โรคไตเรื้อรัง (อังกฤษ: chronic kidney disease ตัวย่อ CKD) เป็นโรคไตชนิดหนึ่งที่การทำงานของไตจะค่อย ๆ เสียไปโดยใช้เวลาเป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ ในช่วงแรกมักไม่มีอาการ ต่อมาจึงจะเกิดอาการต่าง ๆ รวมทั้งขาบวม เหนื่อย อาเจียน เบื่ออาหาร และสับสนภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดจากการทำงานผิดปกติทางฮอร์โมนของไตรวมทั้ง (ตามลำดับเวลา) ความดันโลหิตสูง (มักเกี่ยวกับการทำงานของระบบ renin-angiotensin system) ภาวะกระดูกผิดเพี้ยนเหตุไต (renal osteodystrophy) และภาวะเลือดจาง อนึ่ง คนไข้จะเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดยิ่งขึ้นอย่างสำคัญ โดยทั้งเสี่ยงตายและเข้าโรงพยาบาลยิ่งขึ้น
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Chronic renal disease, ไตล้มเหลว (kidney failure), ไตทำงานบกพร่อง (impaired kidney function) |
ไตของคนไข้โรคไตเรื้อรัง | |
สาขาวิชา | วักกวิทยา |
อาการ | ระยะแรก: ไม่มีอาการ ระยหลัง: ขาบวม เหนื่อย อาเจียน เบื่ออาหาร สับสน |
ภาวะแทรกซ้อน | โรคหัวใจ ความดันสูง ภาวะเลือดจาง |
ระยะดำเนินโรค | เรื้อรัง |
สาเหตุ | เบาหวาน, ความดันสูง, โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ, โรคถุงน้ำในไต |
ปัจจัยเสี่ยง | กรรมพันธุ์, มีฐานะทางสังคมเศรษฐกิจที่ไม่ดี |
วิธีวินิจฉัย | การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ |
การรักษา | การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ให้ยารักษาระดับความดันเลือด ระดับน้ำตาล และลดระดับไขมัน การบำบัดทดแทนไต การปลูกถ่ายไต |
ความชุก | (ทั่วโลก) 753 ล้าน (2016) |
การเสียชีวิต | (ทั่วโลก) 1.2 ล้าน (2015) |
เหตุเกิดมีหลายอย่าง ที่สำคัญได่แก่โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ (glomerulonephritis) และโรคถุงน้ำในไต (polycystic kidney disease) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญรวมการมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังการวินิจฉัยจะทำด้วยการตรวจเลือดเพื่อประมาณอัตราการกรองเลือดของไต (อังกฤษ: estimated glomerular filtration rate ตัวย่อ eGFR) และการตรวจหาอัลบูมินในปัสสาวะ บางครั้งอาจต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจชิ้นเนื้อไตเพื่อหาเหตุเกิดโรค มีระบบจัดความรุนแรงของโรคหลายระบบ
ทางการแพทย์แนะนำให้ผู้มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตโดยไม่ต้องรอให้มีอาการ การรักษาในระยะแรกเริ่มอาจเป็นการให้ยาลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมัน มักจะใช้สารยับยั้งเอซีอี (ACEIs) หรือแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ (ARBs) เป็นยาลดความดันกลุ่มแรก เพราะสามารถช่วยชะลอโรคไตและลดความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือด หากมีอาการบวมน้ำหรือยังควบคุมความดันเลือดไม่ได้อาจต้องใช้ยาขับปัสสาวะชนิดออกฤทธิ์ที่ลูป (loop diuretic) ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) มีคำแนะนำอื่น ๆ รวมทั้งมีกิจกรรมทางกายที่กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่นให้ทานเกลือน้อยและได้โปรตีนให้พอดี การรักษาภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดจางและโรคกระดูกก็อาจจำเป็นด้วย กรณีรุนแรงอาจต้องบำบัดทดแทนไตรวมทั้งฟอกไต หรือล้างไตทางช่องท้อง หรือปลูกถ่ายไตเพื่อรักษาชีวิต
ในปี 2016 ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคนี้ 753 ล้านคน เป็นชาย 336 ล้านคนและหญิง 417 ล้านคน ในปี 2015 มีคนเสียชีวิตจากโรค 1.2 ล้านคน เพิ่มจาก 409,000 คนในปี 1990 โรคที่พบว่าร่วมทำให้เสียชีวิตมากสุดคือ ความดันสูง 550,000 คน ตามด้วยเบาหวาน 418,000 คน และไตอักเสบ 238,000 คน
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2552 แสดงว่า ประชากรไทยมีอัตราการป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-5 อยู่ที่ร้อยละ 17.5 โดยความชุกของโรคเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ พบมากที่สุดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
นิยาม
โรคไตเรื้อรัง หมายถึง ภาวะที่ไตทำงานผิดปกติอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน สาเหตุอาจมาจากความเสียหายของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานของไตโดยตรง หรืออาจเกิดจากค่าอัตราการกรองของไต (GFR) ต่ำลงก็ได้
- ความเสียหายของไต
- เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานของไต
- อาจส่งผลให้ค่าอัตราการกรองเลือดของไตต่ำลงหรือไม่ก็ได้
- ตรวจพบได้จาก:
- การตรวจชิ้นเนื้อไต
- การตรวจปัสสาวะเพื่อหาสัญญาณบ่งบอกความเสียหายของไต
- การตรวจภาพถ่ายทางการแพทย์
- ค่า GFR ต่ำ:
- ค่า GFR ต่ำกว่า 60 ml/min/1.73 m2 เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน
- อาจมีหรือไม่มีสัญญาณบ่งบอกความเสียหายของไตอื่น ๆ ร่วมด้วย
สรุปก็คือ โรคไตเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของไตที่ส่งผลต่อหน้าที่การทำงาน, ค่า GFR ต่ำลง หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน
อาการ
ในเบื้องต้นโรคนี้จะไม่มีอาการ ปกติจะพบเมื่อตรวจเลือดทั่วไปเพราะระดับคริเอทีนินเพิ่มขึ้นในเลือด หรือพบโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria) เมื่อไตทำงานแย่ลง อาการไม่สบายก็จะเพิ่มขึ้น รวมทั้ง
- ความดันโลหิตจะสูงขึ้นเพราะมีน้ำมากเกิน และเพราะการผลิตฮอร์โมนที่ยืดหยุ่นเส้นเลือด (vasoactive hormone) ของไตผ่าน renin-angiotensin system ซึ่งทำให้เสี่ยงความดันโลหิตสูงและหัวใจวายเพิ่มขึ้น คนไข้โรคไตเรื้อรังมีโอกาสมากกว่าประชากรทั่วไปในการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งแล้วตามด้วยโรคระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งเป็นผลของพิษ (uremic toxins) ที่ไตไม่สามารถนำออกโดยส่วนหนึ่ง คนไข้ที่เป็นทั้งโรคไตเรื้อรังและโรคระบบหัวใจหลอดเลือดมีพยากรณ์โรคที่แย่กว่าผู้มีโรคระบบหัวใจหลอดเลือดเท่านั้นอย่างสำคัญ
- ยูเรียสะสมที่ก่อ azotemia คือภาวะมีสารประกอบไนโตรเจนในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งในที่สุดก็จะก่อ uremia คือภาวะมียูเรียในเลือดมากเกินโดยมีอาการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่ความเซื่องซึมไปจนถึงเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) และโรคสมอง เพราะมียูเรียสูงมากทั้งระบบ ร่างกายก็จะขับออกทางเหงื่อ และเพราะมีความเข้มข้นสูงก็จะตกผลึกที่ผิวหนังเมื่อเหงื่อระเหยไปหมด เป็นภาวะยูเรียตกผลึก คือ uremic frost
- โพแทสเซียมสะสมในเลือดจนเป็นภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดมากเกิน โดยจะมีอาการตั้งแต่ความละเหี่ยจนถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อาจทำให้เสียชีวิต ภาวะนี้ปกติจะไม่เกิดจนกระทั่งอัตราการกรองของไต (GFR) จะตกเหลือน้อยกว่า 20-25 mL/min/1.73 m2 เป็นระยะที่ไตสามารถขับโพแทสเซียมออกได้น้อยลง ภาวะนี้อาจแย่ลงเพราะเลือดเป็นกรด (เพราะเซลล์จะปล่อยโพแทสเซียมเข้าไปในเลือดเพื่อลดกรด) หรือการไร้อินซูลิน
- การมีน้ำมากเกินจะเกิดอาการตั้งแต่อาการบวมน้ำแบบอ่อน ๆ จนกระทั่งถึงปอดบวมน้ำซึ่งเสี่ยงชีวิต
- ภาวะเลือดมีฟอสเฟตเกินเป็นผลของการที่ไตขับฟอสเฟตออกไม่ได้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยทำให้เส้นเลือดแข็ง (vascular calcification) ความเข้มข้นของ FGF-23 (fibroblast growth factor-23) ในเลือดจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อไตขับฟอสเฟตออกได้น้อยลง ซึ่งอาจช่วยก่อภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโตเกิน แล้วเพิ่มอัตราตายของคนไข้
- ภาวะแคลเซียมต่ำในเลือดเกิดจากการขาด Calcitriol (รูปแบบหนึ่งของวิตามินดีที่ไตผลิต) (โดยมีเหตุจาก FGF-23 ระดับสูงและไตที่ฝ่อลง) และการไม่ตอบสนองของกระดูกต่อฤทธิ์ปรับแคลเซียมของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน เซลล์กระดูก osteocyte มีหน้าที่ผลิต FGF-23 ซึ่งเป็นสารยับยั้งเอนไซม์ 1-alpha-hydroxylase (25-Hydroxyvitamin D3 1-alpha-hydroxylase) ที่มีฤทธิ์แรง และ 1-alpha-hydroxylase ก็มีหน้าที่แปลง 25-hydroxycholecalciferol ให้เป็นวิตามีนดี 3 ในรูปแบบ 1,25 dihydroxyvitamin D3 คือ Calcitriol ต่อไปภาวะนี้จะแย่ลงเป็นภาวะฮอร์โมนต่อมพาราไทรอยด์สูงทุติยภูมิ (secondary hyperparathyroidism) ภาวะกระดูกผิดเพี้ยนเหตุไต (kidney osteodystrophy) และการแข็งตัวของหลอดเลือด (vascular calcification) ที่ทำให้หัวใจทำงานได้แย่ลง ผลสุดโต่งที่เกิดน้อยอย่างหนึ่งซึ่งตามมากก็คือภาวะ calciphylaxis ซึ่งเป็นรอยโรคทางผิวหนังที่เจ็บและไม่หายโดยคนไข้จะมีการคาดหมายคงชีพปกติไม่เกิน 1 ปี
- ความเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมของแร่ธาตุและกระดูกอาจ 1) ก่อความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมของแคลเซียม ฟอสฟอรัส (ฟอสเฟต) พาราไทรอยด์ฮอร์โมน และวิตามินดี 2) ก่อความผิดปกติในการผลัดเปลี่ยนกระดูก (bone turnover) ในการกลายเป็นกระดูก ปริมาตร การยาวออกของกระดูก (linear growth) หรือความแข็งแรง เป็นภาวะกระดูกผิดเพี้ยนเหตุไต และ 3) ก่อการแข็งตัว (calcification) ของเส้นเลือดและเนื้อเยื่ออ่อนอื่น ๆ โรคแร่ธาตุและกระดูกเหตุโรคไตเรื้อรังสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ไม่ดี
- ภาวะเลือดเป็นกรดเหตุเมแทบอลิก (metabolic acidosis) อาจเกิดจากการผลิตแอมโมเนียได้ไม่พอของไต (ที่เซลล์ของ proximal tubule) ภาวะเลือดเป็นกรดก็จะมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ และเพิ่มการเร้าได้ของเยื่อหุ้มหัวใจและเยื่อเซลล์ประสาทเพราะเกิดภาวะมีโพแทสเซียมในเลือดมากเกิน
- ภาวะเลือดจางจะสามัญโดยเฉพาะผู้ที่ต้องฟอกไต มีเหตุหลายอย่างรวมทั้งการอักเสบที่เพิ่มขึ้น การลดระดับอีริโทรโพอิติน และภาวะกรดยูริกเกินในเลือดจนทำให้ไขกระดูกไม่ทำงาน ภาวะเลือดจางแบบ hypoproliferative anemia ก็จะเกิดเพราะไตผลิตอีริโทรโพอิตินได้ไม่พอ
- สำหรับโรคระยะหลัง ๆ ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกอาจจะเกิด ทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจ ทำให้กล้ามเนื้อลีบ อ่อนแอ และก่อโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ
- งานวิจัยพบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่าคนไข้โรคไตเรื้อรังจะคิดอ่านได้แย่ลง (cognitive decline) และว่าคนไข้โรคไตเรื้อรังมีโอกาสร้อยละ 35-40 ที่จะเกิดสภาพความคิดอ่านเสื่อมหรือเกิดภาวะสมองเสื่อม โดยมีโอกาสมากขึ้นเมื่อโรคไตรุนแรงขึ้น แต่คนไข้ทุกระยะก็มีโอกาสเกิดปัญหาทางความคิดอ่านเช่นกัน
- ความผิดปกติทางเพศ (sexual dysfunction) จะสามัญในคนไข้โรคไตเรื้อรัง ชายส่วนมากจะต้องการทางเพศน้อยลง อวัยวะเพศจะไม่แข็งตัว ถึงจุดสุดยอดไม่ได้ โดยจะแย่ลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หญิงโดยมากจะมีความรู้สึกทางเพศน้อยลง มีปัญหาปวดประจำเดือน มีปัญหาเมื่อร่วมเพศและไม่ยินดีทางเพศ
เหตุ
จนถึงปี 2015 เหตุเกิดโรคไตเรื้อรังที่สามัญที่สุดก็คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ ผู้ใหญ่ที่มีความดันสูง 1/5 และที่เป็นเบาหวาน 1/3 จะมีโรคไตเรื้อรัง ถ้าไม่รู้เหตุ โรคก็จะเรียกว่า idiopathic (ไม่รู้เหตุ)
โรคโดยตำแหน่ง
- เป็นโรคหลอดเลือด รวมทั้งโรคหลอดเลือดใหญ่ เช่น เส้นเลือดแดงในใตตีบ (renal artery stenosis) และโรคหลอดเลือดเล็ก เช่น โรคไตเหตุขาดเลือด (ischemic nephropathy), กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตก-ยูรีเมีย และหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis)
- โรคกลุ่มกลอเมอรูไลต่าง ๆ ซึ่งอาจจัดเป็นหมวด ๆ คือ[]
- โรคกลอเมอรูไลปฐมภูมิ เช่น focal segmental glomerulosclerosis และ IgA nephropathy (หรือ nephritis)
- โรคกลอเมอรูไลทุติยภูมิ เช่น โรคไตจากเบาหวาน และโรคไตอักเสบเหตุลูปัส (lupus nephritis)
- โรคที่ renal interstitium รวม tubulointerstitial nephritis เรื้อรังที่เกิดจากยาหรือพิษ และโรคไตเหตุปัสสาวะไหลย้อน (reflux nephropathy)
- โรคไตเหตุอุดกั้น (obstructive nephropathy) โดยมีตัวอย่างเป็นโรคนิ่วไตและต่อมลูกหมากโต อนึ่ง แม้จะมีน้อย พยาธิเข็มหมุดที่เข้าไปที่ไตก็ก่อภาวะนี้ได้เหมือนกัน
อื่น ๆ
- โรคกรรมพันธุ์แต่กำเนิดเช่น โรคถุงน้ำในไต หรือ 17q12 microdeletion syndrome
- โรคไตมีโซอเมริกา (Mesoamerican nephropathy) เป็น "โรคไตรูปแบบใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าโรคไตเหตุเกษตรกรรม"
กรณีคนไข้โรคไตเรื้อรังใหม่ ๆ จำนวนมากและยังอธิบายไม่ได้ ซึ่งเรียกในเบื้องต้นว่า โรคไตมีโซอเมริกา พบในเกษตรกรชายในอเมริกากลาง โดยหลักในไร่อ้อยในพื้นที่ลุ่มของประเทศเอลซัลวาดอร์และนิการากัว เชื่อว่า ภาวะร้อนเกินเนื่องกับการทำงานเป็นเวลานานโดยได้รายได้ตามจำนวนลำอ้อยที่ตัดได้ในที่ที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูง ประมาณ 36 องศาเซลเซียส เป็นเหตุ หรือไม่ก็เป็นเพราะสารเคมีทางเกษตรกรรม
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยของโรคจะขึ้นอยู่กับประวัติคนไข้ การตรวจของแพทย์ การตรวจปัสสาวะ บวกกับการวัดค่าคริเอทีนินในเลือด การแยกแยะโรคไตเรื้อรัง (CKD) กับไตเสียหายเฉียบพลัน (AKI) เป็นเรื่องสำคัญเพราะอย่างหลังสามารถหายดีได้ อาการที่ช่วยแยกโรคจากกันก็คือคริเอทีนินที่เพิ่มขึ้นในเลือดอย่างค่อยเป็นค่อยไป (เป็นเดือน ๆ หรือปี ๆ) ไม่ใช่เพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด (เป็นวัน ๆ หรือสัปดาห์ ๆ) สำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรังเป็นจำนวนมาก การมีโรคไตมาก่อนหรือมีโรคอื่น ๆ ที่เป็นเหตุมาก่อนจะปรากฏอยู่แล้ว แต่ก็มีคนไข้จำนวนสำคัญที่ไม่รู้สาเหตุโรค[]
การตรวจคัดกรอง
ไม่แนะนำให้ตรวจคัดกรองผู้ที่ไม่มีอาการและไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง ผู้ที่ควรตรวจคัดกรองรวมทั้งผู้มีความดันสูง ผู้มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้เป็นโรคเบาหวาน ผู้เป็นโรคอ้วน ผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคไต ผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตจนถึงต้องฟอกไต[] การตรวจคัดกรองควรรวมการประมาณค่า GFR คือ eGFR จากระดับคริเอทีนินในเลือด การวัดอัตรา albumin/creatinine (ACR) จากปัสสาวะที่ถ่ายเป็นครั้งแรกในตอนเช้า (ซึ่งแสดงค่าโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ) และการใช้แผ่นวัดหาเลือดในปัสสาวะ
ค่า GFR ที่ได้จากค่าคริเอทีนินในเลือดจะแปรไปตาม 1/creatinine ซึ่งก็คือ ค่าคริเอทีนินยิ่งสูงเท่าไหร่ ค่า GFR ก็ต่ำลงเท่านั้น เป็นค่าแสดงการทำงานของไตด้านหนึ่ง คือแสดงว่ากลอเมอรูไลที่ทำหน้าที่กรองเลือดทำงานได้ดีแค่ไหน ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 90-120 ml/min โดยจะใช้หน่วยไม่เหมือนกันในประเทศต่าง ๆ กลอเมอรูไลมีมวลน้อยกว่าร้อยละ 5 ของไต ดังนั้นจึงไม่สามารถเป็นตัวแสดงสุขภาพหรือการทำหน้าที่ของไตได้หมดทุกส่วน ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อรวมค่า GFR กับการตรวจคนไข้ทางคลินิก กับการตรวจสถานะของเหลว การวัดระดับฮีโมโกลบิน โพแทสเซียม ฟอสเฟต และพาราไทรอยด์ฮอร์โมน[]
อัลตราซาวนด์
การใช้อัลตราซาวด์ตรวจไตอาจมีประโยชน์เพื่อวินิจฉัยและพยากรณ์โรคไตเรื้อรัง ไม่ว่าความผิดปกติทางพยาธิวิทยาจะเป็นเพราะกลอเมอรูไลแข็ง (glomerular sclerosis) ท่อไตฝ่อ (tubular atrophy) ช่องไตเป็นพังผืด (interstitial fibrosis) หรือไตอักเสบ เพราะผลก็คือไตส่วนนอกจะสะท้อนเสียงได้ดียิ่งขึ้น เสียงที่สะท้อนจากไตควรเทียบกับเสียงที่สะท้อนจากตับหรือจากม้าม (รูป 22 และ 23) อนึ่ง ขนาดไตที่ลงและไตส่วนนอกที่บางลงก็มักจะเห็นด้วย โดยเฉพาะเมื่อโรคแย่ลง (รูป 24 และ 25) แต่ขนาดไตมีสหสัมพันธ์กับความสูง เช่นคนเตี้ยก็จะมีไตเล็ก ดังนั้น ขนาดไตเพียงอย่างเดียวจึงไม่ใช่เกณฑ์ที่แน่นอน
- โรคไตเรื้อรังอันเกิดจากโรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ ซึ่งเพิ่มการสะท้อนเสียงและลดความหนาของไตส่วนนอก ขนาดของไตในรูปที่ได้จากสหรัฐนี้ ระบุโดย '+' และเส้นประ
- กลุ่มอาการเนโฟรติก จะเห็นภาพไตที่สะท้อนเสียงมากโดยแยกไตส่วนนอก (cortex) กับไตส่วนใน (medulla) ไม่ได้
- กรวยไตอักเสบเรื้อรังที่ทำให้ไตเล็กลง และทำให้ไตส่วนนอกบางลงเฉพาะจุด ขนาดของไตในรูปที่ได้จากสหรัฐนี้ ระบุโดย '+' และเส้นประ
- โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายจะมีเสียงสะท้อนเพิ่มขึ้น ส่วนต่าง ๆ จะดูเหมือนกันจนไม่มีความต่างระหว่างพาเรงคิมากับโพรงไต (renal sinus) อนึ่ง ไตก็จะเล็กลงด้วย ขนาดของไตในรูปที่ได้จากสหรัฐนี้ ระบุโดย '+' และเส้นประ
การสร้างภาพอื่น ๆ
วิธีการตรวจอื่นรวมทั้งการสร้างภาพไตด้วยไอโซโทปกัมมันตรังสี (MAG3 scan) เพื่อดูการเดินของเลือด และดูการทำงานต่างกันระหว่างไตทั้งสอง การสร้างภาพไตด้วย dimercaptosuccinic acid (DMSA) ก็มีใช้ด้วยเหมือนกัน โดยทั้ง MAG3 และ DMSA จะใช้เป็นตัวเกาะ (แบบคีเลชัน) กับสารกัมมันตรังสี technetium-99
ตัวบ่งชี้ว่าไตเสียหาย
เกณฑ์เหล่านี้ ใช้ร่วมกันกับค่า GFR ในตารางที่กล่าวต่อไปข้างหน้า
- การมีอัลบูมินมากเกินในปัสสาวะ (Albuminuria: AER >30 mg/24 hours; ACR >30 mg/g)
- การตกตะกอนผิดปกติในปัสสาวะ
- ความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์และอื่น ๆ เนื่องกับภาวะโรคของท่อในไต (tubular disorders)
- ความผิดปกติของไตที่พบทางมิญชวิทยาเมื่อตัดเนื้อไตไปตรวจ
- ความผิดปกติทางโครงสร้างที่พบด้วยการสร้างภาพต่าง ๆ
- การมีประวัติปลูกถ่ายไต
ระยะ
ระยะของโรคไตเรื้อรัง - CKD G1-5 A1-3 glomerular filtration rate (GFR) และ albumin/creatinine ratio (ACR) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ACR | ||||||
A1 | A2 | A3 | ||||
ปกติจนสูงขึ้นเล็กน้อย | สูงพอสมควร | สูงมาก | ||||
<30 | 30-300 | >300 | ||||
G F R | ||||||
G1 | ปกติ | ≥ 90 | 1 ถ้าไตเสียหาย | 1 | 2 | |
G2 | แย่ลงเล็กน้อย | 60-89 | 1 ถ้าไตเสียหาย | 1 | 2 | |
G3a | แย่ลงเล็กน้อยจนถึงปานกลาง | 45-59 | 1 | 2 | 3 | |
G3b | แย่ลงปานกลางจนถึงมาก | 30-44 | 2 | 3 | 3 | |
G4 | แย่ลงมาก | 15-29 | 3 | 4+ | 4+ | |
G5 | ไตวาย | <15 | 4+ | 4+ | 4+ | |
เลข 1-4 แสดงโอกาสเสี่ยงโรคแย่ลงและจำนวนครั้งที่ต้องให้แพทย์ตรวจต่อปี จาก Kidney Disease Improving Global Outcomes - KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease |
อัตราการกรองของไต (glomerular filtration rate, GFR) ที่ ≥ 60 mL/min/1.73 m2 ถือว่าปกติคือไม่มีโรคไตเรื้อรังโดยไตต้องไม่เสียหาย ไตจัดว่าเสียหายถ้ามีความปกติที่พบในเลือด ปัสสาวะ หรือภาพสร้าง เช่น ค่าวัต albumin/creatinine ratio (ACR) ≥ 30 แต่ทุกคนที่มี GFR <60 mL/min/1.73 m2 เป็นเวลา 3 เดือนก็จัดว่ามีโรคไตเรื้อรัง การมีโปรตีนในปัสสาวะเป็นตัวบ่งชี้อิสระว่า ไตทำงานได้แย่ลงและโรคระบบหัวใจหลอดเลือดกำลังแย่ลง ดังนั้น แนวทางปฏิบัติของบริติชจะให้เขียนอักษร "P" ต่อท้ายเลขระยะโรคไตถ้ามีการเสียโปรตีนอย่างสำคัญ
- ระยะ 1: ไตทำงานได้แย่ลงเล็กน้อย โดยไตมีความเสียหายโดยค่า GFR จะสูงหรือปกติ คือ ≥90 mL/min/1.73 m2 แต่จะมีอัลบูมินในปัสสาวะอย่างคงยืน ไตเสียหายนิยามว่ามีความผิดปกติทางพยาธิวิทยา หรือมีตัวบ่งชี้ว่าเสียหายรวมทั้งความผิดปกติในเลือด หรือในปัสสาวะ หรือในภาพที่สร้าง
- ระยะ 2: GFR ลดลงเล็กน้อยคือ 60-89 mL/min/1.73 m2 และมีไตเสียหาย ไตเสียหายนิยามว่า มีความผิดปกติทางพยาธิวิทยา หรือมีตัวบ่งชี้ว่าเสียหายรวมทั้งความผิดปกติในเลือด หรือในปัสสาวะ หรือในภาพที่สร้าง
- ระยะ 3: GFR ลดลงอย่างพอสมควรคือ 30-59 mL/min/1.73 m2 แนวทางปฏิบัติบริติชยังแยกแยะระหว่างระยะ 3A (GFR 45-59) และ 3B (GFR 30-44) เพื่อประโยชน์ในการตรวจคัดกรองและการส่งต่อหาแพทย์เฉพาะทาง
- ระยะ 4: GFR ลดลงอย่างมากคือ 15-29 mL/min/1.73 m2 เป็นระยะเตรียมการบำบัดทดแทนไต
- ระยะ 5: ระยะไตวายคือ GFR <15 mL/min/1.73 m2 ต้องบำบัดทดแทนไต (kidney replacement therapy) เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESKD)
คำว่า "non-dialysis-dependent chronic kidney disease" (NDD-CKD) หมายถึงสภาวะโรคที่ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว แต่ยังไม่ต้องรักษาภาวะไตวายเพื่อพยุงชีวิต เป็นการรักษาที่เรียกว่าการบำบัดทดแทนไต (RRT) ซึ่งรวมการฟอกไตและการปลูกถ่ายไต คนไข้โรคไตเรื้อรังที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีเช่นนี้จัดว่าเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end-stage kidney disease ตัวย่อ ESKD) ดังนั้น โรคไตระยะสุดท้ายจึงเป็นโรคไตเรื้อรังที่คืนสภาพเดิมไม่ได้ แม้คนไข้ระยะ 1-4 จะจัดว่าเป็น NDD-CKD แต่คนไข้ระยะ 5 ที่ยังไม่ได้เริ่มฟอกไตหรือเปลี่ยนไต ก็ยังจัดว่าเป็น NDD-CKD เช่นกัน
การรักษา
โรคไตเรื้อรังเป็นโรคหนักที่มักจะสัมพันธ์กับโรคเบาหวานและความดันเลือดสูง เป็นโรคที่รักษาให้หายไม่ได้ แต่การเปลี่ยนวิถีชีวิตและการกินยาสามารถช่วยชะลอโรค ซึ่งอาจรวมการทานอาหารที่มีผักผลไม้มาก มีโปรตีนและเกลือน้อยลง ทานยาเพื่อคุมความดันเลือดและระดับน้ำตาล และทานยาใหม่ ๆ ที่ช่วยลดการอักเสบของไต แพทย์อาจรักษาเพื่อจำกัดความเสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันไม่ให้ไตเสียหายยิ่งขึ้น แม้การฟอกไตอาจจะจำเป็นในที่สุด แต่การชะลอโรคก็จะช่วยให้ใช้ไตได้นานที่สุด มีงานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้รักษาโรคได้ดีขึ้นและให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ความดันโลหิต
แนะนำให้ใช้สารยับยั้งเอซีอี (ACEIs) หรือแองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ (ARBs) เป็นยารักษาอันดับแรกเพราะพบว่าชะลอการแย่ลงของไตเมื่อเทียบกับคนไข้ที่ไม่ได้ยาเหล่านี้ ยังพบว่าลดความเสี่ยงปัญหาโรคหัวใจและเลือดหลัก ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ภาวะหัวใจวาย และความตายจากโรคหัวใจหลอดเลือดเมื่อเทียบกับคนไข้ที่กินยาหลอก ACEIs อาจจะดีกว่า ARBs ในการป้องกันไม่ให้โรคแย่ลงไปจนถึงไตวายแล้วตายโดยเหตุทุกอย่างสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรัง การโหมรักษาความดันเลือดจะลดความเสี่ยงตายของคนไข้
วิธีอื่น ๆ
- แนะนำให้โหมรักษาไขมันในเลือดสูง
- การกินอาหารมีโปรตีนต่ำ มีเกลือน้อย อาจทำให้โรคแย่ช้าลง ช่วยลดโปรตีนในปัสสาวะ ช่วยควบคุมอาการของโรคไตระยะหลัง ๆ และชะลอการเริ่มฟอกไต การจัดสรรอาหารที่มีโปรตีนน้อย มีภาวะเป็นกรดน้อย อาจช่วยป้องกันความเสียหายต่อไตสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรัง อนึ่ง การลดกินเกลือ จะช่วยลดอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ลดความดัน และลดภาวะมีอัลบูมินในปัสสาวะ
- ภาวะเลือดจาง - แนะนำให้รักษาระดับฮีโมโกลบินให้อยู่ในระหว่าง 100-120 g/L
- แนวทางปฏิบัติต่าง ๆ แนะนำให้รักษาด้วยธาตุเหล็กที่ไม่อาศัยการกิน ก่อนจะรักษาด้วยอีริโทรโพอิติน
- การให้อีริโทรโพอิตินมักจำเป็นสำหรับคนไข้ระยะท้าย ๆ
- ไม่ชัดเจนว่าฮอร์โมนแอนโดรเจนจะช่วยให้ภาวะเลือดจางดีขึ้นหรือไม่
- แนะนำให้ใช้ calcitriol เพื่อรักษาการขาดวิตามินดีและควบคุมโรค metabolic bone disease
- ใช้ยา phosphate binders เพื่อควบคุมระดับฟอสเฟตในเลือด ซึ่งมักมีระดับสูงในคนไข้โรคไตเรื้อรังระยะท้าย ๆ
- ยา phosphodiesterase-5 inhibitors และธาตุสังกะสีจะช่วยเรื่องความผิดปกติทางเพศสัมพันธ์ (sexual dysfunction) สำหรับคนไข้ชาย
การเปลี่ยนวิถีชีวิต
การลดน้ำหนัก
โรคอ้วนอาจมีผลลบต่อโรคไตเรื้อรัง คือเพิ่มความเสี่ยงที่โรคจะแย่ลงจนเป็นโรคไตระยะสุดท้ายหรือจนไตวาย เทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีน้ำหนักปกติ และในระยะสุดท้าย ๆ ก็จะตกอยู่ในเกณฑ์ไม่ให้รักษาโดยเปลี่ยนไต ตัวอย่างเช่น การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูงและมีฟรักโทสมากอาจทำให้บุคคล "มีโอกาสมีโรคไตเรื้อรังมากกว่าคนทั่วไปในอัตราร้อยละ 60"
มีงานศึกษาการลดน้ำหนักในผู้ใหญ่ที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนและมีโรคไตเรื้อรังในระยะต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิผล การปริทัศน์เป็นระบบปี 2021 เก็บหลักฐานมาจากการศึกษา 17 งานซึ่งตรวจสอบวิถีชีวิตรวมทั้งอาหาร การออกกำลังกาย และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ทำต่างหาก ๆ หรือทำร่วมกับวิธีอื่น ๆ แล้วสรุปว่า การเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจมีประโยชน์ทางสุขภาพ รวมทั้งมีน้ำหนักที่ดีขึ้น ลดไขมันไม่ดีคือไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำ (LDL) ลดความดันโลหิต (DBP) เมื่อเทียบกับวิธีการรักษาปกติหรือเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่จะช่วยลดเหตุการณ์ทางหลอดเลือดและหัวใจ ช่วยรักษาการทำงานของไต หรือว่าช่วยลดความเสี่ยงตายหรือไม่ก็ยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ดี ข้อสรุปเหล่านี้ก็อาศัยหลักฐานคุณภาพต่ำมาก ดังนั้น การศึกษาที่ดีกว่านี้ในอนาคตจึงจำเป็น
การกินเกลือแต่ละวัน
การกินอาหารที่มีเกลือสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคความดันสูงและโรคหลอดเลือดและหัวใจ งานทบทวนแบบคอเคลนปี 2021 ได้ทบทวนงานศึกษามีกลุ่มควบคุมสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรังทุกระยะรวมทั้งคนที่กำลังฟอกไต แล้วพบหลักฐานที่แน่นอนสูงว่า การลดเกลือจะช่วยลดความดันเลือดทัั้งช่วง systolic และ diastolic และการมีอัลบูมินในปัสสาวะ แต่ก็มีหลักฐานแน่นอนปานกลางด้วยว่า บางคนอาจเกิดอาการความดันต่ำ เช่นเวียนหัว หลังจากจำกัดเกลืออย่างฉับพลัน ส่วนผลการจำกัดเกลือต่อน้ำนอกเซลล์ การบวมน้ำ และการลดน้ำหนักตัวยังไม่ชัดเจน
การกินกรดไขมันโอเมกา-3
คนไข้โรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกไตมีความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันเพราะเลือดแข็งตัว ดังนั้น อาจทำให้ฟอกไตไม่ได้ กรดไขมันโอเมกา-3 อาจช่วยให้ร่างกายผลิตโมเลกุล eicosanoid ซึ่งจะลดการแข็งตัวของเลือด แต่งานทบทวนแบบคอเครนปี 2018 ก็ไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่าการกินกรดไขมันโอเมกา-3 เป็นอาหารเสริมจริง ๆ จะช่วยป้องกันเส้นเลือดไม่ให้อุดตันสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรัง มีหลักฐานที่แน่นอนระดับปานกลางว่า การกินเป็นอาหารเสริมไม่ได้ช่วยป้องกันการเข้าโรงพยาบาลหรือการตายภายใน 12 เดือน
การกินอาหารเสริมเป็นโปรตีน
มีหลักฐานแน่นอนปานกลางว่า การกินอาหารเป็นโปรตีนเป็นประจำอาจเพิ่มระดับอัลบูมินในเลือดเล็กน้อยสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่ต้องฟอกไต หรือว่าผู้ที่ขาดอาหาร ระดับ transthyretin (หรือ prealbumin) และขนาดกล้ามเนื้อกลางต้นแขนอาจเพิ่มหลังจากได้อาหารเสริมแต่ความแน่นอนของหลักฐานก็ต่ำ แม้ตัวบ่งชี้สถานะทางอาหารเหล่านี้ดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าอาหารเสริมเป็นโปรตีนมีผลต่อคุณภาพชีวิต ต่อการคาดหมายคงชีพ การอักเสบ หรือองค์ประกอบร่างกายหรือไม่
การกินธาตุเหล็กเสริม
งานทบทวนแบบคอเครนที่ตรวจสอบงานศึกษามีกลุ่มควบคุมซึ่งเปรียบเทียบการให้ธาตุเหล็กผ่านเส้นเลือดกับการให้กินธาตุเหล็กเสริม พบหลักฐานที่แน่นอนน้อยว่า คนไข้ที่ได้ธาตุเหล็กผ่านเส้นเลือดมีโอกาสมีฮีโมโกลบินถึงระดับที่เป็นเป้าหมาย 1.71 เท่ายิ่งกว่า ฮีโมโกลบินโดยทั่วไปจะมีระดับ 0.71g/dl สูงกว่าคนไข้ที่กินธาตุเหล็ก เหล็กที่เก็บไว้ในตับซึ่งประเมินโดยระดับเฟอร์ริตินในเลือดก็มีค่า 224.84 µg/L สูงกว่าด้วย แต่ก็มีหลักฐานที่แน่นอนน้อยเหมือนกันว่า ปฏิกิริยาแพ้มีโอกาสเกิดมากกว่าเมื่อให้ธาตุเหล็กทางเลือด ไม่ชัดเจนว่าวิธีการให้ธาตุเหล็กมีผลต่อความเสี่ยงตายจากเหตุทุกอย่างรวมทั้งเหตุการณ์ทางหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ และก็ไม่ชัดเจนด้วยว่าจะลดจำนวนคนไข้ที่ต้องถ่ายเลือดหรือต้องฟอกไตได้หรือไม่
การนอน
คนไข้โรคไตเรื้อรังจะมีปัญหาการนอน ไม่สามารถนอนหลับได้ดี มีวิธีหลายอย่างที่อาจจะช่วยเช่นเทคนิคการผ่อนคลาย การออกกำลังกาย การฝังเข็ม และยา
- การออกกำลังกาย - มีหลักฐานอ่อนที่แสดงว่าการออกกำลังกายอาจช่วยการนอน อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายน่าจะช่วยลดความอ่อนเพลียและความซึมเศร้าในคนไข้โรคไตเรื้อรังได้
- การฝังเข็ม - หลักฐานชี้ว่าเทคนิคนี้อาจมีผลเล็กน้อยคือช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น นอนได้นานขึ้น และช่วยลดความอ่อนเพลีย แม้ผลจะไม่ค่อยแน่นอนเนื่องจากความต่างกันของข้อสรุปในงานศึกษาต่าง ๆ แม้จะได้ตรวจดูวิธีต่าง ๆ แต่หลักฐานก็ไม่แสดงว่า วิธีเหล่านั้นมีผลรักษาความผิดปกติในการนอน จึงไม่สามารถสรุปว่าอะไรเป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอนของคนไข้โรคไตเรื้อรัง
การรักษาทาง eHealth
ปัจจุบันยังมีหลักฐานค่อนข้างจำกัดซึ่งแสดงว่าการรักษาทาง eHealth คือการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการติดต่อ ติดตาม และรักษาคนไข้ อาจช่วยเรื่องจำกัดการกินเกลือ และการบริหารการบวมน้ำสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรัง แต่ก็เป็นหลักฐานที่แน่นอนต่ำจากงานศึกษา 43 งาน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีงานศึกษาที่ใหญ่กว่าและมีคุณภาพดีกว่า เพื่อให้เข้าใจผลของการรักษาทาง eHealth ต่อคนไข้โรคไตเรื้อรัง
การส่งคนไข้ต่อให้กับแพทย์วักกวิทยา
แนวทางปฏิบัติในการส่งคนไข้ต่อไปหาแพทย์วักกวิทยาจะไม่เหมือนกันในประเทศต่าง ๆ แต่โดยมากก็เห็นเหมือนกันว่า จะต้องทำสำหรับคนไข้ระยะ 4 คือเมื่อ eGFR/1.73m2 < 30 mL/min หรือเมื่อลดลงยิ่งกว่า 3 mL/min/year
แต่นี่ก็อาจจะมีประโยชน์สำหรับคนไข้ระยะก่อนหน้านี้ด้วย (เช่น ระยะ 3) เมื่ออัตราอัลบูมินต่อคริเอทีนินเกิน 30 mg/mmol หรือเมื่อควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ หรือเมื่อมีโลหิตในปัสสาวะ หรือมีอาการอื่น ๆ ที่ชี้ว่าเป็นโรคกลอเมอรูไลแบบปฐมภูมิ หรือเป็นโรคทุติยภูมิที่อาจจะรักษาได้โดยวิธีโดยเฉพาะ ประโยชน์อื่น ๆ ของการส่งต่อคนไข้ให้กับแพทย์วักกวิทยารวมทั้งการได้ข้อมูลอย่างละเอียดในเรื่องการฟอกไต/ปลูกถ่ายไต
การบำบัดทดแทนไต
เมื่อถึงระยะที่ 5 คนไข้ปกติจะต้องได้การบำบัดทดแทนไต (RRT) ไม่ว่าจะเป็นการฟอกไตหรือการปลูกถ่ายไต
เมื่อมีโรคไตเรื้อรัง สารพิษต่าง ๆ ที่ปกติไตจะนำออกก็จะสะสมอยู่ในเลือด แม้เมื่อคนไข้ระยะสุดท้ายจะได้การฟอกไต แต่ระดับสารพิษก็จะไม่กลับสู่ค่าปกติเพราะการฟอกไตไม่มีประสิทธิภาพพอ และเช่นเดียวกัน แม้หลังจากการปลูกถ่ายไต ระดับพิษก็อาจจะไม่กลับไปสู่ค่าปกติเพราะไตที่ปลูกถ่ายอาจจะทำงานได้ไม่เต็มร้อย แต่ถ้าเมื่อทำได้ ระดับคริเอทีนินก็มักจะปกติ สารพิษจะมีฤทธิ์เป็นพิษต่าง ๆ ต่อเซลล์ ปรากฏในเลือดโดยมีมวลโมเลกุลต่าง ๆ กัน บางอย่างจะจับอยู่กับโปรตีนอื่น ๆ โดยหลักกับอัลบูมิน สารพิษเพราะไตเสื่อมสามารถจัดเป็นหมวด 3 หมวดคือ สารละลายน้ำขนาดเล็ก สารละลายน้ำขนาดกลาง และสารละลายที่จับอยู่กับโปรตีน
การชำระเลือดผ่านเยื่อแบบ high-flux หรือการรักษาที่ใช้เวลานานหรือทำบ่อย ๆ และการเพิ่มอัตราการไหลระหว่างเลือดกับสารฟอก (dialysate) ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดสารพิษละลายน้ำที่มีขนาดเล็ก สารพิษขนาดกลางจะกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าถ้าใช้เยื่อ high-flux และใช้วิธี hemodiafiltration และ hemofiltration แต่การฟอกไตก็ยังมีความจำกัดในการกำจัดสารพิษที่จับอยู่กับโปรตีน
พยากรณ์โรค
โรคไตเรื้อรังจะเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยคนไข้ยังมักจะมีความเสี่ยงอื่น ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจอีกด้วยเช่น ภาวะสารไขมันสูงในเลือด เหตุความตายที่สามัญที่สุดในคนไข้โรคไตเรื้อรังก็คือโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ใช่ไตวาย
การมีโรคไตเรื้อรังมีผลเป็นอัตราตายเนื่องกับเหตุทุกอย่างที่แย่กว่า ซึ่งจะแย่ลงเรื่อย ๆ เมื่อไตทำงานได้น้อยลง เหตุตายที่สำคัญที่สุดก็คือโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ว่าคนไข้จะแย่ลงจนถึงระยะ 5 หรือไม่
แม้การบำบัดทดแทนไตอาจจะช่วยรักษาให้มีชีวิตอยู่ได้นาน แต่คุณภาพชีวิตก็จะแย่ลง การปลูกถ่ายไตจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตสำหรับคนไข้ระยะ 5 เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ แต่ก็เพิ่มโอกาสการตายในระยะสั้นเพราะผลข้างเคียงของการผ่าตัด นอกเหนือจากการปลูกถ่ายไต การฟอกไตที่บ้าน (high-intensity) ดูจะสัมพันธ์กับการรอดชีวิตที่ดีขึ้นและกับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการชำระเลือดผ่านเยื่อ 3 ครั้งต่ออาทิตย์และการชำระเลือดผ่านเยื่อบุช่องท้อง
คนไข้ระยะสุดท้ายจะเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้น โดยความเสี่ยงจะสูงมากสำหรับคนที่อายุน้อย ความเสี่ยงจะค่อย ๆ น้อยลง ตามอายุ องค์กรทางแพทย์เฉพาะทางแนะนำว่า แพทย์ไม่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับคนไข้ที่มีความคาดหมายคงชีพน้อยเหตุโรคไตเรื้อรัง เพราะหลักฐานชี้ว่าไม่ได้ทำให้ผลลัพธ์ดีขึ้น
ในเด็กโรคไตเรื้อรัง การไม่โตเป็นผลข้างเคียงสามัญ คนไข้เด็กจะสูงน้อยกว่าเด็กอายุเดียวกันและเพศเดียวกันร้อยละ 97 อื่น ซึ่งอาจรักษาได้ด้วยการให้อาหารเสริม หรือยาเช่น Growth hormone
โอกาสรอดชีวิตโดยไม่ฟอกไต
งานทบทวนปี 2022 ได้ตรวจสอบการรอดชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนไข้ที่ตัดสินใจไม่ฟอกไตเมื่อเป็นโรคระยะสุดท้าย เป็นงานศึกษาตามยาว (หรืองานศึกษาตามแผน) 41 งาน โดยรวมคนไข้ 5,102 คน อายุเฉลี่ยของคนไข้ต่องานอยู่ที่ 60-70 ปี eGFR เฉลี่ยเมื่อตัดสินใจไม่ฟอกไตต่องานอยู่ที่ระหว่าง 7-19 ml/min/1.73 m2
การรอดชีวิตมัธยฐานต่องานอยู่ที่
- ทั้ง 41 งาน - 1-41 เดือน
- งานศึกษาจากยุโรปแผ่นดินใหญ่ (จากงาน 11 งานโดยรวมคนไข้ 1,021 คน) - 6-37 เดือน
- งานศึกษาจากเอเชีย (จากงาน 7 งานโดยรวมคนไข้ 1,147 คน) - 7-41 เดือน
- อายุ 70-79 ปี (จากงาน 9 งานโดยรวมคนไข้ 607 คน) - 7-41 เดือน
- อายุ 80+ (จากงาน 25 งานโดยรวมคนไข้ 3,186 คน) - 1-37 เดือน
การรอดชีวิตนานที่สุดต่องานจากงานศึกษา 3 งานที่มีค่ามัธยฐานสูงสุดอยู่ที่ 82, 79 และ 75 เดือน
ในช่วง 8-24 เดือน คนไข้จะมีความสุขทางจิตใจที่ดีขึ้น ส่วนความอยู่เป็นสุขทางกายและคุณภาพชีวิตโดยทั่วไปจะสม่ำเสมอจนกระทั่งถึงระยะสุดท้ายของโรค
นักวิจัยผู้ทบทวนจึงได้สรุปว่า "ผลที่เราค้นพบได้ท้าทายแนวคิดผิด ๆ ที่สามัญว่า ทางเลือกอื่นเดียวจากการฟอกไตสำหรับคนไข้โรคไตเรื้อรังระยะท้าย ๆ ก็คือ ไม่ดูแลหรือว่าตาย"
งานทบทวนปี 2021 ได้วิเคราะห์งานศึกษา 25 งานที่ได้เปรียบเทียบระยะการรอดชีวิตกับคุณภาพชีวิตในบรรดาคนไข้ที่ฟอกไตและไม่ฟอก การรอดชีวิตทั่วไปจะนานกว่าเมื่อฟอกไต แต่เมื่อถึงอายุ 80 ปีขึ้นและในคนไข้อายุมากผู้มีโรคที่เกิดร่วมกัน (comorbidities) ผลเช่นนี้จะไม่แน่นอน สำหรับคุณภาพชีวิต มีแนวโน้มว่าคนไข้ที่ไม่ฟอกไตจะดีกว่า
วิทยาการระบาด
โรคไตเรื้อรัง (CKD) ได้กลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพประชาชนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และอาจลุกลามสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) ซึ่งต้องรักษาด้วยการฟอกไตหรือปลูกถ่ายไต
การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า อัตราการเกิดและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 13 ของประชากรในปี 2004 โดยความชุกของโรคไตเรื้อรังในระยะเริ่มต้นนั้น พบได้มากกว่าระยะที่เป็นโรคมากถึง 100 เท่า
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2552 ที่ศึกษากลุ่มอาสาสมัครอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 3,459 คนจากอำเภอ 20 อำเภอในจังหวัด 10 จังหวัดโดยอาศัยการคำนวณอัตราการกรองของไตจากสมการ MDRD แสดงว่า ประชากรไทยมีอัตราการป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-5 อยู่ที่ร้อยละ 17.5 โดยความชุกของโรคเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ พบมากที่สุดในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และที่น่ากังวลคือ คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรังเป็นเหตุการเสียชีวิต 956,000 รายทั่วโลกในปี 2013 โดยเพิ่มขึ้นจาก 409,000 รายในปี 1990
โรคไตเรื้อรังอันไม่ทราบสาเหตุ
โรคไตเรื้อรังบางกรณีจะไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะระบุว่าเป็น chronic kidney disease of unknown aetiology (CKDu) เมื่อประเมินในปี 2020 ความชุกได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าแปลกใจในไม่กี่ทศวรรษในเขตต่าง ๆ ของอเมริกากลางและเม็กซิโก เป็น CKDu ที่เรียกว่า Mesoamerican nephropathy (MeN) ในปี 2013 ประเมินว่ามีชาย 20,000 คนที่ได้เสียชีวิตก่อนวัย บางคนอยู่ในช่วงวัย 20 หรือ 30 เท่านั้น ต่อมาในปี 2020 ประเมินว่ามีชาย 40,000 คนที่ได้เสียชีวิต ในเขตที่มีอุบัติการณ์นี้ การเสียชีวิตเพราะโรคไตเรื้อรังอาจมากเป็น 5 เท่าของอัตราทั่วประเทศ โดยมากเกิดกับเกษตรกรไร่อ้อย แม่จะยังไม่รู้เหตุ แต่ในปี 2020 นักวิชาการก็ได้พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการทำงานหนักในเขตที่ร้อนมากกับอุบัติการณ์โรคไตเรื้อรังอันไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น การกินน้ำบ่อย ๆ การพักผ่อนและการได้ร่มเงา ก็อาจจะลดอุบัติการณ์โรคเช่นนี้ได้ CKDu ยังมีผลต่อชาวศรีลังกาโดยเป็นเหตุให้เสียชีวิตในโรงพยาบาลมากที่สุดเป็นอันดับ 8
เชื้อชาติ
คนแอฟริกา คนเชื้อสายสเปน (Hispanic) คนเอเชียใต้ โดยเฉพาะจากปากีสถาน ศรีลังกา บังกลาเทศ และอินเดีย มีความเสี่ยงเกิดโรคไตเรื้อรังสูง คนแอฟริกาเสี่ยงเพราะผู้เป็นโรคความดันสูงมีอัตราสูงมาก ยกตัวอย่างในสหรัฐเช่น คนเชื้อสายแอฟริกาที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายร้อยละ 37 มีเหตุจากความดันสูงเทียบกับร้อยละ 19 ในบรรดาคนผิวขาว ประสิทธิภาพในการรักษาก็ยังต่างกันระหว่างเชื้อชาติต่าง ๆ อีกด้วย ในบรรดาคนขาว การให้ยาแก้ความดันปกติจะป้องกันไม่ให้โรคแย่ลง แต่มักจะมีผลน้อยในการชะลอโรคไตในบรรดาคนดำ ซึ่งมักจะต้องรักษาเพิ่มเช่น โดยใช้ bicarbonate therapy แม้สถานะทางสังคมเศรษฐกิจจะมีผลต่อการเกิดโรค แต่ความต่างการเกิดโรคระหว่างคนดำกับคนขาวเมื่อควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ แล้วก็ยังชัดเจนอยู่ดี
แม้การเกิด CKDu จะได้บันทึกเป็นการเป็นงานในชาวเกษตรกรไร่อ้อยในประเทศคอสตาริกาในช่วงทศวรรษ 1970 แต่จริง ๆ ก็อาจจะมีผลต่อเกษตรกรเมื่อเริ่มปลูกอ้อยในเขตแคริบเบียนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1600 แล้ว ในช่วงล่าอาณานิคม บันทึกการเสียชีวิตของทาสชาวไร่อ้อยมีอัตราสูงกว่าทาสที่ทำงานอื่น ๆ
สัตว์อื่น ๆ
สุนัข
อัตราการเกิดโรคไตเรื้อรังของสุนัขอยู่ที่ 15.8 กรณีต่อ 10,000 ตัว-ปี อัตราการตายอยู่ที่ 9.7 กรณีต่อ 10,000 ตัว-ปี (อัตราได้มาจากข้อมูลประกันสุนัขประเทศสวีเดน 600,000 ตัว อัตราความเสี่ยงที่ 1 ตัว-ปี ก็คือ สุุนัขตัวหนึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นเวลาหนึ่งปี) พันธุ์ที่มีอัตราเสี่ยงสูงสุดคือ Bernese mountain dog, miniature schnauzer และบ็อกเซอร์ พันธุ์ที่มีอัตราเสี่ยงน้อยสุดคือ Swedish Elkhound, ไซบีเรียนฮัสกี และ Finnish spitz
แมว
แมวที่มีโรคไตเรื้อรังอาจจะสะสมสารพิษที่ปกติไตจะกำจัด แมวอาจจะดูเหมือนเซื่องซึม สกปรก ผอม และอาจมีความดันสูง อาจจะทำให้ปัสสาวะผิดปกติ ทำให้แมวปัสสาวะมากกว่าปกติ จึงต้องกินน้ำเพิ่ม การเสียโปรตีนและวิตามินที่สำคัญทางปัสสาวะ อาจทำให้เมแทบอลิซึมผิดปกติและไม่อยากอาหาร การสะสมกรดในเลือดอาจจะมีผลเป็นภาวะกรดเกิน แล้วเกิดภาวะเลือดจาง (ซึ่งอาจจะทำให้เหงือกปรากฏเป็นสีชมพูหรือขาว ๆ แต่การมีเหงือกสีปกติก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีภาวะเลือดจาง) และความเซื่องซึม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Bikbov, B; Perico, N; Remuzzi, G (2018-05-23). "Disparities in Chronic Kidney Disease Prevalence among Males and Females in 195 Countries: Analysis of the Global Burden of Disease 2016 Study". Nephron. 139 (4): 313–318. doi:10.1159/000489897. PMID 29791905.
- "What Is Chronic Kidney Disease?". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. June 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-12-19.
- Liao, MT; Sung, CC; Hung, KC; Wu, CC; Lo, L; Lu, KC (2012). "Insulin resistance in patients with chronic kidney disease". Journal of Biomedicine & Biotechnology. 2012: 691369. doi:10.1155/2012/691369. PMC 3420350. PMID 22919275.
- "Kidney Failure". MedlinePlus (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
- "What is renal failure?". Johns Hopkins Medicine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-18.
- Wang, H; Naghavi, M; Allen, C; Barber, RM; Bhutta, ZA; Carter, A; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
{{}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|last7=
((help)) - Appel, LJ; Wright, JT; Greene, T; Kusek, JW; Lewis, JB; Wang, X; และคณะ (April 2008). "Long-term effects of renin-angiotensin system-blocking therapy and a low blood pressure goal on progression of hypertensive chronic kidney disease in African Americans". Archives of Internal Medicine. 168 (8): 832–9. doi:10.1001/archinte.168.8.832. PMC 3870204. PMID 18443258.
- "Chronic Kidney Disease Tests & Diagnosis". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. October 2016. สืบค้นเมื่อ 2017-12-19.
- "Kidney Failure". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 2017-11-11.
- "Managing Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. October 2016.
- KDIGO: Kidney Disease Improving Global Outcomes (August 2009). (PDF). Kidney Int. 76 (Suppl 113). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-13.
- Go, AS; Chertow, GM; Fan, D; McCulloch, CE; Hsu, CY (September 2004). "Chronic kidney disease and the risks of death, cardiovascular events, and hospitalization". The New England Journal of Medicine. 351 (13): 1296–1305. doi:10.1056/NEJMoa041031. PMID 15385656.
- "Summary of Recommendation Statements". Kidney International Supplements. 3 (1): 5–14. January 2013. doi:10.1038/kisup.2012.77. PMC 4284512. PMID 25598998.
- Ferri, FF (2017). Ferri's Clinical Advisor 2018 E-Book: 5 Books in 1 (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. pp. 294–295. ISBN .
- Xie, X; Liu, Y; Perkovic, V; Li, X; Ninomiya, T; Hou, W; และคณะ (May 2016). "Renin-Angiotensin System Inhibitors and Kidney and Cardiovascular Outcomes in Patients With CKD: A Bayesian Network Meta-analysis of Randomized Clinical Trials". American Journal of Kidney Diseases (Systematic Review & Meta-Analysis). 67 (5): 728–41. doi:10.1053/j.ajkd.2015.10.011. PMID 26597926.
- Wile, D (September 2012). "Diuretics: a review". Annals of Clinical Biochemistry. 49 (Pt 5): 419–31. doi:10.1258/acb.2011.011281. PMID 22783025.
- James, PA; Oparil, S; Carter, BL; Cushman, WC; Dennison-Himmelfarb, C; Handler, J; และคณะ (February 2014). "2014 evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adults: report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8)". JAMA. 311 (5): 507–20. doi:10.1002/14651858.CD011339.pub2. PMC 6485696. PMID 24352797.
- "Eating Right for Chronic Kidney Disease|NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.
- "Anemia in Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. July 2016. สืบค้นเมื่อ 2017-12-19.
- "Mineral & Bone Disorder in Chronic Kidney Disease". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. November 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-19.
- Tjempakasari, A; Suroto, H; Santoso, D (December 2022). "Osteoblastogenesis of adipose-derived mesenchymal stem cells in chronic kidney disease patient with regular hemodialysis". Annals of Medicine and Surgery. 84: 104796. doi:10.1016/j.amsu.2022.104796. PMC 9758290. PMID 36536732.
- Naghavi, M; Wang, H; Lozano, R; Davis, A; Liang, X; Zhou, M; และคณะ (January 2015). "Global, regional, and national age-sex specific all-cause and cause-specific mortality for 240 causes of death, 1990-2013: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013". Lancet. 385 (9963): 117–71. doi:10.1016/S0140-6736(14)61682-2. PMC 4340604. PMID 25530442.
{{}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|last7=
((help)) Table 2, p. 137 - นพ.ประเสริฐ ธนกิจจารุ, นพ.สกานต์ บุนนาค, พญ.วรางคณา พิชัยวงศ์ (November 2011). "โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease: CKD)" (PDF). สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-18.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Kalantar-Zadeh, K; Lockwood, MB; Rhee, CM; Tantisattamo, E; Andreoli, S; Balducci, A; Laffin, P; Harris, T; Knight, R; Kumaraswami, L; Liakopoulos, V; Lui, SF; Kumar, S; Ng, M; Saadi, G; Ulasi, I; Tong, A; Li, PK (2022-01-03). "Patient-centred approaches for the management of unpleasant symptoms in kidney disease". Nat Rev Nephrol. 18 (2): 001–017. doi:10.1038/s41581-021-00518-z. PMID 34980890. S2CID 245636182.
- Hoyer, FF; Nahrendorf, M (January 2019). "Uremic Toxins Activate Macrophages". Circulation. 139 (1): 97–100. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.118.037308. PMC 6394415. PMID 30592654.
- Damman, K; Valente, MA; Voors, AA; O'Connor, CM; van Veldhuisen, DJ; Hillege, HL (February 2014). "Renal impairment, worsening renal function, and outcome in patients with heart failure: an updated meta-analysis". European Heart Journal. 35 (7): 455–69. doi:10.1093/eurheartj/eht386. PMID 24164864.
- Arora, P; Aronoff, GR; Mulloy, LL; Talavera, F; Verrelli, M (2018-09-16). Batuman, V (บ.ก.). "Chronic Kidney Disease". Medscape.
- Hruska, KA; Mathew, S; Lund, R; Qiu, P; Pratt, R (July 2008). "Hyperphosphatemia of chronic kidney disease". Kidney International. 74 (2): 148–57. doi:10.1038/ki.2008.130. PMC 2735026. PMID 18449174.
- Faul, C; Amaral, AP; Oskouei, B; Hu, MC; Sloan, A; Isakova, T; และคณะ (November 2011). "FGF23 induces left ventricular hypertrophy". The Journal of Clinical Investigation. 121 (11): 4393–408. doi:10.1172/JCI46122. PMC 3204831. PMID 21985788.
- Gutiérrez, OM; Mannstadt, M; Isakova, T; Rauh-Hain, JA; Tamez, H; Shah, A; และคณะ (August 2008). "Fibroblast growth factor 23 and mortality among patients undergoing hemodialysis". The New England Journal of Medicine. 359 (6): 584–92. doi:10.1056/NEJMoa0706130. PMC 2890264. PMID 18687639.
- Bacchetta, J; Sea, JL; Chun, RF; Lisse, TS; Wesseling-Perry, K; Gales, B; และคณะ (January 2013). "Fibroblast growth factor 23 inhibits extrarenal synthesis of 1,25-dihydroxyvitamin D in human monocytes". Journal of Bone and Mineral Research. 28 (1): 46–55. doi:10.1002/jbmr.1740. PMC 3511915. PMID 22886720.
- Bover, J; Jara, A; Trinidad, P; Rodriguez, M; Martin-Malo, A; Felsenfeld, AJ (August 1994). "The calcemic response to PTH in the rat: effect of elevated PTH levels and uremia". Kidney International. 46 (2): 310–7. doi:10.1038/ki.1994.276. PMID 7967341.
- Longo, D; Fauci, A; Kasper, D; Hauser, S; Jameson, J; Loscalzo, J (2012). Harrison's Principles of Internal Medicine (18th ed.). New York: McGraw-Hill. p. 3109. ISBN .
- Brandenburg, VM; Cozzolino, M; Ketteler, M (2011). "Calciphylaxis: a still unmet challenge". Journal of Nephrology. 24 (2): 142–8. doi:10.5301/jn.2011.6366. PMID 21337312.
- Adrogué, HJ; Madias, NE (September 1981). "Changes in plasma potassium concentration during acute acid-base disturbances". The American Journal of Medicine. 71 (3): 456–67. doi:10.1016/0002-9343(81)90182-0. PMID 7025622.
- Shaikh, H; Aeddula, NR (January 2021). "Anemia Of Chronic Renal Disease". StatPearls [Internet]. StatPearls Publishing. PMID 30969693. NBK539871.
- Mak, RH; Ikizler, AT; Kovesdy, CP; Raj, DS; Stenvinkel, P; Kalantar-Zadeh, K (March 2011). "Wasting in chronic kidney disease". Journal of Cachexia, Sarcopenia and Muscle. 2 (1): 9–25. doi:10.1007/s13539-011-0019-5. PMC 3063874. PMID 21475675.
- Shea, MK; Wang, J; Barger, K; Weiner, DE; Booth, SL; Seliger, SL; และคณะ (August 2022). "Vitamin K Status and Cognitive Function in Adults with Chronic Kidney Disease: The Chronic Renal Insufficiency Cohort". Current Developments in Nutrition. 6 (8): nzac111. doi:10.1093/cdn/nzac111. PMC 9362761. PMID 35957738.
- Singh-Manoux, A; Oumarou-Ibrahim, A; Machado-Fragua, MD; Dumurgier, J; Brunner, EJ; Kivimaki, M; และคณะ (January 2022). "Association between kidney function and incidence of dementia: 10-year follow-up of the Whitehall II cohort study". Age and Ageing. 51 (1): afab259. doi:10.1093/ageing/afab259. PMC 8782607. PMID 35061870.
- O'Lone, E; Connors, M; Masson, P; Wu, S; Kelly, PJ; Gillespie, D; และคณะ (June 2016). "Cognition in People With End-Stage Kidney Disease Treated With Hemodialysis: A Systematic Review and Meta-analysis". American Journal of Kidney Diseases (ภาษาEnglish). 67 (6): 925–935. doi:10.1053/j.ajkd.2015.12.028. PMID 26919914.
{{}}
: CS1 maint: unrecognized language () - Bugnicourt, JM; Godefroy, O; Chillon, JM; Choukroun, G; Massy, ZA (February 2013). "Cognitive disorders and dementia in CKD: the neglected kidney-brain axis". Journal of the American Society of Nephrology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 24 (3): 353–363. doi:10.1681/ASN.2012050536. PMID 23291474. S2CID 5248658.
- Kurella, M; Chertow, GM; Luan, J; Yaffe, K (November 2004). "Cognitive impairment in chronic kidney disease". Journal of the American Geriatrics Society. 52 (11): 1863–1869. doi:10.1111/j.1532-5415.2004.52508.x. PMID 15507063. S2CID 23257233.
- Vecchio, M; Navaneethan, SD; Johnson, DW; Lucisano, G; Graziano, G; Saglimbene, V; และคณะ (December 2010). "Interventions for treating sexual dysfunction in patients with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews (12): CD007747. doi:10.1002/14651858.CD007747.pub2. PMID 21154382.
- Vos, T; Allen, C; Arora, M; Barber, RM; Bhutta, ZA; Brown, A; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
{{}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|last7=
((help)) - . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-13.
- Orantes, CM; Herrera, R; Almaguer, M; Brizuela, EG; Núñez, L; Alvarado, NP; และคณะ (April 2014). "Epidemiology of chronic kidney disease in adults of Salvadoran agricultural communities". MEDICC Review. 16 (2): 23–30. doi:10.37757/MR2014.V16.N2.5. PMID 24878646.
- Tangri, N (2013-07-29). "MesoAmerican Nephropathy: A New Entity". eAJKD. National Kidney Foundation.
- Wesseling, C; Crowe, J; Hogstedt, C; Jakobsson, K; Lucas, R; Wegman, DH (November 2013). "The epidemic of chronic kidney disease of unknown etiology in Mesoamerica: a call for interdisciplinary research and action". American Journal of Public Health. 103 (11): 1927–30. doi:10.2105/AJPH.2013.301594. PMC 3828726. PMID 24028232.
- Johnson, RJ; Sánchez-Lozada, LG (October 2013). "Chronic kidney disease: Mesoamerican nephropathy--new clues to the cause". Nature Reviews. Nephrology. 9 (10): 560–1. doi:10.1038/nrneph.2013.174. PMID 23999393. S2CID 20611337.
- Roncal Jimenez, CA; Ishimoto, T; Lanaspa, MA; Rivard, CJ; Nakagawa, T; Ejaz, AA; และคณะ (August 2014). "Fructokinase activity mediates dehydration-induced renal injury". Kidney International. 86 (2): 294–302. doi:10.1038/ki.2013.492. PMC 4120672. PMID 24336030.
- Grovern, N (2021-10-21). "Global heating 'may lead to epidemic of kidney disease'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ 2021-10-25.
- Chavkin, S; Greene, R (2011-12-12). "Thousands of sugar cane workers die as wealthy nations stall on solutions". International Consortium of Investigative Journalists. สืบค้นเมื่อ 2012-11-26.
- Qaseem, A; Hopkins, RH; Sweet, DE; Starkey, M; Shekelle, P (December 2013). "Screening, monitoring, and treatment of stage 1 to 3 chronic kidney disease: A clinical practice guideline from the American College of Physicians". Annals of Internal Medicine. 159 (12): 835–47. doi:10.7326/0003-4819-159-12-201312170-00726. PMID 24145991.
- Weckmann, GF; Stracke, S; Haase, A; Spallek, J; Ludwig, F; Angelow, A; และคณะ (October 2018). "Diagnosis and management of non-dialysis chronic kidney disease in ambulatory care: a systematic review of clinical practice guidelines". BMC Nephrology. 19 (1): 258. doi:10.1186/s12882-018-1048-5. PMC 6180496. PMID 30305035.
- Johnson, D (2011-05-02). "Chapter 4: CKD Screening and Management: Overview". ใน Daugirdas, J (บ.ก.). Handbook of Chronic Kidney Disease Management. Lippincott Williams and Wilkins. pp. 32–43. ISBN .
- Content initially copied from: Hansen, KL; Nielsen, MB; Ewertsen, C (December 2015). "Ultrasonography of the Kidney: A Pictorial Review". Diagnostics. 6 (1): 2. doi:10.3390/diagnostics6010002. PMC 4808817. PMID 26838799. (CC-BY 4.0)
- "Kidney scans". Singlehealth.
- CKD Evaluation and Management 2012. Kidney Disease Improving Global Outcomes (KDIGO). Retrieved 2019-07-06.
- National Kidney Foundation (2002). . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-04-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-29.
- National Institute for Health and Clinical Excellence. Clinical guideline 73: Chronic kidney disease. London, 2008.
- Kalantar-Zadeh, K; Jafar, TH; Nitsch, D; Neuen, BL; Perkovic, V (2021-06-24). "Chronic Kidney Disease" (PDF). Lancet. 397 (10293): 001–017. doi:10.1016/S0140-6736(21)00519-5. PMID 34175022. S2CID 235631509.
- Malhotra, R; Nguyen, HA; Benavente, O; Mete, M; Howard, BV; Mant, J; และคณะ (October 2017). "Association Between More Intensive vs Less Intensive Blood Pressure Lowering and Risk of Mortality in Chronic Kidney Disease Stages 3 to 5: A Systematic Review and Meta-analysis". JAMA Internal Medicine. 177 (10): 1498–1505. doi:10.1001/jamainternmed.2017.4377. PMC 5704908. PMID 28873137.
- Chauhan, V; Vaid, M (November 2009). "Dyslipidemia in chronic kidney disease: managing a high-risk combination". Postgraduate Medicine. 121 (6): 54–61. doi:10.3810/pgm.2009.11.2077. PMID 19940417. S2CID 22730176.
- Kalantar-Zadeh, K; Fouque, D (November 2017). "Nutritional Management of Chronic Kidney Disease". The New England Journal of Medicine. 377 (18): 1765–1776. doi:10.1056/NEJMra1700312. PMID 29091561. S2CID 27499763.
- Passey, C (May 2017). "Reducing the Dietary Acid Load: How a More Alkaline Diet Benefits Patients With Chronic Kidney Disease". J Ren Nutr (Review). 27 (3): 151–160. doi:10.1053/j.jrn.2016.11.006. PMID 28117137.
- McMahon, EJ; Campbell, KL; Bauer, JD; Mudge, DW; Kelly, JT (June 2021). "Altered dietary salt intake for people with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2021 (6): CD010070. doi:10.1002/14651858.cd010070.pub3. PMC 8222708. PMID 34164803.
- Levin, A.; Hemmelgarn, B.; Culleton, B.; Tobe, S.; McFarlane, P.; Ruzicka, M.; และคณะ (2008-11-18). "Guidelines for the management of chronic kidney disease". Canadian Medical Association Journal. 179 (11): 1154–1162. doi:10.1503/cmaj.080351. ISSN 0820-3946. PMC 2582781. PMID 19015566.
- "Anaemia management in people with chronic kidney disease (CG114)". NICE Clinical Guideline. UK National Institute for Health and Care Excellence. February 2011.
- Yang, Q; Abudou, M; Xie, XS; Wu, T (October 2014). "Androgens for the anaemia of chronic kidney disease in adults". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2014 (10): CD006881. doi:10.1002/14651858.CD006881.pub2. PMC 10542094. PMID 25300168.
- Tsujimoto, T; Sairenchi, T; Iso, H; Irie, F; Yamagishi, K; Watanabe, H; และคณะ (2014). "The dose-response relationship between body mass index and the risk of incident stage ≥3 chronic kidney disease in a general japanese population: the Ibaraki prefectural health study (IPHS)". Journal of Epidemiology. 24 (6): 444–451. doi:10.2188/jea.JE20140028. PMC 4213218. PMID 24998954.
- Ladhani, M; Craig, JC; Irving, M; Clayton, PA; Wong, G (March 2017). "Obesity and the risk of cardiovascular and all-cause mortality in chronic kidney disease: a systematic review and meta-analysis". Nephrology, Dialysis, Transplantation. 32 (3): 439–449. doi:10.1093/ndt/gfw075. PMID 27190330.
- Chapman, CL; Grigoryan, T; Vargas, NT; Reed, EL; Kueck, PJ; Pietrafesa, LD; และคณะ (April 2020). "High-fructose corn syrup-sweetened soft drink consumption increases vascular resistance in the kidneys at rest and during sympathetic activation". American Journal of Physiology. Renal Physiology. 318 (4): F1053–F1065. doi:10.1152/ajprenal.00374.2019. PMC 7191446. PMID 32174139.
- Cheungpasitporn, W; Thongprayoon, C; O'Corragain, OA; Edmonds, PJ; Kittanamongkolchai, W; Erickson, SB (December 2014). "Associations of sugar-sweetened and artificially sweetened soda with chronic kidney disease: a systematic review and meta-analysis". Nephrology. 19 (12): 791–797. doi:10.1111/nep.12343. PMID 25251417. S2CID 19747921.
- Conley, MM; McFarlane, CM; Johnson, DW; Kelly, JT; Campbell, KL; MacLaughlin, HL (March 2021). "Interventions for weight loss in people with chronic kidney disease who are overweight or obese". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2021 (3): CD013119. doi:10.1002/14651858.CD013119.pub2. PMC 8094234. PMID 33782940.
- McMahon, EJ; Campbell, KL; Bauer, JD; Mudge, DW; Kelly, JT (June 2021). "Altered dietary salt intake for people with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2021 (6): CD010070. doi:10.1002/14651858.CD010070.pub3. PMC 8222708. PMID 34164803.
- Tam, KW; Wu, MY; Siddiqui, FJ; Chan, ES; Zhu, Y; Jafar, TH (November 2018). "Omega-3 fatty acids for dialysis vascular access outcomes in patients with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2018 (11): CD011353. doi:10.1002/14651858.CD011353.pub2. PMC 6517057. PMID 30480758.
- Mah, JY; Choy, SW; Roberts, MA; Desai, AM; Corken, M; Gwini, SM; McMahon, LP (May 2020). "Oral protein-based supplements versus placebo or no treatment for people with chronic kidney disease requiring dialysis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 5 (5): CD012616. doi:10.1002/14651858.CD012616.pub2. PMC 7212094. PMID 32390133.
- O'Lone, EL; Hodson, EM; Nistor, I; Bolignano, D; Webster, AC; Craig, JC (February 2019). "Parenteral versus oral iron therapy for adults and children with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2019 (2): CD007857. doi:10.1002/14651858.CD007857.pub3. PMC 6384096. PMID 30790278.
- Natale, P; Ruospo, M; Saglimbene, VM; Palmer, SC; Strippoli, GF (May 2019). "Interventions for improving sleep quality in people with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 5 (5): CD012625. doi:10.1002/14651858.cd012625.pub2. PMC 6535156. PMID 31129916.
- Stevenson, JK; Campbell, ZC; Webster, AC; Chow, CK; Tong, A; Craig, JC; และคณะ (August 2019). "eHealth interventions for people with chronic kidney disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2019 (8): CD012379. doi:10.1002/14651858.cd012379.pub2. PMC 6699665. PMID 31425608.
- "CKD Stage 4". davita.
- Vanholder, R; De Smet, R; Glorieux, G; Argilés, A; Baurmeister, U; Brunet, P; และคณะ (May 2003). "Review on uremic toxins: classification, concentration, and interindividual variability". Kidney International. 63 (5): 1934–43. doi:10.1046/j.1523-1755.2003.00924.x. PMID 12675874.
- Yamamoto, S; Kazama, JJ; Wakamatsu, T; Takahashi, Y; Kaneko, Y; Goto, S; Narita, I (2016-09-14). "Removal of uremic toxins by renal replacement therapies: a review of current progress and future perspectives". Renal Replacement Therapy. 2 (1). doi:10.1186/s41100-016-0056-9.
- Perazella, MA; Khan, S (March 2006). "Increased mortality in chronic kidney disease: a call to action". The American Journal of the Medical Sciences. 331 (3): 150–3. doi:10.1097/00000441-200603000-00007. PMID 16538076. S2CID 22569162.
- Sarnak, MJ; Levey, AS; Schoolwerth, AC; Coresh, J; Culleton, B; Hamm, LL; และคณะ (October 2003). "Kidney disease as a risk factor for development of cardiovascular disease: a statement from the American Heart Association Councils on Kidney in Cardiovascular Disease, High Blood Pressure Research, Clinical Cardiology, and Epidemiology and Prevention". Circulation. 108 (17): 2154–69. doi:10.1161/01.CIR.0000095676.90936.80. PMID 14581387.
- Tonelli, M; Wiebe, N; Culleton, B; House, A; Rabbat, C; Fok, M; และคณะ (July 2006). "Chronic kidney disease and mortality risk: a systematic review". Journal of the American Society of Nephrology. 17 (7): 2034–47. doi:10.1681/ASN.2005101085. PMID 16738019.
- Heidenheim, AP; Kooistra, MP; Lindsay, RM (2004). "Quality of life". Daily and Nocturnal Hemodialysis. Contrib Nephrol. Contributions to Nephrology. Vol. 145. pp. 99–105. doi:10.1159/000081673. ISBN . PMID 15496796.
- de Francisco, AL; Piñera, C (January 2006). "Challenges and future of renal replacement therapy". Hemodialysis International. 10 (Suppl 1): S19-23. doi:10.1111/j.1542-4758.2006.01185.x. PMID 16441862. S2CID 6826119.
- Groothoff, JW (July 2005). "Long-term outcomes of children with end-stage renal disease". Pediatric Nephrology. 20 (7): 849–53. doi:10.1007/s00467-005-1878-9. PMID 15834618. S2CID 11725547.
- Giri, M (2004). "Choice of renal replacement therapy in patients with diabetic end stage renal disease". EDTNA/ERCA Journal. 30 (3): 138–42. doi:10.1111/j.1755-6686.2004.tb00353.x. PMID 15715116.
- Pierratos, A; McFarlane, P; Chan, CT (March 2005). "Quotidian dialysis--update 2005". Current Opinion in Nephrology and Hypertension. 14 (2): 119–24. doi:10.1097/00041552-200503000-00006. PMID 15687837. S2CID 9807935.
- Maisonneuve, P; Agodoa, L; Gellert, R; Stewart, JH; Buccianti, G; Lowenfels, AB; และคณะ (July 1999). "Cancer in patients on dialysis for end-stage renal disease: an international collaborative study". Lancet. 354 (9173): 93–9. doi:10.1016/S0140-6736(99)06154-1. PMID 10408483. S2CID 24527420.
- American Society of Nephrology. "Five Things Physicians and Patients Should Question" (PDF). Choosing Wisely: An Initiative of the ABIM Foundation. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
- Chertow, GM; Paltiel, AD; Owen, WF; Lazarus, JM (June 1996). "Cost-effectiveness of cancer screening in end-stage renal disease". Archives of Internal Medicine. 156 (12): 1345–50. doi:10.1001/archinte.1996.00440110117016. PMID 8651845.
- . National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-12-09.
- Wong, Susan P. Y.; Rubenzik, Tamara; Zelnick, Leila; Davison, Sara N.; Louden, Diana; Oestreich, Taryn; Jennerich, Ann L. (2022-03-14). "Long-term Outcomes Among Patients With Advanced Kidney Disease Who Forgo Maintenance Dialysis: A Systematic Review". JAMA Network Open. 5 (3): e222255. doi:10.1001/jamanetworkopen.2022.2255. ISSN 2574-3805. PMC 9907345. PMID 35285915.
- Liu, Christine K.; Kurella Tamura, Manjula (2022-03-14). "Conservative Care for Kidney Failure—The Other Side of the Coin". JAMA Network Open. 5 (3): e222252. doi:10.1001/jamanetworkopen.2022.2252. ISSN 2574-3805.
- Buur, Louise Engelbrecht; Madsen, Jens Kristian; Eidemak, Inge; Krarup, Elizabeth; Lauridsen, Thomas Guldager; Taasti, Lena Helbo; Finderup, Jeanette (2021-09-11). "Does conservative kidney management offer a quantity or quality of life benefit compared to dialysis? A systematic review". BMC Nephrology. 22 (1). doi:10.1186/s12882-021-02516-6. ISSN 1471-2369. PMC 8434727. PMID 34507554.
- Hodal, K (2020-11-27). "The mystery epidemic striking Nicaragua's sugar cane workers - a photo essay". The Guardian.
- Wijewickrama, ES; Gunawardena, N; Jayasinghe, S; Herath, C (June 2019). "CKD of Unknown Etiology (CKDu) in Sri Lanka: A Multilevel Clinical Case Definition for Surveillance and Epidemiological Studies". Kidney International Reports. 4 (6): 781–785. doi:10.1016/j.ekir.2019.03.020. PMC 6551535. PMID 31194108.
- Lena, P (2018). Chronic kidney disease in the dog (ภาษาอังกฤษ). ISBN . สืบค้นเมื่อ 2018-06-08.
- Pelander, L; Ljungvall, I; Egenvall, A; Syme, H; Elliott, J; Häggström, J (June 2015). "Incidence of and mortality from kidney disease in over 600,000 insured Swedish dogs". The Veterinary Record. 176 (25): 656. doi:10.1136/vr.103059. PMID 25940343. S2CID 25622105.
- "Chronic Kidney Disease". Cornell University College of Veterinary Medicine (ภาษาอังกฤษ). 2017-10-16. สืบค้นเมื่อ 2023-06-12.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Dialysis Complications of Chronic Renal Failure จาก
- Chronic Renal Failure Information 2013-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from Great Ormond Street Hospital
- How to Prevent Chronic Kidney Disease n World Diabetes Day 2022
การจำแนกโรค | D |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
|
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
bthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha orkhiteruxrng xngkvs chronic kidney disease twyx CKD epnorkhitchnidhnungthikarthangankhxngitcakhxy esiyipodyichewlaepneduxn hruxpi inchwngaerkmkimmixakar txmacungcaekidxakartang rwmthngkhabwm ehnuxy xaeciyn ebuxxahar aelasbsnphawaaethrksxnxacekidcakkarthanganphidpktithanghxromnkhxngitrwmthng tamladbewla khwamdnolhitsung mkekiywkbkarthangankhxngrabb renin angiotensin system phawakradukphidephiynehtuit renal osteodystrophy aelaphawaeluxdcang xnung khnikhcaesiyngphawaaethrksxncakorkhrabbhwicaelahlxdeluxdyingkhunxyangsakhy odythngesiyngtayaelaekhaorngphyabalyingkhunorkhiteruxrng Chronic kidney disease chuxxunChronic renal disease itlmehlw kidney failure itthanganbkphrxng impaired kidney function itkhxngkhnikhorkhiteruxrngsakhawichawkkwithyaxakarrayaaerk immixakar rayhlng khabwm ehnuxy xaeciyn ebuxxahar sbsnphawaaethrksxnorkhhwic khwamdnsung phawaeluxdcangrayadaeninorkheruxrngsaehtuebahwan khwamdnsung orkhhlxdeluxdfxyitxkesb orkhthungnainitpccyesiyngkrrmphnthu mithanathangsngkhmesrsthkicthiimdiwithiwinicchykartrwceluxd kartrwcpssawakarrksakarprbepliynwithichiwit ihyarksaradbkhwamdneluxd radbnatal aelaldradbikhmn karbabdthdaethnit karplukthayitkhwamchuk thwolk 753 lan 2016 karesiychiwit thwolk 1 2 lan 2015 ehtuekidmihlayxyang thisakhyidaekorkhebahwan khwamdnsung orkhhlxdeluxdfxyitxkesb glomerulonephritis aelaorkhthungnainit polycystic kidney disease pccyesiyngthisakhyrwmkarmikhninkhrxbkhrwpwyepnorkhiteruxrngkarwinicchycathadwykartrwceluxdephuxpramanxtrakarkrxngeluxdkhxngit xngkvs estimated glomerular filtration rate twyx eGFR aelakartrwchaxlbumin inpssawa bangkhrngxactxngtrwcxltrasawdhruxtrwcchinenuxitephuxhaehtuekidorkh mirabbcdkhwamrunaerngkhxngorkhhlayrabb thangkaraephthyaenanaihphumikhwamesiyngekharbkartrwckhdkrxngorkhitodyimtxngrxihmixakar karrksainrayaaerkerimxacepnkarihyaldkhwamdn ldnatalineluxd aelaldikhmn mkcaichsarybyngexsixi ACEIs hruxaexngkioxethnsinriesphetxrblxkhekxr ARBs epnyaldkhwamdnklumaerk ephraasamarthchwychalxorkhitaelaldkhwamesiyngorkhhwichlxdeluxd hakmixakarbwmnahruxyngkhwbkhumkhwamdneluxdimidxactxngichyakhbpssawachnidxxkvththithilup loop diuretic phupwykhwrhlikeliyngyaaekxkesbchnidimichsetxrxyd NSAIDs mikhaaenanaxun rwmthngmikickrrmthangkaythikrachbkraechngxyuesmx prbepliynxahar echnihthanekluxnxyaelaidoprtinihphxdi karrksaphawaaethrksxn echn phawaeluxdcangaelaorkhkradukkxaccaepndwy krnirunaerngxactxngbabdthdaethnitrwmthngfxkit hruxlangitthangchxngthxng hruxplukthayitephuxrksachiwit inpi 2016 thwolkmiphupwyorkhni 753 lankhn epnchay 336 lankhn aelahying 417 lankhn inpi 2015 mikhnesiychiwitcakorkh 1 2 lankhn ephimcak 409 000 khninpi 1990 orkhthiphbwarwmthaihesiychiwitmaksudkhux khwamdnsung 550 000 khn tamdwyebahwan 418 000 khn aelaitxkesb 238 000 khn sahrbpraethsithy khxmulkhxngsmakhmorkhitaehngpraethsithypi ph s 2552 aesdngwa prachakrithymixtrakarpwyorkhiteruxrngraya 1 5 xyuthirxyla 17 5 odykhwamchukkhxngorkh ephimsungkhuntamxayu phbmakthisudinekhtkrungethphaelaprimnthlniyamorkhiteruxrng hmaythung phawathiitthanganphidpktixyangtxenuxngepnewlanankwa 3 eduxn saehtuxacmacakkhwamesiyhaykhxngokhrngsranghruxhnathikarthangankhxngitodytrng hruxxacekidcakkhaxtrakarkrxngkhxngit GFR talngkid khwamesiyhaykhxngit ekidcakkhwamphidpktithangokhrngsranghruxhnathikarthangankhxngit xacsngphlihkhaxtrakarkrxngeluxdkhxngittalnghruximkid trwcphbidcak kartrwcchinenuxit kartrwcpssawaephuxhasyyanbngbxkkhwamesiyhaykhxngit kartrwcphaphthaythangkaraephthy kha GFR ta kha GFR takwa 60 ml min 1 73 m2 epnewlanankwa 3 eduxn xacmihruximmisyyanbngbxkkhwamesiyhaykhxngitxun rwmdwy srupkkhux orkhiteruxrngekidcakkhwamphidpktikhxngitthisngphltxhnathikarthangan kha GFR talng hruxthngsxngxyangrwmknxakarkhrabyueriyxacpraktbnsirsakhxngkhnikhorkhiteruxrng inebuxngtnorkhnicaimmixakar pkticaphbemuxtrwceluxdthwipephraaradbkhriexthininephimkhunineluxd hruxphboprtininpssawa proteinuria emuxitthanganaeylng xakarimsbaykcaephimkhun rwmthng khwamdnolhitcasungkhunephraaminamakekin aelaephraakarphlithxromnthiyudhyunesneluxd vasoactive hormone khxngitphan renin angiotensin system sungthaihesiyngkhwamdnolhitsungaelahwicwayephimkhun khnikhorkhiteruxrngmioxkasmakkwaprachakrthwipinkarekidphawahlxdeluxdaekhngaelwtamdwyorkhrabbhwichlxdeluxd sungepnphlkhxngphis uremic toxins thiitimsamarthnaxxkodyswnhnung khnikhthiepnthngorkhiteruxrngaelaorkhrabbhwichlxdeluxdmiphyakrnorkhthiaeykwaphumiorkhrabbhwichlxdeluxdethannxyangsakhy yueriysasmthikx azotemia khuxphawamisarprakxbinotrecnineluxdsungphidpkti sunginthisudkcakx uremia khuxphawamiyueriyineluxdmakekinodymixakartang erimtngaetkhwamesuxngsumipcnthungeyuxhumhwicxkesb pericarditis aelaorkhsmxng ephraamiyueriysungmakthngrabb rangkaykcakhbxxkthangehngux aelaephraamikhwamekhmkhnsungkcatkphlukthiphiwhnngemuxehnguxraehyiphmd epnphawayueriytkphluk khux uremic frost ophaethsesiymsasmineluxdcnepnphawamiophaethsesiymineluxdmakekin odycamixakartngaetkhwamlaehiycnthunghwicetnphidcnghwathixacthaihesiychiwit phawanipkticaimekidcnkrathngxtrakarkrxngkhxngit GFR catkehluxnxykwa 20 25 mL min 1 73 m2 epnrayathiitsamarthkhbophaethsesiymxxkidnxylng phawanixacaeylngephraaeluxdepnkrd ephraaesllcaplxyophaethsesiymekhaipineluxdephuxldkrd hruxkarirxinsulin karminamakekincaekidxakartngaetxakarbwmnaaebbxxn cnkrathngthungpxdbwmnasungesiyngchiwit phawaeluxdmifxseftekinepnphlkhxngkarthiitkhbfxseftxxkimid sungephimkhwamesiyngorkhrabbhwicaelahlxdeluxdodythaihesneluxdaekhng vascular calcification khwamekhmkhnkhxng FGF 23 fibroblast growth factor 23 ineluxdcaephimkhuneruxy emuxitkhbfxseftxxkidnxylng sungxacchwykxphawahwichxnglangsayotekin aelwephimxtrataykhxngkhnikh phawaaekhlesiymtaineluxdekidcakkarkhad Calcitriol rupaebbhnungkhxngwitamindithiitphlit odymiehtucak FGF 23 radbsungaelaitthifxlng aelakarimtxbsnxngkhxngkraduktxvththiprbaekhlesiymkhxngpharaithrxydhxromn esllkraduk osteocyte mihnathiphlit FGF 23 sungepnsarybyngexnism 1 alpha hydroxylase 25 Hydroxyvitamin D3 1 alpha hydroxylase thimivththiaerng aela 1 alpha hydroxylase kmihnathiaeplng 25 hydroxycholecalciferol ihepnwitamindi 3 inrupaebb 1 25 dihydroxyvitamin D3 khux Calcitriol txipphawanicaaeylngepnphawahxromntxmpharaithrxyd sungthutiyphumi secondary hyperparathyroidism phawakradukphidephiynehtuit kidney osteodystrophy aelakaraekhngtwkhxnghlxdeluxd vascular calcification thithaihhwicthanganidaeylng phlsudotngthiekidnxyxyanghnungsungtammakkkhuxphawa calciphylaxis sungepnrxyorkhthangphiwhnngthiecbaelaimhayodykhnikhcamikarkhadhmaykhngchiphpktiimekin 1 pi khwamepliynaeplngthangemaethbxlisumkhxngaerthatuaelakradukxac 1 kxkhwamphidpktithangemaethbxlisumkhxngaekhlesiym fxsfxrs fxseft pharaithrxydhxromn aelawitamindi 2 kxkhwamphidpktiinkarphldepliynkraduk bone turnover inkarklayepnkraduk primatr karyawxxkkhxngkraduk linear growth hruxkhwamaekhngaerng epnphawakradukphidephiynehtuit aela 3 kxkaraekhngtw calcification khxngesneluxdaelaenuxeyuxxxnxun orkhaerthatuaelakradukehtuorkhiteruxrngsmphnthkbphllphththiimdi phawaeluxdepnkrdehtuemaethbxlik metabolic acidosis xacekidcakkarphlitaexmomeniyidimphxkhxngit thiesllkhxng proximal tubule phawaeluxdepnkrdkcamiphltxkarthangankhxngexnism aelaephimkareraidkhxngeyuxhumhwicaelaeyuxesllprasathephraaekidphawamiophaethsesiymineluxdmakekin phawaeluxdcangcasamyodyechphaaphuthitxngfxkit miehtuhlayxyangrwmthngkarxkesbthiephimkhun karldradbxiriothrophxitin aelaphawakrdyurikekinineluxdcnthaihikhkradukimthangan phawaeluxdcangaebb hypoproliferative anemia kcaekidephraaitphlitxiriothrophxitinidimphx sahrborkhrayahlng phawaphxmhnnghumkradukxaccaekid thaihnahnkldxyangimidtngic thaihklamenuxlib xxnaex aelakxorkhebuxxaharehtucitic nganwicyphbephimkhuneruxy wakhnikhorkhiteruxrngcakhidxanidaeylng cognitive decline aelawakhnikhorkhiteruxrngmioxkasrxyla 35 40 thicaekidsphaphkhwamkhidxanesuxmhruxekidphawasmxngesuxm odymioxkasmakkhunemuxorkhitrunaerngkhun aetkhnikhthukrayakmioxkasekidpyhathangkhwamkhidxanechnkn khwamphidpktithangephs sexual dysfunction casamyinkhnikhorkhiteruxrng chayswnmakcatxngkarthangephsnxylng xwywaephscaimaekhngtw thungcudsudyxdimid odycaaeylngemuxxayuephimkhun hyingodymakcamikhwamrusukthangephsnxylng mipyhapwdpracaeduxn mipyhaemuxrwmephsaelaimyindithangephsehtucnthungpi 2015 ehtuekidorkhiteruxrngthisamythisudkkhux orkhebahwan khwamdnolhitsung aelaorkhhlxdeluxdfxyitxkesb phuihythimikhwamdnsung 1 5 aelathiepnebahwan 1 3 camiorkhiteruxrng thaimruehtu orkhkcaeriykwa idiopathic imruehtu orkhodytaaehnng epnorkhhlxdeluxd rwmthngorkhhlxdeluxdihy echn esneluxdaednginittib renal artery stenosis aelaorkhhlxdeluxdelk echn orkhitehtukhadeluxd ischemic nephropathy klumxakaremdeluxdaedngaetk yuriemiy aelahlxdeluxdxkesb vasculitis orkhklumklxemxruiltang sungxaccdepnhmwd khux txngkarxangxing orkhklxemxruilpthmphumi echn focal segmental glomerulosclerosis aela IgA nephropathy hrux nephritis orkhklxemxruilthutiyphumi echn orkhitcakebahwan aelaorkhitxkesbehtulups lupus nephritis orkhthi renal interstitium rwm tubulointerstitial nephritis eruxrngthiekidcakyahruxphis aelaorkhitehtupssawaihlyxn reflux nephropathy orkhitehtuxudkn obstructive nephropathy odymitwxyangepnorkhniwitaelatxmlukhmakot xnung aemcaminxy phyathiekhmhmudthiekhaipthiitkkxphawaniidehmuxnknxun orkhkrrmphnthuaetkaenidechn orkhthungnainit hrux 17q12 microdeletion syndrome orkhitmiosxemrika Mesoamerican nephropathy epn orkhitrupaebbihmthixaceriykidwaorkhitehtuekstrkrrm krnikhnikhorkhiteruxrngihm canwnmakaelayngxthibayimid sungeriykinebuxngtnwa orkhitmiosxemrika phbinekstrkrchayinxemrikaklang odyhlkinirxxyinphunthilumkhxngpraethsexlslwadxraelanikarakw echuxwa phawarxnekinenuxngkbkarthanganepnewlananodyidrayidtamcanwnlaxxythitdidinthithixunhphumiechliysung praman 36 xngsaeslesiys epnehtu hruximkepnephraasarekhmithangekstrkrrmkarwinicchyphlkarbnthukkhluniffahwicaebb 12 khwkhxngkhnikhorkhiteruxrngphuthixielkothriltimsmdulxyangmak khux miophaethsesiymineluxdekin 7 4 mmol L aelamiaekhlesiymineluxdekin 1 6 mmol L khlunswn T waves cakhunepnyxdaelaswn QT interval kcayawkhun karwinicchykhxngorkhcakhunxyukbprawtikhnikh kartrwckhxngaephthy kartrwcpssawa bwkkbkarwdkhakhriexthininineluxd karaeykaeyaorkhiteruxrng CKD kbitesiyhayechiybphln AKI epneruxngsakhyephraaxyanghlngsamarthhaydiid xakarthichwyaeykorkhcakknkkhuxkhriexthininthiephimkhunineluxdxyangkhxyepnkhxyip epneduxn hruxpi imichephimkhunxyangthnthithnid epnwn hruxspdah sahrbkhnikhorkhiteruxrngepncanwnmak karmiorkhitmakxnhruxmiorkhxun thiepnehtumakxncapraktxyuaelw aetkmikhnikhcanwnsakhythiimrusaehtuorkh txngkarxangxing kartrwckhdkrxng imaenanaihtrwckhdkrxngphuthiimmixakaraelaimmipccyesiyngorkhiteruxrng phuthikhwrtrwckhdkrxngrwmthngphumikhwamdnsung phumiprawtiorkhhwicaelahlxdeluxd phuepnorkhebahwan phuepnorkhxwn phumixayuekinkwa 60 pi phuthimiprawtiepnorkhit phuthimiyatiepnorkhitcnthungtxngfxkit txngkarxangxing kartrwckhdkrxngkhwrrwmkarpramankha GFR khux eGFR cakradbkhriexthininineluxd karwdxtra albumin creatinine ACR cakpssawathithayepnkhrngaerkintxnecha sungaesdngkhaoprtinxlbumininpssawa aelakarichaephnwdhaeluxdinpssawa kha GFR thiidcakkhakhriexthininineluxdcaaepriptam 1 creatinine sungkkhux khakhriexthininyingsungethaihr kha GFR ktalngethann epnkhaaesdngkarthangankhxngitdanhnung khuxaesdngwaklxemxruilthithahnathikrxngeluxdthanganiddiaekhihn khapkticaxyurahwang 90 120 ml min odycaichhnwyimehmuxnkninpraethstang klxemxruilmimwlnxykwarxyla 5 khxngit dngnncungimsamarthepntwaesdngsukhphaphhruxkarthahnathikhxngitidhmdthukswn sungcathaidktxemuxrwmkha GFR kbkartrwckhnikhthangkhlinik kbkartrwcsthanakhxngehlw karwdradbhiomoklbin ophaethsesiym fxseft aelapharaithrxydhxromn txngkarxangxing xltrasawnd karichxltrasawdtrwcitxacmipraoychnephuxwinicchyaelaphyakrnorkhiteruxrng imwakhwamphidpktithangphyathiwithyacaepnephraaklxemxruilaekhng glomerular sclerosis thxitfx tubular atrophy chxngitepnphngphud interstitial fibrosis hruxitxkesb ephraaphlkkhuxitswnnxkcasathxnesiyngiddiyingkhun esiyngthisathxncakitkhwrethiybkbesiyngthisathxncaktbhruxcakmam rup 22 aela 23 xnung khnaditthilngaelaitswnnxkthibanglngkmkcaehndwy odyechphaaemuxorkhaeylng rup 24 aela 25 aetkhnaditmishsmphnthkbkhwamsung echnkhnetiykcamiitelk dngnn khnaditephiyngxyangediywcungimicheknththiaennxn orkhiteruxrngxnekidcakorkhhlxdeluxdfxyitxkesb sungephimkarsathxnesiyngaelaldkhwamhnakhxngitswnnxk khnadkhxngitinrupthiidcakshrthni rabuody aelaesnpra klumxakarenofrtik caehnphaphitthisathxnesiyngmakodyaeykitswnnxk cortex kbitswnin medulla imid krwyitxkesberuxrngthithaihitelklng aelathaihitswnnxkbanglngechphaacud khnadkhxngitinrupthiidcakshrthni rabuody aelaesnpra orkhiteruxrngrayasudthaycamiesiyngsathxnephimkhun swntang caduehmuxnkncnimmikhwamtangrahwangphaerngkhimakbophrngit renal sinus xnung itkcaelklngdwy khnadkhxngitinrupthiidcakshrthni rabuody aelaesnprakarsrangphaphxun withikartrwcxunrwmthngkarsrangphaphitdwyixosothpkmmntrngsi MAG3 scan ephuxdukaredinkhxngeluxd aeladukarthangantangknrahwangitthngsxng karsrangphaphitdwy dimercaptosuccinic acid DMSA kmiichdwyehmuxnkn odythng MAG3 aela DMSA caichepntwekaa aebbkhielchn kbsarkmmntrngsi technetium 99 twbngchiwaitesiyhay eknthehlani ichrwmknkbkha GFR intarangthiklawtxipkhanghna karmixlbuminmakekininpssawa Albuminuria AER gt 30 mg 24 hours ACR gt 30 mg g kartktakxnphidpktiinpssawa khwamphidpktikhxngxielkothriltaelaxun enuxngkbphawaorkhkhxngthxinit tubular disorders khwamphidpktikhxngitthiphbthangmiychwithyaemuxtdenuxitiptrwc khwamphidpktithangokhrngsrangthiphbdwykarsrangphaphtang karmiprawtiplukthayitraya rayakhxngorkhiteruxrng CKD G1 5 A1 3 glomerular filtration rate GFR aela albumin creatinine ratio ACR ACRA1 A2 A3pkticnsungkhunelknxy sungphxsmkhwr sungmak lt 30 30 300 gt 300G F RG1 pkti 90 1 thaitesiyhay 1 2G2 aeylngelknxy 60 89 1 thaitesiyhay 1 2G3a aeylngelknxycnthungpanklang 45 59 1 2 3G3b aeylngpanklangcnthungmak 30 44 2 3 3G4 aeylngmak 15 29 3 4 4 G5 itway lt 15 4 4 4 elkh 1 4 aesdngoxkasesiyngorkhaeylngaelacanwnkhrngthitxngihaephthytrwctxpi cak Kidney Disease Improving Global Outcomes KDIGO 2012 Clinical Practice Guideline for the Evaluation and Management of Chronic Kidney Disease xtrakarkrxngkhxngit glomerular filtration rate GFR thi 60 mL min 1 73 m2 thuxwapktikhuximmiorkhiteruxrngodyittxngimesiyhay itcdwaesiyhaythamikhwampktithiphbineluxd pssawa hruxphaphsrang echn khawt albumin creatinine ratio ACR 30 aetthukkhnthimi GFR lt 60 mL min 1 73 m2 epnewla 3 eduxnkcdwamiorkhiteruxrng karmioprtininpssawaepntwbngchixisrawa itthanganidaeylngaelaorkhrabbhwichlxdeluxdkalngaeylng dngnn aenwthangptibtikhxngbritichcaihekhiynxksr P txthayelkhrayaorkhitthamikaresiyoprtinxyangsakhy raya 1 itthanganidaeylngelknxy odyitmikhwamesiyhayodykha GFR casunghruxpkti khux 90 mL min 1 73 m2 aetcamixlbumininpssawaxyangkhngyun itesiyhayniyamwamikhwamphidpktithangphyathiwithya hruxmitwbngchiwaesiyhayrwmthngkhwamphidpktiineluxd hruxinpssawa hruxinphaphthisrang raya 2 GFR ldlngelknxykhux 60 89 mL min 1 73 m2 aelamiitesiyhay itesiyhayniyamwa mikhwamphidpktithangphyathiwithya hruxmitwbngchiwaesiyhayrwmthngkhwamphidpktiineluxd hruxinpssawa hruxinphaphthisrang raya 3 GFR ldlngxyangphxsmkhwrkhux 30 59 mL min 1 73 m2 aenwthangptibtibritichyngaeykaeyarahwangraya 3A GFR 45 59 aela 3B GFR 30 44 ephuxpraoychninkartrwckhdkrxngaelakarsngtxhaaephthyechphaathang raya 4 GFR ldlngxyangmakkhux 15 29 mL min 1 73 m2 epnrayaetriymkarbabdthdaethnit raya 5 rayaitwaykhux GFR lt 15 mL min 1 73 m2 txngbabdthdaethnit kidney replacement therapy epnorkhitwayeruxrngrayasudthay ESKD khawa non dialysis dependent chronic kidney disease NDD CKD hmaythungsphawaorkhthiidwinicchywaepnorkhiteruxrngaelw aetyngimtxngrksaphawaitwayephuxphyungchiwit epnkarrksathieriykwakarbabdthdaethnit RRT sungrwmkarfxkitaelakarplukthayit khnikhorkhiteruxrngthicaepntxngrksadwywithiechnnicdwaepnorkhitwayeruxrngrayasudthay end stage kidney disease twyx ESKD dngnn orkhitrayasudthaycungepnorkhiteruxrngthikhunsphaphedimimid aemkhnikhraya 1 4 cacdwaepn NDD CKD aetkhnikhraya 5 thiyngimiderimfxkithruxepliynit kyngcdwaepn NDD CKD echnknkarrksaorkhiteruxrngepnorkhhnkthimkcasmphnthkborkhebahwanaelakhwamdneluxdsung epnorkhthirksaihhayimid aetkarepliynwithichiwitaelakarkinyasamarthchwychalxorkh sungxacrwmkarthanxaharthimiphkphlimmak mioprtinaelaekluxnxylng thanyaephuxkhumkhwamdneluxdaelaradbnatal aelathanyaihm thichwyldkarxkesbkhxngit aephthyxacrksaephuxcakdkhwamesiyngorkhhwic pxngknkartidechux aelapxngknimihitesiyhayyingkhun aemkarfxkitxaccacaepninthisud aetkarchalxorkhkcachwyihichitidnanthisud minganwicyxyangtxenuxngephuxchwyihrksaorkhiddikhunaelaihidphllphththidikhun khwamdnolhit aenanaihichsarybyngexsixi ACEIs hruxaexngkioxethnsinriesphetxrblxkhekxr ARBs epnyarksaxndbaerkephraaphbwachalxkaraeylngkhxngitemuxethiybkbkhnikhthiimidyaehlani yngphbwaldkhwamesiyngpyhaorkhhwicaelaeluxdhlk echn klamenuxhwictayehtukhadeluxd orkhhlxdeluxdsmxngechiybphln phawahwicway aelakhwamtaycakorkhhwichlxdeluxdemuxethiybkbkhnikhthikinyahlxk ACEIs xaccadikwa ARBs inkarpxngknimihorkhaeylngipcnthungitwayaelwtayodyehtuthukxyangsahrbkhnikhorkhiteruxrng karohmrksakhwamdneluxdcaldkhwamesiyngtaykhxngkhnikh withixun aenanaihohmrksaikhmnineluxdsung karkinxaharmioprtinta miekluxnxy xacthaihorkhaeychalng chwyldoprtininpssawa chwykhwbkhumxakarkhxngorkhitrayahlng aelachalxkarerimfxkit karcdsrrxaharthimioprtinnxy miphawaepnkrdnxy xacchwypxngknkhwamesiyhaytxitsahrbkhnikhorkhiteruxrng xnung karldkineklux cachwyldxubtikarnorkhhlxdeluxdeliynghwic ldkhwamdn aelaldphawamixlbumininpssawa phawaeluxdcang aenanaihrksaradbhiomoklbinihxyuinrahwang 100 120 g Laenwthangptibtitang aenanaihrksadwythatuehlkthiimxasykarkin kxncarksadwyxiriothrophxitin karihxiriothrophxitinmkcaepnsahrbkhnikhrayathay imchdecnwahxromnaexnodrecncachwyihphawaeluxdcangdikhunhruxim aenanaihich calcitriol ephuxrksakarkhadwitamindiaelakhwbkhumorkh metabolic bone disease ichya phosphate binders ephuxkhwbkhumradbfxseftineluxd sungmkmiradbsunginkhnikhorkhiteruxrngrayathay ya phosphodiesterase 5 inhibitors aelathatusngkasicachwyeruxngkhwamphidpktithangephssmphnth sexual dysfunction sahrbkhnikhchaykarepliynwithichiwit karldnahnk orkhxwnxacmiphllbtxorkhiteruxrng khuxephimkhwamesiyngthiorkhcaaeylngcnepnorkhitrayasudthayhruxcnitway ethiybkbklumkhwbkhumthiminahnkpkti aelainrayasudthay kcatkxyuineknthimihrksaodyepliynit twxyangechn karbriophkhekhruxngdumthimiaekhlxrisungaelamifrkothsmakxacthaihbukhkhl mioxkasmiorkhiteruxrngmakkwakhnthwipinxtrarxyla 60 mingansuksakarldnahnkinphuihythinahnkekinhruxepnorkhxwnaelamiorkhiteruxrnginrayatang ephuxtrwcsxbkhwamplxdphyaelaprasiththiphl karprithsnepnrabbpi 2021 ekbhlkthanmacakkarsuksa 17 ngansungtrwcsxbwithichiwitrwmthngxahar karxxkkalngkay aelaphvtikrrmxun thithatanghak hruxtharwmkbwithixun aelwsrupwa karepliynwithichiwitxacmipraoychnthangsukhphaph rwmthngminahnkthidikhun ldikhmnimdikhuxilophoprtinhnaaennta LDL ldkhwamdnolhit DBP emuxethiybkbwithikarrksapktihruxethiybkbklumkhwbkhum aetcachwyldehtukarnthanghlxdeluxdaelahwic chwyrksakarthangankhxngit hruxwachwyldkhwamesiyngtayhruximkyngimchdecn xyangirkdi khxsrupehlanikxasyhlkthankhunphaphtamak dngnn karsuksathidikwaniinxnakhtcungcaepn karkinekluxaetlawn karkinxaharthimiekluxsungxacephimkhwamesiyngorkhkhwamdnsungaelaorkhhlxdeluxdaelahwic nganthbthwnaebbkhxekhlnpi 2021 idthbthwnngansuksamiklumkhwbkhumsahrbkhnikhorkhiteruxrngthukrayarwmthngkhnthikalngfxkit aelwphbhlkthanthiaennxnsungwa karldekluxcachwyldkhwamdneluxdthngchwng systolic aela diastolic aelakarmixlbumininpssawa aetkmihlkthanaennxnpanklangdwywa bangkhnxacekidxakarkhwamdnta echnewiynhw hlngcakcakdekluxxyangchbphln swnphlkarcakdekluxtxnanxkesll karbwmna aelakarldnahnktwyngimchdecn karkinkrdikhmnoxemka 3 khnikhorkhiteruxrngthitxngfxkitmikhwamesiyngesneluxdxudtnephraaeluxdaekhngtw dngnn xacthaihfxkitimid krdikhmnoxemka 3 xacchwyihrangkayphlitomelkul eicosanoid sungcaldkaraekhngtwkhxngeluxd aetnganthbthwnaebbkhxekhrnpi 2018 kimphbhlkthanthichdecnwakarkinkrdikhmnoxemka 3 epnxaharesrimcring cachwypxngknesneluxdimihxudtnsahrbkhnikhorkhiteruxrng mihlkthanthiaennxnradbpanklangwa karkinepnxaharesrimimidchwypxngknkarekhaorngphyabalhruxkartayphayin 12 eduxn karkinxaharesrimepnoprtin mihlkthanaennxnpanklangwa karkinxaharepnoprtinepnpracaxacephimradbxlbuminineluxdelknxysahrbkhnikhorkhiteruxrng odyechphaaphuthitxngfxkit hruxwaphuthikhadxahar radb transthyretin hrux prealbumin aelakhnadklamenuxklangtnaekhnxacephimhlngcakidxaharesrimaetkhwamaennxnkhxnghlkthankta aemtwbngchisthanathangxaharehlaniduehmuxncadikhun aetkimchdecnwaxaharesrimepnoprtinmiphltxkhunphaphchiwit txkarkhadhmaykhngchiph karxkesb hruxxngkhprakxbrangkayhruxim karkinthatuehlkesrim nganthbthwnaebbkhxekhrnthitrwcsxbngansuksamiklumkhwbkhumsungepriybethiybkarihthatuehlkphanesneluxdkbkarihkinthatuehlkesrim phbhlkthanthiaennxnnxywa khnikhthiidthatuehlkphanesneluxdmioxkasmihiomoklbinthungradbthiepnepahmay 1 71 ethayingkwa hiomoklbinodythwipcamiradb 0 71 g dl sungkwakhnikhthikinthatuehlk ehlkthiekbiwintbsungpraeminodyradbefxrritinineluxdkmikha 224 84 µg L sungkwadwy aetkmihlkthanthiaennxnnxyehmuxnknwa ptikiriyaaephmioxkasekidmakkwaemuxihthatuehlkthangeluxd imchdecnwawithikarihthatuehlkmiphltxkhwamesiyngtaycakehtuthukxyangrwmthngehtukarnthanghwicaelahlxdeluxdhruxim aelakimchdecndwywacaldcanwnkhnikhthitxngthayeluxdhruxtxngfxkitidhruxim karnxn khnikhorkhiteruxrngcamipyhakarnxn imsamarthnxnhlbiddi miwithihlayxyangthixaccachwyechnethkhnikhkarphxnkhlay karxxkkalngkay karfngekhm aelaya karxxkkalngkay mihlkthanxxnthiaesdngwakarxxkkalngkayxacchwykarnxn xyangirkdi karxxkkalngkaynacachwyldkhwamxxnephliyaelakhwamsumesrainkhnikhorkhiteruxrngid karfngekhm hlkthanchiwaethkhnikhnixacmiphlelknxykhuxchwyihhlbiderwkhun nxnidnankhun aelachwyldkhwamxxnephliy aemphlcaimkhxyaennxnenuxngcakkhwamtangknkhxngkhxsrupinngansuksatang aemcaidtrwcduwithitang aethlkthankimaesdngwa withiehlannmiphlrksakhwamphidpktiinkarnxn cungimsamarthsrupwaxairepnaenwthangthidithisudephuxephimkhunphaphkarnxnkhxngkhnikhorkhiteruxrngkarrksathang eHealth pccubnyngmihlkthankhxnkhangcakdsungaesdngwakarrksathang eHealth khuxkarichethkhonolyixinethxrentinkartidtx tidtam aelarksakhnikh xacchwyeruxngcakdkarkineklux aelakarbriharkarbwmnasahrbkhnikhorkhiteruxrng aetkepnhlkthanthiaennxntacakngansuksa 43 ngan dngnn cungcaepntxngmingansuksathiihykwaaelamikhunphaphdikwa ephuxihekhaicphlkhxngkarrksathang eHealth txkhnikhorkhiteruxrng karsngkhnikhtxihkbaephthywkkwithya aenwthangptibtiinkarsngkhnikhtxiphaaephthywkkwithyacaimehmuxnkninpraethstang aetodymakkehnehmuxnknwa catxngthasahrbkhnikhraya 4 khuxemux eGFR 1 73m2 lt 30 mL min hruxemuxldlngyingkwa 3 mL min year aetnikxaccamipraoychnsahrbkhnikhrayakxnhnanidwy echn raya 3 emuxxtraxlbumintxkhriexthininekin 30 mg mmol hruxemuxkhwbkhumkhwamdnolhitimid hruxemuxmiolhitinpssawa hruxmixakarxun thichiwaepnorkhklxemxruilaebbpthmphumi hruxepnorkhthutiyphumithixaccarksaidodywithiodyechphaa praoychnxun khxngkarsngtxkhnikhihkbaephthywkkwithyarwmthngkaridkhxmulxyanglaexiydineruxngkarfxkit plukthayit karbabdthdaethnit emuxthungrayathi 5 khnikhpkticatxngidkarbabdthdaethnit RRT imwacaepnkarfxkithruxkarplukthayit emuxmiorkhiteruxrng sarphistang thipktiitcanaxxkkcasasmxyuineluxd aememuxkhnikhrayasudthaycaidkarfxkit aetradbsarphiskcaimklbsukhapktiephraakarfxkitimmiprasiththiphaphphx aelaechnediywkn aemhlngcakkarplukthayit radbphiskxaccaimklbipsukhapktiephraaitthiplukthayxaccathanganidimetmrxy aetthaemuxthaid radbkhriexthininkmkcapkti sarphiscamivththiepnphistang txesll praktineluxdodymimwlomelkultang kn bangxyangcacbxyukboprtinxun odyhlkkbxlbumin sarphisephraaitesuxmsamarthcdepnhmwd 3 hmwdkhux sarlalaynakhnadelk sarlalaynakhnadklang aelasarlalaythicbxyukboprtin karcharaeluxdphaneyuxaebb high flux hruxkarrksathiichewlananhruxthabxy aelakarephimxtrakarihlrahwangeluxdkbsarfxk dialysate idchwyephimprasiththiphaphkarkacdsarphislalaynathimikhnadelk sarphiskhnadklangcakacdidxyangmiprasiththiphaphkwathaicheyux high flux aelaichwithi hemodiafiltration aela hemofiltration aetkarfxkitkyngmikhwamcakdinkarkacdsarphisthicbxyukboprtinphyakrnorkhorkhiteruxrngcaephimkhwamesiyngorkhhwicaelahlxdeluxd odykhnikhyngmkcamikhwamesiyngxun ekiywkborkhhwicxikdwyechn phawasarikhmnsungineluxd ehtukhwamtaythisamythisudinkhnikhorkhiteruxrngkkhuxorkhhwicaelahlxdeluxd imichitway karmiorkhiteruxrngmiphlepnxtratayenuxngkbehtuthukxyangthiaeykwa sungcaaeylngeruxy emuxitthanganidnxylng ehtutaythisakhythisudkkhuxorkhhwicaelahlxdeluxd imwakhnikhcaaeylngcnthungraya 5 hruxim aemkarbabdthdaethnitxaccachwyrksaihmichiwitxyuidnan aetkhunphaphchiwitkcaaeylng karplukthayitcaephimoxkasrxdchiwitsahrbkhnikhraya 5 emuxethiybkbwithixun aetkephimoxkaskartayinrayasnephraaphlkhangekhiyngkhxngkarphatd nxkehnuxcakkarplukthayit karfxkitthiban high intensity ducasmphnthkbkarrxdchiwitthidikhunaelakbkhunphaphchiwitthidikwa emuxethiybkbkarcharaeluxdphaneyux 3 khrngtxxathityaelakarcharaeluxdphaneyuxbuchxngthxng khnikhrayasudthaycaesiyngmaerngephimkhun odykhwamesiyngcasungmaksahrbkhnthixayunxy khwamesiyngcakhxy nxylng tamxayu xngkhkrthangaephthyechphaathangaenanawa aephthyimkhwrtrwckhdkrxngmaerngsahrbkhnikhthimikhwamkhadhmaykhngchiphnxyehtuorkhiteruxrng ephraahlkthanchiwaimidthaihphllphthdikhun inedkorkhiteruxrng karimotepnphlkhangekhiyngsamy khnikhedkcasungnxykwaedkxayuediywknaelaephsediywknrxyla 97 xun sungxacrksaiddwykarihxaharesrim hruxyaechn Growth hormoneoxkasrxdchiwitodyimfxkitnganthbthwnpi 2022 idtrwcsxbkarrxdchiwitaelakhunphaphchiwitkhxngkhnikhthitdsinicimfxkitemuxepnorkhrayasudthay epnngansuksatamyaw hruxngansuksatamaephn 41 ngan odyrwmkhnikh 5 102 khn xayuechliykhxngkhnikhtxnganxyuthi 60 70 pi eGFR echliyemuxtdsinicimfxkittxnganxyuthirahwang 7 19 ml min 1 73 m2 karrxdchiwitmthythantxnganxyuthi thng 41 ngan 1 41 eduxn ngansuksacakyuorpaephndinihy cakngan 11 nganodyrwmkhnikh 1 021 khn 6 37 eduxn ngansuksacakexechiy cakngan 7 nganodyrwmkhnikh 1 147 khn 7 41 eduxn xayu 70 79 pi cakngan 9 nganodyrwmkhnikh 607 khn 7 41 eduxn xayu 80 cakngan 25 nganodyrwmkhnikh 3 186 khn 1 37 eduxn karrxdchiwitnanthisudtxngancakngansuksa 3 nganthimikhamthythansungsudxyuthi 82 79 aela 75 eduxn inchwng 8 24 eduxn khnikhcamikhwamsukhthangciticthidikhun swnkhwamxyuepnsukhthangkayaelakhunphaphchiwitodythwipcasmaesmxcnkrathngthungrayasudthaykhxngorkh nkwicyphuthbthwncungidsrupwa phlthierakhnphbidthathayaenwkhidphid thisamywa thangeluxkxunediywcakkarfxkitsahrbkhnikhorkhiteruxrngrayathay kkhux imduaelhruxwatay nganthbthwnpi 2021 idwiekhraahngansuksa 25 nganthiidepriybethiybrayakarrxdchiwitkbkhunphaphchiwitinbrrdakhnikhthifxkitaelaimfxk karrxdchiwitthwipcanankwaemuxfxkit aetemuxthungxayu 80 pikhunaelainkhnikhxayumakphumiorkhthiekidrwmkn comorbidities phlechnnicaimaennxn sahrbkhunphaphchiwit miaenwonmwakhnikhthiimfxkitcadikwawithyakarrabadorkhiteruxrng CKD idklayepnphykhukkhamsukhphaphprachachnthwolkrwmthungpraethsithy epnpccyesiyngsakhytxorkhhwicaelahlxdeluxd sngphlihesiychiwitkxnwyxnkhwr aelaxacluklamsuphawaitwayeruxrngrayasudthay ESRD sungtxngrksadwykarfxkithruxplukthayit karsuksainshrthxemrikaphbwa xtrakarekidaelaphupwyorkhiteruxrngephimsungkhunxyangtxenuxng khidepnsdswnmakkwarxyla 13 khxngprachakrinpi 2004 odykhwamchukkhxngorkhiteruxrnginrayaerimtnnn phbidmakkwarayathiepnorkhmakthung 100 etha sahrbpraethsithy khxmulkhxngsmakhmorkhitaehngpraethsithypi ph s 2552 thisuksaklumxasasmkhrxayu 18 pikhunipcanwn 3 459 khncakxaephx 20 xaephxincnghwd 10 cnghwdodyxasykarkhanwnxtrakarkrxngkhxngitcaksmkar MDRD aesdngwa prachakrithymixtrakarpwyorkhiteruxrngraya 1 5 xyuthirxyla 17 5 odykhwamchukkhxngorkhephimsungkhuntamxayu phbmakthisudinekhtkrungethphaelaprimnthl aelathinakngwlkhux khnswnihyimthrabwatnexngpwyepnorkhiteruxrng orkhiteruxrngepnehtukaresiychiwit 956 000 raythwolkinpi 2013 odyephimkhuncak 409 000 rayinpi 1990 orkhiteruxrngxnimthrabsaehtu orkhiteruxrngbangkrnicaimthrabsaehtu sungcarabuwaepn chronic kidney disease of unknown aetiology CKDu emuxpraemininpi 2020 khwamchukidephimkhunxyangnaaeplkicinimkithswrrsinekhttang khxngxemrikaklangaelaemksiok epn CKDu thieriykwa Mesoamerican nephropathy MeN inpi 2013 praeminwamichay 20 000 khnthiidesiychiwitkxnwy bangkhnxyuinchwngwy 20 hrux 30 ethann txmainpi 2020 praeminwamichay 40 000 khnthiidesiychiwit inekhtthimixubtikarnni karesiychiwitephraaorkhiteruxrngxacmakepn 5 ethakhxngxtrathwpraeths odymakekidkbekstrkrirxxy aemcayngimruehtu aetinpi 2020 nkwichakarkidphbkhwamsmphnththichdecnrahwangkarthanganhnkinekhtthirxnmakkbxubtikarnorkhiteruxrngxnimthrabsaehtu dngnn karkinnabxy karphkphxnaelakaridrmenga kxaccaldxubtikarnorkhechnniid CKDu yngmiphltxchawsrilngkaodyepnehtuihesiychiwitinorngphyabalmakthisudepnxndb 8 echuxchati khnaexfrika khnechuxsaysepn Hispanic khnexechiyit odyechphaacakpakisthan srilngka bngklaeths aelaxinediy mikhwamesiyngekidorkhiteruxrngsung khnaexfrikaesiyngephraaphuepnorkhkhwamdnsungmixtrasungmak yktwxyanginshrthechn khnechuxsayaexfrikathiepnorkhiteruxrngrayasudthayrxyla 37 miehtucakkhwamdnsungethiybkbrxyla 19 inbrrdakhnphiwkhaw prasiththiphaphinkarrksakyngtangknrahwangechuxchatitang xikdwy inbrrdakhnkhaw karihyaaekkhwamdnpkticapxngknimihorkhaeylng aetmkcamiphlnxyinkarchalxorkhitinbrrdakhnda sungmkcatxngrksaephimechn odyich bicarbonate therapy aemsthanathangsngkhmesrsthkiccamiphltxkarekidorkh aetkhwamtangkarekidorkhrahwangkhndakbkhnkhawemuxkhwbkhumpccythangsingaewdlxmxun aelwkyngchdecnxyudi aemkarekid CKDu caidbnthukepnkarepnnganinchawekstrkrirxxyinpraethskhxstarikainchwngthswrrs 1970 aetcring kxaccamiphltxekstrkremuxerimplukxxyinekhtaekhribebiynmatngaetthswrrs 1600 aelw inchwnglaxananikhm bnthukkaresiychiwitkhxngthaschawirxxymixtrasungkwathasthithanganxun stwxun sunkh xtrakarekidorkhiteruxrngkhxngsunkhxyuthi 15 8 krnitx 10 000 tw pi xtrakartayxyuthi 9 7 krnitx 10 000 tw pi xtraidmacakkhxmulpraknsunkhpraethsswiedn 600 000 tw xtrakhwamesiyngthi 1 tw pi kkhux suunkhtwhnungcamioxkasesiyngepnewlahnungpi phnthuthimixtraesiyngsungsudkhux Bernese mountain dog miniature schnauzer aelabxkesxr phnthuthimixtraesiyngnxysudkhux Swedish Elkhound isbieriynhski aela Finnish spitz aemw aemwthimiorkhiteruxrngxaccasasmsarphisthipktiitcakacd aemwxaccaduehmuxnesuxngsum skprk phxm aelaxacmikhwamdnsung xaccathaihpssawaphidpkti thaihaemwpssawamakkwapkti cungtxngkinnaephim karesiyoprtinaelawitaminthisakhythangpssawa xacthaihemaethbxlisumphidpktiaelaimxyakxahar karsasmkrdineluxdxaccamiphlepnphawakrdekin aelwekidphawaeluxdcang sungxaccathaihehnguxkpraktepnsichmphuhruxkhaw aetkarmiehnguxksipktikimichwa caimmiphawaeluxdcang aelakhwamesuxngsumechingxrrthaelaxangxingBikbov B Perico N Remuzzi G 2018 05 23 Disparities in Chronic Kidney Disease Prevalence among Males and Females in 195 Countries Analysis of the Global Burden of Disease 2016 Study Nephron 139 4 313 318 doi 10 1159 000489897 PMID 29791905 What Is Chronic Kidney Disease National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases June 2017 subkhnemux 2017 12 19 Liao MT Sung CC Hung KC Wu CC Lo L Lu KC 2012 Insulin resistance in patients with chronic kidney disease Journal of Biomedicine amp Biotechnology 2012 691369 doi 10 1155 2012 691369 PMC 3420350 PMID 22919275 Kidney Failure MedlinePlus phasaxngkvs subkhnemux 2017 11 11 What is renal failure Johns Hopkins Medicine phasaxngkvs subkhnemux 2017 12 18 Wang H Naghavi M Allen C Barber RM Bhutta ZA Carter A aelakhna October 2016 Global regional and national life expectancy all cause mortality and cause specific mortality for 249 causes of death 1980 2015 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015 Lancet 388 10053 1459 1544 doi 10 1016 s0140 6736 16 31012 1 PMC 5388903 PMID 27733281 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a ich et al xyangchdecn in last7 help Appel LJ Wright JT Greene T Kusek JW Lewis JB Wang X aelakhna April 2008 Long term effects of renin angiotensin system blocking therapy and a low blood pressure goal on progression of hypertensive chronic kidney disease in African Americans Archives of Internal Medicine 168 8 832 9 doi 10 1001 archinte 168 8 832 PMC 3870204 PMID 18443258 Chronic Kidney Disease Tests amp Diagnosis National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases October 2016 subkhnemux 2017 12 19 Kidney Failure National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases subkhnemux 2017 11 11 Managing Chronic Kidney Disease National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases October 2016 KDIGO Kidney Disease Improving Global Outcomes August 2009 PDF Kidney Int 76 Suppl 113 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2016 12 13 Go AS Chertow GM Fan D McCulloch CE Hsu CY September 2004 Chronic kidney disease and the risks of death cardiovascular events and hospitalization The New England Journal of Medicine 351 13 1296 1305 doi 10 1056 NEJMoa041031 PMID 15385656 Summary of Recommendation Statements Kidney International Supplements 3 1 5 14 January 2013 doi 10 1038 kisup 2012 77 PMC 4284512 PMID 25598998 Ferri FF 2017 Ferri s Clinical Advisor 2018 E Book 5 Books in 1 phasaxngkvs Elsevier Health Sciences pp 294 295 ISBN 9780323529570 Xie X Liu Y Perkovic V Li X Ninomiya T Hou W aelakhna May 2016 Renin Angiotensin System Inhibitors and Kidney and Cardiovascular Outcomes in Patients With CKD A Bayesian Network Meta analysis of Randomized Clinical Trials American Journal of Kidney Diseases Systematic Review amp Meta Analysis 67 5 728 41 doi 10 1053 j ajkd 2015 10 011 PMID 26597926 Wile D September 2012 Diuretics a review Annals of Clinical Biochemistry 49 Pt 5 419 31 doi 10 1258 acb 2011 011281 PMID 22783025 James PA Oparil S Carter BL Cushman WC Dennison Himmelfarb C Handler J aelakhna February 2014 2014 evidence based guideline for the management of high blood pressure in adults report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee JNC 8 JAMA 311 5 507 20 doi 10 1002 14651858 CD011339 pub2 PMC 6485696 PMID 24352797 Eating Right for Chronic Kidney Disease NIDDK National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases subkhnemux 2019 09 05 Anemia in Chronic Kidney Disease National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases July 2016 subkhnemux 2017 12 19 Mineral amp Bone Disorder in Chronic Kidney Disease National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases November 2015 subkhnemux 2017 12 19 Tjempakasari A Suroto H Santoso D December 2022 Osteoblastogenesis of adipose derived mesenchymal stem cells in chronic kidney disease patient with regular hemodialysis Annals of Medicine and Surgery 84 104796 doi 10 1016 j amsu 2022 104796 PMC 9758290 PMID 36536732 Naghavi M Wang H Lozano R Davis A Liang X Zhou M aelakhna January 2015 Global regional and national age sex specific all cause and cause specific mortality for 240 causes of death 1990 2013 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2013 Lancet 385 9963 117 71 doi 10 1016 S0140 6736 14 61682 2 PMC 4340604 PMID 25530442 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a ich et al xyangchdecn in last7 help Table 2 p 137 nph praesrith thnkiccaru nph skant bunnakh phy wrangkhna phichywngs November 2011 orkhiteruxrng Chronic Kidney Disease CKD PDF smakhmorkhitaehngpraethsithy PDF cakaehlngedimemux 2024 04 18 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Kalantar Zadeh K Lockwood MB Rhee CM Tantisattamo E Andreoli S Balducci A Laffin P Harris T Knight R Kumaraswami L Liakopoulos V Lui SF Kumar S Ng M Saadi G Ulasi I Tong A Li PK 2022 01 03 Patient centred approaches for the management of unpleasant symptoms in kidney disease Nat Rev Nephrol 18 2 001 017 doi 10 1038 s41581 021 00518 z PMID 34980890 S2CID 245636182 Hoyer FF Nahrendorf M January 2019 Uremic Toxins Activate Macrophages Circulation 139 1 97 100 doi 10 1161 CIRCULATIONAHA 118 037308 PMC 6394415 PMID 30592654 Damman K Valente MA Voors AA O Connor CM van Veldhuisen DJ Hillege HL February 2014 Renal impairment worsening renal function and outcome in patients with heart failure an updated meta analysis European Heart Journal 35 7 455 69 doi 10 1093 eurheartj eht386 PMID 24164864 Arora P Aronoff GR Mulloy LL Talavera F Verrelli M 2018 09 16 Batuman V b k Chronic Kidney Disease Medscape Hruska KA Mathew S Lund R Qiu P Pratt R July 2008 Hyperphosphatemia of chronic kidney disease Kidney International 74 2 148 57 doi 10 1038 ki 2008 130 PMC 2735026 PMID 18449174 Faul C Amaral AP Oskouei B Hu MC Sloan A Isakova T aelakhna November 2011 FGF23 induces left ventricular hypertrophy The Journal of Clinical Investigation 121 11 4393 408 doi 10 1172 JCI46122 PMC 3204831 PMID 21985788 Gutierrez OM Mannstadt M Isakova T Rauh Hain JA Tamez H Shah A aelakhna August 2008 Fibroblast growth factor 23 and mortality among patients undergoing hemodialysis The New England Journal of Medicine 359 6 584 92 doi 10 1056 NEJMoa0706130 PMC 2890264 PMID 18687639 Bacchetta J Sea JL Chun RF Lisse TS Wesseling Perry K Gales B aelakhna January 2013 Fibroblast growth factor 23 inhibits extrarenal synthesis of 1 25 dihydroxyvitamin D in human monocytes Journal of Bone and Mineral Research 28 1 46 55 doi 10 1002 jbmr 1740 PMC 3511915 PMID 22886720 Bover J Jara A Trinidad P Rodriguez M Martin Malo A Felsenfeld AJ August 1994 The calcemic response to PTH in the rat effect of elevated PTH levels and uremia Kidney International 46 2 310 7 doi 10 1038 ki 1994 276 PMID 7967341 Longo D Fauci A Kasper D Hauser S Jameson J Loscalzo J 2012 Harrison s Principles of Internal Medicine 18th ed New York McGraw Hill p 3109 ISBN 978 0 07 174890 2 Brandenburg VM Cozzolino M Ketteler M 2011 Calciphylaxis a still unmet challenge Journal of Nephrology 24 2 142 8 doi 10 5301 jn 2011 6366 PMID 21337312 Adrogue HJ Madias NE September 1981 Changes in plasma potassium concentration during acute acid base disturbances The American Journal of Medicine 71 3 456 67 doi 10 1016 0002 9343 81 90182 0 PMID 7025622 Shaikh H Aeddula NR January 2021 Anemia Of Chronic Renal Disease StatPearls Internet StatPearls Publishing PMID 30969693 NBK539871 Mak RH Ikizler AT Kovesdy CP Raj DS Stenvinkel P Kalantar Zadeh K March 2011 Wasting in chronic kidney disease Journal of Cachexia Sarcopenia and Muscle 2 1 9 25 doi 10 1007 s13539 011 0019 5 PMC 3063874 PMID 21475675 Shea MK Wang J Barger K Weiner DE Booth SL Seliger SL aelakhna August 2022 Vitamin K Status and Cognitive Function in Adults with Chronic Kidney Disease The Chronic Renal Insufficiency Cohort Current Developments in Nutrition 6 8 nzac111 doi 10 1093 cdn nzac111 PMC 9362761 PMID 35957738 Singh Manoux A Oumarou Ibrahim A Machado Fragua MD Dumurgier J Brunner EJ Kivimaki M aelakhna January 2022 Association between kidney function and incidence of dementia 10 year follow up of the Whitehall II cohort study Age and Ageing 51 1 afab259 doi 10 1093 ageing afab259 PMC 8782607 PMID 35061870 O Lone E Connors M Masson P Wu S Kelly PJ Gillespie D aelakhna June 2016 Cognition in People With End Stage Kidney Disease Treated With Hemodialysis A Systematic Review and Meta analysis American Journal of Kidney Diseases phasaEnglish 67 6 925 935 doi 10 1053 j ajkd 2015 12 028 PMID 26919914 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint unrecognized language lingk Bugnicourt JM Godefroy O Chillon JM Choukroun G Massy ZA February 2013 Cognitive disorders and dementia in CKD the neglected kidney brain axis Journal of the American Society of Nephrology phasaxngkvsaebbxemrikn 24 3 353 363 doi 10 1681 ASN 2012050536 PMID 23291474 S2CID 5248658 Kurella M Chertow GM Luan J Yaffe K November 2004 Cognitive impairment in chronic kidney disease Journal of the American Geriatrics Society 52 11 1863 1869 doi 10 1111 j 1532 5415 2004 52508 x PMID 15507063 S2CID 23257233 Vecchio M Navaneethan SD Johnson DW Lucisano G Graziano G Saglimbene V aelakhna December 2010 Interventions for treating sexual dysfunction in patients with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 12 CD007747 doi 10 1002 14651858 CD007747 pub2 PMID 21154382 Vos T Allen C Arora M Barber RM Bhutta ZA Brown A aelakhna October 2016 Global regional and national incidence prevalence and years lived with disability for 310 diseases and injuries 1990 2015 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015 Lancet 388 10053 1545 1602 doi 10 1016 S0140 6736 16 31678 6 PMC 5055577 PMID 27733282 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a ich et al xyangchdecn in last7 help khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 02 13 Orantes CM Herrera R Almaguer M Brizuela EG Nunez L Alvarado NP aelakhna April 2014 Epidemiology of chronic kidney disease in adults of Salvadoran agricultural communities MEDICC Review 16 2 23 30 doi 10 37757 MR2014 V16 N2 5 PMID 24878646 Tangri N 2013 07 29 MesoAmerican Nephropathy A New Entity eAJKD National Kidney Foundation Wesseling C Crowe J Hogstedt C Jakobsson K Lucas R Wegman DH November 2013 The epidemic of chronic kidney disease of unknown etiology in Mesoamerica a call for interdisciplinary research and action American Journal of Public Health 103 11 1927 30 doi 10 2105 AJPH 2013 301594 PMC 3828726 PMID 24028232 Johnson RJ Sanchez Lozada LG October 2013 Chronic kidney disease Mesoamerican nephropathy new clues to the cause Nature Reviews Nephrology 9 10 560 1 doi 10 1038 nrneph 2013 174 PMID 23999393 S2CID 20611337 Roncal Jimenez CA Ishimoto T Lanaspa MA Rivard CJ Nakagawa T Ejaz AA aelakhna August 2014 Fructokinase activity mediates dehydration induced renal injury Kidney International 86 2 294 302 doi 10 1038 ki 2013 492 PMC 4120672 PMID 24336030 Grovern N 2021 10 21 Global heating may lead to epidemic of kidney disease The Guardian phasaxngkvs cakaehlngedimemux 2021 10 21 subkhnemux 2021 10 25 Chavkin S Greene R 2011 12 12 Thousands of sugar cane workers die as wealthy nations stall on solutions International Consortium of Investigative Journalists subkhnemux 2012 11 26 Qaseem A Hopkins RH Sweet DE Starkey M Shekelle P December 2013 Screening monitoring and treatment of stage 1 to 3 chronic kidney disease A clinical practice guideline from the American College of Physicians Annals of Internal Medicine 159 12 835 47 doi 10 7326 0003 4819 159 12 201312170 00726 PMID 24145991 Weckmann GF Stracke S Haase A Spallek J Ludwig F Angelow A aelakhna October 2018 Diagnosis and management of non dialysis chronic kidney disease in ambulatory care a systematic review of clinical practice guidelines BMC Nephrology 19 1 258 doi 10 1186 s12882 018 1048 5 PMC 6180496 PMID 30305035 Johnson D 2011 05 02 Chapter 4 CKD Screening and Management Overview in Daugirdas J b k Handbook of Chronic Kidney Disease Management Lippincott Williams and Wilkins pp 32 43 ISBN 978 1 58255 893 6 Content initially copied from Hansen KL Nielsen MB Ewertsen C December 2015 Ultrasonography of the Kidney A Pictorial Review Diagnostics 6 1 2 doi 10 3390 diagnostics6010002 PMC 4808817 PMID 26838799 CC BY 4 0 Kidney scans Singlehealth CKD Evaluation and Management 2012 Kidney Disease Improving Global Outcomes KDIGO Retrieved 2019 07 06 National Kidney Foundation 2002 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2005 04 15 subkhnemux 2008 06 29 National Institute for Health and Clinical Excellence Clinical guideline 73 Chronic kidney disease London 2008 Kalantar Zadeh K Jafar TH Nitsch D Neuen BL Perkovic V 2021 06 24 Chronic Kidney Disease PDF Lancet 397 10293 001 017 doi 10 1016 S0140 6736 21 00519 5 PMID 34175022 S2CID 235631509 Malhotra R Nguyen HA Benavente O Mete M Howard BV Mant J aelakhna October 2017 Association Between More Intensive vs Less Intensive Blood Pressure Lowering and Risk of Mortality in Chronic Kidney Disease Stages 3 to 5 A Systematic Review and Meta analysis JAMA Internal Medicine 177 10 1498 1505 doi 10 1001 jamainternmed 2017 4377 PMC 5704908 PMID 28873137 Chauhan V Vaid M November 2009 Dyslipidemia in chronic kidney disease managing a high risk combination Postgraduate Medicine 121 6 54 61 doi 10 3810 pgm 2009 11 2077 PMID 19940417 S2CID 22730176 Kalantar Zadeh K Fouque D November 2017 Nutritional Management of Chronic Kidney Disease The New England Journal of Medicine 377 18 1765 1776 doi 10 1056 NEJMra1700312 PMID 29091561 S2CID 27499763 Passey C May 2017 Reducing the Dietary Acid Load How a More Alkaline Diet Benefits Patients With Chronic Kidney Disease J Ren Nutr Review 27 3 151 160 doi 10 1053 j jrn 2016 11 006 PMID 28117137 McMahon EJ Campbell KL Bauer JD Mudge DW Kelly JT June 2021 Altered dietary salt intake for people with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 2021 6 CD010070 doi 10 1002 14651858 cd010070 pub3 PMC 8222708 PMID 34164803 Levin A Hemmelgarn B Culleton B Tobe S McFarlane P Ruzicka M aelakhna 2008 11 18 Guidelines for the management of chronic kidney disease Canadian Medical Association Journal 179 11 1154 1162 doi 10 1503 cmaj 080351 ISSN 0820 3946 PMC 2582781 PMID 19015566 Anaemia management in people with chronic kidney disease CG114 NICE Clinical Guideline UK National Institute for Health and Care Excellence February 2011 Yang Q Abudou M Xie XS Wu T October 2014 Androgens for the anaemia of chronic kidney disease in adults The Cochrane Database of Systematic Reviews 2014 10 CD006881 doi 10 1002 14651858 CD006881 pub2 PMC 10542094 PMID 25300168 Tsujimoto T Sairenchi T Iso H Irie F Yamagishi K Watanabe H aelakhna 2014 The dose response relationship between body mass index and the risk of incident stage 3 chronic kidney disease in a general japanese population the Ibaraki prefectural health study IPHS Journal of Epidemiology 24 6 444 451 doi 10 2188 jea JE20140028 PMC 4213218 PMID 24998954 Ladhani M Craig JC Irving M Clayton PA Wong G March 2017 Obesity and the risk of cardiovascular and all cause mortality in chronic kidney disease a systematic review and meta analysis Nephrology Dialysis Transplantation 32 3 439 449 doi 10 1093 ndt gfw075 PMID 27190330 Chapman CL Grigoryan T Vargas NT Reed EL Kueck PJ Pietrafesa LD aelakhna April 2020 High fructose corn syrup sweetened soft drink consumption increases vascular resistance in the kidneys at rest and during sympathetic activation American Journal of Physiology Renal Physiology 318 4 F1053 F1065 doi 10 1152 ajprenal 00374 2019 PMC 7191446 PMID 32174139 Cheungpasitporn W Thongprayoon C O Corragain OA Edmonds PJ Kittanamongkolchai W Erickson SB December 2014 Associations of sugar sweetened and artificially sweetened soda with chronic kidney disease a systematic review and meta analysis Nephrology 19 12 791 797 doi 10 1111 nep 12343 PMID 25251417 S2CID 19747921 Conley MM McFarlane CM Johnson DW Kelly JT Campbell KL MacLaughlin HL March 2021 Interventions for weight loss in people with chronic kidney disease who are overweight or obese The Cochrane Database of Systematic Reviews 2021 3 CD013119 doi 10 1002 14651858 CD013119 pub2 PMC 8094234 PMID 33782940 McMahon EJ Campbell KL Bauer JD Mudge DW Kelly JT June 2021 Altered dietary salt intake for people with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 2021 6 CD010070 doi 10 1002 14651858 CD010070 pub3 PMC 8222708 PMID 34164803 Tam KW Wu MY Siddiqui FJ Chan ES Zhu Y Jafar TH November 2018 Omega 3 fatty acids for dialysis vascular access outcomes in patients with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 2018 11 CD011353 doi 10 1002 14651858 CD011353 pub2 PMC 6517057 PMID 30480758 Mah JY Choy SW Roberts MA Desai AM Corken M Gwini SM McMahon LP May 2020 Oral protein based supplements versus placebo or no treatment for people with chronic kidney disease requiring dialysis The Cochrane Database of Systematic Reviews 5 5 CD012616 doi 10 1002 14651858 CD012616 pub2 PMC 7212094 PMID 32390133 O Lone EL Hodson EM Nistor I Bolignano D Webster AC Craig JC February 2019 Parenteral versus oral iron therapy for adults and children with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 2019 2 CD007857 doi 10 1002 14651858 CD007857 pub3 PMC 6384096 PMID 30790278 Natale P Ruospo M Saglimbene VM Palmer SC Strippoli GF May 2019 Interventions for improving sleep quality in people with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 5 5 CD012625 doi 10 1002 14651858 cd012625 pub2 PMC 6535156 PMID 31129916 Stevenson JK Campbell ZC Webster AC Chow CK Tong A Craig JC aelakhna August 2019 eHealth interventions for people with chronic kidney disease The Cochrane Database of Systematic Reviews 2019 8 CD012379 doi 10 1002 14651858 cd012379 pub2 PMC 6699665 PMID 31425608 CKD Stage 4 davita Vanholder R De Smet R Glorieux G Argiles A Baurmeister U Brunet P aelakhna May 2003 Review on uremic toxins classification concentration and interindividual variability Kidney International 63 5 1934 43 doi 10 1046 j 1523 1755 2003 00924 x PMID 12675874 Yamamoto S Kazama JJ Wakamatsu T Takahashi Y Kaneko Y Goto S Narita I 2016 09 14 Removal of uremic toxins by renal replacement therapies a review of current progress and future perspectives Renal Replacement Therapy 2 1 doi 10 1186 s41100 016 0056 9 Perazella MA Khan S March 2006 Increased mortality in chronic kidney disease a call to action The American Journal of the Medical Sciences 331 3 150 3 doi 10 1097 00000441 200603000 00007 PMID 16538076 S2CID 22569162 Sarnak MJ Levey AS Schoolwerth AC Coresh J Culleton B Hamm LL aelakhna October 2003 Kidney disease as a risk factor for development of cardiovascular disease a statement from the American Heart Association Councils on Kidney in Cardiovascular Disease High Blood Pressure Research Clinical Cardiology and Epidemiology and Prevention Circulation 108 17 2154 69 doi 10 1161 01 CIR 0000095676 90936 80 PMID 14581387 Tonelli M Wiebe N Culleton B House A Rabbat C Fok M aelakhna July 2006 Chronic kidney disease and mortality risk a systematic review Journal of the American Society of Nephrology 17 7 2034 47 doi 10 1681 ASN 2005101085 PMID 16738019 Heidenheim AP Kooistra MP Lindsay RM 2004 Quality of life Daily and Nocturnal Hemodialysis Contrib Nephrol Contributions to Nephrology Vol 145 pp 99 105 doi 10 1159 000081673 ISBN 978 3 8055 7808 0 PMID 15496796 de Francisco AL Pinera C January 2006 Challenges and future of renal replacement therapy Hemodialysis International 10 Suppl 1 S19 23 doi 10 1111 j 1542 4758 2006 01185 x PMID 16441862 S2CID 6826119 Groothoff JW July 2005 Long term outcomes of children with end stage renal disease Pediatric Nephrology 20 7 849 53 doi 10 1007 s00467 005 1878 9 PMID 15834618 S2CID 11725547 Giri M 2004 Choice of renal replacement therapy in patients with diabetic end stage renal disease EDTNA ERCA Journal 30 3 138 42 doi 10 1111 j 1755 6686 2004 tb00353 x PMID 15715116 Pierratos A McFarlane P Chan CT March 2005 Quotidian dialysis update 2005 Current Opinion in Nephrology and Hypertension 14 2 119 24 doi 10 1097 00041552 200503000 00006 PMID 15687837 S2CID 9807935 Maisonneuve P Agodoa L Gellert R Stewart JH Buccianti G Lowenfels AB aelakhna July 1999 Cancer in patients on dialysis for end stage renal disease an international collaborative study Lancet 354 9173 93 9 doi 10 1016 S0140 6736 99 06154 1 PMID 10408483 S2CID 24527420 American Society of Nephrology Five Things Physicians and Patients Should Question PDF Choosing Wisely An Initiative of the ABIM Foundation subkhnemux 2012 08 17 Chertow GM Paltiel AD Owen WF Lazarus JM June 1996 Cost effectiveness of cancer screening in end stage renal disease Archives of Internal Medicine 156 12 1345 50 doi 10 1001 archinte 1996 00440110117016 PMID 8651845 National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases phasaxngkvsaebbxemrikn khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2022 12 09 subkhnemux 2022 12 09 Wong Susan P Y Rubenzik Tamara Zelnick Leila Davison Sara N Louden Diana Oestreich Taryn Jennerich Ann L 2022 03 14 Long term Outcomes Among Patients With Advanced Kidney Disease Who Forgo Maintenance Dialysis A Systematic Review JAMA Network Open 5 3 e222255 doi 10 1001 jamanetworkopen 2022 2255 ISSN 2574 3805 PMC 9907345 PMID 35285915 Liu Christine K Kurella Tamura Manjula 2022 03 14 Conservative Care for Kidney Failure The Other Side of the Coin JAMA Network Open 5 3 e222252 doi 10 1001 jamanetworkopen 2022 2252 ISSN 2574 3805 Buur Louise Engelbrecht Madsen Jens Kristian Eidemak Inge Krarup Elizabeth Lauridsen Thomas Guldager Taasti Lena Helbo Finderup Jeanette 2021 09 11 Does conservative kidney management offer a quantity or quality of life benefit compared to dialysis A systematic review BMC Nephrology 22 1 doi 10 1186 s12882 021 02516 6 ISSN 1471 2369 PMC 8434727 PMID 34507554 Hodal K 2020 11 27 The mystery epidemic striking Nicaragua s sugar cane workers a photo essay The Guardian Wijewickrama ES Gunawardena N Jayasinghe S Herath C June 2019 CKD of Unknown Etiology CKDu in Sri Lanka A Multilevel Clinical Case Definition for Surveillance and Epidemiological Studies Kidney International Reports 4 6 781 785 doi 10 1016 j ekir 2019 03 020 PMC 6551535 PMID 31194108 Lena P 2018 Chronic kidney disease in the dog phasaxngkvs ISBN 978 91 7760 208 8 subkhnemux 2018 06 08 Pelander L Ljungvall I Egenvall A Syme H Elliott J Haggstrom J June 2015 Incidence of and mortality from kidney disease in over 600 000 insured Swedish dogs The Veterinary Record 176 25 656 doi 10 1136 vr 103059 PMID 25940343 S2CID 25622105 Chronic Kidney Disease Cornell University College of Veterinary Medicine phasaxngkvs 2017 10 16 subkhnemux 2023 06 12 aehlngkhxmulxunDialysis Complications of Chronic Renal Failure cak Chronic Renal Failure Information 2013 03 15 thi ewyaebkaemchchin from Great Ormond Street Hospital How to Prevent Chronic Kidney Disease n World Diabetes Day 2022karcaaenkorkhDICD GB61ICD 10 N18ICD 585 9 585 1 585 5 403MeSH D007676 11288thrphyakrphaynxk 000471 article 238798 orkhiteruxrng