สถานีอวกาศนานาชาติ (อังกฤษ: International Space Station, ISS, รัสเซีย: Междунаро́дная косми́ческая ста́нция, МКС, ฝรั่งเศส: Station spatiale internationale, SSI) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 และมีแผนดำเนินการเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2012 ขณะที่การปฏิบัติการจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงปี ค.ศ. 2020 หรืออาจเป็นไปได้ถึงปี ค.ศ. 2028 เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก เนื่องจากสถานีอวกาศแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่อยู่ในระดับวงโคจรของโลก โดยมีมวลมากกว่าสถานีอวกาศใดๆที่มนุษย์เคยสร้างมาก่อนหน้านี้ทั้งหมด สถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่เป็นห้องทดลองวิจัยอย่างถาวรในอวกาศ ทำการทดลองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ชีววิทยา ชีววิทยามนุษย์ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และ อุตุนิยมวิทยา ซึ่งต้องอาศัยการทดลองในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากๆ สถานีอวกาศแห่งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสถานที่ทดสอบสำหรับระบบกระสวยอวกาศที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้สำหรับปฏิบัติการระยะยาวเพื่อการไปสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร การทดลองและการบริหารสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยคณะนักบินอวกาศซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในระยะยาว สถานีเริ่มปฏิบัติการนับแต่ลูกเรือถาวรคณะแรก คือ ที่ไปถึงสถานีอวกาศตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 คณะลูกเรือชุด อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ นับรวมแล้วปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 10 ปี และถือเป็นสถิติการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอวกาศโดยไม่ขาดความต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดอีกด้วย
มุมมองเฉียงจากข้างหน้า พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 | |
เครื่องหมายโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ | |
ข้อมูลของสถานี | |
---|---|
เลขทะเบียน COSPAR | 1998-067A |
หมายเลข SATCAT | 25544 |
สัญญาณเรียกขาน | Alpha, Station |
จำนวนลูกเรือ | ลูกเรือทั้งหมด: 7 ปัจจุบันอยู่: 7 |
ส่งขึ้นเมื่อ | 20 พฤศจิกายน 1998 |
ฐานส่ง |
|
มวล | 444,615 kg (980,208 lb) |
ความยาว | 73.0 m (239.4 ft) |
ความกว้าง | 109.0 m (357.5 ft) |
ปริมาตรอากาศ | 915.6 m3 (32,333 cu ft) |
ความดันบรรยากาศ | 101.3 kPa (14.7 psi; 1.0 atm) 79% nitrogen, 21% oxygen |
จุดใกล้โลกที่สุด | 413 km (256.6 mi) เหนือระดับน้ำทะเล |
จุดไกลโลกที่สุด | 422 km (262.2 mi) เหนือระดับน้ำทะเล |
ความเอียงวงโคจร | 51.64 องศา |
ความเร็วเฉลี่ย | 7.66 km/s[] (27,600 km/h; 17,100 mph) |
คาบการโคจร | 92.68 นาที[] |
จำนวนรอบโคจรต่อวัน | 15.49 |
ต้นยุคอ้างอิงวงโคจร | 24 เมษายน 2022 16:30:11 |
จำนวนวันที่โคจร | 25 ปี 6 เดือน 26 วัน (15 มิถุนายน 2024) |
จำนวนวันที่มนุษย์อยู่ | 23 ปี 7 เดือน 13 วัน (15 มิถุนายน 2024) |
จำนวนรอบโคจรรวม | 133,312 ข้อมูลเมื่อ มิถุนายน 2022[update] |
การสลายของวงโคจร | 2 กม./เดือน |
สถิติ ณ ข้อมูลเมื่อ 9 มีนาคม ค.ศ. 2021 [update] อ้างอิง: | |
องค์ประกอบ | |
โครงสร้างของสถานีอวกาศนานาชาติ ข้อมูลเมื่อ ธันวาคม 2022[update] |
ตัวสถานีอวกาศนานาชาติประกอบด้วยสถานีอวกาศในโครงการต่าง ๆ ของหลายประเทศ ซึ่งรวมไปถึง เมียร์-2 ของอดีตสหภาพโซเวียต, ฟรีดอม ของสหรัฐ, โคลัมบัส ของชาติยุโรป และ คิโบ ของญี่ปุ่น งบประมาณจากแต่ละโครงการทำให้ต้องแยกออกเป็นโครงการย่อย ๆ หลายโครงการก่อน แล้วจึงนำไปรวมกันเป็นสถานีนานาชาติที่เสร็จสมบูรณ์ในภายหลัง โครงการสถานีอวกาศนานาชาติเริ่มต้นปี ค.ศ. 1994 จากโครงการกระสวยอวกาศ เมียร์ โมดูลแรกของสถานีอวกาศนานาชาติคือ ซาร์ยา ถูกส่งขึ้นในปี ค.ศ. 1998 โดยประเทศรัสเซีย หลังจากนั้นได้มีการเชื่อมต่อกันหลายครั้งด้วยโมดูลที่ได้รับการปรับความดันอย่างซับซ้อน โครงสร้างภายนอกสถานี และองค์ประกอบอื่นๆ ที่นำส่งขึ้นโดยกระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา จรวดโปรตอนของรัสเซีย และจรวดโซยูสของรัสเซีย นับถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 สถานีอวกาศมีชิ้นส่วนโมดูลปรับความดัน 13 โมดูล ติดตั้งอยู่บนโครงค้ำหลัก (; ITS) ระบบไฟฟ้าของสถานีมาจากขนาดใหญ่ 16 แผงติดตั้งอยู่บนโครงสร้างภายนอก และมีแผงขนาดเล็กกว่าอีก 4 แผงอยู่บนโมดูลของรัสเซีย สถานีอวกาศนานาชาติลอยอยู่ในวงโคจรที่ความสูงระดับ 278-460 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 27,724 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โคจรรอบโลก 15.77 รอบต่อวัน
สถานีอวกาศนานาชาติเป็นโครงการร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านอวกาศ 5 หน่วยจากชาติต่างๆ ได้แก่ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA, สหรัฐอเมริกา), องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (RKA, รัสเซีย) ,องค์การอวกาศแคนาดา (CSA, แคนาดา) ,องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA, ญี่ปุ่น) และ องค์การอวกาศยุโรป (ESA, สหภาพยุโรป) การระบุความเป็นเจ้าของและการใช้สอยสถานีดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศหลายฉบับ โดยที่รัสเซียเป็นเจ้าของชิ้นส่วนโมดูลของรัสเซียเองโดยสมบูรณ์ ESA ประเมินค่าใช้จ่ายของโครงการสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านยูโรตลอดช่วงระยะเวลา 30 ปี ด้วยงบประมาณมหาศาลนี้ทำให้โครงการกระสวยอวกาศนานาชาติตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์มากมายทั้งในด้านการเงิน ความสามารถในการทำวิจัย และการออกแบบทางเทคนิค
ส่วนต่างๆ ของสถานีถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมปฏิบัติการบนพื้นโลกหลายแห่ง รวมไปถึง ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของนาซา (MCC-H) ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของ RKA (Russian Space Agency - TsUP) ศูนย์ควบคุมโครงการโคลัมบัส (Col-CC) ศูนย์ควบคุม ATV (ATV-CC) ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการของญี่ปุ่น (JEM-CC) และศูนย์ควบคุมปฏิบัติการสำคัญอื่นๆ (HTV-CC และ MSS-CC) การซ่อมบำรุงสถานีอวกาศนานาชาติดำเนินการโดยกระสวยอวกาศทั้งแบบที่ใช้มนุษย์และไม่ใช้มนุษย์ควบคุม รวมถึงกระสวยอวกาศโซยูส กระสวยอวกาศโพรเกรส ยานขนส่งอัตโนมัติ และ ยานขนส่ง H-II มีนักบินอวกาศและนักสำรวจอวกาศจากประเทศต่างๆ 15 ประเทศได้ขึ้นไปเยี่ยมชมแล้ว
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์แต่เดิมของสถานีอวกาศนานาชาติสร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องทดลองและวิจัย เพื่อประโยชน์ที่นอกเหนือจากการใช้งานกระสวยอวกาศ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ใช้งานได้อย่างถาวรในสภาวะสุญญากาศ ทำให้สามารถทำการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ ทั้งทางด้านการทดลองที่เฉพาะเจาะจง รวมไปถึงการพำนักอาศัยของลูกเรือที่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ การที่มีลูกเรืออยู่ประจำการอย่างถาวรทำให้สถานีอวกาศสามารถทำงานหลายอย่างที่กระสวยอวกาศแบบไม่มีคนควบคุมไม่อาจทำได้ เช่นสามารถเฝ้าดูการทดลองได้อย่างใกล้ชิด แต่งเติม ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ทันที คณะนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานบนพื้นโลกจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดการทดลองหรือริเริ่มการทดลองแบบใหม่ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้หากใช้ยานอวกาศไม่มีคนบังคับซึ่งศึกษาเป็นพิเศษ
คณะลูกเรือจะอยู่ปฏิบัติการบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลาติดต่อกันหลายเดือน ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านต่าง ๆ ทุกวัน (ประมาณ 160 ชั่วโมง-คน ต่อหนึ่งสัปดาห์) รวมถึงการทดลองเกี่ยวกับชีววิทยามนุษย์ (ยาในอวกาศ) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ฟิสิกส์ และการสังเกตการณ์โลก เช่นกันกับการทดลองหลักการทางวิชาการและเทคโนโลยี จากผลสรุปการปฏิบัติงานนับแต่เริ่มการส่ง Zarya ในปี ค.ศ. 1998 จนถึงคณะลูกเรือ ได้มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญดำเนินไปทั้งสิ้น 138 หัวข้อ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่วิทยาศาสตร์พื้นฐานไปจนถึงการวิจัยในสาขาใหม่ ได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นประจำทุกเดือน
สถานีอวกาศนานาชาติยังเป็นสถานที่ทดสอบระบบกระสวยอวกาศที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำที่สุดเพื่อใช้ในปฏิบัติการระยะยาวสู่ดวงจันทร์และดาวอังคาร ทำให้สามารถประเมินเครื่องมือวัดต่างๆ ในตำแหน่งที่ปลอดภัยในวงโคจรต่ำของโลก ทำให้มีประสบการณ์ในการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และเปลี่ยนระบบในวงโคจร ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมกระสวยอวกาศจากโลกต่อไปในภายหน้า การทำการทดสอบนี้บนสถานีอวกาศนานาชาติทำให้ลดความเสี่ยงของปฏิบัติการลงได้อย่างมาก และยังเพิ่มความสามารถของกระสวยอวกาศที่จะใช้เดินทางระหว่างดาวเคราะห์ด้วย
นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ในการทดลองและวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีความก้าวหน้าอีกมากมายในการศึกษาและในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติได้มอบโอกาสแก่นักเรียนบนโลกให้ทำการศึกษาและพัฒนาการทดลอง ทดสอบและมีส่วนร่วมจากในห้องเรียน ให้สัมผัสกับการทดลองขององค์การนาซาและภารกิจด้านวิศวกรรมต่างๆ ของสถานีอวกาศ โครงการสถานีอวกาศนานาชาติยินยอมให้มีตัวแทนจาก 14 ประเทศขึ้นไปพำนักอาศัยและทำงานร่วมกันในอวกาศ เพื่อสร้างบทเรียนสำคัญที่สามารถนำไปสู่ภารกิจร่วมกันระหว่างนานาชาติในอนาคต
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
เป้าหมายหนึ่งของสถานีอวกาศนานาชาติ คือการทำการทดลองที่จำเป็นต้องทำบนสถานีอวกาศภายใต้สภาวะผิดไปจากปกติ การวิจัยสาขาหลักได้แก่ ชีววิทยา (การวิจัยทางแพทย์และเทคโนโลยีทางชีววิทยา) ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ของไหล วัสดุศาสตร์ และควอนตัมฟิสิกส์) ดาราศาสตร์ (รวมถึงจักรวาลวิทยา) และอุตุนิยมวิทยา กำหนดให้สถานีอวกาศส่วนของสหรัฐเป็นห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์จากสถานีอวกาศโดยภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา การทดลองเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบของสภาวะไร้น้ำหนักต่อร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2010 จะมีโมดูลเกี่ยวกับการวิจัยขึ้นไปติดตั้งอีกสี่โมดูล คาดว่าจะมีการวิจัยที่ละเอียดมากกว่านี้
การวิจัยบนสถานีอวกาศช่วยให้สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ที่อยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน เช่น การเสื่อมของกล้ามเนื้อและกระดูก และศึกษาเกี่ยวกับของไหลในร่างกายมนุษย์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตั้งถิ่นฐานในอวกาศและการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน ข้อมูลจากการศึกษานับถึงปี 2006 บ่งชี้ว่าจะมีอันตรายใหญ่หลวงหากนักบินอวกาศลงจอดบนดาวเคราะห์หลังจากผ่านการเดินทางระหว่างดวงดาวเป็นระยะเวลานานๆ (เช่นระยะเวลาเดินทาง 6 เดือนที่ใช้เดินทางไปยังดาวอังคาร) มีการศึกษาทางการแพทย์ระดับสูงบนสถานีอวกาศนานาชาติผ่านสถาบันวิจัยชีวแพทย์ศาสตร์และอวกาศแห่งชาติ (National Space and Biomedical Research Institute หรือ NSBRI) หัวข้อที่สำคัญเช่น การวิเคราะห์อัลตราซาวน์ขั้นสูงในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ซึ่งทำการตรวจสอบอัลตราซาวน์นักบินอวกาศโดยอาศัยคำแนะนำทางไกลจากผู้เชี่ยวชาญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูการวิเคราะห์โรคและการรักษาในเงื่อนไขการแพทย์ต่างๆ ในอวกาศ ปกติแล้วจะไม่มีแพทย์อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ การวิเคราะห์เงื่อนไขทางการแพทย์จึงเป็นเรื่องท้าทาย และต้องคาดการณ์ล่วงหน้าไปก่อนว่าคำแนะนำทางไกลจากโลกสำหรับการอัลตราซาวน์ในกรณีฉุกเฉินรวมถึงการดูแลรักษาโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์อาจเป็นไปได้ยาก
นักวิจัยยังทำการศึกษาผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมที่เกือบจะไร้น้ำหนักบนสถานีอวกาศที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การพัฒนา และกระบวนการภายในของพืชและสัตว์ ข้อมูลที่ได้นี้ นาซาต้องการนำไปใช้ศึกษาผลกระทบจากสภาวะเกือบไร้น้ำหนักที่มีต่อการเติบโตของเนื้อเยื่อสามมิติคล้ายเนื้อเยื่อมนุษย์ และผลึกโปรตีนรูปร่างประหลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ในอวกาศ
นาซ่าศึกษาปัญหาฟิสิกส์เด่นๆ เช่น กลศาสตร์ของไหลในสภาพไร้น้ำหนักซึ่งยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก เพื่อทำความเข้าใจกับรูปแบบพฤติกรรมของของไหลได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากของไหลสามารถรวมตัวกันได้เกือบสมบูรณ์ในภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ขณะที่เมื่ออยู่บนโลกกลับไม่สามารถผสมกันได้ นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์หวังจะได้รับข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับปฏิกิริยาของสสารที่เชื่องช้าลงจากผลของแรงโน้มถ่วงและอุณหภูมิที่ลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารตัวนำยิ่งยวดได้ดียิ่งขึ้น
การศึกษาด้านวัสดุศาสตร์ก็เป็นหัวข้อสำคัญหนึ่งบนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากการพัฒนาเทคนิคที่ใช้กันอยู่บนโลก นอกจากนี้ นักวิจัยต่างก็หวังที่จะศึกษากระบวนการเผาไหม้ในสภาพที่แรงโน้มถ่วงน้อยกว่าบนโลก เพื่อค้นหาหนทางพัฒนาประสิทธิภาพการเผาไหม้ อันจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์วางแผนที่จะใช้สถานีอวกาศเพื่อตรวจสอบละอองลอย โอโซน ไอน้ำ และออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลก และรังสีคอสมิก ฝุ่นอวกาศ ปฏิสสาร และสสารมืดในจักรวาล
ประวัติ
สถานีอวกาศนานาชาติเริ่มต้นโครงการมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น โดยเป็นโครงการที่ทำงานร่วมกันระหว่างสถานีอวกาศจากประเทศต่างๆ หลายประเทศ ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์การนาซาวางแผนการส่งโมดูลสถานีอวกาศชื่อว่า สถานีอวกาศฟรีดอม ซึ่งเป็นเหมือนสำเนาของและสถานีอวกาศเมียร์ของรัสเซีย ขณะที่ทางฝั่งโซเวียตได้เตรียมการสร้าง เมียร์-2 ในช่วงทศวรรษ 1990 เพื่อนำขึ้นไปใช้แทนที่ เมียร์ อย่างไรก็ดี ด้วยปัญหาทางด้านงบประมาณและข้อจำกัดในการออกแบบ ฟรีดอม จึงไม่มีความคืบหน้าใดๆ หลังจากสร้างแบบจำลองและการทดสอบอุปกรณ์ย่อย
การล่มสลายของสหภาพโซเวียตปิดฉากสงครามเย็นและการแข่งขันกันทางอวกาศ โครงการ ฟรีดอม กำลังจะถูกรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาสั่งยกเลิก นอกจากนี้ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจของประเทศรัสเซียยุคหลังโซเวียตก็ทำให้โครงการ เมียร์-2 ล้มเลิกไปด้วย ประเทศอื่นๆ ก็ประสบปัญหาทางด้านงบประมาณสำหรับสถานีอวกาศเช่นเดียวกัน ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ เริ่มการเจรจากับหุ้นส่วนอื่นในยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่น และแคนาดา ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 เพื่อเริ่มโครงการสถานีอวกาศที่เป็นความร่วมมือระหว่างนานาชาติ
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1992 จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กับบอริส เยลซิน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้ตกลงร่วมกันในโครงการสำรวจอวกาศ โดยลงนามใน ข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการร่วมมือในการสำรวจและใช้สอยอวกาศภายนอกเพื่อสันติภาพ ข้อตกลงนี้เริ่มต้นด้วยโครงการร่วมมือเล็กๆ โดยที่นักบินอวกาศชาวอเมริกัน 1 คนจะขึ้นสู่สถานีอวกาศรัสเซีย และนักบินอวกาศรัสเซีย 2 คนจะขึ้นสู่สถานีอวกาศของสหรัฐฯ
เดือนกันยายน ค.ศ. 1993 อัล กอร์ รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กับ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ได้ประกาศแผนการสำหรับสถานีอวกาศแห่งใหม่ ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นสถานีอวกาศนานาชาติ และเพื่อเป็นการเตรียมการโครงการใหม่นี้ ทั้งสองได้ตกลงกันว่า สหรัฐอเมริกาจะเข้าช่วยเหลือในโครงการ เมียร์ อย่างใกล้ชิดในเวลาหลายปีข้างหน้า โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงซึ่งต่อมานับรวมเอายานในวงโคจรที่เชื่อมต่อกับเมียร์ด้วย
โครงการสถานีอวกาศนานาชาติได้วางแผนที่จะเชื่อมต่อสถานีอวกาศขององค์การอวกาศที่เข้าร่วมเอาไว้ด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง ฟรีดอม, เมียร์-2 (พร้อม DOS-8 ที่ภายหลังกลายเป็นซเวซดา), โคลัมบัส ขององค์การอวกาศยุโรป และห้องทดลอง คิโบ ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น โมดูลแรกของโครงการคือ ซาร์ยา ถูกส่งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1998 และคาดหมายว่าสถานีอวกาศจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี ค.ศ. 2003 อย่างไรก็ดี ความล่าช้าต่างๆ ทำให้แผนประมาณการเสร็จสมบูรณ์ของโครงการต้องเลื่อนออกไปเป็นปี ค.ศ. 2011
สถานีอวกาศ
โครงสร้างและการประกอบสถานี
การประกอบโครงสถานีอวกาศนานาชาติเป็นความท้าทายด้านวิศวกรรมอากาศยานอย่างยิ่งครั้งหนึ่ง โครงการนี้เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 นับถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009 การประกอบสถานีอวกาศคืบหน้าไปแล้ว 82.8%.
