 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในยุโรป และโรงกลั่นน้ำมันที่โปลเยชต์ ได้ให้ผลผลิตประมาณ 30% ของการผลิตน้ำมันของฝ่ายอักษะทั้งหมด นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษนามว่า เดนนิส เดเลแทนต์ ได้ยืนยันว่า การสนับสนุนที่สำคัญของโรมาเนียต่อการทำสงครามของฝ่ายอักษะ รวมถึงการมีกองทัพฝ่ายอักษะขนาดใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรปและค้ำจุนการทำสงครามของเยอรมันด้วยน้ำมันและยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งหมายความว่า "เทียบเท่ากับอิตาลีที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญและไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่ของประเทศรองที่เป็นรัฐบริวารของฝ่ายอักษะ" นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษอีกคนนามว่า Mark Axworthy มีความเชื่อว่า โรมาเนียมีโอกาสที่จะพิจารณาได้ว่ามีกองทัพฝ่ายอักษะที่สำคัญมากที่สุดเป็นอันดับสองในยุโรป มากกว่ากองทัพอิตาลีด้วยซ้ำ
โรมาเนียภายใต้อันตอเนสกูเป็นรัฐเผด็จการฟาสซิสต์และระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ชาวยิวจำนวนระหว่าง 45,000 คน และ 60,000 คน ล้วนถูกสังหารในบูโกวินาและเบรสซาราเบียโดยทหารโรมาเนียและเยอรมันใน ค.ศ. 1941 ตามคำกล่าวของ Wilhelm Filderman ว่า ชาวยิวอย่างน้อย 150,000 คนในเบรสซาราเบียและบูโกวินา ล้วนเสียชีวิตภายใต้ระบอบอันตอเนสกู(ทั้งผู้ที่ถูกขับไล่เนรเทศและผู้ที่ยังคงอยู่) โดยรวมแล้ว ชาวยิวประมาณ 250,000 คน ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลของโรมาเนียล้วนเสียชีวิต
ใน ค.ศ. 1943 กระแสสงครามได้เปลี่ยนไป โซเวียตได้ผลักดันกลับไปยังทางตะวันตกมากขึ้น สามารถยึดยูเครนกลับคืนมา และในที่สุดก็ได้เปิดฉากการรุกโรมาเนียทางตะวันออกในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1944 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ กองกำลังทหารโรมาเนียในแหลมไครเมียได้ช่วยกันในช่วงแรก แต่ในที่สุด คาบสมุทรทั้งหมดก็ถูกกองทัพโซเวียตยึดครองกลับคืนอีกครั้ง และได้ทำการอพยพทหารเยอรมันและโรมาเนียมากกว่า 100,000 นาย ความสำเร็จดังกล่าวทำให้พลเรือเอกของกองทัพเรือโรมาเนียนามว่า โฮเรีย มาเชลลาริอู(Horia Macellariu) ได้รับเหรียญกางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก ในช่วง เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 โรมาเนียได้ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ทหารโรมาเนียได้ต่อสู้รบเคียงข้างกับกองทัพโซเวียตจนกระทั่งสงครามยุติลง ซึ่งเดินทางไปไกลถึงเชโกสโลวาเกียและออสเตรีย
สโลวาเกีย
สาธารณรัฐสโลวักภายใต้การนำโดยประธานาธิบดี ยอเซ็ฟ ติซอ ซึ่งได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
สโลวาเกียมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเยอรมนีเกือบที่จะโดยทันทีภายหลังจากการประกาศอิสรภาพจากเชโกสลโลวาเกีย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 สโลวาเกียได้เข้าสู่ในสนธิสัญญาอารักขากับเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1939
ทหารสโลวาเกียได้เข้าร่วมการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมัน โดยมีความสนใจในภูมิภาคและ ทั้งสองภูมิภาคพร้อมกับ Cieszyn Silesia ได้มีระหว่างโปแลนด์และเชโกสโลวาเกียนับตั้งแต่ ค.ศ. 1918 โปแลนด์ได้ผนวกรวมดินแดนทั้งสองอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงมิวนิก ภายหลังจากการรุกรานโปแลนด์ สโลวาเกียได้ยึดครองดินแดนเหล่านั้นกลับคึน สโลวาเกียได้รุกรานโปแลนด์พร้อมกองทัพเยอรมัน โดยให้การสนับสนุนด้วยกองกำลังทหารจำนวน 50,000 นายในช่วงสงคราม
สโลวาเกียได้ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 และลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นซึ่งได้เริ่มทำใหม่ใน ค.ศ. 1941 ทหารสโลวาเกียบได้เข้าต่อสู้รบบนแนวรบด้านตะวันออกของเยอรมนี ซึ่งได้จัดหาเพื่อเสริมกำลังให้แก่เยอรมนีด้วยสองกองพลโดยจำนวนทั้งหมด 80,000 นาย สโลวาเกียประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ
สโลวาเกียได้รอดพ้นจากการยึดครองของกองทัพเยอรมันจนกระทั่งการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1944 และเกือบจะถูกบดขยี้โดยทันทีโดยหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สและกองกำลังทหารสโลวักที่ภักดีต่อยอเซ็ฟ ติซอ
ภายหลังสงคราม ติซอถูกจับกุมและประหารชีวิต และสโลวาเกียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกียอีกครั้ง ชายแดนที่ติดกับโปแลนด์ได้ถูกย้ายกลับไปเป็นรัฐในช่วงก่อนสงคราม สโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็กต่างได้แยกตัวออกกลายเป็นรัฐอิสระในที่สุดใน ค.ศ. 1993
ยูโกสลาเวีย (เพียงแค่สองวันของการเป็นประเทศสมาชิก)
ยูโกสลาเวียส่วนมากถูกล้อมรอบไปด้วยประเทศสมาชิกของกติกาสัญญาและตอนนี้มีชายแดนติดกับเยอรมันไรช์ ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1940 ฮิตเลอร์ต้องการทำกติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันกับยูโกสลาเวีย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1941 ฮิตเลอร์ได้เรียกร้องให้ยูโกสลาเวียเข้าร่วมกติกาสัญญาไตรภาคี แต่รัฐบาลยูโกสลาเวียกลับยืดเวลา ในเดือนมีนาคม กองพลของกองทัพเยอรมันได้มาถึงชายแดนระหว่างบัลแกเรีย-ยูโกสลาเวียและได้ขออนุญาตผ่านทางเพื่อเข้าโจมตีกรีซ วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1941 ด้วยความเกรงกลัวว่ายูโกสลาเวียจะถูกรุกรานไปด้วย รัฐบาลยูโกสลาเวียจึงตัดสินใจที่จะลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีโดยมีข้อสงวนที่สำคัญ ซึ่งต่างจากประเทศมหาอำนาจฝ่ายอักษะอื่น ๆ ยูโกสลาเวียไม่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือทางทหาร หรือจัดหาอาณาเขตของตนแก่ฝ่ายอักษะเพื่อเคลื่อนกองกำลังทหารในช่วงสงคราม เพียงแค่สองวัน ภายหลังการประท้วงบนถนนในกรุงเบลเกรด เจ้าชายพอลและรัฐบาลได้ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดย สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 ด้วยพระชนมพรรษา 17 พรรษา ทรงได้รับประกาศบรรลุนิติภาวะ รัฐบาลชุดใหม่ของยูโกสลาเวียภายใต้การนำโดยนายพล ได้ปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันจากการลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคีของยูโกสลาเวีย และเริ่มต้นการเจรจากับบริเตนใหญ่ และสหภาพโซเวียต วินสตัน เชอร์ชิลได้ลงความเห็นว่า "ยูโกสลาเวียได้พบจิตวิญญาณแล้ว" อย่างไรก็ตาม ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้กองทัพบุกเข้ายึดครองอย่างรวดเร็ว
ประเทศอื่น ๆ ที่ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น
บางประเทศได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นแต่ไม่ได้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี ดังนั้นการยึดมั่นต่อฝ่ายอักษะจึงอาจดูน้อยกว่าผู้ลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี บางส่วนของรัฐเหล่านี้ได้ทำสงครามอย่างเป็นทางการกับสมาชิกของฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศอื่น ๆ ยังคงวางตัวเป็นกลางในสงคราม และทำการส่งทหารอาสาสมัครไปเข้าร่วมรบเท่านั้น การลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นถูกมองว่า "เป็นบททดสอบความจงรักภักดี" โดยผู้นำนาซี
จีน (รัฐบาลแห่งชาติจีนที่ได้รับการปฏิรูป)
ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เข้ารุกจากฐานที่มั่นในแมนจูเรียไปเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกและตอนกลางของจีน รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นหลายแห่งถูกก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ที่ถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครอง รวมทั้งที่ปักกิ่ง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1937 และที่หนานจิง ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1938 รัฐบาลเหล่านี้ถูกรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นที่หนานจิง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1940 วาง จิงเว่ย์กลายเป็นประมุขแห่งรัฐ รัฐบาลจะต้องดำเนินการตามแนวทางเดียวกับระบอบชาตินิยมและใช้สัญลักษณ์ของตนเอง
รัฐบาลหนานจิงแทบไม่มีอำนาจที่แท้จริง บทบาทหลักคือทำหน้าที่เป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อสำหรับญี่ปุ่น รัฐบาลหนานจิงได้สรุปข้อตกลงกับญี่ปุ่นและแมนจูกัว โดยอนุญาตให้ญี่ปุ่นยึดครองจีน และยอมรับความเป็นเอกราชของแมนจูกัวภายใต้อารักขาของญี่ปุ่น รัฐบาลหนานจิงได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 และประกาศสงครามกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1943
รัฐบาลมีความสัมพันธ์อันตึงเครียดกับญี่ปุ่นตั้งแต่เริ่มต้น การที่นายวางยืนกรานว่าระบอบการปกครองของเขาเป็นรัฐบาลชาตินิยมที่แท้จริงของจีนและในการลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ทั้งหมดของพรรคก๊กมินตั๋งทำให้เกิดความขัดแย้งกับญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง ประเด่นที่เด่นชัดมากที่สุดคือเรื่องของธงของระบอบการปกครอง ซี่งเหมือนกับธงของสาธารณรัฐจีน
สถานการณ์ที่เลวร้ายลงสำหรับญี่ปุ่น ตั้งแต่ ค.ศ. 1943 เป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่ากองทัพนานกิงได้รับบทบาทที่สำคัญในการป้องกันจีนที่ถูกยึดครองมากกว่าที่ญี่ปุ่นจะคาดคิดในช่วงแรก กองทัพได้ถูกใช้เกือบอย่างต่อเนื่องในการต่อต้านของฝ่ายคอมมิวนิสต์จีน วาง จิงเว่ย์ได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 และได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยรองผู้ช่วยของเขา เฉิน กงป๋อ เฉินมีอำนาจอิทธิพลเพียงแค่เล็กน้อย อำนาจที่แท้จริงซึ่งอยู่เบื้องหลังในระบอบคือ นายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ การตายของนายวางได้ขจัดความชอบธรรมเพียงเล็กน้อยเท่าที่ระบอบนั้นมี วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 ภายหลังความพ่ายแพ้สงครามของญี่ปุ่น พื้นที่ดังกล่าวได้ยอมจำนต่อนายพล นายพลฝ่ายชาตินิยมผู้จงรักภักดีต่อเจียง ไคเชก เฉิน กงป๋อถูกนำตัวขึ้นศาลและถูกตัดสินประหารชีวิตใน ค.ศ. 1946
เดนมาร์ก
เดนมาร์กถูกยึดครองโดยเยอรมนีภายหลังเดือนเมษายน ค.ศ. 1940 และไม่เคยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 เดนมาร์กและเยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน ซึ่งไม่มีภาระผูกผันทางทหารแต่อย่างใดสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 เมษายน เยอรมันได้เข้าโจมตีสแกนดิเนเวีย และความรวดเร็วของการบุกครองเดนมาร์กของเยอรมันทำให้พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 และรัฐบาลเดนมาร์กต้องลี้ภัย พวกเขาต้องยอมรับ"การอารักขาโดยไรชส์" และการเข้าประจำการของกองทัพเยอรมันเพื่อแลกกับความเป็นอิสระเพียงแค่ในนาม เดนมาร์กได้คอยประสานนโยบายต่างประเทศกับเยอรมนี ขยายการยอมรับทางการทูตไปยังผู้ให้ความร่วมมือและระบอบหุ่นเชิดของฝ่ายอักษะ และทำลายความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐบาลผลัดถิ่นของฝ่ายสัมพันธมิตร เดนมาร์กได้ทำลายความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียตและลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1941 อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้เพิกเฉยต่อเดนมาร์กและทำงานร่วมกับ เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำสหรัฐ เมื่อพูดถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้ไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์ และกองเรือพาณิชย์ของเดนมาร์กในการต่อต้านเยอรมนี
ใน ค.ศ. 1941 นาซีได้ก่อตั้ง ทหารอาสาสมัครหลายพันนายและหลายคนเสียชีวิตในฐานะส่วนหนึ่งของกองทัพเยอรมันบนแนวรบด้านตะวันออก เดนมาร์กได้ขายผลิตผลทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมให้กับเยอรมนีและให้เงินกู้สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์และป้อมปราการ การมีอยู่ของเยอรมันในเดนมาร์ก รวมไปถึงการก่อสร้างส่วนหนึ่งของป้อมปราการในกำแพงแอตแลนติกซึ่งเดนมาร์กจ่ายไปและไม่เคยได้รับกลับคืนมาอีกเลย
รัฐบาลในอารักขาของเดนมาร์กดำรงอยู่จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้ลาออกกันหมด ภายหลังจากการเลือกตั้งที่ถูกกำหนดการตามปกติและเสรีเป็นส่วนใหญ่ ทำให้วาระปัจจุบันของรัฐสภาเดนมาร์กได้สิ้นสุดลง เยอรมันได้ประกาศบังคับใช้กฏอัยการศึกตามมาด้วย และผู้ให้ความร่วมมือชาวเดนมาร์กยังคงดำเนินต่อไปในระดับฝ่ายบริหารปกครอง โดยระบบข้าราชการของเดนมาร์กซึ่งทำงานอยู่ภายใต้คำสั่งของเยอรมัน กองทัพเรือเดนมาร์กได้ทำลายเรือขนาดใหญ่ จำนวน 32 ลำ เยอรมันได้ยึดเรือมา 64 ลำ และต่อมาได้ถูกยกและซ่อมแซมเรือที่จมไป จำนวน 15 ลำ เรือรบ 13 ลำ ได้เล่นเรือหนีไปยังสวีเดนและก่อตั้งกองเรือรบเดนมาร์กในการผลัดถิ่น สวีเดนอนุญาตให้จัดตั้ง ซึ่งไม่เคยเห็นออกมาสู้รบเลยขบวนการต่อต้านเดนมาร์กมีบทบาทในการก่อวินาศกรรมและการออกหนังสือพิมพ์ใต้ดินและการขึ้นบัญชีดำกับผู้ที่ให้ความร่วมมือ
แม้ว่าฟินแลนด์จะไม่เคยลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี แต่กลับต่อสู้กับสหภาพโซเวียตเคียงข้างกับเยอรมนีในสงครามต่อเนื่อง ค.ศ. 1941-44 ในช่วงที่ตำแหน่งทาหารของรัฐบาลฟินแดลน์ในช่วงสงครามคือฟินแลนด์เป็นคู่สงครามของเยอรมันซึ่งพวกเขาได้อธิบายว่า "สหายผู้ร่วมรบ" (brothers-in-arms) ฟินแลนด์ได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นอีกครั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ฟินแลนด์ได้ลงนามกับฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1947 ซึ่งได้อธิบายว่า ประเทศฟินแลนด์นั้นเป็น "พันธมิตรของเยอรมนีภายใต้การนำของฮิตเลอร์" ในสงครามต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ฟินแลนด์จึงเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเพียงประเทศเดียวที่เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ความเป็นอิสระอีกครั้งของฟินแลนด์จากเยอรมนีทำให้ฟินแลนด์อยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบมากที่สุดในเหล่าประเทศรองมหาอำนาจฝ่ายอักษะทั้งหมด
ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามต่อเนื่องยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในฟินแลนด์ ในหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า Helsingin Sanomat ปี ค.ศ. 2008 ได้สำรวจพบว่า นักประวัติศาสตร์ชาวฟินแลนด์จำนวน 16 คนจาก 28 คนซึ่งเห็นด้วยว่าฟินแลนด์เป็นพันธมิตรของนาซีเยอรมนี มีเพียงแค่ 6 คนเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ ระหว่างเยอรมนีและสหภาพโซเวียตซึ่งมีพิธีสารลับที่จะทำการแบ่งแยกยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ออกจากกันและกำหนดให้ฟินแลนด์เป็นเขตอิทธิพลของโซเวียต ภายหลังจากความพยายามในการบีบบังคับเพื่อทำการยกดินแดนและการสัมปทานอื่น ๆ ในฟินแลนด์ซึ่งประสบความล้มเหลว สหภาพโซเวียตได้พยายามที่จะบุกครองฟินแลนด์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ในช่วงสงครามฤดูหนาว ด้วยความตั้งใจที่จะจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในฟินแลนด์[127] ความขัดแย้งครั้งนี้ได้เข้าคุกคามเส้นทางการขนส่งแร่เหล็กของเยอรมนีและเปิดโอกาสในการเข้าแทรกแซงของฝ่ายสัมพันธมิตรในภูมิภาคนี้ แม้ว่าฟินแลนด์จะทำการต่อต้าน สนธิสัญญาสันติภาพได้ถูกลงนามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1940 ซึ่งฟินแลนด์ได้ทำการยกดินแดนที่สำคัญเพียงบางส่วนให้กับสหภาพโซเวียต รวมทั้งคอคอดคาเรเลียน ซึ่งมีเมืองขนาดใหญ่อันดับสองของฟินแลนด์คือ วิปูริ และสิ่งปลูกสร้างการป้องกันที่สำคัญอย่าง ภายหลังสงครามครั้งนี้ ฟินแลนด์ต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร[129] และสวีเดนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง[131] แต่ถูกขัดขวางโดยการกระทำของโซเวียตและเยอรมัน ส่งผลทำให้ฟินแลนด์เริ่มเข้าใกล้ชิดกับเยอรมนีมากขึ้น ประการแรกด้วยความตั้งใจที่จะได้แรงสนับสนุนของเยอรมันในฐานะตัวถ่วงดุลเพื่อขัดขวางแรงกดดันของโซเวียตอย่างต่อเนื่อง และต่อมาเพื่อช่วยในการทวงคืนดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืนมา
ในช่วงวันที่เปิดฉากปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา การบุกครองสหภาพโซเวียตของเยอรมนี ฟินแลนด์ได้อนุญาตให้เครื่องบินเยอรมันที่บินกลับมาจากการทิ้งทุ่นระเบิดเหนือเกาะครอนสตัดท์และแม่น้ำเนวาเพื่อทำการเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินฟินแลนด์ก่อนที่จะบินกลับไปยังฐานทัพในปรัสเซียตะวันออก เพื่อเป็นการตอบโต้ สหภาพโซเวียตได้เปิดฉากการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ต่อสนามบินและเมืองต่าง ๆ ของฟินแลนด์ ซึ่งทำให้ฟินแลนด์ประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ความขัดแย้งของฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียตซึ่งมักจะถูกเรียกกันว่า สงครามต่อเนื่อง
เป้าหมายหลักของฟินแลนด์คือการทวงคืนดินแดนที่สูญเสียไปให้กับสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1941 จอมพล คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม ได้ออกคำสั่งประจำวันซึ่งได้มีการกำหนดที่เข้าใจในระดับสากลว่า เป็นผลประโยชน์บนดินแดนของฟินแลนด์ในคาเรเลียของรัสเซีย
ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและฟินแลนด์ได้ถูกตัดขาด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1941 ภายหลังจากบริติชได้ทำการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันในเพ็ตซาโมที่เป็นหมู่บ้านและท่าเรือของฟินแลนด์ สหราชอาณาจักรได้เรียกร้องให้ฟินแลนด์ยุติการรุกรานต่อสหภาพโซเวียตหลายครั้ง และประกาศสงครามกับฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมคม ค.ศ. 1941 แม้ว่าจะไม่มีปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ ก็ตาม สงครามครั้งนี้ไม่เคยถูกประกาศระหว่างฟินแลนด์และสหรัฐฯ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะถูกตัดขาดไปใน ค.ศ. 1944 อันเป็นผลมาจาก
ฟินแลนด์ได้ยืนยันที่จะคอยบัญชาการกองทัพของตนเองและดำเนินการตามเป้าหมายในการทำสงครามอย่างเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นกับเยอรมนี เยอรมันและฟินแลนด์ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดใน ซึ่งเป็นการโจมตีร่วมกันต่อมูร์มันสค์ ฟินแลนด์ได้เข้าร่วมในการล้อมเลนินกราด ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญที่สุดของเยอรมนีในการทำสงครามกับสหภาพโซเวียต
ความสัมพันธ์ระหว่างฟินแลนด์และเยอรมนียังได้รับผลกระทบมาจาก ซึ่งได้ให้ข้อเสนอเป็นเงื่อนไขของเยอรมันสำหรับความช่วยเหลือด้วยอาวุธยุโธปกรณ์และการสนับสนุนทางอากาศ เนื่องจากได้ทำการคุกคามฟินแลนด์ด้วยการยึดครองอย่างสมบูรณ์ ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกลงนามโดยประธานาธิบดี แต่ไม่เคยให้สัตยาบันโดยรัฐสภาฟินแลนด์ ทำให้ฟินแลนด์ไม่ต้องการสันติภาพที่แยกจากกัน
ภายหลังการรุกของโซเวียตซึ่งการสู้รบได้หยุดนิ่งลง ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากรุติคือ จอมพล มันเนอร์เฮม ได้ปฏิเสธข้อตกลงและเปิดการเจรจาลับกับโซเวียต ซึ่งทำให้มีการหยุดยิงในวันที่ 4 กันยายน และการสงบศึกมอสโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1944 ภายใต้เงื่อนไขของการสงบศึกคือ ฟินแลนด์จำเป็นที่จะต้องทำการขับไล่ทหารเยอรมันออกไปจากดินแดนฟินแลนด์ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการสู้รบที่ถูกเรียกว่า
แมนจูเรีย (แมนจูกัว)
แมนจูกัว ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในแมนจูเรียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถูกปกครองเพียงแต่ในนามโดยผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับถูกควบคุมโดยกองทัพญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ กองทัพคันโต ในขณะที่แมนจูกัวเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นรัฐสำหรับชนกลุ่มน้อยชาวแมนจู แต่ภูมิภาคก็มีชาวจีนฮั่นเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่
ภายหลังญี่ปุ่นเข้ารุกรานแมนจูเรียในค.ศ. 1939 ความเป็นเอกราชของแมนจูกัว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 โดยมีผู่อี๋เป็นประมุขแห่งรัฐ เขาได้ประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัวในอีกหนึ่งปีต่อมา ประเทศแมนจูใหม่นี้ได้รับการยอมรับจาก 23 ประเทศจาก 80 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ เยอรมนี อิตาลี และสหภาพโซเวียตเป็นหนึ่งในมหาอำนาจหลักที่ได้ให้การยอมรับแมนจูกัว ประเทศอื่นที่ได้ให้การยอมรับต่อรัฐ ได้แก่ สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ และนครวาติกัน แมนจูกัวยังได้รับกรยอมรับโดยพันธมิตรและรัฐบาลหุ่นเชิดอื่น ๆ ของญี่ปุ่น รวมทั้งเหมิ่งเจียง(มองโกเลียใน) รัฐบาลพม่าของ ประเทศไทย ระบอบวาง จิ่งเว่ย์ และรัฐบาลอินเดียของสุภาษ จันทระ โพส สันนิบาตชาติได้ประกาศภายหลังใน ค.ศ. 1934 ว่า แมนจูเรียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ญี่ปุ่นถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติ รัฐแมนจูกัวได้ยุติการดำรงอยู่ภายหลังจากโซเวียตเข้ารุกรานแมนจูเรียใน ค.ศ. 1945
แมนจูกัวได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น ค.ศ. 1939 แต่ไม่เคยลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี
สเปน
รัฐสเปนของเกาดิโย ฟรันซิสโก ฟรังโก ได้ให้ความช่วยเหลือด้านศีลธรรม เศรษฐกิจ และการทหารแก่ฝ่ายอักษะ ในขณะที่ยังคงวางตัวเป็นกลางเพียงแค่ในนาม ฟรังโกได้อธิบายว่า สเปนเป็นสมาชิกของฝ่ายอักษะและลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นในปี ค.ศ. 1941 กับฮิตเลอร์และมุสโสลินี สมาชิกของพรรค Falange ที่ปกครองในสเปนได้จัดการออกแบบในการทวงคืนดินแดนต่อยิบรอลตาร์ กลุ่ม Falangists ยังคงสนับสนุนการเข้าครอบครองอาณานิคมของสเปนใน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของ นอกจากนี้ สเปนยังคงมีความปรารถนากับอดีตอาณานิคมของสเปนในละตินอเมริกา
ฟรังโกเคยชนะสงครามกลางเมืองสเปนด้วยความช่วยเหลือของนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลี ทั้งสองประเทศต่างมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะสถาปนารัฐฟาสซิสต์อีกแห่งในยุโรป สเปนเป็นหนี้กับเยอรมนีมากกว่า 212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับซัพพลายอาวุธยุทโธปกรณ์ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน และกองกำลังทหารอิตาลีที่ได้เข้าต่อสู้รบในสเปน โดยอยู่ข้างฝ่ายชาตินิยมของฟรังโก
เมื่อเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1941 ฟรังโกได้เสนอให้จัดตั้งกองกำลังทหารอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมการรุกรานโดยทันที สิ่งนี้ได้รับการยอมรับโดยฮิตเลอร์ และภายในสองสัปดาห์ ได้มีทหารอาสาสมัครที่มากเกินพอที่จะจัดตั้งเป็นกองพล - กองพลน้ำเงิน(División Azul) ภายใต้บังคับบัญชาการโดยนายพล
ด้วยความเป็นไปได้ที่สเปนจะเข้ามาแทรกแซงในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งได้สำรวจความเคลื่อนไหวของพรรคฟาลังเฆที่ปกครองในละตินอเมริกาของสเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปวยร์โตรีโก ซึ่งความรู้สึกนิยมฟาลังเฆและนิยมฟรังโกนั้นมีอยู่สูง แม้แต่ในหมู่ผู้ปกครองชนชั้นสูง กลุ่มฟาลังฆิสต์ได้ส่งเสริมแนวคิดมในการสนับสนุนอดีตอาณานิคมของสเปนในการสู้รบต่อต้านการปกครองของอเมริกา ก่อนสงครามจะปะทุ การสนับสนุนต่อฟรังโกและฟาลังเฆนั้นมีอยู่สูงในฟิลิปปินส์ กลุ่มฟาลังเฆภายนอก สาขาระดับระหว่างประเทศของฟาลังเฆได้ร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นต่อต้านกองทัพสหรัฐและฟิลิปิโนในฟิลิปปินส์ผ่านทางฟิลิปปินส์ ฟาลังเฆ
กติกาสัญญาทวิภาคีกับฝ่ายอักษะ
บางประเทศได้สมรู้ร่วมคิดกับเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น โดยไม่ได้ลงนามในกติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์นและกติกาสัญญาไตรภาคี ในบางกรณีข้อตกลงทวิภาคีเหล่านี้ได้ถูกทำขึ้นอย่างเป็นทางการ ในบางกรณีก็เป็นทางการที่น้อยกว่า บางประเทศเหล่านี้ก็เป็นรัฐหุ่นเชิดที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยฝ่ายอักษะเอง
พม่า (รัฐบาลบะม่อ)
กองทัพญี่ปุ่นและเหล่านักชาตินิยมชาวพม่า ซึ่งนำโดยอองซาน เข้ายึดการควบคุมพม่าจากสหราชอาณาจักรในช่วงปี ค.ศ. 1942 รัฐพม่าได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 ภายใต้การนำโดยผู้นำนักชาตินิยมชาวพม่านามว่า สนธิสัญญาพันธมิตรระหว่างระบอบบะม่อและญี่ปุ่นและเรนโซะ ซาวาดะ สำหรับญี่ปุ่นในวันเดียวกับที่รัฐบาลบะม่อได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ญี่ปุ่น "ด้วยความช่วยเหลือที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อดำเนินการปฏิบัติการทางทหารที่ประสบความสำเร็จในพม่า" รัฐบาลบะม่อได้ระดมสังคมชาวพม่าในช่วงสงครามเพื่อสนับสนุนความพยายามในการทำสงครามของฝ่ายอักษะ
ระบอบบะม่อได้ก่อตั้งกองทัพป้องกันพม่า(ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพแห่งชาติพม่า) ซึ่งอยู่ภายใต้บัญชาการโดยอองซาน ทำการต่อสู้เคียงข้างกับญี่ปุ่นใน บะม่อได้ถูกอธิบายว่า เป็นรัฐที่มี"ความเป็นอิสระโดยปราศจากอำนาจอธิปไตย" เป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1945 กองทัพแห่งชาติพม่าได้ก่อกบฏต่อญี่ปุ่น
ในฐานะที่เป็นประเทศพันธมิตรของญี่ปุ่นในช่วงสงครามซึ่งคอยส่งกองกำลังทหารไปต่อสู้รบเคียงข้างกับญี่ปุ่นในการต่อสู้รบกับกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรฝ่ายอักษะ หรืออย่างน้อย "เข้าข้างกับมหาอำนาจฝ่ายอักษะ" ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1945 นักการเมืองหญิงชาวอเมริกัน ได้เขียนบทความอธิบายว่า ประเทศไทยเป็น"ประเทศฝ่ายอักษะอย่างไม่อาจปฏิเสธได้" ในช่วงสงคราม
ประเทศไทยได้เข้าต่อสู้รบในสงครามฝรั่งเศส-ไทยในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1941 เพื่อทวงคืนดินแดนจากอินโดจีนฝรั่งเศส กองทัพญี่ปุ่นได้บุกประเทศไทยภายในหนึ่งชั่วโมงครึ่งช่วงก่อนการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์(เนื่องจากเส้นแบ่งเขตวันสากล ช่วงเวลาท้องถิ่นคือช่วงเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941) เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังการรุกราน จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทยได้ออกคำสั่งให้ยุติการต่อต้านญี่ปุ่น มีการตกลงแผนปฏิบัติการทางทหารร่วมระหว่างญี่ปุ่น-ไทย โดยกองกำลังไทยจะบุกพม่าเพื่อปกป้องปีกขวาของกองทัพญี่ปุ่น ได้ตกลงกัน เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1941 พันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่นได้ถูกลงนาม และเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 สังข์ พัธโนทัยได้อ่านคำประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการผ่านทางวิทยุ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช ไม่ได้ส่งมอบสำเนาคำประกาศสงคราม ดังนั้น แม้ว่าบริติชจะตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามกับไทยและถือว่าเป็นประเทศที่เป็นศัตรู แต่สหรัฐฯกลับไม่ทำเช่นนั้น
ฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้เห็นพ้องต้องกันว่ารัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยงแดงของพม่าให้อยู่ภายใต้การควบคุมของไทย ส่วนที่เหลือของพม่าให้อยู่ภายใต้การควบคุมญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองทัพพายัพของไทยได้เข้าสู่รัฐฉานทางตะวันออกของพม่า ซึ่งได้ถูกกล่าวอ้างสิทธิ์โดยราชอาณาจักรสยาม ทหารราบสามกองพลและทหารม้าหนึ่งกองพลของไทย หัวหอกโดยกลุ่มยานเกราะลาดตระเวนและได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ ได้เข้าปะทะกับกองพลที่ 93 ของจีนที่กำลังล่าถอย เชียงตุงที่เป็นเป้าหมายหลัก ได้ถูกยึดครองเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม การรุกครั้งใหม่ในเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายนทำให้จีนล่าถอยกลับสู่ยูนนาน
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ประเทศไทยได้ลงนามในคำปฏิญญาร่วมมหาเอเชียบูรพา ซึ่งได้เข้าข้างกับฝ่ายอักษะอย่างเป็นทางการ พื้นที่ที่ประกอบไปด้วยรัฐฉานและรัฐกะยาได้ถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศไทย ใน ค.ศ. 1942 และอีกสี่รัฐทางตอนเหนือของมลายาก็ถูกญี่ปุ่นโอนย้ายไปยังประเทศไทยเพื่อเป็นรางวัลสำหรับความร่วมมือของไทย พื้นที่เหล่านี้ได้ถูกส่งคืนให้กับพม่าและมลายูใน ค.ศ. 1945 ทหารไทยสูญเสียไปทั้งหมด 5,559 นายในช่วงสงคราม โดยในจำนวนเหล่านี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 180 นาย ที่ต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ประมาณ 150 นายที่เสียชีวิตในการสู้รบในรัฐฉาน และส่วนที่เหลือซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรียและโรคอื่น ๆ ในช่วงสองสามเดือนแรกนี้มีการก่อตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้น โดยเป็นองค์กรเสรีไทยที่เป็นคู่ขนานในสหราชอาณาจักร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งเป็นผู้นำในนามขององค์กรที่ก่อตั้งองค์กรในอังกฤษ และปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นหัวหน้ากองบัญชาการที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งปฏิบัติการอยู่ในประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือจากองค์ประกอบทางทหาร มีการก่อตั้งสนามบินลับและค่ายฝึก ในขณะที่สำนักบริการด้านยุทธศาสตร์ของอเมริกันและสายลับจาก ของบริติชได้ทำการลักลอบเข้าและออกนอกประเทศ
เมื่อสงครามยืดเยื้อ ประชาชนชาวไทยต่างไม่พอใจต่อการมีอยู่ของญี่ปุ่น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกโค่นล้มอำนาจด้วยการก่อรัฐประหาร รัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ภายใต้การนำของควง อภัยวงศ์ได้พยายามช่วยเหลือกลุ่มต่อต้าน ในขณะที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่น ภายหลังสงคราม อิทธิพลของสหรัฐได้ขัดขวางไม่ให้ประเทศไทยได้รับการปฏิบัติในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามของฝ่ายอักษะ แต่บริติชได้เรียกร้องข้าวจำนวน 3 ล้านตันเพื่อเป็นค่าชดเชยและการส่งคืนพื้นที่ที่ได้ผนวกรวมจากมลายูในช่วงสงคราม ประเทศไทยยังได้ส่งคืนพื้นที่บางส่วนของบริติชพม่าและอินโดจีนฝรั่งเศสที่ได้ถูกผนวกรวมไว้ด้วย จอมพล ป. พิบูลสงครามและพรรคพวกจำนวนหนึ่งได้ถูกดำเนินคดีในข้อก่ออาชญากรรมสงครามและให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาได้ถูกปัดตกไปเนื่องจากแรงกดดันจากสาธารณชนอย่างเข้มข้น ความคิดเห็นของประชาชนเป็นที่ชื่นชอบของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เนื่องจากเขาคิดว่าได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของไทย
ใน ค.ศ. 1939 สหภาพโซเวียตได้พิจารณาที่จะก่อตั้งพันธมิตรกับบริติชและฝรั่งเศสหรือกับเยอรมนี เมื่อการเจรจากับบริติชและฝรั่งเศสได้ล้มเหลว พวกเขาจึงหันเข้าหาเยอรมนีและลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีในตอนนี้ได้หลุดพ้นจากความเสี่ยงในการทำสงครามกับโซเวียต และรับรองในการส่งน้ำมันเชื้อเพลิง สิ่งนี้ได้รวมถึงพิธีสารลับที่ดินแดนที่ถูกควบคุมโดยโปแลนด์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตอิทธิพลของทั้งสองฝ่าย โซเวียตต้องการที่จะผนวกดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐเหล่านั้นอีกครั้ง ซึ่งแต่เดิมได้รับมาจากจักรวรรดิรัสเซียในศตวรรษก่อนและสูญเสียให้กับรัสเซียในภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งรวมถึงดินแดน เช่น ภูมิภาค (เบลารุสตะวันตกและยูเครนตะวันตก) ที่ได้ตกเป็นโปแลนด์ ภายหลังจากได้พ่ายแพ้ในสงครามโซเวียต-โปแลนด์ ค.ศ. 1919-1921
วันที่ 1 กันยายน เกือบหนึ่งสัปดาห์หลังจากกติกาสัญญาได้ถูกลงนาม เยอรมนีได้ทำการบุกครองโปแลนด์ สหภาพโซเวียตได้ทำการบุกครองโปแลนด์จากตะวันออกในวันที่ 17 กันยายน และในวันที่ 28 กันยายน ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาลับกับนาซีเยอรมนีเพื่อคอยประสานงานร่วมกันในการสู้รบกับขบวนการต่อต้านโปแลนด์ โซเวียตได้พุ่งเป้าไปที่หน่วยข่าวกรอง นายทุน และเจ้าหน้าที่ด้วยการจับกุมจำนวนมาก โดยมีเหยื่อจำนวนมากถูกส่งไปยังค่ายกูลักในไซบีเรีย และก่อกระทำอันโหดร้ายหลายครั้งซึ่งลงเอยด้วยการสังหารหมู่กาตึญ ไม่นานหลังจากบุกครองโปแลนด์ สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองสามประเทศบอลติก ได้แก่ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย และผนวกรวมและทางตอนเหนือของบูโควินาจากโรมาเนีย สหภาพโซเวียตได้เข้าโจมตีฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามฤดูหนาว
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
