อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใด ๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น
ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทาง แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่าง ๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค
ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก๊ส
ความร้อน และ อุณหภูมิ
สสารทั้งหลายประกอบด้วย อะตอมรวมตัวกันเป็นโมเลกุล การเคลื่อนที่ของอะตอม หรือการสั่นของโมเลกุล ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ซึ่งเรียกว่า “ความร้อน” (Heat) เราพิจารณาพลังงานความร้อน (Heat energy) จากพลังงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอะตอมหรือโมเลกุลทั้งหมดของสสาร
อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง การวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ซึ่งเกิดขึ้นจากอะตอมแต่ละตัว หรือแต่ละโมเลกุลของสสาร เมื่อเราใส่พลังงานความร้อนให้กับสสาร อะตอมของมันจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เมื่อเราลดพลังงานความร้อน อะตอมของสสารจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง
หากเราต้มน้ำด้วยถ้วยและหม้อบนเตาเดียวกัน จะเห็นได้ว่าน้ำในถ้วยจะมีอุณหภูมิสูงกว่า แต่จะมีพลังงานความร้อนน้อยกว่าในหม้อ เนื่องจากปริมาณความร้อนขึ้นอยู่กับมวลทั้งหมดของสสาร แต่อุณหภูมิเป็นเพียงค่าเฉลี่ยของพลังงานในแต่ละอะตอม ดังนั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก (ชั้นเทอร์โมสเฟียร์) จึงมีอุณหภูมิสูง แต่มีพลังงานความร้อนน้อย เนื่องจากมีมวลอากาศอยู่อย่างเบาบาง
สเกลอุณหภูมิ
องศาฟาเรนไฮต์
ในปี ค.ศ.1714 กาเบรียล ฟาเรนไฮต์ (Gabrial Fahrenheit) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งบรรจุปรอทไว้ในหลอดแก้ว เขาพยายามทำให้ปรอทลดต่ำสุด (0°F) โดยใช้น้ำแข็งและเกลือผสมน้ำ เขาพิจารณาจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 32°F และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 212°F
องศาเซลเซียส
ในปี ค.ศ.1742 แอนเดอส์ เซลเซียส (Anders Celsius) นักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน ได้ออกแบบสเกลเทอร์มอมิเตอร์ให้อ่านได้ง่ายขึ้น โดยมีจุดหลอมละลายของน้ำแข็งเท่ากับ 0°C และจุดเดือดของน้ำเท่ากับ 100°C
เคลวิน (องศาสัมบูรณ์)
ต่อมาในคริสศตวรรษที่ 19 ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างความร้อนและอุณหภูมิว่า ณ อุณหภูมิ -273.15°C อะตอมของสสารจะไม่มีการเคลื่อนที่ และจะไม่มีสิ่งใดหนาวเย็นไปกว่านี้ได้อีก เขาจึงกำหนดให้ 0 K = -273.15°C (ไม่ต้องใช้เครื่องหมาย ° กำกับหน้าอักษร K) สเกลองศาสัมบูรณ์หรือเคลวิน เช่นเดียวกับองศาเซลเซียสทุกประการ เพียงแต่ +273.15 เข้าไปเมื่อต้องการเปลี่ยนเซลเซียสเป็นเคลวิน
อ้างอิง
- Chang, Hasok (2004). Inventing Temperature: Measurement and Scientific Progress. Oxford: Oxford University Press. .
- ; (1980). Thermal Physics (2nd ed.). W. H. Freeman Company. ISBN .
- Zemansky, Mark Waldo (1964). Temperatures Very Low and Very High. Princeton, N.J.: Van Nostrand.
แหล่งข้อมูลอื่น
- An elementary introduction to temperature aimed at a middle school audience
- What is Temperature? 2008-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน An introductory discussion of temperature as a manifestation of kinetic theory.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xunhphumi khuxkarwdkhaechliykhxngphlngnganclnkhxngxnuphakhinssarid sungsxdkhlxngkbkhwamrxnhruxeynkhxngssarnnxunhphumikhxngkasxudmkhtixatxmediywsmphnthkbkhaechliyphlngnganclnkhxngxatxm inxditmiaenwkhidekiywkbxunhphumiekidkhunepn 2 aenwthang khuxtamaenwthangkhxnghlkxunhphlsastr aelatamkarxthibayechingculphakhthang aenwkhidthangxunhphlsastrnn thukphthnakhunodylxrdekhlwin odyekiywkhxngkbkarwdinechingmhphakh dngnnkhacakdkhwamxunhphumiinechingxunhphlsastrinebuxngaerk cungrabuekiywkbkhatwaeprtang thisamarthtrwcwdidcakkarsngekt swnaenwthangkhxngfisiksechingsthiticaihkhwamekhaicinechinglukyingkwaxunhphlsastr odyxthibaythungkarsasmcanwnxnuphakhkhnadihy aelatikhwampharamietxrtang inxunhphlsastr echingmhphakh inthanakhaechliythangsthitikhxngpharamietxrkhxngxnuphakhinechingculphakh inkarsuksafisiksechingsthiti samarthtikhwamkhaniyamxunhphumiinxunhphlsastrwa epnkarwdphlngnganechliykhxngxnuphakhinaetlainrabbxunhphlsastr odythixunhphuminnsamarthmxngepnkhunsmbtiechingsthiti dngnnrabbcungtxngprakxbdwyprimanxnuphakhcanwnmakephuxcasamarthbngbxkkhaxunhphumixnmikhwamhmaythinaipichpraoychnid inkhxngaekhng phlngnganniphbinkarsnihwkhxngxatxmkhxngssarinsphawasmdul inaeksxudmkhti phlngnganniphbinkarekhluxnihwipmakhxngxnuphakhomelkulkhxngaekskhwamrxn aela xunhphumissarthnghlayprakxbdwy xatxmrwmtwknepnomelkul karekhluxnthikhxngxatxm hruxkarsnkhxngomelkul thaihekidrupaebbkhxngphlngngancln sungeriykwa khwamrxn Heat eraphicarnaphlngngankhwamrxn Heat energy cakphlngnganthnghmdthiekidkhuncakkarekhluxnthikhxngxatxmhruxomelkulthnghmdkhxngssar xunhphumi Temperature hmaythung karwdkhaechliykhxngphlngnganclnsungekidkhuncakxatxmaetlatw hruxaetlaomelkulkhxngssar emuxeraisphlngngankhwamrxnihkbssar xatxmkhxngmncaekhluxnthierwkhun thaihxunhphumisungkhun aetemuxeraldphlngngankhwamrxn xatxmkhxngssarcaekhluxnthichalng thaihxunhphumildtalng hakeratmnadwythwyaelahmxbnetaediywkn caehnidwanainthwycamixunhphumisungkwa aetcamiphlngngankhwamrxnnxykwainhmx enuxngcakprimankhwamrxnkhunxyukbmwlthnghmdkhxngssar aetxunhphumiepnephiyngkhaechliykhxngphlngnganinaetlaxatxm dngnnbrryakaschnbnkhxngolk chnethxromsefiyr cungmixunhphumisung aetmiphlngngankhwamrxnnxy enuxngcakmimwlxakasxyuxyangebabangseklxunhphumixngsafaerniht inpi kh s 1714 kaebriyl faerniht Gabrial Fahrenheit nkfisikschaweyxrmnidpradisthethxrmxmietxrsungbrrcuprxthiwinhlxdaekw ekhaphyayamthaihprxthldtasud 0 F odyichnaaekhngaelaekluxphsmna ekhaphicarnacudhlxmlalaykhxngnaaekhngethakb 32 F aelacudeduxdkhxngnaethakb 212 F xngsaeslesiys inpi kh s 1742 aexnedxs eslesiys Anders Celsius nkdarasastrchawswiedn idxxkaebbseklethxrmxmietxrihxanidngaykhun odymicudhlxmlalaykhxngnaaekhngethakb 0 C aelacudeduxdkhxngnaethakb 100 C ekhlwin xngsasmburn txmainkhrisstwrrsthi 19 lxrd ekhlwin Lord Kelvin nkfisikschawxngkvs phukhnphbkhwamsmphnthrahwangkhwamrxnaelaxunhphumiwa n xunhphumi 273 15 C xatxmkhxngssarcaimmikarekhluxnthi aelacaimmisingidhnaweynipkwaniidxik ekhacungkahndih 0 K 273 15 C imtxngichekhruxnghmay kakbhnaxksr K seklxngsasmburnhruxekhlwin echnediywkbxngsaeslesiysthukprakar ephiyngaet 273 15 ekhaipemuxtxngkarepliyneslesiysepnekhlwinxangxingChang Hasok 2004 Inventing Temperature Measurement and Scientific Progress Oxford Oxford University Press ISBN 978 0 19 517127 3 1980 Thermal Physics 2nd ed W H Freeman Company ISBN 0 7167 1088 9 Zemansky Mark Waldo 1964 Temperatures Very Low and Very High Princeton N J Van Nostrand aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb xunhphumi An elementary introduction to temperature aimed at a middle school audience What is Temperature 2008 09 12 thi ewyaebkaemchchin An introductory discussion of temperature as a manifestation of kinetic theory bthkhwamfisiksniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldk