ลักษณะ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน หรือ ความสนใจภายนอก-ความสนใจภายใน (อังกฤษ: extraversion-introversion) เป็นมิติหลักอย่างหนึ่งของทฤษฎีบุคลิกภาพมนุษย์ ส่วนคำภาษาอังกฤษทั้งสองคำ คือ introversion และ extraversion เป็นคำที่จิตแพทย์ คาร์ล ยุง ได้สร้างความนิยม แม้ว่าการใช้คำทั้งโดยนิยมและทางจิตวิทยาจะต่างไปจากที่ยุงได้มุ่งหมาย ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมักปรากฏโดยเป็นการชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด กระตือรือร้น/มีชีวิตชีวา เทียบกับความสนใจต่อสิ่งภายในที่ปรากฏโดยเป็นคนสงวนท่าทีและชอบอยู่คนเดียวแบบจำลองบุคลิกภาพใหญ่ ๆ เกือบทั้งหมดมีแนวคิดเช่นนี้ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง, analytical psychology (ของยุง), three-factor model (ของ ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์), 16 personality factors (ของ ศ. ดร. Raymond Cattell), Minnesota Multiphasic Personality Inventory, และตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์
ระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน เป็นค่าที่ต่อเนื่องกันเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ถ้าค่าของอย่างหนึ่งสูง อีกอย่างหนึ่งก็จะต้องต่ำ แต่ว่า นพ. คาร์ล ยุง และผู้พัฒนาตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ มีมุมมองต่างจากนี้และเสนอว่า ทุกคนมีทั้งด้านที่สนใจต่อสิ่งภายนอกและด้านที่สนใจต่อสิ่งภายใน โดยมีด้านหนึ่งมีกำลังกว่า แต่แทนที่จะเพ่งความสนใจไปที่เพียงพฤติกรรมกับคนอื่น ยุงนิยามความสนใจในสิ่งภายในว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยทิศทางของชีวิต ที่กรองผ่านสิ่งที่อยู่ในใจที่เป็นอัตวิสัย" (คือ สนใจในเรื่องภายในจิตใจ) และความสนใจในภายนอกว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยการพุ่งความสนใจไปที่วัตถุภายนอก" (คือโลกภายนอก)
แบบต่าง ๆ
ความสนใจต่อสิ่งภายนอก
ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็น "การกระทำ สภาวะ หรือนิสัยที่โดยมากเกี่ยวกับการหาความยินดีพอใจจากสิ่งที่อยู่นอกตัวเอง" คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะชอบปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น กระตือรือร้น ชอบพูด กล้าพูด (assertive) และชอบสังคม เป็นคนที่มีชีวิตชีวาและมีความสุขเมื่ออยู่กับผู้อื่น เป็นผู้ที่ได้รับความเพลิดเพลินในกิจกรรมสังคมที่มีคนมาก เช่น งานปาร์ตี้ กิจกรรมชุมชน การประท้วง และในกลุ่มธุรกิจหรือการเมือง และมักจะทำงานได้ดีในกลุ่ม คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะชอบใช้เวลากับคนอื่น และได้ความพอใจน้อยกว่าเมื่อใช้เวลาคนเดียว มักจะมีชีวิตชีวาใกล้ ๆ คนอื่น และมักจะเบื่อถ้าอยู่กับตนเอง
ความสนใจต่อสิ่งภายใน
ความสนใจต่อสิ่งภายในเป็น "ภาวะหรือความโน้มเอียงที่จะเกี่ยวข้องและสนใจในชีวิตภายในใจของตนทั้งหมดหรือโดยมาก" เป็นผู้ที่คนอื่นเห็นว่าสงวนท่าทีและช่างใคร่ครวญมากกว่า นักจิตวิทยาที่ได้รับความนิยมบางคนกำหนดคนสนใจต่อสิ่งภายในว่าเป็นคนที่มีกำลังเพิ่มเมื่อใคร่ครวญและมีกำลังลดลงเมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นี่คล้ายกับมุมมองของยุง แม้ว่ายุงจะเพ่งความสนใจไปที่กำลังใจไม่ใช่ที่กำลังกาย แต่แนวคิดในปัจจุบันโดยมากไม่ได้แบ่งแยกในระดับนี้
คนสนใจต่อสิ่งภายในบ่อยครั้งมีความสุขในกิจกรรมที่ทำคนเดียวเช่นการอ่าน/เขียนหนังสือ การเล่นคอมพิวเตอร์ การเดินเล่น และการตกปลา นักศิลป์ นักเขียน นักประติมากรรม วิศวกร นักแต่งดนตรี และนักประดิษฐ์ ตัวอย่าง ๆ ล้วนแต่เป็นคนที่ใส่ใจต่อสิ่งภายในในระดับสูง เป็นคนที่ชอบใช้เวลาคนเดียวและได้ความยินดีพอใจน้อยกว่ากับเวลาที่ใช้กับกลุ่มคนใหญ่ ๆ แม้ว่ายังอาจชอบปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่ใกล้ชิด ความเชื่อใจมักจะเป็นเรื่องที่สำคัญ หลักชีวิตที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของผู้สนใจภายในก็คือการเลือกเพื่อนที่คู่ควร คนเช่นนี้มักชอบใจตั้งสมาธิทำอะไรทีละอย่าง และชอบสังเกตสถานการณ์ก่อนที่จะเข้าร่วม นี่เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในเด็กหรือวัยรุ่นที่กำลังเติบโต เป็นคนที่คิดก่อนพูด เป็นคนมักจะอึดอัดเวลามีสิ่งเร้าจากงานสังคมมากเกินไป มีแม้แต่คนที่ "นิยาม" ความสนใจต่อสิ่งภายในว่า ชอบสิ่งแวดล้อมที่เงียบ ๆ และมีสิ่งเร้าน้อย
แต่การเรียกคนสนใจสิ่งภายในว่าขี้อายเป็นความเข้าใจผิดที่สามัญ เพราะว่าพวกเขาชอบกิจกรรมคนเดียวมากกว่ากิจกรรมสังคม แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะกลัวการเข้าสังคมเหมือนกับคนขี้อาย นักเขียนผู้หนึ่งอ้างว่า วัฒนธรรมชาวตะวันตกในปัจจุบันเข้าใจความสามารถของคนที่สนใจต่อสิ่งภายในอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถใช้พรสวรรค์และกำลังของบุคลากรได้อย่างเต็มที่ ผู้เขียนซึ่งเรียกตนเองว่าเป็นคนใส่ใจภายใน ชี้ว่าสังคมมีอคติต่อคนสนใจต่อสิ่งภายใน เพราะว่าตั้งแต่เด็ก พวกเขาจะถูกสอนให้รู้ว่าคนที่ชอบสังคมจะเป็นคนที่มีความสุข และดังนั้น ความสนใจต่อสิ่งภายในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ "อยู่ระหว่างความน่าผิดหวังกับความเป็นโรค" แล้วกล่าวว่า ความสนใจต่อสิ่งภายในไม่ใช่เป็นลักษณะ "ที่เป็นรอง" โดยยกตัวอย่างคนสนใจภายในเช่น นักเขียน เจ. เค. โรว์ลิง นักฟิสิกส์ ไอแซก นิวตัน และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้นำ มหาตมา คานธี ผู้กำกับภาพยนตร์ สตีเวน สปีลเบิร์ก และประธานกรรรมการบริษัทกูเกิล แลร์รี เพจ หนังสือของเธอแสดงว่าทั้งคนสนใจต่อสิ่งภายในและคนสนใจต่อสิ่งภายนอกทั้งสองล้วนช่วยพัฒนาสังคม
ความสนใจต่อสิ่งทั้งสอง
แม้ว่าจะมีคนมองว่า คำถามว่าบุคคลเป็นคนสนใจต่อสิ่งภายนอกหรือเป็นคนสนใจต่อสิ่งภายใน จะมีเพียงคำตอบเดียวจากที่เป็นไปได้สองคำตอบ แต่ว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะบุคลิกภาพปัจจุบันโดยมากวัดระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในโดยเป็นมิติเดียวที่เชื่อมต่อกัน ความสนใจต่อสิ่งทั้งสอง (Ambiversion) อยู่แทบจะตรงกลางพอดี คนสนใจต่อสิ่งทั้งสองจะรู้สึกสบายพอประมาณในกลุ่มและกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่ก็ยังชอบใช้เวลาคนเดียวอีกด้วย
ความชุกสัมพัทธ์
หนังสือปี 2012 (Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking) รายงานว่า มีงานศึกษาที่แสดงว่า 33-50% ของคนอเมริกันเป็นคนสนใจต่อสิ่งภายใน โดยมีคนบางกลุ่มที่มีความชุกที่สูงกว่า โดยมีงานสำรวจปี 2016 ที่ใช้ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ (MBTI) ต่อคน 6,000 คนที่แสดงว่า ทนาย 60% และทนายทรัพย์สินทางปัญญา 90% เป็นคนสนใจต่อสิ่งภายใน
การวัด
การวัดระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในมักจะทำโดยการแจ้งเอง (self-report) แม้ว่าจะมีการวัดที่ให้บุคคลในกลุ่มเดียวกัน (peer-report) หรือคนอื่นเป็นผู้ประเมิน (third-party observation) ก็มี การวัดโดยแจ้งเองอาจจะเป็นแบบใช้คำ (lexical) หรือใช้บทความ (statements) ส่วนการตัดสินใจว่าจะใช้การวัดแบบไหนเพื่อใช้ในงานวิจัย จะกำหนดโดยค่าวัดทางจิตวิทยาอื่น ๆ (psychometric property) เวลา และพื้นที่ที่มีให้ใช้ในงานศึกษา
ในภาษาอังกฤษ การวัดโดยใช้คำ (lexical) จะใช้คำวิเศษณ์แต่ละคำที่สะท้อนถึงลักษณะต่าง ๆ ของบุคลิกภาพ เช่น ชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด สงวนท่าที และเงียบ คำที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสนใจต่อสิ่งภายในจะมีค่าวัดเป็นลบเพื่อรวมคะแนนของความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในโดยเป็นค่าเดียวกัน ในปี 1992 ศ.ดร.ลิวอิส โกลด์เบอร์ก ได้พัฒนาคำ 20 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพ โดยเป็นส่วนของคำ 100 คำที่ใช้วัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) ต่อมาในปี 1994 จึงมีการพัฒนาคำเพียง 8 คำที่ใช้วัด โดยเป็นส่วนของคำ 40 คำ แต่ว่า ต่อมาพบว่า คุณสมบัติทาง psychometric ของการวัดเช่นนี้ใช้ได้ไม่ดีกับคนนอกทวีปอเมริกาเหนือ ในปี 2008 จึงมีการปรับปรุงวิธีการวัดอย่างเป็นระบบ (ที่เรียกว่า International English Mini-Markers) โดยเปลี่ยนไปใช้คำภาษาอังกฤษสากล ซึ่งมีความสมเหตุสมผล (validity) และความสม่ำเสมอ (reliability) ที่ดีกว่าในประชากรทั้งภายในและภายนอกทวีปอเมริกาเหนือ คือ ความสม่ำเสมอของการวัดความสนใจต่อสิ่งภายนอกสำหรับผู้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดอยู่ที่ .92 และสำหรับผู้ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดอยู่ที่ .85
การวัดโดยใช้บทความ (statement) มักจะใช้คำมากกว่า ดังนั้นก็จะใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลมากกว่าการวัดโดยใช้คำ ตัวอย่างเช่น จะมีการถามผู้รับสอบว่า ตนสามารถ "คุยกับบุคคลต่าง ๆ หลายคนที่งานปาร์ตี้หรือไม่" หรือ "มักจะอึดอัดเมื่ออยู่ด้วยกันหลาย ๆ คนหรือไม่" แม้ว่าการวัดโดยวิธีนี้จะมีคุณลักษณะทางจิตวิทยาต่อประชากรอเมริกาเหนือเหมือนกับการวัดโดยคำ แต่การพัฒนาระบบวัดที่แฝงอยู่ใต้วัฒนธรรม ทำให้ใช้กับประชากรกลุ่มอื่นไม่ได้ดีเท่า ยกตัวอย่างเช่น บทความที่ถามถึงความเป็นคนช่างพูดในงานปาร์ตี้บางครั้งยากที่จะตอบให้ได้ความหมายสำหรับบุคคลที่ไม่ไปงานปาร์ตี้ ดังที่สมมุติว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคนอเมริกัน นอกจากนั้นแล้ว คำที่เป็นภาษาพูดเฉพาะคนอเมริกาเหนืออาจจะทำให้คำถามเช่นนั้นไม่เหมาะกับผู้อื่นนอกทวีป ยกตัวอย่างเช่น บทความเช่น "ไม่ขนขวายจะเป็นคนเด่น (Keep in the background)" และ "รู้วิธีให้คนอื่นสนใจสิ่งที่ตัวพูด (Know how to captivate people)" บางครั้งเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษแต่กำเนิดที่จะเข้าใจยกเว้นเอาตามคำแปลตรง ๆ ตัว
ทฤษฎีของ ศ. ไอเซงค์
ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวถึงความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ว่าเป็นระดับที่บุคคลชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย และชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยความแตกต่างทางพฤติกรรมเช่นนี้สมมุติว่าเป็นผลจากความต่างกันทางสรีรภาพของสมอง คนสนใจต่อสิ่งภายนอกสืบหาความตื่นเต้นและกิจกรรมทางสังคมเพื่อจะเพิ่มระดับความตื่นตัว ในขณะที่คนสนใจต่อสิ่งภายในมักจะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมเพื่อที่จะลดความตื่นตัวให้ต่ำที่สุด ดร. ไอเซงค์กำหนดความสนใจต่อสิ่งภายนอกว่าเป็นลักษณะหนึ่งในสามลักษณะใหญ่ของทฤษฎี P-E-N model of personality ของเขา ซึ่งรวมลักษณะอื่น ๆ คือ psychoticism และ neuroticism
ในเบื้องต้น ดร. ไอเซงค์เสนอว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นสภาวะรวมของความโน้มเอียงใหญ่สองอย่างคือ ความหุนหันพลันแล่น (impulsiveness) และความเข้าสังคมได้ (sociability) ต่อจากนั้นเขาได้เพิ่มลักษณะเฉพาะอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งความกระตือรือร้น (liveliness) ระดับความมีชีวิตชีวา (activity level) และความตื่นเต้นได้ง่าย (excitability) ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ในลำดับชั้นบุคลิกภาพของเขาและเชื่อมกับนิสัยที่เฉพาะเจาะจงบางอย่าง เช่น การชอบปาร์ตี้ในวันสุดสัปดาห์
ปัจจัยทางชีวภาพ
ความสำคัญสัมพัทธ์ระหว่างชีวภาพเทียบกับสิ่งแวดล้อม (nature versus environment) ที่เป็นตัวกำหนดความสนใจต่อสิ่งภายนอกยังเป็นเรื่องถกเถียงกันไม่ยุติ และเป็นจุดสนใจของงานศึกษาเป็นจำนวนมาก งานศึกษาในคู่แฝดพบว่า มีส่วนจากกรรมพันธุ์ระหว่าง 39%-58% และสิ่งแวดล้อมที่แชร์ในครอบครัวดูเหมือนจะสำคัญน้อยกว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่พี่น้องไม่ได้แชร์ร่วมกัน
ดร. ไอเซงค์เสนอว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีเหตุมาจากความแตกต่างกันของความตื่นตัวในเปลือกสมอง (cortical arousal) โดยตั้งสมมติฐานว่า คนสนใจต่อสิ่งภายในมีระดับความตื่นตัวในสมองที่สูงกว่าคนสนใจต่อสิ่งภายนอก เพราะว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกต้องการสิ่งเร้าภายนอกมากกว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน ดังนั้น จึงตีความว่านี่เป็นหลักฐานของสมมติฐานนี้ หลักฐานอื่นรวมทั้ง คนชอบใจต่อสิ่งภายในมีน้ำลายไหลออกมากกว่าโดยเป็นปฏิกิริยาต่อน้ำเลมอน (ปกติมีรสออกเปรี้ยว ๆ) ซึ่งมาจากระดับการทำงานที่สูงกว่าในส่วนสมองคือ reticular activating system ซึ่งตอบสนองต่อสิ่งเร้าเช่นอาหารและการอยู่กับบุคคลอื่น ๆ