fayxksa xngkvs Axis Powers eyxrmn Achsenmachte xitali Potenze dell Asse yipun 枢軸国 Sujikukoku edimmichuxwa xksa orm ebxrlin Rome Berlin Axis epnphnthmitrthangthharthirierimsngkhramolkkhrngthisxngaelasurbkbfaysmphnthmitr smachikhlkkhux nasieyxrmni rachxanackrxitaliaelackrwrrdiyipun fayxksaepnkarrwmmuxknephuxtxtanfaysmphnthmitr aetklbkhadkarprasannganaelakhwamsxdkhlxngthangxudmkarnthiphxethiybknidfayxksa Achsenmachte eyxrmn Potenze dell Asse xitali 樞軸國 Sujikukoku yipun kh s 1936 1945 fayxksa aeladinaedninxanti faysmphnthmitr aeladinaedninxanti faysmphnthmitrthiekharwmhlngkarocmtiephirlharebxr chatiaeladinaednthiepnklang fayxksahlk ircheyxrmn rachxanackrxitali ckrwrrdiyipun rthxksaxun rachxanackrhngkari rachxanackrormaeniy satharnrthsolwk rachxanackrblaekeriy rthexkrachokhrexechiy satharnrthfinaelnd rachxanackrithysthanayukhprawtisastrsngkhramolkkhrngthisxng ktikasyyatxtanokhminethirn25 phvscikayn kh s 1936 ktikasyyaehlk22 phvsphakhm kh s 1939 ktikasyyaitrphakhi27 knyayn kh s 1940 phayaeph2 knyayn kh s 1945echingxrrth eyxrmni xitali aelayipunmkthukklawthungepnpraeths hlk hruxkhathikhlaykn inbrrdafayxksa du Global Strategy Momah p 71 hrux Encyclopedia of World War II Tucker amp Roberts p 102 hlngkaryxmcannkhxngxitaliineduxnknyayn kh s 1943 cungmikarcdtngsatharnrthsngkhmxitali rthhunechidkhxngeyxrmnikhunthiphakhehnuxkhxngxitalicnkrathngyxmcanninwnthi 29 emsayn kh s 1945 ekharwmktikasyyaitrphakhi odythwipthuxepnfayxksa du Facts About the American Wars Bowman p 432 thirwmraychux fayxksa hrux The Library of Congress World War II Companion Wagner Osborne amp Reyburn p 39 thicdinraychux xksa hlngptibtikarphnaesrefasthkklayepnrthhunechidkhxngeyxrmniphayitkarpkkhrxngkhxngaefaernts salxchitngaetwnthi 15 tulakhm kh s 1944 epntnma du Germany and the Axis Powers DiNardo p 189 nxkcakpraethseyxrmniaelaxitaliaelw ormaeniyepnpraethsediywthikhbwnkarfassistmixanacodyimmikhwamchwyehluxcaktangpraeths rthhunechidthifayxksaaetngtngkhun du Axis Rule in Occupied Europe Lemkin p 11 taaehnngthangkarkhxngrthbalinchwngsngkhramepnpraethsthithasngkhramrwmkbfayxksatxshphaphosewiytkbshrachxanackrinchwngsngkhramtxenuxng aetodythwipthuxepnsmachikfayxksa du Bowman p 432 Wagner Osborne amp Reyburn p 39 hrux Dinardo p 95 prakassngkhramtxshrachxanackraelashrthhlngepnphnthmitrkbyipuninwnthi 25 mkrakhm kh s 1942 odythwipthuxepnsmachikfayxksa Bowman p 432 phunahlkfayxksa say xdxlf hitelxr aehngeyxrmni klang ebniot musoslini aehngxitali khwa hiedki othoc aehngyipun phunarxngfayxksa hngkari blaekeriy exiyn xnotenskhu ormaeniy cxmphlaeplk phibulsngkhram ithy finaelnd aela xirk fayxksaetibotcakkhwamphyayamthangkarthutxyangtxenuxngkhxngeyxrmni xitali aelayipun ephuxrksaphlpraoychnkhxngtnexngodyechphaainchwngklangpi kh s 1930 khntxnaerkkhux ineduxntulakhm kh s 1936 phayhlngcakphunaxitali ebniot musoslini idprakaswa praethsxun inyuorpthnghmdcathukhmunewiynknbnxksa orm ebxrlin dngnncungsrangkhawa xksa khunma txmaineduxnphvscikaynidaesdngihehnthungkarihstyabntxktikasyyatxtanokhminethirn sungepnsnthisyyatxtanlththikhxmmiwnistrahwangeyxrmniaelayipun xitaliidekharwmktisyyain kh s 1937 tammadwyhngkariaelasepnin kh s 1939 xksa orm ebxrlin klayepnphnthmitrthangthharin kh s 1939 phayitsingthieriykknwa ktikasyyaehlk phrxmdwyktikasyyaitrphakhi kh s 1940 idrwmepahmaythangkarthharkhxngeyxrmni xitali yipun aelapraethsxun thitammainphayhlng ktikasyyathngsamthuxepnrakthankhxngphnthmitrfayxksa n cudsungsudinpi kh s 1942 fayxksamixanacehnuxphunthiswnihykhxngyuorp aexfrikaehnux exechiytawnxxk imwacadwykaryudkhrxng karphnwkrwm hruxrthhunechid inthangtrngknkhamkbfaysmphnthmitr immikarcdnganprachumsudyxdsamthang aelakhwamrwmmuxaelaprasanngannnminxy inbangoxkas phlpraoychnkhxngfayxksathisakhyyngkhngaetktangknxikdwy sngkhramidsinsudlnginpi kh s 1945 dwykhwamprachykhxngfayxksaaelakarlmslaykhxngphnthmitrkhxngphwkekha inkrnikhxngphnthmitr smachikinfayxksannsamarththicaaeprepliynidodyngay odybangpraethsidthakarepliynkhangfayhruxepliynradbkhxngkarmiswnrwmthangthhartlxdinchwngsngkhram odyechphaaxyangyinginyuorp karichkhawa fayxksa caklawthungphnthmitrrahwangxitaliaelaeyxrmniepnhlk aemwaphaynxkyuorpcaekhaicodythwipwaidrwmthungyipundwycudkaenidaelakarsrangkhawa xksa thuknamaichepnkhrngaerkthungkhwamsmphnthrahwangxitaliaelaeyxrmniodynaykrthmntrixitali ebniot musoslini ineduxnknyayn kh s 1923 emuxekhaidekhiynbthnakhxng Germania Repubblica khxng Roberto Suster wa imtxngsngsyelywa inkhnani aeknklang xksa khxngyuorpkalngekhluxnphanthangkrungebxrlin xitali non v ha dubbio che in questo momento l asse della storia europea passa per Berlino inchwngewlann ekhakalnghaphnthmitrkbsatharnrthiwmarephuxtxtanyuokslaewiyaelafrngeslinkhxphiphatheruxng khanithukichodynaykrthmntrihngkari emuxihkarsnbsnuninkarepnphnthmitrrahwanghngkarikbeyxrmniaelaxitaliinchwngtn kh s 1930 khwamphyayamkhxngekimebissngphlthaihekidphithitrasarormrahwangxitali hngkari aetekhaklbesiychiwitxyangkrathnhnin kh s 1936 inkhnathikalngecrcakbeyxrmniinmiwnikh aelakarmathungkhxng Kalman Daranyi phusubthxdtaaenngtxcakekha idyutikarmiswnrwmkhxnghngkariinkartidtamitrphakhifayxksa karecracathidukhdaeyngrahwangrthmntritangpraethskhxngxitali kalisos chixaon aelaexkxkhrrachthutkhxngeyxrmni Ulrich von Hassell sngphlkxihekidphithitrasarsibekacud Nineteen Point Protocol sungthuklngnamodychixaonaelachaweyxrmnphuthimikhwamkhlayknkbekha khxnstnthin fxn nxyrath in kh s 1936 emuxmusosliniidprakasepidephythungkarlngnamtxsatharnchn emuxwnthi 1 phvscikayn ekhaidprakaskxtngxksa orm ebxrlin khunma khxesnxebuxngtnkhxngphnthmitrrahwangeyxrmni xitali xitaliphayit ebniot musosliniidtidtamphnthmitrechingyuththsastrkhxngxitalikbeyxrmnitxtanfrngessnbtngaettnkhristthswrrs 1920 kxnthicaklayepnhwhnarthbalinxitaliinthanaphunakhbwnkarfassistxitali musosliniekhysnbsnunkarepnphnthmitrkbeyxrmnithiepnphuaephsngkhram phayhlngcakkarprachumsntiphaphparis kh s 1919 1920 cudsinsudkhxngsngkhramolkkhrngthihnung ekhaechuxwaxitalisamarthkhyayxiththiphlidinyuorpodykarepnphnthmitrkbeyxrmniephuxtxtanfrngess inchwngaerkkhxng kh s 1923 ephuxepnkaraesdngxxkthungsnthwimtrithiditxeyxrmni xitaliidsngxawuthxyanglb ihaekkxngthphbkeyxrmn sungtxngephchiyhnakbkarldxawuthkhrngihyphayitbthbyytikhxngsnthisyyaaewrsay nbtngaetkhristthswrrs 1920 xitaliidrabuwa in kh s 1935 epnwnsakhysahrbkaretriymkhwamphrxmsahrbkarthasngkhramfrngess enuxngcakpi kh s 1935 epnpithiphnthkrnikhxngeyxrmniphayitsnthisyyaaewrsayidthukkahndihsinsudlng karprachumekidkhunthikrungebxrlinin kh s 1924 rahwangnayphl Luigi Capello aelabukhkhlsakhyinkxngthpheyxrmn echn von Seeckt aelaexrich luedindxrf ekiywkbkhwamrwmmuxthangthharrahwangeyxrmniaelaxitali bthsnthnaidkhxsrupwa eyxrmnyngkhngtxngkarthasngkhramlangaekhnkbfrngess aetyngkhadxawuthaelahwngwaxitalicachwyehluxeyxrmniid xyangirktam inchwngewlani musosliniidennyaenguxnikhthisakhyprakarhnungthixitalicatidtaminkarepnphnthmitrkbeyxrmni xitali catxng lakcungphwkekha imichthukphwkekhalakcung Dino Grandi rthmntritangpraethskhxngxitaliinchwngaerkpi kh s 1930 idennyathungkhwamsakhykhxng nahnkchikhad thiekiywkhxngkbkhwamsmphnthkhxngxitalirahwangfrngessaelaeyxrmni sungekhaidrbruwaxitaliyngimidepnmhaxanac aetrbruwaxitalimixiththiphlmakphxthicaepliynaeplngsthankarnthangkaremuxnginyuorpodywangnahnkkhxngkarsnbsnuniwthifayidfayhnungaelaphyayamsrangsmdulrahwangkhwamsmphnthrahwangthngsamfay phnthmitraemnadanub khxphiphathehnuxxxsetriy xdxlf hitelxr fuxerxraelanaykrthmntriirchkhxngchaweyxrmn kh s 1933 1945 xdxlf hitelxraelaphrrkhnasiidkawkhunsuxanacineyxrmni hitelxridsnbsnunkarepnphnthmitrrahwangeyxrmniaelaxitalinbtngaettnkhristthswrrs 1920 phayhlngcakidrbkaraetngtngepnnaykrthmntriidimnan hitelxridsngkhxkhwamswntwipyngmusoslini prakasthung khwamchunchmyindiaelakaraesdngkhwamekharph aelaprakaskhwamkhadhmaykhxngekhaekiywkboxkaskhxngmitrphaphrahwangeyxrmnaelaxitaliaelaaemaetkrathngepnphnthmitr hitelxrthrabdiwaxitalimikhwamkngwlekiywkbkarxangsiththiinthidinkhxngeyxrmnithixaccaekidkhuninthiorlthangtxnit aelaihkarrbrxngkbmusosliniwa eyxrmniimsnicemuxngthiorlthangtxnit hitelxrinhnngsuximnkhmphfidprakaswa thiorlthangtxnitimichpraednemuxphicarnathungkhxidepriybthicaidrbcakphnthmitrrahwangeyxrmni xitali phayhlngcakkarkawkhunsuxanackhxnghitelxr khxesnxkhxngkhnakrrmkarmhaxanacthngsithithukesnxodyxitaliidrbkarphicarnadwykhwamsniccakbritich aethitelxrimidihkhamninkhxesnxni sngphlthaihmusoslinikratunerngeraihhitelxrphicarnathungkhxidepriybthangkarthutthieyxrmnicaidrbodykaraeyktwxxkcakkhwamoddediywodykarekhaipxyuinkhnakrrmkaraelahlikeliyngkhwamkhdaeyngthangxawuththnthi khxesnxkhxngkhnakrrmkarmhaxanacthngsiidrabuwaeyxrmniimcaepntxngthukcakdxawuthxiktxip aelacaidrbsiththiinkarfunfuaesnyanuphaphphayitkarkhwbkhumduaelkhxngtangchatiepnraya hitelxridptiesthaenwkhidkhxngkarkhwbkhumaesnyanuphaphphayitkarkhwbkhumduaelkhxngtangchatixyangsineching musosliniimiwwangictxectcanngkhxnghitelxrekiywkbxnchlus hruximkkhamnsyyakhxnghitelxrthicaimxangsiththiindinaednthiorlthangtxnit musosliniidaecngaekhitelxrwaekhaphungphxictxkarmixyukhxngrthbaltxtanmarksistkhxngdxlfusinxxsetriy aelaetuxnhitelxrwa ekhayunkranthicatxtanxnchlus hitelxridtxbotdwykarduthukmusosliniwa ekhamikhwamtngic thicaoyndxlfuslngipinthael dwykhwamimehndwyineruxngekiywkbxxsetriyni khwamsmphnthrahwanghitelxraelamusoslinicunghangiklxxkipmakkhun hitelxridphyayamthicathalayhnthangtnkbxitaliehnuxxxsetriyodysngaehrmn ekxringipecrcakbmusosliniin kh s 1933 ephuxekliyklxmmusosliniihthakarkddnrthbalxxsetriyihaetngtngsmachikphrrkhnasiinxxsetriyekhasurthbal ekxringxangwakarkhrxbngaxxsetriykhxngnasiepnsingthihlikeliyngimid aelaxitalikhwrthicayxmrberuxngni echnediywkbkarthbthwnmusoslinitxkhamnsyyakhxnghitelxrwa caphicarnapyhaeruxngchayaednthiorlthangtxnitthicathukyutilnginthisudodysnthisyyasntiphaph inkartxbsnxngtxkarekhaphbkhxngekxringkbmusoslini dxlfuscungedinthangipyngxitaliodythnthiephuxtxbotkhwamkhubhnaaetxyangidcakthangkarthutkhxngeyxrmni dxlfusidklawxangwarthbalkhxngekhakalngthukmarksistthathayinxxsetriy aelaxangwaemuxmarksistidrbchychnainxxsetriy karsnbsnunxxsetriykhxngnasicaxxnkalnglng ineduxnmithunayn kh s 1934 hitelxraelamusosliniidphbknkhrngaerkthiewnis karprachumimepnipxyangrabrun hitelxrideriykrxngihmusoslinithakarpranipranxmkbxxsetriyodythakarkddndxlfusaetngtngihsmachikphrrkhnasiinxxsetriyekhaipinkhnarthmntrikhxngekha sungmusosliniidptiesthkhxeriykrxngxyangtrngiptrngma inkartxbot hitelxridihsyyawaekhacayxmrbexkrachkhxngxxsetriyinkhnani odyklawwa enuxngcaksthankarntungekhriydphayineyxrmni sunghmaythunghnwyexsxakhxngnasithihitelxrcathakarsngharinimchainkhunmidyaw thieyxrmniimxacthicathakarywyuxitaliidkalisos chixaonidbxkkbsuxmwlchnwa phunathngsxngidtha khxtklngsuphaphburus ephuxhlikeliyngkaraethrkaesnginxxsetriy exngengilaebrth dxlfus naykrthmntrixxsetriy kh s 1932 1934 hlayspdahtxmaphayhlngkarprachumthiewnis emuxwnthi 25 krkdakhm kh s 1934 nasichawxxsetriyidthakarlxbsnghardxlfus musoslinirusukokrthekhuxng inkhnathiekhathuxwa hitelxrmiswntxngrbphidchxbodytrngtxkarlxbsngharthiidlaemidkhamnsyyakhxnghitelxrthithukthakhunemuximkispdahkxnephuxekharphkhwamepnexkrachkhxngxxsetriy musosliniidsngkxngphlkxngthphbkhlaykxngphlaelafungbinipyngchxngekhaebrnenxr aelaetuxnwakarthieyxrmniocmtixxsetriycasngphlthaihekidsngkhramrahwangeyxrmniaelaxitali hitelxridtxbotdwykarptiesthkhwamrbphidchxbkhxngnasiinkarlxbsngharaelaxxkkhasngihyubkhwamsmphnththnghmdrahwangphrrkhnasieyxrmnaelaphrrkhnasisakhaxxsetriy sungeyxrmniidklawxangwaepnkhwamrbphidchxbtxwikvtkarnthangkaremuxng xitaliidlathingkhwamsmphnththangkarthutkbeyxrmnixyangmiprasiththiphaph inkhnathiidhnekhahafrngessephuxepnkarthathaytxkarduxaephngkhxngeyxrmnidwykarlngnaminkhxtklngrahwangfrngess xitaliephuxpkpxngexkrachkhxngxxsetriy esnathikarthharcakkxngthphfrngessaelaxitaliidharuxthungkhwamrwmmuxthangthharthiepnipidthiekiywkhxngkbkarthasngkhramkbeyxrmni hakhitelxrklathicaocmtixxsetriy khwamsmphnthrahwangeyxrmniaelaxitaliidrbkarfunfu enuxngcakkarsnbsnunkhxnghitelxrinkarrukranexthioxepiykhxngxitaliin kh s 1935 inkhnathipraethsxun idpranamkarrukranaelaihkarsnbsnunkarkhwabatrtxxitali karphthnakhxngphnthmitrrahwangeyxrmni xitali aelayipun rthmntrickrwrrdiyipuninchwngsngkhram khwamsnicineyxrmniaelayipuninkarcdtngphnthmitriderimtnkhun emuxnkkarthutchawyipunnamwa idekhaphbkboyxakhim fxn ribebinthrxphinebxrlinin kh s 1935 oxchimaidaecngaekfxn ribebinthrxphekiywkbkhwamsnickhxngyipuninkarcdtngphnthmitrrahwangeyxrmn yipunephuxtxtanshphaphosewiyt fxn ribebinthrxphidkhyaykhxesnxkhxngoxchimaodysnbsnunihphnthmitrxyuinbribththangkaremuxngkhxngktikasyyaephuxtxtanokhminethirn khxesnxinktikasyyaidphbkbkhwamkhidehnthihlakhlayinyipun odymiklumphukhlngchatiphayinrthbalthisnbsnunktikasyyachbbni inkhnathikxngthpheruxyipunaelakrathrwngtangpraethskhxngyipuntangimehndwykbktikasyyachbbnixyangaekhngkhn mikhwamkngwlxyangmakinrthbalyipunwaktikasyyachbbnikbeyxrmnixaccathalaykhwamsmphnthkhxngyipunkbbritich sungepnpithixntraykhxngkhxtklngrahwangbritich yipunepnpraoychn sungthaihyipunsamarthkawkhunsuprachakhmrahwangpraethsidchwngaerk kartxbsnxngtxktikasyyaidphbkbhmwdthikhlayknineyxrmni inkhnathikhxesnxinktikasyyaidrbkhwamniyminthamklangphunaradbsungkhxngphrrkhnasi thuktxtanodykhncanwnmakinkrathrwngtangpraeths kxngthphbk aelachumchnthurkicthimiphlpraoychnthangkarenginincinsungyipunepnstru nkekhiynchawyipunnamwa chuem oxkawa twaethnhlkkhxnglththichatiniymkhxngyipun inkareriynruchxngkarecrcarahwangeyxrmn yipun xitalikerimthicasnicthicakxtngphnthmitrkbyipun xitalikhadhwngwa enuxngcakkhwamsmphnththiiklchidinrayayawkhxngyipunkbbritich phnthmitrrahwangxitaliaelayipunsamarthkddnihbritichyxmrbthathithiexuxxanwytxxitaliinthaelemdietxrereniynidmakkhun invdurxn kh s 1936 rthmntritangpraethskhxngxitali chixaonidaecngaeksukimura oytaora exkxkhrrachthutyipunpracaxitali khaphecaidyinmawakhxtklngyipun eyxrmnekiywkbshphaphosewiytidbrrluphlaelw aelakhaphecakhidwakhngepneruxngthrrmdasahrbkhxtklngthikhlaykhlungknrahwangxitaliaelayipun thsnkhtikhxngyipuninchwngaerktxkhxesnxkhxngxitalinnmkcamxngkham odymxngwaphnthmitrrahwangeyxrmnaelayipunephuxtxtanshphaphosewiytepnsingcaepn inkhnathiphnthmitrrahwangxitali yipunepneruxngrxng enuxngcakyipunkhadkarnwaphnthmitrrahwangxitali yipuncathaihepnprpkskbbritichthipranamkarrukranexthioxepiykhxngxitali thsnkhtinikhxngyipunthimitxxitaliidepliynaeplngipin kh s 1937 phayhlngsnnibatchatiidklawpranamyipun enuxngcakidthakarrukranincinaelaephchiykbkaraeyktwxxkcaknanachati