ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ อาจมีข้อเสนอแนะ |
คาร์ล มาคส์ (เยอรมัน: Karl Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักชาวเยอรมัน
คาร์ล มาคส์ | |
---|---|
มาคส์ใน พ.ศ. 2418 | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 เทรียร์ ราชอาณาจักรปรัสเซีย |
เสียชีวิต | 14 มีนาคม พ.ศ. 2426 (64 ปี) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเยนา (Ph.D.) |
แนวทาง | ปรัชญาตะวันตก |
สำนัก | ลัทธิมาคส์, คอมมิวนิสต์, |
ความสนใจหลัก | การเมือง เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ |
แนวคิดเด่น | มูลค่าส่วนเกิน, ขยายทฤษฎีมูลค่าแรงงาน, การต่อสู้ระหว่างชนชั้น, และการขูดรีดแรงงาน, |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
เป็นอิทธิพลต่อ | |
ลายมือชื่อ | |
มาคส์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม
ทฤษฎีของมาคส์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมาคส์ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายกำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มาคส์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึ่งจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนที่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมาคส์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มาคส์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งทางสังคมและเศรษฐกิจ
มีผู้อธิบายว่ามาคส์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมาคส์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมาคส์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง
ประวัติ
วัยเด็ก
คาร์ล มาคส์ เกิดในครอบครัวชาวยิวหัวก้าวหน้าในเมืองเทรียร์ ราชอาณาจักรปรัสเซีย (ปัจจุบันอยู่ในเยอรมนี) บิดาของเขา เฮอร์เชล ผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่เป็นราไบ ทำอาชีพทนาย ชื่อสกุลเดิมของมาคส์คือ มาคส์ เลวี ซึ่งแปลงมาจากชื่อสกุลยิวเก่าว่า มาร์โดไค ในปี ค.ศ. 1817 พ่อของมาคส์ได้เปลี่ยนศาสนาเป็นนิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐปรัสเซีย เพื่อรักษาอาชีพทนายเอาไว้ ครอบครัวมาคส์เป็นครอบครัวเสรีนิยม และได้รับรองแขกที่เป็นนักวิชาการและศิลปินหลายคนในสมัยที่มาคส์ยังเป็นเด็ก
การศึกษา
มาคส์ได้คะแนนดีใน ยิมเนเซียม ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลายในปรัสเซีย เขาได้รางวัลจากวิทยานิพนธ์ระดับมัธยมปลายที่มีชื่อว่า "ศาสนา: กาวที่เชื่อมต่อสังคมเข้าด้วยกัน" งานชิ้นแรกนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้กับงานวิเคราะห์ศาสนาของเขาต่อไปในภายหลัง
มาคส์เข้าเรียนที่ในปี ค.ศ. 1833 (พ.ศ. 2376) เพื่อศึกษากฎหมาย ตามคำเรียกร้องของบิดา ที่บ็อนเขาเข้าชมรมนักเดินทางแห่งเทรียร์ (และบางช่วงยังได้เป็นประธานชมรม) ผลการเรียนของเขาเริ่มตกต่ำ เนื่องจากเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการร้องเพลงอยู่ในร้านเบียร์ ปีถัดไปพ่อของเขาจึงให้เขาย้ายไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮ็ล์ม (Friedrich-Wilhelms-Universität) ที่เอาจริงเอาจังด้านการวิชาการมากขึ้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้คือมหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน
มาคส์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่
ที่เบอร์ลิน มาคส์เริ่มหันไปสนใจปรัชญาท่ามกลางความไม่พอใจของบิดา เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ที่มีอายุไม่มากที่เป็นที่รู้จักในชื่อ "" (Young Hegelians) ซึ่งนำโดย (Bruno Bauer) สมาชิกหลายคนในกลุ่มพยายามโยงปรัชญาแนวหลังอริสโตเติลเข้ากับปรัชญาหลังเฮเกิล สมาชิกกลุ่มเฮเกิลรุ่นใหม่อีกคนหนึ่ง นำการวิพากษ์แบบเฮเกิลมาใช้เพื่อสร้างคำอธิบายที่แทบจะเป็นแบบสุญนิยม ว่าสุดท้ายแล้วคือเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ แนวคิดเช่นนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของแทบทุกคนในกลุ่ม และมาคส์ได้โต้แนวคิดนี้บางส่วนใน Die Deutsche Ideologie ()
เกออร์ค เฮเกิล เพิ่งเสียชีวิตไปไม่นานในปีค.ศ. 1831 (พ.ศ. 2374) และในช่วงชีวิตของเขานั้น ได้เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลทางวิชาการในสังคมเยอรมนีมาก กลุ่มที่เชื่อแนวคิดแบบเฮเกิล (รู้จักกันในชื่อว่า ) เชื่อว่าลำดับการวิภาษทางประวัติศาสตร์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และสังคมปรัสเซีย ที่ถึงพร้อมด้วย มหาวิทยาลัยที่ดี และอัตราการจ้างงานที่สูง เป็นผลสรุปของการพัฒนาการทางสังคมดังกล่าว กลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ที่มาคส์สังกัดอยู่ด้วยนั้นเชื่อว่ายังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบวิภาษอีก และสังคมปรัสเซียในขณะนั้น ยังมีความไม่สมบูรณ์อีกมาก ทั้งนี้เนื่องจากสังคมยังมีความยากจน รัฐบาลยังคงใช้ระบบเซ็นเซอร์ที่เข้มแข็ง และกลุ่มคนที่มิได้นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรนยังคงโดยกีดกันทางสังคม
มาคส์ถูกเตือนมิให้ส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮ็ล์ม เนื่องจากคาดว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับที่นั่นเนื่องจากชื่อเสียงของมาคส์ ว่าเป็นนักคิดแนวถอนรากถอนโคนในกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ มาคส์จึงส่งวิทยานิพนธ์ของเขา ที่เปรียบเทียบทฤษฎีทางด้านอะตอมของกับไปยังมหาวิทยาลัยเยนา ในปี ค.ศ. 1840 (พ.ศ. 2383) ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มาคส์จบการศึกษา และ ในปี ค.ศ. 1841 คาร์ล มาคส์ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเยนา
อาชีพ
เมื่อบาวเออร์อาจารย์ของเขาถูกขับออกจากภาควิชาปรัชญาในปี ค.ศ. 1842 (พ.ศ. 2385) มาคส์จึงเลิกสนใจปรัชญาและหันเหความสนใจไปยังการเป็นนักข่าว เขาได้เข้าทำหน้าที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung หนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าของเมืองโคโลญ อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์เล่มนั้นโดนสั่งปิดในปี ค.ศ. 1843 (พ.ศ. 2386) ซึ่งเป็นผลบางส่วนจากความขัดแย้งระหว่างมาร์คกซ์กับมาตรการเซ็นเซอร์ของรัฐ มาร์คซ์กลับไปสนใจปรัชญา และหันไปเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง พร้อมกับทำงานเป็น ไม่นานมาคส์ก็ต้องเดินทางลี้ภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องกระทำอยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากการแสดงความเห็นแบบถอนรากถอนโคนของเขา
