ในชื่อบุคคลญี่ปุ่นนี้นามสกุลคือ โทกูงาวะ
โทกูงาวะ อิเอนาริ 徳川家斉 | |
---|---|
โชกุนลำดับที่ 11 แห่ง รัฐบาลเอโดะ | |
1787 - 1837 | |
ก่อนหน้า | โทกูงาวะ อิเอฮารุ |
ถัดไป | โทกูงาวะ อิเอโยชิ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ตุลาคม ค.ศ. 1773 |
อสัญกรรม | 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1841 | (67 ปี)
บิดา | โทกูงาวะ ฮารูซาดะ |
มารดา | โอโตมิ โนะ กาตะ |
บุตร-ธิดา | โทกูงาวะ อิเอโยชิ |
โทะกุงะวะ อิเอะนะริ (ญี่ปุ่น: 徳川 家斉; โรมาจิ: Tokugawa Ienari; 5 ตุลาคม ค.ศ. 1773 - 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1841) เป็น โชกุน ลำดับที่ 11 และดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของ รัฐบาลเอโดะ ของ ญี่ปุ่น ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1787 ถึงปี ค.ศ. 1837 เขาเป็นเหลนของโชกุนลำดับที่ 8 โทกูงาวะ โยชิมูเนะ ผ่านบุตรชายของเขา มูเนตาดะ (1721-1764) หัวหน้าตระกูลสาขาฮิโตสึบาชิ และหลานชายของเขา ฮารูซาดะ (1751-1827)
โทะกุงะวะ อิเอะนะริ เป็นบุตรชายคนโตของ โทะกุงะวะ ฮะรุซะดะ (Tokugawa Harusada, 徳川治済) บุตรชายของโทะกุงะวะ มุเนะตะดะ เท่ากับว่าอิเอะนะริเป็นเหลนของโชกุนโทะกุงะวะ โยะชิมุเนะนั่นเอง หลังจากที่บุตรชายเพียงคนเดียวของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะฮะรุได้เสียชีวิตลง ทำให้โชกุนอิเอะฮะรุไม่มีทายาทสืบทอดตำแหน่งโชกุน ในค.ศ. 1781 โชกุนอิเอะฮะรุและขุนนางในบะกุฟุจึงตัดสินใจเลือกโทะกุงะวะ อิเอะนะริ ให้เป็นทายาทและบุตรบุญธรรมของโชกุนอิเอะฮะรุ โชกุนอิเอะฮะรุถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1786 ในปีต่อมา ค.ศ. 1787 อิเอะนะริจึงได้สืบทอดตำแหน่งเป็นโชกุนคนต่อมา ในค.ศ. 1789 เกิดกบฏของชาวไอนุบนแคว้น Menashi บนเกาะฮกไกโด และบนเกาะ Kunashir (Menashi-Kunashir Rebellion)
ในสมัยของโชกุนอิเอะนะริ การปกครองของญี่ปุ่นอยู่ภายใต้อิทธิพลของขุนนางหลายคนในแต่ละช่วง;
- ค.ศ. 1787 - ค.ศ. 1793 โรจู (Matsudaira Sadanobu, 松平定信) เป็นผู้นำใน (Kansei-no-kaikaku, 寛政の改革) ยกตัวอย่างเช่นการประกาศให้ลัทธิขงจื้อเป็นศาสนาประจำชาติญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1790 ในค.ศ. 1792 ญี่ปุ่นมีการติดต่อกับจักรวรรดิรัสเซีย (Russian Empire) เป็นครั้งแรก โดยเรือรัสเซียนำโดยอดัม แลกซ์แมน (Adam Laxman) มาเทียบท่าเมืองมะสึมะเอะ (Matsumae, 松前) บนเกาะฮกไกโด เพื่อส่งตัวชาวญี่ปุ่นพลัดหลงคืนและเจรจาขอทำการค้าขายกับญี่ปุ่นจากเกาะฮกไกโด แต่เนื่องจากนโยบายปิดประเทศที่ดำเนินมานาน โรจูมะสึไดระ ซะดะโนะบุ จึงปฏิเสธไป แต่ให้อนุญาตให้เรือสินค้ารัสเซียไปเทียบท่าที่นะงะซะกิแทน การยอมให้สิทธิการค้าแก่รัสเซียทำให้โรจูมะสึไดระ ซะดะโนะบุ เป็นที่ตำหนิติเตียนมาก จนต้องลาออกจากบะกุฟุไปใน ค.ศ. 1793
- ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1817 โรจูมะสึไดระ โนะบุอะกิระ (Matsudaira Nobuakira, 松平信明) ในค.ศ. 1804 รัสเซียพยายามที่จะเปิดประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งนำโดยนิโคไล เรซานอฟ (Nikolai Rezanov) แต่ไม่สำเร็จ ในค.ศ. 1808 เกิดเหตุการณ์เรือรบอังกฤษชื่อว่าแฟทอน (Phaeton) บุกเข้าเมืองท่านะงะซะกิใช้กำลังบังคับเอาเสบียงและอาวุธ โนะบุอะกิระถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1817
- ค.ศ. 1817 - ค.ศ. 1834 มิซุโนะ ทะดะอะกิระ (Mizuno Tadaakira, 水野 忠成) ใน ค.ศ. 1825 บะกุฟุออกกฎหมายขับไล่เรือต่างชาติ (Ikokusen-Uchiharai-rei, 異国船打払令) ให้โจมตีขับไล่และสังหารเรือต่างชาติและชาวต่างชาติทันทีเมื่อพบเห็น มิซุโนะ ทะดะอะกิระ เสียชีวิตใน ค.ศ. 1834 มี
- ค.ศ. 1834 - ค.ศ. 1837 มิซุโนะ ทะดะคุนิ (Mizuno Tadakuni, 水野 忠邦) กบฏของโอชิโอะ เฮฮะจิโร่ (Ōshio Heihachirō, 大塩平八郎) ที่เมืองโอซาก้าในค.ศ. 1837 ในปีเดียวกันเรือรบชื่อว่ามอร์ริสัน (Morrison) ของสหรัฐอเมริกา มาเทียบท่ายังจังหวัดคะโงะชิมะ (Kagoshima) ในแคว้นซะสึมะ และอ่าวอุระงะ (Uraga, 浦賀) ฝ่ายญี่ปุ่นได้ตอบโต้อย่างรุนแรงโดยการยิงปืนใหญ่ถล่มใส่ เรียกว่า (Morrison Incident)
ในค.ศ. 1837 โชกุนอิเอะนะริสละตำแหน่งโชกุนให้แก่บุตรชายคนที่สอง คือ โทะกุงะวะ อิเอะโยะชิ (Tokugawa Ieyoshi, 徳川家慶) และดำรงตำแหน่งโอโงโช (Ōgōshō, 大御所) ไปอีกเป็นเวลาสี่ปีจนกระทั่งโอโงโชอิเอะนะริถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1841
อ้างอิง
- Hall, John Whitney et al. (1991). Early Modern Japan, p. 21.
ก่อนหน้า | โทกูงาวะ อิเอนาริ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โทะกุงะวะ อิเอะฮะรุ | โชกุนแห่งเอะโดะบะกุฟุ (ค.ศ. 1787 – 1837) | โทะกุงะวะ อิเอะโยะชิ |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
inchuxbukhkhlyipunninamskulkhux othkungawa othkungawa xiexnari 徳川家斉ochkunladbthi 11 aehng rthbalexoda1787 1837kxnhnaothkungawa xiexharuthdipothkungawa xiexoychikhxmulswnbukhkhlekid5 tulakhm kh s 1773 1773 10 05 xsykrrm27 kumphaphnth kh s 1841 1841 02 27 67 pi bidaothkungawa harusadamardaoxotmi ona katabutr thidaothkungawa xiexoychidk othakungawa xiexanari yipun 徳川 家斉 ormaci Tokugawa Ienari 5 tulakhm kh s 1773 27 kumphaphnth kh s 1841 epn ochkun ladbthi 11 aeladarngtaaehnngyawnanthisudkhxng rthbalexoda khxng yipun sungdarngtaaehnngtngaetpi kh s 1787 thungpi kh s 1837 ekhaepnehlnkhxngochkunladbthi 8 othkungawa oychimuena phanbutrchaykhxngekha muentada 1721 1764 hwhnatrakulsakhahiotsubachi aelahlanchaykhxngekha harusada 1751 1827 othakungawa xiexanari epnbutrchaykhnotkhxng othakungawa harusada Tokugawa Harusada 徳川治済 butrchaykhxngothakungawa muenatada ethakbwaxiexanariepnehlnkhxngochkunothakungawa oyachimuenannexng hlngcakthibutrchayephiyngkhnediywkhxngochkunothakungawa xiexaharuidesiychiwitlng