เจ้าอนุวงศ์ หรือ เจ้าอนุ (ลาว : ເຈົ້າອານຸວົງ ) พระมหากษัตริย์ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ลำดับ 5 หรือองค์สุดท้าย (ปกครองราว พ.ศ. 2348-2371) รับการยกย่องเป็นพระมหาและมหาราชของประเทศลาว ในฐานะผู้พยายามกอบกู้เอกราชจากการเป็นประเทศราชสยาม นักประวัติศาสตร์ลาวและไทยนิยมออกพระนามพระเจ้าไชยเสฏฐาธิราชที่ 3 หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 บางกลุ่มตรวจสอบพระนามตามจารึกโดยละเอียดพบว่าทรงเป็นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารพระราชบิดาและพระเจ้าอินทวงศ์พระราชเชษฐาได้ออกพระนามว่าพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเช่นกัน
เจ้าอนุวงศ์ | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 5 | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2348-2371 |
รัชสมัย | ราว 23 ปี |
รัชกาลก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ |
รัชกาลถัดไป | สิ้นสุดราชวงศ์ |
ประสูติ | พ.ศ. 2310 นครหลวงเวียงจันทน์ ราชอาณาจักรล้านช้าง |
สวรรคต | พ.ศ. 2371 (61 พรรษา) กรุงเทพมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
พระมเหสี | พระอัครเทวีคำป้อง (ฝ่ายขวา) และพระอัครเทวีคำจัน (ฝ่ายซ้าย) |
พระราชบุตร | ราว 30 พระองค์ |
ราชวงศ์ | (ล้านช้างเวียงจันทน์) |
พระราชบิดา | พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) |
พระนาม
เจ้าอนุวงศ์มีพระนามเต็มตามจารึกวัดสีสะเกดนครหลวงเวียงจันทน์ว่า สมเด็จบรมบพิตร พระมหาขัติยธิเบศ ไชยเชษฐาชาติสุริยวงศ์ องค์เอกอัครธิบดินทร บรมมหาธิปติราชาธิราช มหาจักรพรรดิ์ภูมินทรมหาธิปตน สากลไตรภูวนาถ ชาติพะโตวิสุทธิ มกุตสาพาราทิปุล อตุลยโพธิสัตว์ ขัติยพุทธังกุโลตรน มหาโสพัสสันโต คัดชลักขรัตถราชบุรี สีทัมมาธิราช บรมนาถบรมบพิตร มีการตั้งข้อสังเกตว่าพระนามนี้อาจชี้ว่านครหลวงเวียงจันทน์คงพยายามประกาศเป็นกรุงเอกราช ส่วนจารึกหลักอื่น ๆ ออกพระนามต่างกันไป เช่น พระมหาธรรมิกสีหตบูรราชาธิราช พระศรีหะตะนุ พระมหาขัติยธิเบศไชยเชษฐา พระราชเชษฐา พระโพธิสาลราชาธิราชเจ้าจักรพรรดิธรรมิกราชาธิราช พระไชยเชษฐาธิราชชาติสุริยวงศ์องค์อัครธิบดินทร์ พระภูมินทราธิปัติธรรมิกราชาธิราช พระมหาธรรมิกราชไชยมหาจักรพรรดิ์ เป็นต้น ส่วนวรรณกรรมประวัติศาสตร์พื้นเวียงจันทน์ 2 สำนวนระบุพระนามว่าพระเจ้าอนุรุธราชและพระยาอนุพาวันดี
พระราชประวัติ
ราชตระกูล
เจ้าอนุวงศ์เป็นพระราชโอรสลำดับ 3 ของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร กษัตริย์ล้านช้างเวียงจันทน์ (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2294-2322) มารดาเป็นชาวนครหลวงเวียงจันทน์ นักประวัติศาสตร์มองว่าพระราชมารดาของพระองค์อาจมีตำแหน่งเป็นนางเจ้าเอกเมืองคือพระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าศิริบุญสาร ทำให้ทราบว่าพระองค์เป็นพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดากับสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์แต่ต่างพระราชมารดากับสมเด็จพระเจ้านันทเสน ส่วนราชตระกูลฝ่ายพระราชบิดาราชสืบสันตติวงศ์จากเจ้าชมภู (ซมพู) พระราชเชษฐาองค์ใหญ่ของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชซึ่งถูกเนรเทศไปเมืองเว้ราชธานีจักรวรรดิเวียดนาม เนื่องจากพระเจ้าสุริยวงศาต้องการกำจัดคู่แข่งการเมือง ครั้งเจ้าชมภูประทับอยู่เวียดนามทรงมีพระโอรสพระนามเจ้าไชย เนื่องจากประสูติที่กรุงเว้จึงออกพระนามพระไชยองค์เว้ (องค์แว้) ภายหลังพระไชยองค์เว้ชิงราชสมบัติเจ้านันทราชและปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 มีพระราชโอรสคือเจ้าองค์ลอง พระราชนัดดาคือเจ้าองค์บุญหรือสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร พระราชพงศาวดารล้านช้าง ภาษาลาว ฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงเทพฯ ระบุว่า ...เจ้าสุริยกุมารลูกหล้าเจ้าต่อนคำได้เสวยเมืองล้านซ้างผาบแผ่นดินลาวทั้งมวล ทรงนามกรขึ้นซื่อว่าพระสุริยวงษาธรรมิกราชาบรมบพิตรราชะเจ้าล้านซ้างฮ่มขาวแล แล้วใส่มาบรรพาซนิยกรรมขับพี่อ้ายทั้ง 4 องค์หนีจากเมือง ส่วนดั่งเจ้าซมภูผู้เป็นพี่ตนจึ่งเอาเมียทั้งแสนทิพนาบัวหนีไปอยู่เมืองแว้พึ่งแกวนั้นแล ครั้งนั้นเจ้าบุญซูหนีไปบวชอยู่ภูหอภูโฮงโน้นแล ท้าวบุ (ปุ) นั้นพ่ายหนีมาอยู่เซียงคานก็อนิจกรรมเสียหั้นแล ท้าวส้อย (ซ้อย) ผู้น้องนั้นพ่ายไปอยู่สะพือหลวงก็ถึงอนิจกรรมเสียนั้น ดั่งเจ้าซมภูไปพึ่งอยู่สะพือหลวงแกวนั้นมีลูกผู้หนึ่งซื่อพระไซยองค์แว้...พระไซยองค์แว้ก็หลานเจ้าสุริย...พระไซยองค์แวนั่งเวียงจัน ลูกพระไซยองค์แว้นั้นแม่นองค์รอง (ลอง) ลูกเจ้าองค์รองนั้นแม่นองค์บุญ...
เหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์
พ.ศ. 2368 เจ้าอนุวงศ์เสด็จถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร. 2 ของสยาม เอกสารฝ่ายสยามคือพระราชพงศาวดารระบุว่าทรงพิจารณาว่ากองทัพสยามอ่อนแอเนื่องจากแม่ทัพนายกองรุ่นเก่าที่มีฝีมือสิ้นชีวิตหลายคน และมีข่าวลือถึงนครหลวงเวียงจันทน์ว่าสยามกับอังกฤษวิวาทกันจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นี ต่อมากรมหมื่นเจษฎาบดินทร์สถาปนาขึ้นเป็น ร. 3 เจ้าอนุวงศ์ทูลขอพระราชทานละครในของเวียงจันทน์ เจ้าหญิงลาวพระนามเจ้านางดวงคำ และชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาสยามสมัยธนบุรีให้กลับคืนบ้านเมืองแต่ไม่อนุญาต อาจเป็นเหตุให้พระองค์ไม่พอพระทัยจึงยกทัพลงมาโดยตั้งใจเข้าตีกรุงเทพฯ ทรงเริ่มวางอุบายแก่เจ้าเมืองลาวตามรายทางว่าจะยกทัพช่วยกรุงเทพฯ รบอังกฤษทำให้กองทัพลาวสามารถเดินทัพผ่านได้โดยสะดวก เอกสารฝ่ายลาวคือพื้นเวียงจันทน์ระบุว่าทรงโปรดฯ ให้เจ้านายหัวเมืองลาวเข้าร่วมตีนครราชสีมาเนื่องจากเจ้านครราชสีมาล่วงล้ำแดนลาวเข้าตีข่าไปมอบให้สยาม พระองค์ไม่ได้ตั้งใจลงตีกรุงเทพฯ แต่ประการใด บรรดาเจ้าเมืองลาวทั้งสองฝั่งโขงต่างไม่พอใจเจ้าเมืองนครราชสีมาอยู่แล้วจึงร่วมมือกับพระองค์ เช่น พระยาไกรสอนคำแดงเจ้าเมืองภูขัน (ขุขันธ์) พระยาขัติยวงศาเจ้าเมืองร้อยเอ็ด พระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนม พระยานรินทรสงครามเจ้าเมืองสี่มุม เป็นต้น เอกสารฝ่ายสยามระบุว่าเมื่อทัพลาวยกถึงนครราชสีมาทรงฉวยโอกาสที่เจ้าเมืองและพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการที่ขุขันธ์เข้ายึดเมืองและกวาดต้อนครัวโคราชขึ้นไปนครหลวงเวียงจันทน์ เอกสารฝ่ายลาวระบุว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาทราบข่าวทัพลาวยกถึงนครราชสีมาเกรงว่าจะต้องโทษที่ล่วงล้ำแดนนครหลวงเวียงจันทน์และนครจำปาศักดิ์จึงทิ้งเมืองและปลอมตัวหนี เมื่อพระองค์เสด็จถึงวังเจ้านครราชสีมาอันใหญ่โตซึ่งมีถึง 7 หลังและมีพื้นที่บรรจุทหารกว่าพันคนจึงโปรดฯ ให้พระบรมราชา (มัง ต้นสกุลมังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนมเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาแทน ต่อมาเอกสารฝ่ายสยามระบุว่าระหว่างทัพลาวพักไพร่พลเชลยที่ทุ่งสัมฤทธิ์ครัวเมืองนครราชสีมาวางอุบายลวงฆ่าทหารลาวจำนวนมากแล้วตั้งค่ายรอทัพกรุงเทพฯ ขึ้นมาช่วย ทหารลาวเห็นการไม่สำเร็จจึงถอยทัพกลับตั้งมั่นที่นครหลวงเวียงจันทน์เพื่อรอรับศึกสยาม สยามเห็นว่าเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของท้าวสุรนารี (โม หรือโม้) ชายาเจ้านครราชสีมา และวีรกรรมนางสาวบุญเหลือธิดากรมการเมืองนครราชสีมา ส่วนลาวไม่พบเอกสารชั้นต้นหรือเอกสารปฐมภูมิระบุวีรกรรมสตรีทั้งสองท่าน ข้อสังเกตในมุขปาฐะฝ่ายลาวระบุว่าท้าวสุรนารีเดิมเป็นชาวลาวมีใจใฝ่สยามจึงร่วมวางแผนกับสยามตีเวียงจันทน์ซึ่งยังไม่พบเอกสารลายลักษณ์มายืนยัน กรณีดังกล่าวลาวระบุว่าเหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นวีรกรรมเจ้าเมืองและราชวงศ์ลาวอย่างน้อย 5 ท่านที่จงรักภักดีแก่เวียงจันทน์คือ วีรกรรมพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าจอมนรินทร์ หรือพระยาโนลิน ต้นสกุลลาวัณบุตร์) เจ้าเมืองจตุรัส (เมืองสี่มุม) และเมืองหนองบัวลุ่มภู (หนองบัวลำภู) วีรกรรมพระบรมราชา (มัง บ้างว่าสุตตา) เจ้าเมืองนครพนมและนครราชสีมา วีรกรรมเจ้าอุปอาดและท้าวคำม่วน (คำ) เมืองยโสธร และวีรกรรมสมเด็จเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) พระราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์
สงครามนี้ฝ่ายกรุงเทพฯ ทราบข่าวทัพลาวช้ากว่าที่คิดหลังทัพลาวตั้งมั่นที่นครราชสีมา ต่อมาสยามส่งกองลาดตระเวนหาข่าวถึงเมืองสระบุรี เมื่อ ร. 3 ทราบข่าวศึกจึงโปรดเกล้าฯ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์เป็นแม่ทัพใหญ่ยกจากสระบุรี ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งเอกสารฝ่ายลาวเรียกพระยามุนินเดช ยกทัพไปทางเมืองปัก (อำเภอปักธงชัย) สมทบกันที่นครราชสีมา กองทัพทั้ง 2 ตีทัพลาวแตก ฝ่ายเจ้าอนุวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จลี้ภัยและปรึกษาราชการศึกที่เวียดนามโดยความคุ้มครองของจักรพรรดิเวียดนาม หลังทัพสยามทำลายนครหลวงเวียงจันทน์ได้กรมพระราชวังบวรฯ โปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ปราบเวียงที่หนองคาย และให้พระยาราชสุภาวดีกวาดครัวนครหลวงเวียงจันทน์ไปกรุงเทพฯ ทัพสยามอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญไปจำนวนมาก เช่น พระบาง พระแซกคำ (พระแทรกคำ) พระสันส้มมอ () พระเสริม พระสุก พระใส พระแสน พระศิลาเขียว (พระนาคสวาดิเรือนแก้ว) เป็นต้น เอกสารฝ่ายลาวระบุว่ายังมีสมบัติล้ำค่าและพระพุทธรูปประจำหัวเมืองลาวหลายองค์ที่ทัพสยามพยายามอัญเชิญไปแต่ประชาชนลาวนำไปซ่อนในถ้ำก่อน อาทิ พระแสงเมืองนครพนมซ่อนที่เมืองมหาไชย พระแก้วมรกตจำลองซ่อนในองค์พระธาตุพนม พระทองคำจำนวนมากซ่อนในถ้ำปลาฝาและถ้ำพระเมืองท่าแขก เป็นต้น
พ.ศ. 2370 ร.3 ไม่พอใจที่พระยาราชสุภาวดีไม่ทำลายนครหลวงเวียงจันทน์ให้สิ้นซากจึงโปรดเกล้าฯ ให้กลับไปทำลายอีกครั้ง ความชอบนี้ทรงโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี ที่สมุหนายก พระยาพิชัยสงครามคุมทหาร 300 ข้ามโขงดูลาดเลา ได้ความว่าพระให้ข้าหลวงเชิญเจ้าอนุวงศ์และ กลับมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามอีกครั้ง เอกสารฝ่ายลาวระบุว่าเจ้าอนุวงศ์ไม่พอพระทัยพระจักรพรรดิเวียดนามที่ไม่มีความจริงใจและคิดแสวงหาทรัพย์สินเงินทองจากลาวครั้นเห็นทหารสยามอาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์จึงนำพลฆ่าฟันขับไล่ทหารสยามออกไป เอกสารฝ่ายสยามระบุว่ารุ่งขึ้นเจ้าอนุวงศ์และเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) กลับยกพลเข้าโจมตีทหารสยามล้มตายเป็นอันมาก เจ้าพระยาราชสุภาวดีเห็นทหารลาวไล่ฆ่าทหารสยามถึงชายหาดหน้าเมืองพันพร้าวทราบว่าเกิดเหตุร้ายจึงขอกำลังเพิ่มจากเมืองยโสธร เจ้าอนุวงศ์โปรดฯ ให้เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) นำพลข้ามตามมาปะทะทัพสยามที่ค่ายบกหวาน บ้านบกหวาน เมืองหนองคาย สู้กันถึงขั้นตะลุมบอน แม่ทัพทั้ง 2 รบกันตัวต่อตัวจนบาดเจ็บปรากฏฝ่ายเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) มีชัย ส่วนเจ้าพระยาราชสุภาวดีแพ้ราบคาบเพราะถูกฟัน ทหารสยามยิงปืนต้องเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) บาดเจ็บเล็กน้อย ทัพสยามเร่งติดตามทัพลาวถึงพันพร้าวปรากฏทัพลาวข้ามโขงไปแล้ว ทหารลาวหามเจ้าราชวงษ์ (เหง้า) ไปรักษาพระองค์ในค่ายและไม่ปรากฏเรื่องราวของพระองค์อีกเลย
เจ้าอนุวงศ์เห็นเหตุการณ์จึงพาครอบครัวและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จขึ้นเหนือไปพึ่งพระราชธิดาซึ่งเป็นพระมเหสี เจ้านครเชียงขวาง (เจ้าน้อยเมืองพวน) เจ้าน้อยถูกสยามลวงให้บอกที่ซ่อนและจับกุมพระองค์พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ลงกรุงเทพฯ เอกสารฝ่ายลาวระบุว่าสงครามนี้ทรงสูญเสียพระราชโอรสพระนามท้าวหมื่นนาม ซึ่งประสูติแต่พระนางสอนราชเทวี ราชธิดาพระบรมราชา เจ้าเมืองนครพนม พระนางสอนถูกทหารสยามนำไปถวาย ร.3 สยามนำเจ้าอนุวงศ์ประทับกรงเหล็กประจานหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ นำเครื่องทรมานต่าง ๆ ทรมานพระองค์อย่างโหดร้าย ให้อดข้าว น้ำ ทั้งพระมเหสี พระชายา พระสนม ตลอดจนพระราชโอรสธิดาพระราชนัดดาหลายพระองค์ ไม่นานก็สิ้นพระชนม์ด้วยความทุกข์ทรมานสิริพระชนมายุรวม 61 ชันษา เสวยราชย์ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ 23 ปี สยามลดฐานะนครหลวงเวียงจันทน์เป็นหัวเมืองชั้นจัตวาขึ้นเมืองหนองคาย ยกหนองคายเป็นเมืองชั้นเอก ให้มีเจ้าเมืองลาวอยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์ ไม่สถาปนาพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดในราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ขึ้นเสวยราชย์ นครหลวงเวียงจันทน์ถูกปล้นเผาทำลายไม่เหลือสภาพราชธานีกลายเป็นเมืองร้างเหลือวัดสำคัญไม่กี่แห่งคือวัดสีสะเกด หลังสิ้นพระชนม์ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ถึงกาลอวสาน เอกสารฝ่ายสยามไม่ระบุพระราชพิธีพระบรมศพของพระองค์ เอกสารฝ่ายลาวระบุว่าสยามจัดอย่างพิธีลาวใหญ่โตและงดงามกลางกรุงเทพฯ ไม่พบข้อมูลการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิ ลือว่าพระบรมอัฐิของพระองค์ถูกรักษาไว้ใต้บันไดวัดอรุณราชวราราม วรรณกรรมประวัติศาสตร์หรือพื้นเจ้าราชวงศ์เหลาคำระบุการสิ้นพระชนม์ต่างไปโดยทรงสั่งพระมเหสีนำง้วนสาร () เจือข้าวต้มมัดมาเสวย สยามนำพระบรมศพฝังใต้ฐานพระธาตุดำกลางนครหลวงเวียงจันทน์ สมัย ร.4 ทรงปรารถนาชุบเลี้ยงเจ้านายราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์ทายาทเจ้าอนุวงศ์ จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าจอมมารดาดวงคำพระราชนัดดาเจ้าอนุวงศ์ขึ้นเป็นเจ้าจอมพระสนม โปรดเกล้าฯ พระราชนัดดาทั้ง 2 คือ ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี (หนู ต้นสกุลจันทนากร) ขึ้นเสวยราชย์เมืองมุกดาหารบุรี (มุกดาหาร) ในฐานะประเทศราช โปรดฯ ให้เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาล (หน่อคำ ต้นสกุลเทวานุเคราะห์, พรหมโมบล, พรหมเทพ) เสวยราชย์เมืองอุบลราชธานีในฐานะเมืองประเทศราชเช่นกัน
ข้อสังเกตการพ่ายสงครามของเจ้าอนุวงศ์
นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มวิเคราะห์เหตุผลการพ่ายแพ้ของเจ้าอนุวงศ์ไว้หลายประการคือ
- ทัพลาวอาจมีแสนยานุภาพน้อยกว่าทัพสยามและทัพนครราชสีมา เมื่อตรวจสอบหลักฐานฝ่ายลาวกลับพบว่านครราชสีมาด้อยกว่าลาวมากแต่สยามมีแสนยานุภาพ มียุทธศาสตร์และยุทธวิธีมากกว่าลาวเนื่องจากอาวุธที่ทันสมัย
- เจ้าอนุวงศ์ถูกทรยศโดยสมเด็จ พระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของพระองค์ และถูกทรยศโดยแห่งอาณาจักรเชียงขวาง ราชบุตรเขยของพระองค์
- อาณาจักรลาวหลวงพระบางและล้านนาต่างเป็นเอกเทศหรืออาจฝักใฝ่สยามจึงไม่ร่วมมือกับทัพลาว
- ทายาทบุตรหลานเจ้านายลาวบางกลุ่มซึ่งเป็นผู้นำท้องถิ่นขณะนั้นถูกเกณฑ์เข้าร่วมทัพสยามเพื่อต้านอิทธิพลของเวียงจันทน์
มูลเหตุสงครามจากเอกสารปฐมภูมิพื้นเวียงจันทน์ของลาวและอีสาน
จากพื้นเมืองเวียงจันทน์สามารถสรุปมูลเหตุสงครามได้ดังนี้
1. เจ้าพระยานครราชสีมามีพฤติการณ์ยุแยงเจ้านายลาวให้วิวาทกันเป็นนิจ เช่น ยุเจ้าเมืองขุขันธ์และน้องชายให้แย่งเมืองกัน ยุเจ้าหัวสาเกียดโง้งเข้ายึดและเผาจำปาศักดิ์ ใช้อำนาจเหนือเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ให้สักเลกข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม ติดสินบนพระยามหาอำมาตย์ให้ตนพ้นคดีจนได้เป็นเจ้าเมืองและได้ปกครองด่านเมืองโขงเพื่อต้านอิทธิพลเวียดนาม เป็นต้น
2. การยุยงเจ้าหัวสาภูเกียดโง้ง (ภูเขียดโง้ง) ให้นำกำลังข่าระแดในลาวใต้เข้าเผาจำปาศักดิ์จนร้อนถึงเจ้าอนุวงศ์เสด็จปราบกบฏด้วยพระองค์เอง และกษัตริย์จำปาศักดิ์องค์ก่อนซึ่งเป็นญาติกษัตริย์เวียงจันทน์ถูกเจ้านครราชสีมาบริภาษว่าหวาดกลัวข้าศึก อาจเป็นแรงผลักดันให้เวียงจันทน์ต้องหาทางจัดการนครราชสีมา
3. เจ้านครราชสีมายุน้องชายพระยาไกรภักดีหรือพระยาไกรสอนคำแดงเจ้าเมืองภูขัน (ขุขันธ์) ให้สู้กับพี่ชายเพื่อชิงตำแหน่งเจ้าเมืองและเผาเมืองภูขัน ทำให้เจ้าเมืองภูขันไม่พอใจและเข้าเป็นกำลังสำคัญของเวียงจันทน์
4. สยามอาจพอใจผลงานการตีข่าสักเลกหัวเมืองลาวของเจ้านครราชสีมา แต่ลาวไม่พอใจเนื่องจากเลกส่วนมากเคยขึ้นกับเวียงจันทน์
5. เจ้าพระยานครราชสีมาบริภาษสมเด็จเจ้าราชบุตร์ (โย้) กษัตริย์จำปาศักดิ์พระราชโอรสของเจ้าอนุวงศ์ พร้อมไม่ฟังคำทัดทานห้ามตีข่าในแดนลาว ซึ่งพื้นเมืองอุบลระบุว่าเหตุการณ์นี้สร้างความไม่พระทัยต่อสมเด็จเจ้าราชบุตร์ (โย้) อย่างมากจนเสด็จขึ้นไปฟ้องพระราชบิดาที่นครหลวงเวียงจันทน์ด้วยพระองค์เอง
6. การล่วงพระราชอำนาจกษัตริย์เวียงจันทน์ของเจ้านครราชสีมาโดยนำนายกองเข้าสักเลกข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของอาณาจักร จากการสนับสนุนของเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ขัดต่อประเพณีพระพุทธศาสนาของบ้านเมือง เนื่องจากข้าเลกเหล่านี้ได้ถูกกัลปนาไว้ไม่มีหัวเมืองใดสามารถแย่งชิงเป็นข้าของตนได้ และการสักเลกนี้ยังลามถึงประชาชนที่อาศัยอยู่บนภูเขา (ไทภู) ด้วย
