สังคมนิยมแบบอิสรนิยม (อังกฤษ: libertarian socialism) บ้างเรียก ลัทธิอนาธิปไตยสังคมนิยม (socialist anarchism)สังคมนิยมเสรี (free socialism) หรือ สังคมนิยมไร้รัฐ (stateless socialism) เป็นกลุ่มปรัชญาการเมืองแบบอิสรนิยมที่ (anti-authoritarianism) และ (anti-statism) ใน (history of socialism) โดยปฏิเสธมุมมองสังคมนิยมแบบ (statism) ของ (state socialism) ที่ให้รัฐเป็นผู้ผูกขาด (state ownership) (centralisation) นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมวิจารณ์ความสัมพันธ์แบบ (wage slavery) ใน (workplace) เน้น (workers' self-management) กับองค์กรทางการเมืองที่มีโครงสร้าง (decentralization) และมีแนวคิดที่คาบเกี่ยวกับลัทธิอนาธิปไตยกับอิสรนิยม สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นขบวนการสังคมนิยมซึ่งประกอบด้วยแนวคิดอนาธิปไตย มาร์กซิสต์ และ (left-libertarian) ต่าง ๆ สังคมนิยมแบบอิสรนิยมกระแสหลักประกอบด้วยอนาธิปไตยและลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยม (libertarian Marxism)
โดยทั่วไป สังคมนิยมแบบอิสรนิยมปฏิเสธแนวคิดรัฐ และอ้างว่าทางเดียวที่สังคมที่มีเสรีภาพและความยุติธรรมเป็นพื้นฐานจะเกิดขึ้นได้ คือการยกเลิกสถาบันแบบอำนาจนิยมที่ควบคุมปัจจัยการผลิตและกดขี่คนส่วนมากให้อยู่ใต้ชนชั้นเจ้าของและ (elite) ทางเศรษฐกิจและการเมือง นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมสนับสนุนโครงสร้างกระจายอำนาจผ่านระบอบประชาธิปไตยโดยตรงและสมาคมแบบสหพันธรัฐหรือสมาพันธรัฐ เช่น (citizen's assembly) (popular assembly) สหกรณ์ สหภาพแรงงาน และ (worker's council) โดยบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ผ่านการเรียกร้องเสรีภาพ และ (Free association of producers) ผ่านการระบุ วิจารณ์ และถอนรากถอนโคนอำนาจที่ไม่ชอบธรรมออกจากทุกแง่มุมของชีวิตมนุษย์ในทางปฏิบัติ สังคมนิยมแบบอิสรนิยมมีแนวทางแตกต่างจาก (authoritarian socialism) และ (vanguardism) ของ/ลัทธิเลนิน และของลัทธิเฟเบียน/ประชาธิปไตยสังคมนิยม
เพราะฉะนั้น นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเชื่อว่า “การใช้อำนาจในรูปแบบของสถาบันใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา หรือที่เกี่ยวกับเพศ คือการทำร้ายทั้งผู้ใช้อำนาจและผู้ที่ถูกบังคับข่มเหงภายใต้อำนาจนั้น ๆ”
เค้าโครง
บทนิยาม
สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นปรัชญาตะวันตกที่มีตีความหลากหลาย แต่ทั้งหมดมีบางสิ่งที่เหมือนกัน คือการสนับสนุนระบบการผลิตที่เน้นคนงานและการจัดระเบียบในที่ทำงานที่มีพื้นฐานแตกต่างจาก (neoclassical economics) และการแทนที่ด้วยระบบสหกรณ์ที่เป็นประชาธิปไตยหรือการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต (common ownership) (แนวคิดสังคมนิยม) โดยเสนอว่าระบบเศรษฐกิจนี้จะถูกนำมาปฏิบัติให้เพิ่มเสรีภาพของตัวบุคคลให้มากที่สุด และลดให้เหลือน้อยที่สุด (แนวคิดอิสรนิยม) ผู้นิยมแนวคิดนี้เสนอวิธีการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ด้วยการล้มล้างระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลและสถาบันการปกครองรูปแบบรัฐ และแทนที่ด้วยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติระหว่างกลุ่มปกครองตนเองหรือสหพันธ์ และการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองผ่านการโอนวิสาหกิจและทรัพย์สินส่วนบุคคลขนาดใหญ่กลายเป็นของสังคม (ในขณะเดียวกันอนุญาตให้มี (personal property)) สังคมนิยมแบบอิสรนิยมปฏิเสธความชอบธรรมของทรัพย์สินส่วนบุคคลในรูปแบบใดก็ตามที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยมองว่าความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินแบบทุนนิยมเป็นการครอบงำแบบหนึ่งซึ่งเป็นศัตรูกับเสรีภาพของบุคคล
(Dwight Macdonald) ให้นิยามสังคมนิยมแบบอิสรนิยมไว้ว่า "สังคมไร้ชนชั้นซึ่งรัฐหายไปแล้ว การผลิตเป็นแบบสหกรณ์ และไม่มีใครมีอำนาจทางการเมืองหรือเศรษฐกิจเหนือใคร" และเป็นสังคมที่ "วัดกันด้วยความสามารถของแต่ละบุคคลในการพัฒนาทักษะและบุคลิกลักษณะของตัวเองให้ได้ขนาดไหน"
(Le Libertaire) เป็นนิตยสารอนาธิปัตย์ฉบับแรกที่ใช้คำว่า libertarian และตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กระหว่าง ค.ศ. 1858-1861 โดยนักคอมมิวนิสต์อิสรนิยม (Joseph Déjacque) คำนี้ถูกใช้ครั้งต่อมาในทวีปยุโรป เมื่อคำว่า libertarian communism (ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยม) ถูกใช้เป็นครั้งแรกในสภาอนาธิปัตย์ท้องถิ่นที่เมืองเลออาฟวร์ ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 16-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1881 มีการเผยแพร่ถ้อยแถลงอุดมการณ์ "ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยมหรืออนาธิปไตย" เป็นภาษาฝรั่งเศส และใน ค.ศ. 1895 นักอนาธิปัตย์ (Sébastien Faure) และ (Louis Michel) ตีพิมพ์นิตยสาร เลอ ลีแบร์แตร์ ในประเทศฝรั่งเศส คำว่า libertarian ในภาษาอังกฤษมีรากเดียวกับคำร่วมเชื้อสายในภาษาฝรั่งเศส libertaire ซึ่งใช้ในการหลีกเลี่ยง (Lois scélérates) ในประเทศฝรั่งเศส ตามธรรมเนียม คำว่า libertarianism หรืออิสรนิยมจึงเป็นไวพจน์ของคำว่าลัทธิอนาธิปไตย และเป็นความหมายดั้งเดิมของมัน ในบริบทของขบวนการสังคมนิยมยุโรป คำว่า libertarian หมายถึงนักสังคมนิยมที่ต่อต้านอำนาจนิยมและเช่นมีฮาอิล บาคูนิน และมีคาบเกี่ยวกับ แต่ก็ถือว่าเป็นสังคมนิยมแบบอิสรนิยม แนวคิดใด ๆ ที่ไม่ได้เป็นแบบล็อกล้วนเป็นแนวคิดแบบสังคมนิยม ซึ่งรวมถึงสังคมนิยมแบบอิสรนิยม
อิสรนิยมมีความสัมพันธ์กับสังคมนิยมมาก่อนระบบทุนนิยม และคนที่ต่อต้านอำนาจนิยมในปัจจุบันก็ยังประณามความเข้าใจซึ่งพวกเขามองว่าผิด ว่าอิสรนิยมมีความเกี่ยวข้องกับระบอบทุนนิยมอย่างในประเทศ ตามที่ โนม ชอมสกี กล่าว นักอิสรนิยมที่คงเส้นคงวา "จะต้องต่อต้านความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตของและระบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของระบบนี้ และไม่สอดคล้องกับหลักการที่ว่าแรงงานจะต้องสามารถกระทำได้อย่างเสรีและอยู่ใต้อำนาจควบคุมของผู้ที่ผลิตมัน" คำว่า สังคมนิยมอนาธิปไตย ลัทธิอนาธิปไตยสังคมนิยม ลัทธิอนาธิปไตยแบบสังคมนิยม สังคมนิยมเสรี สังคมนิยมไร้รัฐ และ อิสรนิยมแบบสังคมนิยม ล้วนหมายถึงสังคมนิยมซึ่งอยู่ฝั่งอนาธิปไตยหรือเป็นแบบอิสรนิยม หรืออยู่ฝั่งตรงข้ามกับ (Authoritarian socialism)
นักสังคมนิยมอิสรนิยมกล่าวว่ารัฐในลัทธิเลนินเช่นสหภาพโซเวียตอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านจากระบอบทุนนิยมเป็นสังคมนิยม แต่ไม่เคยพัฒนาไปไกลกว่าระยะนี้ พวกเขาต้องการยกเลิกรัฐโดยไม่ต้องอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านที่เป็นระบอบทุนนิยมโดยรัฐ
การจัดหมวดหมู่
สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นอิสรนิยมฝ่ายซ้ายรูปแบบหนึ่ง และขบวนการซึ่งมักถูกจัดว่าเป็นสังคมนิยมแบบอิสรนิยมมี อาทิเช่น ลัทธิอนาธิปไตย (โดยเฉพาะลัทธิอนาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ (anarcho-syndicalism) (collectivist anarchism) (green anarchism) (individualist anarchism) (Mutualism (economic theory)) และ (social anarchism)) (communalism) (democratic socialism) บางรูปแบบ (guild socialism) ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยม (เช่น (autonomism) ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม (left communism) และลัทธิลุคเซิมบวร์ค) (participism) สหการนิยม และ (utopian socialism) บางรูปแบบ
ประวัติ
นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของสังคมนิยมแบบอิสรนิยมไว้ใน Economic Justice and Democracy (ค.ศ. 2005) ตอนหนึ่งว่า ช่วงเวลาที่สังคมนิยมแบบอิสรนิยมสร้างผลกระทบมากที่สุดคือช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงสี่ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขากล่าวว่าในช่วงนี้ "สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นกระแสที่แรงพอ ๆ กับประชาธิปไตยสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์" (Anarchist St. Imier International) ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1872 ที่ไม่กี่วันให้หลังจากการแยกตัวจากกันของฝั่งมาร์กซิสต์และฝั่งอิสรนิยมที่ (Hague Congress (1872)) ของ (First international) องค์การอนาธิปไตยสากลนี้ "ต่อสู้ช่วงชิงความภักดีของนักกิจกรรมต่อต้านทุนนิยม นักปฏิวัติ คนงาน สหภาพ และพรรคการเมือง มาจากพวกประชาธิปไตยสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จมาตลอดช่วงเวลากว่าห้าสิบปี" ในมุมมองของฮาห์เนล นักสังคมนิยมอิสรนิยม "มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1905 และ 1917 นักสังคมนิยมอิสรนิยมมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติเม็กซิโกใน ค.ศ. 1911 ยี่สิบปีให้หลังจุดจบของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นักสังคมนิยมอิสรนิยมยังมีกำลังมากพอที่จะเป็นหัวหอกใน ค.ศ. 1936 และ 1937" ในขณะที่อีกฟากหนึ่ง แนวคิดแบบอิสรนิยมเริ่มก่อตัวในลัทธิมากซ์และโดดเด่นขึ้นมาตอนปลายคริสตทศวรรษ 1910 ในฐานะปฏิกิริยาโต้กลับและลัทธิเลนินซึ่งเข้ามามีอำนาจและสถาปนาสหภาพโซเวียต
ในคำนำของ เคนต์ บรอมลีย์ (Kent Bromley) ใน ของ (Peter Kropotkin) เขาถือว่าชาวฝรั่งเศส (Charles Fourier) เป็นผู้ก่อตั้งแนวคิดสังคมนิยมแบบอิสรนิยมซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดของ (François-Noël Babeuf) กับ (Philippe Buonarroti)
นักรัฐศาสตร์ (Francis Dupuis-Déri) กล่าวว่า "หลายปีที่ผ่านมาในคริสตทศวรรษ 1970 และ 1980 บรรยากาศต่อต้านอำนาจนิยมและชนชั้นวรรณะปรากฏในขบวนการทางสังคม ซึ่งมองว่าองค์กรที่ต่อสู้เป็นพื้นที่เสรี ปกครองและจัดการโดยสมาชิกเอง และสำนึกในผลประโยชน์ของส่วนรวม ความเท่าเทียม และเสรีภาพ ที่พัฒนาผ่านการปรึกษาหารือ ต่อมาบรรยากาศต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็ถูกรับเข้ามาในขบวนการ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายคริสตทศวรรษ 1990 ผ่านการชุมนุมบนท้องถนนที่น่าประทับใจ ตั้งแต่ใน ค.ศ. 1999 จนถึงการเคลื่อนไหวต่อต้านกลุ่ม 8 ในประเทศเยอรมนีช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2007 รวมถึงเครือข่ายทั่วโลก สื่อทางเลือก ศิลปะ และค่ายมูลวิวัติบนชายขอบเวทีสมัชชาทางสังคม"
ตัวอย่าง
ตัวอย่างขององค์กรและตัวแบบการตัดสินใจของขบวนการสังคมนิยมแบบอิสรนิยมร่วมสมัยประกอบด้วยขบวนการต่อต้านทุนนิยมและโลกาภิวัตน์ อาทิกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา (EZLN) กับระบบ "สภาแห่งรัฐบาลที่ดี" (Junta de Buen Gobierno) ฝ่ายปกครองตนเองซีเรียเหนือและตะวันออก (AANES) เครือข่ายนักข่าวทั่วโลก (Indymedia) และสังคมคนพื้นเมืองจำนวนหนึ่งซึ่งอาจมองได้ว่ามีระบบเศรษฐกิจและการเมืองแบบอนาธิปไตยหรือสังคมนิยมอิสรนิยมที่แตกต่างไปตามวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่ม
มโนคติ
คติต่อต้านทุนนิยม
นักสังคมนิยมอิสรนิยมเสนอว่าเมื่ออำนาจถูกใช้ส่งอิทธิพลของบุคคลหนึ่งเหนือบุคคลอื่น ภาระการให้ความชอบธรรมนั้นตกอยู่กับผู้ที่ใช้อำนาจตราบเท่าที่มันถูกใช้ละเมิดสิทธิของบุคคล นักสังคมนิยมอนาธิปไตยมองว่าโครงสร้างทางสังคมใด ๆ ควรถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่มของบุคคลที่มีอำนาจการตัดสินใจเท่ากัน การสะสมอำนาจทางเศรษฐกิจหรือการเมืองไว้ในมือของกลุ่มคนไม่กี่คนจึงเป็นการละเมิดการใช้เสรีภาพของบุคคลอย่างเสรีของบุคคลส่วนใหญ่ในกลุ่ม
สังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นแนวคิดที่ (Anti-capitalism) ซึ่งมีหลักการที่ต่างจากลัทธิทุนนิยมและ (right-libertarianism) ซึ่งสนับสนุนการรวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจไว้ในมือของกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของทุนเยอะที่สุด คติสังคมนิยมแบบอิสรนิยมมีเป้าหมายที่จะกระจายอำนาจให้ทั่วถึงคนทุกคนในสังคม และต่างจากคติอิสรนิยมฝ่ายขวา เช่น เสรีนิยมใหม่ ตรงที่คติอย่างแรกเชื่อว่าเสรีภาพของคน ๆ หนึ่งขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของเขา ในขณะที่คติอย่างหลังเชื่อในเสรีภาพในการเลือกในระบอบทุนนิยม โดยเฉพาะทรัพย์สินส่วนบุคคลในระบอบทุนนิยม
หรือพูดอีกแบบ ในขณะที่ทุนนิยมมีหลักการที่รวมศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจไว้ในมือของบุคคลที่มีทุนมากที่สุด (ดังเช่นแนวคิดอิสรนิยมในทวีปอเมริกาเหนือ) สังคมนิยมแบบอิสรนิยมในทางกลับกันมุ่งที่จะกระจายอำนาจ และดังนั้นเสรีภาพ ให้กับทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียม
ลัทธิอนาธิปไตยวิจารณ์ความสัมพันธ์แบบซึ่งถือว่าเป็นเหมือน (voluntary slavery) ที่ (livelihood) ของบุคคลหนึ่งขึ้นอยู่กับค่าจ้างของเขาเพียงอย่างเดียว คำว่าทาสค่าจ้างเป็นคำที่มีนัย (connotation) เชิงลบซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างความเป็นทาสกับ (wage labour) โดยมุ่งเน้นไปที่ความคล้ายคลึงระหว่างการเป็นเจ้าของกับการเช่ามนุษย์คนหนึ่ง คำนี้ถูกนำมาใช้เพื่อวิจารณ์ (economic exploitation) และการจัดช่วงชั้นทางสังคม โดยอย่างแรกถูกมองว่าแสดงถึงอำนาจการต่อรองระหว่างแรงงานกับทุนที่ไม่เท่ากันเป็นหลัก (โดยเฉพาะเมื่อคนงานมีค่าจ้างต่ำ อย่างเช่นใน (sweatshop)) และอย่างหลังพูดถึงการขาดแคลนของระบบซึ่งจะสนองทางเลือกอาชีพการงานและ (leisure) ภายในระบบเศรษฐกิจ นักสังคมนิยมอิสรนิยมเชื่อว่า ด้วยการให้คุณค่ากับเสรีภาพ สังคมจะมุ่งหน้าไปสู่ระบบที่ปัจเจกบุคคลมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจและการเมือง และต้องการแทนที่อำนาจที่ไม่ชอบธรรมด้วยระบบประชาธิปไตยโดยตรง การสมาคมโดยสมัครใจ และการปกครองตนเองของประชาชนในทุกแง่มุมของชีวิต ซึ่งรวมถึงทั้งชุมชนในเชิงกายภาพและวิสาหกิจในเชิงเศรษฐกิจ ด้วยการมาถึงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม นักคิดหลายคนเช่น (Pierre-Joseph Proudhon) และ คาร์ล มาคส์ ได้สาธยายเปรียบเทียบระหว่างแรงงานรับจ้างกับทาส ในบริบทของการวิจารณ์ทรัพย์สินทางสังคมซึ่งไม่ได้มีไว้สำหรับใช้ในกิจส่วนตัว ต่อมา (Emma Goldman) ได้กล่าวประณามทาสค่าจ้างว่า ทาสกับแรงงานรับจ้างต่างกันแค่ตรงที่อย่างแรกเป็นทาสซื้อขายและอีกอย่างเป็นทาสให้เช่า
จอห์น โอนีลล์ กล่าวว่า ก่อนหน้าชัยชนะทางการเมืองของในยุโรปตะวันออกและลัทธิเฟเบียนรูปแบบต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตก นั้นเต็มไปด้วยธรรมเนียมของการสมาคมซึ่งไม่ใช่แบบตลาดและการต่อต้านรัฐ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมหลายคนเชื่อว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมนั้นควรถูกจัดการโดยสมาคมโดยสมัครใจขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกัน คนงานแต่ละคนก็สมควรมีสิทธิในผลผลิตแต่ละชิ้นซึ่งมาจากแรงงานของตนเอง พวกเขาแยกประเภทของทรัพย์สินเพิ่มเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลกับ โดยทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินชนิดที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสิ่ง ๆ หนึ่งนั้นจะมีอำนาจเหนือสิ่งนั้นไม่ว่ามันกำลังถูกใช้งานอยู่หรือหรือไม่ และไม่ว่ามันจะมีศักยภาพในการผลิตมากขนาดไหน ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนตัวเป็นทรัพย์สินชนิดที่หากไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอยู่ก็ไม่มีใครที่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น มากไปกว่านั้น พวกเขายัง (refusal of work) และเสนอทางเลือกใหม่แทน ซึ่งมีรากฐานในแนวคิดเกี่ยวกับศักดิ์ศรี การตระหนักรู้ในตนเอง และเสรีภาพจากการถูกแสวงหาประโยชน์และการครอบงำ ซึ่งในที่นี้เสรีภาพซึ่งไม่ได้เป็น (negative liberty) เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็น (positive liberty) ด้วย ในแง่ที่มองถึงความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นความเข้าใจของแนวคิดเรื่องเสรีภาพซึ่งเกี่ยวโยงกับกับเงื่อนไขทางสังคมและชุมชน และซึ่งมองว่าเสรีภาพนั้นแยกไม่ขาดจากแนวคิดเรื่องความเท่าเทียม
คติต่อต้านอำนาจนิยมและรัฐนิยม
แนวคิดอิสรนิยมโดยทั่วไปถือว่าการรวมศูนย์อำนาจเป็นบ่อเกิดของการกดขี่ซึ่งจำต้องถูกท้าทายและให้ความชอบธรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่ออำนาจถูกใช้ส่งอิทธิพลไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม หรือทางกายภาพ ของบุคคลหนึ่งเหนือบุคคลอื่น ภาระการให้ความชอบธรรมนั้นตกอยู่กับผู้ที่ใช้อำนาจตราบเท่าที่มันถูกใช้ละเมิดสิทธิของบุคคล และยังต่อต้านโครงสร้างของอำนาจที่ตายตัวและเป็นลำดับชั้น ไม่ว่าจะเป็น (power (social and political) (economic power) หรือทางสังคม
นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมมุ่งที่จะแทนที่รัฐและบริษัทด้วยการจัดระเบียบของสังคมเป็นสมาคมโดยสมัครใจ (เช่น (collective), (intentional community), เทศบาล, สหกรณ์, (commons) หรือ (syndicate)) ซึ่งใช้ประชาธิปไตยโดยตรงและฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมบางคนสนับสนุนให้รวมสมาคมเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นสหพันธ์ในระดับที่สูงขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนแบบหมุนเวียนและเรียกกลับได้ ตัวอย่างของสหพันธ์รูปแบบนี้ในทางปฏฺบัติเช่น (anarchism in spain) หรือตัวอย่างในปัจจุบันดังที่ยกตัวอย่างไป
ตรงข้ามกับความคิดทั่วไป สังคมนิยมแบบอิสรนิยมไม่ใช่ขบวนการแบบ (utopia) และมักหลีกเลี่ยงการคาดการณ์หรือการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีเชิงลึกว่าสังคมในอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ยึดธรรมเนียมว่าการตัดสินใจเรื่องเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ในตอนนี้ โดยจะทำได้ผ่านการดิ้นรนและการทดลองเท่านั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดอย่างเป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมชาติ และการวางรากฐานทิศทางการดิ้นรนไว้บนตัวอย่างในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นแล้ว โดยชี้ให้เห็นความสำเร็จของระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ว่าเกิดจากการยึดในการสำรวจอย่างมีเหตุผลที่เปิดกว้าง แทนที่จะยึดว่าข้อสรุปเป็นอย่างไร ต่างจาก (dogma) และการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง นักอนาธิปัตย์คนหนึ่งชื่อ (Rudolf Rocker) ได้กล่าวว่าเขาไม่ได้เป็นนักอนาธิปัตย์เพราะเขาเชื่อในอนาธิปไตยเป็นเป้าหมายสุดท้าย แต่เพราะมันไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเป้าหมายสุดท้าย
เพราะสังคมนิยมแบบอิสรนิยมส่งเสริมให้มีการสำรวจและยอมรับความคิดที่หลากหลายมากกว่าการจัดตั้งขบวนการที่เหนียวแน่น จึงมีการโต้เถียงเกี่ยวกับความเป็นนักสังคมนิยมของบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดหลักในบางข้ออยากหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Peter Hain) ตีความสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นแนวคิดแบบ "" มากกว่าอนาธิปไตย โดยสนับสนุนการกระจายอำนาจแบบมูลวิวัติแต่ไม่ไปไกลถึงขนาดการล้มเลิกรัฐอย่างสมบูรณ์ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยม โนม ชอมสกี สนับสนุนการรื้อถอนอำนาจทางสังคมและเศรษฐกิจที่ไม่ชอบธรรมทุกรูปแบบ และในขณะเดียวกันก็เน้นย้ำว่าการแทรกแทรงจากภาครัฐเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนเป็นการคุ้มครองชั่วคราวขณะที่โครงสร้างที่กดขี่ยังคงมีอยู่ เช่นกัน (Peter Marshall (author)) กล่าวว่ามันรวมถึงพวกที่นิยมซึ่งต้องการจำกัดและกระจายอำนาจของรัฐ พวกสหการนิยมซึ่งต้องการล้มล้างมันให้สิ้นไป จนถึงแม้แต่พวกลัทธิเฟเบียนและประชาธิปไตยสังคมนิยมซึ่งต้องการสร้างเศรษฐกิจแบบสังคมกรณ์ (socialization) แต่ยังเห็นว่ารัฐยังมีหน้าที่ที่จำกัด
ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักว่าต่อต้านการมีอยู่ของรัฐหรือรัฐบาล และปฏิเสธไม่มีส่วนร่วมกับสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจบังคับ ในอดีต บางคนปฏิเสธที่จะสาบานตนในศาลหรือเข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดี แม้เมื่อจำต้องถูกจำคุก หรือเนรเทศ พวกคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดสังคมนิยมแบบอิสรนิยมรูปแบบหนึ่งซึ่งเคลือบแคลงในแนวคิดแบบลัทธิมากซ์–เลนินและประชาธิปไตยสังคมนิยม ถูกกล่าวถึงว่าเป็นกลุ่มคนที่มองว่าการจัดการโดยตนเองของชนชั้นแรงงานหรือของผู้คนเป็นคำตอบของปัญหาในการดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสังคมนิยม การปฏิวัติ และการจัดระเบียบของสังคมหลังทุนนิยม แต่ก็ยังคงมีการรวมกลุ่มกันในรูปแบบที่คล้ายกับเป็นพรรคซึ่งใช้กระบวนการปลุกปั่น โฆษณาชวนเชื่อ การให้การศึกษา และการแทรกแซงทางการเมืองในรูปแบบอื่น ๆ สิ่งนี้เป็นประเด็นที่มีปัญหาในขบวนการคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย และทำให้เกิดความแตกต่างในแต่ละขบวนการ ตั้งแต่ฝั่งที่ปฏิเสธการมีพรรคการเมืองและเลือกมีเพียงกลุ่มศึกษาหรือ (affinity group) แทน จนถึงฝั่งที่วิจารณ์ความไร้เดียงสาของแนวคิดที่บอกว่าการปฏิวัติจะเกิดขึ้นเอง และยืนกรานว่าองค์การคอมมิวนิสต์ที่มีวินัย วิจารณ์ตนเอง และเชื่อมโยงกันด้วยคนจำนวนมากมีหน้าที่ที่จำเป็นของมัน แม้จะมีความเคร่งครัดน้อยกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วไป
เสรีภาพของพลเมืองและเสรีภาพของปัจเจกบุคคล
นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมสนับสนุน (civil liberties) (ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการพูด ศาสนา การชุมนุม และอื่น ๆ) ซึ่งมอบสิทธิให้ปัจเจกบุคคล เช่น (free love) และเรื่องความคิด ต่อสู้กับสถาบันรัฐและศานาที่จำกัดสิทธิเหล่านี้ ลัทธิอนาธิปไตยสนับสนุนความรักเสรีมาตั้งแต่เริ่ม และเด่นชัดขึ้นในขบวนการและขบวนการการสนับสนุนสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ในสมัยต่อมา ลัทธิอนาธิปไตยมีส่วนร่วมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเพศเช่นงานลามกบีดีเอสเอ็ม และ (sex industry)
คตินิยมสิทธิสตรีแบบอนาธิปไตยเป็นการผสมกันระหว่างแนวคิดสิทธิสตรีแบบมูลวิวัติกับลัทธิอนาธิปไตย ซึ่งมองว่าปิตาธิปไตยเป็นรัฐเชิงบีบบังคับขั้นพื้นฐานที่ปรากฏออกมา โดยได้รับอิทธิพลจากงานเขียนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของนักอนาธิปัตย์สตรีสิทธินิยมยุคแรกเช่น (Lucy Parsons) (Emma Goldman) วอลแตรีน เดอ แคลร์ และบีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน นักสตรีสิทธินิยมอนาธิปไตยวิจารณ์และสนับสนุนให้เลิกแนวคิดเรื่องครอบครัว การศึกษา และบทบาททางเพศแบบประเพณีดั้งเดิม ผู้สนับสนุนแนวคิดความรักเสรีบางรายนับว่าขบวนการมีต้นกำเนิดจากนักอนาธิปัตย์ยุคแรกเช่น (Josiah Warren) กับชุมชนทดลองต่าง ๆ และมองว่าเสรีภาพทางเพศเป็นการแสดงออกซึ่ง (self-ownership) ของปัจเจกบุคคล ความรักเสรีให้ความสำคัญกับสิทธิสตรีเพราะกฎหมายที่เกี่ยวกับเพศส่วนใหญ่เลือกปฏิบัติต่อสตรี เช่นกฎหมายการสมรสและมาตรการต่อต้านการคุมกำเนิด
นักสังคมนิยมอิสรนิยมเคลือบแคลงและต่อต้าน (Organized religion)ความคิดอย่างอิสระเป็นมุมมองเชิงปรัชญาซึ่งถือว่าความคิดเห็นต้องมีอยู่บนฐานของวิทยาศาสตร์ ตรรกะ และเหตุผล และไม่ควรได้รับอิทธิพลจากอำนาจ ประเพณี หรือสิทธันต์อื่นใด ในสหรัฐ ขบวนการความคิดอย่างอิสระต่อต้านศาสนาคริสต์และ โดยมีเป้าหมายให้บุคคลมีอิสระทางการเมืองและจิตวิญญาณที่จะตัดสินเรื่องเกี่ยวกับศาสนาด้วยตนเอง ผู้มีส่วนร่วมในวารสารอนาธิปัตย์ Liberty หลายคนเป็นบุคคลสำคัญในขบวนการอนาธิปไตยและความคิดอย่างอิสะ ไม่ว่าจะเป็น จอร์จ แมคโดนัลด์ บรรณาธิการร่วมของ Freethought กับ The Truth Seeker และ อี.ซี. วอล์กเกอร์ บรรณาธิการร่วมของ Lucifer, the Light-BearerFree Society เป็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์อนาธิปัตย์ที่สำคัญช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้น 20 ในสหรัฐ ที่สนับสนุนความรักเสรีและสิทธิสตรี และวิจารณ์การเซ็นเซอร์เนื้อหาที่เกี่ยวกับเพศของ (Anthony Comstock)
