บทความนี้ยังต้องการเพิ่มเพื่อ |
ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา (เยอรมัน: Unternehmen Barbarossa, อังกฤษ: Operation Barbarossa, รัสเซีย: Операция Барбарросса) เป็นรหัสนามสำหรับการบุกครองสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะ ซึ่งเริ่มต้นขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวได้นำไปสู่การกระทำเพื่อเป้าหมายทางด้านอุดมการณ์ของนาซีเยอรมนีในการพิชิตดินแดนสหภาพโซเวียตทางด้านตะวันตกเพื่อที่จะสร้างพื้นที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับชาวเยอรมัน เกเนอราลพลานอ็อสท์ของเยอรมันนั้นมีเป้าหมายที่จะใช้ประชากรที่พิชิตมาได้บางส่วนมาเป็นแรงงานเกณฑ์สำหรับความพยายามทำสงครามของฝ่ายอักษะ ในขณะที่ได้เข้ายึดแหล่งบ่อน้ำมันสำรองบนเทือกเขาคอเคซัส รวมทั้งทรัพยากรทางเกษตรกรรมของดินแดนต่าง ๆ ของโซเวียต เป้าหมายสูงสุดของพวกเขา รวมถึงท้ายที่สุดแล้ว ได้ทำการกวาดล้าง การถูกทำให้เป็นทาส การถูกทำให้เป็นเยอรมัน และการเนรเทศต่อชาวสลาฟจำนวนมากมายไปยังไซบีเรีย และเพื่อสร้างเลเบินส์เราม์(พื้นที่อยู่อาศัย) สำหรับเยอรมนี
ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออก ในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารเยอรมันในสหภาพโซเวียตระหว่างปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
นาซีเยอรมนี ฟินแลนด์ | สหภาพโซเวียต | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ | โจเซฟ สตาลิน | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหารราบ ~3,900,000 นาย รถถัง 3,600 คัน เครื่องบิน 4,389 ลำ | ทหารราบ ~3,200,000 นาย (ในภายหลังเพิ่มขึ้นเป็น 5,000,000+ นาย) รถถัง 12,000-15,000 คัน เครื่องบิน 35,000-40,000 ลำ (แต่ใช้งานได้จริงเพียง 11,357 ลำ) | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ทหารสูญเสียทั้งหมด ~918,000 นาย รถถัง 2,758 คัน เครื่องบิน 2,093 ลำ | ทหารเสียชีวิต 802,191 นาย ทหารสูญเสียทั้งหมด 3,000,000 นาย ถูกจับเป็นเชลย 3,300,000 นาย รถถัง 20,500 คัน เครื่องบิน 21,200 ลำ |
ในช่วงสองปีที่นำไปสู่การบุกครอง เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาทางการเมืองและเพื่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์(OKW) ได้เริ่มวางแผนการบุกครองสหภาพโซเวียตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 (ภายใต้รหัสนามว่า ) ซึ่งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้มอบอำนาจ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1940 ในช่วงระหว่างปฏิบัติการดังกล่าว จำนวนกำลังพลประมาณสามล้านนายของฝ่ายอักษะ ซึ่งเป็นกองกำลังรุกรานที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาตร์สงคราม การบุกครองดินแดนสหภาพโซเวียตทางด้านตะวันตกตามแนวรบระยะทางประมาณ 2,900 กิโลเมตร (1,800 ไมล์) ด้วยยานยนต์ 600,000 คัน และจำนวนม้ากว่า 600,000 ตัว สำหรับปฏิบัติการที่ไม่ใช่การสู้รบ การบุกครองดังกล่าวได้ขยายตัวอย่างมากในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งในทางด้านภูมิศาสตร์และในการก่อตัวของแนวร่วมฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งสหภาพโซเวียต
ปฏิบัติการนี้ได้เปิดฉากแนวรบด้านตะวันออก ซึ่งมีกองกำลังมากมายที่เข้าร่วมมากกว่าในเขตสงครามอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ พื้นที่ดังกล่าวได้มีการพบเห็นถึงการสู้รบขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่ดูโหดร้ายและน่าสะพรึงกลัวที่สุด และมีการบาดเจ็บล้มตายสูงสุด (สำหรับกองกำลังฝ่ายโซเวียตและกองกำลังฝ่ายอักษะ) ซึ่งทั้งหมดนี้มีอิทธิพลต่อสงครามโลกครั้งที่สองและประวัติศาสตร์ในภายหลังของทศวรรษที่ 20 ในที่สุด กองทัพเยอรมันได้จับกุมกองกำลังทหารของกองทัพแดงโซเวียตได้ราวประมาณห้าล้านนาย ผู้คนส่วนใหญ่ไม่เคยกลับมามีชีวิตอีกเลย พวกนาซีได้จงใจให้อดอาหารหรือไม่ก็สังหารต่อเชลยศึกจำนวน 3.3 ล้านนายและพลเรือนอีกจำนวนมาก ด้วย"แผนความหิว" ซึ่งถูกใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารของเยอรมันและกำจัดประชากรชาวสลาฟด้วยทุกขภิกภัยมีการยิงเป้าและปฏิบัติการรมแก๊สจำนวนมากโดยพวกนาซี หรือผู้ให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจ ได้ทำการสังหารจำนวนกว่าล้านคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฮอโลคอสต์
ด้วยความล้มเหลวของปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ทำให้โชคชะตาของไรช์ที่สามต้องกลับตาลปัตร ในทางปฏิบัติ กองทัพเยอรมันได้รับชัยชนะครั้งสำคัญและเข้ายึดครองพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดบางแห่งชองสหภาพโซเวียต (ส่วนใหญ่อยู่ในยูเครน) และได้รับความเสียหาย เช่นเดียวกับการบาดเจ็บล้มตายอย่างต่อเนื่อง แม้จะประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่ฝ่ายรุกของเยอรมันต้องหยุดชะงักลงในยุทธการที่มอสโก เมื่อปลายปี ค.ศ. 1941 และตามมาด้วยการโจมตีตอบโต้กลับในฤดูหนาวของโซเวียตได้ผลักดันให้กองทหารเยอรมันกลับไป เยอรมันได้คาดหวังอย่างมั่นอกมั่นใจว่า การต่อต้านของโซเวียตจะพังทลายลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับในโปแลนด์ แต่กองทัพแดงได้ซึมซับการโจมตีที่รุนแรงที่สุดของกองทัพแวร์มัคท์ และจมปลักอยู่ในสงครามพร่ากำลัง ซึ่งเยอรมันไม่ได้เตรียมการมาก่อนเลย กองทัพที่ดูลิดรอนของแวร์มัคท์ไม่สามารถโจมตีตามแนวรบด้านตะวันออกทั้งหมดได้อีกต่อไป และตามมาด้วยปฏิบัติการเพื่อการรุกเข้ายึดกลับคืนและรุกเข้าไปลึก ๆ ในดินแดนโซเวียต เช่น กรณีสีน้ำเงิน ในปี ค.ศ. 1942 และปฏิบัติการซิทาเดลในปี ค.ศ. 1943 จนในที่สุดก็ต้องล้มเหลวซึ่งส่งผลทำให้แวร์มัคท์ต้องล่าถอยและพังทลายลง
เจตนาของเยอรมนี
ทฤษฎีของนาซีที่มีต่อสหภาพโซเวียต
ในปี ค.ศ. 1925 ฮิตเลอร์ได้เขียนเจตนาของเขาในการรุกรานสหภาพโซเวียตไว้อย่างชัดเจนใน ไมน์คัมพฟ์ (เยอรมัน: Mein Kampf; การต่อสู้ของข้าพเจ้า) โดยระบุถึงความเชื่อของเขาที่ว่าชาวเยอรมันเป็นชนที่พึงได้พื้นที่อยู่อาศัย (เยอรมัน: Lebensraum; อาทิเช่นที่ดิน ทรัพยากรและ) ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนั้นควรเสาะแสวงหาในดินแดนตะวันออก อีกทั้งนโยบายทางเชื้อชาติของนาซียังระบุว่าเชื้อชาติสลาฟเป็นเชื้อชาติที่ต่ำกว่ามนุษย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ "" ในหนังสือไมน์คัมพฟ์ ฮิตเลอร์ยังเขียนไว้อีกว่าชะตากรรมของเยอรมนีคือการมุ่งสู่ตะวันออก อย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหกร้อยปีก่อนหน้านั้น และ "เพื่อยุติการปกครองของชาวยิวในรัสเซีย ซึ่งจะเป็นการยุติความเป็นรัฐของรัสเซียลงไปด้วย" หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ได้กล่าวถึงการต่อสู้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับ "แนวคิดรวมเชื้อชาติสลาฟ" และชัยชนะที่ได้จะนำไปสู่ "ความเป็นเจ้าโลกนิรันดร" แม้ก่อนหน้านั้น ฮิตเลอร์จะเคยกล่าวว่า "เราจะต้องเดินทางเดียวกับพวกรัสเซีย ถ้านั่นเป็นประโยชน์ต่อเรา" ฉะนั้น นโยบายของรัฐบาลนาซี คือ สั่งฆ่า หรือจับชาวรัสเซียหรือชาวสลาฟเป็นทาส และให้ดินแดนเหล่านั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเยอรมันแทน
ความสัมพันธ์เยอรมนี-โซเวียต ระหว่างปี 1939-1940
สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอปได้รับการลงนามไม่นานก่อนหน้าการรุกรานโปแลนด์ของเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสนธิสัญญาดังกล่าวมีเนื้อหาเป็น แต่ทว่าได้มีข้อตกลงลับระหว่างนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตว่าจะแบ่งเขตอิทธิพลของทั้งสองชาติ สนธิสัญญาดังกล่าวสร้างความตกตะลึงให้กับโลกเนื่องจากความเป็นอริดั้งเดิมของทั้งสองฝ่าย รวมถึงอุดมการณ์ที่ตรงข้ามกันอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามเมื่อสนธิสัญญาได้รับการลงนามแล้ว ทั้งนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตก็กลายเป็นที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเหนียวแน่น โดยที่สหภาพโซเวียตเป็นผู้ส่งน้ำมันและวัตถุดิบต่าง ๆ ให้กับเยอรมนี ซึ่งช่วยให้เยอรมนีรอดพ้นจากการปิดล้อมทางทะเลของอังกฤษ ในขณะที่เยอรมนีก็ส่งมอบเทคโนโลยีทางการทหารให้กับสหภาพโซเวียต แต่ทว่าทั้งสองฝ่ายก็ยังคงความคลางแคลงในเจตนาของอีกฝ่าย หลังจากเยอรมนีได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะร่วมกับอิตาลีและญี่ปุ่น เยอรมนีได้เจรจาเชิญชวนให้สหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิกด้วย หลังจากการเจรจานานสองวันในกรุงเบอร์ลินระหว่างวันที่ 12–14 พฤศจิกายน เยอรมนีได้ส่งข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่สหภาพโซเวียตเพื่อเชิญชวน ทางด้านสหภาพโซเวียตได้ส่งข้อเสนอของตนกลับมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 แต่ไร้ท่าทีตอบสนองจากเยอรมนี เนื่องจากความเป็นอริต่อกันของทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกที และเมื่อเกิดข้อพิพาทที่ขัดแย้งกันขึ้นในยุโรปตะวันออก จึงเป็นผลให้การปะทะกันทางทหารเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แผนการรุกรานของเยอรมนี
การกระทำของสตาลินได้ทำให้นาซีเยอรมนีใช้อ้างเหตุผลเพื่อเตรียมการรุกรานและเพิ่มความเชื่อมั่นในความสำเร็จ ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 สตาลินได้สั่งประหารและคุมขังประชาชนจำนวนหลายล้านคนระหว่างการกวาดล้างครั้งใหญ่ ซึ่งผู้ที่ถูกสั่งประหารและคุมขังนั้นได้รวมไปถึงบุคลากรทางทหารที่มีความสามารถ ทำให้กองทัพแดงอ่อนแอและขาดผู้นำ พรรคนาซียังได้ใช้ความโหดร้ายดังกล่าวในการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวหาว่า กองทัพแดงเตรียมการที่จะรุกรานเยอรมนี และการรุกรานของเยอรมนีนั้นเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว
ระหว่างช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1940 เมื่อปริมาณวัตถุดิบของเยอรมนีตกอยู่ในสภาวะวิกฤต และขีดความสามารถในการรุกรานสหภาพโซเวียตเหนือดินแดนคาบสมุทรบอลข่านมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้น ฮิตเลอร์จึงมีความมั่นใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการรุกรานสหภาพโซเวียต แต่ในขณะนั้น ฝ่ายเยอรมนียังไม่มีแผนการที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ฮิตเลอร์ได้กล่าวแก่นายพลของเขาในเดือนมิถุนายนถึงชัยชนะในยุโรปตะวันตกว่า "เป็นการเตรียมการต่อเป้าหมายสำคัญที่แท้จริง นั่นคือ การจัดการกับพวกบอลเชวิค" แต่นายพลของเขาได้แย้งว่าการยึดครองสหภาพโซเวียตภาคพื้นยุโรปจะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองมากกว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ฮิตเลอร์ได้คาดหวังผลประโยชน์หลายประการที่จะได้หลังจากการเอาชนะสหภาพโซเวียตไว้ว่า:
- เมื่อสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้แล้ว จะทำให้สามารถปลดประจำการทหารส่วนใหญ่ในกองทัพเพื่อนำไปแก้ปัญหาการขาดแรงงานของเยอรมนีในขณะนั้น เนื่องจากเมื่อการรบสำคัญสิ้นสุดลงแล้ว จึงไม่ต้องการทหารจำนวนมากอีกต่อไป
- ยูเครนจะกลายเป็นแหล่งอาหารราคาถูกที่อุดมสมบูรณ์ให้กับชาวเยอรมัน เนื่องจากมีความเหมาะสมต่อเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง
- เนื่องจากสหภาพโซเวียตมีประชากรมากมาย ทำให้ฮิตเลอร์มองโซเวียตเป็นแหล่งแรงงานทาสราคาถูกซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงทางภูมิยุทธศาสตร์ให้กับประเทศเยอรมนีอย่างมาก
- ความพ่ายแพ้ของสหภาพโซเวียตจะยิ่งทำให้จักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งกำลังจะพ่ายแพ้อยู่แล้ว ถูกโดดเดี่ยวมากขึ้นไปอีก
- สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำมันบากู เพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้
ในวันที่ 5 ธันวาคม ฮิตเลอร์ได้รับทราบแผนการรุกรานที่เป็นไปได้ และอนุมัติแผนการทั้งหมด ต่อมา ในวันที่ 18 ธันวาคม ฮิตเลอร์ได้ลงนามในคำสั่งสงครามหมายเลข 21 ไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนีในเรื่องปฏิบัติการซึ่งตั้งชื่อว่า "บาร์บาร็อสซา" กล่าวว่า "กองทัพเยอรมันต้องพร้อมที่จะบดขยี้สหภาพโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว" โดยแผนการรุกรานถูกกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ส่วนทางด้านสหภาพโซเวียต สตาลินได้กล่าวแก่นายพลของเขาว่า จากที่ฮิตเลอร์ได้กล่าวถึงการรุกรานสหภาพโซเวียตใน ไมน์คัมพฟ์ กองทัพแดงจะต้องพร้อมที่จะตั้งรับการรุกรานจากเยอรมนี และพูดว่า ฮิตเลอร์คิดว่ากองทัพแดงจะต้องใช้เวลาเตรียมการนานถึงสี่ปี แต่เราจะต้องพร้อมได้เร็วกว่านั้นและเราคิดจะยืดเวลาของสงครามได้นานออกไปอีกสองปี
ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1940 นายทหารระดับสูงของกองทัพเยอรมันได้ร่างบันทึกซึ่งกล่าวถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นภายหลังการรุกรานสหภาพโซเวียต รวมไปถึงความคิดที่ว่ายูเครน เบโลรุสเซียและรัฐแถบบอลติกจะเป็นภาระใหญ่หลวงทางเศรษฐกิจต่อเยอรมนี ส่วนนายทหารอีกพวกหนึ่งได้แย้งว่าระบบรัฐการของโซเวียตจะไม่ได้รับผลกระทบ และการยึดครองดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อเยอรมนี รวมไปถึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องเข้าไปเกี่ยวยุ่งกับพวกบอลเชวิคด้วย ฮิตเลอร์ปฏิเสธความคิดเห็นทั้งหมด รวมไปถึงนายพลจอร์จ โธมัส ซึ่งกำลังเตรียมการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจในแง่ลบที่จะเกิดขึ้นภายหลังจากการรุกรานสหภาพโซเวียต
ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาส่วนใหญ่เริ่มต้นมาจากความคิดของฮิตเลอร์แต่เพียงผู้เดียว ในขณะที่บุคลากรทางทหารและสมาชิกในพรรคนาซีแนะนำว่าเขาควรที่จะจัดการกับเกาะบริเตนให้เสร็จสิ้นไปก่อน แล้วจึงค่อยเปิดการโจมตีสหภาพโซเวียตในแนวหน้าตะวันออก แต่ส่วนใหญ่เหล่านายพลของฮิตเลอร์ก็เห็นด้วยกับฮิตเลอร์ว่าการบุกโซเวียตนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะต้องเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่ง ในตอนนั้นฮิตเลอร์พิจารณาแล้วว่าตนเองนั้นเป็นทางการทหารและการเมือง และเป็นที่แน่ชัดว่าในขณะนั้นเขาได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วในแทบทุกประเทศที่เขาโจมตี (ยกเว้นเกาะบริเตนที่ยังสามารถยันการโจมตีของเยอรมันได้อยู่) ทั้ง ๆ ที่ก่อนการโจมตี โอกาสที่เขาจะชนะนั้นมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามเขาละเลยคำแนะนำของผู้บัญชาการกองทัพเยอรมัน ซึ่งเกิดมาจากความไม่ยั้งคิดและความยินดีที่จะเสี่ยง ประสมกับระเบียบวินัยของทหารของเขาและยุทธวิธีการโจมตีสายฟ้าแลบ ทำให้เขาสามารถเอาชนะ ออสเตรีย และเชโกสโลวาเกียอย่างง่ายดาย จากนั้นเขาก็สามารถเอาชนะประเทศโปแลนด์ เดนมาร์ก และนอร์เวย์ได้โดยประสบกับปัญหาเล็กน้อยเท่านั้น จากนั้นเขาก็ยังสามารถทำลายกองทัพของฝรั่งเศสได้อย่างรวดเร็วโดยการบุกผ่านลักเซมเบิร์กซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ (Maginot Line) และทำการปิดล้อมกองกำลังสัมพันธมิตร แล้วกองทัพของเขาจึงมุ่งหน้าไปทางใต้ไปยังชายแดนสวิส ต่อมากองกำลังสัมพันธมิตรสามารถโจมตีฝ่าส่วนปิดล้อมด้านเหนือออกมาได้ แต่ก็ถูกต้อนไปยังเมืองดันเคิร์ก และจนมุมโดยสิ้นเชิง จนกระทั่งกองทัพบริเตนกู้ภัยออกมาได้ ซึ่งทำให้ตอนนี้ผืนดินในภูมิภาคยุโรปตะวันตกเป็นของฮิตเลอร์โดยสิ้นเชิง แต่กองทัพของเขาไม่สามารถบุกข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังเกาะบริเตนได้ในทันทีเนื่องจากความเหนือกว่าของอังกฤษในด้านการรบทางทะเล และมีอำนาจเท่าเทียมกันทางอากาศ ซึ่งข้อได้เปรียบดังกล่าวของอังกฤษทำให้ยังไม่ยอมจำนนโดยง่าย แม้ว่าจะต้องยันกับเยอรมัน โดยไม่สามารถตอบโต้กลับได้ก็ตาม เมื่อความด้อยกว่าของกองทัพเรือเยอรมันในด้านกองกำลังทางทะเล และไร้ความได้เปรียบในด้านกองกำลังทางอากาศ ทำให้การบุกมิอาจทำได้ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้ฮิตเลอร์หมดความอดทน และในขณะเดียวกันความต้องการในการบุกโซเวียตนั้นมีมากกว่าการบุกเกาะบริเตน (เนื่องจากฮิตเลอร์เชื่อว่าชาวอังกฤษเป็นเผ่าพันธุ์ที่เท่าเทียมกับเผ่าพันธุ์อารยัน) ทำให้ฮิตเลอร์โน้มน้าวบุคลากรของเขาว่ารัฐบาลบริเตนจะต้องพยายามสงบศึกกับเยอรมันแน่นอนเมื่อสหภาพโซเวียตถูกล้มไปแล้ว โดยเขากล่าวว่า:
"เราเพียงแค่ต้องถีบประตูลงมา แล้วอาคารที่เสื่อมโทรมทั้งอาคารก็จะถล่มลงมาด้วย"
แต่ฮิตเลอร์นั้นมั่นใจเกินไปจากการที่เขาประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการรบในยุโรปตะวันตก อีกทั้งยังสบประมาทความสามารถของโซเวียตที่จะสู้รบในสงครามนอกฤดูหนาว ทำให้เขาเชื่อว่าการรบจะจบลงก่อนฤดูหนาวในรัสเซีย และไม่ได้สั่งการให้เตรียมเสบียงเสื้อผ้ากันความหนาวเย็นให้กับทหาร ซึ่งจะส่งผลรุนแรงในเวลาต่อมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์หวังไว้ว่าเมื่อเขาเอาชนะกองทัพแดงได้แล้ว รัฐบาลอังกฤษจะต้องเจรจาขอสงบศึกกับนาซีเยอรมนีอย่างแน่นอน
การเตรียมตัวของฝ่ายเยอรมัน
ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้เคลื่อนพลจำนวนสามล้านสองแสนนายไปยังชายแดนหน้าสหภาพโซเวียตเพื่อเตรียมตัวในการโจมตี, สั่งให้เริ่มเหนือน่านฟ้าของโซเวียต และยังสั่งให้กักตุนเสบียงเป็นจำนวนมากในโปแลนด์ที่เยอรมนีได้มา กระนั้นการบุกสหภาพโซเวียตก็ยังเป็นที่แปลกใจสำหรับฝ่ายโซเวียตอย่างมาก ซึ่งความแปลกใจนี้ส่วนใหญ่มาจากความเชื่อที่มั่นคงของสตาลินว่าอาณาจักรไรค์ที่สามไม่น่าที่จะโจมตีประเทศของตนหลังจากที่เพิ่งเซ็นกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพมาได้เพียงสองปีเท่านั้น สตาลินยังเชื่อด้วยว่ากองทัพนาซีคงจะจัดการสงครามกับเกาะบริเตนให้เสร็จเสียก่อนถึงจะเปิดสมรภูมิรบใหม่กับตน แม้ว่าจะมีคำเตือนหลายครั้งหลายคราวมาจากหน่วยข่าวกรองของเขา สตาลินก็ยังปฏิเสธที่จะเชื่อการรายงานทั้งหมด โดยเกรงว่าข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นการปล่อยข่าวโคมลอยจากกองทัพอังกฤษ เพื่อที่จะจุดชนวนสงครามระหว่างนาซีและโซเวียต อีกทั้งการที่รัฐบาลเยอรมันออกมาช่วยทำการลวงสตาลิน โดยกล่าวว่า พวกเขาแค่กำลังเคลื่อนกำลังทหารให้ออกมานอกระยะของเครื่องบินทิ้งระเบิดของอังกฤษ และยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าพวกเขาพยายามจะหลอกรัฐบาลอังกฤษให้เชื่อว่ากองทัพนาซีกำลังจะบุกสหภาพโซเวียตอีกด้วย แต่ตามจริงพวกเขากำลังเตรียมตัวในการบุกเกาะบริเตนอยู่ต่างหาก และหลังจากเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่สตาลินได้รู้ ทำให้การเตรียมตัวตั้งรับการโจมตีของเยอรมนีเป็นไปอย่างไม่จริงจัง อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตกรณีที่ ดร. สายลับของโซเวียต ได้ให้ข้อมูลที่กล่าวถึงวันที่เยอรมนีจะบุกโซเวียตได้อย่างถูกต้อง รวมถึง นักถอดรหัสชาวสวีเดนที่ทราบวันที่เยอรมนีจะบุกก่อนที่โซเวียตจะทราบอีกด้วย
ปฏิบัติการณ์ลวงของเยอรมนีเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) โดยจุดประสงค์คือเพิ่มมูลความจริงให้ตรงกับคำอ้างของเยอรมนีว่าเกาะบริเตนคือเป้าหมายที่แท้จริง ปฏิบัติการณ์ดังกล่าวคือปฏิบัติการณ์ไฮฟิสก์ และปฏิบัติการณ์ฮาร์พูน โดยทั้งสองปฏิบัติการณ์จำลองว่าการเตรียมตัวบุกเกาะบริเตนเริ่มขึ้นในประเทศนอร์เวย์, ชายฝั่งตามแนวช่องแคบอังกฤษและแคว้นเบรอตาญในฝรั่งเศส ประกอบกับการอ้างเหตุผลเกี่ยวกับการสะสมกำลังดังที่ระบุไว้ข้างต้น รวมถึงการปฏิบัติการณ์ระดมกำลังเรือรบ, ปฏิบัติการณ์สอดแนมทางอากาศและการฝึกซ้อมภาคสนาม ถูกจัดขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นไปอีก โดยแผนการบุกจริง ๆ ถูกจัดขึ้น และปล่อยให้ข้อมูลสามารถรั่วไหลได้บางส่วน
แต่เยอรมันมีปัญหาในการคิดยุทธวิธีที่จะรับประกันว่ากองทัพนาซีจะสามารถยึดสหภาพโซเวียตได้สำเร็จ โดยที่ฮิตเลอร์, กองบัญชาการสูงสุดแห่งเวร์มัคท์ และผู้บัญชาการระดับสูงอีกหลาย ๆ คนมีแนวคิดที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับแผนกลยุทธที่จะใช้ในการโจมตีสหภาพโซเวียต และจุดประสงค์หลักของยุทธการควรเป็นเช่นใด กองบัญชาการกองทัพบกเสนอว่าควรเคลื่อนพลตรงไปยังเมืองหลวงมอสโก แต่ฮิตเลอร์นั้นต้องการที่จะให้กองทัพเคลื่อนทัพไปยังยูเครนที่อุดมสมบูรณ์และดินแดนบริเวณทะเลบอลติกเสียก่อนที่จะเคลื่อนพลไปยึดมอสโก การโต้แย้งที่เกิดขึ้นทำให้แผนการในต้องหยุดชะงัก และทำให้การบุกล่าช้าไปอีกถึงหนึ่งเดือนกว่า ๆ ตามกำหนดการการบุกในเดือนพฤษภาคม
กลยุทธสุดท้ายที่ฮิตเลอร์และนายพลของเขาร่วมกันวางขึ้นคือการแบ่งกองกำลังออกเป็นสามโดยแต่ละกลุ่มกองทัพถูกจัดให้ยึดภูมิภาคที่กำหนดไว้รวมถึงเมืองใหญ่ ๆ ในสหภาพโซเวียต เมื่อการบุกสหภาพโซเวียตเริ่มต้นขึ้น จะแบ่งแนวทางการบุกออกเป็นสามทางโดยเคลื่อนพลไปตามเส้นทางที่เคยถูกบุกในประวัติศาสตร์ (อ้างอิงตามการบุกราชอาณาจักรรัสเซียของนโปเลียน โบนาปาร์ต) กลุ่มกองทัพเหนือถูกมอบหมายให้เคลื่อนพลผ่านดินแดนรอบทะเลบอลติก แล้วจึงเคลื่อนไปยังรัสเซียตอนเหนือ โดยทำการยึดหรือทำลายเมืองเลนินกราด (เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปัจจุบัน) ส่วนกลุ่มกองทัพกลางถูกมอบหมายให้มุ่งหน้าตรงไปยังเมืองสโมเลนสค์ แล้วทำการยึดมอสโก โดยต้องทำการเคลื่อนพลผ่านประเทศเบลารุสในปัจจุบันและผ่านภูมิภาคกลางแถบตะวันตกที่ครอบครองอยู่ และกลุ่มกองทัพใต้จะต้องเปิดการโจมตีในส่วนที่เป็นใจกลางของยูเครนที่เป็นศูนย์กลางทางเกษตรกรรมและประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น โดยยึดเมืองเคียฟ ก่อนที่จะเคลื่อนพลมุ่งไปทางทิศตะวันออกผ่านในรัสเซียตอนใต้ไปยังแม่น้ำโวลกาและเทือกเขาคอเคซัสที่อุดมไปด้วยน้ำมันดิบ
การเตรียมตัวของฝ่ายโซเวียต
เมื่อสหภาพโซเวียตก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 1940 (พ.ศ. 2483) ในตอนนั้นสหภาพโซเวียตคือชาติมหาอำนาจ จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วของโซเวียตในทศวรรษที่แล้วทำให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมของโซเวียตเป็นรองแค่สหรัฐอเมริกา และมีผลผลิตเท่าเทียมกับประเทศเยอรมนี การผลิตยุทโธปกรณ์นั้นเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่เศรษฐกิจของโซเวียตนั้นถูกกำหนดไปที่การผลิตอุปกรณ์ทางทหารอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 (พ.ศ. 2473–พ.ศ. 2478) หลักการปฏิบัติของกองทัพแดงนั้นถูกพัฒนาให้ทันสมัยยิ่งขึ้นแล้วจึงประกาศให้เป็นหลักปฏิบัติภาคสนามของกองทัพในปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจดังกล่าวขึ้น
ในปี พ.ศ. 2484 กองกำลังของโซเวียตในภูมิภาคตะวันตกนั้นน้อยกว่ากองกำลังของเยอรมนีมาก อย่างไรก็ตามขนาดโดยรวมของกองกำลังโซเวียตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2484 นั้นรวมแล้วมีถึงห้าล้านนายกว่า ๆ ซึ่งมีจำนวนมากกว่ากองกำลังภาคพื้นดินของเยอรมนีที่ใช้บุกโซเวียตในยุทธการบาร์บาร็อสซาเสียอีก นอกจากนี้การสะสมกำลังของกองทัพแดงยังแข็งแกร่งขึ้นอย่างคงที่ และยังมีความสามารถในการวางกำลังที่เป็นต่อกว่าเยอรมนีในสมรภูมิตะวันออก แต่ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีกำลังมากน้อยต่างกันไป จะถูกต้องกว่าที่จะระบุว่าการบุกสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2484 ของเยอรมนี ทั้งฝ่ายต่อสู้กันโดยใช้กำลังทหารที่ใกล้เคียงกันมากโดยประมาณ
อย่างไรก็ตาม ในด้านระบบยุทโธปกรณ์ที่สำคัญ ทางฝ่ายโซเวียตนั้นมีอยู่มากทีเดียว อาทิเช่น กองทัพแดงนั้นมีความเหนือกว่าอย่างมากในที่มีรถถังประจำการถึง 24,000 คัน ซึ่งมีถึง 12,782 คันที่ประจำอยู่ในเขตทหารภูมิภาคตะวันตก (ซึ่งมีสามเขตในภูมิภาคที่สามารถปะทะกับกองทัพเยอรมันในสมรภูมิตะวันออก) ส่วนกองทัพบกเวอร์มัคท์ (Wehrmacht) ของเยอรมนีมีรถถังประจำการอยู่ทั้งหมด 5,200 คัน โดยใช้ในการบุกโซเวียต 3,350 คัน นี่ทำให้อัตราส่วนของรถถังที่สามารถใช้ได้ระหว่างเยอรมนีและโซเวียตนั้นเป็น 4 : 1 ซึ่งทำให้กองทัพแดงมีความได้เปรียบที่เหนือกว่า รถถังรุ่น ที-34 ของโซเวียตเป็นรถถังที่ล้ำหน้าที่สุดและทันสมัยที่สุดในเวลานั้น และยังมีรถถังรุ่น (ภาษารัสเซีย: Bystrokhodniy หรือรถถังเร็ว) ที่เป็นรถถังที่เร็วที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรถถังเยอรมันแล้ว ตามที่นายทหารข่าวกรองของโซเวียต (Viktor Suvorov) อ้างว่า รถถังหนักของเยอรมนีรุ่นแรกนั้นเพิ่งถูกออกแบบในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (1941) ซึ่งถือว่าล้าหลังกว่าโซเวียตที่เริ่มโครงการออกแบบรถถังหนัก T-35 ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1930) อีกทั้งโซเวียตยังมีจำนวน และเครื่องบินรบที่มากกว่าเยอรมนี ซึ่งรวมไปถึง ที่ว่ากันว่าเป็นปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในโลกในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม รถถังรุ่นที่ทันสมัยที่สุดของโซเวียตยังไม่ถูกผลิตในปริมาณมากในช่วงต้นของสงคราม
อีกทั้งความได้เปรียบทางปริมาณของโซเวียตนั้นยังถูกหักล้างด้วยคุณภาพเหนือกว่ามากของเครื่องบินรบเยอรมัน รวมถึงการฝึกฝนกองกำลังเยอรมันที่เหนือกว่าและเตรียมพร้อมมามากกว่า การที่ทหารเจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการระดับสูงของโซเวียตถูกกวาดล้างในการกวาดล้างใหญ่ของสตาลิน (พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2481; 1935-38) ยังทำให้นายทหารของกองทัพแดงถึงเกือบหนึ่งในสาม และนายพลแทบทุกคนถูกประหารชีวิต หรือส่งให้ไปประจำการในไซบีเรีย และถูกแทนที่ด้วยนายทหารที่มีแนวโน้มที่ "ไว้ใจได้ทางการเมือง" มากกว่านายทหารที่ถูกกวาดล้าง ซึ่งรวมไปถึงสามในห้าบรรดาจอมพลช่วงก่อนสงครามซึ่งถูกประหารชีวิต ผู้บัญชาการกองพลและกองร้อยประมาณสองในสามถูกจับยิงเป้า การกวาดล้างดังกล่าวจึงทำให้เหลือแต่นายทหารที่อ่อนกว่าและได้รับการฝึกน้อยกว่ามาแทนที่ อย่างเช่นกรณีหนึ่งใน พ.ศ. 2484 (1941) ที่ 75% ของนายทหารของกองทัพแดงได้ดำรงตำแหน่งนานน้อยกว่าหนึ่งปี และอายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการกองพลของโซเวียตนั้น น้อยกว่าอายุโดยเฉลี่ยของผู้บัญชาการกองร้อยของเยอรมนีถึง 12 ปี โดยนายทหารเหล่านี้มีทีท่าที่ไม่เต็มใจอย่างยิ่งที่จะริเริ่มในการทำสิ่งใด ๆ และส่วนใหญ่ขาดการฝึกฝนในการบัญชาการ
ในขณะที่สงครามในสมรภูมิทางตะวันตกกำลังดำเนินไป กำลังรบส่วนใหญ่ของโซเวียตยังคงประจำการอยู่เหมือนในยามสงบ ซึ่งอธิบายว่าทำไมบรรดาเครื่องบินรบของโซเวียตถึงได้จอดเรียงกันและใกล้กันเป็นกลุ่ม ๆ มากกว่าที่จะกระจายกันไปตามที่เคยปฏิบัติเป็นปกติในยามสงคราม ด้วยเหตุนั้น จึงทำให้กองเครื่องบินที่จอดอยู่กลายเป็นเป้าโจมตีง่าย ๆ สำหรับเครื่องบินจู่โจมจากอากาศสู่พื้นดินของเยอรมันในวันแรก ๆ ที่เยอรมนีบุกโซเวียต อีกเหตุผลหนึ่งคือการที่กองทัพอากาศโซเวียตถูกสั่งห้ามไม่ให้โจมตีของเยอรมัน แม้ว่าจะมีเครื่องบินเยอรมันบินอยู่เป็นร้อย ๆ ลำอยู่เหนือน่านฟ้าสหภาพโซเวียตก็ตาม กองเครื่องบินขับไล่ของโซเวียตประกอบไปด้วยเครื่องบินรุ่นล้าสมัยย้อนไปถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเช่น และเครื่องบินปีกชั้นเดียวรุ่นแรกของโซเวียต และเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่กว่าเช่นมิก (MiG) และ LaGG (Lavochkin-Gorbunov-Goudkov) เพียงไม่กี่ลำที่ใช้งานได้ โดยมีเครื่องบินจำนวนไม่มากที่ติดตั้งวิทยุสื่อสารลงไป อีกทั้งวิทยุไม่กี่รุ่นที่มีอยู่นั้นก็ไม่ได้ถูกเข้ารหัสและมีสภาพการใช้งานที่ไม่แน่นอน รวมถึงยุทธวิธีต่อสู้ทางอากาศที่ยังล้าสมัยอยู่
กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตกระจัดกระจายกันออกไป, ไม่มีความพร้อมในการทำศึก และมีกองกำลังหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่แยกจากกัน โดยไม่มีการลำเลียงไปยังจุดรวมพลเมื่อการรบเกิดขึ้น แม้ว่ากองทัพแดงจะมีปืนใหญ่ชั้นดีจำนวนมาก แต่ปืนส่วนใหญ่กลับไม่มีกระสุน กองปืนใหญ่มักไม่สามารถเข้าสู่การรบได้เพราะไม่มีการลำเลียงพล กองกำลังรถถังนั้นมีขนาดใหญ่และคุณภาพดี แต่ขาดการฝึกและการสนับสนุนทาง รวมถึงมาตรฐานในการบำรุงรักษายังแย่มาก กองกำลังถูกส่งเข้าสู่การรบโดยไม่มีการจัดการเติมเชื้อเพลิง, สนับสนุนเสบียงกระสุน หรือทดแทนกำลังทหารที่สูญเสียไป โดยมีบ่อยครั้งที่หลังจากการปะทะเพียงครั้งเดียว หน่วยรบถูกทำลายหรือถูกทำให้หมดสภาพ รวมไปถึงความจริงที่ว่ากองทัพโซเวียตกำลังอยู่ในช่วงจัดระบบหน่วยยานเกราะให้กลายเป็นกองพลรถถังยิ่งเพิ่มความไม่เป็นระบบของกองกำลังรถถังมากยิ่งขึ้นไปอีก
