สงครามแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (อังกฤษ: Greater East Asia War; ญี่ปุ่น: 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก
สงครามแปซิฟิก | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ออสเตรเลีย
| รัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ | ฮิเดกิ โทโจ |
มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย
จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ได้ประกาศนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกและการสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (อังกฤษ: New order in East Asia and the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) และให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ โดยมีเป้าหมายยึดครองประเทศจีนและประเทศในเอเชียอันตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก
สงครามสิ้นสุดลงด้วยการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ และการทิ้งระเบิดทางอากาศครั้งใหญ่โดยกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับการรุกรานแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ส่งผลให้ญี่ปุ่นยอมจำนนและเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 การยอมจำนนอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นบนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี ที่ทอดสมอในอ่าวโตเกียวเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945
การตั้งชื่อ
ในประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ปกติไม่ได้แยกสงครามแปซิฟิกจากสงครามโลกครั้งที่สองในภาพรวม และเรียกกันในชื่อง่าย ๆ ว่า สงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในสหรัฐอเมริกา คำว่า เขตสงครามแปซิฟิก เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าทางเทคนิคแล้ว ยุทธบริเวณดังกล่าวจะไม่รวมไปถึงยุทธบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ (ภายใต้บังคับบัญชาของพลเอกดักลาส แมกอาเธอร์) หรือเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามปกติ
ส่วนประเทศญี่ปุ่นใช้คำว่า สงครามมหาเอเชียบูรพา (ญี่ปุ่น: 大東亜戦争; โรมาจิ: Dai Tō-A Sensō) ซึ่งมาจากการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1941 หมายถึงทั้งสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสงครามที่กำลังดำเนินอยู่กับจีน มีการเผยแพร่ชื่อดังกล่าวต่อสาธารณชนในวันที่ 12 ธันวาคม โดยอธิบายว่าสงครามนี้เกี่ยวข้องกับการที่ชาติเอเชียได้รับเอกราชจากชาติตะวันตกผ่านกองทัพของวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา ทางการญี่ปุ่นยังได้จัดรวมสงครามที่ตนเรียก กรณีจีน-ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日支事変; โรมาจิ: Nisshi Jihen) ไว้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาเอเชียบรูพาด้วย
ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่นของทหารอเมริกัน คำดังกล่าวถูกห้ามใช้ในเอกสารราชการ แม้ยังคงมีการใช้อย่างไม่เป็นทางการต่อไป จึงเรียกสงครามดังกล่าวอย่างเป็นทางการว่า "สงครามแปซิฟิก" (ญี่ปุ่น: 太平洋戦争; โรมาจิ: Taiheiyō Sensō) ในประเทศญี่ปุ่น ก็ใช้คำว่า "สงครามสิบห้าปี" (ญี่ปุ่น: 十五年戦争; โรมาจิ: Jūgonen Sensō) ซึ่งหมายถึงสมัยตั้งแต่เหตุการณ์กรณีมุกเดน ปี 1931 ถึงปี 1945
ฝ่ายเข้าร่วมรบ
ประเทศสมาชิกฝ่ายอักษะที่สำคัญที่ให้การสนับสนุนญี่ปุ่น รวมไปถึงรัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมของไทย ซึ่งได้รีบจัดตั้งพันธมิตรชั่วคราวกับญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1941 เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นกำลังรุกรานคาบสมุทรตอนใต้ของไทย นอกจากนี้ กองทัพพายัพยังได้ส่งกำลังพลเข้ารุกรานและยึดครองทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ซึ่งเคยเป็นดินแดนของไทยในอดีตก่อนที่จะถูกบีบบังคับให้เสียแก่กองทัพอังกฤษ ประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกคือ รัฐหุ่นเชิดญี่ปุ่นแมนจูกัว ซึ่งประกอบด้วยดินแดนแมนจูเรียส่วนใหญ่และบางส่วนของมองโกเลียใน และรัฐบาลหวังจิงเว่ย ซึ่งควบคุมบริเวณชายฝั่งของจีน
นโยบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถือว่า ประเทศไทยมิใช่พันธมิตรของฝ่ายอักษะ และสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามกับไทย นโยบายของรัฐบาลสหรัฐหลังปี ค.ศ. 1945 ก็มิได้ปฏิบัติต่อประเทศไทยอย่างศัตรูเก่า แต่มองว่าไทยถูกบีบบังคับให้เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นโดยการแบล็กเมล์ และหลังจากนั้น ไทยก็ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น ลักษณะการปฏิบัติต่อไทยของสหรัฐนั้นเหมือนกับประเทศอื่นที่ถูกฝ่ายอักษะยึดครอง อย่างเช่น เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก กรีซ เกาหลี นอร์เวย์ โปแลนด์และเนเธอร์แลนด์
ญี่ปุ่นเกณฑ์ทหารจำนวนมากจากอาณานิคมเกาหลีและฟอร์โมซา (ซึ่งในภายหลังรู้จักกันในชื่อไต้หวัน) และในขอบเขตเล็ก ๆ บางส่วนของวิชีฝรั่งเศส กองทัพแห่งชาติอินเดียและกองทัพแห่งชาติพม่าก็ได้ออกปฏิบัติการในพื้นที่สงครามแปซิฟิกเช่นกัน และในขอบเขตเล็กย่อยลงไปอีก กองทัพเรือเยอรมันและอิตาลี (ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยเรือค้าขายติดอาวุธและเรือดำน้ำ) ยังได้ออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียอีกด้วย
ประเทศเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรหลัก ๆ นั้นคือ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐจีน สหราชอาณาจักร (รวมทั้งกองทัพอินเดียของอังกฤษ ฟีจี ซามัว เป็นต้น) ออสเตรเลีย เครือจักรภพฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ (ในฐานะเจ้าอาณานิคมหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์และทางตะวันตกของนิวกินี) นิวซีแลนด์และแคนาดา ซึ่งทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นสมาชิกของสภาสงครามแปซิฟิกเม็กซิโก ฝรั่งเศสเสรีและอีกหลายประเทศยังเข้าร่วมรบด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพจากอาณานิคมอื่นของอังกฤษ และยังรวมไปถึงละตินอเมริกา
สหภาพโซเวียตเคยทำสงครามตามพรมแดนกับญี่ปุ่นอย่างไม่เป็นทางการเป็นระยะสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1938 และ 1939 ก่อนจะธำรงตนเป็นกลางจนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เมื่อสหภาพโซเวียตเข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรและรุกรานแมนจูกัว สาธารณรัฐจีน มองโกเลียใน รัฐในอารักขาเกาหลีของญี่ปุ่นและหมู่เกาะที่ญี่ปุ่นอ้างสิทธิ์ เช่น เกาะซาฮาลิน
ภูมิหลังประวัติศาสตร์
ความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น
รากเหง้าของปัญหาเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะที่จีนยังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง และญี่ปุ่นกำลังพัฒนาประเทศให้ทันสมัยอย่างรวดเร็ว ตลอดช่วงเวลาปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงและท้ายที่สุดได้ผนวกเกาหลี และขยายอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจเข้าสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมนจูเรีย การขยายอำนาจดังกล่าวง่ายเข้าจากสถานการณ์ภายในของจีนเอง เพราะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1910 ประเทศจีนแตกออกเป็นก๊กขุนศึกต่าง ๆ โดยรัฐบาลกลางอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ซึ่งประเทศจีนที่อ่อนแอไม่สามารถต้านทานความต้องการของญี่ปุ่นได้ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1927 จอมทัพเจียง ไคเช็ค และกองทัพปฏิบัติแห่งชาติแห่งพรรคก๊กมินตั๋งได้ทำสงครามตีก๊กขุนศึกทางเหนือ เจียงสามารถเอาชนะขุนศึกทางตอนใต้และตอนกลางของจีนได้เป็นผลสำเร็จ และได้รับการสวามิภักดิ์ในนามของจาง เซวเหลียง และหยาง หู่เฉิง ควบคุมดินแดนแมนจูเรียอยู่ และนำไปสู่การรวมชาติจีนแต่ในนามในปี ค.ศ. 1928 ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งตื่นตระหนกกับจีนที่กำลังเข้มแข็งขึ้นภายใต้รัฐบาลเดียว จึงได้จัดฉากกรณีมุกเดนขึ้นในปี ค.ศ. 1931 และใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานแมนจูเรียและจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัว จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิงซึ่งถูกโค่นล้มไปแล้ว ทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดแห่งแมนจูกัว
เป้าหมายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นในจีนนั้นเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ปลอดภัยและเพื่อจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้นในจีนเพื่อมิให้ดำเนินการใด ๆ ขัดขวางผลประโยชน์ของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าพฤติการณ์ของญี่ปุ่นจะไม่ถูกมองว่าไม่เข้าที่โดยบรรดาชาติมหาอำนาจอาณานิคมยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ในปี ค.ศ. 1930 การต่อต้านการล่าอาณานิคมที่เพิ่มมากขึ้นหมายความว่ากำลังทางทหารอย่างชัดเจนในการสนับสนุนการล่าอาณานิคมไม่ได้รับการยอมรับดังเช่นแต่ก่อน
พฤติการณ์ของญี่ปุ่นในแมนจูเรียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การถอนตัวออกจากสันนิบาติชาติของญี่ปุ่น ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 จีนและญี่ปุ่นยังคงคุมเชิงกันอยู่ โดยที่เจียง ไคเช็คได้มุ่งความสนใจของเขาไปยังการทำลายพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเขาพิจารณาว่าเป็นอันตรายที่สำคัญยิ่งกว่าภัยจากญี่ปุ่น อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมในจีนต่อความคิดเห็นทั้งในหมู่ผู้นำทางการเมืองและประชากรส่วนใหญ่ทำให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่อาจป้องกันได้เพิ่มฃขึ้นเรื่อย ๆ
ถึงแม้ว่ารัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์จะได้ร่วมมือกันระหว่างการปราบปรามพวกขุนศึกทางเหนือ ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1934 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าสู่ความขัดแย้งโดยตรง ฝ่ายญี่ปุ่นได้ฉวยโอกาสขณะที่จีนแตกแยกภายในโจมตีหนักขึ้น และยกพลขึ้นบกที่เซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ. 1932
ขณะเดียวกัน ในประเทศญี่ปุ่น นโยบายการลอบสังหารโดยสมาคมลับและผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำให้คณะรัฐบาลพลเรือนสูญเสียการควบคุมฝ่ายทหาร นอกจากนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุดก็สามารถควบคุมกองทัพภาคสนามได้เพียงจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่มักกระทำการใด ๆ ตามผลประโยชน์ของตนเอง และบ่อยครั้งที่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาติโดยรวม แต่โดยปกติแล้วยังคงอยู่ในพระประสงค์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโต การรวมเอเชียยังได้ถูกใช้เป็นเหตุผลสำหรับการขยายดินแดนของญี่ปุ่น ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับการสรุปไว้ได้ดีที่สุดโดย "ลัทธิอะโมะ" ในปี ค.ศ. 1934 โดยเออิจิ เอโมะ หัวหน้ากองข้อมูลแห่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ลัทธิมอนโรแห่งเอเชีย" ลัทธิดังกล่าวประกาศเจตนาของญี่ปุ่นแก่ประเทศยุโรปให้ดำเนินนโยบาย "ละมือ" ในจีน และด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยกเลิก นอกจากนี้ยังประกาศว่าญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำด้านความมั่นคงในเอเชียตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว รวมทั้งภาระในการเอาชนะคอมมิวนิสต์ เศรษฐกิจยังได้เป็นปัจจัยสำคัญอันนำไปสู่การรุกรานประเทศจีน ระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐและยุโรปหดตัวลงอย่างรุนแรง และญี่ปุ่นได้หันมาครอบงำจีนอย่างสมบูรณ์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อจัดหาตลาดที่มีเสถียรภาพ ในช่วงก่อนหน้าสงครามจะปะทุขึ้นอย่างเต็มตัวในปี ค.ศ. 1937 ญี่ปุ่นได้ใช้กำลังในท้องถิ่นเพื่อข่มขู่จีนเว้นแต่จีนจะลดกำแพงและหยุดยั้งกิจกรรมต่อต้านและการคว่ำบาตรญี่ปุ่น
ในปี ค.ศ. 1936 เจียง ไคเช็คถูกลักพาตัวโดย เพื่อที่จะได้รับการปล่อยตัว เจียง ไคเช็คจึงตกลงที่จะตั้งแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่น ต่อมา ได้เกิดเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งจุดชนวนให้เกิดสงครามระหว่างสาธารณรัฐจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่ารัฐบาลชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการร่วมรบกับญี่ปุ่นและร่วมมือจัดตั้งแนวร่วมแห่งชาติ แต่เหมา เจ๋อตุงปฏิเสธความต้องการของเจียง ไคเช็คในการบัญชาการกองทัพคอมมิวนิสต์โดยตรง ในปี ค.ศ. 1939 พรรคคอมมิวนิสต์มีทหาร 500,000 นายที่เป็นอิสระจากพรรคก๊กมินตั๋ง
นอกเหนือจากนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนความเห็นของมวลชนที่มีต่อชาติตะวันตกให้เป็นแง่ลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น ประชาชนญี่ปุ่นยังคงมีความเห็นเป็นกลางต่อสหรัฐอเมริกาอยู่ อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวของได้ทำให้ความเห็นของมวลชนอเมริกันเปลี่ยนเป็นต่อต้านญี่ปุ่นเช่นกัน
ในปี ค.ศ. 1939 กองทัพญี่ปุ่นพยายามที่จะขยายดินแดนไปทางภาคตะวันออกไกลของสหภาพโซเวียตจากแมนจูเรีย แต่กองทัพญี่ปุ่นปราชัยยับเยินต่อกองทัพผสมโซเวียต-มองโกเลียภายใต้การบัญชาการของนายพลเกออร์กี จูคอฟ ทำให้ญี่ปุ่นยุติการขยายตัวไปยังดินแดนทางตอนเหนือ และทั้งสองประเทศได้ดำรงรักษาสันติภาพอันไม่มั่นคงจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1945
ความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นกับมหาอำนาจตะวันตก
ในความพยายามที่จะขัดขวางลัทธิทหารของญี่ปุ่น ชาติตะวันตกรวมไปถึงออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษและรัฐบาลผลัดถิ่นดัตช์ ซึ่งครอบครองอินเดียตะวันออกของดัตช์ซึ่งมีปิโตรเลียมอยู่ในปริมาณมาก หยุดการขายโลหะเหล็ก เหล็กกล้าและน้ำมันให้แก่ญี่ปุ่น โดยปฏิเสธที่จะให้ทรัพยากรดิบซึ่งจำเป็นต้องการดำเนินกิจกรรมต่อไปในจีนและอินโดจีนของฝรั่งเศส ในญี่ปุ่น รัฐบาลและกลุ่มชาตินิยมมองว่าการห้ามส่งสินค้าดังกล่าวเป็นพฤติกรรมลักษณะรุกราน น้ำมันนำเข้าคิดเป็นกว่า 80% ของปริมาณการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ทำให้น้ำมันไม่เหลือถึงมือทหาร และบีบให้กิจกรรมทางทหารหยุดชะงักลง สื่อญี่ปุ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนักโฆษณาชวนเชื่อทหาร เริ่มเรียกการห้ามส่งสินค้าดังกล่าวว่าเป็น "วงล้อม ABCD" หรือ "แนว ABCD" (ABCD ย่อมาจาก "American-British-Chinese-Dutch")
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกระหว่างการล่มสลายทางเศรษฐกิจหรือการถอนตัวจากการพิชิตดินแดนล่าสุด (และยังเสียหน้าอีกด้วย) กองบัญชาการทหารสูงสุดจึงเริ่มต้นวางแผนทำสงครามกับชาติตะวันตกในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 1941 วัตถุประสงค์สำคัญคือ ให้กลุ่มกองทัพรบนอกประเทศใต้ยึดทรัพยากรทางเศรษฐกิจภายใต้การควบคุมของสหราชอาณาจักรและเนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาลายาและหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "แผนใต้" นอกจากนี้กองบัญชาการยังได้ตัดสินใจจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา และความเชื่อที่ว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ญี่ปุ่นเรียกแผนการหลังนี้ว่า "แผนตะวันออก"
แผนใต้ มีขั้นตอนดังนี้
| แผนตะวันออก มีขั้นตอนดังนี้
|
หลังจากที่วัตถุประสงค์ข้างต้นทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว ยุทธศาสตร์จะเปลี่ยนไปเป็นการตั้งรับ และจะเน้นการรักษาดินแดนที่พิชิตได้ใหม่ขณะที่หวังการเจรจาสันติภาพ
ญี่ปุ่นได้วางแผนในการยึดครองอาณานิคมของชาติยุโรปในทวีปเอเชียอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสร้างแนวป้องกันขนาดใหญ่ซึ่งลากยาวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแสวงหาทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ในเอเชียอาคเนย์อย่างอิสระขณะทำสงครามป้องกันตนเองจนทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ต้องสู้รบเป็นอาณาบริเวณกว้างเหนื่อยล้า และเพื่อการป้องกันการเข้าแทรกแซงของภายนอก ญี่ปุ่นจึงพยายามวางแผนที่จะทำลายกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับแรก
เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน แผนการเหล่านี้หลัก ๆ ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยในอีกหนึ่งเดือนถัดมา ความคาดหวังความสำเร็จของนักวางแผนทางทหารของญี่ปุ่นนั้นขึ้นอยู่กับการไม่สามารถรับมือกับการโจมตีของญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพของสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต เนื่องจากภัยคุกคามที่มาจากเยอรมนี สหภาพโซเวียตก็ยังถูกมองว่าไม่น่าจะเริ่มความเป็นปรปักษ์ก่อน
ไม่มีหลักฐานว่าญี่ปุ่นวางแผนจะเอาชนะสหรัฐอเมริกา ทางเลือกน่าจะเป็นว่าการเจรจาสันติภาพหลังจากชัยชนะในขั้นต้นแล้ว อันที่จริง กองบัญชาการทหารสูงสุดญี่ปุ่นหมายเหตุไว้ว่า หากบรรลุการเจรจาซึ่งยอมรับได้กับสหรัฐอเมริกาแล้ว การโจมตีในอนาคตก็จะถูกยกเลิก แม้ว่าคำสั่งโจมตีจะถูกแจกจ่ายไปแล้วก็ตาม
ญี่ปุ่นยังได้วางแผนว่า หากสหรัฐเคลื่อนกองเรือแปซิฟิกมายังฟิลิปปินส์ ก็จะนำกองเรือผสมเข้าขัดวางและโจมตีขณะยังไม่ถึงจุดหมาย เพื่อรักษาแผนการและแนวทางก่อนสงครามของกองทัพเรือญี่ปุ่นทั้งหมด และหากสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษโจมตีก่อน แผนการได้กำหนดเพิ่มเติมว่าฝ่ายทหารจะต้องรักษาตำแหน่งของตนและรอคำสั่งจากกองบัญชาการทหารสูงสุด นักวางแผนมองว่าการโจมตีฟิลิปปินส์และมาลายายังมีความเป็นไปได้ว่าจะสำเร็จอยู่บ้าง แม้ว่าในกรณีที่ร้ายที่สุดอาจรวมไปถึงการเปิดฉากโจมตีหลายด้านซึ่งมีกองทัพโซเวียตเข้าร่วมด้วย
ญี่ปุ่นรุก ค.ศ. 1941–1942
โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
ช่วงเช้ามืดของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (หรือวันที่ 8 ตามเวลาในเอเชีย) ญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เช่นเดียวกับเกาะกวมและเกาะเวก ญี่ปุ่นได้โจมตีทางอากาศครั้งใหญ่โดยใช้เครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งส่งผลทำให้เรือประจัญบานของสหรัฐแปดลำไม่สามารถใช้การได้ ญี่ปุ่นได้เสี่ยงดวงว่าสหรัฐอเมริกา เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่อย่างฉับพลัน จะยอมตกลงบรรลุข้อตกลงเจรจาและยินยอมให้ญี่ปุ่นปกครองเอเชียอย่างเสรี แต่การเสี่ยงโชคดังกล่าวไม่เป็นผล ความสูญเสียของสหรัฐนั้นเสียหายน้อยกว่าที่เคยคาดกันไว้มาก เพราะเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าเรือประจัญบานมาก ยังอยู่ในทะเล สาธารณูปโภคที่สำคัญของกองทัพเรือ (ถังน้ำมันเชื้อเพลิง อู่ต่อเรือและโรงไฟฟ้า) ฐานเรือดำน้ำ และหน่วยข่าวกรองทางสัญญาณไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ยุทธศาสตร์ถอยทัพของญี่ปุ่นต้องอาศัยสงครามบั่นทอนกำลังเพื่อให้สหรัฐยอมรับเงื่อนไขในที่สุด ซึ่งอยู่เหนือขีดความสามารถของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
ขณะที่เกิดการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ขึ้นนั้น สหรัฐอเมริกายังไม่ได้อยู่ในสภาวะสงครามอย่างเป็นทางการกับประเทศใด ๆ ในโลก กลุ่มอเมริกาเฟิร์สท์คอมมิตตีได้คัดค้านการแทรกแซงทางทหารของสหรัฐอเมริกาในทวีปยุโรปอย่างรุนแรง แม้ว่าสหรัฐจะขายความช่วยเหลือทางทหารต่ออังกฤษและสหภาพโซเวียตผ่านโครงการให้เช่า-ยืม แต่การต่อต้านสงครามในสหรัฐหายไปหลังจากการโจมตีดังกล่าว วันที่ 8 ธันวาคม เนเธอร์แลนด์ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น ตามมาด้วยออสเตรเลียในวันรุ่งขึ้น สี่วันหลังจากเพิร์ลฮาร์เบอร์ นาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลีประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้สหรัฐต้องเผชิญกับสงครามสองด้าน พฤติการณ์ดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นความสัพเพร่าของยุทธศาสตร์หลัก เนื่องจากเยอรมนีสูญเสียประโยชน์ที่ญี่ปุ่นทำให้สหรัฐไขว้เขว และการลดการให้ความช่วยเหลือแก่อังกฤษ ซึ่งทั้งรัฐสภาและฮิตเลอร์ต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงมาตลอดช่วงที่ต่างฝ่ายต่างยั่วยุเป็นระยะเวลาปีเศษ
โจมตีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กองทัพอังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ ซึ่งต้องเสียกำลังพลและทรัพยากรไปกับการทำสงครามกับเยอรมนีเป็นระยะเวลากว่าสองปี และยังพัวพันอย่างหนักในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือและที่อื่น ๆ ไม่สามารถจัดเตรียมการป้องกันได้มากไปกว่าการต้านทานที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันต่อทหารญี่ปุ่นผู้กรำศึก ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความพ่ายแพ้ถึงขั้นหายนะหลายครั้งในช่วงหกเดือนแรกของสงคราม เรือรบอังกฤษหลักถึงสองลำ เอชเอ็มเอส รีพัลซ์ และเอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ ถูกจมในการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นนอกชายฝั่งมาลายาเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941
ประเทศไทย ซึ่งดินแดนถูกเลือกเป็นสถานที่สำหรับเริ่มต้นการทัพมาลายาเรียบร้อยแล้ว ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกญี่ปุ่นรุกราน รัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม
ฮ่องกง คราวน์โคโลนีของอังกฤษ ถูกโจมตีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม และพ่ายแพ้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
หลังจากปฏิญญาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 (ซึ่งพบการใช้คำว่า "สหประชาชาติ" อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก) รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรได้แต่งตั้งพลเอกอังกฤษ เซอร์อาร์ชิบาลด์ เวเวลล์ ในกองบัญชาการอเมริกา-บริเตน-ดัตช์-ออสเตรเลีย (ABDACOM) ซึ่งเป็นกองบัญชาการสูงสุดกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวเวลล์มีอำนาจบัญชาการในนามเหนือกองกำลังขนาดใหญ่ แต่ก็กระจัดกระจายอย่างเบาบางเหนือพื้นที่ตั้งแต่พม่าไปจนถึงฟิลิปปินส์และทางเหนือของออสเตรเลีย ส่วนบริเวณอื่น รวมไปถึงอินเดีย ฮาวายและส่วนที่เหลือของออสเตรเลียอยู่ภายใต้การบัญชาการที่เป็นอิสระต่อกัน เมื่อวันที่ 15 มกราคม เวเวลล์เดินทางไปยังบันดุงในเกาะชวาเพื่อรับอำนาจบัญชาการ ABDACOM
ในเดือนมกราคม ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตช์ นิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และ หลังจากกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา ในสิงคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนนเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตช์ตกเป็นเชลยศึกถึงกว่า 130,000 คน อัตราการพิชิตดินแดนของญี่ปุ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยบาหลีและติมอร์เสียแก่ข้าศึกในเดือนเดียวกัน การต้านทานของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประสบความล้มเหลวอย่างรวดเร็วนั้นได้ทำให้ "พื้นที่ ABDA" ถูกแยกออกเป็นสอง เวเวลล์ลาออกจาก ABDACOM เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ โดยส่งมอบอำนาจเหนือพื้นที่ ABDA ให้แก่ผู้บัญชาการท้องถิ่นก่อนจะกลับไปดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในอินเดียต่อไป
ในขณะเดียวกัน เครื่องบินญี่ปุ่นได้เกือบจะกำจัดแสงยานุภาพทางอากาศเกือบทั้งหมดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังโจมตีออสเตรเลียตอนเหนือ เริ่มต้นด้วยการโจมตีเมืองดาร์วินซึ่งส่งผลกระทบทางจิตวิทยา (แต่มีความสำคัญทางทหารเพียงเล็กน้อย) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ และคร่าชีวิตไปอย่างน้อย 243 คน
ในยุทธนาวีทะเลชวาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ชัยชนะครั้งใหญ่เหนือกองทัพเรือหลักของ ABDA ภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกคาเรล ดอร์แมน การทัพอินเดียตะวันออกของดัตช์ในเวลาต่อมาสิ้นสุดลงด้วยการยอมจำนนของกองทัพสัมพันธมิตรบนเกาะชวาและสุมาตรา
ในเดือนมีนาคมและเมษายน การโจมตีเข้าไปในมหาสมุทรอินเดียโดยกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่งผลให้ซีลอนถูกโจมตีทางอากาศหลายระลอก และเรือบรรทุกเครื่องบินอังกฤษ เอชเอ็มเอส เฮอร์มีส เช่นเดียวกับเรือสัมพันธมิตรอื่น ๆ ถูกจมลง และกองเรืออังกฤษถูกขับไล่ออกจากมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นการเปิดทางสำหรับการรุกรานพม่าและอินเดียของญี่ปุ่น
ฝ่ายอังกฤษ ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก สู้รบล่าถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า เป็นผลทำให้ถนนสายพม่า อันเป็นเส้นทางเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตรให้แก่กองกำลังชาตินิยมจีน ความร่วมมือระหว่างกลุ่มชาตินิยมจีนและคอมมิวนิสต์ค่อย ๆ ลดลงหลังจากเพิ่มขึ้นถึงขีดสุดในยุทธการอู่ฮั่น และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเลวร้ายลงเมื่อทั้งสองพยายามขยายพื้นที่ปฏิบัติการในดินแดนยึดครองของตนเอง พื้นที่กองโจรชาตินิยมส่วนใหญ่นั้นถูกแย่งชิงโดยคอมมิวนิสต์ ในอีกด้านหนึ่ง กำลังชาตินิยมบางส่วนถูกจัดวางเพื่อขัดขวางพวกคอมมิวนิสต์มิใช่ญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น กำลังชาตินิยมจีนส่วนใหญ่เป็นขุนศึกซึ่งเป็นพันธมิตรกับเจียง ไคเช็ค แต่มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของเขา "ทหารกว่า 1,200,000 นายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเจียง มีเพียง 650,000 นายเท่านั้นที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากนายพลของเขา ส่วนอีก 550,000 นายนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของขุนศึกซึ่งอ้างความจงรักภักดีต่อรัฐบาลเท่านั้น กำลังที่เข้มแข็งที่สุดนั้นเป็นของเซอชวน ที่มีทหารอยู่ถึง 320,000 นาย ความพ่ายแพ้ของกองทัพนี้จะนำไปสู่การสูญเสียอำนาจอย่างใหญ่หลวงของเจียง" ฝ่ายญี่ปุ่นแสวงหาประโยชน์จากความขาดความสามัคคีนี้และกระหน่ำโจมตีหนักยิ่งขึ้นไปอีก
กองทัพฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกายังคงทำการรบต้านทานอยู่ในฟิลิปปินส์จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 เมื่อทหารมากกว่า 80,000 นายได้รับคำสั่งให้ยอมจำนน เมื่อถึงเวลานี้ พลเอกดักลาส แมกอาเธอร์ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตรสูงสุดแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ได้ล่าถอยไปยังออสเตรเลียที่ปลอดภัยกว่า กองทัพเรือสหรัฐ ภายใต้บังคับบัญชาพลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตส์ รับผิดชอบต่อส่วนที่เหลือของมหาสมุทรแปซิฟิก การแบ่งแยกบังคับบัญชาดังกล่าวสร้างผลกระทบไม่ดีต่อสงครามพาณิชย์ และตัวสงครามแปซิฟิกด้วยตามลำดับ
คุกคามออสเตรเลีย
ปลาย ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ส่วนใหญ่ของกองทัพที่ดีที่สุดของออสเตรเลียได้รับคำสั่งให้สู้รบกับนาซีเยอรมันในยุทธบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ออสเตรเลียมีการเตรียมการรับมือกับการโจมตีเลวมาก ขาดแคลนอาวุธยุทธภัณฑ์ เครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักและเรือบรรทุกเครื่องบินที่ทันสมัย ขณะที่เรียกร้องกำลังเสริมจากเชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรี จอห์น เคอร์ทิน เรียกร้องการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยแถลงการณ์ประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1941
ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งหลักได้ ค.ศ. 1942–1944
มิดเวย์
ยุทธนาวีมิดเวย์ เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น ได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา
ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
สงครามที่หมู่เกาะโซโลมอน
การทัพหมู่เกาะโซโลมอน เป็นการทัพหลักของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพเริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและยึดครองดินแดนหลายแห่งในและ (Bougainville) ในดินแดนแห่งนิวกินีระหว่าง 6 เดือนแรกของปี ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นได้ยึดพื้นที่หลายส่วนและเริ่มสร้างท่าเรือและสนามบินหลายแห่งเพื่อใช้ป้องกันแนวด้านข้างของการบุกโจมตีในนิวกินี การสร้างแนวปลอดภัยสำหรับฐานทัพหลักของญี่ปุ่นอยู่ที่ราบวล (Rabaul) ในนิวบริเตน (New Britain) และเป็นฐานทัพที่จัดเตรียมเพื่อหยุดเส้นทางลำเลียงเสบียงระหว่างมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ต่อสหรัฐอเมริกาในญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนแผนการที่จะบุกยึดหมู่เกาะแถบโอเชียเนียซึ่งเกาะส่วนใหญ่เป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศขนาดย่อยของสหรัฐอเมริกา
เพื่อปกป้องการสื่อสารและเส้นทางลำเลียงเสบียงในแปซิฟิกใต้ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้สนับสนุนการรุกตอบโต้ในนิวกินีและทำลายฐานทัพญี่ปุ่นในราบวล และ ได้โต้กลับญี่ปุ่นในหมู่เกาะโซโลมอนด้วย(ดู การทัพกัวดาลคาแนล) และเกาะเล็กๆที่อยู่ใกล้เคียงในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1942 การยกพลขึ้นบกนี้เป็นการเริ่มต้นการต่อสู้แบบผสมผสานระหว่างสองปรปักษ์ เริ่มต้นด้วยยกพลขึ้นบกที่กัวดาลคาแนล ตามติดด้วยยุทธการหลายครั้งในตอนกลางและตอนเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน และรอบๆเกาะนิวกินี และเกาะบัวเกนวิลล์
ในการทัพนี้เป็นการต่อสู้ทั้งบนแผ่นดิน ในทะเล และกลางอากาศ สัมพันธมิตรยัดเยียดความเสียหายที่ไม่สามารถทดแทนได้ในด้านสินทรัพย์ทางทหารให้กับญี่ปุ่น สัมพันธมิตรยึดบางส่วนของหมู่เกาะโซโลมอนกลับคืนมาได้ (แม้ว่าจะมีการต่อต้านในเวลาต่อมาจนกระทั่งสงครามสิ้นสุด)และสามารถทำลายกองเรือและอากาศยานของญี่ปุ่นได้มาก การทัพหมู่เกาะโซโลมอนได้มาบรรจบกับการนิวกินี
ศึกนี้จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเริ่มที่จะหวาดกลัวมาขึ้น
ฝ่ายสัมพันธมิตรบุก ค.ศ. 1944–1945
การต่อสู้ที่ฟิลิปปินส์
ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นพยายามทุกหนทางเพื่อที่จะตัดกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่สหรัฐอเมริกาก็ได้สู้กับญี่ปุ่นอย่างเต็มที่เพื่อที่จะยึดฟิลิปปินส์กลับคืนมา ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์ถือเป็นยุทธนาวีเรือบรรทุกอากาศยานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการสู้รบระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19–20 มิถุนายน ค.ศ. 1944 นอกชายฝั่งของหมู่เกาะมาเรียนาและยังเกี่ยวข้องกับสนามบินญี่ปุ่นบนแผ่นดิน การรบก่อเกิดความเสียหายต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำและเครื่องบิน 600 ลำซึ่งฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Marianas Turkey Shoot ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงน่าจะเกิดมาจากความล้าสมัยของเครื่องบินญี่ปุ่นและความขาดประสบการณ์ของนักบิน (นักบินที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายใน ยุทธนาวีมิดเวย์ และการรบอื่น) ตรงกันข้ามกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่มีเครื่องบินขับไล่ กรัวม์แมน F6F เฮลแคท อันทันสมัย นักบินได้รับการฝึกอย่างดีและมีประสบการณ์มาก และมีเรดาร์ตรวจสอบชี้ทางในการบินลาดตระเวนรบ ในที่สุดพลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์จำนวน 200,000 นายและยึดฟิลิปปินส์ได้สมบูรณ์
