อาการปวดต่างที่ (อังกฤษ: Referred pain, reflective pain) เป็นความเจ็บปวดต่างที่จากส่วนร่างกายซึ่งได้รับสิ่งเร้าอันก่อความเจ็บปวด ตัวอย่างหนึ่งก็คือ อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (หัวใจวาย) แต่มักจะทำให้รู้สึกปวดคอ ไหล่ และหลัง ไม่ใช่ที่อกซึ่งเป็นแหล่งปัญหา แต่องค์การมาตรฐานนานาชาติ (รวมทั้ง International Association for the Study of Pain) ก็ยังไม่ได้นิยามคำนี้ ดังนั้น ผู้เขียนต่าง ๆ อาจใช้คำโดยความหมายที่ไม่เหมือนกัน มีการกล่าวถึงอาการเช่นนี้ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 แล้ว แม้จะมีวรรณกรรมในเรื่องนี้เขียนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่กลไกการทำงานของมันก็ยังไม่ชัดเจน ถึงจะมีสมมติฐานต่าง ๆ
อาการปวดต่างที่ (Referred pain) | |
---|---|
ความรู้สึกเจ็บปวดจากอวัยวะภายในอาจทำให้ปวดในส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะของร่างกาย ดังที่แสดงในรูปนี้ ความรู้สึกบางอย่างอาจเกิดในที่ใกล้ ๆ แต่บางอย่างก็เกิดในบริเวณที่ค่อนข้างไกลจากอวัยวะที่เป็นเหตุ (จากบนลงล่างซ้ายไปขวา) Lung and diaphragm = ปอดและกะบังลม Thymus = ต่อมไทมัส Spleen = ม้าม Heart = หัวใจ Liver and gall bladder = ตับและถุงน้ำดี Stomach = กระเพาะอาหาร Pancreas = ตับอ่อน Small intestine = ลำไส้เล็ก Ovary = รังไข่ Appendix = ไส้ติ่ง Colon = ลำไส้ใหญ่ Kidney = ไต Urinary bladder = กระเพาะปัสสาวะ Ureter = ท่อไต | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D053591 |
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ] |
อาการ
- ขนาดของบริเวณส่วนที่เจ็บ จะสัมพันธ์กับความรุนแรงและช่วงเวลาของความเจ็บปวดที่เกิด
- Temporal summation เป็นกลไกที่อาจเป็นไปได้อย่างหนึ่งสำหรับความเจ็บปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ (referred muscle pain) คือศักยะงาน (สัญญาณประสาท) ที่มีความถี่สูงในนิวรอนก่อนไซแนปส์ จะก่อให้เกิดศักยะงานในนิวรอนหลังไซแนปส์โดยเป็นแบบบวกกัน
- การกระตุ้นได้ง่าย (hyperexcitability) ของนิวรอนในระบบประสาทกลาง (เช่นที่ไขสันหลังหรือก้านสมอง) จะสำคัญต่อขนาดบริเวณที่เจ็บ
- คนไข้ที่เจ็บปวดในกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างเรื้อร้ง (chronic musculoskeletal pain) มีเขตปวดต่างที่ซึ่งใหญ่ขึ้นเทียบกับสิ่งเร้าที่มากระทบ ความเจ็บปวดต่างที่ซึ่งกระจายเข้าในส่วนต้น (proximal) ของอวัยวะ จะพบในคนไข้ประเภทนี้และไม่พบในคนปกติอื่น ๆ
- อาการปวดต่างที่จะคู่กับสิ่งเร้าทางกายแบบเฉพาะเจาะจง (Modality-specific เช่น ความเย็นร้อน สัมผัส) ซึ่งเน้นความสำคัญของการประเมินตรวจสอบประสาทสัมผัสโดยสิ่งเร้าแบบต่าง ๆ
- อาการปวดต่างที่บ่อยครั้งจะอยู่ในซีกร่างกายเดียวกันกับอวัยวะที่เป็นเหตุ แต่ก็ไม่แน่นอน
กลไก
มีกลไกทางสรีรภาพหลายอย่างที่เสนอสำหรับอาการปวดต่างที่ แม้จะยังไม่มีมติร่วมกันว่า สมมติฐานไหนถูกต้อง
ใยประสาทรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ (รวมทั้ง Aβ Aδ และ C) จากผิวหนังที่เดอร์มาโทมเดียวกัน ส่งสัญญาณไปยังนิวรอนในชั้น 2 (lamina II) ที่ปีกหลังของไขสันหลังในระดับเดียวกัน แต่นิวรอนชั้นนี้ก็ได้รับสัญญาณโนซิเซ็ปเตอร์ (ความเจ็บปวด) จากอวัยวะภายในร่างกายรวมทั้งหัวใจด้วย การส่งสัญญาณไปที่นิวรอนเดียวกันในไขสันหลังอาจเป็นเหตุให้ความรู้สึกเจ็บที่หัวใจ รู้สึกเหมือนกับเป็นความเจ็บปวดในบริเวณผิวหนังที่มีจุดเชื่อมใยประสาทร่วมกัน เช่น จากในอก จากแขนหรือมือซ้าย หรือจากกระดูกกราม
ส่วนอีกสมมติฐานหนึ่งก็คือ เซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดคือโนซิเซ็ปเตอร์ มีปลายประสาทแยกไปที่ทั้งผิวหนังและที่อวัยวะภายในต่าง ๆ รวมทั้งหัวใจ
ตามปกติแล้ว ความเจ็บปวดเหตุหัวใจวายจะอยู่ที่หน้าอกตรงกลางหรือด้านซ้ายในซีกที่มีหัวใจ แต่สามารถกระจายเจ็บไปถึงขากรรไกด้านซ้ายและแขนข้างซ้าย โดยอาจปรากฏเป็นความเจ็บปวดต่างที่บ้างแม้น้อยมาก และปกติจะเกิดกับคนไข้โรคเบาหวานหรือสูงอายุ
การส่งใยประสาทไปที่เดียวกัน (Convergent projection)