มาคส์เดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส ที่นั่นเอง เขาได้ขบคิดเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับบาวเออร์และกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ และได้เขียนบทความ ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) ซึ่งเป็นบทแนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและทางการเมือง ที่ปารีสเขาได้พบ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ร่วมงานกับมาคส์ไปตลอดชีวิตของเขา เอ็งเงิลส์ได้กระตุ้นให้ มาคส์สนใจสถานการณ์ของ และช่วยแนะนำให้มาคส์สนใจเศรษฐศาสตร์ เมื่อเขาและเอ็งเงิลส์ถูกภัยการเมืองอีกครั้งอันเนื่องมาจากงานเขียน เขาย้ายไปยังเมือง ประเทศเบลเยียม
พวกเขาได้ร่วมกันเขียนบทความชื่อ (The German Ideology) ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาของเฮเกิลและกลุ่มนิยมเฮเกิลรุ่นใหม่ หลังจากนั้นมาคส์เขียน (The Poverty of Philosophy) ซึ่งวิพากษ์ความคิดสังคมนิยมสายฝรั่งเศส บทความทั้งสองวางรากฐานให้กับ คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) อันเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของมาคส์และเอ็งเงิลส์ หนังสือ คำประกาศเจตนา ซึ่งซึ่งเป็นกลุ่มผู้อพยพชาวเยอรมันที่มาคส์ได้พบที่ลอนดอนได้ร้องขอให้เขียน ได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ค.ศ. 1848 (พ.ศ. 2391)
ปีนั้นเอง ในทวีปยุโรปได้เกิดการลุกฮือครั้งยิ่งใหญ่ กลุ่มคนงานได้เข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และได้เชิญมาคส์กลับปารีส ต่อมาหลังจากที่รัฐบาลคนงานล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) มาคส์ได้ย้ายกลับไปยังโคโลญ และได้เริ่มพิมพ์หนังสือพิมพ์ Rheinische Zeitung ขึ้นมาใหม่ก่อนจะถูกสั่งปิดลงอีกครั้ง สุดท้ายมาคส์จึงย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน ขณะที่อยู่ที่ลอนดอนนั้น มาคส์ทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าวฝั่งยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทรีบูน (New York Tribune) ระหว่างปี ค.ศ. 1852 (พ.ศ. 2395) ถึง 1861 (พ.ศ. 2404) ในปี ค.ศ. 1852 นั้นเอง มาคส์ได้เขียนแผ่นพับ (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte) เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ที่หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (หลานของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส) เข้ายึดอำนาจรัฐในฝรั่งเศสและสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
สากลที่หนึ่ง และคำพูดของแกลดสตัน
ในปีค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406) รัฐมนตรีคลังของอังกฤษ วิลเลียม แกลดสตันได้กล่าวสุนทรพจน์แก่สภาสามัญชน โดยเขาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยของประเทศอังกฤษและได้เพิ่มเติม (ตามรายงานจากหนังสือพิมพ์ ไทมส์) ว่า "ผมควรจะมองการเพิ่มขึ้นของความมั่งคั่งและอำนาจอย่างเมามายเหล่านี้ ด้วยความหวาดกลัวและความเจ็บปวด ถ้าผมเชื่อว่ามันเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มชนที่มีชีวิตสะดวกสบายเท่านั้น ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับสภาพของประชากรที่ใช้แรงงานเลย การเพิ่มขึ้นมาของความมั่งคั่งที่ผมได้อธิบายและที่ผมคิดว่าเกิดขึ้นจากกำไรจากการลงทุนนั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่เกิดเฉพาะกับชนชั้นที่ครอบครองทรัพย์สินเท่านั้น" แต่ในรายงานฉบับกึ่งทางการ แกลดสตันได้ลบประโยคสุดท้ายออก ซึ่งการแก้ไขนี้เป็นสิ่งที่กระทำกันทั่วไปในหมู่สมาชิกสภา
ในปี ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407) มาคส์ได้ก่อตั้ง ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า เพื่อเป็นแกนหลักในการทำ ในคำสุนทรพจน์เปิดงานนั้น มาคส์ได้อ้างถึงคำพูดของแกลดสตันไปในทำนองที่ว่า "การเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยและอำนาจอย่างเมามายนี้ เกิดขึ้นกับเฉพาะชนชั้นที่มีทรัพย์สินเท่านั้น" เขายังอ้างถึงคำพูดนี้อีกในหนังสือ ว่าด้วยทุน ไม่นานนักความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มาคส์อ้างกับที่มีบันทึกไว้ในรายงาน (ซึ่งเป็นที่แพร่หลาย) ถูกนำมาใช้เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของแนวร่วมระหว่างประเทศ มาคส์พยายามจะโต้ตอบข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ซื่อสัตย์นี้ แต่ว่าข้อกล่าวอ้างนั้นก็กลับมาเรื่อย ๆ
ในภายหลังมาคส์ได้ระบุแหล่งข้อมูลที่เขาใช้ว่าคือหนังสือพิมพ์ เดอะ มอร์นิง สตาร์
เอ็งเงิลส์ได้ใช้เนื้อที่ในส่วนคำนำในการพิมพ์ครั้งที่สี่ของหนังสือ ว่าด้วยทุน เพื่อพูดถึงเรื่องนี้ แต่ก็ไม่สามารถจบข้อโต้เถียงนี้ลงได้ เอ็งเงิลส์อ้างว่าแหล่งข่าวนั้นไม่ใช่ เดอะ มอร์นิง สตาร์ แต่เป็น ไทมส์ นักวิจารณ์แนวคิดมาคส์เช่นนักข่าว ยังคงใช้เรื่องนี้ในการ กล่าวหามาคส์ในเรื่องความซื่อสัตย์อยู่
ช่วงปลายชีวิตของมาคส์
ที่ลอนดอน ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีการโต้เถียงเรื่องการอ้างคำพูดของแกลดสตันนี้ มาคส์ได้ทุ่มเทเวลาไปกับการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงทฤษฎีสำหรับการเขียนหนังสือ ว่าด้วยทุน (หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital). มาคส์ตีพิมพ์เล่มแรกของชุดในปี ค.ศ. 1867 (พ.ศ. 2410), สำหรับอีกสองเล่มที่เหลือนั้น มาคส์ไม่ได้เขียนให้เสร็จสิ้น แต่ได้รับการเรียบเรียงโดยเอ็งเงิลส์จากบันทึกและร่างต่าง ๆ และตีพิมพ์หลังจากที่มาคส์เสียชีวิตลงแล้ว
ช่วงเวลาที่เขาใช้ชีวิตอยู่ที่ลอนดอนนั้น ครอบครัวของมาคส์ค่อนข้างยากจน และยังต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากเอ็งเงิลส์เป็นระยะ ๆ มาคส์เสียชีวิตที่ลอนดอนในปี ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2426) ศพของเขาฝังที่สุสานไฮห์เกต กรุงลอนดอน บนป้ายชื่อของเขาจารึกไว้ว่า: "กรรมาชีพในทุกพื้นถิ่น จงรวมพลัง!" ("Workers of all lands, unite!")
