บิกแบง (อังกฤษ: Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน
ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1929 เอ็ดวิน ฮับเบิลค้นพบว่า ระยะห่างของดาราจักรมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการเคลื่อนไปทางแดง การสังเกตการณ์นี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรและกระจุกดาวอันห่างไกลกำลังเคลื่อนที่ออกจากจุดสังเกต ซึ่งหมายความว่าเอกภพกำลังขยายตัว ยิ่งตำแหน่งดาราจักรไกลยิ่งขึ้น ความเร็วปรากฏก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น หากเอกภพในปัจจุบันกำลังขยายตัว แสดงว่าก่อนหน้านี้ เอกภพย่อมมีขนาดเล็กกว่า หนาแน่นกว่า และร้อนกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดนี้มีการพิจารณาอย่างละเอียดย้อนไปจนถึงระดับความหนาแน่นและอุณหภูมิที่จุดสูงสุด และผลสรุปที่ได้ก็สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลจากการสังเกตการณ์ ทว่าการเพิ่มของอัตราเร่งมีข้อจำกัดในการตรวจสอบสภาวะพลังงานที่สูงขนาดนั้น หากไม่มีข้อมูลอื่นที่ช่วยยืนยันสภาวะเริ่มต้นชั่วขณะก่อนการระเบิด ลำพังทฤษฎีบิกแบงก็ยังไม่สามารถใช้อธิบายสภาวะเริ่มต้นได้ มันเพียงอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเอกภพที่เกิดขึ้นหลังจากสภาวะเริ่มต้นเท่านั้น
คำว่า "บิกแบง" ที่จริงเป็นคำล้อเลียนซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักดาราศาสตร์ชื่อ เฟรด ฮอยล์ ตั้งใจดูหมิ่นและทำลายความน่าเชื่อถือของทฤษฎีที่เขาเห็นว่าไม่มีทางเป็นจริง ในการออกอากาศทางวิทยุครั้งหนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 1949 ในเวลาต่อมา ฮอยล์ได้ช่วยศึกษาผลกระทบของนิวเคลียร์ในการก่อเกิดธาตุมวลหนักที่ได้จากธาตุซึ่งมีมวลน้อยกว่า อย่างไรก็ดี การค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลในปี ค.ศ. 1964 ยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิเสธทฤษฎีบิกแบงได้
ประวัติ
ทฤษฎีบิกแบงพัฒนาขึ้นมาจากการสังเกตการณ์โครงสร้างเอกภพร่วมกับการพิจารณาทฤษฎีต่างๆ ที่เป็นไปได้ ในปี ค.ศ. 1912 เวสโต สลิเฟอร์ วัดค่าการเคลื่อนของดอปเปลอร์ครั้งแรกของ "เนบิวลาชนิดก้นหอย" (เป็นชื่อเก่าที่เคยใช้เรียกดาราจักรชนิดก้นหอย) และต่อมาก็ค้นพบว่า เนบิวลาแทบทั้งหมดกำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากโลก เขามิได้สรุปแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากข้อเท็จจริงนี้ อันที่จริงในช่วงยุคนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากว่า เนบิวลาเหล่านี้เป็น "เอกภพเกาะ" ที่อยู่ภายนอกดาราจักรทางช้างเผือกหรือไม่ สิบปีต่อมา อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน นักจักรวาลวิทยาและนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียได้พัฒนาสมการฟรีดแมนขึ้นจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ แสดงให้เห็นว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ ซึ่งขัดแย้งกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์สนับสนุนอยู่ ปี ค.ศ. 1924 เอ็ดวิน ฮับเบิล ตรวจวัดระยะห่างของเนบิวลาชนิดก้นหอยที่ใกล้ที่สุด ผลการตรวจแสดงให้เห็นว่า ระบบดาวเหล่านั้นที่แท้เป็นดาราจักรอื่น เมื่อถึงปี ค.ศ. 1927 ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ พระคาทอลิกนักฟิสิกส์ชาวเบลเยียม ทำการพัฒนาสมการของฟรีดแมนโดยอิสระ ผลที่ได้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการถอยห่างของเนบิวลาเป็นผลเนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ
ค.ศ. 1931 เลอแม็ทร์พัฒนางานของเขาคืบหน้าไปอีก และเสนอแนวคิดว่า การที่เอกภพมีการขยายตัวเมื่อเวลาเดินล่วงหน้าไป จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อเอกภพมีการหดตัวลงเมื่อเวลาเดินย้อนกลับ และจะเป็นเช่นนั้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าเอกภพจะหดตัวไม่ได้อีกต่อไป ทำให้มวลทั้งหมดของเอกภพอัดแน่นเป็นจุด ๆ หนึ่ง คือ "อะตอมแรกเริ่ม" ณ จุดใดจุดหนึ่งของกาลเวลาก่อนที่เวลาและอวกาศจะถือกำเนิดขึ้น ณ จุดนั้นยังไม่มีโครงสร้างของเวลาและอวกาศใด ๆ ทฤษฎีนี้สะท้อนความเชื่อเก่าแก่ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับไข่จักรวาล (cosmic egg) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพ
ทางด้านของฮับเบิลก็พยายามพัฒนาตัวชี้วัดระยะทางหลายรูปแบบนับแต่ ค.ศ. 1924 ซึ่งเป็นการเบิกทางของบันไดระยะห่างของจักรวาล เขาใช้กล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์ ขนาด 100 นิ้ว (2,500 มม.) ที่หอดูดาวเมาท์วิลสัน ทำให้สามารถประเมินระยะห่างระหว่างดาราจักรได้จากผลการตรวจวัดการเคลื่อนไปทางแดง ซึ่งมีการวัดค่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วโดยสลิเฟอร์ ฮับเบิลค้นพบความเกี่ยวพันระหว่างระยะทางกับความเร็วในการเคลื่อนถอยในปี ค.ศ. 1929 ปัจจุบันความสัมพันธ์ข้อนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ กฎของฮับเบิล งานของเลอแม็ทร์สนับสนุนผลงานชิ้นนี้ และเขาได้สร้างหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาขึ้น
ตลอดคริสต์ทศวรรษ 1930 มีทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อพยายามอธิบายผลสังเกตการณ์ของฮับเบิล รวมถึง (Milne Model) ทฤษฎี (เสนอโดยฟรีดแมน และได้รับการสนับสนุนจากไอน์สไตน์กับริชาร์ด โทลแมน) และข้อสมมติฐาน ของฟริตซ์ ชวิกกี
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง มีแนวคิดที่เป็นไปได้แตกต่างกันอยู่สองแนวทาง ทางหนึ่งเป็นแนวคิดเรื่องแบบจำลองสภาวะสมมูลของเฟรด ฮอยล์ ซึ่งเห็นว่าจะมีสสารใหม่เกิดขึ้นระหว่างที่เอกภพขยายตัว แนวคิดนี้เอกภพจะมีสภาวะแทบจะคงที่ ณ จุดใด ๆ ของเวลา อีกแนวคิดหนึ่งเป็นทฤษฎีบิกแบงของเลอแม็ทร์ ซึ่งได้พัฒนาต่อมาโดยจอร์จ กาโมว์ ผู้เสนอทฤษฎีบิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส และเป็นผู้ร่วมทีมกับราล์ฟ อัลเฟอร์ และโรเบิร์ต เฮอร์มัน ในการทำนายปรากฏการณ์ของการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลัง แต่จะว่าไปแล้ว ฮอยล์นั่นเองที่เป็นผู้นำวลีมาโยงกับทฤษฎีของเลอแม็ทร์ โดยเรียกทฤษฎีนี้ว่า "เจ้าแนวคิดแบบบิกแบงนี่" ระหว่างการออกอากาศทางสถานีวิทยุบีบีซีเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1949 นักวิทยาศาสตร์ต่างแบ่งออกเป็นสองพวกสนับสนุนทฤษฎีทั้งสองทางนี้ ในเวลาต่อมาแนวคิดหลังเริ่มเป็นที่นิยมมากกว่า การค้นพบไมโครเวฟพื้นหลังในปี ค.ศ. 1964 ช่วยยืนยันว่าจุดกำเนิดและพัฒนาการของจักรวาลสอดคล้องกับแนวคิดแบบทฤษฎีบิกแบงมากกว่า
การศึกษาจักรวาลวิทยาตามแนวคิดบิกแบงมีการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เนื่องมาจากความก้าวหน้าอย่างมากของเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ ตลอดจนผลการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากจากดาวเทียมต่าง ๆ เช่น จาก COBE จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และจาก WMAP
ปัจจุบันการศึกษาจักรวาลวิทยามีข้อมูลและเครื่องมือวัดที่แม่นยำมากมายที่ช่วยตรวจสอบปัจจัยต่าง ๆ ของแบบจำลองบิกแบง ทำให้เกิดการค้นพบอันไม่คาดฝันว่า เอกภพดูเหมือนจะกำลังขยายตัวอยู่ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น
ภาพรวมของทฤษฎี
เส้นเวลาของบิกแบง
เมื่อพิจารณาตรรกะจากการขยายตัวของเอกภพโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป หากเวลาย้อนหลังไปจะทำให้ความหนาแน่นและอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นอย่างไม่จำกัดขณะที่เวลาในอดีตจำกัดอยู่ค่าหนึ่งภาวะเอกฐานเช่นนี้เป็นไปไม่ได้เพราะขัดแย้งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากกว่าเราสามารถประมาณภาวะเอกฐานได้ใกล้สักเพียงไหน (ซึ่งไม่มีทางประมาณไปได้มากเกินกว่ายุคของพลังค์) ภาวะเริ่มแรกที่มีความร้อนและความหนาแน่นสูงอย่างยิ่งนี้เองที่เรียกว่า "บิกแบง" และถือกันว่าเป็น "จุดกำเนิด" ของเอกภพของเรา จากผลการตรวจวัดการขยายตัวของซูเปอร์โนวาประเภท Ia การตรวจวัดความแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในไมโครเวฟพื้นหลัง และการตรวจวัดลำดับวิวัฒนาการของดาราจักร เชื่อว่าเอกภพมีอายุประมาณ 13.73 ± 0.12 พันล้านปี การที่ผลตรวจวัดทั้งสามวิธีให้ค่าออกมาใกล้เคียงกันเป็นการยืนยันสนับสนุนแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็ม (ΛCDM) ที่อธิบายอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบต่างๆ ในเอกภพ
มีการคาดเดาถึงสภาวะเริ่มแรกของบิกแบงไปต่างๆ นานา แต่แบบจำลองที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ เอกภพทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกันและมีสมบัติเหมือนๆ กันในทุกทิศทางโดยมีความหนาแน่นของพลังงานที่สูงมาก มีอุณหภูมิและความดันสูงมาก ต่อมาจึงขยายตัวออกในทันทีทันใดและมีอุณหภูมิลดลง ประมาณว่าใน 10-35 วินาทีของการขยายตัวเป็นสภาวะการพองตัวของเอกภพซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแบบ หลังจากสิ้นสุดสภาวะการพองตัว เอกภพประกอบด้วยพลาสมาควาร์ก-กลูออนและอนุภาคมูลฐานทั้งหมด อุณหภูมิยังคงสูงมากทำให้การเคลื่อนที่ของอนุภาคต่างๆ มีความเร็วสัมพัทธ์สูง คู่อนุภาคและปฏิยานุภาคทั้งหมดยังมีการเกิดใหม่และแตกดับลงไปในการปะทะ ต่อมาจึงเกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่เรียกว่า แบริโอเจเนซิส ทำลายภาวะสมดุลในการรักษาจำนวนแบริออน เกิดเป็นควาร์กและเลปตอนขึ้นมาจำนวนหนึ่งที่มากกว่าแอนติควาร์กและแอนติเลปตอนประมาณ 1 ใน 30 ล้านส่วน ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้มีสสารมากกว่าปฏิสสารในเอกภพปัจจุบัน
เอกภพยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีอุณหภูมิลดลง ทำให้พลังงานโดยทั่วไปในแต่ละอนุภาคลดลงด้วย ยุค (Symmetry breaking) ทำให้แรงพื้นฐานทางฟิสิกส์และพารามิเตอร์ต่างๆ ของอนุภาคมูลฐานกลายมาอยู่ในรูปแบบดังเช่นปัจจุบัน หลังจากผ่านไป 10-11 วินาที ภาพการคาดเดาก็น้อยลง เพราะพลังงานของอนุภาคลดลงลงถึงระดับที่สามารถอธิบายได้ด้วยการทดลองฟิสิกส์อนุภาค ที่เวลา 10-6 วินาที ควาร์กและกลูออนรวมตัวกันกลายเป็นอนุภาคแบริออนจำนวนหนึ่งเช่น โปรตอน และนิวตรอน ปริมาณควาร์กที่มีมากกว่าแอนติควาร์กอยู่เล็กน้อยทำให้อนุภาคแบริออนมีมากกว่าแอนติแบริออนเช่นเดียวกัน ถึงเวลานี้อุณหภูมิของเอกภพก็ไม่สูงพอที่จะสร้างคู่โปรตอน-แอนติโปรตอนใหม่อีกแล้ว (ทำนองเดียวกันกับนิวตรอนและแอนตินิวตรอน) จึงเกิดการทำลายมวลครั้งใหญ่ เหลือเพียง 1 ใน 1010 ของโปรตอนและนิวตรอนในตอนเริ่มต้น และไม่มีปฏิยานุภาคของพวกมันเหลืออยู่เลย กระบวนการเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีกในเวลาประมาณ 1 วินาทีสำหรับอิเล็กตรอนและโพสิตรอน หลังจากพ้นช่วงการทำลายมวล โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนที่เหลือก็ไม่มีความเร็วสัมพัทธ์สูงยิ่งยวดอีกต่อไป แต่โฟตอนกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของความหนาแน่นพลังงานของเอกภพ (และบทบาทเล็กน้อยอีกส่วนหนึ่งโดยนิวตริโน)
ไม่กี่นาทีต่อมาเอกภพก็เริ่มการขยายตัว เมื่ออุณหภูมิมีค่าประมาณ 1 พันล้านเคลวิน และมีความหนาแน่นประมาณความหนาแน่นของอากาศ นิวตรอนรวมตัวเข้ากับโปรตอนกลายเป็นนิวเคลียสของดิวเทอเรียมและฮีเลียม ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส โปรตอนส่วนใหญ่ยังคงไม่ได้รวมตัว ดังเช่นนิวเคลียสของไฮโดรเจน เมื่อเอกภพเย็นลง ความหนาแน่นพลังงานมวลของสสารที่เหลือก็เริ่มมีอิทธิพลเหนือการแผ่รังสีของโฟตอน หลังจากผ่านไป 379,000 ปี อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสรวมตัวเข้าไปในอะตอม (ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน) ทำให้การแผ่รังสีแยกตัวจากสสารและแพร่ไปในห้วงอวกาศอย่างไร้เขตจำกัด การแผ่รังสีนี้มีผลหลงเหลืออยู่ดังที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ การแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟพื้นหลัง
เวลาผ่านไปอีกเนิ่นนาน ย่านรอบนอกแกนกลางที่มีความหนาแน่นเจือจางกว่าเริ่มมีการจับตัวกับสสารใกล้เคียงและเพิ่มความหนาแน่นของตนมากขึ้น ก่อตัวเป็นกลุ่มเมฆแก๊ส ดาวฤกษ์ ดาราจักร และโครงสร้างอื่นๆ ทางดาราศาสตร์ที่เราสังเกตเห็นได้ในปัจจุบัน รายละเอียดของกระบวนการเหล่านี้ขึ้นกับปริมาณและประเภทของสสารที่มีอยู่ในเอกภพ สสารที่เป็นไปได้สามชนิดได้แก่ สสารมืดเย็น สสารมืดร้อน และสสารแบริออน จากเครื่องมือวัดดีที่สุดเท่าที่เรามีอยู่ (คือดาวเทียม WMAP) แสดงให้เห็นว่าส่วนประกอบสำคัญของสสารในเอกภพคือสสารมืดเย็น ส่วนสสารอีกสองชนิดมีอยู่เป็นจำนวนไม่ถึง 18% ของสสารทั้งหมดในเอกภพ
ปรากฏการณ์ที่เป็นอิสระจากกันของการเกิดซูเปอร์โนวาประเภท Ia กับไมโครเวฟพื้นหลังซึ่งสร้างเอกภพดังเช่นทุกวันนี้ ได้รับอิทธิพลจากพลังงานลึกลับชนิดหนึ่งซึ่งรู้จักในชื่อ พลังงานมืด ที่ดูจะแทรกซึมอยู่ทั่วไปในอวกาศ ผลการสังเกตการณ์บ่งชี้ว่า 72% ของความหนาแน่นพลังงานทั้งหมดของเอกภพในปัจจุบันเป็นพลังงานในรูปแบบดังกล่าวนี้ เมื่อครั้งที่เอกภพยังมีอายุน้อย พลังงานมืดอาจจะแทรกซึมเข้ามาบ้าง แต่เมื่อเวลาที่ทุกสิ่งทุกอย่างยังอยู่ใกล้กันมากและมีช่องว่างอยู่น้อย แรงโน้มถ่วงจึงมีอิทธิพลมากกว่า และพยายามจะชะลอการแผ่ขยายตัวของเอกภพอย่างช้าๆ อย่างไรก็ดีหลังจากการขยายตัวของเอกภพผ่านไปหลายพันล้านปี พลังงานมืดที่มีอยู่มากมายมหาศาลก็เริ่มทำให้การขยายตัวมีอัตราเร่งเพิ่มขึ้นทีละน้อย เราสามารถแปลงพลังงานมืดให้อยู่ในรูปแบบอย่างง่ายในค่าคงที่จักรวาลของตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป แต่องค์ประกอบและกลไกของพลังงานนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจ รายละเอียดของสมการสภาวะและความสัมพันธ์ของพลังงานนี้กับแบบจำลองมาตรฐานในวิชาฟิสิกส์อนุภาคยังคงอยู่ในระหว่างการค้นหาทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และโดยการวิจัยทางทฤษฎี
วิวัฒนาการของจักรวาลทั้งหมดหลังจากยุคของการพองตัวสามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองแลมบ์ดา-ซีดีเอ็มอันเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยา โดยใช้กรอบสังเกตการณ์อิสระของกลศาสตร์ควอนตัมกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ อย่างไรก็ดี ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า แบบจำลองเท่าที่มีอยู่ยังไม่สามารถใช้อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนช่วงเวลา 10-15 วินาทีแรกได้ ทฤษฎีรวมแรงใหม่ๆ อย่างเช่นทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัมเป็นความพยายามที่จะข้ามพ้นข้อจำกัดนั้น ความเข้าใจในสภาวะแรกเริ่มในประวัติศาสตร์ของเอกภพเป็นหนึ่งในปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทางฟิสิกส์ที่ยังไม่สามารถค้นหาคำตอบได้
สมมติฐานหลัก
สมมติฐานหลักของทฤษฎีบิกแบงมีอยู่ 2 ประการคือ ความเป็นเอกภาพของ และหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา แนวคิดของหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาคือเอกภพในระดับมหภาคมีความเป็นเนื้อเดียวกันและเหมือนกันหมดในทุกทิศทาง
เดิมแนวคิดเหล่านี้ถือเป็นหลักพื้นฐานสำคัญ แต่ในปัจจุบันมีการพยายามทดสอบสมมติฐานเหล่านี้อยู่หลายครั้ง ตัวอย่างเช่น การทดสอบสมมติฐานแรกด้วยผลสังเกตการณ์ที่แสดงว่าค่าคงที่โครงสร้างละเอียดมีความผิดเพี้ยนที่เป็นไปได้อย่างมากถึงอันดับ 10-5 เมื่อเพิ่มมากขึ้น หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่ต้องผ่านในกรณีของระบบสุริยะและระบบดาวคู่ เพื่อที่ข้อมูลในระดับจักรวาลจะต้องสอดคล้องกับผลสังเกตการณ์และการคาดการณ์ตามทฤษฎีบิกแบง
ถ้าเอกภพระดับใหญ่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันในมุมมองจากโลก หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาสามารถถอดความได้จากหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัสที่ง่ายกว่า ซึ่งกล่าวว่าไม่มีผู้สังเกตหรือจุดสังเกตใดเป็นพิเศษ ดังนี้ หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาจึงได้รับการรับรองในระดับ 10-5 ผ่านการสังเกตการณ์รังสีไมโครเวฟพื้นหลัง ผลตรวจวัดเอกภพแสดงถึงความเป็นเนื้อเดียวกันในสเกลใหญ่ที่สุดที่ระดับ 10%
มาตรวัด FLRW
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายเรื่องของกาลอวกาศด้วย ซึ่งกล่าวถึงระยะห่างที่แบ่งจุดใกล้เคียง จุดเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งดาราจักร ดาวฤกษ์ หรือวัตถุอื่น จะถูกระบุตำแหน่งด้วยแผนภูมิพิกัดหรือ "กริด" (grid) ที่วางอยู่บนพื้นของกาลอวกาศทั้งหมด จากหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยากำหนดให้มาตรานี้จะต้องเป็นเนื้อเดียวกันและมีสมบัติเหมือนกันทุกทิศทาง จึงได้เป็น หรือ มาตรวัด FLRW ประกอบด้วยตัวประกอบขนาด (scale factor) ที่บอกถึงขนาดเปลี่ยนแปลงของเอกภพตามเวลา ทำให้ได้เป็นระบบพิกัดแบบง่ายขึ้น เรียกว่า ในระบบพิกัดนี้ กริดจะขยายตัวขึ้นตามเอกภพ และวัตถุที่อยู่นิ่งบนตำแหน่งกริดเดิมก็เคลื่อนที่ไปตามการขยายตัวของเอกภพ ขณะที่ระยะห่างพิกัด (comoving distance) เป็นค่าคงที่ ระยะห่างทางกายภาพระหว่างจุด comoving สองจุดจะเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนตามตัวประกอบขนาดของเอกภพ
บิกแบงไม่ใช่การระเบิดของสสารที่เคลื่อนออกไปเพื่อเติมเต็มเอกภพอันว่างเปล่า ตัวอวกาศนั้นต่างหากที่ขยายตัวออกไปตามเวลาในทุกหนทุกแห่งและทำให้ระยะห่างทางกายภาพของจุด comoving สองจุดเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากมาตรวัด FLRW ถือว่าการกระจายตัวของมวลและพลังงานเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ มันจึงใช้กับเอกภพเฉพาะในระดับขนาดใหญ่เท่านั้น ส่วนการรวมตัวของสสารในระดับท้องถิ่นเช่นดาราจักรจะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดผูกพันเอาไว้ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการขยายตัวตามตัวประกอบขนาดของอวกาศ
ขอบฟ้า
คุณสมบัติที่สำคัญของ กาลอวกาศ ในบิกแบง คือการมีอยู่ของขอบฟ้า ในเมื่อเอกภพมีอายุที่จำกัดแน่นอน และแสงก็เดินทางด้วยความเร็วที่จำกัดค่าหนึ่ง จึงอาจมีบางเหตุการณ์ในอดีตที่แสงไม่มีเวลาพอจะเดินทางมาถึงเราได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดหรือ ขอบฟ้าอดีต บนวัตถุอันห่างไกลที่สุดเท่าที่สังเกตได้ ในทางกลับกัน ในเมื่ออวกาศกำลังขยายตัว วัตถุอันห่างไกลก็กำลังเคลื่อนห่างออกไปเร็วยิ่งขึ้น แสงที่ส่งจากตัวเราในวันนี้จึงไม่มีวันจะไล่ตามทันวัตถุไกลชิ้นนั้นได้ ทำให้เกิด ขอบฟ้าอนาคต ที่จำกัดขอบเขตของเหตุการณ์ในอนาคตที่เราอาจส่งอิทธิพลถึง การดำรงอยู่ของขอบฟ้าทั้งสองชนิดนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของแบบจำลอง FLRW ที่อธิบายถึงเอกภพของเรา ตามความเข้าใจเกี่ยวกับเอกภพของเราย้อนไปจนถึงยุคเริ่มแรกบ่งชี้ว่าน่าจะมีขอบฟ้าอดีตอยู่จริง แม้ว่าในทางปฏิบัติแล้วมุมมองของเราจะถูกจำกัดด้วยความทึบแสงของเอกภพในยุคแรกเริ่ม ดังนั้นหากเอกภพยังคงขยายตัวด้วยอัตราเร่ง ขอบฟ้าอนาคตก็น่าจะมีอยู่จริงเช่นเดียวกัน
ข้อมูลการสังเกตการณ์
ข้อมูลการสังเกตการณ์ชุดแรกสุดที่สอดคล้องกับทฤษฎีนี้ได้แก่ การสังเกตการณ์การขยายตัวแบบฮับเบิลที่พบในการเคลื่อนไปทางแดงของเหล่าดาราจักร การตรวจพบการแผ่รังสีของไมโครเวฟพื้นหลัง และปริมาณของอนุภาคแสงจำนวนมาก (ดูใน บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิส) บางครั้งเรียกทั้งสามสิ่งนี้ว่าเป็นเสาหลักของทฤษฎีบิกแบง การสังเกตการณ์อื่นๆ ในยุคต่อมาต่างสนับสนุนให้เห็นภาพรวมชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการค้นพบคุณลักษณะอันหลากหลายของโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล ซึ่งตรงกับการคาดการณ์การขยายตัวของโครงสร้างเอกภพภายใต้แรงโน้มถ่วงตามทฤษฎีมาตรฐานของบิกแบง
กฎของฮับเบิลและการขยายตัวของอวกาศ
ผลจากการสังเกตการณ์ดาราจักรและเควซาร์อันไกลโพ้นพบว่าวัตถุเหล่านั้นมีการเคลื่อนไปทางแดง กล่าวคือ แสงที่ส่งออกมาจากวัตถุเหล่านั้นมีความคลาดเคลื่อนของความยาวคลื่นที่ยาวมากขึ้น เราสามารถมองเห็นได้โดยการตรวจสอบสเปคตรัมความถี่ของวัตถุเปรียบเทียบกับรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในการกระจายหรือดูดกลืนแถบคลื่นความถี่ที่สอดคล้องกับปฏิกิริยาระหว่างอนุภาคทางเคมีกับแสง ปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดงที่พบล้วนสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแม้จะทำการสังเกตการณ์วัตถุเหล่านั้นในทิศทางต่างๆ กัน หากอธิบายการเคลื่อนไปทางแดงด้วยปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ เราจะสามารถคำนวณความเร็วของวัตถุที่เหลื่อมช้าลงได้ สำหรับดาราจักรบางแห่ง มีความเป็นไปได้มากที่จะประมาณระยะห่างด้วยบันไดระยะห่างของจักรวาล เมื่อนำความเร็วที่เหลื่อมลงมาเปรียบเทียบกับระยะห่างที่คำนวณได้ เราจะได้สมการความสัมพันธ์เชิงเส้นซึ่งรู้จักกันในชื่อกฎของฮับเบิล ดังนี้
โดยที่
- หมายถึง ความเร็วเหลื่อมลงของดาราจักรหรือวัตถุห่างไกล
- หมายถึง ระยะห่างระหว่างการเคลื่อนที่ของวัตถุที่สังเกต
- หมายถึง ค่าคงที่ของฮับเบิล ซึ่งอยู่ระหว่าง 70.10 ± 1.3 กิโลเมตร/วินาที/เมกะพาร์เซก โดยวัดจาก WMAP
กฎของฮับเบิลสามารถอธิบายความเป็นไปได้อยู่สองทาง ทางหนึ่งคือเราอยู่ที่ศูนย์กลางของการระเบิดของดาราจักร ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทางหนึ่งคือเอกภพมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอกันในทุกๆ แห่ง การขยายตัวอย่างเป็นเอกภาพนี้เคยมีการทำนายได้ก่อนหน้านี้แล้วจากสมการสัมพัทธภาพทั่วไปของอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ที่คำนวณไว้ในปี ค.ศ. 1922 และจากงานของฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ ในปี ค.ศ. 1927 ก่อนหน้าที่ฮับเบิลจะทำการสังเกตการณ์และวิเคราะห์ออกมาในปี ค.ศ. 1929 และมันยังเป็นหลักการสำคัญของทฤษฎีบิกแบงที่พัฒนาขึ้นโดยฟรีดแมน เลอแม็ทร์ โรเบิร์ตสัน และวอล์คเกอร์
ทฤษฎีนี้มีเงื่อนไขอยู่ว่า ความสัมพันธ์ จะต้องดำรงอยู่ตลอดเวลา เมื่อ D เป็นระยะห่างที่แท้จริง และ , , ล้วนแต่เปลี่ยนแปลงค่าไปเมื่อเอกภพขยายตัว (เหตุนี้เราจึงต้องเขียนว่า เพื่อระบุ "ค่าคงที่" ของฮับเบิล ณ วันปัจจุบัน) เนื่องจากระยะห่างที่สังเกตมีค่าน้อยกว่าขนาดของเอกภพในสังเกตการณ์อย่างมาก ปรากฏการณ์เคลื่อนไปทางแดงของฮับเบิลจึงสามารถพิจารณาโดยใช้หลักการเดียวกันกับปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ได้ อย่างไรก็ดี พึงตระหนักว่าการเคลื่อนไปทางแดงไม่ใช่การคลาดเคลื่อนแบบเดียวกับดอปเปลอร์ เป็นแต่เพียงผลจากการขยายตัวของเอกภพระหว่างช่วงเวลาหนึ่ง และแสงมีการเปล่งออกมาระหว่างช่วงเวลาที่สังเกตอยู่
ห้วงอวกาศที่อยู่ภายใต้มาตรวัดการขยายตัวแสดงออกมาให้เห็นได้จากการสังเกตการณ์โดยตรงของหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาและหลักการพื้นฐานโคเปอร์นิคัส ซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับกฎของฮับเบิลแล้วก็ไม่มีคำอธิบายอื่นใดอีก การเคลื่อนไปทางแดงในทางดาราศาสตร์ถือเป็นปรากฏการณ์เฉพาะตัวที่เป็นหนึ่งเดียว มันช่วยสนับสนุนแนวคิดหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาว่า เอกภพมีหน้าตาเหมือนกันหมดไม่ว่าจะมองจากทิศทางใด รวมถึงข้อมูลสังเกตการณ์อื่นๆ อีกมาก ถ้าการเคลื่อนไปทางแดงนี้เป็นผลจากการระเบิดตัวออกจากจุดศูนย์กลางแห่งอื่นซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งของเรา มันไม่ควรให้ภาพที่คล้ายคลึงกันจากการมองในมุมต่างกันได้
การตรวจพบผลการแผ่รังสีคอสมิกจากไมโครเวฟพื้นหลังจากการเคลื่อนไหวของระบบฟิสิกส์ดาราศาสตร์อันห่างไกลแห่งหนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 2000 ช่วยพิสูจน์หลักการพื้นฐานของโคเปอร์นิคัส ที่ว่าโลกไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งศูนย์กลางแม้แต่ในระดับของจักรวาล การแผ่รังสีจากบิกแบงเห็นได้ชัดว่าเอกภพในช่วงต้นจะอบอุ่นกว่าในทุกหนทุกแห่ง การเย็นลงอย่างทั่วถึงกันของไมโครเวฟพื้นหลังตลอดช่วงหลายพันล้านปีที่ผ่านมาเป็นการอธิบายอย่างชัดเจนว่า เอกภพเคยแต่ขยายตัวออกเท่านั้น ทั้งนี้ไม่นับความเป็นไปได้ที่ว่าเราอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของการระเบิดในคราวนั้น
การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
ในช่วงเวลาไม่กี่วันแรกของเอกภพ เอกภพอยู่ในสภาวะสมดุลความร้อนอย่างสมบูรณ์ โฟตอนยังคงเปล่งแสงและดูดกลืนแสงอย่างสม่ำเสมอ การแผ่รังสีจึงวัดได้เหมือนสเปคตรัมของวัตถุดำ เมื่อเอกภพขยายตัวขึ้น อุณหภูมิก็เย็นลงจนกระทั่งโฟตอนไม่อาจเกิดขึ้นใหม่และไม่อาจถูกทำลายลง แม้อุณหภูมิจะยังคงสูงมากพอที่อิเล็กตรอนและนิวเคลียสจะยังแยกกันอยู่ แต่โฟตอนอยู่ในภาวะ "สะท้อน" อย่างคงที่ต่ออิเล็กตรอนอิสระเหล่านี้ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า (Thomson scattering) ผลจากการกระจายที่ซ้ำไปซ้ำมานี้ ทำให้เอกภพในยุคแรกเป็นสิ่งทึบแสง
เมื่ออุณหภูมิของเอกภพลดลงเหลือไม่กี่พันเคลวิน อิเล็กตรอนและนิวเคลียสเริ่มรวมตัวกันกลายเป็นอะตอม เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การรวมตัว (recombination) เมื่อโฟตอนกระจายตัวอย่างไม่สม่ำเสมอจากอะตอมที่เป็นกลาง การแผ่รังสีก็แยกตัวจากสสารในเวลาที่อิเล็กตรอนได้รวมตัวกันไปจนเกือบหมด นั่นคือยุคของการกระจายขั้นสุดท้าย คือ 379,000 ปีหลังจากบิกแบง โฟตอนเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของไมโครเวฟพื้นหลังดังที่เราสังเกตพบในปัจจุบัน รูปแบบการแกว่งตัวของไมโครเวฟพื้นหลังเป็นภาพโดยตรงของเอกภพในยุคแรกเริ่มนี้ พลังงานของโฟตอนมีการคลาดเคลื่อนไปในเวลาต่อมาตามการขยายตัวของเอกภพ แม้จะดำรงสภาวะวัตถุดำอยู่แต่ก็ได้ทำให้อุณหภูมิลดน้อยลง ซึ่งหมายความว่าโฟตอนเหล่านั้นได้ลดระดับพลังงานลงมาอยู่ในย่านไมโครเวฟของสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เชื่อว่าการแผ่รังสีนี้สามารถสังเกตพบได้ในทุกตำแหน่งในเอกภพ และมาจากทุกทิศทุกทางด้วยระดับความเข้มที่ (เกือบจะ) เท่ากันทั้งหมด
ปี ค.ศ. 1964 อาร์โน เพนซิอัส และ โรเบิร์ต วิลสัน ค้นพบการแผ่รังสีพื้นหลังจักรวาลโดยบังเอิญขณะทำการตรวจวิเคราะห์โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นไมโครเวฟตัวใหม่ของห้องทดลองเบลล์ การค้นพบของพวกเขาให้ข้อมูลมากพอที่จะทำนายไมโครเวฟพื้นหลังได้ การแผ่รังสีมีลักษณะเป็นเอกภาพและสอดคล้องกับสเปคตรัมวัตถุดำ การค้นพบนี้ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดฝ่ายของทฤษฎีบิกแบง ขณะที่เวลานั้นแนวคิดต่างๆ ยังไม่อาจเอาชนะคัดง้างกันได้ เพนซิอัสกับวิลสันได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการค้นพบครั้งนี้
ปี ค.ศ. 1989 นาซาส่งดาวเทียมสำรวจพื้นหลังจักรวาล (Cosmic Background Explorer; COBE) ขึ้นสู่อวกาศ และการค้นพบอย่างแรกที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1990 คือข้อสนับสนุนแนวคิดของบิกแบงเกี่ยวกับไมโครเวฟพื้นหลัง ดาวเทียม COBE พบอุณหภูมิที่เหลืออยู่ 2.726 K ต่อมาในปี ค.ศ. 1992 ก็สามารถตรวจพบสภาพการแกว่งตัวของไมโครเวฟพื้นหลังได้เป็นครั้งแรกจอห์น ซี. เมเทอร์ และจอร์จ สมูท ได้รับรางวัลโนเบลในฐานะผู้นำในการค้นพบคราวนี้ ตลอดทศวรรษต่อมาการศึกษาการแกว่งตัวของไมโครเวฟพื้นหลังก็ดำเนินการต่อโดยใช้บอลลูนตรวจการณ์และกิจกรรมภาคพื้นดินจำนวนมาก ระหว่างปี ค.ศ. 2000-2001 มีการทดลองต่างๆ มากมาย ที่โดดเด่นคือกลุ่มทดลอง โครงการบูมเมอแรง พวกเขาพบว่าเอกภพมีสภาพค่อนข้างแบนเมื่อตรวจเทียบกับขนาดเชิงมุมตามปกติของการแกว่งตัว (ดูเพิ่มใน รูปร่างของเอกภพ)
ช่วงต้นปี ค.ศ. 2003 ผลการตรวจสอบครั้งแรกของดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน (Wilkinson Microwave Anisotropy satellite; WMAP) ได้เปิดเผยค่าองค์ประกอบของจักรวาลบางส่วนที่แม่นยำอย่างยิ่งซึ่งปรากฏอยู่ในช่วงเวลานั้น ดาวเทียมดวงนี้ยังพิสูจน์ค้านแบบจำลองการพองตัวของจักรวาลหลายชุด แต่ผลตรวจวัดสอดคล้องกับทฤษฎีการพองตัวโดยทั่วๆ ไป มันยังช่วยยืนยันด้วยว่ามีแผ่ซ่านอยู่ทั่วไปทุกหนแห่งในเอกภพ ข้อมูลนี้ชัดเจนว่า ดาวฤกษ์กลุ่มแรกๆ ต้องใช้เวลามากกว่าห้าร้อยล้านปีในการสร้างกลุ่มไอคอสมิก (cosmic fog) ขึ้น ดาวเทียมอีกดวงหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันคือ "" (Planck Surveyor) จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ตรวจวัดค่าการแกว่งตัวของไมโครเวฟพื้นหลังที่ละเอียดแม่นยำมากยิ่งขึ้น
การแผ่รังสีพื้นหลังนี้ราบเรียบเป็นพิเศษ ทำให้สามารถอธิบายข้อปัญหาเกี่ยวกับการขยายตัวอย่างธรรมดาซึ่งน่าจะหมายความว่า โฟตอนที่เคลื่อนมาจากฝั่งตรงข้ามของท้องฟ้าน่าจะมาจากเขตแดนที่ไม่เคยติดต่อกับใครมาก่อน คำอธิบายที่เป็นไปได้สำหรับสภาวะสมดุลอันห่างไกลกันนี้คือ เอกภพมีช่วงเวลาการระเบิดและขยายตัวอย่างสูงเพียงเวลาสั้นๆ (เราอาจเรียกว่า การพองตัว) ผลก็คือย่านต่างๆ ในเอกภพถูกฉีกออกจากกันในสภาวะสมดุล เอกภพที่เราสังเกตการณ์อยู่จึงมาจากย่านที่สมดุลและมีทุกอย่างเหมือนๆ กัน
อนุภาคมูลฐานส่วนเกิน
ด้วยแบบจำลองบิกแบง เราสามารถคำนวณความหนาแน่นของ ฮีเลียม-4 ฮีเลียม-3 ดิวเทอเรียม และลิเทียม-7 ในเอกภพออกมาได้ในสัดส่วนเทียบกับไฮโดรเจนปกติ อนุภาคส่วนเกินทั้งหมดขึ้นอยู่กับปัจจัยเพียงอย่างเดียว คือสัดส่วนของอนุภาคโฟตอนต่อแบริออน ซึ่งสามารถคำนวณอย่างอิสระได้จากโครงสร้างโดยละเอียดของการแกว่งตัวของไมโครเวฟพื้นหลัง คาดว่าสัดส่วนนี้ (เป็นสัดส่วนโดยมวล มิใช่โดยจำนวน) อยู่ที่ประมาณ 0.25 สำหรับ 4He/H, ประมาณ 10−3 สำหรับ ²H/H, ประมาณ 10−4 สำหรับ ³He/H และประมาณ 10−9 สำหรับ 7Li/H
อนุภาคส่วนเกินที่วัดได้ทั้งหมดมีค่าโดยประมาณอย่างน้อยเท่ากับค่าคาดการณ์จากสัดส่วนอนุภาคแบริออนต่อโฟตอน ค่านี้สอดคล้องอย่างยิ่งสำหรับดิวเทอเรียม ใกล้เคียงแต่ไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับ 4He และผิดพลาดไปสองเท่าสำหรับ 7Li ในสองกรณีหลังนี้มีความไม่แน่นอนอย่างเป็นระบบชัดแจ้งอยู่ อย่างไรก็ดี ความสอดคล้องของอนุภาคส่วนเกินที่ทำนายโดยบิกแบงนิวคลีโอซินทีสิสเป็นหลักฐานสำคัญอย่างยิ่งต่อทฤษฎีบิกแบง เพราะมีแต่เพียงทฤษฎีนี้ที่จะอธิบายอนุภาคที่สัมพันธ์กับอนุภาคแสง นอกจากนี้ยังไม่มีทางที่จะ "ปรับแต่ง" ทฤษฎีบิกแบงให้สามารถสร้างฮีเลียมมากหรือน้อยกว่า 20-30% ได้ อันที่จริงแล้วยังไม่มีเหตุผลที่ชัดเจนอื่นใดนอกจากทฤษฎีบิกแบงจะอธิบายสภาวะดังตัวอย่างเช่น เอกภพที่อายุน้อย (ก่อนที่ดาวฤกษ์จะก่อตัวขึ้น) จะมีฮีเลียมมากกว่าดิวเทอเรียม หรือมีดิวเทอเรียมมากกว่า 3He หรือมีสัดส่วนที่คงที่ หรืออื่นๆ ได้
ประเด็นปัญหาอื่นๆ ของทฤษฎี
แม้ในปัจจุบันไม่ค่อยมีนักวิจัยคนใดตั้งข้อสงสัยอีกแล้วว่า บิกแบงเคยเกิดจริงหรือไม่ แต่ครั้งหนึ่งในชุมชนนักวิทยาศาสตร์เคยมีความคิดแตกออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสนับสนุนบิกแบงและฝ่ายสนับสนุนแบบจำลองจักรวาลวิทยาอื่นๆ ตลอดช่วงเวลาวิวัฒนาการของทฤษฎี ข้อสงสัยในทฤษฎีบิกแบงมักเป็นการโต้เถียงในทำนองว่า แบบจำลองดีพอที่จะอธิบายผลสังเกตการณ์จักรวาลได้ทั้งหมดหรือไม่ จนเมื่อชุมชนนักวิทยาศาสตร์มีความเห็นเป็นเอกฉันท์สนับสนุนทฤษฎีนี้แล้ว ประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ก็ยังถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของความสนใจ การแก้ต่างข้อสงสัยเหล่านั้นเกิดขึ้นได้จากทั้งการดัดแปลงทฤษฎีให้ดีขึ้น หรือเมื่อได้รับผลสังเกตการณ์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับประเด็นปัญหาบางข้อที่ยังตกค้างอยู่เช่น ปัญหา cuspy halo หรือปัญหาดาราจักรแคระเกี่ยวกับสสารมืดเย็น ยังไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อทฤษฎีโดยตรง เพราะยังสามารถอธิบายได้หากมีการพัฒนารายละเอียดของทฤษฎีให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น
แนวคิดหลักของทฤษฎีบิกแบงคือ การขยายตัวของเอกภพ ภาวะร้อนยิ่งยวดในช่วงต้น การก่อตัวของฮีเลียม และการก่อตัวของดาราจักร แนวคิดเหล่านี้พัฒนาขึ้นมาจากผลสังเกตการณ์อิสระมากมาย รวมถึงการพบอนุภาคส่วนเกินของแสงจำนวนมาก การพบไมโครเวฟพื้นหลัง การพบโครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ และซูเปอร์โนวาประเภท Ia ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าทฤษฎีนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นองค์ประกอบอันแท้จริงของเอกภพของเรา
แบบจำลองบิกแบงยุคใหม่ที่มีความแม่นยำมากขึ้นดูจะช่วยอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่แปลกประหลาดหลายอย่างซึ่งไม่สามารถสังเกตการณ์ในห้องทดลองตามปกติ รวมถึงไม่เข้ากับแบบจำลองมาตรฐานของวิชาฟิสิกส์อนุภาค ในบรรดานี้ เรื่องที่ลึกลับที่สุดคือเรื่องของพลังงานมืดกับสสารมืด ส่วนการพองตัวกับปฏิกิริยาแบริโอเจเนซิสยังเป็นแค่เพียงการคาดเดา ทฤษฎีนี้ช่วยอธิบายปรากฏการณ์สำคัญในช่วงเริ่มต้นของเอกภพได้ อย่างไรก็ดีมันยังอาจถูกแทนที่โดยแนวคิดที่เป็นไปได้อื่นๆ โดยไม่มีผลกระทบต่อทฤษฎีส่วนที่เหลือ คำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์เหล่านี้ยังคงอยู่เพียงระดับชายเขตแดนแห่งปริศนาของฟิสิกส์เท่านั้น
ปัญหาเกี่ยวกับขอบฟ้า
ปัญหาขอบฟ้าเป็นผลจากหลักการพื้นฐานที่ว่า ข้อมูลไม่สามารถเดินทางได้ ในเอกภพที่มีอายุแน่นอน หลักการนี้ทำให้เกิดข้อจำกัด เรียกว่า ซึ่งแยกส่วนอวกาศสองบริเวณที่อยู่ติดกันออกจากกัน ปัญหาที่เกิดคือไอโซโทรปีที่สังเกตจากไมโครเวฟพื้นหลัง หากเอกภพครอบคลุมไปด้วยรังสีหรือสสารต่างๆ ตลอดเวลานับแต่จุดเริ่มยุคแห่งการกระจายตัวครั้งสุดท้าย ขอบฟ้าของอนุภาคในเวลานั้นย่อมมีเพียง 2 มิติในห้วงอวกาศ เหตุนั้นจึงไม่มีกลไกใดจะทำให้ย่านเหล่านี้มีอุณหภูมิเดียวกันได้
ข้อสรุปสำหรับความไม่สอดคล้องดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการพองตัว โดยเสนอว่าในช่วงเริ่มต้นของเอกภพ (ก่อนแบริโอเจเนซิส) มีสนามพลังงานเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นเนื้อเดียวกันและเหมือนกันในทุกทิศทางครอบคลุมอยู่ทั่วเอกภพ ระหว่างการพองตัว เอกภพมีการขยายตัวขึ้นแบบยกกำลัง ขอบฟ้าอนุภาคก็ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าที่เคยคาดคิด จนกระทั่งย่านอวกาศที่เคยอยู่คนละฝั่งของเอกภพที่สังเกตได้กลับกลายมาอยู่ภายใต้ขอบฟ้าอนุภาคของกันและกัน ไอโซโทรปีที่สังเกตจากไมโครเวฟพื้นหลังจึงเกิดตามมาโดยข้อเท็จจริงว่าย่านอวกาศที่ใหญ่ขึ้นมีการเชื่อมต่อกันก่อนการเริ่มต้นของการพองตัว
หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์กทำนายว่า ระหว่างช่วงการพองตัว อาจมีทำให้ขยายผลกระทบในระดับจักรวาล ความปั่นป่วนนี้เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของโครงสร้างกระแสทั้งหมดในเอกภพ ทฤษฎีการพองตัวคาดการณ์ว่าความปั่นป่วนในช่วงเริ่มแรกมีลักษณะ (scale invariance) และมี (Gaussian distribution) ซึ่งสามารถตรวจสอบยืนยันได้ด้วยการตรวจวัดรังสีไมโครเวฟพื้นหลัง
ปัญหาเกี่ยวกับความแบน/ความเก่าแก่
ปัญหาเกี่ยวกับความแบน (หรือที่รู้จักกันว่า ปัญหาเกี่ยวกับความเก่าแก่) เป็นปัญหาจากผลการสังเกตการณ์เกี่ยวกับมาตรวัด FLRW เอกภพอาจจะมีค่าของอวกาศที่เป็นบวก เป็นลบ หรือเป็นศูนย์ก็ได้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของพลังงานรวมทั้งหมด ความโค้งของอวกาศจะเป็นลบถ้าความหนาแน่นน้อยกว่าค่าความหนาแน่นวิกฤต เป็นบวกถ้าความหนาแน่นมากกว่า และเป็นศูนย์ถ้าความหนาแน่นเท่ากับความหนาแน่นวิกฤตพอดี ซึ่งเป็นกรณีที่กล่าวได้ว่าอวกาศ "แบน" ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การแยกตัวเล็กๆ จากความหนาแน่นวิกฤตเพิ่มขึ้นตามเวลา เอกภพทุกวันนี้ยังคงใกล้เคียงสภาพแบนอย่างมาก สมมุติว่าเส้นเวลาธรรมชาติของการแยกตัวจากความแบนมีค่าเท่า ก็ยังต้องหาคำอธิบายสำหรับข้อเท็จจริงที่ว่าเอกภพกำลังเข้าใกล้ภาวะ Heat Death หรือ Big Crunch หลังจากหลายพันปีผ่านไป กล่าวคือ แม้ในช่วงปลายของไม่กี่นาทีแรก (ในช่วงเวลานิวคลีโอซินทีสิส) เอกภพจะต้องมีค่า 1014 เท่าของความหนาแน่นวิกฤต มิฉะนั้นมันจะไม่สามารถมีสภาพดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ได้
ปัญหานี้อาจอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการพองตัวของเอกภพ ด้วยระหว่างช่วงเวลาของการพองตัว กาลอวกาศมีการขยายขอบเขตขึ้นอย่างมากจนความโค้งถูกปรับให้เรียบ เชื่อว่าการพองตัวผลักดันให้เอกภพมีสภาวะเข้าใกล้ความแบน ซึ่งเป็นสภาพใกล้เคียงกับความหนาแน่นวิกฤต
แม่เหล็กขั้วเดียว
ปัญหาเรื่องแม่เหล็กขั้วเดียวถูกหยิบยกขึ้นมาในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ทฤษฎีการรวมแรงครั้งใหญ่ ทำนายถึงในอวกาศที่อาจแสดงออกมาในรูปของแม่เหล็กขั้วเดียว สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างดีในเอกภพยุคแรกเริ่มที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้มีความหนาแน่นสูงกว่าอย่างมากเมื่อเทียบกับจุดสังเกต ปัญหานี้สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการพองตัวของจักรวาลเช่นเดียวกัน เนื่องจากมันจะลบจุดบกพร่องทั้งหมดออกจากเอกภพที่สังเกตได้ในวิธีเดียวกันกับผลทางเรขาคณิตที่กระทำกับความแบน
คำอธิบายต่อปัญหาขอบฟ้า ความแบน และแม่เหล็กขั้วเดียว ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพองตัวของจักรวาล มีที่มาจาก (Weyl curvature hypothesis)
อสมมาตรของแบริออน
จนถึงปัจจุบันยังไม่อาจเข้าใจได้ว่าทำไมในเอกภพจึงมีสสารมากกว่าปฏิสสาร โดยมากสันนิษฐานกันว่า ขณะที่เอกภพยังมีอายุน้อยและร้อนมาก มันเคยอยู่ในสภาวะสมดุลทางปริมาณและมีแบริออนกับปฏิแบริออนจำนวนเท่าๆ กัน อย่างไรก็ตามผลสังเกตการณ์บ่งชี้ว่า เอกภพทั้งมวลตลอดถึงบริเวณที่ไกลแสนไกลล้วนประกอบขึ้นด้วยสสารเกือบทั้งนั้น กระบวนการบางอย่างที่เรียกชื่อว่า "แบริโอเจเนซิส" เป็นต้นเหตุให้เกิดความไม่สมมาตรขึ้น การจะเกิดกระบวนการแบริโอเจเนซิส จะต้องบรรลุสภาวะของเสียก่อน นั่นคือจำนวนแบริออนจะไม่ถูกเก็บรักษาไว้ มีการทำลาย และ ทำให้เอกภพพ้นจากภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ เงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมดนี้ปรากฏอยู่ในแบบจำลองมาตรฐาน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่แน่นหนามากพอจะอธิบายปรากฏการณ์อสมมาตรของแบริออนได้
อายุของกระจุกดาวทรงกลม
ราวกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ผลที่ได้จากการสังเกตการณ์กระจุกดาวทรงกลมดูจะไม่สอดคล้องกับทฤษฎีบิกแบง แบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่สร้างจากผลสังเกตการณ์ประชากรดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมบ่งชี้ว่า มันมีอายุประมาณ 15,000 ล้านปี ซึ่งขัดแย้งกับอายุของเอกภพที่ประมาณไว้ที่ 13,700 ล้านปี ข้อขัดแย้งนี้ได้รับการปรับแก้ต่อมาในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เมื่อทำแบบจำลองคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งได้รวมผลกระทบของมวลที่สูญหายไปจากผลของลมดาวฤกษ์ ทำให้ได้อายุของกระจุกดาวทรงกลมที่ลดลง จึงยังคงมีปัญหาอยู่เพียงว่าจะสามารถวัดอายุของกระจุกดาวได้แม่นยำเพียงใด แต่กระจุกดาวทรงกลมก็นับได้ว่าเป็นวัตถุหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอกภพ
สสารมืด
ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึง 1980 ผลสังเกตการณ์มากมายแสดงให้เห็นว่า สสารที่มองเห็นได้ในเอกภพมีปริมาณไม่มากพอจะทำให้เกิดความเข้มของแรงโน้มถ่วงดังที่ปรากฏอยู่ภายในและระหว่างดาราจักร นำไปสู่แนวคิดที่ว่า สสารกว่า 90% ในเอกภพอาจจะเป็นสสารมืดที่ไม่เปล่งแสงหรือมีปฏิกิริยากับสสารแบริออนทั่วไป นอกจากนั้นสมมติฐานที่เอกภพส่วนใหญ่ประกอบด้วยสสารปกติทำให้การคาดการณ์ต่างๆ ไม่สอดคล้องกับผลสังเกตการณ์เลย กล่าวคือเอกภพจะเป็นกลุ่มก้อนมากเกินไปและมีดิวเทอเรียมน้อยเกินกว่าที่เป็นหากไม่มีสสารมืด แม้เมื่อแรกแนวคิดเรื่องสสารมืดจะเป็นที่โต้เถียงกันมาก แต่ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากข้อมูลสังเกตการณ์มากมาย เช่น แอนไอโซโทรปีในไมโครเวฟพื้นหลัง ความเร็วในการกระจายตัวของกระจุกดาราจักร การกระจายของโครงสร้างขนาดใหญ่ในจักรวาล การศึกษาเลนส์ความโน้มถ่วง และการตรวจวัดรังสีเอ็กซ์ในกระจุกดาราจักร เป็นต้น
หลักฐานการมีอยู่ของสสารมืดได้แก่อิทธิพลแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุอื่น โดยยังไม่สามารถสังเกตการณ์อนุภาคสสารมืดใดๆ ในห้องทดลองได้ มีการนำเสนอความเป็นไปได้ทางฟิสิกส์อนุภาคมากมาย และมีโครงการที่คอยตรวจจับค้นหาสสารมืดอยู่ในระหว่างดำเนินการอีกมาก
พลังงานมืด
การตรวจวัดความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไปทางแดงกับความสว่างของซูเปอร์โนวาประเภท Ia เปิดเผยให้เห็นถึงการขยายตัวของเอกภพในอัตราเร่งนับแต่เอกภพมีอายุประมาณครึ่งหนึ่งของปัจจุบัน เพื่ออธิบายอัตราเร่งการขยายตัว ต้องอาศัยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่กล่าวว่า พลังงานส่วนมากในเอกภพประกอบด้วยส่วนประกอบที่มีแรงดันติดลบอย่างมาก เรียกว่า "พลังงานมืด" มีหลักฐานอยู่หลายชิ้นที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของพลังงานมืด การตรวจวัดรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลชี้ว่าเอกภพมีรูปร่างเกือบจะแบน ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปแสดงว่าเอกภพจะต้องมีความหนาแน่นของมวลและพลังงานใกล้เคียงกับค่าความหนาแน่นวิกฤตมาก แต่เราสามารถตรวจวัดความหนาแน่นของมวลเอกภพได้จากการตรวจวัดความโน้มถ่วงแยกส่วน ซึ่งมีค่าความหนาแน่นประมาณ 30% ของค่าความหนาแน่นวิกฤต แต่เราไม่สามารถแยกส่วนการตรวจวัดพลังงานมืดด้วยวิธีปกติ มันจึงสามารถอธิบายได้ดีที่สุดเพียงว่าเป็นความหนาแน่นพลังงานที่ "หายไป" การตรวจวัดความโค้งโดยรวมของเอกภพสองวิธียังจำเป็นต้องใช้พลังงานมืด วิธีหนึ่งคือการวัดความถี่ของเลนส์ความโน้มถ่วง ส่วนอีกวิธีคือการพิจารณารูปแบบเฉพาะของโครงสร้างขนาดใหญ่ในฐานะไม้บรรทัดจักรวาล
แรงดันติดลบเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของ (vacuum energy) แต่ธรรมชาติที่แท้จริงของพลังงานมืดยังคงเป็นหนึ่งในความลึกลับอันยิ่งใหญ่ของบิกแบง นอกเหนือจากค่าคงที่จักรวาลและ (quintessence) ข้อมูลที่ได้จากทีมโครงการ WMAP เมื่อ ค.ศ. 2008 ที่รวมเอาข้อมูลจากรังสีไมโครเวฟพื้นหลังและแหล่งข้อมูลอื่น แสดงให้เห็นว่าเอกภพปัจจุบันประกอบด้วยพลังงานมืด 72% สสารมืด 23% สสารทั่วไป 4.6% และมีนิวตริโนอยู่เล็กน้อยที่ต่ำกว่า 1% ความหนาแน่นพลังงานในสสารลดต่ำลงเมื่อเอกภพขยายตัวมากขึ้น แต่ความหนาแน่นของพลังงานมืดยังคงมีค่าเท่าเดิม (หรือใกล้เดิมมาก) แม้เอกภพจะขยายตัวออกไป แม้สสารจะเคยเป็นสัดส่วนใหญ่ของพลังงานรวมของเอกภพในอดีตมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ในอนาคตสัดส่วนของมันจะลดลงเรื่อยๆ และพลังงานมืดจะกลายเป็นสัดส่วนใหญ่แทนที่
ตามแบบจำลอง ΛCDM ซึ่งเป็นแบบจำลองสำหรับบิกแบงที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ได้อธิบายพลังงานมืดว่าเป็นการแสดงออกถึงค่าคงที่จักรวาลในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทว่าขนาดของค่าคงที่ที่สามารถอธิบายพลังงานมืดได้กลับมีค่าน้อยมากอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับการประเมินคร่าวๆ ตามแนวคิดทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัม ความพยายามแยกแยะค่าคงที่จักรวาลกับคำอธิบายอื่นเกี่ยวกับพลังงานมืดยังคงเป็นหัวข้อวิจัยที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
อนาคตของเอกภพตามทฤษฎีบิกแบง
ก่อนจะสังเกตพบพลังงานมืด นักจักรวาลวิทยาคาดการณ์สภาวะอนาคตของเอกภพที่เป็นไปได้อยู่ 2 แบบ ถ้าความหนาแน่นมวลของเอกภพมีค่ามากกว่าความหนาแน่นวิกฤต เอกภพจะถึงจุดที่มีขนาดสูงสุดและเริ่มแตกสลาย จากนั้นจะเริ่มหนาแน่นขึ้นและร้อนขึ้นอีก และจบลงด้วยสภาวะที่ใกล้เคียงกับสภาวะเริ่มต้น เรียกว่า "" (Big Crunch) หรืออีกแบบหนึ่ง ถ้าความหนาแน่นของเอกภพเท่ากับหรือต่ำกว่าความหนาแน่นวิกฤต การขยายตัวจะช้าลง แต่ไม่ได้หยุด ไม่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่อีกเพราะแก๊สระหว่างดวงดาวถูกใช้ไปจนหมดแล้ว ดาวฤกษ์จะเผาผลาญตัวเองจนเหลือแต่ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ การปะทะระหว่างวัตถุเหล่านี้จะค่อยๆ ทำให้มวลรวมตัวกันเป็นหลุมดำที่ใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของเอกภพจะลดลงเรื่อยๆ จนเข้าใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ เป็นสภาวะ "" (Big Freeze) ยิ่งกว่านั้น หากโปรตอนไม่เสถียร สสารแบริออนจะหายไป เหลือแต่รังสีและหลุมดำ ผลต่อเนื่องคือหลุมดำจะระเหยไปด้วยการเปล่งรังสีฮอว์กิง เอนโทรปีของเอกภพจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ไม่มีพลังงานรูปแบบใดสามารถแยกตัวออกมาได้ สภาวการณ์นี้เรียกว่า "" (Heat Death)
การสังเกตการณ์การขยายตัวด้วยอัตราเร่งในยุคใหม่ทำให้ทราบว่าเอกภพที่เรามองเห็นในปัจจุบันจะผ่านพ้นขอบฟ้าเหตุการณ์ของเราไปเรื่อยๆ โดยไม่สามารถติดต่อกับเราได้ ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไรไม่อาจรู้ แบบจำลอง ΛCDM ของเอกภพพิจารณาพลังงานมืดในฐานะหนึ่งของค่าคงที่จักรวาล ทฤษฎีนี้ชี้ว่ามีเพียงระบบที่ยึดเหนี่ยวกันไว้ด้วยแรงโน้มถ่วง เช่นระบบดาราจักรต่างๆ จึงจะสามารถดำรงอยู่ด้วยกันได้ แต่สุดท้ายระบบเหล่านั้นก็มุ่งไปสู่สภาวะเช่นเดียวกันเมื่อเอกภพขยายตัวและเย็นลงจนถึงที่สุด ทฤษฎีอื่นเกี่ยวกับพลังงานมืดที่เรียกว่า ทฤษฎี (phantom energy theories) ชี้ว่ากระจุกดาราจักร ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อะตอม นิวเคลียส และสสารทั้งมวลสุดท้ายจะถูกฉีกออกจากกันเมื่อการขยายตัวของเอกภพไปถึงที่สุด เรียกว่าสภาวะ "" (Big Rip)
แนวคิดทางฟิสิกส์ที่เหนือกว่าทฤษฎีบิกแบง
ขณะที่แบบจำลองบิกแบงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในการศึกษาจักรวาลวิทยา ทฤษฎีนี้ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งต่อไปในอนาคตอีก สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงแรกสุดของการกำเนิดเอกภพนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจกันนัก ทฤษฎีซิงกูลาริตี้ของเพนโรส-ฮอว์กิงจำเป็นต้องอาศัยการมีอยู่ของซิงกูลาริตี้ ณ จุดเริ่มต้นเวลาของจักรวาล ทั้งนี้ทฤษฎีตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง แต่สัมพัทธภาพทั่วไปนั้นใช้การไม่ได้ในสภาวะเอกภพก่อนถึงระดับอุณหภูมิของพลังค์ นอกจากนี้แนวคิดของก็อาจทำให้ไม่มีทางเกิดซิงกูลาริตี้ขึ้นได้
แนวคิดอื่นๆ ซึ่งยังเป็นเพียงสมมติฐาน มิได้ผ่านการทดสอบ ได้แก่
- แบบจำลองซึ่งรวมถึง ว่า กาล-อวกาศ นั้นมีขอบเขตจำกัด บิกแบงได้แสดงถึงการมีขีดจำกัดของเวลา โดยไม่จำเป็นต้องมีซิงกูลาริตี้
- แบบจำลองจักรวาลวิทยาแบบผิว (brane cosmology) ซึ่งกล่าวว่า การพองตัวนั้นขึ้นกับการเคลื่อนที่ของผิวในทฤษฎีสตริง, แบบจำลองก่อนบิกแบง (Pre-big bang model), แบบจำลองจักรวาลเอคไพโรติค (ekpyrotic model) ซึ่งกล่าวว่าบิกแบงเป็นผลจากการแตกสลายระหว่างผิวในทฤษฎีสตริง, และแบบจำลองวงรอบ (cyclic model) ซึ่งดัดแปลงจากแบบจำลองเอคไพโรติคโดยกล่าวว่าการแตกสลายจะเกิดขึ้นเป็นรอบๆ
- (chaotic inflation) กล่าวว่าการพองตัวของเอกภพสิ้นสุดลงในแต่ละแห่งแบบสุ่ม จุดสิ้นสุดแต่ละจุดจะเป็นจุดเริ่มต้นของ เอกภพฟองสบู่ (bubble universe) ที่ขยายตัวออกไปใหม่จากจุดนั้นๆ เป็นบิกแบงของตัวมันเอง
สองแนวคิดสุดท้ายนี้มองว่าบิกแบงเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในเอกภพที่ใหญ่กว่าและเก่าแก่กว่า มิได้เป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริง แต่เป็นส่วนหนึ่งของพหุภพ (multiverse)
การตีความทางศาสนา
บิกแบงเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ทฤษฎีหนึ่งซึ่งยังต้องอาศัยการรับรองที่สอดคล้องกับผลสังเกตการณ์ แต่ในฐานะทฤษฎีที่กล่าวถึงต้นกำเนิดของความเป็นจริง มันจึงมีความเกี่ยวพันกับการตีความทางเทววิทยาและปรัชญาด้วย ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920-1930 นักจักรวาลวิทยากระแสหลักส่วนมากเห็นชอบกับความคิดว่า เอกภพนั้นดำรงคงอยู่ในสถานะนี้มาชั่วนิรันดร์ บางคนก็กล่าวหาว่า แนวคิดเรื่องจุดกำเนิดของเวลาในทฤษฎีบิกแบงนั้นเป็นการเอาแนวคิดทางศาสนามาใช้กับฟิสิกส์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกยกขึ้นมาโต้แย้งโดยฝ่ายผู้สนับสนุนทฤษฎีเอกภพคงที่ ทว่าแนวคิดเรื่องจุดกำเนิดนี้ก็แพร่ขยายขึ้นด้วยว่าผู้ให้กำเนิดแนวคิดทฤษฎีบิกแบง คือหลวงพ่อฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นั้นเป็นนักบวชในนิกายโรมันคาทอลิก
เมื่อมีการยอมรับทฤษฎีบิกแบงเป็นแนวคิดหลักในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพแล้ว ยังมีปฏิกิริยาตอบโต้หลายประการจากกลุ่มศาสนาต่างๆ ในแง่การตีความที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลในเชิงศาสนาซึ่งพวกเขาเคารพนับถือ บางกลุ่มยอมรับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตามข้อเท็จจริง บางกลุ่มพยายามกลมกลืนทฤษฎีบิกแบงให้เข้ากับหลักคำสอนในศาสนาของเขา และมีบางกลุ่มที่ปฏิเสธหลักฐานเกี่ยวกับบิกแบงโดยสิ้นเชิง
อ้างอิง
- Hubble, Edwin (1929). "A relation between distance and radial velocity among extra-galactic nebulae". . 15: 168–173. doi:0.1073/pnas.15.3.168.
{{}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
((help)) - BBC News - 'Big bang' astronomer dies
- Slipher, V. M.. "The radial velocity of the Andromeda nebula". Lowell Observatory Bulletin 1: 56–57.
Slipher, V. M.. "Spectrographic observations of nebulae". Popular Astronomy 23: 21–24. - Friedman, A (1922). "Über die Krümmung des Raumes". Z. Phys. 10: 377–386. doi:10.1007/BF01332580. (เยอรมัน) (ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ดูที่: เอ. ฟรีดแมน (1999). "On the Curvature of Space". General Relativity and Gravitation 31: 1991–2000. doi:10.1023/A:1026751225741.)
- Lemaître, G. (1927). "Un Univers homogène de masse constante et de rayon croissant rendant compte de la vitesse radiale des nébuleuses extragalactiques". Annals of the Scientific Society of Brussels 47A: 41. (ฝรั่งเศส) (ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ดูที่: "Expansion of the universe, A homogeneous universe of constant mass and growing radius accounting for the radial velocity of extragalactic nebulae" (1931). Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 91: 483–490.)
- Lema?tre, G. (1931). "The evolution of the universe: discussion". Nature 128: suppl.: 704. doi:10.1038/128704a0.
- E. Christianson (1995). Edwin Hubble: Mariner of the Nebulae. Farrar Straus & Giroux. .
- P. J. E. Peebles and Bharat Ratra (2003). "The cosmological constant and dark energy". Reviews of Modern Physics 75: 559–606. doi:10.1103/RevModPhys.75.559. ar?iv:astro-ph/0207347.
- E. A. Milne (1935). Relativity, Gravitation and World Structure. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด.
- R. C. Tolman (1934). Relativity, Thermodynamics, and Cosmology. ออกซฟอร์ด: สำนักพิมพ์คลาเรนดอน. LCCN 340-32023. พิมพ์ใหม่ (1987) นิวยอร์ก: โดเวอร์ .
- Zwicky, F (1929). "On the Red Shift of Spectral Lines through Interstellar Space". Proceedings of the National Academy of Sciences 15: 773–779. doi:10.1073/pnas.15.10.773. PMID 16577237.
- เฟรด ฮอยล์ (1948). "A New Model for the Expanding universe". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 108: 372.
- R. A. Alpher, H. Bethe, G. Gamow (1948). "The Origin of Chemical Elements". Physical Review 73: 803. doi:10.1103/PhysRev.73.803.
- R. A. Alpher and R. Herman (1948). "Evolution of the Universe". Nature 162: 774. doi:10.1045/march2004-featured.collection.
- Simon Singh. "Big Bang" 2007-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-05-28.
- Boggess, N.W., et al. (COBE collaboration) (1992). "The COBE Mission: Its Design and Performance Two Years after the launch". Astrophysical Journal 397: 420, Preprint No. 92–02. doi:10.1086/171797.
- D. N. Spergel et al. (WMAP collaboration) (2006). "Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) Three Year Results: Implications for Cosmology". เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-05-27.
- S. W. Hawking and G. F. R. Ellis (1973). The large-scale structure of space-time. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. .
- ยังไม่เป็นเอกฉันท์ว่าภาวะบิกแบงนี้กินเวลานานเท่าไร บางคนว่าเฉพาะภาวะเอกฐานเริ่มแรกเท่านั้น แต่บางคนก็เห็นว่าเป็นช่วงไม่กี่นาทีแรกที่ฮีเลียมเริ่มก่อตัวขึ้น
- G. Hinshaw, J. L. Weiland, R. S. Hill, N. Odegard, D. Larson, C. L. Bennett, J. Dunkley, B. Gold, M. R. Greason, N. Jarosik, E. Komatsu, M. R. Nolta, L. Page, D. N. Spergel, E. Wollack, M. Halpern, A. Kogut, M. Limon, S. S. Meyer, G. S. Tucker, E. L. Wright (2008). "Five-Year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe (WMAP) Observations: Data Processing, Sky Maps, and Basic Results" 2015-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Astrophys. J.
- Guth, Alan H. (1998). The Inflationary Universe: Quest for a New Theory of Cosmic Origins. Vintage. .
- Schewe, Phil, and Ben Stein (2005). "An Ocean of Quarks" 2005-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Physics News Update, American Institute of Physics 728 (#1). เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-05-27.
- Kolb, Edward; Michael Turner (1988). The Early Universe. Addison-Wesley. . อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "kolb" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - Peacock, John (1999). Cosmological Physics. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. .
- Ivanchik, A.V.; Potekhin, A.Y.; Varshalovich, D.A. (1999). "The Fine-Structure Constant: A New Observational Limit on Its Cosmological Variation and Some Theoretical Consequences". Astronomy and Astrophysics 343: 459.
- ทั้งนี้ไม่คำนึงถึงแอนไอโซโทรปีสองขั้วที่ระดับ 0.1% ที่เกิดจากความเร็วพิเศษของระบบสุริยะเมื่อผ่านสนามการแผ่รังสี
- Goodman, J. (1995). "Geocentrism Reexamined". Physical Review D 52: 1821. doi:10.1103/PhysRevD.52.1821.
- d'Inverno, R. (1992). "Chapter 23". Introducing Einstein's Relativity. Oxford (UK): สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด. .
- Gladders, Michael D.; Yee, H. K. C.; Majumdar, Subhabrata; Barrientos, L. Felipe; Hoekstra, Henk; Hall, Patrick B.; Infante, Leopoldo (มกราคม 2007). "Cosmological Constraints from the Red-Sequence Cluster Survey". The Astrophysical Journal 655 (1): 128–134. doi:10.1086/509909.
- นักดาราศาสตร์รายงานผลการตรวจวัดนี้ในรายงานฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 ว่าด้วยธรรมชาติชนิดหนึ่ง เรียกชื่อว่าอุณหภูมิไมโครเวฟพื้นหลัง ที่ค่าการเคลื่อนไปทางแดง 2.33771 มีการรายงานผลการค้นพบครั้งนี้ต่อสาธารณชนโดยหอดูดาวยุโรปใต้
- A. A. Penzias and R. W. Wilson (1965). "A Measurement of Excess Antenna Temperature at 4080 Mc/s". Astrophysical Journal 142: 419. doi:10.1086/148307.
- Steigman, Gary. "Primordial Nucleosynthesis: Successes And Challenges". arΧiv:astro-ph/0511534.
- ถ้าเรื่องการพองตัวเป็นจริง แบริโอเจเนซิสจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่ในทางกลับกันอาจไม่เป็นจริงก็ได้
- ที่จริงแล้ว พลังงานมืดในรูปของค่าคงที่จักรวาลจะผลักดันให้เอกภพมีรูปร่างเข้าใกล้ความแบน แต่เอกภพของเรามีสภาพเกือบจะแบนมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้ว ก่อนที่ความหนาแน่นของพลังงานมืดจะมีนัยสำคัญขึ้นมา
- Dicke, R.H.; Peebles, P.J.E.. "The big bang cosmology — enigmas and nostrums". Hawking, S.W. (ed); Israel, W. (ed) General Relativity: an Einstein centenary survey: 504–517, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
- Penrose, R. (1979). "Singularities and Time-Asymmetry". Hawking, S.W. (ed); Israel, W. (ed) General Relativity: An Einstein Centenary Survey: 581–638, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
- Penrose, R. (1989). "Difficulties with Inflationary Cosmology". Fergus, E.J. (ed) Proceedings of the 14th Texas Symposium on Relativistic Astrophysics: 249-264, New York Academy of Sciences. doi:10.1111/j.1749-6632.1989.tb50513.x.
- Sakharov, A.D. (1967). "Violation of CP Invariance, C Asymmetry and Baryon Asymmetry of the Universe". Zhurnal Eksperimentalnoi i Teoreticheskoi Fiziki, Pisma 5: 32. (รัสเซีย) (แปลเป็นภาษาอังกฤษอยู่ใน Journal of Experimental and Theoretical Physics Letters 5, 24 (1967).)
- Navabi, A.A.; Riazi, N. (2003). "Is the Age Problem Resolved?". Journal of Astrophysics and Astronomy 24: 3.
- Keel, B.. "Dark Matter". เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-05-28.
- Yao, W.M., et al. (2006). "Review of Particle Physics". Journal of Physics G 33: 1–1232. doi:10.1088/0954-3899/33/1/001. Chapter 22: Dark matter PDF (152 KB).
- Caldwell, R.R; Kamionkowski, M.; Weinberg, N.N. (2003). "Phantom Energy and Cosmic Doomsday". Physical Review Letters 91: 071301. doi:10.1103/PhysRevLett.91.071301. arΧiv:astro-ph/0302506.
- Hawking, S.W. (1973). The Large Scale Structure of Space-Time. Cambridge (UK): . ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|cautors=
ถูกละเว้น ((help)) - (1983). "Wave Function of the Universe". . 28: 2960. doi:10.1103/PhysRevD.28.2960.
- Langlois, D. (2002). "Brane Cosmology: An Introduction". arXiv:hep-th/0209261.
{{}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
((help)) - Linde, A. (2002). "Inflationary Theory versus Ekpyrotic/Cyclic Scenario". arXiv:hep-th/0205259.
{{}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
((help)) - Than, K. (2006). "Recycled Universe: Theory Could Solve Cosmic Mystery". . สืบค้นเมื่อ 2007-07-03.
- Kennedy, B.K. (2007). . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 2007-07-03.
- Linde, A. (1986). "Eternal Chaotic Inflation". Modern Physics Letters. A1: 81.
- Linde, A. (1986). "Eternally Existing Self-Reproducing Chaotic Inflationary Universe". . 175: 395–400. doi:10.1016/0370-2693(86)90611-8.
- Kragh, H. (1996). Cosmology and Controversy. Princeton (NJ): . ISBN .
- People and Discoveries: Big Bang Theory, www.pbs.org
- Wright, E.L (24 May 2009). "Cosmology and Religion". Ned Wright's Cosmology Tutorial. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
- จักรวาลวิทยา 2009-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก Open Directory Project (อังกฤษ)
- Cosmic Journey: A History of Scientific Cosmology 2008-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สถาบันฟิสิกส์อเมริกัน. (อังกฤษ)
- Feuerbacher, Björn; Ryan Scranton (2006). หลักฐานของบิกแบง (อังกฤษ)
- Misconceptions about the Big Bang. Scientific American (มีนาคม 2005). (อังกฤษ)
- ไม่กี่ไมโครวินาทีแรก. Scientific American (พฤษภาคม 2006). (อังกฤษ)
- การขยายตัวของเอกภพ - แบบจำลองมาตรฐานของบิกแบง. มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ, astro-ph (กุมภาพันธ์ 2008). (อังกฤษ)
- วิษณุ เอื้อชูเกียรติ, เอกภพจบตรงไหน ? 2016-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ (ไทย)
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bikaebng xngkvs Big Bang karraebidkhrngihy epnaebbcalxngkhxngkarkaenidaelawiwthnakarkhxngexkphphinckrwalwithyasungidrbkarsnbsnuncakhlkthanthangwithyasastraelacakkarsngektkarnthiaetktangkncanwnmak nkwithyasastrodythwipichkhaniklawthungaenwkhidkarkhyaytwkhxngexkphphhlngcaksphawaaerkerimthithngrxnaelahnaaennxyangmakinchwngewlacakdrayahnunginxdit aelayngkhngdaeninkarkhyaytwxyucnthunginpccubntamthvsdibikaebng ckrwalmicudkaenidmacaksphaphthimikhwamhnaaennsungaelarxn aelackrwalmikarkhyaytwxyutlxdewlabthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha chxrch elxaemthr nkwithyasastraelaphraormnkhathxlik epnphuesnxaenwkhidkarkaenidkhxngexkphph sungtxmaruckkninchux thvsdibikaebng inebuxngaerkekhaeriykthvsdiniwa smmtithanekiywkbxatxmaerkerim hypothesis of the primeval atom xelksanedxr fridaemn thakarkhanwnaebbcalxngodymikrxbkarphicarnaxyubnphunthankhxngthvsdismphththphaphthwipkhxngxlebirt ixnsitn txmainpi kh s 1929 exdwin hbebilkhnphbwa rayahangkhxngdarackrmisdswnthiepliynaeplngsmphnthkbkarekhluxnipthangaedng karsngektkarnnibngchiwa darackraelakracukdawxnhangiklkalngekhluxnthixxkcakcudsngekt sunghmaykhwamwaexkphphkalngkhyaytw yingtaaehnngdarackriklyingkhun khwamerwpraktkyingephimmakkhun hakexkphphinpccubnkalngkhyaytw aesdngwakxnhnani exkphphyxmmikhnadelkkwa hnaaennkwa aelarxnkwathiepnxyu aenwkhidnimikarphicarnaxyanglaexiydyxnipcnthungradbkhwamhnaaennaelaxunhphumithicudsungsud aelaphlsrupthiidksxdkhlxngxyangyingkbphlcakkarsngektkarn thwakarephimkhxngxtraerngmikhxcakdinkartrwcsxbsphawaphlngnganthisungkhnadnn hakimmikhxmulxunthichwyyunynsphawaerimtnchwkhnakxnkarraebid laphngthvsdibikaebngkyngimsamarthichxthibaysphawaerimtnid mnephiyngxthibaykrabwnkarepliynaeplngkhxngexkphphthiekidkhunhlngcaksphawaerimtnethann khawa bikaebng thicringepnkhalxeliynsungekidkhunemuxnkdarasastrchux efrd hxyl tngicduhminaelathalaykhwamnaechuxthuxkhxngthvsdithiekhaehnwaimmithangepncring inkarxxkxakasthangwithyukhrnghnungemuxpi kh s 1949 inewlatxma hxylidchwysuksaphlkrathbkhxngniwekhliyrinkarkxekidthatumwlhnkthiidcakthatusungmimwlnxykwa xyangirkdi karkhnphbrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwalinpi kh s 1964 yingthaihnkwithyasastrswnihyimsamarthptiesththvsdibikaebngidprawtithvsdibikaebngphthnakhunmacakkarsngektkarnokhrngsrangexkphphrwmkbkarphicarnathvsditang thiepnipid inpi kh s 1912 ewsot sliefxr wdkhakarekhluxnkhxngdxpeplxrkhrngaerkkhxng enbiwlachnidknhxy epnchuxekathiekhyicheriykdarackrchnidknhxy aelatxmakkhnphbwa enbiwlaaethbthnghmdkalngekhluxnthixxkhangcakolk ekhamiidsrupaenwkhidthangckrwalwithyacakkhxethccringni xnthicringinchwngyukhnnyngepnthithkethiyngknxyumakwa enbiwlaehlaniepn exkphphekaa thixyuphaynxkdarackrthangchangephuxkhruxim sibpitxma xelksanedxr fridaemn nkckrwalwithyaaelankkhnitsastrchawrsesiyidphthnasmkarfridaemnkhuncakthvsdismphththphaphthwipkhxngixnsitn aesdngihehnwaexkphphkalngkhyaytwxyu sungkhdaeyngkbaebbcalxngexkphphsthitthiixnsitnsnbsnunxyu pi kh s 1924 exdwin hbebil trwcwdrayahangkhxngenbiwlachnidknhxythiiklthisud phlkartrwcaesdngihehnwa rabbdawehlannthiaethepndarackrxun emuxthungpi kh s 1927 chxrch elxaemthr phrakhathxliknkfisikschawebleyiym thakarphthnasmkarkhxngfridaemnodyxisra phlthiidthaihkhadkarnidwakarthxyhangkhxngenbiwlaepnphlenuxngcakkarkhyaytwkhxngexkphph kh s 1931 elxaemthrphthnangankhxngekhakhubhnaipxik aelaesnxaenwkhidwa karthiexkphphmikarkhyaytwemuxewlaedinlwnghnaip caepncringidktxemuxexkphphmikarhdtwlngemuxewlaedinyxnklb aelacaepnechnnniperuxy cnkwaexkphphcahdtwimidxiktxip thaihmwlthnghmdkhxngexkphphxdaennepncud hnung khux xatxmaerkerim n cudidcudhnungkhxngkalewlakxnthiewlaaelaxwkascathuxkaenidkhun n cudnnyngimmiokhrngsrangkhxngewlaaelaxwkasid thvsdinisathxnkhwamechuxekaaekkxnhnaniekiywkbikhckrwal cosmic egg sungepncuderimtnkhxngexkphph thangdankhxnghbebilkphyayamphthnatwchiwdrayathanghlayrupaebbnbaet kh s 1924 sungepnkarebikthangkhxngbnidrayahangkhxngckrwal ekhaichklxngothrthrrsnhukekxr khnad 100 niw 2 500 mm thihxdudawemathwilsn thaihsamarthpraeminrayahangrahwangdarackridcakphlkartrwcwdkarekhluxnipthangaedng sungmikarwdkhaiwkxnhnaniaelwodysliefxr hbebilkhnphbkhwamekiywphnrahwangrayathangkbkhwamerwinkarekhluxnthxyinpi kh s 1929 pccubnkhwamsmphnthkhxniepnthiruckinchux kdkhxnghbebil ngankhxngelxaemthrsnbsnunphlnganchinni aelaekhaidsranghlkkarphunthanckrwalwithyakhun phaphwaddawethiym WMAP kalngrwbrwmkhxmulthangwithyasastrephuxihnkwithyasastrthakhwamekhaickbbikaebng tlxdkhristthswrrs 1930 mithvsdiaelaaenwkhidtang ekidkhunmakmayephuxphyayamxthibayphlsngektkarnkhxnghbebil rwmthung Milne Model thvsdi esnxodyfridaemn aelaidrbkarsnbsnuncakixnsitnkbrichard othlaemn aelakhxsmmtithan khxngfrits chwikki hlngcaksngkhramolkkhrngthisxng miaenwkhidthiepnipidaetktangknxyusxngaenwthang thanghnungepnaenwkhideruxngaebbcalxngsphawasmmulkhxngefrd hxyl sungehnwacamissarihmekidkhunrahwangthiexkphphkhyaytw aenwkhidniexkphphcamisphawaaethbcakhngthi n cudid khxngewla xikaenwkhidhnungepnthvsdibikaebngkhxngelxaemthr sungidphthnatxmaodycxrc kaomw phuesnxthvsdibikaebngniwkhlioxsinthisis aelaepnphurwmthimkbralf xlefxr aelaorebirt ehxrmn inkarthanaypraktkarnkhxngkaraephrngsiimokhrewfphunhlng aetcawaipaelw hxylnnexngthiepnphunawlimaoyngkbthvsdikhxngelxaemthr odyeriykthvsdiniwa ecaaenwkhidaebbbikaebngni rahwangkarxxkxakasthangsthaniwithyubibisiemuxeduxnminakhm kh s 1949 nkwithyasastrtangaebngxxkepnsxngphwksnbsnunthvsdithngsxngthangni inewlatxmaaenwkhidhlngerimepnthiniymmakkwa karkhnphbimokhrewfphunhlnginpi kh s 1964 chwyyunynwacudkaenidaelaphthnakarkhxngckrwalsxdkhlxngkbaenwkhidaebbthvsdibikaebngmakkwa karsuksackrwalwithyatamaenwkhidbikaebngmikarkawkraoddkhrngihyinchwngplaykhristthswrrs 1990 enuxngmacakkhwamkawhnaxyangmakkhxngethkhonolyiklxngothrthrrsn tlxdcnphlkarwiekhraahkhxmulcanwnmakcakdawethiymtang echn cak COBE cakklxngothrthrrsnxwkashbebil aelacak WMAP pccubnkarsuksackrwalwithyamikhxmulaelaekhruxngmuxwdthiaemnyamakmaythichwytrwcsxbpccytang khxngaebbcalxngbikaebng thaihekidkarkhnphbxnimkhadfnwa exkphphduehmuxncakalngkhyaytwxyudwykhwamerwthiephimkhunphaphrwmkhxngthvsdiesnewlakhxngbikaebng esnewlakhxngbikaebng duraylaexiydthi phaphesnewlakhxngbikaebng emuxphicarnatrrkacakkarkhyaytwkhxngexkphphodyichthvsdismphththphaphthwip hakewlayxnhlngipcathaihkhwamhnaaennaelaxunhphumimikhasungkhunxyangimcakdkhnathiewlainxditcakdxyukhahnungphawaexkthanechnniepnipimidephraakhdaeyngkbthvsdismphththphaphthwip epnthithkethiyngknxyumakkwaerasamarthpramanphawaexkthanidiklskephiyngihn sungimmithangpramanipidmakekinkwayukhkhxngphlngkh phawaerimaerkthimikhwamrxnaelakhwamhnaaennsungxyangyingniexngthieriykwa bikaebng aelathuxknwaepn cudkaenid khxngexkphphkhxngera cakphlkartrwcwdkarkhyaytwkhxngsuepxronwapraephth Ia kartrwcwdkhwamaeprepliynkhxngxunhphumiinimokhrewfphunhlng aelakartrwcwdladbwiwthnakarkhxngdarackr echuxwaexkphphmixayupraman 13 73 0 12 phnlanpi karthiphltrwcwdthngsamwithiihkhaxxkmaiklekhiyngknepnkaryunynsnbsnunaebbcalxngaelmbda sidiexm LCDM thixthibayxyanglaexiydthungxngkhprakxbtang inexkphph mikarkhadedathungsphawaerimaerkkhxngbikaebngiptang nana aetaebbcalxngthiepnthiyxmrbmakthisudkhux exkphphthnghmdepnenuxediywknaelamismbtiehmuxn kninthukthisthangodymikhwamhnaaennkhxngphlngnganthisungmak mixunhphumiaelakhwamdnsungmak txmacungkhyaytwxxkinthnthithnidaelamixunhphumildlng pramanwain 10 35 winathikhxngkarkhyaytwepnsphawakarphxngtwkhxngexkphphsungetibotkhunxyangrwderwaebb hlngcaksinsudsphawakarphxngtw exkphphprakxbdwyphlasmakhwark kluxxnaelaxnuphakhmulthanthnghmd xunhphumiyngkhngsungmakthaihkarekhluxnthikhxngxnuphakhtang mikhwamerwsmphththsung khuxnuphakhaelaptiyanuphakhthnghmdyngmikarekidihmaelaaetkdblngipinkarpatha txmacungekidptikiriyabangxyangthieriykwa aebrioxecensis thalayphawasmdulinkarrksacanwnaebrixxn ekidepnkhwarkaelaelptxnkhunmacanwnhnungthimakkwaaexntikhwarkaelaaexntielptxnpraman 1 in 30 lanswn sungepntnehtuthaihmissarmakkwaptissarinexkphphpccubn exkphphyngkhngkhyaytwxyangtxenuxngaelamixunhphumildlng thaihphlngnganodythwipinaetlaxnuphakhldlngdwy yukh Symmetry breaking thaihaerngphunthanthangfisiksaelapharamietxrtang khxngxnuphakhmulthanklaymaxyuinrupaebbdngechnpccubn hlngcakphanip 10 11 winathi phaphkarkhadedaknxylng ephraaphlngngankhxngxnuphakhldlnglngthungradbthisamarthxthibayiddwykarthdlxngfisiksxnuphakh thiewla 10 6 winathi khwarkaelakluxxnrwmtwknklayepnxnuphakhaebrixxncanwnhnungechn oprtxn aelaniwtrxn primankhwarkthimimakkwaaexntikhwarkxyuelknxythaihxnuphakhaebrixxnmimakkwaaexntiaebrixxnechnediywkn thungewlanixunhphumikhxngexkphphkimsungphxthicasrangkhuoprtxn aexntioprtxnihmxikaelw thanxngediywknkbniwtrxnaelaaexntiniwtrxn cungekidkarthalaymwlkhrngihy ehluxephiyng 1 in 1010 khxngoprtxnaelaniwtrxnintxnerimtn aelaimmiptiyanuphakhkhxngphwkmnehluxxyuely krabwnkarediywknniekidkhunxikinewlapraman 1 winathisahrbxielktrxnaelaophsitrxn hlngcakphnchwngkarthalaymwl oprtxn niwtrxn aelaxielktrxnthiehluxkimmikhwamerwsmphththsungyingywdxiktxip aetoftxnklayepnxngkhprakxbsakhykhxngkhwamhnaaennphlngngankhxngexkphph aelabthbathelknxyxikswnhnungodyniwtrion imkinathitxmaexkphphkerimkarkhyaytw emuxxunhphumimikhapraman 1 phnlanekhlwin aelamikhwamhnaaennpramankhwamhnaaennkhxngxakas niwtrxnrwmtwekhakboprtxnklayepnniwekhliyskhxngdiwethxeriymaelahieliym sungepnkrabwnkarthieriykwa bikaebngniwkhlioxsinthisis oprtxnswnihyyngkhngimidrwmtw dngechnniwekhliyskhxngihodrecn emuxexkphpheynlng khwamhnaaennphlngnganmwlkhxngssarthiehluxkerimmixiththiphlehnuxkaraephrngsikhxngoftxn hlngcakphanip 379 000 pi xielktrxnkbniwekhliysrwmtwekhaipinxatxm swnihyepnihodrecn thaihkaraephrngsiaeyktwcakssaraelaaephripinhwngxwkasxyangirekhtcakd karaephrngsinimiphlhlngehluxxyudngthipccubnruckkninchux karaephrngsikhxsmikimokhrewfphunhlng twxyangdarackrcanwnmakinxwkashwnglukmakkhxnghbebil sungmixayuinyukhobranemuxkhrngexkphphyngeyaw ynghnaaennkwaaelarxnkwapccubn tamthvsdibikaebng ewlaphanipxikeninnan yanrxbnxkaeknklangthimikhwamhnaaennecuxcangkwaerimmikarcbtwkbssariklekhiyngaelaephimkhwamhnaaennkhxngtnmakkhun kxtwepnklumemkhaeks dawvks darackr aelaokhrngsrangxun thangdarasastrthierasngektehnidinpccubn raylaexiydkhxngkrabwnkarehlanikhunkbprimanaelapraephthkhxngssarthimixyuinexkphph ssarthiepnipidsamchnididaek ssarmudeyn ssarmudrxn aelassaraebrixxn cakekhruxngmuxwddithisudethathieramixyu khuxdawethiym WMAP aesdngihehnwaswnprakxbsakhykhxngssarinexkphphkhuxssarmudeyn swnssarxiksxngchnidmixyuepncanwnimthung 18 khxngssarthnghmdinexkphph praktkarnthiepnxisracakknkhxngkarekidsuepxronwapraephth Ia kbimokhrewfphunhlngsungsrangexkphphdngechnthukwnni idrbxiththiphlcakphlngnganluklbchnidhnungsungruckinchux phlngnganmud thiducaaethrksumxyuthwipinxwkas phlkarsngektkarnbngchiwa 72 khxngkhwamhnaaennphlngnganthnghmdkhxngexkphphinpccubnepnphlngnganinrupaebbdngklawni emuxkhrngthiexkphphyngmixayunxy phlngnganmudxaccaaethrksumekhamabang aetemuxewlathithuksingthukxyangyngxyuiklknmakaelamichxngwangxyunxy aerngonmthwngcungmixiththiphlmakkwa aelaphyayamcachalxkaraephkhyaytwkhxngexkphphxyangcha xyangirkdihlngcakkarkhyaytwkhxngexkphphphaniphlayphnlanpi phlngnganmudthimixyumakmaymhasalkerimthaihkarkhyaytwmixtraerngephimkhunthilanxy erasamarthaeplngphlngnganmudihxyuinrupaebbxyangngayinkhakhngthickrwalkhxngtamthvsdismphththphaphthwip aetxngkhprakxbaelaklikkhxngphlngnganniyngimepnthiekhaic raylaexiydkhxngsmkarsphawaaelakhwamsmphnthkhxngphlngngannikbaebbcalxngmatrthaninwichafisiksxnuphakhyngkhngxyuinrahwangkarkhnhathngodykarefasngektkarnaelaodykarwicythangthvsdi wiwthnakarkhxngckrwalthnghmdhlngcakyukhkhxngkarphxngtwsamarthxthibayiddwyaebbcalxngaelmbda sidiexmxnepnaebbcalxngckrwalwithya odyichkrxbsngektkarnxisrakhxngklsastrkhwxntmkbthvsdismphththphaphthwipkhxngixnsitn xyangirkdi dngidklawiwaelwkhangtnwa aebbcalxngethathimixyuyngimsamarthichxthibaysingthiekidkhunkxnchwngewla 10 15 winathiaerkid thvsdirwmaerngihm xyangechnthvsdionmthwngechingkhwxntmepnkhwamphyayamthicakhamphnkhxcakdnn khwamekhaicinsphawaaerkeriminprawtisastrkhxngexkphphepnhnunginpyhathiyingihythisudinthangfisiksthiyngimsamarthkhnhakhatxbid smmtithanhlk smmtithanhlkkhxngthvsdibikaebngmixyu 2 prakarkhux khwamepnexkphaphkhxng aelahlkkarphunthanckrwalwithya aenwkhidkhxnghlkkarphunthanckrwalwithyakhuxexkphphinradbmhphakhmikhwamepnenuxediywknaelaehmuxnknhmdinthukthisthang edimaenwkhidehlanithuxepnhlkphunthansakhy aetinpccubnmikarphyayamthdsxbsmmtithanehlanixyuhlaykhrng twxyangechn karthdsxbsmmtithanaerkdwyphlsngektkarnthiaesdngwakhakhngthiokhrngsranglaexiydmikhwamphidephiynthiepnipidxyangmakthungxndb 10 5 emuxephimmakkhun hruxthvsdismphththphaphthwipthitxngphaninkrnikhxngrabbsuriyaaelarabbdawkhu ephuxthikhxmulinradbckrwalcatxngsxdkhlxngkbphlsngektkarnaelakarkhadkarntamthvsdibikaebng thaexkphphradbihymikhwamepnhnungediywkninmummxngcakolk hlkkarphunthanckrwalwithyasamarththxdkhwamidcakhlkkarphunthanokhepxrnikhsthingaykwa sungklawwaimmiphusngekthruxcudsngektidepnphiess dngni hlkkarphunthanckrwalwithyacungidrbkarrbrxnginradb 10 5 phankarsngektkarnrngsiimokhrewfphunhlng phltrwcwdexkphphaesdngthungkhwamepnenuxediywkninseklihythisudthiradb 10 matrwd FLRW thvsdismphththphaphthwipxthibayeruxngkhxngkalxwkasdwy sungklawthungrayahangthiaebngcudiklekhiyng cudehlanisungxacepnidthngdarackr dawvks hruxwtthuxun cathukrabutaaehnngdwyaephnphumiphikdhrux krid grid thiwangxyubnphunkhxngkalxwkasthnghmd cakhlkkarphunthanckrwalwithyakahndihmatranicatxngepnenuxediywknaelamismbtiehmuxnknthukthisthang cungidepn hrux matrwd FLRW prakxbdwytwprakxbkhnad scale factor thibxkthungkhnadepliynaeplngkhxngexkphphtamewla thaihidepnrabbphikdaebbngaykhun eriykwa inrabbphikdni kridcakhyaytwkhuntamexkphph aelawtthuthixyuningbntaaehnngkridedimkekhluxnthiiptamkarkhyaytwkhxngexkphph khnathirayahangphikd comoving distance epnkhakhngthi rayahangthangkayphaphrahwangcud comoving sxngcudcaephimkhunepnsdswntamtwprakxbkhnadkhxngexkphph bikaebngimichkarraebidkhxngssarthiekhluxnxxkipephuxetimetmexkphphxnwangepla twxwkasnntanghakthikhyaytwxxkiptamewlainthukhnthukaehngaelathaihrayahangthangkayphaphkhxngcud comoving sxngcudephimmakkhun aetenuxngcakmatrwd FLRW thuxwakarkracaytwkhxngmwlaelaphlngnganepnipxyangsmaesmx mncungichkbexkphphechphaainradbkhnadihyethann swnkarrwmtwkhxngssarinradbthxngthinechndarackrcamiaerngonmthwngdungdudphukphnexaiw cungimidrbphlkrathbcakkarkhyaytwtamtwprakxbkhnadkhxngxwkas khxbfa khunsmbtithisakhykhxng kalxwkas inbikaebng khuxkarmixyukhxngkhxbfa inemuxexkphphmixayuthicakdaennxn aelaaesngkedinthangdwykhwamerwthicakdkhahnung cungxacmibangehtukarninxditthiaesngimmiewlaphxcaedinthangmathungeraid thaihekidkhxcakdhrux khxbfaxdit bnwtthuxnhangiklthisudethathisngektid inthangklbkn inemuxxwkaskalngkhyaytw wtthuxnhangiklkkalngekhluxnhangxxkiperwyingkhun aesngthisngcaktwerainwnnicungimmiwncailtamthnwtthuiklchinnnid thaihekid khxbfaxnakht thicakdkhxbekhtkhxngehtukarninxnakhtthieraxacsngxiththiphlthung kardarngxyukhxngkhxbfathngsxngchnidnikhunxyukbraylaexiydkhxngaebbcalxng FLRW thixthibaythungexkphphkhxngera tamkhwamekhaicekiywkbexkphphkhxngerayxnipcnthungyukherimaerkbngchiwanacamikhxbfaxditxyucring aemwainthangptibtiaelwmummxngkhxngeracathukcakddwykhwamthubaesngkhxngexkphphinyukhaerkerim dngnnhakexkphphyngkhngkhyaytwdwyxtraerng khxbfaxnakhtknacamixyucringechnediywknkhxmulkarsngektkarnkhxmulkarsngektkarnchudaerksudthisxdkhlxngkbthvsdiniidaek karsngektkarnkarkhyaytwaebbhbebilthiphbinkarekhluxnipthangaedngkhxngehladarackr kartrwcphbkaraephrngsikhxngimokhrewfphunhlng aelaprimankhxngxnuphakhaesngcanwnmak duin bikaebngniwkhlioxsinthisis bangkhrngeriykthngsamsingniwaepnesahlkkhxngthvsdibikaebng karsngektkarnxun inyukhtxmatangsnbsnunihehnphaphrwmchdecnyingkhun odyechphaakarkhnphbkhunlksnaxnhlakhlaykhxngokhrngsrangkhnadihykhxngckrwal sungtrngkbkarkhadkarnkarkhyaytwkhxngokhrngsrangexkphphphayitaerngonmthwngtamthvsdimatrthankhxngbikaebng kdkhxnghbebilaelakarkhyaytwkhxngxwkas phlcakkarsngektkarndarackraelaekhwsarxniklophnphbwawtthuehlannmikarekhluxnipthangaedng klawkhux aesngthisngxxkmacakwtthuehlannmikhwamkhladekhluxnkhxngkhwamyawkhlunthiyawmakkhun erasamarthmxngehnidodykartrwcsxbsepkhtrmkhwamthikhxngwtthuepriybethiybkbrupaebbkarepliynaeplnginkarkracayhruxdudklunaethbkhlunkhwamthithisxdkhlxngkbptikiriyarahwangxnuphakhthangekhmikbaesng praktkarnkarekhluxnipthangaedngthiphblwnsxdkhlxngepnxnhnungxnediywknaemcathakarsngektkarnwtthuehlanninthisthangtang kn hakxthibaykarekhluxnipthangaedngdwypraktkarndxpeplxr eracasamarthkhanwnkhwamerwkhxngwtthuthiehluxmchalngid sahrbdarackrbangaehng mikhwamepnipidmakthicapramanrayahangdwybnidrayahangkhxngckrwal emuxnakhwamerwthiehluxmlngmaepriybethiybkbrayahangthikhanwnid eracaidsmkarkhwamsmphnthechingesnsungruckkninchuxkdkhxnghbebil dngni v H0D displaystyle v H 0 D dd odythi v displaystyle v hmaythung khwamerwehluxmlngkhxngdarackrhruxwtthuhangikl D displaystyle D hmaythung rayahangrahwangkarekhluxnthikhxngwtthuthisngekt H0 displaystyle H 0 hmaythung khakhngthikhxnghbebil sungxyurahwang 70 10 1 3 kiolemtr winathi emkapharesk odywdcak WMAP dd kdkhxnghbebilsamarthxthibaykhwamepnipidxyusxngthang thanghnungkhuxeraxyuthisunyklangkhxngkarraebidkhxngdarackr sungkhdaeyngkbhlkkarphunthanokhepxrnikhsxyanghlikeliyngimid xikthanghnungkhuxexkphphmikarkhyaytwxyangsmaesmxkninthuk aehng karkhyaytwxyangepnexkphaphniekhymikarthanayidkxnhnaniaelwcaksmkarsmphththphaphthwipkhxngxelksanedxr fridaemn thikhanwniwinpi kh s 1922 aelacakngankhxngchxrch elxaemthr inpi kh s 1927 kxnhnathihbebilcathakarsngektkarnaelawiekhraahxxkmainpi kh s 1929 aelamnyngepnhlkkarsakhykhxngthvsdibikaebngthiphthnakhunodyfridaemn elxaemthr orebirtsn aelawxlkhekxr thvsdinimienguxnikhxyuwa khwamsmphnth v HD displaystyle v HD catxngdarngxyutlxdewla emux D epnrayahangthiaethcring v dD dt displaystyle v dD dt aela v displaystyle v H displaystyle H D displaystyle D lwnaetepliynaeplngkhaipemuxexkphphkhyaytw ehtunieracungtxngekhiynwa H0 displaystyle H 0 ephuxrabu khakhngthi khxnghbebil n wnpccubn enuxngcakrayahangthisngektmikhanxykwakhnadkhxngexkphphinsngektkarnxyangmak praktkarnekhluxnipthangaedngkhxnghbebilcungsamarthphicarnaodyichhlkkarediywknkbpraktkarndxpeplxrid xyangirkdi phungtrahnkwakarekhluxnipthangaedngimichkarkhladekhluxnaebbediywkbdxpeplxr epnaetephiyngphlcakkarkhyaytwkhxngexkphphrahwangchwngewlahnung aelaaesngmikareplngxxkmarahwangchwngewlathisngektxyu hwngxwkasthixyuphayitmatrwdkarkhyaytwaesdngxxkmaihehnidcakkarsngektkarnodytrngkhxnghlkkarphunthanckrwalwithyaaelahlkkarphunthanokhepxrnikhs sungemuxphicarnarwmkbkdkhxnghbebilaelwkimmikhaxthibayxunidxik karekhluxnipthangaednginthangdarasastrthuxepnpraktkarnechphaatwthiepnhnungediyw mnchwysnbsnunaenwkhidhlkkarphunthanckrwalwithyawa exkphphmihnataehmuxnknhmdimwacamxngcakthisthangid rwmthungkhxmulsngektkarnxun xikmak thakarekhluxnipthangaedngniepnphlcakkarraebidtwxxkcakcudsunyklangaehngxunsungimichtaaehnngkhxngera mnimkhwrihphaphthikhlaykhlungkncakkarmxnginmumtangknid kartrwcphbphlkaraephrngsikhxsmikcakimokhrewfphunhlngcakkarekhluxnihwkhxngrabbfisiksdarasastrxnhangiklaehnghnungemuxpi kh s 2000 chwyphisucnhlkkarphunthankhxngokhepxrnikhs thiwaolkimidxyuthitaaehnngsunyklangaemaetinradbkhxngckrwal karaephrngsicakbikaebngehnidchdwaexkphphinchwngtncaxbxunkwainthukhnthukaehng kareynlngxyangthwthungknkhxngimokhrewfphunhlngtlxdchwnghlayphnlanpithiphanmaepnkarxthibayxyangchdecnwa exkphphekhyaetkhyaytwxxkethann thngniimnbkhwamepnipidthiwaeraxyuiklcudsunyklangkhxngkarraebidinkhrawnn karaephrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwal phaphcakdawethiym WMAP aesdngprimankaraephrngsiimokhrewfphunhlng inchwngewlaimkiwnaerkkhxngexkphph exkphphxyuinsphawasmdulkhwamrxnxyangsmburn oftxnyngkhngeplngaesngaeladudklunaesngxyangsmaesmx karaephrngsicungwdidehmuxnsepkhtrmkhxngwtthuda emuxexkphphkhyaytwkhun xunhphumikeynlngcnkrathngoftxnimxacekidkhunihmaelaimxacthukthalaylng aemxunhphumicayngkhngsungmakphxthixielktrxnaelaniwekhliyscayngaeykknxyu aetoftxnxyuinphawa sathxn xyangkhngthitxxielktrxnxisraehlani epnkrabwnkarthieriykwa Thomson scattering phlcakkarkracaythisaipsamani thaihexkphphinyukhaerkepnsingthubaesng emuxxunhphumikhxngexkphphldlngehluximkiphnekhlwin xielktrxnaelaniwekhliyserimrwmtwknklayepnxatxm epnkrabwnkarthieriykwa karrwmtw recombination emuxoftxnkracaytwxyangimsmaesmxcakxatxmthiepnklang karaephrngsikaeyktwcakssarinewlathixielktrxnidrwmtwknipcnekuxbhmd nnkhuxyukhkhxngkarkracaykhnsudthay khux 379 000 pihlngcakbikaebng oftxnehlaniepntnkaenidkhxngimokhrewfphunhlngdngthierasngektphbinpccubn rupaebbkaraekwngtwkhxngimokhrewfphunhlngepnphaphodytrngkhxngexkphphinyukhaerkerimni phlngngankhxngoftxnmikarkhladekhluxnipinewlatxmatamkarkhyaytwkhxngexkphph aemcadarngsphawawtthudaxyuaetkidthaihxunhphumildnxylng sunghmaykhwamwaoftxnehlannidldradbphlngnganlngmaxyuinyanimokhrewfkhxngsepktrmkhlunaemehlkiffa echuxwakaraephrngsinisamarthsngektphbidinthuktaaehnnginexkphph aelamacakthukthisthukthangdwyradbkhwamekhmthi ekuxbca ethaknthnghmd pi kh s 1964 xaron ephnsixs aela orebirt wilsn khnphbkaraephrngsiphunhlngckrwalodybngexiykhnathakartrwcwiekhraahodyichxupkrntrwccbkhlunimokhrewftwihmkhxnghxngthdlxngebll karkhnphbkhxngphwkekhaihkhxmulmakphxthicathanayimokhrewfphunhlngid karaephrngsimilksnaepnexkphaphaelasxdkhlxngkbsepkhtrmwtthuda karkhnphbniyngchwysngesrimaenwkhidfaykhxngthvsdibikaebng khnathiewlannaenwkhidtang yngimxacexachnakhdngangknid ephnsixskbwilsnidrbrangwloneblsahrbkarkhnphbkhrngni pi kh s 1989 nasasngdawethiymsarwcphunhlngckrwal Cosmic Background Explorer COBE khunsuxwkas aelakarkhnphbxyangaerkthipraktinpi kh s 1990 khuxkhxsnbsnunaenwkhidkhxngbikaebngekiywkbimokhrewfphunhlng dawethiym COBE phbxunhphumithiehluxxyu 2 726 K txmainpi kh s 1992 ksamarthtrwcphbsphaphkaraekwngtwkhxngimokhrewfphunhlngidepnkhrngaerkcxhn si emethxr aelacxrc smuth idrbrangwloneblinthanaphunainkarkhnphbkhrawni tlxdthswrrstxmakarsuksakaraekwngtwkhxngimokhrewfphunhlngkdaeninkartxodyichbxlluntrwckarnaelakickrrmphakhphundincanwnmak rahwangpi kh s 2000 2001 mikarthdlxngtang makmay thioddednkhuxklumthdlxng okhrngkarbumemxaerng phwkekhaphbwaexkphphmisphaphkhxnkhangaebnemuxtrwcethiybkbkhnadechingmumtampktikhxngkaraekwngtw duephimin ruprangkhxngexkphph chwngtnpi kh s 2003 phlkartrwcsxbkhrngaerkkhxngdawethiymsarwckhlunimokhrewfwilkinsn Wilkinson Microwave Anisotropy satellite WMAP idepidephykhaxngkhprakxbkhxngckrwalbangswnthiaemnyaxyangyingsungpraktxyuinchwngewlann dawethiymdwngniyngphisucnkhanaebbcalxngkarphxngtwkhxngckrwalhlaychud aetphltrwcwdsxdkhlxngkbthvsdikarphxngtwodythw ip mnyngchwyyunyndwywamiaephsanxyuthwipthukhnaehnginexkphph khxmulnichdecnwa dawvksklumaerk txngichewlamakkwaharxylanpiinkarsrangklumixkhxsmik cosmic fog khun dawethiymxikdwnghnungthimilksnakhlaykhlungknkhux Planck Surveyor cathuksngkhunsuxwkasinxikimkipikhanghnani sungcamixupkrntrwcwdkhakaraekwngtwkhxngimokhrewfphunhlngthilaexiydaemnyamakyingkhun karaephrngsiphunhlngniraberiybepnphiess thaihsamarthxthibaykhxpyhaekiywkbkarkhyaytwxyangthrrmdasungnacahmaykhwamwa oftxnthiekhluxnmacakfngtrngkhamkhxngthxngfanacamacakekhtaednthiimekhytidtxkbikhrmakxn khaxthibaythiepnipidsahrbsphawasmdulxnhangiklknnikhux exkphphmichwngewlakarraebidaelakhyaytwxyangsungephiyngewlasn eraxaceriykwa karphxngtw phlkkhuxyantang inexkphphthukchikxxkcakkninsphawasmdul exkphphthierasngektkarnxyucungmacakyanthismdulaelamithukxyangehmuxn kn xnuphakhmulthanswnekin dwyaebbcalxngbikaebng erasamarthkhanwnkhwamhnaaennkhxng hieliym 4 hieliym 3 diwethxeriym aelaliethiym 7 inexkphphxxkmaidinsdswnethiybkbihodrecnpkti xnuphakhswnekinthnghmdkhunxyukbpccyephiyngxyangediyw khuxsdswnkhxngxnuphakhoftxntxaebrixxn sungsamarthkhanwnxyangxisraidcakokhrngsrangodylaexiydkhxngkaraekwngtwkhxngimokhrewfphunhlng khadwasdswnni epnsdswnodymwl miichodycanwn xyuthipraman 0 25 sahrb 4He H praman 10 3 sahrb H H praman 10 4 sahrb He H aelapraman 10 9 sahrb 7Li H xnuphakhswnekinthiwdidthnghmdmikhaodypramanxyangnxyethakbkhakhadkarncaksdswnxnuphakhaebrixxntxoftxn khanisxdkhlxngxyangyingsahrbdiwethxeriym iklekhiyngaetimepnthiyxmrbsahrb 4He aelaphidphladipsxngethasahrb 7Li insxngkrnihlngnimikhwamimaennxnxyangepnrabbchdaecngxyu xyangirkdi khwamsxdkhlxngkhxngxnuphakhswnekinthithanayodybikaebngniwkhlioxsinthisisepnhlkthansakhyxyangyingtxthvsdibikaebng ephraamiaetephiyngthvsdinithicaxthibayxnuphakhthismphnthkbxnuphakhaesng nxkcakniyngimmithangthica prbaetng thvsdibikaebngihsamarthsranghieliymmakhruxnxykwa 20 30 id xnthicringaelwyngimmiehtuphlthichdecnxunidnxkcakthvsdibikaebngcaxthibaysphawadngtwxyangechn exkphphthixayunxy kxnthidawvkscakxtwkhun camihieliymmakkwadiwethxeriym hruxmidiwethxeriymmakkwa 3He hruxmisdswnthikhngthi hruxxun idpraednpyhaxun khxngthvsdiaeminpccubnimkhxyminkwicykhnidtngkhxsngsyxikaelwwa bikaebngekhyekidcringhruxim aetkhrnghnunginchumchnnkwithyasastrekhymikhwamkhidaetkxxkepnsxngfay khuxfaysnbsnunbikaebngaelafaysnbsnunaebbcalxngckrwalwithyaxun tlxdchwngewlawiwthnakarkhxngthvsdi khxsngsyinthvsdibikaebngmkepnkarotethiynginthanxngwa aebbcalxngdiphxthicaxthibayphlsngektkarnckrwalidthnghmdhruxim cnemuxchumchnnkwithyasastrmikhwamehnepnexkchnthsnbsnunthvsdiniaelw praednkhxsngsytang kyngthukbnthukiwepnprawtisastrkhxngkhwamsnic karaektangkhxsngsyehlannekidkhunidcakthngkarddaeplngthvsdiihdikhun hruxemuxidrbphlsngektkarnthichdecnyingkhun sahrbpraednpyhabangkhxthiyngtkkhangxyuechn pyha cuspy halo hruxpyhadarackraekhraekiywkbssarmudeyn yngimthuxwaepnxupsrrkhtxthvsdiodytrng ephraayngsamarthxthibayidhakmikarphthnaraylaexiydkhxngthvsdiihlaexiydrxbkhxbmakkhun aenwkhidhlkkhxngthvsdibikaebngkhux karkhyaytwkhxngexkphph phawarxnyingywdinchwngtn karkxtwkhxnghieliym aelakarkxtwkhxngdarackr aenwkhidehlaniphthnakhunmacakphlsngektkarnxisramakmay rwmthungkarphbxnuphakhswnekinkhxngaesngcanwnmak karphbimokhrewfphunhlng karphbokhrngsrangkhnadihykhxngexkphph aelasuepxronwapraephth Ia imepnthisngsyelywathvsdinimikhwamsakhyxyangyingaelaepnxngkhprakxbxnaethcringkhxngexkphphkhxngera aebbcalxngbikaebngyukhihmthimikhwamaemnyamakkhunducachwyxthibaypraktkarnthangfisiksthiaeplkprahladhlayxyangsungimsamarthsngektkarninhxngthdlxngtampkti rwmthungimekhakbaebbcalxngmatrthankhxngwichafisiksxnuphakh inbrrdani eruxngthiluklbthisudkhuxeruxngkhxngphlngnganmudkbssarmud swnkarphxngtwkbptikiriyaaebrioxecensisyngepnaekhephiyngkarkhadeda thvsdinichwyxthibaypraktkarnsakhyinchwngerimtnkhxngexkphphid xyangirkdimnyngxacthukaethnthiodyaenwkhidthiepnipidxun odyimmiphlkrathbtxthvsdiswnthiehlux khaxthibaysahrbpraktkarnehlaniyngkhngxyuephiyngradbchayekhtaednaehngprisnakhxngfisiksethann pyhaekiywkbkhxbfa pyhakhxbfaepnphlcakhlkkarphunthanthiwa khxmulimsamarthedinthangid inexkphphthimixayuaennxn hlkkarnithaihekidkhxcakd eriykwa sungaeykswnxwkassxngbriewnthixyutidknxxkcakkn pyhathiekidkhuxixosothrpithisngektcakimokhrewfphunhlng hakexkphphkhrxbkhlumipdwyrngsihruxssartang tlxdewlanbaetcuderimyukhaehngkarkracaytwkhrngsudthay khxbfakhxngxnuphakhinewlannyxmmiephiyng 2 mitiinhwngxwkas ehtunncungimmiklikidcathaihyanehlanimixunhphumiediywknid khxsrupsahrbkhwamimsxdkhlxngdngklawsamarthxthibayiddwythvsdikarphxngtw odyesnxwainchwngerimtnkhxngexkphph kxnaebrioxecensis misnamphlngnganephiynghnungediywthiepnenuxediywknaelaehmuxnkninthukthisthangkhrxbkhlumxyuthwexkphph rahwangkarphxngtw exkphphmikarkhyaytwkhunaebbykkalng khxbfaxnuphakhkkhyaytwkhunxyangrwderwyingkwathiekhykhadkhid cnkrathngyanxwkasthiekhyxyukhnlafngkhxngexkphphthisngektidklbklaymaxyuphayitkhxbfaxnuphakhkhxngknaelakn ixosothrpithisngektcakimokhrewfphunhlngcungekidtammaodykhxethccringwayanxwkasthiihykhunmikarechuxmtxknkxnkarerimtnkhxngkarphxngtw hlkkhwamimaennxnkhxngihesnebirkthanaywa rahwangchwngkarphxngtw xacmithaihkhyayphlkrathbinradbckrwal khwampnpwnniepnehmuxncuderimtnkhxngokhrngsrangkraaesthnghmdinexkphph thvsdikarphxngtwkhadkarnwakhwampnpwninchwngerimaerkmilksna scale invariance aelami Gaussian distribution sungsamarthtrwcsxbyunyniddwykartrwcwdrngsiimokhrewfphunhlng pyhaekiywkbkhwamaebn khwamekaaek rupthrngerkhakhnitkhxngexkphphinaebbtang imwamikhanxykwa ethakb hruxmakkwa 1 phaphcakbnlnglang exkphphpidthimikhwamokhngepnbwk exkphphihephxroblikthimikhwamokhngepnlb aelaexkphphaebnthimikhakhwamokhngepnsuny pyhaekiywkbkhwamaebn hruxthiruckknwa pyhaekiywkbkhwamekaaek epnpyhacakphlkarsngektkarnekiywkbmatrwd FLRW exkphphxaccamikhakhxngxwkasthiepnbwk epnlb hruxepnsunykidkhunxyukbkhwamhnaaennkhxngphlngnganrwmthnghmd khwamokhngkhxngxwkascaepnlbthakhwamhnaaennnxykwakhakhwamhnaaennwikvt epnbwkthakhwamhnaaennmakkwa aelaepnsunythakhwamhnaaennethakbkhwamhnaaennwikvtphxdi sungepnkrnithiklawidwaxwkas aebn pyhathiekidkhunkhux karaeyktwelk cakkhwamhnaaennwikvtephimkhuntamewla exkphphthukwnniyngkhngiklekhiyngsphaphaebnxyangmak smmutiwaesnewlathrrmchatikhxngkaraeyktwcakkhwamaebnmikhaetha kyngtxnghakhaxthibaysahrbkhxethccringthiwaexkphphkalngekhaiklphawa Heat Death hrux Big Crunch hlngcakhlayphnpiphanip klawkhux aeminchwngplaykhxngimkinathiaerk inchwngewlaniwkhlioxsinthisis exkphphcatxngmikha 1014 ethakhxngkhwamhnaaennwikvt michannmncaimsamarthmisphaphdngthiepnxyuthukwnniid pyhanixacxthibayiddwythvsdikarphxngtwkhxngexkphph dwyrahwangchwngewlakhxngkarphxngtw kalxwkasmikarkhyaykhxbekhtkhunxyangmakcnkhwamokhngthukprbiheriyb echuxwakarphxngtwphlkdnihexkphphmisphawaekhaiklkhwamaebn sungepnsphaphiklekhiyngkbkhwamhnaaennwikvt aemehlkkhwediyw pyhaeruxngaemehlkkhwediywthukhyibykkhunmainchwngplaykhristthswrrs 1970 thvsdikarrwmaerngkhrngihy thanaythunginxwkasthixacaesdngxxkmainrupkhxngaemehlkkhwediyw singniekidkhunidxyangdiinexkphphyukhaerkerimthimixunhphumisung thaihmikhwamhnaaennsungkwaxyangmakemuxethiybkbcudsngekt pyhanisamarthxthibayiddwythvsdikarphxngtwkhxngckrwalechnediywkn enuxngcakmncalbcudbkphrxngthnghmdxxkcakexkphphthisngektidinwithiediywknkbphlthangerkhakhnitthikrathakbkhwamaebn khaxthibaytxpyhakhxbfa khwamaebn aelaaemehlkkhwediyw swnthiekiywkhxngkbkarphxngtwkhxngckrwal mithimacak Weyl curvature hypothesis xsmmatrkhxngaebrixxn cnthungpccubnyngimxacekhaicidwathaiminexkphphcungmissarmakkwaptissar odymaksnnisthanknwa khnathiexkphphyngmixayunxyaelarxnmak mnekhyxyuinsphawasmdulthangprimanaelamiaebrixxnkbptiaebrixxncanwnetha kn xyangirktamphlsngektkarnbngchiwa exkphphthngmwltlxdthungbriewnthiiklaesnikllwnprakxbkhundwyssarekuxbthngnn krabwnkarbangxyangthieriykchuxwa aebrioxecensis epntnehtuihekidkhwamimsmmatrkhun karcaekidkrabwnkaraebrioxecensis catxngbrrlusphawakhxngesiykxn nnkhuxcanwnaebrixxncaimthukekbrksaiw mikarthalay aela thaihexkphphphncakphawasmdulthangxunhphlsastr enguxnikhtang thnghmdnipraktxyuinaebbcalxngmatrthan aetphllphththiidyngimaennhnamakphxcaxthibaypraktkarnxsmmatrkhxngaebrixxnid xayukhxngkracukdawthrngklm rawklangkhristthswrrs 1990 phlthiidcakkarsngektkarnkracukdawthrngklmducaimsxdkhlxngkbthvsdibikaebng aebbcalxngkhxmphiwetxrthisrangcakphlsngektkarnprachakrdawvksinkracukdawthrngklmbngchiwa mnmixayupraman 15 000 lanpi sungkhdaeyngkbxayukhxngexkphphthipramaniwthi 13 700 lanpi khxkhdaeyngniidrbkarprbaektxmainchwngplaykhristthswrrs 1990 emuxthaaebbcalxngkhxmphiwetxrihm sungidrwmphlkrathbkhxngmwlthisuyhayipcakphlkhxnglmdawvks thaihidxayukhxngkracukdawthrngklmthildlng cungyngkhngmipyhaxyuephiyngwacasamarthwdxayukhxngkracukdawidaemnyaephiyngid aetkracukdawthrngklmknbidwaepnwtthuhnungthimixayuekaaekthisudinexkphph ssarmud aesdngswnprakxbkhxngkhwamhnaaennphlngnganchnidtang thimixyuinexkphphthisxdkhlxngkbaebbcalxng LCDM thisud praman 95 khxngphlngnganthnghmdxyuinrupkhxngssarmudaelaphlngnganmud rahwangkhristthswrrs 1970 thung 1980 phlsngektkarnmakmayaesdngihehnwa ssarthimxngehnidinexkphphmiprimanimmakphxcathaihekidkhwamekhmkhxngaerngonmthwngdngthipraktxyuphayinaelarahwangdarackr naipsuaenwkhidthiwa ssarkwa 90 inexkphphxaccaepnssarmudthiimeplngaesnghruxmiptikiriyakbssaraebrixxnthwip nxkcaknnsmmtithanthiexkphphswnihyprakxbdwyssarpktithaihkarkhadkarntang imsxdkhlxngkbphlsngektkarnely klawkhuxexkphphcaepnklumkxnmakekinipaelamidiwethxeriymnxyekinkwathiepnhakimmissarmud aememuxaerkaenwkhideruxngssarmudcaepnthiotethiyngknmak aetpccubnidrbkaryunyncakkhxmulsngektkarnmakmay echn aexnixosothrpiinimokhrewfphunhlng khwamerwinkarkracaytwkhxngkracukdarackr karkracaykhxngokhrngsrangkhnadihyinckrwal karsuksaelnskhwamonmthwng aelakartrwcwdrngsiexksinkracukdarackr epntn hlkthankarmixyukhxngssarmudidaekxiththiphlaerngonmthwngthimitxwtthuxun odyyngimsamarthsngektkarnxnuphakhssarmudid inhxngthdlxngid mikarnaesnxkhwamepnipidthangfisiksxnuphakhmakmay aelamiokhrngkarthikhxytrwccbkhnhassarmudxyuinrahwangdaeninkarxikmak phlngnganmud kartrwcwdkhwamsmphnthrahwangkarekhluxnipthangaedngkbkhwamswangkhxngsuepxronwapraephth Ia epidephyihehnthungkarkhyaytwkhxngexkphphinxtraerngnbaetexkphphmixayupramankhrunghnungkhxngpccubn ephuxxthibayxtraerngkarkhyaytw txngxasythvsdismphththphaphthwipthiklawwa phlngnganswnmakinexkphphprakxbdwyswnprakxbthimiaerngdntidlbxyangmak eriykwa phlngnganmud mihlkthanxyuhlaychinthibngchithungkarmixyukhxngphlngnganmud kartrwcwdrngsiimokhrewfphunhlngkhxngckrwalchiwaexkphphmiruprangekuxbcaaebn tamthvsdismphththphaphthwipaesdngwaexkphphcatxngmikhwamhnaaennkhxngmwlaelaphlngnganiklekhiyngkbkhakhwamhnaaennwikvtmak aeterasamarthtrwcwdkhwamhnaaennkhxngmwlexkphphidcakkartrwcwdkhwamonmthwngaeykswn sungmikhakhwamhnaaennpraman 30 khxngkhakhwamhnaaennwikvt aeteraimsamarthaeykswnkartrwcwdphlngnganmuddwywithipkti mncungsamarthxthibayiddithisudephiyngwaepnkhwamhnaaennphlngnganthi hayip kartrwcwdkhwamokhngodyrwmkhxngexkphphsxngwithiyngcaepntxngichphlngnganmud withihnungkhuxkarwdkhwamthikhxngelnskhwamonmthwng swnxikwithikhuxkarphicarnarupaebbechphaakhxngokhrngsrangkhnadihyinthanaimbrrthdckrwal aerngdntidlbepnkhunsmbtixyanghnungkhxng vacuum energy aetthrrmchatithiaethcringkhxngphlngnganmudyngkhngepnhnunginkhwamluklbxnyingihykhxngbikaebng nxkehnuxcakkhakhngthickrwalaela quintessence khxmulthiidcakthimokhrngkar WMAP emux kh s 2008 thirwmexakhxmulcakrngsiimokhrewfphunhlngaelaaehlngkhxmulxun aesdngihehnwaexkphphpccubnprakxbdwyphlngnganmud 72 ssarmud 23 ssarthwip 4 6 aelaminiwtrionxyuelknxythitakwa 1 khwamhnaaennphlngnganinssarldtalngemuxexkphphkhyaytwmakkhun aetkhwamhnaaennkhxngphlngnganmudyngkhngmikhaethaedim hruxikledimmak aemexkphphcakhyaytwxxkip aemssarcaekhyepnsdswnihykhxngphlngnganrwmkhxngexkphphinxditmakkwathiepnxyuinpccubn aetinxnakhtsdswnkhxngmncaldlngeruxy aelaphlngnganmudcaklayepnsdswnihyaethnthi tamaebbcalxng LCDM sungepnaebbcalxngsahrbbikaebngthidithisudinpccubn idxthibayphlngnganmudwaepnkaraesdngxxkthungkhakhngthickrwalinthvsdismphththphaphthwip thwakhnadkhxngkhakhngthithisamarthxthibayphlngnganmudidklbmikhanxymakxyangimnaechuxemuxethiybkbkarpraeminkhraw tamaenwkhidthvsdionmthwngechingkhwxntm khwamphyayamaeykaeyakhakhngthickrwalkbkhaxthibayxunekiywkbphlngnganmudyngkhngepnhwkhxwicythidaeninkarxyuinpccubnxnakhtkhxngexkphphtamthvsdibikaebngkxncasngektphbphlngnganmud nkckrwalwithyakhadkarnsphawaxnakhtkhxngexkphphthiepnipidxyu 2 aebb thakhwamhnaaennmwlkhxngexkphphmikhamakkwakhwamhnaaennwikvt exkphphcathungcudthimikhnadsungsudaelaerimaetkslay caknncaerimhnaaennkhunaelarxnkhunxik aelacblngdwysphawathiiklekhiyngkbsphawaerimtn eriykwa Big Crunch hruxxikaebbhnung thakhwamhnaaennkhxngexkphphethakbhruxtakwakhwamhnaaennwikvt karkhyaytwcachalng aetimidhyud immikarkxtwkhxngdawvksihmxikephraaaeksrahwangdwngdawthukichipcnhmdaelw dawvkscaephaphlaytwexngcnehluxaetdawaekhrakhaw dawniwtrxn aelahlumda karpatharahwangwtthuehlanicakhxy thaihmwlrwmtwknepnhlumdathiihykhunaelaihykhun xunhphumiechliykhxngexkphphcaldlngeruxy cnekhaiklsunyxngsasmburn epnsphawa Big Freeze yingkwann hakoprtxnimesthiyr ssaraebrixxncahayip ehluxaetrngsiaelahlumda phltxenuxngkhuxhlumdacaraehyipdwykareplngrngsihxwking exnothrpikhxngexkphphcaephimkhuncnthungcudthiimmiphlngnganrupaebbidsamarthaeyktwxxkmaid sphawkarnnieriykwa Heat Death karsngektkarnkarkhyaytwdwyxtraernginyukhihmthaihthrabwaexkphphthieramxngehninpccubncaphanphnkhxbfaehtukarnkhxngeraiperuxy odyimsamarthtidtxkberaid phllphthcaepnechnirimxacru aebbcalxng LCDM khxngexkphphphicarnaphlngnganmudinthanahnungkhxngkhakhngthickrwal thvsdinichiwamiephiyngrabbthiyudehniywkniwdwyaerngonmthwng echnrabbdarackrtang cungcasamarthdarngxyudwyknid aetsudthayrabbehlannkmungipsusphawaechnediywknemuxexkphphkhyaytwaelaeynlngcnthungthisud thvsdixunekiywkbphlngnganmudthieriykwa thvsdi phantom energy theories chiwakracukdarackr dawvks dawekhraah xatxm niwekhliys aelassarthngmwlsudthaycathukchikxxkcakknemuxkarkhyaytwkhxngexkphphipthungthisud eriykwasphawa Big Rip aenwkhidthangfisiksthiehnuxkwathvsdibikaebngphaphwadodysilpinaesdngkarkhyaytwkhxngexkphph odythixwkas rwmthungswnprakxbthangthvsdithiyngimsamarthsngektkarnidinexkphph inaetlachwngewlaaesdngaethnthiodyphakhtdwngklm sngektwa thangsaymuxkhxngkarkhyaytw imepnsdswntamkhnad khuxsingthiekidkhuninyukhkarphxngtw swntrngklangkarkhyaytwephimkhunxyangmixtraerng phaphcak NASA 2006 khnathiaebbcalxngbikaebngepnthiyxmrbxyangkwangkhwanginkarsuksackrwalwithya thvsdinikyngcaepntxngidrbkarprbaetngtxipinxnakhtxik singthiekidkhuninchwngaerksudkhxngkarkaenidexkphphnnyngimepnthiekhaicknnk thvsdisingkularitikhxngephnors hxwkingcaepntxngxasykarmixyukhxngsingkulariti n cuderimtnewlakhxngckrwal thngnithvsditngxyubnphunthanthiwa thvsdismphththphaphthwipepnthvsdithithuktxng aetsmphththphaphthwipnnichkarimidinsphawaexkphphkxnthungradbxunhphumikhxngphlngkh nxkcakniaenwkhidkhxngkxacthaihimmithangekidsingkularitikhunid aenwkhidxun sungyngepnephiyngsmmtithan miidphankarthdsxb idaek aebbcalxngsungrwmthung wa kal xwkas nnmikhxbekhtcakd bikaebngidaesdngthungkarmikhidcakdkhxngewla odyimcaepntxngmisingkulariti aebbcalxngckrwalwithyaaebbphiw brane cosmology sungklawwa karphxngtwnnkhunkbkarekhluxnthikhxngphiwinthvsdistring aebbcalxngkxnbikaebng Pre big bang model aebbcalxngckrwalexkhiphortikh ekpyrotic model sungklawwabikaebngepnphlcakkaraetkslayrahwangphiwinthvsdistring aelaaebbcalxngwngrxb cyclic model sungddaeplngcakaebbcalxngexkhiphortikhodyklawwakaraetkslaycaekidkhunepnrxb chaotic inflation klawwakarphxngtwkhxngexkphphsinsudlnginaetlaaehngaebbsum cudsinsudaetlacudcaepncuderimtnkhxng exkphphfxngsbu bubble universe thikhyaytwxxkipihmcakcudnn epnbikaebngkhxngtwmnexng sxngaenwkhidsudthaynimxngwabikaebngepnephiyngpraktkarnhnungthiekidkhuninexkphphthiihykwaaelaekaaekkwa miidepncuderimtnthiaethcring aetepnswnhnungkhxngphhuphph multiverse kartikhwamthangsasnabikaebngepnthvsdithangwithyasastrthvsdihnungsungyngtxngxasykarrbrxngthisxdkhlxngkbphlsngektkarn aetinthanathvsdithiklawthungtnkaenidkhxngkhwamepncring mncungmikhwamekiywphnkbkartikhwamthangethwwithyaaelaprchyadwy inchwngkhristthswrrs 1920 1930 nkckrwalwithyakraaeshlkswnmakehnchxbkbkhwamkhidwa exkphphnndarngkhngxyuinsthananimachwnirndr bangkhnkklawhawa aenwkhideruxngcudkaenidkhxngewlainthvsdibikaebngnnepnkarexaaenwkhidthangsasnamaichkbfisiks sungepnpraednthithukykkhunmaotaeyngodyfayphusnbsnunthvsdiexkphphkhngthi thwaaenwkhideruxngcudkaenidnikaephrkhyaykhundwywaphuihkaenidaenwkhidthvsdibikaebng khuxhlwngphxchxrch elxaemthr nnepnnkbwchinnikayormnkhathxlik emuxmikaryxmrbthvsdibikaebngepnaenwkhidhlkinkarsuksackrwalwithyaechingkayphaphaelw yngmiptikiriyatxbothlayprakarcakklumsasnatang inaengkartikhwamthiekiywkhxngkbckrwalinechingsasnasungphwkekhaekharphnbthux bangklumyxmrbhlkthanthangwithyasastrtamkhxethccring bangklumphyayamklmklunthvsdibikaebngihekhakbhlkkhasxninsasnakhxngekha aelamibangklumthiptiesthhlkthanekiywkbbikaebngodysinechingxangxingHubble Edwin 1929 A relation between distance and radial velocity among extra galactic nebulae 15 168 173 doi 0 1073 pnas 15 3 168 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a trwcsxbkha doi help BBC News Big bang astronomer dies Slipher V M The radial velocity of the Andromeda nebula Lowell Observatory Bulletin 1 56 57 Slipher V M Spectrographic observations of nebulae Popular Astronomy 23 21 24 Friedman A 1922 Uber die Krummung des Raumes Z Phys 10 377 386 doi 10 1007 BF01332580 eyxrmn chbbaeplphasaxngkvs duthi ex fridaemn 1999 On the Curvature of Space General Relativity and Gravitation 31 1991 2000 doi 10 1023 A 1026751225741 Lemaitre G 1927 Un Univers homogene de masse constante et de rayon croissant rendant compte de la vitesse radiale des nebuleuses extragalactiques Annals of the Scientific Society of Brussels 47A 41 frngess chbbaeplphasaxngkvs duthi Expansion of the universe A homogeneous universe of constant mass and growing radius accounting for the radial velocity of extragalactic nebulae 1931 Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 91 483 490 Lema tre G 1931 The evolution of the universe discussion Nature 128 suppl 704 doi 10 1038 128704a0 E Christianson 1995 Edwin Hubble Mariner of the Nebulae Farrar Straus amp Giroux ISBN 0 374 14660 8 P J E Peebles and Bharat Ratra 2003 The cosmological constant and dark energy Reviews of Modern Physics 75 559 606 doi 10 1103 RevModPhys 75 559 ar iv astro ph 0207347 E A Milne 1935 Relativity Gravitation and World Structure sankphimphmhawithyalyxxksfxrd R C Tolman 1934 Relativity Thermodynamics and Cosmology xxksfxrd sankphimphkhlaerndxn LCCN 340 32023 phimphihm 1987 niwyxrk odewxr ISBN 0 486 65383 8 Zwicky F 1929 On the Red Shift of Spectral Lines through Interstellar Space Proceedings of the National Academy of Sciences 15 773 779 doi 10 1073 pnas 15 10 773 PMID 16577237 efrd hxyl 1948 A New Model for the Expanding universe Monthly Notices of the Royal Astronomical Society 108 372 R A Alpher H Bethe G Gamow 1948 The Origin of Chemical Elements Physical Review 73 803 doi 10 1103 PhysRev 73 803 R A Alpher and R Herman 1948 Evolution of the Universe Nature 162 774 doi 10 1045 march2004 featured collection Simon Singh Big Bang 2007 06 30 thi ewyaebkaemchchin ekbkhxmulemux 2007 05 28 Boggess N W et al COBE collaboration 1992 The COBE Mission Its Design and Performance Two Years after the launch Astrophysical Journal 397 420 Preprint No 92 02 doi 10 1086 171797 D N Spergel et al WMAP collaboration 2006 Wilkinson Microwave Anisotropy Probe WMAP Three Year Results Implications for Cosmology ekbkhxmulemux 2007 05 27 S W Hawking and G F R Ellis 1973 The large scale structure of space time ekhmbridc sankphimphmhawithyalyekhmbridc ISBN 0 521 20016 4 yngimepnexkchnthwaphawabikaebngnikinewlananethair bangkhnwaechphaaphawaexkthanerimaerkethann aetbangkhnkehnwaepnchwngimkinathiaerkthihieliymerimkxtwkhun G Hinshaw J L Weiland R S Hill N Odegard D Larson C L Bennett J Dunkley B Gold M R Greason N Jarosik E Komatsu M R Nolta L Page D N Spergel E Wollack M Halpern A Kogut M Limon S S Meyer G S Tucker E L Wright 2008 Five Year Wilkinson Microwave Anisotropy Probe WMAP Observations Data Processing Sky Maps and Basic Results 2015 04 10 thi ewyaebkaemchchin Astrophys J Guth Alan H 1998 The Inflationary Universe Quest for a New Theory of Cosmic Origins Vintage ISBN 978 0 09 995950 2 Schewe Phil and Ben Stein 2005 An Ocean of Quarks 2005 04 23 thi ewyaebkaemchchin Physics News Update American Institute of Physics 728 1 ekbkhxmulemux 2007 05 27 Kolb Edward Michael Turner 1988 The Early Universe Addison Wesley ISBN 0 201 11604 9 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imsmehtusmphl miniyamchux kolb hlaykhrngdwyenuxhatangkn Peacock John 1999 Cosmological Physics sankphimphmhawithyalyekhmbridc ISBN 0 521 42270 1 Ivanchik A V Potekhin A Y Varshalovich D A 1999 The Fine Structure Constant A New Observational Limit on Its Cosmological Variation and Some Theoretical Consequences Astronomy and Astrophysics 343 459 thngniimkhanungthungaexnixosothrpisxngkhwthiradb 0 1 thiekidcakkhwamerwphiesskhxngrabbsuriyaemuxphansnamkaraephrngsi Goodman J 1995 Geocentrism Reexamined Physical Review D 52 1821 doi 10 1103 PhysRevD 52 1821 d Inverno R 1992 Chapter 23 Introducing Einstein s Relativity Oxford UK sankphimphmhawithyalyxxksfxrd ISBN 0 19 859686 3 Gladders Michael D Yee H K C Majumdar Subhabrata Barrientos L Felipe Hoekstra Henk Hall Patrick B Infante Leopoldo mkrakhm 2007 Cosmological Constraints from the Red Sequence Cluster Survey The Astrophysical Journal 655 1 128 134 doi 10 1086 509909 nkdarasastrraynganphlkartrwcwdniinraynganchbbhnungthiephyaephrineduxnthnwakhm kh s 2000 wadwythrrmchatichnidhnung eriykchuxwaxunhphumiimokhrewfphunhlng thikhakarekhluxnipthangaedng 2 33771 mikarraynganphlkarkhnphbkhrngnitxsatharnchnodyhxdudawyuorpit A A Penzias and R W Wilson 1965 A Measurement of Excess Antenna Temperature at 4080 Mc s Astrophysical Journal 142 419 doi 10 1086 148307 Steigman Gary Primordial Nucleosynthesis Successes And Challenges arXiv astro ph 0511534 thaeruxngkarphxngtwepncring aebrioxecensiscatxngekidkhunaennxn aetinthangklbknxacimepncringkid thicringaelw phlngnganmudinrupkhxngkhakhngthickrwalcaphlkdnihexkphphmiruprangekhaiklkhwamaebn aetexkphphkhxngeramisphaphekuxbcaaebnmaepnewlahlayphnlanpiaelw kxnthikhwamhnaaennkhxngphlngnganmudcaminysakhykhunma Dicke R H Peebles P J E The big bang cosmology enigmas and nostrums Hawking S W ed Israel W ed General Relativity an Einstein centenary survey 504 517 sankphimphmhawithyalyekhmbridc Penrose R 1979 Singularities and Time Asymmetry Hawking S W ed Israel W ed General Relativity An Einstein Centenary Survey 581 638 sankphimphmhawithyalyekhmbridc Penrose R 1989 Difficulties with Inflationary Cosmology Fergus E J ed Proceedings of the 14th Texas Symposium on Relativistic Astrophysics 249 264 New York Academy of Sciences doi 10 1111 j 1749 6632 1989 tb50513 x Sakharov A D 1967 Violation of CP Invariance C Asymmetry and Baryon Asymmetry of the Universe Zhurnal Eksperimentalnoi i Teoreticheskoi Fiziki Pisma 5 32 rsesiy aeplepnphasaxngkvsxyuin Journal of Experimental and Theoretical Physics Letters 5 24 1967 Navabi A A Riazi N 2003 Is the Age Problem Resolved Journal of Astrophysics and Astronomy 24 3 Keel B Dark Matter ekbkhxmulemux 2007 05 28 Yao W M et al 2006 Review of Particle Physics Journal of Physics G 33 1 1232 doi 10 1088 0954 3899 33 1 001 Chapter 22 Dark matter PDF 152 KB Caldwell R R Kamionkowski M Weinberg N N 2003 Phantom Energy and Cosmic Doomsday Physical Review Letters 91 071301 doi 10 1103 PhysRevLett 91 071301 arXiv astro ph 0302506 Hawking S W 1973 The Large Scale Structure of Space Time Cambridge UK ISBN 0 521 09906 4 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr cautors thuklaewn help 1983 Wave Function of the Universe 28 2960 doi 10 1103 PhysRevD 28 2960 Langlois D 2002 Brane Cosmology An Introduction arXiv hep th 0209261 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a Cite journal txngkar journal help Linde A 2002 Inflationary Theory versus Ekpyrotic Cyclic Scenario arXiv hep th 0205259 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a Cite journal txngkar journal help Than K 2006 Recycled Universe Theory Could Solve Cosmic Mystery subkhnemux 2007 07 03 Kennedy B K 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 07 04 subkhnemux 2007 07 03 Linde A 1986 Eternal Chaotic Inflation Modern Physics Letters A1 81 Linde A 1986 Eternally Existing Self Reproducing Chaotic Inflationary Universe 175 395 400 doi 10 1016 0370 2693 86 90611 8 Kragh H 1996 Cosmology and Controversy Princeton NJ ISBN 0 691 02623 8 People and Discoveries Big Bang Theory www pbs org Wright E L 24 May 2009 Cosmology and Religion Ned Wright s Cosmology Tutorial subkhnemux 2009 10 15 aehlngkhxmulxunckrwalwithya 2009 02 02 thi ewyaebkaemchchin cak Open Directory Project xngkvs Cosmic Journey A History of Scientific Cosmology 2008 10 21 thi ewyaebkaemchchin sthabnfisiksxemrikn xngkvs Feuerbacher Bjorn Ryan Scranton 2006 hlkthankhxngbikaebng xngkvs Misconceptions about the Big Bang Scientific American minakhm 2005 xngkvs imkiimokhrwinathiaerk Scientific American phvsphakhm 2006 xngkvs karkhyaytwkhxngexkphph aebbcalxngmatrthankhxngbikaebng mhawithyalyehlsingki astro ph kumphaphnth 2008 xngkvs wisnu exuxchuekiyrti exkphphcbtrngihn 2016 03 09 thi ewyaebkaemchchin caksankkickarxwkasaehngchati ithy