ใน ค.ศ. 1901 นักอนาธิปัตย์ชาวกาตาลันและนักคิดอย่างอิสระ (Francisco Ferrer) ก่อตั้ง (Ferrer movement) หัวก้าวหน้าขึ้นในบาร์เซโลนาเพื่อท้าทายระบบการศึกษาที่ศาสนจักรคาทอลิกควบคุม โรงเรียนเหล่านี้มีเป้าหมายให้ (Popular education) ในบริบทที่ใช้เหตุผล เป็นโลกวิสัย และไม่บีบบังคับ เฟร์เรร์ต่อต้านศาสนจักรและเชื่อในเสรีภาพในการศึกษาที่เป็นอิสระจากอำนาจของศาสนจักรและรัฐ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นัก (Freudo-Marxism) ชาวออสเตรีย (Wilhelm Reich) ซึ่งเป็นคนบัญญัติวลี (sexual revolution) ในคริสต์ทศวรรษ 1940 เรียกร้องเสรีภาพทางเพศ (Elizabeth Danto) กล่าวว่าเขาเปิดคลินิกให้คำปรึกษาทางเพศโดยไม่มีค่าใช้จ่ายให้แก่ชนชั้นแรงงานในเวียนนาโดยให้คำปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ คำแนะนำมาร์กซิสต์ กับอุปกรณ์คุมกำเนิด และสนับสนุนการแสดงออกทางเพศของทุกคนรวมถึงเยาวชนและคนที่ยังไม่แต่งงาน โดยยินยอมมากจนทั้งฝ่ายซ้ายและนักจิตวิเคราะห์บางส่วนไม่สบายใจ คลินิกของเขาได้รับความนิยมในทันทีจากผู้คนจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือ ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 นักอนาธิปัตย์และสันตินิยมชาวอังกฤษ (Alex Comfort) เป็นที่รู้จักจากงานเขียนคู่มือเพศสัมพันธ์ชื่อ The Joy of Sex และ More Joy of Sex
วิธีการซึ่งใช้ความรุนแรงและซึ่งไม่ใช้ความรุนแรง
นักสังคมนิยมอิสรนิยมบางคนมองว่าการปฏิวัติที่ใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อล้มล้างสังคมทุนนิยม ในขณะที่คนอื่น ๆ สนับสนุนวิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรง (Errico Malatesta) กล่าวว่าการใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่จำเป็น ดังที่เขากล่าวไว้ใน (Umanità Nova) (ฉบับที่ 125, 6 กันยายน 1921):
ความปรารถนาและความตั้งใจของเราคือการที่ทุกคนควรมีจิตสำนึกและประสิทธิผลทางสังคม แต่เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ทุกคนมีปัจจัยการดำรงชีพและการพัฒนา และจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ความรุนแรงเพื่อทำลายความรุนแรงซึ่งปฏิเสธปัจจัยเหล่านี้แก่เหล่าคนงาน ในเมื่อไม่มีทางอื่นใดที่จะทำได้
ปีแยร์-โฌแซ็ฟ พรูดง สนับสนุน (nonviolent revolution) ผ่านกระบวนการ (dual power) ซึ่งคือการก่อตั้งสถาบันเชิงสังคมนิยมอิสรนิยมซึ่งจะสร้างสมาคมที่จะทำให้สามารถขยายเครือข่ายภายใต้ระบอบทุนนิยมรัฐที่เป็นอยู่ได้โดยมีความตั้งใจว่าในที่สุดจะทำให้ทั้งรัฐและเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องเสื่อมลงไป การที่ลัทธิอนาธิปไตยเคลื่อนไปหาความรุนแรงนั้นก็มีรากมาจากที่ชุมชนซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากความคิดของพรูดงและคนอื่นต้องประสบกับการฆาตกรรมหมู่ นักลัทธิคอมมิวนิสต์อนาธิปไตยหลายคนเริ่มมองเห็นความจำเป็นของความรุนแรงเพื่อการปฏิวัติเพื่อตอบโต้กับความรุนแรงที่มีอยู่ทั้งในระบอบทุนนิยมและรัฐบาล
(Anarcho-pacifism) เป็นขบวนการอนาธิปไตยที่ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในการดิ้นรนเพื่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดแนวทางนี้ที่สำคัญคนแรก ๆ เช่น เฮนรี เดวิด ทอโร และ เลโอ ตอลสตอย แนวคิดนี้พัฒนาขึ้นมาใน ฮอลแลนด์ [] บริเตน และสหรัฐทั้งก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเป็นส่วนใหญ่ การต่อต้านวิธีการใช้ความรุนแรงไม่ได้หมายความว่านักอนาธิปัตย์แบบสันตินิยมจะไม่ยอมรับในหลักการขัดขืนหรือแม้แต่ ตราบใดที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง และการยอมรับแนวทางการต่อต้านอำนาจเช่นนี้เองนำพาให้นักอนาธิปัตย์สันตินิยมสนับสนุนแนวคิดการนัดหยุดงานทั่วไปของเป็นอาวุธในการปฏิวัติ
ประเด็นสิ่งแวดล้อม
เป็นซึ่งเน้นย้ำโดยเฉพาะในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม อิทธิพลเริ่มแรกมาจากความคิดของนักอนาธิปัตย์ชาวอเมริกัน เฮนรี เดวิด ทอโร และหนังสือชื่อ วอลเดน ของเขา รวมถึง เลโอ ตอลสตอย และ (Élisée Reclus) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (anarcho-naturism) ถือกำเนิดขึ้นจากการผสานกันของลัทธิอนาธิปไตยและปรัชญา (naturism) ภายในวงขบวนการลัทธิอนาธิปไตยแบบปัจเจก ในประเทศคิวบา โปรตุเกส ฝรั่งเศส สเปน และสหราชอาณาจักร
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดกระแสปัจจุบันเช่น (Anarcho-primitivism) และ (Social ecology (Bookchin)) นักกิจกรรมและทฤษฎีอย่าง (Takis Fotopoulos), โนม ชอมสกี, (Murray Bookchin) และ (Cornelius Castoriadis) ได้เขียนในวารสารสังคมนิยมอิสรนิยมและประชาธิปไตยเชิงนิเวศ ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่มีชื่อว่า (Democracy & Nature)
รากฐานทางการเมือง
ภายในแนวคิดสังคมนิยมสมัยใหม่ยุคแรก
กบฏชาวนาในยุคหลังการปฏิรูป
นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมอ้างว่า (Levellers) ชาวอังกฤษจากคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นหนึ่งในบรรพบุรุษทางอุดมการณ์ของพวกเขา นักเขียนสังคมนิยมแบบอิสรนิยมบางคนได้ระบุงานเขียนของนักปฏิรูปสังคมโปรเตสแตนต์ชาวอังกฤษ (Gerrard Winstanley) และงานกิจกรรมทางสังคมของกลุ่มของเขา ( (Diggers)) ว่าเป็นสารตั้งต้นของแนวคิดแนวนี้ ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์อนาธิปัตย์ (George Woodcock) ถึงแม้ว่า จะเป็นนักเขียนคนแรกที่เรียกตนเองเป็นนักอนาธิปัตย์ มีคนอย่างน้อยอีกสองคนก่อนหน้าที่ร่างเค้าโครงของระบบซึ่งมีองค์ประกอบพื้นฐานของอนาธิปไตยทุกประการ คนแรกคือ เจอร์ราร์ด วินสแตนลีย์ (ค.ศ. 1609 ถึง ป. 1660) ซึ่งเป็นผู้ค้าผ้าลินินที่ได้นำการเคลื่อนไหวขนาดเล็กของพวกดิกเกอส์ในยุคเครือจักรภพ วินสแตนลีย์และผู้ติดตามของเขาได้ประท้วงในนามของคริสต์ศาสนาสายมูลวิวัติเพื่อต่อต้านภัยพิบัติทางเศรษฐกิจตามหลังจากสงครามกลางเมืองอังกฤษ และเพื่อต่อต้านความไม่เท่าเทียมที่เหล่าขุนนางแห่งกองทัพตัวแบบใหม่ต้องการจะอนุรักษ์ไว้
ระหว่าง ค.ศ. 1649 ถึง 1650 พวกดิกเกอส์ได้เข้าจับจองที่ดินคอมมอนในภาคใต้ของอังกฤษ และพยายามที่จะจัดตั้งประชาคมที่อยู่บนฐานของการทำงานบนที่ดินนั้นและการแบ่งปันทรัพยากร ชุมชนพวกนั้นไม่สำเร็จ แต่ใบปลิวชุดโดยวินสแตนลีย์ยังหลงเหลืออยู่ และหนึ่งในนั้น เดอะนิวลอว์ออฟไรต์เชียสเน็ส (The New Law of Righteousness) (ค.ศ. 1649) เป็นอันที่สำคัญที่สุด โดยกล่าวสนับสนุนคริสต์ศาสนาที่ใช้เหตุผล วินสแตนลีย์ถือว่าพระคริสต์นั้นคือ "อิสรภาพอันเป็นสากล" และป่าวประกาศถึงธรรมชาติความทุจริตอันเป็นสากลของอำนาจหน้าที่ เขามองเห็นถึง "เอกสิทธิ์เสมอกันที่จะแบ่งปันกันภายใต้พรของอิสรภาพ" และสืบพบถึงความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งระหว่างสถาบันของทรัพย์สินและความขาดแคลนในเสรีภาพ
ได้กล่าวว่าลัทธิอนาธิปไตยในโลกสมัยใหม่ปรากฏเป็นครั้งแรกในรูปของการเคลื่อนไหวของไพร่และเสรีชนเพื่อต่อต้านสถาบันศักดินาที่เสื่อมคลายลง ว่าแนวคิดของวินสแตนลีย์และ (Thomas Müntzer) ผู้นำสงครามชาวนาเยอรมันนั้นเหมาะสมกับยุคสมัยของพวกเขามาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ที่ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท และเมื่อกองกำลังปฏิวัติที่เข้มแข็งที่สุดมาจากสังคมเกษตรกรรม และกล่าวอีกว่าพวกเขานั้นพูดตรงกับช่วงเวลา และแนวคิดอนาธิปไตยของพวกเขาดำเนินมาอย่างเป็นธรรมชาติจากสังคมชนบทที่ติดอาวุธให้แก่กองทัพชาวนาในเยอรมนีและกองทัพตัวแบบใหม่ในอังกฤษ
ยุคเรืองปัญญา
เป็นที่กล่าวขานโดยนักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมบางคน ถึงมุมมองที่ถือว่าเหล่าชาวฝรั่งเศสยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 (Encyclopédistes) รวมถึง ทอมัส เจฟเฟอร์สัน, โทมัส เพน และนักคิดยุคเรืองปัญญาชาวอังกฤษ (William Godwin) เป็นบรรพบุรุษทางอุดมการณ์ของพวกเขา
ในความคิดของวูดค็อก วิลเลียม กอดวิน ได้ให้เค้าโครงของลัทธิอนาธิปไตยที่ละเอียดขึ้นไว้ในหนังสือของเขา เอนไควรีคอนเซิร์นนิงโพลิติคัลจัสติส (Enquiry Concerning Political Justice) (ค.ศ. 1793) แม้จะยังไม่ใช้ชื่อว่า "Anarchism" เขาถือว่ากอดวินเป็นนักอนาธิปัตย์แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยนิยมกระบวนการซึ่งเขามองว่าเป็นธรรมชาติกว่า เหนือกิจกรรมสายปฏิวัติ นั่นคือการสนทนาระหว่างมนุษย์ผู้มีไมตรีจิตโดยเขาหวังว่าความจริงจะมีชัยด้วยอำนาจของมันเองในที่สุด เขากล่าวอีกว่ากอดวินซึ่งได้รับอิทธิพลจากจารีตของความขัดแย้งจากอังกฤษและปรัชญาเรืองปัญญาจากฝรั่งเศส ได้นำเสนอบทวิจารณ์แบบอนาธิปไตยในขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับรัฐ ทรัพย์สินสะสม และการมอบหมายอำนาจหน้าที่ผ่านกระบวนการประชาธิปไตย
โนม ชอมสกี ถือว่าสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็น "ส่วนต่อขยายที่เหมาะสมและเป็นธรรมชาติ" ของเสรีนิยมคลาสสิก "ไปในยุคสมัยของสังคมอุตสาหกรรมขั้นสูง" ชอมสกีมองว่าความคิดแบบสังคมนิยมอิสรนิยมเป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากความคิดแบบเสรีนิยมคลาสสิกของยุคเรืองปัญญา โดยกล่าวว่าจุดยืนทางอุดมการณ์ของเขานั้นวนเวียนอยู่เกี่ยวกับ "การหล่อเลี้ยงคุณลักษณะความสร้างสรรค์และความเป็นอิสรนิยมของมนุษยชน" ชอมสกีแลเห็นถึงอนาคตแบบที่มี (Workers' control) ของปัจจัยการผลิตโดยตรง และการรัฐบาลโดยสภาคนงานที่จะเลือกผู้แทนให้มาพบกันในสมัชชาสามัญต่าง ๆ จุดมุ่งหมายของการปกครองโดยตนเองเช่นนี้คือเพื่อทำให้พลเมืองแต่ละคน "เป็นผู้มีส่วนร่วมโดยตรงในรัฐบาลของกิจการต่าง ๆ" ในคำพูดของเจฟเฟอร์สันเอง ชอมสกีเชื่อว่าจะไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีพรรคการเมืองอีกแล้ว ชอมสกีเชื่อว่าปัจเจกบุคคลจะสามารถพึงพอใจในงานของตนเอง และมีสำนึกในหน้าที่และความสมปรารถนา ผ่านการควบคุมชีวิตการผลิตของตัวเองได้ ชอมสกีกล่าวว่างานที่ไม่เป็นที่นิยมและไม่เป็นที่พอใจจะสามารถถูกทำให้เป็นอัตโนมัติได้โดยสมบูรณ์ ถูกทำโดยคนงานซึ่งได้ค่าตอบแทนเป็นพิเศษ หรือถูกแบ่งสรรให้กับทุกคน
ในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส (Sylvain Maréchal) ได้เรียกร้องให้ส่วนรวมได้เพลิดเพลินกับผลผลิตของแผ่นดินในแถลงการณ์ของเขา มานิเฟสโตออฟเดอะอิควอลส์ (Manifesto of the Equals) (ค.ศ. 1796) และมุ่งรอคอยถึงการหายไปของ "การแบ่งแยกอันน่าขยะแขยงระหว่างความรวยและความจน ระหว่างความยิ่งใหญ่และความเล็กน้อย ระหว่างเจ้านายและบ่าวไพร่ ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง" คำว่า แอนาร์คิสต์ (anarchist) หรือนักอนาธิปัตย์ถูกนำเข้ามาในภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1642 ในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ ซึ่งถูกใช้โดยพวกแควาเลียร์เป็น (Pejorative) ฝ่ายตรงข้ามของพวกเขานั่นคือพวกหัวเกรียน ต่อมาในยุคปฏิวัติฝรั่งเศส คนบางกลุ่มเช่นพวก (Enragés) เริ่มนำคำนี้มาใช้ในด้านบวก เพื่อต้านการรวมศูนย์อำนาจโดยพวก โดยมองว่ารัฐบาลปฏิวัตินั้นมีความย้อนแย้งในตัวเอง จนกระทั่งช่วงสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า Anarchism ในภาษาอังกฤษก็ได้หมดความหมายเชิงลบในตอนแรกของมันไป
ยุคจินตนิยมและสังคมนิยมแบบยูโทเปีย
ในคำนำซึ่งเขียนโดย เคนต์ บรอมลีย์ ในหนังสือ เดอะคอนเควสต์ออฟเบรด ของ ปิออตร์ โครปอตกิน เขาถือว่านักสังคมนิยมแบบยูโทเปียชาวฝรั่งเศส ชาร์ล ฟูรีเย เป็นผู้สถาปนาแนวคิดสังคมนิยมสาขาอิสรนิยมซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดสังคมนิยมแบบอำนาจนิยมของ ฟร็องซัว-โนเอล บาเบิฟ และฟิลิปป์ บูโอนาร์รอตตี นักอนาธิปัตย์ ฮะกีม เบย์ (Hakim Bey, นามปากกาของ (Peter Lamborn Wilson)) อธิบายแนวคิดของฟูริเยว่า: "ในระบบของความบรรสานของฟูริเย กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม ฯลฯ จะถือกำเนิดขึ้นจากฉันทะที่ถูกปลดปล่อย นี่คือทฤษฎีที่โด่งดังว่าด้วย 'แรงงานที่มีเสน่ห์' ฟูริเยทำให้ตัวของงานเองกลายเป็นเรื่องทางเพศ ชีวิตของจึงเป็นเพศสัมพันธ์หมู่ที่ไม่หยุดยั้งของความรู้สึกอันแรงกล้า การทำความเข้าใจ และกิจกรรม เป็นสังคมของเหล่านักรักและผู้ที่คลั่งไคล้อันป่าเถื่อน" ลัทธิฟูริเยก่อตัวขึ้นมาในข่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่คอมมูนฟาล็องสแตร์ (Phalanstère) หลายร้อยแห่งถูกก่อตั้งขึ้นบนหลักการฟูริเยริสต์ในประเทศฝรั่งเศส ทวีปอเมริกาเหนือ ประเทศเม็กซิโก ทวีปอเมริกาใต้ ประเทศแอลจีเรีย และประเทศยูโกสลาเวีย ทั้ง ปีแยร์-โฌแซ็ฟ พรูดง, ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ และ ปิออตร์ โครปอตกิน ล้วนได้อ่านงานเขียนของเขาอย่างหลงใหล เช่นเดียวกันกันกับ (André Breton) และ รอล็อง บาร์ต ในงานของ (Herbert Marcuse) ชื่อ เอโรสแอนด์ซิวิไลเซชัน (Eros and Civilization) เขาได้ยกย่องฟูริเยโดยกล่าวว่าเขา "เข้าใกล้ที่จะไขความถึงการพึ่งพากันระหว่างเสรีภาพและ (Sublimation (psychology)) ที่ไม่ถูกอดกลั้นมากกว่านักสังคมนิยมแบบยูโทเปียคนอื่นคนใด"
นักอนาธิปัตย์ ปีเตอร์ ซาบาตีนี เขียนไว้ว่าในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสหรัฐ "กลุ่มวัฒนธรรมต่อต้านแบบ 'ยูโทเปีย' และแบบคอมมูนชุดหนึ่งได้ปรากฏตัวขึ้นมา" ซึ่งรวมถึงขบวนการความรักเสรีด้วย "ลัทธิอนาธิปไตยของ ส่งอิทธิพลต่อเหล่านี้บางส่วน" แต่ก็ไม่เท่าสังคมนิยมของ โรเบิร์ต โอเวน และ "ภายหลังความสำเร็จของธุรกิจของเขาในบริเตน โอเวนก็ได้ก่อตั้งชุมชนสหกรณ์ด้วยตัวเขาเองในสหรัฐที่เมือง (New Harmony, Indiana) ในช่วง ค.ศ. 1825 หนึ่งในสมาชิกของคอมมูนนี้คือ โจไซอา วอร์เรน (ค.ศ. 1798–1874) ซึ่งถูกถือว่าเป็นนักอนาธิปัตย์แบบปัจเจกคนแรก"
ภายในแนวคิดสังคมนิยมสมัยใหม่
ลัทธิอนาธิปไตย
อย่างที่ (Albert Meltzer) และ (Stuart Christie) ได้กล่าวไว้ในหนังสือของพวกเขาชื่อว่า เดอะฟลัดเกตออฟแอนาร์คี (The Floodgates of Anarchy):
ลัทธิอนาธิปไตยมีทายกรรมเฉพาะตัวของมัน ส่วนหนึ่งมีร่วมกับสังคมนิยม ทำให้มีกับศัตรูของมันบางพวก อีกส่วนของทายกรรมของมันนั้นมีร่วมกับเสรีนิยม ทำให้มันเป็นลูกพี่ลูกน้องตั้งแต่เกิดกับสายมูลวิวัติแบบอเมริกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้แต่งงานออกจากครอบครัวไปกับฝ่ายขวา และก็ไม่ได้พูดคุยกันแล้ว
ปีแยร์-โฌแซ็ฟ พรูดง ผู้ที่มักถูกถือว่าเป็นบิดาของลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่ ได้บัญญัติวลีว่า "" (Property is theft!) (ทรัพย์สินคือการลักทรัพย์) เพื่ออธิบายมุมมองส่วนหนึ่งของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและเสรีภาพ ที่เขากล่าวว่าทรัพย์สินคือการลักทรัพย์ เขาหมายถึงนายทุนที่เขามองว่าได้ขโมยกำไรไปจากผู้ใช้แรงงาน สำหรับพรูดง ลูกจ้างของนายทุนนั้น "ถูกกดขี่ ถูกเอาเปรียบ สภาพถาวรของเขานั้นคือการเชื่อฟัง"
สิบเจ็ดปี (ค.ศ. 1857) หลังจากที่พรูดงเรียกตัวเองเป็นนักอนาธิปัตย์ (anarchist) เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1840 นักอนาธิปัตย์คอมมิวนิสต์ เป็นบุคคลแรกที่เรียกตัวเองเป็นนักอิสรนิยม (libertarian) นอกสหรัฐ คำว่าอิสรนิยมโดยทั่วไปหมายถึงอุดมการณ์ที่ต่อต้านอำนาจนิยมและต่อต้านทุนนิยม
สังคมนิยมแบบอิสรนิยมมีรากฐานอยู่ในแนวคิดเสรีนิยมคลาสสิกและสังคมนิยม ถึงแม้จะขัดแย้งกับแนวคิดเสรีนิยม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเสรีนิยมใหม่และอิสรนิยมฝ่ายขวา) และแบบอำนาจนิยมอยู่บ่อยครั้งในเวลาเดียวกัน แม้ว่าสังคมนิยมแบบอิสรนิยมจะมีรากฐานอยู่ในทั้งแนวคิดสังคมนิยมและเสรีนิยม แต่ก็มีรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองธรรมเนียมการเมืองในระดับที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่นแนวคิดอนาธิปไตยแบบ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเสรีนิยมมากกว่า ในขณะที่แนวคิดอนาธิปไตยแบบคอมมิวนิสต์และแบบสหการนิยมได้รับอิทธิพลจากสังคมนิยมมากกว่า ถึงอย่างนั้นก็ตาม ลัทธิอนาธิปไตยแบบช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีต้นกำเนิดมาจากสังคมนิยมในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (ดังเช่นสังคมนิยมแบบฟูริเย) กลับกัน แนวคิดอนาธิปไตยแบบคอมมิวนิสต์และแบบสหการนิยมกลับมีต้นกำเนิดที่เก่าแก่ที่สุดในแนวคิดเสรีนิยมในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ดังเช่นการปฏิวัติฝรั่งเศส)
ลัทธิอนาธิปไตยเป็นอุปสรรคลำดับแรก ๆ ต่อแนวคิดแบบและ ซึ่งมันสืบพบว่ามีอยู่ในภาคส่วนสำคัญของขบวนการสังคมนิยม นักอนาธิปัตย์กล่าวหาว่าพัฒนาการของการเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐสภา กระทรวงทบวงกรม และพรรคการเมืองจะนำไปสู่คติมูลวิวัติที่ลดลงและการกลายสภาพเป็นกระฎุมพี และการเมืองแห่งรัฐก็จะทำลายปัจเจกภาพและประชาคมที่แท้จริง นักอนาธิปัตย์หลายคนจึงปฏิเสธการจัดระเบียบในรูปแบบของลัทธิมากซ์ และต้องการบ่อนทำลายอำนาจลำดับชั้นผ่านวิธีการรวมกลุ่มทางการเมืองและวัฒนธรรมแบบหลวม ๆ หรือผ่านวิธีการสนับสนุนการจัดระเบียบด้วยหน่วยของการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจในหน่วย ๆ เดียวนี้เป็นองค์กรเดี่ยว ตาม (Otto Rühle) และแนวคิดสหการนิยม นักอนาธิปัตย์หลายคนก็ปฏิเสธอำนาจของปัญญาชนและวิทยาศาสตร์ โดยกล่าวว่า 'ในการยึดครองสถาบันรัฐ และการยกระดับบทบาทของพรรคการเมือง เหล่าปัญญาชนกำลังส่งเสริมหลักการของชนชั้นซึ่งถูกฝังไว้ในสถาบันการเมืองและการปกครอง' โดยถือว่าการปฏิวัตินั้นเกิดขึ้นผ่านพลังของพฤติการณ์และ/หรือสัญชาตญาณขบถที่มีอยู่ในมวลชนเท่านั้น ที่เรียกว่า 'สัญชาตญาณเพื่อเสรีภาพ' ตามบาคูนินและชอมสกี หรือตามคำกล่าวของบาคูนินเอง: 'ทั้งหมดที่ปัจเจกชนจะทำได้นั้นคือการอธิบาย เผยแพร่ และคิดหาความคิดซึ่งสอดคล้องกับสัญชาตญาณของประชาชน'
ลัทธิมากซ์
แนวคิดลัทธิมากซ์สายอิสรนิยมเริ่มพัฒนาขึ้นหลังเหตุการณ์จำเพาะต่าง ๆ แชมซี โอเจลี กล่าว: "เราพบการแสดงออกซึ่งมุมมองเช่นนี้ครั้งแรก ๆ ใน [วิลเลียม] มอร์ริส และ (Socialist Party of Great Britain) (SPGB) และต่อมาในเหตุการณ์ต่าง ๆ ช่วง ค.ศ. 1905 พร้อมกับความกังวลใจที่เพิ่มขึ้นต่อการเพิ่มขึ้นของความเป็นราชการและการลดลงของคติมูลวิวัติในสังคมนิยมนานาชาติ" มอร์ริสได้ก่อตั้ง (Socialist League (UK, 1885)) ขึ้นมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1884 ซึ่งได้รับความสนับสนุนจาก ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ และ (Eleanor Marx) ในฐานะที่เป็นหัวหอกภายในองค์กร มอร์ริสได้เริ่มกล่าวคำปราศัยและปาฐกถาอย่างไร้ปรานีทั้งตามมุมถนน ในสมาคมคนงาน และห้องบรรยายต่าง ๆ ทั่วทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1887 จำนวนนักอนาธิปัตย์เริ่มมีมากกว่าจำนวนนักสังคมนิยมภายในสันนิบาตสังคมนิยม การประชุมประจำปีครั้งที่สามของสันนิบาตที่ลอนดอนในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1887 เป็นหมุดหมายของการเปลี่ยนแปลง ที่ผู้แทนส่วนใหญ่ใน 24 สาขาได้ลงคะแนนสนับสนุนมติที่ผลักดันโดยพวกอนาธิปัตย์ ซึ่งกล่าวว่า "ที่ประชุมนี้สนับสนุนนโยบายที่จะละเว้นซึ่งปฏิบัติการทางรัฐสภา ซึ่งสันนิบาตได้ดำเนินการมาจนกระทั่งบัดนี้ และมองไม่เห็นถึงเหตุผลใดที่ดีเพียงพอที่เราจะเปลี่ยนแปลงมัน" ผลที่ตามมาคือ สันนิบาตได้เสียแรงสนับสนุนของ เอ็งเงิลส์ ไป และ เอเลนอร์ มาคส์ กับคู่รักของเธอ ได้ออกมาก่อตั้งองค์กรแยกออกมาชื่อว่า สมาคมสังคมนิยมบลูมส์บรี (Bloomsbury Socialist Society)
ในช่วงระหว่างและภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยความผิดหวังในการยอมจำนนของนักประชาธิปไตยสังคมนิยม ด้วยความตื่นเต้นจากการเกิดขึ้นของ และด้วยการเอาตัวออกห่างจากลัทธิเลนิน นักคอมมิวนิสต์หลายคนกลับปฏิเสธคำกล่าวอ้างต่าง ๆ ของพรรคการเมืองสังคมนิยม และกลายมามีความเชื่อมั่นในมวลชน โดย "สัญชาตญาณของมวลชนสามารถมีอัฉริยภาพมากกว่างานชิ้นใด ๆ ของอัฉริยะผู้ยิ่งใหญ่คน ๆ เดียว" จุดยืนที่ฝ่ายซ้ายจัดในช่วงเวลานั้นหยิบยกมาใช้ ก็เช่น (workerism) และ (spontaneism) ของ โรซา ลุคเซิมบวร์ค ตัวอย่างเช่น (Antonie Pannekoek), (Henriette Roland Holst) และ (Herman Gorter) ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ประเทศอังกฤษ อันโตนีโอ กรัมชี ที่ประเทศอิตาลี และ (György Lukács) ที่ประเทศฮังการี ซึ่งด้วยแนวคิดนี้ (dictatorship of the proletariat) จะเป็นระบอบเผด็จการของชนชั้นดังกล่าว ไม่ใช่เผด็จการของพรรคการเมืองหรือพรรคพวกใด แต่ความตึงเครียดระหว่างคติต่อต้านแนวหน้านิยมกับแนวหน้านิยมก็จบลงได้สองทางซึ่งตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือการเลี้ยวเข้าสู่พรรคการเมืองประการแรก และการโน้มเอียงสู่คติของการปฏิวัติที่เกิดเองโดยสัมบูรณ์จากชนกรรมาชีพประการที่สอง กรัมชีและลุกาชคือตัวอย่างของประการแรก และประการที่สองพบได้ในแนวโน้มซึ่งพัฒนามาจากฝ่ายซ้ายจัดดัตช์และเยอรมัน ซึ่งมีแนวโน้มสู่การขจัดรูปแบบแบบพรรคการเมืองให้สิ้นไป
ในสหภาพโซเวียตที่เพิ่งก่อกำเนิดขึ้น ก็เกิด (left-wing uprisings against the Bolsheviks) ซึ่งเป็นการกบฏและการก่อการการกำเริบจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านพวกบอลเชวิค ซึ่งถูกนำหรือได้รับการสนับสนุนโดยฝ่ายซ้าย อาทิ (Socialist Revolutionary Party) (Left Socialist-Revolutionaries) พวก (Mensheviks) และนักอนาธิปไตย บางส่วนสนับสนุนขบวนการขาว (White Movement) ในขณะที่บางส่วนพยายามเป็นอำนาจอิสระ การก่อการกำเริบเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1918 และต่อเนื่องมาจนสงครามกลางเมืองรัสเซีย และต่อไปจนถึง ค.ศ. 1922 พวกบอลเชวิคก็เริ่มล้มเลิกความพยายามที่จะนำกลุ่มเหล่านี้มาเข้าร่วมรัฐบาลและเริ่มปราบปรามพวกเขาโดยใช้กำลังเป็นการตอบโต้ โดย วลาดีมีร์ เลนิน ก็ได้โจมตีนักวิจารณ์พรรคบอลเชวิคหลายคนซึ่งมีจุดยืนที่ซ้ายกว่าพวกเขาในงานของเขาเอง ชื่อว่า คอมมิวนิสต์ปีกซ้ายความคิดระส่ำระส่ายไร้เดียงสา ("Left-Wing" Communism: An Infantile Disorder)
นักสังคมนิยมแบบมากซิสต์อิสรนิยมหลายคนมองว่าความล้มละลายทางการเมืองของสังคมนิยมแบบดั้งเดิมแสดงถึงความจำเป็นของความก้าวหน้าทางทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นความหัวรั้นในเรื่องเชิงทฤษฎีแบบมากซ์อย่างที่สุดซึ่ง (Bordigism) และพรรค SPGB สนับสนุน หรือจะเป็นการถอยกลับ "หลังมากซ์" ไปสู่แบบแผนของการ (Antipositivism) ของแนวคิด (German idealism) ของนักสังคมนิยมอื่น ๆ แนวคิดสังคมนิยมแบบอิสรนิยมมักจะเชื่อมโยงความปรารถนาทางการเมืองที่จะต่อต้านอำนาจนิยมว่าเป็นความแตกต่างทางทฤษฎีของมันจากแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น (Karl Korsch) เขาเป็นนักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเป็นส่วนใหญ่ของชีวิตเขา ก็เพราะแรงผลักดันที่ฝังแน่นของเขาต่อความเปิดกว้างทางทฤษฎีในงานของเขา เขาปฏิเสธสิ่งที่เป็นนิรันดร์และสถิตสถาพร และสนใจในบทบาทที่สำคัญของสิ่งเชิงปฏิบัติที่มีต่อความเท็จจริงของทฤษฎีอันหนึ่ง โดยไม่มีทฤษฎีใดที่หนีประวัติศาสตร์ได้ แม้แต่ลัทธิมากซ์ก็ตาม ในทำนองนี้ คอร์ชให้เครดิตสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดงานเขียน ทุน ของมากซ์ว่า คือขบวนการการเคลื่อนไหวของชนชั้นที่ถูกกดขี่
นักลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมปฏิเสธทุนนิยมและรัฐ บางคนจึงเป็นแนวร่วมกับนักอนาธิปัตย์เพื่อต่อต้านทั้งประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนแบบทุนนิยมและลัทธิมากซ์แบบอำนาจนิยม แม้นักอนาธิปัตย์และนักลัทธิมากซ์จะมีจุดหมายสุดท้ายอย่างเดียวกันนั่นคือสังคมไร้รัฐ นักอนาธิปัตย์วิจารณ์นักลัทธิมากซ์ว่าไปสนับสนุนระยะเปลี่ยนผ่านซึ่งใช้รัฐเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนี้ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมอย่างและลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมนั้นได้มีความเกี่ยวโยงกับขบวนการอนาธิปไตยในประวัติศาสตร์ ขบวนการอนาธิปไตยเคยมีความขัดแย้งกับทั้งกำลังของทุนนิยมและลัทธิมากซ์ และบางครั้งก็ต้องพบเจอทั้งสองในเวลาเดียวกันอย่างสงครามกลางเมืองสเปน แต่ในบริบทดังกล่าวนักลัทธิมากซ์ก็แตกแยกกันว่าจะสนับสนุนหรือต่อต้านลัทธิอนาธิปไตย การประหัตประหารทางการเมืองอื่น ๆ ภายใต้พรรคการเมืองแบบอำมาตย์ก็ส่งผลให้เกิดการเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงทางประวัติศาสตร์ระหว่างนักอนาธิปัตย์และนักลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมในฝั่งหนึ่งกับนักลัทธิมากซ์เลนินและแนวคิดที่สืบต่อมาอื่น ๆ อาทิ ลัทธิเหมา ในอีกฝั่ง ในประวัติศาสตร์ไม่นานมานี้ นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมได้สร้างพันธไมตรีกับกลุ่มลัทธิมากซ์-เลนินหลายครั้งคราวเพื่อประท้วงต่อต้านสถาบันที่ทั้งสองปฏิเสธ ความเป็นปรปักษ์ส่นหนึ่งตามรอยจาก (International Workingmen's Association) หรือสากลที่หนึ่ง สภาของคนงานสาย (Classical radicalism) ที่ มีฮาอิล บาคูนิน ซึ่งเป็นตัวแทนของมุมมองแบบอนาธิปไตย และ คาร์ล มาคส์ ซึ่งนักอนาธิปัตย์กล่าวหาว่าเป็น "พวกอำนาจนิยม" ได้มีความขัดแย้งกันในหลายประเด็น มุมมองของบาคูนินเกี่ยวกับความชอบธรรมของรัฐในฐานะที่เป็นสถาบันและหน้าที่ของการเมืองเลือกตั้งนั้นอยู่ตรงกันข้ามสุดขั้วกับมุมมองของมาคส์ในสากลที่หนึ่ง ในที่สุดความขัดแย้งระหว่างมาคส์และบาคูนินนำไปสู่การเข้าควบคุมสากลที่หนึ่งของมาคส์และเขาได้ขับไล่บาคูนินกับผู้ติดตามของเขาออกไปจากองค์กร นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความอาฆาตและรอยร้าวระหว่างนักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมกับสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า "นักคอมมิวนิสต์อำนาจนิยม" หรืออีกแบบคือ "พวกอำนาจนิยม" เปล่า ๆ นักลัทธิมากซ์บางคนได้ก่อรูปร่างมุมมองที่ใกล้เคียงกับสหการนิยมและจึงแสดงความเกี่ยวดองกับความคิดแบบอนาธิปไตยมากกว่า นักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมหลายคนเช่น โนม ชอมสกี เชื่อว่าลัทธิอนาธิปไตยมีส่วนร่วมมากยิ่งกับลัทธิมากซ์บางประเภท อาทิ ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมของ ในงานเขียนชื่อว่า โนตส์ออนแอนาร์คิสซึม (Notes on Anarchism) ชอมสกีเสนอถึงความเป็นไปได้ "ที่ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมบางรูปแบบเป็นรูปแบบธรรมชาติของ (Revolutionary socialism) ภายในสังคม (Industrialization) มันสะท้อนถึงความเชื่อว่าประชาธิปไตยนั้นมีข้อจำกัดอย่างยิ่งเมื่อระบบอุตสาหกรรมถูกควบคุมโดยอัตตาธิปัตย์ไม่ว่าในรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ ผู้จัดการ นักวิชาการ หรือระบบรัฐราชการก็ตาม"
ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 กลุ่มสังคมนิยมแบบอิสรนิยมบางกลุ่มก่อตัวขึ้นจากความไม่เห็นพ้องกับ (Trostkyism) ซึ่งแสดงตนเป็นแนวคิดลัทธิเลนินที่ต่อต้านลัทธิสตาลิน กล่าวคือ กลุ่มฝรั่งเศสชื่อว่า (Socialisme ou Barbarie) ได้กำเนิดขึ้นจากสากลที่สี่ ซึ่ง และ (Claude Lefort) เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโชลิเยอ-มงตาลใน (Internationalist Communist Party (France)) ใน ค.ศ. 1946 และใน ค.ศ. 1948 พวกเขาประสบกับ "ความหมดความเชื่อถือเป็นครั้งสุดท้ายในลัทธิทรอตสกี" ซึ่งนำพาให้พวกเขาแยกตัวออกมาเพื่อก่อตั้งซอซียาลิสม์ อู บาร์บารี ซึ่งเริ่มตีพิมพ์วารสารของตัวเองออกมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1949 กัสโตริอาดิสกล่าวต่อว่าในช่วงเวลานี้ "กลุ่มผู้ชมของกลุ่มและวารสารนี้ส่วนมากเป็นกลุ่มของคนแก่ฝ่ายซ้ายสายมูลวิวัติ: นักลัทธิบอร์ดีกา นักคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม นักอนาธิปไตยจำนวนหนึ่ง และผลิตผลบางส่วนของ 'ฝ่ายซ้าย' เยอรมันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1920" เช่นเดียวกันในสหราชอาณาจักร กลุ่ม (Solidarity (UK)) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1960 โดยกลุ่มของสมาชิกกลุ่มเล็กที่ถูกขับออกจาก (Workers Revolutionary Party (UK)) ลัทธิทรอตสกี กลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลสูงตั้งแต่แรกจากกลุ่มซอซียาลิสม์ อู บาร์บารี ในฝรั่งเศส โดยเฉพาะจากผู้นำทางความคิดของมัน กอร์นีลิโอส กัสโตริอาดิส ซึ่งกลุ่มโซลิดาริตีได้ผลิตเผยแพร่ใบปลิวของความเรียงของเขาหลายใบ ผู้นำทางความคิดของกลุ่มนี้คือ (Chris Pallis) ซึ่งเขียนด้วยนามปากกา มอริซ บรินตัน (Maurice Brinton)
ตั้งแต่ ค.ศ. 1967 เป็นต้นมาในสาธารณรัฐประชาชนจีน คำว่า (Ultra-leftism) และหมายถึงทฤษฎีและปฏิบัติการทางการเมืองซึ่งนิยามตัวเองว่าอยู่ซ้ายกว่าของผู้นำลัทธิเหมาส่วนกลางในช่วงจุดสูงสุดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมใหญ่ของกรรมาชีพ คำนี้ยังถูกใช้ย้อนหลังเพื่อเรียก (Anarchism in China) พวกแรก ๆ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20 พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้คำว่า "ซ้ายจัด" เป็นคำเหยียดอย่างกว้าง ๆ เพื่อประณามกลุ่มใดที่อยู่ซ้ายไปกว่า (Party line (politics)) อิงตามการใช้งานในช่วงหลัง ใน ค.ศ. 1978 (Central Committee) พรรคคอมมิวนิสต์จีนประณามแนวทางของ เหมา เจ๋อตง ว่าเป็นแนวคิดซ้ายจัดตั้งแต่ ค.ศ. 1956 จนถึง ค.ศ. 1976 เมื่อเหมาได้เสียชีวิตไป คำว่าซ้ายจัดยังหมายถึงจุดยืนของกบฏของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมที่แยกตัวออกจากแนวทางลัทธิเหมาส่วนกลางไปด้วยการระบุถึง (antagonistic contradiction) ระหว่างรัฐพรรคของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนเองกับมวลชนของคนงานและชาวนา ที่ร่วมกันประกอบเป็นชนชั้นกรรมาชีพที่ถูกแยกออกจากการควบคุมที่มีนัยสำคัญใด ๆ เหนือการผลิตหรือการกระจาย ในขณะที่แนวทางลัทธิเหมาส่วนกลางยืนยีนว่ามวลชนนั้นควบคุมปัจจัยการผลิตผ่านการเป็นสื่อกลางของพรรค พวกซ้ายจัดกล่าวว่าผลประโยชน์เชิงรูปธรรมของอำมาตย์นั้นถูกกำหนดในเชิงโครงสร้างโดยรูปแบบรัฐรวมศูนย์ และเป็นปรปักษ์โดยตรงกับผลประโยชน์เชิงรูปธรรมของมวลชน ไม่ว่าความคิดของอำมาตย์คนใดจะเป็นสังคมนิยมมากเท่าไหร่ก็ตาม ในขณะที่ผู้นำลัทธิเหมาส่วนกลางส่งเสริมให้มวลชนวิจารณ์ความคิดและนิสัยแบบปฏิกิริยาที่กล่าวหาว่ามีอยู่ในกลุ่มแกนนำไม่ดีห้าเปอร์เซ็นต์ และให้โอกาสที่พวกเขาจะ "กลับตัวกลับใจ" หลังจากได้รับ "การปฏิรูปทางความคิด" แต่พวกซ้ายจัดกล่าวว่าการปฏิวัติทางวัฒนธรรมต้องนำทางไปสู่การปฏิวัติทางการเมือง "ที่ชนชั้นหนึ่งจะโค่นล้มอีกชนชั้นหนึ่ง"
ใน ค.ศ. 1969 นักอนาธิปัตย์-คอมมิวนิสต์ (platformist) ชาวฝรั่งเศส (Daniel Guérin) ได้เผยแพร่ความเรียงชื่อว่า ลิเบอร์ทาเรียนมาร์กซิสซึม? (Libertarian Marxism?) ที่เขาเขียนถึงการโต้วาทีระหว่าง คาร์ล มาคส์ และ มีฮาอิล บาคูนิน ที่สากลที่หนึ่งและต่อ ๆ มา เขาเสนอว่า "ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมปฏิเสธนิยัตินิยมและ (fatalism) โดยให้พื้นที่มากยิ่งกว่ากับเจตจำนงปัจเจก อัชฌัตติกญาณ จินตนาการ ความเร็วรีเฟล็กซ์ และสัญชาตญาณเบื้องลึกของมวลชน ซึ่งมองเห็นได้กว้างกว่าในช่วงเวลาวิกฤต มากกว่าการให้เหตุผลของ 'อภิชน' ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมคิดถึงผลของความประหลาดใจ การยั่วยุ และความกล้าหาญ ปฏิเสธที่จะยุ่งเหยิงหรือเป็นอัมพาตด้วยเครื่องมือหนัก 'เชิงวิทยาศาสตร์' ไม่พูดกำกวมหรือหลอกลวง และพิทักษ์ตนเองจากคติผจญภัยพอ ๆ กันกับจากความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้" ในสหรัฐ มีสิ่งพิมพ์ชื่อว่า รูตแอนด์แบรนช์ (Root & Branch) ซึ่งมีหัวข้อย่อยเขียนไว้ว่า "วารสารลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยม" ใน ค.ศ. 1974 วารสาร ลิเบอร์ทาเรียนคอมมิวนิสซึม (Libertarian Communism) ถูกริเริ่มในสหราชอาณาจักรโดยคนกลุ่มหนึ่งในพรรคสังคมนิยมแห่งบริเตนใหญ่
ลัทธิมากซ์อัตตาณัติ (neo-Marxism) และ (Situationist International) ก็ถูกถือว่าเป็นลัทธิมากซ์ประเภทที่ซึ่งอยู่ในธรรมเนียมของสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ได้มีการพัฒนาขึ้นของกลุ่มหลายกลุ่มเช่นกลุ่ม โคลิงโค (Kolinko), คือราเช (Kurasje) และ ไวลด์แคต (Wildcat) ในประเทศเยอรมนี เอาฟ์เฮเบิน (Aufheben) ในประเทศอังกฤษ เตโอรีกอมูว์นิสต์ (Theorie Communiste) ในประเทศฝรั่งเศส TPTG (Τα παιδιά της γαλαρίας) ในประเทศกรีซ และ กัมยุนิสฏ์กรานติ (Kamunist Kranti) ในประเทศอินเดีย พวกเขายังเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่น ๆ ในประเทศอื่น และผสมผสานแนวคิดออโตโนเมีย (Autonomia), , ลัทธิมากซ์แบบเฮเกิล, งานของ (Johnson-Forest Tendency), (Open Marxism), ICO (Informations et correspondances ouvrières), , ลัทธิอนาธิปไตย และลัทธิมากซ์เยอรมันหลัง ค.ศ. 1968
กลุ่มที่โดดเด่น
ลัทธิอนาธิปไตย
ลัทธิอนาธิปไตยและสังคมนิยมแบบอิสรนิยมนั้นมีความหมายเดียวกันเป็นส่วนใหญ่มาแต่อดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของกระแสความคิด (classical anarchism) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั่นคือความมุ่งมั่นต่อคติของอัตตาณัติและเสรีภาพ การกระจายอำนาจ การต่อต้านการจัดลำดับชั้น และการต่อต้านคติของ
นักสหการนิยมอนาธิปไตย (Gaston Leval) ได้อธิบายไว้ว่า "เราจึงมองเห็นถึงสังคมซึ่งกิจกรรมทั้งหลายจะถูกประสานกัน โครงสร้างซึ่งในเวลาเดียวกันกลับมีความยืดหยุ่นที่เพียงพอให้ชีวิตในสังคมหรือชีวิตของแต่ละวิสาหกิจมีอิสระมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ก็ยังมีความยึดเหนี่ยวกันพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความโกลาหล [...] ในสังคมซึ่งถูกจัดระเบียบไว้อย่างดี สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกบรรลุอย่างเป็นระบบผ่านการสหพันธ์ในแนวขนาน โดยรวมกันในแนวตั้งในระดับที่สูงที่สุด ประกอบขึ้นเป็นองคาพยพหนึ่งเดียวที่กว้างใหญ่ไพศาลซึ่งบทบาททางเศรษฐกิจทั้งมวลจะดำเนินไปด้วยความสามัคคีพร้อมด้วยกันทั้งหมด และซึ่งจะยังคงอนุรักษ์ความยึดโยงกันที่จำเป็นไว้อย่างถาวร"
คติความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
คติความช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือมิวชวลลิสม์ (อังกฤษ: Mutualism) เริ่มต้นจากขบวนการสังคมนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่ง รับมาและพัฒนาเป็นรูปแบบแรก มิวชวลลิสม์มีพื้นฐานเป็นทฤษฎีมูลค่าแรงงานรูปแบบหนึ่งที่กล่าวว่าเมื่อขายแรงงานหรือผลผลิตของมันไป สินค้าหรือบริการที่แลกเปลี่ยนกันควรมี "แรงงานอันจำเป็นในการผลิตสิ่งของอันมีประโยชน์ใช้สอยในปริมาณที่คล้ายกันหรือเท่ากันเที่ยง" และอะไรที่ไม่เป็นไปตามนี้คือการเอาเปรียบ การลักขโมยแรงงาน หรือ (usury) มิวชวลลิสต์สนับสนุนกรรมสิทธิ์ของสังคมและเชื่อว่าตลาดแรงงานที่เสรีจะทำให้เกิดสภาวะที่รายได้ตรงสัดส่วนกับแรงงานที่ใช้ไป โจนาธาน บีเชอร์ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายของมิวชวลลิสม์คือ "การปลดปล่อยแรงงานจากเงื่อนไขบังคับที่ทุนกำหนด" พรูดงเชื่อว่าปัจเจกมีสิทธิถือครองที่ดินก็ต่อเมื่อเขากำลังใช้สอยที่ดินหรืออาศัยอยู่ในที่ดิน หากเลิกกระทำดังเช่นนั้นแล้ว ที่ดินก็จะกลับสภาพเป็นที่ดินไม่มีเจ้าของ
บางคนเช่น (Benjamin Tucker) ได้รับอิทธิพลจากมิวชวลลิสม์ของพรูดง แต่ไม่ได้เรียกร้องให้สมาคมเป็นวิสาหกิจขนาดใหญ่ตามพรูดง มิวชวลลิสม์ขยายออกไปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่สเปน (Ramón de la Sagra) ได้ก่อตั้งวารสารอนาธิปัตย์ เอล ปอร์เบนิร์ (El Porvenir) ที่อาโกรุญญาใน ค.ศ. 1845 โดยมีแรงบันดาลใจจากแนวคิดของพรูดง นักการเมืองกาตาลัน (Francesc Pi i Maragall) เป็นนักแปลงานของพรูดงเป็นภาษาสเปนคนสำคัญ และในภายหลังได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสเปนใน ค.ศ. 1873 ขณะเป็นผู้นำของ (Federal Democratic Republican Party)
กล่าวว่า "งานแปลเหล่านี้ส่งผลกระทบที่ลึกซึ้งและยืนยาวต่อพัฒนาการของลัทธิอนาธิปไตยในสเปนหลัง ค.ศ. 1870 แม้แต่ก่อนหน้านั้น แนวคิดแบบพรูดง ตามที่ปีแปลไว้ เป็นแหล่งของแรงบันดาลส่วนใหญ่ของขบวนการสหพันธรัฐซึ่งอุบัติขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1860"สารานุกรมบริแทนนิกาเขียนไว้ว่า "ในการปฏิวัติสเปน ค.ศ. 1873 ปี อี มารากัล พยายามสถาปนาระบบการเมืองแบบกระจายอำนาจหรือ '' (Cantonalism) ตามแบบพรูดง" (Kevin Carson) เป็นนักทฤษฎีมิวชวลลิสต์ร่วมสมัยผู้เขียน Studies in Mutualist Political Economy
ลัทธิอนาธิปไตยสังคม
ลัทธิอนาธิปไตยสังคม (อังกฤษ: Social anarchism) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับ (social ownership) (Mutual aid (organization theory)) และ ลัทธิอนาธิปไตยสังคมเป็นรูปแบบหลักของลัทธิอนาธิปไตยแบบคลาสสิก และรวมถึงสำนักคิดอนาธิปไตยหลัก ๆ แบบ คอมมิวนิสต์ และด้วย คำว่าลัทธิอนาธิปไตยสังคมถูกใช้ในทางตรงกันข้ามกับ เพื่อพูดถึงทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับแง่มุมเชิง (communitarianism) และสหกรณ์ของทฤษฎีอนาธิปไตย ในขณะเดียวกันก็ต่อต้านการคิดแบบติดกลุ่ม (groupthink) และ (conformity) ซึ่งถูกเชื่อมโยงกับประชาคมนิยมแบบอำนาจนิยม และเห็นชอบให้ปรองดองกันระหว่าง (individual) และ (sociality)
นักอนาธิปัตย์สังคมต่อต้านกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของปัจจัยการผลิต โดยมองว่าเป็นบ่อเกิดของความเหลื่อมล้ำ และเสนอให้มีกรรมสิทธิ์ของสังคมไม่ว่าจะผ่านตามแบบบาคูนินและลัทธิอนาธิปไตยแบบกลุ่ม ตามแบบลัทธิอนาธิปไตยแบบคอมมิวนิสต์ และตามแบบลัทธิอนาธิปไตยแบบสหการนิยม หรือรูปแบบอื่น ๆ แทน ลัทธิอนาธิปไตยสังคมมีทั้งกลุ่มการเมืองที่นิยมสันติและ (insurrectionary anarchism) และยังมีกลุ่มการเมืองแบบที่และแบบที่ต่อต้านการจัดตั้งเป็นองค์กร โดยมีปฏิบัติการจำนวนมากภายใน (labour movement) สหภาพแรงงาน และ โดยเน้นความสำคัญกับการปลดแอกคนงานผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น
จนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างของสังคมอนาธิปไตยสังคมที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ (Makhnovshchina) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการปฏิวัติรัสเซีย (Korean People's Association in Manchuria) และดินแดนอนาธิปไตยของ (Spanish Revolution of 1936)
ลัทธิอนาธิปไตยแบบปัจเจก
ลัทธิอนาธิปไตยแบบปัจเจก (อังกฤษ: Individualist anarchism) เป็นชุดของธรรมเนียมความคิดภายในขบวนการอนาธิปไตยซึ่งเน้นความสำคัญกับและ (will (philosophy)) เหนือตัวกำหนดภายนอกเช่นกลุ่ม สังคม ประเพณี และระบบอุดมการณ์ต่าง ๆ นักอนาธิปัตย์อย่าง (Luigi Galleani) และ มองว่าไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างลัทธิอนาธิปไตยแบบปัจเจกและลัทธิอนาธิปไตยสังคม โดย มาลาเตสตา มองว่าปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างลัทธิอนาธิปไตยสองรูปแบบนี้ แต่เกิดขึ้นระหว่างนักอนาธิปัตย์กับพวกที่ไม่ใช่นักอนาธิปัตย์ นักอนาธิปัตย์อย่าง อ้างว่า "ไม่ใช่ลัทธิอนาธิปไตยสังคมปะทะกับลัทธิอนาธิปไตยแบบปัจเจก แต่เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ปะทะกับสังคมนิยมแบบปัจเจก" ทักเกอร์อธิบายว่า "ข้อเท็จจริงที่สังคมนิยมรัฐได้บดบังทัศนะของสังคมนิยมรูปแบบอื่น ๆ ไม่ได้แปลว่ามันสามารถผูกขาดมโนคติแบบสังคมนิยมไว้กับตัวเองได้"
ถูกถืออย่างกว้างขวางให้เป็นนักอนาธิปไตยชาวอเมริกันคนแรก และวารสารรายสัปดาห์ที่เขาเป็นบรรณาธิการให้ใน ค.ศ. 1833 ชื่อว่า เดอะพีสฟุลเรโวลูชันนิสต์ (The Peaceful Revolutionist) ก็เป็นวารสารอนาธิปไตยที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรก ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์อนาธิปไตยชาวอเมริกัน ยูนิส มิเน็ตต์ ชูสเตอร์ "เป็นที่แน่ชัด [...] ว่าลัทธิอนาธิปไตยแบบพรูดงนั้นสามารถพบได้ในสหรัฐตั้งแต่อย่างน้อย ค.ศ. 1848 และมันเองไม่รู้ตัวถึงความใกล้เคียงระหว่างมันกับลัทธิอนาธิปไตยแบบปัจเจกของ โจไซอา วอร์เรน และ (Stephen Pearl Andrews) [...] (William Batchelder Greene) ได้นำเสนอลัทธิมิวชัวลิสต์แบบพรูดงนี้ในรูปแบบที่บริสุทธิ์และเป็นระบบมากที่สุด" ในเวลาต่อมา นักอนาธิปัตย์แบบปัจเจกชาวอเมริกัน "ได้ต่อต้านทั้งรัฐและทุนนิยม ต่อต้านทั้งการกดขี่และการเอาเปรียบ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ต่อต้านตลาดและทรัพย์สิน เขาต่อต้านทุนนิยมอย่างหนักแน่น เพราะในมุมมองของเขา มันเป็นการผูกขาดทุนทางสังคม (เครื่องมือ เครื่องจักร ฯลฯ) ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ซึ่งทำให้เจ้าของสามารถเอาเปรียบลูกจ้างของพวกเขาได้ นั่นคือการไม่จ่าย[ค่าจ้าง]ให้กับคนงานสมกับมูลค่าเต็มของแรงงานของพวกเขา เขาคิดว่า 'ชนชั้นซึ่งใช้แรงงานถูกพรากไปจากรายได้ของพวกเขาผ่านดอกเบี้ยเกินอัตราสามรูปแบบ คือดอกเบี้ย ค่าเช่า และกำไร' ดังนั้น 'เสรีภาพจะล้มเลิกดอกเบี้ย จะล้มเลิกกำไร จะล้มเลิกค่าเช่าแบบผูกขาด จะล้มเลิกการเก็บภาษี จะล้มเลิกการเอาเปรียบแรงงาน จะล้มเลิกการกระทำทุกทางที่พรากผู้ใช้แรงงานไปจากผลผลิตของเขาเอง' จุดยืนนี้ทำให้เขาถูกถือว่าอยู่ในธรรมเนียมของสังคมนิยมแบบอิสรนิยม และทักเกอร์ก็เรียกตนเองเป็นนักสังคมนิยมอยู่หลายครั้ง และถือว่าปรัชญาของเขาเป็นสังคมนิยมแบบอนาธิปไตย"
นักอนาธิปัตย์แบบปัจเจกชาวฝรั่งเศส (Émile Armand) ต่อต้านระบบทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์อย่างชัดเจน เมื่อเขากล่าวถึงนักอนาธิปไตยแบบปัจเจกว่า "ข้างในใจเขายังคงดื้อรั้น ดื้อรั้นจะเป็นจะตาย ทางจริยธรรม ทางปัญญา ทางเศรษฐกิจ (เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเศรษฐกิจแบบบังคับบัญชา ผู้เก็งกำไรและผู้ผลิตก็น่ารังเกียจพอกันสำหรับเขา) นักอนาธิปัตย์แบบปัจเจกชาวสเปน (Miguel Giménez Igualada) มีความคิดว่า "ทุนนิยมนั้นเป็นผลจากรัฐบาล เมื่อรัฐบาลหายไปทุนนิยมย่อมตกลงมาจากแท่นอย่างมึนงง [...] สิ่งที่เราเรียกว่าทุนนิยมไม่ใช่สิ่งใดนอกจากเป็นผลผลิตของรัฐ ซึ่งภายในนั้นสิ่งเดียวที่สนใจคือกำไน ไม่ว่าได้มาโดยทุจริตหรือสุจริต และดังนั้นการต่อสู้กับทุนนิยมจึงเป็นงานที่ไร้ความหมาย เพราะไม่ว่าจะเป็นหรือทุนนิยมวิสาหกิจ ตราบใดที่รัฐบาลยังดำรงอยู่ ทุนซึ่งเอาเปรียบย่อมดำรงอยู่ การต่อสู้ แต่ของความสำนึก จึงเป็นการต่อสู้กับรัฐ" มุมมองของเขาต่อการแบ่งแยกทางชนชั้นและคตินิยมนักวิชาการเป็นดังว่า " สิ่งที่สำคัญที่นักอนาธิปัตย์จะต้องกระทำอยู่ตลอดคือการที่ไม่ว่าใครก็ไม่จำเป็นต้องเอาเปรียบใคร คนใดกับคนใดก็ตาม เพราะการไม่เอาเปรียบนี้จะนำไปสู่การจำกัดทรัพย์สินไว้สำหรับความจำเป็นของปัจเจกเท่านั้น [...] เพราะไม่มีใครทำงานให้ใคร คนเก็งกำไรจากความมั่งคั่งจะหายไป เช่นกันรัฐบาลจะหายไปเมื่อไม่มีใครให้ความสนใจกับคนที่ไปเรียนเกี่ยวกับของสี่อย่างที่มหาวิทยาลัยเพื่อออกมาเสแสร้งแกล้งทำเป็นปกครองผู้คน วิสาหกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะเปลี่ยนเป็นผู้คนที่อยู่ในสมาคมขนาดใหญ่ที่ทุกคนจะทำงานและเพลิดเพลินกับผลผลิตของงานของพวกเขา และจากปัญหาที่ง่ายและสวยงามซึ่งลัทธิอนาธิปไตยได้จัดการไปแล้ว และเขาที่เอาเหล่านั้นมาปฏิบัติจริงและใช้ชีวิตไปกับมัน เขาเป็นนักอนาธิปัตย์"
นักอนาธิปัตย์ นักเขียน และ (bohemianism) ออสการ์ ไวลด์ ได้เขียนไว้ในเรียงความที่โด่งดังของเขา เดอะโซลออฟแมนอันเดอร์โซเชียลลิสซึม ว่า "ศิลปะคือปัจเจกนิยม และปัจเจกนิยมคือแรงที่ปั่นป่วนและทลายลง นี่คือมูลค่าอันมหาศาลของมัน เพราะสิ่งที่มันควานหาคือการปั่นปวนความจำเจของประเภท ความเป็นทาสของขนบธรรมเนียม ทรราชย์ของนิสัย และการลดทอนมนุษย์ให้ไปอยู่ในระดับเดียวกับเครื่องจักร" ในมุมมองของนักอนาธิปัตย์ จอร์จ วูดค็อก "เป้าหมายของไวลด์ใน เดอะโซลออฟแมนอันเดอร์โซเชียลลิสซึม คือการแสวงหาสังคมซึ่งเป็นใจมากที่สุดสำหรับศิลปิน [...] สำหรับไวลด์ ศิลปะเป็นจุดสิ้นสุดสุดท้าย ซึ่งมีการตรัสรู้และการฟื้นฟูอยู่ในตัวมัน ที่ซึ่งทุกสิ่งอื่นในสังคมจะต้องตกอยู่ใต้บังคับบัญชาของมัน [...] ไวลด์แสดงให้เห็นนักอนาธิปัตย์เป็นตัวแทนของนักเสพสุนทรีย์"
ในสังคมสังคมนิยม ไวลด์เขียนว่าจะไม่มีผู้คนที่ยากจนข้นแค้น และสมาชิกทุกคนในสังคมจะแบ่งปันความเจริญและความสุขของสังคมโดยทั่วกัน และสังคมนิยมจะนำไปสู่ปัจเจกนิยม เพราะการล้มเลิกทรัพย์สินส่วนบุคคลนั้นจะทำให้ปัจเจกนิยมนั้นเป็นอิสระ ปราณีต และเข้มข้นกว่าเดิม ทรัพย์สินส่วนบุคคลทำร้ายปัจเจกนิยมด้วยการทำให้คนงงงวยไปกับว่าเขาเป็นเจ้าของของอะไร และได้กดทับปัจเจกนิยมที่แท้จริงด้วยปัจเจกนิยมปลอม เขากล่าวถึงสังคมนิยมแบบอำนาจนิยมว่าจะทำให้สภาพมนุษย์ย่ำแย่กว่าเดิม จากที่รัฐบาลถืออำนาจการเมืองอยู่แล้วก็จะถืออำนาจทางเศรษฐกิจด้วย และสังคมนิยมต้องมีปัจเจกนิยมด้วย เขาเทียบสังคมนิยมแบบอำนาจนิยมว่าใช้ไม่ได้ ในขณะที่ระบบในปัจจุบัน (ที่มีทรัพย์สินส่วนบุคคล) นั้นเป็นทรราชย์ทางเศรษฐกิจที่จำกัดเสรีภาพและความสุข การเปลี่ยนจากสภาพที่คนส่วนหนึ่งที่ตกเป็นทาสให้กลายเป็นการที่คนทั้งหมดต้องตกเป็นทาสเพื่อแก้ไขปัญหานี้นั้นเป็นเรื่องที่ไร้เดียงสา และสนับสนุนปัจเจกนิยมในแบบที่ไม่ใช่ทุนนิยมโดยกล่าวว่า "ปัจเจกนิยมที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่มีทรัพย์สินส่วนบุคคลนั้นไม่ได้เป็นในแบบที่น่าพอใจหรือดีเยี่ยมเสมอไป" ในทำนองนี้เองที่สังคมนิยมจะปลดปล่อยมนุษย์จากการทำหัตถกิจ และให้สามารถใช้เวลาไปกับการไล่ตามความสร้างสรรค์ของเขาได้ และจึงสามารถพัฒนาจิตวิญญาณของเขา ในความคิดของไวลด์
ลัทธิมากซ์
ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมเป็นขอบเขตกว้าง ๆ ของปรัชญาการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งให้ความสำคัญกับแง่มุมของการต่อต้านอำนาจนิยมของลัทธิมากซ์ กระแสลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมช่วงแรก เป็นที่รู้จักในนามลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านลัทธิมากซ์–เลนิน และลูกหลานของมันอย่างลัทธิสตาลิน ลัทธิเหมา และ (Trotskyism) ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมยังวิจารณ์จุดยืน (reformism) อย่างเช่นประชาธิปไตยสังคมนิยม กระแสการเมืองลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมมักคัดความคิดมาจากผลงานช่วงหลัง ๆ ของมากซ์และเอ็งเงิลส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานอย่าง กรุนท์ริสเซอ (Grundrisse) และ เดอะซีวิลวอร์อินแฟรนส์ (The Civil War in France) โดยให้ความสำคัญกับความเชื่อแบบมากซ์ในความสามารถของชนชั้นแรงงานที่จะหล่อหลอมพรหมลิขิตของตัวเองได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้พรรคสายปฏิวัติหรือรัฐเป็นตัวกลางหรือตัวช่วยในการปลดปล่อยของมัน ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยม พร้อมกันกับอนาธิปไตย ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของกระแสหลักของสังคมนิยมแบบอิสรนิยม
ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมประกอบด้วยกระแสการเมืองอย่างเช่นลัทธิลุคเซิมบวร์ค ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย สังคมนิยมทั่วโลก (Lettrism)/ / และ (New Left) ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมมีอิทธิพลที่ทรงพลังต่อและ นักทฤษฎีลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมที่โด่งดังประกอบด้วย , (Raya Dunayevskaya), (C. L. R. James), (Antonio Negri), , , (Guy Debord), , (Ernesto Screpanti) และ (Raoul Vaneigem) เป็นต้น
ลัทธิเดอลีออน
