ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มเพื่อ |
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ภาษาไทย หรือ ภาษาไทยกลาง เป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท และเป็นภาษาราชการ และภาษาประจำชาติของประเทศไทย มีการสันนิษฐานว่าภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทย | |
---|---|
ภาษาไทยกลาง | |
ออกเสียง | /pʰāːsǎːtʰāj/ |
ภูมิภาค | |
ชาติพันธุ์ | ชาวไทย, จีน, มลายู |
จำนวนผู้พูด | 70 ล้านคน (2566) ผู้พูดภาษาที่สอง 20 ล้านคน ซึ่งรวมคำเมือง, อีสาน, ไทยถิ่นใต้, เขมรเหนือ |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
ระบบการเขียน |
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไทย อาเซียน |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | กัมพูชา (เกาะกง) มาเลเซีย (รัฐเกอดะฮ์, รัฐปะลิส, รัฐกลันตัน และอำเภอฮูลูเปรัก) พม่า (ตะนาวศรี) |
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | th |
ISO 639-2 | tha |
ISO 639-3 | tha |
47-AAA-b | |
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ
ภาษาไทยปรากฏครั้งแรกในพุทธศักราช 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหง และปรากฏอย่างสากลและใช้ในงานของราชการ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2476 ด้วยการก่อตั้งสำนักงานราชบัณฑิตยสภาขึ้น และ
การจำแนก
ขร้า-ไท |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ
มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นบทความใหม่ชื่อ () |
ภาษาไทยจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไท (Tai languages) ภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาขร้า-ไท ภาษาไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภาษาในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาลาว ภาษาผู้ไท ภาษาคำเมือง ภาษาไทใหญ่ เป็นต้น รวมถึงภาษาตระกูลไทอื่น ๆ เช่น ภาษาจ้วง ภาษาเหมาหนาน ภาษาปู้อี ที่พูดโดยชนพื้นเมืองบริเวณไหหนาน กวางสี กวางตุ้ง กุ้ยโจว ตลอดจนยูนนาน ไปจนถึง ซึ่งสันนิษฐานว่าจุดกำเนิดของภาษาไทยน่าจะมาจากบริเวณดังกล่าว
ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ได้มีการอพยพของผู้พูดภาษากลุ่มไทลงมาจากจีนตอนใต้ มายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำพาภาษากลุ่มไทลงมาด้วย ภาษาที่ชนกลุ่มไทกลุ่มนี้พูดได้รับการสืบสร้างเป็น ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับอิทธิพลจากภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก ที่พูดโดยชาวออสโตรเอเชียติก และอยู่อาศัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่เดิม รวมถึงได้รับอิทธิพลจากภาษาทางวรรณกรรม คือ ภาษาสันสกฤต และ ภาษาบาลี จนพัฒนามาเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน
ภาษาไทยเก่า
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ภาษาไทยในอดีตมีระบบเสียงที่แตกต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบันอย่างชัดเจน ซึ่งมีประเด็นสำคัญต่อไปนี้
- มีการแบ่งแยกระหว่างเสียงก้องและเสียงไม่ก้องในแทบทุกฐานกรณ์ และทุก ๆ ลักษณะการเกิดเสียง (manner of articulation) นั่นคือ มีเสียงพยัญชนะ /b d d͡ʑ g/ ซึ่งแบ่งแยกจาก /p t t͡ɕ k/ อย่างชัดเจน รวมถึงมีการแบ่งแยกระหว่างเสียงนาสิกแบบก้องและแบบไม่ก้องด้วย (/m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊/ หรือ /ʰm ʰn ʰɲ ʰŋ/ กับ /m n ɲ ŋ/ → ตัวอย่าง 1) รวมถึงเสียงเปิด (/ʍ l̥/ กับ /w l/) ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ได้สูญหายไปในภาษาไทยปัจจุบัน
ไท-กะไดเก่า | ไทยเก่า | ไทยปัจจุบัน | ลาวปัจจุบัน | จ้วงใต้ปัจจุบัน | จ้วงเหนือปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|
ʰma: | ʰma: | หมา /ma:/ | ໝາ /ma:/ | ma /ma:/ | ma /ma:/ |
ʰmi: | ʰmi: | หมี /mi:/ | ໝີ /mi:/ | mi /mi:/ | mwi /mɯi/ |
ʰmu: | ʰmu: | หมู /mu:/ | ໝູ /mu:/ | mu /mu:/ | mou /mou/ |
ʰnu: | ʰnu: | หนู /nu:/ | ໜູ /nu:/ | nu /nu:/ | nou /nou/ |
ʰna: | ʰna: | หนา /na:/ | ໜາ /na:/ | na /na:/ | na /na:/ |
- มีเสียงกักเส้นเสียงนำมาก่อน (pre-glottalized) หรือเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosive) ได้แก่ /ʔb/, /ʔd/,/ʔj/ → ตัวอย่าง 2
ไท-กะไดเก่า | ไทยเก่า | ไทยปัจจุบัน | ลาวปัจจุบัน | จ้วงใต้ปัจจุบัน | จ้วงเหนือปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|
ʔba: | ʔba: | บ่า /ba:/ | ບ່າ /ba:/ | mbaj /ba:/ | mbaj /ʔba:/ |
ʔbɯ:a | ʔbɯ:a | เบื่อ /bɯ:a/ | ເບື່ອ /bɯ:a/ | mbwaq /bɯ:a/ | mbwq /ʔbɯ:/ |
ʔbaɯ | ʔbaɯ | ใบ /bai/ | ໃບ /bai/ | mbaw /baɯ/ | mbaw /ʔbaɯ/ |
ʔbau | ʔbau | เบา /bau/ | ເບົາ /bau/ | mbau /bau/ | mbau /ʔbau/ |
ʔba:n | ʔba:n | บ้าน /ba:n/ | ບ້ານ /ba:n/ | mbanj /ba:n/ | mbanj /ʔba:n/ |
ʔda: | ʔda: | ด่า /da:/ | ດ່າ /da:/ | ndaq /da:/ | ndaq /ʔda:/ |
ʔdai | ʔdai | ได้ /dai/ | ໄດ້ /dai/ | ndaej /dai/ | ndaej /ʔdai/ |
- มีเสียงเสียดแทรกเพดานอ่อน (ฃ /x/ และ ฅ /ɣ/) ซึ่งต่างจากเสียงกักเพดานอ่อนอย่างชัดเจน (ข /kʰ/ และ ค /g/) → ตัวอย่าง 3
ไท-กะไดเก่า | ไทยเก่า | ไทยปัจจุบัน | ลาวปัจจุบัน | จ้วงใต้ปัจจุบัน | จ้วงเหนือปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|
xo:n | ฆ้อน /xo:n/ | ค้อน /kho:n/ | ຄ້ອນ /kho:n/ | *honj /ho:n/ | *ronj /ɣo:n/ |
xa: | ฆ่า /xa:/ | ฆ่า /kha:/ | ຂ້າ /kha:/ | kaj /kha/ | haj /ha:/ |
ɣon | ฅน /ɣon/ | คน /khon/ | ຄົນ /khon/ | koenz /khən//khon/ | vunz /wun/ |
ɣwa:m | ฅวาม /ɣwa:m/ | ความ /khwa:m/ | ຄວາມ /khwa:m/ | vamz /wa:m/ | vamz /wa:m/ |
ɣam | ฅำ /ɣam/ | คำ /kham/ | ຄຳ /kham/ | kaemz /kham/ | *gaemz /kam/ |
ɣa: | ฅา /ɣa:/ | หญ้าคา /kha/ | ຄາ /kha/ | haz /ha:/ | raz /ɣa:/ |
ɣlam | ฅ่ำ /ɣam/ | ค่ำ /kham/ | ຄ່ຳ /kham/ | hamq /ham/ | hamq /ham/ |
ɣɯn | ฅืน /ɣɯn/ | คืน /khɯn/ | ຄືນ /khɯn/ | hwn /hən/ | hwn /hən/ |
- มีเสียงพยัญชนะ /ɲ/ ซึ่งเขียนแทนด้วย ญ เสียงพยัญชนะนี้ได้สูญหายไปจากภาษาไทยปัจจุบัน โดยกลายเป็นเสียง [j] ซึ่งเป็นเสียงเดียวกันกับ ย → ตัวอย่าง 4
ไท-กะไดเก่า | ไทยเก่า | ไทยปัจจุบัน | ลาวปัจจุบัน | จ้วงใต้ปัจจุบัน | จ้วงเหนือปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|
ɲi: | ɲi:ญี่ (สอง) | ญี่ /ji:/ (โบราณ), ยี่ | ɲi: ຍີ່ | yih /ji:/ (สอง) | nyeih /ɲei/ (ngeih) |
ʰɲa: | ɲa: | หญ้า /ja:/ | ຫຍ້າ /ɲa:/ | yaj /่ja:/ | nywj /ɲa:/ |
ʰɲaɯ | ɲaɯ | ใหญ่ /jai/ | ໃຫຍ່ /ɲai/ | yawq /่jaɯ/ | - |
ʰɲiŋ | ɲiŋ | หญิง /jiŋ/ | ຍິງ /ɲiŋ/ | *ying /jiŋ/ | nyingz /ɲiŋ/ |
ɲin | ɲin | ยิน /jin/ | ຍິນ /ɲin/ | yinz /jin/ | nyi /ɲi/ |
ɲo:t | ɲo:t | ยอด /jo:t/ | ຍອດ /ɲo:t/ | yod /jo:t/ | nyod /ɲo:t/ |
- มีวรรณยุกต์เพียงสามเสียงเท่านั้น ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก และเสียงโท (หรือเขียนแทนด้วย *A, *B และ *C ตามลำดับ) ในพยางค์เป็น (unchecked syllable) จะมีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้ 3 เสียง ส่วนพยางค์ตาย (checked syllable) มีเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นไปได้เพียงเสียงเดียว คือเสียงเอก
- นอกจากอักษรควบกล้ำทั่วไป (อย่าง กร-ฅร-ขร-คร-ตร-ปร-พร/กล-ฅล-ขล-คล-ปล-พล/กว-คว-ฅว) แล้วยังมีอักษรควบกล้ำพิเศษอีก 4 ตัว ก็คือ (*bd บด, *pt ผต, *mr/ml มร/มล, *thr ถร) ตามผลการวิจัยของนักภาษาศาสตร์ภาษาไทกะได เช่น André-Georges Haudricourt และ Li Fang-Kuei ปัจจุบันสามารถหาหลักฐาน จากภาษาไทกะไดต่าง ๆ ได้ → ตัวอย่าง 5
ไท-กะไดเก่า | ไทยปัจจุบัน | ภาษาแสก | ลาวปัจจุบัน | จ้วงใต้ปัจจุบัน | จ้วงเหนือปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|
*bdi: บดี | /di:/ ดี | /di:/ | /di:/ | /bi:/ | |
*bdo:k บดอก | /do:k/ ดอก | /do:k/ | /bjo:k/ | */bjo:k/ | |
*bdɯ:an เบดือน | /dɯ:an/ เดือน | /dɯ:an/ | /bɯ:an/ | /dɯ:an/ | |
*pta:k ผตาก | /ta:k/ ตาก | /pra:k/ | /ta:k/ | /phja:k/ | /ta:k/ |
*pte:ŋ แผตง | /te:ŋ/ แตง | /preŋ/ | /te:ŋ/ | /phe:ŋ/ | /te:ŋ/ |
*pte:n แผตน | /te:n/ แตน | /pren/ | /te:n/ | /phe:n/ | /te:n/ |
*pte:k แผตก | /te:k/ แตก | /prek/ | /te:k/ | /phe:k/ | /te:k/ |
*pto:k ผตอก | /to:k/ ตอก | /pruk/ | /to:k/ | /phjo:k/ | /to:k/ |
*ptak ผตัก | /tak/ ตั๊ก | /prak/ | /tak/ | /rak/ | /tak/ |
*pta: ผตา | /ta:/ ตา | /pra/ | /ta:/ | /tha:/ | /ta:/ |
*pta:i ผตาย | /ta:i/ ตาย | /prai/ | /ta:i/ | /tha:i/ | /ta:i/ |
- มีเสียงสระประสม /aɰ/ ซึ่งเขียนแทนด้วยไม้ม้วน (ใ) เสียงสระนี้ได้สูญหายไปจากภาษาไทยปัจจุบัน โดยกลายเป็นเสียง [aj] สำหรับสระอื่น ๆ โดยหลัก ๆ ไม่มีความแตกต่างจากภาษาไทยปัจจุบัน → ตัวอย่าง 6
ไท-กะไดเก่า | ไทยเก่า | ไทยปัจจุบัน | ลาวปัจจุบัน | จ้วงใต้ปัจจุบัน | จ้วงเหนือปัจจุบัน |
---|---|---|---|---|---|
klaɯ | klaɯ | ใกล้ /klai/ | ໄກ້, ໃກ້ /kai/ | gyawj (cawj) /kjaɯ//tsaɯ/ | gyawj /kjaɯ/ |
glaɯ | khlaɯ | ใคร /khrai/ | ไม่มี | kaw /kaɯ/ (ใคร/ไหน) | lawz /laɯ/ |
graɯ | khraɯ | ใคร่ /khrai/ | ໃຄ່ /khai/ | - | - |
gaɯ | *khaɯ | *ใค่ /khai/(บวม) | ໃຄ່ (บวม) /khai/ | kawq /khaɯ/ | gawq /kaɯ/ |
gaɯ | *khaɯ | *ใค่ /khai/ (แห้ง) | ໃຄ່ (แห้ง) /khai/ | kawh /khaɯ/ | gawh /kaɯ/ |
tɕaɯ | tsaɯ | ใจ /tsai/ | ໃຈ /tsai/ | *jaw /tsaɯ/ | *cawz /saɯ/ |
dʑaɯ | tshaɯ | ใช่ /tshai/ | ໃຊ່ /sai/ | cwh /sɯ/ | cawh /saɯ/ |
สามารถสรุประบบเสียงพยัญชนะภาษาไทยเก่าได้ดังนี้
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กัก | ไม่ก้อง ไม่มีลม | ป /p/ | ต /t/ | จ /c/ (หรือ /t͡ɕ/) | ก /k/ | ||||||
ไม่ก้อง มีลม | ผ /pʰ/ | ถ /tʰ/ | ฉ /cʰ/ (หรือ /t͡ɕʰ/) | ข /kʰ/ | |||||||
