บทความนี้ไม่มีจาก |
จักรวรรดินิยมในเอเชียซึ่งนำเสนอในบทความนี้ว่าด้วยการเข้ามายังบริเวณที่เดิมเรียก ของชาติยุโรปตะวันตก จักรวรรดินิยมในเอเชียเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยการค้นเส้นทางการค้ากับประเทศจีนซึ่งนำไปสู่ยุคแห่งการสำรวจโดยตรง และนำการสงครามสมัยใหม่ตอนต้นมาสู่บริเวณซึ่งขณะนั้นเรียก ตะวันออกไกล เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ขยายอิทธิพลของยุโรปตะวันตกและพัฒนาการค้าเครื่องเทศภายใต้ลัทธิอาณานิคมอย่างมาก มียุโรปตะวันตกและจักรวรรดินิยมในเอเชียตลอดหกศตวรรษแห่งลัทธิอาณานิคม จนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อติมอร์-เลสเต ซึ่งเป็นอาณานิคมสุดท้ายของจักรวรรดิโปรตุเกส ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2002 จักรวรรดินำมาซึ่งมโนทัศน์ชาติและแบบตะวันตก บทความนี้พยายามสรุปพัฒนาการของมโนทัศน์รัฐชาติของตะวันตก
แรงผลักของอำนาจทางการเมือง พาณิชย์และวัฒนธรรมของยุโรปในเอเชียทำให้มีการค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งเป็นพัฒนาการสำคัญจนนำมาซึ่งเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสทำลายการผูกขาดการค้าทางบกระหว่างทวีปเอเชียและยุโรปของชาวอาหรับและอิตาลี โดยการค้นพบเส้นทางทางทะเลสู่อินเดียอ้อมแหลมกู๊ดโฮป อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์คู่แข่งซึ่งตามติดมา ทำให้อิทธิพลของโปรตุเกสในทวีปเอเชียค่อย ๆ หมดไป กองทัพดัตช์เป็นชาติแรกที่สถาปนาฐานทัพอิสระทางตะวันออก (ที่สำคัญที่สุด คือ ปัตตาเวีย ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์อันมีป้อมค่ายแน่นหนา) แล้วจากนั้น ระหว่าง ค.ศ. 1640 ถึง 1660 ดัตช์แย่งชิงการค้ากับมะละกา ซีลอน ท่าอินเดียใต้บางแห่ง และญี่ปุ่นที่มีกำไรมากจากโปรตุเกส ต่อมา อังกฤษและฝรั่งเศสสถาปนานิคมในอินเดียและสถาปนาการค้ากับจีนและการได้มาของอังกฤษและฝรั่งเศสนี้จะค่อย ๆ แซงหน้าเนเธอร์แลนด์ หลังสงครามเจ็ดปีใน ค.ศ. 1763 อังกฤษกำจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสในอินเดียและสถาปนาบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษเป็นอำนาจการเมืองที่สำคัญที่สุดในอนุทวีปอินเดีย
ก่อนหน้าการปฏิวัติอุตสาหกรรมในกลางถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อุปสงค์ของสินค้าตะวันออกอย่างเครื่องถ้วยเปลือกไข่ ไหม เครื่องเทศและชา ยังเป็นแรงผลักเบื้องหลังจักรวรรดินิยมของยุโรป และเดิมพันของยุโรปในทวีปเอเชียส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่กับสถานีการค้าและกองรักษาด่านทางยุทธศาสตร์ซึ่งจำเป็นต่อการคุ้มครองการค้า (โดยยกเว้นการปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในอินเดีย) ทว่า การปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเพิ่มอุปสงค์ของยุโรปต่อวัตถุดิบจากเอเชียอย่างมาก และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาว (Long Depression) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1870 เป็นชนวนการแย่งชิงตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยุโรปและบริการทางการเงินในทวีปแอฟริกา อเมริกา ยุโรปตะวันออก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเชีย การแย่งชิงนี้เกิดขึ้นพร้อมกับสมัยใหม่ในการขยายอาณานิคมโลกเรียก "" ซึ่งหันความสนใจจากการค้าและการปกครองทางอ้อมเป็นการควบคุมอาณาเขตโพ้นทะเลไพศาลแบบอาณานิคมอย่างเป็นทางการอันปกครองเป็นการขยายทางการเมืองจากประเทศแม่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1870 จนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1914 สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มั่นคงในทวีปเอเชีย ผนวกอาณาเขตกว้างใหญ่ของตะวันออกกลาง อนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ากับจักรวรรดิของตน ในห้วงเวลาเดียวกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นหลังการปฏิรูปเมจิ จักรวรรดิเยอรมันหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียยุติใน ค.ศ. 1871 จักรวรรดิรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาหลังใน ค.ศ. 1898 กำเนิดเป็นเจ้าอาณาเขตในเอเชียตะวันออกและบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างรวดเร็ว
ในทวีปเอเชีย สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการต่อสู้ระหว่างเจ้าอาณานิคมหลายชาติ ความขัดแย้งดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชาติยุโรปกับรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งกำลังผงาด ทว่า ไม่มีเจ้าอาณานิคมประเทศใดมีทรัพยากรเพียงพอกับความเสียหายจากสงครามโลกทั้งสองครั้งและธำรงการปกครองโดยตรงในทวีปเอเชียได้ แม้ขบวนการชาตินิยมทั่วโลกอาณานิคมนำมาซึ่งเอกราชทางการเมืองในอาณานิคมแทบทั้งหมดที่เหลืออยู่ในทวีปเอเชีย ถูกสงครามเย็นขัดขวาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันตกยังจมอยู่ในระบบเศรษฐกิจ การเงินและทหารโลกซึ่งมหาอำนาจแข่งกันขยายอิทธิพล อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามที่รวดเร็วของเสือเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก อินเดีย จีน ตลอดจนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้ลดอิทธิพลของยุโรปและอเมริกาเหนือในทวีปเอเชีย ทำให้มีการสังเกตในปัจจุบันว่าอินเดียและจีนสมัยใหม่อาจกำเนิดเป็นอภิมหาอำนาจใหม่ของโลก
อังกฤษในอินเดีย
การล่มสลายของราชวงศ์โมกุลแห่งอินเดียและการกำเนิดของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
อังกฤษก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (The British East India Company) ขึ้นในปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) แม้ว่าจะเป็นการเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขยายอำนาจเข้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษต่อมา เมื่ออังกฤษเข้าครองได้ หลังมีชัยชนะในยุทธการที่ปาลาศี ในปี พ.ศ. 2300 (ค.ศ. 1757) บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลหรือ (Mughal) ตกต่ำเสื่อมถอย เนื่องจากการคอรัปชั่น กดขี่ราษฎร และการก่อกบฏ จนในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลายลงในรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบ (Aurangzab) ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658 - 1707
รัชสมัยของกษัตริย์ (Shah Jahan, ค.ศ. 1628 - 1658) เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรื่องและมีพระราชอำนาจสูงสุดของราชวงศ์โมก์ฮัน แต่พอถึงรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบก็เป็นยุคแห่งหายนะ เนื่องจากกษัตริย์โอรังเซบเป็นผู้ที่มีความอำมหิต และคลั่งไคล้ในศาสนา มีพระประสงค์จะกำจัดผู้ที่มีความคิดเห็น ความเชื่อหรือทัศนะที่แตกต่างไปจากความเชื่อของมุสลิมให้หมดไปจากแผ่นดินอินเดีย
ในราวปี พ.ศ. 2233 (ค.ศ. 1690) อันเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์โมก์ฮัลสามารถแผ่ขยายจักรวรรดิออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลที่สุดนั้น อินเดียภายใต้การปกครองของกษัตริย์โอรังเซบมีอาณาบริเวณครอบคลุมพื้นที่คาบสมุทรอินเดียทั้งหมด แต่ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรื่องตามมาด้วยวัฏจักรขาลง หรือช่วงเวลาของอำนาจที่เสื่อมคลายตกต่ำ 15 ปี หลังการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์โอรังเซบ ราชอาณาจักรโมก์ฮัลที่ยิ่งใหญ่ก็ถึงแก่กาลล่มสลายลง อนุทวีปก้าวเข้าสู่ช่วงอนาธิปไตย บ้านเมืองยุ่งเหยิง ไร้ขื่อแป เนื่องจากบรรดาแม่ทัพนายกอง เหล่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางแก่งแย่งชิงกันเป็นใหญ่ แบ่งกันเป็นก๊กเป็นเหล่า ทำการปล้นสะดมแย่งอำนาจระหว่างกัน แต่ในช่วงเวลาเหล่านี้ราชวงศ์โมก์ฮัลยังปกครองอินเดียอยู่ในนาม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) รัฐบาลกลางจึงถึงกาลล่มสลายลง ก่อให้เกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจขึ้นในดินแดนภารตะที่กว้างใหญ่นี้
จากบริษัทสู่เพชรยอดมงกุฎแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ
ระหว่างที่บริษัทเทรดดิ้งของอังกฤษและฝรั่งเศสแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างกันและกันมาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษนั้น ราวกลางศตวรรษที่ 18 สงครามซึ่งเป็นเสมือนอนุสาวรีย์แห่งความเป็นเจ้าจักรวรรดิของอังกฤษก็เริ่มต้นขึ้น ในช่วงสงครามเจ็ดปี (พ.ศ. 2299 - 2306) รอเบิร์ต ไคลฟ์ (Robert Clive) ผู้นำบริษัทในอินเดียมีชัยชนะเหนือกษัตริย์แห่งเบงกอลในอินเดียในการศึกที่เพลสเซย์ (Battle of Plassey พ.ศ. 2300) อันเป็นชัยชนะครั้งสำคัญซึ่งนำไปสู่การเริ่มต้นของยุคใหม่ในประวัติศาสตร์อินเดีย ซึ่งเป็นยุคที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียอย่างไม่เป็นทางการ และในขณะที่อินเดียยังคงสถานภาพมีอธิปไตยของตนเองแต่เพียงในนามนั้น จักรพรรดิราชวงศ์โมก์ฮัลของอินเดียก็มีฐานะเป็นหุ่นเชิดของอังกฤษมากยิ่งขึ้นทุกที ๆ พร้อม ๆ กับที่ภาวะบ้านเมืองไร้ขื่อแปก็แพร่ระบาดไปทั่วจนกระทั่งบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกก้าวขึ้นสู่บทบาทตำรวจปราบปรามการจลาจลวุ่นวายในอินเดียอย่างเต็มตัว
การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ลัทธิอาณานิคมอย่างเป็นทางการของอินเดียเริ่มจากการที่อังกฤษสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียขึ้นเป็น "จักรพรรดินีแห่งอินเดีย (Empress of India)" ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ซึ่งเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยขั้นตอนแรกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอินเดียเข้าเป็นดินแดนใต้ปกครองอย่างเป็นทางการของอังกฤษได้เริ่มมาตั้งแต่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาอังกฤษหลังถูกรบกวนด้วยแนวคิดที่ว่า บริษัทธุรกิจที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้มีความสนใจเบื้องต้นอยู่ที่การทำผลกำไรให้ได้เท่านั้น ในขณะที่มีอำนาจควบคุมโชคชะตาของคนจำนวนเป็นล้าน ๆ คน ได้ผ่านกฎหมายหลายฉบับออกมาในปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) และ พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) กฎหมายที่ออกมาเห่านี้ได้ให้อำนาจแก่รัฐสภาในการควบคุมนโยบายต่างๆของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก และมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงสุดของบริษัทในอินเดียซึ่งรู้จักกันในชื่อตำแหน่ง ว่า " (governor-general)" (ระบบการควบคุม 2 ระดับนี้ใช้กันต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1858) ในปี พ.ศ. 2361 (ค.ศ. 1818) บริษัทบริติชอินเดียตะวันออกปกครองอินเดียทั้งหมด กษัตริย์พื้นเมืองอินเดียบางส่วนถูกบีบให้ยอมสวามิภักดิ์ ยอมรับความเป็นเจ้าอาณานิคมของอังกฤษ ขณะที่บางส่วนถูกริบดินแดนไป พื้นที่บางส่วนของอนุทวีปตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของอังกฤษ ในขณะที่บางส่วนราชวงศ์พื้นเมืองยังคงปกครองบ้านเมืองของตนอยู่ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษ
ก่อนถึงปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) นั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมก์ฮันอย่างเป็นทางการอยู่ อย่างไรก็ตาม ความโกรธแค้นในกลุ่มสังคมหลายกลุ่มได้คุกรุ่นขึ้นในสมัยที่ (James Dalhousie) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของอังกฤษ (พ.ศ. 2390 - 2399) เนื่องจากบุคคลผู้นี้ได้ทำสงครามและขยายดินแดนภายใต้ปกครองของอังกฤษออกไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การทำ (the second Sikh War) เมื่อมีชัยชนะก็ผนวกเอาแคว้นปัญจาบเข้ากับอังกฤษ (พ.ศ. 2392) การยึดอำนาจจากเจ้าปกครองรัฐต่าง ๆ อีก 7 รัฐโดยข้ออ้างว่าละเมิดศีลธรรมและหันกลับไปสู่การทุจริตคิดมิชอบอีก การยึดรัฐสำคัญๆในแคว้นอวาธะ (Oudh) โดยอ้างความผิดพลาดในการบริหารปกครองบ้านเมือง และปฏิบัติการด้านวัฒนธรรมที่มีความอ่อนไหวเช่น ห้ามการทำพิธีกรรมของฮินดู เช่นพิธีสตี (Sati) หรือ พิธีเผาตัวเองของหญิงหม้ายชาวฮินดูเพื่อตามสามีที่เสียชีวิตไปก่อนด้วยการกระโดดเข้ากองไฟที่เผาศพสามี เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) เกิด (Sepoy Rebellion) หรือ ขบถอินเดีย (Indian Mutiny) ขึ้น ซึ่งเป็นการก่อกบฏที่เริ่มต้นขึ้นโดยกองกำลังชาวอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของกองกำลังติดอาวุธของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก การกบฏครั้งนี้ถือเป็นจุดหักเหครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อินเดีย และครั้งนั้นอังกฤษยังโชคดีมาก เนื่องจากทหารอินเดียในส่วนอื่น ๆ อีกหลายพื้นที่ภายใต้ปกครองของอังกฤษยังคงมีความจงรักภักดีต่อบริษัท ไม่เคลื่อนไหวเข้าสมทบหรือสนับสนุนฝ่ายกบฏ ทำให้อังกฤษปราบฝ่ายกบฏลงได้อย่างราบคาบหลังจากการต่อสู้อย่างรุนแรง ผลลัพธ์สำคัญประการหนึ่งจากการก่อกบฏครั้งนั้นก็คือการอวสานของราชวงศ์โมก์ฮัล กบฏทหารอินเดียครั้งนั้นยังทำให้ระบบการควบคุมอาณานิคมอินเดีย 2 ระดับของอังกฤษ คือการแบ่งปันอำนาจในการปกครองอินเดียร่วมกันระหว่างรัฐบาลอังกฤษและบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกยุติลงด้วย รัฐบาลอังกฤษปลดบริษัทบริติชอินเดียตะวันออกออกจากตำแหน่งความรับผิดชอบทางการเมือง และในปี พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) บริษัทซึ่งมีบทบาทสำคัญในฐานะหัวหอกไล่ล่าอาณานิคมของอังกฤษซึ่งมีอายุ 258 ปี ก็ยุติบทบาทตนเองลงอย่างสิ้นเชิง มีการรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเป็นข้าราชการพลเรือนบริหารอินเดียในสังกัดของอังกฤษ และบุคคลเหล่านี้คือบุคคลกลุ่มแรก ๆ ที่มีความพร้อมจะปกครองอินเดียในช่วงต่อไป