ลัทธิเดอลีออน (อังกฤษ: De Leonism) เป็นลัทธิมากซ์แบบสหการนิยมรูปแบบหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาโดย (Daniel De Leon) เขาเป็นผู้นำรุ่นแรก ๆ ของพรรคการเมืองสังคมนิยมในสหรัฐพรรคแรก คือ (Socialist Labor Party of America; SLP) เดอ ลีออน ได้รวบรวมทฤษฎีสหการนิยมที่กำลังเติบโตในยุคของเขาเข้ากันกับ (orthodox marxism) อิงตามทฤษฎีแบบเดอลีออนแล้ว (industrial unionism) ที่เข้มแข็ง (เป็นสหภาพแรงงานตามความเชี่ยวชาญ) และพรรคการเมืองที่ส่งเสริมแนวคิดของสหภาพแรงงานอุตสาหกรรม เป็นยานพาหนะของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น สหภาพแรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของชนกรรมาชีพจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอันจำเป็นเพื่อสถาปนาระบอบสังคมนิยม แนวทางนี้ต่างไปจากกระแสในสหการนิยมอนาธิปไตยเพียงกระการเดียวนั่นก็คือ ตามแนวคิดแบบเดอลีออน พรรคการเมืองสายปฏิวัตินั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นในการต่อสู้เพื่อชนกรรมาชีพในสนามการเมือง
ลัทธิเดอลีออนอยู่บนชายขอบนอกสุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ในธรรมเนียมแบบเลนิน และเกิดขึ้นมาก่อนลัทธิเลนิน เพราะหลักการของลัทธิเดอลีออนนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 พร้อมกับเมื่อ เดอ ลีออน ได้เข้าสู่ตำแหน่งผู้นำของพรรค SLP ในขณะที่ลัทธิเลนินและแนวคิดได้ก่อรูปร่างขึ้นมาหลังจากงานเขียน จะทำอะไรดี? (What Is To Be Done?) ของเลนินได้ถูกตีพิมพ์ออกมาใน ค.ศ. 1902 ธรรมชาติของความเป็นประชาธิปไตยและของรัฐบาลแบบเดอลีออนที่ถูกนำเสนอขึ้นมา เป็นภาพตรงข้ามกับ (democratic centralism) ของลัทธิมากซ์-เลนิน และสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นธรรมชาติของความเป็นเผด็จการภายในสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน และของรัฐคอมมิวนิสต์อื่น ๆ ความสำเร็จของแผนการแบบเดอลีออนนั้นขึ้นอยู่กับการได้รับความสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ทั้งในที่ทำงานและในที่ลงคะแนนเสียง ต่างจากนิยามแบบเลนินที่บอกว่าพรรคแนวหน้าขนาดเล็กจะเป็นตัวนำชนชั้นแรงงานให้กระทำการปฏิวัติ
ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม
ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมเป็นขบวนการฝ่ายซ้ายสายมูลวิวัติในประเทศเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ทศวรรษ 1920 องค์กรหลักของขบวนการคือ (Communist Workers Party of Germany; KAPD) ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมในปัจจุบันเป็นจุดยืนทางทฤษฎีและกิจกรรมภายในลัทธิมากซ์ และก็ภายในสังคมนิยมแบบอิสรนิยม ต่างจากประชาธิปไตยสังคมนิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์แบบเลนิน คำกล่าวอ้างหลักของลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมคือ ซึ่งเกิดขึ้นในโรงงานและเทศบาลเป็นการจัดตั้งและอำนาจปกครองของชนชั้นแรงงานในรูปแบบที่เป็นธรรมชาติและชอบธรรมมากที่สุด มุมมองนี้ต่างจากการเน้นความสนใจของบอลเชวิคต่อ ความสนใจของนักปฏิรูปต่อรัฐสภา หรือต่อการมีอยู่ของรัฐ หลักการแกนของลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมคือการที่รัฐและเศรษฐกิจควรถูกจัดการโดยสภาคนงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากการเลือกตั้งในที่ทำงานซึ่งจะสามารถถูกถอดถอนได้ทุกเมื่อ ดังนั้นแล้ว ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมต่อต้านสังคมนิยมอำมาตยาธิปไตยซึ่งดำเนินการโดยรัฐ มันยังต่อต้านแนวคิดที่จะมีพรรคสายปฏิวัติ เพราะนักคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมเชื่อว่าการปฏิวัติซึ่งนำโดยพรรคการเมืองก็จะทำให้เกิดเผด็จการโดยพรรคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมสนับสนุนประชาธิปไตยโดยคนงาน ซึ่งพวกเขาต้องการให้เกิดขึ้นผ่านการสมาพันธ์ของสภาคนงาน
คำว่าสภาในภาษารัสเซียคือคำว่าโซเวียต และในช่วงปีแรก ๆ ของการปฏิวัติ สภาคนงานนั้นมีนัยสำคัญทางการเมืองในประเทศรัสเซีย เลนินได้นำคำนี้ไปใช้ในหลายองค์กรทางการเมืองเพื่อใช้ประโยชน์จากรัศมีทางการเมืองของอำนาจในที่ทำงาน นามว่ารัฐสภาโซเวียตซึ่งเป็นชื่อเรียกของรัฐสภาและคำว่าสหภาพโซเวียตเองก็ตามก็ใช้คำศัพท์นี้ แต่คำเหล่านี้ไม่ได้แสดงนัยถึงการกระจายอำนาจใด ๆ เลย มากไปกว่านั้น นักคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมได้วิจารณ์สหภาพโซเวียตว่าเป็นรัฐทุนนิยม โดยเชื่อว่าการปฏิวัติบอลเชวิคในรัสเซียนั้นได้กลายเป็น "การปฏิวัติกระฎุมพี" เมื่ออำมาตยาธิปไตยของพรรคได้แทนที่ระบบอภิชนาธิปไตยศักดินาสวามิภักดิ์ แม้ว่าพวกเขาส่วนใหญ่รู้สึกว่าการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้นมีลักษณะของความเป็นชนชั้นแรงงานก็ตาม พวกเขาเชื่อว่าในเมื่อความสัมพันธ์แบบทุนนิยมยังคงดำรงอยู่ (เพราะคนงานไม่มีปากมีเสียงในการดำเนินเศรษฐกิจ) สหภาพโซเวียตก็ลงเอยกลายเป็นประเทศระบบ โดยมีรัฐมาแทนที่นายทุนปัจเจกบุคคล นักคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมสนับสนุนการปฏิวัติของคนงาน แต่พวกเขาต่อต้านเผด็จการพรรคเดียว พวกเขายังเชื่อในการลดบทบาทของพรรคการเมืองให้เหลือเพียง (agitprop) และการโฆษณาชวนเชื่อ และปฏิเสธการมีส่วนร่วมใด ๆ ในการเลือกตั้งหรือในรัฐสภา และอ้างว่าคนงานควรลาออกจากสหภาพแรงงานปฏิกิริยา และไปก่อตั้งสหภาพสายปฏิวัติขนาดใหญ่องค์กรเดียว
ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย
ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย (อังกฤษ: Left communism) เป็นมุมมองแบบคอมมิวนิสต์แนวหนึ่งซึ่งเป็นของฝ่ายซ้ายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งวิจารณ์แนวคิดทางการเมืองของบอลเชวิคในช่วงเวลาหนึ่ง จากจุดยืนซึ่งอ้างว่าเป็นลัทธิมากซ์และกรรมาชีพที่เป็นของแท้กว่ามุมมองลัทธิเลนินขององค์การคอมมิวนิสต์สากลภายหลังการประชุมใหญ่ครั้งแรกและครั้งที่สองนักคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายมองว่าตัวเองอยู่ซ้ายกว่านักลัทธิเลนิน (ซึ่งพวกเขามองว่าเป็น "ซ้ายกว่าทุน" และไม่ใช่นักสังคมนิยม) ซ้ายกว่านักอนาธิปัตย์ และซ้ายกว่ากลุ่มสังคมนิยมสายปฏิวัติอื่น ๆ บางกลุ่ม ถึงแม้ว่า โรซา ลุคเซิมบวร์ค ได้ใช้ชีวิตก่อนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายได้กลายเป็นกลุ่มการเมืองที่ชัดเจน เธอได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อนักคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายส่วนใหญ่ ทั้งในทางการเมืองและทางทฤษฎี ผู้สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายมี (Amadeo Bordiga), , , , , และ (Paul Mattick) เป็นต้น
กลุ่มจอห์นสัน-ฟอเรสต์
กลุ่มจอห์นสัน-ฟอเรสต์เป็นกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายสายมูลวิวัติในสหรัฐซึ่งเกี่ยวโยงกับนักทฤษฎี (Marxist humanism) และ ซึ่งใช้นามแฝงว่า เจ. อาร์. จอห์นสัน และ เฟรดดี ฟอเรสต์ ตามลำดับ และ (Grace Lee Boggs) หญิงชาวจีนอเมริกันก็ได้เข้าร่วม ซึ่งถูกถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งคนที่สาม หลังจากทั้งสองได้ออกจาก (Socialist Workers Party (United States)) จอห์นสันและฟอเรสต์ได้ก่อตั้งองค์กรของตัวเองเป็นครั้งแรกที่ชื่อว่า คอร์เรสปอนเดนส์ โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น (Correspondence Publishing Committee) ในปีต่อมา และความขัดแย้งก็ได้ทำให้แยกกันไปใน ค.ศ. 1955 จากงานทางการเมืองและทางทฤษฎีในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 เจมส์ได้ข้อสรุปว่าพรรคแนวหน้านั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป เพราะคำสั่งสอนต่าง ๆ ได้ถูกซึมซับไปโดยมวลชนแล้ว และเขาถือว่าการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 เป็นการยืนยันในสิ่งนี้ กลุ่มคนซึ่งสนับสนุนการเมืองของเจมส์ได้ใช้ชื่อว่า (Facing Reality) ตามชื่อหนังสือใน ค.ศ. 1958 ของเจมส์ซึ่งได้เขียนร่วมกันกับ เกรซ ลี บ็อกส์ และ ปีแยร์ โชลีเยอ (นามแฝงของ ) เกี่ยวกับการก่อการกำเริบของชนชั้นแรงงานในฮังการี ค.ศ. 1956
ซอซียาลิสม์ อู บาร์บารี
ซอซียาลิสม์ อู บาร์บารี (ฝรั่งเศส: Socialisme ou Barbarie แปลว่า สังคมนิยมหรืออนารยธรรม) เป็นกลุ่มสังคมนิยมอิสรนิยมสายมูลวิวัติในประเทศฝรั่งเศสในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ชื่อมาจากวลีที่ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ใช้และซึ่งถูกอ้างอิงโดย โรซา ลุคเซิมบวร์ค ในเรียงความ ค.ศ. 1916 ชื่อว่า เดอะจูเนียสแพมเฟล็ต (The Junius Pamphlet)) กลุ่มนี้มีอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1948 จนถึง 1965 และผู้นำคือ โดยใช้ชื่อว่า ปีแยร์ โชลีเยอ หรือ ปอล การ์ด็อง กัสโตริอาดิส ปฏิเสธแนวหน้านิยมแบบเลนิน และวิจารณ์คตินิยมการเกิดเอง โดยกล่าวว่า "การปลดปล่อยมวลชนเป็นหน้าที่ของผู้คนเหล่านั้น แต่นักสังคมนิยมไม่สามารถแค่กอดอกของตัวเองไว้เฉย ๆ ได้" และกล่าวว่าตำแหน่งพิเศษซึ่งถูกสงวนไว้ให้กับปัญญาชนควรตกเป็นของพลเมืองอิสระทุก ๆ คน แต่เขาปฏิเสธการเล่นเกมนั่งรอ (attentisme) โดยกล่าวว่าในการดิ้นรนต่อสู้เพื่อสังคมใหม่ ปัญญาชนจะต้องวางระยะห่างของตัวเองจากเรื่องในชีวิตประจำวันและเรื่องในความเป็นจริง นักปรัชญาการเมือง และ กอร์นีลิโอส กัสโตริอาดิส ได้เผยแพร่งานเขียนวิจารณ์สหภาพโซเวียตและนักที่สนับสนุนมันที่ชื่อว่า ว่าด้วยระบอบและการต่อต้านการปกป้องสหภาพโซเวียต (On the Regime and Against the Defence of the USSR) พวกเขาเสนอว่าสหภาพโซเวียตนั้นถูกครอบงำโดยชนชั้นทางสังคมของข้าราชการ และได้เกิดสังคมประเภทใหม่ซึ่งมีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าสังคมในยุโรปตะวันตก ในภายหลัง กอร์นีลิโอส กัสโตริอาดิส ก็ได้เขียนลงในวารสาร ซอซียาลิสม์ อู บาร์บารี ของกลุ่มในชื่อเดียวกัน
ซิทูเอชันนิสต์ อินเตอร์แนชันนอล
ซิทูเอชันนิสต์ อินเตอร์แนชันนอล (อังกฤษ: Situationist International) เป็นกลุ่มจำกัดวงของนักปฏิวัติสากลนิยมซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1957 และกลุ่มได้ถึงจุดสูงสุดในอิทธิพลของมันในการนัดหยุดงานทั่วไป (wildcat strikes) ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 โดยมีมโนคติที่มีรากฐานในลัทธิมากซ์และศิลปะล้ำยุคยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 20 พวกเขาสนับสนุนให้ประสบการณ์ของชีวิตนั้นไม่เป็นไปตามแบบแผนในแบบของระบบระเบียบทุนนิยม ให้เป็นสำหรับความอิ่มเอมในความปรารถนาปฐมฐานของมนุษย์และการไล่ตามคุณสมบัติความหลงใหลที่เหนือยิ่งกว่า เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์นี้ พวกเขาเสนอแนะและทดลองกับแนวคิดของ "การสร้างสถานการณ์" กล่าวคือการจัดตั้งสิ่งแวดล้อมที่เป็นใจแก่การสนองต่อความปรารถนาเหล่านั้น พวกเขาได้พัฒนาสาขาการศึกษาทดลองชุดหนึ่งสำหรับการสร้างสถานการณ์ดังกล่าว โดยใช้วิธีการซึ่งดึงเอามาจากศิลปะ เช่น (unitary urbanism) และ (psychogeography) งานทฤษฎีหลักในทำนองนี้ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นจากกลุ่มนี้เช่น (The Revolution of Everyday Life) ของ
พวกเขาต่อสู้กับอุปสรรคหลักในการบรรลุถึงการใช้ชีวิตอย่างลึกซึ้งที่เหนือกว่า ซึ่งพวกเขาระบุว่ามีอยู่ใน (advanced capitalism) จุดสูงสุดของงานทฤษฎีแนววิพากษ์ของพวกเขามีอยู่ในหนังสือทรงอิทธิพลโดย ชื่อว่า (The Society of the Spectacle) เดอบอร์กล่าวใน ค.ศ. 1967 ว่าลักษณะภาพปรากฏอย่างสื่อมวลชนและการโฆษณามีบทบาทศูนย์กลางในสังคมทุนนิยมขั้นสูง ซึ่งคือการแสดงให้เห็นโลกความเป็นจริงปลอมเพื่อกลบเกลื่อนการเสื่อมของชีวิตมนุษย์โดยทุนนิยมที่เกิดขึ้นจริง ในการล้มล้างระบอบเช่นนี้ ซิทูเอชันนิสต์ อินเตอร์แนชันนอล สนับสนุนการก่อการกำเริบในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 ในประเทศฝรั่งเศส และได้เรียกร้องให้คนงานไป (Council for Maintaining the Occupations) และดำเนินการต่อไปด้วยประชาธิปไตยโดยตรงผ่านซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนที่สามารถถูกถอดถอนได้ในทันที
หลังจากการเผยแพร่งานวิเคราะห์การก่อการกำเริบในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1968 และยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต้องถูกนำมาใช้ในการปฏิวัติครั้งถัดไปลงในนิตยสารฉบับสุดท้าย ซิทูเอชันนิสต์ อินเตอร์แนชันนอล ได้สลายตัวไปใน ค.ศ. 1972
อัตตาณัตินิยม
อัตตาณัตินิยม (อังกฤษ: Autonomism) คือขบวนการทางสังคมและการเมืองฝ่ายซ้ายชุดหนึ่งซึ่งใกล้ชิดกับขบวนการสังคมนิยม ซึ่งถือกำเนิดเป็นระบบทฤษฎีหนึ่งเป็นครั้งแรกใน (History of Italy as a Republic) จากลัทธิคอมมิวนิสต์ (operaismo) นักอัตตาณัตินิยมชาวอิตาลีได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยนักกิจกรรมในภายก่อนจากสหรัฐเช่น และจากฝรั่งเศสเช่นกลุ่ม ด้วยงานแปลโดย (Danilo Montaldi) และนักแปลคนอื่น ๆ ในภายหลังกลุ่มการเมืองแบบหลังมากซ์และลัทธิอนาธิปไตยได้เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นอันเป็นผลจากอิทธิพลของ ความล้มเหลวของขบวนการซ้ายจัดในอิตาลีในคริสต์ทศวรรษ 1970 และการปรากฏตัวของนักทฤษฎีคนสำคัญหลายคน อาทิ อันโตนีโอ เนกรี ซึ่งได้มีส่วนในการจัดตั้งกลุ่ม ใน ค.ศ. 1969 รวมไปถึง (Mario Tronti), (Paolo Virno) และ (Franco Berardi)
ต่างไปจากลัทธิมากซ์รูปแบบอื่น ๆ ลัทธิมากซ์แบบอัตตาณัตินิยมให้ความสำคัญกับความสามารถของชนชั้นแรงงานที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงในองค์กรของระบบทุนนิยมได้เองโดยอิสระจากรัฐ สหภาพแรงงาน หรือพรรคการเมือง นักอัตตาณัตินิยมไม่สนใจในการจัดตั้งทางการเมืองของพรรคเมื่อเทียบกับนักลัทธิมากซ์อื่น ๆ โดยเน้นไปที่กิจกรรมการจัดตั้งโดยตนเองที่อยู่นอกเหนือไปจากโครงสร้างการจัดตั้งแบบดั้งเดิม ลัทธิมากซ์แบบอัตตาณัตินิยมจึงเป็นทฤษฎีแบบ "ล่างขึ้นบน" ซึ่งให้ความสนใจกับกิจกรรมซึ่งพวกเขามองว่าเป็นการต่อต้านทุนนิยมในทุก ๆ วันโดยชนชั้นแรงงาน ตัวอย่างเช่นการขาดงาน การทำงานช้า และการคบหาสมาคมภายในที่ทำงาน
อัตตาณัตินิยมได้มีอิทธิพลต่อขบวนการ เอาโตโนเมิน (Autonomen) เยอรมันและดัชต์ การมีอยู่อย่างแพร่หลายทั่วโลกของ (Self-managed social center) และในปัจจุบันก็มีอิทธิพลอยู่ในประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส และประเทศที่พูดภาษาอังกฤษในระดับที่ต่ำลงมา ผู้ที่นิยามตนเองเป็นนักอัตตาณัตินิยมในปัจจุบันมีตั้งแต่นักลัทธิมากซ์จนถึงนักอนาธิปัตย์ ขบวนการ โอเปราอีสโม (operaismo) ในอิตาลียังได้มีอิทธิพลต่อนักวิชาการลัทธิมากซ์ อาทิ (Harry Cleaver), (John Holloway (sociologist)), สตีฟ ไรต์ (Steve Wright) และ (Nick Dyer-Witheford)
กลุ่มอื่น ๆ
กระแสการเมืองสังคมนิยมแบบอิสรนิยมอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงกลุ่มการเมืองแบบอนาธิปไตยแบบหลังคลาสสิก และกลุ่มการเมืองซึ่งไม่สามารถจัดหมวดหมู่เข้าในส่วนแบ่งลัทธิอนาธิปไตยกับลัทธิมากซ์ได้
ภายในขบวนการแรงงานและการเมืองในรัฐสภา
สังคมนิยมประชาธิปไตย
ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสในเดือนเมษายน ค.ศ. 1848 และเขาไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 4 มิถุนายนเขาได้รับเลือกเข้าไป นักการเมือง ได้กลายเป็นนักแปลคนสำคัญที่แปลงานของพรูดงมาเป็นภาษาสเปน และในภายหลังได้เป็นประธานาธิบดีของสเปนอยู่ชั่วขณะหนึ่งใน ค.ศ. 1873 ในขณะที่เป็นผู้นำของ
รูด็อล์ฟ ร็อคเคอร์ นักอนาธิปัตย์สหการนิยมกล่าว:
การเคลื่อนไหวครั้งแรกของขบวนการคนงานสเปนนั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากแนวคิดของ ปี อี มารากัล ผู้นำของผู้นิยมสหพันธรัฐสเปนและลูกศิษย์ของพรูดง ปี อี มารากัล เป็นหนึ่งในนักทฤษฎีที่โดดเด่นในยุคของเขา และมีอิทธิพลอย่างมากในขั้นพัฒนาการของแนวคิดอิสรนิยมในสเปน แนวคิดทางการเมืองของเขามีส่วนซ้อนกันกับของ , , โทมัส เพน, เจฟเฟอร์สัน, และตัวแทนของเสรีนิยมแบบแองโกลอเมริกันในช่วงแรกคนอื่น ๆ เขาต้องการจำกัดอำนาจของรัฐให้น้อยที่สุด และค่อย ๆ แทนที่มันด้วยระเบียบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ปี อี มารากัล ถือได้ว่าเป็นนักทฤษฎีที่อุทิศตัวคนหนึ่ง ด้วยงานเขียนความยาวเท่าหนังสือ อาทิ ลาเรอักซิออนอีลาเรโบลูซิออน (La reacción y la revolución; ปฏิกิริยาและการปฏิวัติ จาก ค.ศ. 1855), ลัสนาซิออนาลิดาเดส (Las nacionalidades; สัญชาติ ค.ศ. 1877) และ ลาเฟเดราซิออน (La Federación; สหพันธรัฐ) จาก ค.ศ. 1880 ในอีกกรณีหนึ่ง (Fermín Salvochea) เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองกาดิซและประธานาธิบดีของจังหวัดกาดิซ เขาเป็นผู้เผยแพร่ความคิดอนาธิปไตยในบริเวณเดียวกันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถูกถือว่าเป็นบุคคลซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดคนหนึ่งในขบวนการอนาธิปไตยในสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุดมการณ์ของเขาได้รับอิทธิพลจาก (Charles Bradlaugh), โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) และ โทมัส เพน ซึ่งเขาได้ศึกษางานของเขาพวกนี้ขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ และรวมไปถึงงานของ ซึ่งเขาได้อ่านในภายหลัง ในประเทศสเปน เขาได้ติดต่อกับนักคิดอนาธิปัตย์และสมาชิกของพันธมิตรบาคูนิน ซึ่งรวมถึง (Anselmo Lorenzo) และ ฟรันซิสโก โมรา
ใน ค.ศ. 1950 มีกลุ่มลับก่อตัวขึ้นในฝรั่งเศส (Anarchist Federation (France); FA) ที่ชื่อว่า ออร์กานีซาซียง ป็องเซ บาตาย (Organisation Pensée Bataille; OPB) ซึ่งนำโดย (George Fontenis) OPB ได้ผลักดันการเคลื่อนไหวซึ่งได้เปลี่ยนชื่อของ FA เป็น เฟเดราซียง ก็องมูว์นิสต์ ลีแบร์แตร์ (Fédération Communiste Libertaire; FCL) หลังการประชุมใหญ่ ค.ศ. 1953 ที่ปารีส ในขณะเดียวกันที่บทความในหนังสือพิมพ์ เลอ ลีแบร์แตร์ ระบุถึงจุดจบของความร่วมมือกับกลุ่มลัทธิเหนือจริงในฝรั่งเศสซึ่งนำโดย กระบวนการตัดสินใจแบบใหม่อยู่บนฐานของ (unanimity) โดยแต่ละบุคคลมีสิทธิที่จะยับยั้งแนวโน้มต่าง ๆ ของสหพันธ์ ในปีเดียวกัน FCL ได้เผยแพร่ มานีเฟสต์ ดู ก็องมูว์นิสเมอ ลีแบร์แตร์ (Manifeste du communisme libertaire; แถลงการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์อิสรนิยม) หลายกลุ่มได้ลาออกจาก FCL ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 เพราะไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจส่ง "ผู้สมัครรับเลือกตั้งสายปฏิวัติ" ในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ ต่อมาได้มีการจัดการประชุมระหว่างทวีปของ (Confederación Nacional del Trabajo) ขึ้นระหว่างวันที่ 15-20 สิงหาคม ค.ศ. 1954 มีกลุ่มที่ชื่อว่า อ็องต็องต์ อานาร์กิสต์ (ข้อตกลงอนาธิปัตย์) ปรากฏตัวขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยนักต่อสู้ซึ่งไม่เห็นชอบกับแนวโน้มทางอุดมการณ์อันใหม่ที่ OPB ได้มอบให้กับ FCL โดยพวกเขาถือว่าเป็นแนวทางอำนาจนิยม และเกือบจะเป็นลัทธิมากซ์ FCL คงอยู่จนถึง ค.ศ. 1956 ไม่นานหลังจากกลุ่มได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติระดับรัฐด้วยผู้สมัครสิบคน การกระทำครั้งนี้ทำให้สมาชิก FCL ส่วนหนึ่งมีความรู้สึกแปลกแยกและนำไปสู่จุดจบขององค์กรในที่สุด
ภายในขบวนการแรงงานในสหราชอาณาจักรเองก็มีกระแสของอิสรนิยมฝ่ายซ้ายอยู่ และคำว่า "นักสังคมนิยมอิสรนิยม" ก็ถูกใช้เพื่อหมายถึงบางคน ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกที่มีชื่อเสียงบางคนในพรรคแรงงานของสหราชอาณาจักร ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1885 โดย วิลเลียม มอร์ริส และคนอื่น ๆ ซึ่งวิจารณ์แนวคิดสังคมนิยมแบบอำนาจนิยมของ (Social Democratic Federation) โดยกลุ่มได้มีส่วนร่วมใน การต่อสู้ของพลพรรคสหภาพแรงงานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880-1890 ซึ่งเป็นการพยากรณ์ถึงสหการนิยมในบางแง่มุมที่สำคัญ ( (Tom Mann) ผู้นำสหภาพแรงงานใหม่ เป็นหนึ่งในนักสหการนิยมชาวบริติชคนแรก ๆ ) สันนิบาตสังคมนิยมนั้นถูกครอบงำโดยนักอนาธิปัตย์ในคริสต์ทศวรรษ 1890 (Independent Labour Party; ILP) ซึ่งก่อตัวขึ้นในช่วงเวลานั้นยึดเอาธรรมเนียมศาสนา (Nonconformist (Protestantism)) ภายในชนชั้นแรงงานในสหราชอาณาจักรมากกว่าที่จะยึดตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ และมีร่องรอยของแนวคิดสังคมนิยมแบบอิสรนิยม คนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในแนวทางแบบ ILP และถูกเรียกว่าเป็นนักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมได้แก่ (Michael Foot) และ (G. D. H. Cole) รัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน (Peter Hain) ได้เขียนสนับสนุนแนวคิดแบบสังคมนิยมอิสรนิยม โดยระบุถึงแกนกลางซึ่งประกอบด้วย "ทัศนะของสังคมนิยมแบบล่างขึ้นบน โดยมีนักอนาธิปัตย์ที่ปลาย และนักสังคมนิยมประชาธิปไตย [เช่นตัวเขาเอง] ที่ปลายของมัน" ในอีกด้านหนึ่ง แกนกลางของมีนักลัทธิมากซ์เลนินที่ปลายสายปฏิวัติ และนักประชาธิปไตยสังคมนิยมที่ปลายสายปฏิรูป นักการเมืองพรรคแรงงานกระแสหลักอีกคนหนึ่งซึ่งไม่นานมานี้ถูกเรียกว่าเป็นนักสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเช่น (Robin Cook) หากนิยามในรูปแบบนี้ สังคมนิยมแบบอิสรนิยมในกระแสการเมืองกระแสหลักร่วมสมัยนั้นหลัก ๆ แล้วต่างไปจากประชาธิปไตยสังคมนิยมและสังคมนิยมประชาธิปไตย ในแง่ของแนวคิดการกระจายอำนาจทางการเมืองมากกว่าต่างกันในเรื่องของเศรษฐกิจ
(Katja Kipping) และ (Julia Bonk) ในเยอรมนี (Femke Halsema) ในเนเธอร์แลนด์ และ (Ufuk Uras) และ (Left Party (Turkey)) ในตุรกี เหล่านี้เป็นตัวอย่างของนักการเมืองและพรรคการเมืองสังคมนิยมอิสรนิยมร่วมสมัยซึ่งทำงานอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยรัฐสภากระแสหลัก ในชิลี องค์กรอัตตาณัตินิยม อิซกิเอร์ดา เอาโตโนมา (Izquierda Autónoma; ฝ่ายซ้ายอิสระ) ใน (2013 Chilean general election) ได้ที่นั่งในรัฐสภาชิลีหนึ่งที่นั่งคือ กาบริเอล โบริช อดีตผู้นำของการประท้วงของกลุ่มนักเรียนในชิลี พ.ศ. 2554-2556 ใน พ.ศ. 2559 โบริชพร้อมกับคนอื่น ๆ เช่น (Jorge Sharp) ได้ออกจากพรรคเพื่อก่อตั้งขบวนการ โมบิมิเอนโต เอาโตโนมิสตา (Movimiento Autonomista) ต่อมาในการเลือกตั้งเทศบาลเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ในชิลี ชาร์ปได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีของบัลปาราอิโซด้วยสัดส่วนคะแนนร้อยละ 53 และต่อมาใน พ.ศ. 2564 โบริชชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชิลี และยังได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ชิลี ในสหรัฐ ณ ปัจจุบัน ภายในองค์กรใหญ่ก็มีกลุ่มการเมืองที่ชื่อว่ากลุ่มสังคมนิยมอิสรนิยม (LSC): "LSC ส่งเสริมทัศนะของ 'สังคมนิยมแบบอิสรนิยม'-ชื่อดั้งเดิมของลัทธิอนาธิปไตย-ซึ่งไปไกลเกินกว่ากรอบการเมืองแบบประชาธิปไตยสังคมนิยมแบบดั้งเดิม" ในชุมชนปกครองตนเองในแคว้นกาตาลุญญาในสเปน นิตยาสาร ได้รายงานบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับพรรคการเมืองร่วมสมัย (Popular Unity Candidacy; CUP) ดังต่อไปนี้:
CUP เต็มไปด้วยคุณลักษณะแบบสังคมนิยมแบบอิสรนิยมและสหการนิยมแบบอนาธิปไตย ตามธรรมเนียมต่อต้านอำนาจนิยมของฝ่ายซ้ายกาตาลา ดังที่ปรากฏอยู่ในองค์กรยุคสมัยสงครามกลางเมืองอย่าง (CNT) ซึ่งมีคติแบบสหการนิยมอนาธิปไตย หรือคติลัทธิทรอตสกีอย่าง (Partido Obrero de Unificación Marxista; POUM) [...] สหกรณ์และศูนย์วัฒนธรรมประชาชน (popular cultural center; กาซัลส์ (casals) และ อาเตเนอุส โปปูลาร์ส) ได้เบ่งบานในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 และ 2000 เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับชุมชนสังคมนิยมสายมูลวิวัติ ทางเลือกทางเศรษฐกิจ และการก่อรูปของอุดมการณ์ หลายองค์กรเยาวชนสายปฏิวัติได้ถือกำเนิดขึ้นในศูนย์วัฒนธรรมเหล่านี้ [...] นอกเหนือจากเครือข่ายของศูนย์วัฒนธรรมประชาชนแล้ว การปรากฏตัวของบ้านที่ถูกจับจอง เรียกอีกชื่อว่า "ศูนย์สังคมจัดการตนเอง" ก็ได้ขยายตัวความรู้สึกแบบมูลวิวัติในกาตาลุญญา แม้ว่าบ้านที่ถูกจับจองจะไม่ได้มีแนวทางแบบสังคมนิยมแบ่งแยกดินแดนทั้งหมด บ้านที่เป็นสัญลักษณ์มากที่สุดบางแห่งก็ระบุตัวตนกับขบวนการแบ่งแยก เช่นบ้านที่ถูกจับจอง (Can Vies) ในบาร์เซโลนา [...] ทุก ๆ สภาท้องถิ่นเป็นตัวแทนของหน่วยขั้นพื้นฐานของเอกภาพประชาชนนี้ เป็นตัวแทนของละแวกบ้าน ของหมู่บ้าน ของเมือง [...] สภาต่าง ๆ มีอำนาจอธิปไตยและทรงอำนาจก็เป็นไปได้ เหล่านี้เป็นเปลของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ในบางเมืองที่ CUP มีอำนาจอยู่ สภาเปิดเหล่านี้ได้รับความรับผิดชอบพิเศษเพิ่มเติมและ "ได้รับมอบ" อำนาจต่าง ๆ