มุมมองเหตุการณ์และทรรศนะประชาชนสองประเทศ
สงครามเจ้าอนุวงศ์ถูกเรียกต่างกันขึ้นกับมุมมองแต่ละฝ่าย ลาวใช้พระองค์เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อปลดแอกจากการปกครองของสยามจึงเรียกเหตุการณ์นี้เป็น สงครามกู้เอกราช ทั้งยกย่องพระองค์เป็นวีรบุรุษและมหาราชของชาติทั้งสมัยพระราชอาณาจักรลาวและสมัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกที่สำคัญและทรงคุณธรรมทางการปกครอง เป็นพระหน่อพุทธเจ้าผู้เปี่ยมพระราชอำนาจราชบารมีเป็นที่ครั่นคร้ามและนับถือของเจ้านายหัวเมืองลาว เอกสารชี้ว่าพระราชอำนาจของพระองค์เป็นที่หวั่นเกรงไปถึงนครราชสีมาและหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตสยาม แต่ไทยมองการบุกรุกของพระองค์เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของราชอาณาจักรจึงเรียกเหตุการณ์นี้ว่า กบฏเจ้าอนุวงศ์ เอกสารประวัติศาสตร์สยามกล่าวขวัญถึงพระองค์ในฐานะกษัตริย์ประเทศราชผู้ก่อการขบถต่อแผ่นดิน เอกสารชั้นต้นของไทยส่วนหนึ่งซึ่งถูกรวบรวมตีพิมพ์ในหนังสือชุดประชุมพงศาวดารภาคต่างๆ จึงดูหมิ่นพระเกียรติยศของพระองค์โดยออกพระนาม อ้ายอนุ และเชื่อว่าทรงมีพระราชประสงค์แน่ชัดที่จะทำลายกรุงเทพฯ เพื่อยึดสยามเป็นเมืองขึ้น หากไม่สามารถยึดได้ก็เผาทำลายกรุงเทพฯ และยึดบางส่วนที่สามารถปกครองได้ นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มมองว่าเหตุการณ์นี้อาจไม่ใช่การทั้งการกอบกู้เอกราชและกบฏ แต่เป็นสงครามชิงอำนาจตามปกติเหมือนอาณาจักรต่าง ๆ ในยุคนั้น หากทรงปรารถนากอบกู้เอกราชเพียงตั้งแข็งเมืองก็พอแล้ว
ผลพวงของสงครามในยุคปัจจุบัน
หลังเหตุการณ์เผานครเวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางสำคัญของการปกครองหัวเมืองลาว และหลังความพยายามทำลายราชวงศ์เวียงจันทน์ให้สิ้นซากของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งสยามนั้น ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์กบฏหัวเมืองลาว-อีสานยืดเยื้อตามมาอีกหลายครั้งสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ ผู้เป็นราชโอรสในเจ้าราชบุตร (โย้) พระราชนัดดาในเจ้าอนุวงศ์ อีสานและฝั่งซ้าย ซึ่งนำโดยกลุ่มองค์มั่นและกลุ่มต่างๆ ตามหัวเมืองลาว-อีสาน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ตลอดจนกบฏของเตียง ศิริขันธ์และกลุ่มรัฐมนตรีอีสาน ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นต้น บ่อยครั้งชาวลาวและชาวอีสานต่างก็นิยมอ้างถึงเหตุการณ์เผานครเวียงจันทน์ในอดีต มาเป็นเหตุผลในการต่อสู้กับอำนาจสยามและอำนาจรัฐ เรื่องราวของเจ้าอนุวงศ์ไม่เพียงแต่เป็นชนวนเหตุความขัดแย้งของประชาชนชาวลาวกับชาวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นชนวนเหตุให้ชาวลาวในภาคอีสานขัดแย้งกับชาวไทยสยาม เป็นชนวนเหตุให้ชาวลาวในอีสานที่นิยมสยามกับชาวลาวในอีสานที่นิยมลาวขัดแย้งกันเอง และเป็นชนวนเหตุให้เกิดการปลุกระดมการแบ่งแยกดินแดนของชาวลาวอีสาน ไม่เพียงเท่านี้ เหตุการณ์สงครามเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ยังสามารถถือเป็นทั้งจุดเปราะบางและจุดแตกหักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศลาวและประเทศไทยอีกด้วย
องค์ศาสนูปถัมภก
พ.ศ. 2349 (จ.ศ. 1168) ปีฮวายยี่ (ปีขาล) เจ้าอนุวงศ์สร้างพระราชวังหลวง (โฮงหลวง) นครเวียงจันทน์ จากนั้นเสด็จสร้างสะพาน (ขัวตะพาน) ปูลานอิฐจากท่าสู่หน้าลานพระธาตุพนมพร้อม (สุตตา) เจ้าและเจ้า (กิ่ง) เจ้าที่เมืองธาตุพนม แล้วเสด็จไป เมืองเก่าท่าแขก ทรงบูรณะพระธาตุสีโคดตะบองร่วมกับเจ้า (เมืองเก่าท่าแขก) จนแล้วเสร็จ พระธาตุสีโคดตะบองเป็นปูชนียสถานเก่าแก่สมัยสร้างโดย (สุมินทราช) กษัตริย์ รับการบูรณะอีกครั้งโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราชแห่งนครหลวงเวียงจันทน์ พ.ศ. 2350 (จ.ศ. 1169) ปีเมิงเม่า (ปีเถาะ) เสด็จฉลองสะพานหน้าวัดพระธาตุพนมพร้อมเจ้าเมืองนครพนมและมุกดาหาร โปรดฯ ให้สร้างทวารบาล 2 ตน อุ้มบาตรประทับนั่งทับส้นเท้าประดิษฐานที่ท่าน้ำโขงปากสะพานต่อหน้าลานพระธาตุ คนนิยมเรียกท้าวเทวา-นางเทวา ตนหนึ่งมีรูปเป็นยักษ์ตนหนึ่งมีรูปเป็น พร้อมโปรดฯ สร้างแผงไม้ปิดทองประดับแก้วสีรูปสัตตะบูลิพันมีราหูสูนจันทร์ขนาดใหญ่ประดิษฐานที่สิม (พระอุโบสถ) วัดพระธาตุพนม ปัจจุบันชำรุดและรักษาชิ้นส่วนที่ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทรงถวายข้าในราชสำนักเวียงจันทน์ไว้บรรเลงถวายพระธาตุพนมเป็นพุทธบูชา ถวายเครื่องดนตรี เช่น ฆ้องสำริด เป็นต้น แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ขุนนางท้องถิ่นตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าควบคุมคณะมโหรีหลวง เอกสารประวัติซึ่งเป็นวัดอรัญวาสีประจำหัวเวียงธาตุพนมระบุว่าทรงโปรดฯ ให้ขุดสระน้ำมงคลขนาดใหญ่ 3 แห่งในบริเวณวัดและรอบวัดทิศเหนือใกล้น้ำโขง ปัจจุบันถูกถม 2 แห่ง เหลือ 1 แห่ง เชื่อว่าเป็นสระสำหรับชำระพระวรกายครั้งเสด็จมานมัสการพระธาตุพนมและใช้ประกอบ () ขุนโอกาสขึ้นปกครองข้าโอกาสเมืองธาตุพนม
พ.ศ. 2351 (จ.ศ. 1170) เสด็จสร้างวัดสีบุนเฮือง (ศรีบุญเรือง) เมืองหนองคาย (ลาหนองคายเดิม) บูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม ประกอบพระราชพิธียกฉัตรทองคำ 7 ชั้น ประดับยอดพระธาตุ ยกช่อฟ้าประดับหลังคาสิมและอุทิศถวายแด่พระธาตุพนมตามโบราณราชประเพณีกษัตริย์ลาว ต่อมา พ.ศ. 2353-2355 (จ.ศ. 1172-1174) เสด็จสร้างหรือตรงข้ามนครหลวงเวียงจันทน์ ปัจจุบันคืออำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นเมืองประทับของเจ้ามหาอุปฮาด (ติสสะ) พระราชอนุชาต่างพระราชมารดา หล่อพระพุทธปฏิมาเป็นพระประธานสิม โปรดฯ สร้างพระปูนปั้น 113 องค์ประดิษฐานรอบกมมะละเลียน (ระเบียงคต) ให้ช่างเขียน () ภาพมากถึง 1,000 ที่ จากนั้นสร้างขัว (สะพาน) ข้ามน้ำโขงระหว่างศรีเชียงใหม่ไปนครหลวงเวียงจันทน์ ณ ที่สร้าง จารึกมี 2 ด้าน ด้าน 1 จารึก จ.ศ. 1172 (พ.ศ. 2353) ด้าน 2 จารึก จ.ศ. 1174 (พ.ศ. 2355) ด้านที่ 1 ระบุว่าทรงสร้างพร้อมอุทิศที่ดินถวายให้วัด ถวายสิ่งของต่าง ๆ ในการสร้างวัด ด้าน 2 ระบุว่าทรงสร้างสะพานข้ามน้ำโขง ฉลองวัดหอพระแก้ว ถวายเครื่องของไทยทานจำนวนมากแก่ภิกษุ และพระราชทานสิ่งของบริจาคเป็นทานเพื่อสร้างหอแจก (ศาลาโรงทาน) ของวัด พ.ศ. 2355 (จ.ศ. 1174) เสด็จฉลองวัดพระธาตุพนม ราว พ.ศ. 2356 (จ.ศ. 1175) ปีกาเฮ้า (ปีระกา) เดือนเจียง แรม 4 ค่ำ เสด็จทำบุญฉลองที่วัดพระธาตุพนม ราว พ.ศ. 2359 (จ.ศ. 1178) ตั้งบุญหลวง (กองบุญใหญ่) ฉลองหอพระแก้วและหอไตรนครหลวงเวียงจันทน์ สร้างหอพระแก้วและพระพุทธรูปมารวิชัยประดิษฐานภายในหอพระแก้ว
พ.ศ. 2362 (จ.ศ. 1180-1181) ทรงบูรณะสิมและหอไตรวัดสีสะเกดนครหลวงเวียงจันทน์ครั้งใหญ่จนเสร็จ ปรากฏในจารึกวัดสีสะเกดบนผนังระเบียงข้างประตูทางเข้าทิศตะวันตก จารึกข้อความด้านเดียวว่ามีพระราชโองการนี้ไว้กับวัดสัตตสหัสวิหารามหรือวัดแสน อันเป็นนามเดิมของวัด บูรณะและก่อสร้างระเบียงคด สร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์ประดิษฐานที่ช่องผนัง สร้างจุลวิหาร ถวายสิ่งของเครื่องใช้จำนวนมากแก่พระอารามนี้ พระราชอุทิศส่วนกุศลถวายพระราชบิดา พระราชมารดา พระญาติวงศ์ และสรรพสัตว์ทั้งปวง วัดสีสะเกดปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์ในอดีตไม่ถูกทำลายจากสงครามสยาม ปฏิสังขรณ์จากสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศเมืองฮานอย เป็นวัดที่มีผังต่างจากวัดต่าง ๆ ในนครหลวงเวียงจันทน์เนื่องจากมีจงกม (กมมะเลียนหรือระเบียงคต) ล้อมสิมเช่นเดียวกับวัดช้างเผือกเมืองพันพร้าว รอบระเบียงคตประดิษฐานพระปูนปั้นขนาดเท่ากันแบบเดียวกันหมดโดยขนาดเท่าคนจริง 120 องค์ มีประตูเข้าออกสี่ทิศ พระระเบียงตอนบนทุกด้านมีช่องกุดบรรจุพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ เช่น พระบุเงิน พระบุคำ (บุทอง) และพระพิมพ์จำนวนมาก พบหลักฐานในศิลาเลกจารึกข้างประตูด้านหน้าว่า ...ส้างพระใส่ซ่องกุดฝาผนังวัด พระเงินบุ 276 องค์ พระพิมพ์ 2052 องค์...พระพิมพ์ใส่ซ่องกุดฝาผนังจงกม 6840 องค์... ผนังระเบียงใกล้ประตู 4 ทิศมีฮูปแต้มงดงาม ภายในสิมเหนือผนังระดับหน้าต่างเจาะช่องกุดเล็ก 7 แถว เรียง 3 ด้าน มีฮูปแต้มชาดกและทศชาติเต็มทุกด้าน บานประตูเขียนลายฟอกคำรูปทวารบาลหรือเสี้ยวกางคล้ายแบบจีน หัตถ์ขวาจับเครายาวหัตถ์ซ้ายทรงกริช ผสมลายดอกพุดตาน บานหน้าต่างด้านนอกเขียนลายพอกคำบานด้านในเขียนรูปเทวดาประนมหัตถ์ยืนบนแท่นคล้ายวัดดุสิตารามหรือวัดสุวรรณารามธนบุรี จารึกความว่า ...จ้างซ่างเขียนฝาผนังวัดและจงกมเป็นนิทานหลายประการต่าง ๆ เป็นเงินซ่าง 2 ตำลึงเฟื้อง เบี้ย 5 แหว้น 15 หน่วย... ภายในสิมนอกจากสร้างพระประธานปูนปะทายเพ็ด (ซะทายเพ็ชร) ขนาดใหญ่ยังสร้างพระพุทธรูปสำริดประทับยืน 2 องค์ขนาดเท่าพระองค์จริงประดิษฐานหน้าพระประธาน 2 ข้าง จารึกความว่า ...ส้างฮูปพระทองหล่อค่าพระองค์ 2 องค์ หนัก 4 แสน 9 หมื่น 8 พัน.. หอไตรนั้นโปรดฯ สร้างทรงมณฑปมีเสาหานรอบรองรับปีกพาไล หลังคาซ้อนชั้นวิจิตร อาคารและเสาก่ออิฐถือปูนมีบันไดขึ้น ภายในมีซุ้มประตูสี่ทิศมีตู้พระไตรปิฎกลงรักเขียนลายพอกคำหรือแต้มคำ (ปิดทอง) ขอบประตูฐานมีปูนปั้นประดับ ตัวอาคารประดับลายเครือเถา กระจกสี (แก้วซืน) ดอกกกาละกับ บานประตูด้านนอกมีรูปรดน้ำเสี้ยวกาง คันทวยลายดอกก้านดกแปว และตีนเสาประดับกาบพรหมศร
พ.ศ. 2362-2365 (จ.ศ. 1181-1184) ราวช่วงปีเดียวกันกับที่บูรณะวัดสีสะเกดหรือหลังจากนั้นไม่กี่ปี ทรงมีพระราชทานเขตเขตบ้านเหนือและแก่ โดยมีและฝ่ายฆราวาสเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการใส่เกล้า ปรากฏความตาม ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ที่ กำแพงนครเวียงจันทน์ เป็นด้านเดียวไม่ระบุศักราช นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชโองการพระราชทานเขตค่านาและค่าที่แก่ เพื่อสืบต่อพระวรพุทธศาสนาตราบห้าพันวรรษา ปรากฏความตามหรือ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มี 3 ด้าน อ่านได้เฉพาะด้านที่ 2 และด้านที่ 3 บางส่วนของจารึกนั้นชำรุด
พ.ศ. 2363 (จ.ศ. 1182) ทรงสร้างจารึกวัดสีสะเกด (ศีรษะเกศ) นครเวียงจันทน์หลังจากบูรณะวัดเสร็จแล้ว พ.ศ. 2364 (จ.ศ. 1183) ทรงเสด็จไปสร้างเมืองนครจำปาศักดิ์ใหม่ และมีพระบรมราชโองการให้พระราชโอรสคือ เจ้าราชบุตร์ (โย้หรือโย่) คณะอาชญาสี่นครเวียงจันทน์ เสด็จไปครองนครจำปาศักดิ์ ปรากฏในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ว่า "...ศักราชได้ 183 ปีฮวดไส้ เดือนยี่ ขึ้น 9 ค่ำ วันอังคาร... เจ้าแผ่นดินเสด็จจากเมืองไปสร้างปาศักดิ์ เจ้าราชบุตรไปนั่งแล..." พ.ศ. 2367 (จ.ศ. 1186) ทรงตั้งบุญหลวงฉลองวัดสีสะเกด หลังจากที่ทรงบูรณะวัดนี้สำเร็จแล้ว ทรงสร้างหอพระบางเพื่อประดิษฐานพระบางเจ้า ซึ่งพระเจ้านันทเสนพระราชเชษฐาทรงขออัญเชิญคืนจากกรุงเทพพระมหานครมาประดิษฐาน ณ นครเวียงจันทน์เมื่อพุทธศักราช 2326
พ.ศ. 2369 (จ.ศ. 1188) ทรงยกหอพระบางทิศตะวันออก (ตะเว็นออก) สองหลังที่นครเวียงจันทน์ และทรงสร้างพระพุทธรูปสำริดพระแก้วมรกตองค์เทียมหรือองค์จำลอง สูง 36.5 ซม. พร้อมทรงจารึกพระนามที่ฐานพระพุทธรูปองค์นั้น ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จารึกด้านล่างฐานพระพุทธรูปนี้มี 5 บรรทัด ความว่า "...สมเด็จพระราชเชษฐาอาปณคามาธิราชชาติสายสุริยวงศ์ ทรงมีกุศลเจตนาในบวรพุทธศาสนาเป็นอันยิ่ง ให้หล่อพระพุทธรูปเจ้าน้ำหนัก 2 หมื่น 5 พัน เทียมพระแก้วมรกตเจ้า เพื่อให้มั่นคงแก่พระพุทธศาสนาตราบเท่า 5000 พระวัสสา..." พระพุทธรูปองค์นี้ประวัติกล่าวว่า พระองค์ทรงหล่อในปีเดียวกันกับที่เสด็จกรีฑาทัพเข้าตีและยึดเมืองนครราชสีมาสำเร็จ เชื่อว่าทรงมีพระราชประสงค์ให้พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวแทนพระแก้วมรกตที่ถูกสยามชิงไปครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ หอพระแก้วเมืองนครเวียงจันทน์ ในปีพุทธศักราช 2370 สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพตีนครเวียงจันทน์ได้ คงนำพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้และองค์อื่นๆ กลับมาพระมหานครด้วย ภายหลังพระพุทธรูปนี้ตกเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ต่อมาพุทธศักราช 2532 จึงย้ายมาแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
พ.ศ. 2369-2370 (จ.ศ. 1188-1189) เกิดสงครามต่อสู้ระหว่างนครเวียงจันทน์กับสยาม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ต่างๆ เช่น เมืองคำเกิด คำม่วน ท่าแขก มหาไชยกองแก้ว ฯลฯ นำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองทั้งหลาย ไปประดิษฐานหลบซ่อนในำลึกตามเทือก และโปรดฯ ให้ชาวเมืองนำเงินทองไปฝังดินไว้ตามที่ต่างๆ เพื่อให้รอดพ้นจากการชิงปล้นของทหารไทย แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปสำคัญและมีชื่อเสียงหลายองค์ก็ถูกชิงปล้นไปประดิษฐานที่สยามมาจนกระทั่งปัจจุบัน
พ.ศ. 2370 (จ.ศ. 1189) ทรงอัญเชิญพระแสง พระพุทธรูปสำคัญของนครเวียงจันทน์ไปประดิษฐาน ณ ถ้ำเมืองมหาไชยกองแก้ว ในตำนานว่าพระแสงสร้างพร้อมกันกับพระสุก พระเสริม และพระใส พระแสงสร้างโดยเจ้านางคำแสงพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมา หลังสงครามเจ้าอนุวงศ์สยามได้สั่งให้เจ้าเมืองนครพนมเชิญขึ้นไปประดิษฐาน ณ กรุงเทพมหานคร แต่พระแสงสำแดงปาฏิหาริย์ไม่ยอมเสด็จจนเกวียนอัญเชิญหัก เจ้าเมืองจึงนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดป่า ต่อมาจึงนำมาประดิษฐาน ณ วัดศรีคุณเมืองกลางเมืองนครพนม ปัจจุบันคือวัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม นอกจากนี้ ในตำนานเมืองหินบูนหรือเมืองฟองวินห์เก่า ยังกล่าวว่า เมื่อครั้งเสด็จลี้ภัยไปประทับ ณ ถ้ำผาช่างหรือถ้ำผาช้าง เขตเมืองอรันรัตจานาโบราณและเมืองเวียงสุรินทร์โบราณ ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของเมืองหินบูน ประเทศลาว ทรงโปรดให้บูรณะปัดกวาดพระอุโบสถโบราณ (สิมเก่า) ในเมืองนี้มากถึง 12 แห่ง และโปรดให้บูรณะกะตืบ (กุฏิหรืออาคารตึกดิน) ด้วยกันอีก 1 แห่ง รวมเป็น 13 แห่ง ฝ่ายตำนานเมืองมหาชนไชยก่องแก้วหรือเมืองมหาชัยของลาวนั้นกล่าวว่า เมื่อครั้งเสด็จมาสู้ศึกทหารไทยที่ถ้ำผานางเมืองมหาไชย ทรงตั้งทัพที่วัดแถนอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปทองแดง และพระพุทธรูปเงิน ทรงโปรดเกล้าให้พระสงฆ์และชาวเมืองนำพระพุทธรูปมีค่าทั้งหลายไปประดิษฐานซุกซ่อนไว้ในถ้ำผานางใกล้น้ำสร้างแก้ว
นอกจากนี้ในตำนานยังกล่าวว่า พระองค์ยังทรงเสด็จไปสร้างกลางและโปรดเกล้าฯ ให้เวียงจันทน์เสด็จไปควบคุมดูแลการก่อสร้างด้วย ในการณ์นี้ ได้ถวายผู้หนึ่งพระนามว่า ให้เป็นหรือบาทบริจาริกาในพระองค์ด้วย
สร้างเมืองท่าแขก
ในสมัยเจ้าอนุวงศ์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชากิตติศัพท์เทพฤๅยศ (มัง มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนม (เมืองละคร) สร้างเมืองท่าแขกขึ้นฝั่งตรงข้ามกับ เพื่อกวาดต้อนผู้คนให้หนีศึกจากสยามเข้ามาอาศัยอยู่ พร้อมทั้งสั่งให้เจ้านายจากเวียงจันทน์มาช่วยควบคุมการก่อสร้าง หลังจากสยามยกทัพขึ้นมาแล้วทำให้การสร้างเมืองท่าแขกหยุดชะงักลง ดังปรากฏโดยละเอียดในเอกสารเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ ความว่า
...แต่นั้น เคืองพระทัยเจ้าองค์ยั้งขม่อมหลวง พระก็จัดไพร่พร้อมดาห้างแต่งตัว เฮาจงคืนเมืองตั้งหนองบัวขนันอยู่ ภายพุ้น แต่ว่าครัวขี้ฮ้ายอย่าต้านต่อซน ท่านเอ๋ย พระก็ฮับสั่งให้เจ้าแห่งเมืองลคร เจ้าจงพาพลคืนอย่านานคาค้าง คันว่าเมือเถิงห้องอย่านานเฮ็วฮีบ จริงเทอญ จัดไพร่ข้ามของแท้อย่านาน หั้นท่อน แล้วจึงพาพลตั้งแปลงเวียงขนันอยู่ แฝงฝ่ายน้ำทางพุ้นแวดระวัง เที่ยวเทอญ ฯ แต่นั้น หัวเมืองเจ้าชาวลครไวฮีบ อ่วยหน้าช้างคืนแท้บ่นาน ทั้งวันแท้ทั้งคืนเขียวถีบ ย่านแต่เศิกลัดต้อนตันฆ่าหว่างทาง เศิกเหล่าเลยถีบม้าเต้นไล่ตามหลัง เจ้าก็อวนกำลังต่อเลวหนีแท้ ตั้งแต่ครราชเท่าเถิงเขตต์ขงละมุม เขาก็นำไปลัดที่โพนทันม้า ตันขนันต้อนครัวไทยยายอยู่ เขาก็ฮัดเฮ่งต้อนตันหน้าสู่ทาง ม้มจากหั้นเถิงท่งเชียงไต เขาก็ไหลพลนำผ่าเลวฟันฆ่า ก็จึงเถิงแห่งห้องขงเขตต์เมืองพิมาย กลายแดนไทยด่วนเมือทั้งฟ้าว วันคืนแท้บ่มีนานยามยีบ ก็จึงเถิงแห่ห้องลครแท้ที่ตน หั้นแล้ว เจ้าก็ใช้ถีบม้าไปป่าวขงลคร จัดครัวไปข้ามของอย่าช้า ไผอย่าดลคาค้างจักคนลูกอ่อน จริงเทอญ ปัดกวาดข้ามของแท้สู่คน เทียวเทอญ ย่านแต่ครัวจิ่มใกล้ลุกขึ้นเป็นเศิก บ่ฮู้ เห็นแต่ครัวเต็มเมืองสู่ภายจริงแท้ โตหากไปเทม้างเมืองเขาปัดกวาดมานั้น มันก็ดูมากล้มกลัวย่านหมู่เขา แท้แล้ว เขาหากอยู่ครราชพู้นติดต่อตามมา ไผบ่อาจมืนตาฮบต่อซนเขาแพ้ แต่ภูเขาขั้นเท่าที่ศรีคอนเตา ศีร์ษะเกษเขาก็มาอยู่เต้าเต็มแท้สู่ภาย แล้วเหล่าเอาตัวข้ามแคมของปัดขอด ลาวหมู่นั้นแทนบ้านสู่ภาย หั้นแล้ว ฯ แต่นั้น เจ้าก็จัดคนสร้างแปลงเวียงท่าแขก ลวงกว้างได้สามฮ้อยชั่ววา เวียงจันทร์เจ้าเวียงแกเป็นแก่ มาแนะให้เขาตั้งก่อเวียง ลวงสูงได้พอประมาณเจ็ดศอก ใหญ่แลน้อยเวียนอ้อมสี่กำฯ...
