บาลี (บาลี: ปาลิ पालि; สันสกฤต: पाळि ปาฬิ; อังกฤษ: Pali) เป็นเก่าแก่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน (Indo-Aryan languages) ซึ่งเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน (Indo-European languages) มีจุดกำเนิดมาจากใจกลางอนุทวีปอินเดียโดยถูกจัดเป็นภาษาปรากฤตแขนงหนึ่ง เป็นภาษาที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (พระไตรปิฎก)
บาลี | |
---|---|
| |
ในประเทศพม่า เขียนเป็นภาษาบาลีโดยใช้อักษรพม่า | |
ออกเสียง | [paːli] |
ประเทศที่มีการพูด | อนุทวีปอินเดีย |
ยุค | ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช – ปัจจุบัน ภาษาพิธีกรรมในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี ขโรษฐี เขมร ไทย อักษรธรรมล้านนา พม่า สิงหล และระบบการถอดเสียงด้วยอักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | pi |
ISO 639-2 | pli |
ISO 639-3 | pli |
นักภาษาศาสตร์ | pli |
จุดกำเนิดและพัฒนาการ
ศัพทมูลวิทยา
คำว่า 'ปาลิ' เป็นชื่อที่เอาไว้ใช้เรียกภาษาของพระไตรปิฎกเถรวาท คำ ๆ นี้คาดว่าน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมปาฐกถา โดยที่คำดังกล่าว (ตามความหมายของบรรทัดข้อความต้นฉบับที่ยกตัวอย่างมา) ต่างก็มีความแตกต่างกันไปตามคำอธิบายหรือจากการแปลภาษาต้นฉบับเป็นฉบับภาษาถิ่น (K. R. Norman) ได้เสนอไว้ว่าที่มาของคำว่า 'ปาลิ' นี้มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการประสมคำว่า ปาลิ กับคำว่า ภาสา ส่งผลให้คำว่าปาลิถูกตีความว่าเป็นชื่อของภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ
ภาษาบาลีไม่ปรากฏชื่ออยู่ในพระคัมภีร์หลักหรือในคัมภีร์อรรถกถาเลย ในบางคัมภีร์ก็ระบุด้วยชื่อว่า ตันติ ที่แปลว่าเส้นหรือเส้นสาย ชื่อนี้ดูเหมือนเพิ่งจะปรากฏในประเทศศรีลังกาช่วงต้นคริสตสหัสวรรษที่สองแต่เพียงเท่านั้น ซึ่งในยุคดังกล่าวก็เป็นยุคที่เริ่มมีการฟื้นฟูการใช้ภาษาบาลีให้เป็นภาษาในราชสำนักหรือในภาษาวรรณกรรม
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการทุกยุคทุกสมัยว่าชื่อที่ถูกต้องของภาษาบาลีจะต้องเรียกว่าอย่างไรกันแน่ บ้างก็เรียกว่า 'ปาลิ' หรือ 'ปาฬิ' เนื่องจากการสะกดชื่อในแต่ละพระคัมภีร์ต่างก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละฉบับ โดยปรากฎให้เห็นได้ทั้งในชื่อที่มีสระเสียงยาว "อา" และสระเสียงสั้น "อ" อีกทั้งยังมีการแยกความต่างระหว่างทั้งอย่าง "ฬ" หรือ "ล" และยังสามารถพบเห็นทั้งสระ ā และหน่วยเสียง ḷ ได้ผ่านการถอดตัวชุดรหัสตัวอักษร ISO 15919/ALA-LC โดยถอดออกมาเป็นคำว่า Pāḷi อย่างไรก็ตามจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่หลักฐานใดที่สามารถชี้ชัดให้เห็นว่ามาตรฐานการสะกดชื่อของภาษาบาลีแบบชัดเจนเพียงคำเดียวจะต้องสะกดอย่างไรกันแน่ การสะกดคำที่มีความเป็นไปได้ทั้งสี่รูปแบบยังสามารถพบได้ในแบบเรียนของ (R. C. Childers) โดยแปลคำว่าบาลีไว้ว่า "เส้นของหนังสือ" และระบุว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีที่มาของชื่อมาจาก "ความสมบูรณ์แบบทางโครงสร้างไวยากรณ์"
แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์
ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป เดิมเป็นภาษาของชนชั้นสามัญสำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือภาษาปรากฤตแบบมคธ หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส
นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช (ภาษาปรากฤตแบบอโศก)
ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
- ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
- ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
- ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
- ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร
คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง
คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใด ๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน
ภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี
ภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันยุคกลางที่พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชคือภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี ภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาเขียน ภาษานี้ไม่ได้ใหม่ไปกว่าภาษาสันสกฤตคลาสสิกเมื่อพิจารณาในด้านลักษณะทางสัทวิทยาและรากศัพท์ ทั้งสองภาษาไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจากภาษาสันสกฤตพระเวทซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษาสันสกฤตคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีมีลักษณะที่ใกลเคียงกับภาษาสันสกฤตและมีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ และสามารถเปลี่ยนคำในภาษาสันสกฤตไปเป็นคำในภาษาบาลีได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคำในภาษาบาลีเป็นส่วนหนึ่งของภาษาสันสกฤตโบราณหรือยืมคำโดยการแปลงรูปจากภาษาสันสกฤตได้เสมอไป เพราะมีคำภาษาสันสกฤตที่ยืมมาจากภาษาบาลีเช่นกัน
ภาษาบาลีในปัจจุบัน
ปัจจุบัน การศึกษาบาลีเป็นไปเพื่อความเข้าใจคัมภีร์ทางพุทธศาสนา และเป็นภาษาของสามัญชนทั่วไป ศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีที่สำคัญคือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา รวมทั้งศรีลังกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีการศึกษาภาษาบาลีในอินเดีย ในยุโรปมีสมาคมบาลีปกรณ์เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนภาษาบาลีโดยนักวิชาการชาวตะวันตกที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424 ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ สมาคมนี้ตีพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. 2412 ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลีเล่มแรก การแปลภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415รมสำหรับเด็กตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2419 นอกจากที่อังกฤษ ยังมีการศึกษาภาษาบาลีในเยอรมัน เดนมาร์ก และรัสเซีย
เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลีให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มีโรงเรียนสอนภาษาบาลี ให้กับภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม นอกจากนี้ในปัจจุบันยังจัดสอบข้อสอบความถนัดทางด้านภาษาบาลี (PAT 7.6)
รากศัพท์
คำทุกคำในภาษาบาลีมีต้นกำเนิดเดียวกับภาษาปรากฤตในเช่นภาษาปรากฤตของชาวเชน ความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤตยุคก่อนหน้านั้นไม่ชัดเจนและซับซ้อน แต่ทั้งภาษาสันสกฤตและภาษาบาลีต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาสันสกฤต ความคล้ายคลึงของทั้งสองภาษาดูจะมากเกินจริงเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาในยุคหลัง ซึ่งกลายเป็นภาษาเขียนหลังจากที่ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาในชีวิตประจำวันมาหลายศตวรรษ และได้รับอิทธิพลจากภาษาในอินเดียยุคกลาง รวมทั้งการยืมคำระหว่างกัน ภาษาบาลีเมื่อนำมาใช้งานทางศาสนาจะยืมคำจากภาษาท้องถิ่นน้อยกว่า เช่น การยืมคำจากภาษาสิงหลในศรีลังกา ภาษาบาลีไม่ได้ใช้บันทึกเอกสารทางศาสนาเท่านั้น แต่มีการใช้งานด้านอื่นด้วย เช่น เขียนตำราแพทย์ด้วยภาษาบาลี แต่ส่วนใหญ่นักวิชาการจะสนใจด้านวรรณคดีและศาสนา
สัทวิทยา
หน่วยเสียงในภาษาบาลีแบ่งออกเป็นเป็นหน่วยเสียงพยัญชนะและหน่วยเสียงสระดังนี้
เสียงสระ
รูปเดี่ยว | IAST/ | IPA | รูปเดี่ยว | IAST/ ISO | IPA | |
---|---|---|---|---|---|---|
กัณฐชะ () | อ | a | // | อา | ā | // |
ตาลุชะ () | อิ | i | // | อี | ī | /iː/ |
โอฏฐชะ () | อู | u | // | อู | ū | /uː/ |
กัณโฐฏฐชะ (เพดานอ่อน-ริมฝีปาก) | โอ | o | // | |||
กัณฐตาลุชะ (เพดานอ่อน-เพดานแข็ง) | เอ | e | // | |||
(หน่วยเสียงพยัญชนะย่อย) | อํ | ṁ | // |
เสียงพยัญชนะ
สัทศาสตร์ → | สัมผัส (หยุด) | นาสิก (นาสิก) | อันตัตถะ () | อูษมัน / สังฆรษี () | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
→ | อโฆษะ | โฆษะ | อโฆษะ | โฆษะ | ||||||||||||
→ | สิถิล | ธนิต | สิถิล | ธนิต | สิถิล | ธนิต | ||||||||||
กัณฐชะ () | ก | [k] | ข | [kʰ] | ค | [g] | ฆ | [gʱ] | ง | [ŋ] | ห | [h] | ||||
ตาลุชะ () | จ | [tɕ] | ฉ | [tɕʰ] | ช | [dʑ] | ฌ | [dʑʱ] | ญ | [ɲ] | ย | [j] | ||||
มุทธชะ () | ฏ | [] | ฐ | [ʈʰ] | ฑ | [] | ฒ | [ɖʱ] | ณ | [ɳ] | ร | [r] | ||||
ทันตชะ () | ต | [t] | ถ | [tʰ] | ท | [d] | ธ | [dʱ] | น | [n] | ล | [l] | ส | [s] | ||
โอฏฐชะ () | ป | [p] | ผ | [pʰ] | พ | [b] | ภ | [bʱ] | ม | [m] | ว | [w] |
การเขียนภาษาบาลี
ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีการใช้ อักษรพราหมี เขียน ภาษาปรากฤต ซึ่งเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาบาลี ในทางประวัติศาสตร์ การใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ทางศาสนาครั้งแรกเกิดขึ้นที่ศรีลังกา เมื่อราว พ.ศ. 443 แม้การออกเสียงภาษาบาลีจะใช้หลักการเดียวกัน แต่ภาษาบาลีเขียนด้วยอักษรหลายชนิด ในศรีลังกาเขียนด้วยอักษรสิงหล ในพม่าใช้อักษรพม่า ในไทยและกัมพูชาใช้อักษรขอมหรืออักษรเขมรและเปลี่ยนมาใช้อักษรไทยในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2436 และเคยเขียนด้วยอักษรอริยกะที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นเวลาสั้น ๆ ในลาวและล้านนาเขียนด้วยอักษรธรรมที่พัฒนามาจากอักษรมอญ นอกจากนั้น อักษรเทวนาครีและอักษรมองโกเลียเคยใช้บันทึกภาษาบาลีเช่นกัน
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา สมาคมบาลีปกรณ์ในยุโรปได้พัฒนาการใช้อักษรละตินเพื่อเขียนภาษาบาลี โดยอักษรที่ใช้เขียนได้แก่ a ā i ī u ū e o ṁ k kh g gh ṅ c ch j jh ñ ṭ ṭh ḍ ḍh ṇ t th d dh n p ph b bh m y r l ḷ v s h
ไวยากรณ์
ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีวิภัตติปัจจัยตามแบบลักษณะของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน กล่าวคือการนำคำมาประกอบในประโยคจะต้องมีการผันคำโดยอาจจะเติมเสียงต่อท้ายหรือเปลี่ยนรูปคำบ้าง เช่นในภาษาอังกฤษเรามักจะเห็นการเติม -s สำหรับคำนามพหูพจน์ หรือเติม -ed สำหรับกริยาอดีต แต่ในภาษาบาลีมีสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าภาษาอังกฤษอีกหลายอย่าง
การผันคำนาม (Noun Declension)
ในที่นี้ขอหมายรวมทั้ง นามนาม (Nouns), คุณนาม (Adjectives) และสัพนาม (สพฺพนาม) (Pronouns) ซึ่งการนำคำนามเหล่านี้มาประกอบประโยคในภาษาบาลีจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
- ลิงค์ (ลิงฺค) (Gender) หรือเพศ ในภาษาบาลีมีสามเพศคือชาย หญิง และไม่มีเพศ บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางศัพท์อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ ต้องอาศัยการจดจำเท่านั้น
- วจนะ (วจน) (Number) หรือพจน์ ได้แก่ เอกวจนะ และ พหุวจนะ
- การก (Case) การกคือหน้าที่ของนามในประโยค อันได้แก่
- ปฐมาวิภัตติ หรือ กรรตุการก/กัตตุการก (กตฺตุการก) (Nominative) เป็นประธานหรือผู้กระทำ (มักแปลโดยใช้คำว่า อ.. (อันว่า)....)