แม้ว่าในเอกสารใด ๆ จะระบุว่ากองทัพแดงใน พ.ศ. 2484 อย่างน้อยก็มีกำลังเท่าเทียมกับกองทัพเยอรมัน แต่ผลที่ตามมาในสมรภูมินั้นแตกต่างจากเอกสารมาก ด้วยเหตุที่ว่ากองทัพแดงนั้นประกอบด้วยนายทหารที่ไร้ความสามารถ เช่นเดียวกันกับการขาดแคลนยุทโธปกรณ์, การสนับสนุนเสบียงยานเกราะที่ไม่เพียงพอ และทหารที่ได้รับการฝึกในระดับต่ำ ทำให้กองทัพแดงเสียเปรียบกองทัพเยอรมันอย่างมากเมื่อปะทะกัน ยกตัวอย่างเช่น ตลอดช่วงการบุกสหภาพโซเวียตของเยอรมนี กองทัพแดงจะเสียรถถังหกคันในขณะที่กองทัพเยอรมันเสียเพียงแค่คันเดียว
แต่ก็มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการตีความข้างต้นในหนังสือ Icebreaker โดยผู้ที่เคยเป็นนายทหารข่าวกรองหลักของโซเวียต (GRU - Glavnoe Razvedyvatel'noe Upravlenie) โดยเนื้อความในหนังสือแย้งว่ากองกำลังภาคพื้นดินของโซเวียตนั้นมีความเป็นระบบระเบียบดีมาก และถูกวางกำลังกระจายกันไปเป็นกลุ่มใหญ่ ๆไปตลอดตามแนวชายแดนระหว่างเยอรมนีและโซเวียตเพื่อเตรียมตัวในการบุกทวีปยุโรปของสหภาพโซเวียตที่ถูกกำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ส่วนยุทธการบาร์บาร็อสซาของเยอรมนีนั้น เขาอ้างว่าที่จริงแล้วเป็นของเยอรมนี โดยอาศัยความได้เปรียบที่กำลังทหารโซเวียตกำลังรวมพลอยู่เป็นจำนวนมากหน้าพรมแดนเยอรมนี ซูโวรอฟทำการแย้งว่าฉะนั้นการที่กองกำลังโซเวียตมารวมพลกันหน้าพรมแดนเยอรมนีจึงเป็นการเดินกลยุทธแบบรุก และไม่ใช่การตั้งรับดังที่ประวัติศาสตร์ดั้งเดิมบันทึกอยู่แต่อย่างใด แต่การตีความของเขาถูกปฏิเสธโดยนักประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนับถือหลายต่อหลายคนมาโดยตลอด โดยเฉพาะนักประวัติศาสตร์สงครามชาวอเมริกัน (David Glantz) และการตีความดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นจริงเป็นจังนักในบรรดานักประวัติศาสตร์วิชาการที่อยู่ทางตะวันตก อย่างไรก็ตาม มุมมองนี้ต่างออกไปในยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศรัสเซีย ที่ ๆ มีการโต้วาทีในประเด็นที่เกี่ยวกับการปะทะระหว่างโซเวียตและเยอรมนียังคงมีอยู่ จากการศึกษาอย่างจริงจังโดยนักประวัติศาสตร์ทางทหารชาวรัสเซีย (Mikhail Meltyukhov) ในหนังสือ Stalin's Missed Chance ได้ทำการสนับสนุนที่ว่ากองกำลังโซเวียตนั้นได้ทำการรวมพลเพื่อเตรียมเปิดการโจมตีเยอรมนีอยู่จริง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม เมลทยูคอฟก็ปฏิเสธคำกล่าวที่ว่าการบุกของเยอรมนีเป็นการชิงเปิดการโจมตีก่อน แต่เขาเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายต่างกำลังเตรียมทำการบุกอยู่เช่นกัน แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่เชื่อว่าฝ่ายหนึ่งจะเปิดการโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง
ในช่วงก่อนสงคราม แน่นอนว่า สหภาพโซเวียตได้ประกาศโฆษณาชวนเชื่อออกมาโดยตลอด โดยกล่าวว่ากองทัพแดงนั้นแข็งแกร่งมาก และสามารถเอาชนะผู้รุกรานไม่ว่าหน้าไหนได้อย่างง่ายดาย
จากการที่โจเซฟ สตาลินมีนายทหารประจำการที่จะรายงานเฉพาะสิ่งที่เขาต้องการได้ยินเท่านั้น, กอปรกับความเชื่อมั่นอย่างไร้มูลเหตุในสนธิ สตาลินถูกชักนำให้เชื่อว่าสถานภาพของสหภาพโซเวียตในช่วงต้นปี พ.ศ. 2484 (1941) นั้นแข็งแกร่งกว่าที่มันเป็นจริง ๆ มาก ในฤดูใบไม้ผลิในปีเดียวกัน หน่วยงานข่าวกรองของสตาลินได้ทำการเตือนสตาลินถึงการโจมตีของเยอรมนีที่กำลังจะเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ความเชื่อมั่นของสตาลินในนายทหารและกำลังทหารของเขานั้นมั่นคงมาก จนเขาและคณะนายพลที่ปรึกษา ที่ถึงแม้จะทราบดีถึงความเป็นไปได้ที่เยอรมนีจะโจมตี และได้เตรียมการสำคัญ ๆ ไว้หลายอย่าง กลับตัดสินใจที่จะไม่ยั่วยุฮิตเลอร์ ผลก็คือทหารตามแนวชายแดนโซเวียตไม่ได้อยู่ในสถานะที่ตื่นตัวเต็มที่ ถึงขนาดที่ทหารโซเวียตถูกห้ามไม่ให้ยิงโต้ตอบโดยไม่ได้ขออนุญาตเมื่อถูกโจมตี แม้ว่าจะมีคำสั่งให้ตื่นตัวในบางส่วนในวันที่ 10 เมษายน แต่กำลังทหารโซเวียตก็ยังคงไม่พร้อมเมื่อการโจมตีของเยอรมนีเริ่มต้นขึ้น นี่อาจเป็นจุดที่ทำให้เกิดการโต้แย้งโดยวิกเตอร์ ซูโวรอฟ กระทั่งเมื่อการโจมตีเริ่มต้นขึ้น สตาลินก็ยังคงปฏิเสธที่จะวางกำลังและเคลื่อนกำลังทหารทั้งหมดเข้าสู่แนวรบ
แต่กระนั้น กองกำลังโซเวียตขนาดมหึมาก็ถูกประจำการไว้หลังชายแดนฝั่งตะวันตกในกรณีที่เยอรมนีเกิดโจมตีขึ้นมาจริง ๆ อย่างไรก็ตาม กองกำลังเหล่านี้เปราะบางมาก ซึ่งเกิดจากการกำลังเปลี่ยนแปลงของกองทัพแดง ในปี พ.ศ. 2481 (1938) กองทัพแดงได้ทำการแปลงกลยุทธป้องกันให้เป็นแบบระนาบมาตรฐานเหมือนกับชาติอื่นตามการสนับสนุนของนายพลพาฟลอฟ โดยมีเหล่ากองร้อยทหารราบเป็นกำลังหลัก เสริมด้วยส่วนประกอบที่เชื่อมต่อกันคล้ายกับรถถัง โดยจะทำการขุดสนามเพลาะเพื่อสร้างพื้นที่ป้องกันที่แน่นหนา แต่หลังจากความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของประเทศฝรั่งเศสต่อนาซีเยอรมนีในศึกแห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจว่า กองทัพฝรั่งเศสที่ถือว่าแข็งแกร่งเป็นอันดับที่สองของโลกในเวลานั้น (รองมาจากกองทัพแดง) กลับถูกเอาชนะได้ในเวลาแค่หกสัปดาห์เท่านั้น โซเวียตได้ทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ตามข้อมูลบางส่วน และสรุปว่าการล่มสลายของรัฐบาลฝรั่งเศสนั้นเกิดขึ้นจากการพึ่งพากลยุทธป้องกันแนวระนาบ และการขาดแคลนกองกำลังยานเกราะ โซเวียตตัดสินใจที่จะไม่ทำผิดพลาดซ้ำรอย โดยแทนที่การขุดสนามเพลาะให้เป็นการป้องกันในแนวระนาบ พวกเขาจะวางกำลังเหล่ากองร้อยทหารราบให้รวมพลกันในกระบวนทัพที่เคลื่อนพลได้ง่ายในขนาดใหญ่ และรถถังทุกคันจะถูกรวมพลกันเป็นกองพลยานเกราะขนาดใหญ่ยักษ์ 31 กองพล โดยที่แต่ละกองพลนั้นถูกวางแผนให้ใหญ่กว่ากองทัพรถถังแพนเซอร์ (แต่มีเพียงไม่กี่กองพลเท่านั้นที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางแผนไว้ได้ก่อนวันที่ 22 กรกฎาคม) เมื่อใดก็ตามที่เยอรมนีเปิดการโจมตี ยานเกราะหัวหอกของเยอรมนีก็จะถูกตัดกำลังและกวาดล้างโดยกองพลจักรกล ซึ่งหลังจากนั้นจะทำการเข้ารวมกับทัพทหารราบเพื่อที่จะขับไล่กองกำลังทหารราบเยอรมันที่เปราะบางเมื่อกำลังทำการเคลื่อนพลประชิดกลับไป ส่วนปีกด้านซ้ายของสหภาพโซเวียต จะมีกำลังเสริมขนาดมหึมาในยูเครนที่ใหญ่พอที่จะสามารถทำการโอบล้อมทางยุทธศาสตร์ โดยหลังจากที่ทำลายกลุ่มกองทัพเยอรมันในด้านใต้แล้ว กองกำลังโซเวียตก็จะบุกขึ้นเหนือฝ่าโปแลนด์ไปยังด้านหลังของกลุ่มกองทัพในตอนกลางและด้านเหนือ จากนั้นกองทัพเยอรมันที่ถูกโอบล้อมก็จะต้องถูกทำลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามมาด้วยการปลดปล่อยทวีปยุโรปอย่างผู้กรำชัยชนะ
ขนาดกำลังของกองทัพทั้งสองฝ่ายบนแนวรบด้านตะวันออกในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2484
กองทัพแดง | กองทัพเยอรมัน (รวมถึงพันธมิตร) | อัตราส่วน | |
---|---|---|---|
จำนวนกองพล | 190 | 166 | 1.1 : 1 |
จำนวนทหาร | 3,289,851 | 4,306,800 | 1 : 1.3 |
จำนวนอาวุธปืนและปืนครก | 59,787 | 42,601 | 1.4 : 1 |
รถถัง (รวมถึงปืนจู่โจม) | 15,687 | 4,171 | 3.8 : 1 |
อากาศยาน | 10,743 | 4,846 | 2.2 : 1 |
แหล่งที่มา: “Stalin's Missed Chance”, ตารางที่ 47
การโจมตีในวันที่ 22 มิถุนายน
กองกำลังฝ่ายอักษะเปิดการโจมตีสหภาพโซเวียตในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เมื่อเวลา 4.45 น. มันยังเป็นเรื่องยากที่จะประมาณกองกำลังของแต่ละฝ่ายได้อย่างแม่นยำในช่วงต้น ๆ ของการรบ เนื่องจากปริมาณกองกำลังเยอรมันส่วนใหญ่ยังรวมถึงที่ถูกกำหนดให้บุกจากทางทิศตะวันออกเข้ามา แต่ยังไม่ได้เปิดการโจมตี เช่นเดียวกันกับปัญหาหลายอย่างที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบสถิติทหารของทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าจะประมาณและคาดคะเนแล้ว จำนวนที่ดูสมเหตุสมผลน่าจะเป็นทหารเยอรมันประมาณ 2.6 ล้านนายที่เข้าทำการรบในวันที่ 22 มิถุนายน โดยมีทหารโซเวียตประจำการตามเขตแดนทหารอยู่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ส่วนการจะเอาปริมาณกองกำลังของพันธมิตรของเยอรมนี มารวมด้วยคงจะยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งยุทธการได้เริ่มขึ้นได้สักพักแล้ว แต่การทำให้ฝ่ายตรงข้ามประหลาดใจของเยอรมนีนั้นประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ โดยกองบัญชาการสามัญของสหภาพโซเวียตหรือสตาฟก้า (Stavka: Shtab vierhovnogo komandovania) ที่ได้รับรายงานว่ากองกำลังทหารเยอรมันกำลังเข้าประชิดชายแดนเพื่อจัดวางกำลังพล ในเวลา 00.30 น. และได้สั่งการเตือนทหารตามชายแดนว่าสงครามกำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า แต่กลับไม่มีทหารสักหน่วยที่เข้าสถานะเตรียมพร้อมในเวลานั้น
อาการตื่นตกใจของกองบัญชาการและทหารโซเวียตเมื่อถูกโจมตีมีสาเหตุมาจากช่วงเวลาที่การโจมตีเกิดขึ้นในกลางดึก อีกทั้งการที่ทหารฝ่ายอักษะจำนวนมากได้ทำการเข้าขนาบชายแดนโซเวียตและรุกล้ำเข้ามาพร้อม ๆ กัน และนอกจากกองกำลังภาคพื้นดินเยอรมันประมาณ 3.2 ล้านนาย (จำนวนทหารราบกับพลประจำยานเกราะรวมกัน) ที่ได้ทำการเข้าปะทะหรือได้ถูกจัดกำลังพลไว้สำหรับปฏิบัติการณ์ในยุโรปตะวันออกแล้ว ยังจะมีกองกำลังพันธมิตรของเยอรมนีที่ประกอบไปด้วยทหารโรมาเนีย, ฮังการี, สโลวาเกียและอิตาลีเป็นแสน ๆ คนที่กำลังเดินทัพมุ่งหน้าไปบรรจบกับกองทัพเยอรมนีอีกด้วย ในขณะที่กองทัพฟินแลนด์ได้ทำการสนับสนุนส่วนใหญ่ในตอนเหนือ โดยมีกองกำลังโซเวียตหันทัพมาทางฟินแลนด์อย่างซึ่ง ๆ หน้า (ไม่รวมถึงกองทัพโซเวียตที่อยู่ทางตอนกลางและกองกำลังสำรองของสตาฟก้า) และทำการเสริมกำลังถึงระดับที่ทหารโซเวียตที่เริ่มต้นจาก 2.6 ล้านนายในวันที่ 22 มิถุนายนเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านคนในตอนท้ายปี แม้ว่าจะต้องหากำลังมาทดแทนกำลังที่สูญเสียไปถึง 4.5 ล้านนายในกองกำลังทุกภาค
ในช่วงแรกของการรบนั้น ทำให้แผนป้องกันทั้งหมดของโซเวียตล้วนเปล่าประโยชน์ การขาดแคลนรวมถึงการสื่อสารกันในรูปแบบอื่น ๆ ส่งผลให้คำสั่งจำนวนมากของกองบัญชาการโซเวียตมาถึงผู้รับสารไม่ทันท่วงที ในเวลาไม่กี่วันต่อมา กองกำลังประจำการของโซเวียตในลิทัวเนีย ที่อยู่ในบริเวณทะเลบอลติก ได้ทำ เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสในการก่อกบฏ
เหตุการณ์ต่อมาที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ประสบความสำเร็จในช่วงแรก แต่ในที่สุดแล้วเวลาของเยอรมนีก็หมดลง เมื่อตอนที่กองกำลังเยอรมันมาถึงชานเมืองรอบนอกของกรุงมอสโก ก็เริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม สาเหตุของความล่าช้านี้เกิดขึ้นมาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งสำคัญในวันที่ 15 พฤษภาคม เนื่องจากฮิตเลอร์ต้องการที่จะเข้าไปยับยั้งแนวร่วมต่อต้านเยอรมนีในยูโกสลาเวีย และเข้าไปหยุดความคืบหน้าของกรีซในการต่อต้านอิตาลีภายใต้การปกครองของเบนิโต มุสโสลินีในอัลเบเนีย การตัดสินใจเช่นนี้ร่นระยะเวลาที่มีน้อยอยู่แล้วในฤดูร้อนของรัสเซียให้สั้นลงไปอีกห้าสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งในหลาย ๆ เหตุผลที่นำไปสู่ความล่าช้าในการบุก อีกเหตุผลหนึ่งก็คือช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิในปี 2484 (1941) ในรัสเซีย ซึ่งมีสภาพอากาศที่มีฝนตกอยู่บ่อย ๆ ตลอดเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2484 ซึ่งทำให้ถนนหลายสายในไม่สามารถขับรถบรรทุกและยานเกราะผ่านไปได้ โดยในระหว่างที่ยุทธการดำเนินไป ฮิตเลอร์ได้สั่งการให้ทัพหลักที่กำลังมุ่งหน้าไปสู่มอสโกให้เปลี่ยนเส้นทางมุ่งลงใต้เพื่อช่วยกลุ่มกองทัพด้านใต้ในการยึดยูเครน ซึ่งคำสั่งดังกล่าวชะลอเวลาการโจมตีเมืองหลวงของโซเวียตยิ่งขึ้นไปอีก แม้ว่ามันจะช่วยรักษาความมั่นคงของปีกซ้ายของกลุ่มกองทัพตอนกลางไว้ได้ แต่เมื่อถึงตอนที่พวกเขาหันทัพมุ่งไปยังมอสโก ตอนนั้นเองกองทัพแดงก็เริ่มต่อต้านอย่างดุเดือด ด้วยดินโคลนที่เกิดขึ้นจากฝนตกในฤดูใบไม้ร่วง และหิมะที่เริ่มตกหนักในฤดูหนาว เป็นใจให้กับโซเวียตที่จะยับยั้งการรุกคืบเข้ามาของกองทัพเยอรมันให้หยุดลง
นอกจากนี้ โซเวียตที่ประกาศว่าการรบของพวกเขาคือ มหาสงครามผู้รักชาติ (Great Patriotic War) ได้ทำการปกป้องของพวกเขาได้ดุดันกว่าที่กองบัญชาการเยอรมันได้คาดการณ์ไว้ยิ่งนัก ป้อมปราการชายแดนเมืองเบรสต์ในเบลารุสสื่อถึงความหมายของชาวโซเวียตได้เป็นอย่างดี ป้อมที่ถูกโจมตีในวันแรก ๆ ของการบุกโดยเยอรมนี เป็นป้อมที่ถูกคาดการณ์ไว้ว่าจะถูกยึดด้วยความประหลาดใจของโซเวียตในไม่กี่ชั่วโมง กลับกลายเป็นการสู้รบในป้อมที่ยาวนานและขมขื่นระหว่างกองกำลังของเยอรมนีและโซเวียตเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ๆ กลายเป็นอีกปัญหาใหญ่ของเยอรมนี เนื่องจากเส้นทางขนส่งเสบียงที่ยาวและง่ายต่อการโจมตีของของโซเวียตจากด้านหลัง อีกทั้งโซเวียตยังใช้ยุทธวิธี Scorched earth ทุกอย่างในทุกดินแดน ที่พวกเขาถูกบีบให้ถอนกำลังไป เพื่อไม่ให้กองทัพเยอรมันสามารถใช้ที่นา, อาหาร, เชื้อเพลิง และอาคารในดินแดนที่พวกเขายึดมาได้
แต่กองทัพเยอรมันยังคงคืบหน้าต่อไปแม้ว่าจะพบกับอุปสรรคบางประการ อย่างไรก็ตาม ก็มีบางครั้งที่เยอรมนีจะทำลายกองกำลังป้องกันทั้งหมดหรือปิดล้อมพวกเขาให้ยอมแพ้ โดยเฉพาะในศึกแห่งเคียฟที่มีผลลัพธ์ที่รุนแรงเป็นพิเศษ โดยในกลางเดือนตุลาคม กลุ่มกองทัพตอนใต้ของเยอรมนีจึงสามารถยึดเคียฟมาได้ และจับกุมเชลยชาวโซเวียตได้มากกว่า 650,000 คน ในเวลาต่อมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด ในปี พ.ศ. 2508 (1965) เคียฟจึงได้รับการยกย่องให้เป็นวีรนคร (Hero City) สำหรับการป้องกันเยี่ยงของมัน