...เถิงเมื่อเดือนหกขึ้นสิบสองค่ำ มาเถิง เจ้าก็แปลงตราขัดฮอดละครมิช้า เจ้าให้หาเกณฑ์คนกล้าไปตีเหมราษฐ เสียเทอญ เหตุว่าเหมราฐนั้นเขาเกิดเป็นเศิกขึ้นแล้ว ให้เจ้าไปตีเสียอย่ากลายเดี๋ยวนี้ อันว่าปลูกเวียงนั้นเซาดูหยุดก่อน หั้นเทอญ จักว่าดีแลฮ้ายเมือหน้าบ่เห็น ฯ แต่นั้น นายคุมเจ้าเวียงแกแจ้งเหตุ เจ้าก็ฮัดเฮ่งขึ้นทั้งฟ้าวบ่เซา เจ้าก็กลับเมือเฝ้าบาทายั้งขม่อม เห็นแต่เฮือตั้งเต้าเต็มน้ำกึ่งกอง...แต่นั้น เมืองละครพร้อม มหาไชยฟ้าวฟั่ง ไปฮอดท่าแขกแล้ว บ่เห็นแท้ที่ใด เห็นแต่ลาวเต็มเต้าเมืองลครของเก่า ภายพุ้น เขาก็คืนคอบไหว้องค์เจ้าสู่อัน หั้นแล้ว แกวก็เลยเคียดคล้อยป้อยด่าคำแข็ง สูอย่าเลิงๆ ตัวะล่ายกูฉันนี้ อันว่าของฟากนั้นบ้านอยู่เดิมเขา แท้นา สูว่าเศิกมาเต็มฝ่ายเฮาภายนี้ สูจงไปตั้งค่ายเป็นด่านหนองหลาง หั้นเทอญ กูจักเอากำลังเคลื่อนไปในหั้น หน่วยหนึ่งตั้งท่าแขกแคมของ ที่พุ้น ผุงหมู่ไทยเมืองสูอยู่ตระเวนภายหั้น คันว่าเศิกหากข้ามยามใดให้มาคอบ กูเทอญ กูก็บ่หย่อนย้านเสียมนั้นท่อใย แท้แล้ว ให้สูจัดมาเฝ้ายังกูให้มันมาก จริงเทอญ กูนี้คนเจ้าฟ้าหาญแท้อยู่กลาง หั้นแล้ว ฯ...
วรรณกรรมลาวที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ
ในภายหลังพระราชประวัติของเจ้าอนุวงศ์ได้รับการเรียบเรียงและแต่งเติมจากนักปราชญ์ทางวรรณกรรมลาว ในฐานะวรรณกรรมประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาก 2 เรื่องแต่ไม่เป็นที่รับรู้ของชาวไทยนัก เรื่องแรกคือพื้นเวียงจันทน์หรือเพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปรู้จักในนามพื้นเวียง ซึ่งออกพระนามของพระองค์ว่าเจ้าอนุรุธราช และเรื่องที่สองคือวรรณกรรมประวัตินครเวียงจันทน์หรือพื้นเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งออกพระนามของพระองค์ว่าพระยาอนุราชบัพพาวันดี วรรณกรรมเรื่องแรกกล่าวถึงเรื่องราวการพยายามประกาศเอกราชของพระองค์อย่างตรงไปตรงมา ว่าไม่ได้ขัดแย้งกับสยามแต่ทรงขัดแย้งกับเมืองนครราชสีมา เอกสารชิ้นนี้ไม่มีการกล่าวถึงวีรกรรมท้าวสุรนารี (โม ณ ราชสีมา) และหลังจากตีเมืองนครราชสีมาแตกแล้วทรงตั้งพระบรมราชา (มัง มังคละคีรี) เจ้าเมืองนครพนมให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาและสร้างเมืองท่าแขกของประเทศลาวด้วย เอกสารชิ้นนี้กล่าวเนื้อความตรงกันข้ามกับทรรศนะของสยามโดยสิ้นเชิง และถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในไทยโดยนายทรงพล ศรีจักร์ บุตรชายของท้าวเพ็ชรราชหลานชายของเพียวรจักรี ชาวตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม วรรณกรรมเรื่องที่สองได้รับการปรุงแต่งออกจากวรรณเรื่องแรก แต่มีการต่อเติมเรื่องราวอื่นๆ แทรกไว้โดยคงเค้าเรื่องเดิมไว้อยู่ เช่น ความขัดแย้งกับกรุงศรีหรือบางกอก การขอกำลังจากญวณมาช่วยทัพ พร้อมทั้งแต่งตำนานคำสาปพระยาศรีโคตรบองสาปเวียงจันทร์แทรกไว้ที่ต้นเรื่อง และยังกล่าวถึงพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระองค์พระนามว่า ท้าวเหลาคำ หรือเจ้าราชวงษ์ ว่ามีความสามารถมากและเป็นชนวนเหตุแห่งสงคราม เอกสารชิ้นนี้ถูกเผยแพร่ในไทยจากหนังสือประเพณีอีสานของ ส. ธรรมภักดี ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 นั้นวรรณกรรมทั้งสองเรื่องเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชนอีสานและชาวลาว นิยมอ่านกันในงันเฮือนดีหรืองานศพทำนองเดียวกันกับวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งท้าวเจือง หรือพื้นนิสสัยบาเจือง
นอกจากวรรณกรรมทั้งสองแล้ว ยังมีข้อสันนิษฐานว่ามีวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเชื่อว่าแต่งในรัชกาลของเจ้าอนุวงศ์ และอาจแต่งในช่วงก่อนสงครามกับสยาม คือ วรรณกรรมเรื่องกาละนับมื้อส่วยหรือวรรณกรรมสาส์นลึบพสูน นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเจ้าอนุวงศ์ทรงแต่งเองหรืออาจใช้ให้เสนามนตรีในพระราชสำนักแต่งขึ้น เพื่อระบายความในใจเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองของพระองค์ ในยามถูกรุกรานและกดขี่ข่มเหงจากสยาม วรรณกรรมชิ้นนี้ถูกยกย่องว่าเป็นเพ็ชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมลาวในด้านวรรณกรรมปรัชญาหรือวรรณกรรมแฝงการเมือง พื้นเวียง พื้นเมืองเวียงจันทน์ และกาละนับมื้อส่วย ไม่ถูกนำมาศึกษาในระดับมัธยมของไทยแต่ในระดับอุดมศึกษานั้นก็มีการศึกษาอยู่บ้างแต่ไม่เป็นที่โดดเด่นในประเทศไทย อาจเนื่องจากปัญหาความมั่นคงและปัญหาการแบ่งแยกดินแดน ทว่าในประเทศลาวนั้นวรรณกรรมทั้ง 3 เรื่องเป็นที่ยกย่องเชิดชูและใช้ในการศึกษาโดยปกติ ต้นฉบับของวรรรกรรมทั้ง 3 เรื่อง ปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์ใบลานของวัดหลายแห่งในอีสานและลาว
ทายาท
พระมเหสีและพระสนม
เจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระมเหสีและพระชายาดังต่อไปนี้
- พระอรรคเทพีคำป้อง (คำปล้อง) พระมเหสีฝ่ายขวา
- พระอรรคเทพีคำจันทร์ (คำจัน) พระมเหษีฝ่ายซ้าย
- พระนางสอนเทวี พระราชธิดาในพระบรมราชา (มัง) เจ้าเมืองละครหรือเมืองนครพนม ต้นสกุล มังคละคีรี (พระราชทาน) เมื่อครั้งสงครามเจ้าอนุวงศ์เสร็จสิ้นสยามได้เชิญพระนางไปเป็นนางห้ามในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งกรุงเทพพระมหานคร
- เจ้านางบุษบา (บุษบา)
- เจ้านางคำใส
- เจ้านางทองดี
- เจ้านางออน
- เจ้านางดวงแก้ว ต้นสกุลวงษ์แก้ว ขุนนรินทร์เรืองเดชผู้เป็นโอรสที่ 4 ของเจ้าอนุวงศ์ ได้ขอให้พระราชทานต้นสกุลนี้ตั้งแต่นั้นมา
- ญาแม่หมานุย (นุย) ชาวเมืองร้อยเอ็ดออกพระนามว่า ญาแม่อุปฮาต เป็นพระธิดาใน ต้นสกุล ธนสีลังกูร (พระราชทาน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดองค์ที่ 2 บ้างก็กล่าวว่านางเป็นหม่อมของเจ้ามหาอุปฮาตเวียงจันทน์ บ้างก็กล่าวว่านางเป็นหม่อมของเจ้าอนุวงศ์ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้ามหาอุปฮาตเวียงจันทน์
- เจ้านางคำเพา (เพา) บ้างก็กล่าวว่าเป็นพระราชธิดาในเจ้าอนุวงศ์ บ้างก็กล่าวว่าเป็นแต่เพียงหม่อมห้ามนางกำนัน ฝ่ายตำนานเมืองวังของชาวภูไทแขวงสุวรรณเขตกล่าวว่า ทรงเป็นพระสนมเก่าที่เจ้าอนุวงศ์พระราชทานมาให้ เจ้าเมืองวัง เพื่อเจริญทางพระราชไมตรีกับกลุ่มเจ้านายภูไท
พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดา และพระราชปนัดดา
เจ้าอนุวงศ์ยังทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดา ดังต่อไปนี้
- เจ้าสุทธิสาร (โป้) หรือเจ้าสิทธิสาร (โป๋) เอกสารบางฉบับออกพระนามว่า เจ้าสุทธิราช ต้นสกุล สิทธิสาริบุตร (พระราชทาน) ทรงมีพระโอรสกับหม่อมใดไม่ปราฏนาม 1 พระองค์คือ
- เจ้ารูป (ฮูป) นอกจากนี้เจ้าสุทธิสาร (โป้) ยังทรงมีพระโอรสพระธิดาอันประสูติแต่เจ้านางศิริประภาอีก 3 องค์ ได้แก่
- เจ้าช่วย
- เจ้าพรหมา
- เจ้านางทอง
- เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) หรือเจ้าเง่า ในเอกสารเพ็ชร์พื้นเวียงจันทน์กล่าวว่า ทรงอภิเษกกับพระราชธิดาพระเจ้าแผ่นดินญวณและเป็นพระเจ้านครเวียงจันทน์พระองค์สุดท้าย เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) ทรงมีหม่อมที่ได้รับถวายจากเจ้าเมืองร้อยเอ็ดนาง 1 คือ อาชญานางอ่อม ธิดาในพระรัตนวงศามหาขัติยราช (โอ๊ะ) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิราชบุรีประเทศราช นางได้ถวายตัวเป็นหม่อมเมื่อครั้งเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) เสด็จไปทำศึกกู้เอกราชช่วยพระราชบิดาพร้อมกันกับเจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน) เจ้าราชวงศ์ (เหง้า) ทรงมีพระราชโอรสอันประสูติแต่นางใดไม่ปรากฏนามคือ
- เจ้าสีหาราช ต้นสกุล สีหราช ในประเทศลาว เจ้าสีหาราชทรงมีพระโอรส 3 พระองค์คือ
- เจ้าคำบง
- เจ้าบุญเหลือ
- เจ้าสมทอง ทรงมีพระโอรสพระธิดารวม 7 องค์ ที่ปรากฏนามคือ
- ท้าวสมอก สีหราช หรือท้าวอนุวงศ์ เศษฐาธิราช ผู้ตั้งสกุล เศษฐาธิราช ในประเทศลาว ท้าวสมอก สีหราช สมรสกับนางอุไรวรรณ (อุไรวัน) เศษฐาธิราช เชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์หลวงพระบาง และมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ
- ท้าวฟ้าไชย เศษฐาธิราช
- ท้าวฟ้าหงุ่ม เศษฐาธิราช
- ท้าวสมอก สีหราช หรือท้าวอนุวงศ์ เศษฐาธิราช ผู้ตั้งสกุล เศษฐาธิราช ในประเทศลาว ท้าวสมอก สีหราช สมรสกับนางอุไรวรรณ (อุไรวัน) เศษฐาธิราช เชื้อสายเจ้านายในราชวงศ์หลวงพระบาง และมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ
- เจ้าสีหาราช ต้นสกุล สีหราช ในประเทศลาว เจ้าสีหาราชทรงมีพระโอรส 3 พระองค์คือ
- สมเด็จเจ้าราชบุตร (โย้) หรือเจ้าโย่ พระเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ ทรงมีพระราชโอรสคือ
- เจ้าอุปฮาต (คำป้อม) อุปฮาตแห่งนครจำปาศักดิ์
- เจ้าแก้ว
- เจ้าหมื่นนาม หรือท้าวหมื่นนาน ทรงประสูติแต่พระนางสอนเทวี สิ้นพระชนม์เมื่อครั้งสงครามสยามเผาเวียงจันทน์ และปรากฏพระนามในเอกสารพื้นเวียง
- เจ้าเต้
- เจ้าชัยสาร (ไชยสาร)
- เจ้าเถื่อน
- เจ้าคลี่ (คี่) หรือเจ้าคี่เหี่ย ทรงสมรสกับเจ้านางท่อนแก้ว พระธิดาในเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) มีพระราชธิดาด้วยกันคือ
- เจ้าจอมมารดาดวงคำ หรือเจ้านางหนูมั่น ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชธิดาด้วยกัน 2 พระองค์คือ
- เจ้าปาน
- เจ้าเสือ ทรงสมรสกับเจ้านางท่อนแก้ว และยังเป็นที่ถกเถียงว่าเจ้านางท่อนแก้วทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับพระธิดาเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) หรือไม่ เจ้าเสือและเจ้านางท่อนแก้วทรงมีพระราชโอรสคือ
- เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล (หน่อคำ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทษราชพระองค์สุดท้าย ต้นสกุล พรหโมบล (พระราชทาน), พรหมเทพ, เทวานุเคราะห์ (พระราชทาน)
- เจ้านางดวงจันทร์ (แก้วจันทร์) สยามได้พาพระองค์เสด็จมาประทับที่หัว พร้อมกับเจ้านายลาวอีกหลายพระองค์ในคราวสงครามเจ้าอนุวงศ์ ต่อมาได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ บ้านดอนมะขาม (ไผ่ขวาง) อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาทายาทบุตรหลานในชั้นหลังจึงตั้งนามหนองน้ำใหญ่ใกล้ที่ประทับเพื่อระลึกถึงพระองค์ว่า
- เจ้าช้าง
- เจ้าอึ่งคำ (อึ่ง)
- เจ้าสุวรรณจักร
- เจ้าขัติยะ
- เจ้าพุทธชาติ
- เจ้าปัน (ปั้น)
- เจ้าดิศพงษ์
- เจ้านางหนูจีน มีทรงมีพระโอรสคือ
- เจ้าขำ เจ้าขำทรงสมรสกับนางบุญรอด ทรงมีบุตรธิดาด้วยกัน คือ
- พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้ขอพระราชทานนามสกุล พรหโมบล มีภริยา 5 คนคือ คุณหญิงทองคำ บุเรศผดุงกิจ 1 คุณพร้อม 1 คุณใจ 1 คุณชวน 1 คุณเปรื่อง 1 พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) มีบุตรธิดาทั้งหมด คือ
- พลตำรวจตรี หลวงพรหโมปกรณ์กิจ (รื่น พรหโมบล)
- คุณเริญ พรหโมบล
- คุณเลื่อน พรหโมบล
- คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ เนติบัณฑิตหญิงคนแรกของไทย
- คุณริ้ม พรหโมบล
- คุณร้อม พรหโมบล
- พันตำรวจเอก รัตน์ พรหโมบล
- คุณเรียม พรหโมบล (บุญช่วย)
- คุณเรียบ พรหโมบล (ผดุง)
- คุณรุจี พรหโมบล (ไข่ขวัญ)
- คุณรัมภา พรหโมบล
- คุณคลอใจ พรหโมบล (ปุก)
- คุณรุ่งเรือง พรหโมบล (ป๋อง)
- คุณเคลือวัลย์ พรหโมบล (แป๊ด)
- คุณสุรศักดิ์ พรหโมบล (ป๊อด)
- คุณจิระ พรหโมบล (จุ๋มจิ๋ม)
- คุณอมรา พรหโมบล (แป้น)
- พันตำรวจเอก คีรี พรหโมบล (ปั้น)
- คุณดำรงศักดิ์ พรหโมบล (ปาน)
- นางปลั่ง สมรสกับ
- นางผ่อง สมรสกับ
- นางแปลก สมรสกับ นายกราย บุนนาค
- นางสาวสาย พรหโมบล
- คุณหญิงน้อม พิชัยภูเบนทร์ สมรสกับ พันเอก
- พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ผู้ขอพระราชทานนามสกุล พรหโมบล มีภริยา 5 คนคือ คุณหญิงทองคำ บุเรศผดุงกิจ 1 คุณพร้อม 1 คุณใจ 1 คุณชวน 1 คุณเปรื่อง 1 พันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) มีบุตรธิดาทั้งหมด คือ
- เจ้าขำ เจ้าขำทรงสมรสกับนางบุญรอด ทรงมีบุตรธิดาด้วยกัน คือ
- เจ้าสุพรรณ
- เจ้านางคำวัน (คำแว่น) ทรงอภิเษกกับ เจ้าผู้ครองนครเชียงขวาง หรืออาชญาน้อยเมืองพวน ทรงมีพระราชโอรสด้วยกัน คือ
- เจ้าโป้
- เจ้าอึ่ง
- เจ้าอ่าง ทรงมีพระโอรสคือ
- เจ้าคำโง่น ทรงมีพระโอรสคือ
- เจ้าสายถะหวิน ทรงสมรสกับหม่อมเต็มคำ และมีพระโอรสด้วยกันคือ
- เจ้าชอบไชชะนะ สุดทะกะกุมาน อดีตราชเลขาประจำพระราชวังหลวงพระบางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์, อดีตเจ้ากรมพิธีการมณเฑียรบาล, ประธานสภาและผู้แทนราษฎร 4 ชุดของแขวงเชียงขวาง, เอกอัครราชทูตและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลแห่งพระราชอาณาจักรลาว นอกจากนี้ ยังทรงมีพระราชโอรสอีก 2 พระองค์ประสูติแต่พระมเหษีไม่ปรากฏพระนามคือ เจ้าทับ และ เจ้าพมมา (พรหมา)
- เจ้าสายถะหวิน ทรงสมรสกับหม่อมเต็มคำ และมีพระโอรสด้วยกันคือ
- เจ้าคำโง่น ทรงมีพระโอรสคือ
- เจ้านางคำแพง
- เจ้านางเชียงคำ
- เจ้านางหนู อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้านางหนูจีน
- เจ้านางประทุม หรือเจ้าจอมประทุม ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมพระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งกรุงเทพพระมหานคร
- เจ้านางจันทร์โสม หรือ ได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชธิดาด้วยกัน 1 พระองค์ คือ
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม นอกจากนี้เจ้านางจันทร์โสมยังมีบุตรชายท่านหนึ่ง คือ
- นายจันทร์แพ เป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล เทวานุเคราะห์ จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
- เจ้านางลาวช่อฟ้า (คำเพา) หรือพระนางลาว เรื่องราวเกี่ยวกับพระนางยังเป็นข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ ตำนานเมืองวังในประเทศลาวกล่าวว่า ทรงเป็นพระชายาของ เจ้าเมืองวังอ่างคำ ต้นสกุล แก้วมณีไชย, แก้วมณีชัย, แก้วมณี, อินทร์ติยะ ในอำเภอเรณูนคร ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยกันคือ
- พระยาราชเตโช (เตโช) หรือพระยาเตโช เจ้าเมืองวัง ต้นสกุลเตโช ในอำเภอเรณูนคร
- พระยาหน้าก่ำ (ก่ำ) หรือพระยาก่ำ
- พระยาแก้ว (แก้ว) อดีตเจ้าอุปฮาตเมืองวัง ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองวังเว ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ
- เจ้านางเอื้อยกก ต้นสกุล บัวสาย ในอำเภอเรณูนคร
- เจ้านางเอื้อยรอง
- พระแก้วโกมล (เพชร) เจ้าเมืองเว
- พระแก้วโมล (สาย) เจ้าเมืองเรณูนคร ต้นสกุลโกพลรัตน์ ในอำเภอเรณูนคร
พระราชนัดดาและพระราชปนัดดาที่ไม่ปรากฏพระนามพระบิดาและพระมารดา
สมเด็จเจ้าอนุวงศ์ทรงมีพระราชนัดดาและพระราชปนัดดาที่ไม่ทราบว่าประสูติแต่พระราชโอรสพระราชธิดา หรือพระราชนัดดาพระองค์ใด ดังนี้
- เจ้ามหาอุปฮาต (เอม) เจ้าอุปราชนครเวียงจันทน์
- เจ้าสุริยะ กรมการนครเวียงจันทน์
- เจ้าสุวรรณ
- เจ้าสุพรรณ อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าสุวรรณ
- เจ้าสุพล
- เจ้าโหง่นคำ (ง่อนคำใหญ่)
- เจ้ากำพ้า (กำพร้า)
- เจ้าโถง
- เจ้าอ้ง อาจเป็นพระองค์เดียวกับเจ้าอัง พระโอรสในเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ)
- เจ้าบุตร์ (บุตร)
- เจ้าบุ
- เจ้าป่าน อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าปาน
- เจ้าพงษ์ อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าดิศพงษ์ พระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์
- เจ้าหลอด
- เจ้าดี
- เจ้าคุณปลัด (คุณพ่อปลัด) ผู้นำชุมชนชาวลาวจากนครเวียงจันทน์ บ้านดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ต้นสกุล กุลวงศ์ ต่อมาบุตรหลานได้รับราชการบรรดาศักดิ์ แล้วแยกออกมาตั้งสกุลต่างๆ ได้แก่ หงษ์เวียงจันทร์ เหมเวียงจันทร์ พันธุ์จันทร์ นนท์ช้าง นนท์แก้ว ยศวิชัย ปลัดม้า ตุ่มศรียา ทองเรือนดี เป็นต้น
ราชสกุลวงศ์ที่ใกล้ชิด
สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร หรือ สมเด็จบรมบพิตรมหาบุรีไชยเสฏฐาธัมมิกราช หรือ สมเด็จบรมบพิตรพระโพสาธรรมิกราชาไชยจักรพรรดิภูมินทราธิราช พระเป็นเจ้านครเวียงจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ บ้างออกพระนามว่าเจ้าธรรมเทวงศ์ หรือ เจ้าองค์บุญ พระราชบิดาในเจ้าอนุวงศ์ ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดา ได้แก่
- สมเด็จพระเจ้านันทเสน ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
- สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
- เจ้าอนุวงศ์ ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
- เจ้ามหาอุปฮาต (พรมวงศ์) ทรงประสูติแต่พระอรรคเทวีฝ่ายขวา
- ประสูติแต่พระสนมหรือบาทบริจาริกา
- เจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน) ประสูติแต่พระสนมหรือบาทบริจาริกา
- เจ้าพระยาหลวงบุตรโคตรวงศา ประสูติแต่พระชายาจันทะมาสเทวี
- เจ้าหน่อกะบอง หรือเจ้าพงษ์กะบอง ประสูติแต่พระชายาจันทะมาสเทวี
- เจ้าพระยาหลวงเมืองแสน
- เจ้าพระยาคำหาญอาสา
- เจ้าพระยาจันทอง
- เจ้าพระยาละคอนมหาโคตร
- เจ้าพระยาศรีสัตนาคธรรมมา
- เจ้าพระยาจันทรสุริยามหาเดชา
- เจ้าสิริธรรมา
- เจ้าคำโผย หรือเจ้าคำโปรย
- เจ้าคำทอง หรือเจ้าแผ่นหล้า
- เจ้าคำปุ่นบุญล่วง
- เจ้านางแก้วยอดฟ้ากัลยาณีศรีกษัตริย์
