นักองค์วัตถา, พระองค์เจ้าวัตถา หรือ นักพระองค์วรรถา (เขมร: វត្ថា; พ.ศ. 2385 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2434) บ้างออกพระนามว่า ศรีวัตถา (ស៊ីវត្ថា) หรือ ไวยวัตถา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ประสูตินักขำ (หรือ คำ) เป็นพระอนุชาต่างพระชนนีของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร และพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ นักองค์วัตถาทรงมีความขัดแย้งกับพระเชษฐาทั้งสอง โดยมีเครือญาติร่วมในการก่อกบฏหวังชิงราชบัลลังก์ และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น พระบันทูลวิเสดสมเดจ์องค์วัตถาบรมบพิตรผูเปนเจ้า (พระบัณฑูรวิเศษสมเด็จองค์วัตถาบรมบพิตรผู้เป็นเจ้า) อ้างสิทธิในราชบัลลังก์กัมพูชา ในเอกสารของกัมพูชามองว่าการกระทำของนักองค์วัตถาเป็นกบฏต่อราชสำนักเขมร และเอกสารกัมพูชาในยุคหลังมองว่าวัตถาได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายกษัตริย์สยามเพื่อก่อการกบฏ
นักองค์วัตถา | |
---|---|
ประสูติ | พ.ศ. 2385 กรุงเทพมหานคร หรือพระตะบอง อาณาจักรสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2434 จังหวัดกำปงธม กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส |
หม่อม | แม่นางดอกบัว |
พระบุตร | ประดิษฐวงษ (หรือ ดิศวงษ์) |
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม
|
พระบิดา | สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี |
พระมารดา | นักขำ (หรือ คำ) |
พระประวัติ
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
นักองค์วัตถา หรือ ศรีวัตถา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2385 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี หรือนักองค์ด้วง ประสูตินักขำ (หรือ นักนางคำ) ธิดาพระยาธรรมาเดโช กับยายแก้ว มีพระมาตุลาคนหนึ่งชื่อ สนองโสร์ (หรือ สนองโส) ต่อมาเป็นที่ ออกญามหาฤทธิณรงค์ (ในเอกสารเขมร) หรือ พระยามหาฤทธิรงค์ชาญไชย (เอกสารไทย) เป็นกรมการในเขตเมืองบาพนม (បាភ្នំ) ปัจจุบันเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดไพรแวง ประเทศกัมพูชา
ผังเครือญาติของนักองค์วัตถา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนการประสูติกาล สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ทรงขัดแย้งกับสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี หรือนักองค์จันทร์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี และกลุ่มขุนนางเขมรที่ฝักใฝ่ฝ่ายญวน ทำให้สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีพร้อมด้วยเจ้านายและขุนนางที่ฝักใฝ่สยาม เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และหนึ่งปีก่อนนักองค์วัตถาประสูติกาล สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีถูกส่งตัวไปยังเมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของสยาม จึงอาจเป็นไปได้ว่านักองค์วัตถาอาจประสูติที่พระตะบองหรือกรุงเทพมหานคร แต่เป็นที่แน่นอนว่ามีพระประสูติกาลในเขตอิทธิพลสยาม ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้ากรุงสยาม ทรงออกพระนามใหม่แก่นักองค์วัตถาว่า วัดถาลงกร เพราะนามเดิมเป็นอิตถีลึงค์ ขณะที่ นิราสนครวัด ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอ้างคำอธิบายของออกญาพิพิธไอศูรย์ ข้าราชการเขมรรุ่นเก่าในพนมเปญว่าพระนามที่ถูกต้องคือ ไวยวัตถา เพื่อให้คล้องจองกับพระนามของพระเชษฐา คือ ราชาวดี ศรีสวัสดิ์ และไวยวัตถา
ต่อมานักองค์วัตถาตามเสด็จบิดาไปกรุงอุดงฦๅไชย เมื่อเกศากันต์แล้ว นักองค์วัตถาผนวชเป็นสามเณรในสำนักสมเด็จพระมหาพิมลธรรม (เที่ยง) เมื่อผนวชได้สามพรรษาก็ลาผนวช ก่อนถูกส่งไปถวายตัวแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพมหานคร ด้วยกันกับนักองค์ศรีสวัสดิ์ พร้อมเครื่องบรรณาการ โดยมีขุนนางเขมร 5 นายตามเสด็จ คือ ออกญาเชษฐา (บา) ออกญาสุภาธิบดี (เม็ญ) ออกญาพิทักษ์มนตรี (กุย) ออกญาพิทักษ์อิศรา (เปรียบ) และออกญาวงษาธิราช (คง) และทรงพระอักษรในกรุงเทพมหานครตามพระราชธรรมเนียมของเจ้านายฝ่ายหน้ากรุงกัมพูชา พร้อมกับพระเชษฐาต่างพระชนนี คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร หรือนักองค์ราชาวดี และพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ หรือนักองค์ศรีสวัสดิ์ นอกจากทรงศึกษาด้านอักขระและศิลปวิทยาจากสำนักเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครแล้ว ยังทรงศึกษาวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพันด้วยเวทมนตร์และเครื่องรางของขลังต่าง ๆ อีกทั้งยังเคยเป็นอาจารย์สอนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งยังบวชเป็นสามเณร คาดว่านักองค์วัตถาคงอ่านและเขียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ด้วยพบว่าทรงมีความสนิทสนมกับเจ้านายและข้าราชการชาวสยามมากมายหลายคน หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์เป็นอาจารย์-ศิษย์ และมีวังอยู่ตรงข้ามวังเจ้าเขมรที่พระองค์ประทับอยู่
ความขัดแย้งและการก่อกบฏ
นักองค์วัตถาถูกส่งตัวกลับไปปฏิบัติราชการในกรุงกัมพูชาก่อน พ.ศ. 2400 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้ นักองค์ราชาวดี เป็นที่พระมหาอุปราช และนักองค์ศรีสวัสดิ เป็นที่สมเด็จพระแก้วฟ้า กลับไปปฏิบัติราชการกรุงกัมพูชา และทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ นักองค์ราชาวดีขึ้นเป็นที่สมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ มหาอุปราช และนักองค์ศรีสวัสดิเป็นที่พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้า (เอกสารเขมรเรียก สมเด็จพระหริราชรัตไนไกรแก้วฟ้า) สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีก็ส่งตัวนักองค์เจ้าวัตถาไปรับใช้ราชกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพมหานครแทน โดยในหนังสือ ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร ระบุถึงความไม่ลงรอยกันระหว่างสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีกับนักองค์วัตถา เพราะทรงสั่งห้ามมิให้พระยาเขมรที่เข้ามาในกรุงเทพมหานครไปมาหาสู่กับนักองค์วัตถา ส่วนสาเหตุที่ไม่โปรดพระโอรสพระองค์นี้ เพราะนักองค์วัตถาสูบฝิ่น และอีกกรณีคือทรงให้อดีตนางฟ้อนในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งคบชู้กับนายบัวมหาดเล็ก ไปหลบซ่อนภายในวังของพระองค์ ถือเป็นเรื่องอัปยศมากสำหรับสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี เพราะในพินัยกรรมมิทรงพระราชทานพระราชมรดกแก่พระโอรสพระองค์นี้