นี่เป็นทฤษฎีแรก ๆ สุดเกี่ยวกับอาการนี้ ที่อาศัยงานของ W.A. Sturge และ J. Ross ในปี พ.ศ. 2431 และของ TC Ruch ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 ทฤษฎีการส่งใยประสาทไปที่เดียวกัน (Convergent projection) เสนอว่าใยประสาทนำเข้าจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมตัวเข้าที่นิวรอนในไขสันหลังเดียวกัน และอธิบายว่า ทำไมอาการปวดต่างที่จึงจัดเป็นส่วน ๆ ไปตามไขสันหลัง นอกจากนั้นแล้ว หลักฐานทางการทดลองได้แสดงว่า เมื่ออวัยวะส่วนที่เจ็บจริง ๆ ถูกกระตุ้นมากขึ้น อาการปวดต่างที่ก็จะมากขึ้นด้วย
ข้อคัดค้านของแบบจำลองนี้ก็คือว่า มันไม่สามารถอธิบายว่าทำไมอาการปวดต่างที่จึงเกิดช้ากว่าจุดที่เกิดสิ่งเร้าซึ่งทำให้ปวดจริง ๆ หลักฐานทางการทดลองยังแสดงด้วยว่า อาการปวดต่างที่บ่อยครั้งเป็นไปในทิศทางเดียว ยกตัวอย่างเช่น การเร้าให้กล้ามเนื้อส่วน anterior tibial เจ็บ จะทำให้ปวดที่ด้านหน้า (ventral) ของข้อเท้า แต่การเร้าด้านหน้าของข้อเท้าไม่ปรากฏกว่าทำให้กล้ามเนื้อเจ็บ และท้ายสุดคือ ระดับการกระตุ้นที่ทำให้เจ็บเฉพาะที่และที่ทำให้ปวดต่างที่ จะมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่างกัน แม้แบบจำลองนี้จะแสดงว่า ควรเท่ากัน
Convergence-facilitation และ central sensitization
ในปี พ.ศ. 2436 J MacKenzie ได้ตั้งแบบจำลอง Convergence facilitation อาศัยแนวความคิดของ Sturge และ Ross เขาเชื่อว่า อวัยวะภายในไม่ไวความรู้สึกที่เกิดจากสิ่งเร้า นอกจากนั้น เขายังเชื่อว่า ใยประสาทจะส่งความรู้สึกที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บปวด (non-nociceptive) ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เขาเรียกว่า "irritable focus" (จุดโฟกัสไวเกินต่อการกระตุ้น) จุดโฟกัสเช่นนี้ทำให้สิ่งเร้าบางอย่างรู้สึกว่าเจ็บ แต่ไอเดียนี้ไม่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะไม่อธิบายความเจ็บปวดที่อวัยวะภายใน
แต่ไอเดียนี้ในเร็ว ๆ นี้ได้ความสนใจมากขึ้นโดยใช้คำใหม่คือ การไวเจ็บเหตุประสาทส่วนกลาง (central sensitization) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนิวรอนในปีกหลังของไขสันหลังหรือก้านสมอง ตอบสนองมากขึ้นหลังจากได้การกระตุ้นซ้ำ ๆ จากนิวรอนปลายประสาท คือมีขีดเริ่มเปลี่ยนในการตอบสนองที่ลดลง ส่วนความชักช้าของอาการปวดต่างที่อธิบายได้ว่า ต้องใช้เวลาเพื่อจะเกิดสถานภาพในระบบประสาทส่วนกลางที่ทำให้ไวความรู้สึก
Axon-reflex
แบบจำลอง Axon reflex แสดงว่า ใยประสาทนำเข้าจะแยกเป็นสองสาขา (หรือมากกว่านั้น) ก่อนเชื่อมกับปีกหลังของไขสันหลัง และตัวกระตุ้นที่ทำให้เจ็บที่ปลายประสาทสาขาหนึ่ง อาจทำให้รู้สึกเจ็บที่ปลายประสาทสาขาอื่น ๆ ด้วย ใยประสาทที่แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ พบได้ในทั้งกล้ามเนื้อ ผิวหนัง และหมอนกระดูกสันหลัง แต่นิวรอนเช่นนี้ก็มีน้อย และก็ไม่ได้มีทั่วร่างกาย แบบจำลองนี้ยังไม่สามารถอธิบาย
- ความล่าช้าของอาการปวดต่างที่
- ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งเร้าของความเจ็บปวดเฉพาะที่ กับของความเจ็บปวดต่างที่
- ความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึก (sensibility) ที่บริเวณซึ่งเกิดอาการปวดต่างที่
การไวต่อการกระตุ้น (Hyperexcitability)
แม้แบบจำลอง Hyperexcitability (การไวต่อการกระตุ้น) โดยทั่วไปจะสมมติว่า อาการปวดต่างที่ไม่มีกลไกแบบรวมศูนย์ แต่ก็ลักษณะรวมศูนย์อย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลมาก งานทดลองที่ใช้ตัวกระตุ้นอันตรายและการบันทึกกระแสไฟฟ้าที่ปีกหลังของไขสันหลังในสัตว์แสดงว่า อาการปวดต่างที่จะเริ่มหลังจากได้เร้ากล้ามเนื้อเป็นนาที ๆ และความรู้สึกปวดจะอยู่ในลานรับสัญญาณที่ห่างจากสิ่งเร้าเป็นช่วงระยะหนึ่ง ตามแบบจำลองนี้ ลานรับสัญญาณใหม่ได้เกิดขึ้นโดยเป็นผลจากการทำงานของใยประสาทนำเข้าแฝง (latent) ซึ่งไปสุดที่ปีกหลังของไขสันหลังบริเวณเดียวกัน การทำงานที่ว่านี้จะทำให้ปวดต่างที่
ลักษณะหลาย ๆ อย่างสนับสนุนแบบจำลองนี้ เช่น การต้องอาศัยสิ่งเร้า และช่วงชักช้าก่อนที่อาการปวดต่างที่จะปรากฏเทียบกับอาการปวดเฉพาะที่ แต่การปรากฏของลานรับสัญญาณใหม่ ซึ่งตีความว่าทำให้เกิดอาการปวดต่างที่ ไม่เข้ากับหลักฐานการทดลองส่วนมากรวมทั้งงานในบุคคลที่มีสุขภาพปกติ นอกจากนั้นแล้ว อาการปวดต่างที่โดยทั่วไปจะปรากฏภายในไม่กี่วินาทีในมนุษย์ เทียบกับเป็นนาที ๆ ในสัตว์ทดลอง นักวิทยาศาสตร์บางพวกอธิบายว่า นี่เกิดจากกลไกหรือจากอิทธิพลของระบบอื่น ๆ นอกเหนือไปจากไขสันหลัง เทคนิคการสร้างภาพสมอง เช่น PET หรือ fMRI อาจช่วยให้เห็นกระบวนการทางประสาทที่เป็นเหตุสำหรับการทดลองในอนาคต