ส่วนกลุ่มกองทัพตอนเหนือที่ถูกมอบหมายให้ยึดจนถึงเมืองเลนินกราด (เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปัจจุบัน) การรุกคืบหน้าของกลุ่มกองทัพนี้เป็นไปด้วยดีจนกระทั่งพวกเขามาถึงชายเมืองรอบนอกทางทิศใต้ในเดือนสิงหาคม ที่ ๆ พวกเขาถูกกองกำลังโซเวียตต่อต้านอย่างดุเดือดจนทำให้การรุกคืบหน้าอย่างต่อเนื่องของพวกเขาต้องหยุดลง และเนื่องจากการพยายามที่จะยึดเมืองคงจะเป็นการเสียกำลังพลมากเกินไป กองบัญชาการเยอรมันจึงตัดสินใจที่จะปล่อยให้ประชากรในเมืองอดอาหารจนตายผ่านการปิดทางเสบียงและการคมนาคม ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการปิดล้อมแห่งเลนินกราด แต่เมืองยังคงยืนหยัดไว้ได้ แม้ว่ากองกำลังเยอรมันจะพยายามหลายครั้งหลายหนในการฝ่าแนวป้องกันของโซเวียต รวมถึงทำการโจมตีทางอากาศและระดมยิงปืนใหญ่ใส่เมืองอย่างไม่หยุดหย่อน และทำให้เกิดการขาดอาหารและเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง จนกระทั่งฝ่ายเยอรมันเองกลายเป็นฝ่ายที่ต้องล่าถอยเมื่อกำลังเสริมของกองกำลังโซเวียตในเลนินกราดมาถึงในตอนต้นปี พ.ศ. 2487 (1944) และทำให้เลนินกราดกลายเป็นเมืองแรกที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรนคร
สาเหตุของความพ่ายแพ้ของสหภาพโซเวียตในช่วงแรก ๆ
สาเหตุโดยรวมที่ทำให้กองทัพโซเวียตพ่ายแพ้อย่างยับเยินในปี พ.ศ. 2484 (1941) เป็นเพราะการโจมตีอย่างไม่ทันตั้งตัวของเยอรมนี ในขณะที่กองทัพโซเวียตแทบไม่ได้เตรียมตัวเลย และเนื่องจากในขณะนั้น กองกำลังของเยอรมันเป็นกองกำลังที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และมีประสบการณ์การรบมากที่สุดในโลก เยอรมนีมีหลักการใน, การทำลายล้าง, การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม, และความเชื่อมั่นที่มาจากการประสบชัยชนะอย่างต่อเนื่องโดยเสียกองกำลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนกองกำลังโซเวียต เป็นไปในทางตรงกันข้าม ขาดทั้งบุคลากรที่มีความเป็นผู้นำ, ขาดการฝึกฝนและความพร้อม โดยแผนการของโซเวียตส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าสงครามระหว่างนาซีเยอรมนีและโซเวียตจะยังไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งปี พ.ศ. 2485 (1942) ฉะนั้นเมื่อกองทัพเยอรมันเปิดการโจมตี กองทัพโซเวียตยังคงปฏิรูปองค์กร และดูเหมือนว่ากำลังเป็นไปในทางที่ดี แต่ยังไม่ได้ทำการทดสอบใด ๆ และยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่งถูกผลิตให้กับหน่วยงานภาคสนาม อีกทั้งกองทัพโซเวียตส่วนใหญ่ในยุโรปนั้น ยังคงรวมพลอยู่ในพรมแดนโซเวียตใหม่ทางตะวันตกที่เคยเป็นประเทศโปแลนด์ ซึ่งไม่ได้เตรียมการป้องกันอย่างเอาจริงเอาจังใด ๆ และทำให้มันถูกเอาชนะอย่างราบคาบและกองกำลังโซเวียตที่ปกป้องมันอยู่ก็ถูกทำลายลงในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการรบ อีกทั้งในช่วงแรก ๆ นั้น หน่วยรบของโซเวียตจำนวนมากยังถูกขัดขวางไม่ให้เข้าทำการรบตามคำสั่งของสองจอมพลผู้รอดชีวิตจากการกวาดล้าง นายพล และนายพลกิออร์กี้ ชูคอฟ ที่ได้รับคำสั่งโดยตรงมาจากสตาลินอีกที ว่าไม่ให้ทำการเข้าปะทะ และไม่ให้ตอบโต้ต่อการยุยง ตามมาด้วยคำสั่งแรกจากมอสโกหลังการโจมตีที่ให้ทำการ 'ยืนหยัดต่อสู้และทำการสวนกลับ' ซึ่งจะทำให้กองทัพเยอรมันทำการโอบล้อมกองทัพโซเวียตได้โดยง่าย โดยสรุปคือ การที่โซเวียตพ่ายแพ้ในช่วงแรกก็เนื่องมาจากการขาดแคลนนายทหารที่มีประสบการณ์ (อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่ในประเด็นนี้) และความล่าช้าทางด้าน
ความผิดพลาดทางการยุทธของโซเวียตในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกระหว่างการรุกรานของเยอรมนีนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับโซเวียต โดยในช่วงแรก กองทัพแดงได้ประเมินกำลังรบของตนเองว่ามีปริมาณและประสิทธิภาพเกินกว่าความเป็นจริงที่เป็นอยู่อย่างลิบลับ โดยกองพลยานเกราะของโซเวียต จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะจัดการกับกองทัพได้อย่างราบคาบ กลับถูกดักโจมตีและถูกทำลายอย่างยับเยินโดยของกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอของเยอรมนี ส่วนบรรดารถถังโซเวียต ซึ่งขาดการบำรุงรักษาและถูกควบคุมโดยพลขับที่ไร้ประสบการณ์ ยังประสบกับอัตราความชำรุดเสียหายที่พุ่งขึ้นอย่างน่าใจหาย อีกทั้งการขาดแคลนชิ้นส่วนและรถบรรทุกขนส่งยังทำให้การส่งกำลังบำรุงไม่สามารถทำได้อย่างสิ้นเชิง การตัดสินใจที่จะไม่ให้ทหารราบของตนขุดสนามเพลาะถูกพิสูจน์ว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด และส่งผลให้กองกำลังทหารราบของโซเวียต ที่ขาดทั้งรถถังและการสนับสนุนด้านการต่อต้านยานเกราะที่ไม่เพียงพอ ประสบกับการสูญเสียอย่างมหาศาล เนื่องจากไม่สามารถต่อกรกับกองทัพเยอรมันโดยใช้กลยุทธกระจายกำลังที่จำเป็นต้องใช้รถถังได้
ต่อจากนั้น สตาลินยังสั่งห้ามกองทัพของเขาไม่ให้ถอยทัพหรือยอมจำนน ซึ่งส่งผลให้กองทัพของเขาวางกำลังกระจายกันออกไปประจำพลอยู่ในตำแหน่งเรียงกันเป็นระนาบโดยไม่ทำการเคลื่อนพลใด ๆ ในขณะที่รถถังเยอรมันยังคงเจาะกองกำลังของโซเวียตเข้ามาได้อย่างง่ายดาย และตัดเส้นทางเสบียงรวมถึงทำการล้อมกองทัพโซเวียตทั้งหมดเอาไว้ ถึงตอนนั้นเองที่สตาลินอนุมัติให้กองทัพทั้งหมดของเขาถอยทัพมายังแนวหลังเพื่อรวมพลเตรียมการป้องกันแนวหลังหรือเตรียมการตอบโต้การโจมตี หลังจากนั้น ทหารชาวโซเวียตมากกว่า 2,400,000 นายถูกจับเป็นเชลยจนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 (1941) ในเวลาที่การรบในชานเมืองมอสโกเริ่มต้นขึ้นระหว่างกองกำลังโซเวียตและเยอรมัน
แม้ว่าเยอรมนีจะประสบกับความล้มเหลวในการยึดกรุงมอสโก ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของยุทธการบาร์บาร็อสซา แต่ความสูญเสียอย่างมากของโซเวียตก็ทำให้การโฆษณาชวนเชื่อของโซเวียตเปลี่ยนจากจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยก่อนสงครามจะเกิดขึ้น รัฐบาลโซเวียตได้ออกมาระบุว่ากองทัพโซเวียตนั้นแข็งแกร่งมาก จนกระทั่งมาถึงฤดูใบไม้ร่วงที่รัฐบาลได้เปลี่ยนท่าที โดยประกาศว่ากองทัพโซเวียตนั้นยังอ่อนแอ และไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเตรียมทัพให้พร้อมทำสงคราม นอกจากนี้ยังถูกจู่โจมอย่างคาดไม่ถึงโดยเยอรมนี และเหตุผลอื่น ๆ ที่รัฐบาลโซเวียตได้อ้างสาเหตุ
สาเหตุของความพ่ายแพ้เยอรมนี (ในช่วงแรก) ได้ถูกนำเสนอต่างออกไปโดยวิกเตอร์ ซูโวรอฟในหนังสือ Icebreaker ของเขา โดยที่ซูโวรอฟอ้างว่าเหตุการณ์ในสงครามนั้นเป็นความจำนงของสตาลินอยู่แล้ว โดยคำกล่าวอ้างนี่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก และนักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกโดยทั่วไปถือว่าคำกล่าวอ้างของซูโวรอฟไม่มีมูลความจริง
ผลที่ตามมา
ยุทธการบาร์บาร็อสซานั้นมาถึงจุดสรุปเมื่อกลุ่มกองทัพตอนกลางของนาซีเยอรมนีที่กำลังขาดแคลนเสบียงเนื่องจากโคลนหลังฤดูฝนในเดือนตุลาคม ถูกสั่งให้บุกรุดหน้าต่อไปยังมอสโก จนกระทั่งกำลังทหารเยอรมันรุดหน้ามาถึงหน้าพระราชวังเครมลินในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 (1941) เมื่อมาถึงตรงนั้น กองกำลังทหารเยอรมันทั้งหมดก็จำต้องหยุดลง เมื่อกำลังเสริมขนาดใหญ่ของสตาลินมาถึง จากไซบีเรีย พร้อมกับความสดใหม่ของทหารและการบำรุงรักษากำลังอย่างครบครัน และได้ทำการป้องกันมอสโกอย่างดุเดือดในศึกแห่งมอสโก ผลของการรบออกมาโดยฝ่ายโซเวียตเป็นผู้กรำชัยชนะอย่างเด็ดขาด และได้ทำการตีโต้กองกำลังเยอรมันกลับไปเมื่อฤดูหนาวมาถึง กองกำลังตอบโต้ของโซเวียตขนาดใหญ่ยักษ์ได้ถูกสั่งให้เข้าทำการโจมตีกลุ่มกองทัพตอนกลางของเยอรมัน ซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าไรนัก เนื่องจากกลุ่มกองทัพดังกล่าวนั้นวางกำลังอยู่ใกล้มอสโกมากที่สุด การป้องกันกรุงมอสโกได้สำเร็จ ทำให้เมืองนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรนครในเวลาต่อมา
เมื่อกองกำลังเยอรมันทั้งหมดที่ประจำการอยู่ในดินแดนของโซเวียตประสบกับการไม่มีที่อยู่ที่พักอาศัย (ซึ่งเกิดจากกลยุทธทำลายล้างของโซเวียต), ขาดเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาวที่เหมาะสม, ขาดเสบียงอาหารเป็นเวลานานติดต่อกัน (หิมะในฤดูหนาวที่กลบถนนจนมิด ทำให้การส่งกำลังบำรุงของเยอรมันแทบจะเป็นอัมพาต) และไม่มีที่จะไป (เพราะการออกไปในอากาศหนาวเช่นนั้นโดยไม่มีเสื้อผ้ากันหนาวที่ดีพอ หมายถึงความตายของทหารเยอรมัน) ทำให้กองกำลังเยอรมันไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากจะรอกำลังเสริมในฤดูหนาวใน ในขณะที่กองกำลังเยอรมันสามารถหลีกเลี่ยงการถูกตีให้แตกพ่ายยับเยินโดยกองกำลังตอบโต้ของโซเวียตมาได้ แต่ก็ประสบกับการสูญเสียกำลังเป็นจำนวนมากทั้งจากการรบ และการถูกโจมตีระหว่างเคลื่อนทัพ
การยึดกรุงมอสโกถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ชัยชนะของเยอรมนีในขณะนั้น แต่ก็เกิดการถกเถียงระหว่างนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันว่าการเสียกรุงมอสโกจะนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เยอรมนีก็ประสบกับความล้มเหลวในการยึดมอสโก ซึ่งนำไปสู่ความล้มเหลวของยุทธการบาร์บาร็อสซาในเวลาต่อมา ในเดือนธันว่าคม พ.ศ. 2484 (1941) เยอรมนีก็ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา (ตามจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งหนึ่งในพันธมิตรอักษะของเยอรมนีที่ได้ทำการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ต่อสหรัฐอเมริกา) ซึ่งระหว่างเวลาหกเดือนต่อจากนี้ ของเยอรมนีเริ่มล่อแหลมขึ้นมาทุกที เนื่องจากการวางแผนของเยอรมนีถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการทำสงครามในระยะสั้นเท่านั้น และยังไม่มีความพร้อมที่จะทำสงครามยืดเยื้อแต่อย่างใด
ผลลัพธ์ของยุทธการบาร์บาร็อสซาต่อเยอรมนีนั้นสร้างความเสียหายให้กับโซเวียตในอย่างมหาศาล แต่ฝ่ายเยอรมันก็ไม่ได้มีสถานภาพต่างจากฝ่ายโซเวียตมากนัก แม้ว่าเยอรมนีจะล้มเหลวในการยึดกรุงมอสโก แต่กองกำลังเยอรมันก็สามารถยึดดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต รวมถึงเขตการปกครองของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทั้งเขต ได้แก่เบลารุส, ยูเครน และ รวมถึงภูมิภาครัสเซียตะวันตกที่มอสโกปกครองอยู่ กองทัพเยอรมันสามารถยึดดินแดนมาได้กว่า 1,300,000 ตร.กม. ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่กว่า 75 ล้านคนตามสถิติจากปลายปี พ.ศ. 2484 รวมถึงกำลังวางแผนที่จะยึดดินแดนมาอีกกว่า 650,000 ตร.กม. ก่อนที่จะถูกบีบให้ถอยทัพหลังจากความพ่ายแพ้ในศึกแห่งสตาลินกราด (เมืองในปัจจุบัน) และ ในขณะเดียวกัน ทุกดินแดนที่เยอรมนียึดมาได้ล้วนแข็งข้อต่อเยอรมนี จากอัตราการก่อกวนกองกำลังเยอรมันที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เยอรมนีลงโทษกลับอย่างโหดเหี้ยม ต่อมากองกำลังเยอรมันยังคงยันยื้อต่อกองกำลังตอบโต้ของโซเวียตอย่างเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่งผลให้เกิดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากในทั้งสองฝ่ายจากการรบหลายต่อหลายครั้ง
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
- Bergström, p130
- Bergström 2007, p. 131-2: ข้อมูลจากหอจดหมายเหตุสหภาพโซเวียตร่วมกับ Rosvoyentsentr, Moscow; Russian Aviation Research Trust; Russian Central Military Archive TsAMO, Podolsk; Monino Air Force Museum, Moscow.
- Boog, H, Germany's penis and the Second World War, VoI. 4: The Attack on the Soviet Union (Oxford, 1994)
- Bergström 2007, p 118: Sources Luftwaffe strength returns from the Archives in Freiburg.
- Krivosheev, G.F, 1997, p.96.
- เกี่ยวกับการรุกรานสหภาพโซเวียตของเยอรมนี
- การปฏิบัติต่อเชลยสงครามโซเวียต: การอดอาหาร โรคระบาดและการสังหาร (มิถุนายน 1941–มกราคม 1942)
- Bergström, p117
- Krivosheyev, G. 1993
- Rich 1973, pp. 204–221.
- Snyder 2010, p. 416.
- Chapoutot 2018, p. 272.
- Snyder 2010, pp. 175–186.
- Hilberg 1992, pp. 58–61, 199–202.
- United States Holocaust Memorial Museum 1996, pp. 50–51.
- Rees 2010.
อ้างอิง
- Bellamy, Christopher (2007). Absolute War: Soviet Russia in World War Two. Knopf Publishers.
- Bergstrom, Christer (2007). Barbarossa - The Air Battle: July-December 1941. London: Chervron/Ian Allen. .
- Bethell, Nicholas and Time - Life Books Attack of USSR (Hard cover, )
- Clark, Alan. Barbarossa: The Russian–German Conflict, 1941–45. New York: Willam Morrow & Co., 1965.
- John Erickson. The Road to Stalingrad. London: Cassell Military, 2003 (paperback, ).
- Erickson, John and Dilks, David eds. Barbarossa: The Axis and the Allies. Edinburgh: Edinburgh University Press, 1994 (hardcover, ); 1998 (paperback, ).
- Förster, Jürgen; Mawdsley, Evan. "Hitler and Stalin in Perspective: Secret Speeches on the Eve of Barbarossa", War in History, Vol. 11, Issue 1. (2004), pp. 61–103.
- Farrell, Brian P. "Yes, Prime Minister: Barbarossa, Whipcord, and the Basis of British Grand Strategy, Autumn 1941", The Journal of Military History, Vol. 57, No. 4. (1993), pp. 599–625.
- David Glantz. Barbarossa: Hitler's invasion of Russia, 1941. Stroud, Gloucestershire: Tempus, 2001 (paperback, ).
- Glantz, David M. Stumbling Colossus: The Red Army on the Eve of World War. Lawrence, KA: University Press of Kansas, 1998 (hardcover, ).
- Glantz, David M. Colossus Reborn: the Red Army at War, 1941–1943. Kansas: University Press of Kansas, 2005 (hardcover, ).
- Gorodetsky, Gabriel Grand Delusion: Stalin and the German Invasion of Russia. New Haven, CT; London: Yale University Press, 2001 (paperback, ).
- Joachim Hoffmann. Stalin's War of Extermination. Capshaw, AL: Theses & Dissertations Press, 2001 (hardcover, ).
- Kershaw, Robert J. War Without Garlands: Operation Barbarossa, 1941/42. Shepperton: Ian Allan, 2000 (hardcover, ).
- Kirchubel, Robert. Operation Barbarossa 1941 (1): Army Group South. Oxford: Osprey, 2003 (paperback, ).
- Kirchubel, Robert. Operation Barbarossa 1941 (2): Army Group North. Oxford: Osprey, 2005 (paperback, ).
- Krivosheyev, G. Grif sekretnotsi snyat. Poteri vooruzhyonnykh sil SSSR v voynakh, boyevykh deystviyakh i voyennykh konfliktakh, Voyenizdat, Moscow, 1993.
