บทความนี้ไม่มีจาก |
ยุคเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸時代; โรมาจิ: Edo-jidai) หรือ ยุคโทกูงาวะ (徳川時代 Tokugawa-jidai; ค.ศ. 1603 - ค.ศ. 1868) คือยุคที่มีไดเมียวตระกูลโทกูงาวะเป็นโชกุน เริ่มเมื่อโทกูงาวะ อิเอยาซุ ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน ค.ศ. 1603 และหลังจากนั้นอีก 260 ปี การปกครองทั้งหลายก็ตกอยู่ในอำนาจของตระกูลโทกูงาวะ รัฐบาลเอโดะได้ลิดรอนอำนาจจากจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และพระสงฆ์จนหมดสิ้น และปกครองเกษตรกรไปทีละเล็กละน้อย เมื่อเกษตรกรอันเป็นฐานอำนาจของรัฐบาลเอโดะยากจนลงจนเดือดร้อน การปกครองของตระกูลโทกูงาวะก็เริ่มสั่นคลอนลงตั้งแต่เข้าศตวรรษที่ 19
ยุคนี้เป็นยุคที่วัฒนธรรมของราษฎรสามัญเจริญจนถึงที่สุด ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นศตวรรษที่ 18 เป็นยุคของวัฒนธรรมเก็นโรกุ (元禄文化 Genroku-bunka) ซึ่งเป็นของนักรบผสมกับราษฎรสามัญ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ อย่างเกียวโตหรือโอซากะ เอกลักษณ์คือละครหุ่น ละครคาบูกิ และหัตถกรรมต่าง ๆ มีศิลปินกำเนิดจากราษฎรสามัญมากมาย เช่น นักเขียนอย่าง (井原西鶴 Ihara Saikaku) นักกลอนไฮกุอย่างมัตสึโอะ บาโช (松尾芭蕉 Matsuo Bashou) นักแต่งบทละครหุ่น ละครคาบูกิอย่าง (近松門左衛門 Chikamatsu Monzaemon) จนเมื่อศตวรรษที่ 19 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมได้ย้ายไปอยู่เอโดะ เป็นยุคของวัฒนธรรม คะเซ (化政文化 Kasei-bunka) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนชาวเมือง อันได้แก่ นวนิยาย ละครคาบูกิ ภาพอูกิโยะ บุนจิงงะ เป็นต้น
การศึกษาและวิชาการก็เจริญรุ่งเรือง ชนชั้นนักรบเล่าเรียนปรัชญาของขงจื๊อและหลักคำสอน (朱子学 Shushi-gaku) ซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานที่ค้ำจุนการปกครองของรัฐบาลเอโดะ การศึกษาเกี่ยวกับญี่ปุ่นและดัตช์ (ฮอลันดา) (蘭学 Ran-gaku) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการเปิดโรงเรียนตามหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อลูกหลานของชนชั้นนักรบ ราษฎรสามัญเองก็นิยมส่งลูกหลานเรียนหนังสือเช่นกัน
ประวัติศาสตร์
ใน ค.ศ. 1600 ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (ญี่ปุ่น: 関ヶ原の戦い; โรมาจิ: Sekigahara-no-tatakai) ทำให้โทกูงาวะ อิเอยาซุ ไดเมียวผู้มีอำนาจหลังจากการอสัญกรรมของไทโกโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (ญี่ปุ่น: 豊臣秀吉; โรมาจิ: Toyotomi Hideyoshi) กลายเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นโดยเบ็ดเสร็จปราศจากไดเมียวที่จะท้าทายอำนาจ และอิเอยาซุยังสามารถอ้างการสืบเชื้อสายจากตระกูลมินาโมโตะโบราณได้ จึงได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโตให้เป็นเซอิไทโชกุน (ญี่ปุ่น: 征夷大将軍; โรมาจิ: Seii Taishōgun) ใน ค.ศ. 1603 เป็นจุดเริ่มต้นของรัฐบาลเอโดะหรือ เอโดบากูฟุ (ญี่ปุ่น: 江戸幕府; โรมาจิ: Edo bakufu) ที่ปกครองโดยตระกูลโทกูงาวะเป็นระยะเวลาประมาณสองร้อยห้าสิบปี
การติดต่อกับชาวตะวันตกและการปิดประเทศ
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่สิบเจ็ด ชาวฮอลันดาและชาวอังกฤษได้เข้ามาติดต่อค้าขายที่เมืองนางาซากิ ซึ่งโชกุนอิเอยาซุก็ได้ให้การต้อนรับอย่างดี ด้วยเหตุที่ชาวฮอลันดาและชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขายเพียงอย่างเดียวไม่เผยแผ่ศาสนา ในค.ศ. 1604 โชกุนอิเอยาซุมีคำสั่งให้ (William Adams) ต่อเรือแบบตะวันตกให้แก่ญี่ปุ่นครั้งแรก และอนุญาตให้ชนชั้นพ่อค้าล่องเรือออกไปค้าขายยังอาณาจักรต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ เรียกว่าเรือตราแดงหรือชูอินเซ็ง (ญี่ปุ่น: 朱印船; โรมาจิ: Shuinsen) ทำให้พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นคู่แข่งรายสำคัญของชาวฮอลันดาในภูมิภาค และใน ค.ศ. 1609 โอโงโชอิเอยาซุได้ออกประกาศอนุญาตให้บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่เมืองฮิราโดะ (ญี่ปุ่น: 平戸; โรมาจิ: Hirado) ใกล้กับเมืองนางาซากิ และใน ค.ศ. 1613 ไดเมียวดาเตะ มาซามูเนะ (ญี่ปุ่น: 伊達政宗; โรมาจิ: Date Masamune) ได้ส่งฮาเซกูระ สึเนนางะ (ญี่ปุ่น: 支倉常長; โรมาจิ: Hasekura Tsunenaga) ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับชาติต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เรียกว่า คณะทูตปีเคโจ (ญี่ปุ่น: 慶長使節; โรมาจิ: Keichō shisetsu)
ใน ค.ศ. 1605 โชกุนอิเอยาซุได้สละตำแหน่งโชกุนให้แก่บุตรชายคือโทกูงาวะ ฮิเดตาดะ (ญี่ปุ่น: 徳川秀忠; โรมาจิ: Tokugawa Hidetada) แต่อำนาจการปกครองยังคงอยู่ที่อิเอยาซุซึ่งดำรงตำแหน่งโอโงโช (ญี่ปุ่น: 大御所) หรือโชกุนผู้สละตำแหน่ง โอโงโชอิเอยาซุถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1616 เมื่อโชกุนฮิเดตาดะขึ้นมามีอำนาจ ได้ดำเนินการปราบปรามชาวคริสเตียนอย่างรุนแรง ในค.ศ. 1622 ได้ทำการสังหารชาวคริสเตียนจำนวนห้าสิบคนที่เมืองนางาซากิ (Great Martyrdom of Nagasaki) เรียกว่า การปราบปรามชาวคริสเตียนปีเง็นนะ (ญี่ปุ่น: 元和の大殉教; โรมาจิ: Genna-no-daijungyō) ใน ค.ศ. 1615 โชกุนฮิเดตาดะได้ออกกฎหมายซามูไรหรือบูเกชูฮัตโตะ (ญี่ปุ่น: 武家諸法度; โรมาจิ: ฺBuke shuhatto) ออกมาเป็นฉบับแรกของสมัยเอโดะ ในค.ศ. 1623 โชกุนฮิเดตาดะได้สละตำแหน่งให้แก่บุตรชายคือโชกุนโทกูงาวะ อิเอมิตสึ (ญี่ปุ่น: 徳川家光; โรมาจิ: Tokugawa Iemitsu) แล้วลงมาดำรงตำแหน่งเป็นโอโงโช การปราบปรามชาวคริสต์ระลอกใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1629 ที่เมืองนางาซากิ โดยทางบากูฟุได้บังคับให้ชาวเมืองกระทำการฟูมิเอะ (ญี่ปุ่น: 踏み絵; โรมาจิ: fumi-e) คือการเหยียบย่ำลงบนรูปของพระเยซูเพื่อพิสูจน์ว่าตนไม่ได้เป็นคริสเตียน
โอโงโชฮิเดตาดะถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1632 ทำให้โชกุนอิเอมิตสึมีอำนาจเต็มในการปกครองญี่ปุ่น โชกุนอิเอมิตสึเป็นโชกุนคนแรกที่เติบโตมาอย่างนักปราชญ์และไม่เคยผ่านประสบการณ์สงครามมาก่อน ใน ค.ศ. 1635 โชกุนอิเอมิตสึได้ออกกฎหมายซังกิงโกไต (ญี่ปุ่น: 参勤交代; โรมาจิ: ฺSankin-kōtai) บังคับให้ไดเมียวของทุกแคว้นต้องพำนักอยู่ในเมืองเอโดะหนึ่งปีสลับกับอยู่ในแคว้นของตนอีกหนึ่งปี เป็นการลดทอนอำนาจของไดเมียวไม่ให้มีการซ่องสุมอำนาจหรือกำลังทหารในแคว้นของตนได้ การกดขี่ชาวคริสเตียนอย่างหนักและภาวะอดอยากทำให้ชาวคริสเตียนบนแหลมชิมาบาระและเกาะอามากูซะ อันเป็นส่วนหนึ่งของเกาะคีวชู ได้ก่อกบฏขึ้นในค.ศ. 1637 เรียกว่า (ญี่ปุ่น: 島原の乱; โรมาจิ: Shimabara-no-ran) ทัพของบากูฟุใช้เวลาถึงหนึ่งปีจนกระทั่งเข้ายึดปราสาทฮาระอันเป็นฐานที่มั่นของกบฏได้ใน ค.ศ. 1638
โชกุนอิเอมิตสึได้รับอิทธิพลจากที่ปรึกษาที่เป็นปราชญ์ขงจื๊อ โดยเฉพาะ (ญี่ปุ่น: 林羅山; โรมาจิ: Hayashi Razan) ให้ดำเนินนโยบายการปิดประเทศหรือไคกิง (ญี่ปุ่น: 海禁; โรมาจิ: Kaikin) ซึ่งต่อมาภายหลังเรียกว่าซาโกกุ (ญี่ปุ่น: 鎖国; โรมาจิ: Sakoku) โดยการเลิกการค้าขายของเรือตราแดง เลิกการค้ากับชาวโปรตุเกส อนุญาตให้มีการค้าขายกับชาวจีนและฮอลันดาที่เมืองนางาซากิเท่านั้น และย้ายสถานีการค้าของฮอลันดาออกไปยังเกาะเดจิมะ (ญี่ปุ่น: 出島; โรมาจิ: Dejima) รวมทั้งการห้ามชาวญี่ปุ่นออกนอกประเทศโดยระวางโทษถึงประหารชีวิต นโยบายปิดประเทศของโชกุนอิเอมิตสึส่งผลต่อการต่างประเทศของญี่ปุ่นไปเป็นเวลาอีกสองร้อยปี โดยที่มีชาวฮอลันดาเป็นชาวตะวันตกเพียงชาติเดียวที่ทำการค้ากับญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย โดยมีไดเมียว 3 แคว้นเท่านั้นที่ได้รับการปิดตาข้างเดียวในการติดต่อกับต่างชาติ ได้แก่ ไดเมียวแคว้นเอโซ, เกาะสึชิมะ และแคว้นซัตสึมะ
อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมเก็นโรกุ
ช่วงสมัยของโชกุนสามคนแรกนั้นเรียกว่าสมัยการปกครองของทหาร (ญี่ปุ่น: 武断政治; โรมาจิ: Buten seishi) การติดต่อกับเกาหลีและจีนในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเจ็ดทำให้ลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucianism) แพร่เข้ามาในชนชั้นซามูไรอันเป็นชนชั้นปกครองของญี่ปุ่น ประกอบกับสภาพว่างเว้นสงครามเป็นเวลานานถึงสองร้อยปี ทำให้ชนชั้นซามูไรผันตนเองจากชนชั้นนักรบมาเป็นชนชั้นนักปราชญ์ ในค.ศ. 1651 โชกุนอิเอมิตสึถึงแก่อสัญกรรม โชกุนโทกูงาวะ อิเอ็ตสึนะ (ญี่ปุ่น: 徳川家綱; โรมาจิ: Tokugawa Ietsuna) อายุเพียงเก้าปีสืบทอดตำแหน่งโชกุนต่อมา ทำให้อำนาจการปกครองตกอยู่ที่ขุนนางไดเมียวฟูไดและปราชญ์ขงจื๊อ ซึ่งเข้าครอบงำบากูฟุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการปกครอง สังคมและวัฒนธรรมไปในทางของพลเรือนมากขึ้นเรียกว่าสมัยการปกครองของพลเรือน (ญี่ปุ่น: 文治政治; โรมาจิ: Bunchi seishi) ปรัชญาของลัทธิขงจื๊อทำให้สังคมญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นสี่ชนชั้นอย่างชัดเจน และมีผลให้สังคมญี่ปุ่นมีความเคร่งครัดและพิธีรีตองมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
ภาวะว่างเว้นสงครามทำให้เกิดปัญหาของโรนิน (ญี่ปุ่น: 浪人; โรมาจิ: Rōnin) หรือซามูไรตกงานจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซามูไรที่เคยรับใช้ฝ่ายตระกูลโทโยโตมิ ซึ่งทางบากูฟุได้กีดกันและไม่ให้การสนับสนุนเนื่องจากเห็นว่าเป็นภัยสังคมและโรนินเหล่านี้ก็ไม่ได้รับโอกาสในสังคมขงจื๊อแบบใหม่ ทำให้โรนินกลายเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของการต่อต้านการปกครองของโชกุนตระกูลโทกูงาวะ
ในช่วงศตวรรษที่สิบเจ็ดเป็นช่วงเวลาของปราชญ์ขงจื๊อชาวญี่ปุ่นคนสำคัญหลายคนได้แก่ (ญี่ปุ่น: 林 羅山; โรมาจิ: Hayashi Razan) และยามาซากิ อันไซ (ญี่ปุ่น: 山崎闇斎; โรมาจิ: Yamazaki Ansai) เป็นปราชญ์ขงจื๊อที่ส่งเสริมให้บากูฟุยึดลัทธิขงจื๊อสำนักของ (Zhu Xi ญี่ปุ่น: 朱子学; โรมาจิ: Shushi gaku) ให้เป็นศาสนาประจำชาติ โดยเฉพาะตระกูลฮายาชิ ซึ่งผูกขาดตำแหน่งที่ปรึกษาของโชกุน และยังมีปราชญ์ขงจื๊อที่เป็นโรนินต่อต้านลัทธิขงจื๊อสำนักของจูซื่อซึ่งเป็นสำนักที่บากูฟุยึดถือ ยกตัวอย่างเช่นคูมาซาวะ บันซัง (ญี่ปุ่น: 熊沢蕃山; โรมาจิ: Kumazawa Banzan) ผู้ยึดมั่นในลัทธิขงจื๊อสำนักของ (Wang Yangming) อันเป็นสำนักคู่แข่งของจูซื่อ และยามางะ โซโก (ญี่ปุ่น: 山鹿素行; โรมาจิ: Yamaga Sokō) ผู้ซึ่งนำลัทธิขงจื๊อมาประยุกต์เข้ากับหลักบูชิโดอันเป็นหลักการของชนชั้นซามูไรในสมัยก่อน
ในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ สึนาโยชิ (ญี่ปุ่น: 徳川綱吉; โรมาจิ: Tokugawa Tsunayoshi) ศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นสมัยเอโดะเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เรียกว่า สมัยเก็นโรกุ (ญี่ปุ่น: 元禄時代; โรมาจิ: Genroku jidai) และวัฒนธรรมเก็นโรกุ (ญี่ปุ่น: 元禄文化; โรมาจิ: Genroku bunka) ประกอบด้วยการศึกษาอักษรศาสตร์และหลักปรัชญาตามลัทธิขงจื๊อ งานศิลปกรรมต่างๆ และการบันเทิงอย่างเช่นละครคะบุกิ และละครโนะ ทั้งสามเมืองได้แก่ เอโดะ เกียวโต และโอซากะ เจริญขึ้นเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
แต่ชาวญี่ปุ่นกลับมองว่าสมัยเก็นโรกุเป็นสมัยที่มีความเสื่อมโทรมในด้านสังคมและจริยธรรมมากที่สุดสมัยหนึ่ง ด้วยการเรืองอำนาจของขุนนางไดเมียวฟูไดในบากูฟุทำให้มีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ (Forty-Seven Ronins; ญี่ปุ่น: 元禄赤穂事件; โรมาจิ: Genroku Akō jiken) โชกุนสึนาโยชิได้ปราบปรามและลดอำนาจกลุ่มขุนนางฟูไดอย่างหนัก และดึงกลุ่มขุนนางคนสนิทหรือโซบาโยนิน (ญี่ปุ่น: 側用人; โรมาจิ: Sobayōnin) เข้ามามีอำนาจแทน โชกุนสึนาโยชิยังได้ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อด้วยการก่อตั้งสำนักยูชิมะ (ญี่ปุ่น: 湯島聖堂; โรมาจิ: Yushima Seidō) ในค.ศ. 1691 ให้เป็นสำนักขงจื๊อประจำชาติของญี่ปุ่น ตลอดช่วงสองร้อยปีในยุคเอโดะรัฐบาลโชกุนดำเนินนโยบายปิดประเทศโดยทำการค้าขายกับจีนและฮอลันดาในปริมาณที่จำกัด อิทธิพลของลัทธิขงจื้อทำให้สถาบันโชกุนในยุคเอโดะมิได้เป็นเพียงผู้นำเผด็จการทหารเพียงอย่างเดียวแต่เป็นรัฏฐาถิปัตย์ผู้ทรงธรรมและศักดิ์สิทธิ์ตามหลักขงจื้อ
ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการปฏิรูป
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่สิบแปดประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาภาวะค่าเงินแข็งตัวอันเนื่องมาจากเงินทองที่หมุนเวียนอยู่ภายในประเทศญี่ปุ่นรั่วไหลออกไปทางการค้ากับต่างประเทศ คนสนิทของโชกุนได้แก่ (ญี่ปุ่น: 新井白石; โรมาจิ: Arai Hakuseki) และ (ญี่ปุ่น: 間部詮房; โรมาจิ: Manabe Akifusa) ออกนโยบายเพิ่มปริมาณเงินในระบบด้วยการออกเงินกษาปณ์ชุดใหญ่ชุดใหม่ในค.ศ. 1714 และกำจัดการนำเงินไปใช้จ่ายในการค้ากับต่างประเทศ หลังจากที่โชกุนโทกูงาวะ อิเอ็ตสึงุ (ญี่ปุ่น: 徳川家継; โรมาจิ: Tokugawa Ietsugu) ถึงแก่กรรมโดยปราศจากทายาทในค.ศ. 1716 ทำให้ตระกูลโทกูงาวะสาขาหลักต้องสูญสิ้นไป และโทกูงาวะ โยชิมูเนะ (ญี่ปุ่น: 徳川吉宗; โรมาจิ: Tokugawa Yoshimune) ไดเมียวแห่งแคว้นคีอิจากสาขาย่อยของตระกูลโทกูงาวะได้ขึ้นครองตำแหน่งโชกุน โชกุนโทกูงาวะ โยชิมูเนะ ออกนโยบายการปฏิรูปปีเคียวโฮ (ญี่ปุ่น: 享保の改革; โรมาจิ: Kyōhō no kaikaku) ขึ้นในค.ศ. 1721 เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นส่งเสริมบทบาทของข้าวไว้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงิน รวมทั้งการผ่อนคลายความเข้มงวดของลัทธิขงจื้อทำให้ชนชั้นพ่อค้ามีบทบาทมากขึ้นและผ่อนคลายการปิดประเทศทำให้สื่อและองค์ความรู้ตะวันตกเข้ามาในญี่ปุ่นได้มากขึ้นเกิดเป็นรังงากุ (ญี่ปุ่น: 蘭学; โรมาจิ: Rangaku) หรือศิลปศาสตร์ตะวันตก ในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ อิเอฮารุ (ญี่ปุ่น: 徳川家治; โรมาจิ: Tokugawa Ieharu) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในค.ศ. 1760 อำนาจการปกครองในรัฐบาลโชกุนเป็นของทานูมะ โอกิตสึงุ (ญี่ปุ่น: 田沼意次; โรมาจิ: Tanuma Okitsugu) เป็นสมัยที่รัฐบาลโชกุนมีความเสรีนิยมมากขึ้น ชนชั้นพ่อค้ามีอำนาจมากขึ้นและศิลปศาสตร์รังงากุเจริญรุ่งเรือง แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่มีความเสื่อมถอยของคุณธรรมเกิดการทุจริตติดสินบนขึ้นอย่างกว้างขวางโดยมีทานูมะ โอกิตสึงุ เป็นศูนย์กลางของความฉ้อฉลเหล่านั้น
ในสมัยเอโดะมีการอพยพของชาวญี่ปุ่นเข้าไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะเอโซะ (ญี่ปุ่น: 蝦夷; โรมาจิ: Ezo) หรือเกาะฮกไกโดในปัจจุบัน ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลโชกุนและชาวญี่ปุ่นกับฝ่ายชาวไอนุ (Ainu) ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมบนเกาะเอโซะ ชาวไอนุพื้นเมืองลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของรัฐบาลโชกุนในปีค.ศ. 1669-1672 กบฎของชากูชาอิน (Shakushain's revolt) และในค.ศ. 1789 กบฎเมนาชิ-คูนาชีร์ (Menashi-Kunashir rebellion)
ในสมัยของทานูมะเป็นสมัยที่ชนชั้นพ่อค้าเรืองอำนาจ แม้วัตถุเจริญรุ่งเรืองแต่สังคมกลับถดถอยลง เมื่อโชกุนอิเอฮารุถึงแก่กรรมในค.ศ. 1786 ทำให้ทานูมะ โอกิตสึงุสูญสิ้นอำนาจไป โชกุนคนต่อมาคือโทกูงาวะ อิเอนาริ (ญี่ปุ่น: 徳川家斉; โรมาจิ: Tokugawa Ienari) อำนาจการปกครองอยู่ที่โรจู (ญี่ปุ่น: 松平定信; โรมาจิ: Matsudaira Sadanobu) มัตสึไดระ ซาดาโนบุ มีความยึดมั่นในลัทธิขงจื้อและต้องการที่จะฟื้นฟูความเรียบร้อยในสังคมญี่ปุ่นให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามธรรมนองเดิม นำไปสู่การปฏิรูปปีคันเซ (ญี่ปุ่น: 寛政の改革; โรมาจิ: Kansei no kaikoku) ในค.ศ. 1790 เน้นย้ำความสำคัญของหลักการลัทธิขงจื้อในสังคมโดยการประกาศให้ลัทธิขงจื้อของจูซื่อเป็นศาสนาประจำชาติ ลดอำนาจของชนชั้นพ่อค้าและปราบปรามอิทธิพลของรังงากุ ในค.ศ. 1842 โรจูมิตซูโนะ ทาดากูนิ (ญี่ปุ่น: 水野忠邦; โรมาจิ: Mizuno Tadakuni) ออกนโยบายการปฏิรูปปีเทมโป (ญี่ปุ่น: 天保の改革; โรมาจิ: Tenpō no kaikoku) ลดความฟุ่มเฟือยต่างๆในสังคม
ในค.ศ. 1792 ญี่ปุ่นมีการติดต่อกับจักรวรรดิรัสเซียเป็นครั้งแรก เรือของรัสเซียซึ่งนำโดยนายอดัม แลกซ์แมน (Adam Laxman) มาเทียบท่าเมืองบนเกาะฮกไกโดเพื่อเจรจาขอทำการค้าขายกับญี่ปุ่น โรจูมะสึไดระ ซะดะโนะบุ ปฏิเสธที่จะให้รัสเซียค้าขายที่ฮกไกโดแต่ให้อนุญาตให้เรือสินค้ารัสเซียไปเทียบท่าที่นางาซากิแทน การยอมให้สิทธิการค้าแก่รัสเซียทำให้มะสึไดระ ซะดะโนะบุ ถูกโจมตีอย่างหนักจนพ้นจากอำนาจไปในค.ศ. 1793 หลังจากนั้นมีเหตุการณ์เรือของชาติตะวันตกหยั่งเชิงเข้าเทียบท่าที่ญี่ปุ่นหลายครั้งเพื่อท้าทายนโยบายการปิดประเทศและเปิดโอกาสการทำสนธิสัญญาการค้า แต่รัฐบาลโชกุนเพิกเฉยไม่สนใจต่อชาวตะวันตกเหล่านั้น ในค.ศ. 1837 เรือของสหรัฐอเมริกาชื่อว่ามอร์ริสัน (Morrison) ได้เข้าเทียบท่าที่เมืองคาโงชิมะและอ่าวใกล้เมืองเอโดะ ฝ่ายรัฐบาลโชกุนทำการตอบโต้อย่างรุนแรงด้วยการยิงปืนใหญ่เรียกว่า เหตุการณ์มอร์ริสัน (Morrison Incident)
ในช่วงปลายยุคเอโดะในขณะที่ชนชั้นซามูไรและรัฐบาลโชกุนให้การสนับสนุนแก่ลัทธิขงจื้อของจูซื่อและชื่นชมวัฒนธรรมจีนโบราณ เกิดแนวความคิดที่หันกลับมาศึกษาและชื่นชมวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิม เรียกว่า "โคกูงากุ" (ญี่ปุ่น: 国学; โรมาจิ: Kokugaku) นักปราชญ์ในปลายยุคเอโดะได้แก่ โทกูงาวะ มิตสึกูนิ (ญี่ปุ่น: 徳川光圀; โรมาจิ: Tokugawa Mitsukuni) ไดเมียวแห่งแคว้นมิโตะ และโมโตโอริ โมรินากะ (ญี่ปุ่น: 本居宣長; โรมาจิ: Motoori Norinaga) เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดโคกูงากุ โดยที่นักปราชญ์สำนักนี้ให้ความสำคัญแก่ศาสนาชินโตและยกย่องสถาบันพระจักรพรรดิซึ่งอยู่คู่ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมาตั้งแต่โบราณ แนวความคิดแบบโคกูงากุจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองในช่วงปลายยุคเอโตะในสมัยต่อมา
ปลายยุคเอโดะ: บากูมัตสึ
ในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ อิเอโยชิ (ญี่ปุ่น: 徳川家慶; โรมาจิ: Tokugawa Ieyoshi) ปีค.ศ. 1853 พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รี (Matthew C. Perry) นำเรือรบของสหรัฐอเมริกาจำนวนสี่ลำ ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "เรือดำ" (ญี่ปุ่น: 黒船; โรมาจิ: Kurofune) เข้ามาจอดปิดอ่าวอูรางะใกล้กับนครเอโดะ เรียกร้องให้รัฐบาลโชกุนเปิดประเทศทำการค้าขายกับสหรัฐอเมริกา มิฉะนั้นจะนำเรือติดอาวุธปืนใหญ่เข้าโจมตีเมืองเอโดะ พลเรือจัตวาแมทธิว เพร์รี ใช้วิธีทางการทูตแบบเรือปืน (Gunboat diplomacy) ข่มขู่รัฐบาลโชกุนให้ยอมเปิดประเทศ รัฐบาลโชกุนภายใต้การนำของโชกุนอิเอโยชิและโรจู (ญี่ปุ่น: 阿部正弘; โรมาจิ: Abe Masahiro) ตื่นตระหนกอย่างมากกับการข่มขู่จากเรือดำ โชกุนอิเอโยชิล้มป่วยจนถึงแก่กรรมในปีเดียวกันนั้น บุตรชายของโชกุนอิเอโยชิคือ โทกูงาวะ อิเอซาดะ (ญี่ปุ่น: 徳川家定; โรมาจิ: Tokugawa Iesada) ซึ่งสุขภาพอ่อนแอเช่นเดียวกันขึ้นดำรงตำแหน่งโชกุนคนต่อมา ในปีค.ศ. 1854 โรจูอาเบะ มาซาฮิโระ ยินยอมทำตามข้อเรียกร้องของนายแมทธิวเพร์รี นำไปสูงการลงนามในข้อตกลงเมืองคานางาวะ (Convention of Kanagawa) โดยรัฐบาลโชกุนยอมเปิดเมืองท่า (Shimoda) และฮาโกดาเตะ (Hakodate) ให้แก่เรือของสหรัฐอเมริกาเข้ามาทำการค้าขาย เท่ากับเป็นการสิ้นสุดการปิดประเทศญี่ปุ่นาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี การที่รัฐบาลโชกุนยินยอมลงนามเปิดประเทศค้าขายนั้น มิได้ทำเรื่องขึ้นทูลถวายฯพระจักรพรรดิแต่อย่างใด ทำให้นายอาเบะ มาซาฮิโระ และรัฐบาลโชกุนถูกตำหนิอย่างมากว่ากระทำโดยพลการ จนอาเบะ มาซาฮิโระต้องลาออกจากตำแหน่งโรจูไปในค.ศ. 1855 นอกจากสหรัฐอเมริกาแล้วรัฐบาลโชกุนยังทำสนธิสัญญาการค้ากับประเทศตะวันตกอื่นๆอีกได้แก่ อังกฤษ รัสเซีย และฝรั่งเศส