มีหลักฐานว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกสัมพันธ์กับความไวที่สูงกว่าของสมองส่วน mesolimbic dopamine system ที่ทำให้เกิดความสุขเมื่อได้สิ่งเร้าที่สมควร (rewarding stimuli) ซึ่งอธิบายได้ส่วนหนึ่งว่าทำไมผู้สนใจต่อสิ่งภายนอกจึงมีอารมณ์เชิงบวกในระดับสูง เพาะว่า ตนไวต่อความตื่นเต้นที่ได้จากสิ่งเร้าที่อาจให้เกิดความสุขมากกว่า ผลอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่สนใจต่อสิ่งภายนอกสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่มีการเสริมแรงเชิงบวก (positive reinforcement) คือให้เกิดความพอใจได้ดีกว่า เพราะว่าได้รับรางวัลคือความสุขมากกว่า
งานศึกษาหนึ่งพบว่า ผู้สนใจต่อสิ่งภายในมีการไหลเวียนของเลือดในสมองกลีบหน้าและสมองส่วนทาลามัสด้านหน้า (frontal หรือ anterior) มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการคิด เช่น การวางแผนหรือการแก้ปัญหา ส่วนผู้สนใจต่อสิ่งภายนอกมีการไหลเวียนของเลือดใน Anterior cingulate cortex สมองกลีบขมับ และทาลามัสด้านหลัง (posterior) มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับประสบการณ์ทางความรู้สึก (sensory) หรือทางอารมณ์ (emotional) งานศึกษานี้และงานวิจัยอื่นชี้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในสัมพันธ์กับการทำงานที่แตกต่างกันในสมองในระหว่างบุคคล
ส่วนงานศึกษาในเรื่องปริมาตรของเขตสมองพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายในมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรเนื้อเทา (grey matter) ที่เพิ่มขึ้นใน prefrontal cortex ด้านขวาและจุดต่อของสมองกลีบขมับกับกลีบข้าง (temporoparietal junction) และมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรเนื้อเทาที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดโดยรวม ๆ ส่วนงานศึกษาอื่นพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์กับปริมาตรที่สูงกว่าของ prefrontal cortex ด้านซ้าย และโดยทั่วไปแล้ว สมองส่วนนี้สัมพันธ์กับการเข้ารหัสความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) ใหม่ ๆ และพฤติกรรมแบบเข้าไปตรวจสอบ (approach) ในขณะที่ prefrontal cortex ด้านขวาสัมพันธ์กับการระลึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ และพฤติกรรมแบบหลีกหนี (withdrawal)
นอกจากนั้นแล้ว ความสนใจต่อสิ่งภายนอกยังสัมพันธ์กับปัจจัยทางสรีรภาพอื่น ๆ เช่น การหายใจ ผ่านการสัมพันธ์กับ surgency ซึ่งเป็นความไวปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่บุคคลโน้มเอียงไปในอารมณ์เชิงบวกในระดับสูง
พฤติกรรม
คนสนใจต่อสิ่งภายนอกและคนสนใจต่อสิ่งภายในมีพฤติกรรมหลายอย่างที่แตกต่างกัน ตามงานศึกษาหนึ่ง คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะใส่เสื้อผ้าที่สวยงามกว่า เทียบกับคนสนใจต่อสิ่งภายในที่มักจะใส่เสื้อผ้าที่พอใช้ได้และใส่แล้วสบาย คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีโอกาสสูงกว่าที่จะชอบดนตรีที่ตื่นเต้น เร้าใจ และธรรมดา มากกว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน
บุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อการจัดที่ทำงาน โดยทั่วไปแล้ว คนสนใจต่อสิ่งภายนอกประดับที่ทำงานของตนมากกว่า เปิดประตูทิ้งไว้ มีเก้าอี้สำรองให้นั่ง และมีโอกาสสูงกว่าที่จะมีขนมให้คนอื่นทานบนโต๊ะ ซึ่งเป็นความพยายามชักชวนเพื่อนร่วมงานสนับสนุนให้มีปฏิสัมพันธ์ เปรียบเทียบกับคนสนใจต่อสิ่งภายใน ผู้ประดับที่ทำงานน้อยกว่าและมักจะจัดระเบียบให้คนไม่มาหา
แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันเช่นนี้ งานวิเคราะห์อภิมานในงานศึกษา 15 งานแสดงว่า มีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมากระหว่างพฤติกรรมของคนทั้งสองชนิด ในงานศึกษาเหล่านี้ ผู้ร่วมการทดลองใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เพื่อรายงานว่าตนมีพฤติกรรมแบบสนใจต่อสิ่งภายนอก (เช่น กล้า พูดเก่ง มั่นใจ ชอบสังคม) มากแค่ไหนในช่วงเวลาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน งานพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกกลับมีพฤติกรรมแบบสนใจต่อสิ่งภายในเป็นประจำ และคนสนใจต่อสิ่งภายในก็นัยเดียวกัน และจริง ๆ แล้ว พฤติกรรมสนใจต่อสิ่งภายนอกแตกต่างกันในบุคคลคนเดียวกันมากกว่าแตกต่างกันในระหว่างบุคคล จุดแตกต่างที่สำคัญที่สุดก็คือ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีพฤติกรรมแบบสนใจภายนอกในระดับปานกลาง 5-10% บ่อยครั้งกว่าคนสนใจภายใน ดังนั้น จากมุมมองนี้ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกและคนสนใจต่อสิ่งภายในไม่ใช่จะ "ต่างกันโดยพื้นฐาน" แต่ว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมแบบสนใจภายนอกบ่อยครั้งกว่า ซึ่งแสดงว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำ มากกว่าการมี
มนุษย์เป็นสัตว์ที่ซับซ้อนและไม่เหมือนใคร และเพราะว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในต่าง ๆ กันไปอย่างต่อเนื่อง บุคคลคนหนึ่งอาจจะมีลักษณะทั้งสองอย่าง คนที่มีพฤติกรรมแบบสนใจภายในในสถานการณ์หนึ่ง อาจจะมีพฤติกรรมแบบสนใจภายนอกในอีกสถานการณ์หนึ่ง และบุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะมีพฤติกรรมตรงข้ามกับที่ตนปกติมีในสถานการณ์บางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎี Free Trait Theory เสนอว่า บุคคลสามารถรับเอาลักษณะอิสระ (Free Traits) โดยประพฤติตัวแบบไม่ใช่ธรรมชาติของตน เพื่อช่วยให้งานที่สำคัญต่อตนก้าวหน้าต่อไปได้ แนวคิดต่าง ๆ เหล่านี้ อธิบายความสนใจต่อสิ่งภายนอกในแง่ดี คือ แทนที่จะเป็นเรื่องตายตัวหรือเสถียร บุคคลอาจจะมีพฤติกรรมสนใจภายนอกต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับขณะ และสามารถเลือกประพฤติตัวเพื่อทำงานที่สำคัญต่อตนให้ก้าวหน้า หรือแม้แต่เพิ่มความสุขของตน
ผล