การรวมตัวที่ทาลามัส (Thalamic-convergence)
แบบจำลองการรวมตัวที่ทาลามัสเสนอว่า อาการปวดต่างที่มีเหตุจากการรวมสัญญาณประสาท (summation) ในสมอง ไม่ใช่ที่ไขสันหลัง หรือบริเวณที่เกิดสิ่งเร้า หรือบริเวณที่เจ็บปวดต่างที่ แต่หลักฐานการทดลองของสมมติฐานนี้ไม่ค่อยมี อย่างไรก็ดี งานศึกษาเกี่ยวกับความเจ็บปวดที่ทำในลิงพบการรวมตัวกันของวิถีประสาทต่าง ๆ ที่นิวรอนทั้งในคอร์เทกซ์และใต้คอร์เทกซ์
ตัวอย่าง
ตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|
อกด้านบน/แขนข้างซ้าย | การขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial ischaemia) อาจเป็นตัวอย่างที่รู้จักดีที่สุดของอาการปวดต่างที่ อาจเป็นอาการอึดอัดเหนืออก ปวดที่ไหล่ ที่แขน หรือแม้แต่ที่มือซ้าย |
ศีรษะ | การปวดศีรษะเพราะทานของเย็นจัด หรืออาการเย็นสมอง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของอาการปวดต่างที่ ซึ่งเส้นประสาทเวกัส (CN X) หรือเส้นประสาทไทรเจมินัล (CN V) ที่คอและที่เพดานปากตามลำดับ ส่งสัญญาณเกี่ยวกับความเจ็บปวด เนื่องจากการลดอุณหภูมิและเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็วของหลอดเลือดฝอยในโพรงในกระดูกศีรษะ (sinus) |
ทั่วไป | การปวดที่แขนขาซึ่งไม่มีเป็นอาการปวดต่างที่อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือความรู้สึกเจ็บปวดจากอวัยวะหนึ่ง ๆ ที่ไม่มีแล้ว หรือที่ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้แล้ว ซึ่งเป็นอาการที่รายงานโดยผู้ถูกตัดแขนขาและคนไข้อัมพาตแขนขาทั้งสองข้างเกือบหมดทุกคน |
กระดูกสะบักข้างขวา | ตับ, ถุงน้ำดี |
ไหล่ซ้าย | ปอด, กะบังลม, ม้าม (Kehr's sign) |
กลางท้องเยื้องไปทางซ้าย | ตับอ่อน |
ฝ่ามือ | กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส คือ ปัญหาที่ปลายแขนอาจรู้สึกที่ฝ่ามือ ไม่ใช่ที่ปลายแขน |
วิธีการทดสอบในแล็บ
การศึกษาเกี่ยวกับความเจ็บปวดมักจะทำในห้องแล็บเพราะสามารถควบคุมตัวแปรได้ดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบสิ่งเร้า (ความร้อนเย็น สารเคมีเป็นต้น) ระดับความรุนแรง และช่วงเวลาต่าง ๆ ของสิ่งเร้า จะสามารถควบคุมได้อย่างแม่นยำกว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ มีวิธีหลัก ๆ 2 อย่างในการศึกษาอาการปวดต่างที่
สารก่อความเจ็บ
ในปัจจุบัน มีการใช้สารเคมีหลายอย่างเพื่อกระตุ้นให้เกิดอาการปวดต่างที่ สารรวมทั้ง bradykinin, substance P, แคปไซซิน และเซโรโทนิน แต่ก่อนหน้าสารพวกนี้ งานวิจัยได้ใช้น้ำเกลือไฮเพอร์ทอนิก โดยการทดลองต่าง ๆ พบว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่สัมพันธ์กับการกระตุ้นด้วยน้ำเกลือรวมทั้งอัตราการฉีด ความเข้มข้นของน้ำเกลือ แรงดัน และปริมาณที่ใช้ แต่กลไกที่น้ำเกลือทำให้เจ็บเฉพาะที่หรือต่างที่ซึ่งคู่กันก็ยังไม่ชัดเจน นักวิชาการบางพวกให้ความเห็นว่า อาจเกิดจากความแตกต่างของความดันออสโมซิส แต่นี่ก็ยังไม่ได้พิสูจน์
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
การกระตุ้นในกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า (IMES) เป็นวิธีที่ใช้ทั้งในการทดลองและในการรักษา ข้อดีหลัก (เทียบกับการใช้น้ำเกลือ) ก็คือ สามารถเปิดปิดตามกำหนด ซึ่งทำให้ควบคุมได้ดีกว่าและแม่นยำกว่า ทั้งโดยสิ่งเร้าและการวัดการตอบสนอง เป็นวิธีที่ง่ายกว่าการฉีด เพราะไม่จำเป็นต้องฝึกเป็นพิเศษ ความถี่ของพัลส์ไฟฟ้ายังสามารถควบคุมได้อีกด้วย ในงานศึกษาส่วนมาก ความถี่พัลส์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ที่ 10 เฮิรตซ์ เพื่อให้เจ็บทั้งเฉพาะที่และต่างที่
โดยวิธีนี้ นักวิจัยได้พบว่า สิ่งเร้าจะต้องมีกำลังมากกว่าเพื่อจะให้เจ็บต่างที่ เทียบกับเจ็บเฉพาะที่ ระดับสิ่งเร้ากับระดับความเจ็บทั้งเฉพาะที่และต่างที่ ยังสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนอีกด้วย เชื่อกันว่า วิธีนี้จะกระตุ้นให้โนซิเซ็ปเตอร์จำนวนมากทำงาน จึงมีผลเป็นการรวมสัญญาณเชิงพื้นที่ (spatial summation) แล้วทำให้โนซิเซ็ปเตอร์ส่งสัญญาณที่ถี่สูงกว่าไปยังนิวรอนในปีกหลังของไขสันหลังและก้านสมอง