- ทุติยาวิภัตติ หรือ กรรมการก/กัมมการก (กมฺมการก) (Accusative) เป็นกรรม (ซึ่ง..., สู่...)
- ตติยาวิภัตติ หรือ กรณการก (Instrumental) เป็นเครื่องมือในการกระทำ (ด้วย..., โดย..., อัน...., ตาม.....)
- จตุตถีวิภัตติ (จตุตฺถี) หรือ สัมปทานการก (สมฺปทานการก) (Dative) เป็นกรรมรอง (แก่..., เพื่อ..., ต่อ...)
- ปัญจมีวิภัตติ (ปญฺจมี) หรือ อปาทานการก (Ablative) เป็นแหล่งหรือแดนเกิด (แต่..., จาก..., กว่า...)
- ฉัฏฐีวิภัตติ (ฉฏฺฐี) หรือ สัมพันธการก (สมฺพนฺธการก) (Genitive) เป็นเจ้าของ (แห่ง..., ของ...)
- สัตตมีวิภัตติ (สตฺตมี) หรือ อธิกรณการก (Locative) สถานที่ (ที่..., ใน...)
- อาลปนะวิภัตติ (อาลปน) หรือ สัมโพธนการก (สมฺโพธนการก) (Vocative) อุทาน, เรียก (ดูก่อน...)
- สระการันต์ (สรการนฺต) (Termination Vowel) คือสระลงท้ายของคำศัพท์ที่เป็นนาม เพราะสระลงท้ายที่ต่าง ๆ กัน ก็จะต้องเติมวิภัตติที่ต่าง ๆ กันไป
ตัวอย่างเช่น คำว่า สงฺฆ คำนี้มีสระ อะ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ (กรรตุการก เอกพจน์) จะผันเป็น สงฺโฆ (สงฺฆ + -สิ ปฐมาวิภัตติ), ประธานพหูพจน์ (กรรตุการก พหูพจน์) เป็น สงฺฆา (สงฺฆ + -โย ปฐมาวิภัตติ), กรรมตรงเอกพจน์ (กรรมการก เอกพจน์) เป็น สงฺฆํ (สงฺฆ + -อํ ทุติยาวิภัตติ), กรรมรองเอกพจน์ (สัมปทานการก เอกพจน์) เป็น สงฺฆสฺส (สงฺฆ + -ส จตุตถีวิภัตติ) ฯลฯ
หรือคำว่า ภิกฺขุ คำนี้มีสระ อุ เป็นการันต์และเพศชาย เมื่อนำไปใช้เป็นประธานเอกพจน์ (กรรตุการก เอกพจน์) ก็ผันเป็น ภิกฺขุ (ภิกฺขุ + -สิ ปฐมาวิภัตติ), ประธานพหูพจน์ (กรรตุการก พหูพจน์) เป็น ภิกฺขโว หรือ ภิกฺขู (ภิกฺขุ + -โย ปฐมาวิภัตติ), กรรมตรงเอกพจน์ (กรรมการก เอกพจน์) เป็น ภิกฺขุ (ภิกฺขุ + -อํ ทุติยาวิภัตติ), กรรมรองเอกพจน์ (สัมปทานการก เอกพจน์) เป็น ภิกฺขุสฺส หรือ ภิกฺขุโน (ภิกฺขุ + -ส จตุตถีวิภัตติ) ฯลฯ
วิภัตติ | คำแปล | วัจนะ | อ แจกอย่าง ปุริส | อิ แจกอย่าง มุนิ | อี แจกอย่าง เสฏฺฐี | อุ แจกอย่าง ครุ | อู แจกอย่าง วิญฺญู | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | ||
ปฐมา | อันว่า | สิ | โย | ปุริโส | ปุริสา | มุนิ | มุนโย มุนี | เสฏฺฐี | เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี | ครุ | ครโว ครู | วิญฺญู | วิญฺญุโน วิญฺญู |
ทุติยา | ซึ่ง ยัง สู่ | อํ | โย | ปุริสํ | ปุริเส | มุนึ | มุนโย มุนี | เสฏฺฐึ เสฏฺฐินํ | เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี | ครุ | ครโว ครู | วิญฺญุ | วิญฺญุโน วิญฺญู |
ตติยา | ด้วย โดย อัน | นา | หิ | ปุริเสน | ปุริเสหิ ปุริเสภิ | มุนินา | มุนีหิ มุนีภิ | เสฏฺฐินา | เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ | ครุนา | ครูหิ ครูภิ | วิญฺญุนา | วิญฺญูหิ วิญฺญูภิ |
จตุตถี | แก่ เพื่อ ต่อ | ส | นํ | ปุริสสฺส ปุริสาย ปุริสตฺถํ | ปุริสานํ | มุนิสฺส มุนิโน | มุนีนํ | เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน | เสฏฺฐีนํ | ครุสฺส ครุโน | ครูนํ | วิญฺญุสฺส วิญฺญุโน | วิญฺญูนํ |
ปัญจมี | แต่ จาก กว่า | สฺมา | หิ | ปุริสสฺมา ปุริสมฺหา ปุริสา | ปุริเสหิ ปุริเสภิ | มุนิสฺมา มนิมฺหา | มุนีหิ มุนีภิ | เสฏฺฐิสฺนา เสฏฺฐิมฺหา | เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ | ครุสฺมา ครุมฺหา | ครูหิ ครูภิ | วิญฺญุสฺมา วิญฺญุมฺหา | วิญฺญูหิ วิญฺญูภิ |
ฉัฏฐมี | แห่ง ของ เมื่อ | ส | นํ | ปุริสสฺส | ปุริสานํ | มุนิสฺส มุนิโน | มุนีนํ | เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน | เสฏฺฐีนํ | ครุสฺส ครุโน | ครูนํ | วิญฺญุสฺส วิญฺญุโน | วิญฺญูนํ |
สัตตมี | ใน ใกล้ ที่ | สฺมึ | สุ | ปุริสสฺมึ ปุริสมฺหิ ปุริเส | ปุริเสสุ | มุนิสฺมึ มุนิมฺหิ | มุนีสุ | เสฏฺฐิสฺมึ เสฏฺฐิมฺหิ | เสฏฺฐีสุ | ครุสฺมึ ครุมฺหิ | ครูสุ | วิญฺญุสฺมึ วิญฺญุมฺหิ | วิญฺญูสุ |
อาลปน | ดูก่อน ข้าแต่ | สิ | โย | ปุริส | ปุริสา | มุนิ | มุนโย มุนี | เสฏฺฐิ | เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี | ครุ | ครเว ครโว | วิญฺญุ | วิญฺญุโน วิญฺญู |
วิภัตติ | คำแปล | วัจนะ | อา แจกอย่าง กญฺญา | อิ แจกอย่าง รตฺติ | อี แจกอย่าง นารี | อุ แจกอย่าง รชฺชุ | อู แจกอย่าง วธู | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | ||
ปฐมา | อันว่า | สิ | โย | กญฺญา | กญฺญาโย กญฺญา | รตฺติ | รตฺติโย รตฺตี | นารี | นาริโย นารี | รชฺชุ | รชฺชุโย รชฺชู | วธู | วธุโย วธู |
ทุติยา | ซึ่ง ยัง สู่ | อํ | โย | กญฺญํ | กญฺญาโย กญฺญา | รตฺตึ | รตฺติโย รตฺตี | นารึ นาริยํ | นาริโย นารี | รชฺชุ | รชฺชุโย รชฺชู | วธุ | วธุโย วธู |
ตติยา | ด้วย โดย อัน | นา | หิ | กญฺญาย | กญฺญาหิ กญฺญาภิ | รตฺติยา | รตฺตีหิ รตฺตีภิ | นาริยา | นารีหิ นารีภิ | รชฺชุยา | รชฺชูหิ รชฺชูภิ | วธุยา | วธูหิ วธูภิ |
จตุตถี | แก่ เพื่อ ต่อ | ส | นํ | กญฺญาย | กญฺญานํ | รตฺติยา | รตฺตีนํ | นาริยา | นารีนํ | รชฺชุยา | รชฺชูนํ | วธุยา | วธูนํ |
ปัญจมี | แต่ จาก กว่า | สฺมา | หิ | กญฺญาย | กญฺญาหิ กญฺญาภิ | รตฺติยา รตฺยา | รตฺตีหิ รตฺตีภิ | นาริยา | นารีหิ นารีภิ | รชฺชุยา | รชฺชูหิ รชฺชูภิ | วธุยา | วธูหิ วธูภิ |
ฉัฏฐมี | แห่ง ของ เมื่อ | ส | นํ | กญฺญาย | กญฺญานํ | รตฺติยา | รตฺตีนํ | นาริยา | นารีนํ | รชฺชุยา | รชฺชูนํ | วธุยา | วธูนํ |
สัตตมี | ใน ใกล้ ที่ | สฺมึ | สุ | กญฺญาย กญฺญายํ | กญฺญาสุ | รตฺติยา รตฺติยํ รตฺยํ | รตฺตีสุ | นาริยา นาริยํ | นารีสุ | รชฺชุยา รชฺชุยํ | รชฺชูสุ | วธุยา วธุยํ | วธูสุ |
อาลปน | ดูก่อน ข้าแต่ | สิ | โย | กญฺเญ | กญฺญาโย กญฺญา | รตฺติ | รตฺติโย รตฺตี | นาริ | นาริโย นารี | รชฺชุ | รชฺชุโย รชฺชู | วธุ | วธุโย วธู |
วิภัตติ | คำแปล | วัจนะ | อ แจกอย่าง กุล | อิ แจกอย่าง อกฺขิ | อุ แจกอย่าง วตฺถุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | ||
ปฐมา | อันว่า | สิ | โย | กุลํ | กุลานิ | อกฺขิ | อกฺขีนิ อกฺขี | วตฺถุ | วตฺถูนิ วตฺถู |
ทุติยา | ซึ่ง ยัง สู่ | อํ | โย | กุลํ | กุลานิ | อกฺขึ | อกฺขีนิ อกฺขี | วตฺถุ | วตฺถูนิ วตฺถู |
ตติยา | ด้วย โดย อัน | นา | หิ | กุเลน | กุเลหิ กุเลภิ | อกฺขินา | อกฺขีหิ อกฺขีภิ | วตฺถุนา | วตฺถูหิ วตฺถูภิ |
จตุตถี | แก่ เพื่อ ต่อ | ส | นํ | กุลสฺส กุลาย กุลตฺถํ | กุลานํ | อกฺขิสฺส อกฺขิโน | อกฺขีนํ | วตฺถุสฺส วตฺถุโน | วตฺถูนํ |
ปัญจมี | แต่ จาก กว่า | สฺมา | หิ | กุลสฺมา กุลมฺหา กุลา | กุเลหิ กุเลภิ | อกฺขิสฺมา อกฺขิมฺหา | อกฺขีหิ อกฺขีภิ | วตฺถุสฺมา วตฺถุมฺหา | วตฺถูหิ วตฺถูภิ |
ฉัฏฐมี | แห่ง ของ เมื่อ | ส | นํ | กุลสฺส | กุลานํ | อกฺขิสฺส อกฺขิโน | อกฺขีนํ | วตฺถุสฺส วตฺถุโน | วตฺถูนํ |
สัตตมี | ใน ใกล้ ที่ | สฺมึ | สุ | กุลสฺมึ กุลมฺหิ กุเล | กุเลสุ | อกฺขิสฺมึ อกฺขิมฺหิ | อกฺขีสุ | วตฺถุสฺมึ วตฺถุมฺหิ | วตฺถูสุ |
อาลปน | ดูก่อน ข้าแต่ | สิ | โย | กุล | กุลานิ | อกฺขิ | อกฺขีนิ อกฺขี | วตฺถุ | วตฺถูนิ วตฺถู |
การนับ
แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
- ปกติสังขยา นับจำนวนปกติ
๑ | เอก | ๑๑ | เอกาทส | ๒๑ | เอกวีสติ | ๔๐ | จตฺตาฬีส | |||
๒ | ทฺวิ | ๑๒ | ทฺวาทส, พารส | ๒๒ | ทฺวาวีสติ , พาวีสติ | ๕๐ | ปญฺญาส, ปณฺณาส | |||
๓ | ติ | ๑๓ | เตรส | ๒๓ | เตวีสติ | ๖๐ | สฏฺฐี | |||
๔ | จตุ | ๑๔ | จตุทฺทส, จุทฺทส | ๒๔ | จตุวีสติ | ๗๐ | สตฺตติ | |||
๕ | ปญฺจ | ๑๕ | ปญฺจทส, ปณฺณรส | ๒๕ | ปญฺจวีสติ | ๘๐ | อสีติ | |||
๖ | ฉ | ๑๖ | โสฬส | ๒๖ | ฉพฺพีสติ | ๙๐ | นวุติ | |||
๗ | สตฺต | ๑๗ | สตฺตรส | ๒๗ | สตฺตวีสติ | ๑๐๐ | สตํ | |||
๘ | อฏฺฐ | ๑๘ | อฏฺฐารส | ๒๘ | อฏฺฐวีสติ | ๑,๐๐๐ | สหสฺสํ | |||
๙ | นว | ๑๙ | เอกูนวีสติ, อูนวีสติ | ๒๙ | เอกูนตึส , อูนตึส | ๑๐,๐๐๐ | ทสสหสฺสํ | |||
๑๐ | ทส | ๒๐ | วีส วีสติ | ๓๐ | ตึส ตึสติ | ๑๐๐,๐๐๐ | สตสหสฺสํ, ลกขํ | |||
๑,๐๐๐,๐๐๐ | ทสสตสหสฺสํ | |||||||||
๑๐,๐๐๐,๐๐๐ | โกฏิ |
- ปูรณสังขยา นับลำดับ คือปกติสังขยา ที่ประกอบด้วยปัจจัย ๕ ตัว คือ ติย ถ ฐ ม อี
- ๑. ติย ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ ทฺวิ ติ
- ๒. ถ ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ จตุ
- ๓. ฐ ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ ฉ
- ๔. ม ปัจจัย ต่อท้ายได้ทุกตัวยกเว้น ทฺวิ ติ จตุ ฉ
