บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่
|
ภาษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน
พระสงฆ์ไทยน่าจะมีการศึกษาภาษาบาลีมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย มีหลักฐานปรากฏในสมัยทวารวดี มีหลักฐานการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมบาลีอย่างเป็นระบบในสมัยอยุธยา
การศึกษาบาลีรุ่งเรืองยิ่งในสมัยล้านนา มีการแต่งคัมภีร์บาลีขึ้นมากมาย คัมภีร์ที่แต่งในครั้งนั้นยังใช้เป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันด้วย
การศึกษาภาษาบาลีตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบมานั้น มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปภัมภ์ให้การสนับสนุนตลอดมา มีการอุทิศพระราชมณเฑียรเป็นที่เล่าเรียนศึกษาของพระสงฆ์ มีการยกย่องและถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์ผู้มีความรู้ภาษาบาลี จนถึงแม้พระมหากษัตริย์ไทยบางพระองค์ ที่ทรงเป็นปราชญ์เชี่ยวชาญในภาษาบาลี สามารถลงบอกบาลี (สอน) แก่พระสงฆ์สามเณรด้วยพระองค์เองก็มีตลอดมาจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การจัดสอบบาลีหรือการสอบสนามหลวงจัดว่าเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทยโดยพระบรมราชูปถัมภก์ สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน พระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่พระปริยัติธรรมบาลีได้ องค์พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณจะยกย่องและให้เกียรติถวายสมณศักดิ์โดยเฉพาะ
อนึ่ง การเล่าเรียนศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐให้ความสำคัญมาตลอด ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสไว้ใน อธิบายเรื่องการสอบพระปริยัติธรรม ว่า "การสอบพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร นับเป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่ง ด้วยอยู่ในพระราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก"
ในปัจจุบันมีการจัดการศึกษาบาลีอย่างเป็นระบบ โดยสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงรับผิดชอบดูแลโดยภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย
ประวัติการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย
สมัยทวารวดี
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เริ่มมีตั้งแต่สมัยที่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ดังหลักฐานทางประวัติศาสตร์จารึกคาถา "เย ธมฺมาฯ" ที่พระปฐมเจดีย์ จากหลักฐานนี้จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า การศึกษาภาษาบาลีและการจารึกพระไตรปิฎกในแถบประเทศไทยน่าจะมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี
สมัยสุโขทัย
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ได้มีการศึกษาบาลีของพระสงฆ์ไทยนั้นเริ่มมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยและอาจจะมีมาก่อนหน้านั้นก้ได้ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ได้อาราธนานิมนต์พระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชซึ่งได้ศึกษามาจากลังกา มาตั้งวงศ์และเผยแพร่ที่กรุงสุโขทัย
ต่อมาทั้งล้านนา มอญ และเขมร ต่างก็นิยมฝ่ายลังกาวงศ์จึงได้ส่งพระสงฆ์ไปเรียนที่ลังกาบ้าง มีการนิมนต์พระลังกามาเป็นอุปัชฌาย์ในเมืองของตนบ้าง การเผยแพร่พระพุทธศาสนาสายเถรวาทในดินแดนแถบสุโขทัยจึงรุ่งเรืองมานับแต่นั้น ทำให้พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และศาสนาพราหมณ์ซึ่งเจริญมาแต่ก่อนนั้น หมดความนิยมไป
เมื่อคณะสงฆ์ได้รวมกันเป็นคณะเดียวกันแล้ว จึงได้แบ่งธุระ ออกเป็น 2 พวกคือ พวกที่สมาทานคันถธุระ ก็เล่าเรียนภาษาบาลี พระไตรปิฎก คณะสงฆ์ฝ่ายนี้มักเลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน จึงได้ชื่อว่า "คณะคามวาสี" ส่วนพวกที่สมาทานวิปัสสนาธุระ ก็จะบำเพ็ญหาความสงบสุขอยู่ตามวัดในป่า จึงได้ชื่อว่า "คณะอรัญวาสี" อย่างไรก็ตามทั้ง 2 คณะ ก็รวมอยู่ในนิกายเดียวกันคือ มหานิกาย
สำหรับพระไตรปิฎกที่พระสงฆ์ใช้ศึกษานั้นนำมาจากลังกา เป็นตัวอักษรสิงหล และได้ปริวรรตเป็นตัวอักษรขอม ถึงแม้ว่าจะมีการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาในสมัยนี้แล้วก็ตามเพราะในสมัยนั้นคนไทยรับอิทธิพลของขอมไว้ทุกด้าน ตัวอักษรขอมก็มีมาก ส่วนตัวอักษรไทนที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์ขึ้นไม่พอที่จะเขียนภาษาบาลี จึงใช้อักษรขอมไปก่อนและก็ใช้กันมาเรือยๆ จนเข้าใจผิดกันต่อมาว่า อักษรขอมเป็นอักษรจารึกพระไตรปิฎก เป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ จนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นเป็นอักษรไทย เพื่อลบล้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอักษรขอม
พระพุทธศาสนาซึ่งเจริญขึ้นครั้งแรกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น มาเจริญถึงขีดสุดในยุคสมัยนี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นปราชญ์ และเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จารึกอักษรขอมเรียกพระองค์ว่า "กมรเต็งอัญศรีสุริยพงษ์รามมหาธรรมราชา" ทรงศึกษาพระพุทธศาสนามาตั้งแต่พระเยาว์ เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชย์ จึงเป็น "กษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ลาผนวชในขณะที่ยังครองราชสมบัติอยู่"
การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระองค์ได้ทรงอุทิศพระราชมณเฑียรเป็น โรงเรียนพระปริยัติธรรม แก่พระสงฆ์สามเณร ซึ่งต่อมาในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ก็ได้ถือเป็นแบบอย่าง คือ ให้วังเป็นที่สอนหนังสือ
สมัยล้านนา
อาณาจักรล้านนาเริ่มขึ้นโดยพระยามังราย หรือเม็งราย เป็นสหายสามเส้า ระหว่างพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัยกับพระยางำเมือง แห่งเมืองพะเยา ทั้งสามพระองค์เคยทำสัตย์ปฏิญญาณต่อกันและรักกันมาก ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1840 ให้ชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" อันเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาสืบมา
พระเจ้าติโลกราช
สมัยล้านนามีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ แต่ยุคที่พระพุทธศานาเจริญที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "ยุคทองของพระพุทธศาสนา" แห่งอาณาจักรล้านนาก็ว่าได้ คือในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ผู้ครองนครเมืองเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 1985 - 2020
การสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ 1 ในประเทศไทย
ในสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้มีการจัดทำสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎก จารึกลงใน เป็นภาษาบาลีอักษรล้านนาไทย การสังคายนาครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8 ต่อจากลังกา และเป็นครั้งที่ 1 ของดินแดนไทย กระทำที่วัดโพธาราม เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2020 ทำอยู่ 1 ปีจึงสำเร็จ วัตถุประสงค์คือขจัดความขัดแย้งกันระหว่างสงฆ์ 2 นิกาย คือลังกาเก่ากับลังกาใหม่ เมื่อแล้วเสร็จทรงฉลองสมโภชสร้างหอมณเฑียรในมหาโพธาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก เหตุการณ์นี้เกิดตรงกับสมัย พระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา
ผลของการสังคายนาครั้งนี้ทำให้พระพุทธศาสนาในล้านนามีความเข้มแข็ง รุ่งเรืองและเป็นที่เลื่องลือไปถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วย เมื่อพระศาสนารุ่งเรืองบ้านเมืองก็เป็นปึกแผ่น เป็นที่ยำเกรงของอาณาจักรใกล้เคียงเช่น สุโขทัย และอยุธยา เป็นต้น
การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระสงฆ์ในอาณาจักรล้านนามีหลายคณะทั้งลังกา รามัญ และชาวพื้นเมือง แต่ไม่มีการขัดแย้งหรือแข่งดีกัน ต่างคนต่างศึกษา คณะสงฆ์ล้านนาจึงแตกฉานในพระไตรปิฎกมาก จนสามารถแต่งคัมภีร์ต่างๆได้มากมาย และคัมภีร์ที่แต่งนี้ล้วนแต่งด้วยภาษาบาลีทั้งสิ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยต่างๆ เช่น สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์แล้ว ไม่มีพระสงฆ์สมัยใดที่ชำนาญภาษาบาลี แต่งคัมภีร์เป็นภาษาบาลีมากมาย เช่นสมัยล้านนาเลย คัมภีร์ที่แต่งไว้ในครั้งนั้นยังใช้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบันอีกด้วย บางเรื่องก็สูญหายไป เหลือแต่เพียงชื่อคัมภีร์
สมัยอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มจาก สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ที่ทรงจัดการบ้านเมืองเข้าเป็นปึกแผ่น แต่ยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก คงจะเป็นยุคสมัยของ "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ"