- ในพงศาวดารเมืองยโสธรกล่าวว่าเป็นพระธิดาในเจ้ามหาอุปฮาต (ดวงหน้า) ถูกส่งไปถวายพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี ในพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร แต่นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้านางแก้วยอดฟ้ากัลยาณีศรีกษัตริย์
- หรือเจ้าแสนแก้วบุฮม ต้นวงศ์ เมืองชลบถวิบูลย์ และเมืองมหาสารคาม นักวิชาการบางท่านเชื่อว่าอาจเป็นพระองค์เดียวกันกับเจ้าศรีวิชัย พระราชโอรสในเจ้าอุปราชศรีวรวังโส พระราชนัดดาในพระเจ้าโพธิสาลราชแห่งนครหลวงพระบาง
- เจ้านางแก้วกุมมารี หรือเจ้าหน่อน้อยกุมมารี ทรงประสูติแต่พระชายาจันทะมาสเทวี
- เจ้าหน่อเมือง ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ออกพระนามว่า เจ้าองค์นาง เป็นราชบุตรีที่ส่งไปถวายเป็นบาทบริจาริกาในพระเจ้ากรุงอังวะเมืองม่าน
สายสมเด็จพระเจ้านันทเสน
สมเด็จพระเจ้านันทเสน หรือ พระเจ้านันทะเสนราชพงษมะลาน เจ้าพระนครเวียงจันทบุรี พระนามเดิมว่าเจ้านัน มีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ
- เจ้าเมืองมุกดาหารบุรีในฐานะประเทศราช บ้างออกนามว่า เจ้าจันทรประทีป บ้างก็ว่าเป็นพระโอรสในสมเด็จเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ) เดิมเป็นอดีต บรมราชภักดี ศรีศุภสุนทร เจ้าเมืองขอนแก่น เป็นต้นตระกูล (พระราชทาน) เมื่อครั้งประทับ ณ กรุงเทพพระมหานคร ทรงมีหม่อม 1 นาง คือ หม่อมบุญมี ทรงมีราชธิดาคือ
- เจ้านางจำเริญ จันทนากร มีธิดาคือ
- นางรัชนี จันทนากร นอกจากนี้ เจ้าจันทรเทพสุริยวงษ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี (หนู) เมื่อครั้งรับราชกาลหัวเมืองนั้น ทรงมีพระโอรสกับหม่อมใดไม่ปรากฏพระนามอยู่ 3 องค์ คือ
- เจ้าสุทธิสาร กรมการเมืองมุกดาหาร
- เจ้าราชวงษ์ (ดวงเกศ) คณะอาญาสี่เมืองมุกดาหาร
- เจ้าดวงจันทน์ ทรงเคยปกครองลาวพร้อมกัน 2 เมือง คือ เมื่อครั้งเป็นเจ้ากินบรรดาศักดิ์ที่ และเมื่อครั้งเป็นเจ้ากินบรรดาศักดิ์ที่
- เจ้านางจำเริญ จันทนากร มีธิดาคือ
- เจ้าชาลี ทรงเป็นต้นตระกูล (พระราชทาน) ทรงสมรสกับเจ้านางศิริประภา มีพระโอรสคือ
- เจ้าไข่ ชาลีจันทร์
- เจ้าวัฒนาวงศ์ วัฒนศักดิ์ ทรงเป็นต้นตระกูล ทรงสมรสกับ นักองค์หม่อมเจ้าสีสุวัถติ์ ศรีสุวรรณาเทวี ภายหลังทรงลี้ภัยมาอยู่ประเทศไทย มีโอรส-ธิดา คือ
- เจ้านางประกายแก้ว
- เจ้าสุวรรณฉัตร เป็นปู่ของพระยาวรรณวโรปการณ์ (สุทธิวงศ์ วัฒนศักดิ์) ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา
- เจ้าจอมมารดาเพ็งเล็ก หรือเจ้านางเพ็งน้อย (เจ้านางเพ็ง) ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงเทพพระมหานคร มีพระราชธิดาด้วยกัน 1 พระองค์คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุภาธร
- เจ้าจ่อม เป็นทวดของนายตำรวจโท จ่าชำนิทั่วด้าน (อิน) ผู้ขอพระราชทานนามสกุล
สายสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์
สมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์ หรือ พระไชยเชษฐาธิราชชาติสุริยวงศ์องค์อัคธิบดีนทระณรินทรามหาจักรพรรดิราช บรมนาถบพิต สถิดเปนพระเจ้ากรุงจันทบุรีย ศรีสัตะนาคณหุตวิสุทธิอุดมบรมรัตนธานีศรีมหาสถาน พระนามเดิมว่าเจ้าอิน นักวิชาการทั่วไปออกพระนามว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 ทรงมีพระอัครมเหสีปรากฏพระนามว่า พระนางคำมูลราชเทวี ทรงมีพระราชธิดาด้วยกัน คือ
- เจ้านางคำสุก หรือเจ้าจอมมารดาทองสุก (บ้างก็ว่าเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้านันทเสน พระราชเชษฐาของสมเด็จพระเจ้าอินทวงศ์) ทรงได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงเทพพระมหานคร มีพระราชธิดา 1 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี หรือพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชชายานารี เจ้าฟ้าหญิงกุลฑลทิพยวดี สมเด็จพระอรรคมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยกัน 4 พระองค์คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ต้นราชสกุล
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ต้นราชสกุล
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี หรือพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชชายานารี เจ้าฟ้าหญิงกุลฑลทิพยวดี สมเด็จพระอรรคมเหสีฝ่ายซ้ายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยกัน 4 พระองค์คือ
สายเจ้ามหาอุปฮาต (ติสสะ)
สมเด็จ ทรงเป็นอุปราชแห่งนครเวียงจันทน์ในรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ แต่มิทรงเข้าร่วมต่อต้านอำนาจสยามกับเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายสยามจึงทรงอุปการะบุตรหลานของพระองค์ไว้ สมเด็จ ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาคือ
- ต้นสกุล (พระราชทาน) บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระ
- เจ้าราชวงษ์ (ขัติยะ) หรือ คณะอาญาสี่ ประเทศลาว
- เจ้าเอม
- เจ้าปาน
- เจ้าสุพรหม
- เจ้าอัง
- มีพระโอรสพระธิดา 2 พระองค์ คือ
- ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดาด้วยกัน คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบงกช
- ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้อัญเชิญพระพุทธรูป ของประเทศลาว ตลอดจน และจากไปทูลเกล้าทูลถวาย ณ กรุงเทพพระมหานคร อาจเป็นพระองค์เดียวกันกับพระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ ใน ฉบับพระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ พรหมสาขา ณ สกลนคร) อดีตเจ้า กล่าวว่า ทรงมีพระชายาพระองค์หนึ่งพระนามว่า เป็นพระธิดาในหรือเจ้าจุลนี เจ้า พระราชโอรสใน ทศบุรี (พรหมา) เจ้า ต้นสกุล )
สายเจ้ามหาอุปฮาต (สีถาน)
เป็นพระราชพระอนุชาต่างกับเจ้าอนุวงศ์ บ้างก็กล่าวว่าอาจเป็นองค์เดียวกับ เคยร่วมกับ ช่วยเจ้าอนุวงศ์เข้าตีที่กระด้างกระเดื่องเมื่อครั้งจากสยาม ทรงมีปรากฏนามอยู่ 3 นาง ซึ่งได้รับการถวายจากเมื่อครั้งเดินทางไปทำศึก ทั้งหมดล้วนเป็นพระธิดาของ ต้นสกุล หม่อมทั้ง 3 นาง ปรากฏนามดังนี้
- อาชญานางหมานุย (หมานุ้ย)
- อาชญานางตุ่ย (ตุ่ม)
- อาชญานางแก้ว
สายเจ้าพระยาหลวงบุตร์โคตร
เจ้าพระยาหลวงบุตร์โคตรหรือเจ้าบุตรโคตร ทรงมีพระนามเต็มว่า เจ้าพระยาหลวงบุตร์โคตรวังศาเสดถะบัวระพาสุวัณณไชยปุคคละ ทรงถูกเชิญเสด็จไปกรุงอังวะพร้อมกับเจ้าหน่อเมืองหรือเจ้าองค์นาง ทรงเป็นพระบิดาในเจ้าพระยานาเหนือ (คำมุกหรือคำบุก) หรือเจ้าพระยาแสนศรีสุวัณณไชยปุคคละ ต้นตระกูล บุคคละ และทรงเป็นพระปัยกาของเจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) เจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) มีพระชายาและหม่อมคือ
- อาชญานางบุคคะลี (เจ้านางโมคคัลลี)
- อาชญานางเทพคัณฑี
- อาชญานางสุวรรณ์คำสุก
เจ้าพระยาเมืองฮามนามฮุ่งศรี (คำอยู่) ทรงมีพระโอรสพระธิดา คือ
- เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระมหาธาตุพนมพระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ทรงเป็นต้นตระกูล รามางกูร และ รามางกูร ณ โคตะปุระ มีพระชายาพระนามว่า เจ้านางยอดแก้วสิริบุญ หรือญาแม่โซ่นศรีบุญมา พระธิดาในเจ้าอุปละ (สีสุมังค์) กรมการเมืองธาตุพนม พระนัดดาในพระยากางสงคราม (คำวิสุด) แห่งเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร) และเจ้านางยอดแก้วสิริบุญมา ทรงมีพระโอรส คือ
- เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) หรืออาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล เจ้าเมืองธาตุพนมหรือผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระมหาธาตุพนมพระองค์ที่ 2 ทรงสมรสกับอาชญานางบุษดี ธิดาในหมื่นนำรวง ผู้เป็นทายาทของท้าวคำสิงห์ พระโอรสในท้าวหม่อมบ่าวหลวงเจ้าเมืองหลวงโพนสิมและนางสิมมา นอกจากนี้ เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ยังมีหม่อมอีกหลายท่าน คือ เจ้านางจันทุมมา 1 เจ้านางคำดวง 1 อาชญานางเทพ 1 อาชญานางลือดี 1 อาชญานางอรดี 1 อาชญานางแก้วคำพา 1 อาชญานางหมอก 1 อาชญานางจันทราช 1 อาชญานางวอระพัน 1 นางคำแก้ว 1 นางคำลุน 1 นางลาดสุวรรณ 1 นางมนมณี 1 หม่อมคำนาลี 1 หม่อมนาคำ 1 หม่อมยอดคำทิพย์ 1 เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) มีพระโอรสพระธิดา คือ
- เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร) ผู้ตั้งตระกูล บุคคละ แห่งเมืองธาตุพนม
- อาชญาท้าวจารย์พุทธา (พุทธา รามางกูร)
- ผู้ตั้งตระกูล รามางกูร แห่งเมืองธาตุพนม เป็นบิดาของร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร (ประดับ บุคคละ) ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร เป็นบิดาของ ดร. วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายก ฯลฯ
- อาชญาท้าวพรหมบุตร์ (คำเที่ยง รามางกูร)
- อาชญาท้าวน้อยคำผิว (ผิว รามางกูร)
- พระชายาเอกในเจ้า (กิ่ง จันทรสาขา) เจ้าเมืองมุกดาหาร ต้นตระกูลพระราชทาน พิทักษ์พนม
- อาชญานางสิริพรรณ
- อาชญานางจันทะแจ่ม
- อาชญานางคำกองเกิดหล้า สมรสกับเจ้าอุปฮาตจันทร์ละคร หรือพระยาพนมนครานุรักษ์กิตติศักดิ์เทพฤๅยศ ทศบุรีศรีโคตรบูรหลวง (จันทน์ทองทิพย์ มังคละคีรี) เจ้าเมืองท่าแขก มีบุตรธิดาคือ
- พระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนมหรือผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระมหาธาตุพนมพระองค์ที่ 3
- เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) หรืออาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล เจ้าเมืองธาตุพนมหรือผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระมหาธาตุพนมพระองค์ที่ 2 ทรงสมรสกับอาชญานางบุษดี ธิดาในหมื่นนำรวง ผู้เป็นทายาทของท้าวคำสิงห์ พระโอรสในท้าวหม่อมบ่าวหลวงเจ้าเมืองหลวงโพนสิมและนางสิมมา นอกจากนี้ เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) ยังมีหม่อมอีกหลายท่าน คือ เจ้านางจันทุมมา 1 เจ้านางคำดวง 1 อาชญานางเทพ 1 อาชญานางลือดี 1 อาชญานางอรดี 1 อาชญานางแก้วคำพา 1 อาชญานางหมอก 1 อาชญานางจันทราช 1 อาชญานางวอระพัน 1 นางคำแก้ว 1 นางคำลุน 1 นางลาดสุวรรณ 1 นางมนมณี 1 หม่อมคำนาลี 1 หม่อมนาคำ 1 หม่อมยอดคำทิพย์ 1 เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) มีพระโอรสพระธิดา คือ
- เจ้านางจันทร์ทิพย์ สมรสกับ อาชญาท้าวโพธิสาร กรมการเมืองมุกดาหาร
- เจ้านางจันทรา สมรสกับ (ทศ ทศศะ) กรมการเมืองมุกดาหาร ต้นตระกูล ทศศะ จันทศ และ จันทร์ทศ
สายเจ้าแสนปัจจุทุม
สายนี้เป็นสายที่มีปัญหามากที่สุดในการนับลำดับวงศ์สกุล เจ้าแสนปัจจุทุม รับราชกาลที่เมืองธุรคมหงส์สถิต แขวงนครเวียงจันทน์ ตำนานพื้นเมืองกล่าวว่าเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระเจ้าสิริบุญสาร แต่ขัดแย้งกันกับเอกสารพื้นเมืองหลายฉบับ เจ้าแสนปัจจุทุมมีพระราชโอรสคือ
1. เพียเมืองแพน (พันหรือศักดิ์) เจ้าเมืองรัตนนคร ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นองค์แรก บ้างก็ว่าเป็นหลานท้าวจารย์แก้ว เป็นต้นตระกูล , อุปฮาด, นครศรีบริรักษ์ มีโอรสธิดาคือ
- อาชญานางคำแว่น หรือเจ้าจอมแว่น (หรือ) ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) แห่งกรุงเทพพระมหานคร ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรี เจ้าจอมแว่นเป็นผู้อนุบาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกุลฑลทิพยวดี พระราชธิดาในเจ้าจอมมารดาทองสุก
- เพียวรบุตร กรมการเมืองขอนแก่น มีภริยาชื่อนางน้อย มีบุตรคือ หลวงศรีวรวงศ์ (อู๋หรืออุ) ท้าวอู๋นี้ต่อมาได้เป็นราชบุตร์เมืองขอนแก่น ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์ที่ พระนครศรีบริรักษ์เจ้าเมืองขอนแก่นฝ่ายเมืองใหม่ (บ้านดอนบม) ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นและจางวางราชการเมืองขอนแก่น ท้าวอู๋เป็นต้นตระกูล นครศรี
- ธิดาไม่ทราบนาม เป็นหม่อมของพระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้งหรือคำบัง) เจ้าเมืองขอนแก่น
นอกจากนี้ เพียเมืองแพนยังมีหลานอีกผู้หนึ่งไม่ทราบว่าเกิดแต่บุตรธิดาท่านใดคือพระราชวงษา ต่อมาได้เป็นราชวงศ์เมืองขอนแก่น
2. เจ้าแสนแก้วบูฮม (แก้วมงคลหรือแก้วบรม) เอกสารบางฉบับออกนามว่า ตำนานเมืองมุกดาหารกล่าวว่าเป็นพี่น้องกับท้าวจารย์จันทรสุริยวงศ์ เจ้าเมืองหลวงโพนสิม ตำนานเมืองร้อยเอ็จกล่าวว่าเป็นพี่น้องกับท้าวจารย์หวด เจ้าเมืองโขง ส่วนเมืองขอนแก่นตำนานหนึ่งเห็นว่าเป็นพี่น้องกับเพียเมืองแพน อีกตำนานหนึ่งเห็นว่าเพียเมืองแพนเป็นหลานท้าวจารย์แก้ว ท้าวจารย์แก้วเป็นเจ้าเมืองท่งศรีภูมิหรือเมืองท่ง (เมืองสะพังสี่แจเก่า) บ้างก็ว่าพระองค์ทรงเป็นราชโอรสในเจ้าศรีวิชัยหรือเจ้าศรีวรมงคล เป็นราชนัดดาในเจ้าวรวังโสหรือเจ้าศรีวรวังโสราชโอรสในพระเจ้าโพธิสาลราชแห่งนครหลวงพระบาง กับเจ้านางยอดคำทิพย์แห่งนครเชียงใหม่ เจ้าจารย์แก้วเป็นต้นตระกูล , , ขัติยวงศ์, บุตรหลานของพระองค์แยกอออกไปตั้งเมืองร้อยเอ็ด สุวรรณภูมิ มหาสารคาม กันทรวิชัย ชลบถวิบูลย์ ศีรษะเกศ หนองหาร พุทไธสงค์ ฯลฯ ทรงมีพระโอรสคือ เจ้าหน่อคำเจ้าผู้ครองนครน่าน1 (เจ้ามืดกำดล) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์ราชบุรี1 (เจ้าสุทนต์มณี) เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด1 พระนครศรีบริรักษ์ (คำบังหรือคำบ้ง) เจ้าเมืองขรแก่น1 พระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เจ้าเมืองขรแก่น1
พระขัตติยะวงศา (เจ้าสุทนต์มณี) มีพระโอรสคือ พระยาขัตติยวงษา (สีลัง) เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด1 พระรัตนะวงษา (ภู) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์1 พระรัตนวงษา (อ่อนหล้า) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ์1 ฝ่ายพระยาขัตติยวงษา (สีลัง) มีบุตร์ธิดา 14 คนคือ
1.พระพิไชย์สุริวงศ์ (เจ้าโพนแพง) เจ้าเมืองโพนพิไสย์ ()
2.พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ เจ้าเมืองหนองหาร (หนองหาน)
3.พระขัติยะวงสา เจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด
4.นางแก้วนพรัตน์ หม่อมของ เจ้าเมืองสุรินทร์ (คูประทายสมันต์)
5.ท้าวมหาพรหม (ยาง) เจ้าเมืองวาปีประทุม ()
6.ท้าวอุปฮาต (ก่ำ) เมืองฮ้อยเอ็ด
7.ท้าวจอม เมืองฮ้อยเอ็ด
8.นางหมานุ้ย (หมานุย) หม่อมในเจ้าอุปฮาด ต้นตระกูล ภวภูตานนท์,
9.นางอุสาวะดี หม่อมของเจ้าเมืองฮ้อยเอ็ด
10.พระเจริญราชเดช (เฮืองหรือฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่ 2 ต้นตระกูล
11.นางแหน้น หม่อมของพระปทุมวิเสส เจ้าเมืองคันธวิไชย์หรือเมือง (โคกพระ) ต้นตระกูล
12.ท้าวมหาราช (ทองคำ) นายอำเภอเมืองมหาสารคาม มีบุตรคือ นายมหาราช (พิมพา)1 นายไชยวงศา (พรหมา)1 นายโพธิราช (สีนุย)1 นายเจริญรัตนะ (บุญมี)1 ขุนพิไลย์ (หนู)1 ฝ่ายนายเจริญรัตน์หรือนายเจริญรัตนะ (บุญมี) มีบุตรเกิดจากนางเอี่ยม 6 คนคือ
- นายจารุบุตร เรืองสุวรรณ อดีตประธานรัฐสภา มีบุตรธิดาอันเกิดจากนางอรนุช (อรพิน) เรืองสุวรรณ คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ1 นางจารุวรรณเตียวศิริ1
- นายจารุมุกด์ เรืองสุวรรณ
- นายจารุพิทูรย์ เรืองสุวรรณ
- นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ
- นายจารุเดือน เรืองสุวรรณ (พตอ. จารุอรรถ เรืองสุวรรณ)
- นายจารุดาว เรืองสุวรรณ (พท.ดร. จารุภัทร เรืองสุวรรณ)
13. ท้าวจันโท (โล้น) อุปฮาตเมือง ต้นตระกูล ขัติยะ
14. ท้าวสุวรรณกุมาร บ้านหนองดอกแป้น เมืองกาฬสินธุ์
พระนครศรีบริรักษ์ (คำบัง) บ้างออกนามว่า ท้าวคำบ้งหรือท้าวคำบุ่ง เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นและเป็นบุตร์เขยเมืองแพนหรือพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นคนแรก มีบุตร์คือ
1. ท้าวสุวัณ อุปฮาตเมืองขอนแก่น ท้าวสุวัณมีบุตรคือคือ ท้าวจันทชมภู ราชบุตร์เมืองขอนแก่น
2. ท้าวจันสีสุราช ราชวงศ์เมืองขอนแก่น
พระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) เจ้าเมืองขอนแก่น เดิมเป็นราชบุตร์เมืองขอนแก่น มีบุตรธิดาคือ
1. ราชบุตร์ (คำพาง)
2. พระนครศรีบริรักษ์ (มุ่งหรือมุง) เจ้าเมืองขอนแก่นฝ่ายบ้านโนนทัน เดิมเป็นที่ราชวงศ์ ต่อมาเลื่อนเป็นอุปฮาตรักษาราชการเมืองขอนแก่น มีบุตรคือ ท้าวราชวงษ์
3. พระนครศรีบริรักษ์ (อินหรืออินธิวงศ์) เจ้าเมืองขอนแก่น เดิมเป็นราชวงศ์ต่อมาเลื่อนเป็นอุปฮาต มีหลานคนหนึ่งยกเป็นบุตรบุญธรรมคือ พระยานครศรีบริรักษ์ (ท้าวอู๋ นครศรี) และพระนครศรีบริรักษ์ (อิน) มีบุตรคนสุดท้ายคือ พระพิทักษ์สารนิคม (หล่าหรือหนูหล้า) ต้นสกุล สุนทรพิทักษ์ เดิมเป็นอุปฮาตต่อมาเป็นปลัดเมืองขอนแก่นคนแรกและเลื่อนเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น
4. ธิดาไม่ปรากฏนาม สมรสกับกับท้าวขัติยะ อุปฮาตเมืองขอนแก่น
ทายาทสายตรง
สกุลสายตรงที่สืบเชื้อสายจากเจ้าอนุวงศ์อันสืบทอดทายาทจากพระราชโอรสพระองค์โตคือ เจ้าสิทธิสาร หรือ เป็นสกุลสายหลักที่สามารถมีสิทธิ์ในการเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ได้ สกุลนี้ถือเป็นราชตระกูลที่ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ว่า สิทธิสาริบุตร (Siddhisariputra) เลขทะเบียนพระราชทานที่ 1474 ทรงพระราชทานแก่นายนาวาตรี หลวงพรหมประชาชิต (ฟื้น) ผู้ช่วยหัวหน้ากองพัศดุ กระทรวงทหารเรือ กับหลวงภาษาปริวัตร (เต๋อ) เลขานุการชั้นที่ 2 กระทรวงการต่างประเทศ ปู่ทวดชื่อเจ้าสิทธิสาร เมืองเวียงจันทน์ 15/6/14
อ้างอิง
- สุเจน กรรพฤทธิ์, ตามรอยเจ้าอนุวงศ์: คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว, (กรุงเทพฯ: สารคดี, 2555), หน้า 145.