ชิ้นส่วนแรกของสถานีอวกาศนานาชาติ คือ ซาร์ยา นำขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 โดยจรวดโปรตอนของรัสเซีย หลังจากนั้นสองสัปดาห์จึงติดตามมาด้วยโหนดโมดูล 3 ชุด คือ ยูนิตี้ นำขึ้นสู่อวกาศโดยเที่ยวบิน STS-88 ชิ้นส่วนทั้งสองนี้ถูกทิ้งไว้ปราศจากผู้ควบคุมเป็นเวลากว่าหนึ่งปีครึ่ง จนกระทั่ง ซเวซดา โมดูลของรัสเซียถูกนำขึ้นไปประกอบเพิ่มเติมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 ทำให้สถานีอวกาศนานาชาติสามารถรองรับลูกเรือได้สูงสุดคราวละ 3 คนอย่างต่อเนื่อง คณะลูกเรือถาวรชุดแรกคือ เดินทางไปถึงสถานีอวกาศนานาชาติในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 โดยนำชิ้นส่วน 2 ชิ้นไปประกอบในโครงค้ำหลัก () คือโครงส่วนประกอบ Z1 และ P6 ทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวตั้งต้นให้สถานีอวกาศสามารถทำการสื่อสาร การนำทาง เป็นระบบดินให้ระบบไฟฟ้า (สำหรับ Z1) และเป็นแหล่งพลังงานเริ่มต้นที่ได้จากแผงรับแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบน P6
ช่วงสองปีถัดมา มีการขยายสถานีอวกาศโดยส่วนประกอบเทียบท่า นำส่งโดยจรวด พร้อมกันนั้น ห้องทดลอง เดสทินี กับ ก็นำขึ้นประกอบโดยกระสวยอวกาศแอตแลนติสและกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ สถานีอวกาศยังติดตั้งแขนกลหลัก Canadarm2 และชิ้นส่วนต่างๆ อีกหลายชิ้นเข้ากับโครงค้ำหลักของสถานี
แผนการต่อขยายสถานีอวกาศต้องหยุดชะงักไปหลังจากเกิดอุบัติเหตุกับกระสวยอวกาศโคลัมเบียในปี ค.ศ. 2003 การก่อสร้างต้องหยุดชะงักไปพร้อมกับการระงับโครงการกระสวยอวกาศ จนกระทั่งกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี่ เที่ยวบิน STS-114 ขึ้นบินอีกครั้งในปี ค.ศ. 2005
การประกอบสถานีเริ่มคืบหน้าอย่างเป็นทางการจากการนำส่งแผงรับแสงอาทิตย์ชุดที่สองของสถานีอวกาศที่นำส่งโดยกระสวยอวกาศแอตแลนติส เที่ยวบิน STS-115 หลังจากนั้นได้มีการติดตั้งโครงสร้างประกอบเพิ่มเติมจำนวนมาก รวมถึงแผงรับแสงอาทิตย์ชุดที่สาม นำส่งขึ้นโดยเที่ยวบิน STS-116 STS-117 และ STS-118 ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าของสถานี ทำให้สามารถติดตั้งโมดูลอัดอากาศเพิ่มเติมได้ มีการติดตั้งโหนดฮาร์โมนีและห้องทดลองโคลัมบัสของทางยุโรปหลังจากนั้น ตามด้วยอุปกรณ์สองชุดแรกของโมดูลคิโบของญี่ปุ่น เดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 เที่ยวบินที่ STS-119 นำส่งอุปกรณ์ติดตั้งโครงค้ำหลักชุดสุดท้ายเสร็จสมบูรณ์รวมถึงการติดตั้งแผงรับแสงอาทิตย์ชุดที่สี่ซึ่งเป็นชุดสุดท้าย เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์เที่ยวบิน STS-127 นำส่งอุปกรณ์ชุดสุดท้ายของโมดูลคิโบขึ้นติดตั้ง
นับถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 สถานีอวกาศนานาชาติได้ติดตั้งโมดูลอัดอากาศทั้งสิ้น 13 โมดูล โครงค้ำหลักติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ กำลังรอโมดูลอัดอากาศเอนกประสงค์ ลีโอนาร์โด, แขนกลของยุโรป, โมดูลของทางรัสเซียอีก 2 โมดูล และชิ้นส่วนภายนอกอีกจำนวนหนึ่งรวมถึง (AMS-02) ซึ่งคาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2011 สถานีอวกาศนานาชาติจะมีมวลรวมทั้งสิ้นมากกว่า 400 เมตริกตัน
โมดูลที่ได้รับการปรับความดัน
สถานีอวกาศนานาชาติยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วมันจะประกอบด้วยโมดูลที่ได้รับการปรับความดันทั้งหมด 16 โมดูล มีปริมาตรรวมทั้งหมดประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตร โมดูลเหล่านี้ประกอบด้วยห้องทดลอง ส่วนเชื่อมต่อ โหนด และส่วนอยู่อาศัย ตอนนี้มีโมดูล 9 โมดูลอยู่ในวงโคจรแล้ว อีก 5 โมดูลยังคงรอการส่งขึ้นมา โมดูลแต่ละโมดูลจะถูกขนขึ้นมาด้วยกระสวยอวกาศ และ ดังตารางข้างล่างนี้
โมดูล | เที่ยวบิน | วันที่ปล่อย | ยานขนส่ง | วันที่เชื่อมต่อ | ประเทศ | มุมมองแบบแยกชิ้น | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ซาร์ยา | 1A/R | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 | - | รัสเซีย (ผู้สร้าง) สหรัฐฯ (เงินทุน) | |||
เป็นชิ้นส่วนแรกสุดของสถานีอวกาศนานาชาติที่นำส่งขึ้น ทำหน้าที่ผลิตและจัดเก็บกระแสไฟฟ้า ขับเคลื่อน และนำทางการประกอบในช่วงต้น ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นโมดูลสำหรับเก็บของทั้งด้านในโมดูลและถังน้ำมันด้านนอก | |||||||
(โหนด 1) | 2A | 4 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์, | 7 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | สหรัฐฯ | ||
เป็นโหนดโมดูลชุดแรก ทำหน้าที่เชื่อมต่อส่วนของสหรัฐอเมริกาบนสถานีเข้ากับส่วนของรัสเซีย (โดยผ่านตัวแปลงปรับความดัน PMA-1) และเป็นจุดเทียบท่าสำหรับโครงค้ำ Z1, ส่วนแอร์ล็อก เควสต์, ห้องทดลอง เดสทินี และโหนด Tranquillity | |||||||
ซเวซดา (โมดูลบริการ) | 1R | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 | จรวดโปรตอน-เค | 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 | รัสเซีย | ||
เป็นโมดูลบริการของสถานี โดยเป็นพื้นที่ใช้สอยหลักสำหรับที่พักของบรรดาลูกเรือ ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม และการควบคุมทิศทางกับวงโคจร โมดูลยังทำหน้าที่เป็นจุดเทียบท่าสำหรับ และ | |||||||
(ห้องทดลองสหรัฐฯ) | 5A | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 | กระสวยอวกาศแอตแลนติส, | 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2001 | สหรัฐฯ | ||
เป็นส่วนงานวิจัยพื้นฐานของสหรัฐอเมริกาที่ติดตั้งบนสถานี ใช้สำหรับการทดลองโดยทั่วไป ภายในมีชั้นมาตรฐานอยู่ 24 ชั้น บางส่วนใช้สำหรับระบบสิ่งแวดล้อมและเครื่องมือเครื่องใช้ประจำวันของลูกเรือ มีหน้าต่างขนาด 51 ซม. ซึ่งเป็นหน้าต่างบานใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีใช้ในอวกาศ เดสทินียังเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับโครงค้ำหลักส่วนใหญ่ของสถานีอวกาศด้วย | |||||||
(จุดเชื่อมต่อแอร์ล็อก) | 7A | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 | กระสวยอวกาศแอตแลนติส, | 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 | สหรัฐฯ | ||
เป็นจุดเชื่อมต่อกักอากาศพื้นฐานสำหรับสถานีอวกาศ สำหรับการออกเดินในอวกาศของทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ส่วนล็อกอุปกรณ์ บรรจุชุดอวกาศและเครื่องมือ กับส่วนล็อกลูกเรือ ซึ่งเป็นจุดที่นักบินอวกาศจะออกเดินไปในอวกาศ | |||||||
(ส่วนประกอบเทียบท่า) | 4R | 14 กันยายน ค.ศ. 2001 | , | 16 กันยายน ค.ศ. 2001 | รัสเซีย | ||
เป็นท่าเชื่อมต่อเพิ่มเติมสำหรับยานอวกาศโซยูซและโพรเกรส ทั้งยังสามารถเป็นทางเข้าและทางออกให้แก่นักเดินอวกาศจากทางรัสเซีย นอกเหนือไปจากเป็นที่เก็บชุดอวกาศ | |||||||
(โหนด 2) | 10A | 23 ตุลาคม ค.ศ. 2007 | กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี, | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 | ยุโรป (ผู้สร้าง) สหรัฐฯ (เงินทุน) | ||
เป็นโมดูลโหนดที่ 2 ของสถานี ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางระบบอรรถประโยชน์ของสถานีอวกาศนานาชาติ ประกอบด้วยแร็ก 4 ชิ้นสำหรับเชื่อมต่อพลังงานไฟฟ้า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นจุดเชื่อมต่อกลางสำหรับส่วนประกอบอื่นๆ ผ่านทาง Common Berthing Mechanism (CBM) ทั้ง 6 ชุด ห้องทดลองโคลัมบัสของยุโรป และคีโบของญี่ปุ่นเชื่อมต่อกับโมดูลนี้อย่างถาวร และมีท่าเชื่อมต่อในวงโคจรสำหรับกระสวยอวกาศสหรัฐติดตั้งบนท่าด้านนอกของ ฮาร์โมนี ผ่านทาง PMA-2 นอกจากนี้โมดูลยังทำหน้าที่เป็นท่าเทียบสำหรับเที่ยวบินขนส่งสิ่งของและเสบียงอีกด้วย | |||||||
โคลัมบัส (ห้องทดลองยุโรป) | 1E | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 | กระสวยอวกาศแอตแลนติส, | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 | ยุโรป | ||
เป็นส่วนงานวิจัยพื้นฐานสำหรับทางยุโรป ประกอบด้วยห้องทดลองพื้นฐานและเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่ออกแบบมาสำหรับการทดลองด้านชีววิทยา งานวิจัยชีวแพทยศาสตร์ และฟิสิกส์ของไหล มีจุดเชื่อมต่อหลายแห่งติดตั้งอยู่ด้านนอกของโมดูลสำหรับการรับพลังงานและเชื่อมต่อข้อมูลกับห้องทดลองอื่นๆ มีแผนการที่จะขยายตัวโมดูลออกไปอีกเพื่อการศึกษาฟิสิกส์ควอนตัมและจักรวาลวิทยา | |||||||
โมดูล คีโบ ส่วนขนส่ง (JEM-ELM) | 1J/A | 11 มีนาคม ค.ศ. 2008 | กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์, | 12 มีนาคม ค.ศ. 2008 | ญี่ปุ่น | ||
เป็นส่วนหนึ่งของโมดูลห้องทดลอง คีโบ ของญี่ปุ่น ทำหน้าที่ในการจัดเก็บและอำนวยการขนส่งสิ่งของต่างๆ มายังห้องทดลองโดยผ่านส่วนปรับความดันที่รองรับการขนถ่ายภายใน | |||||||
โมดูล คีโบ ส่วนปรับความดัน (JEM-PM) | 1J | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 | กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี, | - | ญี่ปุ่น | ||
เป็นส่วนหนึ่งของโมดูลห้องทดลอง คีโบ ของญี่ปุ่น โดยทำหน้าที่เป็นแกนหลักของคีโบ ซึ่งส่วน ELM และเครื่องอำนวยความสะดวกภายนอกอื่นๆ จะต้องมาเชื่อมต่อ ห้องทดลองนี้เป็นโมดูลสถานีอวกาศนานาชาติที่ใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยแร็ก 23 ชิ้น ซึ่งรวมถึงแร็กการทดลอง 10 ชิ้น โมดูลใช้ในการทดลองเกี่ยวกับการแพทย์ในอวกาศ ชีววิทยา การสังเกตการณ์โลก การผลิตวัสดุ ไบโอเทคโนโลยี และงานวิจัยด้านการสื่อสาร นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นท่าเทียบสำหรับแพล็ตฟอร์มภายนอกอื่นๆ เพื่อให้สามารถขนถ่ายสิ่งของได้โดยตรงในสภาวะแวดล้อมในอวกาศโดยอาศัยแขนกล JEM-RMS ซึ่งติดตั้งอยู่กับโมดูล PM นี้ | |||||||
(Mini-Research Module 2) | 5R | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 | จรวดโซยูซ-ยู, | - | รัสเซีย | ||
เป็นส่วนประกอบสถานีอวกาศนานาชาติส่วนหนึ่งของรัสเซีย ใช้สำหรับการเทียบท่ายานโซยูซและยานโพรเกรส โดยเป็นห้องกักอากาศสำหรับการเดินอวกาศและเป็นส่วนเชื่อมต่อกับการทดลองวิทยาศาสตร์ด้วย | |||||||
(Node 3) | 20A | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 | กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์, | - | ยุโรป (ผู้สร้าง) สหรัฐฯ (เงินทุน) | ||
เป็นโหนดของสหรัฐฯ หน่วยที่ 3 และหน่วยสุดท้าย บรรจุระบบสนับสนุนการดำรงชีพที่ก้าวหน้าอย่างยิ่ง เพื่อทำหน้าที่รีไซเคิลน้ำเสียจากการใช้งานของลูกเรือ และสร้างออกซิเจนให้กับลูกเรือ โหนดนี้มีจุดเชื่อมต่อ 4 จุดเพื่อเชื่อมกับโมดูลปรับความดันหรือยานขนส่งลูกเรืออื่นๆ นอกเหนือไปจากการเป็นจุดเชื่อมต่อถาวรสำหรับโมดูลคูโปลา | |||||||
20A | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 | กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์, | - | ยุโรป (ผู้สร้าง) สหรัฐฯ (เงินทุน) | |||
เป็นโมดูลสังเกตการณ์เพื่อให้ลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติสามารถเฝ้าดูการปฏิบัติการของหุ่นยนต์และการเทียบท่ายานอวกาศได้โดยตรง รวมไปถึงเป็นจุดเฝ้าดูโลกด้วย โมดูลติดตั้งสถานีปฏิบัติการหุ่นยนต์สำหรับควบคุมการทำงานของ Canadarm2 และมีม่านเปิดปิดเพื่อป้องกันกระจกหน้าต่างจากการถูกอุกกาบาตขนาดเล็กปะทะทำให้เสียหาย | |||||||
Mini-Research Module 1 | ULF4 | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 | กระสวยอวกาศแอตแลนติส, | - | รัสเซีย | ||
Rassvet ถูกใช้งานสำหรับการเชื่อมต่อกับยานอวกาศและใช้เป็นที่เก็บเสบียงบนสถานี | |||||||
(Permanent Multipurpose Module) | ULF5 | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 | กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี, STS-133 | - | ยุโรป (ผู้สร้าง), สหรัฐฯ (ผู้ดำเนินการ) | ||
Rassvet ถูกใช้งานสำหรับการเชื่อมต่อกับยานอวกาศและใช้เป็นที่เก็บเสบียงบนสถานี |
โมดูลที่ยกเลิกแล้ว
มีโมดูลหลายชุดที่วางแผนเอาไว้สำหรับสถานี แต่ถูกยกเลิกไประหว่างที่ดำเนินโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ทั้งด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ ด้วยเหตุว่าโมดูลเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว หรือเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนการออกแบบใหม่ของสถานีหลังจากเกิดโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบียเมื่อปี ค.ศ. 2003 โมดูลที่ยกเลิกไปได้แก่
- ของสหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับการทดลองในหลายระดับที่แตกต่างกัน
- ของสหรัฐอเมริกา ใช้สำหรับเป็นศูนย์กลางการพำนักอาศัยบนสถานี ปัจจุบันมีสถานีสำหรับการนอนกระจายอยู่ทั่วไปในสถานี
- ของสหรัฐอเมริกา สำหรับเป็นเรือชูชีพของสถานี ปัจจุบันใช้ ทำหน้าที่เป็นเรือชูชีพ สำหรับลูกเรือที่ขึ้นปฏิบัติการทุกๆ 3 คน
- และ ของสหรัฐอเมริกา เดิมตั้งใจจะนำขึ้นไปแทนที่การทำงานของ Zvezda ในกรณีที่การนำส่งล้มเหลว
- ของรัสเซีย สำหรับใช้เก็บโมดูลการวิจัยและยานอวกาศของรัสเซียที่ไม่ใช้งานแล้ว
- ของรัสเซีย สำหรับรองรับ มีระบบจ่ายพลังงานของตัวเองจากแผงสุริยะบนโครงค้ำหลัก
- สองชุดของรัสเซีย เดิมวางแผนไว้ว่าจะใช้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ชิ้นส่วนที่ไม่ได้ปรับความดัน
นอกเหนือจากโมดูลปรับความดันแล้ว สถานีอวกาศนานาชาติยังติดตั้งอุปกรณ์ภายนอกเอาไว้เป็นจำนวนมาก โครงค้ำหลัก (ITS) ซึ่งเป็นโครงติดตั้งแผงรับแสงอาทิตย์หลักของสถานีและเครื่องกำเนิดความร้อน เป็นโครงสร้างภายนอกที่ใหญ่ที่สุด ประกอบไปด้วยส่วนประกอบย่อย 10 ชิ้นต่อเข้าด้วยกันเป็นโครงค้ำขนาดยาว 108.5 เมตร (356 ฟุต)
อัลฟาแม็กเนติกสเปกโตรมิเตอร์ (AMS) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทดลองฟิสิกส์อนุภาค มีกำหนดจะส่งขึ้นโดยเที่ยวบิน STS-134 ในปี ค.ศ. 2010 จะถูกติดตั้งเข้ากับโครงด้านนอกของโครงค้ำหลัก อุปกรณ์ AMS นี้จะค้นหาสสารผิดประหลาดด้วยการตรวจวัดรังสีคอสมิก เพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกำเนิดของเอกภพ รวมถึงการค้นหาหลักฐานแสดงการมีอยู่ของสสารมืดและปฏิสสาร
โครงค้ำหลักยังทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับระบบควบคุมแขนกลจากทางไกล (Remote Manipulator System; RMS) ของสถานี รวมถึงระบบซ่อมบำรุงเคลื่อนที่ (Mobile Servicing System; MSS) ซึ่งประกอบด้วยระบบฐาน, Canadarm2, และ โดยมีรางติดตั้งอยู่บนส่วนต่างๆ ของโครงค้ำหลักเพื่อให้แขนกลสามารถเข้าถึงทุกซอกส่วนของสถานีอวกาศในบริเวณกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา ระบบซ่อมบำรุงเคลื่อนที่จะได้รับการติดตั้ง ซึ่งมีกำหนดนำส่งโดยเที่ยวบิน STS-133 เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ส่วนต่างๆ มากขึ้น
ยังมีการติดตั้งระบบ RMS อีก 2 ระบบเข้าในการปรับแต่งสถานีครั้งสุดท้าย คือระบบแขนกลของยุโรปที่จะทำหน้าที่ให้บริการใน นำส่งขึ้นพร้อมกับ กับระบบแขนกลของญี่ปุ่นที่จะทำหน้าที่ให้บริการระบบสนับสนุนภายนอกของ JEM นำส่งขึ้นพร้อมกับโมดูลปรับความดัน JEM ในเที่ยวบิน STS-124 นอกจากนี้ยังมีเครนขนส่ง Strela ของรัสเซียอีก 2 ชิ้น ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนต่างๆ และเป็นทางเดินอวกาศสำหรับมนุษย์อวกาศในบริเวณรอบนอกของบริเวณวงโคจรรัสเซีย
สถานีที่เสร็จสมบูรณ์จะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ภายนอกชิ้นย่อมกว่าอีกหลายชิ้น เช่น (ESP) 3 ชุด นำส่งขึ้นโดยเที่ยวบิน STS-102, STS-114 และ STS-118 ใช้สำหรับเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ของโครงภายนอกของสถานี, (ELC) 4 ชุดใช้สำหรับช่วยเหลือการทดลองที่ต้องกระทำในภาวะสุญญากาศ ใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าที่จำเป็นรวมถึงการประมวลผลข้อมูลทดลองด้วยตนเอง มีกำหนดนำส่งขึ้นโดยเที่ยวบิน STS-129 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 เที่ยวบิน STS-134 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 และเที่ยวบิน STS-133 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010, อุปกรณ์สนับสนุน JEM แบบเปิดใช้เพื่อช่วยเหลือการทดลองที่กระทำในอวกาศที่เปิดโล่ง ทำหน้าที่เหมือน "ลานบ้าน" สำหรับโมดูลการทดลองของญี่ปุ่นทั้งหมด เช่นกันกับโมดูลห้องทดลองโคลัมบัสของยุโรปที่เป็นสนามทดสอบสำหรับการทดลองในที่เปิดโล่ง เช่น และ .
ระบบจ่ายพลังงาน
ของสถานีอวกาศนานาชาติคือดวงอาทิตย์ แผงรับแสงอาทิตย์จะแปลงพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ก่อนที่จะมีการติดตั้งเที่ยวบินที่ A4 (เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000) แหล่งพลังงานหลักของสถานีมาจากแผงโซลาร์เซลล์ของรัสเซียที่ติดอยู่กับส่วน Zarya และส่วน Zvezda ส่วนของรัสเซียใช้ไฟกระแสตรง 28 โวลต์ ส่วนที่เหลือของสถานีใช้ไฟฟ้าที่ได้จากโซลาเซลล์ของสหรัฐอเมริกาที่ติดกับโครงยึดโดยให้ไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 130 ถึง 180 โวลต์ แผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้เรียงตัวกันเป็นปีกสถานีสี่คู่ แต่ละคู่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงได้เกือบ 32.8 กิโลวัตต์
พลังงานไฟฟ้าจะถูกทำให้คงที่อยู่ที่ระดับ 160 โวลต์และแปลงให้อยู่ในระดับที่ผู้ใช้ต้องการคือ 124 โวลต์ การกระจายไฟฟ้าแรงสูงเช่นนี้ทำให้สามารถใช้สายไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กๆ ได้และช่วยลดน้ำหนักลง สถานีทั้งสองส่วนสามารถใช้พลังงานร่วมกันได้โดยอาศัยตัวแปลง การแบ่งปันพลังงานกันเช่นนี้มีความสำคัญมาก เพราะหลังจากที่เลิกใช้ Russian Science Power Platform แล้ว ส่วนของรัสเซียจะต้องใช้พลังงานที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ของสหรัฐฯ
ตัวสถานีนั้นมักจะไม่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถรับแสงอาทิตย์โดยตรง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องพึ่งพาในการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องเป็นเวลา 35 นาทีสำหรับทุกรอบการโคจร 90 นาทีระหว่างช่วงที่มันถูกโลกบดบัง แบตเตอรี่จะชาร์จประจุใหม่เมื่อถึงจังหวะโคจรที่ได้รับแสงอาทิตย์ อายุใช้งานของแบตเตอรี่คือ 6.5 ปี จึงต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่หลายครั้งตลอดช่วงอายุใช้งาน 20 ปีของสถานีอวกาศ
แผงสุริยะของสหรัฐอเมริกาจะหันหน้าเข้าสู่ดวงอาทิตย์เพื่อให้รับพลังงานได้มากที่สุด แต่ละแผงมีขนาดพื้นที่ประมาณ 375 ตารางเมตร และยาว 58 เมตร วงแหวนอัลฟาจะปรับแผงดวงอาทิตย์ให้หันหน้าเข้าสู่ดวงอาทิตย์ในการโคจรแต่ละรอบ ขณะที่วงแหวนบีตาจะปรับมุมของดวงอาทิตย์กับระนาบการโคจร นอกจากนี้ยังมีการใช้ เพื่อลดแรงลากของยานที่เกิดจากบรรยากาศโลกชั้นบนโดยการหมุนแผงดวงอาทิตย์ให้ชี้ไปในทิศการเคลื่อนที่ของยาน
การควบคุมวงโคจร
ระบบควบคุมความสูง
สถานีอวกาศนานาชาติรักษาระดับวงโคจรที่มีลักษณะเกือบเป็นวงกลมที่ระดับความสูงเฉลี่ยต่ำสุดที่ 278 กิโลเมตร (173 ไมล์) และสูงสุดที่ 460 กิโลเมตร (286 ไมล์) เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 27,724 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,227 ไมล์ต่อชั่วโมง) ใช้เวลาโคจรประมาณ 15.7 รอบต่อวัน ระดับวงโคจรโดยปกติสูงสุดอยู่ที่ 425 กิโลเมตร (264 ไมล์) เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับได้ สถานีอวกาศนานาชาติได้รับผลกระทบจากแรงลากในชั้นบรรยากาศทำให้สูญเสียระดับวงโคจรลงเรื่อยๆ จึงต้องทำการยกระดับวงโคจรขึ้นทุกปีปีละหลายๆ ครั้ง. การยกระดับวงโคจรนี้ทำโดยใช้เครื่องยนต์หลักสองชุดของสถานีจากโมดูลบริการ Zvezda จากกระสวยอวกาศที่จอดเทียบท่า จากยานลำเลียง Progress หรือจากยานขนส่งอัตโนมัติ ATV ของ ESA ใช้เวลาประมาณ 2 รอบโคจร (3 ชั่วโมง) ในการยกระดับวงโคจรให้สูงขึ้น
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 นาซาลงนามในสัญญากับบริษัทจรวดแอดแอสตรา (Ad Astra Rocket Company) อันเป็นผลต่อการทดสอบ ซึ่งเป็นเครื่อง plasma propulsion engine เทคโนโลยีนี้ช่วยให้การรักษาระดับวงโคจรของสถานีสามารถทำได้อย่างคุ้มค่าใช้จ่ายมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ระบบควบคุมทิศทาง
การตรวจสอบตำแหน่งของสถานีอวกาศทำโดยอาศัยระบบจีพีเอสของสหรัฐอเมริกา และระบบ ของรัสเซีย โดยระบุตำแหน่ง (ทิศทาง) ของสถานีด้วยการวัดเทียบกับดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ และเซ็นเซอร์ตรวจระนาบบนโมดูล ซเวซดา สถานีมีกลไกการควบคุมทิศทางอยู่สองกลไก โดยปกติยานจะใช้ไจโรสโคปหลายตัวช่วยรักษาทิศทาง ใน และ บนเสาค้ำ P ทางฝั่งเทียบท่า และ บนฝั่งที่ใกล้โลก ในกรณีที่ไจโรสโคป "อิ่มตัว" แล้ว (เมื่อรับโมเมนตัมจนถึงระดับที่ไม่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว) มันจะไม่สามารถควบคุมทิศทางของสถานีได้อีก ในกรณีเช่นนี้ ระบบควบคุมทิศทางของรัสเซียจะทำงานแทนโดยอัตโนมัติโดยใช้ตัวปรับทิศทำการปรับทิศทางของยาน เพื่อให้ไจโรสโคปสามารถคลายโมเมนตัมและใช้งานได้ใหม่ เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวระหว่างช่วงปฏิบัติงานของชุด ถ้ามีกระสวยอวกาศเข้าเทียบท่ากับสถานีอยู่ ก็สามารถใช้ช่วยในการรักษาทิศทางของสถานีได้ด้วย เคยมีการใช้วิธีการนี้ระหว่างเที่ยวบินที่ เมื่อคราวที่นำเสาค้ำ S3/S4 ขึ้นไปติดตั้ง
ระบบสื่อสาร
การสื่อสารทางวิทยุช่วยเชื่อมต่อการส่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และระหว่างสถานีอวกาศกับ การเชื่อมต่อวิทยุยังใช้ในกระบวนการพบกันระหว่างยานและการเข้าจอดเทียบท่าด้วย รวมถึงใช้ในการสื่อสารทั้งภาพและเสียงระหว่างลูกเรือ เจ้าหน้าที่ควบคุมการบิน และครอบครัว สถานีอวกาศนานาชาติจึงติดตั้งระบบสื่อสารทั้งภายในและภายนอกสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ แตกต่างกัน
ส่วนโคจรของรัสเซียสื่อสารโดยตรงกับภาคพื้นดินผ่าน ซึ่งเป็นเสาอากาศรับสัญญาณวิทยุติดตั้งอยู่บนโมดูลซเวซดา เสาอากาศ ไลรา ยังมีความสามารถใช้ระบบดาวเทียมถ่ายทอดข้อมูล Luch ด้วย ระบบนี้เคยใช้ในการสื่อสารกับ สถานีอวกาศมีร์ ต่อมาเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากนั้นก็ไม่ได้ใช้งานอีก อย่างไรก็ดี ดาวเทียม Luch ใหม่อีกสองตัวคือ Luch-5A และ Luch-5B ได้เตรียมการเพื่อนำส่งขึ้นในปี ค.ศ. 2011 เพื่อแก้ไขปรับปรุงความสามารถของระบบให้กลับมาใช้งานได้อีก ส่วนโคจรของสหรัฐฯ (USOS) ใช้ระบบวิทยุ 2 ระบบแยกจากกันซึ่งติดตั้งอยู่บนโครงค้ำ Z1 คือระบบ (ใช้สำหรับเสียง) และเคยูแบนด์ (ใช้กับเสียง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูล) การส่งสัญญาณนี้เชื่อมต่อผ่านระบบดาวเทียมติดตามและถ่ายทอดข้อมูล (Tracking and Data Relay Satellite; TDRSS) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในวงโคจรค้างฟ้า ทำให้สามารถทำการสื่อสารแบบทันทีทันใดกับศูนย์ควบคุมภารกิจขององค์การนาซาในฮูสตันได้ ช่องทางส่งข้อมูลสำหรับ Canadarm2, ห้องทดลองโคลัมบัสของยุโรป และโมดูลคิโบของญี่ปุ่น จะถ่ายทอดผ่านระบบเอสแบนด์และเคยูแบนด์ แม้จะมีระบบดาวเทียมถ่ายทอดสัญญาณของยุโรปและระบบที่คล้ายคลึงกันของญี่ปุ่นสามารถทำหน้าที่แทน TDRSS ได้ก็ตาม สำหรับการสื่อสารระหว่างโมดูลต่างๆ ดำเนินการผ่านเครือข่ายดิจิทัลไร้สายภายใน
