การเข้ารหัสทางประสาท (อังกฤษ: Neural coding) เป็นการศึกษาทางประสาทวิทยาศาสตร์ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ หรือของกลุ่มเซลล์ประสาท และความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทในกลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีว่า การทำงานของเครือข่ายเซลล์ประสาทในสมองจะเป็นตัวแทนข้อมูลทางประสาทสัมผัสและข้อมูลอื่น ๆ นักวิชาการจึงเชื่อว่า เซลล์ประสาทสามารถเข้ารหัสข้อมูลเป็นทั้งแบบดิจิตัลและแบบแอนะล็อก
มุมมองกว้าง ๆ
เซลล์ประสาทค่อนข้างจะน่าทึ่งในบรรดาเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะสามารถส่งสัญญาณไปอย่างรวดเร็วได้ระยะไกล ๆ ซึ่งดำเนินการโดยอาศัยอิมพัลส์ไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน ซึ่งส่งไปตามใยประสาท เซลล์ประสาทรับความรู้สึกจะส่งขบวนศักยะงานเป็นจังหวะตามกาลเวลาที่ต่าง ๆ กัน เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกเช่น แสง เสียง รส กลิ่น และสัมผัส ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเร้าจะเข้ารหัสเป็นขบวนศักยะงานเช่นนี้ แล้วส่งไปยังทั้งสมองและรอบ ๆ สมอง
แม้ศักยะงานอาจจะต่างกันบ้างเช่นระยะห่างของแต่ละอิมพัลส์ แอมพลิจูด และรูปร่าง แต่งานศึกษารหัสทางประสาทจะปฏิบัติต่อพวกมันเหมือนกับเป็นเหตุการณ์ที่มีรูปแบบตายตัวและเหมือนกัน ถ้าไม่สนใจระยะการดำรงอยู่ของศักยะงาน (ประมาณ 1 มิลลิวินาที) ขบวนหรือลำดับศักยะงาน จะมีลักษณะเป็นลำดับข้อมูลแบบมีหรือไม่มี (all-or-none) คล้าย ๆ สัญญาณดิจิทัล ช่องว่างระหว่างอิมพัลส์ศักยะงานบ่อยครั้งจะต่างกัน โดยดูเหมือนจะเป็นไปโดยสุ่ม การศึกษารหัสทางประสาทจะอาศัยการวัดและกำหนดว่า ลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งเร้า เช่นความสว่างของแสง ความดังของเสียง การทำงานของกล้ามเนื้อเช่นทิศทางการเคลื่อนไหวของแขน จะสามารถกำหนดโดยขบวนศักยะงานในเซลล์ประสาทได้อย่างไร เพื่อกำหนดและวิเคราะห์การยิงศักยะงานของเซลล์ประสาท นักวิทยาศาสตร์มักนิยมใช้วิธีการทางสถิติศาสตร์ ทางทฤษฎีความน่าจะเป็น และ stochastic point process
เมื่อมีพัฒนาการของเทคโนโลยีเพื่อบันทึกและถอดรหัสสัญญาณประสาทดีขึ้น ๆ นักวิทยาศาสตรจึงเริ่มเข้าใจสัญญาณทางประสาทได้มากขึ้น ทำให้เริ่มเห็นแสงรำไร ๆ เกี่ยวกับรหัสประสาทตามเวลาจริงเมื่อมีการสร้างและการระลึกถึงความจำในฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นศูนย์สมองเกี่ยวกับการสร้างความจำ และนักประสาทวิทยาศาสตร์ก็ได้ริเริ่มโครงการถอดรหัสสัญญาณสมองขนาดใหญ่หลายโครงการ
การเข้าและการถอดรหัส
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองของระบบประสาทสามารถศึกษาได้จากมุมตรงกันข้าม 2 ด้าน
- การเข้ารหัสทางประสาท (Neural encoding) ก็คือการแปลสิ่งเร้าเป็นการตอบสนองของเซลล์ประสาท ประเด็นการศึกษาหลักก็เพื่อเข้าใจว่า นิวรอนจะตอบสนองอย่างไรต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ แล้วสร้างแบบจำลองเพื่อใช้พยากรณ์การตอบสนองต่อสิ่งเร้าอื่น ๆ
- การถอดรหัสทางประสาท (Neural decoding) ก็จะกลับกัน คือเป็นการแปลการตอบสนองทางประสาทเป็นสิ่งเร้า โดยเป้าหมายก็คือการระบุสิ่งเร้า หรือลักษณะบางอย่างของสิ่งเร้านั้น จากขบวนศักยะงานที่เซลล์ประสาทสร้างเพื่อตอบสนอง
สมมติฐานการเข้ารหัสต่าง ๆ
ขบวนหรือลำดับศักยะงานอาจมีข้อมูลที่เข้ารหัสโดยแผนการต่าง ๆ กัน เช่น ในเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) กล้ามเนื้อที่เชื่อมกับเซลล์ประสาทจะออกแรงโดยขึ้นอยู่กับอัตราการยิงศักยะงานเท่านั้น ซึ่งก็คือจำนวนศักยะงานต่อช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยเฉลี่ย นี่เป็นการเข้ารหัสโดยอัตรา (rate coding) ในนัยตรงกันข้าม รหัสโดยเวลา (temporal code) ที่ซับซ้อนจะขึ้นอยู่กับการยิงสัญญาณในช่วงเวลาแต่ละระยะ ๆ อย่างแม่นยำ ซึ่งอาจเกิดเพราะจับคู่กับสิ่งเร้าภายนอก ดังที่พบในระบบการเห็น และระบบการได้ยิน หรืออาจเกิดในวงจรประสาทเองโดยธรรมชาติ
ประเด็นว่า นิวรอนจะใช้รหัสโดยอัตรา หรือรหัสโดยเวลา เป็นเรื่องที่ได้ความสนใจอย่างมากภายในชุมชนนักประสาทวิทยาศาสตร์ แม้จะยังไม่มีนิยามที่แน่นอนว่า คำเหล่านี้หมายความว่าอะไร ในทฤษฎีหนึ่งที่เรียกว่า neuroelectrodynamics (พลวัตทางประสาทไฟฟ้า) การเข้ารหัสที่จะกล่าวต่อไปเหล่านี้ล้วนพิจารณาว่าเป็นอนุปรากฏการณ์ (epiphenomena) ซึ่งมีเหตุจากการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลที่สะท้อนการกระจายตามพื้นที่ของสนามไฟฟ้าภายในนิวรอน โดยเป็นผลของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพิสัยกว้างของศักยะงาน และข้อมูลจะปรากฏเป็น spike directivity
การเข้ารหัสโดยอัตรา (Rate coding)
แบบจำลองการเข้ารหัสโดยอัตราเพื่อสื่อข้อมูลเสนอว่า เมื่อระดับของสิ่งเร้า (เช่นความสว่างของแสง) เพิ่มขึ้น อัตราของศักยะงานที่เซลล์ส่งก็จะเพิ่มขึ้นด้วย การเข้ารหัสโดยอัตรา (Rate coding) บางครั้งก็เรียกว่า การเข้ารหัสโดยความถี่ (frequency coding) ด้วยเหมือนกัน
รหัสนี้เป็นแบบดั้งเดิม โดยสมมุติว่า ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเร้าเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมดจะเข้ารหัสเป็นอัตราของศักยะงาน แต่เพราะลำดับการส่งศักยะงานตอบสนองต่อสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ จะเปลี่ยนไปเมื่อทดลองแต่ละครั้ง ๆ การตอบสนองของเซลล์จึงต้องดำเนินการโดยวิธีการทางสถิติหรือตามความน่าจะเป็น และกำหนดข้อมูลเป็นอัตราการยิงสัญญาณ ไม่ใช่ลำดับการยิงสัญญาณโดยเฉพาะ ๆ ในระบบรับความรู้สึกส่วนมาก โดยทั่วไปอัตราการยิงสัญญาณจะเพิ่มขึ้นแบบไม่ใช่เชิงเส้นตามระดับของสิ่งเร้า
แบบจำลองนี้จะไม่ให้ความสำคัญแก่ข้อมูลที่ระบบประสาทอาจเข้ารหัสเป็นระยะเวลาในระหว่างขบวนศักยะงาน ดังนั้น รหัสโดยอัตราจึงมีประสิทธิภาพที่ไม่ดี แต่ก็ทนทานต่อเสียงรบกวนได้ดีมาก (เหมือนสัญญาณดิจิทัล) เมื่อเข้ารหัสโดยอัตรา การคำนวณอัตราศักยะงานอย่างแม่นยำจะเป็นเรื่องสำคัญมาก และจริง ๆ แล้ว คำว่า อัตราการยิงสัญญาณ (firing rate) ก็มีหลายความหมายหลายนิยาม โดยต่างกันตามวิธีหาค่าเฉลี่ย เช่น ค่าเฉลี่ยตามเวลา หรือค่าเฉลี่ยที่ได้จากการทดลองที่ทำซ้ำ ๆ
เมื่อเข้ารหัสโดยกระบวนการนี้ การเรียนรู้จะเกิดผ่านการเปลี่ยนความสำคัญของสัญญาณที่ส่งผ่านไซแนปส์โดยขึ้นอยู่กับการทำงาน (activity-dependent synaptic weight modifications)
นักสรีรวิทยาไฟฟ้าชาวอังกฤษ ดร. เอ็ดการ์ เอเดรียน และนักสรีวิทยาประสาทชาวสวีเด็น Yngve Zotterman ได้แสดงการเข้ารหัสของประสาทโดยอัตราเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2469 การทดลองดั้งเดิมนี้ได้แขวนน้ำหนักขนาดต่าง ๆ จากกล้ามเนื้อ เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น อัตราการส่งศักยะงานจากเส้นประสาทรับความรู้สึกที่อยู่ในกล้ามเนื้อก็เพิ่มขึ้นด้วย จากงานทดลองดั้งเดิมนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองจึงสรุปว่า ศักยะงานเป็นเหตุการณ์เดี่ยว ๆ และความถี่ของการเกิดเหตุการณ์ ไม่ใช่ขนาดของเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ ๆ เป็นมูลฐานการสื่อสารระหว่างนิวรอน
ในทศวรรษต่อ ๆ มา การวัดอัตราการส่งสัญญาณกลายเป็นมาตรฐานเพื่อระบุคุณสมบัติต่าง ๆ ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทในเปลือกสมองส่วนต่าง ๆ โดยส่วนหนึ่งก็เพราะมันวัดได้ง่ายเทียบกับวิธีอื่น ๆ แต่วิธีนี้ก็ไม่สนใจข้อมูลอื่น ๆ ที่อาจจะมาจากระยะการส่งสัญญาณอย่างแม่นยำของนิวรอน งานศึกษาปี 2548 ได้อ้างหลักฐานทางการทดลองต่าง ๆ เพื่อเสนอว่า อัตราการยิงสัญญาณที่เฉลี่ยจำนวนศักยะงานตามกาลเวลาธรรมดา ๆ อาจจะไม่สมบูรณ์พอเพื่ออธิบายการทำงานของสมอง
อัตรานับศักยะงาน (Spike-count rate)
spike-count rate (อัตรานับศักยะงาน) หรือเรียกอีกอย่างว่า temporal average (ค่าเฉลี่ยตามเวลา) วัดได้โดยนับจำนวนศักยะงานที่ปรากฏในช่วงการทดลองเดียวแล้วหารด้วยระยะเวลา ผู้ทำการทดลองจะกำหนด T ซึ่งเป็นระยะเวลา โดยขึ้นกับประเภทนิวรอนที่กำลังบันทึกค่า แต่โดยปกติแล้ว เพื่อให้สมเหตุสมผล ก็จะต้องมีศักยะงานมากกว่าหนึ่งพัลส์ที่เกิดภายในช่วง ดังนั้น ค่า T ปกติจะอยู่ที่ 100 มิลลิวินาที หรือ 500 มิลลิวินาที แต่ก็อาจจะสั้นยาวกว่านั้น
อัตรานับศักยะงานจะกำหนดได้ด้วยการทดลองเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ก็แลกกับการไม่ได้รายละเอียดทางเวลาของการตอบสนองที่ต่าง ๆ กันตามธรรมชาติในระยะที่ทำการทดลอง รหัสเช่นนี้จึงดีในกรณีที่สิ่งเร้ามีระดับสม่ำเสมอหรือเปลี่ยนอย่างช้า ๆ โดยสัตว์ไม่จำเป็นต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มักใช้ในเกณฑ์วิธีการทดลองอยู่แล้ว แต่สิ่งเร้าในโลกจริง ๆ แล้วจะไม่ค่อยอยู่นิ่ง ๆ และบ่อยครั้งจะเปลี่ยนอย่างรวดเร็วมาก ยกตัวอย่างเช่น แม้เมื่อดูภาพนิ่ง มนุษย์มักขยับตาแบบ saccade ซึ่งก็คือการเปลี่ยนจุดที่มองอย่างรวดเร็ว ภาพซึ่งตกลงที่เซลล์รับแสงของจอตา ปกติจึงจะเปลี่ยนทุก ๆ ไม่กี่ร้อยมิลลิวินาที
ถึงแม้จะมีข้อบกพร่องเช่นนี้ การเข้ารหัสแบบอัตรานับศักยะงาน ก็ไม่ได้ใช้เพียงแค่ในการทดลองเท่านั้น แต่ยังใช้ในแบบจำลองของโครงข่ายประสาทเทียมอีกด้วย เป็นวิธีที่ทำให้เข้าใจว่า เซลล์ประสาทจะเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับตัวแปรขาเข้าอย่างหนึ่ง (คือระดับสิ่งเร้า) ไปเป็นตัวแปรขาออกที่ต่อเนื่องอีกอย่างหนึ่ง (คืออัตราการยิงสัญญาณ)
แต่ก็มีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า อย่างน้อยที่สุด เซลล์เพอร์คินจีในสมองน้อย ก็ไม่ได้เข้ารหัสข้อมูลด้วยอัตราการยิงสัญญาณเท่านั้น แต่ด้วยเมื่อไร (timing) และระยะ (duration) ที่ไม่ยิงสัญญาณคืออยู่เฉย ๆ ด้วย
อัตราการยิงสัญญาณขึ้นอยู่กับเวลา (time-dependent firing rate)
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
อัตราการยิงสัญญาณขึ้นอยู่กับเวลา (time-dependent firing rate) นิยามเป็น จำนวนการยิงศักยะงานโดยเฉลี่ย (เฉลี่ยตามการทดลองซ้ำ ๆ) ที่ปรากฏในช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่าง t และ t+Δt แล้วหารโดยช่วงระยะเวลา เป็นการวัดที่ใช้ได้ทั้งสิ่งเร้านิ่ง ๆ และสิ่งเร้าที่เปลี่ยนไปตามเวลา
เมื่อจะวัดค่าอัตราการยิงสัญญาณขึ้นอยู่กับเวลาในการทดลอง ผู้ทำการทดลองจะบันทึกค่าจากนิวรอนเมื่อเร้าด้วยสิ่งเร้าที่ทำเป็นชุด ๆ การเร้าเป็นชุดนี้จะทำซ้ำหลายครั้ง และการตอบสนองของนิวรอนจะบันทึกเป็น Peristimulus time histogram (PSTH) จุดเวลา t จะวัดจากเมื่อเริ่มเร้าด้วยชุดสิ่งเร้า ค่า Δt จะต้องใหญ่พอ (ปกติเริ่มจาก 1 มิลลิวินาทีขึ้น) เพื่อให้มีจำนวนศักยะงานพอประเมินค่าเฉลี่ยอย่างเชื่อถือได้ เมื่อหารด้วยระยะเวลา Δt ก็จะได้ค่า อัตราการยิงสัญญาณขึ้นอยู่กับเวลา r(t) ของนิวรอน ซึ่งเท่ากับความหนาแน่นของศักยะงาน (spike density) ใน PSTH
ถ้า Δt น้อยพอดี r(t) Δt ก็จะเป็นจำนวนศักยะงานโดยเฉลี่ยที่เกิดระหว่าง t จนถึง t+Δt ในการทดลองหลาย ๆ ครั้ง ถ้า Δt มีค่าน้อย ก็จะไม่มีศักยะงานเกินกว่า 1 ในระหว่าง t จนถึง t+Δt ในการทดลองทุกครั้ง ซึ่งก็หมายความว่า r(t) Δt ก็จะมีค่าเป็นเศษส่วนในการทดลองต่าง ๆ ที่บางการทดลองมีศักยะงานหนึ่งพัลส์ในช่วงเวลานั้น หรือโดยเสมอภาคกัน r(t) Δt ก็จะเป็นค่าความน่าจะเป็นที่ศักยะงานหนึ่ง ๆ จะเกิดในช่วงระยะเวลานี้
โดยเป็นวิธีดำเนินการทดลอง อัตราการยิงสัญญาณขึ้นอยู่กับเวลาจะมีประโยชน์เพื่อตรวจการทำงานของเซลล์ประสาท โดยเฉพาะในกรณีที่มีสิ่งเร้าซึ่งขึ้นอยู่กับเวลา ปัญหาโต้ง ๆ ของวิธีนี้ก็คือ มันไม่ใช่วิธีการเข้ารหัสของเซลล์ประสาทในสมอง เพราะมันไม่สามารถรอให้สิ่งเร้าแสดงตัวซ้ำ ๆ ในแบบที่ว่านี้ก่อนจะตอบสนอง
อย่างไรก็ดี ค่านี้จะมีเหตุผล ถ้ามีนิวรอนที่เป็นอิสระต่อกันและกันเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ได้รับสิ่งเร้าเดียวกัน ดังนั้น แทนการบันทึกการตอบสนองจากกลุ่มเซลล์จำนวน N เซลล์ในการทดลองครั้งหนึ่ง การบันทึกการตอบสนองจากเซลล์เดียวแล้วหาค่าเฉลี่ยจากการทดลอง N ครั้ง ก็จะง่ายกว่า ดังนั้น ค่านี้จะมีข้อสมมุติโดยปริยายว่า จะเป็นนิวรอนเป็นกลุ่ม ๆ ที่ตอบสนอง
การเข้ารหัสโดยเวลา (Temporal coding)
เมื่อเวลาที่ส่งศักยะงานหรือความผันผวนของการยิงสัญญาณที่อัตราสูงพบว่ามีข้อมูล รหัสทางประสาทนี้บ่อยครั้งจะกำหนดว่าการเข้ารหัสโดยเวลา (Temporal coding) งานศึกษาจำนวนหนึ่งได้พบว่า รายละเอียดทางเวลาของรหัสอยู่ในระดับมิลลิวินาที ซึ่งแสดงว่า เวลาการส่งศักยะงานที่แม่นยำเป็นส่วนประกอบสำคัญของรหัสทางประสาท การเข้ารหัสข้อมูลเช่นนี้ ซึ่งสื่อผ่านเวลาระหว่างพัลส์ศักยะงานจะเรียกว่า interpulse interval code และมีงานศึกษาจำนวนหนึ่งที่สนับสนุนให้หลักฐาน
ความผันผวนเมื่อยิงสัญญาณที่อัตราสูงของนิวรอน อาจจะเป็นเสียงรบกวนหรืออาจจะเป็นข้อมูลก็ได้ แบบจำลองการเข้ารหัสโดยอัตราเสนอว่า ความไม่สม่ำเสมอเช่นนี้เป็นเสียงรบกวน ส่วนแบบจำลองการเข้ารหัสโดยเวลาเสนอว่า มันเป็นข้อมูล ถ้าระบบประสาทใช้แค่รหัสโดยอัตราเพื่อสื่อข้อมูล อัตราการยิงสัญญาณที่สม่ำเสมอปกติยิ่งกว่านี้ก็ควรจะเป็นข้อได้เปรียบทางวิวัฒนาการ และนิวรอนก็ควรใช้วิธีการนี้และหลีกเลี่ยงวิธีการอื่นที่ไม่ทนเสียงรบกวนเท่า
รหัสโดยเวลาให้คำอธิบายอีกอย่างเกี่ยวกับ "เสียงรบกวน" ว่าเป็นการเข้ารหัสข้อมูลและมีผลต่อการประมวลข้อมูล เพื่อจะจำลองไอเดียนี้ เลขฐานสองสามารถใช้กำหนดช่วงศักยะงาน โดย 1 หมายถึงมีศักยะงาน และ 0 หมายถึงไม่มี รหัสโดยเวลาจะอนุญาตให้ลำดับ 000111000111 มีความหมายต่างจากลำดับ 001100110011 แม้อัตราการยิงสัญญาณของลำดับสองชุดนี้จะเท่ากัน คือ 6 ศักยะงานต่อ/10 มิลลิวินาที
จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ปกติจะใช้รหัสโดยอัตราเพื่ออธิบายรูปแบบกระแสประสาทที่เห็นหลังไซแนปส์ (post-synaptic) แต่การทำงานของสมองดูจะต้องแม่นยำตามกาลเวลา เกินกว่าที่รหัสโดยอัตราเพียงอย่างเดียวจะสามารถรองรับได้[] กล่าวอีกอย่างก็คือ ข้อมูลสำคัญอาจสูญไปได้เพราะรหัสโดยอัตราไม่สามารถเก็บข้อมูลที่มีทั้งหมดจากขบวนศักยะงาน นอกจากนั้น การตอบสนองจะต่างกันพอสมควรระหว่างสิ่งเร้าที่คล้าย (แต่ไม่เหมือนกัน) ซึ่งแสดงว่า รูปแบบที่ไม่เหมือนกันต่าง ๆ ของขบวนศักยะงานจะมีข้อมูลมากกว่าที่เป็นไปได้ถ้าเป็นรหัสโดยอัตรา
รหัสโดยเวลาจะรวมลักษณะต่าง ๆ ของศักยะงานที่การเข้ารหัสโดยอัตราไม่ได้รวม ยกตัวอย่างเช่น เวลาก่อนเกิดศักยะงานแรกหลังจากที่ได้สิ่งเร้า, ลักษณะต่าง ๆ ที่ขึ้นกับโมเมนต์ทางสถิติที่สองหรือยิ่งกว่านั้นของการแจกแจงความน่าจะเป็นของช่วงระหว่างสิ่งเร้า (Interstimulus interval), ความสุ่มของศักยะงาน, หรือกลุ่มศักยะงานที่ยิงในเวลาที่แม่นยำ (เป็นรูปแบบทางกาลเวลา) ล้วนแต่เป็นข้อมูลที่สามารถใช้เข้ารหัสโดยเวลา
เนื่องจากไม่มีแหล่งอ้างอิงเวลาแบบสัมบูรณ์ภายในระบบประสาท ข้อมูลก็จะต้องเกี่ยวข้องกับเวลาการเกิดศักยะงานโดยเปรียบเทียบภายในกลุ่มนิวรอน หรือกับการแกว่งกวัดของคลื่นสมอง วิธีถอดรหัสโดยเวลาอย่างหนึ่งเมื่อมีการแกว่งกวัดของคลื่นสมอง ก็คือศักยะงานที่ยิงในคาบโดยเฉพาะ ๆ ของวงจรการกวัดแว่ง จะทำให้นิวรอนหลังไซแนปส์ลดขั้วอย่างมีประสิทธิภาพกว่า
โครงสร้างทางเวลาของขบวนศักยะงาน หรืออัตราการยิงสัญญาณ จะกำหนดโดยทั้งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าและกระบวนการเข้ารหัสของนิวรอนเอง สิ่งเร้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมักจะสร้างขบวนศักยะงานที่มีลักษณะทางเวลาที่แม่นยำและอัตราการยิงสัญญาณที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าระบบจะใช้รหัสอะไรก็ตาม รหัสโดยเวลาจะส่องรายละเอียดทางเวลาในการตอบสนองที่ไม่ได้เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าเท่านั้น แต่จะสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งเร้าด้วย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและพลวัตของการเข้ารหัส ทำให้ระบุรหัสโดยเวลาได้ยาก
เนื่องกับรหัสทางเวลา การเรียนรู้จะเกิดผ่านการปรับความช้าเร็วของการสื่อผ่านไซแนปส์โดยขึ้นอยู่กับการทำงาน (activity-dependent synaptic delay modifications) การปรับเปลี่ยนเองก็จะต้องขึ้นกับไม่ใช่เพียงแค่อัตราการยิงสัญญาณ (คือรหัสโดยอัตรา) แต่จะขึ้นกับรูปแบบทางกาลเวลาของศักยะงานด้วย (คือรหัสโดยเวลา) คือ นี่อาจเป็นกรณีพิเศษของกระบวนการ spike-timing-dependent plasticity
ปัญหาของการเข้ารหัสโดยเวลา จะต่างอย่างเป็นอิสระจากปัญหาการเข้ารหัสศักยะงานแต่ละพัลส์ ๆ ที่เป็นอิสระจากกันและกัน ถ้าศักยะงานแต่ละพัลส์เป็นอิสระจากพัลส์อื่น ๆ ในขบวน คุณสมบัติทางเวลาของรหัสประสาทจะกำหนดได้โดยอัตราการยิงสัญญาณที่ขึ้นอยู่กับเวลา r(t) และถ้า r(t) เปลี่ยนช้า ๆ ไปตามเวลา นี่ก็เท่ากับการเข้ารหัสโดยอัตรา แต่ถ้าเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว นี่เป็นการเข้ารหัสโดยเวลา
การเข้ารหัสโดยเวลาในระบบรับความรู้สึก
สำหรับสิ่งเร้าสั้น ๆ อัตราการยิงศักยะงานสูงสุดของเซลล์ประสาทอาจไม่เร็วพอจะสร้างศักยะงานมากกว่าพัลส์เดียว เนื่องจากมีข้อมูลมากเกี่ยวกับสิ่งเร้าสั้น ๆ ภายในศักยะงานเดียวนี้ จึงดูเหมือนว่าเวลาการยิงศักยะงานเองจะต้องสื่อข้อมูลมากกว่าเพียงเป็นความถี่เฉลี่ยของจำนวนศักยะงานตามระยะเวลา
แบบจำลองนี้สำคัญมากในเรื่องการกำหนดตำแหน่งต้นเสียง (sound localization) ซึ่งเกิดในสมองภายในมิลลิวินาที ๆ คือสมองจะต้องดึงข้อมูลมหาศาลจากการตอบสนองค่อนข้างสั้น ๆ ของเซลล์ประสาท นอกจากนั้น ถ้าการยิงสัญญาณในอัตราที่ต่ำเพียงเป็นสิบ ๆ พัลส์ต่อวินาที จะต้องจำแนกจากอัตราที่ใกล้ ๆ กันสำหรับสิ่งเร้าที่ต่างกัน เซลล์ประสาทที่ต้องจำแนกสิ่งเร้าที่ต่างสองอย่างนี้ ก็จะต้องรอหนึ่งวินาทีหรือมากกว่านั้นเพื่อรวบรวมข้อมูลจนเพียงพอ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากที่สามารถจำแนกสิ่งเร้าสองอย่างที่ว่าได้โดยใช้เวลาแค่เป็นมิลลิวินาที ๆ นี่แสดงว่าระบบประสาทไม่ได้ใช้การเข้ารหัสโดยอัตราเพียงอย่างเดียว
เพื่ออธิบายการเข้ารหัสสิ่งเร้าทางตาได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการเสนอว่า เซลล์ประสาทในจอตาจะเข้ารหัสข้อมูลเป็นระยะเวลาแฝงระหว่างการเริ่มมีสิ่งเร้ากับการเกิดศักยะงานแรก ซึ่งเรียกว่า latency to first spike โดยรหัสเช่นนี้ก็พบด้วยในระบบการได้ยินและระบบรับความรู้สึกทางกาย ข้อเสียหลักของรหัสนี้ก็คือจะอ่อนไหวต่อความผันผวนของเซลล์ประสาทที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ในคอร์เทกซ์การมองเห็นปฐมภูมิของลิงมาคาก เวลาระหว่างศักยะงานแรกกับการเริ่มมีสิ่งเร้าพบว่า ให้ข้อมูลมากกว่าระยะเวลาระหว่างศักยะงานเอง แต่เวลาระหว่างศักยะงานก็ยังสามารถใช้เข้ารหัสข้อมูลอื่น ๆ และสำคัญเป็นพิเศษเมื่ออัตราการส่งสัญญาณถึงจุดยอด เช่นเมื่อสิ่งที่เห็นมีความเปรียบต่างสูง ด้วยเหตุนี้ รหัสโดยเวลาอาจมีบทบาทในการเข้ารหัสส่วนขอบของสิ่งที่เห็น (ที่มีความเปรียบต่างสูง) และไม่มีเมื่อสิ่งเร้าเปลี่ยนอย่างอย่างช้า ๆ หรือน้อย
ระบบรู้รสของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมช่วยในการศึกษารหัสโดยเวลา เพราะสิ่งเร้าค่อนข้างต่าง ๆ กัน และสัตว์ก็ตอบสนองต่าง ๆ กันพอสังเกตได้ ข้อมูลที่เข้ารหัสโดยเวลาอาจช่วยสิ่งมีชีวิตให้จำแนกรสชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในหมวดเดียวกัน (เช่น หวาน ขม เปรี้ยว เค็ม อุมะมิ) แม้อัตราศักยะงานจะเหมือนกัน ข้อมูลทางเวลาของรูปแบบการตอบสนองต่อรสชาติแต่ละอย่าง อาจใช้ระบุว่ามันคืออะไร (เช่น ความแตกต่างระหว่างรสขมสองอย่าง เช่นยาควินินและ Denatonium ที่ขมมาก) ดังนั้น ทั้งการเข้ารหัสโดยอัตราและโดยเวลาอาจจะใช้ในระบบรู้รส คือโดยอัตราสำหรับหมวดหมู่พื้นฐานของรสชาติ และโดยเวลาสำหรับรายละเอียดโดยเฉพาะอื่น ๆ
งานวิจัยในระบบรู้รสของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้แสดงว่า มีข้อมูลจำนวนมากในรูปแบบตามกาลเวลาที่ใช้ในกลุ่มเซลล์ประสาทต่าง ๆ และเป็นข้อมูลที่ต่างจากที่เข้ารหัสโดยอัตรา กลุ่มเซลล์ประสาทอาจประสานส่งกระแสประสาทพร้อม ๆ กันเมื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ
ในการศึกษาสมองกลีบหน้าของไพรเมต รูปแบบทางเวลาที่ละเอียดแม่นยำเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่มิลลิวินาทีจะพบทั่วกลุ่มเซลล์ประสาท ซึ่งมีสหสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับการแปลข้อมูลบางอย่าง แม้นักวิทยาศาสตร์ยังกำหนดรายละเอียดไม่ค่อยได้ แต่ก็อาจอธิบายได้ว่า เป็นผลพลอยได้ในระบบต่าง ๆ ของเปลือกสมองที่ใช้ข้อมูลขาเข้าร่วมกัน หรืออาจเพื่อเพิ่มความเร็วในการแปลผลของเปลือกสมองโดยไม่ได้ข้อมูลอะไรเพิ่ม
เหมือนกับระบบการเห็น ใน mitral cell ของป่องรับกลิ่นในหนูหริ่ง ระยะเวลาของศักยะงานแรกจากการดมกลิ่น (คือระยะแฝง) ดูเหมือนจะเข้ารหัสข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับกลิ่น กลยุทธ์การใช้ระยะแฝงทำให้สามารถระบุกลิ่นและมีพฤติกรรมตอบสนองต่อกลิ่นนั้นได้เร็ว นอกจากนั้น mitral cell ยังมีรูปแบบการส่งสัญญาณโดยเฉพาะ ๆ ต่อกลิ่นต่าง ๆ ข้อมูลเช่นนี้อาจช่วยระบุกลิ่นบางชนิด แต่อาจไม่จำเป็นต้องมี เพราะอัตราของศักยะงานในช่วงที่สัตว์ดมกลิ่นก็สามารถทำให้ระบุกลิ่นได้แล้ว
ในแนวเดียวกัน งานทดลองในระบบรู้กลิ่นของกระต่ายแสดงการส่งสัญญาณในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีสหสัมพันธ์กับกลิ่นต่าง ๆ และก็พบผลเช่นเดียวกันในงานทดลองกับตั๊กแตน
การประยุกต์ใช้
ความจำเพาะเจาะจงของรหัสโดยเวลา ทำให้ต้องใช้เทคโนโลยีที่ละเอียดมากในการวัดหาข้อมูลทางการทดลองที่ทั้งให้ความรู้และเชื่อถือได้ ความก้าวหน้าทางเทคนิค optogenetics ช่วยให้นักประสาทวิทยาศาสตร์สามารถควบคุมศักยะงานภายในนิวรอนหนึ่ง ๆ ได้โดยเฉพาะ ทำให้ควบคุมรูปแบบไฟฟ้าของศักยะงานและระยะเวลาระหว่างศักยะงานในระดับเซลล์เดี่ยว ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น แสงสีน้ำเงินจะทำให้ช่องไอออนเปิดปิดด้วยแสง คือ channelrhodopsin เปิด ทำให้เซลล์ลดขั้วแล้วสร้างศักยะงาน เมื่อเซลล์ตรวจไม่พบแสงสีน้ำเงินอีก ช่องก็จะปิด แล้วเซลล์ก็จะหยุดส่งศักยะงาน รูปแบบของศักยะงานจะจับคู่กับรูปแบบของสิ่งเร้าคือแสงสีน้ำเงิน การใส่ลำดับยีนของ channelrhodopsin เข้าในดีเอ็นเอของหนูหริ่ง จึงทำให้นักวิจัยสามารถควบคุมศักยะงานและควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของหนู (เช่น ทำให้หนูหันไปทางซ้าย) ได้ ผ่านเทคนิค optogenetics นักวิจัยจึงมีอุปกรณ์ที่สร้างผลต่อการเข้ารหัสโดยเวลาต่าง ๆ ในนิวรอน ในขณะที่ยังดำรงอัตราเฉลี่ยการยิงสัญญาณเท่า ๆ กัน และดังนั้น จึงสามารถทดสอบได้ว่า มีวงจรประสาทหนึ่ง ๆ ที่เข้ารหัสโดยเวลาหรือไม่
เทคโนโลยี Optogenetic มีโอกาสช่วยแก้ปัญหาการส่งศักยะงานที่เป็นมูลฐานของโรคทางประสาทและจิตหลายอย่าง ถ้าจริง ๆ นิวรอนเข้ารหัสข้อมูลในรูปแบบตามเวลาของศักยะงาน ข้อมูลสำคัญอาจจะมองข้ามไปเมื่อพยายามถอดรหัสจากแค่อัตราการยิงสัญญาณ การเข้าใจรหัสประสาทในรูปแบบตามเวลาและการทำซ้ำรูปแบบเหล่านี้ได้ในนิวรอน อาจจะทำให้ควบคุมและรักษาโรคในระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท และโรคพาร์คินสัน ได้ดีขึ้น เพราะการควบคุมระยะการส่งศักยะงานในเซลล์เดี่ยว ๆ จะทำให้ควบคุมการทำงานของสมองได้แม่นยำยิ่งกว่าการใช้ยา
การเข้ารหัสโดยเฟสที่ยิงสัญญาณ (Phase-of-firing code)
รหัสโดยเฟสที่ยิงสัญญาณ (Phase-of-firing code) เป็นรหัสทางประสาทที่รวมการเข้ารหัสโดยอัตรา กับจุดอ้างอิงทางเวลาซึ่งอาศัยการแกว่งกวัดของคลื่นสมอง (Neural oscillation) รหัสประเภทนี้มีป้าย/ข้อมูลเวลาสำหรับแต่ละศักยะงานโดยอ้างอิงเวลาตามเฟสการแกว่งกวัดของคลื่นประสาทเฉพาะที่ ๆ ไม่ว่าจะแบบความถี่ต่ำ หรือความถี่สูง ลักษณะอย่างหนึ่งของการเข้ารหัสนี้ก็คือ นิวรอนจะมีลำดับการยิงสัญญาณโดยเฉพาะ ๆ
มีงานศึกษาที่แสดงว่า นิวรอนในเปลือกสมองรับความรู้สึกบางส่วน เข้ารหัสสิ่งเร้าที่ซับซ้อนตามธรรมชาติโดยเวลาของศักยะงานที่เป็นไปตามเฟสของคลื่นสมองในพื้นที่ ไม่ใช่เป็นไปตามจำนวนศักยะงานเท่านั้น โดยคลื่นสมองจะสะท้อนศักย์สนามไฟฟ้าเฉพาะที่ (local field potential) นี่บ่อยครั้งจัดเป็นรหัสโดยเวลาแม้ป้ายเวลาที่ใช้กับศักยะงานจะค่อนข้างหยาบ
นั่นก็คือ ค่าวิยุต 4 ค่าสำหรับเฟสต่าง ๆ ก็พอใช้เป็นตัวแทนข้อมูลที่อยู่ในรหัสเช่นนี้ โดยหมายเอาเฟสของการกวัดแกว่งที่ความถี่ต่ำ รหัสโดยเฟสที่ยิงสัญญาณได้ไอเดียคร่าว ๆ จากปรากฏการณ์ Phase precession ใน place cell (เซลล์สถานที่) ที่ฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำงานเมื่อสัตว์ไปถึงสถานที่โดยเฉพาะ ๆ ภายในสิ่งแวดล้อม
การเข้ารหัสตามเฟสยังพบในเปลือกสมองส่วนการเห็นที่มีการกวัดแกว่งความถี่สูงด้วย ภายในรอบของการกวัดแกว่งพิสัยแกมมา (30-70&npbs;เฮิรตซ์) เซลล์ประสาทแต่ละตัวจะมีช่วงที่มักจะยิงสัญญาณ เพราะเหตุนี้ กลุ่มนิวรอนทั้งหมดจึงสร้างขบวนศักยะงานที่มีระยะยาวถึงประมาณ 15 มิลลิวินาที
การเข้ารหัสโดยกลุ่ม (Population coding)
การเข้ารหัสโดยกลุ่ม (Population coding) เป็นวิธีเข้ารหัสสิ่งเร้าโดยการทำงานร่วมกันของนิวรอนจำนวณหนึ่ง ในวิธีนี้ นิวรอนแต่ละเซลล์จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางเซตแบบกระจายตัว และการตอบสนองของนิวรอนจำนวนหนึ่งรวมกันก็จะสามารถกำหนดค่าบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งเร้า
จากมุมมองทางทฤษฎี การเข้ารหัสโดยกลุ่มเป็นเรื่องที่เข้าสูตรทางคณิตได้ค่อนข้างดีในบรรดาปัญหาทางประสาทวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย มันรวมส่วนสำคัญต่าง ๆ ของการเข้ารหัสทางประสาท แต่ก็ยังวิเคราะห์ทางทฤษฎีได้ง่ายพอ งานศึกษาแบบทดลองได้แสดงว่า การเข้ารหัสแบบนี้ใช้อย่างกว้างขวางภายในเขตสมองส่วนรับความรู้สึก (sensory) และส่วนสั่งการ (motor)
ยกตัวอย่างเช่น ในเขตการเห็นของสมองกลีบขมับส่วนใน (Medial temporal lobe, MT) นิวรอนจะประมวลผลกำหนดโดยทิศทางที่สิ่งเร้าเคลื่อนที่โดยเฉพาะ ๆ. ในการตอบสนองต่อวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ไปยังทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะ ๆ นิวรอนจำนวนมากใน MT จะยิงสัญญาณแบบมีเสียงรบกวน โดยมีรูปแบบเป็นระฆังคว่ำตลอดทั้งกลุ่ม แต่ทิศทางของวัตถุก็ยังสามารถกำหนดได้จากการทำงานของนิวรอนทั้งกลุ่ม ซึ่งทนต่อความผันผวนของสัญญาณจากนิวรอนเดี่ยว ๆ
ในตัวอย่างคลาสสิกตัวอย่างหนึ่งใน primary motor cortex นักวิจัยได้ฝึกลิงให้ขยับก้านควบคุมไปยังเป้าหมาย แล้วพบว่า นิวรอนหนึ่ง ๆ จะยิงสัญญาณตอบสนองต่อทิศทางการเคลื่อนที่ของเป้าหมายหลายทิศทาง แต่มันจะยิงสัญญาณที่อัตราสูงสุดในทิศทางเดียว และที่อัตราลดลงขึ้นอยู่กับว่า ทิศทางของเป้าหมายนั้นใกล้กับทิศทางซึ่งมันถนัดที่สุดมากเท่าไร
นักวิชาการคนหนึ่ง (Kenneth Johnson) ได้สรุปว่า ถ้านิวรอนแต่ละตัวเป็นตัวแทนการเคลื่อนไหวของสิ่งเร้าในทิศทางที่ตนถนัด การคำนวณรวมเวกเตอร์ของนิวรอนทั้งหมด โดยนิวรอนแต่ละตัวมีอัตราการยิงสัญญาณและทิศทางที่ตนถนัดโดยเฉพาะ ๆ ก็จะแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของสิ่งเร้า ดังนั้น การทำงานของกลุ่มนิวรอนจึงเข้ารหัสทิศทางการเคลื่อนที่ของสิ่งเร้า การเข้ารหัสเช่นนี้มีชื่อเฉพาะว่า population vector coding[]
นักวิชาการอีกลุ่มหนึ่งได้พัฒนารหัสโดยกลุ่มตามสถานที่-เวลา ซึ่งเรียกว่า Averaged-Localized-Synchronized-Response (ALSR) code โดยเป็นการเข้ารหัสสิ่งเร้าทางหูคือเสียง และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับนิวรอนที่ตอบสนองต่อจุดที่เป็นแหล่งเสียงโดยเฉพาะ ๆ ในโสตประสาท (auditory nerve) กับการยิงสัญญาณจับคู่กับเฟสภายในโสตประสาท การเข้ารหัสดั้งเดิมใช้ได้กับเสียงสระแบบไม่เปลี่ยนเสียง ต่อมาจึงใช้ได้กับพยางค์ที่ประกอบด้วยพยัญชนะ-สระ โดยรวมความสูงต่ำของเสียง (pitch) และความถี่สั่นพ้อง (formant) ที่ซับซ้อนและอาจเปลี่ยนเสียงในระหว่าง (non steady state)
การเข้ารหัสโดยกลุ่มยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้งการลดความไม่แน่นอนเนื่องจากความผันแปรได้ทางสถิติ และสมรรถภาพในการเป็นตัวแทนลักษณะสิ่งเร้าต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน วิธีนี้ยังเร็วกว่าการเข้ารหัสโดยอัตรา และสามารถสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้าได้แทบทันที นิวรอนแต่ละตัวในกลุ่มมักจะตอบสนองสิ่งเร้าที่ต่าง ๆ แต่คาบเกี่ยวกัน ดังนั้น นิวรอนจำนวนหนึ่งแต่ไม่ทั้งหมดก็จะตอบสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ
โดยปกติแล้ว ฟังก์ชันการเข้ารหัสจะมีค่าสูงสุด เมื่อการทำงานของนิวรอนนั้น ๆ อยู่ในระดับสูงสุด และก็จะลดลงตามลำดับค่าที่ไม่ใช่เป็นจุดยอด[] ดังนั้น ระดับการรับรู้สิ่งเร้าจึงสามารถคำนวณได้จากรูปแบบการทำงานทั่วไปของกลุ่มนิวรอน
population vector coding ที่กล่าวถึงมาก่อนเป็นตัวอย่างของการหาค่าเฉลี่ยธรรมดา ๆ เทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนกว่ารวมวิธีค่าควรจะเป็นสูงสุด (maximum likelihood) อาศัยการแจกแจงหลายตัวแปร (multivariate distribution) ของการตอบสนองของนิวรอน แบบจำลองเหล่านี้อาจสมมุติความเป็นอิสระ หรือสหสัมพันธ์แบบทุติยภูมิ หรือแม้แต่ภาวะพึ่งพิงที่ซับซ้อนอย่างเช่น higher order maximum entropy probability distribution หรือ Copula
การเข้ารหัสโดยสหสัมพันธ์ (Correlation coding)
แบบจำลองการเข้ารหัสโดยสหสัมพันธ์เสนอว่า มีสหสัมพันธ์ระหว่างศักยะงานภายในขบวน ซึ่งอาจเป็นข้อมูลนอกเหนือไปจากระยะเวลาธรรมดาระหว่างศักยะงานต่าง ๆ งานวิจัยปี 2523 แสดงว่า สหสัมพันธ์ระหว่างขบวนศักยะงานจะสามารถลด แต่ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลที่พึ่งพาอาศัยกัน (mutual information) ที่มีในขบวนศักยะงาน 2 ขบวน โดยเกี่ยวกับลักษณะหนึ่งของสิ่งเร้า แต่งานปี 2542 แสดงว่าไอเดียนี้ไม่ถูกต้อง โครงสร้างโดยสหสัมพันธ์จะสามารถเพิ่มข้อมูลที่มี ถ้าค่าสหสัมพันธ์ของเสียงรบกวนและของสัญญาณ/ข้อมูลมีเครื่องหมายตรงกันข้ามกัน
ค่าสหสัมพันธ์สามารถให้ข้อมูลที่ไม่ได้อยู่ในอัตราการยิงสัญญาณโดยเฉลี่ยของนิวรอนสองคู่ ตัวอย่างหนึ่งก็คือ เปลือกสมองส่วนการได้ยินของมาโมเสทที่ได้ยาชาแล้ว ซึ่งเสียงโทนเดียวจะทำให้เกิดศักยะงานที่มีสหสัมพันธ์กันจำนวนมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เพิ่มอัตราการยิงสัญญาณโดยเฉลี่ยระหว่างนิวรอนเป็นคู่ ๆ
การเข้ารหัสโดยศักยะงานอิสระ (Independent-spike coding)
แบบจำลองการเข้ารหัสโดยศักยะงานอิสระเสนอว่า ศักยะงานแต่ละพัลส์เป็นอิสระจากกันและกันภายในขบวนศักยะงาน
การเข้ารหัสโดยตำแหน่ง (Position coding)
การเข้ารหัสโดยกลุ่มปกติจะเกี่ยวกับกลุ่มเซลล์ประสาทที่ตอบสนองโดยมี tuning curve เป็นฟังก์ชัน Gaussian ที่มีค่าคาดหมายหรือค่าเฉลี่ยซึ่งแปรผันแบบเชิงเส้นตามระดับสิ่งเร้า ซึ่งหมายความว่า เซลล์จะตอบสนองด้วยศักยะงานในอัตราสูงสุดต่อสิ่งเร้าที่มีระดับใกล้กับค่าคาดหมาย ดังนั้น ระดับของสิ่งเร้าจึงสามารถหาได้จากค่าคาดหมายของเซลล์ประสาทที่ตอบสนองในระดับสูงสุด แต่เพราะเสียงรบกวนที่มีโดยธรรมชาติในการตอบสนอง การประมาณค่าควรจะเป็นสูงสุด (maximum likelihood estimation) จะเป็นวิธีที่แม่นยำกว่า
การเข้ารหัสเช่นนี้จะใช้สำหรับตัวแปรแบบต่อเนื่องเช่น ตำแหน่งข้อต่อ ตำแหน่งตา สี หรือความถี่เสียง แม้นิวรอนเดี่ยว ๆ จะสร้างเสียงรบกวนมากเกินกว่าจะสามารถเข้ารหัสตัวแปรโดยอัตรา แต่กลุ่มนิวรอนรวมกันก็สามารถให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้และแม่นยำกว่า สำหรับกลุ่มนิวรอนที่มี tuning curve แบบมียอดเดียว ความแม่นยำปกติจะดีขึ้นในเชิงเส้นตามจำนวนของเซลล์ประสาท ดังนั้น สำหรับความแม่นยำครึ่งหนึ่ง ก็จะใช้นิวรอนจำนวนครึ่งเดียว เทียบกับ tuning curve แบบมีหลายยอด ดังที่พบใน grid cell ในสมองของสัตว์หลายสปีชีส์ เป็นเซลล์ซึ่งเข้ารหัสข้อมูลเกี่ยวกับปริภูมิรอบ ๆ ตัวสัตว์ ความแม่นยำที่ได้จากกลุ่มนิวรอนเช่นนี้ จะเพิ่มขึ้นแบบยกกำลังตามจำนวนเซลล์ประสาท ซึ่งลดจำนวนนิวรอนได้อย่างมหาศาลเพื่อให้ได้ความแม่นยำเท่ากัน
การเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์ (Sparse coding)
การเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์ก็คือลักษณะสิ่งเร้าแต่ละอย่างจะเข้ารหัสโดยการทำงานอย่างเต็มที่ของนิวรอนเป็นจำนวนน้อย คือ จะมีกลุ่มนิวรอนย่อย ๆ ที่ทำงานตอบสนองต่อลักษณะสิ่งเร้าที่ต่างกัน
ถึงกระนั้น "ความน้อย" ก็อาจจะเป็นทางเวลา คือ "จะทำงานเป็นช่วงเวลาค่อนข้างน้อย" หรืออาจจะหมายถึงจำนวนนิวรอนที่ทำงานตอบสนองภายในกลุ่ม ในกรณีหลัง จึงอาจนิยามได้ว่าเป็นจำนวนนิวรอนที่ทำงานเปรียบเทียบกับจำนวนนิวรอนทั้งหมดภายในกลุ่มในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นี่ดูเหมือนจะเป็นเอกลักษณ์ของการแปลผลทางประสาทเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ดั้งเดิม เพราะข้อมูลจะกระจายตัวไปอย่างกว้างขวางไปทั่วกลุ่มนิวรอน งานวิจัยปี 2539 แสดงว่า การเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์ของรูปภาพต่าง ๆ ตามธรรมชาติ จะสร้างฟิลเตอร์คล้ายกับ wavelet ซึ่งก็คล้ายกับลานรับสัญญาณของเซลล์ธรรมดา ๆ ในเปลือกสมองส่วนการเห็น ความจุของการเข้ารหัสเช่นนี้อาจเพิ่มโดยใช้การเข้ารหัสโดยเวลาพร้อม ๆ กัน ดังที่พบในระบบรู้กลิ่นของตั๊กแตน
เพราะสิ่งเร้ามีรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ขั้นตอนวิธีการเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์จะพยายามสืบหารูปแบบจำนวนน้อยที่เป็นตัวแทน (representative patterns) อย่างอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อรวมรูปแบบในสัดส่วนที่ถูกต้อง ก็จะสามารถเป็นตัวแทนของสิ่งเร้าที่ปรากฏ ดังนั้น รหัสโดยน้อยเซลล์ของสิ่งเร้าก็คือรูปแบบที่เป็นตัวแทนเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ประโยคมากมายในภาษาไทยสามารถเข้ารหัสเป็นเครื่องหมายต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนน้อย (เช่น อักษร วรรณยุกต์ ตัวเลข และวรรค) โดยรวมกันเป็นลำดับอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อเป็นตัวแทนประโยคหนึ่ง ๆ ในนัยเดียวกัน การเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์ก็จะเป็นเหมือนกับเครื่องหมายเหล่านี้
Linear generative model
แบบจำลองของการเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์มักจะเป็นแบบ linear generative model (แบบจำลองเพิ่มพูนเชิงเส้น) ในแบบจำลองนี้ เครื่องหมายจะรวมกันแบบผลรวมเชิงเส้นเพื่อประมาณข้อมูลขาเข้า
โดยรูปนัยก็คือ สำหรับเซตเวกเตอร์จำนวนจริงที่เป็นข้อมูลเข้าและมีมิติ k (k-dimensional set of real-numbered input vectors) คือ
เป้าหมายของการเข้ารหัสโดยน้อยเซลล์ก็คือเพื่อกำหนดเวกเตอร์ฐานหลักที่มีมิติ k และมีจำนวน n (n k-dimensional basis vectors) คือ พร้อมกับเวก์เตอร์มากเลขศูนย์ที่มีมิติ n (sparse n-dimensional vector) เวกเตอร์หนึ่ง ที่เป็นน้ำหนักหรือสัมประสิทธิ์สำหรับแต่ละเวกเตอร์ขาเข้า เพื่อให้ผลรวมเชิงเส้นของเวกเตอร์ฐานหลักในสัดส่วนที่กำหนดโดยสัมประสิทธิ์ มีผลเป็นค่าใกล้ ๆ กับเวกเตอร์ขาเข้า คือ
รหัสที่สร้างโดยขั้นตอนวิธีที่ดำเนินการด้วย linear generative model อาจจัดเป็นสองอย่างคือแบบ soft sparseness (น้อยผ่อน ๆ) และ hard sparseness (น้อยจริง ๆ) โดยแบบ 2 อย่างจะมุ่งหมายการกระจายตัวของสัมประสิทธิ์ของเวกเตอร์ฐานหลักสำหรับข้อมูลเข้าทั่วไป
- รหัสแบบน้อยผ่อน ๆ จะมีการกระจายตัวคล้าย Gaussian เรียบ ๆ แม้จะแหลมกว่าเส้นโค้ง Gaussian โดยมีค่า 0 มาก, มีค่าสัมบูรณ์ต่ำ ๆ บ้าง, มีค่าสัมบูรณ์สูง ๆ น้อยกว่า, และมีความสัมบูรณ์สูงมากน้อยมาก ดังนั้น เวกเตอร์ฐานหลักจำนวนมากจึงไม่ใช่ศูนย์คือยังให้ผลอยู่
- เทียบกับรหัสแบบน้อยจริง ๆ ซึ่งมีค่า 0 มาก, ไม่มีหรือเกือบไม่มีค่าสมบูรณ์ต่ำ, มีค่าสัมบูรณ์ที่มากขึ้นน้อยกว่า, และมีค่าสัมบูรณ์สูงมากน้อยมาก ดังนั้น เวกเตอร์ฐานหลักจำนวนน้อยมากก็จะมีค่ามากกว่า 0 ซึ่งได้เปรียบจากมุมมองของเมแทบอลิซึม เพราะการทำงานของนิวรอนที่มีจำนวนน้อยกว่าก็จะใช้พลังงานน้อยกว่า
รหัสนี้อาจแบ่งได้โดยอีกวิธีหนึ่งเป็น 2 แบบ ก็คือแบบ critically complete (สมบูรณ์อย่างวิกฤติ) หรือ overcomplete (สมบูรณ์เกิน)
- ถ้าจำนวนเวกเตอร์ฐานหลักคือ n เท่ากับ k ซึ่งเป็นมิติของเซตข้อมูลเข้า การเข้ารหัสนี้เรียกว่า สมบูรณ์อย่างวิกฤติ ในกรณีนี้ การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเวกเตอร์ข้อมูลเข้า จะทำให้สัมประสิทธิ์เปลี่ยนโดยฉับพลัน ดังนั้น รหัสจึงไม่สามารถรองรับการการเปลี่ยนสเกล การเลื่อนที่ หรือเสียงรบกวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ในข้อมูลขาเข้า
- แต่ถ้าเวกเตอร์ฐานหลักมีจำนวนมากกว่ามิติของเซตข้อมูลเข้า รหัสก็จะจัดว่า สมบูรณ์เกิน และรหัสที่สมบูรณ์เกินจะเปลี่ยนค่าได้อย่างเรียบ ๆ สำหรับเวกเตอร์ข้อมูลเข้าที่มีค่าในระหว่าง ๆ และทนทานต่อเสียงรบกวนได้ดี
เปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิของมนุษย์ประเมินว่า สมบูรณ์เกินโดยแฟกเตอร์ 500 ดังนั้น ข้อมูลขาเข้าที่ 14x14 (196-dimensional space) จะเข้ารหัสโดยนิวรอนประมาณ 100,000 ตัว
หลักฐานทางชีววิทยา
การเข้ารหัสโดยน้อยเซลล์ อาจเป็นกลยุทธ์ทั่วไปของระบบประสาทเพื่อเพิ่มความจุของความจำ คือ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สัตว์จะต้องเรียนรู้ว่า สิ่งเร้าเช่นไรสัมพันธ์กับรางวัลหรือการลงโทษ แล้วจำแนกสิ่งเร้าที่เสริมแรงเช่นนี้จากสิ่งเร้าที่คล้ายกันแต่ไม่เกี่ยวกัน ปฏิบัติการเช่นนี้จะต้องมีหน่วยความจำสาระ (associative memory) ที่เฉพาะเจาะจงต่อสิ่งเร้า ที่นิวรอนไม่กี่ตัวจากทั้งกลุ่มจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ และนิวรอนแต่ละตัว ๆ จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่กี่อย่างจากสิ่งเร้าที่เป็นไปได้ทั้งหมด
งานทฤษฎีเรื่อง Sparse distributed memory (ความจำแบบกระจายและมากไปด้วยศูนย์) ได้เสนอว่า การเข้ารหัสโดยน้อยเซลล์จะเพิ่มความจุของความจำสาระ โดยลดความคาบเกี่ยวกันระหว่างการทำงานของนิวรอนที่เป็นตัวแทนลักษณะสิ่งเร้า ส่วนในงานทดลอง การเข้ารหัสโดยน้อยเซลล์ของข้อมูลความรู้สึก ได้พบในระบบรับความรู้สึกหลายอย่างรวมทั้งระบบการเห็นระบบการได้ยิน ระบบรู้สัมผัส และระบบรู้กลิ่น
อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับการใช้รหัสเช่นนี้อย่างกว้างขวางในระบบประสาท รวมทั้งข้อสนับสนุนทางทฤษฎีเกี่ยวกับความสำคัญของมัน งานที่แสดงว่า รหัสโดยน้อยเซลล์จะเพิ่มความเฉพาะเจาะจงต่อสิ่งเร้าของระบบความจำสาระก็ไม่ค่อยมีจนกระทั่งเร็ว ๆ นี้
ในปี 2557 นักกายวิภาคชาวสวีเดน-อังกฤษ (Gero Miesenböck) ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ทำงานวิเคราะห์กับระบบรู้กลิ่นของแมลงวันทอง ในแมลงวันทอง การเข้ารหัสกลิ่นโดยน้อยเซลล์ของ Kenyon cell ใน Mushroom bodies เชื่อว่า จะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งแบบเข้าเลขอย่างแม่นยำจำนวนมากเพื่อบรรจุความจำเกี่ยวกับกลิ่นโดยเฉพาะ ๆ
งานวิจัยอีกงานปี 2557 แสดงว่า ความมากน้อยของนิวรอนที่ทำงาน (sparseness) จะควบคุมโดยวงจรป้อนกลับเชิงผกผันระหว่าง Kenyon cells และ GABAergic anterior paired lateral (APL) neuron การจงใจกระตุ้นและหยุดการทำงานอย่างเป็นระบบของส่วนแต่ละส่วนในวงจรนี้แสดงว่า Kenyon cells จะกระตุ้นให้ APL ทำงาน และในทางกลับกัน APL ก็จะยับยั้ง Kenyon cells ไม่ให้ทำงาน การระงับวงจรป้อนกลับ Kenyon cell-APL จะกวนการเข้ารหัสแบบน้อยเซลล์ที่ตอบสนองต่อกลิ่นของ Kenyon cell, เพิ่มสหสัมพันธ์ในระหว่างกลิ่นต่าง ๆ, และกันแมลงวันไม่ให้เรียนรู้แยกแยะกลิ่นที่คล้ายกัน แต่ไม่กันสำหรับกลิ่นที่ต่างกัน ผลเช่นนี้แสดงว่า การยับยั้งแบบป้อนกลับที่ระงับการทำงานของ Kenyon cell ทำให้สามารถดำรงการเข้ารหัสกลิ่นอย่างน้อยเซลล์ แยกแยะไม่ให้ปนกลิ่น และดังนั้น ดำรงความเฉพาะเจาะจงต่อกลิ่นในระบบความจำ
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
- คือปรากฏการณ์ทุติยภูมิที่เป็นผลของปรากฏการณ์ที่เป็นเหตุจริง ๆ
อ้างอิง
- Brown EN, Kass RE, Mitra PP (May 2004). "Multiple neural spike train data analysis: state-of-the-art and future challenges". Nat. Neurosci. 7 (5): 456–61. doi:10.1038/nn1228. PMID 15114358. S2CID 562815.
- Johnson, K. O. (June 2000). "Neural coding". Neuron. 26 (3): 563–566. doi:10.1016/S0896-6273(00)81193-9. ISSN 0896-6273. PMID 10896153.
- Thorpe, S.J. (1990). "Spike arrival times: A highly efficient coding scheme for neural networks". ใน Eckmiller, R.; Hartmann, G.; (บ.ก.). Parallel processing in neural systems and computers (PDF). North-Holland. pp. 91–94. ISBN .
- ; Kistler, Werner M. (2002). Spiking Neuron Models: Single Neurons, Populations, Plasticity. Cambridge University Press. ISBN .
- Stein RB, Gossen ER, Jones KE (May 2005). "Neuronal variability: noise or part of the signal?". Nat. Rev. Neurosci. 6 (5): 389–97. doi:10.1038/nrn1668. PMID 15861181. S2CID 205500218.
- Chen, G; Wang, LP; Tsien, JZ (2009). "Neural population-level memory traces in the mouse hippocampus". PLOS ONE. 4 (12): e8256. Bibcode:2009PLoSO...4.8256C. doi:10.1371/journal.pone.0008256. PMC 2788416. PMID 20016843.
- Zhang, H; Chen, G; Kuang, H; Tsien, JZ (Nov 2013). "Mapping and deciphering neural codes of NMDA receptor-dependent fear memory engrams in the hippocampus". PLOS ONE. 8 (11): e79454. Bibcode:2013PLoSO...879454Z. doi:10.1371/journal.pone.0079454. PMC 3841182. PMID 24302990.
- "Brain Decoding Project". จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
- "The Simons Collaboration on the Global Brain". Simons Foundation.
- Burcas, G.T; Albright T.D. (1999). "Gauging sensory representations in the brain" (PDF). Salk Institute for Biological Studies.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Gerstner W, Kreiter AK, Markram H, Herz AV (November 1997). "Neural codes: firing rates and beyond". Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 94 (24): 12740–1. Bibcode:1997PNAS...9412740G. doi:10.1073/pnas.94.24.12740. PMC 34168. PMID 9398065.
- Aur, D; Jog, MS (2010). Neuroelectrodynamics: Understanding the brain language. IOS Press. doi:10.3233/978-1-60750-473-3-i.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Aur, D; Connolly, CI; Jog, MS (2005). "Computing spike directivity with tetrodes". Journal of Neuroscience Methods. 149 (1): 57–63. doi:10.1016/j.jneumeth.2005.05.006. PMID 15978667.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Aur, D.; Jog, M.S. (2007). "Reading the Neural Code: What do Spikes Mean for Behavior?". Nature Precedings. doi:10.1038/npre.2007.61.1.
- Fraser, A.; Frey, A. H. (1968). "Electromagnetic emission at micron wavelengths from active nerves". Biophysical Journal. 8 (6): 731–734. doi:10.1016/s0006-3495(68)86517-8. PMC 1367349. PMID 5699805.
- Aur, D (2012). "A comparative analysis of integrating visual information in local neuronal ensembles". Journal of neuroscience methods. 207 (1): 23–30. doi:10.1016/j.jneumeth.2012.03.008. PMC 3636996. PMID 22480985.
- Kandel, E.; Schwartz, J.; Jessel, T.M. (1991). Principles of Neural Science (3rd ed.). Elsevier. ISBN .
- Adrian, ED; Zotterman, Y (1926). "The impulses produced by sensory nerve endings: Part II: The response of a single end organ". J Physiol. 61: 151–171. doi:10.1113/jphysiol.1926.sp002281.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Gerstner and Kistler (2002). "1.5 Rate Codes". Spiking Neuron Models. Single Neurons, Populations, Plasticity. Cambridge University Press. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Forrest MD (2014). "Intracellular Calcium Dynamics Permit a Purkinje Neuron Model to Perform Toggle and Gain Computations Upon its Inputs". Frontiers in Computational Neuroscience. 8: 86. doi:10.3389/fncom.2014.00086. PMC 4138505. PMID 25191262.
- Forrest MD (December 2014). "The sodium-potassium pump is an information processing element in brain computation". Frontiers in Physiology. 5 (472): 472. doi:10.3389/fphys.2014.00472. PMC 4274886. PMID 25566080.
- Dayan, Peter; Abbott, L. F. (2001). Theoretical Neuroscience: Computational and Mathematical Modeling of Neural Systems. Massachusetts Institute of Technology Press. ISBN .
- Butts DA, Weng C, Jin J, และคณะ (September 2007). "Temporal precision in the neural code and the timescales of natural vision". Nature. 449 (7158): 92–5. Bibcode:2007Natur.449...92B. doi:10.1038/nature06105. PMID 17805296. S2CID 4402057.
- Singh & Levy (2017). "A consensus layer V pyramidal neuron can sustain interpulse-interval coding". PLoS ONE.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - van Hemmen, J Leo; Sejnowski, TJ (2006). 23 Problems in Systems Neuroscience. Oxford Univ. Press. pp. 143–158.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Theunissen, F; Miller, JP (1995). "Temporal Encoding in Nervous Systems: A Rigorous Definition". Journal of Computational Neuroscience. 2: 149–162. doi:10.1007/bf00961885.
- Zador, Stevens, Charles, Anthony. "The enigma of the brain". © Current Biology 1995, Vol 5 No 12. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
- Kostal L, Lansky P, Rospars JP (November 2007). "Neuronal coding and spiking randomness". Eur. J. Neurosci. 26 (10): 2693–701. doi:10.1111/j.1460-9568.2007.05880.x. PMID 18001270. S2CID 15367988.
- Gupta, Nitin; Singh, Swikriti Saran; Stopfer, Mark (2016-12-15). "Oscillatory integration windows in neurons". Nature Communications (ภาษาอังกฤษ). 7: 13808. doi:10.1038/ncomms13808. ISSN 2041-1723. PMID 27976720.
- Geoffrois, E.; Edeline, J.M.; Vibert, J.F. (1994). "Learning by Delay Modifications". ใน Eeckman, Frank H. (บ.ก.). Computation in Neurons and Neural Systems. Springer. pp. 133–8. ISBN .
- Sjöström, Jesper; Gerstner, Wulfram. "Spike-timing dependent plasticity". scholarpedia. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Gollisch, T.; Meister, M. (2008-02-22). "Rapid Neural Coding in the Retina with Relative Spike Latencies". Science. 319 (5866): 1108–1111. doi:10.1126/science.1149639. PMID 18292344.
- Wainrib, Gilles; Michèle, Thieullen; Khashayar, Pakdaman (2010-04-07). "Intrinsic variability of latency to first-spike". Biological Cybernetics. 103 (1): 43–56. doi:10.1007/s00422-010-0384-8.
- Victor, Johnathan D (2005). "Spike train metrics". Current Opinion in Neurobiology. 15 (5): 585–592. doi:10.1016/j.conb.2005.08.002.
- Hallock, Robert M.; Di Lorenzo, Patricia M. (2006). "Temporal coding in the gustatory system". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 30 (8): 1145–1160. doi:10.1016/j.neubiorev.2006.07.005.
- Carleton, Alan; Accolla, Riccardo; Simon, Sidney A. (2010). "Coding in the mammalian gustatory system". Trends in Neurosciences. 33 (7): 326–334. doi:10.1016/j.tins.2010.04.002.
- Stevens & Zador 1995, pp. 1371 "There is thus ample evidence that, at least under some circumstances, the timing of spikes cannot be accounted for by a simple frequency code, and that there is potentially useful 'extra' information contained in spike trains. It is much harder to show that this extra information is actually used in the neural code. There are other interpretations for the experimental deviations from the instantaneous frequency hypothesis. They might arise, for example, as by-products of cortical architecture, the results of shared inputs. Alternatively, they might improve the performance of cortical processing, without actually providing an additional information channel."
- Wilson, Rachel I (2008). "Neural and behavioral mechanisms of olfactory perception". Current Opinion in Neurobiology. 18 (4): 408–412. doi:10.1016/j.conb.2008.08.015.