- ดูรายละเอียดใน ประทีป ชุมพล, พื้นเวียง: วรรณกรรมแห่งการกดขี่, (กรุงเทพฯ: อดีต, 2525), 189 หน้า.
- ดูรายละเอียดใน ทองพูล ศรีจักร, เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทร์, (พระนคร: โรงพิมพ์บางขุนพรม, 2479).
- สุรศักดิ์ ศรีสำอาง, ลำดับกษัตริย์ลาว, (กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545).
- ดวงจัน วันนะบุบผา (เรียบเรียงใหม่), ท้าวเหลาคำ, (เวียงจันทน์: สำนักพิมพ์และจำหน่ายปื้มแห่งรัฐ ส.ป.ป.ลาว, 2010 (2554), หน้า 7.
- สิลา วีระวงส์, มหา, ชีวประวัติพระเจ้าอนุวงศ์, (เวียงจันทน์: ดอกเกด, 2553 (2010)), หน้า 20.
- เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน, เรียบเรียงโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2546), หน้า 597-599.
- ประวัติวัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมหายโศก หรือวัดอโสการาม) ในพงศาวดารเมืองยโสธรฉบับพระยามหาอำมาตยาธิบดี พระญาณรักขิต (ใจ ยโสธรัตน์), พงศาวดารเมืองยโสธร: พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพพระครูวิจิตตวิโสธนาจารย์ ณ วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร วันที่ 23 เมษายน 2491, (ยโสธร: วัดสร่างโศก อำเภอยโสธร, 2491), หน้า 35. อ้างใน Dararat Mattariganond และ Wiangkum Choun-u-dom, "ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเผา "อุปฮาดบุตร และท้าวคำ" เมืองยโสธร", ใน Center for Research on Plurality in the Mekong Region (CERP): Proceedings of 13th International Conference on Humanities & Social Sciences 2017 (IC-HUSO 2017) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2-3 พฤศจิกายน 2560): 2555.
- อภิรัตน์ชัย จอมศรี, บรรณาธิการ, (4 พฤษภาคม 2016 (2559)). "ประวัติเมืองโพนพิสัย เมืองโพนพิสัยในอดีต", โพนพิสัย หนองคาย [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.phonphisainongkhai.com/701[] [15 กรกฎาคม 2563]
- พ. ศรีจักร์, เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทน์. ธาตุพนม., 2479.
- ประเทือง โพธิ์ชะออน, ริ้วรอยกบฏแห่งสยามประเทศ, (นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000, 2555), 326 หน้า. ISBN: 9789746909594
- ดูรายละเอียดใน ภาสกร วงศ์ตาวัน, เจ้าอนุวงศ์: กบฏหรือวีรบุรุษในสงครามไทย-เวียงจันทน์สมัยรัชกาลที่ 3, (กรุงเทพฯ: ยิปซี, 2553), 206 หน้า. ISBN: 978-616-70-7108-4
- สิลา วีระวง, พระราชประวัติของสมเด็ดพระเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพระราชวงศ์เวียงจันทน์, (เวียงจันทน์: ม.ป.พ., 2512).
- เพลิง ภูผา, ขบถคนอีสาน. กรุงเทพ, 2542.
- พระธรรมราชานุวัตร, อุรังคนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิดาร). กรุงเทพ, 2537.
- พ. ศรีจักร์, เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทน์. ธาตุพนม., 2479.
- สงวน รอดบุญ, พุทธศิลปลาว. กรุงเทพ, 2545.
- องค์การค้าของคุรุสภา, พงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ : ประชุมพงศาวดารภาคที่ 70. กรุงเทพ, 2512.
- หนูเที่ยว, สักการะพระแสง และ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม จาก http://www.tinyzone.tv/TravelDetail.aspx?ctpostid=2464 2014-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน., 2479.
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, อานาจักสีโคตตะบูน. เชียงราย, 2553.
- พ. ศรีจักร์, เพ็ชร์พื้นเมืองเวียงจันทน์. ธาตุพนม., 2479.
- นางนนทปัญญา (สงวน มกรานนท์), พงศาวดารล้านช้าง และลำดับสกุลสิทธิสาริบุตร ราชตระกูลล้านช้างเวียงจันทน์. กรุงเทพ, 2484.
- ธวัช ปุณโณทก, พื้นเวียง : การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอีสาน . สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2526.
- สิลา วีระวงส์, ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพ, 2539.
- เจ้าคำหลวง หน่อคำ, ประวัติศาสตร์อาณาจักรพวน. ปราจีณบุรี , 2555.
- มหาศิลา วีระวงศ์, พงศาวดานลาว. ม.ป.พ., 2496.
- ดวง รามางกูร, ประวัติลำดับพระญาติวงศ์อาชญาเมืองพนม. ม.ป.พ., ม.ป.ป.
- องค์การค้าของคุรุสภา, พงศาวดารเมืองยโสธร : ประชุมพงศาวดารภาคที่ 70. กรุงเทพ, 2512.
- สุจิตต์ จันทรสาขา, เมืองมุกดาหาร. ม.ป.พ., 2543.
- นางชาญสงคราม (แฉล้ม ชาลีจันทร์), พงศาวดารเมืองล้านช้าง และลำดับสกุลชาลีจันทร์ ราชตระกูลล้านช้างเวียงจันทน์. กรุงเทพ, 2500.
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้อัญเชิญพระพุทธรูป พระเจ้าองค์แสน เมืองมหาชัยกองแก้ว ของประเทศลาว[]
- วีรพงษ์ รามางกูร, อนุสรณ์ ร้อยตำรวจตรีประดิษฐ์ รามางกูร 22 กันยายน 2528. กรุงเทพ, 2528.
- เติม วิภาคย์พจนกิจ, ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพ, 2546.
- คณะศิษยานุศิษย์อดีตสมเด็จพระสังฆราชลาว (บุนทัน ธฺมมยานะมหาเถระ), ประวัติศาสตร์พระเจ้าไชยเสฏฐามหาราช เจ้ามหาชีวิตอาณาจักรล้านนา-ล้านช้าง. เชียงใหม่, 2533.
- นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย (ษ) - (ส)
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าอนุวงศ์
- Ford, Ryan. “Memories of Chao Anou: New History and Post-Socialist Ideology.” The Journal of Lao Studies 2, 2 (Nov. 2011): 104–126.
ก่อนหน้า | เจ้าอนุวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์ลาว แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ (พ.ศ. 2348 - พ.ศ. 2371) | สิ้นสุดราชวงศ์ |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ecaxnuwngs hrux ecaxnu law ເຈ າອານ ວ ງ phramhakstriyrachxanackrlanchangewiyngcnthnladb 5 hruxxngkhsudthay pkkhrxngraw ph s 2348 2371 rbkarykyxngepnphramhaaelamharachkhxngpraethslaw inthanaphuphyayamkxbkuexkrachcakkarepnpraethsrachsyam nkprawtisastrlawaelaithyniymxxkphranamphraecaichyestthathirachthi 3 hruxphraecaichyechsthathirachthi 3 bangklumtrwcsxbphranamtamcarukodylaexiydphbwathrngepnphraecaichyechsthathirachthi 5 enuxngcaksmedcphraecasiribuysarphrarachbidaaelaphraecaxinthwngsphrarachechsthaidxxkphranamwaphraecaichyechsthathirachechnknecaxnuwngssmedcphraecaichyechsthathirachthi 5khrxngrachyph s 2348 2371rchsmyraw 23 pirchkalkxnhnasmedcphraecaxinthwngsrchkalthdipsinsudrachwngsprasutiph s 2310 nkhrhlwngewiyngcnthn rachxanackrlanchangswrrkhtph s 2371 61 phrrsa krungethphmhankhr xanackrrtnoksinthrphramehsiphraxkhrethwikhapxng faykhwa aelaphraxkhrethwikhacn faysay phrarachbutrraw 30 phraxngkhrachwngslanchangewiyngcnthnphrarachbidaphraecaichyechsthathirachthi 3 smedcphraecasiribuysar phranamecaxnuwngsmiphranametmtamcarukwdsisaekdnkhrhlwngewiyngcnthnwa smedcbrmbphitr phramhakhtiythiebs ichyechsthachatisuriywngs xngkhexkxkhrthibdinthr brmmhathiptirachathirach mhackrphrrdiphuminthrmhathiptn saklitrphuwnath chatiphaotwisuththi mkutsapharathipul xtulyophthistw khtiyphuththngkuoltrn mhaosphssnot khdchlkkhrtthrachburi sithmmathirach brmnathbrmbphitr mikartngkhxsngektwaphranamnixacchiwankhrhlwngewiyngcnthnkhngphyayamprakasepnkrungexkrach swncarukhlkxun xxkphranamtangknip echn phramhathrrmiksihtburrachathirach phrasrihatanu phramhakhtiythiebsichyechstha phrarachechstha phraophthisalrachathirachecackrphrrdithrrmikrachathirach phraichyechsthathirachchatisuriywngsxngkhxkhrthibdinthr phraphuminthrathiptithrrmikrachathirach phramhathrrmikrachichymhackrphrrdi epntn swnwrrnkrrmprawtisastrphunewiyngcnthn 2 sanwnrabuphranamwaphraecaxnuruthrachaelaphrayaxnuphawndiphrarachprawtirachtrakul ecaxnuwngsidrbaetngtngcakkrungethph ihipkhrxngewiyngcnthninpi ph s 2347 phaphwadody ehm ewchkr ecaxnuwngsepnphrarachoxrsladb 3 khxngsmedcphraecasiribuysar kstriylanchangewiyngcnthn khrxngrachyraw ph s 2294 2322 mardaepnchawnkhrhlwngewiyngcnthn nkprawtisastrmxngwaphrarachmardakhxngphraxngkhxacmitaaehnngepnnangecaexkemuxngkhuxphraxkhrmehsiinsmedcphraecasiribuysar thaihthrabwaphraxngkhepnphrarachxnucharwmphrarachmardakbsmedcphraecaxinthwngsaettangphrarachmardakbsmedcphraecannthesn swnrachtrakulfayphrarachbidarachsubsnttiwngscakecachmphu smphu phrarachechsthaxngkhihykhxngphraecasuriywngsathrrmikrachsungthukenrethsipemuxngewrachthanickrwrrdiewiydnam enuxngcakphraecasuriywngsatxngkarkacdkhuaekhngkaremuxng khrngecachmphuprathbxyuewiydnamthrngmiphraoxrsphranamecaichy enuxngcakprasutithikrungewcungxxkphranamphraichyxngkhew xngkhaew phayhlngphraichyxngkhewchingrachsmbtiecannthrachaelaprabdaphieskepnphraecaichyechsthathirachthi 2 miphrarachoxrskhuxecaxngkhlxng phrarachnddakhuxecaxngkhbuyhruxsmedcphraecasiribuysar phrarachphngsawdarlanchang phasalaw chbbhxsmudaehngchatikrungethph rabuwa ecasuriykumarlukhlaecatxnkhaideswyemuxnglansangphabaephndinlawthngmwl thrngnamkrkhunsuxwaphrasuriywngsathrrmikrachabrmbphitrrachaecalansanghmkhawael aelwismabrrphasniykrrmkhbphixaythng 4 xngkhhnicakemuxng swndngecasmphuphuepnphitncungexaemiythngaesnthiphnabwhniipxyuemuxngaewphungaekwnnael khrngnnecabuysuhniipbwchxyuphuhxphuohngonnael thawbu pu nnphayhnimaxyuesiyngkhankxnickrrmesiyhnael thawsxy sxy phunxngnnphayipxyusaphuxhlwngkthungxnickrrmesiynn dngecasmphuipphungxyusaphuxhlwngaekwnnmilukphuhnungsuxphraisyxngkhaew phraisyxngkhaewkhlanecasuriy phraisyxngkhaewnngewiyngcn lukphraisyxngkhaewnnaemnxngkhrxng lxng lukecaxngkhrxngnnaemnxngkhbuy ehtukarnsngkhramecaxnuwngs ph s 2368 ecaxnuwngsesdcthwayphraephlingphrabrmsph r 2 khxngsyam exksarfaysyamkhuxphrarachphngsawdarrabuwathrngphicarnawakxngthphsyamxxnaexenuxngcakaemthphnaykxngrunekathimifimuxsinchiwithlaykhn aelamikhawluxthungnkhrhlwngewiyngcnthnwasyamkbxngkvswiwathkncakkarthasnthisyyaebxrni txmakrmhmunecsdabdinthrsthapnakhunepn r 3 ecaxnuwngsthulkhxphrarachthanlakhrinkhxngewiyngcnthn ecahyinglawphranamecanangdwngkha aelachawlawthithukkwadtxnmasyamsmythnburiihklbkhunbanemuxngaetimxnuyat xacepnehtuihphraxngkhimphxphrathycungykthphlngmaodytngicekhatikrungethph thrngerimwangxubayaekecaemuxnglawtamraythangwacaykthphchwykrungethph rbxngkvsthaihkxngthphlawsamarthedinthphphanidodysadwk exksarfaylawkhuxphunewiyngcnthnrabuwathrngoprd ihecanayhwemuxnglawekharwmtinkhrrachsimaenuxngcakecankhrrachsimalwnglaaednlawekhatikhaipmxbihsyam phraxngkhimidtngiclngtikrungethph aetprakarid brrdaecaemuxnglawthngsxngfngokhngtangimphxicecaemuxngnkhrrachsimaxyuaelwcungrwmmuxkbphraxngkh echn phrayaikrsxnkhaaedngecaemuxngphukhn khukhnth phrayakhtiywngsaecaemuxngrxyexd phrabrmrachaecaemuxngnkhrphnm phrayanrinthrsngkhramecaemuxngsimum epntn exksarfaysyamrabuwaemuxthphlawykthungnkhrrachsimathrngchwyoxkasthiecaemuxngaelaphrayapldemuxngnkhrrachsimaiprachkarthikhukhnthekhayudemuxngaelakwadtxnkhrwokhrachkhunipnkhrhlwngewiyngcnthn exksarfaylawrabuwaecaemuxngnkhrrachsimathrabkhawthphlawykthungnkhrrachsimaekrngwacatxngothsthilwnglaaednnkhrhlwngewiyngcnthnaelankhrcapaskdicungthingemuxngaelaplxmtwhni emuxphraxngkhesdcthungwngecankhrrachsimaxnihyotsungmithung 7 hlngaelamiphunthibrrcuthharkwaphnkhncungoprd ihphrabrmracha mng tnskulmngkhlakhiri ecaemuxngnkhrphnmepnecaemuxngnkhrrachsimaaethn txmaexksarfaysyamrabuwarahwangthphlawphkiphrphlechlythithungsmvththikhrwemuxngnkhrrachsimawangxubaylwngkhathharlawcanwnmakaelwtngkhayrxthphkrungethph khunmachwy thharlawehnkarimsaerccungthxythphklbtngmnthinkhrhlwngewiyngcnthnephuxrxrbsuksyam syamehnwaehtukarnniepncuderimtnkhxngthawsurnari om hruxom chayaecankhrrachsima aelawirkrrmnangsawbuyehluxthidakrmkaremuxngnkhrrachsima swnlawimphbexksarchntnhruxexksarpthmphumirabuwirkrrmstrithngsxngthan khxsngektinmukhpathafaylawrabuwathawsurnariedimepnchawlawmiicifsyamcungrwmwangaephnkbsyamtiewiyngcnthnsungyngimphbexksarlaylksnmayunyn krnidngklawlawrabuwaehtukarnniepncuderimtnwirkrrmecaemuxngaelarachwngslawxyangnxy 5 thanthicngrkphkdiaekewiyngcnthnkhux wirkrrmphrayanrinthrsngkhram ecacxmnrinthr hruxphrayaonlin tnskullawnbutr ecaemuxngcturs emuxngsimum aelaemuxnghnxngbwlumphu hnxngbwlaphu wirkrrmphrabrmracha mng bangwasutta ecaemuxngnkhrphnmaelankhrrachsima wirkrrmecaxupxadaelathawkhamwn kha emuxngyosthr aelawirkrrmsmedcecarachwngs ehnga phrarachoxrskhxngecaxnuwngs sngkhramnifaykrungethph thrabkhawthphlawchakwathikhidhlngthphlawtngmnthinkhrrachsima txmasyamsngkxngladtraewnhakhawthungemuxngsraburi emux r 3 thrabkhawsukcungoprdekla krmphrarachwngbwrmhaskdiphlesphyepnaemthphihyykcaksraburi ihphrayarachsuphawdi singh singhesni sungexksarfaylaweriykphrayamuninedch ykthphipthangemuxngpk xaephxpkthngchy smthbknthinkhrrachsima kxngthphthng 2 tithphlawaetk fayecaxnuwngsaelaphrabrmwngsanuwngsesdcliphyaelapruksarachkarsukthiewiydnamodykhwamkhumkhrxngkhxngckrphrrdiewiydnam hlngthphsyamthalaynkhrhlwngewiyngcnthnidkrmphrarachwngbwr oprd ihsrangecdiyprabewiyngthihnxngkhay aelaihphrayarachsuphawdikwadkhrwnkhrhlwngewiyngcnthnipkrungethph thphsyamxyechiyphraphuththrupsakhyipcanwnmak echn phrabang phraaeskkha phraaethrkkha phrasnsmmx phraesrim phrasuk phrais phraaesn phrasilaekhiyw phranakhswadieruxnaekw epntn exksarfaylawrabuwayngmismbtilakhaaelaphraphuththruppracahwemuxnglawhlayxngkhthithphsyamphyayamxyechiyipaetprachachnlawnaipsxninthakxn xathi phraaesngemuxngnkhrphnmsxnthiemuxngmhaichy phraaekwmrktcalxngsxninxngkhphrathatuphnm phrathxngkhacanwnmaksxninthaplafaaelathaphraemuxngthaaekhk epntn ph s 2370 r 3 imphxicthiphrayarachsuphawdiimthalaynkhrhlwngewiyngcnthnihsinsakcungoprdekla ihklbipthalayxikkhrng khwamchxbnithrngoprdekla eluxnepnecaphrayarachsuphawdi thismuhnayk phrayaphichysngkhramkhumthhar 300 khamokhngduladela idkhwamwaphraihkhahlwngechiyecaxnuwngsaela klbmaecriysmphnthimtrikbsyamxikkhrng exksarfaylawrabuwaecaxnuwngsimphxphrathyphrackrphrrdiewiydnamthiimmikhwamcringicaelakhidaeswnghathrphysinenginthxngcaklawkhrnehnthharsyamxasyinnkhrhlwngewiyngcnthncungnaphlkhafnkhbilthharsyamxxkip exksarfaysyamrabuwarungkhunecaxnuwngsaelaecarachwngs ehnga klbykphlekhaocmtithharsyamlmtayepnxnmak ecaphrayarachsuphawdiehnthharlawilkhathharsyamthungchayhadhnaemuxngphnphrawthrabwaekidehturaycungkhxkalngephimcakemuxngyosthr ecaxnuwngsoprd ihecarachwngs ehnga naphlkhamtammapathathphsyamthikhaybkhwan banbkhwan emuxnghnxngkhay suknthungkhntalumbxn aemthphthng 2 rbkntwtxtwcnbadecbpraktfayecarachwngs ehnga michy swnecaphrayarachsuphawdiaephrabkhabephraathukfn thharsyamyingpuntxngecarachwngs ehnga badecbelknxy thphsyamerngtidtamthphlawthungphnphrawpraktthphlawkhamokhngipaelw thharlawhamecarachwngs ehnga iprksaphraxngkhinkhayaelaimprakteruxngrawkhxngphraxngkhxikely ecaxnuwngsehnehtukarncungphakhrxbkhrwaelaphrabrmwngsanuwngsesdckhunehnuxipphungphrarachthidasungepnphramehsi ecankhrechiyngkhwang ecanxyemuxngphwn ecanxythuksyamlwngihbxkthisxnaelacbkumphraxngkhphrxmphrabrmwngsanuwngslngkrungethph exksarfaylawrabuwasngkhramnithrngsuyesiyphrarachoxrsphranamthawhmunnam sungprasutiaetphranangsxnrachethwi rachthidaphrabrmracha ecaemuxngnkhrphnm phranangsxnthukthharsyamnaipthway r 3 syamnaecaxnuwngsprathbkrngehlkpracanhnaphrathinngsuthithswrry naekhruxngthrmantang thrmanphraxngkhxyangohdray ihxdkhaw na thngphramehsi phrachaya phrasnm tlxdcnphrarachoxrsthidaphrarachnddahlayphraxngkh imnanksinphrachnmdwykhwamthukkhthrmansiriphrachnmayurwm 61 chnsa eswyrachyrachxanackrlanchangewiyngcnthn 23 pi syamldthanankhrhlwngewiyngcnthnepnhwemuxngchnctwakhunemuxnghnxngkhay ykhnxngkhayepnemuxngchnexk ihmiecaemuxnglawxyurksaemuxngewiyngcnthn imsthapnaphrabrmwngsanuwngsphraxngkhidinrachwngslanchangewiyngcnthnkhuneswyrachy nkhrhlwngewiyngcnthnthukplnephathalayimehluxsphaphrachthaniklayepnemuxngrangehluxwdsakhyimkiaehngkhuxwdsisaekd hlngsinphrachnmrachxanackrlanchangewiyngcnthnthungkalxwsan exksarfaysyamimrabuphrarachphithiphrabrmsphkhxngphraxngkh exksarfaylawrabuwasyamcdxyangphithilawihyotaelangdngamklangkrungethph imphbkhxmulkarsrangphraecdiybrrcuphrabrmxthi luxwaphrabrmxthikhxngphraxngkhthukrksaiwitbnidwdxrunrachwraram wrrnkrrmprawtisastrhruxphunecarachwngsehlakharabukarsinphrachnmtangipodythrngsngphramehsinangwnsar ecuxkhawtmmdmaeswy syamnaphrabrmsphfngitthanphrathatudaklangnkhrhlwngewiyngcnthn smy r 4 thrngprarthnachubeliyngecanayrachwngslanchangewiyngcnthnthayathecaxnuwngs cungoprdekla sthapnaecacxmmardadwngkhaphrarachnddaecaxnuwngskhunepnecacxmphrasnm oprdekla phrarachnddathng 2 khux darngrthsimamukdaharathibdi hnu tnskulcnthnakr khuneswyrachyemuxngmukdaharburi mukdahar inthanapraethsrach oprd ihecaphrhmethwanuekhraahwngs