การที่รัฐบาลโชกุนเปิดประเทศญี่ปุ่นให้แก่ชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขาย สร้างความไม่พอใจแก่ฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ โดยเฉพาะกลุ่มซามูไรในภาคตะวันตกของญี่ปุ่น ได้ใช้การเปิดประเทศญี่ปุ่นมาโจมตีรัฐบาลโชกุนในทางการเมืองและให้การสนับสนุนแก่พระจักรพรรดิที่เมืองเกียวโต ภายใต้คติพจน์ "ซนโนโจอิ" (ญี่ปุ่น: 尊皇攘夷; โรมาจิ: Sonnō jōi) หรือ "เชิดชูองค์จักรพรรดิ ต่อต้านอนารยชน" โดยเฉพะซามูไรในแคว้นซัตสึมะ (ญี่ปุ่น: 薩摩; โรมาจิ: Satsuma) และแคว้นโจชู (ญี่ปุ่น: 長州; โรมาจิ: Chōshū) ซึ่งมีความเห็นว่าการยินยอมทำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบทางการค้ากับชาติตะวันตกเกิดผลเสียแก่ประเทศ ในค.ศ. 1858 โชกุนอิเอซาดะถึงแก่กรรมโดยที่ปราศจากบุตรและทายาท ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลโชกุนนำโดยโทกูงาวะ นาริอากิ (ญี่ปุ่น: 徳川斉昭; โรมาจิ: Tokugawa Nariaki) ไดเมียวแห่งแคว้นมิโตะ ต้องการผลักดันให้บุตรชายของตนคือ โทกูงาวะ โยชิโนบุ (ญี่ปุ่น: 徳川慶喜; โรมาจิ: Tokugawa Yoshinobu) ขึ้นเป็นโชกุนคนต่อมาแต่ไม่สำเร็จ ฝ่ายรัฐบาลโชกุนซึ่งนำโดย (ญี่ปุ่น: 井伊直弼; โรมาจิ: Ii Naosuke) สามารถผลักดันให้ตำแหน่งโชกุนเป็นของโทกูงาวะ อิเอโมจิ (ญี่ปุ่น: 徳川家定; โรมาจิ: Tokugawa Iemochi) ได้สำเร็จ ทำให้อิอี นาโอซูเกะ เรืองอำนาจขึ้นในรัฐบาลโชกุน ไทโรอิอี นาโอซูเกะ นำประเทศญี่ปุ่นเข้าทำสนธิสัญญาเพื่อมิตรภาพและการค้า (Treaty of Amity and Commerce) กับสหรัฐอเมริกาซึ่งมีนายทาวน์เซนด์ แฮร์ริส (Townsend Harris) เป็นตัวแทนในค.ศ. 1858 เรียกว่า สนธิสัญญาแฮร์ริส (Harris Treaty) เปิดเมืองท่าเพิ่มเติมได้แก่เมืองคานางาวะและนางาซากิให้แก่เรือของอเมริกา และมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ชาวอเมริกันในญี่ปุ่น อิอี นาโอซูเกะ กำจัดคู่แข่งทางการเมืองกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลโชกุน เรียกว่า การกวาดล้างทางการเมืองปีอันเซ ไดเมียวโทกูงาวะ นาริอากิ ถูกกักบริเวณ ขุนนางซามูไรกลุ่มซนโนโจอิต่างต้องโทษต่างๆนานาตั้งแต่ประหารชีวิตจนถึงเนรเทศ อิอี นาโอซูเกะ ถูกลอบสังหารโดยซามูไรจากแคว้นมิโตะ ในเหตุการณ์ที่ประตูซากูระดะ (Sakuradamon Gate Incident) ที่ปราสาทเอโดะในปีค.ศ. 1860
รัฐบาลโชกุนแต่งตั้งคณะทูตเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาในค.ศ. 1860 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและเรียนรู้วิทยาการตะวันตก แม้ว่าจะสูญเสียอำนาจทางการเมืองแต่ซามูไรกลุ่มซนโนโจอิยังคงดำเนินการต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะอย่างต่อเนื่อง โดยเข้ายึดอำนาจในนครเกียวโตและทำร้ายขุนนางจากรัฐบาลโชกุน ในค.ศ. 1863 พระจักรพรรดิโคเมมีพระราชโองการให้ขับไล่ชาวตะวันตกออกไปจากญี่ปุ่น ในค.ศ. 1864 กองกำลังจากแคว้นโจชูเข้ารุกรานพระราชวังหลวงเมืองเกียวโตเพื่อจะยึดถวายอำนาจคืนแด่พระจักรพรรดิในเหตุการณ์ที่ประตูคิมมง (Kinmon Incident) แต่ไม่สำเร็จ ในค.ศ. 1866 รัฐบาลโชกุนนำโดยโชกุนโทกูงาวะ อิเอโมจิ นำทัพของรัฐบาลโชกุนเข้ารุกรานตอบโต้แคว้นโจชู (Second Chōshū Expedition) โดยมีแคว้นซัตสึมะคอยช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาล แต่ทว่าโชกุนอิเอโมจิกลับล้มป่วงลงจนถึงแก่กรรมที่ปราสาทโอซากะในปีเดียวกัน โทกูงาวะ โยชิโนบุ ขึ้นดำรงตำแหน่งโชกุนคนต่อมาเป็นโชกุนคนสุดท้ายของรัฐบาลโทกูงาวะ ซากาโมโตะ เรียวมะ (ญี่ปุ่น: 坂本龍馬; โรมาจิ: Sakamoto Ryōma) เป็นคนกลางนำซามูไรจากแคว้นซัตสึมะ นำโดยไซโง ทากาโมริ (ญี่ปุ่น: 西郷隆盛; โรมาจิ: Saigō Takamori) และแคว้นโจชู นำโดย (ญี่ปุ่น: 桂小五郎; โรมาจิ: Katsura Kogorō) มาทำข้อตกลงเป็นพันธมิตรกัน (ญี่ปุ่น: 薩長同盟; โรมาจิ: Satchō dōmei) เพื่อล้มการปกครองของรัฐบาลโชกุน
ในปีค.ศ. 1867 โชกุนโทกูงาวะ โยชิโนบุ ประกาศสละตำแหน่งโชกุนและถวายอำนาจคืนแด่พระจักรพรรดิเมจิ เป็นการสิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะที่มีมาเป็นเวลาสองร้อยห้าสิบกว่าปี แต่ความขัดแย้งทางการเมืองและการทหาร ระหว่างฝ่ายตระกูลโทกูงาวะและฝ่ายซนโนโจอิยังคงดำเนินต่อไป จนนำไปสู่สงครามโบชิง (Boshin War)
สังคม
สังคมญี่ปุ่นในยุคเอโดะแตกต่างจากสังคมญี่ปุ่นในยุคอื่น ๆ เนื่องจากลัทธิขงจื๊อใหม่เข้ามามีอิทธิพล สังคมยุคเอโดะแบ่งออกเป็นสี่ชนชั้นเรียกว่าชิโนโกโช (ญี่ปุ่น: 侍農工商; โรมาจิ: Shinōkōshō) ประกอบด้วย ชนชั้นซามูไร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นช่างฝีมือ และชนชั้นพ่อค้า แต่ละชนชั้นมีบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจนเคร่งครัด และการเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ในยุคเอโดะสถาบันพระจักรพรรดิและราชสำนักที่เมืองเกียวโตยังคงเป็นสถาบันสูงสุดของประเทศในทางทฤษฎี ในทางปฏิบัติราชสำนักเมืองเกียวโตมีบทบาททางการเมืองและสังคมน้อย
ชนชั้นทั้งสี่
- ชนชั้นซามูไร (ญี่ปุ่น: 侍; โรมาจิ: Shi) เป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ชนผู้ปกครองประเทศ และเป็นตัวอย่างในทางจริยธรรมให้แก่ชนชั้นอื่น โดยมีจำนวนเป็นส่วนน้อยของประชากร ชนชั้นซามูไรได้รับอภิสิทธิ์ในการถือครองอาวุธต่างๆเช่น ดาบ ปืน (ชนชั้นอื่นไม่สามารถถือครองอาวุธได้) ในยุคเอโดะที่ปราศจากการสู้รบ ชนชั้นซามูไรได้ผันตนเองจากนักรบมาเป็นนักปราชญ์ หน้าที่หลักของชนชั้นซามูไรอยู่ที่การบริหารบ้านเมือง รายได้และผลผลิตของชนชั้นซามูไรเกิดจากรายได้ประจำจากรัฐบาลโชกุน และการเรียกเก็บผลผลิตจากชาวนาตามระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism) ในหมู่ชนชั้นซามูไรมีการแบ่งออกเป็นลำดับขึ้นตามยศถาบรรดาศักดิ์ ซามูไรชั้นสูงมีบทบาทในรัฐบาลโชกุนหรือตามแคว้นต่างๆ ในขณะที่ซามูไรระดับล่างประกอบอาชีพเป็นพนักงานต่างๆ เช่น เสมียน ผู้รักษาความปลอดภัย เป็นต้น
- ชนชั้นชาวนา (ญี่ปุ่น: 農; โรมาจิ: Nō) เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ มีหน้าที่เพาะปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อเลี้ยงตนเองและมอบให้แก่ชนชั้นซามูไร รัฐบาลโชกุนมีการควบคุมกำลังคนที่เข้างวด ชาวนาไม่สามารถเดินทางเคลื่อนย้ายออกจากแคว้นได้หากไม่ได้รับการอนุญาตจากไดเมียว
- ชนชั้นช่างฝีมือ (ญี่ปุ่น: 工; โรมาจิ: Kō) และชนชั้นพ่อค้า (ญี่ปุ่น: 商; โรมาจิ: Shō) มีศักดิ์ต่ำกว่าชนชั้นชาวนาตามหลักของลัทธิขงจื๊อ เนื่องจากชนชั้นช่างฝีมือผลิตสิ่งที่เป็นไปเพื่อความสวยงามเท่านั้น และชนชั้นพ่อค้าหารายได้จากผลผลิตของผู้อื่นเพียงอย่างเดียว แต่ในทางปฏิบัติในยุคเอโดะชนชั้นช่างฝีมือและชนชั้นพ่อค้ามีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี ชนชั้นพ่อค้าอาศัยอยู่ในเมือง (ญี่ปุ่น: 町; โรมาจิ: Machi) เช่นโอซากะหรือเอโดะ ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของไดเมียวแต่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลโชกุนโดยตรง ชนชั้นพ่อค้าซึ่งร่ำรวยมีการแสดงออกทางฐานะโดยการใช้ของหรูหราฟุ่มเฟือยหรือประพฤติตนเช่นเดียวกับชนชั้นซามูไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย รัฐบาลโชกุนมีความพยายามในการห้ามปรามความฟุ่มเฟือยของชนชั้นพ่อค้าตลอดมา
นอกเหนือจากสี่ชนชั้น ยังมีกลุ่มคนอื่นๆในสังคมญี่ปุ่นในสมัยเอโดะได้แก่
- โรนิง คือ ชนชั้นซามูไรซึ่งไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลโชกุนด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น กระทำความผิดกลายเป็นนักโทษ
- นักบวชและพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาและศาสนาชินโต
- เอตะ (ญี่ปุ่น: 穢多; โรมาจิ: Eta) หรือ ฮินิง (ญี่ปุ่น: 非人; โรมาจิ: Hinin) เป็นกลุ่มคนที่สังคมให้ความรังเกียจ เนื่องจากมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพที่ไม่ได้รับการยอมรับหรือขัดต่อศีลธรรมจรรยาของสังคม ได้แก่ เพชฌฆาต นักฆ่าสัตว์ ผู้ทำความสะอาดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น เอตะหรือฮินิงมักอาศัยอยู๋รวมกันเป็นชุมชนตามเมืองต่าง ๆ ซึ่งเป็นสถานที่ซึ่งชาวเมืองคนอื่น ๆ ให้ความรังเกียจเช่นกัน
หลังจากการการฟื้นฟูเมจิ รัฐบาลเมจิได้ออกกฎหมายในปีค.ศ. 1871 เลิกระบอบชนชั้นต่าง ๆ ของยุคเอโดะ ทำให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ของประเทศมีสิทธิเท่าเทียมกันทางกฎหมาย
ศาสนาและวัฒนธรรม
ลัทธิขงจื้อใหม่
การติดต่อกับจีนและเกาหลีในช่วงการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่นทำให้ (Neo-Confucianism) เผยแพร่เข้ามาสู่ญี่ปุ่นในยุคเอโดะลัทธิขงจื้อใหม่เกิดขึ้นจากนักปราชญ์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง ซึ่งนำเอาหลักการฝึกจิตและพัฒนาตนเองของพุทธศาสนาและลัทธิเต๋าเข้ามาผสมผสานกับหลักปรัชญาการอยู่ร่วมกันในสังคมของลัทธิขงจื้อดั้งเดิม ลัทธิขงจื้อใหม่ในยุคเอโดะเริ่มต้นขึ้นจากฟูจิวาระ เซกะ (ญี่ปุ่น: 藤原 惺窩; โรมาจิ: Fujiwara Seika) เดิมเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเซ็น ฟูจิวาระ เซกะ มองว่าลัทธิขงจื้อมีความเป็นเหตุผลและอยู่บนพื้นฐานของความจริงมากกว่าพุทธศาสนานิกายเซ็นซึ่งมีหลักการฝึกตนอยู่ในอุดมคติ และได้เรียนรู้ลัทธิขงจื้อใหม่สำนักของจูซือ (จีน: 朱熹; พินอิน: Zhū Xī) จากนักปราชญ์ชาวเกาหลีซึ่งเป็นเชลยศึก ต่อมาลูกศิษย์ของฟูจิวาระ เซกะ ชื่อว่า (ญี่ปุ่น: 林羅山; โรมาจิ: Hayashi Razan) ได้เข้ารับราชการในรัฐบาลโชกุนตระกูลโทกูงาวะในสมัยของโชกุนอิเอมิตสึ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นไดงากุ-โนะ-กามิ (ญี่ปุ่น: 大学の頭; โรมาจิ: Daigaku-no-kami) และก่อตั้งสำนักเซนเซเด็ง (ญี่ปุ่น: 先聖殿; โรมาจิ: Sensei-den อยู่ในเขดอูเอโนะเมืองโตเกียวในปัจจุบัน) ฮายาชิ ราซัง ทำให้ชนชั้นซามูไรในรัฐบาลโชกุนหันมาศึกษาหลักของลัทธิขงจื้อเพื่อใช้ในการปกครอง และแบ่งสังคมญี่ปุ่นออกเป็นสี่ชนชั้นตามหน้าที่ต่างๆ ตำแหน่งไดงากุ-โนะ-กามินั้นสืบทอดตามสายเลือดภายในตระกูลฮายาชิ ทำให้ตระกูลฮายาชิลูกหลานของฮายาชิ ราซัง มีอำนาจในการปกครองนักปราชญ์ขงจื้อญี่ปุ่น
ในสมัยเอโดะขุนนางซามูไรที่เข้ารับราชการในรัฐบาลโชกุนต้องมีความรู้เกี่ยวกับหนังสือทั้งสี่และวรรณกรรมคลาสสิกทั้งห้า (Four Books and Five Classics) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของลัทธิขงจื้อ ทำให้ชนชั้นซามูไรผันตนเองจากนักรบในยุคเซงโงกุมาเป็นนักปราชญ์ในยุคเอโดะ แต่เดิมนั้นในญี่ปุ่นมีเพียงพระสงฆ์และชนชั้นขุนนางในเมืองเกียวโตเท่านั้นที่สามารถเรียนรู้หนังสือได้ ชนชั้นซามูไรนักรบไม่รู้หนังสือแต่ในยุคเอโดะด้วยอิทธิพลของลัทธิขงจื้อทำให้ซามูไรรู้หนังสือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะรับรองสำนักของจูซือ (ญี่ปุ่น: 朱子学; โรมาจิ: Shushi-gaku) ให้เป็นสำนักที่มีหลักคำสอนที่ถูกต้อง ในค.ศ. 1691 โชกุนโทกูงาวะ สึนาโยชิ มีคำสั่งให้ย้ายสถานที่ตั้งของสำนักเซนเซเด็งจากอูเอโนะมาตั้งที่บริเวณเขตบุงเกียว ตั้งชื่อใหม่ว่าสำนักโชเฮโก (ญี่ปุ่น: 昌平黌; โรมาจิ: Shōheikō) หรือยูชิมะ เซโด ไว้เป็นสำนักขงจื้อประจำชาติ และแต่งตั้งฮายาชิ โฮโก (ญี่ปุ่น: 林 鳳岡; โรมาจิ: Hayashi Hōkō) หลานชายของฮายาชิราซังขึ้นเป็นอธิการบดีแห่งยูชิมะเซโดผู้ดูแลปรัชญาขงจื้อทั้งมวลในญี่ปุ่น ตระกูลฮายาชิมีอำนาจจากการถือครองตำแหน่งไดงากุ-โนะ-กามิซึ่งมีฐานะเทียบเท่าไดเมียวและครองตำแหน่งนี้ไปตลอดสมัยเอโดะ ในค.ศ. 1790 โรจูมัตสึไดระ ซาดาโนบุ ประกาศให้ลัทธิขงจื้อสำนักจูซือเป็นศาสนาประจำชาติของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ
แม้ว่ารัฐบาลโชกุนจะให้การสนับสนุนแก่สำนักของจูซือแต่ในกลุ่มซามูไรระดับล่างและในกลุ่มโรนิง มีการศึกษาเล่าเรียนลัทธิขงจื้อของ ซึ่งเป็นนักปราชญ์ขงจื้อในสมัยราชวงศ์หมิงมีแนวความคิดขัดแย้งกับสำนักของจูซือ ในขณะที่สำนักของจูซือสอนว่ามนุษย์ต้องแสวงหาความรู้สำนักของหวังหยางหมิงสอนว่ามนุษย์มีความรู้แจ้งอยู่แล้วภายในตัวตั้งแต่เกิด นากาเอะ โทจู (ญี่ปุ่น: 中江藤樹; โรมาจิ: Nakae Tōju) นำปรัชญาของสำนักหวังหยางหมิงเข้าสู้แวดวงชั้นปกครอง ศิษย์ของนากาเอะ โทจู คือ (ญี่ปุ่น: 熊沢蕃山; โรมาจิ: Kumazawa Banzan) โจมตีหลักการของสำนักจูซือและอำนาจของตระกูลฮายาชิ ลัทธิขงจื้อสำนักของหวังหยางหมิงกลายเป็นศูนย์รวมของกลุ่มผู้ต่อต้านการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะโดยเฉพาะกลุ่มโรนิง ทำให้รัฐบาลโชกุนและตระกูลฮายาชิเข้าทำการปราบปรามนักปราชญ์สำนักหวังหยางหมิงอยู่บ่อยครั้ง
นอกจากนี้ในยุคเอโดะ (ญี่ปุ่น: 山鹿素行; โรมาจิ: Yamaga Sokō) ยังนำเอาหลักของลัทธิขงจื้อมาประยุกต์กับหลักวิถีของนักรบซามูไรดังเดิม นำไปสู่การกำเนิดลัทธิบูชิโด (ญี่ปุ่น: 武士道; โรมาจิ: Bushidō) หรือหลักการของนักรบ ซึ่งเน้นในเรื่องการถือเกียรติยศความซื่อสัตย์จงรักภักดีสำคัญยิ่งกว่าชีวิต
ในยุคเอโดะตอนปลายนักปราชญ์ขื่อว่า (ญี่ปุ่น: 荻生徂徠; โรมาจิ: Ogyū Sorai) มีความเห็นว่าลัทธิขงจื้อสำนักของจูซือแบบราชวงศ์ซ่งไม่ใช่ลัทธิขงจื้อที่แท้จริงเนื่องจากมีเรื่องคุณธรรมซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาเข้ามา ลัทธิขงจื้อดั้งเดิมจากยุควสันตสารทเน้นเรื่องรัฐศาสตร์การปกครองและพิธีกรรมเป็นหลัก โอกีว โซไร วิจารณ์สำนักจูซือว่าให้ความสำคัญแก่แนวความคิดในยุคราชวงศ์ซ่งมากเกินไปจนละเลยหลักของขงจื้อแท้ดั้งเดิม และมีเห็นว่าปัญหาเรื่องการปกครองของรัฐบาลโชกุนในยุคปลายสมัยเอโดะควรจะแก้ปัญหาด้วยหลักรัฐศาสตร์แทนที่จะแก้ปัญหาด้วยคุณธรรม โอกีว โซไร ส่งเสริมการศึกษาหลักปรัชญาขงจื้อแท้บริสุทธิ์ของจีนโบราณได้แก่หนังสือทั้งสี่และวรรณกรรมคลาสสิกทั้งห้า
แนวความคิดโคกูงากุ
ในยุคเอโดะซามูไรชนชั้นปกครองศึกษาลัทธิขงจื้อเป็นหลักและชื่นชมสังคมจีนโบราณว่าเป็นแบบอย่างแห่งคุณธรรมและการปกครอง ในช่วงปลายยุคเอโดะเกิดแนวความคิดสวนกระแสหันมาศึกษาและชื่นชมความเป็นญี่ปุ่นโบราณดั้งเดิม เรียกว่า แนวความคิดโคกูงากุ (ญี่ปุ่น: 国学; โรมาจิ: Kokugaku) หรือ "ชาติศึกษา" ซึ่งให้ความสำคัญกับการศึกษาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโบราณซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบันพระจักรพรรดิและศาสนาชินโต โทกูงาวะ มิตสึกูนิ (ญี่ปุ่น: 徳川光圀; โรมาจิ: Tokugawa Mitsukuni) ไดเมียวแห่งแคว้นมิโตะสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโบราณและรวบรวมจัดทำหนังสือเรื่อง "มหาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น" (ญี่ปุ่น: 大日本史; โรมาจิ: Dai Nihonshi) ขึ้นในค.ศ. 1657 นำไปสู่การจัดตั้งสำนักมิโตะ (ญี่ปุ่น: 水戸学; โรมาจิ: Mitogaku) โทกูงาวะ มิตสึกูนิ ใช้หลักของลัทธิขงจื้อเข้าตีความประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโบราณ โดยมองว่าญี่ปุ่นในสมัยโบราณอันมีองค์พระจักรพรรดิเป็นศูนย์กลางเป็นการปกครองที่มีธรรมภิบาลและสังคมญี่ปุ่นมีความดีงามอย่างที่ลัทธิขงจื้อเชิดชู ในค.ศ. 1798 โมโตโอริ โนรินางะ (ญี่ปุ่น: 本居宣長; โรมาจิ: Motoori Norinaga) นักปราชญ์โคกูงากุ แต่งอรรถาธิบายเกี่ยวกับโคกิจิ (ญี่ปุ่น: 古事記伝; โรมาจิ: Kojiki-den) โมโตโอริ โนรินางะ มีความเห็นแตกต่างจากโอกีว โซไร ในขณะที่โอกิวโซไรเชิดชูจีนโบราณและลัทธิขงจื้อบริสุทธิ์ โมโตโอโร โนรินางะ ยกความสำคัญของญี่ปุ่นโบราณขึ้นมา
ในค.ศ. 1841 โทกูงาวะ นาริอากิ ไดเมียวแห่งแคว้นมิโตะ ก่อตั้งโคโดกัง (ญี่ปุ่น: 弘道館; โรมาจิ: Kōdōkan) หรือสำนักศึกษามิโตะทำให้แคว้นมิโตะกลายเป็นแหล่งประชุมของผู้เชิดชูสถาบันพระจักรพรรดิและต่อต้านรัฐบาลโชกุน ลัทธิโคกูงากุมีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวความคิดซนโน-โจอิ ซึ่งส่งผลต่อการล่มสลายของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ และมีอิทธิพลต่อลัทธิชาตินิยมในยุคเมจิสมัยต่อมา
พุทธศาสนา
ในยุคเอโดะพุทธศาสนามหายานในญี่ปุ่นยังคงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโชกุนและยังคงดำรงอยู่ต่อมา เนื่องจากซามูไรชนชั้นปกครองหันไปศึกษาลัทธิขงจื้อทำให้การศึกษาพุทธศาสนาในยุคเอโดะคงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย แต่พุทธศาสนาญี่ปุ่นในยุคเอโดะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พุทธศาสนาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโชกุนผ่านระบบดังกะ (ญี่ปุ่น: 檀家制度; โรมาจิ: Danka Seido) เนื่องจากรัฐบาลโชกุนต้องการปราบปรามศาสนาคริสต์ จึงจัดตั้งระบบลงทะเบียนประชาชนชาวบ้านญี่ปุ่นทุกคนไว้กับวัดในบริเวณนั้นๆ เพื่อให้วัดเป็นผู้สอดส่องดูแลมิให้เกิดการเผยแพร่และปฏิบัติกิจกรรมของศาสนาคริสต์ขึ้น โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าชาวบ้านจะต้องจ่ายค่าทำนุบำรุงวัดที่ตนเองอยู่ในสังกัด เรียกว่าระบบดังกะ ทำให้วัดในพระพุทธศาสนาในยุคเอโดะยังคงได้รับการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ
ในยุคเอโดะมีการนำเข้าพุทธศาสนานิกายเซ็นสำนักใหม่ เนื่องจากรัฐบาลโชกุนจำกัดการค้าเรือสำเภาจีนไว้ที่เมืองนางาซากิ ทำให้เมืองนางาซากิเกิดชุมชนชาวจีนขึ้น ในค.ศ. 1654 พระภิกษุนิกายเซ็นสำนักหลินจี้ชาวจีนฟูเจี้ยนชื่อว่าอิ่นหยวนหลงฉี (จีน: 隱元隆琦; พินอิน: Yǐnyuán Lóngqí) หรือพระภิกษุอินเก็ง (ญี่ปุ่น: 隱元; โรมาจิ: Ingen) ได้รับเชิญมายังเมืองนางาซากิเพื่อสั่งสอนพระธรรมให้แก่ชาวจีนในเมืองนางาซากิ ต่อมาพระภิกษุอินเก็งมีชื่อเสียงมากขึ้นในวงการพุทธศาสนาญี่ปุ่น จึงได้รับเชิญให้มาก่อตั้งสำนักนิกายเซ็นขึ้นใหม่ เรียกว่าสำนักโอบากุ (ญี่ปุ่น: 黄檗; โรมาจิ: Ōbaku) ตั้งชื่อตามภูเขาซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระภิกษุอินเก็งในประเทศจีน ภิกษุอินเก็งสร้างวัดมัมปูกุ (ญี่ปุ่น: 萬福寺; โรมาจิ: Manpuku-ji) ขึ้นที่เมืองอูจิใกล้กับเมืองเกียวโต ให้เป็นศูนย์กลางของสำนักโอบากุ เดิมก่อนหน้านี้ในญี่ปุ่นมีพุทธศาสนานิกายเซ็นอยู่แล้วสองสำนัก ได้แก่ สำนักริงไซ (ญี่ปุ่น: 臨濟; โรมาจิ: Rinzai ) หรือหลินจี้ และสำนักโซโต ซึ่งเข้ามาประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคคามากูระ แม้ว่าสำนักโอบากุจะมีต้นกำเนิดจากสำนักหลินจี้ของจีนเช่นเดียวกับสำนักริงไซแต่ทั้งสำนักริงไซและโอบากุมีความแตกต่างกันในรายละเอียดพิธีกรรม สำนักโอบากุมีการประกอบพิธีกรรมแบบจีนราชวงศ์หมิงและมีการสวดอมิตาพุทธ ในขณะที่นิกายเซ็นในญี่ปุ่นมีการแบ่งแยกจากนิกายแดนสุขาวดีอย่างชัดเจนในประเด็นเรื่องการสวดอมิตาพุทธ
ศาสนาคริสต์
ในยุคเซงโงกุมิชชันนารีคณะเยซูอิตชาวโปรตุเกสและสเปนเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกในญี่ปุ่น ทำให้มีศาสนิกชนในญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะบนเกาะคีวชูและภูมิภาคทางฝั่งตะวันตกของประเทศ โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ พยายามจะปราบปรามศาสนาคริสต์หลายครั้งแต่ศาสนิกชนคริสเตียนยังดำรงอยู่ ในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุ ศาสนิกชนชาวคริสต์ในญี่ปุ่นมีเสรีภาพในการนับถือและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาในค.ศ. 1614 โอโงโชอิเอยาซุออกประกาศห้ามการนับถือและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ ฮิเดตาดะ ด้วยอิทธิพลของลัทธิขงจื้อใหม่ทำให้รัฐบาลโชกุนปราบปรามศาสนาคริสต์มากขึ้น ในค.ศ. 1622 เกิดการสังหารชาวคริสเตียนจำนวนห้าสิบคนที่เมืองนางาซากิเรียกว่า การปราบปรามชาวคริสเตียนปีเง็นนะ (ญี่ปุ่น: 元和の大殉教; โรมาจิ: Genna-no-daijungyō) และในค.ศ. 1629 เกิดการปราบปรามชาวคริสเตียนที่นางาซากิอีกครั้ง รัฐบาลบากูฟุได้บังคับให้ชาวคริสเตียนทำการฟูมิเอะ (ญี่ปุ่น: 踏み絵; โรมาจิ: fumi-e) เหยียบย่ำลงบนรูปของพระเยซูเพื่อพิสูจน์ว่าตนไม่ได้เป็นคริสเตียน ในสมัยของโชกุนโทกูงาวะ อิเอมิตสึ มีนโยบาลการปิดประเทศและขับไล่ชาวโปรตุเกสและสเปนออกไปจากญี่ปุ่น ทำให้บาทหลวงชาวยุโรปไม่สามารถเข้ามาประกอบพิธีทางศาสนาในญี่ปุ่นได้ การกดขี่ชาวคริสเตียนอย่างหนักและภาวะอดอยากทำให้ชาวคริสเตียนที่แหลมชิมาบาระบนเกาะคีวชูก่อกบฏขึ้นในค.ศ. 1637 เรียกว่า กบฏชิมาบาระ (ญี่ปุ่น: 島原の乱; โรมาจิ: Shimabara-no-ran) ผู้นำกบฎได้ใช้ศาสนาคริสต์เป็นศูนย์รวมในการต่อต้านรัฐบาลโชกุน
หลังจากที่กบฎชิมาบาระถูกรัฐบาลโชกุนปราบปรามลง ทำให้ศาสนาคริสต์เกือบสูญสิ้นไปจากญี่ปุ่น รัฐบาลโชกุนเข้าตรวจสอบและควบคุมกิจกรรมของศาสนาคริสต์อย่างหนัก โดยใช้ระบบดังกะให้ประชาชนลงทะเบียนกับวัดในพื้นที่เพื่อให้วัดเป็นผู้สอดส่องดูแล อย่างไรก็ตามศาสนิกชนขาวคริสเตียนที่ยังเหลืออยู่จำต้องประกอบพิธีทางศาสนาและนับถือศาสนาคริสต์อย่างเป็นความลับ กลายเป็นชาวคริสเตียนลับ หรือคากูเระคริสเตียน (ญี่ปุ่น: 隠れキリシタン; โรมาจิ: Kakure Kirishitan) ซึ่งชาวคากูเระคริสเตียนใช้วิธีการต่างๆเพื่อหลบซ่อนและปิดบังกิจกรรมทางศาสนาของตนไม่ให้รัฐบาลโชกุนล่วงรู้ ยกตัวอย่างเช่นการสร้างรูปพระแม่มารีให้คล้ายคลึงกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือการดัดแปลงบทสวดมิสซาให้คล้ายคลึงกับการสวดในพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากชาวคากูเระคริสเตียนขาดผู้นำทางศาสนาและมีคฤหัสถ์เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมเนื่องจากขาดบาทหลวง ทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมของชาวคากูเระคริสเตียนเบี่ยงเบนไปจากเดิมกลายเป็นลัทธิบูชารูปปั้นหรือลัทธิบูชาบรรพบุรุษ