inkhnathixitaliyngkhngchunkhmtxyipunxyu xnepnphlthaihkarsnbsnunkhxngxitalisahrbyipuninkartanthankarpranamcaknanachati yipuncungthsnkhtiechingbwktxxitalimakkhunaelaidihkhxesnxinkarthakhxtklngimrukranrahwangknhruxktikasyyawangtwepnklangkbxitali phloth exkxkhrrachthutyipunpracaeyxrmniinchwngkxnaelarahwangsngkhramolkkhrngthisxng ktikasyyaitrphakhiidthuklngnamodyeyxrmni xitali aelayipun emuxwnthi 27 knyayn kh s 1940 inkrungebxrlin odyhngkari 20 phvscikayn kh s 1940 ormaeniy 23 phvscikayn kh s 1940 solwaekiy 24 phvscikayn kh s 1940 aelablaekeriy 1 minakhm kh s 1941 idekharwmktikasyyadngklawinphayhlngxudmkarnepahmayhlkkhxngfayxksakhuxkarkhyayxanaekhtkhxngtnipyngpraethsephuxnbanthixyuiklekhiyng inaengkhxngxudmkarn fayxksaidbrryaythungepahmaykhxngphwkekhawaepnkarthalayxanackhrxbngakhxngmhaxanactawntkthiyudthuxxudmkarnrabxbesrsthyathipity aelapkpxngxarythrrmcaklththikhxmmiwnist fayxksaihkarsnbsnunrupaebbtang makmaythiekiywkblththifassist aela karsrangckrwrrdilththikarphungphatnexngthangesrsthkicthixyutidkninxanaekhtepnepahmayrwmknkhxngthngsampraethskhxngfayxksathrphyakrthangesrsthkicprachakrfayxksain kh s 1938 micanwn 258 9 lankhn inkhnathiprachakrfaysmphnthmitr ykewnshphaphosewiytaelashrthxemrika sungphayhlngidekharwmkbfaysmphnthmitr micanwn 689 7 lankhn dngnnfaysmphnthmitrmicanwnmakkwafayxksa 2 7 tx 1 rthfayxksathiepnphunamicanwnprachakrinpraethsdngtxipni eyxrmni 75 5 lankhn rwmthngcanwn 6 8 lankhncakkarphnwkrwmxxsetriyekhadwyknidimnanmani yipun 71 9 lankhn ykewndinaednxananikhm aelaxitali 43 4 lankhn ykewndinaednxananikhm shrachxanackr ykewndinaednxananikhm micanwnprachakr 47 5 lankhn aelafrngess ykewndinaednxananikhm micanwn 42 lankhn phlitphnthmwlrwminpraeths GDP inchwngsngkhramkhxngfayxksa rakhaxyuthi 911 phnlandxllar n cudsungsudin kh s 1941 inrakhaskulengindxllarradbsaklin kh s 1990 cidiphikhxngfaysmphnthmitr rakhaxyuthi 1 798 phnlandxllar shrthxemrikarakhatngxyuthi 1 094 phnlandxllar makkwafayxksaodyrwm pharakhxngkarthasngkhramkbpraethsthiekharwmwdcakepxresnkhxng GNP thixuthisihkbkarichcaythangthhar ekuxbhnunginsikhxng GNP khxngeyxrmniidthuknaipichinkarthasngkhramin kh s 1939 aelaephimkhunepnsaminsikhxng GNP in kh s 1944 kxnchwngkarlmslaythangesrsthkic in kh s 1939 yipunidichpraman 22 epxresntkhxng GNP inkarthasngkhramincin idephimkhunepnsaminsikhxng GNP in kh s 1944 xitaliimidradmkalngthangesrsthkic GNP thithuknaipichinkarthasngkhramyngkhngxyuthiradbchwngkxnsngkhram xitaliaelayipunkhadkhwamsamaruththangxutsahkrrm esrsthkickhxngphwkekhamikhnadelk khunxyukbkarkharahwangpraeths aehlngechuxephlingcakphaynxk aelathrphyakrxutsahkrrmxun epnphlthaihkarradmphlkalngkhxngxitaliaelayipunyngkhngxyuinradbta aemwacaxyuin kh s 1943 ktam thamklangsampraethshlkkhxngfayxksa yipunmirayidtxhwthitathisud inkhnathieyxrmniaelaxitalimirayidradbthiethiybethakbshrachxanackrpraethssmachikhlkeyxrmni fuxerxraehngeyxrmn xdxlf hitelxr yunekhiyngkhukbnayphl wlethxr fxn ebrakhithch inchwngkaredinswnsnamprakaschychnainkrungwxrsxphayhlngcakopaelndphayaeph eduxntulakhm kh s 1939ekhruxngbinthingraebidihngekhil eh 111 khxngeyxrmninchwngyuththewhathibrietnkhbwnyanphahnakhxngeyxrmnkalngekharukinchwngyuththkarthixlxalamynkhrngthisxnginkarthphaexfrikaehnuxthhareyxrmninchwngyuththkarthistalinkradinkarthphaenwrbdantawnxxkeruxdanaeyxrmn sungthukocmtithangxakasineduxnmithunayn kh s 1943ehtuphlinkarthasngkhram inpi kh s 1941 xdxlf hitelxridbrryaythungkarpathukhxngsngkhramolkkhrngthisxngwaepnkhxphidphladkhxngkaraethrkaesngkhxngmhaxanactawntktxeyxrmniinchwngthiidthasngkhramkbopaelnd odyxthibaywaepnphlkhxng chawyuorpaelaxemriknphukrahaysngkhram hitelxridxxkaebbiheyxrmniklayepnrththimixanackhrxbngaaelamikhwamsakhykhxngolk echn ectcanngkhxngekhathicathaihkrungebxrlin emuxnghlwngkhxngeyxrmniklayepn Welthauptstadt emuxnghlwngolk epliynchuxepn rthbaleyxrmnyngidaesdngehtuphlinkarkrathakhxngtnodyxangwa eyxrmnicaepntxngkhyayxanaekhtxyangimxachlikeliyngid ephraakalngephchiykbwikvtprachakrlnekinthihitelxridxthibaywa eramiprachakrmakekinipaelaimsamartheliyngtnexngcakthrphyakrkhxngeraexngid dngnnkarkhyaytwcungepnsingthihlikeliyngimidinkarcdhaelebinseram phunthixyuxasy sahrbpraethschatieyxrmnaelayutikarmiprachakrmakekinipkhxngpraethsphayinxanaekhtcakdthimixyu aelacdhathrphyakrthicaepntxkhwamepnxyuthidikhxngphukhn tngaetpi kh s 1920 phrrkhnasiidephyaephrtxsatharnchninkarkhyayeyxrmniipsudinaednthishphaphosewiytthuxkhrxng eyxrmniidihehtuphlinkarthasngkhramkbopaelndinpraedneruxngkhxngchnklumnxychaweyxrmnphayinopaelnd aelaopaelndkhdkhaninkarphnwkrwmesrinkhrdnthsichthimichnklumihychaweyxrmnswnihyekhakbeyxrmni inkhnathihitelxraelaphrrkhnasikxnthicakawkhunsuxanacidphudkhuyknxyangepidephyekiywkbkarthalayopaelndaelaepnstrukbopaelnd phayhlngcakidkhunsuxanaccnthungeduxnkumphaphnth kh s 1939 hitelxridphyayampkpidectnathiaethcringkhxngekhathimitxopaelnd aelalngnaminktikasyyaimrukranrahwangknepnewla 10 piin kh s 1934 idepidephyaephnkarkhxngekhaihehnidaekhechphaaephuxnrwmnganthiiklchidthisudethann khwamsmphnthrahwangeyxrmniaelaopaelndidepliyniptngaettnthungplay kh s 1930 inkhnathieyxrmniphyayamthicasrangkhwamsmphnthkbopaelndephuxhlikeliyngkhwamesiyngthiopaelndcaekhasuekhtxiththiphlkhxngshphaphosewiyt aelaeriykrxngkhwamrusuktxtanosewiytinopaelnd inthangklbkn shphaphosewiytkalngaekhngkhnkbeyxrmniephuxaeyngchingxanacxiththiphlinopaelnd inewlaediywkn eyxrmnikalngetriymthasngkhramkbopaelnd aelakalngetriymchnklumnxychaweyxrmninopaelndxyanglb ephuxthasngkhram phayhlngcakhitelxrideriykrxngihphnwkrwmesrinkhrdnthsichekhakbeyxrmni sungnaodyrthbalnasitxngkarthicaphnwkekhakbeyxrmni eyxrmniidichaebbxyangthangkdhmayephuxaesdngehtuphlinkaraethrkaesngopaelndaelakarphnwkrwmesrinkhrdnthsich naodyrthbalnasithxngthinthiphyayamrwmtwekhakbeyxrmni in kh s 1939 opaelndidptiesthkhxeriykrxngkhxngeyxrmni aelaeyxrmniidetriymradmphlinechawnthi 30 singhakhm kh s 1940 eyxrmniidihehtuphlinkarbukkhrxngklumpraethsaephndintakhxngebleyiym lkesmebirk aelaenethxraelndineduxnphvsphakhm kh s 1940 odyklawxangwatnexngkalngsngsythibritichaelafrngesskalngetriymthicaichklumpraethsaephndintaephuxthicabukrukphumiphakhrwrsungepnekhtxutsahkrrmkhxngeyxrmni emuxekidsngkhramrahwangeyxrmnikbbritichaelafrngessineduxnphvsphakhm kh s 1939 hitelxrprakaswaenethxraelndaelaebleyiymcatxngthukyudkhrxng odyklawwa thanthphxakasyankhxngdtsaelaebleyiymcatxngthukyud khaprakaswangtwepnklangcatxngthuklaely inkarprachumrwmkbphunathangthharkhxngeyxrmni emuxwnthi 23 phvscikayn kh s 1939 hitelxridprakaskbphunathharwa eramicudxxnthirwr aelaklawwa hakxngkvsaelafrngessphlkdnphanthangebleyiymaelahxlaelndekhasurwr eracatkxyuinxntrayxyangihyhlwng cungklawxangwa ebleyiymaelaenethxraelndtxngthukeyxrmniyudkhrxng ephuxpkpxngeyxrmnicakkarrukrankhxngbritichaelafrngesstxrwr odyimkhanungthungkhaklawxangkhxngphwkekhawaidwangtwepnklang karrukranshphaphosewiytkhxngeyxrmniin kh s 1941 ekiywkhxngkbpraedneruxngelebinseram kartxtanlththikhxmmiwnist aelanoybaytangpraethskhxngshphaphosewiyt phayhlngcakeyxrmnirukranshphaphosewiytin kh s 1941 thathikhxngrabxbnasithimitxrsesiythidinaednkalngldnxylngaelaepnxisraidrbphlkrathbcakaerngkddnthierimtnkhunin kh s 1942 cakkxngthpheyxrmntxhitelxrephuxrbrxngkxngthphrsesiyphayitkarnaodyxnedry wlasxf inchwngaerk khxesnxephuxsnbsnunkxngthphrsesiythitxtanphwkkhxmmiwnistidthukptiesthxyangsinechingodyhitelxr xyangirktam in kh s 1944 emuxeyxrmniidprasbkhwamsuyesiythiephimmakkhuninaenwrbdantawnxxk kxngkalngkhxngwlasxfidrbkaryxmrbcakeyxrmniinthanaphnthmitr odyechphaaxyangyingodyirchsfuxerxr exsexs ihnrich himelxr phayhlngyipunocmtiephirlharebxraelakarpathukhxngsngkhramrahwangyipunaelashrth eyxrmniidsnbsnunaekyipunodykarprakassngkhramkbshrthinchwngsngkhram eyxrmniidpranamkdbtraextaelntikaelarthbyytikarihyum echathishrthprakasichephuxsnbsnunmhaxanacfaysmphnthmitrkxnthicaekharwmkbfaysmphnthmitr enuxngcaklththickrwrrdiniymmungepaipthikarkhrxbngaaelaaeswnghaphlpraoychncakpraethsphaynxkthwipxemrika hitelxrpranamtxprathanathibdixemrika rusewst thiichkhawa esriphaph ephuxxthibaythungkarkrathakhxngshrthinsngkhram aelaklawhachawxemriknwa esriphaph khux esriphaphinrabxbprachathipityinkaraeswnghaphlprachncakolk aelaesriphaphsahrbphumngkhnginrabxbprachathipitydngklawephuxexardexaepriybmwlchn prawtisastr emuxsngkhramolkkhrngthihnungsinsudlng prachachnchaweyxrmnrusukwapraethskhxngtnidrbkhwamxpysxdsxnepnphlmacaksnthisyyaaewrsay rwmthngthukklawothswaepnphukxsngkhramkhunmaaelabngkhbiheyxrmnicaykhaptikrrmsngkhramxnmhasalaelathakarribdinaednthiekhythukkhwbkhumodyckrwrrdieyxrmnaeladinaednxananikhmthnghmd aerngkddnkhxngkhaptikrrmtxesrsthkickhxngeyxrmnithaihekid in kh s 1923 frngessidekhayudkhrxngphumiphakhrur emuxeyxrmniidphidndcharacaykhaptikrrm aemwaeyxrmnicaerimphthnaesrsthkicinchwngklangpi kh s 1920 phawaesrsthkictktakhrngihyidsrangkhwamyaklabakthangesrsthkicmakkhunaelakarlukhuxinkxngkalngthangkaremuxngthisnbsnunkaraekpyhathirunaerngtxkhwamthukkhyakkhxngeyxrmni nasiphayithitelxridsngesrimeruxngtanannkchatiniymthukaethngkhanghlngodyrabuwaeyxrmnithukchawyiwaelakhxmmiwnisthkhlng phrrkhidihkhamnsyyawacasrangeyxrmnikhunmaihmklayepnmhaxanacthisakhyaelasrangmhapraethseyxrmni sungcarwmthngxalss lxaern xxsetriy suedethinlnth aeladinaednxun sungmichaweyxrmnxasyxyuinthwipyuorp nasiyngidtngepahmaythicakhrxbkhrxngaelakxtngdinaednxananikhmthiimichkhxngeyxrmninopaelnd rthbxltik aelashphaphosewiyt odyepnswnhnungkhxngnoybaykhxngnasiinkaraeswnghaelebinseram phunthixyuxasy inyuorptawnxxk eyxrmniidlaemidsnthisyyaaewrsayaelasngthharklbekhasuirnlnthineduxnminakhm kh s 1936 eyxrmniidklbmaeknththharxikkhrngaelaprakasthungkarmixyukhxngkxngthphxakaseyxrmnxyanglufthwfefx aelakxngthpheruxeyxrmnxyangkhrikhsmarienx in kh s 1935 eyxrmniidthakarphnwkrwmxxsetriyin kh s 1938 suedethinlnthcakechoksolwaekiy aeladinaednememlcaklithweniyin kh s 1939 eyxrmniidbukkhrxngswnthiehluxkhxngechoksolwaekiyin kh s 1939 kxtngrthinxarkkhaobhiemiyaelamxerewiyaelapraethssolwaekiykhunma emuxwnthi 23 singhakhm kh s 1939 eyxrmniaelashphaphosewiytidlngnaminktikasyyaomoltxf ribebinthrxph sungmaphrxmdwytrasarlbthicathakaraebngyuorptawnxxkepnekhtxiththiphl eyxrmnidekharukranswnhnungkhxngopaelndphayitktikasyyaaepdwntxma idcudchnwnkxihekidsngkhramolkkhrngthisxng inchwngplaypi kh s 1941 eyxrmniidyudkhrxngphunthiswnihykhxngyuorp aelakxngkalngthharkhxngeyxrmnikalngsurbkbshphaphosewiyt ekuxbcayudkhrxngkrungmxsokidaelw xyangirktam khwamphayaephinyuththkarthistalinkradaelayuththkarthikhuskhidthalaylangkxngthpheyxrmn emuxrwmkbkarykphlkhunbkkhxngfaysmphnthmitrtawntkinfrngessaelaxitali naipsusngkhramthngsamaenwrbthithaihkxngthpheyxrmnlalayhayhmdsin aelasngphlthaiheyxrmniphayaephin kh s 1945 dinaednyudkhrxng rthinxarkkhaobhiemiyaelamxerewiythuksrangkhunmacakkaraebngaeykechoksolwaekiy imnanhlngcakthieyxrmniidphnwkphumiphakhsuedethinlnthkhxngechoksolwaekiy solwaekiyidprakasxisrphaph rthsolwikihmepnphnthmitrkbeyxrmni swnthiehluxkhxngpraethsthukkxngthpheyxrmnekhayudkhrxngaelakxtngrthinxarkkha sthabnphlemuxngchawechkidrbkarxnurksexaiw aetrthinxarkkhaidthukphicarnaphayinxanaekhtxanacxthipitykhxngeyxrmni ekhtpkkhrxngsamy epnchuxthithuktngiwaekdinaednkhxngopaelndthithukyudkhrxngsungimidthukphnwkrwmodytrngkbcnghwdtang khxngeyxrmni aetepnechnediywkbobhiemiyaelamxerewiythiidthukphicarnaihxyuphayinxanaekhtxanacxthipitykhxngeyxrmniodythangkarnasi irchskhxmmissarixath idkxtngkhuninenethxraelnd ebleyiym aelanxrewy odykahndihepnsthanthithiprachakr chawecxrmanik sungcathukrwmekhaipxyuinaephnkarmhapraethsecxrmanikirch inthangtrngknkham irchskhxmmissarixaththikxtngkhunintawnxxk irchskhxmmissarixathxxsthlnthinthaelbxltik irchskhxmmissarixathyuekhrninyuekhrn idthukkxtngkhunepnxananikhmephuxkartngthinthanodychaweyxrmn innxrewy phayitirchskhxmmissarixathinnxrewekn rabxbkhwislingphayitkarnaodywidkun khwisling idrbkaraetngtngodyeyxrmninthanarabxbrthbriwarinchwngkaryukkhrxng inkhnathismedcphrarachathibdiohkunthi 7 aelarthbalodychxbthrrmthangkdhmayidliphyxxknxkpraeths khwislingidsnbsnunihchawnxrewyekhaipepnthharxasasmkhrinhnwywfefin exsexs ihkhwamrwmmuxinkarkhbilenrethschawyiwaelamiswnrbphidchxbinkarpraharchiwitsmachikkhxngkhbwnkartxtanchawnxrewy chawnxrewycanwnpraman 45 000 khnthiepnphuihkhwamrwmmuxidekharwmkb Nasjonal Samling shphaphchati sungepnphrrkhkaremuxngthiniymnasi aelakrmtarwcbanghnwyidchwyehluxinkarcbkumchawyiwcanwnmak xyangirktam nxrewyepnhnunginpraethsaerkthithakartxtaninchwngsngkhramolkkhrngthisxng xyangaephrhlaykxnthungchwngcudepliynsngkhramin kh s 1943 phayhlngsngkhram khwislingaelaphuihkhwamrwmmuxkhnxun lwnthukpraharchiwit chuxkhxngkhwislingklayepnphasitsahrb phusmrurwmkhid hrux khnthrys xitali ebniot musoslini inphaphthaythangkarehtuphlinkarthasngkhram ebniot musosliniidbrryaythungkarprakassngkhramkhxngxitalikbfaysmphnthmitrtawntkkhxngbritichaelafrngessineduxnmithunayn kh s 1940 dngtxipniwa phwkerakalngcathasngkhramkbrabxbprachathipitykhxngehlaphumngkhngaelaphwkptikiriyakhxngphwktawntkthikhdkhwangkhwamkawhnaxyangthawraelamkkhukkhamkardarngxyukhxngprachachnchawxitali xitalipranammhaxanactawntkinkarxxkmatrakarkhwabatrxitaliin kh s 1935 sahrbkarkrathakhxngtninsngkhramxitali exthioxepiykhrngthisxng emuxxitaliidklawxangwaepnkartxbottxkarkrathaxnkawrawkhxngchawexthioxepiytxchnephainxitaeliynexriethiy inehtukarnwalwalin kh s 1934 xitaliidehtuphlediywknkbkarkrathakhxngtnehmuxnkbeyxrmni odyxangwa xitalicaepntxngkhyayxanaekhtephuxcdha phunthixyuxasy ihaekpraethsxitali ineduxntulakhm kh s 1938 phayhlngkhxtklngmiwnik xitaliideriykrxngkarsmpthancakfrngessephuxyinyxmykihaekxitaliinaexfrika khwamsmphnthrahwangxitaliaelafrngessklbaeylng emuxfrngessptiesththicayxmrbkhxeriykrxngkhxngxitali frngessidtxbsnxngtxkhxeriykrxngkhxngxitalidwykarkhmkhuwacasxmkarrbthangthaelephuxepnkartketuxntxxitali emuxkhwamtungekhriydrahwangxitaliaelafrngessephimmakkhun hitelxridklawsunthrphcnkhrngsakhy emuxwnthi 30 mkrakhm kh s 1939 odyekhaihkhamnsyyawakarsnbsnunthangthharkhxngeyxrmniinkrnikarthasngkhramkbxitaliodyprascakkarywyu xitaliidekhasusngkhramolkkhrngthisxng emuxwnthi 10 mithunayn kh s 1940 xitaliidihehtuphlinkaraethrkaesngkrisineduxntulakhm kh s 1940 odykarklawhawabritichkalngichkristxkrkbxitali musosliniidaecngeruxngniaekhitelxrwa krisepnswnhnunginpraednhlkkhxngbritich yuththsastrthangthaelinthaelemdietxrereniyn thharxitaliinkarthphaexfrikaehnuxemux kh s 1941 xitaliidihehtuphlinkaraethrkaesngyuokslaewiyineduxnemsayn kh s 1941 odyeriykrxngihthngchawxitalithakarklawxangsiththiinkareriykrxngdinaednklbkhunaelakhxethccringkhxngphwkaebngaeykdinaednkhxngchawaexlebeniy okhrexechiy aelamasiodeniythiimtxngkarepnswnhnungkhxngyuokslaewiy karaebngaeykdinaedninokhrexechiyephimsungkhunphayhlngcakkarlxbsngharphunathangkaremuxngkhxngokhrexechiyinrthsphayuokslaewiyin kh s 1928 rwmthngkaresiychiwitkhxng Stjepan Radic xitaliidihkarrbrxngaek xanet paewlich phuaebngaeykchawokhrexechiyaelakhbwnkarxustaechthiyudthuxxudmkarnfassistkhxngekhasungmiphunthanaelakarfukfninxitaliodyidrbkarsnbsnuncakrabxbfassistkxnthicamikaraethrkaesngtxyuokslaewiy prawtisastr khwamtngickhxngrabxbfassistkhuxkarsrang ckrwrrdiormnihm sungxitalicakhrxbkhrxngthaelemdietxrereniyn in kh s 1935 1936 xitaliidekharukranaelaphnwkexthioxepiyaelarthbalfassistidprakaskxtng ckrwrrdixitali khaprathwngodysnnibatchati odyechphaaxyangyingkhux britich sungmiphlpraoychninphunthinn thaihimmikardaenincdkarxyangcringcng aemwasnnibatchaticaphyayambngkhbichmatrakarkhwabatrthangesrsthkictxxitali aetklbirphl ehtukarndngklawidennyathungkhwamxxnaexkhxngfrngessaelabritich odyaesdngihehnthungtwxyangcakkhwamimetmickhxngphwkekhathicabadhmangxitaliaelasuyesiyipinthanaphnthmitrkhxngphwkekha karkrathathicakdodymhaxanactawntkidphlkdnxitalikhxngmusoslinihnipepnphnthmitrkbeyxrmnikhxnghitelxrxyudi in kh s 1937 xitaliidxxkcaksnnibatchatiaelaekharwmktikasyyatxtanokhminethirn sungthuklngnamodyeyxrmniaelayipuninpithiaelw ineduxnminakhm emsayn kh s 1939 kxngkalngthharxitaliidrukranaelayudkhrxngaexlebeniy eyxrmniaelaxitaliidlngnaminktikasyyaehlk emuxwnthi 22 phvsphakhm rththng khxngxitaliinkarthphaexfrikaehnuxemux kh s 1941 xitaliimphrxmthicathasngkhram aemcamiswnekiywkhxnginkhwamkhdaeyngxyangtxenuxngnbtngaet kh s 1935 khrngaerkkbexthioxepiyinpi kh s 1935 1936 aelatxmainsngkhramklangemuxngsepninfaychatiniymkhxngfrnsisok frngok musosliniptiesththicafngkhaetuxncak Felice Guarneri rthmntriwakarkrathrwngkaraelkepliynaelaengintra phusungklawwakarkrathakhxngxitaliinexthioxepiyaelaespnsunghmaykhwamxitaliiklthicalmlalayaelw inpi kh s 1939 khaichcaythangthharkhxngbritichaelafrngeslphungsungkhunekinkwathixitaliphxcacayid xnepnphlmacakpyhathangesrsthkickickhxngxitali thharxitaliidrbkhacangta mkcakhadaekhlnyuthothpkrnaelasphphlaythiaey aelakhwamekliydchngthiekidkhunrahwangthharaelaecahnathinaythharradbsung singehlanimiswnthaihkhwykalngictktalnginthamklanghmuthharxitali eruxrbwittxriox ewenotaelakhxngxitaliinchwngsngkhramekhruxngbinkhbil khxngxitaliinchwngsngkhram inchwngtn kh s 1940 xitaliyngkhngimichkhutxsurb aelamusosliniidaecngkbhitelxrwaxitaliimphrxmthicaekhaipaethrkaesnginimcha phayineduxnminakhm kh s 1940 musosliniidtdsinicwaxitalicathakarekhaaethrkaesngaelw aetwnthiyngimideluxk phunathangthharradbxawuosidmimtikhdkhanxyangepnexkchnthinkarkrathadngklaw enuxngcakxitaliimidetriymtwexaiw immiaerwtthudibthikhngehluxxyuinkhlngphsduaelaprimansarxngthimixyukalngcahmdlnginimcha xutsahkrrmkhxngxitaliepnephiyngaekhhnunginsibkhxngeyxrmni aelaaemaetkrathngsbphlaythikxngthphxitaliimidcdetriymiwephuxcdhayuthothpkrnthicaepninkarsurbkbsngkhramsmyinrayayaw okhrngkarkarfunaesnyanuphaphthietmipdwykhwamthaeyxthayanaethbthicaepnipimidely enuxngcakkarsarxngthxngkhaaelaskulengintangpraethsthicakdkhxngxitali aelakarkhadaekhlnaerwtthudib musosliniideminechytxkhxkhidehnechinglb in kh s 1941 khwamphyayamkhxngxitaliinkardaeninkarthphxyangmixisracakeyxrmniktxngphngthlaylngxnepnphlmacakkhwamphayaephthangkarthharinkris aexfrikaehnux aelaaexfrikatawnxxk aelapraethsktxngphungphaxasyaelaxyuphayitbngkhbbychakhxngeyxrmnixyangmiprasiththiphaph phayhlngcakkarrukranaelaekhayudkhrxngyuokslaewiyaelakrissungnaodyeyxrmn sungthngsxngpraethsepnepahmaykhxngmunghmayinkarthasngkhramkhxngxitali xitalithukbngkhbihyxmrbkarkhrxbngakhxngeyxrmninthngsxngpraethsthithukyudkhrxng nxkcakni in kh s 1941 kxngkalngeyxrmninaexfrikaehnuxphayitkarnaodyaexrwin rxmemil idekhakhwbkhumkhwamphyayamthangthharxyangmiprasiththiphaphinkarkhbilkxngkalngfaysmphnthmitrxxkipcakliebiy dinaednxananikhmkhxngxitali aelakxngthpheyxrmnidekhapracakarxyuthiekaasisiliinchwngpinn khwamxwddikhxngeyxrmnithimitxxitaliinthanaphnthmitridaesdngihehninpinn emuxxitalithukkddnihsng aerngnganphurbechiy canwn 350 000 khn ipyngeyxrmnisungthukichepnaerngnganeknthbngkhb inkhnathihitelxrrusukphidhwngkbsmrrthphaphthangthharkhxngxitali ekhayngkhngrksakhwamsmphnthxndikbxitaliodyrwm enuxngcakmitrphaphxnswntwkhxngekhakbmusoslini emuxwnthi 25 krkdakhm kh s 1943 phayhlngcakfaysmphnthmitrbukkhrxngekaasisili phraecawitotriox exmanuexelthi 3 thrngrbsngpldmusoslinixxkcaktaaehnng phrxmkbcbkumaelakhumkhngekhaexaiw aelaerimthakarecrcakbfaysmphnthmitrtawntk karsngbsukidthuklngnam emuxwnthi 8 knyayn kh s 1943 aelasiwntxma musosliniidrbkarchwyehluxcakeyxrmninptibtikaroxkaelaidrbmxbhmayinkarduaelrthhunechidthithukeriykwa satharnrthsngkhmxitali Repubblica Sociale Italiana RSI hrux satharnrthsaol thangtxnehnuxkhxngxitali ephuxepnkarpldplxypraethscakeyxrmnaelafassist xitaliidklayepnkhutxsurwmkhxngfaysmphnthmitr epnphlthaihpraethsidrbkarsubthxdinsngkhramklangemuxng odymiaelakhxngxitalisungidrbkarsnbsnuncakfaysmphnthmitrekhatxsurbkbkxngthphkhxngsatharnrthsngkhmxitaliaelaeyxrmnthiepnphnthmitr bangphunthiinphakhehnuxkhxngxitaliidrbkarpldplxycakeyxrmninchwngplayeduxnphvsphakhm kh s 1945 odyphlphrrkhkhxmmiwnistxitali emuxwnthi 28 emsayn kh s 1945 inkhnathiphyayamcahlbhniipyngswitesxraelnd xananikhmaelaemuxngkhun inthwipyuorp thukdinaednthiekhythukkhwbkhumodyckrwrrdixitali inchwngewlaidchwnghnunginchwngsngkhramolkkhrngthisxng epnemuxngkhunkhxngxitali tngaet kh s 1912 thung kh s 1943 mxnetenokrepnemuxngkhunkhxngxitali tngaet kh s 1941 thung kh s 1943 epnthiruckknkhux ekhtphuwakaraehngmxnetrenokr sungxyuphayitkarkhwbkhumkhxngphuwakarthharkhxngxitali inchwngaerk xitalitngicthicathaihmxnetrenokrklayepnrthxisrasungepnphnthmitrxyangiklchidkbxitali odyidrbkarsnbsnunphankarechuxmoyngthangrachwngsthiekhmaekhngrahwangxitaliaelamxnetenokr enuxngcaksmedcphrarachiniexelnaaehngxitalithrngepnphrathidakhxngphraecanikxlathi 1 kstriyxngkhsudthaykhxngmxnetenokr nkchatiniymchawmxnetenokrthiidrbkarsnbsnuncakxitaliaelaphutidtamkhxngekhaidphyayamthicasrangrthmxnetenokrkhunma emuxwnthi 12 krkdakhm kh s 1941 phwkekhaidprakassthapna rachxanackrmxnetenokr phayitkarxarkkhakhxngxitali phayinewlaimthung 24 chwomng phayinsamspdah phukxkarkaeribsamarthyuddinaednekuxbthnghmdkhxngmxnetenokriwid kxngkalngthharxitalicanwnkwa 70 000 nay aelathharthiimidekhapracakarsungmacakchawxlebeniyaelachawmuslimcanwn 20 000 khn idthuksngephuxekhaprabpramklumkbt edxreywichthukkhbilxxkcakmxnetenokrineduxntulakhm kh s 1941 caknnmxnetenokrktkxyuphayitkarkhwbkhumkhxngxitaliodytrng dwykaryxmcannkhxngxitaliin kh s 1943 mxnetenokridekhamaxyuphayitkarkhwbkhumkhxngeyxrmniodytrngaethn xitaliidekhakhrxbngathangkaremuxngaelaesrsthkictngaetkarkxtngin kh s 1913 xlaebeniythukkxngkalngthharxitaliekhayudkhrxngin kh s 1939 inkhnathiphraecasxkthi 1 aehngaexlebeniythrngliphyxxknxkpraethsphrxmrachwngskhxngphraxngkh rthsphaaexlebeniyidlngmtithwaybllngkaexlebeniyaedkstriyaehngxitali sngphlthaihekidshphaphswnbukhkhlrahwangsxngpraeths inaexfrika epnxananikhmkhxngxitalithidarngxyu tngaet kh s 1936 thung kh s 1943 chwngkxnkarbukkhrxngaelaphnwkrwmexthioxepiyekhasuxananikhmthiepnexkphaphin kh s 1936 xitalimixananikhmsxngaehng idaek exriethriyaelaosmaeliy nbtngaetpi kh s 1880 liebiy epnxananikhmkhxngxitalithidarngxyu tngaet kh s 1912 thung kh s 1943 swnthangtxnehnuxkhxngliebiythukrwmekhakbxitaliodytrngin kh s 1939 xyangirktam phumiphakhniyngkhngthukrwmknepnxananikhmphayitkhahlwngxananikhm yipun ehtuphlinkarthasngkhram eruxrbsuepxredrdnxt aelaeruxladtraewnkhxngkxngthpheruxckrwrrdiyipunthixawotekiyw khristthswrrs 1930 rthbalyipunidihehtuphlinkarkrathakhxngtnodyxangwakalngphyayamthicarwbrwmexechiytawnxxkphayitkarnakhxngyipuninwngiphbulyrwmaehngmhaexechiyburpha ephuxthicapldplxychawexechiytawnxxkcakkarkhrxbngaaelathukpkkhrxnginthanarthbriwarkhxngmhaxanactawntk yipunidplukradmaenwkhidxudmkarnrwmklumchawexechiyaelaklawwaprachachawexechiymikhwamcaepnthicaepnxisracakxiththiphltawntk shrthidtxtansngkhramyipunincin aelaihkaryxmrbrthbalchatiniymkhxngeciyngikhechkwaepnrthbalthithuktxngtamkdhmaykhxngcin dwyehtuni shrthcingphyayamyutikhwamphyayaminkarthasngkhramkhxngyipunodykahndmatrakarkhwabatrkarkhathnghmdrahwangshrthaelayipun yipuntxngphungphashrthkhidepn 80 epxresntkhxngechuxephlingpiotreliym aelaphlthitammakkhux karkhwabatrdngklawsngphlkxihekidwikvtthangesrsthkicaelakarthharkhxngyipun enuxngcakyipunimsamarththasngkhramkbcinidxiktxip thahakimsamarthekhathungechuxephlingpiotreliym ephuxthicayunyninkarthphthangthharincinodysuyesiykarkhaechuxephlingpiotreliymkbshrthkhrngihy yipunelngehnthungwithithidithisudinkarhaaehlngthangeluxkkhxngechuxephlingpiotreliyminexechiytawnxxkechiyngitthixudmipdwyechuxephlingpiotreliymaelathrphyakrthangthrrmchatimakmay karkhmkhuwacatxbotodyyipuntxkarkhwabatrkarkhathnghmdodyshrth epnthirbruodyrthbalxemrikn rwmthngrthmntriaehngrthkhxngxemrikanamwa Cordell Hull sungkalngecrcakbyipunephuxhlikeliyngsngkhram odyekrngwakarkhwabatrthnghmd cathaihyipunchinglngmuxinekhaocmtihmuekaaxinediytawnxxkkhxngdts yipunrabuwakxngeruxaepsifikkhxngxemriknsungtngthanthpheruxxyuinephirlharebxrepnphykhukkhamhlktxkarxxkaebbinkarrukranaelaekhayudkhrxngexechiytawnxxkechiyngit dngnnyipuncungrierimocmtiephirlharebxr emuxwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 ephuxybyngkartxbsnxngtxkarrukranexechiytawnxxkechiyngit aelasuxewlaephuxihyipunthakarrwbrwmthrphyakrehlanidwytwexngephuxthasngkhramthnghmdkbshrth aelabngkhbihshrthyxmrbkarkhrxbkhrxngkhxngyipun emuxwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 yipunprakassngkhramkbshrthxemrikaaelackrwrrdibritich prawtisastr cakkxngthpheruxckrwrrdiyipun IJN tidtngxawuthdwypunkleba ithp 11 inchwngyuththkarthiesiyngihekhruxngbinkhbilmitsubichi ex6exm siorkbekhruxngbinlaxun etriymbinkhuncakeruxbrrthukxakasyanochkakuinwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 ephuxocmtiephirlharebxrckrwrrdiyipun siaedngekhm aeladinaednthithukkhwbkhumodyrthhunechidkhxngyipun siaedngxxn praethsithy siaedngthub rwmmuxkbyipun thnghmdepnsmachikkhxngwngiphbulyrwmaehngmhaexechiyburpha ckrwrrdiyipun sungepnpraethsthithukpkkhrxngodyrabxbrachathipityphayitrththrrmnuyodymismedcphrackrphrrdihiorhiotathrngepnpramukh epnpraethsmhaxanacfayxksahlkinthwipexechiyaelathaelaepsifik phayitckrphrrdi mikhnarthmntrithangkaremuxngaelakxngbychakarthharsungsudaehngckrwrrdisungmihwhnaesnathikarthharxyusxngkhn in kh s 1945 ckrphrrdiyipunthrngepnmakkwaphunaechingsylksn phraxngkhthrngmibthbathsakhyinkarwangaephnklyuththephuxrksarachbnglngkkhxngphraxngkhexaiw n cudsungsud wngiphbulyrwmaehngmhaexechiyburphakhxngyipun rwmthngaemncueriy mxngokeliyin swnihykhxngaephndincin maelesiy xinodcinfrngess hmuekaaxinediytawnxxkkhxngdts filippins phma swnkhnadelkkhxngxinediy aelahmuekaatang inphakhklangkhxngmhasmuthraepsifik xnepnphlmacakkhwamimlngrxyknphayinaelaphawaesrsthkictktain kh s 1920 xngkhprakxbthangthharthaihyipunxyuinesnthangkhxnglththikarkhyayxanaekht enuxngcakhmuekaaxnepnbanekidkhxngyipunkhadaekhlnthrphyakrthangthrrmchatithicaepnsahrbkaretibot yipuncungwangaephnthicakxtngsthapnaxanacinthwipexechiyaelaphungphatnexngidodykarekhayuddinaednthimithrphyakrthangthrrmchatixnxudmsmburn noybaykarkhyayxanaekhtkhxngyipunthaihtnexngduaeplkaeykcakpraethsxun insnnibatchati aelainchwngklangpi kh s 1930 idthaihyipuniklchidkbeyxrmniaelaxitalimakkhun sungthngsxngpraethskdaeninnoybaykarkhyayxanaekhtthikhlaykhlungkn khwamrwmmuxrahwangyipunaelaeyxrmniiderimtndwyktikasyyatxtanokhminethirn sungthngsxngpraethstklngthicaepnphnthmitrephuxthathaytxkarocmtiid cakshphaphosewiyt yipunidekhasukhwamkhdaeyngkbcinin kh s 1937 yipunekharukranaelayudkhrxngphunthibangswnkhxngcinthaihekidkarkrathakhwamohdraytharuntxphleruxncanwnmakmay echn karsngharhmuthinanking aelanoybaythngsamprakar yipunidtxsurbxyangprapraykbkxngthphosewiyt mxngokeliyinaemncukwin kh s 1938 aela kh s 1939 yipuntxngkarthicahlikeliyngkarthasngkhramkbshphaphosewiytodykarlngnaminktikasyyaimrukranrahwangknin kh s 1941 thharoddrmcakkxngthphbkckrwrrdiyipunidthakarlngsuphuninchwng 13 kumphaphnth kh s 1942 eruxpracybanchnyamaotaxyang yamaota aelamusachicakkxngthpheruxckrwrrdiyipun idcxderuxxyuin in kh s 1943 phunathangthharkhxngyipunidaetkaeykcakkhwamsmphnththangkarthutkbeyxrmniaelaxitali aelathsnkhtitxshrth kxngthphbkckrwrrdiyipunsnbsnunkarthasngkhramkbshrthaetkxngthpheruxckrwrrdiyipunswnihycakhdkhanxyangrunaerng emuxnaykrthmntriyipun phlexk hiedki othoc idptiesthkhxeriykrxngkhxngshrthihyipunthxnkalngthharxxkcakcin karephchiyhnamiaenwonmmakkhun karthasngkhramkbshrthkalngthukpruksaharuxphayinrthbalyipunin kh s 1940 phubychakarkxngeruxphsm phleruxexk xiosorku yamaomota idepidephyinkaraesdngkhdkhanodyechphaaxyangyingphayhlngcakkarlngnaminsnthisyyaitrphakhi odybxkklawiw emuxwnthi 14 tulakhm kh s 1940 karsurbkbshrthkehmuxnkbkarsurbkbkhnthngolk aetkidtdsinicipaelw dngnnkhaphecacasuxyangsudkhwamsamarth aennxnwakhaphecacatxngtaybneruxnangaota eruxthngkhxngekha inkhnaediywkn otekiywcathukaephdephaphunthungsamkhrng okhonexaaelakhnxun cathukchikepnchin odyprachachnphuekhiydaekhn khapheca imkhwr thicaprahladic ineduxntulakhmaelaphvscikayn kh s 1940 yamaomotaidtidtxsuxsarkbrthmntriwakarkrathrwngkxngthpherux oxxikhawa aelaklawwa mnimehmuxninchwngkxnitrphakhi txngmikhwammungmnxyangyingephuxthaihaenicwaerahlikeliyngxntraycakkaripthasngkhram dwymhaxanacyuorpthimungaetthasngkhraminyuorp yipuncungtxngkarthicaekhayudkhrxngxananikhmkhxngphwkekha in kh s 1940 yipunidtxbsnxngtxkarrukranfrngesskhxngeyxrmnodykarekhayudkhrxngthangtxnehnuxkhxngxinodcinfrngess rabxbwichifrngesssungepnphnthmitrodyphvtinykhxngeyxrmni idihkaryxmrbinkarkhrxbkhrxng kxngkalngfaysmphnthmitrimtxbotdwykarthasngkhram xyangirktam shrthiderimtnkarkhwabatrtxyipunin kh s 1941 enuxngcakkarthasngkhramxyangtxenuxngincin singnicaepnkartdsphphlayxyangessehlkaelanamnkhxngyipunthicaepnsahrbxutsahkrrm karkha aelakhwamphyayamkarthasngkhram nkkarthutthangkxngthphyipun maokota oxonedra