พระองค์ได้ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. 1967 การเสด็จออกผนวชในครั้งนี้นอกจากจะเป็นพระราชศรัทธาของพระองค์ และส่งเสริมพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นผลกระตุ้นให้เจ้าเมืองอื่นที่สนับสนุนพระพุทธศสนาเกิดการตื่นตัวอีกด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงสนับสนุนให้เจ้านาย และราษฎร์บวชเป็นพระภิกษุสามเณร ดังเช่นในปี พ.ศ. 2027 โปรดให้พระโอรส (ต่อมาคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) ผนวชเป็นสามเณร พร้อมด้วยพระนัดดาอีกหลายองค์ เข้าใจว่า "ประเพณีที่เจ้านายผนวช และข้าราชการใหญ่ออกบวช เพื่อเป็นการเล่าเรียนระยะหนึ่งนั้น คงจะเริ่มมาแต่ครั้งนี้"
การจัดการศึกษาของสงฆ์ในสมัยอยุธยา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการศึกษาในสมัยอยุธยา คงยึดตามแนวการจัดสมัยสุโขทัย ดังปรากฏในพงศาวดารว่า ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม เมื่อก่อนเป็นเจ้านายผู้ใหญ่ มีพระนามว่า "พระศรีสิงห์" ต่อมาได้ลาผนวชไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2163 พระเจ้าทรงธรรม ได้เสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง 3 หลัง บอกบาลีแก่พระภิกษุสามเณรทุกวัน มีพระภิกษุสามเณรจากอารามต่างๆ ไปเรียนเป็นจำนวนมาก
สมัยธนบุรี
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงครองราชย์สมบัติเพียง 15 ปี (พ.ศ. 2311-2325) สมัยนี้เป็นสมัยที่บ้านเมือง เริ่มตั้งตัว เป็นระยะแห่งการกอบกู้ชาติ พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยยิ่งกว่ากษัตริย์พระองค์ใดๆ แต่กระนั้น ก็น่าสรรเสริญน้ำพระทัยของพระองค์ที่พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งพระราชกรณียกิจทางด้านพระศาสนา
การรวบรวมพระไตรปิฎกหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา
เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2310 วัดวา และบ้านเมือง ถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก คัมภีร์พระไตรปิฎกก็สูญหายไปด้วย จึงโปรดให้รวบรวมพระไตรปิฎกโปรดให้สืบหาต้นฉบับตามหัวเมืองต่างๆ ที่เหลืออยู่ นำมาคัดลอกไว้เพื่อจะสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้น ในคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช และเจ้าพระฝางที่อุตรดิตถ์ พระองค์ก็โปรดฯ ให้นำพระไตรปิฎกในเมืองนั้นมาสมทบสอบทานต้นฉบับด้วย แต่การสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวง ยังมิทันสำเร็จ ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระองค์ได้โปรดให้มีกรมสังฆการีธรรมการ ทำบัญชีพระสงฆ์ หากพระสงฆ์รูปใดบอกเรียนพระไตรปิฎกได้มาก ก็ทรงถวายไตรจีวรผ้าเทศเนื้อละเอียด แล้วพระราชทานจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์สามเณรเหล่านั้น ตามที่ได้เล่าเรียนได้มากและน้อย
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
พระพุทธศาสนาในสมัยนี้ เจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ยุคใดที่แล้วมา ทั้งนี้ เพราะมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ส่งเสริมปรับปรุงพระพุทธศาสนาในทุกๆ ด้าน
รัชกาลที่ 1 : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครองราย์เมื่อ พ.ศ. 2325 โดยได้ยึดแบบแผนบ้านเมืองและการพระศาสนามาจากสมัยอยุธยา
พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในด้านต่างๆ จากสภาพที่บอบช้ำ เสียหายจากภัยสงคราม ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราช ได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แม้ว่าบ้านเมืองยังอยู่ในภาวะที่ต้องทำศึกสงครามขนาดใหญ่อยู่ตลอดเวลา
พระองค์มีพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะสร้างชาติไทยให้เป็นปึกแผ่นในทุกด้าน ดังปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน ในพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งดังนี้
ตั้งใจจะอุปถัมภก | ยอยกพระพุทธศาสนา |
ป้องกันขอบขัณฑสีมา | รักษาประชาชนและมนตรี ๚ะ๛ |
การรวบรวมพระไตรปิฎกและส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์
ทรงเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่สร้างไว้สมัยกรุงธนบุรี ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก พระองค์จึงโปรดให้ทำการรวบรวมพระไตรปิฎกสืบต่อจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ด้วยพระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำการตรวจสอบชำระความถูกต้อง จึงโปรดให้ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ พระเถระผู้ใหญ่ และพระเปรียญ ตกลงเรื่องสังคายนา จัดหาผู้รู้ได้ 218 รูป ราชบัณฑิต 32 คน เป็นกรรมการชำระ
จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้มีการประชุมสงฆ์ เพื่อชำระพระไตรปิฎกฉบับหลวง ที่ทำไว้ให้ถูกต้อง โดยให้พระสงฆ์ 100 รูป มีสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)เป็นประธาน ประชุมกันที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปลายปี พ.ศ. 2331 ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยแบ่งงานกันทำดังนี้
พระสงฆ์ผู้ทรงคันถธุระ 218 รูป กับราชบัณฑิต 32 คน จัดแบ่งออกเป็น 4 กอง
- กองที่ 1 สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆัง ฯ เป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฎก
- กองที่ 2 พระพนรัต(สุข) วัดพระศรีสรรเพชญ์ ฯ เป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎก
- กองที่ 3 พระพิมลธรรม วัดพระเชตุพน ฯ เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเสส ซึ่งได้แก่ ตำราว่าด้วย ไวยากรณ์ที่เป็นอุปการะ สำคัญในการศึกษาค้นคว้าคัมภีร์พระไตรปิฎก
- กองที่ 4 พระพุฒาจารย์(เป้า) เป็นแม่กองชำระพระปรมัตถปิฎก (อภิธรรมปิฎก)
การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองของไทย ได้ทำการสังคายนาที่ พระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์ (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) เมื่อปี พ.ศ. 2331
เมื่อทำการชำระพระไตรปิฎกเสร็จ ก็โปรดให้คัดลอกจำลองสร้างเป็นฉบับหลวงขึ้น เรียกว่า "ฉบับทองใหญ่" รวมทั้งหมด 354 คัมภีร์ นำไปเก้บที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และยังโปรดให้สร้างอีก 2 ฉบับคือ ฉบับรองทรง 1 ฉบับทองชุบ 1
นอกจากนี้ พระองค์ไม่ทรงมุ่งให้พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระองค์เองก็ยังสนใจในการด้านศึกษา และปฏิบัติธรรมด้วย เช่น ตอนเช้าเสด็จทรงบาตร บำเพ็ญศีลทาน ตอนเพลถวายภัตตาหารเพล เวลาเย็นออกท้องพระโรง สดับพระธรรมเทศนาเป็นประจำ และมีพระราชประสงค์จะบำรุงสังฆมณฑล โดยทรงชักจูงหมู่พระสงฆ์ให้ค้นคว้าพระไตรปิฎก การมีพระราชปุจฉาก็เป็นการกระตุ้นทางอ้อมส่วนหนึ่งให้พระสงฆ์ต้องค้นคว้าพระไตรปิฎก เพื่อจะไปถวายวิสัชนาพระองค์
การจัดการศึกษาของสงฆ์
ในสมัยนี้เริ่มมีการจัดสอบพระปริยัติธรรมเหมือนในสมัยอยุธยา โดยลอกแบบมาจากสมัยอยุธยา คือมีการบอกหนังสือพระทั้งภิกษุและสามเณรในพระบรมมหาราชวัง
การศึกษาบาลีในครั้งนั้นเริ่มจากการอ่านเขียนอักษรขอม เมื่ออ่านออกแล้วจึงให้อ่านหนังสือพระมาลัย แล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์ เรียนสนธิ เรียนนาม อาขยาตกิตก์ อุณณาทการก จบแล้วขึ้นคัมภีร์เรียนอรรถกถา ธัมมบทมังคลทีปนี สารัตถสังคหะ ปฐมสมันตปาสาทิกา วิสุทธิมัคค์ฎีกาสารัตถทีปนี เมื่อเรียนจบคัมภีร์ดังกล่าวแล้วก็จะมีขีดความสามารถที่จะอ่านพระไตรปิฎกให้เข้าใจได้
รัชกาลที่ 2 : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
การสร้างพระไตรปิฎก
เนื่องจากพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น สูญหายไปบางคัมภีร์เพราะวัดต่างๆ ขอยืมไปคัดลอก บางคัมภีร์ก็ชำรุด จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างซ่อมจนบริบูรณ์ ทั้งยังให้โปรดให้สร้างฉบับใหม่ขึ้นอีก เรียกว่า "ฉบับรดน้ำแดง" แต่การครั้งนี้มิได้มีการชุมนุมคณะสงฆ์เพื่อชำระ เพียงแต่ซ่อม และจารฉบับใหม่เท่านั้น
การจัดการศึกษาของสงฆ์
การกำหนดเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเล่าเรียนบาลี
แต่เดิมมา การเรียนการสอนของพระสงฆ์กำหนดไว้เพียง 3 ชั้น คือ
- บาเรียนตรี เรียน พระสูตร
- บาเรียนโท เรียน พระสูตร-พระวินัย
- บาเรียนเอก เรียน พระสูตร-พระวินัย-พระอภิธรรม
การเรียนคงจะมิได้เรียนทั้งหมด แต่จะคัดเลือกบางเรื่องบางคัมภีร์ในแต่ละปิฎกมาเรียน ความรู้จึงอาจจะไม่เพียงพอเผยแผ่ พระองค์จึงได้ทรงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เป็น 9 ประโยค กำหนดหลักสูตรให้ยากขึ้นตามลำดับ ต้องสอบได้ 3 ประโยคเสียก่อน จึงจะได้เป็นเปรียญ (พระมหา) เมื่อสอบได้ 4 ประโยค ก็เรียกว่า เปรียญ 4 ประโยค จนสอบได้ประโยค 9 เรียกว่า เปรียญ 9 ประโยค
