ความยืดหยุ่นได้ทางด้านจิตใจ หรือ ความฟื้นสภาพได้ทางด้านจิตใจ หรือ การฟื้นตัวได้ (อังกฤษ: psychological resilience) มีนิยามว่าเป็นสมรรถภาพของบุคคลในการปรับตัวเข้ากับสิ่งที่ต้องทำในชีวิตเมื่อเผชิญกับความเสียเปรียบทางสังคม หรือกับสถานการณ์ที่มีอุปสรรคมาก อุปสรรคหรือความเครียดอาจมาในรูปแบบของปัญหาทางครอบครัวหรือความสัมพันธ์ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาที่ทำงาน และปัญหาการเงินเป็นต้น ความยืดหยุ่นได้ก็คือสมรรถภาพในการฟื้นสภาพจากประสบการณ์ร้ายโดยยังดำรงชีวิตได้อย่างสามารถ ซึ่งเป็นสมรรถภาพที่ไม่ใช่มีกันน้อย จริง ๆ พบในบุคคลทั่วไปและทุกคนย่อมสามารถศึกษาและพัฒนาได้ เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาว่าเป็นกระบวนการ ไม่ใช่เป็นลักษณะนิสัยที่มี มันเป็นกระบวนการทำให้คนต่างกันโดยผ่านระบบที่ช่วยให้ค่อย ๆ พบความสามารถเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกับคนอื่น
ความเข้าใจผิดที่สามัญอย่างหนึ่งก็คือคนที่ฟื้นสภาพได้ดีไม่มีอารมณ์หรือความคิดเชิงลบ และมองโลกในแง่ดีในสถานการณ์โดยมากหรือทั้งหมด จริง ๆ เป็นตรงกันข้าม คือ คนที่ฟื้นสภาพได้จะพัฒนาเทคนิคการรับมือต่าง ๆ ที่ช่วยนำทางหลบหรือผ่านวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ไปได้อย่างมีประสิทธิผลและอย่างง่าย ๆ โดยเปรียบเทียบ: 43 กล่าวอีกอย่างก็คือ ผู้ที่สามารถฟื้นสภาพได้ก็คือคนที่มีทัศนคติมองโลกในแง่ดี มักมีอารมณ์ดี และโดยข้อปฏิบัติ สามารถดุลอารมณ์เชิงลบด้วยอารมณ์เชิงบวก
พื้นเพ
การฟื้นสภาพได้มองว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (positive adaptation) หลังจากเหตุการณ์เครียดหรือที่เป็นปฏิปักษ์ สถาบันเด็กแห่งมหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์อธิบายว่า งานวิจัยเกี่ยวกับการฟื้นสภาพได้มุ่งศึกษาบุคคลที่ใช้ชีวิตอย่างมีความหวังและมีมุกขำแม้ว่าจะผ่านการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ สำคัญที่จะสังเกตว่า การฟื้นสภาพได้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เอาชนะสถานการณ์ที่เครียดมากได้เท่านั้น แต่เป็นการออกจากสถานการณ์เช่นนั้นโดย "ยังดำรงชีวิตได้อย่างสามารถ" ความฟื้นสภาพได้ทำให้บุคคลฟื้นจากความทุกข์ร้อนโดยเป็นคนที่แข็งแกร่งขึ้น คิดหาหนทางได้มากขึ้น
ประวัติ
งานวิจัยแรกในเรื่องการฟื้นสภาพได้ของจิตใจปี พ.ศ. 2516 ใช้เทคนิคของวิทยาการระบาดเพื่อศึกษาความชุกของโรค เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันที่ปัจจุบันช่วยนิยามคำว่า resilience ในปีต่อมา นักวิจัยกลุ่มเดียวกันก็เริ่มสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ตรวจสอบระบบที่สนับสนุนการพัฒนาความฟื้นสภาพได้
ศ. ดร. เอ็มมี่ เวอร์เนอร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์แรก ๆ ที่ใช้คำว่า resilience ในคริสต์ทศวรรษ 1970 เธอได้ศึกษาเด็กกลุ่มหนึ่งในเกาะคาไว รัฐฮาวาย ในเวลานั้น เกาะคาไวค่อนข้างยากจนและเด็กจำนวนมากในงานศึกษาเติบโตกับพ่อแม่ที่ติดเหล้าหรือมีโรคจิต และจำนวนมากยังไม่มีงานทำอีกด้วย เธอได้สังเกตว่า เด็กที่โตขึ้นในสถานการณ์ร้ายเหล่านี้ 2/3 มีพฤติกรรมที่ไม่ดีในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย เช่น ไม่มีงานทำ ติดสารเสพติด เด็กหญิงมีลูกก่อนแต่งงาน แต่ว่า เด็กที่เหลือ 1/3 ไม่มีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ ดร. เวอร์เนอร์ได้เรียกเด็กกลุ่มหลังว่า "ฟื้นสภาพได้" (resilient) ดังนั้นเด็กและครอบครัวที่ฟื้นสภาพได้โดยนิยามแล้วคือคนที่แสดงลักษณะที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กและครอบครัวที่ฟื้นสภาพไม่ได้
ความฟื้นสภาพได้ยังเป็นประเด็นทฤษฎีและงานวิจัยหลักประเด็นหนึ่งในการศึกษาเกี่ยวกับบุตรของมารดาโรคจิตเภทในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ในงานศึกษาปี 2532 (ค.ศ. 1989) ผลแสดงว่า เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคจิตเภทอาจจะไม่ได้รับการดูแลปลอบใจเท่ากับเด็กที่มีพ่อแม่ปกติ และสถานการณ์เช่นนั้นบ่อยครั้งมีผลร้ายต่อพัฒนาการของเด็ก แต่ว่า ก็ยังมีเด็กที่พ่อแม่ป่วยแต่เรียนได้ดีในโรงเรียน และดังนั้นจึงเป็นแรงให้ผู้วิจัยพยายามเพื่อเข้าใจการตอบสนองเช่นนี้ต่อความลำบาก
ในช่วงต้น ๆ ของงานวิจัยเรื่องการฟื้นสภาพได้ นักวิจัยได้พยายามค้นพบปัจจัยป้องกันที่ช่วยอธิบายการปรับตัวที่ดีของบุคคลต่อสถานการณ์ที่ไม่ดีรวมทั้งทุรกรรม (maltreatment) เหตุการณ์ร้ายในชีวิต หรือความยากจน งานวิจัยด้านการทดลองจากต่อนั้นได้เปลี่ยนมุ่งเข้าใจกระบวนการป้องกันที่เป็นมูลฐาน นักวิจัยได้พยายามหาปัจจัยบางอย่าง (เช่นครอบครัว) ที่ทำให้เกิดผลที่ดี
โดยเป็นกระบวนการ
ในตัวอย่างที่ว่ามานี้ การฟื้นสภาพได้จะเข้าใจได้ดีที่สุดโดยเป็นกระบวนการ แม้ว่าจะบ่อยครั้งสมมุติอย่างผิด ๆ ว่าเป็นลักษณะนิสัยของบุคคล แต่งานวิจัยปัจจุบันโดยมากแสดงว่า การฟื้นสภาพได้เป็นผลของการที่บุคคลสามารถปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและกับกระบวนการที่โปรโหมตความอยู่เป็นสุข หรือป้องกันตนจากอิทธิพลที่มากเกินจากปัจจัยเสี่ยง จึงสำคัญที่จะเข้าใจกระบวนการหรือวงจรการฟื้นสภาพเยี่ยงนี้
เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับอุปสรรค มีวิธีสามอย่างในการเผชิญกับปัญหา ซึ่งกำหนดว่า มันจะโปรโหมตความอยู่เป็นสุขหรือไม่ ซึ่งก็คือ
- อารมณ์โกรธระเบิดออกมา
- อารมณ์ระเบิดอยู่ข้างในเนื่องจากอารมณ์เชิงลบ ทำให้รู้สึกเฉยเมย ทำอะไรไม่ได้
- เพียงแค่หงุดหงิดกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็ว
คนที่ยืดหยุ่นได้จะใช้วิธีที่สามเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ ส่วนวิธีที่หนึ่งและที่สองจะทำให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้รับเคราะห์โดยมีคนอื่นเป็นผู้ผิด และจะไม่เปลี่ยนวิธีการรับมือแม้หลังวิกฤตการณ์จบแล้ว โดยเลือกมีปฏิกิริยาตามสัญชาตญาณแทนที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ ส่วนคนที่ตอบสนองต่อสภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ในตนเองมักจะรับมือกับเหตุการณ์ ฟื้นตัว และระงับวิกฤตการณ์
อารมณ์เชิงลบต่าง ๆ รวมทั้งความหวาดกลัว ความโกรธ ความวิตกกังวล ความทุกข์ ความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้ และความสิ้นหวัง จะลดสมรรถภาพการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญ และดั้งนั้น จะลดระดับการฟื้นสภาพได้ของตน ความหวาดกลัวและความวิตกกังวลที่มีอยู่เรื่อย ๆ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีทำให้อ่อนแอต่อโรคต่าง ๆ
กระบวนการเหล่านี้อาจจะรวมวิธีการรับมือเฉพาะตน ๆ หรืออาจมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ช่วยป้องกันเช่นครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หรือนโยบายทางสังคมของรัฐที่ทำให้การฟื้นสภาพมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกว่า ดังนั้น ตามรูปแบบเช่นนี้ การฟื้นสภาพได้จะเกิดขึ้นก็เมื่อปัจจัยป้องกันต่าง ๆ ทำงานร่วมกัน ซึ่งน่าจะสำคัญมากยิ่ง ๆ ขึ้นถ้าบุคคลประสบกับปัจจัยเสี่ยงเพิ่ม ๆ ขึ้น
แบบจำลองทางชีวภาพ
มูลฐานที่เด่นของการฟื้นสภาพได้ คือ ความภูมิใจในตนเอง (self-esteem) และแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (self-concept) ล้วนมีมูลฐานทางระบบประสาท 3 ระบบ คือ somatic nervous system, ระบบประสาทอิสระ และระบบประสาทกลาง ศาสตร์ที่กำลังเจริญขึ้นในเรื่องการศึกษาการฟื้นสภาพได้ก็คือ มูลฐานทางประสาทชีวภาพของการฟื้นสภาพได้จากความเครียด ยกตัวอย่างเช่น สารสื่อประสาท neuropeptide Y (NPY) เชื่อว่าเป็นตัวจำกัดการตอบสนองต่อความเครียดโดยลดการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก และฮอร์โมน 5-Dehydroepiandrosterone (5-DHEA) เป็นตัวป้องกันสมองจากผลอันตรายของระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) ที่สูงเป็นประจำ นอกจากนั้นแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับการฟื้นสภาพจากความเครียด เชื่อว่าอำนวยโดยผลของฮอร์โมนออกซิโทซินต่อแกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล ดังนั้น "การฟื้นสภาพได้ ซึ่งตั้งแนวคิดโดยเป็นการปรับตัวทางชีวภาพ-จิตใจในเชิงบวก ได้กลายเป็นโครงสร้างทางทฤษฎีที่มีประโยชน์ในการเข้าใจตัวแปรที่สามารถพยากรณ์สุขภาพและความอยู่เป็นสุขในระยะยาว"
มีงานวิจัยจำกัดอยู่บ้างว่า คล้ายกับความเจ็บป่วยบางอย่าง การฟื้นสภาพได้มีผลจากอีพีเจเนติกส์ ซึ่งก็คืออาจสืบทอดได้ทางกรรมพันธุ์ แต่ว่า หลักวิทยาศาสตร์ที่แสดงผลนี้ยังเป็นเรื่องต้องวิจัยกันต่อไป
ปัจจัยสัมพันธ์
งานศึกษาแสดงว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่ช่วยพัฒนาและดำรงการฟื้นสภาพได้ของบุคคล
- ความสามารถในการวางแผนที่เป็นไปได้จริงและในการทำตามขั้นตอนของแผนนั้น
- การคิตถึงตัวเองในเชิงบวกและความมั่นใจในข้อดีและความสามารถของตน
- ทักษะในการสื่อสารและแก้ปัญหา
- ความสามารถในการจัดการความหุนหันพลันแล่นและความรู้สึกที่รุนแรง
ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ไม่จำเป็นต้องมาจากกรรมพันธุ์ เพราะสามารถพัฒนาขึ้นและโปรโหมตการฟื้นสภาพได้
อารมณ์เชิงบวก
มีงานวิจัยเป็นจำนวนสำคัญที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์เชิงบวกกับการฟื้นสภาพได้ งานศึกษาแสดงว่า การรักษาอารมณ์เชิงบวกไว้ได้เมื่อเผชิญหน้ากับความทุกข์ยาก ช่วยโปรโหมตความยืดหยุ่นได้ของความคิดและการแก้ปัญหา โดยอารมณ์เชิงบวกยังทำหน้าที่สำคัญคือช่วยให้ฟื้นสภาพจากประสบการณ์เครียดอีกด้วย ช่วยแก้ผลทางสรีรภาพของอารมณ์เชิงลบ ช่วยให้รับมือแบบปรับตัวได้ (adaptive coping) สร้างความสัมพันธ์แบบคงยืนที่พึ่งได้ และปรับปรุงความรู้สึกเป็นสุขส่วนตัว
แม้ว่างานวิจัยบางงานจะแสดงว่า การฟื้นสภาพได้ของจิตใจเป็นลักษณะทางบุคลิกภาพ (personality trait) ที่ค่อนข้างเสถียร แต่งานวิจัยใหม่ก็ยังแสดงว่า อารมณ์เชิงบวกเป็นเรื่องจำเป็นต่อการฟื้นสภาพได้แบบที่เป็นลักษณะ (trait) และไม่ใช่ว่า อารมณ์เชิงบวกเป็นเพียงผลพลอยได้ของการฟื้นสภาพได้ แต่ว่า อารมณ์เชิงบวกในสถานการณ์เครียดอาจเป็นประโยชน์แบบปรับตัวต่อกระบวนการรับมือของบุคคล
หลักฐานของการพยากรณ์เช่นนี้มาจากงานวิจัยในบุคคลฟื้นสภาพได้ที่มักใช้กลยุทธ์การรับมือที่สร้างอารมณ์เชิงบวกอย่างชัดเจน เช่น การหาประโยชน์/ข้อดี การประเมินเหตุการณ์ใหม่ มุกตลก การมองโลกในแง่ดี และการรับมือแบบเพ่งปัญหาที่มีจุดมุ่งหมาย บุคคลที่มักเผชิญกับปัญหาด้วยวิธีเหล่านี้อาจทำตัวเองให้เข้มแข็งต่อความเครียดเพราะสามารถเข้าถึงทรัพยากรทางอารมณ์เชิงบวกเหล่านี้ได้มากกว่า การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ที่ห่วงใยช่วยเพิ่มการฟื้นสภาพได้ในเด็กที่พ่อแม่ติดคุกไม่ว่าจะจากผู้ดูแล พ่อแม่ที่ติดคุก ปู่ย่าตายาย พี่ ครู โดยให้การสนับสนุน 3 อย่างคือ (1) ให้สามารถมีกิจกรรมเหมือนเด็กอื่นได้ (2) ให้ทัศนคติชีวิตที่ดีกว่า (3) ให้ถึงการเปลี่ยนชีวิต
อารมณ์เชิงบวกมีผลทั้งทางกายและทางสรีรภาพ ผลทางสรีรภาพเหตุมุกตลกรวมทั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น และระดับที่เพิ่มขึ้นของสารภูมิต้านทานสำคัญคือ immunoglobulin A ซึ่งเป็นด่านคุ้มกันความเจ็บป่วยแรกทางระบบหายใจ ผลดีทางสุขภาพอื่น ๆ รวมทั้งอัตราการฟื้นสภาพจากความบาดเจ็บที่เร็วกว่า อัตราการรับเข้าโรงพยาบาลอีกที่ต่ำกว่าสำหรับผู้สูงอายุ และการลดจำนวนวันที่อยู่ในโรงพยาบาลเป็นต้น
งานวิจัยหนึ่งสืบความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีลักษณะฟื้นคืนสภาพได้ กับอัตราการฟื้นสภาพจากโรคหลอดเลือดหัวใจหลังจากที่เกิดอารมณ์เชิงลบ ผลของการศึกษาแสดงว่า บุคคลที่มีลักษณะฟื้นสภาพได้ที่ประสบกับอารมณ์เชิงบวกมีการฟื้นสภาพทางการทำงานของหัวใจที่เกิดจากอารมณ์เชิงลบ เช่น อัตราเต้นหัวใจเป็นต้น ที่ดีกว่า
ความทรหดอดทน
ความทรหดอดทนในเรื่องนี้ (grit) หมายถึงความอดทนและความตั้งใจมั่นเพื่อให้ถึงเป้าหมายระยะยาว ซึ่งกำหนดโดยทำการอย่างพากเพียรสู้กับเรื่องท้าทาย ดำรงความพยายามและความสนใจเป็นปี ๆ แม้มีการตัดกำลังใจจากคนอื่น มีความยากลำบาก ไม่ก้าวหน้า หรือแม้แต่เกิดความล้มเหลว คือ คนที่ทรหดมองความสำเร็จว่าเป็นงานมาราธอน ไม่ใช่งานที่เสร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักจะเป็นคนที่ได้เกรดสูงกว่าในสถาบันศึกษา และเปลี่ยนงานน้อยกว่า
ความอดทนมีผลต่อความพยายามของบุคคลอย่างสำคัญ เมื่อบุคคลเห็นเป้าหมายว่ามีคุณค่า มีความหมาย หรือเข้ากับแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง เขาจะตั้งใจพยายามมากกว่าเมื่อจำเป็น ความอดทนที่แตกต่างกันในบุคคลมีผลต่อการทำงานของหัวใจที่แตกต่างกันเมื่อทำงานอย่างเดียวกัน ความอดทนมีผลต่อแรงจูงใจในสิ่งที่ทำ และอาจมีอิทธิพลต่อความรู้สึกว่ายากง่ายของงาน
ความอดทนมีค่าสหสัมพันธ์กับลักษณะความพิถีพิถัน (conscientiousness) ในทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง แม้ว่าความอดทนและความพิถีพิถันจะล้ำกันมากในด้านความสำเร็จผล แต่ก็เน้นเรื่องที่ต่างกัน ความอดทนเน้นความทรหดระยะยาว เปรียบเทียบกับความพิถีพิถันที่เน้นความเข้มแข็งในระยะสั้น
ความอดทนต่างกันไปตามการศึกษาและวัย คนที่มีการศึกษามากกว่ามักจะอดทนมากกว่าเมื่ออายุเท่ากัน คนที่จบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามีระดับความอดทนที่สูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ โดยมาก ความอดทนสูงขึ้นตามวัยเมื่อควบคุมระดับการศึกษาแล้ว
ในความสำเร็จในชีวิต ความอดทนอาจจะสำคัญเท่ากับพรสวรรค์ นักศึกษามหาวิทยาลัยสถาบันชื่อดังผู้มีความอดทนสูงจะได้เกรดสูงกว่าเพื่อนร่วมชั้นแม้ว่าจะสอบ SAT ได้น้อยกว่าเมื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย งานศึกษาในโรงเรียนทหารสหรัฐอเมริกา พบว่า ความอดทนเป็นตัวพยากรณ์การกลับมาเรียนต่อหลังจากปีแรกที่เชื่อถือได้ดีกว่าการควบคุมตนเอง หรือคะแนนสรุปคุณภาพของนักเรียนนายทหาร และผู้แข่งขันสะกดคำศัพท์ระดับชาติในสหรัฐอเมริกาที่อดทนยังชนะคู่แข่งขันอื่น ๆ ที่อดทนน้อยกว่า อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็เพราะได้ฝึกซ้อมมากกว่า
