ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ลัทธิคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") เป็นอุดมการณ์และการเคลื่อนไหวทางปรัชญา สังคม การเมือง และเศรษฐกิจซึ่งมีเป้าหมายในการก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ ที่กล่าวคือ ระเบียบทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีลักษณะตามแนวคิดเรื่องของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในทรัพย์สิน และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงิน และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบสังคมนิยมที่เฉพาะเจาะจงแต่มีความชัดเจน คอมมิวนิสต์นั้นเห็นด้วยกับความร่วงโรยของรัฐ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการเพื่อเป็นการยุติครั้งนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างแนวทางของคอมมิวนิเซชั่น (Communization) ไปในทางอิสรนิยมมากขึ้น ลักษณะการเกิดขึ้นเองของการปฏิวัติ (Revolutionary spontaneity) และการจัดการตนเองของแรงงาน (Workers' self-management) และแนวทางที่ถูกขับเคลื่อนโดยผู้นำทางสังคม (Vanguardist) หรือพรรคคอมมิวนิสต์มากยิ่งขึ้นผ่านทางการพัฒนารัฐธรรมนูญแห่งรัฐสังคมนิยม
ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้มีการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ รวมทั้งลัทธิอนาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ และ (Marxist schools of thought) ลัทธิคอมมิวนิสต์ประกอบไปด้วยความหลากหลายของโรงเรียนแห่งความคิดซึ่งรวมถึงลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเลนิน และลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยม เช่นเดียวกับอุดมการณ์ทางการเมืองที่ถูกจัดกลุ่มเหมือน ๆ กัน ซึ่งทั้งหมดนี้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ว่า ระเบียบทางสังคมในปัจจุบันที่เกิดมาจากระบบทุนนิยม ระบบเศรษฐกิจ และวิถีการผลิต ที่กล่าวคือ ในระบบนี้มีอยู่สองชนชั้นทางสังคมที่มีความสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างสองชนชั้นนี้คือ การแสวงหาผลประโยชน์และสถานการณ์นี้สามารถแก้ไขได้ในที่สุดโดยผ่านทาง ทั้งสองชนชั้นทางสังคม ได้แก่ ชนกรรมาชีพ (ชนชั้นแรงงาน) ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนใหญ่ของประชากรภายในสังคมและต้องทำงานเพื่อความอยู่รอด และชนกระฎุมพี (ชนชั้นนายทุน) เป็นคนกลุ่มน้อยขนาดเล็กที่ได้รับผลกำไรจากการจ้างชนชั้นแรงงานผ่านการเป็นของวิถีการผลิต ตามการวิเคราะห์นี้ จะทำให้ชนชั้นแรงงานขึ้นมามีอำนาจและในทางกลับกัน การสร้างกรรมสิทธื์ในทรัพย์สินซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีต่อ
ในศตวรรษที่ 20 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ได้สนับสนุนลัทธิมากซ์–เลนินและรูปแบบต่าง ๆ เข้ามามีอำนาจในส่วนหนึ่งของโลก ครั้งแรกในสหภาพโซเวียตด้วยการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 และต่อมาในส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันออก เอเชีย และภูมิภาคอื่น ๆ ไม่กี่แห่งภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง นอกเหนือจากระบอบประชาธิปไตยสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้กลายเป็นแนวโน้มทางการเมืองที่ครอบงำภายในขบวนการสังคมนิยมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1920 การวิพากษ์วิจารณ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์สามารถแบ่งแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ กล่าวคือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการปฏิบัติของรัฐคอมมิวนิสต์ในศตวรรษที่ 20 และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลักการและทฤษฎีคอมมิวนิสต์ นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคน รวมทั้งนักวิชาการคนอื่น ๆ ได้จัดวางแบบจำลองโซเวียตซึ่งอยู่ภายใต้ในนามของรัฐคอมมิวนิสต์เหล่านี้ได้ดำเนินปฏิบัติอยู่นั้นไม่ใช่แบบจำลองเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงตามคำจำกัดความที่มีการยอมรับมากที่สุดของลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าเป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงแล้วคือรูปแบบของระบบทุนนิยมโดยรัฐ (state capitalism) หรือระบบควบคุมบริหารที่ไม่ได้มีการวางแผนเอาไว้
ประวัติศาสตร์
คอมมิวนิสต์ช่วงต้น
จุดกำเนิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ยังคงเป็นที่ถกเถียง มีกลุ่มบุคคลและนักทฤษฎีในประวัติศาสตร์หลากหลายกลุ่มที่ถูกจัดว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แต่สำหรับนักปรัชญาชาวเยอรมัน คาร์ล มากซ์ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิคอมมิวนิสต์คือสังคมมนุษย์ในสมัยโบราณที่ส่วนมากจะเป็นนักล่า-เก็บของป่าเรียกว่า "สังคมคอมมิวนิสต์โบราณ" (primitive communism) จนกระทั่งต่อมาเมื่อมนุษย์ได้เรียนรู้ที่จะสร้าง (Economic surplus) ขึ้นมา จึงเกิดระบบความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ส่วนบุคคลขึ้น และไม่แบ่งปันทรัพย์สินหรือสิ่งของใด ๆ กับผู้อื่นให้ใช้เป็นส่วนรวมอีกต่อไป
ตามคำกล่าวของริชาร์ด ไปป์ แนวคิดเกี่ยวกับสังคมที่เท่าเทียมเสมอภาคและปราศจากชนชั้นถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ นอกจากนี้ยังมีขบวนการมัสดาก (Mazdak) ในเปอร์เซียในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ที่ถือว่า "มีลักษณะเป็นคอมมิวนิสต์" (communistic) เนื่องจากท้าทายต่ออภิสิทธิ์ที่มีอยู่อย่างมากมายของชนชั้นนำและนักบวช วิพากษ์วิจารณ์การถือครองทรัพย์สินส่วนบุคคล และมุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่เสมอภาคขึ้นมา
บางช่วงในประวัติศาสตร์ยังปรากฏว่ามีสังคมคอมมิวนิสต์ขนาดเล็กอยู่อย่างหลากหลาย ซึ่งโดยทั่วไปมีแรงบันดาลใจมากจากคัมภีร์ทางศาสนา เช่น คริสตจักรในสมัยกลางที่ปรากฏว่ามีอารามวาสีและกลุ่มก้อนทางศาสนาบางแห่งร่วมแบ่งปันที่ดินและทรัพย์สินในหมู่สมาชิกด้วยกันเอง (ดูเพิ่มที่ ลัทธิคอมมิวนิสต์ทางศาสนา และลัทธิคอมมิวนิสต์คริสเตียน)
แนวคิดคอมมิวนิสต์ยังสามารถสืบย้อนไปถึงชิ้นงานในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ทอมัส มอร์ ซึ่งตำราของเขานามว่า ยูโทเปีย (ค.ศ. 1516) ได้ฉายภาพสังคมที่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพย์สิน และมีผู้ปกครองบริหารงานด้วยการใช้เหตุผล นอกจากนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีแนวคิดคอมมิวนิสต์ปรากฏขึ้นมาอีกครั้งในอังกฤษโดยกลุ่มพิวริตันทางศาสนานามว่า "ดิกเกอร์ส" (Diggers) ที่สนับสนุนให้ยกเลิกสิทธิครอบครองที่ดินส่วนบุคคลไป ด้านนักทฤษฎีสังคมนิยม-ประชาธิปไตยชาวเยอรมัน เอดูอาร์ด แบร์นสไตน์ กล่าวในผลงานปี ค.ศ. 1895 ครอมเวลล์กับลัทธิคอมมิวนิสต์ (Cromwell and Communism) ของเขาว่าในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษมีกลุ่มหลายกลุ่มโดยเฉพาะพวกดิกเกอร์สที่สนับสนุนอุดมการณ์คอมมิวนิสต์เกี่ยวกับที่ดินอย่างชัดเจน แต่ทัศนคติของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ที่มีต่อกลุ่มคนเหล่านี้กลับถือว่าต่อต้านและไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมากที่สุด ทั้งนี้การวิพากษ์วิจารณ์สิทธิครอบครองทรัพย์สินส่วนบุคคลยังคงดำเนินเรื่อยไปจนถึงยุคเรืองปัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผ่านนักคิดอย่าง ฌ็อง-ฌัก รูโซในฝรั่งเศส และต่อมาในช่วงที่วุ่นวายที่สุดของการปฏิวัติฝรั่งเศส ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของลัทธิทางการเมือง
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักปฏิรูปสังคมหลายคนได้ร่วมกันก่อตั้งชุมชนที่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ไม่เหมือนกับสังคมคอมมิวนิสต์ยุคก่อน ๆ ตรงที่พวกเขาแทนที่การมุ่งเน้นไปในทางศาสนาด้วยรากฐานการใช้ตรรกะเหตุผลและการกุศลเป็นหลัก โดยหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงในกลุ่มนี้คือ โรเบิร์ต โอเวน ผู้ก่อตั้งชมรมสหกรณ์ นิวฮาร์โมนี ในรัฐอินดีแอนา ในปี ค.ศ. 1825 และชาลส์ โฟเรียร์ ที่ผู้ติดตามของเขาก็ได้จัดตั้งชุมชนในบริเวณอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา เช่น ฟาร์มบรุก (Brook Farm; ค.ศ. 1841 – 1847) ด้วยเช่นกัน ซึ่งต่อมาในภายหลัง คาร์ล มากซ์ อธิบายนักปฏิรูปสังคมเหล่านี้ว่าเป็นพวก "นักสังคมนิยมแบบอุดมคติ" (utopian socialists) เพื่อให้ตรงกันข้ามกับ "ลัทธิสังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์" (scientific socialism) ของเขา (ซึ่งเป็นชื่อที่ฟรีดริช เองเงิลส์ เห็นพ้องด้วย) นอกจากนี้มากซ์ยังเรียก อ็องรี เดอ แซ็ง-ซีมง ว่าเป็น "นักสังคมนิยมแบบอุดมคติ" ด้วยเช่นกัน
ลัทธิคอมมิวนิสต์ในรูปแบบปัจจุบันเติบโตมาจากขบวนการสังคมนิยมในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม นักวิจารณ์ฝ่ายสังคมนิยมหลายคนกล่าวโทษระบบทุนนิยมว่าเป็นต้นเหตุความทุกข์ยากของชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ที่ประกอบไปด้วยแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองผู้ต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่มักจะเป็นอันตรายอยู่บ่อยครั้ง โดยบุคคลสำคัญที่สุดในหมู่นักวิจารณ์นี้ก็คือคาร์ล มากซ์ และภาคีของเขาอย่าง ฟรีดริช เองเงิลส์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1848 มากซ์และเองเงิลส์ได้เสนอนิยามใหม่ของลัทธิคอมมิวนิสต์ และทำให้นิยามดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยจุลสารอันโด่งดังของพวกเขานามว่า แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์
ลัทธิคอมมิวนิสต์สมัยใหม่
การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 ในรัสเซีย ได้สร้างเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้พรรคบอลเชวิกของวลาดีมีร์ เลนิน ก้าวขึ้นสู่อำนาจและได้มาซึ่งการปกครองในระดับรัฐ ซึ่งนับเป็นพรรคคอมมิวนิสต์พรรคแรกในประวัติศาสตร์ที่มีฐานะเป็นรัฐบาลอย่างเปิดเผย การปฏิวัติดังกล่าวได้ถ่ายโอนอำนาจไปยังสภาโซเวียตของชาวรัสเซียทั้งมวล (All-Russian Congress of Soviets) ที่ซึ่งพรรคบอลเชวิกถือครองเสียงข้างมาก เหตุการณ์ดังกล่าวยังได้สร้างข้อถกเถียงเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติขนานใหญ่ในหมู่ขบวนการลัทธิมากซ์ เนื่องจากมากซ์ได้พยากรณ์ไว้ว่าระบอบสังคมนิยมจะถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานการพัฒนาที่ก้าวหน้าที่สุดของระบบทุนนิยม แต่ในกรณีของรัสเซียระบอบสังคมนิยมกลับถูกสร้างขึ้นจากสังคมที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป เป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยชาวนาจำนวนมหาศาลที่ส่วนมากไม่รู้หนังสือ (อันเป็นชนส่วนมาก) และกลุ่มแรงงานส่วนน้อยในภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม มากซ์กล่าวอย่างชัดเจนว่ารัสเซียอาจมีความสามารถมากพอที่จะก้าวข้ามขั้นโดยไม่ต้องใช้การปกครองด้วยชนชั้นกระฎุมพีไปได้เลย ส่วนนักสังคมนิยมกลุ่มอื่น ๆ เชื่อว่าการปฏิวัติในรัสเซียครั้งดังกล่าวอาจเป็นตัวนำที่ชี้ชวนให้ชนชั้นแรงงานก่อการปฏิวัติในลักษณะเดียวในโลกตะวันตก
ด้านฝ่ายเมนเชวิก (Mensheviks) อันเป็นชนส่วนน้อยที่มีแนวคิดสังคมนิยมรุนแรงน้อยกว่า คัดค้านแผนการปฏิวัติสังคมนิยมก่อนที่ระบบทุนนิยมจะถูกพัฒนาจนสุดขั้นของพรรคบอลเชวิกของเลนิน (อันเป็นชนส่วนมาก) ทั้งนี้ความสำเร็จที่ส่งให้พรรคบอลเชวิกก้าวขึ้นสู่อำนาจมีพื้นฐานจากคำขวัญ เช่น "สันติภาพ ขนมปัง และที่ดิน" ซึ่งไปตรงใจกับความปรารถนาของสาธารณชนหมู่มากที่ต้องการให้รัสเซียยุติบทบาทในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และความต้องการของชาวนาที่อยากให้มีการปฏิรูปที่ดิน รวมถึงเสียงสนับสนุนส่วนมากให้มีสภาโซเวียต
สังคมนิยมสากลที่สอง (Second International) อันเป็นองค์การสังคมนิยมระหว่างประเทศถูกยุบในปี ค.ศ. 1916 จากความแตกแยกภายในซึ่งแบ่งฝักแบ่งฝ่ายตามประเทศต้นกำเนิด โดยพรรคสังคมนิยมสมาชิกในองค์การจากแต่ละประเทศไม่สามารถรักษาจุดยืนร่วมกันในการต่อต้านสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเอาไว้ได้ แต่กลับสนับสนุนบทบาทของรัฐบาลตามแนวทางของชาติตนแทน ด้วยเหตุนี้เลนินจึงก่อตั้ง สังคมนิยมสากลที่สาม (Third International) หรือ "โคมินเทิร์น" ในปี ค.ศ. 1919 และได้ส่ง (Twenty-one Conditions) ซึ่งรวมเอาคติประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic socialism) ไว้ภายใน ให้แก่พรรคการเมืองสังคมนิยมในยุโรปที่ต้องการจะยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ ในฝรั่งเศสมีตัวอย่างให้เห็นคือสมาชิกส่วนมากที่เป็นพรรคแรงงานสากลสาขาฝรั่งเศสหรือ "แอสเอฟอิโอ" (French Section of the Workers' International; SFIO) แยกตัวออกมาในปี ค.ศ. 1921 เพื่อก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์สากลสาขาฝรั่งเศสหรือ "แอสเอฟอิเซ" (French Section of the Communist International; SFIC) ดังนั้นคำว่า "คอมมิวนิสซึม" หรือลัทธิคอมมิวนิสต์จึงถูกใช้หมายถึงวัตถุประสงค์ของพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นภายใต้โคมินเทิร์น โครงการของพวกเขาก็คือหลอมรวมแรงงานทั่วโลกเข้าเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันสำหรับการปฏิวัติ ซึ่งจะตามมาด้วยการสถาปนาระบอบการปกครองแบบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ (dictatorship of the proletariat) เช่นเดียวกับการพัฒนาภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ในช่วงสงครามกลางเมืองรัสเซีย (ค.ศ. 1918 – 1922) พรรคบอลเชวิกได้ยึดเอาทรัพย์สินที่ใช้สำหรับการผลิตทั้งหมดและประกาศนโยบายที่ชื่อว่า สงครามลัทธิคอมมิวนิสต์ (war communism) ซึ่งบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมและทางรถไฟมาอยู่ใต้การควบคุมของรัฐอย่างเข้มงวด เก็บรวบรวมและปันสวนอาหาร และริเริ่มการจัดการอุตสาหกรรมแบบกระฎุมพี หลังจากริเริ่มนโยบายดังกล่าวไปได้ 3 ปี และเกิดเหตุการณ์กบฏโครนสตัดท์ขึ้นในปี ค.ศ. 1921 เลนินจึงได้ประกาศ นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy; NEP) ในปีเดียวกัน เพื่อจำกัด "สถานที่และเวลาแก่ระบบทุนนิยม" นโยบายดังกล่าวยังคงอยู่ไปจนกระทั่งปี ค.ศ. 1928 เมื่อโจเซฟ สตาลิน ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคและริเริ่ม แผนห้าปี (Five Year Plans) มาลบล้างนโยบายเก่าของเลนิน และหลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1922 พรรคบอลเชวิกได้สถาปนาสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (ยูเอสเอสอาร์) หรือเรียกโดยย่อว่า "สหภาพโซเวียต" ขึ้นมาจากจักรวรรดิรัสเซียในอดีต
หลังจากรับเอาคติประชาธิปไตยรวมศูนย์มาแล้ว พรรคการเมืองแนวลัทธิเลนินก็หันมาจัดโครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น (hierarchy) โดยมีสมาชิกระดับหน่วยย่อยเป็นฐานล่างสุด ถัดขึ้นมาถึงจะเป็นสมาชิกระดับอภิสิทธิ์ที่เรีกยว่า คาดส์ (cadres) ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งจากบุคคลระดับสูงภายในพรรคเท่านั้น โดยจะต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือและยึดมั่นในแนวทางของพรรคอย่างมากจึงจะได้รับแต่งตั้ง ถัดมาเกิดการกวาดล้างครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1937 – 1938 ตามนโยบายของสตาลินที่ต้องการจะทำลายขั้วตรงข้ามที่อาจแข็งข้อภายในพรรคคอมมิวนิสต์ และในได้กล่าวหาสมาชิกพรรคบอลเชวิกดั้งเดิมหลายคนที่มีบทบาทเด่นในช่วงการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 หรือในรัฐบาลของเลนินหลังจากนั้น เช่น คาเมนเนฟ, ซีโนวีฟ, รืยคอฟ และบูคาริน ว่าได้กระทำความผิด จึงตัดสินให้ลงโทษและนำไปประหารชีวิตในท้ายที่สุด
สงครามเย็น
สหภาพโซเวียตผงาดขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจจากบทบาทนำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งยังมีอิทธิพลอย่างมากเหนือภูมิภาคยุโรปตะวันออกและบางส่วนของเอเชีย และหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง จักรวรรดิต่าง ๆ ในยุโรปและจักรวรรดิญี่ปุ่นก็แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ บรรดาพรรคคอมมิวนิสต์หลายแห่งจึงใช้โอกาสนี้ในการสร้างบทบาทนำในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช
ต่อมาด้วยความช่วยเหลือของสหภาพโซเวียต พรรคการเมืองแนวลัทธิมากซ์-เลนินที่ยึดถือสหภาพโซเวียตเป็นต้นแบบต่างพากันก้าวขึ้นสู่อำนาจในบัลแกเรีย เชโกสโลวาเกีย เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี และโรมาเนีย นอกจากนี้ยังเกิดการตั้งรัฐบาลแนวลัทธิมากซ์-เลนินภายใต้การนำของนายพลตีโตในยูโกสลาเวียด้วยเช่นกัน แต่นโยบายความเป็นอิสระของตีโตทำให้ยูโกสลาเวียถูกขับออกจาก "โคมินเทิร์น" ซึ่งเป็นองค์การสืบทอดต่อจากโคมินฟอร์ม ดังนั้นยูโกสลาเวียจึงกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์อิสระที่ไม่ได้อยู่ใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตหรือเป็นประเทศใน "ลัทธิตีโต" เช่นเดียวกับแอลเบเนียก็เป็นรัฐอิสระในลัทธิมากซ์-เลนินอีกแห่งหนึ่งหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง
เมื่อถึงปี ค.ศ. 1950 ฝ่ายนิยมลัทธิมากซ์-เลนินในจีนก็สามารถควบคุมจีนแผ่นดินใหญ่ทั่วทุกแห่งหนได้สำเร็จ นอกจากนี้ในช่วงสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ต่อสู้กับสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรอีกหลายประเทศเพื่อก้าวขึ้นสู่อำนาจในประเทศของตน ซึ่งได้บทสรุปจากสงครามทั้งสองครั้งนั้นก็แตกต่างกันไป ไม่เพียงเท่านั้นยังพยายามรวมกลุ่มกับฝ่ายชาตินิยมและฝ่ายสังคมนิยมเพื่อต่อสู้กับลัทธิจักรวรรดินิยมของโลกตะวันตกในประเทศยากจนเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกมองว่าเป็นคู่แข่งและภัยคุกคามต่อลัทธิทุนนิยมในโลกตะวันตกตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งสภาพการแข่งขันของทั้งสองค่ายนี้ถึงจุดสูงสุดในช่วงสงครามเย็น เมื่อสองชาติมหาอำนาจของโลกที่ยังคงเหลืออยู่อันได้แก่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ได้แบ่งขั้วทางการเมืองและผลักดันให้ประเทศอื่น ๆ ต้องเข้าร่วมกับค่ายใดค่ายหนึ่งเท่านั้น ชาติมหาอำนาจทั้งสองยังสนับสนุนให้เกิดการแผ่ขยายระบบการเมืองและเศรษฐกิจของตนไปสู่ประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ส่งผลให้เกิดการขยายขนาดของกองทัพ การกักตุนอาวุธนิวเคลียร์ และการแข่งขันด้านสำรวจอวกาศ
> 5,000 มาร์ก 2,500 – 5,000 มาร์ก 1,000 – 2,500 มาร์ก | 500 – 1,000 มาร์ก 250 – 500 มาร์ก < 250 มาร์ก |
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตล่มสลายลงในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 อันเป็นผลมาจากการแถลงการณ์เลขที่ 142-เอช โดยสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต แถลงการณ์ดังกล่าวได้รับทราบการประกาศเอกราชของอดีตสาธารณรัฐโซเวียตและสถาปนาเครือจักรภพรัฐเอกราชขึ้นแทน ซึ่งการลงนามรับรองแถลงการณ์ดังกล่าวมีเหตุต้องล่าช้าออกไปหรือไม่มีการลงนามรับรองเลยแต่อย่างได้ ในขณะที่หนึ่งวันก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโซเวียต มิคาอิล กอร์บาชอฟ (ผู้นำสหภาพโซเวียตคนที่แปดและคนสุดท้าย) ประกาศลาออก ยุบตำแหน่ง และถ่ายโอนอำนาจทั้งหมดแก่ประธานาธิบดีรัสเซีย บอริส เยลต์ซิน ซึ่งรวมถึงสิทธิ์ครอบครองรหัสปล่อยขีปนาวุธนำวิถีของสหภาพโซเวียต ต่อมา เวลา 7.32 น. ของเย็นวันเดียวกันนั้น ธงชาติสหภาพโซเวียตถูกลดลงจากยอดเสาของพระราชวังเครมลินเป็นครั้งสุดท้าย และแทนที่ด้วยธงชาติรัสเซียแบบที่ใช้ก่อนการปฏิวัติ
ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม สาธารณรัฐโซเวียตแต่ละแห่งรวมถึงรัสเซียเองได้แยกตัวออกจากการเป็นสหภาพมาก่อนแล้ว โดยที่อดีตสาธารณรัฐโซเวียตทั้ง 11 แห่ง ได้ร่วมลงนามใน ซึ่งได้สถาปนาเครือจักรภพรัฐเอกราชและประกาศยุบสหภาพโซเวียตหนึ่งสัปดาห์ก่อนการล่มสลายอย่างเป็นทางการ
ปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลลัทธิมากซ์-เลนินและใช้ระบบพรรคการเมืองเดี่ยวเหลือเพียง 4 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน คิวบา ลาว และเวียดนาม ส่วนเกาหลีเหนือไม่ได้ยึดถืออุดมการณ์ตามแบบฉบับลัทธิมากซ์-เลนินแล้ว หากแต่ยึดถืออุดมการณ์ตามหลัก จูเช ที่ฉายภาพว่าพัฒนามาจากลัทธิมากซ์-เลนินแทน ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์หรือพรรคการเมืองสืบทอดที่หลงเหลืออยู่ก็ยังคงมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญในหลายประเทศ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งแอฟริกาใต้ที่เข้าร่วมเป็นพรรครัฐบาลภายใต้การนำของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เป็นรัฐบาลปกครองรัฐเกรละของอินเดีย ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเนปาล และพรรคคอมมิวนิสต์บราซิลที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคแรงงานสังคมนิยมประชาธิปไตย
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปรับเปลี่ยนมุมมองที่ตกทอดมาจากลัทธิเหมาหลายด้าน เช่นเดียวกันกับลาว เวียดนาม และคิวบา (มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า) โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ผ่อนคลายการควบคุมทางเศรษฐกิจลงเพื่อกระตุ้นการเติบโต ทั้งนี้รัฐบาลจีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เริ่มปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1978 ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาจีนสามารถลดระดับความยากจนลงจากร้อยละ 51 ในสมัยเหมา เจ๋อตุง มาเป็นเพียงร้อยละ 6 ในปี ค.ศ. 2001 ในขณะเดียวกันยังได้ริเริ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้สำหรับกิจการที่อิงกับระบบตลาดเป็นหลัก โดยที่ไม่ต้องกังวลการควบคุมหรือการแทรกแซงจากรัฐบาลกลาง ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ประกาศตนว่ายึดถือในอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนิน เช่น เวียดนาม ก็พยายามริเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจให้อิงกับระบบตลาดด้วยเช่นกัน
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจนี้บางครั้งถูกวิจารณ์จากโลกภายนอกว่าเป็นการถอยกลับไปหาลัทธิทุนนิยม แต่พรรคคอมมิวนิสต์แย้งว่าเป็นการปรับตัวที่จำเป็นเพื่อให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเพื่อใช้สมรรถนะทางอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในประเทศที่ดำเนินการปฏิรูปเหล่านี้ ที่ดินทั้งมวลถือเป็นทรัพย์สินสาธารณะซึ่งบริหารจัดการโดยรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมและบริการที่จำเป็น รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นภาครัฐจึงถือเป็นภาคส่วนทางเศรษฐกิจหลักในระบบเศรษฐกิจดังกล่าว และรัฐเป็นผู้มีบทบาทกลางในการประสานงานเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางเศรษฐกิจ
คอมมิวนิสต์แบบลัทธิมากซ์
ลัทธิมากซ์
มากซ์และเองเงิลส์พยายามหาแนวทางที่จะนำจุดจบมาสู่ระบบทุนนิยมและการกดขี่ผู้ใช้แรงงานเหมือนกับนักสังคมนิยมคนอื่น ๆ แต่ในขณะที่นักสังคมนิยมคนอื่นหวังถึงการค่อย ๆ ปฏิรูปสังคมในระยะยาว ทั้งมาร์กซ์และเองเกิลส์คิดว่ามีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่ระบอบสังคมนิยมได้ นั่นคือการปฏิวัติ
ตามที่ข้อสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ของมากซ์กล่าวไว้ว่า ลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์มนุษย์ในสังคมชนชั้นคือความไม่สนใจซึ่งกันและกัน และยังกล่าวอีกว่าความคิดแบบคอมมิวนิสต์คือสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา เพราะมันนำมาซึ่งความหยั่งรู้และการพบกับอิสรภาพแห่งมนุษย์อย่างแท้จริง มากซ์ในที่นี้กล่าวตามนักปรัชญาชาวเยอรมัน จอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (G.W.F. Hegel) ที่กล่าวว่าอิสรภาพมิใช่เพียงแค่การมิให้อำนาจเข้ามาควบคุมเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกระทำที่มีสำนึกศีลธรรมอีกด้วยไม่เพียงแค่ระบอบคอมมิวนิสต์จะทำให้คนทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการเท่านั้น แต่การทำให้มนุษย์ที่มีสถานภาพเดียวกันและความเหมือนกันนั้น จะทำให้พวกเขาไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์สู่ตนเองอีกต่อไป ในขณะที่เฮเกิลคิดถึงการใช้ชีวิตตามหลักจรรยา ผ่านมโนภาพที่ยิ่งใหญ่ แต่สำหรับมากซ์แล้ว คอมมิวนิสต์นั้นเกิดขึ้นได้จากวัตถุและผลิตผล โดยเฉพาะการพัฒนารายได้ที่ประชาชนจะได้รับจากการผลิต
ลัทธิมากซ์นั้นยึดถือว่ากระบวนการแตกแยกระหว่างชนชั้นที่ต่างกัน ผสมกับการดิ้นรนต่อสู้ที่จะปฏิวัติ จะนำชัยชนะมาสู่ชนชั้นแรงงาน และนำมาซึ่งการก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ที่ที่สิทธิ์ในการการครอบครองทรัพย์สมบัติส่วนบุคคลจะค่อย ๆ ถูกลบล้างไป และรายได้ของประชาชนจากการผลิต และความเป็นอยู่ที่ยึดติดอยู่กับชุมชนจะค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ ตัวมากซ์เองนั้นชี้แจงไว้เพียงเล็กน้อย เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่เมื่ออยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ แต่กล่าวถึงข้อมูลเฉพาะส่วนหลัก ๆ ที่เป็นแนวทางไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์เท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะเกี่ยวกับการลดขอบเขตของสิ่งที่บุคคลพึงกระทำ เห็นได้จากคำขวัญของกลุ่มเคลื่อนไหวลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีความว่า สังคมคอมมิวนิสต์คือโลกที่ทุก ๆ คนทำในสิ่งที่พวกเขาถนัด และได้รับตามที่พวกเขาต้องการ ตัวอย่างที่อธิบายแนวคิดของมากซ์มาจากผลงานเขียนเพียงไม่กี่ชิ้นของเขาที่มีข้อมูลเกี่ยวกับอนาคตของลัทธิคอมมิวนิสต์โดยละเอียดคือ แนวคิดลัทธิของเยอรมัน (The German Ideology) ในปี ค.ศ. 1845 งานชิ้นนั้นมีใจความว่า:
- "ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีใครถูกจำกัดภาระหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในทุกๆ สาขาที่เขาต้องการ เมื่อสังคมกำหนดเป้าหมายการผลิตทำให้มันเป็นไปได้ที่จะทำสิ่งหนึ่งวันนี้ และทำให้อีกสิ่งในวันพรุ่ง ล่าสัตว์ในตอนเช้า ตกปลาในตอนกลางวัน ต้อนวัวในตอนเย็น และวิจารณ์หลังอาหารค่ำ ดังที่ตัวเองปรารถนา โดยไม่ต้องมีอาชีพเป็นนักล่าสัตว์ ชาวประมง คนเลี้ยงสัตว์และนักวิจารณ์"
วิสัยทัศน์ที่มั่นคงของมากซ์ ทำให้วิสัยทัศน์นี้กลายเป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมที่เป็นระบบ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง และเป็นทฤษฎีทางการเมืองที่อธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องกระทำการปฏิวัติเพื่อที่จะได้สิ่งใดๆ มาที่มีข้อกังขาเล็กน้อย
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นิยามของคำว่า ระบอบสังคมนิยม และ ระบอบคอมมิวนิสต์ มักถูกใช้แทนกัน อย่างไรก็ตาม มากซ์และเองเงิลส์เห็นว่า สังคมนิยมคือระดับปานกลางของสังคมที่ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่จากการผลิตมีมวลชนเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยที่ยังคงความแตกต่างระหว่างชนชั้นไว้เล็กน้อย โดยที่พวกเขาสงวนนิยามของระบอบคอมมิวนิสต์ไว้ว่า เป็นขั้นสุดท้ายของสังคมที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป
หลักเกณฑ์เหล่านี้ต่อมาจึงถูกพัฒนา โดยเฉพาะจากวลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งมีอิทธิพลในการกำหนดลักษณะของพรรคคอมมิวนิสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ให้โดดเด่น นักเขียนรุ่นต่อมาเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของมาร์กซ์โดยมอบอำนาจให้กับรัฐให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสังคมดังกล่าว โดยแย้งว่าการที่จะให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ได้นั้น ต้องเริ่มมาจากการเป็นสังคมนิยมเสียก่อน จึงค่อย ๆ แปลงสังคมภายใต้ระบอบสังคมนิยม ให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์
คนรุ่นเดียวกับมาร์กซ์บางคน เช่น อนาธิปัตย์อย่างมิคาเอล บาคูนิน ก็สนับสนุนแนวคิดคล้าย ๆ กัน แต่ต่างกันในทัศนคติของพวกเขาในเรื่องของวิธีที่จะนำไปสู่สังคมสามัคคีที่ไร้ชนชั้นได้ จนมาถึงทุกวันนี้ยังคงมีการแบ่งกลุ่มเคลื่อนไหวของคนงานอยู่ระหว่างกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์และกลุ่มอนาธิปัตย์ โดยที่พวกอนาธิปัตย์มีความคิดเป็นปฏิปักษ์และต้องการที่จะล้มล้างทุกอย่างที่เป็นของรัฐบาล แต่ในหมู่พวกเขาก็มีนักอนาธิปัตย์-คอมมิวนิสต์อย่าง ปีเตอร์ โครพอตคิน ที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไร้ชนชั้นในทันที ในขณะที่นักอนาธิปัตย์-สหการนิยมเชื่อในสหภาพแรงงานที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในสังคม ตรงกันข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์ (ที่เชื่อในสังคมไร้ชนชั้น นั่นคือไม่มีผู้นำ)
ลัทธิเลนิน
เราต้องการบรรลุระเบียบทางสังคมใหม่ที่ดีกว่าเดิม: ในสังคมใหม่ที่ดีกว่านี้จะต้องไม่มีคนรวยหรือคนจน ทุกคนต้องทำงาน คนทำงานทุกคนจะต้องได้ผลประโยชน์จากแรงงานของตน ไม่ใช่แค่คนรวยจำนวนหนึ่งเท่านั้น เครื่องจักรและการปรับปรุงอื่น ๆ ต้องถูกใช้เพื่อบรรเทาภาระงานของทุกคน ไม่ใช่เพื่อให้คนรวยร่ำรวยขึ้นบนความทุข์ยากของคนนับสิบนับล้าน สังคมใหม่ที่ดีกว่านี้มีชื่อว่าสังคมสังคมนิยม และการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสังคมดังกล่าวเรียกว่า "ลัทธิสังคมนิยม"
— วลาดีมีร์ เลนิน ค.ศ 1903
ลัทธิเลนินคือตัวตนของทฤษฎีการเมืองที่พัฒนาโดยและตั้งชื่อตามนักปฏิวัติชาวรัสเซีย วลาดีมีร์ เลนิน ผู้ซึ่งภายหลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำโซเวียต สำหรับองค์กรทางประชาธิปไตยของพรรคแนวหน้าการปฏิวัติและความสำเร็จของเผด็จการโดยชนกรรมาชีพ อันจะเบิกทางไปสู่การสถาปนาลัทธิสังคมนิยมในทางการเมือง ลัทธิเลนินประกอบขึ้นจากทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมืองต่าง ๆ ซึ่งพัฒนามาจากลัทธิมากซ์ เช่นเดียวกับการตีความทฤษฎีมากซิสต์ของเลนินเองเพื่อให้สามารถไปประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติกับสภาพแวดล้อมเงื่อนไขของจักรวรรดิรัสเซีย ที่เป็นสังคมเกษตรกรรมในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ลัทธิเลนินถูกนำไปปฏิบัติใช้เป็นระยะเวลา 5 ปีในฐานะปรัชญาการเมืองและเศรษฐกิจตามแนวทางมากซิสต์ในแบบฉบับของรัสเซีย ซึ่งบังคบใช้จริงและยังให้เกิดผลโดยพวกบอลเชวิก พรรคการเมืองแนวหน้าผู้นำการต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางการเมืองของชนชั้นแรงงาน
ลัทธิมากซ์-เลนิน ลัทธิสตาลิน และลัทธิทรอตสกี
ลัทธิมากซ์-เลนินและลัทธิสตาลิน
ลัทธิมากซ์-เลนิน คือแนวคิดทางการเมืองที่พัฒนาโดยโจเซฟ สตาลิน ซึ่งถ้ายึดถือตามผู้เสนอแล้วเป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากลัทธิมากซ์และลัทธิเลนิน ลัทธิดังกล่าวอธิบายแนวคิดทางการเมืองแบบจำเพาะที่สตาลินริเริ่มปฏิบัติในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ระดับรัฐ) และโคมินเทิร์น (ระดับสากล) อย่างไรก็ตาม คำถามที่ว่าแท้จริงแล้วสตาลินได้ปฏิบัติตามแนวทางลัทธิมากซ์และเลนินตามชื่อลัทธิหรือไม่ ยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์ เนื่องจากมีเนื้อหาสาระบางแง่มุมที่อาจจะเบี่ยงเบนไปจากเนื้อหาสาระของลัทธิมากซ์ เช่น แนวทาง สังคมนิยมประเทศเดียว ทั้งนี้ลัทธิมากซ์-เลนินคือแนวคิดของขบวนการคอมมิวนิสต์ที่เห็นรูปธรรมชัดเจนที่สุด จึงเป็นลัทธิซึ่งเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ที่โดดเด่นมากที่สุด