ในหนังสือ ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร ระบุว่า ทางการสยามได้ส่งนักองค์วัตถาออกจากกรุงเทพมหานครพร้อมข้าหลวง เพื่อให้ไปปรนนิบัติสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีในเบื้องปลายพระชนม์ชีพ โดยนักองค์วัตถาให้ปฏิญาณแก่พระเจ้าแผ่นดินกรุงสยาม ว่าหลังการพิราลัยของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ก็จะพานักมารดาและยายกลับไปอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครตามเดิม กระทั่งหลังการพิราลัยของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีเมื่อ พ.ศ. 2403 ด้วยโรคริดสีดวงทวารที่ประชวรมานานหลายเดือน นักองค์วัตถาได้เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพด้วย สมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ มหาอุปราช ทรงปลูกพระตำหนักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังในอุดงฦๅไชยแก่นักองค์วัตถา นักองค์วัตถาขอให้พระองค์เจ้าศิริวงษ์ พระอนุชาต่างพระชนนีไปประทับที่พระตำหนักด้วยกัน ครั้น พ.ศ. 2404 สนองโสร์ กรมการของเมืองบาพนมซึ่งเป็นพระมาตุลาหรือน้าชายของวัตถา เกลี้ยกล่อมชาวเมืองบาพนมเป็นพวกจำนวนมาก โดยยุยงให้ชาวเมืองกระด้างกระเดื่องต่อพระยาธรรมเดโชซึ่งเป็นเจ้าเมืองดังกล่าว ในเอกสารไทยระบุว่า สนองโสร์เห็นว่าสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์นั้น "...ไม่โอบอ้อมอารีต่อพี่น้อง..." ก็คุมสมัครพรรคพวกก่อกบฏขึ้น สมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์จึงตรัสให้เอาตัวสนองโสร์ไปไต่สวน แต่สนองโสร์ไม่ยินยอม กลับไปพักพิงอยู่กับนักองค์วัตถาและศิริวงษ์แทน ซึ่งนักองค์วัตถาก็ออกตัวปกป้องสนองโสร์ พร้อมกับกล่าวว่า ตนรับใช้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้มาดูแลน้ำใจของเหล่าเจ้านายเขมรและขุนนางเขมรมิให้เอาใจออกหาก หากใครประพฤติผิดไปจากนี้ก็จะนำความกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความประพฤติของเจ้านายและขุนนางเขมรทุกประการ หลังจากเหตุการณ์นั้น ทั้งนักองค์วัตถาและศิริวงษ์ก็มิได้เฝ้าแหนสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ตามเคย และทั้งสองพระองค์นี้ก็มิได้เสด็จออกไปร่วมพระราชพิธีพระบรมศพของพระชนกเลย
ใน ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา ระบุว่าพระยาราชประสิทธิไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาสังฆราช (เที่ยง สุวณฺณเกสโร) ที่วัดปราง เพื่อเชิญนักองค์วัตถาและศิริวงษ์เพื่อกราบทูลเจรจาเรื่องราวแต่ก็ล้มเหลว ในช่วงเวลาดังกล่าว นักองค์วัตถาได้แต่งตั้งให้สนองโสร์ ซึ่งเป็นพระมาตุลาขึ้นเป็นออกญามหาฤทธิรงค์ชาญไชย ครั้นใน พ.ศ. 2404 นั้นเอง สมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ทรงให้ไพร่พลนำปืนไปยิงพระตำหนักนักองค์วัตถาและศิริวงษ์ เพื่อไล่ให้ตื่น จะได้หนีกลับไปยังกรุงเทพมหานครโดยเร็ว ฝ่ายออกญามหาฤทธิณรงค์ (โสร์) และออกญากำแหงโยธา (แก้ว) ก็พาสมัครพรรคพวกราว 40-50 คน ใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กันไปมากับฝ่ายสมเด็จพระนโรดม จนฝ่ายของนักองค์วัตถาล้มตายไป 7-8 คน นักองค์วัตถาเห็นว่าสู้ไม่ได้จึงพาครอบครัว คือ นักขำ มารดา หม่อมดอกบัว ภรรยา และยายแก้ว พระอัยยิกา พร้อมด้วยบ่าวไพร่ ขี่ม้าหนีไปเมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นเขตแดนของสยาม เพื่อมุ่งสู่กรุงเทพมหานครต่อไป พระบาทสมเด็จพระนโรดมตรัสให้ออกญาเสนาธิบดี (เล็ก) กับออกญาราชเดชะ (เอก) ยกไพร่พลไล่ตามพวกนักองค์วัตถาจนสุดเขตแดน แล้วให้จับพระแม่นางผลทิพย์สุวรรณ (เขียว) พระชนนีของพระองค์เจ้าศิริวงษ์ จำขังไว้ในพระราชวัง แม้ตัววัตถาจะลี้ภัยไปกรุงเทพมหานครแล้ว แต่ออกญามหาฤทธิณรงค์ (โสร์) และออกญากำแหงโยธา (แก้ว) ยังปฏิบัติการอยู่ในเขมรต่อไป ด้วยประสงค์จะให้นักองค์วัตถาเสวยราชสมบัติสืบต่อไป พวกเขาได้เกลี้ยกล่อมผู้คนตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้เข้าฝ่ายวัตถาเพิ่มขึ้น เมื่อมีทัพเป็นกระบวน ก็ก่อกำเริบลุกไปตีทัพของสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์แตกพ่าย กลุ่มกบฏยึดเมืองและตั้งทัพในพนมเปญและลาดปะเอียได้สำเร็จ ตัวสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ซึ่งล่าถอยกลับไปอุดงฦๅไชยก่อนหน้า จำต้องลี้ภัยเข้าไปกำปงชนัง พระตะบอง และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ เป็นการชั่วคราว ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 9 (ตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2404) พระยาราชวรานุกูลมีหนังสือบอกแต่งให้พระอินทร์เดช จมื่นรักษพิมานพานักองค์วัตถาไปส่งที่กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระยามนตรีสุริวงษ์กับจมื่นศรีสรรักษ์ คุมไพร่พลสยาม 1,000 นาย เรือกลไฟสองลำ นำส่งสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ที่เมืองกำปอด แล้วเดินทางต่อไปจนถึงพระราชวังสระสารพรรณยุคในกรุงอุดงฦๅไชย ซึ่งเรื่องราวดังกล่าว ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ซึ่งทรงสนิทสนมกัน ความว่า
"...ราชการในกรุงเทพมหานครทุกวันนี้ มีแต่ด้วยเรื่องเมืองเขมร เกิดรบพุ่งยุ่งยิ่งกันมาก เปนเหตุด้วยบุตร์ชายหญิงขององค์สมเดจพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ที่ถึงแก่พิราลัยนั้นนั้นไม่มีความสมัคสโมสรแก่กัน ต่างคนต่างจะชิงกันเปนเจ้าเมืองเขมรต่อไป แต่งพวกพ้องออกไปหัวเมืองเกลี้ยกล่อมคนเปนกองทัพแล้ว รบกันหลายแห่งหลายตำบล นักองค์วัถา นักองค์ศิริวงษ์ ๆ เปนผู้ก่อเหตุเดิม แล้วบัดนี้หนีเข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานคร องค์พระนโรดมพรหมบริรักษ์ มหาอุปราช กับพระยาเขมรก็อพยพครอบครัวหนีเข้ามาอยู่ที่เมืองพัตบอง เมืองอุดงมีไชย ยังอยู่แต่องค์พระหริราชดนัยไกรแก้วฟ้ากับเจ้าผู้หญิง บัดนี้ที่กรุงเทพมหานครได้แต่งให้พระยามุขมนตรี แลพระยาสีหราชฤทธิไกรยกออกไปทางบก โดยทางเมืองพัตบอง แลให้พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ กับพระ (ราช) เสนายกออกไปทางเรือ ขึ้นเมืองกำปอด เพื่อจะให้รงับการเมืองเขมรให้สงบ บัดนี้การเรื่องนั้นก็ยังไม่จบลง..."