คติความอาจจะเป็นแบบอิสรนิยม
คติความอาจจะเป็นแบบอิสรนิยม (อังกฤษ: Libertarian possibilism) เป็นกระแสการเมืองภายในในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของลัทธิอนาธิปไตย นั่นคือการล้มเลิกรัฐและทุนนิยม ด้วยการมีส่วนร่วมภายในโครงสร้างของประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอย่างที่เป็นอยู่ ชื่อของจุดยืนทางการเมืองชื่อนี้ปรากฏตัวขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่าง ค.ศ. 1922–1923 ภายในวาทกรรมของนักสหการนิยมอนาธิปไตยชาวกาตาลา (Salvador Seguí) โดยเขากล่าวว่า "เราจะต้องแทรกแทรงการเมืองเพื่อเข้าควบคุมตำแหน่งต่าง ๆ ของพวกกระฎุมพี"
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1931 นักต่อสู้ในสหภาพแรงงานอนาธิปไตย (CNT) ได้เผยแพร่ "แถลงการณ์กลุ่มสามสิบ" (Manifiesto de los Treinta โดยทางวิกิซอร์ซ) ในกลุ่มที่ลงชื่อในนั้นมีเลขาธิการใหญ่ CNT (ค.ศ. 1922-1923) (Joan Peiró) (Ángel Pestaña) (เลขาธิการใหญ่ ค.ศ. 1929) และ (Juan López Sánchez) ซึ่งกระแสของพวกเขาชื่อว่า เตรอินติสโม (treintismo) และเรียกร้องให้ขบวนการอนาธิปไตยในสเปนมีแนวทางการเมืองที่เป็นกลางขึ้น ใน ค.ศ. 1932 พวกเขาได้ก่อตั้ง (Syndicalist Party) ซึ่งได้มีส่วนร่วมใน (1936 Spanish general election) และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งของสัมพันธมิตรของพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายซึ่งมีชื่อว่า (Popular Front (Spain)) โดยได้ที่นั่งสมาชิกสภามาสองที่นั่ง (เปสตัญญา และ (Benito Pabón y Suárez de Urbina)) ใน ค.ศ. 1938 เลขาธิการใหญ่ CNT (Horacio Martínez Prieto) ได้เสนอให้สหพันธ์อนาธิปไตยไอบีเรียแปลงสภาพตัวเองเป็นพรรคการเมืองสังคมนิยมอิสรนิยม และให้เข้ามีส่วนร่วมในการเลือกตั้งระดับชาติ
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936 แนวร่วมประชาชนได้แต่งตั้งนักที่มีชื่อเสียง ฟราดาริกา มุนแซ็ญ ขึ้นเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข และกลายเป็นผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ประเทศสเปนที่ได้เป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี เมื่อกองกำลังสาธารณรัฐพ่ายแพ้สงครามกลางเมือง เมืองมาดริดก็ถูกยกให้กับกองกำลังนิยมฟรังโก ใน ค.ศ. 1939 โดยนายกเทศมนตรีที่ไม่นิยมฟรังโกคนสุดท้ายของเมือง นักอนาธิปัตย์นามว่า (Melchor Rodríguez García)
นิเวศสังคมนิยม
(อังกฤษ: Eco-socialism) คือการรวมกันของลัทธิอนาธิปไตย นิเวศวิทยา (Environmentalism) (Green politics) ลัทธิมากซ์ และสังคมนิยม และโดยทั่วไปเชื่อว่าระบบทุนนิยมนั้นเป็นต้นเหตุของการกีดกันทางสังคม, (Economic inequality) และ (environmental degradation) นักนิเวศสังคมนิยมวิจารณ์หลายคนในว่าบทวิจารณ์ระเบียบโลกปัจจุบันของพวกเขานั้นยังไปไกลไม่พอ และแบบไม่ชัดเจน ในเวลาเดียวกันนักนิเวศสังคมนิยมก็ตำหนิฝ่ายซ้ายแบบดั้งเดิมว่าเมินเฉยหรือไม่พูดถึงปัญหาทางนิเวศน์ได้อย่างเหมาะสมเพียงพอ นักนิเวศสังคมนิยม (Anti-globalization movement) (Joel Kovel) มองว่าโลกาภิวัตน์เป็นแรงดันที่ขับโดยทุนนิยม แล้วความเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่ถูกกระตุ้นโดยโลกาภิวัตน์ก็ส่งผลให้เกิดวิกฤตทางนิเวศน์อย่างฉับพลันต่อมาตามลำดับ (Agrarian socialism) เป็นแนวคิดนิเวศสังคมนิยมอีกรูปแบบหนึ่ง ขบวนการเคลื่อนไหวในยุคสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ชื่อว่าวางรากฐานมโนคติของพวกเขาอยู่บนแนวคิดสังคมนิยมเกษตรกรรม
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sngkhmniymaebbxisrniym xngkvs libertarian socialism bangeriyk lththixnathipitysngkhmniym socialist anarchism sngkhmniymesri free socialism hrux sngkhmniymirrth stateless socialism epnklumprchyakaremuxngaebbxisrniymthi anti authoritarianism aela anti statism in history of socialism odyptiesthmummxngsngkhmniymaebb statism khxng state socialism thiihrthepnphuphukkhad state ownership centralisation nksngkhmniymaebbxisrniymwicarnkhwamsmphnthaebb wage slavery in workplace enn workers self management kbxngkhkrthangkaremuxngthimiokhrngsrang decentralization aelamiaenwkhidthikhabekiywkblththixnathipitykbxisrniym sngkhmniymaebbxisrniymepnkhbwnkarsngkhmniymsungprakxbdwyaenwkhidxnathipity marksist aela left libertarian tang sngkhmniymaebbxisrniymkraaeshlkprakxbdwyxnathipityaelalththimaksaebbxisrniym libertarian Marxism thngkhbwnkarshkarniymaebbxnathipityaelasngkhmniymaebbxisrniym odythwip sngkhmniymaebbxisrniymptiesthaenwkhidrth aelaxangwathangediywthisngkhmthimiesriphaphaelakhwamyutithrrmepnphunthancaekidkhunid khuxkarykeliksthabnaebbxanacniymthikhwbkhumpccykarphlitaelakdkhikhnswnmakihxyuitchnchnecakhxngaela elite thangesrsthkicaelakaremuxng nksngkhmniymaebbxisrniymsnbsnunokhrngsrangkracayxanacphanrabxbprachathipityodytrngaelasmakhmaebbshphnthrthhruxsmaphnthrth echn citizen s assembly popular assembly shkrn shphaphaerngngan aela worker s council odybrrluepahmayehlaniphankareriykrxngesriphaph aela Free association of producers phankarrabu wicarn aelathxnrakthxnokhnxanacthiimchxbthrrmxxkcakthukaengmumkhxngchiwitmnusyinthangptibti sngkhmniymaebbxisrniymmiaenwthangaetktangcak authoritarian socialism aela vanguardism khxng lththielnin aelakhxnglththiefebiyn prachathipitysngkhmniym ephraachann nksngkhmniymaebbxisrniymechuxwa karichxanacinrupaebbkhxngsthabnid ktam imwacaepnsthabnthangesrsthkic karemuxng sasna hruxthiekiywkbephs khuxkartharaythngphuichxanacaelaphuthithukbngkhbkhmehngphayitxanacnn ekhaokhrngbthniyam mihaxil bakhunin kh s 1814 1876 sngkhmniymaebbxisrniymepnprchyatawntkthimitikhwamhlakhlay aetthnghmdmibangsingthiehmuxnkn khuxkarsnbsnunrabbkarphlitthiennkhnnganaelakarcdraebiybinthithanganthimiphunthanaetktangcak neoclassical economics aelakaraethnthidwyrabbshkrnthiepnprachathipityhruxkarepnecakhxngpccykarphlit common ownership aenwkhidsngkhmniym odyesnxwarabbesrsthkicnicathuknamaptibtiihephimesriphaphkhxngtwbukhkhlihmakthisud aelaldihehluxnxythisud aenwkhidxisrniym phuniymaenwkhidniesnxwithikarbrrluepahmayehlanidwykarlmlangrabbthrphysinswnbukhkhlaelasthabnkarpkkhrxngrupaebbrth aelaaethnthidwythiekidkhunodythrrmchatirahwangklumpkkhrxngtnexnghruxshphnth aelakarkracayxanacthangesrsthkicaelakaremuxngphankaroxnwisahkicaelathrphysinswnbukhkhlkhnadihyklayepnkhxngsngkhm inkhnaediywknxnuyatihmi personal property sngkhmniymaebbxisrniymptiesthkhwamchxbthrrmkhxngthrphysinswnbukhkhlinrupaebbidktamthiminysakhythangesrsthkic odymxngwakhwamsmphnththangthrphysinaebbthunniymepnkarkhrxbngaaebbhnungsungepnstrukbesriphaphkhxngbukhkhl Dwight Macdonald ihniyamsngkhmniymaebbxisrniymiwwa sngkhmirchnchnsungrthhayipaelw karphlitepnaebbshkrn aelaimmiikhrmixanacthangkaremuxnghruxesrsthkicehnuxikhr aelaepnsngkhmthi wdkndwykhwamsamarthkhxngaetlabukhkhlinkarphthnathksaaelabukhliklksnakhxngtwexngihidkhnadihn hnngsuxphimphkhxmmiwnistxisrniymphasafrngess elx liaebraetr chbbwnthi 17 singhakhm kh s 1860 cdphimphodyochaesf edchk Le Libertaire epnnitysarxnathiptychbbaerkthiichkhawa libertarian aelatiphimphinnkhrniwyxrkrahwang kh s 1858 1861 odynkkhxmmiwnistxisrniym Joseph Dejacque khanithukichkhrngtxmainthwipyuorp emuxkhawa libertarian communism lththikhxmmiwnistaebbxisrniym thukichepnkhrngaerkinsphaxnathiptythxngthinthiemuxngelxxafwr praethsfrngess rahwangwnthi 16 22 phvscikayn kh s 1880 txmaineduxnmkrakhm kh s 1881 mikarephyaephrthxyaethlngxudmkarn lththikhxmmiwnistaebbxisrniymhruxxnathipity epnphasafrngess aelain kh s 1895 nkxnathipty Sebastien Faure aela Louis Michel tiphimphnitysar elx liaebraetr inpraethsfrngess khawa libertarian inphasaxngkvsmirakediywkbkharwmechuxsayinphasafrngess libertaire sungichinkarhlikeliyng Lois scelerates inpraethsfrngess tamthrrmeniym khawa libertarianism hruxxisrniymcungepniwphcnkhxngkhawalththixnathipity aelaepnkhwamhmaydngedimkhxngmn inbribthkhxngkhbwnkarsngkhmniymyuorp khawa libertarian hmaythungnksngkhmniymthitxtanxanacniymaelaechnmihaxil bakhunin aelamikhabekiywkb aetkthuxwaepnsngkhmniymaebbxisrniym aenwkhidid thiimidepnaebblxklwnepnaenwkhidaebbsngkhmniym sungrwmthungsngkhmniymaebbxisrniym onm chxmski nkkhidsngkhmniymxisrniymthimichuxesiyngthisudkhnhnunginpccubn xisrniymmikhwamsmphnthkbsngkhmniymmakxnrabbthunniym aelakhnthitxtanxanacniyminpccubnkyngpranamkhwamekhaicsungphwkekhamxngwaphid waxisrniymmikhwamekiywkhxngkbrabxbthunniymxyanginpraeths tamthi onm chxmski klaw nkxisrniymthikhngesnkhngwa catxngtxtankhwamepnecakhxngpccykarphlitkhxngaelarabb sungepnxngkhprakxbkhxngrabbni aelaimsxdkhlxngkbhlkkarthiwaaerngngancatxngsamarthkrathaidxyangesriaelaxyuitxanackhwbkhumkhxngphuthiphlitmn khawa sngkhmniymxnathipity lththixnathipitysngkhmniym lththixnathipityaebbsngkhmniym sngkhmniymesri sngkhmniymirrth aela xisrniymaebbsngkhmniym lwnhmaythungsngkhmniymsungxyufngxnathipityhruxepnaebbxisrniym hruxxyufngtrngkhamkb Authoritarian socialism nksngkhmniymxisrniymklawwarthinlththielninechnshphaphosewiytxyuinrayaepliynphancakrabxbthunniymepnsngkhmniym aetimekhyphthnaipiklkwarayani phwkekhatxngkarykelikrthodyimtxngxyuinrayaepliynphanthiepnrabxbthunniymodyrth karcdhmwdhmu sngkhmniymaebbxisrniymepnxisrniymfaysayrupaebbhnung aelakhbwnkarsungmkthukcdwaepnsngkhmniymaebbxisrniymmi xathiechn lththixnathipity odyechphaalththixnathipity khxmmiwnist anarcho syndicalism collectivist anarchism green anarchism individualist anarchism Mutualism economic theory aela social anarchism communalism democratic socialism bangrupaebb guild socialism lththimaksaebbxisrniym echn autonomism lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym left communism aelalththilukhesimbwrkh participism shkarniym aela utopian socialism bangrupaebb prawti nkesrsthsastr klawthungprawtisastrkhxngsngkhmniymaebbxisrniymiwin Economic Justice and Democracy kh s 2005 txnhnungwa chwngewlathisngkhmniymaebbxisrniymsrangphlkrathbmakthisudkhuxchwngplaykhriststwrrsthi 19 cnthungsithswrrsaerkkhxngkhriststwrrsthi 20 ekhaklawwainchwngni sngkhmniymaebbxisrniymepnkraaesthiaerngphx kbprachathipitysngkhmniymaelalththikhxmmiwnist Anarchist St Imier International thukkxtngkhunin kh s 1872 thiimkiwnihhlngcakkaraeyktwcakknkhxngfngmarksistaelafngxisrniymthi Hague Congress 1872 khxng First international xngkhkarxnathipitysaklni txsuchwngchingkhwamphkdikhxngnkkickrrmtxtanthunniym nkptiwti khnngan shphaph aelaphrrkhkaremuxng macakphwkprachathipitysngkhmniymaelakhxmmiwnistidsaercmatlxdchwngewlakwahasibpi inmummxngkhxnghahenl nksngkhmniymxisrniym mibthbathsakhyinkarptiwtirsesiyin kh s 1905 aela 1917 nksngkhmniymxisrniymmibthbathsakhyinkarptiwtiemksiokin kh s 1911 yisibpiihhlngcudcbkhxngsngkhramolkkhrngthihnung nksngkhmniymxisrniymyngmikalngmakphxthicaepnhwhxkin kh s 1936 aela 1937 inkhnathixikfakhnung aenwkhidaebbxisrniymerimkxtwinlththimaksaelaoddednkhunmatxnplaykhristthswrrs 1910 inthanaptikiriyaotklbaelalththielninsungekhamamixanacaelasthapnashphaphosewiyt inkhanakhxng ekhnt brxmliy Kent Bromley in khxng Peter Kropotkin ekhathuxwachawfrngess Charles Fourier epnphukxtngaenwkhidsngkhmniymaebbxisrniymsungtrngkhamkbaenwkhidkhxng Francois Noel Babeuf kb Philippe Buonarroti nkrthsastr Francis Dupuis Deri klawwa hlaypithiphanmainkhristthswrrs 1970 aela 1980 brryakastxtanxanacniymaelachnchnwrrnapraktinkhbwnkarthangsngkhm sungmxngwaxngkhkrthitxsuepnphunthiesri pkkhrxngaelacdkarodysmachikexng aelasanukinphlpraoychnkhxngswnrwm khwamethaethiym aelaesriphaph thiphthnaphankarpruksaharux txmabrryakastxtanolkaphiwtnkthukrbekhamainkhbwnkar sungekidkhuninchwngplaykhristthswrrs 1990 phankarchumnumbnthxngthnnthinaprathbic tngaetin kh s 1999 cnthungkarekhluxnihwtxtanklum 8 inpraethseyxrmnichwngvdurxn kh s 2007 rwmthungekhruxkhaythwolk suxthangeluxk silpa aelakhaymulwiwtibnchaykhxbewthismchchathangsngkhm twxyang AANES mikhwamphyayamsnbsnunihkhnngankxtngshkrnkhunma echnshkrneybphainemuxngedrik Derik dngphaph twxyangkhxngxngkhkraelatwaebbkartdsinickhxngkhbwnkarsngkhmniymaebbxisrniymrwmsmyprakxbdwykhbwnkartxtanthunniymaelaolkaphiwtn xathikxngthphpldplxyaehngchatisapatista EZLN kbrabb sphaaehngrthbalthidi Junta de Buen Gobierno faypkkhrxngtnexngsieriyehnuxaelatawnxxk AANES ekhruxkhaynkkhawthwolk Indymedia aelasngkhmkhnphunemuxngcanwnhnungsungxacmxngidwamirabbesrsthkicaelakaremuxngaebbxnathipityhruxsngkhmniymxisrniymthiaetktangiptamwthnthrrmkhxngaetlaklum monkhti khtitxtanthunniym phiramidkhxngrabbthunniym xingtamshphaphaerngngansaklkhnnganxutsahkrrmaehngolk kh s 1911 nksngkhmniymxisrniymesnxwaemuxxanacthukichsngxiththiphlkhxngbukhkhlhnungehnuxbukhkhlxun pharakarihkhwamchxbthrrmnntkxyukbphuthiichxanactrabethathimnthukichlaemidsiththikhxngbukhkhl nksngkhmniymxnathipitymxngwaokhrngsrangthangsngkhmid khwrthuxkaenidkhuncakklumkhxngbukhkhlthimixanackartdsinicethakn karsasmxanacthangesrsthkichruxkaremuxngiwinmuxkhxngklumkhnimkikhncungepnkarlaemidkarichesriphaphkhxngbukhkhlxyangesrikhxngbukhkhlswnihyinklum sngkhmniymaebbxisrniymepnaenwkhidthi Anti capitalism sungmihlkkarthitangcaklththithunniymaela right libertarianism sungsnbsnunkarrwmsunyxanacthangesrsthkiciwinmuxkhxngklumkhnthiepnecakhxngthuneyxathisud khtisngkhmniymaebbxisrniymmiepahmaythicakracayxanacihthwthungkhnthukkhninsngkhm aelatangcakkhtixisrniymfaykhwa echn esriniymihm trngthikhtixyangaerkechuxwaesriphaphkhxngkhn hnungkhunxyukbsthanathangesrsthkicaelasngkhmkhxngekha inkhnathikhtixyanghlngechuxinesriphaphinkareluxkinrabxbthunniym odyechphaathrphysinswnbukhkhlinrabxbthunniym hruxphudxikaebb inkhnathithunniymmihlkkarthirwmsunyxanacthangesrsthkiciwinmuxkhxngbukhkhlthimithunmakthisud dngechnaenwkhidxisrniyminthwipxemrikaehnux sngkhmniymaebbxisrniyminthangklbknmungthicakracayxanac aeladngnnesriphaph ihkbthukkhninsngkhmxyangethaethiym lththixnathipitywicarnkhwamsmphnthaebbsungthuxwaepnehmuxn voluntary slavery thi livelihood khxngbukhkhlhnungkhunxyukbkhacangkhxngekhaephiyngxyangediyw khawathaskhacangepnkhathiminy connotation echinglbsungepnkarepriybethiybrahwangkhwamepnthaskb wage labour odymungennipthikhwamkhlaykhlungrahwangkarepnecakhxngkbkarechamnusykhnhnung khanithuknamaichephuxwicarn economic exploitation aelakarcdchwngchnthangsngkhm odyxyangaerkthukmxngwaaesdngthungxanackartxrxngrahwangaerngngankbthunthiimethaknepnhlk odyechphaaemuxkhnnganmikhacangta xyangechnin sweatshop aelaxyanghlngphudthungkarkhadaekhlnkhxngrabbsungcasnxngthangeluxkxachiphkarnganaela leisure phayinrabbesrsthkic nksngkhmniymxisrniymechuxwa dwykarihkhunkhakbesriphaph sngkhmcamunghnaipsurabbthipceckbukhkhlmixanacinkartdsinicekiywkbpraednthangesrsthkicaelakaremuxng aelatxngkaraethnthixanacthiimchxbthrrmdwyrabbprachathipityodytrng karsmakhmodysmkhric aelakarpkkhrxngtnexngkhxngprachachninthukaengmumkhxngchiwit sungrwmthungthngchumchninechingkayphaphaelawisahkicinechingesrsthkic dwykarmathungkhxngkarptiwtixutsahkrrm nkkhidhlaykhnechn Pierre Joseph Proudhon aela kharl makhs idsathyayepriybethiybrahwangaerngnganrbcangkbthas inbribthkhxngkarwicarnthrphysinthangsngkhmsungimidmiiwsahrbichinkicswntw txma Emma Goldman idklawpranamthaskhacangwa thaskbaerngnganrbcangtangknaekhtrngthixyangaerkepnthassuxkhayaelaxikxyangepnthasihecha cxhn oxnill klawwa kxnhnachychnathangkaremuxngkhxnginyuorptawnxxkaelalththiefebiynrupaebbtang inyuorptawntk nnetmipdwythrrmeniymkhxngkarsmakhmsungimichaebbtladaelakartxtanrth nksngkhmniymaebbxisrniymhlaykhnechuxwakarphlitphakhxutsahkrrmnnkhwrthukcdkarodysmakhmodysmkhrickhnadihy inkhnaediywkn khnnganaetlakhnksmkhwrmisiththiinphlphlitaetlachinsungmacakaerngngankhxngtnexng phwkekhaaeykpraephthkhxngthrphysinephimepnthrphysinswnbukhkhlkb odythrphysinswnbukhkhlepnthrphysinchnidthiphuthuxkrrmsiththiinsing hnungnncamixanacehnuxsingnnimwamnkalngthukichnganxyuhruxhruxim aelaimwamncamiskyphaphinkarphlitmakkhnadihn inkhnathithrphysinswntwepnthrphysinchnidthihakimidthuknamaichnganxyukimmiikhrthithuxkrrmsiththiinthrphysinnn makipkwann phwkekhayng refusal of work aelaesnxthangeluxkihmaethn sungmirakthaninaenwkhidekiywkbskdisri kartrahnkruintnexng aelaesriphaphcakkarthukaeswnghapraoychnaelakarkhrxbnga sunginthiniesriphaphsungimidepn negative liberty ephiyngxyangediyw aetyngepn positive liberty dwy inaengthimxngthungkhwamecriyrungeruxngkhxngmnusy kepnsingthisakhy aelaepnkhwamekhaickhxngaenwkhideruxngesriphaphsungekiywoyngkbkbenguxnikhthangsngkhmaelachumchn aelasungmxngwaesriphaphnnaeykimkhadcakaenwkhideruxngkhwamethaethiym khtitxtanxanacniymaelarthniym aenwkhidxisrniymodythwipthuxwakarrwmsunyxanacepnbxekidkhxngkarkdkhisungcatxngthukthathayaelaihkhwamchxbthrrmxyuxyangtxenuxng nksngkhmniymaebbxisrniymswnihyechuxwaemuxxanacthukichsngxiththiphlimwacaepnthangesrsthkic sngkhm hruxthangkayphaph khxngbukhkhlhnungehnuxbukhkhlxun pharakarihkhwamchxbthrrmnntkxyukbphuthiichxanactrabethathimnthukichlaemidsiththikhxngbukhkhl aelayngtxtanokhrngsrangkhxngxanacthitaytwaelaepnladbchn imwacaepn power social and political economic power hruxthangsngkhm nksngkhmniymaebbxisrniymmungthicaaethnthirthaelabristhdwykarcdraebiybkhxngsngkhmepnsmakhmodysmkhric echn collective intentional community ethsbal shkrn commons hrux syndicate sungichprachathipityodytrngaelachnthamtiinkrabwnkartdsiniceruxngtang nksngkhmniymaebbxisrniymbangkhnsnbsnunihrwmsmakhmehlaniekhadwyknepnshphnthinradbthisungkhunsungprakxbipdwytwaethnaebbhmunewiynaelaeriykklbid twxyangkhxngshphnthrupaebbniinthangpt btiechn anarchism in spain hruxtwxyanginpccubndngthiyktwxyangip trngkhamkbkhwamkhidthwip sngkhmniymaebbxisrniymimichkhbwnkaraebb utopia aelamkhlikeliyngkarkhadkarnhruxkarwiekhraahechingthvsdiechinglukwasngkhminxnakhtcamihnataepnxyangir aetyudthrrmeniymwakartdsiniceruxngehlannimsamarththaidintxnni odycathaidphankardinrnaelakarthdlxngethannephuxihidmasungkhatxbthidithisudxyangepnprachathipityaelaepnthrrmchati aelakarwangrakthanthisthangkardinrniwbntwxyanginprawtisastrthiekidkhunaelw odychiihehnkhwamsaerckhxngraebiybwithiaebbwithyasastrwaekidcakkaryudinkarsarwcxyangmiehtuphlthiepidkwang aethnthicayudwakhxsrupepnxyangir tangcak dogma aelakarkhadkarniwkxnhnaxyangsineching nkxnathiptykhnhnungchux Rudolf Rocker idklawwaekhaimidepnnkxnathiptyephraaekhaechuxinxnathipityepnepahmaysudthay aetephraamnimmisingthieriykwaepahmaysudthay ephraasngkhmniymaebbxisrniymsngesrimihmikarsarwcaelayxmrbkhwamkhidthihlakhlaymakkwakarcdtngkhbwnkarthiehniywaenn cungmikarotethiyngekiywkbkhwamepnnksngkhmniymkhxngbangkhnthiimehndwykbaenwkhidhlkinbangkhxxyakhlikeliyngimid Peter Hain tikhwamsngkhmniymaebbxisrniymepnaenwkhidaebb makkwaxnathipity odysnbsnunkarkracayxanacaebbmulwiwtiaetimipiklthungkhnadkarlmelikrthxyangsmburn nksngkhmniymaebbxisrniym onm chxmski snbsnunkarruxthxnxanacthangsngkhmaelaesrsthkicthiimchxbthrrmthukrupaebb aelainkhnaediywknkennyawakaraethrkaethrngcakphakhrthepnsingthikhwrsnbsnunepnkarkhumkhrxngchwkhrawkhnathiokhrngsrangthikdkhiyngkhngmixyu echnkn Peter Marshall author klawwamnrwmthungphwkthiniymsungtxngkarcakdaelakracayxanackhxngrth phwkshkarniymsungtxngkarlmlangmnihsinip cnthungaemaetphwklththiefebiynaelaprachathipitysngkhmniymsungtxngkarsrangesrsthkicaebbsngkhmkrn socialization aetyngehnwarthyngmihnathithicakd phuthisnbsnunaenwkhidniepnthiruckwatxtankarmixyukhxngrthhruxrthbal aelaptiesthimmiswnrwmkbsthabnthangkaremuxngthiichxanacbngkhb inxdit bangkhnptiesththicasabantninsalhruxekharwmkrabwnkarphicarnakhdi aememuxcatxngthukcakhuk hruxenreths phwkkhxmmiwnistfaysay sungthuxwaepnaenwkhidsngkhmniymaebbxisrniymrupaebbhnungsungekhluxbaekhlnginaenwkhidaebblththimaks elninaelaprachathipitysngkhmniym thukklawthungwaepnklumkhnthimxngwakarcdkarodytnexngkhxngchnchnaerngnganhruxkhxngphukhnepnkhatxbkhxngpyhainkardinrnephuxihidmasungsngkhmniym karptiwti aelakarcdraebiybkhxngsngkhmhlngthunniym aetkyngkhngmikarrwmklumkninrupaebbthikhlaykbepnphrrkhsungichkrabwnkarplukpn okhsnachwnechux karihkarsuksa aelakaraethrkaesngthangkaremuxnginrupaebbxun singniepnpraednthimipyhainkhbwnkarkhxmmiwnistfaysay aelathaihekidkhwamaetktanginaetlakhbwnkar tngaetfngthiptiesthkarmiphrrkhkaremuxngaelaeluxkmiephiyngklumsuksahrux affinity group aethn cnthungfngthiwicarnkhwamirediyngsakhxngaenwkhidthibxkwakarptiwticaekidkhunexng aelayunkranwaxngkhkarkhxmmiwnistthimiwiny wicarntnexng aelaechuxmoyngkndwykhncanwnmakmihnathithicaepnkhxngmn aemcamikhwamekhrngkhrdnxykwaphrrkhkhxmmiwnistthwip esriphaphkhxngphlemuxngaelaesriphaphkhxngpceckbukhkhl Anarchism in the United States aelankkickrrmephuxaelakhwamkhidxyangxisra nksngkhmniymaebbxisrniymsnbsnun civil liberties sungrwmthungesriphaphinkarphud sasna karchumnum aelaxun sungmxbsiththiihpceckbukhkhl echn free love aelaeruxngkhwamkhid txsukbsthabnrthaelasanathicakdsiththiehlani lththixnathipitysnbsnunkhwamrkesrimatngaeterim aelaednchdkhuninkhbwnkaraelakhbwnkarkarsnbsnunsiththikhxngklumbukhkhlthimikhwamhlakhlaythangephs