ชีวิตสมรส
เจ็นนี ฟ็อน เว็สท์ฟาเลิน ผู้เป็นภรรยาของมาคส์ มาจากครอบครัวราชการ ลุงของเธอคือไลออน ฟิลิปส์ บิดาของพี่น้องเจอราร์ดและแอนตันผู้ก่อตั้งบริษัทฟิลิปส์ในปีค.ศ. 1891 ครอบครัวมาคส์มีลูกหลายคน แต่ก็มีหลายคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ลูกสาวของพวกเขา (1855-1898) ซึ่งเกิดในลอนดอน ก็เป็นนักสังคมนิยมที่ทุ่มเทและช่วยแก้ไขงานของพ่อของเธอ เจ็นนี มาคส์เสียชีวิตในเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424)
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อความคิดของมาคส์
ความคิดของมาคส์นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากทั้งแนวคิดวิภาษวิธีประวัติศาสตร์ของเฮเกิล และเศรษฐศาสตร์การเมืองของอดัม สมิธ และ (David Ricardo) เขาเชื่อในความเป็นไปได้ที่จะศึกษาประวัติศาสตร์และสังคมในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจแนวโน้มของประวัติศาสตร์รวมถึงผลลัพธ์ของข้อขัดแย้งทางสังคมได้
ปรัชญาของมาคส์ (ที่เฮเกิล เรียกว่า ) นั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงมาจากแนวคิดของเฮเกิลที่ว่าความจริง (รวมถึงประวัติศาสตร์) นั้นจะต้องพิจารณาแบบวิภาษวิธี (dialectic) โดยมองว่าเป็นการปะทะกันของแรงคู่ตรงข้าม หลายครั้งแนวคิดนี้ถูกเขียนย่อว่าเป็น thesis + antithesis → synthesis (ข้อวินิจฉัย + ข้อโต้แย้ง → การประสม, การสังเคราะห์) เฮเกิลเชื่อว่าทิศทางของประวัติศาสตร์นั้นสามารถพิจารณาได้เป็นช่วง ๆ ที่มีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์และจริงแท้ เขากล่าวว่าหลายครั้งพัฒนาการจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็อาจมีบางช่วงที่ต้องมีการต่อสู้และเปลี่ยนแปลงผู้ที่อยู่ในอำนาจเดิม มาคส์ยอมรับภาพรวมของประวัติศาสตร์ตามที่เฮเกิลเสนอ อย่างไรก็ตามเฮเกิลนั้นเป็นนักปรัชญาแนว ส่วนมาคส์นั้นต้องการจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปของวัตถุ เขาได้เขียนว่านักปรัชญาสายเฮเกิลนั้นวางความเป็นจริงไว้บนหัว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องจับมันให้วางเสียใหม่บนเท้าของตนเอง
ในการยอมรับวิภาษวิธีเชิงวัตถุ ซึ่งเป็นการปฏิเสธแนวคิดแบบจิตนิยมของเฮเกิลนั้น มาคส์ได้รับอิทธิพลมาจาก (Ludwig Feuerbach) ในหนังสือ "The Essence of Christianity" ฟอยเออร์บาคได้อธิบายว่าพระเจ้านั้น คือผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้คนยกย่องพระเจ้านั้น แท้จริงแล้วเป็นคุณลักษณะของนั่นเอง มาคส์ยอมรับแนวคิดเช่นนี้ และได้อธิบายว่า โลกวัตถุนั้นเป็นโลกที่แท้จริง ส่วนแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับโลกนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นผลสืบเนื่องมาจากโลกวัตถุ แม้ว่ามาคส์จะเชื่อเช่นเดียวกับเฮเกิลและนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในการแบ่งแยกโลกที่ปรากฏกับโลกที่แท้จริง เขาไม่เชื่อว่าโลกวัตถุนั้นจะซ่อนโลกที่แท้จริงทางจิตเอาไว้ ในทางกลับกัน มาคส์ยังเชื่อว่าอุดมการณ์ที่ถูกสร้างผ่านทางประวัติศาสตร์และกระบวนการสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ปิดบังไม่ให้ผู้คนเห็นสถาพทางวัตถุที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขา
ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ที่มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงแนวคิดของเฮเกิลของมาคส์ คือ หนังสือที่เขียนโดยฟรีดริช เอ็งเงิลส์ ชื่อว่า "The Condition of the Working Class in England in 1844" (สภาพของชนชั้นกรรมาชีพในอังกฤษในปี 1844) หนังสือเล่มนี้ทำให้มาคส์มองวิภาษวิธีเชิงประวัติศาสตร์ออกมาในรูปของ และมองเป็นว่าชนชั้นกรรมาชีพสมัยใหม่จะเป็นแรงผลักดันที่ก้าวหน้าที่สุดสำหรับการปฏิวัติ
ปรัชญาของมาคส์
แนวคิดหลักของมาคส์วางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ โดยพื้นฐานแล้ว มาคส์กล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาคส์แล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่าง ๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:
- แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาคส์มิได้ใช้ข้ออ้างอื่น ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
มาคส์สืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาคส์จะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
มาคส์ไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาคส์นั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น มาคส์สังเกตว่าในสังคมหนึ่ง ๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มาคส์เชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมาคส์แล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน (superstructure) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม
ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาคส์ไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่มชนชั้น มาคส์มิได้นิยาม "ชนชั้น" ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย (subjective) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย (objective) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต
มาคส์ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มาคส์ทำโดยผ่านทางปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของนายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพ (commodity fetishism) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สินหรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น
การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เอ็งเงิลส์เรียกว่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมาคส์และเอ็งเงิลส์ได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของบางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุก ๆ ชนชั้นและทุก ๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่ง ๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบางอย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมานั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น (ในความคิดของมาคส์และเอ็งเงิลส์) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาคส์ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel's "Philosophy of Right:"
- ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน
แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาคส์มองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออกและจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง
อิทธิพลของแนวคิดของมาคส์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-22. สืบค้นเมื่อ 2017-01-05.