ความอดทนยังเป็นปัจจัยป้องกันการฆ่าตัวตาย งานศึกษาหนึ่งที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่า ความอดทนเป็นตัวพยากรณ์สุขภาพจิตและความอยู่เป็นสุขของแพทย์ฝึกหัด คนอดทนจะสามารถควบคุมตนเอง และตั้งใจสมาทานเพื่อทำให้ถึงเป้าหมาย ซึ่งช่วยต้านความหุนหันพลันแล่นเช่นการทำร้ายตัวเอง บุคคลที่อดทนจะมุ่งให้ถึงเป้าหมายในอนาคต ซึ่งอาจยั้งตนไม่ให้ฆ่าตัวตาย เชื่อว่า เพราะว่าความอดทนสนับสนุนบุคคลให้สร้างและจรรโลงเป้าหมายชีวิต เป้าหมายชีวิตเหล่านั้นก็จะทำให้ชีวิตมีความหมายและมีจุดหมาย
แต่ว่า ความอดทนอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความสำเร็จ บุคคลที่ทั้งอดทนและยินดีพอใจในสิ่งที่ตนมี จะคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายน้อยกว่าในระยะยาว เพราะสองสิ่งทำงานด้วยกันเพื่อช่วยเสริมความหมายของชีวิต ช่วยป้องกันความคิดหรือแผนการเกี่ยวกับความตายและการฆ่าตัวตาย
ปัจจัยอื่น ๆ
งานศึกษาหนึ่งทำกับคนทำงานที่ประสบความสำเร็จสูง ผู้สืบหาสถานการณ์ท้าท้ายที่จำเป็นต้องมีการฟื้นสภาพได้ คือ งานวิจัยตรวจดูคนที่ประสบความสำเร็จสูงในอาชีพต่าง ๆ 13 คน ซึ่งล้วนแต่ประสบสถานการณ์ที่ท้าท้ายในที่ทำงานและเหตุการณ์ร้ายในชีวิตในช่วงการทำงาน แต่ก็ยังได้รับการยกย่องว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในสาขาการงานของตน มีการสัมภาษณ์เรื่องชีวิตประจำวันในที่ทำงานและประสบการณ์เกี่ยวกับการฟื้นสภาพและความสำเร็จ งานศึกษาพบปัจจัยพยากรณ์ 6 อย่าง คือ บุคลิกภาพเชิงบวกและการแก้ปัญหาล่วงหน้า ประสบการณ์และการเรียนรู้ ความรู้สึกว่าสถานการณ์ควบคุมได้ ความยืดหยุ่นและการปรับตัวได้ ดุลและมุมมองชีวิต และความรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนทางสังคม ผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงยังทำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหลายอย่างเช่นการมีงานอดิเรก การออกกำลังกาย การนัดพบเพื่อน ๆ และบุคคลที่รัก
ปัจจัยหลายอย่างพบว่าสามารปรับผลลบในสถานการณ์ร้ายในชีวิต งานศึกษาหลายงานแสดงว่า ปัจจัยหลักก็คือมีความสัมพันธ์กับคนที่ให้ความดูแลและความสนับสนุน เสริมสร้างความรักความเชื่อใจ และให้กำลังใจ ทั้งภายในและนอกครอบครัว มีปัจจัยอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการฟื้นสภาพได้ เช่น สมรรถภาพในการวางแผนที่สมจริงเป็นไปได้ มั่นใจในตัวเอง มีภาพพจน์ของตนที่ดี มีการพัฒนาทักษะการสื่อสาร และสมรรถภาพในการจัดการความรู้สึกและความหุนหันพลันแล่นที่รุนแรง
งานวิจัยปี 2538 จำแนกสภาพแวดล้อม 3 อย่างสำหรับปัจจัยป้องกัน คือ
- ลักษณะส่วนบุคคล เช่น เป็นมิตร ฉลาด และมีภาพพจน์ที่ดีเกี่ยวกับตน
- ลักษณะครอบครัว เช่น มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสมาชิกครอบครัวอย่างน้อยหนึ่งคน หรือมีพ่อแม่ที่มีอารมณ์เสถียรคนหนึ่ง
- ลักษณะชุมชน เช่น ได้การสนับสนุนและคำแนะนำจากเพื่อน
นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาในผู้สูงอายุในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แสดงบทบาทของมุกตลกโดยเป็นกลไกรับมือหรือดำรงความสุขเมื่อเผชิญกับความทุกข์ที่มาตามอายุ
ยังมีงานวิจัยที่พยายามค้นพบความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องการฟื้นสภาพได้ ความภูมิใจในตน (Self-esteem) การควบคุมอัตตา (ego-control) และการยืดหยุ่นอัตตาได้ (ego-resiliency) ล้วนแต่สัมพันธ์กับการปรับตัวที่ดีทางพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ถูกทารุณที่รู้สึกดีกับตัวเองอาจจะประมวลสถานการณ์ต่างจากเด็กที่ถูกทารุณอื่น ๆ โดยยกเหตุว่ามาจากสิ่งแวดล้อมและดังนั้น จึงไม่ทำให้รู้สึกว่าตัวเองแย่ ส่วนการควบคุมอัตตา หมายถึง "ขีดเริ่มเปลี่ยนหรือลักษณะเฉพาะการดำเนินงานของบุคคลเกี่ยวกับการแสดงออกหรือไม่แสดงออก" ทางความหุนหันพลันแล่น ความรู้สึก และความต้องการ ส่วนการยืดหยุ่นอัตตาได้หมายถึง "สมรรถภาพเชิงพลวัตเพื่อเปลี่ยนระดับการควบคุมอัตตาตามแบบของตน ในทางใดทางหนึ่ง โดยเป็นไปตามความจำเป็นทางสภาพแวดล้อม"
เด็กที่ถูกทารุณที่ประสบกับปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง (เช่น การมีแต่พ่อหรือแม่ การศึกษาที่จำกัดของแม่ หรือว่าครอบครัวไม่มีงานทำ) แสดงการยืดหยุ่นอัตตาได้และเชาวน์ปัญญาน้อยกว่าเด็กพวกอื่น นอกจากนั้นแล้ว เด็กที่ถูกทารุณมีโอกาสสูงกว่าเด็กอื่นที่จะแสดงปัญหาพฤติกรรมที่ก่อกวนก้าวร้าว ที่ถอนตัวจากสังคม ที่เก็บไว้ข้างใน และอย่างท้ายสุด การยืดหยุ่นอัตตาได้และความภูมิใจในตนเป็นตัวพยากรณ์การปรับตัวที่มีสมรรถภาพในเด็กที่ถูกทารุณ
ข้อมูลทางประชากร (เช่น เพศ) และทรัพยากรที่มี (เช่น ความช่วยเหลือทางสังคม) ก็สามารถใช้พยากรณ์การฟื้นตัวได้ การตรวจสอบการปรับตัวได้หลังภัยพิบัติแสดงว่าหญิงสัมพันธ์กับโอกาสการฟื้นตัวได้น้อยกว่าชาย นอกจากนั้นแล้ว บุคคลที่ไม่มีบทบาทในกลุ่มหรือองค์กรที่ใกล้ชิด ฟื้นตัวได้น้อยกว่า
ลักษณะบางอย่างของความเชื่อทางศาสนาหรือทางจิตวิญญาณอาจสามารถโปรโหมตหรือขัดขวางลักษณะทางจิตใจบางอย่างที่ช่วยเพิ่มการฟื้นตัวได้ แต่ว่า งานวิจัยยังไม่ได้สัมพันธ์ความเชื่อทางจิตวิญญาณกับการฟื้นตัวได้อย่างชัดเจน เช่น ตามหนังสือจิตวิทยากับศาสนาเล่มหนึ่ง "...ยังไม่มีงานศึกษาเชิงประสบการณ์โดยตรงที่ตรวจดูความสัมพันธ์ของศาสนากับจุดแข็งและคุณธรรมโดยทั่วไป" และในงานทบทวนวรรณกรรมปี 2550 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางศาสนาและจิตวิญญาณกับความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ในบรรดางานที่ทบทวน ประมาณครึ่งหนึ่งแสดงความสัมพันธ์และอีกครึ่งหนึ่งไม่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างค่าวัดความเชื่อทางศาสนา/ทางจิตวิญญาณกับการฟื้นตัวได้ ดังนั้น กองทัพบกสหรัฐจึงได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ฐานโปรโหมตความเชื่อทางจิตวิญญาณในโปรแกรมฝึกทหารเพื่อป้องกัน PTSD ทั้ง ๆ ที่ไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน
การสร้าง
สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) เสนอวิธี 10 อย่างเพื่อสร้างความฟื้นสภาพได้ ซึ่งก็คือ
- รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และคนสนิทอื่น ๆ
- หลีกเลี่ยงการมองวิกฤติหรือเหตุการณ์เครียดว่าเป็นปัญหาที่รับไม่ได้
- ยอมรับสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้
- พัฒนาเป้าหมายที่สมจริงเป็นไปได้และทำการเพื่อถึงเป้าหมาย
- ทำการอย่างเด็ดเดี่ยวในสถานการณ์ที่ลำบาก
- หาโอกาสค้นพบตัวเองเพิ่มขึ้นหลังจากต้องลำบากกับความสูญเสีย
- สร้าง
- มองเหตุการณ์ในระยะยาวและพิจารณาเหตุการณ์เครียดในมุมมองกว้าง ๆ
- ดำรงทัศนคติที่มีหวัง หวังในสิ่งที่ดี ๆ และให้นึกถึงภาพสิ่งที่ต้องการ
- เพื่อดูแลสุขภาพกายใจ ให้ออกกำลังกายเป็นประจำ ใส่ใจในสิ่งที่ตนต้องการและรู้สึก
ส่วนแบบจำลองการสร้างการฟื้นตัวได้ตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง โดยเป็นครอบครัวอุดมคติที่มีความสัมพันธ์ที่ดีและได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน อาศัยการทำหน้าที่ของพ่อแม่ มีสิ่งที่จำเป็น 4 อย่างคือ
- การเลี้ยงดูที่สมจริงกับสถานการณ์ในสังคม
- การสื่อสารความเสี่ยงที่มีประสิทธิผล
- ความมองโลกในเชิงบวกและการเปลี่ยนมุมมองของสถานการณ์ที่หนัก
- การสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถของตน (Self Efficacy) และความแข็งแกร่ง (Hardiness)
ในแบบจำลองนี้ (Self Efficacy) ก็คือความเชื่อในความสามารถของตนในการวางแผนและดำเนินการที่จำเป็นเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่สำคัญและต้องการ และ ความแข็งแกร่ง (Hardiness) ก็คือการรวมตัวของทัศนคติที่สัมพันธ์กัน คือ การอธิษฐานสมาทาน (commitment) ความรู้สึกว่าควบคุมได้ (control) และความรู้สึกท้าทาย
มีการพัฒนาโปรแกรมสร้างความฟื้นสภาพได้แบบช่วยตนเองหลายแบบ โดยได้ทฤษฎีและข้อปฏิบัติจากการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และ rational emotive behavior therapy (REBT) ยกตัวอย่างเช่น การแทรกแซงทางความคิด-พฤติกรรมที่เรียกว่า Penn Resiliency Program (PRP) มีหลักฐานว่าสนับสนุนด้านต่าง ๆ ของความฟื้นสภาพได้ งานวิเคราะห์อภิมานของงานศึกษา PRP 17 งานแสดงว่า การแทรกแซงช่วยลดอาการซึมเศร้าในระดับสำคัญโดยใช้เวลาระยะหนึ่ง
แต่ว่า แนวคิดเรื่องการสร้างการฟื้นตัวได้ สามารถกล่าวได้ว่าขัดกับแนวคิดว่าการฟื้นตัวได้เป็นกระบวนการ เพราะว่าแนวคิดใช้โดยหมายว่า เป็นลักษณะในตนที่สามารถพัฒนาได้
แต่คนที่มองการฟื้นตัวได้ว่าเป็นคำเรียกการประสบความสำเร็จแม้เผชิญกับความลำบาก มองการ "สร้างความฟื้นตัวได้" ว่าเป็นวิธีให้กำลังใจ/ทรัพยากรเพื่อให้เกิดกระบวนการฟื้นตัว เช่น Bibliotherapy คือการบำบัดโดยให้อ่านหนังสือ, การบันทึกเหตุการณ์ดี ๆ และการเพิ่มปัจจัยป้องกันทางจิต-สังคมด้วยทรัพยากรเชิงบวกทางจิตใจ เป็นวิธีอื่น ๆ ที่ใช้สร้างความฟื้นตัวได้ นี่เป็นการเพิ่มทรัพยากรเพื่อให้บุคคลรับมือหรือแก้ปัญหาที่มากับความยากลำบากหรือความเสี่ยง ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า เป็นการสร้างความฟื้นตัวได้ก็ได้
งานวิจัยโดยเปรียบเทียบพบว่า กลยุทธ์ที่ใช้ควบคุมอารมณ์ เพื่อเพิ่มความฟื้นสภาพได้ ช่วยให้ได้ผลที่ดีกว่าในกรณีที่มีความผิดปกติทางจิต คือ แม้ว่างานศึกษาในเบื้องต้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวได้จะมาจากนักจิตวิทยาเชิงพัฒนาการที่ศึกษาเด็กในสถานการณ์เสี่ยง งานศึกษาหนึ่งในผู้หใญ่ 230 คนที่วินิจฉัยว่าซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ที่ได้การบำบัดเน้นการควบคุมอารมณ์ แสดงว่าวิธีสามารถช่วยปรับความฟื้นตัวได้ในคนไข้ คือกลยุทธ์เพ่งที่การวางแผน การประเมินเหตุการณ์ใหม่ในเชิงบวก และการลดความครุ่นคิดสามารถช่วยดำรงสุขภาพจิตให้ดีต่อไปได้[] และคนไข้ที่มีความฟื้นตัวได้ที่ดีขึ้นมีผลทางการรักษาที่ดีกว่าคนไข้ที่แผนการรักษาไม่ได้เพ่งการฟื้นสภาพได้ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลสนับสนุนการแทรกแซงทางจิตบำบัดที่อาจช่วยรับมือกับความผิดปกติได้ดีกว่าโดยเพ่งที่การฟื้นสภาพทางจิตใจได้
โปรแกรมอื่น ๆ
มีหน่วยทหารที่ตรวจสอบบุคลากรเรื่องสมรรถภาพการฟื้นตัวได้ภายใต้สถานการณ์เครียด โดยสร้างความเครียดอย่างจงใจในช่วงการฝึก ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์สามารถคัดออกได้ ผู้ที่ผ่านสามารถฝึกเพิ่มเพื่อรับสถานการณ์เครียดได้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำ ๆ สำหรับตำแหน่งที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทหารในหน่วยรบพิเศษ
เด็ก
การฟื้นสภาพได้ในเด็กหมายถึงเด็กที่ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดหวัง โดยมีประวัติประสบกับความเสี่ยงหรือความยากลำบาก แต่ดังที่กล่าวมาก่อน นี่ไม่ใช่เป็นลักษณะอะไรที่เด็กอาจจะมีมาก่อน ไม่มีเด็กที่ไม่อ่อนแอ ที่สามารถข้ามอุปสรรคหรือความยากลำบากใด ๆ ก็ได้ การฟื้นสภาพได้เป็นผลของกระบวนการทางพัฒนาการหลายอย่างที่เกิดเป็นระยะเวลานาน ที่ช่วยเด็กเสี่ยงบางคนให้สามารถพัฒนาอย่างมีสมรรถภาพได้โดยเทียบกันเด็กอื่น ๆ ที่ไม่สามารถ
งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยป้องกัน (protective factors) ซึ่งเป็นลักษณะ (characteristic) ของเด็กหรือสถานการณ์ที่ช่วยเด็กในสภาพแวดล้อมเสี่ยง ได้ช่วยนักจิตวิทยาพัฒนาการให้เข้าใจว่าอะไรสำคัญที่สุดสำหรับเด็กที่ฟื้นสภาพได้ องค์ประกอบสองอย่างที่พบซ้ำ ๆ ในงานศึกษาเด็กก็คือ การทำงานทางระบบรู้คิดที่ดี (เช่นการควบคุมตนเองได้หรือเชาวน์ปัญญา) และความสัมพันธ์ที่ดี (โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ที่สามารถ เช่นพ่อแม่) คือ เด็กที่มีปัจจัยป้องกันในชีวิตมักจะประสบความสำเร็จกว่าในสถานการณ์เสี่ยงบางอย่างเทียบกับเด็กที่ไม่มีในสถานการณ์เดียวกัน แต่นี่ไม่ควรจะใช้เป็นเหตุผลเพื่อเปิดให้เด็กรับความเสี่ยง เพราะเด็กประสบความสำเร็จดีกว่าเมื่อไม่ประสบความเสี่ยงหรือยากลำบาก
การพัฒนาในชั้นเรียน
เด็กที่ฟื้นสภาพได้ดีในชั้นเรียน คือเด็กที่ทำงานและเล่นได้ดี ได้ความคาดหวังสูง และบ่อยครั้งมีลักษณะทางจิตวิทยาต่าง ๆ ที่ดี เช่น ความรู้สึกว่าสถานการณ์ควบคุมได้ (locus of control) ความภูมิใจในตน และการตัดสินใจอะไรได้เอง (autonomy) สิ่งเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันพฤติกรรมที่เสียหายเช่นที่สัมพันธ์กับความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้แบบเรียนรู้ (learned helplessness)
บทบาทของชุมชน
ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการสร้างความฟื้นสภาพได้ สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่าเป็นชุมชนที่ช่วยสนับสนุนและมีใจเป็นเดียวกันก็คือ มีองค์กรทางสังคมที่ช่วยเรื่องการพัฒนามนุษย์ การบริการจะไม่มีคนใช้ถ้าไม่สื่อสารให้ดีกับชุมชน แต่เด็กที่ย้ายที่อยู่บ่อย ๆ จะไม่ได้ประโยชน์จากทรัพยากรเช่นนี้ เพราะว่าโอกาสสร้างความฟื้นสภาพได้ และเข้าร่วมกับชุมชนอย่างมีความหมายจะหมดไปทุกครั้งที่ย้ายที่
บทบาทครอบครัว
การสร้างความฟื้นสภาพในเด็กจำเป็นต้องมีสถานการณ์ทางครอบครัวที่อบอุ่นและมีเสถียรภาพ คาดหวังในพฤติกรรมเด็กสูง และสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในครอบครัว เด็กที่ฟื้นสภาพได้ดีที่สุดจะมีความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับผู้ใหญ่อย่างน้อยหนึ่งคน แม้จะไม่ต้องเป็นพ่อแม่ และความสัมพันธ์นี่แหละจะช่วยลดความเสี่ยงที่มาจากปัญหาครอบครัว