ลอร์ดแคนนิง (Lord Canning ได้รับแต่งตั้งเป็นเอิร์ล ในปี พ.ศ. 2402) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งอินเดียในปี พ.ศ. 2399 (ค.ศ. 1856) ลอร์ดแคนนิงผู้นี้เป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า "แคนนิงผู้เมตตา" (Clemency Canning) เนื่องจากเขาเป็นผู้ที่พยายามควบคุมมิให้มีการแก้แค้นชาวอินเดีย ในช่วงระหว่างเกิดการกบฏโดยกองกำลังทหารอินเดียขึ้นนั่นเอง เมื่อมีการเปลี่ยนถ่ายการปกครองอินเดียจากบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก มาเป็นการปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ หรือเปลี่ยนจาก "บริษัทสู่เพชรยอดมงกุฎแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ" ตำแหน่งผู้ปกครองอินเดียของอังกฤษก็เปลี่ยนตามไปด้วย คือเปลี่ยนจากตำแหน่ง "ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้น" (governor-general) ไปเป็นตำแหน่ง "อุปราช" (Viceroy) และอุปราชแห่งอินเดียคนแรกของอังกฤษคือแคนนิงนั่นเอง
กำเนิดของลัทธิชาตินิยมอินเดีย
อังกฤษปกครองอาณานิคมอินเดีย พร้อมกับการพัฒนาอินเดียให้มีความทันสมัยก้าวหน้าขึ้นในหลายด้าน ตัวอย่างเช่น การขยายเส้นทางรถไฟจากปี พ.ศ. 2396 เป็นต้นมานั้นได้ช่วยให้ภาคธุรกิจต่าง ๆ ขยายตัวออกไปด้วย ในขณะที่การเพาะปลูกฝ้าย ชา และครามก็ทำให้เกิดธุรกิจอย่างใหม่ ๆ ขึ้นในภาคเศรษฐกิจการค้า การยกเลิกภาษีนำเข้าในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) ซึ่งเปิดช่องทางให้อุตสาหกรรมที่เกิดใหม่ของอินเดียมองเห็นถึงการที่ต้องปลดโซ่ตรวนการแข่งขันจากอังกฤษ จึงกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการที่ทันสมัยอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาด้วย นั่นก็คือ การเกิดขึ้นของขบวนการชาตินิยมอินเดีย
การปฏิเสธไม่ยอมให้สถานภาพที่เท่าเทียมกันแก่ชาวอินเดีย คือปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดการก่อตั้ง (The Indian National Congress) ขึ้นในปี ค.ศ. 1885 ซึ่งเบื้องต้นยังจงรักภักดีต่อจักรวรรดิอังกฤษ แต่จากปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) เป็นต้นมาก็ยืนหยัดที่จะสร้างรัฐบาลอินเดียที่มีอำนาจในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น. จนกระทั่งปี ค.ศ. 1930 ภารกิจก็คือการประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษโดยตรง ระบบ "Home Charges" ซึ่งเป็นระบบที่อังกฤษใช้ดูดทรัพยากรธรรมชาติ และโยกย้ายสินทรัพย์จากอินเดียไปยังอังกฤษ ในฐานะที่เป็น "ค่าใช้จ่ายในการบริหาร" อาณานิคมอินเดียนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความเจ็บใจให้แก่บรรดานักชาตินิยมอินเดียมายาวนาน แม้ว่าการไหลของทรัพยากรมีค่าของอินเดียไปยังอังกฤษ จะลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงหลายทศวรรษก่อนที่ในปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ก็ตาม
แม้ว่าผู้นำของชาวฮินดูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ และผู้นำของชนมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของอินเดีย จะสามารถร่วมมือกันได้อย่างใกล้ชิด ในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายอาณานิคมของอังกฤษ จนเข้าสู่คริสต์ทศวรรษ 1920 แต่อังกฤษก็ให้การสนับสนุนองค์กรทางการเมืองของชาวมุสลิมที่แตกต่างกันจากชาวฮินดูมาแล้วตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) และพอในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 เป็นต้นไป ก็ยืนกรานกระต่ายขาเดียวที่จะให้มีคณะเลือกตั้งที่แยกกันสำหรับชนกลุ่มน้อยที่แตกต่างกันทางลัทธิศาสนา ซึ่งท่าทีของอังกฤษดังกล่าวถูกมองโดยคนจำนวนมากในอินเดียว่า เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างฮินดู-มุสลิมขึ้น จนท้ายที่สุดทำให้เกิดการแบ่งแยกอินเดียออกเป็นส่วน ๆ
ฝรั่งเศสในอินโดจีน
บทบาทของฝรั่งเศสในอาณานิคมเอเชียนั้นแตกต่างจากอังกฤษ เพราะฝรั่งเศสได้สูญเสียอำนาจจักรวรรดินิยมของตนให้แก่อังกฤษไป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ดังนั้นจึงมีพื้นฐานสำหรับการขยายดินแดนเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในแง่ของภูมิศาสตร์และการพาณิชย์น้อยกว่าอังกฤษ ในช่วงหลังจากทศวรรษ 1850 ลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งถูกกระตุ้นโดยความต้องการด้านชาตินิยมเพื่อแข่งขันกับคู่ปรับคืออังกฤษ และได้รับการสนับสนุนทางปัญญา โดยแนวคิดเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่เหนือกว่าชาติอื่นของวัฒนธรรมฝรั่งเศส และขบวนการพิเศษของ "mission civilisatrice" หรือ ขบวนการหล่อหลอมชนพื้นเมืองให้มีความอารยะโดยผ่านการซึมซับรับเอาวัฒนธรรมของชาติฝรั่งเศสเข้าไปอย่างกลมกลืนแทบไม่รู้สึกตัว ดังนั้น ข้ออ้างโดยตรงของฝรั่งเศสในการขยายอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีนก็คือการปกป้องคณะมิชชั่นนารีฝรั่งเศสที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในพื้นที่ดังกล่าว ควบคู่กันไปกับความปรารถนาที่จะค้นหาเส้นทางเข้าสู่ทางภาคใต้ของจีน โดยผ่านพื้นที่ทางภาคเหนือของเวียดนามซึ่งเรียกว่า ดินแดนตั๋งเกี๋ย (Tonkin)
ฝรั่งเศสได้เข้าไปลงหลักปักฐานผลประโยชน์ของตนทั้งทางด้านศาสนาและทางด้านการค้าในอินโดจีนตั้งแต่ในศตวรรษที่ 17 แต่ความพยายามที่จะประสานผลประโยชน์ทั้งสองด้านเข้าด้วยกันเพื่อสถาปนาเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสขึ้นนั้นไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากจะต้องเผชิญหน้ากับอังกฤษที่กำลังแข็งแกร่งเฟื่องฟู แผ่อำนาจไล่ล่าอาณานิคมอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ขณะที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายปราชัยอยู่ในยุโรปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 กลุ่มเคร่งศาสนาได้กลับฟื้นคืนสู่อำนาจอีกครั้งในฝรั่งเศสอันเป็นช่วงที่เรียกกันว่า "จักรวรรดิที่ 2" (the Second Empire) สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ ทำให้ความสนใจต่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศสในตะวันออกไกลมีกระแสเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเกิดกระแสต่อต้านศาสนาคริสต์ขึ้นในดินแดนตะวันออกไกล เช่น การจับกุม กลั่นแกล้งและสังหารชาวคริสต์ ฯลฯ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงกลายเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ฝรั่งเศสก้าวเข้าแทรกแซงฝ่ายบริหารของชนถ้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1856 จีนสั่งประหารชีวิตมิชชันนารีฝรั่งเศสที่ไปเผยแพร่ศาสนาอยู่ในดินแดนทางใต้ของจีน และในปี ค.ศ. 1857 จักรพรรดิเวียดนามซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤติในประเทศ ได้พยายามทำลายอิทธิพลของต่างชาติในเวียดนามโดยการสั่งประหารชีวิตบิชอปชาวสเปนแห่งตังเกี๋ย (Tonkin) ฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์นโปเลียนที่ 3 ตัดสินใจว่า ถ้าฝรั่งเศสไม่เข้าไปช่วย ศาสนาคาทอลิกจะถูกจำกัดให้สูญหายไปจากดินแดนตะวันออกไกล พระองค์จึงร่วมมือกับอังกฤษทำสงครามกับจีน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1857 ไปจนถึงปี ค.ศ. 1860 พร้อมกับทำสงครามยึดเวียดนามด้วย และในปี ค.ศ. 1860 ฝรั่งเศสก็เข้ายึดครองไซง่อนไว้ได้
ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-เวียดนาม (Franco-Vietnamese Treaty) ซึ่งทำขึ้นในปี ค.ศ. 1862 นั้น จักรพรรดิเวียดนามไม่เพียงยินยอมยกดินแดน 3 จังหวัดในโคชิน ไชน่า (Cochin China) ดินแดนทางภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิงเท่านั้น แต่ยังให้การรับรองสิทธิพิเศษทั่วแผ่นดินเวียดนามทั้งทางด้านการค้าและการเผยแพร่ศาสนาให้แก่ฝรั่งเศส พร้อมทั้งยอมรับการเป็นรัฐในอารักขา (protectorates) หรือการมีฝรั่งเศสเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเวียดนามอีกด้วย จากนั้นอย่างช้า ๆ อำนาจของฝรั่งเศสก็แผ่ขยายออกไปในอินโดจีน ด้วยการสำรวจหาดินแดนใหม่ การแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส และการใช้กำลังเข้ายึดครองมาเป็นอาณานิคมของตนดื้อ ๆ การบุกเข้ายึดครองฮานอยในปี ค.ศ. 1882 นำไปสู่การทำสงครามโดยตรงกับจีน (ค.ศ. 1883-1885) และการมีชัยชนะในการศึกของฝรั่งเศสในสงครามครั้งนี้ ก็เป็นยืนยันถึงการมีอิทธิพลครอบงำเหนือดินแดนในภูมิภาคนี้ของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสปกครองดินแดนโคจินไชน่าในฐานะดินแดนอาณานิคมโดยตรงของฝรั่งเศส ส่วนอันนัม (Annam, พื้นที่ตอนกลางเวียดนาม) ตังเกี๋ย และกัมพูชา ตกเป็นดินแดนภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส โดยมีระดับการควบคุมแตกต่างกันไป และในไม่ช้าก็สามารถยึดลาวเข้าเป็นรัฐใต้อารักขาของตนได้เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศสได้สร้างจักรวรรดิขึ้นในอินโดจีน ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าประเทศแม่ในยุโรปเกือบ 50% ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในฮานอยปกครองโคจินไช่น่าโดยตรง ขณะที่ควบคุมภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยระบบผู้แทนผู้สำเร็จราชการที่อยู่ประจำรัฐอารักขา (system of residents) นั่นคือ ในทางทฤษฎีแล้ว ฝรั่งเศสจะปล่อยให้ผู้ปกครองท้องถิ่น ที่ปกครองดินแดนเหล่านี้มาก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำหน้าที่ปกครองดินแดนต่อไป พร้อมทั้งยังคงให้ใช้โครงสร้างการบริหารราชการแบบเดิม ทั้งใน อันนัม ตั่งเกี๋ย กัมพูชา และ ลาว. แต่ในความเป็นจริงนั้น ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการเงินและการบริหารปกครองดินแดนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถาบันต่าง ๆ ของชนพื้นเมืองจะอยู่รอดต่อไปได้ เพื่อทำให้การปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นที่ยอมรับได้มากขึ้น แต่สถาบันต่าง ๆ เหล่านั้นก็มีสภาพเสมือนหุ่นเชิด หรือตรายางเท่านั้น เนื่องจากไร้อิสรภาพในการดำเนินการใด ๆ ได้อย่างเป็นเสรี. ผู้ปกครองอาณานิคมฝรั่งเศส พยายามดูดกลืนชนชั้นสูงในท้องถิ่น ให้ยอมรับความยิ่งใหญ่เหนือกว่าของอารยธรรมฝรั่งเศส. ในขณะที่ฝรั่งเศสพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือนให้ดีขึ้น และสร้างเสถียรภาพทางด้านการค้านั้น มาตรฐานการดำรงชีวิตของชนพื้นเมืองก็ตกต่ำลง. โครงสร้างสังคมในช่วงก่อนยุคอาณานิคมเสื่อมโทรมลง อินโดจีนซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่า 18 ล้านคนในปี ค.ศ. 1914 มีความสำคัญต่อฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ฝรั่งเศสต้องการ คือ ดีบุก พริกไทย ถ่านหิน ฝ้าย และข้าว อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การมีอาณานิคมนั้น โดยแท้จริงแล้ว สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าทางด้านการค้าพาณิชย์ให้แก่ฝรั่งเศสได้จริงหรือไม่
ลัทธิจักรวรรดินิยมในจีน
การแทรกซึมของลัทธิจักรวรรดินิยมในจีน
ในช่วงศตวรรษที่ 18 นั้น อังกฤษมีการค้าขายที่คึกคักกับจีน โดยมีการส่งออกแร่เงินจากเม็กซิโกไปยังจีนและนำเข้าชาจากจีนไปยังเมืองแม่ แต่เมื่ออังกฤษสูญเสียอาณานิคมอเมริกาซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกับเม็กซิโกไป อังกฤษก็สูญเสียแหล่งป้อนแร่เงินสำคัญของตนไปด้วย จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องหาสินค้าทางเลือกอื่นเพื่อการส่งออก ฝิ่นของชนอินเดียนเป็นสินค้าที่สามารถทำกำไรได้งามถ้านำมาส่งออกไปยังจีนแทน ถ้าไม่คำนึงถึงศีลธรรม สินค้าตัวใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีให้แก่อังกฤษได้ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทางด้านสังคมในจีน ส่งผลให้เกิดสงครามฝิ่น (Opium Wars) ระหว่างอังกฤษกับจีนขึ้นเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1830
จีนภายใต้ลัทธิจักรวรรดินิยมอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้นได้รับการเลี้ยงดูด้วยความคิดที่ผิด ๆ ด้วยเช่นกันว่า เป็นแหล่งตลาดโดยธรรมชาติสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมจากอังกฤษ (สำคัญที่สุดคือสิ่งทอ) และที่ว่าชาวจีนไม่ยอมคบค้าเกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างชาตินั้นก็เป็นเพียงเพราะการควบคุมด้านการค้าอย่างเข้มข้นของรัฐบาลจีน แต่ปัจจุบันนี้ นักประวัติศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การควบคุมทางการค้าของจีนในยุคสมัยนั้นไม่ได้เข้มงวดมากมายอะไรนัก และสินค้าสิ่งทอจากอังกฤษนั้นไม่สามารถที่จะแข่งขันกับจีนได้ เนื่องจากสินค้าสิ่งทอของจีนนั้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากแรงงานส่วนเกินของคนในครอบครัว ดังนั้นจึงไม่ต้องอาศัยการยังชีพด้วยอัตราค่าจ้างดังเช่นที่คนงานผู้ผลิตสิ่งทอเป็นอยู่ในโรงงานของอังกฤษ
ความทะเยอทะยานของเหล่าบรรดานักล่าอาณานิคมและคู่แข่งในตะวันออกไกล ทำให้จีนซึ่งมีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาล และจำนวนประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ของโลก ตกเป็นเป้าของการไล่ล่าเพื่อเข้ายึดครองอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ทำให้จีนยังคงสามารถอยู่รอดเป็นประเทศเอกราชอยู่ได้ในภาพรวมนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยืดหยุ่นของโครงสร้างทางสังคมและการบริหารปกครองของจีนเอง อย่างไรก็ตาม การคงความเป็นเอกราช รอดปากเหยี่ยวปากกาลัทธิจักรวรรดินิยมของแผ่นดินใหญ่จีนไว้ได้โดยรวมนั้น ยังสามารถมองได้ด้วยว่าเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงขีดจำกัดที่แท้จริงของลัทธิจักรวรรดินิยมยุโรป เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการอ้างสิทธิในการแข่งขันที่คล้ายคลึงกันได้อีกด้วย
ตามหลักการแล้ว เบื้องลึกของการไล่ล่าหาอาณานิคมของชาติตะวันตก ก็คือเพื่อให้มีดินแดนสำหรับใช้เป็นที่ตั้งกองกำลัง ซึ่งจะกลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญทางยุทธศาสตร์ขึ้นในดินแดนที่อยู่ห่างไกล เพื่อกองกำลังเหล่านั้น จะได้ทำหน้าที่ปกป้องพื้นที่ "การลงทุน" ขนาดใหญ่ของเหล่าประเทศเจ้าอาณานิคมทั้งหลาย ดังเช่นใน อินเดีย ลาตินอเมริกา และจีน. แต่อังกฤษนั้น ในบางสำนึก ยังคงยึดมั่นกับแนวคิดตามลัทธิเสรีพาณิชย์ของนักเศรษฐศาสตร์ ที่ว่า ลัทธิอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการนั้น มีความเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้ก็ได้เป็นที่ยอมรับตามกันอย่างเป็นเอกฉันท์ในกลุ่มนักทุนนิยมอุตสาหกรรมทั้งหลายในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาระหว่างการล่มสลายของนโปเลียนและสงครามฟรังโก-ปรัสเซียน. สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความชอบสำหรับลัทธิอาณานิคมเหนือกว่าจักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการ แต่ท่าทีต่อการปกครองอาณานิคมอย่างเป็นทางการในส่วนใหญ่ของพื้นที่ในแถบร้อนนั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกพิจารณาว่า "ล้าหลัง" มากเกินไปสำหรับการค้า พื้นที่ซึ่งมีความเป็นเอกราชนั้น ให้การต้อนรับขับสู้จักรวรรดิอย่างไม่เป็นทางการอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปกครองในฐานะอาณานิคมอย่างเป็นทางการ ในช่วงของการปรับเปลี่ยนโยกย้ายเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมใหม่
ตัวอย่างเช่น จีนไม่ใช่ประเทศล้าหลังที่ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรก ๆ ของการค้าพาณิชย์ตามสไตล์ตะวันตกได้ แต่จักรวรรดิจีนที่มีความเจริญก้าวหน้าสูงมากนี้ ไม่ยินยอมรับรูปแบบของการค้าพาณิชย์ของตะวันตก (ซึ่งบ่อยครั้งเป็นการผลักดันสำหรับการค้ายาเสพย์ติด) สิ่งนี้น่าจะเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมชาติตะวันตกจึงพอใจกับสภาพของ "เขตอิทธิพล" (spheres of Influences) ซึ่งเป็นรูปแบบของอาณานิคมอย่างไม่เป็นทางการกับจีน. หลังสงครามฝิ่นครั้งแรกยุติลง การค้าพาณิชย์ของอังกฤษ และต่อมาคือเงินลงทุนของชาติที่มีอำนาจทางอุตสาหกรรมใหม่อื่น ๆ ก็พลอยได้รับระดับการควบคุมอย่างเป็นทางการเพียงเล็กน้อย ในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ในดินแดนของจีนด้วย. ขณะที่ชาติจักรวรรดินิยมใหม่เหล่านั้น จะมีอำนาจในการบังคับควบคุมเหนือบรรดาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาตะวันตก และเขตแปซิฟิก มากกว่ามาก. อย่างไรก็ตาม มหาอำนาจตะวันตกก็ได้ใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง เพื่อปราบปรามการจลาจลวุ่นวายที่เกิดขึ้นภายในอาณาจักรจีนด้วย เช่น กรณีการก่อการจลาจลที่น่าสะพรึงกลัวของ (Taiping Rebellion) และการกบฏต่อต้านอำนาจจักรพรรดิจีนของกบฏนักมวย (Boxer Rebellion). ในกรณีของการปราบปรามกบฏไทปิงนั้น นายพล กอร์ดอน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นตำนานวีรบุรุษของนักจักรวรรดินิยมในซูดานนั้น ก็ได้รับการยกย่องบ่อยครั้งว่าเป็นผู้ที่ช่วยปกป้องให้ราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) ให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของกลุ่มกบฏไทปิงมาได้
อย่างไรก็ตาม อาจมีการโต้แย้งว่า ขนาดและกำลังความแข็งแกร่งของจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชุมชนอัฟริกาในยุคก่อนอาณานิคมนั้น ทำให้การบังคับไล่ล่าเอาจีนมาเป็นเมืองขึ้นอย่างเป็นทางการโดยชาติมหาอำนาจตะวันตกเพียงชาติใดชาติหนึ่งเพียงชาติเดียวนั้นทำได้ยากยิ่ง แต่ถ้าชาติจักรวรรดินิยมเหล่านั้นผนึกกำลัง เป็นพันธมิตรและร่วมมือกันรุกรานจีน การเข้ายึดครองจีนมาเป็นอาณานิคมก็น่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่ความเป็นศัตรูคู่ปฏิปักษ์ระหว่างกันของบรรดามหาอำนาจตะวันตกแต่ละชาติในช่วงเวลานั้น ทำให้ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ จนกระทั่งในทศวรรษ 1900 การผนึกร่วมเป็นพันธมิตรของบรรดาชาติตะวันตกจึงปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้น แต่วัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังกล่าวก็จำกัดอยู่เพียงแค่การร่วมกันปราบปรามกลุ่มกบฏนักมวยที่ก่อกบฏต่อต้านจักรพรรดิจีนเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีความเห็นขัดแย้งกันในประเด็นของเป้าหมาย ("การเปิดประตู" หมายความว่ามหาอำนาจทุกประเทศจะได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงตลาดเหมือน ๆ กันหมด) ส่วนเยอรมันและรัสเซียก็มีประเด็นไม่ลงรอยกันในเรื่องของเขตแดน
อังกฤษพบว่าเป็นการยากที่จะขายสินค้าของตนในจีน และประสบกับสถานการณ์ (ในลักษณะที่เหมือนกันกับชาติยุโรปอื่น ๆ) คือต้องเสียดุลการค้าให้แก่จีน มาจนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 การเริ่มต้นการค้าฝิ่นขนานใหญ่จากอาณานิคมอินเดียของอังกฤษไปยังจีน ทำให้สถานการณ์ดุลการค้าดังกล่าวแปรเปลี่ยนไป พร้อมกับทำให้จำนวนผู้เสพติดฝิ่นเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่มประชากรจีนระดับสูง และเป็นภัยคุกคามประเทศด้วยก่อให้เกิดความเสียหาย บ่อนทำลายประชากรจีนทั้งทางด้านสุขภาพ ศีลธรรมจรรยา และทางด้านจิตวิทยา อย่างรุนแรงจนไม่อาจจะวัดคำนวณออกมาเป็นสถิติตัวเลขได้
ความพยายามของเจ้าหน้าที่จีนในกวางโจว (Guangzhou/Canton) ในการหยุดยั้งการค้าฝิ่น นำไปสู่สงครามฝิ่นครั้งแรก (The First Opium War) ขึ้น ในระหว่างปี ค.ศ. 1839-1842 ซึ่งอังกฤษสามารถรบชนะจีนได้อย่างง่ายดาย และได้รับอำนาจในการปกครองฮ่องกง. สนธิสัญญานานกิง (The Treaty of Nanjing) ยอมรับหลักการของการมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (the principle of extraterritory) ซึ่งคนสัญชาติอังกฤษที่กระทำผิดบนแผ่นดินจีนไม่ต้องขึ้นศาลจีน แต่จะถูกพิพากษาตัดสินโดยชาวอังกฤษด้วยกันเองแทน
สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 (The Second Opium War ระหว่างปี -1860) ฝรั่งเศสเข้าร่วมกับอังกฤษ หลังจากมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตและจีนจับตัวกะลาสีชาวอังกฤษไป สงครามครั้งนี้ขยายเขตอิทธิพลของอังกฤษจากในฮ่องกงออกไปสู่พื้นที่ต่อเนื่องในแผ่นดินใหญ่คือเกาลูน (The Treaty of Tianjin) ที่จีนต้องลงนามเพื่อยุติสงคราม ยิ่งทำให้อำนาจจักรวรรดินิยมตะวันตกแผ่ขยายปกคลุมเหนือดินแดนจีนเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1894-1895 จีนแพ้สงครามเกาหลีที่ทำกับญี่ปุ่น ต้องจ่ายค่าปฏิกรสงครามเป็นมูลค่าสูงถึง 150 ล้านดอลลาร์ ต้องยอมยกเกาะไต้หวันหรือฟอร์โมซาและหมู่เกาะใกล้เคียงให้แก่ญี่ปุ่น สำหรับเกาหลีนั้นแม้จะเป็นประเทศที่ยอมรับกันว่าไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ระยะหนึ่ง ฝรั่งเศส เยอรมัน และรัสเซีย ได้ร่วมมือกันเข้าแทรกแซงและป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นรุกเข้าผนวกดินแดนอื่น ๆ ต่อไปได้ ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ ได้กลายเป็นช่วงเวลาแห่งความทรงจำที่ขมขื่นในญี่ปุ่น เมื่อชาติมหาอำนาจกลุ่มเดียวกันนี้ ได้ช่วยกันเองเข้ายึดครองฐานทัพเรือ และขยายเขตอิทธิพลของกันและกัน เหนือดินแดนจีนในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1897-1898
- เขตอิทธิพล
- เยอรมัน : อ่าวเจียวโจว (Jiaozhou) (หรือ เกียวเจา - Kiaochow), ชานตง (Shandong) และหุบเขาฮวงเหอ/ฮวงโห (Huang He/Hwang-Ho Valley)
- รัสเซีย : คาบสมุทรเหลียวตง (Liaodong), สิทธิเหนือทางรถไฟในแมนจูเรีย
- อังกฤษ : เว่ยไห่เว่ย (Weihaiwei), หุบเขาแยงซี (Yangtze Valley)
- ฝรั่งเศส : อ่าวกวางโจว (Guangzhou), และสามจังหวัดทางใต้
จอห์น เฮย์ (John Hay) รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นได้ออกมาเรียกร้องในเดือนกันยายน ค.ศ. 1899 ให้ชาติมหาอำนาจต่างๆ ยอมรับในหลักการ"เปิดประตู" (the principle of the "Open Door") อันหมายถึงเสรีภาพของการเข้าถึงการค้า (freedom of commercial access) ของทุกชาติและไม่ผนวกดินแดนจีนเข้าเป็นของตนเอง (non-annexation of Chinese territory) อังกฤษและญี่ปุ่นสนับสนุนหลักการของสหรัฐ ซึ่งท่าทีของสหรัฐดังกล่าวช่วยให้สามารถควบคุมการจัดสรรปันส่วน แบ่งแยกดินแดนจีนมิให้ขยายตัวต่อไปได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นไปเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของมหาอำนาจยุโรปที่ต้องการให้มีรัฐบาลจีนที่อ่อนแอ แต่ยังคงมีความเป็นเอกราชไว้อยู่ เนื่องจาก ถ้ารัฐบาลจีนเกิดล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงนั้น ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายก็จะเกิดความเสี่ยงที่จะต้องสูญเสียสิทธิพิเศษต่างๆที่ได้มาแล้วจากการเจรจากับรัฐบาลจีนขณะนั้น ขณะเดียวกันชาติตะวันตกเหล่านี้ก็ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลจีนที่เข้มแข็ง เนื่องจากจะไม่เป็นประโยชน์แก่ตน เพราะรัฐจีนที่แข็งแกร่งนั้นอาจสามารถฉีกสนธิสัญญาที่ทำไว้แล้วกับชาติตะวันตกเหล่านั้นทิ้งได้
การผุกร่อนของอำนาจอธิปไตยของจีนส่งผลให้กระแสการจลาจลต่อต้านชาวต่างชาติระเบิดขึ้นอย่างน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งในเดือนมิถุนายน ปี 1900 เมื่อกลุ่มนักมวย (Boxers – หรือที่ถูกต้องก็คือสมาคม "กำปั้นแห่งความยุติธรรมและความปรองดองสามัคคี - the righteous and harmonious fists") บุกเข้าโจมตีสถานทูตของชาติยุโรปต่างๆที่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง ส่งผลให้ชาติตะวันตกเหล่านั้น จับมือผนึกกำลังรวมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน พร้อมสั่งให้กองทัพของตนซึ่งประจำการอยู่ที่เมืองเทียนสิน กรีธาเดินหน้าเข้าสู่เมืองหลวงปักกิ่ง กองทหารเยอรมันปฏิบัติการแก้แค้นอย่างรุนแรงให้แก่ทูตของตนที่ถูกกลุ่มกบฏสังหาร ในขณะที่รัสเซียยึดครองแมนจูเรียในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไว้อย่างเหนียวแน่นจนกระทั่งถูกญี่ปุ่นบดขยี้พ่ายแพ้ไปในสงครามระหว่างปี ค.ศ. 1904-1905
แม้ว่ากฎหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขต จะถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1943 แต่การปกครองของต่างชาติเหนือดินแดนจีนก็เพิ่งจะสิ้นสุดลงเมื่อไม่นานนี้เอง เมื่ออังกฤษและโปรตุเกส ส่งมอบฮ่องกงและมาเก๊ากลับคืนสู่อ้อมอกของจีนในปี 1997 และ 1999 ตามลำดับ
การขยายพรมแดนของจีน
จีนในฐานะมหาอำนาจจักรวรรดินิยม (China as an imperialist power) แม้ว่าในการอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องลัทธิจักรวรรดินิยมนั้น จีนจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่ตกเป็นเหยื่อของจักรวรรดินิยมตะวันตก แต่ถ้าติดตามเรื่องราวลึกลงไปกว่านั้นก็จะเห็นภาพที่ซับซ้อนเกี่ยวกับบทบาทของจีนในเรื่องนี้ลงไปอีกระดับหนึ่ง นั่นคือ ระหว่างที่จีนถูกโจมตีในช่วงทศวรรษที่ 19 โดยชาติยุโรปนั้น จีนเองก็ทำการขยายพรมแดนของตนออกไปทางทิศตะวันตกพร้อมๆกันไปด้วย โดยการผนวกแคว้นซินเจียง (Xinjiang) และทิเบตซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วดินแดนทั้งสองนี้ยากที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน โดยแท้จริงแล้วคำว่า ซินเจียง นั้นในภาษาจีนมีความหมายว่า พรมแดนใหม่
ความสามารถในการขยายอิทธิพลของตนเข้าไปสู่ดินแดนเอเชียกลางเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ คือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเกิดขึ้นภายใต้ราชวงศ์ชิง (Qing dynasty) จากปี ค.ศ. 1616 เป็นต้นมา จีนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์แมนจูซึ่งเป็นผู้รวบรวมผนึกกำลังเหล่าทหารม้าของกองทัพจีนเข้าด้วยกันจนเป็นปึกแผ่น ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมสำหรับการรุกขยายอำนาจและอิทธิพลออกไปยังดินแดนข้างเคียงมากกว่ากองกำลังทหารราบแบบดั่งเดิมของจีน ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีนั้น เป็นความก้าวหน้าในด้านอาวุธปืนใหญ่และกองทหารปืนใหญ่ซึ่งทำให้ความได้เปรียบของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบในไซบีเรียและรัสเซียที่เหนือกว่ากองทัพเพราะมีกองม้าของตนเองนั้นหมดสิ้นไป
การแผ่อิทธิพลเข้าไปในเอเชียกลางของจีนได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ปกครองท้องถิ่นส่วนใหญ่ที่ฝักใฝ่จีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิเบต) มากกว่าชาติมหาอำนาจตะวันตก เนื่องจากจีนใช้อำนาจในการควบคุมยึดครองอย่างหลวม ๆ ไม่รีดนาทาเร้นเข้มข้นหนักเท่ากับรัสเซียและอังกฤษ ส่วนใหญ่ของช่วงเวลาแห่งการขยายอิทธิพลดังกล่าว จีนจึงมีความทะเยนทะยานน้อยมากที่จะเข้ายึดครองเพื่อเป็นเจ้าจักรวรรดิหรือสถาปนาดินแดนเหล่านั้นให้เป็นพื้นที่อาณานิคมโดยตรงของตน แม้กระทั่งในยุคทองของจีน หรือในช่วงสมัยที่จีนมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด คือในสมัยราชวงศ์ถัง (the Tang Dynasty) และในสมัยที่จีนมีความสามารถในการสร้างกองทัพเรือที่แข็งแกร่งที่สุดและใหญ่ที่สุดในยุคราชวงศ์หมิง (the Ming Dynasty) ที่เป็นเช่นนั้นอาจจะเป็นเพราะจีนมีความหยิ่งยะโสและเชื่อมั่นในตนเองสูงว่า จีนเป็นชาติที่มีอารยธรรมก้าวหน้าที่สุดในโลก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำการค้าขายหรือติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนภายนอกซึ่งทางจีนมองว่าเป็นพวก "ป่าเถื่อน (babarians)" นั่นเอง
เอเชียกลางและตะวันตก
เอเชียกลางและตะวันตก (Central and Western Asia) อังกฤษ จีน และรัสเซีย คือคู่แข่งสำคัญในเวทีเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 รัสเซียเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลาง ซึ่งนำไปสู่วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถานช่วงสั้นๆกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1885 ในเปอร์เซีย(ปัจจุบันคืออิหร่าน) ทั้ง 2 ชาติได้ก่อตั้งธนาคารขึ้นหลายแห่งเพื่อขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของตนในภูมิภาคนี้ อังกฤษนั้นคืบหน้าไปถึงขั้นเข้ารุกรานธิเบต ซึ่งเป็นดินแดนภายใต้อาณัติของจีนในปี 1904 แต่ก็ถอนตัวออกไปเมื่อพบว่าอิทธิพลของรัสเซียเหนือดินแดนดังกล่าวไม่มีความสำคัญและหลังจากพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพจีนใหม่