เพื่อการวินิจฉัยและรักษา
อาการปวดต่างที่อาจแสดงว่ามีความเสียหายทางประสาท ในงานศึกษาชายอายุ 63 ปี ผู้มีความบาดเจ็บที่ไม่หายในช่วงวัยเด็ก และมีอาการปวดต่างที่เมื่อถูกใบหน้าหรือที่หลัง และแม้จะถูกอย่างเบา ๆ ก็จะเจ็บวิ่งไปตามแขน งานสรุปว่า เหตุอาจคือการจัดระเบียบทางประสาทใหม่ (neural reorganization) ซึ่งทำให้ใบหน้าและหลังไวความรู้สึกหลังจากที่ประสาทเสียหาย และให้ความเห็นว่า เป็นกรณีที่คล้ายกับ อาการเหมือนแขนขายังคงอยู่ ที่คนไข้คนอื่น ๆ มีปัญหา ข้อสรุปมีพื้นฐานจากหลักฐานการทดลองที่เก็บโดย ศ. ดร. วิลยนอร์ สุพรหมัณยัม รามจันทรัน ในปี พ.ศ. 2536 โดยแตกต่างตรงที่ว่า แขนที่เจ็บยังมีอยู่จริง ๆ
การวินิจฉัยทางออร์โทรพีดิกส์
จากตัวอย่างที่ผ่านมา เราจึงสามารถเห็นได้ว่า ความเข้าใจในอาการปวดต่างที่จะช่วยให้สามารถวินิจฉัยอาการและโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ในปี พ.ศ. 2524 นักกายภาพบำบัดรอบิน แม็คเค็นซี กล่าวถึงอาการที่เขาเรียกว่า centralization ซึ่งเขาสรุปว่า เกิดขึ้นเมื่ออาการปวดต่างที่ย้ายที่จากปลายอวัยวะมาสู่ต้น ๆ อวัยวะ สังเกตการณ์ที่สนับสนุนไอเดียนี้จะเห็นเมื่อคนไข้ก้มและแอ่นตัวเมื่อกำลังตรวจ
งานศึกษารายงานว่า คนไข้โดยมากที่มีอาการเช่นนี้ สามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดไขสันหลังโดยกำหนดแยกจุดที่ทำให้เจ็บเฉพาะที่ แต่คนไข้ที่อาการปวดต่างที่ไม่ย้ายที่ อาจต้องผ่าตัดเพื่อวินิจฉัยและแก้ปัญหา เนื่องจากผลการศึกษาของงานนี้ จึงได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการกำจัดความเจ็บปวดโดยเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ
ตัวอย่างของอาการเช่นนี้ก็คือการปวดต่างที่ที่น่อง แม็คเค็นซีได้แสดงว่า อาการปวดต่างที่จะย้ายที่ขึ้นเมื่อคนไข้แอ่นตัวก้มตัวโดยยืดตัวเต็มที่หลาย ๆ ครั้ง ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อาการปวดจะหายไปหลังจากหยุดแอ่นตัวแล้ว
การวินิจฉัยทั่วไป
เหมือนกับการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial ischaemia) อาการปวดต่างที่ตรงบางส่วนของร่างกายสามารถทำให้วินิจฉัยส่วนที่เจ็บจริง ๆ ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างจุดปวดต่างที่และจุดปวดจริง ๆ ทำให้พัฒนาแผนที่ร่างกายหลายอย่างเพื่อช่วยกำหนดจุดที่เจ็บจริง ๆ อาศัยอาการปวดต่างที่ ตัวอย่างเช่น อาการปวดที่หลอดอาหาร สามารถทำให้ปวดต่างที่ตรงท้องด้านบน ตรงกล้ามเนื้อท้อง (oblique muscle) และตรงคอ อาการเจ็บที่ต่อมลูกหมากอาจทำให้ปวดต่างที่ตรงท้อง ตรงหลังส่วนล่าง และตรงกล้ามเนื้อน่อง นิ่วที่ไตซึ่งเคลื่อนไปตามท่อไตอย่างช้า ๆ อาจทำให้ปวดต่างที่ตรงท้องส่วนล่าง
ยังมีงานวิจัยที่พบว่า ketamine ซึ่งเป็นยาระงับประสาท สามารถระงับอาการปวดต่างที่ได้ เป็นงานที่ทำกับคนไข้โรคไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งมีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ และล้า งานศึกษาได้เลือกคนไข้กลุ่มนี้เพราะไวต่อสิ่งเร้าแล้วทำให้เจ็บเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นแล้ว อาการปวดต่างที่ยังเกิดในที่ต่าง ๆ สำหรับคนไข้กลุ่มนี้แปลกจากคนไข้ที่ไม่มีไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งมักปรากฏอาการปวดที่ตรงส่วนที่ต่างกัน (เช่น ส่วนปลาย ส่วนต้น) คู่กับส่วนที่ปวดจริง ๆ บริเวณที่ปวดยังใหญ่ขึ้นด้วยเพราะไวปวดยิ่งขึ้น
อ้างอิง
- "Referred pain", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, 2004,
(ทันตแพทยศาสตร์) อาการปวดต่างที่
- Arendt-Nielsen, L; Svensson, P (2001). "Referred muscle pain: basic and clinical findings". Clin J Pain. 17 (1): 11–9. doi:10.1097/00002508-200103000-00003. PMID 11289083.
- Demco, LA (พฤษภาคม 2000). "Pain referral patterns in the pelvis". J Am Assoc Gynecol Laparosc. 7 (2): 181–3. PMID 10806259.
- Basbaum & Jessell 2013, Signals from Nociceptors Are Conveyed to Neurons in the Dorsal Horn of the Spinal Chord, pp. 534-536
- . 2 มกราคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2011.