- Krivosheev, G.F. ed. Soviet casualties and combat losses in the twentieth century. London: Greenhill Books, 1997 (hardcover, ). Available on-line in Russian.
- Koch, H.W. "Hitler's 'Programme' and the Genesis of Operation 'Barbarossa'", The Historical Journal, Vol. 26, No. 4. (1983), pp. 891–920.
- Latimer, Jon, Deception in War, London: John Murray, 2001
- Lubbeck, William; Hurt, David B. At Leningrad's Gates: The Story of a Soldier with Army Group North. Philadelphia, PA: Casemate, 2006 (hardcover, ).
- Macksey, Kenneth. Why the Germans Lose at War: The Myth of German Military Superiority. London: Greenhill Books, 1999 (paperback, ).
- Maser, Werner. Der Wortbruch: Hitler, Stalin und der Zweite Weltkrieg. München: Olzog, 1994 (hardcover, ); München: Heyne, 2001 (paperback, ).
- Megargee, Geoffrey P. War of Annihilation: Combat and Genocide on the Eastern Front, 1941. Lanham, MA: Rowman & Littelefield, 2006 (hardcover, ; paperback, ).
- Murphy, David E. What Stalin Knew: The Enigma of Barbarossa. New Haven, CT; London: Yale University Press, 2005 (hardcover, ); 2006 (paperback, ).
- Reviewed by Robert Conquest at The American Historical Review, Vol. 111, No. 2. (2006), p. 591.
- Alexander Nekrich. "June 22, 1941; Soviet Historians and the German Invasion". Columbia: University of South Carolina Press, 1968.
- Pleshakov, Constantine. Stalin's Folly: The Tragic First Ten Days of World War Two on the Eastern Front. Boston: Houghton Mifflin, 2005 (hardcover, ).
- Raus, Erhard. Panzer Operations: The Eastern Front Memoir of General Raus, 1941–1945, compiled and translated by Steven H. Newton. Cambridge, MA: Da Capo Press, 2003 (hardcover, ); 2005 (paperback, ).
- Rayfield, Donald. Stalin and his Hangmen,London, Penguin Books, 2004,
- Reviewed by David R. Snyder in The Journal of Military History, Vol. 69, No. 1. (2005), pp. 265–266.
- Roberts, Cynthia. "Planning for War: The Red Army and the Catastrophe of 1941". Taylor and Francis Publishers. Europe-Asia Studies, Vol. 47, No. 8 (Dec, 1995), pp. 1293-1326.
- Rees, Laurence. War of the Century: When Hitler Fought Stalin. New York: New Press, 1999 (hardcover, ).
- Stolfi, R.H.S. German Panzers on the Offensive: Russian Front. North Africa, 1941–1942. Atglen, PA: Schiffer Publishing, 2003 (hardcover, ).
- Suvorov, Viktor. The Chief Culprit: Stalin's Grand Design to Start World War II. Dulles, VA: Potomac Books, 2007 (hardcover, ).
- A.J.P. Taylor และ Mayer, S.L., eds. A History Of World War Two. London: Octopus Books, 1974. .
- Martin van Creveld. Supplying War: Logistics from Wallenstein to Patton Cambridge: Cambridge University Press, 1977.
- Weeks, Albert L. Stalin's Other War: Soviet Grand Strategy, 1939–1941. Lanham, MD: Rowman & Littlefield, 2002 (hardcover; ); 2003 (paperback, ).
- Wegner, Bernd ed. From Peace to War: Germany, Soviet Russia, and the World, 1939–1941 Providence, RI: Berghahn Books, 1997 (hardcover, ).
- Reviewed by Peter Konecny, Canadian Journal of History, Vol. 34 Issue 2. (Aug., 1999) pp. 288–290.
- Wieczynski, Joseph L.; Fox, J.P. "Operation Barbarossa: The German Attack on The Soviet Union, June 22, 1941", The Slavonic and East European Review, Vol. 74, No. 2. (1996), pp. 344–346.
- Ziemke, Earl F. Moscow to Stalingrad: Decision in the East. Washington DC: U.S. Army Center of Military History, 1987; New York: Military Heritage Press, 1988 (hardcover, ).
- Ziemke, Earl F. Stalingrad to Berlin: The German Defeat in the East. Washington DC: U.S. Army Center of Military History, 1966; Honolulu, HA: University Press of the Pacific, 2003 (paperback, ).
- Мельтюхов, М.И. Упущенный шанс Сталина. Советский Союз и борьба за Европу: 1939–1941 (Документы, факты, суждения). Москва: Вече, 2000.
- Суворов, В. Последняя республика: Почему Советский Союз проиграл Вторую Мировую войну. Москва: AST, 2003 (hardcover, ).
- lt. Kolobanov and KV-2. Notable engagements of KV series against outnumbering enemy forces: http://wio.ru/tank/ww2tank.htm
แหล่งข้อมูลอื่น
- Operation Barbarossa รายงานและรูปภาพดั้งเดิมจาก เดอะ ไทมส์
- ความเชื่อมโยงกันระหว่างการทัพในคาบสมุทรบอลข่านกับการรุกรานสหภาพโซเวียต และ เส้นเวลา บนเว็บไซต์ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
- แผนที่มัลติมีเดีย— มีเนื้อหาครอบคลุมการรุกรานสหภาพโซเวียต รวมไปถึงปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา
- ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา 2011-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน— การวิเคราะห์ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา โดยนักประพันธ์ เบวิน อเล็กซานเดอร์
- Central Intelligence Agency, Office of Current Intelligence. The Soviet History of World War II 2009-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 28 October 1959.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxngkhunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxk haaehlngkhxmul ptibtikarbarbarxssa khaw hnngsuxphimph hnngsux skxlar JSTOR eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir ptibtikarbarbarxssa eyxrmn Unternehmen Barbarossa xngkvs Operation Barbarossa rsesiy Operaciya Barbarrossa epnrhsnamsahrbkarbukkhrxngshphaphosewiytkhxngfayxksa sungerimtnkhun emuxwnxathity thi 22 mithunayn kh s 1941 inchwngsngkhramolkkhrngthisxng ptibtikardngklawidnaipsukarkrathaephuxepahmaythangdanxudmkarnkhxngnasieyxrmniinkarphichitdinaednshphaphosewiytthangdantawntkephuxthicasrangphunthixyuxasyihmihkbchaweyxrmn ekenxralphlanxxsthkhxngeyxrmnnnmiepahmaythicaichprachakrthiphichitmaidbangswnmaepnaerngnganeknthsahrbkhwamphyayamthasngkhramkhxngfayxksa inkhnathiidekhayudaehlngbxnamnsarxngbnethuxkekhakhxekhss rwmthngthrphyakrthangekstrkrrmkhxngdinaedntang khxngosewiyt epahmaysungsudkhxngphwkekha rwmthungthaythisudaelw idthakarkwadlang karthukthaihepnthas karthukthaihepneyxrmn aelakarenrethstxchawslafcanwnmakmayipyngisbieriy aelaephuxsrangelebinseram phunthixyuxasy sahrbeyxrmniptibtikarbarbarxssaswnhnungkhxng aenwrbdantawnxxk insngkhramolkkhrngthisxngthhareyxrmninshphaphosewiytrahwangptibtikarbarbarxssawnthi22 mithunayn kh s 1941 5 thnwakhm kh s 1941sthanthiopaelnd eblarus yuekhrn mxlodwa lithweniy ltewiy exsoteniyphlfayxksalmehlwthangyuththsastrkhusngkhramnasieyxrmni rachxanackrormaeniy xitali hngkari solwaekiy rthexkrachokhrexechiy finaelndshphaphosewiytphubngkhbbychaaelaphunaxdxlf hitelxr wlethxr fxn ebrachithch wilehlm rithethxr fxn elph frns hledxr efdxr fxn bxkh ekxrd fxn rundchethdth exiyn xnotenskhu kustaf mnenxrehmocesf stalin ekxxrki cukhxf esmixxn budixxnnuy khliemnt oworchilxf kalngthharrab 3 900 000 nay rththng 3 600 khn ekhruxngbin 4 389 lathharrab 3 200 000 nay inphayhlngephimkhunepn 5 000 000 nay rththng 12 000 15 000 khn ekhruxngbin 35 000 40 000 la aetichnganidcringephiyng 11 357 la khwamsuyesiythharsuyesiythnghmd 918 000 nay rththng 2 758 khn ekhruxngbin 2 093 lathharesiychiwit 802 191 nay thharsuyesiythnghmd 3 000 000 nay thukcbepnechly 3 300 000 nay rththng 20 500 khn ekhruxngbin 21 200 la inchwngsxngpithinaipsukarbukkhrxng eyxrmniaelashphaphosewiytidlngnaminsnthisyyathangkaremuxngaelaephuxepahmaythangyuththsastr xyangirktam kxngbychakarihyaehngaewrmkhth OKW iderimwangaephnkarbukkhrxngshphaphosewiytineduxnkrkdakhm kh s 1940 phayitrhsnamwa sungxdxlf hitelxridmxbxanac emuxwnthi 18 thnwakhm kh s 1940 inchwngrahwangptibtikardngklaw canwnkalngphlpramansamlannaykhxngfayxksa sungepnkxngkalngrukranthiihythisudinprawtisatrsngkhram karbukkhrxngdinaednshphaphosewiytthangdantawntktamaenwrbrayathangpraman 2 900 kiolemtr 1 800 iml dwyyanynt 600 000 khn aelacanwnmakwa 600 000 tw sahrbptibtikarthiimichkarsurb karbukkhrxngdngklawidkhyaytwxyangmakinsngkhramolkkhrngthisxng thnginthangdanphumisastraelainkarkxtwkhxngaenwrwmfaysmphnthmitr rwmthngshphaphosewiyt ptibtikarniidepidchakaenwrbdantawnxxk sungmikxngkalngmakmaythiekharwmmakkwainekhtsngkhramxun inprawtisastr phunthidngklawidmikarphbehnthungkarsurbkhnadihythisudinolk thiduohdrayaelanasaphrungklwthisud aelamikarbadecblmtaysungsud sahrbkxngkalngfayosewiytaelakxngkalngfayxksa sungthnghmdnimixiththiphltxsngkhramolkkhrngthisxngaelaprawtisastrinphayhlngkhxngthswrrsthi 20 inthisud kxngthpheyxrmnidcbkumkxngkalngthharkhxngkxngthphaedngosewiytidrawpramanhalannay phukhnswnihyimekhyklbmamichiwitxikely phwknasiidcngicihxdxaharhruximksnghartxechlysukcanwn 3 3 lannayaelaphleruxnxikcanwnmak dwy aephnkhwamhiw sungthukichnganephuxaekikhpyhaphawakhadaekhlnxaharkhxngeyxrmnaelakacdprachakrchawslafdwythukkhphikphymikaryingepaaelaptibtikarrmaekscanwnmakodyphwknasi hruxphuihkhwamrwmmuxdwykhwametmic idthakarsngharcanwnkwalankhn sungepnswnhnungkhxnghxolkhxst dwykhwamlmehlwkhxngptibtikarbarbarxssa thaihochkhchatakhxngirchthisamtxngklbtalptr inthangptibti kxngthpheyxrmnidrbchychnakhrngsakhyaelaekhayudkhrxngphunthithangesrsthkicthisakhythisudbangaehngchxngshphaphosewiyt swnihyxyuinyuekhrn aelaidrbkhwamesiyhay echnediywkbkarbadecblmtayxyangtxenuxng aemcaprasbkhwamsaercinchwngaerk aetfayrukkhxngeyxrmntxnghyudchangklnginyuththkarthimxsok emuxplaypi kh s 1941 aelatammadwykarocmtitxbotklbinvduhnawkhxngosewiytidphlkdnihkxngthhareyxrmnklbip eyxrmnidkhadhwngxyangmnxkmnicwa kartxtankhxngosewiytcaphngthlaylngxyangrwderwechnediywkbinopaelnd aetkxngthphaedngidsumsbkarocmtithirunaerngthisudkhxngkxngthphaewrmkhth aelacmplkxyuinsngkhramphrakalng sungeyxrmnimidetriymkarmakxnely kxngthphthidulidrxnkhxngaewrmkhthimsamarthocmtitamaenwrbdantawnxxkthnghmdidxiktxip aelatammadwyptibtikarephuxkarrukekhayudklbkhunaelarukekhaipluk indinaednosewiyt echn krnisinaengin inpi kh s 1942 aelaptibtikarsithaedlinpi kh s 1943 cninthisudktxnglmehlwsungsngphlthaihaewrmkhthtxnglathxyaelaphngthlaylngectnakhxngeyxrmnithvsdikhxngnasithimitxshphaphosewiyt inpi kh s 1925 hitelxridekhiynectnakhxngekhainkarrukranshphaphosewiytiwxyangchdecnin imnkhmphf eyxrmn Mein Kampf kartxsukhxngkhapheca odyrabuthungkhwamechuxkhxngekhathiwachaweyxrmnepnchnthiphungidphunthixyuxasy eyxrmn Lebensraum xathiechnthidin thrphyakraela sungphunthidngklawnnkhwresaaaeswnghaindinaedntawnxxk xikthngnoybaythangechuxchatikhxngnasiyngrabuwaechuxchatislafepnechuxchatithitakwamnusy sungxyuphayitkarpkkhrxngkhxng inhnngsuximnkhmphf hitelxryngekhiyniwxikwachatakrrmkhxngeyxrmnikhuxkarmungsutawnxxk xyangthiekhyekidkhunemuxhkrxypikxnhnann aela ephuxyutikarpkkhrxngkhxngchawyiwinrsesiy sungcaepnkaryutikhwamepnrthkhxngrsesiylngipdwy hlngcaknn hitelxridklawthungkartxsuthihlikeliyngimidkb aenwkhidrwmechuxchatislaf aelachychnathiidcanaipsu khwamepnecaolknirndr aemkxnhnann hitelxrcaekhyklawwa eracatxngedinthangediywkbphwkrsesiy thannepnpraoychntxera chann noybaykhxngrthbalnasi khux sngkha hruxcbchawrsesiyhruxchawslafepnthas aelaihdinaednehlannepnthixyuxasykhxngchaweyxrmnaethn khwamsmphntheyxrmni osewiyt rahwangpi 1939 1940 phumirthsastryuorpinpi kh s 1941 thnthithierimptibtikarptibtikarbarbarxssa phunthisiethakhuxnasieyxrmni aenwrwm aelapraethsthixyuphayitkarkhwbkhum snthisyyaomoltxf ribebnthrxpidrbkarlngnamimnankxnhnakarrukranopaelndkhxngeyxrmniaelashphaphosewiytinpi kh s 1939 sungodythwipaelwsnthisyyadngklawmienuxhaepn aetthwaidmikhxtklnglbrahwangnasieyxrmniaelashphaphosewiytwacaaebngekhtxiththiphlkhxngthngsxngchati snthisyyadngklawsrangkhwamtktalungihkbolkenuxngcakkhwamepnxridngedimkhxngthngsxngfay rwmthungxudmkarnthitrngkhamknxyangehnidchd xyangirktamemuxsnthisyyaidrbkarlngnamaelw thngnasieyxrmniaelashphaphosewiytkklayepnthisakhy aelamikhwamsmphnththangkarthutxyangehniywaenn odythishphaphosewiytepnphusngnamnaelawtthudibtang ihkbeyxrmni sungchwyiheyxrmnirxdphncakkarpidlxmthangthaelkhxngxngkvs inkhnathieyxrmniksngmxbethkhonolyithangkarthharihkbshphaphosewiyt aetthwathngsxngfaykyngkhngkhwamkhlangaekhlnginectnakhxngxikfay hlngcakeyxrmniidekharwmkbfayxksarwmkbxitaliaelayipun eyxrmniidecrcaechiychwnihshphaphosewiytekhaepnsmachikdwy hlngcakkarecrcanansxngwninkrungebxrlinrahwangwnthi 12 14 phvscikayn eyxrmniidsngkhxesnxepnlaylksnxksrihaekshphaphosewiytephuxechiychwn thangdanshphaphosewiytidsngkhxesnxkhxngtnklbmainwnthi 25 phvscikayn kh s 1940 aetirthathitxbsnxngcakeyxrmni enuxngcakkhwamepnxritxknkhxngthngsxngpraethsephimmakkhunthukthi aelaemuxekidkhxphiphaththikhdaeyngknkhuninyuorptawnxxk cungepnphlihkarpathaknthangthharepnsingthihlikeliyngimid aephnkarrukrankhxngeyxrmni karkrathakhxngstalinidthaihnasieyxrmniichxangehtuphlephuxetriymkarrukranaelaephimkhwamechuxmninkhwamsaerc inchwngplaykhristthswrrs 1930 stalinidsngpraharaelakhumkhngprachachncanwnhlaylankhnrahwangkarkwadlangkhrngihy sungphuthithuksngpraharaelakhumkhngnnidrwmipthungbukhlakrthangthharthimikhwamsamarth thaihkxngthphaedngxxnaexaelakhadphuna phrrkhnasiyngidichkhwamohdraydngklawinkarokhsnachwnechux sungmienuxhaklawhawa kxngthphaedngetriymkarthicarukraneyxrmni aelakarrukrankhxngeyxrmninnepnkarkrathaephuxpxngkntw rahwangchwngvdurxnkhxngpi kh s 1940 emuxprimanwtthudibkhxngeyxrmnitkxyuinsphawawikvt aelakhidkhwamsamarthinkarrukranshphaphosewiytehnuxdinaednkhabsmuthrbxlkhanmikhwamepnipidsung dngnn hitelxrcungmikhwammnicinkaraekikhpyhadngklawdwykarrukranshphaphosewiyt aetinkhnann fayeyxrmniyngimmiaephnkarthiepnrupepnrangchdecn hitelxridklawaeknayphlkhxngekhaineduxnmithunaynthungchychnainyuorptawntkwa epnkaretriymkartxepahmaysakhythiaethcring nnkhux karcdkarkbphwkbxlechwikh aetnayphlkhxngekhaidaeyngwakaryudkhrxngshphaphosewiytphakhphunyuorpcathaihekidkhwamsinepluxngmakkwacaepnkaraekikhpyhathangesrsthkic aethitelxridkhadhwngphlpraoychnhlayprakarthicaidhlngcakkarexachnashphaphosewiytiwwa emuxshphaphosewiytphayaephaelw cathaihsamarthpldpracakarthharswnihyinkxngthphephuxnaipaekpyhakarkhadaerngngankhxngeyxrmniinkhnann enuxngcakemuxkarrbsakhysinsudlngaelw cungimtxngkarthharcanwnmakxiktxip yuekhrncaklayepnaehlngxaharrakhathukthixudmsmburnihkbchaweyxrmn enuxngcakmikhwamehmaasmtxekstrkrrmepnxyangying enuxngcakshphaphosewiytmiprachakrmakmay thaihhitelxrmxngosewiytepnaehlngaerngnganthasrakhathuksungcachwyephimkhwammnkhngthangphumiyuththsastrihkbpraethseyxrmnixyangmak khwamphayaephkhxngshphaphosewiytcayingthaihckrwrrdixngkvs sungkalngcaphayaephxyuaelw thukoddediywmakkhunipxik samarthekhathungaehlngnamnbaku ephuxtxbsnxngkhwamtxngkarthangesrsthkicid inwnthi 5 thnwakhm hitelxridrbthrabaephnkarrukranthiepnipid aelaxnumtiaephnkarthnghmd txma inwnthi 18 thnwakhm hitelxridlngnaminkhasngsngkhramhmayelkh 21 ipyngkxngbychakarthharsungsudkhxngeyxrmniineruxngptibtikarsungtngchuxwa barbarxssa klawwa kxngthpheyxrmntxngphrxmthicabdkhyishphaphosewiytidxyangrwderw odyaephnkarrukranthukkahndihmikhuninwnthi 15 phvsphakhm kh s 1941 swnthangdanshphaphosewiyt stalinidklawaeknayphlkhxngekhawa cakthihitelxridklawthungkarrukranshphaphosewiytin imnkhmphf kxngthphaedngcatxngphrxmthicatngrbkarrukrancakeyxrmni aelaphudwa hitelxrkhidwakxngthphaedngcatxngichewlaetriymkarnanthungsipi aeteracatxngphrxmiderwkwannaelaerakhidcayudewlakhxngsngkhramidnanxxkipxiksxngpi chwngvduibimrwngkhxngpi kh s 1940 naythharradbsungkhxngkxngthpheyxrmnidrangbnthuksungklawthungxntraythicaekidkhunphayhlngkarrukranshphaphosewiyt rwmipthungkhwamkhidthiwayuekhrn ebolrusesiyaelarthaethbbxltikcaepnpharaihyhlwngthangesrsthkictxeyxrmni swnnaythharxikphwkhnungidaeyngwarabbrthkarkhxngosewiytcaimidrbphlkrathb aelakaryudkhrxngdngklawcaimkxihekidpraoychnxnidtxeyxrmni rwmipthungimekhaicwaehtuidcungtxngekhaipekiywyungkbphwkbxlechwikhdwy hitelxrptiesthkhwamkhidehnthnghmd rwmipthungnayphlcxrc othms sungkalngetriymkarraynganekiywkbphlkrathbthangesrsthkicinaenglbthicaekidkhunphayhlngcakkarrukranshphaphosewiyt ptibtikarbarbarxssaswnihyerimtnmacakkhwamkhidkhxnghitelxraetephiyngphuediyw inkhnathibukhlakrthangthharaelasmachikinphrrkhnasiaenanawaekhakhwrthicacdkarkbekaabrietnihesrcsinipkxn aelwcungkhxyepidkarocmtishphaphosewiytinaenwhnatawnxxk aetswnihyehlanayphlkhxnghitelxrkehndwykbhitelxrwakarbukosewiytnnhlikeliyngimid aelacatxngekidkhuninwnidwnhnung intxnnnhitelxrphicarnaaelwwatnexngnnepnthangkarthharaelakaremuxng aelaepnthiaenchdwainkhnannekhaidrbchychnaxyangrwderwinaethbthukpraethsthiekhaocmti ykewnekaabrietnthiyngsamarthynkarocmtikhxngeyxrmnidxyu thng thikxnkarocmti oxkasthiekhacachnannminxymak xyangirktamekhalaelykhaaenanakhxngphubychakarkxngthpheyxrmn sungekidmacakkhwamimyngkhidaelakhwamyindithicaesiyng prasmkbraebiybwinykhxngthharkhxngekhaaelayuththwithikarocmtisayfaaelb thaihekhasamarthexachna xxsetriy aelaechoksolwaekiyxyangngayday caknnekhaksamarthexachnapraethsopaelnd ednmark aelanxrewyidodyprasbkbpyhaelknxyethann caknnekhakyngsamarththalaykxngthphkhxngfrngessidxyangrwderwodykarbukphanlkesmebirksungxyuthangtxnehnuxkhxng Maginot Line aelathakarpidlxmkxngkalngsmphnthmitr aelwkxngthphkhxngekhacungmunghnaipthangitipyngchayaednswis txmakxngkalngsmphnthmitrsamarthocmtifaswnpidlxmdanehnuxxxkmaid aetkthuktxnipyngemuxngdnekhirk aelacnmumodysineching cnkrathngkxngthphbrietnkuphyxxkmaid sungthaihtxnniphundininphumiphakhyuorptawntkepnkhxnghitelxrodysineching aetkxngthphkhxngekhaimsamarthbukkhamchxngaekhbxngkvsipyngekaabrietnidinthnthienuxngcakkhwamehnuxkwakhxngxngkvsindankarrbthangthael aelamixanacethaethiymknthangxakas sungkhxidepriybdngklawkhxngxngkvsthaihyngimyxmcannodyngay aemwacatxngynkbeyxrmn odyimsamarthtxbotklbidktam emuxkhwamdxykwakhxngkxngthpheruxeyxrmnindankxngkalngthangthael aelairkhwamidepriybindankxngkalngthangxakas thaihkarbukmixacthaid inchwngewlasn thaihhitelxrhmdkhwamxdthn aelainkhnaediywknkhwamtxngkarinkarbukosewiytnnmimakkwakarbukekaabrietn enuxngcakhitelxrechuxwachawxngkvsepnephaphnthuthiethaethiymkbephaphnthuxaryn thaihhitelxronmnawbukhlakrkhxngekhawarthbalbrietncatxngphyayamsngbsukkbeyxrmnaennxnemuxshphaphosewiytthuklmipaelw odyekhaklawwa eraephiyngaekhtxngthibpratulngma aelwxakharthiesuxmothrmthngxakharkcathlmlngmadwy aethitelxrnnmnicekinipcakkarthiekhaprasbkhwamsaercxyangrwderwinkarrbinyuorptawntk xikthngyngsbpramathkhwamsamarthkhxngosewiytthicasurbinsngkhramnxkvduhnaw thaihekhaechuxwakarrbcacblngkxnvduhnawinrsesiy aelaimidsngkarihetriymesbiyngesuxphaknkhwamhnaweynihkbthhar sungcasngphlrunaernginewlatxma xdxlf hitelxrhwngiwwaemuxekhaexachnakxngthphaedngidaelw rthbalxngkvscatxngecrcakhxsngbsukkbnasieyxrmnixyangaennxnkaretriymtwkhxngfayeyxrmnhitelxridsngkarihekhluxnphlcanwnsamlansxngaesnnayipyngchayaednhnashphaphosewiytephuxetriymtwinkarocmti sngiherimehnuxnanfakhxngosewiyt aelayngsngihkktunesbiyngepncanwnmakinopaelndthieyxrmniidma krannkarbukshphaphosewiytkyngepnthiaeplkicsahrbfayosewiytxyangmak sungkhwamaeplkicniswnihymacakkhwamechuxthimnkhngkhxngstalinwaxanackrirkhthisamimnathicaocmtipraethskhxngtnhlngcakthiephingesnktikasyyaomoltxf ribebinthrxphmaidephiyngsxngpiethann stalinyngechuxdwywakxngthphnasikhngcacdkarsngkhramkbekaabrietnihesrcesiykxnthungcaepidsmrphumirbihmkbtn aemwacamikhaetuxnhlaykhrnghlaykhrawmacakhnwykhawkrxngkhxngekha stalinkyngptiesththicaechuxkarraynganthnghmd odyekrngwakhxmuldngklawxacepnkarplxykhawokhmlxycakkxngthphxngkvs ephuxthicacudchnwnsngkhramrahwangnasiaelaosewiyt xikthngkarthirthbaleyxrmnxxkmachwythakarlwngstalin odyklawwa phwkekhaaekhkalngekhluxnkalngthharihxxkmanxkrayakhxngekhruxngbinthingraebidkhxngxngkvs aelayngxthibayephimetimdwywaphwkekhaphyayamcahlxkrthbalxngkvsihechuxwakxngthphnasikalngcabukshphaphosewiytxikdwy aettamcringphwkekhakalngetriymtwinkarbukekaabrietnxyutanghak aelahlngcakehtukarnhlay xyangthistalinidru thaihkaretriymtwtngrbkarocmtikhxngeyxrmniepnipxyangimcringcng xyangirktam khwrsngektkrnithi dr saylbkhxngosewiyt idihkhxmulthiklawthungwnthieyxrmnicabukosewiytidxyangthuktxng rwmthung nkthxdrhschawswiednthithrabwnthieyxrmnicabukkxnthiosewiytcathrabxikdwy ptibtikarnlwngkhxngeyxrmnierimkhunineduxnemsayn ph s 2484 kh s 1941 odycudprasngkhkhuxephimmulkhwamcringihtrngkbkhaxangkhxngeyxrmniwaekaabrietnkhuxepahmaythiaethcring ptibtikarndngklawkhuxptibtikarnihfisk aelaptibtikarnharphun odythngsxngptibtikarncalxngwakaretriymtwbukekaabrietnerimkhuninpraethsnxrewy chayfngtamaenwchxngaekhbxngkvsaelaaekhwnebrxtayinfrngess prakxbkbkarxangehtuphlekiywkbkarsasmkalngdngthirabuiwkhangtn rwmthungkarptibtikarnradmkalngeruxrb ptibtikarnsxdaenmthangxakasaelakarfuksxmphakhsnam thukcdkhunephuxephimkhwamnaechuxthuxyingkhunipxik odyaephnkarbukcring thukcdkhun aelaplxyihkhxmulsamarthrwihlidbangswn aeteyxrmnmipyhainkarkhidyuththwithithicarbpraknwakxngthphnasicasamarthyudshphaphosewiytidsaerc odythihitelxr kxngbychakarsungsudaehngewrmkhth aelaphubychakarradbsungxikhlay khnmiaenwkhidthikhdaeyngknekiywkbaephnklyuthththicaichinkarocmtishphaphosewiyt aelacudprasngkhhlkkhxngyuththkarkhwrepnechnid kxngbychakarkxngthphbkesnxwakhwrekhluxnphltrngipyngemuxnghlwngmxsok aethitelxrnntxngkarthicaihkxngthphekhluxnthphipyngyuekhrnthixudmsmburnaeladinaednbriewnthaelbxltikesiykxnthicaekhluxnphlipyudmxsok karotaeyngthiekidkhunthaihaephnkarintxnghyudchangk aelathaihkarbuklachaipxikthunghnungeduxnkwa tamkahndkarkarbukineduxnphvsphakhm klyuththsudthaythihitelxraelanayphlkhxngekharwmknwangkhunkhuxkaraebngkxngkalngxxkepnsamodyaetlaklumkxngthphthukcdihyudphumiphakhthikahndiwrwmthungemuxngihy inshphaphosewiyt emuxkarbukshphaphosewiyterimtnkhun caaebngaenwthangkarbukxxkepnsamthangodyekhluxnphliptamesnthangthiekhythukbukinprawtisastr xangxingtamkarbukrachxanackrrsesiykhxngnopeliyn obnapart klumkxngthphehnuxthukmxbhmayihekhluxnphlphandinaednrxbthaelbxltik aelwcungekhluxnipyngrsesiytxnehnux odythakaryudhruxthalayemuxngelninkrad emuxngesntpietxrsebirkinpccubn swnklumkxngthphklangthukmxbhmayihmunghnatrngipyngemuxngsomelnskh aelwthakaryudmxsok odytxngthakarekhluxnphlphanpraethseblarusinpccubnaelaphanphumiphakhklangaethbtawntkthikhrxbkhrxngxyu aelaklumkxngthphitcatxngepidkarocmtiinswnthiepnicklangkhxngyuekhrnthiepnsunyklangthangekstrkrrmaelaprachakrxasyxyuhnaaenn odyyudemuxngekhiyf kxnthicaekhluxnphlmungipthangthistawnxxkphaninrsesiytxnitipyngaemnaowlkaaelaethuxkekhakhxekhssthixudmipdwynamndibkaretriymtwkhxngfayosewiytemuxshphaphosewiytkawekhasuthswrrsthi 1940 ph s 2483 intxnnnshphaphosewiytkhuxchatimhaxanac cakkarptiwtixutsahkrrmxyangrwderwkhxngosewiytinthswrrsthiaelwthaihphlphlitthangxutsahkrrmkhxngosewiytepnrxngaekhshrthxemrika aelamiphlphlitethaethiymkbpraethseyxrmni karphlityuthothpkrnnnephimkhunxyangkhngthi odyechphaainchwngimkipikxnsngkhramolkkhrngthisxngthiesrsthkickhxngosewiytnnthukkahndipthikarphlitxupkrnthangthharxyangtxenuxng enuxngmacakinchwngtnthswrrsthi 1930 ph s 2473 ph s 2478 hlkkarptibtikhxngkxngthphaedngnnthukphthnaihthnsmyyingkhunaelwcungprakasihepnhlkptibtiphakhsnamkhxngkxngthphinpi ph s 2479 kh s 1936 cungthaihekidkarekhluxnihwthangesrsthkicdngklawkhun inpi ph s 2484 kxngkalngkhxngosewiytinphumiphakhtawntknnnxykwakxngkalngkhxngeyxrmnimak xyangirktamkhnadodyrwmkhxngkxngkalngosewiytineduxnkrkdakhm ph s 2484 nnrwmaelwmithunghalannaykwa sungmicanwnmakkwakxngkalngphakhphundinkhxngeyxrmnithiichbukosewiytinyuththkarbarbarxssaesiyxik nxkcaknikarsasmkalngkhxngkxngthphaedngyngaekhngaekrngkhunxyangkhngthi aelayngmikhwamsamarthinkarwangkalngthiepntxkwaeyxrmniinsmrphumitawnxxk aetinkhnathithngsxngfaymikalngmaknxytangknip cathuktxngkwathicarabuwakarbukshphaphosewiytin ph s 2484 khxngeyxrmni thngfaytxsuknodyichkalngthharthiiklekhiyngknmakodypraman xyangirktam indanrabbyuthothpkrnthisakhy thangfayosewiytnnmixyumakthiediyw xathiechn kxngthphaedngnnmikhwamehnuxkwaxyangmakinthimirththngpracakarthung 24 000 khn sungmithung 12 782 khnthipracaxyuinekhtthharphumiphakhtawntk sungmisamekhtinphumiphakhthisamarthpathakbkxngthpheyxrmninsmrphumitawnxxk swnkxngthphbkewxrmkhth Wehrmacht khxngeyxrmnimirththngpracakarxyuthnghmd 5 200 khn odyichinkarbukosewiyt 3 350 khn nithaihxtraswnkhxngrththngthisamarthichidrahwangeyxrmniaelaosewiytnnepn 4 1 sungthaihkxngthphaedngmikhwamidepriybthiehnuxkwa rththngrun thi 34 khxngosewiytepnrththngthilahnathisudaelathnsmythisudinewlann aelayngmirththngrun phasarsesiy Bystrokhodniy hruxrththngerw thiepnrththngthierwthisud sungemuxepriybethiybkbrththngeyxrmnaelw tamthinaythharkhawkrxngkhxngosewiyt Viktor Suvorov xangwa rththnghnkkhxngeyxrmnirunaerknnephingthukxxkaebbinwnthi 26 phvsphakhm ph s 2484 1941 sungthuxwalahlngkwaosewiytthierimokhrngkarxxkaebbrththnghnk T 35 tngaettnthswrrsthi 1930 xikthngosewiytyngmicanwn aelaekhruxngbinrbthimakkwaeyxrmni sungrwmipthung thiwaknwaepnpunihythidithisudinolkinewlann xyangirktam rththngrunthithnsmythisudkhxngosewiytyngimthukphlitinprimanmakinchwngtnkhxngsngkhram xikthngkhwamidepriybthangprimankhxngosewiytnnyngthukhklangdwykhunphaphehnuxkwamakkhxngekhruxngbinrbeyxrmn rwmthungkarfukfnkxngkalngeyxrmnthiehnuxkwaaelaetriymphrxmmamakkwa karthithharecahnathiaelaphubychakarradbsungkhxngosewiytthukkwadlanginkarkwadlangihykhxngstalin ph s 2478 ph s 2481 1935 38 yngthaihnaythharkhxngkxngthphaedngthungekuxbhnunginsam aelanayphlaethbthukkhnthukpraharchiwit hruxsngihippracakarinisbieriy aelathukaethnthidwynaythharthimiaenwonmthi iwicidthangkaremuxng makkwanaythharthithukkwadlang sungrwmipthungsaminhabrrdacxmphlchwngkxnsngkhramsungthukpraharchiwit phubychakarkxngphlaelakxngrxypramansxnginsamthukcbyingepa karkwadlangdngklawcungthaihehluxaetnaythharthixxnkwaaelaidrbkarfuknxykwamaaethnthi xyangechnkrnihnungin ph s 2484 1941 thi 75 khxngnaythharkhxngkxngthphaedngiddarngtaaehnngnannxykwahnungpi aelaxayuodyechliykhxngphubychakarkxngphlkhxngosewiytnn nxykwaxayuodyechliykhxngphubychakarkxngrxykhxngeyxrmnithung 12 pi odynaythharehlanimithithathiimetmicxyangyingthicarieriminkarthasingid aelaswnihykhadkarfukfninkarbychakar inkhnathisngkhraminsmrphumithangtawntkkalngdaeninip kalngrbswnihykhxngosewiytyngkhngpracakarxyuehmuxninyamsngb sungxthibaywathaimbrrdaekhruxngbinrbkhxngosewiytthungidcxderiyngknaelaiklknepnklum makkwathicakracaykniptamthiekhyptibtiepnpktiinyamsngkhram dwyehtunn cungthaihkxngekhruxngbinthicxdxyuklayepnepaocmtingay sahrbekhruxngbincuocmcakxakassuphundinkhxngeyxrmninwnaerk thieyxrmnibukosewiyt xikehtuphlhnungkhuxkarthikxngthphxakasosewiytthuksnghamimihocmtikhxngeyxrmn aemwacamiekhruxngbineyxrmnbinxyuepnrxy laxyuehnuxnanfashphaphosewiytktam kxngekhruxngbinkhbilkhxngosewiytprakxbipdwyekhruxngbinrunlasmyyxnipthungsngkhramolkkhrngthihnungechn aelaekhruxngbinpikchnediywrunaerkkhxngosewiyt aelaekhruxngbinkhbilrunihmkwaechnmik MiG aela LaGG Lavochkin Gorbunov Goudkov ephiyngimkilathiichnganid odymiekhruxngbincanwnimmakthitidtngwithyusuxsarlngip xikthngwithyuimkirunthimixyunnkimidthukekharhsaelamisphaphkarichnganthiimaennxn rwmthungyuththwithitxsuthangxakasthiynglasmyxyu kxngthphaedngaehngshphaphosewiytkracdkracayknxxkip immikhwamphrxminkarthasuk aelamikxngkalnghnwytang thixyuaeykcakkn odyimmikarlaeliyngipyngcudrwmphlemuxkarrbekidkhun aemwakxngthphaedngcamipunihychndicanwnmak aetpunswnihyklbimmikrasun kxngpunihymkimsamarthekhasukarrbidephraaimmikarlaeliyngphl kxngkalngrththngnnmikhnadihyaelakhunphaphdi aetkhadkarfukaelakarsnbsnunthang rwmthungmatrthaninkarbarungrksayngaeymak kxngkalngthuksngekhasukarrbodyimmikarcdkaretimechuxephling snbsnunesbiyngkrasun hruxthdaethnkalngthharthisuyesiyip odymibxykhrngthihlngcakkarpathaephiyngkhrngediyw hnwyrbthukthalayhruxthukthaihhmdsphaph rwmipthungkhwamcringthiwakxngthphosewiytkalngxyuinchwngcdrabbhnwyyanekraaihklayepnkxngphlrththngyingephimkhwamimepnrabbkhxngkxngkalngrththngmakyingkhunipxik aemwainexksarid carabuwakxngthphaedngin ph s 2484 xyangnxykmikalngethaethiymkbkxngthpheyxrmn aetphlthitammainsmrphuminnaetktangcakexksarmak dwyehtuthiwakxngthphaedngnnprakxbdwynaythharthiirkhwamsamarth echnediywknkbkarkhadaekhlnyuthothpkrn karsnbsnunesbiyngyanekraathiimephiyngphx aelathharthiidrbkarfukinradbta thaihkxngthphaedngesiyepriybkxngthpheyxrmnxyangmakemuxpathakn yktwxyangechn tlxdchwngkarbukshphaphosewiytkhxngeyxrmni kxngthphaedngcaesiyrththnghkkhninkhnathikxngthpheyxrmnesiyephiyngaekhkhnediyw aetkmikhxotaeyngekiywkbkartikhwamkhangtninhnngsux Icebreaker odyphuthiekhyepnnaythharkhawkrxnghlkkhxngosewiyt GRU Glavnoe Razvedyvatel noe Upravlenie odyenuxkhwaminhnngsuxaeyngwakxngkalngphakhphundinkhxngosewiytnnmikhwamepnrabbraebiybdimak aelathukwangkalngkracayknipepnklumihy iptlxdtamaenwchayaednrahwangeyxrmniaelaosewiytephuxetriymtwinkarbukthwipyuorpkhxngshphaphosewiytthithukkahndiwinwnxathitythi 6 krkdakhm ph s 2484 swnyuththkarbarbarxssakhxngeyxrmninn ekhaxangwathicringaelwepnkhxngeyxrmni odyxasykhwamidepriybthikalngthharosewiytkalngrwmphlxyuepncanwnmakhnaphrmaedneyxrmni suowrxfthakaraeyngwachannkarthikxngkalngosewiytmarwmphlknhnaphrmaedneyxrmnicungepnkaredinklyuththaebbruk aelaimichkartngrbdngthiprawtisastrdngedimbnthukxyuaetxyangid aetkartikhwamkhxngekhathukptiesthodynkprawtisastrthiidrbkhwamnbthuxhlaytxhlaykhnmaodytlxd odyechphaankprawtisastrsngkhramchawxemrikn David Glantz aelakartikhwamdngklawimidrbkarsnbsnunxyangepncringepncngnkinbrrdankprawtisastrwichakarthixyuthangtawntk xyangirktam mummxngnitangxxkipinyuorptawnxxk rwmthungpraethsrsesiy thi mikarotwathiinpraednthiekiywkbkarpatharahwangosewiytaelaeyxrmniyngkhngmixyu cakkarsuksaxyangcringcngodynkprawtisastrthangthharchawrsesiy Mikhail Meltyukhov inhnngsux Stalin s Missed Chance idthakarsnbsnunthiwakxngkalngosewiytnnidthakarrwmphlephuxetriymepidkarocmtieyxrmnixyucring aetxyangirktam emlthyukhxfkptiesthkhaklawthiwakarbukkhxngeyxrmniepnkarchingepidkarocmtikxn aetekhaechuxwathngsxngfaytangkalngetriymthakarbukxyuechnkn aetthngsxngfaytangkimechuxwafayhnungcaepidkarocmtixikfayhnung inchwngkxnsngkhram aennxnwa shphaphosewiytidprakasokhsnachwnechuxxxkmaodytlxd odyklawwakxngthphaedngnnaekhngaekrngmak aelasamarthexachnaphurukranimwahnaihnidxyangngayday cakkarthiocesf stalinminaythharpracakarthicaraynganechphaasingthiekhatxngkaridyinethann kxprkbkhwamechuxmnxyangirmulehtuinsnthi stalinthukchknaihechuxwasthanphaphkhxngshphaphosewiytinchwngtnpi ph s 2484 1941 nnaekhngaekrngkwathimnepncring mak invduibimphliinpiediywkn hnwyngankhawkrxngkhxngstalinidthakaretuxnstalinthungkarocmtikhxngeyxrmnithikalngcaekidkhunhlaytxhlaykhrng khwamechuxmnkhxngstalininnaythharaelakalngthharkhxngekhannmnkhngmak cnekhaaelakhnanayphlthipruksa thithungaemcathrabdithungkhwamepnipidthieyxrmnicaocmti aelaidetriymkarsakhy iwhlayxyang klbtdsinicthicaimywyuhitelxr phlkkhuxthhartamaenwchayaednosewiytimidxyuinsthanathituntwetmthi thungkhnadthithharosewiytthukhamimihyingottxbodyimidkhxxnuyatemuxthukocmti aemwacamikhasngihtuntwinbangswninwnthi 10 emsayn aetkalngthharosewiytkyngkhngimphrxmemuxkarocmtikhxngeyxrmnierimtnkhun nixacepncudthithaihekidkarotaeyngodywiketxr suowrxf krathngemuxkarocmtierimtnkhun stalinkyngkhngptiesththicawangkalngaelaekhluxnkalngthharthnghmdekhasuaenwrb aetkrann kxngkalngosewiytkhnadmhumakthukpracakariwhlngchayaednfngtawntkinkrnithieyxrmniekidocmtikhunmacring xyangirktam kxngkalngehlaniepraabangmak sungekidcakkarkalngepliynaeplngkhxngkxngthphaedng inpi ph s 2481 1938 kxngthphaedngidthakaraeplngklyuththpxngknihepnaebbranabmatrthanehmuxnkbchatixuntamkarsnbsnunkhxngnayphlphaflxf odymiehlakxngrxythharrabepnkalnghlk esrimdwyswnprakxbthiechuxmtxknkhlaykbrththng odycathakarkhudsnamephlaaephuxsrangphunthipxngknthiaennhna aethlngcakkhwamphayaephxyangyxyybkhxngpraethsfrngesstxnasieyxrmniinsukaehngfrngess sungepnthinaprahladicwa kxngthphfrngessthithuxwaaekhngaekrngepnxndbthisxngkhxngolkinewlann rxngmacakkxngthphaedng klbthukexachnaidinewlaaekhhkspdahethann osewiytidthakarwiekhraahehtukarntamkhxmulbangswn aelasrupwakarlmslaykhxngrthbalfrngessnnekidkhuncakkarphungphaklyuththpxngknaenwranab aelakarkhadaekhlnkxngkalngyanekraa osewiyttdsinicthicaimthaphidphladsarxy odyaethnthikarkhudsnamephlaaihepnkarpxngkninaenwranab phwkekhacawangkalngehlakxngrxythharrabihrwmphlkninkrabwnthphthiekhluxnphlidngayinkhnadihy aelarththngthukkhncathukrwmphlknepnkxngphlyanekraakhnadihyyks 31 kxngphl odythiaetlakxngphlnnthukwangaephnihihykwakxngthphrththngaephnesxr aetmiephiyngimkikxngphlethannthisamarthbrrluepahmaythiwangaephniwidkxnwnthi 22 krkdakhm emuxidktamthieyxrmniepidkarocmti yanekraahwhxkkhxngeyxrmnikcathuktdkalngaelakwadlangodykxngphlckrkl sunghlngcaknncathakarekharwmkbthphthharrabephuxthicakhbilkxngkalngthharrabeyxrmnthiepraabangemuxkalngthakarekhluxnphlprachidklbip swnpikdansaykhxngshphaphosewiyt camikalngesrimkhnadmhumainyuekhrnthiihyphxthicasamarththakaroxblxmthangyuththsastr odyhlngcakthithalayklumkxngthpheyxrmnindanitaelw kxngkalngosewiytkcabukkhunehnuxfaopaelndipyngdanhlngkhxngklumkxngthphintxnklangaeladanehnux caknnkxngthpheyxrmnthithukoxblxmkcatxngthukthalayxyanghlikeliyngimid tammadwykarpldplxythwipyuorpxyangphukrachychna khnadkalngkhxngkxngthphthngsxngfaybnaenwrbdantawnxxkinwnthi 22 krkdakhm ph s 2484 kxngthphaedng kxngthpheyxrmn rwmthungphnthmitr xtraswncanwnkxngphl 190 166 1 1 1canwnthhar 3 289 851 4 306 800 1 1 3canwnxawuthpunaelapunkhrk 59 787 42 601 1 4 1rththng rwmthungpuncuocm 15 687 4 171 3 8 1xakasyan 10 743 4 846 2 2 1 aehlngthima Stalin s Missed Chance tarangthi 47karocmtiinwnthi 22 mithunaynkxngkalngfayxksaepidkarocmtishphaphosewiytinwnthi 22 mithunayn ph s 2484 emuxewla 4 45 n mnyngepneruxngyakthicapramankxngkalngkhxngaetlafayidxyangaemnyainchwngtn khxngkarrb enuxngcakprimankxngkalngeyxrmnswnihyyngrwmthungthithukkahndihbukcakthangthistawnxxkekhama aetyngimidepidkarocmti echnediywknkbpyhahlayxyangthiekiywkbkarepriybethiybsthitithharkhxngthngsxngfay aetthacapramanaelakhadkhaenaelw canwnthidusmehtusmphlnacaepnthhareyxrmnpraman 2 6 lannaythiekhathakarrbinwnthi 22 mithunayn odymithharosewiytpracakartamekhtaednthharxyuinprimanthiiklekhiyngkn swnkarcaexaprimankxngkalngkhxngphnthmitrkhxngeyxrmni marwmdwykhngcayngimekidkhuncnkrathngyuththkariderimkhunidskphkaelw aetkarthaihfaytrngkhamprahladickhxngeyxrmninnprasbkhwamsaercxyangsmburn odykxngbychakarsamykhxngshphaphosewiythruxstafka Stavka Shtab vierhovnogo komandovania thiidrbraynganwakxngkalngthhareyxrmnkalngekhaprachidchayaednephuxcdwangkalngphl inewla 00 30 n aelaidsngkaretuxnthhartamchayaednwasngkhramkalngcaekidkhuninimcha aetklbimmithharskhnwythiekhasthanaetriymphrxminewlann xakartuntkickhxngkxngbychakaraelathharosewiytemuxthukocmtimisaehtumacakchwngewlathikarocmtiekidkhuninklangduk xikthngkarthithharfayxksacanwnmakidthakarekhakhnabchayaednosewiytaelaruklaekhamaphrxm kn aelanxkcakkxngkalngphakhphundineyxrmnpraman 3 2 lannay canwnthharrabkbphlpracayanekraarwmkn thiidthakarekhapathahruxidthukcdkalngphliwsahrbptibtikarninyuorptawnxxkaelw yngcamikxngkalngphnthmitrkhxngeyxrmnithiprakxbipdwythharormaeniy hngkari solwaekiyaelaxitaliepnaesn khnthikalngedinthphmunghnaipbrrcbkbkxngthpheyxrmnixikdwy inkhnathikxngthphfinaelndidthakarsnbsnunswnihyintxnehnux odymikxngkalngosewiythnthphmathangfinaelndxyangsung hna imrwmthungkxngthphosewiytthixyuthangtxnklangaelakxngkalngsarxngkhxngstafka aelathakaresrimkalngthungradbthithharosewiytthierimtncak 2 6 lannayinwnthi 22 mithunaynephimkhunepn 4 lankhnintxnthaypi aemwacatxnghakalngmathdaethnkalngthisuyesiyipthung 4 5 lannayinkxngkalngthukphakh inchwngaerkkhxngkarrbnn thaihaephnpxngknthnghmdkhxngosewiytlwneplapraoychn karkhadaekhlnrwmthungkarsuxsarkninrupaebbxun sngphlihkhasngcanwnmakkhxngkxngbychakarosewiytmathungphurbsarimthnthwngthi inewlaimkiwntxma kxngkalngpracakarkhxngosewiytinlithweniy thixyuinbriewnthaelbxltik idtha ephuxpxngknkarchwyoxkasinkarkxkbtehtukarntxmathiekidkhuninkhnathiprasbkhwamsaercinchwngaerk aetinthisudaelwewlakhxngeyxrmnikhmdlng emuxtxnthikxngkalngeyxrmnmathungchanemuxngrxbnxkkhxngkrungmxsok kerimkhunineduxnthnwakhm saehtukhxngkhwamlachaniekidkhunmacakkartdsinicthiphidphladkhrngsakhyinwnthi 15 phvsphakhm enuxngcakhitelxrtxngkarthicaekhaipybyngaenwrwmtxtaneyxrmniinyuokslaewiy aelaekhaiphyudkhwamkhubhnakhxngkrisinkartxtanxitaliphayitkarpkkhrxngkhxngebniot musosliniinxlebeniy kartdsinicechnnirnrayaewlathiminxyxyuaelwinvdurxnkhxngrsesiyihsnlngipxikhaspdah xyangirktam niepnephiyngaekhhnunginhlay ehtuphlthinaipsukhwamlachainkarbuk xikehtuphlhnungkkhuxchwngplayvduibimphliinpi 2484 1941 inrsesiy sungmisphaphxakasthimifntkxyubxy tlxdeduxnmithunayn ph s 2484 sungthaihthnnhlaysayinimsamarthkhbrthbrrthukaelayanekraaphanipid odyinrahwangthiyuththkardaeninip hitelxridsngkarihthphhlkthikalngmunghnaipsumxsokihepliynesnthangmunglngitephuxchwyklumkxngthphdanitinkaryudyuekhrn sungkhasngdngklawchalxewlakarocmtiemuxnghlwngkhxngosewiytyingkhunipxik aemwamncachwyrksakhwammnkhngkhxngpiksaykhxngklumkxngthphtxnklangiwid aetemuxthungtxnthiphwkekhahnthphmungipyngmxsok txnnnexngkxngthphaedngkerimtxtanxyangdueduxd dwydinokhlnthiekidkhuncakfntkinvduibimrwng aelahimathierimtkhnkinvduhnaw epnicihkbosewiytthicaybyngkarrukkhubekhamakhxngkxngthpheyxrmnihhyudlng nxkcakni osewiytthiprakaswakarrbkhxngphwkekhakhux mhasngkhramphurkchati Great Patriotic War idthakarpkpxngkhxngphwkekhaiddudnkwathikxngbychakareyxrmnidkhadkarniwyingnk pxmprakarchayaednemuxngebrstineblarussuxthungkhwamhmaykhxngchawosewiytidepnxyangdi pxmthithukocmtiinwnaerk khxngkarbukodyeyxrmni epnpxmthithukkhadkarniwwacathukyuddwykhwamprahladickhxngosewiytinimkichwomng klbklayepnkarsurbinpxmthiyawnanaelakhmkhunrahwangkxngkalngkhxngeyxrmniaelaosewiytepnewlahnungeduxnetm klayepnxikpyhaihykhxngeyxrmni enuxngcakesnthangkhnsngesbiyngthiyawaelangaytxkarocmtikhxngkhxngosewiytcakdanhlng xikthngosewiytyngichyuththwithi Scorched earth thukxyanginthukdinaedn thiphwkekhathukbibihthxnkalngip ephuximihkxngthpheyxrmnsamarthichthina xahar echuxephling aelaxakharindinaednthiphwkekhayudmaid aetkxngthpheyxrmnyngkhngkhubhnatxipaemwacaphbkbxupsrrkhbangprakar xyangirktam kmibangkhrngthieyxrmnicathalaykxngkalngpxngknthnghmdhruxpidlxmphwkekhaihyxmaeph odyechphaainsukaehngekhiyfthimiphllphththirunaerngepnphiess odyinklangeduxntulakhm klumkxngthphtxnitkhxngeyxrmnicungsamarthyudekhiyfmaid aelacbkumechlychawosewiytidmakkwa 650 000 khn inewlatxma hlngcaksngkhramolkkhrngthisxngsinsud inpi ph s 2508 1965 ekhiyfcungidrbkarykyxngihepnwirnkhr Hero City sahrbkarpxngkneyiyngkhxngmn swnklumkxngthphtxnehnuxthithukmxbhmayihyudcnthungemuxngelninkrad emuxngesntpietxrsebirkinpccubn karrukkhubhnakhxngklumkxngthphniepnipdwydicnkrathngphwkekhamathungchayemuxngrxbnxkthangthisitineduxnsinghakhm thi phwkekhathukkxngkalngosewiyttxtanxyangdueduxdcnthaihkarrukkhubhnaxyangtxenuxngkhxngphwkekhatxnghyudlng aelaenuxngcakkarphyayamthicayudemuxngkhngcaepnkaresiykalngphlmakekinip kxngbychakareyxrmncungtdsinicthicaplxyihprachakrinemuxngxdxaharcntayphankarpidthangesbiyngaelakarkhmnakhm sungepnkarerimtnkarpidlxmaehngelninkrad aetemuxngyngkhngyunhydiwid aemwakxngkalngeyxrmncaphyayamhlaykhrnghlayhninkarfaaenwpxngknkhxngosewiyt rwmthungthakarocmtithangxakasaelaradmyingpunihyisemuxngxyangimhyudhyxn aelathaihekidkarkhadxaharaelaechuxephlingxyangrunaerng cnkrathngfayeyxrmnexngklayepnfaythitxnglathxyemuxkalngesrimkhxngkxngkalngosewiytinelninkradmathungintxntnpi ph s 2487 1944 aelathaihelninkradklayepnemuxngaerkthiidrbkarykyxngihepnwirnkhrsaehtukhxngkhwamphayaephkhxngshphaphosewiytinchwngaerk xawuthyuthothpkrnkhxngfayosewiytthukyudodythhareyxrmn saehtuodyrwmthithaihkxngthphosewiytphayaephxyangybeyininpi ph s 2484 1941 epnephraakarocmtixyangimthntngtwkhxngeyxrmni inkhnathikxngthphosewiytaethbimidetriymtwely aelaenuxngcakinkhnann kxngkalngkhxngeyxrmnepnkxngkalngthiidrbkarfukfnmaxyangdi aelamiprasbkarnkarrbmakthisudinolk eyxrmnimihlkkarin karthalaylang karsuxsarthimiprasiththiphaphyxdeyiym aelakhwamechuxmnthimacakkarprasbchychnaxyangtxenuxngodyesiykxngkalngephiyngelknxyethann swnkxngkalngosewiyt epnipinthangtrngknkham khadthngbukhlakrthimikhwamepnphuna khadkarfukfnaelakhwamphrxm odyaephnkarkhxngosewiytswnihykhadkarnwasngkhramrahwangnasieyxrmniaelaosewiytcayngimekidkhuncnkrathngpi ph s 2485 1942 channemuxkxngthpheyxrmnepidkarocmti kxngthphosewiytyngkhngptirupxngkhkr aeladuehmuxnwakalngepnipinthangthidi aetyngimidthakarthdsxbid aelayuthothpkrntang ephingthukphlitihkbhnwynganphakhsnam xikthngkxngthphosewiytswnihyinyuorpnn yngkhngrwmphlxyuinphrmaednosewiytihmthangtawntkthiekhyepnpraethsopaelnd sungimidetriymkarpxngknxyangexacringexacngid aelathaihmnthukexachnaxyangrabkhabaelakxngkalngosewiytthipkpxngmnxyukthukthalaylnginchwngspdahaerk khxngkarrb xikthnginchwngaerk nn hnwyrbkhxngosewiytcanwnmakyngthukkhdkhwangimihekhathakarrbtamkhasngkhxngsxngcxmphlphurxdchiwitcakkarkwadlang nayphl aelanayphlkixxrki chukhxf thiidrbkhasngodytrngmacakstalinxikthi waimihthakarekhapatha aelaimihtxbottxkaryuyng tammadwykhasngaerkcakmxsokhlngkarocmtithiihthakar yunhydtxsuaelathakarswnklb sungcathaihkxngthpheyxrmnthakaroxblxmkxngthphosewiytidodyngay odysrupkhux karthiosewiytphayaephinchwngaerkkenuxngmacakkarkhadaekhlnnaythharthimiprasbkarn xyangirktam yngmikhxotethiyngknxyuinpraednni aelakhwamlachathangdan thhareyxrmnthalayrththngosewiyt khwamphidphladthangkaryuththkhxngosewiytinchwngimkispdahaerkrahwangkarrukrankhxngeyxrmninn kxihekidkhwamesiyhayxyangihyhlwngkbosewiyt odyinchwngaerk kxngthphaedngidpraeminkalngrbkhxngtnexngwamiprimanaelaprasiththiphaphekinkwakhwamepncringthiepnxyuxyangliblb odykxngphlyanekraakhxngosewiyt cakthiekhykhadkarniwwacacdkarkbkxngthphidxyangrabkhab