การยอมรับว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและความสนใจต่อสิ่งภายในเป็นพฤติกรรมปกติ จะช่วยให้ยอมรับตัวเองและเข้าใจผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น คนสนใจต่อสิ่งภายนอกสามารถยอมรับความต้องการอยู่คนเดียวของคู่ครองของตน ในขณะที่คนสนใจต่อสิ่งภายในสามารถยอมรับความต้องการปฏิสัมพันธ์ของคู่ครอง
นักวิจัยได้พบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์กับความสุขที่ตนแจ้งเอง ซึ่งก็คือ มีคนสนใจต่อสิ่งภายนอกมากกว่าที่รายงานระดับความสุขที่สูงกว่าคนสนใจภายใน และมีงานวิจัยอื่นที่แสดงว่า การให้ผู้ร่วมการทดลองประพฤติแบบสนใจภายนอกช่วยเพิ่มอารมณ์ที่เป็นสุข แม้สำหรับบุคคลที่มีลักษณะเป็นคนสนใจภายใน แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าคนสนใจภายในจะไม่มีความสุข คนสนใจภายนอกเพียงแต่รายงานว่ามีอารมณ์เชิงบวกมากกว่า เทียบกับคนสนใจภายในที่มักจะอยู่ใกล้ ๆ ความรู้สึกเฉย ๆ มากกว่า นี่อาจจะเป็นเพราะว่า ความสนใจภายนอกเป็นคุณลักษณะที่นิยมกว่าในสังคมชาวตะวันตกปัจจุบัน และดังนั้น คนสนใจภายในจึงอาจรู้สึกว่าตนมีค่าน้อยกว่า
นอกจากงานวิจัยเกี่ยวกับความสุข งานอื่น ๆ พบว่า คนสนใจภายนอกมักจะรายงานความนับถือตน (self-esteem) สูงกว่า แต่ก็มีนักวิชาการอื่น ๆ ที่อ้างว่า ผลที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงอคติทางสังคม-วัฒนธรรมที่มีในงานสำรวจ
นักวิชาการท่านหนึ่ง (ดร. David Meyers) อ้างว่า การมีความสุขเป็นเพียงการมีลักษณะ 3 อย่าง คือ ความนับถือตน (self-esteem) การมองโลกในแง่ดี (optimism) และการสนใจต่อสิ่งภายนอก และสรุปอย่างนี้โดยอาศัยงานศึกษาที่รายงานว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีความสุขกว่า แต่ว่า งานศึกษาก็มีข้อน่าสงสัยเพราะคำถามที่ให้กับผู้ร่วมการทดลอง เช่น "ฉันชอบอยู่กันคนอื่น (I like to be with others)" "อยู่กันฉันสนุก (I'm fun to be with)" เป็นตัววัดความสุขโดยเฉพาะของคนที่สนใจภายนอก และตาม นพ.ยุง คนสนใจภายในยอมรับปัญหาและความต้องการทางจิตใจของตนได้ง่ายกว่า เทียบกับคนสนใจภายนอก ที่มักจะไม่ตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้นเพราะมัวสนใจแต่โลกภายนอก และแม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกจะมองว่าเป็นเรื่องที่น่าชอบใจทางสังคมของวัฒนธรรมตะวันตก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น เยาวชนที่มีลักษณะสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีพฤติกรรมผิดกฎหมาย และในนัยตรงข้าม แม้ว่า ความสนใจภายในมองว่าน่าชอบใจทางสังคมน้อยกว่า แต่ก็สัมพันธ์กับลักษณะบวกอื่น ๆ เช่น ความฉลาด และพรสวรรค์ เป็นช่วงเวลานานที่นักวิจัยพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายในมักจะประสบความสำเร็จมากกว่าในอาชีพวิชาการ ที่คนสนใจภายนอกอาจจะเห็นว่าน่าเบื่อ ผู้ให้คำแนะนำด้านอาชีพบ่อยครั้งจะใช้ลักษณะบุคลิกภาพ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่นทักษะและความสนใจ เพื่อให้คำแนะนำ
งานวิจัยแสดงว่า ระบบภูมิคุ้มกันทางพฤติกรรม (behavioral immune system) (ซึ่งเป็นกลไกทางใจที่ช่วยให้สัตว์สามารถตรวจจับสิ่งที่ก่อโรคภายในสิ่งแวดล้อมรอบตัว และทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงวัตถุหรือบุคคลเหล่านั้น) อาจมีอิทธิพลต่อการชอบสังคม แม้ว่า ความสนใจภายนอกจะสัมพันธ์กับผลดีหลายอย่าง เช่น ระดับความสุขที่สูงกว่า คนสนใจภายนอกมีโอกาสสูงกว่าที่จะติดโรคติดต่อเพราะว่ามักจะเจอคนมากกว่า ถ้าบุคคลมีสุขภาพอ่อนแอ การเป็นคนช่างสังคมอาจจะมีราคาสูง ดังนั้น คนมักจะประพฤติแบบสนใจภายนอกน้อยกว่าเมื่อรู้สึกอ่อนแอ และนัยตรงกันข้ามก็เหมือนกัน
แม้ว่าทั้ง ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและความสนใจต่อสิ่งภายในจะไม่จัดว่าเป็นโรค แต่ว่าผู้บำบัดโรคจิตสามารถพิจารณาพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) เมื่อรักษาคนไข้ เพราะว่า คนไข้อาจจะตอบสนองต่อการรักษาแบบอื่นได้ดีกว่าขึ้นอยู่กับว่าตนอยู่ในจุดไหนของความสนใจภายใน-ความสนใจภายนอก ครูก็สามารถพิจารณาพื้นอารมณ์แต่กำเนิดของนักเรียนได้ด้วย เช่น ยอมรับว่า เด็กที่สนใจภายในจำเป็นต้องได้คำให้กำลังใจมากกว่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าเพื่อน และเด็กที่สนใจภายนอกอาจจะอยู่ไม่เป็นสุขในช่วงที่ต้องอยู่ศึกษาแบบเงียบ ๆ[]
ความแตกต่างในภูมิภาคต่าง ๆ
นักวิชาการบางท่านอ้างว่า คนอเมริกันอยู่ในสังคมแบบสนใจต่อสิ่งภายนอก ที่ให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมสนใจภายนอกและไม่ยอมรับความสนใจภายใน นี่เป็นเพราะว่าในปัจจุบันสหรัฐอเมริกาเป็นวัฒนธรรมที่เน้นบุคลิกภาพภายนอก เทียบกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่คนอาจจะมีคุณค่าเพราะสิ่งที่อยู่ภายในหรือคุณธรรม
วัฒนธรรมอื่น ๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และเขตอื่น ๆ ที่นับถือศาสนาคริสต์อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาพุทธ และลัทธิศูฟี เป็นต้น ให้ความสำคัญกับความสนใจต่อสิ่งภายใน ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนี้สามารถพยากรณ์ความสุขของคนในวัฒนธรรมนั้น ๆ เช่น ผู้ที่มีระดับความสนใจภายนอกสูงจะมีความสุขกว่าโดยเฉลี่ย ในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญต่อความสนใจภายนอก และในทางตรงกันข้ามก็เหมือนกัน
นักวิจัยพบว่า บุคคลที่อยู่บนเกาะมักจะเป็นคนสนใจภายในมากกว่าคนที่อยู่บนผืนแผ่นดิน และบุคคลที่มีบรรพบุรุษอยู่บนเกาะอย่างน้อย 20 ชั่วคนมักจะเป็นคนสนใจภายในมากกว่าคนที่เพิ่งมา นอกจากนั้นแล้ว คนที่อพยพจากเกาะไปยังผืนแผ่นดินมักจะสนใจภายนอกมากกว่าคนที่ยังคงอยู่บนเกาะ และมากกว่าคนที่อพยพไปยังเกาะ
ความสุข
ดังที่กล่าวมาแล้ว คนสนใจภายนอกบ่อยครั้งมีความสุขและอารมณ์เชิงบวกมากกว่าคนสนใจภายในบทความทบทวนวรรณกรรมทรงอิทธิพลงานหนึ่งสรุปว่า บุคลิกภาพ โดยเฉพาะความสนใจภายนอกและความเสถียรทางอารมณ์ เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดเกี่ยวกับความรู้สึกอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being) ยกตัวอย่าง เช่นงานศึกษาปี 1990 พบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกดังที่วัดโดย Extraversion Scale ของชุดคำถาม Eysenck Personality Questionnaire (EPQ) มีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับความสุขที่วัดโดย Oxford Happiness Inventory และโดยใช้วิธีวัดเดียวกัน งานปี 2001 ก็พบเช่นเดียวกัน