darngrthsimaxublrachthanibal hnxkha tnskulethwanuekhraah phrhmombl phrhmethph eswyrachyemuxngxublrachthaniinthanaemuxngpraethsrachechnkn khxsngektkarphaysngkhramkhxngecaxnuwngs nkprawtisastrbangklumwiekhraahehtuphlkarphayaephkhxngecaxnuwngsiwhlayprakarkhux thphlawxacmiaesnyanuphaphnxykwathphsyamaelathphnkhrrachsima emuxtrwcsxbhlkthanfaylawklbphbwankhrrachsimadxykwalawmakaetsyammiaesnyanuphaph miyuththsastraelayuththwithimakkwalawenuxngcakxawuththithnsmy ecaxnuwngsthukthrysodysmedc phrarachxnuchatangphrarachmardakhxngphraxngkh aelathukthrysodyaehngxanackrechiyngkhwang rachbutrekhykhxngphraxngkh xanackrlawhlwngphrabangaelalannatangepnexkethshruxxacfkifsyamcungimrwmmuxkbthphlaw thayathbutrhlanecanaylawbangklumsungepnphunathxngthinkhnannthukeknthekharwmthphsyamephuxtanxiththiphlkhxngewiyngcnthnmulehtusngkhramcakexksarpthmphumiphunewiyngcnthnkhxnglawaelaxisan cakphunemuxngewiyngcnthnsamarthsrupmulehtusngkhramiddngni 1 ecaphrayankhrrachsimamiphvtikarnyuaeyngecanaylawihwiwathknepnnic echn yuecaemuxngkhukhnthaelanxngchayihaeyngemuxngkn yuecahwsaekiydongngekhayudaelaephacapaskdi ichxanacehnuxecaemuxngkalsinthuihskelkkhaxuptthakphrathatuphnm tidsinbnphrayamhaxamatyihtnphnkhdicnidepnecaemuxngaelaidpkkhrxngdanemuxngokhngephuxtanxiththiphlewiydnam epntn 2 karyuyngecahwsaphuekiydongng phuekhiydongng ihnakalngkharaaedinlawitekhaephacapaskdicnrxnthungecaxnuwngsesdcprabkbtdwyphraxngkhexng aelakstriycapaskdixngkhkxnsungepnyatikstriyewiyngcnthnthukecankhrrachsimabriphaswahwadklwkhasuk xacepnaerngphlkdnihewiyngcnthntxnghathangcdkarnkhrrachsima 3 ecankhrrachsimayunxngchayphrayaikrphkdihruxphrayaikrsxnkhaaedngecaemuxngphukhn khukhnth ihsukbphichayephuxchingtaaehnngecaemuxngaelaephaemuxngphukhn thaihecaemuxngphukhnimphxicaelaekhaepnkalngsakhykhxngewiyngcnthn 4 syamxacphxicphlngankartikhaskelkhwemuxnglawkhxngecankhrrachsima aetlawimphxicenuxngcakelkswnmakekhykhunkbewiyngcnthn 5 ecaphrayankhrrachsimabriphassmedcecarachbutr oy kstriycapaskdiphrarachoxrskhxngecaxnuwngs phrxmimfngkhathdthanhamtikhainaednlaw sungphunemuxngxublrabuwaehtukarnnisrangkhwamimphrathytxsmedcecarachbutr oy xyangmakcnesdckhunipfxngphrarachbidathinkhrhlwngewiyngcnthndwyphraxngkhexng 6 karlwngphrarachxanackstriyewiyngcnthnkhxngecankhrrachsimaodynanaykxngekhaskelkkhaxuptthakphrathatuphnmsungepnsunyklangthangsasnakhxngxanackr cakkarsnbsnunkhxngecaemuxngkalsinthukhdtxpraephniphraphuththsasnakhxngbanemuxng enuxngcakkhaelkehlaniidthukklpnaiwimmihwemuxngidsamarthaeyngchingepnkhakhxngtnid aelakarskelkniynglamthungprachachnthixasyxyubnphuekha ithphu dwy mummxngehtukarnaelathrrsnaprachachnsxngpraeths sngkhramecaxnuwngsthukeriyktangknkhunkbmummxngaetlafay lawichphraxngkhepnsylksnkartxsuephuxpldaexkcakkarpkkhrxngkhxngsyamcungeriykehtukarnniepn sngkhramkuexkrach thngykyxngphraxngkhepnwirburusaelamharachkhxngchatithngsmyphrarachxanackrlawaelasmysatharnrthprachathipityprachachnlaw thrngepnxngkhsasnupthmphkthisakhyaelathrngkhunthrrmthangkarpkkhrxng epnphrahnxphuththecaphuepiymphrarachxanacrachbarmiepnthikhrnkhramaelanbthuxkhxngecanayhwemuxnglaw exksarchiwaphrarachxanackhxngphraxngkhepnthihwnekrngipthungnkhrrachsimaaelahwemuxngchayphrarachxanaekhtsyam aetithymxngkarbukrukkhxngphraxngkhepnphykhukkhamkhwammnkhngkhxngrachxanackrcungeriykehtukarnniwa kbtecaxnuwngs exksarprawtisastrsyamklawkhwythungphraxngkhinthanakstriypraethsrachphukxkarkhbthtxaephndin exksarchntnkhxngithyswnhnungsungthukrwbrwmtiphimphinhnngsuxchudprachumphngsawdarphakhtang cungduhminphraekiyrtiyskhxngphraxngkhodyxxkphranam xayxnu aelaechuxwathrngmiphrarachprasngkhaenchdthicathalaykrungethph ephuxyudsyamepnemuxngkhun hakimsamarthyudidkephathalaykrungethph aelayudbangswnthisamarthpkkhrxngid nkprawtisastrbangklummxngwaehtukarnnixacimichkarthngkarkxbkuexkrachaelakbt aetepnsngkhramchingxanactampktiehmuxnxanackrtang inyukhnn hakthrngprarthnakxbkuexkrachephiyngtngaekhngemuxngkphxaelw phlphwngkhxngsngkhraminyukhpccubn hlngehtukarnephankhrewiyngcnthn sungthuxepnsunyklangsakhykhxngkarpkkhrxnghwemuxnglaw aelahlngkhwamphyayamthalayrachwngsewiyngcnthnihsinsakkhxngphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkalthi 3 aehngsyamnn idkxihekidehtukarnkbthwemuxnglaw xisanyudeyuxtammaxikhlaykhrngsubenuxngmacnthungpccubn xathi phuepnrachoxrsinecarachbutr oy phrarachnddainecaxnuwngs xisanaelafngsay sungnaodyklumxngkhmnaelaklumtang tamhwemuxnglaw xisan insmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw rchkalthi 5 tlxdcnkbtkhxngetiyng sirikhnthaelaklumrthmntrixisan insmyrthbalcxmphl p phibulsngkhram epntn bxykhrngchawlawaelachawxisantangkniymxangthungehtukarnephankhrewiyngcnthninxdit maepnehtuphlinkartxsukbxanacsyamaelaxanacrth eruxngrawkhxngecaxnuwngsimephiyngaetepnchnwnehtukhwamkhdaeyngkhxngprachachnchawlawkbchawithyethann aetyngepnchnwnehtuihchawlawinphakhxisankhdaeyngkbchawithysyam epnchnwnehtuihchawlawinxisanthiniymsyamkbchawlawinxisanthiniymlawkhdaeyngknexng aelaepnchnwnehtuihekidkarplukradmkaraebngaeykdinaednkhxngchawlawxisan imephiyngethani ehtukarnsngkhramecaxnuwngsaehngewiyngcnthnyngsamarththuxepnthngcudepraabangaelacudaetkhkkhxngkhwamsmphnthrahwangpraethslawaelapraethsithyxikdwyxngkhsasnupthmphkph s 2349 c s 1168 pihwayyi pikhal ecaxnuwngssrangphrarachwnghlwng ohnghlwng nkhrewiyngcnthn caknnesdcsrangsaphan khwtaphan pulanxithcakthasuhnalanphrathatuphnmphrxm sutta ecaaelaeca king ecathiemuxngthatuphnm aelwesdcip emuxngekathaaekhk thrngburnaphrathatusiokhdtabxngrwmkbeca emuxngekathaaekhk cnaelwesrc phrathatusiokhdtabxngepnpuchniysthanekaaeksmysrangody suminthrach kstriy rbkarburnaxikkhrngodyphraecaichyechsthathirachmharachaehngnkhrhlwngewiyngcnthn ph s 2350 c s 1169 piemingema piethaa esdcchlxngsaphanhnawdphrathatuphnmphrxmecaemuxngnkhrphnmaelamukdahar oprd ihsrangthwarbal 2 tn xumbatrprathbnngthbsnethapradisthanthithanaokhngpaksaphantxhnalanphrathatu khnniymeriykthawethwa nangethwa tnhnungmirupepnykstnhnungmirupepn phrxmoprd srangaephngimpidthxngpradbaekwsirupsttabuliphnmirahusuncnthrkhnadihypradisthanthisim phraxuobsth wdphrathatuphnm pccubncharudaelarksachinswnthi wdphrathatuphnmwrmhawihar xaephxthatuphnm cnghwdnkhrphnm thrngthwaykhainrachsankewiyngcnthniwbrrelngthwayphrathatuphnmepnphuththbucha thwayekhruxngdntri echn khxngsarid epntn aetngtngbrrdaskdikhunnangthxngthintaaehnngihepnhwhnakhwbkhumkhnamohrihlwng exksarprawtisungepnwdxrywasipracahwewiyngthatuphnmrabuwathrngoprd ihkhudsranamngkhlkhnadihy 3 aehnginbriewnwdaelarxbwdthisehnuxiklnaokhng pccubnthukthm 2 aehng ehlux 1 aehng echuxwaepnsrasahrbcharaphrawrkaykhrngesdcmanmskarphrathatuphnmaelaichprakxb khunoxkaskhunpkkhrxngkhaoxkasemuxngthatuphnm ph s 2351 c s 1170 esdcsrangwdsibunehuxng sribuyeruxng emuxnghnxngkhay lahnxngkhayedim burnaptisngkhrnphrathatuphnm prakxbphrarachphithiykchtrthxngkha 7 chn pradbyxdphrathatu ykchxfapradbhlngkhasimaelaxuthisthwayaedphrathatuphnmtamobranrachpraephnikstriylaw txma ph s 2353 2355 c s 1172 1174 esdcsranghruxtrngkhamnkhrhlwngewiyngcnthn pccubnkhuxxaephxsriechiyngihm cnghwdhnxngkhay sungepnemuxngprathbkhxngecamhaxuphad tissa phrarachxnuchatangphrarachmarda hlxphraphuththptimaepnphraprathansim oprd srangphrapunpn 113 xngkhpradisthanrxbkmmalaeliyn raebiyngkht ihchangekhiyn phaphmakthung 1 000 thi caknnsrangkhw saphan khamnaokhngrahwangsriechiyngihmipnkhrhlwngewiyngcnthn n thisrang carukmi 2 dan dan 1 caruk c s 1172 ph s 2353 dan 2 caruk c s 1174 ph s 2355 danthi 1 rabuwathrngsrangphrxmxuthisthidinthwayihwd thwaysingkhxngtang inkarsrangwd dan 2 rabuwathrngsrangsaphankhamnaokhng chlxngwdhxphraaekw thwayekhruxngkhxngithythancanwnmakaekphiksu aelaphrarachthansingkhxngbricakhepnthanephuxsranghxaeck salaorngthan khxngwd ph s 2355 c s 1174 esdcchlxngwdphrathatuphnm raw ph s 2356 c s 1175 pikaeha piraka eduxneciyng aerm 4 kha esdcthabuychlxngthiwdphrathatuphnm raw ph s 2359 c s 1178 tngbuyhlwng kxngbuyihy chlxnghxphraaekwaelahxitrnkhrhlwngewiyngcnthn sranghxphraaekwaelaphraphuththrupmarwichypradisthanphayinhxphraaekw ph s 2362 c s 1180 1181 thrngburnasimaelahxitrwdsisaekdnkhrhlwngewiyngcnthnkhrngihycnesrc praktincarukwdsisaekdbnphnngraebiyngkhangpratuthangekhathistawntk carukkhxkhwamdanediywwamiphrarachoxngkarniiwkbwdsttshswiharamhruxwdaesn xnepnnamedimkhxngwd burnaaelakxsrangraebiyngkhd srangphraphuththrupaelaphraphimphpradisthanthichxngphnng srangculwihar thwaysingkhxngekhruxngichcanwnmakaekphraxaramni phrarachxuthisswnkuslthwayphrarachbida phrarachmarda phrayatiwngs aelasrrphstwthngpwng wdsisaekdpccubnmisphaphsmburninxditimthukthalaycaksngkhramsyam ptisngkhrncaksankfrngessaehngplayburphathisemuxnghanxy epnwdthimiphngtangcakwdtang innkhrhlwngewiyngcnthnenuxngcakmicngkm kmmaeliynhruxraebiyngkht lxmsimechnediywkbwdchangephuxkemuxngphnphraw rxbraebiyngkhtpradisthanphrapunpnkhnadethaknaebbediywknhmdodykhnadethakhncring 120 xngkh mipratuekhaxxksithis phraraebiyngtxnbnthukdanmichxngkudbrrcuphraphuththrupxngkhelk echn phrabuengin phrabukha buthxng aelaphraphimphcanwnmak phbhlkthaninsilaelkcarukkhangpratudanhnawa sangphraissxngkudfaphnngwd phraenginbu 276 xngkh phraphimph 2052 xngkh phraphimphissxngkudfaphnngcngkm 6840 xngkh phnngraebiyngiklpratu 4 thismihupaetmngdngam phayinsimehnuxphnngradbhnatangecaachxngkudelk 7 aethw eriyng 3 dan mihupaetmchadkaelathschatietmthukdan banpratuekhiynlayfxkkharupthwarbalhruxesiywkangkhlayaebbcin htthkhwacbekhrayawhtthsaythrngkrich phsmlaydxkphudtan banhnatangdannxkekhiynlayphxkkhabandaninekhiynrupethwdapranmhtthyunbnaethnkhlaywddusitaramhruxwdsuwrrnaramthnburi carukkhwamwa cangsangekhiynfaphnngwdaelacngkmepnnithanhlayprakartang epnenginsang 2 talungefuxng ebiy 5 aehwn 15 hnwy phayinsimnxkcaksrangphraprathanpunpathayephd sathayephchr khnadihyyngsrangphraphuththrupsaridprathbyun 2 xngkhkhnadethaphraxngkhcringpradisthanhnaphraprathan 2 khang carukkhwamwa sanghupphrathxnghlxkhaphraxngkh 2 xngkh hnk 4 aesn 9 hmun 8 phn hxitrnnoprd srangthrngmnthpmiesahanrxbrxngrbpikphail hlngkhasxnchnwicitr xakharaelaesakxxiththuxpunmibnidkhun phayinmisumpratusithismituphraitrpidklngrkekhiynlayphxkkhahruxaetmkha pidthxng khxbpratuthanmipunpnpradb twxakharpradblayekhruxetha kracksi aekwsun dxkkkalakb banpratudannxkmiruprdnaesiywkang khnthwylaydxkkandkaepw aelatinesapradbkabphrhmsr ph s 2362 2365 c s 1181 1184 rawchwngpiediywknkbthiburnawdsisaekdhruxhlngcaknnimkipi thrngmiphrarachthanekhtekhtbanehnuxaelaaek odymiaelafaykhrawasepnphurbsnxngphrabrmrachoxngkarisekla praktkhwamtam pccubnnipradisthanxyuthi kaaephngnkhrewiyngcnthn epndanediywimrabuskrach nxkcakniyngmiphrabrmrachoxngkarphrarachthanekhtkhanaaelakhathiaek ephuxsubtxphrawrphuththsasnatrabhaphnwrrsa praktkhwamtamhrux xaephxemuxng cnghwdhnxngkhay mi 3 dan xanidechphaadanthi 2 aeladanthi 3 bangswnkhxngcaruknncharud ph s 2363 c s 1182 thrngsrangcarukwdsisaekd sirsaeks nkhrewiyngcnthnhlngcakburnawdesrcaelw ph s 2364 c s 1183 thrngesdcipsrangemuxngnkhrcapaskdiihm aelamiphrabrmrachoxngkarihphrarachoxrskhux ecarachbutr oyhruxoy khnaxachyasinkhrewiyngcnthn esdcipkhrxngnkhrcapaskdi praktinphngsawdaryxemuxngewiyngcnthnwa skrachid 183 pihwdis eduxnyi khun 9 kha wnxngkhar ecaaephndinesdccakemuxngipsrangpaskdi ecarachbutripnngael ph s 2367 c s 1186 thrngtngbuyhlwngchlxngwdsisaekd hlngcakthithrngburnawdnisaercaelw thrngsranghxphrabangephuxpradisthanphrabangeca sungphraecannthesnphrarachechsthathrngkhxxyechiykhuncakkrungethphphramhankhrmapradisthan n nkhrewiyngcnthnemuxphuththskrach 2326 ph s 2369 c s 1188 thrngykhxphrabangthistawnxxk taewnxxk sxnghlngthinkhrewiyngcnthn aelathrngsrangphraphuththrupsaridphraaekwmrktxngkhethiymhruxxngkhcalxng sung 36 5 sm phrxmthrngcarukphranamthithanphraphuththrupxngkhnn pccubnpradisthan n phiphithphnthsthanaehngchatixublrachthani tablinemuxng xaephxemuxng cnghwdxublrachthani carukdanlangthanphraphuththrupnimi 5 brrthd khwamwa smedcphrarachechsthaxapnkhamathirachchatisaysuriywngs thrngmikuslectnainbwrphuththsasnaepnxnying ihhlxphraphuththrupecanahnk 2 hmun 5 phn ethiymphraaekwmrkteca ephuxihmnkhngaekphraphuththsasnatrabetha 5000 phrawssa phraphuththrupxngkhniprawtiklawwa phraxngkhthrnghlxinpiediywknkbthiesdckrithathphekhatiaelayudemuxngnkhrrachsimasaerc echuxwathrngmiphrarachprasngkhihphraphuththrupxngkhniepntwaethnphraaekwmrktthithuksyamchingipkhrngsmysmedcphraecataksin ephuxnaippradisthan n hxphraaekwemuxngnkhrewiyngcnthn inpiphuththskrach 2370 smedckrmphrarachwngbwrmhaskdiphlesphepnaemthphtinkhrewiyngcnthnid khngnaphraphuththrupsakhyxngkhniaelaxngkhxun klbmaphramhankhrdwy phayhlngphraphuththrupnitkepnsmbtikhxngphiphithphnthsthanaehngchatiphrankhr txmaphuththskrach 2532 cungyaymaaesdng n phiphithphnthsthanaehngchatixublrachthani ph s 2369 2370 c s 1188 1189 ekidsngkhramtxsurahwangnkhrewiyngcnthnkbsyam thrngoprdekla ihtang echn emuxngkhaekid khamwn thaaekhk mhaichykxngaekw l naphraphuththrupskdisiththipracaemuxngthnghlay ippradisthanhlbsxninaluktamethuxk aelaoprd ihchawemuxngnaenginthxngipfngdiniwtamthitang ephuxihrxdphncakkarchingplnkhxngthharithy aetxyangirktam phraphuththrupsakhyaelamichuxesiynghlayxngkhkthukchingplnippradisthanthisyammacnkrathngpccubn ph s 2370 c s 1189 thrngxyechiyphraaesng phraphuththrupsakhykhxngnkhrewiyngcnthnippradisthan n thaemuxngmhaichykxngaekw intananwaphraaesngsrangphrxmknkbphrasuk phraesrim aelaphrais phraaesngsrangodyecanangkhaaesngphrarachthidakhxngsmedcphraecaichyechsthathirach txma hlngsngkhramecaxnuwngssyamidsngihecaemuxngnkhrphnmechiykhunippradisthan n krungethphmhankhr aetphraaesngsaaedngpatihariyimyxmesdccnekwiynxyechiyhk ecaemuxngcungnamapradisthaniw n wdpa txmacungnamapradisthan n wdsrikhunemuxngklangemuxngnkhrphnm pccubnkhuxwdsriethphpradistharam cnghwdnkhrphnm nxkcakni intananemuxnghinbunhruxemuxngfxngwinheka yngklawwa emuxkhrngesdcliphyipprathb n thaphachanghruxthaphachang ekhtemuxngxrnrtcanaobranaelaemuxngewiyngsurinthrobran pccubnkhuxswnhnungkhxngemuxnghinbun praethslaw thrngoprdihburnapdkwadphraxuobsthobran simeka inemuxngnimakthung 12 aehng aelaoprdihburnakatub kutihruxxakhartukdin dwyknxik 1 aehng rwmepn 13 aehng faytananemuxngmhachnichykxngaekwhruxemuxngmhachykhxnglawnnklawwa emuxkhrngesdcmasusukthharithythithaphanangemuxngmhaichy thrngtngthphthiwdaethnxnepnthipradisthanphraphuththrupthxngkha phraphuththrupthxngaedng aelaphraphuththrupengin thrngoprdeklaihphrasngkhaelachawemuxngnaphraphuththrupmikhathnghlayippradisthansuksxniwinthaphanangiklnasrangaekw nxkcakniintananyngklawwa phraxngkhyngthrngesdcipsrangklangaelaoprdekla ihewiyngcnthnesdcipkhwbkhumduaelkarkxsrangdwy inkarnni idthwayphuhnungphranamwa ihepnhruxbathbricarikainphraxngkhdwysrangemuxngthaaekhkinsmyecaxnuwngs phraxngkhthrngoprdekla ihphrabrmrachakittisphthethphviys mng mngkhlakhiri ecaemuxngnkhrphnm emuxnglakhr srangemuxngthaaekhkkhunfngtrngkhamkb ephuxkwadtxnphukhnihhnisukcaksyamekhamaxasyxyu phrxmthngsngihecanaycakewiyngcnthnmachwykhwbkhumkarkxsrang hlngcaksyamykthphkhunmaaelwthaihkarsrangemuxngthaaekhkhyudchangklng dngpraktodylaexiydinexksarephchrphunemuxngewiyngcnthn khwamwa aetnn ekhuxngphrathyecaxngkhyngkhmxmhlwng phrakcdiphrphrxmdahangaetngtw ehacngkhunemuxngtnghnxngbwkhnnxyu phayphun aetwakhrwkhihayxyatantxsn thanexy phrakhbsngihecaaehngemuxnglkhr ecacngphaphlkhunxyanankhakhang khnwaemuxethinghxngxyananehwhib cringethxy cdiphrkhamkhxngaethxyanan hnthxn aelwcungphaphltngaeplngewiyngkhnnxyu aefngfaynathangphunaewdrawng ethiywethxy aetnn hwemuxngecachawlkhriwhib xwyhnachangkhunaethbnan thngwnaeththngkhunekhiywthib yanaetesikldtxntnkhahwangthang esikehlaelythibmaetniltamhlng