ส่วนการฟื้นสภาพได้เหตุพ่อแม่ (parental resilience) คือความที่พ่อแม่อาจให้การดูแลที่มีสมรรถภาพและมีคุณภาพต่อเด็กแม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ก็เป็นบทบาทสำคัญยิ่งต่อการฟื้นสภาพได้ของเด็กอีกด้วย การเข้าใจว่าอะไรเป็นการดูแลที่มีคุณภาพเป็นส่วนสำคัญในแนวคิดเรื่องการฟื้นสภาพได้เหตุพ่อแม่ ดังนั้น ถ้าการหย่าร้างของพ่อแม่ทำให้เครียด การมีความช่วยเหลือทางสังคมจากทั้งครอบครัวและชุมชนจะช่วยลดความเครียดและให้ผลที่ดี ครอบครัวไหนที่เน้นค่านิยมในการช่วยงานในบ้าน ดูแลพี่น้อง และหารายได้ช่วยครอบครัวในงานที่ทำหลังเรียน ล้วนแต่ช่วยส่งเสริมความฟื้นสภาพได้ งานศึกษาการฟื้นสภาพได้มักจะมุ่งความอยู่เป็นสุขของเด็ก แต่ก็มีงานศึกษาที่จำกัดที่มุ่งปัจจัยที่ช่วยสร้างการฟื้นสภาพได้เหตุพ่อแม่
ครอบครัวยากจน
งานศึกษาจำนวนมากได้แสดงข้อปฏิบัติบางอย่างที่พ่อแม่ยากจนสามารถใช้ช่วยสร้างความฟื้นสภาพได้ในครอบครัว รวมทั้งการให้ความอบอุ่น ความรัก และความเห็นใจบ่อย ๆ การมีความคาดหวังที่สมเหตุผลบวกกับวินัยที่ตรงไปตรงมาโดยไม่ยากเกินไป การทำกิจวัตรครอบครัวเป็นประจำ และการฉลอง และการดำรงค่านิยมของครอบครัวเกี่ยวกับการเงินและการพักผ่อน ตามนักสังคมวิทยาคนหนึ่ง "เด็กยากจนผู้โตขึ้นในครอบครัวที่ฟื้นสภาพได้ จะได้รับการสนับสนุนอย่างสำคัญให้ประสบความสำเร็จเมื่อเริ่มเข้าโลกสังคม เริ่มตั้งแต่โปรแกรมดูแลเด็กเล็ก ๆ และหลังจากนั้นในโรงเรียน"
การถูกรังแก
นอกจากจะป้องกันไม่ให้เพื่อนรังแกเด็กแล้ว ยังสำคัญที่จะพิจารณาด้วยว่า การแทรกแซงที่ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ (EI) สำคัญอย่างไรในกรณีที่จะมีการรังแก การเพิ่ม EI อาจเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อเสริมความฟื้นสภาพได้ในเด็กที่ถูกรังแก คือ เมื่อบุคคลเผชิญหน้ากับความเครียดและความยากลำบาก โดยเฉพาะที่เกิดซ้ำ ๆ สมรรถภาพในการปรับตัวจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลที่ดีหรือแย่กว่า
งานศึกษาปี 2556 ตรวจสอบวัยรุ่นที่ปรากฏว่าฟื้นตัวได้จากการถูกรังแกแล้วพบความแตกต่างระหว่างเพศที่น่าสนใจ คือ พบการฟื้นตัวทางพฤติกรรมที่ดีกว่าในเด็กหญิง และการฟื้นตัวทางอารมณ์ที่ดีกว่าในเด็กชาย แต่ความแตกต่างเช่นนี้ยังก็ชี้ว่า เป็นทรัพยากรภายในและปฏิกิริยาทางอารมณ์เชิงลบ ว่าช่วยหรือไม่ช่วยการฟื้นสภาพจากการถูกรังแกตามลำดับ และสนับสนุนให้ใช้การแทรกแซงเพื่อพัฒนาทักษะทางจิต-สังคมในเด็กความฉลาดทางอารมณ์มีหลักฐานว่าช่วยเสริมการฟื้นสภาพได้จากความเครียด และดังที่กล่าวมาก่อน สมรรถภาพในการจัดการความเครียดและอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ สามารถช่วยป้องกันผู้ถูกรังแกไม่ให้กลายเป็นผู้รังแกผู้อื่นต่อไป
ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการฟื้นสภาพได้ก็คือการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนงานวิจัยปี 2556 พบว่า การรู้อารมณ์ตนสำคัญเพื่ออำนวยให้มีปฏิกิริยาทางอารมณ์เชิงลบที่น้อยกว่าในช่วงเหตุการณ์เครียด และความเข้าใจอารมณ์อำนวยการฟื้นสภาพได้และมีสหสัมพันธ์เชิงบวกับอารมณ์เชิงบวก
งานศึกษาในประชากรโดยเฉพาะและสถานการณ์ที่เป็นเหตุ
กลุ่มประชากร
เยาวชนข้ามเพศ
เยาวชนข้ามเพศประสบกับทารุณกรรมหลายอย่างและความไม่เข้าใจจากบุคคลในสังคมของตน และจะรับมือชีวิตได้ดีกว่าถ้ามีระดับความฟื้นสภาพได้สูง งานศึกษาในเด็กข้ามเพศ 55 คนตรวจสอบความรู้สึกว่าเป็นนายของตน ความรู้สึกว่าได้การสนับสนุนช่วยเหลือจากสังคม การรับมือแบบเพ่งอารมณ์ และความภูมิใจในตน แล้วพบว่าความแตกต่างทางการฟื้นสภาพได้ประมาณ 50% เป็นตัวก่อปัญหาทางสุขภาพของเด็ก คือ เด็กที่ฟื้นสภาพได้แย่กว่ามีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่า รวมทั้งความซึมเศร้าและอาการสะเทือนใจต่าง ๆ การรับมือที่เพ่งอารมณ์เป็นส่วนสำคัญของการฟื้นสภาพได้โดยเป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะซึมเศร้าแค่ไหน
เยาวชนที่ตั้งครรภ์และมีอาการซึมเศร้า
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพิจารณาว่าเป็นปัญหาซับซ้อน เพราะมักทำให้หยุดเรียน ทำให้มีสุขภาพแย่ทั้งในปัจจุบันอนาคต อัตราความยากจนที่สูงกว่า ปัญหาสำหรับลูกคนปัจจุบันและในอนาคต ในบรรดาผลลบที่เกิดขึ้นทั้งหลาย
นักวิจัยได้ตรวสอบความแตกต่างทางการฟื้นสภาพได้ระหว่างวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลสูติ-นารีในเมืองกวายากิล ประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งพบว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ 56.6% มีอารมณ์ซึมเศร้าโดยได้คะแนน CESD-10 10 หรือมากกว่านั้น แต่ว่าอัตราความซึมเศร้าไม่ต่างกันระหว่างกลุ่ม แต่วัยรุ่นฟื้นสภาพได้แย่กว่าเพราะได้คะแนนรวมความฟื้นสภาพได้ที่ต่ำกว่า และอัตราการได้คะแนนต่ำกว่าค่ามัธยฐาน (P < 0.05) อยู่ในระดับสูงกว่า การวิเคราะห์ทางสถิติ (Logistic regression analysis) ไม่พบปัจจัยเสี่ยงของอารมณ์ซึมเศร้าในผู้ร่วมการทดลอง แต่ว่า การมีคู่เป็นเด็กวัยรุ่นและการคลอดลูกก่อนกำหนดสัมพันธ์กับความเสี่ยงการมีการฟื้นสภาพต่ำที่สูงกว่า
สถานการณ์ที่เป็นเหตุ
การหย่าร้าง
บ่อยครั้ง การหย่าร้างมองว่ามีผลลบต่อสุขภาพจิต แต่งานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่า การสร้างการฟื้นสภาพได้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ระดับการฟื้นสภาพได้ของลูกหลังจากการหย่าของพ่อแม่ขึ้นอยู่กับตัวแปรทั้งภายในภายนอก รวมทั้งสภาพทางกายทางใจ ระดับการสนับสนุนที่ได้จากโรงเรียน เพื่อน และเพื่อนของครอบครัว
สมรรถภาพในการรับมือกับสถานการณ์ยังขึ้นอยู่อายุ เพศ และนิสัยของเด็กอีกด้วย เด็กจะรู้สึกเรื่องการหย่าร้างต่างไปจากผู้ใหญ่และดังนั้น ความสามารถในการรับมือก็จะต่างไปด้วย เด็กประมาณ 20-25% จะ "แสดงปัญหาทางจิตใจและทางพฤติกรรมที่รุนแรง" เมื่อต้องประสบกับการหย่าร้าง ซึ่งต่างจาก 10% ของเด็กที่มีปัญหาเช่นกันในครอบครัวที่พ่อแม่อยู่ด้วยกัน
แต่แม้จะมีพ่อแม่ที่หย่าร้างกัน เด็กประมาณ 75-80% จะ "โตเป็นผู้ใหญ่ที่ปรับตัวได้ดีโดยไม่มีปัญหาทางใจหรือทางพฤติกรรมที่คงยืน" ซึ่งแสดงว่า เด็กโดยมากมีปัจจัยที่จำเป็นที่จะฟื้นสภาพได้เช่นนี้เมื่อผ่านการหย่าร้างของพ่อแม่
ผลของการหย่าร้างจะยืนนานแม้ผ่านการแยกกันของพ่อแม่ เพราะว่า ปัญหาที่ยังหลงเหลืออยู่ระหว่างพ่อแม่ ปัญหาการเงิน และการได้คู่ใหม่หรือแต่งงานใหม่ของพ่อแม่อาจจะทำให้เครียดแบบคงยืน งานศึกษาปี 2544 พบว่าไม่มีสหสัมพันธ์ระหว่างการทะเลาะกันของพ่อแม่หลังหย่ากับสมรรถภาพของเด็กที่จะปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ในชีวิต แต่งานศึกษาปี 2542 ในประเด็นเดียวกันกลับพบผลลบต่อเด็ก
ส่วนเรื่องฐานะการเงินของครอบครัว การหย่าร้างมีโอกาสลดระดับความเป็นอยู่ของเด็ก เงินค้ำจุนเด็กมักให้เพื่อช่วยความจำเป็นพื้นฐานเช่นค่าเทอร์มโรงเรียน แต่ถ้าพ่อแม่มีปัญหาเรื่องการเงินอยู่แล้ว เด็กอาจจะไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมอย่างอื่น ๆ เช่นกีฬาหรือการเรียนดนตรี ซึ่งอาจมีผลลบต่อชีวิตสังคมของเด็ก
การได้คู่ใหม่หรือแต่งงานใหม่อาจทำให้ทะเลาะกันและโกรธเคืองกันเพิ่มขึ้นในครอบครัว และเหตุผลอย่างหนึ่งที่การได้คู่ใหม่มีผลเครียดเพิ่มก็เพราะว่าขาดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์ คือ เด็กอาจจะไม่รู้ว่าควรจะมีปฏิกิริยาหรือมีพฤติกรรมกับ "พ่อแม่" คนใหม่ในชีวิตอย่างไร ในกรณีโดยมาก การนำคู่ใหม่เข้าบ้านจะเครียดที่สุดถ้าทำทันทีหลังจากการหย่า ในอดีต นักวิชาการมองการหย่าว่าเป็นเหตุการณ์เดียว แต่งานศึกษาปัจจุบันแสดงว่า การหย่าร้างจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและเรื่องท้าทายหลายอย่าง
ไม่ใช่ปัจจัยภายในอย่างเดียวเท่านั้นที่ช่วยให้เกิดการฟื้นสภาพได้ แต่ว่าปัจจัยภายนอกในสิ่งแวดล้อมก็เป็นเรื่องสำคัญต่อการตอบสนองต่อเหตุการณ์และสำคัญต่อการปรับตัว ในประเทศตะวันตก โปรแกรมสนับสนุนหรือการแทรกแซงอาจช่วยเด็กรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากการหย่า
ภัยพิบัติธรรมชาติ
การฟื้นสภาพได้จากภัยธรรมชาติสามารถวัดได้โดยหลายระดับ คือวัดได้ในระดับบุคคล ระดับชุมชน หรือโดยรูปธรรม การวัดในระดับบุคคลหมายถึงคนแต่ละคนในชุมชน การวัดในระดับชุมชน หมายถึงบุคคลที่อยู่ในชุมชนเขตที่ประสบผลทั้งหมด ส่วนการวัดรูปธรรมอาจหมายเอาบ้านและอาคารในชุมชนที่ได้รับผล
องค์กรสหประชาชาติคือ UNESCAP ให้เงินทุนเพื่อศึกษาว่าชุมชนแสดงการฟื้นสภาพได้ในภัยพิบัติธรรมชาติได้อย่างไร แล้วพบว่า โดยรูปธรรมแล้ว ชุมชนจะฟื้นสภาพได้ดีกว่าถ้าร่วมช่วยกันทำการฟื้นสภาพได้ให้เป็นงานของชุมชน การได้การสนับสนุนจากสังคมเป็นกุญแจสำคัญในพฤติกรรมฟื้นสภาพได้ โดยเฉพาะในการใช้ทรัพยากรโดยรวมกัน เมื่อรวมทรัพยากรทางสังคม ทางธรรมชาติ และทางเศรษฐกิจ องค์กรพบว่าชุมชนฟื้นสภาพได้ดีกว่าและสามารถเอาชนะภัยพิบัติได้เร็วกว่าชุมชนที่ต่างคนต่างทำ
สภาเศรษฐกิจโลกประชุมกันเมื่อปี 2557 เพื่อปรึกษาเรื่องการฟื้นสภาพได้หลังจากภัยพิบัติธรรมชาติ แล้วสรุปว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีกว่า มีบุคคลที่สามารถทำอาชีพได้หลายอย่าง ๆ มากกว่า จะมีระดับการฟื้นสภาพสูงสุด แม้ว่าจะยังไม่มีงานศึกษาเพิ่มขึ้น แต่แนวคิดที่ได้จากสภาปรากฏว่าเข้ากับผลงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว
การเสียชีวิตของสมาชิกครอบครัว
มีงานวิจัยน้อยมากที่ทำเกี่ยวกับการฟื้นสภาพได้ของครอบครัวเมื่อสมาชิกในครอบครัวเสียชีวิต โดยทั่วไปแล้ว ความสนใจในเรื่องการไว้ทุกข์ต่อคนตายมักจะมุ่งกระบวนการไว้ทุกข์ในระดับบุคคล ไม่ใช่ในระดับครอบครัว การฟื้นสภาพได้ต่างจากการคืนสภาพโดยเป็น "สมรรถภาพในการรักษาความสมดุลที่เสถียร" ซึ่งช่วยเรื่องความสมดุล ความกลมกลืน และการคืนสภาพของครอบครัว
ครอบครัวต้องเรียนรู้เพื่อจัดการความผิดเพี้ยนของครอบครัวเพราะเหตุการเสียชีวิตของสมาชิก ซึ่งสามารถทำได้โดยเปลี่ยนความสัมพันธ์และเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ การแสดงความฟื้นสภาพได้ในเหตุการณ์สะเทือนใจสามารถช่วยให้ผ่านกระบวนการไว้ทุกข์ได้โดยไม่มีผลลบระยะยาว
พฤติกรรมที่ดีที่สุดของครอบครัวที่ฟื้นสภาพได้เมื่อมีผู้เสียชีวิตก็คือการสื่อสารที่จริงใจและเปิดใจ ซึ่งช่วยให้เข้าใจวิกฤตการณ์ การแชร์ความรู้สึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีอาจช่วยให้ปรับตัวทั้งในระยะสั้นระยะยาวต่อการเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก ความเห็นใจผู้อื่นเป็นองค์ประกอบสำคัญเพราะช่วยให้คนไว้ทุกข์เข้าใจจุดยืนของผู้อื่น อดทนต่อการทะเลาะวิวาท และพร้อมรับมือความแตกต่างกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว
องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างก็คือการมีสิ่งที่ทำเป็นประจำเพื่อช่วยผูกพันสมาชิกครอบครัวไว้ด้วยกัน เช่น การติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ การเรียนต่อและการมีเพื่อนและคุณครูที่โรงเรียน ยังเป็นการสนับสนุนที่สำคัญสำหรับเด็กที่กำลังมีปัญหาการเสียชีวิตของคนในครอบครัวด้วย
ข้อขัดแย้ง
มีนักเขียนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในเรื่องการฟื้นสภาพได้และความนิยมที่แนวคิดกำลังได้เพิ่มขึ้น โดยอ้างว่า นโยบายเกี่ยวกับการฟื้นสภาพได้เป็นการส่งภาระการตอบสนองต่อภัยแก่บุคคลแทนที่จะเป็นความพยายามร่วมกันโดยสาธารณชน และถ้าผูกเข้ากับแนวคิดต่าง ๆ เช่น ทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับ neoliberalism ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาการของโลกที่สาม และอื่น ๆ นักเขียนทั้งสองอ้างว่า การสนับสนุนการฟื้นสภาพได้หันความสนใจไปจากหน้าที่รับผิดชอบของรัฐบาลไปยังการตอบสนองในระดับชุมชนที่ทำกันโดยรัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว
ข้อคัดค้านแนวคิดนี้อีกอย่างก็คือนิยามของคำ คือเหมือนกับปรากฏการณ์ทางจิตอื่น ๆ การกำหนดสภาวะทางจิตและอารมณ์บางอย่างโดยเฉพาะ ๆ มักจะก่อความขัดแย้งในเรื่องความหมายในที่สุด และนิยามของคำว่าการฟื้นสภาพได้ ก็จะมีผลต่อสิ่งที่ตรวจดูในงานวิจัย และนิยามที่ต่างกัน หรือไม่ดีเพียงพอจะทำให้เกิดงานวิจัยที่ไม่คล้องจองกันแม้ในเรื่องเดียวกัน คือ ผลงานวิจัยในประเด็นนี้เริ่มต่างกันทั้งในเรื่องของผลและการวัด ทำให้นักวิจัยบางท่านเลิกใช้คำนี้โดยสิ้นเชิงเพราะว่ากลายเป็นคำที่ใช้กับผลงานวิจัยทั้งหมดที่ผลที่ได้ดีกว่าที่คาดหวัง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความขัดแย้งเรื่องตัวบ่งชี้พัฒนาการทางจิตและสังคมที่ดี เมื่อศึกษาแนวคิดข้ามวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน ให้ข้อสังเกตว่า มีทักษะพิเศษบางอย่างที่ช่วยครอบครัวและเด็กอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาให้รับมือกับปัญหาชีวิต รวมทั้งความสามารถในการต่อต้านความเดียดฉันท์ทางผิวพรรณ นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของคนพื้นเมืองยังแสดงว่า ทั้งวัฒนธรรม ประวัติ ค่านิยมของชุมชน ภูมิประเทศมีผลต่อความฟื้นสภาพได้ของชุมชนคนพื้นเมือง บางคนอาจจะมีการฟื้นสภาพได้ที่มองไม่เห็นอีกด้วย ถ้าไม่เป็นไปเหมือนกับที่สังคมคาดหวังว่าบุคคลควรจะมีพฤติกรรมในบางเรื่อง เช่น ความก้าวร้าวอาจจะเป็นเรื่องจำเป็น หรือว่าการมีความรู้สึกน้อยลงอาจจะเป็นปัจจัยป้องกันในสถานการณ์ทารุณกรรมบางอย่าง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีหลักฐานเมื่อไม่นานนี้ว่า การฟื้นสภาพได้อาจหมายถึงสมรรถภาพในการต้านปัญหารุนแรงในด้านอื่น ๆ แม้ว่าบุคคลอาจจะดูเหมือนแย่ลงชั่วขณะหนึ่ง
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- * "psychological", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546,
ทางด้านจิตใจ
- "resilience", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546,
ความยืดหยุ่น
- "resilience", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546,
- Małgorzata Pęciłło (31 Mar 2016). "The concept of resilience in OSH management: a review of approaches". Journal International Journal of Occupational Safety and Ergonomics: 291–300. doi:10.1080/10803548.2015.1126142.