- Diesseroth, Karl (2008-11-21). Personal Growth Series: Karl Diesseroth on Cracking the Neural Code (การบรรยาย). Google Tech Talks.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Han, X; Qian, X; Stern, P; Chuong, AS; Boyden, ES (2009). Informational lesions: optical perturbations of spike timing and neural synchrony via microbial opsin gene fusions. Cambridge, MA: MIT Media Lab.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Montemurro, Marcelo A.; Rasch, Malte J.; Murayama, Yusuke; Logothetis, Nikos K.; Panzeri, Stefano (2008). "Phase-of-Firing Coding of Natural Visual Stimuli in Primary Visual Cortex". Current Biology. 18 (5): 375–380. doi:10.1016/j.cub.2008.02.023. PMID 18328702.
- Fries P, Nikolić D, Singer W (July 2007). "The gamma cycle". Trends Neurosci. 30 (7): 309–16. doi:10.1016/j.tins.2007.05.005. PMID 17555828. S2CID 3070167.
- Havenith MN, Yu S, Biederlack J, Chen NH, Singer W, Nikolić D (June 2011). "Synchrony makes neurons fire in sequence, and stimulus properties determine who is ahead". J. Neurosci. 31 (23): 8570–84. doi:10.1523/JNEUROSCI.2817-10.2011. PMC 6623348. PMID 21653861.
- Thorpe, SJ (1990). (PDF). Parallel processing in neural systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Wu S, Amari S, Nakahara H (May 2002). "Population coding and decoding in a neural field: a computational study". Neural Comput. 14 (5): 999–1026. doi:10.1162/089976602753633367. PMID 11972905. S2CID 1122223.
- Maunsell JH, Van Essen DC (May 1983). "Functional properties of neurons in middle temporal visual area of the macaque monkey. I. Selectivity for stimulus direction, speed, and orientation". J. Neurophysiol. 49 (5): 1127–47. doi:10.1152/jn.1983.49.5.1127. PMID 6864242. S2CID 8708245.
- Krakauer, John; Ghez, Claude. (PDF). Principles of Neural Science. p. 766. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-11.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - PMID 3749885 (PMID 3749885)
Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand - Sachs, Murray B.; Young, Eric D. (November 1979). "Representation of steady-state vowels in the temporal aspects of the discharge patterns of populations of auditory-nerve fibers". The Journal of the Acoustical Society of America. 66 (5): 1381–1403. Bibcode:1979ASAJ...66.1381Y. doi:10.1121/1.383532. PMID 500976.
- Miller, M.I.; Sachs, M.B. (June 1984). "Representation of voice pitch in discharge patterns of auditory-nerve fibers". Hearing Research. 14 (3): 257–279. doi:10.1016/0378-5955(84)90054-6. PMID 6480513. S2CID 4704044.
- Miller, M.I.; Sachs, M.B. (1983). "Representation of stop consonants in the discharge patterns of auditory-nerve fibrers". The Journal of the Acoustical Society of America. 74 (2): 502–517. Bibcode:1983ASAJ...74..502M. doi:10.1121/1.389816. PMID 6619427.
- Hubel DH, Wiesel TN (October 1959). "Receptive fields of single neurones in the cat's striate cortex". J. Physiol. 148 (3): 574–91. doi:10.1113/jphysiol.1959.sp006308. PMC 1363130. PMID 14403679.
- Schneidman, E; Berry, MJ; Segev, R; Bialek, W (2006), "Weak Pairwise Correlations Imply Strongly Correlated Network States in a Neural Population", Nature, Nature 440, 1007-1012, 440: 1007–1012, doi:10.1038/nature04701, PMC 1785327, PMID 16625187
- Amari, SL (2001), Information Geometry on Hierarchy of Probability Distributions, IEEE Transactions on Information Theory 47, 1701-1711
- Onken, A; Grünewälder, S; Munk, MHJ; Obermayer, K (2009), "Analyzing Short-Term Noise Dependencies of Spike-Counts in Macaque Prefrontal Cortex Using Copulas and the Flashlight Transformation", PLoS Comput Biol, 5 (11): e1000577, doi:10.1371/journal.pcbi.1000577, PMC 2776173, PMID 19956759
- Johnson, KO (Jun 1980). "Sensory discrimination: neural processes preceding discrimination decision". J Neurophysiol. 43 (6): 1793–815. doi:10.1152/jn.1980.43.6.1793. PMID 7411183.
- Panzeri; Schultz; Treves; Rolls (1999). "Correlations and the encoding of information in the nervous system". Proc Biol Sci. 266 (1423): 1001–12. doi:10.1098/rspb.1999.0736. PMC 1689940. PMID 10610508.
- Merzenich, MM (Jun 1996). "Primary cortical representation of sounds by the coordination of action-potential timing". Nature. 381 (6583): 610–3. Bibcode:1996Natur.381..610D. doi:10.1038/381610a0. PMID 8637597. S2CID 4258853.
- Dayan, P ; Abbott, LF (2001). Theoretical Neuroscience: Computational and Mathematical Modeling of Neural Systems. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Rieke, F; Warland, D; de Ruyter van Steveninck, R; Bialek, W (1999). Spikes: Exploring the Neural Code. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Mathis A, Herz AV, Stemmler MB (July 2012). "Resolution of nested neuronal representations can be exponential in the number of neurons". Phys. Rev. Lett. 109 (1): 018103. Bibcode:2012PhRvL.109a8103M. doi:10.1103/PhysRevLett.109.018103. PMID 23031134.
- Olshausen, Bruno A; Field, David J (1996). (PDF). Nature. 381 (6583): 607–609. doi:10.1038/381607a0. PMID 8637596. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-23. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
- Gupta, N; Stopfer, M (2014-10-06). "A temporal channel for information in sparse sensory coding". Current Biology. 24 (19): 2247–56. doi:10.1016/j.cub.2014.08.021. PMC 4189991. PMID 25264257.
- Rehn, Martin; Sommer, Friedrich T. (2007). "A network that uses few active neurones to code visual input predicts the diverse shapes of cortical receptive fields" (PDF). Journal of Computational Neuroscience. 22: 135–146. doi:10.1007/s10827-006-0003-9.
- Lee, Honglak; Battle, Alexis; Raina, Rajat; Ng, Andrew Y. (2006). "Efficient sparse coding algorithms" (PDF). Advances in Neural Information Processing Systems.
- Olshausen, Bruno A.; Field, David J. (1997). (PDF). Vision Research. 37 (23): 3311–3325. doi:10.1016/s0042-6989(97)00169-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-19. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
- Kanerva, Pentti (1988). Sparse distributed memory. MIT press.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Vinje, WE; Gallant, JL (2000). "Sparse coding and decorrelation in primary visual cortex during natural vision". Science. 287: 1273–1276. doi:10.1126/science.287.5456.1273. PMID 10678835.
- Hromádka, T; Deweese, MR; Zador, AM (2008). "Sparse representation of sounds in the unanesthetized auditory cortex". PLoS Biol. 6: e16. doi:10.1371/journal.pbio.0060016. PMC 2214813. PMID 18232737.
- Crochet, S; Poulet, JFA; Kremer, Y; Petersen, CCH (2011). "Synaptic mechanisms underlying sparse coding of active touch". Neuron. 69: 1160–1175. doi:10.1016/j.neuron.2011.02.022. PMID 21435560.
- Ito, I; Ong, RCY; Raman, B; Stopfer, M (2008). "Sparse odor representation and olfactory learning". Nat Neurosci. 11: 1177–1184. doi:10.1038/nn.2192. PMC 3124899. PMID 18794840.
- "A sparse memory is a precise memory". Oxford Science blog. 2014-02-28.
- Lin, Andrew C.; และคณะ (2014). "Sparse, decorrelated odor coding in the mushroom body enhances learned odor discrimination". Nature Neuroscience. 17 (4): 559–568.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Foldiak P, Endres D, Sparse coding, Scholarpedia, 3 (1) :2984, 2008.
- Dayan P & Abbott LF. Theoretical Neuroscience: Computational and Mathematical Modeling of Neural Systems. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press; 2001. ISBN
- Rieke F, Warland D, de Ruyter van Steveninck R, Bialek W. Spikes: Exploring the Neural Code. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press; 1999. ISBN
- Tsien, JZ.; และคณะ (2014). "On initial Brain Activity Mapping of episodic and semantic memory code in the hippocampus". Neurobiology of Learning and Memory. 105: 200–210. doi:10.1016/j.nlm.2013.06.019.[]
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karekharhsthangprasath xngkvs Neural coding epnkarsuksathangprasathwithyasastr ephuxkahndkhwamsmphnthrahwangsingerakbkartxbsnxngkhxngesllprasathediyw hruxkhxngklumesllprasath aelakhwamsmphnthrahwangkarthanganthangiffakhxngesllprasathinklum odyxasythvsdiwa karthangankhxngekhruxkhayesllprasathinsmxngcaepntwaethnkhxmulthangprasathsmphsaelakhxmulxun nkwichakarcungechuxwa esllprasathsamarthekharhskhxmulepnthngaebbdicitlaelaaebbaexnalxkkaryingskyanganepnkhbwnhruxepnladb khxngesllprasathmummxngkwang krafaesdngskyanganthw iphnungximphls sungaesdngefstang khxngskyangan khbwnskyangankkhuxskyanganhlayximphlssngtx knodymichxngewnthangewlathitang kn esllprasathkhxnkhangcanathunginbrrdaeslltang inrangkay ephraasamarthsngsyyanipxyangrwderwidrayaikl sungdaeninkarodyxasyximphlsiffathieriykwa skyangan sungsngiptamiyprasath esllprasathrbkhwamrusukcasngkhbwnskyanganepncnghwatamkalewlathitang kn ephuxtxbsnxngtxsingeraphaynxkechn aesng esiyng rs klin aelasmphs khxmulekiywkbsingeracaekharhsepnkhbwnskyanganechnni aelwsngipyngthngsmxngaelarxb smxng aemskyanganxaccatangknbangechnrayahangkhxngaetlaximphls aexmphlicud aelaruprang aetngansuksarhsthangprasathcaptibtitxphwkmnehmuxnkbepnehtukarnthimirupaebbtaytwaelaehmuxnkn thaimsnicrayakardarngxyukhxngskyangan praman 1 milliwinathi khbwnhruxladbskyangan camilksnaepnladbkhxmulaebbmihruximmi all or none khlay syyandicithl chxngwangrahwangximphlsskyanganbxykhrngcatangkn odyduehmuxncaepnipodysum karsuksarhsthangprasathcaxasykarwdaelakahndwa lksnatang khxngsingera echnkhwamswangkhxngaesng khwamdngkhxngesiyng karthangankhxngklamenuxechnthisthangkarekhluxnihwkhxngaekhn casamarthkahndodykhbwnskyanganinesllprasathidxyangir ephuxkahndaelawiekhraahkaryingskyangankhxngesllprasath nkwithyasastrmkniymichwithikarthangsthitisastr thangthvsdikhwamnacaepn aela stochastic point process emuxmiphthnakarkhxngethkhonolyiephuxbnthukaelathxdrhssyyanprasathdikhun nkwithyasastrcungerimekhaicsyyanthangprasathidmakkhun thaiherimehnaesngrair ekiywkbrhsprasathtamewlacringemuxmikarsrangaelakarralukthungkhwamcainhipopaekhmps sungepnsunysmxngekiywkbkarsrangkhwamca aelankprasathwithyasastrkidrierimokhrngkarthxdrhssyyansmxngkhnadihyhlayokhrngkarkarekhaaelakarthxdrhskhwamsmphnthrahwangsingerakbkartxbsnxngkhxngrabbprasathsamarthsuksaidcakmumtrngknkham 2 dan karekharhsthangprasath Neural encoding kkhuxkaraeplsingeraepnkartxbsnxngkhxngesllprasath praednkarsuksahlkkephuxekhaicwa niwrxncatxbsnxngxyangirtxsingeratang aelwsrangaebbcalxngephuxichphyakrnkartxbsnxngtxsingeraxun karthxdrhsthangprasath Neural decoding kcaklbkn khuxepnkaraeplkartxbsnxngthangprasathepnsingera odyepahmaykkhuxkarrabusingera hruxlksnabangxyangkhxngsingerann cakkhbwnskyanganthiesllprasathsrangephuxtxbsnxngsmmtithankarekharhstang khbwnhruxladbskyanganxacmikhxmulthiekharhsodyaephnkartang kn echn inesllprasathsngkar motor neuron klamenuxthiechuxmkbesllprasathcaxxkaerngodykhunxyukbxtrakaryingskyanganethann sungkkhuxcanwnskyangantxchwngewlahnung odyechliy niepnkarekharhsodyxtra rate coding innytrngknkham rhsodyewla temporal code thisbsxncakhunxyukbkaryingsyyaninchwngewlaaetlaraya xyangaemnya sungxacekidephraacbkhukbsingeraphaynxk dngthiphbinrabbkarehn aelarabbkaridyin hruxxacekidinwngcrprasathexngodythrrmchati praednwa niwrxncaichrhsodyxtra hruxrhsodyewla epneruxngthiidkhwamsnicxyangmakphayinchumchnnkprasathwithyasastr aemcayngimminiyamthiaennxnwa khaehlanihmaykhwamwaxair inthvsdihnungthieriykwa neuroelectrodynamics phlwtthangprasathiffa karekharhsthicaklawtxipehlanilwnphicarnawaepnxnupraktkarn epiphenomena sungmiehtucakkarepliynaeplnginradbomelkulthisathxnkarkracaytamphunthikhxngsnamiffaphayinniwrxn odyepnphlkhxngsepktrmaemehlkiffathimiphisykwangkhxngskyangan aelakhxmulcapraktepn spike directivity karekharhsodyxtra Rate coding aebbcalxngkarekharhsodyxtraephuxsuxkhxmulesnxwa emuxradbkhxngsingera echnkhwamswangkhxngaesng ephimkhun xtrakhxngskyanganthiesllsngkcaephimkhundwy karekharhsodyxtra Rate coding bangkhrngkeriykwa karekharhsodykhwamthi frequency coding dwyehmuxnkn rhsniepnaebbdngedim odysmmutiwa khxmulekiywkbsingeraekuxbthnghmdhruxthnghmdcaekharhsepnxtrakhxngskyangan aetephraaladbkarsngskyangantxbsnxngtxsingerahnung caepliynipemuxthdlxngaetlakhrng kartxbsnxngkhxngesllcungtxngdaeninkarodywithikarthangsthitihruxtamkhwamnacaepn aelakahndkhxmulepnxtrakaryingsyyan imichladbkaryingsyyanodyechphaa inrabbrbkhwamrusukswnmak odythwipxtrakaryingsyyancaephimkhunaebbimichechingesntamradbkhxngsingera aebbcalxngnicaimihkhwamsakhyaekkhxmulthirabbprasathxacekharhsepnrayaewlainrahwangkhbwnskyangan dngnn rhsodyxtracungmiprasiththiphaphthiimdi aetkthnthantxesiyngrbkwniddimak ehmuxnsyyandicithl emuxekharhsodyxtra karkhanwnxtraskyanganxyangaemnyacaepneruxngsakhymak aelacring aelw khawa xtrakaryingsyyan firing rate kmihlaykhwamhmayhlayniyam odytangkntamwithihakhaechliy echn khaechliytamewla hruxkhaechliythiidcakkarthdlxngthithasa emuxekharhsodykrabwnkarni kareriynrucaekidphankarepliynkhwamsakhykhxngsyyanthisngphanisaenpsodykhunxyukbkarthangan activity dependent synaptic weight modifications nksrirwithyaiffachawxngkvs dr exdkar exedriyn aelanksriwithyaprasathchawswiedn Yngve Zotterman idaesdngkarekharhskhxngprasathodyxtraepnkhrngaerkinpi ph s 2469 karthdlxngdngedimniidaekhwnnahnkkhnadtang cakklamenux emuxnahnkephimkhun xtrakarsngskyangancakesnprasathrbkhwamrusukthixyuinklamenuxkephimkhundwy caknganthdlxngdngedimni nkwithyasastrthngsxngcungsrupwa skyanganepnehtukarnediyw aelakhwamthikhxngkarekidehtukarn imichkhnadkhxngehtukarnaetlaehtukarn