จากเลย์เตสู่ซามาร์
ก่อนที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์จะยกพลขึ้นบกที่เลย์เตประเทศฟิลิปปินส์ กองเรือของญี่ปุ่นได้พยายามต่อสู้เพื่อขัดขวางสหรัฐอเมริกาที่จะยึดฟิลิปปินส์แต่ก็ถูกอากาศยานของอเมริกาโจมตีอย่างหนักทำให้ญี่ปุ่นเสียเรือรบไปจำนวนหนึ่งและหนึ่งในนั้นก็คือเรือประจัญบานมุซาชิได้ถูกจมลงไปยัง
แต่หลังจากที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์แล้ว ญี่ปุ่นจึงคิดแผนการขึ้นมาแผนนี้มีชื่อว่า"โชโก"โดยมีแผนก็คือหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ของพลเรือเอกให้ผละออกไปและทำลายกองกำลังทางบกของแมกอาเธอร์ด้วยเรือรบของญี่ปุ่น วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเริ่มแผนการโชโกโดยการเข้าโจมตีซามาร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะเลย์เต ในช่วงแรกกองเรือของญี่ปุ่นสามารถหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ให้ผละออกไปได้แล้วเปิดน่านน้ำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่เลย์เต แต่ทว่าในเวลาต่อมากองเรือญี่ปุ่นก็ได้เจอซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการย่อยของกองเรืออเมริกาที่ 7 ซึ่งในกองเรือแทฟฟี่ 3 มีเรือพิฆาต เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กและเรือขนส่งเสบียง ต่อมาญี่ปุ่นเปิดฉากยิงกองเรือแทฟฟี่ 3 พลเรือตรีผู้บัญชาการกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้ต่อสู้อย่างเต็มที่เพื่อปกป้องทหารอเมริกัน 200,000 นายบนเกาะเลย์เต ซึ่งเรียกการต่อสู้ครั้งนี้ว่ายุทธนาวีที่ซามาร์ ผลปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายชนะโดยกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้จมเรือลาดตระเวนญี่ปุ่น 3 ลำ แต่กองเรือแทฟฟี่ 3 ต้องสูญเสียเรือพิฆาต 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำและอากาศยานอีก 23 ลำ ทำให้กองเรือญี่ปุ่นต้องถอยกลับไป
ที่น่าสนใจก็คือศึกครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เริ่มใช้แผนที่ชื่อว่า"กามิกาเซ่หรือหน่วยบินพลีชีพ โดยใช้เครื่องบินเข้าพุ่งชนเรือรบของอเมริกา ตัวอย่างเช่น ในยุทธนาวีที่ซามาร์ฝูงบินกามิกาเซ่ได้จมซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกาตกตะลึงกับวิธีที่แปลกๆของญี่ปุ่น
สิ้นสุดสงครามแปซิฟิก ค.ศ.1945
สหรัฐอเมริกาบุกยึดอิโวะจิมะและโอกินนะวะ
ในปลายปี ค.ศ.1944 จนถึงปี ค.ศ.1945 เครื่องบินของกองทัพอเมริกาได้กระหน่ำทิ้งระเบิดลงสู่เมืองต่างๆของญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นโอซะกะ นะระ อิชิกะวะ เป็นต้น รวมถึงโตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทำให้เมืองต่างๆของญี่ปุ่นเกิดเพลิงไหม้ทั้งวันทั้งคืน สิ่งก่อสร้างพังทลายลงมา มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตมากมาย
วันที่ 19 กุมพาพันธ์ ค.ศ.1945 กองทัพอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะอิโวะจิมะ ฐานทัพอากาศยานที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยมีเป้าหมายคือยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่อเมริกามีชัยชนะเหนือญี่ปุ่นที่อิโวะจิมะแล้ว สหรัฐอเมริกาได้สร้างสนามบินเพื่อจอดเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-29ที่จะเข้าทิ้งระเบิดในแผ่นดินใหญ่ที่ญี่ปุ่น
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพอเมริกาได้ยกพลขึ้นบกที่เกาะโอะกินนะวะซึ่งเป็นเกาะที่ใกล้กับญี่ปุ่นมากที่สุดทางตอนใต้ ญี่ปุ่นคิดว่าหากสูญเสียโอะกินนะวะไปสหรัฐอเมริกาก็จะมีฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศที่จะโจมตีญี่ปุ่นทางตอนใต้ดังน้นช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่วิกฤตหนักของญี่ปุ่น ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำภารกิจครั้งสุดท้ายเพื่อช่วยเหลือจักรวรรดิญี่ปุ่นในปฏิบัติการเท็งโงซึ่งแปลว่า"ปฏิบัติการสรวงสวรรค์" มันคือการเกิดใหม่ของ"กามิกาเซ่"ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นมันคือปฏิบัติการแบบฆ่าตัวตาย มีเพียงทางเดียวเพื่อที่จะช่วยเหลือญี่ปุ่นซึ่งนำโดยเรือประจัญบานยะมะโตะที่แล่นออกจากญี่ปุ่นและโจมตีจุดทอดสมอของสหรัฐอเมริกาที่โอะกินนะวะ เรือประจัญบานยะมะโตะพร้อมกับเรือลาดตระเวนเบา 1 ลำและเรือพิฆาต 8 ลำ ถูกตรวจพบโดยเรือดำน้ำสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้ของเกาะคิวชู เช้าวันต่อมาวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1945 กองทัพเรืออเมริกาได้ส่งเครื่องบินกว่า 300 ลำขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อจมเรือรบยะมะโตะ เครื่องบินของอเมริกาได้กระหน่ำทิ้งระเบิดและตอร์ปิโดลงไปยังเรือรบยะมะโตะ จนในเวลา 14:30 น.เรือรบยะมะโตะก็ได้จมลงในทะเล ไม่เพียงแค่นั้นเครื่องบินของอเมริกายังจมและเรือพิฆาตอีก 4 ลำได้อีกด้วย จากปฏิบัติการเท็งโงที่ล้มเหลวเรือรบที่เหลือในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่เคยแล่นเรือรบออกมาอีกเลย เดือนมิถุนายน ค.ศ.1945 หลังจาก 2 เดือนแห่งสมรภูมิอันดุเดือดสหรัฐอเมริกาก็สามารถยึดเกาะโอะกินนะวะไว้ได้อย่างสมบูรณ์
จุดจบสงครามแปซิฟิก
สหรัฐอเมริกาคิดว่าหากนำกองทัพเข้าบุกโจมตีญี่ปุ่นคงเป็นเรื่องที่ยากเพราะชาวญี่ปุ่นจะลุกฮือขึ้นมาต่อสู้จนตัวตาย สหรัฐอเมริกาจึงใช้วิธีเด็ดขั้นเด็ดขาดในการจัดการกับญี่ปุ่นเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมแพ้อย่างง่ายโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูหรือที่เรียกว่าระเบิดนิวเคลียร์และถือว่าเป็นการทดสอบอาวุธด้วย วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1945 เครื่องบินบี-29ของอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่ชื่อว่าลิตเติลบอยลงสู่เมืองฮิโรชิมะทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 140,000 คน ต่อมาวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 เครื่องบินบี-29ของอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่ชื่อว่าแฟตแมนถล่มเมืองนางาซากิทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 80,000 คน จนในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 ญี่ปุ่นก็ได้ประกาศยอมแพ้สงคราม นับเป็นการยุติสงครามแปซิฟิกและสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.1945
ดูเพิ่ม
- การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์
- ยุทธการที่เกาะเวก
- การทัพมาลายา
- การบุกครองอินโดจีนฝรั่งเศสของญี่ปุ่น
- การบุกครองไทยของญี่ปุ่น
- การยึดครองกัมพูชาของญี่ปุ่น
- การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น
- การทิ้งระเบิดดาร์วิน
- การตีโฉบฉวยดูลิตเติล
- ยุทธนาวีทะเลคอรัล
- ยุทธนาวีที่มิดเวย์
- การทัพหมู่เกาะโซโลมอน
- การทัพกัวดัลคะแนล
- ยุทธการที่ไซปัน
- ยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน
- ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต
- การทิ้งระเบิดโตเกียว
- ยุทธการที่อิโวจิมา
- ยุทธการที่โอกินาวา
- ปฏิบัติการเท็งโง
- การทัพบอร์เนียว พ.ศ. 2488
- การบุกครองแมนจูเรียของสหภาพโซเวียต
- การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
- การยอมจำนนของญี่ปุ่น
- การยึดครองญี่ปุ่น
อ้างอิง
- International Military Tribunal for the Far East
- "WW2 People's War - Timeline". BBC. สืบค้นเมื่อ 2010-10-31.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-15. สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- "World War II: 1930–1937". สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- "Georgi Dimitrov and the United National Front in China 1936-1944 (See: No. 22 New Soviet Aid for Chinese)". สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
- Irvine H. Anderson, Jr. De Facto Embargo on Oil to Japan: A Bureaucratic Reflex. The Pacific Historical Review, Vol. 44, No. 2 (May, 1975), p. 201.
- Kokushi Daijiten ("Historical Dictionary"), 1980: "It was not an official term, but a term of incitement used by the Japanese media, under the guidance of the military, in order to stir up the Japanese people's sense of crisis..." (Cited by Christopher Barnard, 2003, Language, Ideology and Japanese History Textbooks, London & New York, Routledge Curzon, p.85.)
- Peattie & Evans, Kaigun
- Weinberg, Gerhard L (2005). A World At Arms. Cambridge University Press. p. 310. ISBN .
- Morgan, Patrick M. Strategic Military Surprise: Incentives and Opportunities, pg. 51
- Evans & Peattie 1997
- Parillo, Mark P. Japanese Merchant Marine in World War II. (United States Naval Institute Press, 1993).
- "Canada Declares War on Japan". Inter-Allied Review. 15 December 1941. จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 8 April 2015 – โดยทาง Pearl Harbor History Associates, Inc.
- "Australia Declares War on Japan". Inter-Allied Review. 15 December 1941. จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2008. สืบค้นเมื่อ 3 October 2009 – โดยทาง Pearl Harbor History Associates Inc.
- . Awm.gov.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-31.
- Hoyt, Edwin P. (1986). Japan's War. Da Capo. pp. 262–263. ISBN .
- Blair, Silent Victory
- . Naval History & Heritage Command. 27 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009. "...considered the decisive battle of the war in the Pacific."