ในค.ศ. 1865 ปลายยุคเอโดะ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อว่าแบร์นาร์ เปตีฌ็อง (Bernard Petitjean) ผู้ก่อตั้งโบสถ์โออูระที่เมืองนางาซากิ ได้พบกับชาวคากูเระคริสเตียน บาทหลวงเปตีฌ็องพบว่าหลักความเชื่อและพิธีกรรมของชาวคากูเระคริสเตียนมีความแตกต่างจากศาสนาคริสต์ที่แท้จริงอย่างมาก บาทหลวงเปตีฌ็องจึงชักชวนให้ชาวคากูเระคริสเตียนกลับเข้าสู่ศาสนาคริสต์กระแสหลัก ชาวคากูเระคริสเตียนจำนวนมากจึงกลับเข้าสู่คริสตจักรโรมันคาทอลิกอีกครั้ง อย่างไรก็ตามมีชาวคากูเระคริสเตียนจำนวนหนึ่งปฏิเสธที่จะกลับเข้าสู่คริสตจักรโรมันคาทอลิกและยึดมั่นในความเชื่อและพิธีกรรมเดิมของตน กลายเป็นชาวฮานาเระคริสเตียน (ญี่ปุ่น: 離れキリシタン; โรมาจิ: Hanare Kirishitan)
ดูเพิ่ม
- ดิษฐาน, กรกิจ. ปฏิวัติเมจิ หน้า 31.
- https://www.encyclopedia.com/environment/encyclopedias-almanacs-transcripts-and-maps/fujiwara-seika
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-12. สืบค้นเมื่อ 2019-12-02.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniimmikarxangxingcakaehlngthimaidkrunachwyprbprungbthkhwamni odyephimkarxangxingaehlngthimathinaechuxthux enuxkhwamthiimmiaehlngthimaxacthukkhdkhanhruxlbxxk eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir yukhexoda yipun 江戸時代 ormaci Edo jidai hrux yukhothkungawa 徳川時代 Tokugawa jidai kh s 1603 kh s 1868 khuxyukhthimiidemiywtrakulothkungawaepnochkun erimemuxothkungawa xiexyasu idrwbxanacaelatngrthbalochkunkhunthiexoda pccubnkhuxotekiyw in kh s 1603 aelahlngcaknnxik 260 pi karpkkhrxngthnghlayktkxyuinxanackhxngtrakulothkungawa rthbalexodaidlidrxnxanaccakckrphrrdi echuxphrawngs aelaphrasngkhcnhmdsin aelapkkhrxngekstrkripthilaelklanxy emuxekstrkrxnepnthanxanackhxngrthbalexodayakcnlngcneduxdrxn karpkkhrxngkhxngtrakulothkungawakerimsnkhlxnlngtngaetekhastwrrsthi 19 yukhniepnyukhthiwthnthrrmkhxngrasdrsamyecriycnthungthisud tngaetplaystwrrsthi 17 cnthungtnstwrrsthi 18 epnyukhkhxngwthnthrrmeknorku 元禄文化 Genroku bunka sungepnkhxngnkrbphsmkbrasdrsamy misunyklangxyuthiemuxngihy xyangekiywothruxoxsaka exklksnkhuxlakhrhun lakhrkhabuki aelahtthkrrmtang misilpinkaenidcakrasdrsamymakmay echn nkekhiynxyang 井原西鶴 Ihara Saikaku nkklxnihkuxyangmtsuoxa baoch 松尾芭蕉 Matsuo Bashou nkaetngbthlakhrhun lakhrkhabukixyang 近松門左衛門 Chikamatsu Monzaemon cnemuxstwrrsthi 19 sunyklangkhxngwthnthrrmidyayipxyuexoda epnyukhkhxngwthnthrrm khaes 化政文化 Kasei bunka sungepnwthnthrrmkhxngchnchawemuxng xnidaek nwniyay lakhrkhabuki phaphxukioya buncingnga epntn karsuksaaelawichakarkecriyrungeruxng chnchnnkrbelaeriynprchyakhxngkhngcuxaelahlkkhasxn 朱子学 Shushi gaku sungepnprchyaphunthanthikhacunkarpkkhrxngkhxngrthbalexoda karsuksaekiywkbyipunaeladtch hxlnda 蘭学 Ran gaku ecriyrungeruxngtngaetstwrrsthi 18 epntnma mikarepidorngeriyntamhwemuxngtang ephuxlukhlankhxngchnchnnkrb rasdrsamyexngkniymsnglukhlaneriynhnngsuxechnknprawtisastryuththkarthieskingahara in kh s 1600 yuththkarthieskingahara yipun 関ヶ原の戦い ormaci Sekigahara no tatakai thaihothkungawa xiexyasu idemiywphumixanachlngcakkarxsykrrmkhxngithokothoyotmi hiedoychi yipun 豊臣秀吉 ormaci Toyotomi Hideyoshi klayepnphupkkhrxngyipunodyebdesrcprascakidemiywthicathathayxanac aelaxiexyasuyngsamarthxangkarsubechuxsaycaktrakulminaomotaobranid cungidrbkaraetngtngcakrachsankekiywotihepnesxiithochkun yipun 征夷大将軍 ormaci Seii Taishōgun in kh s 1603 epncuderimtnkhxngrthbalexodahrux exodbakufu yipun 江戸幕府 ormaci Edo bakufu thipkkhrxngodytrakulothkungawaepnrayaewlapramansxngrxyhasibpi kartidtxkbchawtawntkaelakarpidpraeths inchwngtnkhriststwrrsthisibecd chawhxlndaaelachawxngkvsidekhamatidtxkhakhaythiemuxngnangasaki sungochkunxiexyasukidihkartxnrbxyangdi dwyehtuthichawhxlndaaelachawxngkvsekhamathakarkhakhayephiyngxyangediywimephyaephsasna inkh s 1604 ochkunxiexyasumikhasngih William Adams txeruxaebbtawntkihaekyipunkhrngaerk aelaxnuyatihchnchnphxkhalxngeruxxxkipkhakhayyngxanackrtanginexechiytawnxxkechiyngitid eriykwaeruxtraaednghruxchuxinesng yipun 朱印船 ormaci Shuinsen thaihphxkhachawyipunepnkhuaekhngraysakhykhxngchawhxlndainphumiphakh aelain kh s 1609 oxongochxiexyasuidxxkprakasxnuyatihbristhxinediytawnxxkkhxngdtchekhamatngsthanikarkhathiemuxnghiraoda yipun 平戸 ormaci Hirado iklkbemuxngnangasaki aelain kh s 1613 idemiywdaeta masamuena yipun 伊達政宗 ormaci Date Masamune idsnghaeskura suennanga yipun 支倉常長 ormaci Hasekura Tsunenaga ipecriysmphnthimtrikbchatitang inthwipyuorp eriykwa khnathutpiekhoc yipun 慶長使節 ormaci Keichō shisetsu eruxtraaednghruxchuxinesng in kh s 1605 ochkunxiexyasuidslataaehnngochkunihaekbutrchaykhuxothkungawa hiedtada yipun 徳川秀忠 ormaci Tokugawa Hidetada aetxanackarpkkhrxngyngkhngxyuthixiexyasusungdarngtaaehnngoxongoch yipun 大御所 hruxochkunphuslataaehnng oxongochxiexyasuthungaekxsykrrminkh s 1616 emuxochkunhiedtadakhunmamixanac iddaeninkarprabpramchawkhrisetiynxyangrunaerng inkh s 1622 idthakarsngharchawkhrisetiyncanwnhasibkhnthiemuxngnangasaki Great Martyrdom of Nagasaki eriykwa karprabpramchawkhrisetiynpiengnna yipun 元和の大殉教 ormaci Genna no daijungyō in kh s 1615 ochkunhiedtadaidxxkkdhmaysamuirhruxbuekchuhtota yipun 武家諸法度 ormaci Buke shuhatto xxkmaepnchbbaerkkhxngsmyexoda inkh s 1623 ochkunhiedtadaidslataaehnngihaekbutrchaykhuxochkunothkungawa xiexmitsu yipun 徳川家光 ormaci Tokugawa Iemitsu aelwlngmadarngtaaehnngepnoxongoch karprabpramchawkhristralxkihyekidkhunxikkhrngin kh s 1629 thiemuxngnangasaki odythangbakufuidbngkhbihchawemuxngkrathakarfumiexa yipun 踏み絵 ormaci fumi e khuxkarehyiybyalngbnrupkhxngphraeysuephuxphisucnwatnimidepnkhrisetiyn haesakura suenananga oxongochhiedtadathungaekxsykrrmin kh s 1632 thaihochkunxiexmitsumixanacetminkarpkkhrxngyipun ochkunxiexmitsuepnochkunkhnaerkthietibotmaxyangnkprachyaelaimekhyphanprasbkarnsngkhrammakxn in kh s 1635 ochkunxiexmitsuidxxkkdhmaysngkingokit yipun 参勤交代 ormaci Sankin kōtai bngkhbihidemiywkhxngthukaekhwntxngphankxyuinemuxngexodahnungpislbkbxyuinaekhwnkhxngtnxikhnungpi epnkarldthxnxanackhxngidemiywimihmikarsxngsumxanachruxkalngthharinaekhwnkhxngtnid karkdkhichawkhrisetiynxyanghnkaelaphawaxdxyakthaihchawkhrisetiynbnaehlmchimabaraaelaekaaxamakusa xnepnswnhnungkhxngekaakhiwchu idkxkbtkhuninkh s 1637 eriykwa yipun 島原の乱 ormaci Shimabara no ran thphkhxngbakufuichewlathunghnungpicnkrathngekhayudprasathharaxnepnthanthimnkhxngkbtidin kh s 1638 ochkunxiexmitsuidrbxiththiphlcakthipruksathiepnprachykhngcux odyechphaa yipun 林羅山 ormaci Hayashi Razan ihdaeninnoybaykarpidpraethshruxikhking yipun 海禁 ormaci Kaikin sungtxmaphayhlngeriykwasaokku yipun 鎖国 ormaci Sakoku odykarelikkarkhakhaykhxngeruxtraaedng elikkarkhakbchawoprtueks xnuyatihmikarkhakhaykbchawcinaelahxlndathiemuxngnangasakiethann aelayaysthanikarkhakhxnghxlndaxxkipyngekaaedcima yipun 出島 ormaci Dejima rwmthngkarhamchawyipunxxknxkpraethsodyrawangothsthungpraharchiwit noybaypidpraethskhxngochkunxiexmitsusngphltxkartangpraethskhxngyipunipepnewlaxiksxngrxypi odythimichawhxlndaepnchawtawntkephiyngchatiediywthithakarkhakbyipunxyangepidephy odymiidemiyw 3 aekhwnethannthiidrbkarpidtakhangediywinkartidtxkbtangchati idaek idemiywaekhwnexos ekaasuchima aelaaekhwnstsuma xiththiphlkhxnglththikhngcuxaelawthnthrrmeknorku chwngsmykhxngochkunsamkhnaerknneriykwasmykarpkkhrxngkhxngthhar yipun 武断政治 ormaci Buten seishi kartidtxkbekahliaelacininchwngtnstwrrsthisibecdthaihlththikhngcuxihm Neo Confucianism aephrekhamainchnchnsamuirxnepnchnchnpkkhrxngkhxngyipun prakxbkbsphaphwangewnsngkhramepnewlananthungsxngrxypi thaihchnchnsamuirphntnexngcakchnchnnkrbmaepnchnchnnkprachy inkh s 1651 ochkunxiexmitsuthungaekxsykrrm ochkunothkungawa xiextsuna yipun 徳川家綱 ormaci Tokugawa Ietsuna xayuephiyngekapisubthxdtaaehnngochkuntxma thaihxanackarpkkhrxngtkxyuthikhunnangidemiywfuidaelaprachykhngcux sungekhakhrxbngabakufuthaihekidkarepliynaeplngindankarpkkhrxng sngkhmaelawthnthrrmipinthangkhxngphleruxnmakkhuneriykwasmykarpkkhrxngkhxngphleruxn yipun 文治政治 ormaci Bunchi seishi prchyakhxnglththikhngcuxthaihsngkhmyipunaebngxxkepnsichnchnxyangchdecn aelamiphlihsngkhmyipunmikhwamekhrngkhrdaelaphithiritxngmakxyangthiimekhyepnmakxn sankyuchima phawawangewnsngkhramthaihekidpyhakhxngornin yipun 浪人 ormaci Rōnin hruxsamuirtkngancanwnmak swnihyepnsamuirthiekhyrbichfaytrakulothoyotmi sungthangbakufuidkidknaelaimihkarsnbsnunenuxngcakehnwaepnphysngkhmaelaorninehlanikimidrboxkasinsngkhmkhngcuxaebbihm thaihorninklayepntwaethnhruxsylksnkhxngkartxtankarpkkhrxngkhxngochkuntrakulothkungawa inchwngstwrrsthisibecdepnchwngewlakhxngprachykhngcuxchawyipunkhnsakhyhlaykhnidaek yipun 林 羅山 ormaci Hayashi Razan