idekhaeyuxnthipxmprakar Fjell innxrewy kh s 1943 khanghlngkhxngekhakhux nawaxakasothnamwa Eberhard Freiherr von Zedlitz und Neukrich si in si hnwyxakasoythinaehnglufthwfefxthi 502 aeladankhwakhux Fregattenkapitan doktor Robert Morath phubychakarthhareruxinbarekin danhlngmuxkhxngoxonedra thithukykkhunthawnthyhtth khux nayphl si in si kxngthpheyxrmninnxrewy ephuxthakaraebngaeykkxngkalngshrththipracakarxyuinfilippinsaeephuxldxanackhxngkxngthpheruxshrth kxngbychakarthharsungsudaehngckrwrrdiidsngihocmtithanthpheruxshrththiephirlharebxr ekaahaway emuxwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 phwkekhayngidekharukranhmuekaamlayuaelahxngkng inchwngaerkidrbchychnamahlaykhrng in kh s 1943 kxngthphyipunidphlkdnlathxyklbipynghmuekaabanekid sngkhramaepsifikidkinewlacnkrathngkarthingraebidprmanuthihiorchimaaelanangasakiin kh s 1945 osewiytprakassngkhramxyangepnthangkarineduxnsinghakhm kh s 1945 aelaekhapathakxngthphyipuninaemncueriyaelacinthangtawnxxkechiyngehnux dinaednxananikhmaelaemuxngkhun ecahnathiyipunfuksxmihthharihmchawxinodniesiy praman kh s 1945 ekaaithwn epnemuxngkhunkhxngyipunsungthukkxtngkhunin kh s 1895 ekahliepnrthinxarkkhaaelaemuxngkhunkhxngyipunsungthukkxtngkhunxyangepnthangkarodysnthisyyayipun ekahli kh s 1910 aepsifikitinxanti epndinaednthithukmxbihaekyipun inkhxtklngsntiphaphkhxngsngkhramolkkhrngthihnung sungidkahndihhmuekaaaepsifikitkhxngeyxrmntkepnkhxngyipun yipunidrbdinaednehlaniepnrangwlcakfaysmphnthmitrinsngkhramolkkhrngthihnung emuxyipunekharwmkbfaysmphnthmitrinkartxtaneyxrmn yipunekhayudkhrxnghmuekaaxinediytawnxxkkhxngdtsinchwngsngkhram yipunwangaephnthicaepliyndinaednehlaniepnrthbriwarkhxngxinodniesiyaelaesaahaphnthmitrkbnkchatiniymchawxinodniesiyrwmthungsukaron prathanathibdixinodniesiyinxnakht xyangirktam khwamphyayamehlaniimidthaihekidrthxinodniesiykhunmacnkrathngyipunyxmcannpraethsxun thilngnaminktikasyyaitrphakhinxkcakpraethsthngsamhlkkhxngfayxksa yngmixikhkpraethsthilngnaminktikasyyaitrphakhiinthanapraethssmachik inbrrdapraethsxun echn ormaeniy hngkari blaekeriy rthexkrachokhrexechiy aelasolwaekiy tangidekharwmptibtikarthangthhartang khxngfayxksadwykxngkalngtidxawuthpracachati inkhnathipraethsthihk yuokslaewiy idaesdngihehnwarthbalthiihkarsnbsnunnasiidthukokhnlmkxnhnaniinkarkxrthpraharephiyngimkiwn phayhlngcakthiidlngnaminktikasyyaaelasmachikkthukthxdthxn blaekeriy thharblaekeriyin inchwngkarthphbxlkhan rachxanackrblaekeriythukpkkhrxngodyphraecasarbxristhi 3 emuxlngnaminktikasyyaitrphakhi emuxwnthi 1 minakhm kh s 1941 blaekeriyepnfayphayaephinsngkhramolkkhrngthihnungaelatxngkarexakhuninsingthiphunablaekeriyehnwaepndinaednthisuyesiyipthngthangchatiphnthaelaprawtisastrkhxngblaekeriy odyechphaaxyangyinginmasiodeniyaelaethrs thnghmdxyuinrachxanackryuokslaewiy rachxanackrkris aelaturki inchwngpi kh s 1930 enuxngcakxngkhprakxbdngedimkhxngfaykhwa blaekeriycungekhaiklnasieyxrmnimakkhun in kh s 1940 eyxrmniidkddnihormaeniylngnamin odythakarsngkhunphumiphakhdxbrucaitaekblaekeriy sungsuyesiyipin kh s 1913 eyxrmnyngidihkhamnsyyakbblaekeriy hakekharwmkbfayxksa karkhyayxanaekhtkhxngtnipyngchayaednthiidrabuexaiwin blaekeriyidekharwminkarrukranyuokslaewiyaelakriskhxngfayxksaodyplxyihkxngkalngthhareyxrmnekhaocmtidinaednkhxngtnaelasngkxngkalngthharipyngkris emuxwnthi 20 emsayn ephuxepnrangwl fayxksaidxnuyatihblaekeriykhrxbkhrxngphunthibangswnkhxngthngsxngpraeths thangitaelathangtawnxxkechiyngitkhxngyuokslaewiy aelaphakhtawnxxkechiyngehnuxkhxngkris swnhnungkhxngkrikmasiodeniyaela kxngkalngblaekeriyinphunthiehlaniidichewlahlaypiinkartxsurbkbklumfaychatiniymaelatang aemwacamiaerngkddncakeyxrmni blaekeriyimidmiswnrwminkarrukranshphaphosewiytkhxngfayxksaaelaimekhyprakassngkhramkbshphaphosewiytely xyangirktam yngmiswnthiekiywkhxngkbkarsurbhlaykhrngkbkxngeruxthaeldakhxngosewiyt sungidekhaocmtieruxkhnsngsinkhakhxngblaekeriy phayhlngcakyipunekhaocmtiephirlharebxrineduxnthnwakhm kh s 1941 rthbalblaekeriyidprakassngkhramkbfaysmphnthmitrtawntk karkrathaniyngkhngepnsylksnswnihy xyangnxykinmummxngkhxngblaekeriy cnthungeduxnsinghakhm kh s 1943 emuxkarpxngknthangxaksaelakxngthphxakaskhxngblaekeriyidocmtiekhruxngbinthingraebidfaysmphnthmitr karklbma idrbkhwamesiyhayxyanghnk cakpharkicehnuxorngklnnamnkhxngormaeniy singniklayepnhaynasahrbphlemuxnginosefiyaelaemuxngthisakhyxun khxngblaekeriy sungthukthingraebidxyanghnkodyfaysmphnthmitrinchwngvduhnaw kh s 1943 1944 emuxwnthi 2 knyayn kh s 1944 kxngthphaedngidekhaiklchayaednblaekeriy rthbalblaekeriychudihmidekhamamixanacaelatxngkarthicaecrcasntiphaphkbfaysmphnthmitr idkhbilkxngkalngthhareyxrmnthihlngehluxxyuimmak aelaprakaswangtwepnklang xyangirktam matrkarehlaniimxackhdkhwangshphaphosewiytprakassngkhramkbblaekeriyinwnthi 5 knyayn aelawnthi 8 knyayn kxngthphaedngidekhluxnthphekhasupraeths odyaethbirkartxtan sungtammadwy sungthaihrthbalkhxngthisnbsnunosewiytkhunsuxanac phayhlngcaknn kxngthphblaekeriy sungepnswnhnungkhxng khxngkxngthphaedng idekhatxsurbkbeyxrmninyuokslaewiyaelahngkari thaihmiphubadecblmtaycanwnmak xyangirktam idthuxwablaekeriyepnhnunginpraethsthiphayaephsngkhram blaekeriyidrbxnuyatinkarrksaphumiphakhdxbrucaitexaiw aettxngykelikkarxangsiththiindinaednkrikaelayuokslaewiythnghmd hngkari rththng khxnghngkari sungthukichnganinchwngkarrukranshphaphosewiytkhxngfayxksa kh s 1941 hngkarithukpkkhrxngodyphusaercrachkarnamwa phleruxexk mikolch ohrti epnpraethsaerkthinxkehnuxcakeyxrmni xitali aelayipun sungidyudmntamktikasyyaitrphakhi thuklngnaminkhxtklng emuxwnthi 20 phvscikayn kh s 1940 dwykhwamiresthiyrphaphthangkaremuxngidkxkwnpraeths cnkrathngmikolch ohrti khunnanghngkariaelaidklayepnphusaercrachkaraephndinin kh s 1920 chawhngkariswnihytxngkarthicakxbkudinaednthiesiyipodysnthisyyathriyanng inchwngrthbalkhxng hngkariidekhaiklchidkbeyxrmniaelaxitalimakkhun enuxngcakmikhwamtxngkarrwmknthicaaekikhkartngthinthanxyangsntithiekidkhuninchwnghlngsngkhramolkkhrngthihnung 86 hlaykhntangehndwykbnoybaytxtanchawyiwkhxngrabxbnasi enuxngcakcudyunthiihkarsnbsnuneyxrmniaelakhwamphyayamkhrngihminnoybayrahwangpraeths hngkaricungidrbkartngthinthanindinaednxyangepnthinaphxicodyrangwlewiynnakhrngthihnung phayhlngcakkarlmslaykhxngechoksolwaekiysungidekhayudkhrxngaelaphnwkswnthiehluxkhxng aelain kh s 1940 idrbcakormaeniyphanthangrangwlewiynnakhrngthisxng hngkariidxnuyatihthhareyxrmnedinthangphanxanaekhtkhxngtninchwngkarrukranyuokslaewiy aelakxngkalnghngkariidekharwmptibtikarthangthharphayhlngkarprakassthapnarthexkrachokhrexechiy bangswnkhxngxdityuokslaewiyidthukphnwkrwmekhakbhngkari shrachxanackridyutikhwamsmphnththangkarthutodythnthiephuxepnkartxbot aemwahngkaricaimidekharwminkarrukranshphaphosewiytkhxngeyxrmninchwngaerk aethngkariaelashphaphosewiytidklayepnkhusngkhraminwnthi 27 mithunayn kh s 1941 canwnthharkwa 500 000 nayidptibtikarrbbnaenwrbdantawnxxk kxngthphphakhsnamthnghaidekharwminsngkhramtxtanshphaphosewiytinthisud swnthisnbsnunthisakhyody thharhngkariinethuxkekhakharephethiyn in kh s 1944 emuxwnthi 25 phvscikayn kh s 1941 hngkariepnhnunginsibsampraethsthilngnaminktikasyyatxtanokhminethirnsungiderimthaihm kxngkalngthharhngkariechnediywkbfayxksa miswnrwminptibtikarrbinkartxtanosewiytcanwnmakmay inchwngplaypi kh s 1943 osewiytidepriybinkarrbaelaeyxrmntxnglathxy kxngthphbkhngkarithisxngthukthalaylanginkarsurbkb bnrimfngaemnadxn kxnthieyxrmnicaekhayudkhrxngphayinphunthihngkari chawyiwcanwnpraman 63 000 khnidsuysiniphmdaelw phayhlngcaknn inchwngplay pi kh s 1944 chawyiwcanwn 437 000 khnidthukenrethsipyngkhaykkknexachwiths ebiyrekhxena phwkekhaswnihylwnesiychiwitthnghmd odyrwmaelw chawyiwechuxsayhngkariidprasbkhwamsuyesiycanwnekuxb 560 000 khn khwamsmphnthrahwangeyxrmnikbphusaercrachkaraephndinkhxngmikolch ohrtiidlmslayin kh s 1944 emuxohrtiidphyayamthicaecrcathakhxtklngsntiphaphkbosewiytaelakraoddxxkcaksngkhramodyimidrbxnuyatcakeyxrmn ohrtiidthukbibbngkhbihslataaehnng phayhlngcakhnwykhxmmanodeyxrmn sungnaodyphnexk xxthoth skxresni thakarcblukchaykhxngekhaiwepntwpraknsungepnswnhnungkhxngptibtikarphnaesrefasth hngkariidrbkarprbprungihmphayhlngcakkarslataaehnngkhxngohrtiineduxnthnwakhm kh s 1944 ihklayepnrabxbephdckarthieriykwa rthbalexkphaphaehngchatihngkari sungnaodyaefaernts salxchi ekhaepnnaykrthmntrikhxnghngkarinbtngaeteduxntulakhm kh s 1944 aelaepnphunakhxngphrrkhaexrorwkhrxssaehnghngkari ekhtxanacidthukcakdxyangmiprasiththiphaphcnkrathngklumxanaekhtthihdaekhblngeruxy inphakhklangkhxnghngkari rxbkrungbudaepstnbtngaetthiphwkekhaekhayudxanac kxngthphaedngsungxyuhangiklcakphayinpraeths xyangirktam thimsngharkhxngaexrorwkhrxssidsngharchawyiwechuxsayhngkarimakthung 38 000 khn ecahnathiaexrorwkhrxssidchwyehluxxadxlf ixchmninkarepidichngankrabwnkarkhbilenrethsxikkhrng sungchawyiwinkrungbudaepstidrbkariwchiwitepnkarchwkhraw thakarsngchawyiwcanwnpraman 80 000 khn xxkcakemuxngephuxthukichepnaerngnganeknthaelacanwnxikmaymaythuksngtrngipyngkhaymrna phwkekhaswnihylwnesiychiwit rwmthnghlaykhnthithukkhataythnthiphayhlngkarsurbcblnginkhnathiphwkekhakalngedinthangklbban hlaywnphayhlngrthbalsalxsiekhayudxanac krungbudaepstthiepnemuxnghlwngthuklxmrxbipdwykxngthphaedngkhxngosewiyt kxngthpheyxrmnaelahngkariidphyayamthicahyudyngkarrukkhxngosewiytaetklblmehlw phayhlngkarsurbxyangdueduxd krungbudaepstkthukosewiytyudkhrxng chawhngkarithisnbsnuneyxrmncanwnmakidlathxyipyngxitaliaelaeyxrmni thiphwkekhatxsurbkncnsngkhramyutilng ekhruxngbinkhbil idrbmacak epntnkarxxkaebbkhxngekhruxngbinkhbilxitali ineduxnminakhm kh s 1945 salxchiidliphyipyngeyxrmniinthanaphunarthbalphldthin cnkrathngkaryxmcannkhxngeyxrmniineduxnphvsphakhm kh s 1945 rthexkrachokhrexechiy xdxlf hitelxrekhaphbkbphunaaehngrthexkrachokhrexechiy NDH xanet paewlich emuxwnthi 10 emsayn kh s 1941 idthukeriykwa rthexkrachokhrexechiy Nezavisna Drzava Hrvatska hrux NDH sungepnrthhunechidkhxngeyxrmn xitalisungidrwmknkxtng idlngnamrwminktikasyyaitrphakhi rthexkrachokhrexechiyyngkhngepnpraethssmachikkhxngfayxksacnkrathngsngkhramolkkhrngthisxngsinsudlng kxngkalngkhxngtnidtxsurbephuxeyxrmni aemwadinaednkhxwngtncathukbukrukodyphlphrrkhyuokslaewiy emuxwnthi 16 emsayn kh s 1941 xanet paewlich nkchatiniymchawokhrexechiyaelahnunginphukxtngxustaech khbwnkarpldplxyokhrexechiy idrbkarprakasaetngtngepn Poglavnik thanphuna khxngrabxbihm inchwngaerk xustaechidrbxiththiphlxyangmakmacakxitali phwkekhaidrbkarsnbsnunxyangaekhngkhncakrabxbfassistkhxngmusosliniinxitali sungidsngmxbphunthiinkarfuksxmaekkhbwnkarephuxetriymphrxmsahrbkarthasngkhramtxtanyuokslaewiy rwmthwidihkaryxmrbpaewlichepnphuliphyaelaxnuyatihekhamaphankxyuinkrungorm in kh s 1941 inchwngkarrukrankriskhxngxitali musosliniidrxngkhxiheyxrmniekharukranyuokslaewiyephuxrksakxngthphxitaliinkris hitelxrtxbtklngxyangimetmic yuokslaewiythukrukranaelarthexkrachokhrexechiykthuksrangkhun paewlichidnaklumphuaethnipyngkrungormaelaesnxthwaymngkudaehngrthexkrachokhrexechiyaekecachayxitaliaehngrachwngssawxy phuthiidrbkarswmmngkudphranamwa txmislfthi 2 wnrungkhun paewlichidlngnaminsyyaaehngkrungormkbmusoslini odyykihphumiphakhaedlemechiyaekxitali aelathakaraekikhchayaednthawrrahwangrthexkrachokhrexechiyaelaxitali kxngthphxitaliidrbxnuyatihkhwbkhumaenwchayfngthnghmkkhxngrthexkrachokhrexechiy thaihxitaliekhakhwbkhumaenwchayfngthaelexedriytikexaiwthnghmdidxyangmiprasiththiphaph emuxkstriyxitaliidthakarkhbilmusoslinixxkcakxanacaelaxitaliidyxmcann rthexkrachokhrexechiyktkxyuphayitxiththiphlkhxngeyxrmnxyangsmburn phunewthikhxngkhbwnkarxustaechidprakaswa chawokhrexechiyidthukkdkhikhmehngodyrachxanackryuokslaewiythithukkhrxbngaodbchawesirb aelachawokhrexechiysmkhwrthicamipraethsexkrachphayhlnghlaypithithukkhrxbngaodyckrwrrditangchati xustaechidmxngchawesirbdudxykwachawokhrexechiy aelamxngehnwaphwkekhaepnphubukrukthikhrxbkhrxngdinaednokhrexechiy phwkekhaidmxngehnthungkarkacdaelakarkhbilhruxenrethschawesirbtamkhwamcaepnephuxthaihokhrexechiymikhwambrisuththithangechuxchati inkhnathiepnswnhnungkhxngyuokslaewiy nkchatiniymchawokhrexechiycanwnmaktxtanrabxbkstriyyuokslaewiythithukkhrxbngaodbchawesirbaelathakarlxbplngphrachnmtxsmedcphraecaxelksanedxrthi 1 aehngyuokslaewiy rwmkb rabxbkarpkkhrxngidrbkarsnbsnuncakklumnkchatiniymchawokhrexechiyhwrunaerng kxngkalngxustaechidtxsurbkbkxngocrphlphrrkhkhxmmiwnistchawyuokslaftlxdchwngsngkhram emuxekhasuxanac paewlichidkxtng Hrvatsko domobranstvo inthanakxngkalngthharxyangepnthangkarkhxngrthexkrachokhrexechiy aetedimidrbxanacinkarmikxngkalngcanwn 16 000 nay idetibotepnkxngkalngsurbsungsudcanwn 130 000 nay kxngxarkkhabanekidokhrexechiyrwmthngkxngthphxakasaelakxngthpherux aemwakxngthpheruxcathukcakdkhnadodysyyaaehngkrungorm nxkcakkxngxarkkhabanekidokhrexechiyaelw paewlichyngepnphubychakarsungsudkhxngkxngthharxasaxustaech aemwaodythwipaelw hnwythharkhxngrthexkrachokhrexechiythnghmdcaxyuphayitbngkhbbychakhxngkxngthpheyxrmnhruxxitaliinphunthiptibtikar khbwnkarxustaechidprakassngkhramkbshphaphosewiyt lngnaminktikasyyatxtanokhminethirn kh s 1941 aelasngkxngkalngthharipyngaenwrbdantawnxxkkhxngeyxrmni kxngthharxasaxustaechidthuksngiprksakarinbxlkhan txsurbkbphlphrrkhkhxmmiwnist rthbalxustaechidichkdhmaythangechuxchatikbchawesirb chawyiw aelachawormani rwmthngkahndepahmaythungphuthitxtanrabxbfassist aelaphayhlngeduxnmithunayn kh s 1941 idthakarenrethsphwkekhaipyng Jasenovac concentration camp hruxkhaykhxngeyxrmninopaelnd kdhmaythangechuxchatithithukbngkhbichodykxngthharxasaxustaech canwnphuthitkepnehyuxkhxngrabxbxustaechnnimaennxn enuxngcakmikarthalayexksaraelatwelkhthiaetktangknodynkprawtisastr tamkhxmulkhxngphiphithphnthxnusrnsthanralukhxolkhxstkhxngshrthinkrungwxchingtn di si canwnchawesirb rahwang 320 000 khn aela 340 000 khnlwnthuksngharinrthexkrachokhrexechiy ormaeniy xiyxn xntxenskuaelaxdxlf hitelxrthiinmiwnik mithunayn kh s 1941 rupkhbwnkhxngekhruxngbinkhbil IAR 80 khxngormaeniykarxxkaebbkhxngrththngphikhat khxngormaeniy sungthukeyxrmnnamaichephuxphthnaehthesxrthharormaeniy n chanemuxngkhxngstalinkradinchwngyuththkarthistalinkrad in kh s 1942 emuxsngkhrampathukhuninyuorp esrsthkickhxngrachxanackrormaeniydudxykwaphlpraoychnkhxngnasieyxrmniphanthangsnthisyyathilngnaminvduibimphli kh s 1939 xyangirktam praethsimidlathingkhwamehnxkehnicthisnbsnuntxbritichodysineching ormaeniyyngepnphnthmitrkbopaelndtlxdinchwngrahwangsngkhram phayhlngcakkarrukranopaelndodyeyxrmniaelashphaphosewiyt