epnmulthankarsuxsarrahwangniwrxn inthswrrstx ma karwdxtrakarsngsyyanklayepnmatrthanephuxrabukhunsmbtitang khxngesllprasathrbkhwamrusukaelaesllprasathinepluxksmxngswntang odyswnhnungkephraamnwdidngayethiybkbwithixun aetwithinikimsnickhxmulxun thixaccamacakrayakarsngsyyanxyangaemnyakhxngniwrxn ngansuksapi 2548 idxanghlkthanthangkarthdlxngtang ephuxesnxwa xtrakaryingsyyanthiechliycanwnskyangantamkalewlathrrmda xaccaimsmburnphxephuxxthibaykarthangankhxngsmxng xtranbskyangan Spike count rate spike count rate xtranbskyangan hruxeriykxikxyangwa temporal average khaechliytamewla wdidodynbcanwnskyanganthipraktinchwngkarthdlxngediywaelwhardwyrayaewla phuthakarthdlxngcakahnd T sungepnrayaewla odykhunkbpraephthniwrxnthikalngbnthukkha aetodypktiaelw ephuxihsmehtusmphl kcatxngmiskyanganmakkwahnungphlsthiekidphayinchwng dngnn kha T pkticaxyuthi 100 milliwinathi hrux 500 milliwinathi aetkxaccasnyawkwann xtranbskyangancakahndiddwykarthdlxngephiyngaekhkhrngediyw aetkaelkkbkarimidraylaexiydthangewlakhxngkartxbsnxngthitang kntamthrrmchatiinrayathithakarthdlxng rhsechnnicungdiinkrnithisingeramiradbsmaesmxhruxepliynxyangcha odystwimcaepntxngtxbsnxngxyangrwderw sungepnsthankarnthimkichineknthwithikarthdlxngxyuaelw aetsingerainolkcring aelwcaimkhxyxyuning aelabxykhrngcaepliynxyangrwderwmak yktwxyangechn aememuxduphaphning mnusymkkhybtaaebb saccade sungkkhuxkarepliyncudthimxngxyangrwderw phaphsungtklngthiesllrbaesngkhxngcxta pkticungcaepliynthuk imkirxymilliwinathi thungaemcamikhxbkphrxngechnni karekharhsaebbxtranbskyangan kimidichephiyngaekhinkarthdlxngethann aetyngichinaebbcalxngkhxngokhrngkhayprasathethiymxikdwy epnwithithithaihekhaicwa esllprasathcaepliynkhxmulekiywkbtwaeprkhaekhaxyanghnung khuxradbsingera ipepntwaeprkhaxxkthitxenuxngxikxyanghnung khuxxtrakaryingsyyan aetkmihlkthanthiephimkhuneruxy wa xyangnxythisud esllephxrkhinciinsmxngnxy kimidekharhskhxmuldwyxtrakaryingsyyanethann aetdwyemuxir timing aelaraya duration thiimyingsyyankhuxxyuechy dwy xtrakaryingsyyankhunxyukbewla time dependent firing rate swnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk xtrakaryingsyyankhunxyukbewla time dependent firing rate niyamepn canwnkaryingskyanganodyechliy echliytamkarthdlxngsa thipraktinchwngewlasn rahwang t aela t Dt aelwharodychwngrayaewla epnkarwdthiichidthngsingeraning aelasingerathiepliyniptamewla emuxcawdkhaxtrakaryingsyyankhunxyukbewlainkarthdlxng phuthakarthdlxngcabnthukkhacakniwrxnemuxeradwysingerathithaepnchud kareraepnchudnicathasahlaykhrng aelakartxbsnxngkhxngniwrxncabnthukepn Peristimulus time histogram PSTH cudewla t cawdcakemuxerimeradwychudsingera kha Dt catxngihyphx pktierimcak 1 milliwinathikhun ephuxihmicanwnskyanganphxpraeminkhaechliyxyangechuxthuxid emuxhardwyrayaewla Dt kcaidkha xtrakaryingsyyankhunxyukbewla r t khxngniwrxn sungethakbkhwamhnaaennkhxngskyangan spike density in PSTH tha Dt nxyphxdi r t Dt kcaepncanwnskyanganodyechliythiekidrahwang t cnthung t Dt inkarthdlxnghlay khrng tha Dt mikhanxy kcaimmiskyanganekinkwa 1 inrahwang t cnthung t Dt inkarthdlxngthukkhrng sungkhmaykhwamwa r t Dt kcamikhaepnessswninkarthdlxngtang thibangkarthdlxngmiskyanganhnungphlsinchwngewlann hruxodyesmxphakhkn r t Dt kcaepnkhakhwamnacaepnthiskyanganhnung caekidinchwngrayaewlani odyepnwithidaeninkarthdlxng xtrakaryingsyyankhunxyukbewlacamipraoychnephuxtrwckarthangankhxngesllprasath odyechphaainkrnithimisingerasungkhunxyukbewla pyhaotng khxngwithinikkhux mnimichwithikarekharhskhxngesllprasathinsmxng ephraamnimsamarthrxihsingeraaesdngtwsa inaebbthiwanikxncatxbsnxng xyangirkdi khanicamiehtuphl thaminiwrxnthiepnxisratxknaelaknepnklumihy thiidrbsingeraediywkn dngnn aethnkarbnthukkartxbsnxngcakklumesllcanwn N esllinkarthdlxngkhrnghnung karbnthukkartxbsnxngcakesllediywaelwhakhaechliycakkarthdlxng N khrng kcangaykwa dngnn khanicamikhxsmmutiodypriyaywa caepnniwrxnepnklum thitxbsnxng karekharhsodyewla Temporal coding emuxewlathisngskyanganhruxkhwamphnphwnkhxngkaryingsyyanthixtrasungphbwamikhxmul rhsthangprasathnibxykhrngcakahndwakarekharhsodyewla Temporal coding ngansuksacanwnhnungidphbwa raylaexiydthangewlakhxngrhsxyuinradbmilliwinathi sungaesdngwa ewlakarsngskyanganthiaemnyaepnswnprakxbsakhykhxngrhsthangprasath karekharhskhxmulechnni sungsuxphanewlarahwangphlsskyangancaeriykwa interpulse interval code aelamingansuksacanwnhnungthisnbsnunihhlkthan khwamphnphwnemuxyingsyyanthixtrasungkhxngniwrxn xaccaepnesiyngrbkwnhruxxaccaepnkhxmulkid aebbcalxngkarekharhsodyxtraesnxwa khwamimsmaesmxechnniepnesiyngrbkwn swnaebbcalxngkarekharhsodyewlaesnxwa mnepnkhxmul tharabbprasathichaekhrhsodyxtraephuxsuxkhxmul xtrakaryingsyyanthismaesmxpktiyingkwanikkhwrcaepnkhxidepriybthangwiwthnakar aelaniwrxnkkhwrichwithikarniaelahlikeliyngwithikarxunthiimthnesiyngrbkwnetha rhsodyewlaihkhaxthibayxikxyangekiywkb esiyngrbkwn waepnkarekharhskhxmulaelamiphltxkarpramwlkhxmul ephuxcacalxngixediyni elkhthansxngsamarthichkahndchwngskyangan ody 1 hmaythungmiskyangan aela 0 hmaythungimmi rhsodyewlacaxnuyatihladb 000111000111 mikhwamhmaytangcakladb 001100110011 aemxtrakaryingsyyankhxngladbsxngchudnicaethakn khux 6 skyangantx 10 milliwinathi cnkrathngerw ni nkwithyasastrpkticaichrhsodyxtraephuxxthibayrupaebbkraaesprasaththiehnhlngisaenps post synaptic aetkarthangankhxngsmxngducatxngaemnyatamkalewla ekinkwathirhsodyxtraephiyngxyangediywcasamarthrxngrbid txngkarxangxing klawxikxyangkkhux khxmulsakhyxacsuyipidephraarhsodyxtraimsamarthekbkhxmulthimithnghmdcakkhbwnskyangan nxkcaknn kartxbsnxngcatangknphxsmkhwrrahwangsingerathikhlay aetimehmuxnkn sungaesdngwa rupaebbthiimehmuxnkntang khxngkhbwnskyangancamikhxmulmakkwathiepnipidthaepnrhsodyxtra rhsodyewlacarwmlksnatang khxngskyanganthikarekharhsodyxtraimidrwm yktwxyangechn ewlakxnekidskyanganaerkhlngcakthiidsingera lksnatang thikhunkbomemntthangsthitithisxnghruxyingkwannkhxngkaraeckaecngkhwamnacaepnkhxngchwngrahwangsingera Interstimulus interval khwamsumkhxngskyangan hruxklumskyanganthiyinginewlathiaemnya epnrupaebbthangkalewla lwnaetepnkhxmulthisamarthichekharhsodyewla enuxngcakimmiaehlngxangxingewlaaebbsmburnphayinrabbprasath khxmulkcatxngekiywkhxngkbewlakarekidskyanganodyepriybethiybphayinklumniwrxn hruxkbkaraekwngkwdkhxngkhlunsmxng withithxdrhsodyewlaxyanghnungemuxmikaraekwngkwdkhxngkhlunsmxng kkhuxskyanganthiyinginkhabodyechphaa khxngwngcrkarkwdaewng cathaihniwrxnhlngisaenpsldkhwxyangmiprasiththiphaphkwa okhrngsrangthangewlakhxngkhbwnskyangan hruxxtrakaryingsyyan cakahndodythngkarepliynaeplngkhxngsingeraaelakrabwnkarekharhskhxngniwrxnexng singerathiepliynaeplngxyangrwderwmkcasrangkhbwnskyanganthimilksnathangewlathiaemnyaaelaxtrakaryingsyyanthiepliynxyangrwderw imwarabbcaichrhsxairktam rhsodyewlacasxngraylaexiydthangewlainkartxbsnxngthiimidekidcakkhwamepliynaeplngkhxngsingeraethann aetcasmphnthkblksnatang khxngsingeradwy ptismphnthrahwangsingeraaelaphlwtkhxngkarekharhs thaihraburhsodyewlaidyak enuxngkbrhsthangewla kareriynrucaekidphankarprbkhwamchaerwkhxngkarsuxphanisaenpsodykhunxyukbkarthangan activity dependent synaptic delay modifications karprbepliynexngkcatxngkhunkbimichephiyngaekhxtrakaryingsyyan khuxrhsodyxtra aetcakhunkbrupaebbthangkalewlakhxngskyangandwy khuxrhsodyewla khux nixacepnkrniphiesskhxngkrabwnkar spike timing dependent plasticity pyhakhxngkarekharhsodyewla catangxyangepnxisracakpyhakarekharhsskyanganaetlaphls thiepnxisracakknaelakn thaskyanganaetlaphlsepnxisracakphlsxun inkhbwn khunsmbtithangewlakhxngrhsprasathcakahndidodyxtrakaryingsyyanthikhunxyukbewla r t aelatha r t epliyncha iptamewla nikethakbkarekharhsodyxtra aetthaepliynipxyangrwderw niepnkarekharhsodyewla karekharhsodyewlainrabbrbkhwamrusuk sahrbsingerasn xtrakaryingskyangansungsudkhxngesllprasathxacimerwphxcasrangskyanganmakkwaphlsediyw enuxngcakmikhxmulmakekiywkbsingerasn phayinskyanganediywni cungduehmuxnwaewlakaryingskyanganexngcatxngsuxkhxmulmakkwaephiyngepnkhwamthiechliykhxngcanwnskyangantamrayaewla aebbcalxngnisakhymakineruxngkarkahndtaaehnngtnesiyng sound localization sungekidinsmxngphayinmilliwinathi khuxsmxngcatxngdungkhxmulmhasalcakkartxbsnxngkhxnkhangsn khxngesllprasath nxkcaknn thakaryingsyyaninxtrathitaephiyngepnsib phlstxwinathi catxngcaaenkcakxtrathiikl knsahrbsingerathitangkn esllprasaththitxngcaaenksingerathitangsxngxyangni kcatxngrxhnungwinathihruxmakkwannephuxrwbrwmkhxmulcnephiyngphx sungimsxdkhlxngkbsingmichiwitepncanwnmakthisamarthcaaenksingerasxngxyangthiwaidodyichewlaaekhepnmilliwinathi niaesdngwarabbprasathimidichkarekharhsodyxtraephiyngxyangediyw ephuxxthibaykarekharhssingerathangtaidxyangrwderw cungmikaresnxwa esllprasathincxtacaekharhskhxmulepnrayaewlaaefngrahwangkarerimmisingerakbkarekidskyanganaerk sungeriykwa latency to first spike odyrhsechnnikphbdwyinrabbkaridyinaelarabbrbkhwamrusukthangkay khxesiyhlkkhxngrhsnikkhuxcaxxnihwtxkhwamphnphwnkhxngesllprasaththimixyutamthrrmchati inkhxrethkskarmxngehnpthmphumikhxnglingmakhak ewlarahwangskyanganaerkkbkarerimmisingeraphbwa ihkhxmulmakkwarayaewlarahwangskyanganexng aetewlarahwangskyangankyngsamarthichekharhskhxmulxun aelasakhyepnphiessemuxxtrakarsngsyyanthungcudyxd echnemuxsingthiehnmikhwamepriybtangsung dwyehtuni rhsodyewlaxacmibthbathinkarekharhsswnkhxbkhxngsingthiehn thimikhwamepriybtangsung aelaimmiemuxsingeraepliynxyangxyangcha hruxnxy rabbrurskhxngstweliynglukdwynmchwyinkarsuksarhsodyewla ephraasingerakhxnkhangtang kn aelastwktxbsnxngtang knphxsngektid khxmulthiekharhsodyewlaxacchwysingmichiwitihcaaenkrschatitang thixyuinhmwdediywkn echn hwan khm epriyw ekhm xumami aemxtraskyangancaehmuxnkn khxmulthangewlakhxngrupaebbkartxbsnxngtxrschatiaetlaxyang xacichrabuwamnkhuxxair echn khwamaetktangrahwangrskhmsxngxyang echnyakhwininaela Denatonium thikhmmak dngnn thngkarekharhsodyxtraaelaodyewlaxaccaichinrabbrurs khuxodyxtrasahrbhmwdhmuphunthankhxngrschati aelaodyewlasahrbraylaexiydodyechphaaxun nganwicyinrabbrurskhxngstweliynglukdwynmidaesdngwa mikhxmulcanwnmakinrupaebbtamkalewlathiichinklumesllprasathtang aelaepnkhxmulthitangcakthiekharhsodyxtra klumesllprasathxacprasansngkraaesprasathphrxm knemuxtxbsnxngtxsingerahnung inkarsuksasmxngklibhnakhxngiphremt rupaebbthangewlathilaexiydaemnyaepnrayaewlasn ephiyngimkimilliwinathicaphbthwklumesllprasath sungmishsmphnthkbphvtikrrmekiywkbkaraeplkhxmulbangxyang aemnkwithyasastryngkahndraylaexiydimkhxyid aetkxacxthibayidwa epnphlphlxyidinrabbtang khxngepluxksmxngthiichkhxmulkhaekharwmkn hruxxacephuxephimkhwamerwinkaraeplphlkhxngepluxksmxngodyimidkhxmulxairephim ehmuxnkbrabbkarehn in mitral cell khxngpxngrbklininhnuhring rayaewlakhxngskyanganaerkcakkardmklin khuxrayaaefng duehmuxncaekharhskhxmulcanwnmakekiywkbklin klyuththkarichrayaaefngthaihsamarthrabuklinaelamiphvtikrrmtxbsnxngtxklinnniderw nxkcaknn mitral cell yngmirupaebbkarsngsyyanodyechphaa txklintang khxmulechnnixacchwyrabuklinbangchnid aetxacimcaepntxngmi ephraaxtrakhxngskyanganinchwngthistwdmklinksamarththaihrabuklinidaelw inaenwediywkn nganthdlxnginrabbruklinkhxngkratayaesdngkarsngsyyaninrupaebbtang thimishsmphnthkbklintang aelakphbphlechnediywkninnganthdlxngkbtkaetn karprayuktich khwamcaephaaecaacngkhxngrhsodyewla thaihtxngichethkhonolyithilaexiydmakinkarwdhakhxmulthangkarthdlxngthithngihkhwamruaelaechuxthuxid khwamkawhnathangethkhnikh optogenetics chwyihnkprasathwithyasastrsamarthkhwbkhumskyanganphayinniwrxnhnung idodyechphaa thaihkhwbkhumrupaebbiffakhxngskyanganaelarayaewlarahwangskyanganinradbesllediyw id yktwxyangechn aesngsinaengincathaihchxngixxxnepidpiddwyaesng khux channelrhodopsin epid thaihesllldkhwaelwsrangskyangan emuxeslltrwcimphbaesngsinaenginxik chxngkcapid aelwesllkcahyudsngskyangan rupaebbkhxngskyangancacbkhukbrupaebbkhxngsingerakhuxaesngsinaengin karisladbyinkhxng channelrhodopsin ekhaindiexnexkhxnghnuhring cungthaihnkwicysamarthkhwbkhumskyanganaelakhwbkhumphvtikrrmbangxyangkhxnghnu echn thaihhnuhnipthangsay id phanethkhnikh optogenetics nkwicycungmixupkrnthisrangphltxkarekharhsodyewlatang inniwrxn inkhnathiyngdarngxtraechliykaryingsyyanetha kn aeladngnn cungsamarththdsxbidwa miwngcrprasathhnung thiekharhsodyewlahruxim ethkhonolyi Optogenetic mioxkaschwyaekpyhakarsngskyanganthiepnmulthankhxngorkhthangprasathaelacithlayxyang thacring niwrxnekharhskhxmulinrupaebbtamewlakhxngskyangan khxmulsakhyxaccamxngkhamipemuxphyayamthxdrhscakaekhxtrakaryingsyyan karekhaicrhsprasathinrupaebbtamewlaaelakarthasarupaebbehlaniidinniwrxn xaccathaihkhwbkhumaelarksaorkhinrabbprasath echn orkhsumesra orkhcitephth aelaorkhpharkhinsn iddikhun ephraakarkhwbkhumrayakarsngskyanganinesllediyw cathaihkhwbkhumkarthangankhxngsmxngidaemnyayingkwakarichya karekharhsodyefsthiyingsyyan Phase of firing code rhsodyefsthiyingsyyan Phase of firing code epnrhsthangprasaththirwmkarekharhsodyxtra kbcudxangxingthangewlasungxasykaraekwngkwdkhxngkhlunsmxng Neural oscillation rhspraephthnimipay khxmulewlasahrbaetlaskyanganodyxangxingewlatamefskaraekwngkwdkhxngkhlunprasathechphaathi imwacaaebbkhwamthita hruxkhwamthisung lksnaxyanghnungkhxngkarekharhsnikkhux niwrxncamiladbkaryingsyyanodyechphaa mingansuksathiaesdngwa niwrxninepluxksmxngrbkhwamrusukbangswn ekharhssingerathisbsxntamthrrmchatiodyewlakhxngskyanganthiepniptamefskhxngkhlunsmxnginphunthi imichepniptamcanwnskyanganethann odykhlunsmxngcasathxnskysnamiffaechphaathi local field potential nibxykhrngcdepnrhsodyewlaaempayewlathiichkbskyangancakhxnkhanghyab nnkkhux khawiyut 4 khasahrbefstang kphxichepntwaethnkhxmulthixyuinrhsechnni