- Dull, Paul S. Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. US Naval Institute Press. ISBN . "Midway was indeed "the" decisive battle of the war in the Pacific.", p. 166
- "A Brief History of Aircraft Carriers: Battle of Midway". U.S. Navy. 2007. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
sngkhramaepsifik xngkvs Pacific War hrux sngkhrammhaexechiyburpha xngkvs Greater East Asia War yipun 大東亜戦争 Dai Tō A Sensō epnswnhnungkhxngsngkhramolkkhrngthisxng surbkninmhasmuthraepsifikaelaexechiytawnxxkepnhlksngkhramaepsifikswnhnungkhxng sngkhramolkkhrngthisxngcaksaybnipkhwa thharshrththiekaaxiowacima eruxrbshrththukphungchnodyekhruxngbinyipun raebidniwekhliyrthiemuxngnangasaki ekhruxngbinrbyipunxxkbincakeruxbrrthukekhruxngbin thharyipunincin thharxinediyinphmawnthi7 thnwakhm kh s 1941 2 knyayn kh s 1945sthanthiexechiytawnxxk exechiyit exechiytawnxxkechiyngit mhasmuthraepsifiktawntk hmuekaaaelapraethsephuxnbaninphunthidngklaw aelamhasmuthrxinediybangswnphlfaysmphnthmitrchnaxyangeddkhadsngkhramolkkhrngthisxngsinsudsnthisyyasanfransisok pi 1951 ckrwrrdiyipunlmslay ecaxananikhmyuorpxxnaexlngmak inexechiyepnladb rwmaelasngkhramxinodcinkhrngthihnung dinaedn epliynaeplngkaryudkhrxngyipunodyfaysmphnthmitr karthxnthharyipunthiyudkhrxngemuxngthakhxngsatharnrthcin ithwnklbkhunepnkhxngcin karpldplxyekahliaelaaemncueriycakkarpkkhrxngkhxngyipun karykekaathiyipunthuxkhrxngthnghmdinmhasmuthraepsifikklangihaekshprachachati karthxnthharyipunthnghmdcakhmuekaaosolmxn dinaednniwkiniaelapapwthixxsetreliypkkhrxng shphaphosewiytyudaelaphnwkekaasahalinaelakhurilkhusngkhramfaysmphnthmitr shrthxemrika satharnrthcin shrachxanackr britichmalaya britichrach xxsetreliy niwsiaelnd enethxraelnd xinediytawnxxkkhxngdtch shphaphosewiyt khbwnkaresriithy klumtidxawuthtxtanyipuninpraethsithy khbwnkarithythib smakhmkhncininpraethsithy lfayxksa ckrwrrdiyipun ekahli ithy rthhunechidkhxngyipun aemncukwehmingeciyngcinptirupsatharnrthfilippinsthi 2rthphmackrwrrdiewiydnamphubngkhbbychaaelaphunaechsetxr dbebilyu nimits dklas aemkxarethxr eciyng ikhechkh echin eching ephing etxhwy hluys emantaebthaetn cxhn ekhxrtin khirill emertskhxfhiedki othoc ecachayokhothiota xiosorku yamaomota chuxici nanguoma aeplk phibulsngkhram cruy rtnkul esrieringvththi ohes ep elaerl bamxw ecin cxng kimbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha aephnthiaesdngphunthikhdaeynghlkaelakarykphlkhunbkkhxngfaysmphnthmitrinmhasmuthraepsifik pi 1942 1945 mikaryxmrbknxyangkwangkhwangwasngkhramaepsifikerimtngaetwnthi 7 hrux 8 thnwakhm 1941 emuxyipunbukkhrxngpraethsithyaelaocmtixananikhmkhxngbritich idaek malaya singkhopraelahxngkng tlxdcnthanthphshrthinhmuekaahaway hmuekaaewk ekaakwmaelafilippins thwa sngkhramcin yipunkhrngthisxngrahwangckrwrrdiyipunaelasatharnrthcinmimatxenuxngtngaetwnthi 7 krkdakhm 1937 odymikhwamepnprpksyxnhlngipthungwnthi 19 knyayn 1931 emuxpraethsyipunbukkhrxngaemncueriy ckrwrrdiyipunerimnoybaychatiniymodyichkhakhwythiwa exechiyephuxchawexechiy Asia for Asiatics wnthi 3 phvscikayn kh s 1938 idprakasnoybay karcdraebiybihminexechiytawnxxkaelakarsrangwngiphbulyrwmaehngmhaexechiyburpha xngkvs New order in East Asia and the Greater East Asia Co Prosperity Sphere aelaihkhwamrwmmuxkbfayxksa odymiepahmayyudkhrxngpraethscinaelapraethsinexechiyxntkepnxananikhmkhxngchatitawntk sngkhramsinsudlngdwykarthingraebidprmanuthihiorchimaaelanangasaki aelakarthingraebidthangxakaskhrngihyodykxngthphxakasshrthxemrika prakxbkbkarrukranaemncueriykhxngshphaphosewiyt emuxwnthi 8 singhakhm kh s 1945 sngphlihyipunyxmcannaelaepncudsinsudkhxngsngkhramolkkhrngthisxngemuxwnthi 15 singhakhm kh s 1945 karyxmcannxyangepnthangkarekidkhunbneruxrbyuexsexs missuri thithxdsmxinxawotekiywemuxwnthi 2 knyayn kh s 1945kartngchuxinpraethsfaysmphnthmitr pktiimidaeyksngkhramaepsifikcaksngkhramolkkhrngthisxnginphaphrwm aelaeriykkninchuxngay wa sngkhramtxtanyipun inshrthxemrika khawa ekhtsngkhramaepsifik epnkhathiichknxyangaephrhlay aemwathangethkhnikhaelw yuththbriewndngklawcaimrwmipthungyuththbriewnaepsifiktawntkechiyngit phayitbngkhbbychakhxngphlexkdklas aemkxaethxr hruxekhtsngkhramexechiytawnxxkechiyngittampkti swnpraethsyipunichkhawa sngkhrammhaexechiyburpha yipun 大東亜戦争 ormaci Dai Tō A Sensō sungmacakkartdsinickhxngkhnarthmntriemuxwnthi 10 thnwakhm 1941 hmaythungthngsngkhramkbfaysmphnthmitrtawntkaelasngkhramthikalngdaeninxyukbcin mikarephyaephrchuxdngklawtxsatharnchninwnthi 12 thnwakhm odyxthibaywasngkhramniekiywkhxngkbkarthichatiexechiyidrbexkrachcakchatitawntkphankxngthphkhxngwngiphbulyrwmaehngmhaexechiyburpha thangkaryipunyngidcdrwmsngkhramthitneriyk krnicin yipun yipun 日支事変 ormaci Nisshi Jihen iwepnswnhnungkhxngsngkhrammhaexechiybruphadwy rahwangkaryudkhrxngyipunkhxngthharxemrikn khadngklawthukhamichinexksarrachkar aemyngkhngmikarichxyangimepnthangkartxip cungeriyksngkhramdngklawxyangepnthangkarwa sngkhramaepsifik yipun 太平洋戦争 ormaci Taiheiyō Sensō inpraethsyipun kichkhawa sngkhramsibhapi yipun 十五年戦争 ormaci Jugonen Sensō sunghmaythungsmytngaetehtukarnkrnimukedn pi 1931 thungpi 1945fayekharwmrbpraethssmachikfayxksathisakhythiihkarsnbsnunyipun rwmipthungrthbalephdckarxanacniymkhxngithy sungidribcdtngphnthmitrchwkhrawkbyipunxyangrwderwinpi kh s 1941 enuxngcakkxngthphyipunkalngrukrankhabsmuthrtxnitkhxngithy nxkcakni kxngthphphayphyngidsngkalngphlekharukranaelayudkhrxngthangtawnxxkechiyngehnuxkhxngphma sungekhyepndinaednkhxngithyinxditkxnthicathukbibbngkhbihesiyaekkxngthphxngkvs praethsthimiswnekiywkhxngxikkhux rthhunechidyipunaemncukw sungprakxbdwydinaednaemncueriyswnihyaelabangswnkhxngmxngokeliyin aelarthbalhwngcingewy sungkhwbkhumbriewnchayfngkhxngcin noybayxyangepnthangkarkhxngrthbalshrthxemrika thuxwa praethsithymiichphnthmitrkhxngfayxksa aelashrthxemrikaimidxyuinsphawasngkhramkbithy noybaykhxngrthbalshrthhlngpi kh s 1945 kmiidptibtitxpraethsithyxyangstrueka aetmxngwaithythukbibbngkhbihepnphnthmitrkbyipunodykaraeblkeml aelahlngcaknn ithykidthukyudkhrxngodykxngthphyipun lksnakarptibtitxithykhxngshrthnnehmuxnkbpraethsxunthithukfayxksayudkhrxng xyangechn ebleyiym echoksolwaekiy ednmark kris ekahli nxrewy opaelndaelaenethxraelnd yipuneknththharcanwnmakcakxananikhmekahliaelafxromsa sunginphayhlngruckkninchuxithwn aelainkhxbekhtelk bangswnkhxngwichifrngess kxngthphaehngchatixinediyaelakxngthphaehngchatiphmakidxxkptibtikarinphunthisngkhramaepsifikechnkn aelainkhxbekhtelkyxylngipxik kxngthpheruxeyxrmnaelaxitali sungswnihyprakxbdwyeruxkhakhaytidxawuthaelaeruxdana yngidxxkptibtikarinmhasmuthraepsifikaelamhasmuthrxinediyxikdwy praethsekharwmfaysmphnthmitrhlk nnkhux shrthxemrika satharnrthcin shrachxanackr rwmthngkxngthphxinediykhxngxngkvs fici samw epntn xxsetreliy ekhruxckrphphfilippins enethxraelnd inthanaecaxananikhmhmuekaaxinediytawnxxkkhxngdtchaelathangtawntkkhxngniwkini niwsiaelndaelaaekhnada sungthnghmdkhangtnniepnsmachikkhxngsphasngkhramaepsifikemksiok frngessesriaelaxikhlaypraethsyngekharwmrbdwy odyechphaaxyangyingkxngthphcakxananikhmxunkhxngxngkvs aelayngrwmipthunglatinxemrika shphaphosewiytekhythasngkhramtamphrmaednkbyipunxyangimepnthangkarepnrayasn inpi kh s 1938 aela 1939 kxncatharngtnepnklangcnkrathngeduxnsinghakhm kh s 1945 emuxshphaphosewiytekharwmfaysmphnthmitraelarukranaemncukw satharnrthcin mxngokeliyin rthinxarkkhaekahlikhxngyipunaelahmuekaathiyipunxangsiththi echn ekaasahalinphumihlngprawtisastrkhwamkhdaeyngrahwangcinaelayipun karaebngkhunsukinpraethscin pi kh s 1925 rakehngakhxngpyhaerimkhuntngaetplaykhriststwrrsthi 19 khnathicinyngkhngxyuinwikvtkarnthangkaremuxng aelayipunkalngphthnapraethsihthnsmyxyangrwderw tlxdchwngewlaplaykhriststwrrsthi 19 thungtnkhriststwrrsthi 20 yipunidekhaaethrkaesngaelathaythisudidphnwkekahli aelakhyayxiththiphlthangkaremuxngaelaesrsthkicekhasupraethscin odyechphaaxyangying aemncueriy karkhyayxanacdngklawngayekhacaksthankarnphayinkhxngcinexng ephraainchwngkhristthswrrs 1910 praethscinaetkxxkepnkkkhunsuktang odyrthbalklangxxnaexaelakhadprasiththiphaph xyangirktam sthankarnsungpraethscinthixxnaeximsamarthtanthankhwamtxngkarkhxngyipunidduehmuxncaepliynaeplngipemuxthungplaykhristthswrrs 1920 inpi kh s 1927 cxmthpheciyng ikhechkh aelakxngthphptibtiaehngchatiaehngphrrkhkkmintngidthasngkhramtikkkhunsukthangehnux eciyngsamarthexachnakhunsukthangtxnitaelatxnklangkhxngcinidepnphlsaerc aelaidrbkarswamiphkdiinnamkhxngcang eswehliyng aelahyang hueching khwbkhumdinaednaemncueriyxyu aelanaipsukarrwmchaticinaetinnaminpi kh s 1928 fayyipunsungtuntrahnkkbcinthikalngekhmaekhngkhunphayitrthbalediyw cungidcdchakkrnimukednkhuninpi kh s 1931 aelaichepnkhxxanginkarrukranaemncueriyaelacdtngrthhunechidaemncukw ckrphrrdiphuxi ckrphrrdixngkhsudthayaehngrachwngschingsungthukokhnlmipaelw thrngepnpramukhhunechidaehngaemncukw thharyipunrukrancininkrnimukedn epahmayckrwrrdiniymkhxngyipunincinnnephuxrksathrphyakrthrrmchatithiplxdphyaelaephuxcdtngrthbalhunechidkhunincinephuxmiihdaeninkarid