aelakarphichitfrngessaelaklumpraethsaephndintakhxngeyxrmni ormaeniyphbwatnexngoddediywmakkhun inkhnaediywkn faysnbsnuneyxrmnaelafaysnbsnunlththifassistkerimetibotkhun eduxnsinghakhm kh s 1939 ktikasyyaomoltxf ribebinthrxphrahwangeyxrmniaelaosewiytsungprakxbipdwyphithitrasarlbwadwyidykdinaednaelaihaekshphaphosewiyt emuxwnthi 28 mithunayn kh s 1940 shphaphosewiytaela 92 emuxwnthi 30 singhakhm kh s 1940 xnepnphlmacakkartdsindwyxnuyaottulakarkhxngeyxrmn xitaliinrangwlewiynnakhrngthisxng ormaeniytxngykdinaednihaekhngkari dxbrucaitthukykihaekblaekeriyineduxnknyayn kh s 1940 inkhwamphyayamthicaexaicphwkfassistphayinpraethsaelaidrbkarkhumkhrxngcakeyxrmn phraecakhaorlthi 2 thrngaetngtngihnayphl xiyxn xntxensku epnnaykrthmntri emuxwnthi 6 knyayn kh s 1940 sxngwntxma xntxenskuidbibbngkhbkstriyihthakarslarachbnglngkaelaaetngtngphrarachoxrsxngkhelkphranamwa imekhil miih khunkhrxngrachy aelaprakasaetngtngtnexngepn Conducător thanphuna dwyxanacephdckar idthukprakassthapna emuxwnthi 14 knyayn odymiklumphuphithksehlkpkkhrxngrwmkbxntxensku sungepnkhbwnkarthangkaremuxngodythuktxngtamkdhmayephiynghnungediywinormaeniy phayitkstriymiihthi 1 aelarthbalthharkhxngxntxensku ormaeniyidlngnaminktikasyyaitrphakhi emuxwnthi 23 phvscikayn kh s 1941 thhareyxrmnidekhasupraeths emuxwnthi 10 tulakhm kh s 1941 ephuxthakarfukaekkxngthphormaeniy khasngkhxnghitelxrtxthhar emuxwnthi 10 tulakhm idrabuwa caepntxnghlikeliyngaemaetkaryudkhrxngthangthharkhxngormaeniyephiyngnxynid karekhamakhxngthhareyxrmninormaeniyidthaihebniot musoslini ephdckarxitalitdsinicinkarepidchakkarrukrankris erimtnsngkhramkris xitali phayhlngcakidrbxnumticakhitelxrineduxnmkrakhm kh s 1941 xntxenskuxxkcakxanac txmaormaeniythukichepnewthisahrbkarrukranyuokslaewiyaelashphaphosewiyt aemcaimidmiswnekiywkhxngthangthharinkarrukranyuokslaewiy ormaeniyidrxngkhxihthharhngkariimptibtikarin dngnn ephaluscungaekikhaephnkarkhxnghngkariaelaekbthharkhxngtniwthangtawntkkhxngaemnatisx ormaeniyidekharwminkarrukranshphaphosewiytsungnaodyeyxrmni emuxwnthi 22 mithunayn kh s 1941 xntxenskuepnphunatangpraethsephiyngkhnediywthihitelxrpruksaharuxeruxngthangthhar aelathngsxngkhncaphbknimnxykwasibkhrngtlxdchwngsngkhram ormaeniyidyuddinaednebssaraebiyaelabuokhwinathangtxnehnuxklbkhunmainchwngptibtikarmunechinkxnthicayudkhrxngdinaednosewiyttxipaelakxtng phayhlngkarlxmxxaedsa emuxngklayepnemuxnghlwngkhxngekhtphuwakar kxngthharormaeniyphrxmkbkxngthhareyxrmnaelamiswnsakhyinkarlxmeswsotpxl txma kxngthharphuekhaidrwmkarthphkhxngeyxrmninethuxkekhakhxekhssipcnthungnlchikh phayhlngcakprasbkhwamsuyesiyxyangrayaerng ecahnathiormaeniyiderimthakarecrcathakhxtklngephuxsntiphaphxyanglb kbfaysmphnthmitr xutsahkrrmthangthharkhxngormaeniynnmikhnadelkaetetmipdwykhwamxenkprasngkh samarthkhdlxkaelaphlitrabbxawuthkhxngfrngess osewiyt eyxrmn britich aelaechoksolwkidhlayphnraykar rwmipthungkarphlitphlphlitaebbdngedimthimiprasiththiphaph ormaeniyyngidsrangeruxrbkhnadihymak echn eruxwangthunraebid NMS Amiral Murgescu aela eruxdana NMS Rechinul aela NMS Marsuinul mikarphlitekhruxngbinthithukxxkaebbaetedimcanwnhlayrxyla echn ekhruxngbinkhbilxyang IAR 80 aelaekhruxngbinthingraebidebaxyang IAR 37 praethsniidsrangyanrbhumekraaxikdwy odyechphaaxyangyingkhux yanekraaphikhatrththng Mareșal sungxaccaepnipidwamixiththiphltxkarxxkaebbkhxngyanekraaphikhatrththng ehthesxr khxngeyxrmn ormaeniyyngepnpraethsthisakhyinxutsahkrrmphlitnamnmatngaetpi kh s 1800 epnhnunginphuphlitrayihythisudinyuorp aelaorngklnnamnthiopleycht idihphlphlitpraman 30 khxngkarphlitnamnkhxngfayxksathnghmd nkprawtisastrchawxngkvsnamwa ednnis edelaethnt idyunynwa karsnbsnunthisakhykhxngormaeniytxkarthasngkhramkhxngfayxksa rwmthungkarmikxngthphfayxksakhnadihyepnxndbsaminyuorpaelakhacunkarthasngkhramkhxngeyxrmndwynamnaelayuthothpkrnxun sunghmaykhwamwa ethiybethakbxitalithiepnphnthmitrthisakhyaelaimidxyuinhmwdhmukhxngpraethsrxngthiepnrthbriwarkhxngfayxksa nkprawtisastrchawxngkvsxikkhnnamwa Mark Axworthy mikhwamechuxwa ormaeniymioxkasthicaphicarnaidwamikxngthphfayxksathisakhymakthisudepnxndbsxnginyuorp makkwakxngthphxitalidwysa ormaeniyphayitxntxenskuepnrthephdckarfassistaelarabbrwbxanacebdesrc chawyiwcanwnrahwang 45 000 khn aela 60 000 khn lwnthuksngharinbuokwinaaelaebrssaraebiyodythharormaeniyaelaeyxrmnin kh s 1941 tamkhaklawkhxng Wilhelm Filderman wa chawyiwxyangnxy 150 000 khninebrssaraebiyaelabuokwina lwnesiychiwitphayitrabxbxntxensku thngphuthithukkhbilenrethsaelaphuthiyngkhngxyu odyrwmaelw chawyiwpraman 250 000 khn thixyuphayitekhtxanacsalkhxngormaeniylwnesiychiwit in kh s 1943 kraaessngkhramidepliynip osewiytidphlkdnklbipyngthangtawntkmakkhun samarthyudyuekhrnklbkhunma aelainthisudkidepidchakkarrukormaeniythangtawnxxkinvduibimphli kh s 1944 sungimprasbkhwamsaerc kxngkalngthharormaeniyinaehlmikhremiyidchwykninchwngaerk aetinthisud khabsmuthrthnghmdkthukkxngthphosewiytyudkhrxngklbkhunxikkhrng aelaidthakarxphyphthhareyxrmnaelaormaeniymakkwa 100 000 nay khwamsaercdngklawthaihphleruxexkkhxngkxngthpheruxormaeniynamwa oheriy maechllarixu Horia Macellariu idrbehriyykangekhnxswinaehngkangekhnehlk inchwng eduxnsinghakhm kh s 1944 ormaeniyid emuxwnthi 23 singhakhm kh s 1944 thharormaeniyidtxsurbekhiyngkhangkbkxngthphosewiytcnkrathngsngkhramyutilng sungedinthangipiklthungechoksolwaekiyaelaxxsetriy solwaekiy solwaekiyin kh s 1941 satharnrthsolwkphayitkarnaodyprathanathibdi yxesf tisx sungidlngnaminktikasyyaitrphakhi emuxwnthi 24 phvscikayn kh s 1940 solwaekiymikhwamsmphnthxyangiklchidkbeyxrmniekuxbthicaodythnthiphayhlngcakkarprakasxisrphaphcakechokslolwaekiy emuxwnthi 14 minakhm kh s 1939 solwaekiyidekhasuinsnthisyyaxarkkhakbeyxrmni emuxwnthi 23 minakhm kh s 1939 thharsolwaekiyidekharwmkarrukranopaelndkhxngeyxrmn odymikhwamsnicinphumiphakhaela thngsxngphumiphakhphrxmkb Cieszyn Silesia idmirahwangopaelndaelaechoksolwaekiynbtngaet kh s 1918 opaelndidphnwkrwmdinaednthngsxngxyangsmburntamkhxtklngmiwnik phayhlngcakkarrukranopaelnd solwaekiyidyudkhrxngdinaednehlannklbkhun solwaekiyidrukranopaelndphrxmkxngthpheyxrmn odyihkarsnbsnundwykxngkalngthharcanwn 50 000 nayinchwngsngkhram solwaekiyidprakassngkhramkbshphaphosewiytin kh s 1941 aelalngnaminktikasyyatxtanokhminethirnsungiderimthaihmin kh s 1941 thharsolwaekiybidekhatxsurbbnaenwrbdantawnxxkkhxngeyxrmni sungidcdhaephuxesrimkalngihaekeyxrmnidwysxngkxngphlodycanwnthnghmd 80 000 nay solwaekiyprakassngkhramkbshrachxanackraelashrth solwaekiyidrxdphncakkaryudkhrxngkhxngkxngthpheyxrmncnkrathngkarkxkarkaeribchatisolwaekiy sungerimtnemuxwnthi 29 singhakhm kh s 1944 aelaekuxbcathukbdkhyiodythnthiodyhnwywfefin exsexsaelakxngkalngthharsolwkthiphkditxyxesf tisx phayhlngsngkhram tisxthukcbkumaelapraharchiwit aelasolwaekiykklayepnswnhnungkhxngechoksolwaekiyxikkhrng chayaednthitidkbopaelndidthukyayklbipepnrthinchwngkxnsngkhram solwaekiyaelasatharnrthechktangidaeyktwxxkklayepnrthxisrainthisudin kh s 1993 yuokslaewiy ephiyngaekhsxngwnkhxngkarepnpraethssmachik yuokslaewiyswnmakthuklxmrxbipdwypraethssmachikkhxngktikasyyaaelatxnnimichayaedntidkbeyxrmnirch tngaetplaypi kh s 1940 hitelxrtxngkarthaktikasyyaimrukranrahwangknkbyuokslaewiy ineduxnkumphaphnth kh s 1941 hitelxrideriykrxngihyuokslaewiyekharwmktikasyyaitrphakhi aetrthbalyuokslaewiyklbyudewla ineduxnminakhm kxngphlkhxngkxngthpheyxrmnidmathungchayaednrahwangblaekeriy yuokslaewiyaelaidkhxxnuyatphanthangephuxekhaocmtikris wnthi 25 minakhm kh s 1941 dwykhwamekrngklwwayuokslaewiycathukrukranipdwy rthbalyuokslaewiycungtdsinicthicalngnaminktikasyyaitrphakhiodymikhxsngwnthisakhy sungtangcakpraethsmhaxanacfayxksaxun yuokslaewiyimcaepntxngihkhwamchwyehluxthangthhar hruxcdhaxanaekhtkhxngtnaekfayxksaephuxekhluxnkxngkalngthharinchwngsngkhram ephiyngaekhsxngwn phayhlngkarprathwngbnthnninkrungeblekrd ecachayphxlaelarthbalidthukpldxxkcaktaaehnngody smedcphraecapietxrthi 2 dwyphrachnmphrrsa 17 phrrsa thrngidrbprakasbrrlunitiphawa rthbalchudihmkhxngyuokslaewiyphayitkarnaodynayphl idptiesththicaihstyabncakkarlngnaminktikasyyaitrphakhikhxngyuokslaewiy aelaerimtnkarecrcakbbrietnihy aelashphaphosewiyt winstn echxrchilidlngkhwamehnwa yuokslaewiyidphbcitwiyyanaelw xyangirktam hitelxrxxkkhasngihkxngthphbukekhayudkhrxngxyangrwderwpraethsxun thilngnaminktikasyyatxtanokhminethirnbangpraethsidlngnaminktikasyyatxtanokhminethirnaetimidlngnaminktikasyyaitrphakhi dngnnkaryudmntxfayxksacungxacdunxykwaphulngnaminktikasyyaitrphakhi bangswnkhxngrthehlaniidthasngkhramxyangepnthangkarkbsmachikkhxngfaysmphnthmitr praethsxun yngkhngwangtwepnklanginsngkhram aelathakarsngthharxasasmkhripekharwmrbethann karlngnaminktikasyyatxtanokhminethirnthukmxngwa epnbththdsxbkhwamcngrkphkdi odyphunanasi cin rthbalaehngchaticinthiidrbkarptirup inchwngsngkhramcin yipunkhrngthisxng yipunidekharukcakthanthimninaemncueriyipekhayudkhrxngphunthiswnihykhxngphakhtawnxxkaelatxnklangkhxngcin rthhunechidkhxngyipunhlayaehngthukkxtngkhuninphunthithithukkxngthphyipunyudkhrxng rwmthngthipkking sungthukkxtngkhunin kh s 1937 aelathihnancing sungthukkxtngkhunin kh s 1938 rthbalehlanithukrwmekhadwyknklayepnthihnancing emuxwnthi 29 minakhm kh s 1940 wang cingewyklayepnpramukhaehngrth rthbalcatxngdaeninkartamaenwthangediywkbrabxbchatiniymaelaichsylksnkhxngtnexng rthbalhnancingaethbimmixanacthiaethcring bthbathhlkkhuxthahnathiepnekhruxngmuxokhsnachwnechuxsahrbyipun rthbalhnancingidsrupkhxtklngkbyipunaelaaemncukw odyxnuyatihyipunyudkhrxngcin aelayxmrbkhwamepnexkrachkhxngaemncukwphayitxarkkhakhxngyipun rthbalhnancingidlngnaminktikasyyatxtanokhminethirn kh s 1941 aelaprakassngkhramkbshrth aelashrachxanackr emuxwnthi 9 mkrakhm kh s 1943 rthbalmikhwamsmphnthxntungekhriydkbyipuntngaeterimtn karthinaywangyunkranwarabxbkarpkkhrxngkhxngekhaepnrthbalchatiniymthiaethcringkhxngcinaelainkarlxkeliynaebbsylksnthnghmdkhxngphrrkhkkmintngthaihekidkhwamkhdaeyngkbyipunxyubxykhrng praednthiednchdmakthisudkhuxeruxngkhxngthngkhxngrabxbkarpkkhrxng singehmuxnkbthngkhxngsatharnrthcin sthankarnthielwraylngsahrbyipun tngaet kh s 1943 epntnma sunghmaykhwamwakxngthphnankingidrbbthbaththisakhyinkarpxngkncinthithukyudkhrxngmakkwathiyipuncakhadkhidinchwngaerk kxngthphidthukichekuxbxyangtxenuxnginkartxtankhxngfaykhxmmiwnistcin wang cingewyidesiychiwit emuxwnthi 10 phvscikayn kh s 1944 aelaidrbkarsubthxdtaaehnngodyrxngphuchwykhxngekha echin kngpx echinmixanacxiththiphlephiyngaekhelknxy xanacthiaethcringsungxyuebuxnghlnginrabxbkhux naykethsmntriesiyngih kartaykhxngnaywangidkhcdkhwamchxbthrrmephiyngelknxyethathirabxbnnmi wnthi 9 knyayn kh s 1945 phayhlngkhwamphayaephsngkhramkhxngyipun phunthidngklawidyxmcantxnayphl nayphlfaychatiniymphucngrkphkditxeciyng ikhechk echin kngpxthuknatwkhunsalaelathuktdsinpraharchiwitin kh s 1946 ednmark rachxanackrednmark ednmarkthukyudkhrxngodyeyxrmniphayhlngeduxnemsayn kh s 1940 aelaimekhyekharwmkbfayxksa emuxwnthi 31 phvsphakhm kh s 1939 ednmarkaelaeyxrmniidlngnaminsnthisyyaimrukranrahwangkn sungimmipharaphukphnthangthharaetxyangidsahrbfayidfayhnung emuxwnthi 9 emsayn eyxrmnidekhaocmtisaekndienewiy aelakhwamrwderwkhxngkarbukkhrxngednmarkkhxngeyxrmnthaihphraecakhrisetiynthi 10 aelarthbalednmarktxngliphy phwkekhatxngyxmrb karxarkkhaodyirchs aelakarekhapracakarkhxngkxngthpheyxrmnephuxaelkkbkhwamepnxisraephiyngaekhinnam ednmarkidkhxyprasannoybaytangpraethskbeyxrmni khyaykaryxmrbthangkarthutipyngphuihkhwamrwmmuxaelarabxbhunechidkhxngfayxksa aelathalaykhwamsmphnththangkarthutkbrthbalphldthinkhxngfaysmphnthmitr ednmarkidthalaykhwamsmphnththangkarthutkbshphaphosewiytaelalngnaminktikasyyatxtanokhminethirn kh s 1941 xyangirktam shrth aelashrachxanackridephikechytxednmarkaelathanganrwmkb exkxkhrrachthutednmarkpracashrth emuxphudthungkhxtklngekiywkbkarichixsaelnd krinaelnd aelakxngeruxphanichykhxngednmarkinkartxtaneyxrmni in kh s 1941 nasiidkxtng thharxasasmkhrhlayphnnayaelahlaykhnesiychiwitinthanaswnhnungkhxngkxngthpheyxrmnbnaenwrbdantawnxxk ednmarkidkhayphlitphlthangekstrkrrmaelaxutsahkrrmihkbeyxrmniaelaihenginkusahrbxawuthyuthothpkrnaelapxmprakar karmixyukhxngeyxrmninednmark rwmipthungkarkxsrangswnhnungkhxngpxmprakarinkaaephngaextaelntiksungednmarkcayipaelaimekhyidrbklbkhunmaxikely rthbalinxarkkhakhxngednmarkdarngxyucnthungwnthi 29 singhakhm kh s 1943 emuxkhnarthmntriidlaxxkknhmd phayhlngcakkareluxktngthithukkahndkartampktiaelaesriepnswnihy thaihwarapccubnkhxngrthsphaednmarkidsinsudlng eyxrmnidprakasbngkhbichktxykarsuktammadwy aelaphuihkhwamrwmmuxchawednmarkyngkhngdaenintxipinradbfaybriharpkkhrxng odyrabbkharachkarkhxngednmarksungthanganxyuphayitkhasngkhxngeyxrmn kxngthpheruxednmarkidthalayeruxkhnadihy canwn 32 la eyxrmnidyuderuxma 64 la aelatxmaidthukykaelasxmaesmeruxthicmip canwn 15 la eruxrb 13 la idelneruxhniipyngswiednaelakxtngkxngeruxrbednmarkinkarphldthin swiednxnuyatihcdtng sungimekhyehnxxkmasurbelykhbwnkartxtanednmarkmibthbathinkarkxwinaskrrmaelakarxxkhnngsuxphimphitdinaelakarkhunbychidakbphuthiihkhwamrwmmux finaelnd aemwafinaelndcaimekhylngnaminktikasyyaitrphakhi aetklbtxsukbshphaphosewiytekhiyngkhangkbeyxrmniinsngkhramtxenuxng kh s 1941 44 inchwngthitaaehnngthaharkhxngrthbalfinaedlninchwngsngkhramkhuxfinaelndepnkhusngkhramkhxngeyxrmnsungphwkekhaidxthibaywa shayphurwmrb brothers in arms finaelndidlngnaminktikasyyatxtanokhminethirnxikkhrng emuxeduxnphvscikayn kh s 1941 finaelndidlngnamkbfaysmphnthmitrin kh s 1947 sungidxthibaywa praethsfinaelndnnepn phnthmitrkhxngeyxrmniphayitkarnakhxnghitelxr insngkhramtxenuxng dwyehtuni finaelndcungepnpraethsthipkkhrxngdwyrabxbprachathipityephiyngpraethsediywthiekharwmkbfayxksa khwamepnxisraxikkhrngkhxngfinaelndcakeyxrmnithaihfinaelndxyuintaaehnngthiidepriybmakthisudinehlapraethsrxngmhaxanacfayxksathnghmd inkhnathikhwamsmphnthrahwangfinaelndaelanasieyxrmniinchwngsngkhramtxenuxngyngkhngepnthithkethiyngkninfinaelnd inhnngsuxphimphthichuxwa Helsingin Sanomat pi kh s 2008 idsarwcphbwa nkprawtisastrchawfinaelndcanwn 16 khncak 28 khnsungehndwywafinaelndepnphnthmitrkhxngnasieyxrmni miephiyngaekh 6 khnethannthiimehndwy eduxnsinghakhm kh s 1939 ktikasyyaomoltxf ribebinthrxph rahwangeyxrmniaelashphaphosewiytsungmiphithisarlbthicathakaraebngaeykyuorptawnxxkswnihyxxkcakknaelakahndihfinaelndepnekhtxiththiphlkhxngosewiyt phayhlngcakkhwamphyayaminkarbibbngkhbephuxthakarykdinaednaelakarsmpthanxun infinaelndsungprasbkhwamlmehlw shphaphosewiytidphyayamthicabukkhrxngfinaelndineduxnphvscikayn kh s 1939 inchwngsngkhramvduhnaw dwykhwamtngicthicacdtngrthbalhunechidkhxngfaykhxmmiwnistinfinaelnd 127 khwamkhdaeyngkhrngniidekhakhukkhamesnthangkarkhnsngaerehlkkhxngeyxrmniaelaepidoxkasinkarekhaaethrkaesngkhxngfaysmphnthmitrinphumiphakhni aemwafinaelndcathakartxtan snthisyyasntiphaphidthuklngnamineduxnminakhm kh s 1940 sungfinaelndidthakarykdinaednthisakhyephiyngbangswnihkbshphaphosewiyt rwmthngkhxkhxdkhaereliyn sungmiemuxngkhnadihyxndbsxngkhxngfinaelndkhux wipuri aelasingpluksrangkarpxngknthisakhyxyang phayhlngsngkhramkhrngni finaelndtxngkarthicaidrbkarkhumkhrxngaelasnbsnuncakshrachxanackr 129 aelaswiednthiimekhakhangfayidfayhnung 131 aetthukkhdkhwangodykarkrathakhxngosewiytaelaeyxrmn sngphlthaihfinaelnderimekhaiklchidkbeyxrmnimakkhun prakaraerkdwykhwamtngicthicaidaerngsnbsnunkhxngeyxrmninthanatwthwngdulephuxkhdkhwangaerngkddnkhxngosewiytxyangtxenuxng aelatxmaephuxchwyinkarthwngkhundinaednthisuyesiyipklbkhunma inchwngwnthiepidchakptibtikarbarbarxssa karbukkhrxngshphaphosewiytkhxngeyxrmni finaelndidxnuyatihekhruxngbineyxrmnthibinklbmacakkarthingthunraebidehnuxekaakhrxnstdthaelaaemnaenwaephuxthakaretimechuxephlingthisnambinfinaelndkxnthicabinklbipyngthanthphinprsesiytawnxxk ephuxepnkartxbot shphaphosewiytidepidchakkarocmtithangxakaskhrngihytxsnambinaelaemuxngtang khxngfinaelnd sungthaihfinaelndprakassngkhramkbshphaphosewiyt emuxwnthi 25 mithunayn kh s 1941 khwamkhdaeyngkhxngfinaelndkbshphaphosewiytsungmkcathukeriykknwa sngkhramtxenuxng mnenxrehmkbhitelxr epahmayhlkkhxngfinaelndkhuxkarthwngkhundinaednthisuyesiyipihkbshphaphosewiytinsngkhramvduhnaw xyangirktam emuxwnthi 10 krkdakhm kh s 1941 cxmphl kharl kustaf exmil mnenxrehm idxxkkhasngpracawnsungidmikarkahndthiekhaicinradbsaklwa epnphlpraoychnbndinaednkhxngfinaelndinkhaereliykhxngrsesiy khwamsmphnththangkarthutrahwangshrachxanackraelafinaelndidthuktdkhad emuxwnthi 1 singhakhm kh s 1941 phayhlngcakbritichidthakarthingraebidiskxngthpheyxrmninephtsaomthiepnhmubanaelathaeruxkhxngfinaelnd shrachxanackrideriykrxngihfinaelndyutikarrukrantxshphaphosewiythlaykhrng aelaprakassngkhramkbfinaelnd emuxwnthi 6 thnwakhmkhm kh s 1941 aemwacaimmiptibtikarthangthharxun ktam sngkhramkhrngniimekhythukprakasrahwangfinaelndaelashrth aemwakhwamsmphnthrahwangthngsxngpraethscathuktdkhadipin kh s 1944 xnepnphlmacak thharfinaelndidedinphanesssakrththngosewiyt thi 34 thithukthalayin finaelndidyunynthicakhxybychakarkxngthphkhxngtnexngaeladaeninkartamepahmayinkarthasngkhramxyangepnxisraodyimkhunkbeyxrmni eyxrmnaelafinaelndidthanganrwmknxyangiklchidin sungepnkarocmtirwmkntxmurmnskh finaelndidekharwminkarlxmelninkrad finaelndepnhnunginphnthmitrthisakhythisudkhxngeyxrmniinkarthasngkhramkbshphaphosewiyt khwamsmphnthrahwangfinaelndaelaeyxrmniyngidrbphlkrathbmacak sungidihkhxesnxepnenguxnikhkhxngeyxrmnsahrbkhwamchwyehluxdwyxawuthyuothpkrnaelakarsnbsnunthangxakas enuxngcakidthakarkhukkhamfinaelnddwykaryudkhrxngxyangsmburn khxtklngdngklawidthuklngnamodyprathanathibdi aetimekhyihstyabnodyrthsphafinaelnd thaihfinaelndimtxngkarsntiphaphthiaeykcakkn phayhlngkarrukkhxngosewiytsungkarsurbidhyudninglng phusubthxdtaaehnngprathanathibditxcakrutikhux cxmphl mnenxrehm idptiesthkhxtklngaelaepidkarecrcalbkbosewiyt sungthaihmikarhyudyinginwnthi 4 knyayn aelakarsngbsukmxsok emuxwnthi 19 knyayn kh s 1944 phayitenguxnikhkhxngkarsngbsukkhux finaelndcaepnthicatxngthakarkhbilthhareyxrmnxxkipcakdinaednfinaelnd sungsngphlthaihekidkarsurbthithukeriykwa aemncueriy aemncukw thharaemncueriykalngfukinkarsxmrbthangthharnkbinaemncueriyinkxngthphxakasaemncukw aemncukw inphumiphakhtawnxxkechiyngehnuxkhxngcin sungepnrthhunechidkhxngyipuninaemncueriytngaetpi kh s 1930 thukpkkhrxngephiyngaetinnamodyphuxi ckrphrrdixngkhsudthaykhxngrachwngsching aetinkhwamepncringaelwklbthukkhwbkhumodykxngthphyipun odyechphaaxyangyingkhux kxngthphkhnot inkhnathiaemncukwehnidxyangchdecnwaepnrthsahrbchnklumnxychawaemncu aetphumiphakhkmichawcinhnepnklumkhnswnihy phayhlngyipunekharukranaemncueriyinkh s 1939 khwamepnexkrachkhxngaemncukw emuxwnthi 18 kumphaphnth kh s 1932 odymiphuxiepnpramukhaehngrth ekhaidprakastnexngepnckrphrrdiaehngaemncukwinxikhnungpitxma praethsaemncuihmniidrbkaryxmrbcak 23 praethscak 80 praethsthiepnsmachikkhxngsnnibatchati eyxrmni xitali aelashphaphosewiytepnhnunginmhaxanachlkthiidihkaryxmrbaemncukw praethsxunthiidihkaryxmrbtxrth idaek satharnrthodminikn khxstarika exlslwadxr aelankhrwatikn aemncukwyngidrbkryxmrbodyphnthmitraelarthbalhunechidxun khxngyipun rwmthngehmingeciyng mxngokeliyin rthbalphmakhxng praethsithy rabxbwang cingewy aelarthbalxinediykhxngsuphas cnthra ophs snnibatchatiidprakasphayhlngin kh s 1934 wa aemncueriyyngkhngepnswnhnungkhxngcinxyangthuktxngtamkdhmay thaihyipunthxntwxxkcaksnnibatchati rthaemncukwidyutikardarngxyuphayhlngcakosewiytekharukranaemncueriyin kh s 1945 aemncukwidlngnaminktikasyyatxtanokhminethirn kh s 1939 aetimekhylngnaminktikasyyaitrphakhi sepn cakaethwhna eriyngcaksayipkhwatamladb ihnrich himelxr frnsisok frngok aelarthmntritangpraethskhxngsepn inmadrid eduxntulakhm kh s 1940 rthsepnkhxngekadioy frnsisok frngok idihkhwamchwyehluxdansilthrrm esrsthkic aelakarthharaekfayxksa inkhnathiyngkhngwangtwepnklangephiyngaekhinnam frngokidxthibaywa sepnepnsmachikkhxngfayxksaaelalngnaminktikasyyatxtanokhminethirninpi kh s 1941 kbhitelxraelamusoslini smachikkhxngphrrkh Falange thipkkhrxnginsepnidcdkarxxkaebbinkarthwngkhundinaedntxyibrxltar klum Falangists yngkhngsnbsnunkarekhakhrxbkhrxngxananikhmkhxngsepnin aelathangtawnxxkechiyngehnuxkhxng nxkcakni sepnyngkhngmikhwamprarthnakbxditxananikhmkhxngsepninlatinxemrika frngokekhychnasngkhramklangemuxngsepndwykhwamchwyehluxkhxngnasieyxrmniaelafassistxitali thngsxngpraethstangmikhwamtxngkarxyangaerngklathicasthapnarthfassistxikaehnginyuorp sepnepnhnikbeyxrmnimakkwa 212 landxllarshrth sahrbsphphlayxawuthyuthothpkrninchwngsngkhramklangemuxngsepn aelakxngkalngthharxitalithiidekhatxsurbinsepn odyxyukhangfaychatiniymkhxngfrngok emuxeyxrmnirukranshphaphosewiytin kh s 1941 frngokidesnxihcdtngkxngkalngthharxasasmkhrephuxekharwmkarrukranodythnthi singniidrbkaryxmrbodyhitelxr aelaphayinsxngspdah idmithharxasasmkhrthimakekinphxthicacdtngepnkxngphl kxngphlnaengin Division Azul phayitbngkhbbychakarodynayphl dwykhwamepnipidthisepncaekhamaaethrkaesnginsngkhramolkkhrngthisxng epneruxngthinakngwlsahrbshrth sungidsarwckhwamekhluxnihwkhxngphrrkhfalngekhthipkkhrxnginlatinxemrikakhxngsepn odyechphaaxyangyingthipwyrotriok sungkhwamrusukniymfalngekhaelaniymfrngoknnmixyusung aemaetinhmuphupkkhrxngchnchnsung klumfalngkhistidsngesrimaenwkhidminkarsnbsnunxditxananikhmkhxngsepninkarsurbtxtankarpkkhrxngkhxngxemrika kxnsngkhramcapathu karsnbsnuntxfrngokaelafalngekhnnmixyusunginfilippins klumfalngekhphaynxk sakharadbrahwangpraethskhxngfalngekhidrwmmuxkbkxngthphyipuntxtankxngthphshrthaelafilipioninfilippinsphanthangfilippins falngekhktikasyyathwiphakhikbfayxksabangpraethsidsmrurwmkhidkbeyxrmni xitali aelayipun odyimidlngnaminktikasyyatxtanokhminethirnaelaktikasyyaitrphakhi inbangkrnikhxtklngthwiphakhiehlaniidthukthakhunxyangepnthangkar inbangkrnikepnthangkarthinxykwa bangpraethsehlanikepnrthhunechidthithukkxtngkhunodyfayxksaexng phma rthbalbamx kxngthphyipunaelaehlankchatiniymchawphma sungnaodyxxngsan ekhayudkarkhwbkhumphmacakshrachxanackrinchwngpi kh s 1942 rthphmaidthukkxtngkhun emuxwnthi 1 singhakhm kh s 1943 phayitkarnaodyphunankchatiniymchawphmanamwa snthisyyaphnthmitrrahwangrabxbbamxaelayipunaelaernosa sawada sahrbyipuninwnediywkbthirthbalbamxidihkhamnsyyawacaihkhwamchwyehluxaekyipun dwykhwamchwyehluxthicaepnthnghmdephuxdaeninkarptibtikarthangthharthiprasbkhwamsaercinphma rthbalbamxidradmsngkhmchawphmainchwngsngkhramephuxsnbsnunkhwamphyayaminkarthasngkhramkhxngfayxksa rabxbbamxidkxtngkxngthphpxngknphma txmaidthukepliynchuxepnkxngthphaehngchatiphma sungxyuphayitbychakarodyxxngsan thakartxsuekhiyngkhangkbyipunin bamxidthukxthibaywa epnrththimi khwamepnxisraodyprascakxanacxthipity epnrthhunechidkhxngyipunxyangmiprasiththiphaph emuxwnthi 27 minakhm kh s 1945 kxngthphaehngchatiphmaidkxkbttxyipun ithy phrayaphhlphlphyuhesna saysud thwly tharngnawaswsdi say aeladierk chynam khwa kbhiedki othoc klang thiotekiywin kh s 1942 inthanathiepnpraethsphnthmitrkhxngyipuninchwngsngkhramsungkhxysngkxngkalngthhariptxsurbekhiyngkhangkbyipuninkartxsurbkbkxngkalngfaysmphnthmitr ithythuxwaepnswnhnungkhxngphnthmitrfayxksa hruxxyangnxy ekhakhangkbmhaxanacfayxksa twxyangechn in kh s 1945 nkkaremuxnghyingchawxemrikn idekhiynbthkhwamxthibaywa praethsithyepn praethsfayxksaxyangimxacptiesthid inchwngsngkhram praethsithyidekhatxsurbinsngkhramfrngess ithyineduxntulakhm kh s 1940 thungeduxnphvsphakhm kh s 1941 ephuxthwngkhundinaedncakxinodcinfrngess kxngthphyipunidbukpraethsithyphayinhnungchwomngkhrungchwngkxnkarocmtiephirlharebxr enuxngcakesnaebngekhtwnsakl chwngewlathxngthinkhuxchwngechakhxngwnthi 8 thnwakhm kh s 1941 ephiyngimkichwomngphayhlngkarrukran cxmphl p phibulsngkhram naykrthmntriithyidxxkkhasngihyutikartxtanyipun mikartklngaephnptibtikarthangthharrwmrahwangyipun ithy odykxngkalngithycabukphmaephuxpkpxngpikkhwakhxngkxngthphyipun idtklngkn emuxwnthi 14 thnwakhm kh s 1941 emuxwnthi 21 thnwakhm kh s 1941 phnthmitrthangthharkbyipunidthuklngnam aelaemuxwnthi 25 mkrakhm kh s 1942 sngkh phthonthyidxankhaprakassngkhramkhxngithytxshrthaelashrachxanackrxyangepnthangkarphanthangwithyu exkxkhrrachthutithypracashrth hmxmrachwngs esniy praomch imidsngmxbsaenakhaprakassngkhram dngnn aemwabritichcatxbotdwykarprakassngkhramkbithyaelathuxwaepnpraethsthiepnstru aetshrthklbimthaechnnn fayithyaelayipunidehnphxngtxngknwarthchanaelarthkaehriyngaedngkhxngphmaihxyuphayitkarkhwbkhumkhxngithy swnthiehluxkhxngphmaihxyuphayitkarkhwbkhumyipun emuxwnthi 10 phvsphakhm kh s 1942 kxngthphphayphkhxngithyidekhasurthchanthangtawnxxkkhxngphma sungidthukklawxangsiththiodyrachxanackrsyam thharrabsamkxngphlaelathharmahnungkxngphlkhxngithy hwhxkodyklumyanekraaladtraewnaelaidrbkarsnbsnuncakkxngthphxakas idekhapathakbkxngphlthi 93 khxngcinthikalnglathxy echiyngtungthiepnepahmayhlk idthukyudkhrxngemuxwnthi 27 phvsphakhm karrukkhrngihmineduxnmithunaynaelaphvscikaynthaihcinlathxyklbsuyunnan ineduxnphvscikayn kh s 1943 praethsithyidlngnaminkhaptiyyarwmmhaexechiyburpha sungidekhakhangkbfayxksaxyangepnthangkar phunthithiprakxbipdwyrthchanaelarthkayaidthukphnwkrwmekhakbpraethsithy in kh s 1942 aelaxiksirththangtxnehnuxkhxngmlayakthukyipunoxnyayipyngpraethsithyephuxepnrangwlsahrbkhwamrwmmuxkhxngithy phunthiehlaniidthuksngkhunihkbphmaaelamlayuin kh s 1945 thharithysuyesiyipthnghmd 5 559 nayinchwngsngkhram odyincanwnehlanimiphuesiychiwitpraman 180 nay thitxtankarrukrankhxngyipun emuxwnthi 8 thnwakhm kh s 1941 praman 150 naythiesiychiwitinkarsurbinrthchan aelaswnthiehluxsungesiychiwitdwyorkhikhmalaeriyaelaorkhxun inchwngsxngsameduxnaerknimikarkxtngkhbwnkaresriithykhun odyepnxngkhkresriithythiepnkhukhnaninshrachxanackr phrabathsmedcphrapremnthrmhaxannthmhidl aelasmedcphranangecaraiphphrrni phrabrmrachini sungepnphunainnamkhxngxngkhkrthikxtngxngkhkrinxngkvs aelapridi phnmyngkh phusaercrachkaraethnphraxngkh epnhwhnakxngbychakarthiihythisud sungptibtikarxyuinpraethsithy idrbkhwamchwyehluxcakxngkhprakxbthangthhar mikarkxtngsnambinlbaelakhayfuk inkhnathisankbrikardanyuththsastrkhxngxemriknaelasaylbcak khxngbritichidthakarlklxbekhaaelaxxknxkpraeths emuxsngkhramyudeyux prachachnchawithytangimphxictxkarmixyukhxngyipun ineduxnmithunayn kh s 1944 cxmphl p phibulsngkhramthukokhnlmxanacdwykarkxrthprahar rthbalphleruxnchudihmphayitkarnakhxngkhwng xphywngsidphyayamchwyehluxklumtxtan inkhnathirksakhwamsmphnthxndikbyipun phayhlngsngkhram xiththiphlkhxngshrthidkhdkhwangimihpraethsithyidrbkarptibtiinthanapraethsphuaephsngkhramkhxngfayxksa aetbritichideriykrxngkhawcanwn 3 lantnephuxepnkhachdechyaelakarsngkhunphunthithiidphnwkrwmcakmlayuinchwngsngkhram praethsithyyngidsngkhunphunthibangswnkhxngbritichphmaaelaxinodcinfrngessthiidthukphnwkrwmiwdwy cxmphl p phibulsngkhramaelaphrrkhphwkcanwnhnungidthukdaeninkhdiinkhxkxxachyakrrmsngkhramaelaihkhwamrwmmuxkbfayxksa xyangirktam khxklawhaidthukpdtkipenuxngcakaerngkddncaksatharnchnxyangekhmkhn khwamkhidehnkhxngprachachnepnthichunchxbkhxngcxmphl p phibulsngkhram enuxngcakekhakhidwaidphyayamxyangetmthiephuxpkpxngphlpraoychnkhxngithy shphaphosewiyt thhreyxrmnaelaosewiytinkaroxnyayphunthixyangepnthangkarcakebrstipyngkarkhwbkhumkhxngosewiytindanhnakhxngrupphaphkhxngstalin inphayhlngkarrukranaelakaraebngaeykopaelndodynasieyxrmniaelashphaphosewiytin kh s 1939 in kh s 1939 shphaphosewiytidphicarnathicakxtngphnthmitrkbbritichaelafrngesshruxkbeyxrmni emuxkarecrcakbbritichaelafrngessidlmehlw phwkekhacunghnekhahaeyxrmniaelalngnaminktikasyyaomoltxf ribebinthrxphineduxnsinghakhm kh s 1939 eyxrmniintxnniidhludphncakkhwamesiynginkarthasngkhramkbosewiyt aelarbrxnginkarsngnamnechuxephling singniidrwmthungphithisarlbthidinaednthithukkhwbkhumodyopaelnd finaelnd exsoteniy ormaeniy ltewiy aelalithweniyidthukaebngxxkepnekhtxiththiphlkhxngthngsxngfay osewiyttxngkarthicaphnwkdinaednbangswnthixyuphayitkarkhwbkhumkhxngrthehlannxikkhrng sungaetedimidrbmacakckrwrrdirsesiyinstwrrskxnaelasuyesiyihkbrsesiyinphayhlngsngkhramolkkhrngthihnung sungrwmthungdinaedn echn phumiphakh eblarustawntkaelayuekhrntawntk thiidtkepnopaelnd phayhlngcakidphayaephinsngkhramosewiyt opaelnd kh s 1919 1921 wnthi 1 knyayn ekuxbhnungspdahhlngcakktikasyyaidthuklngnam eyxrmniidthakarbukkhrxngopaelnd shphaphosewiytidthakarbukkhrxngopaelndcaktawnxxkinwnthi 17 knyayn aelainwnthi 28 knyayn idmikarlngnaminsnthisyyalbkbnasieyxrmniephuxkhxyprasannganrwmkninkarsurbkbkhbwnkartxtanopaelnd osewiytidphungepaipthihnwykhawkrxng naythun aelaecahnathidwykarcbkumcanwnmak odymiehyuxcanwnmakthuksngipyngkhaykulkinisbieriy aelakxkrathaxnohdrayhlaykhrngsunglngexydwykarsngharhmukatuy imnanhlngcakbukkhrxngopaelnd shphaphosewiytidekhayudkhrxngsampraethsbxltik idaek exsoteniy ltewiy aelalithweniy aelaphnwkrwmaelathangtxnehnuxkhxngbuokhwinacakormaeniy shphaphosewiytidekhaocmtifinaelnd emuxwnthi 30 phvscikayn kh s 1939 sungepncuderimtnkhxngsngkhramvduhnaw