ส่วนงานปี 1986 แสดงว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอารมณ์เชิงบวก (positive affect) แต่ไม่มีกับอารมณ์เชิงลบงานศึกษาตามยาวขนาดใหญ่ปี 1992 ก็พบผลเช่นเดียวกัน โดยประเมินผลจากผู้ร่วมการทดลอง 14,407 คนจากเขต 100 เขตในประเทศสหรัฐอเมริกา และใช้แบบวัดความสุข General Well-Being Schedule แบบย่อ ซึ่งวัดทั้งอารมณ์เชิงบวกและเชิงลบ และใช้ Revised NEO Personality Inventory แบบสั้น (ของ Costa & McCrae) เพื่อวัดบุคลิกภาพ ผู้เขียนรายงานว่า ผู้สนใจภายนอกประสบความอยู่เป็นสุข (well-being) ที่ดีกว่าในช่วงระยะเวลาสองระยะที่เก็บข้อมูล คือ ระหว่างปี 1971-1975 และ ระหว่าง 1981-1984
นอกจากนั้นแล้ว งานปี 1991 แสดงว่า คนสนใจภายนอกตอบสนองต่ออารมณ์เชิงบวกมากกว่าอารมณ์เชิงลบ เพราะว่า พวกเขาแสดงการตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงบวกในระดับที่สูงกว่าเมื่อชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงบวก แต่ว่ากลับไม่ตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงลบในระดับที่สูงกว่าเมื่อชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงลบ
Instrumental view
มุมมองแบบ instrumental view เสนอว่า ลักษณะบุคลิกภาพ (personality traits) เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะต่าง ๆ และการกระทำ ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และดังนั้นจึงสร้างความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องอารมณ์
ลักษณะบุคลิกภาพเป็นเหตุให้ชอบเข้าสังคม
ตาม instrumental view คำอธิบายอย่างหนึ่งที่ผู้สนใจสิ่งภายนอกแจ้งความอยู่เป็นสุขที่ดีกว่า อาจจะเป็นเพราะว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกช่วยสร้างสถานการณ์ชีวิตที่โปรโหมตอารมณ์เชิงบวก (positive affect) ในระดับสูง โดยเฉพาะก็คือ ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นเครื่องอำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น เพราะว่า ความตื่นตัวในระดับต่ำในเปลือกสมองของบุคคลเหล่านี้ทำให้ต้องหาสถานการณ์ทางสังคมเพื่อจะเพิ่มความตื่นตัว
สมมติฐานกิจกรรมทางสังคม
ตามสมมติฐานกิจกรรมทางสังคม (social activity hypothesis) การมีส่วนรวมในกิจกรรมสังคมสร้างอารมณ์เชิงบวก (positive affect) บ่อยครั้งขึ้น และในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงเชื่อกันว่าเพราะว่าคนสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นคนชอบเข้าสังคมมากกว่า จึงมีอารมณ์เชิงบวกในระดับที่สูงกว่าเพราะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยเฉพาะก็คือ งานศึกษาปี 1990 แสดงว่า คนสนใจภายนอกชอบใจและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากกว่า และดังนั้น จึงรายงานระดับความสุขที่สูงกว่า และในงานปี 1990 คนสนใจภายนอกมีโอกาสน้อยกว่าที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมที่อึกทึก และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสังคมเช่น เกมในปาร์ตี้ เล่นตลก หรือว่าไปดูภาพยนตร์ งานปี 1984 ก็พบผลเช่นเดียวกัน คือพบว่า คนสนใจสิ่งภายนอกเสาะหากิจกรรมทางสังคมบ่อยครั้งกว่า โดยเฉพาะกิจกรรมเวลาว่าง
แต่ว่า มีผลงานศึกษาหลายงานที่ค้านสมมติฐานกิจกรรมสังคม เรื่องแรกสุด คือ มีการพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีความสุขกว่าแม้เมื่ออยู่คนเดียว โดยเฉพาะก็คือ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีความสุขว่าไม่ว่าจะอยู่คนเดียวหรืออยู่กับคนอื่น หรือเมื่ออยู่ในเมืองที่มีชีวิตชีวาหรืออยู่ในชนบท และโดยคล้าย ๆ กัน งานในปี 1992 แสดงว่า แม้ว่าคนสนใจภายนอกจะเลือกงานที่ต้องทำร่วมกับคนอื่นบ่อยครั้งกว่า (51%) เทียบกับคนสนใจภายใน (38%) แต่ก็ยังมีความสุขกว่าไม่ว่างานนั้นต้องทำร่วมกับคนอื่นหรือไม่ เรื่องที่สองก็คือ มีการพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกรายงานกิจกรรมทางสังคมมากกว่าเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่ได้มีจำนวนการเข้าสังคมมากว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน ผลคล้าย ๆ กันก็พบในงานศึกษาปี 2008 ที่พบว่า ทั้งคนสนใจภายนอกและสนใจภายในทั้งสองล้วนชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่คนสนใจภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมสังคมมากกว่า เรื่องที่สามก็คือ งานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่าทั้งคนสนใจภายนอกและคนสนใจภายในเข้าร่วมกิจกรรมสังคม แต่ว่า คุณภาพของการเข้าร่วมกิจกรรมต่างกัน แม้ว่าการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมที่บ่อยครั้งกว่าอาจเป็นเพราะคนสนใจภายนอกรู้จักคนมากกว่า แต่คนเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เพื่อนที่ใกล้ชิด เทียบกับคนสนใจภายใน ที่เมื่อเข้าร่วมงานสังคม จะเลือกสรรมากกว่าและมีเพื่อนใกล้ชิดไม่กี่คนที่ตนใกล้ชิดเป็นพิเศษ
ทฤษฎีการใส่ใจทางสังคม
ยังมีคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับค่าสหสัมพันธ์ระดับสูงระหว่างความสนใจสิ่งภายนอกกับความสุข ที่มาจากงานศึกษาปี 2002 ซึ่งเสนอว่า ธรรมชาติหลักอย่างหนึ่งของความสนใจสิ่งภายนอกก็คือความโน้มเอียงที่จะประพฤติตัวเพื่อดึงดูด ธำรง และเพลิดเพลินต่อ ความสนใจทางสังคม และไม่ใช่เรื่องความไวต่อรางวัล (reward sensitivity) หรือความไวต่อความสุข โดยอ้างว่า คุณสมบัติพื้นฐานของความใส่ใจทางสังคมอย่างหนึ่ง ก็คืออาจมีผลให้ความสุข (rewarding) ดังนั้น ถ้าบุคคลแสดงอารมณ์เชิงบวกคือความกระตือรือร้น ความมีชีวิตชีวา และความตื่นเต้น คนอื่นก็จะมองคนนั้นในแง่ดี และคนนั้นก็จะได้ความใส่ใจจากผู้อื่น ปฏิกิริยาที่ดีจากคนอื่นก็จะสนับสนุนให้คนสนใจต่อสิ่งภายนอกแสดงพฤติกรรมแบบนั้น ๆ เพิ่มขึ้น งานปี 2002 แสดงว่า วิธีการวัดการใส่ใจทางสังคมของพวกเขา คือ Social Attention Scale มีระดับสหสัมพันธ์กับความสนใจสิ่งภายนอกมากกว่าค่าวัดของความไวรางวัล (reward sensitivity)