ตามข้อตกลงในปี 1907 (ดู Entente) รัสเซียยุติการอ้างสิทธิอาณานิคมเหนือปากีสถาน ส่วนอำนาจความเป็นเจ้าเหนืออธิปไตยธิเบตของจีนได้รับการยอมรับจากทั้งรัสเซียและอังกฤษ เนื่องจากการควบคุมตามปกติโดยรัฐจีนที่อ่อนแอนั้นเป็นที่ยอมรับกันได้มากกว่าการยึดครองโดยมหาอำนาจรายใดรายหนึ่ง ส่วนเปอร์เซียนั้นถูกแบ่งออกเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซียและอังกฤษ โดยมีเขตเป็นกลางหรือโซนเสรี (neutral/free or common zone) กั้นกลาง ต่อมาอังกฤษยังสมยอมให้รัสเซียเปิดปฏิบัติการปราบปรามรัฐบาลชาตินิยมเปอร์เซียในปี 1911 ด้วย หลังจากเกิดการปฏิวัติขึ้นในรัสเซีย รัสเซียก็ได้ยุติการอ้างสิทธิเหนือดินแดนภายใต้เขตอิทธิพลของตน แม้ว่าการเข้ามีส่วนร่วมในจักรวรรดินิยมจะยังคงมีอยู่เคียงข้างกันไปกับอังกฤษจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1940
ในตะวันออกกลาง บริษัทของเยอรมันได้ก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงคอนแสตนติโนเปิ้ลไปยังนครแบกแดกและอ่าวเปอร์เซีย เยอรมันต้องการเข้าควบคุมเศรษฐกิจในภูมิภาคแห่งนี้ไว่ก่อน และจากนั้นก็เคลื่อนเข้าสู่อิหร่านและอินเดีย แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากอังกฤษ รัสเซีย และฝรั่งเศส ซึ่งได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองและแบ่งสรรปันส่วนพื้นที่ระหว่างกันเองไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
โปรตุเกส
โปรตุเกสซึ่งมีฐานกำลังอยู่ที่กัว (Goa) และมะละก่ได้สร้างจักรวรรดินาวีขึ้นในมหาสมุทรอินเดียเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ และก่อตั้งสร้างกำลังขึ้นที่มาเก๊าทางตอนใต้ของจีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าในจีนและญี่ปุ่นของตน โปรตุเกสไม่ได้เร่งขยายอาณานิคมในเอเชียอย่างจริงจังในเบื้องต้นเนื่องจากจักรวรรดิโปรตุเกสขยายขอบเขตมากจนตึงมือแล้ว อันเป็นผลจากขีดจำกัดทางด้านค่าใช้จ่ายของอาณานิคมและนาวีเทคโนโลยีร่วมสมัย (ทั้งสองปัจจัยนี้ทำงานคู่ขนานกันไปทำให้การค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาณานิคมต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาล) ผลประโยชน์ของโปรตุเกสที่มีอยู่ในเอเชียจึงเพียงพอสำหรับการสนับสนุนทางการเงินแก่การขยายอาณานิคมและยึดที่มั่นไว้ต่อไปในเขตพื้นที่ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างมากในภูมิภาคที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศแม่มากกว่าคืออัฟริกาและบราซิล และดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น ว่า โปรตุเกสนั้นมีความสัมพันธ์ทางการค้าแนบแน่นมากกับญี่ปุ่น จนมีการบันทึกไว้ว่าโปรตุเกสคือชาติตะวันตกที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นเป็นชาติแรก การสัมพันธ์ติดต่อทางค้าขายเหล่านี้ทำให้มีการนำเอาศาสนาคริสเตียนและอาวุธปืนเข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นด้วย
ความยิ่งใหญ่ในฐานะ เป็นมหาอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสต้องสูญเสียให้แก่เนเธอร์แลนด์ไปในศตวรรษที่ 17 และนำมาซึ่งความท้าทายที่สำคัญยิ่งต่อโปรตุเกส แต่อย่างไรก็ตาม โปรตุเกสก็ยังคงยึดครองมาเก๊าซึ่งถูกประกาศว่าเป็นดินแดนใต้อาณานิคมของโปรตุเกสภายหลังจีนแพ้สงครามฝิ่น และจัดตั้งอาณานิคมแห่งใหม่ขึ้นบนเกาะติมอร์ จนกระทั่งหลังกลางศตวรรษที่ 20 โปรตุเกสจึงสูญเสียอาณานิคมในเอเชียของตนไป โดยกัวถูกรุกรานโดยอินเดียในปีค.ศ. 1962 และโปรตุเกสทอดทิ้งติมอร์ไปในปี 1975 ก่อนที่ดินแดนแห่งนี้จะถูกอินโดนีเซียบุกเข้ายึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ส่วนมาเก๊านั้นโปรตุเกสส่งมอบคืนให้แก่จีนเมื่อสนธิสัญญาการเช่าหมดอายุลงในปี 1999
เนเธอร์แลนด์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (The Dutch East India Company) ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นที่เมืองปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา) ในหมู่เกาะชวา เพื่อควบคุมการค้าเครื่องเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 บริษัทได้เข้ายึดไต้หวัน (ซึ่งในเวลานั้นจีนยังไม่ได้อ้างสิทธิว่าเป็นดินแดนของตน) เป็นดินแดนอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น ภายหลังเกิดสงครามนโปเลียน (The Napoleonic Wars) ดัตช์ก็มุ่งความสนใจในการประกอบกิจการพาณิชย์ของตนไปอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (อินโดนีเซีย) มาจนตลอดศตวรรษที่ 19 และสูญเสียส่วนใหญ่ของอาณานิคมแห่งนี้ของตนให้แก่ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้แก่กองกำลังพันธมิตรในปี 1945 โปรตุเกสก็ต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อ
สหรัฐอเมริกาในเอเชีย
สหรัฐอเมริกาในเอเชีย สหรัฐอเมริกายึดอำนาจเข้าปกครองฟิลิปปินส์จากสเปนในปี ค.ศ. 1898 ในระหว่างทำสงครามสเปน-อเมริกัน (Spanish-American War) การต่อต้านของชาวฟิลิปปินส์นำไปสู่สงครามฟิลิปปินส์-อเมริกัน (The Philippines-American War) ขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1899-1902 และกบฏโมโร (The Moro Rebellion) ในปี ค.ศ. 1902-1913 สหรัฐอเมริกายินยอมมอบเอกราชให้แก่ฟิลิปปินส์เป็นไทแก่ตัวเองเมื่อปี ค.ศ. 1946 นี้เอง
นอกจากฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐอเมริกาได้เข้าผนวกเอาฮาวายในปี ค.ศ. 1893 และได้รับอำนาจเหนือดินแดนเกาะอีกหลายแห่งในแปซิฟิกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่ 1 : ลัทธิจักรวรรดินิยมที่เปลี่ยนไป
สงครามโลกครั้งที่ 1 : ลัทธิจักรวรรดินิยมที่เปลี่ยนไป (World War I : Changes in Imperialism) เมื่อมหาอำนาจกลาง ซึ่งรวมถึงเยอรมนีและตุรกีเอาไว้ด้วยพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของอำนาจก็เกิดขึ้นและรับรู้ได้ทั่วโลก เยอรมนีสูญเสียดินแดนอาณานิคมของตนทั้งหมดไป ขณะที่ตุรกีนั้นต้องยอมปล่อยดินแดนอาหรับของตนให้แก่ผู้ชนะสงคราม ซีเรีย ปาเลสไตน์ และเมโสโปเตเมีย(ปัจจุบันคืออิรัก) ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสและอังกฤษตามคำสั่งการของสันนิบาตชาติ (League of Nations) การค้นพบน้ำมันในอิหร่านและต่อมาในดินแดนชาติอาหรับในปีที่ว่างเว้นสงครามก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่2 (interbellum) เปิดทางให้แก่เป้าความสนใจใหม่ในกิจกรรมปฏิบัติการของอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ในภูมิภาคนี้
ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาประเทศชาติสู่ความเป็นเจ้าจักรวรรดินิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อันเป็นความสามารถที่ยิ่งใหญ่ที่ต่อมา ได้หยุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงแรกๆ ญี่ปุ่นโชคดีที่รอดพ้นจากชะตากรรมที่ชาติเอเชียอื่นๆ ได้รับ โดยเฉพาะอย่างเฉกเช่นประเทศจีน นั่นคือการที่ต้องตกเป็นดินแดนอาณานิคมอยู่ภายใต้อำนาจของชาติตะวันตก เสียบ้านเสียเมือง สิ้นราชวงศ์ สิ้นอธิปไตย สูญเสียความเป็นชาติ ประชาชนอดอยากต้องอพยพเร่ร่อนไปอาศัยในบ้านอื่นเมืองอื่นอย่างไร้ศักดิ์ศรี หลังจากที่ถูกพลเรือจัตวาเพอร์รี่ (Commodore Perry) บังคับให้เปิดประตูการค้า แล้วติดตามมาด้วยการจัดการเปิดการค้าให้แก่ชาติมหาอำนาจตะวันตกทั้งหมดในลักษณะเดียวกัน
การปฏิรูปสมัยเมจิ (the Meiji Restoration) ในปี ค.ศ. 1868 นำไปสู่การปฏิรูประบบการปกครองให้ทันสมัยและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมาญี่ปุ่นมีทรัพยากรธรรมชาติน้อยบนแผ่นดินตนเองและมีความต้องการทั้งตลาดในต่างประเทศและแหล่งวัตถุดิบ ปัจจัยเหล่านี้ผลักดันให้เกิดการรุกรานไล่ล่าเพื่อพิชิตอาณานิคมแบบจักรวรรดินิยมซึ่งเริ่มต้นด้วยความพ่ายแพ้ของจีนซึ่งเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์พ่ายแพ้ชาติอื่นๆ มาโดยตลอด จึงทำให้ญี่ปุ่นสามารถพิชิตคนพันล้านคนได้อย่างง่ายๆ ยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ ในปี ค.ศ. 1895 ไต้หวันซึ่งจักรวรรดิชิง (the Qing Empire) ยินยอมยกให้ได้กลายเป็นอาณานิคมแห่งแรกของญี่ปุ่น
ในปี ค.ศ. 1899 ญี่ปุ่นมีชัยจากการที่มหาอำนาจยอมละทิ้งสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการเข้าเป็นพันธมิตรกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1902ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจระหว่างประเทศการมีชัยเหนือรัสเซียในปี ค.ศ. 1905 ทำให้ญี่ปุ่นได้ดินแดนส่วนใต้ของเกาะซักคาลิน (Sakhalin) มาเป็นของตน นอกจากนี้อดีตรัสเซียยังยินยอมให้ญี่ปุ่นเช่าแหลมเลียวตุง (the Liaodong Peninsula) และเมืองปอร์ตอาเธอร์ (Port Arthurปัจจุบันคือเมือง ลูชุนโกะ -Lushunkou) และได้สิทธิเหนือแมนจูเรียด้วยในปี ค.ศ. 1910 เกาหลีก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิญี่ปุ่น
ขณะนั้นญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในชาติที่มีอำนาจมากที่สุดในตะวันออกไกลหรือเอเชียแปซิฟิก และในปี ค.ศ. 1914 ก็ก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่1 เคียงข้างอังกฤษ ญี่ปุ่นเข้ายึดดินแดนใต้อาณัติของเยอรมนีคือ เกาโจว (Kiaochow) และจากนั้นก็เรียกร้องให้จีนยอมรับอิทธิพลทางการเมืองของญี่ปุ่นและดินแดนที่ได้รับจากการเข้าสู่สงครามด้วยข้อเรียกร้อง21ข้อ (Twenty-one Demands) ในปี ค.ศ 1915 การประท้วงครั้งใหญ่ในกรุงปักกิ่งในปี ค.ศ. 1919 รวมทั้งแนวความคิดของฝ่ายพันธมิตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา) ทำให้ญี่ปุ่นยอมยกเลิกส่วนใหญ่ของข้อเรียกร้องดังกล่าว และส่งมอบ เกาโจว (Kiaochow) คืนให้แก่จีนในปีค.ศ. 1922
การถอยก้าวหนึ่งของญี่ปุ่นในสายตาของโตเกียวมองว่าเป็นการชั่วคราวเพื่อรุกต่อไปอีกหลายก้าวดังนั้นในปี ค.ศ. 1931 กองทัพญี่ปุ่นหน่วยหนึ่งที่ตั้งฐานอยู่ในแมนจูเรียบบุกยึดอำนาจเข้าปกครองดินแดนแห่งนี้ อันนำไปสู่การสงครามเต็มรูปแบบกับจีนขึ้นในปี ค.ศ. 1937 และเปิดฉากความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นในการเป็นเจ้าเข้าครอบครองเหนือเอเชียแปซิฟิก จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
รายชื่ออาณานิคมตะวันตกในทวีปเอเชีย
- อินเดีย - ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ แก่งแย่งกันในการแผ่อิทธิพลเข้ายึดครองอินเดีย แต่ในที่สุดอังกฤษก็สามารถขยายอำนาจยึดครองอินเดียทั้งหมดได้ในปี พ.ศ. 2300 (ค.ศ. 1757) จนถึงปีที่ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) และบางส่วนแยกไปเป็นประเทศปากีสถาน และปากีสถานตะวันออก (ที่ต่อมากลายเป็นประเทศบังคลาเทศ ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971))
- ศรีลังกา - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ในปี พ.ศ. 2048 (ค.ศ. 1505) แล้วเปลี่ยนมือไปเป็นดินแดนใต้ปกครองของเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2199 (ค.ศ. 1656) แต่ท้ายสุดถูกอังกฤษเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมในปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) จนถึงปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ศรีลังกามีทรัพยากรสำคัญคือชาและยางพารา
- มาเก๊า - อาณานิคมของโปรตุเกส นับเป็นอาณานิคมแห่งแรกในจีนของชาวยุโรป (พ.ศ. 2100 - พ.ศ. 2542)
- ฮ่องกง - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) จนถึงปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) อังกฤษจึงส่งมอบคืนจีน
- เกาะฟอร์โมซา - มีอีกชื่อหนึ่งคือเกาะไต้หวัน แต่เกาะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองจากชาติตะวันตกอยู่ 2 ส่วน ซึ่งไม่ได้ถูกยึดครองทั้งหมด เช่น ทางตอนเหนือเป็นดินแดนอธิปไตยของสเปน ที่ปัจจุบันอาจกล่าวถึงเมืองไทเปไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) จนถึงปี พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) และทางตอนใต้เป็นดินแดนอธิปไตยของเนเธอร์แลด์ ที่ปัจจุบันอาจกล่าวไปถึงเมืองไถหนัน และเมืองเกาสยงไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) จนถึงปี พ.ศ. 2189 (ค.ศ. 1642) ภายหลัง จีนในสมัยราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจปกครองเกาะฟอร์โมซานั้น เกาะฟอร์โมซาก็หลุดพ้นและไม่เคยมีประวัติการตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของชาติตะวันตกอีกเลย
- มลายู - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส จากนั้นถูกเนเธอร์แลนด์เข้ายึดครอง และสุดท้ายตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอังกฤษทั่วทั้งอาณาเขต เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติคือดีบุกและยางพารา จนกระทั่งประกาศเอกราช โดยใช้ชื่อประเทศว่า มลายา ปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อนึ่ง ได้มีการรวมดินแดนกับสิงคโปร์ ซาราวัก บอร์เนียวเหนือ (ซึ่งหมายถึงซาบะฮ์) และลาบวน ในปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) จึงเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น มาเลเซีย และในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) การปกครองสิงคโปร์ของมาเลเซียสิ้นสุดลง เนื่องจากสิงคโปร์ ได้ประกาศเอกราชออกจากมาเลเซียออกไป
- สิงคโปร์ - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) จนถึงปี พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) ซึ่งได้มีการรวมดินแดนกับมลายา เป็นมาเลเซียได้แค่ 2 ปี จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)
- บรูไน - ตกเป็นอาณานิคมในรูปแบบรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) จนถึงปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) โดยเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประกาศเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมตะวันตก
- พม่า - ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและถูกผนวกดินแดนรวมเข้ากับอินเดียตั้งปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) ถึงปี พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) ในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) ฝรั่งเศสสร้างทางรถไฟจากตังเกี๋ย ไปยังเมืองมัณฑะเลย์ในพม่า อังกฤษเกรงพม่าจะเอาใจออกห่างไปสวามิภักดิ์ต่อฝรั่งเศสจึงทำสงครามกับพม่า. หลังสงคราม กษัตริย์พม่าถูกส่งตัวไปอยู่ในอินเดีย และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ถึงปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) เนื่องจากกองทัพฝ่ายอักษะซึ่งนำโดยญี่ปุ่นเข้ายึดครอง เป็นฝ่ายแพ้สงครามให้แก่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีอังกฤษ เป็นประเทศสมาชิกของกองทัพดังกล่าว ทำให้อังกฤษ กลับมาปกครองพม่าในฐานะอาณานิคมอีกครั้งหนึ่ง แต่ปกครองได้แค่ 3 ปีเศษเท่านั้น
- อินโดนีเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง - ตกเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1800) (ก่อนหน้านี้ดัตซ์ได้ยึดครองดินแดนบางส่วน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782)) จนถึงปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949)
- ติมอร์-เลสเต - ตกเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) จนถึงปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) โดยมีอินโดนีเซียเข้ามาปกครองดินแดนดังกล่าวสืบต่อจากโปรตุเกส จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)
- อินโดจีน - ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ประกอบด้วยลาว (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2436 (ค.ศ. 1893)) กัมพูชา (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863)) และเวียดนาม (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883)) ชนท้องถิ่นได้ก่อกบฏขึ้นติดต่อกันหลายครั้ง แต่ก็ถูกฝรั่งเศสปราบปรามราบคาบ และสุดท้ายฝรั่งเศสจึงได้ให้เอกราชแก่ทั้ง 3 ประเทศจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
- ฟิลิปปินส์ - ตกเป็นอาณานิคมของสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2064 (ค.ศ. 1521) (ในปีพ.ศ. 2305 จนถึงปีพ.ศ. 2307 เป็นช่วงเวลาที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เฉพาะเมืองมะนิลาและเมืองท่ากาบีเต ในชื่อ British Manila)จนเกิดการกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) จากนั้นตกเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา หลังจากที่สหรัฐจ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์ซื้อฟิลิปปินส์จากสเปน หลังยุติ (The Spanish-American War) ในปี พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) จนกระทั่งประกาศเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946)
รัฐเอกราช
- ประเทศอัฟกานิสถาน - ก่อตั้งโดย จากสหราชอาณาจักร เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1919
- ประเทศจีน - ในอดีตคือ จักรวรรดิแห่งราชวงศ์ชิง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของจีน
- ประเทศภูฏาน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่เป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ
- ประเทศอิหร่าน - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและรัสเซีย
- ประเทศอิรัก - ก่อตั้งโดย จากสหราชอาณาจักรในปี 1930 เป็นเอกราชและเป็นที่ยอมรับในปี 1932
- ประเทศญี่ปุ่น - เป็นประเทศมหาอำนาจ
- ประเทศเกาหลี - เป็นรัฐเอกราช แต่ถูกบุกยึดครองโดยญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905)
- ประเทศมองโกเลีย - ประกาศเอกราชจากจีน ในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921)ต่อมาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของรัสเซีย
- ประเทศเนปาล - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่เป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ
- ประเทศไทย - ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติใดในทางปฏิบัติ แต่ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาถูกบุกครองโดยญี่ปุ่น
- ประเทศซาอุดิอาระเบีย - ก่อตั้งขึ้นในปี 1932 จากการรวมอาณาจักรและดินแดนต่างๆในพื้นที่ของประเทศในปัจจุบันและดินแดนที่ใกล้เคียงในระหว่างปี 1902 ถึง 1916 แต่อังกฤษมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่
- ประเทศเยเมน - ประกาศเอกราชจากออตโตมัน ในปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) เฉพาะดินแดนที่เป็นราชอาณาจักรมุตาวัคคิไลต์เยเมนเดิม แต่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลครอบงำของเนเธอร์แลนด์
- ประเทศตุรกี - สืบทอดจักรวรรดิออตโตมันในปี 1923 แต่รัสเซียมีอิทธิพลเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่
ดูเพิ่ม
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir ckrwrrdiniyminexechiysungnaesnxinbthkhwamniwadwykarekhamayngbriewnthiedimeriyk khxngchatiyuorptawntk ckrwrrdiniyminexechiyerimkhuninkhriststwrrsthi 15 odykarkhnesnthangkarkhakbpraethscinsungnaipsuyukhaehngkarsarwcodytrng aelanakarsngkhramsmyihmtxntnmasubriewnsungkhnanneriyk tawnxxkikl emuxthungtnkhriststwrrsthi 16 khyayxiththiphlkhxngyuorptawntkaelaphthnakarkhaekhruxngethsphayitlththixananikhmxyangmak miyuorptawntkaelackrwrrdiniyminexechiytlxdhkstwrrsaehnglththixananikhm cnsinsudlngxyangepnthangkaremuxtimxr elset sungepnxananikhmsudthaykhxngckrwrrdioprtueks idrbexkrachin kh s 2002 ckrwrrdinamasungmonthsnchatiaelaaebbtawntk bthkhwamniphyayamsrupphthnakarkhxngmonthsnrthchatikhxngtawntk aerngphlkkhxngxanacthangkaremuxng phanichyaelawthnthrrmkhxngyuorpinexechiythaihmikarkhaophkhphnthmakkhun sungepnphthnakarsakhycnnamasungesrsthkictladesrismyihminpccubn inkhriststwrrsthi 16 oprtueksthalaykarphukkhadkarkhathangbkrahwangthwipexechiyaelayuorpkhxngchawxahrbaelaxitali odykarkhnphbesnthangthangthaelsuxinediyxxmaehlmkudohp xiththiphlkhxngbristhxinediytawnxxkkhxngenethxraelndkhuaekhngsungtamtidma thaihxiththiphlkhxngoprtueksinthwipexechiykhxy hmdip kxngthphdtchepnchatiaerkthisthapnathanthphxisrathangtawnxxk thisakhythisud khux pttaewiy sungepnsanknganihybristhxinediytawnxxkkhxngenethxraelndxnmipxmkhayaennhna aelwcaknn rahwang kh s 1640 thung 1660 dtchaeyngchingkarkhakbmalaka silxn thaxinediyitbangaehng aelayipunthimikairmakcakoprtueks txma xngkvsaelafrngesssthapnanikhminxinediyaelasthapnakarkhakbcinaelakaridmakhxngxngkvsaelafrngessnicakhxy aesnghnaenethxraelnd hlngsngkhramecdpiin kh s 1763 xngkvskacdxiththiphlkhxngfrngessinxinediyaelasthapnabristhxinediytawnxxkkhxngxngkvsepnxanackaremuxngthisakhythisudinxnuthwipxinediy kxnhnakarptiwtixutsahkrrminklangthungplaykhriststwrrsthi 19 xupsngkhkhxngsinkhatawnxxkxyangekhruxngthwyepluxkikh ihm ekhruxngethsaelacha yngepnaerngphlkebuxnghlngckrwrrdiniymkhxngyuorp aelaedimphnkhxngyuorpinthwipexechiyswnihyyngcakdxyukbsthanikarkhaaelakxngrksadanthangyuththsastrsungcaepntxkarkhumkhrxngkarkha odyykewnkarpkkhrxngkhxngbristhxinediytawnxxkkhxngxngkvsinxinediy thwa karprbihepnxutsahkrrmephimxupsngkhkhxngyuorptxwtthudibcakexechiyxyangmak aelaphawaesrsthkictktayaw Long Depression aehngkhristthswrrs 1870 epnchnwnkaraeyngchingtladihmsahrbphlitphnthxutsahkrrmkhxngyuorpaelabrikarthangkarengininthwipaexfrika xemrika yuorptawnxxk aelaodyechphaaxyangying inexechiy karaeyngchingniekidkhunphrxmkbsmyihminkarkhyayxananikhmolkeriyk sunghnkhwamsniccakkarkhaaelakarpkkhrxngthangxxmepnkarkhwbkhumxanaekhtophnthaeliphsalaebbxananikhmxyangepnthangkarxnpkkhrxngepnkarkhyaythangkaremuxngcakpraethsaem rahwangkhristthswrrs 1870 cnsngkhramolkkhrngthihnungerimkhunin kh s 1914 shrachxanackr frngessaelaenethxraelnd sungepnecaxananikhmthimnkhnginthwipexechiy phnwkxanaekhtkwangihykhxngtawnxxkklang xnuthwipxinediyaelaexechiytawnxxkechiyngitekhakbckrwrrdikhxngtn inhwngewlaediywkn ckrwrrdiyipunhlngkarptirupemci ckrwrrdieyxrmnhlngsngkhramfrngess prsesiyyutiin kh s 1871 ckrwrrdirsesiy aelashrthxemrikahlngin kh s 1898 kaenidepnecaxanaekhtinexechiytawnxxkaelabriewnmhasmuthraepsifikxyangrwderw inthwipexechiy sngkhramolkkhrngthihnungaelasngkhramolkkhrngthisxngepnkartxsurahwangecaxananikhmhlaychati khwamkhdaeyngdngklawekiywkhxngkbchatiyuorpkbrsesiy aelashrthxemrikaaelayipunsungkalngphngad thwa immiecaxananikhmpraethsidmithrphyakrephiyngphxkbkhwamesiyhaycaksngkhramolkthngsxngkhrngaelatharngkarpkkhrxngodytrnginthwipexechiyid aemkhbwnkarchatiniymthwolkxananikhmnamasungexkrachthangkaremuxnginxananikhmaethbthnghmdthiehluxxyuinthwipexechiy thuksngkhrameynkhdkhwang aelaexechiytawnxxkechiyngit exechiyit tawnxxkklangaelaexechiytawntkyngcmxyuinrabbesrsthkic karenginaelathharolksungmhaxanacaekhngknkhyayxiththiphl xyangirktam karphthnaesrsthkichlngsngkhramthirwderwkhxngesuxesrsthkicexechiytawnxxk xinediy cin tlxdcnkarlmslaykhxngshphaphosewiyt idldxiththiphlkhxngyuorpaelaxemrikaehnuxinthwipexechiy thaihmikarsngektinpccubnwaxinediyaelacinsmyihmxackaenidepnxphimhaxanacihmkhxngolkxngkvsinxinediykarlmslaykhxngrachwngsomkulaehngxinediyaelakarkaenidkhxngbristhxinediytawnxxkkhxngxngkvs xngkvskxtngbristhxinediytawnxxkkhxngxngkvs The British East India Company khuninpi ph s 2143 kh s 1600 aemwacaepnkarephchiyhnaodytrngkbfrngessaelaenethxraelnd sungmiphlpraoychnxyuinxinediykhnann aetbristhksamarthetibotaelakhyayxanacekhakhrxbngadinaednthnghmdkhxngxnuthwipidinstwrrstxma emuxxngkvsekhakhrxngid hlngmichychnainyuththkarthipalasi inpi ph s 2300 kh s 1757 bristhbritichexechiytawnxxketibotkhuninchwngcnghwathiphrarachxanackhxngrachwngsomkhlhrux Mughal tktaesuxmthxy enuxngcakkarkhxrpchn kdkhirasdr aelakarkxkbt cninthisudkthungkallmslaylnginrchsmykhxngkstriyoxrngesb Aurangzab sungpkkhrxngxinediyinchwngpi kh s 1658 1707 rchsmykhxngkstriy Shah Jahan kh s 1628 1658 epnyukhaehngkhwamecriyrungeruxngaelamiphrarachxanacsungsudkhxngrachwngsomkhn aetphxthungrchsmykhxngkstriyoxrngesbkepnyukhaehnghayna enuxngcakkstriyoxrngesbepnphuthimikhwamxamhit aelakhlngikhlinsasna miphraprasngkhcakacdphuthimikhwamkhidehn khwamechuxhruxthsnathiaetktangipcakkhwamechuxkhxngmuslimihhmdipcakaephndinxinediy inrawpi ph s 2233 kh s 1690 xnepnchwngewlathirachwngsomkhlsamarthaephkhyayckrwrrdixxkipidkwangihyiphsalthisudnn xinediyphayitkarpkkhrxngkhxngkstriyoxrngesbmixanabriewnkhrxbkhlumphunthikhabsmuthrxinediythnghmd aetchwngewlaaehngkhwamrungeruxngtammadwywtckrkhalng hruxchwngewlakhxngxanacthiesuxmkhlaytkta 15 pi hlngkarsinphrachnmkhxngkstriyoxrngesb rachxanackromkhlthiyingihykthungaekkallmslaylng xnuthwipkawekhasuchwngxnathipity banemuxngyungehying irkhuxaep enuxngcakbrrdaaemthphnaykxng ehlaechuxphrawngsaelakhunnangaekngaeyngchingknepnihy aebngknepnkkepnehla thakarplnsadmaeyngxanacrahwangkn aetinchwngewlaehlanirachwngsomkhlyngpkkhrxngxinediyxyuinnam cnkrathnginpi ph s 2401 kh s 1858 rthbalklangcungthungkallmslaylng kxihekidphawasuyyakasthangxanackhunindinaednphartathikwangihyni cakbristhsuephchryxdmngkudaehngrachbllngkxngkvs thitngkhxngbristhbritichxinediytawnxxk inchwngkhristthswrrsthi 1820 rahwangthibristhethrddingkhxngxngkvsaelafrngessaekhngkhnaeyngchingphlpraoychnthangkarkharahwangknaelaknmaepnewlanankwahnungstwrrsnn rawklangstwrrsthi 18 sngkhramsungepnesmuxnxnusawriyaehngkhwamepnecackrwrrdikhxngxngkvskerimtnkhun inchwngsngkhramecdpi ph s 2299 2306 rxebirt ikhlf Robert Clive phunabristhinxinediymichychnaehnuxkstriyaehngebngkxlinxinediyinkarsukthiephlsesy Battle of Plassey ph s 2300 xnepnchychnakhrngsakhysungnaipsukarerimtnkhxngyukhihminprawtisastrxinediy sungepnyukhthixngkvsekhapkkhrxngxinediyxyangimepnthangkar aelainkhnathixinediyyngkhngsthanphaphmixthipitykhxngtnexngaetephiynginnamnn ckrphrrdirachwngsomkhlkhxngxinediykmithanaepnhunechidkhxngxngkvsmakyingkhunthukthi phrxm kbthiphawabanemuxngirkhuxaepkaephrrabadipthwcnkrathngbristhbritichxinediytawnxxkkawkhunsubthbathtarwcprabpramkarclaclwunwayinxinediyxyangetmtw karepliynphanekhasulththixananikhmxyangepnthangkarkhxngxinediyerimcakkarthixngkvssthapnasmedcphrabrmrachininathwiktxeriykhunepn ckrphrrdiniaehngxinediy Empress of India inchwngkhristthswrrs 1870 sungepnkhbwnkarthiekidkhunxyangcha aebbkhxyepnkhxyip odykhntxnaerksungepnkarechuxmoyngxinediyekhaepndinaednitpkkhrxngxyangepnthangkarkhxngxngkvsiderimmatngaetinchwngplaykhriststwrrsthi 18 emuxrthsphaxngkvshlngthukrbkwndwyaenwkhidthiwa brisththurkicthiyingihyaehngnimikhwamsnicebuxngtnxyuthikarthaphlkairihidethann inkhnathimixanackhwbkhumochkhchatakhxngkhncanwnepnlan khn idphankdhmayhlaychbbxxkmainpi ph s 2316 kh s 1773 aela ph s 2321 kh s 1778 kdhmaythixxkmaehaniidihxanacaekrthsphainkarkhwbkhumnoybaytangkhxngbristhbritichxinediytawnxxk aelamixanacinkaraetngtngecahnathibriharradbsungsudkhxngbristhinxinediysungruckkninchuxtaaehnng wa governor general rabbkarkhwbkhum 2 radbniichkntxmacnkrathngpi kh s 1858 inpi ph s 2361 kh s 1818 bristhbritichxinediytawnxxkpkkhrxngxinediythnghmd kstriyphunemuxngxinediybangswnthukbibihyxmswamiphkdi yxmrbkhwamepnecaxananikhmkhxngxngkvs khnathibangswnthukribdinaednip phunthibangswnkhxngxnuthwiptkxyuphayitkarpkkhrxngodytrngkhxngxngkvs inkhnathibangswnrachwngsphunemuxngyngkhngpkkhrxngbanemuxngkhxngtnxyu aetthngnitxngxyuphayitkarkhwbkhumkhxngxngkvs kxnthungpi ph s 2401 kh s 1858 nn phunthiswnihykhxngxnuthwipyngkhngxyuphayitkarpkkhrxngkhxngckrphrrdiaehngrachwngsomkhnxyangepnthangkarxyu