การสอบไล่เปรียญธรรมบาลี
การเรียนได้อาศัยตามวัดต่างๆ แต่การสอบนั้น สอบที่วัดมหาธาตุบ้าง สอบในโบสถ์วัดพระแก้วบ้าง วันเวลาไม่แน่นอน แล้วแต่กรรมการจะกำหนด บางปีก็ไม่มีสอบ การสอบคือให้นักเรียนแปลต่อหน้ากรรมการ 3-4 รูป มีครูเข้าฟังเป็นพยาน 20-30 รูป ถ้านักเรียนแปลเก่งๆ อาจจะผ่านจากประโยค 1-2-3 ถึง 9 ในวันเดียวกันก็ได้ แล้วแต่ความสามารถ เมื่อสอบประโยค 3 ได้ เรียกว่า มหาเปรียญ
เปรียญวังหน้า-เปรียญวังหลวง
ในสมัยนี้ วังหน้าคือ กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ หรือ ร.3 ในครั้งนั้น ทรงประสงค์จะสนับสนุนการศึกษาจึงให้ผู้ที่สอบประโยค 2 มาเป็น "เปรียญวังหน้า" เมื่อสอบได้ประโยค 3 จึงให้ไปเป็น "เปรียญวังหลวง"
การพระราชทานอุปสมบทนาคหลวงชาวต่างประเทศ
กล่าวถึงตอนปลายรัชกาลที่ 1 มีพระภิกษุชาวเมืองลังกาชื่อ พระวลิตร กับสามเณร 2 รูป ชื่อ รัตนะปาละ กับหิธายะ เดินทางมากรุงเทพมหานคร ได้โปรดฯ ให้การต้อนรับ โปรดให้พระวลิตร กับสามเณรรัตนะปาละ ไปจำพรรษาอยู่วัดมหาธาตุ ส่วนสามเณรหิธายะ โปรดให้ไปจำพรรษาอยู่วัดพระเชตุพนฯ จนมาถึงสมัยรัชกาลนี้ สามเณรทั้ง 2 รูป ได้ขออุปสมบทในไทย เพราะเห็นว่าพระไทยกับพระลังกาเป็นนิกายเดียวกัน ในลังกาก็มีอยู่ ดังนั้น รัชกาลที่ 2 จึงโปรดให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง แล้วพระราชทานนิตยภัต และไตรสืบมา
รัชกาลที่ 3 : พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
การสร้างพระไตรปิฎก
ในรัชกาลนี้มีการสร้างพระไตรปิฎกมากกว่าที่แล้วมา และสร้างด้วยฝีมือปราณีต ตรวจสอบอักขระพยัญชนะ อย่างถี่ถ้วน มีถึง ๕ ฉบับด้วยกัน คือ ฉบับรดน้ำเอก 1 ฉบับรดน้ำโท 1 ฉบับทองน้อย 1 ฉบับชุบย่อ 1 ฉบับอักษรรามัญ 1 นอกจากนี้ยังทรงสร้างถวายวัดต่างๆ อีก ๒ ฉบับ คือ ฉบับเทพชุมนุม 1 ฉบับลายกำมะลอ 1 การทำครั้งนี้ นับได้ว่า สมบูรณ์มาก เพราะได้อาศัยคัมภีร์จากลังกา และมอญ มารวมกันตรวจสอบด้วย
พระองค์เห็นว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี และเป็นอักษรขอม จึงมีพระราชประสงค์ให้แปลเป็นภาษาไทย จึงโปรดให้วางฎีกาพระสงฆ์ ที่จะถวายเทศน์เวร ในพระบรมมหาราชวัง ได้เลือกคัมภีร์เทศน์ตามลำดับในพระไตรปิฎก โดยโปรดให้แต่งแปลเป็นสำนวนไทยไปเทศน์ ดังนั้นเราจึงได้คัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยกันมากสมัยนี้
การจัดการศึกษาของสงฆ์
พระองค์ยังทรงถือเป็นพระราชภาระ ที่จะบำรุงการศึกษาพระไตรปิฎก แก่พระภิกษุสามเณร เช่น ทรงจ้างอาจารย์บอกพระปริยัติธรรมแก่ภิกษุสามเณรทุกพระอารามหลวง ส่วนในพระบรมมหาราชวัง ก็โปรดให้สร้างเก๋งขึ้น เพื่อให้พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งยังได้ถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นด้วย ต่อมมามีผู้เรียนมากขึ้นก็โปรดให้ย้ายไปบอกพระปริยัติธรรม ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และยังทรงรับอุปถัมภ์แก่ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ถ้าใครสอบบาลีได้ก็จะพระราชทานรางวัล ถ้าเป็นพระก็จะได้เลื่อนเป็นพระราชาคณะ และถ้าโยมบิดามารดาทุกข์ยากก็จะทรงเลี้ยงดู ถ้าเป็นทาสผู้อื่น ก็จะโปรดจ่ายพระราชทรัพย์ไปไถ่ถอนให้เป็นอิสระ ถ้าพระภิกษุสามเณรเหล่านั้นลาสิกขาออกมา ก็จะโปรดให้เข้ารับราชการในกรมกอง ตามที่สมัครใจได้
ด้วยพระราชูปถัมภ์ดังกล่าวพระภิกษุสามเณรในรัชกาลที่ 3 จึงมีวิริยะอุตสาหะ เล่าเรียนทั้งในกรุง และหัวเมือง ทำให้มีนักปราชญ์ด้านพระพุทธศาสนาเพิ่มมากกว่าที่แล้วมา โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณรก็มีเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกของชาวยุโรป ว่าในกรุงเทพฯ มีประมาณหมื่นรูป ทั่วพระราชอาณาเขตมีประมาณ สองแสนรูป ซึ่งนับว่ามีจำนวนมากเมื่อเทียบกับประชากรในสมัยนั้น ส่วนพระเถรานุเถระต่างก็สนับสนุนกิจการการศึกษาของคณะสงฆ์เพื่อสนองพระราชศรัทธาของพระองค์ และพระสงฆ์ก็ไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง ต่างทำหน้าที่ของตน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่งนัก
พระราชนิพนธ์ขอขมาสงฆ์
พระองค์ทรงปฏิบัติสิ่งที่ไม่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย คือ "พระราชนิพนธ์ขอขมาสงฆ" กล่าวคือ พระองค์ทรงตระหนักว่า พระองค์ทรงว่ากล่าวพระ เคยถามปัญหาพระ อาจจะเป็นการล่วงเกินโดยไม่เจตนา ดังนั้น เมื่อจวนจะเสด็จสวรรคต จึงได้มีพระราชนิพนธ์ขอขมาพระสงฆ์ดังความตอนหนึ่งว่า "... พระราชดำรัสซึ่งเย้าหยอก หรือคมคายใดๆ ก็ดี ทั้งปวงเป็นพระราชกิริยาอันล่วงเกินไป ในพระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ภิกษุอนุจรองค์ใด ขอให้พระผู้เป็นเจ้าทุกพระองค์จงปลงอัธยาศัย อดโทษถวายอภัยด้วยน้ำใจอันเต็มไปด้วยเมตตากรุณา..."
รัชกาลที่ 4 : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ออกผนวช
เมื่อมีพระชันษาได้ 14 ปี พระองค์ทรงออกผนวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยครั้งหนึ่งก่อน ต่อมาเมื่อพระชันษาถึง 21 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อทำอุปัชฌาย์วัตรครบ 3 วันแล้ว จึงได้เสด็จไปทำวิปัสสนาธุระ ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ภายหลังได้กลับไปประทับที่วัดมหาธาตุ ตั้งต้นเรียนคันธธุระอย่างจริงจัง และได้พระวิเชียรปรีชา (ภู่) เจ้ากรมราชบัณฑิตซึ่งมีความเชี่ยวชาญยิ่งในขณะนั้น เป็นอาจารย์สอนภาษามคธ ทรงศึกษาอยู่ 3 ปี ก็ทรงรอบรู้ภาษามคธเป็นอย่างดี จนได้เข้าสอบแปลบาลีได้เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยค และต่อมาได้ทรงตั้งคณะธรรมยุตินิกายขึ้น
การสร้างพระไตรปิฎก
เมื่อทรงลาผนวชขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระองค์โปรดให้ตรวจสอบพระไตรปิฎก ในหอพระมณเฑียรธรรม ปรากฏว่า คัมภีร์ได้หายไปจากบัญชีหลายเล่ม จึงโปรดให้สร้างฉบับที่ขาดหายไปให้ครบ และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับใหม่ขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง มีชื่อว่า ฉบับล่องชาติ
การศึกษาของสงฆ์
การศึกษาของสงฆ์สมัยนั้น แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือ คันธธุระ 1 วิปัสสนาธุระ 1 คันธธุระนั้น เรียนหนัก เริ่มต้นด้วยการเรียนภาษาบาลี และแปลพระไตรปิฎก พยายามให้อ่านออกแปลได้ค้นคว้าให้แตกฉาน ส่วนวิปัสสนาธุระนั้น ไม่หนักนัก โดยการเรียนทางสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ใจสะอาดปราศจากกิเลศทั้งปวง เป็นวิธีลัด และถือกันว่าถ้าเก่งทางวิปัสสนาแล้วอาจจะทรงคุณวิทยาอาคมเวทมนตร์ เป็นประโยชน์ในด้านอื่น เช่น วิชาพิชัยสงคราม เป็นต้นด้วย
รัชกาลที่ 5 : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2411 ขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา เท่านั้น จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนถึง 5 ปี ครั้น พ.ศ. 2416 มีพระชนมายุ 20 พรรษา จึงทรงอุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2416 โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ เป็นพระราชอุปัชฌายะ
การจัดการศึกษาของสงฆ์
ให้วัดเป็นโรงเรียน
เมื่อ พ.ศ. 2428 พระองค์โปรดให้พระราชาคณะ พระครู ฐานานุกรม เปรียญ พระอันดับ เป็นภาระพร่ำสอนแนะนำศิษย์วัด เนื่องจากว่า เวลานั้น โรงเรียนยังไม่แพร่หลาย และได้มีพ่อแม่นำลูกไปฝากวัด เพื่อเล่าเรียนหนังสือไทย ลายมือ วิชาหนังสือและเลขโหรเลขตลาด เป็นต้น เพื่อรักษาวิชาเหล่านี้ไว้เผยแผ่แก่กุลบุตร และพระเณรสืบต่อไป เพราะวิชาการเหล่านี้ เป็นคุณประโยชน์ที่จะเรียนพระไตรปิฎก เป็นการเกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นก็จะเป็นกำลังแก่ทางราชการ ดังนั้น จึงโปรดแต่งตั้งพระราชาคณะ พระครู ฐานานุกรม เปรียญ อันดับ ให้เป็นครูวัดละ 5 รูป เป็นอย่างน้อย ทั้งพระอารามหลวงและอารามราษฎร์ ถ้าไม่มีพระสงฆ์ก็ให้คฤหัสถ์เป็นครูก็ได้ โดยจะพระราชทานเงินเดือนให้ทั้งสิ้น
มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งหวังเพื่อจะขยายการศึกษาของชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าการอ่านออกเขียนได้เท่านั้น ทรงพิจารณาว่า การพัฒนาประเทศจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าคนในชาติมีการศึกษาต่ำ พสกนิกรของพระองค์ ควรจะได้เล่าเรียนให้มากเพื่อเป็นกำลัง "สยามใหม่" ให้ทันโลกตะวันตก จึงมีพระราชดำริที่จะจัดการศึกษาให้สูงขึ้น ถึงขั้นวิทยาลัยต่อไป ดังนั้นจึงทรงสถาปนา มหาธาตุวิทยาลัย ขึ้นที่วัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2432 เพื่อเป็นที่เล่าเรียนศึกษาภาษาบาลีชั้นสูง และสถาปนา อาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2439 เพื่อเป็นที่เล่าเรียนวิชาการชั้นสูงสำหรับพระสงฆ์ ต่อมา พ.ศ. 2436 ก็โปรดให้เปิดวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ วัดบวรนิเวศวิหาร และได้พระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ก็ยังไม่พร้อมที่จะเริ่มดำเนินการในรัชกาลนี้