insmytxma lththixnathipitymiswnrwminpraednthiekiywkhxngkbephsechnnganlamkbidiexsexm aela sex industry khtiniymsiththistriaebbxnathipityepnkarphsmknrahwangaenwkhidsiththistriaebbmulwiwtikblththixnathipity sungmxngwapitathipityepnrthechingbibbngkhbkhnphunthanthipraktxxkma odyidrbxiththiphlcaknganekhiyninchwngplaykhriststwrrsthi 19 khxngnkxnathiptystrisiththiniymyukhaerkechn Lucy Parsons Emma Goldman wxlaetrin edx aekhlr aelabirkhieniy bxlethin nkstrisiththiniymxnathipitywicarnaelasnbsnunihelikaenwkhideruxngkhrxbkhrw karsuksa aelabthbaththangephsaebbpraephnidngedim phusnbsnunaenwkhidkhwamrkesribangraynbwakhbwnkarmitnkaenidcaknkxnathiptyyukhaerkechn Josiah Warren kbchumchnthdlxngtang aelamxngwaesriphaphthangephsepnkaraesdngxxksung self ownership khxngpceckbukhkhl khwamrkesriihkhwamsakhykbsiththistriephraakdhmaythiekiywkbephsswnihyeluxkptibtitxstri echnkdhmaykarsmrsaelamatrkartxtankarkhumkaenid nksngkhmniymxisrniymekhluxbaekhlngaelatxtan Organized religion khwamkhidxyangxisraepnmummxngechingprchyasungthuxwakhwamkhidehntxngmixyubnthankhxngwithyasastr trrka aelaehtuphl aelaimkhwridrbxiththiphlcakxanac praephni hruxsiththntxunid inshrth khbwnkarkhwamkhidxyangxisratxtansasnakhristaela odymiepahmayihbukhkhlmixisrathangkaremuxngaelacitwiyyanthicatdsineruxngekiywkbsasnadwytnexng phumiswnrwminwarsarxnathipty Liberty hlaykhnepnbukhkhlsakhyinkhbwnkarxnathipityaelakhwamkhidxyangxisa imwacaepn cxrc aemkhodnld brrnathikarrwmkhxng Freethought kb The Truth Seeker aela xi si wxlkekxr brrnathikarrwmkhxng Lucifer the Light BearerFree Society epnhnunginhnngsuxphimphxnathiptythisakhychwngplaykhriststwrrsthi 19 aelatn 20 inshrth thisnbsnunkhwamrkesriaelasiththistri aelawicarnkaresnesxrenuxhathiekiywkbephskhxng Anthony Comstock in kh s 1901 nkxnathiptychawkatalnaelankkhidxyangxisra Francisco Ferrer kxtng Ferrer movement hwkawhnakhuninbaresolnaephuxthathayrabbkarsuksathisasnckrkhathxlikkhwbkhum orngeriynehlanimiepahmayih Popular education inbribththiichehtuphl epnolkwisy aelaimbibbngkhb efrerrtxtansasnckraelaechuxinesriphaphinkarsuksathiepnxisracakxanackhxngsasnckraelarth inkhriststwrrsthi 20 nk Freudo Marxism chawxxsetriy Wilhelm Reich sungepnkhnbyytiwli sexual revolution inkhristthswrrs 1940 eriykrxngesriphaphthangephs Elizabeth Danto klawwaekhaepidkhlinikihkhapruksathangephsodyimmikhaichcayihaekchnchnaerngnganinewiynnaodyihkhapruksaaebbcitwiekhraah khaaenanamarksist kbxupkrnkhumkaenid aelasnbsnunkaraesdngxxkthangephskhxngthukkhnrwmthungeyawchnaelakhnthiyngimaetngngan odyyinyxmmakcnthngfaysayaelankcitwiekhraahbangswnimsbayic khlinikkhxngekhaidrbkhwamniyminthnthicakphukhncanwnmakthitxngkarkhwamchwyehlux inchwngtnkhristthswrrsthi 1970 nkxnathiptyaelasntiniymchawxngkvs Alex Comfort epnthiruckcaknganekhiynkhumuxephssmphnthchux The Joy of Sex aela More Joy of Sex withikarsungichkhwamrunaerngaelasungimichkhwamrunaerng nksngkhmniymxisrniymbangkhnmxngwakarptiwtithiichkhwamrunaerngepnsingthicaepnephuxlmlangsngkhmthunniym inkhnathikhnxun snbsnunwithikarthiimichkhwamrunaerng Errico Malatesta klawwakarichkhwamrunaerngepnsingthicaepn dngthiekhaklawiwin Umanita Nova chbbthi 125 6 knyayn 1921 khwamprarthnaaelakhwamtngickhxngerakhuxkarthithukkhnkhwrmicitsanukaelaprasiththiphlthangsngkhm aetephuxihidmasungepahmayni epnsingcaepnthicatxngihthukkhnmipccykardarngchiphaelakarphthna aelacungepnsingcaepnthicatxngichkhwamrunaerngephuxthalaykhwamrunaerngsungptiesthpccyehlaniaekehlakhnngan inemuximmithangxunidthicathaid piaeyr ochaesf phrudng snbsnun nonviolent revolution phankrabwnkar dual power sungkhuxkarkxtngsthabnechingsngkhmniymxisrniymsungcasrangsmakhmthicathaihsamarthkhyayekhruxkhayphayitrabxbthunniymrththiepnxyuidodymikhwamtngicwainthisudcathaihthngrthaelaesrsthkicaebbthunniymtxngesuxmlngip karthilththixnathipityekhluxniphakhwamrunaerngnnkmirakmacakthichumchnsungidrbaerngbndaliccakkhwamkhidkhxngphrudngaelakhnxuntxngprasbkbkarkhatkrrmhmu nklththikhxmmiwnistxnathipityhlaykhnerimmxngehnkhwamcaepnkhxngkhwamrunaerngephuxkarptiwtiephuxtxbotkbkhwamrunaerngthimixyuthnginrabxbthunniymaelarthbal Anarcho pacifism epnkhbwnkarxnathipitythiptiesthkarichkhwamrunaernginkardinrnephuxkarepliynaeplnginsngkhm phuthimixiththiphlthangkhwamkhidaenwthangnithisakhykhnaerk echn ehnri edwid thxor aela elox txlstxy aenwkhidniphthnakhunmain hxlaelnd brietn aelashrththngkxnaelarahwangsngkhramolkkhrngthisxngepnswnihy kartxtanwithikarichkhwamrunaerngimidhmaykhwamwankxnathiptyaebbsntiniymcaimyxmrbinhlkkarkhdkhunhruxaemaet trabidthiimkxihekidkhwamrunaerng aelakaryxmrbaenwthangkartxtanxanacechnniexngnaphaihnkxnathiptysntiniymsnbsnunaenwkhidkarndhyudnganthwipkhxngepnxawuthinkarptiwti praednsingaewdlxm epnsungennyaodyechphaainpraedndansingaewdlxm xiththiphlerimaerkmacakkhwamkhidkhxngnkxnathiptychawxemrikn ehnri edwid thxor aelahnngsuxchux wxledn khxngekha rwmthung elox txlstxy aela Elisee Reclus inkhriststwrrsthi 19 anarcho naturism thuxkaenidkhuncakkarphsanknkhxnglththixnathipityaelaprchya naturism phayinwngkhbwnkarlththixnathipityaebbpceck inpraethskhiwba oprtueks frngess sepn aelashrachxanackr nxkcakniyngmiaenwkhidkraaespccubnechn Anarcho primitivism aela Social ecology Bookchin nkkickrrmaelathvsdixyang Takis Fotopoulos onm chxmski Murray Bookchin aela Cornelius Castoriadis idekhiyninwarsarsngkhmniymxisrniymaelaprachathipityechingniews inchwngtnkhristthswrrs 1990 thimichuxwa Democracy amp Nature rakthanthangkaremuxngphayinaenwkhidsngkhmniymsmyihmyukhaerk kbtchawnainyukhhlngkarptirup phaphphimphaekaimcakexksar ody William Everard Digger nksngkhmniymaebbxisrniymxangwa Levellers chawxngkvscakkhriststwrrsthi 17 epnhnunginbrrphburusthangxudmkarnkhxngphwkekha nkekhiynsngkhmniymaebbxisrniymbangkhnidrabunganekhiynkhxngnkptirupsngkhmopretsaetntchawxngkvs Gerrard Winstanley aelangankickrrmthangsngkhmkhxngklumkhxngekha Diggers waepnsartngtnkhxngaenwkhidaenwni inmummxngkhxngnkprawtisastrxnathipty George Woodcock thungaemwa caepnnkekhiynkhnaerkthieriyktnexngepnnkxnathipty mikhnxyangnxyxiksxngkhnkxnhnathirangekhaokhrngkhxngrabbsungmixngkhprakxbphunthankhxngxnathipitythukprakar khnaerkkhux ecxrrard winsaetnliy kh s 1609 thung p 1660 sungepnphukhaphalininthiidnakarekhluxnihwkhnadelkkhxngphwkdikekxsinyukhekhruxckrphph winsaetnliyaelaphutidtamkhxngekhaidprathwnginnamkhxngkhristsasnasaymulwiwtiephuxtxtanphyphibtithangesrsthkictamhlngcaksngkhramklangemuxngxngkvs aelaephuxtxtankhwamimethaethiymthiehlakhunnangaehngkxngthphtwaebbihmtxngkarcaxnurksiw rahwang kh s 1649 thung 1650 phwkdikekxsidekhacbcxngthidinkhxmmxninphakhitkhxngxngkvs aelaphyayamthicacdtngprachakhmthixyubnthankhxngkarthanganbnthidinnnaelakaraebngpnthrphyakr chumchnphwknnimsaerc aetibpliwchudodywinsaetnliyynghlngehluxxyu aelahnunginnn edxaniwlxwxxfirtechiysens The New Law of Righteousness kh s 1649 epnxnthisakhythisud odyklawsnbsnunkhristsasnathiichehtuphl winsaetnliythuxwaphrakhristnnkhux xisrphaphxnepnsakl aelapawprakasthungthrrmchatikhwamthucritxnepnsaklkhxngxanachnathi ekhamxngehnthung exksiththiesmxknthicaaebngpnknphayitphrkhxngxisrphaph aelasubphbthungkhwamechuxmoyngxyangluksungrahwangsthabnkhxngthrphysinaelakhwamkhadaekhlninesriphaph idklawwalththixnathipityinolksmyihmpraktepnkhrngaerkinrupkhxngkarekhluxnihwkhxngiphraelaesrichnephuxtxtansthabnskdinathiesuxmkhlaylng waaenwkhidkhxngwinsaetnliyaela Thomas Muntzer phunasngkhramchawnaeyxrmnnnehmaasmkbyukhsmykhxngphwkekhamak sungepnchwngewlainprawtisastrthiprachakrswnihyxasyxyuinchnbth aelaemuxkxngkalngptiwtithiekhmaekhngthisudmacaksngkhmekstrkrrm aelaklawxikwaphwkekhannphudtrngkbchwngewla aelaaenwkhidxnathipitykhxngphwkekhadaeninmaxyangepnthrrmchaticaksngkhmchnbththitidxawuthihaekkxngthphchawnaineyxrmniaelakxngthphtwaebbihminxngkvs yukheruxngpyya epnthiklawkhanodynksngkhmniymaebbxisrniymbangkhn thungmummxngthithuxwaehlachawfrngessyukhkhriststwrrsthi 18 Encyclopedistes rwmthung thxms ecfefxrsn othms ephn aelankkhidyukheruxngpyyachawxngkvs William Godwin epnbrrphburusthangxudmkarnkhxngphwkekha inkhwamkhidkhxngwudkhxk wileliym kxdwin idihekhaokhrngkhxnglththixnathipitythilaexiydkhuniwinhnngsuxkhxngekha exnikhwrikhxnesirnningophlitikhlcstis Enquiry Concerning Political Justice kh s 1793 aemcayngimichchuxwa Anarchism ekhathuxwakxdwinepnnkxnathiptyaebbkhxyepnkhxyip odyniymkrabwnkarsungekhamxngwaepnthrrmchatikwa ehnuxkickrrmsayptiwti nnkhuxkarsnthnarahwangmnusyphumiimtricitodyekhahwngwakhwamcringcamichydwyxanackhxngmnexnginthisud ekhaklawxikwakxdwinsungidrbxiththiphlcakcaritkhxngkhwamkhdaeyngcakxngkvsaelaprchyaeruxngpyyacakfrngess idnaesnxbthwicarnaebbxnathipityinkhnphunthan ekiywkbrth thrphysinsasm aelakarmxbhmayxanachnathiphankrabwnkarprachathipity onm chxmski thuxwasngkhmniymaebbxisrniymepn swntxkhyaythiehmaasmaelaepnthrrmchati khxngesriniymkhlassik ipinyukhsmykhxngsngkhmxutsahkrrmkhnsung chxmskimxngwakhwamkhidaebbsngkhmniymxisrniymepnsingthisubenuxngmacakkhwamkhidaebbesriniymkhlassikkhxngyukheruxngpyya odyklawwacudyunthangxudmkarnkhxngekhannwnewiynxyuekiywkb karhlxeliyngkhunlksnakhwamsrangsrrkhaelakhwamepnxisrniymkhxngmnusychn chxmskiaelehnthungxnakhtaebbthimi Workers control khxngpccykarphlitodytrng aelakarrthbalodysphakhnnganthicaeluxkphuaethnihmaphbkninsmchchasamytang cudmunghmaykhxngkarpkkhrxngodytnexngechnnikhuxephuxthaihphlemuxngaetlakhn epnphumiswnrwmodytrnginrthbalkhxngkickartang inkhaphudkhxngecfefxrsnexng chxmskiechuxwacaimmikhwamcaepnthitxngmiphrrkhkaremuxngxikaelw chxmskiechuxwapceckbukhkhlcasamarthphungphxicinngankhxngtnexng aelamisanukinhnathiaelakhwamsmprarthna phankarkhwbkhumchiwitkarphlitkhxngtwexngid chxmskiklawwanganthiimepnthiniymaelaimepnthiphxiccasamarththukthaihepnxtonmtiidodysmburn thukthaodykhnngansungidkhatxbaethnepnphiess hruxthukaebngsrrihkbthukkhn inchwngkhxngkarptiwtifrngess Sylvain Marechal ideriykrxngihswnrwmidephlidephlinkbphlphlitkhxngaephndininaethlngkarnkhxngekha maniefsotxxfedxaxikhwxls Manifesto of the Equals kh s 1796 aelamungrxkhxythungkarhayipkhxng karaebngaeykxnnakhyaaekhyngrahwangkhwamrwyaelakhwamcn rahwangkhwamyingihyaelakhwamelknxy rahwangecanayaelabawiphr rahwangphupkkhrxngaelaphuthukpkkhrxng khawa aexnarkhist anarchist hruxnkxnathiptythuknaekhamainphasaxngkvsepnkhrngaerkin kh s 1642 inchwngsngkhramklangemuxngxngkvs sungthukichodyphwkaekhwaeliyrepn Pejorative faytrngkhamkhxngphwkekhannkhuxphwkhwekriyn txmainyukhptiwtifrngess khnbangklumechnphwk Enrages erimnakhanimaichindanbwk ephuxtankarrwmsunyxanacodyphwk odymxngwarthbalptiwtinnmikhwamyxnaeyngintwexng cnkrathngchwngsudthaykhxngkhriststwrrsthi 19 khawa Anarchism inphasaxngkvskidhmdkhwamhmayechinglbintxnaerkkhxngmnip yukhcintniymaelasngkhmniymaebbyuothepiy inkhanasungekhiynody ekhnt brxmliy inhnngsux edxakhxnekhwstxxfebrd khxng pixxtr okhrpxtkin ekhathuxwanksngkhmniymaebbyuothepiychawfrngess charl furiey epnphusthapnaaenwkhidsngkhmniymsakhaxisrniymsungtrngkhamkbaenwkhidsngkhmniymaebbxanacniymkhxng frxngsw onexl baebif aelafilipp buoxnarrxtti nkxnathipty hakim eby Hakim Bey nampakkakhxng Peter Lamborn Wilson xthibayaenwkhidkhxngfurieywa inrabbkhxngkhwambrrsankhxngfuriey kickrrmechingsrangsrrkhthnghmd imwacaepnxutsahkrrm htthkrrm ekstrkrrm l cathuxkaenidkhuncakchnthathithukpldplxy nikhuxthvsdithiodngdngwadwy aerngnganthimiesnh furieythaihtwkhxngnganexngklayepneruxngthangephs chiwitkhxngcungepnephssmphnthhmuthiimhyudyngkhxngkhwamrusukxnaerngkla karthakhwamekhaic aelakickrrm epnsngkhmkhxngehlankrkaelaphuthikhlngikhlxnpaethuxn lththifurieykxtwkhunmainkhwngklangkhriststwrrsthi 19 thikhxmmunfalxngsaetr Phalanstere hlayrxyaehngthukkxtngkhunbnhlkkarfurieyristinpraethsfrngess thwipxemrikaehnux praethsemksiok thwipxemrikait praethsaexlcieriy aelapraethsyuokslaewiy thng piaeyr ochaesf phrudng fridrich exngengils aela pixxtr okhrpxtkin lwnidxannganekhiynkhxngekhaxyanghlngihl echnediywknknkb Andre Breton aela rxlxng bart inngankhxng Herbert Marcuse chux exorsaexndsiwiileschn Eros and Civilization ekhaidykyxngfurieyodyklawwaekha ekhaiklthicaikhkhwamthungkarphungphaknrahwangesriphaphaela Sublimation psychology thiimthukxdklnmakkwanksngkhmniymaebbyuothepiykhnxunkhnid nkxnathipty pietxr sabatini ekhiyniwwainchwngklangkhriststwrrsthi 19 inshrth klumwthnthrrmtxtanaebb yuothepiy aelaaebbkhxmmunchudhnungidprakttwkhunma sungrwmthungkhbwnkarkhwamrkesridwy lththixnathipitykhxng sngxiththiphltxehlanibangswn aetkimethasngkhmniymkhxng orebirt oxewn aela phayhlngkhwamsaerckhxngthurkickhxngekhainbrietn oxewnkidkxtngchumchnshkrndwytwekhaexnginshrththiemuxng New Harmony Indiana inchwng kh s 1825 hnunginsmachikkhxngkhxmmunnikhux ocisxa wxrern kh s 1798 1874 sungthukthuxwaepnnkxnathiptyaebbpceckkhnaerk phayinaenwkhidsngkhmniymsmyihm lththixnathipity xyangthi Albert Meltzer aela Stuart Christie idklawiwinhnngsuxkhxngphwkekhachuxwa edxafldektxxfaexnarkhi The Floodgates of Anarchy lththixnathipitymithaykrrmechphaatwkhxngmn swnhnungmirwmkbsngkhmniym thaihmikbstrukhxngmnbangphwk xikswnkhxngthaykrrmkhxngmnnnmirwmkbesriniym thaihmnepnlukphiluknxngtngaetekidkbsaymulwiwtiaebbxemrikn sungswnihykidaetngnganxxkcakkhrxbkhrwipkbfaykhwa aelakimidphudkhuyknaelw piaeyr ochaesf phrudng phuthimkthukthuxwaepnbidakhxnglththixnathipitysmyihm idbyytiwliwa Property is theft thrphysinkhuxkarlkthrphy ephuxxthibaymummxngswnhnungkhxngekhaekiywkbthrrmchatikhwamsbsxnkhxngkhwamsmphnthrahwangkrrmsiththikhwamepnecakhxngaelaesriphaph thiekhaklawwathrphysinkhuxkarlkthrphy ekhahmaythungnaythunthiekhamxngwaidkhomykairipcakphuichaerngngan sahrbphrudng lukcangkhxngnaythunnn thukkdkhi thukexaepriyb sphaphthawrkhxngekhannkhuxkarechuxfng nkthvsdihlkkhxnglththixnathipity khxmmiwnist sibecdpi kh s 1857 hlngcakthiphrudngeriyktwexngepnnkxnathipty anarchist epnkhrngaerkin kh s 1840 nkxnathiptykhxmmiwnist epnbukhkhlaerkthieriyktwexngepnnkxisrniym libertarian nxkshrth khawaxisrniymodythwiphmaythungxudmkarnthitxtanxanacniymaelatxtanthunniym sngkhmniymaebbxisrniymmirakthanxyuinaenwkhidesriniymkhlassikaelasngkhmniym thungaemcakhdaeyngkbaenwkhidesriniym odyechphaaxyangyingkbesriniymihmaelaxisrniymfaykhwa aelaaebbxanacniymxyubxykhrnginewlaediywkn aemwasngkhmniymaebbxisrniymcamirakthanxyuinthngaenwkhidsngkhmniymaelaesriniym aetkmirupaebbtang thiidrbxiththiphlcakthngsxngthrrmeniymkaremuxnginradbthitangkn twxyangechnaenwkhidxnathipityaebb sungidrbxiththiphlcakesriniymmakkwa inkhnathiaenwkhidxnathipityaebbkhxmmiwnistaelaaebbshkarniymidrbxiththiphlcaksngkhmniymmakkwa thungxyangnnktam lththixnathipityaebbchwyehluxsungknaelaknmitnkaenidmacaksngkhmniyminyuorpchwngkhriststwrrsthi 18 aela 19 dngechnsngkhmniymaebbfuriey klbkn aenwkhidxnathipityaebbkhxmmiwnistaelaaebbshkarniymklbmitnkaenidthiekaaekthisudinaenwkhidesriniyminchwngtnkhriststwrrsthi 18 dngechnkarptiwtifrngess lththixnathipityepnxupsrrkhladbaerk txaenwkhidaebbaela sungmnsubphbwamixyuinphakhswnsakhykhxngkhbwnkarsngkhmniym nkxnathiptyklawhawaphthnakarkhxngkarekhaipmiswnrwminrthspha krathrwngthbwngkrm aelaphrrkhkaremuxngcanaipsukhtimulwiwtithildlngaelakarklaysphaphepnkradumphi aelakaremuxngaehngrthkcathalaypceckphaphaelaprachakhmthiaethcring nkxnathiptyhlaykhncungptiesthkarcdraebiybinrupaebbkhxnglththimaks aelatxngkarbxnthalayxanacladbchnphanwithikarrwmklumthangkaremuxngaelawthnthrrmaebbhlwm hruxphanwithikarsnbsnunkarcdraebiybdwyhnwykhxngkaremuxng karpkkhrxng aelaesrsthkicinhnwy ediywniepnxngkhkrediyw tam Otto Ruhle aelaaenwkhidshkarniym nkxnathiptyhlaykhnkptiesthxanackhxngpyyachnaelawithyasastr odyklawwa inkaryudkhrxngsthabnrth aelakarykradbbthbathkhxngphrrkhkaremuxng ehlapyyachnkalngsngesrimhlkkarkhxngchnchnsungthukfngiwinsthabnkaremuxngaelakarpkkhrxng odythuxwakarptiwtinnekidkhunphanphlngkhxngphvtikarnaela hruxsychatyankhbththimixyuinmwlchnethann thieriykwa sychatyanephuxesriphaph tambakhuninaelachxmski hruxtamkhaklawkhxngbakhuninexng thnghmdthipceckchncathaidnnkhuxkarxthibay ephyaephr aelakhidhakhwamkhidsungsxdkhlxngkbsychatyankhxngprachachn lththimaks wileliym mxrris nklththimaksaebbxisrniymchawxngkvskhnaerk aenwkhidlththimakssayxisrniymerimphthnakhunhlngehtukarncaephaatang aechmsi oxecli klaw eraphbkaraesdngxxksungmummxngechnnikhrngaerk in wileliym mxrris aela Socialist Party of Great Britain SPGB aelatxmainehtukarntang chwng kh s 1905 phrxmkbkhwamkngwlicthiephimkhuntxkarephimkhunkhxngkhwamepnrachkaraelakarldlngkhxngkhtimulwiwtiinsngkhmniymnanachati mxrrisidkxtng Socialist League UK 1885 khunmaineduxnthnwakhm kh s 1884 sungidrbkhwamsnbsnuncak fridrich exngengils aela Eleanor Marx inthanathiepnhwhxkphayinxngkhkr mxrrisiderimklawkhaprasyaelapathkthaxyangirpranithngtammumthnn insmakhmkhnngan aelahxngbrryaytang thwthngxngkvsaelaskxtaelnd tngaet kh s 1887 canwnnkxnathiptyerimmimakkwacanwnnksngkhmniymphayinsnnibatsngkhmniym karprachumpracapikhrngthisamkhxngsnnibatthilxndxninwnthi 29 phvsphakhm kh s 1887 epnhmudhmaykhxngkarepliynaeplng thiphuaethnswnihyin 24 sakhaidlngkhaaennsnbsnunmtithiphlkdnodyphwkxnathipty sungklawwa thiprachumnisnbsnunnoybaythicalaewnsungptibtikarthangrthspha sungsnnibatiddaeninkarmacnkrathngbdni aelamxngimehnthungehtuphlidthidiephiyngphxthieracaepliynaeplngmn phlthitammakhux snnibatidesiyaerngsnbsnunkhxng exngengils ip aela exelnxr makhs kbkhurkkhxngethx idxxkmakxtngxngkhkraeykxxkmachuxwa smakhmsngkhmniymblumsbri Bloomsbury Socialist Society khlara esthkhin aela orsa lukhesimbwrkh inchwngrahwangaelaphayhlngcaksngkhramolkkhrngthihnung dwykhwamphidhwnginkaryxmcannkhxngnkprachathipitysngkhmniym dwykhwamtunetncakkarekidkhunkhxng aeladwykarexatwxxkhangcaklththielnin nkkhxmmiwnisthlaykhnklbptiesthkhaklawxangtang khxngphrrkhkaremuxngsngkhmniym aelaklaymamikhwamechuxmninmwlchn ody sychatyankhxngmwlchnsamarthmixchriyphaphmakkwanganchinid khxngxchriyaphuyingihykhn ediyw cudyunthifaysaycdinchwngewlannhyibykmaich kechn workerism aela spontaneism khxng orsa lukhesimbwrkh twxyangechn Antonie Pannekoek Henriette Roland Holst aela Herman Gorter thipraethsenethxraelnd thipraethsxngkvs xnotniox krmchi thipraethsxitali aela Gyorgy Lukacs thipraethshngkari sungdwyaenwkhidni dictatorship of the proletariat caepnrabxbephdckarkhxngchnchndngklaw imichephdckarkhxngphrrkhkaremuxnghruxphrrkhphwkid aetkhwamtungekhriydrahwangkhtitxtanaenwhnaniymkbaenwhnaniymkcblngidsxngthangsungtrngkhamknxyangsineching nnkhuxkareliywekhasuphrrkhkaremuxngprakaraerk aelakaronmexiyngsukhtikhxngkarptiwtithiekidexngodysmburncakchnkrrmachiphprakarthisxng krmchiaelalukachkhuxtwxyangkhxngprakaraerk aelaprakarthisxngphbidinaenwonmsungphthnamacakfaysaycddtchaelaeyxrmn sungmiaenwonmsukarkhcdrupaebbaebbphrrkhkaremuxngihsinip inshphaphosewiytthiephingkxkaenidkhun kekid left wing uprisings against the Bolsheviks sungepnkarkbtaelakarkxkarkarkaeribcanwnhnungthitxtanphwkbxlechwikh sungthuknahruxidrbkarsnbsnunodyfaysay xathi Socialist Revolutionary Party Left Socialist Revolutionaries phwk Mensheviks aelankxnathipity bangswnsnbsnunkhbwnkarkhaw White Movement inkhnathibangswnphyayamepnxanacxisra karkxkarkaeriberimkhunin kh s 1918 aelatxenuxngmacnsngkhramklangemuxngrsesiy aelatxipcnthung kh s 1922 phwkbxlechwikhkerimlmelikkhwamphyayamthicanaklumehlanimaekharwmrthbalaelaerimprabpramphwkekhaodyichkalngepnkartxbot ody wladimir elnin kidocmtinkwicarnphrrkhbxlechwikhhlaykhnsungmicudyunthisaykwaphwkekhainngankhxngekhaexng chuxwa khxmmiwnistpiksaykhwamkhidrasarasayirediyngsa Left Wing Communism An Infantile Disorder nksngkhmniymaebbmaksistxisrniymhlaykhnmxngwakhwamlmlalaythangkaremuxngkhxngsngkhmniymaebbdngedimaesdngthungkhwamcaepnkhxngkhwamkawhnathangthvsdi imwacaepnkhwamhwrnineruxngechingthvsdiaebbmaksxyangthisudsung Bordigism aelaphrrkh SPGB snbsnun hruxcaepnkarthxyklb hlngmaks ipsuaebbaephnkhxngkar Antipositivism khxngaenwkhid German idealism khxngnksngkhmniymxun aenwkhidsngkhmniymaebbxisrniymmkcaechuxmoyngkhwamprarthnathangkaremuxngthicatxtanxanacniymwaepnkhwamaetktangthangthvsdikhxngmncakaebbdngedim twxyangechn Karl Korsch ekhaepnnksngkhmniymaebbxisrniymepnswnihykhxngchiwitekha kephraaaerngphlkdnthifngaennkhxngekhatxkhwamepidkwangthangthvsdiinngankhxngekha ekhaptiesthsingthiepnnirndraelasthitsthaphr aelasnicinbthbaththisakhykhxngsingechingptibtithimitxkhwamethccringkhxngthvsdixnhnung odyimmithvsdiidthihniprawtisastrid aemaetlththimaksktam inthanxngni khxrchihekhrditsingthikratunihekidnganekhiyn thun khxngmakswa khuxkhbwnkarkarekhluxnihwkhxngchnchnthithukkdkhi nklththimaksaebbxisrniymptiesththunniymaelarth bangkhncungepnaenwrwmkbnkxnathiptyephuxtxtanthngprachathipityaebbmiphuaethnaebbthunniymaelalththimaksaebbxanacniym aemnkxnathiptyaelanklththimakscamicudhmaysudthayxyangediywknnnkhuxsngkhmirrth