ภายหลังทัพของออกญามหาฤทธิณรงค์ (โสร์) ถูกตีจนแตกพ่ายไป ก่อนจะถูกจับกุมและเนรเทศไป (มลายู: Pulo Condore ปูโล กนโดร์, เวียดนาม: Côn Đảo โกนด๋าว) ซึ่งเอกสารไทยเรียก เกาะขนุน ซึ่งเป็นเกาะกันดารกลางมหาสมุทร ส่วนออกญากำแหงโยธา (แก้ว) ถูกตัดศีรษะเสียบประจานริมถนนเบื้องตะวันออกของพระราชวัง
การต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศสและบั้นปลาย
สมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ทรงลงนามในอนุสัญญากับฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2406 ส่งผลให้กัมพูชาตกอยู่ในการอารักขาของฝรั่งเศส และได้จัดพิธีราชาภิเษกโดยความยินยอมพร้อมใจของฝ่ายฝรั่งเศสและไทย ขณะนั้นวัตถายังคงอาศัยอยู่กรุงเทพมหานครนาน 20 ปี ก็ทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังในสยาม ก่อนหนีเข้ากัมพูชาเพื่อก่อการกบฏต่อต้านพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร นักองค์วัตถาไม่เห็นชอบที่จะให้ฝรั่งเศสมาเป็นเจ้าอาณานิคมเพราะเห็นเป็นพวก มิจฉาทิฐิ เพราะเป็นคนนอกศาสนา และอ้างว่าฝรั่งเศสเป็นตัวบ่อนทำลายกัมพูชาอันเป็นแผ่นดินของบวรพุทธศาสนา พระองค์ทิ้งหัตถเลขาที่เขียนด้วยภาษาไทยไว้สองฉบับ ความว่า "...คำนับกราบเท้ามายังพี่ท่านพระยาศรีสิงหเทพ ด้วยตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ ออกไปหาได้ ทำการด้วยฝีมือตนเองไม่ บัดนี้ข้าพเจ้าจะออกทำเองฉลองพระเดชพระคุณให้สำเรจ ในชาตินี้ที่จะอยุดเลิกเสียยอมประทาน แล้วนอนฟังเสียงนกเสียงกากลางป่ากลางดงนั้นไม่ยอมแล้ว ขอท่านโปรดนำประดิษฐวงษเข้าถวายตัวให้ทำราชการสนองพระเดชพระคุณแทนข้าพเจ้าด้วยเถิด...อ้ายประดิษฐวงษนั้นขอให้ท่านด่าว่าสั่งสอนเหมือนลูกในไส้ทีเดียว อย่าได้เกรงอกเกรงใจเลย ให้ท่านนึกว่าบุตรท่านเถิด แล้วกราบบังคมทูลให้จัดแจงบวชเสียด้วย..." ส่วนอีกฉบับหนึ่งเขียนว่า "ประดิษฐวงษ, รวมถึงลูกของประดิษฐวงศ์, นั้นที่สุดแล้วจะไปอยู่ในอุปถัมภ์ของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทย"
ช่วงเวลาหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระนโรดมถูกฝรั่งเศสบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาเมื่อ พ.ศ. 2427 ที่กำหนดให้อำนาจทั้งหมดของกัมพูชาตกเป็นของฝรั่งเศส ทำให้เจ้านายและขุนนางในระบอบเก่าต่อต้านอย่างหนัก เพราะมองว่าการปกครองของฝรั่งเศสนั้นกดขี่ ข่มเหง และเลวร้ายกว่าการปกครองของสยาม ซึ่งสยามปกครองกัมพูชาด้วยจารีตโบราณและระบบอุปถัมภ์พร้อมทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ราชสำนักกัมพูชามาโดยตลอด แต่การมาของฝรั่งเศสได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองกัมพูชาเสียใหม่ คือ ยกเลิกจารีตเก่าด้วยส่งข้าหลวงฝรั่งเศสไปประจำการตามหัวเมือง ยกเลิกการถือที่ดินของผู้มีบรรดาศักดิ์ และเก็บภาษีตรงกับพ่อค้าและราษฎร แต่ผลเสียไปเกิดกับขุนนางที่ต้องส่งส่วยแก่กษัตริย์กัมพูชาอีกต่อหนึ่ง โดยนักองค์วัตถามีส่วนร่วมในการต่อต้านนี้อย่างยิ่งยวดและเริ่มก่อการกระด้างกระเดื่อง จนฝ่ายฝรั่งเศสยอมผ่อนปรนการปฏิรูปบางมาตราที่ส่งผลกระทบต่อเจ้านายและขุนนางระบอบเก่าออกไปก่อน ในการปฏิบัติการของนักองค์วัตถาช่วง พ.ศ. 2428–2429 ทรงตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ ออกพระนามตนเองว่า พระบันทูลวิเสดสมเดจ์องค์วัตถาบรมบพิตรผูเปนเจ้า (พระบัณฑูรวิเศษสมเด็จองค์วัตถาบรมบพิตรผู้เป็นเจ้า) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2404 และทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์พระและขุนนางเขมรเมื่อคราวเสด็จไปเมืองพนมสารคามใน พ.ศ. 2408 เป็นอาทิ พระองค์มีอิทธิพลเหนือพื้นที่ของกลุ่มกบฏ คือบริเวณรอยต่อพรมแดนสยามกับฝรั่งเศส ได้แก่ เมืองสตึงแตรง (ស្ទឹងត្រែង) (សន្ធុក) (កំពង់ស្វាយ) (ស្ទោង) (ជីក្រែង) และเสียมราฐ (សៀមរាប) ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเมืองในเขตอาณานิคมของฝรั่งเศส ยกเว้นเมืองเสียมราฐที่ขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับอาณาจักรสยาม พระองค์เคยใช้เมืองสตึงแตรงเป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ก่อนย้ายไปเมืองสันทุก และกระพงธมหรือกำปงธม (កំពង់ធំ) ใกล้เมืองเสียมราฐตามลำดับ ดังปรากฏใน คำประกาศของวัตถา ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2428 ซึ่งเป็นสำเนาเอกสารไม่มีชื่อที่กระทรวงการต่างประเทศเตรียมส่งไปยังสถานทูตสยามในปารีส ถูกเก็บรักษาไว้ในหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ธิบดี บัวคำศรีเรียกสำเนาเอกสารนี้ว่า คำประกาศของวัตถา ภายในบันทึกเนื้อหาไว้ ความว่า
"นักองค์วัตถาอยู่บ้านโสนแขวงสันทุก ณ วัน 5 7ฯ 3 ค่ำจุลศักราช 1246 ปีวอกฉศก นักองค์วัตถาประกาศบอก พระยา พระ ขุน หลวง แขวงกำนัน กับบรรดาราษฎรเขมรจินยวนแขกชวาตพุ่นในแขวงเมืองกระพงสวาย เมืองสะโทง เมืองชีแครง ไปจนถึงแขวงกำนันทุกกันในแดนเมืองเสิยมราฐเท่าใด ๆ ให้รู้ด้วย
นักองค์วัตถาคิดถึงแผ่นดินแต่บูราณมา คงอยู่เปนแผ่นดินเมืองเขมรในบวรพุทธศาสนาบัดนี้ไม่ได้อยู่ เปนแผ่นดินเมืองเขมร แปลเปนแผ่นดินพวกมิศฉาทิฐิเหมือนบรรดาราษฎรได้รู้เหนแล้วว่า ดูไปบรรดาขุนนางกับบรรดาราษฎรต่างคนก็มีใจซื่อตรงต่อพุทธสาสนา ต่างคนก็หลงด้วยมิจฉาทิฐิโลภ อยากได้อาณาประโยชน์บังเกิดลาภ ไม่มีนักปราชกับขุนนางราษฎรเวทนาถึงสาสนาพระพุทธเจ้าช่วยทำนุบำรุงให้คงแผ่นดินในบวรพุทธศาสนาขึ้นอย่าให้สาปสูญต่อไปข้างน่า...นักองค์วัตถาคิดเอาแต่คุณบุญพระศรีรัตนไตรเปนที่พึ่ง แต่ไม่ได้ไปรวบรวมกับพี่กับน้อง ได้คิดกำจัดมิจฉาทิฐิออกจากนคร อย่านึกว่าแผ่นดินเมืองเขมรในบวรพุทธศาสนาจะสูญนั้นเลย"
พ.ศ. 2434 นักองค์วัตถาทรงดำรงพระชนม์ชีพอย่างกึ่งคนเถื่อนในป่านานถึง 15 ปีแล้ว พระองค์ขอเจรจายอมจำนนต่อทางการฝรั่งเศสแต่ไม่เป็นผล นักองค์วัตถาสิ้นพระชนม์กลางป่าในจังหวัดกำปงธม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2434 อย่างไรก็ตามการก่อกำเริบของนักองค์วัตถาถูกมองว่าเป็นการกบฏและอ้างสิทธิธรรมเพื่อชิงราชบัลลังก์มากกว่าการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ขณะที่เอกสารเขมรที่ถูกสร้างขึ้นในชั้นหลัง คือ บ็อณฎำตาเมียะฮ์ ("คำสั่งตามาส") ที่มักถูกใช้อ้างอิงในการเรียนประวัติศาสตร์ ระบุว่าวัตถาได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายกษัตริย์สยามเพื่อก่อการกบฏ