klbthukdkocmtiaelathukthalayxyangybeyinodykhxngkxngthphxakaslufthwfefxkhxngeyxrmni swnbrrdarththngosewiyt sungkhadkarbarungrksaaelathukkhwbkhumodyphlkhbthiirprasbkarn yngprasbkbxtrakhwamcharudesiyhaythiphungkhunxyangnaichay xikthngkarkhadaekhlnchinswnaelarthbrrthukkhnsngyngthaihkarsngkalngbarungimsamarththaidxyangsineching kartdsinicthicaimihthharrabkhxngtnkhudsnamephlaathukphisucnwaepnkartdsinicthiphidphlad aelasngphlihkxngkalngthharrabkhxngosewiyt thikhadthngrththngaelakarsnbsnundankartxtanyanekraathiimephiyngphx prasbkbkarsuyesiyxyangmhasal enuxngcakimsamarthtxkrkbkxngthpheyxrmnodyichklyuththkracaykalngthicaepntxngichrththngid txcaknn stalinyngsnghamkxngthphkhxngekhaimihthxythphhruxyxmcann sungsngphlihkxngthphkhxngekhawangkalngkracayknxxkippracaphlxyuintaaehnngeriyngknepnranabodyimthakarekhluxnphlid inkhnathirththngeyxrmnyngkhngecaakxngkalngkhxngosewiytekhamaidxyangngayday aelatdesnthangesbiyngrwmthungthakarlxmkxngthphosewiytthnghmdexaiw thungtxnnnexngthistalinxnumtiihkxngthphthnghmdkhxngekhathxythphmayngaenwhlngephuxrwmphletriymkarpxngknaenwhlnghruxetriymkartxbotkarocmti hlngcaknn thharchawosewiytmakkwa 2 400 000 naythukcbepnechlycnthungeduxnthnwakhm ph s 2484 1941 inewlathikarrbinchanemuxngmxsokerimtnkhunrahwangkxngkalngosewiytaelaeyxrmn aemwaeyxrmnicaprasbkbkhwamlmehlwinkaryudkrungmxsok sungepnepahmayhlkkhxngyuththkarbarbarxssa aetkhwamsuyesiyxyangmakkhxngosewiytkthaihkarokhsnachwnechuxkhxngosewiytepliyncakcakhnamuxepnhlngmux odykxnsngkhramcaekidkhun rthbalosewiytidxxkmarabuwakxngthphosewiytnnaekhngaekrngmak cnkrathngmathungvduibimrwngthirthbalidepliynthathi odyprakaswakxngthphosewiytnnyngxxnaex aelaimmiewlaephiyngphxthicaetriymthphihphrxmthasngkhram nxkcakniyngthukcuocmxyangkhadimthungodyeyxrmni aelaehtuphlxun thirthbalosewiytidxangsaehtu saehtukhxngkhwamphayaepheyxrmni inchwngaerk idthuknaesnxtangxxkipodywiketxr suowrxfinhnngsux Icebreaker khxngekha odythisuowrxfxangwaehtukarninsngkhramnnepnkhwamcanngkhxngstalinxyuaelw odykhaklawxangniepnthithkethiyngknxyangmak aelankprawtisastrchawtawntkodythwipthuxwakhaklawxangkhxngsuowrxfimmimulkhwamcringphlthitammayuththkarbarbarxssannmathungcudsrupemuxklumkxngthphtxnklangkhxngnasieyxrmnithikalngkhadaekhlnesbiyngenuxngcakokhlnhlngvdufnineduxntulakhm thuksngihbukrudhnatxipyngmxsok cnkrathngkalngthhareyxrmnrudhnamathunghnaphrarachwngekhrmlininchwngtneduxnthnwakhm ph s 2484 1941 emuxmathungtrngnn kxngkalngthhareyxrmnthnghmdkcatxnghyudlng emuxkalngesrimkhnadihykhxngstalinmathung cakisbieriy phrxmkbkhwamsdihmkhxngthharaelakarbarungrksakalngxyangkhrbkhrn aelaidthakarpxngknmxsokxyangdueduxdinsukaehngmxsok phlkhxngkarrbxxkmaodyfayosewiytepnphukrachychnaxyangeddkhad aelaidthakartiotkxngkalngeyxrmnklbipemuxvduhnawmathung kxngkalngtxbotkhxngosewiytkhnadihyyksidthuksngihekhathakarocmtiklumkxngthphtxnklangkhxngeyxrmn sungimnaaeplkicethairnk enuxngcakklumkxngthphdngklawnnwangkalngxyuiklmxsokmakthisud karpxngknkrungmxsokidsaerc thaihemuxngniidrbkarykyxngihepnwirnkhrinewlatxma emuxkxngkalngeyxrmnthnghmdthipracakarxyuindinaednkhxngosewiytprasbkbkarimmithixyuthiphkxasy sungekidcakklyuthththalaylangkhxngosewiyt khadesuxphasahrbvduhnawthiehmaasm khadesbiyngxaharepnewlanantidtxkn himainvduhnawthiklbthnncnmid thaihkarsngkalngbarungkhxngeyxrmnaethbcaepnxmphat aelaimmithicaip ephraakarxxkipinxakashnawechnnnodyimmiesuxphaknhnawthidiphx hmaythungkhwamtaykhxngthhareyxrmn thaihkxngkalngeyxrmnimmithangeluxkxunid nxkcakcarxkalngesriminvduhnawin inkhnathikxngkalngeyxrmnsamarthhlikeliyngkarthuktiihaetkphayybeyinodykxngkalngtxbotkhxngosewiytmaid aetkprasbkbkarsuyesiykalngepncanwnmakthngcakkarrb aelakarthukocmtirahwangekhluxnthph karyudkrungmxsokthuxwaepnkuyaecsakhythicanaipsuchychnakhxngeyxrmniinkhnann aetkekidkarthkethiyngrahwangnkprawtisastrinpccubnwakaresiykrungmxsokcanaipsukarlmslaykhxngshphaphosewiythruxim xyangirktam eyxrmnikprasbkbkhwamlmehlwinkaryudmxsok sungnaipsukhwamlmehlwkhxngyuththkarbarbarxssainewlatxma ineduxnthnwakhm ph s 2484 1941 eyxrmnikprakassngkhramkbshrthxemrika tamckrwrrdiyipunsunghnunginphnthmitrxksakhxngeyxrmnithiidthakarocmtiephirlharebxrtxshrthxemrika sungrahwangewlahkeduxntxcakni khxngeyxrmnierimlxaehlmkhunmathukthi enuxngcakkarwangaephnkhxngeyxrmnithukxxkaebbmaihehmaakbkarthasngkhraminrayasnethann aelayngimmikhwamphrxmthicathasngkhramyudeyuxaetxyangid phllphthkhxngyuththkarbarbarxssatxeyxrmninnsrangkhwamesiyhayihkbosewiytinxyangmhasal aetfayeyxrmnkimidmisthanphaphtangcakfayosewiytmaknk aemwaeyxrmnicalmehlwinkaryudkrungmxsok aetkxngkalngeyxrmnksamarthyuddinaednxnkwangihyiphsalthangtawntkkhxngshphaphosewiyt rwmthungekhtkarpkkhrxngkhxngshphaphsatharnrthsngkhmniymosewiytthngekht idaekeblarus yuekhrn aela rwmthungphumiphakhrsesiytawntkthimxsokpkkhrxngxyu kxngthpheyxrmnsamarthyuddinaednmaidkwa 1 300 000 tr km sungmiprachakrxasyxyukwa 75 lankhntamsthiticakplaypi ph s 2484 rwmthungkalngwangaephnthicayuddinaednmaxikkwa 650 000 tr km kxnthicathukbibihthxythphhlngcakkhwamphayaephinsukaehngstalinkrad emuxnginpccubn aela inkhnaediywkn thukdinaednthieyxrmniyudmaidlwnaekhngkhxtxeyxrmni cakxtrakarkxkwnkxngkalngeyxrmnthiephimmakkhun sungthaiheyxrmnilngothsklbxyangohdehiym txmakxngkalngeyxrmnyngkhngynyuxtxkxngkalngtxbotkhxngosewiytxyangethathicaepnipid sngphlihekidphubadecbaelaesiychiwitcanwnmakinthngsxngfaycakkarrbhlaytxhlaykhrngduephimwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb ptibtikarbarbarxssa aenwrbdantawnxxk sngkhramolkkhrngthisxng sngkhramtxenuxngechingxrrthBergstrom p130 Bergstrom 2007 p 131 2 khxmulcakhxcdhmayehtushphaphosewiytrwmkb Rosvoyentsentr Moscow Russian Aviation Research Trust Russian Central Military Archive TsAMO Podolsk Monino Air Force Museum Moscow Boog H Germany s penis and the Second World War VoI 4 The Attack on the Soviet Union Oxford 1994 Bergstrom 2007 p 118 Sources Luftwaffe strength returns from the Archives in Freiburg Krivosheev G F 1997 p 96 ekiywkbkarrukranshphaphosewiytkhxngeyxrmni karptibtitxechlysngkhramosewiyt karxdxahar orkhrabadaelakarsnghar mithunayn 1941 mkrakhm 1942 Bergstrom p117 Krivosheyev G 1993 Rich 1973 pp 204 221 sfn error no target CITEREFRich1973 Snyder 2010 p 416 sfn error no target CITEREFSnyder2010 Chapoutot 2018 p 272 sfn error no target CITEREFChapoutot2018 Snyder 2010 pp 175 186 sfn error no target CITEREFSnyder2010 Hilberg 1992 pp 58 61 199 202 sfn error no target CITEREFHilberg1992 United States Holocaust Memorial Museum 1996 pp 50 51 sfn error no target CITEREFUnited States Holocaust Memorial Museum1996 Rees 2010 sfn error no target CITEREFRees2010 xangxingBellamy Christopher 2007 Absolute War Soviet Russia in World War Two Knopf Publishers ISBN 978 0 375 41086 4 Bergstrom Christer 2007 Barbarossa The Air Battle July December 1941 London Chervron Ian Allen ISBN 978 1 85780 270 2 Bethell Nicholas and Time Life Books Attack of USSR Hard cover ISBN 80 7237 279 3 Clark Alan Barbarossa The Russian German Conflict 1941 45 New York Willam Morrow amp Co 1965 John Erickson The Road to Stalingrad London Cassell Military 2003 paperback ISBN 0 304 36541 6 Erickson John and Dilks David eds Barbarossa The Axis and the Allies Edinburgh Edinburgh University Press 1994 hardcover ISBN 0 7486 0504 5 1998 paperback ISBN 0 7486 1111 8 Forster Jurgen Mawdsley Evan Hitler and Stalin in Perspective Secret Speeches on the Eve of Barbarossa War in History Vol 11 Issue 1 2004 pp 61 103 Farrell Brian P Yes Prime Minister Barbarossa Whipcord and the Basis of British Grand Strategy Autumn 1941 The Journal of Military History Vol 57 No 4 1993 pp 599 625 David Glantz Barbarossa Hitler s invasion of Russia 1941 Stroud Gloucestershire Tempus 2001 paperback ISBN 0 7524 1979 X Glantz David M Stumbling Colossus The Red Army on the Eve of World War Lawrence KA University Press of Kansas 1998 hardcover ISBN 0 7006 0879 6 Glantz David M Colossus Reborn the Red Army at War 1941 1943 Kansas University Press of Kansas 2005 hardcover ISBN 0 7006 1353 6 Gorodetsky Gabriel Grand Delusion Stalin and the German Invasion of Russia New Haven CT London Yale University Press 2001 paperback ISBN 0 300 08459 5 Joachim Hoffmann Stalin s War of Extermination Capshaw AL Theses amp Dissertations Press 2001 hardcover ISBN 0 9679856 8 4 Kershaw Robert J War Without Garlands Operation Barbarossa 1941 42 Shepperton Ian Allan 2000 hardcover ISBN 0 7110 2734 X Kirchubel Robert Operation Barbarossa 1941 1 Army Group South Oxford Osprey 2003 paperback ISBN 1 84176 697 6 Kirchubel Robert Operation Barbarossa 1941 2 Army Group North Oxford Osprey 2005 paperback ISBN 1 84176 857 X Krivosheyev G Grif sekretnotsi snyat Poteri vooruzhyonnykh sil SSSR v voynakh boyevykh deystviyakh i voyennykh konfliktakh Voyenizdat Moscow 1993 Krivosheev G F ed Soviet casualties and combat losses in the twentieth century London Greenhill Books 1997 hardcover ISBN 1 85367 280 7 Available on line in Russian Koch H W Hitler s Programme and the Genesis of Operation Barbarossa The Historical Journal Vol 26 No 4 1983 pp 891 920 Latimer Jon Deception in War London John Murray 2001 Lubbeck William Hurt David B At Leningrad s Gates The Story of a Soldier with Army Group North Philadelphia PA Casemate 2006 hardcover ISBN 1 932033 55 6 Macksey Kenneth Why the Germans Lose at War The Myth of German Military Superiority London Greenhill Books 1999 paperback ISBN 1 85367 383 8 Maser Werner Der Wortbruch Hitler Stalin und der Zweite Weltkrieg Munchen Olzog 1994 hardcover ISBN 3 7892 8260 X Munchen Heyne 2001 paperback ISBN 3 453 11764 6 Megargee Geoffrey P War of Annihilation Combat and Genocide on the Eastern Front 1941 Lanham MA Rowman amp Littelefield 2006 hardcover ISBN 0 7425 4481 8 paperback ISBN 0 7425 4482 6 Murphy David E What Stalin Knew The Enigma of Barbarossa New Haven CT London Yale University Press 2005 hardcover ISBN 0 300 10780 3 2006 paperback ISBN 0 300 11981 X Reviewed by Robert Conquest at The American Historical Review Vol 111 No 2 2006 p 591 Alexander Nekrich June 22 1941 Soviet Historians and the German Invasion Columbia University of South Carolina Press 1968 Pleshakov Constantine Stalin s Folly The Tragic First Ten Days of World War Two on the Eastern Front Boston Houghton Mifflin 2005 hardcover ISBN 0 618 36701 2 Raus Erhard Panzer Operations The Eastern Front Memoir of General Raus 1941 1945 compiled and translated by Steven H Newton Cambridge MA Da Capo Press 2003 hardcover ISBN 0 306 81247 9 2005 paperback ISBN 0 306 81409 9 Rayfield Donald Stalin and his Hangmen London Penguin Books 2004 ISBN 0 14 100375 8 Reviewed by David R Snyder in The Journal of Military History Vol 69 No 1 2005 pp 265 266 Roberts Cynthia Planning for War The Red Army and the Catastrophe of 1941 Taylor and Francis Publishers Europe Asia Studies Vol 47 No 8 Dec 1995 pp 1293 1326 Rees Laurence War of the Century When Hitler Fought Stalin New York New Press 1999 hardcover ISBN 1 56584 599 4 Stolfi R H S German Panzers on the Offensive Russian Front North Africa 1941 1942 Atglen PA Schiffer Publishing 2003 hardcover ISBN 0 7643 1770 9 Suvorov Viktor The Chief Culprit Stalin s Grand Design to Start World War II Dulles VA Potomac Books 2007 hardcover ISBN 1 59797 114 6 A J P Taylor aela Mayer S L eds A History Of World War Two London Octopus Books 1974 ISBN 0 7064 0399 1 Martin van Creveld Supplying War Logistics from Wallenstein to Patton Cambridge Cambridge University Press 1977 ISBN 0 421 29793 1 Weeks Albert L Stalin s Other War Soviet Grand Strategy 1939 1941 Lanham MD Rowman amp Littlefield 2002 hardcover ISBN 0 7425 2191 5 2003 paperback ISBN 0 7425 2192 3 Wegner Bernd ed From Peace to War Germany Soviet Russia and the World 1939 1941 Providence RI Berghahn Books 1997 hardcover ISBN 1 57181 882 0 Reviewed by Peter Konecny Canadian Journal of History Vol 34 Issue 2 Aug 1999 pp 288 290 Wieczynski Joseph L Fox J P Operation Barbarossa The German Attack on The Soviet Union June 22 1941 The Slavonic and East European Review Vol 74 No 2 1996 pp 344 346 Ziemke Earl F Moscow to Stalingrad Decision in the East Washington DC U S Army Center of Military History 1987 New York Military Heritage Press 1988 hardcover ISBN 0 88029 294 6 Ziemke Earl F Stalingrad to Berlin The German Defeat in the East Washington DC U S Army Center of Military History 1966 Honolulu HA University Press of the Pacific 2003 paperback ISBN 1 4102 0414 6 Meltyuhov M I Upushennyj shans Stalina Sovetskij Soyuz i borba za Evropu 1939 1941 Dokumenty fakty suzhdeniya Moskva Veche 2000 Suvorov V Poslednyaya respublika Pochemu Sovetskij Soyuz proigral Vtoruyu Mirovuyu vojnu Moskva AST 2003 hardcover ISBN 5 17 007876 5 lt Kolobanov and KV 2 Notable engagements of KV series against outnumbering enemy forces http wio ru tank ww2tank htmaehlngkhxmulxunOperation Barbarossa raynganaelarupphaphdngedimcak edxa ithms khwamechuxmoyngknrahwangkarthphinkhabsmuthrbxlkhankbkarrukranshphaphosewiyt aela esnewla bnewbistkhxngkxngthphbkshrthxemrika aephnthimltimiediy mienuxhakhrxbkhlumkarrukranshphaphosewiyt rwmipthungptibtikarbarbarxssa ptibtikarbarbarxssa 2011 04 19 thi ewyaebkaemchchin karwiekhraahptibtikarbarbarxssa odynkpraphnth ebwin xelksanedxr Central Intelligence Agency Office of Current Intelligence The Soviet History of World War II 2009 07 24 thi ewyaebkaemchchin 28 October 1959 bthkhwamthhar hruxkarthharniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodykarephimetimkhxmuldkhk xangxingphidphlad mipayrabu lt ref gt sahrbklumchux lower alpha aetimphbpayrabu lt references group lower alpha gt thisxdkhlxngkn