khdkhwangphlpraoychnkhxngyipun thungaemwaphvtikarnkhxngyipuncaimthukmxngwaimekhathiodybrrdachatimhaxanacxananikhmyuorpinkhriststwrrsthi 19 aetinpi kh s 1930 kartxtankarlaxananikhmthiephimmakkhunhmaykhwamwakalngthangthharxyangchdecninkarsnbsnunkarlaxananikhmimidrbkaryxmrbdngechnaetkxn phvtikarnkhxngyipuninaemncueriythukwiphakswicarnxyangkwangkhwang aelanaipsukarthxntwxxkcaksnnibatichatikhxngyipun rahwangkhristthswrrs 1930 cinaelayipunyngkhngkhumechingknxyu odythieciyng ikhechkhidmungkhwamsnickhxngekhaipyngkarthalayphrrkhkhxmmiwnistcin sungekhaphicarnawaepnxntraythisakhyyingkwaphycakyipun xiththiphlkhxnglththichatiniymincintxkhwamkhidehnthnginhmuphunathangkaremuxngaelaprachakrswnihythaihyuththsastrdngklawimxacpxngknidephimkhkhuneruxy thungaemwarthbalklangaelaphrrkhkhxmmiwnistcaidrwmmuxknrahwangkarprabpramphwkkhunsukthangehnux rahwangpi kh s 1930 1934 aethlngcaknnepntnma rthbalklangaelaphrrkhkhxmmiwnistidekhasukhwamkhdaeyngodytrng fayyipunidchwyoxkaskhnathicinaetkaeykphayinocmtihnkkhun aelaykphlkhunbkthiesiyngihinpi kh s 1932 khnaediywkn inpraethsyipun noybaykarlxbsngharodysmakhmlbaelaphlkrathbkhxngphawaesrsthkictktakhrngihyidthaihkhnarthbalphleruxnsuyesiykarkhwbkhumfaythhar nxkcaknn kxngbychakarthharsungsudksamarthkhwbkhumkxngthphphakhsnamidephiyngcakd sungswnihymkkrathakarid tamphlpraoychnkhxngtnexng aelabxykhrngthikhdtxphlpraoychnkhxngchatiodyrwm aetodypktiaelwyngkhngxyuinphraprasngkhkhxngckrphrrdihiorhiot karrwmexechiyyngidthukichepnehtuphlsahrbkarkhyaydinaednkhxngyipun sungaenwkhiddngklawidrbkarsrupiwiddithisudody lththixaoma inpi kh s 1934 odyexxici exoma hwhnakxngkhxmulaehngkrathrwngkartangpraethsyipun sungepnthiruckknwa lththimxnoraehngexechiy lththidngklawprakasectnakhxngyipunaekpraethsyuorpihdaeninnoybay lamux incin aeladwyehtunicungepnkarykelik nxkcakniyngprakaswayipuncaepnphunadankhwammnkhnginexechiytawnxxkaetephiyngphuediyw rwmthngpharainkarexachnakhxmmiwnist esrsthkicyngidepnpccysakhyxnnaipsukarrukranpraethscin rahwangphawaesrsthkictktakhrngihy karsngxxkipyngtladshrthaelayuorphdtwlngxyangrunaerng aelayipunidhnmakhrxbngacinxyangsmburnthngindankaremuxngaelaesrsthkicephuxcdhatladthimiesthiyrphaph inchwngkxnhnasngkhramcapathukhunxyangetmtwinpi kh s 1937 yipunidichkalnginthxngthinephuxkhmkhucinewnaetcincaldkaaephngaelahyudyngkickrrmtxtanaelakarkhwabatryipun inpi kh s 1936 eciyng ikhechkhthuklkphatwody ephuxthicaidrbkarplxytw eciyng ikhechkhcungtklngthicatngaenwrwmkbphrrkhkhxmmiwnistephuxthicatxsukbyipun txma idekidehtukarnsaphanmarokh opol emuxwnthi 7 krkdakhm kh s 1937 sungcudchnwnihekidsngkhramrahwangsatharnrthcinkbckrwrrdiyipun aemwarthbalchatiniymkbphrrkhkhxmmiwnistidtklngthicarwmmuxkninkarrwmrbkbyipunaelarwmmuxcdtngaenwrwmaehngchati aetehma ecxtungptiesthkhwamtxngkarkhxngeciyng ikhechkhinkarbychakarkxngthphkhxmmiwnistodytrng inpi kh s 1939 phrrkhkhxmmiwnistmithhar 500 000 naythiepnxisracakphrrkhkkmintng nxkehnuxcaknn inchwngkhristthswrrs 1930 yipunidepliynkhwamehnkhxngmwlchnthimitxchatitawntkihepnaenglb odyechphaaxyangying shrthxemrikaaelashrachxanackr thng thikxnhnann prachachnyipunyngkhngmikhwamehnepnklangtxshrthxemrikaxyu xyangirktam rayngankhawkhxngidthaihkhwamehnkhxngmwlchnxemriknepliynepntxtanyipunechnkn inpi kh s 1939 kxngthphyipunphyayamthicakhyaydinaednipthangphakhtawnxxkiklkhxngshphaphosewiytcakaemncueriy aetkxngthphyipunprachyybeyintxkxngthphphsmosewiyt mxngokeliyphayitkarbychakarkhxngnayphlekxxrki cukhxf thaihyipunyutikarkhyaytwipyngdinaednthangtxnehnux aelathngsxngpraethsiddarngrksasntiphaphxnimmnkhngcnkrathngthungpi kh s 1945 khwamtungekhriydrahwangyipunkbmhaxanactawntk inkhwamphyayamthicakhdkhwanglththithharkhxngyipun chatitawntkrwmipthungxxsetreliy shrthxemrika xngkvsaelarthbalphldthindtch sungkhrxbkhrxngxinediytawnxxkkhxngdtchsungmipiotreliymxyuinprimanmak hyudkarkhayolhaehlk ehlkklaaelanamnihaekyipun odyptiesththicaihthrphyakrdibsungcaepntxngkardaeninkickrrmtxipincinaelaxinodcinkhxngfrngess inyipun rthbalaelaklumchatiniymmxngwakarhamsngsinkhadngklawepnphvtikrrmlksnarukran namnnaekhakhidepnkwa 80 khxngprimankarbriophkhphayinpraeths sungcaepnsahrbesrsthkicyipun thaihnamnimehluxthungmuxthhar aelabibihkickrrmthangthharhyudchangklng suxyipun sungidrbxiththiphlcaknkokhsnachwnechuxthhar erimeriykkarhamsngsinkhadngklawwaepn wnglxm ABCD hrux aenw ABCD ABCD yxmacak American British Chinese Dutch emuxtxngephchiyhnakbthangeluxkrahwangkarlmslaythangesrsthkichruxkarthxntwcakkarphichitdinaednlasud aelayngesiyhnaxikdwy kxngbychakarthharsungsudcungerimtnwangaephnthasngkhramkbchatitawntkineduxnemsaynhruxphvsphakhm kh s 1941 wtthuprasngkhsakhykhux ihklumkxngthphrbnxkpraethsityudthrphyakrthangesrsthkicphayitkarkhwbkhumkhxngshrachxanackraelaenethxraelnd odyechphaaxyangyinginmalayaaelahmuekaaxinediytawnxxkkhxngdtch sungepnthiruckknwa aephnit nxkcaknikxngbychakaryngidtdsiniccakkhwamsmphnthxniklchidrahwangshrachxanackrkbshrthxemrika aelakhwamechuxthiwashrthxemrikacaekhamamiswnekiywkhxngxyangimxachlikeliyng yipuneriykaephnkarhlngniwa aephntawnxxk aephnit mikhntxndngni ocmtimalayaaelahxngkng ocmtiklumekaabismarkh ekaachwaaelaekaasumatra oddediywxxsetreliyaelaniwsiaelnd aephntawnxxk mikhntxndngni epidchakocmtitxkxngeruxaepsifikkhxngshrthxemrikathiephirlharebxr haway dwyekhruxngbincakeruxbrrthukekhruxngbinkhxngkxngeruxphsm yudkhrxngfilippins tdesnthangkarsuxsarkhxngshrthxemrikaodyyudekaakwmaelaekaaewk hlngcakthiwtthuprasngkhkhangtnthnghmdesrcsinaelw yuththsastrcaepliynipepnkartngrb aelacaennkarrksadinaednthiphichitidihmkhnathihwngkarecrcasntiphaph yipunidwangaephninkaryudkhrxngxananikhmkhxngchatiyuorpinthwipexechiyxyangrwderwephuxthicasrangaenwpxngknkhnadihysunglakyawphanmhasmuthraepsifiktxnklang ephuxxanwykhwamsadwkinkaraeswnghathrphyakrxnxudmsmburninexechiyxakhenyxyangxisrakhnathasngkhrampxngkntnexngcnthaihfaysmphnthmitrthitxngsurbepnxanabriewnkwangehnuxyla aelaephuxkarpxngknkarekhaaethrkaesngkhxngphaynxk yipuncungphyayamwangaephnthicathalaykxngthpheruxshrthxemrikaepnxndbaerk emuxthungeduxnphvscikayn aephnkarehlanihlk idesrcsmburnaelw aelamikarddaeplngephiyngelknxyinxikhnungeduxnthdma khwamkhadhwngkhwamsaerckhxngnkwangaephnthangthharkhxngyipunnnkhunxyukbkarimsamarthrbmuxkbkarocmtikhxngyipunidxyangmiprasiththiphaphkhxngshrachxanackraelashphaphosewiyt enuxngcakphykhukkhamthimacakeyxrmni shphaphosewiytkyngthukmxngwaimnacaerimkhwamepnprpkskxn immihlkthanwayipunwangaephncaexachnashrthxemrika thangeluxknacaepnwakarecrcasntiphaphhlngcakchychnainkhntnaelw xnthicring kxngbychakarthharsungsudyipunhmayehtuiwwa hakbrrlukarecrcasungyxmrbidkbshrthxemrikaaelw karocmtiinxnakhtkcathukykelik aemwakhasngocmticathukaeckcayipaelwktam yipunyngidwangaephnwa hakshrthekhluxnkxngeruxaepsifikmayngfilippins kcanakxngeruxphsmekhakhdwangaelaocmtikhnayngimthungcudhmay ephuxrksaaephnkaraelaaenwthangkxnsngkhramkhxngkxngthpheruxyipunthnghmd aelahakshrthxemrikahruxxngkvsocmtikxn aephnkaridkahndephimetimwafaythharcatxngrksataaehnngkhxngtnaelarxkhasngcakkxngbychakarthharsungsud nkwangaephnmxngwakarocmtifilippinsaelamalayayngmikhwamepnipidwacasaercxyubang aemwainkrnithiraythisudxacrwmipthungkarepidchakocmtihlaydansungmikxngthphosewiytekharwmdwyyipunruk kh s 1941 1942ocmtiephirlharebxr ekidephlingihmepnewlakwasxngwnhlngcakthukocmtidwyraebidyipun chwngechamudkhxngwnthi 7 thnwakhm kh s 1941 hruxwnthi 8 tamewlainexechiy yipunocmtiephirlharebxrechnediywkbekaakwmaelaekaaewk yipunidocmtithangxakaskhrngihyodyichekhruxngbincakeruxbrrthukekhruxngbin sungsngphlthaiheruxpracybankhxngshrthaepdlaimsamarthichkarid yipunidesiyngdwngwashrthxemrika emuxephchiykbkhwamphayaephkhrngihyxyangchbphln cayxmtklngbrrlukhxtklngecrcaaelayinyxmihyipunpkkhrxngexechiyxyangesri aetkaresiyngochkhdngklawimepnphl khwamsuyesiykhxngshrthnnesiyhaynxykwathiekhykhadkniwmak ephraaeruxbrrthukekhruxngbinkhxngshrth sungmikhwamsakhymakkwaeruxpracybanmak yngxyuinthael satharnupophkhthisakhykhxngkxngthpherux thngnamnechuxephling xutxeruxaelaorngiffa thaneruxdana aelahnwykhawkrxngthangsyyanimidrbphlkrathbid yuththsastrthxythphkhxngyipuntxngxasysngkhrambnthxnkalngephuxihshrthyxmrbenguxnikhinthisud sungxyuehnuxkhidkhwamsamarthkhxngkxngthpheruxckrwrrdiyipun khnathiekidkarocmtiephirlharebxrkhunnn shrthxemrikayngimidxyuinsphawasngkhramxyangepnthangkarkbpraethsid inolk klumxemrikaefirsthkhxmmittiidkhdkhankaraethrkaesngthangthharkhxngshrthxemrikainthwipyuorpxyangrunaerng aemwashrthcakhaykhwamchwyehluxthangthhartxxngkvsaelashphaphosewiytphanokhrngkarihecha yum aetkartxtansngkhraminshrthhayiphlngcakkarocmtidngklaw wnthi 8 thnwakhm enethxraelndprakassngkhramtxyipun tammadwyxxsetreliyinwnrungkhun siwnhlngcakephirlharebxr nasieyxrmniaelafassistxitaliprakassngkhramtxshrthxemrika sungthaihshrthtxngephchiykbsngkhramsxngdan phvtikarndngklawidrbkaryxmrbxyangkwangkhwangwaepnkhwamsphephrakhxngyuththsastrhlk enuxngcakeyxrmnisuyesiypraoychnthiyipunthaihshrthikhwekhw