รัชกาลที่ 6 : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการศึกษาของสงฆ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชกาลที่ 7 : พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการศึกษาของสงฆ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชกาลที่ 8 : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการศึกษาของสงฆ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชกาลที่ 9 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการศึกษาของสงฆ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตำนานสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สรุปการจัดการศึกษาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การวัดผลการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การลงชื่อสอบสนามหลวง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เวลาในการสอบสนามหลวง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิธีสอบความรู้
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สรุปการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
ปัจจุบัน สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาภาษาบาลีของคณะสงฆ์ไทย เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคมซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล ดูแลรับผิดชอบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีระดับชาติ และกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม 1-9 ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับสนองงาน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม
หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในปัจจุบัน
แบ่งเป็น 3 ชั้น 9 ประโยคคือ
- ชั้นเปรียญตรี (ชั้นที่ 1) ตั้งแต่ ประโยค 1-2 ถึงเปรียญธรรม 3 ประโยค
- ชั้นเปรียญโท (ชั้นที่ 2) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 4 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค
- ชั้นเปรียญเอก (ชั้นที่ 3) ตั้งแต่ เปรียญธรรม 7 ประโยค ถึงเปรียญธรรม 9 ประโยค
ดังตารางต่อไปนี้
หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี | |
สนามหลวงแผนกบาลี | เปรียญธรรม |
---|---|
การสอบ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การจัดการสอบ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การตรวจและประกาศผล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การวัดผลและประเมินผล ในการสอบบาลีสนามหลวง จะมีกำหนดการสอบในแต่ละปีไว้ดังต่อไปนี้
- ครั้งที่ 1 สำหรับเปรียญธรรม 6,7,8,9 ในสนามสอบเขตกรุงเทพมหานคร สอบในวันขึ้น 2-3-4-5 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
- ครั้งที่ 2 สำหรับบาลีประโยค 1-2 และเปรียญธรรม 3-4-5 ประโยค สอบในวันแรม 10-11-12 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี แม่กองบาลีเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการออกปัญหา การดำเนินการสอบ การดำเนินการสอบในต่างจังหวัดนั้น แม่กองบาลีได้มอบหมายให้เจ้าคณะภคต่างๆ แต่งตั้งคณะกรรมการนำข้อสอบจากส่วนกลางไปยังสนามสอบทุกแห่ง โดยเปิดสอบในชั้นประโยค 1-2 และ ป.ธ. 3-4 แล้วนำใบตอบมาส่งแม่กองบาลีสนามหลวงเพื่อดำเนินการตรวจ โดยนิมนต์พระเถรานุเถระมาประชุมพร้อมกันในสถานที่ที่แม่กองบาลีกำหนด ส่วนประโยค ป.ธ. 5,6,7,8 และ 9 ดำเนินการสอบในส่วนกลางตามที่แม่กองบาลีกำหนดให้เป็นสถานที่สอบ
การตรวจและประกาศผล เมื่อการดำเนินการสอบเสร็จสิ้นแล้ว ทางแม่กองบาลีสนามหลวงจะมีหนังสืออาราธนากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีคุณสมบัติถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประชุมตรวจข้อสอบพร้อมกัน ณ ศาลาประชุมสงฆ์ วัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร กำหนดให้วันแรม 2 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี รวมเวลาตรวจ 6 วัน หลังจากการตรวจเสร็จ ทางสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงจะทะยอยประกาศผลการสอบให้ทราบอย่างเป็นทางการในวันสุดท้ายของการตรวจและวัดถัดมา
ในสมัยของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปัญญาบดี แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. 2503 – 2531) ได้หยิบยกเรื่องการสอบประโยค 1-2 ที่ได้ยกเลิกไป โดยจัดให้มีการสอบขึ้นมาใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2510 และยังถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้
ในสมัยของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. 2532 – 2537) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ได้มีนโยบายทางด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เพิ่มเติมดังนี้
- การออกข้อสอบบาลีสนามหลวง ในชั้นประโยค 1-2 จะไม่มีการออกคาถาและแก้อรรถคาถา ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนในระดับนี้ จะได้ไม่ต้องเรียนหนักจนเกินไป อีกทั้งสามารถเรียนได้สะดวกขึ้น และมีโอกาสสอบผ่านมากขึ้น
- การออกข้อสอบสนามหลวง ในวิชาแปลไทยเป็นมคธ ของนักเรียนชั้นประโยค ป.ธ. 4 เป็นต้นไป จะมีการออกคาถาด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนจดจำพระพุทธพจน์ได้ขึ้นใจ และต้องท่องจำคาถาให้ได้ โดยเฉพาะคาถาที่เป็นพระพุทธพจน์โดยตรงนั้น นักเรียนต้องท่องจำคาถาตามแบบอย่างเดียว ไม่อนุญาตให้แต่งแก้
ในสมัยของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) แม่กองบาลีสนามหลวง (พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้มีนโยบายทางด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีเพิ่มเติม ดังนี้
- การเรียนการสอนวิชาแปลมคธเป็นไทย ของประโยค 1-2 ที่ข้อสอบจะไม่ออกคาถาและแก้อรรถมาก่อนหน้านี้ ให้ครูในแต่ละสำนักเรียนสอนการแปลคาถาและแก้อรรถให้นักเรียนด้วย ซึ่งอาจจะออกข้อสอบหรือไม่ก็ได้ แต่ทั้งนี้ อย่างน้อยก็เป็นอุปการะแก่การเรียนการสอบชั้นประโยคสูงๆ ในอนาคต
- การออกข้อสอบบาลีสนามหลวงนอกจากจะมีการออกคาถา ส่วนประโยคแก้อรรถ ที่รูปประโยคไม่ซับซ้อน ธรรมดา ก็มีสิทธิ์จะออกสอบด้วยเช่นกัน (จะพบได้โดยเฉพาะตั้งแต่ชั้นประโยค ป.ธ. 6 เป็นต้นไป)
- การจัดปฐมนิเทศ กรรมการตรวจข้อสอบประโยคบาลีสนามหลวง โดยเฉพาะกรรมการที่จะได้รับการแต่งตั้งใหม่ อีกทั้ง ได้จัดพิมพ์คู่มือตรวจถวายกรรมการด้วย
- เปิดโอกาสให้ครูสอนซึ่งสอนอยู่ในชั้นและวิชานั้น เป็นกรรมการตรวจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกรรมการในส่วนภูมิภาค
- การมีนโยบายจัดตั้งสำนักเรียนประจำจังหวัด
- การเก็บวิชาที่สอบผ่านแล้วเป็นเวลา 2 ปี นำร่องในชั้นประโยค 1-2 และดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541
การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในปัจจุบัน ได้ให้ใช้เกณฑ์ให้คะแนนเป็นตัวเลข โดยใช้วิธีการหักคะแนนเมื่อพบความผิดในการทำข้อสอบ ถ้าคะแนนที่ถูกหักออกไปเกินกำหนด ก็จะถือว่าสอบตกในวิชานั้นๆ โดยในทุกวิชา ถ้าตอบสับข้อ จะถูกหัก 2 คะแนนต่อ 1 วิชา
หลักเกณฑ์ในการหักคะแนนในวิชาต่างๆ ในปัจจุบันมีดังนี้
วิชาบุรพภาค (สำหรับประโยค ป.ธ. 3)
- วางรูปจดหมายผิด ให้ตก
- วางย่อหน้าผิด หัก 2 คะแนน
- ผิดวรรคตอนถึงเสียรูปหรือเสียความ หักแห่งละ 1 คะแนน
- ใช้ตัวอักษรผิด หัก 1 คะแนน
เมื่อรวมแล้ว ถูกหักเกิน 12 คะแนน ถือว่าสอบตก (และจะถือว่าตกในวิชาอื่นๆ ที่เหลือด้วย)
วิชาแปลไทยเป็นมคธ แปลมคธเป็นไทย และวิชาสัมพันธ์
- ผิดศัพท์ เรียกชื่อสัมพันธ์ผิดในวิภัตติเดียวกัน หักศัพท์ละ 1 คะแนน
- ผิดสัมพันธ์ (เรียกชื่อสัมพันธ์ผิดต่างวิภัตติหรือเข้าสัมพันธ์ผิด) หักแห่งละ 2 คะแนน
- ผิดประโยค (เช่น ใช้ประโยคและกริยาผิดบุรุษ) หักประโยคละ 6 คะแนน
การ "ให้" คะแนน
- ถ้าถูกหัก 1-6 คะแนน ให้ “3 ให้”
- ถ้าถูกหักตั้งแต่ 7 – 12 คะแนน ถือว่าให้ “2 ให้”
- ถ้าถูกหักไป 13 – 18 คะแนน ให้ “1 ให้”
- ถ้าถูกหักไปเกิน 18 คะแนน ให้ “0 ให้” ถือว่าสอบตก
ข้อวิจารณ์หลักสูตรการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยในสมัยปัจจุบัน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- สำนักศาสนาศึกษาวัดเทพลีลา: คู่มือเปิดตำราเรียนบาลี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , ๒๕๔๕.
- สุวิทย์ ธัมมสิริ.พระมหา,การศึกษาแผนกบาลีและประเพณีการถวายสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ในภาคอีสาน.เว็บไซด์เสขิยธรรม
- เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. เอกสาร : เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา . อุตรดิตถ์ : วัดคุ้งตะเภา , 2549.