aelayamasaki xnis yipun 山崎闇斎 ormaci Yamazaki Ansai epnprachykhngcuxthisngesrimihbakufuyudlththikhngcuxsankkhxng Zhu Xi yipun 朱子学 ormaci Shushi gaku ihepnsasnapracachati odyechphaatrakulhayachi sungphukkhadtaaehnngthipruksakhxngochkun aelayngmiprachykhngcuxthiepnornintxtanlththikhngcuxsankkhxngcusuxsungepnsankthibakufuyudthux yktwxyangechnkhumasawa bnsng yipun 熊沢蕃山 ormaci Kumazawa Banzan phuyudmninlththikhngcuxsankkhxng Wang Yangming xnepnsankkhuaekhngkhxngcusux aelayamanga osok yipun 山鹿素行 ormaci Yamaga Sokō phusungnalththikhngcuxmaprayuktekhakbhlkbuchiodxnepnhlkkarkhxngchnchnsamuirinsmykxn orninsisibecdkhn insmykhxngochkunothkungawa sunaoychi yipun 徳川綱吉 ormaci Tokugawa Tsunayoshi silpwthnthrrmyipunsmyexodaecriyrungeruxngthungkhidsud eriykwa smyeknorku yipun 元禄時代 ormaci Genroku jidai aelawthnthrrmeknorku yipun 元禄文化 ormaci Genroku bunka prakxbdwykarsuksaxksrsastraelahlkprchyatamlththikhngcux ngansilpkrrmtang aelakarbnethingxyangechnlakhrkhabuki aelalakhrona thngsamemuxngidaek exoda ekiywot aelaoxsaka ecriykhunepnsunyklangthangwthnthrrmaelaesrsthkic aetchawyipunklbmxngwasmyeknorkuepnsmythimikhwamesuxmothrmindansngkhmaelacriythrrmmakthisudsmyhnung dwykareruxngxanackhxngkhunnangidemiywfuidinbakufuthaihmikarthucritchxrasdrbnghlwngxyangkwangkhwang dngcaehnidcakehtukarn Forty Seven Ronins yipun 元禄赤穂事件 ormaci Genroku Akō jiken ochkunsunaoychiidprabpramaelaldxanacklumkhunnangfuidxyanghnk aeladungklumkhunnangkhnsnithhruxosbaoynin yipun 側用人 ormaci Sobayōnin ekhamamixanacaethn ochkunsunaoychiyngidsngesrimlththikhngcuxdwykarkxtngsankyuchima yipun 湯島聖堂 ormaci Yushima Seidō inkh s 1691 ihepnsankkhngcuxpracachatikhxngyipun tlxdchwngsxngrxypiinyukhexodarthbalochkundaeninnoybaypidpraethsodythakarkhakhaykbcinaelahxlndainprimanthicakd xiththiphlkhxnglththikhngcuxthaihsthabnochkuninyukhexodamiidepnephiyngphunaephdckarthharephiyngxyangediywaetepnrtthathiptyphuthrngthrrmaelaskdisiththitamhlkkhngcux pyhaesrsthkicsngkhmaelakarptirup khwamrungeruxngkhxngtladplanihngbachi smyexoda ody Utagawa Kuniyasutladkhawepnthixyukhxngphxkhakhnklangkhaykhaw sungepnchnchnthimixanacthangesrsthkicmakinyukhexoda inchwngtnkhriststwrrsthisibaepdpraethsyipunprasbpyhaphawakhaenginaekhngtwxnenuxngmacakenginthxngthihmunewiynxyuphayinpraethsyipunrwihlxxkipthangkarkhakbtangpraeths khnsnithkhxngochkunidaek yipun 新井白石 ormaci Arai Hakuseki aela yipun 間部詮房 ormaci Manabe Akifusa xxknoybayephimprimanengininrabbdwykarxxkenginksapnchudihychudihminkh s 1714 aelakacdkarnaenginipichcayinkarkhakbtangpraeths hlngcakthiochkunothkungawa xiextsungu yipun 徳川家継 ormaci Tokugawa Ietsugu thungaekkrrmodyprascakthayathinkh s 1716 thaihtrakulothkungawasakhahlktxngsuysinip aelaothkungawa oychimuena yipun 徳川吉宗 ormaci Tokugawa Yoshimune idemiywaehngaekhwnkhixicaksakhayxykhxngtrakulothkungawaidkhunkhrxngtaaehnngochkun ochkunothkungawa oychimuena xxknoybaykarptiruppiekhiywoh yipun 享保の改革 ormaci Kyōhō no kaikaku khuninkh s 1721 ephuxaekikhpyhathangesrsthkic tdraycaythiimcaepnsngesrimbthbathkhxngkhawiwichepnsuxklanginkaraelkepliynsinkhaaethnengin rwmthngkarphxnkhlaykhwamekhmngwdkhxnglththikhngcuxthaihchnchnphxkhamibthbathmakkhunaelaphxnkhlaykarpidpraethsthaihsuxaelaxngkhkhwamrutawntkekhamainyipunidmakkhunekidepnrngngaku yipun 蘭学 ormaci Rangaku hruxsilpsastrtawntk insmykhxngochkunothkungawa xiexharu yipun 徳川家治 ormaci Tokugawa Ieharu sungekharbtaaehnnginkh s 1760 xanackarpkkhrxnginrthbalochkunepnkhxngthanuma oxkitsungu yipun 田沼意次 ormaci Tanuma Okitsugu epnsmythirthbalochkunmikhwamesriniymmakkhun chnchnphxkhamixanacmakkhunaelasilpsastrrngngakuecriyrungeruxng aetkepnchwngewlathimikhwamesuxmthxykhxngkhunthrrmekidkarthucrittidsinbnkhunxyangkwangkhwangodymithanuma oxkitsungu epnsunyklangkhxngkhwamchxchlehlann insmyexodamikarxphyphkhxngchawyipunekhaiptngthinthanbnekaaexosa yipun 蝦夷 ormaci Ezo hruxekaahkikodinpccubn thaihekidkhwamkhdaeyngrahwangfayrthbalochkunaelachawyipunkbfaychawixnu Ainu sungepnchnphunemuxngdngedimbnekaaexosa chawixnuphunemuxnglukhuxkhuntxtankarpkkhrxngkhxngrthbalochkuninpikh s 1669 1672 kbdkhxngchakuchaxin Shakushain s revolt aelainkh s 1789 kbdemnachi khunachir Menashi Kunashir rebellion insmykhxngthanumaepnsmythichnchnphxkhaeruxngxanac aemwtthuecriyrungeruxngaetsngkhmklbthdthxylng emuxochkunxiexharuthungaekkrrminkh s 1786 thaihthanuma oxkitsungusuysinxanacip ochkunkhntxmakhuxothkungawa xiexnari yipun 徳川家斉 ormaci Tokugawa Ienari xanackarpkkhrxngxyuthiorcu yipun 松平定信 ormaci Matsudaira Sadanobu mtsuidra sadaonbu mikhwamyudmninlththikhngcuxaelatxngkarthicafunfukhwameriybrxyinsngkhmyipunihepnipxyangthuktxngtamthrrmnxngedim naipsukarptiruppikhnes yipun 寛政の改革 ormaci Kansei no kaikoku inkh s 1790 ennyakhwamsakhykhxnghlkkarlththikhngcuxinsngkhmodykarprakasihlththikhngcuxkhxngcusuxepnsasnapracachati ldxanackhxngchnchnphxkhaaelaprabpramxiththiphlkhxngrngngaku inkh s 1842 orcumitsuona thadakuni yipun 水野忠邦 ormaci Mizuno Tadakuni xxknoybaykarptiruppiethmop yipun 天保の改革 ormaci Tenpō no kaikoku ldkhwamfumefuxytanginsngkhm phaphwaderuxmxrrisnethiybthaxawxurangainkh s 1837 inkh s 1792 yipunmikartidtxkbckrwrrdirsesiyepnkhrngaerk eruxkhxngrsesiysungnaodynayxdm aelksaemn Adam Laxman maethiybthaemuxngbnekaahkikodephuxecrcakhxthakarkhakhaykbyipun orcumasuidra sadaonabu ptiesththicaihrsesiykhakhaythihkikodaetihxnuyatiheruxsinkharsesiyipethiybthathinangasakiaethn karyxmihsiththikarkhaaekrsesiythaihmasuidra sadaonabu thukocmtixyanghnkcnphncakxanacipinkh s 1793 hlngcaknnmiehtukarneruxkhxngchatitawntkhyngechingekhaethiybthathiyipunhlaykhrngephuxthathaynoybaykarpidpraethsaelaepidoxkaskarthasnthisyyakarkha aetrthbalochkunephikechyimsnictxchawtawntkehlann inkh s 1837 eruxkhxngshrthxemrikachuxwamxrrisn Morrison idekhaethiybthathiemuxngkhaongchimaaelaxawiklemuxngexoda fayrthbalochkunthakartxbotxyangrunaerngdwykaryingpunihyeriykwa ehtukarnmxrrisn Morrison Incident inchwngplayyukhexodainkhnathichnchnsamuiraelarthbalochkunihkarsnbsnunaeklththikhngcuxkhxngcusuxaelachunchmwthnthrrmcinobran ekidaenwkhwamkhidthihnklbmasuksaaelachunchmwthnthrrmyipundngedim eriykwa okhkungaku yipun 国学 ormaci Kokugaku nkprachyinplayyukhexodaidaek othkungawa mitsukuni yipun 徳川光圀 ormaci Tokugawa Mitsukuni idemiywaehngaekhwnmiota aelaomotoxri omrinaka yipun 本居宣長 ormaci Motoori Norinaga epnphurierimaenwkhwamkhidokhkungaku odythinkprachysankniihkhwamsakhyaeksasnachinotaelaykyxngsthabnphrackrphrrdisungxyukhuprawtisastryipunmatngaetobran aenwkhwamkhidaebbokhkungakucamixiththiphlxyangmaktxkaremuxnginchwngplayyukhexotainsmytxma playyukhexoda bakumtsu phleruxctwa aemththiw si ephrri phunaeruxrbkhxngshrthxemrikaekhaeriykrxngihyipunepidpraethsephuxthakarkha insmykhxngochkunothkungawa xiexoychi yipun 徳川家慶 ormaci Tokugawa Ieyoshi pikh s 1853 phleruxctwaaemththiw si ephrri Matthew C Perry naeruxrbkhxngshrthxemrikacanwnsila thichawyipuneriykwa eruxda yipun 黒船 ormaci Kurofune ekhamacxdpidxawxurangaiklkbnkhrexoda eriykrxngihrthbalochkunepidpraethsthakarkhakhaykbshrthxemrika michanncanaeruxtidxawuthpunihyekhaocmtiemuxngexoda phleruxctwaaemththiw ephrri ichwithithangkarthutaebberuxpun Gunboat diplomacy khmkhurthbalochkunihyxmepidpraeths rthbalochkunphayitkarnakhxngochkunxiexoychiaelaorcu yipun 阿部正弘 ormaci Abe Masahiro tuntrahnkxyangmakkbkarkhmkhucakeruxda ochkunxiexoychilmpwycnthungaekkrrminpiediywknnn butrchaykhxngochkunxiexoychikhux othkungawa xiexsada yipun 徳川家定 ormaci Tokugawa Iesada sungsukhphaphxxnaexechnediywknkhundarngtaaehnngochkunkhntxma inpikh s 1854 orcuxaeba masahiora yinyxmthatamkhxeriykrxngkhxngnayaemththiwephrri naipsungkarlngnaminkhxtklngemuxngkhanangawa Convention of Kanagawa odyrthbalochkunyxmepidemuxngtha Shimoda aelahaokdaeta Hakodate ihaekeruxkhxngshrthxemrikaekhamathakarkhakhay ethakbepnkarsinsudkarpidpraethsyipunaepnewlasxngrxykwapi karthirthbalochkunyinyxmlngnamepidpraethskhakhaynn miidthaeruxngkhunthulthwayphrackrphrrdiaetxyangid thaihnayxaeba masahiora aelarthbalochkunthuktahnixyangmakwakrathaodyphlkar cnxaeba masahioratxnglaxxkcaktaaehnngorcuipinkh s 1855 nxkcakshrthxemrikaaelwrthbalochkunyngthasnthisyyakarkhakbpraethstawntkxunxikidaek xngkvs rsesiy aelafrngess karthirthbalochkunepidpraethsyipunihaekchawtawntkekhamatidtxkhakhay srangkhwamimphxicaekfaythitxtanrthbalochkunothkungawa odyechphaaklumsamuirinphakhtawntkkhxngyipun idichkarepidpraethsyipunmaocmtirthbalochkuninthangkaremuxngaelaihkarsnbsnunaekphrackrphrrdithiemuxngekiywot phayitkhtiphcn snonocxi yipun 尊皇攘夷 ormaci Sonnō jōi hrux echidchuxngkhckrphrrdi txtanxnarychn odyechphasamuirinaekhwnstsuma yipun 薩摩 ormaci Satsuma aelaaekhwnocchu yipun 長州 ormaci Chōshu sungmikhwamehnwakaryinyxmthasnthisyyathiesiyepriybthangkarkhakbchatitawntkekidphlesiyaekpraeths