xyangirktam khwamokrthaekhninklumsngkhmhlayklumidkhukrunkhuninsmythi James Dalhousie darngtaaehnngepnphusaercrachkaremuxngkhunkhxngxngkvs ph s 2390 2399 enuxngcakbukhkhlphuniidthasngkhramaelakhyaydinaednphayitpkkhrxngkhxngxngkvsxxkipxyangtxenuxng echn kartha the second Sikh War emuxmichychnakphnwkexaaekhwnpycabekhakbxngkvs ph s 2392 karyudxanaccakecapkkhrxngrthtang xik 7 rthodykhxxangwalaemidsilthrrmaelahnklbipsukarthucritkhidmichxbxik karyudrthsakhyinaekhwnxwatha Oudh odyxangkhwamphidphladinkarbriharpkkhrxngbanemuxng aelaptibtikardanwthnthrrmthimikhwamxxnihwechn hamkarthaphithikrrmkhxnghindu echnphithisti Sati hrux phithiephatwexngkhxnghyinghmaychawhinduephuxtamsamithiesiychiwitipkxndwykarkraoddekhakxngifthiephasphsami epntn inpi ph s 2400 kh s 1857 ekid Sepoy Rebellion hrux khbthxinediy Indian Mutiny khun sungepnkarkxkbtthierimtnkhunodykxngkalngchawxinediy sungepnswnihykhxngkxngkalngtidxawuthkhxngbristhbritichxinediytawnxxk karkbtkhrngnithuxepncudhkehkhrngsakhyinprawtisastrxinediy aelakhrngnnxngkvsyngochkhdimak enuxngcakthharxinediyinswnxun xikhlayphunthiphayitpkkhrxngkhxngxngkvsyngkhngmikhwamcngrkphkditxbristh imekhluxnihwekhasmthbhruxsnbsnunfaykbt thaihxngkvsprabfaykbtlngidxyangrabkhabhlngcakkartxsuxyangrunaerng phllphthsakhyprakarhnungcakkarkxkbtkhrngnnkkhuxkarxwsankhxngrachwngsomkhl kbtthharxinediykhrngnnyngthaihrabbkarkhwbkhumxananikhmxinediy 2 radbkhxngxngkvs khuxkaraebngpnxanacinkarpkkhrxngxinediyrwmknrahwangrthbalxngkvsaelabristhbritichxinediytawnxxkyutilngdwy rthbalxngkvspldbristhbritichxinediytawnxxkxxkcaktaaehnngkhwamrbphidchxbthangkaremuxng aelainpi ph s 2401 kh s 1858 bristhsungmibthbathsakhyinthanahwhxkillaxananikhmkhxngxngkvssungmixayu 258 pi kyutibthbathtnexnglngxyangsineching mikarrbsmkhrphusaerckarsuksacakmhawithyalykhxngxngkvsephuxekharbkarfukxbrmepnkharachkarphleruxnbriharxinediyinsngkdkhxngxngkvs aelabukhkhlehlanikhuxbukhkhlklumaerk thimikhwamphrxmcapkkhrxngxinediyinchwngtxip lxrdaekhnning Lord Canning idrbaetngtngepnexirl inpi ph s 2402 idrbaetngtngihepnphusaercrachkaraehngxinediyinpi ph s 2399 kh s 1856 lxrdaekhnningphuniepnthiruckinxiknamhnungwa aekhnningphuemtta Clemency Canning enuxngcakekhaepnphuthiphyayamkhwbkhummiihmikaraekaekhnchawxinediy inchwngrahwangekidkarkbtodykxngkalngthharxinediykhunnnexng emuxmikarepliynthaykarpkkhrxngxinediycakbristhbritichxinediytawnxxk maepnkarpkkhrxngodyrthbalxngkvs hruxepliyncak bristhsuephchryxdmngkudaehngrachbllngkxngkvs taaehnngphupkkhrxngxinediykhxngxngkvskepliyntamipdwy khuxepliyncaktaaehnng phusaercrachkaremuxngkhun governor general ipepntaaehnng xuprach Viceroy aelaxuprachaehngxinediykhnaerkkhxngxngkvskhuxaekhnningnnexng kaenidkhxnglththichatiniymxinediy xngkvspkkhrxngxananikhmxinediy phrxmkbkarphthnaxinediyihmikhwamthnsmykawhnakhuninhlaydan twxyangechn karkhyayesnthangrthifcakpi ph s 2396 epntnmannidchwyihphakhthurkictang khyaytwxxkipdwy inkhnathikarephaaplukfay cha aelakhramkthaihekidthurkicxyangihm khuninphakhesrsthkickarkha karykelikphasinaekhainpi ph s 2426 kh s 1883 sungepidchxngthangihxutsahkrrmthiekidihmkhxngxinediymxngehnthungkarthitxngpldostrwnkaraekhngkhncakxngkvs cungkratunihekidphthnakarthithnsmyxikxyanghnungkhunmadwy nnkkhux karekidkhunkhxngkhbwnkarchatiniymxinediy karptiesthimyxmihsthanphaphthiethaethiymknaekchawxinediy khuxpccysakhythikratunihekidkarkxtng The Indian National Congress khuninpi kh s 1885 sungebuxngtnyngcngrkphkditxckrwrrdixngkvs aetcakpi ph s 2448 kh s 1905 epntnmakyunhydthicasrangrthbalxinediythimixanacinkarpkkhrxngtnexngmakyingkhun cnkrathngpi kh s 1930 pharkickkhuxkarprakasexkrachcakkarepnxananikhmkhxngxngkvsodytrng rabb Home Charges sungepnrabbthixngkvsichdudthrphyakrthrrmchati aelaoykyaysinthrphycakxinediyipyngxngkvs inthanathiepn khaichcayinkarbrihar xananikhmxinediynn epnsaehtusakhythisrangkhwamecbicihaekbrrdankchatiniymxinediymayawnan aemwakarihlkhxngthrphyakrmikhakhxngxinediyipyngxngkvs caldnxylngxyangminysakhy inchwnghlaythswrrskxnthiinpi ph s 2490 kh s 1947 ktam aemwaphunakhxngchawhindusungepnchnklumihy aelaphunakhxngchnmuslimsungepnchnklumnxykhxngxinediy casamarthrwmmuxknidxyangiklchid inkarwiphakswicarnnoybayxananikhmkhxngxngkvs cnekhasukhristthswrrs 1920 aetxngkvskihkarsnbsnunxngkhkrthangkaremuxngkhxngchawmuslimthiaetktangkncakchawhindumaaelwtngaetinpi ph s 2449 kh s 1906 aelaphxinchwngkhristthswrrs 1920 epntnip kyunkrankrataykhaediywthicaihmikhnaeluxktngthiaeykknsahrbchnklumnxythiaetktangknthanglththisasna sungthathikhxngxngkvsdngklawthukmxngodykhncanwnmakinxinediywa epnsingthikxihekidkhwamkhdaeyngknrahwanghindu muslimkhun cnthaythisudthaihekidkaraebngaeykxinediyxxkepnswn frngessinxinodcinbthbathkhxngfrngessinxananikhmexechiynnaetktangcakxngkvs ephraafrngessidsuyesiyxanacckrwrrdiniymkhxngtnihaekxngkvsip inchwngplaystwrrsthi 18 dngnncungmiphunthansahrbkarkhyaydinaednekhamainexechiytawnxxkechiyngitthnginaengkhxngphumisastraelakarphanichynxykwaxngkvs inchwnghlngcakthswrrs 1850 lththickrwrrdiniymkhxngfrngthukkratunodykhwamtxngkardanchatiniymephuxaekhngkhnkbkhuprbkhuxxngkvs aelaidrbkarsnbsnunthangpyya odyaenwkhidekiywkbkhwamyingihyehnuxkwachatixunkhxngwthnthrrmfrngess aelakhbwnkarphiesskhxng mission civilisatrice hrux khbwnkarhlxhlxmchnphunemuxngihmikhwamxaryaodyphankarsumsbrbexawthnthrrmkhxngchatifrngessekhaipxyangklmklunaethbimrusuktw dngnn khxxangodytrngkhxngfrngessinkarkhyayxiththiphlekhasuxinodcinkkhuxkarpkpxngkhnamichchnnarifrngessthiekhaipephyaephrsasnainphunthidngklaw khwbkhuknipkbkhwamprarthnathicakhnhaesnthangekhasuthangphakhitkhxngcin odyphanphunthithangphakhehnuxkhxngewiydnamsungeriykwa dinaedntngekiy Tonkin frngessidekhaiplnghlkpkthanphlpraoychnkhxngtnthngthangdansasnaaelathangdankarkhainxinodcintngaetinstwrrsthi 17 aetkhwamphyayamthicaprasanphlpraoychnthngsxngdanekhadwyknephuxsthapnaekhtxiththiphlkhxngfrngesskhunnnimsamarthepnipid enuxngcakcatxngephchiyhnakbxngkvsthikalngaekhngaekrngefuxngfu aephxanacillaxananikhmxyuinmhasmuthrxinediy khnathifrngessepnfayprachyxyuinyuorpinchwngplaystwrrsthi 18 aelatnstwrrsthi 19 txmainchwngklangstwrrsthi 19 klumekhrngsasnaidklbfunkhunsuxanacxikkhrnginfrngessxnepnchwngthieriykknwa ckrwrrdithi 2 the Second Empire sthankarnthiepliynaeplngipni thaihkhwamsnictxphlpraoychnkhxngfrngessintawnxxkiklmikraaesephimsungkhun aelaemuxekidkraaestxtansasnakhristkhunindinaedntawnxxkikl echn karcbkum klnaeklngaelasngharchawkhrist l ehtukarndngklawcungklayepnehtuphlsakhythaihfrngesskawekhaaethrkaesngfaybriharkhxngchnthxngthin twxyangechn inpi kh s 1856 cinsngpraharchiwitmichchnnarifrngessthiipephyaephrsasnaxyuindinaednthangitkhxngcin aelainpi kh s 1857 ckrphrrdiewiydnamsungkalngephchiyhnakbpyhawikvtiinpraeths idphyayamthalayxiththiphlkhxngtangchatiinewiydnamodykarsngpraharchiwitbichxpchawsepnaehngtngekiy Tonkin frngesssungkhnannxyuphayitkarpkkhrxngkhxngkstriynopeliynthi 3 tdsinicwa thafrngessimekhaipchwy sasnakhathxlikcathukcakdihsuyhayipcakdinaedntawnxxkikl phraxngkhcungrwmmuxkbxngkvsthasngkhramkbcin erimtngaetpi kh s 1857 ipcnthungpi kh s 1860 phrxmkbthasngkhramyudewiydnamdwy aelainpi kh s 1860 frngesskekhayudkhrxngisngxniwid tamsnthisyyafrngess ewiydnam Franco Vietnamese Treaty sungthakhuninpi kh s 1862 nn ckrphrrdiewiydnamimephiyngyinyxmykdinaedn 3 cnghwdinokhchin ichna Cochin China dinaednthangphakhitihaekfrngessodysinechingethann aetyngihkarrbrxngsiththiphiessthwaephndinewiydnamthngthangdankarkhaaelakarephyaephrsasnaihaekfrngess phrxmthngyxmrbkarepnrthinxarkkha protectorates hruxkarmifrngessepnphusaercrachkaraephndinindankhwamsmphnthrahwangpraethskhxngewiydnamxikdwy caknnxyangcha xanackhxngfrngesskaephkhyayxxkipinxinodcin dwykarsarwchadinaednihm karaetngtngkhunepnrthphayitxarkkhakhxngfrngess aelakarichkalngekhayudkhrxngmaepnxananikhmkhxngtndux karbukekhayudkhrxnghanxyinpi kh s 1882 naipsukarthasngkhramodytrngkbcin kh s 1883 1885 aelakarmichychnainkarsukkhxngfrngessinsngkhramkhrngni kepnyunynthungkarmixiththiphlkhrxbngaehnuxdinaedninphumiphakhnikhxngfrngess frngesspkkhrxngdinaednokhcinichnainthanadinaednxananikhmodytrngkhxngfrngess swnxnnm Annam phunthitxnklangewiydnam tngekiy aelakmphucha tkepndinaednphayitxarkkhakhxngfrngess odymiradbkarkhwbkhumaetktangknip aelainimchaksamarthyudlawekhaepnrthitxarkkhakhxngtnidephimkhunxikaehnghnung emuxtnstwrrsthi 20 frngessidsrangckrwrrdikhuninxinodcin sungmiphunthikwangihykwapraethsaeminyuorpekuxb 50 phusaercrachkaremuxngkhunkhxngfrngessinhanxypkkhrxngokhcinichnaodytrng khnathikhwbkhumphumiphakhxun dwyrabbphuaethnphusaercrachkarthixyupracarthxarkkha system of residents nnkhux inthangthvsdiaelw frngesscaplxyihphupkkhrxngthxngthin thipkkhrxngdinaednehlanimakxntkepnxananikhmkhxngfrngess thahnathipkkhrxngdinaedntxip phrxmthngyngkhngihichokhrngsrangkarbriharrachkaraebbedim thngin xnnm tngekiy kmphucha aela law aetinkhwamepncringnn phusaercrachkaremuxngkhunkhxngfrngess cathahnathiepnsunyklangthngthangdankarenginaelakarbriharpkkhrxngdinaednthnghmd xyangirktam aemwasthabntang khxngchnphunemuxngcaxyurxdtxipid ephuxthaihkarpkkhrxngxananikhmkhxngfrngessepnthiyxmrbidmakkhun aetsthabntang ehlannkmisphaphesmuxnhunechid hruxtrayangethann enuxngcakirxisrphaphinkardaeninkarid idxyangepnesri phupkkhrxngxananikhmfrngess phyayamdudklunchnchnsunginthxngthin ihyxmrbkhwamyingihyehnuxkwakhxngxarythrrmfrngess inkhnathifrngessphthnarabbkharachkarphleruxnihdikhun aelasrangesthiyrphaphthangdankarkhann matrthankardarngchiwitkhxngchnphunemuxngktktalng okhrngsrangsngkhminchwngkxnyukhxananikhmesuxmothrmlng xinodcinsungmicanwnprachakrmakkwa 18 lankhninpi kh s 1914 mikhwamsakhytxfrngess enuxngcakepnaehlngthrphyakrsakhythifrngesstxngkar khux dibuk phrikithy thanhin fay aelakhaw xyangirktam yngepnthithkethiyngknxyuwa karmixananikhmnn odyaethcringaelw samarthsrangphlkairthikhumkhathangdankarkhaphanichyihaekfrngessidcringhruximlththickrwrrdiniymincinkaraethrksumkhxnglththickrwrrdiniymincin chawaemndarinthikhadknwakhuxhli hngcangthiischudaemncu tkicemuxehn phrarachiniwiktxeriy shrachxanackr wilehlmthi 2 eyxrmni niokhlsthi 2 rsesiy marixann frngess aelasamuir yipun kalnghnphaythimikhawa Chine epnphasafrngess aeplwa cin xyubnnn inchwngstwrrsthi 18 nn xngkvsmikarkhakhaythikhukkhkkbcin odymikarsngxxkaerengincakemksiokipyngcinaelanaekhachacakcinipyngemuxngaem aetemuxxngkvssuyesiyxananikhmxemrikasungxyuiklchidtidkbemksiokip xngkvsksuyesiyaehlngpxnaerenginsakhykhxngtnipdwy cungekidkhwamcaepnthicatxnghasinkhathangeluxkxunephuxkarsngxxk finkhxngchnxinediynepnsinkhathisamarththakairidngamthanamasngxxkipyngcinaethn thaimkhanungthungsilthrrm sinkhatwihmnicachwyaekpyhakarkhaddulbychiihaekxngkvsid aetkthaihekidkhwamsuyesiyxyangmhasalthangdansngkhmincin sngphlihekidsngkhramfin Opium Wars rahwangxngkvskbcinkhunerimtninpi kh s 1830 cinphayitlththickrwrrdiniymxngkvsinchwngstwrrsthi 19 nnidrbkareliyngdudwykhwamkhidthiphid dwyechnknwa epnaehlngtladodythrrmchatisahrbsinkhaxutsahkrrmcakxngkvs sakhythisudkhuxsingthx aelathiwachawcinimyxmkhbkhaekiywkhxngkbsinkhaxutsahkrrmcaktangchatinnkepnephiyngephraakarkhwbkhumdankarkhaxyangekhmkhnkhxngrthbalcin aetpccubnni nkprawtisastrmikhwamehnsxdkhlxngknwa karkhwbkhumthangkarkhakhxngcininyukhsmynnimidekhmngwdmakmayxairnk aelasinkhasingthxcakxngkvsnnimsamarththicaaekhngkhnkbcinid enuxngcaksinkhasingthxkhxngcinnnepnphlphlitthiekidcakaerngnganswnekinkhxngkhninkhrxbkhrw dngnncungimtxngxasykaryngchiphdwyxtrakhacangdngechnthikhnnganphuphlitsingthxepnxyuinorngngankhxngxngkvs khwamthaeyxthayankhxngehlabrrdanklaxananikhmaelakhuaekhngintawnxxkikl thaihcinsungmixanackrkwangihyiphsal aelacanwnprachakrmakkwa 1 in 4 khxngolk tkepnepakhxngkarillaephuxekhayudkhrxngxyangimxachlikeliyngid aetsingthithaihcinyngkhngsamarthxyurxdepnpraethsexkrachxyuidinphaphrwmnn swnihyepnephraakhwamyudhyunkhxngokhrngsrangthangsngkhmaelakarbriharpkkhrxngkhxngcinexng xyangirktam karkhngkhwamepnexkrach rxdpakehyiywpakkalththickrwrrdiniymkhxngaephndinihyciniwidodyrwmnn yngsamarthmxngiddwywaepnphaphsathxnihehnthungkhidcakdthiaethcringkhxnglththickrwrrdiniymyuorp emuxtxngephchiyhnakbkarxangsiththiinkaraekhngkhnthikhlaykhlungknidxikdwy