- "The Road to Resilience". American Psychological Association. 2014.
- Rutter M (2008). "Developing concepts in developmental psychopathology". ใน Hudziak JJ (บ.ก.). Developmental psychopathology and wellness: Genetic and environmental influences. Washington, D.C.: American Psychiatric Publishing. pp. 3–22. ISBN .
- Masten AS (March 2001). "Ordinary magic. Resilience processes in development". The American Psychologist. 56 (3): 227–238. doi:10.1037/0003-066X.56.3.227. PMID 11315249. S2CID 19940228.
- Block JH, Block J (1980). "The role of ego-control and ego-resiliency in the organisation of behaviour". ใน Collins WA (บ.ก.). Development of cognition, affect, and social relations: Minnesota Symposia on Child Psychology. Vol. 13. Hillsdale, N.J.: Erlbaum. ISBN .
- Hopf, S.M (2010). "Risk and Resilience in Children Coping with Parental Divorce". Dartmouth Undergraduate Journal of Science.
- Pedro-Carroll, JoAnne (2005). "Fostering children's resilience in the aftermath of divorce: The role of evidence-based programs for children" (PDF). Children's Institute, University of Rochester. p. 4. สืบค้นเมื่อ 2016-03-30.
- Garmezy, N (1973). Dean, S. R. (บ.ก.). Competence and adaptation in adult schizophrenic patients and children at risk. Schizophrenia: The first ten Dean Award Lectures. NY: MSS Information Corp. pp. 163–204.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Garmezy, N.; Streitman, S. (1974). "Children at risk: The search for the antecedents of schizophrenia. Part 1. Conceptual models and research methods". Schizophrenia Bulletin. 8 (8): 14–90. doi:10.1093/schbul/1.8.14. PMID 4619494.
- Werner, E. E. (1971). The children of Kauai : a longitudinal study from the prenatal period to age ten. Honolulu: University of Hawaii Press. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Werner, E. E. Vulnerable but invincible: a longitudinal study of resilient children and youth. New York: McGraw-Hill. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Masten, A. S.; Best, K. M.; Garmezy, N. (1990). "Resilience and development: Contributions from the study of children who overcome adversity". Development and Psychopathology. 2 (4): 425–444. doi:10.1017/S0954579400005812.
- Masten, A. S. (1989). Cicchetti, D (บ.ก.). Resilience in development: Implications of the study of successful adaptation for developmental psychopathology. The emergence of a discipline: Rochester symposium on developmental psychopathology. Vol. 1. Hillsdale, NJ: Erlbaum. pp. 261–294. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Cicchetti, D.; Rogosch, F. A. (1997). "The role of self-organization in the promotion of resilience in maltreated children". Development and Psychopathology. 9 (4): 797–815. doi:10.1017/S0954579497001442. PMID 9449006.
- Fredrickson, B. L.; Tugade, M. M.; Waugh, C. E.; Larkin, GR (2003). "A prospective study of resilience and emotions following the terrorist attacks on the United States on September 11th, 2002". Journal of Personality and Social Psychology. 84 (2): 365–376. doi:10.1037/0022-3514.84.2.365. PMC 2755263. PMID 12585810.
- Luthar, S. S. Poverty and children’s adjustment. Newbury Park, CA: Sage. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Masten, A.S. (1994). Wang, M; Gordon, E (บ.ก.). Resilience in individual development: Successful adaptation despite risk and adversity. Risk and resilience in inner city America: challenges and prospects. Hillsdale, NJ: Erlbaum. pp. 3–25. ISBN .
- Zautra AJ, Hall JS, Murray KE (2010). "Resilience: A new definition of health for people and communities.". ใน Reich JW, Zautra AP, Hall JS (บ.ก.). Handbook of adult resilience. New York: Guilford. pp. 3–34. ISBN .
- Siebert, Al (2005). The Resiliency Advantage. Berrett-Koehler Publishers. pp. 2–4. ISBN .
- Leadbeater, B; Dodgen, D; Solarz, A (2005). Peters, RD; Leadbeater, B; McMahon, RJ (บ.ก.). Resilience in children, families, and communities: Linking context to practice and policy. New York: Kluwer. pp. 47–63. ISBN .
- Siebert, Al (2005). The Resiliency Advantage. Berrett-Koehler Publishers. pp. 74–78. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - "Brain scan foretells who will fold under pressure; Tests on high-stakes math problems identify key regions of neural activity linked to choking". sciencenews. 2012-05-05.
- Charney, DS (2004). "Psychobiological mechanisms of resilience and vulnerability: implications for successful adaptation to extreme stress". Am J Psychiatry. 161 (2): 195–216. doi:10.1176/appi.ajp.161.2.195. PMID 14754765.
- Ozbay, F; Fitterling, H; Charney, D; Southwick, S (2008). "Social support and resilience to stress across the life span: A neurobiologic framework". Current psychiatry reports. 10 (4): 304–10. doi:10.1007/s11920-008-0049-7. PMID 18627668.
- Gavidia-Payne, S; Denny, B; Davis, K; Francis, A; Jackson, M (2015). "Parental resilience: A neglected construct in resilience research". Clinical Psychologist. 19 (3): 111–121. doi:10.1111/cp.12053.
Resilience, conceptualized as a positive bio-psychological adaptation, has proven to be a useful theoretical context for understanding variables for predicting long-term health and well-being
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Pember, Mary Annette (2015-05-28). . Indian Country Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-28.
- Fredrickson, B. L.; Branigan, C (2005). "Positive emotions broaden the scope of attention and thought-action repertoires". Cognition & Emotion. 19 (3): 313–332. doi:10.1080/02699930441000238. PMC 3156609. PMID 21852891.
- Tugade, M. M.; Fredrickson, B. L. (2004). "Resilient individuals use positive emotions to bounce back from negative emotional experiences". Journal of Personality and Social Psychology. 86 (2): 320–33. doi:10.1037/0022-3514.86.2.320. PMC 3132556. PMID 14769087.
- Ong, A. D.; Bergeman, C. S.; Bisconti, T. L.; Wallace, K. A. (2006). "Psychological resilience, positive emotions, and successful adaptation to stress in later life". Journal of Personality and Social Psychology. 91 (4): 730–49. doi:10.1037/0022-3514.91.4.730. PMID 17014296.
- doi:10.1111/fare.12134
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - Mahony, D. L.; Burroughs, W. J.; Lippman, L. G. (2002). "Perceived Attributes of Health-Promoting Laughter: A Cross-Generational Comparison". The Journal of Psychology. 136 (2): 171–81. doi:10.1080/00223980209604148. PMID 12081092.
- Baker, K. H.; Minchoff, B.; Dillon, K. M. (1985). "Positive Emotional States and Enhancement of the Immune System". The International Journal of Psychiatry in Medicine. 15: 13–18. doi:10.2190/R7FD-URN9-PQ7F-A6J7.
- Duckworth, A.L.; Peterson, C.; Matthews, M.D.; Kelly, D.R. (2007). "Grit: perseverance and passion for long-term goals". J Pers Soc Psychol. 92 (6): 11087–1101. doi:10.1037/0022-3514.92.6.1087.
- Silvia, P.J.; Eddington, K.M.; Beaty, R.E.; Nusbaum, E.C.; Kwapil, T.R. (2013). "Gritty people try harder: grit and effort-related cardiac autonomic activity during an active coping challenge". J Int J Psychophysiol. 88 (2): 200–205. doi:10.1016/j.ijpsycho.2013.04.007.
- Salles, A.; Cohen, G.L.; Mueller, C.M. (2014). "The relationship between grit and resident well-being". Am J Surg. 207 (2): 251–254. doi:10.1016/j.amjsurg.2013.09.006. PMID 24238604.
- Kleinman, E.M.; Adams, L.M.; Kashdan, T.B.; Riskind, J.H. (2013). "Gratitude and grit indirectly reduce risk of suicidal ideations by enhancing meaning in life: Evidence for a mediated moderation mode". Journal of Research in Personality. 47 (5): 539–546. doi:10.1016/j.jrp.2013.04.007.
- Sarkar, M.; Fletcher, D. (2014). "Ordinary magic, extraordinary performance: Psychological resilience and thriving in high achievers". Sport, Exercise, and Performance Psychology. 3: 46–60. doi:10.1037/spy0000003.
- "APA - Resilience Factors & Strategies". Apahelpcenter.org. สืบค้นเมื่อ 2010-09-16.
- Werner, E. E. (1995). "Resilience in development". Current Directions in Psychological Science. 4 (3): 81–85. doi:10.1111/1467-8721.ep10772327.
- Ruch, W.; Proyer, R. T.; Weber, M. (2009). "Humor as a character strength among the elderly". Zeitschrift für Gerontologie und Geriatrie. 43 (1): 13–18. doi:10.1007/s00391-009-0090-0. PMID 20012063.
- Cicchetti, D.; Rogosch, F. A.; Lynch, M.; Holt, K. D. (1993). "Resilience in maltreated children: Processes leading to adaptive outcome". Development and Psychopathology. 5 (4): 629–647. doi:10.1017/S0954579400006209.
- Block, JH; Block, J (1980). Collins, WA (บ.ก.). The role of ego-control and ego-resiliency in the organisation of behaviour. Development of cognition, affect, and social relations: Minnesota Symposia on Child Psychology. Vol. 13. Hillsdale, NJ: Erlbaum. p. 43. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Block, JH; Block, J (1980). Collins, WA (บ.ก.). The role of ego-control and ego-resiliency in the organisation of behaviour. Development of cognition, affect, and social relations: Minnesota Symposia on Child Psychology. Vol. 13. Hillsdale, NJ: Erlbaum. p. 48. ISBN .
dynamic capacity, to modify his or her model level of ego-control, in either direction, as a function of the demand characteristics of the environmental context
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Bonanno, G. A.; Galea, S.; Bucciareli, A.; Vlahov, D. (2007). "What predicts psychological resilience after disaster? The role of demographics, resources, and life stress". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 75 (5): 671–682. doi:10.1037/0022-006X.75.5.671. PMID 17907849.
- Hood, R; Hill, P; Spilka, B (2009). The psychology of religion, 4th edition: An empirical approach. New York: The Guilford press. ISBN .
study of positive psychology is a relatively new development...there has not yet been much direct empirical research looking specifically at the association of religion and ordinary strengths and virtues
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Peres, J.; Moreira-Almeida, A.; Nasello, A.; Koenig, H. (2007). "Spirituality and resilience in trauma victims". Journal of Religion & Health. 46 (3): 343–350. doi:10.1007/s10943-006-9103-0.
- Freud, 1911/1958
- Kobasa, 1979
- Robertson, D (2012). Build your Resilience. London: Hodder. ISBN .
- Brunwasser, SM; Gillham, JE; Kim, ES (2009). "A meta-analytic review of the Penn Resiliency Program's effect on depressive symptoms". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 77 (6): 1042–1054. doi:10.1037/a0017671. PMID 19968381.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Masten, A. S. (2001). "Ordinary magic: Resilience processes in development". American Psychologist. 56 (3): 227–238. doi:10.1037/0003-066X.56.3.227. PMID 11315249.
- Yates, TM; Egeland, B; Sroufe, LA (2003). Luthar, SS (บ.ก.). Rethinking resilience: A developmental process perspective. Resilience and vulnerability: Adaptation in the context of childhood adversities. New York: Cambridge University Press. pp. 234–256. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - "Resilience: Building immunity in psychiatry". PubMed Central (PMC).
- Min, J. A.; Yu, J. J.; Lee, C. U.; Chae, J. H. (2013). "Cognitive emotion regulation strategies contributing to resilience in patients with depression and/or anxiety disorders". Comprehensive Psychiatry. 54 (8): 1190–7. doi:10.1016/j.comppsych.2013.05.008. PMID 23806709.
- Robson, Sean; Manacapilli, Thomas (2014), Enhancing Performance Under Stress: Stress Inoculation Training for Battlefield Airmen (PDF), Santa Monica, California: RAND Corporation, p. 61, ISBN
- Yates, TM; Egeland, B; Sroufe, LA (2003). Luthar, SS (บ.ก.). Rethinking resilience: A developmental process perspective=. Resilience and vulnerability: Adaptation in the context of childhood adversities. New York: Cambridge University Press. pp. 234–256. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Luthar, S. S. (2006). Cicchetti, D; Cohen, DJ (บ.ก.). Resilience in development: A synthesis of research across five decades. Developmental Psychopathology. Vol. 3: Risk, Disorder, and Adaptation (2nd ed.). Hoboken, NJ: Wiley and Sons. pp. 739–795.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Garmezy, N. (1974, August) The study of children at risk: New perspectives for developmental psychopathology. Distinguished Scientist Award address presented to Division 12, Section 1114 at the 82nd annual convention of the American Psychological Association, New Orlean
- Garmezy, N. (1991). "Resiliency and vulnerability to adverse developmental outcomes associated with poverty". American Behavioral Scientist. 34 (4): 416–430. doi:10.1177/0002764291034004003.
- Howard, Alyssa. . Moveboxer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-11. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
- Wang M, Haertel G, Walberg H (1994). Educational Resilience in Inner Cities. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
- Benard, B (1991). "Fostering resiliency in kids: Protective factors in the family, school and community". Northwest Regional Educational Laboratory.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Cauce, Ana Mari; Stewart, Angela; Rodriguez, Melanie D.; Cochran, Bryan; Ginzler, Joshua (2003). Luthar, Suniya S (บ.ก.). Overcoming the Odds? Adolescent Development in the Context of Urban Poverty. Resilience and Vulnerability: Adaptation in the Context of Childhood Adversities. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 343–391. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Doob, Christopher B. (2013). Social Inequality and Social Stratification in US Society. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education Inc.
- Monroy Cortés, BG; Palacios Cruz, L (2011). "Resiliencia: ¿Es posible medirla e influir en ella?". Salud Mental (ภาษาสเปน). México: Instituto Nacional de Psiquiátrica Ramón de la Fuente Muñiz. 34 (3): 237–246. ISSN 0185-3325.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Sapouna, M.; Wolke, D. (2013). "Resilience to bullying victimization: The role of individual, family and peer characteristics". Child Abuse & Neglect. 37 (11): 997–1006. doi:10.1016/j.chiabu.2013.05.009.
- Schneider, T. R.; Lyons, J. B.; Khazon, S. (2013). "Emotional intelligence and resilience". Personality and Individual Differences. 55 (8): 909–914. doi:10.1016/j.paid.2013.07.460.
- Polan, J.; Sieving, R.; Pettingell, S.; Bearinger, L.; McMorris, B. (2012). "142. Relationships Between Adolescent Girls' Social-Emotional Intelligence and Their Involvement in Relational Aggression and Physical Fighting". Journal of Adolescent Health. 50 (2): S81. doi:10.1016/j.jadohealth.2011.10.216.
- Grossman, Arnold; Anthony R. D'augellib & John A. Franka (2011-04-08). "Aspects of Psychological Resilience among Transgender Youth". LGBT Youth. 8 (2): 103–115. doi:10.1080/19361653.2011.541347.
- Pérez-López, FR; Chedraui, P; Kravitz, AS; Salazar-Pousada, D; Hidalgo, L (2011). (PDF). Open Access Journal of Contraception. 2: 85–94. doi:10.2147/OAJC.S13398. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Salazar-Pousada, D.; Arroyo, D.; Hidalgo, L.; Pérez-López, F. R.; Chedraui, P. (2010). "Depressive Symptoms and Resilience among Pregnant Adolescents: A Case-Control Study". Obstetrics and Gynecology International. 2010: 1–7. doi:10.1155/2010/952493. PMC 3065659. PMID 21461335.