- Allen Oakley, Marx's Critique of Political Economy: 1844 to 1860, Routledge, 1984, p. 51.
- Mehring, Franz, Karl Marx: The Story of His Life (Routledge, 2003) pg. 75
- John Bellamy Foster. "Marx's Theory of Metabolic Rift: Classical Foundations for Environmental Sociology", American Journal of Sociology, Vol. 105, No. 2 (September 1999), pp. 366–405.
- Karl Marx: Critique of the Gotha Program
- . Free Trade Reimagined: The World Division of Labor and the Method of Economics. Princeton: Princeton University Press, 2007.
- John Hicks, "Capital Controversies: Ancient and Modern." The American Economic Review 64.2 (May 1974) p. 307: "The greatest economists, Smith or Marx or Keynes, have changed the course of history ..."
- Ten Great Economists: From Marx to Keynes. Volume 26 of Unwin University books. Edition 4, Taylor & Francis Group, 1952 ISBN , 9780415110785
- อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKarl Marx to John Maynard Keynes
- Little, Daniel. "Marxism and Method".
- Kim, Sung Ho (2017). Zalta, Edward N. (บ.ก.). "Max Weber". Metaphysics Research Lab, Stanford University. สืบค้นเมื่อ 10 December 2017.
Max Weber is known as a principal architect of modern social science along with Karl Marx and Emil Durkheim.
- http://willamette.edu/cla/classics/careers/marx/index.html
- Daniel Little, The Scientific Marx, University of Minnesota Press (1986) , trade paperback, 244 pages, (Marx's work considered as science)
- Francis Wheen, Karl Marx, Fourth Estate (1999) , (biography of Marx)
- How Marx and Nietzsche suppressed their colleague Max Stirner and why he has intellectually survived them
- "Stirner" Delighted in His Construction — "loves miracles, but can only perform a logical miracle, " by Karl Marx
- information on the Marx/Engels papers 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the International Institute of Social History
- portraits of Karl Marx 2005-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
- รายละเอียดคาร์ล มาคส์
- %20Karl Project Gutenberg: Karl Marx
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisudbthkhwamnixactxngekhiynihmthnghmdephuxihepniptammatrthankhunphaphkhxngwikiphiediy hruxkalngdaeninkarxyu khunchwyeraid hnaxphiprayxacmikhxesnxaena kharl makhs eyxrmn Karl Marx 5 phvsphakhm ph s 2361 14 minakhm ph s 2426 epnnkprchya nkesrsthsastr nkprawtisastr nkthvsdikaremuxng nksngkhmwithya nkhnngsuxphimphaelankchaweyxrmnkharl makhsmakhsin ph s 2418ekid5 phvsphakhm ph s 2361 ethriyr rachxanackrprsesiyesiychiwit14 minakhm ph s 2426 64 pi krunglxndxn shrachxanackrsisyekamhawithyalyeyna Ph D aenwthangprchyatawntksanklththimakhs khxmmiwnist khwamsnichlkkaremuxng esrsthsastr prchya prawtisastraenwkhidednmulkhaswnekin khyaythvsdimulkhaaerngngan kartxsurahwangchnchn aelakarkhudridaerngngan idrbxiththiphlcak xrisotetil ehekil spionsa xdm smith wxlaetr rxaebspiaeyr chxng chk ruos echksepiyr ekxethx chals darwin ochaesf furiey fridrich exngengils chals aebbbicepnxiththiphltx wladimir elnin ocesf stalin elxxn thrxtski ehma ecxtng fiedl ksotr ech ekbara orsa lukhesimbwrkh chxng pxl sathr aelaxun laymuxchux makhsekidinkhrxbkhrwchnchnklanginethriyr ekhasuksakdhmayaelaprchyaaebbehekil enuxngcaknganphimphkaremuxngkhxngekhathaihekhairsychatiaelaxasyliphyinkrunglxndxn sungekhayngphthnakhwamkhidkhxngekhatxodyrwmmuxkbnkkhidchaweyxrmn fridrich exngengils aelacdphimphnganekhiynkhxngekha eruxngthikhunchuxkhxngekha idaek culsarpi 2391 aethlngkarnphrrkhkhxmmiwnist aelathun canwnsamelm khwamkhidthangkaremuxngaelaprchyakhxngekhamixiththiphlihyhlwngtxpyyachnrunhlng wichaprawtisastresrsthkicaelaprawtisastrkaremuxng chuxkhxngekhaepnkhakhunsphth namaelasankthvsdisngkhm thvsdikhxngmakhsekiywkbsngkhm esrsthsastraelakaremuxng thieriykrwmwa lththimakhsthuxwasngkhmmnusyphthnaphankartxsurahwangchnchn inthunniym kartxsurahwangchnchnaesdngxxkmainrupkartxsurahwangchnchnpkkhrxng eriyk chnchnkradumphi sungkhwbkhumpccykarphlitaelachnchnaerngngan eriyk chnkrrmachiph napccykarphlitdngklawipichodykhaykalngaerngngankhxngphwktnephuxaelkkbkhacang makhsichaenwekhasukarsuksawiphaksthieriyk thanaywathunniymcakxekidkhwamtungekhriydphayinsungcanaipsukarthalaytnexngechnediywkbrabbsngkhmaelaesrsthkickxnhnani aelaaethnthidwyrabbihm khux sngkhmniym sahrbmakhs kartxtanchnchnphayitthunniymsungbangswnmisaehtucakkhwamimmnkhngaelasphaphthimiaenwonmekidwikvti calngexydwykarphthnakhwamsanukeruxngchnchnkhxngchnchnaerngngan aelanaipsukarphichitxanacthangkaremuxngaelasudthaykarsthapnasngkhmkhxmmiwnistprascakchnchnxnprakxbdwykarrwmknepnsmakhmxisrakhxngphuphlit makhseriykrxngihnakhwamkhiddngklawipptibtixyangaekhngkhn