ระบบวิทยุความถี่สูงมาก หรือ ยูเอชเอฟ จะใช้งานโดยนักบินอวกาศและนักสำรวจจักรวาลใน โดยใช้งานจากยานอวกาศอื่นทั้งที่เข้าเทียบท่าหรือออกจากท่าของสถานีอวกาศ เช่น โซยูส โพรเกรส และกระสวยอวกาศ (ยกเว้นว่ากระสวยนั้นก็ใช้งานเอสแบนด์และเคยูแบนด์ผ่าน TDRSS เช่นกัน) เพื่อรับคำสั่งจากศูนย์ควบคุมภารกิจและจากลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติ ยานอวกาศอัตโนมัติจะติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารของตัวมันเอง เช่น ATV จะมีเลเซอร์ติดตั้งบนตัวยาน หรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งบน Zvezda เรียกชื่อว่า Proximity Communications Equipment เพื่อช่วยในการเข้าเทียบท่ากับสถานีอวกาศได้อย่างแม่นยำ
ภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ
ที่ระดับวงโคจรของสถานีอวกาศ สถานีได้รับประมาณ 88% ของแรงโน้มถ่วงที่ระดับน้ำทะเล ภายในยานเกิดขึ้นเนื่องจากการตกอย่างอิสระของสถานีอวกาศ ซึ่งเป็นไปตาม อย่างไรก็ตาม สภาพในยานยังคงเป็นสภาวะ"เกือบ"ไร้น้ำหนัก ไม่ใช่สภาวะไร้น้ำหนักอย่างสิ้นเชิง. เราเรียกสภาวะเช่นนี้ว่า (microgravity) ซึ่งเกิดจากแรงสี่แรงที่รบกวนดังนี้:
- แรงลากที่เกิดจากชั้นบรรยากาศที่หลงเหลืออยู่
- การสั่นที่เกิดจากระบบทางกลและลูกเรือบนสถานีอวกาศ
- การปรับการโคจรโดยไจโรสโคปและเครื่องปรับทิศทาง
- การแยกจากศูนย์กลางมวลที่แท้จริงของสถานี ชิ้นส่วนของสถานีอวกาศที่มิได้อยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางมวลที่แท้จริงมีแนวโน้มจะเคลื่อนไปตามวงโคจรของตัวเอง ทว่าด้วยการเชื่อมต่อทางกายภาพทำให้การเคลื่อนที่เช่นนั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นชิ้นส่วนแต่ละชิ้นจึงมีความเร่งน้อยๆ เกิดจากแรงที่ตรึงมันเอาไว้กับสถานีขณะเคลื่อนไปในวงโคจร เราอาจเรียกแรงเช่นนี้ว่า แรงไทดัล ก็ได้
ระบบสนับสนุนการดำรงชีพ
ระบบสนับสนุนการดำรงชีพและการควบคุมสภาวะแวดล้อม (Environmental Control and Life Support System; ECLSS) ของสถานีอวกาศนานาชาติทำหน้าที่หลายๆ อย่าง เช่น ควบคุมความดันอากาศ ระดับออกซิเจน ระบบจัดการน้ำเสีย ระบบตรวจจับเพลิงไหม้ ระบบดับเพลิง ระบบจ่ายน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนที่สำคัญที่สุดในระบบนี้คือการควบคุมบรรยากาศภายในสถานีอวกาศ นอกจากนี้ระบบยังทำหน้าที่จัดการกับน้ำใช้และของเสียของลูกเรือ เช่นการรีไซเคิลน้ำที่ได้จากอ่าง ห้องอาบน้ำ โถปัสสาวะ และน้ำที่กลั่นตัวจากอากาศ ระบบ Elektron บนโมดูลซเวซดา และระบบที่คล้ายคลึงกันบนโมดูลเดสทินี ทำหน้าที่สร้างออกซิเจนไปทั่วสถานี ลูกเรือยังมีระบบอากาศสำรองจากออกซิเจนบรรจุขวดและถังบรรจุเครื่องผลิตออกซิเจน (Solid Fuel Oxygen Generation; SFOG) การกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำโดยระบบ Vozdukh ใน ซเวซดา ส่วนของเสียที่เป็นผลข้างเคียงจากเมตาบอลิซึมของมนุษย์ เช่น มีเทนและแอมโมเนีย จะถูกกำจัดออกไปโดยใช้เครื่องกรองจากถ่านกัมมันต์
บรรยากาศบนสถานีอวกาศนานาชาตินั้นคล้ายคลึงกับบรรยากาศของโลก ความดันอากาศปกติบนสถานีมีค่าเท่ากับ 101.3 kPa (14.7 psi) ซึ่งเท่ากับค่าความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลบนผิวโลก การสร้างบรรยากาศที่คล้ายคลึงกับโลกจะทำให้ลูกเรืออยู่ได้อย่างสบายกว่าและปลอดภัยกว่าการสร้างบรรยากาศที่มีแต่เพียงออกซิเจนบริสุทธิ์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากขึ้นที่จะเกิดเพลิงไหม้ดังเช่นที่เกิดกับลูกเรือของ
การสังเกต
เนื่องจากสถานีอวกาศนานาชาติมีขนาดใหญ่มาก (ราวครึ่งหนึ่งของสนามแข่งขันอเมริกันฟุตบอล) ทั้งยังมีพื้นที่สะท้อนแสงขนาดใหญ่จากแผงรับแสงอาทิตย์ จึงสามารถสังเกตการณ์สถานีอวกาศด้วยตาเปล่าได้จากพื้นโลก ถ้าผู้สังเกตอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม มีหลายครั้งที่สถานีอวกาศเป็นวัตถุที่สว่างมากบนท้องฟ้า แม้จะสามารถมองเห็นได้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 2-5 นาที
ถ้าต้องการจะสังเกตสถานีอวกาศ ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง : สถานีจะต้องอยู่เหนือขอบฟ้าของผู้สังเกต และจะเคลื่อนผ่านตัวผู้สังเกตในระยะห่างประมาณ 2,000 กิโลเมตร (ยิ่งใกล้ยิ่งเห็นชัด) ตำแหน่งของผู้สังเกตต้องมืดพอจะมองเห็นดาวได้ และสถานีต้องอยู่ในบริเวณที่โดนแสงอาทิตย์ ไม่อยู่ในเงาบังของโลก ในเวลาเย็นขณะที่สถานีเคลื่อนผ่านแสงอาทิตย์อัสดงจากทิศตะวันตกไปทางตะวันออก มันจะปรากฏเพียงชั่วครู่เดียวแล้วจะค่อยๆ จางลงและหายไป ในทางกลับกัน มันอาจปรากฏขึ้นอย่างทันทีทันใดบนท้องฟ้าขณะเคลื่อนเข้าหาตะวันยามรุ่งอรุณ
ในสถานะปัจจุบัน เราสามารถมองเห็นสถานีอวกาศได้ภายใต้เงื่อนไขสังเกตการณ์ตามปกติ
แง่มุมทางการเมือง การใช้สอย และการเงิน
แง่มุมทางกฎหมาย
สถานีอวกาศนานาชาติเป็นโครงการร่วมระหว่างองค์การอวกาศของประเทศต่างๆ หลายประเทศ ซึ่งประกอบด้วย องค์การนาซา ของสหรัฐอเมริกา, องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (RKA), องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA), องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) และองค์การอวกาศยุโรป (ESA)
ในฐานะที่เป็นโครงการระหว่างประเทศ แง่มุมทางกฎหมายและทางการเงินของสถานีอวกาศนานาชาติจึงค่อนข้างซับซ้อน ประเด็นที่ข้องเกี่ยวเช่น ความเป็นเจ้าของโมดูล การใช้สอยสถานีโดยชาติร่วมโครงการ และความรับผิดชอบต่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานี เอกสารทางกฎหมายหลักซึ่งใช้ระบุกฎเกณฑ์และสิทธิระหว่างผู้ร่วมโครงการสถานีอวกาศนานาชาติคือ ข้อตกลงร่วมระหว่างรัฐบาลของสถานีอวกาศ (Space Station Intergovernmental Agreement (IGA)) สนธิสัญญาระหว่างประเทศชุดนี้ลงนามเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1998 โดยชาติเริ่มต้นที่เกี่ยวข้องกับโครงการสถานีอวกาศ คือสหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย ญี่ปุ่น แคนาดา และประเทศสมาชิกองค์การอวกาศยุโรปอีก 10 ประเทศ (เบลเยียม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, สวีเดน, สเปน, และสวิตเซอร์แลนด์) นี่เป็นจุดตั้งต้นของข้อตกลงในระดับที่สอง เรียกชื่อว่า ข้อตกลงความเข้าใจ (Memoranda of Understanding (MOU)) ระหว่างองค์การนาซากับ ESA, CSA, RKA และ JAXA ต่อมาข้อตกลงนี้ได้แบ่งย่อยออกไปอีก เช่น สัญญาระบุหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ การแลกสิทธิและหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศร่วมโครงการ หลักเกณฑ์การใช้งานโมดูลในวงโคจรของรัสเซียก็ทำข้อตกลงในระหว่างขั้นตอนนี้
นอกเหนือจากข้อตกลงหลักระหว่างรัฐบาลนานาชาตินี้แล้ว ประเทศบราซิลยังมีสัญญากับองค์การนาซาในการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ และนาซ่าจะส่งชาวบราซิลหนึ่งคนขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ประเทศอิตาลีก็มีสัญญาลักษณะคล้ายคลึงกันนี้กับองค์การนาซาในการให้บริการลักษณะเดียวกัน แม้ว่าอิตาลีจะเป็นส่วนหนึ่งในโครงการอยู่แล้วในฐานะประเทศสมาชิกของ ESA ประเทศจีนก็แสดงความสนใจในโครงการนี้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกันกับองค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย อย่างไรก็ดี นับถึง ค.ศ. 2009 ประเทศจีนยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้เนื่องจากสหรัฐอเมริกาออกเสียงคัดค้าน
สิทธิการใช้งาน
ส่วนประกอบสถานีอวกาศที่เป็นของรัสเซีย ดำเนินการภายใต้การควบคุมขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย และทำให้รัสเซียมีสิทธิถึงครึ่งหนึ่งในเวลาปฏิบัติการของลูกเรือของสถานีอวกาศทั้งหมด (จำนวนลูกเรือถาวรมีได้ 6 คน โดยเฉลี่ย 2-3 คนจะเป็นบุคลากรในการจัดการของรัสเซีย) การจัดการเวลาปฏิบัติการของลูกเรือ (คือ 3-4 คนจากจำนวนลูกเรือถาวร 6 คน) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ในส่วนอื่นๆ ของสถานีอวกาศได้รับการจัดสรรดังต่อไปนี้
- โมดูลโคลัมบัส : 51% สำหรับ ESA, 46.7% สำหรับ NASA, และ 2.3% สำหรับ CSA
- ห้องทดลองคิโบ : 51% สำหรับ JAXA, 46.7% สำหรับ NASA, และ 2.3% สำหรับ CSA
- โมดูลเดสทินี : 97.7% สำหรับ NASA และ 2.3% สำหรับ CSA
- เวลาของลูกเรือ, พลังงานไฟฟ้า และสิทธิในการซื้อบริการสนับสนุน (เช่นการอัปโหลดหรือดาวน์โหลดข้อมูล และการสื่อสาร) แบ่งเป็น 76.6% สำหรับ NASA, 12.8% สำหรับ JAXA, 8.3% สำหรับ ESA, และ 2.3% สำหรับ CSA
ค่าใช้จ่าย
ตัวเลขที่ใช้อ้างอิงกันมากที่สุดในการประมาณการรายจ่ายรวมทั้งหมดของสถานีอวกาศ อยู่ที่ระหว่าง 35,000-100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ องค์การอวกาศยุโรป (ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวที่จัดทำประมาณการตัวเลขรวมของโครงการ) ได้ประมาณว่าค่าใช้จ่ายสำหรับสถานีอวกาศทั้งหมดตลอดระยะเวลาใช้งาน 30 ปี จะอยู่ที่ราว 100,000 ล้านยูโร ทว่าการระบุค่าใช้จ่ายประมาณการอย่างแม่นยำนั้นทำได้ยาก เพราะไม่อาจคาดได้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายอื่นใดที่จะเกิดกับโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ หรือจะวัดการสนับสนุนจากรัสเซียได้อย่างไร
การวิพากษ์วิจารณ์
มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าทั้งเวลาและเงินที่ทุ่มลงไปในโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ สมควรนำไปใช้ในโครงการอื่นมากกว่า อาจจะเป็นยานอวกาศที่ควบคุมด้วยหุ่นยนต์ การสำรวจอวกาศ การสืบสวนปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับโลก หรือกระทั่งเห็นว่าควรเก็บเงินภาษีไว้โดยไม่ใช้เลย นักวิจารณ์บางคน เช่น โรเบิร์ต แอล. ปาร์ค เห็นว่าโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขนาดเล็กที่วางแผนทำการทดลองบนสถานีอวกาศ หรือแม้แต่คุณสมบัติพื้นฐานของห้องทดลองในอวกาศดังเช่นการทดลองใน (microgravity) ก็สามารถทำการศึกษาได้บนยาน "" ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาก
ความสามารถในการทำงานวิจัยของสถานีก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน โดยเฉพาะหลังจากที่ยกเลิกโมดูล Centrifuge Accommodations อันฟุ่มเฟือยไปพร้อมกับการยกเลิกอุปกรณ์ข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันจำกัดของการทดลองที่ไม่สามารถทำได้หากปราศจากเครื่องมือพิเศษ ตัวอย่างเช่น ในครึ่งแรกของปี 2007 งานวิจัยของสถานีอวกาศนานาชาติเกี่ยวข้องกับการตอบสนองทางชีววิทยาของมนุษย์ที่มีต่อการใช้ชีวิตและการทำงานในอวกาศ ซึ่งครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น , , และผลกระทบของรังสีคอสมิกที่มีต่อ ข้อวิจารณ์อื่นๆ เกี่ยวกับการออกแบบทางเทคนิคของสถานีอวกาศ รวมไปถึงความเอียงระนาบวงโคจรของตัวสถานีที่สูงมาก อันทำให้ค่าใช้จ่ายการส่งยานขึ้นไปสู่สถานีของสหรัฐอเมริกาสูงมาก
ด้านการตอบสนองกับความเห็นเหล่านี้ ผู้สนับสนุนโครงการสำรวจอวกาศโดยใช้มนุษย์กล่าวว่าการวิจารณ์โครงการสถานีอวกาศเป็นการไม่รู้จักมองการณ์ไกล และว่าการสำรวจและวิจัยด้วยคนในอวกาศได้สร้างผลตอบแทนอย่างคุ้มค่านับพันล้านเหรียญ นาซาประเมินว่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทางอ้อมจากการสำรวจอวกาศด้วยมนุษย์มีคุณค่ามากกว่าเงินลงทุนสาธารณะเริ่มต้นหลายเท่า แม้ว่าการประเมินนี้มีสมมุติฐานจากโครงการอพอลโล และจัดทำขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 มีรายงานซึ่งอ้างว่าเขียนโดยสมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน โต้แย้งว่าอัตราส่วนผลตอบแทนการลงทุนของนาซานั้นที่จริงแล้วต่ำมาก ยกเว้นเพียงงานด้านการบินเท่านั้นที่นำไปสู่การขายเครื่องอากาศยานได้
แผนสิ้นสุดภารกิจและปลดจากวงโคจร
ตราบจนถึง ค.ศ. 2009 นาซามีแผนจะปลดสถานีอวกาศนานาชาติออกจากวงโคจรในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2016 ซึ่งสอดคล้องตามแผนนโยบายด้านการสำรวจอวกาศของประธานาธิบดีบุช (ในขณะนั้น) ต่อมาประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศนโยบายใหม่ด้านการสำรวจอวกาศเมื่อ ค.ศ. 2010 โดยให้ยืดระยะเวลาปฏิบัติภารกิจออกไปจนถึง ค.ศ. 2020
องค์การอวกาศที่มีส่วนร่วมในสถานีอวกาศนานาชาติทั้ง 5 แห่ง ได้แสดงความเห็นพ้องกันว่าพวกเขาอยากให้สถานีอวกาศใช้งานได้เป็นเวลายาวนานกว่า ค.ศ. 2015 ยกเว้นองค์การอวกาศยุโรปซึ่งต้องแสวงมติเอกฉันท์จากชาติสมาชิกเพื่อการสนับสนุนทางการเงิน จนกระทั่งบรรลุข้อตกลงได้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 แถลงการณ์จากรัสเซียและประเทศสมาชิกสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อ ค.ศ. 2011 ระบุว่าจะต้องมีข้อตกลงเรื่องนี้ให้ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่าโมดูลอื่นๆ จะสามารถใช้งานได้นานกว่า ค.ศ. 2015 จนถึงปัจจุบันนี้ประเทศสมาชิกยังคงเตรียมแผนปฏิบัติภารกิจไว้จนถึงปี 2015 เท่านั้น สำหรับระยะเวลาใช้งานใหม่ เนื่องจากโมดูลแรกของสถานีอวกาศจากรัสเซียได้นำส่งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1998 ดังนั้นจึงได้เลือกเวลาครบรอบ 30 ปีของโมดูลนั้นเพื่อเป็นเป้าหมาย
ตามรายงานเมื่อปี 2009 เป็นกระบวนการที่กำลังพิจารณากันเพื่อนำโมดูลบางตัวของรัสเซียออกจากสถานีอวกาศในตอนสิ้นสุดภารกิจ เพื่อนำไปใช้ในสถานีแห่งใหม่ ที่รู้จักในชื่อ (OPSEK) โมดูลที่กำลังพิจารณากันว่าจะนำออกจากสถานีอวกาศนานาชาติปัจจุบันรวมไปถึง (MLM) ซึ่งมีแผนจะนำส่งขึ้นในตอนปลายปี 2011 กับโมดูลอื่นๆ ของรัสเซียที่ขณะนี้วางแผนเอาไว้จะติดตั้งไปกับ MLM จนถึงปี 2015 แม้ว่าจะยังไม่มีเงินทุนสนับสนุนในปัจจุบันก็ตาม ทั้งนี้เพราะทั้ง MLM หรืออุปกรณ์อื่นใดที่ติดตั้งไปด้วยจะยังไม่สิ้นสุดอายุใช้งานในปี 2016 หรือ 2020 รายงานนี้นำเสนอข้อมูลจากวิศวกรรัสเซียผู้หนึ่งซึ่งไม่ได้เอ่ยนาม ผู้เชื่อว่า ด้วยประสบการณ์จาก อายุใช้งาน 30 ปีนั้นเป็นไปได้ ยกเว้นเพียงความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ จากอุกกาบาต เนื่องจากโมดูลของรัสเซียนั้นสร้างขึ้นด้วยหลักการว่าสามารถซ่อมแซมปรับปรุงในวงโคจรได้
การใช้ชีวิตบนสถานีอวกาศ
ตารางเวลา
โซนเวลาที่ใช้บนสถานีอวกาศนานาชาติ คือเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC หรือบ้างเรียกว่า GMT) หน้าต่างสถานีจะปิดเอาไว้ในช่วงที่เป็นเวลากลางคืนเพื่อให้ได้ความรู้สึกถึงความมืด เพราะบนสถานีอวกาศนั้นจะมีดวงอาทิตย์ขึ้นและตกวันละ 16 ครั้ง แต่ระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจบนกระสวยอวกาศ ลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติมักจะใช้ (Mission Elapsed Time; MET) ของกระสวยเพราะสะดวกกว่า เป็นเวลาที่อ้างอิงจากเวลานำส่งของภารกิจกระสวยอวกาศนั้นๆ แต่ช่วงเวลานอนระหว่างเวลา UTC กับเวลา MET นั้นแตกต่างกัน ลูกเรือสถานีอวกาศนานาชาติจึงต้องปรับรูปแบบการนอนก่อนที่กระสวยอวกาศจะมาถึงและหลังจากกระสวยจากไปแล้ว เพื่อให้เข้ากันกับโซนเวลาที่เปลี่ยนไป เรียกชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนการนอน (sleep shifting)
ตามปกติ วันของลูกเรือเริ่มต้นขึ้นด้วยการตื่นนอนเวลา 06:00 น. ตามด้วยกิจกรรมหลังตื่นนอน และการตรวจสอบสถานีรอบเช้า จากนั้นลูกเรือจะรับประทานอาหารเช้าและเข้าประชุมวางแผนประจำวันกับศูนย์ควบคุมภารกิจก่อนจะเริ่มงานราว 08:10 น. จากนั้นเป็นตารางออกกำลังกายครั้งแรก แล้วทำงานไปจนถึงเวลา 13:05 พักทานอาหารเที่ยงหนึ่งชั่วโมง ช่วงบ่ายจะต้องออกกำลังกายอีกและทำงานไปจนถึงช่วงกิจกรรมก่อนนอนซึ่งจะเริ่มขึ้นที่เวลาราว 19:30 น. ได้แก่ การรับประทานอาหารค่ำและการประชุมลูกเรือ ตารางเวลานอนเริ่มที่ประมาณ 21:30 น. โดยปกติแล้วลูกเรือจะทำงานประมาณวันละ 10 ชั่วโมงในวันทำงานปกติ และ 5 ชั่วโมงในวันเสาร์ นอกเหนือจากนั้นเป็นเวลาส่วนตัวสำหรับพักผ่อน เล่นเกม หรือติดตามงาน
การนอนหลับ
สถานีอวกาศมีส่วนพื้นที่สำหรับลูกเรือให้สมาชิกของคณะลูกเรือถาวรของ Expedition โดยมี 'สถานีนอนหลับ' สองแห่งใน และอีกสี่แห่งที่จะติดตั้งเพิ่มใน Tranquillity แต่ปัจจุบันกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ รอบ ส่วนพื้นที่ของอเมริกันเป็นพื้นที่รโหฐาน ขนาดประมาณตู้เก็บเสียงจุได้ 1 คน สมาชิกลูกเรือสามารถนอนข้างในนั้นได้โดยอาศัยถุงนอน ฟังเพลง ใช้แลปท็อป หรือเก็บข้าวของส่วนตัวในลิ้นชักใหญ่หรือในตาข่ายที่ผูกติดไว้กับผนังของโมดูล ภายในโมดูลยังติดตั้งตะเกียงสำหรับอ่านหนังสือ ชั้นวางของ และเครื่องเดสค์ทอปหนึ่งตัว ลูกเรือหมุนเวียนจะไม่มีโมดูลสำหรับนอน มีเพียงถุงนอนติดตั้งตามพื้นที่ว่างบนผนังเนื่องจากสามารถจะนอนแบบลอยๆ อยู่ได้ทั่วไปในสถานี แต่ตามปกติจะไม่ทำวิธีนี้เพราะมีความเสี่ยงที่จะลอยไปกระทบกระแทกเครื่องมือละเอียดอ่อนในสถานีได้ การระบายอากาศให้แก่พื้นที่อยู่อาศัยของลูกเรือเป็นเรื่องสำคัญมาก มิฉะนั้นนักบินอวกาศอาจตื่นขึ้นมาเพราะขาดอากาศ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่พวกเขาหายใจออกมาจะสะสมอยู่รอบๆ ศีรษะ
สุขอนามัย
บนสถานีอวกาศนานาชาติไม่มีฝักบัวอาบน้ำ แม้จะเคยวางแผนเอาไว้เป็นส่วนหนึ่งในโมดูลพำนักอาศัย (Habitation Module) แต่โมดูลนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว ลูกเรือของสถานีอวกาศจะทำความสะอาดร่างกายด้วยการฉีดน้ำและเช็ดตัวโดยใช้สบู่จากแท่งจ่ายคล้ายหลอดยาสีฟัน ใช้น้ำยาสระผมแบบไม่ต้องล้างน้ำ และใช้ยาสีฟันแบบกลืนได้เลยเพื่อเป็นการประหยัดน้ำ
มีห้องสุขาสองห้องบนสถานีอวกาศนานาชาติ ทั้งสองห้องเป็นงานออกแบบจากทางรัสเซีย ติดตั้งอยู่บนโมดูล Zvezda และโมดูล เดสทินี การระบายของเสียใช้ระบบดูดด้วยแรงลมคล้ายคลึงกับระบบกำจัดของเสียบนกระสวยอวกาศ นักบินอวกาศจะต้องรัดตัวเองเอาไว้บนที่นั่งสุขาที่ปิดผนึกอย่างดี ดึงคันโยกที่จะสั่งการให้พัดลมกำลังสูงทำงาน และช่องดูดอากาศเลื่อนเปิดออก กระแสการไหลของอากาศจะพาเอาของเสียออกไปด้วย ของเสียที่เป็นวัตถุแข็งจะจัดเก็บเอาไว้ในถุงแยกส่วนบรรจุในคอนเทนเนอร์อะลูมิเนียม เมื่อคอนเทนเนอร์เหล่านี้เต็ม ก็จะถูกส่งไปยังยานอวกาศโพรเกรสเพื่อนำไปกำจัดทิ้ง ของเสียที่เป็นของเหลวจะถูกดูดทิ้งออกไปด้วยสายที่เชื่อมต่ออยู่ทางด้านหน้าของห้องสุขา ซึ่งมีอุปกรณ์ "ตัวเปลี่ยนโถปัสสาวะ" (urine funnel adapters) ติดตั้งไว้เพื่อให้ทั้งลูกเรือชายและหญิงสามารถใช้ห้องสุขาเดียวกันได้ ของเสียจะถูกนำไปเก็บและส่งต่อให้ระบบบำบัดน้ำ เพื่อจัดการรีไซเคิลกลับมาเป็นน้ำดื่มได้ใหม่
อาหารและเครื่องดื่ม
อาหารอวกาศส่วนใหญ่ที่ลูกเรือในสถานีอวกาศใช้บริโภคมักเป็นอาหารแช่แข็ง อาหารแช่เย็น หรืออาหารกระป๋อง นักบินอวกาศเป็นคนเตรียมเมนูเองก่อนที่จะขึ้นบินไปยังสถานีอวกาศโดยมีนักโภชนาการเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ความรู้สึกถึงรสชาติเมื่ออยู่ในวงโคจรจะลดลงเพราะของเหลวในร่างกายจะเคลื่อนขึ้นไปทางศีรษะ ดังนั้นลูกเรือส่วนมากจึงนิยมรับประทานอาหารรสเผ็ด ลูกเรือแต่ละคนจะมีแพ็คเกจอาหารของตัวเองและเตรียมอุ่นอาหารกันเองในห้องครัวบนสถานี ซึ่งจะมีเครื่องอุ่นอาหาร 2 เครื่อง ตู้เย็น 1 เครื่อง และเครื่องจ่ายน้ำ 1 เครื่องสำหรับจ่ายทั้งน้ำร้อนและน้ำธรรมดา เครื่องดื่มจะอยู่ในรูปของผงสกัดแห้ง และนำไปผสมกับน้ำก่อนรับประทาน การรับประทานเครื่องดื่มและซุปทำโดยการจิบจากถุงพลาสติกโดยใช้หลอด ส่วนอาหารที่ไม่ใช่ของเหลวสามารถรับประทานได้ด้วยมีดและส้อมซึ่งจะติดเอาไว้กับถาดอาหารด้วยแม่เหล็กเพื่อกันมิให้มันลอยหนีไป ถ้าเกิดมีอาหารหรือเศษอาหารล่องลอยไป จะต้องรีบจัดเก็บทั้งหมดเพื่อป้องกันมิให้มันไปอุดตันเครื่องกรองอากาศและอุปกรณ์อื่นๆ ในสถานี
การออกกำลังกาย
ผลกระทบทางลบที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลานานๆ คืออาการและอาการกระดูกเสื่อม หรือเรียกว่า ผลกระทบขั้นรุนแรงอื่นๆ รวมถึงปัญหาการกระจายตัวของของเหลว ปัญหาระบบไหลเวียนโลหิตที่ช้าลง การผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงลดน้อยลง ปัญหาการทรงตัว และภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ เช่น การสูญเสียมวลร่างกาย อาการหายใจติดขัด การนอนไม่หลับ มีลมมากเกินไป และผิวหน้าพอง อาการเหล่านี้จะกลับฟื้นคืนได้อย่างรวดเร็วเมื่อกลับสู่โลก
เพื่อป้องกันผลกระทบต่อร่างกายของลูกเรือ บนสถานีอวกาศจะติดตั้งเครื่องออกกำลังกาย aRED (advanced Resistive Exercise Device) ซึ่งมีอุปกรณ์ยกน้ำหนักหลายแบบและเครื่องปั่นจักรยาน นักบินอวกาศแต่ละคนจะต้องใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง นักบินอวกาศจะผูกสายรัดยางยืดเพื่อยึดตัวเองเอาไว้กับแท่นออกกำลังกาย นักวิจัยเชื่อว่าการออกกำลังกายเป็นการป้องกันการสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์อาศัยอยู่ในที่ที่ไร้แรงโน้มถ่วงเป็นเวลานานๆ
การบริหารสถานีอวกาศ
เอ็กซ์เพดิชั่น
ลูกเรือถาวรของสถานีอวกาศแต่ละรุ่นจะมีหมายเลขเอ็กซ์เพดิชั่นเรียงตามลำดับ เอ็กซ์เพดิชั่นแต่ละรุ่นใช้เวลาปฏิบัติภารกิจประมาณครึ่งปี โดยมีการรับมอบและส่งมอบงานกันอย่างเป็นทางการระหว่างผู้บัญชาการเอ็กซ์เพดิชั่นรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เอ็กซ์เพดิชั่น 1 ถึง 6 ประกอบด้วยลูกเรือรุ่นละ 3 คน แต่หลังจากอุบัติเหตุกับกระสวยอวกาศโคลัมเบีย จึงมีการลดจำนวนลูกเรือเหลือเพียง 2 คนในเอ็กซ์เพดิชั่น 7 ถึง 12 เอ็กซ์เพดิชั่น 13 ได้ปรับจำนวนลูกเรือกลับมาเป็น 3 คนอีกครั้งหนึ่ง และคงจำนวนนั้นอยู่จนถึงปัจจุบัน ขณะที่มีลูกเรือถาวรประจำสถานีอวกาศ ในบางรุ่นเช่นเอ็กซ์เพดิชั่น 16 มีลูกเรือรวมนักบินอวกาศหรือนักท่องอวกาศถึง 6 คนซึ่งจะบินไปมาระหว่างสถานีกับเที่ยวบินต่างๆ กัน
วันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ลูกเรือ เริ่มปฏิบัติภารกิจ เอ็กซ์เพดิชั่น 20 เป็นรุ่นแรกที่มีลูกเรือถาวรประจำสถานีอวกาศนานาชาติ 6 คน ในอดีตก่อนจะมีการขยายส่วนอยู่อาศัยในเที่ยวบิน STS-115 สถานีสามารถรองรับลูกเรือได้เพียง 3 คนเท่านั้น ลูกเรือรุ่นเอ็กซ์เพดิชั่น 20 ถูกนำส่งขึ้นสู่สถานีจากเที่ยวบิน 2 เที่ยวในเวลาต่างกันโดย (Soyuz-TMA สามารถนำส่งลูกเรือได้เที่ยวละ 3 คนเท่านั้น) ได้แก่ Soyuz TMA-14 นำส่งเมื่อ 26 มีนาคม 2009 และ Soyuz TMA-15 นำส่งเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009 อย่างไรก็ดีตัวสถานีไม่ได้รองรับลูกเรือถาวรจำนวน 6 คนตลอดทั้งปี ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกเรือเอ็กซ์เพดิชั่น 20 (โรมัน โรมาเนนโก, แฟรงค์ เดอ วินน์, และโรเบิร์ต เทิร์สค์) กลับมาโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2009 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ มีลูกเรือเพียง 2 คน (เจฟฟรีย์ วิลเลียมส์และมักซิม ซูราเยฟ) ที่อยู่ประจำการ จำนวนลูกเรือเพิ่มเป็น 5 คนในช่วงต้นเดือนธันวาคมเมื่อโอเล็ก โคตอฟ, ทิโมที ครีมเมอร์, และโซอิจิ โนงุจิ เดินทางไปถึงโดย Soyuz TMA-17 ต่อมาเดือนมีนาคม 2010 จำนวนลูกเรือลดลงเป็น 3 คนอีกเมื่อวิลเลียมส์และซูราเยฟเดินทางกลับโลก และต่อมาเพิ่มเป็น 6 คนในเดือนเมษายน 2010 เมื่อเที่ยวบิน Soyuz TMA-18 นำอเล็กซานเดอร์ ชคอร์ตซอฟ, มิคาอิล คอร์นิเยนโก, และเทรซี คอลด์เวล ไดสัน ขึ้นไปยังสถานี