- Purves et al 2008b, Box 10B Referred Pain, p. 236
- Huether et al 2014, Figure 16-6 Sites of Referred Pain, p. 492
- Kaczorowski, Maya; Kaczorowski, Janusz (21–28 ธันวาคม 2002). "Ice cream evoked headaches (ICE-H) study: randomised trial of accelerated versus cautious ice cream eating regimen" (PDF). British Medical Journal. 325 (7378): 1445-1446. doi:10.1136/bmj.325.7378.1445. PMID 12493658.
- Rutkow IM (มิถุนายน 1978). "Rupture of the spleen in infectious mononucleosis: a critical review". Arch Surg. 113 (6): 718–20. doi:10.1001/archsurg.1978.01370180060007. PMID 655846.
- Simons, D.G.; Travell, J.G.; Simons, L.S. (1999). Travell & Simons' Myofascial Pain and Dysfunction: Upper half of body. Williams & Wilkins. p. 750. ISBN . สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2015.
- Witting N, Svensson P, Gottrup H, Arendt-Nielsen L, Jensen TS (2000). "Intramuscular and intradermal injection of capsaicin: a comparison of local and referred pain". Pain. 84 (2–3): 407–12. doi:10.1016/S0304-3959(99)00231-6. PMID 10666547.
- Kosek E, Hansson P (2003). "Perceptual integration of intramuscular electrical stimulation in the focal and the referred pain area in healthy humans". Pain. 105 (1–2): 125–31. doi:10.1016/S0304-3959(03)00171-4. PMID 14499428.
- Dolor Soler; Hatice Kumru; Joan Vidal; Raul Pelayo; และคณะ (กรกฎาคม 2010). "Referred sensations and neuropathic pain following spinal cord injury". Pain. 150 (1): 192–8. doi:10.1016/j.pain.2010.04.027. ISSN 0304-3959.
- Vilayanur S. Ramachandran (1994). "Phantom limbs, neglect syndromes, repressed memories, and Freudian psychology". International Review of Neurobiology. 37: 291–333, discussion 369-372. doi:10.1016/s0074-7742(08)60254-8. PMID 7883483.
- Davis, Blackwood C (2004). . BC Medical Journal. 46 (7): 348–352. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017.
- Graven-Nielsen, T; และคณะ (1999). "Ketamine reduces muscle pain, temporal summation, and referred pain in fibromyalgia patients". Pain. 85 (3): 483–491. doi:10.1016/S0304-3959(99)00308-5. PMID 10781923.
บรรณานุกรม
- Basbaum, Allan I; Jessell, Thomas M (2013). "24 - Pain". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, A J (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 530–555. ISBN .
- Huether, Sue E; Rodway, George; DeFriez, Curtis (2014). "16 - Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function". ใน McCance, Kathryn L; Huether, Sue E; Brashers, Valentina L; Neal S, Rote (บ.ก.). Pathophysiology: the biologic basis for disease in adults and children (7th ed.). Mosby. ISBN .
- Purves, Dale; Augustine, George J; และคณะ, บ.ก. (2008b). "10 - Pain". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. pp. 231–251. ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาการปวดต่างที่
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xakarpwdtangthi xngkvs Referred pain reflective pain epnkhwamecbpwdtangthicakswnrangkaysungidrbsingeraxnkxkhwamecbpwd twxyanghnungkkhux xakarpwdekhnhwic angina pectoris sungekidcakklamenuxhwictayehtukhadeluxd hwicway aetmkcathaihrusukpwdkhx ihl aelahlng imichthixksungepnaehlngpyha aetxngkhkarmatrthannanachati rwmthng International Association for the Study of Pain kyngimidniyamkhani dngnn phuekhiyntang xacichkhaodykhwamhmaythiimehmuxnkn mikarklawthungxakarechnnitngaetplaykhristthswrrs 1880 aelw aemcamiwrrnkrrmineruxngniekhiynephimkhuneruxy aetklikkarthangankhxngmnkyngimchdecn thungcamismmtithantang xakarpwdtangthi Referred pain khwamrusukecbpwdcakxwywaphayinxacthaihpwdinswnxun odyechphaakhxngrangkay dngthiaesdnginrupni khwamrusukbangxyangxacekidinthiikl aetbangxyangkekidinbriewnthikhxnkhangiklcakxwywathiepnehtu cakbnlnglangsayipkhwa Lung and diaphragm pxdaelakabnglm Thymus txmithms Spleen mam Heart hwic Liver and gall bladder tbaelathungnadi Stomach kraephaaxahar Pancreas tbxxn Small intestine laiselk Ovary rngikh Appendix isting Colon laisihy Kidney it Urinary bladder kraephaapssawa Ureter thxittwrabuMeSHD053591 aekikhbnwikisneths xakarkhnadkhxngbriewnswnthiecb casmphnthkbkhwamrunaerngaelachwngewlakhxngkhwamecbpwdthiekid Temporal summation epnklikthixacepnipidxyanghnungsahrbkhwamecbpwdthiekidcakklamenux referred muscle pain khuxskyangan syyanprasath thimikhwamthisunginniwrxnkxnisaenps cakxihekidskyanganinniwrxnhlngisaenpsodyepnaebbbwkkn karkratunidngay hyperexcitability khxngniwrxninrabbprasathklang echnthiikhsnhlnghruxkansmxng casakhytxkhnadbriewnthiecb khnikhthiecbpwdinkradukaelaklamenuxxyangeruxrng chronic musculoskeletal pain miekhtpwdtangthisungihykhunethiybkbsingerathimakrathb