odyhmayexaefskhxngkarkwdaekwngthikhwamthita rhsodyefsthiyingsyyanidixediykhraw cakpraktkarn Phase precession in place cell esllsthanthi thihipopaekhmps sungepnesllthithanganemuxstwipthungsthanthiodyechphaa phayinsingaewdlxm karekharhstamefsyngphbinepluxksmxngswnkarehnthimikarkwdaekwngkhwamthisungdwy phayinrxbkhxngkarkwdaekwngphisyaekmma 30 70 amp npbs ehirts esllprasathaetlatwcamichwngthimkcayingsyyan ephraaehtuni klumniwrxnthnghmdcungsrangkhbwnskyanganthimirayayawthungpraman 15 milliwinathi karekharhsodyklum Population coding karekharhsodyklum Population coding epnwithiekharhssingeraodykarthanganrwmknkhxngniwrxncanwnhnung inwithini niwrxnaetlaesllcatxbsnxngtxsingerabangestaebbkracaytw aelakartxbsnxngkhxngniwrxncanwnhnungrwmknkcasamarthkahndkhabangxyangekiywkbsingera cakmummxngthangthvsdi karekharhsodyklumepneruxngthiekhasutrthangkhnitidkhxnkhangdiinbrrdapyhathangprasathwithyasastrthnghlay mnrwmswnsakhytang khxngkarekharhsthangprasath aetkyngwiekhraahthangthvsdiidngayphx ngansuksaaebbthdlxngidaesdngwa karekharhsaebbniichxyangkwangkhwangphayinekhtsmxngswnrbkhwamrusuk sensory aelaswnsngkar motor yktwxyangechn inekhtkarehnkhxngsmxngklibkhmbswnin Medial temporal lobe MT niwrxncapramwlphlkahndodythisthangthisingeraekhluxnthiodyechphaa inkartxbsnxngtxwtthuthikalngekhluxnthiipyngthisthanghnungodyechphaa niwrxncanwnmakin MT cayingsyyanaebbmiesiyngrbkwn odymirupaebbepnrakhngkhwatlxdthngklum aetthisthangkhxngwtthukyngsamarthkahndidcakkarthangankhxngniwrxnthngklum sungthntxkhwamphnphwnkhxngsyyancakniwrxnediyw intwxyangkhlassiktwxyanghnungin primary motor cortex nkwicyidfuklingihkhybkankhwbkhumipyngepahmay aelwphbwa niwrxnhnung cayingsyyantxbsnxngtxthisthangkarekhluxnthikhxngepahmayhlaythisthang aetmncayingsyyanthixtrasungsudinthisthangediyw aelathixtraldlngkhunxyukbwa thisthangkhxngepahmaynniklkbthisthangsungmnthndthisudmakethair nkwichakarkhnhnung Kenneth Johnson idsrupwa thaniwrxnaetlatwepntwaethnkarekhluxnihwkhxngsingerainthisthangthitnthnd karkhanwnrwmewketxrkhxngniwrxnthnghmd odyniwrxnaetlatwmixtrakaryingsyyanaelathisthangthitnthndodyechphaa kcaaesdngthisthangkarekhluxnthikhxngsingera dngnn karthangankhxngklumniwrxncungekharhsthisthangkarekhluxnthikhxngsingera karekharhsechnnimichuxechphaawa population vector coding txngkarxangxing nkwichakarxiklumhnungidphthnarhsodyklumtamsthanthi ewla sungeriykwa Averaged Localized Synchronized Response ALSR code odyepnkarekharhssingerathanghukhuxesiyng aelaichkhxmulekiywkbniwrxnthitxbsnxngtxcudthiepnaehlngesiyngodyechphaa inostprasath auditory nerve kbkaryingsyyancbkhukbefsphayinostprasath karekharhsdngedimichidkbesiyngsraaebbimepliynesiyng txmacungichidkbphyangkhthiprakxbdwyphyychna sra odyrwmkhwamsungtakhxngesiyng pitch aelakhwamthisnphxng formant thisbsxnaelaxacepliynesiynginrahwang non steady state karekharhsodyklumyngmikhxdixun xikdwy rwmthngkarldkhwamimaennxnenuxngcakkhwamphnaepridthangsthiti aelasmrrthphaphinkarepntwaethnlksnasingeratang phrxm kn withiniyngerwkwakarekharhsodyxtra aelasamarthsathxnkhwamepliynaeplngkhxngsingeraidaethbthnthi niwrxnaetlatwinklummkcatxbsnxngsingerathitang aetkhabekiywkn dngnn niwrxncanwnhnungaetimthnghmdkcatxbsingerahnung odypktiaelw fngkchnkarekharhscamikhasungsud emuxkarthangankhxngniwrxnnn xyuinradbsungsud aelakcaldlngtamladbkhathiimichepncudyxd txngkarxangxing dngnn radbkarrbrusingeracungsamarthkhanwnidcakrupaebbkarthanganthwipkhxngklumniwrxn population vector coding thiklawthungmakxnepntwxyangkhxngkarhakhaechliythrrmda ethkhnikhthangkhnitsastrthisbsxnkwarwmwithikhakhwrcaepnsungsud maximum likelihood xasykaraeckaecnghlaytwaepr multivariate distribution khxngkartxbsnxngkhxngniwrxn aebbcalxngehlanixacsmmutikhwamepnxisra hruxshsmphnthaebbthutiyphumi hruxaemaetphawaphungphingthisbsxnxyangechn higher order maximum entropy probability distribution hrux Copula karekharhsodyshsmphnth Correlation coding aebbcalxngkarekharhsodyshsmphnthesnxwa mishsmphnthrahwangskyanganphayinkhbwn sungxacepnkhxmulnxkehnuxipcakrayaewlathrrmdarahwangskyangantang nganwicypi 2523 aesdngwa shsmphnthrahwangkhbwnskyangancasamarthld aetimsamarthephimkhxmulthiphungphaxasykn mutual information thimiinkhbwnskyangan 2 khbwn odyekiywkblksnahnungkhxngsingera aetnganpi 2542 aesdngwaixediyniimthuktxng okhrngsrangodyshsmphnthcasamarthephimkhxmulthimi thakhashsmphnthkhxngesiyngrbkwnaelakhxngsyyan khxmulmiekhruxnghmaytrngknkhamkn khashsmphnthsamarthihkhxmulthiimidxyuinxtrakaryingsyyanodyechliykhxngniwrxnsxngkhu twxyanghnungkkhux epluxksmxngswnkaridyinkhxngmaomesththiidyachaaelw sungesiyngothnediywcathaihekidskyanganthimishsmphnthkncanwnmakkhun aetkimidephimxtrakaryingsyyanodyechliyrahwangniwrxnepnkhu karekharhsodyskyanganxisra Independent spike coding aebbcalxngkarekharhsodyskyanganxisraesnxwa skyanganaetlaphlsepnxisracakknaelaknphayinkhbwnskyangan karekharhsodytaaehnng Position coding krafkhxngkarekharhsodytaaehnngthw ipkartxbsnxnginrabbprasathmiesiyngrbkwnmakaelaechuxthuximkhxyid karekharhsodyklumpkticaekiywkbklumesllprasaththitxbsnxngodymi tuning curve epnfngkchn Gaussian thimikhakhadhmayhruxkhaechliysungaeprphnaebbechingesntamradbsingera sunghmaykhwamwa esllcatxbsnxngdwyskyanganinxtrasungsudtxsingerathimiradbiklkbkhakhadhmay dngnn radbkhxngsingeracungsamarthhaidcakkhakhadhmaykhxngesllprasaththitxbsnxnginradbsungsud aetephraaesiyngrbkwnthimiodythrrmchatiinkartxbsnxng karpramankhakhwrcaepnsungsud maximum likelihood estimation caepnwithithiaemnyakwa karekharhsechnnicaichsahrbtwaepraebbtxenuxngechn taaehnngkhxtx taaehnngta si hruxkhwamthiesiyng aemniwrxnediyw casrangesiyngrbkwnmakekinkwacasamarthekharhstwaeprodyxtra aetklumniwrxnrwmknksamarthihkhxmulthiechuxthuxidaelaaemnyakwa sahrbklumniwrxnthimi tuning curve aebbmiyxdediyw khwamaemnyapkticadikhuninechingesntamcanwnkhxngesllprasath dngnn sahrbkhwamaemnyakhrunghnung kcaichniwrxncanwnkhrungediyw ethiybkb tuning curve aebbmihlayyxd dngthiphbin grid cell insmxngkhxngstwhlayspichis epnesllsungekharhskhxmulekiywkbpriphumirxb twstw khwamaemnyathiidcakklumniwrxnechnni caephimkhunaebbykkalngtamcanwnesllprasath sungldcanwnniwrxnidxyangmhasalephuxihidkhwamaemnyaethakn karekharhsaebbnxyesll Sparse coding karekharhsaebbnxyesllkkhuxlksnasingeraaetlaxyangcaekharhsodykarthanganxyangetmthikhxngniwrxnepncanwnnxy khux camiklumniwrxnyxy thithangantxbsnxngtxlksnasingerathitangkn thungkrann khwamnxy kxaccaepnthangewla khux cathanganepnchwngewlakhxnkhangnxy hruxxaccahmaythungcanwnniwrxnthithangantxbsnxngphayinklum inkrnihlng cungxacniyamidwaepncanwnniwrxnthithanganepriybethiybkbcanwnniwrxnthnghmdphayinkluminchwngrayaewlahnung niduehmuxncaepnexklksnkhxngkaraeplphlthangprasathemuxepriybethiybkbkhxmphiwetxrdngedim ephraakhxmulcakracaytwipxyangkwangkhwangipthwklumniwrxn nganwicypi 2539 aesdngwa karekharhsaebbnxyesllkhxngrupphaphtang tamthrrmchati casrangfiletxrkhlaykb wavelet sungkkhlaykblanrbsyyankhxngesllthrrmda inepluxksmxngswnkarehn khwamcukhxngkarekharhsechnnixacephimodyichkarekharhsodyewlaphrxm kn dngthiphbinrabbruklinkhxngtkaetn ephraasingeramirupaebbtang makmay khntxnwithikarekharhsaebbnxyesllcaphyayamsubharupaebbcanwnnxythiepntwaethn representative patterns xyangxtonmti sungemuxrwmrupaebbinsdswnthithuktxng kcasamarthepntwaethnkhxngsingerathiprakt dngnn rhsodynxyesllkhxngsingerakkhuxrupaebbthiepntwaethnehlani yktwxyangechn praoykhmakmayinphasaithysamarthekharhsepnekhruxnghmaytang sungmicanwnnxy echn xksr wrrnyukt twelkh aelawrrkh odyrwmknepnladbxyangechphaaecaacngephuxepntwaethnpraoykhhnung innyediywkn karekharhsaebbnxyesllkcaepnehmuxnkbekhruxnghmayehlani Linear generative model aebbcalxngkhxngkarekharhsaebbnxyesllmkcaepnaebb linear generative model aebbcalxngephimphunechingesn inaebbcalxngni ekhruxnghmaycarwmknaebbphlrwmechingesnephuxpramankhxmulkhaekha odyrupnykkhux sahrbestewketxrcanwncringthiepnkhxmulekhaaelamimiti k k dimensional set of real numbered input vectors khux 3 Rk displaystyle vec xi in mathbb R k epahmaykhxngkarekharhsodynxyesllkkhuxephuxkahndewketxrthanhlkthimimiti k aelamicanwn n n k dimensional basis vectors khux b1 bn Rk displaystyle vec b 1 ldots vec b n in mathbb R k phrxmkbewketxrmakelkhsunythimimiti n sparse n dimensional vector ewketxrhnung s Rn displaystyle vec s in mathbb R n thiepnnahnkhruxsmprasiththisahrbaetlaewketxrkhaekha ephuxihphlrwmechingesnkhxngewketxrthanhlkinsdswnthikahndodysmprasiththi miphlepnkhaikl kbewketxrkhaekha khux 3 j 1nsjb j displaystyle vec xi approx sum j 1 n s j vec b j rhsthisrangodykhntxnwithithidaeninkardwy linear generative model xaccdepnsxngxyangkhuxaebb soft sparseness nxyphxn aela hard sparseness nxycring odyaebb 2 xyangcamunghmaykarkracaytwkhxngsmprasiththikhxngewketxrthanhlksahrbkhxmulekhathwip rhsaebbnxyphxn camikarkracaytwkhlay Gaussian eriyb aemcaaehlmkwaesnokhng Gaussian odymikha 0 mak mikhasmburnta bang mikhasmburnsung nxykwa aelamikhwamsmburnsungmaknxymak dngnn ewketxrthanhlkcanwnmakcungimichsunykhuxyngihphlxyu ethiybkbrhsaebbnxycring sungmikha 0 mak immihruxekuxbimmikhasmburnta mikhasmburnthimakkhunnxykwa aelamikhasmburnsungmaknxymak dngnn ewketxrthanhlkcanwnnxymakkcamikhamakkwa 0 sungidepriybcakmummxngkhxngemaethbxlisum ephraakarthangankhxngniwrxnthimicanwnnxykwakcaichphlngngannxykwa rhsnixacaebngidodyxikwithihnungepn 2 aebb kkhuxaebb critically complete smburnxyangwikvti hrux overcomplete smburnekin thacanwnewketxrthanhlkkhux n ethakb k sungepnmitikhxngestkhxmulekha karekharhsnieriykwa smburnxyangwikvti inkrnini karepliynaeplngelk nxy khxngewketxrkhxmulekha cathaihsmprasiththiepliynodychbphln dngnn rhscungimsamarthrxngrbkarkarepliynsekl kareluxnthi hruxesiyngrbkwnelk nxy inkhxmulkhaekha aetthaewketxrthanhlkmicanwnmakkwamitikhxngestkhxmulekha rhskcacdwa smburnekin aelarhsthismburnekincaepliynkhaidxyangeriyb sahrbewketxrkhxmulekhathimikhainrahwang aelathnthantxesiyngrbkwniddi epluxksmxngswnkarehnpthmphumikhxngmnusypraeminwa smburnekinodyaefketxr 500 dngnn khxmulkhaekhathi 14x14 196 dimensional space caekharhsodyniwrxnpraman 100 000 tw hlkthanthangchiwwithya karekharhsodynxyesll xacepnklyuthththwipkhxngrabbprasathephuxephimkhwamcukhxngkhwamca khux ephuxprbtwihekhakbsingaewdlxm stwcatxngeriynruwa singeraechnirsmphnthkbrangwlhruxkarlngoths aelwcaaenksingerathiesrimaerngechnnicaksingerathikhlayknaetimekiywkn ptibtikarechnnicatxngmihnwykhwamcasara associative memory thiechphaaecaacngtxsingera thiniwrxnimkitwcakthngklumcatxbsnxngtxsingerahnung aelaniwrxnaetlatw catxbsnxngtxsingeraimkixyangcaksingerathiepnipidthnghmd nganthvsdieruxng Sparse distributed memory khwamcaaebbkracayaelamakipdwysuny idesnxwa karekharhsodynxyesllcaephimkhwamcukhxngkhwamcasara odyldkhwamkhabekiywknrahwangkarthangankhxngniwrxnthiepntwaethnlksnasingera swninnganthdlxng karekharhsodynxyesllkhxngkhxmulkhwamrusuk idphbinrabbrbkhwamrusukhlayxyangrwmthngrabbkarehnrabbkaridyin rabbrusmphs aelarabbruklin xyangirkdi aemcamihlkthanephimkhuneruxy ekiywkbkarichrhsechnnixyangkwangkhwanginrabbprasath rwmthngkhxsnbsnunthangthvsdiekiywkbkhwamsakhykhxngmn nganthiaesdngwa rhsodynxyesllcaephimkhwamechphaaecaacngtxsingerakhxngrabbkhwamcasarakimkhxymicnkrathngerw ni inpi 2557 nkkaywiphakhchawswiedn xngkvs Gero Miesenbock thimhawithyalyxxksfxrdidthanganwiekhraahkbrabbruklinkhxngaemlngwnthxng inaemlngwnthxng karekharhsklinodynxyesllkhxng Kenyon cell in Mushroom bodies echuxwa caepntwkahndtaaehnngaebbekhaelkhxyangaemnyacanwnmakephuxbrrcukhwamcaekiywkbklinodyechphaa nganwicyxiknganpi 2557 aesdngwa khwammaknxykhxngniwrxnthithangan sparseness cakhwbkhumodywngcrpxnklbechingphkphnrahwang Kenyon cells aela GABAergic anterior paired lateral APL neuron karcngickratunaelahyudkarthanganxyangepnrabbkhxngswnaetlaswninwngcrniaesdngwa Kenyon cells cakratunih APL thangan aelainthangklbkn APL kcaybyng Kenyon cells imihthangan karrangbwngcrpxnklb Kenyon cell APL cakwnkarekharhsaebbnxyesllthitxbsnxngtxklinkhxng Kenyon cell ephimshsmphnthinrahwangklintang aelaknaemlngwnimiheriynruaeykaeyaklinthikhlaykn aetimknsahrbklinthitangkn phlechnniaesdngwa karybyngaebbpxnklbthirangbkarthangankhxng Kenyon cell thaihsamarthdarngkarekharhsklinxyangnxyesll aeykaeyaimihpnklin aeladngnn darngkhwamechphaaecaacngtxklininrabbkhwamcaduephimokhrngkhayprasathethiym kareriynruechinglukechingxrrthkhuxpraktkarnthutiyphumithiepnphlkhxngpraktkarnthiepnehtucring xangxingBrown EN Kass RE Mitra PP May 2004 Multiple neural spike train data analysis state of the art and future challenges Nat Neurosci 7 5 456 61 doi 10 1038 nn1228 PMID 15114358 S2CID 562815 Johnson K O June 2000 Neural coding Neuron 26 3 563 566 doi 10 1016 S0896 6273 00 81193 9 ISSN 0896 6273 PMID 10896153 Thorpe S J 1990 Spike arrival times A highly efficient coding scheme for neural networks in Eckmiller R Hartmann G b k Parallel processing in neural systems and computers PDF North Holland pp 91 94 ISBN 978 0 444 88390 2 Kistler Werner M 2002 Spiking Neuron Models Single Neurons Populations Plasticity Cambridge University Press ISBN 978 0 521 89079 3 Stein RB Gossen ER Jones KE May 2005 Neuronal variability noise or part of the signal Nat Rev Neurosci 6 5 389 97 doi 10 1038 nrn1668 PMID 15861181 S2CID 205500218 Chen G Wang LP Tsien JZ 2009 Neural population level memory traces in the mouse hippocampus PLOS ONE 4 12 e8256 Bibcode 2009PLoSO 4 8256C doi 10 1371 journal pone 0008256 PMC 2788416 PMID 20016843 Zhang H Chen G Kuang H Tsien JZ Nov 2013 Mapping and deciphering neural codes of NMDA receptor