สถานีอวกาศนานาชาติจัดเป็นยานอวกาศที่มีผู้ไปเยือนมากที่สุดในประวัติศาสตร์การบินอวกาศ นับถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2009 มีผู้ไปเยือนแล้วทั้งสิ้น 266 คน (ไม่ซ้ำกันเลยจำนวน 185 คน) ส่วน เมียร์ มีผู้ไปเยือน 137 คน (ไม่ซ้ำกันเลยจำนวน 104 คน)
ยานอวกาศที่ไปเยือน
ยานอวกาศจากองค์การอวกาศสี่แห่งเดินทางไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ กัน ยานขนส่งอัตโนมัติ (Automated Transfer Vehicle) จากองค์การอวกาศยุโรป ยานอวกาศรอสคอสมอสโพรเกรสของรัสเซีย และยาน H-II Transfer Vehicle ขององค์การอวกาศญี่ปุ่นทำหน้าที่ขนส่งเสบียงและบริการต่างๆ ไปยังสถานี นอกจากนี้รัสเซียยังใช้ยานอวกาศโซยุสสำหรับการเปลี่ยนถ่ายลูกเรือและการอพยพฉุกเฉิน โดยที่ลูกเรือจะมีการเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 6 เดือน และท้ายสุดคือยานบริการจากสหรัฐอเมริกาที่ส่งผ่าน ทำหน้าที่ด้านปฏิบัติการนำส่งเสบียง อุปกรณ์เครื่องใช้ ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนถ่ายลูกเรือด้วย นับถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 มีเที่ยวบินนำส่งไปยังสถานีอวกาศนานาชาติจากโซยูส 20 เที่ยว, โพรเกรส 35 เที่ยว, ATV 1 เที่ยว, HTV 1 เที่ยว และกระสวยอวกาศ 31 เที่ยว โดยเฉลี่ยแล้วลูกเรือถาวรเอ็กซ์เพดิชั่นต้องการเสบียง 2,722 กิโลกรัม นับถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ลูกเรือรับประทานอาหารแล้วรวม 19,000 มื้อ เที่ยวบินเปลี่ยนถ่ายลูกเรือของโซยุสและเที่ยวบินส่งเสบียงของโพรเกรสไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติโดยเฉลี่ย 2 ถึง 3 ครั้งในแต่ละปี โดยที่เที่ยวบิน ATV และ HTV มีแผนจะไปเยือนสถานีอวกาศทุกๆ ปีนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นไป
ศูนย์ควบคุมภารกิจ
ชิ้นส่วนต่างๆ ของสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบโดยองค์การอวกาศผู้รับผิดชอบแต่ละส่วน โดยมีศูนย์ควบคุมภารกิจอยู่ในที่ต่างๆ ทั่วโลก ต่อไปนี้เป็นรายชื่อส่วนหนึ่ง
- ศูนย์ควบคุมภารกิจขององค์การนาซา ที่ ศูนย์อวกาศลินดอน บี. จอห์นสัน ที่เมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส จัดเป็นศูนย์ควบคุมภารกิจหลักสำหรับเซ็กเมนต์ของสหรัฐอเมริกาบนสถานีอวกาศนานาชาติ และยังควบคุมภารกิจกระสวยอวกาศที่เดินทางไปเยือนสถานีด้วย
- ศูนย์ควบรวมและปฏิบัติการเปลี่ยนถ่าย (Payload Operations and Integration Center) ขององค์การนาซ่า ที่ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล เมืองฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา ทำหน้าที่ศูนย์ประสานงานการเปลี่ยนถ่ายนักบินอวกาศสำหรับเซ็กเมนต์ของสหรัฐอเมริกา
- ศูนย์ควบคุมภารกิจรอสคอสมอส (Roskosmos) ที่เมืองโคโรลยอฟ มอสโคว์ ควบคุมภารกิจในเซ็กเมนต์วงโคจรรัสเซียของสถานีอวกาศนานาชาติ นอกเหนือไปจากภารกิจโซยุสและโพรเกรส
- ศูนย์ควบคุมโคลัมบัส ขององค์การอวกาศยุโรป ที่ศูนย์อวกาศยานเยอรมัน (DLR) ที่เมือง Oberpfaffenhofen ประเทศเยอรมนี ควบคุมห้องปฏิบัติการวิจัย โคลัมบัส ของยุโรป
- ศูนย์ควบคุม ATV ขององค์การอวกาศยุโรป ที่ศูนย์อวกาศตูลูส (CST) เมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ควบคุมเที่ยวบินอัตโนมัติที่ไม่มีคนบังคับของยุโรปทั้งหมด
- ศูนย์ควบคุม JEM และศูนย์ควบคุม HTV ขององค์การอวกาศญี่ปุ่น ที่ศูนย์อวกาศซุคุบะ (TKSC) เมืองซุคุบะ ประเทศญี่ปุ่น รับผิดชอบภารกิจในการจัดการโมดูลการทดลองของญี่ปุ่น และเที่ยวบินที่ไม่มีคนบังคับทั้งหมดของญี่ปุ่นใน H-II Transfer Vehicle
- ศูนย์ควบคุม MSS ขององค์การอวกาศแคนาดา ที่เมืองเซนต์-ฮิวเบิร์ต รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา ควบคุมและตรวจดูระบบบริการเคลื่อนที่ (Mobile Servicing System) หรือ Canadarm2
การบริหารความปลอดภัย
ขยะในอวกาศ
ระดับวงโคจรของสถานีอวกาศนานาชาติอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นบริเวณที่ขยะอวกาศอยู่มากมาย นับตั้งแต่ชิ้นส่วนจรวดที่ไม่ใช้งานแล้ว ดาวเทียมที่หมดอายุ ไปจนถึงเศษชิ้นส่วนจากมอเตอร์จรวด สารหล่อเย็นที่ถูกปล่อยทิ้งออกมาจากดาวเทียมซึ่งอาศัยพลังงานนิวเคลียร์ และชิ้นส่วนอื่นๆ อีกมากมาย วัตถุต่างๆ เหล่านี้รวมกับชิ้นส่วนอุกกาบาตขนาดเล็ก ก่อให้เกิดอันตรายต่อสถานีอวกาศเพราะมันอาจทำความเสียหายแก่โมดูลปรับความดันหรือส่วนต่างๆ ของสถานี อุกกาบาตขนาดเล็กยังทำให้การปฏิบัติภารกิจในการท่องอวกาศของนักบินอวกาศเป็นอันตรายด้วย เช่นอาจสร้างความเสียหายกับชุดอวกาศและทำให้สูญเสียแรงดัน
มีการตรวจติดตามชิ้นส่วนขยะอวกาศต่างๆ จากบนพื้นโลก ซึ่งลูกเรือของสถานีอวกาศจะได้รับการเตือนว่ามีวัตถุใดใกล้เคียงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเกิดการกระแทกกันได้ และให้เริ่มปฏิบัติการหลบหลีกขยะอวกาศ (Debris Avoidance Manoeuvre หรือ DAM) โดยอาศัยเครื่องผลักที่อยู่บนเซ็กเมนต์วงโคจรรัสเซียเพื่อเปลี่ยนระดับวงโคจรของสถานีอวกาศในการหลบหลีกชิ้นส่วนเหล่านั้น การปฏิบัติการ DAM ไม่ยุ่งยากนัก โดยการตรวจสอบแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าชิ้นส่วนขยะอวกาศจะเข้าใกล้สถานีในระยะที่เป็นอันตรายขนาดเท่าใด มีปฏิบัติการหลบหลีกขยะอวกาศทั้งสิ้น 8 ครั้งนับถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โดยที่ 7 ครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003 โดยปกติวงโคจรจะถูกยกระดับขึ้นราว 1-2 กิโลเมตรโดยเฉลี่ยเมื่อเพิ่มความเร็ววงโคจรขึ้น 1 เมตรต่อวินาที ส่วนกรณีไม่ปกติคือการลดระดับลง 1.7 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2008 ซึ่งเป็นการลดระดับลงครั้งแรกในรอบ 8 ปี ในปี 2009 มีปฏิบัติการ DAM 2 ครั้ง ในวันที่ 22 มีนาคมและ 17 กรกฎาคม หากว่าการตรวจสอบการปะทะกับขยะอวกาศทำได้ช้าเกินไปจนไม่สามารถเริ่มปฏิบัติการ DAM ได้ทัน ลูกเรือของสถานีอวกาศจะต้องปิดประตูหน้าต่างทุกบานบนสถานีและย้ายไปอยู่ใน เพื่อที่ทั้งหมดจะได้หลบหนีได้ทันทีหากว่าการปะทะนั้นทำให้เกิดอันตราย การอพยพสถานีบางส่วนเช่นนี้เคยเกิดขึ้น 2 ครั้ง คือวันที่ 6 เมษายน 2003 และ 13 มีนาคม 2009
การแผ่รังสี
เมื่ออยู่ในอวกาศ นักบินอวกาศจะได้รับรังสีจากการแผ่รังสีคอสมิกในระดับที่สูงกว่าปกติเนื่องจากไม่มีชั้นบรรยากาศของโลกช่วยปกป้อง ลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติจะได้รับรังสีราว 1 millisievert ในแต่ละวัน หรือเทียบเท่ากับการที่เราได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีปกติบนพื้นโลกในเวลา 1 ปี ซึ่งส่งผลให้นักบินอวกาศมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งมากกว่าปกติ การแผ่รังสีในระดับสูงนี้ยังสามารถทำลายโครโมโซมของลิมโฟไซต์ซึ่งเป็นเซลส์สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน การที่เซลส์ถูกทำลายจึงทำให้นักบินอวกาศมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำสามารถส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในหมู่ลูกเรือได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่จำกัด การแผ่รังสียังทำให้นักบินอวกาศมีโอกาสเป็นต้อกระจกสูง การใช้อุปกรณ์ป้องกันการแผ่รังสีร่วมกับยาสามารถช่วยลดความเสี่ยงลงไปในระดับที่ยอมรับได้ แต่การได้รับรังสีในระยะยาวทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
แม้จะมีความพยายามพัฒนาเกราะป้องกันรังสีให้แก่สถานีอวกาศนานาชาติ ดีขึ้นกว่าสถานีอวกาศรุ่นก่อนๆ เช่น เมียร์ แต่ระดับของรังสีภายในสถานีก็ยังไม่ค่อยลดลงมากนัก นักวิทยาศาสตร์เห็นว่ายังต้องมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่านี้ก่อนที่การเดินทางระยะยาวในระบบสุริยะจะเป็นไปได้
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Garcia, Mark (9 May 2018). "About the Space Station: Facts and Figures". NASA. สืบค้นเมื่อ 17 Jul 2020.
- Peat, Chris (21 May 2021). "ISS – Orbit". . สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- "celestrak".
- NASA (May 29, 2009). (PDF) (PDF). NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ October 24, 2008.
- . NASA. 7 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 19 June 2010.
- . NASA. 27 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 27 February 2011.
- Smith, Marcia (2011-04-27). . spacepolicyonline.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
- Clark, Stephen (2010-03-11). "Space station partners set 2028 as certification goal". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
- NASA (2 July 2008). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-21. สืบค้นเมื่อ 28 January 2009.
- "Nations Around the World Mark 10th Anniversary of International Space Station". NASA. November 17, 2008. สืบค้นเมื่อ March 6, 2009.
- "International Space Station Overview". ShuttlePressKit.com. June 3, 1999. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
- . NASA. June 26, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-23. สืบค้นเมื่อ 2009-11-01.
- . NASA. June 26, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-08. สืบค้นเมื่อ 2009-11-01.
- . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-13. สืบค้นเมื่อ February 27, 2009.
- . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
- . NASA. June 26, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-16. สืบค้นเมื่อ March 6, 2009.
- David Harland (30 November 2004). The Story of Space Station Mir. New York: Springer-Verlag New York Inc. ISBN .
- John E, Catchpole (June 17, 2008). The International Space Station: Building for the Future. Springer-Praxis. ISBN .
- Kim Dismukes (April 4, 2004). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ April 12, 2007.
- "Spread Your Wings, It's Time to Fly". NASA. July 26, 2006. สืบค้นเมื่อ September 21, 2006.
- NASA (15 December 2008). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-25. สืบค้นเมื่อ 28 January 2009.
- มี 10 ประเทศที่เข้าร่วม; ออสเตรีย ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร เลือกที่จะไม่เข้าร่วม; กรีซและลักเซมเบิร์กเข้าร่วมกับ ESA ในเวลาต่อมา. "ESA - Human Spaceflight and Exploration - European Participating States" (ภาษาอังกฤษ). ESA. สืบค้นเมื่อ 2005-07-03.
- . European Space Agency (ESA). 19 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 19 April 2009.
- . NASA. 29 January 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-15. สืบค้นเมื่อ 19 April 2009.
- "How Much Does It Cost?". European Space Agency (ESA). 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
- Jim Wilson (December 2002). . Popular Mechanics. . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-10. สืบค้นเมื่อ 17 December 2009.
- Gary Kitmacher (2006). Reference Guide to the International Space Station. Canada: Apogee Books. pp. 71–80. ISBN . ISSN 1496-6921.
- James Oberg (2005). . World Book Online Reference Center. World Book, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 14 June 2008.
- "The International Space Station: life in space". Science in School. December 10, 2008. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
- Chris Bergin (August 22, 2009). "ISS: Still in assembly, producing science research accomplishments". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ September 27, 2009.
- "What Is ISS: International Space Station?". Astronomy Expert. September 24, 2008. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.
- "NASA Authorization Act 2005" (PDF). . 30 December 2005. สืบค้นเมื่อ 6 March 2009.
- Jay Buckey (23 February 2006). Space Physiology. Oxford University Press USA. ISBN .
- List Grossman (24 July 2009). "Ion engine could one day power 39-day trips to Mars". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 8 January 2010.
- Brooke Boen (1 May 2009). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 1 October 2009.
- Sishir Rao; และคณะ (2008). . Journal of Ultrasound in Medicine. 27 (5): 745–749. PMID 18424650. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-25.
- Michael Fincke; และคณะ (2004). "Evaluation of Shoulder Integrity in Space: First Report of Musculoskeletal US on the International Space Station". Radiology. 234 (234): 319–322. doi:10.1148/radiol.2342041680. PMID 15533948.
- . Science@NASA. 15 September 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-14. สืบค้นเมื่อ 18 June 2009.
- Donna Heivilin (21 June 1994). "Space Station: Impact of the Expanded Russian Role on Funding and Research" (PDF). Government Accountability Office. สืบค้นเมื่อ 3 November 2006.
- NASA (2008). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-07. สืบค้นเมื่อ 8 July 2008.
- "HSF: ISS assembly sequence and on-orbit configuration". European Space Agency (ESA). สืบค้นเมื่อ March 6, 2009.
- Chris Bergin (July 26, 2005). "Discovery launches—The Shuttle is back". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ March 6, 2009.
- . NASA. 14 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-14. สืบค้นเมื่อ 7 December 2009.
- (PDF). NASA. January 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
- . NASA. 11 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-23. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
- . NASA. 26 March 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-09. สืบค้นเมื่อ 26 June 2007.
- . NASA. 4 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
- . NASA. 10 May 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-25. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
- . NASA. 26 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
- Chris Bergin (2008-01-10). . NASASpaceflight.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-19. สืบค้นเมื่อ 2008-01-12.
- Chris Bergin (10 January 2008). "PRCB plan STS-122 for NET Feb 7—three launches in 10–11 weeks". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008.
- "Columbus laboratory". European Space Agency (ESA). 10 January 2009. สืบค้นเมื่อ 6 March 2009.
- "NASA—Kibo Japanese Experiment Module". NASA. 23 November 2007. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
- . Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA). 25 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-10. สืบค้นเมื่อ 6 March 2009.
- Anatoly Zak. "Docking Compartment-1 and 2". RussianSpaceWeb.com. สืบค้นเมื่อ 26 March 2009.
- Chris Bergin (10 November 2009). "Russian module launches via Soyuz for Thursday ISS docking". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ 10 November 2009.
- Robert Z. Pearlman (15 April 2009). "NASA Names Space Module After Moon Base, Not Stephen Colbert". Space.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2009.
- "Node 3: Connecting Module". European Space Agency (ESA). 23 February 2009. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
- "Cupola". European Space Agency (ESA). 16 January 2009. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
- Chris Gebhardt (5 August 2009). "STS-133 refined to a five crew, one EVA mission—will leave MPLM on ISS". NASASpaceflight.com.
- Amos, Jonathan (29 August 2009). "Europe looks to buy Soyuz craft". BBC News.
- "Shuttle Q&A Part 5". NASASpaceflight.com. 27 September 2009. สืบค้นเมื่อ 12 October 2009.
- "Where is the Centrifuge Accommodation Module (CAM) ?". NASASpaceflight.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 12 October 2009.
- Tariq Malik (14 February 2006). "NASA Recycles Former ISS Module for Life Support Research". Space.com. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
- E. D. Graf (February 2000). (PDF). ESA Bulletin 101. European Space Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-03. สืบค้นเมื่อ 4 October 2009.
- . U.S. Naval Center for Space Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2010-02-21.
- Anatoly Zak. "Russian segment of the ISS". russianspaceweb.com. สืบค้นเมื่อ 3 October 2009.
- "Russian Research Modules". Boeing. สืบค้นเมื่อ 21 June 2009.
- "The Alpha Magnetic Spectrometer Experiment". CERN. January 21, 2009. สืบค้นเมื่อ March 6, 2009.
- "International Space Station". CSA. March 9, 2006. สืบค้นเมื่อ October 4, 2009.
- Chris Bergin (January 27, 2009). "NASA approve funding to leave OBSS permanently on the ISS". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ October 5, 2009.
- "ERA: European Robotic Arm". ESA. January 16, 2009. สืบค้นเมื่อ October 4, 2009.
- . JAXA. August 29, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-20. สืบค้นเมื่อ October 4, 2009.
- . NASA. January 14, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-11. สืบค้นเมื่อ October 4, 2009.
- . April 12, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-04. สืบค้นเมื่อ October 4, 2009.
- . JAXA. August 29, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-03. สืบค้นเมื่อ October 9, 2009.
- . NASA. 6 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2009-02-28.
- "ESA - Columbus - European Technology Exposure Facility (EuTEF)". ESA. 13 January 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-02-28.
- . ESA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-12. สืบค้นเมื่อ October 9, 2009.
- "Boeing: Integrated Defense Systems—NASA Systems—International Space Station—Solar Power". Boeing. 2 November 2006. สืบค้นเมื่อ 28 January 2009.
- Thomas B. Miller (24 April 2000). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-25. สืบค้นเมื่อ 27 November 2009.
- G. Landis & C-Y. Lu (1991). "Solar Array Orientation Options for a Space Station in Low Earth Orbit". Journal of Propulsion and Power. 7 (1): 123–125. doi:10.2514/3.23302.
- . Johnson Space Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 15 October 2007.
- (PDF). AdAstra Rocket Company. 12 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2009-09-02. สืบค้นเมื่อ 7 December 2009.
- . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-10. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009.
- David Shiga (5 October 2009). "Rocket company tests world's most powerful ion engine". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
- Carlos Roithmayr (2003). Dynamics and Control of Attitude, Power, and Momentum for a Spacecraft Using Flywheels and Control Moment Gyroscopes. Langley Research Centre: NASA.
- . NASA. 11 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-17. สืบค้นเมื่อ 23 November 2008.
- Chris Bergin (14 June 2007). "Atlantis ready to support ISS troubleshooting". NASASPaceflight.com. สืบค้นเมื่อ 6 March 2009.
- "Communications and Tracking". Boeing. สืบค้นเมื่อ 30 November 2009.
- Mathews, Melissa; James Hartsfield (25 March 2005). . NASA News. NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 11 January 2010.
- "ISSRG"
- Harvey, Brian (2007). The rebirth of the Russian space program: 50 years after Sputnik, new frontiers. Springer Praxis Books. p. 263. ISBN .
- Anatoly Zak (4 January 2010). "Space exploration in 2011". RussianSpaceWeb. สืบค้นเมื่อ 12 January 2010.
- . NASA. 24 February 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 19 April 2009.
- "Operations Local Area Network (OPS LAN) Interface Control Document" (PDF). NASA. February 2000. สืบค้นเมื่อ 30 November 2009.[]
- . EADS Astrium. 28 February 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-21. สืบค้นเมื่อ 30 November 2009.
- Chris Bergin (10 November 2009). "STS-129 ready to support Dragon communication demo with ISS". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ 30 November 2009.
- . British National Space Council. 3 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (aspx)เมื่อ 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 7 September 2009.
- (PDF). European Space Agency. 6 December 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 16 May 2006.
- Tariq Malik (15 February 2006). "Air Apparent: New Oxygen Systems for the ISS". Space.com. สืบค้นเมื่อ 21 November 2008.
- Patrick L. Barry (13 November 2000). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-21. สืบค้นเมื่อ 21 November 2008.
- Craig Freudenrich (20 November 2000). "How Space Stations Work". Howstuffworks. สืบค้นเมื่อ 23 November 2008.
- "5–8: The Air Up There". NASAexplores. NASA. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-14. สืบค้นเมื่อ 31 October 2008.
- Clinton Anderson; และคณะ (30 January 1968). (PDF). Washington, DC: US Government Printing Office. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-03-07.