- ๕. อี ปัจจัย ต่อท้ายเฉพาะ ๑๑,๑๒,๑๓,๑๔, ๑๕,๑๖, ๑๗, ๑๘ เป็นอิตถีลิงก์อย่างเดียว ถ้าเป็นลิงก์อื่นจากให้ลง ม ปัจจัย
สรรพนาม
- ๑. ปุริสสัพพนาม ใช้แทนชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ แบ่งเป็น ๓ คือ
- ประถมบุรุษ คือ คำพูดที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ ที่ สิ่งของ ที่ผู้พูดพูดถึง ซึ่งอยู่นอกวงสนทนา ในภาษาบาลีใช้ ต แปลว่า ท่าน เธอ เขา มัน เป็นได้ ๓ ลิงก์
- มัธยมบุรุษ สำหรับแทนชื่อผู้ที่พูดกับเราอยู่ในวงสนทนา ใน ภาษาบาลีใช้ ตุมฺห แปลว่า เจ้า ท่าน เธอ สู เอ็ง มึง เป็นได้ ๒ ลิงก์
- อุตฺตมบุรุษ สำหรับแทนชื่อผู้พูดเอง ในภาษาบาลีใช้ อมฺห แปลว่า ข้าพเจ้า ฉัน กระผม เรา พวกเรา เป็นได้ ๒ ลิงก์
ปุลิงก์ | อิตถีลิงก์ | นปุสกลิงก์ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
เอก | พหุ | เอก | พหุ | เอก | พหุ | |
ป. | โส | เต | สา | ตา | ตํ | ตานิ |
ทุ. | ตํ นํ | เต เน | ตํ นํ | ตา | ตํ | ตานิ |
ต. | เตน | เตหิ | ตาย | ตาหิ | เตน | เตหิ |
จ. | ตสฺส อสฺส | เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ | ตสฺสา อสฺสา ติสฺสา ติสฺสาย | ตาสํ ตาสานํ | ตสฺส อสฺส | เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ |
ปญ. | ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา | เตหิ | ตาย | ตาหิ | ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา | เตหิ |
ฉ. | ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา | เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ | ตสฺสา อสฺสา ติสฺสา ติสฺสาย | ตาสํ ตาสานํ | ตสฺมา อสฺมา ตมฺหา | เตสํ เตสานํ เนสํ เนสานํ |
ส. | ตสฺมึ อสฺมึ ตมฺหิ | เตสุ | ตายํ ตสฺสํ อสฺสํ ติสฺสํ | ตาสุ | ตสฺมึ อสฺมึ ตมฺหิ | เตสุ |
ตุมฺห ศัพท์ (ท่าน เธอ เจ้า) เป็น ๒ ลิงก์คือ ปุลิงก์ และอิตฺถีลิงก์แจกอย่างเดียวกัน ดังนี้
เอก | พหุ | |
---|---|---|
ป. | ตฺวํ ตุวํ | ตุมฺเห โว |
ทุ. | ตํ ตฺวํ ตุวํ | ตุมฺเห โว |
ต. | ตฺยา ตฺวยา เต | ตุมฺเหหิ โว |
จ. | ตุยฺหํ ตุมฺหํ ตว เต | ตุมฺหากํ โว |
ปญ. | ตฺยา | ตุมฺเหหิ |
ฉ. | ตุยฺหํ ตุมฺหํ ตว เต | ตุมฺหากํ โว |
ส. | ตฺยิ ตฺวย | ตุมฺเหสุ |
อมฺห ศัพท์(เรา) เป็น ๒ ลิงก์คือ ปุลิงก์และอิตฺถีลิงก์ แจกอย่างเดียวกัน ดังนี้
เอก | พหุ | |
---|---|---|
ป. | อหํ | มยํ โน |
ทุ. | มํ มม | อมฺเห โน |
ต. | มยา เม | อมฺเหหิ โน |
จ. | มยฺหํ อมฺหํ มม มมํ เม | อมฺหากํ อสฺมากํ โน |
ปญ. | มยา | อมฺเหหิ |
ฉ. | มยฺหํ อมฺหํ มม มมํ เม | อมฺหากํ อสฺมากํ โน |
ส. | มยิ | อมฺเหสุ |
- วิเสสนสัพพนาม แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ
- ๑. นิยมวิเสสนสัพพนาม แสดงถึงนามนามที่แน่นอน มี ๔ ศัพท์ คือ ต, เอต, อิม, อมุ
- ๒. อนิยมวิเสสนสัพพนาม แสดงถึงนามที่ไม่แน่นอน มี๑๓ ศัพท์คือ
ย | ใด | อปร | อื่นอีก | อุภย | ทั้งสอง | ||
อญฺญ | อื่น | กตร | คนไหน | สพฺพ | ทั้งปวง | ||
อญฺญตร | คนใดคนหนึ่ง | กตม | คนไหน | กึ | ใคร , อะไร | ||
อญฺญตม | คนใดคนหนึ่ง | เอก | คนหนึ่ง,พวกหนึ่ง | ||||
ปร | อื่น | เอกจฺจ | บางคน,บางพวก |
การผันคำกริยา (Verb Conjugation)
คำกริยาหรือที่เรียกว่าอาขยาต (อาขฺยาต) เกิดจากการนำธาตุของกริยามาลงปัจจัย (ปจฺจย) และใส่วิภัตติ (วิภตฺติ) ตามแต่ลักษณะการใช้งานในประโยค
- การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้
- กาล (Tense) ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด
- ปัจจุบันกาล (ปจฺจุปฺปนฺนกาล)
- อดีตกาล (อตีตกาล)
- อนาคตกาล
- วิภัตติอาขยาต
- วัตตมานา (วตฺตมานา) (จาก วตฺตฺ ธาตุ (เกิดขึ้น) + -อ ปัจจัย + -มาน ปัจจัยในกิริยากิตก์) (Present - Indicative) กริยาปัจจุบัน ใช้ในประโยคบอกเล่า
- ปัญจมี (ปญฺจมี) (Present - Imperative) ใช้ในประโยคคำสั่ง หรือขอให้ทำ
- สัตตมี (สตฺตมี) (Present - Optative) ใช้บอกว่าควรจะทำ พึงกระทำ
- ปโรกขา (ปโรกฺขา) (ปโรกฺข (ปร + -โอ- อาคม + อกฺข) + -อา ปัจจัย) (Indefinite Past) กริยาอดีตที่ล่วงแล้ว เกินจะรู้ (กาลนี้ไม่ค่อยมีใช้แล้ว) มีใช้เฉพาะ อาห (พฺรู ธาตุ (พูด) + -อ ปัจจัย + -อ ปโรกขาวิภัตติ) และ อาหุ (พฺรู ธาตุ (พูด) + -อ ปัจจัย + -อุ ปโรกขาวิภัตติ)
- หิยัตตนี (หิยตฺตนี) (จาก หิยฺโย วิเสสนนิบาต (เมื่อวาน) + -อตฺตน ปัจจัย) (Definite Past) กริยาอดีตที่ผ่านไปเมื่อวาน
- อัชชัตตนี (อชฺชตฺตนี) (จาก อชฺช วิเสสนนิบาต (อิม + -ชฺช ปัจจัย (แทนสัตตมีวิภัตติ)) (ในวันนี้) (= อิเม, อิมสฺมิ) + -อตฺตน ปัจจัย) (Recently Past) กริยาที่ผ่านไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือในวันนี้
- ภวิสสันติ (ภวิสฺสนฺติ) (มาจาก ภู ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิสฺสนฺติ วิภัตติ หรือ ภู ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิ- อาคม + -สฺสนฺติ วิภัตติ) (Future) กริยาที่จะกระทำ
- กาลาติปัตติ (กาลาติปตฺติ) (กาล + อติปตฺติ (อติ- อุปสรรค + ปตฺติ)) (Conditional) กริยาที่คิดว่าน่าจะทำแต่ก็ไม่ได้ทำ (หากแม้นว่า...)
- บท (ปท) (Voice) ดูว่ากริยานั้นเกิดกับใคร
- วจนะ (วจน) (Number) เหมือนคำนามคือแบ่งเป็นเอกวจนะและพหุวจนะ ซึ่งวจนะของกริยาก็ต้องขึ้นกับวจนะของนามผู้กระทำ
- บุรุษ (ปุริส) (Person) บอกบุรุษผู้กระทำกริยา บุรุษในภาษาบาลีนี้จะกลับกับภาษาอังกฤษคือ
- บุรุษที่หนึ่ง ปฐม ปุริส หมายถึงผู้อื่น (เขา) (ต คุณนาม) (โส ปุริโส, เต ปุริสา)
- บุรุษที่สอง มชฺฌิม ปุริส หมายถึงผู้ที่กำลังพูดด้วย (เธอ) (ตุมฺห, ตฺวํ, ตุมฺเห สัพพนาม)
- บุรุษที่สาม อุตฺตม ปุริส หมายถึงผู้ที่กำลังพูด (ฉัน) (อมฺห, อหํ, มยํ สัพพนาม)
- กาล (Tense) ดูว่ากริยานั้นเกิดขึ้นในเวลาใด
ปุริส ปรัสสบท อัตตโนบท ปรัสสบท อัตตโนบท เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ เอก พหุ ๑. วตฺตมานา (ปัจจุบัน) ๒. ปญฺจมี (จง) ป. ติ อนฺติ เต อนฺเต ตุ อนฺตุ ตํ อนฺตํ ม. สิ ถ เส วฺเห หิ ถ สฺสุ วโห อุ. มิ ม เอ มฺเห มิ ม เอ อามฺหเส ๓. สตฺตมี (ควร) ๔. ปโรกฺขา (แล้ว) ป. เอยฺย เอยฺยุ เอถ เอรํ อ อุ ตฺถ เร ม. เอยฺยาสิ เอยฺยาส เอโถ เอยฺยวโห เอ ตฺถ ตฺโถ วฺโห อุ. เอยฺยามิ เอยฺยาม เอยฺยํ เอยฺยามฺเห อํ มฺห อึ มฺเห ๕. หิยตฺตนี (แล้ว, อ นำหน้า=ได้...แล้ว) ๖. อชฺชตฺตนี (แล้ว, อ นำหน้า=ได้...แล้ว) ป. อา อู ตฺถ ตฺถุ อี อุ อา อู ม. โอ ตฺถ เส วฺหํ เอ ตฺถ ตฺโถ วฺโห อุ. อํ มฺห อึ มฺหเส อึ มฺหา อํ มฺเห ๗. ภวิสฺสนฺติ (จัก) ๘. กาลาติปัตติ (จัก...แล้ว, อ นำหน้า=จักได้...แล้ว) ป. อิสฺสติ อิสฺสนฺติ อิสฺสเต อิสฺสนฺเต อิสฺสา อิสฺสํสุ อิสฺสถ อิสฺสึสุ ม. อิสฺสสิ อิสฺสถ อิสฺสเส อิสฺสวเห อิสฺเส อิสฺสถ อิสฺสเส อิสฺสวฺเห อุ. อิสฺสามิ อิสฺสาม อิสฺสํ อิสฺสามฺเห อิสฺสํ อิสฺสามฺหา อิสฺสํ อิสฺสามฺหเส ตัวอย่างเช่น กริยาธาตุ วัท (วทฺ ธาตุ) ที่แปลว่าพูด เป็นกริยาที่ Active ถ้าจะบอกว่า ฉันย่อมพูด ก็จะเป็น วะทามิ (อหํ วทามิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -มิ วัตตมานาวิภัตติ), พวกเราย่อมพูด เป็น วะทามะ (มยํ วทาม) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -ม วัตตมานาวิภัตติ), เธอย่อมพูด เป็น วะทะสิ (ตฺวํ วทสิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -สิ วัตตมานาวิภัตติ), เขา/บุรุษนั้นย่อมพูด เป็น วะทะติ (โส ปุริโส วทติ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -ติ วัตตมานาวิภัตติ), ฉันพึงพูด เป็น วะเทยยามิ (วเทยฺยามิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -เอยฺยามิ สัตตมีวิภัตติ), ฉันจัก/จะพูด เป็น วะทิสสามิ (วทิสฺสามิ) (วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิ- อาคม + -สฺสามิ ภวิสสันติวิภัตติ หรือ วทฺ ธาตุ + -อ ปัจจัย + -อิสฺสามิ ภวิสสันติวิภัตติ) ฯลฯ
- การลงปัจจัย สำหรับธาตุของคำกริยา ก่อนที่จะใส่วิภัตตินั้น อันที่จริงต้องพิจารณาก่อนด้วยว่ากริยาที่นำมาใช้นั้นเป็นลักษณะปกติหรือมีการแสดงอาการอย่างใดเป็นพิเศษดังต่อไปนี้หรือเปล่า
ปัจจัยแบ่งเป็น 5 หมวด ตามวาจก ดังนี้
- กัตตุวาจก ลงปัจจัย 10 ตัว คือ อ (เอ) ย ณุ-ณา นา ณฺหา โอ เณ-ณย
- กัมมวาจก ลง ย ปัจจัย กับ อิ อาคมหน้า ย
- ภาววาจก ลง ย ปัจจัย (และ เต วัตตมานา)
- เหตุกัตตุวาจก ลงปัจจัย 4 ตัว คือ เณ ณย ณาเป ณาปย
- เหตุกัมมวาจก ลงปัจจัย 10 ตัวนั้นด้วย ลงเหตุปัจจัยคือ ณาเป ด้วย ลง ย ปัจจัยกับทั้ง อิ อาคม หน้า ย ด้วย (มีรูปเป็น -าปิย)
หมวด ภู ธาตุ ลง อ ปัจจัย