- Kelly, J. B.; Emery, R. E. (2003). "Children's Adjustment Following Divorce: Risk and Resilience Perspectives". Family Relations. 52 (4): 352–362. doi:10.1111/j.1741-3729.2003.00352.x.
- Pedro-Carroll, JA (2005). "Fostering children's resilience in the aftermath of divorce: The told of evidence based programs for children". University of Rochester, Children's Institute.: 52–64.
- "Education, Vulnerability, and Resilience after a Natural Disaster". Ecology and Society. 18 (2).
- (PDF). Welcome to UN ESCAP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
- "Building Resilience to Natural Disasters". The World Economic Forum.
- Rynearson, Edward K. (2006). Violent Death: Resilience and Intervention Beyond the Crisis. Routledge. ISBN .
- Bonanno, George A. (2004). "Loss, Trauma, and Human Resilience". American Psychologist. 59 (1): 20–8. doi:10.1037/0003-066X.59.1.20. PMID 14736317.
- Greeff, Abraham P.; Human, Berquin (2004). "Resilience in families in which a parent has died". The American Journal of Family Therapy. 32: 27–42. doi:10.1080/01926180490255765.
- Cooley, E.; Toray, T.; Roscoe, L. (2010). "Reactions to Loss Scale: Assessing Grief in College Students". OMEGA - Journal of Death and Dying. 61: 25–51. doi:10.2190/OM.61.1.b.
- Heath, M. A.; Donald, D. R.; Theron, L. C.; Lyon, R. C. (2014). "Therapeutic Interventions to Strengthen Resilience in Vulnerable Children". School Psychology International. 35 (3): 309–337. doi:10.1177/0143034314529912.
- Evans, Brad; Reid, Julian (2014). Resilient Life: The Art of Living Dangerously. Malden, Mass.: Polity Press. ISBN .[]
- Burt KB, Paysnick AA (May 2012). "Resilience in the transition to adulthood". Development and Psychopathology. 24 (2): 493–505. doi:10.1017/S0954579412000119. PMID 22559126. S2CID 13638544.
-
- Boyden J, Mann G (2005). "Children's risk, resilience, and coping in extreme situations". ใน Ungar M (บ.ก.). Handbook for working with children and youth: Pathways to resilience across cultures and contexts. Thousand Oaks, Calif.: Sage. pp. 3–26. ISBN .
- Castro FG, Murray KE (2010). "Cultural adaptation and resilience: Controversies, issues, and emerging models". ใน Reich JW, Zautra AJ, Hall JS (บ.ก.). Handbook of adult resilience. New York: . pp. 375–403. ISBN .
- Dawes A, Donald D (2000). "Improving children's chances: Developmental theory and effective interventions in community contexts". ใน Donald D, Dawes A, Louw J (บ.ก.). Addressing childhood adversity. Cape Town, S.A.: David Philip. pp. 1–25. ISBN .
- Task Force on Resilience and Strength in Black Children and Adolescents (2008). Resilience in African American children and adolescents: A vision for optimal development (Report). Washington, D.C.: American Psychological Association. []
- . Anisnabe Kekendazone Network Environment for Aboriginal Health Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-26. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
- Ungar M (2004). Nurturing hidden resilience in troubled youth. Toronto: University of Toronto Press. ISBN . []
- Obradović, J.; Bush, N.R.; Stamperdahl, J; Adler, NE; Boyce, WT (2010). "Biological sensitivity to context: The interactive effects of stress reactivity and family adversity on socioemotional behavior and school readiness". Child Development. 81 (1): 270–289. doi:10.1111/j.1467-8624.2009.01394.x. PMC 2846098. PMID 20331667.
-
- Ungar M (2004). "A constructionist discourse on resilience: Multiple contexts, multiple realities among at-risk children and youth". Youth & Society. 35 (3): 341–365. doi:10.1177/0044118X03257030. S2CID 145514574.
- Werner EE, Smith RS (2001). Journeys from childhood to midlife: Risk, resiliency, and recovery. Ithaca, N.Y.: Cornell University Press. ISBN . []
อ่านเพิ่มเติม
- Benard B (2004). Resiliency: What we have learned. San Francisco: WestEd.
- Bronfenbrenner U (1979). Ecology of human development. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.
- Comoretto A, Crichton N, Albery IP (2011). Resilience in humanitarian aid workers: understanding processes of development. LAP: Lambert Academic Publishing.
- Gonzales L (2012). Surviving Survival: The Art and Science of Resilience. New York: W.W. Norton & Company.
- Marcellino WM, Tortorello F (2014). "I Don't Think I Would Have Recovered". Armed Forces & Society. 41 (3): 496–518. doi:10.1177/0095327X14536709. S2CID 146845944.
- Masten AS (2007). "Resilience in developing systems: progress and promise as the fourth wave rises". Development and Psychopathology. 19 (3): 921–930. doi:10.1017/S0954579407000442. PMID 17705908. S2CID 31526466.
- Masten AS (1999). "Resilience comes of age: Reflections on the past and outlook for the next generation of research". ใน Glantz MD, Johnson JL (บ.ก.). Resilience and development: Positive life adaptations. New York: Kluwer Academic/Plenum Press. pp. 281–296.
- Reivich K, Shatte A (2002). The Resilience Factor: 7 Keys to Finding Your Inner Strength and Overcoming Life's Hurdles. New York: Broadway.
- Rutter M (July 1987). "Psychosocial resilience and protective mechanisms". The American Journal of Orthopsychiatry. 57 (3): 316–331. doi:10.1111/j.1939-0025.1987.tb03541.x. PMID 3303954.
- Rutter M (2000). "Resilience reconsidered: Conceptual considerations, empirical findings, and policy implications". ใน Shonkoff JP, Meisels SJ (บ.ก.). Handbook of early childhood intervention (2nd ed.). New York: Cambridge University Press. pp. 651–682.
- Southwick SM, Charnie DA (2018). Resilience: The Science of Mastering Life's Greatest Challenges (Second ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN .
- Ungar M (2007). "Contextual and cultural aspects of resilience in child welfare settings". ใน Brown I, Chaze F, Fuchs D, Lafrance J, McKay S, Prokop TS (บ.ก.). Putting a human face on child welfare'. Toronto: Centre of Excellence for Child Welfare. pp. 1–24.
แหล่งข้อมูลอื่น
- National Resilience Resource Center
- Research on resilience at Dalhousie University
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
khwamyudhyunidthangdancitic hrux khwamfunsphaphidthangdancitic hrux karfuntwid xngkvs psychological resilience miniyamwaepnsmrrthphaphkhxngbukhkhlinkarprbtwekhakbsingthitxngthainchiwitemuxephchiykbkhwamesiyepriybthangsngkhm hruxkbsthankarnthimixupsrrkhmak xupsrrkhhruxkhwamekhriydxacmainrupaebbkhxngpyhathangkhrxbkhrwhruxkhwamsmphnth pyhasukhphaph pyhathithangan aelapyhakarenginepntn khwamyudhyunidkkhuxsmrrthphaphinkarfunsphaphcakprasbkarnrayodyyngdarngchiwitidxyangsamarth sungepnsmrrthphaphthiimichmiknnxy cring phbinbukhkhlthwipaelathukkhnyxmsamarthsuksaaelaphthnaid epnsingthikhwrphicarnawaepnkrabwnkar imichepnlksnanisythimi mnepnkrabwnkarthaihkhntangknodyphanrabbthichwyihkhxy phbkhwamsamarthechphaabukhkhlthiimehmuxnkbkhnxun khwamekhaicphidthisamyxyanghnungkkhuxkhnthifunsphaphiddiimmixarmnhruxkhwamkhidechinglb aelamxngolkinaengdiinsthankarnodymakhruxthnghmd cring epntrngknkham khux khnthifunsphaphidcaphthnaethkhnikhkarrbmuxtang thichwynathanghlbhruxphanwikvtkarntang ipidxyangmiprasiththiphlaelaxyangngay odyepriybethiyb 43 klawxikxyangkkhux phuthisamarthfunsphaphidkkhuxkhnthimithsnkhtimxngolkinaengdi mkmixarmndi aelaodykhxptibti samarthdulxarmnechinglbdwyxarmnechingbwkphunephkarfunsphaphidmxngwaepnkarprbtwthidi positive adaptation hlngcakehtukarnekhriydhruxthiepnptipks sthabnedkaehngmhawithyalyrxechsetxrxthibaywa nganwicyekiywkbkarfunsphaphidmungsuksabukhkhlthiichchiwitxyangmikhwamhwngaelamimukkhaaemwacaphankarsuyesiythiyingihy sakhythicasngektwa karfunsphaphidimichepnephiyngaekhexachnasthankarnthiekhriydmakidethann aetepnkarxxkcaksthankarnechnnnody yngdarngchiwitidxyangsamarth khwamfunsphaphidthaihbukhkhlfuncakkhwamthukkhrxnodyepnkhnthiaekhngaekrngkhun khidhahnthangidmakkhunprawtinganwicyaerkineruxngkarfunsphaphidkhxngciticpi ph s 2516 ichethkhnikhkhxngwithyakarrabadephuxsuksakhwamchukkhxngorkh ephuxhapccyesiyngaelapccypxngknthipccubnchwyniyamkhawa resilience inpitxma nkwicyklumediywknkerimsrangekhruxngmuxephuxichtrwcsxbrabbthisnbsnunkarphthnakhwamfunsphaphid s dr exmmi ewxrenxr epnnkwithyasastraerk thiichkhawa resilience inkhristthswrrs 1970 ethxidsuksaedkklumhnunginekaakhaiw rthhaway inewlann ekaakhaiwkhxnkhangyakcnaelaedkcanwnmakinngansuksaetibotkbphxaemthitidehlahruxmiorkhcit aelacanwnmakyngimminganthaxikdwy ethxidsngektwa edkthiotkhuninsthankarnrayehlani 2 3 miphvtikrrmthiimdiinchwngwyruntxnplay echn immingantha tidsaresphtid edkhyingmilukkxnaetngngan aetwa edkthiehlux 1 3 immiphvtikrrmeyiyngni dr ewxrenxrideriykedkklumhlngwa funsphaphid resilient dngnnedkaelakhrxbkhrwthifunsphaphidodyniyamaelwkhuxkhnthiaesdnglksnathichwyihprasbkhwamsaercmakkwaedkaelakhrxbkhrwthifunsphaphimid khwamfunsphaphidyngepnpraednthvsdiaelanganwicyhlkpraednhnunginkarsuksaekiywkbbutrkhxngmardaorkhcitephthinchwngkhristthswrrs 1980 inngansuksapi 2532 kh s 1989 phlaesdngwa edkthimiphxaemepnorkhcitephthxaccaimidrbkarduaelplxbicethakbedkthimiphxaempkti aelasthankarnechnnnbxykhrngmiphlraytxphthnakarkhxngedk aetwa kyngmiedkthiphxaempwyaeteriyniddiinorngeriyn aeladngnncungepnaerngihphuwicyphyayamephuxekhaickartxbsnxngechnnitxkhwamlabak inchwngtn khxngnganwicyeruxngkarfunsphaphid nkwicyidphyayamkhnphbpccypxngknthichwyxthibaykarprbtwthidikhxngbukhkhltxsthankarnthiimdirwmthngthurkrrm maltreatment ehtukarnrayinchiwit hruxkhwamyakcn nganwicydankarthdlxngcaktxnnidepliynmungekhaickrabwnkarpxngknthiepnmulthan nkwicyidphyayamhapccybangxyang echnkhrxbkhrw thithaihekidphlthidiodyepnkrabwnkarintwxyangthiwamani karfunsphaphidcaekhaiciddithisudodyepnkrabwnkar aemwacabxykhrngsmmutixyangphid waepnlksnanisykhxngbukhkhl aetnganwicypccubnodymakaesdngwa karfunsphaphidepnphlkhxngkarthibukhkhlsamarthptismphnthkbsingaewdlxmaelakbkrabwnkarthioprohmtkhwamxyuepnsukh hruxpxngkntncakxiththiphlthimakekincakpccyesiyng cungsakhythicaekhaickrabwnkarhruxwngcrkarfunsphapheyiyngni emuxbukhkhlephchiyhnakbxupsrrkh miwithisamxyanginkarephchiykbpyha sungkahndwa mncaoprohmtkhwamxyuepnsukhhruxim sungkkhux xarmnokrthraebidxxkma xarmnraebidxyukhanginenuxngcakxarmnechinglb thaihrusukechyemy thaxairimid ephiyngaekhhngudhngidkbkhwamepliynaeplngthiekidxyangrwderw khnthiyudhyunidcaichwithithisamemuxekidkhwamepliynaeplng sungthaihepliynrupaebbphvtikrrmephuxrbmuxkbehtukarn swnwithithihnungaelathisxngcathaihrusukwatwexngepnphurbekhraahodymikhnxunepnphuphid aelacaimepliynwithikarrbmuxaemhlngwikvtkarncbaelw odyeluxkmiptikiriyatamsychatyanaethnthicatxbsnxngtxehtukarn swnkhnthitxbsnxngtxsphawathiepnptipksintnexngmkcarbmuxkbehtukarn funtw aelarangbwikvtkarn xarmnechinglbtang rwmthngkhwamhwadklw khwamokrth khwamwitkkngwl khwamthukkh khwamrusukwathaxairimid aelakhwamsinhwng caldsmrrthphaphkaraekpyhathikalngephchiy aeladngnn caldradbkarfunsphaphidkhxngtn khwamhwadklwaelakhwamwitkkngwlthimixyueruxy cathaihrabbphumikhumknimdithaihxxnaextxorkhtang krabwnkarehlanixaccarwmwithikarrbmuxechphaatn hruxxacmipccythangsingaewdlxmthichwypxngknechnkhrxbkhrw orngeriyn chumchn hruxnoybaythangsngkhmkhxngrththithaihkarfunsphaphmioxkasekidkhunsungkwa dngnn tamrupaebbechnni karfunsphaphidcaekidkhunkemuxpccypxngkntang thanganrwmkn sungnacasakhymakying khunthabukhkhlprasbkbpccyesiyngephim khunaebbcalxngthangchiwphaphmulthanthiednkhxngkarfunsphaphid khux khwamphumiicintnexng self esteem aelaaenwkhidekiywkbtnexng self concept lwnmimulthanthangrabbprasath 3 rabb khux somatic nervous system rabbprasathxisra aelarabbprasathklang sastrthikalngecriykhunineruxngkarsuksakarfunsphaphidkkhux multhanthangprasathchiwphaphkhxngkarfunsphaphidcakkhwamekhriyd yktwxyangechn sarsuxprasath neuropeptide Y NPY echuxwaepntwcakdkartxbsnxngtxkhwamekhriydodyldkarthangankhxngrabbprasathsimphaethtik aelahxromn 5 Dehydroepiandrosterone 5 DHEA epntwpxngknsmxngcakphlxntraykhxngradbhxromnkhxrtisxl hxromnekhriyd thisungepnpraca nxkcaknnaelw khwamsmphnthrahwangkarsnbsnunthangsngkhmkbkarfunsphaphcakkhwamekhriyd echuxwaxanwyodyphlkhxnghxromnxxksiothsintxaeknihopthalams phithuxithari xadrinl dngnn karfunsphaphid sungtngaenwkhidodyepnkarprbtwthangchiwphaph citicinechingbwk idklayepnokhrngsrangthangthvsdithimipraoychninkarekhaictwaeprthisamarthphyakrnsukhphaphaelakhwamxyuepnsukhinrayayaw minganwicycakdxyubangwa khlaykbkhwamecbpwybangxyang karfunsphaphidmiphlcakxiphiecentiks sungkkhuxxacsubthxdidthangkrrmphnthu aetwa hlkwithyasastrthiaesdngphlniyngepneruxngtxngwicykntxippccysmphnthngansuksaaesdngwa mipccyhlayxyangthichwyphthnaaeladarngkarfunsphaphidkhxngbukhkhl khwamsamarthinkarwangaephnthiepnipidcringaelainkarthatamkhntxnkhxngaephnnn karkhitthungtwexnginechingbwkaelakhwammnicinkhxdiaelakhwamsamarthkhxngtn thksainkarsuxsaraelaaekpyha khwamsamarthinkarcdkarkhwamhunhnphlnaelnaelakhwamrusukthirunaerng sunglwnepnpccythiimcaepntxngmacakkrrmphnthu ephraasamarthphthnakhunaelaoprohmtkarfunsphaphid xarmnechingbwk minganwicyepncanwnsakhythisuksakhwamsmphnthrahwangxarmnechingbwkkbkarfunsphaphid ngansuksaaesdngwa karrksaxarmnechingbwkiwidemuxephchiyhnakbkhwamthukkhyak chwyoprohmtkhwamyudhyunidkhxngkhwamkhidaelakaraekpyha odyxarmnechingbwkyngthahnathisakhykhuxchwyihfunsphaphcakprasbkarnekhriydxikdwy chwyaekphlthangsrirphaphkhxngxarmnechinglb chwyihrbmuxaebbprbtwid adaptive coping srangkhwamsmphnthaebbkhngyunthiphungid aelaprbprungkhwamrusukepnsukhswntw aemwanganwicybangngancaaesdngwa karfunsphaphidkhxngciticepnlksnathangbukhlikphaph personality trait thikhxnkhangesthiyr aetnganwicyihmkyngaesdngwa xarmnechingbwkepneruxngcaepntxkarfunsphaphidaebbthiepnlksna trait aelaimichwa xarmnechingbwkepnephiyngphlphlxyidkhxngkarfunsphaphid aetwa xarmnechingbwkinsthankarnekhriydxacepnpraoychnaebbprbtwtxkrabwnkarrbmuxkhxngbukhkhl hlkthankhxngkarphyakrnechnnimacaknganwicyinbukhkhlfunsphaphidthimkichklyuththkarrbmuxthisrangxarmnechingbwkxyangchdecn echn karhapraoychn khxdi karpraeminehtukarnihm muktlk karmxngolkinaengdi aelakarrbmuxaebbephngpyhathimicudmunghmay bukhkhlthimkephchiykbpyhadwywithiehlanixacthatwexngihekhmaekhngtxkhwamekhriydephraasamarthekhathungthrphyakrthangxarmnechingbwkehlaniidmakkwa karsnbsnuncakphuihythihwngiychwyephimkarfunsphaphidinedkthiphxaemtidkhukimwacacakphuduael phxaemthitidkhuk puyatayay phi khru odyihkarsnbsnun 3 xyangkhux 1 ihsamarthmikickrrmehmuxnedkxunid 2 ihthsnkhtichiwitthidikwa 3 ihthungkarepliynchiwit xarmnechingbwkmiphlthngthangkayaelathangsrirphaph phlthangsrirphaphehtumuktlkrwmthngkarthangankhxngrabbphumikhumknthidikhun aelaradbthiephimkhunkhxngsarphumitanthansakhykhux immunoglobulin A sungepndankhumknkhwamecbpwyaerkthangrabbhayic phldithangsukhphaphxun rwmthngxtrakarfunsphaphcakkhwambadecbthierwkwa xtrakarrbekhaorngphyabalxikthitakwasahrbphusungxayu