odyaeyngwachnchnaerngngankhwrepnphulngmuxptiwtiaebbcdraebiybephuxokhnthunniymaelanamasungthangsngkhmaelaesrsthkic miphuxthibaywamakhsepnbukhkhlthrngxiththiphlmakthisudkhnhnunginprawtisastrmnusy aelangankhxngekhaidrbkarsrresriyaelawiphaks ngankhxngekhainwichaesrsthsastrwangrakthansahrbkhwamekhaicinpccubnkhxngaerngnganaelakhwamsmphnthkbthun aelakhwamkhidthangessthsastrsmyhlng pyyachn shphaphaerngngan silpinaelaphrrkhkaremuxngcanwnmakthwolkidrbxiththiphlcakngankhxngmakhs mihlaykhnddaeplnghruxrbkhwamkhidkhxngekhamaich mkxxkchuxmakhswaepnphusrangsngkhmsastrsmyihmkhnsakhykhnhnungprawtiwyedk kharl makhs ekidinkhrxbkhrwchawyiwhwkawhnainemuxngethriyr rachxanackrprsesiy pccubnxyuineyxrmni bidakhxngekha ehxrechl phusubechuxsaymacaktrakulthiepnraib thaxachiphthnay chuxskuledimkhxngmakhskhux makhs elwi sungaeplngmacakchuxskulyiwekawa marodikh inpi kh s 1817 phxkhxngmakhsidepliynsasnaepnnikayluethxaernsungepnsasnapracarthprsesiy ephuxrksaxachiphthnayexaiw khrxbkhrwmakhsepnkhrxbkhrwesriniym aelaidrbrxngaekhkthiepnnkwichakaraelasilpinhlaykhninsmythimakhsyngepnedk karsuksa makhsemuxkhrngepnnkeriyn makhsidkhaaenndiin yimenesiym sungepnorngeriynradbmthymplayinprsesiy ekhaidrangwlcakwithyaniphnthradbmthymplaythimichuxwa sasna kawthiechuxmtxsngkhmekhadwykn nganchinaerkniepncuderimtnihkbnganwiekhraahsasnakhxngekhatxipinphayhlng makhsekhaeriynthiinpi kh s 1833 ph s 2376 ephuxsuksakdhmay tamkhaeriykrxngkhxngbida thibxnekhaekhachmrmnkedinthangaehngethriyr aelabangchwngyngidepnprathanchmrm phlkareriynkhxngekhaerimtkta enuxngcakekhaichewlaswnihyipkbkarrxngephlngxyuinranebiyr pithdipphxkhxngekhacungihekhayayipyngkrungebxrlinephuxekhasuksathimhawithyalyfridrich wilehlm Friedrich Wilhelms Universitat thiexacringexacngdankarwichakarmakkhun pccubnmhawithyalynikhuxmhawithyalyhumbxlthaehngebxrlin makhsaelaklumniymehekilrunihm thiebxrlin makhserimhnipsnicprchyathamklangkhwamimphxickhxngbida ekhaidekhaepnsmachikkhxngklumnksuksaaelaxacarythimixayuimmakthiepnthiruckinchux Young Hegelians sungnaody Bruno Bauer smachikhlaykhninklumphyayamoyngprchyaaenwhlngxrisotetilekhakbprchyahlngehekil smachikklumehekilrunihmxikkhnhnung nakarwiphaksaebbehekilmaichephuxsrangkhaxthibaythiaethbcaepnaebbsuyniym wasudthayaelwkhuxepahmaysungsudkhxngmnusy aenwkhidechnniimepnthiyxmrbkhxngaethbthukkhninklum aelamakhsidotaenwkhidnibangswnin Die Deutsche Ideologie ekxxrkh ehekil ephingesiychiwitipimnaninpikh s 1831 ph s 2374 aelainchwngchiwitkhxngekhann idepnphuthithrngxiththiphlthangwichakarinsngkhmeyxrmnimak klumthiechuxaenwkhidaebbehekil ruckkninchuxwa echuxwaladbkarwiphasthangprawtisastrnnesrcsinsmburnaelw aelasngkhmprsesiy thithungphrxmdwy mhawithyalythidi aelaxtrakarcangnganthisung epnphlsrupkhxngkarphthnakarthangsngkhmdngklaw klumniymehekilrunihmthimakhssngkdxyudwynnechuxwayngcatxngmikarepliynaeplngaebbwiphasxik aelasngkhmprsesiyinkhnann yngmikhwamimsmburnxikmak thngnienuxngcaksngkhmyngmikhwamyakcn rthbalyngkhngichrabbesnesxrthiekhmaekhng aelaklumkhnthimiidnbthuxsasnakhristnikayluethxaernyngkhngodykidknthangsngkhm makhsthuketuxnmiihsngwithyaniphnthradbpriyyaexkthimhawithyalyfridrich wilehlm enuxngcakkhadwacaimepnthiyxmrbthinnenuxngcakchuxesiyngkhxngmakhs waepnnkkhidaenwthxnrakthxnokhninklumniymehekilrunihm makhscungsngwithyaniphnthkhxngekha thiepriybethiybthvsdithangdanxatxmkhxngkbipyngmhawithyalyeyna inpi kh s 1840 ph s 2383 sungidklayepnmhawithyalythimakhscbkarsuksa aela inpi kh s 1841 kharl makhs eriyncbpriyyaexkcakmhawithyalyeyna xachiph emuxbawexxrxacarykhxngekhathukkhbxxkcakphakhwichaprchyainpi kh s 1842 ph s 2385 makhscungeliksnicprchyaaelahnehkhwamsnicipyngkarepnnkkhaw ekhaidekhathahnathibrrnathikarhnngsuxphimph Rheinische Zeitung hnngsuxphimphhwkawhnakhxngemuxngokholy xyangirktamhnngsuxphimphelmnnodnsngpidinpi kh s 1843 ph s 2386 sungepnphlbangswncakkhwamkhdaeyngrahwangmarkhkskbmatrkaresnesxrkhxngrth markhsklbipsnicprchya aelahnipepnnkkickrrmthangkaremuxng phrxmkbthanganepn imnanmakhsktxngedinthangliphy sungepnsingthiekhatxngkrathaxyueruxy enuxngcakkaraesdngkhwamehnaebbthxnrakthxnokhnkhxngekha makhsedinthangipyngpraethsfrngess thinnexng ekhaidkhbkhideruxngrawekiywkbkhwamsmphnthkhxngekhakbbawexxraelaklumniymehekilrunihm aelaidekhiynbthkhwam pyhachawyiw On the Jewish Question sungepnbthaenwkhidpccubnekiywkbsiththiphlemuxngaelathangkaremuxng thiparisekhaidphb fridrich exngengils phusungklayepnphurwmngankbmakhsiptlxdchiwitkhxngekha exngengilsidkratunih makhssnicsthankarnkhxng aelachwyaenanaihmakhssnicesrsthsastr emuxekhaaelaexngengilsthukphykaremuxngxikkhrngxnenuxngmacaknganekhiyn ekhayayipyngemuxng praethsebleyiym phwkekhaidrwmknekhiynbthkhwamchux The German Ideology sungwiphakswicarnprchyakhxngehekilaelaklumniymehekilrunihm hlngcaknnmakhsekhiyn The