ลัทธิมากซ์-เลนินยังอาจกล่าวถึงในฐานะระบบเศรษฐกิจ-สังคมและแนวคิดทางการเมืองซึ่งริเริ่มโดยสตาลินในสหภาพโซเวียต และภายหลังถูกลอกเลียนและนำไปใช้บนพื้นฐานจากตัวแบบโซเวียต (Soviet model) โดยรัฐอื่น ๆ เช่น การวางแผนจากส่วนกลาง และรัฐพรรคการเมืองเดียว เป็นต้น ในขณะที่ลัทธิสตาลินจะกล่าวถึงการปกครองในแบบฉบับของสตาลิน เช่น การกดขี่ทางการเมือง และลัทธิบูชาบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ลัทธิมากซ์-เลนินยังคงอยู่หลังกระบวนการล้มล้างลัทธิสตาลิน (de-Stalinization) นอกจากนี้ ในจดหมายฉบับสุดท้ายก่อนถึงแก่กรรม เลนินเคยกล่าวเตือนถึงอันตรายจากบุคลิกของสตาลินมาก่อน และเร่งเร้าให้รัฐบาลโซเวียตหาบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งผู้นำแทน
ลัทธิเหมาคือรูปแบบหนึ่งของลัทธิมากซ์-เลนินซึ่งข้องเกี่ยวกับผู้นำจีน เหมา เจ๋อตง หลังการล้มล้างลัทธิสตาลิน สหภาพโซเวียตยังคงยึดมั่นในลัทธิมากซ์-เลนิน แต่กระแสต่อต้านลัทธิแก้ (Anti-revisionism) บางส่วน เช่น ลัทธิฮกไฮ (Hoxhaism) และลัทธิเหมา ต่างแย้งว่าลัทธิมากซ์-เลนินหลังยุคสตาลินคือรูปแบบที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นนโยบายของคอมมิวนิสต์ในแอลเบเนียและจีนจึงแตกต่างและถอยห่างออกจากสหภาพโซเวียต
ลัทธิมากซ์-เลนินถูกวิจารณ์จากแนวคิดคอมมิวนิสต์และมากซิสต์แนวอื่น ๆ ว่ารัฐมากซิสต์-เลนินนิสต์ไม่ได้สถาปนาระบอบสังคมนิยม หากแต่เป็นระบอบทุนนิยมรัฐ (state capitalism) เสียมากกว่า ซึ่งตามแนวทางลัทธิมากซ์แล้ว เผด็จการโดยชนกรรมาชีพ (dictatorship of the proletariat) เป็นตัวแทนถึงการปกครองของชนหมู่มาก (ประชาธิปไตย) มากกว่าที่จะเป็นของพรรคการเมืองเดียว ถึงขนาดที่หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งลัทธิมากซ์ ฟรีดริช เองเงิลส์ เคยอธิบาย รูปแบบจำเพาะ ของการปกครองนี้ไว้ว่าเป็นระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย นอกจากนี้ เองเงิลส์ยังอธิบายว่าทรัพย์สินของรัฐแท้จริงแล้วก็คือทรัพย์สินของเอกชน (ทรัพย์สินส่วนตน) ตามธรรมชาติของระบอบทุนนิยม เว้นแต่หากเหล่าชนชั้นกรรมาชีพสามารถควบคุมอำนาจทางการเมือง (รัฐ) ได้ ทรัพย์สินนั้นต่างหากจะถือเป็นทรัพย์สินสาธารณะโดยแท้จริง ซึ่งคำถามที่ว่าชนกรรมาชีพแท้จริงแล้วมีอำนาจควบคุมเหนือรัฐมากซิสต์-เลนินนิสต์หรือไม่ ยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่ลัทธิมากซ์-เลนินด้วยกันเอง และลัทธิคอมมิวนิสต์สายอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สำหรับลัทธิคอมมิวนิสต์สายอื่น ๆ แล้ว ลัทธิมากซ์-เลนินอาจไม่ใช่ทั้งลัทธิมากซ์ ลัทธิเลนิน หรือการรวมกันของลัทธิทั้งสอง แต่เป็นเพียงบทนิยามที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เรียกการที่สตาลินบิดเบือนแนวคิดมากซ์-เลนินไปจากเดิม แล้วนำเอาแนวคิดของตนดังกล่าวไปบังคับใช้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและโคมินเทิร์น ในสหภาพโซเวียตเรียกขานแนวทางต่อต้านลัทธิมากซ์-เลนินนี้ว่า ลัทธิทรอตสกี ซึ่งเรียกขานตนเองว่าเป็นลัทธิในแนวทางมากซ์และเลนิน (Marxist and Leninist tendency)
ลัทธิทรอตสกี
คือแนวคิดตามแนวทางมากซ์และเลนินที่พัฒนาโดยเลออน ทรอตสกี แต่ต่อต้านลัทธิมากซ์-เลนิน ลัทธิดังกล่าวสนับสนุนทฤษฎีการปฏิวัติถาวร (permanent revolution) และการปฏิวัติโลก แทนที่และแนวทางสังคมนิยมประเทศเดียว นอกจากนี้ยังสนับสนุนลัทธิชนกรรมาชีพสากล (proletarian internationalism) และการปฏิวัติคอมมิวนิสต์อีกครั้งหนึ่งในสหภาพโซเวียต ที่ซึ่งทรอตสกีอ้างว่าได้กลายเป็น รัฐแรงงานเสื่อมสภาพ (degenerated worker's state) ไปเสียแล้วภายใต้การนำของสตาลิน และความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นผิดเพี้ยนไปในรูปแบบใหม่ แทนที่จะเป็นเผด็จการโดยชนกรรมาชีพตามแนวทางลัทธิมากซ์แบบดั้งเดิม
ทรอตสกีและผู้สนับสนุนดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเหนือสหภาพโซเวียตและขับไล่สตาลินออกจากการปกครอง ได้แบ่งการจัดตั้งเป็นฝ่ายซ้ายต่อต้าน (Left Opposition) ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักในชื่อลัทธิทรอตสกี อย่างไรก็ตาม สตาลินสามารถรวบรวมอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จไว้ได้สำเร็จในท้ายที่สุด ส่งผลให้ความพยายามของทรอตสกีล้มเหลวและต้องลี้ภัยออกจากสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1929 ในขณะที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศนั้น ทรอตสกียังคงดำเนินการต่อต้านสตาลินอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น การก่อตั้งสังคมนิยมสากลที่สี่ (Fourth International) ในปี ค.ศ. 1938 ขึ้นมาแข่งกับโคมินเทิร์น ท้ายที่สุดแล้วทรอตสกีถูกลอบสังหารในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1940 ณ กรุงเม็กซิโกซิตี ตามคำสั่งของสตาลิน
ทั้งนี้การเมืองตามแบบฉบับของทรอตสกีแตกต่างไปจากสตาลินและเหมาอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการประกาศเรียกร้องให้เกิดการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในระดับสากล (แทนที่จะเป็นแนวทางสังคมนิยมประเทศเดียว) และการสนับสนุนเผด็จการโดยชนกรรมาชีพบนพื้นฐานหลักการประชาธิปไตยโดยแท้จริง
ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยม
ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมคือกรอบปรัชญาทางเศรษฐกิจและการเมืองกว้าง ๆ ที่เน้นการต่อต้านแง่มุมอำนาจนิยมภายในลัทธิมากซ์ ซึ่งในช่วงต้นรู้จักกันในชื่อ คอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย และมีจุดยืนตรงกันข้ามกับลัทธิมากซ์-เลนิน รวมถึงแนวคิดย่อยอื่น ๆ เช่น ลัทธิสตาลิน ลัทธิเหมา และลัทธิทรอตสกี นอกจากนี้ยังมีจุดยืนที่เน้นไปทางเช่นเดียวกับพวกประชาธิปไตยสังคมนิยม กระแสลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมมักจะยึดถือผลงานชิ้นหลัง ๆ ของมากซ์และเองเงิลส์ โดยเฉพาะ กรุนด์ริสเซอ (เยอรมัน: Grundrisse; ปัจจัยพื้นฐาน) และ สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส (The Civil War in France) ซึ่งเน้นความเชื่อของมากซ์ที่ว่าชนชั้นแรงงานสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเองได้โดยไม่ต้องพึงพานักปฏิวัติหรือรัฐเข้ามาเป็นตัวกลางหรือตัวช่วยในการปลดแอกตนเอง ดังนั้นลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมจึงถือเป็นแนวคิดกระแสหลักหนึ่งในสองกระแสภายใต้ลัทธิสังคมนิยมแบบอิสรนิยมเคียงคู่กับอนาธิปไตย
ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมยังรวมถึงแนวคิดกระแสอื่น ๆ เช่น ลัทธิลุกเซิมบวร์ค ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย โซซียาลิสม์อูบาร์บารี (ฝรั่งเศส: Socialisme ou Barbarie; สังคมนิยมหรืออนารยชน) แนวทางจอห์นสัน-ฟอเรสต์ ลัทธิสังคมนิยมโลก ลัทธิเลททริหรือสภาวะนิยม (Lettrism หรือ Situationism) ออปอเรซโม (อิตาลี: Operaismo) หรืออัตินิยม (autonomism) และฝ่ายซ้ายใหม่ ซึ่งบ่อยครั้งที่ลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมมีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดฝ่ายซ้ายยุคหลัง (post-left) และอนาธิปไตยแบบสังคมนิยม นักทฤษฎีตามลัทธิมากซ์แบบอิสรนิยมที่มีชื่อเสียง เช่น ออนทอน พันเนอคุก, รายา ดูนาเยฟสกายา, ซี.แอล.อาร์. เจมส์, คอร์นีเลียส กัสโตรรีอาดีส, เมาริซ บรินตัน, กี เดอบอร์, ดานียาล เกแรง, แอเนสโต สเครปันติ และราอูล วาเนญอง
ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยม
ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมคือการเคลื่อนไหวของฝ่าย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 มี (KAPD) เป็นหลักสำคัญขององค์กร และยังคงดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวตามเหตุผลและหลักการของมาร์กซิสต์และสังคมนิยมแบบอิสรนิยม
หลักการสำคัญของลัทธินีคือให้รัฐบาลและเศรษฐกิจควรจะอยู่ภายใต้การบริหารขององค์คณะแรงงาน (workers' council) ซึ่งประกอบด้วยการเลือกผู้แทนจากสถานที่ทำงานและสามารถให้มีการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้งได้ทุกเมื่อ จากแนวคิดดังกล่าว หลักการของสภาคอมมิวนิสต์จึงขัดต่อลัทธิอำนาจนิยม สังคมนิยมรัฐ และทุนนิยมรัฐ รวมไปถึงการต่อต้านพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ เนื่องจากจะนำไปสู่พรรคการเมืองเผด็จการในที่สุด ทั้งยังสนับสนุนประชาธิปไตยโดยชนชั้นแรงงาน ซึ่งเหล่าผู้ใช้แรงงานจะสามารถจัดตั้งสหพันธ์แรงงานเพื่อปกป้องสิทธิของตน นอกจากนี้ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบองค์คณะนิยมมักจะถูกมองว่ามีส่วนคล้ายกับลัทธิอนาธิปไตย เนื่องจากแนวคิดต่อต้านลัทธิอำนาจนิยมตามแบบลัทธิเลนินและปฏิเสธแนวคิดของพลพรรคแนวหน้านิยม (party vanguardism)
ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้าย
ลัทธิคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายคือกรอบมุมมองตามลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ยึดถือโดยฝ่ายซ้าย วิจารณ์แนวคิดและแนวปฏิบัติทางการเมืองหลังระลอกการปฏิวัติโดยพวกบอลเชวิกและพวกประชาธิปไตยสังคมนิยมที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง โดยคอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายแสดงจุดยืนที่ว่าตนเองคือกลุ่มก้อนที่มีแนวคิดยึดโยงตามลัทธิมากซ์และชนกรรมาชีพอย่างแท้จริงมากกว่าคอมมิวนิสต์ตามลัทธิมากซ์-เลนิน ซึ่งสนับสนุนโดยคอมมิวนิสต์สากลหลังการประชุมครั้งที่หนึ่ง (เดือนมีนาคม ค.ศ. 1919) และระหว่างการประชุมครั้งที่สอง (เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ค.ศ. 1920)
คอมมิวนิสต์ฝ่ายซ้ายประกอบไปด้วยขบวนการทางการเมืองหลายกลุ่ม ไล่ตั้งแต่พวกลัทธิมากซ์-เลนิน (ที่ถูกมองว่าแท้จริงคือพวกฝ่ายซ้ายของระบอบทุนนิยมมากกว่า) และพวกลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย (บางส่วนถือว่าเป็นพวกสังคมนิยมสากล) เช่นเดียวกับกลุ่มปฏิวัติสังคมนิยมอื่น ๆ อีกหลายแนว เช่น ลัทธิเดอเลออน (De Leonism) ที่มักจะถูกมองว่าเป็นพวกสังคมนิยมสากลในบางโอกาส
คอมมิวนิสต์แบบอื่น
รูปแบบหลักของลัทธิคอมมิวนิสต์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิมากซ์ อย่างไรก็ตามลัทธิคอมมิวนิสต์ตามแนวทางอื่นที่ไม่ใช่ลัทธิมากซ์ยังปรากฏให้เห็นด้วยเช่นกัน
ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย
ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย (หรือรู้จักในชื่อ ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบอิสรนิยม) คือทฤษฎีตามลัทธิอนาธิปไตย มีเป้าหมายเพื่อล้มล้างรัฐ ทรัพย์สินส่วนบุคคล และระบอบทุนนิยม และแทนที่ด้วยการเป็นเจ้าของร่วมในปัจจัยการผลิต ประชาธิปไตยโดยตรง และเครือข่ายของหน่วยงานอาสาและสภาแรงงานที่มีโครงสร้างเป็นแนวนอน (horizontal) ซึ่งมีลักษณะการผลิตและบริโภคตามหลักการ "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs)
ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตยแตกต่างจากลัทธิมากซ์เนื่องจากปฏิเสธมุมมองที่ว่าจำเป็นต้องมีรัฐคอมมิวนิสต์ก่อนถึงจะสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงได้ นักทฤษฎีคนสำคัญตามแนวคิดนี้คือ ปีเตอร์ ครอพอตกิน ได้แย้งว่าสังคมนักปฏิวัติควรที่จะ "เปลี่ยนผ่านตนเองไปสู้สังคมคอมมิวนิสต์โดยทนที" หรือเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ "ขั้นที่สูงและสมบูรณ์กว่า" ตามคำนิยามของมากซ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่พยายามหลีกเลี่ยง "การแบ่งแยกชนชั้นและความปรารถนาให้รัฐเป็นผู้สอดส่องดูแลทุกอย่าง"
รูปแบบบางประการของลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย เช่น ลัทธิอนาธิปไตยที่เน้นแนวทางการจราจล (insurrectionary anarchism) ถูกจัดว่าเป็นรูปแบบตามลัทธิอัตนิยม (egoism) และได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมากจากลัทธิปัจเจกนิยม (individualism) ซึ่งเชื่อว่าลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตยไม่จำเป็นต้องมีลักษะณะแบ่งปันร่วมกันหรือเป็นส่วนรวมแต่อย่างใด (คอมมิวนิสต์เองเป็นชื่อที่แปลว่า "ส่วนรวม") ในขณะที่ผู้ที่เชื่อในลัทธิดังกล่าวมองลัทธิของตนว่าเป็นแนวทางประนีประนอมความปฏิปักษ์ระหว่างปัจเจกชนและสังคม
ในประวัติศาสตร์มนุษย์ยุคปัจจุบัน ตัวอย่างดีที่สุดของสังคมตามลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตยคือดินแดนอนาธิปไตย (ดินแดนในสภาพไร้ขื่อแป) ช่วงระหว่างการปฏิวัติสเปน ค.ศ. 1936 และดินแดนเสรี (Free Territory) ช่วงระหว่างการปฏิวัติรัสเซีย ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีพื้นฐานใกล้เคียงกับแนวคิดในปัจจุบันและเป็นที่รู้จักในแวดวงวิชาการประวัติศาสตร์ทั่วโลก กระแสนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตยในสเปนเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1936 ด้วยความพยายามและอิทธิพลของกลุ่มอนาธิปไตยสเปนในช่วงการปฏิวัติสเปนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองสเปน ส่วนมากรวมกลุ่มกันในอารากอน บางส่วนของเลเวนเตและอันดาลูซิอา รวมถึงพื้นที่แกนกลางของกลุ่มอนาธิปไตยกาตาลันในกาตาลุญญา แต่ภายหลังถูกบดขยี่และปราบปรามอย่างรุนแรงโดยกองกำลังผสมระหว่างกลุ่มอำนาจนิยมของนายพลฟรันซิสโก ฟรังโก (ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงคราม) กองกำลังของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กองกำลังของเบนิโต มุสโสลินี การปราบปรามโดยพรรคคอมมิวนิสต์สเปน (ซึ่งสหภาพโซเวียตให้การสนับสนุน) เช่นเดียวกับการปิดกั้นทางเศรษฐกิจและยุทโธปกรณ์โดยกลุ่มประเทศในระบอบทุนนิยมและสาธารณรัฐสเปน ในขณะที่รัสเซียในช่วงการปฏิวัติ นักอนาธิปไตยอย่างเนสเตอร์ มักห์โน ดำเนินกิจกรรมจัดตั้งและปกป้องดินแดนเสรีในยูเครนผ่านกองทัพปฏิวัติ-จราจลยูเครน และกลุ่มผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919 จนกระทั่งพ่ายแพ้แก่กองกำลังของฝ่ายบอลเชวิกในปี ค.ศ. 1921
ลัทธิคริสเตียนคอมมิวนิสต์
ลัทธิคริสเตียนคอมมิวนิสต์คือรูปแบบหนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ทางศาสนาซึ่งมีหลักพื้นฐานอยู่บนศาสนาคริสต์ เป็นทฤษฎีการเมืองและศาสนศาสตร์ที่มองว่าคำสอนของพระเยซูบังคับให้ชาวคริสต์สนับสนุนลัทธิสังคมนิยมในฐานะระบอบสังคมในอุดมคติ และแม้จะไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าลัทธิคริสเตียนคอมมิวนิสต์ก่อตั้งเมื่อใด แต่นักคริสเตียนคอมมิวนิสต์หลายคนพยายามนำเสนอหลักฐานจากคัมภีร์ไบเบิลที่บ่งชี้ว่าชาวคริสต์ยุคแรก (รวมถึงอัครทูต) ได้ก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ขนาดเล็กของตนเองหลังการสิ้นพระชนม์และคืนพระชนม์ของพระเยซู ด้วยเหตุนี้ผู้สนับสนุนลัทธิดังกล่าวจึงมักจะเสนอว่าพระเยซูคริสต์เป็นผู้สอนและอัครทูตเป็นผู้นำแนวทางนี้ไปปฏิบัติใช้ด้วยตนเอง
ลัทธิคริสเตียนคอมมิวนิสต์ยังถูกมองว่าเป็นรูปแบบสุดโต้งของลัทธิคริสเตียนสังคมนิยม คริสเตียนคอมมิวนิสต์จึงอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับลัทธิมากซ์ในทุกประเด็น เช่น การที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางอเทวนิยมและต่อต้านศาสนาของฝ่ายฆราวาสนิยมในลัทธิมากซ์ แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นด้วยกับแง่มุมทางเศรษฐกิจและอัตถิภาวนิยมหลาย ๆ ประเด็นของทฤษฎีมากซิสต์ เช่น แนวคิดที่ว่าระบอบทุนนิยมเอาเปรียบชนชั้นแรงงานด้วยการรีดไถมูลค่าส่วนเกินจากแรงงานในรูปของกำไร และแนวคิดที่ว่าระบบแรงงานว่าจ้าง (wage labor) เป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์เกิดความแปลกแยก (alienation) ซึ่งจะทำให้เกิดอำนาจหน้าที่ที่ไม่ยุติธรรมและฉาบฉวย นอกจากนี้ยังเห็นพ้องกับลัทธิมากซ์ด้วยว่าระบอบทุนนิยมก่อให้เกิดแง่มุมด้านลบของมนุษย์ แทนที่ค่านิยมด้านบวก เช่น ความเมตตา ความกรุณา ความยุติธรรม และความเห็นอกเห็นใจ ด้วยความโลภ ความเห็นแก่ตัว และความมักใหญ่ใฝ่สูง
ข้อวิจารณ์
ข้อวิจารณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ มีการพยายามจัตตั้งรัฐคอมมิวนิสต์ในตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และสิ่งอื่น ๆ กับพวกเขาทั้งหลายที่เกี่ยวกับกฎและหลักการต่าง ๆ ของลัทธิคอมมิวนิสต์
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
หมายเหตุ
- Ball, Terence; Dagger, Richard. (2019) [1999]. "Communism" (revised ed.). Encyclopædia Britannica. Retrieved 10 June 2020.