- European Space Agency (7 January 2009). "See the ISS from your home town". European Space Agency. สืบค้นเมื่อ 13 November 2007.
- Spaceweather.com (5 June 2009). "ISS visible during the daytime". Spaceweather.com. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
- "Human Spaceflight and Exploration—European Participating States". European Space Agency (ESA). 2009. สืบค้นเมื่อ 17 January 2009.
- . NASA. 14 October 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 18 January 2009.
- . Italian Space Agency. 18 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 18 January 2009.
- . CNN. Associated Press. 16 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 20 March 2008.
- James Oberg (26 October 2001). . MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-12. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
- . NASA. 29 January 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 19 April 2009.
- Alan Boyle (25 August 2006). . MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 30 September 2008.
- James P. Bagian; และคณะ (2001). Readiness Issues Related to Research in the Biological and Physical Sciences on the International Space Station. United States National Academy of Sciences.
- Robert L. Park. "Space Station: Maybe They Could Use It to Test Missile Defense". University of Maryland. สืบค้นเมื่อ 23 March 2009.
- Bob Park. "Space: International Space Station Unfurls New Solar Panels". University of Maryland. สืบค้นเมื่อ 15 June 2007.
- NASA (2007). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 13 November 2007.
- NASA (2007). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 13 November 2007.
- NASA (2007). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-30. สืบค้นเมื่อ 13 November 2007.
- James J. Secosky, George Musser (1996). "Up, Up, and Away". Astronomical Society of the Pacific. สืบค้นเมื่อ 10 September 2006.
- E. Ginzburg, J.W. Kuhn, J. Schnee & B. Yavitz (1976). "Economic impact of large public programs The NASA experience". NASA Technical Reports Server (NTRS). สืบค้นเมื่อ 13 November 2007.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Federation of American Scientists. "NASA Technological Spinoff Fables". Federation of American Scientists. สืบค้นเมื่อ 17 September 2006.
- Joel Achenbach (13 July 2009). "As Space Station Nears Completion, It Faces End of Mission". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 18 July 2009.
- (PDF) (Press release). NASA. 1 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 1 February 2010.
- Stephen Clark (11 March 2010). "Space station partners set 2028 as certification goal". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 14 March 2010.
- "International Space Station Could Fly Through 2028, NASA Partners Say". Space.com. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
- "International Partners Discuss Space Station Extension and Use". SpaceRef.com. 22 September 2010. สืบค้นเมื่อ 23 September 2010.[]
- "Russia 'to save its ISS modules'". BBC News. 22 May 2009. สืบค้นเมื่อ 23 May 2009.
- . NASA. 13 September 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-15. สืบค้นเมื่อ 9 November 2007.
- "Ask the STS-113 crew: Question 14". NASA. 7 December 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 9 November 2007.
- . NASA. November 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-27. สืบค้นเมื่อ 24 February 2009.
- (PDF). NASA. 5 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-30. สืบค้นเมื่อ 5 November 2008.
- Cheryl L. Mansfield (7 November 2008). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 17 September 2009.
- (PDF). CSA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 28 October 2009.
- "Daily life". ESA. 19 July 2004. สืบค้นเมื่อ 28 October 2009.
- Tariq Malik (27 July 2009). "Sleeping in Space is Easy, But There's No Shower". Space.com. สืบค้นเมื่อ 29 October 2009.
- Ed Lu (8 September 2003). ""Greetings Earthling"". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-11. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009.
- Andrea Foster (16 June 2009). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-15. สืบค้นเมื่อ 23 August 2009.
- Amiko Kauderer (19 August 2009). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-21. สืบค้นเมื่อ August 23, 2009.
- "International Space Station Expeditions". NASA. 10 April 2009. สืบค้นเมื่อ 13 April 2009.
- NASA (2008). "International Space Station". NASA. สืบค้นเมื่อ 22 October 2008.
- NASA (27 November 2009). . NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-14. สืบค้นเมื่อ 28 November 2009.
- . NASA. 1 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-03. สืบค้นเมื่อ 8 December 2009.
- Michael Hoffman (3 April 2009). "National Space Symposium 2009:It's getting crowded up there". Defense News. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.[]
- F. L. Whipple (1949). "The Theory of Micrometeoroids". Popular Astronomy. 57: 517.
- Chris Bergin (30 September 2009). "Soyuz TMA-16 launches for journey to ISS—Safe Haven evaluations". NASASpaceflight.com. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
- Henry Nahra (24–29 April 1989). "Effect of Micrometeoroid and Space Debris Impacts on the Space Station Freedom Solar Array Surfaces" (PDF). NASA. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
- Leonard David (7 January 2002). . Space.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-23. สืบค้นเมื่อ 30 November 2008.
- Rachel Courtland (16 March 2009). "Space station may move to dodge debris". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
- (PDF). Orbital Debris Quarterly News. NASA. 12 (4): 1&2. October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-02-16. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
- "ATV carries out first debris avoidance manoeuvre for the ISS". ESA. 28 August 2008. สืบค้นเมื่อ 26 February 2010.
- "ISS dodges debris". NowPublic. 29 August 2008. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.[]
- (PDF). Orbital Debris Quarterly News. NASA. 14 (1): 2. January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
- Eugenie Samuel (23 October 2002). "Space station radiation shields 'disappointing'". New Scientist. สืบค้นเมื่อ 7 October 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานีอวกาศนานาชาติที่ร่วมมือกับองค์กรอวกาศต่างๆ
- NASA 2009-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- RSC Energia 2008-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Roskosmos 2007-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (รัสเซีย)
- องค์การอวกาศแคนาดา
- องค์การอวกาศยุโรป
- องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น 2013-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- องค์การอวกาศอิตาลี 2015-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (โปรตุเกส)
- สื่อเคลื่อนไหว
- NASA's ISS interactive reference guide 2007-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- NASA's ISS image gallery search page 2008-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ตำแหน่งปัจจุบันของสถานีอวกาศนานาชาติ 2007-04-08 ที่ เวย
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sthanixwkasnanachati xngkvs International Space Station ISS rsesiy Mezhdunaro dnaya kosmi cheskaya sta nciya MKS frngess Station spatiale internationale SSI epnhxngthdlxngaelasthanxanwykhwamsadwksahrbngankhnkhwawicyinradbnanachatisungthukprakxbkhuninwngokhcrtakhxngolk karkxsrangerimtnkhuntngaetpi kh s 1998 aelamiaephndaeninkaresrcsininpi kh s 2012 khnathikarptibtikarcadaenintxipxyangnxycnthungpi kh s 2020 hruxxacepnipidthungpi kh s 2028 erasamarthmxngehnsthanixwkasnanachatiiddwytaeplacakphunolk enuxngcaksthanixwkasaehngniepnsingkxsrangthiihythisudthixyuinradbwngokhcrkhxngolk odymimwlmakkwasthanixwkasidthimnusyekhysrangmakxnhnanithnghmd sthanixwkasnanachatithahnathiepnhxngthdlxngwicyxyangthawrinxwkas thakarthdlxngdantang idaek chiwwithya chiwwithyamnusy fisiks darasastr aela xutuniymwithya sungtxngxasykarthdlxnginsphawathimiaerngonmthwngnxymak sthanixwkasaehngniyngthahnathiepnsthanthithdsxbsahrbrabbkraswyxwkasthimiprasiththiphaphaelaechuxthuxid sungcaepntxngichsahrbptibtikarrayayawephuxkaripsudwngcnthraeladawxngkhar karthdlxngaelakarbriharsthanixwkasnanachatidaeninkarodykhnankbinxwkassungxyuptibtihnathiinrayayaw sthanierimptibtikarnbaetlukeruxthawrkhnaaerk khux thiipthungsthanixwkastngaet 2 phvscikayn kh s 2000 cnthungeduxnmithunayn kh s 2011 khnalukeruxchud xyuinrahwangptibtihnathi nbrwmaelwptibtikarniiddaeninkarmaepnewlakwa 10 pi aelathuxepnsthitikarxyuxasykhxngmnusyinxwkasodyimkhadkhwamtxenuxngthiyawnanthisudxikdwysthanixwkasnanachatimummxngechiyngcakkhanghna phvscikayn kh s 2021ekhruxnghmayokhrngkarsthanixwkasnanachatikhxmulkhxngsthanielkhthaebiyn COSPAR1998 067Ahmayelkh SATCAT25544syyaneriykkhanAlpha Stationcanwnlukeruxlukeruxthnghmd 7 pccubnxyu 7sngkhunemux20 phvscikayn 1998 25 pikxn 1998 11 20 thansngbyokengxr than 1 5 aela than 81 23 ekhnendi LC 39 aela CCSFS SLC 41 xnakht mwl444 615 kg 980 208 lb khwamyaw73 0 m 239 4 ft khwamkwang109 0 m 357 5 ft primatrxakas915 6 m3 32 333 cu ft khwamdnbrryakas101 3 kPa 14 7 psi 1 0 atm 79 nitrogen 21 oxygencudiklolkthisud413 km 256 6 mi ehnuxradbnathaelcudiklolkthisud422 km 262 2 mi ehnuxradbnathaelkhwamexiyngwngokhcr51 64 xngsakhwamerwechliy7 66 km s imxyuinaehlngxangxing 27 600 km h 17 100 mph khabkarokhcr92 68 nathi imxyuinaehlngxangxing canwnrxbokhcrtxwn15 49tnyukhxangxingwngokhcr24 emsayn 2022 16 30 11canwnwnthiokhcr25 pi 6 eduxn 26 wn 15 mithunayn 2024 canwnwnthimnusyxyu23 pi 7 eduxn 13 wn 15 mithunayn 2024 canwnrxbokhcrrwm133 312 khxmulemux mithunayn 2022 update karslaykhxngwngokhcr2 km eduxnsthiti n khxmulemux 9 minakhm kh s 2021 2021 03 09 update xangxing xngkhprakxbokhrngsrangkhxngsthanixwkasnanachati khxmulemux thnwakhm 2022 update twsthanixwkasnanachatiprakxbdwysthanixwkasinokhrngkartang khxnghlaypraeths sungrwmipthung emiyr 2 khxngxditshphaphosewiyt fridxm khxngshrth okhlmbs khxngchatiyuorp aela khiob khxngyipun ngbpramancakaetlaokhrngkarthaihtxngaeykxxkepnokhrngkaryxy hlayokhrngkarkxn aelwcungnaiprwmknepnsthaninanachatithiesrcsmburninphayhlng okhrngkarsthanixwkasnanachatierimtnpi kh s 1994 cakokhrngkarkraswyxwkas emiyr omdulaerkkhxngsthanixwkasnanachatikhux sarya thuksngkhuninpi kh s 1998 odypraethsrsesiy hlngcaknnidmikarechuxmtxknhlaykhrngdwyomdulthiidrbkarprbkhwamdnxyangsbsxn okhrngsrangphaynxksthani aelaxngkhprakxbxun thinasngkhunodykraswyxwkaskhxngshrthxemrika crwdoprtxnkhxngrsesiy aelacrwdosyuskhxngrsesiy nbthungeduxnkumphaphnth 2010 sthanixwkasmichinswnomdulprbkhwamdn 13 omdul tidtngxyubnokhrngkhahlk ITS rabbiffakhxngsthanimacakkhnadihy 16 aephngtidtngxyubnokhrngsrangphaynxk aelamiaephngkhnadelkkwaxik 4 aephngxyubnomdulkhxngrsesiy sthanixwkasnanachatilxyxyuinwngokhcrthikhwamsungradb 278 460 kiolemtrehnuxphunolk ekhluxnthidwyxtraerwechliy 27 724 kiolemtrtxchwomng okhcrrxbolk 15 77 rxbtxwn sthanixwkasnanachatiepnokhrngkarrwmknrahwanghnwyngandanxwkas 5 hnwycakchatitang idaek xngkhkarbriharkarbinaelaxwkasaehngchati NASA shrthxemrika xngkhkarxwkasshphnthrthrsesiy RKA rsesiy xngkhkarxwkasaekhnada CSA aekhnada xngkhkarsarwcxwkasyipun JAXA yipun aela xngkhkarxwkasyuorp ESA shphaphyuorp karrabukhwamepnecakhxngaelakarichsxysthanidaeninkarphayitsnthisyyaaelakhxtklngrahwangpraethshlaychbb odythirsesiyepnecakhxngchinswnomdulkhxngrsesiyexngodysmburn ESA praeminkhaichcaykhxngokhrngkarsthanixwkasnanachatixyuthipraman 100 000 lanyuortlxdchwngrayaewla 30 pi dwyngbpramanmhasalnithaihokhrngkarkraswyxwkasnanachatitkepnepakhxngkarwiphakswicarnmakmaythngindankarengin khwamsamarthinkarthawicy aelakarxxkaebbthangethkhnikh swntang khxngsthanithukkhwbkhumodysunykhwbkhumptibtikarbnphunolkhlayaehng rwmipthung sunykhwbkhumptibtikarkhxngnasa MCC H sunykhwbkhumptibtikarkhxng RKA Russian Space Agency TsUP sunykhwbkhumokhrngkarokhlmbs Col CC sunykhwbkhum ATV ATV CC sunykhwbkhumptibtikarkhxngyipun JEM CC aelasunykhwbkhumptibtikarsakhyxun HTV CC aela MSS CC karsxmbarungsthanixwkasnanachatidaeninkarodykraswyxwkasthngaebbthiichmnusyaelaimichmnusykhwbkhum rwmthungkraswyxwkasosyus kraswyxwkasophrekrs yankhnsngxtonmti aela yankhnsng H II minkbinxwkasaelanksarwcxwkascakpraethstang 15 praethsidkhunipeyiymchmaelwwtthuprasngkhwtthuprasngkhaetedimkhxngsthanixwkasnanachatisrangkhunephuxepnhxngthdlxngaelawicy ephuxpraoychnthinxkehnuxcakkarichngankraswyxwkas enuxngcakepnsthanthithiichnganidxyangthawrinsphawasuyyakas thaihsamarththakarsuksakhnkhwaxyangtxenuxngepnewlananid thngthangdankarthdlxngthiechphaaecaacng rwmipthungkarphankxasykhxnglukeruxthitxngxyuptibtihnathi karthimilukeruxxyupracakarxyangthawrthaihsthanixwkassamarththanganhlayxyangthikraswyxwkasaebbimmikhnkhwbkhumimxacthaid echnsamarthefadukarthdlxngidxyangiklchid aetngetim sxmaesm hruxepliynaeplngid idthnthi khnankwithyasastrthithanganbnphunolkcungsamarthekhathungkhxmulidxyangrwderw samarthprbepliynraylaexiydkarthdlxnghruxrierimkarthdlxngaebbihmidtamthitxngkar sungepnsingthiimsamarththaidhakichyanxwkasimmikhnbngkhbsungsuksaepnphiess khnalukeruxcaxyuptibtikarbnsthanixwkasnanachatiepnewlatidtxknhlayeduxn thakarthdlxngthangwithyasastrdantang thukwn praman 160 chwomng khn txhnungspdah rwmthungkarthdlxngekiywkbchiwwithyamnusy yainxwkas withyasastrchiwphaph fisiks aelakarsngektkarnolk echnknkbkarthdlxnghlkkarthangwichakaraelaethkhonolyi cakphlsrupkarptibtingannbaeterimkarsng Zarya inpi kh s 1998 cnthungkhnalukerux idmikarthdlxngthangwithyasastrthisakhydaeninipthngsin 138 hwkhx karkhnphbthangwithyasastrthisakhymakmay tngaetwithyasastrphunthanipcnthungkarwicyinsakhaihm idrbkartiphimphxxkmaepnpracathukeduxn sthanixwkasnanachatiyngepnsthanthithdsxbrabbkraswyxwkasthimiprasiththiphaphaelaaemnyathisudephuxichinptibtikarrayayawsudwngcnthraeladawxngkhar thaihsamarthpraeminekhruxngmuxwdtang intaaehnngthiplxdphyinwngokhcrtakhxngolk thaihmiprasbkarninkarbarungrksa sxmaesm aelaepliynrabbinwngokhcr sungcamikhwamsakhyxyangyinginkarkhwbkhumkraswyxwkascakolktxipinphayhna karthakarthdsxbnibnsthanixwkasnanachatithaihldkhwamesiyngkhxngptibtikarlngidxyangmak aelayngephimkhwamsamarthkhxngkraswyxwkasthicaichedinthangrahwangdawekhraahdwy nxkehnuxcakwtthuprasngkhinkarthdlxngaelawicythangwithyasastraelw yngmikhwamkawhnaxikmakmayinkarsuksaaelaindankhwamrwmmuxrahwangpraeths khnalukeruxkhxngsthanixwkasnanachatiidmxboxkasaeknkeriynbnolkihthakarsuksaaelaphthnakarthdlxng thdsxbaelamiswnrwmcakinhxngeriyn ihsmphskbkarthdlxngkhxngxngkhkarnasaaelapharkicdanwiswkrrmtang khxngsthanixwkas okhrngkarsthanixwkasnanachatiyinyxmihmitwaethncak 14 praethskhunipphankxasyaelathanganrwmkninxwkas ephuxsrangbtheriynsakhythisamarthnaipsupharkicrwmknrahwangnanachatiinxnakht karwicythangwithyasastr phubychakar aelaecahnathiwithyasastr kalngtrwcsxbtuthdlxngaerngonmthwngtaaebbswmthungmuxphaphepriybethiybrahwangifthicudbnolk say kbifthicudkhunbnsphawaaerngonmthwngtabn ISS khwa epahmayhnungkhxngsthanixwkasnanachati khuxkarthakarthdlxngthicaepntxngthabnsthanixwkasphayitsphawaphidipcakpkti karwicysakhahlkidaek chiwwithya karwicythangaephthyaelaethkhonolyithangchiwwithya fisiks klsastrkhxngihl wsdusastr aelakhwxntmfisiks darasastr rwmthungckrwalwithya aelaxutuniymwithya kahndihsthanixwkasswnkhxngshrthepnhxngptibtikaraehngchatikhxngshrth thimiepahmayephuxichpraoychncaksthanixwkasodyphakhrthaelaexkchn tngaetpi 2007 epntnma karthdlxngekuxbthnghmdcaekiywkhxngkbphlkrathbkhxngsphawairnahnktxrangkaymnusy xyangirktam phayinpi 2010 camiomdulekiywkbkarwicykhuniptidtngxiksiomdul khadwacamikarwicythilaexiydmakkwani karwicybnsthanixwkaschwyihsamarthphthnakhwamrukhwamekhaicmakkhunekiywkbphlkrathbtxrangkaymnusythixyuinxwkasepnewlanan echn karesuxmkhxngklamenuxaelakraduk aelasuksaekiywkbkhxngihlinrangkaymnusy sungcathaihidkhxmulthiepnpraoychntxkartngthinthaninxwkasaelakaredinthanginxwkasepnewlanan khxmulcakkarsuksanbthungpi 2006 bngchiwacamixntrayihyhlwnghaknkbinxwkaslngcxdbndawekhraahhlngcakphankaredinthangrahwangdwngdawepnrayaewlanan echnrayaewlaedinthang 6 eduxnthiichedinthangipyngdawxngkhar mikarsuksathangkaraephthyradbsungbnsthanixwkasnanachatiphansthabnwicychiwaephthysastraelaxwkasaehngchati National Space and Biomedical Research Institute hrux NSBRI hwkhxthisakhyechn karwiekhraahxltrasawnkhnsunginsphawaaerngonmthwngta sungthakartrwcsxbxltrasawnnkbinxwkasodyxasykhaaenanathangiklcakphuechiywchay karsuksanimiwtthuprasngkhephuxdukarwiekhraahorkhaelakarrksainenguxnikhkaraephthytang inxwkas pktiaelwcaimmiaephthyxyubnsthanixwkasnanachati karwiekhraahenguxnikhthangkaraephthycungepneruxngthathay aelatxngkhadkarnlwnghnaipkxnwakhaaenanathangiklcakolksahrbkarxltrasawninkrnichukechinrwmthungkarduaelrksaodyaephthyphumiprasbkarnxacepnipidyak nkwicyyngthakarsuksaphlkrathbcaksphawaaewdlxmthiekuxbcairnahnkbnsthanixwkasthimiphltxkarecriyetibot karphthna aelakrabwnkarphayinkhxngphuchaelastw khxmulthiidni nasatxngkarnaipichsuksaphlkrathbcaksphawaekuxbirnahnkthimitxkaretibotkhxngenuxeyuxsammitikhlayenuxeyuxmnusy aelaphlukoprtinruprangprahladthisamarthekidkhunidinxwkas nasasuksapyhafisiksedn echn klsastrkhxngihlinsphaphirnahnksungyngimepnthiekhaickndink ephuxthakhwamekhaickbrupaebbphvtikrrmkhxngkhxngihliddiyingkhun enuxngcakkhxngihlsamarthrwmtwknidekuxbsmburninphawaaerngonmthwngta khnathiemuxxyubnolkklbimsamarthphsmknid nxkcakni nkwithyasastrhwngcaidrbkhxmulihm ekiywkbptikiriyakhxngssarthiechuxngchalngcakphlkhxngaerngonmthwngaelaxunhphumithildtalng sungcathaihsamarththakhwamekhaicekiywkbsartwnayingywdiddiyingkhun karsuksadanwsdusastrkepnhwkhxsakhyhnungbnsthanixwkasnanachati odymiwtthuprasngkhephuxhapraoychndanesrsthkiccakkarphthnaethkhnikhthiichknxyubnolk nxkcakni nkwicytangkhwngthicasuksakrabwnkarephaihminsphaphthiaerngonmthwngnxykwabnolk ephuxkhnhahnthangphthnaprasiththiphaphkarephaihm xncaekidphlditxesrsthkicaelasingaewdlxm nkwithyasastrwangaephnthicaichsthanixwkasephuxtrwcsxblaxxnglxy oxosn ixna aelaxxkisdinchnbrryakaskhxngolk aelarngsikhxsmik funxwkas ptissar aelassarmudinckrwalprawtikraswyxwkasaextaelntisekhaethiybtha emiyr inethiywbin rahwangokhrngkarkraswyxwkas emiyr sthanixwkasnanachatierimtnokhrngkarmatngaetyukhsngkhrameyn odyepnokhrngkarthithanganrwmknrahwangsthanixwkascakpraethstang hlaypraeths chwngtnkhristthswrrs 1980 xngkhkarnasawangaephnkarsngomdulsthanixwkaschuxwa sthanixwkasfridxm sungepnehmuxnsaenakhxngaelasthanixwkasemiyrkhxngrsesiy khnathithangfngosewiytidetriymkarsrang emiyr 2 inchwngthswrrs 1990 ephuxnakhunipichaethnthi emiyr xyangirkdi dwypyhathangdanngbpramanaelakhxcakdinkarxxkaebb fridxm cungimmikhwamkhubhnaid hlngcaksrangaebbcalxngaelakarthdsxbxupkrnyxy karlmslaykhxngshphaphosewiytpidchaksngkhrameynaelakaraekhngkhnknthangxwkas okhrngkar fridxm kalngcathukrthsphakhxngshrthxemrikasngykelik nxkcaknikhwamwunwaythangesrsthkickhxngpraethsrsesiyyukhhlngosewiytkthaihokhrngkar emiyr 2 lmelikipdwy praethsxun kprasbpyhathangdanngbpramansahrbsthanixwkasechnediywkn thaihrthbalshrth erimkarecrcakbhunswnxuninyuorp rsesiy yipun aelaaekhnada inchwngtnkhristthswrrs 1990 ephuxerimokhrngkarsthanixwkasthiepnkhwamrwmmuxrahwangnanachati eduxnmithunayn kh s 1992 cxrc exch dbebilyu buch prathanathibdishrthxemrika kbbxris eylsin prathanathibdirsesiy idtklngrwmkninokhrngkarsarwcxwkas odylngnamin khxtklngrahwangshrthxemrikakbshphnthrthrsesiywadwykarrwmmuxinkarsarwcaelaichsxyxwkasphaynxkephuxsntiphaph khxtklngnierimtndwyokhrngkarrwmmuxelk odythinkbinxwkaschawxemrikn 1 khncakhunsusthanixwkasrsesiy aelankbinxwkasrsesiy 2 khncakhunsusthanixwkaskhxngshrth eduxnknyayn kh s 1993 xl kxr rxngprathanathibdishrthxemrika kb naykrthmntrirsesiy idprakasaephnkarsahrbsthanixwkasaehngihm sunginewlatxmaklayepnsthanixwkasnanachati aelaephuxepnkaretriymkarokhrngkarihmni thngsxngidtklngknwa shrthxemrikacaekhachwyehluxinokhrngkar emiyr xyangiklchidinewlahlaypikhanghna odythuxepnswnhnungkhxngkhxtklngsungtxmanbrwmexayaninwngokhcrthiechuxmtxkbemiyrdwy okhrngkarsthanixwkasnanachatiidwangaephnthicaechuxmtxsthanixwkaskhxngxngkhkarxwkasthiekharwmexaiwdwykn sungrwmipthung fridxm emiyr 2 phrxm DOS 8 thiphayhlngklayepnsewsda okhlmbs khxngxngkhkarxwkasyuorp aelahxngthdlxng khiob khxngxngkhkarsarwcxwkasyipun omdulaerkkhxngokhrngkarkhux sarya thuksngkhunemuxpi kh s 1998 aelakhadhmaywasthanixwkascaesrcsmburnphayinpi kh s 2003 xyangirkdi khwamlachatang thaihaephnpramankaresrcsmburnkhxngokhrngkartxngeluxnxxkipepnpi kh s 2011sthanixwkasokhrngsrangaelakarprakxbsthani karprakxbokhrngsthanixwkasnanachatiepnkhwamthathaydanwiswkrrmxakasyanxyangyingkhrnghnung okhrngkarnierimtnineduxnphvscikayn kh s 1998 nbthungeduxnphvsphakhm kh s 2009 karprakxbsthanixwkaskhubhnaipaelw 82 8 chinswnaerkkhxngsthanixwkasnanachati khux sarya nakhunsuwngokhcremuxwnthi 20 phvscikayn kh s 1998 odycrwdoprtxnkhxngrsesiy hlngcaknnsxngspdahcungtidtammadwyohndomdul 3 chud khux yuniti nakhunsuxwkasodyethiywbin STS 88 chinswnthngsxngnithukthingiwprascakphukhwbkhumepnewlakwahnungpikhrung cnkrathng sewsda omdulkhxngrsesiythuknakhunipprakxbephimetimineduxnkrkdakhm kh s 2000 thaihsthanixwkasnanachatisamarthrxngrblukeruxidsungsudkhrawla 3 khnxyangtxenuxng khnalukeruxthawrchudaerkkhux edinthangipthungsthanixwkasnanachatiineduxnphvscikayn kh s 2000 odynachinswn 2 chinipprakxbinokhrngkhahlk khuxokhrngswnprakxb Z1 aela P6 thngsxngswnniepntwtngtnihsthanixwkassamarththakarsuxsar karnathang epnrabbdinihrabbiffa sahrb Z1 aelaepnaehlngphlngnganerimtnthiidcakaephngrbaesngxathitythitidtngbn P6 chwngsxngpithdma mikarkhyaysthanixwkasodyswnprakxbethiybtha nasngodycrwd phrxmknnn hxngthdlxng edsthini kb knakhunprakxbodykraswyxwkasaextaelntisaelakraswyxwkasexnedfewxr sthanixwkasyngtidtngaekhnklhlk Canadarm2 aelachinswntang xikhlaychinekhakbokhrngkhahlkkhxngsthani aephnkartxkhyaysthanixwkastxnghyudchangkiphlngcakekidxubtiehtukbkraswyxwkasokhlmebiyinpi kh s 2003 karkxsrangtxnghyudchangkipphrxmkbkarrangbokhrngkarkraswyxwkas cnkrathngkraswyxwkasdiskhfewxri ethiywbin STS 114 khunbinxikkhrnginpi kh s 2005 karprakxbsthanierimkhubhnaxyangepnthangkarcakkarnasngaephngrbaesngxathitychudthisxngkhxngsthanixwkasthinasngodykraswyxwkasaextaelntis ethiywbin STS 115 hlngcaknnidmikartidtngokhrngsrangprakxbephimetimcanwnmak rwmthungaephngrbaesngxathitychudthisam nasngkhunodyethiywbin STS 116 STS 117 aela STS 118 sungepnkarephimkhidkhwamsamarthinkarphlitkraaesiffakhxngsthani thaihsamarthtidtngomdulxdxakasephimetimid mikartidtngohndharomniaelahxngthdlxngokhlmbskhxngthangyuorphlngcaknn tamdwyxupkrnsxngchudaerkkhxngomdulkhiobkhxngyipun eduxnminakhm kh s 2009 ethiywbinthi STS 119 nasngxupkrntidtngokhrngkhahlkchudsudthayesrcsmburnrwmthungkartidtngaephngrbaesngxathitychudthisisungepnchudsudthay eduxnkrkdakhm kh s 2009 kraswyxwkasexnedfewxrethiywbin STS 127 nasngxupkrnchudsudthaykhxngomdulkhiobkhuntidtng nbthungeduxnkumphaphnth kh s 2010 sthanixwkasnanachatiidtidtngomdulxdxakasthngsin 13 omdul okhrngkhahlktidtngesrcsmburn kalngrxomdulxdxakasexnkprasngkh lioxnarod aekhnklkhxngyuorp omdulkhxngthangrsesiyxik 2 omdul aelachinswnphaynxkxikcanwnhnungrwmthung AMS 02 sungkhadwacatidtngaelwesrcthnghmdphayinpi kh s 2011 sthanixwkasnanachaticamimwlrwmthngsinmakkwa 400 emtriktn omdulthiidrbkarprbkhwamdn sthanixwkasnanachatiyngxyuinrahwangkarkxsrang emuxsrangesrcaelwmncaprakxbdwyomdulthiidrbkarprbkhwamdnthnghmd 16 omdul miprimatrrwmthnghmdpraman 1 000 lukbaskemtr omdulehlaniprakxbdwyhxngthdlxng swnechuxmtx ohnd aelaswnxyuxasy txnnimiomdul 9 omdulxyuinwngokhcraelw xik 5 omdulyngkhngrxkarsngkhunma omdulaetlaomdulcathukkhnkhunmadwykraswyxwkas aela dngtarangkhanglangni omdul ethiywbin wnthiplxy yankhnsng wnthiechuxmtx praeths mummxngaebbaeykchinsarya 1A R 20 phvscikayn kh s 1998 rsesiy phusrang shrth enginthun epnchinswnaerksudkhxngsthanixwkasnanachatithinasngkhun thahnathiphlitaelacdekbkraaesiffa khbekhluxn aelanathangkarprakxbinchwngtn pccubnthahnathiepnomdulsahrbekbkhxngthngdaninomdulaelathngnamndannxk ohnd 1 2A 4 thnwakhm kh s 1998 kraswyxwkasexnedfewxr 7 thnwakhm kh s 1998 shrthepnohndomdulchudaerk thahnathiechuxmtxswnkhxngshrthxemrikabnsthaniekhakbswnkhxngrsesiy odyphantwaeplngprbkhwamdn PMA 1 aelaepncudethiybthasahrbokhrngkha Z1 swnaexrlxk ekhwst hxngthdlxng edsthini aelaohnd Tranquillitysewsda omdulbrikar 1R 12 krkdakhm kh s 2000 crwdoprtxn ekh 26 krkdakhm kh s 2000 rsesiyepnomdulbrikarkhxngsthani odyepnphunthiichsxyhlksahrbthiphkkhxngbrrdalukerux rabbcdkarsingaewdlxm aelakarkhwbkhumthisthangkbwngokhcr omdulyngthahnathiepncudethiybthasahrb aela hxngthdlxngshrth 5A 7 kumphaphnth kh s 2001 kraswyxwkasaextaelntis 10 kumphaphnth kh s 2001 shrthepnswnnganwicyphunthankhxngshrthxemrikathitidtngbnsthani ichsahrbkarthdlxngodythwip phayinmichnmatrthanxyu 24 chn bangswnichsahrbrabbsingaewdlxmaelaekhruxngmuxekhruxngichpracawnkhxnglukerux mihnatangkhnad 51 sm sungepnhnatangbanihythisudethathiekhymiichinxwkas edsthiniyngepncudechuxmtxsahrbokhrngkhahlkswnihykhxngsthanixwkasdwy cudechuxmtxaexrlxk 7A 12 krkdakhm kh s 2001 kraswyxwkasaextaelntis 14 krkdakhm kh s 2001 shrthepncudechuxmtxkkxakasphunthansahrbsthanixwkas sahrbkarxxkedininxwkaskhxngthngfngshrthxemrikaaelarsesiy prakxbdwy 2 swnhlkkhux swnlxkxupkrn brrcuchudxwkasaelaekhruxngmux kbswnlxklukerux sungepncudthinkbinxwkascaxxkedinipinxwkas swnprakxbethiybtha 4R 14 knyayn kh s 2001 16 knyayn kh s 2001 rsesiyepnthaechuxmtxephimetimsahrbyanxwkasosyusaelaophrekrs thngyngsamarthepnthangekhaaelathangxxkihaeknkedinxwkascakthangrsesiy nxkehnuxipcakepnthiekbchudxwkas ohnd 2 10A 23 tulakhm kh s 2007 kraswyxwkasdiskhfewxri 14 phvscikayn kh s 2007 yuorp phusrang shrth enginthun epnomdulohndthi 2 khxngsthani thahnathiepnsunyklangrabbxrrthpraoychnkhxngsthanixwkasnanachati prakxbdwyaerk 4 chinsahrbechuxmtxphlngnganiffa khxmulxielkthrxniks aelaepncudechuxmtxklangsahrbswnprakxbxun phanthang Common Berthing Mechanism CBM thng 6 chud hxngthdlxngokhlmbskhxngyuorp aelakhiobkhxngyipunechuxmtxkbomdulnixyangthawr aelamithaechuxmtxinwngokhcrsahrbkraswyxwkasshrthtidtngbnthadannxkkhxng haromni phanthang PMA 2 nxkcakniomdulyngthahnathiepnthaethiybsahrbethiywbinkhnsngsingkhxngaelaesbiyngxikdwyokhlmbs hxngthdlxngyuorp 1E 7 kumphaphnth kh s 2008 kraswyxwkasaextaelntis 11 kumphaphnth kh s 2008 yuorpepnswnnganwicyphunthansahrbthangyuorp prakxbdwyhxngthdlxngphunthanaelaekhruxngxanwykhwamsadwkxun thixxkaebbmasahrbkarthdlxngdanchiwwithya nganwicychiwaephthysastr aelafisikskhxngihl micudechuxmtxhlayaehngtidtngxyudannxkkhxngomdulsahrbkarrbphlngnganaelaechuxmtxkhxmulkbhxngthdlxngxun miaephnkarthicakhyaytwomdulxxkipxikephuxkarsuksafisikskhwxntmaelackrwalwithyaomdul khiob swnkhnsng JEM ELM 1J A 11 minakhm kh s 2008 kraswyxwkasexnedfewxr 12 minakhm kh s 2008 yipunepnswnhnungkhxngomdulhxngthdlxng khiob khxngyipun thahnathiinkarcdekbaelaxanwykarkhnsngsingkhxngtang maynghxngthdlxngodyphanswnprbkhwamdnthirxngrbkarkhnthayphayinomdul khiob swnprbkhwamdn JEM PM 1J 31 phvsphakhm kh s 2008 kraswyxwkasdiskhfewxri yipunepnswnhnungkhxngomdulhxngthdlxng khiob khxngyipun odythahnathiepnaeknhlkkhxngkhiob sungswn ELM aelaekhruxngxanwykhwamsadwkphaynxkxun catxngmaechuxmtx hxngthdlxngniepnomdulsthanixwkasnanachatithiihythisud prakxbdwyaerk 23 chin sungrwmthungaerkkarthdlxng 10 chin omdulichinkarthdlxngekiywkbkaraephthyinxwkas chiwwithya karsngektkarnolk karphlitwsdu iboxethkhonolyi aelanganwicydankarsuxsar nxkcakniyngthahnathiepnthaethiybsahrbaephltfxrmphaynxkxun ephuxihsamarthkhnthaysingkhxngidodytrnginsphawaaewdlxminxwkasodyxasyaekhnkl JEM RMS sungtidtngxyukbomdul PM ni Mini Research Module 2 5R 10 phvscikayn kh s 2009 crwdosyus yu rsesiyepnswnprakxbsthanixwkasnanachatiswnhnungkhxngrsesiy ichsahrbkarethiybthayanosyusaelayanophrekrs odyepnhxngkkxakassahrbkaredinxwkasaelaepnswnechuxmtxkbkarthdlxngwithyasastrdwy Node 3 20A 8 kumphaphnth kh s 2010 kraswyxwkasexnedfewxr yuorp phusrang shrth enginthun epnohndkhxngshrth hnwythi 3 aelahnwysudthay brrcurabbsnbsnunkardarngchiphthikawhnaxyangying ephuxthahnathiriisekhilnaesiycakkarichngankhxnglukerux aelasrangxxksiecnihkblukerux ohndnimicudechuxmtx 4 cudephuxechuxmkbomdulprbkhwamdnhruxyankhnsnglukeruxxun nxkehnuxipcakkarepncudechuxmtxthawrsahrbomdulkhuopla20A 8 kumphaphnth kh s 2010 kraswyxwkasexnedfewxr yuorp phusrang shrth enginthun epnomdulsngektkarnephuxihlukeruxkhxngsthanixwkasnanachatisamarthefadukarptibtikarkhxnghunyntaelakarethiybthayanxwkasidodytrng rwmipthungepncudefaduolkdwy omdultidtngsthaniptibtikarhunyntsahrbkhwbkhumkarthangankhxng Canadarm2 aelamimanepidpidephuxpxngknkrackhnatangcakkarthukxukkabatkhnadelkpathathaihesiyhayMini Research Module 1 ULF4 14 phvsphakhm kh s 2010 kraswyxwkasaextaelntis rsesiyRassvet thukichngansahrbkarechuxmtxkbyanxwkasaelaichepnthiekbesbiyngbnsthani Permanent Multipurpose Module ULF5 24 kumphaphnth kh s 2011 kraswyxwkasdiskhfewxri STS 133 yuorp phusrang shrth phudaeninkar Rassvet thukichngansahrbkarechuxmtxkbyanxwkasaelaichepnthiekbesbiyngbnsthaniomdulthiykelikaelw yantnaebb yannalukeruxklbkhxngsthanixwkasnanachatisungthukykelikip miomdulhlaychudthiwangaephnexaiwsahrbsthani aetthukykelikiprahwangthidaeninokhrngkarsthanixwkasnanachati thngdwyehtuphldanngbpraman dwyehtuwaomdulehlannimcaepntxngichaelw hruxepnphlcakkarprbepliynkarxxkaebbihmkhxngsthanihlngcakekidosknatkrrmkraswyxwkasokhlmebiyemuxpi kh s 2003 omdulthiykelikipidaek khxngshrthxemrika ichsahrbkarthdlxnginhlayradbthiaetktangknkhxngshrthxemrika ichsahrbepnsunyklangkarphankxasybnsthani pccubnmisthanisahrbkarnxnkracayxyuthwipinsthanikhxngshrthxemrika sahrbepneruxchuchiphkhxngsthani pccubnich thahnathiepneruxchuchiph sahrblukeruxthikhunptibtikarthuk 3 khnaela khxngshrthxemrika edimtngiccanakhunipaethnthikarthangankhxng Zvezda inkrnithikarnasnglmehlwkhxngrsesiy sahrbichekbomdulkarwicyaelayanxwkaskhxngrsesiythiimichnganaelwkhxngrsesiy sahrbrxngrb mirabbcayphlngngankhxngtwexngcakaephngsuriyabnokhrngkhahlksxngchudkhxngrsesiy edimwangaephniwwacaichsahrbkarwicythangwithyasastrchinswnthiimidprbkhwamdn nkbinxwkas yudplayaekhn Canadarm2 rahwangethiywbin nxkehnuxcakomdulprbkhwamdnaelw sthanixwkasnanachatiyngtidtngxupkrnphaynxkexaiwepncanwnmak okhrngkhahlk ITS sungepnokhrngtidtngaephngrbaesngxathityhlkkhxngsthaniaelaekhruxngkaenidkhwamrxn epnokhrngsrangphaynxkthiihythisud prakxbipdwyswnprakxbyxy 10 chintxekhadwyknepnokhrngkhakhnadyaw 108 5 emtr 356 fut xlfaaemkentiksepkotrmietxr AMS sungepnxupkrnthdlxngfisiksxnuphakh mikahndcasngkhunodyethiywbin STS 134 inpi kh s 2010 cathuktidtngekhakbokhrngdannxkkhxngokhrngkhahlk xupkrn AMS nicakhnhassarphidprahladdwykartrwcwdrngsikhxsmik ephuxthakarsuksakhnkhwaekiywkbkaenidkhxngexkphph rwmthungkarkhnhahlkthanaesdngkarmixyukhxngssarmudaelaptissar okhrngkhahlkyngthahnathiepnthansahrbrabbkhwbkhumaekhnklcakthangikl Remote Manipulator System RMS khxngsthani rwmthungrabbsxmbarungekhluxnthi Mobile Servicing System MSS sungprakxbdwyrabbthan Canadarm2 aela odymirangtidtngxyubnswntang khxngokhrngkhahlkephuxihaekhnklsamarthekhathungthuksxkswnkhxngsthanixwkasinbriewnkakbduaelkhxngshrthxemrika rabbsxmbarungekhluxnthicaidrbkartidtng sungmikahndnasngodyethiywbin STS 133 ephuxephimkhwamsamarthinkarekhathungphunthiswntang makkhun yngmikartidtngrabb RMS xik 2 rabbekhainkarprbaetngsthanikhrngsudthay khuxrabbaekhnklkhxngyuorpthicathahnathiihbrikarin nasngkhunphrxmkb kbrabbaekhnklkhxngyipunthicathahnathiihbrikarrabbsnbsnunphaynxkkhxng JEM nasngkhunphrxmkbomdulprbkhwamdn JEM inethiywbin STS 124 nxkcakniyngmiekhrnkhnsng Strela khxngrsesiyxik 2 chin ichsahrbkarekhluxnyaychinswntang aelaepnthangedinxwkassahrbmnusyxwkasinbriewnrxbnxkkhxngbriewnwngokhcrrsesiy sthanithiesrcsmburncaidrbkartidtngxupkrnphaynxkchinyxmkwaxikhlaychin echn ESP 3 chud nasngkhunodyethiywbin STS 102 STS 114 aela STS 118 ichsahrbekbchinswnxaihlkhxngokhrngphaynxkkhxngsthani ELC 4 chudichsahrbchwyehluxkarthdlxngthitxngkrathainphawasuyyakas ichcaykraaesiffathicaepnrwmthungkarpramwlphlkhxmulthdlxngdwytnexng mikahndnasngkhunodyethiywbin STS 129 ineduxnphvscikayn kh s 2009 ethiywbin STS 134 ineduxnkrkdakhm kh s 2010 aelaethiywbin STS 133 ineduxnknyayn kh s 2010 xupkrnsnbsnun JEM aebbepidichephuxchwyehluxkarthdlxngthikrathainxwkasthiepidolng thahnathiehmuxn lanban sahrbomdulkarthdlxngkhxngyipunthnghmd echnknkbomdulhxngthdlxngokhlmbskhxngyuorpthiepnsnamthdsxbsahrbkarthdlxnginthiepidolng echn aela rabbcayphlngngan aephngrbaesngxathity Zarya aela Zvezda nxkehnuxcakaephngoslaresll P6 khxngshrth khxngsthanixwkasnanachatikhuxdwngxathity aephngrbaesngxathitycaaeplngphlngnganaesngihepnphlngnganiffa kxnthicamikartidtngethiywbinthi A4 emuxwnthi 30 phvscikayn kh s 2000 aehlngphlngnganhlkkhxngsthanimacakaephngoslaresllkhxngrsesiythitidxyukbswn Zarya aelaswn Zvezda swnkhxngrsesiyichifkraaestrng 28 owlt swnthiehluxkhxngsthaniichiffathiidcakoslaesllkhxngshrthxemrikathitidkbokhrngyudodyihiffakraaestrngtngaet 130 thung 180 owlt aephngoslaresllehlanieriyngtwknepnpiksthanisikhu aetlakhusamarthphlitphlngnganiffakraaestrngidekuxb 32 8 kiolwtt phlngnganiffacathukthaihkhngthixyuthiradb 160 owltaelaaeplngihxyuinradbthiphuichtxngkarkhux 124 owlt karkracayiffaaerngsungechnnithaihsamarthichsayiffathimikhnadelk idaelachwyldnahnklng sthanithngsxngswnsamarthichphlngnganrwmknidodyxasytwaeplng karaebngpnphlngnganknechnnimikhwamsakhymak ephraahlngcakthielikich Russian Science Power Platform aelw swnkhxngrsesiycatxngichphlngnganthiidcakaephngoslaresllkhxngshrth twsthaninnmkcaimxyuintaaehnngthisamarthrbaesngxathityodytrng dngnncungmikhwamcaepntxngphungphainkarcaykraaesiffatxenuxngepnewla 35 nathisahrbthukrxbkarokhcr 90 nathirahwangchwngthimnthukolkbdbng aebtetxricacharcpracuihmemuxthungcnghwaokhcrthiidrbaesngxathity xayuichngankhxngaebtetxrikhux 6 5 pi cungtxngmikarepliynaebtetxrihlaykhrngtlxdchwngxayuichngan 20 pikhxngsthanixwkas aephngsuriyakhxngshrthxemrikacahnhnaekhasudwngxathityephuxihrbphlngnganidmakthisud aetlaaephngmikhnadphunthipraman 375 tarangemtr aelayaw 58 emtr wngaehwnxlfacaprbaephngdwngxathityihhnhnaekhasudwngxathityinkarokhcraetlarxb khnathiwngaehwnbitacaprbmumkhxngdwngxathitykbranabkarokhcr nxkcakniyngmikarich ephuxldaernglakkhxngyanthiekidcakbrryakasolkchnbnodykarhmunaephngdwngxathityihchiipinthiskarekhluxnthikhxngyan karkhwbkhumwngokhcr krafaesdngkarepliynaeplngradbwngokhcrkhxngsthanixwkasnanachati tngaeteduxnphvscikayn 1998 cnthungeduxnmkrakhm 2009rabbkhwbkhumkhwamsung sthanixwkasnanachatirksaradbwngokhcrthimilksnaekuxbepnwngklmthiradbkhwamsungechliytasudthi 278 kiolemtr 173 iml aelasungsudthi 460 kiolemtr 286 iml ekhluxnthidwykhwamerwechliy 27 724 kiolemtrtxchwomng 17 227 imltxchwomng ichewlaokhcrpraman 15 7 rxbtxwn radbwngokhcrodypktisungsudxyuthi 425 kiolemtr 264 iml ephuxihsamarththanganrwmkbid sthanixwkasnanachatiidrbphlkrathbcakaernglakinchnbrryakasthaihsuyesiyradbwngokhcrlngeruxy cungtxngthakarykradbwngokhcrkhunthukpipilahlay khrng karykradbwngokhcrnithaodyichekhruxngynthlksxngchudkhxngsthanicakomdulbrikar Zvezda cakkraswyxwkasthicxdethiybtha cakyanlaeliyng Progress hruxcakyankhnsngxtonmti ATV khxng ESA ichewlapraman 2 rxbokhcr 3 chwomng inkarykradbwngokhcrihsungkhun ineduxnthnwakhm kh s 2008 nasalngnaminsyyakbbristhcrwdaexdaexstra Ad Astra Rocket Company xnepnphltxkarthdsxb sungepnekhruxng plasma propulsion engine ethkhonolyinichwyihkarrksaradbwngokhcrkhxngsthanisamarththaidxyangkhumkhaichcaymakkwathiepnxyuinpccubn rabbkhwbkhumthisthang kartrwcsxbtaaehnngkhxngsthanixwkasthaodyxasyrabbciphiexskhxngshrthxemrika aelarabb khxngrsesiy odyrabutaaehnng thisthang khxngsthanidwykarwdethiybkbdwngxathity dawvks aelaesnesxrtrwcranabbnomdul sewsda sthanimiklikkarkhwbkhumthisthangxyusxngklik odypktiyancaichicorsokhphlaytwchwyrksathisthang in aela bnesakha P thangfngethiybtha aela bnfngthiiklolk inkrnithiicorsokhp ximtw aelw emuxrbomemntmcnthungradbthiimsamarthtrwccbkarepliynaeplngxyangrwderw mncaimsamarthkhwbkhumthisthangkhxngsthaniidxik inkrniechnni rabbkhwbkhumthisthangkhxngrsesiycathanganaethnodyxtonmtiodyichtwprbthisthakarprbthisthangkhxngyan ephuxihicorsokhpsamarthkhlayomemntmaelaichnganidihm ehtukarnniekhyekidkhunephiyngkhrngediywrahwangchwngptibtingankhxngchud thamikraswyxwkasekhaethiybthakbsthanixyu ksamarthichchwyinkarrksathisthangkhxngsthaniiddwy ekhymikarichwithikarnirahwangethiywbinthi emuxkhrawthinaesakha S3 S4 khuniptidtng rabbsuxsar rabbsuxsarthiichngankbsthanixwkas ykewndawethiym Luch imidichnganaelw karsuxsarthangwithyuchwyechuxmtxkarsngkhxmulthangwithyasastraelarahwangsthanixwkaskb karechuxmtxwithyuyngichinkrabwnkarphbknrahwangyanaelakarekhacxdethiybthadwy rwmthungichinkarsuxsarthngphaphaelaesiyngrahwanglukerux ecahnathikhwbkhumkarbin aelakhrxbkhrw sthanixwkasnanachaticungtidtngrabbsuxsarthngphayinaelaphaynxksahrbichinwtthuprasngkhtang aetktangkn swnokhcrkhxngrsesiysuxsarodytrngkbphakhphundinphan sungepnesaxakasrbsyyanwithyutidtngxyubnomdulsewsda esaxakas ilra yngmikhwamsamarthichrabbdawethiymthaythxdkhxmul Luch dwy rabbniekhyichinkarsuxsarkb sthanixwkasmir txmaesiyhaycnsxmaesmimidrahwangkhristthswrrs 1990 hlngcaknnkimidichnganxik xyangirkdi dawethiym Luch ihmxiksxngtwkhux Luch 5A aela Luch 5B idetriymkarephuxnasngkhuninpi kh s 2011 ephuxaekikhprbprungkhwamsamarthkhxngrabbihklbmaichnganidxik swnokhcrkhxngshrth USOS ichrabbwithyu 2 rabbaeykcakknsungtidtngxyubnokhrngkha Z1 khuxrabb ichsahrbesiyng aelaekhyuaebnd ichkbesiyng phaphekhluxnihw aelakhxmul karsngsyyanniechuxmtxphanrabbdawethiymtidtamaelathaythxdkhxmul Tracking and Data Relay Satellite TDRSS khxngshrthxemrikasungxyuinwngokhcrkhangfa thaihsamarththakarsuxsaraebbthnthithnidkbsunykhwbkhumpharkickhxngxngkhkarnasainhustnid chxngthangsngkhxmulsahrb Canadarm2 hxngthdlxngokhlmbskhxngyuorp aelaomdulkhiobkhxngyipun cathaythxdphanrabbexsaebndaelaekhyuaebnd aemcamirabbdawethiymthaythxdsyyankhxngyuorpaelarabbthikhlaykhlungknkhxngyipunsamarththahnathiaethn TDRSS idktam sahrbkarsuxsarrahwangomdultang daeninkarphanekhruxkhaydicithlirsayphayin rabbwithyukhwamthisungmak hrux yuexchexf caichnganodynkbinxwkasaelanksarwcckrwalin odyichngancakyanxwkasxunthngthiekhaethiybthahruxxxkcakthakhxngsthanixwkas echn osyus ophrekrs aelakraswyxwkas ykewnwakraswynnkichnganexsaebndaelaekhyuaebndphan TDRSS echnkn ephuxrbkhasngcaksunykhwbkhumpharkicaelacaklukeruxkhxngsthanixwkasnanachati yanxwkasxtonmticatidtngxupkrnsuxsarkhxngtwmnexng echn ATV camielesxrtidtngbntwyan hruxxupkrnthitidtngbn Zvezda eriykchuxwa Proximity Communications Equipment ephuxchwyinkarekhaethiybthakbsthanixwkasidxyangaemnya phawaaerngonmthwngta thiradbwngokhcrkhxngsthanixwkas sthaniidrbpraman 88 khxngaerngonmthwngthiradbnathael phayinyanekidkhunenuxngcakkartkxyangxisrakhxngsthanixwkas sungepniptam xyangirktam sphaphinyanyngkhngepnsphawa ekuxb irnahnk imichsphawairnahnkxyangsineching eraeriyksphawaechnniwa microgravity sungekidcakaerngsiaerngthirbkwndngni aernglakthiekidcakchnbrryakasthihlngehluxxyu karsnthiekidcakrabbthangklaelalukeruxbnsthanixwkas karprbkarokhcrodyicorsokhpaelaekhruxngprbthisthang karaeykcaksunyklangmwlthiaethcringkhxngsthani chinswnkhxngsthanixwkasthimiidxyuintaaehnngsunyklangmwlthiaethcringmiaenwonmcaekhluxniptamwngokhcrkhxngtwexng thwadwykarechuxmtxthangkayphaphthaihkarekhluxnthiechnnnepnipimid dngnnchinswnaetlachincungmikhwamerngnxy ekidcakaerngthitrungmnexaiwkbsthanikhnaekhluxnipinwngokhcr eraxaceriykaerngechnniwa aerngithdl kidrabbsnbsnunkardarngchiph khwamsmphnthrahwangswnprakxbtang inrabbsnbsnunkardarngchiphaelakarkhwbkhumsphawaaewdlxmkhxngsthanixwkasnanachati ECLSS rabbsnbsnunkardarngchiphaelakarkhwbkhumsphawaaewdlxm Environmental Control and Life Support System ECLSS khxngsthanixwkasnanachatithahnathihlay xyang echn khwbkhumkhwamdnxakas radbxxksiecn rabbcdkarnaesiy rabbtrwccbephlingihm rabbdbephling rabbcayna aelaxun xikmakmay swnthisakhythisudinrabbnikhuxkarkhwbkhumbrryakasphayinsthanixwkas nxkcaknirabbyngthahnathicdkarkbnaichaelakhxngesiykhxnglukerux echnkarriisekhilnathiidcakxang hxngxabna othpssawa aelanathiklntwcakxakas rabb Elektron bnomdulsewsda aelarabbthikhlaykhlungknbnomduledsthini thahnathisrangxxksiecnipthwsthani lukeruxyngmirabbxakassarxngcakxxksiecnbrrcukhwdaelathngbrrcuekhruxngphlitxxksiecn Solid Fuel Oxygen Generation SFOG karkacdkharbxnidxxkisdinxakasthaodyrabb Vozdukh in sewsda swnkhxngesiythiepnphlkhangekhiyngcakemtabxlisumkhxngmnusy echn miethnaelaaexmomeniy cathukkacdxxkipodyichekhruxngkrxngcakthankmmnt brryakasbnsthanixwkasnanachatinnkhlaykhlungkbbrryakaskhxngolk khwamdnxakaspktibnsthanimikhaethakb 101 3 kPa 14 7 psi sungethakbkhakhwamdnbrryakasthiradbnathaelbnphiwolk karsrangbrryakasthikhlaykhlungkbolkcathaihlukeruxxyuidxyangsbaykwaaelaplxdphykwakarsrangbrryakasthimiaetephiyngxxksiecnbrisuththi sungmikhwamesiyngsungmakkhunthicaekidephlingihmdngechnthiekidkblukeruxkhxng karsngekt phaphthaysthanixwkasnanachati emuxeduxnkrkdakhm kh s 2007 enuxngcaksthanixwkasnanachatimikhnadihymak rawkhrunghnungkhxngsnamaekhngkhnxemriknfutbxl thngyngmiphunthisathxnaesngkhnadihycakaephngrbaesngxathity cungsamarthsngektkarnsthanixwkasdwytaeplaidcakphunolk thaphusngektxyuintaaehnngthiehmaasminewlathiehmaasm mihlaykhrngthisthanixwkasepnwtthuthiswangmakbnthxngfa aemcasamarthmxngehnidepnchwngewlasn ephiyng 2 5 nathi thatxngkarcasngektsthanixwkas ihthatamkhntxntxipniinwnthithxngfaplxdoprng sthanicatxngxyuehnuxkhxbfakhxngphusngekt aelacaekhluxnphantwphusngektinrayahangpraman 2 000 kiolemtr yingiklyingehnchd taaehnngkhxngphusngekttxngmudphxcamxngehndawid aelasthanitxngxyuinbriewnthiodnaesngxathity imxyuinengabngkhxngolk inewlaeynkhnathisthaniekhluxnphanaesngxathityxsdngcakthistawntkipthangtawnxxk mncapraktephiyngchwkhruediywaelwcakhxy canglngaelahayip inthangklbkn mnxacpraktkhunxyangthnthithnidbnthxngfakhnaekhluxnekhahatawnyamrungxrun insthanapccubn erasamarthmxngehnsthanixwkasidphayitenguxnikhsngektkarntampktiaengmumthangkaremuxng karichsxy aelakarenginaengmumthangkdhmay chatiihkarsnbsnunhlk chatithiidrbtidtxcakxngkhkarnasa sthanixwkasnanachatiepnokhrngkarrwmrahwangxngkhkarxwkaskhxngpraethstang hlaypraeths sungprakxbdwy xngkhkarnasa khxngshrthxemrika xngkhkarxwkasshphnthrthrsesiy RKA xngkhkarsarwcxwkasyipun JAXA xngkhkarxwkasaekhnada CSA aelaxngkhkarxwkasyuorp ESA inthanathiepnokhrngkarrahwangpraeths aengmumthangkdhmayaelathangkarenginkhxngsthanixwkasnanachaticungkhxnkhangsbsxn praednthikhxngekiywechn khwamepnecakhxngomdul karichsxysthaniodychatirwmokhrngkar aelakhwamrbphidchxbtxkarsnbsnunkarptibtingankhxngsthani exksarthangkdhmayhlksungichrabukdeknthaelasiththirahwangphurwmokhrngkarsthanixwkasnanachatikhux khxtklngrwmrahwangrthbalkhxngsthanixwkas Space Station Intergovernmental Agreement IGA snthisyyarahwangpraethschudnilngnamemuxwnthi 28 mkrakhm kh s 1998 odychatierimtnthiekiywkhxngkbokhrngkarsthanixwkas khuxshrthxemrika shphnthrthrsesiy yipun aekhnada aelapraethssmachikxngkhkarxwkasyuorpxik 10 praeths ebleyiym ednmark frngess eyxrmn xitali enethxraelnd nxrewy swiedn sepn aelaswitesxraelnd niepncudtngtnkhxngkhxtklnginradbthisxng eriykchuxwa khxtklngkhwamekhaic Memoranda of Understanding MOU rahwangxngkhkarnasakb ESA CSA RKA aela JAXA txmakhxtklngniidaebngyxyxxkipxik echn syyarabuhlkeknthrahwangpraeths karaelksiththiaelahlkeknthrahwangpraethsrwmokhrngkar hlkeknthkarichnganomdulinwngokhcrkhxngrsesiykthakhxtklnginrahwangkhntxnni nxkehnuxcakkhxtklnghlkrahwangrthbalnanachatiniaelw praethsbrasilyngmisyyakbxngkhkarnasainkarphlitchinswnhardaewr aelanasacasngchawbrasilhnungkhnkhunipyngsthanixwkasnanachati praethsxitalikmisyyalksnakhlaykhlungknnikbxngkhkarnasainkarihbrikarlksnaediywkn aemwaxitalicaepnswnhnunginokhrngkarxyuaelwinthanapraethssmachikkhxng ESA praethscinkaesdngkhwamsnicinokhrngkarniechnkn odyechphaaxyangyinginkarthanganrwmknkbxngkhkarxwkasshphnthrthrsesiy xyangirkdi nbthung kh s 2009 praethscinyngimidekhamamiswnrwminokhrngkarnienuxngcakshrthxemrikaxxkesiyngkhdkhan siththikarichngan sdswnkarichsxyswnprakxbsthanixwkasthiepnkhxngshrthxemrika epriybethiybrahwangpraethstang swnprakxbsthanixwkasthiepnkhxngrsesiy daeninkarphayitkarkhwbkhumkhxngxngkhkarxwkasshphnthrthrsesiy aelathaihrsesiymisiththithungkhrunghnunginewlaptibtikarkhxnglukeruxkhxngsthanixwkasthnghmd canwnlukeruxthawrmiid 6 khn odyechliy 2 3 khncaepnbukhlakrinkarcdkarkhxngrsesiy karcdkarewlaptibtikarkhxnglukerux khux 3 4 khncakcanwnlukeruxthawr 6 khn aelaxupkrnhardaewrtang inswnxun khxngsthanixwkasidrbkarcdsrrdngtxipni omdulokhlmbs 51 sahrb ESA 46 7 sahrb NASA aela 2 3 sahrb CSA hxngthdlxngkhiob 51 sahrb JAXA 46 7 sahrb NASA aela 2 3 sahrb CSA omduledsthini 97 7 sahrb NASA aela 2 3 sahrb CSA ewlakhxnglukerux phlngnganiffa aelasiththiinkarsuxbrikarsnbsnun echnkarxpohldhruxdawnohldkhxmul aelakarsuxsar aebngepn 76 6 sahrb NASA 12 8 sahrb JAXA 8 3 sahrb ESA aela 2 3 sahrb CSAkhaichcay twelkhthiichxangxingknmakthisudinkarpramankarraycayrwmthnghmdkhxngsthanixwkas xyuthirahwang 35 000 100 000 landxllarshrth xngkhkarxwkasyuorp sungepnhnwynganediywthicdthapramankartwelkhrwmkhxngokhrngkar idpramanwakhaichcaysahrbsthanixwkasthnghmdtlxdrayaewlaichngan 30 pi caxyuthiraw 100 000 lanyuor thwakarrabukhaichcaypramankarxyangaemnyannthaidyak ephraaimxackhadidwacamikhaichcayxunidthicaekidkbokhrngkarsthanixwkasnanachati hruxcawdkarsnbsnuncakrsesiyidxyangir karwiphakswicarn mikarwiphakswicarnknmakwathngewlaaelaenginthithumlngipinokhrngkarsthanixwkasnanachati smkhwrnaipichinokhrngkarxunmakkwa xaccaepnyanxwkasthikhwbkhumdwyhunynt karsarwcxwkas karsubswnpyhatang ekiywkbolk hruxkrathngehnwakhwrekbenginphasiiwodyimichely nkwicarnbangkhn echn orebirt aexl parkh ehnwaokhrngkarwicythangwithyasastrkhnadelkthiwangaephnthakarthdlxngbnsthanixwkas hruxaemaetkhunsmbtiphunthankhxnghxngthdlxnginxwkasdngechnkarthdlxngin microgravity ksamarththakarsuksaidbnyan sungesiykhaichcaytakwamak khwamsamarthinkarthanganwicykhxngsthanikepnthiwiphakswicarnechnkn odyechphaahlngcakthiykelikomdul Centrifuge Accommodations xnfumefuxyipphrxmkbkarykelikxupkrnkhangekhiyngxun sungaesdngihehnthungkhwamsamarthxncakdkhxngkarthdlxngthiimsamarththaidhakprascakekhruxngmuxphiess twxyangechn inkhrungaerkkhxngpi 2007 nganwicykhxngsthanixwkasnanachatiekiywkhxngkbkartxbsnxngthangchiwwithyakhxngmnusythimitxkarichchiwitaelakarthanganinxwkas sungkhrxbkhlumhwkhxtang echn aelaphlkrathbkhxngrngsikhxsmikthimitx khxwicarnxun ekiywkbkarxxkaebbthangethkhnikhkhxngsthanixwkas rwmipthungkhwamexiyngranabwngokhcrkhxngtwsthanithisungmak xnthaihkhaichcaykarsngyankhunipsusthanikhxngshrthxemrikasungmak dankartxbsnxngkbkhwamehnehlani phusnbsnunokhrngkarsarwcxwkasodyichmnusyklawwakarwicarnokhrngkarsthanixwkasepnkarimruckmxngkarnikl aelawakarsarwcaelawicydwykhninxwkasidsrangphltxbaethnxyangkhumkhanbphnlanehriyy nasapraeminwaphltxbaethnthangesrsthkicthangxxmcakkarsarwcxwkasdwymnusymikhunkhamakkwaenginlngthunsatharnaerimtnhlayetha aemwakarpraeminnimismmutithancakokhrngkarxphxlol aelacdthakhuninchwngthswrrs 1970 mirayngansungxangwaekhiynodysmaphnthnkwithyasastrxemrikn otaeyngwaxtraswnphltxbaethnkarlngthunkhxngnasannthicringaelwtamak ykewnephiyngngandankarbinethannthinaipsukarkhayekhruxngxakasyanid aephnsinsudpharkicaelapldcakwngokhcr trabcnthung kh s 2009 nasamiaephncapldsthanixwkasnanachatixxkcakwngokhcrinitrmasaerkkhxngpi kh s 2016 sungsxdkhlxngtamaephnnoybaydankarsarwcxwkaskhxngprathanathibdibuch inkhnann txmaprathanathibdioxbamaidprakasnoybayihmdankarsarwcxwkasemux kh s 2010 odyihyudrayaewlaptibtipharkicxxkipcnthung kh s 2020 xngkhkarxwkasthimiswnrwminsthanixwkasnanachatithng 5 aehng idaesdngkhwamehnphxngknwaphwkekhaxyakihsthanixwkasichnganidepnewlayawnankwa kh s 2015 ykewnxngkhkarxwkasyuorpsungtxngaeswngmtiexkchnthcakchatismachikephuxkarsnbsnunthangkarengin cnkrathngbrrlukhxtklngidineduxnminakhm kh s 2011 aethlngkarncakrsesiyaelapraethssmachiksthanixwkasnanachatiemux kh s 2011 rabuwacatxngmikhxtklngeruxngniihchdecnephuxihmnicwaomdulxun casamarthichnganidnankwa kh s 2015 cnthungpccubnnipraethssmachikyngkhngetriymaephnptibtipharkiciwcnthungpi 2015 ethann sahrbrayaewlaichnganihm enuxngcakomdulaerkkhxngsthanixwkascakrsesiyidnasngkhunemux kh s 1998 dngnncungideluxkewlakhrbrxb 30 pikhxngomdulnnephuxepnepahmay tamraynganemuxpi 2009 epnkrabwnkarthikalngphicarnaknephuxnaomdulbangtwkhxngrsesiyxxkcaksthanixwkasintxnsinsudpharkic ephuxnaipichinsthaniaehngihm thiruckinchux OPSEK omdulthikalngphicarnaknwacanaxxkcaksthanixwkasnanachatipccubnrwmipthung MLM sungmiaephncanasngkhunintxnplaypi 2011 kbomdulxun khxngrsesiythikhnaniwangaephnexaiwcatidtngipkb MLM cnthungpi 2015 aemwacayngimmienginthunsnbsnuninpccubnktam thngniephraathng MLM hruxxupkrnxunidthitidtngipdwycayngimsinsudxayuichnganinpi 2016 hrux 2020 raynganninaesnxkhxmulcakwiswkrrsesiyphuhnungsungimidexynam phuechuxwa dwyprasbkarncak xayuichngan 30 pinnepnipid ykewnephiyngkhwamesiyhayelk nxy cakxukkabat enuxngcakomdulkhxngrsesiynnsrangkhundwyhlkkarwasamarthsxmaesmprbprunginwngokhcridkarichchiwitbnsthanixwkastarangewla osnewlathiichbnsthanixwkasnanachati khuxewlasaklechingphikd UTC hruxbangeriykwa GMT hnatangsthanicapidexaiwinchwngthiepnewlaklangkhunephuxihidkhwamrusukthungkhwammud ephraabnsthanixwkasnncamidwngxathitykhunaelatkwnla 16 khrng aetrahwangthiptibtipharkicbnkraswyxwkas lukeruxkhxngsthanixwkasnanachatimkcaich Mission Elapsed Time MET khxngkraswyephraasadwkkwa epnewlathixangxingcakewlanasngkhxngpharkickraswyxwkasnn aetchwngewlanxnrahwangewla UTC kbewla MET nnaetktangkn lukeruxsthanixwkasnanachaticungtxngprbrupaebbkarnxnkxnthikraswyxwkascamathungaelahlngcakkraswycakipaelw ephuxihekhaknkbosnewlathiepliynip eriykchuxwa chwngepliynkarnxn sleep shifting tampkti wnkhxnglukeruxerimtnkhundwykartunnxnewla 06 00 n tamdwykickrrmhlngtunnxn aelakartrwcsxbsthanirxbecha caknnlukeruxcarbprathanxaharechaaelaekhaprachumwangaephnpracawnkbsunykhwbkhumpharkickxncaerimnganraw 08 10 n caknnepntarangxxkkalngkaykhrngaerk aelwthanganipcnthungewla 13 05 phkthanxaharethiynghnungchwomng chwngbaycatxngxxkkalngkayxikaelathanganipcnthungchwngkickrrmkxnnxnsungcaerimkhunthiewlaraw 19 30 n idaek karrbprathanxaharkhaaelakarprachumlukerux tarangewlanxnerimthipraman 21 30 n odypktiaelwlukeruxcathanganpramanwnla 10 chwomnginwnthanganpkti aela 5 chwomnginwnesar nxkehnuxcaknnepnewlaswntwsahrbphkphxn elnekm hruxtidtamngan karnxnhlb nkbinxwkas ephkki witsn thipratuekhachnetiyngnxninhxngptibtikar Destiny sthanixwkasmiswnphunthisahrblukeruxihsmachikkhxngkhnalukeruxthawrkhxng Expedition odymi sthaninxnhlb sxngaehngin aelaxiksiaehngthicatidtngephimin Tranquillity aetpccubnkracayxyutamswntang rxb swnphunthikhxngxemriknepnphunthirohthan khnadpramantuekbesiyngcuid 1 khn smachiklukeruxsamarthnxnkhanginnnidodyxasythungnxn fngephlng ichaelpthxp hruxekbkhawkhxngswntwinlinchkihyhruxintakhaythiphuktidiwkbphnngkhxngomdul phayinomdulyngtidtngtaekiyngsahrbxanhnngsux chnwangkhxng aelaekhruxngedskhthxphnungtw lukeruxhmunewiyncaimmiomdulsahrbnxn miephiyngthungnxntidtngtamphunthiwangbnphnngenuxngcaksamarthcanxnaebblxy xyuidthwipinsthani aettampkticaimthawithiniephraamikhwamesiyngthicalxyipkrathbkraaethkekhruxngmuxlaexiydxxninsthaniid karrabayxakasihaekphunthixyuxasykhxnglukeruxepneruxngsakhymak michannnkbinxwkasxactunkhunmaephraakhadxakas enuxngcakkharbxnidxxkisdthiphwkekhahayicxxkmacasasmxyurxb sirsa sukhxnamy bnsthanixwkasnanachatiimmifkbwxabna aemcaekhywangaephnexaiwepnswnhnunginomdulphankxasy Habitation Module aetomdulnithukykelikipaelw lukeruxkhxngsthanixwkascathakhwamsaxadrangkaydwykarchidnaaelaechdtwodyichsbucakaethngcaykhlayhlxdyasifn ichnayasraphmaebbimtxnglangna aelaichyasifnaebbklunidelyephuxepnkarprahydna mihxngsukhasxnghxngbnsthanixwkasnanachati thngsxnghxngepnnganxxkaebbcakthangrsesiy tidtngxyubnomdul Zvezda aelaomdul edsthini karrabaykhxngesiyichrabbduddwyaernglmkhlaykhlungkbrabbkacdkhxngesiybnkraswyxwkas nkbinxwkascatxngrdtwexngexaiwbnthinngsukhathipidphnukxyangdi dungkhnoykthicasngkarihphdlmkalngsungthangan aelachxngdudxakaseluxnepidxxk kraaeskarihlkhxngxakascaphaexakhxngesiyxxkipdwy khxngesiythiepnwtthuaekhngcacdekbexaiwinthungaeykswnbrrcuinkhxnethnenxrxalumieniym emuxkhxnethnenxrehlanietm kcathuksngipyngyanxwkasophrekrsephuxnaipkacdthing khxngesiythiepnkhxngehlwcathukdudthingxxkipdwysaythiechuxmtxxyuthangdanhnakhxnghxngsukha sungmixupkrn twepliynothpssawa urine funnel adapters tidtngiwephuxihthnglukeruxchayaelahyingsamarthichhxngsukhaediywknid khxngesiycathuknaipekbaelasngtxihrabbbabdna ephuxcdkarriisekhilklbmaepnnadumidihm xaharaelaekhruxngdum lukeruxinethiywbin aela kalngrbprathanxaharphayinomdul Unity xaharxwkasswnihythilukeruxinsthanixwkasichbriophkhmkepnxaharaechaekhng xaharaecheyn hruxxaharkrapxng nkbinxwkasepnkhnetriymemnuexngkxnthicakhunbinipyngsthanixwkasodyminkophchnakarepnphuihkhwamchwyehlux khwamrusukthungrschatiemuxxyuinwngokhcrcaldlngephraakhxngehlwinrangkaycaekhluxnkhunipthangsirsa dngnnlukeruxswnmakcungniymrbprathanxaharrsephd lukeruxaetlakhncamiaephkhekcxaharkhxngtwexngaelaetriymxunxaharknexnginhxngkhrwbnsthani sungcamiekhruxngxunxahar 2 ekhruxng tueyn 1 ekhruxng aelaekhruxngcayna 1 ekhruxngsahrbcaythngnarxnaelanathrrmda ekhruxngdumcaxyuinrupkhxngphngskdaehng aelanaipphsmkbnakxnrbprathan karrbprathanekhruxngdumaelasupthaodykarcibcakthungphlastikodyichhlxd swnxaharthiimichkhxngehlwsamarthrbprathaniddwymidaelasxmsungcatidexaiwkbthadxahardwyaemehlkephuxknmiihmnlxyhniip thaekidmixaharhruxessxaharlxnglxyip catxngribcdekbthnghmdephuxpxngknmiihmnipxudtnekhruxngkrxngxakasaelaxupkrnxun insthani karxxkkalngkay phlkrathbthanglbthisakhythisudsahrbkarxyuinsphawairnahnkepnewlanan khuxxakaraelaxakarkradukesuxm hruxeriykwa phlkrathbkhnrunaerngxun rwmthungpyhakarkracaytwkhxngkhxngehlw pyharabbihlewiynolhitthichalng karphlitesllemdeluxdaedngldnxylng pyhakarthrngtw aelaphumikhumknthixxnaexlng nxkcakniyngmixakarecbpwyelk nxy echn karsuyesiymwlrangkay xakarhayictidkhd karnxnimhlb milmmakekinip aelaphiwhnaphxng xakarehlanicaklbfunkhunidxyangrwderwemuxklbsuolk ephuxpxngknphlkrathbtxrangkaykhxnglukerux bnsthanixwkascatidtngekhruxngxxkkalngkay aRED advanced Resistive Exercise Device sungmixupkrnyknahnkhlayaebbaelaekhruxngpnckryan nkbinxwkasaetlakhncatxngichewlainkarxxkkalngkayxyangnxywnla 2 chwomng nkbinxwkascaphuksayrdyangyudephuxyudtwexngexaiwkbaethnxxkkalngkay nkwicyechuxwakarxxkkalngkayepnkarpxngknkarsuyesiykhwamhnaaennkhxngkradukaelaklamenuxsungekidkhunemuxmnusyxasyxyuinthithiiraerngonmthwngepnewlanankarbriharsthanixwkasexksephdichn lukeruxthawrkhxngsthanixwkasaetlaruncamihmayelkhexksephdichneriyngtamladb exksephdichnaetlarunichewlaptibtipharkicpramankhrungpi odymikarrbmxbaelasngmxbnganknxyangepnthangkarrahwangphubychakarexksephdichnrunhnungipyngxikrunhnung exksephdichn 1 thung 6 prakxbdwylukeruxrunla 3 khn aethlngcakxubtiehtukbkraswyxwkasokhlmebiy cungmikarldcanwnlukeruxehluxephiyng 2 khninexksephdichn 7 thung 12 exksephdichn 13 idprbcanwnlukeruxklbmaepn 3 khnxikkhrnghnung aelakhngcanwnnnxyucnthungpccubn khnathimilukeruxthawrpracasthanixwkas inbangrunechnexksephdichn 16 milukeruxrwmnkbinxwkashruxnkthxngxwkasthung 6 khnsungcabinipmarahwangsthanikbethiywbintang kn wnthi 27 phvsphakhm kh s 2009 lukerux erimptibtipharkic exksephdichn 20 epnrunaerkthimilukeruxthawrpracasthanixwkasnanachati 6 khn inxditkxncamikarkhyayswnxyuxasyinethiywbin STS 115 sthanisamarthrxngrblukeruxidephiyng 3 khnethann lukeruxrunexksephdichn 20 thuknasngkhunsusthanicakethiywbin 2 ethiywinewlatangknody Soyuz TMA samarthnasnglukeruxidethiywla 3 khnethann idaek Soyuz TMA 14 nasngemux 26 minakhm 2009 aela Soyuz TMA 15 nasngemux 27 phvsphakhm 2009 xyangirkditwsthaniimidrxngrblukeruxthawrcanwn 6 khntlxdthngpi twxyangechn emuxlukeruxexksephdichn 20 ormn ormaennok aefrngkh edx winn aelaorebirt ethirskh klbmaolkemuxeduxnphvscikayn 2009 epnewla 2 spdah milukeruxephiyng 2 khn ecffriy wileliymsaelamksim suraeyf thixyupracakar canwnlukeruxephimepn 5 khninchwngtneduxnthnwakhmemuxoxelk okhtxf thiomthi khrimemxr aelaosxici onnguci edinthangipthungody Soyuz TMA 17 txmaeduxnminakhm 2010 canwnlukeruxldlngepn 3 khnxikemuxwileliymsaelasuraeyfedinthangklbolk aelatxmaephimepn 6 khnineduxnemsayn 2010 emuxethiywbin Soyuz TMA 18 naxelksanedxr chkhxrtsxf mikhaxil khxrnieynok aelaethrsi khxldewl idsn khunipyngsthani sthanixwkasnanachaticdepnyanxwkasthimiphuipeyuxnmakthisudinprawtisastrkarbinxwkas nbthungwnthi 24 phvscikayn 2009 miphuipeyuxnaelwthngsin 266 khn imsaknelycanwn 185 khn swn emiyr miphuipeyuxn 137 khn imsaknelycanwn 104 khn yanxwkasthiipeyuxn yanxwkascakxngkhkarxwkassiaehngedinthangipeyuxnsthanixwkasnanachatidwywtthuprasngkhtang kn yankhnsngxtonmti Automated Transfer Vehicle cakxngkhkarxwkasyuorp yanxwkasrxskhxsmxsophrekrskhxngrsesiy aelayan H II Transfer Vehicle khxngxngkhkarxwkasyipunthahnathikhnsngesbiyngaelabrikartang ipyngsthani nxkcaknirsesiyyngichyanxwkasosyussahrbkarepliynthaylukeruxaelakarxphyphchukechin odythilukeruxcamikarepliynthaythuk 6 eduxn aelathaysudkhuxyanbrikarcakshrthxemrikathisngphan thahnathidanptibtikarnasngesbiyng xupkrnekhruxngich chinswnprakxbtang rwmthungkarepliynthaylukeruxdwy nbthungwnthi 27 phvscikayn kh s 2009 miethiywbinnasngipyngsthanixwkasnanachaticakosyus 20 ethiyw ophrekrs 35 ethiyw ATV 1 ethiyw HTV 1 ethiyw aelakraswyxwkas 31 ethiyw odyechliyaelwlukeruxthawrexksephdichntxngkaresbiyng 2 722 kiolkrm nbthungwnthi 27 phvscikayn kh s 2009 lukeruxrbprathanxaharaelwrwm 19 000 mux ethiywbinepliynthaylukeruxkhxngosyusaelaethiywbinsngesbiyngkhxngophrekrsipeyuxnsthanixwkasnanachatiodyechliy 2 thung 3 khrnginaetlapi odythiethiywbin ATV aela HTV miaephncaipeyuxnsthanixwkasthuk pinbtngaetpi kh s 2010 epntnip sunykhwbkhumpharkic sunykhwbkhumkarbintang thiekiywkhxngkbokhrngkarsthanixwkasnanachati chinswntang khxngsthanixwkasnanachatixyuphayitkarkhwbkhumaelatrwcsxbodyxngkhkarxwkasphurbphidchxbaetlaswn odymisunykhwbkhumpharkicxyuinthitang thwolk txipniepnraychuxswnhnung sunykhwbkhumpharkickhxngxngkhkarnasa thi sunyxwkaslindxn bi cxhnsn thiemuxnghustn rthethkss cdepnsunykhwbkhumpharkichlksahrbeskemntkhxngshrthxemrikabnsthanixwkasnanachati aelayngkhwbkhumpharkickraswyxwkasthiedinthangipeyuxnsthanidwy sunykhwbrwmaelaptibtikarepliynthay Payload Operations and Integration Center khxngxngkhkarnasa thisunykarbinxwkasmaraechl emuxnghntswill rthaexlaaebma thahnathisunyprasanngankarepliynthaynkbinxwkassahrbeskemntkhxngshrthxemrika sunykhwbkhumpharkicrxskhxsmxs Roskosmos thiemuxngokhorlyxf mxsokhw khwbkhumpharkicineskemntwngokhcrrsesiykhxngsthanixwkasnanachati nxkehnuxipcakpharkicosyusaelaophrekrs sunykhwbkhumokhlmbs khxngxngkhkarxwkasyuorp thisunyxwkasyaneyxrmn DLR thiemuxng Oberpfaffenhofen praethseyxrmni khwbkhumhxngptibtikarwicy okhlmbs khxngyuorp sunykhwbkhum ATV khxngxngkhkarxwkasyuorp thisunyxwkastulus CST emuxngtulus praethsfrngess khwbkhumethiywbinxtonmtithiimmikhnbngkhbkhxngyuorpthnghmd sunykhwbkhum JEM aelasunykhwbkhum HTV khxngxngkhkarxwkasyipun thisunyxwkassukhuba TKSC emuxngsukhuba praethsyipun rbphidchxbpharkicinkarcdkaromdulkarthdlxngkhxngyipun aelaethiywbinthiimmikhnbngkhbthnghmdkhxngyipunin H II Transfer Vehicle sunykhwbkhum MSS khxngxngkhkarxwkasaekhnada thiemuxngesnt hiwebirt rthkhwiebk praethsaekhnada khwbkhumaelatrwcdurabbbrikarekhluxnthi Mobile Servicing System hrux Canadarm2karbriharkhwamplxdphy khyainxwkas rubnkraswyxwkasexnedfewxr ekidcakkarkraaethkkbkhyaxwkasrahwangkarptibtikarinethiywbin STS 118 radbwngokhcrkhxngsthanixwkasnanachatixyuinradbkhxnkhangta sungepnbriewnthikhyaxwkasxyumakmay nbtngaetchinswncrwdthiimichnganaelw dawethiymthihmdxayu ipcnthungesschinswncakmxetxrcrwd sarhlxeynthithukplxythingxxkmacakdawethiymsungxasyphlngnganniwekhliyr aelachinswnxun xikmakmay wtthutang ehlanirwmkbchinswnxukkabatkhnadelk kxihekidxntraytxsthanixwkasephraamnxacthakhwamesiyhayaekomdulprbkhwamdnhruxswntang khxngsthani xukkabatkhnadelkyngthaihkarptibtipharkicinkarthxngxwkaskhxngnkbinxwkasepnxntraydwy echnxacsrangkhwamesiyhaykbchudxwkasaelathaihsuyesiyaerngdn mikartrwctidtamchinswnkhyaxwkastang cakbnphunolk sunglukeruxkhxngsthanixwkascaidrbkaretuxnwamiwtthuidiklekhiyngthixackxihekidkhwamesiyhayhruxekidkarkraaethkknid aelaiherimptibtikarhlbhlikkhyaxwkas Debris Avoidance Manoeuvre hrux DAM odyxasyekhruxngphlkthixyubneskemntwngokhcrrsesiyephuxepliynradbwngokhcrkhxngsthanixwkasinkarhlbhlikchinswnehlann karptibtikar DAM imyungyaknk odykartrwcsxbaebbcalxngthangkhnitsastrthiaesdngihehnwachinswnkhyaxwkascaekhaiklsthaniinrayathiepnxntraykhnadethaid miptibtikarhlbhlikkhyaxwkasthngsin 8 khrngnbthungeduxnminakhm kh s 2009 odythi 7 khrngaerkekidkhunrahwangeduxntulakhm kh s 1999 thungeduxnphvsphakhm kh s 2003 odypktiwngokhcrcathukykradbkhunraw 1 2 kiolemtrodyechliyemuxephimkhwamerwwngokhcrkhun 1 emtrtxwinathi swnkrniimpktikhuxkarldradblng 1 7 kiolemtr emuxwnthi 27 singhakhm 2008 sungepnkarldradblngkhrngaerkinrxb 8 pi inpi 2009 miptibtikar DAM 2 khrng inwnthi 22 minakhmaela 17 krkdakhm hakwakartrwcsxbkarpathakbkhyaxwkasthaidchaekinipcnimsamartherimptibtikar DAM idthn lukeruxkhxngsthanixwkascatxngpidpratuhnatangthukbanbnsthaniaelayayipxyuin ephuxthithnghmdcaidhlbhniidthnthihakwakarpathannthaihekidxntray karxphyphsthanibangswnechnniekhyekidkhun 2 khrng khuxwnthi 6 emsayn 2003 aela 13 minakhm 2009 karaephrngsi emuxxyuinxwkas nkbinxwkascaidrbrngsicakkaraephrngsikhxsmikinradbthisungkwapktienuxngcakimmichnbrryakaskhxngolkchwypkpxng lukeruxkhxngsthanixwkasnanachaticaidrbrngsiraw 1 millisievert inaetlawn hruxethiybethakbkarthieraidrbrngsicakaehlngkaenidrngsipktibnphunolkinewla 1 pi sungsngphlihnkbinxwkasmioxkasepnorkhmaerngmakkwapkti karaephrngsiinradbsungniyngsamarththalayokhromosmkhxnglimofistsungepneslssakhytxrabbphumikhumkn karthieslsthukthalaycungthaihnkbinxwkasmiphumikhumkntakwapkti emuxewlaphanipnan phawaphumikhumkntasamarthsngphlihekidkaraephrrabadkhxngorkhinhmulukeruxid odyechphaaemuxxyuinphunthicakd karaephrngsiyngthaihnkbinxwkasmioxkasepntxkracksung karichxupkrnpxngknkaraephrngsirwmkbyasamarthchwyldkhwamesiynglngipinradbthiyxmrbid aetkaridrbrngsiinrayayawthaihmikhwamesiyngephimkhun aemcamikhwamphyayamphthnaekraapxngknrngsiihaeksthanixwkasnanachati dikhunkwasthanixwkasrunkxn echn emiyr aetradbkhxngrngsiphayinsthanikyngimkhxyldlngmaknk nkwithyasastrehnwayngtxngmikhwamkawhnathangethkhonolyimakkwanikxnthikaredinthangrayayawinrabbsuriyacaepnipidduephimsthanixwkasskayaelb sthanixwkasmirxangxingGarcia Mark 9 May 2018 About the Space Station Facts and Figures NASA subkhnemux 17 Jul 2020 Peat Chris 21 May 2021 ISS Orbit subkhnemux 21 May 2021 celestrak NASA May 29 2009 PDF PDF NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2009 10 29 subkhnemux October 24 2008 NASA 7 May 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2018 12 25 subkhnemux 19 June 2010 NASA 27 February 2011 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2018 12 25 subkhnemux 27 February 2011 Smith Marcia 2011 04 27 spacepolicyonline com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 07 27 subkhnemux 1 June 2011 Clark Stephen 2010 03 11 Space station partners set 2028 as certification goal Spaceflight Now subkhnemux 1 June 2011 NASA 2 July 2008 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 12 21 subkhnemux 28 January 2009 Nations Around the World Mark 10th Anniversary of International Space Station NASA November 17 2008 subkhnemux March 6 2009 International Space Station Overview ShuttlePressKit com June 3 1999 subkhnemux February 17 2009 NASA June 26 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 01 23 subkhnemux 2009 11 01 NASA June 26 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 12 08 subkhnemux 2009 11 01 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 02 13 subkhnemux February 27 2009 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 08 05 subkhnemux 2011 07 24 NASA June 26 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 03 16 subkhnemux March 6 2009 David Harland 30 November 2004 The Story of Space Station Mir New York Springer Verlag New York Inc ISBN 978 0 387 23011 5 John E Catchpole June 17 2008 The International Space Station Building for the Future Springer Praxis ISBN 978 0387781440 Kim Dismukes April 4 2004 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 03 04 subkhnemux April 12 2007 Spread Your Wings It s Time to Fly NASA July 26 2006 subkhnemux September 21 2006 NASA 15 December 2008 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 12 25 subkhnemux 28 January 2009 mi 10 praethsthiekharwm xxsetriy finaelnd ixraelnd oprtueks aelashrachxanackr eluxkthicaimekharwm krisaelalkesmebirkekharwmkb ESA inewlatxma ESA Human Spaceflight and Exploration European Participating States phasaxngkvs ESA subkhnemux 2005 07 03 European Space Agency ESA 19 April 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 07 21 subkhnemux 19 April 2009 NASA 29 January 1998 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 12 15 subkhnemux 19 April 2009 How Much Does It Cost European Space Agency ESA 9 August 2005 subkhnemux 27 March 2008 Jim Wilson December 2002 Popular Mechanics khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 02 10 subkhnemux 17 December 2009 Gary Kitmacher 2006 Reference Guide to the International Space Station Canada Apogee Books pp 71 80 ISBN 978 1 894959 34 6 ISSN 1496 6921 James Oberg 2005 World Book Online Reference Center World Book Inc khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 06 04 subkhnemux 14 June 2008 The International Space Station life in space Science in School December 10 2008 subkhnemux February 17 2009 Chris Bergin August 22 2009 ISS Still in assembly producing science research accomplishments NASASpaceflight com subkhnemux September 27 2009 What Is ISS International Space Station Astronomy Expert September 24 2008 subkhnemux February 17 2009 NASA Authorization Act 2005 PDF 30 December 2005 subkhnemux 6 March 2009 Jay Buckey 23 February 2006 Space Physiology Oxford University Press USA ISBN 978 0 19 513725 5 List Grossman 24 July 2009 Ion engine could one day power 39 day trips to Mars New Scientist subkhnemux 8 January 2010 Brooke Boen 1 May 2009 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 10 29 subkhnemux 1 October 2009 Sishir Rao aelakhna 2008 Journal of Ultrasound in Medicine 27 5 745 749 PMID 18424650 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 07 13 subkhnemux 2010 04 25 Michael Fincke aelakhna 2004 Evaluation of Shoulder Integrity in Space First Report of Musculoskeletal US on the International Space Station Radiology 234 234 319 322 doi 10 1148 radiol 2342041680 PMID 15533948 Science NASA 15 September 1999 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 06 14 subkhnemux 18 June 2009 Donna Heivilin 21 June 1994 Space Station Impact of the Expanded Russian Role on Funding and Research PDF Government Accountability Office subkhnemux 3 November 2006 NASA 2008 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 03 07 subkhnemux 8 July 2008 HSF ISS assembly sequence and on orbit configuration European Space Agency ESA subkhnemux March 6 2009 Chris Bergin July 26 2005 Discovery launches The Shuttle is back NASASpaceflight com subkhnemux March 6 2009 NASA 14 October 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 09 14 subkhnemux 7 December 2009 PDF NASA January 1999 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2009 03 17 subkhnemux 11 March 2009 NASA 11 March 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 03 23 subkhnemux 11 March 2009 NASA 26 March 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 07 09 subkhnemux 26 June 2007 NASA 4 April 2004 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 04 03 subkhnemux 11 March 2009 NASA 10 May 2006 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2005 10 25 subkhnemux 28 March 2009 NASA 26 September 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 12 26 subkhnemux 28 March 2009 Chris Bergin 2008 01 10 NASASpaceflight com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 01 19 subkhnemux 2008 01 12 Chris Bergin 10 January 2008 PRCB plan STS 122 for NET Feb 7 three launches in 10 11 weeks NASASpaceflight com subkhnemux 12 January 2008 Columbus laboratory European Space Agency ESA 10 January 2009 subkhnemux 6 March 2009 NASA Kibo Japanese Experiment Module NASA 23 November 2007 subkhnemux 28 March 2009 Japan Aerospace Exploration Agency JAXA 25 September 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 03 10 subkhnemux 6 March 2009 Anatoly Zak Docking Compartment 1 and 2 RussianSpaceWeb com subkhnemux 26 March 2009 Chris Bergin 10 November 2009 Russian module launches via Soyuz for Thursday ISS docking NASASpaceflight com subkhnemux 10 November 2009 Robert Z Pearlman 15 April 2009 NASA Names Space Module After Moon Base Not Stephen Colbert Space com subkhnemux 15 April 2009 Node 3 Connecting Module European Space Agency ESA 23 February 2009 subkhnemux 28 March 2009 Cupola European Space Agency ESA 16 January 2009 subkhnemux 28 March 2009 Chris Gebhardt 5 August 2009 STS 133 refined to a five crew one EVA mission will leave MPLM on ISS NASASpaceflight com Amos Jonathan 29 August 2009 Europe looks to buy Soyuz craft BBC News Shuttle Q amp A Part 5 NASASpaceflight com 27 September 2009 subkhnemux 12 October 2009 Where is the Centrifuge Accommodation Module CAM NASASpaceflight com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 03 21 subkhnemux 12 October 2009 Tariq Malik 14 February 2006 NASA Recycles Former ISS Module for Life Support Research Space com subkhnemux 11 March 2009 E D Graf February 2000 PDF ESA Bulletin 101 European Space Agency khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2006 10 03 subkhnemux 4 October 2009 U S Naval Center for Space Technology khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 02 08 subkhnemux 2010 02 21 Anatoly Zak Russian segment of the ISS russianspaceweb com subkhnemux 3 October 2009 Russian Research Modules Boeing subkhnemux 21 June 2009 The Alpha Magnetic Spectrometer Experiment CERN January 21 2009 subkhnemux March 6 2009 International Space Station CSA March 9 2006 subkhnemux October 4 2009 Chris Bergin January 27 2009 NASA approve funding to leave OBSS permanently on the ISS NASASpaceflight com subkhnemux October 5 2009 ERA European Robotic Arm ESA January 16 2009 subkhnemux October 4 2009 JAXA August 29 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 03 20 subkhnemux October 4 2009 NASA January 14 2002 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 03 11 subkhnemux October 4 2009 April 12 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 07 04 subkhnemux October 4 2009 JAXA August 29 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 08 03 subkhnemux October 9 2009 NASA 6 October 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 10 19 subkhnemux 2009 02 28 ESA Columbus European Technology Exposure Facility EuTEF ESA 13 January 2009 subkhnemux 2009 02 28 ESA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 02 12 subkhnemux October 9 2009 Boeing Integrated Defense Systems NASA Systems International Space Station Solar Power Boeing 2 November 2006 subkhnemux 28 January 2009 Thomas B Miller 24 April 2000 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 08 25 subkhnemux 27 November 2009 G Landis amp C Y Lu 1991 Solar Array Orientation Options for a Space Station in Low Earth Orbit Journal of Propulsion and Power 7 1 123 125 doi 10 2514 3 23302 Johnson Space Center khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 02 13 subkhnemux 15 October 2007 PDF AdAstra Rocket Company 12 December 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim pdf emux 2009 09 02 subkhnemux 7 December 2009 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 02 10 subkhnemux 29 May 2009 David Shiga 5 October 2009 Rocket company tests world s most powerful ion engine New Scientist subkhnemux 7 October 2009 Carlos Roithmayr 2003 Dynamics and Control of Attitude Power and Momentum for a Spacecraft Using Flywheels and Control Moment Gyroscopes Langley Research Centre NASA NASA 11 February 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2005 03 17 subkhnemux 23 November 2008 Chris Bergin 14 June 2007 Atlantis ready to support ISS troubleshooting NASASPaceflight com subkhnemux 6 March 2009 Communications and Tracking Boeing subkhnemux 30 November 2009 Mathews Melissa James Hartsfield 25 March 2005 NASA News NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 01 11 subkhnemux 11 January 2010 ISSRG Harvey Brian 2007 The rebirth of the Russian space program 50 years after Sputnik new frontiers Springer Praxis Books p 263 ISBN 0387713549 Anatoly Zak 4 January 2010 Space exploration in 2011 RussianSpaceWeb subkhnemux 12 January 2010 NASA 24 February 1998 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 01 11 subkhnemux 19 April 2009 Operations Local Area Network OPS LAN Interface Control Document PDF NASA February 2000 subkhnemux 30 November 2009 lingkesiy EADS Astrium 28 February 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2022 08 21 subkhnemux 30 November 2009 Chris Bergin 10 November 2009 STS 129 ready to support Dragon communication demo with ISS NASASpaceflight com subkhnemux 30 November 2009 British National Space Council 3 August 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim aspx emux 2009 09 23 subkhnemux 7 September 2009 PDF European Space Agency 6 December 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2009 03 27 subkhnemux 16 May 2006 Tariq Malik 15 February 2006 Air Apparent New Oxygen Systems for the ISS Space com subkhnemux 21 November 2008 Patrick L Barry 13 November 2000 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 09 21 subkhnemux 21 November 2008 Craig Freudenrich 20 November 2000 How Space Stations Work Howstuffworks subkhnemux 23 November 2008 5 8 The Air Up There NASAexplores NASA cakaehlngedimemux 2006 11 14 subkhnemux 31 October 2008 Clinton Anderson aelakhna 30 January 1968 PDF Washington DC US Government Printing Office p 8 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2010 12 05 subkhnemux 2010 03 07 European Space Agency 7 January 2009 See the ISS from your home town European Space Agency subkhnemux 13 November 2007 Spaceweather com 5 June 2009 ISS visible during the daytime Spaceweather com subkhnemux 5 June 2009 Human Spaceflight and Exploration European Participating States European Space Agency ESA 2009 subkhnemux 17 January 2009 NASA 14 October 1997 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 11 27 subkhnemux 18 January 2009 Italian Space Agency 18 January 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 12 23 subkhnemux 18 January 2009 CNN Associated Press 16 October 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 03 14 subkhnemux 20 March 2008 James Oberg 26 October 2001 MSNBC khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 10 12 subkhnemux 30 January 2009 NASA 29 January 1998 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 10 29 subkhnemux 19 April 2009 Alan Boyle 25 August 2006 MSNBC khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 10 24 subkhnemux 30 September 2008 James P Bagian aelakhna 2001 Readiness Issues Related to Research in the Biological and Physical Sciences on the International Space Station United States National Academy of Sciences Robert L Park Space Station Maybe They Could Use It to Test Missile Defense University of Maryland subkhnemux 23 March 2009 Bob Park Space International Space Station Unfurls New Solar Panels University of Maryland subkhnemux 15 June 2007 NASA 2007 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 09 16 subkhnemux 13 November 2007 NASA 2007 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 09 16 subkhnemux 13 November 2007 NASA 2007 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 11 30 subkhnemux 13 November 2007 James J Secosky George Musser 1996 Up Up and Away Astronomical Society of the Pacific subkhnemux 10 September 2006 E Ginzburg J W Kuhn J Schnee amp B Yavitz 1976 Economic impact of large public programs The NASA experience NASA Technical Reports Server NTRS subkhnemux 13 November 2007 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint multiple names authors list lingk Federation of American Scientists NASA Technological Spinoff Fables Federation of American Scientists subkhnemux 17 September 2006 Joel Achenbach 13 July 2009 As Space Station Nears Completion It Faces End of Mission The Washington Post subkhnemux 18 July 2009 PDF Press release NASA 1 February 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2010 02 01 subkhnemux 1 February 2010 Stephen Clark 11 March 2010 Space station partners set 2028 as certification goal Spaceflight Now subkhnemux 14 March 2010 International Space Station Could Fly Through 2028 NASA Partners Say Space com subkhnemux 2011 05 23 International Partners Discuss Space Station Extension and Use SpaceRef com 22 September 2010 subkhnemux 23 September 2010 lingkesiy Russia to save its ISS modules BBC News 22 May 2009 subkhnemux 23 May 2009 NASA 13 September 1995 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 11 15 subkhnemux 9 November 2007 Ask the STS 113 crew Question 14 NASA 7 December 2002 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 08 11 subkhnemux 9 November 2007 NASA November 2002 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 03 27 subkhnemux 24 February 2009 PDF NASA 5 November 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2016 07 30 subkhnemux 5 November 2008 Cheryl L Mansfield 7 November 2008 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 12 04 subkhnemux 17 September 2009 PDF CSA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2009 04 19 subkhnemux 28 October 2009 Daily life ESA 19 July 2004 subkhnemux 28 October 2009 Tariq Malik 27 July 2009 Sleeping in Space is Easy But There s No Shower Space com subkhnemux 29 October 2009 Ed Lu 8 September 2003 Greetings Earthling NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 09 11 subkhnemux 1 November 2009 Andrea Foster 16 June 2009 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 08 15 subkhnemux 23 August 2009 Amiko Kauderer 19 August 2009 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 08 21 subkhnemux August 23 2009 International Space Station Expeditions NASA 10 April 2009 subkhnemux 13 April 2009 NASA 2008 International Space Station NASA subkhnemux 22 October 2008 NASA 27 November 2009 NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 08 14 subkhnemux 28 November 2009 NASA 1 December 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 08 03 subkhnemux 8 December 2009 Michael Hoffman 3 April 2009 National Space Symposium 2009 It s getting crowded up there Defense News subkhnemux 7 October 2009 lingkesiy F L Whipple 1949 The Theory of Micrometeoroids Popular Astronomy 57 517 Chris Bergin 30 September 2009 Soyuz TMA 16 launches for journey to ISS Safe Haven evaluations NASASpaceflight com subkhnemux 7 October 2009 Henry Nahra 24 29 April 1989 Effect of Micrometeoroid and Space Debris Impacts on the Space Station Freedom Solar Array Surfaces PDF NASA subkhnemux 7 October 2009 Leonard David 7 January 2002 Space com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 05 23 subkhnemux 30 November 2008 Rachel Courtland 16 March 2009 Space station may move to dodge debris New Scientist subkhnemux 20 April 2010 PDF Orbital Debris Quarterly News NASA 12 4 1 amp 2 October 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2013 02 16 subkhnemux 20 April 2010 ATV carries out first debris avoidance manoeuvre for the ISS ESA 28 August 2008 subkhnemux 26 February 2010 ISS dodges debris NowPublic 29 August 2008 subkhnemux 20 April 2010 lingkesiy PDF Orbital Debris Quarterly News NASA 14 1 2 January 2010 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2010 05 27 subkhnemux 20 April 2010 Eugenie Samuel 23 October 2002 Space station radiation shields disappointing New Scientist subkhnemux 7 October 2009 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb sthanixwkasnanachati ewbistxyangepnthangkarkhxngsthanixwkasnanachatithirwmmuxkbxngkhkrxwkastangNASA 2009 09 16 thi ewyaebkaemchchin RSC Energia 2008 06 22 thi ewyaebkaemchchin Roskosmos 2007 10 12 thi ewyaebkaemchchin rsesiy xngkhkarxwkasaekhnada xngkhkarxwkasyuorp xngkhkarsarwcxwkasyipun 2013 10 12 thi ewyaebkaemchchin xngkhkarxwkasxitali 2015 05 24 thi ewyaebkaemchchin oprtueks suxekhluxnihwNASA s ISS interactive reference guide 2007 10 27 thi ewyaebkaemchchin NASA s ISS image gallery search page 2008 05 26 thi ewyaebkaemchchin taaehnngpccubnkhxngsthanixwkasnanachati 2007 04 08 thi ewy