ก้อง | พ /b/ | ท /d/ | ช /ɟ/ (หรือ /d͡ʑ/) | ค /ɡ/ | |||||||
กักเส้นเสียง | บ /ʔb/ (หรือ /ɓ/) | ด /ʔd/ (หรือ /ɗ/) | อย /ʔj/ | อ /ʔ/ | |||||||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | ฝ /f/ | ส /s/ | ฃ /x/ | ห /h/ | ||||||
ก้อง | ฟ /v/ | ซ /z/ | ฅ /ɣ/ | ||||||||
นาสิก | ไม่ก้อง | หม /hm/ | หน /hn/ | หญ /hɲ/ | (หง /hŋ/) | ||||||
ก้อง | ม /m/ | น /n/ | ญ /ɲ/ | ง /ŋ/ | |||||||
เสียงไหลและกึ่งสระ | ไม่ก้อง | หว /hw/ | (หร /hr/) หล /hl/ | ||||||||
ก้อง | ว /w/ | ร /r/ ล /l/ | ย /j/ |
- สีเขียว สีชมพู และสีฟ้า คือหน่วยเสียงพยัญชนะที่จะพัฒนาไปเป็นอักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ ในอนาคต ตามลำดับ
ระบบเสียงข้างต้นมีความสอดคล้องกันกับอักษรในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง นั่นคือ มีการใช้อักษร ฃ และ ฅ แยกกับ ข และ ค อย่างชัดเจน บ่งบอกว่าภาษาไทยในสมัยที่มีการสร้างจารึกดังกล่าว หน่วยเสียงพยัญชนะเหล่านี้ต้องแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังอธิบายได้ว่า เหตุใดวรรณยุกต์ในภาษาไทยในจารึกสมัยสุโขทัยจึงมีวรรณยุกต์เพียง 2 รูป (เอกและโท) เท่านั้น เป็นเพราะว่าภาษาไทยเก่ามีวรรณยุกต์เพียงสามเสียงเท่านั้น (เสียงสามัญไม่เขียนรูปวรรณยุกต์)
อย่างไรก็ตาม หน่วยเสียง /x/ และ /ɣ/ น่าจะมีการสูญหายไปในอย่างรวดเร็วในสมัยพระยาลิไท โดยเกิดการรวมกับหน่วยเสียง /kʰ/ และ /g/ โดยสังเกตได้จากการใช้รูปพยัญชนะ ฃ สลับกับ ข และ ฅ สลับกับ ค ในศิลาจารึกสมัยพระยาลิไท บ่งบอกว่าหน่วยเสียงทั้งสองคู่ไม่มีความแตกต่างกันอีกต่อไป ปัจจุบันจึงมีการเลิกใช้ตัวอักษร ฃ และ ฅ
ระบบเสียงวรรณยุกต์สามเสียงสอดคล้องกับฉันทลักษณ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่นการบังคับเอกโทในโคลงสี่สุภาพ ในวรรณกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่เขียนในโคลงสี่สุภาพ ยังไม่ปรากฏว่ามีการใช้คำเอกโทษหรือโทโทษเกิดขึ้น จึงสันนิษฐานได้ว่าระบบเสียงของภาษาไทยที่ใช้ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงเป็นระบบเสียงแบบเก่าอยู่ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงภาษาไทยต่อไปในสมัยอยุธยาตอนกลาง อนึ่ง เสียงสระ ใ /aɰ/ และ ไ /aj/ ในสมัยอยุธยาตอนต้นยังคงรักษาความแตกต่างไว้ได้เช่นกัน โดยสังเกตได้จากการที่คำที่มีรูปสระ ไ และ ใ จะไม่สัมผัสกัน
การเปลี่ยนแปลงระบบเสียงที่สำคัญ
ในสมัยอยุธยาตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 21) ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงภาษาไทยเก่าขึ้น นับเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากภาษาไทยเก่าไปเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ โดยมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 3 เสียง (*A, *B และ *C) ได้แตกตัวออกเป็นเสียงละ 2 เสียง รวมทั้งหมดเป็น 6 เสียง (*A1, *A2, *B1, *B2, *C1 และ *C2) ขึ้นอยู่กับความก้องของเสียงพยัญชนะต้น แต่หน่วยเสียงที่แตกตัวออกมาเป็นคู่ ๆ เหล่านั้นยังคงมีความแตกต่างกันเพียงในระดับหน่วยเสียงย่อย เท่านั้น
- เสียงวรรณยุกต์ชุดแรก *A1, *B1 และ *C1 จะปรากฏในคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงไม่ก้อง และเสียงกักเสีนเสียง ได้แก่ /p pʰ t tʰ t͡ɕ t͡ɕʰ k kʰ ʔ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/
- เสียงวรรณยุกต์ชุดที่สอง *A2, *B2 และ *C2 จะปรากฏในคำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงก้อง ได้แก่ /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/
- เกิดการยุบรวม (merger) ของหน่วยเสียงพยัญชนะต่อไปนี้
- เสียงกัก ก้อง (/b d d͡ʑ g/) ได้ยุบรวมกับเสียงกัก มีลม ไม่ก้อง (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ/)
- เสียงเสียดแทรก ก้อง (/v z/) ได้ยุบรวมกับเสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง (/f s/)
- เสียงกังวาน (sonorant) ไม่ก้อง (/m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) ยุบรวมกับเสียงกังวาน ก้อง (/m n ɲ ŋ w l/)
- คู่ของเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 3 คู่ มีการแบ่งแยกความแตกต่างมากขึ้น จนไปถึงระดับหน่วยเสียง (phoneme)
- มีการแตกตัวและการรวมของเสียงวรรณยุกต์ต่อไป
ภาษาไทยถิ่นกลางมีการแตกตัวและการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่มีลักษณะเฉพาะ แบ่งแยกได้จากภาษาถิ่นภาคอื่น ๆ ได้แก่ การแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ *A ออกเป็นสองเสียงที่ต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงไม่ก้องที่มีลม (/pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/) กับเสียงไม่ก้องที่ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/) และมีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *B2 (เอก-ก้อง) และ *C1 (โท-ไม่ก้อง) อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า ค่า กับ ข้า หรือคำว่า น่า กับ หน้า จึงออกเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงเดียวกันในภาษาไทยถิ่นกลาง แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือและอีสานที่มีการแตกตัวและยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างไปจากนี้ จึงออกเสียงวรรณยุกต์ของทั้งสองคำนี้ต่างกันไปด้วย
สำหรับภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงอยุธยา เป็นต้น มีการยุบรวมเสียงวรรณยุกต์ *A1 ของพยัญชนะเสียงไม่ก้อง ไม่มีลม (/p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/) กับเสียงวรรณยุกต์ *A2 ของพยัญชนะเสียงก้อง (/b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/) ด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคำว่า กา กับ คา จึงออกเสียงวรรณยุกต์เหมือนกัน (เสียงสามัญ) แต่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างจากคำว่า ขา ซึ่งเป็นเสียงจัตวา ในขณะที่ภาษาไทยถิ่นกลางบางสำเนียง เช่น สำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีการออกเสียงวรรณยุกต์ของคำว่า กา กับ คา ที่ต่างกันอยู่ นั่นคือยังไม่มีการยุบรวมของเสียงวรรณยุกต์ *A1 และ *A2 ดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ภาษาไทยกรุงเทพปัจจุบันมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 5 หน่วยเสียง และสำเนียงสุพรรณ (ในผู้พูดบางราย) มีเสียงวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง
รูปแบบการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ของภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ และสำเนียงสุพรรณบุรี สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้ (ให้เสียงวรรณยุกต์เดียวกันมีสีเดียวกัน และวรรณยุกต์ที่ปรากฏในตารางเป็นเสียงวรรณยุกต์ในปัจจุบัน)
คำเป็น | คำตาย | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
กลุ่มพยัญชนะ | เสียงพยัญชนะเดิม | สามัญเดิม (*A) | เอกเดิม (*B) | โทเดิม (*C) | สระยาว (*DL) | สระสั้น (*DS) |
พยัญชนะไม่ก้อง มีลม (อักษรสุง) | /pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/ | 5 | 2 | 3 | 2 | 2 |
พยัญชนะไม่ก้อง ไม่มีลม (อักษรกลาง) | /p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/ | 1 | ||||
พยัญชนะก้อง (อักษรต่ำ) | /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/ | 3 | 4 | 3 | 4 |
คำเป็น | คำตาย | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
กลุ่มพยัญชนะ | เสียงพยัญชนะเดิม | สามัญเดิม (*A) | เอกเดิม (*B) | โทเดิม (*C) | สระยาว (*DL) | สระสั้น (*DS) |
พยัญชนะไม่ก้อง มีลม (อักษรสุง) | /pʰ tʰ t͡ɕʰ kʰ h f s x m̥ n̥ ɲ̊ ŋ̊ ʍ l̥/ | 5 | 2 | 3 | 2 | 2 |
พยัญชนะไม่ก้อง ไม่มีลม (อักษรกลาง) | /p t t͡ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ/ | 1.1 | ||||
พยัญชนะก้อง (อักษรต่ำ) | /b d d͡ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j/ | 1.2 | 3 | 4 | 3 | 4 |
วรรณยุกต์ที่ 1–5 ในภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพในตาราง คือวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ
แม้ว่าจะมีการการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงวรรณยุกต์จากภาษาไทยเก่ามาเป็นภาษาไทยสมัยใหม่ แต่อักขรวิธีของภาษาไทยยังคงรูปเขียนเช่นเดิม ทำให้รูปเขียนและเสียงอ่านมีความไม่สอดคล้องกันขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คำว่า ข้า กับ ค้า ที่ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ทั้ง ๆ ที่มีรูปวรรณยุกต์โทเช่นเดียวกัน เกิดจากการที่ทั้งสองคำนี้เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน แต่มีเสียงพยัญชนะต้นที่แตกต่างกัน คือเสียง ข /kʰ/ และ ค /g/ ในภาษาไทยเก่า ความไม่สอดคล้องกันระหว่างรูปเขียนและเสียงอ่าน ทำให้เกิดระบบไตรยางศ์ ขึ้น โดยเป็นระบบการจัดหมวดหมู่รูปพยัญชนะอักษรไทยที่จัดให้รูปวรรณยุกต์หนึ่ง ๆ มีการออกเสียงที่แตกต่างกันได้เป็น 2 เสียง ขึ้นอยู่กับรูปพยัญชนะต้นของคำนั้น ๆ ซึ่งเป็นไปตามรูปแบบการแตกตัวและยุบรวมของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระข้างต้น
เสียงวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยา
หลักฐานที่บ่งบอกถึงเสียงวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยามีน้อยมาก ระบบไตรยางศ์แบบเดียวกันกับภาษาไทยปัจจุบันนี้ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างช้าสุดในตำราจินดามณี จากการสืบสร้างเสียงวรรณยุกต์จากตำราจินดามณี พบว่ามีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง และมีการแตกตัวของเสียงวรรณยุกต์คล้ายคลึงกับภาษาไทยปัจจุบัน แต่ระดับเสียงและรูปร่างเสียงวรรณยุกต์ (contour) ยังคงมีความแตกต่างจากภาษาไทยปัจจุบันอยู่พอสมควร เสียงวรรณยุกต์สมัยนี้อาจมีความคล้ายคลึงกับสำเนียงพากย์โขน (วริษา กมลนาวิน, 2546)
(2559) ได้เสนอการสืบสร้างระบบเสียงวรรณยุกต์จากตำราจินดามณีดังต่อไปนี้