aelakarldcanwnwnthixyuinorngphyabalepntn nganwicyhnungsubkhwamsmphnthrahwangphumilksnafunkhunsphaphid kbxtrakarfunsphaphcakorkhhlxdeluxdhwichlngcakthiekidxarmnechinglb phlkhxngkarsuksaaesdngwa bukhkhlthimilksnafunsphaphidthiprasbkbxarmnechingbwkmikarfunsphaphthangkarthangankhxnghwicthiekidcakxarmnechinglb echn xtraetnhwicepntn thidikwa khwamthrhdxdthn khwamthrhdxdthnineruxngni grit hmaythungkhwamxdthnaelakhwamtngicmnephuxihthungepahmayrayayaw sungkahndodythakarxyangphakephiyrsukberuxngthathay darngkhwamphyayamaelakhwamsnicepnpi aemmikartdkalngiccakkhnxun mikhwamyaklabak imkawhna hruxaemaetekidkhwamlmehlw khux khnthithrhdmxngkhwamsaercwaepnnganmarathxn imichnganthiesrcxyangrwderw sungmkcaepnkhnthiidekrdsungkwainsthabnsuksa aelaepliynngannxykwa khwamxdthnmiphltxkhwamphyayamkhxngbukhkhlxyangsakhy emuxbukhkhlehnepahmaywamikhunkha mikhwamhmay hruxekhakbaenwkhidekiywkbtnexng ekhacatngicphyayammakkwaemuxcaepn khwamxdthnthiaetktangkninbukhkhlmiphltxkarthangankhxnghwicthiaetktangknemuxthanganxyangediywkn khwamxdthnmiphltxaerngcungicinsingthitha aelaxacmixiththiphltxkhwamrusukwayakngaykhxngngan khwamxdthnmikhashsmphnthkblksnakhwamphithiphithn conscientiousness inthvsdilksnabukhlikphaphihy 5 xyang aemwakhwamxdthnaelakhwamphithiphithncalaknmakindankhwamsaercphl aetkenneruxngthitangkn khwamxdthnennkhwamthrhdrayayaw epriybethiybkbkhwamphithiphithnthiennkhwamekhmaekhnginrayasn khwamxdthntangkniptamkarsuksaaelawy khnthimikarsuksamakkwamkcaxdthnmakkwaemuxxayuethakn khnthicbkarsuksainradbbnthitsuksamiradbkhwamxdthnthisungkwaklumxun odymak khwamxdthnsungkhuntamwyemuxkhwbkhumradbkarsuksaaelw inkhwamsaercinchiwit khwamxdthnxaccasakhyethakbphrswrrkh nksuksamhawithyalysthabnchuxdngphumikhwamxdthnsungcaidekrdsungkwaephuxnrwmchnaemwacasxb SAT idnxykwaemuxsxbekhamhawithyaly ngansuksainorngeriynthharshrthxemrika phbwa khwamxdthnepntwphyakrnkarklbmaeriyntxhlngcakpiaerkthiechuxthuxiddikwakarkhwbkhumtnexng hruxkhaaennsrupkhunphaphkhxngnkeriynnaythhar aelaphuaekhngkhnsakdkhasphthradbchatiinshrthxemrikathixdthnyngchnakhuaekhngkhnxun thixdthnnxykwa xyangnxyswnhnungkephraaidfuksxmmakkwa khwamxdthnyngepnpccypxngknkarkhatwtay ngansuksahnungthimhawithyalysaetnfxrdphbwa khwamxdthnepntwphyakrnsukhphaphcitaelakhwamxyuepnsukhkhxngaephthyfukhd khnxdthncasamarthkhwbkhumtnexng aelatngicsmathanephuxthaihthungepahmay sungchwytankhwamhunhnphlnaelnechnkartharaytwexng bukhkhlthixdthncamungihthungepahmayinxnakht sungxacyngtnimihkhatwtay echuxwa ephraawakhwamxdthnsnbsnunbukhkhlihsrangaelacrrolngepahmaychiwit epahmaychiwitehlannkcathaihchiwitmikhwamhmayaelamicudhmay aetwa khwamxdthnxyangediywimephiyngphxtxkhwamsaerc bukhkhlthithngxdthnaelayindiphxicinsingthitnmi cakhidekiywkbkarkhatwtaynxykwainrayayaw ephraasxngsingthangandwyknephuxchwyesrimkhwamhmaykhxngchiwit chwypxngknkhwamkhidhruxaephnkarekiywkbkhwamtayaelakarkhatwtay pccyxun ngansuksahnungthakbkhnthanganthiprasbkhwamsaercsung phusubhasthankarnthathaythicaepntxngmikarfunsphaphid khux nganwicytrwcdukhnthiprasbkhwamsaercsunginxachiphtang 13 khn sunglwnaetprasbsthankarnthithathayinthithanganaelaehtukarnrayinchiwitinchwngkarthangan aetkyngidrbkarykyxngwaprasbkhwamsaercxyangyinginsakhakarngankhxngtn mikarsmphasneruxngchiwitpracawninthithanganaelaprasbkarnekiywkbkarfunsphaphaelakhwamsaerc ngansuksaphbpccyphyakrn 6 xyang khux bukhlikphaphechingbwkaelakaraekpyhalwnghna prasbkarnaelakareriynru khwamrusukwasthankarnkhwbkhumid khwamyudhyunaelakarprbtwid dulaelamummxngchiwit aelakhwamrusukwaidrbkarsnbsnunthangsngkhm phuthiprasbkhwamsaercsungyngthasingthiimekiywkhxngkbnganhlayxyangechnkarminganxdierk karxxkkalngkay karndphbephuxn aelabukhkhlthirk pccyhlayxyangphbwasamarprbphllbinsthankarnrayinchiwit ngansuksahlaynganaesdngwa pccyhlkkkhuxmikhwamsmphnthkbkhnthiihkhwamduaelaelakhwamsnbsnun esrimsrangkhwamrkkhwamechuxic aelaihkalngic thngphayinaelanxkkhrxbkhrw mipccyxun thismphnthkbkarfunsphaphid echn smrrthphaphinkarwangaephnthismcringepnipid mnicintwexng miphaphphcnkhxngtnthidi mikarphthnathksakarsuxsar aelasmrrthphaphinkarcdkarkhwamrusukaelakhwamhunhnphlnaelnthirunaerng nganwicypi 2538 caaenksphaphaewdlxm 3 xyangsahrbpccypxngkn khux lksnaswnbukhkhl echn epnmitr chlad aelamiphaphphcnthidiekiywkbtn lksnakhrxbkhrw echn mikhwamsmphnththiiklchidkbsmachikkhrxbkhrwxyangnxyhnungkhn hruxmiphxaemthimixarmnesthiyrkhnhnung lksnachumchn echn idkarsnbsnunaelakhaaenanacakephuxn nxkcaknnaelw ngansuksainphusungxayuinemuxngsurik praethsswitesxraelnd aesdngbthbathkhxngmuktlkodyepnklikrbmuxhruxdarngkhwamsukhemuxephchiykbkhwamthukkhthimatamxayu yngminganwicythiphyayamkhnphbkhwamaetktangrahwangbukhkhlineruxngkarfunsphaphid khwamphumiicintn Self esteem karkhwbkhumxtta ego control aelakaryudhyunxttaid ego resiliency lwnaetsmphnthkbkarprbtwthidithangphvtikrrm yktwxyangechn edkthithuktharunthirusukdikbtwexngxaccapramwlsthankarntangcakedkthithuktharunxun odyykehtuwamacaksingaewdlxmaeladngnn cungimthaihrusukwatwexngaey swnkarkhwbkhumxtta hmaythung khiderimepliynhruxlksnaechphaakardaeninngankhxngbukhkhlekiywkbkaraesdngxxkhruximaesdngxxk thangkhwamhunhnphlnaeln khwamrusuk aelakhwamtxngkar swnkaryudhyunxttaidhmaythung smrrthphaphechingphlwtephuxepliynradbkarkhwbkhumxttatamaebbkhxngtn inthangidthanghnung odyepniptamkhwamcaepnthangsphaphaewdlxm edkthithuktharunthiprasbkbpccyesiyngbangxyang echn karmiaetphxhruxaem karsuksathicakdkhxngaem hruxwakhrxbkhrwimmingantha aesdngkaryudhyunxttaidaelaechawnpyyanxykwaedkphwkxun nxkcaknnaelw edkthithuktharunmioxkassungkwaedkxunthicaaesdngpyhaphvtikrrmthikxkwnkawraw thithxntwcaksngkhm thiekbiwkhangin aelaxyangthaysud karyudhyunxttaidaelakhwamphumiicintnepntwphyakrnkarprbtwthimismrrthphaphinedkthithuktharun khxmulthangprachakr echn ephs aelathrphyakrthimi echn khwamchwyehluxthangsngkhm ksamarthichphyakrnkarfuntwid kartrwcsxbkarprbtwidhlngphyphibtiaesdngwahyingsmphnthkboxkaskarfuntwidnxykwachay nxkcaknnaelw bukhkhlthiimmibthbathinklumhruxxngkhkrthiiklchid funtwidnxykwa lksnabangxyangkhxngkhwamechuxthangsasnahruxthangcitwiyyanxacsamarthoprohmthruxkhdkhwanglksnathangciticbangxyangthichwyephimkarfuntwid aetwa nganwicyyngimidsmphnthkhwamechuxthangcitwiyyankbkarfuntwidxyangchdecn echn tamhnngsuxcitwithyakbsasnaelmhnung yngimmingansuksaechingprasbkarnodytrngthitrwcdukhwamsmphnthkhxngsasnakbcudaekhngaelakhunthrrmodythwip aelainnganthbthwnwrrnkrrmpi 2550 ekiywkbkhwamsmphnthrahwangkhwamechuxthangsasnaaelacitwiyyankbkhwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic PTSD inbrrdanganthithbthwn pramankhrunghnungaesdngkhwamsmphnthaelaxikkhrunghnungimaesdngkhwamsmphnth rahwangkhawdkhwamechuxthangsasna thangcitwiyyankbkarfuntwid dngnn kxngthphbkshrthcungidthukwiphakswicarnthanoprohmtkhwamechuxthangcitwiyyaninopraekrmfukthharephuxpxngkn PTSD thng thiimmikhxmulsnbsnunthichdecnkarsrangsmakhmcitwithyaxemrikn American Psychological Association esnxwithi 10 xyangephuxsrangkhwamfunsphaphid sungkkhux rksakhwamsmphnththidikbsmachikinkhrxbkhrw ephuxn aelakhnsnithxun hlikeliyngkarmxngwikvtihruxehtukarnekhriydwaepnpyhathirbimid yxmrbsthankarnthiimsamarthepliynid phthnaepahmaythismcringepnipidaelathakarephuxthungepahmay thakarxyangeddediywinsthankarnthilabak haoxkaskhnphbtwexngephimkhunhlngcaktxnglabakkbkhwamsuyesiy srang mxngehtukarninrayayawaelaphicarnaehtukarnekhriydinmummxngkwang darngthsnkhtithimihwng hwnginsingthidi aelaihnukthungphaphsingthitxngkar ephuxduaelsukhphaphkayic ihxxkkalngkayepnpraca isicinsingthitntxngkaraelarusuk swnaebbcalxngkarsrangkarfuntwidtamthrrmchatixyanghnung odyepnkhrxbkhrwxudmkhtithimikhwamsmphnththidiaelaidrbkarsnbsnuncakkhrxbkhrwaelaephuxn xasykarthahnathikhxngphxaem misingthicaepn 4 xyangkhux kareliyngduthismcringkbsthankarninsngkhm karsuxsarkhwamesiyngthimiprasiththiphl khwammxngolkinechingbwkaelakarepliynmummxngkhxngsthankarnthihnk karsrangkhwamechuxmninkhwamsamarthkhxngtn Self Efficacy aelakhwamaekhngaekrng Hardiness inaebbcalxngni Self Efficacy kkhuxkhwamechuxinkhwamsamarthkhxngtninkarwangaephnaeladaeninkarthicaepnephuxihthungepahmaythisakhyaelatxngkar aela khwamaekhngaekrng Hardiness kkhuxkarrwmtwkhxngthsnkhtithismphnthkn khux karxthisthansmathan commitment khwamrusukwakhwbkhumid control aelakhwamrusukthathay mikarphthnaopraekrmsrangkhwamfunsphaphidaebbchwytnexnghlayaebb odyidthvsdiaelakhxptibticakkarbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT aela rational emotive behavior therapy REBT yktwxyangechn karaethrkaesngthangkhwamkhid phvtikrrmthieriykwa Penn Resiliency Program PRP mihlkthanwasnbsnundantang khxngkhwamfunsphaphid nganwiekhraahxphimankhxngngansuksa PRP 17 nganaesdngwa karaethrkaesngchwyldxakarsumesrainradbsakhyodyichewlarayahnung aetwa aenwkhideruxngkarsrangkarfuntwid samarthklawidwakhdkbaenwkhidwakarfuntwidepnkrabwnkar ephraawaaenwkhidichodyhmaywa epnlksnaintnthisamarthphthnaid aetkhnthimxngkarfuntwidwaepnkhaeriykkarprasbkhwamsaercaemephchiykbkhwamlabak mxngkar srangkhwamfuntwid waepnwithiihkalngic thrphyakrephuxihekidkrabwnkarfuntw echn Bibliotherapy khuxkarbabdodyihxanhnngsux karbnthukehtukarndi aelakarephimpccypxngknthangcit sngkhmdwythrphyakrechingbwkthangcitic epnwithixun thiichsrangkhwamfuntwid niepnkarephimthrphyakrephuxihbukhkhlrbmuxhruxaekpyhathimakbkhwamyaklabakhruxkhwamesiyng sungsamartheriykidwa epnkarsrangkhwamfuntwidkid nganwicyodyepriybethiybphbwa klyuthththiichkhwbkhumxarmn ephuxephimkhwamfunsphaphid chwyihidphlthidikwainkrnithimikhwamphidpktithangcit khux aemwangansuksainebuxngtnekiywkbkarfuntwidcamacaknkcitwithyaechingphthnakarthisuksaedkinsthankarnesiyng ngansuksahnunginphuhiy 230 khnthiwinicchywasumesrahruxwitkkngwl thiidkarbabdennkarkhwbkhumxarmn aesdngwawithisamarthchwyprbkhwamfuntwidinkhnikh khuxklyuththephngthikarwangaephn karpraeminehtukarnihminechingbwk aelakarldkhwamkhrunkhidsamarthchwydarngsukhphaphcitihditxipid aelakhnikhthimikhwamfuntwidthidikhunmiphlthangkarrksathidikwakhnikhthiaephnkarrksaimidephngkarfunsphaphid sungxacepnkhxmulsnbsnunkaraethrkaesngthangcitbabdthixacchwyrbmuxkbkhwamphidpktiiddikwaodyephngthikarfunsphaphthangciticid opraekrmxun mihnwythharthitrwcsxbbukhlakreruxngsmrrthphaphkarfuntwidphayitsthankarnekhriyd odysrangkhwamekhriydxyangcngicinchwngkarfuk phuthiimphaneknthsamarthkhdxxkid phuthiphansamarthfukephimephuxrbsthankarnekhriydid sungepnkrabwnkarthithasa sahrbtaaehnngthihnkkhuneruxy echn thharinhnwyrbphiessedkkarfunsphaphidinedkhmaythungedkthiprasbkhwamsaercekinkwathikhadhwng odymiprawtiprasbkbkhwamesiynghruxkhwamyaklabak aetdngthiklawmakxn niimichepnlksnaxairthiedkxaccamimakxn immiedkthiimxxnaex thisamarthkhamxupsrrkhhruxkhwamyaklabakid kid karfunsphaphidepnphlkhxngkrabwnkarthangphthnakarhlayxyangthiekidepnrayaewlanan thichwyedkesiyngbangkhnihsamarthphthnaxyangmismrrthphaphidodyethiybknedkxun thiimsamarth nganwicyekiywkbpccypxngkn protective factors sungepnlksna characteristic khxngedkhruxsthankarnthichwyedkinsphaphaewdlxmesiyng idchwynkcitwithyaphthnakarihekhaicwaxairsakhythisudsahrbedkthifunsphaphid xngkhprakxbsxngxyangthiphbsa inngansuksaedkkkhux karthanganthangrabbrukhidthidi echnkarkhwbkhumtnexngidhruxechawnpyya aelakhwamsmphnththidi odyechphaakbphuihythisamarth echnphxaem khux edkthimipccypxngkninchiwitmkcaprasbkhwamsaerckwainsthankarnesiyngbangxyangethiybkbedkthiimmiinsthankarnediywkn aetniimkhwrcaichepnehtuphlephuxepidihedkrbkhwamesiyng ephraaedkprasbkhwamsaercdikwaemuximprasbkhwamesiynghruxyaklabak karphthnainchneriyn edkthifunsphaphiddiinchneriyn khuxedkthithanganaelaelniddi idkhwamkhadhwngsung aelabxykhrngmilksnathangcitwithyatang thidi echn khwamrusukwasthankarnkhwbkhumid locus of control khwamphumiicintn aelakartdsinicxairidexng autonomy singehlanithanganrwmknephuxpxngknphvtikrrmthiesiyhayechnthismphnthkbkhwamrusukwathaxairimidaebberiynru learned helplessness bthbathkhxngchumchn chumchnmibthbathsakhyinkarsrangkhwamfunsphaphid syyanthichdecnthisudwaepnchumchnthichwysnbsnunaelamiicepnediywknkkhux mixngkhkrthangsngkhmthichwyeruxngkarphthnamnusy karbrikarcaimmikhnichthaimsuxsarihdikbchumchn aetedkthiyaythixyubxy caimidpraoychncakthrphyakrechnni ephraawaoxkassrangkhwamfunsphaphid aelaekharwmkbchumchnxyangmikhwamhmaycahmdipthukkhrngthiyaythi bthbathkhrxbkhrw karsrangkhwamfunsphaphinedkcaepntxngmisthankarnthangkhrxbkhrwthixbxunaelamiesthiyrphaph khadhwnginphvtikrrmedksung aelasnbsnunihmiswnrwminkhrxbkhrw edkthifunsphaphiddithisudcamikhwamsmphnththiekhmaekhngkbphuihyxyangnxyhnungkhn aemcaimtxngepnphxaem aelakhwamsmphnthniaehlacachwyldkhwamesiyngthimacakpyhakhrxbkhrw swnkarfunsphaphidehtuphxaem parental resilience khuxkhwamthiphxaemxacihkarduaelthimismrrthphaphaelamikhunphaphtxedkaemwacamipccyesiyngxun kepnbthbathsakhyyingtxkarfunsphaphidkhxngedkxikdwy karekhaicwaxairepnkarduaelthimikhunphaphepnswnsakhyinaenwkhideruxngkarfunsphaphidehtuphxaem dngnn thakarhyarangkhxngphxaemthaihekhriyd karmikhwamchwyehluxthangsngkhmcakthngkhrxbkhrwaelachumchncachwyldkhwamekhriydaelaihphlthidi khrxbkhrwihnthiennkhaniyminkarchwynganinban duaelphinxng aelaharayidchwykhrxbkhrwinnganthithahlngeriyn lwnaetchwysngesrimkhwamfunsphaphid ngansuksakarfunsphaphidmkcamungkhwamxyuepnsukhkhxngedk aetkmingansuksathicakdthimungpccythichwysrangkarfunsphaphidehtuphxaem khrxbkhrwyakcn ngansuksacanwnmakidaesdngkhxptibtibangxyangthiphxaemyakcnsamarthichchwysrangkhwamfunsphaphidinkhrxbkhrw rwmthngkarihkhwamxbxun khwamrk aelakhwamehnicbxy karmikhwamkhadhwngthismehtuphlbwkkbwinythitrngiptrngmaodyimyakekinip karthakicwtrkhrxbkhrwepnpraca aelakarchlxng aelakardarngkhaniymkhxngkhrxbkhrwekiywkbkarenginaelakarphkphxn tamnksngkhmwithyakhnhnung edkyakcnphuotkhuninkhrxbkhrwthifunsphaphid caidrbkarsnbsnunxyangsakhyihprasbkhwamsaercemuxerimekhaolksngkhm erimtngaetopraekrmduaeledkelk aelahlngcaknninorngeriyn karthukrngaek nxkcakcapxngknimihephuxnrngaekedkaelw yngsakhythicaphicarnadwywa karaethrkaesngthiichaenwkhidekiywkbkhwamchladthangxarmn EI sakhyxyangirinkrnithicamikarrngaek karephim EI xacepnkhntxnsakhyephuxesrimkhwamfunsphaphidinedkthithukrngaek khux emuxbukhkhlephchiyhnakbkhwamekhriydaelakhwamyaklabak odyechphaathiekidsa smrrthphaphinkarprbtwcaepnpccysakhythithaihekidphlthidihruxaeykwa ngansuksapi 2556 trwcsxbwyrunthipraktwafuntwidcakkarthukrngaekaelwphbkhwamaetktangrahwangephsthinasnic khux phbkarfuntwthangphvtikrrmthidikwainedkhying aelakarfuntwthangxarmnthidikwainedkchay aetkhwamaetktangechnniyngkchiwa epnthrphyakrphayinaelaptikiriyathangxarmnechinglb wachwyhruximchwykarfunsphaphcakkarthukrngaektamladb aelasnbsnunihichkaraethrkaesngephuxphthnathksathangcit sngkhminedkkhwamchladthangxarmnmihlkthanwachwyesrimkarfunsphaphidcakkhwamekhriyd aeladngthiklawmakxn smrrthphaphinkarcdkarkhwamekhriydaelaxarmnechinglbxun samarthchwypxngknphuthukrngaekimihklayepnphurngaekphuxuntxip pccythisakhyxyanghnunginkarfunsphaphidkkhuxkarkhwbkhumxarmntnexngid swnnganwicypi 2556 phbwa karruxarmntnsakhyephuxxanwyihmiptikiriyathangxarmnechinglbthinxykwainchwngehtukarnekhriyd aelakhwamekhaicxarmnxanwykarfunsphaphidaelamishsmphnthechingbwkbxarmnechingbwkngansuksainprachakrodyechphaaaelasthankarnthiepnehtuklumprachakr eyawchnkhamephs eyawchnkhamephsprasbkbtharunkrrmhlayxyangaelakhwamimekhaiccakbukhkhlinsngkhmkhxngtn aelacarbmuxchiwitiddikwathamiradbkhwamfunsphaphidsung ngansuksainedkkhamephs 55 khntrwcsxbkhwamrusukwaepnnaykhxngtn khwamrusukwaidkarsnbsnunchwyehluxcaksngkhm karrbmuxaebbephngxarmn aelakhwamphumiicintn aelwphbwakhwamaetktangthangkarfunsphaphidpraman 50 epntwkxpyhathangsukhphaphkhxngedk khux edkthifunsphaphidaeykwamipyhathangsukhphaphcitmakkwa rwmthngkhwamsumesraaelaxakarsaethuxnictang karrbmuxthiephngxarmnepnswnsakhykhxngkarfunsphaphidodyepntwkahndwaedkcasumesraaekhihn eyawchnthitngkhrrphaelamixakarsumesra kartngkhrrphinwyrunphicarnawaepnpyhasbsxn ephraamkthaihhyuderiyn thaihmisukhphaphaeythnginpccubnxnakht xtrakhwamyakcnthisungkwa pyhasahrblukkhnpccubnaelainxnakht inbrrdaphllbthiekidkhunthnghlay nkwicyidtrwsxbkhwamaetktangthangkarfunsphaphidrahwangwyrunaelaphuihythitngkhrrphinorngphyabalsuti nariinemuxngkwayakil praethsexkwadxr sungphbwamardathitngkhrrph 56 6 mixarmnsumesraodyidkhaaenn CESD 10 10 hruxmakkwann aetwaxtrakhwamsumesraimtangknrahwangklum aetwyrunfunsphaphidaeykwaephraaidkhaaennrwmkhwamfunsphaphidthitakwa aelaxtrakaridkhaaenntakwakhamthythan P lt 0 05 xyuinradbsungkwa karwiekhraahthangsthiti Logistic regression analysis imphbpccyesiyngkhxngxarmnsumesrainphurwmkarthdlxng aetwa karmikhuepnedkwyrunaelakarkhlxdlukkxnkahndsmphnthkbkhwamesiyngkarmikarfunsphaphtathisungkwa sthankarnthiepnehtu karhyarang bxykhrng karhyarangmxngwamiphllbtxsukhphaphcit aetngansuksatang aesdngwa karsrangkarfunsphaphidxaccaepnpraoychntxthuk faythiekiywkhxng radbkarfunsphaphidkhxnglukhlngcakkarhyakhxngphxaemkhunxyukbtwaeprthngphayinphaynxk rwmthngsphaphthangkaythangic radbkarsnbsnunthiidcakorngeriyn ephuxn aelaephuxnkhxngkhrxbkhrw smrrthphaphinkarrbmuxkbsthankarnyngkhunxyuxayu ephs aelanisykhxngedkxikdwy edkcarusukeruxngkarhyarangtangipcakphuihyaeladngnn khwamsamarthinkarrbmuxkcatangipdwy edkpraman 20 25 ca aesdngpyhathangciticaelathangphvtikrrmthirunaerng emuxtxngprasbkbkarhyarang sungtangcak 10 khxngedkthimipyhaechnkninkhrxbkhrwthiphxaemxyudwykn aetaemcamiphxaemthihyarangkn edkpraman 75 80 ca otepnphuihythiprbtwiddiodyimmipyhathangichruxthangphvtikrrmthikhngyun sungaesdngwa edkodymakmipccythicaepnthicafunsphaphidechnniemuxphankarhyarangkhxngphxaem phlkhxngkarhyarangcayunnanaemphankaraeykknkhxngphxaem ephraawa pyhathiynghlngehluxxyurahwangphxaem pyhakarengin aelakaridkhuihmhruxaetngnganihmkhxngphxaemxaccathaihekhriydaebbkhngyun ngansuksapi 2544 phbwaimmishsmphnthrahwangkarthaelaaknkhxngphxaemhlnghyakbsmrrthphaphkhxngedkthicaprbtwekhakbehtukarninchiwit aetngansuksapi 2542 inpraednediywknklbphbphllbtxedk swneruxngthanakarenginkhxngkhrxbkhrw karhyarangmioxkasldradbkhwamepnxyukhxngedk enginkhacunedkmkihephuxchwykhwamcaepnphunthanechnkhaethxrmorngeriyn aetthaphxaemmipyhaeruxngkarenginxyuaelw edkxaccaimsamarthekharwmkickrrmxyangxun echnkilahruxkareriyndntri sungxacmiphllbtxchiwitsngkhmkhxngedk karidkhuihmhruxaetngnganihmxacthaihthaelaaknaelaokrthekhuxngknephimkhuninkhrxbkhrw aelaehtuphlxyanghnungthikaridkhuihmmiphlekhriydephimkephraawakhadkhwamchdecninbthbathhnathiaelakhwamsmphnth khux edkxaccaimruwakhwrcamiptikiriyahruxmiphvtikrrmkb phxaem khnihminchiwitxyangir inkrniodymak karnakhuihmekhabancaekhriydthisudthathathnthihlngcakkarhya inxdit nkwichakarmxngkarhyawaepnehtukarnediyw aetngansuksapccubnaesdngwa karhyarangcathaihekidkhwamepliynaeplngaelaeruxngthathayhlayxyang imichpccyphayinxyangediywethannthichwyihekidkarfunsphaphid aetwapccyphaynxkinsingaewdlxmkepneruxngsakhytxkartxbsnxngtxehtukarnaelasakhytxkarprbtw inpraethstawntk opraekrmsnbsnunhruxkaraethrkaesngxacchwyedkrbmuxkbkhwamepliynaeplngthicaekidkhuncakkarhya phyphibtithrrmchati karfunsphaphidcakphythrrmchatisamarthwdidodyhlayradb khuxwdidinradbbukhkhl radbchumchn hruxodyrupthrrm karwdinradbbukhkhlhmaythungkhnaetlakhninchumchn karwdinradbchumchn hmaythungbukhkhlthixyuinchumchnekhtthiprasbphlthnghmd swnkarwdrupthrrmxachmayexabanaelaxakharinchumchnthiidrbphl xngkhkrshprachachatikhux UNESCAP ihenginthunephuxsuksawachumchnaesdngkarfunsphaphidinphyphibtithrrmchatiidxyangir aelwphbwa odyrupthrrmaelw chumchncafunsphaphiddikwatharwmchwyknthakarfunsphaphidihepnngankhxngchumchn karidkarsnbsnuncaksngkhmepnkuyaecsakhyinphvtikrrmfunsphaphid odyechphaainkarichthrphyakrodyrwmkn emuxrwmthrphyakrthangsngkhm thangthrrmchati aelathangesrsthkic xngkhkrphbwachumchnfunsphaphiddikwaaelasamarthexachnaphyphibtiiderwkwachumchnthitangkhntangtha sphaesrsthkicolkprachumknemuxpi 2557 ephuxpruksaeruxngkarfunsphaphidhlngcakphyphibtithrrmchati aelwsrupwa praethsthimiesrsthkicthidikwa mibukhkhlthisamarththaxachiphidhlayxyang makkwa camiradbkarfunsphaphsungsud aemwacayngimmingansuksaephimkhun aetaenwkhidthiidcaksphapraktwaekhakbphlnganwicythimixyuaelw karesiychiwitkhxngsmachikkhrxbkhrw minganwicynxymakthithaekiywkbkarfunsphaphidkhxngkhrxbkhrwemuxsmachikinkhrxbkhrwesiychiwit odythwipaelw khwamsnicineruxngkariwthukkhtxkhntaymkcamungkrabwnkariwthukkhinradbbukhkhl imichinradbkhrxbkhrw karfunsphaphidtangcakkarkhunsphaphodyepn smrrthphaphinkarrksakhwamsmdulthiesthiyr sungchwyeruxngkhwamsmdul khwamklmklun aelakarkhunsphaphkhxngkhrxbkhrw khrxbkhrwtxngeriynruephuxcdkarkhwamphidephiynkhxngkhrxbkhrwephraaehtukaresiychiwitkhxngsmachik sungsamarththaidodyepliynkhwamsmphnthaelaepliynrupaebbkarichchiwitephuxprbtwihekhakbsthankarnihm karaesdngkhwamfunsphaphidinehtukarnsaethuxnicsamarthchwyihphankrabwnkariwthukkhidodyimmiphllbrayayaw phvtikrrmthidithisudkhxngkhrxbkhrwthifunsphaphidemuxmiphuesiychiwitkkhuxkarsuxsarthicringicaelaepidic sungchwyihekhaicwikvtkarn karaechrkhwamrusukekiywkbprasbkarnthimixacchwyihprbtwthnginrayasnrayayawtxkaresiychiwitkhxngphuepnthirk khwamehnicphuxunepnxngkhprakxbsakhyephraachwyihkhniwthukkhekhaiccudyunkhxngphuxun xdthntxkarthaelaawiwath aelaphrxmrbmuxkhwamaetktangknrahwangsmachikinkhrxbkhrw xngkhprakxbthisakhyxikxyangkkhuxkarmisingthithaepnpracaephuxchwyphukphnsmachikkhrxbkhrwiwdwykn echn kartidtxknxyangsmaesmx kareriyntxaelakarmiephuxnaelakhunkhruthiorngeriyn yngepnkarsnbsnunthisakhysahrbedkthikalngmipyhakaresiychiwitkhxngkhninkhrxbkhrwdwykhxkhdaeyngminkekhiynthiimehndwykbaenwkhidineruxngkarfunsphaphidaelakhwamniymthiaenwkhidkalngidephimkhun odyxangwa noybayekiywkbkarfunsphaphidepnkarsngpharakartxbsnxngtxphyaekbukhkhlaethnthicaepnkhwamphyayamrwmknodysatharnchn aelathaphukekhakbaenwkhidtang echn thangesrsthkicekiywkb neoliberalism thvsdikarepliynaeplngsphaphphumixakas phthnakarkhxngolkthisam aelaxun nkekhiynthngsxngxangwa karsnbsnunkarfunsphaphidhnkhwamsnicipcakhnathirbphidchxbkhxngrthbalipyngkartxbsnxnginradbchumchnthithaknodyrthimekhaipyungekiyw khxkhdkhanaenwkhidnixikxyangkkhuxniyamkhxngkha khuxehmuxnkbpraktkarnthangcitxun karkahndsphawathangcitaelaxarmnbangxyangodyechphaa mkcakxkhwamkhdaeyngineruxngkhwamhmayinthisud aelaniyamkhxngkhawakarfunsphaphid kcamiphltxsingthitrwcduinnganwicy aelaniyamthitangkn hruximdiephiyngphxcathaihekidnganwicythiimkhlxngcxngknaemineruxngediywkn khux phlnganwicyinpraednnierimtangknthngineruxngkhxngphlaelakarwd thaihnkwicybangthanelikichkhaniodysinechingephraawaklayepnkhathiichkbphlnganwicythnghmdthiphlthiiddikwathikhadhwng nxkcaknnaelw yngmikhwamkhdaeyngeruxngtwbngchiphthnakarthangcitaelasngkhmthidi emuxsuksaaenwkhidkhamwthnthrrmaelasphaphaewdlxmtang yktwxyangechn smakhmcitwithyaxemrikn ihkhxsngektwa mithksaphiessbangxyangthichwykhrxbkhrwaelaedkxemriknechuxsayaexfrikaihrbmuxkbpyhachiwit rwmthngkhwamsamarthinkartxtankhwamediydchnththangphiwphrrn nxkcaknnaelw nkwicyekiywkbsukhphaphkhxngkhnphunemuxngyngaesdngwa thngwthnthrrm prawti khaniymkhxngchumchn phumipraethsmiphltxkhwamfunsphaphidkhxngchumchnkhnphunemuxng bangkhnxaccamikarfunsphaphidthimxngimehnxikdwy thaimepnipehmuxnkbthisngkhmkhadhwngwabukhkhlkhwrcamiphvtikrrminbangeruxng echn khwamkawrawxaccaepneruxngcaepn hruxwakarmikhwamrusuknxylngxaccaepnpccypxngkninsthankarntharunkrrmbangxyang nxkcaknnaelw yngmihlkthanemuximnanniwa karfunsphaphidxachmaythungsmrrthphaphinkartanpyharunaerngindanxun aemwabukhkhlxaccaduehmuxnaeylngchwkhnahnungduephimcitwithyaechingbwk karrbmux citwithya karcdkarkhwamekhriydechingxrrthaelaxangxing psychological Lexitron phcnanukrmithy lt gt xngkvs run 2 6 hnwyptibtikarwicywithyakarmnusyphasa sunyethkhonolyixielkthrxniksaelakhxmphiwetxraehngchati sanknganphthnawithyasastraelaethkhonolyiaehngchati krathrwngwithyasastraelaethkhonolyi 2546 thangdancitic resilience Lexitron phcnanukrmithy lt gt xngkvs run 2 6 hnwyptibtikarwicywithyakarmnusyphasa sunyethkhonolyixielkthrxniksaelakhxmphiwetxraehngchati sanknganphthnawithyasastraelaethkhonolyiaehngchati krathrwngwithyasastraelaethkhonolyi 2546 khwamyudhyun Malgorzata Pecillo 31 Mar 2016 The concept of resilience in OSH management a review of approaches Journal International Journal of Occupational Safety and Ergonomics 291 300 doi 10 1080 10803548 2015 1126142 The Road to Resilience American Psychological Association 2014 Rutter M 2008 Developing concepts in developmental psychopathology in Hudziak JJ b k Developmental psychopathology and wellness Genetic and environmental influences Washington D C American Psychiatric Publishing pp 3 22 ISBN 978 1 58562 279 5 Masten AS March 2001 Ordinary magic Resilience processes in development The American Psychologist 56 3 227 238 doi 10 1037 0003 066X 56 3 227 PMID 11315249 S2CID 19940228 Block JH Block J 1980 The role of ego control and ego resiliency in the organisation of behaviour in Collins WA b k Development of cognition affect and social relations Minnesota Symposia on Child Psychology Vol 13 Hillsdale N J Erlbaum ISBN 978 0 89859 023 4 Hopf S M 2010 Risk and Resilience in Children Coping with Parental Divorce Dartmouth Undergraduate Journal of Science Pedro Carroll JoAnne 2005 Fostering children s resilience in the aftermath of divorce The role of evidence based programs for children PDF Children s Institute University of Rochester p 4 subkhnemux 2016 03 30 Garmezy N 1973 Dean S R b k Competence and adaptation in adult schizophrenic patients and children at risk Schizophrenia The first ten Dean Award Lectures NY MSS Information Corp pp 163 204 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Garmezy N Streitman S 1974 Children at risk The search for the antecedents of schizophrenia Part 1 Conceptual models and research methods Schizophrenia Bulletin 8 8 14 90 doi 10 1093 schbul 1 8 14 PMID 4619494 Werner E E 1971 The children of Kauai a longitudinal study from the prenatal period to age ten Honolulu University of Hawaii Press ISBN 0870228609 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Werner E E Vulnerable but invincible a longitudinal study of resilient children and youth New York McGraw Hill ISBN 0937431036 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Masten A S Best K M Garmezy N 1990 Resilience and development Contributions from the study of children who overcome adversity Development and Psychopathology 2 4 425 444 doi 10 1017 S0954579400005812 Masten A S 1989 Cicchetti D b k Resilience in development Implications of the study of successful adaptation for developmental psychopathology The emergence of a discipline Rochester symposium on developmental psychopathology Vol 1 Hillsdale NJ Erlbaum pp 261 294 ISBN 0805805532 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Cicchetti D Rogosch F A 1997 The role of self organization in the promotion of resilience in maltreated children Development and Psychopathology 9 4 797 815 doi 10 1017 S0954579497001442 PMID 9449006 Fredrickson B L Tugade M M Waugh C E Larkin GR 2003 A prospective study of resilience and emotions following the terrorist attacks on the United States on September 11th 2002 Journal of Personality and Social Psychology 84 2 365 376 doi 10 1037 0022 3514 84 2 365 PMC 2755263 PMID 12585810 Luthar S S Poverty and children s adjustment Newbury Park CA Sage ISBN 0761905189 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Masten A S 1994 Wang M Gordon E b k Resilience in individual development Successful adaptation despite risk and adversity Risk and resilience in inner city America challenges and prospects Hillsdale NJ Erlbaum pp 3 25 ISBN 080581325X Zautra AJ Hall JS Murray KE 2010 Resilience A new definition of health for people and communities in Reich JW Zautra AP Hall JS b k Handbook of adult resilience New York Guilford pp 3 34 ISBN 978 1 4625 0647 7 Siebert Al 2005 The Resiliency Advantage Berrett Koehler Publishers pp 2 4 ISBN 1576753298 Leadbeater B Dodgen D Solarz A 2005 Peters RD Leadbeater B McMahon RJ b k Resilience in children families and communities Linking context to practice and policy New York Kluwer pp 47 63 ISBN 0306486555 Siebert Al 2005 The Resiliency Advantage Berrett Koehler Publishers pp 74 78 ISBN 1576753298 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Brain scan foretells who will fold under pressure Tests on high stakes math problems identify key regions of neural activity linked to choking sciencenews 2012 05 05 Charney DS 2004 Psychobiological mechanisms of resilience and vulnerability implications for successful adaptation to extreme stress Am J Psychiatry 161 2 195 216 doi 10 1176 appi ajp 161 2 195 PMID 14754765 Ozbay F Fitterling H Charney D Southwick S 2008 Social support and resilience to stress across the life span A neurobiologic framework Current psychiatry reports 10 4 304 10 doi 10 1007 s11920 008 0049 7 PMID 18627668 Gavidia Payne S Denny B Davis K Francis A Jackson M 2015 Parental resilience A neglected construct in resilience research Clinical Psychologist 19 3 111 121 doi 10 1111 cp 12053 Resilience conceptualized as a positive bio psychological adaptation has proven to be a useful theoretical context for understanding variables for predicting long term health and well being a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Pember Mary Annette 2015 05 28 Indian Country Today khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 12 05 subkhnemux 2015 05 28 Fredrickson B L Branigan C 2005 Positive emotions broaden the scope of attention and thought action repertoires Cognition amp Emotion 19 3 313 332 doi 10 1080 02699930441000238 PMC 3156609 PMID 21852891 Tugade M M Fredrickson B L 2004 Resilient individuals use positive emotions to bounce back from negative emotional experiences