Poverty of Philosophy sungwiphakskhwamkhidsngkhmniymsayfrngess bthkhwamthngsxngwangrakthanihkb khaprakasectnakhxmmiwnist The Communist Manifesto xnepnphlnganthiodngdngthisudkhxngmakhsaelaexngengils hnngsux khaprakasectna sungsungepnklumphuxphyphchaweyxrmnthimakhsidphbthilxndxnidrxngkhxihekhiyn idrbkartiphimphemuxwnthi 21 k ph kh s 1848 ph s 2391 pinnexng inthwipyuorpidekidkarlukhuxkhrngyingihy klumkhnnganidekhayudxanaccakphraecahluys filipthi 1 aehngfrngess aelaidechiymakhsklbparis txmahlngcakthirthbalkhnnganlmslaylnginpi kh s 1849 ph s 2392 makhsidyayklbipyngokholy aelaiderimphimphhnngsuxphimph Rheinische Zeitung khunmaihmkxncathuksngpidlngxikkhrng sudthaymakhscungyayipxyuthilxndxn khnathixyuthilxndxnnn makhsthahnathiepnphusuxkhawfngyuorpihkbhnngsuxphimphniwyxrkthribun New York Tribune rahwangpi kh s 1852 ph s 2395 thung 1861 ph s 2404 inpi kh s 1852 nnexng makhsidekhiynaephnphb The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte ephuxwiekhraahehtukarnthihluys nopeliyn obnapart hlankhxngckrphrrdinopeliynthi 1 aehngfrngess ekhayudxanacrthinfrngessaelasthapnatnexngepnckrphrrdinopeliynthi 3 saklthihnung aelakhaphudkhxngaekldstn inpikh s 1863 ph s 2406 rthmntrikhlngkhxngxngkvs wileliym aekldstnidklawsunthrphcnaeksphasamychn odyekhaidihkhwamehnekiywkbkarephimkhunkhxngkhwamrarwykhxngpraethsxngkvsaelaidephimetim tamrayngancakhnngsuxphimph ithms wa phmkhwrcamxngkarephimkhunkhxngkhwammngkhngaelaxanacxyangemamayehlani dwykhwamhwadklwaelakhwamecbpwd thaphmechuxwamnekidkhunechphaakbklumchnthimichiwitsadwksbayethann thiphmklawmathnghmdniimcaepntxngichkhwamruekiywkbsphaphkhxngprachakrthiichaerngnganely karephimkhunmakhxngkhwammngkhngthiphmidxthibayaelathiphmkhidwaekidkhuncakkaircakkarlngthunnn epnkarephimkhunthiekidechphaakbchnchnthikhrxbkhrxngthrphysinethann aetinraynganchbbkungthangkar aekldstnidlbpraoykhsudthayxxk sungkaraekikhniepnsingthikrathaknthwipinhmusmachikspha inpi kh s 1864 ph s 2407 makhsidkxtng sungtxmathukeriykwa ephuxepnaeknhlkinkartha inkhasunthrphcnepidngannn makhsidxangthungkhaphudkhxngaekldstnipinthanxngthiwa karephimkhunkhxngkhwamrarwyaelaxanacxyangemamayni ekidkhunkbechphaachnchnthimithrphysinethann ekhayngxangthungkhaphudnixikinhnngsux wadwythun imnannkkhwamaetktangrahwangsingthimakhsxangkbthimibnthukiwinrayngan sungepnthiaephrhlay thuknamaichephuxthalaykhwamnaechuxthuxkhxngaenwrwmrahwangpraeths makhsphyayamcaottxbkhxklawhaeruxngkhwamimsuxstyni aetwakhxklawxangnnkklbmaeruxy inphayhlngmakhsidrabuaehlngkhxmulthiekhaichwakhuxhnngsuxphimph edxa mxrning star exngengilsidichenuxthiinswnkhanainkarphimphkhrngthisikhxnghnngsux wadwythun ephuxphudthungeruxngni aetkimsamarthcbkhxotethiyngnilngid exngengilsxangwaaehlngkhawnnimich edxa mxrning star aetepn ithms nkwicarnaenwkhidmakhsechnnkkhaw yngkhngicheruxngniinkar klawhamakhsineruxngkhwamsuxstyxyu chwngplaychiwitkhxngmakhs pkinkhxnghnngsux wadwythun Das Kapital thilxndxn inchwngewlaediywknkbthimikarotethiyngeruxngkarxangkhaphudkhxngaekldstnni makhsidthumethewlaipkbkarwicyechingprawtisastraelaechingthvsdisahrbkarekhiynhnngsux wadwythun hruxinchuxetmwa thun bthwiphaksthangesrsthsastrkaremuxng aelachuxphasaeyxrmnwa Das Kapital makhstiphimphelmaerkkhxngchudinpi kh s 1867 ph s 2410 sahrbxiksxngelmthiehluxnn makhsimidekhiynihesrcsin aetidrbkareriyberiyngodyexngengilscakbnthukaelarangtang aelatiphimphhlngcakthimakhsesiychiwitlngaelw chwngewlathiekhaichchiwitxyuthilxndxnnn khrxbkhrwkhxngmakhskhxnkhangyakcn aelayngtxngxasyenginchwyehluxcakexngengilsepnraya makhsesiychiwitthilxndxninpi kh s 1883 ph s 2426 sphkhxngekhafngthisusanihhekt krunglxndxn bnpaychuxkhxngekhacarukiwwa krrmachiphinthukphunthin cngrwmphlng Workers of all lands unite chiwitsmrs ecnni fxn ewsthfaelin phuepnphrryakhxngmakhs macakkhrxbkhrwrachkar lungkhxngethxkhuxilxxn filips bidakhxngphinxngecxrardaelaaexntnphukxtngbristhfilipsinpikh s 1891 khrxbkhrwmakhsmilukhlaykhn aetkmihlaykhnthiesiychiwittngaetyngedk luksawkhxngphwkekha 1855 1898 sungekidinlxndxn kepnnksngkhmniymthithumethaelachwyaekikhngankhxngphxkhxngethx ecnni makhsesiychiwitineduxnthnwakhmpikh s 1881 ph s 2424 aenwkhidthimixiththiphltxkhwamkhidkhxngmakhskhwamkhidkhxngmakhsnnidrbxiththiphlxyangsungcakthngaenwkhidwiphaswithiprawtisastrkhxngehekil aelaesrsthsastrkaremuxngkhxngxdm smith aela David Ricardo ekhaechuxinkhwamepnipidthicasuksaprawtisastraelasngkhminlksnathiepnwithyasastr sungcathaihekhaicaenwonmkhxngprawtisastrrwmthungphllphthkhxngkhxkhdaeyngthangsngkhmid ekxxrkh wilehlm fridrich ehekil prchyakhxngmakhs thiehekil eriykwa nnidrbxiththiphlxyangsungmacakaenwkhidkhxngehekilthiwakhwamcring rwmthungprawtisastr nncatxngphicarnaaebbwiphaswithi dialectic odymxngwaepnkarpathaknkhxngaerngkhutrngkham