บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เบนิโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลินี (อิตาลี: Benito Amilcare Andrea Mussolini) เป็นนักการเมืองชาวอิตาลีและนักเขียนข่าวที่เป็นผู้นำของพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ เขาได้ขึ้นปกครองอิตาลีในฐานะ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1922 ถึง 1943 เขาได้กลายเป็นผู้นำประเทศจนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 เมื่อเขาได้ทำลายการหลอกลวงของระบอบประชาธิปไตยและสร้างระบอบเผด็จการ
เบนิโต มุสโสลินี | |
---|---|
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤศจิกายน 1921 – 25 กรกฎาคม 1943 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ดำรงตำแหน่ง 31 ตุลาคม 1922 – 25 กรกฎาคม 1943 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป | ปีเอโตร บาโดลโย |
แห่งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 กันยายน 1943 – 25 เมษายน 1945 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม 1938 – 25 กรกฎาคม 1943 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เบนิโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลินี 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 ฟอร์ลิ อิตาลี |
เสียชีวิต | 28 เมษายน ค.ศ. 1945 , อิตาลี | (61 ปี)
ที่ไว้ศพ | San Cassiano cemetery, , ฟอร์ลิ |
เชื้อชาติ | อิตาลี |
ศาสนา | ไม่มี |
พรรคการเมือง | พรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ (1921–1943) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | (1901–1914) (1919–1921) (1914–1919) (1914) พรรครีพับลิกันฟาสซิสต์ (1943–1945) |
ความสูง | 5' 6½" (1.69 m) |
คู่สมรส | |
บุตร | แอนนา มาเรีย มุสโสลินี |
บุพการี |
|
ญาติ | คลาล่า แปตะชิ |
วิชาชีพ | ผู้เผด็จการ, นักการเมือง, สื่อสารมวลชน, ผู้ประพันธ์บันเทิงคดี, ครู |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | อิตาลี สาธารณรัฐสังคมอิตาลี |
สังกัด | |
ประจำการ | ประจำการ: 1915–1917 |
ยศ | |
หน่วย | กรมทหาร ที่ 11 |
สงคราม/การสู้รบ | สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 |
เป็นที่รู้จักกันในฐานะ ""(ท่านผู้นำ), มุสโสลินีได้เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิฟาสซิสต์อิตาลี ในปี ค.ศ. 1912 มุสโสลินีได้เป็นสมาชิกชั้นนำของคณะกรรมการแห่งชาติของพรรคสังคมนิยมอิตาลี(PSI) แต่ถูกขับออกจากพรรค PSI จากการสนับสนุนในการเข้าแทรกแซงการทหารในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในฐานะที่เป็นผู้คัดค้านต่อจุดยืนของพรรคที่วางตัวเป็นกลาง มุสโสลินีได้รับใช้ในในช่วงสงครามจนกระทั่งเขาได้รับบาดเจ็บและถูกปลดประจำการในปี ค.ศ. 1917 มุสโสลินีได้กล่าวประณามต่อพรรค PSI มุมมองของเขาในตอนนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ลัทธิชาตินิยมแทนที่จะเป็นลัทธิสังคมนิยมและต่อมาได้ก่อตั้งขบวนการฟาสซิสต์ซึ่งได้ต่อต้านสมภาคนิยม และความขัดแย้งระหว่างชนชั้น แทนที่จะเรียกร้องให้"คณะปฏิวัติชาตินิยม"ได้เอาชนะการแบ่งชนชั้น ภายหลังการเดินขบวนสู่เบอร์ลินในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1922 มุสโสลินีได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลีคนสุดท้องในประวัติศาสตร์อิตาลีจนกระทั่งได้แต่งตั้งให้แก่มัตเตโอ เรนซี ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 2014 ภายหลังจากได้กำจัดคู่แข่งทางการเมืองทั้งหมดด้วยตำรวจลับของเขาและการนัดหยุดแรงงานของคนงาน มุสโสลินีและผู้ติดตามของเขาได้รวบรวมอำนาจผ่านหนึ่งในกฎหมายที่เปลี่ยนประเทศให้เป็นระบอบเผด็จการพรรคการเมืองเดียว ภายในห้าปีที่ผ่านมา มุสโสลินีได้จัดตั้งอำนาจเผด็จการด้วยวิธีทั้งทางกฎหมายและวิธีที่ไม่ธรรมดาและต้องการที่จะสร้างรัฐระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ในปี ค.ศ. 1929 มุสโสลินีได้ลงนามสนธิสัญญาลาเตรันกับนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดในช่วงหลายทศวรรษของการสู้รบระหว่างรัฐอิตาลีและพระสันตะปาปาและได้ยอมรับการเป็นรัฐอิสระของนครวาติกัน
ภายหลัง ปี ค.ศ. 1935-1936 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง การรุกรานครั้งนี้ได้ถูกประณามโดยมหาอำนาจตะวันตกและตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิตาลี ความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีและอิตาลีที่ดีขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนของฮิตเลอร์ในการรุกราน มุสโสลินีได้ยอมรับให้ประเทศออสเตรียอยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนี, ได้ลงนามสนธิสัญญาในการร่วมมือกับเยอรมนีและประกาศก่อตั้ง อักษะ โรม-เบอร์ลิน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 ถึง 1939 มุสโสลินีได้ส่งทหารจำนวนมากไปให้การสนับสนุนแก่กองกำลังของฟรังโกในสงครามกลางเมืองเสปน การแทรกแซงอย่างรวดเร็วครั้งนี้ยิ่งทำให้อิตาลีห่างเหินจากฝรั่งเศสและบริเตน มุสโสลินีได้พยายามชะลอสงครามครั้งใหญ่ในทวีปยุโรป แต่เยอรมนีได้เข้ารุกรานโปแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ส่งผลทำให้มีการประกาศสงครามโดยฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรและจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940-ด้วยฝรั่งเศสพ่ายแพ้และถูกยึดครองใกล้มาถึง—อิตาลีได้เข้าร่วมสงครามอย่างเป็นทางการโดยเข้าข้างฝ่ายเยอรมัน แม้ว่ามุสโสลินีได้ทราบดีว่าอิตาลีไม่มีขีดความสามารถทางทหารและทรัพยากรในการทำสงครามอันยืดเยื้อกับจักรวรรดิบริติซ เขาเชื่อว่าภายหลังจากการสงบศึกกับฝรั่งเศสที่ใกล้มาถึง อิตาลีอาจจะได้รับดินแดนจากฝรั่งเศส และเขาจะสามารถรวบรวมกองกำลังของเขาในการรุกครั้งใหญ่ในแอฟริกาเหนือ ที่กองกำลังบริติซและเครือจักรภพมีจำนวนมากกว่ากองทัพอิตาลี อย่างไรก็ตาม, รัฐบาลบริติซได้ปฏิเสธที่ยอมรับข้อเสนอเพื่อสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับชัยชนะของฝ่ายอักษะในยุโรปตะวันออกและตะวันตก แผนการสำหรับการรุกรานสหราชอาณาจักรไม่ได้ดำเนินต่อไปและสงครามยังคงดำเนินต่อไป ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้าไปยังกรีซ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามอิตาลี-กรีซ การรุกรานครั้งนี้ล้มเหลวและหลังจากกรีซได้โจมตีตอบโต้กลับผลักดันอิตาลีกลับไปยังเขตยึดครองแอลเบเนีย การล่มสลายของกรีซและพร้อมกับความปราชัยต่อบริติซในแอฟริกาเหนือทำให้อิตาลีต้องพึ่งพาเยอรมนี
เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเพื่อเข้าร่วมในการรุกรานสหภาพโซเวียตและอิตาลีได้ประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม ในปี ค.ศ. 1943 อิตาลีต้องประสบหายนะหลายครั้ง ภายหลังจากนั้นอีก: ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพแดงได้ทำลายกองทัพอิตาลีในรัสเซียอย่างราบคาบ ในเดือนพฤษภาคม, ฝ่ายอักษะถูกขับไล่ออกจากแอฟริกาเหนือ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม, ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองเกาะซิซิลี และเมื่อถึงวันที่ 16 ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าการรุกรานในช่วงฤดูร้อนในสหภาพโซเวียตล้มเหลว ด้วยผลที่ตามมา, เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม สภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ได้ลงมติไม่ไว้วางใจต่อมุสโสลินี วันต่อมา กษัตริย์ได้ปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้นำคณะรัฐบาลและควบคุมตัวเขาให้อยู่ในความดูแล เพื่อแต่งตั้งปีเอโตร บาโดลโยขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนต่อจากเขา มุสโสลินีได้รับการปลดปล่อยจากที่คุมขังในโดยทหารโดดร่มเยอรมันและหน่วยคอมมานโดวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สภายใต้การนำโดยพันตรี Otto-Harald Mors
ภายหลังที่ได้เข้าพบกับอดีตผู้นำเผด็จการที่ได้คอยให้ความช่วยเหลือ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็ได้ให้มุสโสลินีเข้าไปปกครองในรัฐหุ่นเชิดทางภาคเหนือของอิตาลี สาธารณรัฐสังคมอิตาลี(อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI), เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐซาโล ในช่วงปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะที่ความพ่ายแพ้ทั้งหมดได้ใกล้เข้าถึง มุสโสลินีและอนุภรรยาของเขา คลาล่า แปตะชิ ได้พยายามหลบหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์ แต่ทั้งคู่ถูกจับกุมโดยคอมมิวนิสต์อิตาลีและถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดโดยชุดทีมยิงเป้า เมื่อวันที่ 28 เมษายน ใกล้กับทะเลสาบโกโม ร่างของเขาถูกนำไปยังเมืองมิลาน ซึ่งที่นั้นได้ถูกแขวนประจานไว้ที่หน้าสถานที่ราชการเพื่อเป็นการยืนยันการตายของเขาแก่สาธารณชน
ช่วงชีวิตต้น
มุสโสลินี เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 ใน Dovia di Predappio เมืองขนาดเล็กในจังหวัดฟอร์ลีในโรมานญ่า ต่อมา ในช่วงยุคฟาสซิสต์ Predappio ได้ถูกขนานนามว่า "เมืองของดูเช" และฟอร์ลีถูกเรียกว่า "เมืองของดูเช" โดยนักแสวงบุญที่กำลังไปยัง Predappio และฟอร์ลี เพื่อมาดูบ้านเกิดของมุสโสลินี
บิดาของเขาคือ อเลสซานโดร มุสโสลินี เป็นช่างตีเหล็กและนักสังคมนิยม ในขณะที่มารดาของเขา โรซา(นามสกุล มัลโทนี) เป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนซึ่งนับถือคาทอลิกที่เคร่งครัด ด้วยการที่เอนเอียงทางการเมืองของบิดาของเขา มุสโสลินีจึงได้รับการตั้งชื่อว่า เบนิโต ซึ่งมาจากชื่อของประธานาธิบดีแม็กซิกันฝ่ายเสรีนิยม ในขณะที่ชื่อกลางของเขาคือ อานเดรอาและอามิลกาเร ซึ่งเป็นชื่อของนักสังคมนิยมชาวอิตาลีสองคนที่มีนามว่า และ ในทางกลับกัน มารดาได้นำเขาเข้าพิธีบัพติศมาตั้งแต่แรกเกิด เบนิโตเป็นลูกคนโตในเหล่าลูกสามคนของพ่อแม่ พี่น้องของเขาคือ อาร์นัลโด และ Edvige
ในช่วงวัยเด็ก มุสโสลินีจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการช่วยเหลือแก่บิดาของเขาในโรงตีเหล็ก มุมมองทางการเมืองช่วงแรกของมุสโสลินีได้รับอิทธิพลอย่างมากมายจากบิดาของเขา ซึ่งได้เทิดทูนต่อบุคคลที่เป็นนักชาตินิยมชาวอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 19 ที่มีความเอนเอียงไปทางมนุษยนิยม ได้แก่ Carlo Pisacane Giuseppe Mazzini และ Giuseppe Garibaldi ทัศนคติทางการเมืองของบิดาของเขาได้ผสมผสานกับมุมมองของบุคคลที่เป็นฝ่ายอนาธิปไตย เช่น Carlo Cafiero และ Mikhail Bakunin ลัทธิอำนาจนิยมทางทหารของ Garibaldi และลัทธิชาตินิยมของ Mazzini ใน ค.ศ. 1902 ซึ่งเป็นวันครบรอบของการเสียชีวิตของ Garibaldi มุสโสลินีได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สาธารณะในการยกย่องแก่ฝ่ายรีพับบลีกันชาตินิยม
มุสโสลินีได้ถูกส่งไปยังโรงเรียนประจำที่ถูกดำเนินการโดยนักบวชคณะซาเลเซียน เนื่องจากนิสัยที่บึ้งตึง ชอบใช้กำลัง กระดากและหยิ่งผยองของเขา เขามักจะทะเลาะเบาะแว้งกับครูและเพื่อนร่วมโรงเรียน ในช่วงที่มีการโต้แย้งกัน เขาได้ทำร้ายเพื่อร่วมชั้นด้วยมีดพกแบบพับและถูกลงโทษอย่างรุนแรง ภายหลังจากที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแห่งใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใน Forlimpopoli มุสโสลินีได้รับผลการเรียนที่ดี เป็นที่ชื่นชอบจากครูของเขา แม้ว่าจะมีนิสัยที่รุนแรง และมีคุณสมบัติที่จะเป็นครูสอนหนังสือระดับชั้นประถมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1901
การย้ายถิ่นไปยังสวิตเซอร์แลนด์และเข้าประจำการทหาร
ใน ค.ศ. 1902 มุสโสลินีได้ย้ายถิ่นไปยังสวิตเซอร์แลนด์ สาเหตุอย่างหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าประจำการทหารภาคบังคับ เขาทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ ในฐานะช่างทำหิน ในเจนีวา ฟรีบูร์ และแบร์น แต่ไม่สามารถหางานประจำได้เลย
ในช่วงเวลานี้ เขาได้ศึกษาแนวคิดของนักปรัชญา ฟรีดริช นีทเชอ นักสังคมวิทยา Vilfredo Pareto และนักลัทธิสหการนิยม Georges Sorel ต่อมามุสโสลินีได้เลื่อมใสให้กับนักสังคมนิยมชาวครีสเตียน Charles Péguy และนักลัทธิสหการนิยม Hubert Lagardelle ซึ่งบางส่วนก็เป็นอิทธิพลของเขา การเน้นย้ำของ Sorel ถึงความจำเป็นในการล้มล้างประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมและระบบทุนนิยมที่เสื่อมโทรมด้วยการใช้ความรุนแรง การลงมือโดยตรง การนัดหยุดงานทั่วไป และการใช้ลัทธินีโอ-มาเกียเวลลีที่คอยดึงดูดทางด้านอารมณ์ ทำให้มุสโสลินีเกิดความรู้สึกประทับใจอย่างสุดซึ้ง
มุสโสลินีได้เริ่มมีบทบาทในขบวนการสังคมนิยมอิตาลีในสวิตเซอร์แลนด์ โดยทำงานในการตีหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า L'Avvenire del Lavoratore ซึ่งจะคอยจัดให้มีการประชุม การกล่าวสุนทรพจน์แก่คนงาน และดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของสหภาพแรงงานอิตาลีในโลซาน Angelica Balabanoff ได้รายงานว่า ได้แนะนำเขาให้รู้จักกับวลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งภายหลังได้วิพากษ์วิจารน์ต่อนักสังคมนิยมอิตาลีที่ได้สูญเสียมุสโสลินีไปจากสาเหตุของพวกเขา ใน ค.ศ. 1903 เขาถูกตำรวจแบร์เนอร์จับกุมด้วยข้อหาให้การสนับสนุนการนัดหยุดงานอย่างรุนแรง ถูกจำคุกเป็นเวลาสองสัปดาห์ และถูกส่งตัวกลับไปยังอิตาลี ภายหลังจากที่เขาได้รับการปล่อยตัวที่นั่น เขาได้กลับมายังสวิตเซอร์แลนด์ ใน ค.ศ. 1904 ได้ถูกจับกุมอีกครั้งในเจนีวาและถูกขับออกนอกประเทศด้วยข้อหาปลอมแปลงเอกสารของเขา มุสโสลินีจึงกลับไปยังโลซาน ที่ซึ่งเขาได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยโลซาน ภาควิชาสังคมศาสตร์ ซึ่งได้ติดตามบทเรียนของ Vilfredo Pareto ใน ค.ศ. 1937 เมื่อเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลี มหาวิทยาลัยโลซานได้มอบปริญญากิตติมศักดิ์แก่มุสโสลนี เนื่องในโอกาศครบรอบ 400 ปี
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1904 มุสโสลินีได้เดินทางกลับอิตาลีเพื่อใช้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมสำหรับการหลีกหนีทหาร การตัดสินลงโทษของเขาในเรื่องนี้ได้หายไปแล้ว เนื่องจากเงื่อนไขในการรับอภัยโทษคือให้เข้าประจำการในกองทัพบก เขาจึงเข้าร่วมในกองทัพน้อย Bersaglieri ในฟอร์ลี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1904 ภายหลังจากเข้ารับราชการทหารเป็นเวลาสองปี (ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1905 ถึง เดือนกันยายน ค.ศ. 1906) เขาจึงกลับไปสอนหนังสือที่โรงเรียน
นักข่าวทางการเมือง ปัญญาชน และนักสังคมนิยม
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1909 มุสโสลินีได้ออกจากอิตาลีอีกครั้ง คราวนี้ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคแรงงานในเมืองเทรนโตที่พูดด้วยภาษาอิตาลี ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี(ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอิตาลี) นอกจากนี้ เขายังได้ทำงานในสำนักงานแก่พรรคสังคมนิยมท้องถิ่น และแก้ไขเรียบเรียงหนังสือพิมพ์ที่ชื่อว่า L'Avvenire del Lavoratore (อนาคตของกรรมกร) เมื่อกลับมายังอิตาลี เขาใช้เวลาช่วงสั้น ๆ ในมิลาน และใน ค.ศ. 1910 เขาได้กลับมายังบ้านเกิดที่ฟอร์ลี ซึ่งที่นั้นเขาได้แก้ไขเรียบเรียงหนังสือพิมพ์ประจำสัปดาห์ที่ชื่อว่า Lotta di classe (การต่อสู้ทางชนชั้น)
มุสโสลินีคิดว่าตัวเขาเองเป็นคนมีปัญญาและถือว่าอ่านเก่ง เขาได้อ่านด้วยความละโมบ ปรัชญาชาวยุโรปที่เขาโปรดปราน รวมทั้ง Sorel นักอนาคตศาสตร์ชาวอิตาลี ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตี นักสังคมนิยมชาวฝรั่งเศส Gustave Hervé นักอนาธิปไตยชาวอิตาลี Errico Malatesta และนักปรัชญาชาวเยอรมันอย่าง ฟรีดริช เอ็งเงิลส์และคาร์ล มาคส์ ผู้ก่อตั้งลัทธิมากซ์ มุสโสลินีได้ฝึกอ่านภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมันด้วยตัวเองและแปลข้อความที่ถูกตัดตอนออกมาจากงานเขียนของนิทเชอ โชเพินเฮาเออร์ และคานต์
ในช่วงเวลานี้ เขาได้ตีพิมพ์บทความที่ชื่อว่า "Il Trentino veduto da un Socialista" ("เทรนติโนถูกมองโดยสังคมนิยม") ลงใน "ลา โวเซ่" ซึ่งเป็นวารสารของพวกหัวรุนแรง เขายังได้เขียนบทความเกี่ยวกับวรรณกรรมเยอรมันหลายเรื่อง ซึ่งบางเรื่องและหนึ่งในนวนิยายคือ L'amante del Cardinale: Claudia Particella, romanzo storico (The Cardinal's Mistress) นวนิยายเรื่องนี้ เขาได้เขียนร่วมกับ Santi Corvaja และได้ถูกตีพิมพ์เป็นหนังสือต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์ เทรนโต 2 โปโปโล ได้ถูกออกจำหน่ายเป็นงวด ๆ ตั้งแต่ 20 มกราคม ถึง 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1910 นวนิยายเรื่องนี้เป็นการต่อต้านศาสนจักรอย่างเจ็บแสบ และหลายปีต่อมาก็ได้ถูกถอดถอนจากการออกจำหน่าย ภายหลังจากที่มุสโสลินีได้ยุติความขัดแย้งกับวาติกัน
เขาได้กลายเป็นหนึ่งในนักสังคมนิยมที่มีความโดดเด่นในอิตาลี ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1911 มุสโสลินีได้เข้าร่วมในการก่อจลาจล ซึ่งนำโดยฝ่ายสังคมนิยม เพื่อต่อต้านของอิตาลี เขาได้กล่าวประณามถึง"การทำสงครามลัทธิจักรวรรดินิยม"ของอิตาลีได้อย่างเจ็บแสบ ซึ่งการกระทำครั้งนี้ทำให้เขาต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลาห้าเดือน ภายหลังได้รับการปล่อยตัว เขาได้ช่วยเหลือในการขับไล่อีวาโนเอ โบนอมีและ Leonida Bissolati ออกจากพรรคสังคมนิยม เนื่องจากพวกเขาทั้งสองคนเป็น"พวกลัทธิแก้"(revisionist) ซึ่งคอยให้การสนับสุนต่อสงคราม
เขาได้รับรางวัลบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ของพรรคสังคมนิยมที่ชื่อว่า "อวันตี" ภายใต้การนำของเขา ยอดจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นในไม่ช้า จาก 20,000 ฉบับ มาเป็น 100,000 ฉบับ John Gunther ใน ค.ศ. 1940 ได้เรียกเขาว่า "หนึ่งในนักข่าวที่ดีเยี่ยมที่ยังมีชีวิต" มุสโสลินีได้ทำงานเป็นนักรายงานข่าว ในขณะที่เตรียมความพร้อมสำหรับการเดินขบวนสู่โรม และเขียนข่าวให้แก่ Hearst News Service ถึงปี ค.ศ. 1935 มุสโสลินีคุ้นเคยกับวรรณกรรมลัทธิมากซ์อย่างมากในงานเขียนของเขา เขาไม่เพียงแต่จะอ้างอิงจากงานของลัทธิมากซ์ที่มีชื่อเสียง แต่ยังมาจากงานที่ยังดูคลุมเครืออยู่ด้วย ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้ถือว่าตัวเขาเองเป็นนักลัทธิมากซ์ และกล่าวยกย่องแก่มาคส์ว่า "เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเหล่าบรรดานักทฤษฏีทั้งหมดของลัทธิสังคมนิยม"
ใน ค.ศ. 1913 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อ Giovanni Hus, il veridico (ยัน ฮุส, ผู้เผยพระวจนะที่แท้จริง) ซึ่งเป็นชีวประวัติทางประวัติศาสตร์และการเมืองเกี่ยวกับช่วงชีวิตและภารกิจของนักบวชชาวเช็กซึ่งเป็นนักปฏิรูปนามว่า ยัน ฮุส และกลุ่มนักรบผู้ติดตามของเขาคือ ในช่วงชีวิตนักสังคมนิยมของเขา บางครั้งมุสโสลินีจะใช้นามปากกาว่า "เวโร เอเรติโก"("พวกนอกรีตที่ซื่อสัตย์")
มุสโสลินีได้ปฏิเสธ (Egalitarianism) คำสอนหลักของสังคมนิยม เขาได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการต่อต้านชาวคริสเตียนของนีทเชอและปฏิเสธของการมีอยู่ของพระเจ้า มุสโสลินีเกิดความรู้สึกว่าสังคมนิยมนั้นขาดความหนักแน่น ในมุมมองของความล้มเหลวของนิยัตินิยมลัทธิมากซ์และลัทธิการปฏิรูปประชาธิปไตยสังคมนิยม และเชื่อว่าแนวคิดของนีทเชอจะทำให้สังคมนิยมนั้นแข็งแกร่งขึ้น ในขณะที่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิสังคมนิยม งานเขียนของมุสโสลินีในท้ายที่สุด ได้บ่งบอกว่า เขาได้ละทิ้งลัทธิมากซ์และสมภาคนิยม เพื่อสนับสนุนแนวคิด Übermensch (เหนือมนุษย์) ของนีทเชอ และการต่อต้านสมภาคนิยม
ถูกขับออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลี
มีสมาชิกพรรคสังคมนิยมจำนวนหนึ่งได้ริเริ่มให้การสนับสนุนในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ณ เวลาที่เป็นจุดเริ่มต้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914. เมื่อสงครามได้เริ่มขึ้น นักสังคมนิยมจากชาวออสเตรีย บริติช ฝรั่งเศส และเยอรมันได้ติดตามกระแสชาตินิยมที่เพิ่มพูนมากขึ้นโดยการสนับสนุนของพวกเขาในการเข้าแทรกแซงในสงครามของประเทศ การปะทุของสงครามได้ส่งผลก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมของชาวอิตาลีที่เพิ่มพูนมากขึ้น สงครามได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ หนึ่งในนักชาตินิยมชาวอิตาลีที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่นิยมมากที่สุดซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสงครามคือ Gabriele D'Annunzio ซึ่งได้ส่งเสริมการเรียกร้องดินแดนกลับคืน (irredentism) ของชาวอิตาลี และช่วยในการชักจูงประชาชนชาวอิตาลีเพื่อสนับสนุนการแทรกแซงในสงคราม พรรคเสรีนิยมอิตาลีภายใต้การนำโดย ได้ส่งเสริมการแทรกแซงในสงครามโดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรและใช้ Società Dante Alighieri เพื่อส่งเสริมชาตินิยมอิตาลี นักสังคมนิยมชาวอิตาลีได้ถูกแบ่งแยกระหว่างฝ่ายสนับสนุนสงครามหรือฝ่ายต่อต้านสงคราม ช่วงก่อนที่มุสโสลินีจะเข้ารับตำแหน่งในสงคราม กลุ่มนักปฏิวัติฝ่ายสหการนิยมจำนวนหนึ่งได้ประกาศว่าจะให้การสนับสนุนในการแทรกแซง รวมทั้ง อัลเชสเต เด แอมบริส Filippo Corridoni และ Angelo Oliviero Olivettiได้ยืนกรานที่จะต่อต้านสงคราม ภายหลังจากผู้ประท้วงซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านทหารนั้นถูกสังหาร ส่งผลก่อให้เกิดการนัดหยุดงานทั่วไปที่ถูกเรียกว่า
ในช่วงแรก มุสโสลินีได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการสำหรับการยืนกรานของพรรค และในบทความฉบับเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 มุสโสลินีได้เขียนว่า "จมด้วยสงคราม เรายังคงวางตัวเป็นกลาง" เขามองเห็นว่า สงครามคือโอกาส ทั้งสำหรับความทะเยอทะยานของตัวเขาเองเช่นเดียวกับพวกเหล่านักสังคมนิยมและชาวอิตาลี เขาได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกชาตินิยมอิตาลีที่ต่อต้าน-ออสเตรีย ซึ่งเชื่อว่า สงครามได้เปิดโอกาสให้ชาวอิตาลีที่อยู่ภายใต้ออสเตรีย-ฮังการีได้ปลดปล่อยด้วยตัวพวกเขาเองจากการปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ในที่สุด เขาก็ได้ตัดสินใจประกาศในการสนับสนุนสงครามโดยเรียกร้องความต้องการแก่ฝ่ายสังคมนิยมในการโค่นล้มราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นและราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเขาได้กล่าวว่า เคยถูกปราบปรามลัทธิสังคมนิยมมาโดยตลอด
มุสโสลินีได้ให้เหตุผลเพิ่มเติมต่อตำแหน่งของเขาโดยการกล่าวประณามฝ่ายมหาอำนาจกลางว่าเป็นมหาอำนาจที่เป็นพวกปฏิกิริยา จากที่กำลังใฝ่หาตามแบบจักรวรรดินิยม ต่อต้านเบลเยียมและเซอร์เบีย เช่นเดียวกับในอดีตซึ่งต่อต้านกับเดนมาร์ก ฝรั่งเศส และต่อต้านอิตาลีด้วย เนื่องจากชาวอิตาลีจำนวนนับแสนคนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เขาได้โต้แย้งว่า การล่มสลายของราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นและฮาพส์บวร์ค และการปราบปราม "พวกปฏิกิริยา" ในตุรกีจะสร้างเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อชนชั้นกรรมกร ในขณะที่เขาได้ให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายมหาอำนาจภาคี มุสโสลินีได้ตอบสนองต่อธรรมชาติของอนุรักษ์นิยมของพระเจ้าซาร์รัสเซีย โดยระบุว่า การระดมกำลังทหารที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามจะบ่อนทำลายลัทธิอำนาจนิยมของพวกปฏิกิริยารัสเซีย และสงครามจะนำรัสเซียไปสู่การปฏิวัติทางสังคม เขาได้กล่าวว่า สำหรับอิตาลีแล้ว การทำสงครามจะก่อให้เกิดกระบวนการของริซอจิเมนโตอย่างสมบูรณ์โดยการรวบรวมชาวอิตาลีในออสเตรีย-ฮังการีมาเข้าสู่อิตาลี และโดยอนุญาตให้ประชาชนทั่วไปของอิตาลีได้เข้าร่วมสมาชิกของประเทศชาติอิตาลีในสิ่งที่ควรจะเป็นสงครามระดับชาติครั้งแรกของอิตาลี ดังนั้นเขาจึงกล่าวอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมายมหาศาลที่สงครามจะทำได้ ซึ่งหมายความว่าควรจะให้การสนับสนุนในฐานะสงครามการปฏิวัติ
เมื่อการสนับสนุนในการแทรกแซงของมุสโสลินีได้เพิ่มมากขึ้น เขาได้ขัดแย้งกับนักสังคมนิยมที่เป็นฝ่ายต่อต้านสงคราม เขาได้โจมตีฝ่ายต่อต้านสงครามและกล่าวอ้างว่า ชนชั้นกรรมมาชีพที่ให้การสนับสนุนในสันตินิยมจะแตกต่างจากชนชั้นกรรมมาชีพที่ได้เข้าร่วมกับแนวหน้าของการแทรกแซงที่กำลังเพิ่มมากขึ้นซึ่งกำลังเตรียมความพร้อมในอิตาลีสำหรับสงครามการปฏิวัติ เขาได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์พรรคสังคมนิยมอิตาลีและลัทธิสังคมนิยมเช่นเดียวกัน จากความล้มเหลวในการยอมรับปัญหาระดับชาติซึ่งได้นำไปสู่การประทุของสงคราม ดังนั้น เขาจึงถูกขับออกจากพรรคสำหรับการสนับสนุนการแทรกแซงของเขา
ข้อความที่ถูกตัดตอนมาต่อไปนี้มาจากรายงานของตำรวจซึ่งถูกจัดทำโดยสารวัตรใหญ่แห่งความั่นคงสาธารณะในมิลาน G. Gasti ได้อธิบายถึงภูมิหลังและจุดยืนของเขาในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งส่งผลทำให้เขาถูกขับออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลี สารวัตรใหญ่ได้เขียนว่า:
ศาสตราจารย์เบนิโต มุสโสลินี อายุ 38 ปี นักปฏิวัติสังคมนิยมซึ่งมีประวัติในกรมตำรวจว่า เป็นครูสอนหนังสือระดับประถมศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการสอนหนังสือในโรงเรียนมัธยม อดีตเลขาธิการคนแรกของห้องสำนักทนายความใน เชซานา ฟอร์ลี และเวเวนนา ภายหลังปี ค.ศ. 1912 บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ อวันตี! ซึ่งเขาได้ให้ข้อชี้แนะที่รุนแรงและกำหนดเป้าหมายอย่างไม่หยุดยั้ง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 ได้พบว่าตัวเขาเองได้ต่อต้านผู้อำนวยการของพรรคสังคมนิยมอิตาลีเพราะเขาให้การสนับสนุนความเป็นกลางอย่างเข้มแข็งในส่วนหนึ่งของอิตาลีในสงครามแห่งชาติเพื่อต่อต้านความเอนเอียงความเป็นกลางอย่างแท้จริง เขาได้ถอนตัวเมื่อวันที่ยี่สิบของเดือนนั้นจากตำแหน่งบรรณาธิการของ อวันตี! จากนั้นในวันที่ 15 ของเดือนพฤศจิกายน [ค.ศ. 1914] หลังจากนั้น เขาได้เริ่มตีพิมพ์คำแถลงข่าวในหนังสือพิมพ์ Il Popolo d'Italia ซึ่งเขาได้ให้การสนับสนุน-ตรงข้ามกับอวันตี และท่ามกลางการโต้เถียงอันขมขืนต่อหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นและผู้สนับสนุนหลัก-วิทยานิพนธืเรื่องของการแทรกแซงของอิตาลีในสงคราม ต่อต้านการทหารของจักรวรรดิมหาอำนาจกลาง ด้วยเหตุผลนี้ เขาจึงถูกกล่าวหาว่าไม่คู่ควรในทางศีลธรรมและทางการเมือง และดังนั้น พรรคจึงได้ตัดสินใจขับเขาออกไป ภายหลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการด้วยการรณรงค์อย่างเข้มข้นในนามของการแทรกแซงของอิตาลี การเข้าร่วมขบวนการประท้วงในจัตุรัส และการเขียนบทความที่รุนแรงไว้ใน Il Popolo d'Italia
ในการสรุปของเขา สารวัตรยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า:
เขาเป็นบรรณาธิการในอุดมคติของอวันตี! เพื่อสังคมนิยม ในสายงานนั้น เขาเป็นได้รับการเคารพนับถือและเป็นที่รักอย่างยิ่ง อดีตสหายและผู้ที่ชื่นชอบเขาบางคนยังได้สารภาพว่าไม่มีใครเข้าใจวิธีตีความหมายถึงจิตวิญญาณของชนชั้นกรรมมาชีพได้ดีกว่านี้อีกแล้ว และไม่มีใครสังเกตถึงการละทิ้งความเชื่อของเขาด้วยความเศร้าโศก สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือเงิน เขาเป็นผู้สนับสนุนที่แท้จริงและกระตือรือร้น ครั้งแรกของความรอบคอบและความเป็นกลางทางด้านอาวุธและต่อจากนั้นก็ทำสงคราม และเขาไม่มีความเชื่อว่า เขามีความประนีประนอมกับความซื่อตรงส่วนตัวและการเมืองโดยใช้ทุกวิถีทาง—ไม่ว่าพวกเขาจะมาจากไหนหรือที่ไหนก็ตามที่เขาจะได้รับมัน—เพื่อชดใช้ให้กับหนังสือพิมพ์ของเขา, โครงการของเขาและแนวทางการปฏิบัติของเขา นี่คือแนวทางแรกของเขา มันเป้นการยากที่จะบอกว่าเขามีความเชื่อมั่นในสังคมนิยมมากแค่ไหน(ซึ่งเขาไม่เคยเปิดเผยหรือล้มเลิกโดยส่วนตัวเลย) อาจต้องเสียสละในเส้นทางของข้อตกลงทางการเงินที่ขาดไม่ได้ซึ่งจำเป็นสำหรับความต่อเนื่องของการสู้รบที่ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วม ... แต่เป็นการอวดดีว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้เกิดขึ้น ... เขาต้องการทำให้ดูเหมือนว่ายังคงเป็นนักสังคมนิยมและเขาก็หลอกตัวเองด้วยการเข้าไปในความคิด นี่คือกรณีหนึ่ง
จุดกำเนิดของลัทธิฟาสซิสต์และประจำการในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ภายหลังจากถูกพรรคสังคมนิยมอิตาลีขับออกมาเพราะการให้สนับสนุนการแทรกแซงของอิตาลี มุสโสลินีได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ได้ยุติการสนับสนุนสำหรับการต่อสู้ทางชนชั้นและเข้าร่วมการสนับสนุนการปฏิวัติชาตินิยมซึ่งเหนือกว่าสายชนชั้น เขาก่อตั้งหนังสือพิมพ์ที่เป็นการแทรกแซงอย่าง Il Popolo d'Italia และ Fascio Rivoluzionario d'Azione Internazionalista ("การปฏิวัติของฟาสเซสเพื่อดำเนินการระหว่างประเทศ") ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 การสนับสนุนชาตินิยมของเขาในการแทรกแซงทำให้สามารถระดมเงินทุนหาได้จากอันซัลโด(บริษัทผลิตอาวุธยุทโธกรณ์) และบริษัทอื่น ๆ เพื่อสร้าง Il Popolo d'Italia เพื่อชักจูงให้นักสังคมนิยมและนักปฏิวัติในการสนับสนุนการทำสงคราม เงินทุนเพิ่มเติมสำหรับฟาสซิสต์ของมุสโสลินีในช่วงสงครามซึ่งมาจากแหล่งของฝรั่งเศส เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1915 แหล่งเงินทุนหลักนี้มาจากฝรั่งเศสซึ่งเชื่อว่าน่าจะมาจากนักสังคมนิยมชาวฝรั่งเศสที่ส่งให้การสนับสนุนไปยังนักสังคมนิยมที่ไม่เห็นด้วยซึ่งต้องการให้อิตาลีเข้าแทรกแซงแก่ฝ่ายฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1914 มุสโสลินีได้กล่าวประณามสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ จากความล้มเหลวในการยอมรับสงครามทำให้เอกลักษณ์และความจงรักภักดีต่อชาติมีความสำคัญมากกว่าการแบ่งแยกทางชนชั้น เขาได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเขาอย่างเต็มที่ในการกล่าวสุนทรพจน์ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า ประเทศชาติคือเอกลักษณ์ แนวความคิดที่เขาได้ปฏิเสธก่อนเข้าสู่สงคราม ได้บอกว่า:
ชาติไม่ได้หายไปไหน พวกเราเคยเชื่อว่าแนวคิดนี้ทั้งหมดไม่มีสาระ แต่เรากลับเห็นประเทศชาติได้เกิดขึ้นด้วยใจสั่นอย่างแท้จริงต่อหน้าเรา ชนชั้นไม่สามารถทำลายประเทศชาติได้ ชนชั้นได้เปิดเผยตัวเองในฐานะชุดสะสมของผลประโยชน์—แต่ประเทศชาติคือประวัติศาสตร์แห่งความรู้สึก ประเพณี ภาษา วัฒนธรรม และเชื้อชาติ ชนชั้นสามารถสามารถกลายเป็นส่วนที่สำคัญของประเทศชาตินั้นได้ แต่ชนชั้นหนึ่งไม่สามารถบดบังอีกชนชั้นหนึ่งได้
การต่อสู้ทางชนชั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่ไร้สาระ โดยปราศจากผลกระทบและผลลัพธ์ที่ตามมา เมื่อใดก็ตามที่พบผู้คนที่ไม่ได้รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวในการเข้ากับขอบเขตทางภาษาและเชื้อชาติที่เหมาะสม—ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขเลย ในสถานการณ์เช่นนี้ ขบวนการทางชนชั้นได้พบว่าตนเองมีความบกพร่องจากบรรยากาศทางประวัติศาสร์ที่เป็นลางร้าย
มุสโสลินียังคงส่งเสริมความต้องการของนักปฏิวัติแนวหน้าระดับหัวกะทิเพื่อเป็นผู้นำทางสังคม เขาไม่ได้ให้การสนับสนุนแนวหน้าของชนชั้นกรรมมาชีพอีกต่อไป แต่เป็นแนวหน้าซึ่งนำโดยผู้คนที่มีพลังและนักปฏิวัติซึ่งมาจากชนชั้นทางสังคมใด ๆ ก็ได้ แม้ว่าเขาจะประณามสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์และความขัดแย้งทางชนชั้น แต่เขาก็ได้สานต่อในตอนที่เขาเป็นนักชาติสังคมนิยมและเป็นผู้สนับสนุนมรดกตกทอดของชาติสังคมนิยมในประวัติศาสตร์อิตาลี เช่น Giuseppe Garibaldi Giuseppe Mazzini และ Carlo Pisacane สำหรับพรรคสังคมนิยมอิตาลีและการสนับสนุนสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ เขากล่าวอ้างว่า ความล้มเหลวของเขาในฐานะสมาชิกของพรคในฟื้นฟูและเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ความเป็นจริงร่วมสมัยซึ่งเผยให้เห็นถึงความสิ้นหวังของสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ที่ดูล้าหลังและล้มเหลว ความเข้าใจถึงความล้มเหลวของสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ในการก่อประทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยมุสโสลินีเพียงคนเดียว นักสังคมนิยมที่ให้การสนับสนุนการแทรกแซงคนอื่น ๆ เช่น Filippo Corridoni และ Sergio Panunzio ก็ประณามลัทธิมาร์กซ์แบบคลาสสิกเพื่อให้การสนับสนุนการแทรกแซง
มุมมองทางการเมืองขั้นพื้นฐานและหลักการเหล่านี้เป็นพื้นฐานของขบวนการทางเมืองที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นมาใหม่ของมุสโสลินี the Fasci d'Azione Rivoluzionaria ใน ค.ศ. 1914 ที่เรียกพวกเขาว่า ฟาสซิตี(ฟาสซิสต์) ในเวลานี้ พวกฟาสซิสต์ยังไม่มีนโยบายที่มั่นคงมากนักและขบวนการนั้นมีขนาดเล็ก ไร้ประสิทธิภาพในความพยายามจัดตั้งการประชุมหลายครั้ง และถูกก่อกวนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและพวกนักสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์เป็นประจำ ความเป็นศัตรูกันระหว่างผู้แทรกแซง รวมทั้งพวกฟาสซิสต์ปะทะกับพวกนักสังคมนิยมชาวออร์ทอดอกซ์ที่ต่อต้านการแทรกแซงส่งผลทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างฟาสซิสต์และสังคมนิยม การต่อต้านและการโจมตีโดยนักปฏิวัติสังคมนิยมที่ต่อต้านการแทรกแซงต่อกรกับพวกฟาสซิสต์และกลุ่มผู้แทรกแซงอื่น ๆนั้นรุนแรงมากขึ้นจนแม้แต่นักประชาธิปไตยสังคมนิยมที่ต่อต้านสงคราม เช่น Anna Kuliscioff ได้กล่าวว่า พรรคสังคมนิยมอิตาลีมาไกลเกินไปในการรณรงค์เพื่อปิดปากเสรีในการพูดของผู้สนับสนุนสงคราม ความเป็นศัตรูกันในช่วงแรกระหว่างพวกฟาสซิสต์และนักปฏิวัติสังคมนิยมได้หลอมรวมกับแนวคิดของมุสโสลินีเกี่ยวกับธรรมชาติของลัทธิฟาสซิสต์เพื่อสนับสนุนความรุนแรงทางการเมือง
มุสโสลินีได้เป็นพันธมิตรกับนักการเมืองที่ต้องการเรียกร้องดินแดนของชาติตนกลับคืนและนักข่าวที่ชื่อว่า Cesare Battisti เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เริ่มต้นขึ้น มุสโสลินีก็เหมือนกับนักชาตินิยมชาวอิตาลีคนอื่น ๆ หลายคน ที่อาสาสมัครจะเข้าสู้รบในสงคราม แต่เขากลับถูกปฏิเสธเพราะความคิดแบบลัทธิสังคมนิยมอย่างหัวรุนแรงและบอกให้รอการเรียกตัวในการเข้ากำลังพลสำรอง เขาถูกเรียกตัวเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม และเข้ารายงานตัวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้กับหน่วยรบเดิมของเขา Bersaglieri ภายหลังสองสัปดาห์ในการฝึกซ้อมรบ เขาถูกส่งไปยังแนวหน้าอิซอนโซ ซึ่งเขาได้เข้าร่วมในยุทธการที่อิซอนโซครั้งที่สอง เดือนกันยายน ค.ศ. 1915 หน่วยรบของเขายังได้เข้าร่วมในยุทธการที่อิซอนโซครั้งที่สาม เดือนตุลาคม ค.ศ. 1915
สารวัตรใหญ่ยังเขียนกล่าวอีกว่า
เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นร้อยตรี "สมควรได้ในสงคราม" การเลื่อนตำแหน่งครั้งนี้ได้ถูกแนะนำ เนื่องจากความประพฤติของเขาเป็นแบบอย่างและการต่อสู้รบอย่างมีประสิทธิภาพ จิตใจของเขาสงบนิ่ง และไม่วิตกกังวลต่อความยากลำบาก ความกระตือรือร้นและความเป็นระเบียบในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ที่ซึ่งเขายังได้เป็นที่หนึ่งในทุกภารกิจที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและความอดทน
ในที่สุด มุสโสลินีก็ได้รับบาดเจ็บซึ่งเป็นการได้รับบาดเจ็บในปฏิบัติหน้าที่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสจนต้องถูกย้ายออกจากแนวหน้าไป
ด้วยประสบการณ์ทางทหารของมุสโสลินีได้ถูกบอกเล่าในผลงานของเขาอย่าง Diario di guerra โดยรวมทั้งหมด เขาใช้เวลาประมาณ 9 เดือนในปฏิบัติหน้าที่การรบ ของการทำสงครามแนวหน้าบนสนามเพลาะ ในช่วงเวลานั้น เขาล้มป่วยเป็น การหาผลประโยชน์จากกองทัพทหารของเขาได้ยุติลงใน ค.ศ. 1917 เมื่อเขาได้รับบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะแรงระเบิดจากระเบิดปืนครกตกลงใส่สนามเพลาะที่เขาประจำการอยู่ ในร่างกายของเขามีสะเก็ดระเบิดเหลืออย่างน้อย 40 ชิ้น เขาได้ออกจากโรงพยาบาลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1917 และกลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าบรรณาธิการคนใหม่ในหนังสือพิมพ์ของเขา Il Popolo d'Italia เขาได้เขียนบทความเชิงบวกเกี่ยวกับในอิตาลี
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1915 ใน Treviglio เขาได้แต่งงานกับราเคเล กุยดี เพื่อนสาวในชนบท ซึ่งได้ให้กำเนิดบุตรสาวของเขาอย่าง ที่ฟอร์ลี ใน ค.ศ. 1910 ใน ค.ศ. 1915 เขาได้มีบุตรชายกับ Ida Dalser หญิงสาวที่เกิดใน Sopramonte หมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับเมืองเทรนโต เขาได้ยอมรับบุตรชายคนนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1916
เถลิงอำนาจ
การก่อตั้งพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์
ในช่วงเวลานี้ เขาได้เดินทางกลับจากการรับใช้ในกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ด้วยสภาพของการเป็นนักสังคมนิยมของมุสโสลินีนั้นมีเหลืออยู่เล็กน้อย อันที่จริง เขาในตอนนี้มีความเชื่อมั่นว่าลัทธิสังคมนิยมที่เป็นหลักคำสอนนั้นส่วนใหญ่ดูล้มเหลว ใน ค.ศ. 1917 มุสโสลินีเริ่มต้นในการเมืองด้วยความช่วยเหลือจากค่าจ้างรายสัปดาห์จำนวน 100 ปอนด์(เทียบเท่ากับจำนวนเงิน 7100 ปอนด์ ณ ปี ค.ศ. 2020) จากหน่วยความมั่นคงบริติซ(เอ็มไอ5) ที่ได้กักขังผู้ประท้วงที่ต่อต้านสงครามไว้ที่บ้าน และเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อที่สนับสนุนสงคราม ความช่วยเหลือครั้งนี้ได้รับอนุญาตจากเซอร์ ซามูเอล ฮอร์ ในช่วงต้น ค.ศ. 1918 มุสโสลินีได้เรียกร้องขอให้มีชายผู้นึง"ที่มีความโหดเหี้ยมและมีพละกำลังมากพอที่จะทำการกวาดล้าง" เพื่อฟื้นฟูประเทศอิตาลี ภายหลังจากมุสโสลินได้กล่าวว่า เขามีความรู้สึกใน ค.ศ. 1919 "ลัทธิสังคมนิยมซึ่งเป็นหลักคำสอนได้ล้มตายจากไปแล้ว ยังคงเหลือไว้เพียงแต่ความแค้น" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1919 มุสโสลินีได้ก่อตั้ฟาสซิโอมิลานขึ้นมาใหม่อีกครั้งมาเป็นฟาสซิ อิตาเลียนี ดี คอมแบทติเมนโต(กองหมู่รบอิตาเลียน) ประกอบไปด้วยสมาชิก 200 คน
พื้นฐานทางอุดมการณ์สำหรับลัทธิฟาสซิสต์มาจากแหล่งที่มาหลายแห่ง มุสโสลินีได้ใช้ผลงานของเพลโต Georges Sorel นีทเชอ และแนวคิดทางเศรษฐกิจของ Vilfredo Pareto เพื่อพัฒนาลัทธิฟาสซิสต์ มุสโสลินีได้ชื่นชมบทความที่ชื่อว่า อุตมรัฐ ของเพลโตซึ่งเขามักจะอ่านบ่อย ๆ เพื่อหาแรงบันดาลใจ อุตมรัฐได้แสดงแนวคิดหลายประการซึ่งลัทธิฟาสซิสต์ได้ให้การส่งเสริม เช่น การปกครองโดยชนชั้นนำที่คอยส่งเสริมรัฐเป็นจุดสิ้นสุด การต่อต้านระบอบประชาธิปไตย การปกป้องระบบชนชั้นและการส่งเสริมการร่วมมือทางชนชั้น การปฏิเสธถึงอสมภาคนิยม การส่งเสริมทางทหารของประเทศชาติโดยการสร้างชนชั้นนักรบ เรียกร้องให้ประชาชนคอยทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ และใช้รัฐในการเข้าแทรกแซงการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนานักรบและผู้ปกครองรัฐในอนาคต เพลโตเป็นนักอุดมคตินิยม มุ่งเป้าเน้นไปที่การบรรลุถึงความยุติธรรมและศีลธรรม ในขณะที่มุสโสลินีและลัทธิฟาสซิสต์คือสัจนิยม โดยมุ่งเน้นไปที่การบรรลุถึงเป้าหมายทางการเมือง
แนวคิดเบื้องหลังของนโยบายต่างประเทศของมุสโสลินีคือแนวคิด (พื้นที่อยู่อาศัย) ซึ่งเป็นแนวคิดในลัทธิฟาสซิสต์ที่มีความคล้ายคลึงกับเลเบินส์เราม์ในลัทธิชาติสังคมนิยมของเยอรมัน แนวคิดของสปาซิโอ วิทาเลได้ถูกประกาศเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1919 เมื่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรียกกันว่า จูเลียนมาร์ช เป็นการนิยามใหม่เพื่อให้ปรากฏเป็นแว่นแคว้นที่ถูกรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวซึ่งเคยเป็นของอิตาลีตั้งแต่สมัยจังหวัดอิตาเลียของยุคโรมันโบราณ และกล่าวอ้างว่าเป็นเขตอิทธิพลพิเศษของอิตาลี สิทธิ์ในการก่อตั้งอาณานิคมบนพื้นที่ชาติพันธุ์สโลวีเนียที่อยู่ใกล้เคียงและในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยโดยสิ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นชนชาติที่พัฒนาน้อยกว่านั้น ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วจากหลักฐานที่อิตาลีได้กล่าวอ้างว่า กำลังประสบภาวะการมีจำนวนประชากรที่มากเกินไป
โดยการหยิบยืมแนวคิดที่ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกโดย Enrico Corradini ก่อนปี ค.ศ. 1914 ของความขัดแย้งตามธรรมชาติระหว่างประเทศชาติที่เป็น"ธนาธิปไตย" ตัวอย่างเช่น บริเตน และประเทศชาติที่เป็น"ชนกรรมาชีพ" ตัวอย่างเช่น อิตาลี มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่าปัญหาหลักของอิตาลีคือ ประเทศชาติที่เป็น"ธนาธิปไตย" อย่างบริเตนกำลังขัดขวางการบรรลุแนวคิดสปาซิโอ วิทาเลที่สำคัญซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของอิตาลีนั้นเติบโต มุสโสลินีได้เปรียบเทียบศักยภาพของประเทศในการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยขนาดดินแดน ดังนั้นในมุมมองของเขา ปัญหาความยากจนในอิตาลีจะได้รับการแก้ไขได้ด้วยการบรรลุแนวคิดสปาซิโอ วิทาเลที่สำคัญเท่านั้น
แม้ว่าลัทธิการเหยียดชนชาติทางชีววิทยาจะมีความโดดเด่นในลัทธิฟาสซิสต์น้อยกว่าในลัทธิชาติสังคมนิยม สิทธิ์ตั้งแต่เริ่มต้นของแนวคิดสปาซิโอ วิทาเล ได้มีกระแสของการเหยียดเชื้อชาติที่แข็งแกร่ง มุสโสลินีได้ยืนยันว่า "กฏธรรมชาติ" สำหรับผู้คนที่เข้มแข็งกว่าที่จะควบคุมและครอบงำผู้คนที่ดู"อ่อนด้อยกว่า" เช่น ชนชาติสลาฟที่ดู"ป่าเถื่อน" ของยูโกสลาเวีย เขาได้กล่าวเอาไว้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1920:
เมื่อต้องติดต่อกับชนชาติอย่างชาวสลาฟ—ที่ดูอ่อนด้อยกว่าและป่าเถื่อน—เราไม่ต้องไล่ตามแครอด แต่กลับใช้นโยบายกิ่งไม้ ... พวกเราไม่ควรกลัวเหยื่อรายใหม่นี้ ... ชายแดนอิตาลีควรจะดำเนินผ่านทาง, และ ... ข้าพเจ้าจะบอกว่า เราสามารถเสียสละชาวสลาฟที่ดูป่าเถื่อนจำนวน 500,000 คนได้อย่างง่ายดายสำหรับชาวอิตาลี 50,000 คน ...
— เบนิโต มุสโสลินี, กล่าวสุนทรพจน์ใน, 20 กันยายน ค.ศ. 1920
ในขณะที่อิตาลียึดครองพื้นที่อดีตจักรวรรดิออสเตรียและฮังการีระหว่างปี ค.ศ. 1918 และ ค.ศ. 1920 ชนสังคม"ชาวสลาฟ"จำนวนห้าร้อยคน (ตัวอย่างเช่น Sokol) และห้องสมุดมีจำนวนน้อยกว่าเล็กน้อย ("ห้องอ่านหนังสือ") ถูกสั่งห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภายหลังด้วยกฎหมายว่าด้วยสมาคม (ค.ศ. 1925) กฎหมายว่าด้วยการเดินขบวนสาธารณะ (ค.ศ. 1926) และกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน (ค.ศ. 1926)—การปิดสถานศึกษาแบบคลาสสิคในพาซิน ของโรงเรียนมันธยมในโวโลซกา (ค.ศ. 1918) โรงเรียนระดับชั้นประถมในสโลวีเนียและโครเอเชียจำนวนห้าร้อยแห่งได้ปฏิบัติตาม ส่วนครูสอนหนังสือที่เป็น"ชาวสลาฟ" ถูกบีบบังคับให้เนรเทศไปยังซาร์ดิเนียและทางตอนใต้ของอิตาลี
ในทำนองเดียวกัน มุสโสลินีได้โต้แย้งว่าอิตาลีมีสิทธิ์ที่จะปฏิบัติตามนโยบายจักรวรรดินิยมในแอฟริกา เพราะเขาเห็นว่าคนผิวดำทุกคนล้วนดู"อ่อนด้อยกว่า" กับคนผิวขาว มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่า โลกได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นลำดับชั้นของเชื้อชาติ(แม้จะคิดว่ามันดูสมเหตุสมผลทางวัฒนธรรมมากกว่าเหตุผลทางชีววิทยา) และประวัติศาสตร์นั้นก็ไม่ได้มีอะไรไปมากกว่าการต่อสู้แย่งชิงอำนาจและดินแดนของระหว่าง"ฝูงชนเชื้อชาติ"ต่าง ๆ มุสโสลินี—พร้อมกับขบวนการสุพันธุศาสตร์ในสหรัฐ สหราชอาณาจักร และประเทศยุโรปอื่น ๆ และประเทศอาณานิคมของยุโรปต่าง ๆ เช่น บราซิล (เปรียบเทียบกับ)—แสดงให้เห็นว่า อัตราการเกิดนั้นสูงขึ้นในแอฟริกาและเอเชียถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อ"ชนชาติผิวขาว" และเขามักจะตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ว่า "คนผิวดำและคนผิวเหลืองเหล่านั้นอยู่ที่ประตูหรือไม่" คำตอบที่ได้รับมาคือ "ใช่เลย! พวกเขาอยู่นั่น" มุสโสลินีเชื่อว่าสหรัฐจะถึงเคราะห์กรรมแล้ว เนื่องจากชาวอเมริกันคนผิวดำมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าคนผิวขาว ทำให้ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่คนผิวดำจะเข้ายึดครองสหรัฐเพื่อลากลงมาอยู่ในระดับเดียวกับพวกเขา ข้อเท็จจริงที่ว่าอิตาลีกำลังประสบภาวะจำนวนประชากรที่มากเกินไปนั้นถูกมองว่าเป็นการพิสูจน์ถึงพลังทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชาวอิตาลี ซึ่งมีเหตุผลอันสมควรในการแสวงหาดินแดนอาณานิคมที่มุสโสลินีได้โต้แย้ง—ตามประวัติศาสตร์ขั้นพื้นฐาน—เคยเป็นของอิตาลีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นทายาทของจักรวรรดิโรมัน เนื่องจากอัตราการเกิดที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นที่อิตาลีสามารถรับรองในอนาคตได้ว่า เมื่อเป็นชาติมหาอำนาจที่จะบรรลุเป้าหมายของสปาซิโอ วิทาเลได้อย่างแน่นอน จากการคำนวณของมุสโสลินี ประชากรอิตาลีต้องมีจำนวนถึง 60 ล้านคนเพื่อให้อิตาลีสามารถต่อสู้รบในสงครามครั้งใหญ่ได้—ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้เรียกร้องอย่างไม่หยุดหย่อนแก่สตรีชาวอิตาลีให้กำเนิดบุตรเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะได้ครบตามจำนวนที่ต้องการนั้น
มุสโสลินีและพวกฟาสซิสต์สามารถจัดการทั้งฝ่ายการปฏิวัติและฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้พร้อมกัน เพราะสิ่งนี้แตกต่างอย่างมากจากสิ่งอื่นใดในบรรยากาศทางการเมืองในช่วงสมัยนั้น บางครั้งได้ถูกอธิบายโดยนักเขียนบางคนว่าเป็น "หนทางที่สาม" ฟาสซิตี ซึ่งนำโดยคนสนิทใกล้ชิดคนหนึ่งของมุสโสลินี Dino Grandi ได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธของเหล่าทหารผ่านศึกที่เรียกกันว่า (หรือ squadristi) โดยมีเป้าหมายในการฟื้นฟูระเบียบสู่ท้องถนนของอิตาลีด้วยมือที่แข็งกร้าว กลุ่มเชิ้ตดำได้ปะทะกับพวกคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม และอนาธิปไตยในการเดินขบวนพาเหรดและการเดินขบวนประท้วง ทุกฝ่ายเหล่านี้ยังได้มีส่วนร่วมในการปะทะกับแต่ละฝ่าย รัฐบาลอิตาลีไม่ค่อยจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการกระทำของกลุ่มเชิ้ตดำ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภัยคุกคามที่กำลังคืบคลานเข้ามาและความหวาดกลัวต่อการปฏิวัติคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวาง ฟาสซิตีได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาสองปี ซึ่งพวกเขาได้เปลี่ยนมาเป็นพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ที่รัฐสภาในกรุงโรม ใน ค.ศ. 1921 มุสโสลินีได้ชนะการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฏรเป็นครั้งแรก ในเวลาเดียวกันนั้น ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1911 ถึง ค.ศ. 1938 มุสโสลินีมีความสัมพันธ์แบบรักใคร่อย่างมากมายกับนักเขียนและนักวิชาการชาวยิวนามว่า Margherita Sarfatti ซึ่งถูกเรียกว่า "มารดาชาวยิวแห่งลัทธิฟาสซิสต์" ในช่วงสมัยนั้น
การเดินขบวนสู่โรม
ในคืนระหว่างวันที่ 27 และ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1922 กลุ่มเชิ้ตดำฟาสซิสต์ประมาณ 30,000 คน ได้รวมตัวกันในกรุงโรมเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีฝ่ายเสรีนิยม ลาออก และแต่งตั้งรัฐบาลฟาสซิสต์ขึ้นมาใหม่ ช่วงเช้าของวันที่ 28 ตุลาคม พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ซึ่งทรงได้ปฏิบัติตามในการถือครองอำนาจทางทหารสูงสุด ทรงปฏิเสธคำร้องจากรัฐบาลในการประกาศกฏอัยการศึก ซึ่งนำไปสู่การลาออกของ Facta จากนั้นกษัตริย์ได้ทรงมอบอำนาจแก่มุสโสลินี(ซึ่งอยู่ในสำงานใหญ่ของเขาในมิลานในช่วงการเจรจา) โดยทรงรับสั่งให้เขาจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ การตัดสินพระทัยที่ดูขัดแย้งของกษัตริย์ได้ถูกอธิบายโดยนักประวัติศาสตร์ว่า เป็นการผสมผสานระหว่างการหลงผิดและความกลัว มุสโสลินีนั้นมีความสุขด้วยการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกองทัพและในท่ามกลางชนชั้นนำของอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ในขณะที่กษัตริย์และสถาบันอนุรักษ์นิยมเกรงกลัวว่าจะเกิดสงครามกลางเมือง และในที่สุดก็คิดไว้แล้วว่าพวกเขาจะสามารถใช้มุสโสลินีเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและความสงบเรียบร้อยในประเทศได้ แต่กลับล้มเหลวถึงการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอันตรายของการวิวัฒนาการระบอบเผด็จการ
ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ในการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ปีแรกของการปกครองของมุสโสลินีซึ่งมีลักษณะเฉพาะโดยรัฐบาลผสมของฝ่ายขวาซึ่งประกอบด้วยพวกฟาสซิสต์ ชาตินิยม เสรีนิยม และนักบวชนิกายคาทอลิกสองคนจากพรรคประชาชน ฟาสซิสต์ได้สร้างชนกลุ่มน้อยในรัฐบาลดดั้งเดิมของเขา เป้าหมายภายในประเทศของมุสโสลินีคือการสถาปนารัฐเผด็จการด้วยตัวเขาเองในที่สุดในฐานะผู้นำสูงสุด(อิลดูเช) ข้อความที่ดูเด่นชัดโดยหนังสือพิมพ์ฟาสซิสต์ Il Popolo d'Italia, ซึ่งตอนนี้ได้ถูกแก้ไขเรียบเรียงโดยน้องชายของมุสโสลินี อาร์นัลโด ด้วยเหตุนี้ มุสโสลินจึงได้รับอำนาจเบ็ดเสร็จจากสภานิติบัญญัติเป็นเวลาหนึ่งปี(ซึ่งถูกต้องตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญอิตาลีในช่วงเวลานั้น) เขาได้ให้การสนับสนุนการฟื้นฟูอำนาจรัฐอย่างสมบูรณ์ ด้วยการรวมพวกฟาสเช่อิตาเลียนในการสู้รบเข้าสู่กองทัพ(ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1923 ในนามว่า ) และความก้าวหน้าในการแยกแยะของพรรคการเมืองกับรัฐ ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจสังคม เขาได้ร่างผ่านกฎหมายที่ให้การสนับสนุนความมั่นคั่งให้แก่ชนชั้นอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม(การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน การเปิดเสรีด้านกฎหมายค่าเช่า และการล้มล้างสหภาพแรงงาน)
ใน ค.ศ. 1923 มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้ารุกรานในช่วง ในท้ายที่สุด สันนิบาตชาติก็ไร้อำนาจ และกรีซก็ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามการเรียกร้องของอิตาลี
กฎหมายอะแซร์โบ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1923 รัฐบาลได้ผ่านการร่าง ซึ่งได้เปลี่ยนประเทศอิตาลีให้กลายเป็นเขตเลือกตั้งระดับชาติเพียงแห่งเดียว นอกจากนี้ยังให้เสียงข้างมากจากสองในสามของที่นั่งในรัฐสภาแก่พรรคหรือกลุ่มพรรคกลางเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อย 25% กฎหมายฉบับนี้ได้มีผลบังคับใช้ใน พันธมิตรระดับชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยพวกฟาสซิสต์ ซึ่งส่วนมากเป็นพวกเสรีนิยมเก่าและอื่น ๆ ได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 64%
การก่อความรุนแรงของกลุ่มเชิ้ตดำ
การลอบสังหารผู้แทนการเลือกตั้งจากสังคมนิยม Giacomo Matteotti ผู้ที่ได้ร้องขอให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้งเพราะพบว่าดูผิดปกติ ก่อให้เกิดวิกฤตชั่วครู่ในรัฐบาลมุสโสลินี มุสโสลินีสั่งให้ทำการปกปิด แต่กลับมีพยานพบเห็นว่า รถที่ขนศพของ Matteotti ได้ถูกจอดทิ้งไว้ที่ด้านนอกของบ้านพักของ Matteotti ซึ่งเชื่อมโยงไปถึง Amerigo Dumini กับการฆาตกรรม
ต่อมามุสโสลินีได้ยอมรับว่า ชายเด็ดเดี่ยวเพียงไม่กี่คนจะสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนและเริ่มที่จะก่อรัฐประหารที่จะกวาดล้างลัทธิฟาสซิสต์ให้หมดไป Dumini ได้ถูกจำคุกเป็นเวลาสองปี เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัว Dumini ถูกตั้งข้อหาว่าไปบอกคนอื่นว่ามุสโสลินีเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเขาก็ต้องถูกคุมขังในเรือนจำต่อไป
พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้ตอบโต้อย่างแผ่วเบาหรือโดยทั่วไปแล้วไม่ได้ตอบสนองอะไร นักสังคมนิยม นักเสรีนิยม และพวกสายกลางจำนวนมากต่างพากันคว่ำบาตรรัฐสภาใน โดยคาดหวังจะบีบบังคับให้พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 รับสั่งปลดมุสโสลินีลงจากตำแหน่ง
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1924 คณะกงสุลของ MVSN ได้เข้าพบกับมุสโสลินีและยื่นคำขาดให้กับเขาว่า: จะกำจัดฝ่ายค้านหรือพวกเขาจะลงมือกันเองโดยไม่มีเขา ด้วยความเกรงกลัวว่าจะเกิดการก่อจลาจลโดยกลุ่มทหารของตนเอง มุสโสลินีจึงตัดสินใจล้มเลิกการเสแสร้งทั้งหมดในการเป็นประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1925, มุสโสลินีได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างแข็งกร้าวต่อหน้าห้องประชุมสภา ซึ่งเขาได้ยอมรับว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อการก่อความรุนแรงของพวกเชิ้ตดำ(squadristi) (แม้ว่าเขาจะไม่ได้กล่าวถึงการลอบสังหาร Matteotti). อย่างไรก็ตาม เขายังไม่ได้ยุบหน่วย squadristi จนถึงปี ค.ศ. 1927 .
ฟาสซิสต์อิตาลี
นวัตกรรมองค์กร
นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน-อเมริกัน Konrad Jarausch ได้โต้แย้งว่า มุสโสลินีเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับชุดกลุ่มผสมผสานของนวัตกรรมทางการเมือง ซึ่งทำให้ลัทธิฟาสซิสต์กลายเป็นมหาอำนาจในยุโรป ประการแรก เขาได้ก้าวข้ามคำมั่นสัญญาที่ดูคลุมเครือของการสร้างประเทศชาติครั้งใหม่ในอนาคตและพิสูนจ์ให้เห็นว่าขบวนการนี้สามารถยึดอำนาจและดำเนินการปกครองที่ครอบคลุมในส่วนใหญ่ของประเทศตามแนวทางฟาสซิสต์ ประการที่สอง ขบวนการนี้ได้กล่าวอ้างว่าเป็นตัวแทนของชุมชนชาติทั้งหมด ไม่ใช่ส่วนที่ถูกแตกแยกออกมา เช่น ชนชั้นกรรมกรหรือชนชั้นสูง เขาได้พยายามอย่างมากที่จะรวบรวมส่วนหนึ่งของชาวคาทอลิกที่ห่างเหินไปก่อนหน้านี้ เขาได้กำหนดบทบาทสาธารณะสำหรับภาคหลักของชุมชนธุรกิจมากกว่าจะยินยอมให้ดำเนินการอย่างลับ ๆ ประการที่สาม เขาได้พัฒนาลัทธิผู้นำคนเดียวที่มุ่งเน้นความสนใจของสื่อและการอภิปรายระดับชาติเกี่ยวกับบุคลิกภาพของเขาเอง ในฐานะที่เคยเป็นนักข่าว มุสโสลินีได้ถูกพิสูจน์แล้วมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชนทุกรูปแบบ รวมทั้งรูปแบบใหม่ เช่น ภาพยนตร์และวิทยุ ประการที่สี่ เขาได้สร้างสมาชิกพรรคจำนวนมาก โดยโครงการฟรีสำหรับเยาวชนชาย เยาวชนหญิง และกลุ่มอื่นต่าง ๆ ที่สามารถระดมพลและติดตามได้ง่ายดายมากขึ้น เขาได้ทำการปิดการก่อตั้งและพรรคทางเลือกทางการเมืองทั้งหมด (แต่ขั้นตอนนี้ไม่ใช่นวัตกรรมแต่อย่างใด) เช่นเดียวกับเผด็จการทุกคน เขาได้ใช้การคุกคามของการก่อความรุนแรงทางวิสามัญอย่างเสรี เช่นเดียวกับการใช้ความรุนแรงของกลุ่มเชิ้ตดำของเขาเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความหวาดกลัว
รัฐตำรวจ
ระหว่าง ค.ศ. 1925 และ ค.ศ. 1927 มุสโสลินีก็ค่อย ๆ รื้อถอนรัฐธรรมนูญเกือบทั้งหมดและจำกัดอำนาจตามแบบแผนของเขาและก่อตั้ง การผ่านร่างกฎหมาย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1925—ช่วงคริสต์มาสอีฟสำหรับประเทศนิกายโรมันคาทอลิกส่วนใหญ่—ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการของมุสโสลินีจาก"ประธานคณะรัฐมนตรี"มาเป็น"หัวหน้ารัฐบาล" แม้ว่าเขาจะยังถูกเรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" จากแหล่งข่าวที่ไม่ใช่ของอิตาลีส่วนใหญ่ เขาไม่ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในรัฐสภาอีกต่อไปและมีเพียงพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะสามารถถอดถอนได้ ในขณะที่รัฐธรรมนูญอิตาลีได้ระบุว่า รัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบต่ออธิปไตยเท่านั้น ในทางปฏิบัติ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะปกครองโดยขัดต่อเจตจำนงของรัฐสภา กฎหมายคริสมาสต์อีฟได้ยุติการปฏิบัติครั้งนี้ และทำให้มุสโสลินีเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่มีอำนาจในการกำหนดวาระประชุมของสภา กฎหมายฉบับนี้เปลี่ยนแปลงรัฐบาลของมุสโสลินีให้กลายเป็นการปกครองแบบเผด็จการตามกฎหมายโดยพฤตินัย การปกครองตนเองในท้องถิ่นถูกยกเลิก และได้ถูกแต่งตั้งโดยเข้ามาแทนที่นายกเทศมนตรีและสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1926 มุสโสลินีรอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารครั้งแรกโดยไวโอเลต กิบสัน หญิงสาวชาวไอริชและบุตรสาวของลอร์ดแอชบอร์น ซึ่งถูกเนรเทศออกนอกประเทศ ภายหลังจากที่เธอถูกจับกุม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1926 อันเตโอ ซัมโบนี วัยสิบห้าปี พยายามที่จะยิงมุสโสลินีในเมืองโบโลญญา ซัมโบนีจึงถูกรุมประชาทัณฑ์ทันที มุสโสลินียังรอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารที่ล้มเหลวในกรุงโรมโดยผู้นิยมอนาธิปไตย Gino Lucetti และความพยายามตามแผนโดยผู้นิยมอนาธิปไตยชาวอิตาลี Michele Schirru ซึ่งจบลงด้วย Schirru ถูกจับกุมและประหารชีวืต
พรรคการเมืองอื่น ๆ ได้ถูกประกาศว่าผิดกฎหมาย ภายหลังจากความพยายามลอบสังหารของซัมโบนีใน ค.ศ. 1926 แม้ว่าในทางปฏิบัติ อิตาลีจะเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวมาตั้งแต่ ค.ศ. 1925 (ไม่ว่ามาจากการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสภาในช่วงมกราคมหรือผ่านการร่างกฎหมายช่วงคริสมาสต์อีฟ ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่มา) ในปีเดียวกัน กฎหมายการเลือกตั้งได้ยกเลิกการเลือกตั้งรัฐสภา แต่กลับเลือกราชื่อผู้สมัครการเพียงรายเดียวที่จะได้รับการอนุมัติจากการลงประชามติ สภาใหญ่ถูกสร้างขึ้นเมื่อห้าปีก่อนในฐานะพรรคการเมือง และถูก"ทำให้เป็นรัฐธรรมนูญ" และกลายเป็นอำนาจสูงสุดตามรัฐธรรมนูญในรัฐ ในเอกสาร สภาใหญ่มีอำนาจที่จะทำให้มุสโสลินีหลุดพ้นจากตำแหน่ง และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเพียงการตรวจสอบต่ออำนาจในทางทฤษฏี อย่างไรก็ตาม มุสโสลินีเท่านั้นที่สามารถเรียกประชุมสภาใหญ่และกำหนดวาระการประชุมได้ เพื่อเข้าควบคุมภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะซิซิลี เขาได้แต่งตั้งให้ Cesare Mori เป็นนายอำเภอของเมืองปาแลร์โม โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดพวกมาเฟียให้หมดสิ้น ในโทรเลข มุสโสลินีได้เขียนถึง Mori ว่า:
ด้วยตำแหน่งอันสูงส่งของท่านที่มีเกียรติเปี่ยมล้น อำนาจของรัฐจะต้องมีความเด็ดขาด ข้าพเจ้าขอย้ำว่าต้องเด็ดขาด ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นในเกาะซิซิลี หากว่ากฎหมายที่ยังถูกบังคับใช้จะเข้าขัดขวางท่าน เรื่องนี้ไม่มีปัญหา เพราะเราจะร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่เอง
Mori แทบจะไม่ลังเลเลยที่จะทำการปิดล้อมเมือง, ใช้การทรมาน และจับผู้หญิงและเด็กไว้เป็นตัวประกันเพื่อบีบบังคับให้ผู้ต้องสงสัยยอมจำนน วิธีการที่ดูรุนแรงเหล่านี้ทำให้เขาได้รับฉายาว่า "นายอำเภอเหล็ก". ใน ค.ศ. 1927,การสอบสวนของ Mori ได้นำไปสู่หลักฐานของการสมรู้ร่วมคิดระหว่างมาเฟียและสถาบันฟาสซิสต์ และเขาถูกปลดออกจากหน้าที่ในระยะยาวในปี ค.ศ. 1924, ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำนวนการฆาตกรรมในจังหวัดปาแลร์โมได้ลดลงจากจำนวน 200 คน มาเป็น 23 คน มุสโสลินีได้เสนอชื่อ Mori ในการเข้ารับตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและโฆษณาชวนเชื่อของฟาสซิสต์ได้อ้างว่า พวกมาเฟียได้พ่ายแพ้แล้ว
ได้ถูกจัดขึ้นในรูปแบบของการลงประชามติ. โดยครั้งนี้, ประเทศเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวโดยพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์(PNF) เป็นพรรคการเมืองที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น รายชื่อที่ถูกส่งไปก่อนหน้านี้ได้ถูกอนุมัติในที่สุดด้วยคะแนนเสียง 98.43%
"กระบวนการสันติภาพแก่ลิเบีย"
ใน ค.ศ. 1919 รัฐอิตาลีได้นำการปฏิรูปแบบเสรีนิยมในลิเบียเพื่อที่จะยินยอมให้มีการศึกษาภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ และยินยอมสำหรับความเป็นไปได้ที่จะทำให้ชาวลิเบียกลายเป็นพลเมืองอิตาลี Giuseppe Volpi ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใน ค.ศ. 1921 ซึ่งถูกสงวนที่ไว้โดยมุสโสลินีและถอดถอนมาตรการทั้งหมดที่ถูกเสนอเพื่อความเท่าเทียมให้กับชาวลิเบีย นโยบายการเข้ายึดที่ดินจากชาวลิเบียเพื่อส่งมอบให้กับอาณานิคมอิตาลีให้มีความแข็งแกร่งขึ้นมาใหม่เพื่อต้านทานจากการต่อต้านของชาวลิเบียภายใต้การนำโดย Omar Mukhtar และในช่วงเวลาต่อมา "" ระบอบฟาสซิสต์ได้ดำเนินรณรงค์การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ที่ถูกออกมาเพื่อสังหารชาวลิเบียจำนวนมากเท่าที่จะเป็นไปได้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรเมืองไซรีนิกาถูกกักขังไว้ที่ค่ายกักกันสิบห้าแห่งในปี ค.ศ. 1931 ในขณะที่กองทัพอากาศหลวงอิตาลีได้จัดทำสงครามทางเคมีในการเข้าโจมตีกับชาวเบดูอิน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1930 จอมพล ปีเอโตร บาโดลโย ได้เขียนจดหมายไปถึง นายพล โรดอลโฟ กราซีอานี ว่า:
สำหรับกลยุทธ์ทั้งหมด มีความจำเป็นเพื่อที่จะสร้างการแบ่งแยกที่สำคัญและชัดเจนระหว่างการควบคุมประชากรและการก่อตัวของพวกกบฏ ข้าพเจ้าไม่ได้ซ่อนมาตรการที่สำคัญและร้ายแรงนี้เลย ซึ่งอาจจะกลายเป็นความย่อยยับของประชากรที่ดูเงียบสงบลง ... แต่ตอนนี้เส้นทางได้ถูกกำหนดไว้แล้ว และเราต้องดำเนินการให้จบ แม้ว่าประชากรทั้งหมดของเมืองไซเรนีกาจะต้องสูญสิ้น
เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1933 มุสโสลินีได้บอกกับนักการทูต บารอน Pompei Aloisi ว่า ชาวฝรั่งเศสในตูนีเซียได้สร้าง"ความผิดพลาดอย่างน่ากลัว" โดยยอมรับให้มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชาวฝรั่งเศสกับชาวตูนีเซีย ซึ่งเขาได้คาดการณ์ว่าจะนำไปสู่ความเสื่อมทรามของฝรั่งเศสที่จะกลายเป็นประเทศของ"พวกลูกผสม" และเพื่อป้องกันสิ่งเดียวกันที่จะเกิดขึ้นกับชาวอิตาลี จึงออกคำสั่งให้กับจอมพลบาโดลโยว่า การแต่งงานต่างเชื้อชาติถือว่าผิดกฎหมายในลิเบีย
นโยบายเศรษฐกิจ
มุสโสลินีได้เปิดตัวโครงการการก่อสร้างทางสาธารณะหลายโครงการและความคิดริเริ่มของรัฐบาลตลอดทั่วทั้งอิตาลีเพื่อต่อสู้กับความล้มเหลวทางเศรษฐกิจหรือระดับการว่างงาน โครงการก่อนหน้านี้ของเขา(และหนึ่งในที่เป็นรู้จักกันอย่างดี) คือ ซึ่งฟาร์มแห่งใหม่ที่มีจำนวน 5,000 แห่งและเมืองเกษตรกรรมแห่งใหม่ห้าแห่ง(ท่างกลางเมือง Littoria และ Sabaudia) บนที่ดินที่ถูกบุกเบิกโดยการระบายน้ำของ ใน Sabaudia ตัวอย่างเมืองเกษตรกรรมได้ถูกก่อตั้งขึ้นและถูกตั้งชื่อว่า มุสโสลิเนีย แต่พอเวลาผ่านไปนาน ๆ ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น อาร์บอเรีย เมืองนี้เป็นที่แห่งแรกที่มุสโสลินีคาดหวังว่าจะมีการตั้งถิ่นฐานทางเกษตรกรรมใหม่จำนวนนับพันแห่งทั่วประเทศ การรบเพื่อข้าวสาลีได้หันเหทรัพยากรที่มีค่าไปยังผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี ซึ่งห่างไกลจากพืชอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เจ้าของที่ดินได้ข้าวสาลีที่เติบโตบนดินที่ไม่เหมาะสมโดยใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั้งหมด และแม้ว่าการเก็บเกี่ยวข้าวสาลีจะเพิ่มขึ้น ราคาที่สูงขึ้น การบริโภคลดลง และอัตราภาษีศุลกากรสูงได้ถูกกำหนดไว้ ภาษีศุลการกรได้ส่งเสริมความไร้ประสิทธิภาพอย่างกว้างขวางและเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่มอบให้แก่เกษตรกรได้ผลักดันประเทศให้เป็นหนี้มากยิ่งขึ้น
มุสโสลินียังได้ริเริ่มโครงการ "" ซึ่งเป็นนโยบายต่อที่ดินที่ถูกแปรสถาพที่ได้ถูกระบุไว้ใน ค.ศ. 1928 ความคิดริเริ่มนี้ได้ประสบความสำเร็จหลายอย่าง ในขณะที่โครงการต่าง ๆ เช่น การระบายน้ำของ ใน ค.ศ. 1935 สำหรับเกษตรกรรมนั้นดีสำหรับเป้าหมายของการโฆษณาชวนเชื่อ การจัดหางานให้แก่ผู้ว่างงานและอนุญาตให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่ควบคุมเงินอุดหนุน ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ในการสู้รบเพื่อที่ดินก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก โครงการนี้ซึ่งไม่สอดคล้องกับการรบเพื่อข้าวสาลี(แปลงที่ดินขนาดเล็กได้ถูกจัดสรรอย่างไม่เหมาะสมสำหรับการผลิตข้าวสาลีขนาดใหญ่) และพอนติเน มาร์ชีส์ก็สูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวนามีจำนวนน้อยกว่า 10,000 คนซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานใหม่บนที่ดินที่ได้รับการจัดสรร และความยากจนของชาวนายังคงพุ่งสูงขึ้น ความคิดริเริ่มของการสู้รบเพื่อที่ดินก็ได้ถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1940
ใน ค.ศ. 1930 ใน"คำสอนของลัทธิฟาสซิสต์" เขาเขียนว่า "สิ่งที่เรียกว่าวิกฤตสามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินของรัฐและภายในวงโคจรของรัฐเท่านั้น" เขาได้พยายามต่อสู้ภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยโดยการนำเสนอริเริ่มโครงการ "ทองคำเพื่อปิตุภูมิ" ส่งเสริมให้ประชาชนทำการบริจาคเครื่องประดับทองคำโดยความสมัครใจให้กับเจ้าหน้าที่ข้าราชการเพื่อแลกกับสายรัดข้อมือเหล็กที่มีการสลักคำว่า "ทองคำเพื่อปิตุภูมิ" แม้แต่ราเคเล มุสโสลินีก็ยังบริจาคแหวนแต่งงานของเธอ ทองคำที่รวบรวมมาได้จะถูกนำไปหลอมและเปลี่ยนกลายเป็นทองคำแท่ง ซึ่งหลังจากนั้นก็นำไปแจกจ่ายให้กับธนาคารแห่งชาติ
การควบคุมธุรกิจของรัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนนโยบายของมุสโสลินี ใน ค.ศ. 1935 เขาได้กล่าวอ้างว่า ธุรกิจสามในสี่ส่วนของอิตาลีได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ต่อมาในปีนั้น มุสโสลินีได้ออกพระราชกฤษฏีกาหลายฉบับเพื่อเข้าควบคุมเศรษฐกิจเพิ่มเติม เช่น การใช้อำนาจบังคับธนาคาร ธุรกิจ และความเป็นส่วนตัวของพลเมืองเพื่อยอมมอบหุ้นและพันธบัตรที่ถูกออกโดยต่างประเทศทั้งหมดที่ถือครองอยู่ให้กับธนาคารแห่งอิตาลี ใน ค.ศ. 1936 เขาได้กำหนดการควบคุมราคา นอกจากนี้เขายังได้พยายามที่จะเปลี่ยนอิตาลีให้กลายเป็น(self-sufficient autarky) ก่อให้เกิดอุปสรรคครั้งใหญ่ทางการค้ากับประเทศส่วนใหญ่ ยกเว้นเพียงประเทศเยอรมนี
ใน ค.ศ. 1943 มุสโสลินีได้เสนอทฤษฏ๊การขัดเกลาทางสังคมทางเศรษฐกิจ
เส้นทางรางรถไฟ
มุสโสลินีมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับเครดิตสำหรับงานสาธารณะที่สำคัญในอิตาลี โดยเฉพาะระบบรางรถไฟ รายงานของเขาได้ทำการปรับใหม่ของโครงข่ายรางรถไฟทำให้เกิดคำพูดติดปากว่า, "ถ้าพูดในสิ่งที่คุณชอบเกี่ยวกับมุสโสลินี เขาจะทำให้รถไฟวิ่งได้ตรงเวลา.", นักข่าวและนักประพันธ์, ได้เขียนใน ค.ศ. 1924 ว่า :
ความแตกต่างระหว่างบริการรางรถไฟของอิตาลีใน ค.ศ. 1919 1920 และ 1921 และบริการที่ได้มาในช่วงปีแรกของระบอบมุสโสลินีแทบไม่น่าเชื่อ รถก็ดูสะอาด พนักงานก็ดูคล่องแคล่งและสุภาพเรียบร้อย, และรถไฟก็ได้มาถึงและออกจากสถานีอย่างตรงเวลา— มาช้าไม่เกินสิบห้านาที, และไม่สายเกินห้านาที; แต่ตรงเวลาแบบเป๊ะ ๆ เลย.
ในความเป็นจริงแล้ว การปรับปรุงระบบรางรถไฟในช่วงหลังสงครามที่เลวร้ายของอิตาลีได้เริ่มขึ้นก่อนที่มุสโสลินีจะเข้ายึดอำนาจ. การปรับปรุงยังคงปรากฏอย่างชัดเจนมากกว่าของจริง. ได้เขียนใน ค.ศ. 1954 ว่า:
ผู้เขียนได้รับการว่าจ้างเป็นผู้เดินเอกสารโดยบริษัททัวร์ Franco-Belgique ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1930,จุดสูงสุดของสมัยรุ่งเรืองของมุสโสลินี, เมื่อทหารองค์รักษ์ฟาสฟิสต์ได้ขึ้นรถไฟทุกขบวนและเต็มใจที่จะบันทึกคำให้การว่าประสิทธิภาพของรถไฟอิตาลีส่วนใหญ่ที่ได้เดินทางไปนั้นไม่ตรงตามตารางเวลา—หรือแค่เกือบ ๆ. ต้องมีจำนวนหลายพันคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่จะเป็นพยานครั้งนี้ มันเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็คุ้มค่าที่จะตอกย้ำ.
ได้เขียนใน ค.ศ. 1936 ว่า แม้ว่ารถไฟรถไฟด่วนที่บรรทุกโดยสารนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป—แต่ก็ไม่เสมอไป—วิ่งตามตารางเวลา, ไม่เหมือนกับสายรางที่เล็กกว่า ซึ่งมีความล้าช้าบ่อยครั้ง, ในขณะที่ ได้บอกว่า "พวกเขาปรับปรุงสายรางรถไฟที่มีความหมายทางการเมืองสำหรับพวกเขา".
โฆษณาชวนเชื่อและลัทธิบูชาบุคคล
สิ่งที่สำคัญมากที่สุดของมุสโสลินีคือการเอาชนะทางจิตใจของประชาชนชาวอิตาลีผ่านการใช้โฆษณาชวนเชื่อ ระบอบการปกครองได้ส่งเสริมลัทธิบูชาบุคคลที่ดูมากเกินไปที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตัวของมุสโสลินี เขาอวดอ้างว่า ได้จุติลงมาเป็น ยอดเหนือมนุษย์(Übermensch) คนใหม่ของฟาสซิสต์ โดยส่งเสริมสุนทรียศาสตร์ที่ดูขุ่นเคืองของ Machismo (ความเป็นชาย) ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถเสมือนระดับเทพเจ้าของเขา หลายครั้งช่วงหลัง ค.ศ. 1922 มุสโสลินีได้เข้ารับตำแหน่งเป็นการส่วนตัวในฐานะรัฐมตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงอาณานิคม กิจการบรรษัท กระทรวงกลาโหม และงานสาธารณะ บางครั้ง เขาก็ดำรงตำแหน่งถึงเจ็ดกระทรวงพร้อมกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวหน้าของพรรคฟาสซิสต์ที่ทรงอำนาจและกองกำลังทหารติดอาวุธประจำท้องถิ่นอย่างหน่วย MVSN หรือ"กลุ่มเชิ้ตดำ" ซึ่งคอยข่มขวัญการต่อต้อนที่กำลังก่อตัวขึ้นในเมืองและจังหวัด ต่อมา เขาก็ได้ก่อตั้งหน่วย OVRA ซึ่งเป็นสถาบันตำรวจลับที่ดำเนินการจากการสนับสนุนของรัฐอย่างเป็นทางการ ด้วยวิธีนี้ เขาก็ประสบความสำเร็จในการรักษาอำนาจไว้ในมือของเขาเองและป้องกันการปรากฏตัวของคู่แข่งใด ๆ
มุสโสลินียังแสดงให้เห็นว่าตัวเขาเองเป็นนักกีฬาที่ดูองอาจเหี้ยมหาญและนักดนตรีที่มีความสามารถ ครูทุกคนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องกล่าวสาบานว่า จะพิทักษ์ปกป้องระบอบฟาสซิสต์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์จะถูกคัดเลือกเป็นการส่วนตัวทั้งหมดโดยมุสโสลินี และมีเพียงผู้ที่อยู่ในความครอบครองของใบรับรองจากพรรคฟาสซิสต์ซึ่งสามารถนำประกอบใช้วารสารศาสตร์ได้ ใบรับรองเหล่านี้ถูกออกมาอย่างลับ ๆ มุสโสลินีจึงได้สร้าพภาพลวงตาของ "เสรีสื่อ" อย่างเชี่ยวชาญ สหภาพการค้ายังถูกริดรอนความเป็นอิสระใด ๆ และถูกรวมเข้ากับสิ่งที่ถูกเรียกว่า ระบบ"บรรษัท" จุดมุ่งหมายนี้ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากสมาคมกิลด์ในช่วงยุคกลางและไม่เคยประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ คือ การบรรจุชาวอิตาลีทั้งหมดไว้ในองค์กรหรือบริษัทวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างลับ ๆ
เงินจำนวนมากมายถูกนำไปใช้กับงานสาธารณะที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและโครงการอันเกียรติภูมิระหว่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ได้รวมถึงการมอบรางวัลบลูริบบันด์แก่เรือเดินสมุทรที่ชื่อว่า เอ็สเอ็สเร็กซ์ ด้วยการสร้างสถิติการบินด้วยเครื่องบินทะเลที่เร็วที่สุดในโลกอย่าง Macchi M.C.72 และการล่องเรือบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของอิตาโล บัลโบ ซึ่งได้รับการต้อนรับด้วยการประโคมดนตรีอย่างมากมายในสหรัฐ เมื่อลงจอดที่ชิคาโก ใน ค.ศ. 1933
หลักการของคำสอนลัทธิฟาสซิสต์ถูกลงในบทความโดยนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงนามว่า Giovanni Gentile และมุสโสลินีตัวเขาเองซึ่งปรากฏในสารานุกรมภาษาอิตาลี ฉบับ ค.ศ. 1932 มุสโสลินีมักจะสวมบทบาทตัวเองว่าเป็นผู้มีปัญญา และนักประวัติศาสตร์บางคนก็เห็นด้วย กึนเธอร์เรียกเขาว่า เป็น"เผด็จการที่มีการศึกษาดีเยี่ยมที่สุดและซับซ้อนมากที่สุดอย่างง่ายดาย" และเป็นผู้นำระดับชาติเพียงคนเดียวใน ค.ศ. 1940 ซึ่งเป็นปัญญาชน นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันนามว่า Ernst Nolte กล่าวว่า "การสั่งการของเขาในปรัชญาร่วมสมัยและวรรณกรรมทางการเมืองของเขานั้นดีพอ ๆ กับผู้นำทางเมืองร่วมสมัยคนอื่น ๆ ของยุโรป"
วัฒนธรรม
เหล่านักชาตินิยมในช่วงปีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งต่างคิดว่าตนเองกำลังต่อสู้กับฝ่ายเสรีนิยมและการครอบงำสถาบันซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี เช่น รัฐบาลของ Giovanni Giolitti รวมทั้งสถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิม ด้วยลัทธิอนาคตนิยม ขบวนการการปฏิวัติทางวัฒนธรรมซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวแรงกระตุ้นสำหรับลัทธิฟาสซิสต์ การโต้เถียงสำหรับ "โรงเรียนสำหรับความกล้าหาญทางกายภาพและลัทธิความรักชาติ" ตามที่ฟีลิปโป ตอมมาโซ มารีเนตตีได้กล่าวไว้ใน ค.ศ. 1919 มารีเนตตีได้แสดงดูถูกเหยียดหยามสำหรับ"หลักสูตรภาษาละตินและภาษากรีกโบราณในช่วงยุคสมัยมนุษย์ที่อาศัยอยุ่ในถ้ำและก่อนประวัติศาสตร์ปัจจุบัน" การโต้เถียงเพื่อแทนที่พวกเขาด้วยการฝึกจำลองของเหล่าทหารหน่วยอาร์ดีตี("[ข้อเรียนรู้] เพื่อที่จะรุกคืบด้วยมือและเข่าในแนวหน้าที่มีการยิงปืนกลอย่างกระหน่ำถาโถม เพื่อรอลืมตาสำหรับคานไม้เคลื่อนที่ไปด้านข้างเหนือหัวของพวกเขา เป็นต้น") ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กองกำลังปีกยุวชนฟาสซิสต์กลุ่มแรกได้ถูกก่อตั้งขึ้น: Avanguardia Giovanile Fascista (กองแนวหน้ายุวชนฟาสซิสต์) และ Gruppi Universitari Fascisti (กลุ่มมหาวิทยาลัยฟาสซิสต์) ใน ค.ศ. 1922
ภายหลังจากการเดินขบวนสู่โรมซึ่งทำให้มุสโสลินีได้ขึ้นสู่อำนาจ ฟาสซิสต์ได้เริ่มคิดที่จะหาวิธีที่จะทำให้สังคมอิตาลีเป็นการเมือง โดยเน้นไว้ที่การศึกษา มุสโสลินีได้มอบหมายให้อดีตทหารจากหน่วยอาร์ดิตีและอดีตเลขาธิการด้านการศึกษานามว่า Renato Ricci ในการทำภารกิจของ "การปฏิรูปปรับปรุงเยาวชนจากมุมมองทางศีลธรรมและทางกายภาพ" Ricci ได้แสวงหาแรงบันดาลใจกับโรเบิร์ต เบเดน โพเอลล์ ผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือ ซึ่งได้พบกับเขาในประเทศอังกฤษ เช่นเดียวกับศิลปินจากเบาเฮาส์ในประเทศเยอรมนี ถูกก่อตั้งขึ้นโดยประกาศกฤษฏีกาของมุสโสลินี เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1926 และนำโดย Ricci จากการติดตามมาเป็นเวลาสิบเอ็ดปี รวมทั้งเด็กที่มีอายุระหว่าง 8 ถึง 18 ปี ซึ่งจะถูกจัดประเภทว่า เป็นบาลิลาและอาวันกัวดิสตี
ตามที่มุสโสลินีได้กล่าวไว้ว่า: "การศึกษาฟาสซิสต์คือศีลธรรม กายภาพ สังคม และการทหาร: มุ่งเป้าที่จะสร้างมนุษย์ที่ดูสมบูรณ์และกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวอย่างเต็มตัว ฟาสซิสต์ตามมุมมองของเรา" มุสโสลินีได้จัดโครงสร้างกระบวนการนี้โดยคำนึงถึงด้านอารมณ์ในวัยเด็ก: "วัยเด็กและวัยแรกรุ่นเช่นเดียวกัน ... ไม่สามารถเลี้ยงดูเพียงลำพังโดยการแสดงดนตรี ทฤษฏี และการสอนเชิงนามธรรม ความเป็นจริงที่เราตั้งเป้าจะสอนพวกเขาควรดึงดูดใจพวกเขาเป็นอันดับแรกก่อนในจิตนาการ สู่หัวใจ และต่อมาด้วยจิตใจของพวกเขาเท่านั้น"
"คุณค่าทางการศึกษาที่ถูกกำหนดผ่านการปฏิบัติและตัวอย่าง"มาแทนที่แนวทางที่ถูกกำหนดไว้ ลัทธิฟาสซิสต์ต่อต้านรูปแบบอุดมคตินิยมกับลัทธิเหตุผลนิยมซึ่งเป็นที่แพร่หลาย และใช้โอเปร่า เนซิโอนาเล บาลิลาในอุบายการกำจัดการศึกษาแบบดั้งเดิมโดยการจัดตั้งกลุ่มหมู่และลำดับชั้น เช่นเดียวกับลัทธิบูชาบุคคลของมุสโสลินีเอง
องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายวัฒนธรรมฟาสซิสต์คือนิกายโรมันคาทอลิก ใน ค.ศ. 1929 มีการลงนามสนธิสัญญากับวาติกัน ซึ่งเป็นอันยุติของความขัดแย้งมาหลายศตวรรษระหว่างรัฐอิตาลีและตำแหน่งพระสันตะปาปาซึ่งต้องย้อนกลับไปถึงการยึดอำนาจรัฐสันตะปาปาใน ค.ศ. 1870 โดยราชวงศ์ซาวอย ในช่วงระหว่างการรวมชาติอิตาลี สนธิสัญญาลาเตรัน ซึ่งในท้ายสุด รัฐอิตาลีได้รับยอมรับจากคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก และความเป็นอิสระของนครวาติกันได้รับการยอมรับจากรัฐอิตาลี ซึ่งได้รับการชื่มชมอย่างมากมายจากลำดับชั้นคณะสงฆ์นักบวช สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงยกย่องมุสโสลินีว่าเป็น "บุรุษแห่งพรอวิเดนซ์"
สนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1929 ได้รวมบทบัญญัติทางกฎหมายโดยที่รัฐบาลอิตาลีจะทำการปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของพระสันตะปาปาด้วยการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด มุสโสลินีได้นำเหล่าบุตรของเขาเข้าพิธิรับบัพติศมาใน ค.ศ. 1923 และตัวเขาเองก็เข้าพิธิรับบัพติศอีกครั้งโดยบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกใน ค.ศ. 1927 ภายหลังปี ค.ศ. 1929 มุสโสลินี พร้อมกับคำสอนถึงการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้โน้มน้าวชาวคาทอลิกจำนวนมากในการสนับสนุนเขาอย่างแข็งขัน
นโยบายต่างประเทศ
ในนโยบายต่างประเทศ, มุสโสลินีเป็นนักปฏิบัติจริงและฉวยโอกาส. ณ จุดศูนย์กลางของวิสัยทัศน์ของเขาคือความฝันที่จะสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาใหม่ในแอฟริกาและคาบสมุทรบอลข่าน, แก้ต่างในสิ่งที่เรียกว่า "" ใน ค.ศ. 1918 ซึ่งถูกกำหนดโดย "ประชาธิปไตยแบบพลูโต" (บริติชและฝรั่งเศส) ได้ทรยศต่อสนธิสัญญาลอนดอนและช่วงชิงสิ่งที่เป็น "สิทธิตามธรรมชาติ" ของอิตาลีซึ่งได้คาดหวังว่าจะมีอำนาจสูงสุดในลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1920 การมอบความอ่อนแอแก่เยอรมนี ปัญหาการฟื้นฟูช่วงหลังสงครามและคำถามของการชดใช้ สถานการณ์ของยุโรปไม่เอื้ออำนวยเกินกว่าจะสนับสนุนแนวทางการปรับปรุงแก้ไขต่อสนธิสัญญาแวร์ซาย. ในปี ค.ศ. 1920, นโยบายต่างประเทศของอิตาลีนั้นมีพื้นฐานมาจากแนวคิดดั้งเดิมของอิตาลีที่ยังคงมีจุดยืนที่ "เท่าเทียมกัน" จากมหาอำนาจหลักทั้งหมดเพื่อใช้เป็น "ตัวกำหนดน้ำหนัก" ซึ่งโดยอำนาจใดก็ตามที่อิตาลีเลือกเพื่อจัดให้อยู่ในแนวเดียวกันกับการเปลี่ยนความสมดุลของอำนาจในยุโรปอย่างเด็ดขาด และราคาของการจัดตำแหน่งดังกล่าวน่าจะสนับสนุนความทะเยอทะยานของอิตาลีในยุโรปและแอฟริกา ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากประชากรศาสตร์ของมุสโสลินีได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว เขาจึงดำเนินนโยบายการกำเนิดอย่างไม่หยุดหย่อนซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มอัตราการเกิด ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 1924 การให้สนับสนุนหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิดเป็นความผิดทางอาญา และใน ค.ศ. 1926 ได้ออกคำสั่งให้ผู้หญิงชาวอิตาลีทุกคนเพิ่มจำนวนเด็กเป็นสองเท่า เมื่อพวกเขามีความเต็มใจที่จะแบกรับภาระเอาไว้ สำหรับมุสโสลินี ประชากรชาวอิตาลีจำนวน 40 ล้านคนในปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอที่จะต่อสู้รบในสงครามครั้งใหญ่ได้ และเขาจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนประชากรชาวอิตาลีมาอย่างน้อย 60 ล้านคนก่อนที่เขาจะเตรียมความพร้อมสำหรับสงคราม
ในช่วงปีแรกในอำนาจของเขา, มุสโสลินีได้ดำเนินเป็นรัฐบุรุษในทางปฏิบัติ, พยายามที่จะบรรลุข้อได้เปรียบบางประการ แต่ไม่เคยเสี่ยงที่จะทำสงครามกับบริติชและฝรั่งเศส ยกเว้นเพียงแต่การระดมยิงปืนใหญ่และเข้ายึดครอง ใน ค.ศ. 1923, ภายหลังจากเหตุการณ์ที่บุคลากรทางทหารอิตาลีซึ่งถูกตั้งข้อกล่าวหาโดยสันนิบาตชาติเพื่อยุติข้อพิพาทเขตแดนระหว่างกรีซและแอลเบเนียได้ถูกลอบสังหารโดยพวกโจร; สัญชาติของพวกโจรยังไม่ปรากฏชัดเจน ในช่วงเวลาของเหตุการณ์เกาะคอร์ฟู มุสโสลินีเตรียมความพร้อมที่จะทำสงครามกับบริเตน และมีเพียงการอ้อนวอนอย่างสิ้นหวังจากผู้นำกองทัพเรืออิตาลี ซึ่งได้โต้แย้งว่ากองทัพเรืออิตาลีไม่อาจทัดเทียมกับราชนาวีบริติชได้ จึงเกลี้ยกล่อมมุสโสลินีให้ยอมรับวิธีการแก้ปัญหาทางการทูตเสีย. ในการกล่าวสุนทรพจน์อย่างลับ ๆ ต่อผู้นำกองทัพอิตาลีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1925 มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่า อิตาลีจำเป็นต้องบรรลุนโยบายสปาซิโอ วิทาเล และด้วยเหตุนี้ เป้าหมายสูงสุดของเขาคือการเข้าร่วม 'ชายฝั่งทั้งสองของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรอินเดียให้กลายเป็นดินแดนเดียวของอิตาลี" สะท้อนถึงความหมกหมุ่นของเขาอยู่กับประชากรศาสตร์ มุสโสลินีได้กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน อิตาลีมีกำลังคนที่ไม่เพียงพอที่จะเอาชนะสงครามกับบริติชหรือฝรั่งเศส และช่วงเวลาของการทำสงครามกำลังจะมาถึงในช่วงกลางปี ค.ศ. 1930 เมื่อมสโสลินีคิดคำนวณอัตราการเกิดชาวอิตาลีที่สูง ซึ่งในท้ายสุด จะทำให้อิตาลีมีจำนวนที่จำเป็นเพื่อให้ได้ชัยชนะ . ต่อมามุสโสลินีได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสนธิสัญญาโลคาร์โน ใน ค.ศ. 1925, เป็นการรับประกันเขตชายแดนทางตะวันตกของเยอรมนีซึ่งถูกวาดเส้นเอาไว้ใน ค.ศ. 1919 ใน ค.ศ. 1929, มุสโสลินีได้ออกคำสั่งให้เหล่าคณะเสนาธิการกองทัพบกของเขาให้เริ่มวางแผนสำหรับการเข้ารุกรานต่อฝรั่งเศสและยูโกสลาเวีย. ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932, มุสโสลินีได้ส่งข้อความถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของเยอรมนี นายพล ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ โดยให้ข้อเสนอแนะในการเป็นพันธมิตรระหว่างอิตาลี-เยอรมันเพื่อต่อต้านฝรั่งเศส ซึ่งข้อเสนอนี้ ชไลเชอร์จะตอบรับอย่างดี แม้ว่าจะมีเงื่อนไขว่า เยอรมนีจำเป็นต้องฟื้นฟูกองทัพซะก่อน ในช่วงปลาย ค.ศ. 1932–ช่วงต้น ค.ศ. 1933, มุสโสลินีได้วางแผนที่จะเข้าโจมตีโดยไม่ให้ตั้งตัวกับทั้งฝรั่งเศสและยูโกสลาเวีย ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1933 แผนการทำสงครามของมุสโสลินีใน ค.ศ. 1933 ได้ยุติลง เมื่อเขารับรู้ว่า Deuxième Bureau(สำนักงานที่สองของคณะเสนาธิการกองทัพฝรั่งเศส) ได้ละเมิดหลักเกณฑ์ทางการทหารของอิตาลี และเมื่อฝรั่งเศสได้รับแจ้งเตือนล่วงหน้าถึงแผนการทั้งหมดของอิตาลี จึงเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าโจมตีอิตาลีเช่นเดียวกัน.
ภายหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจ, ได้เข้าคุกคามผลประโยชน์ของอิตาลีในออสเตรียและลุ่มน้ำดานูบ มุสโสลินีได้เสนอกับบริติช ฝรั่งเศส และเยอรมนีใน ค.ศ.. เมื่อนายกรัฐมนตรีออสเตรียซึ่งเป็น 'ฟาสซิสต์ออสเตรีย' นามว่า (Engelbert Dollfuss) กับอำนาจแบบเผด็จการได้ถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 โดยฝ่ายสนับสนุนชาติสังคมนิยม, มุสโสลินีได้ข่มขู่เยอรมนีด้วยสงครามในกรณีที่เยอรมันเข้ารุกรานออสเตรีย มุสโสลินีในช่วงเวลานี้ยังคงต่อต้านอย่างเข้มงวดต่อความพยายามใด ๆ ของเยอรมันในการบรรลุอันชลุส และให้การสนับสนุนแนวสเตรซาแบบชั่วคราวในการต่อต้านเยอรมนีใน ค.ศ. 1935
แม้ว่ามุสโสลินีจะถูกกักขังสำหรับการต่อต้านสงครามอิตาลี-ตุรกีในแอฟริกาในฐานะ "โรคสั่นเพ้อเหตุชาตินิยม" และ "สงครามพิชิตที่น่าสังเวช", ภายหลัง ค.ศ. 1935–1936, ในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่สอง อิตาลีเข้ารุกรานเอธิโอเปีย ภายหลังจากเหตุการณ์ชายแดนซึ่งเกิดขึ้นมาจากการผนวกของอิตาลีเหนือการวาดเส้นแบ่งเขตชายแดนที่ไม่ชัดเจนระหว่างเอธิโอเปียและ นักประวัติศาสตร์ยังคงแบ่งแยกเกี่ยวกับเหตุผลสำหรับการโจมตีเอธิโอเปียใน ค.ศ. 1935 นักประวัติศาสตร์ชาวอิตาลีบางคน เช่น Franco Catalano และ Giorgio Rochat ได้กล่าวอ้างว่า การบุกครองครั้งนี้เป็นการกระทำของลัทธิจักรวรรดินิยมทางสังคม โดยยืนยันว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำลายชื่อเสียงศักดิ์ศรีของมุสโสลินีอย่างรุนแรง และเขาต้องการสงครามกับต่างประเทศเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชน นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เช่น Pietro Pastorelli ได้โต้แย้งว่า การบุกครองครั้งนี้เป็นการเปิดฉากในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการการขยายอาณาเขตเพื่อให้อิตาลีกลายเป็นมหาอำนาจหลักในพื้นที่ทะเลแดงและตะวันออกกลาง มีการตีความทางสายกลางได้ถูกนำเสนอโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน MacGregor Knox ได้กล่าวอ้างว่า สงครามเริ่มต้นด้วยเหตุผลทั้งต่างประเทศและภายในประเทศ โดยทั้งสองอย่างเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขยายอาณาเขตระยะยาวของมุสโสลินีและความตั้งใจที่จะทำให้มุสโสลินีได้รับชัยชนะนโยบายต่างประเทศที่ยอมให้เขาผลักดันระบบฟาสซิสต์ไปในทิศทางที่รุนแรงมากขึ้นที่บ้านเกิด กองทัพอิตาลีมีความได้เปรียบเหนือกว่ากองทัพอะบิสซิเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำนาจเหนือน่านฟ้า และในไม่ช้าพวกเขาก็ได้รับชัยชนะ จักรพรรดิฮัยเลอ ซึลลาเซทรงถูกบีบบังคับให้หลบหนีออกนอกประเทศ พร้อมกับอิตาลีได้เข้าสู่อาดดิสอาบาบา ซึ่งเป็นเมืองหลวง เพื่อประกาศว่าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1936 ทำให้เอธิโอเปียกลายเป็นส่วนหนึ่งของ
ด้วยความมั่นใจว่าจะได้รับการปล่อยมือจากนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ปีแยร์ ลาวาล และแน่นอนว่าบริติซและฝรั่งเศสจะยอมให้อภัย เพราะการต่อต้านของเขาต่อลัทธิแก้ของฮิตเลอร์ภายในแนวสเตรซา มุสโสลินีได้รับด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสันนิบาตชาติอย่างน่ารังเกียจซึ่งถูกบังคับใช้กับอิตาลีโดยความคิดริเริ่มของลอนดอนและปารีส ในมุมมองของมุสโสลินี การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการกระทำอย่างน่าไหว้หลังหลอกโดยปกติ ซึ่งดำเนินการโดยการทำลายอำนาจจักรวรรดิซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการขยายอาณาเขตตามธรรมชาติของประเทศที่มีอายุน้อยกว่าและยากจนดังเช่นอิตาลี อันที่จริง แม้ว่าฝรั่งเศสและบริติซจะเข้ามาก่อตั้งอาณานิคมในแอฟริกาแล้วก็ตาม แต่ลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกาได้สิ้นสุดลงเมื่อการเริ่มต้นของศตวรรษที่ยี่สิบ อารมณ์ความรู้สึกระหว่างประเทศตอนนี้ได้ต่อต้านการขยายอาณานิคมและการกระทำของอิตาลีได้ถูกประณาม นอกจากนี้ อิตาลียังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ได้ใช้และฟอสจีนในการกำจัดศัตรู และยังใช้เป็นวิธีการที่ไม่อดทนต่อการรบแบบกองโจรของข้าศึกอีกด้วย ซึ่งได้รับการอนุมัติจากมุสโสลินี ระหว่างปี ค.ศ. 1936 และ ค.ศ. 1941 ในช่วงปฏิบัติการเพื่อ"ทำให้สงบ" ต่อเอธิโอเปีย อิตาลีได้ทำการสังหารพลเรือนชาวเอธิโอเปียไปนับแสนคน และมีคาดคะเนว่า ได้ทำการสังหารประมาณ 7% ของประชากรชาวเอธิโอเปียทั้งหมด มุสโสลินีได้ออกคำสั่งให้จอมพล โรดอลโฟ กราซีอานี "ทำการริเริ่มและดำเนินนโยบายอย่างเป็นระบบต่อการก่อการร้าย และการทำลายล้างต่อพวกกบฏและประชากรในการสมรู้ร่วมคิดกับพวกเขา หากปราศจากนโยบายสิบตาต่อหนึ่ง พวกเราคงไม่สามารถรักษาบาดแผลนี้ได้ในเวลาที่เหมาะสม" มุสโสลินีได้ออกคำสั่งเป็นการส่วนตัวแก่กราซีอานีว่า ให้ทำการประหารชีวิตผู้ชายที่มีอายุเกิน 18 ปีทั้งหมดในหนึ่งเมืองและในหนึ่งเขต โดยสั่งว่า "นักโทษ ผู้สมรู้ร่วมคิดของพวกเขา และผู้ที่ต้องสงสัยจะถูกประหารชีวิต" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "การชำระบัญชีอย่างทีละน้อย ๆ" ของประชากร มีความเชื่อกันว่าคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวเอธิโอเปียลุกขึ้นมาต่อต้าน มุสโสลินีจึงออกคำสั่งให้นักบวชและคณะสงฆ์นิกายออร์ทอดอกซ์กลายเป็นเป้าหมายในการล้างแค้นจากการโจมตีแบบกองโจร มุสโสลินีได้ประกาศใช้กฎหมายดีกรี 880 ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษด้วยการจำคุกเป็นเวลาห้าปี เนื่องจากมุสโสลินีได้ชี้แจ้งเอาไว้อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการให้ทหารและเจ้าหน้าที่ทางการของเขาในเอธิโอเปียมีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวชาวเอธิโอเปียไม่ว่ากรณีใด ๆ เนื่องจากเขามีความเชื่อว่าความสัมพันธ์หลากเชื้อชาติจะทำให้คนของเขาอาจจะสังหารชาวเอธิโอเปียได้น้อยลง มุสโสลินีโปรดปราณนโยบายที่โหดเหี้ยม ส่วนหนึ่งเพราะเขาเชื่อว่าเอธิโอเปียไม่ใช่ประเทศชาติเพราะคนผิวดำงี่เง่าเกินกว่าจะมีจิตสำนึกความรักชาติ และดังนั้น พวกกองโจรก็เป็นเพียงแค่ "โจร" อีกเหตุผลหนึ่งเพราะมุสโสลินีกำลังวางที่จะนำชาวอาณานิคมอิตาลีจำนวนล้านคนเข้ามายังเอธิโอเปีย และเขามีความจำเป็นจะต้องสังหารประชากรชาวเอธิโอเปียส่วนมากเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับชาวอาณานิคมอิตาลีเช่นเดียวกับที่เขาเคยทำในลิเบีย
การคว่ำบาตรอิตาลีได้ถูกใช้โดยมุสโสลินีเพื่อเป็นข้ออ้างในการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1936 มุสโสลินีได้กล่าวกับเอกอัครราชทูตเยอรมนีนามว่า Ulrich von Hassell ว่า: "ถ้าออสเตรียกลายเป็นรัฐบริวารของเยอรมัน ในทางปฏิบัติแล้ว เขาก็จะไม่คัดค้านเลย" โดยยอมรับว่าออสเตรียอยู่ในเขตอิทธิพลของเยอรมัน มุสโสลินีได้ขจัดปัญหาหลักในความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลี-เยอรมัน
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1936 ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาออสเตรีย-เยอรมัน ซึ่งออสเตรียได้ประกาศตนเองว่าเป็น "รัฐเยอรมัน" ซึ่งนโยบายต่างประเทศจะสอดคล้องกับเบอร์ลิน และยอมให้พวกสนับสนุนนาซีได้เข้าสู่คณะรัฐมนตรีออสเตรีย มุสโสลินีได้ใช้ความกดดันอย่างหนักกับนายกรัฐมนตรีออสเตรีย ควร์ท ชุชนิค เพื่อลงนามในสนธิสัญญาเพื่อปรับแก้ไขความสัมพันธ์ของเขากับฮิตเลอร์ ภายหลังจากการคว่ำบาตรอิตาลีได้ยุติลงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1936 ฝรั่งเศสได้พยายามอย่างหนักในการรื้อฟื้นแนวสเตรซา โดยแสดงให้เห็นในสิ่งที่ซัลลิแวนเรียกว่า "เกือบที่จะต้องอัปยศอดสูในการตัดสินใจเพื่อรักษาอิตาลีไว้ในฐานะพันธมิตร" ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 บริติชลงนามใน"ข้อตกลงสุภาพบุรุษ"กับมุสโสลินีโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะจำกัดการแทรกแซงของอิตาลีในสเปน และถูกมองโดยสำนักงานต่างประเทศของบริติชว่าเป็นก้าวแรกสู่การสร้างพันธมิตรระหว่างอังกฤษ-อิตาลี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 บริติชและอิตาลีได้ลงนาม ซึ่งบริติชให้คำมั่นสัญญาว่าจะยอมรับว่าชาวเอธิโอเปียเป็นชาวอิตาลีเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับอิตาลีทำการถอนตัวออกจากสงครามกลางเมืองสเปน สำนักงานต่างประเทศเข้าใจว่า สงครามกลางเมืองสเปนนั่นที่จะดึงดูดโรมและเบอร์ลินให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเชื่อว่าหากมุสโสลินีสามารถชักจูงให้ถอนตัวจากสเปนได้ จากนั้นเขาก็จะกลับมาอยู่ข้างฝ่ายพันธมิตร เพื่อที่จะนำมุสโสลินีออกจากสเปน บริติชพร้อมที่จะจ่ายราคาดังกล่าว เช่น การยอมรับพระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 เป็นจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย นักประวัติศาตร์ชาวอเมริกันนามว่า แบร์รี ซัลลิแวน ได้เขียนว่า ทั้งบริติชและฝรั่งเศสต้องการอย่างมากในการทอดไมตรีกับอิตาลีเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการคว่ำบาตรของสันนิบาตชาติ และกล่าวว่า "มุสโสลินีเลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับฮิตเลอร์ มากกว่าที่จะถูกบีบบังคับ..."
สะท้อนถึงนโยบายต่างประเทศที่สนับสนุนเยอรมนีครั้งใหม่ เมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1936, มุสโสลินีได้ตกลงที่จะจัดตั้งอักษะ โรม-เบอร์ลิน ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยข้อตกลงความร่วมมือกับนาซีเยอรมนีและลงนามในกรุงเบอร์ลิน นอกจากนี้ การพิชิตเอธิโอเปียนั้นได้สูญเสียชีวิตชาวอิตาลีจำนวน 12,000 คน และจำนวนอีก 4,000 ถึง 5,000 คน ที่เป็นชาวลิเบีย ชาวเอริเทรีย และชาวโซมาลิสซึ่งต่อสู้รบในการประจำการของอิตาลี มุสโสลินีเชื่อว่าการพิชิตเอธิโอเปียจะมีค่าใช้จ่ายจำนวน 4 ถึง 6 พันล้านลีเล่ แต่ต้นทุนที่แท้จริงของการบุกครองซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นจำนวนเงิน 33.5 พันล้านลีเล่. ต้นทุนทางเศรษฐกิจของการพิชิตได้ปรากฏว่า อิตาลีต้องใช้จ่ายงบประมาณอย่างท่วมท้น และทำให้ความพยายามอย่างจริงจังของอิตาลีในการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัยต้องช้าลง เนื่องจากเงินงบประมาณที่มุสโสลินีได้จัดสรรไว้สำหรับความทันสมัยทางการทหารกลับถูกนำไปใช้สำหรับการพิชิตเอธิโอเปีย บางอย่างที่ได้ช่วยให้ผลักดันมุสโสลินีไปยังเยอรมนี เพื่อช่วยปกปิดก้อนหนึ้มหาศาลที่กำลังประสบอยู่ในช่วงสงครามเอธิโอเปีย มุสโสลินีได้ลดค่าเงินลีเล่ลง 40% ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการยึดครองเอธิโอเปียทำให้กองคลังอิตาลีต้องสูญเสียเงินไปอีก 21.1 พันล้านลีเล่ ระหว่างปี ค.ศ. 1936 และ ค.ศ. 1940 มีส่วนเพิ่มเติมคือ อิตาลีต้องสูญเสียทหารจำนวน 4,000 นาย ซึ่งเสียชีวิตในการรบจากสงครามกลางเมืองสเปน ในขณะที่การเข้าแทรกแซงของอิตาลีในสเปนทำให้อิตาลีต้องเสียค่าใช้จ่ายไปอีก 12 ถึง 14 พันล้านลีเล่ ในปี ค.ศ. 1938 และ ค.ศ. 1939 รัฐบาลอิตาลีได้เก็บภาษีเป็นจำนวนเงิน 39.9 พันล้านลีเล่ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของอิตาลีทั้งหมดมีมูลค่า 153 พันล้านลีเล่ ซึ่งหมายความว่าสงครามเอธิโอเปียและสเปนได้ทำให้เกิดความเสียหายที่จะทำให้เศรษฐกิจของอิตาลีทรุดโทรมลง มีเพียง 28% ของงบประมาณทางการทหารทั้งหมดของอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 1934 และ ค.ศ. 1939 ได้ถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัย ส่วนที่เหลือทั้งหมดถูกนำไปใช้โดยสงครามของมุสโสลินี ซึ่งนำไปสู่อำนาจทางการทหารของอิตาลีลดลงอย่างรวดเร็ว ระหว่างปี ค.ศ. 1935 และ ค.ศ. 1939 สงครามของมุสโสลินีทำให้อิตาลีต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าถึง 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นผลรวมที่เป็นสัดส่วนยิ่งเป็นภาระมากยิ่งขึ้น เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศที่ยากจนเช่นนี้ ช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1930 เป็นช่วงเวลาแห่งความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีทางทหาร และซัลลิแวนได้เขียนว่า มุสโสลินีได้เลือกผิดเวลาในการต่อสู้ของเขาในสงครามเอธิโอเปียและสเปน ในเวลาเดียวกันกับกองทัพอิตาลีกำลังตกอยู่ภายใต้มหาอำนาจอื่น ๆ การแข่งขันเสริมสร้างอาวุธอย่างเต็มรูปแบบได้ปะทุขึ้น โดยเยอรมนี บริติช และฝรั่งเศส ซึ่งต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกองทัพของพวกเขา เมื่อช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1930 กำลังก้าวหน้า สถานการณ์ที่มุสโสลินีได้ยอมรับเป็นการส่วนตัวว่า ขีดจำกัดอย่างหนักหน่วงต่อความสามารถของอิตาลีในการสู้รบในสงครามครั้งใหญ่ด้วยตัวเองนั้น และด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีมหาอำนาจที่เป็นพันธมิตรเพื่อทดแทนความล้าหลังของกองทัพอิตาลีที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้ให้การสนับสนุนทางทหารจำนวนมากมายแก่กลุ่มแห่งชาติในสงครามกลางเมืองสเปน การเข้าแทรกแซงอย่างแข็งขันในฝ่ายฟรังโกทำให้อิตาลีต้องตีตัวออกห่างจากฝรั่งเศสและบริติซมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างมุสโสลินีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์จึงใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเขาเลือกที่จะยอมรับการผนวกออสเตรียของเยอรมันใน ค.ศ. 1938 ตามมาด้วยการแบ่งแยกดินแดนเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1939 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 ในช่วงระหว่างการมาเยือนอิตาลีของฮิตเลอร์ มุสโสลินีได้บอกกับฟือเรอ์ว่าอิตาลีและฝรั่งเศสเป็นศัตรูตัวฉกาจที่ต้องสู้รบกันบน"ด้านตรงข้ามของรั้วแนวกั้น" ที่เกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองสเปน และแนวสเตรซานั่น"ได้ตายและถูกฝังเสียแล้ว" ในการประชุมมิวนิก ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938 มุสโสลินียังคงวางท่าทางในการดำเนินวางตัวเป็นกลางเพื่อสันติภาพยุโรป ในขณะที่ได้ช่วยเหลือนาซีเยอรมนีทำการผนวกซูเดเทินลันท์ ข้อตกลงอักษะกับเยอรมันใน ค.ศ. 1936 ซึ่งมีความเข้มแข็งมากขึ้นโดยการลงนามกติกาสัญญาเหล็ก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 ซึ่งได้เชื่อมโยงระหว่างฟาสซิสต์อิตาลีและนาซีเยอรมนีเข้าด้วยกันในพันธมิตรทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ
สมาชิกของ กลุ่มพลพรรคชาวสโลวีเนีย ได้วางแผนที่จะสังหารมุสโสลินีใน แต่ความพยายามของพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จ
สงครามโลกครั้งที่สอง
การรวมตัวของพายุ
ในช่วงปลาย ค.ศ. 1930 ความหลงใหลในประชากรศาสตร์ของมุสโสลินีทำให้เขาได้สรุปว่าบริติชและฝรั่งเศสได้สูญสิ้นอำนาจแล้ว และเยอรมนีและอิตาลีจะกำหนดให้ปกครองยุโรปโดยปราศจากเหตุผลอื่น ๆ ใด นอกจากความแข็งแกร่งทางประชากรของพวกเขา มุสโสลินีได้ยืนยันความเชื่อของเขาว่าอัตราการเกิดที่กำลังลดลงในฝรั่งเศสนั้น"น่ากลัวอย่างแท้จริง" และจักวรรดิบริติชถึงคราวเคราะห์เพราะหนึ่งในสี่ของประชากรบริติชมากกว่าห้าสิบ ด้วยเหจุนี้ มุสโสลินีจึงเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับเยอรมนีดีกว่าการเป็นแนวร่วมกับบริติชและฝรั่งเศส เนื่องจากสมควรที่จะเป็นพันธมิตรกับฝ่ายที่เข้มแข็งมากกว่าฝ่ายที่อ่อนแอ. มุสโสลินีได้มองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นการต่อสู้ทางสัมคมแบบดาร์วิน ระหว่างประเทศที่ "แข็งแกร่ง" กับอัตราการเกิดที่สูงซึ่งถูกกำหนดให้ทำลายประเทศที่ "อ่อนแอ" กับอัตราการเกิดที่ต่ำ มุสโสลินีเชื่อว่าฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ "อ่อนแอและแก่" เนื่องจากอัตราการตายรายสัปดาห์ของฝรั่งเศสเกินกว่าอัตราการเกิดอยู่ที่ 2,000 คน และเขาไม่สนใจที่จะเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส.
นั่นคือขนาดของความเชื่อของมุสโสลินีว่าเป็นโชคชะตาของอิตาลีที่จะปกครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากอัตราการเกิดของอิตาลีนั่นสูง เมื่อเขาได้ละเลยการวางแผนอย่างจริงจังไปมากและการเตรียมการที่จำเป็นสำหรับการทำสงครามกับมหาอำนาจตะวันตก ข้อโต้แย้งเพียงข้อเดียวที่ทำให้มุสโสลินีไม่ได้เป็นแนวร่วมเดียวกับเบอร์ลินอย่างเต็มตัวคือการตระหนักรู้ถึงความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจและการทหารของอิตาลี ซึ่งหมายความว่า เขาจะต้องใช้เวลาเพิ่มเติมในการฟื้นฟูกองทัพ และความต้องการของเขาที่จะใช้ข้อตกลงอีสเตอร์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 เพื่อที่จะแยกบริติชออกห่างจากฝรั่งเศส การเป็นพันธมิตรทางทหารกับเยอรมนีซึ่งตรงข้ามกับพันธมิตรทางการเมืองที่ดูหละหลวมกว่าที่มีอยู่แล้วกับไรช์ภายใต้กติกาสัญญาต่อต้านโคมินเทิร์น(ซึ่งไม่มีข้อผูกมัดทางทหาร) น่าจะยุติโอกาสใด ๆ ของบริติชในการบรรลุผลของข้อตกลงอีสเตอร์ ข้อตกลงอีสเตอร์มีจุดมุ่งหมายโดยมุสโสลินีเพื่อยอมให้อิตาลีเข้าจัดการฝรั่งเศสโดยลำงโดยแก้ไขความสัมพันธ์ระหว่างบริติช-อิตาลีอย่างเพียงพอ เมื่อลอนดอนน่าจะยังคงวางตัวเป็นกลางในกรณีที่เกิดสงครามฝรั่งเศส-อิตาลี(มุสโสลินีได้ร่างออกแบบจักรวรรดิต่อตูนีเซีย และบางครั้งก็) ในทางกลับกัน ข้อตกลงอีสเตอร์มีจุดมุ่งหมายโดยบริติซที่จะทำให้อิตาลีออกห่างจากเยอรมนี
เคานต์ กาลีซโซ ชิอาโน ลูกเขยของมุสโสลินีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้สรุปวัตถุประสงค์นโยบายต่างประเทศของระบอบเผด็จการเกี่ยวกับฝรั่งเศส ซึ่งบันทึกลงในอนุทินประจำวันของเขา เมื่อวัน 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938: จิบูตีน่าจะได้ปกครองร่วมกับฝรั่งเศส "ตูนีเซียที่มีระบอบการปกครองที่คล้ายคลึงกันไม่มากก็น้อย คอร์ซิกา เป็นของอิตาลีและไม่เคยเป็นของฝรั่งเศส และดังนั้นภายใต้การควบคุมโดยตรงของเรา ชายแดนที่แม่น้ำวาร์" สำหรับซาวอย ซึ่งไม่ได้เป็น"ทางประวัติศาสตร์หรือทางภูมิศาสตร์ของอิตาลี" มุสโสลินีได้กล่าวอ้างว่าเขาแทบไม่สนใจมันเลย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 มุสโสลินีได้เชิญเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส André François-Poncet เพื่อเข้าร่วมการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฏรอิตาลี ในช่วงระหว่างที่สมาชิกผู้แทนได้รวมตัวกันตามคิวของเขา เริ่มแสดงด้วยการตะโกนเสียงอย่างกึกก้องต่อฝรั่งเศสว่า อิตาลีสมควรที่จะผนวก"ตูนิส นิส คอร์ซิกา ซาวอย" ซึ่งตามมาด้วยสมาชิกผู้แทนได้เดินขบวนไปตามถนนพร้อมกับชูถือป้ายเรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนตูนีเซีย ซาวอย และคอร์ซิกาให้แก่อิตาลี นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส เอดัวร์ เอรโอต์ ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของอิตาลีเรื่องการส่งมอบดินแดนโดยทันที และส่วนใหญ่ในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1938-39 ฝรั่งเศสและอิตาลีเกือบที่จะทำสงคราม
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1939 นายกรัฐมนตรีบริติช เนวิล เชมเบอร์ลิน ได้มาเยือนกรุงโรม ในช่วงระหว่างการมาเยือน มุสโสลินีได้เรียนรู้ว่า แม้แต่บริติชต้องการมีความสัมพันธ์อันดีกับอิตาลีอย่างมาก และเตรียมความพร้อมที่จะทำข้อตกลงยินยอม ซึ่งจะไม่ตัดขาดความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสทั้งหมดเพื่อคิดถึงผลประโยชน์ของความสัมพันธ์บริติช-อิตาลีที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ มุสโสลินีมีความสนใจมากขึ้นในข้อเสนอของเยอรมันในการเป็นพันธมิตรทางทหาร ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ ในช่วงระหว่างที่เขาได้ประกาศถึงความเชื่อของตนว่า อำนาจของรัฐคือ "ได้สัดส่วนกับตำแหน่งทางทะเล" และอิตาลีเป็น"นักโทษในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอิตาลียิ่งมีจำนวนประชากรและทรงอำนาจมากเท่าไหร่ นักโทษเหล่านั้นก็จะต้องทนทุกข์ทรมาณจากการถูกจองจำมากขึ้นเท่านั้น รั้วกั้นของเรือนจำแห่งนี้คือคอร์ซิกา ตูนีเซีย มอลตา ไซปรัส: ผู้คุมเรือนจำแห่งนี้คือยิบรอลตาร์และคลองสุเอซ"
แนวทางใหม่นี้โดยปราศจากเสียงวิจารณ์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในช่วงการประชุมที่สภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ อิตาโล บัลโบได้กล่าวหามุสโสลินีว่าเป็น"การเลียรองเท้าบูทของฮิตเลอร์" ได้ทำลายนโยบายต่างประเทศที่ให้การสนับสนุนเยอรมนีของดูเชซึ่งเป็นการนำพาอิตาลีไปสู่หายนะ และเป็นที่สะดุดตาถึง "การเปิดช่องทางเข้าหาบริติช" ยังคงมีอยู่ และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ว่าอิตาลีจะต้องมาเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี แม้ว่าเจอราชิ(เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฟาสซิสต์) หลายคน เช่น บัลโบ จะไม่กระตือรือร้นต่อความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเบอร์ลิน การควบคุมเครื่องกลไลของนโยบายต่างประเทศของมุสโสลินีซึ่งหมายความว่าความขัดแย้งนี้นับได้เพียงเล็กน้อย มุสโสลินีมีตำแหน่งผู้นำภายในพรรคฟาสซิสต์ แต่เขาไม่ได้ครอบงำเอาไว้ทั้งหมด ในขณะที่การโจมตีกล่าวหาของบัลโบต่อมุสโสลินีว่า เป็น"การเลียรองเท้าบูทของฮิตเลอร์" และข้อเรียกร้องของเขาคือ "การเปิดช่องทางเข้าหาบริติช" ได้ถูกติดตามในที่ประชุมสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ร่วมกับสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกนามว่า Aristotle Kallis ได้กล่าวว่า การแสดงตอบโต้อย่าง"ค่อนข้างจำกัด"ของมุสโสลินี—พรรคนาซีไม่มีอะไรมาเทียบเท่าสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์และมันเป็นความน่าเหลือเชื่อว่าหนึ่งในเกาไลเทอร์ของฮิตเลอร์จะโจมตีเขาในลักษณะเดียวกันกับเจอราชิอย่างบัลโบที่กล่าววิพากษ์วิจารณ์มุสโสลินี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้ออกคำสั่งให้อิตาลีบุกครองแอลเบเนีย อิตาลีสามารถเอาชนะแอลเบเนียได้ภายในห้าวัน ได้บีบบังคับให้พระเจ้าซ็อกที่ 1 ทรงลี้ภัยออกนอกประเทศและจัดตั้งช่วงเวลาของแอลเบเนียภายใต้การปกครองของอิตาลี จนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 ฝ่ายอักษะยังไม่ได้เป็นอย่างทางการทั้งหมด แต่ในช่วงเดือนนั้น กติกาสัญญาเหล็กได้ถูกลงนามโดยสรุปใจความว่า "มิตรภาพและการเป็นพันธมิตรกัน" ระหว่างเยอรมนีและอิตาลี ซึ่งถูกลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของแต่ละฝ่าย กติกาสัญญาเหล็กเป็นพันธมิตรทางทหารแบบเชิงรุกและเชิงป้องกัน แม้ว่ามุสโสลินีจะลงนามในสนธิสัญญาก็ต่อเมื่อได้รับคำมั่นสัญญาจากฝ่ายเยอรมันว่าจะไม่มีสงครามในอีกสามปีข้างหน้า พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลีทรงระมัดระวังในกติกาสัญญาฉบับนี้ โดยทรงให้การสนับสนุนพันธมิตรเดิมของอิตาลีอย่างฝรั่งเศส และทรงเกรงกลัวต่อผลกระทบของพันธมิตรทางทหารแบบก้าวร้าว ซึ่งหมายความว่าการจำนนต่อการควบคุมเหนือคำถามของสงครามและสันติภาพต่อฮิตเลอร์
ฮิตเลอร์มีความตั้งใจที่จะบุกครองโปแลนด์ แม้ว่าชิอาโนจะกล่าวเตือนว่าการกระทำเหล่านี้จะนำไปสู่การทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธความคิดเห็นของชิอาโน โดยคาดการณ์ล่วงหน้าเอาไว้แล้วว่า บริติชและประเทศตะวันตกจะยอมถอยออกไป และเขาได้ให้ข้อเสนอว่า อิตาลีควรจะทำการบุกครองยูโกสลาเวีย ข้อเสนอนี้กลับดึงดูดใจต่อมุสโสลินี แต่ในช่วงเวลาของสงครามโลกกลายเป็นความหายนะสำหรับอิตาลี เนื่องจากสถานการณ์ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์จากก่อตั้งจักรวรรดิอิตาลีนั้นยังดูเบาบางเกินไป ที่สำคัญมากกว่านั้น พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ต่อการวางตัวเป็นกลางในข้อพิพาท ดังนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ด้วยการบุกครองโปแลนด์ของเยอรมันทำให้เกิดการตอบโต้ของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสด้วยการประกาศสงครามกับเยอรมนี อิตาลียังไม่ได้เข้าไปพัวพันในความขัดแย้งครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเยอรมันได้กักขังเหล่าศาสตราจารย์จำนวน 183 คนจากในเมืองกรากุฟ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 มุสโสลินีได้เข้าแทรกแซงเป็นการส่วนตัวกับฮิตเลอร์เพื่อต่อต้านการกระทำครั้งนี้ ซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยชาวโปแลนด์จำนวน 101 คน
ประกาศสงคราม
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้เริ่มต้นขึ้น ชิอาโนและไวเคานต์ฮาลิแฟกซ์กำลังสนทนาทางโทรศัพท์อย่างลับ ๆ บริติชต้องการให้อิตาลีเข้าข้างฝ่ายพวกตนในการต่อต้านเยอรมนีดังเช่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับมีความคิดเห็นในการพุ่งเป้าโจมตีอิตาลีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาอยากจะเข้าโจมตีอิตาลีในลิเบีย ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ฝรั่งเศสได้ทำการเหวี่ยงฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง โดยเสนอในการหารือปัญหาต่าง ๆ กับอิตาลี แต่ฝรั่งเศสยังไม่เต็มใจที่จะหารือเกี่ยวกับดินแดนจากคอร์ซิกา นิส และซาวอย มุสโสลินียังไม่ได้ให้คำตอบ ปลัดกระทรวงการผลิตสงครามของมุสโสลินี Carlo Favagrossa ได้ประเมินคาดการณ์ว่าอิตาลียังไม่พร้อมสำหรับปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่จนถึง ค.ศ. 1942 เนื่องจากเขตภาคอุตสาหรรมที่ค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรปตะวันตก ในปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่า: "ตราบใดที่ดูเชยังมีชีวิตอยู่ เราได้วางใจว่า อิตาลีจะโฉบฉวยทุกโอกาศเพื่อบรรลุเป้าหมายจักรวรรดินิยม"
ด้วยความเชื่อมั่นว่าสงครามใกล้จะยุติลงในไม่ช้า ด้วยชัยชนะของเยอรมนีที่กำลังมองเห็นไปถึงจุดนั้น มุสโสลินีจึงตัดสินใจที่จะเข้าสู่สงครามกับฝ่ายอักษะ ดังนั้น อิตาลีจึงประกาศสงครามกับบริติชและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ถือว่าการทำสงครามกับบริติชและฝรั่งเศสเป็นการต่อสู้การเอาชีวิตรอดระหว่างอุดมการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์—ลัทธิฟาสซิสต์และ"ระบอบประชาธิปไตยแบบพวกเศรษฐีทรงอำนาจและกลุ่มปฏิกิริยาของตะวันตก"—ได้อธิบายถึงสงครามครั้งนี้ว่า "เป็นการต่อสู้ของผู้คนวัยหนุ่มสาวและเจริญพันธุ์กับคนที่เป็นหมันที่กำลังเคลื่อนที่ไปยังตะวันตกดิน มันเป็นการต่อสู้ระหว่างสองศตวรรษและสองแนวคิด" และ "การพัฒนาเชิงตรรกะของการปฏิวัติของเรา"
อิตาลีได้เข้าร่วมกับเยอรมันในยุทธการที่ฝรั่งเศส ต่อสู้รบกับแนวป้อมปราการบนเทือกเขาแอลป์ในบริเวณชายแดน สิบเอ็ดวันต่อมา ฝรั่งเศสและเยอรมนีได้ลงนามการสงบศึก รวมทั้งซึ่งส่วนใหญ่ของเมืองนิส และมณฑลทางตะวันอกเฉียงใต้อื่น ๆ มุสโสลินีได้วางแผนที่รวบรวมกองทัพอิตาลีเพื่อเข้าโจมตีครั้งใหญ่ต่อจักรวรรดิบริตชในแอฟริกาและตะวันออกกลาง เป็นที่รู้จักกันคือ "สงครามคู่ขนาน" โดยคาดกาณณ์ว่า บริติชกำลังจะล่มสลายใน อิตาลีเข้ารุกรานอียิปต์และ และเข้าโจมตีบริติชในดินแดนอาณานิคมอย่าง และ (ในสิ่งที่จะกลายเป็นที่รู้จักกันคือ การทัพแอฟริกาตะวันออก)บริติชโซมาลิแลนด์ถูกพิชิตและกลายเป็นส่วนหนึ่งของแอฟริกาตะวันออกของอิตาลี เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1940 และจากนั้นอิตาลีก็เข้ารุกคืบในซูดานและเคนยาด้วยความสำเร็จช่วงแรก รัฐบาลบริติชปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเสนอเพื่อสันติภาพที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับชัยชนะของฝ่ายอักษะในยุโรป แผนการสำหรับการบุกครองสหราชอาณาจักรยังไม่คืบหน้าและสงครามก็ยังคงดำเนินต่อไป
หนทางสู่ความปราชัย
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1940 กองทัพที่สิบของอิตาลีซึ่งถูกบัญชาการโดยนายพล โรดอลโฟ กราซีอานี และก้าวข้ามจากอิตาเลียนลิเบียไปยังอียิปต์ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพบริติช สิ่งนี้จะกลายเป็นการทัพทะเลทรายตะวันตก การรุกได้ประสบความสำเร็จ แต่อิตาลีต้องหยุดชะงักลงที่ Sidi Barrani เพื่อรอคอยระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งเสบียงตามมาให้ทัน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1940 มุสโสลินีได้ส่งกองบินอิตาเลียนไปยังเบลเยียม ซึ่งได้เข้าร่วมในเดอะบลิตซ์จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1941 ในเดือนตุลาคม มุสโสลินีได้ส่งกองทัพอิตาลีเข้าไปยังกรีซ โดยการเริ่มต้นสงครามกรีซ-อิตาลี กองทัพอากาศหลวงของบริติชได้เข้าขัดขวางการบุกครองของอิตลีและยอมให้กรีซทำการผลักดันอิตาลีให้กลับไปยังแอลเบเนีย แต่การรุกตอบโต้กลับกรีซในอิตาเลียนแอลเบเนียได้ยุติลงด้วยหนทางตัน
เหตุการณ์ในแอฟริกาได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อต้นปี ค.ศ. 1941 ในปฏิบัติการเข็มทิศได้บีบบังคับให้อิตาลีล่าถอยกลับไปยังลิเบีย ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างหนักต่อกองทัพบกอิตาลี นอกจากนี้ในการทัพแอฟริกาตะวันออก การโจมตีได้เกิดขึ้นกับกองทัพอิตาลี แม้จะถูกต่อต้านบ้าง แต่พวกเขาก็ถูกกดดันอย่างหนักใน และการป้องกันของอิตาลีเริ่มที่จะพังทลายลงด้วยความปราชัยครั้งสุดท้ายใน ในการกล่าวปราศัยต่อสาธารณชนชาวอิตาลีเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว มุสโสลินีได้เปิดเผยอย่างเต็มที่เกี่ยวกับสถานการณ์ โดยกล่าวว่า "เราเรียกขนมปังก็ขนมปัง ไวน์ก็คือไวน์ และเมื่อข้าศึกได้รับชัยชนะการรบ มันไร้ประโยชน์และน่าขบขันในการแสวงหา เนื่องจากชาวบริติซกระทำในหน้าซื่อใจคด เพื่อที่จะปฏิเสธหรือลดทอนลง" ส่วนหนึ่งของความคิดเห็นของเขาเกี่ยวข้องกับความสำเร็จก่อนหน้านี้ที่อิตาลีมีในแอฟริกา ก่อนที่จะพบกับความพ่ายแพ้ให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในภายหลัง ด้วยความเสี่ยงอันตรายจากการสูญเสียการควบคุมดินแดนทั้งหมดของอิตาลีในแอฟริกาเหนือ จนในที่สุด เยอรมนีจึงส่งกองทัพน้อยแอฟริกาไปให้การสนับสนุนแก่อิตาลี ในขณะเดียวกัน จึงเกิดขึ้นในยูโกสลาเวียเพื่อยุติสงครามกรีซ-อิตาลี ส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะได้รับชัยชนะและเข้ายึดครองกรีซโดยอิตาลีและเยอรมนี[] ด้วยการบุกครองยูโกสลาเวียและคาบสมุทรบอลข่านของฝ่ายอักษะ อิตาลีได้ผนวกรวมเข้ากับลูบลิยานา แดลเมเชีย และมอนเตเนโกร และก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดแห่งโครเอเชียและ
นายพล Mario Robotti ผู้บัญชาการแห่งกองทัพอิตาลีที่ 11 ในสโลวีเนียและโครเอเชีย ได้ออกคำสั่งที่ได้รับมาโดยตรงจากมุสโสลินีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942: "ข้าพเจ้าไม่ขัดแย้งกับชาวสโลวีเนียทั้งหมด(ซิก) ซึ่งถูกกักขังและถูกแทนที่โดยชาวอิตาลี กล่าวอีกนัยคือ เราควรดำเนินการเพื่อให้การรับรองว่า เขตพรมแดนทางการเมืองและชาติพันธุ์นั้นตรงกัน"
มุสโสลินีได้เรียนรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาเป็นครั้งแรก ภายหลังจากการบุกครองสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 และฮิตเลอร์ไม่ได้ขอให้เขามีส่วนร่วมด้วย มุสโสลินีได้ริเริ่มในการออกคำสั่งให้กองทัพน้อยแห่งกองทัพบกอิตาลีมุ่งหน้าสู่แนวรบด้านตะวันออก ซึ่งเขาคาดหวังว่าอิตาลีอาจได้รับชัยชนะมาอย่างง่ายดายเพื่อฟื้นฟูความรุ่งโรจน์ของระบอบฟาสซิสต์ ซึ่งได้รับความเสียหายจากความพ่ายแพ้ในกรีซและแอฟริกาเหนือ[] เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1941 เขาได้ตรวจสอบหน่วยรบเป็นครั้งแรกที่เมืองเวโรนา ซึ่งถูกใช้เป็นฐานยิงขีปนาวุธเข้าใส่รัสเซีย มุสโสลินีได้บอกแก่คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ว่าสิ่งที่เขากังวลเพียงอย่างเดียวคือ เยอรมนีอาจจะเอาชนะโซเวียตได้ก่อนที่อิตาลีจะไปถึง ในการเข้าพบกับฮิตเลอร์ในเดือนสิงหาคม มุสโสลินีได้เสนอแนะและฮิตเลอร์ก็ยอมรับในการส่งทหารชาวอิตาลีเพิ่มเติมในการสู้รบกับสหภาพโซเวียต อิตาลีได้รับความสูญเสียอย่างหนักในแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งการรบในครั้งนี้ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากมาย เนื่องจากมุมมองอย่างกว้างขวางว่า นี่ไม่ใช่การสู้รบของอิตาลี ซึ่งได้ทำลายศักดิ์ศรีของมุสโสลินีกับประชาชนชนชาวอิตาลี ภายหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ของญี่ปุ่น เขาได้ประกาศสงครามกับสหรัฐ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 หลักฐานชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการตอบสนองของมุสโสลินีต่อการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์มาจากอนุทินของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอย่างชิอาโน:
โทรศัพท์ช่วงตอนกลางคืนจากริบเบินทร็อพ. เขาเกิดความดีใจอย่างสุด ๆ เกี่ยวกับญี่ปุ่นโจมตีต่ออเมริกา. เขาดูมีความสุขอย่างมากซะจนข้าพเจ้ามีความสุขไปกับเขาด้วย แม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ค่อยแน่ใจถึงผลประโยชน์ช่วงสุดท้ายในสิ่งที่จะเกิดขึ้น. สิ่งหนึ่งที่มั่นใจแล้วในตอนนี้ อเมริกาจะเข้าสู่ความขัดแย้งและความขัดแย้งครั้งจะกินเวลายาวนานจนเธอสามารถรับรู้ถึงอำนาจที่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดของเธอ ช่วงเช้านี้ ข้าพเจ้าได้ทูลเรื่องนี้ต่อกษัตริย์ซึ่งทรงพอพระทัยต่อเหตุการณ์นี้. พระองค์ลงเอยด้วยการยอมรับว่าในระยะยาว ข้าพเจ้าอาจะพูดถูก มุสโสลินีก็มีความสุขเช่นกัน เป็นเวลามายาวนานแล้วที่เขาโปรดปราณการอธิบายที่ดูชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกาและฝ่ายอักษะ
ภายหลังจากการล่มสลายของวิชีฝรั่งเศสและกรณีอันตอน อิตาลีเข้ายึดครองดินแดนฝรั่งเศสอย่างคอร์ซิกา และตูนีเซีย กองทัพอิตาลียังได้รับชัยชนะจากผู้ก่อการกำเริบในยูโกสลาเวียและ และกองทัพอิตาลี-เยอรมันได้เข้ายึดครองพื้นที่บางส่วนของอียิปต์ซึ่งบริติชถือครองเพื่อพลักดันให้ไปยังอัลอะละมัยน์ ภายหลังจากที่พวกเขาได้รับชัยชนะที่กาซาลา
แม้ว่ามุสโสลินีจะตระหนักดีว่า ทรัพยากรของอิตาลีกำลังลดน้อยลงจากการทัพใน ค.ศ. 1930 นั้นไม่พร้อมสำหรับการทำสงครามระยะยาว เขาเลือกที่จะคงอยู่ในความขัดแย้งโดยไม่ละทิ้งดินแดนที่ยึดครองมาได้และความทะเยอทะยานของจักรวรรดิฟาสซิสต์
ถูกปลดและจับกุม
ใน ค.ศ. 1943 ตำแหน่งทางการทหารของอิตาลีไม่สามารถป้องกันได้ กองทัพฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือซึ่งท้ายที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ในการทัพตูนีเซียในช่วงต้น ค.ศ. 1943 อิตาลีก็ประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่บนแนวรบด้านตะวันออกเช่นกัน การบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้นำพาสงครามเข้าใกล้กับหน้าประตูบ้านของประเทศมากยิ่งขึ้น แนวรบบนบ้านเกิดอิตาลียังอยู่ในสภาพที่ไม่ดี เนื่องจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรทำให้ได้รับความเสียหาย โรงงานอุตสาหกรรมทั่วทั้งอิตาลีต้องหยุดชะงักลงเกือบทั้งหมดเพราะวัตถุดิบ เช่น ถ่านหินและน้ำมัน นั้นเกิดภาวะขาดแคลน นอกจากนี้ อาหารก็ยังเกิดภาวะขาดแคลนแบบเรื้อรัง และอาหารที่มีอยู่ก็ถูกวางขายในราคาที่แทบจะเกือบถูกริบทรัพย์ได้เลย เครื่องโฆษณาชวนเชื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายของมุสโสลินีได้สูญเสียความเชื่อมั่นของประชาชนไปจนหมดสิ้นแล้ว ประชากรชาวอิตาลีจำนวนมากหันเข้าหาหรือเพื่อรับฟังรายงานข่าวที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น ความไม่พอใจเริ่มก่อตัวขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1943 ด้วยคลื่นกระแสของการนัดหยุดงานของแรงงานในภาคเหนือของอุตสาหกรรม—การนัดหยุดงานขนาดใหญ่เป็นครั้งแรงนับตั้งแต่ ค.ศ. 1925 นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญบางแห่งในมิลานและตูรินได้หยุดการผลิตเพื่อประกันเงินให้ความช่วยเหลือในการอพยพสำหรับครอบครัวแรงงาน การมีอยู่ของเยอรมันในอิตาลีได้เปลี่ยนความคิดเห็นของสาธารณชนอย่างรวดเร็วต่อมุสโสลินี ตัวอย่างเช่น เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองซิซิลี ประชาชนส่วนใหญ่ที่นั่นได้ต้อนรับพวกเขาในฐานะผู้ปลดปล่อย
มุสโสลินีเกรงกลัวว่าด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในแอฟริกาเหนือ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรจะข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเข้าโจมตีอิตาลี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1943 ในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาประชิดตูนีเซีย มุสโสลินีได้เรียกร้องให้ฮิตเลอร์หย่าศึกกับสหภาพโซเวียต และส่งกองทัพเยอรมันไปทางตะวันตกเพื่อป้องกันต่อการบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะซิซิลี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 และภายในไม่กี่วันก็เป้นที่ประจักษ์แล้วว่า กองทัพอิตาลีใกล้จะย่อยยับแล้ว สิ่งนี้ทำให้ฮิตเลอร์เรียกมุสโสลินีไปเข้าประชุมที่เฟลเตร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีรู้สึกสั่นคลอนจากความเครียดที่เขาไม่สามารถทนต่อคุยโวโอ้อวดของฮิตเลอร์ได้อีกต่อไป อารมณ์ของเขากลับมืดมนมากยิ่งขึ้น เมื่อในวันเดียวกัน —เป็นครั้งแรกที่เมืองหลวงได้ตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดของฝ่ายข้าศึก คราวนี้ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สงครามกำลังจะพ่ายแพ้ แต่มุสโสลินีก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองจากพันธมิตรเยอรมันได้เลย
เมื่อมาถึงจุดนี้ สมาชิกที่สำคัญบางคนของรัฐบาลมุสโสลินีได้หันมาต่อต้านเขา ในท่ามกลางพวกเขาก็มีกรันดีและชิอาโน เพื่อนร่วมงานหลายคนของเขาใกล้จะก่อจลาจลอย่างเต็มที่ และมุสโสลินีได้ถูกบีบบังคับให้เรียกประชุมสภาใหญ่ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 นี่เป็นการประชุมครั้งแรกของพวกเขานับตั้งแต่เริ่มต้นของสงคราม เมื่อเขาได้ประกาศว่าเยอรมันกำลังคิดที่จะลงมาทางใต้เพื่อมาขับไล่ฝ่ายสัมพันธฒิตรให้ออกจากอิตาลี กรันดีได้กล่าวโจมตีเขาอย่างรุนแรง กรันดีได้ดำเนินลงมติในการกราบทูลต่อกษัตริย์เพื่อให้ทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่— ซึ่งลงเอยด้วยการลงคะแนนเสียงในการไม่ไว้วางใจในมุสโสลินี ด้วยผลลัพธ์คะแนนเสียงคือ 19-8 มุสโสลินีได้แสดงท่าทางที่มองเห็นได้เพียงเล็กน้อย แม้ว่าสิ่งนี้จะมอบอำนาจอย่างเต็มที่แก่กษัตริย์ในการปลดออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม เขาได้ถามกรันดีในการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่การเคลื่อนไหวนี้น่าจะหยุดยั้งจุดจบของลัทธิฟาสซิสต์ การลงคะแนนเสียงครั้งนี้แม้ว่าจะมีนัยสำคัญ แต่ก็ไม่ได้มีผลตามกฎหมาย เนื่องจากตามกฎหมายแล้ว นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกระทำของเขาต่อกษัตริย์เท่านั้น และมีเพียงกษัตริย์เท่านั้นที่จะสามารถปลดเขาได้
แม้ว่าจะถูกกล่าวประณามอย่างรุนแรง มุสโสลินีก็กลับมาทำงานในวันรุ่งขึ้นตามปกติ เขาถูกกล่าวหาว่ามองเห็นสภาใหญ่เป็นเพียงแค่คณะที่ปรึกษาเท่านั้นและไม่คิดว่าการลงคะแนนเสียงจะมีผลบังคับใช้ที่สำคัญแต่อย่างใด ช่วงบ่าย เวลา 17:00 น. พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลทรงเรียกตัวเขาให้มาเข้าเฝ้าที่พระราชวัง ซึ่งทรงตัดสินพระทัยที่จะขับไล่มุสโสลินี อย่างไรก็ตาม ดูเชยังไม่รับทราบถึงพระราชประสงค์ของกษัตริย์ ซึ่งอยู่ในสถานที่ในการคุ้มกันและอาคารรัฐบาลถูกรายล้อมไปด้วยจำนวน 200 นาย เมื่อมุสโสลินีพยายามจะกราบทูลต่อกษัตริย์เกี่ยวกับการประชุมของสภาใหญ่ พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลทรงตรัสแทรกกับเขา และทรงรับสั่งให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งอย่างทางหาร แม้ว่าจะเป็นการยืนยันว่าเขาจะต้องหลุดออกจากตำแหน่งแล้วก็ตาม ภายหลังจากที่มุสโสลินีออกมาจากพระราชวัง เขาก็ถูกจับกุมโดยคาราบินีเอรีตามพระราชบัญชาของกษัตริย์ ตำรวจได้นำตัวมุสโสลินีขึ้นรถพยาบาลของโดยไม่ระบุถึงจุดหมายปลายทาง และยืนยันกับเขาว่าพวกเขาทำเพื่อความปลอดภัยของเขาเอง ในช่วงเวลานี้ ความไม่พอใจต่อมุสโสลินีได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนเมื่อมีการประกาศข่าวถึงการล่มสลายของเขาทางวิทยุ ก็ไม่มีการต่อต้านแต่อย่างใด ประชาชนก็ชื่นชมยินดีเพราะพวกเขาเชื่อว่าจุดจบของมุสโสลินีหมายถึงจุดจบของสงคราม กษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้จอมพล ปีเอโตร บาโดลโย เป็นนายกรัฐตรีเข้ามาแทนที่ต่อจากมุสโสลินี
ในความพยายามเพื่อที่จะปกปิดตำแหน่งของเขาจากเยอรมัน มุสโสลินีถูกย้ายไปยังบริเวณรอบ: ครั้งแรกที่ จากนั้นก็ไปที่ ก่อนที่จะคุมขังเขาไว้ที่ รีสอร์ทบนภูเขาในอาบรุซโซ ที่ซึ่งเขาถูกโดดเดี่ยวอย่างสิ้นเชิง บาโดลโยยังคงแสดงความภักดีต่อเยอรมนี และประกาศว่าอิตาลีจะต่อสู้รบเคียงข้างฝ่ายอักษะต่อไป อย่างไรก็ตาม เขาได้ยุบพรรคฟาสซิสต์ได้เพียงสองวันภายหลังจากเข้ารับตำแหน่ง และเริ่มการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1943 บาโดลโยได้ตกลงที่จะลงนามการสงบศึกระหว่างกองทัพอิตาลีและกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร การแถลงข่าวได้เพียงห้าวันต่อมาทำให้อิตาลีตกอยู่ในความโกลาหล กองกำลังทหารเยอรมันได้เข้ายึดการควบคุมใน เมื่อเยอรมันได้เข้ามาประชิดกรุงโรม บาโดลโยและกษัตริย์ได้หลบหนีพร้อมกับผู้ประสานงานหลักของพวกเขาไปยังอะพิวเลีย โดยอยู่ภายใต้การคุ้มครองของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่กลับทิ้งกองทัพอิตาลีไว้โดยไม่ได้รับคำสั่ง ภายหลังช่วงเวลาของความโกลาหล พวกเขาได้จัดตั้งรัฐบาลในมอลตา และในที่สุดก็ประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ทหารอิตาลีหลายพันนายได้เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อต่อสู้รบกับเยอรมัน ส่วนมากถูกทอดทิ้งหรือยอมจำนนต่อเยอรมัน บางส่วนก็ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนข้างและเข้าร่วมกับเยอรมัน รัฐบาลบาโดลโยได้ทำข้อตกลงในการสงบศึกทางการเมืองกับเพื่อผลประโยชน์ของอิตาลีและเพื่อขจัดดินแดนของนาซี
สาธารณรัฐสังคมอิตาลี(สาธารณรัฐ"ซาโล")
เพียงสองเดือนหลังมุสโสลินีถูกปลดและจับกุม เขาได้รับความช่วยเหลือจากที่คุมขังของเขาที่โรงแรมกัมโป อิมเพอราโตเรใน เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1943 โดยหน่วยรบพิเศษของฟัลเชียร์มเยเกอร์(ทหารพลร่ม) และหน่วยคอมมานโดของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สภายใต้การนำโดยพลตรีออทโท-ฮารัลด์ มอร์ส กับออทโท สกอร์เซนี ซึ่งก็ปรากฏตัวมาให้เห็น การให้ความช่วยเหลือครั้งนี้ได้ช่วยชีวิตมุสโสลินีจากการส่งมอบตัวไปยังฝ่ายสัมพันธมิตรตามข้อตกลงของการสงบศึก ฮิตเลอร์ได้มีแผนที่จะจับกุมกษัตริย์ มกุฎราชกุมารอุมแบร์โต บาโดลโย และส่วนที่เหลือของรัฐบาลและฟื้นฟูมุสโสลินีขึ้นสู่อำนาจในกรุงโรม แต่การหลบหนีของรัฐบาลไปยังทางใต้ทำให้แผนการดังกล่าวไม่อาจที่จะดำเนินต่อไปได้
สามวันหลังจากที่เขาได้รับความช่วยเหลือใน มุสโสลนีได้ถูกนำตัวไปยังเยอรมนีเพื่อเข้าพบกับฮิตเลอร์ในรัสแทนแบร์กที่กองบัญชาการใหญ่ปรัสเซียตะวันออกของเขา แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนก็ตาม ฮิตเลอร์ก็ต้องตกตะลึงอย่างเต็มตากับภาพลักษณฺ์ที่ดูไม่เรียบร้อยและสภาพซูบผอมของมุสโสลินี รวมทั้งความดื้อรั้นเพื่อที่จะไล่ล่าคนในกรุงโรมที่ทำการโค่นล้มเขา ความรู้สึกว่าเขาต้องทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะลดขอบเขตการปราบปรามของนาซี มุสโสลินีได้ตกลงที่จัดตั้งระบอบการปกครองใหม่ สาธารณรัฐสังคมอิตาลี(อิตาลี: Repubblica Sociale Italiana, RSI), เป็นที่รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า สาธารณรัฐซาโล เพราะการปกครองจากเมืองซาโลที่เขาได้จัดตั้งอยู่ได้เพียง 11 วัน ภายหลังที่เขาได้รับความช่วยเหลือโดยเยอรมัน ระบอบการปกครองใหม่ของมุสโสลินีได้เผชิญกับการสูญเสียดินแดนมากมาย: นอกเหนือจากการสูญเสียดินแดนอิตาลีจากการยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรและรัฐบาลบาโดลโย จังหวัดของโบลซาโน เบลลูโน และเทรนโนได้อยู่ภายใต้การบริหารปกครองของเยอรมันในเขตปฏิบัติการของเยอรมันในเชิงเขาอัลไพน์ ในขณะที่จังหวัดของอูดิเน โกริเซีย ตรีเยสเต โพลา(ปัจจุบันคือ พูลา) ฟียูเม(ปัจจุบันคือ รีเยกา) ลูบลิยานา(ลูเบียนาในภาษาอิตาลี) ถูกรวมเข้ากับเขตปฏิบัติการของเยอรมันในฝั่งทะเลอาเดรียติค
นอกจากนี้ กองทัพเยอรมันได้เข้ายึดครองแคว้นดัลเมเชี่ยนของสปลิต(สปาลาโต)และโคเตอร์(กัตตาโร) ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมโดยระบอบฟาสซิสต์โครเอเชีย ดินแดนที่ได้รับมาของอิตาลีในกรีซและแอลเบเนียก็ยังสูญเสียให้กับเยอรมนี ยกเว้นเพียงหมู่เกาะทะเลอีเจียนของอิตาลี ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การปกครองเพียงในนามของ RSI มุสโสลินีได้ค้ดค้านการลดทอนดินแดนของรัฐอิตาลีและกล่าวกับเพื่อนร่วมงานของเขาว่า:
ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อจะสละดินแดนของรัฐแม้แต่ตารางเมตร เราจะกลับไปทำสงครามเพื่อสิ่งนี้ และเราจะก่อกบฏต่อใครก็ตามสำหรับครั้งนี้ ที่ใดที่ธงชาติอิตาลีโบกสะบัด ธงชาติอิตาลีจะกลับมา และที่แห่งนั้นจะไม่มีการลดธงลง บัดนี้ ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่แล้ว จะไม่มีใครลดมันลงได้ ข้าพเจ้าได้กล่าวสิ่งนี้กับท่านฟือเรอร์
มุสโสลินีได้อาศัยอยู่ที่การ์ญาบนทะเลสาบการ์ดาในลอมบาร์ดีได้ประมาณหนึ่งปีครึ่ง แม้ว่าจะยืนยันในที่สาธารณะว่าเขาได้ควบคุมอย่างสมบูรณ์ แต่เขารู้ดีว่าเขาเป็นเพียงแค่ผู้ปกครองหุ่นเชิดภายใต้การคุ้มครองจากเยอรมันผู้ปลดปล่อยของเขา—สำหรับความตั้งใจและจุดประสงค์ทั้งหมด เกาไลเทอร์แห่งลอมบาร์ดี อันที่จริงแล้ว เขาได้อาศัยอยู่ภายใต้การกักตัวภายในบ้านของหน่วยเอ็สเอ็ส ซึ่งได้จำกัดการสื่อสารและการเดินทางของเขา เขาได้บอกกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งว่า น่าจะส่งเขาไปยังค่ายกักกันดีกว่าจะอยู่ในสถานะหุ่นเชิด
ภายหลังจากการยอมจำนนต่อแรงกดดันของฮิตเลอร์และพวกฟาสซิสต์ผู้จงรักภักดีที่เหลืออยู่ซึ่งได้ก่อตั้งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐซาโล มุสโสลินีได้ช่วยเหลือในการจัดเตรียมการประหารชีวิตเหล่าผู้นำฟาสซิสต์บางคนซึ่งได้ทรยศหักหลังเขาในการประชุมครั้งสุดท้ายของสภาใหญ่แห่งฟาสซิสต์ หนึ่งในนั้นคือ กาลีซโซ ชิอาโน ผู้เป็นลูกเขยของเขา ในฐานะประมุขแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมอิตาลี มุสโสลินีได้ใช้เวลาส่วนใหญ่เขียนบันทึกความทรงจำของเขา นอกเหนือจากงานเขียนอัตชีวประวัติของเขาใน ค.ศ. 1928 งานเขียนเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมและตีพิมพ์โดย Da Capo Press ในชื่อเรื่องว่า ความรุ่งโรจน์และการล่มสลายของข้าพเจ้า ในการให้บทสัมภาษณ์ เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 โดย Madeleine Mollier เมื่อไม่กี่เดือนก่อนที่เขาจะถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยพลพรรคอิตาลี เขาได้กล่าวอย่างราบเรียบว่า "เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ข้าพเจ้าเป็นบุคคลที่น่าสนใจ ตอนนี้ ข้าพเจ้าเป็นมากกว่าซากศพ" เขายังได้กล่าวต่อว่า:
ใช่แล้ว คุณผู้หญิง ข้าพเจ้าจบสิ้นแล้ว ดาวของข้าพเจ้าได้ตกหล่นแล้ว ข้าพเจ้าไม่หลงเหลือการต่อสู้อยู่ในตัวข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าทำงานและข้าพเจ้าได้พยายาม แต่กลับรู้ดีว่าทุกอย่างเป็นแค่เรื่องขบขัน... ข้าพเจ้ากำลังรอจุดจบของโศกนาฏกรรม และ—แปลกแยกจากทุกสิ่ง—ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกว่าเป็นนักแสดงอีกต่อไป ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชมคนสุดท้าย
อสัญกรรม
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 กองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกำลังรุกเข้าสู่ภาคเหนือของอิตาลีและการล่มสลายของสาธารณรัฐซาโลก็ใกล้มาถึงแล้ว มุสโสลินีและคลาล่า แปตะชิ อนุภรรยาของเขาได้ออกเดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์ โดยตั้งใจว่าจะขึ้นเครื่องบินและหลบหนีไปยังสเปน สองวันต่อมา เมื่อวันที่ 27 เมษายน พวกเขาต้องหยุดชะงักใกล้กับหมู่บ้านดอนโก(ทะเลสาบโคโม) โดยพลพรรคคอมมิวนิสต์นามว่า วาเลริโอและเบลลินี และถูกระบุตัวโดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการทางการเมือง (คอมมิสซาร์) แห่งพลพรรคที่ 52 กองทัพน้อยการิบัลดี Urbano Lazzaro ในช่วงเวลานั้น พี่ชายของแปตะชิซึ่งอาศัยอยู่ในกงสุลสเปน ภายหลังจากความพยายามหลายครั้งซึ่งไม่ประสบความสำเร็จในการพาพวกเขาจากทะเลสาบโคโมมายังเมซเซกรา พวกเขาใช้เวลาคืนสุดท้ายในบ้านของครอบครัวเดอ มาเรีย
เมื่อข่าวได้แพร่กระจายของการจับกุม โทรเลขหลายฉบับได้มาถึงกองบัญชาการคณะกรรมการปลดปล่อยแห่งชาติจากทางเหนือของอิตาลี(CLNAI) จากสำนักบริการด้านยุทธศาสตร์(OSS) ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่ในเมืองเซียนาโดยร้องขอให้ส่งมอบตัวมุสโสลินีมาอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังสหประชาชาติ อันที่จริง มาตรา 9 ของการสงบศึกที่ถูกลงนามในเกาะมอลตาโดยไอเซนฮาวด์และจอมพลอิตาลี ปีเอโตร บาโดลโย เมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1943 โดยได้กำหนดอย่างชัดเจนว่า: "เบนิโต มุสโสลินี พรรคพวกฟาสซิสต์และทุกคนที่ต้องสงสัยว่าได้ก่ออาชญากรรมสงครามหรืออาชญากรรมในลักษณะเดียวกัน ที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อที่จะถูกจัดส่งโดยสหประชาชาติ และซึ่งในตอนนี้หรือในอนาคตที่อยู่ในดินแดนที่ถูกควบคุมโดยกองบัญชาการกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรหรือรัฐบาลอิตาลี จะถูกจับกุมและส่งมอบตัวให้กับกองกำลังสหประชาชาติโดยทันที"
วันต่อมา มุสโสลินีและแปตะชิซึ่งทั้งสองถูกยิงประหารชีวิตอย่างเร่งรัด พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของขบวนผู้ติดตาม 15 คน ส่วนมากจะเป็นรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ทางการของสาธารณรัฐสังคมอิตาลี การยิงปืนได้เกิดขึ้นในหมู่บ้านเล็กของ Giulino di Mezzegra และถูกดำเนินการโดยหัวหน้าพลพรรคที่ใช้นามแฝงว่า Colonnello Valerio ตัวตนที่แท้จริงของเขาไม่มีใครทราบ แต่ตามธรรมเนียมแล้ว เขาคิดว่าน่าจะเป็น วอลเตอร์ ออดิซิโอ ผู้ที่กล่าวอ้างอยู่เสมอว่า เป็นผู้ดำเนินการประหารชีวิต แม้ว่าพลพรรคอีกกลุ่มหนึ่งได้บอกข้อมูลที่ดูขัดแย้งว่า Colonnello Valerio คือ Luigi Longo ต่อมาภายหลังได้เป็นผู้นำนักการเมืองฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอิตาลีช่วงหลังสงคราม มุสโสลินีถูกสังหารเมื่อสองวันก่อนที่ฮิตเลอร์และเอฟา เบราน์ ภรรยาของเขาจะกระทำอัตวินิบาตกรรม สาธารณรัฐสังคมอิตาลีนั้นอยู่รอดมาได้เพียงสี่วันก่อนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของมุสโสลินี โรดอลโฟ กราซีอานี จอมพลชาวอิตาลีเพียงคนเดียวที่ยังคงจงรักภักดีต่อลัทธิฟาสซิสต์ ภายหลังปี ค.ศ. 1943–ได้ยอมจำนนในส่วนที่เหลืออยู่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
ศพของมุสโสลินี
เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1945 ศพของมุสโสลินีและแปตะชิ และฟาสซิสต์คนอื่น ๆ ที่ถูกประหารชีวิตได้ถูกบรรจุไว้ในรถตู้และเคลื่อนที่ลงไปทางใต้สู่มิลาน เวลา 3 นาฬิกา(ตีสาม) ศพถูกกองทิ้งไว้บนพื้นใน Piazzale Loreto เก่า บริเวณลานสาธารณะแห่งนี้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "Piazza Quindici Martiri"(บริเวณลานสาธารณะของมรณะสักขี 15 คน) เพื่อเป็นเกียรติแก่พลพรรคอิตาลีสิบห้าคนที่ถูกประหารชีวิตได้ไม่นานในที่แห่งนั้น
ภายหลังจากถูกถีบและถุยน้ำลายใส่ ศพเหล่านั้นก็ถูกนำไปแขวนประจานโดยห้อยลงจากหลังคาปั๊มน้ำมันเอสโซ่ นอกจากนี้ยังถูกขว้างปาด้วยก้อนหินจากเบื้องล่างโดยพลเรือน สิ่งนี้ทำทั้งเป็นการสร้างความท้อใจแก่พวกฟาสซิสต์คนใดที่ยังสู้รบต่อไปและเป็นการล้างแค้นสำหรับการแขวนคอพลพรรคจำนวนมากในสถานที่เดียวกันโดยผู้มีอำนาจฝ่ายอักษะ ศพของผู้นำที่ถูกปลดจากอำนาจถูกทั้งเยาะเย้ยและกระทำย่ำยี ฟาสซิสต์ที่จงรักภักดีผู้นึงนามว่า อคีล สตาราเซ ถูกจับกุมและตัดสินประหารชีวิต และถูกพามายัง Piazzale Loreto และโชว์ให้เห็นถึงศพของมุสโสลินี สตาราเซ เคยกล่าวถึงมุสโสลินีว่า "เขาคือพระเจ้า" เขาได้ทำความเคารพในสิ่งที่ผู้นำของเขาหลงเหลืออยู่ก่อนที่เขาจะถูกยิงเป้า ศพของสตาราเซถูกนำไปแขวนไว้ข้าง ๆ ศพของมุสโสลินีในเวลาต่อมา
ภายหลังการอสัญกรรมของเขาและศพถูกนำไปประจานในมิลาน มุสโสลินีถูกฝังในหลุมศพไม่มีป้ายในสุสานมูโซสโค ทางตอนเหนือของเมือง ในวันอาทิตย์อีสเตอร์ ค.ศ. 1946 ศพของเขาถูกค้นพบและขุดขึ้นมาโดยโดมินิโก เลชชิซิ และนีโอ-ฟาสซิสต์อีกสองคน ด้วยหละหลวมไปหลายเดือน—และสาเหตุของความวิตกกังวลอย่างมากต่อระบอบประชาธิปไตยอิตาลีครั้งใหม่—ในที่สุด ศพของมุสโสลินีก็ "ถูกยึดกลับคืนมา"ในเดือนสิงหาคม ซึ่งถูกซ่อนเอาไว้ในหีบขนาดเล็กที่ Certosa di Pavia นอกเมืองมิลาน บาทหลวงสองคนจากคณะฟรันซิสกันถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าทำการปกปิดศพในเวลาต่อมา แม้ว่าจะมีการสืบสวนเพิ่มเติมซึ่งพบว่า มีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา ด้วยความไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ทางการจึงได้เก็บศพเอาไว้ในบริเวณสถานที่ที่ถูกลืมของเมืองเป็นเวลาสิบปี ก่อนที่จะยินยอมให้มีการฝังศพอีกครั้งที่ในโรมานญ่า บ้านเกิดของเขา Adone Zoli นายกรัฐมนตรีอิตาลีคนปัจจุบันได้ติดต่อกับดอนน่า ราเคเล ภรรยาม่ายของจอมเผด็จการ เพื่อบอกกับเธอว่าเขากำลังจะส่งคืนซากศพ เนื่องจากเขาจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายขวาจัดในรัฐสภา รวมทั้งเลชชิซิ ใน จอมเผด็จการได้ถูกฝังไว้ในห้องใต้ดิน(เกียรติภายหลังมรณกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่จะมอบให้แก่มุสโสลินี) หลุมศพของเขาถูกขนาบข้างด้วยสัญลักษณ์ฟาสเซสที่ถูกทำขึ้นด้วยหินอ่อน รูปปั้นใบหน้าที่ถูกทำขึ้นด้วยหินอ่อนตามอุดมคติของเขาที่ถูกวางไว้เหนือหลุมศพ
ชีวิตส่วนตัว
ภรรยาคนแรกของมุสโสลินีคือ , ซึ่งเขาได้แต่งงานใน ใน ค.ศ. 1914. ทั้งสองได้มีบุตรในปีต่อมาและตั้งชื่อให้กับเขาว่า (ค.ศ. 1915–1942). ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915, มุสโสลินีได้แต่งงานกับ, ซึ่งเป็นอนุภรรยาของเขามาตั้งแต่ ค.ศ. 1910 เนื่องจากการขึ้นสู่ตำแหน่งทาการเมืองที่กำลังจะมาถึง ข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งงานครั้งแรกของเขาถูกปกปิดเป็นความลับ และทั้งภรรยาคนแรกและลูกชายของเขาถูกข่มเหงในเวลาต่อมา. กับราเคเล, มุสโสลินีมีลูกสาวสองคน, เอ็ดดา (ค.ศ. 1910–1995) และแอนนา มาเรีย (ค.ศ. 1929–1968), ซึ่งในเวลาต่อมา เธอได้แต่งงานกับ Nando Pucci Negri ในราเวนนา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1960; และมีบุตรชายสามคน: วิตโตรีโอ (ค.ศ. 1916–1997), บรูโน (ค.ศ. 1918–1941) และ โรมาโน (ค.ศ. 1927–2006). มุสโสลินีมีอนุภรรยาหลายคน, ท่ามกลางในหมู่พวกเธอจะมี Margherita Sarfatti และเพื่อนสนิทคนสุดท้ายของเขาอย่างคลาล่า แปตะชิ. มุสโสลินีเคยประสบเจอกับเรื่องเชิงชู้สาวกับผู้หญิงที่เป็นผู้สนับสนุนมาหลายครั้ง ตามจากการรายงานโดยนักเขียนชีวประวัติของเขานามว่า Nicholas Farrell
การถูกคุมขังอาจเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของของมุสโสลินี. เขาปฏิเสธไม่ยอมเข้าไปใน(ถ้ำทะเลบนชายฝั่งของกาปรี), และต้องการห้องขนาดใหญ่เป็นกรณีพิเศษ เช่น สำนักงานของเขามีขนาด 18*12*12 เมตร (60*40*40 ฟุต) ใน .
นอกเหนือจากภาษาอิตาลีท้องถิ่น, มุสโสลินีสามารถพูดภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมันอย่างน่าสงสัย (ความรู้สึกภาคภูมิใจของเขาซึ่งหมายความว่าเขาไม่เคยใช้ล่ามแปลภาษาเยอรมัน). สิ่งนีดูโดดเด่นในการประชุมมิวนิก,เพราะไม่มีผู้นำชาติอื่นใด ๆ พูดอย่างอื่นนอกจากภาษาท้องถิ่นของพวกเขา; มุสโสลินีได้ถูกอธิบายว่า เป็น"หัวหน้านักล่าม"อย่างมีประสิทธิภาพในที่ประชุม.
มุมมองทางศาสนา
อเทวนิยมและต่อต้านศาสนจักร
มุสโสลินีได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาที่นับถือนิกายคาทอลิกอย่างเคร่งครัด และส่วนบิดาเป็นพวกต่อต้านนักบวช โรซา แม่ของเขาได้นำเขาเข้าพิธีบัพติศมาในศาสนจักรโรมันคาทอลิก และนำลูกชายของเธอเข้าโบสถ์เพื่อรับใช้บาทหลวงทุกวันอาทิตย์ ส่วนบิดาของเขาไม่เคยสนใจเลย มุสโสลินีได้เห็นว่าเวลาของเขาที่อยู่ในโรงเรียนประจำทางศาสนาคือการลงทัณฑ์ เปรียบเสมือนเป็นการตกนรก และ"ครั้งหนึ่ง เขาได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพิธีมิสซาตอนเช้าและถูกใช้กำลังบังคับในลากไปที่นั่น"
มุสโสลินีกลายเป็นพวกต่อต้านนักบวชเช่นเดียวกับบิดาของเขา สมัยวัยหนุ่ม เขาได้"ประกาศตนเองว่าเป็นผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า และความพยายามหลายครั้งที่ทำให้ผู้ฟังต้องตกตะลึงโดยการเรียกร้องให้พระเจ้ามาเอาชีวิตของเขาไป" เขามีความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่มีพระเจ้า และประวัติของพระเยซูเป็นความโง่เขลาและบ้าคลั่ง เขาได้ถือว่าศาสนาเป็นโรคป่วยทางจิต และกล่าวหาว่า ศาสนาคริสต์ส่งเสริมให้มีการจำยอมสละและขี้ขลาด มุสโสลินีมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ หลังจากที่ได้ยินเรื่องคำสาปของฟาโรห์ เขาก็สั่งให้มีการถอดถอนมันมี่อียิปต์ที่เขารับเป็นของขวัญออกจาก Palazzo Chigi ทันที
มุสโสลินีเป็นผู้เลื่อมใสต่อฟรีดริช นีทเชอ จากการอ้างอิงของ Denis Mack Smith "ในนีทเชอ เขาพบว่ามีเหตุผลของการทำสงครามครูเสดของเขาในต่อกรกับคุณงามความดีของความอ่อนน้อมถ่อมตน การจำยอมสละ การกุศล และคุณธรรมของชาวคริสเตียน" เขาให้ความสำคัญกับแนวคิดเหนือมนุษย์ของนีทเชอ "ผู้ที่เห็นแก่ตัวอันสูดสุดที่ท้าทายพระเจ้าและฝูงชน ที่ดูหมิ่นสมภาคนิยมและประชาธิปไตย ที่มีความเชื่อในผู้ที่อ่อนแอกว่าที่จะปีนข้ามกำแพงและผลักดันพวกเขา หากไปได้ไม่เร็วพอ" ในวันเกิดครบรอบ 60 ปีของเขา มุสโสลินีได้รับของขวัญจากฮิตเลอร์เป็นหนังสือที่เป็นผลงานของนีทเชอครบชุดยี่สิบสี่เล่ม
มุสโสลินีได้กล่าวโจมตีอย่างเผ็ดร้อนต่อศาสนาคริสต์และศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเขามาพร้อมกับคำพูดปลุกปั่นเกี่ยวกับการถวายตัวของเจ้าภาพและเกี่ยวกับเรื่องรักใคร่ระหว่างพระคริสต์และมารีย์ชาวมักดาลา เขาได้กล่าวประณามสังคมนิยมที่อดทนต่อศาสนา หรือผู้ที่นำบุตรมาเข้าพิธีบัพติศมา และเรียกร้องให้นักสังคมนิยมที่ยอมรับการแต่งงานทางศาสนาจะต้องถูกขับออกจากพรรค เขาได้กล่าวประณามศาสนจักรคาทอลิกจาก"ลัทธิอำนาจนิยมและปฏิเสธที่จะยินยอนให้มีเสรีภาพในความคิด ..." หนังสือพิมพ์ของมุสโสลินีอย่าง La Lotta di Classe ได้รายงานว่า จุดยืนของบรรณาธิการนั้นในการต่อต้านคริสเตียน
สนธิสัญญาลาเตรัน
แม้ว่าจะมีกล่าวโจมตีในลักษณะดังกล่าว มุสโสลินีก็ได้พยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนโดยการเอาใจชาวคาทอลิกส่วนใหญ่ในอิตาลี ในปี ค.ศ. 1924 มุสโสลินีได้มองเห็นว่าลูกสามคนของเขาได้เข้าร่วมทำพิธีศีลมหาสนิท ใน ค.ศ. 1925 เขายอมรับให้นักบวชได้ทำพิธีแต่งงานทางศาสนาให้กับตัวเขาเองและราเคเล ซึ่งเขาเคยแต่งงานในพิธีแบบพลเรือน เมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 เขาได้ลงนามในข้อตกลงและสนธิสัญญากับศาสนจักรโรมันคาทอลิก ภายใต้สนธิสัญญาลาเตรัน นครวาติกันได้รับสถานะเป็นรัฐเอกราชและอยู่ภายใต้กฎหมายของศาสนจักร—แทนที่จะเป็นกฎหมายของอิตาลี—และศาสนาคาทอลิกได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสนาประจำชาติของอิตาลี ศาสนจักรยังได้รับอำนาจในการยินยอมให้มีการแต่งงานกลับคืนมา ศาสนานิกายคาทอลิกสามารถสอนหนังสือได้ในโรงเรียนมัธยมทุกแห่ง การคุมกำเนิดและองค์กรฟรีเมนสันถูกสั่งห้าม และคณะสงฆ์จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐและได้รับการยกเว้นภาษีสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ทรงกล่าวยกย่องมุสโสลินี และหนังสือพิมพ์คาทอลิกอย่างเป็นทางการได้เขียนพาดหัวข่าวว่า "อิตาลีได้ตอบแทนแก่พระเจ้า และพระเจ้าทรงประทานแก่อิตาลีแล้ว"
ภายหลังจากการประนีประนอมครั้งนี้ เขาได้กล่าวอ้างว่า ศาสนจักรได้อยู่ภายใต้บัญชาของรัฐ และ"อ้างอิงถึงนิกายคาทอลิกว่า ณ จุดกำเนิด นิกายขนาดย่อยที่แผ่ขจายอกไปนอกปาเลสไตน์เพียงเพราะถูกทาบทามในการเข้าสู่ส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน" ภายหลังข้อตกลง "เขาได้ยึดหนังสือคาทอลิกหลายฉบับในอีกสามเดือนต่อมามากกว่าในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา" มีการรายงานว่า มุสโสลินีเกือบที่จะถูกตัดขาดจากคริสตจักรคาทอลกในช่วงเวลานั้น
มุสโสลินีได้ทำการปรับความเข้าใจกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ต่อสาธารณชนใน ค.ศ. 1932 แต่"กลับสั่งให้นำรูปภาพถ่ายของเขาออกจากหนังสือพิพม์ทุกฉบับที่เป็นภาพการคุกเข่าหรือแสดงความเคารพต่อสมเด็จพระสันตะปาปา" เขาต้องการชักจูงชาวคาทอลิกว่า "ลัทธิฟาสซิสต์คือชาวคาทอลิกและเขาเองก็เป็นผู้ศรัทธาที่ใช้เวลาในแต่ละวันในการสวดมนต์อธิษฐาน" สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสถึงมุสโสลินีว่า "เป็นชายที่ถูกส่งมาโดยความเมตตาของพระเจ้า" ถึงแม้ว่ามุสโสลินีจะพยายามทำตัวเป็นผู้เคร่งศาสนา ตามคำสั่งของพรรคการเมืองของเขา คำสรรพนามที่อ้างอิงถึงเขาว่า "จะต้องเขียนด้วยอักษรตัวใหญ่ดั่งเช่นอ้างอิงถึงพระเจ้า"
ในปี ค.ศ. 1938 มุสโสลินีได้เริ่มยืนยันถึงการต่อต้านอำนาจศาสนจักรอีกครั้ง บางครั้งก็เรียกตัวเขาเองว่า "ผู้ไร้ศรัทธาโดยสิ้นเชิง" และเคยบอกกับคณะรัฐมนตรีของเขาว่า "ศาสนาอิสลามอาจจะเป็นศาสนาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าศาสนาคริสต์ซะอีก" และกล่าวว่า "ตำแหน่งพระสันตะปาปาเป็นเนื้องอกร้ายในร่างกายของอิตาลี และต้องกำจัดทิ้งภายในคราวเดียว เพราะในกรุงโรมนั้นไม่มีที่ว่างสำหรับพระสันตปาปาและตัวเขาเอง" เขาได้กล่าวปฏิเสธต่อสาธารณชนจากคำแถลงการณ์ถึงการต่อต้านอำนาจศาสนจักรเหล่านี้ แต่ยังคงกล่าวคำแถลงการณ์ที่คล้ายกันเป็นการส่วนตัว[]
ภายหลังจากที่เขาหมดอำนาจใน ค.ศ. 1943 มุสโสลินีได้เริ่มพูดถึง"เกี่ยวกับพระเจ้าและภาระหน้าที่ของมโนธรรมมากขึ้น" แม้ว่า"เขาจะคงยังมีประโยชน์เพียงเล็กน้อยสำหรับพระนักบวชและศีลศักดิ์สิทธิ์ของศาสนจักร" เขายังเริ่มวาดภาพที่คล้ายคลึงระหว่างเขากับพระเยซูคริสต์ ราเคเล ผู้เป็นภรรยาม่ายของมุสโสลินี ได้กล่าวว่า สามีของเธอยังคง"เป็นผู้ไม่นับถือศาสนาโดยแท้จริงจวบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต" มุสโสลินีได้ถูกทำพิธีศพในโบสถ์คาทอลิกใน ค.ศ. 1957
มุมมองของมุสโสลินีต่อลัทธิต่อต้านชาวยิวและเชื้อชาติ
แม้ว่าในช่วงแรก มุสโสลินีจะเมินเฉยต่อลัทธิการเหยียดเชื้อชาติทางชีววิทยา แต่เขาก็ยังมีความเชื่อมั่นอย่างมั่นคงในคุณลักษณะของชาติและได้กล่าวถึงลักษณะโดยทั่วไปหลายประการของชาวยิว อย่างไรก็ตาม มุสโสลินีได้ถือว่าชาวยิวเชื้อสายอิตาลีเป็นชาวอิตาลี ข้อคิดเห็นของมุสโสลินีต่อชาวยิวในช่วงปลาย ค.ศ. 1910 และช่วงแรก ค.ศ. 1920 มักจะไม่สอดคล้องกันและเหมาะสมกับช่วงเวลามากกว่าที่จะสะท้อนกับความเชื่อที่แท้จริงในพวกเขา มุสโสลินีได้กล่าวประณามการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ต่อ"การล้างแค้นของชาวยิว" ต่อศาสนาคริสต์ด้วยคำพูดว่า "การแข่งขันไม่ทรยศหักหลังเชื้อชาติ ... ลัทธิบอลเชวิคกำลังได้รับการปกป้องโดยเศรษฐยาธิปไตยระหว่างประเทศ นั่นคือสัจธรรมที่แท้จริง" นอกจากนี้ เขายังยืนยันว่า 80% ของผู้นำโซเวียตเป็นชาวยิว แต่ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ เขาก็ได้โต้แย้งกับตัวเขาเองด้วยคำพูดที่ว่า "ลัทธิบอลเชวิคนั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ของชาวยิวอย่างที่ผู้คนเชื่อถือ ความจริงก็คือลัทธิบอลเชวิคกำลังนำไปสู่ความพินาศย่อยยับของชาวยิวในยุโรปตะวันออก"
ในช่วงต้น ค.ศ. 1920 มุสโสลินีกล่าวว่า ลัทธิฟาสซิสต์ไม่เคยหยิบยกถึง"ปัญหาชาวยิว" และในบทความที่เขาเขียนซึ่งได้กล่าวว่า "อิตาลีไม่ได้รับรู้ถึงลัทธิต่อต้านชาวยิวและเราเชื่อว่ามันจะไม่มีวันรู้เลย" และได้ถูกอธิบายโดยละเอียดว่า "เราหวังว่าชาวยิวเชื้อสายอิตาลีจะยังคงมีเหตุผลเพียงพอเพื่อไม่ทำให้เกิดลัทธิต่อต้านชาวยิวในประเทศเดียวที่ซึ่งไม่เคยมีอยู่จริง" ใน ปี ค.ศ. 1932 มุสโสลินีในช่วงระหว่างการสนทนากับ Emil Ludwig ได้อธิบายว่า การต่อต้านชาวยิว คือ "รองชาวเยอรมัน" และกล่าวว่า "'ไม่มีปัญหาชาวยิว'ในอิตาลีและไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศเดียวที่มีระบบการปกครองที่ดี" หลายครั้งหลายหน มุสโสลินีได้พูดเชิงบวกกับชาวยิวและขบวนการไซออนิสต์ แม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์จะยังคงเกิดข้อสงสัยในลัทธิไซออนิสต์ ภายหลังจากพรรคฟาสซิสต์ขึ้นสู่อำนาจ ใน ค.ศ. 1934 มุสโสลินีได้สนับสนุนการก่อตั่งโรงเรียนนายเรือเบตาร์ในชีวีตาเวกเกียเพื่อฝึกสอนนักเรียนนายเรือชาวไซออนิสต์ภายใต้การควบคุมของ Ze'ev Jabotinsky ซึ่งได้โต้แย้งว่า รัฐยิวจะอยู่ในความสนใจของอิตาลี จนกระทั่ง ค.ศ. 1938 มุสโสลินีได้ปฏิเสธต่อผู้ใดก็ตามที่มีลัทธิต่อต้านยิวภายในพรรคฟาสซิสต์
ความสัมพันธ์ระหว่างมุสโสลินีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นความสัมพันธ์ที่ดูจะขัดแย้งกันเองตั้งแต่แรก ในขณะที่ฮิตเลอร์ได้อ้างว่า มุสโสลินีเป็นผู้ทรงอิทธิพลและแสดงความชื่นชมยินดีอย่างมากที่เด่นชัดเป็นการส่วนตัวต่อเขา มุสโสลินีให้ความนับถือฮิตเลอร์เพียงเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากพวกนาซีมีสหายและพันธมิตรของเขาอย่าง Engelbert Dollfuss ซึ่งเป็นเผด็จการแห่งฟาสซิสต์ออสเตรีย ได้ถูกสังหารในปี ค.ศ. 1934
ด้วยการลอบสังหาร Dollfuss มุสโสลินีได้พยายามที่จะตีตัวออกห่างจากฮิตเลอร์ โดยให้ปฏิเสธส่วนใหญ่ของลัทธิการเหยียดเชื้อชาติ(โดยเฉพาะลัทธิชาวนอร์ดิกและลัทธิเจอร์มานิก) และลัทธิการต่อต้านชาวยิวที่ได้ให้การสนับสนุนโดยชาวเยอรมันหัวรุนแรง ในช่วงเวลานี้ มุสโสลินีได้ปฏิเสธลัทธิการเหยียดเชื้อชาติทางชีววิทยา อย่างน้อยก็ในความสำนึกคิดของนาซี และแทนที่ในการให้ความสำคัญถึง "การทำให้เป็นอิตาลี" ส่วนต่าง ๆ ของจักรวรรดิอิตาลีที่เขาต้องการจะสร้างขึ้น เขาได้ประกาศว่าแนวคิดของสุพันธุศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับการถือชาติพันธุ์ที่น่าสงสัยของชาวอารยันแทบเป็นไปไม่ได้เลย
เมื่อกล่าวถึงรัฐกฤษฎีกาของนาซีว่า ประชาชนชาวเยอรมันจะต้องถือหนังสือพาสปอร์ตที่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ระบุถึงเชื้อชาติอารยันหรือชาวยิว ใน ค.ศ. 1934 มุสโสลินีได้ประหลาดใจว่าพวกเขาจะกำหนดสมาชิกใน"เชื้อชาติเจอร์มานิก" ได้อย่างไร:
แต่เชื้อชาติไหนล่ะ? มีเชื้อชาติชาวเยอรมันหรือไม่? มันเคยมีอยู่จริงไหม? มันจะเคยมีอยู่หรือไม่? ความเป็นจริง เรื่องปรัมปรา หรือเรื่องหลอกลวงของนักทฤษฏี?
ถ้างั้น เราได้ตอบว่า เชื้อชาติเจอร์มานิกนั้นไม่มีอยู่จริง ขบวนการต่าง ๆ ความอยากรู้อยากเห็น เราพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ไม่ได้มีอยู่จริง เราไม่ได้บอกอย่างงั้น นักวิทยาศาสตร์ต่างหากที่พูด ฮิตเลอร์เองก็พูดอย่างนั้น
เมื่อนักข่าวชาวเยอรมันเชื้อสายยิว Emil Ludwig ได้ถามถึงมุมมองของเขาเกี่ยวกับเชื้อชาติ มุสโสลินีได้เปล่งเสียงอุทานว่า:
เชื้อชาติ! มันเป็นความรู้สึกต่างหาก ไม่ใช่ความจริง:เก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ อย่างน้อย คือความรู้สึก ไม่มีอะไรที่จะทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่า เชื้อชาติทางชีววิทยาที่บริสุทธิ์จะสามารถแสดงให้เห็นว่ามีอยู่จริงในทุกวันนี้ น่าตลกขบขันพอ ซึ่งไม่เคยมีใครประกาศในการเป็น "ขุนนาง" ของเชื้อชาติทิวโทนิกคือตัวเขาเองที่เป็นชาวทิวทัน Gobineau เป็นชาวฝรั่งเศส (ฮุสตัน สจ๊วต) Chamberlain เป็นชาวอังกฤษ Woltmann เป็นชาวยิว Lapouge ก็ชาวฝรั่งเศสอีกคน
ในการกล่าวคำปราศัยที่บารี เขาได้เน้นย้ำถึงทัศนคติของเขาที่มีต่ออุดมกาณ์เยอรมันด้วยชนชาติผู้ปกครอง:
ประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่สามสิบ ทำให้เรามองเห็นด้วยความเวทนาอย่างสุดอนาถถึงหลักคำสอนบางประการซึ่งได้ถูกสั่งสอนไปไกล้พ้นจากเทือกเขาแอลป์โดยลูกหลานของผู้ไร้การศึกษาเหล่านั้น เมื่อกรุงโรมมีคนอย่างซีซาร์ เวอร์จิล และเอากุสตุส
แม้ว่าลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งทางเชื้อชาติ ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 ถึง ค.ศ. 1934 อุดมการณ์ของลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีไม่ได้เลือกปฏิบัติต่อชุมชมชาวอิตาลี-ยิว: มุสโสลินีได้ยอมรับว่า มีกลุ่มชุมชนขนาดเล็กได้อาศัยอยู่ตั้งแต่"สมัยกษัตริย์แห่งโรม" และสมควร"ที่จะไม่ถูกรบกวน" มีชาวยิวบางคนที่อยู่ในพรรคชาตินิยมฟาสซิสต์ เช่น Ettore Ovazza ซึ่งใน ค.ศ. 1935 ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ยิวฟาสซิสต์ที่ชื่อว่า La Nostra Bandiera ("ธงของเรา")
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มรดกตกทอด
ครอบครัว
ครอบครัวมุสโสลินีนั้นมีผู้รอดชีวิตโดยภรรยาของเขา ลูกชายสองคนอย่างวิตโตริโอและและลูกสาวของเขาอย่างเอ็ดดา(เป็นภรรยาหม้ายของเคานต์ชิอาโน) และแอนนา มาเรีย บุตรชายคนที่สาม บรูโน ได้เสียชีวิตในเหตุเครื่องบินตก ในขณะที่ขับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น Piaggio P.108 ในภารกิจทดสอบ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1941 บุตรชายคนโตของเขา เบนิโต อัลบิโน มุสโสลินี ซึ่งกำเนิดจากภรรยาอีกคนคือ Ida Dalser ถูกสั่งห้ามประกาศว่ามุสโสลินีเป็นบิดาของเขา และใน ค.ศ. 1935 เขาถูกบังคับให้ลี้ภัยในมิลาน ที่นั่นเขาจึงถูกสังหาร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1942 ภายหลังจากถูกฉีดยากระตุ้นทำให้อาการโคม่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลูกสาวของ บุตรชายคนที่สี่ของเบนิโต มุสโสลินี และภรรยานามว่า แอนนา มาเรีย ซีโคโลเน่ น้องสาวของโซเฟีย ลอเรน เป็นสมาชิกรัฐสภายุโรปสำหรับขบวนการของฝ่ายขวาจัด ตัวแทนในสภาล่างของอิตาลีและทำหน้าที่ในวุฒิสภาในฐานะที่เป็นสมาชิกของซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixactxngkartrwcsxbtnchbb indaniwyakrn rupaebbkarekhiyn kareriyberiyng khunphaph hruxkarsakd khunsamarthchwyphthnabthkhwamid ebniot xamilkaer xanedrxa musoslini xitali Benito Amilcare Andrea Mussolini epnnkkaremuxngchawxitaliaelankekhiynkhawthiepnphunakhxngphrrkhchatiniymfassist ekhaidkhunpkkhrxngxitaliinthana tngaetpi kh s 1922 thung 1943 ekhaidklayepnphunapraethscnkrathngpi kh s 1945 emuxekhaidthalaykarhlxklwngkhxngrabxbprachathipityaelasrangrabxbephdckarebniot musoslinidarngtaaehnng 9 phvscikayn 1921 25 krkdakhm 1943kstriyphraecawitotriox exmanuexelthi 3kxnhnasthapnataaehnngthdipyubeliktaaehnngdarngtaaehnng 31 tulakhm 1922 25 krkdakhm 1943kstriyphraecawitotriox exmanuexelthi 3kxnhnathdippiexotr baodloyaehngsatharnrthsngkhmxitalidarngtaaehnng 23 knyayn 1943 25 emsayn 1945kxnhnasthapnataaehnngthdipyubeliktaaehnngdarngtaaehnng 30 minakhm 1938 25 krkdakhm 1943kxnhnasthapnataaehnngthdipyubeliktaaehnngkhxmulswnbukhkhlekidebniot xamilkaer xanedrxa musoslini 29 krkdakhm kh s 1883 1883 07 29 fxrli xitaliesiychiwit28 emsayn kh s 1945 1945 04 28 61 pi xitalithiiwsphSan Cassiano cemetery fxrliechuxchatixitalisasnaimmiphrrkhkaremuxngphrrkhchatiniymfassist 1921 1943 karekharwm phrrkhkaremuxngxun 1901 1914 1919 1921 1914 1919 1914 phrrkhriphbliknfassist 1943 1945 khwamsung5 6 1 69 m khusmrsbutraexnna maeriy musoslinibuphkari bida marda yatikhlala aeptachiwichachiphphuephdckar nkkaremuxng suxsarmwlchn phupraphnthbnethingkhdi khrulaymuxchuxysthiidrbkaraetngtngrbich xitali satharnrthsngkhmxitalisngkdpracakarpracakar 1915 1917yshnwykrmthhar thi 11sngkhram karsurbsngkhramolkkhrngthi 1 sngkhramolkkhrngthi 2 epnthiruckkninthana thanphuna musosliniidepnphukxtnglththifassistxitali inpi kh s 1912 musosliniidepnsmachikchnnakhxngkhnakrrmkaraehngchatikhxngphrrkhsngkhmniymxitali PSI aetthukkhbxxkcakphrrkh PSI cakkarsnbsnuninkarekhaaethrkaesngkarthharinsngkhramolkkhrngthihnung inthanathiepnphukhdkhantxcudyunkhxngphrrkhthiwangtwepnklang musosliniidrbichininchwngsngkhramcnkrathngekhaidrbbadecbaelathukpldpracakarinpi kh s 1917 musosliniidklawpranamtxphrrkh PSI mummxngkhxngekhaintxnnimisunyklangxyuthilththichatiniymaethnthicaepnlththisngkhmniymaelatxmaidkxtngkhbwnkarfassistsungidtxtansmphakhniym aelakhwamkhdaeyngrahwangchnchn aethnthicaeriykrxngih khnaptiwtichatiniym idexachnakaraebngchnchn phayhlngkaredinkhbwnsuebxrlinineduxntulakhm kh s 1922 musosliniidklayepnnaykrthmntrixitalikhnsudthxnginprawtisastrxitalicnkrathngidaetngtngihaekmtetox ernsi ineduxnkumphaphnth pikh s 2014 phayhlngcakidkacdkhuaekhngthangkaremuxngthnghmddwytarwclbkhxngekhaaelakarndhyudaerngngankhxngkhnngan musosliniaelaphutidtamkhxngekhaidrwbrwmxanacphanhnunginkdhmaythiepliynpraethsihepnrabxbephdckarphrrkhkaremuxngediyw phayinhapithiphanma musosliniidcdtngxanacephdckardwywithithngthangkdhmayaelawithithiimthrrmdaaelatxngkarthicasrangrthrabbrwbxanacebdesrc inpi kh s 1929 musosliniidlngnamsnthisyyalaetrnkbnkhrrthwatikn sungepnkarsinsudinchwnghlaythswrrskhxngkarsurbrahwangrthxitaliaelaphrasntapapaaelaidyxmrbkarepnrthxisrakhxngnkhrwatikn phayhlng pi kh s 1935 1936 musosliniidsngkxngthphekharukranexthioxepiyinsngkhramxitali exthioxepiykhrngthisxng karrukrankhrngniidthukpranamodymhaxanactawntkaelatxbotdwykarkhwabatrthangesrsthkictxxitali khwamsmphnthrahwangeyxrmniaelaxitalithidikhun enuxngcakkarsnbsnunkhxnghitelxrinkarrukran musosliniidyxmrbihpraethsxxsetriyxyuphayitekhtxiththiphlkhxngeyxrmni idlngnamsnthisyyainkarrwmmuxkbeyxrmniaelaprakaskxtng xksa orm ebxrlin tngaetpi kh s 1936 thung 1939 musosliniidsngthharcanwnmakipihkarsnbsnunaekkxngkalngkhxngfrngokinsngkhramklangemuxngespn karaethrkaesngxyangrwderwkhrngniyingthaihxitalihangehincakfrngessaelabrietn musosliniidphyayamchalxsngkhramkhrngihyinthwipyuorp aeteyxrmniidekharukranopaelnd emuxwnthi 1 knyayn kh s 1939 sngphlthaihmikarprakassngkhramodyfrngessaelashrachxanackraelacuderimtnkhxngsngkhramolkkhrngthisxng emuxwnthi 10 mithunayn kh s 1940 dwyfrngessphayaephaelathukyudkhrxngiklmathung xitaliidekharwmsngkhramxyangepnthangkarodyekhakhangfayeyxrmn aemwamusosliniidthrabdiwaxitaliimmikhidkhwamsamarththangthharaelathrphyakrinkarthasngkhramxnyudeyuxkbckrwrrdibritis ekhaechuxwaphayhlngcakkarsngbsukkbfrngessthiiklmathung xitalixaccaidrbdinaedncakfrngess aelaekhacasamarthrwbrwmkxngkalngkhxngekhainkarrukkhrngihyinaexfrikaehnux thikxngkalngbritisaelaekhruxckrphphmicanwnmakkwakxngthphxitali xyangirktam rthbalbritisidptiesththiyxmrbkhxesnxephuxsntiphaphthiekiywkhxngkbkaryxmrbchychnakhxngfayxksainyuorptawnxxkaelatawntk aephnkarsahrbkarrukranshrachxanackrimiddaenintxipaelasngkhramyngkhngdaenintxip ineduxntulakhm kh s 1940 musosliniidsngkxngthphxitaliekhaipyngkris klayepncuderimtnkhxngsngkhramxitali kris karrukrankhrngnilmehlwaelahlngcakkrisidocmtitxbotklbphlkdnxitaliklbipyngekhtyudkhrxngaexlebeniy karlmslaykhxngkrisaelaphrxmkbkhwamprachytxbritisinaexfrikaehnuxthaihxitalitxngphungphaeyxrmni erimtnineduxnmithunayn kh s 1941 musosliniidsngkxngthphxitaliephuxekharwminkarrukranshphaphosewiytaelaxitaliidprakassngkhramtxshrthxemrikaineduxnthnwakhm inpi kh s 1943 xitalitxngprasbhaynahlaykhrng phayhlngcaknnxik ineduxnkumphaphnth kxngthphaedngidthalaykxngthphxitaliinrsesiyxyangrabkhab ineduxnphvsphakhm fayxksathukkhbilxxkcakaexfrikaehnux emuxwnthi 9 krkdakhm faysmphnthmitridbukkhrxngekaasisili aelaemuxthungwnthi 16 idehnxyangchdecnwakarrukraninchwngvdurxninshphaphosewiytlmehlw dwyphlthitamma emuxwnthi 25 krkdakhm sphaihyaehngfassistidlngmtiimiwwangictxmusoslini wntxma kstriyidpldekhaxxkcaktaaehnngphunakhnarthbalaelakhwbkhumtwekhaihxyuinkhwamduael ephuxaetngtngpiexotr baodloykhunepnnaykrthmntriaethntxcakekha musosliniidrbkarpldplxycakthikhumkhnginodythharoddrmeyxrmnaelahnwykhxmmanodwfefin exsexsphayitkarnaodyphntri Otto Harald Mors phayhlngthiidekhaphbkbxditphunaephdckarthiidkhxyihkhwamchwyehlux xdxlf hitelxr kidihmusosliniekhaippkkhrxnginrthhunechidthangphakhehnuxkhxngxitali satharnrthsngkhmxitali xitali Repubblica Sociale Italiana RSI epnthiruckknxyangepnthangkarkhux satharnrthsaol inchwngplayeduxnemsayn kh s 1945 inkhnathikhwamphayaephthnghmdidiklekhathung musosliniaelaxnuphrryakhxngekha khlala aeptachi idphyayamhlbhniipyngswitesxraelnd aetthngkhuthukcbkumodykhxmmiwnistxitaliaelathukpraharchiwitxyangrwbrdodychudthimyingepa emuxwnthi 28 emsayn iklkbthaelsabokom rangkhxngekhathuknaipyngemuxngmilan sungthinnidthukaekhwnpracaniwthihnasthanthirachkarephuxepnkaryunynkartaykhxngekhaaeksatharnchnchwngchiwittnbanekidkhxngebniot musosliniin inpccubn xakharaehngnisungecakhxngidcdaesdngnithrrskarekiywkbprawtisastrrwmsmybidakhxngmusoslini xelssanodrmardakhxngmusoslini orsa musoslini ekidemuxwnthi 29 krkdakhm kh s 1883 in Dovia di Predappio emuxngkhnadelkincnghwdfxrliinormanya txma inchwngyukhfassist Predappio idthukkhnannamwa emuxngkhxngduech aelafxrlithukeriykwa emuxngkhxngduech odynkaeswngbuythikalngipyng Predappio aelafxrli ephuxmadubanekidkhxngmusoslini bidakhxngekhakhux xelssanodr musoslini epnchangtiehlkaelanksngkhmniym inkhnathimardakhxngekha orsa namskul mlothni epnkhrusxnhnngsuxinorngeriynsungnbthuxkhathxlikthiekhrngkhrd dwykarthiexnexiyngthangkaremuxngkhxngbidakhxngekha musoslinicungidrbkartngchuxwa ebniot sungmacakchuxkhxngprathanathibdiaemksiknfayesriniym inkhnathichuxklangkhxngekhakhux xanedrxaaelaxamilkaer sungepnchuxkhxngnksngkhmniymchawxitalisxngkhnthiminamwa aela inthangklbkn mardaidnaekhaekhaphithibphtismatngaetaerkekid ebniotepnlukkhnotinehlaluksamkhnkhxngphxaem phinxngkhxngekhakhux xarnlod aela Edvige inchwngwyedk musoslinicaichewlaswnihyinkarchwyehluxaekbidakhxngekhainorngtiehlk mummxngthangkaremuxngchwngaerkkhxngmusosliniidrbxiththiphlxyangmakmaycakbidakhxngekha sungidethidthuntxbukhkhlthiepnnkchatiniymchawxitaliinchwngstwrrsthi 19 thimikhwamexnexiyngipthangmnusyniym idaek Carlo Pisacane Giuseppe Mazzini aela Giuseppe Garibaldi thsnkhtithangkaremuxngkhxngbidakhxngekhaidphsmphsankbmummxngkhxngbukhkhlthiepnfayxnathipity echn Carlo Cafiero aela Mikhail Bakunin lththixanacniymthangthharkhxng Garibaldi aelalththichatiniymkhxng Mazzini in kh s 1902 sungepnwnkhrbrxbkhxngkaresiychiwitkhxng Garibaldi musosliniidklawsunthrphcnaeksatharnainkarykyxngaekfayriphbbliknchatiniym musosliniidthuksngipyngorngeriynpracathithukdaeninkarodynkbwchkhnasaelesiyn enuxngcaknisythibungtung chxbichkalng kradakaelahyingphyxngkhxngekha ekhamkcathaelaaebaaaewngkbkhruaelaephuxnrwmorngeriyn inchwngthimikarotaeyngkn ekhaidtharayephuxrwmchndwymidphkaebbphbaelathuklngothsxyangrunaerng phayhlngcakthiidekhaeriyninorngeriynaehngihmthiimekiywkhxngkbsasnain Forlimpopoli musosliniidrbphlkareriynthidi epnthichunchxbcakkhrukhxngekha aemwacaminisythirunaerng aelamikhunsmbtithicaepnkhrusxnhnngsuxradbchnprathmineduxnkrkdakhm kh s 1901 karyaythinipyngswitesxraelndaelaekhapracakarthhar bnthukexksarswntwkhxngmusosliniphayhlngcakthiekhathuktarwccbkumemuxwnthi 19 mithunayn kh s 1903 n aebrn switesxraelnd in kh s 1902 musosliniidyaythinipyngswitesxraelnd saehtuxyanghnungephuxhlikeliyngkarekhapracakarthharphakhbngkhb ekhathanganinchwngewlasn inthanachangthahin inecniwa fribur aelaaebrn aetimsamarthhanganpracaidely inchwngewlani ekhaidsuksaaenwkhidkhxngnkprchya fridrich nithechx nksngkhmwithya Vilfredo Pareto aelanklththishkarniym Georges Sorel txmamusosliniideluxmisihkbnksngkhmniymchawkhrisetiyn Charles Peguy aelanklththishkarniym Hubert Lagardelle sungbangswnkepnxiththiphlkhxngekha karennyakhxng Sorel thungkhwamcaepninkarlmlangprachathipityaebbesriniymaelarabbthunniymthiesuxmothrmdwykarichkhwamrunaerng karlngmuxodytrng karndhyudnganthwip aelakarichlththiniox maekiyewllithikhxydungdudthangdanxarmn thaihmusosliniekidkhwamrusukprathbicxyangsudsung musosliniiderimmibthbathinkhbwnkarsngkhmniymxitaliinswitesxraelnd odythanganinkartihnngsuxphimphthichuxwa L Avvenire del Lavoratore sungcakhxycdihmikarprachum karklawsunthrphcnaekkhnngan aeladarngtaaehnngepnelkhathikarkhxngshphaphaerngnganxitaliinolsan Angelica Balabanoff idraynganwa idaenanaekhaihruckkbwladimir elnin sungphayhlngidwiphakswicarntxnksngkhmniymxitalithiidsuyesiymusosliniipcaksaehtukhxngphwkekha in kh s 1903 ekhathuktarwcaebrenxrcbkumdwykhxhaihkarsnbsnunkarndhyudnganxyangrunaerng thukcakhukepnewlasxngspdah aelathuksngtwklbipyngxitali phayhlngcakthiekhaidrbkarplxytwthinn ekhaidklbmayngswitesxraelnd in kh s 1904 idthukcbkumxikkhrnginecniwaaelathukkhbxxknxkpraethsdwykhxhaplxmaeplngexksarkhxngekha musoslinicungklbipyngolsan thisungekhaidekhaeriyninmhawithyalyolsan phakhwichasngkhmsastr sungidtidtambtheriynkhxng Vilfredo Pareto in kh s 1937 emuxekhaidepnnaykrthmntrixitali mhawithyalyolsanidmxbpriyyakittimskdiaekmusoslni enuxnginoxkaskhrbrxb 400 pi ineduxnthnwakhm kh s 1904 musosliniidedinthangklbxitaliephuxichpraoychncakkarnirothskrrmsahrbkarhlikhnithhar kartdsinlngothskhxngekhaineruxngniidhayipaelw enuxngcakenguxnikhinkarrbxphyothskhuxihekhapracakarinkxngthphbk ekhacungekharwminkxngthphnxy Bersaglieri infxrli emuxwnthi 30 thnwakhm kh s 1904 phayhlngcakekharbrachkarthharepnewlasxngpi tngaeteduxnmkrakhm kh s 1905 thung eduxnknyayn kh s 1906 ekhacungklbipsxnhnngsuxthiorngeriyn nkkhawthangkaremuxng pyyachn aelanksngkhmniym ineduxnkumphaphnth kh s 1909 musosliniidxxkcakxitalixikkhrng khrawniiddarngtaaehnngepnelkhathikarphrrkhaerngnganinemuxngethrnotthiphuddwyphasaxitali sungchwngewlannepnswnhnungkhxngckrwrrdixxsetriy hngkari sungpccubnxyuinxitali nxkcakni ekhayngidthanganinsanknganaekphrrkhsngkhmniymthxngthin aelaaekikheriyberiynghnngsuxphimphthichuxwa L Avvenire del Lavoratore xnakhtkhxngkrrmkr emuxklbmayngxitali ekhaichewlachwngsn inmilan aelain kh s 1910 ekhaidklbmayngbanekidthifxrli sungthinnekhaidaekikheriyberiynghnngsuxphimphpracaspdahthichuxwa Lotta di classe kartxsuthangchnchn musoslinikhidwatwekhaexngepnkhnmipyyaaelathuxwaxanekng ekhaidxandwykhwamlaomb prchyachawyuorpthiekhaoprdpran rwmthng Sorel nkxnakhtsastrchawxitali filipop txmmaos marientti nksngkhmniymchawfrngess Gustave Herve nkxnathipitychawxitali Errico Malatesta aelankprchyachaweyxrmnxyang fridrich exngengilsaelakharl makhs phukxtnglththimaks musosliniidfukxanphasafrngessaelaphasaeyxrmndwytwexngaelaaeplkhxkhwamthithuktdtxnxxkmacaknganekhiynkhxngnithechx ochephinehaexxr aelakhant phaphehmuxnkhxngmusosliniinchwngtn kh s 1900 inchwngewlani ekhaidtiphimphbthkhwamthichuxwa Il Trentino veduto da un Socialista ethrntionthukmxngodysngkhmniym lngin la owes sungepnwarsarkhxngphwkhwrunaerng ekhayngidekhiynbthkhwamekiywkbwrrnkrrmeyxrmnhlayeruxng sungbangeruxngaelahnunginnwniyaykhux L amante del Cardinale Claudia Particella romanzo storico The Cardinal s Mistress nwniyayeruxngni ekhaidekhiynrwmkb Santi Corvaja aelaidthuktiphimphepnhnngsuxtxenuxnginhnngsuxphimph ethrnot 2 opopol idthukxxkcahnayepnngwd tngaet 20 mkrakhm thung 11 phvsphakhm kh s 1910 nwniyayeruxngniepnkartxtansasnckrxyangecbaesb aelahlaypitxmakidthukthxdthxncakkarxxkcahnay phayhlngcakthimusosliniidyutikhwamkhdaeyngkbwatikn ekhaidklayepnhnunginnksngkhmniymthimikhwamoddedninxitali ineduxnknyayn kh s 1911 musosliniidekharwminkarkxclacl sungnaodyfaysngkhmniym ephuxtxtankhxngxitali ekhaidklawpranamthung karthasngkhramlththickrwrrdiniym khxngxitaliidxyangecbaesb sungkarkrathakhrngnithaihekhatxngrbothscakhukepnewlahaeduxn phayhlngidrbkarplxytw ekhaidchwyehluxinkarkhbilxiwaonex obnxmiaela Leonida Bissolati xxkcakphrrkhsngkhmniym enuxngcakphwkekhathngsxngkhnepn phwklththiaek revisionist sungkhxyihkarsnbsuntxsngkhram ekhaidrbrangwlbrrnathikarkhxnghnngsuxphimphkhxngphrrkhsngkhmniymthichuxwa xwnti phayitkarnakhxngekha yxdcahnayidephimkhuninimcha cak 20 000 chbb maepn 100 000 chbb John Gunther in kh s 1940 ideriykekhawa hnunginnkkhawthidieyiymthiyngmichiwit musosliniidthanganepnnkrayngankhaw inkhnathietriymkhwamphrxmsahrbkaredinkhbwnsuorm aelaekhiynkhawihaek Hearst News Service thungpi kh s 1935 musoslinikhunekhykbwrrnkrrmlththimaksxyangmakinnganekhiynkhxngekha ekhaimephiyngaetcaxangxingcakngankhxnglththimaksthimichuxesiyng aetyngmacaknganthiyngdukhlumekhruxxyudwy inchwngewlani musosliniidthuxwatwekhaexngepnnklththimaks aelaklawykyxngaekmakhswa epnphuyingihyinehlabrrdankthvstithnghmdkhxnglththisngkhmniym in kh s 1913 ekhaidtiphimphhnngsuxthichux Giovanni Hus il veridico yn hus phuephyphrawcnathiaethcring sungepnchiwprawtithangprawtisastraelakaremuxngekiywkbchwngchiwitaelapharkickhxngnkbwchchawechksungepnnkptirupnamwa yn hus aelaklumnkrbphutidtamkhxngekhakhux inchwngchiwitnksngkhmniymkhxngekha bangkhrngmusoslinicaichnampakkawa ewor exertiok phwknxkritthisuxsty musosliniidptiesth Egalitarianism khasxnhlkkhxngsngkhmniym ekhaidrbxiththiphlcakaenwkhidkartxtanchawkhrisetiynkhxngnithechxaelaptiesthkhxngkarmixyukhxngphraeca musosliniekidkhwamrusukwasngkhmniymnnkhadkhwamhnkaenn inmummxngkhxngkhwamlmehlwkhxngniytiniymlththimaksaelalththikarptirupprachathipitysngkhmniym aelaechuxwaaenwkhidkhxngnithechxcathaihsngkhmniymnnaekhngaekrngkhun inkhnathimikhwamekiywkhxngkblththisngkhmniym nganekhiynkhxngmusosliniinthaythisud idbngbxkwa ekhaidlathinglththimaksaelasmphakhniym ephuxsnbsnunaenwkhid Ubermensch ehnuxmnusy khxngnithechx aelakartxtansmphakhniym thukkhbxxkcakphrrkhsngkhmniymxitali musoslinisungdarngtaaehnngepnbrrnathikarhnngsuxphimph mismachikphrrkhsngkhmniymcanwnhnungidrierimihkarsnbsnuninsngkhramolkkhrngthihnung n ewlathiepncuderimtnineduxnsinghakhm kh s 1914 emuxsngkhramiderimkhun nksngkhmniymcakchawxxsetriy britich frngess aelaeyxrmnidtidtamkraaeschatiniymthiephimphunmakkhunodykarsnbsnunkhxngphwkekhainkarekhaaethrkaesnginsngkhramkhxngpraeths karpathukhxngsngkhramidsngphlkxihekidlththichatiniymkhxngchawxitalithiephimphunmakkhun sngkhramidrbkarsnbsnuncakklumthangkaremuxngtang hnunginnkchatiniymchawxitalithimichuxesiyngodngdngaelaepnthiniymmakthisudsungepnphusnbsnunsngkhramkhux Gabriele D Annunzio sungidsngesrimkareriykrxngdinaednklbkhun irredentism khxngchawxitali aelachwyinkarchkcungprachachnchawxitaliephuxsnbsnunkaraethrkaesnginsngkhram phrrkhesriniymxitaliphayitkarnaody idsngesrimkaraethrkaesnginsngkhramodyxyukhangfaysmphnthmitraelaich Societa Dante Alighieri ephuxsngesrimchatiniymxitali nksngkhmniymchawxitaliidthukaebngaeykrahwangfaysnbsnunsngkhramhruxfaytxtansngkhram chwngkxnthimusoslinicaekharbtaaehnnginsngkhram klumnkptiwtifayshkarniymcanwnhnungidprakaswacaihkarsnbsnuninkaraethrkaesng rwmthng xlechset ed aexmbris Filippo Corridoni aela Angelo Oliviero Olivettiidyunkranthicatxtansngkhram phayhlngcakphuprathwngsungepnfaytxtanthharnnthuksnghar sngphlkxihekidkarndhyudnganthwipthithukeriykwa inchwngaerk musosliniidihkarsnbsnunxyangepnthangkarsahrbkaryunkrankhxngphrrkh aelainbthkhwamchbbeduxnsinghakhm kh s 1914 musosliniidekhiynwa cmdwysngkhram erayngkhngwangtwepnklang ekhamxngehnwa sngkhramkhuxoxkas thngsahrbkhwamthaeyxthayankhxngtwekhaexngechnediywkbphwkehlanksngkhmniymaelachawxitali ekhaidrbxiththiphlcakkhwamrusukchatiniymxitalithitxtan xxsetriy sungechuxwa sngkhramidepidoxkasihchawxitalithixyuphayitxxsetriy hngkariidpldplxydwytwphwkekhaexngcakkarpkkhrxngkhxngrachwngshaphsbwrkh inthisud ekhakidtdsinicprakasinkarsnbsnunsngkhramodyeriykrxngkhwamtxngkaraekfaysngkhmniyminkarokhnlmrachwngsohexinthsxlelirnaelarachwngshaphsbwrkhineyxrmniaelaxxsetriy hngkari sungekhaidklawwa ekhythukprabpramlththisngkhmniymmaodytlxd smachikkhxngkxngthphnxyxarditikhxngxitaliin kh s 1918 sungtangthuxmidsnknhmd sungepnsylksnkhxngklum chudekhruxngaebbsidakhxngxarditiaelakarichhmwkaebbefssungidthuknamaichodymusosliniinkarsrangkhbwnkarfassistkhxngekha musosliniidihehtuphlephimetimtxtaaehnngkhxngekhaodykarklawpranamfaymhaxanacklangwaepnmhaxanacthiepnphwkptikiriya cakthikalngifhatamaebbckrwrrdiniym txtanebleyiymaelaesxrebiy echnediywkbinxditsungtxtankbednmark frngess aelatxtanxitalidwy enuxngcakchawxitalicanwnnbaesnkhnphayitkarpkkhrxngkhxngrachwngshaphsbwrkh ekhaidotaeyngwa karlmslaykhxngrachwngsohexinthsxlelirnaelahaphsbwrkh aelakarprabpram phwkptikiriya inturkicasrangenguxnikhthiepnpraoychntxchnchnkrrmkr inkhnathiekhaidihkarsnbsnunaekfaymhaxanacphakhi musosliniidtxbsnxngtxthrrmchatikhxngxnurksniymkhxngphraecasarrsesiy odyrabuwa karradmkalngthharthicaepnsahrbkarthasngkhramcabxnthalaylththixanacniymkhxngphwkptikiriyarsesiy aelasngkhramcanarsesiyipsukarptiwtithangsngkhm ekhaidklawwa sahrbxitaliaelw karthasngkhramcakxihekidkrabwnkarkhxngrisxciemnotxyangsmburnodykarrwbrwmchawxitaliinxxsetriy hngkarimaekhasuxitali aelaodyxnuyatihprachachnthwipkhxngxitaliidekharwmsmachikkhxngpraethschatixitaliinsingthikhwrcaepnsngkhramradbchatikhrngaerkkhxngxitali dngnnekhacungklawxangwa karepliynaeplngthangsngkhmxyangmakmaymhasalthisngkhramcathaid sunghmaykhwamwakhwrcaihkarsnbsnuninthanasngkhramkarptiwti emuxkarsnbsnuninkaraethrkaesngkhxngmusosliniidephimmakkhun ekhaidkhdaeyngkbnksngkhmniymthiepnfaytxtansngkhram ekhaidocmtifaytxtansngkhramaelaklawxangwa chnchnkrrmmachiphthiihkarsnbsnuninsntiniymcaaetktangcakchnchnkrrmmachiphthiidekharwmkbaenwhnakhxngkaraethrkaesngthikalngephimmakkhunsungkalngetriymkhwamphrxminxitalisahrbsngkhramkarptiwti ekhaiderimwiphakswicarnphrrkhsngkhmniymxitaliaelalththisngkhmniymechnediywkn cakkhwamlmehlwinkaryxmrbpyharadbchatisungidnaipsukarprathukhxngsngkhram dngnn ekhacungthukkhbxxkcakphrrkhsahrbkarsnbsnunkaraethrkaesngkhxngekha khxkhwamthithuktdtxnmatxipnimacakrayngankhxngtarwcsungthukcdthaodysarwtrihyaehngkhwamnkhngsatharnainmilan G Gasti idxthibaythungphumihlngaelacudyunkhxngekhainsngkhramolkkhrngthihnung sungsngphlthaihekhathukkhbxxkcakphrrkhsngkhmniymxitali sarwtrihyidekhiynwa sastracaryebniot musoslini xayu 38 pi nkptiwtisngkhmniymsungmiprawtiinkrmtarwcwa epnkhrusxnhnngsuxradbprathmsuksasungmikhunsmbtithiehmaasmsahrbkarsxnhnngsuxinorngeriynmthym xditelkhathikarkhnaerkkhxnghxngsankthnaykhwamin echsana fxrli aelaewewnna phayhlngpi kh s 1912 brrnathikarkhxnghnngsuxphimph xwnti sungekhaidihkhxchiaenathirunaerngaelakahndepahmayxyangimhyudyng ineduxntulakhm kh s 1914 idphbwatwekhaexngidtxtanphuxanwykarkhxngphrrkhsngkhmniymxitaliephraaekhaihkarsnbsnunkhwamepnklangxyangekhmaekhnginswnhnungkhxngxitaliinsngkhramaehngchatiephuxtxtankhwamexnexiyngkhwamepnklangxyangaethcring ekhaidthxntwemuxwnthiyisibkhxngeduxnnncaktaaehnngbrrnathikarkhxng xwnti caknninwnthi 15 khxngeduxnphvscikayn kh s 1914 hlngcaknn ekhaiderimtiphimphkhaaethlngkhawinhnngsuxphimph Il Popolo d Italia sungekhaidihkarsnbsnun trngkhamkbxwnti aelathamklangkarotethiyngxnkhmkhuntxhnngsuxphimphchbbnnaelaphusnbsnunhlk withyaniphnthueruxngkhxngkaraethrkaesngkhxngxitaliinsngkhram txtankarthharkhxngckrwrrdimhaxanacklang dwyehtuphlni ekhacungthukklawhawaimkhukhwrinthangsilthrrmaelathangkaremuxng aeladngnn phrrkhcungidtdsinickhbekhaxxkip phayhlngcaknnkiddaeninkardwykarrnrngkhxyangekhmkhninnamkhxngkaraethrkaesngkhxngxitali karekharwmkhbwnkarprathwngincturs aelakarekhiynbthkhwamthirunaerngiwin Il Popolo d Italia inkarsrupkhxngekha sarwtryngidtngkhxsngektwa ekhaepnbrrnathikarinxudmkhtikhxngxwnti ephuxsngkhmniym insayngannn ekhaepnidrbkarekharphnbthuxaelaepnthirkxyangying xditshayaelaphuthichunchxbekhabangkhnyngidsarphaphwaimmiikhrekhaicwithitikhwamhmaythungcitwiyyankhxngchnchnkrrmmachiphiddikwanixikaelw aelaimmiikhrsngektthungkarlathingkhwamechuxkhxngekhadwykhwamesraosk singniimekidkhunephuxphlpraoychnswntwhruxengin ekhaepnphusnbsnunthiaethcringaelakratuxruxrn khrngaerkkhxngkhwamrxbkhxbaelakhwamepnklangthangdanxawuthaelatxcaknnkthasngkhram aelaekhaimmikhwamechuxwa ekhamikhwampranipranxmkbkhwamsuxtrngswntwaelakaremuxngodyichthukwithithang imwaphwkekhacamacakihnhruxthiihnktamthiekhacaidrbmn ephuxchdichihkbhnngsuxphimphkhxngekha okhrngkarkhxngekhaaelaaenwthangkarptibtikhxngekha nikhuxaenwthangaerkkhxngekha mnepnkaryakthicabxkwaekhamikhwamechuxmninsngkhmniymmakaekhihn sungekhaimekhyepidephyhruxlmelikodyswntwely xactxngesiyslainesnthangkhxngkhxtklngthangkarenginthikhadimidsungcaepnsahrbkhwamtxenuxngkhxngkarsurbthisungekhaidmiswnrwm aetepnkarxwddiwakarepliynaeplngehlaniidekidkhun ekhatxngkarthaihduehmuxnwayngkhngepnnksngkhmniymaelaekhakhlxktwexngdwykarekhaipinkhwamkhid nikhuxkrnihnung cudkaenidkhxnglththifassistaelapracakarinsngkhramolkkhrngthihnung musosliniintxnthiepnthhar kh s 1917 phayhlngcakthukphrrkhsngkhmniymxitalikhbxxkmaephraakarihsnbsnunkaraethrkaesngkhxngxitali musosliniidepliynaeplngkhrngihy idyutikarsnbsnunsahrbkartxsuthangchnchnaelaekharwmkarsnbsnunkarptiwtichatiniymsungehnuxkwasaychnchn ekhakxtnghnngsuxphimphthiepnkaraethrkaesngxyang Il Popolo d Italia aela Fascio Rivoluzionario d Azione Internazionalista karptiwtikhxngfasessephuxdaeninkarrahwangpraeths ineduxntulakhm kh s 1914 karsnbsnunchatiniymkhxngekhainkaraethrkaesngthaihsamarthradmenginthunhaidcakxnslod bristhphlitxawuthyuthothkrn aelabristhxun ephuxsrang Il Popolo d Italia ephuxchkcungihnksngkhmniymaelankptiwtiinkarsnbsnunkarthasngkhram enginthunephimetimsahrbfassistkhxngmusosliniinchwngsngkhramsungmacakaehlngkhxngfrngess erimtnineduxnphvsphakhm kh s 1915 aehlngenginthunhlknimacakfrngesssungechuxwanacamacaknksngkhmniymchawfrngessthisngihkarsnbsnunipyngnksngkhmniymthiimehndwysungtxngkarihxitaliekhaaethrkaesngaekfayfrngess emuxwnthi 5 thnwakhm kh s 1914 musosliniidklawpranamsngkhmniymchawxxrthxdxks cakkhwamlmehlwinkaryxmrbsngkhramthaihexklksnaelakhwamcngrkphkditxchatimikhwamsakhymakkwakaraebngaeykthangchnchn ekhaidaesdngihehnthungkarepliynaeplngkhxngekhaxyangetmthiinkarklawsunthrphcnsungepnthiyxmrbwa praethschatikhuxexklksn aenwkhwamkhidthiekhaidptiesthkxnekhasusngkhram idbxkwa chatiimidhayipihn phwkeraekhyechuxwaaenwkhidnithnghmdimmisara aeteraklbehnpraethschatiidekidkhundwyicsnxyangaethcringtxhnaera chnchnimsamarththalaypraethschatiid chnchnidepidephytwexnginthanachudsasmkhxngphlpraoychn aetpraethschatikhuxprawtisastraehngkhwamrusuk praephni phasa wthnthrrm aelaechuxchati chnchnsamarthsamarthklayepnswnthisakhykhxngpraethschatinnid aetchnchnhnungimsamarthbdbngxikchnchnhnungid kartxsuthangchnchnepnhlkeknththiirsara odyprascakphlkrathbaelaphllphththitamma emuxidktamthiphbphukhnthiimidrwmtwknepnhnungediywinkarekhakbkhxbekhtthangphasaaelaechuxchatithiehmaasm sungepnpyharadbchatithiyngimidrbkaraekikhely insthankarnechnni khbwnkarthangchnchnidphbwatnexngmikhwambkphrxngcakbrryakasthangprawtisasrthiepnlangray musosliniyngkhngsngesrimkhwamtxngkarkhxngnkptiwtiaenwhnaradbhwkathiephuxepnphunathangsngkhm ekhaimidihkarsnbsnunaenwhnakhxngchnchnkrrmmachiphxiktxip aetepnaenwhnasungnaodyphukhnthimiphlngaelankptiwtisungmacakchnchnthangsngkhmid kid aemwaekhacapranamsngkhmniymchawxxrthxdxksaelakhwamkhdaeyngthangchnchn aetekhakidsantxintxnthiekhaepnnkchatisngkhmniymaelaepnphusnbsnunmrdktkthxdkhxngchatisngkhmniyminprawtisastrxitali echn Giuseppe Garibaldi Giuseppe Mazzini aela Carlo Pisacane sahrbphrrkhsngkhmniymxitaliaelakarsnbsnunsngkhmniymchawxxrthxdxks ekhaklawxangwa khwamlmehlwkhxngekhainthanasmachikkhxngphrkhinfunfuaelaepliynaeplnginkarrbrukhwamepncringrwmsmysungephyihehnthungkhwamsinhwngkhxngsngkhmniymchawxxrthxdxksthidulahlngaelalmehlw khwamekhaicthungkhwamlmehlwkhxngsngkhmniymchawxxrthxdxksinkarkxprathukhxngsngkhramolkkhrngthihnungimidekidkhunodymusosliniephiyngkhnediyw nksngkhmniymthiihkarsnbsnunkaraethrkaesngkhnxun echn Filippo Corridoni aela Sergio Panunzio kpranamlththimarksaebbkhlassikephuxihkarsnbsnunkaraethrkaesngmusoslinisungepn insngkhramolkkhrngthihnung mummxngthangkaremuxngkhnphunthanaelahlkkarehlaniepnphunthankhxngkhbwnkarthangemuxngthiephingcdtngkhunmaihmkhxngmusoslini the Fasci d Azione Rivoluzionaria in kh s 1914 thieriykphwkekhawa fassiti fassist inewlani phwkfassistyngimminoybaythimnkhngmaknkaelakhbwnkarnnmikhnadelk irprasiththiphaphinkhwamphyayamcdtngkarprachumhlaykhrng aelathukkxkwnodyecahnathikhxngrthaelaphwknksngkhmniymchawxxrthxdxksepnpraca khwamepnstruknrahwangphuaethrkaesng rwmthngphwkfassistpathakbphwknksngkhmniymchawxxrthxdxksthitxtankaraethrkaesngsngphlthaihekidkhwamrunaerngrahwangfassistaelasngkhmniym kartxtanaelakarocmtiodynkptiwtisngkhmniymthitxtankaraethrkaesngtxkrkbphwkfassistaelaklumphuaethrkaesngxun nnrunaerngmakkhuncnaemaetnkprachathipitysngkhmniymthitxtansngkhram echn Anna Kuliscioff idklawwa phrrkhsngkhmniymxitalimaiklekinipinkarrnrngkhephuxpidpakesriinkarphudkhxngphusnbsnunsngkhram khwamepnstrukninchwngaerkrahwangphwkfassistaelankptiwtisngkhmniymidhlxmrwmkbaenwkhidkhxngmusosliniekiywkbthrrmchatikhxnglththifassistephuxsnbsnunkhwamrunaerngthangkaremuxng musosliniidepnphnthmitrkbnkkaremuxngthitxngkareriykrxngdinaednkhxngchatitnklbkhunaelankkhawthichuxwa Cesare Battisti emuxsngkhramolkkhrngthihnungiderimtnkhun musoslinikehmuxnkbnkchatiniymchawxitalikhnxun hlaykhn thixasasmkhrcaekhasurbinsngkhram aetekhaklbthukptiesthephraakhwamkhidaebblththisngkhmniymxyanghwrunaerngaelabxkihrxkareriyktwinkarekhakalngphlsarxng ekhathukeriyktwemuxwnthi 31 singhakhm aelaekharayngantwephuxptibtihnathiihkbhnwyrbedimkhxngekha Bersaglieri phayhlngsxngspdahinkarfuksxmrb ekhathuksngipyngaenwhnaxisxnos sungekhaidekharwminyuththkarthixisxnoskhrngthisxng eduxnknyayn kh s 1915 hnwyrbkhxngekhayngidekharwminyuththkarthixisxnoskhrngthisam eduxntulakhm kh s 1915 sarwtrihyyngekhiynklawxikwaekhaidrbeluxnystaaehnngepnrxytri smkhwridinsngkhram kareluxntaaehnngkhrngniidthukaenana enuxngcakkhwampraphvtikhxngekhaepnaebbxyangaelakartxsurbxyangmiprasiththiphaph citickhxngekhasngbning aelaimwitkkngwltxkhwamyaklabak khwamkratuxruxrnaelakhwamepnraebiybinkarptibtihnathikhxngtn thisungekhayngidepnthihnunginthukpharkicthiekiywkhxngkbaerngnganaelakhwamxdthn inthisud musoslinikidrbbadecbsungepnkaridrbbadecbinptibtihnathiineduxnkumphaphnth kh s 1917 aelaidrbbadecbxyangsahscntxngthukyayxxkcakaenwhnaip dwyprasbkarnthangthharkhxngmusosliniidthukbxkelainphlngankhxngekhaxyang Diario di guerra odyrwmthnghmd ekhaichewlapraman 9 eduxninptibtihnathikarrb khxngkarthasngkhramaenwhnabnsnamephlaa inchwngewlann ekhalmpwyepn karhaphlpraoychncakkxngthphthharkhxngekhaidyutilngin kh s 1917 emuxekhaidrbbadecbodyimidtngicephraaaerngraebidcakraebidpunkhrktklngissnamephlaathiekhapracakarxyu inrangkaykhxngekhamisaekdraebidehluxxyangnxy 40 chin ekhaidxxkcakorngphyabalineduxnsinghakhm kh s 1917 aelaklbmadarngtaaehnnghwhnabrrnathikarkhnihminhnngsuxphimphkhxngekha Il Popolo d Italia ekhaidekhiynbthkhwamechingbwkekiywkbinxitali emuxwnthi 25 thnwakhm kh s 1915 in Treviglio ekhaidaetngngankbraekhel kuydi ephuxnsawinchnbth sungidihkaenidbutrsawkhxngekhaxyang thifxrli in kh s 1910 in kh s 1915 ekhaidmibutrchaykb Ida Dalser hyingsawthiekidin Sopramonte hmubanthixyuiklkbemuxngethrnot ekhaidyxmrbbutrchaykhnnixyangthuktxngtamkdhmay emuxwnthi 11 mkrakhm kh s 1916ethlingxanackarkxtngphrrkhchatiniymfassist khaklawprasykhxng Fasci italiani di combattimento sungthuktiphimphinhnngsuxphimph emuxwnthi 6 mithunayn kh s 1919phumiphakhchatiphnthukhxngxitalisungklawxangsiththiin kh s 1930 odylththikareriykrxngdinaednklbkhunkhxngxitali siekhiyw aela aedng simwng aela sungthukklawxangsiththiinewlatxma inchwngewlani ekhaidedinthangklbcakkarrbichinkxngthphfaysmphnthmitrinsngkhramolkkhrngthihnung dwysphaphkhxngkarepnnksngkhmniymkhxngmusoslininnmiehluxxyuelknxy xnthicring ekhaintxnnimikhwamechuxmnwalththisngkhmniymthiepnhlkkhasxnnnswnihydulmehlw in kh s 1917 musoslinierimtninkaremuxngdwykhwamchwyehluxcakkhacangrayspdahcanwn 100 pxnd ethiybethakbcanwnengin 7100 pxnd n pi kh s 2020 cakhnwykhwammnkhngbritis exmix5 thiidkkkhngphuprathwngthitxtansngkhramiwthiban aelaephyaephrokhsnachwnechuxthisnbsnunsngkhram khwamchwyehluxkhrngniidrbxnuyatcakesxr samuexl hxr inchwngtn kh s 1918 musosliniideriykrxngkhxihmichayphunung thimikhwamohdehiymaelamiphlakalngmakphxthicathakarkwadlang ephuxfunfupraethsxitali phayhlngcakmusoslinidklawwa ekhamikhwamrusukin kh s 1919 lththisngkhmniymsungepnhlkkhasxnidlmtaycakipaelw yngkhngehluxiwephiyngaetkhwamaekhn emuxwnthi 23 minakhm kh s 1919 musosliniidkxtfassioxmilankhunmaihmxikkhrngmaepnfassi xitaeliyni di khxmaebthtiemnot kxnghmurbxitaeliyn prakxbipdwysmachik 200 khn phunthanthangxudmkarnsahrblththifassistmacakaehlngthimahlayaehng musosliniidichphlngankhxngephlot Georges Sorel nithechx aelaaenwkhidthangesrsthkickhxng Vilfredo Pareto ephuxphthnalththifassist musosliniidchunchmbthkhwamthichuxwa xutmrth khxngephlotsungekhamkcaxanbxy ephuxhaaerngbndalic xutmrthidaesdngaenwkhidhlayprakarsunglththifassistidihkarsngesrim echn karpkkhrxngodychnchnnathikhxysngesrimrthepncudsinsud kartxtanrabxbprachathipity karpkpxngrabbchnchnaelakarsngesrimkarrwmmuxthangchnchn karptiesththungxsmphakhniym karsngesrimthangthharkhxngpraethschatiodykarsrangchnchnnkrb eriykrxngihprachachnkhxythahnathiinthanaphlemuxngephuxphlpraoychnkhxngrth aelaichrthinkarekhaaethrkaesngkarsuksaephuxsngesrimkarphthnankrbaelaphupkkhrxngrthinxnakht ephlotepnnkxudmkhtiniym mungepaennipthikarbrrluthungkhwamyutithrrmaelasilthrrm inkhnathimusosliniaelalththifassistkhuxscniym odymungennipthikarbrrluthungepahmaythangkaremuxng aenwkhidebuxnghlngkhxngnoybaytangpraethskhxngmusoslinikhuxaenwkhid phunthixyuxasy sungepnaenwkhidinlththifassistthimikhwamkhlaykhlungkbelebinseraminlththichatisngkhmniymkhxngeyxrmn aenwkhidkhxngspasiox withaelidthukprakasepnkhrngaerkin kh s 1919 emuxthaelemdietxrereniynthnghmd odyechphaaxyangyingthieriykknwa cueliynmarch epnkarniyamihmephuxihpraktepnaewnaekhwnthithukrwmekhaepnhnungediywsungekhyepnkhxngxitalitngaetsmycnghwdxitaeliykhxngyukhormnobran aelaklawxangwaepnekhtxiththiphlphiesskhxngxitali siththiinkarkxtngxananikhmbnphunthichatiphnthusolwieniythixyuiklekhiyngaelainthaelemdietxrereniyn sungepnthixyuxasyodysingthithukklawhawaepnchnchatithiphthnanxykwann sungidrbkarphisucnaelwcakhlkthanthixitaliidklawxangwa kalngprasbphawakarmicanwnprachakrthimakekinip odykarhyibyumaenwkhidthithukphthnaepnkhrngaerkody Enrico Corradini kxnpi kh s 1914 khxngkhwamkhdaeyngtamthrrmchatirahwangpraethschatithiepn thnathipity twxyangechn brietn aelapraethschatithiepn chnkrrmachiph twxyangechn xitali musosliniidklawxangwapyhahlkkhxngxitalikhux praethschatithiepn thnathipity xyangbrietnkalngkhdkhwangkarbrrluaenwkhidspasiox withaelthisakhysungcathaihesrsthkickhxngxitalinnetibot musosliniidepriybethiybskyphaphkhxngpraethsinkaretibotthangesrsthkicdwykhnaddinaedn dngnninmummxngkhxngekha pyhakhwamyakcninxitalicaidrbkaraekikhiddwykarbrrluaenwkhidspasiox withaelthisakhyethann aemwalththikarehyiydchnchatithangchiwwithyacamikhwamoddedninlththifassistnxykwainlththichatisngkhmniym siththitngaeterimtnkhxngaenwkhidspasiox withael idmikraaeskhxngkarehyiydechuxchatithiaekhngaekrng musosliniidyunynwa ktthrrmchati sahrbphukhnthiekhmaekhngkwathicakhwbkhumaelakhrxbngaphukhnthidu xxndxykwa echn chnchatislafthidu paethuxn khxngyuokslaewiy ekhaidklawexaiwineduxnknyayn kh s 1920 emuxtxngtidtxkbchnchatixyangchawslaf thiduxxndxykwaaelapaethuxn eraimtxngiltamaekhrxd aetklbichnoybaykingim phwkeraimkhwrklwehyuxrayihmni chayaednxitalikhwrcadaeninphanthang aela khaphecacabxkwa erasamarthesiyslachawslafthidupaethuxncanwn 500 000 khnidxyangngaydaysahrbchawxitali 50 000 khn ebniot musoslini klawsunthrphcnin 20 knyayn kh s 1920 inkhnathixitaliyudkhrxngphunthixditckrwrrdixxsetriyaelahngkarirahwangpi kh s 1918 aela kh s 1920 chnsngkhm chawslaf canwnharxykhn twxyangechn Sokol aelahxngsmudmicanwnnxykwaelknxy hxngxanhnngsux thuksngham odyechphaaxyangyinginphayhlngdwykdhmaywadwysmakhm kh s 1925 kdhmaywadwykaredinkhbwnsatharna kh s 1926 aelakdhmaywadwykhwamsngberiybrxykhxngprachachn kh s 1926 karpidsthansuksaaebbkhlassikhinphasin khxngorngeriynmnthyminowolska kh s 1918 orngeriynradbchnprathminsolwieniyaelaokhrexechiycanwnharxyaehngidptibtitam swnkhrusxnhnngsuxthiepn chawslaf thukbibbngkhbihenrethsipyngsardieniyaelathangtxnitkhxngxitali musosliniin kh s 1920 inthanxngediywkn musosliniidotaeyngwaxitalimisiththithicaptibtitamnoybayckrwrrdiniyminaexfrika ephraaekhaehnwakhnphiwdathukkhnlwndu xxndxykwa kbkhnphiwkhaw musosliniidklawxangwa olkidthukaebngaeykxxkepnladbchnkhxngechuxchati aemcakhidwamndusmehtusmphlthangwthnthrrmmakkwaehtuphlthangchiwwithya aelaprawtisastrnnkimidmixairipmakkwakartxsuaeyngchingxanacaeladinaednkhxngrahwang fungchnechuxchati tang musoslini phrxmkbkhbwnkarsuphnthusastrinshrth shrachxanackr aelapraethsyuorpxun aelapraethsxananikhmkhxngyuorptang echn brasil epriybethiybkb aesdngihehnwa xtrakarekidnnsungkhuninaexfrikaaelaexechiythuxwaepnphykhukkhamtx chnchatiphiwkhaw aelaekhamkcatngkhathamechingwathsilpwa khnphiwdaaelakhnphiwehluxngehlannxyuthipratuhruxim khatxbthiidrbmakhux ichely phwkekhaxyunn musosliniechuxwashrthcathungekhraahkrrmaelw enuxngcakchawxemriknkhnphiwdamixtrakarekidthisungkwakhnphiwkhaw thaihimxachlikeliyngthikhnphiwdacaekhayudkhrxngshrthephuxlaklngmaxyuinradbediywkbphwkekha khxethccringthiwaxitalikalngprasbphawacanwnprachakrthimakekinipnnthukmxngwaepnkarphisucnthungphlngthangwthnthrrmaelacitwiyyankhxngchawxitali sungmiehtuphlxnsmkhwrinkaraeswnghadinaednxananikhmthimusosliniidotaeyng tamprawtisastrkhnphunthan ekhyepnkhxngxitalixyuaelw sungepnthayathkhxngckrwrrdiormn enuxngcakxtrakarekidthiephimmakkhunethannthixitalisamarthrbrxnginxnakhtidwa emuxepnchatimhaxanacthicabrrluepahmaykhxngspasiox withaelidxyangaennxn cakkarkhanwnkhxngmusoslini prachakrxitalitxngmicanwnthung 60 lankhnephuxihxitalisamarthtxsurbinsngkhramkhrngihyid dwyehtuni ekhacungideriykrxngxyangimhyudhyxnaekstrichawxitaliihkaenidbutrephimmakkhunephuxthicaidkhrbtamcanwnthitxngkarnn musosliniaelaphwkfassistsamarthcdkarthngfaykarptiwtiaelafayxnurksniymidphrxmkn ephraasingniaetktangxyangmakcaksingxunidinbrryakasthangkaremuxnginchwngsmynn bangkhrngidthukxthibayodynkekhiynbangkhnwaepn hnthangthisam fassiti sungnaodykhnsnithiklchidkhnhnungkhxngmusoslini Dino Grandi idcdtngkxngkalngtidxawuthkhxngehlathharphansukthieriykknwa hrux squadristi odymiepahmayinkarfunfuraebiybsuthxngthnnkhxngxitalidwymuxthiaekhngkraw klumechitdaidpathakbphwkkhxmmiwnist sngkhmniym aelaxnathipityinkaredinkhbwnphaehrdaelakaredinkhbwnprathwng thukfayehlaniyngidmiswnrwminkarpathakbaetlafay rthbalxitaliimkhxycaekhaipyungekiywkbkarkrathakhxngklumechitda swnhnungepnephraaphykhukkhamthikalngkhubkhlanekhamaaelakhwamhwadklwtxkarptiwtikhxmmiwnistxyangkwangkhwang fassitiidetibotkhunxyangrwderwphayinewlasxngpi sungphwkekhaidepliynmaepnphrrkhchatiniymfassistthirthsphainkrungorm in kh s 1921 musosliniidchnakareluxktngsphaphuaethnrastrepnkhrngaerk inewlaediywknnn tngaetrawpi kh s 1911 thung kh s 1938 musoslinimikhwamsmphnthaebbrkikhrxyangmakmaykbnkekhiynaelankwichakarchawyiwnamwa Margherita Sarfatti sungthukeriykwa mardachawyiwaehnglththifassist inchwngsmynn karedinkhbwnsuorm musosliniaelaklumechitda inchwngkaredinkhbwnsuorm in kh s 1922 caksayipkhwa xitaol blob aela inkhunrahwangwnthi 27 aela 28 tulakhm kh s 1922 klumechitdafassistpraman 30 000 khn idrwmtwkninkrungormephuxeriykrxngihnaykrthmntrifayesriniym laxxk aelaaetngtngrthbalfassistkhunmaihm chwngechakhxngwnthi 28 tulakhm phraecawitotriox exmanuexelthi 3 sungthrngidptibtitaminkarthuxkhrxngxanacthangthharsungsud thrngptiesthkharxngcakrthbalinkarprakasktxykarsuk sungnaipsukarlaxxkkhxng Facta caknnkstriyidthrngmxbxanacaekmusoslini sungxyuinsanganihykhxngekhainmilaninchwngkarecrca odythrngrbsngihekhacdtngrthbalkhunmaihm kartdsinphrathythidukhdaeyngkhxngkstriyidthukxthibayodynkprawtisastrwa epnkarphsmphsanrahwangkarhlngphidaelakhwamklw musoslininnmikhwamsukhdwykarsnbsnunxyangkwangkhwanginkxngthphaelainthamklangchnchnnakhxngxutsahkrrmaelaekstrkrrm inkhnathikstriyaelasthabnxnurksniymekrngklwwacaekidsngkhramklangemuxng aelainthisudkkhidiwaelwwaphwkekhacasamarthichmusosliniephuxfunfukdhmayaelakhwamsngberiybrxyinpraethsid aetklblmehlwthungkarkhadkarnlwnghnathungxntraykhxngkarwiwthnakarrabxbephdckar idrbkaraetngtngepnnaykrthmntri inkardarngtaaehnngepnnaykrthmntri piaerkkhxngkarpkkhrxngkhxngmusoslinisungmilksnaechphaaodyrthbalphsmkhxngfaykhwasungprakxbdwyphwkfassist chatiniym esriniym aelankbwchnikaykhathxliksxngkhncakphrrkhprachachn fassistidsrangchnklumnxyinrthbalddngedimkhxngekha epahmayphayinpraethskhxngmusoslinikhuxkarsthapnarthephdckardwytwekhaexnginthisudinthanaphunasungsud xilduech khxkhwamthiduednchdodyhnngsuxphimphfassist Il Popolo d Italia sungtxnniidthukaekikheriyberiyngodynxngchaykhxngmusoslini xarnlod dwyehtuni musoslincungidrbxanacebdesrccaksphanitibyytiepnewlahnungpi sungthuktxngtamkdhmayphayitrththrrmnuyxitaliinchwngewlann ekhaidihkarsnbsnunkarfunfuxanacrthxyangsmburn dwykarrwmphwkfasechxitaeliyninkarsurbekhasukxngthph thukkxtngkhunineduxnmkrakhm kh s 1923 innamwa aelakhwamkawhnainkaraeykaeyakhxngphrrkhkaremuxngkbrth indankaremuxngaelaesrsthkicsngkhm ekhaidrangphankdhmaythiihkarsnbsnunkhwammnkhngihaekchnchnxutsahkrrmaelaekstrkrrm karoxnkickarkhxngrthepnkhxngexkchn karepidesridankdhmaykhaecha aelakarlmlangshphaphaerngngan in kh s 1923 musosliniidsngkxngthphxitaliekharukraninchwng inthaythisud snnibatchatikirxanac aelakriskthukbngkhbihptibtitamkareriykrxngkhxngxitali kdhmayxaaesrob phunasngkhmniym thuklxbsngharephiyngimkiwn phayhlngcakthiekhaidpranamkarkxkhwamrunaerngkhxngphwkfassistxyangepidephyinchwng ineduxnmithunayn kh s 1923 rthbalidphankarrang sungidepliynpraethsxitaliihklayepnekhteluxktngradbchatiephiyngaehngediyw nxkcakniyngihesiyngkhangmakcaksxnginsamkhxngthinnginrthsphaaekphrrkhhruxklumphrrkhklangemuxngthiidrbkhaaennesiyngxyangnxy 25 kdhmaychbbniidmiphlbngkhbichin phnthmitrradbchati sungprakxbipdwyphwkfassist sungswnmakepnphwkesriniymekaaelaxun idrbchychnadwykhaaennesiyng 64 karkxkhwamrunaerngkhxngklumechitda karlxbsngharphuaethnkareluxktngcaksngkhmniym Giacomo Matteotti phuthiidrxngkhxihmikarephikthxnkareluxktngephraaphbwaduphidpkti kxihekidwikvtchwkhruinrthbalmusoslini musoslinisngihthakarpkpid aetklbmiphyanphbehnwa rththikhnsphkhxng Matteotti idthukcxdthingiwthidannxkkhxngbanphkkhxng Matteotti sungechuxmoyngipthung Amerigo Dumini kbkarkhatkrrm txmamusosliniidyxmrbwa chayeddediywephiyngimkikhncasamarthepliynkhwamkhidehnkhxngsatharnchnaelaerimthicakxrthpraharthicakwadlanglththifassistihhmdip Dumini idthukcakhukepnewlasxngpi emuxekhaidrbkarplxytw Dumini thuktngkhxhawaipbxkkhnxunwamusosliniepnphurbphidchxb sungekhaktxngthukkhumkhngineruxncatxip phrrkhkaremuxngfaykhanidtxbotxyangaephwebahruxodythwipaelwimidtxbsnxngxair nksngkhmniym nkesriniym aelaphwksayklangcanwnmaktangphaknkhwabatrrthsphain odykhadhwngcabibbngkhbihphraecawitotriox exmanuexelthi 3 rbsngpldmusoslinilngcaktaaehnng emuxwnthi 31 thnwakhm kh s 1924 khnakngsulkhxng MVSN idekhaphbkbmusosliniaelayunkhakhadihkbekhawa cakacdfaykhanhruxphwkekhacalngmuxknexngodyimmiekha dwykhwamekrngklwwacaekidkarkxclaclodyklumthharkhxngtnexng musoslinicungtdsiniclmelikkaresaesrngthnghmdinkarepnprachathipity emuxwnthi 3 mkrakhm kh s 1925 musosliniidklawsunthrphcnxyangaekhngkrawtxhnahxngprachumspha sungekhaidyxmrbwaepnphurbphidchxbtxkarkxkhwamrunaerngkhxngphwkechitda squadristi aemwaekhacaimidklawthungkarlxbsnghar Matteotti xyangirktam ekhayngimidyubhnwy squadristi cnthungpi kh s 1927 fassistxitalinwtkrrmxngkhkr nkprawtisastrchaweyxrmn xemrikn Konrad Jarausch idotaeyngwa musosliniepnphurbphidchxbsahrbchudklumphsmphsankhxngnwtkrrmthangkaremuxng sungthaihlththifassistklayepnmhaxanacinyuorp prakaraerk ekhaidkawkhamkhamnsyyathidukhlumekhruxkhxngkarsrangpraethschatikhrngihminxnakhtaelaphisuncihehnwakhbwnkarnisamarthyudxanacaeladaeninkarpkkhrxngthikhrxbkhluminswnihykhxngpraethstamaenwthangfassist prakarthisxng khbwnkarniidklawxangwaepntwaethnkhxngchumchnchatithnghmd imichswnthithukaetkaeykxxkma echn chnchnkrrmkrhruxchnchnsung ekhaidphyayamxyangmakthicarwbrwmswnhnungkhxngchawkhathxlikthihangehinipkxnhnani ekhaidkahndbthbathsatharnasahrbphakhhlkkhxngchumchnthurkicmakkwacayinyxmihdaeninkarxyanglb prakarthisam ekhaidphthnalththiphunakhnediywthimungennkhwamsnickhxngsuxaelakarxphiprayradbchatiekiywkbbukhlikphaphkhxngekhaexng inthanathiekhyepnnkkhaw musosliniidthukphisucnaelwmikhwamechiywchayxyangmakinkarichpraoychncaksuxmwlchnthukrupaebb rwmthngrupaebbihm echn phaphyntraelawithyu prakarthisi ekhaidsrangsmachikphrrkhcanwnmak odyokhrngkarfrisahrbeyawchnchay eyawchnhying aelaklumxuntang thisamarthradmphlaelatidtamidngaydaymakkhun ekhaidthakarpidkarkxtngaelaphrrkhthangeluxkthangkaremuxngthnghmd aetkhntxnniimichnwtkrrmaetxyangid echnediywkbephdckarthukkhn ekhaidichkarkhukkhamkhxngkarkxkhwamrunaerngthangwisamyxyangesri echnediywkbkarichkhwamrunaerngkhxngklumechitdakhxngekhaephuxthaihfaytrngkhamekidkhwamhwadklw rthtarwc musosliniinchwngpiaerkinxanackhxngekha rahwang kh s 1925 aela kh s 1927 musoslinikkhxy ruxthxnrththrrmnuyekuxbthnghmdaelacakdxanactamaebbaephnkhxngekhaaelakxtng karphanrangkdhmay emuxwnthi 24 thnwakhm kh s 1925 chwngkhristmasxifsahrbpraethsnikayormnkhathxlikswnihy idepliynchuxxyangepnthangkarkhxngmusoslinicak prathankhnarthmntri maepn hwhnarthbal aemwaekhacayngthukeriykwa naykrthmntri cakaehlngkhawthiimichkhxngxitaliswnihy ekhaimidmihnathirbphidchxbinrthsphaxiktxipaelamiephiyngphramhakstriyethannthicasamarththxdthxnid inkhnathirththrrmnuyxitaliidrabuwa rthmntrimihnathirbphidchxbtxxthipityethann inthangptibti aethbepnipimidelythicapkkhrxngodykhdtxectcanngkhxngrthspha kdhmaykhrismastxifidyutikarptibtikhrngni aelathaihmusosliniepnbukhkhlephiyngkhnediywthimixanacinkarkahndwaraprachumkhxngspha kdhmaychbbniepliynaeplngrthbalkhxngmusosliniihklayepnkarpkkhrxngaebbephdckartamkdhmayodyphvtiny karpkkhrxngtnexnginthxngthinthukykelik aelaidthukaetngtngodyekhamaaethnthinaykethsmntriaelasphathimacakkareluxktng wnthi 7 emsayn kh s 1926 musoslinirxdchiwitcakkhwamphyayamlxbsngharkhrngaerkodyiwoxelt kibsn hyingsawchawixrichaelabutrsawkhxnglxrdaexchbxrn sungthukenrethsxxknxkpraeths phayhlngcakthiethxthukcbkum emuxwnthi 31 tulakhm kh s 1926 xnetox smobni wysibhapi phyayamthicayingmusosliniinemuxngobolyya smobnicungthukrumprachathnththnthi musosliniyngrxdchiwitcakkhwamphyayamlxbsngharthilmehlwinkrungormodyphuniymxnathipity Gino Lucetti aelakhwamphyayamtamaephnodyphuniymxnathipitychawxitali Michele Schirru sungcblngdwy Schirru thukcbkumaelapraharchiwut phrrkhkaremuxngxun idthukprakaswaphidkdhmay phayhlngcakkhwamphyayamlxbsngharkhxngsmobniin kh s 1926 aemwainthangptibti xitalicaepnrthphrrkhkaremuxngediywmatngaet kh s 1925 imwamacakkarklawsunthrphcntxsphainchwngmkrakhmhruxphankarrangkdhmaychwngkhrismastxif khunxyukbaehlngkhxmulthima inpiediywkn kdhmaykareluxktngidykelikkareluxktngrthspha aetklbeluxkrachuxphusmkhrkarephiyngrayediywthicaidrbkarxnumticakkarlngprachamti sphaihythuksrangkhunemuxhapikxninthanaphrrkhkaremuxng aelathuk thaihepnrththrrmnuy aelaklayepnxanacsungsudtamrththrrmnuyinrth inexksar sphaihymixanacthicathaihmusoslinihludphncaktaaehnng aeladwyehtuni cungepnephiyngkartrwcsxbtxxanacinthangthvsti xyangirktam musosliniethannthisamartheriykprachumsphaihyaelakahndwarakarprachumid ephuxekhakhwbkhumphakhit odyechphaaxyangyingthiekaasisili ekhaidaetngtngih Cesare Mori epnnayxaephxkhxngemuxngpaaelrom odymihnathirbphidchxbinkarkacdphwkmaefiyihhmdsin inothrelkh musosliniidekhiynthung Mori wa dwytaaehnngxnsungsngkhxngthanthimiekiyrtiepiymln xanackhxngrthcatxngmikhwameddkhad khaphecakhxyawatxngeddkhad sungcathukcdtngkhuninekaasisili hakwakdhmaythiyngthukbngkhbichcaekhakhdkhwangthan eruxngniimmipyha ephraaeracarangkdhmaykhunmaihmexng Mori aethbcaimlngelelythicathakarpidlxmemuxng ichkarthrman aelacbphuhyingaelaedkiwepntwpraknephuxbibbngkhbihphutxngsngsyyxmcann withikarthidurunaerngehlanithaihekhaidrbchayawa nayxaephxehlk in kh s 1927 karsxbswnkhxng Mori idnaipsuhlkthankhxngkarsmrurwmkhidrahwangmaefiyaelasthabnfassist aelaekhathukpldxxkcakhnathiinrayayawinpi kh s 1924 sungepnchwngewlathicanwnkarkhatkrrmincnghwdpaaelromidldlngcakcanwn 200 khn maepn 23 khn musosliniidesnxchux Mori inkarekharbtaaehnngsmachikwuthisphaaelaokhsnachwnechuxkhxngfassistidxangwa phwkmaefiyidphayaephaelw idthukcdkhuninrupaebbkhxngkarlngprachamti odykhrngni praethsepnrthphrrkhkaremuxngediywodyphrrkhchatiniymfassist PNF epnphrrkhkaremuxngthiidrbxnuyatxyangthuktxngtamkdhmayethann raychuxthithuksngipkxnhnaniidthukxnumtiinthisuddwykhaaennesiyng 98 43 krabwnkarsntiphaphaekliebiy in kh s 1919 rthxitaliidnakarptirupaebbesriniyminliebiyephuxthicayinyxmihmikarsuksaphasaxahrbaelaphasaebxrebxr aelayinyxmsahrbkhwamepnipidthicathaihchawliebiyklayepnphlemuxngxitali Giuseppe Volpi sungidrbkaraetngtngihepnkhahlwngin kh s 1921 sungthuksngwnthiiwodymusosliniaelathxdthxnmatrkarthnghmdthithukesnxephuxkhwamethaethiymihkbchawliebiy noybaykarekhayudthidincakchawliebiyephuxsngmxbihkbxananikhmxitaliihmikhwamaekhngaekrngkhunmaihmephuxtanthancakkartxtankhxngchawliebiyphayitkarnaody Omar Mukhtar aelainchwngewlatxma rabxbfassistiddaeninrnrngkhkarkhalangephaphnththithukxxkmaephuxsngharchawliebiycanwnmakethathicaepnipid makkwakhrunghnungkhxngcanwnprachakremuxngisrinikathukkkkhngiwthikhaykkknsibhaaehnginpi kh s 1931 inkhnathikxngthphxakashlwngxitaliidcdthasngkhramthangekhmiinkarekhaocmtikbchawebduxin emuxwnthi 20 mithunayn kh s 1930 cxmphl piexotr baodloy idekhiyncdhmayipthung nayphl ordxlof krasixani wa sahrbklyuthththnghmd mikhwamcaepnephuxthicasrangkaraebngaeykthisakhyaelachdecnrahwangkarkhwbkhumprachakraelakarkxtwkhxngphwkkbt khaphecaimidsxnmatrkarthisakhyaelarayaerngniely sungxaccaklayepnkhwamyxyybkhxngprachakrthiduengiybsngblng aettxnniesnthangidthukkahndiwaelw aelaeratxngdaeninkarihcb aemwaprachakrthnghmdkhxngemuxngisernikacatxngsuysin emuxwnthi 3 mkrakhm kh s 1933 musosliniidbxkkbnkkarthut barxn Pompei Aloisi wa chawfrngessintuniesiyidsrang khwamphidphladxyangnaklw odyyxmrbihmiephssmphnthrahwangchawfrngesskbchawtuniesiy sungekhaidkhadkarnwacanaipsukhwamesuxmthramkhxngfrngessthicaklayepnpraethskhxng phwklukphsm aelaephuxpxngknsingediywknthicaekidkhunkbchawxitali cungxxkkhasngihkbcxmphlbaodloywa karaetngngantangechuxchatithuxwaphidkdhmayinliebiy noybayesrsthkic musosliniidepidtwokhrngkarkarkxsrangthangsatharnahlayokhrngkaraelakhwamkhidrierimkhxngrthbaltlxdthwthngxitaliephuxtxsukbkhwamlmehlwthangesrsthkichruxradbkarwangngan okhrngkarkxnhnanikhxngekha aelahnunginthiepnruckknxyangdi khux sungfarmaehngihmthimicanwn 5 000 aehngaelaemuxngekstrkrrmaehngihmhaaehng thangklangemuxng Littoria aela Sabaudia bnthidinthithukbukebikodykarrabaynakhxng in Sabaudia twxyangemuxngekstrkrrmidthukkxtngkhunaelathuktngchuxwa musoslieniy aetphxewlaphanipnan kidmikarepliynchuxepn xarbxeriy emuxngniepnthiaehngaerkthimusoslinikhadhwngwacamikartngthinthanthangekstrkrrmihmcanwnnbphnaehngthwpraeths karrbephuxkhawsaliidhnehthrphyakrthimikhaipyngphlitphnthkhawsali sunghangiklcakphuchxun thimiskyphaphthangesrsthkic ecakhxngthidinidkhawsalithietibotbndinthiimehmaasmodyichkhwamkawhnathangwithyasastrsmyihmthnghmd aelaaemwakarekbekiywkhawsalicaephimkhun rakhathisungkhun karbriophkhldlng aelaxtraphasisulkakrsungidthukkahndiw phasisulkarkridsngesrimkhwamirprasiththiphaphxyangkwangkhwangaelaenginxudhnunkhxngrthbalthimxbihaekekstrkridphlkdnpraethsihepnhnimakyingkhun nganphithiepidthiemuxng Littoria in kh s 1932 musosliniyngidrierimokhrngkar sungepnnoybaytxthidinthithukaeprsthaphthiidthukrabuiwin kh s 1928 khwamkhidrierimniidprasbkhwamsaerchlayxyang inkhnathiokhrngkartang echn karrabaynakhxng in kh s 1935 sahrbekstrkrrmnndisahrbepahmaykhxngkarokhsnachwnechux karcdhanganihaekphuwangnganaelaxnuyatihecakhxngthidinrayihykhwbkhumenginxudhnun swnphunthixun inkarsurbephuxthidinkimprasbkhwamsaercmaknk okhrngkarnisungimsxdkhlxngkbkarrbephuxkhawsali aeplngthidinkhnadelkidthukcdsrrxyangimehmaasmsahrbkarphlitkhawsalikhnadihy aelaphxntien marchisksuyhayipinchwngsngkhramolkkhrngthisxng chawnamicanwnnxykwa 10 000 khnsungidtngthinthanihmbnthidinthiidrbkarcdsrr aelakhwamyakcnkhxngchawnayngkhngphungsungkhun khwamkhidrierimkhxngkarsurbephuxthidinkidthukykelikipin kh s 1940 in kh s 1930 in khasxnkhxnglththifassist ekhaekhiynwa singthieriykwawikvtsamarthaekikhidodykardaeninkhxngrthaelaphayinwngokhcrkhxngrthethann ekhaidphyayamtxsuphawaesrsthkicthikalngthdthxyodykarnaesnxrierimokhrngkar thxngkhaephuxpituphumi sngesrimihprachachnthakarbricakhekhruxngpradbthxngkhaodykhwamsmkhricihkbecahnathikharachkarephuxaelkkbsayrdkhxmuxehlkthimikarslkkhawa thxngkhaephuxpituphumi aemaetraekhel musoslinikyngbricakhaehwnaetngngankhxngethx thxngkhathirwbrwmmaidcathuknaiphlxmaelaepliynklayepnthxngkhaaethng sunghlngcaknnknaipaeckcayihkbthnakharaehngchati karkhwbkhumthurkickhxngrthbalepnswnhnungkhxngkarwangaephnnoybaykhxngmusoslini in kh s 1935 ekhaidklawxangwa thurkicsaminsiswnkhxngxitaliidxyuphayitkarkhwbkhumkhxngrth txmainpinn musosliniidxxkphrarachkvstikahlaychbbephuxekhakhwbkhumesrsthkicephimetim echn karichxanacbngkhbthnakhar thurkic aelakhwamepnswntwkhxngphlemuxngephuxyxmmxbhunaelaphnthbtrthithukxxkodytangpraethsthnghmdthithuxkhrxngxyuihkbthnakharaehngxitali in kh s 1936 ekhaidkahndkarkhwbkhumrakha nxkcakniekhayngidphyayamthicaepliynxitaliihklayepn self sufficient autarky kxihekidxupsrrkhkhrngihythangkarkhakbpraethsswnihy ykewnephiyngpraethseyxrmni in kh s 1943 musosliniidesnxthvstkarkhdeklathangsngkhmthangesrsthkic esnthangrangrthif musoslinimikhwamkratuxruxrnthicaidrbekhrditsahrbngansatharnathisakhyinxitali odyechphaarabbrangrthif rayngankhxngekhaidthakarprbihmkhxngokhrngkhayrangrthifthaihekidkhaphudtidpakwa thaphudinsingthikhunchxbekiywkbmusoslini ekhacathaihrthifwingidtrngewla nkkhawaelankpraphnth idekhiynin kh s 1924 wa khwamaetktangrahwangbrikarrangrthifkhxngxitaliin kh s 1919 1920 aela 1921 aelabrikarthiidmainchwngpiaerkkhxngrabxbmusosliniaethbimnaechux rthkdusaxad phnkngankdukhlxngaekhlngaelasuphapheriybrxy aelarthifkidmathungaelaxxkcaksthanixyangtrngewla machaimekinsibhanathi aelaimsayekinhanathi aettrngewlaaebbepa ely inkhwamepncringaelw karprbprungrabbrangrthifinchwnghlngsngkhramthielwraykhxngxitaliiderimkhunkxnthimusoslinicaekhayudxanac karprbprungyngkhngpraktxyangchdecnmakkwakhxngcring idekhiynin kh s 1954 wa phuekhiynidrbkarwacangepnphuedinexksarodybrisththwr Franco Belgique inchwngvdurxn kh s 1930 cudsungsudkhxngsmyrungeruxngkhxngmusoslini emuxthharxngkhrksfasfistidkhunrthifthukkhbwnaelaetmicthicabnthukkhaihkarwaprasiththiphaphkhxngrthifxitaliswnihythiidedinthangipnnimtrngtamtarangewla hruxaekhekuxb txngmicanwnhlayphnkhnthisamarthihkarsnbsnunthicaepnphyankhrngni mnepneruxngelknxy aetkkhumkhathicatxkya idekhiynin kh s 1936 wa aemwarthifrthifdwnthibrrthukodysarnkthxngethiywodythwip aetkimesmxip wingtamtarangewla imehmuxnkbsayrangthielkkwa sungmikhwamlachabxykhrng inkhnathi idbxkwa phwkekhaprbprungsayrangrthifthimikhwamhmaythangkaremuxngsahrbphwkekha okhsnachwnechuxaelalththibuchabukhkhl phaphthaykhrungtwkhxngmusosliniin kh s 1930 singthisakhymakthisudkhxngmusoslinikhuxkarexachnathangcitickhxngprachachnchawxitaliphankarichokhsnachwnechux rabxbkarpkkhrxngidsngesrimlththibuchabukhkhlthidumakekinipthimicudsunyklangxyuthitwkhxngmusoslini ekhaxwdxangwa idcutilngmaepn yxdehnuxmnusy Ubermensch khnihmkhxngfassist odysngesrimsunthriysastrthidukhunekhuxngkhxng Machismo khwamepnchay sungepnphlmacakkhwamsamarthesmuxnradbethphecakhxngekha hlaykhrngchwnghlng kh s 1922 musosliniidekharbtaaehnngepnkarswntwinthanarthmtriwakarkrathrwngmhadithy krathrwngtangpraeths krathrwngxananikhm kickarbrrsth krathrwngklaohm aelangansatharna bangkhrng ekhakdarngtaaehnngthungecdkrathrwngphrxmkbtaaehnngnaykrthmntri nxkcakni ekhayngepnhwhnakhxngphrrkhfassistthithrngxanacaelakxngkalngthhartidxawuthpracathxngthinxyanghnwy MVSN hrux klumechitda sungkhxykhmkhwykartxtxnthikalngkxtwkhuninemuxngaelacnghwd txma ekhakidkxtnghnwy OVRA sungepnsthabntarwclbthidaeninkarcakkarsnbsnunkhxngrthxyangepnthangkar dwywithini ekhakprasbkhwamsaercinkarrksaxanaciwinmuxkhxngekhaexngaelapxngknkarprakttwkhxngkhuaekhngid musosliniyngaesdngihehnwatwekhaexngepnnkkilathiduxngxacehiymhayaelankdntrithimikhwamsamarth khruthukkhninorngeriynaelamhawithyalycatxngklawsabanwa caphithkspkpxngrabxbfassist brrnathikarhnngsuxphimphcathukkhdeluxkepnkarswntwthnghmdodymusoslini aelamiephiyngphuthixyuinkhwamkhrxbkhrxngkhxngibrbrxngcakphrrkhfassistsungsamarthnaprakxbichwarsarsastrid ibrbrxngehlanithukxxkmaxyanglb musoslinicungidsraphphaphlwngtakhxng esrisux xyangechiywchay shphaphkarkhayngthukridrxnkhwamepnxisraid aelathukrwmekhakbsingthithukeriykwa rabb brrsth cudmunghmayni sungidrbaerngbndaliccaksmakhmkildinchwngyukhklangaelaimekhyprasbkhwamsaercxyangsmburn khux karbrrcuchawxitalithnghmdiwinxngkhkrhruxbristhwichachiphtang sungthnghmdlwnxyuphayitkarkhwbkhumkhxngrthbalxyanglb engincanwnmakmaythuknaipichkbngansatharnathimxngehnidxyangchdecnaelaokhrngkarxnekiyrtiphumirahwangpraeths singehlaniidrwmthungkarmxbrangwlbluribbndaekeruxedinsmuthrthichuxwa exsexserks dwykarsrangsthitikarbindwyekhruxngbinthaelthierwthisudinolkxyang Macchi M C 72 aelakarlxngeruxbinkhammhasmuthraextaelntikkhxngxitaol blob sungidrbkartxnrbdwykarpraokhmdntrixyangmakmayinshrth emuxlngcxdthichikhaok in kh s 1933 hlkkarkhxngkhasxnlththifassistthuklnginbthkhwamodynkprchyaphumichuxesiyngnamwa Giovanni Gentile aelamusoslinitwekhaexngsungpraktinsaranukrmphasaxitali chbb kh s 1932 musoslinimkcaswmbthbathtwexngwaepnphumipyya aelankprawtisastrbangkhnkehndwy kunethxreriykekhawa epn ephdckarthimikarsuksadieyiymthisudaelasbsxnmakthisudxyangngayday aelaepnphunaradbchatiephiyngkhnediywin kh s 1940 sungepnpyyachn nkprawtisastrchaweyxrmnnamwa Ernst Nolte klawwa karsngkarkhxngekhainprchyarwmsmyaelawrrnkrrmthangkaremuxngkhxngekhanndiphx kbphunathangemuxngrwmsmykhnxun khxngyuorp wthnthrrm ebniot musosliniaelayuwchnthharechitdafassistin kh s 1935 ehlankchatiniyminchwngpihlngsngkhramolkkhrngthihnungtangkhidwatnexngkalngtxsukbfayesriniymaelakarkhrxbngasthabnsungthuksrangkhunodykhnarthmntri echn rthbalkhxng Giovanni Giolitti rwmthngsthabnkarsuksaaebbdngedim dwylththixnakhtniym khbwnkarkarptiwtithangwthnthrrmsungcathahnathiepntwaerngkratunsahrblththifassist karotethiyngsahrb orngeriynsahrbkhwamklahaythangkayphaphaelalththikhwamrkchati tamthifilipop txmmaos marienttiidklawiwin kh s 1919 marienttiidaesdngduthukehyiydhyamsahrb hlksutrphasalatinaelaphasakrikobraninchwngyukhsmymnusythixasyxyuinthaaelakxnprawtisastrpccubn karotethiyngephuxaethnthiphwkekhadwykarfukcalxngkhxngehlathharhnwyxarditi khxeriynru ephuxthicarukkhubdwymuxaelaekhainaenwhnathimikaryingpunklxyangkrahnathaothm ephuxrxlumtasahrbkhanimekhluxnthiipdankhangehnuxhwkhxngphwkekha epntn inchwnghlaypithiphanma kxngkalngpikyuwchnfassistklumaerkidthukkxtngkhun Avanguardia Giovanile Fascista kxngaenwhnayuwchnfassist aela Gruppi Universitari Fascisti klummhawithyalyfassist in kh s 1922 phayhlngcakkaredinkhbwnsuormsungthaihmusosliniidkhunsuxanac fassistiderimkhidthicahawithithicathaihsngkhmxitaliepnkaremuxng odyenniwthikarsuksa musosliniidmxbhmayihxditthharcakhnwyxarditiaelaxditelkhathikardankarsuksanamwa Renato Ricci inkarthapharkickhxng karptirupprbprungeyawchncakmummxngthangsilthrrmaelathangkayphaph Ricci idaeswnghaaerngbndalickborebirt ebedn ophexll phukxtngkickarlukesux sungidphbkbekhainpraethsxngkvs echnediywkbsilpincakebaehasinpraethseyxrmni thukkxtngkhunodyprakaskvstikakhxngmusoslini emuxwnthi 3 emsayn kh s 1926 aelanaody Ricci cakkartidtammaepnewlasibexdpi rwmthngedkthimixayurahwang 8 thung 18 pi sungcathukcdpraephthwa epnbalilaaelaxawnkwdisti phaphthaythimisisnkhxngmusoslinisungswmchudekhruxngaebbphubychakarthharsungsud tamthimusosliniidklawiwwa karsuksafassistkhuxsilthrrm kayphaph sngkhm aelakarthhar mungepathicasrangmnusythidusmburnaelaklmklunepnhnungediywxyangetmtw fassisttammummxngkhxngera musosliniidcdokhrngsrangkrabwnkarniodykhanungthungdanxarmninwyedk wyedkaelawyaerkrunechnediywkn imsamartheliyngduephiynglaphngodykaraesdngdntri thvsti aelakarsxnechingnamthrrm khwamepncringthieratngepacasxnphwkekhakhwrdungdudicphwkekhaepnxndbaerkkxnincitnakar suhwic aelatxmadwycitickhxngphwkekhaethann khunkhathangkarsuksathithukkahndphankarptibtiaelatwxyang maaethnthiaenwthangthithukkahndiw lththifassisttxtanrupaebbxudmkhtiniymkblththiehtuphlniymsungepnthiaephrhlay aelaichoxepra ensioxnael balilainxubaykarkacdkarsuksaaebbdngedimodykarcdtngklumhmuaelaladbchn echnediywkblththibuchabukhkhlkhxngmusosliniexng xngkhprakxbthisakhyxikprakarhnungkhxngnoybaywthnthrrmfassistkhuxnikayormnkhathxlik in kh s 1929 mikarlngnamsnthisyyakbwatikn sungepnxnyutikhxngkhwamkhdaeyngmahlaystwrrsrahwangrthxitaliaelataaehnngphrasntapapasungtxngyxnklbipthungkaryudxanacrthsntapapain kh s 1870 odyrachwngssawxy inchwngrahwangkarrwmchatixitali snthisyyalaetrn sunginthaysud rthxitaliidrbyxmrbcakkhristckrnikayormnkhathxlik aelakhwamepnxisrakhxngnkhrwatiknidrbkaryxmrbcakrthxitali sungidrbkarchumchmxyangmakmaycakladbchnkhnasngkhnkbwch smedcphrasntapapapixusthi 11 thrngykyxngmusosliniwaepn burusaehngphrxwiedns snthisyyachbbpi kh s 1929 idrwmbthbyytithangkdhmayodythirthbalxitalicathakarpkpxngekiyrtiaelaskdisrikhxngphrasntapapadwykardaeninkhdikbphukrathakhwamphid musosliniidnaehlabutrkhxngekhaekhaphithirbbphtismain kh s 1923 aelatwekhaexngkekhaphithirbbphtisxikkhrngodybathhlwngnikayormnkhathxlikin kh s 1927 phayhlngpi kh s 1929 musoslini phrxmkbkhasxnthungkartxtanlththikhxmmiwnist idonmnawchawkhathxlikcanwnmakinkarsnbsnunekhaxyangaekhngkhn noybaytangpraeths innoybaytangpraeths musosliniepnnkptibticringaelachwyoxkas n cudsunyklangkhxngwisythsnkhxngekhakhuxkhwamfnthicasrangckrwrrdiormnkhunmaihminaexfrikaaelakhabsmuthrbxlkhan aektanginsingthieriykwa in kh s 1918 sungthukkahndody prachathipityaebbphluot britichaelafrngess idthrystxsnthisyyalxndxnaelachwngchingsingthiepn siththitamthrrmchati khxngxitalisungidkhadhwngwacamixanacsungsudinlumnaemdietxrereniyn xyangirktam inpi kh s 1920 karmxbkhwamxxnaexaekeyxrmni pyhakarfunfuchwnghlngsngkhramaelakhathamkhxngkarchdich sthankarnkhxngyuorpimexuxxanwyekinkwacasnbsnunaenwthangkarprbprungaekikhtxsnthisyyaaewrsay inpi kh s 1920 noybaytangpraethskhxngxitalinnmiphunthanmacakaenwkhiddngedimkhxngxitalithiyngkhngmicudyunthi ethaethiymkn cakmhaxanachlkthnghmdephuxichepn twkahndnahnk sungodyxanacidktamthixitalieluxkephuxcdihxyuinaenwediywknkbkarepliynkhwamsmdulkhxngxanacinyuorpxyangeddkhad aelarakhakhxngkarcdtaaehnngdngklawnacasnbsnunkhwamthaeyxthayankhxngxitaliinyuorpaelaaexfrika inewlaediywkn enuxngcakprachakrsastrkhxngmusosliniidthukkahndexaiwaelw ekhacungdaeninnoybaykarkaenidxyangimhyudhyxnsungthukxxkaebbmaephuxephimxtrakarekid twxyangechn in kh s 1924 karihsnbsnunhruxihkhxmulekiywkbkarkhumkaenidepnkhwamphidthangxaya aelain kh s 1926 idxxkkhasngihphuhyingchawxitalithukkhnephimcanwnedkepnsxngetha emuxphwkekhamikhwametmicthicaaebkrbpharaexaiw sahrbmusoslini prachakrchawxitalicanwn 40 lankhninpccubnnnimephiyngphxthicatxsurbinsngkhramkhrngihyid aelaekhacaepntxngephimcanwnprachakrchawxitalimaxyangnxy 60 lankhnkxnthiekhacaetriymkhwamphrxmsahrbsngkhram musoslinitrwcaethwthharinchwngsngkhramxitali exthioxepiy inchwngpiaerkinxanackhxngekha musosliniiddaeninepnrthburusinthangptibti phyayamthicabrrlukhxidepriybbangprakar aetimekhyesiyngthicathasngkhramkbbritichaelafrngess ykewnephiyngaetkarradmyingpunihyaelaekhayudkhrxng in kh s 1923 phayhlngcakehtukarnthibukhlakrthangthharxitalisungthuktngkhxklawhaodysnnibatchatiephuxyutikhxphiphathekhtaednrahwangkrisaelaaexlebeniyidthuklxbsngharodyphwkocr sychatikhxngphwkocryngimpraktchdecn inchwngewlakhxngehtukarnekaakhxrfu musoslinietriymkhwamphrxmthicathasngkhramkbbrietn aelamiephiyngkarxxnwxnxyangsinhwngcakphunakxngthpheruxxitali sungidotaeyngwakxngthpheruxxitaliimxacthdethiymkbrachnawibritichid cungekliyklxmmusosliniihyxmrbwithikaraekpyhathangkarthutesiy inkarklawsunthrphcnxyanglb txphunakxngthphxitaliineduxnmkrakhm kh s 1925 musosliniidklawxangwa xitalicaepntxngbrrlunoybayspasiox withael aeladwyehtuni epahmaysungsudkhxngekhakhuxkarekharwm chayfngthngsxngkhxngthaelemdietxrereniynaelamhasmuthrxinediyihklayepndinaednediywkhxngxitali sathxnthungkhwamhmkhmunkhxngekhaxyukbprachakrsastr musosliniidklawtxipwa pccubn xitalimikalngkhnthiimephiyngphxthicaexachnasngkhramkbbritichhruxfrngess aelachwngewlakhxngkarthasngkhramkalngcamathunginchwngklangpi kh s 1930 emuxmsoslinikhidkhanwnxtrakarekidchawxitalithisung sunginthaysud cathaihxitalimicanwnthicaepnephuxihidchychna txmamusosliniidekharwmepnswnhnunginsnthisyyaolkharon in kh s 1925 epnkarrbpraknekhtchayaednthangtawntkkhxngeyxrmnisungthukwadesnexaiwin kh s 1919 in kh s 1929 musosliniidxxkkhasngihehlakhnaesnathikarkxngthphbkkhxngekhaiherimwangaephnsahrbkarekharukrantxfrngessaelayuokslaewiy ineduxnkrkdakhm kh s 1932 musosliniidsngkhxkhwamthungrthmntriwakarkrathrwngklaohmkhxngeyxrmni nayphl khwrth fxn chilechxr odyihkhxesnxaenainkarepnphnthmitrrahwangxitali eyxrmnephuxtxtanfrngess sungkhxesnxni chilechxrcatxbrbxyangdi aemwacamienguxnikhwa eyxrmnicaepntxngfunfukxngthphsakxn inchwngplay kh s 1932 chwngtn kh s 1933 musosliniidwangaephnthicaekhaocmtiodyimihtngtwkbthngfrngessaelayuokslaewiy sungiderimtnkhunineduxnsinghakhm kh s 1933 aephnkarthasngkhramkhxngmusosliniin kh s 1933 idyutilng emuxekharbruwa Deuxieme Bureau sanknganthisxngkhxngkhnaesnathikarkxngthphfrngess idlaemidhlkeknththangkarthharkhxngxitali aelaemuxfrngessidrbaecngetuxnlwnghnathungaephnkarthnghmdkhxngxitali cungetriymkhwamphrxmsahrbkarekhaocmtixitaliechnediywkn phayhlngcakxdxlf hitelxridkawkhunsuxanac idekhakhukkhamphlpraoychnkhxngxitaliinxxsetriyaelalumnadanub musosliniidesnxkbbritich frngess aelaeyxrmniin kh s emuxnaykrthmntrixxsetriysungepn fassistxxsetriy namwa Engelbert Dollfuss kbxanacaebbephdckaridthuklxbsnghar emuxwnthi 25 krkdakhm kh s 1934 odyfaysnbsnunchatisngkhmniym musosliniidkhmkhueyxrmnidwysngkhraminkrnithieyxrmnekharukranxxsetriy musosliniinchwngewlaniyngkhngtxtanxyangekhmngwdtxkhwamphyayamid khxngeyxrmninkarbrrluxnchlus aelaihkarsnbsnunaenwsetrsaaebbchwkhrawinkartxtaneyxrmniin kh s 1935 caksayipkhwa echmebxrlin daladiey hitelxr musoslini aelarthmntriwakrathrwngtangpraethskhxngxitali ekhant chixaon sungphwkekhaetriymkhwamphrxminkarlngnamkhxtklngmiwnik aemwamusoslinicathukkkkhngsahrbkartxtansngkhramxitali turkiinaexfrikainthana orkhsnephxehtuchatiniym aela sngkhramphichitthinasngewch phayhlng kh s 1935 1936 insngkhramxitali exthioxepiykhrngthisxng xitaliekharukranexthioxepiy phayhlngcakehtukarnchayaednsungekidkhunmacakkarphnwkkhxngxitaliehnuxkarwadesnaebngekhtchayaednthiimchdecnrahwangexthioxepiyaela nkprawtisastryngkhngaebngaeykekiywkbehtuphlsahrbkarocmtiexthioxepiyin kh s 1935 nkprawtisastrchawxitalibangkhn echn Franco Catalano aela Giorgio Rochat idklawxangwa karbukkhrxngkhrngniepnkarkrathakhxnglththickrwrrdiniymthangsngkhm odyyunynwa phawaesrsthkictktakhrngihyidthalaychuxesiyngskdisrikhxngmusoslinixyangrunaerng aelaekhatxngkarsngkhramkbtangpraethsephuxebiyngebnkhwamsnickhxngprachachn nkprawtisastrkhnxun echn Pietro Pastorelli idotaeyngwa karbukkhrxngkhrngniepnkarepidchakinthanaswnhnungkhxngokhrngkarkarkhyayxanaekhtephuxihxitaliklayepnmhaxanachlkinphunthithaelaedngaelatawnxxkklang mikartikhwamthangsayklangidthuknaesnxodynkprawtisastrchawxemrikn MacGregor Knox idklawxangwa sngkhramerimtndwyehtuphlthngtangpraethsaelaphayinpraeths odythngsxngxyangepnswnhnungkhxngaephnkarkhyayxanaekhtrayayawkhxngmusosliniaelakhwamtngicthicathaihmusosliniidrbchychnanoybaytangpraethsthiyxmihekhaphlkdnrabbfassistipinthisthangthirunaerngmakkhunthibanekid kxngthphxitalimikhwamidepriybehnuxkwakxngthphxabissieniy odyechphaaxyangyinginxanacehnuxnanfa aelainimchaphwkekhakidrbchychna ckrphrrdihyelx sullaesthrngthukbibbngkhbihhlbhnixxknxkpraeths phrxmkbxitaliidekhasuxaddisxababa sungepnemuxnghlwng ephuxprakaswaepnswnhnungkhxngckrwrrdiineduxnphvsphakhm kh s 1936 thaihexthioxepiyklayepnswnhnungkhxng trasylksnpracatwkhxngmusoslini dwykhwammnicwacaidrbkarplxymuxcaknaykrthmntrifrngess piaeyr lawal aelaaennxnwabritisaelafrngesscayxmihxphy ephraakartxtankhxngekhatxlththiaekkhxnghitelxrphayinaenwsetrsa musosliniidrbdwykarkhwabatrthangesrsthkickhxngsnnibatchatixyangnarngekiycsungthukbngkhbichkbxitaliodykhwamkhidrierimkhxnglxndxnaelaparis inmummxngkhxngmusoslini karekhluxnihwdngklawepnkarkrathaxyangnaihwhlnghlxkodypkti sungdaeninkarodykarthalayxanacckrwrrdisungmicudmunghmayephuxpxngknkarkhyayxanaekhttamthrrmchatikhxngpraethsthimixayunxykwaaelayakcndngechnxitali xnthicring aemwafrngessaelabritiscaekhamakxtngxananikhminaexfrikaaelwktam aetlththixananikhminthwipaexfrikaidsinsudlngemuxkarerimtnkhxngstwrrsthiyisib xarmnkhwamrusukrahwangpraethstxnniidtxtankarkhyayxananikhmaelakarkrathakhxngxitaliidthukpranam nxkcakni xitaliyngthukwiphakswicarnwa idichaelafxscininkarkacdstru aelayngichepnwithikarthiimxdthntxkarrbaebbkxngocrkhxngkhasukxikdwy sungidrbkarxnumticakmusoslini rahwangpi kh s 1936 aela kh s 1941 inchwngptibtikarephux thaihsngb txexthioxepiy xitaliidthakarsngharphleruxnchawexthioxepiyipnbaesnkhn aelamikhadkhaenwa idthakarsngharpraman 7 khxngprachakrchawexthioxepiythnghmd musosliniidxxkkhasngihcxmphl ordxlof krasixani thakarrierimaeladaeninnoybayxyangepnrabbtxkarkxkarray aelakarthalaylangtxphwkkbtaelaprachakrinkarsmrurwmkhidkbphwkekha hakprascaknoybaysibtatxhnung phwkerakhngimsamarthrksabadaephlniidinewlathiehmaasm musosliniidxxkkhasngepnkarswntwaekkrasixaniwa ihthakarpraharchiwitphuchaythimixayuekin 18 pithnghmdinhnungemuxngaelainhnungekht odysngwa nkoths phusmrurwmkhidkhxngphwkekha aelaphuthitxngsngsycathukpraharchiwit sungepnswnhnungkhxng karcharabychixyangthilanxy khxngprachakr mikhwamechuxknwakhristckrxisethirnxxrthxdxksepnaerngbndalicihkbchawexthioxepiylukkhunmatxtan musoslinicungxxkkhasngihnkbwchaelakhnasngkhnikayxxrthxdxksklayepnepahmayinkarlangaekhncakkarocmtiaebbkxngocr musosliniidprakasichkdhmaydikri 880 sungthaihekidkhwamekhaicphidwaepnxachyakrrmthimibthlngothsdwykarcakhukepnewlahapi enuxngcakmusosliniidchiaecngexaiwxyangchdecnwa ekhaimtxngkarihthharaelaecahnathithangkarkhxngekhainexthioxepiymiephssmphnthkbhyingsawchawexthioxepiyimwakrniid enuxngcakekhamikhwamechuxwakhwamsmphnthhlakechuxchaticathaihkhnkhxngekhaxaccasngharchawexthioxepiyidnxylng musoslinioprdprannoybaythiohdehiym swnhnungephraaekhaechuxwaexthioxepiyimichpraethschatiephraakhnphiwdangiengaekinkwacamicitsanukkhwamrkchati aeladngnn phwkkxngocrkepnephiyngaekh ocr xikehtuphlhnungephraamusoslinikalngwangthicanachawxananikhmxitalicanwnlankhnekhamayngexthioxepiy aelaekhamikhwamcaepncatxngsngharprachakrchawexthioxepiyswnmakephuxihmithiwangsahrbchawxananikhmxitaliechnediywkbthiekhaekhythainliebiy karkhwabatrxitaliidthukichodymusosliniephuxepnkhxxanginkarepnphnthmitrkbeyxrmni ineduxnmkrakhm kh s 1936 musosliniidklawkbexkxkhrrachthuteyxrmninamwa Ulrich von Hassell wa thaxxsetriyklayepnrthbriwarkhxngeyxrmn inthangptibtiaelw ekhakcaimkhdkhanely odyyxmrbwaxxsetriyxyuinekhtxiththiphlkhxngeyxrmn musosliniidkhcdpyhahlkinkhwamsmphnthrahwangxitali eyxrmn wnthi 25 tulakhm kh s 1936 karepnphnthmitridthukprakas rahwangxitaliaelaeyxrmni sungtxmaidepnthiruckknkhux xksa orm ebxrlin emuxwnthi 11 krkdakhm kh s 1936 idmikarlngnaminsnthisyyaxxsetriy eyxrmn sungxxsetriyidprakastnexngwaepn rtheyxrmn sungnoybaytangpraethscasxdkhlxngkbebxrlin aelayxmihphwksnbsnunnasiidekhasukhnarthmntrixxsetriy musosliniidichkhwamkddnxyanghnkkbnaykrthmntrixxsetriy khwrth chuchnikh ephuxlngnaminsnthisyyaephuxprbaekikhkhwamsmphnthkhxngekhakbhitelxr phayhlngcakkarkhwabatrxitaliidyutilngineduxnkrkdakhm kh s 1936 frngessidphyayamxyanghnkinkarruxfunaenwsetrsa odyaesdngihehninsingthislliaewneriykwa ekuxbthicatxngxpysxdsuinkartdsinicephuxrksaxitaliiwinthanaphnthmitr ineduxnmkrakhm kh s 1937 britichlngnamin khxtklngsuphaphburus kbmusosliniodymicudmunghmaythicacakdkaraethrkaesngkhxngxitaliinsepn aelathukmxngodysankngantangpraethskhxngbritichwaepnkawaerksukarsrangphnthmitrrahwangxngkvs xitali ineduxnemsayn kh s 1938 britichaelaxitaliidlngnam sungbritichihkhamnsyyawacayxmrbwachawexthioxepiyepnchawxitaliepnkhxaelkepliynsahrbxitalithakarthxntwxxkcaksngkhramklangemuxngsepn sankngantangpraethsekhaicwa sngkhramklangemuxngsepnnnthicadungdudormaelaebxrlinihiklchidmakyingkhun aelaechuxwahakmusoslinisamarthchkcungihthxntwcaksepnid caknnekhakcaklbmaxyukhangfayphnthmitr ephuxthicanamusoslinixxkcaksepn britichphrxmthicacayrakhadngklaw echn karyxmrbphraecawitotriox exmanuexelthi 3 epnckrphrrdiaehngexthioxepiy nkprawtisatrchawxemriknnamwa aebrri slliaewn idekhiynwa thngbritichaelafrngesstxngkarxyangmakinkarthxdimtrikbxitaliephuxaekikhkhwamesiyhaythiekidkhuncakkarkhwabatrkhxngsnnibatchati aelaklawwa musoslinieluxkthicaepnphnthmitrkbhitelxr makkwathicathukbibbngkhb sathxnthungnoybaytangpraethsthisnbsnuneyxrmnikhrngihm emux 25 tulakhm kh s 1936 musosliniidtklngthicacdtngxksa orm ebxrlin sungidrbkarxnumtiodykhxtklngkhwamrwmmuxkbnasieyxrmniaelalngnaminkrungebxrlin nxkcakni karphichitexthioxepiynnidsuyesiychiwitchawxitalicanwn 12 000 khn aelacanwnxik 4 000 thung 5 000 khn thiepnchawliebiy chawexriethriy aelachawosmalissungtxsurbinkarpracakarkhxngxitali musosliniechuxwakarphichitexthioxepiycamikhaichcaycanwn 4 thung 6 phnlanliel aettnthunthiaethcringkhxngkarbukkhrxngsungpraktihehnepncanwnengin 33 5 phnlanliel tnthunthangesrsthkickhxngkarphichitidpraktwa xitalitxngichcayngbpramanxyangthwmthn aelathaihkhwamphyayamxyangcringcngkhxngxitaliinkarprbprungkxngthphihmikhwamthnsmytxngchalng enuxngcakenginngbpramanthimusosliniidcdsrriwsahrbkhwamthnsmythangkarthharklbthuknaipichsahrbkarphichitexthioxepiy bangxyangthiidchwyihphlkdnmusosliniipyngeyxrmni ephuxchwypkpidkxnhnumhasalthikalngprasbxyuinchwngsngkhramexthioxepiy musosliniidldkhaenginliellng 40 ineduxntulakhm kh s 1936 nxkcakni khaichcayinkaryudkhrxngexthioxepiythaihkxngkhlngxitalitxngsuyesiyenginipxik 21 1 phnlanliel rahwangpi kh s 1936 aela kh s 1940 miswnephimetimkhux xitalitxngsuyesiythharcanwn 4 000 nay sungesiychiwitinkarrbcaksngkhramklangemuxngsepn inkhnathikarekhaaethrkaesngkhxngxitaliinsepnthaihxitalitxngesiykhaichcayipxik 12 thung 14 phnlanliel inpi kh s 1938 aela kh s 1939 rthbalxitaliidekbphasiepncanwnengin 39 9 phnlanliel inkhnathiphlitphnthmwlrwmprachachatikhxngxitalithnghmdmimulkha 153 phnlanliel sunghmaykhwamwasngkhramexthioxepiyaelasepnidthaihekidkhwamesiyhaythicathaihesrsthkickhxngxitalithrudothrmlng miephiyng 28 khxngngbpramanthangkarthharthnghmdkhxngxitali rahwangpi kh s 1934 aela kh s 1939 idthuknaipichinkarprbprungkxngthphihmikhwamthnsmy swnthiehluxthnghmdthuknaipichodysngkhramkhxngmusoslini sungnaipsuxanacthangkarthharkhxngxitalildlngxyangrwderw rahwangpi kh s 1935 aela kh s 1939 sngkhramkhxngmusoslinithaihxitalitxngesiykhaichcayepnmulkhathung 500 phnlandxllarshrthin kh s 1999 sungepnphlrwmthiepnsdswnyingepnpharamakyingkhun enuxngcakxitaliepnpraethsthiyakcnechnni chwngthswrrs kh s 1930 epnchwngewlaaehngkhwamkawhnaxyangrwderwindanethkhonolyithangthhar aelaslliaewnidekhiynwa musosliniideluxkphidewlainkartxsukhxngekhainsngkhramexthioxepiyaelasepn inewlaediywknkbkxngthphxitalikalngtkxyuphayitmhaxanacxun karaekhngkhnesrimsrangxawuthxyangetmrupaebbidpathukhun odyeyxrmni britich aelafrngess sungtxngichcayenginngbpramanmakkhuneruxy inkxngthphkhxngphwkekha emuxchwngthswrrs kh s 1930 kalngkawhna sthankarnthimusosliniidyxmrbepnkarswntwwa khidcakdxyanghnkhnwngtxkhwamsamarthkhxngxitaliinkarsurbinsngkhramkhrngihydwytwexngnn aeladwyehtuni cungcaepnthicatxngmimhaxanacthiepnphnthmitrephuxthdaethnkhwamlahlngkhxngkxngthphxitalithiephimmakyingkhun tngaet kh s 1936 thung kh s 1939 musosliniidihkarsnbsnunthangthharcanwnmakmayaekklumaehngchatiinsngkhramklangemuxngsepn karekhaaethrkaesngxyangaekhngkhninfayfrngokthaihxitalitxngtitwxxkhangcakfrngessaelabritismakyingkhun dwyehtuni khwamsmphnthrahwangmusoslinikbxdxlf hitelxrcungiklchidmakyingkhun aelaekhaeluxkthicayxmrbkarphnwkxxsetriykhxngeyxrmnin kh s 1938 tammadwykaraebngaeykdinaednechoksolwaekiyin kh s 1939 ineduxnphvsphakhm kh s 1938 inchwngrahwangkarmaeyuxnxitalikhxnghitelxr musosliniidbxkkbfuxerxwaxitaliaelafrngessepnstrutwchkacthitxngsurbknbn dantrngkhamkhxngrwaenwkn thiekiywkhxngkbsngkhramklangemuxngsepn aelaaenwsetrsann idtayaelathukfngesiyaelw inkarprachummiwnik ineduxnknyayn kh s 1938 musosliniyngkhngwangthathanginkardaeninwangtwepnklangephuxsntiphaphyuorp inkhnathiidchwyehluxnasieyxrmnithakarphnwksuedethinlnth khxtklngxksakbeyxrmnin kh s 1936 sungmikhwamekhmaekhngmakkhunodykarlngnamktikasyyaehlk emuxwnthi 22 phvsphakhm kh s 1939 sungidechuxmoyngrahwangfassistxitaliaelanasieyxrmniekhadwykninphnthmitrthangthharxyangetmrupaebb smachikkhxng klumphlphrrkhchawsolwieniy idwangaephnthicasngharmusosliniin aetkhwamphyayamkhxngphwkekhaimprasbkhwamsaercsngkhramolkkhrngthisxngkarrwmtwkhxngphayu musosliniinphaphthay inchwngplay kh s 1930 khwamhlngihlinprachakrsastrkhxngmusoslinithaihekhaidsrupwabritichaelafrngessidsuysinxanacaelw aelaeyxrmniaelaxitalicakahndihpkkhrxngyuorpodyprascakehtuphlxun id nxkcakkhwamaekhngaekrngthangprachakrkhxngphwkekha musosliniidyunynkhwamechuxkhxngekhawaxtrakarekidthikalngldlnginfrngessnn naklwxyangaethcring aelackwrrdibritichthungkhrawekhraahephraahnunginsikhxngprachakrbritichmakkwahasib dwyehcuni musoslinicungechuxwakarepnphnthmitrkbeyxrmnidikwakarepnaenwrwmkbbritichaelafrngess enuxngcaksmkhwrthicaepnphnthmitrkbfaythiekhmaekhngmakkwafaythixxnaex musosliniidmxngehnthungkhwamsmphnthrahwangpraethsepnkartxsuthangsmkhmaebbdarwin rahwangpraethsthi aekhngaekrng kbxtrakarekidthisungsungthukkahndihthalaypraethsthi xxnaex kbxtrakarekidthita musosliniechuxwafrngessepnpraethsthi xxnaexaelaaek enuxngcakxtrakartayrayspdahkhxngfrngessekinkwaxtrakarekidxyuthi 2 000 khn aelaekhaimsnicthicaepnphnthmitrkbfrngess nnkhuxkhnadkhxngkhwamechuxkhxngmusosliniwaepnochkhchatakhxngxitalithicapkkhrxngthaelemdietxrereniyn enuxngcakxtrakarekidkhxngxitalinnsung emuxekhaidlaelykarwangaephnxyangcringcngipmakaelakaretriymkarthicaepnsahrbkarthasngkhramkbmhaxanactawntk khxotaeyngephiyngkhxediywthithaihmusosliniimidepnaenwrwmediywkbebxrlinxyangetmtwkhuxkartrahnkruthungkhwamimphrxmthangesrsthkicaelakarthharkhxngxitali sunghmaykhwamwa ekhacatxngichewlaephimetiminkarfunfukxngthph aelakhwamtxngkarkhxngekhathicaichkhxtklngxisetxrineduxnemsayn kh s 1938 ephuxthicaaeykbritichxxkhangcakfrngess karepnphnthmitrthangthharkbeyxrmnisungtrngkhamkbphnthmitrthangkaremuxngthiduhlahlwmkwathimixyuaelwkbirchphayitktikasyyatxtanokhminethirn sungimmikhxphukmdthangthhar nacayutioxkasid khxngbritichinkarbrrluphlkhxngkhxtklngxisetxr khxtklngxisetxrmicudmunghmayodymusosliniephuxyxmihxitaliekhacdkarfrngessodylangodyaekikhkhwamsmphnthrahwangbritich xitalixyangephiyngphx emuxlxndxnnacayngkhngwangtwepnklanginkrnithiekidsngkhramfrngess xitali musosliniidrangxxkaebbckrwrrditxtuniesiy aelabangkhrngk inthangklbkn khxtklngxisetxrmicudmunghmayodybritisthicathaihxitalixxkhangcakeyxrmni ekhant kalisos chixaon lukekhykhxngmusosliniaelarthmntriwakarkrathrwngtangpraeths idsrupwtthuprasngkhnoybaytangpraethskhxngrabxbephdckarekiywkbfrngess sungbnthuklnginxnuthinpracawnkhxngekha emuxwn 8 phvscikayn kh s 1938 cibutinacaidpkkhrxngrwmkbfrngess tuniesiythimirabxbkarpkkhrxngthikhlaykhlungknimmakknxy khxrsika epnkhxngxitaliaelaimekhyepnkhxngfrngess aeladngnnphayitkarkhwbkhumodytrngkhxngera chayaednthiaemnawar sahrbsawxy sungimidepn thangprawtisastrhruxthangphumisastrkhxngxitali musosliniidklawxangwaekhaaethbimsnicmnely emuxwnthi 30 phvscikayn kh s 1938 musosliniidechiyexkxkhrrachthutfrngess Andre Francois Poncet ephuxekharwmkarepidprachumsphaphuaethnrastrxitali inchwngrahwangthismachikphuaethnidrwmtwkntamkhiwkhxngekha erimaesdngdwykartaoknesiyngxyangkukkxngtxfrngesswa xitalismkhwrthicaphnwk tunis nis khxrsika sawxy sungtammadwysmachikphuaethnidedinkhbwniptamthnnphrxmkbchuthuxpayeriykrxngihfrngesssngmxbdinaedntuniesiy sawxy aelakhxrsikaihaekxitali naykrthmntrifrngess exdwr exroxt idptiesthkhxeriykrxngkhxngxitalieruxngkarsngmxbdinaednodythnthi aelaswnihyinchwngvduhnaw kh s 1938 39 frngessaelaxitaliekuxbthicathasngkhram ineduxnmkrakhm kh s 1939 naykrthmntribritich enwil echmebxrlin idmaeyuxnkrungorm inchwngrahwangkarmaeyuxn musosliniideriynruwa aemaetbritichtxngkarmikhwamsmphnthxndikbxitalixyangmak aelaetriymkhwamphrxmthicathakhxtklngyinyxm sungcaimtdkhadkhwamsmphnthkbfrngessthnghmdephuxkhidthungphlpraoychnkhxngkhwamsmphnthbritich xitalithidikhun dwyehtuni musoslinimikhwamsnicmakkhuninkhxesnxkhxngeyxrmninkarepnphnthmitrthangthhar sungekidkhunepnkhrngaerkineduxnphvsphakhm kh s 1938 ineduxnkumphaphnth kh s 1939 musosliniidklawsunthrphcntxhnasphaihyaehngfassist inchwngrahwangthiekhaidprakasthungkhwamechuxkhxngtnwa xanackhxngrthkhux idsdswnkbtaaehnngthangthael aelaxitaliepn nkothsinthaelemdietxrereniynaelaxitaliyingmicanwnprachakraelathrngxanacmakethaihr nkothsehlannkcatxngthnthukkhthrmancakkarthukcxngcamakkhunethann rwknkhxngeruxncaaehngnikhuxkhxrsika tuniesiy mxlta isprs phukhumeruxncaaehngnikhuxyibrxltaraelakhlxngsuexs ckrwrrdixitaliin kh s 1939 aenwthangihmniodyprascakesiyngwicarn emuxwnthi 21 minakhm kh s 1939 inchwngkarprachumthisphaihyaehngfassist xitaol blobidklawhamusosliniwaepn kareliyrxngethabuthkhxnghitelxr idthalaynoybaytangpraethsthiihkarsnbsnuneyxrmnikhxngduechsungepnkarnaphaxitaliipsuhayna aelaepnthisadudtathung karepidchxngthangekhahabritich yngkhngmixyu aelaimxachlikeliyngidwaxitalicatxngmaepnphnthmitrkbeyxrmni aemwaecxrachi ecahnathiradbsungkhxngfassist hlaykhn echn blob caimkratuxruxrntxkhwamsmphnthiklchidkbebxrlin karkhwbkhumekhruxngklilkhxngnoybaytangpraethskhxngmusoslinisunghmaykhwamwakhwamkhdaeyngninbidephiyngelknxy musoslinimitaaehnngphunaphayinphrrkhfassist aetekhaimidkhrxbngaexaiwthnghmd inkhnathikarocmtiklawhakhxngblobtxmusosliniwa epn kareliyrxngethabuthkhxnghitelxr aelakhxeriykrxngkhxngekhakhux karepidchxngthangekhahabritich idthuktidtaminthiprachumsphaihyaehngfassistrwmkbsingthinkprawtisastrchawkriknamwa Aristotle Kallis idklawwa karaesdngtxbotxyang khxnkhangcakd khxngmusoslini phrrkhnasiimmixairmaethiybethasphaihyaehngfassistaelamnepnkhwamnaehluxechuxwahnunginekailethxrkhxnghitelxrcaocmtiekhainlksnaediywknkbecxrachixyangblobthiklawwiphakswicarnmusoslini ineduxnemsayn kh s 1939 musosliniidxxkkhasngihxitalibukkhrxngaexlebeniy xitalisamarthexachnaaexlebeniyidphayinhawn idbibbngkhbihphraecasxkthi 1 thrngliphyxxknxkpraethsaelacdtngchwngewlakhxngaexlebeniyphayitkarpkkhrxngkhxngxitali cnthungeduxnphvsphakhm kh s 1939 fayxksayngimidepnxyangthangkarthnghmd aetinchwngeduxnnn ktikasyyaehlkidthuklngnamodysrupickhwamwa mitrphaphaelakarepnphnthmitrkn rahwangeyxrmniaelaxitali sungthuklngnamodyrthmntriwakarkrathrwngtangpraethskhxngaetlafay ktikasyyaehlkepnphnthmitrthangthharaebbechingrukaelaechingpxngkn aemwamusoslinicalngnaminsnthisyyaktxemuxidrbkhamnsyyacakfayeyxrmnwacaimmisngkhraminxiksampikhanghna phraecawitotriox exmanuexelthi 3 aehngxitalithrngramdrawnginktikasyyachbbni odythrngihkarsnbsnunphnthmitredimkhxngxitalixyangfrngess aelathrngekrngklwtxphlkrathbkhxngphnthmitrthangthharaebbkawraw sunghmaykhwamwakarcanntxkarkhwbkhumehnuxkhathamkhxngsngkhramaelasntiphaphtxhitelxr hitelxrmikhwamtngicthicabukkhrxngopaelnd aemwachixaoncaklawetuxnwakarkrathaehlanicanaipsukarthasngkhramkbfaysmphnthmitr hitelxridptiesthkhwamkhidehnkhxngchixaon odykhadkarnlwnghnaexaiwaelwwa britichaelapraethstawntkcayxmthxyxxkip aelaekhaidihkhxesnxwa xitalikhwrcathakarbukkhrxngyuokslaewiy khxesnxniklbdungdudictxmusoslini aetinchwngewlakhxngsngkhramolkklayepnkhwamhaynasahrbxitali enuxngcaksthankarndanxawuthyuthothpkrncakkxtngckrwrrdixitalinnyngduebabangekinip thisakhymakkwann phraecawitotriox exmanuexelthi 3 thrngmiphrarachprasngkhtxkarwangtwepnklanginkhxphiphath dngnn emuxsngkhramolkkhrngthisxnginyuorpiderimtnkhun emuxwnthi 1 knyayn kh s 1939 dwykarbukkhrxngopaelndkhxngeyxrmnthaihekidkartxbotkhxngshrachxanackraelafrngessdwykarprakassngkhramkbeyxrmni xitaliyngimidekhaipphwphninkhwamkhdaeyngkhrngni xyangirktam emuxeyxrmnidkkkhngehlasastracarycanwn 183 khncakinemuxngkrakuf emuxwnthi 6 phvscikayn kh s 1939 musosliniidekhaaethrkaesngepnkarswntwkbhitelxrephuxtxtankarkrathakhrngni sungnaipsukarpldplxychawopaelndcanwn 101 khn prakassngkhram pknitysarkhxngniwswik chbbwnthi13 phvsphakhm kh s 1940 hwkhxkhaw xilduech khnsakhyaehngthaelemdietxrereniyn emuxsngkhramolkkhrngthisxngiderimtnkhun chixaonaelaiwekhanthaliaefkskalngsnthnathangothrsphthxyanglb britichtxngkarihxitaliekhakhangfayphwktninkartxtaneyxrmnidngechninsngkhramolkkhrngthihnung aetrthbalfrngessklbmikhwamkhidehninkarphungepaocmtixitalimakyingkhun enuxngcakphwkekhaxyakcaekhaocmtixitaliinliebiy ineduxnknyayn kh s 1939 frngessidthakarehwiyngfaytrngkhamxyangrunaerng odyesnxinkarharuxpyhatang kbxitali aetfrngessyngimetmicthicaharuxekiywkbdinaedncakkhxrsika nis aelasawxy musosliniyngimidihkhatxb pldkrathrwngkarphlitsngkhramkhxngmusoslini Carlo Favagrossa idpraeminkhadkarnwaxitaliyngimphrxmsahrbptibtikarthangthharkhrngihycnthung kh s 1942 enuxngcakekhtphakhxutsahrrmthikhxnkhangxxnaexemuxepriybethiybkbyuorptawntk inplayeduxnphvscikayn kh s 1939 xdxlf hitelxridprakaswa trabidthiduechyngmichiwitxyu eraidwangicwa xitalicaochbchwythukoxkasephuxbrrluepahmayckrwrrdiniym dwykhwamechuxmnwasngkhramiklcayutilnginimcha dwychychnakhxngeyxrmnithikalngmxngehnipthungcudnn musoslinicungtdsinicthicaekhasusngkhramkbfayxksa dngnn xitalicungprakassngkhramkbbritichaelafrngess emuxwnthi 10 mithunayn kh s 1940 musosliniidthuxwakarthasngkhramkbbritichaelafrngessepnkartxsukarexachiwitrxdrahwangxudmkarnthiepnptipks lththifassistaela rabxbprachathipityaebbphwkesrsthithrngxanacaelaklumptikiriyakhxngtawntk idxthibaythungsngkhramkhrngniwa epnkartxsukhxngphukhnwyhnumsawaelaecriyphnthukbkhnthiepnhmnthikalngekhluxnthiipyngtawntkdin mnepnkartxsurahwangsxngstwrrsaelasxngaenwkhid aela karphthnaechingtrrkakhxngkarptiwtikhxngera xitaliidekharwmkbeyxrmninyuththkarthifrngess txsurbkbaenwpxmprakarbnethuxkekhaaexlpinbriewnchayaedn sibexdwntxma frngessaelaeyxrmniidlngnamkarsngbsuk rwmthngsungswnihykhxngemuxngnis aelamnthlthangtawnxkechiyngitxun musosliniidwangaephnthirwbrwmkxngthphxitaliephuxekhaocmtikhrngihytxckrwrrdibritchinaexfrikaaelatawnxxkklang epnthiruckknkhux sngkhramkhukhnan odykhadkannwa britichkalngcalmslayin xitaliekharukranxiyiptaela aelaekhaocmtibritichindinaednxananikhmxyang aela insingthicaklayepnthiruckknkhux karthphaexfrikatawnxxk britichosmaliaelndthukphichitaelaklayepnswnhnungkhxngaexfrikatawnxxkkhxngxitali emuxwnthi 3 singhakhm kh s 1940 aelacaknnxitalikekharukkhubinsudanaelaekhnyadwykhwamsaercchwngaerk rthbalbritichptiesththicayxmrbkhxesnxephuxsntiphaphthiekiywkhxngkbkaryxmrbchychnakhxngfayxksainyuorp aephnkarsahrbkarbukkhrxngshrachxanackryngimkhubhnaaelasngkhramkyngkhngdaenintxip hnthangsukhwamprachy musosliniinphaphthayxyangepnthangkar ineduxnknyayn kh s 1940 kxngthphthisibkhxngxitalisungthukbychakarodynayphl ordxlof krasixani aelakawkhamcakxitaeliynliebiyipyngxiyiptsungepnthitngkhxngkxngthphbritich singnicaklayepnkarthphthaelthraytawntk karrukidprasbkhwamsaerc aetxitalitxnghyudchangklngthi Sidi Barrani ephuxrxkhxyrabbolcistiksinkarkhnsngesbiyngtammaihthn emuxwnthi 24 tulakhm kh s 1940 musosliniidsngkxngbinxitaeliynipyngebleyiym sungidekharwminedxablitscnthungeduxnmkrakhm kh s 1941 ineduxntulakhm musosliniidsngkxngthphxitaliekhaipyngkris odykarerimtnsngkhramkris xitali kxngthphxakashlwngkhxngbritichidekhakhdkhwangkarbukkhrxngkhxngxitliaelayxmihkristhakarphlkdnxitaliihklbipyngaexlebeniy aetkarruktxbotklbkrisinxitaeliynaexlebeniyidyutilngdwyhnthangtn ehtukarninaexfrikaidepliynaeplngip emuxtnpi kh s 1941 inptibtikarekhmthisidbibbngkhbihxitalilathxyklbipyngliebiy thaihekidkhwamsuyesiyxyanghnktxkxngthphbkxitali nxkcakniinkarthphaexfrikatawnxxk karocmtiidekidkhunkbkxngthphxitali aemcathuktxtanbang aetphwkekhakthukkddnxyanghnkin aelakarpxngknkhxngxitalierimthicaphngthlaylngdwykhwamprachykhrngsudthayin inkarklawprasytxsatharnchnchawxitaliekiywkbehtukarndngklaw musosliniidepidephyxyangetmthiekiywkbsthankarn odyklawwa eraeriykkhnmpngkkhnmpng iwnkkhuxiwn aelaemuxkhasukidrbchychnakarrb mnirpraoychnaelanakhbkhninkaraeswngha enuxngcakchawbritiskrathainhnasuxickhd ephuxthicaptiesthhruxldthxnlng swnhnungkhxngkhwamkhidehnkhxngekhaekiywkhxngkbkhwamsaerckxnhnanithixitalimiinaexfrika kxnthicaphbkbkhwamphayaephihkbfaysmphnthmitrinphayhlng dwykhwamesiyngxntraycakkarsuyesiykarkhwbkhumdinaednthnghmdkhxngxitaliinaexfrikaehnux cninthisud eyxrmnicungsngkxngthphnxyaexfrikaipihkarsnbsnunaekxitali inkhnaediywkn cungekidkhuninyuokslaewiyephuxyutisngkhramkris xitali sngphlthaihfayxksaidrbchychnaaelaekhayudkhrxngkrisodyxitaliaelaeyxrmni txngkarxangxing dwykarbukkhrxngyuokslaewiyaelakhabsmuthrbxlkhankhxngfayxksa xitaliidphnwkrwmekhakblubliyana aedlemechiy aelamxnetenokr aelakxtngrthhunechidaehngokhrexechiyaela nayphl Mario Robotti phubychakaraehngkxngthphxitalithi 11 insolwieniyaelaokhrexechiy idxxkkhasngthiidrbmaodytrngcakmusosliniineduxnmithunayn kh s 1942 khaphecaimkhdaeyngkbchawsolwieniythnghmd sik sungthukkkkhngaelathukaethnthiodychawxitali klawxiknykhux erakhwrdaeninkarephuxihkarrbrxngwa ekhtphrmaednthangkaremuxngaelachatiphnthunntrngkn musosliniideriynruekiywkbptibtikarbarbarxssaepnkhrngaerk phayhlngcakkarbukkhrxngshphaphosewiyt emuxwnthi 22 mithunayn kh s 1941 aelahitelxrimidkhxihekhamiswnrwmdwy musosliniidrieriminkarxxkkhasngihkxngthphnxyaehngkxngthphbkxitalimunghnasuaenwrbdantawnxxk sungekhakhadhwngwaxitalixacidrbchychnamaxyangngaydayephuxfunfukhwamrungorcnkhxngrabxbfassist sungidrbkhwamesiyhaycakkhwamphayaephinkrisaelaaexfrikaehnux txngkarxangxing emuxwnthi 25 mithunayn kh s 1941 ekhaidtrwcsxbhnwyrbepnkhrngaerkthiemuxngeworna sungthukichepnthanyingkhipnawuthekhaisrsesiy musosliniidbxkaekkhnarthmntri emuxwnthi 5 krkdakhm wasingthiekhakngwlephiyngxyangediywkhux eyxrmnixaccaexachnaosewiytidkxnthixitalicaipthung inkarekhaphbkbhitelxrineduxnsinghakhm musosliniidesnxaenaaelahitelxrkyxmrbinkarsngthharchawxitaliephimetiminkarsurbkbshphaphosewiyt xitaliidrbkhwamsuyesiyxyanghnkinaenwrbdantawnxxk sungkarrbinkhrngniimepnthiniymxyangmakmay enuxngcakmummxngxyangkwangkhwangwa niimichkarsurbkhxngxitali sungidthalayskdisrikhxngmusoslinikbprachachnchnchawxitali phayhlngcakkarocmtiephirlharebxrkhxngyipun ekhaidprakassngkhramkbshrth emuxwnthi 11 thnwakhm kh s 1941 hlkthanchinhnungekiywkbkartxbsnxngkhxngmusoslinitxkarocmtiephirlharebxrmacakxnuthinkhxngrthmntriwakarkrathrwngtangpraethsxyangchixaon othrsphthchwngtxnklangkhuncakribebinthrxph ekhaekidkhwamdiicxyangsud ekiywkbyipunocmtitxxemrika ekhadumikhwamsukhxyangmaksacnkhaphecamikhwamsukhipkbekhadwy aemwakhaphecacaimkhxyaenicthungphlpraoychnchwngsudthayinsingthicaekidkhun singhnungthimnicaelwintxnni xemrikacaekhasukhwamkhdaeyngaelakhwamkhdaeyngkhrngcakinewlayawnancnethxsamarthrbruthungxanacthixacepnipidthnghmdkhxngethx chwngechani khaphecaidthuleruxngnitxkstriysungthrngphxphrathytxehtukarnni phraxngkhlngexydwykaryxmrbwainrayayaw khaphecaxacaphudthuk musoslinikmikhwamsukhechnkn epnewlamayawnanaelwthiekhaoprdprankarxthibaythiduchdecnekiywkbkhwamsmphnthrahwangxemrikaaelafayxksa phayhlngcakkarlmslaykhxngwichifrngessaelakrnixntxn xitaliekhayudkhrxngdinaednfrngessxyangkhxrsika aelatuniesiy kxngthphxitaliyngidrbchychnacakphukxkarkaeribinyuokslaewiyaela aelakxngthphxitali eyxrmnidekhayudkhrxngphunthibangswnkhxngxiyiptsungbritichthuxkhrxngephuxphlkdnihipyngxlxalamyn phayhlngcakthiphwkekhaidrbchychnathikasala aemwamusoslinicatrahnkdiwa thrphyakrkhxngxitalikalngldnxylngcakkarthphin kh s 1930 nnimphrxmsahrbkarthasngkhramrayayaw ekhaeluxkthicakhngxyuinkhwamkhdaeyngodyimlathingdinaednthiyudkhrxngmaidaelakhwamthaeyxthayankhxngckrwrrdifassist thukpldaelacbkum cxmphl piexotr baodloy sungrbchwngtxcakmusosliniinkardarngtaaehnngnaykrthmntri in kh s 1943 taaehnngthangkarthharkhxngxitaliimsamarthpxngknid kxngthphfayxksainaexfrikaehnuxsungthaythisudktxngphayaephinkarthphtuniesiyinchwngtn kh s 1943 xitalikprasbkhwamphayaephkhrngihybnaenwrbdantawnxxkechnkn karbukkhrxngekaasisilikhxngfaysmphnthmitridnaphasngkhramekhaiklkbhnapratubankhxngpraethsmakyingkhun aenwrbbnbanekidxitaliyngxyuinsphaphthiimdi enuxngcakkarthingraebidkhxngfaysmphnthmitrthaihidrbkhwamesiyhay orngnganxutsahkrrmthwthngxitalitxnghyudchangklngekuxbthnghmdephraawtthudib echn thanhinaelanamn nnekidphawakhadaekhln nxkcakni xaharkyngekidphawakhadaekhlnaebberuxrng aelaxaharthimixyukthukwangkhayinrakhathiaethbcaekuxbthukribthrphyidely ekhruxngokhsnachwnechuxthiichknxyangaephrhlaykhxngmusosliniidsuyesiykhwamechuxmnkhxngprachachnipcnhmdsinaelw prachakrchawxitalicanwnmakhnekhahahruxephuxrbfngrayngankhawthiaemnyamakyingkhun khwamimphxicerimkxtwkhunineduxnminakhm kh s 1943 dwykhlunkraaeskhxngkarndhyudngankhxngaerngnganinphakhehnuxkhxngxutsahkrrm karndhyudngankhnadihyepnkhrngaerngnbtngaet kh s 1925 nxkcakni ineduxnminakhm orngnganxutsahkrrmthisakhybangaehnginmilanaelaturinidhyudkarphlitephuxpraknenginihkhwamchwyehluxinkarxphyphsahrbkhrxbkhrwaerngngan karmixyukhxngeyxrmninxitaliidepliynkhwamkhidehnkhxngsatharnchnxyangrwderwtxmusoslini twxyangechn emuxfaysmphnthmitridbukkhrxngsisili prachachnswnihythinnidtxnrbphwkekhainthanaphupldplxy musosliniekrngklwwadwychychnakhxngfaysmphnthmitrinaexfrikaehnux kxngthphfaysmphnthmitrcakhamthaelemdietxrereniynaelaekhaocmtixitali ineduxnemsayn kh s 1943 inkhnathifaysmphnthmitrekhamaprachidtuniesiy musosliniideriykrxngihhitelxrhyasukkbshphaphosewiyt aelasngkxngthpheyxrmnipthangtawntkephuxpxngkntxkarbukkhrxngxitalikhxngfaysmphnthmitrthiidkhadkarnexaiw faysmphnthmitridykphlkhunbkthiekaasisili emuxwnthi 10 krkdakhm kh s 1943 aelaphayinimkiwnkepnthipracksaelwwa kxngthphxitaliiklcayxyybaelw singnithaihhitelxreriykmusosliniipekhaprachumthiefletr emuxwnthi 19 krkdakhm kh s 1943 inchwngewlani musoslinirusuksnkhlxncakkhwamekhriydthiekhaimsamarththntxkhuyowoxxwdkhxnghitelxridxiktxip xarmnkhxngekhaklbmudmnmakyingkhun emuxinwnediywkn epnkhrngaerkthiemuxnghlwngidtkepnepahmaykhxngkarthingraebidkhxngfaykhasuk khrawniidepnthipracksaelwwa sngkhramkalngcaphayaeph aetmusoslinikimsamarthaekikhpyhadwytwexngcakphnthmitreyxrmnidely emuxmathungcudni smachikthisakhybangkhnkhxngrthbalmusosliniidhnmatxtanekha inthamklangphwkekhakmikrndiaelachixaon ephuxnrwmnganhlaykhnkhxngekhaiklcakxclaclxyangetmthi aelamusosliniidthukbibbngkhbiheriykprachumsphaihy emuxwnthi 24 krkdakhm kh s 1943 niepnkarprachumkhrngaerkkhxngphwkekhanbtngaeterimtnkhxngsngkhram emuxekhaidprakaswaeyxrmnkalngkhidthicalngmathangitephuxmakhbilfaysmphnththitrihxxkcakxitali krndiidklawocmtiekhaxyangrunaerng krndiiddaeninlngmtiinkarkrabthultxkstriyephuxihthrngichphrarachxanactamrththrrmnuyxyangetmthi sunglngexydwykarlngkhaaennesiynginkarimiwwangicinmusoslini dwyphllphthkhaaennesiyngkhux 19 8 musosliniidaesdngthathangthimxngehnidephiyngelknxy aemwasingnicamxbxanacxyangetmthiaekkstriyinkarpldxxkcaktaaehnngaelwktam xyangirktam ekhaidthamkrndiinkarphicarnathungkhwamepnipidthikarekhluxnihwninacahyudyngcudcbkhxnglththifassist karlngkhaaennesiyngkhrngniaemwacaminysakhy aetkimidmiphltamkdhmay enuxngcaktamkdhmayaelw naykrthmntrimihnathirbphidchxbtxkarkrathakhxngekhatxkstriyethann aelamiephiyngkstriyethannthicasamarthpldekhaid aemwacathukklawpranamxyangrunaerng musoslinikklbmathanganinwnrungkhuntampkti ekhathukklawhawamxngehnsphaihyepnephiyngaekhkhnathipruksaethannaelaimkhidwakarlngkhaaennesiyngcamiphlbngkhbichthisakhyaetxyangid chwngbay ewla 17 00 n phraecawitotriox exmanuexelthrngeriyktwekhaihmaekhaefathiphrarachwng sungthrngtdsinphrathythicakhbilmusoslini xyangirktam duechyngimrbthrabthungphrarachprasngkhkhxngkstriy sungxyuinsthanthiinkarkhumknaelaxakharrthbalthukraylxmipdwycanwn 200 nay emuxmusosliniphyayamcakrabthultxkstriyekiywkbkarprachumkhxngsphaihy phraecawitotriox exmanuexelthrngtrsaethrkkbekha aelathrngrbsngihpldekhaxxkcaktaaehnngxyangthanghar aemwacaepnkaryunynwaekhacatxnghludxxkcaktaaehnngaelwktam phayhlngcakthimusoslinixxkmacakphrarachwng ekhakthukcbkumodykharabiniexritamphrarachbychakhxngkstriy tarwcidnatwmusoslinikhunrthphyabalkhxngodyimrabuthungcudhmayplaythang aelayunynkbekhawaphwkekhathaephuxkhwamplxdphykhxngekhaexng inchwngewlani khwamimphxictxmusosliniidthwikhwamrunaerngmakyingkhuncnemuxmikarprakaskhawthungkarlmslaykhxngekhathangwithyu kimmikartxtanaetxyangid prachachnkchunchmyindiephraaphwkekhaechuxwacudcbkhxngmusoslinihmaythungcudcbkhxngsngkhram kstriythrngaetngtngihcxmphl piexotr baodloy epnnaykrthtriekhamaaethnthitxcakmusoslini musosliniidrbkhwamchwyehluxodykxngkalngthhareyxrmncakthikhumkhngekhain emuxwnthi 12 knyayn kh s 1943 inkhwamphyayamephuxthicapkpidtaaehnngkhxngekhacakeyxrmn musoslinithukyayipyngbriewnrxb khrngaerkthi caknnkipthi kxnthicakhumkhngekhaiwthi risxrthbnphuekhainxabrusos thisungekhathukoddediywxyangsineching baodloyyngkhngaesdngkhwamphkditxeyxrmni aelaprakaswaxitalicatxsurbekhiyngkhangfayxksatxip xyangirktam ekhaidyubphrrkhfassistidephiyngsxngwnphayhlngcakekharbtaaehnng aelaerimkarecrcakbfaysmphnthmitr emuxwnthi 3 knyayn kh s 1943 baodloyidtklngthicalngnamkarsngbsukrahwangkxngthphxitaliaelakxngthphfaysmphnthmitr karaethlngkhawidephiynghawntxmathaihxitalitkxyuinkhwamoklahl kxngkalngthhareyxrmnidekhayudkarkhwbkhumin emuxeyxrmnidekhamaprachidkrungorm baodloyaelakstriyidhlbhniphrxmkbphuprasannganhlkkhxngphwkekhaipyngxaphiweliy odyxyuphayitkarkhumkhrxngkhxngfaysmphnthmitr aetklbthingkxngthphxitaliiwodyimidrbkhasng phayhlngchwngewlakhxngkhwamoklahl phwkekhaidcdtngrthbalinmxlta aelainthisudkprakassngkhramkbeyxrmni emuxwnthi 13 tulakhm kh s 1943 thharxitalihlayphnnayidekharwmfaysmphnthmitrephuxtxsurbkbeyxrmn swnmakthukthxdthinghruxyxmcanntxeyxrmn bangswnkptiesththicaepliynkhangaelaekharwmkbeyxrmn rthbalbaodloyidthakhxtklnginkarsngbsukthangkaremuxngkbephuxphlpraoychnkhxngxitaliaelaephuxkhcddinaednkhxngnasi satharnrthsngkhmxitali satharnrth saol satharnrthsngkhmxitali RSI in kh s 1943 khuxphunthisiehluxngaelasiekhiyw phunthisiekhiywepnekhtptibtikarthangthharkhxngeyxrmnphayitkarbriharkhxngeyxrmnodytrng ephiyngsxngeduxnhlngmusoslinithukpldaelacbkum ekhaidrbkhwamchwyehluxcakthikhumkhngkhxngekhathiorngaermkmop ximephxraoterin emuxwnthi 12 knyayn kh s 1943 odyhnwyrbphiesskhxngflechiyrmeyekxr thharphlrm aelahnwykhxmmanodkhxnghnwywfefin exsexsphayitkarnaodyphltrixxthoth harld mxrs kbxxthoth skxresni sungkprakttwmaihehn karihkhwamchwyehluxkhrngniidchwychiwitmusoslinicakkarsngmxbtwipyngfaysmphnthmitrtamkhxtklngkhxngkarsngbsuk hitelxridmiaephnthicacbkumkstriy mkudrachkumarxumaebrot baodloy aelaswnthiehluxkhxngrthbalaelafunfumusoslinikhunsuxanacinkrungorm aetkarhlbhnikhxngrthbalipyngthangitthaihaephnkardngklawimxacthicadaenintxipid samwnhlngcakthiekhaidrbkhwamchwyehluxin musoslniidthuknatwipyngeyxrmniephuxekhaphbkbhitelxrinrsaethnaebrkthikxngbychakarihyprsesiytawnxxkkhxngekha aemwacaidrbkarsnbsnuncaksatharnchnktam hitelxrktxngtktalungxyangetmtakbphaphlksn thiduimeriybrxyaelasphaphsubphxmkhxngmusoslini rwmthngkhwamduxrnephuxthicaillakhninkrungormthithakarokhnlmekha khwamrusukwaekhatxngthathukwithithangephuxthicaldkhxbekhtkarprabpramkhxngnasi musosliniidtklngthicdtngrabxbkarpkkhrxngihm satharnrthsngkhmxitali xitali Repubblica Sociale Italiana RSI epnthiruckknxyangimepnthangkarwa satharnrthsaol ephraakarpkkhrxngcakemuxngsaolthiekhaidcdtngxyuidephiyng 11 wn phayhlngthiekhaidrbkhwamchwyehluxodyeyxrmn rabxbkarpkkhrxngihmkhxngmusosliniidephchiykbkarsuyesiydinaednmakmay nxkehnuxcakkarsuyesiydinaednxitalicakkaryudkhrxngodyfaysmphnthmitraelarthbalbaodloy cnghwdkhxngoblsaon eblluon aelaethrnonidxyuphayitkarbriharpkkhrxngkhxngeyxrmninekhtptibtikarkhxngeyxrmninechingekhaxliphn inkhnathicnghwdkhxngxudien okriesiy trieyset ophla pccubnkhux phula fiyuem pccubnkhux rieyka lubliyana luebiynainphasaxitali thukrwmekhakbekhtptibtikarkhxngeyxrmninfngthaelxaedriytikh musoslinitrwcsxbpxmprakar kh s 1944thamklangfntkhnk musosliniidwicarnthharwyruninphakhehnuxxitali play kh s 1944 nxkcakni kxngthpheyxrmnidekhayudkhrxngaekhwndlemechiynkhxngsplit spalaot aelaokhetxr kttaor sungtxmathukphnwkrwmodyrabxbfassistokhrexechiy dinaednthiidrbmakhxngxitaliinkrisaelaaexlebeniykyngsuyesiyihkbeyxrmni ykewnephiynghmuekaathaelxieciynkhxngxitali sungyngkhngxyuphayitkarpkkhrxngephiynginnamkhxng RSI musosliniidkhdkhankarldthxndinaednkhxngrthxitaliaelaklawkbephuxnrwmngankhxngekhawa khaphecaimidxyuthiniephuxcasladinaednkhxngrthaemaettarangemtr eracaklbipthasngkhramephuxsingni aelaeracakxkbttxikhrktamsahrbkhrngni thiidthithngchatixitaliobksabd thngchatixitalicaklbma aelathiaehngnncaimmikarldthnglng bdni khaphecaxyuthiniaelw caimmiikhrldmnlngid khaphecaidklawsingnikbthanfuxerxr musosliniidxasyxyuthikaryabnthaelsabkardainlxmbardiidpramanhnungpikhrung aemwacayunyninthisatharnawaekhaidkhwbkhumxyangsmburn aetekharudiwaekhaepnephiyngaekhphupkkhrxnghunechidphayitkarkhumkhrxngcakeyxrmnphupldplxykhxngekha sahrbkhwamtngicaelacudprasngkhthnghmd ekailethxraehnglxmbardi xnthicringaelw ekhaidxasyxyuphayitkarkktwphayinbankhxnghnwyexsexs sungidcakdkarsuxsaraelakaredinthangkhxngekha ekhaidbxkkbephuxnrwmngankhnhnungwa nacasngekhaipyngkhaykkkndikwacaxyuinsthanahunechid phayhlngcakkaryxmcanntxaerngkddnkhxnghitelxraelaphwkfassistphucngrkphkdithiehluxxyusungidkxtngrthbalaehngsatharnrthsaol musosliniidchwyehluxinkarcdetriymkarpraharchiwitehlaphunafassistbangkhnsungidthryshkhlngekhainkarprachumkhrngsudthaykhxngsphaihyaehngfassist hnunginnnkhux kalisos chixaon phuepnlukekhykhxngekha inthanapramukhaehngrthaelarthmntriwakarkrathrwngtangpraethsaehngsatharnrthsngkhmxitali musosliniidichewlaswnihyekhiynbnthukkhwamthrngcakhxngekha nxkehnuxcaknganekhiynxtchiwprawtikhxngekhain kh s 1928 nganekhiynehlaniidthukrwbrwmaelatiphimphody Da Capo Press inchuxeruxngwa khwamrungorcnaelakarlmslaykhxngkhapheca inkarihbthsmphasn emuxeduxnmkrakhm kh s 1945 ody Madeleine Mollier emuximkieduxnkxnthiekhacathukcbkumaelapraharchiwitodyphlphrrkhxitali ekhaidklawxyangraberiybwa emuxecdpithiaelw khaphecaepnbukhkhlthinasnic txnni khaphecaepnmakkwasaksph ekhayngidklawtxwa ichaelw khunphuhying khaphecacbsinaelw dawkhxngkhaphecaidtkhlnaelw khaphecaimhlngehluxkartxsuxyuintwkhaphecaaelw khaphecathanganaelakhaphecaidphyayam aetklbrudiwathukxyangepnaekheruxngkhbkhn khaphecakalngrxcudcbkhxngosknatkrrm aela aeplkaeykcakthuksing khaphecaimidrusukwaepnnkaesdngxiktxip khaphecarusukwatwexngepnphuchmkhnsudthayxsykrrmpaykangekhnthithukiwtidiwin sungepnthimusoslinithukying source source source source source source track phaphyntrkhawkhxngxemriknraynganthungkarxsykrrmkhxngmusoslini emuxwnthi 25 emsayn kh s 1945 kxngkalngthharfaysmphnthmitrkalngrukekhasuphakhehnuxkhxngxitaliaelakarlmslaykhxngsatharnrthsaolkiklmathungaelw musosliniaelakhlala aeptachi xnuphrryakhxngekhaidxxkedinthangipyngswitesxraelnd odytngicwacakhunekhruxngbinaelahlbhniipyngsepn sxngwntxma emuxwnthi 27 emsayn phwkekhatxnghyudchangkiklkbhmubandxnok thaelsabokhom odyphlphrrkhkhxmmiwnistnamwa waelrioxaelaebllini aelathukrabutwodyecahnathiphutrwckarthangkaremuxng khxmmissar aehngphlphrrkhthi 52 kxngthphnxykaribldi Urbano Lazzaro inchwngewlann phichaykhxngaeptachisungxasyxyuinkngsulsepn phayhlngcakkhwamphyayamhlaykhrngsungimprasbkhwamsaercinkarphaphwkekhacakthaelsabokhommayngemseskra phwkekhaichewlakhunsudthayinbankhxngkhrxbkhrwedx maeriy emuxkhawidaephrkracaykhxngkarcbkum othrelkhhlaychbbidmathungkxngbychakarkhnakrrmkarpldplxyaehngchaticakthangehnuxkhxngxitali CLNAI caksankbrikardanyuththsastr OSS sungtngsanknganihyinemuxngesiynaodyrxngkhxihsngmxbtwmusoslinimaxyuphayitkarkhwbkhumkhxngkxngkalngshprachachati xnthicring matra 9 khxngkarsngbsukthithuklngnaminekaamxltaodyixesnhawdaelacxmphlxitali piexotr baodloy emuxwnthi 29 knyayn kh s 1943 odyidkahndxyangchdecnwa ebniot musoslini phrrkhphwkfassistaelathukkhnthitxngsngsywaidkxxachyakrrmsngkhramhruxxachyakrrminlksnaediywkn thimixyuinbychiraychuxthicathukcdsngodyshprachachati aelasungintxnnihruxinxnakhtthixyuindinaednthithukkhwbkhumodykxngbychakarkxngthphfaysmphnthmitrhruxrthbalxitali cathukcbkumaelasngmxbtwihkbkxngkalngshprachachatiodythnthi wntxma musosliniaelaaeptachisungthngsxngthukyingpraharchiwitxyangerngrd phrxmkbsmachikswnihykhxngkhbwnphutidtam 15 khn swnmakcaepnrthmntriaelaecahnathithangkarkhxngsatharnrthsngkhmxitali karyingpunidekidkhuninhmubanelkkhxng Giulino di Mezzegra aelathukdaeninkarodyhwhnaphlphrrkhthiichnamaefngwa Colonnello Valerio twtnthiaethcringkhxngekhaimmiikhrthrab aettamthrrmeniymaelw ekhakhidwanacaepn wxletxr xxdisiox phuthiklawxangxyuesmxwa epnphudaeninkarpraharchiwit aemwaphlphrrkhxikklumhnungidbxkkhxmulthidukhdaeyngwa Colonnello Valerio khux Luigi Longo txmaphayhlngidepnphunankkaremuxngfaykhxmmiwnistinxitalichwnghlngsngkhram musoslinithuksngharemuxsxngwnkxnthihitelxraelaexfa ebran phrryakhxngekhacakrathaxtwinibatkrrm satharnrthsngkhmxitalinnxyurxdmaidephiyngsiwnkxnthirthmntriwakarkrathrwngklaohmkhxngmusoslini ordxlof krasixani cxmphlchawxitaliephiyngkhnediywthiyngkhngcngrkphkditxlththifassist phayhlngpi kh s 1943 idyxmcanninswnthiehluxxyu emuxwnthi 1 phvsphakhm sphkhxngmusoslini emuxwnthi 29 emsayn kh s 1945 sphkhxngmusosliniaelaaeptachi aelafassistkhnxun thithukpraharchiwitidthukbrrcuiwinrthtuaelaekhluxnthilngipthangitsumilan ewla 3 nalika tisam sphthukkxngthingiwbnphunin Piazzale Loreto eka briewnlansatharnaaehngnithukepliynchuxihmepn Piazza Quindici Martiri briewnlansatharnakhxngmrnaskkhi 15 khn ephuxepnekiyrtiaekphlphrrkhxitalisibhakhnthithukpraharchiwitidimnaninthiaehngnn caksayipkhwa sphkhxng musoslini aeptachi aela in kh s 1945 phayhlngcakthukthibaelathuynalayis sphehlannkthuknaipaekhwnpracanodyhxylngcakhlngkhapmnamnexsos nxkcakniyngthukkhwangpadwykxnhincakebuxnglangodyphleruxn singnithathngepnkarsrangkhwamthxicaekphwkfassistkhnidthiyngsurbtxipaelaepnkarlangaekhnsahrbkaraekhwnkhxphlphrrkhcanwnmakinsthanthiediywknodyphumixanacfayxksa sphkhxngphunathithukpldcakxanacthukthngeyaaeyyaelakrathayayi fassistthicngrkphkdiphunungnamwa xkhil staraes thukcbkumaelatdsinpraharchiwit aelathukphamayng Piazzale Loreto aelaochwihehnthungsphkhxngmusoslini staraes ekhyklawthungmusosliniwa ekhakhuxphraeca ekhaidthakhwamekharphinsingthiphunakhxngekhahlngehluxxyukxnthiekhacathukyingepa sphkhxngstaraesthuknaipaekhwniwkhang sphkhxngmusosliniinewlatxma phayhlngkarxsykrrmkhxngekhaaelasphthuknaippracaninmilan musoslinithukfnginhlumsphimmipayinsusanmuossokh thangtxnehnuxkhxngemuxng inwnxathityxisetxr kh s 1946 sphkhxngekhathukkhnphbaelakhudkhunmaodyodminiok elchchisi aelaniox fassistxiksxngkhn dwyhlahlwmiphlayeduxn aelasaehtukhxngkhwamwitkkngwlxyangmaktxrabxbprachathipityxitalikhrngihm inthisud sphkhxngmusoslinik thukyudklbkhunma ineduxnsinghakhm sungthuksxnexaiwinhibkhnadelkthi Certosa di Pavia nxkemuxngmilan bathhlwngsxngkhncakkhnafrnsisknthuktngkhxklawhawathakarpkpidsphinewlatxma aemwacamikarsubswnephimetimsungphbwa mikarekhluxnyaytlxdewla dwykhwamimaenicwacathaxyangir thangkarcungidekbsphexaiwinbriewnsthanthithithuklumkhxngemuxngepnewlasibpi kxnthicayinyxmihmikarfngsphxikkhrngthiinormanya banekidkhxngekha Adone Zoli naykrthmntrixitalikhnpccubnidtidtxkbdxnna raekhel phrryamaykhxngcxmephdckar ephuxbxkkbethxwaekhakalngcasngkhunsaksph enuxngcakekhacaepntxngidrbkarsnbsnuncakfaykhwacdinrthspha rwmthngelchchisi in cxmephdckaridthukfngiwinhxngitdin ekiyrtiphayhlngmrnkrrmephiyngxyangediywethannthicamxbihaekmusoslini hlumsphkhxngekhathukkhnabkhangdwysylksnfasessthithukthakhundwyhinxxn ruppnibhnathithukthakhundwyhinxxntamxudmkhtikhxngekhathithukwangiwehnuxhlumsphchiwitswntwphrryakhnaerkkhxngmusoslinikhux sungekhaidaetngnganin in kh s 1914 thngsxngidmibutrinpitxmaaelatngchuxihkbekhawa kh s 1915 1942 ineduxnthnwakhm kh s 1915 musosliniidaetngngankb sungepnxnuphrryakhxngekhamatngaet kh s 1910 enuxngcakkarkhunsutaaehnngthakaremuxngthikalngcamathung khxmulekiywkbkaraetngngankhrngaerkkhxngekhathukpkpidepnkhwamlb aelathngphrryakhnaerkaelalukchaykhxngekhathukkhmehnginewlatxma kbraekhel musoslinimiluksawsxngkhn exdda kh s 1910 1995 aelaaexnna maeriy kh s 1929 1968 sunginewlatxma ethxidaetngngankb Nando Pucci Negri inraewnna emuxwnthi 11 mithunayn kh s 1960 aelamibutrchaysamkhn witotriox kh s 1916 1997 bruon kh s 1918 1941 aela ormaon kh s 1927 2006 musoslinimixnuphrryahlaykhn thamklanginhmuphwkethxcami Margherita Sarfatti aelaephuxnsnithkhnsudthaykhxngekhaxyangkhlala aeptachi musosliniekhyprasbecxkberuxngechingchusawkbphuhyingthiepnphusnbsnunmahlaykhrng tamcakkarraynganodynkekhiynchiwprawtikhxngekhanamwa Nicholas Farrell karthukkhumkhngxacepnsaehtuxyanghnungkhxngkhxngmusoslini ekhaptiesthimyxmekhaipin thathaelbnchayfngkhxngkapri aelatxngkarhxngkhnadihyepnkrniphiess echn sankngankhxngekhamikhnad 18 12 12 emtr 60 40 40 fut in nxkehnuxcakphasaxitalithxngthin musoslinisamarthphudphasaxngkvs phasafrngess aelaphasaeyxrmnxyangnasngsy khwamrusukphakhphumiickhxngekhasunghmaykhwamwaekhaimekhyichlamaeplphasaeyxrmn singniduoddedninkarprachummiwnik ephraaimmiphunachatixunid phudxyangxunnxkcakphasathxngthinkhxngphwkekha musosliniidthukxthibaywa epn hwhnanklam xyangmiprasiththiphaphinthiprachum mummxngthangsasnaxethwniymaelatxtansasnckr musosliniidrbkareliyngducakmardathinbthuxnikaykhathxlikxyangekhrngkhrd aelaswnbidaepnphwktxtannkbwch orsa aemkhxngekhaidnaekhaekhaphithibphtismainsasnckrormnkhathxlik aelanalukchaykhxngethxekhaobsthephuxrbichbathhlwngthukwnxathity swnbidakhxngekhaimekhysnicely musosliniidehnwaewlakhxngekhathixyuinorngeriynpracathangsasnakhuxkarlngthnth epriybesmuxnepnkartknrk aela khrnghnung ekhaidptiesththicaekharwmphithimissatxnechaaelathukichkalngbngkhbinlakipthinn musosliniklayepnphwktxtannkbwchechnediywkbbidakhxngekha smywyhnum ekhaid prakastnexngwaepnphuthiimechuxinphraeca aelakhwamphyayamhlaykhrngthithaihphufngtxngtktalungodykareriykrxngihphraecamaexachiwitkhxngekhaip ekhamikhwamechuxwawithyasastridthukphisucnaelwwaimmiphraeca aelaprawtikhxngphraeysuepnkhwamongekhlaaelabakhlng ekhaidthuxwasasnaepnorkhpwythangcit aelaklawhawa sasnakhristsngesrimihmikarcayxmslaaelakhikhlad musoslinimikhwamechuxeruxngisysastr hlngcakthiidyineruxngkhasapkhxngfaorh ekhaksngihmikarthxdthxnmnmixiyiptthiekharbepnkhxngkhwyxxkcak Palazzo Chigi thnthi musosliniepnphueluxmistxfridrich nithechx cakkarxangxingkhxng Denis Mack Smith innithechx ekhaphbwamiehtuphlkhxngkarthasngkhramkhruesdkhxngekhaintxkrkbkhunngamkhwamdikhxngkhwamxxnnxmthxmtn karcayxmsla karkusl aelakhunthrrmkhxngchawkhrisetiyn ekhaihkhwamsakhykbaenwkhidehnuxmnusykhxngnithechx phuthiehnaektwxnsudsudthithathayphraecaaelafungchn thiduhminsmphakhniymaelaprachathipity thimikhwamechuxinphuthixxnaexkwathicapinkhamkaaephngaelaphlkdnphwkekha hakipidimerwphx inwnekidkhrbrxb 60 pikhxngekha musosliniidrbkhxngkhwycakhitelxrepnhnngsuxthiepnphlngankhxngnithechxkhrbchudyisibsielm musosliniidklawocmtixyangephdrxntxsasnakhristaelasasnckrkhathxlik sungekhamaphrxmkbkhaphudplukpnekiywkbkarthwaytwkhxngecaphaphaelaekiywkberuxngrkikhrrahwangphrakhristaelamariychawmkdala ekhaidklawpranamsngkhmniymthixdthntxsasna hruxphuthinabutrmaekhaphithibphtisma aelaeriykrxngihnksngkhmniymthiyxmrbkaraetngnganthangsasnacatxngthukkhbxxkcakphrrkh ekhaidklawpranamsasnckrkhathxlikcak lththixanacniymaelaptiesththicayinyxnihmiesriphaphinkhwamkhid hnngsuxphimphkhxngmusoslinixyang La Lotta di Classe idraynganwa cudyunkhxngbrrnathikarnninkartxtankhrisetiyn snthisyyalaetrn aemwacamiklawocmtiinlksnadngklaw musoslinikidphyayamthicaidrbkarsnbsnuncakprachachnodykarexaicchawkhathxlikswnihyinxitali inpi kh s 1924 musosliniidmxngehnwaluksamkhnkhxngekhaidekharwmthaphithisilmhasnith in kh s 1925 ekhayxmrbihnkbwchidthaphithiaetngnganthangsasnaihkbtwekhaexngaelaraekhel sungekhaekhyaetngnganinphithiaebbphleruxn emux 10 pikxn emuxwnthi 11 kumphaphnth kh s 1929 ekhaidlngnaminkhxtklngaelasnthisyyakbsasnckrormnkhathxlik phayitsnthisyyalaetrn nkhrwatiknidrbsthanaepnrthexkrachaelaxyuphayitkdhmaykhxngsasnckr aethnthicaepnkdhmaykhxngxitali aelasasnakhathxlikidrbkaryxmrbwaepnsasnapracachatikhxngxitali sasnckryngidrbxanacinkaryinyxmihmikaraetngnganklbkhunma sasnanikaykhathxliksamarthsxnhnngsuxidinorngeriynmthymthukaehng karkhumkaenidaelaxngkhkrfriemnsnthuksngham aelakhnasngkhcaidrbenginsnbsnuncakrthaelaidrbkarykewnphasismedcphrasntapapapixusthi 11 thrngklawykyxngmusoslini aelahnngsuxphimphkhathxlikxyangepnthangkaridekhiynphadhwkhawwa xitaliidtxbaethnaekphraeca aelaphraecathrngprathanaekxitaliaelw phayhlngcakkarpranipranxmkhrngni ekhaidklawxangwa sasnckridxyuphayitbychakhxngrth aela xangxingthungnikaykhathxlikwa n cudkaenid nikaykhnadyxythiaephkhcayxkipnxkpaelsitnephiyngephraathukthabthaminkarekhasuswnhnungkhxngckrwrrdiormn phayhlngkhxtklng ekhaidyudhnngsuxkhathxlikhlaychbbinxiksameduxntxmamakkwainchwngecdpithiphanma mikarraynganwa musosliniekuxbthicathuktdkhadcakkhristckrkhathxlkinchwngewlann musosliniidthakarprbkhwamekhaickbsmedcphrasntapapapixusthi 11 txsatharnchnin kh s 1932 aet klbsngihnarupphaphthaykhxngekhaxxkcakhnngsuxphiphmthukchbbthiepnphaphkarkhukekhahruxaesdngkhwamekharphtxsmedcphrasntapapa ekhatxngkarchkcungchawkhathxlikwa lththifassistkhuxchawkhathxlikaelaekhaexngkepnphusrththathiichewlainaetlawninkarswdmntxthisthan smedcphrasntapapathrngtrsthungmusosliniwa epnchaythithuksngmaodykhwamemttakhxngphraeca thungaemwamusoslinicaphyayamthatwepnphuekhrngsasna tamkhasngkhxngphrrkhkaremuxngkhxngekha khasrrphnamthixangxingthungekhawa catxngekhiyndwyxksrtwihydngechnxangxingthungphraeca inpi kh s 1938 musosliniiderimyunynthungkartxtanxanacsasnckrxikkhrng bangkhrngkeriyktwekhaexngwa phuirsrththaodysineching aelaekhybxkkbkhnarthmntrikhxngekhawa sasnaxislamxaccaepnsasnathimiprasiththiphaphmakkwasasnakhristsaxik aelaklawwa taaehnngphrasntapapaepnenuxngxkrayinrangkaykhxngxitali aelatxngkacdthingphayinkhrawediyw ephraainkrungormnnimmithiwangsahrbphrasntpapaaelatwekhaexng ekhaidklawptiesthtxsatharnchncakkhaaethlngkarnthungkartxtanxanacsasnckrehlani aetyngkhngklawkhaaethlngkarnthikhlayknepnkarswntw txngkarxangxing phayhlngcakthiekhahmdxanacin kh s 1943 musosliniiderimphudthung ekiywkbphraecaaelapharahnathikhxngmonthrrmmakkhun aemwa ekhacakhngyngmipraoychnephiyngelknxysahrbphrankbwchaelasilskdisiththikhxngsasnckr ekhayngerimwadphaphthikhlaykhlungrahwangekhakbphraeysukhrist raekhel phuepnphrryamaykhxngmusoslini idklawwa samikhxngethxyngkhng epnphuimnbthuxsasnaodyaethcringcwbcnthungwarasudthaykhxngchiwit musosliniidthukthaphithisphinobsthkhathxlikin kh s 1957mummxngkhxngmusoslinitxlththitxtanchawyiwaelaechuxchatimusosliniedinekhiyngkhukbxdxlf hitelxrinkrungebxrlin kh s 1937 aemwainchwngaerk musoslinicaeminechytxlththikarehyiydechuxchatithangchiwwithya aetekhakyngmikhwamechuxmnxyangmnkhnginkhunlksnakhxngchatiaelaidklawthunglksnaodythwiphlayprakarkhxngchawyiw xyangirktam musosliniidthuxwachawyiwechuxsayxitaliepnchawxitali khxkhidehnkhxngmusoslinitxchawyiwinchwngplay kh s 1910 aelachwngaerk kh s 1920 mkcaimsxdkhlxngknaelaehmaasmkbchwngewlamakkwathicasathxnkbkhwamechuxthiaethcringinphwkekha musosliniidklawpranamkarptiwtirsesiy kh s 1917 tx karlangaekhnkhxngchawyiw txsasnakhristdwykhaphudwa karaekhngkhnimthryshkhlngechuxchati lththibxlechwikhkalngidrbkarpkpxngodyesrsthyathipityrahwangpraeths nnkhuxscthrrmthiaethcring nxkcakni ekhayngyunynwa 80 khxngphunaosewiytepnchawyiw aetphayinewlaimkispdah ekhakidotaeyngkbtwekhaexngdwykhaphudthiwa lththibxlechwikhnnimichpraktkarnkhxngchawyiwxyangthiphukhnechuxthux khwamcringkkhuxlththibxlechwikhkalngnaipsukhwamphinasyxyybkhxngchawyiwinyuorptawnxxk inchwngtn kh s 1920 musosliniklawwa lththifassistimekhyhyibykthung pyhachawyiw aelainbthkhwamthiekhaekhiynsungidklawwa xitaliimidrbruthunglththitxtanchawyiwaelaeraechuxwamncaimmiwnruely aelaidthukxthibayodylaexiydwa erahwngwachawyiwechuxsayxitalicayngkhngmiehtuphlephiyngphxephuximthaihekidlththitxtanchawyiwinpraethsediywthisungimekhymixyucring in pi kh s 1932 musosliniinchwngrahwangkarsnthnakb Emil Ludwig idxthibaywa kartxtanchawyiw khux rxngchaweyxrmn aelaklawwa immipyhachawyiw inxitaliaelaimsamarthekidkhunidinpraethsediywthimirabbkarpkkhrxngthidi hlaykhrnghlayhn musosliniidphudechingbwkkbchawyiwaelakhbwnkarisxxnist aemwalththifassistcayngkhngekidkhxsngsyinlththiisxxnist phayhlngcakphrrkhfassistkhunsuxanac in kh s 1934 musosliniidsnbsnunkarkxtngorngeriynnayeruxebtarinchiwitaewkekiyephuxfuksxnnkeriynnayeruxchawisxxnistphayitkarkhwbkhumkhxng Ze ev Jabotinsky sungidotaeyngwa rthyiwcaxyuinkhwamsnickhxngxitali cnkrathng kh s 1938 musosliniidptiesthtxphuidktamthimilththitxtanyiwphayinphrrkhfassist khwamsmphnthrahwangmusosliniaelaxdxlf hitelxrepnkhwamsmphnththiducakhdaeyngknexngtngaetaerk inkhnathihitelxridxangwa musosliniepnphuthrngxiththiphlaelaaesdngkhwamchunchmyindixyangmakthiednchdepnkarswntwtxekha musosliniihkhwamnbthuxhitelxrephiyngelknxy odyechphaaxyangyingphayhlngcakphwknasimishayaelaphnthmitrkhxngekhaxyang Engelbert Dollfuss sungepnephdckaraehngfassistxxsetriy idthuksngharinpi kh s 1934 dwykarlxbsnghar Dollfuss musosliniidphyayamthicatitwxxkhangcakhitelxr odyihptiesthswnihykhxnglththikarehyiydechuxchati odyechphaalththichawnxrdikaelalththiecxrmanik aelalththikartxtanchawyiwthiidihkarsnbsnunodychaweyxrmnhwrunaerng inchwngewlani musosliniidptiesthlththikarehyiydechuxchatithangchiwwithya xyangnxykinkhwamsanukkhidkhxngnasi aelaaethnthiinkarihkhwamsakhythung karthaihepnxitali swntang khxngckrwrrdixitalithiekhatxngkarcasrangkhun ekhaidprakaswaaenwkhidkhxngsuphnthusastraelaaenwkhidekiywkbkarthuxchatiphnthuthinasngsykhxngchawxarynaethbepnipimidely emuxklawthungrthkvsdikakhxngnasiwa prachachnchaweyxrmncatxngthuxhnngsuxphaspxrtthimiekhruxnghmaysylksnthirabuthungechuxchatixarynhruxchawyiw in kh s 1934 musosliniidprahladicwaphwkekhacakahndsmachikin echuxchatiecxrmanik idxyangir aetechuxchatiihnla miechuxchatichaweyxrmnhruxim mnekhymixyucringihm mncaekhymixyuhruxim khwamepncring eruxngprmpra hruxeruxnghlxklwngkhxngnkthvsti thangn eraidtxbwa echuxchatiecxrmaniknnimmixyucring khbwnkartang khwamxyakruxyakehn eraphudsaaelwsaxikwa imidmixyucring eraimidbxkxyangngn nkwithyasastrtanghakthiphud hitelxrexngkphudxyangnn emuxnkkhawchaweyxrmnechuxsayyiw Emil Ludwig idthamthungmummxngkhxngekhaekiywkbechuxchati musosliniideplngesiyngxuthanwa echuxchati mnepnkhwamrusuktanghak imichkhwamcring ekasibhaepxresnt xyangnxy khuxkhwamrusuk immixairthicathaihkhaphecaechuxwa echuxchatithangchiwwithyathibrisuththicasamarthaesdngihehnwamixyucringinthukwnni natlkkhbkhnphx sungimekhymiikhrprakasinkarepn khunnang khxngechuxchatithiwothnikkhuxtwekhaexngthiepnchawthiwthn Gobineau epnchawfrngess hustn scwt Chamberlain epnchawxngkvs Woltmann epnchawyiw Lapouge kchawfrngessxikkhn inkarklawkhaprasythibari ekhaidennyathungthsnkhtikhxngekhathimitxxudmkaneyxrmndwychnchatiphupkkhrxng prawtisastrinstwrrsthisamsib thaiheramxngehndwykhwamewthnaxyangsudxnaththunghlkkhasxnbangprakarsungidthuksngsxnipiklphncakethuxkekhaaexlpodylukhlankhxngphuirkarsuksaehlann emuxkrungormmikhnxyangsisar ewxrcil aelaexakustus aemwalththifassistxitalicamikarepliyntaaehnngthangechuxchati tngaet kh s 1920 thung kh s 1934 xudmkarnkhxnglththifassistxitaliimideluxkptibtitxchumchmchawxitali yiw musosliniidyxmrbwa miklumchumchnkhnadelkidxasyxyutngaet smykstriyaehngorm aelasmkhwr thicaimthukrbkwn michawyiwbangkhnthixyuinphrrkhchatiniymfassist echn Ettore Ovazza sungin kh s 1935 idkxtnghnngsuxphimphyiwfassistthichuxwa La Nostra Bandiera thngkhxngera hnaaerkkhxnghnngsuxphimphxitali emuxwnthi 11 phvscikayn kh s 1938 rabxbfassistidxnumtikdhmaykarehyiydechuxchatiswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidmrdktkthxdkhrxbkhrw susankhxngmusosliniinhxngitdinkhxngkhrxbkhrw insusandieprdppiox khrxbkhrwmusoslininnmiphurxdchiwitodyphrryakhxngekha lukchaysxngkhnxyangwitotrioxaelaaelaluksawkhxngekhaxyangexdda epnphrryahmaykhxngekhantchixaon aelaaexnna maeriy butrchaykhnthisam bruon idesiychiwitinehtuekhruxngbintk inkhnathikhbekhruxngbinthingraebidrun Piaggio P 108 inpharkicthdsxb emuxwnthi 7 singhakhm kh s 1941 butrchaykhnotkhxngekha ebniot xlbion musoslini sungkaenidcakphrryaxikkhnkhux Ida Dalser thuksnghamprakaswamusosliniepnbidakhxngekha aelain kh s 1935 ekhathukbngkhbihliphyinmilan thinnekhacungthuksnghar emuxwnthi 26 singhakhm kh s 1942 phayhlngcakthukchidyakratunthaihxakarokhmasaaelwsaela luksawkhxng butrchaykhnthisikhxngebniot musoslini aelaphrryanamwa aexnna maeriy siokholen nxngsawkhxngosefiy lxern epnsmachikrthsphayuorpsahrbkhbwnkarkhxngfaykhwacd twaethninsphalangkhxngxitaliaelathahnathiinwuthisphainthanathiepnsmachikkhxngsilwiox aebrlusokni