- "Communism". (Ci–Cz) . 4. Chicago: World Book. 2008. p. 890. ISBN .
- Kinna, Ruth (2012). Berry, Dave; Kinna, Ruth; Pinta, Saku; Prichard, Alex (บ.ก.). Libertarian Socialism: Politics in Black and Red. London: Palgrave Macmillan. pp. 1–34. ISBN .
- Communism: A History (2001) , pp. 3–5.
- The Cambridge History of Iran Volume 3, , edited by Ehsan Yarshater, Parts 1 and 2, p. 1019, Cambridge University Press (1983)
- Ermak, Gennady (2016). Communism: The Great Misunderstanding. ISBN .
- Lansford 2007, pp. 24–25
- "Diggers' Manifesto". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-29. สืบค้นเมื่อ 2011-07-19.
- Bernstein 1895.
- "Communism" A Dictionary of Sociology. John Scott and Gordon Marshall. Oxford University Press 2005. Oxford Reference Online. Oxford University Press.
- "Communism." Encyclopædia Britannica. 2006. Encyclopædia Britannica Online.
- Russia in the Twentieth Century: The Quest for Stability. David R. Marples. p. 38
- How the Soviet Union is Governed. Jerry F. Hough. p. 81
- The Life and Times of Soviet Socialism. Alex F. Dowlah, John E. Elliott. p. 18
- Marc Edelman, "Late Marx and the Russian road: Marx and the 'Peripheries of Capitalism'"—book reviews. Monthly Review, Dec., 1984
- Holmes 2009, p. 18.
- Norman Davies. "Communism" The Oxford Companion to World War II. Ed. I. C. B. Dear and M. R. D. Foot. Oxford University Press, 2001.
- Sedov, Lev (1980). The Red Book on the Moscow Trial: Documents. New York: New Park Publications.
- "Kushtetuta e Republikës Popullore Socialiste të Shqipërisë : [miratuar nga Kuvendi Popullor më 28. 12. 1976]. – SearchWorks (SULAIR)" (ภาษาแอลเบเนีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-29. สืบค้นเมื่อ 3 June 2011.
- Georgakas, Dan (1992). "The Hollywood Blacklist". Encyclopedia of the American Left. University of Illinois Press.
- Declaration № 142-Н of the , formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law. (รัสเซีย)
- "Gorbachev, Last Soviet Leader, Resigns; U.S. Recognizes Republics' Independence". New York Times. สืบค้นเมื่อ April 27, 2015.
- "The End of the Soviet Union; Text of Declaration: 'Mutual Recognition' and 'an Equal Basis'". The New York Times. December 22, 1991. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.
- "Gorbachev, Last Soviet Leader, Resigns; U.S. Recognizes Republics' Independence". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 30, 2013.
- "Nepal's election The Maoists triumph Economist.com". Economist.com. April 17, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011. สืบค้นเมื่อ October 18, 2009.
- "Fighting Poverty: Findings and Lessons from China's Success". World Bank. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-29. สืบค้นเมื่อ August 10, 2006.
- Marx, Karl. The German Ideology. 1845. Part I: Feuerbach. Opposition of the Materialist and Idealist Outlook. A. Idealism and Materialism. "Communism is for us not a state of affairs which is to be established, an ideal to which reality [will] have to adjust itself. We call communism the real movement which abolishes the present state of things. The conditions of this movement result from the premises now in existence."
- Engels, Friedrich. Marx & Engels Selected Works, Volume One, pp. 81–97, Progress Publishers, Moscow, 1969. "Principles of Communism". #4 – "How did the proletariat originate?"
- "State capitalism" in the Soviet Union, M.C. Howard and J.E. King
- "To the Rural Poor" (1903). Collected Works. vol. 6. p. 366.
- Г. Лисичкин (G. Lisichkin), Мифы и реальность, Новый мир (), 1989, № 3, p. 59 (รัสเซีย).
- Александр Бутенко (Aleksandr Butenko), Социализм сегодня: опыт и новая теория// Журнал Альтернативы, №1, 1996, pp. 2–22 (รัสเซีย).
- Contemporary Marxism, issues 4–5. Synthesis Publications, 1981. p. 151. "[S]ocialism in one country, a pragmatic deviation from classical Marxism".
- North Korea Under Communism: Report of an Envoy to Paradise. Cornell Erik. p. 169. "Socialism in one country, a slogan that aroused protests as not only it implied a major deviation from Marxist internationalism, but was also strictly speaking incompatible with the basic tenets of Marxism".
- Ermak, Gennady (2016). Communism: The Great Misunderstanding. ISBN .
- A Critique of the Draft Social-Democratic Program of 1891. "Marx & Engels Collected Works", Vol 27, p. 217. "If one thing is certain it is that our party and the working class can only come to power under the form of a democratic republic. This is even the specific form for the dictatorship of the proletariat".
- "Socialism: Utopian and Scientific". Friedrich Engels. Part III. Progress Publishers. "But, the transformation—either into joint-stock companies and trusts, or into State-ownership—does not do away with the capitalistic nature of the productive forces".
- "Socialism: Utopian and Scientific". Friedrich Engels. Part III. Progress Publishers. "The proletariat seizes the public power, and by means of this transforms the socialized means of production, slipping from the hands of the bourgeoisie, into public property. By this act, the proletariat frees the means of production from the character of capital they have thus far borne, and gives their socialized character complete freedom to work itself out".
- History for the IB Diploma: Communism in Crisis 1976–89. Allan Todd. p. 16. "The term Marxism–Leninism, invented by Stalin, was not used until after Lenin's death in 1924. It soon came to be used in Stalin's Soviet Union to refer to what he described as 'orthodox Marxism'. This increasingly came to mean what Stalin himself had to say about political and economic issues." [...] "However, many Marxists (even members of the Communist Party itself) believed that Stalin's ideas and practices (such as socialism in one country and the purges) were almost total distortions of what Marx and Lenin had said".
- Pierce, Wayne.Libertarian Marxism's Relation to Anarchism. "The Utopian". 73–80.
- Hermann Gorter, Anton Pannekoek and Sylvia Pankhurst (2007). Non-Leninist Marxism: Writings on the Workers Councils. St. Petersburg, Florida: Red and Black Publishers. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Marot, Eric. "Trotsky, the Left Opposition and the Rise of Stalinism: Theory and Practice"
- The Retreat of Social Democracy ... Re-imposition of Work in Britain and the 'Social Europe'. Aufheben. Issue No. 8. 1999.
- Ernesto Screpanti, Libertarian Communism: Marx Engels and the Political Economy of Freedom, Palgrave Macmillan, London, 2007.
- (1971). The Principle of Self-Emancipation in Marx and Engels. The Socialist Register. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015.
- Chomsky, Noam. Poetry Center of the New York YM-YWHA. Lecture.
- "A libertarian Marxist tendency map". libcom.org. สืบค้นเมื่อ October 1, 2011.
- Non-Leninist Marxism: Writings on the Workers Councils (includes texts by , , and ), Red and Black Publishers, St. Petersburg, Florida, 2007. ISBN .
- "The Legacy of De Leonism, part III: De Leon's misconceptions on class struggle". Internationalism. 2000–2001.
- Alan James Mayne (1999). From Politics Past to Politics Future: An Integrated Analysis of Current and Emergent Paradigms. Greenwood Publishing Group. p. 316. ISBN .
- Anarchism for Know-It-Alls. Filiquarian Publishing. 2008. ISBN .
- Fabbri, Luigi (13 October 2002). "Anarchism and Communism. Northeastern Anarchist #4. 1922". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2011.
- Makhno, Mett, Arshinov, Valevski, Linski (Dielo Trouda) (1926). "Constructive Section". The Organizational Platform of the Libertarian Communists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - ""What is Anarchist Communism?" by Wayne Price". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
- Christopher Gray, Leaving the Twentieth Century, p. 88.
- . "Towards the creative Nothing". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
- "Bob Black. Nightmares of Reason". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
- "Communism is the one which guarantees the greatest amount of individual liberty—provided that the idea that begets the community be Liberty, Anarchy ... Communism guarantees economic freedom better than any other form of association, because it can guarantee wellbeing, even luxury, in return for a few hours of work instead of a day's work". . "Communism and Anarchy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
- This other society will be libertarian communism, in which social solidarity and free individuality find their full expression, and in which these two ideas develop in perfect harmony. Dielo Truda (Workers' Cause). "Organisational Platform of the Libertarian Communists". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
- "I see the dichotomies made between individualism and communism, individual revolt and class struggle, the struggle against human exploitation and the exploitation of nature as false dichotomies and feel that those who accept them are impoverishing their own critique and struggle". "MY PERSPECTIVES – Willful Disobedience Vol. 2, No. 12". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2011.
- Bruno Bosteels, The actuality of communism (Verso Books, 2014)
- Raymond C. Taras, The Road to Disillusion: From Critical Marxism to Post-communism in Eastern Europe (Routledge, 2015).
บรรณานุกรม
- Bernstein, Eduard (1895). Kommunistische und demokratisch-sozialistische Strömungen während der englischen Revolution [Cromwell and Communism: Socialism and Democracy in the Great English Revolution] (ภาษาเยอรมัน). J. H. W. Dietz. OCLC 36367345. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021 – โดยทาง .
- (2009). The Rise and Fall of Communism. Bodley Head. ISBN .
- Gerr, Christopher J.; Raskina, Yulia; Tsyplakova, Daria (28 October 2017). "Convergence or Divergence? Life Expectancy Patterns in Post-communist Countries, 1959–2010". . 140 (1): 309–332. doi:10.1007/s11205-017-1764-4. PMC 6223831. PMID 30464360.
- Hauck, Owen (2 February 2016). "Average Life Expectancy in Post-Communist Countries—Progress Varies 25 Years after Communism". Peterson Institute for International Economics. สืบค้นเมื่อ 4 January 2021.
- Holmes, Leslie (2009). Communism: A Very Short Introduction. . ISBN .
- Johnson, Elliott; Walker, David; Gray, Daniel, บ.ก. (2014). Historical Dictionary of Marxism (2nd ed.). Lanham; Boulder; New York; London: . ISBN .
- Lansford, Tom (2007). Communism. . ISBN .
- Leon, David A. (23 April 2013). "Trends in European Life Expectancy: a Salutary View". OUPblog. . สืบค้นเมื่อ 12 March 2021.
- Link, Theodore (2004). Communism: A Primary Source Analysis. . ISBN .
- Mackenbach, Johan (December 2012). "Political conditions and life expectancy in Europe, 1900-2008". . 82: 134–146. doi:10.1016/j.socscimed.2012.12.022. PMID 23337831.
- Morgan, W. John (2001). "Marxism–Leninism: The Ideology of Twentieth-Century Communism". ใน Baltes, Paul B.; Smelser, Neil J. (บ.ก.). . Vol. 20 (1st ed.). Elsevier. ISBN . สืบค้นเมื่อ 25 August 2021 – โดยทาง .
- Morgan, W. John (2015) [2001]. "Marxism–Leninism: The Ideology of Twentieth-Century Communism". ใน Wright, James D. (บ.ก.). . Vol. 26 (2nd ed.). Elsevier. ISBN . สืบค้นเมื่อ 25 August 2021 – โดยทาง .
- Newman, Michael (2005). Socialism: A Very Short Introduction (paperback ed.). Oxford: . ISBN .
- Patenaude, Bertrand M. (2017). "7 - Trotsky and Trotskyism". ใน Pons, Silvio; Quinn-Smith, Stephen A. (บ.ก.). The Cambridge History of Communism. Vol. 1. . doi:10.1017/9781316137024. ISBN .
- (2004). The Bolsheviks Come to Power: The Revolution of 1917 in Petrograd (PDF) (hardback, 2nd ed.). . ISBN . สืบค้นเมื่อ 15 August 2021.
- Rosser, Mariana V.; Barkley, J. Jr. (23 July 2003). Comparative Economics in a Transforming World Economy. . p. 14. ISBN .
Ironically, the ideological father of communism, Karl Marx, claimed that communism entailed the withering away of the state. The dictatorship of the proletariat was to be a strictly temporary phenomenon. Well aware of this, the Soviet Communists never claimed to have achieved communism, always labeling their own system socialist rather than communist and viewing their system as in transition to communism.
- Safaei, Jalil (31 August 2011). "Post-Communist Health Transitions in Central and Eastern Europe". . 2012: 1–10. doi:10.1155/2012/137412.
- "Ci–Cz". The World Book Encyclopedia. Vol. 4. Scott Fetzer Company. 2008. ISBN .
- (1992). From Marx to Mises: Post-Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation. Open Court Publishing Company. ISBN .
- Wilczynski, J. (2008). The Economics of Socialism after World War Two: 1945–1990. Aldine Transaction. p. 21. ISBN .
Contrary to Western usage, these countries describe themselves as 'Socialist' (not 'Communist'). The second stage (Marx's 'higher phase'), or 'Communism' is to be marked by an age of plenty, distribution according to needs (not work), the absence of money and the market mechanism, the disappearance of the last vestiges of capitalism and the ultimate 'withering away' of the State.
- (1983). "Socialism". Keywords: A Vocabulary of Culture and Society (revised ed.). . p. 289. ISBN .
The decisive distinction between socialist and communist, as in one sense these terms are now ordinarily used, came with the renaming, in 1918, of the Russian Social-Democratic Labour Party (Bolsheviks) as the All-Russian Communist Party (Bolsheviks). From that time on, a distinction of socialist from communist, often with supporting definitions such as social democrat or democratic socialist, became widely current, although it is significant that all communist parties, in line with earlier usage, continued to describe themselves as socialist and dedicated to socialism.
- (2001). "Maoism". ใน Baltes, Paul B.; Smelser, Neil J. (บ.ก.). . Vol. 20 (1st ed.). Elsevier. pp. 9191–9193. doi:10.1016/B0-08-043076-7/01173-6. ISBN .
หนังสือเพิ่มเติม
- Adami, Stefano; Marrone, G., บ.ก. (2006). "Communism". Encyclopedia of Italian Literary Studies (1st ed.). . ISBN .
- (1994). A Documentary History of Communism and the World: From Revolution to Collapse. . ISBN .
- (2007). The Rise and Fall of Communism in Russia. . ISBN .
- (2012). The Communist Horizon. . ISBN .
- Dirlik, Arif (1989). Origins of Chinese Communism. . ISBN .
- Engels, Friedrich; Marx, Karl (1998) [1848]. The Communist Manifesto (reprint ed.). Signet Classics. ISBN .
- (2007). "Revisionism in Soviet History". . 46 (4): 77–91. doi:10.1111/j.1468-2303.2007.00429.x. JSTOR 4502285.. Historiographical essay that covers the scholarship of the three major schools: totalitarianism, revisionism, and post-revisionism.
