อะตอม หรือเดิมเรียก ปรมาณู (อังกฤษ: atom; กรีก: άτομον) เป็นหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์เสถียรชนิดเดียวที่ไม่มีนิวตรอน) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นนามสกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีภาพข้าวเหนียว
อะตอม | |
---|---|
ภาพวาดอะตอมของฮีเลียม แสดงให้เห็นนิวเคลียส (จุดสีชมพู) และการกระจายตัวของเมฆอิเล็กตรอน (สีดำ) นิวเคลียสของฮีเลียม-4 (บนขวา) ในความเป็นจริงมีลักษณะเป็นทรงกลมที่สมมาตรและคล้ายกับเมฆอิเล็กตรอนมาก แต่ไม่จำเป็นเสมอไปสำหรับนิวเคลียสอื่น ๆ ที่ซับซ้อนกว่านี้ แถบสีดำด้านซ้ายล่างแสดงความยาวหนึ่งอังสตรอม (10−10 m หรือ 100 pm) | |
ประเภท | |
การแบ่งส่วนที่ถือว่าเล็กที่สุดของธาตุเคมี | |
คุณสมบัติ | |
พิสัยมวล | 1.67×10−27 ถึง 4.52×10−25 kg |
ประจุไฟฟ้า | ศูนย์ (เป็นกลาง), หรือมีประจุไอออน |
พิสัยเส้นผ่านศูนย์กลาง | ตั้งแต่ 62 pm (He) ถึง 520 pm (Cs) (หน้าข้อมูล) |
องค์ประกอบ | อิเล็กตรอน และนิวเคลียสที่มีโปรตอนกับนิวตรอนอัดกันแน่น |
เป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น
ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยว ๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียส โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดกับโปรตอนในนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า โปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสถูกดูดเข้าหากันด้วยแรงนิวเคลียร์ ปกติแรงนิวเคลียร์เข้มกว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ยกเว้นในบางกรณีที่แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเข้มกว่าแรงนิวเคลียร์ ซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งนิวเคลียสและเกิดเป็นธาตุใหม่ เรียกว่า การสลายของนิวเคลียส
จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเป็นเลขอะตอม และเป็นตัวนิยามธาตุ ตัวอย่างเช่น อะตอมที่มีโปรตอน 29 ตัวจะเป็นธาตุทองแดง จำนวนนิวตรอนเป็นตัวระบุไอโซโทปของธาตุ อะตอมสามารถดึงดูดอะตอมอื่นตั้งแต่หนึ่งอะตอมขึ้นไปเกิดพันธะเคมีเป็นสารประกอบเคมีเช่น โมเลกุลหรือผลึก (crystal) การรวมตัวและแยกอะตอมนี้เป็นตัวการของการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพที่สังเกตได้ในธรรมชาติ วิชาที่ศึกษาเรียก เคมี
"อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า "ไม่สามารถตัดแบ่งให้เล็กลงไปได้อีก" (แต่เดิมจึงถูกเรียกในภาษาไทยว่า ปรมาณู) หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่ง ๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ
กำเนิดทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์
ไม่มีความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจกับอะตอมเพิ่มมากขึ้นนักจนกระทั่งศาสตร์ทางด้านเคมีเริ่มพัฒนาขึ้น ในปี ค.ศ. 1661 นักปรัชญาธรรมชาติ โรเบิร์ต บอยล์ เผยแพร่งานเขียนเรื่อง The Sceptical Chymist ซึ่งเขาเห็นว่าสสารประกอบขึ้นจากส่วนประกอบหลากหลายระหว่าง "corpuscules" หรืออะตอมที่แตกต่างกัน ซึ่งต่างไปจากธาตุพื้นฐานทั้งสี่คือ อากาศ ดิน ไฟ และน้ำ ปี ค.ศ. 1789 ขุนนางชาวฝรั่งเศสและนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อองตวน ลาวัวซิเยร์ กำหนดคำว่า ธาตุ (element) เพื่อใช้ในความหมายถึงสสารพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกด้วยกระบวนการทางเคมีต่อไปได้อีก
ปี ค.ศ. 1803 อาจารย์ชาวอังกฤษและนักปรัชญาธรรมชาติ จอห์น ดอลตัน (John Dalton) ใช้แนวคิดของอะตอมมาอธิบายว่าทำไมธาตุต่าง ๆ จึงมีปฏิกิริยาเป็นสัดส่วนของจำนวนเต็มเล็กที่สุดเสมอ คือ กฎสัดส่วนพหุคูณ (law of multiple proportion) และทำไมก๊าซบางชนิดจึงสลายตัวในน้ำได้ดีกว่าสารละลายอื่น เขาเสนอว่าธาตุแต่ละชนิดประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันที่ไม่เหมือนใคร และอะตอมเหล่านี้สามารถรวมตัวเข้าด้วยกันได้กลายเป็นสารประกอบทางเคมี สิ่งที่ดอลตันกำลังคำนึงถึงนี้เป็นจุดกำเนิดแรกเริ่มของทฤษฎีอะตอมยุคใหม่
ทฤษฎีเกี่ยวกับอนุภาคอีกทฤษฎีหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนขยายของทฤษฎีอะตอมด้วย) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1827 เมื่อนักพฤกษศาสตร์ โรเบิร์ต บราวน์ ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเศษฝุ่นของเมล็ดข้าวที่ลอยอยู่ในน้ำ และพบว่ามันเคลื่อนที่ไปแบบกระจัดกระจายไม่แน่นอน นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ การเคลื่อนที่แบบบราวน์ ปี ค.ศ. 1877 J. Desaulx เสนอว่าปรากฏการณ์นี้มีสาเหตุมาจากการเคลื่อนของความร้อนในโมเลกุลน้ำ และในปี ค.ศ. 1905 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้คิดค้นการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ขึ้นได้เป็นครั้งแรก นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ฌอง แปร์แรง ใช้งานของไอน์สไตน์เพื่อทำการทดลองระบุมวลและขนาดของอะตอม ซึ่งในเวลาต่อมาได้พิสูจน์ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
ปี ค.ศ. 1869 ดมีตรี เมนเดเลเยฟ อาศัยการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ยุคก่อนหน้าเช่นลาวัวซิเยร์ คิดค้นและเผยแพร่ตารางธาตุขึ้นเป็นครั้งแรก ตารางนี้ใช้เป็นตัวแทนถึงกฎการวนซ้ำ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางเคมีเฉพาะตัวของธาตุ ซึ่งจะ วนซ้ำเป็นรอบ ๆ ตามหมายเลขอะตอม
ส่วนประกอบย่อยและทฤษฎีควอนตัม
เจ. เจ. ทอมสัน นักฟิสิกส์ ค้นพบอิเล็กตรอนจากการศึกษารังสีแคโธดเมื่อปี ค.ศ. 1897 และสรุปว่ามันเป็นส่วนประกอบอยู่ในอะตอมทุกตัว ซึ่งเป็นการล้มล้างความเชื่อที่ว่าอะตอมนั้นเป็นอนุภาคเล็กที่สุดของสสารไม่สามารถแบ่งแยกได้ ทอมสันแสดงหลักฐานว่า อิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลต่ำมากนี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในอะตอม เป็นไปได้ว่าอาจหมุนวนรอบ ๆ อะตอมเหมือนวงแหวน โดยมีประจุที่สมดุลจากการลอยตัวอยู่ในทะเลอนุภาคประจุบวกอันสม่ำเสมอ ในเวลาต่อมาแนวคิดนี้รู้จักกันในชื่อ แบบจำลองอะตอมของทอมสัน (plum-pudding model)
ปี ค.ศ. 1909 ฮันส์ ไกเกอร์ และ เออร์เนสต์ มาร์สเดน ภายใต้การแนะนำของนักฟิสิกส์ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ทำการทดลองด้วยการยิงรังสีอัลฟาใส่แผ่นทองคำ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามีอะตอมฮีเลียมประจุบวก แล้วค้นพบว่าอนุภาคมีการหักเหไปเล็กน้อยเมื่อเทียบกับมุมหักเหที่ควรจะเป็นตามที่บทความของทอมสันเคยทำนายเอาไว้ รัทเทอร์ฟอร์ดตีความการทดลองนี้ว่าเป็นการบ่งชี้ถึงประจุบวกในอะตอมหนักของทองคำ และมวลส่วนมากของมันรวมตัวกันอยู่ที่นิวเคลียสซึ่งอยู่บริเวณศูนย์กลางของอะตอม เรียกชื่อแนวคิดนี้ว่า แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด
ปี ค.ศ. 1913 ขณะที่นักเคมีรังสี เฟรเดอริค ซอดดี ทำการทดลองกับผลที่ได้จากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี เขาค้นพบว่าดูเหมือนจะมีชนิดของอะตอมมากกว่าหนึ่งชนิดในแต่ละตำแหน่งของตารางธาตุมาร์กาเร็ต ท็อดด์ ตั้งชื่อคำว่า ไอโซโทป ขึ้นเพื่อใช้ในความหมายถึงอะตอมที่แตกต่างกันแต่เป็นอะตอมของธาตุเดียวกัน เจ.เจ. ทอมสัน สร้างเทคนิคในการแบ่งแยกประเภทของอะตอมจากงานเกี่ยวกับแก๊สที่แตกตัวเป็นประจุ ซึ่งต่อมาได้นำไปสู่การค้นพบไอโซโทปเสถียร
ขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1913 นักฟิสิกส์ นีลส์ บอร์ เสนอรูปแบบของอิเล็กตรอนที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เขากล่าวว่ามันมีวงโคจรหลายระดับแตกต่างกัน และสามารถกระโดดไปมาระหว่างระดับวงโคจรต่าง ๆ ได้ แต่ไม่สามารถหมุนเป็นเกลียวเข้าออกตามใจชอบระหว่างทางได้ อิเล็กตรอนตัวหนึ่ง ๆ จะต้องดูดซับหรือแผ่พลังงานปริมาณจำเพาะเจาะจงขนาดหนึ่งออกมาเพื่อเปลี่ยนระดับวงโคจรที่มีกำหนดตายตัวอยู่แล้ว เมื่อแสงจากวัตถุที่ร้อนจัดวิ่งผ่านปริซึม มันจะสร้างสเปกตรัมหลากสีขึ้น การปรากฏของระดับพลังงานต่าง ๆ ที่กำหนดตายตัวได้รับการอธิบายอย่างสมบูรณ์จากการเปลี่ยนระดับวงโคจรนี้
สามารถอธิบายถึงพันธะเคมีระหว่างอะตอมได้ในปี ค.ศ. 1916 ว่าเป็นปฏิกิริยาระหว่างอิเล็กตรอนที่เป็นส่วนประกอบภายใน ดังที่คุณสมบัติทางเคมีของธาตุเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วตามที่ปรากฏในตารางธาตุ ปี ค.ศ. 1919 นักเคมีชาวอเมริกัน เออร์วิง แลงมิวร์ เสนอวิธีการอธิบายว่า ถ้าอิเล็กตรอนในอะตอมเชื่อมต่อกันหรือจับกลุ่มกันในลักษณะบางอย่าง กลุ่มของอิเล็กตรอนน่าจะรวมกันเป็นชั้นพลังงานของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียส
ปี ค.ศ. 1918 รัทเทอร์ฟอร์ดค้นพบว่าประจุบวกภายในอะตอมแต่ละตัวจะมีจำนวนเท่ากับเลขจำนวนเต็มบวกของนิวเคลียสไฮโดรเจนเสมอ เขาลงความเห็นว่าภายในนิวเคลียสมีอนุภาคประจุบวกอยู่เรียกว่า โปรตอน อย่างไรก็ดี มวลของนิวเคลียสมักจะมากกว่าเลขเหล่านี้ ทำให้คาดการณ์กันว่ามวลส่วนที่เกินไปนั้นน่าจะเป็นของอนุภาคที่มีประจุเป็นกลาง (คือ นิวตรอน)
การทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค ในปี ค.ศ. 1922 ทำให้เรามีหลักฐานเกี่ยวกับลักษณะความเป็นควอนตัมของอะตอม เมื่อลำอนุภาคอะตอมของเงินวิ่งผ่านสนามแม่เหล็กที่มีรูปร่างเฉพาะอย่างหนึ่ง ลำอนุภาคนั้นจะแยกออกไปในทิศทางของโมเมนตัมเชิงมุมของอะตอม หรือตามสปิน เนื่องจากทิศทางนี้เกิดขึ้นแบบสุ่ม จึงคาดการณ์ว่าลำอนุภาคจะแยกออกเป็นเส้น ทว่าลำอนุภาคกลับแยกออกเป็นสองส่วนเท่านั้นตามทิศทางสปินของอะตอมว่าเป็นแบบขึ้นหรือแบบลง
ปี ค.ศ. 1924 หลุยส์ เดอ บรอย เสนอแนวคิดว่าอนุภาคทุกชนิดมีพฤติกรรมเหมือนคลื่น ปี ค.ศ. 1926 แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ใช้แนวคิดนี้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมที่อธิบายอิเล็กตรอนในลักษณะของสามมิติแทนที่จะเป็นอนุภาคแบบจุด ผลสืบเนื่องจากการใช้รูปคลื่นอธิบายอนุภาคคือ มันเป็นไปไม่ได้ในทางคณิตศาสตร์ที่จะทราบค่าที่แน่นอนทั้งตำแหน่งและโมเมนตัมของอนุภาคในเวลาเดียวกัน ในเวลาต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ หลักแห่งความไม่แน่นอน ซึ่งเรียบเรียงขึ้นโดย แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก ในปี ค.ศ. 1926 จากหลักการนี้ ถ้ากำหนดตำแหน่งที่แน่นอนของอนุภาคแล้วจะสามารถทราบเพียงขอบเขตที่เป็นไปได้ของโมเมนตัม ในทำนองกลับกันก็เช่นเดียวกัน แบบจำลองนี้สามารถใช้อธิบายผลสังเกตการณ์พฤติกรรมของอะตอมแบบที่แบบจำลองอื่น ๆ ก่อนหน้าไม่สามารถอธิบายได้ เช่นโครงสร้างของอะตอมและรูปแบบสเปกตรัมของอะตอมที่มีขนาดใหญ่กว่าไฮโดรเจน ดังนั้นแบบจำลองของอะตอมที่คล้ายคลึงกับแบบจำลองดาวเคราะห์จึงถูกละทิ้งไป หันไปใช้แบบจำลองที่อธิบายถึงโซนวงโคจรในอะตอมที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียสอันเป็นบริเวณที่น่าจะสังเกตพบอิเล็กตรอนมากที่สุด
การพัฒนาของเครื่องวิเคราะห์มวล (mass spectrometer) ทำให้สามารถตรวจวัดมวลที่แน่นอนของอะตอมได้ อุปกรณ์นี้อาศัยแม่เหล็กในการเบี่ยงเบนวิถีของลำอนุภาคไอออน และตรวจวัดปริมาณการหักเหจากอัตราส่วนระหว่างมวลอะตอมกับประจุของมัน นักเคมี ใช้เครื่องมือนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าไอโซโทปมีมวลที่ต่างออกไป มวลอะตอมของไอโซโทปเหล่านี้จะแปรค่าไปเป็นจำนวนเต็มบวก เรียกว่า กฎของเลขจำนวนเต็ม (whole number rule) การอธิบายไอโซโทปที่แตกต่างเหล่านี้ต้องรอไปอีกจนกระทั่งมีการค้นพบนิวตรอน หรืออนุภาคที่มีประจุเป็นกลางซึ่งมีมวลเท่ากับโปรตอน นักฟิสิกส์ชื่อ ค้นพบนิวตรอนในปี ค.ศ. 1932 จึงทำให้สามารถอธิบายไอโซโทปได้ในฐานะธาตุที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่มีจำนวนนิวตรอนภายในนิวเคลียสที่แตกต่างออกไป
ฟิชชัน ฟิสิกส์พลังงานสูง และสสารหนาแน่น
ปี ค.ศ. 1938 นักเคมีชาวเยอรมัน อ็อทโท ฮาน ผู้เป็นศิษย์ของรัทเทอร์ฟอร์ด ยิงนิวตรอนใส่อะตอมยูเรเนียมด้วยสมมุติฐานจะได้ธาตุหลังยูเรเนียมออกมา แต่การทดลองทางเคมีของเขากลับให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแบเรียม หนึ่งปีต่อมา ลีเซอ ไมท์เนอร์ กับผู้เป็นหลาน สามารถพิสูจน์ว่าผลลัพธ์ของฮานเป็นการทดลอง นิวเคลียร์ฟิชชัน เป็นครั้งแรก ปี ค.ศ. 1944 ฮานได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี แต่ไมต์เนอร์กับฟริสช์กลับไม่มีชื่อได้รับร่วมทั้งที่ฮานได้พยายามเสนอแล้ว
ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 มีการพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคและเครื่องตรวจจับอนุภาค ซึ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาผลกระทบจากการเคลื่อนที่ของอะตอมที่ระดับพลังงานสูง ๆ ได้ มีการค้นพบเป็นส่วนประกอบย่อยของนิวตรอนและโปรตอน ซึ่งเป็นอนุภาคประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนที่เล็กกว่าเรียกว่า ควาร์ก แบบจำลองมาตรฐานทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ได้รับการพัฒนาขึ้นจนสามารถอธิบายคุณลักษณะของนิวเคลียสได้อย่างสมบูรณ์ในรูปแบบของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมและแรงต่าง ๆ ที่มีผลต่อปฏิกิริยาของอนุภาคเหล่านั้น
ส่วนประกอบของอะตอม
อนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม
แม้คำว่า อะตอม จะมีกำเนิดจากรากศัพท์ที่มีความหมายถึงอนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป แต่การใช้งานในทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้น อะตอมยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมอีกมากมาย อนุภาคที่เป็นส่วนประกอบของอะตอมได้แก่ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน อย่างไรก็ดี อะตอมของไฮโดรเจน-1 นั้นไม่มีนิวตรอน และบวกก็ไม่มีอิเล็กตรอน
เท่าที่รู้กันในปัจจุบัน อิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่มีมวลน้อยที่สุดในบรรดาอนุภาคทั้งหมด (อนุภาคที่เล็กที่สุดและมีมวลน้อยที่สุดที่ทราบในปัจจุบันคือ อนุภาคควาร์ก) ประมาณ 9.11×10−31 kg โดยมีประจุไฟฟ้าลบและมีขนาดที่เล็กเกินกว่าจะวัดได้ด้วยเทคนิคเท่าที่มีอยู่ โปรตอนมีประจุบวก และมีมวลราว 1,836 เท่าของอิเล็กตรอน คือประมาณ 1.6726×10−27 kg แม้ว่าอาจลดลงได้จากการเปลี่ยนแปลงพลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนที่มีต่ออะตอม ส่วนนิวตรอนนั้นไม่มีประจุไฟฟ้า มีมวลราว 1,839 เท่าของมวลอิเล็กตรอน หรือ 1.6929×10−27 kg นิวตรอนกับโปรตอนมีขนาดพอ ๆ กันที่ประมาณ 2.5×10−15 ม. แม้ว่า 'พื้นผิว' ของอนุภาคเหล่านี้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนก็ตาม
ในแบบจำลองมาตรฐานทางฟิสิกส์ ทั้งโปรตอนและนิวตรอนต่างประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเรียกว่า ควาร์ก ควาร์กเป็นหนึ่งในสองชนิดของกลุ่มอนุภาคเฟอร์มิออนซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสสาร องค์ประกอบอีกตัวหนึ่งคือเลปตอน ซึ่งมีอิเล็กตรอนเป็นส่วนประกอบ ควาร์กมีอยู่ 6 ประเภท แต่ละประเภทมีประจุไฟฟ้าเป็นเศษส่วนที่แตกต่างกันคือ +2/3 หรือ −1/3 โปรตอนประกอบด้วยอัพควาร์ก 2 ตัวและดาวน์ควาร์ก 1 ตัว ขณะที่นิวตรอนประกอบด้วยอัพควาร์ก 1 ตัวและดาวน์ควาร์ก 2 ตัว ความแตกต่างนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความแตกต่างของมวลและประจุระหว่างอนุภาคสองชนิด ควาร์กยึดเหนี่ยวกันไว้ได้ด้วยแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม ซึ่งเป็นลักษณะของกลูออน กลูออนเป็นอนุภาคชนิดหนึ่งในตระกูลเกจโบซอน ซึ่งเป็นอนุภาคมูลฐานทางด้านแรงปฏิกิริยาทางฟิสิกส์
นิวเคลียส
โปรตอนกับนิวตรอนที่ยึดเหนี่ยวกันภายในอะตอมหนึ่ง ๆ จะรวมกันเป็นนิวเคลียสอะตอมขนาดเล็ก เรียกชื่อว่า นิวคลีออน รัศมีของนิวเคลียสมีค่าประมาณ โดยที่ A คือจำนวนนิวคลีออนรวม นี่มีขนาดเล็กกว่ารัศมีของอะตอมมาก ประมาณ 105 fm นิวคลีออนยึดเหนี่ยวกันเอาไว้ด้วยแรงดึงดูดระยะใกล้ ๆ เรียกว่า แรงนิวเคลียร์ ที่ระยะห่างต่ำกว่า 2.5 fm แรงนี้จะมีพลังแรงมากกว่าซึ่งทำให้ประจุโปรตอนที่เป็นบวกพยายามผลักตัวออกจากกัน
อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เรียกตัวเลขนี้ว่า หมายเลขอะตอม ในธาตุชนิดหนึ่ง ๆ อาจมีจำนวนนิวตรอนที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นตัวกำหนดค่าไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ จำนวนโดยรวมของโปรตอนกับนิวตรอนเป็นตัวระบุนิวไคลด์ จำนวนนิวตรอนเทียบกับโปรตอนเป็นตัวกำหนดความเสถียรของนิวเคลียส และไอโซโทปที่ทำให้เกิดการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
นิวตรอนกับโปรตอนต่างเป็นเฟอร์มิออนเพียงแต่เป็นคนละชนิด ตามหลักการกีดกันของเพาลี คือผลจากแรงควอนตัมทำให้เฟอร์มิออน ที่เทียบเท่ากัน ไม่สามารถมีสถานะควอนตัมเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ ดังนั้นโปรตอนทุกตัวในนิวเคลียสจึงต้องดำรงอยู่ในสถานะที่แตกต่างกันด้วยระดับพลังงานต่าง ๆ ของตัวเอง กฎเดียวกันนี้ยังใช้กับนิวตรอนทั้งหมดด้วย แต่ไม่ได้ห้ามโปรตอนกับนิวตรอนให้มีสถานะควอนตัมอันเดียวกัน
มีความเป็นไปได้ที่นิวเคลียสของอะตอมที่มีหมายเลขอะตอมต่ำซึ่งมีจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนต่างกัน จะลดสถานะพลังงานต่ำลงจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี อันทำให้จำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเกือบจะเท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นทำให้อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเกือบเท่ากันนั้นมีภาวะเสถียรขึ้นและไม่สลายตัว อย่างไรก็ดี ยิ่งหมายเลขอะตอมสูงขึ้น แรงผลักระหว่างโปรตอนก็จะยิ่งทำให้สัดส่วนนิวตรอนที่ต้องมีเพื่อรักษานิวเคลียสให้เสถียรต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้แนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนิวเคลียสที่เสถียรซึ่งมีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนเท่า ๆ กันที่หมายเลขอะตอมมากกว่า Z = 20 (แคลเซียม) ยิ่ง Z มีจำนวนมากขึ้นไปสู่นิวเคลียสธาตุหนัก สัดส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนที่ต้องมีเพื่อความเสถียรจะยิ่งเพิ่มขึ้นไปที่ประมาณ 1.5
จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสอะตอมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะต้องใช้พลังงานสูงมากเพราะมีแรงยึดเหนี่ยวที่เข้มมาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคอะตอมหลายตัวรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นนิวเคลียสใหม่ที่หนักกว่าเดิม เช่นจากการชนกันของนิวเคลียสสองตัว ยกตัวอย่างเช่นที่แกนกลางของดวงอาทิตย์ โปรตอนต้องการพลังงาน 3–10 keV เพื่อเอาชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน หรือ กำแพงคูลอมบ์ (coulomb barrier) แล้วหลอมรวมเข้าด้วยกันกลายเป็นนิวเคลียสเพียงอันเดียว ส่วนปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันจะเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม คือการที่นิวเคลียสหนึ่งแตกตัวออกเป็นนิวเคลียสขนาดเล็กกว่า 2 ตัว โดยมากเกิดขึ้นจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี นิวเคลียสยังอาจเปลี่ยนแปลงได้จากการยิงด้วยอนุภาคขนาดเล็กพลังงานสูง หรือโฟตอน ถ้าสามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสได้ อะตอมก็จะเปลี่ยนคุณลักษณะไปเป็นธาตุชนิดอื่น
ถ้ามวลของนิวเคลียสหลังจากเกิดปฏิกิริยาฟิวชันมีน้อยกว่าจำนวนมวลรวมของอนุภาคขณะที่ยังแยกกัน มวลที่แตกต่างกันระหว่างค่าทั้งสองอาจจะแพร่ออกไปในลักษณะของพลังงานบางอย่าง (เช่น รังสีแกมมา หรือพลังงานจลน์ของอนุภาคบีตา) ดังที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อธิบายไว้ในสมการสมมูลระหว่างมวล-พลังงาน E = mc2 เมื่อ m คือมวลที่สูญหายไป และ c คือความเร็วแสง จำนวนที่หายไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวเคลียสใหม่ และเป็นการสูญเสียพลังงานแบบไม่มีวิธีย้อนกลับ ซึ่งทำให้อนุภาคที่หลอมรวมกันยังคงอยู่ในสถานะที่จำเป็นต้องใช้พลังงานในระดับนั้นเพื่อแยกตัวออกจากกัน
การเกิดฟิวชันของนิวเคลียสสองตัวให้กลายเป็นนิวเคลียสเดียวที่ใหญ่ขึ้น โดยที่มีหมายเลขอะตอมต่ำกว่าเหล็กและนิกเกิล หรือจำนวนนิวคลีออนรวมประมาณ 60 เรียกว่ากระบวนการคายความร้อน ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมามากกว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการรวมตัวกัน กระบวนการปลดปล่อยพลังงานเช่นนี้เองที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในดาวฤกษ์ซึ่งสามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับนิวเคลียสธาตุหนัก พลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนในนิวเคลียสเริ่มต้นลดจำนวนลง นั่นคือกระบวนการฟิวชันที่สร้างนิวเคลียสที่มีหมายเลขอะตอมสูงกว่า 26 และมวลอะตอมมากกว่า 60 เรียกว่ากระบวนการดูดความร้อน นิวเคลียสมวลมากเหล่านี้ไม่สามารถสร้างปฏิกิริยาฟิวชันต่อเนื่องที่รักษาสภาวะสมดุลอุทกสถิตของดาวฤกษ์เอาไว้ได้
กลุ่มหมอกอิเล็กตรอน
อิเล็กตรอนในอะตอมถูกดึงดูดเอาไว้กับโปรตอนในนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงชนิดนี้ยึดเหนี่ยวอิเล็กตรอนเอาไว้ภายในหลุมพลังงานไฟฟ้าสถิตที่อยู่รอบ ๆ นิวเคลียส นั่นแสดงว่าจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากแหล่งภายนอกเพื่อช่วยให้อิเล็กตรอนหนีออกไปได้ ยิ่งอิเล็กตรอนอยู่ใกล้กับนิวเคลียสมากเท่าใด แรงดึงดูดนี้ก็ยิ่งมากขึ้น ดังนั้นอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางของหลุมพลังงานจำเป็นต้องใช้พลังงานมากกว่าเพื่อจะหนีออกมาได้
เช่นเดียวกับอนุภาคอื่น อิเล็กตรอนมีคุณสมบัติแบบทวิภาค คือเป็นทั้งอนุภาคและเป็นทั้งคลื่น เมฆอิเล็กตรอนเป็นบริเวณภายในหลุมพลังงานที่อิเล็กตรอนแต่ละตัวจะสร้างคลื่นนิ่ง 3 มิติประเภทหนึ่งขึ้น อันเป็นรูปคลื่นที่ไม่เคลื่อนที่ตามนิวเคลียส พฤติกรรมนี้ถูกกำหนดจากออร์บิทัลของอะตอม ซึ่งเป็นฟังก์ชันคณิตศาสตร์ที่แสดงคุณสมบัติความเป็นไปได้ที่อิเล็กตรอนจะปรากฏตัวขึ้นที่จุดเฉพาะหนึ่ง ๆ ขณะที่ถูกวัดตำแหน่ง รอบ ๆ นิวเคลียสจะมีออร์บิทัลที่ไม่ต่อเนื่องกันล้อมรอบอยู่ในลักษณะของควอนตา ทั้งนี้เพราะรูปแบบคลื่นอื่นที่เป็นไปได้จะสลายตัวไปอย่างรวดเร็วเข้าสู่สถานะที่เสถียรมากกว่า ออร์บิทัลอาจมีลักษณะวงแหวนหนึ่งวง หลายวง หรือเป็นโครงสร้างโหนดก็ได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากออร์บิทัลอื่น ๆ ทั้งด้านขนาด รูปร่าง และศูนย์กลาง
ออร์บิทัลอะตอมแต่ละแบบจะสอดคล้องกับระดับพลังงานเฉพาะของอิเล็กตรอนค่าหนึ่ง ๆ อิเล็กตรอนสามารถเปลี่ยนสถานะของมันไปยังระดับพลังงานที่สูงกว่าได้โดยการดูดซับโฟตอนที่มีพลังงานเพียงพอจะยกระดับตัวมันขึ้นไปสู่สถานะควอนตัมใหม่ ในทางกลับกัน กระบวนการปลดปล่อยรังสีด้วยตัวเองทำให้อิเล็กตรอนที่ระดับพลังงานสูงสามารถลดระดับพลังงานลงไปยังสถานะที่ต่ำกว่าได้ขณะที่แผ่พลังงานส่วนเกินออกไปเป็นโฟตอน คุณลักษณะของค่าพลังงานที่กำหนดจากสถานะควอนตัมที่แตกต่างกันนี้ เป็นสาเหตุของการเกิดเส้นสเปกตรัม
ปริมาณพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ (ทั้งแบบเพิ่มเข้าไปหรือปลดปล่อยออกมา) ในการเปลี่ยนสถานะของอิเล็กตรอนนี้น้อยกว่าพลังงานยึดเหนี่ยวของนิวคลีออนมาก เช่น จำเป็นต้องใช้พลังงานเพียง 13.6 eV เพื่อให้อิเล็กตรอนจากอะตอมของไฮโดรเจนเปลี่ยนระดับลงไปยัง เทียบกับพลังงาน 2.23 ล้าน eV ในการแยกนิวเคลียสของดิวเทอเรียม อะตอมมีประจุเป็นกลางถ้ามันมีจำนวนโปรตอนกับอิเล็กตรอนเท่ากัน อะตอมที่มีอิเล็กตรอนมากหรือน้อยกว่าปกติเรียกว่า ไอออน อิเล็กตรอนที่อยู่ไกลจากนิวเคลียสมากอาจถ่ายโอนไปยังอะตอมข้างเคียง หรืออยู่ร่วมระหว่างสองอะตอมก็ได้ ด้วยกลไกนี้ อะตอมจึงสามารถเกิดพันธะเคมีกลายเป็นโมเลกุลและสารประกอบเคมีอื่น ๆ เช่น การเกิดผลึกแบบหรือโคเวเลนต์
โครงสร้างของเมฆอิเล็กตรอนอาจเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนอิเล็กตรอนที่มีในกลุ่มเมฆนั้น มีวิธีการนับจำนวนอิเล็กตรอนที่แตกต่างกันอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น กฎออกเตต หรือ ซึ่งโดยมากจะใช้เป็นเพียงกฎช่วยจำและไม่ได้ใช้แบบเดียวกันกับอะตอมทุกชนิด นักศึกษาใหม่ในวิชาเคมีมักถูกสอนให้จำโครงสร้างอะตอมแบบง่าย ๆ เป็น 2, 8, 8, 8, 8, 8, 8, [...] ทั้งนี้เพื่อให้ลำดับการสอนทำได้ง่ายขึ้น แต่จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละเชลล์สำหรับอะตอมขนาดใหญ่ที่จริงแล้วมีจำนวนที่ต่างไปจากนี้ เช่น 2, 8, 18, 32, 50, 72 แต่ต้องเป็นนักศึกษาชั้นสูงจึงค่อยทำความเข้าใจกับความซับซ้อนนี้
คุณสมบัติ
คุณสมบัติทางนิวเคลียร์
ตามคำนิยามแล้ว อะตอมสองตัวที่มีจำนวน โปรตอน ในนิวเคลียสเท่ากัน จะเป็นอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากันแต่มีจำนวน นิวตรอน แตกต่างกันจัดว่าเป็นไอโซโทปของธาตุเดียวกัน ตัวอย่างเช่น อะตอมของไฮโดรเจนทั้งหมดจะมีโปรตอน 1 ตัวเหมือนกัน แต่ไอโซโทปของไฮโดรเจนมีหลายชนิด ตั้งแต่แบบไม่มีนิวตรอน คือ ไฮโดรเจน-1, แบบนิวตรอน 1 ตัว (ดิวเทอเรียม), แบบนิวตรอน 2 ตัว (ทริเทียม) และที่มีนิวตรอนมากกว่า 2 ตัว ไฮโดรเจน-1 เป็นรูปแบบที่พบกันแพร่หลายมากที่สุด บางคราวก็เรียกว่า โปรเทียม ธาตุที่เรารู้จักแล้วมีกลุ่มหมายเลขอะตอมตั้งแต่ไฮโดรเจน ซึ่งมีโปรตอน 1 ตัว ไปจนถึง ออกาเนสซอน ซึ่งเป็นธาตุที่มีโปรตอน 118 ตัว ไอโซโทปของธาตุทั้งหมดที่เรารู้จักที่มีหมายเลขอะตอมมากกว่า 82 จัดเป็นสารกัมมันตรังสี
มีนิวไคลด์อยู่ 339 ชนิดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลก ในจำนวนนี้ 256 ชนิด (ประมาณ 76%) ไม่พบการสลายตัว ซึ่งจะเรียกว่าเป็นไอโซโทปเสถียร ในบรรดาธาตุ 80 ชนิดจะมีไอโซโทปเสถียรอย่างน้อย 1 ตัว สำหรับธาตุหมายเลข 43, 61, และทุกธาตุที่หมายเลข 83 หรือสูงกว่า ไม่มีไอโซโทปที่เสถียร อาจกำหนดเป็นกฎได้ว่า สำหรับธาตุทุกชนิด มีไอโซโทปเสถียรอยู่เพียงจำนวนน้อยนิด เฉลี่ยมีไอโซโทปเสถียรประมาณ 3.1 ตัวต่อธาตุที่มีไอโซโทปเสถียร มีธาตุอยู่ 27 ชนิดที่มีไอโซโทปเสถียรเพียงตัวเดียว ขณะที่จำนวนไอโซโทปเสถียรมากที่สุดเท่าที่เคยพบคือ 10 โดยพบในดีบุก
ความเสถียรของไอโซโทปเกิดจากสัดส่วนระหว่างโปรตอนต่อนิวตรอน รวมไปถึง "จำนวนมหัศจรรย์" ของนิวตรอนหรือโปรตอนที่แสดงถึงระดับพลังงานควอนตัมทั้งแบบ closed และแบบ filled ระดับชั้นพลังงานควอนตัมเหล่านี้คือระดับพลังงานภายในแบบจำลองชั้นพลังงานของนิวเคลียส ดังเช่น filled shell ของโปรตอน 50 ตัวในดีบุก แสดงถึงความเสถียรของนิวไคลด์แบบไม่ปกติ จากจำนวนนิวไคลด์เสถียรทั้งหมดที่รู้จักกัน 256 ชนิด มีเพียง 4 ชนิดเท่านั้นที่มีจำนวนโปรตอนและนิวตรอนเป็นเลขคี่ ได้แก่ ไฮโดรเจน-2 (ดิวเทอเรียม), , และ นอกจากนี้ สำหรับนิวไคลด์กัมมันต์แบบคี่-คี่ ที่มีครึ่งชีวิตมากกว่าพันล้านปี ก็มีเพียง 4 ชนิดเท่านั้นคือ , , และ นิวเคลียสที่มีจำนวนแบบคี่-คี่ ส่วนใหญ่จะไม่เสถียรอย่างมากโดยเกิดการสลายปลดปล่อยอนุภาคบีตา เพราะผลจากการสลายนั้นจะได้จำนวนมาเป็นแบบคู่-คู่ ซึ่งเป็นพันธะที่แข็งแรงกว่า ตาม nuclear pairing effects
มวล
เนื่องจากมวลส่วนมากของอะตอมอยู่ในโปรตอนและนิวตรอน ดังนั้นจำนวนรวมของอนุภาคเหล่านี้ (เรียกรวมกันว่า "นิวคลีออน") ในอะตอมหนึ่ง ๆ จึงเรียกว่าเป็น เลขมวล โดยมากมักจะแสดงมวลนิ่งโดยใช้หน่วยมวลอะตอม (u) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า ดาลตัน (Da) หน่วยนี้นิยามจาก 1 ส่วน 12 ของมวลของอะตอมอิสระที่เป็นกลางของ ซึ่งมีค่าประมาณ 1.66×10−27 kgไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นไอโซโทปที่เบาที่สุดของไฮโดรเจนและเป็นอะตอมที่มีมวลน้อยที่สุด มีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 1.007825 u อะตอมหนึ่ง ๆ จะมีมวลโดยประมาณเท่ากับเลขมวลคูณด้วยหน่วยมวลอะตอมที่หนักที่สุด คือ ตะกั่ว-208 ซึ่งมีมวล 207.9766521 u
ถึงแม้จะเป็นอะตอมที่มีมวลมากที่สุด มันก็ยังเบาเกินกว่าที่เราจะไปทำอะไรด้วยโดยตรงได้ นักเคมีจึงนิยมใช้หน่วย โมล แทน โมลมีนิยามว่า หนึ่งโมลของธาตุใด ๆ จะมีจำนวนอะตอมเท่ากันเสมอ (ประมาณ 6.022×1023) ที่เลือกใช้จำนวนนี้ก็เพื่อว่า ถ้าธาตุใด ๆ มีเลขอะตอมเป็น 1 u แล้ว โมลอะตอมของธาตุนั้นจะมีมวลใกล้เคียงกับ 0.001 กก. หรือ 1 กรัม อาศัยคำนิยามของหน่วยมวลอะตอมนี้ จึงมีมวลอะตอมเท่ากับ 12 u พอดี และหนึ่งโมลของอะตอมคาร์บอนมีน้ำหนักเท่ากับ 0.012 กก.