ขณะที่เจ้านายกัมพูชาบางพระองค์ที่กระทำการสนับสนุนกลุ่มต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศสเช่นเดียวกันกับวัตถา ก็ถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดินกัมพูชา เช่น ถูกเนรเทศไปประเทศแอลจีเรียใน พ.ศ. 2436 ด้วยข้อหาพยายามลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารถูกเนรเทศไปเมืองไซ่ง่อนเมื่อ พ.ศ. 2440 ด้วยถูกกล่าวหาว่าสมคบพระยาคทาธรธรนินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ขุนนางสยามในพระตะบอง และถูกสั่งห้ามมิให้กลับกรุงพนมเปญใน พ.ศ. 2443 หลังมีพระนิพนธ์บทความ Deux civilisations ("สองวัฒนธรรม") ลงหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสซึ่งเนื้อหาได้วิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของข้าราชการอาณานิคมฝรั่งเศส
ทายาท
นักองค์วัตถา มีพระโอรสหนึ่งองค์หนึ่ง ชื่อองค์ประดิษฐวงษ บ้างออกพระนามว่า องค์ดิศวงษ์ หรือ แป๊ะ (ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2446) ซึ่งนักองค์วัตถาได้ทำการฝากฝังให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเลี้ยงดูประดุจลูกในไส้ โดยนักองค์วัตถามีพระหัตถเลขาไว้ ความว่า "ประดิษฐวงษ, รวมถึงลูกของประดิษฐวงศ์, นั้นที่สุดแล้วจะไปอยู่ในอุปถัมภ์ของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีมหาดไทย" ประดิษฐวงษ หรือดิศวงษ์ อาศัยอยู่ในวังเจ้าเขมร กรุงเทพมหานคร มีภรรยาสองคน ภรรยาคนแรกชื่อ เผื่อน มีธิดาสองคน คือ ถวิล และวิลาศ ส่วนภรรยาอีกคนชื่อจันทร์ มีธิดาสองคนและบุตรหนึ่งคน คือ พุมเรียง สังเวียน และพระอินทเบญญา (นักสะราคำ วัตถา)สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ มีรับสั่งให้พระอินทเบญญาซึ่งขณะนั้นยังไม่มีนามสกุล ใช้นามสกุลว่า "วัตถา" ตามชื่อของปู่ จะได้ไม่ต้องทูลขอพระราชทานนามสกุล
พระอินทเบญญา (สะราคำ วัตถา) สมรสกับภักดิ์ ปิ่นทัษเฐียร มีบุตรด้วยกันสามคน เป็นชายสองคนและเป็นหญิงอีกหนึ่งคน คือ ธม วัตถา เธียด วัตถา และโอปอ วัตถา โดยโอปอบุตรสาวคนเล็ก สำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิชาวิจัยการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ต่อมาคือมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ)
พงศาวลี
พงศาวลีของนักองค์วัตถา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เชิงอรรถ
- เอกสารบางแห่งสะกดว่า วัดถา, วัถา หรือ วัฐา
อ้างอิง
- รำไพพรรณี พระบรมราชินี, สมเด็จพระนางเจ้า (2481). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 71. พระนคร: กรุงเทพบรรณาคาร. p. 102.
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "นิราสนครวัด (3. อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งแรก)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 158-160.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ศานติ ภักดีคำ. เขมร "ถกสยาม". กรุงเทพฯ : มติชน, 2552, หน้า 121
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 237
- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 255
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 304-305
- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 249
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 301
- ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 150.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "นิราสนครวัด (8. อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งหลัง)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 282
- ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 161.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 151.
{{}}
: CS1 maint: date format () - เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 291-292
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 294
- สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (2505). ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร (PDF). พระนคร: ธนะการพิมพ์จำกัด. p. 24.
- สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (2505). ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร (PDF). พระนคร: ธนะการพิมพ์จำกัด. p. 84-85.
- สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (2505). ไทยสถาปนากษัตริย์เขมร (PDF). พระนคร: ธนะการพิมพ์จำกัด. p. 49.
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 300
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 301-302
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 303
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 306
- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 250
- ไกรฤกษ์ นานา. สยามรัฐท่ามกลางจักรวรรดินิยม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2563, หน้า 57-58
- ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 251
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 318
- เทวะวงศ์วโรปการ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา (2465). พระราชหัดถเลขาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 3 (PDF). พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. p. 28.
- เติม สิงหัษฐิต. ฝั่งขวาแม่น้ำโขง. พระนคร : คลังวิทยา, 2490, หน้า 242
- เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 319-320
- ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 152.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ไกรฤกษ์ นานา (4 มีนาคม 2565). "สายลับเขมร ช่วงวิกฤติ ร.ศ.112 คือใคร? มีบทบาทอย่างไรท่ามกลางความแตกแยกในราชสำนักเขมร". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2566.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 153.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ศานติ ภักดีคำ (15 มิถุนายน 2564). "เปิดวรรณกรรมชวนเชื่อ "บ็อณฎำตาเมียะฮ์" เล่าสภาพกัมพูชา หลังเป็นพื้นที่ไทยรบเวียดนาม". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 154-155.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ธิบดี บัวคำศรี (มกราคม–มิถุนายน 2557). "ประเทศ" กัมพูชาของพระองค์มจะส์วัตถาและยุคนธร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (10:1). p. 156.
{{}}
: CS1 maint: date format () - ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แล หอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร : อักษรเจริญทัศน์, 2512, หน้า ก
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แล หอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร : อักษรเจริญทัศน์, 2512, หน้า ค
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แล หอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร : อักษรเจริญทัศน์, 2512, หน้า ง
- "รายชื่อสมาชิกสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์". สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - "ไหว้ครูและรับนิสิตใหม่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร" (PDF). สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยวิชาการศึกษา. 2511. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help))
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
nkxngkhwttha phraxngkhecawttha hrux nkphraxngkhwrrtha ekhmr វត ថ ph s 2385 30 thnwakhm ph s 2434 bangxxkphranamwa sriwttha ស វត ថ hrux iwywttha epnphrarachoxrsinsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdi prasutinkkha hrux kha epnphraxnuchatangphrachnnikhxngphrabathsmedcphranordm brmramethwawtar aelaphrabathsmedcphrasisuwtthi nkxngkhwtthathrngmikhwamkhdaeyngkbphraechsthathngsxng odymiekhruxyatirwminkarkxkbthwngchingrachbllngk aelaidsthapnatnexngkhunepn phrabnthulwiesdsmedcxngkhwtthabrmbphitrphuepneca phrabnthurwiesssmedcxngkhwtthabrmbphitrphuepneca xangsiththiinrachbllngkkmphucha inexksarkhxngkmphuchamxngwakarkrathakhxngnkxngkhwtthaepnkbttxrachsankekhmr aelaexksarkmphuchainyukhhlngmxngwawtthaidrbkarsnbsnuncakfaykstriysyamephuxkxkarkbtnkxngkhwtthaprasutiph s 2385 krungethphmhankhr hruxphratabxng xanackrsyamsinphrachnm30 thnwakhm ph s 2434 cnghwdkapngthm kmphuchainxarkkhakhxngfrngesshmxmaemnangdxkbwphrabutrpradisthwngs hrux diswngs rachwngstrxsxkphaexm rachskulwtthaphrabidasmedcphrahrirksrammhaxisrathibdiphramardankkha hrux kha phraprawtichiwitchwngtnaelakarsuksa nkxngkhwttha hrux sriwttha prasutiemux ph s 2385 epnphraoxrsinsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdi hruxnkxngkhdwng prasutinkkha hrux nknangkha thidaphrayathrrmaedoch kbyayaekw miphramatulakhnhnungchux snxngosr hrux snxngos txmaepnthi xxkyamhavththinrngkh inexksarekhmr hrux phrayamhavththirngkhchayichy exksarithy epnkrmkarinekhtemuxngbaphnm ប ភ ន pccubnepnxaephxkhunkbcnghwdiphraewng praethskmphucha phngekhruxyatikhxngnkxngkhwtthankxngkhtnnkxngkhexngnkxngkhcnnkxngkhdwngnkxngkhaebnnkxngkhemynkxngkhephankxngkhsngwnnkxngkhrachawdinkxngkhsriswsdinkxngkhwttha kxnkarprasutikal smedcphrahrirksrammhaxisrathibdi thrngkhdaeyngkbsmedcphraxuithyrachathirachramathibdi hruxnkxngkhcnthr sungepnphraechsthatangphrachnni aelaklumkhunnangekhmrthifkiffayywn thaihsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdiphrxmdwyecanayaelakhunnangthifkifsyam edinthangekhasukrungethphmhankhr aelahnungpikxnnkxngkhwtthaprasutikal smedcphrahrirksrammhaxisrathibdithuksngtwipyngemuxngphratabxng sungepnekhtxiththiphlkhxngsyam cungxacepnipidwankxngkhwtthaxacprasutithiphratabxnghruxkrungethphmhankhr aetepnthiaennxnwamiphraprasutikalinekhtxiththiphlsyam inphrarachhtthelkhakhxngphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw phraecakrungsyam thrngxxkphranamihmaeknkxngkhwtthawa wdthalngkr ephraanamedimepnxitthilungkh khnathi nirasnkhrwd khxngsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph thrngxangkhaxthibaykhxngxxkyaphiphithixsury kharachkarekhmrrunekainphnmepywaphranamthithuktxngkhux iwywttha ephuxihkhlxngcxngkbphranamkhxngphraechstha khux rachawdi sriswsdi aelaiwywttha txmankxngkhwtthatamesdcbidaipkrungxudngliichy emuxeksakntaelw nkxngkhwtthaphnwchepnsamenrinsanksmedcphramhaphimlthrrm ethiyng emuxphnwchidsamphrrsaklaphnwch kxnthuksngipthwaytwaekphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthikrungethphmhankhr dwyknkbnkxngkhsriswsdi phrxmekhruxngbrrnakar odymikhunnangekhmr 5 naytamesdc khux xxkyaechstha ba xxkyasuphathibdi emy xxkyaphithksmntri kuy xxkyaphithksxisra epriyb aelaxxkyawngsathirach khng aelathrngphraxksrinkrungethphmhankhrtamphrarachthrrmeniymkhxngecanayfayhnakrungkmphucha phrxmkbphraechsthatangphrachnni khux phrabathsmedcphranordm brmramethwawtar hruxnkxngkhrachawdi aelaphrabathsmedcphrasisuwtthi hruxnkxngkhsriswsdi nxkcakthrngsuksadanxkkhraaelasilpwithyacaksankeriyntang inkrungethphmhankhraelw yngthrngsuksawichaxakhmxyuyngkhngkraphndwyewthmntraelaekhruxngrangkhxngkhlngtang xikthngyngekhyepnxacarysxnsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaphemuxkhrngyngbwchepnsamenr khadwankxngkhwtthakhngxanaelaekhiynphasaithyidepnxyangdi dwyphbwathrngmikhwamsnithsnmkbecanayaelakharachkarchawsyammakmayhlaykhn hnunginnnkhuxsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph sungekhymikhwamsmphnthepnxacary sisy aelamiwngxyutrngkhamwngecaekhmrthiphraxngkhprathbxyu khwamkhdaeyngaelakarkxkbt nkxngkhwtthathuksngtwklbipptibtirachkarinkrungkmphuchakxn ph s 2400 xnepnpithiphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw miphrabrmrachanuyatih nkxngkhrachawdi epnthiphramhaxuprach aelankxngkhsriswsdi epnthismedcphraaekwfa klbipptibtirachkarkrungkmphucha aelathrngmiphrakrunaoprdekla sthapnaih nkxngkhrachawdikhunepnthismedcphranordm phrhmbrirks mhaxuprach aelankxngkhsriswsdiepnthiphrahrirachdnyikraekwfa exksarekhmreriyk smedcphrahrirachrtinikraekwfa smedcphrahrirksrammhaxisrathibdiksngtwnkxngkhecawtthaiprbichrachkickhxngphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthikrungethphmhankhraethn odyinhnngsux ithysthapnakstriyekhmr rabuthungkhwamimlngrxyknrahwangsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdikbnkxngkhwttha ephraathrngsnghammiihphrayaekhmrthiekhamainkrungethphmhankhripmahasukbnkxngkhwttha swnsaehtuthiimoprdphraoxrsphraxngkhni ephraankxngkhwtthasubfin aelaxikkrnikhuxthrngihxditnangfxninsmedcphranangecaosmnswthnawdi sungkhbchukbnaybwmhadelk iphlbsxnphayinwngkhxngphraxngkh thuxepneruxngxpysmaksahrbsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdi ephraainphinykrrmmithrngphrarachthanphrarachmrdkaekphraoxrsphraxngkhni inhnngsux ithysthapnakstriyekhmr rabuwa thangkarsyamidsngnkxngkhwtthaxxkcakkrungethphmhankhrphrxmkhahlwng ephuxihipprnnibtismedcphrahrirksrammhaxisrathibdiinebuxngplayphrachnmchiph odynkxngkhwtthaihptiyanaekphraecaaephndinkrungsyam wahlngkarphiralykhxngsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdi kcaphankmardaaelayayklbipxasyxyuinkrungethphmhankhrtamedim krathnghlngkarphiralykhxngsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdiemux ph s 2403 dwyorkhridsidwngthwarthiprachwrmananhlayeduxn nkxngkhwtthaidekharwmphrarachphithiphrabrmsphdwy smedcphranordm phrhmbrirks mhaxuprach thrngplukphratahnkthangthistawnxxkechiyngehnuxkhxngphrarachwnginxudngliichyaeknkxngkhwttha nkxngkhwtthakhxihphraxngkhecasiriwngs phraxnuchatangphrachnniipprathbthiphratahnkdwykn khrn ph s 2404 snxngosr krmkarkhxngemuxngbaphnmsungepnphramatulahruxnachaykhxngwttha ekliyklxmchawemuxngbaphnmepnphwkcanwnmak odyyuyngihchawemuxngkradangkraeduxngtxphrayathrrmedochsungepnecaemuxngdngklaw inexksarithyrabuwa snxngosrehnwasmedcphranordm phrhmbrirksnn imoxbxxmxaritxphinxng kkhumsmkhrphrrkhphwkkxkbtkhun smedcphranordm phrhmbrirkscungtrsihexatwsnxngosripitswn aetsnxngosrimyinyxm klbipphkphingxyukbnkxngkhwtthaaelasiriwngsaethn sungnkxngkhwtthakxxktwpkpxngsnxngosr phrxmkbklawwa tnrbichphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwihmaduaelnaickhxngehlaecanayekhmraelakhunnangekhmrmiihexaicxxkhak hakikhrpraphvtiphidipcaknikcanakhwamkrabbngkhmthulihphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthrngthrabkhwampraphvtikhxngecanayaelakhunnangekhmrthukprakar hlngcakehtukarnnn thngnkxngkhwtthaaelasiriwngskmiidefaaehnsmedcphranordm phrhmbrirkstamekhy aelathngsxngphraxngkhnikmiidesdcxxkiprwmphrarachphithiphrabrmsphkhxngphrachnkely in rachphngsawdarkrungkmphucha rabuwaphrayarachprasiththiipekhaefasmedcphramhasngkhrach ethiyng suwn neksor thiwdprang ephuxechiynkxngkhwtthaaelasiriwngsephuxkrabthulecrcaeruxngrawaetklmehlw inchwngewladngklaw nkxngkhwtthaidaetngtngihsnxngosr sungepnphramatulakhunepnxxkyamhavththirngkhchayichy khrnin ph s 2404 nnexng smedcphranordm phrhmbrirks thrngihiphrphlnapunipyingphratahnknkxngkhwtthaaelasiriwngs ephuxilihtun caidhniklbipyngkrungethphmhankhrodyerw fayxxkyamhavththinrngkh osr aelaxxkyakaaehngoytha aekw kphasmkhrphrrkhphwkraw 40 50 khn ichxawuthpunyingtxsuknipmakbfaysmedcphranordm cnfaykhxngnkxngkhwtthalmtayip 7 8 khn nkxngkhwtthaehnwasuimidcungphakhrxbkhrw khux nkkha marda hmxmdxkbw phrrya aelayayaekw phraxyyika phrxmdwybawiphr khimahniipemuxngphratabxng sungepnekhtaednkhxngsyam ephuxmungsukrungethphmhankhrtxip phrabathsmedcphranordmtrsihxxkyaesnathibdi elk kbxxkyarachedcha exk ykiphrphliltamphwknkxngkhwtthacnsudekhtaedn aelwihcbphraaemnangphlthiphysuwrrn ekhiyw phrachnnikhxngphraxngkhecasiriwngs cakhngiwinphrarachwng aemtwwtthacaliphyipkrungethphmhankhraelw aetxxkyamhavththinrngkh osr aelaxxkyakaaehngoytha aekw yngptibtikarxyuinekhmrtxip dwyprasngkhcaihnkxngkhwtthaeswyrachsmbtisubtxip phwkekhaidekliyklxmphukhntamhwemuxngtang ihekhafaywtthaephimkhun emuxmithphepnkrabwn kkxkaeriblukiptithphkhxngsmedcphranordm phrhmbrirksaetkphay klumkbtyudemuxngaelatngthphinphnmepyaelaladpaexiyidsaerc twsmedcphranordm phrhmbrirkssunglathxyklbipxudngliichykxnhna catxngliphyekhaipkapngchnng phratabxng aelakrungethphmhankhr tamladb epnkarchwkhraw inwnkhun 13 kha eduxn 9 trngkbwnthi 19 singhakhm ph s 2404 phrayarachwranukulmihnngsuxbxkaetngihphraxinthredch cmunrksphimanphankxngkhwtthaipsngthikrungethphmhankhr phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwoprdekla ihphrayamntrisuriwngskbcmunsrisrrks khumiphrphlsyam 1 000 nay eruxklifsxngla nasngsmedcphranordm phrhmbrirksthiemuxngkapxd aelwedinthangtxipcnthungphrarachwngsrasarphrrnyukhinkrungxudngliichy sungeruxngrawdngklaw praktxyuinphrarachhtthelkhakhxngphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw thungphraecarachwrwngsethx phraxngkhecapthmrach sungthrngsnithsnmkn khwamwa rachkarinkrungethphmhankhrthukwnni miaetdwyeruxngemuxngekhmr ekidrbphungyungyingknmak epnehtudwybutrchayhyingkhxngxngkhsmedcphrahrirksrammhaxisrathibdi thithungaekphiralynnnnimmikhwamsmkhsomsraekkn tangkhntangcachingknepnecaemuxngekhmrtxip aetngphwkphxngxxkiphwemuxngekliyklxmkhnepnkxngthphaelw rbknhlayaehnghlaytabl nkxngkhwtha nkxngkhsiriwngs epnphukxehtuedim aelwbdnihniekhamaxyuinkrungethphmhankhr xngkhphranordmphrhmbrirks mhaxuprach kbphrayaekhmrkxphyphkhrxbkhrwhniekhamaxyuthiemuxngphtbxng emuxngxudngmiichy yngxyuaetxngkhphrahrirachdnyikraekwfakbecaphuhying bdnithikrungethphmhankhridaetngihphrayamukhmntri aelphrayasihrachvththiikrykxxkipthangbk odythangemuxngphtbxng aelihphrayavththiikrekriynghay kbphra rach esnaykxxkipthangerux khunemuxngkapxd ephuxcaihrngbkaremuxngekhmrihsngb bdnikareruxngnnkyngimcblng phayhlngthphkhxngxxkyamhavththinrngkh osr thukticnaetkphayip kxncathukcbkumaelaenrethsip mlayu Pulo Condore puol knodr ewiydnam Con Đảo okndaw sungexksarithyeriyk ekaakhnun sungepnekaakndarklangmhasmuthr swnxxkyakaaehngoytha aekw thuktdsirsaesiybpracanrimthnnebuxngtawnxxkkhxngphrarachwng kartxtanxananikhmfrngessaelabnplay smedcphranordm phrhmbrirks