tamhlkkaraelw ebuxnglukkhxngkarillahaxananikhmkhxngchatitawntk kkhuxephuxihmidinaednsahrbichepnthitngkxngkalng sungcaklayepnthanthimnsakhythangyuththsastrkhunindinaednthixyuhangikl ephuxkxngkalngehlann caidthahnathipkpxngphunthi karlngthun khnadihykhxngehlapraethsecaxananikhmthnghlay dngechnin xinediy latinxemrika aelacin aetxngkvsnn inbangsanuk yngkhngyudmnkbaenwkhidtamlththiesriphanichykhxngnkesrsthsastr thiwa lththixananikhmxyangimepnthangkarnn mikhwamehmaasmmakkwa sungaenwkhidnikidepnthiyxmrbtamknxyangepnexkchnthinklumnkthunniymxutsahkrrmthnghlayinchwngklangstwrrsthi 19 odyechphaaxyangyinginchwngewlarahwangkarlmslaykhxngnopeliynaelasngkhramfrngok prsesiyn singthiepliynaeplngipnn imcaepnwacatxngepnkhwamchxbsahrblththixananikhmehnuxkwackrwrrdixyangimepnthangkar aetthathitxkarpkkhrxngxananikhmxyangepnthangkarinswnihykhxngphunthiinaethbrxnnn khrnghnungekhythukphicarnawa lahlng makekinipsahrbkarkha phunthisungmikhwamepnexkrachnn ihkartxnrbkhbsuckrwrrdixyangimepnthangkarxyuaelw swnihykephuxhlikeliyngkarthukpkkhrxnginthanaxananikhmxyangepnthangkar inchwngkhxngkarprbepliynoykyayekhasuyukhckrwrrdiniymihm twxyangechn cinimichpraethslahlngthiimsamarthsrangesthiyrphaphaelakhwammnkhng sungepnsingcaepnxndbaerk khxngkarkhaphanichytamsitltawntkid aetckrwrrdicinthimikhwamecriykawhnasungmakni imyinyxmrbrupaebbkhxngkarkhaphanichykhxngtawntk sungbxykhrngepnkarphlkdnsahrbkarkhayaesphytid singninacaepnkhaxthibayidwa thaimchatitawntkcungphxickbsphaphkhxng ekhtxiththiphl spheres of Influences sungepnrupaebbkhxngxananikhmxyangimepnthangkarkbcin hlngsngkhramfinkhrngaerkyutilng karkhaphanichykhxngxngkvs aelatxmakhuxenginlngthunkhxngchatithimixanacthangxutsahkrrmihmxun kphlxyidrbradbkarkhwbkhumxyangepnthangkarephiyngelknxy inlksnaechnediywknniindinaednkhxngcindwy khnathichatickrwrrdiniymihmehlann camixanacinkarbngkhbkhwbkhumehnuxbrrdachatiexechiytawnxxkechiyngit aexfrikatawntk aelaekhtaepsifik makkwamak xyangirktam mhaxanactawntkkidichkalngthharekhaaethrkaesng ephuxprabpramkarclaclwunwaythiekidkhunphayinxanackrcindwy echn krnikarkxkarclaclthinasaphrungklwkhxng Taiping Rebellion aelakarkbttxtanxanacckrphrrdicinkhxngkbtnkmwy Boxer Rebellion inkrnikhxngkarprabpramkbtithpingnn nayphl kxrdxn sungtxmaidklayepntananwirburuskhxngnkckrwrrdiniyminsudannn kidrbkarykyxngbxykhrngwaepnphuthichwypkpxngihrachwngsching Qing Dynasty ihxyurxdplxdphycakkarkhukkhamkhxngklumkbtithpingmaid xyangirktam xacmikarotaeyngwa khnadaelakalngkhwamaekhngaekrngkhxngcinemuxepriybethiybkbchumchnxfrikainyukhkxnxananikhmnn thaihkarbngkhbillaexacinmaepnemuxngkhunxyangepnthangkarodychatimhaxanactawntkephiyngchatiidchatihnungephiyngchatiediywnnthaidyakying aetthachatickrwrrdiniymehlannphnukkalng epnphnthmitraelarwmmuxknrukrancin karekhayudkhrxngcinmaepnxananikhmknacaepnsingthiepnipid aetkhwamepnstrukhuptipksrahwangknkhxngbrrdamhaxanactawntkaetlachatiinchwngewlann thaihkhwamrwmmuxdngklawepnipimid cnkrathnginthswrrs 1900 karphnukrwmepnphnthmitrkhxngbrrdachatitawntkcungpraktepnrupepnrangkhun aetwtthuprasngkhkhxngkhwamrwmmuxdngklawkcakdxyuephiyngaekhkarrwmknprabpramklumkbtnkmwythikxkbttxtanckrphrrdicinethann thngnikephraaxngkvsaelashrthxemrikamikhwamehnkhdaeyngkninpraednkhxngepahmay karepidpratu hmaykhwamwamhaxanacthukpraethscaidrbpraoychninkarekhathungtladehmuxn knhmd swneyxrmnaelarsesiykmipraednimlngrxyknineruxngkhxngekhtaedn xngkvsphbwaepnkaryakthicakhaysinkhakhxngtnincin aelaprasbkbsthankarn inlksnathiehmuxnknkbchatiyuorpxun khuxtxngesiydulkarkhaihaekcin macnkrathngtnstwrrsthi 19 karerimtnkarkhafinkhnanihycakxananikhmxinediykhxngxngkvsipyngcin thaihsthankarndulkarkhadngklawaeprepliynip phrxmkbthaihcanwnphuesphtidfinephimkhunxyangkwangkhwanginklumprachakrcinradbsung aelaepnphykhukkhampraethsdwykxihekidkhwamesiyhay bxnthalayprachakrcinthngthangdansukhphaph silthrrmcrrya aelathangdancitwithya xyangrunaerngcnimxaccawdkhanwnxxkmaepnsthititwelkhid khwamphyayamkhxngecahnathicininkwangocw Guangzhou Canton inkarhyudyngkarkhafin naipsusngkhramfinkhrngaerk The First Opium War khun inrahwangpi kh s 1839 1842 sungxngkvssamarthrbchnacinidxyangngayday aelaidrbxanacinkarpkkhrxnghxngkng snthisyyananking The Treaty of Nanjing yxmrbhlkkarkhxngkarmisiththisphaphnxkxanaekht the principle of extraterritory sungkhnsychatixngkvsthikrathaphidbnaephndincinimtxngkhunsalcin aetcathukphiphaksatdsinodychawxngkvsdwyknexngaethn sngkhramfinkhrngthi 2 The Second Opium War rahwangpi 1860 frngessekharwmkbxngkvs hlngcakmichchnnarichawfrngessesiychiwitaelacincbtwkalasichawxngkvsip sngkhramkhrngnikhyayekhtxiththiphlkhxngxngkvscakinhxngkngxxkipsuphunthitxenuxnginaephndinihykhuxekalun The Treaty of Tianjin thicintxnglngnamephuxyutisngkhram yingthaihxanacckrwrrdiniymtawntkaephkhyaypkkhlumehnuxdinaedncinephimmakyingkhunipxik inchwngrahwangpi kh s 1894 1895 cinaephsngkhramekahlithithakbyipun txngcaykhaptikrsngkhramepnmulkhasungthung 150 landxllar txngyxmykekaaithwnhruxfxromsaaelahmuekaaiklekhiyngihaekyipun sahrbekahlinnaemcaepnpraethsthiyxmrbknwaimekhytkepnemuxngkhunkhxngikhr aetktkxyuphayitkarpkkhrxngkhxngyipunxyurayahnung frngess eyxrmn aelarsesiy idrwmmuxknekhaaethrkaesngaelapxngknimihyipunrukekhaphnwkdinaednxun txipid sungchwngrayaewladngklawni idklayepnchwngewlaaehngkhwamthrngcathikhmkhuninyipun emuxchatimhaxanacklumediywknni idchwyknexngekhayudkhrxngthanthpherux aelakhyayekhtxiththiphlkhxngknaelakn ehnuxdinaedncininchwngrahwangpi kh s 1897 1898 ekhtxiththiphleyxrmn xaweciywocw Jiaozhou hrux ekiyweca Kiaochow chantng Shandong aelahubekhahwngehx hwngoh Huang He Hwang Ho Valley rsesiy khabsmuthrehliywtng Liaodong siththiehnuxthangrthifinaemncueriy xngkvs ewyihewy Weihaiwei hubekhaaeyngsi Yangtze Valley frngess xawkwangocw Guangzhou aelasamcnghwdthangit cxhn ehy John Hay rthmntritangpraethskhxngshrthxemrikainkhnannidxxkmaeriykrxngineduxnknyayn kh s 1899 ihchatimhaxanactang yxmrbinhlkkar epidpratu the principle of the Open Door xnhmaythungesriphaphkhxngkarekhathungkarkha freedom of commercial access khxngthukchatiaelaimphnwkdinaedncinekhaepnkhxngtnexng non annexation of Chinese territory xngkvsaelayipunsnbsnunhlkkarkhxngshrth sungthathikhxngshrthdngklawchwyihsamarthkhwbkhumkarcdsrrpnswn aebngaeykdinaedncinmiihkhyaytwtxipid aetsingthiekidkhunnikepnipephuxtxbsnxngtxphlpraoychnkhxngmhaxanacyuorpthitxngkarihmirthbalcinthixxnaex aetyngkhngmikhwamepnexkrachiwxyu enuxngcak tharthbalcinekidlmslaylngxyangsinechingnn praethsmhaxanacthnghlaykcaekidkhwamesiyngthicatxngsuyesiysiththiphiesstangthiidmaaelwcakkarecrcakbrthbalcinkhnann khnaediywknchatitawntkehlanikimtxngkarehnrthbalcinthiekhmaekhng enuxngcakcaimepnpraoychnaektn ephraarthcinthiaekhngaekrngnnxacsamarthchiksnthisyyathithaiwaelwkbchatitawntkehlannthingid karphukrxnkhxngxanacxthipitykhxngcinsngphlihkraaeskarclacltxtanchawtangchatiraebidkhunxyangnatuntatunicyingineduxnmithunayn pi 1900 emuxklumnkmwy Boxers hruxthithuktxngkkhuxsmakhm kapnaehngkhwamyutithrrmaelakhwamprxngdxngsamkhkhi the righteous and harmonious fists bukekhaocmtisthanthutkhxngchatiyuorptangthitngxyuinkrungpkking sngphlihchatitawntkehlann cbmuxphnukkalngrwmepnhnungediywknxyangthiimekhyepnmakxn phrxmsngihkxngthphkhxngtnsungpracakarxyuthiemuxngethiynsin krithaedinhnaekhasuemuxnghlwngpkking kxngthhareyxrmnptibtikaraekaekhnxyangrunaerngihaekthutkhxngtnthithukklumkbtsnghar inkhnathirsesiyyudkhrxngaemncueriyinphakhtawnxxkechiyngehnuxiwxyangehniywaenncnkrathngthukyipunbdkhyiphayaephipinsngkhramrahwangpi kh s 1904 1905 aemwakdhmaysiththisphaphnxkxanaekht cathukykelikipinpi kh s 1943 aetkarpkkhrxngkhxngtangchatiehnuxdinaedncinkephingcasinsudlngemuximnanniexng emuxxngkvsaelaoprtueks sngmxbhxngkngaelamaekaklbkhunsuxxmxkkhxngcininpi 1997 aela 1999 tamladb karkhyayphrmaednkhxngcin cininthanamhaxanacckrwrrdiniym China as an imperialist power aemwainkarxphipraythkethiyngekiywkberuxnglththickrwrrdiniymnn cincathukmxngwaepnpraethsthitkepnehyuxkhxngckrwrrdiniymtawntk aetthatidtameruxngrawluklngipkwannkcaehnphaphthisbsxnekiywkbbthbathkhxngcinineruxngnilngipxikradbhnung nnkhux rahwangthicinthukocmtiinchwngthswrrsthi 19 odychatiyuorpnn cinexngkthakarkhyayphrmaednkhxngtnxxkipthangthistawntkphrxmknipdwy odykarphnwkaekhwnsineciyng Xinjiang aelathiebtsungtamprawtisastraelwdinaednthngsxngniyakthicatkxyuphayitkarkhwbkhumkhxngcin odyaethcringaelwkhawa sineciyng nninphasacinmikhwamhmaywa phrmaednihm khwamsamarthinkarkhyayxiththiphlkhxngtnekhaipsudinaednexechiyklangekidkhuncakkarepliynaeplng 2 prakar khuxkarepliynaeplngthangsngkhmaelakarepliynaeplngthangdanethkhonolyi karepliynaeplngthangdansngkhmekidkhunphayitrachwngsching Qing dynasty cakpi kh s 1616 epntnma cintkxyuphayitkarkhwbkhumkhxngrachwngsaemncusungepnphurwbrwmphnukkalngehlathharmakhxngkxngthphcinekhadwykncnepnpukaephn sungthaihmikhwamehmaasmsahrbkarrukkhyayxanacaelaxiththiphlxxkipyngdinaednkhangekhiyngmakkwakxngkalngthharrabaebbdngedimkhxngcin swnkarepliynaeplngthangdanethkhonolyinn epnkhwamkawhnaindanxawuthpunihyaelakxngthharpunihysungthaihkhwamidepriybkhxngprachachnthixasyxyuinekhtthirabinisbieriyaelarsesiythiehnuxkwakxngthphephraamikxngmakhxngtnexngnnhmdsinip karaephxiththiphlekhaipinexechiyklangkhxngcinidrbaerngsnbsnuncakphupkkhrxngthxngthinswnihythifkifcin odyechphaaxyangyinginthiebt makkwachatimhaxanactawntk enuxngcakcinichxanacinkarkhwbkhumyudkhrxngxyanghlwm imridnathaernekhmkhnhnkethakbrsesiyaelaxngkvs swnihykhxngchwngewlaaehngkarkhyayxiththiphldngklaw cincungmikhwamthaeynthayannxymakthicaekhayudkhrxngephuxepnecackrwrrdihruxsthapnadinaednehlannihepnphunthixananikhmodytrngkhxngtn aemkrathnginyukhthxngkhxngcin hruxinchwngsmythicinmikhwamecriyrungeruxngsungsud khuxinsmyrachwngsthng the Tang Dynasty aelainsmythicinmikhwamsamarthinkarsrangkxngthpheruxthiaekhngaekrngthisudaelaihythisudinyukhrachwngshming the Ming Dynasty thiepnechnnnxaccaepnephraacinmikhwamhyingyaosaelaechuxmnintnexngsungwa cinepnchatithimixarythrrmkawhnathisudinolk dngnncungimcaepnthicatxngthakarkhakhayhruxtidtxsmphnthiklchidkbkhnphaynxksungthangcinmxngwaepnphwk paethuxn babarians nnexngexechiyklangaelatawntkexechiyklangaelatawntk Central and Western Asia xngkvs cin aelarsesiy khuxkhuaekhngsakhyinewthiexechiyklangaelaexechiytawntk inchwngplaystwrrsthi 19 rsesiyekhakhrxbkhrxngphunthiswnihykhxngexechiyklang sungnaipsuwikvtkarninxfkanisthanchwngsnkbxngkvsinpi kh s 1885 inepxresiy pccubnkhuxxihran thng 2 chatiidkxtngthnakharkhunhlayaehngephuxkhyayxiththiphlthangesrsthkickhxngtninphumiphakhni xngkvsnnkhubhnaipthungkhnekharukranthiebt sungepndinaednphayitxantikhxngcininpi 1904 aetkthxntwxxkipemuxphbwaxiththiphlkhxngrsesiyehnuxdinaedndngklawimmikhwamsakhyaelahlngcakphayaephihaekkxngthphcinihm tamkhxtklnginpi 1907 du Entente rsesiyyutikarxangsiththixananikhmehnuxpakisthan swnxanackhwamepnecaehnuxxthipitythiebtkhxngcinidrbkaryxmrbcakthngrsesiyaelaxngkvs enuxngcakkarkhwbkhumtampktiodyrthcinthixxnaexnnepnthiyxmrbknidmakkwakaryudkhrxngodymhaxanacrayidrayhnung swnepxresiynnthukaebngxxkepnekhtxiththiphlkhxngrsesiyaelaxngkvs odymiekhtepnklanghruxosnesri neutral free or common zone knklang txmaxngkvsyngsmyxmihrsesiyepidptibtikarprabpramrthbalchatiniymepxresiyinpi 1911 dwy hlngcakekidkarptiwtikhuninrsesiy rsesiykidyutikarxangsiththiehnuxdinaednphayitekhtxiththiphlkhxngtn aemwakarekhamiswnrwminckrwrrdiniymcayngkhngmixyuekhiyngkhangknipkbxngkvscnkrathngthungthswrrs 1940 intawnxxkklang bristhkhxngeyxrmnidkxsrangthangrthifcakkrungkhxnaestntionepilipyngnkhraebkaedkaelaxawepxresiy eyxrmntxngkarekhakhwbkhumesrsthkicinphumiphakhaehngniiwkxn aelacaknnkekhluxnekhasuxihranaelaxinediy aetkthuktxtanxyangrunaerngcakxngkvs rsesiy aelafrngess sungidaephxanacekhakhrxbkhrxngaelaaebngsrrpnswnphunthirahwangknexngiwkxnhnaniaelwoprtueksoprtuekssungmithankalngxyuthikw Goa aelamalakidsrangckrwrrdinawikhuninmhasmuthrxinediyephuxphukkhadkarkhaekhruxngeths aelakxtngsrangkalngkhunthimaekathangtxnitkhxngcinephuxxanwykhwamsadwkihaekkarkhaincinaelayipunkhxngtn oprtueksimiderngkhyayxananikhminexechiyxyangcringcnginebuxngtnenuxngcakckrwrrdioprtuekskhyaykhxbekhtmakcntungmuxaelw xnepnphlcakkhidcakdthangdankhaichcaykhxngxananikhmaelanawiethkhonolyirwmsmy thngsxngpccynithangankhukhnanknipthaihkarkhaichcayinkarbriharcdkarxananikhmtxngichemdengincanwnmhasal phlpraoychnkhxngoprtueksthimixyuinexechiycungephiyngphxsahrbkarsnbsnunthangkarenginaekkarkhyayxananikhmaelayudthimniwtxipinekhtphunthisungphicarnaaelwwamikhwamsakhythangyuththsastrepnxyangmakinphumiphakhthitngxyuiklpraethsaemmakkwakhuxxfrikaaelabrasil aeladngthiidklawthungmaaelwkhangtn wa oprtueksnnmikhwamsmphnththangkarkhaaenbaennmakkbyipun cnmikarbnthukiwwaoprtuekskhuxchatitawntkthiedinthangipeyuxnyipunepnchatiaerk karsmphnthtidtxthangkhakhayehlanithaihmikarnaexasasnakhrisetiynaelaxawuthpunekhaipephyaephrinyipundwy khwamyingihyinthana epnmhaxanacthangthaelkhxngoprtuekstxngsuyesiyihaekenethxraelndipinstwrrsthi 17 aelanamasungkhwamthathaythisakhyyingtxoprtueks aetxyangirktam oprtuekskyngkhngyudkhrxngmaekasungthukprakaswaepndinaednitxananikhmkhxngoprtueksphayhlngcinaephsngkhramfin aelacdtngxananikhmaehngihmkhunbnekaatimxr cnkrathnghlngklangstwrrsthi 20 oprtuekscungsuyesiyxananikhminexechiykhxngtnip odykwthukrukranodyxinediyinpikh s 1962 aelaoprtueksthxdthingtimxripinpi 1975 kxnthidinaednaehngnicathukxinodniesiybukekhayudkhrxngaelaphnwkekhaepnswnhnungkhxngpraeths swnmaekannoprtuekssngmxbkhunihaekcinemuxsnthisyyakarechahmdxayulnginpi 1999enethxraelndinhmuekaaxinediytawnxxkbristhxinediytawnxxkkhxngenethxraelnd The Dutch East India Company kxtngsanknganihykhunthiemuxngpttaewiy pccubnkhuxcakarta inhmuekaachwa ephuxkhwbkhumkarkhaekhruxngethsinchwngtnstwrrsthi 16 bristhidekhayudithwn sunginewlanncinyngimidxangsiththiwaepndinaednkhxngtn epndinaednxananikhmkhxngenethxraelnd ephuxxanwykhwamsadwkihaekkarkhakhaykbcinaelayipun phayhlngekidsngkhramnopeliyn The Napoleonic Wars dtchkmungkhwamsnicinkarprakxbkickarphanichykhxngtnipxyuinhmuekaaxinediytawnxxkkhxngenethxraelnd xinodniesiy macntlxdstwrrsthi 19 aelasuyesiyswnihykhxngxananikhmaehngnikhxngtnihaekyipuninchwngsngkhramolkkhrngthi 2 xyangirktam emuxyipunyxmaephaekkxngkalngphnthmitrinpi 1945 oprtueksktxngephchiyhnakbkartxsuephuxprakasexkrachkhxngxinodniesiytxshrthxemrikainexechiyshrthxemrikainexechiy shrthxemrikayudxanacekhapkkhrxngfilippinscaksepninpi kh s 1898 inrahwangthasngkhramsepn xemrikn Spanish American War kartxtankhxngchawfilippinsnaipsusngkhramfilippins xemrikn The Philippines American War khunrahwangpi kh s 1899 1902 aelakbtomor The Moro Rebellion inpi kh s 1902 1913 shrthxemrikayinyxmmxbexkrachihaekfilippinsepnithaektwexngemuxpi kh s 1946 niexng nxkcakfilippinsaelw shrthxemrikaidekhaphnwkexahawayinpi kh s 1893 aelaidrbxanacehnuxdinaednekaaxikhlayaehnginaepsifikrahwangsngkhramolkkhrngthi 2sngkhramolkkhrngthi 1 lththickrwrrdiniymthiepliynipsngkhramolkkhrngthi 1 lththickrwrrdiniymthiepliynip World War I Changes in Imperialism emuxmhaxanacklang sungrwmthungeyxrmniaelaturkiexaiwdwyphayaephsngkhramolkkhrngthi 1 karepliynaeplngkhxngxanackekidkhunaelarbruidthwolk eyxrmnisuyesiydinaednxananikhmkhxngtnthnghmdip khnathiturkinntxngyxmplxydinaednxahrbkhxngtnihaekphuchnasngkhram sieriy paelsitn aelaemosopetemiy pccubnkhuxxirk tkipxyuphayitkarpkkhrxngkhxngfrngessaelaxngkvstamkhasngkarkhxngsnnibatchati League of Nations karkhnphbnamninxihranaelatxmaindinaednchatixahrbinpithiwangewnsngkhramkxnekidsngkhramolkkhrngthi2 interbellum epidthangihaekepakhwamsnicihminkickrrmptibtikarkhxngxngkvs frngessaelashrthxemrika inphumiphakhniyipunyipunerimphthnapraethschatisukhwamepnecackrwrrdiniyminchwngplaystwrrsthi 19 xnepnkhwamsamarththiyingihythitxma idhyudlnghlngsngkhramolkkhrngthi 2 inchwngaerk yipunochkhdithirxdphncakchatakrrmthichatiexechiyxun idrb odyechphaaxyangechkechnpraethscin nnkhuxkarthitxngtkepndinaednxananikhmxyuphayitxanackhxngchatitawntk esiybanesiyemuxng sinrachwngs sinxthipity suyesiykhwamepnchati prachachnxdxyaktxngxphypherrxnipxasyinbanxunemuxngxunxyangirskdisri hlngcakthithukphleruxctwaephxrri Commodore Perry bngkhbihepidpratukarkha aelwtidtammadwykarcdkarepidkarkhaihaekchatimhaxanactawntkthnghmdinlksnaediywkn karptirupsmyemci the Meiji Restoration inpi kh s 1868 naipsukarptiruprabbkarpkkhrxngihthnsmyaelakarphthnaesrsthkicxyangrwderwinewlatxmayipunmithrphyakrthrrmchatinxybnaephndintnexngaelamikhwamtxngkarthngtladintangpraethsaelaaehlngwtthudib pccyehlaniphlkdnihekidkarrukranillaephuxphichitxananikhmaebbckrwrrdiniymsungerimtndwykhwamphayaephkhxngcinsungepnchatithimiprawtisastrphayaephchatixun maodytlxd cungthaihyipunsamarthphichitkhnphnlankhnidxyangngay yingkwaphlikfamux inpi kh s 1895 ithwnsungckrwrrdiching the Qing Empire yinyxmykihidklayepnxananikhmaehngaerkkhxngyipun inpi kh s 1899 yipunmichycakkarthimhaxanacyxmlathingsiththisphaphnxkxanaekht aelakarekhaepnphnthmitrkbxngkvsinpi kh s 1902thaihyipunklayepnmhaxanacrahwangpraethskarmichyehnuxrsesiyinpi kh s 1905 thaihyipuniddinaednswnitkhxngekaaskkhalin Sakhalin maepnkhxngtn nxkcaknixditrsesiyyngyinyxmihyipunechaaehlmeliywtung the Liaodong Peninsula aelaemuxngpxrtxaethxr Port Arthurpccubnkhuxemuxng luchunoka Lushunkou aelaidsiththiehnuxaemncueriydwyinpi kh s 1910 ekahlikthukphnwkekhaepnswnhnungkhxngckrwrrdiyipun khnannyipunepnhnunginchatithimixanacmakthisudintawnxxkiklhruxexechiyaepsifik aelainpi kh s 1914 kkawekhasusngkhramolkkhrngthi1 ekhiyngkhangxngkvs yipunekhayuddinaednitxantikhxngeyxrmnikhux ekaocw Kiaochow aelacaknnkeriykrxngihcinyxmrbxiththiphlthangkaremuxngkhxngyipunaeladinaednthiidrbcakkarekhasusngkhramdwykhxeriykrxng21khx Twenty one Demands inpi kh s 1915 karprathwngkhrngihyinkrungpkkinginpi kh s 1919 rwmthngaenwkhwamkhidkhxngfayphnthmitr odyechphaaxyangyingshrthxemrika thaihyipunyxmykelikswnihykhxngkhxeriykrxngdngklaw aelasngmxb ekaocw Kiaochow khunihaekcininpikh s 1922 karthxykawhnungkhxngyipuninsaytakhxngotekiywmxngwaepnkarchwkhrawephuxruktxipxikhlaykawdngnninpi kh s 1931 kxngthphyipunhnwyhnungthitngthanxyuinaemncueriybbukyudxanacekhapkkhrxngdinaednaehngni xnnaipsukarsngkhrametmrupaebbkbcinkhuninpi kh s 1937 aelaepidchakkhwamyingihykhxngckrwrrdiniymyipuninkarepnecaekhakhrxbkhrxngehnuxexechiyaepsifik cnkrathngphayhlngsngkhramolkkhrngthi 2 sinsudlngraychuxxananikhmtawntkinthwipexechiyxinediy frngess enethxraelnd aelaxngkvs aekngaeyngkninkaraephxiththiphlekhayudkhrxngxinediy aetinthisudxngkvsksamarthkhyayxanacyudkhrxngxinediythnghmdidinpi ph s 2300 kh s 1757 cnthungpithiprakasexkrach emuxpi ph s 2490 kh s 1947 aelabangswnaeykipepnpraethspakisthan aelapakisthantawnxxk thitxmaklayepnpraethsbngkhlaeths inpi ph s 2514 kh s 1971 srilngka tkepnxananikhmkhxngoprtueks inpi ph s 2048 kh s 1505 aelwepliynmuxipepndinaednitpkkhrxngkhxngenethxraelndinpi ph s 2199 kh s 1656 aetthaysudthukxngkvsekhayudkhrxngepnxananikhminpi ph s 2339 kh s 1796 cnthungpi ph s 2491 kh s 1948 srilngkamithrphyakrsakhykhuxchaaelayangphara maeka xananikhmkhxngoprtueks nbepnxananikhmaehngaerkincinkhxngchawyuorp ph s 2100 ph s 2542 hxngkng tkepnxananikhmkhxngxngkvstngaetpi ph s 2384 kh s 1841 cnthungpi ph s 2540 kh s 1997 xngkvscungsngmxbkhuncin ekaafxromsa mixikchuxhnungkhuxekaaithwn aetekaaxyuphayitxanackarpkkhrxngcakchatitawntkxyu 2 swn sungimidthukyudkhrxngthnghmd echn thangtxnehnuxepndinaednxthipitykhxngsepn thipccubnxacklawthungemuxngithepipdwy tngaetpi ph s 2167 kh s 1624 cnthungpi ph s 2205 kh s 1662 aelathangtxnitepndinaednxthipitykhxngenethxraeld thipccubnxacklawipthungemuxngithhnn aelaemuxngekasyngipdwy tngaetpi ph s 2169 kh s 1626 cnthungpi ph s 2189 kh s 1642 phayhlng cininsmyrachwngschingekhamamixanacpkkhrxngekaafxromsann ekaafxromsakhludphnaelaimekhymiprawtikartkxyuphayitxanackarpkkhrxngkhxngchatitawntkxikely mlayu tkepnxananikhmkhxngoprtueks caknnthukenethxraelndekhayudkhrxng aelasudthaytkepndinaednphayitkarpkkhrxngkhxngxngkvsthwthngxanaekht epndinaednthixudmsmburnipdwythrphyakrthrrmchatikhuxdibukaelayangphara cnkrathngprakasexkrach odyichchuxpraethswa mlaya pi ph s 2500 kh s 1957 xnung idmikarrwmdinaednkbsingkhopr sarawk bxreniywehnux sunghmaythungsabah aelalabwn inpi ph s 2506 kh s 1963 cungepliynchuxpraethsepn maelesiy aelainpi ph s 2508 kh s 1965 karpkkhrxngsingkhoprkhxngmaelesiysinsudlng enuxngcaksingkhopr idprakasexkrachxxkcakmaelesiyxxkip singkhopr tkepnxananikhmkhxngxngkvstngaetpi ph s 2362 kh s 1819 cnthungpi ph s 2506 kh s 1963 sungidmikarrwmdinaednkbmlaya epnmaelesiyidaekh 2 pi cnkrathngprakasexkrachinpi ph s 2508 kh s 1965 bruin tkepnxananikhminrupaebbrthinxarkkhakhxngxngkvstngaetpi ph s 2431 kh s 1888 cnthungpi ph s 2527 kh s 1984 odyepnpraethssudthayinphumiphakhexechiytawnxxkechiyngit thiprakasexkrachcakpraethsecaxananikhmtawntk phma tkepnxananikhmkhxngxngkvsaelathukphnwkdinaednrwmekhakbxinediytngpi ph s 2428 kh s 1885 thungpi ph s 2485 kh s 1942 inpi ph s 2423 kh s 1880 frngesssrangthangrthifcaktngekiy ipyngemuxngmnthaelyinphma xngkvsekrngphmacaexaicxxkhangipswamiphkditxfrngesscungthasngkhramkbphma hlngsngkhram kstriyphmathuksngtwipxyuinxinediy aelaxikkhrnginpi ph s 2488 kh s 1945 thungpi ph s 2491 kh s 1948 enuxngcakkxngthphfayxksasungnaodyyipunekhayudkhrxng epnfayaephsngkhramihaekkxngthphfaysmphnthmitr sungmixngkvs epnpraethssmachikkhxngkxngthphdngklaw thaihxngkvs klbmapkkhrxngphmainthanaxananikhmxikkhrnghnung aetpkkhrxngidaekh 3 piessethann xinodniesiyaelahmuekaaiklekhiyng tkepnxananikhmkhxngenethxraelnd ph s 2343 kh s 1800 kxnhnanidtsidyudkhrxngdinaednbangswn tngaetpiph s 2325 kh s 1782 cnthungpi ph s 2492 kh s 1949 timxr elset tkepnxananikhmkhxngoprtuekstngaetpi ph s 2245 kh s 1702 cnthungpi ph s 2518 kh s 1975 odymixinodniesiyekhamapkkhrxngdinaedndngklawsubtxcakoprtueks cnkrathngprakasexkrachinpi ph s 2545 kh s 2002 xinodcin tkepnxananikhmkhxngfrngess prakxbdwylaw tngaetpiph s 2436 kh s 1893 kmphucha tngaetpiph s 2406 kh s 1863 aelaewiydnam tngaetpiph s 2426 kh s 1883 chnthxngthinidkxkbtkhuntidtxknhlaykhrng aetkthukfrngessprabpramrabkhab aelasudthayfrngesscungidihexkrachaekthng 3 praethscnaelwesrc inpi ph s 2496 kh s 1953 filippins tkepnxananikhmkhxngsepn tngaetpi ph s 2064 kh s 1521 inpiph s 2305 cnthungpiph s 2307 epnchwngewlathitkxyuphayitkarpkkhrxngkhxngxngkvs echphaaemuxngmanilaaelaemuxngthakabiet inchux British Manila cnekidkarkbtkhuninpi ph s 2439 kh s 1896 caknntkepndinaednphayitkarpkkhrxngkhxngshrthxemrika hlngcakthishrthcayengin 20 landxllarsuxfilippinscaksepn hlngyuti The Spanish American War inpi ph s 2441 kh s 1898 cnkrathngprakasexkrachaelaepnthiyxmrbinpi ph s 2489 kh s 1946 rthexkrach praethsxfkanisthan kxtngody cakshrachxanackr epnexkrachaelaepnthiyxmrbinpi 1919 praethscin inxditkhux ckrwrrdiaehngrachwngsching chwngsngkhramolkkhrngthi 2 yipunmixiththiphlehnuxphunthiswnihykhxngcin praethsphutan imekhytkepnxananikhmkhxngchatiidinthangptibti aetepnrthxarkkhakhxngxngkvs praethsxihran imekhytkepnxananikhmkhxngchatiidinthangptibti aetktxngtkxyuphayitxiththiphlkhrxbngakhxngxngkvsaelarsesiy praethsxirk kxtngody cakshrachxanackrinpi 1930 epnexkrachaelaepnthiyxmrbinpi 1932 praethsyipun epnpraethsmhaxanac praethsekahli epnrthexkrach aetthukbukyudkhrxngodyyipun inpi ph s 2448 kh s 1905 praethsmxngokeliy prakasexkrachcakcin inpi ph s 2464 kh s 1921 txmatkxyuphayitxiththiphlkhrxbngakhxngrsesiy praethsenpal imekhytkepnxananikhmkhxngchatiidinthangptibti aetepnrthxarkkhakhxngxngkvs praethsithy imekhytkepnxananikhmkhxngchatiidinthangptibti aetktxngtkxyuphayitxiththiphlkhrxbngakhxngxngkvsaelafrngess txmathukbukkhrxngodyyipun praethssaxudixaraebiy kxtngkhuninpi 1932 cakkarrwmxanackraeladinaedntanginphunthikhxngpraethsinpccubnaeladinaednthiiklekhiynginrahwangpi 1902 thung 1916 aetxngkvsmixiththiphlehnuxphunthiswnihy praethseyemn prakasexkrachcakxxtotmn inpi ph s 2461 kh s 1918 echphaadinaednthiepnrachxanackrmutawkhkhiilteyemnedim aettkxyuphayitxiththiphlkhrxbngakhxngenethxraelnd praethsturki subthxdckrwrrdixxtotmninpi 1923 aetrsesiymixiththiphlehnuxphunthiswnihyduephimckrwrrdiniym lththixananikhmbthkhwamniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmul hmayehtu khxaenanaihcdhmwdhmuokhrngihekhakbenuxhakhxngbthkhwam duephimthi wikiphiediy okhrngkarcdhmwdhmuokhrngthiyngimsmburn dkhk