หน่วยเสียง | ระดับเสียงจากจินดามณี | เทียบระดับเสียงปัจจุบัน |
---|---|---|
สามัญ | กลาง | กลาง |
เอก | กลาง ถึง สูง* | กึ่งต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว |
โท | กลาง-ตก | สูง-ตก |
ตรี | สูง** | กึ่งสูง-ขึ้น หรือ สูงอย่างเดียว |
จัตวา | สูง** | ต่ำ-ขึ้น |
- * ระบุระดับเสียงไม่ได้ชัดเจน
- ** ระบุความแตกต่างของสองเสียงนี้ไม่ได้ชัดเจน
และได้เสนอว่าระบบวรรณยุกต์ในสมัยอยุธยามีรูปแบบการแตกตัวที่ต่างไปจากภาษาไทยปัจจุบัน คือ เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่มีอักษรต่ำ คำตาย เสียงสระสั้น กับ พยางค์ที่มีอักษรต่อ คำตาย เสียงยาว มีเสียงเดียวกัน (ตัวอย่างเช่น คำว่า คัด กับ คาด เคยมีเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน) ซึ่งสรุปการแตกตัวได้ดังนี้
คำเป็น | คำตาย | ||||
---|---|---|---|---|---|
สามัญเดิม (*A) | เอกเดิม (*B) | โทเดิม (*C) | สระยาว (*DL) | สระสั้น (*DS) | |
อักษรสุง | 5 | 2 | 3 | 2 | |
อักษรกลาง | 1 | ||||
อักษรต่ำ | 3 | 4 | 3 |
สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูปภาษาไทยโดยเมื่อ พ.ศ. 2485 มีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย การเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ ที่สังเกตได้มีดังนี้
- ตัดพยัญชนะ ฃ ออก แล้วใช้ ข แทน
- ตัดพยัญชนะ ฅ และ ฆ ออก แล้วใช้ ค แทน
- ตัดพยัญชนะ ฌ ออก แล้วใช้ ช แทน
- ตัดพยัญชนะ ฎ ออก แล้วใช้ ด แทน
- ตัดพยัญชนะ ฏ ออก แล้วใช้ ต แทน
- ตัดพยัญชนะ ฐ ออก แล้วใช้ ถ แทน
- ตัดพยัญชนะ ฑ ออก แล้วใช้ ท แทน
- ตัดพยัญชนะ ฒ ออก แล้วใช้ ธ แทน
- ตัดพยัญชนะ ณ ออก แล้วใช้ น แทน
- ตัดพยัญชนะ ศ และ ษ ออก แล้วใช้ ส แทน
- ตัดพยัญชนะ ฬ ออก แล้วใช้ ล แทน
- พยัญชนะ ญ ถูกตัดเชิงออกกลายเป็น
- พยัญชนะสะกดของคำที่ไม่ได้มีรากมาจาก คำบาลี-สันสกฤต เปลี่ยนเป็นพยัญชนะสะกดตามแม่โดยตรง เช่น อาจ เปลี่ยนเป็น อาด, สมควร เปลี่ยนเป็น สมควน
- เปลี่ยน อย เป็น หย เช่น อยาก เปลี่ยนเป็น หยาก
- เลิกใช้คำควบไม่แท้ เช่น จริง เขียนเป็น จิง, ทรง เขียนเป็น ซง
- ร หัน ที่มิได้ออกเสียง /อัน/ ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นสระอะตามด้วยตัวสะกด เช่น อุปสรรค เปลี่ยนเป็น อุปสัค, ธรรม เปลี่ยนเป็น ธัม
- เลิกใช้สระใอ (ไม้ม้วน) เปลี่ยนเป็นสระไอ (ไม้มลาย) ทั้งหมด
- เลิกใช้ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เปลี่ยนไปใช้การสะกดตามเสียง เช่น พฤกษ์ ก็เปลี่ยนเป็น พรึกส์, ทฤษฎี ก็เปลี่ยนเป็น ทริสดี
- ใช้เครื่องหมายวรรคตอนอย่างภาษาต่างประเทศ เช่น มหัพภาค (.) เมื่อจบประโยค จุลภาค (,) เมื่อจบประโยคย่อยหรือวลี อัฒภาค (;) เชื่อมประโยค และจะไม่เว้นวรรคถ้ายังไม่จบประโยคโดยไม่จำเป็น
หลังจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง
สัทวิทยา
ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท คือ
- หน่วยเสียงพยัญชนะ
- หน่วยเสียงสระ
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์
พยัญชนะ
พยัญชนะต้น
ภาษาไทยมาตรฐานแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
- เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
- เสียงไม่ก้อง พ่นลม
- เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง เอส (S) ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นมี 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น
เสียงนาสิก | [m] ม | [n] ณ, น | [ŋ] ง | |||
---|---|---|---|---|---|---|
เสียงกัก | ก้อง | [b] บ | [d] ฎ, ด, ฑ** | |||
ไม่ก้อง ไม่มีลม | [p] ป | [t] ฏ, ต | [tɕ] จ | [k] ก | [ʔ] อ | |
ไม่ก้อง มีลม | [pʰ] ผ, พ, ภ | [tʰ] ฐ, ฑ**, ฒ, ถ, ท, ธ | [tɕʰ] ฉ, ช, ฌ | [kʰ] ข, ฃ*, ค, ฅ*, ฆ | ||
[f] ฝ, ฟ | [s] ซ, ศ, ษ, ส | [h] ห, ฮ | ||||
[w] ว | [l] ล, ฬ | [j] ญ, ย | ||||
[r] ร |
* ฃ และ ฅ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร
** ฑ มีอยู่สองเสียง คือ [tʰ] เมื่อเป็นคำเป็น และ [d] เมื่อเป็นคำตาย
พยัญชนะสะกด
ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก ฃ และ ฅ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ฉ ผ ฝ ห อ ฮ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36
ริมฝีปาก ทั้งสอง | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |
---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ม | [n] ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ | [ŋ] ง | ||
เสียงกัก | [p̚] บ, ป, พ, ฟ, ภ | [t̚] จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, | [k̚] ก, ข, ค, ฆ | [ʔ]* - | |
เสียงเปิด | [w] ว | [j] ย |
* เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง [ʔ] จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด
กลุ่มพยัญชนะ
แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกด อาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกัน จะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานอ่อน | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
พยัญชนะเดี่ยว | [p] ป | [pʰ] ผ, พ | [t] ต | [k] ก | [kʰ] ข, ฃ, ค, ฅ | |
เสียงรัว | [r] ร | [pr] ปร | [pʰr] พร | [tr] ตร | [kr] กร | [kʰr] ขร, ฃร, คร |
เสียงเปิด | [l] ล | [pl] ปล | [pʰl] ผล, พล | [kl] กล | [kʰl] ขล, คล | |
[w] ว | [kw] กว | [kʰw] ขว, ฃว, คว, ฅว |
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกหกเสียงจากคำยืมภาษาต่างประเทศ ได้แก่
- /br/ (บร) เช่น บรอนซ์, เบรก
- /bl/ (บล) เช่น บล็อก, เบลอ
- /dr/ (ดร) เช่น ดราฟต์, ดริงก์
- /fr/ (ฟร) เช่น ฟรักโทส, ฟรี
- /fl/ (ฟล) เช่น ฟลูออรีน, แฟลต
- /tʰr/ (ทร) เช่น จันทรา, แทรกเตอร์
เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก
สระ
เสียงสระในภาษาไทยมาตรฐานแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)
สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง
| สระเดี่ยว | สระประสม |
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
- เ–ีย [iːa] ประสมจากสระ อี และ อา ia
- เ–ือ [ɯːa] ประสมจากสระ อือ และ อา uea
- –ัว [uːa] ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้น | สระเสียงยาว | สระเกิน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด | ||
–ะ | –ั–1, -รร, -รร- | –า | –า– | –ำ | (ไม่มี) | ||
–ิ | –ิ– | –ี | –ี– | ใ– | (ไม่มี) | ||
–ึ | –ึ– | –ือ | –ื– | ไ– | (ไม่มี) | ||
–ุ | –ุ– | –ู | –ู– | เ–า | (ไม่มี) | ||
เ–ะ | เ–็–, เ––2 | เ– | เ–– | ฤ, –ฤ | ฤ–, –ฤ– | ||
แ–ะ | แ–็–, แ––2 | แ– | แ–– | ฤๅ, –ฤๅ | (ไม่มี) | ||
โ–ะ | –– | โ– | โ–– | ฦ, –ฦ | ฦ–, –ฦ– | ||
เ–าะ | –็อ–, -อ-2 | –อ | –อ–, ––3 | ฦๅ, –ฦๅ | (ไม่มี) | ||
–ัวะ | –็ว– | –ัว | –ว– | ||||
เ–ียะ | (ไม่มี) | เ–ีย | เ–ีย– | ||||
เ–ือะ | (ไม่มี) | เ–ือ | เ–ือ– | ||||
เ–อะ | เ–ิ–4, เ––4 | เ–อ | เ–ิ–, เ––5, เ–อ–6 |
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
- –ำ [am, aːm] am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
- ใ– [aj, aːj] ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
- ไ– [aj, aːj] ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
- เ–า [aw, aːw] ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
- ฤ [rɯ] rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางคำเปลี่ยนเป็น [ri] (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ [rɤː] (เรอ) เช่น ฤกษ์
- ฤๅ [rɯː] rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
- ฦ [lɯ] lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
- ฦๅ [lɯː] lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
- คำที่สะกดด้วย –ั (สระ -ะ) + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
- สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน
- คำที่สะกดด้วย –อ (สระ -อ) + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
- สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ เช่น เงิน เปิ่น เห่ย
- คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย
- พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม
วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์
คำเป็น
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานจำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ | ตัวอย่าง | |||
---|---|---|---|---|
เสียง | ระดับเสียง | อักษรไทย | สัทอักษรสากล | |
หน่วยเสียง | เสียง | |||
สามัญ | กลาง | นา | /nāː/ | [naː˧] |
เอก | กึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียว | หน่า | /nàː/ | [naː˨˩] |
โท | สูง-ต่ำ | น่า/หน้า | /nâː/ | [naː˥˩] |
ตรี | กึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียว | น้า | /náː/ | [naː˦˥] |
จัตวา | ต่ำ-กึ่งสูง | หนา | /nǎː/ | [naː˩˩˦] |
คำตาย
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว เช่น
เสียง | สระ | ตัวอย่าง | ||
---|---|---|---|---|
อักษรไทย | หน่วยเสียง | เสียง | ||
เอก | สั้น | หมัก | /màk/ | [mak̚˨˩] |
ยาว | หมาก | /màːk/ | [maːk̚˨˩] | |
ตรี | สั้น | มัก | /mák/ | [mak̚˦˥] |
โท | ยาว | มาก | /mâːk/ | [maːk̚˥˩] |
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย เช่น
เสียง | สระ | ตัวอย่าง | |||
---|---|---|---|---|---|
อักษรไทย | หน่วยเสียง | เสียง | อังกฤษ | ||
ตรี | ยาว | มาร์ก | /máːk/ | [maːk̚˦˥] | Marc, Mark |
สตาร์ต | /sa.táːt/ | [sa.taːt̚˦˥] | start | ||
บาส (เกตบอล) | /báːt (.kêt.bɔ̄n) / | [baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)] | basketball | ||
โท | สั้น | เมคอัพ | /méːk.ʔâp/ | [meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩] | make-up |
รูปวรรณยุกต์
ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
รูปวรรณยุกต์ | ชื่อ | |
---|---|---|
ไทย | สัทอักษร | |
-่ | ไม้เอก | /máːj.ʔèːk/ |
-้ | ไม้โท | /máːj.tʰōː/ |
-๊ | ไม้ตรี | /máːj.trīː/ |
-๋ | ไม้จัตวา | /máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/ |
การเขียนเสียงวรรณยุกต์
ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
รูปวรรณยุกต์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ไม่เขียน | -่ | -้ | -๊ | -๋ | ||
อักษร | สูง | เสียงจัตวา | เสียงเอก | เสียงโท | - | - |
ตัวอย่าง | ขา | ข่า | ข้า | - | - | |
กลาง | เสียงสามัญ | เสียงเอก | เสียงโท | เสียงตรี | เสียงจัตวา | |
ตัวอย่าง | ปา | ป่า | ป้า | ป๊า | ป๋า | |
ต่ำ | เสียงสามัญ | เสียงโท | เสียงตรี | - | - | |
ตัวอย่าง | คา | ค่า | ค้า | - | - |
คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ หรือ อักษรควบ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้าคำควบกล้ำ (อักษรควบ) มี 2 ชนิด คือ
คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน
คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้า หรือมิฉะนั้น ก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป
ไวยากรณ์
ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป ไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) วาจก (voice) หรือบุรุษ (person) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงค์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้เป็นคำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เช่น ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต เมื่อนำคำที่รับมานั้นมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป
คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำได้อย่างตายตัว จำเป็นต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO)
วากยสัมพันธ์
ลักษณะทางวากยสัมพันธ์ หรือการเรียงลำดับคำในประโยค โดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี เช่น ในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น 'กรรม-ประธาน-กริยา' (object-subject-verb หรือ OSV) ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำที่เป็นกรรมคำนั้น เช่น
กรณี | ลำดับคำ | ตัวอย่าง |
---|---|---|
ธรรมดา (unmarked) | ประธาน-กริยา-กรรม | วัวกินหญ้าแล้ว |
เน้นกรรม (object topicalization) | กรรม-ประธาน-กริยา | หญ้านี้ วัวกินแล้ว หรือ หญ้าเนี้ย วัวกินแล้ว |
การยืมคำจากภาษาอื่น
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็น คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
- ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไท ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
- อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทฺธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทฺธิ ऋद्धि (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
- รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
- วชิระ (บาลี: วชิร [vajira]), วัชระ (สันส: วชฺร वज्र [vajra])
- ศัพท์ (สันส: ศพฺท शब्द [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี: สทฺท [sadda])
- อัคนี และ อัคคี (สันส: อคฺนิ अग्नि [agni] บาลี: อคฺคิ [aggi])
- โลก (โลก) – บาลี: โลก [loka] (สันสกฤต: लोक โลก)
- ญาติ (ยาด) – บาลี: ญาติ (ยา-ติ) [ñāti]
- เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
- เพียร (มาจาก พิริย และมาจาก วิริย อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรฺย वीर्य [vīrya], บาลี:วิริย [viriya])
- พฤกษา หรือ พฤกษ์ (สันส:วฺฤกฺษ वृक्ष [vṛkṣa])
- พัสดุ (สันส: वस्तु [vastu] (วสฺตุ); บาลี: [vatthu] (วตฺถุ) )
- เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
- หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หรติ))
- เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
- หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
- เทวดา (บาลี:เทวตา [devatā])
- วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] वस्तु (วสฺตุ); บาลี: [vatthu] (วตฺถุ))
- กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: कपिलवस्तु [kapilavastu] (กปิลวสฺตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวตฺถุ))
- เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
- กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: कपिलवस्तु [kapilavastu] (กปิลวสฺตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวตฺถุ))
- บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพฺพ))
ภาษาอังกฤษ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น
- ประปา จากคำว่า วอเตอร์ซัปพลาย (water supply)
- สถานี จากคำว่า สเตชัน (station)
- รถยนต์ จากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar)
- เรือยนต์ จากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat)
- ประมวล จากคำว่า โค้ด (code)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ภาษาไทย ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- "Languages of ASEAN". สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- Diller, A.; Reynolds, Craig J. (2002). "What makes central Thai a national language?". ใน Reynolds (บ.ก.). National identity and its defenders : Thailand today. Chiang Mai: Silkworm Books. ISBN . OCLC 54373362.
- Draper, John (2019), "Language education policy in Thailand", The Routledge International Handbook of Language Education Policy in Asia, Abingdon, Oxon; New York, NY: Routledge, pp. 229–242, doi:10.4324/9781315666235-16, ISBN , S2CID 159127015
- Pittayaporn, Pittayawat [พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์]. (2009a). The Phonology of Proto-Tai (Doctoral dissertation). Department of Linguistics, Cornell University.
- วริษา กมลนาวิน. การวิเคราะห์ระบบเสียงวรรณยุกต์ของชาวกรุงศรีอยุธยาจากเสียงเจรจาโขนและจินดามณี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3 (2), 28 - 54. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/29103.
- Pittayawat Pittayaporn. Chindamani and reconstruction of Thai tones in the 17th century. Diachronica 33(2):187-219.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-31. สืบค้นเมื่อ 2013-05-27.
- ศูนย์การแปลและล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปล ; ปรีมา มัลลิกะมาส, นริศรา จักรพงษ์, ไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ บรรณาธิการ, พจนานุกรมออกซฟอร์ด-ริเวอร์ บุ๊คส์ อังกฤษไทย, River Books, 2549, หน้า 1041
- "thai-language.com - Thai Vowels, Diphthongs, and Their Transcription". www.thai-language.com.
- ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ น่า ๗๘๖ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๑๒๘ แจ้งความกรมราชเลขานุการ เรื่อง กำหนดให้เรียกคำบางคำในภาษาอังกฤษ เป็นคำภาษาไทย คือคำว่าวอเตอร์สัปพลาย ให้เรียกว่าประปา คำว่าสเตชัน ให้เรียกว่าสถานี คำว่ารถมอเตอร์คาร์ ให้เรียกว่ารถยนต์ คำว่าเรือมอเตอร์ ให้เรียกว่าเรือยนตร์
- ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๑๒๘ เล่ม ๖๖ น่า ๑๐๖๐ แจ้งความกรมราชเลขานุการ เรื่อง ให้กำหนดเรียกคำว่า ประมวล แทนคำที่เรียกตามภาษาอังกฤษว่า โค้ด
- กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น, 2533.
- นันทนา รณเกียรติ. สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548. .
- อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล และ กัลยารัตน์ ฐิติกานต์นารา. 2549.“การเน้นพยางค์กับทำนองเสียงภาษาไทย” (Stress and Intonation in Thai) วารสารภาษาและภาษาศาสตร์ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (มกราคม – มิถุนายน 2549) หน้า 59-76
- สัทวิทยา: การวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษา. 2547. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- Gandour, Jack, Tumtavitikul, Apiluck and Satthamnuwong, Nakarin.1999. “Effects of Speaking Rate on the Thai Tones.” Phonetica 56, pp.123-134.
- Tumtavitikul, Apiluck, 1998. “The Metrical Structure of Thai in a Non-Linear Perspective”. Papers presentd to the Fourth Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 1994, pp. 53-71. Udom Warotamasikkhadit and Thanyarat Panakul, eds. Temple, Arizona: Program for Southeast Asian Studies, Arizona State University.
- Apiluck Tumtavitikul. 1997. “The Reflection on the X’ category in Thai”. Mon-Khmer Studies XXVII, pp. 307-316.
- อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. 2539. “ข้อคิดเกี่ยวกับหน่วยวากยสัมพันธ์ในภาษาไทย” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 4.57-66.
- Tumtavitikul, Appi. 1995. “Tonal Movements in Thai”. The Proceedings of the XIIIth International Congress of Phonetic Sciences, Vol. I, pp. 188-121. Stockholm: Royal Institute of Technology and Stockholm University.
- Tumtavitikul, Apiluck. 1994. “Thai Contour Tones”. Current Issues in Sino-Tibetan Linguistics, pp.869-875. Hajime Kitamura et al, eds, Ozaka: The Organization Committee of the 26th Sino-Tibetan Languages and Linguistics, National Museum of Ethnology.
- Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “FO – Induced VOT Variants in Thai”. Journal of Languages and Linguistics, 12.1.34 – 56.