พื้นอารมณ์แต่กำเนิด
มุมมองแบบพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (Temperamental view) ตั้งอยู่ในแนวคิดว่า ลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลสัมพันธ์โดยตรงกับความไวอารมณ์บวกและอารมณ์ลบของบุคคล
แบบจำลองปฏิกิริยาทางอารมณ์
แบบจำลองปฏิกิริยาทางอารมณ์ (affective reactivity model) อ้างว่า กำลังปฏิกิริยาของบุคคลต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ที่สมควร มีเหตุมาจากความแตกต่างทางอารมณ์ (affect) แบบจำลองนี้ตั้งอยู่บนทฤษฎีความไวต่อการเสริมแรง (reinforcement sensitivity theory) ของ ศ.ดร.เจฟฟรีย์ อะแลน เกรย์ ที่กล่าวว่า บุคคลที่มี behavioral activation system (BAS) ที่มีกำลังกว่าจะตอบสนองต่อรางวัล (reward คือความสุข) ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสนใจในภายนอก ส่วนคนที่มีระบบ behavioral inhibition system (BIS) ที่มีกำลังกว่า จะตอบสนองต่อรางวัลคือความสุขน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะ neuroticism และความสนใจภายใน ดังนั้น จึงเป็นการมองคนสนใจภายนอกว่า มีความโน้มเอียงทางพื้นอารมณ์แต่กำเนิดไปทางการมีอารมณ์เชิงบวก เนื่องจากการชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงบวกมีผลมากกว่าในบุคคลเหล่านี้เทียบกับคนสนใจภายใน ดังนั้น คนสนใจภายนอกจึงมักไวที่จะมีปฏิกิริยาต่อปรากฏการณ์ที่ให้ความสุข
ยกตัวอย่างเช่น งานปี 2000 พบในการทดลองต่อกัน 2 อย่างว่า คนที่มีระบบ BIS ไวกว่า รายงานระดับอารมณ์เชิงลบที่สูงกว่าโดยเฉลี่ย ในขณะที่บุคคลที่มีระบบ (BAS) ไวกว่า รายงานระดับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่า และงานปี 1999 พบว่า บุคคลที่มีระบบ BAS ไวกว่า รายงานอารมณ์เชิงบวกมากกว่าเมื่อมีการชักจูงให้มีอารมณ์เชิงบวก ในขณะที่ผู้มีระบบ BIS ไวกว่า รายงานว่ามีอารมณ์เชิงลบมากกว่าเมื่อมีการชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงลบ[]
Social reactivity theory
ทฤษฎีปฏิกิริยาทางสังคม (social reactivity theory) อ้างว่า มนุษย์ทุกคนต้องเข้าร่วมสถานการณ์ทางสังคมไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ และเพราะคนสนใจภายนอกชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่าคนสนใจภายใน จึงได้อารมณ์เชิงบวก (positive affect) จากสถานการณ์เช่นนั้นมากกว่า หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้มาจากงานของนักเขียน ไบรอัน ลิตเติล ผู้ทำแนวคิดเกี่ยวกับ restorative niches (ช่องคืนสภาพ) ให้เป็นที่นิยม คือเขาอ้างว่า ชีวิตบ่อยครั้งบังคับให้บุคคลมีส่วนร่วมในสถานการณ์ทางสังคม และเพราะว่าการประพฤติให้เข้ากับคนอื่นได้ไม่เป็นธรรมชาติของคนสนใจภายใน จึงทำให้รู้สึกอยู่ไม่เป็นสุข ดังนั้น วิธีการหนึ่งที่จะรักษาความรู้สึกอยู่เป็นสุขก็คือต้องชาร์จแบ็ตให้บ่อยที่สุดในที่ที่ตนสามารถกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติของตน เป็นที่ที่ลิตเติลเรียกว่า ช่องคืนสภาพ
อย่างไรก็ดี ก็ยังมีงานศึกษาที่พบว่า คนสนใจภายนอกไม่ได้ตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคมอย่างมีกำลังกว่า และก็ไม่ได้รายงานระดับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่าในปฏิสัมพันธ์เช่นนั้นอีกด้วย
การควบคุมอารมณ์
ส่วนคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการมีความสุขมากกว่า ก็คือ คนสนใจภายนอกสามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้ดีกว่า ซึ่งหมายความว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน (เช่น ในที่ที่มีการชักจูงให้เกิดพื้นอารมณ์ [mood] ทั้งเชิงบวกและเชิงลบรวม ๆ กันในปริมาณเท่า ๆ กัน) คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงช้ากว่า และดังนั้น จึงมีอารมณ์เชิงบวกมากกว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกอาจจะเลือกกิจกรรมที่อำนวยความสุข (เช่น คิดถึงความจำที่ดี ๆ) มากกว่าคนสนใจภายในเมื่อคิดถึงงานยากที่ต้องทำ
set-point model หรือ affect-level model
ตามแบบจำลองขีดตั้ง (set-point model) ระดับอารมณ์เชิงบวกและลบปกติโดยประมาณแล้วตายตัวในแต่ละบุคคล และดังนั้น หลังจากเหตุการณ์บวกหรือลบ พื้นอารมณ์ (mood) ของบุคคลนั้นจะกลับไปที่จุดตั้ง ตามทฤษฎีนี้ คนสนใจภายนอกประสบความสุขมากกว่าเพราะว่าพื้นอารมณ์ของตนมีขีดตั้งเป็นบวกกว่า และดังนั้น จึงต้องอาศัยการเสริมแรงเชิงบวก (positive reinforcement) น้อยกว่าเพื่อที่จะรู้สึกเป็นสุข
ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข-ความตื่นตัว
งานวิจัยปี 2008 แสดงว่า เมื่อกำลังรู้สึกสุข คนสนใจภายนอกและคนสนใจภายในทำสิ่งที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะอธิบายการประเมินความถี่และกำลังของความสุขที่มีโดยคนสนใจภายในน้อยเกินไป โดยเฉพาะก็คือ งานพบว่า สำหรับคนสนใจภายนอก ความตื่นตัวมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุข ซึ่งก็หมายความว่า ความรู้สึกสุขมีโอกาสสูงกว่าที่จะประกอบด้วยความตื่นตัวในระดับสูงสำหรับคนสนใจภายนอก และโดยนัยตรงกันข้าม สำหรับคนสนใจภายใน ความตื่นตัวมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับความสุข คือมีผลว่าจะมีความสุขก็เมื่อมีความตื่นตัวน้อย กล่าวอีกอย่างก็คือ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนในชีวิต ซึ่งนำมาซึ่งความสุข คนสนใจภายนอกจะเห็นสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็นโอกาสที่จะเริ่มทำอะไรบางอย่างและเพื่อติดตามเป้าหมาย ซึ่งนำมาซึ่งสภาวะที่ไม่อยู่เฉย ๆ ตื่นตัวและมีความสุข แต่เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามแผนสำหรับคนสนใจภายใน บุคคลจะเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะทำตัวสบาย ๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข
ปัญหาค่าสหสัมพันธ์
แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกจะมีค่าสหสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอและมีกำลังกับความสุข (happiness) และความอยู่เป็นสุข (well-being) ผลงานเหล่านี้มีปัญหาเพราะมีลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่ก็เป็นตัวชี้ความสุขที่มีกำลังเหมือนกัน
Neuroticism และความสนใจภายนอก
ในงานศึกษาหลายงาน neuroticism พบว่ามีผลเท่า ถ้าไม่มากกว่าความสนใจภายนอก ต่อความสุขและความอยู่เป็นสุข งานปี 2008 จัดเด็กให้อยู่ใน 4 กลุ่มขึ้นอยู่กับคะแนนที่ได้จากการวัดความสนใจภายนอกและความเสถียรทางอารมณ์ (neuroticism) ผลงานนี้ไม่แสดงความแตกต่างของระดับความสุขอย่างสำคัญของผู้สนใจภายในและผู้สนใจภายนอกที่มีอารมณ์เสถียร ในขณะบุคคลที่มีอารมณ์ไม่เสถียรในแบบทั้งสองแสดงความสุขที่น้อยกว่าบุคคลที่เสถียร ดังนั้น ในงานศึกษานี้ neuroticism ปรากฏว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าต่อความเป็นอยู่ที่ดีโดยทั่วไป
ในงานศึกษาต่อ ๆ มา นักวิจัยได้ใช้คำถามประเมินตรวจสอบลักษณะต่าง ๆ เช่น ความนับถือตนเอง (self-esteem) และเป้าหมายในชีวิต ซึ่งงานก่อน ๆ พบว่ามีสหสัมพันธ์กับความสุข การตอบสนองของผู้ร่วมการทดลองต่อวิธีวัดเหล่านี้แสดงว่า neuroticism มีผลต่อความอยู่เป็นสุขมากกว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอก
ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างอื่น ๆ
แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism จะมีผลที่ใหญ่ที่สุดต่อความสุข แต่ว่า ปัจจัยอื่น ๆ ของลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างก็มีหลักฐานว่ามีสหสัมพันธ์กับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า ความพิถีพิถัน (conscientiousness) และความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) ว่ามีค่าสหสัมพันธ์ 0.20 กับความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being) แม้ว่า ผลของลักษณะอื่น ๆ เหล่านี้จะไม่มีกำลังเท่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism แต่ก็ชัดเจนว่ายังมีผลต่อความสุขบ้าง
นอกจากนั้นแล้ว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสนใจภายนอก neuroticism และความพิถีพิถัน มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย ในงานศึกษาหนึ่ง นักวิจัยใช้วิธีการวัด 3 อย่าง เพื่อประเมินความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย แล้วพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกบวก neuroticism สามารถใช้พยากรณ์ความอยู่เป็นสุขอย่างหนึ่ง ในขณะที่ความอยู่เป็นสุขที่วัดอีก 2 อย่าง พยากรณ์ได้ดีกว่าโดยความพิถีพิถันและ neuroticism นอกจากความสำคัญในการรวมปัจจัยอื่น ๆ เพื่อประเมินความสุข งานศึกษานี้ยังแสดงอีกด้วยว่า บทนิยามปฏิบัติการ (operational definition) ของความอยู่เป็นสุข (well-being) จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นหรือไม่เป็นปัจจัยพยากรณ์สำคัญ
ปัจจัยบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่มีส่วน
มีหลักฐานด้วยว่า ปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ไม่ใช่ trait (ลักษณะ) อื่น ๆ อาจมีสหสัมพันธ์กับความสุข ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า มิติต่าง ๆ เกี่ยวกับเป้าหมาย เช่น ความก้าวหน้าไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ หรือความขัดแย้งระหว่างเป้าหมาย สามารถมีผลต่อความอยู่เป็นสุขทั้งทางอารมณ์และทางความคิด นักวิจัยหลายท่านยังเสนออีกด้วยว่า อย่างน้อยในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง การเข้าใจที่สอดคล้องในบุคลิกภาพของตนเอง (และประพฤติตัวตามความเข้าใจนั้น) สัมพันธ์กับความอยู่เป็นสุข ดังนั้น การสนใจแต่ความสนใจต่อสิ่งภายนอก หรือแม้แต่ทั้งความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism น่าจะให้ความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ของความสุขกับบุคลิกภาพ
วัฒนธรรม
นอกจากนั้นแล้ว วัฒนธรรมของตนอาจมีอิทธิพลต่อความสุข (happiness) และความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being) โดยทั่วไป ระดับความสุขทั่วไปจะต่าง ๆ กันไปในวัฒนธรรมต่าง ๆ และการแสดงออกถึงความสุขก็เช่นกัน การสำรวจนานาชาติพบว่า ประเทศต่าง ๆ และแม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศนั้น ๆ มีความพึงพอใจในชีวิตโดยเฉลี่ยที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยคนหนึ่งพบว่าระหว่างปี 1958-1987 ความพอใจในชีวิตของคนญี่ปุ่นอยู่ราว ๆ 6 เต็ม 10 ในขณะที่คนเดนมาร์กราว ๆ 8 เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในสหรัฐอเมริกา งานวิจัยหนึ่งพบว่า คนอเมริกันเชื้อสายยุโรปรายงานว่า มีความสุขกับชีวิตมากกว่าคนอเมริกันเชื้อสายเอเชียอย่างสำคัญ นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานปัจจัยหลายอย่างที่อาจเป็นเหตุของความแตกต่างในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งความแตกต่างระหว่างรายได้ของประเทศ ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving) การยกตนเอง (self-enhancement) และธรรมชาติที่ชอบตรวจสอบ (approach) หรือหลีกเลี่ยง (avoidance) โดยรวม ๆ กันแล้ว งานศึกษาเหล่านี้แสดงว่า แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในจะมีค่าสหสัมพันธ์ที่มีกำลังกับความสุข แต่ก็ยังไม่สามารถใช้เป็นตัวพยากรณ์เดียวของความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย และต้องรวมปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเมื่อพยายามที่จะกำหนดว่าปัจจัยอะไรสัมพันธ์กับความสุข
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- สอ เสถบุตร, "extrovert", ThaiSoftware Dictionary v 6.0 (New Model English-Thai Dictionary),
ผู้ที่ชอบเอาใจใส่กับสิ่งภายนอก
- สอ เสถบุตร, "introversion", ThaiSoftware Dictionary v 6.0 (New Model English-Thai Dictionary),
การสนใจกับสิ่งภายในตัว
- Juung, C. G. (1921). Psychologische Typen. Zurich: Rascher Verlag.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () (translation H.G. Baynes, 1923) - Thompson, Edmund R. (2008). "Development and Validation of an International English Big-Five Mini-Markers". Personality and Individual Differences. 45 (6): 542–8. doi:10.1016/j.paid.2008.06.013.