- ภู ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = ภวติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น)
- หุ ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = โหติ (ย่อมมี, ย่อมเป็น)
- สี ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = เสติ, สยติ (ย่อมนอน)
- มร ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = มรติ (ย่อมตาย)
- ปจ ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = ปจติ (ย่อมหุง, ย่อมต้ม)
- อิกฺข ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = อิกฺขติ(ย่อมเห็น)
- ลภ ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = ลภติ (ย่อมได้)
- คม ธาตุลง อ ปัจจัย ติ วัตตมานา = คจฺฉติ(ย่อมไป, ย่อมถึง)
หมวด รุธ ธาตุ ลง อ เอ ปัจจัย และนิคคหิตอาคมต้นธาตุ
ลง อ ปัจจัยแล้ว มีวิธีการเหมือนในหมวด ภู ธาตุ และลงนิคคหิตอาคมที่สระต้นธาตุ แล้วแปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค
- รุนฺธติ (รุธ อ ติ) ย่อมปิด ภุญฺชติ (ภุช อ ติ) ย่อมกิน ลิมฺปติ (ลึป อ ติ) ย่อมฉาบ มุญฺจติ (มุจ อ ติ) ย่อมปล่อย อยุญฺชิ (อ ยุช อ อี) ได้ประกอบแล้ว ภุญฺชิสฺส (ภุช อ อิ สฺสา) จักกินแล้ว
ให้ลง นิคหิตอาคม ที่ต้นธาตุ แล้วแปลงนิคหิต เป็นพยัญชนะที่สุด วรรค ตัวใดตัวหนึ่ง ตามพยัญชนะข้างหลัง
หมวด ทิว ธาตุ ลง ย ปัจจัย
- หลังธาตุที่ลงท้ายด้วย ว แปลง ย เป็น ว แล้วแปลง วฺว เป็น พฺพ เช่น ทิพฺพติ (ทิว ย ติ) ย่อมเล่น สิพฺพติ (สิว ย ติ) ย่อมเย็บ
- หลังธาตุที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะในวรรค ก ฏ ป (วรรคที่ 1 3 5) และ ย ล ส แปลง ย เป็นบุพพรูป คือเหมือนตัวหน้า ย สกฺกติ (สก ย) ย่อมอาจ-สามารถ กุปฺปติ (กุป ย) ย่อมโกรธ ตปฺปติ (ตป ย) ย่อมเดือดร้อน ลุปฺปติ (ลุป ย) ย่อมลบ สปฺปติ (สป ย) ย่อมแช่ง ทิปฺปติ (ทิป ย) ย่อมสว่าง, รุ่งเรือง
หมวด สุ ธาตุ ลง ณุ ณา อุณา ปัจจัย
- ณุ ปัจจัย แปลง อุ เป็น โอ เช่น สุโณติ (สุ ณุ ติ) ย่อมฟัง
- ณา อุณา ลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยสระ ให้ลบ อา ที่ ณา เช่น สุณาติ (สุ ณา ติ) ย่อมฟัง สุณนฺติ (สุ ณา อนฺติ) ย่อมฟัง ปาปุณาติ (ป อป อุณา ติ) ย่อมบรรลุ ปาปุณนฺติ (ป อป อุณา อนฺติ) ย่อมบรรลุ
- ลงวิภัตติหมวดอัชชัตตนีหรืออื่นๆ ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ถ้าลบ ณา ปัจจัย ให้พฤทธิ์ อุ เป็น โอ ลง สฺ อาคม อสฺโสสิ (อ สุ ณา สฺ อี) ได้ฟังแล้ว = อสุณิ (อ สุ ณา อี) โสสฺสามิ (สุ ณา สฺสามิ) จักฟัง = สุณิสฺสามิ (สุ ณา อิ สฺสามิ)
- สก ธาตุ ‘อาจ, สามารถ’ ลงในหมวดอัชชัตตนี ภวิสสันติ ให้แปลง กฺ เป็น ขฺ ซ้อนพยัญชนะ ลบ อุณา ปัจจัย อสกฺขิ (อ สก อุณา อี) ได้อาจแล้ว สกฺขิสฺสติ (สก อุณา อิ สฺสติ) จักอาจ สกฺกุเณยฺย (สก อุณา เอยฺย) พึงอาจ
หมวด กี ธาตุ ลง นา ปัจจัย
- เฉพาะ กี ธาตุ ลง นา ปัจจัย รัสสะ อี เป็น อิ แปลง นฺ เป็น ณฺ เช่น วิกฺกิณาติ (วิ กี นา ติ) ย่อมขาย
- นา ปัจจัย ลงหน้าวิภัตติที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ให้ลบสระหน้า กีเณยฺย (กี นา เอยฺย) พึงซื้อ วิกฺกีณิสฺสติ (วิ กี นา อิ สฺสติ) จักขาย
- ลบ นา ปัจจัยได้บ้าง หรือแปลง นา เป็น ย เช่น 1) ลง เอยฺย แล้วแปลง เอยฺย เป็น ญา ต้องลบ นา ไม่ลบไม่ได้ เช่น ชญฺญา (ญา นา เอยฺย) พึงรู้ 2) ลงอัชชัตตนี ลบหรือไม่ลบ นา ก็ได้ เช่น สญฺชานิ (สํ ญา นา อี) รู้ อญฺญาสิ (อ ญา นา สฺ อี) ได้รู้แล้ว 3) นา ปัจจัย ที่มี ติ อยู่หลัง แปลงเป็น ย เช่น วินายติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้วิเศษ
- ญา ธาตุ ในหมวด กี ธาตุ แปลงเป็น ชา ชํ นา ได้บ้าง แปลง ญา เป็น ชา ต้องมี นา อยู่หลัง เช่น วิชานาติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้แจ้ง แปลง ญา เป็น ชํ ต้องมี ญา ที่แปลงมาจาก เอยฺย อยู่หลัง เช่น ชญฺญา (ญา นา เอยฺย) พึงรู้ วิชาเนยฺย (วิ ญา นา เอยฺย) พึงรู้ แปลง ญา เป็น นา ต้องลง ติ เท่านั้น เช่น วินายติ (วิ ญา นา ติ) ย่อมรู้วิเศษ วิชานาตุ (วิ ญา นา ตุ) จงรู้วิเศษ
หมวด คห ธาตุ ลง ณฺหา ปัจจัย
- คห ธาตุ ลง ณฺหา แล้วลบ หฺ ที่สุดธาตุเสมอ
- คห ธาตุ ลง ปฺป แปลง คห เป็น เฆ เช่น เฆปฺปติ (คห ปฺป ติ) ย่อมถือเอา
- ณฺหา ปัจจัย ลงหน้าวิภัตติที่ไม่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือลง อิ อาคม ให้ลบสระหน้า เช่น คณฺหิ (คห ณฺหา อี) ถือเอาแล้ว คณฺหิสฺสติ (คห ณฺหา อิ สฺสติ) จักถือเอา
- ปัจจัยประจำหมวดธาตุ ลงแล้วไม่เห็นรูป พึงทราบว่าลงแล้วลบได้ เช่น อคฺคเหสิ (อ คห ณฺหา อิ สฺ อี) ได้ถือเอาแล้ว คณฺเหยฺย (คห ณฺหา เอยฺย) พึงถือเอา (ไม่ลบ ณฺหา)
หมวด ตน ธาตุ ลง โอ ยิร ปัจจัย
- หลัง ตน ธาตุ แปลง โอ เป็น อุ ได้ เช่น ตโนติ ตนุติ (ตน โอ ติ) ย่อมแผ่ไป
- กร ธาตุ ลง โอ ปัจจัย แปลง โอ เป็น อุ, แปลง อ ที่ กฺ เป็น อุ แปลง อุ เป็น ว, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน วฺ, แปลง วฺว เป็น พฺพ เช่น กุพฺพนฺติ (กร โอ ติ) ย่อมทำ
- กร ธาตุ ลง ยิร ปัจจัย ลบ รฺ ที่สุดธาตุ เช่น กยิรติ (กร ยิร ติ) ย่อมทำ
- นอกจากหมวดวัตตมานา ปัญจมี ลงแล้วลบ โอ ปัจจัยได้ เช่น กเรยฺย (กร โอ เอยฺย) พึงทำ อกริ (อ กร โอ อี) ทำแล้ว
- ยิร ปัจจัย ลงหลัง กร ธาตุ กับ เอยฺย เอถ วิภัตติ ให้แปลง เอยฺย เป็น อา แปลง เอ แห่ง เอถ เป็น อา แล้ว ลบ รฺ ที่สุดธาตุได้บ้าง เช่น กยิรา (กร ยิร เอยฺย) พึงทำ กยิราถ (กร ยิร เอถ) พึงทำ
- กร ธาตุ ลง อา หิยัตตนี แปลง กร เป็น กา ได้ เช่น อกา (อ กร โอ อา) ได้ทำแล้ว อกริมฺหา (อ กร โอ อิ มฺหา) ได้ทำแล้ว
- กร ธาตุ ลงวิภัตติหมวดอัชชัตตนี แปลง กร เป็น กาสฺ ได้ เช่น อกาสิ (อ กร โอ อี) ได้ทำแล้ว อกรึสุ (อ กร โอ อุ) ได้ทำแล้ว หรือ แปลง กร เป็น กา ลง สฺ อาคม เช่น อกาสิ (อ กร โอ สฺ อี)
- กร ธาตุ ลงวิภัตติหมวดภวิสสันติ แปลง กร ทั้งปัจจัย เป็น กาห และ ลบ สฺส เช่น กาหิติ (กร โอ อิ สฺสติ) จักทำ กริสฺสติ (กร โอ อิ สฺสติ) จักทำ (ลบ โอ)
- กร ธาตุ มี สํ เป็นบทหน้า แปลง กร เป็น ขร เช่น อภิสงฺขโรติ (อภิ สํ กร โอ ติ) ย่อมตกแต่ง
- หลังธาตุอื่นๆ (ในหมวดนี้) เช่น สกฺโกติ (สก โอ ติ) ย่อมอาจ ปปฺโปติ (ป อป โอ ติ) ย่อมถึง (ซ้อน ปฺ กลางธาตุ)
หมวด จุร ธาตุ ลง เณ ณย ปัจจัย
ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ มีอำนาจให้พฤทธิ์ต้นธาตุได้ และลบ ณฺ แห่งปัจจัยเหล่านี้เสีย
พฤทธิ์ = วุทฺธิ (วุฑฺฒิ) ทำให้เจริญ คือทำให้เป็น 2 ฐาน หรือเสียงยาวขึ้น ให้พฤทธิ์ อิ อี เป็น เอ, พฤทธิ์ อุ อู เป็น โอ
- อิ อาคม (ที่ใช้ลงในวิภัตติหมวดปโรกขา อัชชัตตนี ภวิสสันติ กาลาติปัตติ) ให้ลงเฉพาะที่ลง ณย ปัจจัยเท่านั้น โจเรติ โจรยติ (จุร เณ-ณย ติ) ย่อมลัก เวเทติ เวทยติ (วิท เณ-ณย ติ) ย่อมรู้ เจเตติ เจตยติ (จิต เณ-ณย ติ) ย่อมคิด ฌาเปติ ฌาปยติ (ฌป เณ-ณย ติ) ย่อมเผา ปญฺญาเปติ (ป ญป เณ ติ) ย่อมปูลาด ปญฺญาปยิสฺสติ (ป ญป ณย อิ สฺสติ) จักปูลาด ปาเหติ ปาหยติ (ปห เณ-ณย ติ) ย่อมส่งไป โปเสติ โปสยติ (ปุส เณ-ณย ติ) ย่อมเลี้ยงดู อุยฺโยเชสิ (อุ ยุช เณ สฺ อี) ส่งไปแล้ว ปาเลติ ปาลยติ (ปาล เณ-ณย ติ) ย่อมรักษา ปาลยิสฺสติ (ปาล ณย อิ สฺสติ) จักรักษา
- เป็นทีฆะ ไม่พฤทธิ์ อภิปูเชติ อภิปูชยติ (อภิ ปูช เณ-ณย ติ) ย่อมบูชา สูเจติ สูจยติ (สูจ เณ-ณย ติ) ย่อมไขความ ภาเชติ ภาชยติ (ภาช เณ-ณย ติ) ย่อมแบ่ง
- มีสังโยค ไม่พฤทธิ์ มนฺเตสฺสติ มนฺตยิสฺสติ (มนฺต เณ-ณย สฺสติ) จักปรึกษา ปตฺเถติ ปตฺถยติ (ปตฺถ เณ-ณย ติ) ย่อมปรารถนา
- ธาตุหมวด จุร ที่มี อิ เป็นที่สุด ให้ลงนิคคหิตอาคม แปลงเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค มีรูปเป็นสังโยค ไม่ต้องพฤทธิ์ มณฺเฑติ มณฺฑยติ (มฑิ เณ-ณย ติ) ย่อมหัวเราะ ภณฺเชติ ภณฺชยติ (ภชิ เณ-ณย ติ) ย่อมรุ่งเรือง
- ยกเว้นบางธาตุ ไม่พฤทธิ์ คเณติ คณยติ (คณ เณ-ณย ติ) ย่อมนับ ฆเฏติ ฆฏยติ (ฆฏ เณ-ณย ติ) ย่อมกระทบ กเถติ กถยติ (กถ เณ-ณย ติ) ย่อมกล่าว กเถสิ กถยึสุ (กถ เณ-ณย สฺ อี) กล่าวแล้ว
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้อัพยยศัพท์ (Indeclinables)
คือกลุ่มคำที่จะไม่ถูกผันไม่ว่าจะนำไปประกอบประโยคส่วนใดก็ตามได้แก่
- อุปสรรค
- ปัจจัย
- นิบาต
- การใส่วิภัตติ เพื่อปรับกริยานั้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังนำไปใช้ มีสิ่งที่จะพิจารณาดังนี้
อ้างอิง
- Nagrajji (2003) "Pali language and the Buddhist Canonical Literature". Agama and Tripitaka, vol. 2: Language and Literature.
- Stargardt, Janice. Tracing Thoughts Through Things: The Oldest Pali Texts and the Early Buddhist Archaeology of India and Burma., Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences, 2000, page 25.
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNorman
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อgrammar_kingship
- Hazra, Kanai Lal. Pāli Language and Literature; a systematic survey and historical study. D.K. Printworld Lrd., New Delhi, 1994, page 19.
- ความเป็นมาของพระไตรปิฎก ตอนที่ 76 2014-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. คอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมมาสน์ โดย ไต้ ตามทาง. เรียกข้อมูลเมื่อ 14-6-52
- Robert P. Goldman & Sally J Sutherland Goldman 2002, pp. 13–19.
- Colin P. Masica 1993, p. 146 notes of this diacritic that "there is some controversy as to whether it represents a homorganic nasal stop [...], a , a nasalised , or all these according to context".
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
- American National Standards Institute. (1979). American National Standard system for the romanization of Lao, Khmer, and Pali. New York: The institute.
- Andersen, Dines (1907). A Pali Reader. Copenhagen: Gyldendalske Boghandel, Nordisk Forlag. p. 310. สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
- Mahathera Buddhadatta (1998). Concise Pāli-English Dictionary. Quickly find the meaning of a word, without the detailed grammatical and contextual analysis. ISBN
- (2006). A Pali Grammar for Students. Silkworm Press.
- Gupta, K. M. (2006). Linguistic approach to meaning in Pali. New Delhi: Sundeep Prakashan. ISBN
- Hazra, K. L. (1994). Pāli language and literature: a systematic survey and historical study. Emerging perceptions in Buddhist studies, no. 4–5. New Delhi: D.K. Printworld. ISBN
- Martineau, Lynn (1998). Pāli Workbook Pāli Vocabulary from the 10-day Vipassana Course of S. N. Goenka. ISBN .
- Müller, Edward (2003) [1884]. The Pali language: a simplified grammar. Trübner's collection of simplified grammars. London: Trubner. ISBN
- Bhikkhu Nanamoli. A Pāli-English Glossary of Buddhist technical terms. ISBN
- Charles Duroiselle, A Practical Grammar of the Pāli Language 3rd Edition, 1997
- Perniola, V. (1997). Pali Grammar, Oxford, The Pali Text Society.
- Siri Petchai and Vichin Phanupong, "Chulachomklao of Siam Pāḷi Tipiṭaka, 1893", Digital Preservation Edition, Dhamma Society Fund 2009.
- Soothill, W. E., & Hodous, L. (1937). A dictionary of Chinese Buddhist terms: with Sanskrit and English equivalents and a Sanskrit-Pali index. London: K. Paul, Trench, Trubner & Co.
- Webb, Russell (ed.) An Analysis of the Pali Canon, Buddhist Publication Society, Kandy; 1975, 1991 (see http://www.bps.lk/reference.asp 3 มิถุนายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- Wallis, Glenn (2011). Buddhavacana, a Pali reader (PDF eBook). ISBN .
- Wilhem Geiger, "Pali Literatur und Sprache" (1892)
- สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.9 และวิจินตน์ ภาณุพงศ์, "พระไตรปิฎกปาฬิจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 อักษรสยาม" ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล, กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ 2551.
- ร.ต.ฉลาด บุญลอย, ประวัติวรรณคดีบาลี, 2527
- ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์, ประวัติภาษาบาลี : ความเป็นมาและที่สัมพันธ์กับภาษาปรากฤตและสันสกฤต, 2535.
- ปราณี ฬาพานิช, ภาษาสันสกฤต: คุณค่าในการพัฒนาความเข้าใจภาษาบาลี,2536, หน้า 113-145.
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pali language
- Reconstruction of Ancient Indian sound clusters on the basis of Pali sounds (according to Grammatik des Pali by Achim Fahs)
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bali bali pali प ल snskvt प ळ pali xngkvs Pali epnekaaekinklumphasaxinod xaryn Indo Aryan languages sungepnsakhayxykhxngtrakulphasaxinod yuorepiyn Indo European languages micudkaenidmacakicklangxnuthwipxinediyodythukcdepnphasaprakvtaekhnnghnung epnphasathiepnthiruckkndiaelamikarsuksaknxyangkwangkhwang enuxngcakepnphasathiichbnthukphrakhmphirinphraphuththsasnanikayethrwath phraitrpidk bali𑀧 𑀮 प ल 𐨤𐨫 ប ល ပ ဠ ᨷ ᩊ bali ප ල Paḷiinpraethsphma ekhiynepnphasabaliodyichxksrphmaxxkesiyng paːli praethsthimikarphudxnuthwipxinediyyukhstwrrsthi 3 kxnkhristskrach pccubn phasaphithikrrminsasnaphuththnikayethrwathtrakulphasaxinod yuorepiyn xinod xiereniynxinod xarynbalirabbkarekhiynxksrphrahmi xksrethwnakhri khorsthi ekhmr ithy xksrthrrmlanna phma singhl aelarabbkarthxdesiyngdwyxksrlatinrhsphasaISO 639 1piISO 639 2pliISO 639 3plinkphasasastrplicudkaenidaelaphthnakarsphthmulwithya khawa pali epnchuxthiexaiwicheriykphasakhxngphraitrpidkethrwath kha nikhadwanacamitnkaenidmacakphithikrrmpathktha odythikhadngklaw tamkhwamhmaykhxngbrrthdkhxkhwamtnchbbthiyktwxyangma tangkmikhwamaetktangkniptamkhaxthibayhruxcakkaraeplphasatnchbbepnchbbphasathin K R Norman idesnxiwwathimakhxngkhawa pali nimiphunthanmacakkhwamekhaicphidekiywkbkarprasmkhawa pali kbkhawa phasa sngphlihkhawapalithuktikhwamwaepnchuxkhxngphasaidphasahnungodyechphaa phasabaliimpraktchuxxyuinphrakhmphirhlkhruxinkhmphirxrrthkthaely inbangkhmphirkrabudwychuxwa tnti thiaeplwaesnhruxesnsay chuxniduehmuxnephingcapraktinpraethssrilngkachwngtnkhristshswrrsthisxngaetephiyngethann sunginyukhdngklawkepnyukhthierimmikarfunfukarichphasabaliihepnphasainrachsankhruxinphasawrrnkrrm dwyehtunicungthaihekidkarthkethiyngkninhmunkwichakarthukyukhthuksmywachuxthithuktxngkhxngphasabalicatxngeriykwaxyangirknaen bangkeriykwa pali hrux pali enuxngcakkarsakdchuxinaetlaphrakhmphirtangkmikhwamaetktangknipinaetlachbb odyprakdihehnidthnginchuxthimisraesiyngyaw xa aelasraesiyngsn x xikthngyngmikaraeykkhwamtangrahwangthngxyang l hrux l aelayngsamarthphbehnthngsra a aelahnwyesiyng ḷ idphankarthxdtwchudrhstwxksr ISO 15919 ALA LC odythxdxxkmaepnkhawa Paḷi xyangirktamcnthungthukwnnikyngimhlkthanidthisamarthchichdihehnwamatrthankarsakdchuxkhxngphasabaliaebbchdecnephiyngkhaediywcatxngsakdxyangirknaen karsakdkhathimikhwamepnipidthngsirupaebbyngsamarthphbidinaebberiynkhxng R C Childers odyaeplkhawabaliiwwa esnkhxnghnngsux aelarabuwaphasabaliepnphasathimithimakhxngchuxmacak khwamsmburnaebbthangokhrngsrangiwyakrn aehlngkaenidthangphumisastr chuxeriykphasani khux pali xksrormn Pali nn impraktthimathichdecn aelaepnthithkethiyngeruxymaodyimmikhxsrup edimepnphasakhxngchnchnsamysahrbchawphuththodythwipechuxwa phasabalimikaenidcakaekhwnmkhth inchmphuthwip aelaeriykwaphasamkhth hruxphasamakhthi hruxphasaprakvtaebbmkhth hruxmakhthikowhar sung makhthikowhar phraphuththokhsacaryphraxrrthkthacarynamxuokhsmichiwitxyuinphuththstwrrsthi 10 xthibaywaepn skanirutti khuxphasathiphraphuththecatrs nkphasasastrbangthanmikhwamehnwaphasabaliepnphasathangphakhtawntkkhxngxinediy nkwichakarchaweyxrmnsmypccubnsungepnnksnskvtkhuxsastracaryimekhil witeslaehngmhawithyalyharward shrthxemrika thuxwaphasabaliepnphasathangphakhtawntkkhxngxinediy aelaepnkhnlaphasakbphasacarukkhxngphraecaxoskmharach phasaprakvtaebbxosk phasabalimiphthnakarthiyawnan mikarichphasabaliephuxbnthukkhmphirinphraphuththsasna ethrwath epncanwnmak wilehlm ikekxr Wilhem Geiger nkprachybalichaweyxrmn idekhiynhnngsuxthimichuxesiynginsmystwrrsthi 19 khux Pali Literatur und Sprache odywangthvsdithikhnithyruckkndiwaphasabaliinphraitrpidknnsamarthaebngwiwthnakarkaraetngid 4 yukh tamruplksnakhxngphasathiichdngni yukhkhatha hruxyukhrxykrxng milksnakarichkhathiyngekiywphnkbphasaiwthikasungichbnthukkhmphirphraewthxyumak yukhrxyaekw mirupaebbthiepnphasaxinodxarynsmyklang aetktangcaksnskvtaebbphraewthxyangednchd phasainphraitrpidkekhiyninyukhni yukhrxykrxngrayahlng epnchwngewlahlngphraitrpidk praktinkhmphiryxy echn milinthpyha wisuththimrrkh epntn yukhrxykrxngpradisth epnkarphsmphsan rahwangphasayukheka aelaaebbihm klawkhuxkhnaetngsrangkhabaliihm khunichephraaihduswyngam bangthikepnkhasmasyaw sungimpraktinphraitrpidk aesdngihehnchdecnwaaetngkhunhlngcakthimikarekhiynkhmphiraephrhlayaelw pccubnmikarsuksaphasabalixyangkwangkhwanginpraethsthinbthuxphuththsasnaethrwath echn srilngka phma ithy law kmphucha aelaxinediy aemkrathnginxngkvs kmiphusnicsuksaphraphuththsasnaidphakncdtng smakhmbalipkrn Pali Text Society khuninkrunglxndxnkhxngpraethsxngkvs emux ph s 2424 ephuxsuksaphasabaliaelawrrnkhdiphasabali rwmthungkaraeplaelaephyaephr pccubnnn smakhmbalipkrndngklawnimisanknganihyxyuthitablehddingtn inemuxngxxksfxrdkhxngshrachxanackr khawa bali exngnnaeplwaesnhruxhnngsux aelachuxkhxngphasaninamacakkhawa pali Paḷi xyangirktam chuxphasanimikhwamkhdaeyngkninkareriyk imwacaepnsraxahruxsraxa aelaesiyng l hrux l phasabaliepnphasaekhiynkhxngklumphasaprakvt sungekhiynepnlaylksnxksrinsrilngkaemuxphuththstwrrsthi 5 phasabalicdepnphasaklumxinod xarynyukhklang aetktangcakphasasnskvtimmaknk phasabaliimidsubthxdodytrngcakphasasnskvtphraewthinvkhewth aetxacaphthnamacakphasalukhlanphasaidphasahnung khadwaphasabaliepnphasathiichinsmyphuththkalechnediywkbphasamkhthobranhruxxaccasubthxdmacakphasani exksarinsasnaphuththethrwatheriykphasabaliwaphasamkhth sungxaccaepnkhwamphyayamkhxngchawphuthththicaoyngtnexngihiklchidkbrachwngsemariya phraphuththecathrngethsnasngsxnthimkhth aetkmisngewchniysthan 4 aehngthixyunxkmkhth cungepnipidthicaichphasaklumxinod xarynyukhklanghlaysaeniynginkarsxn sungxaccaepnphasathiekhaicknid immiphasaklumxinod xarynyukhklangid milksnaechnediywkbphasabali aetmilksnabangprakarthiiklekhiyngkbcarukphraecaxoskmharachthikhirnarthangtawntkkhxngxinediy aelahthikhumphathangtawnxxk nkwichakarehnwaphasabaliepnphasalukphsm sungaesdnglksnakhxngphasaprakvthlaysaeniyng inchwngphuththstwrrsthi 2 aelaidphankrabwnkarthaihepnphasasnskvt phrathrrmkhasxnthnghmdkhxngphraphuththsasnathukaeplepnphasabaliephuxekbrksaiw aelainsrilngkayngmikaraeplepnphasasinghlephuxekbrksainrupphasathxngthinxikdwy xyangirktam phasabaliidekidkhunthixinediyinthanaphasathangkarekhiynaelasasna phasabaliidaephripthungsrilngkainphuththstwrrsthi 9 10 aelayngkhngxyuthungpccubn phasabaliaelaphasaxrthamkhthi phasathiekaaekthisudkhxngklumphasaxinod xarynyukhklangthiphbincaruksmyphraecaxoskmharachkhuxphasabaliaelaphasaxrthamkhthi phasathngsxngniepnphasaekhiyn phasaniimidihmipkwaphasasnskvtkhlassikemuxphicarnaindanlksnathangsthwithyaaelaraksphth thngsxngphasaimidphthnatxenuxngmacakphasasnskvtphraewthsungepnphunthankhxngphasasnskvtkhlassik xyangirktam phasabalimilksnathiiklekhiyngkbphasasnskvtaelamikhwamaetktangxyangepnrabb aelasamarthepliynkhainphasasnskvtipepnkhainphasabaliid aetimidhmaykhwamwakhainphasabaliepnswnhnungkhxngphasasnskvtobranhruxyumkhaodykaraeplngrupcakphasasnskvtidesmxip ephraamikhaphasasnskvtthiyummacakphasabaliechnkn phasabaliinpccubn sthabnkwdwichadawxngk odyxacaryping epnhnunginsthabnkwdwichathiepidkwdwichaphasabaliinpccubn pccubn karsuksabaliepnipephuxkhwamekhaickhmphirthangphuththsasna aelaepnphasakhxngsamychnthwip sunyklangkarsuksaphasabalithisakhykhuxpraethsthinbthuxsasnaphuththethrwathinexechiytawnxxkechiyngit idaek phma law ithy kmphucha rwmthngsrilngka tngaetphuththstwrrsthi 25 mikarsuksaphasabaliinxinediy inyuorpmismakhmbalipkrnepnhnwynganthisngesrimkareriynphasabaliodynkwichakarchawtawntkthikxtngkhunemux ph s 2424 tngxyuinpraethsxngkvs smakhmnitiphimphphasabalidwyxksrormn aelaaeplepnphasaxngkvs in ph s 2412 idtiphimphphcnanukrmphasabalielmaerk karaeplphasabaliepnphasaxngkvskhrngaerkekidkhunemux ph s 2415rmsahrbedktiphimphemux ph s 2419 nxkcakthixngkvs yngmikarsuksaphasabaliineyxrmn ednmark aelarsesiy echphaainpraethsithynn mikarsuksaphasabaliinwdmachanan aelayngmiepidsxninlksnahlksutrerngrdthimhawithyalysngkhthngsxngaehngklawkhuxmhaculalngkrnrachwithyaly aelamhamkutrachwithyaly odyechphaathimhamkutrachwithyalynn iddaeninkareriynkarsxnphasabaliihbrrdaaemchi sungaebngepn 9 chneriykwa b s 1 9 maepnewlachanan aelapccubnni kmiaemchisaerckarsuksaepriyy 9 tamrabbniephimcanwnmakkhuneruxy dwy miorngeriynsxnphasabali ihkbphiksusamenrthwpraethsithy epnorngeriynphrapriytithrrm nxkcakniinpccubnyngcdsxbkhxsxbkhwamthndthangdanphasabali PAT 7 6 raksphthkhathukkhainphasabalimitnkaenidediywkbphasaprakvtinechnphasaprakvtkhxngchawechn khwamsmphnthkbphasasnskvtyukhkxnhnannimchdecnaelasbsxn aetthngphasasnskvtaelaphasabalitangidrbxiththiphlsungknaelakn emuxepriybethiybkbphasasnskvt khwamkhlaykhlungkhxngthngsxngphasaducamakekincringemuxepriybethiybkbphasainyukhhlng sungklayepnphasaekhiynhlngcakthiichphasasnskvtepnphasainchiwitpracawnmahlaystwrrs aelaidrbxiththiphlcakphasainxinediyyukhklang rwmthngkaryumkharahwangkn phasabaliemuxnamaichnganthangsasnacayumkhacakphasathxngthinnxykwa echn karyumkhacakphasasinghlinsrilngka phasabaliimidichbnthukexksarthangsasnaethann aetmikarichngandanxundwy echn ekhiyntaraaephthydwyphasabali aetswnihynkwichakarcasnicdanwrrnkhdiaelasasnasthwithyahnwyesiynginphasabaliaebngxxkepnepnhnwyesiyngphyychnaaelahnwyesiyngsradngni esiyngsra Sanskrit vowels in the Devanagari script rupediyw IAST IPA rupediyw IAST ISO IPAknthcha x a xa a talucha xi i xi i iː oxtthcha xu u xu u uː knothtthcha ephdanxxn rimfipak ox o knthtalucha ephdanxxn ephdanaekhng ex e hnwyesiyngphyychnayxy x ṁ esiyngphyychna sthsastr smphs hyud nasik nasik xntttha xusmn sngkhrsi xokhsa okhsa xokhsa okhsa sithil thnit sithil thnit sithil thnitknthcha k k kh kʰ kh g kh gʱ ng ŋ h h talucha c tɕ ch tɕʰ ch dʑ ch dʑʱ y ɲ y j muththcha t th ʈʰ th th ɖʱ n ɳ r r thntcha t t th tʰ th d th dʱ n n l l s s oxtthcha p p ph pʰ ph b ph bʱ m m w w karekhiynphasabaliinsmyphraecaxoskmharach mikarich xksrphrahmi ekhiyn phasaprakvt sungepnphasathimikhwamiklekhiyngkbphasabali inthangprawtisastr karichphasabaliephuxbnthukkhmphirthangsasnakhrngaerkekidkhunthisrilngka emuxraw ph s 443 aemkarxxkesiyngphasabalicaichhlkkarediywkn aetphasabaliekhiyndwyxksrhlaychnid insrilngkaekhiyndwyxksrsinghl inphmaichxksrphma inithyaelakmphuchaichxksrkhxmhruxxksrekhmraelaepliynmaichxksrithyinpraethsithyemux ph s 2436 aelaekhyekhiyndwyxksrxriykathipradisthkhunepnewlasn inlawaelalannaekhiyndwyxksrthrrmthiphthnamacakxksrmxy nxkcaknn xksrethwnakhriaelaxksrmxngokeliyekhyichbnthukphasabaliechnkn tngaetphuththstwrrsthi 24 epntnma smakhmbalipkrninyuorpidphthnakarichxksrlatinephuxekhiynphasabali odyxksrthiichekhiynidaek a a i i u u e o ṁ k kh g gh ṅ c ch j jh n ṭ ṭh ḍ ḍh ṇ t th d dh n p ph b bh m y r l ḷ v s hiwyakrnphasabaliepnphasathimiwiphttipccytamaebblksnakhxngphasaintrakulxinod yuorepiyn klawkhuxkarnakhamaprakxbinpraoykhcatxngmikarphnkhaodyxaccaetimesiyngtxthayhruxepliynrupkhabang echninphasaxngkvseramkcaehnkaretim s sahrbkhanamphhuphcn hruxetim ed sahrbkriyaxdit aetinphasabalimisingthitxngphicarnamakkwaphasaxngkvsxikhlayxyang karphnkhanam Noun Declension inthinikhxhmayrwmthng namnam Nouns khunnam Adjectives aelasphnam sph phnam Pronouns sungkarnakhanamehlanimaprakxbpraoykhinphasabalicaphicarnasingtxipni lingkh ling kh Gender hruxephs inphasabalimisamephskhuxchay hying aelaimmiephs bangkhasphthepnidephsediyw bangsphthxacepnidsxnghruxsamephs txngxasykarcdcaethann wcna wcn Number hruxphcn idaek exkwcna aela phhuwcna kark Case karkkhuxhnathikhxngnaminpraoykh xnidaek pthmawiphtti hrux krrtukark kttukark kt tukark Nominative epnprathanhruxphukratha mkaeplodyichkhawa x xnwa thutiyawiphtti hrux krrmkark kmmkark km mkark Accusative epnkrrm sung su ttiyawiphtti hrux krnkark Instrumental epnekhruxngmuxinkarkratha dwy ody xn tam ctutthiwiphtti ctut thi hrux smpthankark sm pthankark Dative epnkrrmrxng aek ephux tx pycmiwiphtti py cmi hrux xpathankark Ablative epnaehlnghruxaednekid aet cak kwa chtthiwiphtti cht thi hrux smphnthkark sm phn thkark Genitive epnecakhxng aehng khxng sttmiwiphtti st tmi hrux xthikrnkark Locative sthanthi thi in xalpnawiphtti xalpn hrux smophthnkark sm ophthnkark Vocative xuthan eriyk dukxn srakarnt srkarn t Termination Vowel khuxsralngthaykhxngkhasphththiepnnam ephraasralngthaythitang kn kcatxngetimwiphttithitang knip twxyangechn khawa sng kh khanimisra xa epnkarntaelaephschay emuxnaipichepnprathanexkphcn krrtukark exkphcn caphnepn sng okh sng kh si pthmawiphtti prathanphhuphcn krrtukark phhuphcn epn sng kha sng kh oy pthmawiphtti krrmtrngexkphcn krrmkark exkphcn epn sng kh sng kh x thutiyawiphtti krrmrxngexkphcn smpthankark exkphcn epn sng khs s sng kh s ctutthiwiphtti l hruxkhawa phik khu khanimisra xu epnkarntaelaephschay emuxnaipichepnprathanexkphcn krrtukark exkphcn kphnepn phik khu phik khu si pthmawiphtti prathanphhuphcn krrtukark phhuphcn epn phik khow hrux phik khu phik khu oy pthmawiphtti krrmtrngexkphcn krrmkark exkphcn epn phik khu phik khu x thutiyawiphtti krrmrxngexkphcn smpthankark exkphcn epn phik khus s hrux phik khuon phik khu s ctutthiwiphtti l withiaecksamyysphththiepnpullingk wiphtti khaaepl wcna x aeckxyang puris xi aeckxyang muni xi aeckxyang est thi xu aeckxyang khru xu aeckxyang wiy yuexk phhu exk phhu exk phhu exk phhu exk phhu exk phhupthma xnwa si oy purios purisa muni munoy muni est thi est thion est thi khru khrow khru wiy yu wiy yuon wiy yuthutiya sung yng su x oy puris puries munu munoy muni est thu est thin est thion est thi khru khrow khru wiy yu wiy yuon wiy yuttiya dwy ody xn na hi puriesn purieshi puriesphi munina munihi muniphi est thina est thihi est thiphi khruna khruhi khruphi wiy yuna wiy yuhi wiy yuphictutthi aek ephux tx s n puriss s purisay purist th purisan munis s munion munin est this s est thion est thin khrus s khruon khrun wiy yus s wiy yuon wiy yunpycmi aet cak kwa s ma hi puriss ma purism ha purisa purieshi puriesphi munis ma mnim ha munihi muniphi est this na est thim ha est thihi est thiphi khrus ma khrum ha khruhi khruphi wiy yus ma wiy yum ha wiy yuhi wiy yuphichtthmi aehng khxng emux s n puriss s purisan munis s munion munin est this s est thion est thin khrus s khruon khrun wiy yus s wiy yuon wiy yunsttmi in ikl thi s mu su puriss mu purism hi puries puriessu munis mu munim hi munisu est this mu est thim hi est thisu khrus mu khrum hi khrusu wiy yus mu wiy yum hi wiy yusuxalpn dukxn khaaet si oy puris purisa muni munoy muni est thi est thion est thi khru khrew khrow wiy yu wiy yuon wiy yuwithiaecksamyysphththiepnxitthilingk wiphtti khaaepl wcna xa aeckxyang ky ya xi aeckxyang rt ti xi aeckxyang nari xu aeckxyang rch chu xu aeckxyang wthuexk phhu exk phhu exk phhu exk phhu exk phhu exk phhupthma xnwa si oy ky ya ky yaoy ky ya rt ti rt tioy rt ti nari narioy nari rch chu rch chuoy rch chu wthu wthuoy wthuthutiya sung yng su x oy ky y ky yaoy ky ya rt tu rt tioy rt ti naru nariy narioy nari rch chu rch chuoy rch chu wthu wthuoy wthuttiya dwy ody xn na hi ky yay ky yahi ky yaphi rt tiya rt tihi rt tiphi nariya narihi nariphi rch chuya rch chuhi rch chuphi wthuya wthuhi wthuphictutthi aek ephux tx s n ky yay ky yan rt tiya rt tin nariya narin rch chuya rch chun wthuya wthunpycmi aet cak kwa s ma hi ky yay ky yahi ky yaphi rt tiya rt ya rt tihi rt tiphi nariya narihi nariphi rch chuya rch chuhi rch chuphi wthuya wthuhi wthuphichtthmi aehng khxng emux s n ky yay ky yan rt tiya rt tin nariya narin rch chuya rch chun wthuya wthunsttmi in ikl thi s mu su ky yay ky yay ky yasu rt tiya rt tiy rt y rt tisu nariya nariy narisu rch chuya rch chuy rch chusu wthuya wthuy wthusuxalpn dukxn khaaet si oy ky ey ky yaoy ky ya rt ti rt tioy rt ti nari narioy nari rch chu rch chuoy rch chu wthu wthuoy wthuwithiaecksamyysphththiepnnpusklingk wiphtti khaaepl wcna x aeckxyang kul xi aeckxyang xk khi xu aeckxyang wt thuexk phhu exk phhu exk phhu exk phhupthma xnwa si oy kul kulani xk khi xk khini xk khi wt thu wt thuni wt thuthutiya sung yng su x oy kul kulani xk khu xk khini xk khi wt thu wt thuni wt thuttiya dwy ody xn na hi kueln kuelhi kuelphi xk khina xk khihi xk khiphi wt thuna wt thuhi wt thuphictutthi aek ephux tx s n kuls s kulay kult th kulan xk khis s xk khion xk khin wt thus s wt thuon wt thunpycmi aet cak kwa s ma hi kuls ma kulm ha kula kuelhi kuelphi xk khis ma xk khim ha xk khihi xk khiphi wt thus ma wt thum ha wt thuhi wt thuphichtthmi aehng khxng emux s n kuls s kulan xk khis s xk khion xk khin wt thus s wt thuon wt thunsttmi in ikl thi s mu su kuls mu kulm hi kuel kuelsu xk khis mu xk khim hi xk khisu wt thus mu wt thum hi wt thusuxalpn dukxn khaaet si oy kul kulani xk khi xk khini xk khi wt thu wt thuni wt thukarnb aebngepn 2 praephth khux pktisngkhya nbcanwnpkti1 exk 11 exkaths 21 exkwisti 40 ct talis2 th wi 12 th waths phars 22 th wawisti phawisti 50 py yas pn nas3 ti 13 etrs 23 etwisti 60 st thi 4 ctu 14 ctuth ths cuth ths 24 ctuwisti 70 st tti5 py c 15 py cths pn nrs 25 py cwisti 80 xsiti6 ch 16 osls 26 chph phisti 90 nwuti 7 st t 17 st trs 27 st twisti 100 st8 xt th 18 xt thars 28 xt thwisti 1 000 shs s9 nw 19 exkunwisti xunwisti 29 exkuntus xuntus 10 000 thsshs s10 ths 20 wis wisti 30 tus tusti 100 000 stshs s lkkh1 000 000 thsstshs s10 000 000 oktipurnsngkhya nbladb khuxpktisngkhya thiprakxbdwypccy 5 tw khux tiy th th m xi 1 tiy pccy txthayechphaa th wi ti 2 th pccy txthayechphaa ctu 3 th pccy txthayechphaa ch 4 m pccy txthayidthuktwykewn th wi ti ctu ch 5 xi pccy txthayechphaa 11 12 13 14 15 16 17 18 epnxitthilingkxyangediyw thaepnlingkxuncakihlng m pccysrrphnam 1 purissphphnam ichaethnchux khn stw singkhxng aebngepn 3 khux prathmburus khux khaphudthiichaethnchuxkhn stw thi singkhxng thiphuphudphudthung sungxyunxkwngsnthna inphasabaliich t aeplwa than ethx ekha mn epnid 3 lingk mthymburus sahrbaethnchuxphuthiphudkberaxyuinwngsnthna in phasabaliich tum h aeplwa eca than ethx su exng mung epnid 2 lingk xut tmburus sahrbaethnchuxphuphudexng inphasabaliich xm h aeplwa khapheca chn kraphm era phwkera epnid 2 lingkt sphth than ethx ekha mn pulingk xitthilingk npusklingkexk phhu exk phhu exk phhup os et sa ta t tanithu t n et en t n ta t tanit etn ethi tay tahi etn ethic ts s xs s ets etsan ens ensan ts sa xs sa tis sa tis say tas tasan ts s xs s ets etsan ens ensanpy ts ma xs ma tm ha ethi tay tahi ts ma xs ma tm ha ethich ts ma xs ma tm ha ets etsan ens ensan ts sa xs sa tis sa tis say tas tasan ts ma xs ma tm ha ets etsan ens ensans ts mu xs mu tm hi etsu tay ts s xs s tis s tasu ts mu xs mu tm hi etsu tum h sphth than ethx eca epn 2 lingkkhux pulingk aelaxit thilingkaeckxyangediywkn dngni exk phhup t w tuw tum eh ow thu t t w tuw tum eh ow t t ya t wya et tum ehhi owc tuy h tum h tw et tum hak owpy t ya tum ehhi ch tuy h tum h tw et tum hak ows t yi t wy tum ehsu xm h sphth era epn 2 lingkkhux pulingkaelaxit thilingk aeckxyangediywkn dngni exk phhup xh my onthu m mm xm eh ont mya em xm ehhi onc my h xm h mm mm em xm hak xs mak onpy mya xm ehhich my h xm h mm mm em xm hak xs mak ons myi xm ehsuwiessnsphphnam aebngxxkepn 2 xyang khux 1 niymwiessnsphphnam aesdngthungnamnamthiaennxn mi 4 sphth khux t ext xim xmu 2 xniymwiessnsphphnam aesdngthungnamthiimaennxn mi13 sphthkhuxy id xpr xunxik xuphy thngsxngxy y xun ktr khnihn sph ph thngpwngxy ytr khnidkhnhnung ktm khnihn ku ikhr xairxy ytm khnidkhnhnung exk khnhnung phwkhnungpr xun exkc c bangkhn bangphwkkarphnkhakriya Verb Conjugation khakriyahruxthieriykwaxakhyat xakh yat ekidcakkarnathatukhxngkriyamalngpccy pc cy aelaiswiphtti wipht ti tamaetlksnakarichnganinpraoykh kariswiphtti ephuxprbkriyannihehmaasmkbsthankarnthikalngnaipich misingthicaphicarnadngni kal Tense duwakriyannekidkhuninewlaid pccubnkal pc cup pn nkal xditkal xtitkal xnakhtkal wiphttixakhyat wttmana wt tmana cak wt t thatu ekidkhun x pccy man pccyinkiriyakitk Present Indicative kriyapccubn ichinpraoykhbxkela pycmi py cmi Present Imperative ichinpraoykhkhasng hruxkhxihtha sttmi st tmi Present Optative ichbxkwakhwrcatha phungkratha porkkha pork kha pork kh pr ox xakhm xk kh xa pccy Indefinite Past kriyaxditthilwngaelw ekincaru kalniimkhxymiichaelw miichechphaa xah ph ru thatu phud x pccy x porkkhawiphtti aela xahu ph ru thatu phud x pccy xu porkkhawiphtti hiyttni hiyt tni cak hiy oy wiessnnibat emuxwan xt tn pccy Definite Past kriyaxditthiphanipemuxwan xchchttni xch cht tni cak xch ch wiessnnibat xim ch ch pccy aethnsttmiwiphtti inwnni xiem xims mi xt tn pccy Recently Past kriyathiphanipemuxerw ni hruxinwnni phwissnti phwis sn ti macak phu thatu x pccy xis sn ti wiphtti hrux phu thatu x pccy xi xakhm s sn ti wiphtti Future kriyathicakratha kalatiptti kalatipt ti kal xtipt ti xti xupsrrkh pt ti Conditional kriyathikhidwanacathaaetkimidtha hakaemnwa bth pth Voice duwakriyannekidkbikhr prssbth prs spth Active epnkarkrathaxnsngphlkbphuxun epnkrrtuwack kb ehtukrrtuwack xttonbth xt tonpth Reflective epnkarkrathaxnsngphlkbtwexng hruxmisphawaepnxyangnnxyuexng epnkrrmwack aela ehtukrrmwack wcna wcn Number ehmuxnkhanamkhuxaebngepnexkwcnaaelaphhuwcna sungwcnakhxngkriyaktxngkhunkbwcnakhxngnamphukratha burus puris Person bxkburusphukrathakriya burusinphasabalinicaklbkbphasaxngkvskhux burusthihnung pthm puris hmaythungphuxun ekha t khunnam os purios et purisa burusthisxng mch chim puris hmaythungphuthikalngphuddwy ethx tum h t w tum eh sphphnam burusthisam xut tm puris hmaythungphuthikalngphud chn xm h xh my sphphnam puris prssbth xttonbth prssbth xttonbthexk phhu exk phhu exk phhu exk phhu1 wt tmana pccubn 2 py cmi cng p ti xn ti et xn et tu xn tu t xn tm si th es w eh hi th s su wohxu mi m ex m eh mi m ex xam hes3 st tmi khwr 4 pork kha aelw p exy y exy yu exth exr x xu t th erm exy yasi exy yas exoth exy ywoh ex t th t oth w ohxu exy yami exy yam exy y exy yam eh x m h xu m eh5 hiyt tni aelw x nahna id aelw 6 xch cht tni aelw x nahna id aelw p xa xu t th t thu xi xu xa xum ox t th es w h ex t th t oth w ohxu x m h xu m hes xu m ha x m eh7 phwis sn ti ck 8 kalatiptti ck aelw x nahna ckid aelw p xis sti xis sn ti xis set xis sn et xis sa xis ssu xis sth xis susum xis ssi xis sth xis ses xis sweh xis es xis sth xis ses xis sw ehxu xis sami xis sam xis s xis sam eh xis s xis sam ha xis s xis sam hes twxyangechn kriyathatu wth wth thatu thiaeplwaphud epnkriyathi Active thacabxkwa chnyxmphud kcaepn wathami xh wthami wth thatu x pccy mi wttmanawiphtti phwkerayxmphud epn wathama my wtham wth thatu x pccy m wttmanawiphtti ethxyxmphud epn wathasi t w wthsi wth thatu x pccy si wttmanawiphtti ekha burusnnyxmphud epn wathati os purios wthti wth thatu x pccy ti wttmanawiphtti chnphungphud epn waethyyami wethy yami wth thatu x pccy exy yami sttmiwiphtti chnck caphud epn wathissami wthis sami wth thatu x pccy xi xakhm s sami phwissntiwiphtti hrux wth thatu x pccy xis sami phwissntiwiphtti l karlngpccy sahrbthatukhxngkhakriya kxnthicaiswiphttinn xnthicringtxngphicarnakxndwywakriyathinamaichnnepnlksnapktihruxmikaraesdngxakarxyangidepnphiessdngtxipnihruxepla pccyaebngepn 5 hmwd tamwack dngni kttuwack lngpccy 10 tw khux x ex y nu na na n ha ox en ny kmmwack lng y pccy kb xi xakhmhna y phawwack lng y pccy aela et wttmana ehtukttuwack lngpccy 4 tw khux en ny naep napy ehtukmmwack lngpccy 10 twnndwy lngehtupccykhux naep dwy lng y pccykbthng xi xakhm hna y dwy mirupepn apiy hmwd phu thatu lng x pccy phu thatulng x pccy ti wttmana phwti yxmmi yxmepn hu thatulng x pccy ti wttmana ohti yxmmi yxmepn si thatulng x pccy ti wttmana esti syti yxmnxn mr thatulng x pccy ti wttmana mrti yxmtay pc thatulng x pccy ti wttmana pcti yxmhung yxmtm xik kh thatulng x pccy ti wttmana xik khti yxmehn lph thatulng x pccy ti wttmana lphti yxmid khm thatulng x pccy ti wttmana khc chti yxmip yxmthung hmwd ruth thatu lng x ex pccy aelanikhkhhitxakhmtnthatu lng x pccyaelw miwithikarehmuxninhmwd phu thatu aelalngnikhkhhitxakhmthisratnthatu aelwaeplngepnphyychnathisudwrrkh run thti ruth x ti yxmpid phuy chti phuch x ti yxmkin lim pti lup x ti yxmchab muy cti muc x ti yxmplxy xyuy chi x yuch x xi