hlaykhrngaenwkhidnithukekhiynyxwaepn thesis antithesis synthesis khxwinicchy khxotaeyng karprasm karsngekhraah ehekilechuxwathisthangkhxngprawtisastrnnsamarthphicarnaidepnchwng thimiepahmayipsukhwamsmburnaelacringaeth ekhaklawwahlaykhrngphthnakarcaekidkhunaebbkhxyepnkhxyip aetkxacmibangchwngthitxngmikartxsuaelaepliynaeplngphuthixyuinxanacedim makhsyxmrbphaphrwmkhxngprawtisastrtamthiehekilesnx xyangirktamehekilnnepnnkprchyaaenw swnmakhsnntxngkarcaxthibaysingthiekidkhuninrupkhxngwtthu ekhaidekhiynwankprchyasayehekilnnwangkhwamepncringiwbnhw dngnncungcaepnthicatxngcbmnihwangesiyihmbnethakhxngtnexng inkaryxmrbwiphaswithiechingwtthu sungepnkarptiesthaenwkhidaebbcitniymkhxngehekilnn makhsidrbxiththiphlmacak Ludwig Feuerbach inhnngsux The Essence of Christianity fxyexxrbakhidxthibaywaphraecann khuxphlngansrangsrrkhkhxngmnusy aelakhunlksnatang thiphukhnykyxngphraecann aethcringaelwepnkhunlksnakhxngnnexng makhsyxmrbaenwkhidechnni aelaidxthibaywa olkwtthunnepnolkthiaethcring swnaenwkhidtang ekiywkbolknn lwnaelwaetepnphlsubenuxngmacakolkwtthu aemwamakhscaechuxechnediywkbehekilaelankprchyakhnxun inkaraebngaeykolkthipraktkbolkthiaethcring ekhaimechuxwaolkwtthunncasxnolkthiaethcringthangcitexaiw inthangklbkn makhsyngechuxwaxudmkarnthithuksrangphanthangprawtisastraelakrabwnkarsngkhmnn epnsingthipidbngimihphukhnehnsthaphthangwtthuthiaethcringinchiwitkhxngphwkekha phlnganxikchinhnung thimiswnsakhyinkarprbprungaenwkhidkhxngehekilkhxngmakhs khux hnngsuxthiekhiynodyfridrich exngengils chuxwa The Condition of the Working Class in England in 1844 sphaphkhxngchnchnkrrmachiphinxngkvsinpi 1844 hnngsuxelmnithaihmakhsmxngwiphaswithiechingprawtisastrxxkmainrupkhxng aelamxngepnwachnchnkrrmachiphsmyihmcaepnaerngphlkdnthikawhnathisudsahrbkarptiwtiprchyakhxngmakhsaenwkhidhlkkhxngmakhswangxyubnkhwamekhaicekiywkb odyphunthanaelw makhsklawwamnusymikhwamsamarthinkarepliynaeplngsingrxbkhang ekhaeriykkrabwnkarepliynaeplngniwakar ichaerngngan aelakhwamphlnginkarepliynaeplngniwa kalngaerngngan sahrbmakhsaelw karichaerngnganninxkcakcaepnkhwamsamarthodythrrmchatikhxngkickrrmtang thangkayphaphaelw aerngnganyngekiywkhxngxyangluksungkbkhwamkhidaelacintnakarkhxngmnusydwy aemngmumthakickrrmthiimtangipcakchangthxpha aelakarsrangrngkhxngfungphungksamarththaihsthapniktxngxbxayid aetkhwamaetktangrahwangsthapnikthiaeythisudkbphungthieyiymyxdthisudkkhux sthapniknnwadphaphokhrngsrangkhxngekhaincintnakar kxnthicasrangmnkhunmainolkkhwamepncring nxkehnuxcakkarthixangwakhwamsamarthkhxngmnusykhuxkarepliynaeplngthrrmchatiaelw makhsmiidichkhxxangxun ekiywkbthrrmchatikhxngmnusyxikely makhssubthxdaenwkhidaebbwiphaswithikhxngehekil dngnnekhacungmkcahlikeliyngkhwamkhidthiwamnusymithrrmchatibangxyangthiimepliynaeplng bangkhrngmakhscaxthibayaenwkhidniodykarepriybethiybrahwang thrrmchati kb prawtisastr hlaykhrngphwkekhacaklawwa sphaphkarmixyunahnasanuk nnkhuxikhrkhnhnungcaepnxyangidnnkhunxyukbtaaehnngaehnghnaelaewlathiekhaxyu sthaphthangsngkhmmixanacmakkwaphvtikrrmdngedim hruxxacklawidwalksnasakhykhxngmnusykhuxkarprbtwihekhakbsingtang rxbtw makhsimechuxwakhnthukkhncathanganinlksnaediywkn aetekhakimechuxechnediywknwalksnathiikhrskkhnthangannnthukkahnddwykhwamkhidswntwipthngsin ekhaklbxthibaywakarthangannnepnkickrrmthangsngkhm aelaenguxnikhrwmthungrupaebbkhxngkarthangannnthukkahndodysngkhmaelaepliynaeplngtamewla karwiekhraahprawtisastrkhxngmakhsnnwangxyubnkhwamaetktangrahwang pccykarphlit sunghmaythungsingkhxngechnthidinhruxthrphyakrthrrmchati rwmipcnthungethkhonolyi thicaepntxkarphlitsinkhathiepnwtthu aela thiklawidwaepnkhwamsmphnthechingsngkhmthiphukhnthukdungekhaiprwm emuxekhaidepnecakhxngaelaidichpccykarphlit pccysxngprakarnirwmepn makhssngektwainsngkhmhnung rupaebbkarphlitnnmikarepliynaeplngiperuxy sahrbsngkhmthangyuorpnnmirupaebbinkarphthnaodyerimcakrupaebbkarphlitaebbskdina ipcnthungrupaebbkarphlitaebbthunniym odythwipaelw makhsechuxwapccykarphlitnnepliynaeplngidrwderwmakkwakhwamsmphnthkhxngkarphlit yktwxyangechneraidphthnaethkhonolyiihm echnxinethxrent aettxngichewlahlngcaknn kxnthieracaidphthnakdhmaythikhwbkhumethkhonolyinn sahrbmakhsaelwkarimekhaknkhxng than thangesrsthkickb okhrngsrangswnbn superstructure thangsngkhm khuxsingthithaihekidkhwamrasarasayaelakhwamkhdaeynginsngkhm inkarphicarnakhwamsmphnthechingsngkhmkhxngkarphlitnn makhsimidmxngaekhkhwamsmphnthrahwangpceckaetlakhn aetyngrwmipthungkhwamsmphnthrahwangklumkhn hrux klumchnchn makhsmiidniyam chnchn khunmaodyxasyichephiyngaekhkarbrryayaebbxtwisy subjective ethann hakaetwaekhayngphyayamcaniyamchnchndwyenguxnikhthiepnaebbwtthuwisy objective dwy echnkarekhathungthrphyakrinkarphlit makhsihkhwamsakhykbkhwamsmphnthrahwangmnusykbkalngaerngngan