- Tumtavitikul, Apiluck. 1993. “Perhaps, the Tones are in the Consonants?” Mon-Khmer Studies XXIII, pp.11-41.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ภาษาไทยและอักษรไทย ที่ Omniglot (อังกฤษ)
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
- พจนานุกรม ภาษาไทยในรูปแบบ สตาร์ดิกต์ (StarDict), GoldenDict และ ABBYY Lingvo
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisudbthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxngkhunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxk haaehlngkhxmul phasaithy khaw hnngsuxphimph hnngsux skxlar JSTOR eriynruwacanasaraemaebbnixxkidxyangiraelaemuxir bthkhwamnixackhyaykhwamidodykaraeplbthkhwamthitrngkninphasaxngkvs khlikthi khyay ephuxsuksaaenwthangkaraeplkhunsamarthdu karaepldwykhxmphiwetxrcakbthkhwaminphasaxngkvs ekhruxngmuxchwyaeplxyang diphaexl hrux kuekilthranselth epncuderimtnthidisahrbkaraepl xyangirktam phuaeplcatxngtrwcsxbkhxphidphladcakkaraepldwykhxmphiwetxraelayunynwakaraeplnnthuktxng erakhxptiesthenuxhathikhdlxkcakekhruxngmuxaeplthiimmikartrwcthankxnephyaephr krunaxyaaeplswnkhxngkhxkhwamthiduaelwechuxthuximidhruxmikhunphaphta thaepnipid oprdchwyyunyndwykartrwcsxbaehlngxangxingthipraktinbthkhwamphasann oprdrabuiwinkhwamyxkaraekikhwakhunaeplenuxhamacakphasaid khunkhwrephimaemaebb Translated en Thai language iwinhnaphudkhuy sahrbkhaaenanaaelaaenwthangephimetim oprdsuksaidthi wikiphiediy karaepl phasaithy hrux phasaithyklang epnphasainklumphasaith sungepnklumyxykhxngtrakulphasakhra ith aelaepnphasarachkar aelaphasapracachatikhxngpraethsithy mikarsnnisthanwaphasaintrakulnimithinkaenidcakthangtxnitkhxngpraethscin aelankphasasastrbangswnesnxwa phasaithynacamikhwamechuxmoyngkbtrakulphasaxxsotr exechiytik trakulphasaxxsotrniesiyn aelatrakulphasacin thiebtphasaithyphasaithyklangxxkesiyng pʰaːsǎːtʰaj phumiphakhithy maelesiy kmphucha ekaakng phma tanawsri chatiphnthuchawithy cin mlayucanwnphuphud70 lankhn 2566 phuphudphasathisxng 20 lankhn sungrwmkhaemuxng xisan ithythinit ekhmrehnuxtrakulphasakhra ith ithithtawntkechiyngitechiyngaesnphasaithyrabbkarekhiynxksrithy xksrkhxmithy ichinthangsasna sthanphaphthangkarphasathangkar ithy xaesiynphasachnklumnxythirbrxngin kmphucha ekaakng maelesiy rthekxdah rthpalis rthklntn aelaxaephxhulueprk phma tanawsri sanknganrachbnthityspharhsphasaISO 639 1thISO 639 2thaISO 639 3tha47 AAA b source source source source source source source source track track phuphudphasaithy bnthukinkrungethphmhankhr phasaithyepnphasathimiradbesiyngkhxngkhaaennxnhruxwrrnyuktechnediywkbphasacin aelaxxkesiyngaeykkhatxkha phasaithypraktkhrngaerkinphuththskrach 1826 odyphxkhunramkhaaehng aelapraktxyangsaklaelaichinngankhxngrachkar emuxwnthi 31 minakhm phuththskrach 2476 dwykarkxtngsanknganrachbnthitysphakhun aelakarcaaenkkhra ith phasaeb klumphasaith klumphasaithtawntkechiyngit klumphasaithtawntkechiyngehnux phasakhatiphasaithluxphasaithihyxun klumphasaechiyngaesn phasaithythinehnuxphasasuokhthy phasaithyphasaithythinitklumphasalaw phuith phasayxphasaphuithphasalaw phasaxisan prawtimikaresnxwa bthkhwamnihruxswnnikhwraeykepnbthkhwamihmchux xphipray phasaithycdxyuinklumphasaith Tai languages phasahnung sungepnsakhayxykhxngtrakulphasakhra ith phasaithymikhwamsmphnthxyangiklchidkbphasainklumphasaithtawntkechiyngitphasaxun echn phasalaw phasaphuith phasakhaemuxng phasaithihy epntn rwmthungphasatrakulithxun echn phasacwng phasaehmahnan phasapuxi thiphudodychnphunemuxngbriewnihhnan kwangsi kwangtung kuyocw tlxdcnyunnan ipcnthung sungsnnisthanwacudkaenidkhxngphasaithynacamacakbriewndngklaw rawphuththstwrrsthi 13 15 idmikarxphyphkhxngphuphudphasaklumithlngmacakcintxnit mayngexechiytawnxxkechiyngit odynaphaphasaklumithlngmadwy phasathichnklumithklumniphudidrbkarsubsrangepn sunginewlatxmaidrbxiththiphlcakphasatrakulxxsotrexechiytik thiphudodychawxxsotrexechiytik aelaxyuxasyinexechiytawnxxkechiyngitxyuedim rwmthungidrbxiththiphlcakphasathangwrrnkrrm khux phasasnskvt aela phasabali cnphthnamaepnphasaithyinpccubn phasaithyeka swnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk phasaithyinxditmirabbesiyngthiaetktangipcakphasaithypccubnxyangchdecn sungmipraednsakhytxipni mikaraebngaeykrahwangesiyngkxngaelaesiyngimkxnginaethbthukthankrn aelathuk lksnakarekidesiyng manner of articulation nnkhux miesiyngphyychna b d d ʑ g sungaebngaeykcak p t t ɕ k xyangchdecn rwmthungmikaraebngaeykrahwangesiyngnasikaebbkxngaelaaebbimkxngdwy m n ɲ ŋ hrux ʰm ʰn ʰɲ ʰŋ kb m n ɲ ŋ twxyang 1 rwmthungesiyngepid ʍ l kb w l sunglksnadngklawniidsuyhayipinphasaithypccubn twxyang 1 ith kaideka ithyeka ithypccubn lawpccubn cwngitpccubn cwngehnuxpccubnʰma ʰma hma ma ໝາ ma ma ma ma ma ʰmi ʰmi hmi mi ໝ mi mi mi mwi mɯi ʰmu ʰmu hmu mu ໝ mu mu mu mou mou ʰnu ʰnu hnu nu ໜ nu nu nu nou nou ʰna ʰna hna na ໜາ na na na na na miesiyngkkesnesiyngnamakxn pre glottalized hruxesiyngkkesnesiynglmekha implosive idaek ʔb ʔd ʔj twxyang 2 twxyang 2 ith kaideka ithyeka ithypccubn lawpccubn cwngitpccubn cwngehnuxpccubnʔba ʔba ba ba ບ າ ba mbaj ba mbaj ʔba ʔbɯ a ʔbɯ a ebux bɯ a ເບ ອ bɯ a mbwaq bɯ a mbwq ʔbɯ ʔbaɯ ʔbaɯ ib bai ໃບ bai mbaw baɯ mbaw ʔbaɯ ʔbau ʔbau eba bau ເບ າ bau mbau bau mbau ʔbau ʔba n ʔba n ban ba n ບ ານ ba n mbanj ba n mbanj ʔba n ʔda ʔda da da ດ າ da ndaq da ndaq ʔda ʔdai ʔdai id dai ໄດ dai ndaej dai ndaej ʔdai miesiyngesiydaethrkephdanxxn kh x aela Kh ɣ sungtangcakesiyngkkephdanxxnxyangchdecn kh kʰ aela kh g twxyang 3 twxyang 3 ith kaideka ithyeka ithypccubn lawpccubn cwngitpccubn cwngehnuxpccubnxo n khxn xo n khxn kho n ຄ ອນ kho n honj ho n ronj ɣo n xa kha xa kha kha ຂ າ kha kaj kha haj ha ɣon Khn ɣon khn khon ຄ ນ khon koenz khen khon vunz wun ɣwa m Khwam ɣwa m khwam khwa m ຄວາມ khwa m vamz wa m vamz wa m ɣam Kha ɣam kha kham ຄຳ kham kaemz kham gaemz kam ɣa Kha ɣa hyakha kha ຄາ kha haz ha raz ɣa ɣlam Kha ɣam kha kham ຄ ຳ kham hamq ham hamq ham ɣɯn Khun ɣɯn khun khɯn ຄ ນ khɯn hwn hen hwn hen miesiyngphyychna ɲ sungekhiynaethndwy y esiyngphyychnaniidsuyhayipcakphasaithypccubn odyklayepnesiyng j sungepnesiyngediywknkb y twxyang 4 twxyang 4 ith kaideka ithyeka ithypccubn lawpccubn cwngitpccubn cwngehnuxpccubnɲi ɲi yi sxng yi ji obran yi ɲi ຍ yih ji sxng nyeih ɲei ngeih ʰɲa ɲa hya ja ຫຍ າ ɲa yaj ja nywj ɲa ʰɲaɯ ɲaɯ ihy jai ໃຫຍ ɲai yawq jaɯ ʰɲiŋ ɲiŋ hying jiŋ ຍ ງ ɲiŋ ying jiŋ nyingz ɲiŋ ɲin ɲin yin jin ຍ ນ ɲin yinz jin nyi ɲi ɲo t ɲo t yxd jo t ຍອດ ɲo t yod jo t nyod ɲo t miwrrnyuktephiyngsamesiyngethann idaek esiyngsamy esiyngexk aelaesiyngoth hruxekhiynaethndwy A B aela C tamladb inphyangkhepn unchecked syllable camiesiyngwrrnyuktthiepnipid 3 esiyng swnphyangkhtay checked syllable miesiyngwrrnyuktthiepnipidephiyngesiyngediyw khuxesiyngexk nxkcakxksrkhwbklathwip xyang kr Khr khr khr tr pr phr kl Khl khl khl pl phl kw khw Khw aelwyngmixksrkhwbklaphiessxik 4 tw kkhux bd bd pt pht mr ml mr ml thr thr tamphlkarwicykhxngnkphasasastrphasaithkaid echn Andre Georges Haudricourt aela Li Fang Kuei pccubnsamarthhahlkthan cakphasaithkaidtang id twxyang 5 twxyang 5 ith kaideka ithypccubn phasaaesk lawpccubn cwngitpccubn cwngehnuxpccubn bdi bdi di di di di bi bdo k bdxk do k dxk do k bjo k bjo k bdɯ an ebduxn dɯ an eduxn dɯ an bɯ an dɯ an pta k phtak ta k tak pra k ta k phja k ta k pte ŋ aephtng te ŋ aetng preŋ te ŋ phe ŋ te ŋ pte n aephtn te n aetn pren te n phe n te n pte k aephtk te k aetk prek te k phe k te k pto k phtxk to k txk pruk to k phjo k to k ptak phtk tak tk prak tak rak tak pta phta ta ta pra ta tha ta pta i phtay ta i tay prai ta i tha i ta i miesiyngsraprasm aɰ sungekhiynaethndwyimmwn i esiyngsraniidsuyhayipcakphasaithypccubn odyklayepnesiyng aj sahrbsraxun odyhlk immikhwamaetktangcakphasaithypccubn twxyang 6 twxyang 6 ith kaideka ithyeka ithypccubn lawpccubn cwngitpccubn cwngehnuxpccubnklaɯ klaɯ ikl klai ໄກ ໃກ kai gyawj cawj kjaɯ tsaɯ gyawj kjaɯ glaɯ khlaɯ ikhr khrai immi kaw kaɯ ikhr ihn lawz laɯ graɯ khraɯ ikhr khrai ໃຄ khai gaɯ khaɯ ikh khai bwm ໃຄ bwm khai kawq khaɯ gawq kaɯ gaɯ khaɯ ikh khai aehng ໃຄ aehng khai kawh khaɯ gawh kaɯ tɕaɯ tsaɯ ic tsai ໃຈ tsai jaw tsaɯ cawz saɯ dʑaɯ tshaɯ ich tshai ໃຊ sai cwh sɯ cawh saɯ samarthsruprabbesiyngphyychnaphasaithyekaiddngni rabbesiyngphyychna 35 37 hnwyesiyng rimfipak pumehnguxk ephdanaekhng ephdanxxn esnesiyngkk imkxng immilm p p t t c c hrux t ɕ k k imkxng milm ph pʰ th tʰ ch cʰ hrux t ɕʰ kh kʰ kxng ph b th d ch ɟ hrux d ʑ kh ɡ kkesnesiyng b ʔb hrux ɓ d ʔd hrux ɗ xy ʔj x ʔ esiydaethrk imkxng f f s s kh x h h kxng f v s z Kh ɣ nasik imkxng hm hm hn hn hy hɲ hng hŋ kxng m m n n y ɲ ng ŋ esiyngihlaelakungsra imkxng hw hw hr hr hl hl kxng w w r r l l y j siekhiyw sichmphu aelasifa khuxhnwyesiyngphyychnathicaphthnaipepnxksrklang xksrsung aelaxksrta inxnakht tamladb rabbesiyngkhangtnmikhwamsxdkhlxngknkbxksrinsilacarukphxkhunramkhaaehng nnkhux mikarichxksr kh aela Kh aeykkb kh aela kh xyangchdecn bngbxkwaphasaithyinsmythimikarsrangcarukdngklaw hnwyesiyngphyychnaehlanitxngaetktangkn nxkcakniyngxthibayidwa ehtuidwrrnyuktinphasaithyincaruksmysuokhthycungmiwrrnyuktephiyng 2 rup exkaelaoth ethann epnephraawaphasaithyekamiwrrnyuktephiyngsamesiyngethann esiyngsamyimekhiynrupwrrnyukt xyangirktam hnwyesiyng x aela ɣ nacamikarsuyhayipinxyangrwderwinsmyphrayaliith odyekidkarrwmkbhnwyesiyng kʰ aela g odysngektidcakkarichrupphyychna kh slbkb kh aela Kh slbkb kh insilacaruksmyphrayaliith bngbxkwahnwyesiyngthngsxngkhuimmikhwamaetktangknxiktxip pccubncungmikarelikichtwxksr kh aela Kh rabbesiyngwrrnyuktsamesiyngsxdkhlxngkbchnthlksninsmyxyuthyatxntn echnkarbngkhbexkothinokhlngsisuphaph inwrrnkrrmsmyxyuthyatxntnthiekhiyninokhlngsisuphaph yngimpraktwamikarichkhaexkothshruxothothsekidkhun cungsnnisthanidwarabbesiyngkhxngphasaithythiichinsmyxyuthyatxntnyngkhngepnrabbesiyngaebbekaxyu kxnthicamikarepliynaeplngkhxngrabbesiyngphasaithytxipinsmyxyuthyatxnklang xnung esiyngsra i aɰ aela i aj insmyxyuthyatxntnyngkhngrksakhwamaetktangiwidechnkn odysngektidcakkarthikhathimirupsra i aela i caimsmphskn karepliynaeplngrabbesiyngthisakhy insmyxyuthyatxntn phuththstwrrsthi 21 idekidkarepliynaeplngkhxngrabbesiyngphasaithyekakhun nbepncudepliynphancakphasaithyekaipepnphasaithysmyihm odymikhntxnkarepliynaeplngdngni hnwyesiyngwrrnyuktthng 3 esiyng A B aela C idaetktwxxkepnesiyngla 2 esiyng rwmthnghmdepn 6 esiyng A1 A2 B1 B2 C1 aela C2 khunxyukbkhwamkxngkhxngesiyngphyychnatn aethnwyesiyngthiaetktwxxkmaepnkhu ehlannyngkhngmikhwamaetktangknephiynginradbhnwyesiyngyxy ethann esiyngwrrnyuktchudaerk A1 B1 aela C1 capraktinkhathimiphyychnatnepnesiyngimkxng aelaesiyngkkesinesiyng idaek p pʰ t tʰ t ɕ t ɕʰ k kʰ ʔ h f s x m n ɲ ŋ ʍ l esiyngwrrnyuktchudthisxng A2 B2 aela C2 capraktinkhathimiphyychnatnepnesiyngkxng idaek b d d ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j ekidkaryubrwm merger khxnghnwyesiyngphyychnatxipni esiyngkk kxng b d d ʑ g idyubrwmkbesiyngkk milm imkxng pʰ tʰ t ɕʰ kʰ esiyngesiydaethrk kxng v z idyubrwmkbesiyngesiydaethrk imkxng f s esiyngkngwan sonorant imkxng m n ɲ ŋ ʍ l yubrwmkbesiyngkngwan kxng m n ɲ ŋ w l khukhxngesiyngwrrnyuktthng 3 khu mikaraebngaeykkhwamaetktangmakkhun cnipthungradbhnwyesiyng phoneme mikaraetktwaelakarrwmkhxngesiyngwrrnyukttxip phasaithythinklangmikaraetktwaelakaryubrwmkhxngesiyngwrrnyuktthimilksnaechphaa aebngaeykidcakphasathinphakhxun idaek karaetktwkhxngesiyngwrrnyukt A xxkepnsxngesiyngthitangknrahwangphyychnaesiyngimkxngthimilm pʰ tʰ t ɕʰ kʰ h f s x m n ɲ ŋ ʍ l kbesiyngimkxngthiimmilm p t t ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ aelamikaryubrwmkhxngesiyngwrrnyukt B2 exk kxng aela C1 oth imkxng xikdwy cungepnehtuphlwathaimkhawa kha kb kha hruxkhawa na kb hna cungxxkesiyngwrrnyuktepnesiyngediywkninphasaithythinklang aetktangcakphasaithythinehnuxaelaxisanthimikaraetktwaelayubrwmkhxngesiyngwrrnyuktthitangipcakni cungxxkesiyngwrrnyuktkhxngthngsxngkhanitangknipdwy sahrbphasaithythinklangbangsaeniyng echn saeniyngkrungethph aelasaeniyngxyuthya epntn mikaryubrwmesiyngwrrnyukt A1 khxngphyychnaesiyngimkxng immilm p t t ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ kbesiyngwrrnyukt A2 khxngphyychnaesiyngkxng b d d ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j dwy cungepnehtuphlwathaimkhawa ka kb kha cungxxkesiyngwrrnyuktehmuxnkn esiyngsamy aetxxkesiyngwrrnyukttangcakkhawa kha sungepnesiyngctwa inkhnathiphasaithythinklangbangsaeniyng echn saeniyngsuphrrn inphuphudbangray mikarxxkesiyngwrrnyuktkhxngkhawa ka kb kha thitangknxyu nnkhuxyngimmikaryubrwmkhxngesiyngwrrnyukt A1 aela A2 dngklaw karepliynaeplngdngklawthaihphasaithykrungethphpccubnmiesiyngwrrnyuktthiaetktangkn 5 hnwyesiyng aelasaeniyngsuphrrn inphuphudbangray miesiyngwrrnyukt 6 hnwyesiyng rupaebbkaraetktwkhxngesiyngwrrnyuktthiaetktangkn khxngphasaithysaeniyngkrungethph aelasaeniyngsuphrrnburi srupidtamtarangtxipni ihesiyngwrrnyuktediywknmisiediywkn aelawrrnyuktthipraktintarangepnesiyngwrrnyuktinpccubn saeniyngxyuthya saeniyngkaycnburi khaepn khatayklumphyychna esiyngphyychnaedim samyedim A exkedim B othedim C srayaw DL srasn DS phyychnaimkxng milm xksrsung pʰ tʰ t ɕʰ kʰ h f s x m n ɲ ŋ ʍ l 5 2 3 2 2phyychnaimkxng immilm xksrklang p t t ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ 1phyychnakxng xksrta b d d ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j 3 4 3 4saeniyngsuphrrnburi khaepn khatayklumphyychna esiyngphyychnaedim samyedim A exkedim B othedim C srayaw DL srasn DS phyychnaimkxng milm xksrsung pʰ tʰ t ɕʰ kʰ h f s x m n ɲ ŋ ʍ l 5 2 3 2 2phyychnaimkxng immilm xksrklang p t t ɕ k ʔb ʔd ʔj ʔ 1 1phyychnakxng xksrta b d d ʑ g v z ɣ m n ɲ ŋ r w l j 1 2 3 4 3 4 wrrnyuktthi 1 5 inphasaithysaeniyngkrungethphintarang khuxwrrnyukt samy exk oth tri ctwa tamladb aemwacamikarkarepliynaeplngkhxngrabbesiyngwrrnyuktcakphasaithyekamaepnphasaithysmyihm aetxkkhrwithikhxngphasaithyyngkhngrupekhiynechnedim thaihrupekhiynaelaesiyngxanmikhwamimsxdkhlxngknkhun yktwxyangechn khawa kha kb kha thixxkesiyngwrrnyukttangkn thng thimirupwrrnyuktothechnediywkn ekidcakkarthithngsxngkhaniekhymiesiyngwrrnyuktediywkn aetmiesiyngphyychnatnthiaetktangkn khuxesiyng kh kʰ aela kh g inphasaithyeka khwamimsxdkhlxngknrahwangrupekhiynaelaesiyngxan thaihekidrabbitryangs khun odyepnrabbkarcdhmwdhmurupphyychnaxksrithythicdihrupwrrnyukthnung mikarxxkesiyngthiaetktangknidepn 2 esiyng khunxyukbrupphyychnatnkhxngkhann sungepniptamrupaebbkaraetktwaelayubrwmkhxnghnwyesiyngphyychnaaelasrakhangtn esiyngwrrnyuktinsmyxyuthya hlkthanthibngbxkthungesiyngwrrnyuktinsmyxyuthyaminxymak rabbitryangsaebbediywknkbphasaithypccubnnithukklawthungepnxyangchasudintaracindamni cakkarsubsrangesiyngwrrnyuktcaktaracindamni phbwamihnwyesiyngwrrnyukt 5 esiyng aelamikaraetktwkhxngesiyngwrrnyuktkhlaykhlungkbphasaithypccubn aetradbesiyngaelaruprangesiyngwrrnyukt contour yngkhngmikhwamaetktangcakphasaithypccubnxyuphxsmkhwr esiyngwrrnyuktsmynixacmikhwamkhlaykhlungkbsaeniyngphakyokhn wrisa kmlnawin 2546 2559 idesnxkarsubsrangrabbesiyngwrrnyuktcaktaracindamnidngtxipni hnwyesiyng radbesiyngcakcindamni ethiybradbesiyngpccubnsamy klang klangexk klang thung sung kungta hrux taxyangediywoth klang tk sung tktri sung kungsung khun hrux sungxyangediywctwa sung ta khun raburadbesiyngimidchdecn rabukhwamaetktangkhxngsxngesiyngniimidchdecn aelaidesnxwarabbwrrnyuktinsmyxyuthyamirupaebbkaraetktwthitangipcakphasaithypccubn khux esiyngwrrnyuktkhxngphyangkhthimixksrta khatay esiyngsrasn kb phyangkhthimixksrtx khatay esiyngyaw miesiyngediywkn twxyangechn khawa khd kb khad ekhymiesiyngwrrnyuktediywkn sungsrupkaraetktwiddngni khaepn khataysamyedim A exkedim B othedim C srayaw DL srasn DS xksrsung 5 2 3 2xksrklang 1xksrta 3 4 3smycxmphl p phibulsngkhram insmythicxmphl p phibulsngkhram epnnaykrthmntri mikarptirupphasaithyodyemux ph s 2485 mikarepliynaeplngkarsakdkhamakmay karepliynaeplnghlk thisngektidmidngni tdphyychna kh xxk aelwich kh aethn tdphyychna Kh aela kh xxk aelwich kh aethn tdphyychna ch xxk aelwich