thaihochkunxiexaharuimmithayathsubthxdtaaehnngochkun inkh s 1781 ochkunxiexaharuaelakhunnanginbakufucungtdsiniceluxkothakungawa xiexanari ihepnthayathaelabutrbuythrrmkhxngochkunxiexaharu ochkunxiexaharuthungaekxsykrrmin kh s 1786 inpitxma kh s 1787 xiexanaricungidsubthxdtaaehnngepnochkunkhntxma inkh s 1789 ekidkbtkhxngchawixnubnaekhwn Menashi bnekaahkikod aelabnekaa Kunashir Menashi Kunashir Rebellion insmykhxngochkunxiexanari karpkkhrxngkhxngyipunxyuphayitxiththiphlkhxngkhunnanghlaykhninaetlachwng kh s 1787 kh s 1793 orcu Matsudaira Sadanobu 松平定信 epnphunain Kansei no kaikaku 寛政の改革 yktwxyangechnkarprakasihlththikhngcuxepnsasnapracachatiyipunxyangepnthangkarin kh s 1790 inkh s 1792 yipunmikartidtxkbckrwrrdirsesiy Russian Empire epnkhrngaerk odyeruxrsesiynaodyxdm aelksaemn Adam Laxman maethiybthaemuxngmasumaexa Matsumae 松前 bnekaahkikod ephuxsngtwchawyipunphldhlngkhunaelaecrcakhxthakarkhakhaykbyipuncakekaahkikod aetenuxngcaknoybaypidpraethsthidaeninmanan orcumasuidra sadaonabu cungptiesthip aetihxnuyatiheruxsinkharsesiyipethiybthathinangasakiaethn karyxmihsiththikarkhaaekrsesiythaihorcumasuidra sadaonabu epnthitahnitietiynmak cntxnglaxxkcakbakufuipin kh s 1793kh s 1793 kh s 1817 orcumasuidra onabuxakira Matsudaira Nobuakira 松平信明 inkh s 1804 rsesiyphyayamthicaepidpraethsyipunxikkhrngnaodyniokhil ersanxf Nikolai Rezanov aetimsaerc inkh s 1808 ekidehtukarneruxrbxngkvschuxwaaefthxn Phaeton bukekhaemuxngthanangasakiichkalngbngkhbexaesbiyngaelaxawuth onabuxakirathungaekxsykrrminkh s 1817kh s 1817 kh s 1834 misuona thadaxakira Mizuno Tadaakira 水野 忠成 in kh s 1825 bakufuxxkkdhmaykhbileruxtangchati Ikokusen Uchiharai rei 異国船打払令 ihocmtikhbilaelasnghareruxtangchatiaelachawtangchatithnthiemuxphbehn misuona thadaxakira esiychiwitin kh s 1834 mikh s 1834 kh s 1837 misuona thadakhuni Mizuno Tadakuni 水野 忠邦 kbtkhxngoxchioxa ehhacior Ōshio Heihachirō 大塩平八郎 thiemuxngoxsakainkh s 1837 inpiediywkneruxrbchuxwamxrrisn Morrison khxngshrthxemrika maethiybthayngcnghwdkhaongachima Kagoshima inaekhwnsasuma aelaxawxuranga Uraga 浦賀 fayyipunidtxbotxyangrunaerngodykaryingpunihythlmis eriykwa Morrison Incident inkh s 1837 ochkunxiexanarislataaehnngochkunihaekbutrchaykhnthisxng khux othakungawa xiexaoyachi Tokugawa Ieyoshi 徳川家慶 aeladarngtaaehnngoxongoch Ōgōshō 大御所 ipxikepnewlasipicnkrathngoxongochxiexanarithungaekxsykrrminkh s 1841xangxingHall John Whitney et al 1991 Early Modern Japan p 21 kxnhna othkungawa xiexnari thdipothakungawa xiexaharu ochkunaehngexaodabakufu kh s 1787 1837 othakungawa xiexaoyachi