ecakxwnkalngtxelwhniaeth tngaetkhrrachethaethingekhttkhnglamum ekhaknaipldthiophnthnma tnkhnntxnkhrwithyyayxyu ekhakhdehngtxntnhnasuthang mmcakhnethingthngechiyngit ekhakihlphlnaphaelwfnkha kcungethingaehnghxngkhngekhttemuxngphimay klayaednithydwnemuxthngfaw wnkhunaethbminanyamyib kcungethingaehhxnglkhraeththitn hnaelw ecakichthibmaippawkhnglkhr cdkhrwipkhamkhxngxyacha iphxyadlkhakhangckkhnlukxxn cringethxy pdkwadkhamkhxngaethsukhn ethiywethxy yanaetkhrwcimikllukkhunepnesik bhu ehnaetkhrwetmemuxngsuphaycringaeth othakipethmangemuxngekhapdkwadmann mnkdumaklmklwyanhmuekha aethaelw ekhahakxyukhrrachphuntidtxtamma iphbxacmuntahbtxsnekhaaeph aetphuekhakhnethathisrikhxneta sirsaeksekhakmaxyuetaetmaethsuphay aelwehlaexatwkhamaekhmkhxngpdkhxd lawhmunnaethnbansuphay hnaelw aetnn ecakcdkhnsrangaeplngewiyngthaaekhk lwngkwangidsamhxychwwa ewiyngcnthrecaewiyngaekepnaek maaenaihekhatngkxewiyng lwngsungidphxpramanecdsxk ihyaelnxyewiynxxmsika ethingemuxeduxnhkkhunsibsxngkha maething ecakaeplngtrakhdhxdlakhrmicha ecaihhaeknthkhnklaiptiehmrasth esiyethxy ehtuwaehmrathnnekhaekidepnesikkhunaelw ihecaiptiesiyxyaklayediywni xnwaplukewiyngnnesaduhyudkxn hnethxy ckwadiaelhayemuxhnabehn aetnn naykhumecaewiyngaekaecngehtu ecakhdehngkhunthngfawbesa ecakklbemuxefabathayngkhmxm ehnaetehuxtngetaetmnakungkxng aetnn emuxnglakhrphrxm mhaichyfawfng iphxdthaaekhkaelw behnaeththiid ehnaetlawetmetaemuxnglkhrkhxngeka phayphun ekhakkhunkhxbihwxngkhecasuxn hnaelw aekwkelyekhiydkhlxypxydakhaaekhng suxyaeling twalaykuchnni xnwakhxngfaknnbanxyuedimekha aethna suwaesikmaetmfayehaphayni sucngiptngkhayepndanhnxnghlang hnethxy kuckexakalngekhluxnipinhn hnwyhnungtngthaaekhkaekhmkhxng thiphun phunghmuithyemuxngsuxyutraewnphayhn khnwaesikhakkhamyamidihmakhxb kuethxy kukbhyxnyanesiymnnthxiy aethaelw ihsucdmaefayngkuihmnmak cringethxy kunikhnecafahayaethxyuklang hnaelw wrrnkrrmlawthiekiywenuxngkbphrarachprawtiinphayhlngphrarachprawtikhxngecaxnuwngsidrbkareriyberiyngaelaaetngetimcaknkprachythangwrrnkrrmlaw inthanawrrnkrrmprawtisastrthimichuxesiyngmak 2 eruxngaetimepnthirbrukhxngchawithynk eruxngaerkkhuxphunewiyngcnthnhruxephchrphunemuxngewiyngcnthn khnthwipruckinnamphunewiyng sungxxkphranamkhxngphraxngkhwaecaxnuruthrach aelaeruxngthisxngkhuxwrrnkrrmprawtinkhrewiyngcnthnhruxphunemuxngewiyngcnthn sungxxkphranamkhxngphraxngkhwaphrayaxnurachbphphawndi wrrnkrrmeruxngaerkklawthungeruxngrawkarphyayamprakasexkrachkhxngphraxngkhxyangtrngiptrngma waimidkhdaeyngkbsyamaetthrngkhdaeyngkbemuxngnkhrrachsima exksarchinniimmikarklawthungwirkrrmthawsurnari om n rachsima aelahlngcaktiemuxngnkhrrachsimaaetkaelwthrngtngphrabrmracha mng mngkhlakhiri ecaemuxngnkhrphnmihepnecaemuxngnkhrrachsimaaelasrangemuxngthaaekhkkhxngpraethslawdwy exksarchinniklawenuxkhwamtrngknkhamkbthrrsnakhxngsyamodysineching aelathuktiphimphkhrngaerkinithyodynaythrngphl srickr butrchaykhxngthawephchrrachhlanchaykhxngephiywrckri chawtablnaka xaephxthatuphnm cnghwdnkhrphnm wrrnkrrmeruxngthisxngidrbkarprungaetngxxkcakwrrneruxngaerk aetmikartxetimeruxngrawxun aethrkiwodykhngekhaeruxngedimiwxyu echn khwamkhdaeyngkbkrungsrihruxbangkxk karkhxkalngcakywnmachwythph phrxmthngaetngtanankhasapphrayasriokhtrbxngsapewiyngcnthraethrkiwthitneruxng aelayngklawthungphrarachoxrsphraxngkhhnungkhxngphraxngkhphranamwa thawehlakha hruxecarachwngs wamikhwamsamarthmakaelaepnchnwnehtuaehngsngkhram exksarchinnithukephyaephrinithycakhnngsuxpraephnixisankhxng s thrrmphkdi insmykxnrchkalthi 5 nnwrrnkrrmthngsxngeruxngepnthiruckkndiinhmuchnxisanaelachawlaw niymxankninngnehuxndihruxngansphthanxngediywknkbwrrnkrrmeruxngthawhungthawecuxng hruxphunnissybaecuxng nxkcakwrrnkrrmthngsxngaelw yngmikhxsnnisthanwamiwrrnkrrmxikeruxnghnungsungechuxwaaetnginrchkalkhxngecaxnuwngs aelaxacaetnginchwngkxnsngkhramkbsyam khux wrrnkrrmeruxngkalanbmuxswyhruxwrrnkrrmsasnlubphsun nkwichakarbangthanechuxwaecaxnuwngsthrngaetngexnghruxxacichihesnamntriinphrarachsankaetngkhun ephuxrabaykhwaminicekiywkbehtukarnbanemuxngkhxngphraxngkh inyamthukrukranaelakdkhikhmehngcaksyam wrrnkrrmchinnithukykyxngwaepnephchrnaexkaehngwrrnkrrmlawindanwrrnkrrmprchyahruxwrrnkrrmaefngkaremuxng phunewiyng phunemuxngewiyngcnthn aelakalanbmuxswy imthuknamasuksainradbmthymkhxngithyaetinradbxudmsuksannkmikarsuksaxyubangaetimepnthioddedninpraethsithy xacenuxngcakpyhakhwammnkhngaelapyhakaraebngaeykdinaedn thwainpraethslawnnwrrnkrrmthng 3 eruxngepnthiykyxngechidchuaelaichinkarsuksaodypkti tnchbbkhxngwrrrkrrmthng 3 eruxng praktxyuthwipinkhmphiriblankhxngwdhlayaehnginxisanaelalawthayathphramehsiaelaphrasnm ecaxnuwngsthrngmiphramehsiaelaphrachayadngtxipni phraxrrkhethphikhapxng khaplxng phramehsifaykhwa phraxrrkhethphikhacnthr khacn phramehsifaysay phranangsxnethwi phrarachthidainphrabrmracha mng ecaemuxnglakhrhruxemuxngnkhrphnm tnskul mngkhlakhiri phrarachthan emuxkhrngsngkhramecaxnuwngsesrcsinsyamidechiyphranangipepnnanghaminphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkalthi 3 aehngkrungethphphramhankhr ecanangbusba busba ecanangkhais ecanangthxngdi ecanangxxn ecanangdwngaekw tnskulwngsaekw khunnrinthreruxngedchphuepnoxrsthi 4 khxngecaxnuwngs idkhxihphrarachthantnskulnitngaetnnma yaaemhmanuy nuy chawemuxngrxyexdxxkphranamwa yaaemxuphat epnphrathidain tnskul thnsilngkur phrarachthan ecaemuxngrxyexdxngkhthi 2 bangkklawwanangepnhmxmkhxngecamhaxuphatewiyngcnthn bangkklawwanangepnhmxmkhxngecaxnuwngstngaetemuxkhrngyngthrngdarngphraxisriyysepnecamhaxuphatewiyngcnthn ecanangkhaepha epha bangkklawwaepnphrarachthidainecaxnuwngs bangkklawwaepnaetephiynghmxmhamnangkann faytananemuxngwngkhxngchawphuithaekhwngsuwrrnekhtklawwa thrngepnphrasnmekathiecaxnuwngsphrarachthanmaih ecaemuxngwng ephuxecriythangphrarachimtrikbklumecanayphuithphrarachoxrs phrarachthida phrarachndda aelaphrarachpndda ecaxnuwngsyngthrngmiphrarachoxrsphrarachthida dngtxipni ecasuththisar op hruxecasiththisar op exksarbangchbbxxkphranamwa ecasuththirach tnskul siththisaributr phrarachthan thrngmiphraoxrskbhmxmidimpratnam 1 phraxngkhkhux ecarup hup nxkcakniecasuththisar op yngthrngmiphraoxrsphrathidaxnprasutiaetecanangsiripraphaxik 3 xngkh idaek ecachwy ecaphrhma ecanangthxng ecarachwngs ehnga hruxecaenga inexksarephchrphunewiyngcnthnklawwa thrngxphieskkbphrarachthidaphraecaaephndinywnaelaepnphraecankhrewiyngcnthnphraxngkhsudthay ecarachwngs ehnga thrngmihmxmthiidrbthwaycakecaemuxngrxyexdnang 1 khux xachyanangxxm thidainphrartnwngsamhakhtiyrach oxa ecaemuxngsuwrrnphumirachburipraethsrach nangidthwaytwepnhmxmemuxkhrngecarachwngs ehnga esdcipthasukkuexkrachchwyphrarachbidaphrxmknkbecamhaxuphat sithan ecarachwngs ehnga thrngmiphrarachoxrsxnprasutiaetnangidimpraktnamkhux ecasiharach tnskul sihrach inpraethslaw ecasiharachthrngmiphraoxrs 3 phraxngkhkhux ecakhabng ecabuyehlux ecasmthxng thrngmiphraoxrsphrathidarwm 7 xngkh thipraktnamkhux thawsmxk sihrach hruxthawxnuwngs essthathirach phutngskul essthathirach inpraethslaw thawsmxk sihrach smrskbnangxuirwrrn xuirwn essthathirach echuxsayecanayinrachwngshlwngphrabang aelamibutrdwykn 2 khn khux thawfaichy essthathirach thawfahngum essthathirach smedcecarachbutr oy hruxecaoy phraecaphukhrxngnkhrcapaskdi thrngmiphrarachoxrskhux ecaxuphat khapxm xuphataehngnkhrcapaskdi ecaaekw ecahmunnam hruxthawhmunnan thrngprasutiaetphranangsxnethwi sinphrachnmemuxkhrngsngkhramsyamephaewiyngcnthn aelapraktphranaminexksarphunewiyng ecaet ecachysar ichysar ecaethuxn ecakhli khi hruxecakhiehiy thrngsmrskbecanangthxnaekw phrathidainecamhaxuphat tissa miphrarachthidadwyknkhux ecacxmmardadwngkha hruxecananghnumn idrbkarsthapnaepnecacxmmardainphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw rchkalthi 4 aehngkrungethphphramhankhr thrngmiphrarachthidadwykn 2 phraxngkhkhux phraecabrmwngsethx phraxngkhecanarirtna phraecabrmwngsethx phraxngkhecapradisthasari ecapan ecaesux thrngsmrskbecanangthxnaekw aelayngepnthithkethiyngwaecanangthxnaekwthrngepnphraxngkhediywknkbphrathidaecamhaxuphat tissa hruxim ecaesuxaelaecanangthxnaekwthrngmiphrarachoxrskhux ecaphrhmethwanuekhraahwngs darngrthsima xublrachthanibal hnxkha ecaemuxngxublrachthanisriwnailypraethsrachphraxngkhsudthay tnskul phrhombl phrarachthan phrhmethph ethwanuekhraah phrarachthan ecanangdwngcnthr aekwcnthr syamidphaphraxngkhesdcmaprathbthihw phrxmkbecanaylawxikhlayphraxngkhinkhrawsngkhramecaxnuwngs txmaidesdcipprathbxyu n bandxnmakham iphkhwang xaephxemuxngsuphrrnburi txmathayathbutrhlaninchnhlngcungtngnamhnxngnaihyiklthiprathbephuxralukthungphraxngkhwa ecachang ecaxungkha xung ecasuwrrnckr ecakhtiya ecaphuththchati ecapn pn ecadisphngs ecananghnucin mithrngmiphraoxrskhux ecakha ecakhathrngsmrskbnangbuyrxd thrngmibutrthidadwykn khux phntarwcexk phrayabuersphdungkic rwy phrhombl xditxthibdikrmtarwc phukhxphrarachthannamskul phrhombl miphriya 5 khnkhux khunhyingthxngkha buersphdungkic 1 khunphrxm 1 khunic 1 khunchwn 1 khunepruxng 1 phntarwcexk phrayabuersphdungkic rwy phrhombl mibutrthidathnghmd khux phltarwctri hlwngphrhompkrnkic run phrhombl khuneriy phrhombl khuneluxn phrhombl khunhyingaerm phrhombl bunyprasph entibnthithyingkhnaerkkhxngithy khunrim phrhombl khunrxm phrhombl phntarwcexk rtn phrhombl khuneriym phrhombl buychwy khuneriyb phrhombl phdung khunruci phrhombl ikhkhwy khunrmpha phrhombl khunkhlxic phrhombl puk khunrungeruxng phrhombl pxng khunekhluxwly phrhombl aepd khunsurskdi phrhombl pxd khuncira phrhombl cumcim khunxmra phrhombl aepn phntarwcexk khiri phrhombl pn khundarngskdi phrhombl pan nangplng smrskb nangphxng smrskb nangaeplk smrskb naykray bunnakh nangsawsay phrhombl khunhyingnxm phichyphuebnthr smrskb phnexk ecasuphrrn ecanangkhawn khaaewn thrngxphieskkb ecaphukhrxngnkhrechiyngkhwang hruxxachyanxyemuxngphwn thrngmiphrarachoxrsdwykn khux ecaop ecaxung ecaxang thrngmiphraoxrskhux ecakhaongn thrngmiphraoxrskhux ecasaythahwin thrngsmrskbhmxmetmkha aelamiphraoxrsdwyknkhux ecachxbichchana sudthakakuman xditrachelkhapracaphrarachwnghlwngphrabanginrchsmyphrabathsmedcphraecamhachiwitsriswangwngs xditecakrmphithikarmnethiyrbal prathansphaaelaphuaethnrasdr 4 chudkhxngaekhwngechiyngkhwang exkxkhrrachthutaelarthmntrikrathrwngkartangpraethsinrthbalaehngphrarachxanackrlaw nxkcakni yngthrngmiphrarachoxrsxik 2 phraxngkhprasutiaetphramehsiimpraktphranamkhux ecathb aela ecaphmma phrhma ecanangkhaaephng ecanangechiyngkha ecananghnu xacepnphraxngkhediywknkbecananghnucin ecanangprathum hruxecacxmprathum idrbkarsthapnaepnecacxmphrasnminphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkalthi 3 aehngkrungethphphramhankhr ecanangcnthrosm hrux idrbkarsthapnaepnphrasnminphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkalthi 3 aehngkrungethphphramhankhr thrngmiphrarachthidadwykn 1 phraxngkh khux phraecalukethx phraxngkhecahyingimpraktphranam nxkcakniecanangcnthrosmyngmibutrchaythanhnung khux naycnthraeph epnphukhxphrarachthannamskul ethwanuekhraah cakphrabathsmedcphrapkeklaecaxyuhw rchkalthi 7 ecananglawchxfa khaepha hruxphrananglaw eruxngrawekiywkbphranangyngepnkhxthkethiyngthangprawtisastr tananemuxngwnginpraethslawklawwa thrngepnphrachayakhxng ecaemuxngwngxangkha tnskul aekwmniichy aekwmnichy aekwmni xinthrtiya inxaephxernunkhr thrngmiphrarachoxrsphrarachthidadwyknkhux phrayarachetoch etoch hruxphrayaetoch ecaemuxngwng tnskuletoch inxaephxernunkhr phrayahnaka ka hruxphrayaka phrayaaekw aekw xditecaxuphatemuxngwng txmaidepnecaemuxngwngew thrngmiphrarachoxrsphrarachthidakhux ecanangexuxykk tnskul bwsay inxaephxernunkhr ecanangexuxyrxng phraaekwokml ephchr ecaemuxngew phraaekwoml say ecaemuxngernunkhr tnskulokphlrtn inxaephxernunkhrphrarachnddaaelaphrarachpnddathiimpraktphranamphrabidaaelaphramarda smedcecaxnuwngsthrngmiphrarachnddaaelaphrarachpnddathiimthrabwaprasutiaetphrarachoxrsphrarachthida hruxphrarachnddaphraxngkhid dngni ecamhaxuphat exm ecaxuprachnkhrewiyngcnthn ecasuriya krmkarnkhrewiyngcnthn ecasuwrrn ecasuphrrn xacepnphraxngkhediywknkbecasuwrrn ecasuphl ecaohngnkha ngxnkhaihy ecakapha kaphra ecaothng ecaxng xacepnphraxngkhediywkbecaxng phraoxrsinecamhaxuphat tissa ecabutr butr ecabu ecapan xacepnphraxngkhediywknkbecapan ecaphngs xacepnphraxngkhediywknkbecadisphngs phrarachoxrsinecaxnuwngs ecahlxd ecadi ecakhunpld khunphxpld phunachumchnchawlawcaknkhrewiyngcnthn bandxnkha tabldxnkha xaephxxuthxng cnghwdsuphrrnburi tnskul kulwngs txmabutrhlanidrbrachkarbrrdaskdi aelwaeykxxkmatngskultang idaek hngsewiyngcnthr ehmewiyngcnthr phnthucnthr nnthchang nnthaekw yswichy pldma tumsriya thxngeruxndi epntnrachskulwngsthiiklchidsmedcphraecasiribuysar hrux smedcbrmbphitrmhaburiichyestthathmmikrach hrux smedcbrmbphitrphraophsathrrmikrachaichyckrphrrdiphuminthrathirach phraepnecankhrewiyngcnthburisristnakhnhutxutmrachthaniburirmy bangxxkphranamwaecathrrmethwngs hrux ecaxngkhbuy phrarachbidainecaxnuwngs thrngmiphrarachoxrsphrarachthida idaek smedcphraecannthesn thrngprasutiaetphraxrrkhethwifaykhwa smedcphraecaxinthwngs thrngprasutiaetphraxrrkhethwifaykhwa ecaxnuwngs thrngprasutiaetphraxrrkhethwifaykhwa ecamhaxuphat phrmwngs thrngprasutiaetphraxrrkhethwifaykhwa prasutiaetphrasnmhruxbathbricarika ecamhaxuphat sithan prasutiaetphrasnmhruxbathbricarika ecaphrayahlwngbutrokhtrwngsa prasutiaetphrachayacnthamasethwi ecahnxkabxng hruxecaphngskabxng prasutiaetphrachayacnthamasethwi ecaphrayahlwngemuxngaesn ecaphrayakhahayxasa ecaphrayacnthxng ecaphrayalakhxnmhaokhtr ecaphrayasristnakhthrrmma ecaphrayacnthrsuriyamhaedcha ecasirithrrma ecakhaophy hruxecakhaopry ecakhathxng hruxecaaephnhla ecakhapunbuylwng ecanangaekwyxdfaklyanisrikstriy inphngsawdaremuxngyosthrklawwaepnphrathidainecamhaxuphat dwnghna thuksngipthwayphraecataksinaehngkrungthnburi inphngsawdaremuxngnanklawwaepnphrarachthidainsmedcphraecasiribuysar aetnkwichakarbangthanechuxwaepnphraxngkhediywknkbecanangaekwyxdfaklyanisrikstriy hruxecaaesnaekwbuhm tnwngs emuxngchlbthwibuly aelaemuxngmhasarkham nkwichakarbangthanechuxwaxacepnphraxngkhediywknkbecasriwichy phrarachoxrsinecaxuprachsriwrwngos phrarachnddainphraecaophthisalrachaehngnkhrhlwngphrabang ecanangaekwkummari hruxecahnxnxykummari thrngprasutiaetphrachayacnthamasethwi ecahnxemuxng inphngsawdaryxemuxngewiyngcnthnxxkphranamwa ecaxngkhnang epnrachbutrithisngipthwayepnbathbricarikainphraecakrungxngwaemuxngmansaysmedcphraecannthesn smedcphraecannthesn hrux phraecannthaesnrachphngsmalan ecaphrankhrewiyngcnthburi phranamedimwaecann miphrarachoxrsphrarachthidakhux ecaemuxngmukdaharburiinthanapraethsrach bangxxknamwa ecacnthrprathip bangkwaepnphraoxrsinsmedcecamhaxuphat tissa edimepnxdit brmrachphkdi srisuphsunthr ecaemuxngkhxnaekn epntntrakul phrarachthan emuxkhrngprathb n krungethphphramhankhr thrngmihmxm 1 nang khux hmxmbuymi thrngmirachthidakhux ecanangcaeriy cnthnakr mithidakhux nangrchni cnthnakr nxkcakni ecacnthrethphsuriywngs darngrthsima mukdaharathibdi hnu emuxkhrngrbrachkalhwemuxngnn thrngmiphraoxrskbhmxmidimpraktphranamxyu 3 xngkh khux ecasuththisar krmkaremuxngmukdahar ecarachwngs dwngeks khnaxayasiemuxngmukdahar ecadwngcnthn thrngekhypkkhrxnglawphrxmkn 2 emuxng khux emuxkhrngepnecakinbrrdaskdithi aelaemuxkhrngepnecakinbrrdaskdithi ecachali thrngepntntrakul phrarachthan thrngsmrskbecanangsiriprapha miphraoxrskhux ecaikh chalicnthr ecawthnawngs wthnskdi thrngepntntrakul thrngsmrskb nkxngkhhmxmecasisuwthti srisuwrrnaethwi phayhlngthrngliphymaxyupraethsithy mioxrs thida khux ecanangprakayaekw ecasuwrrnchtr epnpukhxngphrayawrrnworpkarn suththiwngs wthnskdi khunnangchnphuihyincnghwdnkhrrachsimaecacxmmardaephngelk