ch aethn tdphyychna d xxk aelwich d aethn tdphyychna t xxk aelwich t aethn tdphyychna th xxk aelwich th aethn tdphyychna th xxk aelwich th aethn tdphyychna th xxk aelwich th aethn tdphyychna n xxk aelwich n aethn tdphyychna s aela s xxk aelwich s aethn tdphyychna l xxk aelwich l aethn phyychna y thuktdechingxxkklayepn phyychnasakdkhxngkhathiimidmirakmacak khabali snskvt epliynepnphyychnasakdtamaemodytrng echn xac epliynepn xad smkhwr epliynepn smkhwn epliyn xy epn hy echn xyak epliynepn hyak elikichkhakhwbimaeth echn cring ekhiynepn cing thrng ekhiynepn sng r hn thimiidxxkesiyng xn swnihythukepliynepnsraxatamdwytwsakd echn xupsrrkh epliynepn xupskh thrrm epliynepn thm elikichsraix immwn epliynepnsraix immlay thnghmd elikich v vi l li epliynipichkarsakdtamesiyng echn phvks kepliynepn phruks thvsdi kepliynepn thrisdi ichekhruxnghmaywrrkhtxnxyangphasatangpraeths echn mhphphakh emuxcbpraoykh culphakh emuxcbpraoykhyxyhruxwli xthphakh echuxmpraoykh aelacaimewnwrrkhthayngimcbpraoykhodyimcaepn hlngcakcxmphl p phibulsngkhram hludcakxanachlngsngkhramolkkhrngthisxngyuti rthniymkthukykelikipodypriyay xkkhrwithiphasaithyidklbipichaebbedimxikkhrnghnungsthwithyaphasaithyprakxbdwyhnwyesiyngsakhy 3 praephth khux hnwyesiyngphyychna hnwyesiyngsra hnwyesiyngwrrnyuktphyychna phyychnatn phasaithymatrthanaebngaeykrupaebbesiyngphyychnakxngaelaphnlm inswnkhxngesiyngkkaelaesiyngphsmesiyngaethrk epnsampraephthdngni esiyngimkxng imphnlm esiyngimkxng phnlm esiyngkxng imphnlm hakethiybkbphasaxngkvs odythwipmiesiyngaebbthisxngkbsamethann esiyngaebbthihnungphbidechphaaemuxxyuhlng exs S sungepnesiyngaeprkhxngesiyngthisxng esiyngphyychnatnmi 21 esiyng tarangdanlangnibrrthdbnkhuxsthxksrsakl brrthdlangkhuxxksrithyintaaehnngphyychnatn esiyngnasik m m n n n ŋ ngesiyngkk kxng b b d d d th imkxng immilm p p t t t tɕ c k k ʔ ximkxng milm pʰ ph ph ph tʰ th th th th th th tɕʰ ch ch ch kʰ kh kh kh Kh kh f f f s s s s s h h h w w l l l j y y r r kh aela Kh elikichaelw dngnnxacklawidwaphasaithysmyihmmiphyychnaephiyng 42 twxksr th mixyusxngesiyng khux tʰ emuxepnkhaepn aela d emuxepnkhatay phyychnasakd thungaemwaphyychnaithymi 44 rup 21 esiynginkrnikhxngphyychnatn aetinkrniphyychnasakdaetktangxxkip sahrbesiyngsakdmiephiyng 8 esiyng eriykwa matra esiyngphyychnakxngemuxxyuintaaehnngtwsakd khwamkxngcahayip inbrrdaphyychnaithy nxkcak kh aela Kh thielikichaelw yngmiphyychnaxik 6 twthiichepntwsakdimidkhux ch ph f h x h dngnntwsakdcungehluxephiyng 36 rimfipak thngsxng pumehnguxk ephdanaekhng ephdanxxn esnesiyngesiyngnasik m m n y n n r l l ŋ ngesiyngkk p b p ph f ph t c ch s ch d t th th th d t th th th s s k k kh kh kh ʔ esiyngepid w w j y esiyngphyychnakk esnesiyng ʔ capraktechphaahlngsraesiyngsnemuximmiphyychnasakd klumphyychna aetlaphyangkhinkhahnung khxngphasaithyaeykxxkcakknxyangchdecn imehmuxnphasaxngkvsthiphyychnasakd xacklayepnphyychnatninphyangkhthdip hruxinthangklbkn dngnnphyychnahlaytwkhxngphyangkhthixyutidkn caimrwmknepnklumphyychnaely phasaithymiklumphyychnaephiyngimkiklum pramwlkhasphthphasaithydngedimrabuwamiklumphyychna thixxkesiyngrwmknodyimmisraxa ephiyng 11 aebbethann eriykwa phyychnakhwbkla hrux xksrkhwbkla rimfipak pumehnguxk ephdanxxnphyychnaediyw p p pʰ ph ph t t k k kʰ kh kh kh Khesiyngrw r r pr pr pʰr phr tr tr kr kr kʰr khr khr khresiyngepid l l pl pl pʰl phl phl kl kl kʰl khl khl w w kw kw kʰw khw khw khw Khw phyychnakhwbklamicanwnephimkhunxikhkesiyngcakkhayumphasatangpraeths idaek br br echn brxns ebrk bl bl echn blxk eblx dr dr echn draft dringk fr fr echn frkoths fri fl fl echn fluxxrin aeflt tʰr thr echn cnthra aethrketxr erasamarthsngektidwa klumphyychnaehlanithukichepnphyychnatnethann sungmiesiyngphyychnatwthisxngepn r l hrux w aelaklumphyychnacamiesiyngimekinsxngesiynginkhrawediyw karphnwrrnyuktkhxngkhakhunxyukbitryangskhxngphyychnatwaerk sra wikitaramitarainhwkhx phasaithy iwyakrn phasaithyebuxngtn sra esiyngsrainphasaithymatrthanaebngxxkepn 3 chnidkhux sraediyw sraprasm aelasraekin sakddwyrupsraphunthanhnungtwhruxhlaytwrwmkn duthi xksrithy sraediyw hrux sraaeth khuxsrathiekidcakthanephiyngthanediyw mithngsin 18 esiyng linswnhna linswnhlngpakehyiyd pakehyiyd pakhxsn yaw sn yaw sn yawlinyksung i i iː i ɯ u ɯː u u u uː ulinkungsung e e a eː e ɤ e xa ɤː e x o o a oː o linkungta ɛ ae a ɛː ae ɔ e aa ɔː xlinldta a a aː a sraediyw sraprasm sraprasm khuxsrathiekidcaksraediywsxngesiyngmaprasmkn ekidkareluxnkhxnglininradbsungldlngsuradbta dngnncungsamartheriykxikchuxhnungwa sraeluxn mi 3 esiyngdngni e iy iːa prasmcaksra xi aela xa ia e ux ɯːa prasmcaksra xux aela xa uea w uːa prasmcaksra xu aela xa ua inbangtaracaephimsrasraprasmesiyngsn khux e iya e uxa wa dwy aetinpccubnsraehlanipraktechphaakhaeliynesiyngethann echn ephiya epriya phwa epntn sraesiyngsn sraesiyngyaw sraekinimmitwsakd mitwsakd immitwsakd mitwsakd immitwsakd mitwsakd a 1 rr rr a a a immi i i i i i immi u u ux u i immi u u u u e a immi e a e e 2 e e v v v v ae a ae ae 2 ae ae vi vi immi o a o o l l l l e aa x x 2 x x 3 li li immi wa w w w e iya immi e iy e iy e uxa immi e ux e ux e xa e i 4 e 4 e x e i e 5 e x 6 sraekin khuxsrathimiesiyngkhxngphyychnapnxyu mi 8 esiyngdngni a am aːm am prasmcak xa m xm echn kha bangsaeniyngthinxxkesiyngyawewlaphud xam echn na i aj aːj ai prasmcak xa y xy echn ic bangsaeniyngthinxxkesiyngyawewlaphud xay echn it i aj aːj ai prasmcak xa y xy echn ihm bangsaeniyngthinxxkesiyngyawewlaphud xay echn im e a aw aːw ao prasmcak xa w exa echn eka bangsaeniyngthinxxkesiyngyawewlaphud xaw echn eka v rɯ rue ri roe prasmcak r xu ru echn vks bangkhaepliynepn ri ri echn kvsna hrux rɤː erx echn vks vi rɯː rue prasmcak r xux rux l lɯ lue prasmcak l xu lu li lɯː lue prasmcak l xux lux bangtarakwasraekinepnphyangkh imthukcdwaepnsra srabangrupemuxmiphyychnasakd camikarepliynaeplngrupsra samarthsrupidtamtarangdankhwa khathisakddwy sra a w nnimmi ephraasakb w aetepliynipich e a aethn sra e a ae a e aa thimiwrrnyukt ichrupediywkbsra e ae x tamladb echn ephn eln aeln aewn phxn krxn khathisakddwy x sra x r caldrupepn r immitwxx echn phr sr cr sungkcaipsakbsra o a dngnnkhathisakddwy o a r cungimmi sra e xa thimitwsakdichrupediywkbsra e x echn engin epin ehy khathisakddwy e x y caldrupepn e y immiphinthuxi echn ekhy eny ely sungkcaipsakbsra e xyangirktam khathisakddwy e y caimmiinphasaithy phbidnxykha echn ethxy ethxmwrrnyukt esiyngwrrnyukt khaepn esiyngwrrnyuktinphasaithymatrthancaaenkxxkidepn 5 esiyng idaek esiyngwrrnyukt twxyangesiyng radbesiyng xksrithy sthxksrsaklhnwyesiyng esiyngsamy klang na naː naː exk kungta ta hrux taxyangediyw hna naː naː oth sung ta na hna naː naː tri kungsung sung hrux sungxyangediyw na naː naː ctwa ta kungsung hna nǎː naː khatay esiyngwrrnyuktinkhataysamarthmiidaekhephiyng 3 esiyngwrrnyukt khux esiyngexk esiyngoth aela esiyngtri odykhunxyukbkhwamsnkhwamyawkhxngsra esiyngexksamarthxxkesiyngkhwbkhukbidsrasnhruxyaw esiyngtrisamarthxxkesiyngkhwbkhukbsrasn aela esiyngothsamarthxxkesiyngkhwbkhukbsrayaw echn esiyng sra twxyangxksrithy hnwyesiyng esiyngexk sn hmk mak mak yaw hmak maːk maːk tri sn mk mak mak oth yaw mak maːk maːk aetxyangidkdi inkhayumbangkhathimiraksphthmacakphasaxngkvs khataysamarthmiesiyngtrikhwbkhukbsrayaw aelaesiyngothkhwbkhukbsrasniddwy echn esiyng sra twxyangxksrithy hnwyesiyng esiyng xngkvstri yaw mark maːk maːk Marc Markstart sa taːt sa taːt startbas ektbxl baːt ket bɔ n baːt ket bɔn basketballoth sn emkhxph meːk ʔap meːk ʔap make uprupwrrnyukt swn rupwrrnyukt mi 4 rup idaek rupwrrnyukt chuxithy sthxksr imexk maːj ʔeːk imoth maːj tʰōː imtri maːj triː imctwa maːj t ɕat ta waː karekhiynesiyngwrrnyukt thngnikhathimirupwrrnyuktediywkn imcaepntxngmiradbesiyngwrrnyuktediywkn khunxyukbradbesiyngkhxngxksrnadwy echn kha imoth xxkesiyngothehmuxn kha imexk epntn rupwrrnyuktimekhiyn xksr sung esiyngctwa esiyngexk esiyngoth twxyang kha kha kha klang esiyngsamy esiyngexk esiyngoth esiyngtri esiyngctwatwxyang pa pa pa pa