thrnglngnaminxnusyyakbfrngessin ph s 2406 sngphlihkmphuchatkxyuinkarxarkkhakhxngfrngess aelaidcdphithirachaphieskodykhwamyinyxmphrxmickhxngfayfrngessaelaithy khnannwtthayngkhngxasyxyukrungethphmhankhrnan 20 pi kthingkhrxbkhrwiwebuxnghlnginsyam kxnhniekhakmphuchaephuxkxkarkbttxtanphrabathsmedcphranordm brmramethwawtar nkxngkhwtthaimehnchxbthicaihfrngessmaepnecaxananikhmephraaehnepnphwk micchathithi ephraaepnkhnnxksasna aelaxangwafrngessepntwbxnthalaykmphuchaxnepnaephndinkhxngbwrphuththsasna phraxngkhthinghtthelkhathiekhiyndwyphasaithyiwsxngchbb khwamwa khanbkrabethamayngphithanphrayasrisinghethph dwytngaetkhaphecaid xxkiphaid thakardwyfimuxtnexngim bdnikhaphecacaxxkthaexngchlxngphraedchphrakhunihsaerc inchatinithicaxyudelikesiyyxmprathan aelwnxnfngesiyngnkesiyngkaklangpaklangdngnnimyxmaelw khxthanoprdnapradisthwngsekhathwaytwihtharachkarsnxngphraedchphrakhunaethnkhaphecadwyethid xaypradisthwngsnnkhxihthandawasngsxnehmuxnlukinisthiediyw xyaidekrngxkekrngicely ihthannukwabutrthanethid aelwkrabbngkhmthulihcdaecngbwchesiydwy swnxikchbbhnungekhiynwa pradisthwngs rwmthunglukkhxngpradisthwngs nnthisudaelwcaipxyuinxupthmphkhxngkrmhmundarngrachanuphaph esnabdimhadithy chwngewlahlngcaknnphrabathsmedcphranordmthukfrngessbngkhbihlngnaminsnthisyyaemux ph s 2427 thikahndihxanacthnghmdkhxngkmphuchatkepnkhxngfrngess thaihecanayaelakhunnanginrabxbekatxtanxyanghnk ephraamxngwakarpkkhrxngkhxngfrngessnnkdkhi khmehng aelaelwraykwakarpkkhrxngkhxngsyam sungsyampkkhrxngkmphuchadwycaritobranaelarabbxupthmphphrxmthahnathiepnthipruksaaekrachsankkmphuchamaodytlxd aetkarmakhxngfrngessidmikarepliynaeplnglksnakarpkkhrxngkmphuchaesiyihm khux ykelikcaritekadwysngkhahlwngfrngessippracakartamhwemuxng ykelikkarthuxthidinkhxngphumibrrdaskdi aelaekbphasitrngkbphxkhaaelarasdr aetphlesiyipekidkbkhunnangthitxngsngswyaekkstriykmphuchaxiktxhnung odynkxngkhwtthamiswnrwminkartxtannixyangyingywdaelaerimkxkarkradangkraeduxng cnfayfrngessyxmphxnprnkarptirupbangmatrathisngphlkrathbtxecanayaelakhunnangrabxbekaxxkipkxn inkarptibtikarkhxngnkxngkhwtthachwng ph s 2428 2429 thrngtngtnexngepnkstriy xxkphranamtnexngwa phrabnthulwiesdsmedcxngkhwtthabrmbphitrphuepneca phrabnthurwiesssmedcxngkhwtthabrmbphitrphuepneca matngaet ph s 2404 aelathrngaetngtngsmnskdiphraaelakhunnangekhmremuxkhrawesdcipemuxngphnmsarkhamin ph s 2408 epnxathi phraxngkhmixiththiphlehnuxphunthikhxngklumkbt khuxbriewnrxytxphrmaednsyamkbfrngess idaek emuxngstungaetrng ស ទ ងត រ ង សន ធ ក ក ពង ស វ យ ស ទ ង ជ ក រ ង aelaesiymrath ស មរ ប sungekuxbthnghmdepnemuxnginekhtxananikhmkhxngfrngess ykewnemuxngesiymraththikhnannyngkhunxyukbxanackrsyam phraxngkhekhyichemuxngstungaetrngepnphunthiptibtikar kxnyayipemuxngsnthuk aelakraphngthmhruxkapngthm ក ពង ធ iklemuxngesiymrathtamladb dngpraktin khaprakaskhxngwttha lngwnthi 22 mkrakhm ph s 2428 sungepnsaenaexksarimmichuxthikrathrwngkartangpraethsetriymsngipyngsthanthutsyaminparis thukekbrksaiwinhxsmudaehngchati krungethphmhankhr thibdi bwkhasrieriyksaenaexksarniwa khaprakaskhxngwttha phayinbnthukenuxhaiw khwamwa nkxngkhwtthaxyubanosnaekhwngsnthuk n wn 5 7 3 khaculskrach 1246 piwxkchsk nkxngkhwtthaprakasbxk phraya phra khun hlwng aekhwngkann kbbrrdarasdrekhmrcinywnaekhkchwatphuninaekhwngemuxngkraphngsway emuxngsaothng emuxngchiaekhrng ipcnthungaekhwngkannthukkninaednemuxngesiymrathethaid ihrudwy nkxngkhwtthakhidthungaephndinaetburanma khngxyuepnaephndinemuxngekhmrinbwrphuththsasnabdniimidxyu epnaephndinemuxngekhmr aeplepnaephndinphwkmischathithiehmuxnbrrdarasdridruehnaelwwa duipbrrdakhunnangkbbrrdarasdrtangkhnkmiicsuxtrngtxphuththsasna tangkhnkhlngdwymicchathithiolph xyakidxanapraoychnbngekidlaph imminkprachkbkhunnangrasdrewthnathungsasnaphraphuththecachwythanubarungihkhngaephndininbwrphuththsasnakhunxyaihsapsuytxipkhangna nkxngkhwtthakhidexaaetkhunbuyphrasrirtnitrepnthiphung aetimidiprwbrwmkbphikbnxng idkhidkacdmicchathithixxkcaknkhr xyanukwaaephndinemuxngekhmrinbwrphuththsasnacasuynnely ph s 2434 nkxngkhwtthathrngdarngphrachnmchiphxyangkungkhnethuxninpananthung 15 piaelw phraxngkhkhxecrcayxmcanntxthangkarfrngessaetimepnphl nkxngkhwtthasinphrachnmklangpaincnghwdkapngthm emuxwnthi 30 thnwakhm ph s 2434 xyangirktamkarkxkaeribkhxngnkxngkhwtthathukmxngwaepnkarkbtaelaxangsiththithrrmephuxchingrachbllngkmakkwakartxtankarpkkhrxngkhxngfrngess khnathiexksarekhmrthithuksrangkhuninchnhlng khux bxndataemiyah khasngtamas thimkthukichxangxinginkareriynprawtisastr rabuwawtthaidrbkarsnbsnuncakfaykstriysyamephuxkxkarkbt khnathiecanaykmphuchabangphraxngkhthikrathakarsnbsnunklumtxtanxananikhmfrngessechnediywknkbwttha kthukenrethsxxkipcakaephndinkmphucha echn thukenrethsippraethsaexlcieriyin ph s 2436 dwykhxhaphyayamlxbplngphrachnmphrabathsmedcphranordm brmramethwawtarthukenrethsipemuxngisngxnemux ph s 2440 dwythukklawhawasmkhbphrayakhthathrthrninthr chum xphywngs khunnangsyaminphratabxng aelathuksnghammiihklbkrungphnmepyin ph s 2443 hlngmiphraniphnthbthkhwam Deux civilisations sxngwthnthrrm lnghnngsuxphimphfrngesssungenuxhaidwiphakswicarnphvtikrrmkhxngkharachkarxananikhmfrngessthayathnkxngkhwttha miphraoxrshnungxngkhhnung chuxxngkhpradisthwngs bangxxkphranamwa xngkhdiswngs hrux aepa thungaekkrrmin ph s 2446 sungnkxngkhwtthaidthakarfakfngihsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaphthrngeliyngdupraduclukinis odynkxngkhwtthamiphrahtthelkhaiw khwamwa pradisthwngs rwmthunglukkhxngpradisthwngs nnthisudaelwcaipxyuinxupthmphkhxngkrmhmundarngrachanuphaph esnabdimhadithy pradisthwngs hruxdiswngs xasyxyuinwngecaekhmr krungethphmhankhr miphrryasxngkhn phrryakhnaerkchux ephuxn mithidasxngkhn khux thwil aelawilas