- สำนักศาสนาศึกษาวัดเทพลีลา: คู่มือเปิดตำราเรียนบาลี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย , ๒๕๔๕.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-02. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-28. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
- ดร. พระมหาสุรชัย วราสโภ, ประวัติคัมภีร์สัททาวิเสส, สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี ๒๕๕๙, หน้า 92-102 http://pbs.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/03/00049-07_-2559%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%AA-%E0%B8%9E.%E0%B8%A1.%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-92-102.pdf
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-09. สืบค้นเมื่อ 2007-05-07.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-17. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-22. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniidrbaecngihprbprunghlaykhx krunachwyprbprungbthkhwam hruxxphipraypyhathihnaxphipray bthkhwamnitxngkartrwcsxbkhwamthuktxngcakphuechiywchay bthkhwamnitxngkarekbkwad odykartrwcsxbhruxprbprungkhwamthuktxng tlxdcnaekikhrupaebbhruxphasathiich bthkhwamnitxngkaraehlngxangxingephimephuxphisucnkhxethccring phasabali hruxphasamkhth epnphasathicarukphraitrpidk dwyepnphasathikhnchmphuthwipinsmyphuththkalniymichknthwip cungepnphasathiphraphuththecaichephyaephrphraphuththsasnainsmynn hlngcakphuththpriniphphanmikarthapthmsngkhayna phraethraidtklngknichphasabalisahrbcdcaphraitrpidk phrasngkhsayethrwathcungtxngsuksaphasabaliihekhaicluksungaelasamarthethiybekhiyngsxbthankbphraitrpidkthiekbiwinsthanthitangknid ephuxrksakaraeplkhwamhmaycakphraphuththphcninphraitrpidkihthuktxngimbidebuxn aelahnathinikepnhnathikhxngphrasngkhinpraethsithyechnediywkn phrasngkhithynacamikarsuksaphasabalimatngaetsmyerimaerkthiphraphuththsasnaekhamaephyaephinpraethsithy mihlkthanpraktinsmythwarwdi mihlkthankarcdkarsuksaphrapriytithrrmbalixyangepnrabbinsmyxyuthya karsuksabalirungeruxngyinginsmylanna mikaraetngkhmphirbalikhunmakmay khmphirthiaetnginkhrngnnyngichepnhlksutrinkareriynkarsxnphrapriytithrrmkhxngkhnasngkhithyinpccubndwy karsuksaphasabalitngaetsmysuokhthysubmann mixngkhphramhakstriyepnxngkhxupphmphihkarsnbsnuntlxdma mikarxuthisphrarachmnethiyrepnthielaeriynsuksakhxngphrasngkh mikarykyxngaelathwaynityphtraekphrasngkhphumikhwamruphasabali cnthungaemphramhakstriyithybangphraxngkh thithrngepnprachyechiywchayinphasabali samarthlngbxkbali sxn aekphrasngkhsamenrdwyphraxngkhexngkmitlxdmacnsmykrungrtnoksinthr karcdsxbbalihruxkarsxbsnamhlwngcdwaepnkarwdkhwamruchnsungkhxngkhnasngkhithyodyphrabrmrachupthmphk subthxdmatngaetsmyxyuthyacnthungpccubn phraphiksusamenrphusxbilphrapriytithrrmbaliid xngkhphramhakstriyithyaetobrancaykyxngaelaihekiyrtithwaysmnskdiodyechphaa xnung karelaeriynsuksaphrapriytithrrmnnepnsingsakhythirthihkhwamsakhymatlxd dngthismedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph trsiwin xthibayeruxngkarsxbphrapriytithrrm wa karsxbphrapriytithrrmkhxngphraphiksusamenr nbepnrachkaraephndinxyanghnung dwyxyuinphrarachkickhxngphraecaaephndinphuepnphuththsasnupthmphk inpccubnmikarcdkarsuksabalixyangepnrabb odysanknganaemkxngbalisnamhlwngrbphidchxbduaelodyphayitkarkakbkhxngmhaethrsmakhm inkhwamxupthmphkhxngrthbalithyprawtikarsuksaphrapriytithrrmaephnkbalikhxngkhnasngkhithysmythwarwdi xngkhphrapthmecdiy karsuksaphrapriytithrrmaephnkbalikhxngkhnasngkhithy erimmitngaetsmythiphraphuththsasnaekhamasudinaednpraethsithy dnghlkthanthangprawtisastrcarukkhatha ey thm ma thiphrapthmecdiy cakhlkthannicungxacsnnisthanidwa karsuksaphasabaliaelakarcarukphraitrpidkinaethbpraethsithynacamimatngaetsmythwarwdi smysuokhthy smyphxkhunramkhaaehngmharach idmikarsuksabalikhxngphrasngkhithynnerimmatngaetkhrngsmykrungsuokhthyaelaxaccamimakxnhnannkid insmyphxkhunramkhaaehngmharach thiidxarathnanimntphrasngkhcaknkhrsrithrrmrachsungidsuksamacaklngka matngwngsaelaephyaephrthikrungsuokhthy txmathnglanna mxy aelaekhmr tangkniymfaylngkawngscungidsngphrasngkhiperiynthilngkabang mikarnimntphralngkamaepnxupchchayinemuxngkhxngtnbang karephyaephrphraphuththsasnasayethrwathindinaednaethbsuokhthycungrungeruxngmanbaetnn thaihphraphuththsasnafaymhayan aelasasnaphrahmnsungecriymaaetkxnnn hmdkhwamniymip wdmhathatu krungsuokhthy sunyklangaehngphraphuththsasnainxanackrsuokhthy emuxkhnasngkhidrwmknepnkhnaediywknaelw cungidaebngthura xxkepn 2 phwkkhux phwkthismathankhnththura kelaeriynphasabali phraitrpidk khnasngkhfaynimkeluxkwdthixyuiklban cungidchuxwa khnakhamwasi swnphwkthismathanwipssnathura kcabaephyhakhwamsngbsukhxyutamwdinpa cungidchuxwa khnaxrywasi xyangirktamthng 2 khna krwmxyuinnikayediywknkhux mhanikay sahrbphraitrpidkthiphrasngkhichsuksannnamacaklngka epntwxksrsinghl aelaidpriwrrtepntwxksrkhxm thungaemwacamikarpradisthxksrithykhunmainsmyniaelwktamephraainsmynnkhnithyrbxiththiphlkhxngkhxmiwthukdan twxksrkhxmkmimak swntwxksrithnthiphxkhunramkhaaehngpradisthkhunimphxthicaekhiynphasabali cungichxksrkhxmipkxnaelakichknmaeruxy cnekhaicphidkntxmawa xksrkhxmepnxksrcarukphraitrpidk epnxksrskdisiththi cnmathungsmyrtnoksinthr phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw cungoprd ihcdphimphphraitrpidkkhunepnxksrithy ephuxlblangkhwamekhaicphidekiywkbxksrkhxm smyphramhathrrmrachaliith phraphuththsasnasungecriykhunkhrngaerkinsmyphxkhunramkhaaehngnn maecriythungkhidsudinyukhsmyni ephraaphraxngkhthrngepnprachy aelaeluxmisinphraphuththsasna carukxksrkhxmeriykphraxngkhwa kmretngxysrisuriyphngsrammhathrrmracha thrngsuksaphraphuththsasnamatngaetphraeyaw emuxesdckhuneswyrachy cungepn kstriyithyphraxngkhaerkthilaphnwchinkhnathiyngkhrxngrachsmbtixyu karcdkarsuksakhxngsngkh phraxngkhidthrngxuthisphrarachmnethiyrepn orngeriynphrapriytithrrm aekphrasngkhsamenr sungtxmainsmyxyuthyaaelasmyrtnoksinthrkidthuxepnaebbxyang khux ihwngepnthisxnhnngsux smylanna xnusawriysamkstriy khux phyamngray phyarwng phxkhunramkhaaehngmharach aelaphyangaemuxng khnathrngpruksaharuxkarsrangemuxngechiyngihm xanackrlannaerimkhunodyphrayamngray hruxemngray epnshaysamesa rahwangphxkhunramkhaaehng aehngkrungsuokhthykbphrayangaemuxng aehngemuxngphaeya thngsamphraxngkhekhythastyptiyyantxknaelarkknmak idsrangemuxngihmkhun emux ph s 1840 ihchuxwa nphburisrinkhrphingkhechiyngihm xnepnemuxnghlwngaehngxanackrlannasubma phraecatiolkrach smylannamikstriypkkhrxnghlayphraxngkh aetyukhthiphraphuththsanaecriythisud cnxacklawidwaepn yukhthxngkhxngphraphuththsasna aehngxanackrlannakwaid khuxinsmykhxngphraecatiolkrach phukhrxngnkhremuxngechiyngihm rahwang ph s 1985 2020 karsngkhaynaphrathrrmwiny khrngthi 1 inpraethsithy phraecdiythrngphuththkhyain wdophtharammhawihar sthanthithasngkhaynakhrngthi 1 indinaednithy insmyphraecatiolkrachnimikarcdthasngkhaynaphrathrrmwinycharaphraitrpidk caruklngin epnphasabalixksrlannaithy karsngkhaynakhrngnithuxepnkhrngthi 8 txcaklngka aelaepnkhrngthi 1 khxngdinaednithy krathathiwdophtharam emuxngechiyngihm emux ph s 2020 thaxyu 1 picungsaerc wtthuprasngkhkhuxkhcdkhwamkhdaeyngknrahwangsngkh 2 nikay khuxlngkaekakblngkaihm emuxaelwesrcthrngchlxngsmophchsranghxmnethiyrinmhaophtharam ephuxpradisthanphraitrpidk ehtukarnniekidtrngkbsmy phrabrmitrolknath aehngkrungsrixyuthya phlkhxngkarsngkhaynakhrngnithaihphraphuththsasnainlannamikhwamekhmaekhng rungeruxngaelaepnthieluxngluxipthungpraethsephuxnbandwy emuxphrasasnarungeruxngbanemuxngkepnpukaephn epnthiyaekrngkhxngxanackriklekhiyngechn suokhthy aelaxyuthya epntn karcdkarsuksakhxngsngkh phrathatudxysuethph sunyrwmkhxngkhwamsrththainphraphuththsasnakhxngxanackrlanna phrasngkhinxanackrlannamihlaykhnathnglngka ramy aelachawphunemuxng aetimmikarkhdaeynghruxaekhngdikn tangkhntangsuksa khnasngkhlannacungaetkchaninphraitrpidkmak cnsamarthaetngkhmphirtangidmakmay aelakhmphirthiaetngnilwnaetngdwyphasabalithngsin emuxepriybethiybkbsmytang