nkxnathiptywicarnnklththimakswaipsnbsnunrayaepliynphansungichrthephuxbrrlucudmunghmayni xyangirktam aenwonmlththimaksaebbxisrniymxyangaelalththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymnnidmikhwamekiywoyngkbkhbwnkarxnathipityinprawtisastr khbwnkarxnathipityekhymikhwamkhdaeyngkbthngkalngkhxngthunniymaelalththimaks aelabangkhrngktxngphbecxthngsxnginewlaediywknxyangsngkhramklangemuxngsepn aetinbribthdngklawnklththimakskaetkaeykknwacasnbsnunhruxtxtanlththixnathipity karprahtpraharthangkaremuxngxun phayitphrrkhkaremuxngaebbxamatyksngphlihekidkarepnptipksxyangrunaerngthangprawtisastrrahwangnkxnathiptyaelanklththimaksaebbxisrniyminfnghnungkbnklththimakselninaelaaenwkhidthisubtxmaxun xathi lththiehma inxikfng inprawtisastrimnanmani nksngkhmniymaebbxisrniymidsrangphnthimtrikbklumlththimaks elninhlaykhrngkhrawephuxprathwngtxtansthabnthithngsxngptiesth khwamepnprpkssnhnungtamrxycak International Workingmen s Association hruxsaklthihnung sphakhxngkhnngansay Classical radicalism thi mihaxil bakhunin sungepntwaethnkhxngmummxngaebbxnathipity aela kharl makhs sungnkxnathiptyklawhawaepn phwkxanacniym idmikhwamkhdaeyngkninhlaypraedn mummxngkhxngbakhuninekiywkbkhwamchxbthrrmkhxngrthinthanathiepnsthabnaelahnathikhxngkaremuxngeluxktngnnxyutrngknkhamsudkhwkbmummxngkhxngmakhsinsaklthihnung inthisudkhwamkhdaeyngrahwangmakhsaelabakhuninnaipsukarekhakhwbkhumsaklthihnungkhxngmakhsaelaekhaidkhbilbakhuninkbphutidtamkhxngekhaxxkipcakxngkhkr niepncuderimtnkhxngkhwamxakhataelarxyrawrahwangnksngkhmniymaebbxisrniymkbsingthiphwkekhaeriykwa nkkhxmmiwnistxanacniym hruxxikaebbkhux phwkxanacniym epla nklththimaksbangkhnidkxruprangmummxngthiiklekhiyngkbshkarniymaelacungaesdngkhwamekiywdxngkbkhwamkhidaebbxnathipitymakkwa nksngkhmniymaebbxisrniymhlaykhnechn onm chxmski echuxwalththixnathipitymiswnrwmmakyingkblththimaksbangpraephth xathi lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymkhxng innganekhiynchuxwa ontsxxnaexnarkhissum Notes on Anarchism chxmskiesnxthungkhwamepnipid thilththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymbangrupaebbepnrupaebbthrrmchatikhxng Revolutionary socialism phayinsngkhm Industrialization mnsathxnthungkhwamechuxwaprachathipitynnmikhxcakdxyangyingemuxrabbxutsahkrrmthukkhwbkhumodyxttathiptyimwainrupaebbid imwacaepnecakhxng phucdkar nkwichakar hruxrabbrthrachkarktam inchwngklangkhriststwrrsthi 20 klumsngkhmniymaebbxisrniymbangklumkxtwkhuncakkhwamimehnphxngkb Trostkyism sungaesdngtnepnaenwkhidlththielninthitxtanlththistalin klawkhux klumfrngesschuxwa Socialisme ou Barbarie idkaenidkhuncaksaklthisi sung aela Claude Lefort epnswnhnungkhxngklumochlieyx mngtalin Internationalist Communist Party France in kh s 1946 aelain kh s 1948 phwkekhaprasbkb khwamhmdkhwamechuxthuxepnkhrngsudthayinlththithrxtski sungnaphaihphwkekhaaeyktwxxkmaephuxkxtngsxsiyalism xu barbari sungerimtiphimphwarsarkhxngtwexngxxkmaineduxnminakhm kh s 1949 ksotrixadisklawtxwainchwngewlani klumphuchmkhxngklumaelawarsarniswnmakepnklumkhxngkhnaekfaysaysaymulwiwti nklththibxrdika nkkhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym nkxnathipitycanwnhnung aelaphlitphlbangswnkhxng faysay eyxrmninyukhkhristthswrrs 1920 echnediywkninshrachxanackr klum Solidarity UK idthukkxtngkhunin kh s 1960 odyklumkhxngsmachikklumelkthithukkhbxxkcak Workers Revolutionary Party UK lththithrxtski klumniidrbxiththiphlsungtngaetaerkcakklumsxsiyalism xu barbari infrngess odyechphaacakphunathangkhwamkhidkhxngmn kxrnilioxs ksotrixadis sungklumoslidaritiidphlitephyaephribpliwkhxngkhwameriyngkhxngekhahlayib phunathangkhwamkhidkhxngklumnikhux Chris Pallis sungekhiyndwynampakka mxris brintn Maurice Brinton tngaet kh s 1967 epntnmainsatharnrthprachachncin khawa Ultra leftism aelahmaythungthvsdiaelaptibtikarthangkaremuxngsungniyamtwexngwaxyusaykwakhxngphunalththiehmaswnklanginchwngcudsungsudkhxngkarptiwtithangwthnthrrmihykhxngkrrmachiph khaniyngthukichyxnhlngephuxeriyk Anarchism in China phwkaerk inchwngtnkhriststwrrs 20 phrrkhkhxmmiwnistcinichkhawa saycd epnkhaehyiydxyangkwang ephuxpranamklumidthixyusayipkwa Party line politics xingtamkarichnganinchwnghlng in kh s 1978 Central Committee phrrkhkhxmmiwnistcinpranamaenwthangkhxng ehma ecxtng waepnaenwkhidsaycdtngaet kh s 1956 cnthung kh s 1976 emuxehmaidesiychiwitip khawasaycdynghmaythungcudyunkhxngkbtkhxngkarptiwtithangwthnthrrmthiaeyktwxxkcakaenwthanglththiehmaswnklangipdwykarrabuthung antagonistic contradiction rahwangrthphrrkhkhxngphrrkhkhxmmiwnistcinaelasatharnrthprachachncinexngkbmwlchnkhxngkhnnganaelachawna thirwmknprakxbepnchnchnkrrmachiphthithukaeykxxkcakkarkhwbkhumthiminysakhyid ehnuxkarphlithruxkarkracay inkhnathiaenwthanglththiehmaswnklangyunyinwamwlchnnnkhwbkhumpccykarphlitphankarepnsuxklangkhxngphrrkh phwksaycdklawwaphlpraoychnechingrupthrrmkhxngxamatynnthukkahndinechingokhrngsrangodyrupaebbrthrwmsuny aelaepnprpksodytrngkbphlpraoychnechingrupthrrmkhxngmwlchn imwakhwamkhidkhxngxamatykhnidcaepnsngkhmniymmakethaihrktam inkhnathiphunalththiehmaswnklangsngesrimihmwlchnwicarnkhwamkhidaelanisyaebbptikiriyathiklawhawamixyuinklumaeknnaimdihaepxresnt aelaihoxkasthiphwkekhaca klbtwklbic hlngcakidrb karptirupthangkhwamkhid aetphwksaycdklawwakarptiwtithangwthnthrrmtxngnathangipsukarptiwtithangkaremuxng thichnchnhnungcaokhnlmxikchnchnhnung in kh s 1969 nkxnathipty khxmmiwnist platformist chawfrngess Daniel Guerin idephyaephrkhwameriyngchuxwa liebxrthaeriynmarksissum Libertarian Marxism thiekhaekhiynthungkarotwathirahwang kharl makhs aela mihaxil bakhunin thisaklthihnungaelatx ma ekhaesnxwa lththimaksaebbxisrniymptiesthniytiniymaela fatalism odyihphunthimakyingkwakbectcanngpceck xchchttikyan cintnakar khwamerwrieflks aelasychatyanebuxnglukkhxngmwlchn sungmxngehnidkwangkwainchwngewlawikvt makkwakarihehtuphlkhxng xphichn lththimaksaebbxisrniymkhidthungphlkhxngkhwamprahladic karywyu aelakhwamklahay ptiesththicayungehyinghruxepnxmphatdwyekhruxngmuxhnk echingwithyasastr imphudkakwmhruxhlxklwng aelaphithkstnexngcakkhtiphcyphyphx knkbcakkhwamklwinsingthiimru inshrth misingphimphchuxwa rutaexndaebrnch Root amp Branch sungmihwkhxyxyekhiyniwwa warsarlththimaksaebbxisrniym in kh s 1974 warsar liebxrthaeriynkhxmmiwnissum Libertarian Communism thukrieriminshrachxanackrodykhnklumhnunginphrrkhsngkhmniymaehngbrietnihy lththimaksxttanti neo Marxism aela Situationist International kthukthuxwaepnlththimakspraephththisungxyuinthrrmeniymkhxngsngkhmniymaebbxisrniym inkhristthswrrs 1980 aela 1990 idmikarphthnakhunkhxngklumhlayklumechnklum okhlingokh Kolinko khuxraech Kurasje aela iwldaekht Wildcat inpraethseyxrmni exafehebin Aufheben inpraethsxngkvs etoxrikxmuwnist Theorie Communiste inpraethsfrngess TPTG Ta paidia ths galarias inpraethskris aela kmyunistkranti Kamunist Kranti inpraethsxinediy phwkekhayngekiywkhxngkbklumxun inpraethsxun aelaphsmphsanaenwkhidxxotonemiy Autonomia lththimaksaebbehekil ngankhxng Johnson Forest Tendency Open Marxism ICO Informations et correspondances ouvrieres lththixnathipity aelalththimakseyxrmnhlng kh s 1968klumthioddednlththixnathipity lththixnathipityaelasngkhmniymaebbxisrniymnnmikhwamhmayediywknepnswnihymaaetxdit odyechphaaxyangyinginkrnikhxngkraaeskhwamkhid classical anarchism sungidphthnakhunmainkhriststwrrsthi 19 nnkhuxkhwammungmntxkhtikhxngxttantiaelaesriphaph karkracayxanac kartxtankarcdladbchn aelakartxtankhtikhxng nkshkarniymxnathipity Gaston Leval idxthibayiwwa eracungmxngehnthungsngkhmsungkickrrmthnghlaycathukprasankn okhrngsrangsunginewlaediywknklbmikhwamyudhyunthiephiyngphxihchiwitinsngkhmhruxchiwitkhxngaetlawisahkicmixisramakthisudethathiepnipid aetkyngmikhwamyudehniywknphxthicapxngknimihekidkhwamoklahl insngkhmsungthukcdraebiybiwxyangdi singehlanicatxngthukbrrluxyangepnrabbphankarshphnthinaenwkhnan odyrwmkninaenwtnginradbthisungthisud prakxbkhunepnxngkhaphyphhnungediywthikwangihyiphsalsungbthbaththangesrsthkicthngmwlcadaeninipdwykhwamsamkhkhiphrxmdwyknthnghmd aelasungcayngkhngxnurkskhwamyudoyngknthicaepniwxyangthawr khtikhwamchwyehluxsungknaelakn khtikhwamchwyehluxsungknaelaknhruxmiwchwllism xngkvs Mutualism erimtncakkhbwnkarsngkhmniyminkhriststwrrsthi 19 sung rbmaaelaphthnaepnrupaebbaerk miwchwllismmiphunthanepnthvsdimulkhaaerngnganrupaebbhnungthiklawwaemuxkhayaerngnganhruxphlphlitkhxngmnip sinkhahruxbrikarthiaelkepliynknkhwrmi aerngnganxncaepninkarphlitsingkhxngxnmipraoychnichsxyinprimanthikhlayknhruxethaknethiyng aelaxairthiimepniptamnikhuxkarexaepriyb karlkkhomyaerngngan hrux usury miwchwllistsnbsnunkrrmsiththikhxngsngkhmaelaechuxwatladaerngnganthiesricathaihekidsphawathirayidtrngsdswnkbaerngnganthiichip ocnathan biechxr klawwacudmunghmaykhxngmiwchwllismkhux karpldplxyaerngngancakenguxnikhbngkhbthithunkahnd phrudngechuxwapceckmisiththithuxkhrxngthidinktxemuxekhakalngichsxythidinhruxxasyxyuinthidin hakelikkrathadngechnnnaelw thidinkcaklbsphaphepnthidinimmiecakhxng bangkhnechn Benjamin Tucker idrbxiththiphlcakmiwchwllismkhxngphrudng aetimideriykrxngihsmakhmepnwisahkickhnadihytamphrudng miwchwllismkhyayxxkipinkhriststwrrsthi 19 thisepn Ramon de la Sagra idkxtngwarsarxnathipty exl pxrebnir El Porvenir thixaokruyyain kh s 1845 odymiaerngbndaliccakaenwkhidkhxngphrudng nkkaremuxngkataln Francesc Pi i Maragall epnnkaeplngankhxngphrudngepnphasasepnkhnsakhy aelainphayhlngiddarngtaaehnngprathanathibdisepnin kh s 1873 khnaepnphunakhxng Federal Democratic Republican Party klawwa nganaeplehlanisngphlkrathbthiluksungaelayunyawtxphthnakarkhxnglththixnathipityinsepnhlng kh s 1870 aemaetkxnhnann aenwkhidaebbphrudng tamthipiaepliw epnaehlngkhxngaerngbndalswnihykhxngkhbwnkarshphnthrthsungxubtikhuninchwngtnkhristthswrrs 1860 saranukrmbriaethnnikaekhiyniwwa inkarptiwtisepn kh s 1873 pi xi marakl phyayamsthapnarabbkaremuxngaebbkracayxanachrux Cantonalism tamaebbphrudng Kevin Carson epnnkthvsdimiwchwllistrwmsmyphuekhiyn Studies in Mutualist Political Economy lththixnathipitysngkhm nkkickrrmaelankthvsdilththixnathipitykhxmmiwnistthithrngxiththiphlchawxitali lththixnathipitysngkhm xngkvs Social anarchism epnaenwkhidthimungennekiywkb social ownership Mutual aid organization theory aela lththixnathipitysngkhmepnrupaebbhlkkhxnglththixnathipityaebbkhlassik aelarwmthungsankkhidxnathipityhlk aebb khxmmiwnist aeladwy khawalththixnathipitysngkhmthukichinthangtrngknkhamkb ephuxphudthungthvsdithiihkhwamsakhykbaengmumeching communitarianism aelashkrnkhxngthvsdixnathipity inkhnaediywknktxtankarkhidaebbtidklum groupthink aela conformity sungthukechuxmoyngkbprachakhmniymaebbxanacniym aelaehnchxbihprxngdxngknrahwang individual aela sociality mihaxil bakhunin aelachawrsesiy nkxnathiptysngkhmtxtankrrmsiththiswnbukhkhlkhxngpccykarphlit odymxngwaepnbxekidkhxngkhwamehluxmla aelaesnxihmikrrmsiththikhxngsngkhmimwacaphantamaebbbakhuninaelalththixnathipityaebbklum tamaebblththixnathipityaebbkhxmmiwnist aelatamaebblththixnathipityaebbshkarniym hruxrupaebbxun aethn lththixnathipitysngkhmmithngklumkaremuxngthiniymsntiaela insurrectionary anarchism aelayngmiklumkaremuxngaebbthiaelaaebbthitxtankarcdtngepnxngkhkr odymiptibtikarcanwnmakphayin labour movement shphaphaerngngan aela odyennkhwamsakhykbkarpldaexkkhnnganphankartxsurahwangchnchn cnthungpccubn twxyangkhxngsngkhmxnathipitysngkhmthiepnthiruckmakthisudkhux Makhnovshchina sungekidkhunhlngcakkarptiwtirsesiy Korean People s Association in Manchuria aeladinaednxnathipitykhxng Spanish Revolution of 1936 lththixnathipityaebbpceck lththixnathipityaebbpceck xngkvs Individualist anarchism epnchudkhxngthrrmeniymkhwamkhidphayinkhbwnkarxnathipitysungennkhwamsakhykbaela will philosophy ehnuxtwkahndphaynxkechnklum sngkhm praephni aelarabbxudmkarntang nkxnathiptyxyang Luigi Galleani aela mxngwaimmikhwamkhdaeyngknrahwanglththixnathipityaebbpceckaelalththixnathipitysngkhm ody malaetsta mxngwapyhaimidekidkhunrahwanglththixnathipitysxngrupaebbni aetekidkhunrahwangnkxnathiptykbphwkthiimichnkxnathipty nkxnathiptyxyang xangwa imichlththixnathipitysngkhmpathakblththixnathipityaebbpceck aetepnsngkhmniymkhxmmiwnistpathakbsngkhmniymaebbpceck thkekxrxthibaywa khxethccringthisngkhmniymrthidbdbngthsnakhxngsngkhmniymrupaebbxun imidaeplwamnsamarthphukkhadmonkhtiaebbsngkhmniymiwkbtwexngid thukthuxxyangkwangkhwangihepnnkxnathipitychawxemriknkhnaerk aelawarsarrayspdahthiekhaepnbrrnathikarihin kh s 1833 chuxwa edxaphisfulerowluchnnist The Peaceful Revolutionist kepnwarsarxnathipitythiidrbkartiphimphepnkhrngaerk inmummxngkhxngnkprawtisastrxnathipitychawxemrikn yunis mientt chusetxr epnthiaenchd walththixnathipityaebbphrudngnnsamarthphbidinshrthtngaetxyangnxy kh s 1848 aelamnexngimrutwthungkhwamiklekhiyngrahwangmnkblththixnathipityaebbpceckkhxng ocisxa wxrern aela Stephen Pearl Andrews William Batchelder Greene idnaesnxlththimiwchwlistaebbphrudngniinrupaebbthibrisuththiaelaepnrabbmakthisud inewlatxma nkxnathiptyaebbpceckchawxemrikn idtxtanthngrthaelathunniym txtanthngkarkdkhiaelakarexaepriyb aemwaekhacaimidtxtantladaelathrphysin ekhatxtanthunniymxyanghnkaenn ephraainmummxngkhxngekha mnepnkarphukkhadthunthangsngkhm ekhruxngmux ekhruxngckr l thiidrbkarsnbsnuncakrth sungthaihecakhxngsamarthexaepriyblukcangkhxngphwkekhaid nnkhuxkarimcay khacang ihkbkhnngansmkbmulkhaetmkhxngaerngngankhxngphwkekha ekhakhidwa chnchnsungichaerngnganthukphrakipcakrayidkhxngphwkekhaphandxkebiyekinxtrasamrupaebb khuxdxkebiy khaecha aelakair dngnn esriphaphcalmelikdxkebiy calmelikkair calmelikkhaechaaebbphukkhad calmelikkarekbphasi calmelikkarexaepriybaerngngan calmelikkarkrathathukthangthiphrakphuichaerngnganipcakphlphlitkhxngekhaexng cudyunnithaihekhathukthuxwaxyuinthrrmeniymkhxngsngkhmniymaebbxisrniym aelathkekxrkeriyktnexngepnnksngkhmniymxyuhlaykhrng aelathuxwaprchyakhxngekhaepnsngkhmniymaebbxnathipity xxskar iwld nkekhiynnkxnathiptythiodngdngchawixrichsungidephyaephrnganekhiynsngkhmniymxisrniymthichuxwa edxaoslxxfaemnxnedxrosechiyllissum The Soul of Man Under Socialism nkxnathiptyaebbpceckchawfrngess Emile Armand txtanrabbthunniymaelarabbesrsthkicaebbrwmsunyxyangchdecn emuxekhaklawthungnkxnathipityaebbpceckwa khanginicekhayngkhngduxrn duxrncaepncatay thangcriythrrm thangpyya thangesrsthkic esrsthkicaebbthunniymaelaesrsthkicaebbbngkhbbycha phuekngkairaelaphuphlitknarngekiycphxknsahrbekha nkxnathiptyaebbpceckchawsepn Miguel Gimenez Igualada mikhwamkhidwa thunniymnnepnphlcakrthbal emuxrthbalhayipthunniymyxmtklngmacakaethnxyangmunngng singthieraeriykwathunniymimichsingidnxkcakepnphlphlitkhxngrth sungphayinnnsingediywthisnickhuxkain imwaidmaodythucrithruxsucrit aeladngnnkartxsukbthunniymcungepnnganthiirkhwamhmay ephraaimwacaepnhruxthunniymwisahkic trabidthirthbalyngdarngxyu thunsungexaepriybyxmdarngxyu kartxsu aetkhxngkhwamsanuk cungepnkartxsukbrth mummxngkhxngekhatxkaraebngaeykthangchnchnaelakhtiniymnkwichakarepndngwa singthisakhythinkxnathiptycatxngkrathaxyutlxdkhuxkarthiimwaikhrkimcaepntxngexaepriybikhr khnidkbkhnidktam ephraakarimexaepriybnicanaipsukarcakdthrphysiniwsahrbkhwamcaepnkhxngpceckethann ephraaimmiikhrthanganihikhr khnekngkaircakkhwammngkhngcahayip echnknrthbalcahayipemuximmiikhrihkhwamsnickbkhnthiiperiynekiywkbkhxngsixyangthimhawithyalyephuxxxkmaesaesrngaeklngthaepnpkkhrxngphukhn wisahkicxutsahkrrmkhnadihycaepliynepnphukhnthixyuinsmakhmkhnadihythithukkhncathanganaelaephlidephlinkbphlphlitkhxngngankhxngphwkekha aelacakpyhathingayaelaswyngamsunglththixnathipityidcdkaripaelw aelaekhathiexaehlannmaptibticringaelaichchiwitipkbmn ekhaepnnkxnathipty nkxnathipty nkekhiyn aela bohemianism xxskar iwld idekhiyniwineriyngkhwamthiodngdngkhxngekha edxaoslxxfaemnxnedxrosechiyllissum wa silpakhuxpceckniym aelapceckniymkhuxaerngthipnpwnaelathlaylng nikhuxmulkhaxnmhasalkhxngmn ephraasingthimnkhwanhakhuxkarpnpwnkhwamcaeckhxngpraephth khwamepnthaskhxngkhnbthrrmeniym thrrachykhxngnisy aelakarldthxnmnusyihipxyuinradbediywkbekhruxngckr inmummxngkhxngnkxnathipty cxrc wudkhxk epahmaykhxngiwldin edxaoslxxfaemnxnedxrosechiyllissum khuxkaraeswnghasngkhmsungepnicmakthisudsahrbsilpin sahrbiwld silpaepncudsinsudsudthay sungmikartrsruaelakarfunfuxyuintwmn thisungthuksingxuninsngkhmcatxngtkxyuitbngkhbbychakhxngmn iwldaesdngihehnnkxnathiptyepntwaethnkhxngnkesphsunthriy insngkhmsngkhmniym iwldekhiynwacaimmiphukhnthiyakcnkhnaekhn aelasmachikthukkhninsngkhmcaaebngpnkhwamecriyaelakhwamsukhkhxngsngkhmodythwkn aelasngkhmniymcanaipsupceckniym ephraakarlmelikthrphysinswnbukhkhlnncathaihpceckniymnnepnxisra pranit aelaekhmkhnkwaedim thrphysinswnbukhkhltharaypceckniymdwykarthaihkhnngngngwyipkbwaekhaepnecakhxngkhxngxair aelaidkdthbpceckniymthiaethcringdwypceckniymplxm ekhaklawthungsngkhmniymaebbxanacniymwacathaihsphaphmnusyyaaeykwaedim cakthirthbalthuxxanackaremuxngxyuaelwkcathuxxanacthangesrsthkicdwy aelasngkhmniymtxngmipceckniymdwy ekhaethiybsngkhmniymaebbxanacniymwaichimid inkhnathirabbinpccubn thimithrphysinswnbukhkhl nnepnthrrachythangesrsthkicthicakdesriphaphaelakhwamsukh karepliyncaksphaphthikhnswnhnungthitkepnthasihklayepnkarthikhnthnghmdtxngtkepnthasephuxaekikhpyhaninnepneruxngthiirediyngsa aelasnbsnunpceckniyminaebbthiimichthunniymodyklawwa pceckniymthiekidkhunphayitenguxnikhthimithrphysinswnbukhkhlnnimidepninaebbthinaphxichruxdieyiymesmxip inthanxngniexngthisngkhmniymcapldplxymnusycakkarthahtthkic aelaihsamarthichewlaipkbkariltamkhwamsrangsrrkhkhxngekhaid aelacungsamarthphthnacitwiyyankhxngekha inkhwamkhidkhxngiwld lththimaks lththimaksaebbxisrniymepnkhxbekhtkwang khxngprchyakaremuxngaelaesrsthkicsungihkhwamsakhykbaengmumkhxngkartxtanxanacniymkhxnglththimaks kraaeslththimaksaebbxisrniymchwngaerk epnthiruckinnamlththikhxmmiwnistfaysay idthuxkaenidkhunmaephuxtxtanlththimaks elnin aelalukhlankhxngmnxyanglththistalin lththiehma aela Trotskyism lththimaksaebbxisrniymyngwicarncudyun reformism xyangechnprachathipitysngkhmniym kraaeskaremuxnglththimaksaebbxisrniymmkkhdkhwamkhidmacakphlnganchwnghlng khxngmaksaelaexngengils odyechphaaxyangyingnganxyang krunthrisesx Grundrisse aela edxasiwilwxrxinaefrns The Civil War in France odyihkhwamsakhykbkhwamechuxaebbmaksinkhwamsamarthkhxngchnchnaerngnganthicahlxhlxmphrhmlikhitkhxngtwexngidodyimcaepntxngichphrrkhsayptiwtihruxrthepntwklanghruxtwchwyinkarpldplxykhxngmn lththimaksaebbxisrniym phrxmknkbxnathipity thngsxngepnswnhnungkhxngkraaeshlkkhxngsngkhmniymaebbxisrniym lththimaksaebbxisrniymprakxbdwykraaeskaremuxngxyangechnlththilukhesimbwrkh lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym lththikhxmmiwnistfaysay sngkhmniymthwolk Lettrism aela New Left lththimaksaebbxisrniymmixiththiphlthithrngphlngtxaela nkthvsdilththimaksaebbxisrniymthiodngdngprakxbdwy Raya Dunayevskaya C L R James Antonio Negri Guy Debord Ernesto Screpanti aela Raoul Vaneigem epntn lththiedxlixxn lththiedxlixxn xngkvs De Leonism epnlththimaksaebbshkarniymrupaebbhnungsungthukphthnaody Daniel De Leon ekhaepnphunarunaerk khxngphrrkhkaremuxngsngkhmniyminshrthphrrkhaerk khux Socialist Labor Party of America SLP edx lixxn idrwbrwmthvsdishkarniymthikalngetibotinyukhkhxngekhaekhaknkb orthodox marxism xingtamthvsdiaebbedxlixxnaelw industrial unionism thiekhmaekhng epnshphaphaerngngantamkhwamechiywchay aelaphrrkhkaremuxngthisngesrimaenwkhidkhxngshphaphaerngnganxutsahkrrm epnyanphahnakhxngkartxsurahwangchnchn shphaphaerngnganxutsahkrrmthithanganephuxphlpraoychnkhxngchnkrrmachiphcanaipsukhwamepliynaeplngxncaepnephuxsthapnarabxbsngkhmniym aenwthangnitangipcakkraaesinshkarniymxnathipityephiyngkrakarediywnnkkhux tamaenwkhidaebbedxlixxn phrrkhkaremuxngsayptiwtinnkepnsingcaepninkartxsuephuxchnkrrmachiphinsnamkaremuxng lththiedxlixxnxyubnchaykhxbnxksudkhxnglththikhxmmiwnistinthrrmeniymaebbelnin aelaekidkhunmakxnlththielnin ephraahlkkarkhxnglththiedxlixxnnnthukphthnakhunmainchwngtnkhristthswrrs 1890 phrxmkbemux edx lixxn idekhasutaaehnngphunakhxngphrrkh SLP inkhnathilththielninaelaaenwkhididkxruprangkhunmahlngcaknganekhiyn cathaxairdi What Is To Be Done khxngelninidthuktiphimphxxkmain kh s 1902 thrrmchatikhxngkhwamepnprachathipityaelakhxngrthbalaebbedxlixxnthithuknaesnxkhunma epnphaphtrngkhamkb democratic centralism khxnglththimaks elnin aelasingthithukmxngwaepnthrrmchatikhxngkhwamepnephdckarphayinshphaphosewiytaelasatharnrthprachachncin aelakhxngrthkhxmmiwnistxun khwamsaerckhxngaephnkaraebbedxlixxnnnkhunxyukbkaridrbkhwamsnbsnuncakkhnswnihythnginthithanganaelainthilngkhaaennesiyng tangcakniyamaebbelninthibxkwaphrrkhaenwhnakhnadelkcaepntwnachnchnaerngnganihkrathakarptiwti lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym hnunginnkthvsdikhnhlkkhxngaenwkhidkhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymepnkhbwnkarfaysaysaymulwiwtiinpraethseyxrmniaelaenethxraelndinkhristthswrrs 1920 xngkhkrhlkkhxngkhbwnkarkhux Communist Workers Party of Germany KAPD lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniyminpccubnepncudyunthangthvsdiaelakickrrmphayinlththimaks aelakphayinsngkhmniymaebbxisrniym tangcakprachathipitysngkhmniymaelalththikhxmmiwnistaebbelnin khaklawxanghlkkhxnglththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymkhux sungekidkhuninorngnganaelaethsbalepnkarcdtngaelaxanacpkkhrxngkhxngchnchnaerngnganinrupaebbthiepnthrrmchatiaelachxbthrrmmakthisud mummxngnitangcakkarennkhwamsnickhxngbxlechwikhtx khwamsnickhxngnkptiruptxrthspha hruxtxkarmixyukhxngrth hlkkaraeknkhxnglththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymkhuxkarthirthaelaesrsthkickhwrthukcdkarodysphakhnngan sungprakxbipdwyphuaethncakkareluxktnginthithangansungcasamarththukthxdthxnidthukemux dngnnaelw lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymtxtansngkhmniymxamatyathipitysungdaeninkarodyrth mnyngtxtanaenwkhidthicamiphrrkhsayptiwti ephraankkhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymechuxwakarptiwtisungnaodyphrrkhkaremuxngkcathaihekidephdckarodyphrrkhxyanghlikeliyngimid nkkhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymsnbsnunprachathipityodykhnngan sungphwkekhatxngkarihekidkhunphankarsmaphnthkhxngsphakhnngan khawasphainphasarsesiykhuxkhawaosewiyt aelainchwngpiaerk khxngkarptiwti sphakhnngannnminysakhythangkaremuxnginpraethsrsesiy elninidnakhaniipichinhlayxngkhkrthangkaremuxngephuxichpraoychncakrsmithangkaremuxngkhxngxanacinthithangan namwarthsphaosewiytsungepnchuxeriykkhxngrthsphaaelakhawashphaphosewiytexngktamkichkhasphthni aetkhaehlaniimidaesdngnythungkarkracayxanacid ely makipkwann nkkhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymidwicarnshphaphosewiytwaepnrththunniym odyechuxwakarptiwtibxlechwikhinrsesiynnidklayepn karptiwtikradumphi emuxxamatyathipitykhxngphrrkhidaethnthirabbxphichnathipityskdinaswamiphkdi aemwaphwkekhaswnihyrusukwakarptiwtieduxntulakhmnnmilksnakhxngkhwamepnchnchnaerngnganktam phwkekhaechuxwainemuxkhwamsmphnthaebbthunniymyngkhngdarngxyu ephraakhnnganimmipakmiesiynginkardaeninesrsthkic shphaphosewiytklngexyklayepnpraethsrabb odymirthmaaethnthinaythunpceckbukhkhl nkkhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymsnbsnunkarptiwtikhxngkhnngan aetphwkekhatxtanephdckarphrrkhediyw phwkekhayngechuxinkarldbthbathkhxngphrrkhkaremuxngihehluxephiyng agitprop aelakarokhsnachwnechux aelaptiesthkarmiswnrwmid inkareluxktnghruxinrthspha aelaxangwakhnngankhwrlaxxkcakshphaphaerngnganptikiriya aelaipkxtngshphaphsayptiwtikhnadihyxngkhkrediyw lththikhxmmiwnistfaysay lththikhxmmiwnistfaysay xngkvs Left communism epnmummxngaebbkhxmmiwnistaenwhnungsungepnkhxngfaysaykhxnglththikhxmmiwnist sungwicarnaenwkhidthangkaremuxngkhxngbxlechwikhinchwngewlahnung cakcudyunsungxangwaepnlththimaksaelakrrmachiphthiepnkhxngaethkwamummxnglththielninkhxngxngkhkarkhxmmiwnistsaklphayhlngkarprachumihykhrngaerkaelakhrngthisxngnkkhxmmiwnistfaysaymxngwatwexngxyusaykwanklththielnin sungphwkekhamxngwaepn saykwathun aelaimichnksngkhmniym saykwankxnathipty aelasaykwaklumsngkhmniymsayptiwtixun bangklum thungaemwa orsa lukhesimbwrkh idichchiwitkxnthilththikhxmmiwnistfaysayidklayepnklumkaremuxngthichdecn ethxidmixiththiphlxyangmaktxnkkhxmmiwnistfaysayswnihy thnginthangkaremuxngaelathangthvsdi phusnbsnunlththikhxmmiwnistfaysaymi Amadeo Bordiga aela Paul Mattick epntn klumcxhnsn fxerst klumcxhnsn fxerstepnklumkaremuxngfaysaysaymulwiwtiinshrthsungekiywoyngkbnkthvsdi Marxist humanism aela sungichnamaefngwa ec xar cxhnsn aela efrddi fxerst tamladb aela Grace Lee Boggs hyingchawcinxemriknkidekharwm sungthukthuxwaepnphukxtngkhnthisam hlngcakthngsxngidxxkcak Socialist Workers Party United States cxhnsnaelafxerstidkxtngxngkhkrkhxngtwexngepnkhrngaerkthichuxwa khxrerspxnedns odyidepliynchuxepn Correspondence Publishing Committee inpitxma aelakhwamkhdaeyngkidthaihaeykknipin kh s 1955 caknganthangkaremuxngaelathangthvsdiinchwngplaykhristthswrrs 1940 ecmsidkhxsrupwaphrrkhaenwhnannimichsingcaepnxiktxip ephraakhasngsxntang idthuksumsbipodymwlchnaelw aelaekhathuxwakarptiwtihngkari kh s 1956 epnkaryunyninsingni klumkhnsungsnbsnunkaremuxngkhxngecmsidichchuxwa Facing Reality tamchuxhnngsuxin kh s 1958 khxngecmssungidekhiynrwmknkb ekrs li bxks aela piaeyr ochlieyx namaefngkhxng ekiywkbkarkxkarkaeribkhxngchnchnaerngnganinhngkari kh s 1956 sxsiyalism xu barbari nkthvsdisngkhmniymxisrniym sxsiyalism xu barbari frngess Socialisme ou Barbarie aeplwa sngkhmniymhruxxnarythrrm epnklumsngkhmniymxisrniymsaymulwiwtiinpraethsfrngessinchwnghlngsngkhramolkkhrngthisxng chuxmacakwlithi fridrich exngengils ichaelasungthukxangxingody orsa lukhesimbwrkh ineriyngkhwam kh s 1916 chuxwa edxacueniysaephmeflt The Junius Pamphlet klumnimixyurahwang kh s 1948 cnthung 1965 aelaphunakhux odyichchuxwa piaeyr ochlieyx hrux pxl kardxng ksotrixadis ptiesthaenwhnaniymaebbelnin aelawicarnkhtiniymkarekidexng odyklawwa karpldplxymwlchnepnhnathikhxngphukhnehlann aetnksngkhmniymimsamarthaekhkxdxkkhxngtwexngiwechy id aelaklawwataaehnngphiesssungthuksngwniwihkbpyyachnkhwrtkepnkhxngphlemuxngxisrathuk khn aetekhaptiesthkarelnekmnngrx attentisme odyklawwainkardinrntxsuephuxsngkhmihm pyyachncatxngwangrayahangkhxngtwexngcakeruxnginchiwitpracawnaelaeruxnginkhwamepncring nkprchyakaremuxng aela kxrnilioxs ksotrixadis idephyaephrnganekhiynwicarnshphaphosewiytaelankthisnbsnunmnthichuxwa wadwyrabxbaelakartxtankarpkpxngshphaphosewiyt On the Regime and Against the Defence of the USSR phwkekhaesnxwashphaphosewiytnnthukkhrxbngaodychnchnthangsngkhmkhxngkharachkar aelaidekidsngkhmpraephthihmsungmikhwamrunaerngimnxyipkwasngkhminyuorptawntk inphayhlng kxrnilioxs ksotrixadis kidekhiynlnginwarsar sxsiyalism xu barbari khxngkluminchuxediywkn sithuexchnnist xinetxraenchnnxl sithuexchnnist xinetxraenchnnxl xngkvs Situationist International epnklumcakdwngkhxngnkptiwtisaklniymsungthukkxtngkhuninpi kh s 1957 aelaklumidthungcudsungsudinxiththiphlkhxngmninkarndhyudnganthwip wildcat strikes sungimekhymimakxninpraethsfrngess emuxeduxnphvsphakhm kh s 1968 odymimonkhtithimirakthaninlththimaksaelasilpalayukhyuorpinkhriststwrrsthi 20 phwkekhasnbsnunihprasbkarnkhxngchiwitnnimepniptamaebbaephninaebbkhxngrabbraebiybthunniym ihepnsahrbkhwamximexminkhwamprarthnapthmthankhxngmnusyaelakariltamkhunsmbtikhwamhlngihlthiehnuxyingkwa ephuxihepniptamcudprasngkhni phwkekhaesnxaenaaelathdlxngkbaenwkhidkhxng karsrangsthankarn klawkhuxkarcdtngsingaewdlxmthiepnicaekkarsnxngtxkhwamprarthnaehlann phwkekhaidphthnasakhakarsuksathdlxngchudhnungsahrbkarsrangsthankarndngklaw odyichwithikarsungdungexamacaksilpa echn unitary urbanism aela psychogeography nganthvsdihlkinthanxngnisungidthuxkaenidkhuncakklumniechn The Revolution of Everyday Life khxng phwkekhatxsukbxupsrrkhhlkinkarbrrluthungkarichchiwitxyangluksungthiehnuxkwa sungphwkekharabuwamixyuin advanced capitalism cudsungsudkhxngnganthvsdiaenwwiphakskhxngphwkekhamixyuinhnngsuxthrngxiththiphlody chuxwa The Society of the Spectacle edxbxrklawin kh s 1967 walksnaphaphpraktxyangsuxmwlchnaelakarokhsnamibthbathsunyklanginsngkhmthunniymkhnsung sungkhuxkaraesdngihehnolkkhwamepncringplxmephuxklbekluxnkaresuxmkhxngchiwitmnusyodythunniymthiekidkhuncring inkarlmlangrabxbechnni sithuexchnnist xinetxraenchnnxl snbsnunkarkxkarkaeribineduxnphvsphakhm kh s 1968 inpraethsfrngess aelaideriykrxngihkhnnganip Council for Maintaining the Occupations aeladaeninkartxipdwyprachathipityodytrngphansungprakxbipdwyphuaethnthisamarththukthxdthxnidinthnthi hlngcakkarephyaephrnganwiekhraahkarkxkarkaeribineduxnphvsphakhm kh s 1968 aelayuththsastrthicaepntxngthuknamaichinkarptiwtikhrngthdiplnginnitysarchbbsudthay sithuexchnnist xinetxraenchnnxl idslaytwipin kh s 1972 xttantiniym nkthvsdikhnsakhykhxngxttantiniymxitali xttantiniym xngkvs Autonomism khuxkhbwnkarthangsngkhmaelakaremuxngfaysaychudhnungsungiklchidkbkhbwnkarsngkhmniym sungthuxkaenidepnrabbthvsdihnungepnkhrngaerkin History of Italy as a Republic caklththikhxmmiwnist operaismo nkxttantiniymchawxitaliidrbxiththiphlcaknganwicynkkickrrminphaykxncakshrthechn aelacakfrngessechnklum dwynganaeplody Danilo Montaldi aelankaeplkhnxun inphayhlngklumkaremuxngaebbhlngmaksaelalththixnathipityiderimmikhwamsakhymakkhunxnepnphlcakxiththiphlkhxng khwamlmehlwkhxngkhbwnkarsaycdinxitaliinkhristthswrrs 1970 aelakarprakttwkhxngnkthvsdikhnsakhyhlaykhn xathi xnotniox enkri sungidmiswninkarcdtngklum in kh s 1969 rwmipthung Mario Tronti Paolo Virno aela Franco Berardi tangipcaklththimaksrupaebbxun lththimaksaebbxttantiniymihkhwamsakhykbkhwamsamarthkhxngchnchnaerngnganthicaphlkdnkarepliynaeplnginxngkhkrkhxngrabbthunniymidexngodyxisracakrth shphaphaerngngan hruxphrrkhkaremuxng nkxttantiniymimsnicinkarcdtngthangkaremuxngkhxngphrrkhemuxethiybkbnklththimaksxun odyennipthikickrrmkarcdtngodytnexngthixyunxkehnuxipcakokhrngsrangkarcdtngaebbdngedim lththimaksaebbxttantiniymcungepnthvsdiaebb langkhunbn sungihkhwamsnickbkickrrmsungphwkekhamxngwaepnkartxtanthunniyminthuk wnodychnchnaerngngan twxyangechnkarkhadngan karthangancha aelakarkhbhasmakhmphayinthithangan xttantiniymidmixiththiphltxkhbwnkar exaotonemin Autonomen eyxrmnaeladcht karmixyuxyangaephrhlaythwolkkhxng Self managed social center aelainpccubnkmixiththiphlxyuinpraethsxitali frngess aelapraethsthiphudphasaxngkvsinradbthitalngma phuthiniyamtnexngepnnkxttantiniyminpccubnmitngaetnklththimakscnthungnkxnathipty khbwnkar oxepraxisom operaismo inxitaliyngidmixiththiphltxnkwichakarlththimaks xathi Harry Cleaver John Holloway sociologist stif irt Steve Wright aela Nick Dyer Witheford klumxun kraaeskaremuxngsngkhmniymaebbxisrniymxun sungrwmthungklumkaremuxngaebbxnathipityaebbhlngkhlassik aelaklumkaremuxngsungimsamarthcdhmwdhmuekhainswnaebnglththixnathipitykblththimaksid phayinkhbwnkaraerngnganaelakaremuxnginrthspha sngkhmniymprachathipity idlngsmkhrrbeluxktngepnsmachikspharangrththrrmnuyfrngessineduxnemsayn kh s 1848 aelaekhaimidrbeluxktng aetinkareluxktngsxminwnthi 4 mithunaynekhaidrbeluxkekhaip nkkaremuxng idklayepnnkaeplkhnsakhythiaeplngankhxngphrudngmaepnphasasepn aelainphayhlngidepnprathanathibdikhxngsepnxyuchwkhnahnungin kh s 1873 inkhnathiepnphunakhxng rudxlf rxkhekhxr nkxnathiptyshkarniymklaw karekhluxnihwkhrngaerkkhxngkhbwnkarkhnngansepnnnidrbxiththiphlxyangsungcakaenwkhidkhxng pi xi marakl phunakhxngphuniymshphnthrthsepnaelaluksisykhxngphrudng pi xi marakl epnhnunginnkthvsdithioddedninyukhkhxngekha aelamixiththiphlxyangmakinkhnphthnakarkhxngaenwkhidxisrniyminsepn aenwkhidthangkaremuxngkhxngekhamiswnsxnknkbkhxng othms ephn ecfefxrsn aelatwaethnkhxngesriniymaebbaexngoklxemrikninchwngaerkkhnxun ekhatxngkarcakdxanackhxngrthihnxythisud aelakhxy aethnthimndwyraebiybesrsthkicaebbsngkhmniym phutidtamaelankaeplngankhxngphrudngchawkatala aelankthvsdisngkhmniymaebbxisrniymsungidklayepn President of the Republic Spain epnchwngewlasn nksngkhmniymaebbxisrniymchawkatala inxngkhkr pi xi marakl thuxidwaepnnkthvsdithixuthistwkhnhnung dwynganekhiynkhwamyawethahnngsux xathi laerxksixxnxilaeroblusixxn La reaccion y la revolucion ptikiriyaaelakarptiwti cak kh s 1855 lsnasixxnalidaeds Las nacionalidades sychati kh s 1877 aela laefedrasixxn La Federacion shphnthrth cak kh s 1880 inxikkrnihnung Fermin Salvochea epnnaykethsmntrikhxngemuxngkadisaelaprathanathibdikhxngcnghwdkadis ekhaepnphuephyaephrkhwamkhidxnathipityinbriewnediywkninchwngplaykhriststwrrsthi 19 aelathukthuxwaepnbukhkhlsungepnthiniymmakthisudkhnhnunginkhbwnkarxnathipityinsepninkhriststwrrsthi 19 xudmkarnkhxngekhaidrbxiththiphlcak Charles Bradlaugh orebirt oxewn Robert Owen aela othms ephn sungekhaidsuksangankhxngekhaphwknikhnathixasyxyuinpraethsxngkvs aelarwmipthungngankhxng sungekhaidxaninphayhlng inpraethssepn ekhaidtidtxkbnkkhidxnathiptyaelasmachikkhxngphnthmitrbakhunin sungrwmthung Anselmo Lorenzo aela frnsisok omra in kh s 1950 miklumlbkxtwkhuninfrngess Anarchist Federation France FA thichuxwa xxrkanisasiyng pxnges batay Organisation Pensee Bataille OPB sungnaody George Fontenis OPB idphlkdnkarekhluxnihwsungidepliynchuxkhxng FA epn efedrasiyng kxngmuwnist liaebraetr Federation Communiste Libertaire FCL hlngkarprachumihy kh s 1953 thiparis inkhnaediywknthibthkhwaminhnngsuxphimph elx liaebraetr rabuthungcudcbkhxngkhwamrwmmuxkbklumlththiehnuxcringinfrngesssungnaody krabwnkartdsinicaebbihmxyubnthankhxng unanimity odyaetlabukhkhlmisiththithicaybyngaenwonmtang khxngshphnth inpiediywkn FCL idephyaephr maniefst du kxngmuwnisemx liaebraetr Manifeste du communisme libertaire aethlngkarnlththikhxmmiwnistxisrniym hlayklumidlaxxkcak FCL ineduxnthnwakhm kh s 1955 ephraaimehndwykbkartdsinicsng phusmkhrrbeluxktngsayptiwti inkareluxktngsphanitibyyti txmaidmikarcdkarprachumrahwangthwipkhxng Confederacion Nacional del Trabajo khunrahwangwnthi 15 20 singhakhm kh s 1954 miklumthichuxwa xxngtxngt xanarkist khxtklngxnathipty prakttwkhun sungprakxbipdwynktxsusungimehnchxbkbaenwonmthangxudmkarnxnihmthi OPB idmxbihkb FCL odyphwkekhathuxwaepnaenwthangxanacniym aelaekuxbcaepnlththimaks FCL khngxyucnthung kh s 1956 imnanhlngcakklumidekharwminkareluxktngsphanitibyytiradbrthdwyphusmkhrsibkhn karkrathakhrngnithaihsmachik FCL swnhnungmikhwamrusukaeplkaeykaelanaipsucudcbkhxngxngkhkrinthisud phayinkhbwnkaraerngnganinshrachxanackrexngkmikraaeskhxngxisrniymfaysayxyu aelakhawa nksngkhmniymxisrniym kthukichephuxhmaythungbangkhn sungrwmipthungsmachikthimichuxesiyngbangkhninphrrkhaerngngankhxngshrachxanackr thukkxtngkhunin kh s 1885 ody wileliym mxrris aelakhnxun sungwicarnaenwkhidsngkhmniymaebbxanacniymkhxng Social Democratic Federation odyklumidmiswnrwmin kartxsukhxngphlphrrkhshphaphaerngnganinchwngkhristthswrrs 1880 1890 sungepnkarphyakrnthungshkarniyminbangaengmumthisakhy Tom Mann phunashphaphaerngnganihm epnhnunginnkshkarniymchawbritichkhnaerk snnibatsngkhmniymnnthukkhrxbngaodynkxnathiptyinkhristthswrrs 1890 Independent Labour Party ILP sungkxtwkhuninchwngewlannyudexathrrmeniymsasna Nonconformist Protestantism phayinchnchnaerngnganinshrachxanackrmakkwathicayudtamthvsdilththimaks aelamirxngrxykhxngaenwkhidsngkhmniymaebbxisrniym khnxun sungxyuinaenwthangaebb ILP aelathukeriykwaepnnksngkhmniymaebbxisrniymidaek Michael Foot aela G D H Cole rthmntricakphrrkhaerngngan Peter Hain idekhiynsnbsnunaenwkhidaebbsngkhmniymxisrniym odyrabuthungaeknklangsungprakxbdwy thsnakhxngsngkhmniymaebblangkhunbn odyminkxnathiptythiplay aelanksngkhmniymprachathipity echntwekhaexng thiplaykhxngmn inxikdanhnung aeknklangkhxngminklththimakselninthiplaysayptiwti aelankprachathipitysngkhmniymthiplaysayptirup nkkaremuxngphrrkhaerngngankraaeshlkxikkhnhnungsungimnanmanithukeriykwaepnnksngkhmniymaebbxisrniymechn Robin Cook hakniyaminrupaebbni sngkhmniymaebbxisrniyminkraaeskaremuxngkraaeshlkrwmsmynnhlk aelwtangipcakprachathipitysngkhmniymaelasngkhmniymprachathipity inaengkhxngaenwkhidkarkracayxanacthangkaremuxngmakkwatangknineruxngkhxngesrsthkic Katja Kipping aela Julia Bonk ineyxrmni Femke Halsema inenethxraelnd aela Ufuk Uras aela Left Party Turkey inturki ehlaniepntwxyangkhxngnkkaremuxngaelaphrrkhkaremuxngsngkhmniymxisrniymrwmsmysungthanganxyuphayitprachathipityrthsphakraaeshlk inchili xngkhkrxttantiniym xiskiexrda exaotonma Izquierda Autonoma faysayxisra in 2013 Chilean general election idthinnginrthsphachilihnungthinngkhux kabriexl obrich xditphunakhxngkarprathwngkhxngklumnkeriyninchili ph s 2554 2556 in ph s 2559 obrichphrxmkbkhnxun echn Jorge Sharp idxxkcakphrrkhephuxkxtngkhbwnkar ombimiexnot exaotonmista Movimiento Autonomista txmainkareluxktngethsbaleduxntulakhm ph s 2559 inchili charpidrbeluxkepnnaykethsmntrikhxngblparaxiosdwysdswnkhaaennrxyla 53 aelatxmain ph s 2564 obrichchnakareluxktngidepnprathanathibdithixayunxythisudinprawtisastrchili aelayngidrbkhaaennesiyngeluxktngmakthisudinprawtisastrchili inshrth n pccubn phayinxngkhkrihykmiklumkaremuxngthichuxwaklumsngkhmniymxisrniym LSC LSC sngesrimthsnakhxng sngkhmniymaebbxisrniym chuxdngedimkhxnglththixnathipity sungipiklekinkwakrxbkaremuxngaebbprachathipitysngkhmniymaebbdngedim inchumchnpkkhrxngtnexnginaekhwnkataluyyainsepn nityasar idraynganbthsmphasnekiywkbphrrkhkaremuxngrwmsmy Popular Unity Candidacy CUP dngtxipni CUP etmipdwykhunlksnaaebbsngkhmniymaebbxisrniymaelashkarniymaebbxnathipity tamthrrmeniymtxtanxanacniymkhxngfaysaykatala dngthipraktxyuinxngkhkryukhsmysngkhramklangemuxngxyang CNT sungmikhtiaebbshkarniymxnathipity hruxkhtilththithrxtskixyang Partido Obrero de Unificacion Marxista POUM shkrnaelasunywthnthrrmprachachn popular cultural center kasls casals aela xaetenxus oppulars idebngbaninchwngplaykhristthswrrs 1990 aela 2000 epnphunthiplxdphysahrbchumchnsngkhmniymsaymulwiwti thangeluxkthangesrsthkic aelakarkxrupkhxngxudmkarn hlayxngkhkreyawchnsayptiwtiidthuxkaenidkhuninsunywthnthrrmehlani nxkehnuxcakekhruxkhaykhxngsunywthnthrrmprachachnaelw karprakttwkhxngbanthithukcbcxng eriykxikchuxwa sunysngkhmcdkartnexng kidkhyaytwkhwamrusukaebbmulwiwtiinkataluyya aemwabanthithukcbcxngcaimidmiaenwthangaebbsngkhmniymaebngaeykdinaednthnghmd banthiepnsylksnmakthisudbangaehngkrabutwtnkbkhbwnkaraebngaeyk echnbanthithukcbcxng Can Vies inbaresolna thuk sphathxngthinepntwaethnkhxnghnwykhnphunthankhxngexkphaphprachachnni epntwaethnkhxnglaaewkban khxnghmuban khxngemuxng sphatang mixanacxthipityaelathrngxanackepnipid ehlaniepneplkhxngprachathipityaebbmiswnrwm inbangemuxngthi CUP mixanacxyu sphaepidehlaniidrbkhwamrbphidchxbphiessephimetimaela idrbmxb xanactang khtikhwamxaccaepnaebbxisrniym nktxsustrisiththiniymaebbxnathipitycakklum Mujeres Libres inchwngfradarika munaesy inphaphthibaresolna kh s 1977 epnrthmntrisatharnsukhinyukhsatharnrthsepnthi 2 khtikhwamxaccaepnaebbxisrniym xngkvs Libertarian possibilism epnkraaeskaremuxngphayininchwngtnkhriststwrrsthi 20 sungsnbsnunkarbrrluepahmaykhxnglththixnathipity nnkhuxkarlmelikrthaelathunniym dwykarmiswnrwmphayinokhrngsrangkhxngprachathipityrabbrthsphaxyangthiepnxyu chuxkhxngcudyunthangkaremuxngchuxniprakttwkhunepnkhrngaerkrahwang kh s 1922 1923 phayinwathkrrmkhxngnkshkarniymxnathipitychawkatala Salvador Segui odyekhaklawwa eracatxngaethrkaethrngkaremuxngephuxekhakhwbkhumtaaehnngtang khxngphwkkradumphi inchwngvduibimrwng kh s 1931 nktxsuinshphaphaerngnganxnathipity CNT idephyaephr aethlngkarnklumsamsib Manifiesto de los Treinta odythangwikisxrs inklumthilngchuxinnnmielkhathikarihy CNT kh s 1922 1923 Joan Peiro Angel Pestana elkhathikarihy kh s 1929 aela Juan Lopez Sanchez sungkraaeskhxngphwkekhachuxwa etrxintisom treintismo aelaeriykrxngihkhbwnkarxnathipityinsepnmiaenwthangkaremuxngthiepnklangkhun in kh s 1932 phwkekhaidkxtng Syndicalist Party sungidmiswnrwmin 1936 Spanish general election aelatxmaidepnswnhnungkhxngsmphnthmitrkhxngphrrkhkaremuxngfaysaysungmichuxwa Popular Front Spain odyidthinngsmachiksphamasxngthinng epstyya aela Benito Pabon y Suarez de Urbina in kh s 1938 elkhathikarihy CNT Horacio Martinez Prieto idesnxihshphnthxnathipityixbieriyaeplngsphaphtwexngepnphrrkhkaremuxngsngkhmniymxisrniym aelaihekhamiswnrwminkareluxktngradbchati ineduxnphvscikayn kh s 1936 aenwrwmprachachnidaetngtngnkthimichuxesiyng fradarika munaesy khunepnrthmntrisatharnsukh aelaklayepnphuhyingkhnaerkinprawtisastrpraethssepnthiidepnrthmntriinkhnarthmntri emuxkxngkalngsatharnrthphayaephsngkhramklangemuxng emuxngmadridkthukykihkbkxngkalngniymfrngok in kh s 1939 odynaykethsmntrithiimniymfrngokkhnsudthaykhxngemuxng nkxnathiptynamwa Melchor Rodriguez Garcia niewssngkhmniym xngkvs Eco socialism khuxkarrwmknkhxnglththixnathipity niewswithya Environmentalism Green politics lththimaks aelasngkhmniym aelaodythwipechuxwarabbthunniymnnepntnehtukhxngkarkidknthangsngkhm Economic inequality aela environmental degradation nkniewssngkhmniymwicarnhlaykhninwabthwicarnraebiybolkpccubnkhxngphwkekhannyngipiklimphx aelaaebbimchdecn inewlaediywknnkniewssngkhmniymktahnifaysayaebbdngedimwaeminechyhruximphudthungpyhathangniewsnidxyangehmaasmephiyngphx nkniewssngkhmniym Anti globalization movement Joel Kovel mxngwaolkaphiwtnepnaerngdnthikhbodythunniym aelwkhwametibotthangesrsthkicxyangrwderwthithukkratunodyolkaphiwtnksngphlihekidwikvtthangniewsnxyangchbphlntxmatamladb Agrarian socialism epnaenwkhidniewssngkhmniymxikrupaebbhnung khbwnkarekhluxnihwinyukhsmykhriststwrrsthi 17 thichuxwawangrakthanmonkhtikhxngphwkekhaxyubnaenwkhidsngkhmniymekstrkrrm