pata esiyngsamy esiyngoth esiyngtri twxyang kha kha kha khakhwbkla khakhwbkla hrux xksrkhwb hmaythung phyychnasxngtwekhiyneriyngknxyutnphyangkh aelaichsraediywkn ewlaxanxxkesiyngklaepnphyangkhediywkn esiyngwrrnyuktkhxngphyangkhnncaphnepniptamesiyngphyychnatwhnakhakhwbkla xksrkhwb mi 2 chnid khux khakhwbaeth idaek phyychna r l w khwbkbphyychnatwhna prasmsratwediywkn ewlaxanxxkesiyngphyychnathngsxngtwphrxmkn khakhwbimaeth idaek phyychna r khwbkbphyychnatwhnaprasmsratwediywkn ewlaxanimxxkesiyng r xxkesiyngechphaatwhna hruxmichann kxxkesiyng epnesiyngxunip khakhwbimaeththixxkesiyngechphaaphyychnatwhna idaekphyychna c s s s khwbkb r khakhwbimaeth th khwbkb r caxxkesiyngklayepn siwyakrnphasaithyepnphasakhaodd khainphasaithycaimmikarepliynaeplngrup imwacaxyuinkal tense kark case mala mood wack voice hruxburus person idktam khainphasaithyimmilingkh gender immiphcn number immiwiphttipccy aemepnkhathirbmacakphasaphnkha phasathimiwiphttipccy echn phasabali aelaphasasnskvt emuxnakhathirbmannmaichinphasaithy kcaimmikarepliynaeplngrup khainphasaithyhlaykhaimsamarthkahndhnathikhxngkhaidxyangtaytw caepntxngxasybribthekhachwyinkarphicarna emuxtxngkarcaphukpraoykh knaexakhaaetlakhamaeriyngtidtxknekha phasaithymiokhrngsrangaetkkingipthangkhwa khakhunsphthcawangiwhlngkhanam lksnathangwakysmphnth odyrwmaelwcaepnaebb prathan kriya krrm subject verb object hrux SVO wakysmphnth lksnathangwakysmphnth hruxkareriyngladbkhainpraoykh odyrwmaelwcaeriyngepn prathan kriya krrm subject verb object hrux SVO xyangirktam inbangkrni echn inkrnithimikarennkhwamhmaykhxngkrrm topicalization samartheriyngpraoykhepn krrm prathan kriya object subject verb hrux OSV iddwy aettxngichkhachiechphaaetimhlngkhathiepnkrrmkhann echn krni ladbkha twxyangthrrmda unmarked prathan kriya krrm wwkinhyaaelwennkrrm object topicalization krrm prathan kriya hyani wwkinaelw hrux hyaeniy wwkinaelwkaryumkhacakphasaxunswnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk phasaithyepnphasahnungthimikaryumkhamacakphasaxun khxnkhangsungmak mithngaebbyummacakphasaintrakulphasakhra ith dwyknexng aelakhamtrakulphasa odyswnmakcayummacakphasabali phasasnskvt aelaphasaekhmr sungmithngrksakhaedim xxkesiyngihm sakdihm hruxepliynkhwamhmayihm xyangidxyanghnunghruxhlayxyangrwmkn bangkhrngepnkaryummasxnkha ekidepn khux khayxyinkhahlk mikhwamhmayediywknthngsxng echn dngcmuk odymikhawadng epnkhainphasaith swncmuk epnkhainphasaekhmr xiththivththi macak xith thi iddhi inphasabali sxnkbkhawa vth thi ऋद ध ṛddhi inphasasnskvt odythngsxngkhamikhwamhmayediywkn khacanwnmakinphasaithy imichkhainklumphasaith aetepnkhathiyummacakklumphasasnskvt prakvt odymitwxyangdngni rksarupedim hruxepliynaeplngelknxywchira bali wchir vajira wchra sns wch r वज र vajra sphth sns sph th शब द sabda sth echn sthxksr bali sth th sadda xkhni aela xkhkhi sns xkh ni अग न agni bali xkh khi aggi olk olk bali olk loka snskvt ल क olk yati yad bali yati ya ti nati esiyng ph mkaephlngmacak wephiyr macak phiriy aelamacak wiriy xikthihnung sns wir y व र य virya bali wiriy viriya phvksa hrux phvks sns w vk s व क ष vṛkṣa phsdu sns वस त vastu ws tu bali vatthu wt thu esiyng xra epliynmacak arahrdi hx ra di bali hrti harati hrti esiyng d mkaephlngmacak thrdi hx ra di bali hrti harati harati ethwda bali ethwta devata wsdu aela wtthu sns vastu वस त ws tu bali vatthu wt thu kbilphsdu ka bin la phd sns कप लवस त kapilavastu kpilws tu bali kapilavatthu kpilwt thu esiyng b mkaephlngmacak pkbilphsdu ka bin la phd sns कप लवस त kapilavastu kpilws tu bali kapilavatthu kpilwt thu bupheph aela burph bali pubba puph ph phasaxngkvs inrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw idmiwiwthnakartang thangethkhonolyimakmay sungthaihmikarichphasaxngkvsknxyangaephrhlay xyangirktam kidmikarbyytisphthcakphasaxngkvsepnphasaithy echn prapa cakkhawa wxetxrspphlay water supply sthani cakkhawa setchn station rthynt cakkhawa rthmxetxrkhar motorcar eruxynt cakkhawa eruxmxetxr motorboat pramwl cakkhawa okhd code duephimitryangs phasainpraethsithy phasawibti wnphasaithyaehngchati xksrithyxangxingphasaithy thi Ethnologue 18th ed 2015 txngsmkhrsmachik Languages of ASEAN subkhnemux 7 August 2017 Diller A Reynolds Craig J 2002 What makes central Thai a national language in Reynolds b k National identity and its defenders Thailand today Chiang Mai Silkworm Books ISBN 974 7551 88 8 OCLC 54373362 Draper John 2019 Language education policy in Thailand The Routledge International Handbook of Language Education Policy in Asia Abingdon Oxon New York NY Routledge pp 229 242 doi 10 4324 9781315666235 16 ISBN 978 1 315 66623 5 S2CID 159127015 Pittayaporn Pittayawat phithyawthn phithyaphrn 2009a The Phonology of Proto Tai Doctoral dissertation Department of Linguistics Cornell University wrisa kmlnawin karwiekhraahrabbesiyngwrrnyuktkhxngchawkrungsrixyuthyacakesiyngecrcaokhnaelacindamni warsarsilpsastr mhawithyalythrrmsastr 3 2 28 54 https so03 tci thaijo org index php liberalarts article view 29103 Pittayawat Pittayaporn Chindamani and reconstruction of Thai tones in the 17th century Diachronica 33 2 187 219 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 07 31 subkhnemux 2013 05 27 sunykaraeplaelalamechlimphraekiyrti khnaxksrsastr culalngkrnmhawithyaly aepl prima mllikamas nrisra ckrphngs iphsaly epiymemttawthn brrnathikar phcnanukrmxxksfxrd riewxr bukhs xngkvsithy River Books 2549 hna 1041 thai language com Thai Vowels Diphthongs and Their Transcription www thai language com rachkiccanuebksa elm 26 na 786 wnthi 18 krkdakhm 128 aecngkhwamkrmrachelkhanukar eruxng kahndiheriykkhabangkhainphasaxngkvs epnkhaphasaithy khuxkhawawxetxrspphlay iheriykwaprapa khawasetchn iheriykwasthani khawarthmxetxrkhar iheriykwarthynt khawaeruxmxetxr iheriykwaeruxyntr rachkiccanuebksa wnthi 15 singhakhm 128 elm 66 na 1060 aecngkhwamkrmrachelkhanukar eruxng ihkahnderiykkhawa pramwl aethnkhathieriyktamphasaxngkvswa okhd kachy thxnghlx hlkphasaithy krungethph barungsasn 2533 nnthna rnekiyrti sthsastrphakhthvsdiaelaphakhptibti krungethph sankphimphmhawithyalythrrmsastr 2548 ISBN 978 974 571 929 3 xphilksn thrrmthwithikul aela klyartn thitikantnara 2549 karennphyangkhkbthanxngesiyngphasaithy Stress and Intonation in Thai warsarphasaaelaphasasastr pithi 24 chbbthi 2 mkrakhm mithunayn 2549 hna 59 76 sthwithya karwiekhraahrabbesiynginphasa 2547 krungethph sankphimphmhawithyalyekstrsastr Gandour Jack Tumtavitikul Apiluck and Satthamnuwong Nakarin 1999 Effects of Speaking Rate on the Thai Tones Phonetica 56 pp 123 134 Tumtavitikul Apiluck 1998 The Metrical Structure of Thai in a Non Linear Perspective Papers presentd to the Fourth Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society 1994 pp 53 71 Udom Warotamasikkhadit and Thanyarat Panakul eds Temple Arizona Program for Southeast Asian Studies Arizona State University Apiluck Tumtavitikul 1997 The Reflection on the X category in Thai Mon Khmer Studies XXVII pp 307 316 xphilksn thrrmthwithikul 2539 khxkhidekiywkbhnwywakysmphnthinphasaithy warsarmnusysastrwichakar 4 57 66 Tumtavitikul Appi 1995 Tonal Movements in Thai The Proceedings of the XIIIth International Congress of Phonetic Sciences Vol I pp 188 121 Stockholm Royal Institute of Technology and Stockholm University Tumtavitikul Apiluck 1994 Thai Contour Tones Current Issues in Sino Tibetan Linguistics pp 869 875 Hajime Kitamura et al eds Ozaka The Organization Committee of the 26th Sino Tibetan Languages and Linguistics National Museum of Ethnology Tumtavitikul Apiluck 1993 FO Induced VOT Variants in Thai Journal of Languages and Linguistics 12 1 34 56 Tumtavitikul Apiluck 1993 Perhaps the Tones are in the Consonants Mon Khmer Studies XXIII pp 11 41 aehlngkhxmulxunsthaniyxyphasawikitaramikhumuxinhwkhx phasaithy phasaithyaelaxksrithy thi Omniglot xngkvs phcnanukrm chbbrachbnthitysthan ph s 2554 phcnanukrm phasaithyinrupaebb stardikt StarDict GoldenDict aela ABBYY Lingvo