aelakarldkarihkhwamchwyehluxaekxngkvs sungthngrthsphaaelahitelxrtangkphyayamhlikeliyngmatlxdchwngthitangfaytangywyuepnrayaewlapiess ocmtiexechiytawnxxkechiyngit karkhyaytwepnladbkhxngckrwrrdiyipun thung kh s 1942 kxngthphxngkvs xxsetreliyaeladtch sungtxngesiykalngphlaelathrphyakripkbkarthasngkhramkbeyxrmniepnrayaewlakwasxngpi aelayngphwphnxyanghnkintawnxxkklang aexfrikaehnuxaelathixun imsamarthcdetriymkarpxngknidmakipkwakartanthanthiimepnchinepnxntxthharyipunphukrasuk faysmphnthmitrprasbkhwamphayaephthungkhnhaynahlaykhrnginchwnghkeduxnaerkkhxngsngkhram eruxrbxngkvshlkthungsxngla exchexmexs riphls aelaexchexmexs prinsxxfewls thukcminkarocmtithangxakaskhxngyipunnxkchayfngmalayaemuxwnthi 10 thnwakhm kh s 1941 praethsithy sungdinaednthukeluxkepnsthanthisahrberimtnkarthphmalayaeriybrxyaelw yxmcannphayin 24 chwomnghlngthukyipunrukran rthbalithylngnamepnphnthmitrxyangepnthangkarkbyipunemuxwnthi 21 thnwakhm hxngkng khrawnokholnikhxngxngkvs thukocmtiemuxwnthi 8 thnwakhm aelaphayaephemuxwnthi 25 thnwakhm kh s 1941 odythikxngthphaekhnadaaelaxasasmkhrhxngkngmiswnsakhyinkarpxngkndngklaw thanthphshrthbnekaakwmaelaekaaewkesiyaekkhasukinewlaileliykn hlngcakptiyyashprachachatiemuxwnthi 1 mkrakhm kh s 1942 sungphbkarichkhawa shprachachati xyangepnthangkarepnkhrngaerk rthbalfaysmphnthmitridaetngtngphlexkxngkvs esxrxarchibald ewewll inkxngbychakarxemrika brietn dtch xxsetreliy ABDACOM sungepnkxngbychakarsungsudkxngthphfaysmphnthmitrinexechiytawnxxkechiyngit ewewllmixanacbychakarinnamehnuxkxngkalngkhnadihy aetkkracdkracayxyangebabangehnuxphunthitngaetphmaipcnthungfilippinsaelathangehnuxkhxngxxsetreliy swnbriewnxun rwmipthungxinediy hawayaelaswnthiehluxkhxngxxsetreliyxyuphayitkarbychakarthiepnxisratxkn emuxwnthi 15 mkrakhm ewewlledinthangipyngbndunginekaachwaephuxrbxanacbychakar ABDACOM ineduxnmkrakhm yipunrukranphma xinediytawnxxkkhxngdtch niwkini hmuekaaosolmxn aelayudkrungmanila kwlalmepxraela hlngcakkxngthphfaysmphnthmitrthukkhbilxxkcakmalaya insingkhoprexngkphyayamthicatanthankarrukkhxngyipunaettxngyxmcannemuxwnthi 15 kumphaphnth kh s 1942 aelathharxinediy xngkvs xxsetreliyaeladtchtkepnechlysukthungkwa 130 000 khn xtrakarphichitdinaednkhxngyipunepnipxyangrwderw odybahliaelatimxresiyaekkhasukineduxnediywkn kartanthankhxngfaysmphnthmitrthiprasbkhwamlmehlwxyangrwderwnnidthaih phunthi ABDA thukaeykxxkepnsxng ewewlllaxxkcak ABDACOM emuxwnthi 25 kumphaphnth odysngmxbxanacehnuxphunthi ABDA ihaekphubychakarthxngthinkxncaklbipdarngtaaehnngphubychakarthharsungsudinxinediytxip karthingraebidemuxngdarwin xxsetreliy 19 kumphaphnth kh s 1942 inkhnaediywkn ekhruxngbinyipunidekuxbcakacdaesngyanuphaphthangxakasekuxbthnghmdkhxngfaysmphnthmitrinexechiytawnxxkechiyngit aelakalngocmtixxsetreliytxnehnux erimtndwykarocmtiemuxngdarwinsungsngphlkrathbthangcitwithya aetmikhwamsakhythangthharephiyngelknxy emuxwnthi 19 kumphaphnth aelakhrachiwitipxyangnxy 243 khn inyuththnawithaelchwaemuxplayeduxnkumphaphnthaelatneduxnminakhm kxngthpheruxyipunidchychnakhrngihyehnuxkxngthpheruxhlkkhxng ABDA phayitkarbychakarkhxngphleruxexkkhaerl dxraemn karthphxinediytawnxxkkhxngdtchinewlatxmasinsudlngdwykaryxmcannkhxngkxngthphsmphnthmitrbnekaachwaaelasumatra ineduxnminakhmaelaemsayn karocmtiekhaipinmhasmuthrxinediyodykalngeruxbrrthukekhruxngbinkhxngkxngthpheruxckrwrrdiyipunsngphlihsilxnthukocmtithangxakashlayralxk aelaeruxbrrthukekhruxngbinxngkvs exchexmexs ehxrmis echnediywkberuxsmphnthmitrxun thukcmlng aelakxngeruxxngkvsthukkhbilxxkcakmhasmuthrxinediy xnepnkarepidthangsahrbkarrukranphmaaelaxinediykhxngyipun fayxngkvs phayitaerngkddnxyanghnk surblathxycakyangkungipyngchayaednxinediy phma epnphlthaihthnnsayphma xnepnesnthangesbiyngkhxngfaysmphnthmitrihaekkxngkalngchatiniymcin khwamrwmmuxrahwangklumchatiniymcinaelakhxmmiwnistkhxy ldlnghlngcakephimkhunthungkhidsudinyuththkarxuhn aelakhwamsmphnthrahwangthngsxngfayelwraylngemuxthngsxngphyayamkhyayphunthiptibtikarindinaednyudkhrxngkhxngtnexng phunthikxngocrchatiniymswnihynnthukaeyngchingodykhxmmiwnist inxikdanhnung kalngchatiniymbangswnthukcdwangephuxkhdkhwangphwkkhxmmiwnistmiichyipun yingipkwann kalngchatiniymcinswnihyepnkhunsuksungepnphnthmitrkbeciyng ikhechkh aetmiidxyuphayitkarbngkhbbychaodytrngkhxngekha thharkwa 1 200 000 naythixyuphayitkarkhwbkhumkhxngeciyng miephiyng 650 000 nayethannthixyuphayitkarbngkhbbychaodytrngcaknayphlkhxngekha swnxik 550 000 naynnxyuphayitkarkhwbkhumkhxngkhunsuksungxangkhwamcngrkphkditxrthbalethann kalngthiekhmaekhngthisudnnepnkhxngesxchwn thimithharxyuthung 320 000 nay khwamphayaephkhxngkxngthphnicanaipsukarsuyesiyxanacxyangihyhlwngkhxngeciyng fayyipunaeswnghapraoychncakkhwamkhadkhwamsamkhkhiniaelakrahnaocmtihnkyingkhunipxik kxngthphfilippinsaelashrthxemrikayngkhngthakarrbtanthanxyuinfilippinscnthungwnthi 8 phvsphakhm kh s 1942 emuxthharmakkwa 80 000 nayidrbkhasngihyxmcann emuxthungewlani phlexkdklas aemkxaethxr phusungidrbaetngtngepnphubychakarfaysmphnthmitrsungsudaepsifiktawntkechiyngit idlathxyipyngxxsetreliythiplxdphykwa kxngthpheruxshrth phayitbngkhbbychaphleruxexk echsetxr nimits rbphidchxbtxswnthiehluxkhxngmhasmuthraepsifik karaebngaeykbngkhbbychadngklawsrangphlkrathbimditxsngkhramphanichy aelatwsngkhramaepsifikdwytamladb khukkhamxxsetreliy play kh s 1941 emuxyipunocmtiephirlharebxr swnihykhxngkxngthphthidithisudkhxngxxsetreliyidrbkhasngihsurbkbnasieyxrmninyuththbriewnemdietxrereniyn xxsetreliymikaretriymkarrbmuxkbkarocmtielwmak khadaekhlnxawuthyuththphnth ekhruxngbinkhbil ekhruxngbinthingraebidhnkaelaeruxbrrthukekhruxngbinthithnsmy khnathieriykrxngkalngesrimcakechxrchill naykrthmntri cxhn ekhxrthin eriykrxngkarsnbsnuncakshrthxemrikadwyaethlngkarnprawtisastremuxwnthi 27 thnwakhm kh s 1941faysmphnthmitrtnghlkid kh s 1942 1944midewy eruxbrrthukekhruxngbinyipunHiryu thukocmtiodyxakasyanfayxemrikaaelwcminewlatxmainyuththnawithimidewyinpi kh s 1942 yuththnawimidewy epnyuththnawithisakhythisudinaenwrbdanmhasmuthraepsifik inchwngsngkhramolkkhrngthisxng rahwangwnthi 4 7 mithunayn ph s 2485 pramanhnungeduxnhlngyuththnawithaelkhxrl aelapramanhkeduxnhlngcakyipunocmtiephirlharebxr kxngthpheruxshrthxemrikaidrbchychnaxyangkhadlxy cakkartxtankarocmtikhxngkxngthpheruxckrwrrdiyipunthimidewyxathxll aelaepnkarkhadoths khwamesiyhaythiimxacaekikhidkhxngkxngeruxrbyipun ideriykmnwa thisudkhxngkhwamprahladicaelaeddediywxyangkhadimthung inprawtisastrkhxngkarthasngkhramkxngthpherux yuththnawiniekhyepnkarphayaephthielwraythisudkhxngkxngthpheruxyipuninraya 350 hla phayhlngyuththnawithngsxng kxngeruxshrthxemrikainmhasmuthraepsifikesiyhayxyanghnk kxngthphyipuncungkhidekhaocmtimidewyxathxll ephuxepnkarpidchxngohwinaenwpxngknthwmhasmuthraepsifikkhxngyipun aelaepnthaninptibtikarsahrbaephnkhntxip rwmipthungkarthalayeruxbrrthukekhruxngbinkhxngxemrikathiyngkhngehluxxyuinmhasmuthraepsifik aetenuxngcakshrthxemrikasamarththxdrhslbkhxngkxngthpheruxyipunidemuxplayeduxnphvsphakhm shrthxemrikacungsamarthetriymkarpxngknaelacdwangkalngphl cnsamarththalaykxngthpheruxkhxngyipunid yuththnawimidewythuxepncudepliynthisakhythithaihshrthxemrikaklbmachingkhwamidepriybinyuththbriewnmhasmuthraepsifik sngkhramthihmuekaaosolmxn thharshrthinkarsurbkbkxngthphyipunbnhmuekaaosolmxn karthphhmuekaaosolmxn epnkarthphhlkkhxngsngkhrammhasmuthraepsifikinsngkhramolkkhrngthisxng karthpherimtnkhunemuxyipunykphlkhunbkaelayudkhrxngdinaednhlayaehnginaela Bougainville indinaednaehngniwkinirahwang 6 eduxnaerkkhxngpi kh s 1942 yipunidyudphunthihlayswnaelaerimsrangthaeruxaelasnambinhlayaehngephuxichpxngknaenwdankhangkhxngkarbukocmtiinniwkini karsrangaenwplxdphysahrbthanthphhlkkhxngyipunxyuthirabwl Rabaul inniwbrietn New Britain aelaepnthanthphthicdetriymephuxhyudesnthanglaeliyngesbiyngrahwangmhaxanacfaysmphnthmitrkhuxshrthxemrika xxsetreliy aela niwsiaelnd hlngcakthiyipunidphayaephtxshrthxemrikainyipuncungepliynaephnkarthicabukyudhmuekaaaethboxechiyeniysungekaaswnihyepnthanthpheruxaelathanthphxakaskhnadyxykhxngshrthxemrika ephuxpkpxngkarsuxsaraelaesnthanglaeliyngesbiynginaepsifikit faysmphnthmitridsnbsnunkarruktxbotinniwkiniaelathalaythanthphyipuninrabwl aela idotklbyipuninhmuekaaosolmxndwy du karthphkwdalkhaaenl aelaekaaelkthixyuiklekhiynginwnthi 8 singhakhm kh s 1942 karykphlkhunbkniepnkarerimtnkartxsuaebbphsmphsanrahwangsxngprpks erimtndwyykphlkhunbkthikwdalkhaaenl tamtiddwyyuththkarhlaykhrngintxnklangaelatxnehnuxkhxnghmuekaaosolmxn aelarxbekaaniwkini aelaekaabweknwill inkarthphniepnkartxsuthngbnaephndin inthael aelaklangxakas smphnthmitrydeyiydkhwamesiyhaythiimsamarththdaethnidindansinthrphythangthharihkbyipun smphnthmitryudbangswnkhxnghmuekaaosolmxnklbkhunmaid aemwacamikartxtaninewlatxmacnkrathngsngkhramsinsud aelasamarththalaykxngeruxaelaxakasyankhxngyipunidmak karthphhmuekaaosolmxnidmabrrcbkbkarniwkini suknicblngdwychychnakhxngfaysmphnthmitr sungthaihyipunerimthicahwadklwmakhunfaysmphnthmitrbuk kh s 1944 