swnphrryaxikkhnchuxcnthr mithidasxngkhnaelabutrhnungkhn khux phumeriyng sngewiyn aelaphraxinthebyya nksarakha wttha smedcphraecabrmwngsethx krmphraswsdiwdnwisisd mirbsngihphraxinthebyyasungkhnannyngimminamskul ichnamskulwa wttha tamchuxkhxngpu caidimtxngthulkhxphrarachthannamskul phraxinthebyya sarakha wttha smrskbphkdi pinthsethiyr mibutrdwyknsamkhn epnchaysxngkhnaelaepnhyingxikhnungkhn khux thm wttha ethiyd wttha aelaoxpx wttha odyoxpxbutrsawkhnelk saerckarsuksacakkhnaxksrsastr culalngkrnmhawithyaly aelamitaaehnngepnphuchwysastracary khnawichawicykarsuksa withyalywichakarsuksaprasanmitr txmakhuxmhawithyalysrinkhrinthrwiorth phngsawliphngsawlikhxngnkxngkhwttha 16 smedcphraxuithyracha nkxngkhosr 8 phranaraynracharamathibdi 17 smedcphramhakrastri nkxngkhepha 4 smedcphranaraynramathibdisrisurioyphrrn 9 nknangichy 2 smedcphrahrirksrammhaxisrathibdi 5 smedcphramihyika khtiyawngssiriesothwordm 1 nkxngkhwttha 6 phrayathrrmaedoch 3 nkkha 7 aekw echingxrrthexksarbangaehngsakdwa wdtha wtha hrux wthaxangxingraiphphrrni phrabrmrachini smedcphranangeca 2481 prachumphngsawdar phakhthi 71 phrankhr krungethphbrrnakhar p 102 darngrachanuphaph smedcphraecabrmwngsethx krmphraya nirasnkhrwd 3 xyuemuxngphnmephykhrngaerk wchiryan subkhnemux 21 phvsphakhm 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 158 160 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk santi phkdikha ekhmr thksyam krungethph mtichn 2552 hna 121 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 237 thiphakrwngsmhaoksathibdi kha bunnakh ecaphraya phrarachphngsawdarkrungrtnoksinthr rchkalthi 3 krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2560 hna 255 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 304 305 thiphakrwngsmhaoksathibdi kha bunnakh ecaphraya phrarachphngsawdarkrungrtnoksinthr rchkalthi 4 krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 249 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 301 thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 150 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk darngrachanuphaph smedcphraecabrmwngsethx krmphraya nirasnkhrwd 8 xyuemuxngphnmephykhrnghlng wchiryan subkhnemux 21 phvsphakhm 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 282 thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 161 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 151 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 291 292 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 294 sankthaeniybnaykrthmntri 2505 ithysthapnakstriyekhmr PDF phrankhr thnakarphimphcakd p 24 sankthaeniybnaykrthmntri 2505 ithysthapnakstriyekhmr PDF phrankhr thnakarphimphcakd p 84 85 sankthaeniybnaykrthmntri 2505 ithysthapnakstriyekhmr PDF phrankhr thnakarphimphcakd p 49 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 300 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 301 302 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 303 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 306 thiphakrwngsmhaoksathibdi kha bunnakh ecaphraya phrarachphngsawdarkrungrtnoksinthr rchkalthi 4 krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 250 ikrvks nana syamrththamklangckrwrrdiniym krungethph mtichn 2563 hna 57 58 thiphakrwngsmhaoksathibdi kha bunnakh ecaphraya phrarachphngsawdarkrungrtnoksinthr rchkalthi 4 krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 251 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 318 ethwawngsworpkar smedcphraecabrmwngsethx krmphraya 2465 phrarachhdthelkhainphrabathsmedc phracxmeklaecaxyuhw rwmkhrngthi 3 PDF phrankhr osphnphiphrrththnakr p 28 etim singhsthit fngkhwaaemnaokhng phrankhr khlngwithya 2490 hna 242 eruxngedchxnnt thxngdi thnrcht phntri hlwng rachphngsawdarkrungkmphucha krungethph ithykhwxlitibukhs 2006 2563 hna 319 320 thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 152 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk ikrvks nana 4 minakhm 2565 saylbekhmr chwngwikvti r s 112 khuxikhr mibthbathxyangirthamklangkhwamaetkaeykinrachsankekhmr silpwthnthrrm subkhnemux 10 knyayn 2566 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 153 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk santi phkdikha 15 mithunayn 2564 epidwrrnkrrmchwnechux bxndataemiyah elasphaphkmphucha hlngepnphunthiithyrbewiydnam silpwthnthrrm subkhnemux 21 phvsphakhm 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 154 155 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk thibdi bwkhasri mkrakhm mithunayn 2557 praeths kmphuchakhxngphraxngkhmcaswtthaaelayukhnthr warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 10 1 p 156 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date format lingk darngrachanuphaph smedcphraecabrmwngsethx krmphraya tananhxphrasmud hxphramnethiyrthrrm hxwchiryan hxphuththsasnsngkhha ael hxsmudsahrbphrankhr phrankhr xksrecriythsn 2512 hna k darngrachanuphaph smedcphraecabrmwngsethx krmphraya tananhxphrasmud hxphramnethiyrthrrm hxwchiryan hxphuththsasnsngkhha ael hxsmudsahrbphrankhr phrankhr xksrecriythsn 2512 hna kh darngrachanuphaph smedcphraecabrmwngsethx krmphraya tananhxphrasmud hxphramnethiyrthrrm hxwchiryan hxphuththsasnsngkhha ael hxsmudsahrbphrankhr phrankhr xksrecriythsn 2512 hna ng raychuxsmachiksmakhmnisitekaxksrsastr smakhmnisitekaxksrsastr culalngkrnmhawithyaly subkhnemux 18 phvsphakhm 2566 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help ihwkhruaelarbnisitihm withyalywichakarsuksaprasanmitr PDF smakhmsisyekawithyalywichakarsuksa 2511 subkhnemux 18 phvsphakhm 2566 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help