- Forman, James D. (1972). Communism: From Marx's Manifesto to 20th-century Reality. Watts. ISBN .
- Fuchs-Schündeln, Nicola; Schündeln, Matthias (2020). "The Long-Term Effects of Communism in Eastern Europe". . 34 (2): 172–191. doi:10.1257/jep.34.2.172. S2CID 219053421.. (PDF version)
- (2000). The Passing of An Illusion: The Idea of Communism In the Twentieth Century. แปลโดย Kan, D. (English ed.). . ISBN .
- Fürst, Juliane; Pons, Silvio; , บ.ก. (2017). "Endgames? Late Communism in Global Perspective, 1968 to the Present". The Cambridge History of Communism. Vol. 3. . ISBN .
- ; Six, Clemens, บ.ก. (2020). The Palgrave Handbook of Anti-Communist Persecutions. . ISBN .
- (2014). Marxism and the Making of China: A Doctrinal History. . ISBN .
- (2014) [1991]. From Communism to Capitalism. แปลโดย Davidson, Scott. . ISBN .
- ; Murphy, Dylan (1999). Under the Red Flag: A History of Communism in Britain (illustrated, hardcover ed.). . ISBN .
- (2019). Maoism: A Global History. Bodley Head. ISBN .
- Morgan, W. John (2003). Communists on Education and Culture 1848–1948. . ISBN .
- Morgan, W. John (December 2005). "Communism, Post-Communism, and Moral Education". . 34 (4). ISSN 1465-3877.. ISSN 0305-7240 (print).
- ; Pons, Silvio, บ.ก. (2017). "The Socialist Camp and World Power 1941–1960s". The Cambridge History of Communism. Vol. 2. . ISBN .
- (2003). Communism: A History (reprint ed.). Modern Library. ISBN .
- Pons, Silvio (2014). The Global Revolution: A History of International Communism 1917–1991 (English, hardcover ed.). . ISBN .
- Pons, Silvio; , บ.ก. (2010). A Dictionary of 20th Century Communism (hardcover ed.). . ISBN .
- Pons, Silvio; Smith, Stephen A., บ.ก. (2017). "World Revolution and Socialism in One Country 1917–1941". The Cambridge History of Communism. Vol. 1. . ISBN .
- Pop-Eleches, Grigore; Tucker, Joshua A. (2017). Communism's Shadow: Historical Legacies and Contemporary Political Attitudes (hardcover ed.). . ISBN .
- (2009). The Red Flag: A History of Communism. . ISBN .
- Sabirov, Kharis Fatykhovich (1987). What Is Communism? (English ed.). . ISBN .
- (2010). Comrades!: A History of World Communism. . ISBN .
- Shaw, Yu-ming (2019). Changes And Continuities In Chinese Communism: Volume I: Ideology, Politics, and Foreign Policy (hardcover ed.). . ISBN .
- (1984) [1980]. The Reality of Communism. . ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
- "Communism". Encyclopædia Britannica Online. Retrieved 18 August 2021.
- Libertarian Communist Library at contains almost 20,000 articles, books, pamphlets, and journals on libertarian communism. 11 ธันวาคม 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 18 August 2021. One example being "Marx on the Russian Mir, and misconceptions by Marxists".
- Lindsay, Samuel McCune (1905). . . Retrieved 18 August 2021.
- The Radical Pamphlet Collection at the Library of Congress contains materials on the topic of communism. Retrieved 18 August 2021.
- Winstanley, Gerrard (1649). . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 18 August 2021 – โดยทาง Roger Lovejoy. See also "The True Levellers Standard Advanced: Or, The State of Community Opened, and Presented to the Sons of Men" from 's Faculty of Business and Social Sciences at . Retrieved 18 August 2021.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisudbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha lththikhxmmiwnist xngkvs communism communis aeplwa rwmkn hrux sakl epnxudmkarnaelakarekhluxnihwthangprchya sngkhm karemuxng aelaesrsthkicsungmiepahmayinkarkxtngsngkhmkhxmmiwnist thiklawkhux raebiybthangsngkhmaelaesrsthkicthimilksnatamaenwkhideruxngkhxngkrrmsiththirwmkninthrphysin aelaprascakchnchnthangsngkhm engin aelarth lththikhxmmiwnistepnrupaebbsngkhmniymthiechphaaecaacngaetmikhwamchdecn khxmmiwnistnnehndwykbkhwamrwngorykhxngrth aetimehndwykbwithikarephuxepnkaryutikhrngni sungsathxnihehnthungkhwamaetktangrahwangaenwthangkhxngkhxmmiwnieschn Communization ipinthangxisrniymmakkhun lksnakarekidkhunexngkhxngkarptiwti Revolutionary spontaneity aelakarcdkartnexngkhxngaerngngan Workers self management aelaaenwthangthithukkhbekhluxnodyphunathangsngkhm Vanguardist hruxphrrkhkhxmmiwnistmakyingkhunphanthangkarphthnarththrrmnuyaehngrthsngkhmniym lththikhxmmiwnistidmikarphthnarupaebbtang tlxdchwngprawtisastr rwmthnglththixnathipity khxmmiwnist aela Marxist schools of thought lththikhxmmiwnistprakxbipdwykhwamhlakhlaykhxngorngeriynaehngkhwamkhidsungrwmthunglththimarks lththielnin aelalththikhxmmiwnistaebbxisrniym echnediywkbxudmkarnthangkaremuxngthithukcdklumehmuxn kn sungthnghmdnimiswnrwminkarwiekhraahwa raebiybthangsngkhminpccubnthiekidmacakrabbthunniym rabbesrsthkic aelawithikarphlit thiklawkhux inrabbnimixyusxngchnchnthangsngkhmthimikhwamsakhy khwamsmphnthrahwangsxngchnchnnikhux karaeswnghaphlpraoychnaelasthankarnnisamarthaekikhidinthisudodyphanthang thngsxngchnchnthangsngkhm idaek chnkrrmachiph chnchnaerngngan sungprakxbipdwyswnihykhxngprachakrphayinsngkhmaelatxngthanganephuxkhwamxyurxd aelachnkradumphi chnchnnaythun epnkhnklumnxykhnadelkthiidrbphlkaircakkarcangchnchnaerngnganphankarepnkhxngwithikarphlit tamkarwiekhraahni cathaihchnchnaerngngankhunmamixanacaelainthangklbkn karsrangkrrmsiththuinthrphysinsungepnxngkhprakxbhlkinkarepliynaeplngkhxngsngkhmthimitx instwrrsthi 20 rthbalkhxmmiwnistthiidsnbsnunlththimaks elninaelarupaebbtang ekhamamixanacinswnhnungkhxngolk khrngaerkinshphaphosewiytdwykarptiwtirsesiy kh s 1917 aelatxmainswnhnungkhxngyuorptawnxxk exechiy aelaphumiphakhxun imkiaehngphayhlngcaksngkhramolkkhrngthisxng nxkehnuxcakrabxbprachathipitysngkhmniym lththikhxmmiwnistidklayepnaenwonmthangkaremuxngthikhrxbngaphayinkhbwnkarsngkhmniymrahwangpraeths kh s 1920 karwiphakswicarntxlththikhxmmiwnistsamarthaebngaeykxxkepn 2 praephthihy klawkhux eruxngthiekiywkhxngkblksnakarptibtikhxngrthkhxmmiwnistinstwrrsthi 20 aelaeruxngthiekiywkhxngkbhlkkaraelathvsdikhxmmiwnist nkwichakaraelankesrsthsastrhlaykhn rwmthngnkwichakarkhnxun idcdwangaebbcalxngosewiytsungxyuphayitinnamkhxngrthkhxmmiwnistehlaniiddaeninptibtixyunnimichaebbcalxngesrsthkickhxmmiwnistthiaethcringtamkhacakdkhwamthimikaryxmrbmakthisudkhxnglththikhxmmiwnistwaepnthvsdithangesrsthsastr aetinkhwamepncringaelwkhuxrupaebbkhxngrabbthunniymodyrth state capitalism hruxrabbkhwbkhumbriharthiimidmikarwangaephnexaiwprawtisastrkhxmmiwnistchwngtn cudkaenidkhxnglththikhxmmiwnistyngkhngepnthithkethiyng miklumbukhkhlaelankthvsdiinprawtisastrhlakhlayklumthithukcdwaepnkhxmmiwnist aetsahrbnkprchyachaweyxrmn kharl maks thuxwaepncuderimtnkhxnglththikhxmmiwnistkhuxsngkhmmnusyinsmyobranthiswnmakcaepnnkla ekbkhxngpaeriykwa sngkhmkhxmmiwnistobran primitive communism cnkrathngtxmaemuxmnusyideriynruthicasrang Economic surplus khunma cungekidrabbkhwamepnecakhxnginsinthrphyswnbukhkhlkhun aelaimaebngpnthrphysinhruxsingkhxngid kbphuxunihichepnswnrwmxiktxip xnusawriythixuthisaedkharl maks say aelafridrich exngengils khwa innkhresiyngih praethscin tamkhaklawkhxngrichard ipp aenwkhidekiywkbsngkhmthiethaethiymesmxphakhaelaprascakchnchnthuxkaenidkhunkhrngaerkinkrisobran nxkcakniyngmikhbwnkarmsdak Mazdak inepxresiyinkhriststwrrsthi 5 thithuxwa milksnaepnkhxmmiwnist communistic enuxngcakthathaytxxphisiththithimixyuxyangmakmaykhxngchnchnnaaelankbwch wiphakswicarnkarthuxkhrxngthrphysinswnbukhkhl aelamungmnthicasrangsngkhmthiesmxphakhkhunma bangchwnginprawtisastryngpraktwamisngkhmkhxmmiwnistkhnadelkxyuxyanghlakhlay sungodythwipmiaerngbndalicmakcakkhmphirthangsasna echn khristckrinsmyklangthipraktwamixaramwasiaelaklumkxnthangsasnabangaehngrwmaebngpnthidinaelathrphysininhmusmachikdwyknexng duephimthi lththikhxmmiwnistthangsasna aelalththikhxmmiwnistkhrisetiyn aenwkhidkhxmmiwnistyngsamarthsubyxnipthungchinnganinkhriststwrrsthi 16 khxngnkpraphnthchawxngkvs thxms mxr sungtarakhxngekhanamwa yuothepiy kh s 1516 idchayphaphsngkhmthimiphunthanxyubnkhwamepnecakhxngrwmkninthrphysin aelamiphupkkhrxngbriharngandwykarichehtuphl nxkcakniinchwngkhriststwrrsthi 17 idmiaenwkhidkhxmmiwnistpraktkhunmaxikkhrnginxngkvsodyklumphiwritnthangsasnanamwa dikekxrs Diggers thisnbsnunihykeliksiththikhrxbkhrxngthidinswnbukhkhlip dannkthvsdisngkhmniym prachathipitychaweyxrmn exduxard aebrnsitn klawinphlnganpi kh s 1895 khrxmewllkblththikhxmmiwnist Cromwell and Communism khxngekhawainchwngsngkhramklangemuxngxngkvsmiklumhlayklumodyechphaaphwkdikekxrsthisnbsnunxudmkarnkhxmmiwnistekiywkbthidinxyangchdecn aetthsnkhtikhxngoxliewxr khrxmewllthimitxklumkhnehlaniklbthuxwatxtanaelaipinthisthangtrngknkhamxyangmakthisud thngnikarwiphakswicarnsiththikhrxbkhrxngthrphysinswnbukhkhlyngkhngdaenineruxyipcnthungyukheruxngpyyainkhriststwrrsthi 18 phannkkhidxyang chxng chk ruosinfrngess aelatxmainchwngthiwunwaythisudkhxngkarptiwtifrngess lththikhxmmiwnistkthuxkaenidkhuninrupaebbkhxnglththithangkaremuxng inchwngtnkhriststwrrsthi 19 nkptirupsngkhmhlaykhnidrwmknkxtngchumchnthimiphunthanxyubnkhwamepnecakhxngrwmkn aetimehmuxnkbsngkhmkhxmmiwnistyukhkxn trngthiphwkekhaaethnthikarmungennipinthangsasnadwyrakthankarichtrrkaehtuphlaelakarkuslepnhlk odyhnunginphumichuxesiynginklumnikhux orebirt oxewn phukxtngchmrmshkrn niwharomni inrthxindiaexna inpi kh s 1825 aelachals oferiyr thiphutidtamkhxngekhakidcdtngchumchninbriewnxun khxngshrthxemrika echn farmbruk Brook Farm kh s 1841 1847 dwyechnkn sungtxmainphayhlng kharl maks xthibaynkptirupsngkhmehlaniwaepnphwk nksngkhmniymaebbxudmkhti utopian socialists ephuxihtrngknkhamkb lththisngkhmniymaebbwithyasastr scientific socialism khxngekha sungepnchuxthifridrich exngengils ehnphxngdwy nxkcaknimaksyngeriyk xxngri edx aesng simng waepn nksngkhmniymaebbxudmkhti dwyechnkn lththikhxmmiwnistinrupaebbpccubnetibotmacakkhbwnkarsngkhmniyminyuorpchwngkhriststwrrsthi 19 odyinchwngkhxngkarptiwtixutsahkrrm nkwicarnfaysngkhmniymhlaykhnklawothsrabbthunniymwaepntnehtukhwamthukkhyakkhxngchnchnkrrmachiph sungepnchnchnihmthiprakxbipdwyaerngnganinorngnganxutsahkrrmekhtemuxngphutxngthanganphayitsphaphaewdlxmthimkcaepnxntrayxyubxykhrng odybukhkhlsakhythisudinhmunkwicarnnikkhuxkharl maks aelaphakhikhxngekhaxyang fridrich exngengils txmainpi kh s 1848 maksaelaexngengilsidesnxniyamihmkhxnglththikhxmmiwnist aelathaihniyamdngklawepnthiniymaephrhlaydwyculsarxnodngdngkhxngphwkekhanamwa aethlngkarnphrrkhkhxmmiwnist lththikhxmmiwnistsmyihm praethsthipkkhrxngdwyrthballththimaks elnininpccubn siaedng aelainxdit sism karptiwtieduxntulakhm kh s 1917 inrsesiy idsrangenguxnikhthiepidoxkasihphrrkhbxlechwikkhxngwladimir elnin kawkhunsuxanacaelaidmasungkarpkkhrxnginradbrth sungnbepnphrrkhkhxmmiwnistphrrkhaerkinprawtisastrthimithanaepnrthbalxyangepidephy karptiwtidngklawidthayoxnxanacipyngsphaosewiytkhxngchawrsesiythngmwl All Russian Congress of Soviets thisungphrrkhbxlechwikthuxkhrxngesiyngkhangmak ehtukarndngklawyngidsrangkhxthkethiyngechingthvsdiaelaechingptibtikhnanihyinhmukhbwnkarlththimaks enuxngcakmaksidphyakrniwwarabxbsngkhmniymcathuksrangkhunbnphunthankarphthnathikawhnathisudkhxngrabbthunniym aetinkrnikhxngrsesiyrabxbsngkhmniymklbthuksrangkhuncaksngkhmthiyakcnthisudaehnghnunginyuorp epnsngkhmthiprakxbipdwychawnacanwnmhasalthiswnmakimruhnngsux xnepnchnswnmak aelaklumaerngnganswnnxyinphakhxutsahkrrm xyangirktam maksklawxyangchdecnwarsesiyxacmikhwamsamarthmakphxthicakawkhamkhnodyimtxngichkarpkkhrxngdwychnchnkradumphiipidely swnnksngkhmniymklumxun echuxwakarptiwtiinrsesiykhrngdngklawxacepntwnathichichwnihchnchnaerngngankxkarptiwtiinlksnaediywinolktawntk danfayemnechwik Mensheviks xnepnchnswnnxythimiaenwkhidsngkhmniymrunaerngnxykwa khdkhanaephnkarptiwtisngkhmniymkxnthirabbthunniymcathukphthnacnsudkhnkhxngphrrkhbxlechwikkhxngelnin xnepnchnswnmak thngnikhwamsaercthisngihphrrkhbxlechwikkawkhunsuxanacmiphunthancakkhakhwy echn sntiphaph khnmpng aelathidin sungiptrngickbkhwamprarthnakhxngsatharnchnhmumakthitxngkarihrsesiyyutibthbathinsngkhramolkkhrngthihnung aelakhwamtxngkarkhxngchawnathixyakihmikarptirupthidin rwmthungesiyngsnbsnunswnmakihmisphaosewiyt sngkhmniymsaklthisxng Second International xnepnxngkhkarsngkhmniymrahwangpraethsthukyubinpi kh s 1916 cakkhwamaetkaeykphayinsungaebngfkaebngfaytampraethstnkaenid odyphrrkhsngkhmniymsmachikinxngkhkarcakaetlapraethsimsamarthrksacudyunrwmkninkartxtansngkhramolkkhrngthihnungexaiwid aetklbsnbsnunbthbathkhxngrthbaltamaenwthangkhxngchatitnaethn dwyehtunielnincungkxtng sngkhmniymsaklthisam Third International hrux okhminethirn inpi kh s 1919 aelaidsng Twenty one Conditions sungrwmexakhtiprachathipityrwmsuny Democratic socialism iwphayin ihaekphrrkhkaremuxngsngkhmniyminyuorpthitxngkarcayudthuxepnhlkptibti infrngessmitwxyangihehnkhuxsmachikswnmakthiepnphrrkhaerngngansaklsakhafrngesshrux aexsexfxiox French Section of the Workers International SFIO aeyktwxxkmainpi kh s 1921 ephuxkxtngphrrkhkhxmmiwnistsaklsakhafrngesshrux aexsexfxies French Section of the Communist International SFIC dngnnkhawa khxmmiwnissum hruxlththikhxmmiwnistcungthukichhmaythungwtthuprasngkhkhxngphrrkhkaremuxngthitngkhunphayitokhminethirn okhrngkarkhxngphwkekhakkhuxhlxmrwmaerngnganthwolkekhaepnklumkxnediywknsahrbkarptiwti sungcatammadwykarsthapnarabxbkarpkkhrxngaebbephdckarodychnchnkrrmachiph dictatorship of the proletariat echnediywkbkarphthnaphayitrabbesrsthkicaebbsngkhmniym inchwngsngkhramklangemuxngrsesiy kh s 1918 1922 phrrkhbxlechwikidyudexathrphysinthiichsahrbkarphlitthnghmdaelaprakasnoybaythichuxwa sngkhramlththikhxmmiwnist war communism sungbrrdaorngnganxutsahkrrmaelathangrthifmaxyuitkarkhwbkhumkhxngrthxyangekhmngwd ekbrwbrwmaelapnswnxahar aelarierimkarcdkarxutsahkrrmaebbkradumphi hlngcakrierimnoybaydngklawipid 3 pi aelaekidehtukarnkbtokhrnstdthkhuninpi kh s 1921 elnincungidprakas noybayesrsthkicihm New Economic Policy NEP inpiediywkn ephuxcakd sthanthiaelaewlaaekrabbthunniym noybaydngklawyngkhngxyuipcnkrathngpi kh s 1928 emuxocesf stalin kawkhunmaepnphunaphrrkhaelarierim aephnhapi Five Year Plans malblangnoybayekakhxngelnin aelahlngsngkhramklangemuxngsinsudlnginpi kh s 1922 phrrkhbxlechwikidsthapnashphaphsatharnrthsngkhmniymosewiyt yuexsexsxar hruxeriykodyyxwa shphaphosewiyt khunmacakckrwrrdirsesiyinxdit iprsniyakrkhxngshphaphosewiytaesdngphaphkarplxydawethiymdwngaerkkhxngolk