idprakxbaelw phuy chis s phuch x xi s sa ckkinaelw ihlng nikhhitxakhm thitnthatu aelwaeplngnikhhit epnphyychnathisud wrrkh twidtwhnung tamphyychnakhanghlng hmwd thiw thatu lng y pccy hlngthatuthilngthaydwy w aeplng y epn w aelwaeplng w w epn ph ph echn thiph phti thiw y ti yxmeln siph phti siw y ti yxmeyb hlngthatuthilngthaydwyphyychnainwrrkh k t p wrrkhthi 1 3 5 aela y l s aeplng y epnbuphphrup khuxehmuxntwhna y sk kti sk y yxmxac samarth kup pti kup y yxmokrth tp pti tp y yxmeduxdrxn lup pti lup y yxmlb sp pti sp y yxmaechng thip pti thip y yxmswang rungeruxng hmwd su thatu lng nu na xuna pccy nu pccy aeplng xu epn ox echn suonti su nu ti yxmfng na xuna lnghnawiphttithikhuntndwysra ihlb xa thi na echn sunati su na ti yxmfng sunn ti su na xn ti yxmfng papunati p xp xuna ti yxmbrrlu papunn ti p xp xuna xn ti yxmbrrlu lngwiphttihmwdxchchttnihruxxun thikhuntndwysra hruxlng xi xakhm thalb na pccy ihphvththi xu epn ox lng s xakhm xs ossi x su na s xi idfngaelw xsuni x su na xi oss sami su na s sami ckfng sunis sami su na xi s sami sk thatu xac samarth lnginhmwdxchchttni phwissnti ihaeplng k epn kh sxnphyychna lb xuna pccy xsk khi x sk xuna xi idxacaelw sk khis sti sk xuna xi s sti ckxac sk kueny y sk xuna exy y phungxac hmwd ki thatu lng na pccy echphaa ki thatu lng na pccy rssa xi epn xi aeplng n epn n echn wik kinati wi ki na ti yxmkhay na pccy lnghnawiphttithikhuntndwysra hruxlng xi xakhm ihlbsrahna kieny y ki na exy y phungsux wik kinis sti wi ki na xi s sti ckkhay lb na pccyidbang hruxaeplng na epn y echn 1 lng exy y aelwaeplng exy y epn ya txnglb na imlbimid echn chy ya ya na exy y phungru 2 lngxchchttni lbhruximlb na kid echn sy chani s ya na xi ru xy yasi x ya na s xi idruaelw 3 na pccy thimi ti xyuhlng aeplngepn y echn winayti wi ya na ti yxmruwiessya thatu inhmwd ki thatu aeplngepn cha ch na idbang aeplng ya epn cha txngmi na xyuhlng echn wichanati wi ya na ti yxmruaecng aeplng ya epn ch txngmi ya thiaeplngmacak exy y xyuhlng echn chy ya ya na exy y phungru wichaeny y wi ya na exy y phungru aeplng ya epn na txnglng ti ethann echn winayti wi ya na ti yxmruwiess wichanatu wi ya na tu cngruwiess hmwd khh thatu lng n ha pccy khh thatu lng n ha aelwlb h thisudthatuesmx khh thatu lng p p aeplng khh epn ekh echn ekhp pti khh p p ti yxmthuxexa n ha pccy lnghnawiphttithiimkhuntndwysra hruxlng xi xakhm ihlbsrahna echn khn hi khh n ha xi thuxexaaelw khn his sti khh n ha xi s sti ckthuxexa pccypracahmwdthatu lngaelwimehnrup phungthrabwalngaelwlbid echn xkh khehsi x khh n ha xi s xi idthuxexaaelw khn ehy y khh n ha exy y phungthuxexa imlb n ha hmwd tn thatu lng ox yir pccy hlng tn thatu aeplng ox epn xu id echn tonti tnuti tn ox ti yxmaephip kr thatu lng ox pccy aeplng ox epn xu aeplng x thi k epn xu aeplng xu epn w lb r thisudthatu sxn w aeplng w w epn ph ph echn kuph phn ti kr ox ti yxmtha kr thatu lng yir pccy lb r thisudthatu echn kyirti kr yir ti yxmtha nxkcakhmwdwttmana pycmi lngaelwlb ox pccyid echn kery y kr ox exy y phungtha xkri x kr ox xi thaaelw yir pccy lnghlng kr thatu kb exy y exth wiphtti ihaeplng exy y epn xa aeplng ex aehng exth epn xa aelw lb r thisudthatuidbang echn kyira kr yir exy y phungtha kyirath kr yir exth phungtha kr thatu lng xa hiyttni aeplng kr epn ka id echn xka x kr ox xa idthaaelw xkrim ha x kr ox xi m ha idthaaelw kr thatu lngwiphttihmwdxchchttni aeplng kr epn kas id echn xkasi x kr ox xi idthaaelw xkrusu x kr ox xu idthaaelw hrux aeplng kr epn ka lng s xakhm echn xkasi x kr ox s xi kr thatu lngwiphttihmwdphwissnti aeplng kr thngpccy epn kah aela lb s s echn kahiti kr ox xi s sti cktha kris sti kr ox xi s sti cktha lb ox kr thatu mi s epnbthhna aeplng kr epn khr echn xphisng khorti xphi s kr ox ti yxmtkaetng hlngthatuxun inhmwdni echn sk okti sk ox ti yxmxac pp opti p xp ox ti yxmthung sxn p klangthatu hmwd cur thatu lng en ny pccy pccythienuxngdwy n mixanacihphvththitnthatuid aelalb n aehngpccyehlaniesiy phvththi wuth thi wuth thi thaihecriy khuxthaihepn 2 than hruxesiyngyawkhun ihphvththi xi xi epn ex phvththi xu xu epn ox xi xakhm thiichlnginwiphttihmwdporkkha xchchttni phwissnti kalatiptti ihlngechphaathilng ny pccyethann ocerti ocryti cur en ny ti yxmlk ewethti ewthyti with en ny ti yxmru ecetti ectyti cit en ny ti yxmkhid chaepti chapyti chp en ny ti yxmepha py yaepti p yp en ti yxmpulad py yapyis sti p yp ny xi s sti ckpulad paehti pahyti ph en ny ti yxmsngip opesti opsyti pus en ny ti yxmeliyngdu xuy oyechsi xu yuch en s xi sngipaelw paelti palyti pal en ny ti yxmrksa palyis sti pal ny xi s sti ckrksa epnthikha imphvththi xphipuechti xphipuchyti xphi puch en ny ti yxmbucha suecti sucyti suc en ny ti yxmikhkhwam phaechti phachyti phach en ny ti yxmaebng misngoykh imphvththi mn ets sti mn tyis sti mn t en ny s sti ckpruksa pt ethti pt thyti pt th en ny ti yxmprarthna thatuhmwd cur thimi xi epnthisud ihlngnikhkhhitxakhm aeplngepnphyychnathisudwrrkh mirupepnsngoykh imtxngphvththi mn ethti mn thyti mthi en ny ti yxmhweraa phn echti phn chyti phchi en ny ti yxmrungeruxng ykewnbangthatu imphvththi khenti khnyti khn en ny ti yxmnb khetti khtyti kht en ny ti yxmkrathb kethti kthyti kth en ny ti yxmklaw kethsi kthyusu kth en ny s xi klawaelwswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidxphyysphth Indeclinables khuxklumkhathicaimthukphnimwacanaipprakxbpraoykhswnidktamidaek xupsrrkh pccy nibat section xangxingNagrajji 2003 Pali language and the Buddhist Canonical Literature Agama and Tripitaka vol 2 Language and Literature Stargardt Janice Tracing Thoughts Through Things The Oldest Pali Texts and the Early Buddhist Archaeology of India and Burma Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences 2000 page 25 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux Norman xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux grammar kingship Hazra Kanai Lal Pali Language and Literature a systematic survey and historical study D K Printworld Lrd New Delhi 1994 page 19 khwamepnmakhxngphraitrpidk txnthi 76 2014 08 05 thi ewyaebkaemchchin khxlmn thrrmaitthrrmmasn ody it tamthang eriykkhxmulemux 14 6 52 Robert P Goldman amp Sally J Sutherland Goldman 2002 pp 13 19 sfn error no target CITEREFRobert P GoldmanSally J Sutherland Goldman2002 Colin P Masica 1993 p 146harvnb error no target CITEREFColin P Masica1993 notes of this diacritic that there is some controversy as to whether it represents a homorganic nasal stop a a nasalised or all these according to context hnngsuxxanephimetimwikitaramikhumuxinhwkhx phasabali American National Standards Institute 1979 American National Standard system for the romanization of Lao Khmer and Pali New York The institute Andersen Dines 1907 A Pali Reader Copenhagen Gyldendalske Boghandel Nordisk Forlag p 310 subkhnemux 29 September 2016 Mahathera Buddhadatta 1998 Concise Pali English Dictionary Quickly find the meaning of a word without the detailed grammatical and contextual analysis ISBN 8120806050 2006 A Pali Grammar for Students Silkworm Press Gupta K M 2006 Linguistic approach to meaning in Pali New Delhi Sundeep Prakashan ISBN 81 7574 170 8 Hazra K L 1994 Pali language and literature a systematic survey and historical study Emerging perceptions in Buddhist studies no 4 5 New Delhi D K Printworld ISBN 81 246 0004 X Martineau Lynn 1998 Pali Workbook Pali Vocabulary from the 10 day Vipassana Course of S N Goenka ISBN 1928706045 Muller Edward 2003 1884 The Pali language a simplified grammar Trubner s collection of simplified grammars London Trubner ISBN 1 84453 001 9 Bhikkhu Nanamoli A Pali English Glossary of Buddhist technical terms ISBN 9552400864 Charles Duroiselle A Practical Grammar of the Pali Language 3rd Edition 1997 Perniola V 1997 Pali Grammar Oxford The Pali Text Society Siri Petchai and Vichin Phanupong Chulachomklao of Siam Paḷi Tipiṭaka 1893 Digital Preservation Edition Dhamma Society Fund 2009 Soothill W E amp Hodous L 1937 A dictionary of Chinese Buddhist terms with Sanskrit and English equivalents and a Sanskrit Pali index London K Paul Trench Trubner amp Co Webb Russell ed An Analysis of the Pali Canon Buddhist Publication Society Kandy 1975 1991 see http www bps lk reference asp 3 mithunayn 2013 thi ewyaebkaemchchin Wallis Glenn 2011 Buddhavacana a Pali reader PDF eBook ISBN 192870686X Wilhem Geiger Pali Literatur und Sprache 1892 siri ephchrichy p th 9 aelawicintn phanuphngs phraitrpidkpaliculcxmeklabrmthmmikmharach r s 112 xksrsyam chbbxnurksdicithl kxngthunsnthnathmmnasukh 2551 r t chlad buylxy prawtiwrrnkhdibali 2527 pthmphngs ophthiprasiththinnth prawtiphasabali khwamepnmaaelathismphnthkbphasaprakvtaelasnskvt 2535 prani laphanich phasasnskvt khunkhainkarphthnakhwamekhaicphasabali 2536 hna 113 145 aehlngkhxmulxunwikiphiediy saranukrmesri inphasabali wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa Pali wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb Pali language Reconstruction of Ancient Indian sound clusters on the basis of Pali sounds according to Grammatik des Pali by Achim Fahs xangxingphidphlad mipayrabu lt ref gt sahrbklumchux lower alpha aetimphbpayrabu lt references group lower alpha gt thisxdkhlxngkn