echn suokhthy xyuthya rtnoksinthraelw immiphrasngkhsmyidthichanayphasabali aetngkhmphirepnphasabalimakmay echnsmylannaely khmphirthiaetngiwinkhrngnnyngichepnhlksutrkareriynkarsxnphrapriytithrrm khxngkhnasngkhithyinpccubnxikdwy bangeruxngksuyhayip ehluxaetephiyngchuxkhmphir smyxyuthya smykrungsrixyuthyaerimcak smedcphraramathibdithi 1 thithrngcdkarbanemuxngekhaepnpukaephn aetyukhthiphraphuththsasnaecriyrungeruxngmak khngcaepnyukhsmykhxng smedcphrabrmitrolknath smedcphrabrmitrolknath wdphuthithswrry wdinkrungsrixyuthyawdhnungthimiidthukphmathalayehmuxnwdxun phraxngkhidthrngxxkphnwch emux ph s 1967 karesdcxxkphnwchinkhrngninxkcakcaepnphrarachsrththakhxngphraxngkh aelasngesrimphraphuththsasnaaelw yngepnphlkratunihecaemuxngxunthisnbsnunphraphuththssnaekidkartuntwxikdwy nxkcakni phraxngkhyngthrngsnbsnunihecanay aelarasdrbwchepnphraphiksusamenr dngechninpi ph s 2027 oprdihphraoxrs txmakhuxsmedcphraramathibdithi 2 phnwchepnsamenr phrxmdwyphranddaxikhlayxngkh ekhaicwa praephnithiecanayphnwch aelakharachkarihyxxkbwch ephuxepnkarelaeriynrayahnungnn khngcaerimmaaetkhrngni karcdkarsuksakhxngsngkhinsmyxyuthya swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid karcdkarsuksainsmyxyuthya khngyudtamaenwkarcdsmysuokhthy dngpraktinphngsawdarwa insmyphraecathrngthrrm emuxkxnepnecanayphuihy miphranamwa phrasrisingh txmaidlaphnwchipepnphraecaaephndin emux ph s 2163 phraecathrngthrrm idesdclngphrathinngcxmthxng 3 hlng bxkbaliaekphraphiksusamenrthukwn miphraphiksusamenrcakxaramtang iperiynepncanwnmak smythnburi smedcphraecataksinmharach thrngkhrxngrachysmbtiephiyng 15 pi ph s 2311 2325 smyniepnsmythibanemuxng erimtngtw epnrayaaehngkarkxbkuchati phraxngkhthrngehndehnuxyyingkwakstriyphraxngkhid aetkrann knasrresriynaphrathykhxngphraxngkhthiphraxngkhimthrngthxdthingphrarachkrniykicthangdanphrasasna karrwbrwmphraitrpidkhlngcakesiykrungsrixyuthya ecaphrafangepnchumnumithysudthaythismedcphraecataksinmharach thrngprablngidrabkhab thaihbanemuxngklbmaepnpukaephnxikkhrng phaph xuobsthwdphrafang emuxkhrawkrungsrixyuthyaesiyaekphma emux pi ph s 2310 wdwa aelabanemuxng thukephathalayipepncanwnmak khmphirphraitrpidkksuyhayipdwy cungoprdihrwbrwmphraitrpidkoprdihsubhatnchbbtamhwemuxngtang thiehluxxyu namakhdlxkiwephuxcasrangphraitrpidkchbbhlwngkhun inkhrawthiesdcipprabchumnumecankhrsrithrrmrach aelaecaphrafangthixutrditth phraxngkhkoprd ihnaphraitrpidkinemuxngnnmasmthbsxbthantnchbbdwy aetkarsrangphraitrpidkchbbhlwng yngmithnsaerc ksinrchkalesiykxn karcdkarsuksakhxngsngkh phraxngkhidoprdihmikrmsngkhkarithrrmkar thabychiphrasngkh hakphrasngkhrupidbxkeriynphraitrpidkidmak kthrngthwayitrciwrphaethsenuxlaexiyd aelwphrarachthanctupccyaekphrasngkhsamenrehlann tamthiidelaeriynidmakaelanxy smykrungrtnoksinthr phraphuththsasnainsmyni ecriyrungeruxngimaephyukhidthiaelwma thngni ephraamhakstriyithythukphraxngkhthrngepnxkhrsasnupthmphk sngesrimprbprungphraphuththsasnainthuk dan rchkalthi 1 phrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolk phraxngkhepnpthmkstriyaehngkrungrtnoksinthr khrxngrayemux ph s 2325 odyidyudaebbaephnbanemuxngaelakarphrasasnamacaksmyxyuthya phraxngkhidthrngthanubarungfunfuphraphuththsasnaindantang caksphaphthibxbcha esiyhaycakphysngkhram txcakphraecataksinmharach phraxngkhphrxmdwysmedcphrabwrracheca krmphrarachwngbwrmhasursinghnath phraxnuchathirach iddaeninkarineruxngnixyangcringcng aemwabanemuxngyngxyuinphawathitxngthasuksngkhramkhnadihyxyutlxdewla phraxngkhmiphrarachpnithanxnaerngklathicasrangchatiithyihepnpukaephninthukdan dngprakthlkthanthichdecn inphrarachniphnthkhxngphraxngkhtxnhnungdngni tngiccaxupthmphk yxykphraphuththsasnapxngknkhxbkhnthsima rksaprachachnaelamntri a karrwbrwmphraitrpidkaelasngesrimkarsuksakhxngsngkh wdmhathatuyuwrachrngsvsdirachwrmhawiharsthanthithasngkhaynacharaphraitrpidkepnkhrngaerkaehngkrungrtnoksinthr thrngehnwakhmphirphraitrpidk thisrangiwsmykrungthnburi yngmikhwamkhladekhluxnxyumak phraxngkhcungoprdihthakarrwbrwmphraitrpidksubtxcakphraecakrungthnburi dwyphraxngkhmiphrarachprasngkhthicathakartrwcsxbcharakhwamthuktxng cungoprdihprachumphrabrmwngsanuwngs phraethraphuihy aelaphraepriyy tklngeruxngsngkhayna cdhaphuruid 218 rup rachbnthit 32 khn epnkrrmkarchara cungidoprdekla ihmikarprachumsngkh ephuxcharaphraitrpidkchbbhlwng thithaiwihthuktxng odyihphrasngkh 100 rup mismedcphrasngkhrach sri epnprathan prachumknthiphrathinngxmrinthraphieskmhaprasath inphrabrmmharachwng emuxplaypi ph s 2331 thakarsngkhaynaphraitrpidk odyaebngnganknthadngni phrasngkhphuthrngkhnththura 218 rup kbrachbnthit 32 khn cdaebngxxkepn 4 kxng kxngthi 1 smedcphrasngkhrach sri wdrakhng epnaemkxngcharaphrasuttntpidkkxngthi 2 phraphnrt sukh wdphrasrisrrephchy epnaemkxngcharaphrawinypidkkxngthi 3 phraphimlthrrm wdphraechtuphn epnaemkxngcharaphrasththawiess sungidaek tarawadwy iwyakrnthiepnxupkara sakhyinkarsuksakhnkhwakhmphirphraitrpidkkxngthi 4 phraphuthacary epa epnaemkxngcharaphraprmtthpidk xphithrrmpidk karsngkhaynaphraitrpidkkhrngninbepnkhrngthisxngkhxngithy idthakarsngkhaynathi phraxuobsthwdphrasrisrrephchy pccubnkhuxwdmhathatuyuwrachrngsvsdirachwrmhawihar emuxpi ph s 2331 emuxthakarcharaphraitrpidkesrc koprdihkhdlxkcalxngsrangepnchbbhlwngkhun eriykwa chbbthxngihy rwmthnghmd 354 khmphir naipekbthi wdphrasrirtnsasdaram aelayngoprdihsrangxik 2 chbbkhux chbbrxngthrng 1 chbbthxngchub 1 nxkcakni phraxngkhimthrngmungihphrasngkhptibtichxbtamphrathrrmwinyxyangediywethann aemphraxngkhexngkyngsnicinkardansuksa aelaptibtithrrmdwy echn txnechaesdcthrngbatr baephysilthan txnephlthwayphttaharephl ewlaeynxxkthxngphraorng sdbphrathrrmethsnaepnpraca aelamiphrarachprasngkhcabarungsngkhmnthl odythrngchkcunghmuphrasngkhihkhnkhwaphraitrpidk karmiphrarachpucchakepnkarkratunthangxxmswnhnungihphrasngkhtxngkhnkhwaphraitrpidk ephuxcaipthwaywischnaphraxngkh karcdkarsuksakhxngsngkh insmynierimmikarcdsxbphrapriytithrrmehmuxninsmyxyuthya odylxkaebbmacaksmyxyuthya khuxmikarbxkhnngsuxphrathngphiksuaelasamenrinphrabrmmharachwng karsuksabaliinkhrngnnerimcakkarxanekhiynxksrkhxm emuxxanxxkaelwcungihxanhnngsuxphramaly aelwthxngsutrmulkccayn eriynsnthi eriynnam xakhyatkitk xunnathkark cbaelwkhunkhmphireriynxrrthktha thmmbthmngkhlthipni sartthsngkhha pthmsmntpasathika wisuththimkhkhdikasartththipni emuxeriyncbkhmphirdngklawaelwkcamikhidkhwamsamarththicaxanphraitrpidkihekhaicid rchkalthi 2 phrabathsmedcphraphuththelishlanphaly karsrangphraitrpidk enuxngcakphraitrpidkchbbthxngihy insmyrchkalthi 1 nn suyhayipbangkhmphirephraawdtang khxyumipkhdlxk bangkhmphirkcharud cungoprdekla ihsrangsxmcnbriburn thngyngihoprdihsrangchbbihmkhunxik eriykwa chbbrdnaaedng aetkarkhrngnimiidmikarchumnumkhnasngkhephuxchara ephiyngaetsxm aelacarchbbihmethann karcdkarsuksakhxngsngkh karkahndepliynaeplnghlksutrkarelaeriynbali aetedimma kareriynkarsxnkhxngphrasngkhkahndiwephiyng 3 chn khux baeriyntri eriyn phrasutr baeriynoth eriyn phrasutr phrawiny baeriynexk eriyn phrasutr phrawiny phraxphithrrm kareriynkhngcamiideriynthnghmd aetcakhdeluxkbangeruxngbangkhmphirinaetlapidkmaeriyn khwamrucungxaccaimephiyngphxephyaeph phraxngkhcungidthrngepliynaeplngesiyihmepn 9 praoykh kahndhlksutrihyakkhuntamladb txngsxbid 3 praoykhesiykxn cungcaidepnepriyy phramha emuxsxbid 4 praoykh keriykwa epriyy 4 praoykh cnsxbidpraoykh 9 eriykwa epriyy 9 praoykh karsxbilepriyythrrmbali kareriynidxasytamwdtang aetkarsxbnn sxbthiwdmhathatubang sxbinobsthwdphraaekwbang wnewlaimaennxn aelwaetkrrmkarcakahnd bangpikimmisxb karsxbkhuxihnkeriynaepltxhnakrrmkar 3 4 rup mikhruekhafngepnphyan 20 30 rup thankeriynaeplekng xaccaphancakpraoykh 1 2 3 thung 9 inwnediywknkid aelwaetkhwamsamarth emuxsxbpraoykh 3 id eriykwa mhaepriyy epriyywnghna epriyywnghlwng insmyni wnghnakhux krmhmunecstabdinthr hrux r 3 inkhrngnn thrngprasngkhcasnbsnunkarsuksacungihphuthisxbpraoykh 