sputnik 1 hlngcakrbexakhtiprachathipityrwmsunymaaelw phrrkhkaremuxngaenwlththielninkhnmacdokhrngsrangxngkhkraebbladbkhn hierarchy odymismachikradbhnwyyxyepnthanlangsud thdkhunmathungcaepnsmachikradbxphisiththithierikywa khads cadres sungcaidrbaetngtngcakbukhkhlradbsungphayinphrrkhethann odycatxngepnbukhkhlthinaechuxthuxaelayudmninaenwthangkhxngphrrkhxyangmakcungcaidrbaetngtng thdmaekidkarkwadlangkhrngyingihykhunrahwang kh s 1937 1938 tamnoybaykhxngstalinthitxngkarcathalaykhwtrngkhamthixacaekhngkhxphayinphrrkhkhxmmiwnist aelainidklawhasmachikphrrkhbxlechwikdngedimhlaykhnthimibthbathedninchwngkarptiwtirsesiy kh s 1917 hruxinrthbalkhxngelninhlngcaknn echn khaemnenf sionwif ruykhxf aelabukharin waidkrathakhwamphid cungtdsinihlngothsaelanaippraharchiwitinthaythisud sngkhrameyn shphaphosewiytphngadkhunepnchatimhaxanaccakbthbathnainchwngsngkhramolkkhrngthisxng thngyngmixiththiphlxyangmakehnuxphumiphakhyuorptawnxxkaelabangswnkhxngexechiy aelahlngsngkhramolksinsudlng ckrwrrditang inyuorpaelackrwrrdiyipunkaetkaeykxxkepnswn brrdaphrrkhkhxmmiwnisthlayaehngcungichoxkasniinkarsrangbthbathnainkhbwnkarekhluxnihwephuxexkrach txmadwykhwamchwyehluxkhxngshphaphosewiyt phrrkhkaremuxngaenwlththimaks elninthiyudthuxshphaphosewiytepntnaebbtangphaknkawkhunsuxanacinblaekeriy echoksolwaekiy eyxrmnitawnxxk opaelnd hngkari aelaormaeniy nxkcakniyngekidkartngrthbalaenwlththimaks elninphayitkarnakhxngnayphltiotinyuokslaewiydwyechnkn aetnoybaykhwamepnxisrakhxngtiotthaihyuokslaewiythukkhbxxkcak okhminethirn sungepnxngkhkarsubthxdtxcakokhminfxrm dngnnyuokslaewiycungklayepnpraethskhxmmiwnistxisrathiimidxyuitxiththiphlkhxngshphaphosewiythruxepnpraethsin lththitiot echnediywkbaexlebeniykepnrthxisrainlththimaks elninxikaehnghnunghlngsngkhramolkkhrngthisxngyutilng emuxthungpi kh s 1950 fayniymlththimaks elninincinksamarthkhwbkhumcinaephndinihythwthukaehnghnidsaerc nxkcakniinchwngsngkhramekahliaelasngkhramewiydnam faykhxmmiwnistidtxsukbshrthxemrikaaelaphnthmitrxikhlaypraethsephuxkawkhunsuxanacinpraethskhxngtn sungidbthsrupcaksngkhramthngsxngkhrngnnkaetktangknip imephiyngethannyngphyayamrwmklumkbfaychatiniymaelafaysngkhmniymephuxtxsukblththickrwrrdiniymkhxngolktawntkinpraethsyakcnehlanidwyechnkn lththikhxmmiwnistthukmxngwaepnkhuaekhngaelaphykhukkhamtxlththithunniyminolktawntktlxdchwngkhriststwrrsthi 20 sungsphaphkaraekhngkhnkhxngthngsxngkhaynithungcudsungsudinchwngsngkhrameyn emuxsxngchatimhaxanackhxngolkthiyngkhngehluxxyuxnidaekshrthxemrikaaelashphaphosewiyt idaebngkhwthangkaremuxngaelaphlkdnihpraethsxun txngekharwmkbkhayidkhayhnungethann chatimhaxanacthngsxngyngsnbsnunihekidkaraephkhyayrabbkaremuxngaelaesrsthkickhxngtnipsupraethsxun xikdwy sngphlihekidkarkhyaykhnadkhxngkxngthph karkktunxawuthniwekhliyr aelakaraekhngkhndansarwcxwkas phlitphnthmwlrwminpraethstxhw rakhatlad inpi kh s 1965 cakkhxmulkhxngeyxrmntawntk kh s 1971 gt 5 000 mark 2 500 5 000 mark 1 000 2 500 mark 500 1 000 mark 250 500 mark lt 250 markkarlmslaykhxngshphaphosewiyt shphaphosewiytlmslaylnginwnthi 26 thnwakhm kh s 1991 xnepnphlmacakkaraethlngkarnelkhthi 142 exch odysphaosewiytsungsudaehngshphaphosewiyt aethlngkarndngklawidrbthrabkarprakasexkrachkhxngxditsatharnrthosewiytaelasthapnaekhruxckrphphrthexkrachkhunaethn sungkarlngnamrbrxngaethlngkarndngklawmiehtutxnglachaxxkiphruximmikarlngnamrbrxngelyaetxyangid inkhnathihnungwnkxnhnani prathanathibdiosewiyt mikhaxil kxrbachxf phunashphaphosewiytkhnthiaepdaelakhnsudthay prakaslaxxk yubtaaehnng aelathayoxnxanacthnghmdaekprathanathibdirsesiy bxris eyltsin sungrwmthungsiththikhrxbkhrxngrhsplxykhipnawuthnawithikhxngshphaphosewiyt txma ewla 7 32 n khxngeynwnediywknnn thngchatishphaphosewiytthukldlngcakyxdesakhxngphrarachwngekhrmlinepnkhrngsudthay aelaaethnthidwythngchatirsesiyaebbthiichkxnkarptiwti chwngewlakxnhnanitngaeteduxnsinghakhmthungthnwakhm satharnrthosewiytaetlaaehngrwmthungrsesiyexngidaeyktwxxkcakkarepnshphaphmakxnaelw odythixditsatharnrthosewiytthng 11 aehng idrwmlngnamin sungidsthapnaekhruxckrphphrthexkrachaelaprakasyubshphaphosewiythnungspdahkxnkarlmslayxyangepnthangkar pccubn inpccubnmipraethsthipkkhrxngdwyrthballththimaks elninaelaichrabbphrrkhkaremuxngediywehluxephiyng 4 praethsethann idaek satharnrthprachachncin khiwba law aelaewiydnam swnekahliehnuximidyudthuxxudmkarntamaebbchbblththimaks elninaelw hakaetyudthuxxudmkarntamhlk cuech thichayphaphwaphthnamacaklththimaks elninaethn inkhnathiphrrkhkhxmmiwnisthruxphrrkhkaremuxngsubthxdthihlngehluxxyukyngkhngmibthbaththangkaremuxngthisakhyinhlaypraeths echn phrrkhkhxmmiwnistaehngaexfrikaitthiekharwmepnphrrkhrthbalphayitkarnakhxngphrrkhsmchchaaehngchatiaexfrika faykhxmmiwnistthiepnrthbalpkkhrxngrthekrlakhxngxinediy faykhxmmiwnistthikhrxngesiyngkhangmakinrthsphaenpal aelaphrrkhkhxmmiwnistbrasilthirwmcdtngrthbalphayitkarnakhxngphrrkhaerngngansngkhmniymprachathipity satharnrthprachachncinidprbepliynmummxngthitkthxdmacaklththiehmahlaydan echnediywknkblaw ewiydnam aelakhiwba mikarepliynaeplngnxykwa odyrthbalkhxngpraethsehlaniidphxnkhlaykarkhwbkhumthangesrsthkiclngephuxkratunkaretibot thngnirthbalcinphayitkarnakhxngeting esiywphing iderimptiruprabbesrsthkicinpi kh s 1978 sunghlngcaknnepntnmacinsamarthldradbkhwamyakcnlngcakrxyla 51 insmyehma ecxtung maepnephiyngrxyla 6 inpi kh s 2001 inkhnaediywknyngidrierimekhtesrsthkicphiessiwsahrbkickarthixingkbrabbtladepnhlk odythiimtxngkngwlkarkhwbkhumhruxkaraethrkaesngcakrthbalklang swnpraethsxun thiprakastnwayudthuxinxudmkarnlththimaks elnin echn ewiydnam kphyayamrierimkarptirupesrsthkicihxingkbrabbtladdwyechnkn karptirupthangesrsthkicnibangkhrngthukwicarncakolkphaynxkwaepnkarthxyklbiphalththithunniym aetphrrkhkhxmmiwnistaeyngwaepnkarprbtwthicaepnephuxihsxdrbkbsphaphkhwamepncringhlngkarlmslaykhxngshphaphosewiyt aelaephuxichsmrrthnathangxutsahkrrmihekidpraoychnsungsud inpraethsthidaeninkarptirupehlani thidinthngmwlthuxepnthrphysinsatharnasungbriharcdkarodyrth echnediywkbxutsahkrrmaelabrikarthicaepn rwmipthungthrphyakrthrrmchati dngnnphakhrthcungthuxepnphakhswnthangesrsthkichlkinrabbesrsthkicdngklaw aelarthepnphumibthbathklanginkarprasannganephuxihekidphthnakarthangesrsthkickhxmmiwnistaebblththimakslththimaks kharl maks maksaelaexngengilsphyayamhaaenwthangthicanacudcbmasurabbthunniymaelakarkdkhiphuichaerngnganehmuxnkbnksngkhmniymkhnxun aetinkhnathinksngkhmniymkhnxunhwngthungkarkhxy ptirupsngkhminrayayaw thngmarksaelaexngekilskhidwamixyuhnthangediywethannthicanaipsurabxbsngkhmniymid nnkhuxkarptiwti tamthikhxsnbsnunlththikhxmmiwnistkhxngmaksklawiwwa lksnaechphaakhxngephaphnthumnusyinsngkhmchnchnkhuxkhwamimsnicsungknaelakn aelayngklawxikwakhwamkhidaebbkhxmmiwnistkhuxsingthimnusyprarthna ephraamnnamasungkhwamhyngruaelakarphbkbxisrphaphaehngmnusyxyangaethcring maksinthiniklawtamnkprchyachaweyxrmn cxrc wilehlm fridrich ehekil G W F Hegel thiklawwaxisrphaphmiichephiyngaekhkarmiihxanacekhamakhwbkhumethann aetynghmaythungkarkrathathimisanuksilthrrmxikdwyimephiyngaekhrabxbkhxmmiwnistcathaihkhnthainsingthiphwkekhatxngkarethann aetkarthaihmnusythimisthanphaphediywknaelakhwamehmuxnknnn cathaihphwkekhaimtxngkaraeswnghaphlpraoychnsutnexngxiktxip inkhnathiehekilkhidthungkarichchiwittamhlkcrrya phanmonphaphthiyingihy aetsahrbmaksaelw khxmmiwnistnnekidkhunidcakwtthuaelaphlitphl odyechphaakarphthnarayidthiprachachncaidrbcakkarphlit lththimaksnnyudthuxwakrabwnkaraetkaeykrahwangchnchnthitangkn phsmkbkardinrntxsuthicaptiwti canachychnamasuchnchnaerngngan aelanamasungkarkxtngsngkhmkhxmmiwnistthithisiththiinkarkarkhrxbkhrxngthrphysmbtiswnbukhkhlcakhxy thuklblangip aelarayidkhxngprachachncakkarphlit aelakhwamepnxyuthiyudtidxyukbchumchncakhxy ekhamaaethnthi twmaksexngnnchiaecngiwephiyngelknxy ekiywkbchiwitkhwamepnxyuemuxxyuphayitrabxbkhxmmiwnist aetklawthungkhxmulechphaaswnhlk thiepnaenwthangipsurabxbkhxmmiwnistethann sungswnmakcaekiywkbkarldkhxbekhtkhxngsingthibukhkhlphungkratha ehnidcakkhakhwykhxngklumekhluxnihwlththikhxmmiwnistthimikhwamwa sngkhmkhxmmiwnistkhuxolkthithuk khnthainsingthiphwkekhathnd aelaidrbtamthiphwkekhatxngkar twxyangthixthibayaenwkhidkhxngmaksmacakphlnganekhiynephiyngimkichinkhxngekhathimikhxmulekiywkbxnakhtkhxnglththikhxmmiwnistodylaexiydkhux aenwkhidlththikhxngeyxrmn The German Ideology inpi kh s 1845 nganchinnnmiickhwamwa insngkhmkhxmmiwnistthiimmiikhrthukcakdpharahnathixyangidxyanghnungodyechphaa aetthukkhnsamarthprasbkhwamsaercinthuk sakhathiekhatxngkar emuxsngkhmkahndepahmaykarphlitthaihmnepnipidthicathasinghnungwnni aelathaihxiksinginwnphrung lastwintxnecha tkplaintxnklangwn txnwwintxneyn aelawicarnhlngxaharkha dngthitwexngprarthna odyimtxngmixachiphepnnklastw chawpramng khneliyngstwaelankwicarn wisythsnthimnkhngkhxngmaks thaihwisythsnniklayepnthvsdiwithyasastrthiekiywkbkhwamepnipkhxngsngkhmthiepnrabb phayitrabxbkarpkkhrxngaebbkhxmmiwnistxyangaethcring aelaepnthvsdithangkaremuxngthixthibaythungkhwamcaepnthicatxngkrathakarptiwtiephuxthicaidsingid mathimikhxkngkhaelknxy inchwngkhrunghlngkhxngkhriststwrrsthi 19 niyamkhxngkhawa rabxbsngkhmniym aela rabxbkhxmmiwnist mkthukichaethnkn xyangirktam maksaelaexngengilsehnwa sngkhmniymkhuxradbpanklangkhxngsngkhmthithrphysmbtiswnihycakkarphlitmimwlchnepnecakhxngrwmkn odythiyngkhngkhwamaetktangrahwangchnchniwelknxy odythiphwkekhasngwnniyamkhxngrabxbkhxmmiwnistiwwa epnkhnsudthaykhxngsngkhmthiimmikhwamaetktangrahwangchnchn thukkhnxyurwmknxyangsamkhkhi aelarthbalepnsingthiimcaepnxiktxip hlkeknthehlanitxmacungthukphthna odyechphaacakwladimir elnin sungmixiththiphlinkarkahndlksnakhxngphrrkhkhxmmiwnistinkhriststwrrsthi 20 ihoddedn nkekhiynruntxmaepliynaeplngwisythsnkhxngmarksodymxbxanacihkbrthihepnsunyklangkhxngkarphthnasngkhmdngklaw odyaeyngwakarthicaihepnkhxmmiwnistodysmburnidnn txngerimmacakkarepnsngkhmniymesiykxn cungkhxy aeplngsngkhmphayitrabxbsngkhmniym ihklayepnsngkhmkhxmmiwnistodysmburn khnrunediywkbmarksbangkhn echn xnathiptyxyangmikhaexl bakhunin ksnbsnunaenwkhidkhlay kn aettangkninthsnkhtikhxngphwkekhaineruxngkhxngwithithicanaipsusngkhmsamkhkhithiirchnchnid cnmathungthukwnniyngkhngmikaraebngklumekhluxnihwkhxngkhnnganxyurahwangklumlththikhxmmiwnistkhxngmarksaelaklumxnathipty odythiphwkxnathiptymikhwamkhidepnptipksaelatxngkarthicalmlangthukxyangthiepnkhxngrthbal aetinhmuphwkekhakminkxnathipty khxmmiwnistxyang pietxr okhrphxtkhin thiechuxinkarepliynaeplngsngkhmihirchnchninthnthi inkhnathinkxnathipty shkarniymechuxinshphaphaerngnganthiepnxngkhkrthithahnathiepnphunainsngkhm trngknkhamkbphrrkhkhxmmiwnist thiechuxinsngkhmirchnchn nnkhuximmiphuna lththielnin ruppnwladimir elnin inemuxngklktta rthebngkxltawntkeratxngkarbrrluraebiybthangsngkhmihmthidikwaedim insngkhmihmthidikwanicatxngimmikhnrwyhruxkhncn thukkhntxngthangan khnthanganthukkhncatxngidphlpraoychncakaerngngankhxngtn imichaekhkhnrwycanwnhnungethann ekhruxngckraelakarprbprungxun txngthukichephuxbrrethapharangankhxngthukkhn imichephuxihkhnrwyrarwykhunbnkhwamthukhyakkhxngkhnnbsibnblan sngkhmihmthidikwanimichuxwasngkhmsngkhmniym aelakarephyaephrkhwamruekiywkbsngkhmdngklaweriykwa lththisngkhmniym wladimir elnin kh s 1903 lththielninkhuxtwtnkhxngthvsdikaremuxngthiphthnaodyaelatngchuxtamnkptiwtichawrsesiy wladimir elnin phusungphayhlngkawkhunepnphunaosewiyt sahrbxngkhkrthangprachathipitykhxngphrrkhaenwhnakarptiwtiaelakhwamsaerckhxngephdckarodychnkrrmachiph xncaebikthangipsukarsthapnalththisngkhmniyminthangkaremuxng lththielninprakxbkhuncakthvsdiesrsthkicaelakaremuxngtang sungphthnamacaklththimaks echnediywkbkartikhwamthvsdimaksistkhxngelninexngephuxihsamarthipprayuktichinechingptibtikbsphaphaewdlxmenguxnikhkhxngckrwrrdirsesiy thiepnsngkhmekstrkrrminchwngtnkhriststwrrsthi 20 txmaineduxnkumphaphnth kh s 1917 lththielninthuknaipptibtiichepnrayaewla 5 piinthanaprchyakaremuxngaelaesrsthkictamaenwthangmaksistinaebbchbbkhxngrsesiy sungbngkhbichcringaelayngihekidphlodyphwkbxlechwik phrrkhkaremuxngaenwhnaphunakartxsuephuxxisrphaphthangkaremuxngkhxngchnchnaerngngan lththimaks elnin lththistalin aelalththithrxtski lththimaks elninaelalththistalin ocesf stalin kh s 1942 lththimaks elnin khuxaenwkhidthangkaremuxngthiphthnaodyocesf stalin sungthayudthuxtamphuesnxaelwepnaenwkhidthimiphunthanmacaklththimaksaelalththielnin lththidngklawxthibayaenwkhidthangkaremuxngaebbcaephaathistalinrierimptibtiinphrrkhkhxmmiwnistaehngshphaphosewiyt radbrth aelaokhminethirn radbsakl xyangirktam khathamthiwaaethcringaelwstalinidptibtitamaenwthanglththimaksaelaelnintamchuxlththihruxim yngkhngepnthithkethiynginhmunkprawtisastr enuxngcakmienuxhasarabangaengmumthixaccaebiyngebnipcakenuxhasarakhxnglththimaks echn aenwthang sngkhmniympraethsediyw thngnilththimaks elninkhuxaenwkhidkhxngkhbwnkarkhxmmiwnistthiehnrupthrrmchdecnthisud cungepnlththisungekiywkhxngkblththikhxmmiwnistthioddednmakthisud lththimaks elninyngxacklawthunginthanarabbesrsthkic sngkhmaelaaenwkhidthangkaremuxngsungrierimodystalininshphaphosewiyt aelaphayhlngthuklxkeliynaelanaipichbnphunthancaktwaebbosewiyt Soviet model odyrthxun echn karwangaephncakswnklang aelarthphrrkhkaremuxngediyw epntn inkhnathilththistalincaklawthungkarpkkhrxnginaebbchbbkhxngstalin echn karkdkhithangkaremuxng aelalththibuchabukhkhl epntn thngnilththimaks elninyngkhngxyuhlngkrabwnkarlmlanglththistalin de Stalinization nxkcakni incdhmaychbbsudthaykxnthungaekkrrm elninekhyklawetuxnthungxntraycakbukhlikkhxngstalinmakxn aelaerngeraihrthbalosewiythabukhkhlthiehmaasmmadarngtaaehnngphunaaethn lththiehmakhuxrupaebbhnungkhxnglththimaks elninsungkhxngekiywkbphunacin ehma ecxtng hlngkarlmlanglththistalin shphaphosewiytyngkhngyudmninlththimaks elnin aetkraaestxtanlththiaek Anti revisionism bangswn echn lththihkih Hoxhaism aelalththiehma tangaeyngwalththimaks elninhlngyukhstalinkhuxrupaebbthiphidephiynip dngnnnoybaykhxngkhxmmiwnistinaexlebeniyaelacincungaetktangaelathxyhangxxkcakshphaphosewiyt lththimaks elninthukwicarncakaenwkhidkhxmmiwnistaelamaksistaenwxun warthmaksist elninnistimidsthapnarabxbsngkhmniym hakaetepnrabxbthunniymrth state capitalism esiymakkwa sungtamaenwthanglththimaksaelw ephdckarodychnkrrmachiph dictatorship of the proletariat epntwaethnthungkarpkkhrxngkhxngchnhmumak prachathipity makkwathicaepnkhxngphrrkhkaremuxngediyw thungkhnadthihnunginphurwmkxtnglththimaks fridrich exngengils