khwamecbpwdtangthisungkracayekhainswntn proximal khxngxwywa caphbinkhnikhpraephthniaelaimphbinkhnpktixun xakarpwdtangthicakhukbsingerathangkayaebbechphaaecaacng Modality specific echn khwameynrxn smphs sungennkhwamsakhykhxngkarpraemintrwcsxbprasathsmphsodysingeraaebbtang xakarpwdtangthibxykhrngcaxyuinsikrangkayediywknkbxwywathiepnehtu aetkimaennxnklikmiklikthangsrirphaphhlayxyangthiesnxsahrbxakarpwdtangthi aemcayngimmimtirwmknwa smmtithanihnthuktxng iyprasathrbkhwamrusukpraephthtang rwmthng Ab Ad aela C cakphiwhnngthiedxrmaothmediywkn sngsyyanipyngniwrxninchn 2 lamina II thipikhlngkhxngikhsnhlnginradbediywkn aetniwrxnchnnikidrbsyyanonsiespetxr khwamecbpwd cakxwywaphayinrangkayrwmthnghwicdwy karsngsyyanipthiniwrxnediywkninikhsnhlngxacepnehtuihkhwamrusukecbthihwic rusukehmuxnkbepnkhwamecbpwdinbriewnphiwhnngthimicudechuxmiyprasathrwmkn echn cakinxk cakaekhnhruxmuxsay hruxcakkradukkram swnxiksmmtithanhnungkkhux esllprasathrbkhwamecbpwdkhuxonsiespetxr miplayprasathaeykipthithngphiwhnngaelathixwywaphayintang rwmthnghwic tampktiaelw khwamecbpwdehtuhwicwaycaxyuthihnaxktrngklanghruxdansayinsikthimihwic aetsamarthkracayecbipthungkhakrrikdansayaelaaekhnkhangsay odyxacpraktepnkhwamecbpwdtangthibangaemnxymak aelapkticaekidkbkhnikhorkhebahwanhruxsungxayu karsngiyprasathipthiediywkn Convergent projection niepnthvsdiaerk sudekiywkbxakarni thixasyngankhxng W A Sturge aela J Ross inpi ph s 2431 aelakhxng TC Ruch txmainpi ph s 2504 thvsdikarsngiyprasathipthiediywkn Convergent projection esnxwaiyprasathnaekhacakenuxeyuxtang rwmtwekhathiniwrxninikhsnhlngediywkn aelaxthibaywa thaimxakarpwdtangthicungcdepnswn iptamikhsnhlng nxkcaknnaelw hlkthanthangkarthdlxngidaesdngwa emuxxwywaswnthiecbcring thukkratunmakkhun xakarpwdtangthikcamakkhundwy khxkhdkhankhxngaebbcalxngnikkhuxwa mnimsamarthxthibaywathaimxakarpwdtangthicungekidchakwacudthiekidsingerasungthaihpwdcring hlkthanthangkarthdlxngyngaesdngdwywa xakarpwdtangthibxykhrngepnipinthisthangediyw yktwxyangechn kareraihklamenuxswn anterior tibial ecb cathaihpwdthidanhna ventral khxngkhxetha aetkareradanhnakhxngkhxethaimpraktkwathaihklamenuxecb aelathaysudkhux radbkarkratunthithaihecbechphaathiaelathithaihpwdtangthi camikhiderimepliyntangkn aemaebbcalxngnicaaesdngwa khwrethakn Convergence facilitation aela central sensitization inpi ph s 2436 J MacKenzie idtngaebbcalxng Convergence facilitation xasyaenwkhwamkhidkhxng Sturge aela Ross ekhaechuxwa xwywaphayinimiwkhwamrusukthiekidcaksingera nxkcaknn ekhayngechuxwa iyprasathcasngkhwamrusukthiimekiywkbkhwamecbpwd non nociceptive thaihekidsthankarnthiekhaeriykwa irritable focus cudofksiwekintxkarkratun cudofksechnnithaihsingerabangxyangrusukwaecb aetixediyniimidkaryxmrbxyangkwangkhwang ephraaimxthibaykhwamecbpwdthixwywaphayin aetixediyniinerw niidkhwamsnicmakkhunodyichkhaihmkhux kariwecbehtuprasathswnklang central sensitization sungekidkhunemuxniwrxninpikhlngkhxngikhsnhlnghruxkansmxng txbsnxngmakkhunhlngcakidkarkratunsa cakniwrxnplayprasath khuxmikhiderimepliyninkartxbsnxngthildlng swnkhwamchkchakhxngxakarpwdtangthixthibayidwa txngichewlaephuxcaekidsthanphaphinrabbprasathswnklangthithaihiwkhwamrusuk Axon reflex aebbcalxng Axon reflex aesdngwa iyprasathnaekhacaaeykepnsxngsakha hruxmakkwann kxnechuxmkbpikhlngkhxngikhsnhlng aelatwkratunthithaihecbthiplayprasathsakhahnung xacthaihrusukecbthiplayprasathsakhaxun dwy iyprasaththiaebngepnsakhatang phbidinthngklamenux phiwhnng aelahmxnkraduksnhlng aetniwrxnechnnikminxy aelakimidmithwrangkay aebbcalxngniyngimsamarthxthibay khwamlachakhxngxakarpwdtangthi radbkhiderimepliynthiaetktangknrahwangsingerakhxngkhwamecbpwdechphaathi kbkhxngkhwamecbpwdtangthi khwamepliynaeplngthangkhwamrusuk sensibility thibriewnsungekidxakarpwdtangthikariwtxkarkratun Hyperexcitability aemaebbcalxng Hyperexcitability kariwtxkarkratun odythwipcasmmtiwa xakarpwdtangthiimmiklikaebbrwmsuny aetklksnarwmsunyxyanghnungthimixiththiphlmak nganthdlxngthiichtwkratunxntrayaelakarbnthukkraaesiffathipikhlngkhxngikhsnhlnginstwaesdngwa xakarpwdtangthicaerimhlngcakideraklamenuxepnnathi aelakhwamrusukpwdcaxyuinlanrbsyyanthihangcaksingeraepnchwngrayahnung tamaebbcalxngni lanrbsyyanihmidekidkhunodyepnphlcakkarthangankhxngiyprasathnaekhaaefng latent sungipsudthipikhlngkhxngikhsnhlngbriewnediywkn karthanganthiwanicathaihpwdtangthi lksnahlay xyangsnbsnunaebbcalxngni echn kartxngxasysingera aelachwngchkchakxnthixakarpwdtangthicapraktethiybkbxakarpwdechphaathi aetkarpraktkhxnglanrbsyyanihm sungtikhwamwathaihekidxakarpwdtangthi