Journal of Personality and Social Psychology 86 2 320 33 doi 10 1037 0022 3514 86 2 320 PMC 3132556 PMID 14769087 Ong A D Bergeman C S Bisconti T L Wallace K A 2006 Psychological resilience positive emotions and successful adaptation to stress in later life Journal of Personality and Social Psychology 91 4 730 49 doi 10 1037 0022 3514 91 4 730 PMID 17014296 doi 10 1111 fare 12134 This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Mahony D L Burroughs W J Lippman L G 2002 Perceived Attributes of Health Promoting Laughter A Cross Generational Comparison The Journal of Psychology 136 2 171 81 doi 10 1080 00223980209604148 PMID 12081092 Baker K H Minchoff B Dillon K M 1985 Positive Emotional States and Enhancement of the Immune System The International Journal of Psychiatry in Medicine 15 13 18 doi 10 2190 R7FD URN9 PQ7F A6J7 Duckworth A L Peterson C Matthews M D Kelly D R 2007 Grit perseverance and passion for long term goals J Pers Soc Psychol 92 6 11087 1101 doi 10 1037 0022 3514 92 6 1087 Silvia P J Eddington K M Beaty R E Nusbaum E C Kwapil T R 2013 Gritty people try harder grit and effort related cardiac autonomic activity during an active coping challenge J Int J Psychophysiol 88 2 200 205 doi 10 1016 j ijpsycho 2013 04 007 Salles A Cohen G L Mueller C M 2014 The relationship between grit and resident well being Am J Surg 207 2 251 254 doi 10 1016 j amjsurg 2013 09 006 PMID 24238604 Kleinman E M Adams L M Kashdan T B Riskind J H 2013 Gratitude and grit indirectly reduce risk of suicidal ideations by enhancing meaning in life Evidence for a mediated moderation mode Journal of Research in Personality 47 5 539 546 doi 10 1016 j jrp 2013 04 007 Sarkar M Fletcher D 2014 Ordinary magic extraordinary performance Psychological resilience and thriving in high achievers Sport Exercise and Performance Psychology 3 46 60 doi 10 1037 spy0000003 APA Resilience Factors amp Strategies Apahelpcenter org subkhnemux 2010 09 16 Werner E E 1995 Resilience in development Current Directions in Psychological Science 4 3 81 85 doi 10 1111 1467 8721 ep10772327 Ruch W Proyer R T Weber M 2009 Humor as a character strength among the elderly Zeitschrift fur Gerontologie und Geriatrie 43 1 13 18 doi 10 1007 s00391 009 0090 0 PMID 20012063 Cicchetti D Rogosch F A Lynch M Holt K D 1993 Resilience in maltreated children Processes leading to adaptive outcome Development and Psychopathology 5 4 629 647 doi 10 1017 S0954579400006209 Block JH Block J 1980 Collins WA b k The role of ego control and ego resiliency in the organisation of behaviour Development of cognition affect and social relations Minnesota Symposia on Child Psychology Vol 13 Hillsdale NJ Erlbaum p 43 ISBN 089859023X a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Block JH Block J 1980 Collins WA b k The role of ego control and ego resiliency in the organisation of behaviour Development of cognition affect and social relations Minnesota Symposia on Child Psychology Vol 13 Hillsdale NJ Erlbaum p 48 ISBN 089859023X dynamic capacity to modify his or her model level of ego control in either direction as a function of the demand characteristics of the environmental context a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Bonanno G A Galea S Bucciareli A Vlahov D 2007 What predicts psychological resilience after disaster The role of demographics resources and life stress Journal of Consulting and Clinical Psychology 75 5 671 682 doi 10 1037 0022 006X 75 5 671 PMID 17907849 Hood R Hill P Spilka B 2009 The psychology of religion 4th edition An empirical approach New York The Guilford press ISBN 1606233920 study of positive psychology is a relatively new development there has not yet been much direct empirical research looking specifically at the association of religion and ordinary strengths and virtues a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Peres J Moreira Almeida A Nasello A Koenig H 2007 Spirituality and resilience in trauma victims Journal of Religion amp Health 46 3 343 350 doi 10 1007 s10943 006 9103 0 Freud 1911 1958 Kobasa 1979 Robertson D 2012 Build your Resilience London Hodder ISBN 978 1444168716 Brunwasser SM Gillham JE Kim ES 2009 A meta analytic review of the Penn Resiliency Program s effect on depressive symptoms Journal of Consulting and Clinical Psychology 77 6 1042 1054 doi 10 1037 a0017671 PMID 19968381 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Masten A S 2001 Ordinary magic Resilience processes in development American Psychologist 56 3 227 238 doi 10 1037 0003 066X 56 3 227 PMID 11315249 Yates TM Egeland B Sroufe LA 2003 Luthar SS b k Rethinking resilience A developmental process perspective Resilience and vulnerability Adaptation in the context of childhood adversities New York Cambridge University Press pp 234 256 ISBN 0521001617 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Resilience Building immunity in psychiatry PubMed Central PMC Min J A Yu J J Lee C U Chae J H 2013 Cognitive emotion regulation strategies contributing to resilience in patients with depression and or anxiety disorders Comprehensive Psychiatry 54 8 1190 7 doi 10 1016 j comppsych 2013 05 008 PMID 23806709 Robson Sean Manacapilli Thomas 2014 Enhancing Performance Under Stress Stress Inoculation Training for Battlefield Airmen PDF Santa Monica California RAND Corporation p 61 ISBN 9780833078445 Yates TM Egeland B Sroufe LA 2003 Luthar SS b k Rethinking resilience A developmental process perspective Resilience and vulnerability Adaptation in the context of childhood adversities New York Cambridge University Press pp 234 256 ISBN 0521001617 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Luthar S S 2006 Cicchetti D Cohen DJ b k Resilience in development A synthesis of research across five decades Developmental Psychopathology Vol 3 Risk Disorder and Adaptation 2nd ed Hoboken NJ Wiley and Sons pp 739 795 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Garmezy N 1974 August The study of children at risk New perspectives for developmental psychopathology Distinguished Scientist Award address presented to Division 12 Section 1114 at the 82nd annual convention of the American Psychological Association New Orlean Garmezy N 1991 Resiliency and vulnerability to adverse developmental outcomes associated with poverty American Behavioral Scientist 34 4 416 430 doi 10 1177 0002764291034004003 Howard Alyssa Moveboxer com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 06 11 subkhnemux 2016 11 08 Wang M Haertel G Walberg H 1994 Educational Resilience in Inner Cities Hillsdale New Jersey Lawrence Erlbaum Associates Benard B 1991 Fostering resiliency in kids Protective factors in the family school and community Northwest Regional Educational Laboratory a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Cauce Ana Mari Stewart Angela Rodriguez Melanie D Cochran Bryan Ginzler Joshua 2003 Luthar Suniya S b k Overcoming the Odds Adolescent Development in the Context of Urban Poverty Resilience and Vulnerability Adaptation in the Context of Childhood Adversities Cambridge Cambridge University Press pp 343 391 ISBN 0521001617 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Doob Christopher B 2013 Social Inequality and Social Stratification in US Society Upper Saddle River NJ Pearson Education Inc Monroy Cortes BG Palacios Cruz L 2011 Resiliencia Es posible medirla e influir en ella Salud Mental phasasepn Mexico Instituto Nacional de Psiquiatrica Ramon de la Fuente Muniz 34 3 237 246 ISSN 0185 3325 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Sapouna M Wolke D 2013 Resilience to bullying victimization The role of individual family and peer characteristics Child Abuse amp Neglect 37 11 997 1006 doi 10 1016 j chiabu 2013 05 009 Schneider T R Lyons J B Khazon S 2013 Emotional intelligence and resilience Personality and Individual Differences 55 8 909 914 doi 10 1016 j paid 2013 07 460 Polan J Sieving R Pettingell S Bearinger L McMorris B 2012 142 Relationships Between Adolescent Girls Social Emotional Intelligence and Their Involvement in Relational Aggression and Physical Fighting Journal of Adolescent Health 50 2 S81 doi 10 1016 j jadohealth 2011 10 216 Grossman Arnold Anthony R D augellib amp John A Franka 2011 04 08 Aspects of Psychological Resilience among Transgender Youth LGBT Youth 8 2 103 115 doi 10 1080 19361653 2011 541347 Perez Lopez FR Chedraui P Kravitz AS Salazar Pousada D Hidalgo L 2011 PDF Open Access Journal of Contraception 2 85 94 doi 10 2147 OAJC S13398 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2013 10 29 subkhnemux 2016 11 08 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Salazar Pousada D Arroyo D Hidalgo L Perez Lopez F R Chedraui P 2010 Depressive Symptoms and Resilience among Pregnant Adolescents A Case Control Study Obstetrics and Gynecology International 2010 1 7 doi 10 1155 2010 952493 PMC 3065659 PMID 21461335 Kelly J B Emery R E 2003 Children s Adjustment Following Divorce Risk and Resilience Perspectives Family Relations 52 4 352 362 doi 10 1111 j 1741 3729 2003 00352 x Pedro Carroll JA 2005 Fostering children s resilience in the aftermath of divorce The told of evidence based programs for children University of Rochester Children s Institute 52 64 Education Vulnerability and Resilience after a Natural Disaster Ecology and Society 18 2 PDF Welcome to UN ESCAP khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2017 06 09 subkhnemux 2016 11 08 Building Resilience to Natural Disasters The World Economic Forum Rynearson Edward K 2006 Violent Death Resilience and Intervention Beyond the Crisis Routledge ISBN 1 135 92633 6 Bonanno George A 2004 Loss Trauma and Human Resilience American Psychologist 59 1 20 8 doi 10 1037 0003 066X 59 1 20 PMID 14736317 Greeff Abraham P Human Berquin 2004 Resilience in families in which a parent has died The American Journal of Family Therapy 32 27 42 doi 10 1080 01926180490255765 Cooley E Toray T Roscoe L 2010 Reactions to Loss Scale Assessing Grief in College Students OMEGA Journal of Death and Dying 61 25 51 doi 10 2190 OM 61 1 b Heath M A Donald D R Theron L C Lyon R C 2014 Therapeutic Interventions to Strengthen Resilience in Vulnerable Children School Psychology International 35 3 309 337 doi 10 1177 0143034314529912 Evans Brad Reid Julian 2014 Resilient Life The Art of Living Dangerously Malden Mass Polity Press ISBN 978 0 7456 7152 9 txngkarelkhhna Burt KB Paysnick AA May 2012 Resilience in the transition to adulthood Development and Psychopathology 24 2 493 505 doi 10 1017 S0954579412000119 PMID 22559126 S2CID 13638544 Boyden J Mann G 2005 Children s risk resilience and coping in extreme situations in Ungar M b k Handbook for working with children and youth Pathways to resilience across cultures and contexts Thousand Oaks Calif Sage pp 3 26 ISBN 978 1 4129 0405 6 Castro FG Murray KE 2010 Cultural adaptation and resilience Controversies issues and emerging models in Reich JW Zautra AJ Hall JS b k Handbook of adult resilience New York pp 375 403 ISBN 978 1 4625 0647 7 Dawes A Donald D 2000 Improving children s chances Developmental theory and effective interventions in community contexts in Donald D Dawes A Louw J b k Addressing childhood adversity Cape Town S A David Philip pp 1 25 ISBN 978 0 86486 449 9 Task Force on Resilience and Strength in Black Children and Adolescents 2008 Resilience in African American children and adolescents A vision for optimal development Report Washington D C American Psychological Association txngkarelkhhna Anisnabe Kekendazone Network Environment for Aboriginal Health Research khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 04 26 subkhnemux 2016 11 08 Ungar M 2004 Nurturing hidden resilience in troubled youth Toronto University of Toronto Press ISBN 978 0 8020 8565 8 txngkarelkhhna Obradovic J Bush N R Stamperdahl J Adler NE Boyce WT 2010 Biological sensitivity to context The interactive effects of stress reactivity and family adversity on socioemotional behavior and school readiness Child Development 81 1 270 289 doi 10 1111 j 1467 8624 2009 01394 x PMC 2846098 PMID 20331667 Ungar M 2004 A constructionist discourse on resilience Multiple contexts multiple realities among at risk children and youth Youth amp Society 35 3 341 365 doi 10 1177 0044118X03257030 S2CID 145514574 Werner EE Smith RS 2001 Journeys from childhood to midlife Risk resiliency and recovery Ithaca N Y Cornell University Press ISBN 978 0 8014 8738 5 txngkarelkhhna xanephimetimBenard B 2004 Resiliency What we have learned San Francisco WestEd Bronfenbrenner U 1979 Ecology of human development Cambridge Mass Harvard University Press Comoretto A Crichton N Albery IP 2011 Resilience in humanitarian aid workers understanding processes of development LAP Lambert Academic Publishing Gonzales L 2012 Surviving Survival The Art and Science of Resilience New York W W Norton amp Company Marcellino WM Tortorello F 2014 I Don t Think I Would Have Recovered Armed Forces amp Society 41 3 496 518 doi 10 1177 0095327X14536709 S2CID 146845944 Masten AS 2007 Resilience in developing systems progress and promise as the fourth wave rises Development and Psychopathology 19 3 921 930 doi 10 1017 S0954579407000442 PMID 17705908 S2CID 31526466 Masten AS 1999 Resilience comes of age Reflections on the past and outlook for the next generation of research in Glantz MD Johnson JL b k Resilience and development Positive life adaptations New York Kluwer Academic Plenum Press pp 281 296 Reivich K Shatte A 2002 The Resilience Factor 7 Keys to Finding Your Inner Strength and Overcoming Life s Hurdles New York Broadway Rutter M July 1987 Psychosocial resilience and protective mechanisms The American Journal of Orthopsychiatry 57 3 316 331 doi 10 1111 j 1939 0025 1987 tb03541 x PMID 3303954 Rutter M 2000 Resilience reconsidered Conceptual considerations empirical findings and policy implications in Shonkoff JP Meisels SJ b k Handbook of early childhood intervention 2nd ed New York Cambridge University Press pp 651 682 Southwick SM Charnie DA 2018 Resilience The Science of Mastering Life s Greatest Challenges Second ed Cambridge Cambridge University Press ISBN 978 1 108 44166 7 Ungar M 2007 Contextual and cultural aspects of resilience in child welfare settings in Brown I Chaze F Fuchs D Lafrance J McKay S Prokop TS b k Putting a human face on child welfare Toronto Centre of Excellence for Child Welfare pp 1 24 aehlngkhxmulxunNational Resilience Resource Center Research on resilience at Dalhousie University