ekhyxthibay rupaebbcaephaa khxngkarpkkhrxngniiwwaepnrabxbsatharnrthprachathipity nxkcakni exngengilsyngxthibaywathrphysinkhxngrthaethcringaelwkkhuxthrphysinkhxngexkchn thrphysinswntn tamthrrmchatikhxngrabxbthunniym ewnaethakehlachnchnkrrmachiphsamarthkhwbkhumxanacthangkaremuxng rth id thrphysinnntanghakcathuxepnthrphysinsatharnaodyaethcring sungkhathamthiwachnkrrmachiphaethcringaelwmixanackhwbkhumehnuxrthmaksist elninnisthruxim yngkhngepnthithkethiynginhmulththimaks elnindwyknexng aelalththikhxmmiwnistsayxun dwyechnkn thngnisahrblththikhxmmiwnistsayxun aelw lththimaks elninxacimichthnglththimaks lththielnin hruxkarrwmknkhxnglththithngsxng aetepnephiyngbthniyamthipradisthkhunmaicheriykkarthistalinbidebuxnaenwkhidmaks elninipcakedim aelwnaexaaenwkhidkhxngtndngklawipbngkhbichkbphrrkhkhxmmiwnistaehngshphaphosewiytaelaokhminethirn inshphaphosewiyteriykkhanaenwthangtxtanlththimaks elninniwa lththithrxtski sungeriykkhantnexngwaepnlththiinaenwthangmaksaelaelnin Marxist and Leninist tendency lththithrxtski khuxaenwkhidtamaenwthangmaksaelaelninthiphthnaodyelxxn thrxtski aettxtanlththimaks elnin lththidngklawsnbsnunthvsdikarptiwtithawr permanent revolution aelakarptiwtiolk aethnthiaelaaenwthangsngkhmniympraethsediyw nxkcakniyngsnbsnunlththichnkrrmachiphsakl proletarian internationalism aelakarptiwtikhxmmiwnistxikkhrnghnunginshphaphosewiyt thisungthrxtskixangwaidklayepn rthaerngnganesuxmsphaph degenerated worker s state ipesiyaelwphayitkarnakhxngstalin aelakhwamsmphnthrahwangchnchnphidephiynipinrupaebbihm aethnthicaepnephdckarodychnkrrmachiphtamaenwthanglththimaksaebbdngedim thrxtskiaelaphusnbsnundinrntxsuephuxihidmasungxanacehnuxshphaphosewiytaelakhbilstalinxxkcakkarpkkhrxng idaebngkarcdtngepnfaysaytxtan Left Opposition sungphayhlngepnthiruckinchuxlththithrxtski xyangirktam stalinsamarthrwbrwmxanackhwbkhumebdesrciwidsaercinthaythisud sngphlihkhwamphyayamkhxngthrxtskilmehlwaelatxngliphyxxkcakshphaphosewiytinpi kh s 1929 inkhnathiliphyxyutangpraethsnn thrxtskiyngkhngdaeninkartxtanstalinxyuxyangtxenuxng echn karkxtngsngkhmniymsaklthisi Fourth International inpi kh s 1938 khunmaaekhngkbokhminethirn thaythisudaelwthrxtskithuklxbsngharineduxnsinghakhm kh s 1940 n krungemksioksiti tamkhasngkhxngstalin thngnikaremuxngtamaebbchbbkhxngthrxtskiaetktangipcakstalinaelaehmaxyangsineching odyechphaaxyangyinginpraednkarprakaseriykrxngihekidkarptiwtikhxngchnchnkrrmachiphinradbsakl aethnthicaepnaenwthangsngkhmniympraethsediyw aelakarsnbsnunephdckarodychnkrrmachiphbnphunthanhlkkarprachathipityodyaethcring lththimaksaebbxisrniym lththimaksaebbxisrniymkhuxkrxbprchyathangesrsthkicaelakaremuxngkwang thiennkartxtanaengmumxanacniymphayinlththimaks sunginchwngtnruckkninchux khxmmiwnistfaysay aelamicudyuntrngknkhamkblththimaks elnin rwmthungaenwkhidyxyxun echn lththistalin lththiehma aelalththithrxtski nxkcakniyngmicudyunthiennipthangechnediywkbphwkprachathipitysngkhmniym kraaeslththimaksaebbxisrniymmkcayudthuxphlnganchinhlng khxngmaksaelaexngengils odyechphaa krundrisesx eyxrmn Grundrisse pccyphunthan aela sngkhramklangemuxnginfrngess The Civil War in France sungennkhwamechuxkhxngmaksthiwachnchnaerngngansamarthkahndchatakrrmkhxngtnexngidodyimtxngphungphankptiwtihruxrthekhamaepntwklanghruxtwchwyinkarpldaexktnexng dngnnlththimaksaebbxisrniymcungthuxepnaenwkhidkraaeshlkhnunginsxngkraaesphayitlththisngkhmniymaebbxisrniymekhiyngkhukbxnathipity lththimaksaebbxisrniymyngrwmthungaenwkhidkraaesxun echn lththilukesimbwrkh lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym lththikhxmmiwnistfaysay ossiyalismxubarbari frngess Socialisme ou Barbarie sngkhmniymhruxxnarychn aenwthangcxhnsn fxerst lththisngkhmniymolk lththielththrihruxsphawaniym Lettrism hrux Situationism xxpxersom xitali Operaismo hruxxtiniym autonomism aelafaysayihm sungbxykhrngthilththimaksaebbxisrniymmixiththiphlxyangmaktxaenwkhidfaysayyukhhlng post left aelaxnathipityaebbsngkhmniym nkthvsditamlththimaksaebbxisrniymthimichuxesiyng echn xxnthxn phnenxkhuk raya dunaeyfskaya si aexl xar ecms khxrnieliys ksotrrixadis emaris brintn ki edxbxr daniyal ekaerng aexensot sekhrpnti aelaraxul waenyxng lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniym lththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymkhuxkarekhluxnihwkhxngfay sungkxtngkhunineyxrmniaelaenethxraelnd inchwngkhristthswrrs 1920 mi KAPD epnhlksakhykhxngxngkhkr aelayngkhngdaeninkarmacnthungpccubnsungepnkarekhluxnihwtamehtuphlaelahlkkarkhxngmarksistaelasngkhmniymaebbxisrniym hlkkarsakhykhxnglththinikhuxihrthbalaelaesrsthkickhwrcaxyuphayitkarbriharkhxngxngkhkhnaaerngngan workers council sungprakxbdwykareluxkphuaethncaksthanthithanganaelasamarthihmikarthxdthxnphuidrbeluxktngidthukemux cakaenwkhiddngklaw hlkkarkhxngsphakhxmmiwnistcungkhdtxlththixanacniym sngkhmniymrth aelathunniymrth rwmipthungkartxtanphrrkhkaremuxngthiekidkhuncakkarptiwti enuxngcakcanaipsuphrrkhkaremuxngephdckarinthisud thngyngsnbsnunprachathipityodychnchnaerngngan sungehlaphuichaerngngancasamarthcdtngshphnthaerngnganephuxpkpxngsiththikhxngtn nxkcaknilththikhxmmiwnistaebbxngkhkhnaniymmkcathukmxngwamiswnkhlaykblththixnathipity enuxngcakaenwkhidtxtanlththixanacniymtamaebblththielninaelaptiesthaenwkhidkhxngphlphrrkhaenwhnaniym party vanguardism lththikhxmmiwnistfaysay orsa lukesimbwrkh lththikhxmmiwnistfaysaykhuxkrxbmummxngtamlththikhxmmiwnistthiyudthuxodyfaysay wicarnaenwkhidaelaaenwptibtithangkaremuxnghlngralxkkarptiwtiodyphwkbxlechwikaelaphwkprachathipitysngkhmniymthithaihsngkhramolkkhrngthihnungsinsudlng odykhxmmiwnistfaysayaesdngcudyunthiwatnexngkhuxklumkxnthimiaenwkhidyudoyngtamlththimaksaelachnkrrmachiphxyangaethcringmakkwakhxmmiwnisttamlththimaks elnin sungsnbsnunodykhxmmiwnistsaklhlngkarprachumkhrngthihnung eduxnminakhm kh s 1919 aelarahwangkarprachumkhrngthisxng eduxnkrkdakhm singhakhm kh s 1920 khxmmiwnistfaysayprakxbipdwykhbwnkarthangkaremuxnghlayklum iltngaetphwklththimaks elnin thithukmxngwaaethcringkhuxphwkfaysaykhxngrabxbthunniymmakkwa aelaphwklththikhxmmiwnist xnathipity bangswnthuxwaepnphwksngkhmniymsakl echnediywkbklumptiwtisngkhmniymxun xikhlayaenw echn lththiedxelxxn De Leonism thimkcathukmxngwaepnphwksngkhmniymsaklinbangoxkaskhxmmiwnistaebbxunrupaebbhlkkhxnglththikhxmmiwnisttngxyubnphunthankhxnglththimaks xyangirktamlththikhxmmiwnisttamaenwthangxunthiimichlththimaksyngpraktihehndwyechnkn lththikhxmmiwnist xnathipity lththikhxmmiwnist xnathipity hruxruckinchux lththikhxmmiwnistaebbxisrniym khuxthvsditamlththixnathipity miepahmayephuxlmlangrth thrphysinswnbukhkhl aelarabxbthunniym aelaaethnthidwykarepnecakhxngrwminpccykarphlit prachathipityodytrng aelaekhruxkhaykhxnghnwynganxasaaelasphaaerngnganthimiokhrngsrangepnaenwnxn horizontal sungmilksnakarphlitaelabriophkhtamhlkkar cakaetlakhntamkhwamsamarth ihaetlakhntamkhwamtxngkar From each according to his ability to each according to his needs pietxr khrxphxtkin nkthvsdikhnsakhytamlththikhxmmiwnist xnathipity lththikhxmmiwnist xnathipityaetktangcaklththimaksenuxngcakptiesthmummxngthiwacaepntxngmirthkhxmmiwnistkxnthungcasthapnarabxbkhxmmiwnistthiaethcringid nkthvsdikhnsakhytamaenwkhidnikhux pietxr khrxphxtkin idaeyngwasngkhmnkptiwtikhwrthica epliynphantnexngipsusngkhmkhxmmiwnistodythnthi hruxepliynphanipsurabxbkhxmmiwnist khnthisungaelasmburnkwa tamkhaniyamkhxngmaks sungepnaenwthangthiphyayamhlikeliyng karaebngaeykchnchnaelakhwamprarthnaihrthepnphusxdsxngduaelthukxyang rupaebbbangprakarkhxnglththikhxmmiwnist xnathipity echn lththixnathipitythiennaenwthangkarcracl insurrectionary anarchism thukcdwaepnrupaebbtamlththixtniym egoism aelaidrbxiththiphlthangkhwamkhidxyangmakcaklththipceckniym individualism sungechuxwalththikhxmmiwnist xnathipityimcaepntxngmilksanaaebngpnrwmknhruxepnswnrwmaetxyangid khxmmiwnistexngepnchuxthiaeplwa swnrwm inkhnathiphuthiechuxinlththidngklawmxnglththikhxngtnwaepnaenwthangpranipranxmkhwamptipksrahwangpceckchnaelasngkhm inprawtisastrmnusyyukhpccubn twxyangdithisudkhxngsngkhmtamlththikhxmmiwnist xnathipitykhuxdinaednxnathipity dinaedninsphaphirkhuxaep chwngrahwangkarptiwtisepn kh s 1936 aeladinaednesri Free Territory chwngrahwangkarptiwtirsesiy sungcdtngkhunodymiphunthaniklekhiyngkbaenwkhidinpccubnaelaepnthiruckinaewdwngwichakarprawtisastrthwolk kraaesniymlththikhxmmiwnist xnathipityinsepnerimkhuninpi kh s 1936 dwykhwamphyayamaelaxiththiphlkhxngklumxnathipitysepninchwngkarptiwtisepnsungepnswnhnungkhxngsngkhramklangemuxngsepn swnmakrwmklumkninxarakxn bangswnkhxngelewnetaelaxndalusixa rwmthungphunthiaeknklangkhxngklumxnathipitykatalninkataluyya aetphayhlngthukbdkhyiaelaprabpramxyangrunaerngodykxngkalngphsmrahwangklumxanacniymkhxngnayphlfrnsisok frngok sungepnfaychnasngkhram kxngkalngkhxngxdxlf hitelxr kxngkalngkhxngebniot musoslini karprabpramodyphrrkhkhxmmiwnistsepn sungshphaphosewiytihkarsnbsnun echnediywkbkarpidknthangesrsthkicaelayuthothpkrnodyklumpraethsinrabxbthunniymaelasatharnrthsepn inkhnathirsesiyinchwngkarptiwti nkxnathipityxyangensetxr mkhon daeninkickrrmcdtngaelapkpxngdinaednesriinyuekhrnphankxngthphptiwti craclyuekhrn aelaklumphuniymlththikhxmmiwnist xnathipity tngaetpi kh s 1919 cnkrathngphayaephaekkxngkalngkhxngfaybxlechwikinpi kh s 1921 lththikhrisetiynkhxmmiwnist lththikhrisetiynkhxmmiwnistkhuxrupaebbhnungkhxnglththikhxmmiwnistthangsasnasungmihlkphunthanxyubnsasnakhrist epnthvsdikaremuxngaelasasnsastrthimxngwakhasxnkhxngphraeysubngkhbihchawkhristsnbsnunlththisngkhmniyminthanarabxbsngkhminxudmkhti aelaaemcaimmikhxsrupthiaenchdwalththikhrisetiynkhxmmiwnistkxtngemuxid aetnkkhrisetiynkhxmmiwnisthlaykhnphyayamnaesnxhlkthancakkhmphiribebilthibngchiwachawkhristyukhaerk rwmthungxkhrthut idkxtngsngkhmkhxmmiwnistkhnadelkkhxngtnexnghlngkarsinphrachnmaelakhunphrachnmkhxngphraeysu dwyehtuniphusnbsnunlththidngklawcungmkcaesnxwaphraeysukhristepnphusxnaelaxkhrthutepnphunaaenwthangniipptibtiichdwytnexng lththikhrisetiynkhxmmiwnistyngthukmxngwaepnrupaebbsudotngkhxnglththikhrisetiynsngkhmniym khrisetiynkhxmmiwnistcungxaccaehndwyhruximehndwykblththimaksinthukpraedn echn karthiimehndwykbaenwthangxethwniymaelatxtansasnakhxngfaykhrawasniyminlththimaks aetinkhnaediywknkehndwykbaengmumthangesrsthkicaelaxtthiphawniymhlay praednkhxngthvsdimaksist echn aenwkhidthiwarabxbthunniymexaepriybchnchnaerngngandwykarridithmulkhaswnekincakaerngnganinrupkhxngkair aelaaenwkhidthiwarabbaerngnganwacang wage labor epnekhruxngmuxthithaihmnusyekidkhwamaeplkaeyk alienation sungcathaihekidxanachnathithiimyutithrrmaelachabchwy nxkcakniyngehnphxngkblththimaksdwywarabxbthunniymkxihekidaengmumdanlbkhxngmnusy aethnthikhaniymdanbwk echn khwamemtta khwamkruna khwamyutithrrm aelakhwamehnxkehnic dwykhwamolph khwamehnaektw aelakhwammkihyifsungkhxwicarnkhxwicarnlththikhxmmiwnistthukaebngxxkepnsxngswnkhux mikarphyayamcttngrthkhxmmiwnistintlxdchwngkhriststwrrsthi 20 aelasingxun kbphwkekhathnghlaythiekiywkbkdaelahlkkartang khxnglththikhxmmiwnistduephimxangxinghmayehtu Ball Terence Dagger Richard 2019 1999 Communism revised ed Encyclopaedia Britannica Retrieved 10 June 2020 Communism Ci Cz 4 Chicago World Book 2008 p 890 ISBN 978 0 7166 0108 1 Kinna Ruth 2012 Berry Dave Kinna Ruth Pinta Saku Prichard Alex b k Libertarian Socialism Politics in Black and Red London Palgrave Macmillan pp 1 34 ISBN 9781137284754 Communism A History 2001 ISBN 978 0 8129 6864 4 pp 3 5 The Cambridge History of Iran Volume 3 edited by Ehsan Yarshater Parts 1 and 2 p 1019 Cambridge University Press 1983 Ermak Gennady 2016 Communism The Great Misunderstanding ISBN 1533082898 Lansford 2007 pp 24 25 Diggers Manifesto ekbcakaehlngedimemux 2011 07 29 subkhnemux 2011 07 19 Bernstein 1895 Communism A Dictionary of Sociology John Scott and Gordon Marshall Oxford University Press 2005 Oxford Reference Online Oxford University Press Communism Encyclopaedia Britannica 2006 Encyclopaedia Britannica Online Russia in the Twentieth Century The Quest for Stability David R Marples p 38 How the Soviet Union is Governed Jerry F Hough p 81 The Life and Times of Soviet Socialism Alex F Dowlah John E Elliott p 18 Marc Edelman Late Marx and the Russian road Marx and the Peripheries of Capitalism book reviews Monthly Review Dec 1984 Holmes 2009 p 18 Norman Davies Communism The Oxford Companion to World War II Ed I C B Dear and M R D Foot Oxford University Press 2001 Sedov Lev 1980 The Red Book on the Moscow Trial Documents New York New Park Publications ISBN 0 86151 015 1 Kushtetuta e Republikes Popullore Socialiste te Shqiperise miratuar nga Kuvendi Popullor me 28 12 1976 SearchWorks SULAIR phasaaexlebeniy ekbcakaehlngedimemux 2011 07 29 subkhnemux 3 June 2011 Georgakas Dan 1992 The Hollywood Blacklist Encyclopedia of the American Left University of Illinois Press Declaration 142 N of the formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law rsesiy Gorbachev Last Soviet Leader Resigns U S Recognizes Republics Independence New York Times subkhnemux April 27 2015 The End of the Soviet Union Text of Declaration Mutual Recognition and an Equal Basis The New York Times December 22 1991 subkhnemux March 30 2013 Gorbachev Last Soviet Leader Resigns U S Recognizes Republics Independence The New York Times subkhnemux March 30 2013 Nepal s election The Maoists triumph Economist com Economist com April 17 2008 ekbcakaehlngedimemux July 29 2011 subkhnemux October 18 2009 Fighting Poverty Findings and Lessons from China s Success World Bank khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 07 29 subkhnemux August 10 2006 Marx Karl The German Ideology 1845 Part I Feuerbach Opposition of the Materialist and Idealist Outlook A Idealism and Materialism Communism is for us not a state of affairs which is to be established an ideal to which reality will have to adjust itself We call communism the real movement which abolishes the present state of things The conditions of this movement result from the premises now in existence Engels Friedrich Marx amp Engels Selected Works Volume One pp 81 97 Progress Publishers Moscow 1969 Principles of Communism 4 How did the proletariat originate State capitalism in the Soviet Union M C Howard and J E King To the Rural Poor 1903 Collected Works vol 6 p 366 G Lisichkin G