hruxecanangephngnxy ecanangephng idrbkarsthapnaihepnecacxmmardainphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharach rchkalthi 1 aehngkrungethphphramhankhr miphrarachthidadwykn 1 phraxngkhkhux phraecabrmwngsethx phraxngkhecasuphathr ecacxm epnthwdkhxngnaytarwcoth cachanithwdan xin phukhxphrarachthannamskulsaysmedcphraecaxinthwngs smedcphraecaxinthwngs hrux phraichyechsthathirachchatisuriywngsxngkhxkhthibdinthranrinthramhackrphrrdirach brmnathbphit sthidepnphraecakrungcnthburiy sristanakhnhutwisuththixudmbrmrtnthanisrimhasthan phranamedimwaecaxin nkwichakarthwipxxkphranamwa phraecaichyechsthathirachthi 4 thrngmiphraxkhrmehsipraktphranamwa phranangkhamulrachethwi thrngmiphrarachthidadwykn khux ecanangkhasuk hruxecacxmmardathxngsuk bangkwaepnphrarachthidainsmedcphraecannthesn phrarachechsthakhxngsmedcphraecaxinthwngs thrngidrbkarsthapnaepnecacxmmardainphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolk rchkalthi 1 aehngkrungethphphramhankhr miphrarachthida 1 phraxngkh khux smedcphraecabrmwngsethx ecafakunthlthiphywdi hruxphraecalukethx phraxngkhecacnthburi phayhlngidrbkarsthapnaepn smedcphrarachchayanari ecafahyingkulthlthiphywdi smedcphraxrrkhmehsifaysayinphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly rchkalthi 2 aehngkrungethphphramhankhr thrngmiphrarachoxrsphrarachthidadwykn 4 phraxngkhkhux smedcphraecabrmwngsethx ecafaxaphrn tnrachskul smedcphraecabrmwngsethx ecafamhamala krmphrayabarabprpks tnrachskul smedcphraecabrmwngsethx ecafahyingimpraktphranam smedcphraecabrmwngsethx ecafapiwsayecamhaxuphat tissa smedc thrngepnxuprachaehngnkhrewiyngcnthninrchkalecaxnuwngs aetmithrngekharwmtxtanxanacsyamkbecaxnuwngs faysyamcungthrngxupkarabutrhlankhxngphraxngkhiw smedc thrngmiphrarachoxrsphrarachthidakhux tnskul phrarachthan bangkklawwaphraxngkhthrngepnphrarachoxrsinsmedcphra ecarachwngs khtiya hrux khnaxayasi praethslaw ecaexm ecapan ecasuphrhm ecaxng miphraoxrsphrathida 2 phraxngkh khux idrbkarsthapnaepnecacxmmardainphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw rchkalthi 3 aehngkrungethphphramhankhr thrngmiphrarachoxrsphrarachthidadwykn khux phraecabrmwngsethx phraxngkhecachayimpraktphranam phraecabrmwngsethx phraxngkhecasubngkch khahlwngediminphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw thrngepnphuxyechiyphraphuththrup khxngpraethslaw tlxdcn aelacakipthuleklathulthway n krungethphphramhankhr xacepnphraxngkhediywknkbphrarachoxrsinecaxnuwngs in chbbphrayapracntpraethsthani ongnkha phrhmsakha n sklnkhr xditeca klawwa thrngmiphrachayaphraxngkhhnungphranamwa epnphrathidainhruxecaculni eca phrarachoxrsin thsburi phrhma eca tnskul sayecamhaxuphat sithan epnphrarachphraxnuchatangkbecaxnuwngs bangkklawwaxacepnxngkhediywkb ekhyrwmkb chwyecaxnuwngsekhatithikradangkraeduxngemuxkhrngcaksyam thrngmipraktnamxyu 3 nang sungidrbkarthwaycakemuxkhrngedinthangipthasuk thnghmdlwnepnphrathidakhxng tnskul hmxmthng 3 nang praktnamdngni xachyananghmanuy hmanuy xachyanangtuy tum xachyanangaekwsayecaphrayahlwngbutrokhtr ecaphrayahlwngbutrokhtrhruxecabutrokhtr thrngmiphranametmwa ecaphrayahlwngbutrokhtrwngsaesdthabwraphasuwnnichypukhkhla thrngthukechiyesdcipkrungxngwaphrxmkbecahnxemuxnghruxecaxngkhnang thrngepnphrabidainecaphrayanaehnux khamukhruxkhabuk hruxecaphrayaaesnsrisuwnnichypukhkhla tntrakul bukhkhla aelathrngepnphrapykakhxngecaphrayaemuxnghamnamhungsri khaxyu ecaphrayaemuxnghamnamhungsri khaxyu miphrachayaaelahmxmkhux xachyanangbukhkhali ecanangomkhkhlli xachyanangethphkhnthi xachyanangsuwrrnkhasuk ecaphrayaemuxnghamnamhungsri khaxyu thrngmiphraoxrsphrathida khux ecaphraramrachramangkurkhunoxkas ram ramangkur ecaemuxngthatuphnmhruxphupkkhrxngkxngkhaoxkasphramhathatuphnmphraxngkhaerkaehngrachwngsewiyngcnthn thrngepntntrakul ramangkur aela ramangkur n okhtapura miphrachayaphranamwa ecanangyxdaekwsiribuy hruxyaaemosnsribuyma phrathidainecaxupla sisumngkh krmkaremuxngthatuphnm phranddainphrayakangsngkhram khawisud aehngemuxngnkhrcapaskdi ecaphraramrachramangkurkhunoxkas ram ramangkur aelaecanangyxdaekwsiribuyma thrngmiphraoxrs khux ecaphraramrachpranisrimhaphuththpristh sri ramangkur hruxxachyahlwngklangnxysriwrmungkhul ecaemuxngthatuphnmhruxphupkkhrxngkxngkhaoxkasphramhathatuphnmphraxngkhthi 2 thrngsmrskbxachyanangbusdi thidainhmunnarwng phuepnthayathkhxngthawkhasingh phraoxrsinthawhmxmbawhlwngecaemuxnghlwngophnsimaelanangsimma nxkcakni ecaphraramrachpranisrimhaphuththpristh sri ramangkur yngmihmxmxikhlaythan khux ecanangcnthumma 1 ecanangkhadwng 1 xachyanangethph 1 xachyanangluxdi 1 xachyanangxrdi 1 xachyanangaekwkhapha 1 xachyananghmxk 1 xachyanangcnthrach 1 xachyanangwxraphn 1 nangkhaaekw 1 nangkhalun 1 nangladsuwrrn 1 nangmnmni 1 hmxmkhanali 1 hmxmnakha 1 hmxmyxdkhathiphy 1 ecaphraramrachpranisrimhaphuththpristh sri ramangkur miphraoxrsphrathida khux ecaphraxkhrbutr buymi ramangkur phutngtrakul bukhkhla aehngemuxngthatuphnm xachyathawcaryphuththa phuththa ramangkur phutngtrakul ramangkur aehngemuxngthatuphnm epnbidakhxngrxytarwctripradisth ramangkur pradb bukhkhla rxytarwctripradisth ramangkur epnbidakhxng dr wirphngs ramangkur xditrxngnaykrthmntri xditrthmntriwakarkrathrwngkarkhlng nayk l xachyathawphrhmbutr khaethiyng ramangkur xachyathawnxykhaphiw phiw ramangkur phrachayaexkineca king cnthrsakha ecaemuxngmukdahar tntrakulphrarachthan phithksphnm xachyanangsiriphrrn xachyanangcnthaaecm xachyanangkhakxngekidhla smrskbecaxuphatcnthrlakhr hruxphrayaphnmnkhranurkskittiskdiethphviys thsburisriokhtrburhlwng cnthnthxngthiphy mngkhlakhiri ecaemuxngthaaekhk mibutrthidakhux phrapranisrimhaphuththbristh emkh ramangkur ecaemuxngthatuphnmhruxphupkkhrxngkxngkhaoxkasphramhathatuphnmphraxngkhthi 3 ecanangcnthrthiphy smrskb xachyathawophthisar krmkaremuxngmukdahar ecanangcnthra smrskb ths thssa krmkaremuxngmukdahar tntrakul thssa cnths aela cnthrthssayecaaesnpccuthum sayniepnsaythimipyhamakthisudinkarnbladbwngsskul ecaaesnpccuthum rbrachkalthiemuxngthurkhmhngssthit aekhwngnkhrewiyngcnthn tananphunemuxngklawwaepnphrarachoxrsphraxngkhhnungkhxngphraecasiribuysar aetkhdaeyngknkbexksarphunemuxnghlaychbb ecaaesnpccuthummiphrarachoxrskhux 1 ephiyemuxngaephn phnhruxskdi ecaemuxngrtnnkhr txmaidrbbrrdaskdiphrankhrsribrirks ecaemuxngkhxnaeknxngkhaerk bangkwaepnhlanthawcaryaekw epntntrakul xuphad nkhrsribrirks mioxrsthidakhux xachyanangkhaaewn hruxecacxmaewn hrux idrbkarsthapnaepnecacxmphrasnmexkinphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolk rchkalthi 1 aehngkrungethphphramhankhr tngaetemuxkhrngthrngbrrdaskdiepnecaphrayackri ecacxmaewnepnphuxnubalsmedcphraecalukethx ecafahyingkulthlthiphywdi phrarachthidainecacxmmardathxngsukephiywrbutr krmkaremuxngkhxnaekn miphriyachuxnangnxy mibutrkhux hlwngsriwrwngs xuhruxxu thawxunitxmaidepnrachbutremuxngkhxnaekn txmaidrbbrrdaskdithi phrankhrsribrirksecaemuxngkhxnaeknfayemuxngihm bandxnbm txmaidrbbrrdaskdiepn phuwarachkaremuxngkhxnaeknaelacangwangrachkaremuxngkhxnaekn thawxuepntntrakul nkhrsrithidaimthrabnam epnhmxmkhxngphrankhrsribrirks khabnghruxkhabng ecaemuxngkhxnaekn nxkcakni ephiyemuxngaephnyngmihlanxikphuhnungimthrabwaekidaetbutrthidathanidkhuxphrarachwngsa txmaidepnrachwngsemuxngkhxnaekn 2 ecaaesnaekwbuhm aekwmngkhlhruxaekwbrm exksarbangchbbxxknamwa tananemuxngmukdaharklawwaepnphinxngkbthawcarycnthrsuriywngs ecaemuxnghlwngophnsim tananemuxngrxyexcklawwaepnphinxngkbthawcaryhwd ecaemuxngokhng swnemuxngkhxnaekntananhnungehnwaepnphinxngkbephiyemuxngaephn xiktananhnungehnwaephiyemuxngaephnepnhlanthawcaryaekw thawcaryaekwepnecaemuxngthngsriphumihruxemuxngthng emuxngsaphngsiaeceka bangkwaphraxngkhthrngepnrachoxrsinecasriwichyhruxecasriwrmngkhl epnrachnddainecawrwngoshruxecasriwrwngosrachoxrsinphraecaophthisalrachaehngnkhrhlwngphrabang kbecanangyxdkhathiphyaehngnkhrechiyngihm ecacaryaekwepntntrakul khtiywngs butrhlankhxngphraxngkhaeykxxxkiptngemuxngrxyexd suwrrnphumi mhasarkham knthrwichy chlbthwibuly sirsaeks hnxnghar phuthithsngkh l thrngmiphraoxrskhux ecahnxkhaecaphukhrxngnkhrnan1 ecamudkadl ecaemuxngsuwrrnphumirachburi1 ecasuthntmni ecaemuxnghxyexd1 phrankhrsribrirks khabnghruxkhabng ecaemuxngkhraekn1 phrankhrsribrirks khaywng ecaemuxngkhraekn1 phrakhttiyawngsa ecasuthntmni miphraoxrskhux phrayakhttiywngsa silng ecaemuxnghxyexd1 phrartnawngsa phu ecaemuxngsuwrrnphumi1 phrartnwngsa xxnhla ecaemuxngsuwrrnphumi1 fayphrayakhttiywngsa silng mibutrthida 14 khnkhux 1 phraphiichysuriwngs ecaophnaephng ecaemuxngophnphiisy 2 phraphithksekhuxnkhnth ecaemuxnghnxnghar hnxnghan 3 phrakhtiyawngsa ecaemuxnghxyexd 4 nangaekwnphrtn hmxmkhxng ecaemuxngsurinthr khuprathaysmnt 5 thawmhaphrhm yang ecaemuxngwapiprathum 6 thawxuphat ka emuxnghxyexd 7 thawcxm emuxnghxyexd 8 nanghmanuy hmanuy hmxminecaxuphad tntrakul phwphutannth 9 nangxusawadi hmxmkhxngecaemuxnghxyexd 10 phraecriyrachedch ehuxnghruxhung ecaemuxngmhasarkhamkhnthi 2 tntrakul 11 nangaehnn hmxmkhxngphrapthumwiess ecaemuxngkhnthwiichyhruxemuxng okhkphra tntrakul 12 thawmharach thxngkha nayxaephxemuxngmhasarkham mibutrkhux naymharach phimpha 1 nayichywngsa phrhma 1 nayophthirach sinuy 1 nayecriyrtna buymi 1 khunphiily hnu 1 faynayecriyrtnhruxnayecriyrtna buymi mibutrekidcaknangexiym 6 khnkhux naycarubutr eruxngsuwrrn xditprathanrthspha mibutrthidaxnekidcaknangxrnuch xrphin eruxngsuwrrn khux naycaruphngs eruxngsuwrrn1 nangcaruwrrnetiywsiri1naycarumukd eruxngsuwrrnnaycaruphithury eruxngsuwrrnnaycaruxudm eruxngsuwrrnnaycarueduxn eruxngsuwrrn phtx caruxrrth eruxngsuwrrn naycarudaw eruxngsuwrrn phth dr caruphthr eruxngsuwrrn 13 thawcnoth oln xuphatemuxng tntrakul khtiya 14 thawsuwrrnkumar banhnxngdxkaepn emuxngkalsinthu phrankhrsribrirks khabng bangxxknamwa thawkhabnghruxthawkhabung epnecaemuxngkhxnaeknaelaepnbutrekhyemuxngaephnhruxphrankhrsribrirks ecaemuxngkhxnaeknkhnaerk mibutrkhux 1 thawsuwn xuphatemuxngkhxnaekn thawsuwnmibutrkhuxkhux thawcnthchmphu rachbutremuxngkhxnaekn 2 thawcnsisurach rachwngsemuxngkhxnaekn phrankhrsribrirks khaywng ecaemuxngkhxnaekn edimepnrachbutremuxngkhxnaekn mibutrthidakhux 1 rachbutr khaphang 2 phrankhrsribrirks munghruxmung ecaemuxngkhxnaeknfaybanonnthn edimepnthirachwngs txmaeluxnepnxuphatrksarachkaremuxngkhxnaekn mibutrkhux thawrachwngs 3 phrankhrsribrirks xinhruxxinthiwngs ecaemuxngkhxnaekn edimepnrachwngstxmaeluxnepnxuphat mihlankhnhnungykepnbutrbuythrrmkhux phrayankhrsribrirks thawxu nkhrsri aelaphrankhrsribrirks xin mibutrkhnsudthaykhux phraphithkssarnikhm hlahruxhnuhla tnskul sunthrphithks edimepnxuphattxmaepnpldemuxngkhxnaeknkhnaerkaelaeluxnepnphuwarachkaremuxngkhxnaekn 4 thidaimpraktnam smrskbkbthawkhtiya xuphatemuxngkhxnaeknthayathsaytrngskulsaytrngthisubechuxsaycakecaxnuwngsxnsubthxdthayathcakphrarachoxrsphraxngkhotkhux ecasiththisar hrux epnskulsayhlkthisamarthmisiththiinkarepnphuxangsiththiinrachbllngkid skulnithuxepnrachtrakulthiidrbphrarachthannamskulcakphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw rchkalthi 6 wa siththisaributr Siddhisariputra elkhthaebiynphrarachthanthi 1474 thrngphrarachthanaeknaynawatri hlwngphrhmprachachit fun phuchwyhwhnakxngphsdu krathrwngthharerux kbhlwngphasapriwtr etx elkhanukarchnthi 2 krathrwngkartangpraeths puthwdchuxecasiththisar emuxngewiyngcnthn 15 6 14xangxingsuecn krrphvththi tamrxyecaxnuwngs khlipmprawtisastrithy law krungethph sarkhdi 2555 hna 145 duraylaexiydin prathip chumphl phunewiyng wrrnkrrmaehngkarkdkhi krungethph xdit 2525 189 hna duraylaexiydin thxngphul srickr ephchrphunemuxngewiyngcnthr phrankhr orngphimphbangkhunphrm 2479 surskdi srisaxang ladbkstriylaw krungethph sankobrankhdiaelaphiphithphnthsthanaehngchati krmsilpakr 2545 dwngcn wnnabubpha eriyberiyngihm thawehlakha ewiyngcnthn sankphimphaelacahnaypumaehngrth s p p law 2010 2554 hna 7 sila wirawngs mha chiwprawtiphraecaxnuwngs ewiyngcnthn dxkekd 2553 2010 hna 20 etim wiphakhyphcnkic prawtisastrxisan eriyberiyngody nithi exiywsriwngs phimphkhrngthi 4 krungethph mhawithyalythrrmsastrrwmkbmulnithiokhrngkartarasngkhmsastraelamnusysastr 2546 hna 597 599 prawtiwdsrangosk wdsrithrrmhayosk hruxwdxoskaram inphngsawdaremuxngyosthrchbbphrayamhaxamatyathibdi phrayanrkkhit ic yosthrtn phngsawdaremuxngyosthr phimphepnthiralukinkarphrarachthanephlingsphphrakhruwicittwiosthnacary n wdsrangosk xaephxyosthr wnthi 23 emsayn 2491 yosthr wdsrangosk xaephxyosthr 2491 hna 35 xangin Dararat Mattariganond aela Wiangkum Choun u dom prawtisastrekiywkbkarepha xuphadbutr aelathawkha emuxngyosthr in Center for Research on Plurality in the Mekong Region CERP Proceedings of 13th International Conference on Humanities amp Social Sciences 2017 IC HUSO 2017 khnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalykhxnaekn 2 3 phvscikayn 2560 2555 xphirtnchy cxmsri brrnathikar 4 phvsphakhm 2016 2559 prawtiemuxngophnphisy emuxngophnphisyinxdit ophnphisy hnxngkhay xxniln aehlngthima https www phonphisainongkhai com 701 lingkesiy 15 krkdakhm 2563 ph srickr ephchrphunemuxngewiyngcnthn thatuphnm 2479 praethuxng ophthichaxxn riwrxykbtaehngsyampraeths nnthburi dxkhya 2000 2555 326 hna ISBN 9789746909594 duraylaexiydin phaskr wngstawn ecaxnuwngs kbthruxwirburusinsngkhramithy ewiyngcnthnsmyrchkalthi 3 krungethph yipsi 2553 206 hna ISBN 978 616 70 7108 4 sila wirawng phrarachprawtikhxngsmeddphraecaxnuwngs kstriyxngkhsudthayaehngphrarachwngsewiyngcnthn ewiyngcnthn m p ph 2512 ephling phupha khbthkhnxisan krungethph 2542 phrathrrmrachanuwtr xurngkhnithan tananphrathatuphnm phidar krungethph 2537 ph srickr ephchrphunemuxngewiyngcnthn thatuphnm 2479 sngwn rxdbuy phuththsilplaw krungethph 2545 xngkhkarkhakhxngkhuruspha phngsawdaryxemuxngewiyngcnthn prachumphngsawdarphakhthi 70 krungethph 2512 hnuethiyw skkaraphraaesng aela hlwngpucnthr ekhmioy wdsriethphpradistharam c nkhrphnm cak http www tinyzone tv TravelDetail aspx ctpostid 2464 2014 07 01 thi ewyaebkaemchchin 2479 mhawithyalyrachphtechiyngray xanacksiokhttabun echiyngray 2553 ph srickr ephchrphunemuxngewiyngcnthn thatuphnm 2479 nangnnthpyya sngwn mkrannth phngsawdarlanchang aelaladbskulsiththisaributr rachtrakullanchangewiyngcnthn krungethph 2484 thwch punonthk phunewiyng karsuksaprawtisastraelawrrnkrrmxisan sthabnithykhdisuksa mhawithyalythrrmsastr 2526 sila wirawngs prawtisastrlaw krungethph 2539 ecakhahlwng hnxkha prawtisastrxanackrphwn pracinburi 2555 mhasila wirawngs phngsawdanlaw m p ph 2496 dwng ramangkur prawtiladbphrayatiwngsxachyaemuxngphnm m p ph m p p xngkhkarkhakhxngkhuruspha phngsawdaremuxngyosthr prachumphngsawdarphakhthi 70 krungethph 2512 sucitt cnthrsakha emuxngmukdahar m p ph 2543 nangchaysngkhram aechlm chalicnthr phngsawdaremuxnglanchang aelaladbskulchalicnthr rachtrakullanchangewiyngcnthn krungethph 2500 phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw thrngepnphuxyechiyphraphuththrup phraecaxngkhaesn emuxngmhachykxngaekw khxngpraethslaw lingkesiy wirphngs ramangkur xnusrn rxytarwctripradisth ramangkur 22 knyayn 2528 krungethph 2528 etim wiphakhyphcnkic prawtisastrxisan krungethph 2546 khnasisyanusisyxditsmedcphrasngkhrachlaw bunthn th mmyanamhaethra prawtisastrphraecaichyestthamharach ecamhachiwitxanackrlanna lanchang echiyngihm 2533 namskulthikhuntndwy s s aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb ecaxnuwngs Ford Ryan Memories of Chao Anou New History and Post Socialist Ideology The Journal of Lao Studies 2 2 Nov 2011 104 126 kxnhna ecaxnuwngs thdipphramhakstriylaw aehngxanackrlanchangewiyngcnthn ph s 2348 ph s 2371 sinsudrachwngs