2 maepn epriyywnghna emuxsxbidpraoykh 3 cungihipepn epriyywnghlwng karphrarachthanxupsmbthnakhhlwngchawtangpraeths klawthungtxnplayrchkalthi 1 miphraphiksuchawemuxnglngkachux phrawlitr kbsamenr 2 rup chux rtnapala kbhithaya edinthangmakrungethphmhankhr idoprd ihkartxnrb oprdihphrawlitr kbsamenrrtnapala ipcaphrrsaxyuwdmhathatu swnsamenrhithaya oprdihipcaphrrsaxyuwdphraechtuphn cnmathungsmyrchkalni samenrthng 2 rup idkhxxupsmbthinithy ephraaehnwaphraithykbphralngkaepnnikayediywkn inlngkakmixyu dngnn rchkalthi 2 cungoprdihxupsmbthepnnakhhlwng aelwphrarachthannitypht aelaitrsubma rchkalthi 3 phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw karsrangphraitrpidk inrchkalnimikarsrangphraitrpidkmakkwathiaelwma aelasrangdwyfimuxpranit trwcsxbxkkhraphyychna xyangthithwn mithung 5 chbbdwykn khux chbbrdnaexk 1 chbbrdnaoth 1 chbbthxngnxy 1 chbbchubyx 1 chbbxksrramy 1 nxkcakniyngthrngsrangthwaywdtang xik 2 chbb khux chbbethphchumnum 1 chbblaykamalx 1 karthakhrngni nbidwa smburnmak ephraaidxasykhmphircaklngka aelamxy marwmkntrwcsxbdwy phraxngkhehnwa phraitrpidkepnphasabali aelaepnxksrkhxm cungmiphrarachprasngkhihaeplepnphasaithy cungoprdihwangdikaphrasngkh thicathwayethsnewr inphrabrmmharachwng ideluxkkhmphirethsntamladbinphraitrpidk odyoprdihaetngaeplepnsanwnithyipethsn dngnneracungidkhmphirphraitrpidkepnxksrithyknmaksmyni karcdkarsuksakhxngsngkh phraxngkhyngthrngthuxepnphrarachphara thicabarungkarsuksaphraitrpidk aekphraphiksusamenr echn thrngcangxacarybxkphrapriytithrrmaekphiksusamenrthukphraxaramhlwng swninphrabrmmharachwng koprdihsrangekngkhun ephuxihphraphiksusamenrelaeriynphrapriytithrrm thngyngidthwayphttaharephlaekphraphiksusamenrehlanndwy txmmamiphueriynmakkhunkoprdihyayipbxkphrapriytithrrm thiphrathinngdusitmhaprasath aelayngthrngrbxupthmphaekphueriyndwywithikartang echn thaikhrsxbbaliidkcaphrarachthanrangwl thaepnphrakcaideluxnepnphrarachakhna aelathaoymbidamardathukkhyakkcathrngeliyngdu thaepnthasphuxun kcaoprdcayphrarachthrphyipiththxnihepnxisra thaphraphiksusamenrehlannlasikkhaxxkma kcaoprdihekharbrachkarinkrmkxng tamthismkhricid dwyphrarachupthmphdngklawphraphiksusamenrinrchkalthi 3 cungmiwiriyaxutsaha elaeriynthnginkrung aelahwemuxng thaihminkprachydanphraphuththsasnaephimmakkwathiaelwma odyechphaaphraphiksusamenrkmiephimmakkhun tambnthukkhxngchawyuorp wainkrungethph mipramanhmunrup thwphrarachxanaekhtmipraman sxngaesnrup sungnbwamicanwnmakemuxethiybkbprachakrinsmynn swnphraethranuethratangksnbsnunkickarkarsuksakhxngkhnasngkhephuxsnxngphrarachsrththakhxngphraxngkh aelaphrasngkhkimekhyipyungekiywkbkickarbanemuxng tangthahnathikhxngtn nbepnphramhakrunathikhunxyangsungyingnk phrarachniphnthkhxkhmasngkh phraxngkhthrngptibtisingthiimekhymimainprawtisastrchatiithy khux phrarachniphnthkhxkhmasngkh klawkhux phraxngkhthrngtrahnkwa phraxngkhthrngwaklawphra ekhythampyhaphra xaccaepnkarlwngekinodyimectna dngnn emuxcwncaesdcswrrkht cungidmiphrarachniphnthkhxkhmaphrasngkhdngkhwamtxnhnungwa phrarachdarssungeyahyxk hruxkhmkhayid kdi thngpwngepnphrarachkiriyaxnlwngekinip inphrarachakhna thananukrm epriyy phiksuxnucrxngkhid khxihphraphuepnecathukphraxngkhcngplngxthyasy xdothsthwayxphydwynaicxnetmipdwyemttakruna rchkalthi 4 phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw xxkphnwch wiharophthilngkawdmhathatusthanthirchkalthi 4 thrngprathbemuxkhrngphnwchcaphrrsaxyuthiwdaehngni emuxmiphrachnsaid 14 pi phraxngkhthrngxxkphnwchepnsamenrephuxsuksaphrathrrmwinykhrnghnungkxn txmaemuxphrachnsathung 21 pi cungidxupsmbthepnphraphiksu emuxthaxupchchaywtrkhrb 3 wnaelw cungidesdcipthawipssnathura n wdsmxray wdrachathiwas phayhlngidklbipprathbthiwdmhathatu tngtneriynkhnththuraxyangcringcng aelaidphrawiechiyrpricha phu ecakrmrachbnthitsungmikhwamechiywchayyinginkhnann epnxacarysxnphasamkhth thrngsuksaxyu 3 pi kthrngrxbruphasamkhthepnxyangdi cnidekhasxbaeplbaliidepnepriyythrrm 5 praoykh aelatxmaidthrngtngkhnathrrmyutinikaykhun karsrangphraitrpidk emuxthrnglaphnwchkhunkhrxngrachsmbtiaelw phraxngkhoprdihtrwcsxbphraitrpidk inhxphramnethiyrthrrm praktwa khmphiridhayipcakbychihlayelm cungoprdihsrangchbbthikhadhayipihkhrb aelaoprdihsrangphraitrpidkchbbihmkhunmaxikchbbhnung michuxwa chbblxngchati karsuksakhxngsngkh karsuksakhxngsngkhsmynn aebngxxkepnswnihy 2 swn khux khnththura 1 wipssnathura 1 khnththurann eriynhnk erimtndwykareriynphasabali aelaaeplphraitrpidk phyayamihxanxxkaeplidkhnkhwaihaetkchan swnwipssnathurann imhnknk odykareriynthangsmathiwipssnakrrmthan thaihicsaxadprascakkielsthngpwng epnwithild aelathuxknwathaekngthangwipssnaaelwxaccathrngkhunwithyaxakhmewthmntr epnpraoychnindanxun echn wichaphichysngkhram epntndwy rchkalthi 5 phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw esdckhunkhrxngrachyinpi ph s 2411 khnannmiphrachnmayuephiyng 15 phrrsa ethann cungtxngmiphusaercrachkaraethnthung 5 pi khrn ph s 2416 miphrachnmayu 20 phrrsa cungthrngxupsmbth n wdphrasrirtnsasdaram emuxwnthi 24 knyayn ph s 2416 odymismedcphramhasmneca krmphrayapwerswriyalngkrn emuxkhrngdarngphraysepnphraecabrmwngsethxkrmhmunbwrrngsisuriyphnth epnphrarachxupchchaya karcdkarsuksakhxngsngkh ihwdepnorngeriyn emux ph s 2428 phraxngkhoprdihphrarachakhna phrakhru thananukrm epriyy phraxndb epnpharaphrasxnaenanasisywd enuxngcakwa ewlann orngeriynyngimaephrhlay aelaidmiphxaemnalukipfakwd ephuxelaeriynhnngsuxithy laymux wichahnngsuxaelaelkhohrelkhtlad epntn ephuxrksawichaehlaniiwephyaephaekkulbutr aelaphraenrsubtxip ephraawichakarehlani epnkhunpraoychnthicaeriynphraitrpidk epnkarekuxkultxphraphuththsasna thaepnkcaepnkalngaekthangrachkar dngnn cungoprdaetngtngphrarachakhna phrakhru thananukrm epriyy xndb ihepnkhruwdla 5 rup epnxyangnxy thngphraxaramhlwngaelaxaramrasdr thaimmiphrasngkhkihkhvhsthepnkhrukid odycaphrarachthanengineduxnihthngsin mhawithyalysngkhaehngaerkkhxngpraethsithy tukthawrwtthu hnawdmhathatuyuwrachrngsvsdi sthanthirchkalthi 5 thrngsrangkhunephuxxuthisihepnwithyalykhxngsngkh phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw thrngmunghwngephuxcakhyaykarsuksakhxngchatiihkwangkhwangyingkhunkwakarxanxxkekhiynidethann thrngphicarnawa karphthnapraethscaepnipimid thakhninchatimikarsuksata phsknikrkhxngphraxngkh khwrcaidelaeriynihmakephuxepnkalng syamihm ihthnolktawntk cungmiphrarachdarithicacdkarsuksaihsungkhun thungkhnwithyalytxip dngnncungthrngsthapna mhathatuwithyaly khunthiwdmhathatu emux ph s 2432 ephuxepnthielaeriynsuksaphasabalichnsung aelasthapna xakharsngkhikesnasnrachwithyaly khunemux ph s 2439 ephuxepnthielaeriynwichakarchnsungsahrbphrasngkh txma ph s 2436 koprdihepidwithyalysngkhkhunxikaehnghnungthi wdbwrniewswihar aelaidphrarachthannamwa mhamkutrachwithyaly xyangirktam mhawithyalysngkhthngsxngaehng kyngimphrxmthicaerimdaeninkarinrchkalni rchkalthi 6 phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarcdkarsuksakhxngsngkh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidrchkalthi 7 phrabathsmedcphrapkeklaecaxyuhw swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarcdkarsuksakhxngsngkh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidrchkalthi 8 phrabathsmedcphrapremnthrmhaxannthmhidl swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarcdkarsuksakhxngsngkh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidrchkalthi 9 phrabathsmedcphraprminthrmhaphumiphlxdulyedch swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarcdkarsuksakhxngsngkh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidtanansakhyekiywkbkarsuksakhxngsngkhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidsrupkarcdkarsuksainsmyrtnoksinthrtxntnswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarwdphlkarsxbphrapriytithrrmsnamhlwnginsmyrtnoksinthrtxntn swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarlngchuxsxbsnamhlwng swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidewlainkarsxbsnamhlwng swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidwithisxbkhwamru swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidsrupkarcdkarsuksaphrapriytithrrmaephnkbalikhxngkhnasngkhithyinpccubnifl trabali giftrasanknganaemkxngbalisnamhlwng pccubn sanknganaemkxngbalisnamhlwng epnhnwyngancdkarsuksaphasabalikhxngkhnasngkhithy epnhnwynganphayitkarduaelkhxngmhaethrsmakhmsungxyuinkhwamxupthmphkhxngrthbal duaelrbphidchxbkarsuksaphrapriytithrrmaephnkbaliradbchati aelakahndepliynaeplngkarichkhmphireriyninhlksutrepriyythrrm 1 9 ihehmaasmkbchneriynkhxngaetlapraoykh rwmthngkarcdsxbpraeminphlkarsuksabaliradbchati odymisanknganphraphuththsasnaaehngchatiepnphurbsnxngngan phayitkarkakbduaelkhxngmhaethrsmakhm hlksutrkarsuksaphrapriytithrrmaephnkbaliinpccubn aebngepn 3 chn 9 praoykhkhux chnepriyytri chnthi 1 tngaet praoykh 1 2 thungepriyythrrm 3 praoykh chnepriyyoth chnthi 2 tngaet epriyythrrm 4 praoykh thungepriyythrrm 6 praoykh chnepriyyexk chnthi 3 tngaet epriyythrrm 7 praoykh thungepriyythrrm 9 praoykh dngtarangtxipni hlksutrkarsuksaphrapriytithrrmaephnkbalisnamhlwngaephnkbali epriyythrrmepriyytri praoykh 1 2 epriyythrrm 3 praoykhepriyyoth epriyythrrm 4 praoykh epriyythrrm 5 praoykh epriyythrrm 6 praoykhepriyyexk epriyythrrm 7 praoykh epriyythrrm 8 praoykh epriyythrrm 9 praoykhkarsxb swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarcdkarsxb swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkartrwcaelaprakasphl swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid karwdphlaelapraeminphl inkarsxbbalisnamhlwng camikahndkarsxbinaetlapiiwdngtxipni khrngthi 1 sahrbepriyythrrm 6 7 8 9 insnamsxbekhtkrungethphmhankhr sxbinwnkhun 2 3 4 5 kha eduxn 3 khxngthukpi khrngthi 2 sahrbbalipraoykh 1 2 aelaepriyythrrm 3 4 5 praoykh sxbinwnaerm 10 11 12 kha eduxn 3 khxngthukpi karsuksaphrapriytithrrmaephnkbali aemkxngbaliepnphurbphidchxbekiywkbkarxxkpyha kardaeninkarsxb kardaeninkarsxbintangcnghwdnn aemkxngbaliidmxbhmayihecakhnaphkhtang aetngtngkhnakrrmkarnakhxsxbcakswnklangipyngsnamsxbthukaehng odyepidsxbinchnpraoykh 1 2 aela p th 3 4 aelwnaibtxbmasngaemkxngbalisnamhlwngephuxdaeninkartrwc odynimntphraethranuethramaprachumphrxmkninsthanthithiaemkxngbalikahnd swnpraoykh p th 5 6 7 8 aela 9 daeninkarsxbinswnklangtamthiaemkxngbalikahndihepnsthanthisxb kartrwcaelaprakasphl emuxkardaeninkarsxbesrcsinaelw thangaemkxngbalisnamhlwngcamihnngsuxxarathnakrrmkarphuthrngkhunwuthi aelamikhunsmbtithuktxngtameknththikahndiwthnginswnklangaelaswnphumiphakh prachumtrwckhxsxbphrxmkn n salaprachumsngkh wdsamphraya ekhtphrankhr krungethphmhankhr kahndihwnaerm 2 kha eduxn 4 khxngthukpi rwmewlatrwc 6 wn hlngcakkartrwcesrc thangsanknganaemkxngbalisnamhlwngcathayxyprakasphlkarsxbihthrabxyangepnthangkarinwnsudthaykhxngkartrwcaelawdthdma insmykhxngsmedcphraphuththokhsacary fun chutin thor wdsamphraya khrngdarngsmnskdithiphrathrrmpyyabdi aemkxngbalisnamhlwng ph s 2503 2531 idhyibykeruxngkarsxbpraoykh 1 2 thiidykelikip odycdihmikarsxbkhunmaihmxikkhrngemuxpi ph s 2510 aelayngthuxptibtimacnthukwnni insmykhxngsmedcphraphuththchinwngs suwrrn suwn nochot aemkxngbalisnamhlwng ph s 2532 2537 wdebycmbphitrdusitwnaram idminoybaythangdankarcdkarsuksaphrapriytithrrmaephnkbali ephimetimdngni karxxkkhxsxbbalisnamhlwng inchnpraoykh 1 2 caimmikarxxkkhathaaelaaekxrrthkhatha thngni ephuxihnkeriyninradbni caidimtxngeriynhnkcnekinip xikthngsamartheriynidsadwkkhun aelamioxkassxbphanmakkhun karxxkkhxsxbsnamhlwng inwichaaeplithyepnmkhth khxngnkeriynchnpraoykh p th 4 epntnip camikarxxkkhathadwy thngni ephuxihnkeriyncdcaphraphuththphcnidkhunic aelatxngthxngcakhathaihid odyechphaakhathathiepnphraphuththphcnodytrngnn nkeriyntxngthxngcakhathatamaebbxyangediyw imxnuyatihaetngaek insmykhxngsmedcphramharchmngkhlacary chwng wrpuy oy aemkxngbalisnamhlwng ph s 2538 pccubn wdpakna phasiecriy idminoybaythangdankarcdkarsuksaphrapriytithrrm aephnkbaliephimetim dngni kareriynkarsxnwichaaeplmkhthepnithy khxngpraoykh 1 2 thikhxsxbcaimxxkkhathaaelaaekxrrthmakxnhnani ihkhruinaetlasankeriynsxnkaraeplkhathaaelaaekxrrthihnkeriyndwy sungxaccaxxkkhxsxbhruximkid aetthngni xyangnxykepnxupkaraaekkareriynkarsxbchnpraoykhsung inxnakht karxxkkhxsxbbalisnamhlwngnxkcakcamikarxxkkhatha swnpraoykhaekxrrth thiruppraoykhimsbsxn thrrmda kmisiththicaxxksxbdwyechnkn caphbidodyechphaatngaetchnpraoykh p th 6 epntnip karcdpthmnieths krrmkartrwckhxsxbpraoykhbalisnamhlwng odyechphaakrrmkarthicaidrbkaraetngtngihm xikthng idcdphimphkhumuxtrwcthwaykrrmkardwy epidoxkasihkhrusxnsungsxnxyuinchnaelawichann epnkrrmkartrwcephimmakkhun odyechphaakrrmkarinswnphumiphakh karminoybaycdtngsankeriynpracacnghwd karekbwichathisxbphanaelwepnewla 2 pi narxnginchnpraoykh 1 2 aeladaeninkarmatngaetpi ph s 2541 karwdphlaelapraeminphlkareriynkarsxnphrapriytithrrmaephnkbaliinpccubn idihicheknthihkhaaennepntwelkh odyichwithikarhkkhaaennemuxphbkhwamphidinkarthakhxsxb thakhaaennthithukhkxxkipekinkahnd kcathuxwasxbtkinwichann odyinthukwicha thatxbsbkhx cathukhk 2 khaaenntx 1 wicha hlkeknthinkarhkkhaaenninwichatang inpccubnmidngni wichaburphphakh sahrbpraoykh p th 3 wangrupcdhmayphid ihtk wangyxhnaphid hk 2 khaaenn phidwrrkhtxnthungesiyruphruxesiykhwam hkaehngla 1 khaaenn ichtwxksrphid hk 1 khaaenn emuxrwmaelw thukhkekin 12 khaaenn thuxwasxbtk aelacathuxwatkinwichaxun thiehluxdwy wichaaeplithyepnmkhth aeplmkhthepnithy aelawichasmphnth phidsphth eriykchuxsmphnthphidinwiphttiediywkn hksphthla 1 khaaenn phidsmphnth eriykchuxsmphnthphidtangwiphttihruxekhasmphnthphid hkaehngla 2 khaaenn phidpraoykh echn ichpraoykhaelakriyaphidburus hkpraoykhla 6 khaaennkar ih khaaenn thathukhk 1 6 khaaenn ih 3 ih thathukhktngaet 7 12 khaaenn thuxwaih 2 ih thathukhkip 13 18 khaaenn ih 1 ih thathukhkipekin 18 khaaenn ih 0 ih thuxwasxbtkkhxwicarnhlksutrkarsuksaaephnkbalikhxngkhnasngkhithyinsmypccubnswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidduephimkarsxbbalisnamhlwng sanknganaemkxngbalisnamhlwng phraphuththsasnainpraethsithyxangxingsanksasnasuksawdethphlila khumuxepidtaraeriynbali krungethph orngphimphmhaculalngkrnrachwithyaly 2545 suwithy thmmsiri phramha karsuksaaephnkbaliaelapraephnikarthwaysmnskdikhxngphrasngkhinphakhxisan ewbisdeskhiythrrmethwpraphas makkhlay epriyy exksar exksaraenanawdkhungtaepha xutrditth wdkhungtaepha 2549 sanksasnasuksawdethphlila khumuxepidtaraeriynbali krungethph orngphimphmhaculalngkrnrachwithyaly 2545 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 06 02 subkhnemux 2007 06 04 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 10 07 subkhnemux 2007 06 04 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 05 28 subkhnemux 2007 06 04 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 07 07 subkhnemux 2007 05 05 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 10 07 subkhnemux 2007 06 04 dr phramhasurchy wrasoph prawtikhmphirsththawiess sarniphnthphuththsastrbnthit pracapi 2559 hna 92 102 http pbs mcu ac th wp content uploads 2016 03 00049 07 2559 E0 B8 AA E0 B8 B2 E0 B8 A3 E0 B8 99 E0 B8 B4 E0 B8 9E E0 B8 99 E0 B8 98 E0 B9 8C E0 B9 80 E0 B8 A3 E0 B8 B7 E0 B9 88 E0 B8 AD E0 B8 87 E0 B8 9B E0 B8 A3 E0 B8 B0 E0 B8 A7 E0 B8 B1 E0 B8 95 E0 B8 B4 E0 B8 84 E0 B8 B1 E0 B8 A1 E0 B8 A0 E0 B8 B5 E0 B8 A3 E0 B9 8C E0 B8 AA E0 B8 B1 E0 B8 97 E0 B8 97 E0 B8 B2 E0 B8 A7 E0 B8 B4 E0 B9 80 E0 B8 AA E0 B8 AA E0 B8 9E E0 B8 A1 E0 B8 AA E0 B8 B8 E0 B8 A3 E0 B8 8A E0 B8 B1 E0 B8 A2 92 102 pdf khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 06 09 subkhnemux 2007 05 07 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 06 07 subkhnemux 2007 06 04 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 11 17 subkhnemux 2007 06 04 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 07 22 subkhnemux 2007 06 04