Lisichkin Mify i realnost Novyj mir 1989 3 p 59 rsesiy Aleksandr Butenko Aleksandr Butenko Socializm segodnya opyt i novaya teoriya Zhurnal Alternativy 1 1996 pp 2 22 rsesiy Contemporary Marxism issues 4 5 Synthesis Publications 1981 p 151 S ocialism in one country a pragmatic deviation from classical Marxism North Korea Under Communism Report of an Envoy to Paradise Cornell Erik p 169 Socialism in one country a slogan that aroused protests as not only it implied a major deviation from Marxist internationalism but was also strictly speaking incompatible with the basic tenets of Marxism Ermak Gennady 2016 Communism The Great Misunderstanding ISBN 1533082898 A Critique of the Draft Social Democratic Program of 1891 Marx amp Engels Collected Works Vol 27 p 217 If one thing is certain it is that our party and the working class can only come to power under the form of a democratic republic This is even the specific form for the dictatorship of the proletariat Socialism Utopian and Scientific Friedrich Engels Part III Progress Publishers But the transformation either into joint stock companies and trusts or into State ownership does not do away with the capitalistic nature of the productive forces Socialism Utopian and Scientific Friedrich Engels Part III Progress Publishers The proletariat seizes the public power and by means of this transforms the socialized means of production slipping from the hands of the bourgeoisie into public property By this act the proletariat frees the means of production from the character of capital they have thus far borne and gives their socialized character complete freedom to work itself out History for the IB Diploma Communism in Crisis 1976 89 Allan Todd p 16 The term Marxism Leninism invented by Stalin was not used until after Lenin s death in 1924 It soon came to be used in Stalin s Soviet Union to refer to what he described as orthodox Marxism This increasingly came to mean what Stalin himself had to say about political and economic issues However many Marxists even members of the Communist Party itself believed that Stalin s ideas and practices such as socialism in one country and the purges were almost total distortions of what Marx and Lenin had said Pierce Wayne Libertarian Marxism s Relation to Anarchism The Utopian 73 80 Hermann Gorter Anton Pannekoek and Sylvia Pankhurst 2007 Non Leninist Marxism Writings on the Workers Councils St Petersburg Florida Red and Black Publishers ISBN 978 0 9791813 6 8 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Marot Eric Trotsky the Left Opposition and the Rise of Stalinism Theory and Practice The Retreat of Social Democracy Re imposition of Work in Britain and the Social Europe Aufheben Issue No 8 1999 Ernesto Screpanti Libertarian Communism Marx Engels and the Political Economy of Freedom Palgrave Macmillan London 2007 1971 The Principle of Self Emancipation in Marx and Engels The Socialist Register subkhnemux April 25 2015 Chomsky Noam Poetry Center of the New York YM YWHA Lecture A libertarian Marxist tendency map libcom org subkhnemux October 1 2011 Non Leninist Marxism Writings on the Workers Councils includes texts by and Red and Black Publishers St Petersburg Florida 2007 ISBN 978 0 9791813 6 8 The Legacy of De Leonism part III De Leon s misconceptions on class struggle Internationalism 2000 2001 Alan James Mayne 1999 From Politics Past to Politics Future An Integrated Analysis of Current and Emergent Paradigms Greenwood Publishing Group p 316 ISBN 978 0 275 96151 0 Anarchism for Know It Alls Filiquarian Publishing 2008 ISBN 978 1 59986 218 7 Fabbri Luigi 13 October 2002 Anarchism and Communism Northeastern Anarchist 4 1922 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 29 July 2011 Makhno Mett Arshinov Valevski Linski Dielo Trouda 1926 Constructive Section The Organizational Platform of the Libertarian Communists khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux July 29 2011 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint multiple names authors list lingk What is Anarchist Communism by Wayne Price ekbcakaehlngedimemux July 29 2011 Christopher Gray Leaving the Twentieth Century p 88 Towards the creative Nothing khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux July 29 2011 Bob Black Nightmares of Reason ekbcakaehlngedimemux July 29 2011 Communism is the one which guarantees the greatest amount of individual liberty provided that the idea that begets the community be Liberty Anarchy Communism guarantees economic freedom better than any other form of association because it can guarantee wellbeing even luxury in return for a few hours of work instead of a day s work Communism and Anarchy khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux July 29 2011 This other society will be libertarian communism in which social solidarity and free individuality find their full expression and in which these two ideas develop in perfect harmony Dielo Truda Workers Cause Organisational Platform of the Libertarian Communists khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux July 29 2011 I see the dichotomies made between individualism and communism individual revolt and class struggle the struggle against human exploitation and the exploitation of nature as false dichotomies and feel that those who accept them are impoverishing their own critique and struggle MY PERSPECTIVES Willful Disobedience Vol 2 No 12 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux July 29 2011 Bruno Bosteels The actuality of communism Verso Books 2014 Raymond C Taras The Road to Disillusion From Critical Marxism to Post communism in Eastern Europe Routledge 2015 brrnanukrm Bernstein Eduard 1895 Kommunistische und demokratisch sozialistische Stromungen wahrend der englischen Revolution Cromwell and Communism Socialism and Democracy in the Great English Revolution phasaeyxrmn J H W Dietz OCLC 36367345 subkhnemux 1 August 2021 odythang 2009 The Rise and Fall of Communism Bodley Head ISBN 978 022407 879 5 Gerr Christopher J Raskina Yulia Tsyplakova Daria 28 October 2017 Convergence or Divergence Life Expectancy Patterns in Post communist Countries 1959 2010 140 1 309 332 doi 10 1007 s11205 017 1764 4 PMC 6223831 PMID 30464360 Hauck Owen 2 February 2016 Average Life Expectancy in Post Communist Countries Progress Varies 25 Years after Communism Peterson Institute for International Economics subkhnemux 4 January 2021 Holmes Leslie 2009 Communism A Very Short Introduction ISBN 978 0 19 955154 5 Johnson Elliott Walker David Gray Daniel b k 2014 Historical Dictionary of Marxism 2nd ed Lanham Boulder New York London ISBN 978 1 4422 3798 8 Lansford Tom 2007 Communism ISBN 978 0 7614 2628 8 Leon David A 23 April 2013 Trends in European Life Expectancy a Salutary View OUPblog subkhnemux 12 March 2021 Link Theodore 2004 Communism A Primary Source Analysis ISBN 978 0 8239 4517 7 Mackenbach Johan December 2012 Political conditions and life expectancy in Europe 1900 2008 82 134 146 doi 10 1016 j socscimed 2012 12 022 PMID 23337831 Morgan W John 2001 Marxism Leninism The Ideology of Twentieth Century Communism in Baltes Paul B Smelser Neil J b k Vol 20 1st ed Elsevier ISBN 9780080430768 subkhnemux 25 August 2021 odythang Morgan W John 2015 2001 Marxism Leninism The Ideology of Twentieth Century Communism in Wright James D b k Vol 26 2nd ed Elsevier ISBN 9780080970875 subkhnemux 25 August 2021 odythang Newman Michael 2005 Socialism A Very Short Introduction paperback ed Oxford ISBN 9780192804310 Patenaude Bertrand M 2017 7 Trotsky and Trotskyism in Pons Silvio Quinn Smith Stephen A b k The Cambridge History of Communism Vol 1 doi 10 1017 9781316137024 ISBN 9781316137024 2004 The Bolsheviks Come to Power The Revolution of 1917 in Petrograd PDF hardback 2nd ed ISBN 978 0 7453 9999 7 subkhnemux 15 August 2021 Rosser Mariana V Barkley J Jr 23 July 2003 Comparative Economics in a Transforming World Economy p 14 ISBN 978 0262182348 Ironically the ideological father of communism Karl Marx claimed that communism entailed the withering away of the state The dictatorship of the proletariat was to be a strictly temporary phenomenon Well aware of this the Soviet Communists never claimed to have achieved communism always labeling their own system socialist rather than communist and viewing their system as in transition to communism Safaei Jalil 31 August 2011 Post Communist Health Transitions in Central and Eastern Europe 2012 1 10 doi 10 1155 2012 137412 Ci Cz The World Book Encyclopedia Vol 4 Scott Fetzer Company 2008 ISBN 978 0 7166 0108 1 1992 From Marx to Mises Post Capitalist Society and the Challenge of Economic Calculation Open Court Publishing Company ISBN 978 0 87548 449 5 Wilczynski J 2008 The Economics of Socialism after World War Two 1945 1990 Aldine Transaction p 21 ISBN 978 0202362281 Contrary to Western usage these countries describe themselves as Socialist not Communist The second stage Marx s higher phase or Communism is to be marked by an age of plenty distribution according to needs not work the absence of money and the market mechanism the disappearance of the last vestiges of capitalism and the ultimate withering away of the State 1983 Socialism Keywords A Vocabulary of Culture and Society revised ed p 289 ISBN 978 0 19 520469 8 The decisive distinction between socialist and communist as in one sense these terms are now ordinarily used came with the renaming in 1918 of the Russian Social Democratic Labour Party Bolsheviks as the All Russian Communist Party Bolsheviks From that time on a distinction of socialist from communist often with supporting definitions such as social democrat or democratic socialist became widely current although it is significant that all communist parties in line with earlier usage continued to describe themselves as socialist and dedicated to socialism 2001 Maoism in Baltes Paul B Smelser Neil J b k Vol 20 1st ed Elsevier pp 9191 9193 doi 10 1016 B0 08 043076 7 01173 6 ISBN 9780080430768 hnngsuxephimetimAdami Stefano Marrone G b k 2006 Communism Encyclopedia of Italian Literary Studies 1st ed ISBN 978 1 57958 390 3 1994 A Documentary History of Communism and the World From Revolution to Collapse ISBN 978 0 87451 678 4 2007 The Rise and Fall of Communism in Russia ISBN 978 0 30010 649 7 2012 The Communist Horizon ISBN 978 1 84467 954 6 Dirlik Arif 1989 Origins of Chinese Communism ISBN 978 0 19 505454 5 Engels Friedrich Marx Karl 1998 1848 The Communist Manifesto reprint ed Signet Classics ISBN 978 0 451 52710 3 2007 Revisionism in Soviet History 46 4 77 91 doi 10 1111 j 1468 2303 2007 00429 x JSTOR 4502285 Historiographical essay that covers the scholarship of the three major schools totalitarianism revisionism and post revisionism Forman James D 1972 Communism From Marx s Manifesto to 20th century Reality Watts ISBN 978 0 531 02571 0 Fuchs Schundeln Nicola Schundeln Matthias 2020 The Long Term Effects of Communism in Eastern Europe 34 2 172 191 doi 10 1257 jep 34 2 172 S2CID 219053421 PDF version 2000 The Passing of An Illusion The Idea of Communism In the Twentieth Century aeplody Kan D English ed ISBN 978 0 226 27341 9 Furst Juliane Pons Silvio b k 2017 Endgames Late Communism in Global Perspective 1968 to the Present The Cambridge History of Communism Vol 3 ISBN 978 1 31650 159 7 Six Clemens b k 2020 The Palgrave Handbook of Anti Communist Persecutions ISBN 978 3030549657 2014 Marxism and the Making of China A Doctrinal History ISBN 978 1 137 37949 8 2014 1991 From Communism to Capitalism aeplody Davidson Scott ISBN 978 1 472 52431 7 Murphy Dylan 1999 Under the Red Flag A History of Communism in Britain illustrated hardcover ed ISBN 978 0 75091 485 7 2019 Maoism A Global History Bodley Head ISBN 978 184792 250 2 Morgan W John 2003 Communists on Education and Culture 1848 1948 ISBN 0 333 48586 6 Morgan W John December 2005 Communism Post Communism and Moral Education 34 4 ISSN 1465 3877 ISSN 0305 7240 print Pons Silvio b k 2017 The Socialist Camp and World Power 1941 1960s The Cambridge History of Communism Vol 2 ISBN 978 1 31645 985 0 2003 Communism A History reprint ed Modern Library ISBN 978 0 81296 864 4 Pons Silvio 2014 The Global Revolution A History of International Communism 1917 1991 English hardcover ed ISBN 978 0 19965 762 9 Pons Silvio b k 2010 A Dictionary of 20th Century Communism hardcover ed ISBN 978 0 69113 585 4 Pons Silvio Smith Stephen A b k 2017 World Revolution and Socialism in One Country 1917 1941 The Cambridge History of Communism Vol 1 ISBN 978 1 31613 702 4 Pop Eleches Grigore Tucker Joshua A 2017 Communism s Shadow Historical Legacies and Contemporary Political Attitudes hardcover ed ISBN 978 0 69117 558 4 2009 The Red Flag A History of Communism ISBN 978 0 80214 512 3 Sabirov Kharis Fatykhovich 1987 What Is Communism English ed ISBN 978 0 82853 346 1 2010 Comrades A History of World Communism ISBN 978 0 67404 699 3 Shaw Yu ming 2019 Changes And Continuities In Chinese Communism Volume I Ideology Politics and Foreign Policy hardcover ed ISBN 978 0 36716 385 3 1984 1980 The Reality of Communism ISBN 978 0 80523 901 0 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb lththikhxmmiwnist Communism Encyclopaedia Britannica Online Retrieved 18 August 2021 Libertarian Communist Library at contains almost 20 000 articles books pamphlets and journals on libertarian communism 11 thnwakhm 2005 thi ewyaebkaemchchin Retrieved 18 August 2021 One example being Marx on the Russian Mir and misconceptions by Marxists Lindsay Samuel McCune 1905 Communism Retrieved 18 August 2021 The Radical Pamphlet Collection at the Library of Congress contains materials on the topic of communism Retrieved 18 August 2021 Winstanley Gerrard 1649 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 9 July 2011 subkhnemux 18 August 2021 odythang Roger Lovejoy See also The True Levellers Standard Advanced Or The State of Community Opened and Presented to the Sons of Men from s Faculty of Business and Social Sciences at Retrieved 18 August 2021