1945kartxsuthifilippins dklas aemkxaethxridykphlkhunbkthifilippinshlngcakyipunidphayaephtxxemrika inpi kh s 1944 yipunphyayamthukhnthangephuxthicatdkalngkhxngfaysmphnthmitr aetshrthxemrikakidsukbyipunxyangetmthiephuxthicayudfilippinsklbkhunma yuththnawithaelfilippinsthuxepnyuththnawieruxbrrthukxakasyankhrngihythisudinprawtisastr epnkarsurbrahwangshrthxemrikaaelackrwrrdiyipun epnswnhnungkhxngsngkhrammhasmuthraepsifik karrbekidkhunemuxwnthi 19 20 mithunayn kh s 1944 nxkchayfngkhxnghmuekaamaeriynaaelayngekiywkhxngkbsnambinyipunbnaephndin karrbkxekidkhwamesiyhaytxckrwrrdiyipunodysuyesiyeruxbrrthukxakasyan 3 laaelaekhruxngbin 600 lasungfayshrtheriykmnwa Great Marianas Turkey Shoot khwamsuyesiyxyangihyhlwngnacaekidmacakkhwamlasmykhxngekhruxngbinyipunaelakhwamkhadprasbkarnkhxngnkbin nkbinthimiprasbkarnswnihytayin yuththnawimidewy aelakarrbxun trngknkhamkbkxngthpheruxshrththimiekhruxngbinkhbil krwmaemn F6F ehlaekhth xnthnsmy nkbinidrbkarfukxyangdiaelamiprasbkarnmak aelamierdartrwcsxbchithanginkarbinladtraewnrb inthisudphleruxexkdklas aemkxaethxridykphlkhunbkthifilippinscanwn 200 000 nayaelayudfilippinsidsmburn cakelyetsusamar eruxpracybanmusachiodnthukthingraebidcakxakasyanxemrikaaelacminyuththnawithixawelyet kxnthiphleruxexkdklas aemkxaethxrcaykphlkhunbkthielyetpraethsfilippins kxngeruxkhxngyipunidphyayamtxsuephuxkhdkhwangshrthxemrikathicayudfilippinsaetkthukxakasyankhxngxemrikaocmtixyanghnkthaihyipunesiyeruxrbipcanwnhnungaelahnunginnnkkhuxeruxpracybanmusachiidthukcmlngipyng aethlngcakthiphleruxexkdklas aemkxaethxridykphlkhunbkthifilippinsaelw yipuncungkhidaephnkarkhunmaaephnnimichuxwa ochok odymiaephnkkhuxhlxklxihkxngeruxxemrikathi 3 khxngphleruxexkihphlaxxkipaelathalaykxngkalngthangbkkhxngaemkxaethxrdwyeruxrbkhxngyipun wnthi 25 tulakhm kh s 1944 yipunerimaephnkarochokodykarekhaocmtisamarsungepnswnhnungkhxngekaaelyet inchwngaerkkxngeruxkhxngyipunsamarthhlxklxihkxngeruxxemrikathi 3 ihphlaxxkipidaelwepidnannaihyipunekhasuelyet aetthwainewlatxmakxngeruxyipunkidecxsungepnhnwyptibtikaryxykhxngkxngeruxxemrikathi 7 sunginkxngeruxaethffi 3 mieruxphikhat eruxbrrthukekhruxngbinkhnadelkaelaeruxkhnsngesbiyng txmayipunepidchakyingkxngeruxaethffi 3 phleruxtriphubychakarkxngeruxaethffi 3 idtxsuxyangetmthiephuxpkpxngthharxemrikn 200 000 naybnekaaelyet sungeriykkartxsukhrngniwayuththnawithisamar phlpraktwashrthxemrikaepnfaychnaodykxngeruxaethffi 3 idcmeruxladtraewnyipun 3 la aetkxngeruxaethffi 3 txngsuyesiyeruxphikhat 3 la eruxbrrthukekhruxngbinkhnadelk 2 laaelaxakasyanxik 23 la thaihkxngeruxyipuntxngthxyklbip thinasnickkhuxsukkhrngniyipuniderimichaephnthichuxwa kamikaeshruxhnwybinphlichiph odyichekhruxngbinekhaphungchneruxrbkhxngxemrika twxyangechn inyuththnawithisamarfungbinkamikaesidcmsungthaihshrthxemrikatktalungkbwithithiaeplkkhxngyipunsinsudsngkhramaepsifik kh s 1945shrthxemrikabukyudxiowacimaaelaoxkinnawa eruxpracybanyamaotathukthingraebidaelatxrpiodcanwnmakaelaekidephlingihmxyanghnk inplaypi kh s 1944 cnthungpi kh s 1945 ekhruxngbinkhxngkxngthphxemrikaidkrahnathingraebidlngsuemuxngtangkhxngyipunimwacaepnoxsaka nara xichikawa epntn rwmthungotekiywemuxnghlwngkhxngyipundwy sungthaihemuxngtangkhxngyipunekidephlingihmthngwnthngkhun singkxsrangphngthlaylngma mikhnbadecbaelaesiychiwitmakmay wnthi 19 kumphaphnth kh s 1945 kxngthphxemrikaidykphlkhunbkthiekaaxiowacima thanthphxakasyanthisakhyaehnghnungkhxngyipun odymiepahmaykhuxyudthngekaa sungrwmsnambinthiyipunyudsamaehng rwmsnamitaelasnamklang ephuxepnphunthiphkphlsahrbekhatihmuekaahlkkhxngyipun yuththkarnanhaspdahnimikarsurbthidueduxdaelanxngeluxdthisudinsngkhramaepsifikkhxngsngkhramolkkhrngthisxng hlngcakthixemrikamichychnaehnuxyipunthixiowacimaaelw shrthxemrikaidsrangsnambinephuxcxdekhruxngbinthingraebidbi 29thicaekhathingraebidinaephndinihythiyipun txmawnthi 1 emsayn kh s 1945 kxngthphxemrikaidykphlkhunbkthiekaaoxakinnawasungepnekaathiiklkbyipunmakthisudthangtxnit yipunkhidwahaksuyesiyoxakinnawaipshrthxemrikakcamithanthpheruxaelathanthphxakasthicaocmtiyipunthangtxnitdngnnchwngnithuxwaepnchwngthiwikvthnkkhxngyipun inwnthi 6 emsayn kh s 1945 kxngthpheruxckrwrrdiyipunidthapharkickhrngsudthayephuxchwyehluxckrwrrdiyipuninptibtikarethngongsungaeplwa ptibtikarsrwngswrrkh mnkhuxkarekidihmkhxng kamikaes khxngkxngthpheruxckrwrrdiyipunmnkhuxptibtikaraebbkhatwtay miephiyngthangediywephuxthicachwyehluxyipunsungnaodyeruxpracybanyamaotathiaelnxxkcakyipunaelaocmticudthxdsmxkhxngshrthxemrikathioxakinnawa eruxpracybanyamaotaphrxmkberuxladtraewneba 1 laaelaeruxphikhat 8 la thuktrwcphbodyeruxdanashrthxemrikathangtxnitkhxngekaakhiwchu echawntxmawnthi 7 emsayn kh s 1945 kxngthpheruxxemrikaidsngekhruxngbinkwa 300 lakhunsuthxngfaephuxcmeruxrbyamaota ekhruxngbinkhxngxemrikaidkrahnathingraebidaelatxrpiodlngipyngeruxrbyamaota cninewla 14 30 n eruxrbyamaotakidcmlnginthael imephiyngaekhnnekhruxngbinkhxngxemrikayngcmaelaeruxphikhatxik 4 laidxikdwy cakptibtikarethngongthilmehlweruxrbthiehluxinkxngthpheruxckrwrrdiyipunimekhyaelneruxrbxxkmaxikely eduxnmithunayn kh s 1945 hlngcak 2 eduxnaehngsmrphumixndueduxdshrthxemrikaksamarthyudekaaoxakinnawaiwidxyangsmburn cudcbsngkhramaepsifik shrthxemrikakhidwahaknakxngthphekhabukocmtiyipunkhngepneruxngthiyakephraachawyipuncalukhuxkhunmatxsucntwtay shrthxemrikacungichwithieddkhneddkhadinkarcdkarkbyipunephuxihyipunyxmaephxyangngayodykarthingraebidprmanuhruxthieriykwaraebidniwekhliyraelathuxwaepnkarthdsxbxawuthdwy wnthi 6 singhakhm kh s 1945 ekhruxngbinbi 29khxngxemrikaidthingraebidprmanulukaerkthichuxwalitetilbxylngsuemuxnghiorchimathaihmiphuesiychiwitthnthi 140 000 khn txmawnthi 9 singhakhm kh s 1945 ekhruxngbinbi 29khxngxemrikaidthingraebidprmanulukthisxngthichuxwaaeftaemnthlmemuxngnangasakithaihmiphuesiychiwitthnthi 80 000 khn cninwnthi 15 singhakhm kh s 1945 yipunkidprakasyxmaephsngkhram nbepnkaryutisngkhramaepsifikaelasngkhramolkkhrngthisxng xyangepnthangkarinwnthi 2 knyayn kh s 1945duephimkarocmtiephirlharebxr yuththkarthiekaaewk karthphmalaya karbukkhrxngxinodcinfrngesskhxngyipun karbukkhrxngithykhxngyipun karyudkhrxngkmphuchakhxngyipun karyudkhrxngphmakhxngyipun karthingraebiddarwin kartiochbchwydulitetil yuththnawithaelkhxrl yuththnawithimidewy karthphhmuekaaosolmxn karthphkwdlkhaaenl yuththkarthiispn yuththnawithithaelfilippin yuththnawithixawelyet karthingraebidotekiyw yuththkarthixiowcima yuththkarthioxkinawa ptibtikarethngong karthphbxreniyw ph s 2488 karbukkhrxngaemncueriykhxngshphaphosewiyt karthingraebidniwekhliyrthihiorchimaaelanangasaki karyxmcannkhxngyipun karyudkhrxngyipunxangxingInternational Military Tribunal for the Far East WW2 People s War Timeline BBC subkhnemux 2010 10 31 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 07 15 subkhnemux 2007 03 05 World War II 1930 1937 subkhnemux 2007 03 05 Georgi Dimitrov and the United National Front in China 1936 1944 See No 22 New Soviet Aid for Chinese subkhnemux 2007 03 05 Irvine H Anderson Jr De Facto Embargo on Oil to Japan A Bureaucratic Reflex The Pacific Historical Review Vol 44 No 2 May 1975 p 201 Kokushi Daijiten Historical Dictionary 1980 It was not an official term but a term of incitement used by the Japanese media under the guidance of the military in order to stir up the Japanese people s sense of crisis Cited by Christopher Barnard 2003 Language Ideology and Japanese History Textbooks London amp New York Routledge Curzon p 85 Peattie amp Evans Kaigun Weinberg Gerhard L 2005 A World At Arms Cambridge University Press p 310 ISBN 0521618266 Morgan Patrick M Strategic Military Surprise Incentives and Opportunities pg 51 Evans amp Peattie 1997harvnb error no target CITEREFEvansPeattie1997 Parillo Mark P Japanese Merchant Marine in World War II United States Naval Institute Press 1993 Canada Declares War on Japan Inter Allied Review 15 December 1941 cakaehlngedimemux 24 September 2015 subkhnemux 8 April 2015 odythang Pearl Harbor History Associates Inc Australia Declares War on Japan Inter Allied Review 15 December 1941 cakaehlngedimemux 13 May 2008 subkhnemux 3 October 2009 odythang Pearl Harbor History Associates Inc Awm gov au khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 08 20 subkhnemux 2010 10 31 Hoyt Edwin P 1986 Japan s War Da Capo pp 262 263 ISBN 0 306 80348 8 Blair Silent Victory Naval History amp Heritage Command 27 April 2005 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 03 02 subkhnemux 20 February 2009 considered the decisive battle of the war in the Pacific Dull Paul S Battle History of the Imperial Japanese Navy 1941 1945 US Naval Institute Press ISBN 1 59114 219 9 Midway was indeed the decisive battle of the war in the Pacific p 166 A Brief History of Aircraft Carriers Battle of Midway U S Navy 2007 cakaehlngedimemux 2007 06 12 subkhnemux 12 June 2007 bthkhwamthhar hruxkarthharniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk