ภาษาชวา (ชวา: basa Jawa, ꦧꦱꦗꦮ, بَاسَا جَاوَا, ออกเสียง: [bɔsɔ d͡ʒɔwɔ]) เป็นภาษาของชาวชวาในภาคกลางและภาคตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่มากกว่า 98 ล้านคน (มากกว่าร้อยละ 42 ของประชากรทั้งประเทศ)
ภาษาชวา | |
---|---|
basa Jawa ꦧꦱꦗꦮ بَاسَا جَاوَا | |
คำว่า บาซา ("ภาษา") ในอักษรชวา | |
ออกเสียง | [bɔsɔ d͡ʒɔwɔ] |
ประเทศที่มีการพูด | อินโดนีเซีย |
ภูมิภาค | เกาะชวา |
ชาติพันธุ์ |
|
จำนวนผู้พูด | 82 ล้านคน (2550) |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
รูปแบบก่อนหน้า |
|
รูปแบบมาตรฐาน | (รูปแบบมาตรฐานแรก) (รูปแบบมาตรฐานปัจจุบัน) |
ภาษาถิ่น | ภาษาถิ่น |
ระบบการเขียน | อักษรชวา อักษรเปโกน |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | เขตพิเศษยกยาการ์ตา |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | jv |
ISO 639-2 | jav |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย:jav – ชวาjvn – ภาษาชวาแบบซูรินามjas – ภาษาชวาแบบนิวแคลิโดเนียosi – ภาษาถิ่นโอซิงtes – ภาษาถิ่นเติงเกอร์kaw – ภาษากาวี |
31-MFM-a | |
เขียวเข้ม: บริเวณที่ภาษาชวาเป็นภาษาของชนส่วนใหญ่, เขียวอ่อน: บริเวณที่ภาษาชวาเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย | |
ภาษาชวาเป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่มีมากที่สุด โดยมีภาษาถิ่นหลายภาษาและมีทำเนียบภาษาที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนจำนวนหนึ่ง ญาติที่ใกล้ชิดกับภาษานี้ที่สุดคือภาษาซุนดา, ภาษามาดูรา และภาษาบาหลี ผู้พูดภาษาชวาส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียในสถานการณ์ทางการและเพื่อการค้า รวมทั้งเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียที่ไม่พูดภาษาชวา
นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษาชวาในประเทศมาเลเซีย (โดยเฉพาะแถบชายฝั่งตะวันตกในรัฐเซอลาโงร์และรัฐยะโฮร์) และสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในชุมชนผู้สืบเชื้อสายชวาในประเทศซูรินาม, ศรีลังกา และนิวแคลิโดเนีย
นอกจากภาษาอินโดนีเซียแล้ว ภาษาชวายังเป็นภาษาทางการในเขตพิเศษยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
การจัดอันดับ
ภาษาชวาเป็นส่วนหนึ่งของสาขามลายู-พอลินีเชียในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน แม้ว่าความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับภาษากลุ่มมลายู-พอลินีเชียอื่น ๆ ยากที่จะระบุได้ ใช้กระบวนการทางในการจัดภาษาชวาเป็นส่วนหนึ่งของ "Javo-Sumatra Hesion" ซึ่งรวมภาษาซุนดาและกลุ่มภาษา "มาเลย์อิก" นักภาษาศาสตร์ Berndt Nothofer ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่พยายามสร้างกลุ่มภาษาใหม่โดยใช้ภาษาเพียงสี่ภาษาที่มีการรับรองดีที่สุดในขณะนั้น (ชวา ซุนดา มาดูรา และมลายู) ก็เรียกกลุ่มนี้เป็น "มลายู-ชวา"
กลุ่มภาษามลายู-ชวาถูกนักภาษาศาสตร์หลายคนวิจารณ์และปฏิเสธ ไม่รวมภาษาชวาในการจัดกลุ่มที่เขาเสนอ (ซึ่งรวมกลุ่มภาษามาเลย์อิก ซุนดา และมาดูรา)ก็ไม่รวมภาษาชวาในกลุ่มย่อย ซึ่งเขาเสนอเป็นทางเลือกหนึ่งของการจัดกลุ่มมลายู-ซุมบาวา อย่างไรก็ตาม บลัสต์ยังแสดงถึงความเป็นไปได้ที่กลุ่มภาษาเกรตเตอร์บอร์เนียวเหนือมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษากลุ่มอินโดนีเซียตะวันตกอื่น ๆ อีกหลายภาษา ซึ่งรวมถึงภาษาชวาด้วย ข้อเสนอแนะของบลัสต์ยังได้รับการอธิบายเพิ่มเติมจากอเล็กซานเดอร์ สมิธที่รวมภาษาชวาเข้าในกลุ่ม (ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาเกรตเตอร์บอร์เนียวเหนือและกลุ่มย่อยอื่น ๆ) ซึ่งสมิธถือเป็นหนึ่งในสายหลักของมลายู-พอลินีเชีย
ประวัติ
โดยทั่วไป ประวัติภาษาชวาแบ่งออกเป็นสองช่วง: 1) ชวาโบราณ และ 2) ชวาใหม่
ภาษาชวาโบราณ
หลักฐานการเขียนในเกาะชวาย้อนหลังไปได้ถึงยุคของจารึกภาษาสันสกฤต จารึกตรุมเนคระ ใน พ.ศ. 993 ส่วนการเขียนด้วยภาษาชวาที่เก่าที่สุดคือจารึกสุกภูมีซึ่งระบุวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 1346 จารึกนี้พบที่ในและเป็นสำเนาของจารึกต้นฉบับที่น่าจะมีอายุ 120 ปีก่อนหน้านั้น แต่หลักฐานเหลือเพียงจารึกที่เป็นสำเนาเท่านั้น เนื้อหากล่าวถึงการสร้างเขื่อนใกล้กับในปัจจุบัน จารึกนี้เป็นจารึกรุ่นสุดท้ายที่ใช้อักษรปัลลวะ จารึกรุ่นต่อมาเริ่มใช้อักษรชวา
ในพุทธศตวรรษที่ 13–14 เป็นยุคที่เริ่มมีวรรณคดีพื้นบ้านในภาษาชวา เช่น สัง ฮยัง กะมาฮะยานีกัน ที่ได้รับมาจากพุทธศาสนา และ กากาวัน รามายานา ที่มาจากรามายณะฉบับภาษาสันสกฤต แม้ว่าภาษาชวาจะใช้เป็นภาษาเขียนทีหลังภาษามลายู แต่วรรณคดีภาษาชวายังได้รับการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน เช่นวรรณคดีที่ได้รับมาจากรามายณะและมหาภารตะยังได้รับการศึกษาจนถึงทุกวันนี้
การแพร่กระจายของวัฒนธรรมชวารวมทั้งอักษรชวาและภาษาชวาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1836 ซึ่งเกิดจากการขยายตัวไปทางตะวันออกของราชอาณาจักรมัชปาหิตซึ่งเป็นอาณาจักรที่นับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ไปสู่เกาะมาดูราและเกาะบาหลี ภาษาชวาแพร่ไปถึงเกาะบาหลีเมื่อ พ.ศ. 1906 และมีอิทธพลอย่างลึกซึ้ง โดยภาษาชวาเข้ามาแทนที่ภาษาบาหลีในฐานะภาษาทางการปกครองและวรรณคดี ชาวบาหลีรักษาวรรณคดีเก่าที่เป็นภาษาชวาไว้มาก และไม่มีการใช้ภาษาบาหลีเป็นภาษาเขียนจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24
ภาษาชวายุคกลาง
ในยุคของราชอาณาจักรมัชปาหิต ได้เกิดภาษาใหม่ขึ้นคือภาษาชวายุคกลางที่อยู่ระหว่างภาษาชวาโบราณและภาษาชวาสมัยใหม่ จริง ๆ แล้ว ภาษาชวายุคกลางมีความคล้ายคลึงกับภาษาชวาสมัยใหม่จนผู้พูดภาษาชวาสมัยใหม่ที่ศึกษาวรรณคดีสามารถเข้าใจได้ ราชอาณาจักรมัชปาหิตเสื่อมลงเนื่องจากการรุกรานของต่างชาติและอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และการคุกคามของสุลต่านแห่งเดอมักที่อยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของเกาะชวา ราชอาณาจักรมัชปาหิตสิ้นอำนาจลงเมื่อ พ.ศ. 2021
ภาษาชวาใหม่
ภาษาชวาสมัยใหม่เริ่มปรากฏเมื่อพุทธศตวรรษที่ 21 พร้อม ๆ กับการเข้ามามีอิทธิพลของศาสนาอิสลาม และการเกิดรัฐสุลต่านมะตะรัม รัฐนี้เป็นรัฐอิสลามที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากยุค วัฒนธรรมชวาแพร่หลายไปทางตะวันตก เมื่อรัฐมะตะรัมพยายามแพร่อิทธิพลไปยังบริเวณของผู้พูดภาษาซุนดาทางตะวันตกของเกาะชวา ทำให้ภาษาชวากลายเป็นภาษาหลักในบริเวณนั้น เช่นเดียวกับภาษาบาหลี ไม่มีการใช้ภาษาซุนดาเป็นภาษาเขียนจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 และได้รับอิทธิพลจากภาษาชวามาก คำศัพท์ร้อยละ 40 ในภาษาซุนดาได้มาจากภาษาชวา
แม้ว่าจะเป็นจักรวรรดิอิสลาม แต่ก็ยังรักษาหน่วยเดิมที่มาจากวัฒนธรรมเก่าไว้และพยายามรวมเข้ากับศาสนาใหม่ จึงเป็นเหตุผลที่ยังคงมีการใช้อักษรชวาอยู่ ในขณะที่อักษรดั้งเดิมของภาษามลายูเลิกใช้ไปตั้งแต่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม โดยหันไปใช้อักษรที่มาจากอักษรอาหรับแทน ในยุคที่ศาสนาอิสลามกำลังรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เกิดภาษาชวาใหม่ขึ้น มีเอกสารทางศาสนาอิสลามฉบับแรก ๆ ที่เขียนด้วยภาษาชวาใหม่ ซึ่งมีคำศัพท์และสำนวนที่ยืมมาจากภาษาอาหรับมาก ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากภาษาดัตช์และภาษาอินโดนีเซีย ทำให้ภาษาชวาพยายามปรับรูปแบบให้ง่ายขึ้น และมีคำยืมจากต่างชาติมากขึ้น
ภาษาชวาสมัยใหม่
นักวิชาการบางคนแยกภาษาชวาที่ใช้พูดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 ว่าเป็นภาษาชวาสมัยใหม่ แต่ก็ยังคงถือว่าเป็นภาษาเดียวกับภาษาชวาใหม่
ภาษาชวาในปัจจุบัน
ภาษาชวาไม่ใช่ภาษาประจำชาติโดยมีสถานะเป็นแค่ภาษาประจำถิ่นในจังหวัดที่มีชาวชวาอยู่เป็นจำนวนมาก มีการสอนภาษาชวาในโรงเรียนและมีการใช้ในสื่อต่าง ๆ ไม่มีหนังสือพิมพ์รายวันเป็นภาษาชวา แต่มีนิตยสารภาษาชวา ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นของชวาตะวันออกออกอากาศเป็นภาษาชวาด้วยภาษาถิ่นชวากลางและภาษามาดูราด้วย ใน พ.ศ. 2548 มีการออกนิตยสารภาษาชวา Damar Jati ในจาการ์ตา
การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์
ภาษาชวาเป็นภาษาที่ใช้พูดทั่วอินโดนีเซีย ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนเธอร์แลนด์ ซูรินาม นิวแคลิโดเนีย และประเทศอื่น ๆ ชุมชนที่ใหญ่ที่สุดของผู้พูดภาษานี้ อยู่ใน 6 จังหวัดบนเกาะชวา และจังหวัดลัมปุงบนเกาะสุมาตรา จากข้อมูล พ.ศ. 2523 ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 43 ใช้ภาษาชวาในชีวิตประจำวัน โดยมีผู้พูดภาษาชวาได้ดีมากกว่า 60 ล้านคน ในแต่ละจังหวัดของอินโดนีเซียมีผู้พูดภาษาชวาได้ดีอย่างน้อยร้อยละ 1
ในชวาตะวันออก มีผู้พูดภาษาชวาในชีวิตประจำวันร้อยละ 74.5, ภาษามาดูราร้อยละ 23 และภาษาอินโดนีเซียร้อยละ 2.2 ในจังหวัดลัมปุง มีผู้พูดภาษาชวาในชีวิตประจำวันร้อยละ 62.4, ร้อยละ 16.4, ภาษาซุนดาร้อยละ 10.5 และภาษาอินโดนีเซียร้อยละ 9.4 ส่วนในจาการ์ตา มีจำนวนผู้พูดภาษาชวาเพิ่มสูงขึ้นถึง 10 เท่า ในเวลา 25 ปี แต่ในอาเจะฮ์กลับลดจำนวนลง ในบันเติน ชวาตะวันตก ผู้สืบทอดมาจากรัฐสุลต่านมะตะรัมในชวากลาง ยังใช้รูปแบบโบราณของภาษาชวา มีผู้พูดภาษาซุนดาและภาษาอินโดนีเซียตามแนวชายแดนติดกับจาการ์ตา
จังหวัดชวาตะวันออกยังเป็นบ้านเกิดของผู้พูดภาษามาดูรา แต่ชาวมาดูราส่วนใหญ่พูดภาษาชวาได้ด้วย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา มีการเขียนภาษามาดูราด้วยอักษรชวา ในลัมปุง มีชนพื้นเมืองที่พูดภาษาลัมปุงเพียงร้อยละ 15 ที่เหลือเป็นผู้อพยพมาจากส่วนอื่น ๆ ของอินโดนีเซีย ซึ่งผู้อพยพเข้ามาส่วนใหญ่เป็นผู้พูดภาษาชวา ในซูรินามซึ่งเป็นอดีตอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ในอเมริกาใต้ มีผู้ที่เป็นลูกหลานของชาวชวาและยังพูดภาษาชวาอยู่ราว 75,000 คน
สัทวิทยา
หน่วยเสียงภาษาชวามาตรฐานสมัยใหม่มีดังนี้
สระ
i | u | ||
e | ə | o | |
(ɛ) | (ɔ) | ||
a |
ในพยางค์ปิด สระ /i u e o/ ออกเสียงเป็น [ɪ ʊ ɛ ɔ] ตามลำดับ ในพยางค์เปิด สระ /e o/ ยังออกเสียงเป็น [ɛ ɔ] เมื่อสระที่ตามมาคือสระ /i u/ ในพยางค์เปิด ไม่เช่นนั้นก็จะออกเสียงเป็นสระ /ə/ หรือออกเสียงเหมือนกัน (/e...e/, /o...o/) ในภาษาถิ่นซูราการ์ตาซึ่งเป็นมาตรฐาน สระ /a/ จะออกเสียงเป็น [ɔ] เมื่ออยู่ในพยางค์เปิดท้ายคำและเมื่ออยู่ในพยางค์เปิดที่เป็นพยางค์รองสุดท้ายของคำ ก่อนหน้า [ɔ] ดังกล่าว
พยัญชนะ
/ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | m | n | ɲ | ŋ | |||
เสียงหยุด/ | p | t̪ | ʈ | t͡ʃ | k | ʔ | |
b̥ | d̪̥ | ɖ̥ | d̥͡ʒ̥ | ɡ̥ | |||
s | h | ||||||
ธรรมดา | j | w | |||||
l | |||||||
r |
หน่วยเสียงพยัญชนะ "ก้อง" ในภาษาชวาที่จริงแล้วไม่ใช่ แต่เป็นเสียงไม่ก้องที่มีอยู่ในสระที่ตามมา นอกจากภาษามาดูราแล้ว ภาษาชวาเป็นเพียงภาษาเดียวในอินโดนีเซียตะวันตกที่มีการจำแนกความต่างระหว่างหน่วยเสียงกับหน่วยเสียง
ไวยากรณ์
การเรียงประโยค
ภาษาชวาสมัยใหม่เรียงประโยคแบบ ประธาน-กริยา-กรรม ในขณะที่ภาษาชวาโบราณเรียงประโยคแบบ กริยา-ประธาน-กรรม หรือ กริยา-กรรม-ประธาน ตัวอย่างเช่น ประโยค "เขาเข้ามาในพระราชวัง" เขียนได้ดังนี้
- ชวาโบราณ: Těka (กริยา) ta sira (ประธาน) ri ng (คำชี้เฉพาะ) kadhatwan (กรรม)
- ชวาสมัยใหม่: Dheweke (ประธาน) těka (กริยา) neng kĕdhaton (กรรม)
คำกริยา
ไม่มีการผันคำกริยาตามบุคคลหรือจำนวน ไม่มีการแสดงกาลแต่ใช้การเติมคำช่วย เช่น "เมื่อวานนี้" "แล้ว" แบบเดียวกับภาษาไทย ระบบของคำกริยาในการแสดงความแตกต่างของประธานและกรรมค่อนข้างซับซ้อน
วงศัพท์
ภาษาชวามีศัพท์มากมายที่เป็นคำยืมและคำดั้งเดิมของภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย ภาษาสันสกฤตมีอิทธิพลต่อภาษาชวามาก คำยืมจากภาษาสันสกฤตมักเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดี และยังคงใช้อยู่ คำยืมจากภาษาอื่น ๆ มีภาษาอาหรับ ภาษาดัตช์ และภาษามลายู
ภาษาชวามีคำยืมจากภาษาอาหรับน้อยกว่าภาษามลายู โดยมากเป็นคำที่ใช้ในศาสนาอิสลาม เช่น pikir ("คิด" มาจากภาษาอาหรับ fikr), badan ("ร่างกาย"), mripat ("ตา" คาดว่ามาจากภาษาอาหรับ ma'rifah หมายถึง "ความรู้" หรือ "วิสัยทัศน์") คำยืมจากภาษาอาหรับนี้มีศัพท์พื้นเมืองและคำยืมจากภาษาสันสกฤตที่มีความหมายเหมือนกันใช้อยู่ด้วย เช่น pikir = galih, idhĕp (ออสโตรนีเซีย) และ manah, cipta หรือ cita (จากภาษาสันสกฤต); badan = awak (ออสโตรนีเซีย) และ slira, sarira, หรือ angga (จากภาษาสันสกฤต); และ mripat = mata (ออสโตรนีเซีย) และ soca หรือ netra (จากภาษาสันสกฤต)
ต่อไปนี้เป็นตารางเปรียบเทียบศัพท์จากภาษาต่าง ๆ
ภาษาชวา | ภาษาอินโดนีเซีย | ภาษาดัตช์ | ภาษาไทย |
---|---|---|---|
pit | sepeda | fiets | จักรยาน |
pit montor | sepeda motor | motorfiets | จักรยานยนต์ |
sepur | kereta api | spoor คือราง (รถไฟ) | รถไฟ |
ทำเนียบภาษา
การพูดภาษาชวาแตกต่างไปขึ้นกับบริบททางสังคมทำให้มีการแบ่งชั้นของภาษา แต่ละชั้นมีศัพท์ กฎทางไวยากรณ์ และฉันทลักษณ์เป็นของตนเอง การแบ่งชั้นนี้ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของภาษาชวา เพราะพบในภาษาในเอเชียหลายภาษา เช่น ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น แต่ละชั้นของภาษาชวามีชื่อเรียกดังนี้
- โงโก (ꦔꦺꦴꦏꦺꦴ): รูปแบบพูดอย่างไม่เป็นทางการระหว่างเพื่อนและญาติสนิท และใช้โดยคนที่มีฐานะสูงกว่าเมื่อพูดกับคนที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น ผู้ใหญ่ใช้กับเด็ก
- มัดยา (ꦩꦢꦾ): รูปแบบกลาง ๆ ระหว่างโงโกกับกรามา สำหรับในสถานะที่ไม่ต้องการทั้งความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า มัธยะ ("กลาง")
- กรามา (ꦏꦿꦩ): รูปแบบที่สุภาพและเป็นทางการ ใช้กับคนที่อยู่ในสถานะเดียวกัน เป็นรูปแบบที่ใช้พูดในที่สาธารณะ การประกาศต่าง ๆ ใช้โดยคนที่มีฐานะต่ำกว่าเมื่อพูดกับคนที่มีฐานะสูงกว่า เช่น เด็กพูดกับผู้ใหญ่ คำนี้มาจากภาษาสันสกฤตว่า กรมา ("ตามลำดับ")
สถานะในสังคมที่มีผลต่อรูปแบบของภาษาชวากำหนดโดยอายุหรือตำแหน่งในสังคม การเลือกใช้ภาษาระดับใดนั้นต้องอาศัยความรอบรู้ในวัฒนธรรมชวาและเป็นสิ่งที่ยากสำหรับการเรียนภาษาชวาของชาวต่างชาติ
ภาษาถิ่นของภาษาชวาสมัยใหม่
ภาษาถิ่นของภาษาชวาแบ่งได้เป็นสามกลุ่มตามบริเวณย่อยที่มีผู้พูดภาษาเหล่านี้อาศัยอยู่ คือ ภาษาชวากลาง ภาษาชวาตะวันออก และภาษาชวาตะวันตก ความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นอยู่ที่การออกเสียงและคำศัพท์
- ภาษาชวากลางเป็นภาษาถิ่นที่ใช้พูดในซูราการ์ตาและยกยาการ์ตา ถือเป็นภาษาถิ่นมาตรฐานของภาษานี้ มีผู้พูดกระจายตั้งแต่เหนือถึงใต้ของจังหวัดชวากลาง
- ภาษาชวาตะวันตกใช้พูดทางตะวันตกของจังหวัดชวากลางและตลอดทั้งจังหวัดชวาตะวันตก โดยเฉพาะชายฝั่งทางตอนเหนือ ได้รับอิทธิพลจากภาษาซุนดา และยังมีศัพท์เก่า ๆ อยู่มาก
- ภาษาชวาตะวันออกเริ่มใช้พูดจากฝั่งตะวันออกของกาลี บรันตัส ในเกอร์โตโซโนไปจนถึงบาญูวังกี ครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของจังหวัดชวาตะวันออก รวมเกาะมาดูราด้วย ภาษาถิ่นนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษามาดูรา ภาษาถิ่นตะวันออกสุดได้รับอิทธิพลจากภาษาบาหลี
การออกเสียง
ชาวชวาส่วนใหญ่ยกเว้นในชวาตะวันตก ยอมรับการออกเสียง a เป็น /ออ/ เช่น apa ในภาษาชวาตะวันตกออกเสียงเป็นอาปา ส่วนภาษาชวากลางและภาษาชวาตะวันออกออกเสียงเป็นออปอ
เมื่อมีหน่วยเสียงที่มีโครงสร้างเป็นสระ-พยัญชนะ-สระ โดยสระทั้งสองเสียงเป็นเสียงเดียวกัน ภาษาชวางกลางลดเสียงสระตัวท้าย i เป็น e และ u เป็น o ภาษาชวาตะวันออกลดทั้งสองเสียงส่วนภาษาชวาตะวันตกคงเสียงเดิมไว้ เช่น cilik ภาษาชวากลางเป็น จิเละ ภาษาชวาตะวันออกเป็น เจะเละ ภาษาชวาตะวันตกเป็น จิลิก
วงศัพท์
ภาษาชวามีคำศัพท์ที่ต่างกันไปในแต่ละภาษาถิ่น เช่นคำว่าคุณ ชวากลางเป็น kowe ภาษาชวาตะวันออกเป็น kon ภาษาชวาตะวันตกเป็น rika
อักขรวิธี
ภาษาชวามีรูปเขียนแบบดั้งเดิมด้วยอักษรชวา อักษรชวาและอักษรบาหลีที่มีความเกี่ยวข้องสืบต้นตอจากอักษรกวิเก่า ซึ่งเป็นอักษรพราหมีที่เข้าสู่ชวาพร้อมกับศาสนาฮินดูและพุทธ นอกจากนี้ ยังสามารถเขียนด้วยอักษรอาหรับ (รู้จักกันในชื่ออักษรเปโกน) และปัจจุบันเขียนด้วยแทนอักษรชวา ด้วยจุดประสงค์ทางการใช้งาน โดยอักขรวิธีละตินอิงจากอักขรวิธีดัตช์ที่นำเข้าใน พ.ศ. 2469 แล้วปรับปรุงใน พ.ศ. 2515–2516 รูปแบบอักษรละตินในปัจจุบันมีดังนี้:
ตัวพิมพ์ใหญ่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
A | Å | B | C | D | Dh | E | F | G | H | I | J | K | L | M | N | Ng | Ny | O | P | Q | R | S | T | Th | U | V | W | X | Y | Z | ||
a | å | b | c | d | dh | e | é | è | f | g | h | i | j | k | l | m | n | ng | ny | o | p | q | r | s | t | th | u | v | w | x | y | z |
สัทอักษรสากล | ||||||||||||||||||||||||||||||||
a | ɔ | b̥ | tʃ | d̪̥ | ɖ̥ | ə, e | e | ɛ | f | g̊ | h | i | dʒ̊ | k | l | m | n | ŋ | ɲ | ɔ, o | p | q | r | s | t̪ | ʈ | u | v | w | x | j | z |
อักษรที่เป็นตัวเอียงคืออักษรที่ใช้ในคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษายุโรป
อักษรชวา:
พยัญชนะฐาน | |||||||||||||||||||
ꦲ | ꦤ | ꦕ | ꦫ | ꦏ | ꦢ | ꦠ | ꦱ | ꦮ | ꦭ | ꦥ | ꦝ | ꦗ | ꦪ | ꦚ | ꦩ | ꦒ | ꦧ | ꦛ | ꦔ |
ha | na | ca | ra | ka | da | ta | sa | wa | la | pa | dha | ja | ya | nya | ma | ga | ba | tha | nga |
ตัวอย่าง
ตัวอย่างข้อความภาษาชวามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1
อักษรละติน: | "Sabén uwong kalairaké kanthi mardikå lan darbé martabat lan hak-hak kang pådhå. Kabèh pinaringan akal lan kalbu sartå kaajab pasrawungan anggoné mêmitran siji lan sijiné kanthi jiwå sumadulur." |
---|---|
จารากัน (อักษรดั้งเดิม) | "꧋ꦱꦧꦺꦤ꧀ꦲꦸꦮꦺꦴꦁꦚꦭꦲꦶꦫꦏꦺꦏꦤ꧀ꦛꦶꦩꦂꦢꦶꦏꦭꦤ꧀ꦢꦂꦧꦺꦩꦂꦠꦧꦠ꧀ꦭꦤ꧀ꦲꦏ꧀ꦲꦏ꧀ꦏꦁꦥꦝ꧉ ꦏꦧꦼꦃꦥꦶꦤꦫꦶꦔꦤ꧀ꦲꦏꦭ꧀ꦭꦤ꧀ꦏꦭ꧀ꦧꦸꦱꦂꦠꦏꦲꦗꦧ꧀ꦥꦱꦿꦮꦸꦔꦤ꧀ꦲꦁꦒꦺꦴꦤꦺꦩꦼꦩꦶꦠꦿꦤ꧀ꦱꦶꦗꦶꦭꦤ꧀ꦱꦶꦗꦶꦤꦺꦏꦤ꧀ꦛꦶꦗꦶꦮꦱꦸꦩꦢꦸꦭꦸꦂ꧉" |
อักษรเปโกน | «سابَين أورَوڠ كالائيراكَي كانڟي ألووَار لان داربَي مرتبة لان حق۲ كاڠ ڤاڎا. كابَيه ڤيناريڠان أكال لان كالبو سارتا كاأجاب ڤاسراوُونڠان أڠڮَونَي مَيميتران سيجي لان كانڟي جيوا سومادولور.» |
ตัวอย่างเสียง: | |
แปลไทย: | "มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ" |
หมายเหตุ
- "มาเลย์อิก"ของ Dyen แตกต่างจาก"มาเลย์อิก"ตามแนวคิดสมัยใหม่ (เสนอโดย Alexander Adelaar) มาเลย์อิกของ Dyen รวมภาษามาดูรา อาเจะฮ์ และภาษากลุ่มมาลายา (=ปัจจุบันคือมาเลย์อิก)
อ้างอิง
- Mikael Parkvall, "Världens 100 största språk 2007" (The World's 100 Largest Languages in 2007), in Nationalencyklopedin.
- "Peraturan Daerah Daerah Istimewa Yogyakarta Nomor 2 Tahun 2021 tentang Pemeliharaan dan Pengembangan Bahasa, Sastra, dan Aksara Jawa".
- . Badan Pusat Statistik. 2011. ISBN . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10.
- "Javanese language". britannica.com. Encyclopedia Britannica. 2010. สืบค้นเมื่อ 17 March 2021.
- Akhyari Hananto (December 8, 2017). "121 Years of Javanese People in New Caledonia". Seasia: Good News from Southeast Asia.
- Dyen 1965, p. 26.
- Nothofer 2009, p. 560.
- Nothofer 1975, p. 1.
- Blust 1981.
- Adelaar 2005a, pp. 357, 385.
- Ogloblin 2005, p. 590.
- Blust 2010, p. 97.
- Smith 2017, pp. 443, 453–454.
- Wedhawati et al. 2006, p. 1.
- Brown, Keith; Ogilvie, Sarah (2008). Concise encyclopedia of languages of the world. Elsevier. p. 560. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2010-05-24. Madurese also possesses aspirated phonemes, including at least one aspirated retroflex phoneme.
- Suharno, Ignatius (1982). A Descriptive Study of Javanese. Canberra: ANU Asia-Pacific Linguistics / Pacific Linguistics Press. pp. 4–6. doi:10.15144/PL-D45. :1885/145095.
- Perwitasari, Arum; Klamer, Marian; Witteman, Jurriaan; Schiller, Niels O. (2017). "Quality of Javanese and Sundanese Vowels". Journal of the Southeast Asian Linguistics Society. 10 (2): 1–9. :10524/52406.
- Wolff, John U.; Soepomo Poedjosoedarmo (1982). Communicative Codes in Central Java. Cornell Southeast Asia Program. p. 4. ISBN .
- "OHCHR | Universal Declaration of Human Rights - Javanese". OHCHR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.
- . OHCHR (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-08. สืบค้นเมื่อ 2023-05-27.
- "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน". แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
แหล่งข้อมูล
- Adelaar, Karl Alexander (2005). "Malayo-Sumbawan". Oceanic Linguistics. University of Hawai'i Press. 44 (2): 356–388. doi:10.1353/ol.2005.0027.
- (1981). "The reconstruction of proto-Malayo-Javanic: an appreciation". Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde. 137 (4): 456–459. doi:10.1163/22134379-90003492. JSTOR 27863392.
- Blust, Robert (2010). "The Greater North Borneo Hypothesis". Oceanic Linguistics. University of Hawai'i Press. 49 (1): 44–118. doi:10.1353/ol.0.0060. JSTOR 40783586. S2CID 145459318.
- (1965). A lexicostatistical classification of the Austronesian languages. Baltimore: Waverly Press.
- Nothofer, Berndt (1975). The reconstruction of Proto-Malayo-Javanic. Verhandelingen van het Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde. Vol. 73. Den Haag: Martinus Nijhoff. ISBN .
- Nothofer, Berndt (2009). "Javanese". ใน Keith Brown; Sarah Ogilvie (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Languages of the World. Oxford: Elsevier. pp. 560–561. ISBN .
- Ogloblin, Alexander K. (2005). "Javanese". ใน K. Alexander Adelaar; Nikolaus Himmelmann (บ.ก.). The Austronesian Languages of Asia and Madagascar. London dan New York: Routledge. pp. 590–624. ISBN .
- Smith, Alexander D. (2017). "The Western Malayo-Polynesian Problem". Oceanic Linguistics. University of Hawai'i Press. 56 (2): 435–490. doi:10.1353/ol.2017.0021. S2CID 149377092.
- Horne, Elinor C. (1961). Beginning Javanese. New Haven: Yale University Press.
- van der Molen, W. (1993). Javaans schrift. Leiden: Vakgroep Talen en Culturen van Zuidoost-Azië en Oceanië. ISBN .
- Wedhawati; Nurlina, W. E. S.; Setiyanto, E.; Sukesti, R.; และคณะ (2006). Tata bahasa Jawa mutakhir [A contemporary grammar of Javanese] (ภาษาอินโดนีเซีย). Yogyakarta: . ISBN .[]
- Wurm, S. A.; , บ.ก. (1983). Language Atlas of the Pacific Area, Part II: (Insular South-east Asia). Canberra.
- Zoetmulder, P. J. (1982). Old Javanese–English Dictionary. 's-Gravenhage: Martinus Nijhoff. ISBN .
อ่านเพิ่ม
- Errington, James Joseph (1991), Language and social change in Java : linguistic reflexes of modernization in a traditional royal polity, Ohio University, Center for International Studies, สืบค้นเมื่อ 18 February 2013
- Errington, James Joseph (1998), Shifting languages : interaction and identity in Javanese Indonesia, Cambridge University Press, ISBN
- Horne, Elinor Clark (1963), Intermediate Javanese, Yale University Press, สืบค้นเมื่อ 18 February 2013
- Horne, Elinor Clark (1974), Javanese-English dictionary, Yale University Press, ISBN
- Keeler, Ward (1984), Javanese, a cultural approach, Ohio University Center for International Studies, ISBN
- Robson, S. O. (Stuart Owen); Wibisono, Singgih (2002), Javanese English dictionary, Periplus Editions (HK) ; North Clarendon, VT : Tuttle Pub, ISBN
- Robson, S. O. (Stuart Owen); Monash University. Monash Asia Institute (2002), Javanese grammar for students (Rev. ed.), Monash Asia Institute, Monash University, ISBN
- Robson, S. O. (Stuart Owen); Monash University. Centre of Southeast Asian Studies (1991), Patterns of variation in colloquial Javanese, Centre of Southeast Asian Studies, Monash University, ISBN
- Siegel, James T (1986), Solo in the new order : language and hierarchy in an Indonesian city, Princeton University Press, ISBN
- Uhlenbeck, E. M; Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde (Netherlands) (1964), A critical survey of studies on the languages of Java and Madura, Martinus Nijhoff, สืบค้นเมื่อ 18 February 2013
- Uhlenbeck, E. M; Koninklijk Instituut voor Taal-, Land- en Volkenkunde (Netherlands) (1978), Studies in Javanese morphology, Martinus Nijhoff, ISBN
แหล่งข้อมูลอื่น
- Javanese Writing System
- The Javanese alphabet (Unicode A980—A9DF)
- Javanese Phonation Types, Consonants
- Old Javanese inscriptions
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phasachwa chwa basa Jawa ꦧꦱꦗꦮ ب اس ا ج او ا xxkesiyng bɔsɔ d ʒɔwɔ epnphasakhxngchawchwainphakhklangaelaphakhtawnxxkkhxngekaachwa praethsxinodniesiy odymiphuphudphasaniepnphasaaemmakkwa 98 lankhn makkwarxyla 42 khxngprachakrthngpraeths phasachwabasa Jawa ꦧꦱꦗꦮ ب اس ا ج او ا khawa basa phasa inxksrchwaxxkesiyng bɔsɔ d ʒɔwɔ praethsthimikarphudxinodniesiyphumiphakhekaachwachatiphnthuchwa canwnphuphud82 lankhn 2550 trakulphasaxxsotrniesiyn malaoy ophlienesiyphasachwarupaebbkxnhnaphasachwaklangphasachwarupaebbmatrthan rupaebbmatrthanaerk rupaebbmatrthanpccubn phasathinphasathinrabbkarekhiynxksrchwa xksrepoknsthanphaphthangkarphasathangkarekhtphiessykyakartarhsphasaISO 639 1jvISO 639 2javISO 639 3mihlakhlay a href https iso639 3 sil org code jav class extiw title iso639 3 jav jav a chwa a href https iso639 3 sil org code jvn class extiw title iso639 3 jvn jvn a phasachwaaebbsurinam a href https iso639 3 sil org code jas class extiw title iso639 3 jas jas a phasachwaaebbniwaekhliodeniy a href https iso639 3 sil org code osi class extiw title iso639 3 osi osi a phasathinoxsing a href https iso639 3 sil org code tes class extiw title iso639 3 tes tes a phasathinetingekxr a href https iso639 3 sil org code kaw class extiw title iso639 3 kaw kaw a phasakawi31 MFM aekhiywekhm briewnthiphasachwaepnphasakhxngchnswnihy ekhiywxxn briewnthiphasachwaepnphasakhxngchnklumnxybthkhwamnimisylksnsthxksrsakl hakrabbkhxngkhunimrxngrbkaraesdngphlthithuktxng khunxacehnprsni klxng hruxsylksnxyangxunaethnthixkkhrayuniokhd source source source source source source source source phuphudphasachwasxngkhn bnthukinpraethsxinodniesiy phasachwaepnphasatrakulxxsotrniesiynthimimakthisud odymiphasathinhlayphasaaelamithaeniybphasathiaetktangknxyangchdecncanwnhnung yatithiiklchidkbphasanithisudkhuxphasasunda phasamadura aelaphasabahli phuphudphasachwaswnihyphudphasaxinodniesiyinsthankarnthangkaraelaephuxkarkha rwmthngephuxsuxsarkbchawxinodniesiythiimphudphasachwa nxkcakniyngmiphuphudphasachwainpraethsmaelesiy odyechphaaaethbchayfngtawntkinrthesxlaongraelarthyaohr aelasingkhopr nxkcakniyngmiphuphudinchumchnphusubechuxsaychwainpraethssurinam srilngka aelaniwaekhliodeniy nxkcakphasaxinodniesiyaelw phasachwayngepnphasathangkarinekhtphiessykyakarta praethsxinodniesiykarcdxndbphasachwaepnswnhnungkhxngsakhamlayu phxliniechiyintrakulphasaxxsotrniesiyn aemwakhwamsmphnththichdecnkbphasaklummlayu phxliniechiyxun yakthicarabuid ichkrabwnkarthanginkarcdphasachwaepnswnhnungkhxng Javo Sumatra Hesion sungrwmphasasundaaelaklumphasa maelyxik nkphasasastr Berndt Nothofer sungepnbukhkhlaerkthiphyayamsrangklumphasaihmodyichphasaephiyngsiphasathimikarrbrxngdithisudinkhnann chwa sunda madura aelamlayu keriykklumniepn mlayu chwa klumphasamlayu chwathuknkphasasastrhlaykhnwicarnaelaptiesth imrwmphasachwainkarcdklumthiekhaesnx sungrwmklumphasamaelyxik sunda aelamadura kimrwmphasachwainklumyxy sungekhaesnxepnthangeluxkhnungkhxngkarcdklummlayu sumbawa xyangirktam blstyngaesdngthungkhwamepnipidthiklumphasaekrtetxrbxreniywehnuxmikhwamekiywkhxngxyangiklchidkbphasaklumxinodniesiytawntkxun xikhlayphasa sungrwmthungphasachwadwy khxesnxaenakhxngblstyngidrbkarxthibayephimetimcakxelksanedxr smiththirwmphasachwaekhainklum sungxyuinklumphasaekrtetxrbxreniywehnuxaelaklumyxyxun sungsmiththuxepnhnunginsayhlkkhxngmlayu phxliniechiyprawtiodythwip prawtiphasachwaaebngxxkepnsxngchwng 1 chwaobran aela 2 chwaihm phasachwaobran hlkthankarekhiyninekaachwayxnhlngipidthungyukhkhxngcarukphasasnskvt caruktrumenkhra in ph s 993 swnkarekhiyndwyphasachwathiekathisudkhuxcaruksukphumisungrabuwnthi 25 minakhm ph s 1346 carukniphbthiinaelaepnsaenakhxngcaruktnchbbthinacamixayu 120 pikxnhnann aethlkthanehluxephiyngcarukthiepnsaenaethann enuxhaklawthungkarsrangekhuxniklkbinpccubn carukniepncarukrunsudthaythiichxksrpllwa carukruntxmaerimichxksrchwa inphuththstwrrsthi 13 14 epnyukhthierimmiwrrnkhdiphunbaninphasachwa echn sng hyng kamahayanikn thiidrbmacakphuththsasna aela kakawn ramayana thimacakramaynachbbphasasnskvt aemwaphasachwacaichepnphasaekhiynthihlngphasamlayu aetwrrnkhdiphasachwayngidrbkarsubthxdcnthungpccubn echnwrrnkhdithiidrbmacakramaynaaelamhaphartayngidrbkarsuksacnthungthukwnni karaephrkracaykhxngwthnthrrmchwarwmthngxksrchwaaelaphasachwaerimkhunemux ph s 1836 sungekidcakkarkhyaytwipthangtawnxxkkhxngrachxanackrmchpahitsungepnxanackrthinbthuxsasnaphrahmnaelasasnaphuthth ipsuekaamaduraaelaekaabahli phasachwaaephripthungekaabahliemux ph s 1906 aelamixiththphlxyangluksung odyphasachwaekhamaaethnthiphasabahliinthanaphasathangkarpkkhrxngaelawrrnkhdi chawbahlirksawrrnkhdiekathiepnphasachwaiwmak aelaimmikarichphasabahliepnphasaekhiyncnthungphuththstwrrsthi 24 phasamaduraekhiyndwyxksrchwaphasachwayukhklang inyukhkhxngrachxanackrmchpahit idekidphasaihmkhunkhuxphasachwayukhklangthixyurahwangphasachwaobranaelaphasachwasmyihm cring aelw phasachwayukhklangmikhwamkhlaykhlungkbphasachwasmyihmcnphuphudphasachwasmyihmthisuksawrrnkhdisamarthekhaicid rachxanackrmchpahitesuxmlngenuxngcakkarrukrankhxngtangchatiaelaxiththiphlkhxngsasnaxislam aelakarkhukkhamkhxngsultanaehngedxmkthixyuthangchayfngdanehnuxkhxngekaachwa rachxanackrmchpahitsinxanaclngemux ph s 2021 phasachwaihm phasachwasmyihmerimpraktemuxphuththstwrrsthi 21 phrxm kbkarekhamamixiththiphlkhxngsasnaxislam aelakarekidrthsultanmatarm rthniepnrthxislamthisubthxdwthnthrrmdngedimcakyukh wthnthrrmchwaaephrhlayipthangtawntk emuxrthmatarmphyayamaephrxiththiphlipyngbriewnkhxngphuphudphasasundathangtawntkkhxngekaachwa thaihphasachwaklayepnphasahlkinbriewnnn echnediywkbphasabahli immikarichphasasundaepnphasaekhiyncnthungphuththstwrrsthi 24 aelaidrbxiththiphlcakphasachwamak khasphthrxyla 40 inphasasundaidmacakphasachwa aemwacaepnckrwrrdixislam aetkyngrksahnwyedimthimacakwthnthrrmekaiwaelaphyayamrwmekhakbsasnaihm cungepnehtuphlthiyngkhngmikarichxksrchwaxyu inkhnathixksrdngedimkhxngphasamlayuelikichiptngaetepliynmanbthuxsasnaxislam odyhnipichxksrthimacakxksrxahrbaethn inyukhthisasnaxislamkalngrungeruxngrawphuththstwrrsthi 21 idekidphasachwaihmkhun miexksarthangsasnaxislamchbbaerk thiekhiyndwyphasachwaihm sungmikhasphthaelasanwnthiyummacakphasaxahrbmak txmaemuxidrbxiththiphlcakphasadtchaelaphasaxinodniesiy thaihphasachwaphyayamprbrupaebbihngaykhun aelamikhayumcaktangchatimakkhun phasachwasmyihm nkwichakarbangkhnaeykphasachwathiichphudtngaetphuththstwrrsthi 25 waepnphasachwasmyihm aetkyngkhngthuxwaepnphasaediywkbphasachwaihm phasachwainpccubn phasachwaimichphasapracachatiodymisthanaepnaekhphasapracathinincnghwdthimichawchwaxyuepncanwnmak mikarsxnphasachwainorngeriynaelamikarichinsuxtang immihnngsuxphimphraywnepnphasachwa aetminitysarphasachwa tngaet ph s 2546 sthaniothrthsnthxngthinkhxngchwatawnxxkxxkxakasepnphasachwadwyphasathinchwaklangaelaphasamaduradwy in ph s 2548 mikarxxknitysarphasachwa Damar Jati incakartakarkracaytamekhtphumisastrphasathiichphudinekaachwa phasachwaepnphasathiichphudthwxinodniesiy praethsephuxnbaninexechiytawnxxkechiyngit enethxraelnd surinam niwaekhliodeniy aelapraethsxun chumchnthiihythisudkhxngphuphudphasani xyuin 6 cnghwdbnekaachwa aelacnghwdlmpungbnekaasumatra cakkhxmul ph s 2523 chawxinodniesiyrxyla 43 ichphasachwainchiwitpracawn odymiphuphudphasachwaiddimakkwa 60 lankhn inaetlacnghwdkhxngxinodniesiymiphuphudphasachwaiddixyangnxyrxyla 1 inchwatawnxxk miphuphudphasachwainchiwitpracawnrxyla 74 5 phasamadurarxyla 23 aelaphasaxinodniesiyrxyla 2 2 incnghwdlmpung miphuphudphasachwainchiwitpracawnrxyla 62 4 rxyla 16 4 phasasundarxyla 10 5 aelaphasaxinodniesiyrxyla 9 4 swnincakarta micanwnphuphudphasachwaephimsungkhunthung 10 etha inewla 25 pi aetinxaecahklbldcanwnlng inbnetin chwatawntk phusubthxdmacakrthsultanmatarminchwaklang yngichrupaebbobrankhxngphasachwa miphuphudphasasundaaelaphasaxinodniesiytamaenwchayaedntidkbcakarta cnghwdchwatawnxxkyngepnbanekidkhxngphuphudphasamadura aetchawmaduraswnihyphudphasachwaiddwy tngaetphuththstwrrsthi 24 epntnma mikarekhiynphasamaduradwyxksrchwa inlmpung michnphunemuxngthiphudphasalmpungephiyngrxyla 15 thiehluxepnphuxphyphmacakswnxun khxngxinodniesiy sungphuxphyphekhamaswnihyepnphuphudphasachwa insurinamsungepnxditxananikhmkhxngenethxraelndinxemrikait miphuthiepnlukhlankhxngchawchwaaelayngphudphasachwaxyuraw 75 000 khnsthwithyahnwyesiyngphasachwamatrthansmyihmmidngni sra i ue e o ɛ ɔ a inphyangkhpid sra i u e o xxkesiyngepn ɪ ʊ ɛ ɔ tamladb inphyangkhepid sra e o yngxxkesiyngepn ɛ ɔ emuxsrathitammakhuxsra i u inphyangkhepid imechnnnkcaxxkesiyngepnsra e hruxxxkesiyngehmuxnkn e e o o inphasathinsurakartasungepnmatrthan sra a caxxkesiyngepn ɔ emuxxyuinphyangkhepidthaykhaaelaemuxxyuinphyangkhepidthiepnphyangkhrxngsudthaykhxngkha kxnhna ɔ dngklaw phyychna esiyngnasik m n ɲ ŋesiynghyud p t ʈ t ʃ k ʔb d ɖ d ʒ ɡ s hthrrmda j wlr hnwyesiyngphyychna kxng inphasachwathicringaelwimich aetepnesiyngimkxngthimixyuinsrathitamma nxkcakphasamaduraaelw phasachwaepnephiyngphasaediywinxinodniesiytawntkthimikarcaaenkkhwamtangrahwanghnwyesiyngkbhnwyesiyngiwyakrnkareriyngpraoykh phasachwasmyihmeriyngpraoykhaebb prathan kriya krrm inkhnathiphasachwaobraneriyngpraoykhaebb kriya prathan krrm hrux kriya krrm prathan twxyangechn praoykh ekhaekhamainphrarachwng ekhiyniddngni chwaobran Teka kriya ta sira prathan ri ng khachiechphaa kadhatwan krrm chwasmyihm Dheweke prathan teka kriya neng kĕdhaton krrm khakriya immikarphnkhakriyatambukhkhlhruxcanwn immikaraesdngkalaetichkaretimkhachwy echn emuxwanni aelw aebbediywkbphasaithy rabbkhxngkhakriyainkaraesdngkhwamaetktangkhxngprathanaelakrrmkhxnkhangsbsxnwngsphthphasachwamisphthmakmaythiepnkhayumaelakhadngedimkhxngphasatrakulxxsotrniesiy phasasnskvtmixiththiphltxphasachwamak khayumcakphasasnskvtmkepnkhathiichinwrrnkhdi aelayngkhngichxyu khayumcakphasaxun miphasaxahrb phasadtch aelaphasamlayu phasachwamikhayumcakphasaxahrbnxykwaphasamlayu odymakepnkhathiichinsasnaxislam echn pikir khid macakphasaxahrb fikr badan rangkay mripat ta khadwamacakphasaxahrb ma rifah hmaythung khwamru hrux wisythsn khayumcakphasaxahrbnimisphthphunemuxngaelakhayumcakphasasnskvtthimikhwamhmayehmuxnknichxyudwy echn pikir galih idhĕp xxsotrniesiy aela manah cipta hrux cita cakphasasnskvt badan awak xxsotrniesiy aela slira sarira hrux angga cakphasasnskvt aela mripat mata xxsotrniesiy aela soca hrux netra cakphasasnskvt txipniepntarangepriybethiybsphthcakphasatang phasachwa phasaxinodniesiy phasadtch phasaithypit sepeda fiets ckryanpit montor sepeda motor motorfiets ckryanyntsepur kereta api spoor khuxrang rthif rthifthaeniybphasa say phudkbbriwardwykhaphudaebbhnung aelaphwkekhacatxbxikrupaebbhnung phaphthayphrryaaelabriwarkhxngsilpin pttaewiykhxngxananikhm kh s 1860 1872 karphudphasachwaaetktangipkhunkbbribththangsngkhmthaihmikaraebngchnkhxngphasa aetlachnmisphth kdthangiwyakrn aelachnthlksnepnkhxngtnexng karaebngchnniimichlksnaechphaakhxngphasachwa ephraaphbinphasainexechiyhlayphasa echn phasaekahli phasayipun aetlachnkhxngphasachwamichuxeriykdngni ongok ꦔ ꦏ rupaebbphudxyangimepnthangkarrahwangephuxnaelayatisnith aelaichodykhnthimithanasungkwaemuxphudkbkhnthimithanatakwa echn phuihyichkbedk mdya ꦩꦢ rupaebbklang rahwangongokkbkrama sahrbinsthanathiimtxngkarthngkhwamepnthangkaraelaimepnthangkar khanimacakphasasnskvtwa mthya klang krama ꦏ ꦩ rupaebbthisuphaphaelaepnthangkar ichkbkhnthixyuinsthanaediywkn epnrupaebbthiichphudinthisatharna karprakastang ichodykhnthimithanatakwaemuxphudkbkhnthimithanasungkwa echn edkphudkbphuihy khanimacakphasasnskvtwa krma tamladb sthanainsngkhmthimiphltxrupaebbkhxngphasachwakahndodyxayuhruxtaaehnnginsngkhm kareluxkichphasaradbidnntxngxasykhwamrxbruinwthnthrrmchwaaelaepnsingthiyaksahrbkareriynphasachwakhxngchawtangchatiphasathinkhxngphasachwasmyihmphasathinkhxngphasachwaaebngidepnsamklumtambriewnyxythimiphuphudphasaehlanixasyxyu khux phasachwaklang phasachwatawnxxk aelaphasachwatawntk khwamaetktangrahwangphasathinxyuthikarxxkesiyngaelakhasphth phasachwaklangepnphasathinthiichphudinsurakartaaelaykyakarta thuxepnphasathinmatrthankhxngphasani miphuphudkracaytngaetehnuxthungitkhxngcnghwdchwaklang phasachwatawntkichphudthangtawntkkhxngcnghwdchwaklangaelatlxdthngcnghwdchwatawntk odyechphaachayfngthangtxnehnux idrbxiththiphlcakphasasunda aelayngmisphtheka xyumak phasachwatawnxxkerimichphudcakfngtawnxxkkhxngkali brnts inekxrotosonipcnthungbayuwngki khrxbkhlumbriewnswnihykhxngcnghwdchwatawnxxk rwmekaamaduradwy phasathinniidrbxiththiphlcakphasamadura phasathintawnxxksudidrbxiththiphlcakphasabahlikarxxkesiyng chawchwaswnihyykewninchwatawntk yxmrbkarxxkesiyng a epn xx echn apa inphasachwatawntkxxkesiyngepnxapa swnphasachwaklangaelaphasachwatawnxxkxxkesiyngepnxxpx emuxmihnwyesiyngthimiokhrngsrangepnsra phyychna sra odysrathngsxngesiyngepnesiyngediywkn phasachwangklangldesiyngsratwthay i epn e aela u epn o phasachwatawnxxkldthngsxngesiyngswnphasachwatawntkkhngesiyngedimiw echn cilik phasachwaklangepn ciela phasachwatawnxxkepn ecaela phasachwatawntkepn cilik wngsphth phasachwamikhasphththitangknipinaetlaphasathin echnkhawakhun chwaklangepn kowe phasachwatawnxxkepn kon phasachwatawntkepn rikaxkkhrwithipaysxngphasa oprtueksaelachwa inykyakarta phasachwamirupekhiynaebbdngedimdwyxksrchwa xksrchwaaelaxksrbahlithimikhwamekiywkhxngsubtntxcakxksrkwieka sungepnxksrphrahmithiekhasuchwaphrxmkbsasnahinduaelaphuthth nxkcakni yngsamarthekhiyndwyxksrxahrb ruckkninchuxxksrepokn aelapccubnekhiyndwyaethnxksrchwa dwycudprasngkhthangkarichngan odyxkkhrwithilatinxingcakxkkhrwithidtchthinaekhain ph s 2469 aelwprbprungin ph s 2515 2516 rupaebbxksrlatininpccubnmidngni twphimphihyA A B C D Dh E F G H I J K L M N Ng Ny O P Q R S T Th U V W X Y Za a b c d dh e e e f g h i j k l m n ng ny o p q r s t th u v w x y zsthxksrsakla ɔ b tʃ d ɖ e e e ɛ f g h i dʒ k l m n ŋ ɲ ɔ o p q r s t ʈ u v w x j z xksrthiepntwexiyngkhuxxksrthiichinkhayumcakphasaxahrbaelaphasayuorp xksrchwa phyychnathanꦲ ꦤ ꦕ ꦫ ꦏ ꦢ ꦠ ꦱ ꦮ ꦭ ꦥ ꦝ ꦗ ꦪ ꦚ ꦩ ꦒ ꦧ ꦛ ꦔha na ca ra ka da ta sa wa la pa dha ja ya nya ma ga ba tha ngatwxyangtwxyangkhxkhwamphasachwamacakptiyyasaklwadwysiththimnusychnkhxthi 1 xksrlatin Saben uwong kalairake kanthi mardika lan darbe martabat lan hak hak kang padha Kabeh pinaringan akal lan kalbu sarta kaajab pasrawungan anggone memitran siji lan sijine kanthi jiwa sumadulur carakn xksrdngedim ꦱꦧ ꦤ ꦲ ꦮ ꦚꦭꦲ ꦫꦏ ꦏꦤ ꦛ ꦩ ꦢ ꦏꦭꦤ ꦢ ꦧ ꦩ ꦠꦧꦠ ꦭꦤ ꦲꦏ ꦲꦏ ꦏ ꦥꦝ ꦏꦧ ꦥ ꦤꦫ ꦔꦤ ꦲꦏꦭ ꦭꦤ ꦏꦭ ꦧ ꦱ ꦠꦏꦲꦗꦧ ꦥꦱ ꦮ ꦔꦤ ꦲ ꦒ ꦤ ꦩ ꦩ ꦠ ꦤ ꦱ ꦗ ꦭꦤ ꦱ ꦗ ꦤ ꦏꦤ ꦛ ꦗ ꦮꦱ ꦩꦢ ꦭ xksrepokn ساب ين أور وڠ كالائيراك ي كانڟي ألوو ار لان دارب ي مرتبة لان حق۲ كاڠ ڤاڎا كاب يه ڤيناريڠان أكال لان كالبو سارتا كاأجاب ڤاسراو ونڠان أڠڮ ون ي م يميتران سيجي لان كانڟي جيوا سومادولور twxyangesiyng source source aeplithy mnusythngpwngekidmamixisraaelaesmxphakhkninskdisri aelasiththi tangintnmiehtuphlaelamonthrrm aelakhwrptibtitxkndwycitwiyyanaehngphradrphaph