imekhakbhlkthankarthdlxngswnmakrwmthngnganinbukhkhlthimisukhphaphpkti nxkcaknnaelw xakarpwdtangthiodythwipcapraktphayinimkiwinathiinmnusy ethiybkbepnnathi instwthdlxng nkwithyasastrbangphwkxthibaywa niekidcakklikhruxcakxiththiphlkhxngrabbxun nxkehnuxipcakikhsnhlng ethkhnikhkarsrangphaphsmxng echn PET hrux fMRI xacchwyihehnkrabwnkarthangprasaththiepnehtusahrbkarthdlxnginxnakht karrwmtwthithalams Thalamic convergence aebbcalxngkarrwmtwthithalamsesnxwa xakarpwdtangthimiehtucakkarrwmsyyanprasath summation insmxng imichthiikhsnhlng hruxbriewnthiekidsingera hruxbriewnthiecbpwdtangthi aethlkthankarthdlxngkhxngsmmtithanniimkhxymi xyangirkdi ngansuksaekiywkbkhwamecbpwdthithainlingphbkarrwmtwknkhxngwithiprasathtang thiniwrxnthnginkhxrethksaelaitkhxrethkstwxyangtwxyangxakarpwdtangthi taaehnng hmayehtuxkdanbn aekhnkhangsay karkhadeluxdkhxngklamenuxhwic myocardial ischaemia xacepntwxyangthiruckdithisudkhxngxakarpwdtangthi xacepnxakarxudxdehnuxxk pwdthiihl thiaekhn hruxaemaetthimuxsaysirsa karpwdsirsaephraathankhxngeyncd hruxxakareynsmxng epnxiktwxyanghnungkhxngxakarpwdtangthi sungesnprasathewks CN X hruxesnprasathithrecminl CN V thikhxaelathiephdanpaktamladb sngsyyanekiywkbkhwamecbpwd enuxngcakkarldxunhphumiaelaephimxunhphumixyangrwderwkhxnghlxdeluxdfxyinophrnginkraduksirsa sinus thwip karpwdthiaekhnkhasungimmiepnxakarpwdtangthixyanghnung sungkkhuxkhwamrusukecbpwdcakxwywahnung thiimmiaelw hruxthiimsamarthsngsyyanprasathidaelw sungepnxakarthiraynganodyphuthuktdaekhnkhaaelakhnikhxmphataekhnkhathngsxngkhangekuxbhmdthukkhnkraduksabkkhangkhwa tb thungnadiihlsay pxd kabnglm mam Kehr s sign klangthxngeyuxngipthangsay tbxxnfamux klamenuxpalmaris lxngks khux pyhathiplayaekhnxacrusukthifamux imichthiplayaekhnwithikarthdsxbinaelbkarsuksaekiywkbkhwamecbpwdmkcathainhxngaelbephraasamarthkhwbkhumtwaepriddikwa yktwxyangechn rupaebbsingera khwamrxneyn sarekhmiepntn radbkhwamrunaerng aelachwngewlatang khxngsingera casamarthkhwbkhumidxyangaemnyakwa insthankarnechnni miwithihlk 2 xyanginkarsuksaxakarpwdtangthi sarkxkhwamecb inpccubn mikarichsarekhmihlayxyangephuxkratunihekidxakarpwdtangthi sarrwmthng bradykinin substance P aekhpissin aelaesorothnin aetkxnhnasarphwkni nganwicyidichnaekluxihephxrthxnik odykarthdlxngtang phbwa mipccyhlayxyangthismphnthkbkarkratundwynaekluxrwmthngxtrakarchid khwamekhmkhnkhxngnaeklux aerngdn aelaprimanthiich aetklikthinaekluxthaihecbechphaathihruxtangthisungkhuknkyngimchdecn nkwichakarbangphwkihkhwamehnwa xacekidcakkhwamaetktangkhxngkhwamdnxxsomsis aetnikyngimidphisucn karkratundwyiffa karkratuninklamenuxdwyiffa IMES epnwithithiichthnginkarthdlxngaelainkarrksa khxdihlk ethiybkbkarichnaeklux kkhux samarthepidpidtamkahnd sungthaihkhwbkhumiddikwaaelaaemnyakwa thngodysingeraaelakarwdkartxbsnxng epnwithithingaykwakarchid ephraaimcaepntxngfukepnphiess khwamthikhxngphlsiffayngsamarthkhwbkhumidxikdwy inngansuksaswnmak khwamthiphlsiffathiichxyuthi 10 ehirts ephuxihecbthngechphaathiaelatangthi odywithini nkwicyidphbwa singeracatxngmikalngmakkwaephuxcaihecbtangthi ethiybkbecbechphaathi radbsingerakbradbkhwamecbthngechphaathiaelatangthi yngsmphnthknxyangchdecnxikdwy echuxknwa withinicakratunihonsiespetxrcanwnmakthangan cungmiphlepnkarrwmsyyanechingphunthi spatial summation aelwthaihonsiespetxrsngsyyanthithisungkwaipyngniwrxninpikhlngkhxngikhsnhlngaelakansmxngephuxkarwinicchyaelarksaxakarpwdtangthixacaesdngwamikhwamesiyhaythangprasath inngansuksachayxayu 63 pi phumikhwambadecbthiimhayinchwngwyedk aelamixakarpwdtangthiemuxthukibhnahruxthihlng aelaaemcathukxyangeba kcaecbwingiptamaekhn ngansrupwa ehtuxackhuxkarcdraebiybthangprasathihm neural reorganization sungthaihibhnaaelahlngiwkhwamrusukhlngcakthiprasathesiyhay aelaihkhwamehnwa epnkrnithikhlaykb xakarehmuxnaekhnkhayngkhngxyu thikhnikhkhnxun mipyha khxsrupmiphunthancakhlkthankarthdlxngthiekbody s dr wilynxr suphrhmnym ramcnthrn inpi ph s 2536 odyaetktangtrngthiwa aekhnthiecbyngmixyucring karwinicchythangxxrothrphidiks caktwxyangthiphanma eracungsamarthehnidwa khwamekhaicinxakarpwdtangthicachwyihsamarthwinicchyxakaraelaorkhtang iddikhun inpi ph s 2524 nkkayphaphbabdrxbin aemkhekhnsi klawthungxakarthiekhaeriykwa centralization sungekhasrupwa ekidkhunemuxxakarpwdtangthiyaythicakplayxwywamasutn xwywa sngektkarnthisnbsnunixediynicaehnemuxkhnikhkmaelaaexntwemuxkalngtrwc ngansuksaraynganwa khnikhodymakthimixakarechnni samarthhlikeliyngkarphatdikhsnhlngodykahndaeykcudthithaihecbechphaathi aetkhnikhthixakarpwdtangthiimyaythi xactxngphatdephuxwinicchyaelaaekpyha enuxngcakphlkarsuksakhxngnganni cungidminganwicyekiywkbkarkacdkhwamecbpwdodyekhluxnihwrangkayinlksnatang