inkh s 1858 ochkunxiexsadathungaekkrrmodythiprascakbutraelathayath faytxtanrthbalochkunnaodyothkungawa narixaki yipun 徳川斉昭 ormaci Tokugawa Nariaki idemiywaehngaekhwnmiota txngkarphlkdnihbutrchaykhxngtnkhux othkungawa oychionbu yipun 徳川慶喜 ormaci Tokugawa Yoshinobu khunepnochkunkhntxmaaetimsaerc fayrthbalochkunsungnaody yipun 井伊直弼 ormaci Ii Naosuke samarthphlkdnihtaaehnngochkunepnkhxngothkungawa xiexomci yipun 徳川家定 ormaci Tokugawa Iemochi idsaerc thaihxixi naoxsueka eruxngxanackhuninrthbalochkun ithorxixi naoxsueka napraethsyipunekhathasnthisyyaephuxmitrphaphaelakarkha Treaty of Amity and Commerce kbshrthxemrikasungminaythawnesnd aehrris Townsend Harris epntwaethninkh s 1858 eriykwa snthisyyaaehrris Harris Treaty epidemuxngthaephimetimidaekemuxngkhanangawaaelanangasakiihaekeruxkhxngxemrika aelamxbsiththisphaphnxkxanaekhtihaekchawxemrikninyipun xixi naoxsueka kacdkhuaekhngthangkaremuxngklumthitxtanrthbalochkun eriykwa karkwadlangthangkaremuxngpixnes idemiywothkungawa narixaki thukkkbriewn khunnangsamuirklumsnonocxitangtxngothstangnanatngaetpraharchiwitcnthungenreths xixi naoxsueka thuklxbsngharodysamuircakaekhwnmiota inehtukarnthipratusakurada Sakuradamon Gate Incident thiprasathexodainpikh s 1860 phaphwadinkh s 1861 aesdngthungkhti snonocxi rthbalochkunaetngtngkhnathutedinthangipyngshrthxemrikainkh s 1860 ephuxecriysmphnthimtriaelaeriynruwithyakartawntk aemwacasuyesiyxanacthangkaremuxngaetsamuirklumsnonocxiyngkhngdaeninkartxtanrthbalochkunothkungawaxyangtxenuxng odyekhayudxanacinnkhrekiywotaelatharaykhunnangcakrthbalochkun inkh s 1863 phrackrphrrdiokhemmiphrarachoxngkarihkhbilchawtawntkxxkipcakyipun inkh s 1864 kxngkalngcakaekhwnocchuekharukranphrarachwnghlwngemuxngekiywotephuxcayudthwayxanackhunaedphrackrphrrdiinehtukarnthipratukhimmng Kinmon Incident aetimsaerc inkh s 1866 rthbalochkunnaodyochkunothkungawa xiexomci nathphkhxngrthbalochkunekharukrantxbotaekhwnocchu Second Chōshu Expedition odymiaekhwnstsumakhxychwyehluxfayrthbal aetthwaochkunxiexomciklblmpwnglngcnthungaekkrrmthiprasathoxsakainpiediywkn othkungawa oychionbu khundarngtaaehnngochkunkhntxmaepnochkunkhnsudthaykhxngrthbalothkungawa sakaomota eriywma yipun 坂本龍馬 ormaci Sakamoto Ryōma epnkhnklangnasamuircakaekhwnstsuma naodyisong thakaomri yipun 西郷隆盛 ormaci Saigō Takamori aelaaekhwnocchu naody yipun 桂小五郎 ormaci Katsura Kogorō mathakhxtklngepnphnthmitrkn yipun 薩長同盟 ormaci Satchō dōmei ephuxlmkarpkkhrxngkhxngrthbalochkun inpikh s 1867 ochkunothkungawa oychionbu prakasslataaehnngochkunaelathwayxanackhunaedphrackrphrrdiemci epnkarsinsudkarpkkhrxngkhxngrthbalochkunothkungawathimimaepnewlasxngrxyhasibkwapi aetkhwamkhdaeyngthangkaremuxngaelakarthhar rahwangfaytrakulothkungawaaelafaysnonocxiyngkhngdaenintxip cnnaipsusngkhramobching Boshin War sngkhmsngkhmyipuninyukhexodaaetktangcaksngkhmyipuninyukhxun enuxngcaklththikhngcuxihmekhamamixiththiphl sngkhmyukhexodaaebngxxkepnsichnchneriykwachionokoch yipun 侍農工商 ormaci Shinōkōshō prakxbdwy chnchnsamuir chnchnchawna chnchnchangfimux aelachnchnphxkha aetlachnchnmibthbathaelahnathikhxngtnexngxyangchdecnekhrngkhrd aelakarepliynaeplngthangchnchnepnsingthiekidkhunidyak inyukhexodasthabnphrackrphrrdiaelarachsankthiemuxngekiywotyngkhngepnsthabnsungsudkhxngpraethsinthangthvsdi inthangptibtirachsankemuxngekiywotmibthbaththangkaremuxngaelasngkhmnxy chnchnthngsi chnchnsamuir yipun 侍 ormaci Shi epnchnchnxphisiththichnphupkkhrxngpraeths aelaepntwxyanginthangcriythrrmihaekchnchnxun odymicanwnepnswnnxykhxngprachakr chnchnsamuiridrbxphisiththiinkarthuxkhrxngxawuthtangechn dab pun chnchnxunimsamarththuxkhrxngxawuthid inyukhexodathiprascakkarsurb chnchnsamuiridphntnexngcaknkrbmaepnnkprachy hnathihlkkhxngchnchnsamuirxyuthikarbriharbanemuxng rayidaelaphlphlitkhxngchnchnsamuirekidcakrayidpracacakrthbalochkun aelakareriykekbphlphlitcakchawnatamrabxbskdinaswamiphkdi feudalism inhmuchnchnsamuirmikaraebngxxkepnladbkhuntamysthabrrdaskdi samuirchnsungmibthbathinrthbalochkunhruxtamaekhwntang inkhnathisamuirradblangprakxbxachiphepnphnkngantang echn esmiyn phurksakhwamplxdphy epntn chnchnchawna yipun 農 ormaci Nō epnprachakrswnihykhxngpraeths mihnathiephaaplukekbekiywphlphlitephuxeliyngtnexngaelamxbihaekchnchnsamuir rthbalochkunmikarkhwbkhumkalngkhnthiekhangwd chawnaimsamarthedinthangekhluxnyayxxkcakaekhwnidhakimidrbkarxnuyatcakidemiyw chnchnchangfimux yipun 工 ormaci Kō aelachnchnphxkha yipun 商 ormaci Shō miskditakwachnchnchawnatamhlkkhxnglththikhngcux enuxngcakchnchnchangfimuxphlitsingthiepnipephuxkhwamswyngamethann aelachnchnphxkhaharayidcakphlphlitkhxngphuxunephiyngxyangediyw aetinthangptibtiinyukhexodachnchnchangfimuxaelachnchnphxkhamithanathangesrsthkicthidi chnchnphxkhaxasyxyuinemuxng yipun 町 ormaci Machi echnoxsakahruxexoda sungxyunxkehnuxkarkhwbkhumkhxngidemiywaetxyuphayitkarpkkhrxngkhxngrthbalochkunodytrng chnchnphxkhasungrarwymikaraesdngxxkthangthanaodykarichkhxnghruhrafumefuxyhruxpraphvtitnechnediywkbchnchnsamuir sungepnsingthiphidkdhmay rthbalochkunmikhwamphyayaminkarhampramkhwamfumefuxykhxngchnchnphxkhatlxdma nxkehnuxcaksichnchn yngmiklumkhnxuninsngkhmyipuninsmyexodaidaek orning khux chnchnsamuirsungimidrbkaryxmrbcakrthbalochkundwyehtuphltang echn krathakhwamphidklayepnnkoths nkbwchaelaphraphiksusngkhinphraphuththsasnaaelasasnachinot exta yipun 穢多 ormaci Eta hrux hining yipun 非人 ormaci Hinin epnklumkhnthisngkhmihkhwamrngekiyc enuxngcakmiphvtikrrmhruxprakxbxachiphthiimidrbkaryxmrbhruxkhdtxsilthrrmcrryakhxngsngkhm idaek ephchchkhat nkkhastw phuthakhwamsaxadsingptikul epntn extahruxhiningmkxasyxyurwmknepnchumchntamemuxngtang sungepnsthanthisungchawemuxngkhnxun ihkhwamrngekiycechnkn hlngcakkarkarfunfuemci rthbalemciidxxkkdhmayinpikh s 1871 elikrabxbchnchntang khxngyukhexoda thaihchawyipunswnihykhxngpraethsmisiththiethaethiymknthangkdhmaysasnaaelawthnthrrmlththikhngcuxihm phraphiksufuciwara eska Fujiwara Seika phunalththikhngcuxihmmasuyipuninyukhexoda kartidtxkbcinaelaekahliinchwngkarrukranekahlikhxngyipunthaih Neo Confucianism ephyaephrekhamasuyipuninyukhexodalththikhngcuxihmekidkhuncaknkprachychawcininsmyrachwngsthngaelarachwngssng sungnaexahlkkarfukcitaelaphthnatnexngkhxngphuththsasnaaelalththietaekhamaphsmphsankbhlkprchyakarxyurwmkninsngkhmkhxnglththikhngcuxdngedim lththikhngcuxihminyukhexodaerimtnkhuncakfuciwara eska yipun 藤原 惺窩 ormaci Fujiwara Seika edimepnphraphiksuinphuththsasnanikayesn fuciwara eska mxngwalththikhngcuxmikhwamepnehtuphlaelaxyubnphunthankhxngkhwamcringmakkwaphuththsasnanikayesnsungmihlkkarfuktnxyuinxudmkhti aelaideriynrulththikhngcuxihmsankkhxngcusux cin 朱熹 phinxin Zhu Xi caknkprachychawekahlisungepnechlysuk txmaluksisykhxngfuciwara eska chuxwa yipun 林羅山 ormaci Hayashi Razan idekharbrachkarinrthbalochkuntrakulothkungawainsmykhxngochkunxiexmitsu idrbkaraetngtngihepnidngaku ona kami yipun 大学の頭 ormaci Daigaku no kami aelakxtngsankesnesedng yipun 先聖殿 ormaci Sensei den xyuinekhdxuexonaemuxngotekiywinpccubn hayachi rasng thaihchnchnsamuirinrthbalochkunhnmasuksahlkkhxnglththikhngcuxephuxichinkarpkkhrxng aelaaebngsngkhmyipunxxkepnsichnchntamhnathitang taaehnngidngaku ona kaminnsubthxdtamsayeluxdphayintrakulhayachi thaihtrakulhayachilukhlankhxnghayachi rasng mixanacinkarpkkhrxngnkprachykhngcuxyipun insmyexodakhunnangsamuirthiekharbrachkarinrthbalochkuntxngmikhwamruekiywkbhnngsuxthngsiaelawrrnkrrmkhlassikthngha Four Books and Five Classics sungepnhlkkarphunthankhxnglththikhngcux thaihchnchnsamuirphntnexngcaknkrbinyukhesngongkumaepnnkprachyinyukhexoda aetedimnninyipunmiephiyngphrasngkhaelachnchnkhunnanginemuxngekiywotethannthisamartheriynruhnngsuxid chnchnsamuirnkrbimruhnngsuxaetinyukhexodadwyxiththiphlkhxnglththikhngcuxthaihsamuirruhnngsux rthbalochkunothkungawarbrxngsankkhxngcusux yipun 朱子学 ormaci Shushi gaku ihepnsankthimihlkkhasxnthithuktxng inkh s 1691 ochkunothkungawa sunaoychi mikhasngihyaysthanthitngkhxngsankesnesedngcakxuexonamatngthibriewnekhtbungekiyw tngchuxihmwasankochehok yipun 昌平黌 ormaci Shōheikō hruxyuchima esod iwepnsankkhngcuxpracachati aelaaetngtnghayachi ohok yipun 林 鳳岡 ormaci Hayashi Hōkō hlanchaykhxnghayachirasngkhunepnxthikarbdiaehngyuchimaesodphuduaelprchyakhngcuxthngmwlinyipun trakulhayachimixanaccakkarthuxkhrxngtaaehnngidngaku ona kamisungmithanaethiybethaidemiywaelakhrxngtaaehnngniiptlxdsmyexoda inkh s 1790 orcumtsuidra sadaonbu prakasihlththikhngcuxsankcusuxepnsasnapracachatikhxngyipunxyangepnthangkar oxkiw osir Ogyu Sorai nkprachykhngcuxphuidrbykyxngwathrngxiththiphlthangkhwamkhidmakthisudinplayyukhexoda aemwarthbalochkuncaihkarsnbsnunaeksankkhxngcusuxaetinklumsamuirradblangaelainklumorning