hmayehtu maelyxik khxng Dyen aetktangcak maelyxik tamaenwkhidsmyihm esnxody Alexander Adelaar maelyxikkhxng Dyen rwmphasamadura xaecah aelaphasaklummalaya pccubnkhuxmaelyxik xangxingMikael Parkvall Varldens 100 storsta sprak 2007 The World s 100 Largest Languages in 2007 in Nationalencyklopedin Peraturan Daerah Daerah Istimewa Yogyakarta Nomor 2 Tahun 2021 tentang Pemeliharaan dan Pengembangan Bahasa Sastra dan Aksara Jawa Badan Pusat Statistik 2011 ISBN 978 979 064 417 5 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 07 10 Javanese language britannica com Encyclopedia Britannica 2010 subkhnemux 17 March 2021 Akhyari Hananto December 8 2017 121 Years of Javanese People in New Caledonia Seasia Good News from Southeast Asia Dyen 1965 p 26 Nothofer 2009 p 560 Nothofer 1975 p 1 Blust 1981 Adelaar 2005a pp 357 385 sfn error no target CITEREFAdelaar2005a Ogloblin 2005 p 590 Blust 2010 p 97 Smith 2017 pp 443 453 454 Wedhawati et al 2006 p 1 Brown Keith Ogilvie Sarah 2008 Concise encyclopedia of languages of the world Elsevier p 560 ISBN 9780080877747 subkhnemux 2010 05 24 Madurese also possesses aspirated phonemes including at least one aspirated retroflex phoneme Suharno Ignatius 1982 A Descriptive Study of Javanese Canberra ANU Asia Pacific Linguistics Pacific Linguistics Press pp 4 6 doi 10 15144 PL D45 1885 145095 Perwitasari Arum Klamer Marian Witteman Jurriaan Schiller Niels O 2017 Quality of Javanese and Sundanese Vowels Journal of the Southeast Asian Linguistics Society 10 2 1 9 10524 52406 Wolff John U Soepomo Poedjosoedarmo 1982 Communicative Codes in Central Java Cornell Southeast Asia Program p 4 ISBN 0 87727 116 X OHCHR Universal Declaration of Human Rights Javanese OHCHR phasaxngkvs subkhnemux 2023 01 31 OHCHR phasaxngkvs khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2023 06 08 subkhnemux 2023 05 27 ptiyyasaklwadwysiththimnusychn aexmensti xinetxrenchnaenl praethsithy subkhnemux 2023 09 17 aehlngkhxmulAdelaar Karl Alexander 2005 Malayo Sumbawan Oceanic Linguistics University of Hawai i Press 44 2 356 388 doi 10 1353 ol 2005 0027 1981 The reconstruction of proto Malayo Javanic an appreciation Bijdragen tot de Taal Land en Volkenkunde 137 4 456 459 doi 10 1163 22134379 90003492 JSTOR 27863392 Blust Robert 2010 The Greater North Borneo Hypothesis Oceanic Linguistics University of Hawai i Press 49 1 44 118 doi 10 1353 ol 0 0060 JSTOR 40783586 S2CID 145459318 1965 A lexicostatistical classification of the Austronesian languages Baltimore Waverly Press Nothofer Berndt 1975 The reconstruction of Proto Malayo Javanic Verhandelingen van het Koninklijk Instituut voor Taal Land en Volkenkunde Vol 73 Den Haag Martinus Nijhoff ISBN 9024717728 Nothofer Berndt 2009 Javanese in Keith Brown Sarah Ogilvie b k Concise Encyclopedia of Languages of the World Oxford Elsevier pp 560 561 ISBN 9780080877747 Ogloblin Alexander K 2005 Javanese in K Alexander Adelaar Nikolaus Himmelmann b k The Austronesian Languages of Asia and Madagascar London dan New York Routledge pp 590 624 ISBN 9780700712861 Smith Alexander D 2017 The Western Malayo Polynesian Problem Oceanic Linguistics University of Hawai i Press 56 2 435 490 doi 10 1353 ol 2017 0021 S2CID 149377092 Horne Elinor C 1961 Beginning Javanese New Haven Yale University Press van der Molen W 1993 Javaans schrift Leiden Vakgroep Talen en Culturen van Zuidoost Azie en Oceanie ISBN 90 73084 09 1 Wedhawati Nurlina W E S Setiyanto E Sukesti R aelakhna 2006 Tata bahasa Jawa mutakhir A contemporary grammar of Javanese phasaxinodniesiy Yogyakarta ISBN 9789792110371 lingkesiy Wurm S A b k 1983 Language Atlas of the Pacific Area Part II Insular South east Asia Canberra Zoetmulder P J 1982 Old Javanese English Dictionary s Gravenhage Martinus Nijhoff ISBN 90 247 6178 6 xanephimErrington James Joseph 1991 Language and social change in Java linguistic reflexes of modernization in a traditional royal polity Ohio University Center for International Studies subkhnemux 18 February 2013 Errington James Joseph 1998 Shifting languages interaction and identity in Javanese Indonesia Cambridge University Press ISBN 978 0 521 63448 9 Horne Elinor Clark 1963 Intermediate Javanese Yale University Press subkhnemux 18 February 2013 Horne Elinor Clark 1974 Javanese English dictionary Yale University Press ISBN 978 0 300 01689 5 Keeler Ward 1984 Javanese a cultural approach Ohio University Center for International Studies ISBN 978 0 89680 121 9 Robson S O Stuart Owen Wibisono Singgih 2002 Javanese English dictionary Periplus Editions HK North Clarendon VT Tuttle Pub ISBN 978 0 7946 0000 6 Robson S O Stuart Owen Monash University Monash Asia Institute 2002 Javanese grammar for students Rev ed Monash Asia Institute Monash University ISBN 978 1 876924 12 6 Robson S O Stuart Owen Monash University Centre of Southeast Asian Studies 1991 Patterns of variation in colloquial Javanese Centre of Southeast Asian Studies Monash University ISBN 978 0 7326 0263 5 Siegel James T 1986 Solo in the new order language and hierarchy in an Indonesian city Princeton University Press ISBN 978 0 691 00085 5 Uhlenbeck E M Koninklijk Instituut voor Taal Land en Volkenkunde Netherlands 1964 A critical survey of studies on the languages of Java and Madura Martinus Nijhoff subkhnemux 18 February 2013 Uhlenbeck E M Koninklijk Instituut voor Taal Land en Volkenkunde Netherlands 1978 Studies in Javanese morphology Martinus Nijhoff ISBN 978 90 247 2162 7aehlngkhxmulxunwikiphiediy saranukrmesri inphasachwa wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa Appendix Javanese Swadesh list wikithxngethiyw miefrsbuksahrb Javanese Javanese Writing System The Javanese alphabet Unicode A980 A9DF Javanese Phonation Types Consonants Old Javanese inscriptions