รูปร่างและขนาด
เราไม่สามารถบอกขอบเขตที่แน่นอนของอะตอมได้ การบอกขนาดของอะตอมจึงมักอธิบายในลักษณะรัศมีอะตอม คือการวัดระยะห่างของเมฆอิเล็กตรอนที่แผ่ออกไปจากนิวเคลียส อย่างไรก็ดี การบอกระยะห่างเช่นนี้อยู่บนสมมุติฐานว่าอะตอมมีรูปร่างเป็นทรงกลม ซึ่งจะเป็นจริงก็ต่อเมื่ออะตอมนั้นอยู่ในสุญญากาศหรืออวกาศเสรีเท่านั้น รัศมีอะตอมหาได้จากระยะห่างระหว่างนิวเคลียสอะตอม 2 ตัวที่ดึงดูดกันอยู่ในพันธะเคมี มีค่าแปรเปลี่ยนไปตามแต่ตำแหน่งของอะตอมบนแผนผังอะตอม หรือตามชนิดของพันธะเคมี จำนวนอะตอมเพื่อนบ้าน (เลขโคออร์ดิเนชัน) และคุณสมบัติทางควอนตัมที่เรียกว่า สปิน ตามที่ปรากฏในตารางธาตุ ขนาดอะตอมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถ้ายิ่งอยู่ในคอลัมน์ที่ต่ำลงไปข้างล่าง แต่มีขนาดเล็กลงหากเปรียบเทียบจากด้านซ้ายไปขวา เทียบกันแล้ว อะตอมที่มีขนาดเล็กที่สุดคืออะตอมของฮีเลียม ซึ่งมีรัศมี 32 พิโคเมตร ส่วนอะตอมใหญ่ที่สุดคือ ซีเซียม มีขนาด 225 พิโคเมตร
ถ้าอะตอมอยู่ในสนามพลังงานอื่น ๆ เช่น สนามไฟฟ้า รูปร่างของอะตอมจะบิดเบี้ยวไปไม่เป็นทรงกลม การเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับขนาดความแรงของสนามพลังงานและชนิดวงโคจรของอิเล็กตรอนในเชลล์นอกสุด ซึ่งแสดงไว้ในทฤษฎีกรุป การเปลี่ยนแปลงรูปร่างอื่น ๆ เช่นรูปทรงคริสตัล เกิดขึ้นจากสนามพลังงานไฟฟ้า-คริสตัล ในการก่อตัวแบบสมมาตรต่ำ มีรูปทรงโดดเด่นอีกแบบหนึ่งคือทรงรี เกิดขึ้นกับไอออนซัลเฟอร์ในสารประกอบประเภท pyrite
มิติของอะตอมนั้นเล็กกว่าความยาวคลื่นของแสง (400-700 นาโนเมตร) นับหลายพันเท่า จึงไม่สามารถมองดูอะตอมด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงได้ อย่างไรก็ดี เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยว ๆ ได้โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ ซึ่งบางตัวอย่างอาจแสดงให้เห็นความเล็กจิ๋วของอะตอมได้ เส้นผมของมนุษย์มีขนาดความกว้างประมาณ 1 ล้านเท่าของอะตอมคาร์บอน หยดน้ำหนึ่งหยดมีอะตอมออกซิเจนอยู่ประมาณ 2 เซ็กซ์ทิลเลียน (2×1021) และอะตอมไฮโดรเจนอีก 2 เท่าของจำนวนนี้เพชร 1 กะรัต มีมวล 2×10−4 กิโลกรัม ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนจำนวน 10 เซ็กซ์ทิลเลียน (1022) อะตอม ถ้าเราขยายขนาดผลแอปเปิ้ลให้ใหญ่เท่าขนาดของโลก หนึ่งอะตอมในแอปเปิ้ลจะมีขนาดประมาณผลแอปเปิ้ลปกติ
การสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
ธาตุทุกชนิดจะมีไอโซโทปอย่างน้อยหนึ่งตัวที่มีนิวเคลียสที่ไม่เสถียร และมีการสลายตัวของกัมมันตรังสี ทำให้นิวเคลียสนั้นปลดปล่อยอนุภาคออกมาหรือเกิดการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า การแผ่กัมมันตรังสีสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อรัศมีของนิวเคลียสมีขนาดใหญ่กว่าเทียบกับรัศมีของแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม ซึ่งส่งแรงได้ในระยะทางเพียง 1 fm
รูปแบบการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่พบกันมากที่สุด ได้แก่
- การสลายปลดปล่อยอนุภาคอัลฟา เกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสปลดปล่อยอนุภาคอัลฟาออกมา คือนิวเคลียสฮีเลียมที่ประกอบด้วยโปรตอน 2 ตัวและนิวตรอน 2 ตัว ผลจากการแผ่รังสีชนิดนี้จะได้ธาตุใหม่ที่มีเลขอะตอมน้อยลง
- การสลายปลดปล่อยอนุภาคบีตา เกิดขึ้นเนื่องจากแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงนิวตรอนกลายไปเป็นโปรตอน หรือโปรตอนกลายเป็นนิวตรอน แบบแรกคือการแผ่อิเล็กตรอน 1 ตัวกับแอนตินิวตริโน 1 ตัว ส่วนแบบที่สองเป็นการแผ่โพสิตรอน 1 ตัวกับ นิวตริโน 1 ตัว การแผ่อนุภาคของอิเล็กตรอนหรือโพสิตรอนนั้นเรียกว่าอนุภาคบีตา ผลจากการแผ่รังสีชนิดนี้อาจทำให้เลขอะตอมของนิวเคลียสเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างละ 1 หน่วย
- การสลายปลดปล่อยอนุภาคแกมมา เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของนิวเคลียสไปยังระดับที่ต่ำกว่า ทำให้เกิดการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา อาจเกิดขึ้นหลังจากมีการปลดปล่อยอนุภาคอัลฟาหรือบีตาในการสลายตัวของกัมมันตรังสีแล้วก็ได้
การสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแบบอื่น ๆ ที่พบค่อนข้างน้อย ได้แก่การปล่อยลำอนุภาคนิวตรอนหรือโปรตอน หรือกลุ่มของนิวคลีออนจากนิวเคลียส การปล่อยอนุภาคบีตามากกว่า 1 ตัว หรือการเกิดอิเล็กตรอนความเร็วสูง (จาก) ซึ่งมิใช่รังสีบีตา และโฟตอนพลังงานสูงที่มิใช่รังสีแกมมา
ไอโซโทปกัมมันต์แต่ละตัวจะมีระยะเวลาในการปลดปล่อยอนุภาค หรือครึ่งชีวิต ที่เฉพาะตัว ซึ่งกำหนดจากระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำให้สารตัวอย่างนั้นสลายตัวไปเหลือเพียงครึ่งเดียว อันเป็นกระบวนการสลายตัวแบบเอ็กโปเนนเชียล สัดส่วนของไอโซโทปที่เหลืออยู่เป็น 50% ของทุก ๆ ระยะครึ่งชีวิตจะลดลงเรื่อย ๆ นั่นคือ หลังจากที่ผ่านระยะครึ่งชีวิตไป 2 ครั้ง จะเหลือปริมาณไอโซโทปนั้นอยู่ 25% ของจำนวนในครั้งแรก และลดลงในลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ
โมเมนต์แม่เหล็ก
อนุภาคมูลฐานจะมีคุณสมบัติภายในเชิงกลศาสตร์ควอนตัมประการหนึ่งรู้จักกันในชื่อ สปิน หากเปรียบเทียบก็อาจคล้ายคลึงกับโมเมนตัมเชิงมุมของวัตถุที่หมุนรอบจุดศูนย์กลางมวลของตัวเอง แม้ว่าถ้าจะพูดให้เคร่งครัดแล้ว อนุภาคเหล่านี้มีลักษณะเป็นเหมือนจุดซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่ามันกำลังหมุน การวัดค่าสปินใช้หน่วยของค่าคงที่ของพลังค์ (ħ) โดยที่อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน ล้วนมีค่าสปิน ½ ħ, or "spin-½" ในอะตอมหนึ่ง ๆ อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปรอบนิวเคลียสจะมีโมเมนตัมเชิงมุมในวงโคจรเพิ่มไปกับสปินของมัน ขณะที่ตัวนิวเคลียสเองนั้นมีโมเมนตัมเชิงมุมขึ้นกับนิวเคลียร์สปินของมัน
สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นโดยอะตอม (หรือโมเมนต์แม่เหล็กของมัน) สามารถนิยามได้จากรูปแบบที่แตกต่างกันของโมเมนตัมเชิงมุม ว่าเป็นวัตถุมีประจุที่กำลังหมุนรอบตัวเองและสร้างสนามแม่เหล็กออกมา อย่างไรก็ดี คุณลักษณะอันโดดเด่นที่สุดก็เกิดขึ้นมาจากสปิน โดยธรรมชาติของอิเล็กตรอนแล้ว มันจะเป็นไปตามหลักการกีดกันของเพาลี กล่าวคือ ไม่มีทางที่จะพบอิเล็กตรอน 2 ตัวอยู่ในเดียวกันได้ อิเล็กตรอนที่เป็นคู่จะอยู่ตรงกันข้ามกัน ถ้าสมาชิกหนึ่งอยู่ในสถานะสปินขึ้น อีกตัวจะอยู่ในสถานะตรงกันข้าม คือสปินลง ดังนั้นค่าสปินทั้งสองจะหักล้างกันเอง ทำให้ลดแรงแม่เหล็กสองขั้วลงเป็นศูนย์สำหรับอะตอมบางตัวที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเป็นเลขคู่
ในธาตุที่มีคุณสมบัติของ อย่างเช่น เหล็ก จำนวนอิเล็กตรอนที่เป็นเลขคี่ทำให้มีอิเล็กตรอนเหลือซึ่งไม่มีคู่ และทำให้เกิดผลรวมโมเมนต์แม่เหล็กสุทธิขึ้น วงโคจรของอะตอมข้างเคียงจะซ้อนทับกัน และไปสู่สถานะพลังงานที่ต่ำกว่าเมื่อสปินของอิเล็กตรอนที่ไม่มีคู่ได้แนวตรงกันกับตัวอื่น กระบวนการนี้รู้จักกันในชื่อ อันตรกิริยาแลกเปลี่ยน (exchange interaction) เมื่อเกิดแนวโมเมนต์แม่เหล็กของอะตอมแม่เหล็กเฟอร์โรขึ้น สสารนั้นก็สามารถสร้างสนามแรงขนาดใหญ่ขึ้นจนตรวจวัดได้ สสารแบบพาราแม็กเนติกมีอะตอมที่มีโมเมนต์แม่เหล็กซึ่งสร้างแนวขึ้นในทิศทางแบบสุ่มโดยที่ไม่สามารถตรวจพบสนามแม่เหล็กเลย แต่โมเมนต์แม่เหล็กของอะตอมแต่ละตัวนั้นเรียงแนวกันตามการก่อตัวของสนาม
นิวเคลียสของอะตอมก็สามารถมีค่าสปินสุทธิได้เช่นกัน ตามปกติแล้วนิวเคลียสเหล่านี้จะเรียงตัวกันในทิศทางแบบสุ่ม อันเนื่องมาจาก อย่างไรก็ดี มีธาตุบางตัว (เช่น ซีนอน-129 ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการเกิดขั้วสปินที่สถาวะนิวเคลียร์สปินอย่างมีนัยสำคัญ จนมันเรียงตัวกันในทิศทางเดียวกันได้ เงื่อนไขเช่นนี้เรียกว่า hyperpolarization ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้กับการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI)
ระดับพลังงาน
อิเล็กตรอนที่ถูกดึงดูดอยู่ภายในอะตอมหนึ่ง ๆ จะมีพลังงานศักย์ซึ่งแปรผกผันกับระยะห่างของมันจากนิวเคลียส ค่านี้วัดได้จากขนาดของพลังงานที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้อิเล็กตรอนนั้นหลุดออกจากอะตอม โดยปกติใช้หน่วยวัดเป็น อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) ในแบบจำลองกลศาสตร์ควอนตัม อิเล็กตรอนที่มีพันธะจะสามารถครอบครองสถานะจำนวนหนึ่งรอบนิวเคลียส แต่ละสถานะนั้นสอดคล้องกับระดับพลังงานที่เฉพาะเจาะจง ระดับพลังงานที่ต่ำที่สุดของอิเล็กตรอนเรียกว่า สภาวะพื้น (ground state) ส่วนอิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานที่สูงกว่าจะเรียกว่าอยู่ในสภาวะกระตุ้น (excited state)
อิเล็กตรอนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างสภาวะที่แตกต่างกันสองสภาวะ จะต้องดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนออกมาที่ระดับพลังงานหนึ่งซึ่งเท่ากับค่าแตกต่างของพลังงานศักย์ของสภาวะทั้งสอง พลังงานของโฟตอนที่ปลดปล่อยออกมาเป็นสัดส่วนกับความถี่ของมัน ดังนั้นระดับพลังงานที่เฉพาะเจาะจงจะมีช่วงสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นเอกลักษณ์ ธาตุแต่ละชนิดจะมีสเปกตรัมเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประจุนิวเคลียร์ ระดับพลังงานย่อยของอิเล็กตรอน อันตรกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างอิเล็กตรอน และปัจจัยอื่น ๆ
เมื่อสเปกตรัมพลังงานที่ต่อเนื่องผ่านแก๊สหรือพลาสมา โฟตอนบางส่วนจะถูกอะตอมดูดกลืนไป ทำให้อิเล็กตรอนเปลี่ยนแปลงระดับพลังงาน อิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้นเหล่านั้นซึ่งยังคงถูกดึงดูดอยู่กับอะตอม จะปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นโฟตอน โดยปลดปล่อยออกมาทุกทิศทางอย่างสุ่ม จากนั้นก็ตกลงไปยังระดับพลังงานที่ต่ำกว่า ดังนั้นอะตอมจึงทำตัวเหมือนตัวกรอง ซึ่งทำให้เกิดแนวเส้นดูดกลืนมืด ๆ ต่อเนื่องขึ้นที่พลังงานที่ส่งออกมา (ผู้สังเกตที่มองดูอะตอมจากมุมอื่นซึ่งไม่ได้รวมเอาสเปกตรัมต่อเนื่องเป็นฉากหลัง จะมองเห็นเส้นปลดปล่อยของโฟตอนที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมแทน) เครื่องมือวัดสเปกโตรสโกปีสำหรับความแรงและความกว้างของเส้นสเปกตรัมจะช่วยให้เราสามารถระบุองค์ประกอบและคุณสมบัติทางกายภาพของสสารนั้นได้
การตรวจสอบเส้นสเปกตรัมอย่างละเอียดพบว่ามีการแบ่งแยกเชิงโครงสร้างอย่างละเอียดจำนวนหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจาก การคู่ควบของสปินกับออร์บิท (spin-orbit coupling) อันเป็นอันตรกิริยาระหว่างสปินกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด เมื่ออะตอมอยู่ในสนามแม่เหล็กภายนอก เส้นสเปกตรัมจะแยกออกเป็นสามส่วนหรือมากกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า (Zeeman effect) ซึ่งเกิดขึ้นจากอันตรกิริยาของสนามแม่เหล็กกับโมเมนต์แม่เหล็กของอะตอมและอิเล็กตรอนภายใน อะตอมบางตัวอาจมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่ระดับพลังงานเดียวกัน ซึ่งจะปรากฏออกมาเป็นเส้นสเปกตรัมหนึ่งเส้น อันตรกิริยาระหว่างสนามแม่เหล็กกับอะตอมจะทำให้การจัดเรียงอิเล็กตรอนนี้เคลื่อนไปที่ระดับพลังงานระดับอื่น ส่งผลให้มีเส้นสเปกตรัมหลายเส้น การที่มีสนามไฟฟ้าภายนอกนี้สามารถทำให้เกิดการแยกตัวและการเคลื่อนตัวของเส้นสเปกตรัมที่เปรียบเทียบกันได้โดยการดัดแปลงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า (Stark effect)
ถ้าอิเล็กตรอนใต้แรงดึงดูดอยู่ในสภาวะกระตุ้น โฟตอนที่มีพลังงานเหมาะสมสามารถด้วยระดับพลังงานที่ตรงกัน การจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อิเล็กตรอนต้องลดระดับพลังงานลงไปยังสภาวะที่ต่ำกว่าที่ทำให้มีความแตกต่างของระดับพลังงานเท่ากับพลังงานของโฟตอนที่อยู่ในภาวะกระตุ้น โฟตอนที่เปล่งแสงออกมากับโฟตอนในสภาวะกระตุ้นจะเคลื่อนตัวออกโดยขนานกันและด้วยเฟสที่ตรงกัน นั่นก็คือรูปแบบของคลื่นของโฟตอนทั้งสองนั้นสอดประสานกันพอดี คุณสมบัติทางกายภาพเช่นนี้ใช้ในการสร้างเลเซอร์ ซึ่งสามารถเปล่งลำแสงเชื่อมต่อกันของพลังงานแสงภายในแถบความถี่แคบ ๆ แถบหนึ่ง
พฤติกรรมของเวเลนซ์และแรงยึดเหนี่ยว
วงโคจรอิเล็กตรอนชั้นนอกสุดของอะตอมในสภาวะที่ไม่ได้รวมกัน รู้จักกันในชื่อว่า วงโคจรเวเลนซ์ อิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรนี้จะเรียกชื่อว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน จำนวนของเวเลนซ์อิเล็กตรอนหาได้จากพฤติกรรมของแรงยึดเหนี่ยวกับอะตอมอื่น ๆ เพราะอะตอมมีแนวโน้มจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับอะตอมอื่น ๆ ในลักษณะที่คอยเติมเต็ม (หรือทำให้ว่าง) วงโคจรเวเลนซ์ชั้นนอกสุด ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนเดี่ยวระหว่างอะตอมเป็นการประมาณการที่มีประโยชน์สำหรับพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีอิเล็กตรอนในวงโคจรเกินมา 1 ตัว กับอีกอะตอมหนึ่งที่ขาดอิเล็กตรอนในวงโคจรไป 1 ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ และเกลือไอออนทางเคมีอื่น ๆ อย่างไรก็ดี ธาตุหลายชนิดปรากฏว่ามีเวเลนซ์หลายตัว หรือมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในสารประกอบที่แตกต่างกันเป็นจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้นพันธะเคมีระหว่างธาตุเหล่านี้จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนหลายรูปแบบซึ่งมีการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนมากกว่า 1 ตัว ตัวอย่างเหล่านี้รวมไปถึงธาตุคาร์บอนและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ
ธาตุเคมีมักจะปรากฏตัวในตารางธาตุ ซึ่งวางตำแหน่งตามคุณสมบัติทางเคมีที่ปรากฏ ธาตุที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็นเลขเดียวกันจะจับกลุ่มรวมกันแสดงในแนวดิ่งในตาราง หรืออยู่ในคอลัมน์เดียวกัน (ส่วนแถวแนวนอนสื่อถึงการเติมวงโคจรควอนตัมของอิเล็กตรอน) ธาตุที่อยู่ทางขวาของตารางจะมีอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกอย่างสมบูรณ์ ทำให้มันมีลักษณะเฉื่อยในทางเคมี รู้จักกันในชื่อ แก๊สมีสกุล
สถานะ
จำนวนอะตอมที่พบในสถานะต่าง ๆ ของสสาร ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางกายภาพของสสารนั้น ๆ เช่น อุณหภูมิและความดัน เมื่อแปรเงื่อนไขเหล่านี้ สสารนั้นก็สามารถเปลี่ยนสภาพไประหว่างของแข็ง ของเหลว ก๊าซ และพลาสมา ในสถานะหนึ่ง ๆ สสารสามารถดำรงอยู่ในสภาพที่แตกต่างกันก็ได้ ตัวอย่างของกรณีนี้เช่น คาร์บอน ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ทั้งในรูปของแกรไฟต์ หรือเพชร
เมื่ออุณหภูมิมีค่าเข้าใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ อะตอมจะเกิดการควบแน่นของโบส-ไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นจุดที่กลศาสตร์ควอนตัมที่ตามปกติสามารถสังเกตการณ์ได้เฉพาะในระดับอะตอมเท่านั้น เริ่มส่งผลและสามารถสังเกตการณ์ในระดับมหภาคได้ กลุ่มของอะตอมที่เย็นยิ่งยวดนี้จะมีพฤติกรรมเป็นหนึ่งเดียว ทำให้สามารถตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐานของพฤติกรรมทางกลศาสตร์ควอนตัมได้
การตรวจจับ
กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ คือเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจดูพื้นผิวในระดับอะตอม อาศัยปรากฏการณ์ quantum tunneling ซึ่งยอมให้อนุภาคข้ามผ่านชั้นพลังงานที่ตามปกติแล้วจะข้ามไปไม่ได้ อุโมงค์อิเล็กตรอนในสุญญากาศระหว่างแผ่นโลหะอิเล็กโทรดสองชิ้นซึ่งมีชั้นของอะตอมสะสมอยู่ จะทำให้เกิดความหนาแน่นของกระแสในอุโมงค์จนทำให้สามารถตรวจวัดได้ การสแกนอะตอมตัวหนึ่ง (เรียกว่า tip) ขณะที่มันวิ่งผ่านอะตอมอีกตัวหนึ่ง (อะตอมตัวอย่าง) ทำให้สามารถวาดภาพการเคลื่อนที่ของ tip เทียบกับกระแสการเคลื่อนที่ของอะตอมที่แยกกัน ผลการคำนวณทำให้เราสามารถสร้างภาพจากกล้องจุลทรรศน์ scanning tunneling microscope ขึ้นมาเป็นภาพของอะตอมแต่ละอะตอมได้ ภาพเหล่านี้ช่วยยืนยันว่า ที่การกระตุ้นขนาดต่ำ ระยะห่างเฉลี่ยของวงโคจรอิเล็กตรอนจะอยู่ใกล้กับระดับพลังงานแฟร์มี ซึ่งเป็นระดับโดยปกติ
อะตอมอาจมีประจุขึ้นมาได้ถ้าเอาอิเล็กตรอนตัวหนึ่งออกไปเสีย ประจุไฟฟ้าจะทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของอะตอมเอียงโค้งไปเมื่อเดินทางผ่านบริเวณสนามแม่เหล็ก รัศมีการโค้งไปของไอออนที่เคลื่อนที่อันเนื่องจากสนามแม่เหล็กนั้นสามารถบอกได้จากมวลของอะตอม หลักการนี้นำไปใช้ในเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ของมวลเพื่อตรวจวัดอัตราส่วนมวลต่อประจุ (mass-to-charge ratio) ของไอออน ถ้าตัวอย่างที่ตรวจวัดมีไอโซโทปหลายตัว สเปกโตรมิเตอร์ของมวลจะสามารถระบุสัดส่วนของแต่ละไอโซโทปในตัวอย่างนั้นได้โดยการวัดความเข้มของลำไอออนแต่ละตัวที่แตกต่างกัน เทคนิคในการทำให้อะตอมระเหิดนี้รวมไปถึง inductively coupled plasma atomic emission spectroscopy (ICP-AES) และ inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ใช้พลาสมาในการทำให้อะตอมตัวอย่างระเหิดเพื่อทำการวิเคราะห์
สำหรับกระบวนวิธีที่เจาะจงมากกว่านี้ได้แก่ การตรวจวัดการสูญเสียพลังงานของอิเล็กตรอน (electron energy loss spectroscopy) ซึ่งจะตรวจวัดพลังงานที่สูญเสียจากลำอิเล็กตรอนภายในกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่านเมื่อมันทำอันตรกิริยากับอะตอมตัวอย่าง ภาพของได้ผลลัพธ์สามมิติในระดับต่ำกว่านาโนเมตร และสามารถใช้เครื่อง time-of-flight mass spectrometry เพื่อระบุคุณสมบัติทางเคมีของอะตอมได้
เราสามารถใช้สเปกตรัมของสถานะกระตุ้นของอะตอมในการวิเคราะห์องค์ประกอบอะตอมในดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลได้ แสงที่สังเกตการณ์จากดาวฤกษ์เหล่านั้นประกอบด้วยความยาวคลื่นแสงขนาดหนึ่ง ๆ ซึ่งสามารถแยกแยะออกได้โดยมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงควอนตัมของอะตอมแก๊สอิสระ อาศัยที่บรรจุธาตุชนิดเดียวกันทำให้เราสามารถเลียนแบบสีแบบเดียวกันได้ฮีเลียมถูกค้นพบด้วยวิธีการเช่นนี้โดยตรวจได้จากสเปกตรัมของดวงอาทิตย์เป็นเวลา 23 ปีก่อนที่จะพบมันบนโลกเสียอีก
ต้นกำเนิดและสถานะปัจจุบัน
อะตอมเป็นส่วนประกอบราว 4% ของความหนาแน่นพลังงานรวมทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้ โดยมีค่าความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 0.25 อะตอมต่อลูกบาศก์เมตร สำหรับภายในดาราจักรเช่นทางช้างเผือกจะมีอะตอมอยู่เป็นจำนวนหนาแน่นมากกว่ามาก โดยมีความหนาแน่นของสสารในสสารระหว่างดาวระหว่าง 105 ถึง 109 อะตอม/ลบ.ม. เชื่อกันว่า ดวงอาทิตย์ของเราอยู่ภายในฟองท้องถิ่นซึ่งเป็นบริเวณกลุ่มแก๊สที่มีประจุสูง ดังนั้นความหนาแน่นของบริเวณโดยรอบระบบสุริยะจึงมีเพียง 103 อะตอม/ลบ.ม. ดาวฤกษ์ก่อตัวจากกลุ่มเมฆหนาแน่นในสสารระหว่างดาว และกระบวนการวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ส่งผลให้เกิดธาตุจำนวนมากมายขึ้นในอวกาศระหว่างดาวซึ่งมีมวลหนักกว่าไฮโดรเจนกับฮีเลียม อะตอมภายในทางช้างเผือกกว่า 95% รวมตัวกันอยู่ภายในดาวฤกษ์ และมวลรวมของอะตอมคิดเป็นประมาณ 10% ของมวลดาราจักร (มวลส่วนที่เหลือนั้นยังไม่เป็นที่รู้จัก เรียกกันว่า สสารมืด)
การสังเคราะห์นิวเคลียส
โปรตอนและอิเล็กตรอนที่เสถียรเกิดขึ้นหลังจากเกิดบิกแบงเพียงหนึ่งวินาที ระหว่างช่วงสามนาทีต่อมา บิกแบงนิวคลีโอซินทีสิสได้สร้างสสารส่วนใหญ่ของฮีเลียม ลิเทียม และดิวเทอเรียมขึ้นในเอกภพ และบางทีอาจรวมถึงเบอริลเลียมและโบรอนด้วย อะตอมชุดแรก ๆ (ที่อิเล็กตรอนเป็นส่วนประกอบอย่างสมบูรณ์) ในทางทฤษฎีแล้วเชื่อว่าเกิดขึ้น 380,000 ปีหลังจากบิกแบง —คือยุคที่เรียกว่า recombination เมื่อเอกภพที่กำลังขยายตัวออกนั้นเย็นลงเพียงพอที่ทำให้อิเล็กตรอนสามารถเกาะติดกับนิวเคลียสได้ นับแต่นั้น นิวเคลียสอะตอมก็เริ่มรวมตัวเข้าในดาวฤกษ์ผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันและสร้างธาตุต่าง ๆ ขึ้นไปจนถึงเหล็ก
ไอโซโทปบางตัวเช่น ลิเทียม-6 เกิดขึ้นในอวกาศโดยผ่านสปอลเลชั่นของรังสีคอสมิก เมื่อโปรตอนพลังงานสูงปะทะกับนิวเคลียสของอะตอม ทำให้นิวคลีออนจำนวนมากดีดตัวออกมา ธาตุที่หนักกว่าเหล็กเกิดขึ้นในมหานวดาราผ่านกระบวนการอาร์และในแขนงดาวยักษ์เชิงเส้นกำกับ ผ่านกระบวนการเอส ทั้งสองกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการที่นิวเคลียสอะตอมจับนิวตรอนเอาไว้ ธาตุบางชนิดเช่น ตะกั่ว ส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นผ่านกระบวนการสลายให้กัมมันตรังสีของธาตุที่หนักกว่า
โลก
อะตอมส่วนมากที่ก่อตัวกันขึ้นเป็นโลกและสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกนั้นเกิดขึ้นจากการสลายตัวของเนบิวลาที่อยู่ในเมฆโมเลกุลเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นระบบสุริยะ ส่วนที่เหลือเป็นผลจากการสลายตัวให้กัมมันตรังสี ส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกันนี้สามารถนำมาใช้เพื่อระบุถึงอายุของโลกได้ฮีเลียมส่วนมากที่อยู่บริเวณเปลือกของโลก (ประมาณ 99% เป็นก๊าซ เช่น ที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาล) เป็นผลที่เกิดจากการสลายปลดปล่อยอนุภาคอัลฟา
มีอะตอมบางส่วนที่ตรวจพบว่าไม่ได้มีอยู่ตั้งแต่ตอนแรกกำเนิดโลก ทั้งไม่ได้เป็นผลที่เกิดจากการสลายตัวให้กัมมันตรังสี เช่น เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรังสีคอสมิกในชั้นบรรยากาศ อะตอมบางชนิดบนโลกถูกประดิษฐ์ขึ้น ทั้งโดยที่ตั้งใจสร้าง หรือเป็นผลพลอยได้จากการแตกตัวหรือการระเบิดของนิวเคลียร์ ในบรรดาธาตุหลังยูเรเนียม—คือพวกที่มีเลขอะตอมมากกว่า 92— มีเพียงพลูโตเนียมกับเนปจูเนียมเท่านั้นที่เกิดขึ้นบนโลกโดยธรรมชาติ ธาตุหลังยูเรเนียมนั้นมีอายุกัมมันตรังสีสั้นกว่าอายุปัจจุบันของโลก และจากปริมาณที่ตรวจได้แสดงว่าธาตุเหล่านั้นเริ่มสลายตัวมานานแล้ว มีข้อยกเว้นเพียง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากฝุ่นคอสมิก ส่วนตัวประกอบอื่นของพลูโตเนียมและเนปจูเนียมนั้นเกิดขึ้นจากการจับตัวของนิวตรอนในแร่ยูเรเนียม
โลกมีอะตอมอยู่ประมาณ 1.33×1050 อะตอม ในชั้นบรรยากาศของดาว มีอะตอมอิสระของก๊าซเฉื่อยอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น อาร์กอน และ นีออน ส่วนที่เหลือ 99% ของบรรยากาศจะอยู่ในรูปของโมเลกุล ซึ่งรวมไปถึงคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจนโมเลกุลคู่ และไนโตรเจน ที่พื้นผิวของโลก อะตอมรวมตัวกันเข้าเป็นสารประกอบหลายชนิด รวมถึง น้ำ เกลือ ซิลิเกต และออกไซด์ อะตอมสามารถรวมตัวกันกลายเป็นสสารใหม่ซึ่งไม่ได้ประกอบด้วยโมเลกุลที่แยกจากกันก็ได้ เช่นคริสตัล และโลหะที่เป็นของเหลวหรือของแข็ง
รูปแบบที่พบได้ยาก และที่มีแต่ในทฤษฎี
ขณะที่ทราบกันดีว่า ไอโซโทปซึ่งมีเลขอะตอมสูงกว่าตะกั่ว (82) นั้นเป็นสารกัมมันตรังสี แต่ก็มีแนวคิด "เกาะแห่งความเสถียร" สำหรับธาตุจำนวนหนึ่งที่มีเลขอะตอมสูงกว่า 103 ธาตุหนักมากเหล่านี้อาจมีนิวเคลียสที่ค่อนข้างเสถียรมากกว่าเมื่อเทียบกับสารสลายกัมมันตรังสี ธาตุที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นอะตอมธาตุหนักมากที่เสถียร คือ อูนไบเฮกเซียม ซึ่งมีโปรตอน 126 ตัวและนิวตรอน 184 ตัว
อนุภาคแต่ละตัวของสสารจะมีปฏิสสารที่คู่กันเสมอโดยมีประจุไฟฟ้าที่ตรงกันข้าม ดังนั้น โพสิตรอนก็คือแอนติอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นบวก และแอนติโปรตอนก็เทียบเท่ากับโปรตอนที่มีประจุเป็นลบ เมื่อสสารกับปฏิสสารของมันมาพบกัน ก็จะทำลายล้างกันและกัน ด้วยเหตุนี้ประกอบกับความไม่สมดุลระหว่างจำนวนของสสารและปฏิสสาร เราจึงพบปฏิสสารในเอกภพได้ยากมาก (สาเหตุที่มีสสารกับปฏิสสารไม่สมดุลกันนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจกันนัก แม้ว่าทฤษฎีแบริโอเจเนซิสจะช่วยเสนอคำอธิบายได้บ้าง) เราจึงไม่สามารถพบอะตอมของปฏิสสารได้ในธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1996 ห้องทดลอง CERN ในเจนีวา ได้สังเคราะห์แอนติไฮโดรเจนซึ่งเป็นปฏิสสารตรงข้ามกับไฮโดรเจนขึ้นได้สำเร็จ
อะตอมประหลาดอื่น ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยการแทนที่โปรตอน นิวตรอน หรืออิเล็กตรอนตัวใดตัวหนึ่งด้วยอนุภาคอื่นที่มีประจุเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การแทนที่อิเล็กตรอนด้วยซึ่งมีมวลมากกว่า ทำให้เกิดขึ้น อะตอมจำพวกนี้สามารถใช้ทดสอบการทำนายพื้นฐานทางฟิสิกส์ได้
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ , หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด
- หนึ่งกะรัตเท่ากับ 200 มิลลิกรัมตามนิยาม คาร์บอน-12 มีมวล 0.012 กก.ต่อโมล เลขอาโวกาโดรเท่ากับ 6×1023 อะตอมต่อโมล
อ้างอิง
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
- Leigh, G. J., บ.ก. (1990). International Union of Pure and Applied Chemistry, Commission on the Nomenclature of Inorganic Chemistry, Nomenclature of Organic Chemistry - Recommendations 1990. Oxford: Blackwell Scientific Publications. p. 35. ISBN .
An atom is the smallest unit quantity of an element that is capable of existence whether alone or in chemical combination with other atoms of the same or other elements.
- Haubold, Hans; Mathai, A.M. (1998). . Structure of the Universe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2008-01-17.
- Harrison (2003:123–139).
- Siegfried (2002:42–55).
- "Lavoisier's Elements of Chemistry". Elements and Atoms. , Department of Chemistry. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- Wurtz (1881:1–2).
- Dalton (1808).
- Patterson, Elizabeth C. (1970). John Dalton and the Atomic Theory. Garden City, New York: Anchor.
- Einstein, Albert (1905). (PDF). Annalen der Physik (ภาษาเยอรมัน). 322 (8): 549–560. doi:10.1002/andp.19053220806. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-07-18. สืบค้นเมื่อ 2007-02-04.
- Mazo (2002:1–7).
- Lee, Y.K.; Hoon, K. (1995). . Imperial College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2007-12-18.
- Patterson, G. (2007). "Jean Perrin and the triumph of the atomic doctrine". Endeavour. 31 (2): 50–53. doi:10.1016/j.endeavour.2007.05.003.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-29.
- "J.J. Thomson". . 1906. สืบค้นเมื่อ 2007-12-20.
- Rutherford, E. (1911). "The Scattering of α and β Particles by Matter and the Structure of the Atom" (PDF). Philosophical Magazine. 21: 669–88.[]
- "Frederick Soddy, The Nobel Prize in Chemistry 1921". . สืบค้นเมื่อ 2008-01-18.
- Thomson, Joseph John (1913). "Rays of positive electricity". Proceedings of the Royal Society. A 89: 1–20.
- Stern, David P. (16 May 2005). . NASA/Goddard Space Flight Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-20.
- Bohr, Neils (11 December 1922). "Niels Bohr, The Nobel Prize in Physics 1922, Nobel Lecture". . สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.
- Lewis, Gilbert N. (1916). "The Atom and the Molecule". . 38 (4): 762–786. doi:10.1021/ja02261a002.
- Scerri (2007:205–226)
- Langmuir, Irving (1919). "The Arrangement of Electrons in Atoms and Molecules". Journal of the American Chemical Society. 41 (6): 868–934. doi:10.1021/ja02227a002.
- Scully, Marlan O.; Lamb, Willis E.; Barut, Asim (1987). "On the theory of the Stern-Gerlach apparatus". Foundations of Physics. 17 (6): 575–583. doi:10.1007/BF01882788.
- Brown, Kevin (2007). "The Hydrogen Atom". MathPages. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- Harrison, David M. (2000). "The Development of Quantum Mechanics". University of Toronto. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- Aston, Francis W. (1920). "The constitution of atmospheric neon". Philosophical Magazine. 39 (6): 449–55.
- Chadwick, James (12 December 1935). "Nobel Lecture: The Neutron and Its Properties". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- "Otto Hahn, Lise Meitner and Fritz Strassmann". Chemical Achievers: The Human Face of the Chemical Sciences. Chemical Heritage Foundation. สืบค้นเมื่อ 2009-09-15.
- Meitner, Lise; Frisch, Otto Robert (1939). "Disintegration of uranium by neutrons: a new type of nuclear reaction". Nature. 143: 239. doi:10.1038/143239a0.
- Schroeder, M. (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
- Crawford, E.; Sime, Ruth Lewin; Walker, Mark (1997). . Physics Today. 50 (9): 26–32. doi:10.1063/1.881933. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
- Kullander, Sven (28 August 2001). "Accelerators and Nobel Laureates". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
- "The Nobel Prize in Physics 1990". Nobel Foundation. 17 October 1990. สืบค้นเมื่อ 2008-01-31.
- Demtröder (2002:39–42).
- Woan (2000:8).
- MacGregor (1992:33–37).
- Particle Data Group (2002). "The Particle Adventure". Lawrence Berkeley Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
- Schombert, James (April 18, 2006). . University of Oregon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-30. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
- Jevremovic (2005:63).
- Pfeffer (2000:330–336).
- Wenner, Jennifer M. (October 10, 2007). "How Does Radioactive Decay Work?". Carleton College. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- Raymond, David (April 7, 2006). . New Mexico Tech. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-12-01. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
- Mihos, Chris (July 23, 2002). "Overcoming the Coulomb Barrier". Case Western Reserve University. สืบค้นเมื่อ 2008-02-13.
- Staff (March 30, 2007). . Lawrence Berkeley National Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-05. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
- Makhijani, Arjun; Saleska, Scott (March 2, 2001). "Basics of Nuclear Physics and Fission". Institute for Energy and Environmental Research. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
- Shultis et al. (2002:72–6).
- Fewell, M. P. (1995). "The atomic nuclide with the highest mean binding energy". American Journal of Physics. 63 (7): 653–58. doi:10.1119/1.17828. สืบค้นเมื่อ 2007-02-01.
- Mulliken, Robert S. (1967). "Spectroscopy, Molecular Orbitals, and Chemical Bonding". Science. 157 (3784): 13–24. doi:10.1126/science.157.3784.13. PMID 5338306.
- Brucat, Philip J. (2008). . University of Florida. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-07. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
- Manthey, David (2001). "Atomic Orbitals". Orbital Central. สืบค้นเมื่อ 2008-01-21.
- Herter, Terry (2006). "Lecture 8: The Hydrogen Atom". Cornell University. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
- Bell, R. E.; Elliott, L. G. (1950). "Gamma-Rays from the Reaction H1 (n, γ) D2 and the Binding Energy of the Deuteron". Physical Review. 79 (2): 282–285. doi:10.1103/PhysRev.79.282.
- Smirnov (2003:249–72).
- Matis, Howard S. (August 9, 2000). . Guide to the Nuclear Wall Chart. Lawrence Berkeley National Lab. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- Weiss, Rick (October 17, 2006). "Scientists Announce Creation of Atomic Element, the Heaviest Yet". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- Sills (2003:131–134).
- Dumé, Belle (April 23, 2003). "Bismuth breaks half-life record for alpha decay". Physics World. สืบค้นเมื่อ 2007-12-21.
- Lindsay, Don (July 30, 2000). "Radioactives Missing From The Earth". Don Lindsay Archive. สืบค้นเมื่อ 2007-05-23.
- CRC Handbook (2002).
- Mills et al. (1993).
- Chieh, Chung (January 22, 2001). . University of Waterloo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-30. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
- "Atomic Weights and Isotopic Compositions for All Elements". National Institute of Standards and Technology. สืบค้นเมื่อ 2007-01-04.
- Audi, G. (2003). . Nuclear Physics A. 729: 337–676. doi:10.1016/j.nuclphysa.2003.11.003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
- Shannon, R. D. (1976). "Revised effective ionic radii and systematic studies of interatomic distances in halides and chalcogenides". Acta Crystallographica, Section a. 32: 751. doi:10.1107/S0567739476001551. สืบค้นเมื่อ 2007-01-03.
- Dong, Judy (1998). "Diameter of an Atom". The Physics Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-21. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
- Zumdahl (2002).
- , H. (1929). "Termaufspaltung in Kristallen". Annalen der Physik, 5. Folge. 3: 133.
- Birkholz, M.; Rudert, R. (2008). "Interatomic distances in pyrite-structure disulfides – a case for ellipsoidal modeling of sulfur ions" (PDF). physica status solidi b. 245: 1858. doi:10.1002/pssb.200879532.
- Staff (2007). "Small Miracles: Harnessing nanotechnology". Oregon State University. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.—describes the width of a human hair as 105 nm and 10 carbon atoms as spanning 1 nm.
- Padilla et al. (2002:32) —"There are 2,000,000,000,000,000,000,000 (that's 2 sextillion) atoms of oxygen in one drop of water—and twice as many atoms of hydrogen."
- Feynman (1995).
- "Radioactivity". Splung.com. สืบค้นเมื่อ 2007-12-19.
- L'Annunziata (2003:3–56).
- Firestone, Richard B. (May 22, 2000). . Berkeley Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- Hornak, J. P. (2006). "Chapter 3: Spin Physics". The Basics of NMR. Rochester Institute of Technology. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- Schroeder, Paul A. (February 25, 2000). . University of Georgia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- Goebel, Greg (September 1, 2007). "[4.3] Magnetic Properties of the Atom". Elementary Quantum Physics. In The Public Domain website. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- Yarris, Lynn (Spring 1997). . Berkeley Lab Research Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-13. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09.
- Liang and Haacke (1999:412–26).
- Zeghbroeck, Bart J. Van (1998). "Energy levels". Shippensburg University. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
- Fowles (1989:227–233).
- Martin, W. C.; Wiese, W. L. (2007). "Atomic Spectroscopy: A Compendium of Basic Ideas, Notation, Data, and Formulas". National Institute of Standards and Technology. สืบค้นเมื่อ 2007-01-08.
- . Avogadro Web Site. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-28. สืบค้นเมื่อ 2006-08-10.
- Fitzpatrick, Richard (February 16, 2007). "Fine structure". University of Texas at Austin. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
- Weiss, Michael (2001). "The Zeeman Effect". University of California-Riverside. สืบค้นเมื่อ 2008-02-06.
- Beyer (2003:232–236).
- Watkins, Thayer. "Coherence in Stimulated Emission". San José State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-21. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
- Reusch, William (July 16, 2007). "Virtual Textbook of Organic Chemistry". Michigan State University. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
- "Covalent bonding – Single bonds". chemguide. 2000.
- Husted, Robert (December 11, 2003). "Periodic Table of the Elements". Los Alamos National Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
- Baum, Rudy (2003). "It's Elemental: The Periodic Table". Chemical & Engineering News. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
- Goodstein 2002, pp. 436–438.
- Brazhkin, Vadim V. (2006). "Metastable phases, phase transformations, and phase diagrams in physics and chemistry". Physics-Uspekhi. 49 (7): 719–24. doi:10.1070/PU2006v049n07ABEH006013.
- Myers 2003, p. 85.
- Staff (October 9, 2001). . National Institute of Standards and Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-03. สืบค้นเมื่อ 2008-01-16.
- Colton, Imogen; Fyffe, Jeanette (February 3, 1999). . The University of Melbourne. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-06.
- Jacox, Marilyn; Gadzuk, J. William (1997). "Scanning Tunneling Microscope". National Institute of Standards and Technology. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
- "The Nobel Prize in Physics 1986". The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.—in particular, see the Nobel lecture by G. Binnig and H. Rohrer.
- Jakubowski, N.; Moens, Luc; Vanhaecke, Frank (1998). "Sector field mass spectrometers in ICP-MS". Spectrochimica Acta Part B: Atomic Spectroscopy. 53 (13): 1739–1763. Bibcode:1998AcSpe..53.1739J. doi:10.1016/S0584-8547(98)00222-5.
- ; ; (1968). "The Atom-Probe Field Ion Microscope". . 39 (1): 83–86. Bibcode:1968RScI...39...83M. doi:10.1063/1.1683116.
- Lochner, Jim; Gibb, Meredith; Newman, Phil (April 30, 2007). "What Do Spectra Tell Us?". NASA/Goddard Space Flight Center. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.
- Winter, Mark (2007). "Helium". WebElements. สืบค้นเมื่อ 2008-01-03.
- Hinshaw, Gary (February 10, 2006). "What is the Universe Made Of?". NASA/WMAP. สืบค้นเมื่อ 2008-01-07.
- Choppin, Liljenzin & Rydberg 2001, p. 441.
- Davidsen, Arthur F. (1993). "Far-Ultraviolet Astronomy on the Astro-1 Space Shuttle Mission". Science. 259 (5093): 327–34. Bibcode:1993Sci...259..327D. doi:10.1126/science.259.5093.327. PMID 17832344.
- Lequeux 2005, p. 4.
- Smith, Nigel (January 6, 2000). "The search for dark matter". Physics World. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
- Croswell, Ken (1991). . New Scientist (1794): 42. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-07. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Copi, Craig J.; Schramm, DN; Turner, MS (1995). "Big-Bang Nucleosynthesis and the Baryon Density of the Universe". Science. 267 (5195): 192–99. :astro-ph/9407006. Bibcode:1995Sci...267..192C. doi:10.1126/science.7809624. PMID 7809624.
- Hinshaw, Gary (December 15, 2005). "Tests of the Big Bang: The Light Elements". NASA/WMAP. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- Abbott, Brian (May 30, 2007). . Hayden Planetarium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
- Hoyle, F. (1946). "The synthesis of the elements from hydrogen". . 106: 343–83. Bibcode:1946MNRAS.106..343H.
- Knauth, D. C.; Knauth, D. C.; Lambert, David L.; Crane, P. (2000). "Newly synthesized lithium in the interstellar medium". Nature. 405 (6787): 656–58. doi:10.1038/35015028. PMID 10864316.
- Mashnik, Stepan G. (2000). "On Solar System and Cosmic Rays Nucleosynthesis and Spallation Processes". :astro-ph/0008382.
- Kansas Geological Survey (May 4, 2005). . University of Kansas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Manuel 2001, pp. 407–430, 511–519.
- Dalrymple, G. Brent (2001). "The age of the Earth in the twentieth century: a problem (mostly) solved". Geological Society, London, Special Publications. 190 (1): 205–21. doi:10.1144/GSL.SP.2001.190.01.14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- ; Foulger, G. R.; Meibom, Anders (September 2, 2006). "Helium: Fundamental models". MantlePlumes.org. สืบค้นเมื่อ 2007-01-14.
- Pennicott, Katie (May 10, 2001). "Carbon clock could show the wrong time". PhysicsWeb. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Yarris, Lynn (July 27, 2001). "New Superheavy Elements 118 and 116 Discovered at Berkeley Lab". Berkeley Lab. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Diamond, H (1960). "Heavy Isotope Abundances in Mike Thermonuclear Device". . 119 (6): 2000–04. Bibcode:1960PhRv..119.2000D. doi:10.1103/PhysRev.119.2000.
- Poston Sr., John W. (March 23, 1998). "Do transuranic elements such as plutonium ever occur naturally?". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
- Keller, C. (1973). "Natural occurrence of lanthanides, actinides, and superheavy elements". Chemiker Zeitung. 97 (10): 522–30. 4353086.
- Zaider & Rossi 2001, p. 17.
- . Curtin University of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-18. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
- Weisenberger, Drew. "How many atoms are there in the world?". Jefferson Lab. สืบค้นเมื่อ 2008-01-16.
- Pidwirny, Michael. "Fundamentals of Physical Geography". University of British Columbia Okanagan. สืบค้นเมื่อ 2008-01-16.
- Anderson, Don L. (2002). "The inner inner core of Earth". Proceedings of the National Academy of Sciences. 99 (22): 13966–68. Bibcode:2002PNAS...9913966A. doi:10.1073/pnas.232565899. PMC 137819. PMID 12391308.
- Anonymous (October 2, 2001). "Second postcard from the island of stability". CERN Courier. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Jacoby, Mitch (2006). "As-yet-unsynthesized superheavy atom should form a stable diatomic molecule with fluorine". Chemical & Engineering News. 84 (10): 19.
- Koppes, Steve (March 1, 1999). "Fermilab Physicists Find New Matter-Antimatter Asymmetry". University of Chicago. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Cromie, William J. (August 16, 2001). "A lifetime of trillionths of a second: Scientists explore antimatter". Harvard University Gazette. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Hijmans, Tom W. (2002). "Particle physics: Cold antihydrogen". Nature. 419 (6906): 439–40. doi:10.1038/419439a. PMID 12368837.
- Staff (October 30, 2002). "Researchers 'look inside' antimatter". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2008-01-14.
- Barrett, Roger (1990). . New Scientist (1728): 77–115. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2008-01-04.
- Indelicato, Paul (2004). "Exotic Atoms". Physica Scripta. T112 (1): 20–26. :physics/0409058. Bibcode:2004PhST..112...20I. doi:10.1238/Physica.Topical.112a00020.
- Ripin, Barrett H. (1998). "Recent Experiments on Exotic Atoms". American Physical Society. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Francis, Eden (2002). . Clackamas Community College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-04. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
- Freudenrich, Craig C. "How Atoms Work (อะตอมทำงานอย่างไร)". How Stuff Works. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
- "Atom:The Atom". Free High School Science Texts: Physics. Wikibooks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.
- Anonymous (2007). "The atom". Science aid+. สืบค้นเมื่อ 2007-01-09.—a guide to the atom for teens.
- Anonymous (2006-01-03). "Atoms and Atomic Structure (อะตอมกับโครงสร้างอะตอม)". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.
- Various (2006-01-03). . University of Colorado. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
- Various (2006-02-03). . University of Karlsruhe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xatxm hruxedimeriyk prmanu xngkvs atom krik atomon epnhnwyphunthankhxngssar prakxbdwyswnkhxngniwekhliysthihnaaennmakxyutrngsunyklang lxmrxbdwyklumhmxkkhxngxielktrxnthimipraculb niwekhliyskhxngxatxmprakxbdwyoprtxnthimipracubwkkbniwtrxnsungepnklangthangiffa ykewninkrnikhxng ihodrecn 1 sungepnniwikhldesthiyrchnidediywthiimminiwtrxn xielktrxnkhxngxatxmthukdungdudxyukbniwekhliysdwyaerngaemehlkiffa inthanxngediywkn klumkhxngxatxmsamarthdungdudknaelaknkxtwepnnamskulid xatxmthimicanwnoprtxnaelaxielktrxnethakncamiphaphkhawehniywxatxmHelium atom ground state phaphwadxatxmkhxnghieliym aesdngihehnniwekhliys cudsichmphu aelakarkracaytwkhxngemkhxielktrxn sida niwekhliyskhxnghieliym 4 bnkhwa inkhwamepncringmilksnaepnthrngklmthismmatraelakhlaykbemkhxielktrxnmak aetimcaepnesmxipsahrbniwekhliysxun thisbsxnkwani aethbsidadansaylangaesdngkhwamyawhnungxngstrxm 10 10 m hrux 100 pm praephthkaraebngswnthithuxwaelkthisudkhxngthatuekhmikhunsmbtiphisymwl1 67 10 27 thung 4 52 10 25 kgpracuiffasuny epnklang hruxmipracuixxxnphisyesnphansunyklangtngaet 62 pm He thung 520 pm Cs hnakhxmul xngkhprakxbxielktrxn aelaniwekhliysthimioprtxnkbniwtrxnxdknaenn epnklangthangiffa michannaelwmnxacmipracuepnbwk ephraakhadxielktrxn hruxlb ephraamixielktrxnekin sungeriykwa ixxxn eracdpraephthkhxngxatxmdwycanwnoprtxnaelaniwtrxnthixyuinniwekhliys canwnoprtxnepntwbngbxkchnidkhxngthatuekhmi aelacanwnniwtrxnbngbxkchnidixosothpkhxngthatunn tamkhwamekhaicinpccubn xatxmepnwtthukhnadelkthimimwlnxymak erasamarthsngektkarnxatxmediyw idodyxasyekhruxngmuxphiess echn klxngculthrrsnaebbsxngkradinxuomngkh mwlpraman 99 9 khxngxatxmkracukrwmknxyuinniwekhliys odymioprtxnaelaniwtrxnepnmwlthiehluxpramanetha kn xielktrxnthiokhcrrxbxatxmcamiradbphlngnganthiesthiyrxyucanwnhnunginlksnakhxngwngokhcrxatxm aelasamarthepliynaeplngradbipmarahwangknidodykardudsbhruxpldplxyoftxnthisxdkhlxngkbradbphlngnganthitangkn xielktrxnehlaniepntwkahndkhunsmbtithangekhmikhxngthatu aelamixiththiphlxyangmaktxkhunsmbtithangaemehlkkhxngxatxm xielktrxnkhxngxatxmthukdungdudkboprtxninniwekhliysdwyaerngaemehlkiffa oprtxnaelaniwtrxninniwekhliysthukdudekhahakndwyaerngniwekhliyr pktiaerngniwekhliyrekhmkwaaerngaemehlkiffa ykewninbangkrnithiaerngaemehlkiffaekhmkwaaerngniwekhliyr sungcathaihekidkaraebngniwekhliysaelaekidepnthatuihm eriykwa karslaykhxngniwekhliys canwnoprtxninniwekhliysepnelkhxatxm aelaepntwniyamthatu twxyangechn xatxmthimioprtxn 29 twcaepnthatuthxngaedng canwnniwtrxnepntwrabuixosothpkhxngthatu xatxmsamarthdungdudxatxmxuntngaethnungxatxmkhunipekidphnthaekhmiepnsarprakxbekhmiechn omelkulhruxphluk crystal karrwmtwaelaaeykxatxmniepntwkarkhxngkarepliynaeplngechingkayphaphthisngektidinthrrmchati wichathisuksaeriyk ekhmi xatxm macakphasakrikwa ἄtomos atomos a temnw sunghmaykhwamwa imsamarthtdaebngihelklngipidxik aetedimcungthukeriykinphasaithywa prmanu hlkkarkhxngxatxminthanaswnprakxbthielkthisudkhxngssarthiimsamarthaebngidxiktxip thukesnxkhunkhrngaerkodynkprchyachawxinediyaelankprchyachawkrik sungcatrngknkhamkbprchyaxiksayhnungthiechuxwassarsamarthaebngaeykidiperuxy odyimmisinsud khlaykbpyha discrete hrux continuum inkhriststwrrsthi 17 18 nkekhmierimwangaenwkhidthangkayphaphcakhlkkarniodyaesdngihehnwawtthuhnung khwrcaprakxbdwyxnuphakhphunthanthiimsamarthaebngaeykidxiktxip rahwangchwngplaykhriststwrrsthi 19 aelatnkhriststwrrsthi 20 nkfisikskhnphbswnprakxbyxykhxngxatxmaelaokhrngsrangphayinkhxngxatxm sungepnkaraesdngwa xatxm thikhnphbtngaetaerkyngsamarthaebngaeykidxik aelaimich xatxm inkhwamhmaythitngmaaetaerk klsastrkhwxntmepnthvsdithisamarthnamaichsrangaebbcalxngthangkhnitsastrkhxngxatxmidepnphlsaerckaenidthvsdithangwithyasastrxatxmaelaomelkulhlakhlayaebbthi cxhn dxltn John Dalton idphrrnnaiwin A New System of Chemical Philosophy 1808 hnunginphlnganwithyasastryukhaerksudekiywkbthvsdixatxm immikhwamkawhnainkarthakhwamekhaickbxatxmephimmakkhunnkcnkrathngsastrthangdanekhmierimphthnakhun inpi kh s 1661 nkprchyathrrmchati orebirt bxyl ephyaephrnganekhiyneruxng The Sceptical Chymist sungekhaehnwassarprakxbkhuncakswnprakxbhlakhlayrahwang corpuscules hruxxatxmthiaetktangkn sungtangipcakthatuphunthanthngsikhux xakas din if aelana pi kh s 1789 khunnangchawfrngessaelankwicythangwithyasastr xxngtwn lawwsieyr kahndkhawa thatu element ephuxichinkhwamhmaythungssarphunthanthiimsamarthaebngaeykdwykrabwnkarthangekhmitxipidxik pi kh s 1803 xacarychawxngkvsaelankprchyathrrmchati cxhn dxltn John Dalton ichaenwkhidkhxngxatxmmaxthibaywathaimthatutang cungmiptikiriyaepnsdswnkhxngcanwnetmelkthisudesmx khux kdsdswnphhukhun law of multiple proportion aelathaimkasbangchnidcungslaytwinnaiddikwasarlalayxun ekhaesnxwathatuaetlachnidprakxbdwyxatxmchnidediywknthiimehmuxnikhr aelaxatxmehlanisamarthrwmtwekhadwyknidklayepnsarprakxbthangekhmi singthidxltnkalngkhanungthungniepncudkaenidaerkerimkhxngthvsdixatxmyukhihm thvsdiekiywkbxnuphakhxikthvsdihnung sungepnswnkhyaykhxngthvsdixatxmdwy ekidkhuninpi kh s 1827 emuxnkphvkssastr orebirt brawn ichklxngculthrrsnsxngduessfunkhxngemldkhawthilxyxyuinna aelaphbwamnekhluxnthiipaebbkracdkracayimaennxn niepnpraktkarnthitxmaruckkninchux karekhluxnthiaebbbrawn pi kh s 1877 J Desaulx esnxwapraktkarnnimisaehtumacakkarekhluxnkhxngkhwamrxninomelkulna aelainpi kh s 1905 xlebirt ixnsitn idkhidkhnkarwiekhraahthangkhnitsastrekiywkbkarekhluxnthikhunidepnkhrngaerk nkfisikschawfrngess chxng aepraerng ichngankhxngixnsitnephuxthakarthdlxngrabumwlaelakhnadkhxngxatxm sunginewlatxmaidphisucnthvsdixatxmkhxngdxltn pi kh s 1869 dmitri emnedeleyf xasykarkhnphbkhxngnkwithyasastryukhkxnhnaechnlawwsieyr khidkhnaelaephyaephrtarangthatukhunepnkhrngaerk tarangniichepntwaethnthungkdkarwnsa sungaesdngihehnthungkhunsmbtithangekhmiechphaatwkhxngthatu sungca wnsaepnrxb tamhmayelkhxatxm swnprakxbyxyaelathvsdikhwxntm ec ec thxmsn nkfisiks khnphbxielktrxncakkarsuksarngsiaekhothdemuxpi kh s 1897 aelasrupwamnepnswnprakxbxyuinxatxmthuktw sungepnkarlmlangkhwamechuxthiwaxatxmnnepnxnuphakhelkthisudkhxngssarimsamarthaebngaeykid thxmsnaesdnghlkthanwa xielktrxnsungmipraculbaelamimwltamaknikracdkracayxyuthwipinxatxm epnipidwaxachmunwnrxb xatxmehmuxnwngaehwn odymipracuthismdulcakkarlxytwxyuinthaelxnuphakhpracubwkxnsmaesmx inewlatxmaaenwkhidniruckkninchux aebbcalxngxatxmkhxngthxmsn plum pudding model pi kh s 1909 hns ikekxr aela exxrenst marsedn phayitkaraenanakhxngnkfisiks exxrenst rthethxrfxrd thakarthdlxngdwykaryingrngsixlfaisaephnthxngkha sungepnthiruknwamixatxmhieliympracubwk aelwkhnphbwaxnuphakhmikarhkehipelknxyemuxethiybkbmumhkehthikhwrcaepntamthibthkhwamkhxngthxmsnekhythanayexaiw rthethxrfxrdtikhwamkarthdlxngniwaepnkarbngchithungpracubwkinxatxmhnkkhxngthxngkha aelamwlswnmakkhxngmnrwmtwknxyuthiniwekhliyssungxyubriewnsunyklangkhxngxatxm eriykchuxaenwkhidniwa aebbcalxngrthethxrfxrd pi kh s 1913 khnathinkekhmirngsi efredxrikh sxddi thakarthdlxngkbphlthiidcakkarslaytwkhxngsarkmmntrngsi ekhakhnphbwaduehmuxncamichnidkhxngxatxmmakkwahnungchnidinaetlataaehnngkhxngtarangthatumarkaert thxdd tngchuxkhawa ixosothp khunephuxichinkhwamhmaythungxatxmthiaetktangknaetepnxatxmkhxngthatuediywkn ec ec thxmsn srangethkhnikhinkaraebngaeykpraephthkhxngxatxmcaknganekiywkbaeksthiaetktwepnpracu sungtxmaidnaipsukarkhnphbixosothpesthiyr aebbcalxngxatxmihodrecnkhxngbxr aesdngkarkraoddkhxngxielktrxnrahwangwngokhcrtang thikhngthiaelaaephoftxnxxkmadwyphlngnganthiradbkhwamthiechphaakhahnung khnaediywkninpi kh s 1913 nkfisiks nils bxr esnxrupaebbkhxngxielktrxnthiechphaaecaacngmakkhun ekhaklawwamnmiwngokhcrhlayradbaetktangkn aelasamarthkraoddipmarahwangradbwngokhcrtang id aetimsamarthhmunepnekliywekhaxxktamicchxbrahwangthangid xielktrxntwhnung catxngdudsbhruxaephphlngnganprimancaephaaecaacngkhnadhnungxxkmaephuxepliynradbwngokhcrthimikahndtaytwxyuaelw emuxaesngcakwtthuthirxncdwingphanprisum mncasrangsepktrmhlaksikhun karpraktkhxngradbphlngngantang thikahndtaytwidrbkarxthibayxyangsmburncakkarepliynradbwngokhcrni samarthxthibaythungphnthaekhmirahwangxatxmidinpi kh s 1916 waepnptikiriyarahwangxielktrxnthiepnswnprakxbphayin dngthikhunsmbtithangekhmikhxngthatuepnthithrabkndixyuaelwtamthipraktintarangthatu pi kh s 1919 nkekhmichawxemrikn exxrwing aelngmiwr esnxwithikarxthibaywa thaxielktrxninxatxmechuxmtxknhruxcbklumkninlksnabangxyang klumkhxngxielktrxnnacarwmknepnchnphlngngankhxngxielktrxnrxb niwekhliys pi kh s 1918 rthethxrfxrdkhnphbwapracubwkphayinxatxmaetlatwcamicanwnethakbelkhcanwnetmbwkkhxngniwekhliysihodrecnesmx ekhalngkhwamehnwaphayinniwekhliysmixnuphakhpracubwkxyueriykwa oprtxn xyangirkdi mwlkhxngniwekhliysmkcamakkwaelkhehlani thaihkhadkarnknwamwlswnthiekinipnnnacaepnkhxngxnuphakhthimipracuepnklang khux niwtrxn karthdlxngkhxngsetirn ekxraelkh inpi kh s 1922 thaiheramihlkthanekiywkblksnakhwamepnkhwxntmkhxngxatxm emuxlaxnuphakhxatxmkhxngenginwingphansnamaemehlkthimiruprangechphaaxyanghnung laxnuphakhnncaaeykxxkipinthisthangkhxngomemntmechingmumkhxngxatxm hruxtamspin enuxngcakthisthangniekidkhunaebbsum cungkhadkarnwalaxnuphakhcaaeykxxkepnesn thwalaxnuphakhklbaeykxxkepnsxngswnethanntamthisthangspinkhxngxatxmwaepnaebbkhunhruxaebblng pi kh s 1924 hluys edx brxy esnxaenwkhidwaxnuphakhthukchnidmiphvtikrrmehmuxnkhlun pi kh s 1926 aexrwin cherxdingengxrichaenwkhidniphthnaaebbcalxngthangkhnitsastrkhxngxatxmthixthibayxielktrxninlksnakhxngsammitiaethnthicaepnxnuphakhaebbcud phlsubenuxngcakkarichrupkhlunxthibayxnuphakhkhux mnepnipimidinthangkhnitsastrthicathrabkhathiaennxnthngtaaehnngaelaomemntmkhxngxnuphakhinewlaediywkn inewlatxmaaenwkhidniepnthiruckinchux hlkaehngkhwamimaennxn sungeriyberiyngkhunody aewrenxr ihesnaebrk inpi kh s 1926 cakhlkkarni thakahndtaaehnngthiaennxnkhxngxnuphakhaelwcasamarththrabephiyngkhxbekhtthiepnipidkhxngomemntm inthanxngklbknkechnediywkn aebbcalxngnisamarthichxthibayphlsngektkarnphvtikrrmkhxngxatxmaebbthiaebbcalxngxun kxnhnaimsamarthxthibayid echnokhrngsrangkhxngxatxmaelarupaebbsepktrmkhxngxatxmthimikhnadihykwaihodrecn dngnnaebbcalxngkhxngxatxmthikhlaykhlungkbaebbcalxngdawekhraahcungthuklathingip hnipichaebbcalxngthixthibaythungosnwngokhcrinxatxmthixyurxb niwekhliysxnepnbriewnthinacasngektphbxielktrxnmakthisud karphthnakhxngekhruxngwiekhraahmwl mass spectrometer thaihsamarthtrwcwdmwlthiaennxnkhxngxatxmid xupkrnnixasyaemehlkinkarebiyngebnwithikhxnglaxnuphakhixxxn aelatrwcwdprimankarhkehcakxtraswnrahwangmwlxatxmkbpracukhxngmn nkekhmi ichekhruxngmuxniephuxaesdngihehnwaixosothpmimwlthitangxxkip mwlxatxmkhxngixosothpehlanicaaeprkhaipepncanwnetmbwk eriykwa kdkhxngelkhcanwnetm whole number rule karxthibayixosothpthiaetktangehlanitxngrxipxikcnkrathngmikarkhnphbniwtrxn hruxxnuphakhthimipracuepnklangsungmimwlethakboprtxn nkfisikschux khnphbniwtrxninpi kh s 1932 cungthaihsamarthxthibayixosothpidinthanathatuthimicanwnoprtxnethaknaetmicanwnniwtrxnphayinniwekhliysthiaetktangxxkip fichchn fisiksphlngngansung aelassarhnaaenn pi kh s 1938 nkekhmichaweyxrmn xxthoth han phuepnsisykhxngrthethxrfxrd yingniwtrxnisxatxmyuereniymdwysmmutithancaidthatuhlngyuereniymxxkma aetkarthdlxngthangekhmikhxngekhaklbihphllphthxxkmaepnaeberiym hnungpitxma liesx imthenxr kbphuepnhlan samarthphisucnwaphllphthkhxnghanepnkarthdlxng niwekhliyrfichchn epnkhrngaerk pi kh s 1944 hanidrbrangwloneblsakhaekhmi aetimtenxrkbfrischklbimmichuxidrbrwmthngthihanidphyayamesnxaelw chwngkhristthswrrs 1950 mikarphthnaekhruxngerngxnuphakhaelaekhruxngtrwccbxnuphakh sungthaihnkwithyasastrsamarthsuksaphlkrathbcakkarekhluxnthikhxngxatxmthiradbphlngngansung id mikarkhnphbepnswnprakxbyxykhxngniwtrxnaelaoprtxn sungepnxnuphakhprakxbkhuncakchinswnthielkkwaeriykwa khwark aebbcalxngmatrthanthangniwekhliyrfisiksidrbkarphthnakhuncnsamarthxthibaykhunlksnakhxngniwekhliysidxyangsmburninrupaebbkhxngxnuphakhthielkkwaxatxmaelaaerngtang thimiphltxptikiriyakhxngxnuphakhehlannswnprakxbkhxngxatxmxnuphakhthielkkwaxatxm aemkhawa xatxm camikaenidcakraksphththimikhwamhmaythungxnuphakhthielkthisudsungimsamarthaebngidxiktxip aetkarichnganinthangwithyasastrsmyihmnn xatxmyngprakxbdwyxnuphakhthielkkwaxatxmxikmakmay xnuphakhthiepnswnprakxbkhxngxatxmidaek xielktrxn oprtxn aelaniwtrxn xyangirkdi xatxmkhxngihodrecn 1 nnimminiwtrxn aelabwkkimmixielktrxn ethathirukninpccubn xielktrxnepnxnuphakhthimimwlnxythisudinbrrdaxnuphakhthnghmd xnuphakhthielkthisudaelamimwlnxythisudthithrabinpccubnkhux xnuphakhkhwark praman 9 11 10 31 kg odymipracuiffalbaelamikhnadthielkekinkwacawdiddwyethkhnikhethathimixyu oprtxnmipracubwk aelamimwlraw 1 836 ethakhxngxielktrxn khuxpraman 1 6726 10 27 kg aemwaxacldlngidcakkarepliynaeplngphlngnganyudehniywkhxngoprtxnthimitxxatxm swnniwtrxnnnimmipracuiffa mimwlraw 1 839 ethakhxngmwlxielktrxn hrux 1 6929 10 27 kg niwtrxnkboprtxnmikhnadphx knthipraman 2 5 10 15 m aemwa phunphiw khxngxnuphakhehlanicaimsamarthrabuidxyangchdecnktam inaebbcalxngmatrthanthangfisiks thngoprtxnaelaniwtrxntangprakxbdwyxnuphakhmulthaneriykwa khwark khwarkepnhnunginsxngchnidkhxngklumxnuphakhefxrmixxnsungepnxngkhprakxbphunthankhxngssar xngkhprakxbxiktwhnungkhuxelptxn sungmixielktrxnepnswnprakxb khwarkmixyu 6 praephth aetlapraephthmipracuiffaepnessswnthiaetktangknkhux 2 3 hrux 1 3 oprtxnprakxbdwyxphkhwark 2 twaeladawnkhwark 1 tw khnathiniwtrxnprakxbdwyxphkhwark 1 twaeladawnkhwark 2 tw khwamaetktangniepntwbngbxkthungkhwamaetktangkhxngmwlaelapracurahwangxnuphakhsxngchnid khwarkyudehniywkniwiddwyaerngniwekhliyrxyangekhm sungepnlksnakhxngkluxxn kluxxnepnxnuphakhchnidhnungintrakulekcobsxn sungepnxnuphakhmulthanthangdanaerngptikiriyathangfisiks niwekhliys oprtxnkbniwtrxnthiyudehniywknphayinxatxmhnung carwmknepnniwekhliysxatxmkhnadelk eriykchuxwa niwkhlixxn rsmikhxngniwekhliysmikhapraman 1 07A3 displaystyle begin smallmatrix 1 07 sqrt 3 A end smallmatrix odythi A khuxcanwnniwkhlixxnrwm nimikhnadelkkwarsmikhxngxatxmmak praman 105 fm niwkhlixxnyudehniywknexaiwdwyaerngdungdudrayaikl eriykwa aerngniwekhliyr thirayahangtakwa 2 5 fm aerngnicamiphlngaerngmakkwasungthaihpracuoprtxnthiepnbwkphyayamphlktwxxkcakkn xatxmkhxngthatuchnidediywkncamicanwnoprtxnethakn eriyktwelkhniwa hmayelkhxatxm inthatuchnidhnung xacmicanwnniwtrxnthiaetktangkn sungepntwkahndkhaixosothpkhxngthatunn canwnodyrwmkhxngoprtxnkbniwtrxnepntwrabuniwikhld canwnniwtrxnethiybkboprtxnepntwkahndkhwamesthiyrkhxngniwekhliys aelaixosothpthithaihekidkarslaytwkhxngsarkmmntrngsi niwtrxnkboprtxntangepnefxrmixxnephiyngaetepnkhnlachnid tamhlkkarkidknkhxngephali khuxphlcakaerngkhwxntmthaihefxrmixxn thiethiybethakn imsamarthmisthanakhwxntmediywkninewlaediywknid dngnnoprtxnthuktwinniwekhliyscungtxngdarngxyuinsthanathiaetktangkndwyradbphlngngantang khxngtwexng kdediywknniyngichkbniwtrxnthnghmddwy aetimidhamoprtxnkbniwtrxnihmisthanakhwxntmxnediywkn mikhwamepnipidthiniwekhliyskhxngxatxmthimihmayelkhxatxmtasungmicanwnoprtxnkbniwtrxntangkn caldsthanaphlngngantalngcakkarslaytwkhxngsarkmmntrngsi xnthaihcanwnoprtxnkbniwtrxnekuxbcaethakn phlthiekidkhunthaihxatxmthimicanwnoprtxnkbniwtrxnekuxbethaknnnmiphawaesthiyrkhunaelaimslaytw xyangirkdi yinghmayelkhxatxmsungkhun aerngphlkrahwangoprtxnkcayingthaihsdswnniwtrxnthitxngmiephuxrksaniwekhliysihesthiyrtxngephimcanwnmakkhun thaihaenwonmepliynaeplngip dwyehtunicungimminiwekhliysthiesthiyrsungmicanwnoprtxnaelaniwtrxnetha knthihmayelkhxatxmmakkwa Z 20 aekhlesiym ying Z micanwnmakkhunipsuniwekhliysthatuhnk sdswnniwtrxntxoprtxnthitxngmiephuxkhwamesthiyrcayingephimkhunipthipraman 1 5 canwnoprtxnaelaniwtrxninniwekhliysxatxmsamarthepliynaeplngid aemcatxngichphlngngansungmakephraamiaerngyudehniywthiekhmmak ptikiriyaniwekhliyrfiwchnekidkhunemuxxnuphakhxatxmhlaytwrwmtwknthaihekidepnniwekhliysihmthihnkkwaedim echncakkarchnknkhxngniwekhliyssxngtw yktwxyangechnthiaeknklangkhxngdwngxathity oprtxntxngkarphlngngan 3 10 keV ephuxexachnaaerngyudehniywrahwangkn hrux kaaephngkhulxmb coulomb barrier aelwhlxmrwmekhadwyknklayepnniwekhliysephiyngxnediyw swnptikiriyaniwekhliyrfichchncaekidkhuninthangtrngknkham khuxkarthiniwekhliyshnungaetktwxxkepnniwekhliyskhnadelkkwa 2 tw odymakekidkhuncakkarslaytwkhxngsarkmmntrngsi niwekhliysyngxacepliynaeplngidcakkaryingdwyxnuphakhkhnadelkphlngngansung hruxoftxn thasamarthepliynaeplngcanwnoprtxninniwekhliysid xatxmkcaepliynkhunlksnaipepnthatuchnidxun thamwlkhxngniwekhliyshlngcakekidptikiriyafiwchnminxykwacanwnmwlrwmkhxngxnuphakhkhnathiyngaeykkn mwlthiaetktangknrahwangkhathngsxngxaccaaephrxxkipinlksnakhxngphlngnganbangxyang echn rngsiaekmma hruxphlngnganclnkhxngxnuphakhbita dngthixlebirt ixnsitn xthibayiwinsmkarsmmulrahwangmwl phlngngan E mc2 emux m khuxmwlthisuyhayip aela c khuxkhwamerwaesng canwnthihayipniepnswnhnungkhxngphlngnganyudehniywkhxngniwekhliysihm aelaepnkarsuyesiyphlngnganaebbimmiwithiyxnklb sungthaihxnuphakhthihlxmrwmknyngkhngxyuinsthanathicaepntxngichphlngnganinradbnnephuxaeyktwxxkcakkn karekidfiwchnkhxngniwekhliyssxngtwihklayepnniwekhliysediywthiihykhun odythimihmayelkhxatxmtakwaehlkaelanikekil hruxcanwnniwkhlixxnrwmpraman 60 eriykwakrabwnkarkhaykhwamrxn sungcapldplxyphlngnganxxkmamakkwaphlngnganthitxngichinkarrwmtwkn krabwnkarpldplxyphlngnganechnniexngthithaihekidptikiriyaniwekhliyrfiwchnindawvkssungsamarthekidkhunxyangtxenuxng sahrbniwekhliysthatuhnk phlngnganyudehniywtxniwkhlixxninniwekhliyserimtnldcanwnlng nnkhuxkrabwnkarfiwchnthisrangniwekhliysthimihmayelkhxatxmsungkwa 26 aelamwlxatxmmakkwa 60 eriykwakrabwnkardudkhwamrxn niwekhliysmwlmakehlaniimsamarthsrangptikiriyafiwchntxenuxngthirksasphawasmdulxuthksthitkhxngdawvksexaiwid klumhmxkxielktrxn xielktrxninxatxmthukdungdudexaiwkboprtxninniwekhliysdwyaerngaemehlkiffa aerngchnidniyudehniywxielktrxnexaiwphayinhlumphlngnganiffasthitthixyurxb niwekhliys nnaesdngwacaepntxngidrbphlngngancakaehlngphaynxkephuxchwyihxielktrxnhnixxkipid yingxielktrxnxyuiklkbniwekhliysmakethaid aerngdungdudnikyingmakkhun dngnnxielktrxnthixyuiklsunyklangkhxnghlumphlngngancaepntxngichphlngnganmakkwaephuxcahnixxkmaid echnediywkbxnuphakhxun xielktrxnmikhunsmbtiaebbthwiphakh khuxepnthngxnuphakhaelaepnthngkhlun emkhxielktrxnepnbriewnphayinhlumphlngnganthixielktrxnaetlatwcasrangkhlunning 3 mitipraephthhnungkhun xnepnrupkhlunthiimekhluxnthitamniwekhliys phvtikrrmnithukkahndcakxxrbithlkhxngxatxm sungepnfngkchnkhnitsastrthiaesdngkhunsmbtikhwamepnipidthixielktrxncaprakttwkhunthicudechphaahnung khnathithukwdtaaehnng rxb niwekhliyscamixxrbithlthiimtxenuxngknlxmrxbxyuinlksnakhxngkhwxnta thngniephraarupaebbkhlunxunthiepnipidcaslaytwipxyangrwderwekhasusthanathiesthiyrmakkwa xxrbithlxacmilksnawngaehwnhnungwng hlaywng hruxepnokhrngsrangohndkid sungmikhwamaetktangcakxxrbithlxun thngdankhnad ruprang aelasunyklang xxrbithlxatxmaetlaaebbcasxdkhlxngkbradbphlngnganechphaakhxngxielktrxnkhahnung xielktrxnsamarthepliynsthanakhxngmnipyngradbphlngnganthisungkwaidodykardudsboftxnthimiphlngnganephiyngphxcaykradbtwmnkhunipsusthanakhwxntmihm inthangklbkn krabwnkarpldplxyrngsidwytwexngthaihxielktrxnthiradbphlngngansungsamarthldradbphlngnganlngipyngsthanathitakwaidkhnathiaephphlngnganswnekinxxkipepnoftxn khunlksnakhxngkhaphlngnganthikahndcaksthanakhwxntmthiaetktangknni epnsaehtukhxngkarekidesnsepktrm primanphlngnganthicaepntxngich thngaebbephimekhaiphruxpldplxyxxkma inkarepliynsthanakhxngxielktrxnninxykwaphlngnganyudehniywkhxngniwkhlixxnmak echn caepntxngichphlngnganephiyng 13 6 eV ephuxihxielktrxncakxatxmkhxngihodrecnepliynradblngipyng ethiybkbphlngngan 2 23 lan eV inkaraeykniwekhliyskhxngdiwethxeriym xatxmmipracuepnklangthamnmicanwnoprtxnkbxielktrxnethakn xatxmthimixielktrxnmakhruxnxykwapktieriykwa ixxxn xielktrxnthixyuiklcakniwekhliysmakxacthayoxnipyngxatxmkhangekhiyng hruxxyurwmrahwangsxngxatxmkid dwyklikni xatxmcungsamarthekidphnthaekhmiklayepnomelkulaelasarprakxbekhmixun echn karekidphlukaebbhruxokhewelnt okhrngsrangkhxngemkhxielktrxnxacepliynaeplngiptamcanwnxielktrxnthimiinklumemkhnn miwithikarnbcanwnxielktrxnthiaetktangknxyucanwnhnung echn kdxxkett hrux sungodymakcaichepnephiyngkdchwycaaelaimidichaebbediywknkbxatxmthukchnid nksuksaihminwichaekhmimkthuksxnihcaokhrngsrangxatxmaebbngay epn 2 8 8 8 8 8 8 thngniephuxihladbkarsxnthaidngaykhun aetcanwnxielktrxninaetlaechllsahrbxatxmkhnadihythicringaelwmicanwnthitangipcakni echn 2 8 18 32 50 72 aettxngepnnksuksachnsungcungkhxythakhwamekhaickbkhwamsbsxnnikhunsmbtikhunsmbtithangniwekhliyr tamkhaniyamaelw xatxmsxngtwthimicanwn oprtxn inniwekhliysethakn caepnxatxmkhxngthatuchnidediywkn xatxmthimicanwnoprtxnethaknaetmicanwn niwtrxn aetktangkncdwaepnixosothpkhxngthatuediywkn twxyangechn xatxmkhxngihodrecnthnghmdcamioprtxn 1 twehmuxnkn aetixosothpkhxngihodrecnmihlaychnid tngaetaebbimminiwtrxn khux ihodrecn 1 aebbniwtrxn 1 tw diwethxeriym aebbniwtrxn 2 tw thriethiym aelathiminiwtrxnmakkwa 2 tw ihodrecn 1 epnrupaebbthiphbknaephrhlaymakthisud bangkhrawkeriykwa oprethiym thatuthieraruckaelwmiklumhmayelkhxatxmtngaetihodrecn sungmioprtxn 1 tw ipcnthung xxkaenssxn sungepnthatuthimioprtxn 118 tw ixosothpkhxngthatuthnghmdthieraruckthimihmayelkhxatxmmakkwa 82 cdepnsarkmmntrngsi miniwikhldxyu 339 chnidthiekidkhuntamthrrmchatibnolk incanwnni 256 chnid praman 76 imphbkarslaytw sungcaeriykwaepnixosothpesthiyr inbrrdathatu 80 chnidcamiixosothpesthiyrxyangnxy 1 tw sahrbthatuhmayelkh 43 61 aelathukthatuthihmayelkh 83 hruxsungkwa immiixosothpthiesthiyr xackahndepnkdidwa sahrbthatuthukchnid miixosothpesthiyrxyuephiyngcanwnnxynid echliymiixosothpesthiyrpraman 3 1 twtxthatuthimiixosothpesthiyr mithatuxyu 27 chnidthimiixosothpesthiyrephiyngtwediyw khnathicanwnixosothpesthiyrmakthisudethathiekhyphbkhux 10 odyphbindibuk khwamesthiyrkhxngixosothpekidcaksdswnrahwangoprtxntxniwtrxn rwmipthung canwnmhscrry khxngniwtrxnhruxoprtxnthiaesdngthungradbphlngngankhwxntmthngaebb closed aelaaebb filled radbchnphlngngankhwxntmehlanikhuxradbphlngnganphayinaebbcalxngchnphlngngankhxngniwekhliys dngechn filled shell khxngoprtxn 50 twindibuk aesdngthungkhwamesthiyrkhxngniwikhldaebbimpkti cakcanwnniwikhldesthiyrthnghmdthiruckkn 256 chnid miephiyng 4 chnidethannthimicanwnoprtxnaelaniwtrxnepnelkhkhi idaek ihodrecn 2 diwethxeriym aela nxkcakni sahrbniwikhldkmmntaebbkhi khi thimikhrungchiwitmakkwaphnlanpi kmiephiyng 4 chnidethannkhux aela niwekhliysthimicanwnaebbkhi khi swnihycaimesthiyrxyangmakodyekidkarslaypldplxyxnuphakhbita ephraaphlcakkarslaynncaidcanwnmaepnaebbkhu khu sungepnphnthathiaekhngaerngkwa tam nuclear pairing effects mwl enuxngcakmwlswnmakkhxngxatxmxyuinoprtxnaelaniwtrxn dngnncanwnrwmkhxngxnuphakhehlani eriykrwmknwa niwkhlixxn inxatxmhnung cungeriykwaepn elkhmwl odymakmkcaaesdngmwlningodyichhnwymwlxatxm u sungbangkhrngkeriykwa daltn Da hnwyniniyamcak 1 swn 12 khxngmwlkhxngxatxmxisrathiepnklangkhxng sungmikhapraman 1 66 10 27 kgihodrecn 1 sungepnixosothpthiebathisudkhxngihodrecnaelaepnxatxmthimimwlnxythisud minahnkxatxmethakb 1 007825 u xatxmhnung camimwlodypramanethakbelkhmwlkhundwyhnwymwlxatxmthihnkthisud khux takw 208 sungmimwl 207 9766521 u thungaemcaepnxatxmthimimwlmakthisud mnkyngebaekinkwathieracaipthaxairdwyodytrngid nkekhmicungniymichhnwy oml aethn omlminiyamwa hnungomlkhxngthatuid camicanwnxatxmethaknesmx praman 6 022 1023 thieluxkichcanwnnikephuxwa thathatuid mielkhxatxmepn 1 u aelw omlxatxmkhxngthatunncamimwliklekhiyngkb 0 001 kk hrux 1 krm xasykhaniyamkhxnghnwymwlxatxmni cungmimwlxatxmethakb 12 u phxdi aelahnungomlkhxngxatxmkharbxnminahnkethakb 0 012 kk ruprangaelakhnad eraimsamarthbxkkhxbekhtthiaennxnkhxngxatxmid karbxkkhnadkhxngxatxmcungmkxthibayinlksnarsmixatxm khuxkarwdrayahangkhxngemkhxielktrxnthiaephxxkipcakniwekhliys xyangirkdi karbxkrayahangechnnixyubnsmmutithanwaxatxmmiruprangepnthrngklm sungcaepncringktxemuxxatxmnnxyuinsuyyakashruxxwkasesriethann rsmixatxmhaidcakrayahangrahwangniwekhliysxatxm 2 twthidungdudknxyuinphnthaekhmi mikhaaeprepliyniptamaettaaehnngkhxngxatxmbnaephnphngxatxm hruxtamchnidkhxngphnthaekhmi canwnxatxmephuxnban elkhokhxxrdienchn aelakhunsmbtithangkhwxntmthieriykwa spin tamthipraktintarangthatu khnadxatxmmiaenwonmephimsungkhunthayingxyuinkhxlmnthitalngipkhanglang aetmikhnadelklnghakepriybethiybcakdansayipkhwa ethiybknaelw xatxmthimikhnadelkthisudkhuxxatxmkhxnghieliym sungmirsmi 32 phiokhemtr swnxatxmihythisudkhux siesiym mikhnad 225 phiokhemtr thaxatxmxyuinsnamphlngnganxun echn snamiffa ruprangkhxngxatxmcabidebiywipimepnthrngklm karepliynaeplngkhunxyukbkhnadkhwamaerngkhxngsnamphlngnganaelachnidwngokhcrkhxngxielktrxninechllnxksud sungaesdngiwinthvsdikrup karepliynaeplngruprangxun echnrupthrngkhristl ekidkhuncaksnamphlngnganiffa khristl inkarkxtwaebbsmmatrta mirupthrngoddednxikaebbhnungkhuxthrngri ekidkhunkbixxxnslefxrinsarprakxbpraephth pyrite mitikhxngxatxmnnelkkwakhwamyawkhlunkhxngaesng 400 700 naonemtr nbhlayphnetha cungimsamarthmxngduxatxmdwyklxngculthrrsnaebbichaesngid xyangirkdi erasamarthsngektkarnxatxmediyw idodyichklxngculthrrsnaebbsxngkradinxuomngkh sungbangtwxyangxacaesdngihehnkhwamelkciwkhxngxatxmid esnphmkhxngmnusymikhnadkhwamkwangpraman 1 lanethakhxngxatxmkharbxn hydnahnunghydmixatxmxxksiecnxyupraman 2 esksthileliyn 2 1021 aelaxatxmihodrecnxik 2 ethakhxngcanwnniephchr 1 kart mimwl 2 10 4 kiolkrm prakxbdwyxatxmkharbxncanwn 10 esksthileliyn 1022 xatxm thaerakhyaykhnadphlaexpepilihihyethakhnadkhxngolk hnungxatxminaexpepilcamikhnadpramanphlaexpepilpkti karslaytwkhxngsarkmmntrngsi idxaaekrmaesdng khrungchiwit T khxngixosothphlaytwthimicanwnoprtxnethakb Z aelacanwnniwtrxnethakb N thatuthukchnidcamiixosothpxyangnxyhnungtwthiminiwekhliysthiimesthiyr aelamikarslaytwkhxngkmmntrngsi thaihniwekhliysnnpldplxyxnuphakhxxkmahruxekidkaraephrngsiaemehlkiffa karaephkmmntrngsisamarthekidkhunidemuxrsmikhxngniwekhliysmikhnadihykwaethiybkbrsmikhxngaerngniwekhliyrxyangekhm sungsngaerngidinrayathangephiyng 1 fm rupaebbkarslaytwkhxngsarkmmntrngsithiphbknmakthisud idaek karslaypldplxyxnuphakhxlfa ekidkhunemuxniwekhliyspldplxyxnuphakhxlfaxxkma khuxniwekhliyshieliymthiprakxbdwyoprtxn 2 twaelaniwtrxn 2 tw phlcakkaraephrngsichnidnicaidthatuihmthimielkhxatxmnxylng karslaypldplxyxnuphakhbita ekidkhunenuxngcakaerngniwekhliyrxyangxxn epnphlcakkarepliynaeplngniwtrxnklayipepnoprtxn hruxoprtxnklayepnniwtrxn aebbaerkkhuxkaraephxielktrxn 1 twkbaexntiniwtrion 1 tw swnaebbthisxngepnkaraephophsitrxn 1 twkb niwtrion 1 tw karaephxnuphakhkhxngxielktrxnhruxophsitrxnnneriykwaxnuphakhbita phlcakkaraephrngsichnidnixacthaihelkhxatxmkhxngniwekhliysephimkhunhruxldlngxyangla 1 hnwy karslaypldplxyxnuphakhaekmma epnphlcakkarepliynaeplngradbphlngngankhxngniwekhliysipyngradbthitakwa thaihekidkaraephrngsiaemehlkiffaxxkma xacekidkhunhlngcakmikarpldplxyxnuphakhxlfahruxbitainkarslaytwkhxngkmmntrngsiaelwkid karslaytwkhxngsarkmmntrngsiaebbxun thiphbkhxnkhangnxy idaekkarplxylaxnuphakhniwtrxnhruxoprtxn hruxklumkhxngniwkhlixxncakniwekhliys karplxyxnuphakhbitamakkwa 1 tw hruxkarekidxielktrxnkhwamerwsung cak sungmiichrngsibita aelaoftxnphlngngansungthimiichrngsiaekmma ixosothpkmmntaetlatwcamirayaewlainkarpldplxyxnuphakh hruxkhrungchiwit thiechphaatw sungkahndcakrayaewlathitxngichinkarthaihsartwxyangnnslaytwipehluxephiyngkhrungediyw xnepnkrabwnkarslaytwaebbexkopennechiyl sdswnkhxngixosothpthiehluxxyuepn 50 khxngthuk rayakhrungchiwitcaldlngeruxy nnkhux hlngcakthiphanrayakhrungchiwitip 2 khrng caehluxprimanixosothpnnxyu 25 khxngcanwninkhrngaerk aelaldlnginlksnaniiperuxy omemntaemehlk xnuphakhmulthancamikhunsmbtiphayinechingklsastrkhwxntmprakarhnungruckkninchux spin hakepriybethiybkxackhlaykhlungkbomemntmechingmumkhxngwtthuthihmunrxbcudsunyklangmwlkhxngtwexng aemwathacaphudihekhrngkhrdaelw xnuphakhehlanimilksnaepnehmuxncudsungimsamarthbxkidwamnkalnghmun karwdkhaspinichhnwykhxngkhakhngthikhxngphlngkh ħ odythixielktrxn oprtxn aelaniwtrxn lwnmikhaspin ħ or spin inxatxmhnung xielktrxnthiekhluxnthiiprxbniwekhliyscamiomemntmechingmuminwngokhcrephimipkbspinkhxngmn khnathitwniwekhliysexngnnmiomemntmechingmumkhunkbniwekhliyrspinkhxngmn snamaemehlkthiekidkhunodyxatxm hruxomemntaemehlkkhxngmn samarthniyamidcakrupaebbthiaetktangknkhxngomemntmechingmum waepnwtthumipracuthikalnghmunrxbtwexngaelasrangsnamaemehlkxxkma xyangirkdi khunlksnaxnoddednthisudkekidkhunmacakspin odythrrmchatikhxngxielktrxnaelw mncaepniptamhlkkarkidknkhxngephali klawkhux immithangthicaphbxielktrxn 2 twxyuinediywknid xielktrxnthiepnkhucaxyutrngknkhamkn thasmachikhnungxyuinsthanaspinkhun xiktwcaxyuinsthanatrngknkham khuxspinlng dngnnkhaspinthngsxngcahklangknexng thaihldaerngaemehlksxngkhwlngepnsunysahrbxatxmbangtwthimicanwnxielktrxnepnelkhkhu inthatuthimikhunsmbtikhxng xyangechn ehlk canwnxielktrxnthiepnelkhkhithaihmixielktrxnehluxsungimmikhu aelathaihekidphlrwmomemntaemehlksuththikhun wngokhcrkhxngxatxmkhangekhiyngcasxnthbkn aelaipsusthanaphlngnganthitakwaemuxspinkhxngxielktrxnthiimmikhuidaenwtrngknkbtwxun krabwnkarniruckkninchux xntrkiriyaaelkepliyn exchange interaction emuxekidaenwomemntaemehlkkhxngxatxmaemehlkefxrorkhun ssarnnksamarthsrangsnamaerngkhnadihykhuncntrwcwdid ssaraebbpharaaemkentikmixatxmthimiomemntaemehlksungsrangaenwkhuninthisthangaebbsumodythiimsamarthtrwcphbsnamaemehlkely aetomemntaemehlkkhxngxatxmaetlatwnneriyngaenwkntamkarkxtwkhxngsnam niwekhliyskhxngxatxmksamarthmikhaspinsuththiidechnkn tampktiaelwniwekhliysehlanicaeriyngtwkninthisthangaebbsum xnenuxngmacak xyangirkdi mithatubangtw echn sinxn 129 sungmikhwamepnipidinkarekidkhwspinthisthawaniwekhliyrspinxyangminysakhy cnmneriyngtwkninthisthangediywknid enguxnikhechnnieriykwa hyperpolarization sungsamarthnaipprayuktichnganidkbkarsrangphaphdwyerosaennsaemehlk MRI radbphlngngan xielktrxnthithukdungdudxyuphayinxatxmhnung camiphlngnganskysungaeprphkphnkbrayahangkhxngmncakniwekhliys khaniwdidcakkhnadkhxngphlngnganthicaepntxngichephuxihxielktrxnnnhludxxkcakxatxm odypktiichhnwywdepn xielktrxnowlt eV inaebbcalxngklsastrkhwxntm xielktrxnthimiphnthacasamarthkhrxbkhrxngsthanacanwnhnungrxbniwekhliys aetlasthanannsxdkhlxngkbradbphlngnganthiechphaaecaacng radbphlngnganthitathisudkhxngxielktrxneriykwa sphawaphun ground state swnxielktrxnthixyuinradbphlngnganthisungkwacaeriykwaxyuinsphawakratun excited state xielktrxnthimikarepliynaeplngrahwangsphawathiaetktangknsxngsphawa catxngdudsbhruxpldplxyoftxnxxkmathiradbphlngnganhnungsungethakbkhaaetktangkhxngphlngnganskykhxngsphawathngsxng phlngngankhxngoftxnthipldplxyxxkmaepnsdswnkbkhwamthikhxngmn dngnnradbphlngnganthiechphaaecaacngcamichwngsepktrmaemehlkiffathiepnexklksn thatuaetlachnidcamisepktrmechphaa khunxyukbpracuniwekhliyr radbphlngnganyxykhxngxielktrxn xntrkiriyaaemehlkiffarahwangxielktrxn aelapccyxun twxyangesndudkluninsepktrm emuxsepktrmphlngnganthitxenuxngphanaekshruxphlasma oftxnbangswncathukxatxmdudklunip thaihxielktrxnepliynaeplngradbphlngngan xielktrxnthithukkratunehlannsungyngkhngthukdungdudxyukbxatxm capldplxyphlngnganxxkmaxyangtxenuxngepnoftxn odypldplxyxxkmathukthisthangxyangsum caknnktklngipyngradbphlngnganthitakwa dngnnxatxmcungthatwehmuxntwkrxng sungthaihekidaenwesndudklunmud txenuxngkhunthiphlngnganthisngxxkma phusngektthimxngduxatxmcakmumxunsungimidrwmexasepktrmtxenuxngepnchakhlng camxngehnesnpldplxykhxngoftxnthipldplxyxxkmacakxatxmaethn ekhruxngmuxwdsepkotrsokpisahrbkhwamaerngaelakhwamkwangkhxngesnsepktrmcachwyiherasamarthrabuxngkhprakxbaelakhunsmbtithangkayphaphkhxngssarnnid kartrwcsxbesnsepktrmxyanglaexiydphbwamikaraebngaeykechingokhrngsrangxyanglaexiydcanwnhnung sungekidkhunenuxngcak karkhukhwbkhxngspinkbxxrbith spin orbit coupling xnepnxntrkiriyarahwangspinkbkarekhluxnthikhxngxielktrxnchnnxksud emuxxatxmxyuinsnamaemehlkphaynxk esnsepktrmcaaeykxxkepnsamswnhruxmakkwann praktkarnnieriykwa Zeeman effect sungekidkhuncakxntrkiriyakhxngsnamaemehlkkbomemntaemehlkkhxngxatxmaelaxielktrxnphayin xatxmbangtwxacmikarcderiyngxielktrxnthiradbphlngnganediywkn sungcapraktxxkmaepnesnsepktrmhnungesn xntrkiriyarahwangsnamaemehlkkbxatxmcathaihkarcderiyngxielktrxnniekhluxnipthiradbphlngnganradbxun sngphlihmiesnsepktrmhlayesn karthimisnamiffaphaynxknisamarththaihekidkaraeyktwaelakarekhluxntwkhxngesnsepktrmthiepriybethiybknidodykarddaeplngradbphlngngankhxngxielktrxn praktkarnnieriykwa Stark effect thaxielktrxnitaerngdungdudxyuinsphawakratun oftxnthimiphlngnganehmaasmsamarthdwyradbphlngnganthitrngkn karcaekidehtukarnechnni xielktrxntxngldradbphlngnganlngipyngsphawathitakwathithaihmikhwamaetktangkhxngradbphlngnganethakbphlngngankhxngoftxnthixyuinphawakratun oftxnthieplngaesngxxkmakboftxninsphawakratuncaekhluxntwxxkodykhnanknaeladwyefsthitrngkn nnkkhuxrupaebbkhxngkhlunkhxngoftxnthngsxngnnsxdprasanknphxdi khunsmbtithangkayphaphechnniichinkarsrangelesxr sungsamartheplnglaaesngechuxmtxknkhxngphlngnganaesngphayinaethbkhwamthiaekhb aethbhnung phvtikrrmkhxngewelnsaelaaerngyudehniyw wngokhcrxielktrxnchnnxksudkhxngxatxminsphawathiimidrwmkn ruckkninchuxwa wngokhcrewelns xielktrxnthixyuinwngokhcrnicaeriykchuxwa ewelnsxielktrxn canwnkhxngewelnsxielktrxnhaidcakphvtikrrmkhxngaerngyudehniywkbxatxmxun ephraaxatxmmiaenwonmcaekidptikiriyathangekhmikbxatxmxun inlksnathikhxyetimetm hruxthaihwang wngokhcrewelnschnnxksud twxyangechn karekhluxnyayxielktrxnediywrahwangxatxmepnkarpramankarthimipraoychnsahrbphnthathiekidkhunrahwangxatxmthimixielktrxninwngokhcrekinma 1 tw kbxikxatxmhnungthikhadxielktrxninwngokhcrip 1 tw sungepnsingthiekidkhuninsarprakxbosediymkhlxird aelaekluxixxxnthangekhmixun xyangirkdi thatuhlaychnidpraktwamiewelnshlaytw hruxmiaenwonmthicamicanwnxielktrxninsarprakxbthiaetktangknepncanwnimethakn dngnnphnthaekhmirahwangthatuehlanicungthaihekidkaraelkepliynxielktrxnhlayrupaebbsungmikarekhluxnyayxielktrxnmakkwa 1 tw twxyangehlanirwmipthungthatukharbxnaelasarprakxbxinthriyxun thatuekhmimkcaprakttwintarangthatu sungwangtaaehnngtamkhunsmbtithangekhmithiprakt thatuthimicanwnewelnsxielktrxnepnelkhediywkncacbklumrwmknaesdnginaenwdingintarang hruxxyuinkhxlmnediywkn swnaethwaenwnxnsuxthungkaretimwngokhcrkhwxntmkhxngxielktrxn thatuthixyuthangkhwakhxngtarangcamixielktrxninwngokhcrchnnxkxyangsmburn thaihmnmilksnaechuxyinthangekhmi ruckkninchux aeksmiskul sthana phaphningaesdngkarkxtwkhxngkhxngehlwphlkhwbaennobs ixnsitn canwnxatxmthiphbinsthanatang khxngssar khunxyukbenguxnikhthangkayphaphkhxngssarnn echn xunhphumiaelakhwamdn emuxaeprenguxnikhehlani ssarnnksamarthepliynsphaphiprahwangkhxngaekhng khxngehlw kas aelaphlasma insthanahnung ssarsamarthdarngxyuinsphaphthiaetktangknkid twxyangkhxngkrniniechn kharbxn sungsamarthdarngxyuidthnginrupkhxngaekrift hruxephchr emuxxunhphumimikhaekhaiklsunyxngsasmburn xatxmcaekidkarkhwbaennkhxngobs ixnsitn sungepncudthiklsastrkhwxntmthitampktisamarthsngektkarnidechphaainradbxatxmethann erimsngphlaelasamarthsngektkarninradbmhphakhid klumkhxngxatxmthieynyingywdnicamiphvtikrrmepnhnungediyw thaihsamarthtrwcsxbkhunsmbtiphunthankhxngphvtikrrmthangklsastrkhwxntmidkartrwccbphaphcakklxngculthrrsnaebbsxngkradinxuomngkh aesdngihehnxatxmaetlatwthiprakxbxyubnphunphiwkhxngthxngkha thaihxatxmbnphunphiwbidebiywipcakaebbedim aelaeriyngtwihmepnhlay aethwodymichxngwangrahwangaetlaaethw klxngculthrrsnaebbsxngkradinxuomngkh khuxekhruxngmuxthiichinkartrwcduphunphiwinradbxatxm xasypraktkarn quantum tunneling sungyxmihxnuphakhkhamphanchnphlngnganthitampktiaelwcakhamipimid xuomngkhxielktrxninsuyyakasrahwangaephnolhaxielkothrdsxngchinsungmichnkhxngxatxmsasmxyu cathaihekidkhwamhnaaennkhxngkraaesinxuomngkhcnthaihsamarthtrwcwdid karsaeknxatxmtwhnung eriykwa tip khnathimnwingphanxatxmxiktwhnung xatxmtwxyang thaihsamarthwadphaphkarekhluxnthikhxng tip ethiybkbkraaeskarekhluxnthikhxngxatxmthiaeykkn phlkarkhanwnthaiherasamarthsrangphaphcakklxngculthrrsn scanning tunneling microscope khunmaepnphaphkhxngxatxmaetlaxatxmid phaphehlanichwyyunynwa thikarkratunkhnadta rayahangechliykhxngwngokhcrxielktrxncaxyuiklkbradbphlngnganaefrmi sungepnradbodypkti xatxmxacmipracukhunmaidthaexaxielktrxntwhnungxxkipesiy pracuiffacathaihthisthangkarekhluxnthikhxngxatxmexiyngokhngipemuxedinthangphanbriewnsnamaemehlk rsmikarokhngipkhxngixxxnthiekhluxnthixnenuxngcaksnamaemehlknnsamarthbxkidcakmwlkhxngxatxm hlkkarninaipichinekhruxngsepkotrmietxrkhxngmwlephuxtrwcwdxtraswnmwltxpracu mass to charge ratio khxngixxxn thatwxyangthitrwcwdmiixosothphlaytw sepkotrmietxrkhxngmwlcasamarthrabusdswnkhxngaetlaixosothpintwxyangnnidodykarwdkhwamekhmkhxnglaixxxnaetlatwthiaetktangkn ethkhnikhinkarthaihxatxmraehidnirwmipthung inductively coupled plasma atomic emission spectroscopy ICP AES aela inductively coupled plasma mass spectrometry ICP MS sungthng 2 withiniichphlasmainkarthaihxatxmtwxyangraehidephuxthakarwiekhraah sahrbkrabwnwithithiecaacngmakkwaniidaek kartrwcwdkarsuyesiyphlngngankhxngxielktrxn electron energy loss spectroscopy sungcatrwcwdphlngnganthisuyesiycaklaxielktrxnphayinklxngculthrrsnxielktrxnchnidsxngphanemuxmnthaxntrkiriyakbxatxmtwxyang phaphkhxngidphllphthsammitiinradbtakwanaonemtr aelasamarthichekhruxng time of flight mass spectrometry ephuxrabukhunsmbtithangekhmikhxngxatxmid erasamarthichsepktrmkhxngsthanakratunkhxngxatxminkarwiekhraahxngkhprakxbxatxmindawvksthixyuhangiklid aesngthisngektkarncakdawvksehlannprakxbdwykhwamyawkhlunaesngkhnadhnung sungsamarthaeykaeyaxxkidodymikhwamsmphnthkbkarepliynaeplngkhwxntmkhxngxatxmaeksxisra xasythibrrcuthatuchnidediywknthaiherasamartheliynaebbsiaebbediywknidhieliymthukkhnphbdwywithikarechnniodytrwcidcaksepktrmkhxngdwngxathityepnewla 23 pikxnthicaphbmnbnolkesiyxiktnkaenidaelasthanapccubnxatxmepnswnprakxbraw 4 khxngkhwamhnaaennphlngnganrwmthnghmdinexkphphthisngektid odymikhakhwamhnaaennechliypraman 0 25 xatxmtxlukbaskemtr sahrbphayindarackrechnthangchangephuxkcamixatxmxyuepncanwnhnaaennmakkwamak odymikhwamhnaaennkhxngssarinssarrahwangdawrahwang 105 thung 109 xatxm lb m echuxknwa dwngxathitykhxngeraxyuphayinfxngthxngthinsungepnbriewnklumaeksthimipracusung dngnnkhwamhnaaennkhxngbriewnodyrxbrabbsuriyacungmiephiyng 103 xatxm lb m dawvkskxtwcakklumemkhhnaaenninssarrahwangdaw aelakrabwnkarwiwthnakarkhxngdawvkssngphlihekidthatucanwnmakmaykhuninxwkasrahwangdawsungmimwlhnkkwaihodrecnkbhieliym xatxmphayinthangchangephuxkkwa 95 rwmtwknxyuphayindawvks aelamwlrwmkhxngxatxmkhidepnpraman 10 khxngmwldarackr mwlswnthiehluxnnyngimepnthiruck eriykknwa ssarmud karsngekhraahniwekhliys oprtxnaelaxielktrxnthiesthiyrekidkhunhlngcakekidbikaebngephiynghnungwinathi rahwangchwngsamnathitxma bikaebngniwkhlioxsinthisisidsrangssarswnihykhxnghieliym liethiym aeladiwethxeriymkhuninexkphph aelabangthixacrwmthungebxrileliymaelaobrxndwy xatxmchudaerk thixielktrxnepnswnprakxbxyangsmburn inthangthvsdiaelwechuxwaekidkhun 380 000 pihlngcakbikaebng khuxyukhthieriykwa recombination emuxexkphphthikalngkhyaytwxxknneynlngephiyngphxthithaihxielktrxnsamarthekaatidkbniwekhliysid nbaetnn niwekhliysxatxmkerimrwmtwekhaindawvksphankrabwnkarniwekhliyrfiwchnaelasrangthatutang khunipcnthungehlk ixosothpbangtwechn liethiym 6 ekidkhuninxwkasodyphanspxlelchnkhxngrngsikhxsmik emuxoprtxnphlngngansungpathakbniwekhliyskhxngxatxm thaihniwkhlixxncanwnmakdidtwxxkma thatuthihnkkwaehlkekidkhuninmhanwdaraphankrabwnkarxaraelainaekhnngdawyksechingesnkakb phankrabwnkarexs thngsxngkrabwnkarniekiywkhxngkbkarthiniwekhliysxatxmcbniwtrxnexaiw thatubangchnidechn takw swnihykxtwkhunphankrabwnkarslayihkmmntrngsikhxngthatuthihnkkwa olk xatxmswnmakthikxtwknkhunepnolkaelasingmichiwitthixyubnolknnekidkhuncakkarslaytwkhxngenbiwlathixyuinemkhomelkulephuxkxtwkhunepnrabbsuriya swnthiehluxepnphlcakkarslaytwihkmmntrngsi swnprakxbthiekiywkhxngknnisamarthnamaichephuxrabuthungxayukhxngolkidhieliymswnmakthixyubriewnepluxkkhxngolk praman 99 epnkas echn thimixyuepncanwnmhasal epnphlthiekidcakkarslaypldplxyxnuphakhxlfa mixatxmbangswnthitrwcphbwaimidmixyutngaettxnaerkkaenidolk thngimidepnphlthiekidcakkarslaytwihkmmntrngsi echn ekidkhunxyangtxenuxngcakrngsikhxsmikinchnbrryakas xatxmbangchnidbnolkthukpradisthkhun thngodythitngicsrang hruxepnphlphlxyidcakkaraetktwhruxkarraebidkhxngniwekhliyr inbrrdathatuhlngyuereniym khuxphwkthimielkhxatxmmakkwa 92 miephiyngphluoteniymkbenpcueniymethannthiekidkhunbnolkodythrrmchati thatuhlngyuereniymnnmixayukmmntrngsisnkwaxayupccubnkhxngolk aelacakprimanthitrwcidaesdngwathatuehlannerimslaytwmananaelw mikhxykewnephiyng sungxaccaekidkhuncakfunkhxsmik swntwprakxbxunkhxngphluoteniymaelaenpcueniymnnekidkhuncakkarcbtwkhxngniwtrxninaeryuereniym olkmixatxmxyupraman 1 33 1050 xatxm inchnbrryakaskhxngdaw mixatxmxisrakhxngkasechuxyxyubangelknxy echn xarkxn aela nixxn swnthiehlux 99 khxngbrryakascaxyuinrupkhxngomelkul sungrwmipthungkharbxnidxxkisd xxksiecnomelkulkhu aelainotrecn thiphunphiwkhxngolk xatxmrwmtwknekhaepnsarprakxbhlaychnid rwmthung na eklux siliekt aelaxxkisd xatxmsamarthrwmtwknklayepnssarihmsungimidprakxbdwyomelkulthiaeykcakknkid echnkhristl aelaolhathiepnkhxngehlwhruxkhxngaekhng rupaebbthiphbidyak aelathimiaetinthvsdi khnathithrabkndiwa ixosothpsungmielkhxatxmsungkwatakw 82 nnepnsarkmmntrngsi aetkmiaenwkhid ekaaaehngkhwamesthiyr sahrbthatucanwnhnungthimielkhxatxmsungkwa 103 thatuhnkmakehlanixacminiwekhliysthikhxnkhangesthiyrmakkwaemuxethiybkbsarslaykmmntrngsi thatuthimiaenwonmwacaepnxatxmthatuhnkmakthiesthiyr khux xunibehkesiym sungmioprtxn 126 twaelaniwtrxn 184 tw xnuphakhaetlatwkhxngssarcamiptissarthikhuknesmxodymipracuiffathitrngknkham dngnn ophsitrxnkkhuxaexntixielktrxnthimipracuepnbwk aelaaexntioprtxnkethiybethakboprtxnthimipracuepnlb emuxssarkbptissarkhxngmnmaphbkn kcathalaylangknaelakn dwyehtuniprakxbkbkhwamimsmdulrahwangcanwnkhxngssaraelaptissar eracungphbptissarinexkphphidyakmak saehtuthimissarkbptissarimsmdulknnnyngimepnthiekhaicknnk aemwathvsdiaebrioxecensiscachwyesnxkhaxthibayidbang eracungimsamarthphbxatxmkhxngptissaridinthrrmchati xyangirkdi inpi kh s 1996 hxngthdlxng CERN inecniwa idsngekhraahaexntiihodrecnsungepnptissartrngkhamkbihodrecnkhunidsaerc xatxmprahladxun thuksrangkhunodykaraethnthioprtxn niwtrxn hruxxielktrxntwidtwhnungdwyxnuphakhxunthimipracuediywkn twxyangechn karaethnthixielktrxndwysungmimwlmakkwa thaihekidkhun xatxmcaphwknisamarthichthdsxbkarthanayphunthanthangfisiksidduephimxnuphakhthielkkwaxatxm omelkul ixosothpkmmntrngsi thatuhlngyuereniym tarangthatuhmayehtuixosothpswnmakminiwkhlixxnmakkwaxielktrxn inkrnikhxng ihodrecn 1 sungmixielktrxnaelaniwkhlixxnediywxyangla 1 tw mioprtxnxyu 18361837 0 9995 displaystyle begin smallmatrix frac 1836 1837 approx 0 9995 end smallmatrix hrux 99 95 khxngmwlxatxmthnghmd hnungkartethakb 200 millikrmtamniyam kharbxn 12 mimwl 0 012 kk txoml elkhxaowkaodrethakb 6 1023 xatxmtxomlxangxingphcnanukrmchbbrachbnthitysthan ph s 2554 Leigh G J b k 1990 International Union of Pure and Applied Chemistry Commission on the Nomenclature of Inorganic Chemistry Nomenclature of Organic Chemistry Recommendations 1990 Oxford Blackwell Scientific Publications p 35 ISBN 0 08 022369 9 An atom is the smallest unit quantity of an element that is capable of existence whether alone or in chemical combination with other atoms of the same or other elements Haubold Hans Mathai A M 1998 Structure of the Universe khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 10 01 subkhnemux 2008 01 17 Harrison 2003 123 139 Siegfried 2002 42 55 Lavoisier s Elements of Chemistry Elements and Atoms Department of Chemistry subkhnemux 2007 12 18 Wurtz 1881 1 2 Dalton 1808 Patterson Elizabeth C 1970 John Dalton and the Atomic Theory Garden City New York Anchor Einstein Albert 1905 PDF Annalen der Physik phasaeyxrmn 322 8 549 560 doi 10 1002 andp 19053220806 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2007 07 18 subkhnemux 2007 02 04 Mazo 2002 1 7 Lee Y K Hoon K 1995 Imperial College khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 12 18 subkhnemux 2007 12 18 Patterson G 2007 Jean Perrin and the triumph of the atomic doctrine Endeavour 31 2 50 53 doi 10 1016 j endeavour 2007 05 003 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 02 13 subkhnemux 2010 04 29 J J Thomson 1906 subkhnemux 2007 12 20 Rutherford E 1911 The Scattering of a and b Particles by Matter and the Structure of the Atom PDF Philosophical Magazine 21 669 88 lingkesiy Frederick Soddy The Nobel Prize in Chemistry 1921 subkhnemux 2008 01 18 Thomson Joseph John 1913 Rays of positive electricity Proceedings of the Royal Society A 89 1 20 Stern David P 16 May 2005 NASA Goddard Space Flight Center khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 08 20 subkhnemux 2007 12 20 Bohr Neils 11 December 1922 Niels Bohr The Nobel Prize in Physics 1922 Nobel Lecture subkhnemux 2008 02 16 Lewis Gilbert N 1916 The Atom and the Molecule 38 4 762 786 doi 10 1021 ja02261a002 Scerri 2007 205 226 Langmuir Irving 1919 The Arrangement of Electrons in Atoms and Molecules Journal of the American Chemical Society 41 6 868 934 doi 10 1021 ja02227a002 Scully Marlan O Lamb Willis E Barut Asim 1987 On the theory of the Stern Gerlach apparatus Foundations of Physics 17 6 575 583 doi 10 1007 BF01882788 Brown Kevin 2007 The Hydrogen Atom MathPages subkhnemux 2007 12 21 Harrison David M 2000 The Development of Quantum Mechanics University of Toronto subkhnemux 2007 12 21 Aston Francis W 1920 The constitution of atmospheric neon Philosophical Magazine 39 6 449 55 Chadwick James 12 December 1935 Nobel Lecture The Neutron and Its Properties Nobel Foundation subkhnemux 2007 12 21 Otto Hahn Lise Meitner and Fritz Strassmann Chemical Achievers The Human Face of the Chemical Sciences Chemical Heritage Foundation subkhnemux 2009 09 15 Meitner Lise Frisch Otto Robert 1939 Disintegration of uranium by neutrons a new type of nuclear reaction Nature 143 239 doi 10 1038 143239a0 Schroeder M phasaeyxrmn khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 07 19 subkhnemux 2009 06 04 Crawford E Sime Ruth Lewin Walker Mark 1997 Physics Today 50 9 26 32 doi 10 1063 1 881933 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 03 07 subkhnemux 2010 05 02 Kullander Sven 28 August 2001 Accelerators and Nobel Laureates Nobel Foundation subkhnemux 2008 01 31 The Nobel Prize in Physics 1990 Nobel Foundation 17 October 1990 subkhnemux 2008 01 31 Demtroder 2002 39 42 Woan 2000 8 MacGregor 1992 33 37 Particle Data Group 2002 The Particle Adventure Lawrence Berkeley Laboratory subkhnemux 2007 01 03 Schombert James April 18 2006 University of Oregon khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 08 30 subkhnemux 2007 01 03 Jevremovic 2005 63 Pfeffer 2000 330 336 Wenner Jennifer M October 10 2007 How Does Radioactive Decay Work Carleton College subkhnemux 2008 01 09 Raymond David April 7 2006 New Mexico Tech khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2002 12 01 subkhnemux 2007 01 03 Mihos Chris July 23 2002 Overcoming the Coulomb Barrier Case Western Reserve University subkhnemux 2008 02 13 Staff March 30 2007 Lawrence Berkeley National Laboratory khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 12 05 subkhnemux 2007 01 03 Makhijani Arjun Saleska Scott March 2 2001 Basics of Nuclear Physics and Fission Institute for Energy and Environmental Research subkhnemux 2007 01 03 Shultis et al 2002 72 6 Fewell M P 1995 The atomic nuclide with the highest mean binding energy American Journal of Physics 63 7 653 58 doi 10 1119 1 17828 subkhnemux 2007 02 01 Mulliken Robert S 1967 Spectroscopy Molecular Orbitals and Chemical Bonding Science 157 3784 13 24 doi 10 1126 science 157 3784 13 PMID 5338306 Brucat Philip J 2008 University of Florida khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 12 07 subkhnemux 2007 01 04 Manthey David 2001 Atomic Orbitals Orbital Central subkhnemux 2008 01 21 Herter Terry 2006 Lecture 8 The Hydrogen Atom Cornell University subkhnemux 2008 02 14 Bell R E Elliott L G 1950 Gamma Rays from the Reaction H1 n g D2 and the Binding Energy of the Deuteron Physical Review 79 2 282 285 doi 10 1103 PhysRev 79 282 Smirnov 2003 249 72 Matis Howard S August 9 2000 Guide to the Nuclear Wall Chart Lawrence Berkeley National Lab khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 12 18 subkhnemux 2007 12 21 Weiss Rick October 17 2006 Scientists Announce Creation of Atomic Element the Heaviest Yet Washington Post subkhnemux 2007 12 21 Sills 2003 131 134 Dume Belle April 23 2003 Bismuth breaks half life record for alpha decay Physics World subkhnemux 2007 12 21 Lindsay Don July 30 2000 Radioactives Missing From The Earth Don Lindsay Archive subkhnemux 2007 05 23 CRC Handbook 2002 Mills et al 1993 Chieh Chung January 22 2001 University of Waterloo khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 08 30 subkhnemux 2007 01 04 Atomic Weights and Isotopic Compositions for All Elements National Institute of Standards and Technology subkhnemux 2007 01 04 Audi G 2003 Nuclear Physics A 729 337 676 doi 10 1016 j nuclphysa 2003 11 003 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 09 16 subkhnemux 2008 02 07 Shannon R D 1976 Revised effective ionic radii and systematic studies of interatomic distances in halides and chalcogenides Acta Crystallographica Section a 32 751 doi 10 1107 S0567739476001551 subkhnemux 2007 01 03 Dong Judy 1998 Diameter of an Atom The Physics Factbook khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 08 21 subkhnemux 2007 11 19 Zumdahl 2002 H 1929 Termaufspaltung in Kristallen Annalen der Physik 5 Folge 3 133 Birkholz M Rudert R 2008 Interatomic distances in pyrite structure disulfides a case for ellipsoidal modeling of sulfur ions PDF physica status solidi b 245 1858 doi 10 1002 pssb 200879532 Staff 2007 Small Miracles Harnessing nanotechnology Oregon State University subkhnemux 2007 01 07 describes the width of a human hair as 105 nm and 10 carbon atoms as spanning 1 nm Padilla et al 2002 32 There are 2 000 000 000 000 000 000 000 that s 2 sextillion atoms of oxygen in one drop of water and twice as many atoms of hydrogen Feynman 1995 Radioactivity Splung com subkhnemux 2007 12 19 L Annunziata 2003 3 56 Firestone Richard B May 22 2000 Berkeley Laboratory khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 09 29 subkhnemux 2007 01 07 Hornak J P 2006 Chapter 3 Spin Physics The Basics of NMR Rochester Institute of Technology subkhnemux 2007 01 07 Schroeder Paul A February 25 2000 University of Georgia khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 04 29 subkhnemux 2007 01 07 Goebel Greg September 1 2007 4 3 Magnetic Properties of the Atom Elementary Quantum Physics In The Public Domain website subkhnemux 2007 01 07 Yarris Lynn Spring 1997 Berkeley Lab Research Review khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 01 13 subkhnemux 2008 01 09 Liang and Haacke 1999 412 26 Zeghbroeck Bart J Van 1998 Energy levels Shippensburg University cakaehlngedimemux 2005 01 15 subkhnemux 2007 12 23 Fowles 1989 227 233 Martin W C Wiese W L 2007 Atomic Spectroscopy A Compendium of Basic Ideas Notation Data and Formulas National Institute of Standards and Technology subkhnemux 2007 01 08 Avogadro Web Site khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 02 28 subkhnemux 2006 08 10 Fitzpatrick Richard February 16 2007 Fine structure University of Texas at Austin subkhnemux 2008 02 14 Weiss Michael 2001 The Zeeman Effect University of California Riverside subkhnemux 2008 02 06 Beyer 2003 232 236 Watkins Thayer Coherence in Stimulated Emission San Jose State University khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 08 21 subkhnemux 2007 12 23 Reusch William July 16 2007 Virtual Textbook of Organic Chemistry Michigan State University subkhnemux 2008 01 11 Covalent bonding Single bonds chemguide 2000 Husted Robert December 11 2003 Periodic Table of the Elements Los Alamos National Laboratory subkhnemux 2008 01 11 Baum Rudy 2003 It s Elemental The Periodic Table Chemical amp Engineering News subkhnemux 2008 01 11 Goodstein 2002 pp 436 438 sfn error no target CITEREFGoodstein2002 Brazhkin Vadim V 2006 Metastable phases phase transformations and phase diagrams in physics and chemistry Physics Uspekhi 49 7 719 24 doi 10 1070 PU2006v049n07ABEH006013 Myers 2003 p 85 sfn error no target CITEREFMyers2003 Staff October 9 2001 National Institute of Standards and Technology khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 01 03 subkhnemux 2008 01 16 Colton Imogen Fyffe Jeanette February 3 1999 The University of Melbourne khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 08 29 subkhnemux 2008 02 06 Jacox Marilyn Gadzuk J William 1997 Scanning Tunneling Microscope National Institute of Standards and Technology subkhnemux 2008 01 11 The Nobel Prize in Physics 1986 The Nobel Foundation subkhnemux 2008 01 11 in particular see the Nobel lecture by G Binnig and H Rohrer Jakubowski N Moens Luc Vanhaecke Frank 1998 Sector field mass spectrometers in ICP MS Spectrochimica Acta Part B Atomic Spectroscopy 53 13 1739 1763 Bibcode 1998AcSpe 53 1739J doi 10 1016 S0584 8547 98 00222 5 1968 The Atom Probe Field Ion Microscope 39 1 83 86 Bibcode 1968RScI 39 83M doi 10 1063 1 1683116 Lochner Jim Gibb Meredith Newman Phil April 30 2007 What Do Spectra Tell Us NASA Goddard Space Flight Center subkhnemux 2008 01 03 Winter Mark 2007 Helium WebElements subkhnemux 2008 01 03 Hinshaw Gary February 10 2006 What is the Universe Made Of NASA WMAP subkhnemux 2008 01 07 Choppin Liljenzin amp Rydberg 2001 p 441 sfn error no target CITEREFChoppinLiljenzinRydberg2001 Davidsen Arthur F 1993 Far Ultraviolet Astronomy on the Astro 1 Space Shuttle Mission Science 259 5093 327 34 Bibcode 1993Sci 259 327D doi 10 1126 science 259 5093 327 PMID 17832344 Lequeux 2005 p 4 sfn error no target CITEREFLequeux2005 Smith Nigel January 6 2000 The search for dark matter Physics World subkhnemux 2008 02 14 Croswell Ken 1991 New Scientist 1794 42 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 02 07 subkhnemux 2008 01 14 Copi Craig J Schramm DN Turner MS 1995 Big Bang Nucleosynthesis and the Baryon Density of the Universe Science 267 5195 192 99 astro ph 9407006 Bibcode 1995Sci 267 192C doi 10 1126 science 7809624 PMID 7809624 Hinshaw Gary December 15 2005 Tests of the Big Bang The Light Elements NASA WMAP subkhnemux 2008 01 13 Abbott Brian May 30 2007 Hayden Planetarium khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 02 13 subkhnemux 2008 01 13 Hoyle F 1946 The synthesis of the elements from hydrogen 106 343 83 Bibcode 1946MNRAS 106 343H Knauth D C Knauth D C Lambert David L Crane P 2000 Newly synthesized lithium in the interstellar medium Nature 405 6787 656 58 doi 10 1038 35015028 PMID 10864316 Mashnik Stepan G 2000 On Solar System and Cosmic Rays Nucleosynthesis and Spallation Processes astro ph 0008382 Kansas Geological Survey May 4 2005 University of Kansas khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 07 05 subkhnemux 2008 01 14 Manuel 2001 pp 407 430 511 519 sfn error no target CITEREFManuel2001 Dalrymple G Brent 2001 The age of the Earth in the twentieth century a problem mostly solved Geological Society London Special Publications 190 1 205 21 doi 10 1144 GSL SP 2001 190 01 14 subkhnemux 2008 01 14 Foulger G R Meibom Anders September 2 2006 Helium Fundamental models MantlePlumes org subkhnemux 2007 01 14 Pennicott Katie May 10 2001 Carbon clock could show the wrong time PhysicsWeb subkhnemux 2008 01 14 Yarris Lynn July 27 2001 New Superheavy Elements 118 and 116 Discovered at Berkeley Lab Berkeley Lab subkhnemux 2008 01 14 Diamond H 1960 Heavy Isotope Abundances in Mike Thermonuclear Device 119 6 2000 04 Bibcode 1960PhRv 119 2000D doi 10 1103 PhysRev 119 2000 Poston Sr John W March 23 1998 Do transuranic elements such as plutonium ever occur naturally Scientific American subkhnemux 2008 01 15 Keller C 1973 Natural occurrence of lanthanides actinides and superheavy elements Chemiker Zeitung 97 10 522 30 4353086 Zaider amp Rossi 2001 p 17 sfn error no target CITEREFZaiderRossi2001 Curtin University of Technology khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 12 18 subkhnemux 2008 01 15 Weisenberger Drew How many atoms are there in the world Jefferson Lab subkhnemux 2008 01 16 Pidwirny Michael Fundamentals of Physical Geography University of British Columbia Okanagan subkhnemux 2008 01 16 Anderson Don L 2002 The inner inner core of Earth Proceedings of the National Academy of Sciences 99 22 13966 68 Bibcode 2002PNAS 9913966A doi 10 1073 pnas 232565899 PMC 137819 PMID 12391308 Anonymous October 2 2001 Second postcard from the island of stability CERN Courier subkhnemux 2008 01 14 Jacoby Mitch 2006 As yet unsynthesized superheavy atom should form a stable diatomic molecule with fluorine Chemical amp Engineering News 84 10 19 Koppes Steve March 1 1999 Fermilab Physicists Find New Matter Antimatter Asymmetry University of Chicago subkhnemux 2008 01 14 Cromie William J August 16 2001 A lifetime of trillionths of a second Scientists explore antimatter Harvard University Gazette subkhnemux 2008 01 14 Hijmans Tom W 2002 Particle physics Cold antihydrogen Nature 419 6906 439 40 doi 10 1038 419439a PMID 12368837 Staff October 30 2002 Researchers look inside antimatter BBC News subkhnemux 2008 01 14 Barrett Roger 1990 New Scientist 1728 77 115 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 12 21 subkhnemux 2008 01 04 Indelicato Paul 2004 Exotic Atoms Physica Scripta T112 1 20 26 physics 0409058 Bibcode 2004PhST 112 20I doi 10 1238 Physica Topical 112a00020 Ripin Barrett H 1998 Recent Experiments on Exotic Atoms American Physical Society subkhnemux 2008 02 15 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb xatxm Francis Eden 2002 Clackamas Community College khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 02 04 subkhnemux 2007 01 09 Freudenrich Craig C How Atoms Work xatxmthanganxyangir How Stuff Works subkhnemux 2007 01 09 Atom The Atom Free High School Science Texts Physics Wikibooks khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 06 13 subkhnemux 2007 01 09 Anonymous 2007 The atom Science aid subkhnemux 2007 01 09 a guide to the atom for teens Anonymous 2006 01 03 Atoms and Atomic Structure xatxmkbokhrngsrangxatxm BBC subkhnemux 2007 01 11 Various 2006 01 03 University of Colorado khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 01 14 subkhnemux 2008 01 11 Various 2006 02 03 University of Karlsruhe khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 04 17 subkhnemux 2008 05 12