sungepnthrphyakrphunthanthisudkhxngmnusyexng inkarxthibaykhwamsmphnthniodylaexiyd makhsthaodyphanthangpyha sungekidkhunkbphuichaerngngan klawkhux emuxkalngaerngnganidthukichipinkarphlit aetemuxkickrrmnnsinsudlngkrrmsiththikhxngphllphththiidklbtkipepnkhxngnaythun nnkhuxmxngidwaepnkarlathingkrrmsiththiinkalngaerngngankhxngtnexng sphawaechnnikxihekidkhwamaeplkaeykcakthrrmchatikhxngtnexng aelakxihekidkhwamrusuksuyesiykhrngyingihy phawaechnnikxihekidsphaph commodity fetishism sungphukhncakhidwasingsakhythiphwkekhasrangkhunkkhuxsinkha khwamsakhythukxyangcathukthayoxnipthiwtthurxbkayaethnthicaepnphukhndwyknexng hlngcaknnphukhncamxngehnaelaekhaictnexngphanthangkhwamsmphnthkbthrphysinhruxsinkhathitnexngkhrxbkhrxngiwethann karkhlngikhlophkhphnthniepntwxyanghnungkhxngsingthiexngengilseriykwa sungekiywkhxngkbkhwamekhaicineruxngkhxng xudmkarn sungmakhsaelaexngengilsidihkhwamhmaywaepnkhwamkhidthisathxnphlpraoychnkhxngbangchnchninbangchwngewlainprawtisastr aetklbthukaesdngwaepnkhwamechuxthithuktxngsahrbthuk chnchnaelathuk ewla inkhwamkhidkhxngphwkekhann khwamechuxdngklawmiidepnephiyngaekhsingthiphidphladethann aetyngepnsingthithahnathisakhythangkaremuxngdwy klawinxiknyhnungidwa karkhwbkhumthichnchnhnung krathaphanthangkarkhrxbkhrxngekhruxngmuxkarphlitnnmiidekidkhunechphaakbkbkarphlitxaharhruxsinkhaethann aetyngekidkhunkbkarphlitkhwamkhidhruxkhwamechuxdwyechnkn khwamkhidnixacepnehtuphlhnungthixthibaywathaimsmachikkhxngchnchnthithukkdkhicungyngmikhwamechuxthikhdaeyngkbphlpraoychnkhxngtnexng dngnnaemwakhwamechuxbangxyangcaphidphladaetmnkyngephyihehnkhwamcringbangxyangthithuksxniwekiywkbkhwamsmphnththangkaremuxng yktwxyangechn khwamechuxthiwasingkhxngthikhnphlitkhunnnmiphlitphlmakkwakhnthiphlitmnkhunmannxacfngprahlad aetmnkaesdngihehn inkhwamkhidkhxngmakhsaelaexngengils waphukhnphayitrabbthunniymnnthukthaihaeplkaeykcakkalngaerngngankhxngtnexng xiktwxyanghnungphbidinkarthakhwamekhaicekiywkbsasnaodymakhs thisrupidinyxhnahnungkhxng Contribution to the Critique of Hegel s Philosophy of Right khwamthukkhthangsasnannepnthngkaraesdngxxkkhxngkhwamthukkhthiaethcringaelakarprathwngimyxmaephtxkhwamthukkhthiaethcring sasnakhuxesiyngkridrxngkhxngsingmichiwitthithukkdkhi hwickhxngolkthiirhwic aelawiyyankhxngsphaphirwiyyan mnkhuxfinkhxngmwlchn aemwainnganwithyaniphnthradbetriymxudmsuksaekhaekhyxangwahnathihlkkhxngsasnakhuxkarsrangkhwamepnxnhnungxnediywkn aetinthinimakhsmxngwasasnannepnekhruxngmuxthangsngkhmsahrbkaraesdngxxkaelacdkarkbkhwamehluxmlannexngxiththiphlkhxngaenwkhidkhxngmakhsswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidxangxing khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 02 22 subkhnemux 2017 01 05 Allen Oakley Marx s Critique of Political Economy 1844 to 1860 Routledge 1984 p 51 Mehring Franz Karl Marx The Story of His Life Routledge 2003 pg 75 John Bellamy Foster Marx s Theory of Metabolic Rift Classical Foundations for Environmental Sociology American Journal of Sociology Vol 105 No 2 September 1999 pp 366 405 Karl Marx Critique of the Gotha Program Free Trade Reimagined The World Division of Labor and the Method of Economics Princeton Princeton University Press 2007 John Hicks Capital Controversies Ancient and Modern The American Economic Review 64 2 May 1974 p 307 The greatest economists Smith or Marx or Keynes have changed the course of history Ten Great Economists From Marx to Keynes Volume 26 of Unwin University books Edition 4 Taylor amp Francis Group 1952 ISBN 0415110785 9780415110785 xangxingphidphlad payrabu lt ref gt imthuktxng immikarkahndkhxkhwamsahrbxangxingchux Karl Marx to John Maynard Keynes Little Daniel Marxism and Method Kim Sung Ho 2017 Zalta Edward N b k Max Weber Metaphysics Research Lab Stanford University subkhnemux 10 December 2017 Max Weber is known as a principal architect of modern social science along with Karl Marx and Emil Durkheim http willamette edu cla classics careers marx index html Daniel Little The Scientific Marx University of Minnesota Press 1986 trade paperback 244 pages ISBN 0 8166 1505 5 Marx s work considered as science Francis Wheen Karl Marx Fourth Estate 1999 ISBN 1 85702 637 3 biography of Marx How Marx and Nietzsche suppressed their colleague Max Stirner and why he has intellectually survived them Stirner Delighted in His Construction loves miracles but can only perform a logical miracle by Karl Marx information on the Marx Engels papers 2005 02 07 thi ewyaebkaemchchin at the International Institute of Social History portraits of Karl Marx 2005 02 07 thi ewyaebkaemchchinaehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb kharl makhs raylaexiydkharl makhs 20Karl Project Gutenberg Karl Marx