โรควิตกกังวล (อังกฤษ: Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) | |
---|---|
ภาพวาด เสียงกรีดร้อง โดยเอ็ดวัด มุงก์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F40-F42 |
ICD- | 300 |
787 | |
med/152 | |
MeSH | D001008 |
ประเภท
โรควิตกกังวลไปทั่ว
โรควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder, GAD) เป็นโรคที่สามัญ เรื้อรัง กำหนดโดยความวิตกกังวลที่ดำรงอยู่นานโดยไม่ได้เพ่งไปที่เรื่องหรือสถานการณ์ใดโดยเฉพาะ คนไข้กลัวและกังวลอย่างไม่เฉพาะเจาะจงและเป็นห่วงเรื่องชีวิตประจำวันมากเกินไป ตามหนังสือจิตวิทยาเล่มหนึ่ง GAD "กำหนดโดยความกังวลมากเกินไปที่เรื้อรังตามด้วยอาการ 3 อย่างหรือมากกว่านั้นดังต่อไปนี้ คือ อยู่ไม่สุข ล้า ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด กล้ามเนื้อเกร็ง และมีปัญหาการนอน"
GAD เป็นโรควิตกกังวลที่สามัญที่สุดต่อคนมีอายุ แต่ว่า ความวิตกกังวลอาจเป็นอาการทางการแพทย์หรือปัญหาการใช้สารเสพติด และผู้รักษาพยาบาลต้องรู้ในเรื่องนี้ GAD จะวินิจฉัยก็ต่อเมื่อบุคคลกังวลมากเกินไปเรื่องปัญหาชีวิตประจำวันเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้น
บุคคลอาจพบว่ามีปัญหาตัดสินใจและจำสิ่งที่วางแผนไว้ไม่ได้เนื่องจากไม่มีสมาธิหรือรู้สึกกังวลอย่างหมกมุ่น คนไข้อาจจะดูเครียด เหงื่อออกเพิ่มขึ้นที่มือ เท้า และรักแร้ และอาจร้องไห้ง่าย ซึ่งแสดงว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้า ก่อนจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค แพทย์จะกันความวิตกกังวลเหตุยาหรือเหตุทางแพทย์อื่น ๆ ออกก่อน
ในเด็ก GAD อาจสัมพันธ์กับอาการปวดหัว อยู่ไม่สุข ปวดท้อง และหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งปกติแล้วจะเริ่มที่อายุประมาณ 8-9 ขวบ
โรคกลัว
กลุ่มย่อยของโรควิตกกังวลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในจำพวกความผิดปกติจากความกลัว (phobic disorders) ซึ่งรวมกรณีที่ความกลัวและความวิตกกังวลทั้งหมดจุดชนวนโดยสิ่งเร้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ประชากรประมาณ 5%-12% ทั่วโลกมีโรคกลัว คนไข้ปกติจะกังวลถึงผลน่ากลัวที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ตนกลัว ซึ่งอาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่สัตว์ สถานที่ ของเหลวจากร่างกาย หรือสถานการณ์อะไรบางอย่าง และจะเข้าใจว่า ตนกลัวมากโดยไม่สมกับอันตรายที่อาจมีจริง ๆ แต่ก็ยังรู้สึกกลัวอยู่ดี
โรคตื่นตระหนก
สำหรับโรคตื่นตระหนก คนไข้จะกลัวแบบรุนแรงแต่ชั่วคราว บ่อยครั้งพร้อมกับอาการสั่น สับสน เวียนหัว คลื่นไส้ และ/หรือหายใจไม่ออก การเกิดของ panic attack (การจู่โจมของความตื่นตระหนก) เช่นนี้ ดังที่ให้นิยามโดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) ว่าเป็นความกลัวหรือความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและถึงจุดสูงสุดภายใน 10 นาที แต่สามารถดำรงอยู่ได้หลาย ชม. การจู่โจมสามารถจุดชนวนโดยความเครียด ความกลัว หรือแม้แต่การออกกำลังกาย เหตุโดยเฉพาะบางครั้งก็ไม่ชัดเจน
นอกจากจะเกิดการจู่โจมของความตื่นตระหนกที่ไม่คาดฝันและเกิดซ้ำ ๆ เกณฑ์วินิจฉัยยังบังคับว่าต้องมีผลเรื้อรังอีกด้วย คือ เป็นความกังวลถึงผลที่อาจตามมาของการจู่โจม ความกลัวอยู่ว่าจะเกิดอีก และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างสำคัญเกี่ยวกับการเกิดการจู่โจม โดยเช่นนี้ คนไข้โรคตื่นตระหนกจะมีอาการแม้นอกเหนือไปจากคราวที่มีการจู่โจม บ่อยครั้ง คนไข้จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงการเต้นหัวใจที่เป็นปกติ แต่คิดว่า หัวใจของตนผิดปกติ หรือว่า ตนกำลังถูกจู่โจมด้วยความตื่นตระหนก ในบางกรณี ความสำนึกที่สูงขึ้น (hypervigilance) เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายจะเกิดขึ้นในระหว่างมีการจู่โจม ที่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพที่สำนึกถึงทุกอย่างอาจทำให้คิดว่าเป็นความเจ็บป่วยที่อาจทำให้ถึงชีวิต (คือมีอาการแบบรุนแรง)
โรคกลัวที่โล่ง
อาการกลัวที่โล่ง (Agoraphobia) เป็นความวิตกกังวลเรื่องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่การหลบออกเป็นเรื่องยากหรือน่าอาย หรือว่าอาจไม่มีใครช่วยได้ อาการกลัวที่โล่งสัมพันธ์กับโรคตื่นตระหนก และบ่อยครั้งจะเริ่มด้วยความกลัวว่าจะมีการจู่โจมโดยการตื่นตระหนก (panic attack) ลักษณะที่สามัญก็คือต้องเห็นประตูหรือทางหนีอื่น ๆ ตลอดเวลา
นอกจากความกลัวแล้ว คำว่า agoraphobia บ่อยครั้งใช้หมายถึงพฤติกรรมหลีกเลี่ยงที่คนไข้บ่อยครั้งมี ยกตัวอย่างเช่น หลังจากความตื่นตระหนกในขณะขับรถ บุคคลที่มี agoraphobia อาจกังวลเรื่องขับรถแล้วก็จะหลีกเลี่ยงการขับรถ พฤติกรรมหลีกเลี่ยงเช่นนี้บ่อยครั้งมีผลเสียหายและเสริมความกลัวที่มีอยู่แล้ว
โรคกลัวการเข้าสังคม
โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder, SAD) เป็นความกลัวและการหลีกเลี่ยงอย่างรุนแรง ซึ่งการถูกมองในแง่ลบโดยสาธารณชน ความอับอายต่อหน้าคนอื่น การถูกทำให้ขายหน้า และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความกลัวอาจเป็นเฉพาะสถานการณ์ทางสังคมบางอย่าง (เช่น การพูดต่อหน้าสาธารณะ) หรือที่สามัญกว่าก็คือ การต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในสถานการณ์โดยมากหรือทั้งหมด ความกังวลอาจปรากฏเป็นอาการทางกายโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้งหน้าแดง เหงื่อออก และพูดไม่ออก
เหมือนกับโรคกลัวอื่น ๆ คนไข้โรคนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตนกังวล แต่ในกรณีนี้ นี่ค่อนข้างจะสร้างปัญหามาก และมีกรณีรุนแรงที่คนไข้ไม่ยอมพบกับใครเลย
ส่วน Social physique anxiety (SPA) เป็นแบบย่อยของโรคกลัวสังคม โดยคนไข้จะกังวลว่าคนอื่นพิจารณารูปร่างของตนว่าเป็นอย่างไร SPA เป็นเรื่องสามัญสำหรับวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง
ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ
ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) เป็นโรควิตกกังวลที่เป็นผลของประสบการณ์สะเทือนใจ ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง เช่น การสู้รบ ภัยธรรมชาติ การถูกข่มขืน การถูกจับเป็นตัวประกัน ทารุณกรรมในวัยเด็ก การถูกเพื่อนข่มเหง และแม้แต่อุบัติเหตุที่รุนแรง นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการเครียดรุนแรงเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ยกตัวอย่างเช่น มีทหารที่สามารถอดทนต่อการสู้รบเป็นครั้ง ๆ แต่ไม่สามารถรับมือกับการสู้รบอย่างต่อเนื่อง อาการสามัญรวมทั้งระวังมากเกินไป (hypervigilance) การเห็นภาพย้อนหลัง (flashback) พฤติกรรมหลีกเลี่ยง ความวิตกกังวล ความโกรธ และความซึมเศร้า
มีวิธีการรักษาพื้นฐานหลายอย่างสำหรับคนไข้ PTSD รวมทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) จิตบำบัด และความสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อน ๆ งานวิจัยในเรื่อง PTSD เริ่มต้นที่ทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม และผู้เคราะห์ร้ายจากภัยต่าง ๆ รวมทั้งภัยธรรมชาติ งานศึกษาพบว่า ระดับความรุนแรงที่ประสบในภัยพิบัติเป็นตัวพยากรณ์ PTSD ที่ดีที่สุด
โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก
โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (Separation anxiety disorder, SepAD) เป็นความวิตกกังวลที่เกินควรและไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการจากบุคคลหรือสถานที่ ความวิตกกังวลเช่นนี้เป็นเรื่องปกติในพัฒนาการของทารกหรือเด็ก และดังนั้น เมื่อความรู้สึกนี้เกิดเกินควรหรือไม่สมควรเท่านั้นจึงจะจัดว่าเป็นโรค
โรคเกิดนี้เกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 7% และเด็ก 4% แต่ว่ากรณีเด็กมักจะรุนแรงกว่า ยกตัวอย่างเช่น แม้แต่การจากกันอย่างสั้น ๆ อาจจะทำให้เกิดความตื่นตระหนก
การรักษาเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยป้องกันปัญหา ซึ่งอาจรวมการฝึกพ่อแม่และครอบครัวว่าควรจะรับมือกับมันอย่างไร เพราะว่า บ่อยครั้ง พ่อแม่จะเสริมความวิตกกังวลของเด็กเพราะไม่รู้ว่าควรจะช่วยเด็กอย่างไร นอกจากการฝึกเด็กและครอบครัวแล้ว ยาบางอย่าง เช่น SSRI สามารถใช้บำบัดความวิตกกังวลเช่นนี้
ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์
ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational anxiety) มีเหตุจากการเกิดสถานการณ์ใหม่หรือเปลี่ยนไป หรืออาจเกิดจากเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่ทำให้บุคคลนั้นไม่ชอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามัญมาก บ่อยครั้ง บุคคลจะประสบกับความตื่นตระหนก (panic attack) หรือความวิตกกังวลอย่างรุนแรงในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ และสถานการณ์เช่นนั้นอาจไม่ทำให้คนอื่นกังวลโดยประการทั้งปวง
ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจไม่ชอบที่ชุมชนหรือที่แคบ ๆ ดังนั้น การรอคิวในแถวแน่นยาว เช่นที่ธนาคารหรือที่ร้านค้า อาจจะทำให้กังวลอย่างรุนแรง หรือเกิดความตื่นตระหนก (panic attack) คนอื่นอาจจะกังวลเมื่อชีวิตเปลี่ยนไปอย่างสำคัญ เช่น การเข้ามหาวิทยาลัย การแต่งงาน การมีลูก เป็นต้น
โรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ไม่ได้จัดเป็นโรควิตกกังวลในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-5) แต่จัดใน ICD-10 และ DSM-4 รุ่นก่อนก็จัดว่าเป็นโรควิตกกังวลเหมือนกัน เป็นภาวะที่บุคคลมีความย้ำคิด (คือความคิดหรือจินตภาพที่ทำให้กังวล คงยืน และไม่ต้องการ) และ/หรือพฤติกรรมย้ำทำ (รู้สึกให้ต้องทำอะไรหรือทำพิธีกรรมที่เฉพาะเจาะจงซ้ำ ๆ) ที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือโรคอื่น ๆ เป็นภาวะที่ทำให้เป็นทุกข์หรือมีปัญหาทางสังคม พิธีกรรมเป็นกฎเฉพาะตนที่ต้องทำเพื่อแก้ความวิตกกังวล
OCD มีผลต่อผู้ใหญ่ประมาณ 1-2% (โดยหญิงเป็นมากกว่าชาย) และต่อเด็กและวัยรุ่นเกือบ 3% คนไข้จะรู้ว่าอาการเป็นอะไรที่ไม่สมเหตุผล และพยายามสู้กับทั้งความคิดและพฤติกรรม อาการสามารถสัมพันธ์กับเหตุการณ์ภายนอกที่ตนกลัว (เช่น ไฟไหม้บ้านเพราะลืมปิดเตา) หรือกังวลว่า จะทำอะไรที่ไม่สมควร ไม่ชัดเจนว่าทำไมบางคนถึงมี OCD แต่อาจมีปัจจัยทางพฤติกรรม ทางการรู้คิด ทางพันธุกรรม และทางประสาทชีววิทยา ที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติครอบครัว ความเป็นโสด (ซึ่งอาจเป็นผลของโรค) การอยู่ในสถานะทางสังคมเศรษฐกิจที่สูง หรือไม่มีงานที่ให้ค่าตอบแทนทำ OCD เป็นโรคเรื้อรัง ประมาณ 20% ของคนไข้จะเอาชนะมันได้ และอีก 50% จะมีอาการอย่างน้อยลดลงโดยใช้เวลา
เหตุ
ยา
ความวิตกกังวลและความซึมเศร้าอาจมีเหตุมาจากการดื่มสุรา ซึ่งในกรณีโดยมากจะดีขึ้นเมื่องดเป็นระยะเวลานาน แม้แต่การดื่มสุราแบบพอสมควรแต่ต่อเนื่องก็อาจเพิ่มระดับความวิตกกังวลในบางคน การติดสารต่าง ๆ รวมทั้งกาเฟอีน เอทานอล (คือแอลกอฮอล์) และเบ็นโซไดอาเซพีน อาจเป็นเหตุหรือทำอาการวิตกกังวลและความตื่นตระหนกให้แย่ลง ความวิตกกังวลเกิดขึ้นอย่างสามัญในช่วงอดเหล้าและสามารถคงยืนนานถึง 2 ปี (เป็น post-acute withdrawal syndrome) โดยเกิดขึ้นใน 1/4 ของคนที่เลิกเหล้า
ในงานศึกษาปี 2531-2533 โรคในผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่หาหมอสุขภาพจิตที่คลินิกจิตเวชใน รพ. ประเทศอังกฤษ สำหรับปัญหาต่าง ๆ รวมทั้ง โรควิตกกังวล เช่น โรคตื่นตระหนก หรือโรคกลัวการเข้าสังคม พบว่าเป็นผลของการติดเหล้าหรือยา benzodiazepine คนไข้เหล่านี้จะกังวลเพิ่มขึ้นในช่วงอดสาร แล้วตามด้วยการหยุดความวิตกกังวล
มีหลักฐานว่าการได้รับตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) ในที่ทำงานอาจสัมพันธ์กับโรควิตกกังวล การทาสี การใช้น้ำมันขัดเงา และการปูพรม เป็นงานที่อาจได้รับตัวทำละลายอินทรีย์อย่างสำคัญ
การใช้กาเฟอีน อาจจะเป็นเหตุหรือทำให้โรควิตกกังวลแย่ลง รวมทั้งโรคตื่นตระหนก คนที่มีโรควิตกกังวลอาจจะไวต่อกาเฟอีนมาก ใน DSM-5 โรควิตกกังวลเหตุกาเฟอีน (Caffeine-induced anxiety disorder) เป็นประเภทย่อยของโรควิตกกังวลเหตุจากสารหรือยา แต่ก็ยังเป็นประเภทย่อยของโรควิตกกังวล ไม่ใช่ประเภทย่อยของโรคที่เกี่ยวกับสารหรือสารเสพติด แม้ว่าอาการจะมาจากสารที่ใช้
การใช้กัญชาก็สัมพันธ์กับโรควิตกกังวลด้วย แต่ว่า ความสัมพันธ์เป็นเช่นไรยังต้องศึกษาให้ชัดเจน
อาการทางแพทย์อื่น ๆ
บางครั้ง โรควิตกกังวลอาจเป็นผลข้างเคียงของโรคระบบต่อมไร้ท่อที่เป็นเหตุให้ระบบประสาททำงานเกิน โรคเช่น เนื้องอกแบบฟีโอโครโมไซโตมา หรืออาการไฮเปอร์ไทรอยด์
ความเครียด
โรควิตกกังวลอาจเกิดตอบสนองต่อความเครียดในชีวิต เช่น ความกังวลเรื่องการเงิน หรือความเจ็บป่วยเรื้อรัง ความวิตกกังวลสามัญในวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้นเพราะความเครียดในปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ภาพพจน์ในระหว่างเพื่อนฝูง และรูปร่างหน้าตา ความวิตกกังวลยังสามัญในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม และโดยนัยตรงกันข้าม บางครั้งหมอก็วินิจฉัยอาการทางกายที่คล้าย ๆ กันในผู้สูงอายุ (เช่น หัวใจเต้นเร็ว) ผิดว่าเป็นโรควิตกกังวล
กรรมพันธุ์
GAD มักจะเกิดในครอบครัว เด็กที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นโรคมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าถึง 6 เท่า
แม้ว่าความกังวลจะเป็นการปรับตัวอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันมักจะในแง่ลบโดยเป็นส่วนของโรควิตกกังวล คนที่มีโรคนี้มีระบบที่อ่อนไหวมาก ดังนั้น ระบบจึงมักจะตอบสนองมากเกินไปต่อสิ่งเร้าที่ไม่อันตราย บางครั้ง โรคจะเกิดในบุคคลที่มีเหตุการณ์สะเทือนใจในวัยเด็ก โดยเริ่มแสดงความวิตกกังวลที่สูงขึ้นเมื่อเด็กดูจะมีอนาคตที่ลำบาก ในกรณีเช่นนี้ โรคเกิดขึ้นเป็นตัวพยากรณ์ว่า สิ่งแวดล้อมของบุคคลจะคงความเป็นอันตรายต่อไป
ความคงอยู่ของความวิตกกังวล
ในระดับที่ต่ำ ความวิตกกังวลไม่ใช่เรื่องไม่ดี และจริง ๆ แล้ว การตอบสนองทางฮอร์โมนต่อความวิตกกังวลมีวิวัฒนาการเพื่ออำนวยประโยชน์ คือช่วยให้มนุษย์ตอบสนองต่ออันตราย นักวิจัยในสาขาการแพทย์เชิงวิวัฒนาการเชื่อว่า การปรับตัวเช่นนี้ช่วยให้มนุษย์รู้ว่าอาจมีอันตราย แล้วปฏิบัติให้เหมาะสมเพื่อให้ปลอดภัยมากที่สุด
มีหลักฐานว่า คนที่กังวลน้อยกว่ามีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนที่กังวลในระดับเฉลี่ย เพราะว่า การไร้ความกลัวสามารถนำไปสู่ความบาดเจ็บหรือความตาย นอกจากนั้นแล้ว คนไข้ที่มีทั้งโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าปรากฏกว่า มีอัตราการตายที่ต่ำกว่าคนที่มีเพียงโรคซึมเศร้าอย่างเดียว
อาการโรควิตกกังวลที่มีหน้าที่สำคัญรวมทั้ง ความตื่นตัวสูง การเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติการที่ดีกว่า และโอกาสน้อยลงที่จะไม่เห็นภัย ในป่า บุคคลที่อ่อนแอ เช่นคนที่บาดเจ็บหรือมีครรภ์ มีขีดเริ่มเปลี่ยนต่อความวิตกกังวลที่ต่ำกว่า ทำให้ตื่นตัวสูงกว่า ซึ่งแสดงถึงประวัติทางวิวัฒนาการอันยาวนานเกี่ยวกับการตอบสนองโดยความวิตกกังวล
ความไม่เหมือนสภาพทางวิวัฒนาการ
มีทฤษฎีว่า อัตราความวิตกกังวลที่สูงเป็นผลจากสภาพทางสังคมที่ต่างจากยุคหินเก่า ยกตัวอย่างเช่น ในยุคหิน มนุษย์ถูกเนื้อต้องตัวกันมากกว่า และมารดาจะอุ้มทารกมากกว่า ซึ่งทั้งสองล้วนเป็นกลยุทธ์ในการลดความวิตกกังวล นอกจากนั้นแล้ว ปัจจุบันมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนแปลกหน้ามากกว่า เทียบกับปฏิสัมพันธ์กับญาติสนิทในอดีต
นักวิจัยเสนอว่า การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงวัยพัฒนา เป็นเหตุให้มีอัตราความวิตกกังวลสูง กรณีคนไข้จำนวนมากในปัจจุบันน่าจะเกิดเพราะความไม่สอดคล้องกันของสังคมปัจจุบันกับสภาพทางวิวัฒนาการ (Mismatch theory) โดยมีคำโดยเฉพาะเรียกว่า ความไม่สอดคล้องที่ทำให้เกิดโรคจิต (psychopathogical mismatch)
ตามทฤษฎีวิวัฒนาการ ความไม่สอดคล้องจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม แต่ผิดเพี้ยนไปจากสถานะทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าการตอบสนองโดยความวิตกกังวลอาจจะเป็นวิวัฒนาการเพื่อช่วยในสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อชีวิต แต่สำหรับบุคคลที่อ่อนไหวง่ายในสังคมชนตะวันตก การได้ยินข่าวร้ายอาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง
มุมมองทางวิวัฒนาการอาจช่วยเสริมวิธีการรักษาใหม่สำหรับโรควิตกกังวล เพียงแค่เข้าใจว่า ความวิตกกังวลบางอย่างมีประโยชน์อาจช่วยบรรเทาความตื่นตระหนกที่สัมพันธ์กับโรคชนิดอ่อน นักวิจัยบางท่านเชื่อว่า โดยทฤษฎีแล้ว จะสามารถบรรเทาความวิตกกังวลของคนไข้ได้โดยลดความรู้สึกว่าอ่อนแอแล้วเปลี่ยนการประเมินเหตุการณ์ใหม่
กลไก
ทางชีวภาพ
ระดับที่ลดลงของกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (กาบา) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทกลาง มีส่วนร่วมให้เกิดความวิตกกังวล ยาแก้วิตกกังวล (anxiolytic) บางอย่างออกฤทธิ์โดยควบคุมตัวรับกาบา (GABA receptor)SSRI เป็นยาที่ปกติใช้รักษาโรคซึมเศร้ามากที่สุด แต่บ่อยครั้งก็พิจารณาว่าเป็นวิธีการรักษาอันดับแรกสำหรับโรควิตกกังวล
อะมิกดะลา
เขตสมองคืออะมิกดะลาเป็นศูนย์การประมวลความกลัวและความวิตกกังวล และงานศึกษาปี 2552 แสดงว่า มันอาจทำงานได้ไม่ดีในโรควิตกกังวล ข้อมูลประสาทสัมผัสเข้าสู่อะมิกดะลาผ่านนิวเคลียส basolateral complex (ซึ่งประกอบด้วย lateral, basal, และ accessory basal nuclei) โดยมีหน้าที่ประมวลความทรงจำเกี่ยวกับความกลัวสัมพันธ์กับประสาทสัมผัส และสื่อความอันตรายของข้อมูลไปยังระบบที่ประมวลความจำและประสาทสัมผัสอื่น ๆ ในสมอง เช่น medial prefrontal cortex และคอร์เทกซ์ประสาทสัมผัส (sensory cortices) ต่าง ๆ
เขตสำคัญอีกเขต ก็คือ central nucleus ของอะมิกดะลาที่อยู่ข้าง ๆ ซึ่งควบคุมการตอบสนองโดยความกลัวของสัตว์แต่ละสปีชีส์ ๆ ผ่านการเชื่อมต่อทางก้านสมอง ไฮโปทาลามัส และสมองน้อย ในคนไข้ การทำงานร่วมกันระหว่างเขตต่าง ๆ เหล่านี้ดูจะน้อยกว่า และยังพบเนื้อขาวมากกว่าใน central nucleus อีกด้วย
ความแตกต่างอีกอย่างก็คือเขตอะมิกดะลาจะทำงานร่วมกับเขต insular cortex และ cingulate cortex น้อยกว่า ซึ่งเป็นเขตที่ควบคุมความชัดเจน/ความเด่นทั่วไป (general salience) ของสิ่งเร้า และจะทำงานร่วมกับ parietal cortex และ prefrontal cortex มากกว่า ซึ่งเป็นเขตที่ควบคุม Executive functions การทำงานแบบหลังแสดงว่า เป็นกลยุทธ์ที่ใช้แทนการประมวลความวิตกกังวลที่ผิดปกติของอะมิกดะลา นักวิจัยของงานได้ให้ข้อสังเกตว่า "การทำงานคู่กันของอะมิกดะลากับ parietal cortex และ prefrontal cortex ในคนไข้ GAD อาจ...สะท้อนการใช้ระบบควบคุมการรู้คิดอย่างเป็นนิสัยเพื่อคุมความกังวลที่เกินไป" ซึ่งเข้ากับทฤษฎีการรู้คิดที่เสนอให้ลดระดับอารมณ์ด้วยความคิดสำหรับคนไข้โรคนี้
งานศึกษาทางคลินิกและกับสัตว์แสดงว่า โรควิตกกังวลมีสหสัมพันธ์กับความลำบากในการทรงร่างกาย โดยกลไกที่อาจทำงานผิดพลาดก็คือเขต parabrachial area ซึ่งเป็นโครงสร้างทางสมองที่หน้าที่อย่างหนึ่งก็คือประสานข้อมูลจากอะมิกดะลากับข้อมูลเกี่ยวกับความสมดุลของร่างกาย
การประมวลความวิตกกังวลในเขต basolateral ของอะมิกดะลามีหลักฐานว่า ทำให้เดนไดรต์ของนิวรอนในอะมิกดะลาเกิดการแบ่งสาขา (dendritic arborization) ส่วน SK2 potassium channel อำนวยการยับยั้งศักยะงานและลดการแบ่งสาขา และถ้า SK2 มีการแสดงออกเกินปกติ ระดับความวิตกกังวลในสัตว์ทดลองสามารถลดได้พร้อมกับลดระดับการหลั่งฮอร์โมน corticosterone ที่เกิดจากความเครียดโดยทั่วไป
การป้องกัน
มีความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องการป้องกันโรควิตกกังวล มีหลักฐานเบื้องต้นที่สนับสนุนการใช้การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และการบำบัดที่อาศัยสติ โดยปี 2556 ยังไม่มีวิธีการใดที่ได้ผลในการป้องกัน GAD ในผู้ใหญ่
การวินิจฉัย
โรควิตกกังวลมักเป็นภาวะที่เรื้อรังรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ หรืออาจเกิดแบบฉับพลันหลังมีเหตุการณ์กระตุ้น มักจะแย่ลงเมื่อเครียด และบ่อยครั้งเกิดพร้อมกับอาการทางสรีรภาพอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ เหงื่อออก กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น และความดันโลหิตสูง ซึ่งในบางกรณีทำให้ล้าหรือหมดแรง
ในภาษาอังกฤษทั่วไป คำว่า "anxiety" และ "fear" มักใช้แทนกันได้ แต่ในการแพทย์ ทั้งสองมีความหมายต่างกัน คือ ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ โดยไม่สามารถระบุสาเหตุได้หรือรู้สึกว่าควบคุมและหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทียบกับ ความกลัว (fear) ซึ่งเป็นการตอบสนองทางสรีรภาพและทางอารมณ์ต่อภัยภายนอกที่ระบุได้ ส่วนคำว่า โรควิตกกังวล (anxiety disorder) รวมทั้งความกลัว (เช่นโรคกลัวต่าง ๆ) และความวิตกกังวลเข้าด้วย แบบวัดมาตรฐานทางคลินิก เช่น Taylor Manifest Anxiety Scale หรือ Zung Self-Rating Anxiety Scale สามารถใช้ตรวจจับอาการวิตกกังวล แล้วแนะว่าแพทย์ควรจะประเมินวินิจฉัยโรคเพิ่มขึ้นหรือไม่
โรควิตกกังวลมักเกิดกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเกิดกับคนไข้โรควิตกกังวลถึง 60% อาการของโรควิตกกังวลที่คาบเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าพอสมควร และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันที่สามารถจุดชนวนอาการของโรคทั้งสอง อาจช่วยอธิบายการเกิดร่วมกันของโรคในระดับสูง
งานศึกษาแสดงว่า คนที่มีประวัติโรควิตกกังวลในครอบครัว โดยเฉพาะบางชนิด เสี่ยงต่อโรคสูงกว่า
ความผิดปกทางเพศ (Sexual dysfunction) บ่อยครั้งเกิดพร้อมกับโรควิตกกังวล แต่ว่ายากที่จะกำหนดว่าความวิตกกังวลเป็นเหตุ หรือว่าทั้งสองเกิดจากเหตุเดียวกัน ลักษณะปรากฏมากที่สุดของบุคคลที่มีโรควิตกกังวลก็คือการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ การหลั่งน้ำอสุจิเร็วไป (premature ejaculation) และอวัยวะไม่แข็ง (erectile dysfunction) ในชาย และความเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ในหญิง ความผิดปกติทางเพศสามัญเป็นพิเศษในบรรดาคนไข้โรคตื่นตระหนก คือคนที่กลัวว่าอาจเกิดอาการตื่นตระหนกในช่วงที่มีอารมณ์ทางเพศ และคนไข้ PTSD
การรักษา
ทางเลือกในการรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และยา ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าจิตบำบัดหรือยามีผลดีกว่า ดังนั้น ขึ้นอยู่กับคนไข้ว่าต้องการอะไร และโดยมากจะเลือกจิตบำบัดก่อน
หมออาจเสนอให้ใช้วิธีอื่น ร่วมกับสิ่งที่เลือก หรือว่าถ้าทางเลือกแรกไม่สามารถลดอาการได้
การเปลี่ยนสไตล์ชีวิต
การเปลี่ยนสไตล์ชีวิตรวมทั้งการออกกำลังกาย ซึ่งมีหลักฐานพอสมควรว่าช่วย นอนเป็นเวลา ลดการบริโภคกาเฟอีน และหยุดสูบบุหรี่ การหยุดบุหรี่มีประโยชน์เท่ากับหรือมากกว่ายา
จิตบำบัด
การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) มีประสิทธิผลต่อการรักษาโรควิตกกังวลและเป็นวิธีการรักษาอันดับแรก CBT ดูเหมือนจะมีประสิทธิผลเท่า ๆ กันแม้ทำทางอินเทอร์เน็ต แม้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสุขภาพจิตดูจะมีอนาคตดี แต่ก็ยังเป็นอะไรที่เพิ่งลองใช้
หนังสือสอนให้ช่วยตัวเองสามารถมีส่วนในการรักษา
โปรแกรมอาศัยสติ ก็ปรากฏกว่ามีประสิทธิผลในการบริหารโรควิตกกังวล ไม่ชัดเจนว่าการนั่งสมาธิ/กรรมฐาน (meditation) มีผลต่อความวิตกกังวลหรือไม่ และ transcendental meditation ก็ไม่ปรากฏว่าแตกต่างจากกรรมฐานอื่น ๆ
ยา
ยาที่ใช้รักษาเป็นเบื้องต้นรวมทั้ง SSRI และ SNRI (Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor) สำหรับโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD) ไม่มีหลักฐานที่ดีว่ายากลุ่มไหนดีกว่ากลุ่มอื่น ดังนั้น ราคามักจะเป็นตัวกำหนดยาที่เลือก ส่วนยา Buspirone, quetiapine และ pregabalin ใช้รักษาเป็นอันดับสองสำหรับบุคคลที่ไม่ตอบสนองต่อ SSRI หรือ SNRI มีหลักฐานด้วยว่ายากลุ่ม benzodiazepines รวมทั้ง diazepam และคโลนะเซแพมก็มีประสิทธิผล แต่ว่า มักจะไม่ค่อยใช้เพราะมีโอกาสติด
ต้องระวังการใช้ยาในคนไข้สูงอายุ เพราะว่า มีโอกาสมีผลข้างเคียงสูงกว่าเพราะโรคอื่น ๆ การทานยาตามหมอสั่งเป็นปัญหาที่มีโอกาสมากกว่าในคนสูงอายุ เพราะว่า มีปัญหาในความเข้าใจ การมองเห็น และการจำคำสั่งของหมอได้ โดยทั่วไป ยาพิจารณาว่าไม่ช่วยในโรคกลัวโดยเฉพาะ ๆ แต่ว่า ยากลุ่ม benzodiazepine บางครั้งก็ใช้แก้คราวเกิดโรคแบบฉับพลัน
โดยปี 2550 ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิผลของยาทุกอย่างก็ยังน้อยอยู่
แพทย์ทางเลือก
มีวิธีทางเลือกหลายอย่างที่ได้ใช้บำบัดโรควิตกกังวล ซึ่งรวมทั้งสมุนไพรคาวา (Piper methylsticum) ที่ประโยชน์ดูจะมากกว่าโทษ ถ้าใช้ในระยะสั้นสำหรับคนที่วิตกกังวลแบบอ่อนหรือปานกลาง บัณฑิตยสถานแพทย์ประจำครอบครัวอเมริกัน (AAFP) แนะนำให้ใช้คาวาสำหรับคนไข้ที่มีโรควิตกกังวลแบบอ่อนหรือปานกลาง ผู้ที่ไม่ได้ดื่มเหล้าหรือใช้ยาที่ต้องผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมในตับ แต่ต้องการรักษาแบบ "ธรรมชาติ" ผลข้างเคียงของคาวาในการทดลองทางคลินิกมีน้อยและเป็นแบบอ่อน ๆ
ส่วน Inositol (ซึ่งมีอยู่ในอาหารมากมายโดยเฉพาะผลไม้รวมทั้งแคนตาลูปและส้ม) มีผลเล็กน้อยต่อคนไข้โรคตื่นตระหนกหรือ OCD แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอเพื่อใช้สมุนไพร St. John's wort (Hypericum perforatum), Valerian (Valeriana officinalis), หรือพืชสกุลกะทกรก (Passiflora)
สุคนธบำบัดมีหลักฐานเบื้องต้นว่ามีประโยชน์ในการลดความวิตกกังวลในคนไข้โรคมะเร็งถ้าทำกับการนวด แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าเป็นเพียงแค่เพิ่มผลที่ได้จากการนวดเท่านั้นหรือไม่
เด็ก
มีวิธีการรักษาหลายอย่างที่มีหลักฐานว่ามีประสิทธิผลในการบำบัดโรควิตกกังวลในเด็ก จิตบำบัดมักจะเลือกมากกว่าการให้ยาการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) มีหลักฐานในการรักษาโรคในเด็กและวัยรุ่น และเป็นวิธีการรักษาอันดับแรกที่ดี ยังมีการบำบัดอื่น ๆ ที่ไม่มีรากฐานจาก CBT อีกที่มีหลักฐานพอสมควรว่ามีประสิทธิผล ซึ่งเพิ่มวิธีการรักษาสำหรับคนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อ CBT
เหมือนกับผู้ใหญ่ เด็กก็สามารถรักษาได้โดยจิตบำบัด, CBT, หรือ counseling การบำบัดครอบครัว (Family therapy) เป็นวิธีการรักษาอีกอย่างที่เด็กพบกับผู้รักษาพร้อมกับผู้ปกครองและพี่น้อง แม้สมาชิกครอบครัวแต่ละคนจะสามารถทำการบำบัดเดี่ยว ๆ ได้ แต่การบำบัดครอบครัวปกติเป็นรูปแบบการรักษาเป็นกลุ่ม
การบำบัดด้วยศิลปะ หรือด้วยการเล่น ก็ใช้ได้ด้วย การบำบัดด้วยศิลปะใช้บ่อยครั้งที่สุดเมื่อเด็กไม่พูด ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุการณ์สะเทือนใจหรือเพราะพิการ การร่วมกิจกรรมงานศิลป์ช่วยให้เด็กสามารถสื่อสารกับคนอื่น ซึ่งโดยวิธีอื่นอาจจะทำไม่ได้
ส่วนในการบำบัดด้วยการเล่น ก็จะให้เด็กเล่นตามใจชอบโดยผู้รักษาจะสังเกตดูเด็ก และอาจจะขัดจังหวะเป็นบางครั้งบางคราวด้วยคำถาม คำพูด หรือคำแนะนำ นี่บ่อยครั้งมีประสิทธิผลที่สุดเมื่อครอบครัวของเด็กมีบทบาทสำคัญในการรักษา
ในเด็กและวัยรุ่น ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา ยาแก้ซึมเศร้าเช่น SSRI, SNRI, และ tricyclic antidepressant อาจมีประสิทธิผล
พยากรณ์โรค
พยากรณ์โรคจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและวิธีการรักษาของแต่ละบุคคล
แต่ถ้าเด็กไม่รักษา ก็จะมีโอกาสเสี่ยงเรียนไม่ดีที่โรงเรียน การหลีกเลี่ยงกิจกรรมสังคมที่สำคัญ และการใช้สารเสพติด เด็กโรควิตกกังวลมักจะมีโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า, โรคเกี่ยวกับการรับประทาน (eating disorder), โรคซนสมาธิสั้น ทั้งแบบซน และแบบไม่ใส่ใจ
วิทยาการระบาด
ทั่วโลกโดยปี 2553 มีคนประมาณ 273 ล้าน (4.5%) ที่มีโรควิตกกังวล เป็นโรคที่สามัญในหญิง (5.2%) มากกว่าในชาย (2.8%) ในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย อัตราการมีโรควิตกกังวลตลอดชีวิตอยู่ระหว่าง 9-16% และอัตราต่อปีที่ 4-7% แต่ในสหรัฐอเมริกา ความชุกชั่วชีวิต (lifetime prevalence) อยู่ที่ 29% และผู้ใหญ่ประมาณ 11-18% เป็นโรคทุกปี ความต่างขึ้นอยู่กับมุมมองอาการวิตกกังวลที่ต่างกันของวัฒนธรรมต่าง ๆ และสิ่งที่สังคมมองว่าเป็นพฤติกรรมปกติ โดยทั่วไปแล้ว โรควิตกกังวลเป็นอาการทางจิตเวชที่ชุกที่สุดในสหรัฐ ยกเว้น การเสพสารเสพติด (substance use disorder)
เด็ก
เหมือนกับผู้ใหญ่ เด็กก็สามารถมีโรควิตกกังวล เด็กทั้งหมดประมาณ 10-20% จะมีโรควิตกกังวลแบบเต็มตัวก่อนจะถึงอายุ 18 ปี ซึ่งทำให้โรคเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สามัญที่สุดในเด็ก ๆ
โรควิตกกังวลในเด็กบ่อยครั้งระบุได้ยากเทียบกับในผู้ใหญ่ เพราะยากที่ผู้ปกครองจะจำแนกจากความกลัวปกติของเด็ก โดยนัยเดียวกัน โรควิตกกังวลในเด็กบางครั้งวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคซนสมาธิสั้น หรือเนื่องจากเด็กมักจะตีความอารมณ์ของตนว่าเป็นอาการทางกาย (เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เป็นต้น) โรควิตกกังวลเบื้องต้นอาจสับสนกับโรคทางกายได้
ความวิตกกังวลในเด็กมีสาเหตุมากมาย บางครั้งมีมูลฐานทางชีวภาพ หรืออาจเป็นผลของโรคอย่างอื่น เช่น โรคออทิซึม หรือกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ เด็กที่มีพรสวรรค์บ่อยครั้งเสี่ยงต่อความวิตกกังวลเกินไปมากกว่าเด็กธรรมดา กรณีอื่น ๆ ของความวิตกกังวลมาจากเด็กที่มีประสบการณ์สะเทือนใจบางอย่าง และบางครั้ง เหตุอาจไม่สามารถระบุได้
ความวิตกกังวลในเด็กมักเป็นเรื่องที่สมกับวัย เช่น กลัวไปโรงเรียน (โดยไม่เกี่ยวกับถูกเพื่อข่มเหง) หรือไม่เก่งพอที่โรงเรียน กลัวเพื่อนไม่ยอมรับ กลัวว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคนที่รัก เป็นต้น ดังนั้น ลักษณะที่แยกโรควิตกกังวลจากความวิตกกังวลของเด็กที่ปกติก็คือระยะเวลาและความรุนแรงที่กลัว ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ มักจะกังวลเมื่อจากคนที่รัก แต่โดยทั่วไปเมื่อถึงอายุ 6 ขวบอาการก็จะหายเอง เทียบกับเด็กโรควิตกกังวลที่อาจจะเป็นต่อไปเป็นปี ๆ ซึ่งขัดขวางพัฒนาการของเด็ก และคล้าย ๆ กัน เด็กโดยมากจะกลัวความมืดและกลัวสูญเสียพ่อแม่ในช่วงหนึ่งในวัยเด็ก แต่ความกลัวนี่จะหายไปเองโดยไม่รบกวนกิจกรรมชีวิตประจำวันมาก แต่ในเด็กโรควิตกกังวล ความกลัวความมืดหรือสูญเสียคนที่รักอาจจะเพิ่มจนกลายเป็นเรื่องหมกมุ่น ที่เด็กพยายามรับมือโดยคิดทำอะไรอย่างหมกมุ่นจนเป็นปัญหากับคุณภาพชีวิต การเริ่มมีอาการซึมเศร้าร่วมกับโรควิตกกังวลอาจเป็นตัวบ่งว่าโรคกำลังรุนแรง ทำให้เสียหาย และทำให้พิการมากขึ้นทั้งในวัยก่อนโรงเรียนหรือในวัยเข้าโรงเรียน
เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่เพราะสามารถมีโรควิตกกังวลได้หลายประเภท รวมทั้ง โรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD) - เด็กจะกังวลกับหลาย ๆ เรื่องอย่างคงยืน และความกังวลอาจปรับเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น หรืออาจมีมูลฐานเพียงแค่จินตนาการแต่ยังไม่ได้เกิดจริง ๆ การปลอบโยนมักจะไม่ค่อยได้ผล
โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (SepAD) คือเด็กที่อายุมากกว่า 6-7 ขวบแต่มีปัญหาในการจากพ่อแม่ไปอาจจะมีโรคนี้ เด็กมักจะกลัวว่าจะเสียพ่อแม่ไปในช่วงเวลาที่จากกัน และเพราะเหตุนี้ มักจะไม่ยอมไปโรงเรียน
โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder) ไม่ควรสับสนกับความขี้อายหรือบุคลิกแบบสนใจต่อสิ่งภายใน (introversion) ความขี้อายบ่อยครั้งปกติ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ แต่เด็กโรควิตกกังวลบ่อยครั้งอยากจะร่วมกิจกรรมทางสังคม (ไม่เหมือนกับผู้ที่มีบุคลิกแบบสนใจสิ่งภายใน) แต่ไม่กล้า เพราะกลัวว่าเพื่อนจะไม่ชอบเกินเหตุ เด็กบ่อยครั้งจะบอกตัวเองว่าทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี ซึ่งอาจจะขัดกับหลักฐานที่มี และในระยะยาว อาจจะทำให้เกิดโรคกลัวสถานการณ์ทางสังคม แต่ว่า โรคชนิดนี้มักเป็นกับเด็กที่โตกว่าหรือเด็กก่อนวัยรุ่นมากกว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า โรคกลัวสังคมในเด็กอาจมีเหตุจากประสบการณ์สะเทือนใจ เช่น ไม่รู้คำตอบเมื่อครูถามในชั้นเรียน
แม้ว่าจะไม่สามัญในเด็ก โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ก็สามารถเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยมีอัตราระหว่าง 2-4% และก็เหมือนผู้ใหญ่ เด็กมักจะมีความคิดเชิงไสยศาสตร์เพื่อบรรเทาความวิตกกังวล คือต้องทำพิธีกรรมอะไรบางอย่าง (บ่อยครั้งเกี่ยวกับการนับ จัดแจง หรือทำความสะอาด เป็นต้น) เพื่อ "ป้องกัน" เหตุการณ์ร้ายที่ตนรู้สึกว่ากำลังจะเกิดขึ้น แต่ไม่เหมือนกับเด็กปกติ ผู้สามารถเลิกกิจกรรมเชิงไสยศาสตร์เมื่อบอกให้เลิก แต่เด็กที่มี OCD จะไม่สามารถหยุดทำกิจกรรมเช่นนั้นได้ไม่ว่าจะขู่อย่างไร
แม้โรคตื่นตระหนก (panic disorder) จะสามัญในเด็กที่อายุมากกว่า แต่เด็กเล็ก ๆ ก็สามารถเป็นได้ด้วย และมักจะมองผิดว่าเป็นโรคทางกายอย่างอื่น เนื่องจากมีอาการทางกายที่ชัดเจน (เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก เวียนหัว คลื่นไส้ เป็นต้น) แต่อาการเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับความกลัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะความกลัวตาย และเหมือนกับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคตื่นตระหนก เด็กอาจพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ตนรู้สึกว่า จุดชนวนความตื่นตระหนก
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Aspden, Peter (2012-04-21). "So, what does 'The Scream' mean?". Financial Times.
- Diagnostic and Statistical Manual of Mental DisordersAmerican Psychiatric Associati (5th ed.). Arlington: American Psychiatric Publishing. 2013. pp. 189–195. ISBN .
- "Anxiety Disorders". NIMH. March 2016. จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2016. สืบค้นเมื่อ 14 August 2016.
- Craske, MG; Stein, MB (2016-06-24). "Anxiety". Lancet (London, England). PMID 27349358.
- Schacter, Daniel L.; Gilbert, Daniel T.; Wegner, Daniel M. (2011). Psychology. Macmillan. ISBN .
- Calleo, Jessica; Stanley, Melinda (1 July 2008). "Anxiety disorders in later life: differentiated diagnosis and treatment strategies". Psychiatric Times. 25 (8): 24. .
- Barker, Phil (2003). Psychiatric and Mental Health Nursing: The Craft of Caring. Taylor & Francis. ISBN .
- Passer, Michael W.; Bremner, Andy; Smith, Ronald E.; Holt, Nigel; Vliek, Michael; Sutherland, Ed (2009). Psychology: The Science of Mind and Behaviour. McGraw-Hill Higher Education. p. 790. ISBN .
- "All About Anxiety Disorders: From Causes to Treatment and Prevention". จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-02-18.
- Gelder, Michael G.; Mayou, Richard; Geddes, John (2005). Psychiatry. Oxford University Press. p. 75. ISBN .
- Varcarolis, Elizabeth M. (2010). Manual of Psychiatric Nursing Care Planning. Elsevier Health Sciences. p. 109. ISBN .
- Keeton, CP; Kolos, AC; Walkup, JT (2009). "Pediatric generalized anxiety disorder: epidemiology, diagnosis, and management". Paediatric Drugs. 11 (3): 171–83. doi:10.2165/00148581-200911030-00003. PMID 19445546. S2CID 39870253.
- "Panic Disorder". Center for the Treatment and Study of Anxiety, University of Pennsylvania. จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2015.
- Craske, Michelle G. (2003). Origins of Phobias and Anxiety Disorders. doi:10.1016/B978-0-08-044032-3.X5000-X. ISBN .
- Fisher, Jane E.; O'Donohue, William T., บ.ก. (2006). Practitioner's Guide to Evidence-Based Psychotherapy. doi:10.1007/978-0-387-28370-8. ISBN .
- The Oxford Handbook of Exercise Psychology. Oxford University Press. 2012. p. 56. ISBN .
- . Veterans Affairs Canada. 2006. ISBN . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-11-10.
- "Psychological Disorders". Psychologie Anglophone.
- Fullerton, Carol (1997). Posttraumatic Stress Disorder. Washington, D.C.: American Psychiatric Press Inc. pp. 8–9. ISBN .
- Siegler, Robert S. (2006). How Children Develop, Exploring Child Develop. Worth Pub. ISBN .[]
- Arehart-Treichel, Joan (7 July 2006). "Adult Separation Anxiety Often Overlooked Diagnosis". Psychiatric News. 41 (13): 30. doi:10.1176/pn.41.13.0030.
- Shear, Katherine; Jin, Robert; Ruscio, Ayelet Meron; Walters, Ellen E.; Kessler, Ronald C. (June 2006). "Prevalence and correlates of estimated DSM-IV child and adult separation anxiety disorder in the National Comorbidity Survey Replication". The American Journal of Psychiatry. 163 (6): 1074–1083. doi:10.1176/ajp.2006.163.6.1074. PMC 1924723. PMID 16741209.
- Mohatt, Justin; Bennett, Shannon M.; Walkup, John T. (July 2014). "Treatment of separation, generalized, and social anxiety disorders in youths". The American Journal of Psychiatry. 171 (7): 741–748. doi:10.1176/appi.ajp.2014.13101337. PMID 24874020.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-10. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
- National Collaborating Centre for Mental Health, (UK) (2006). "Obsessive-Compulsive Disorder: Core Interventions in the Treatment of Obsessive-Compulsive Disorder and Body Dysmorphic Disorder,". NICE Clinical Guidelines (31). PMID 21834191. สืบค้นเมื่อ 2015-11-21.
- Soomro, GM (2012-01-18). "Obsessive compulsive disorder". BMJ clinical evidence. 2012. PMC 3285220. PMID 22305974.
- Institute for Quality and Efficiency in Health Care (IQWiG). "Obsessive-compulsive disorder: overview". PubMed Health. Institute for Quality and Efficiency in Health Care (IQWiG). สืบค้นเมื่อ 2015-11-21.
- Evans, Katie; Sullivan, Michael J. (2001-03-01). Dual Diagnosis: Counseling the Mentally Ill Substance Abuser (2nd ed.). Guilford Press. pp. 75–76. ISBN .
- Lindsay, S.J.E.; Powell, Graham E., บ.ก. (1998-07-28). The Handbook of Clinical Adult Psychology (2nd ed.). Routledge. pp. 152–153. ISBN .
- Johnson, Bankole A. (2011). Addiction medicine : science and practice. New York: Springer. pp. 301–303. ISBN .
- Cohen, SI (February 1995). "Alcohol and benzodiazepines generate anxiety, panic and phobias". J R Soc Med. 88 (2): 73–77. PMC 1295099. PMID 7769598.
- Morrow, LA; และคณะ (2000). "Increased incidence of anxiety and depressive disorders in persons with organic solvent exposure". Psychosomat Med. 62 (6): 746–750. doi:10.1097/00006842-200011000-00002. PMID 11138992.
- Scott, Trudy (2011). The Antianxiety Food Solution: How the Foods You Eat Can Help You Calm Your Anxious Mind, Improve Your Mood, and End Cravings. New Harbinger Publications. p. 59. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2012-10-07.
- Winston, AP (2005). "Neuropsychiatric effects of caffeine". Advances in Psychiatric Treatment. 11 (6): 432–439. doi:10.1192/apt.11.6.432.
- Hughes, RN (June 1996). . New Zealand Journal of Psychology. 25 (1): 36–42. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-09. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
- Vilarim, MM; DM, Rocha Araujo; Nardi, AE (August 2011). "Caffeine challenge test and panic disorder: a systematic literature review". Expert Rev Neurother. 11 (8): 1185–95. doi:10.1586/ern.11.83. PMID 21797659.
- Vilarim, Marina Machado; Rocha Araujo, Daniele Marano; Nardi, Antonio Egidio (2011). "Caffeine challenge test and panic disorder: A systematic literature review". Expert Review of Neurotherapeutics. 11 (8): 1185–95. doi:10.1586/ern.11.83. PMID 21797659.
- Bruce, Malcolm; Scott, N; Shine, P; Lader, M (1992). "Anxiogenic Effects of Caffeine in Patients with Anxiety Disorders". Archives of General Psychiatry. 49 (11): 867–9. doi:10.1001/archpsyc.1992.01820110031004. PMID 1444724.
- Nardi, Antonio E.; Lopes, Fabiana L.; Valença, Alexandre M.; Freire, Rafael C.; Veras, André B.; De-Melo-Neto, Valfrido L.; Nascimento, Isabella; King, Anna Lucia; Mezzasalma, Marco A.; Soares-Filho, Gastão L.; Zin, Walter A. (2007). "Caffeine challenge test in panic disorder and depression with panic attacks". Comprehensive Psychiatry. 48 (3): 257–63. doi:10.1016/j.comppsych.2006.12.001. PMID 17445520.
- American Psychiatric Association (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5). American Psychiatric Publishing. pp. 226–230. ISBN .
- Kedzior, Karina Karolina; Laeber, Lisa Tabata (2014-05-10). "A positive association between anxiety disorders and cannabis use or cannabis use disorders in the general population- a meta-analysis of 31 studies". BMC Psychiatry. 14: 136. doi:10.1186/1471-244X-14-136. ISSN 1471-244X. PMC 4032500. PMID 24884989.
- Crippa, José Alexandre; Zuardi, Antonio Waldo; Martín-Santos, Rocio; Bhattacharyya, Sagnik; Atakan, Zerrin; McGuire, Philip; Fusar-Poli, Paolo (2009-10-01). "Cannabis and anxiety: a critical review of the evidence". Human Psychopharmacology: Clinical and Experimental (ภาษาอังกฤษ). 24 (7): 515–523. doi:10.1002/hup.1048. ISSN 1099-1077. PMID 19693792.
- Kantorovich, V; Eisenhofer, G; Pacak, K (2008). "Pheochromocytoma: an endocrine stress mimicking disorder". Ann. N. Y. Acad. Sci. 1148: 462–8. doi:10.1196/annals.1410.081. PMC 2693284. PMID 19120142.
- Guller, U; Turek, J; Eubanks, S; Delong, ER; Oertli, D; Feldman, JM (2006). "Detecting pheochromocytoma: defining the most sensitive test". Ann. Surg. 243: 102–7. doi:10.1097/01.sla.0000193833.51108.24. PMC 1449983. PMID 16371743.
- "hyperthyroidism". medscape.
- Patel, G; Fancher, TL (2013-12-03). "In the clinic. Generalized anxiety disorder". Annals of Internal Medicine. 159 (11): ITC6-1, ITC6-2, ITC6-3, ITC6-4, ITC6-5, ITC6-6, ITC6-7, ITC6-8, ITC6-9, ITC6-10, ITC6-11, quiz ITC6-12. doi:10.7326/0003-4819-159-11-201312030-01006. PMID 24297210.
- Grinde, B (2005). "An approach to the prevention of anxiety-related disorders based on evolutionary medicine" (PDF). Preventative Medicine. 40 (6): 904–909. doi:10.1016/j.ypmed.2004.08.001. PMID 15850894.
- Bateson, M; B. Brilot; D. Nettle (2011). "Anxiety: An evolutionary approach" (PDF). Canadian Journal of Psychiatry. 56 (12): 707–715.
- Price, John S. (September 2003). "Evolutionary aspects of anxiety disorders". Dialogues in Clinical Neuroscience. 5 (3): 223–236. PMC 3181631. PMID 22033473.
- Lydiard, RB (2003). "The role of GABA in anxiety disorders". J Clin Psychiatry. 64 (Suppl 3): 21–27. PMID 12662130.
- Nemeroff, CB (2003). "The role of GABA in the pathophysiology and treatment of anxiety disorders". Psychopharmacol Bull. 37 (4): 133–146. PMID 15131523.
- Enna, SJ (1984). "Role of gamma-aminobutyric acid in anxiety". Psychopathology. 17 (Suppl 1): 15–24. doi:10.1159/000284073. PMID 6143341.
- Dunlop, BW; Davis, PG (2008). "Combination treatment with benzodiazepines and SSRIs for comorbid anxiety and depression: a review". Prim Care Companion J Clin Psychiatry. 10 (3): 222–228. doi:10.4088/PCC.v10n0307. PMC 2446479. PMID 18615162.
- Etkin, A; Prater, KE; Schatzberg, AF; Menon, V; Greicius, MD (2009). "Disrupted amygdalar subregion functional connectivity and evidence of a compensatory network in generalized anxiety disorder". Arch Gen Psychiatry. 66 (12): 1361–1372. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2009.104. PMID 19996041.
- Kalueff, AV; Ishikawa, K; Griffith, AJ (10 January 2008). "Anxiety and otovestibular disorders: linking behavioral phenotypes in men and mice". Behav. Brain Res. 186 (1): 1–11. doi:10.1016/j.bbr.2007.07.032. PMID 17822783.
- Nagaratnam, N; Ip, J; Bou-Haidar, P (May–June 2005). "The vestibular dysfunction and anxiety disorder interface: a descriptive study with special reference to the elderly". Arch Gerontol Geriatr. 40 (3): 253–264. doi:10.1016/j.archger.2004.09.006. PMID 15814159.
- Lepicard, EM; Venault, P; Perez-Diaz, F; Joubert, C; Berthoz, A; Chapouthier, G (20 December 2000). "Balance control and posture differences in the anxious BALB/cByJ mice compared to the non anxious C57BL/6J mice". Behav. Brain Res. 117 (1–2): 185–195. doi:10.1016/S0166-4328(00)00304-1. PMID 11099772.
- Simon, NM; Pollack, MH; Tuby, KS; Stern, TA (June 1998). "Dizziness and panic disorder: a review of the association between vestibular dysfunction and anxiety". Ann Clin Psychiatry. 10 (2): 75–80. doi:10.3109/10401239809147746. PMID 9669539.
- Balaban, CD; Thayer, JF (January–April 2001). "Neurological bases for balance-anxiety links". J Anxiety Disord. 15 (1–2): 53–79. doi:10.1016/S0887-6185(00)00042-6. PMID 11388358.
- Mitra, R; Ferguson, D; Sapolsky, RM (10 February 2009). "SK2 potassium channel overexpression in basolateral amygdala reduces anxiety, stress-induced corticosterone secretion and dendritic arborization". Mol. Psychiatry. 14 (9): 847–855, 827. doi:10.1038/mp.2009.9. PMC 2763614. PMID 19204724.
- Bienvenu, OJ; Ginsburg, GS (December 2007). "Prevention of anxiety disorders". . Abingdon, England. 19 (6): 647–54. doi:10.1080/09540260701797837. PMID 18092242. S2CID 95140.
- Khoury B, Lecomte T, Fortin G, และคณะ (Aug 2013). "Mindfulness-based therapy: a comprehensive meta-analysis". . 33 (6): 763–71. doi:10.1016/j.cpr.2013.05.005. PMID 23796855.
- Sharma M, Rush SE (Jul 2014). "Mindfulness-based stress reduction as a stress management intervention for healthy individuals: a systematic review". J Evid Based Complementary Altern Med. 19 (4): 271–86. doi:10.1177/2156587214543143. PMID 25053754.
- Patel, Gayatri; Fancher, Tonya L. (3 December 2013). "In the clinic. Generalized anxiety disorder". Annals of Internal Medicine. 159 (11): ITC6–1, ITC6–2, ITC6-3, ITC6-4, ITC6-5, ITC6-6, ITC6-7, ITC6-8, ITC6-9, ITC6-10, ITC6-11, quiz ITC6-12. doi:10.7326/0003-4819-159-11-201312030-01006. PMID 24297210. S2CID 42889106.
- Zung, WW (1971). "A rating instrument for anxiety disorders". Psychosomatics. 12 (6): 371–379. doi:10.1016/S0033-3182(71)71479-0. PMID 5172928.
- Cameron, OG (2007-12-01). "Understanding Comorbid Depression and Anxiety". Psychiatric Times. 24 (14).
- McLaughlin, K; Behar, E; Borkovec, T (2005-08-25). "Family history of psychological problems in generalized anxiety disorder". Journal of Clinical Psychology. 64 (7): 905–918. doi:10.1002/jclp.20497. PMID 18509873. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
- Coretti, G; Baldi, I (2007-08-01). "The Relationship Between Anxiety Disorders and Sexual Dysfunction". Psychiatric Times. 24 (9).
- Stein, MB; Sareen, J (2015-11-19). "Clinical Practice: Generalized Anxiety Disorder". The New England journal of medicine. 373 (21): 2059–68. PMID 26580998.
- Taylor, G.; McNeill, A.; Girling, A.; Farley, A.; Lindson-Hawley, N.; Aveyard, P. (2014-02-13). "Change in mental health after smoking cessation: systematic review and meta-analysis". BMJ. 348 (feb13 1): g1151–g1151. doi:10.1136/bmj.g1151. PMC 3923980. PMID 24524926.
- Cuijpers, P; Sijbrandij, M; Koole, S; Huibers, M; Berking, M; Andersson, G (Mar 2014). "Psychological treatment of generalized anxiety disorder: A meta-analysis". Clinical Psychology Review. 34 (2): 130–140. doi:10.1016/j.cpr.2014.01.002. PMID 24487344.
- Otte, C (2011). "Cognitive behavioral therapy in anxiety disorders: current state of the evidence". Dialogues in Clinical Neuroscience. 13 (4): 413–21. doi:10.31887/DCNS.2011.13.4/cotte. PMC 3263389. PMID 22275847.
- Pompoli, Alessandro; Furukawa, Toshi A.; Imai, Hissei; Tajika, Aran; Efthimiou, Orestis; Salanti, Georgia (13 April 2016). "Psychological therapies for panic disorder with or without agoraphobia in adults: a network meta-analysis". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016 (4): CD011004. doi:10.1002/14651858.CD011004.pub2. PMC 7104662. PMID 27071857.
- Olthuis, Janine V.; Watt, Margo C.; Bailey, Kristen; Hayden, Jill A.; Stewart, Sherry H. (12 March 2016). "Therapist-supported Internet cognitive behavioural therapy for anxiety disorders in adults". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016 (3): CD011565. doi:10.1002/14651858.CD011565.pub2. PMC 7077612. PMID 26968204.
- Donker, T; Petrie, K; Proudfoot, J; Clarke, J; Birch, MR; Christensen, H (2013-11-15). "Smartphones for smarter delivery of mental health programs: a systematic review". Journal of medical Internet research. 15 (11): e247. doi:10.2196/jmir.2791. PMC 3841358. PMID 24240579.
- Mansell, Warren (2007-06-01). "Reading about self-help books on cognitive-behavioural therapy for anxiety disorders". Pb.rcpsych.org. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
- Roemer L, Williston SK, Eustis EH (Nov 2013). "Mindfulness and acceptance-based behavioral therapies for anxiety disorders". Curr Psychiatry Rep. 15 (11): 410. doi:10.1007/s11920-013-0410-3. PMID 24078067. S2CID 23278447.
- Lang AJ (May 2013). "What mindfulness brings to psychotherapy for anxiety and depression". Depress Anxiety. 30 (5): 409–12. doi:10.1002/da.22081. PMID 23423991. S2CID 25705284.
- Krisanaprakornkit, Thawatchai; Sriraj, Wimonrat; Piyavhatkul, Nawanant; Laopaiboon, Malinee (25 January 2006). "Meditation therapy for anxiety disorders". Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD004998. doi:10.1002/14651858.CD004998.pub2. PMID 16437509.
- Choy, Yujuan; Fyer, Abby J.; Lipsitz, Josh D. (April 2007). "Treatment of specific phobia in adults". Clinical Psychology Review. 27 (3): 266–286. doi:10.1016/j.cpr.2006.10.002. PMID 17112646.
- Pittler, MH; Ernst, E (2003). Pittler, Max H (บ.ก.). "Kava extract for treating anxiety". Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD003383. doi:10.1002/14651858.CD003383. PMID 12535473.
- Witte, S; Loew, D; Gaus, W (March 2005). "Meta-analysis of the efficacy of the acetonic kava-kava extract WS1490 in patients with non-psychotic anxiety disorders". Phytother Res. 19 (3): 183–188. doi:10.1002/ptr.1609. PMID 15934028.
- Saeed, SA; Bloch, RM; Antonacci, DJ (August 2007). "Herbal and dietary supplements for treatment of anxiety disorders". Am Fam Physician. 76 (4): 549–556. PMID 17853630.
- Saeed, SA; Bloch, RM; Antonacci, DJ (15 August 2007). "Herbal and dietary supplements for treatment of anxiety disorders". American family physician. 76 (4): 549–56. PMID 17853630.
- Fellowes, D.; Barnes, K.; Wilkinson, S. (1 January 2004). "Aromatherapy and massage for symptom relief in patients with cancer". The Cochrane Database of Systematic Reviews (2): CD002287. doi:10.1002/14651858.CD002287.pub2. ISSN 1469-493X. PMID 15106172.
- Higa-McMillan, Charmaine K.; Francis, Sarah E.; Rith-Najarian, Leslie; Chorpita, Bruce F. (3 March 2016). "Evidence Base Update: 50 Years of Research on Treatment for Child and Adolescent Anxiety". Journal of Clinical Child & Adolescent Psychology. 45 (2): 91–113. doi:10.1080/15374416.2015.1046177. PMID 26087438.
- Kozlowska, Kasia; Hanney, Lesley (June 1999). "Family Assessment and Intervention Using an Interactive Art Exercise". Australian and New Zealand Journal of Family Therapy. 20 (2): 61–69. doi:10.1002/j.1467-8438.1999.tb00358.x.
- Creswell, Cathy; Cruddace, Susan; Gerry, Stephen; Gitau, Rachel; McIntosh, Emma; Mollison, Jill; Murray, Lynne; Shafran, Rosamund; Stein, Alan; Violato, Mara; Voysey, Merryn; Willetts, Lucy; Williams, Nicola; Yu, Ly-Mee; Cooper, Peter J. (May 2015). "Treatment of childhood anxiety disorder in the context of maternal anxiety disorder: a randomised controlled trial and economic analysis". Health Technology Assessment. 19 (38): 1–184, vii–viii. doi:10.3310/hta19380. PMC 4781330. PMID 26004142.
- Bratton, Sue Carlton; Ray, Dee (2002). "Humanistic play therapy". Humanistic psychotherapies: Handbook of research and practice. pp. 369–402. doi:10.1037/10439-012. ISBN .
- Social Phobia จาก
- Swales, Pamela J; Cassidy, Erin L; Sheikh, Javaid I. "Principles and Practice of Geriatric Psychology". Principles and Practice of Geriatric Psychiatry (2nd ed.). Stanford University School of Medicine, Department of Psychiatry and Behavioral Sciences: 555–557. doi:10.1002/0470846410.ch101. สืบค้นเมื่อ 2012-02-13.
- Vos, Theo; Flaxman, Abraham D.; Naghavi, Mohsen; Lozano, Rafael; Michaud, Catherine; และคณะ (15 December 2012). "Years lived with disability (YLDs) for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990-2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2163–2196. doi:10.1016/S0140-6736(12)61729-2. PMC 6350784. PMID 23245607.
- "Evolving concepts of anxiety". Anxiety Disorders. 2010. pp. 6–68. doi:10.1017/CBO9780511777578.004. ISBN .
- Kessler RC, Berglund P, Demler O, Jin R, Merikangas KR, Walters EE (June 2005). "Lifetime prevalence and age-of-onset distributions of DSM-IV disorders in the National Comorbidity Survey Replication". Arch. Gen. Psychiatry. 62 (6): 593–602. doi:10.1001/archpsyc.62.6.593. PMID 15939837.
- Brockveld, Keila C.; Perini, Sarah J.; Rapee, Ronald M. (2014). "Social Anxiety and Social Anxiety Disorder Across Cultures". Social Anxiety. pp. 141–158. doi:10.1016/B978-0-12-394427-6.00006-6. ISBN .
- Hofmann, Stefan G.; Asnaani, Anu (December 2010). "Cultural Aspects in Social Anxiety and Social Anxiety Disorder". Depress Anxiety. 27 (12): 1117–1127. doi:10.1002/da.20759. PMC 3075954. PMID 21132847.
- Fricchione, Gregory (12 August 2004). "Generalized Anxiety Disorder". New England Journal of Medicine. 351 (7): 675–682. doi:10.1056/NEJMcp022342. PMID 15306669.
- Essau, Cecilia A. (2006). Child and Adolescent Psychopathology: Theoretical and Clinical Implications. 27 church road, Hove, East Sussex: Routledge. p. 79.
{{}}
: CS1 maint: location () - AnxietyBC. . AnxietyBC. AnxietyBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-12. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
- Merrill, Anna. "Anxiety and Autism Spectrum Disorders". Indiana Resource Center for Autism. Indiana Resource Center for Autism. สืบค้นเมื่อ 2015-06-10.
- Guignard, Jacques-Henri; Jacquet, Anne-Yvonne; Lubart, Todd I. "Perfectionism and Anxiety: A Paradox in Intellectual Giftedness?". PLOS. PLOS. สืบค้นเมื่อ 2015-06-10.
- Rapee, Ronald M.; Schniering, Carolyn A.; Hudson, Jennifer L. (PDF). Annual Review of Clinical Psychology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-11. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
- Shenfield, Tali. "A Primer on Child and Adolescent Anxiety". Advanced Psychology.
- von Klitzing, K; White, LO; Otto, Y; Fuchs, S; Egger, HL; Klein, AM (2014). "Depressive comorbidity in preschool anxiety disorder". J Child Psychol Psychiatr. 55: 1107–16.
- "Separation Anxiety in Children". WebMD. WebMD. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
- . AnxietyBC. AnxietyBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-12. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
- Biegel, DE (1995). Maddox, GE (บ.ก.). Caregiver burden. The encyclopedia of aging (2nd ed.). New York: Springer. pp. 138–141.
- Boileau, B (2011). "A review of obsessive-compulsive disorder in children and adolescents". Dialogues in clinical neuroscience. 13 (4): 401–11. PMC 3263388. PMID 22275846.
- Harvard Medical School (2004a). "December). Children's fears and anxieties". Harvard Mental Health Letter. 21 (6): 1–3.
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | D |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
|
- WHO fact sheet on anxiety disorders
- Support Group Providers for โรควิตกกังวล ที่เว็บไซต์ Curlie
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
orkhwitkkngwl xngkvs Anxiety disorders epnklumkhwamphidpktithangcitkahndodykhwamwitkkngwlaelakhwamklw khwamwitkkngwl anxiety epnkhwamkngwlekiywkbehtukarninxnakhtaelakhwamklw fear epnptikiriyatxehtukarnpccubn khwamrusukechnnixacthaihekidxakarthangkay echn hwicetnerwaelatwsn miorkhwitkkngwlhlayxyang rwmthngorkhwitkkngwlipthw GAD orkhklw phobia thiechphaaecaacng orkhklwkarekhasngkhm social anxiety disorder separation anxiety disorder orkhklwthichumchn agoraphobia aelaorkhtuntrahnk panic disorder odyorkhcatang kntamxakar aetkhnikhmkcamiorkhwitkkngwlmakkwahnungchnid orkhmipccycakkrrmphnthuaelasingaewdlxm pccyesiyngrwmthngprawtithuktharunkrrminwyedk prawtikhwamphidpktithangcitinkhrxbkhrw aelakhwamyakcn orkhmkekidrwmkbkhwamphidpktithangcitxun odyechphaaorkhsumesra MDD khwamphidpktithangbukhlikphaph PD aelakaresphsaresphtid substance use disorder ephuxcawinicchywaepnorkh catxngmixakarxyangnxy 6 eduxn mikhwamwitkkngwlekinehtu aelamipyhainkardaeninchiwit aetkmipyhathangcitewchaelathangaephthyxun thixacmixakarkhlay knrwmthngxakarihepxrithrxyd orkhhwic karesphkaefxin aexlkxhxl aelakycha aelakarkhadya withdrawal bangpraephth thaimrksa orkhmkcaimhay karrksarwmthngkarepliynsitlchiwit citbabd aelakarthanya citbabdmkcaepnrupaebbhnungkhxngkarbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT yaechnyaaeksumesrahruxebta blxkekxr xacchwyihxakardikhun khnpraman 12 miorkhthuk pi odyekidinhyingmakkwachay 2 etha aelathwiperimkxnxayu 25 pi praephthorkhthisamythisudkhuxorkhklwthiechphaaecaacngsungekidinkhn 12 aelaorkhklwkarekhasngkhm SAD sungekidinkhn 10 inchwnghnunginchiwit odyekidkbbukhkhlxayu 15 35 pimakthisud aelaekidkhunnxyhlngthungxayu 55 pi xtrakarekidducasungkwainshrthxemrikaaelathwipyuorporkhwitkkngwl Anxiety disorder phaphwad esiyngkridrxng odyexdwd mungk citrkrchawnxrewybychicaaenkaelalingkipphaynxkICD 10F40 F42ICD 300787med 152MeSHD001008 sihnakhxngbukhkhlthimikhwamwitkkngwleruxrngpraephthorkhwitkkngwlipthw orkhwitkkngwlipthw Generalized anxiety disorder GAD epnorkhthisamy eruxrng kahndodykhwamwitkkngwlthidarngxyunanodyimidephngipthieruxnghruxsthankarnidodyechphaa khnikhklwaelakngwlxyangimechphaaecaacngaelaepnhwngeruxngchiwitpracawnmakekinip tamhnngsuxcitwithyaelmhnung GAD kahndodykhwamkngwlmakekinipthieruxrngtamdwyxakar 3 xyanghruxmakkwanndngtxipni khux xyuimsukh la immismathi hngudhngid klamenuxekrng aelamipyhakarnxn GAD epnorkhwitkkngwlthisamythisudtxkhnmixayu aetwa khwamwitkkngwlxacepnxakarthangkaraephthyhruxpyhakarichsaresphtid aelaphurksaphyabaltxngruineruxngni GAD cawinicchyktxemuxbukhkhlkngwlmakekiniperuxngpyhachiwitpracawnepnewla 6 eduxnhruxmakkwann bukhkhlxacphbwamipyhatdsinicaelacasingthiwangaephniwimidenuxngcakimmismathihruxrusukkngwlxyanghmkmun khnikhxaccaduekhriyd ehnguxxxkephimkhunthimux etha aelarkaer aelaxacrxngihngay sungaesdngwaxacepnorkhsumesra kxncawinicchywaepnorkh aephthycaknkhwamwitkkngwlehtuyahruxehtuthangaephthyxun xxkkxn inedk GAD xacsmphnthkbxakarpwdhw xyuimsukh pwdthxng aelahwicetnerw sungpktiaelwcaerimthixayupraman 8 9 khwb orkhklw klumyxykhxngorkhwitkkngwlthiihythisudxyuincaphwkkhwamphidpkticakkhwamklw phobic disorders sungrwmkrnithikhwamklwaelakhwamwitkkngwlthnghmdcudchnwnodysingerasingidsinghnungodyechphaa prachakrpraman 5 12 thwolkmiorkhklw khnikhpkticakngwlthungphlnaklwthiekidcakkarprasbkbsingthitnklw sungxacepnxairkidtngaetstw sthanthi khxngehlwcakrangkay hruxsthankarnxairbangxyang aelacaekhaicwa tnklwmakodyimsmkbxntraythixacmicring aetkyngrusukklwxyudi orkhtuntrahnk sahrborkhtuntrahnk khnikhcaklwaebbrunaerngaetchwkhraw bxykhrngphrxmkbxakarsn sbsn ewiynhw khlunis aela hruxhayicimxxk karekidkhxng panic attack karcuocmkhxngkhwamtuntrahnk echnni dngthiihniyamodysmakhmcitewchxemrikn APA waepnkhwamklwhruxkhwamimsbayicthiekidkhunthnthithnidaelathungcudsungsudphayin 10 nathi aetsamarthdarngxyuidhlay chm karcuocmsamarthcudchnwnodykhwamekhriyd khwamklw hruxaemaetkarxxkkalngkay ehtuodyechphaabangkhrngkimchdecn nxkcakcaekidkarcuocmkhxngkhwamtuntrahnkthiimkhadfnaelaekidsa eknthwinicchyyngbngkhbwatxngmiphleruxrngxikdwy khux epnkhwamkngwlthungphlthixactammakhxngkarcuocm khwamklwxyuwacaekidxik aelaphvtikrrmthiepliynipxyangsakhyekiywkbkarekidkarcuocm odyechnni khnikhorkhtuntrahnkcamixakaraemnxkehnuxipcakkhrawthimikarcuocm bxykhrng khnikhcasngektehnkhwamepliynaeplngkaretnhwicthiepnpkti aetkhidwa hwickhxngtnphidpkti hruxwa tnkalngthukcuocmdwykhwamtuntrahnk inbangkrni khwamsanukthisungkhun hypervigilance ekiywkbkarthangankhxngrangkaycaekidkhuninrahwangmikarcuocm thikarepliynaeplngthangsrirphaphthisanukthungthukxyangxacthaihkhidwaepnkhwamecbpwythixacthaihthungchiwit khuxmixakaraebbrunaerng orkhklwthiolng xakarklwthiolng Agoraphobia epnkhwamwitkkngwleruxngxyuinsthanthihruxsthankarnthikarhlbxxkepneruxngyakhruxnaxay hruxwaxacimmiikhrchwyid xakarklwthiolngsmphnthkborkhtuntrahnk aelabxykhrngcaerimdwykhwamklwwacamikarcuocmodykartuntrahnk panic attack lksnathisamykkhuxtxngehnpratuhruxthanghnixun tlxdewla nxkcakkhwamklwaelw khawa agoraphobia bxykhrngichhmaythungphvtikrrmhlikeliyngthikhnikhbxykhrngmi yktwxyangechn hlngcakkhwamtuntrahnkinkhnakhbrth bukhkhlthimi agoraphobia xackngwleruxngkhbrthaelwkcahlikeliyngkarkhbrth phvtikrrmhlikeliyngechnnibxykhrngmiphlesiyhayaelaesrimkhwamklwthimixyuaelw orkhklwkarekhasngkhm orkhklwkarekhasngkhm Social anxiety disorder SAD epnkhwamklwaelakarhlikeliyngxyangrunaerng sungkarthukmxnginaenglbodysatharnchn khwamxbxaytxhnakhnxun karthukthaihkhayhna aelaptismphnththangsngkhm khwamklwxacepnechphaasthankarnthangsngkhmbangxyang echn karphudtxhnasatharna hruxthisamykwakkhux kartxngmiptismphnththangsngkhminsthankarnodymakhruxthnghmd khwamkngwlxacpraktepnxakarthangkayodyechphaa rwmthnghnaaedng ehnguxxxk aelaphudimxxk ehmuxnkborkhklwxun khnikhorkhnicaphyayamhlikeliyngsingthithaihtnkngwl aetinkrnini nikhxnkhangcasrangpyhamak aelamikrnirunaerngthikhnikhimyxmphbkbikhrely swn Social physique anxiety SPA epnaebbyxykhxngorkhklwsngkhm odykhnikhcakngwlwakhnxunphicarnaruprangkhxngtnwaepnxyangir SPA epneruxngsamysahrbwyrun odyechphaaephshying khwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic khwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic PTSD epnorkhwitkkngwlthiepnphlkhxngprasbkarnsaethuxnic sungxacepnehtukarnthirunaerng echn karsurb phythrrmchati karthukkhmkhun karthukcbepntwprakn tharunkrrminwyedk karthukephuxnkhmehng aelaaemaetxubtiehtuthirunaerng nxkcaknn yngxacekidcakkarekhriydrunaerngeruxrngepnrayaewlanan yktwxyangechn mithharthisamarthxdthntxkarsurbepnkhrng aetimsamarthrbmuxkbkarsurbxyangtxenuxng xakarsamyrwmthngrawngmakekinip hypervigilance karehnphaphyxnhlng flashback phvtikrrmhlikeliyng khwamwitkkngwl khwamokrth aelakhwamsumesra miwithikarrksaphunthanhlayxyangsahrbkhnikh PTSD rwmthngkarbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT citbabd aelakhwamsnbsnunchwyehluxcakkhrxbkhrwaelaephuxn nganwicyineruxng PTSD erimtnthithharphansuksngkhramewiydnam aelaphuekhraahraycakphytang rwmthngphythrrmchati ngansuksaphbwa radbkhwamrunaerngthiprasbinphyphibtiepntwphyakrn PTSD thidithisud orkhwitkkngwlemuxtxngaeyk orkhwitkkngwlemuxtxngaeyk Separation anxiety disorder SepAD epnkhwamwitkkngwlthiekinkhwraelaimehmaasmekiywkbkarcakbukhkhlhruxsthanthi khwamwitkkngwlechnniepneruxngpktiinphthnakarkhxngtharkhruxedk aeladngnn emuxkhwamrusukniekidekinkhwrhruximsmkhwrethanncungcacdwaepnorkh orkhekidniekidkbphuihypraman 7 aelaedk 4 aetwakrniedkmkcarunaerngkwa yktwxyangechn aemaetkarcakknxyangsn xaccathaihekidkhwamtuntrahnk karrksaedktngaetenin xacchwypxngknpyha sungxacrwmkarfukphxaemaelakhrxbkhrwwakhwrcarbmuxkbmnxyangir ephraawa bxykhrng phxaemcaesrimkhwamwitkkngwlkhxngedkephraaimruwakhwrcachwyedkxyangir nxkcakkarfukedkaelakhrxbkhrwaelw yabangxyang echn SSRI samarthichbabdkhwamwitkkngwlechnni khwamwitkkngwltxsthankarn khwamwitkkngwltxsthankarn Situational anxiety miehtucakkarekidsthankarnihmhruxepliynip hruxxacekidcakehtukarnhlay xyangthithaihbukhkhlnnimchxb sungepneruxngthisamymak bxykhrng bukhkhlcaprasbkbkhwamtuntrahnk panic attack hruxkhwamwitkkngwlxyangrunaernginsthankarnodyechphaa aelasthankarnechnnnxacimthaihkhnxunkngwlodyprakarthngpwng yktwxyangechn bangkhnxacimchxbthichumchnhruxthiaekhb dngnn karrxkhiwinaethwaennyaw echnthithnakharhruxthirankha xaccathaihkngwlxyangrunaerng hruxekidkhwamtuntrahnk panic attack khnxunxaccakngwlemuxchiwitepliynipxyangsakhy echn karekhamhawithyaly karaetngngan karmiluk epntn orkhyakhidyatha orkhyakhidyatha OCD imidcdepnorkhwitkkngwlinkhumuxkarwinicchyaelasthitisahrbkhwamphidpktithangcit DSM 5 aetcdin ICD 10 aela DSM 4 runkxnkcdwaepnorkhwitkkngwlehmuxnkn epnphawathibukhkhlmikhwamyakhid khuxkhwamkhidhruxcintphaphthithaihkngwl khngyun aelaimtxngkar aela hruxphvtikrrmyatha rusukihtxngthaxairhruxthaphithikrrmthiechphaaecaacngsa thiimidekidcakyahruxorkhxun epnphawathithaihepnthukkhhruxmipyhathangsngkhm phithikrrmepnkdechphaatnthitxngthaephuxaekkhwamwitkkngwl OCD miphltxphuihypraman 1 2 odyhyingepnmakkwachay aelatxedkaelawyrunekuxb 3 khnikhcaruwaxakarepnxairthiimsmehtuphl aelaphyayamsukbthngkhwamkhidaelaphvtikrrm xakarsamarthsmphnthkbehtukarnphaynxkthitnklw echn ifihmbanephraalumpideta hruxkngwlwa cathaxairthiimsmkhwr imchdecnwathaimbangkhnthungmi OCD aetxacmipccythangphvtikrrm thangkarrukhid thangphnthukrrm aelathangprasathchiwwithya thiekiywkhxng pccyesiyngrwmthngprawtikhrxbkhrw khwamepnosd sungxacepnphlkhxngorkh karxyuinsthanathangsngkhmesrsthkicthisung hruximminganthiihkhatxbaethntha OCD epnorkheruxrng praman 20 khxngkhnikhcaexachnamnid aelaxik 50 camixakarxyangnxyldlngodyichewlaehtuya khwamwitkkngwlaelakhwamsumesraxacmiehtumacakkardumsura sunginkrniodymakcadikhunemuxngdepnrayaewlanan aemaetkardumsuraaebbphxsmkhwraettxenuxngkxacephimradbkhwamwitkkngwlinbangkhn kartidsartang rwmthngkaefxin exthanxl khuxaexlkxhxl aelaebnosidxaesphin xacepnehtuhruxthaxakarwitkkngwlaelakhwamtuntrahnkihaeylng khwamwitkkngwlekidkhunxyangsamyinchwngxdehlaaelasamarthkhngyunnanthung 2 pi epn post acute withdrawal syndrome odyekidkhunin 1 4 khxngkhnthielikehla inngansuksapi 2531 2533 orkhinphupwykhrunghnungthihahmxsukhphaphcitthikhlinikcitewchin rph praethsxngkvs sahrbpyhatang rwmthng orkhwitkkngwl echn orkhtuntrahnk hruxorkhklwkarekhasngkhm phbwaepnphlkhxngkartidehlahruxya benzodiazepine khnikhehlanicakngwlephimkhuninchwngxdsar aelwtamdwykarhyudkhwamwitkkngwl mihlkthanwakaridrbtwthalalayxinthriy organic solvent inthithanganxacsmphnthkborkhwitkkngwl karthasi karichnamnkhdenga aelakarpuphrm epnnganthixacidrbtwthalalayxinthriyxyangsakhy karichkaefxin xaccaepnehtuhruxthaihorkhwitkkngwlaeylng rwmthngorkhtuntrahnk khnthimiorkhwitkkngwlxaccaiwtxkaefxinmak in DSM 5 orkhwitkkngwlehtukaefxin Caffeine induced anxiety disorder epnpraephthyxykhxngorkhwitkkngwlehtucaksarhruxya aetkyngepnpraephthyxykhxngorkhwitkkngwl imichpraephthyxykhxngorkhthiekiywkbsarhruxsaresphtid aemwaxakarcamacaksarthiich karichkychaksmphnthkborkhwitkkngwldwy aetwa khwamsmphnthepnechniryngtxngsuksaihchdecn xakarthangaephthyxun bangkhrng orkhwitkkngwlxacepnphlkhangekhiyngkhxngorkhrabbtxmirthxthiepnehtuihrabbprasaththanganekin orkhechn enuxngxkaebbfioxokhromisotma hruxxakarihepxrithrxyd khwamekhriyd orkhwitkkngwlxacekidtxbsnxngtxkhwamekhriydinchiwit echn khwamkngwleruxngkarengin hruxkhwamecbpwyeruxrng khwamwitkkngwlsamyinwyrunaelaphuihywytnephraakhwamekhriydinptismphnththangsngkhm phaphphcninrahwangephuxnfung aelarupranghnata khwamwitkkngwlyngsamyinphusungxayuthimiphawasmxngesuxm aelaodynytrngknkham bangkhrnghmxkwinicchyxakarthangkaythikhlay kninphusungxayu echn hwicetnerw phidwaepnorkhwitkkngwl krrmphnthu GAD mkcaekidinkhrxbkhrw edkthimismachikkhrxbkhrwepnorkhmioxkasepnorkhmakkwathung 6 etha aemwakhwamkngwlcaepnkarprbtwxyanghnung inpccubnmkcainaenglbodyepnswnkhxngorkhwitkkngwl khnthimiorkhnimirabbthixxnihwmak dngnn rabbcungmkcatxbsnxngmakekiniptxsingerathiimxntray bangkhrng orkhcaekidinbukhkhlthimiehtukarnsaethuxnicinwyedk odyerimaesdngkhwamwitkkngwlthisungkhunemuxedkducamixnakhtthilabak inkrniechnni orkhekidkhunepntwphyakrnwa singaewdlxmkhxngbukhkhlcakhngkhwamepnxntraytxip khwamkhngxyukhxngkhwamwitkkngwl inradbthita khwamwitkkngwlimicheruxngimdi aelacring aelw kartxbsnxngthanghxromntxkhwamwitkkngwlmiwiwthnakarephuxxanwypraoychn khuxchwyihmnusytxbsnxngtxxntray nkwicyinsakhakaraephthyechingwiwthnakarechuxwa karprbtwechnnichwyihmnusyruwaxacmixntray aelwptibtiihehmaasmephuxihplxdphymakthisud mihlkthanwa khnthikngwlnxykwamioxkasesiychiwitsungkwakhnthikngwlinradbechliy ephraawa karirkhwamklwsamarthnaipsukhwambadecbhruxkhwamtay nxkcaknnaelw khnikhthimithngorkhwitkkngwlaelaorkhsumesrapraktkwa mixtrakartaythitakwakhnthimiephiyngorkhsumesraxyangediyw xakarorkhwitkkngwlthimihnathisakhyrwmthng khwamtuntwsung karetriymtwephuxptibtikarthidikwa aelaoxkasnxylngthicaimehnphy inpa bukhkhlthixxnaex echnkhnthibadecbhruxmikhrrph mikhiderimepliyntxkhwamwitkkngwlthitakwa thaihtuntwsungkwa sungaesdngthungprawtithangwiwthnakarxnyawnanekiywkbkartxbsnxngodykhwamwitkkngwl khwamimehmuxnsphaphthangwiwthnakar mithvsdiwa xtrakhwamwitkkngwlthisungepnphlcaksphaphthangsngkhmthitangcakyukhhineka yktwxyangechn inyukhhin mnusythukenuxtxngtwknmakkwa aelamardacaxumtharkmakkwa sungthngsxnglwnepnklyuththinkarldkhwamwitkkngwl nxkcaknnaelw pccubnmiptismphnthrahwangkhnaeplkhnamakkwa ethiybkbptismphnthkbyatisnithinxdit nkwicyesnxwa karkhadptismphnththangsngkhmthismaesmx odyechphaainchwngwyphthna epnehtuihmixtrakhwamwitkkngwlsung krnikhnikhcanwnmakinpccubnnacaekidephraakhwamimsxdkhlxngknkhxngsngkhmpccubnkbsphaphthangwiwthnakar Mismatch theory odymikhaodyechphaaeriykwa khwamimsxdkhlxngthithaihekidorkhcit psychopathogical mismatch tamthvsdiwiwthnakar khwamimsxdkhlxngcaekidkhunemuxbukhkhlmilksnasubsayphnthu trait thiepnkarprbtwihekhakbsingaewdlxm aetphidephiynipcaksthanathangsingaewdlxminpccubn yktwxyangechn aemwakartxbsnxngodykhwamwitkkngwlxaccaepnwiwthnakarephuxchwyinsthankarnthiepnphytxchiwit aetsahrbbukhkhlthixxnihwngayinsngkhmchntawntk karidyinkhawrayxacthaihekidptikiriyarunaerng mummxngthangwiwthnakarxacchwyesrimwithikarrksaihmsahrborkhwitkkngwl ephiyngaekhekhaicwa khwamwitkkngwlbangxyangmipraoychnxacchwybrrethakhwamtuntrahnkthismphnthkborkhchnidxxn nkwicybangthanechuxwa odythvsdiaelw casamarthbrrethakhwamwitkkngwlkhxngkhnikhidodyldkhwamrusukwaxxnaexaelwepliynkarpraeminehtukarnihmklikthangchiwphaph radbthildlngkhxngkrdaekmmaxamionbiwthirik kaba sungepnsarsuxprasaththimivththiybyngkarthangankhxngrabbprasathklang miswnrwmihekidkhwamwitkkngwl yaaekwitkkngwl anxiolytic bangxyangxxkvththiodykhwbkhumtwrbkaba GABA receptor SSRI epnyathipktiichrksaorkhsumesramakthisud aetbxykhrngkphicarnawaepnwithikarrksaxndbaerksahrborkhwitkkngwl xamikdala ekhtsmxngkhuxxamikdalaepnsunykarpramwlkhwamklwaelakhwamwitkkngwl aelangansuksapi 2552 aesdngwa mnxacthanganidimdiinorkhwitkkngwl khxmulprasathsmphsekhasuxamikdalaphanniwekhliys basolateral complex sungprakxbdwy lateral basal aela accessory basal nuclei odymihnathipramwlkhwamthrngcaekiywkbkhwamklwsmphnthkbprasathsmphs aelasuxkhwamxntraykhxngkhxmulipyngrabbthipramwlkhwamcaaelaprasathsmphsxun insmxng echn medial prefrontal cortex aelakhxrethksprasathsmphs sensory cortices tang ekhtsakhyxikekht kkhux central nucleus khxngxamikdalathixyukhang sungkhwbkhumkartxbsnxngodykhwamklwkhxngstwaetlaspichis phankarechuxmtxthangkansmxng ihopthalams aelasmxngnxy inkhnikh karthanganrwmknrahwangekhttang ehlaniducanxykwa aelayngphbenuxkhawmakkwain central nucleus xikdwy khwamaetktangxikxyangkkhuxekhtxamikdalacathanganrwmkbekht insular cortex aela cingulate cortex nxykwa sungepnekhtthikhwbkhumkhwamchdecn khwamednthwip general salience khxngsingera aelacathanganrwmkb parietal cortex aela prefrontal cortex makkwa sungepnekhtthikhwbkhum Executive functions karthanganaebbhlngaesdngwa epnklyuthththiichaethnkarpramwlkhwamwitkkngwlthiphidpktikhxngxamikdala nkwicykhxngnganidihkhxsngektwa karthangankhuknkhxngxamikdalakb parietal cortex aela prefrontal cortex inkhnikh GAD xac sathxnkarichrabbkhwbkhumkarrukhidxyangepnnisyephuxkhumkhwamkngwlthiekinip sungekhakbthvsdikarrukhidthiesnxihldradbxarmndwykhwamkhidsahrbkhnikhorkhni ngansuksathangkhlinikaelakbstwaesdngwa orkhwitkkngwlmishsmphnthkbkhwamlabakinkarthrngrangkay odyklikthixacthanganphidphladkkhuxekht parabrachial area sungepnokhrngsrangthangsmxngthihnathixyanghnungkkhuxprasankhxmulcakxamikdalakbkhxmulekiywkbkhwamsmdulkhxngrangkay karpramwlkhwamwitkkngwlinekht basolateral khxngxamikdalamihlkthanwa thaihednidrtkhxngniwrxninxamikdalaekidkaraebngsakha dendritic arborization swn SK2 potassium channel xanwykarybyngskyanganaelaldkaraebngsakha aelatha SK2 mikaraesdngxxkekinpkti radbkhwamwitkkngwlinstwthdlxngsamarthldidphrxmkbldradbkarhlnghxromn corticosterone thiekidcakkhwamekhriydodythwipkarpxngknmikhwamsnicephimkhuneruxy eruxngkarpxngknorkhwitkkngwl mihlkthanebuxngtnthisnbsnunkarichkarbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT aelakarbabdthixasysti odypi 2556 yngimmiwithikaridthiidphlinkarpxngkn GAD inphuihykarwinicchyorkhwitkkngwlmkepnphawathieruxrngrunaerng sungekidkhunidtngaetxayunxy hruxxacekidaebbchbphlnhlngmiehtukarnkratun mkcaaeylngemuxekhriyd aelabxykhrngekidphrxmkbxakarthangsrirphaphxun echn pwdsirsa ehnguxxxk klamenuxkratuk hwicetnerw icsn aelakhwamdnolhitsung sunginbangkrnithaihlahruxhmdaerng inphasaxngkvsthwip khawa anxiety aela fear mkichaethnknid aetinkaraephthy thngsxngmikhwamhmaytangkn khux khwamwitkkngwl anxiety epnsphawathangxarmnthiimnaphxic odyimsamarthrabusaehtuidhruxrusukwakhwbkhumaelahlikeliyngimid ethiybkb khwamklw fear sungepnkartxbsnxngthangsrirphaphaelathangxarmntxphyphaynxkthirabuid swnkhawa orkhwitkkngwl anxiety disorder rwmthngkhwamklw echnorkhklwtang aelakhwamwitkkngwlekhadwy aebbwdmatrthanthangkhlinik echn Taylor Manifest Anxiety Scale hrux Zung Self Rating Anxiety Scale samarthichtrwccbxakarwitkkngwl aelwaenawaaephthykhwrcapraeminwinicchyorkhephimkhunhruxim orkhwitkkngwlmkekidkbkhwamphidpktithangcitxun odyechphaaorkhsumesra sungxacekidkbkhnikhorkhwitkkngwlthung 60 xakarkhxngorkhwitkkngwlthikhabekiywkborkhsumesraphxsmkhwr aelasingaewdlxmechnediywknthisamarthcudchnwnxakarkhxngorkhthngsxng xacchwyxthibaykarekidrwmknkhxngorkhinradbsung ngansuksaaesdngwa khnthimiprawtiorkhwitkkngwlinkhrxbkhrw odyechphaabangchnid esiyngtxorkhsungkwa khwamphidpkthangephs Sexual dysfunction bxykhrngekidphrxmkborkhwitkkngwl aetwayakthicakahndwakhwamwitkkngwlepnehtu hruxwathngsxngekidcakehtuediywkn lksnapraktmakthisudkhxngbukhkhlthimiorkhwitkkngwlkkhuxkarhlikeliyngkarmiephssmphnth karhlngnaxsucierwip premature ejaculation aelaxwywaimaekhng erectile dysfunction inchay aelakhwamecbpwdemuxmiephssmphnthinhying khwamphidpktithangephssamyepnphiessinbrrdakhnikhorkhtuntrahnk khuxkhnthiklwwaxacekidxakartuntrahnkinchwngthimixarmnthangephs aelakhnikh PTSDkarrksathangeluxkinkarrksarwmthngkarepliynsitlchiwit citbabd aelaya yngimmihlkthanthiaesdngwacitbabdhruxyamiphldikwa dngnn khunxyukbkhnikhwatxngkarxair aelaodymakcaeluxkcitbabdkxn hmxxacesnxihichwithixun rwmkbsingthieluxk hruxwathathangeluxkaerkimsamarthldxakarid karepliynsitlchiwit karepliynsitlchiwitrwmthngkarxxkkalngkay sungmihlkthanphxsmkhwrwachwy nxnepnewla ldkarbriophkhkaefxin aelahyudsubbuhri karhyudbuhrimipraoychnethakbhruxmakkwaya citbabd karbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT miprasiththiphltxkarrksaorkhwitkkngwlaelaepnwithikarrksaxndbaerk CBT duehmuxncamiprasiththiphletha knaemthathangxinethxrent aemopraekrmkhxmphiwetxrephuxsukhphaphcitducamixnakhtdi aetkyngepnxairthiephinglxngich hnngsuxsxnihchwytwexngsamarthmiswninkarrksa opraekrmxasysti kpraktkwamiprasiththiphlinkarbriharorkhwitkkngwl imchdecnwakarnngsmathi krrmthan meditation miphltxkhwamwitkkngwlhruxim aela transcendental meditation kimpraktwaaetktangcakkrrmthanxun ya yathiichrksaepnebuxngtnrwmthng SSRI aela SNRI Serotonin norepinephrine reuptake inhibitor sahrborkhwitkkngwlipthw GAD immihlkthanthidiwayaklumihndikwaklumxun dngnn rakhamkcaepntwkahndyathieluxk swnya Buspirone quetiapine aela pregabalin ichrksaepnxndbsxngsahrbbukhkhlthiimtxbsnxngtx SSRI hrux SNRI mihlkthandwywayaklum benzodiazepines rwmthng diazepam aelakholnaesaephmkmiprasiththiphl aetwa mkcaimkhxyichephraamioxkastid txngrawngkarichyainkhnikhsungxayu ephraawa mioxkasmiphlkhangekhiyngsungkwaephraaorkhxun karthanyatamhmxsngepnpyhathimioxkasmakkwainkhnsungxayu ephraawa mipyhainkhwamekhaic karmxngehn aelakarcakhasngkhxnghmxid odythwip yaphicarnawaimchwyinorkhklwodyechphaa aetwa yaklum benzodiazepine bangkhrngkichaekkhrawekidorkhaebbchbphln odypi 2550 khxmulekiywkbprasiththiphlkhxngyathukxyangkyngnxyxyu aephthythangeluxk miwithithangeluxkhlayxyangthiidichbabdorkhwitkkngwl sungrwmthngsmuniphrkhawa Piper methylsticum thipraoychnducamakkwaoths thaichinrayasnsahrbkhnthiwitkkngwlaebbxxnhruxpanklang bnthitysthanaephthypracakhrxbkhrwxemrikn AAFP aenanaihichkhawasahrbkhnikhthimiorkhwitkkngwlaebbxxnhruxpanklang phuthiimiddumehlahruxichyathitxngphankrabwnkaremaethbxlisumintb aettxngkarrksaaebb thrrmchati phlkhangekhiyngkhxngkhawainkarthdlxngthangkhlinikminxyaelaepnaebbxxn swn Inositol sungmixyuinxaharmakmayodyechphaaphlimrwmthngaekhntalupaelasm miphlelknxytxkhnikhorkhtuntrahnkhrux OCD aetimmihlkthanephiyngphxephuxichsmuniphr St John s wort Hypericum perforatum Valerian Valeriana officinalis hruxphuchskulkathkrk Passiflora sukhnthbabdmihlkthanebuxngtnwamipraoychninkarldkhwamwitkkngwlinkhnikhorkhmaerngthathakbkarnwd aemwacaimchdecnwaepnephiyngaekhephimphlthiidcakkarnwdethannhruxim edk miwithikarrksahlayxyangthimihlkthanwamiprasiththiphlinkarbabdorkhwitkkngwlinedk citbabdmkcaeluxkmakkwakarihyakarbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT mihlkthaninkarrksaorkhinedkaelawyrun aelaepnwithikarrksaxndbaerkthidi yngmikarbabdxun thiimmirakthancak CBT xikthimihlkthanphxsmkhwrwamiprasiththiphl sungephimwithikarrksasahrbkhnikhthiimtxbsnxngtx CBT ehmuxnkbphuihy edkksamarthrksaidodycitbabd CBT hrux counseling karbabdkhrxbkhrw Family therapy epnwithikarrksaxikxyangthiedkphbkbphurksaphrxmkbphupkkhrxngaelaphinxng aemsmachikkhrxbkhrwaetlakhncasamarththakarbabdediyw id aetkarbabdkhrxbkhrwpktiepnrupaebbkarrksaepnklum karbabddwysilpa hruxdwykareln kichiddwy karbabddwysilpaichbxykhrngthisudemuxedkimphud imwacaepnephraaehtukarnsaethuxnichruxephraaphikar karrwmkickrrmngansilpchwyihedksamarthsuxsarkbkhnxun sungodywithixunxaccathaimid swninkarbabddwykareln kcaihedkelntamicchxbodyphurksacasngektduedk aelaxaccakhdcnghwaepnbangkhrngbangkhrawdwykhatham khaphud hruxkhaaenana nibxykhrngmiprasiththiphlthisudemuxkhrxbkhrwkhxngedkmibthbathsakhyinkarrksa inedkaelawyrun thacaepntxngichya yaaeksumesraechn SSRI SNRI aela tricyclic antidepressant xacmiprasiththiphlphyakrnorkhphyakrnorkhcatangknipkhunxyukbkhwamrunaerngaelawithikarrksakhxngaetlabukhkhl aetthaedkimrksa kcamioxkasesiyngeriynimdithiorngeriyn karhlikeliyngkickrrmsngkhmthisakhy aelakarichsaresphtid edkorkhwitkkngwlmkcamiorkhxun echn orkhsumesra orkhekiywkbkarrbprathan eating disorder orkhsnsmathisn thngaebbsn aelaaebbimisicwithyakarrabadthwolkodypi 2553 mikhnpraman 273 lan 4 5 thimiorkhwitkkngwl epnorkhthisamyinhying 5 2 makkwainchay 2 8 inyuorp aexfrika aelaexechiy xtrakarmiorkhwitkkngwltlxdchiwitxyurahwang 9 16 aelaxtratxpithi 4 7 aetinshrthxemrika khwamchukchwchiwit lifetime prevalence xyuthi 29 aelaphuihypraman 11 18 epnorkhthukpi khwamtangkhunxyukbmummxngxakarwitkkngwlthitangknkhxngwthnthrrmtang aelasingthisngkhmmxngwaepnphvtikrrmpkti odythwipaelw orkhwitkkngwlepnxakarthangcitewchthichukthisudinshrth ykewn karesphsaresphtid substance use disorder edkehmuxnkbphuihy edkksamarthmiorkhwitkkngwl edkthnghmdpraman 10 20 camiorkhwitkkngwlaebbetmtwkxncathungxayu 18 pi sungthaihorkhepnpyhasukhphaphcitthisamythisudinedk orkhwitkkngwlinedkbxykhrngrabuidyakethiybkbinphuihy ephraayakthiphupkkhrxngcacaaenkcakkhwamklwpktikhxngedk odynyediywkn orkhwitkkngwlinedkbangkhrngwinicchyphidwaepnorkhsnsmathisn hruxenuxngcakedkmkcatikhwamxarmnkhxngtnwaepnxakarthangkay echn pwdthxng pwdhw epntn orkhwitkkngwlebuxngtnxacsbsnkborkhthangkayid khwamwitkkngwlinedkmisaehtumakmay bangkhrngmimulthanthangchiwphaph hruxxacepnphlkhxngorkhxyangxun echn orkhxxthisum hruxklumxakaraexsepxrecxr edkthimiphrswrrkhbxykhrngesiyngtxkhwamwitkkngwlekinipmakkwaedkthrrmda krnixun khxngkhwamwitkkngwlmacakedkthimiprasbkarnsaethuxnicbangxyang aelabangkhrng ehtuxacimsamarthrabuid khwamwitkkngwlinedkmkepneruxngthismkbwy echn klwiporngeriyn odyimekiywkbthukephuxkhmehng hruximekngphxthiorngeriyn klwephuxnimyxmrb klwwaxaircaekidkhunkbkhnthirk epntn dngnn lksnathiaeykorkhwitkkngwlcakkhwamwitkkngwlkhxngedkthipktikkhuxrayaewlaaelakhwamrunaerngthiklw yktwxyangechn edkelk mkcakngwlemuxcakkhnthirk aetodythwipemuxthungxayu 6 khwbxakarkcahayexng ethiybkbedkorkhwitkkngwlthixaccaepntxipepnpi sungkhdkhwangphthnakarkhxngedk aelakhlay kn edkodymakcaklwkhwammudaelaklwsuyesiyphxaeminchwnghnunginwyedk aetkhwamklwnicahayipexngodyimrbkwnkickrrmchiwitpracawnmak aetinedkorkhwitkkngwl khwamklwkhwammudhruxsuyesiykhnthirkxaccaephimcnklayepneruxnghmkmun thiedkphyayamrbmuxodykhidthaxairxyanghmkmuncnepnpyhakbkhunphaphchiwit karerimmixakarsumesrarwmkborkhwitkkngwlxacepntwbngwaorkhkalngrunaerng thaihesiyhay aelathaihphikarmakkhunthnginwykxnorngeriynhruxinwyekhaorngeriyn edkkehmuxnphuihyephraasamarthmiorkhwitkkngwlidhlaypraephth rwmthng orkhwitkkngwlipthw GAD edkcakngwlkbhlay eruxngxyangkhngyun aelakhwamkngwlxacprbekhakbsthankarnihm thiekidkhun hruxxacmimulthanephiyngaekhcintnakaraetyngimidekidcring karplxboynmkcaimkhxyidphl orkhwitkkngwlemuxtxngaeyk SepAD khuxedkthixayumakkwa 6 7 khwbaetmipyhainkarcakphxaemipxaccamiorkhni edkmkcaklwwacaesiyphxaemipinchwngewlathicakkn aelaephraaehtuni mkcaimyxmiporngeriyn orkhklwkarekhasngkhm social anxiety disorder imkhwrsbsnkbkhwamkhixayhruxbukhlikaebbsnictxsingphayin introversion khwamkhixaybxykhrngpkti odyechphaainedkelk aetedkorkhwitkkngwlbxykhrngxyakcarwmkickrrmthangsngkhm imehmuxnkbphuthimibukhlikaebbsnicsingphayin aetimkla ephraaklwwaephuxncaimchxbekinehtu edkbxykhrngcabxktwexngwathaihkhnxunrusukimdi sungxaccakhdkbhlkthanthimi aelainrayayaw xaccathaihekidorkhklwsthankarnthangsngkhm aetwa orkhchnidnimkepnkbedkthiotkwahruxedkkxnwyrunmakkwaedkthixayunxykwa orkhklwsngkhminedkxacmiehtucakprasbkarnsaethuxnic echn imrukhatxbemuxkhruthaminchneriyn aemwacaimsamyinedk orkhyakhidyatha OCD ksamarthekidkhundwyechnkn odymixtrarahwang 2 4 aelakehmuxnphuihy edkmkcamikhwamkhidechingisysastrephuxbrrethakhwamwitkkngwl khuxtxngthaphithikrrmxairbangxyang bxykhrngekiywkbkarnb cdaecng hruxthakhwamsaxad epntn ephux pxngkn ehtukarnraythitnrusukwakalngcaekidkhun aetimehmuxnkbedkpkti phusamarthelikkickrrmechingisysastremuxbxkihelik aetedkthimi OCD caimsamarthhyudthakickrrmechnnnidimwacakhuxyangir aemorkhtuntrahnk panic disorder casamyinedkthixayumakkwa aetedkelk ksamarthepniddwy aelamkcamxngphidwaepnorkhthangkayxyangxun enuxngcakmixakarthangkaythichdecn echn hwicetnerw ehnguxxxk ewiynhw khlunis epntn aetxakarehlanimkcamaphrxmkbkhwamklwxyangrunaerng odyechphaakhwamklwtay aelaehmuxnkbphuihythiepnorkhtuntrahnk edkxacphyayamhlikeliyngsthankarnthitnrusukwa cudchnwnkhwamtuntrahnkechingxrrthaelaxangxingAspden Peter 2012 04 21 So what does The Scream mean Financial Times Diagnostic and Statistical Manual of Mental DisordersAmerican Psychiatric Associati 5th ed Arlington American Psychiatric Publishing 2013 pp 189 195 ISBN 978 0890425558 Anxiety Disorders NIMH March 2016 cakaehlngedimemux 27 July 2016 subkhnemux 14 August 2016 Craske MG Stein MB 2016 06 24 Anxiety Lancet London England PMID 27349358 Schacter Daniel L Gilbert Daniel T Wegner Daniel M 2011 Psychology Macmillan ISBN 978 1 4292 3719 2 Calleo Jessica Stanley Melinda 1 July 2008 Anxiety disorders in later life differentiated diagnosis and treatment strategies Psychiatric Times 25 8 24 Barker Phil 2003 Psychiatric and Mental Health Nursing The Craft of Caring Taylor amp Francis ISBN 978 0 340 81026 2 Passer Michael W Bremner Andy Smith Ronald E Holt Nigel Vliek Michael Sutherland Ed 2009 Psychology The Science of Mind and Behaviour McGraw Hill Higher Education p 790 ISBN 978 0 07 711836 5 All About Anxiety Disorders From Causes to Treatment and Prevention cakaehlngedimemux 17 February 2016 subkhnemux 2016 02 18 Gelder Michael G Mayou Richard Geddes John 2005 Psychiatry Oxford University Press p 75 ISBN 978 0 19 852863 0 Varcarolis Elizabeth M 2010 Manual of Psychiatric Nursing Care Planning Elsevier Health Sciences p 109 ISBN 978 1 4377 1783 9 Keeton CP Kolos AC Walkup JT 2009 Pediatric generalized anxiety disorder epidemiology diagnosis and management Paediatric Drugs 11 3 171 83 doi 10 2165 00148581 200911030 00003 PMID 19445546 S2CID 39870253 Panic Disorder Center for the Treatment and Study of Anxiety University of Pennsylvania cakaehlngedimemux 27 May 2015 Craske Michelle G 2003 Origins of Phobias and Anxiety Disorders doi 10 1016 B978 0 08 044032 3 X5000 X ISBN 978 0 08 044032 3 Fisher Jane E O Donohue William T b k 2006 Practitioner s Guide to Evidence Based Psychotherapy doi 10 1007 978 0 387 28370 8 ISBN 978 0 387 28369 2 The Oxford Handbook of Exercise Psychology Oxford University Press 2012 p 56 ISBN 9780199930746 Veterans Affairs Canada 2006 ISBN 0 662 42627 4 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 02 14 subkhnemux 2021 11 10 Psychological Disorders Psychologie Anglophone Fullerton Carol 1997 Posttraumatic Stress Disorder Washington D C American Psychiatric Press Inc pp 8 9 ISBN 0 88048 751 8 Siegler Robert S 2006 How Children Develop Exploring Child Develop Worth Pub ISBN 978 0 7167 6113 6 txngkarelkhhna Arehart Treichel Joan 7 July 2006 Adult Separation Anxiety Often Overlooked Diagnosis Psychiatric News 41 13 30 doi 10 1176 pn 41 13 0030 Shear Katherine Jin Robert Ruscio Ayelet Meron Walters Ellen E Kessler Ronald C June 2006 Prevalence and correlates of estimated DSM IV child and adult separation anxiety disorder in the National Comorbidity Survey Replication The American Journal of Psychiatry 163 6 1074 1083 doi 10 1176 ajp 2006 163 6 1074 PMC 1924723 PMID 16741209 Mohatt Justin Bennett Shannon M Walkup John T July 2014 Treatment of separation generalized and social anxiety disorders in youths The American Journal of Psychiatry 171 7 741 748 doi 10 1176 appi ajp 2014 13101337 PMID 24874020 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 06 10 subkhnemux 2017 02 06 National Collaborating Centre for Mental Health UK 2006 Obsessive Compulsive Disorder Core Interventions in the Treatment of Obsessive Compulsive Disorder and Body Dysmorphic Disorder NICE Clinical Guidelines 31 PMID 21834191 subkhnemux 2015 11 21 Soomro GM 2012 01 18 Obsessive compulsive disorder BMJ clinical evidence 2012 PMC 3285220 PMID 22305974 Institute for Quality and Efficiency in Health Care IQWiG Obsessive compulsive disorder overview PubMed Health Institute for Quality and Efficiency in Health Care IQWiG subkhnemux 2015 11 21 Evans Katie Sullivan Michael J 2001 03 01 Dual Diagnosis Counseling the Mentally Ill Substance Abuser 2nd ed Guilford Press pp 75 76 ISBN 978 1 57230 446 8 Lindsay S J E Powell Graham E b k 1998 07 28 The Handbook of Clinical Adult Psychology 2nd ed Routledge pp 152 153 ISBN 978 0 415 07215 1 Johnson Bankole A 2011 Addiction medicine science and practice New York Springer pp 301 303 ISBN 978 1 4419 0337 2 Cohen SI February 1995 Alcohol and benzodiazepines generate anxiety panic and phobias J R Soc Med 88 2 73 77 PMC 1295099 PMID 7769598 Morrow LA aelakhna 2000 Increased incidence of anxiety and depressive disorders in persons with organic solvent exposure Psychosomat Med 62 6 746 750 doi 10 1097 00006842 200011000 00002 PMID 11138992 Scott Trudy 2011 The Antianxiety Food Solution How the Foods You Eat Can Help You Calm Your Anxious Mind Improve Your Mood and End Cravings New Harbinger Publications p 59 ISBN 1 57224 926 9 subkhnemux 2012 10 07 Winston AP 2005 Neuropsychiatric effects of caffeine Advances in Psychiatric Treatment 11 6 432 439 doi 10 1192 apt 11 6 432 Hughes RN June 1996 New Zealand Journal of Psychology 25 1 36 42 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 02 09 subkhnemux 2017 02 06 Vilarim MM DM Rocha Araujo Nardi AE August 2011 Caffeine challenge test and panic disorder a systematic literature review Expert Rev Neurother 11 8 1185 95 doi 10 1586 ern 11 83 PMID 21797659 Vilarim Marina Machado Rocha Araujo Daniele Marano Nardi Antonio Egidio 2011 Caffeine challenge test and panic disorder A systematic literature review Expert Review of Neurotherapeutics 11 8 1185 95 doi 10 1586 ern 11 83 PMID 21797659 Bruce Malcolm Scott N Shine P Lader M 1992 Anxiogenic Effects of Caffeine in Patients with Anxiety Disorders Archives of General Psychiatry 49 11 867 9 doi 10 1001 archpsyc 1992 01820110031004 PMID 1444724 Nardi Antonio E Lopes Fabiana L Valenca Alexandre M Freire Rafael C Veras Andre B De Melo Neto Valfrido L Nascimento Isabella King Anna Lucia Mezzasalma Marco A Soares Filho Gastao L Zin Walter A 2007 Caffeine challenge test in panic disorder and depression with panic attacks Comprehensive Psychiatry 48 3 257 63 doi 10 1016 j comppsych 2006 12 001 PMID 17445520 American Psychiatric Association 2013 Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders DSM 5 American Psychiatric Publishing pp 226 230 ISBN 978 0 89042 555 8 Kedzior Karina Karolina Laeber Lisa Tabata 2014 05 10 A positive association between anxiety disorders and cannabis use or cannabis use disorders in the general population a meta analysis of 31 studies BMC Psychiatry 14 136 doi 10 1186 1471 244X 14 136 ISSN 1471 244X PMC 4032500 PMID 24884989 Crippa Jose Alexandre Zuardi Antonio Waldo Martin Santos Rocio Bhattacharyya Sagnik Atakan Zerrin McGuire Philip Fusar Poli Paolo 2009 10 01 Cannabis and anxiety a critical review of the evidence Human Psychopharmacology Clinical and Experimental phasaxngkvs 24 7 515 523 doi 10 1002 hup 1048 ISSN 1099 1077 PMID 19693792 Kantorovich V Eisenhofer G Pacak K 2008 Pheochromocytoma an endocrine stress mimicking disorder Ann N Y Acad Sci 1148 462 8 doi 10 1196 annals 1410 081 PMC 2693284 PMID 19120142 Guller U Turek J Eubanks S Delong ER Oertli D Feldman JM 2006 Detecting pheochromocytoma defining the most sensitive test Ann Surg 243 102 7 doi 10 1097 01 sla 0000193833 51108 24 PMC 1449983 PMID 16371743 hyperthyroidism medscape Patel G Fancher TL 2013 12 03 In the clinic Generalized anxiety disorder Annals of Internal Medicine 159 11 ITC6 1 ITC6 2 ITC6 3 ITC6 4 ITC6 5 ITC6 6 ITC6 7 ITC6 8 ITC6 9 ITC6 10 ITC6 11 quiz ITC6 12 doi 10 7326 0003 4819 159 11 201312030 01006 PMID 24297210 Grinde B 2005 An approach to the prevention of anxiety related disorders based on evolutionary medicine PDF Preventative Medicine 40 6 904 909 doi 10 1016 j ypmed 2004 08 001 PMID 15850894 Bateson M B Brilot D Nettle 2011 Anxiety An evolutionary approach PDF Canadian Journal of Psychiatry 56 12 707 715 Price John S September 2003 Evolutionary aspects of anxiety disorders Dialogues in Clinical Neuroscience 5 3 223 236 PMC 3181631 PMID 22033473 Lydiard RB 2003 The role of GABA in anxiety disorders J Clin Psychiatry 64 Suppl 3 21 27 PMID 12662130 Nemeroff CB 2003 The role of GABA in the pathophysiology and treatment of anxiety disorders Psychopharmacol Bull 37 4 133 146 PMID 15131523 Enna SJ 1984 Role of gamma aminobutyric acid in anxiety Psychopathology 17 Suppl 1 15 24 doi 10 1159 000284073 PMID 6143341 Dunlop BW Davis PG 2008 Combination treatment with benzodiazepines and SSRIs for comorbid anxiety and depression a review Prim Care Companion J Clin Psychiatry 10 3 222 228 doi 10 4088 PCC v10n0307 PMC 2446479 PMID 18615162 Etkin A Prater KE Schatzberg AF Menon V Greicius MD 2009 Disrupted amygdalar subregion functional connectivity and evidence of a compensatory network in generalized anxiety disorder Arch Gen Psychiatry 66 12 1361 1372 doi 10 1001 archgenpsychiatry 2009 104 PMID 19996041 Kalueff AV Ishikawa K Griffith AJ 10 January 2008 Anxiety and otovestibular disorders linking behavioral phenotypes in men and mice Behav Brain Res 186 1 1 11 doi 10 1016 j bbr 2007 07 032 PMID 17822783 Nagaratnam N Ip J Bou Haidar P May June 2005 The vestibular dysfunction and anxiety disorder interface a descriptive study with special reference to the elderly Arch Gerontol Geriatr 40 3 253 264 doi 10 1016 j archger 2004 09 006 PMID 15814159 Lepicard EM Venault P Perez Diaz F Joubert C Berthoz A Chapouthier G 20 December 2000 Balance control and posture differences in the anxious BALB cByJ mice compared to the non anxious C57BL 6J mice Behav Brain Res 117 1 2 185 195 doi 10 1016 S0166 4328 00 00304 1 PMID 11099772 Simon NM Pollack MH Tuby KS Stern TA June 1998 Dizziness and panic disorder a review of the association between vestibular dysfunction and anxiety Ann Clin Psychiatry 10 2 75 80 doi 10 3109 10401239809147746 PMID 9669539 Balaban CD Thayer JF January April 2001 Neurological bases for balance anxiety links J Anxiety Disord 15 1 2 53 79 doi 10 1016 S0887 6185 00 00042 6 PMID 11388358 Mitra R Ferguson D Sapolsky RM 10 February 2009 SK2 potassium channel overexpression in basolateral amygdala reduces anxiety stress induced corticosterone secretion and dendritic arborization Mol Psychiatry 14 9 847 855 827 doi 10 1038 mp 2009 9 PMC 2763614 PMID 19204724 Bienvenu OJ Ginsburg GS December 2007 Prevention of anxiety disorders Abingdon England 19 6 647 54 doi 10 1080 09540260701797837 PMID 18092242 S2CID 95140 Khoury B Lecomte T Fortin G aelakhna Aug 2013 Mindfulness based therapy a comprehensive meta analysis 33 6 763 71 doi 10 1016 j cpr 2013 05 005 PMID 23796855 Sharma M Rush SE Jul 2014 Mindfulness based stress reduction as a stress management intervention for healthy individuals a systematic review J Evid Based Complementary Altern Med 19 4 271 86 doi 10 1177 2156587214543143 PMID 25053754 Patel Gayatri Fancher Tonya L 3 December 2013 In the clinic Generalized anxiety disorder Annals of Internal Medicine 159 11 ITC6 1 ITC6 2 ITC6 3 ITC6 4 ITC6 5 ITC6 6 ITC6 7 ITC6 8 ITC6 9 ITC6 10 ITC6 11 quiz ITC6 12 doi 10 7326 0003 4819 159 11 201312030 01006 PMID 24297210 S2CID 42889106 Zung WW 1971 A rating instrument for anxiety disorders Psychosomatics 12 6 371 379 doi 10 1016 S0033 3182 71 71479 0 PMID 5172928 Cameron OG 2007 12 01 Understanding Comorbid Depression and Anxiety Psychiatric Times 24 14 McLaughlin K Behar E Borkovec T 2005 08 25 Family history of psychological problems in generalized anxiety disorder Journal of Clinical Psychology 64 7 905 918 doi 10 1002 jclp 20497 PMID 18509873 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 01 05 subkhnemux 2009 06 22 Coretti G Baldi I 2007 08 01 The Relationship Between Anxiety Disorders and Sexual Dysfunction Psychiatric Times 24 9 Stein MB Sareen J 2015 11 19 Clinical Practice Generalized Anxiety Disorder The New England journal of medicine 373 21 2059 68 PMID 26580998 Taylor G McNeill A Girling A Farley A Lindson Hawley N Aveyard P 2014 02 13 Change in mental health after smoking cessation systematic review and meta analysis BMJ 348 feb13 1 g1151 g1151 doi 10 1136 bmj g1151 PMC 3923980 PMID 24524926 Cuijpers P Sijbrandij M Koole S Huibers M Berking M Andersson G Mar 2014 Psychological treatment of generalized anxiety disorder A meta analysis Clinical Psychology Review 34 2 130 140 doi 10 1016 j cpr 2014 01 002 PMID 24487344 Otte C 2011 Cognitive behavioral therapy in anxiety disorders current state of the evidence Dialogues in Clinical Neuroscience 13 4 413 21 doi 10 31887 DCNS 2011 13 4 cotte PMC 3263389 PMID 22275847 Pompoli Alessandro Furukawa Toshi A Imai Hissei Tajika Aran Efthimiou Orestis Salanti Georgia 13 April 2016 Psychological therapies for panic disorder with or without agoraphobia in adults a network meta analysis The Cochrane Database of Systematic Reviews 2016 4 CD011004 doi 10 1002 14651858 CD011004 pub2 PMC 7104662 PMID 27071857 Olthuis Janine V Watt Margo C Bailey Kristen Hayden Jill A Stewart Sherry H 12 March 2016 Therapist supported Internet cognitive behavioural therapy for anxiety disorders in adults The Cochrane Database of Systematic Reviews 2016 3 CD011565 doi 10 1002 14651858 CD011565 pub2 PMC 7077612 PMID 26968204 Donker T Petrie K Proudfoot J Clarke J Birch MR Christensen H 2013 11 15 Smartphones for smarter delivery of mental health programs a systematic review Journal of medical Internet research 15 11 e247 doi 10 2196 jmir 2791 PMC 3841358 PMID 24240579 Mansell Warren 2007 06 01 Reading about self help books on cognitive behavioural therapy for anxiety disorders Pb rcpsych org subkhnemux 2012 02 20 Roemer L Williston SK Eustis EH Nov 2013 Mindfulness and acceptance based behavioral therapies for anxiety disorders Curr Psychiatry Rep 15 11 410 doi 10 1007 s11920 013 0410 3 PMID 24078067 S2CID 23278447 Lang AJ May 2013 What mindfulness brings to psychotherapy for anxiety and depression Depress Anxiety 30 5 409 12 doi 10 1002 da 22081 PMID 23423991 S2CID 25705284 Krisanaprakornkit Thawatchai Sriraj Wimonrat Piyavhatkul Nawanant Laopaiboon Malinee 25 January 2006 Meditation therapy for anxiety disorders Cochrane Database of Systematic Reviews 1 CD004998 doi 10 1002 14651858 CD004998 pub2 PMID 16437509 Choy Yujuan Fyer Abby J Lipsitz Josh D April 2007 Treatment of specific phobia in adults Clinical Psychology Review 27 3 266 286 doi 10 1016 j cpr 2006 10 002 PMID 17112646 Pittler MH Ernst E 2003 Pittler Max H b k Kava extract for treating anxiety Cochrane Database of Systematic Reviews 1 CD003383 doi 10 1002 14651858 CD003383 PMID 12535473 Witte S Loew D Gaus W March 2005 Meta analysis of the efficacy of the acetonic kava kava extract WS1490 in patients with non psychotic anxiety disorders Phytother Res 19 3 183 188 doi 10 1002 ptr 1609 PMID 15934028 Saeed SA Bloch RM Antonacci DJ August 2007 Herbal and dietary supplements for treatment of anxiety disorders Am Fam Physician 76 4 549 556 PMID 17853630 Saeed SA Bloch RM Antonacci DJ 15 August 2007 Herbal and dietary supplements for treatment of anxiety disorders American family physician 76 4 549 56 PMID 17853630 Fellowes D Barnes K Wilkinson S 1 January 2004 Aromatherapy and massage for symptom relief in patients with cancer The Cochrane Database of Systematic Reviews 2 CD002287 doi 10 1002 14651858 CD002287 pub2 ISSN 1469 493X PMID 15106172 Higa McMillan Charmaine K Francis Sarah E Rith Najarian Leslie Chorpita Bruce F 3 March 2016 Evidence Base Update 50 Years of Research on Treatment for Child and Adolescent Anxiety Journal of Clinical Child amp Adolescent Psychology 45 2 91 113 doi 10 1080 15374416 2015 1046177 PMID 26087438 Kozlowska Kasia Hanney Lesley June 1999 Family Assessment and Intervention Using an Interactive Art Exercise Australian and New Zealand Journal of Family Therapy 20 2 61 69 doi 10 1002 j 1467 8438 1999 tb00358 x Creswell Cathy Cruddace Susan Gerry Stephen Gitau Rachel McIntosh Emma Mollison Jill Murray Lynne Shafran Rosamund Stein Alan Violato Mara Voysey Merryn Willetts Lucy Williams Nicola Yu Ly Mee Cooper Peter J May 2015 Treatment of childhood anxiety disorder in the context of maternal anxiety disorder a randomised controlled trial and economic analysis Health Technology Assessment 19 38 1 184 vii viii doi 10 3310 hta19380 PMC 4781330 PMID 26004142 Bratton Sue Carlton Ray Dee 2002 Humanistic play therapy Humanistic psychotherapies Handbook of research and practice pp 369 402 doi 10 1037 10439 012 ISBN 978 1 55798 787 7 Social Phobia cak Swales Pamela J Cassidy Erin L Sheikh Javaid I Principles and Practice of Geriatric Psychology Principles and Practice of Geriatric Psychiatry 2nd ed Stanford University School of Medicine Department of Psychiatry and Behavioral Sciences 555 557 doi 10 1002 0470846410 ch101 subkhnemux 2012 02 13 Vos Theo Flaxman Abraham D Naghavi Mohsen Lozano Rafael Michaud Catherine aelakhna 15 December 2012 Years lived with disability YLDs for 1160 sequelae of 289 diseases and injuries 1990 2010 a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010 Lancet 380 9859 2163 2196 doi 10 1016 S0140 6736 12 61729 2 PMC 6350784 PMID 23245607 Evolving concepts of anxiety Anxiety Disorders 2010 pp 6 68 doi 10 1017 CBO9780511777578 004 ISBN 978 0 511 77757 8 Kessler RC Berglund P Demler O Jin R Merikangas KR Walters EE June 2005 Lifetime prevalence and age of onset distributions of DSM IV disorders in the National Comorbidity Survey Replication Arch Gen Psychiatry 62 6 593 602 doi 10 1001 archpsyc 62 6 593 PMID 15939837 Brockveld Keila C Perini Sarah J Rapee Ronald M 2014 Social Anxiety and Social Anxiety Disorder Across Cultures Social Anxiety pp 141 158 doi 10 1016 B978 0 12 394427 6 00006 6 ISBN 978 0 12 394427 6 Hofmann Stefan G Asnaani Anu December 2010 Cultural Aspects in Social Anxiety and Social Anxiety Disorder Depress Anxiety 27 12 1117 1127 doi 10 1002 da 20759 PMC 3075954 PMID 21132847 Fricchione Gregory 12 August 2004 Generalized Anxiety Disorder New England Journal of Medicine 351 7 675 682 doi 10 1056 NEJMcp022342 PMID 15306669 Essau Cecilia A 2006 Child and Adolescent Psychopathology Theoretical and Clinical Implications 27 church road Hove East Sussex Routledge p 79 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint location AnxietyBC AnxietyBC AnxietyBC khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 06 12 subkhnemux 2015 06 11 Merrill Anna Anxiety and Autism Spectrum Disorders Indiana Resource Center for Autism Indiana Resource Center for Autism subkhnemux 2015 06 10 Guignard Jacques Henri Jacquet Anne Yvonne Lubart Todd I Perfectionism and Anxiety A Paradox in Intellectual Giftedness PLOS PLOS subkhnemux 2015 06 10 Rapee Ronald M Schniering Carolyn A Hudson Jennifer L PDF Annual Review of Clinical Psychology khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2015 06 11 subkhnemux 2017 02 06 Shenfield Tali A Primer on Child and Adolescent Anxiety Advanced Psychology von Klitzing K White LO Otto Y Fuchs S Egger HL Klein AM 2014 Depressive comorbidity in preschool anxiety disorder J Child Psychol Psychiatr 55 1107 16 Separation Anxiety in Children WebMD WebMD subkhnemux 2015 06 11 AnxietyBC AnxietyBC khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 06 12 subkhnemux 2015 06 11 Biegel DE 1995 Maddox GE b k Caregiver burden The encyclopedia of aging 2nd ed New York Springer pp 138 141 Boileau B 2011 A review of obsessive compulsive disorder in children and adolescents Dialogues in clinical neuroscience 13 4 401 11 PMC 3263388 PMID 22275846 Harvard Medical School 2004a December Children s fears and anxieties Harvard Mental Health Letter 21 6 1 3 aehlngkhxmulxunkarcaaenkorkhDICD 10 F40 F42ICD 300MeSH D001008 787thrphyakrphaynxk med 152WHO fact sheet on anxiety disorders Support Group Providers for orkhwitkkngwl thiewbist Curlie