twxyangkhxngxakarechnnikkhuxkarpwdtangthithinxng aemkhekhnsiidaesdngwa xakarpwdtangthicayaythikhunemuxkhnikhaexntwkmtwodyyudtwetmthihlay khrng thisakhykwannkkhux xakarpwdcahayiphlngcakhyudaexntwaelw karwinicchythwip ehmuxnkbkarkhadeluxdkhxngklamenuxhwic myocardial ischaemia xakarpwdtangthitrngbangswnkhxngrangkaysamarththaihwinicchyswnthiecbcring id khwamsmphnthrahwangcudpwdtangthiaelacudpwdcring thaihphthnaaephnthirangkayhlayxyangephuxchwykahndcudthiecbcring xasyxakarpwdtangthi twxyangechn xakarpwdthihlxdxahar samarththaihpwdtangthitrngthxngdanbn trngklamenuxthxng oblique muscle aelatrngkhx xakarecbthitxmlukhmakxacthaihpwdtangthitrngthxng trnghlngswnlang aelatrngklamenuxnxng niwthiitsungekhluxniptamthxitxyangcha xacthaihpwdtangthitrngthxngswnlang yngminganwicythiphbwa ketamine sungepnyarangbprasath samarthrangbxakarpwdtangthiid epnnganthithakbkhnikhorkhifobrimxleciy sungmixakarpwdkhx pwdklamenux aelala ngansuksaideluxkkhnikhklumniephraaiwtxsingeraaelwthaihecbephimkhun nxkcaknnaelw xakarpwdtangthiyngekidinthitang sahrbkhnikhklumniaeplkcakkhnikhthiimmiifobrimxleciy sungmkpraktxakarpwdthitrngswnthitangkn echn swnplay swntn khukbswnthipwdcring briewnthipwdyngihykhundwyephraaiwpwdyingkhunxangxing Referred pain sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 2004 thntaephthysastr xakarpwdtangthi Arendt Nielsen L Svensson P 2001 Referred muscle pain basic and clinical findings Clin J Pain 17 1 11 9 doi 10 1097 00002508 200103000 00003 PMID 11289083 Demco LA phvsphakhm 2000 Pain referral patterns in the pelvis J Am Assoc Gynecol Laparosc 7 2 181 3 PMID 10806259 Basbaum amp Jessell 2013 Signals from Nociceptors Are Conveyed to Neurons in the Dorsal Horn of the Spinal Chord pp 534 536 2 mkrakhm 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 4 minakhm 2016 subkhnemux 26 thnwakhm 2011 Purves et al 2008b Box 10B Referred Pain p 236 Huether et al 2014 Figure 16 6 Sites of Referred Pain p 492 Kaczorowski Maya Kaczorowski Janusz 21 28 thnwakhm 2002 Ice cream evoked headaches ICE H study randomised trial of accelerated versus cautious ice cream eating regimen PDF British Medical Journal 325 7378 1445 1446 doi 10 1136 bmj 325 7378 1445 PMID 12493658 Rutkow IM mithunayn 1978 Rupture of the spleen in infectious mononucleosis a critical review Arch Surg 113 6 718 20 doi 10 1001 archsurg 1978 01370180060007 PMID 655846 Simons D G Travell J G Simons L S 1999 Travell amp Simons Myofascial Pain and Dysfunction Upper half of body Williams amp Wilkins p 750 ISBN 978 0 683 08363 7 subkhnemux 20 phvsphakhm 2015 Witting N Svensson P Gottrup H Arendt Nielsen L Jensen TS 2000 Intramuscular and intradermal injection of capsaicin a comparison of local and referred pain Pain 84 2 3 407 12 doi 10 1016 S0304 3959 99 00231 6 PMID 10666547 Kosek E Hansson P 2003 Perceptual integration of intramuscular electrical stimulation in the focal and the referred pain area in healthy humans Pain 105 1 2 125 31 doi 10 1016 S0304 3959 03 00171 4 PMID 14499428 Dolor Soler Hatice Kumru Joan Vidal Raul Pelayo aelakhna krkdakhm 2010 Referred sensations and neuropathic pain following spinal cord injury Pain 150 1 192 8 doi 10 1016 j pain 2010 04 027 ISSN 0304 3959 Vilayanur S Ramachandran 1994 Phantom limbs neglect syndromes repressed memories and Freudian psychology International Review of Neurobiology 37 291 333 discussion 369 372 doi 10 1016 s0074 7742 08 60254 8 PMID 7883483 Davis Blackwood C 2004 BC Medical Journal 46 7 348 352 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 7 phvscikayn 2017 subkhnemux 4 phvscikayn 2017 Graven Nielsen T aelakhna 1999 Ketamine reduces muscle pain temporal summation and referred pain in fibromyalgia patients Pain 85 3 483 491 doi 10 1016 S0304 3959 99 00308 5 PMID 10781923 brrnanukrmBasbaum Allan I Jessell Thomas M 2013 24 Pain in Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M Siegelbaum Steven A Hudspeth A J b k Principles of Neural Science 5th ed United State of America McGraw Hill pp 530 555 ISBN 978 0 07 139011 8 Huether Sue E Rodway George DeFriez Curtis 2014 16 Pain Temperature Regulation Sleep and Sensory Function in McCance Kathryn L Huether Sue E Brashers Valentina L Neal S Rote b k Pathophysiology the biologic basis for disease in adults and children 7th ed Mosby ISBN 978 0 323 08854 1 Purves Dale Augustine George J aelakhna b k 2008b 10 Pain Neuroscience 4th ed Sinauer Associates pp 231 251 ISBN 978 0 87893 697 7 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb xakarpwdtangthi