dependent fear memory engrams in the hippocampus PLOS ONE 8 11 e79454 Bibcode 2013PLoSO 879454Z doi 10 1371 journal pone 0079454 PMC 3841182 PMID 24302990 Brain Decoding Project cakaehlngedimemux 2017 10 14 subkhnemux 2018 01 07 The Simons Collaboration on the Global Brain Simons Foundation Burcas G T Albright T D 1999 Gauging sensory representations in the brain PDF Salk Institute for Biological Studies a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Gerstner W Kreiter AK Markram H Herz AV November 1997 Neural codes firing rates and beyond Proc Natl Acad Sci U S A 94 24 12740 1 Bibcode 1997PNAS 9412740G doi 10 1073 pnas 94 24 12740 PMC 34168 PMID 9398065 Aur D Jog MS 2010 Neuroelectrodynamics Understanding the brain language IOS Press doi 10 3233 978 1 60750 473 3 i a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Aur D Connolly CI Jog MS 2005 Computing spike directivity with tetrodes Journal of Neuroscience Methods 149 1 57 63 doi 10 1016 j jneumeth 2005 05 006 PMID 15978667 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Aur D Jog M S 2007 Reading the Neural Code What do Spikes Mean for Behavior Nature Precedings doi 10 1038 npre 2007 61 1 Fraser A Frey A H 1968 Electromagnetic emission at micron wavelengths from active nerves Biophysical Journal 8 6 731 734 doi 10 1016 s0006 3495 68 86517 8 PMC 1367349 PMID 5699805 Aur D 2012 A comparative analysis of integrating visual information in local neuronal ensembles Journal of neuroscience methods 207 1 23 30 doi 10 1016 j jneumeth 2012 03 008 PMC 3636996 PMID 22480985 Kandel E Schwartz J Jessel T M 1991 Principles of Neural Science 3rd ed Elsevier ISBN 0444015620 Adrian ED Zotterman Y 1926 The impulses produced by sensory nerve endings Part II The response of a single end organ J Physiol 61 151 171 doi 10 1113 jphysiol 1926 sp002281 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Gerstner and Kistler 2002 1 5 Rate Codes Spiking Neuron Models Single Neurons Populations Plasticity Cambridge University Press cakaehlngedimemux 2017 07 06 subkhnemux 2018 01 26 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Forrest MD 2014 Intracellular Calcium Dynamics Permit a Purkinje Neuron Model to Perform Toggle and Gain Computations Upon its Inputs Frontiers in Computational Neuroscience 8 86 doi 10 3389 fncom 2014 00086 PMC 4138505 PMID 25191262 Forrest MD December 2014 The sodium potassium pump is an information processing element in brain computation Frontiers in Physiology 5 472 472 doi 10 3389 fphys 2014 00472 PMC 4274886 PMID 25566080 Dayan Peter Abbott L F 2001 Theoretical Neuroscience Computational and Mathematical Modeling of Neural Systems Massachusetts Institute of Technology Press ISBN 978 0 262 04199 7 Butts DA Weng C Jin J aelakhna September 2007 Temporal precision in the neural code and the timescales of natural vision Nature 449 7158 92 5 Bibcode 2007Natur 449 92B doi 10 1038 nature06105 PMID 17805296 S2CID 4402057 Singh amp Levy 2017 A consensus layer V pyramidal neuron can sustain interpulse interval coding PLoS ONE a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter van Hemmen J Leo Sejnowski TJ 2006 23 Problems in Systems Neuroscience Oxford Univ Press pp 143 158 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Theunissen F Miller JP 1995 Temporal Encoding in Nervous Systems A Rigorous Definition Journal of Computational Neuroscience 2 149 162 doi 10 1007 bf00961885 Zador Stevens Charles Anthony The enigma of the brain c Current Biology 1995 Vol 5 No 12 subkhnemux August 4 2012 Kostal L Lansky P Rospars JP November 2007 Neuronal coding and spiking randomness Eur J Neurosci 26 10 2693 701 doi 10 1111 j 1460 9568 2007 05880 x PMID 18001270 S2CID 15367988 Gupta Nitin Singh Swikriti Saran Stopfer Mark 2016 12 15 Oscillatory integration windows in neurons Nature Communications phasaxngkvs 7 13808 doi 10 1038 ncomms13808 ISSN 2041 1723 PMID 27976720 Geoffrois E Edeline J M Vibert J F 1994 Learning by Delay Modifications in Eeckman Frank H b k Computation in Neurons and Neural Systems Springer pp 133 8 ISBN 978 0 7923 9465 5 Sjostrom Jesper Gerstner Wulfram Spike timing dependent plasticity scholarpedia subkhnemux 2018 01 26 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Gollisch T Meister M 2008 02 22 Rapid Neural Coding in the Retina with Relative Spike Latencies Science 319 5866 1108 1111 doi 10 1126 science 1149639 PMID 18292344 Wainrib Gilles Michele Thieullen Khashayar Pakdaman 2010 04 07 Intrinsic variability of latency to first spike Biological Cybernetics 103 1 43 56 doi 10 1007 s00422 010 0384 8 Victor Johnathan D 2005 Spike train metrics Current Opinion in Neurobiology 15 5 585 592 doi 10 1016 j conb 2005 08 002 Hallock Robert M Di Lorenzo Patricia M 2006 Temporal coding in the gustatory system Neuroscience amp Biobehavioral Reviews 30 8 1145 1160 doi 10 1016 j neubiorev 2006 07 005 Carleton Alan Accolla Riccardo Simon Sidney A 2010 Coding in the mammalian gustatory system Trends in Neurosciences 33 7 326 334 doi 10 1016 j tins 2010 04 002 Stevens amp Zador 1995 pp 1371harvnb error no target CITEREFStevensZador1995 There is thus ample evidence that at least under some circumstances the timing of spikes cannot be accounted for by a simple frequency code and that there is potentially useful extra information contained in spike trains It is much harder to show that this extra information is actually used in the neural code There are other interpretations for the experimental deviations from the instantaneous frequency hypothesis They might arise for example as by products of cortical architecture the results of shared inputs Alternatively they might improve the performance of cortical processing without actually providing an additional information channel Wilson Rachel I 2008 Neural and behavioral mechanisms of olfactory perception Current Opinion in Neurobiology 18 4 408 412 doi 10 1016 j conb 2008 08 015 Diesseroth Karl 2008 11 21 Personal Growth Series Karl Diesseroth on Cracking the Neural Code karbrryay Google Tech Talks a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite AV media title aemaebb Cite AV media cite AV media a CS1 maint uses authors parameter Han X Qian X Stern P Chuong AS Boyden ES 2009 Informational lesions optical perturbations of spike timing and neural synchrony via microbial opsin gene fusions Cambridge MA MIT Media Lab a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Montemurro Marcelo A Rasch Malte J Murayama Yusuke Logothetis Nikos K Panzeri Stefano 2008 Phase of Firing Coding of Natural Visual Stimuli in Primary Visual Cortex Current Biology 18 5 375 380 doi 10 1016 j cub 2008 02 023 PMID 18328702 Fries P Nikolic D Singer W July 2007 The gamma cycle Trends Neurosci 30 7 309 16 doi 10 1016 j tins 2007 05 005 PMID 17555828 S2CID 3070167 Havenith MN Yu S Biederlack J Chen NH Singer W Nikolic D June 2011 Synchrony makes neurons fire in sequence and stimulus properties determine who is ahead J Neurosci 31 23 8570 84 doi 10 1523 JNEUROSCI 2817 10 2011 PMC 6623348 PMID 21653861 Thorpe SJ 1990 PDF Parallel processing in neural systems khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2012 02 15 subkhnemux 2018 01 26 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Wu S Amari S Nakahara H May 2002 Population coding and decoding in a neural field a computational study Neural Comput 14 5 999 1026 doi 10 1162 089976602753633367 PMID 11972905 S2CID 1122223 Maunsell JH Van Essen DC May 1983 Functional properties of neurons in middle temporal visual area of the macaque monkey I Selectivity for stimulus direction speed and orientation J Neurophysiol 49 5 1127 47 doi 10 1152 jn 1983 49 5 1127 PMID 6864242 S2CID 8708245 Krakauer John Ghez Claude PDF Principles of Neural Science p 766 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2012 05 11 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter PMID 3749885 PMID 3749885 Citation will be completed automatically in a few minutes Jump the queue or expand by hand Sachs Murray B Young Eric D November 1979 Representation of steady state vowels in the temporal aspects of the discharge patterns of populations of auditory nerve fibers The Journal of the Acoustical Society of America 66 5 1381 1403 Bibcode 1979ASAJ 66 1381Y doi 10 1121 1 383532 PMID 500976 Miller M I Sachs M B June 1984 Representation of voice pitch in discharge patterns of auditory nerve fibers Hearing Research 14 3 257 279 doi 10 1016 0378 5955 84 90054 6 PMID 6480513 S2CID 4704044 Miller M I Sachs M B 1983 Representation of stop consonants in the discharge patterns of auditory nerve fibrers The Journal of the Acoustical Society of America 74 2 502 517 Bibcode 1983ASAJ 74 502M doi 10 1121 1 389816 PMID 6619427 Hubel DH Wiesel TN October 1959 Receptive fields of single neurones in the cat s striate cortex J Physiol 148 3 574 91 doi 10 1113 jphysiol 1959 sp006308 PMC 1363130 PMID 14403679 Schneidman E Berry MJ Segev R Bialek W 2006 Weak Pairwise Correlations Imply Strongly Correlated Network States in a Neural Population Nature Nature 440 1007 1012 440 1007 1012 doi 10 1038 nature04701 PMC 1785327 PMID 16625187 Amari SL 2001 Information Geometry on Hierarchy of Probability Distributions IEEE Transactions on Information Theory 47 1701 1711 Onken A Grunewalder S Munk MHJ Obermayer K 2009 Analyzing Short Term Noise Dependencies of Spike Counts in Macaque Prefrontal Cortex Using Copulas and the Flashlight Transformation PLoS Comput Biol 5 11 e1000577 doi 10 1371 journal pcbi 1000577 PMC 2776173 PMID 19956759 Johnson KO Jun 1980 Sensory discrimination neural processes preceding discrimination decision J Neurophysiol 43 6 1793 815 doi 10 1152 jn 1980 43 6 1793 PMID 7411183 Panzeri Schultz Treves Rolls 1999 Correlations and the encoding of information in the nervous system Proc Biol Sci 266 1423 1001 12 doi 10 1098 rspb 1999 0736 PMC 1689940 PMID 10610508 Merzenich MM Jun 1996 Primary cortical representation of sounds by the coordination of action potential timing Nature 381 6583 610 3 Bibcode 1996Natur 381 610D doi 10 1038 381610a0 PMID 8637597 S2CID 4258853 Dayan P Abbott LF 2001 Theoretical Neuroscience Computational and Mathematical Modeling of Neural Systems Cambridge Massachusetts The MIT Press a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Rieke F Warland D de Ruyter van Steveninck R Bialek W 1999 Spikes Exploring the Neural Code Cambridge Massachusetts The MIT Press a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Mathis A Herz AV Stemmler MB July 2012 Resolution of nested neuronal representations can be exponential in the number of neurons Phys Rev Lett 109 1 018103 Bibcode 2012PhRvL 109a8103M doi 10 1103 PhysRevLett 109 018103 PMID 23031134 Olshausen Bruno A Field David J 1996 PDF Nature 381 6583 607 609 doi 10 1038 381607a0 PMID 8637596 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2015 11 23 subkhnemux 2018 01 26 Gupta N Stopfer M 2014 10 06 A temporal channel for information in sparse sensory coding Current Biology 24 19 2247 56 doi 10 1016 j cub 2014 08 021 PMC 4189991 PMID 25264257 Rehn Martin Sommer Friedrich T 2007 A network that uses few active neurones to code visual input predicts the diverse shapes of cortical receptive fields PDF Journal of Computational Neuroscience 22 135 146 doi 10 1007 s10827 006 0003 9 Lee Honglak Battle Alexis Raina Rajat Ng Andrew Y 2006 Efficient sparse coding algorithms PDF Advances in Neural Information Processing Systems Olshausen Bruno A Field David J 1997 PDF Vision Research 37 23 3311 3325 doi 10 1016 s0042 6989 97 00169 7 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2018 02 19 subkhnemux 2018 01 26 Kanerva Pentti 1988 Sparse distributed memory MIT press a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Vinje WE Gallant JL 2000 Sparse coding and decorrelation in primary visual cortex during natural vision Science 287 1273 1276 doi 10 1126 science 287 5456 1273 PMID 10678835 Hromadka T Deweese MR Zador AM 2008 Sparse representation of sounds in the unanesthetized auditory cortex PLoS Biol 6 e16 doi 10 1371 journal pbio 0060016 PMC 2214813 PMID 18232737 Crochet S Poulet JFA Kremer Y Petersen CCH 2011 Synaptic mechanisms underlying sparse coding of active touch Neuron 69 1160 1175 doi 10 1016 j neuron 2011 02 022 PMID 21435560 Ito I Ong RCY Raman B Stopfer M 2008 Sparse odor representation and olfactory learning Nat Neurosci 11 1177 1184 doi 10 1038 nn 2192 PMC 3124899 PMID 18794840 A sparse memory is a precise memory Oxford Science blog 2014 02 28 Lin Andrew C aelakhna 2014 Sparse decorrelated odor coding in the mushroom body enhances learned odor discrimination Nature Neuroscience 17 4 559 568 aehlngkhxmulxunFoldiak P Endres D Sparse coding Scholarpedia 3 1 2984 2008 Dayan P amp Abbott LF Theoretical Neuroscience Computational and Mathematical Modeling of Neural Systems Cambridge Massachusetts The MIT Press 2001 ISBN 0 262 04199 5 Rieke F Warland D de Ruyter van Steveninck R Bialek W Spikes Exploring the Neural Code Cambridge Massachusetts The MIT Press 1999 ISBN 0 262 68108 0 Tsien JZ aelakhna 2014 On initial Brain Activity Mapping of episodic and semantic memory code in the hippocampus Neurobiology of Learning and Memory 105 200 210 doi 10 1016 j nlm 2013 06 019 lingkesiy