mikarsuksaelaeriynlththikhngcuxkhxng sungepnnkprachykhngcuxinsmyrachwngshmingmiaenwkhwamkhidkhdaeyngkbsankkhxngcusux inkhnathisankkhxngcusuxsxnwamnusytxngaeswnghakhwamrusankkhxnghwnghyanghmingsxnwamnusymikhwamruaecngxyuaelwphayintwtngaetekid nakaexa othcu yipun 中江藤樹 ormaci Nakae Tōju naprchyakhxngsankhwnghyanghmingekhasuaewdwngchnpkkhrxng sisykhxngnakaexa othcu khux yipun 熊沢蕃山 ormaci Kumazawa Banzan ocmtihlkkarkhxngsankcusuxaelaxanackhxngtrakulhayachi lththikhngcuxsankkhxnghwnghyanghmingklayepnsunyrwmkhxngklumphutxtankarpkkhrxngkhxngrthbalochkunothkungawaodyechphaaklumorning thaihrthbalochkunaelatrakulhayachiekhathakarprabpramnkprachysankhwnghyanghmingxyubxykhrng nxkcakniinyukhexoda yipun 山鹿素行 ormaci Yamaga Sokō yngnaexahlkkhxnglththikhngcuxmaprayuktkbhlkwithikhxngnkrbsamuirdngedim naipsukarkaenidlththibuchiod yipun 武士道 ormaci Bushidō hruxhlkkarkhxngnkrb sungennineruxngkarthuxekiyrtiyskhwamsuxstycngrkphkdisakhyyingkwachiwit inyukhexodatxnplaynkprachykhuxwa yipun 荻生徂徠 ormaci Ogyu Sorai mikhwamehnwalththikhngcuxsankkhxngcusuxaebbrachwngssngimichlththikhngcuxthiaethcringenuxngcakmieruxngkhunthrrmsungidrbxiththiphlcakphuththsasnaekhama lththikhngcuxdngedimcakyukhwsntsarthenneruxngrthsastrkarpkkhrxngaelaphithikrrmepnhlk oxkiw osir wicarnsankcusuxwaihkhwamsakhyaekaenwkhwamkhidinyukhrachwngssngmakekinipcnlaelyhlkkhxngkhngcuxaethdngedim aelamiehnwapyhaeruxngkarpkkhrxngkhxngrthbalochkuninyukhplaysmyexodakhwrcaaekpyhadwyhlkrthsastraethnthicaaekpyhadwykhunthrrm oxkiw osir sngesrimkarsuksahlkprchyakhngcuxaethbrisuththikhxngcinobranidaekhnngsuxthngsiaelawrrnkrrmkhlassikthngha aenwkhwamkhidokhkungaku inyukhexodasamuirchnchnpkkhrxngsuksalththikhngcuxepnhlkaelachunchmsngkhmcinobranwaepnaebbxyangaehngkhunthrrmaelakarpkkhrxng inchwngplayyukhexodaekidaenwkhwamkhidswnkraaeshnmasuksaaelachunchmkhwamepnyipunobrandngedim eriykwa aenwkhwamkhidokhkungaku yipun 国学 ormaci Kokugaku hrux chatisuksa sungihkhwamsakhykbkarsuksaprawtisastryipunobransungekiywkhxngkbsthabnphrackrphrrdiaelasasnachinot othkungawa mitsukuni yipun 徳川光圀 ormaci Tokugawa Mitsukuni idemiywaehngaekhwnmiotasniceruxngprawtisastryipunobranaelarwbrwmcdthahnngsuxeruxng mhaprawtisastryipun yipun 大日本史 ormaci Dai Nihonshi khuninkh s 1657 naipsukarcdtngsankmiota yipun 水戸学 ormaci Mitogaku othkungawa mitsukuni ichhlkkhxnglththikhngcuxekhatikhwamprawtisastryipunobran odymxngwayipuninsmyobranxnmixngkhphrackrphrrdiepnsunyklangepnkarpkkhrxngthimithrrmphibalaelasngkhmyipunmikhwamdingamxyangthilththikhngcuxechidchu inkh s 1798 omotoxri onrinanga yipun 本居宣長 ormaci Motoori Norinaga nkprachyokhkungaku aetngxrrthathibayekiywkbokhkici yipun 古事記伝 ormaci Kojiki den omotoxri onrinanga mikhwamehnaetktangcakoxkiw osir inkhnathioxkiwosirechidchucinobranaelalththikhngcuxbrisuththi omotoxor onrinanga ykkhwamsakhykhxngyipunobrankhunma inkh s 1841 othkungawa narixaki idemiywaehngaekhwnmiota kxtngokhodkng yipun 弘道館 ormaci Kōdōkan hruxsanksuksamiotathaihaekhwnmiotaklayepnaehlngprachumkhxngphuechidchusthabnphrackrphrrdiaelatxtanrthbalochkun lththiokhkungakumixiththiphlxyangmaktxaenwkhwamkhidsnon ocxi sungsngphltxkarlmslaykhxngrthbalochkunothkungawa aelamixiththiphltxlththichatiniyminyukhemcismytxma phuththsasna inyukhexodaphuththsasnamhayaninyipunyngkhngidrbkarsnbsnuncakrthbalochkunaelayngkhngdarngxyutxma enuxngcaksamuirchnchnpkkhrxnghnipsuksalththikhngcuxthaihkarsuksaphuththsasnainyukhexodakhngthimikarepliynaeplngnxy aetphuththsasnayipuninyukhexodayngkhngepnswnhnungkhxngsngkhm phuththsasnaidrbkarsnbsnuncakrthbalochkunphanrabbdngka yipun 檀家制度 ormaci Danka Seido enuxngcakrthbalochkuntxngkarprabpramsasnakhrist cungcdtngrabblngthaebiynprachachnchawbanyipunthukkhniwkbwdinbriewnnn ephuxihwdepnphusxdsxngduaelmiihekidkarephyaephraelaptibtikickrrmkhxngsasnakhristkhun odymikhxaelkepliynwachawbancatxngcaykhathanubarungwdthitnexngxyuinsngkd eriykwarabbdngka thaihwdinphraphuththsasnainyukhexodayngkhngidrbkarsnbsnunthangesrsthkic inyukhexodamikarnaekhaphuththsasnanikayesnsankihm enuxngcakrthbalochkuncakdkarkhaeruxsaephaciniwthiemuxngnangasaki thaihemuxngnangasakiekidchumchnchawcinkhun inkh s 1654 phraphiksunikayesnsankhlincichawcinfueciynchuxwaxinhywnhlngchi cin 隱元隆琦 phinxin Yǐnyuan Longqi hruxphraphiksuxinekng yipun 隱元 ormaci Ingen idrbechiymayngemuxngnangasakiephuxsngsxnphrathrrmihaekchawcininemuxngnangasaki txmaphraphiksuxinekngmichuxesiyngmakkhuninwngkarphuththsasnayipun cungidrbechiyihmakxtngsanknikayesnkhunihm eriykwasankoxbaku yipun 黄檗 ormaci Ōbaku tngchuxtamphuekhasungepnbanekidkhxngphraphiksuxineknginpraethscin phiksuxinekngsrangwdmmpuku yipun 萬福寺 ormaci Manpuku ji khunthiemuxngxuciiklkbemuxngekiywot ihepnsunyklangkhxngsankoxbaku edimkxnhnaniinyipunmiphuththsasnanikayesnxyuaelwsxngsank idaek sankringis yipun 臨濟 ormaci Rinzai hruxhlinci aelasankosot sungekhamapraethsyipuntngaetyukhkhamakura aemwasankoxbakucamitnkaenidcaksankhlincikhxngcinechnediywkbsankringisaetthngsankringisaelaoxbakumikhwamaetktangkninraylaexiydphithikrrm sankoxbakumikarprakxbphithikrrmaebbcinrachwngshmingaelamikarswdxmitaphuthth inkhnathinikayesninyipunmikaraebngaeykcaknikayaednsukhawdixyangchdecninpraedneruxngkarswdxmitaphuthth sasnakhrist ruppnphraaemmarikhxngchawkhakuerakhrisetiyn sungddaeplngihkhlaykhlungkbphraophthistwxwolkietswrinphuththsasnamhayan aesdngthungkarpidbngsxnernkhwamechuxkhxngtncakrthbalochkun inyukhesngongkumichchnnarikhnaeysuxitchawoprtueksaelasepnekhamaephyaephrsasnakhristormnkhathxlikinyipun thaihmisasnikchninyipuncanwnhnungodyechphaabnekaakhiwchuaelaphumiphakhthangfngtawntkkhxngpraeths othoyotmi hiedoychi phyayamcaprabpramsasnakhristhlaykhrngaetsasnikchnkhrisetiynyngdarngxyu insmykhxngochkunothkungawa xiexyasu sasnikchnchawkhristinyipunmiesriphaphinkarnbthuxaelaprakxbphithikrrmthangsasna aettxmainkh s 1614 oxongochxiexyasuxxkprakashamkarnbthuxaelaephyaephrsasnakhrist insmykhxngochkunothkungawa hiedtada dwyxiththiphlkhxnglththikhngcuxihmthaihrthbalochkunprabpramsasnakhristmakkhun inkh s 1622 ekidkarsngharchawkhrisetiyncanwnhasibkhnthiemuxngnangasakieriykwa karprabpramchawkhrisetiynpiengnna yipun 元和の大殉教 ormaci Genna no daijungyō aelainkh s 1629 ekidkarprabpramchawkhrisetiynthinangasakixikkhrng rthbalbakufuidbngkhbihchawkhrisetiynthakarfumiexa yipun 踏み絵 ormaci fumi e ehyiybyalngbnrupkhxngphraeysuephuxphisucnwatnimidepnkhrisetiyn insmykhxngochkunothkungawa xiexmitsu minoybalkarpidpraethsaelakhbilchawoprtueksaelasepnxxkipcakyipun thaihbathhlwngchawyuorpimsamarthekhamaprakxbphithithangsasnainyipunid karkdkhichawkhrisetiynxyanghnkaelaphawaxdxyakthaihchawkhrisetiynthiaehlmchimabarabnekaakhiwchukxkbtkhuninkh s 1637 eriykwa kbtchimabara yipun 島原の乱 ormaci Shimabara no ran phunakbdidichsasnakhristepnsunyrwminkartxtanrthbalochkun hlngcakthikbdchimabarathukrthbalochkunprabpramlng thaihsasnakhristekuxbsuysinipcakyipun rthbalochkunekhatrwcsxbaelakhwbkhumkickrrmkhxngsasnakhristxyanghnk odyichrabbdngkaihprachachnlngthaebiynkbwdinphunthiephuxihwdepnphusxdsxngduael xyangirktamsasnikchnkhawkhrisetiynthiyngehluxxyucatxngprakxbphithithangsasnaaelanbthuxsasnakhristxyangepnkhwamlb klayepnchawkhrisetiynlb hruxkhakuerakhrisetiyn yipun 隠れキリシタン ormaci Kakure Kirishitan sungchawkhakuerakhrisetiynichwithikartangephuxhlbsxnaelapidbngkickrrmthangsasnakhxngtnimihrthbalochkunlwngru yktwxyangechnkarsrangrupphraaemmariihkhlaykhlungkbphraophthistwxwolkietswr hruxkarddaeplngbthswdmissaihkhlaykhlungkbkarswdinphuththsasna xyangirktamemuxewlaphanipenuxngcakchawkhakuerakhrisetiynkhadphunathangsasnaaelamikhvhsthepnphuprakxbphithikrrmenuxngcakkhadbathhlwng thaihkhwamechuxaelaphithikrrmkhxngchawkhakuerakhrisetiynebiyngebnipcakedimklayepnlththibucharuppnhruxlththibuchabrrphburus inkh s 1865 playyukhexoda bathhlwngchawfrngesschuxwaaebrnar eptichxng Bernard Petitjean phukxtngobsthoxxurathiemuxngnangasaki idphbkbchawkhakuerakhrisetiyn bathhlwngeptichxngphbwahlkkhwamechuxaelaphithikrrmkhxngchawkhakuerakhrisetiynmikhwamaetktangcaksasnakhristthiaethcringxyangmak bathhlwngeptichxngcungchkchwnihchawkhakuerakhrisetiynklbekhasusasnakhristkraaeshlk chawkhakuerakhrisetiyncanwnmakcungklbekhasukhristckrormnkhathxlikxikkhrng xyangirktammichawkhakuerakhrisetiyncanwnhnungptiesththicaklbekhasukhristckrormnkhathxlikaelayudmninkhwamechuxaelaphithikrrmedimkhxngtn klayepnchawhanaerakhrisetiyn yipun 離れキリシタン ormaci Hanare Kirishitan duephimrthbalexodabthkhwamprawtisastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk disthan krkic ptiwtiemci hna 31 https www encyclopedia com environment encyclopedias almanacs transcripts and maps fujiwara seika khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 08 12 subkhnemux 2019 12 02