- Jung, Carl (1995). Memories, Dreams, Reflections. London: Fontana Press. pp. 414–5. ISBN .
attitude-type characterised by orientation in life through subjective psychic contents", "an attitude type characterised by concentration of interest on the external object
- "Extraversion", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11 ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003,
the act, state, or habit of being predominantly concerned with obtaining gratification from what is outside the self
- "Extraversion or Introversion". The Myers & Briggs Foundation.
- "Introversion", Merriam-Webster Collegiate Dictionary (11 ed.), Springfield, Massachusetts, USA: Merriam-Webster, Inc., 2003,
the state of or tendency toward being wholly or predominantly concerned with and interested in one's own mental life
- Helgoe, Laurie (2008). Introvert Power: Why Your Inner Life is Your Hidden Strength. Naperville, Illinois: Sourcebooks, Inc.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () [] - Introversion. Gale Encyclopedia of Childhood & Adolescence. Gale Research. 1998.
- Laney, Marti Olsen (2002). The Introvert Advantage: How to Thrive in an Extrovert World. Workman Publishing. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Cain, Susan (2012). Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking. Crown Publishing.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () อ้างอิงโดย- Szalavitz, Maia (2012-01-27). "'Mind Reading': Q&A with Susan Cain on the Power of Introverts". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 2016-07-24.
- Cook, Gareth. "The Power of Introverts: A Manifesto for Quiet Brilliance". Scientific American. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ 2016-07-24.
- Whitten, Meredith (2001-08-21). "All About Shyness". Psych Central.
- Cain, Susan. "Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking". www.cbsnews.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- "Book Review: Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking by Susan Cain". สืบค้นเมื่อ 2015-10-05.
- . AllPsych Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2004-03-23.
- "Ambiversion", WordNet 2.0, eDocuLab Inc (Princeton University), 2003,
(psychology) a balanced disposition intermediate between extroversion and introversion
- Cohen, Donald; Schmidt, James P. (1979). "Ambiversion: Characteristics of Midrange Responders on the Introversion-Extraversion Continuum". Journal of Personality Assessment. 43 (5): 514–6. doi:10.1207/s15327752jpa4305_14. PMID 16367029.
- * Cain, Susan (2012). Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking. page 3 (Introduction) & page 280 (note 11).
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter ()- Goudreau, Jenna (2012-01-26). "The Secret Power Of Introverts". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2016-07-24.
- Gordon, Leslie A (2016-01-01). . ABA Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-08.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Goldberg, Lewis R.; Johnson, John A.; Eber, Herbert W.; Hogan, Robert; Ashton, Michael C.; Cloninger, C. Robert; Gough, Harrison G. (2006). "The international personality item pool and the future of public-domain personality measures". Journal of Research in Personality. 40 (1): 84–96. doi:10.1016/j.jrp.2005.08.007.
- Goldberg, Lewis R. (1992). "The development of markers for the Big-Five factor structure". Psychological Assessment. 4 (1): 26–42. doi:10.1037/1040-3590.4.1.26.
- Saucier, Gerard (1994). "Mini-Markers: A Brief Version of Goldberg's Unipolar Big-Five Markers". Journal of Personality Assessment. 63 (3): 506–16. doi:10.1207/s15327752jpa6303_8. PMID 7844738.
- Piedmont, R. L.; Chae, J.-H. (1997). "Cross-Cultural Generalizability of the Five-Factor Model of Personality: Development and Validation of the NEO PI-R for Koreans". Journal of Cross-Cultural Psychology. 28 (2): 131–155. doi:10.1177/0022022197282001.
- Eysenck, H. J. (1967). The biological basis of personality. Springfield, IL: Thomas Publishing.[]
- Tellegen, Auke; Lykken, David T.; Bouchard Jr, Thomas J.; Wilcox, Kimerly J.; Segal, NL; Rich, S (1988). "Personality similarity in twins reared apart and together". Journal of Personality and Social Psychology. 54 (6): 1031–9. doi:10.1037/0022-3514.54.6.1031. PMID 3397862.
- "Lemon juice experiment". BBC Home. 2014-09-17.
- Depue, RA; Collins, PF (1999). "Neurobiology of the structure of personality: Dopamine, facilitation of incentive motivation, and extraversion". The Behavioral and brain sciences. 22 (3): 491–517, discussion 518-69. doi:10.1017/S0140525X99002046. PMID 11301519.
- Johnson, DL; Wiebe, JS; Gold, SM; Andreasen, NC; Hichwa, RD; Watkins, GL; Boles Ponto, LL (1999). "Cerebral blood flow and personality: A positron emission tomography study". The American Journal of Psychiatry. 156 (2): 252–7. PMID 9989562.
- Forsman, LJ; de Manzano, Ö; Karabanov, A; Madison, G; Ullén, F (2012). "Differences in regional brain volume related to the extraversion-introversion dimension—a voxel based morphometry study". Neuroscience research. 72 (1): 59–67.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Shiner, Rebecca; Caspi, Avshalom (2003). "Personality differences in childhood and adolescence: Measurement, development, and consequences". Journal of Child Psychology and Psychiatry. 44 (1): 2–32. doi:10.1111/1469-7610.00101. PMID 12553411.
- Sharma, R. S. (1980). "Clothing behaviour, personality, and values: A correlational study". Psychological Studies. 25 (2): 137–42.
- Rentfrow, Peter J.; Gosling, Samuel D. (2003). "The do re mi's of everyday life: The structure and personality correlates of music preferences". Journal of Personality and Social Psychology. 84 (6): 1236–56. doi:10.1037/0022-3514.84.6.1236. PMID 12793587.
- Gosling, S (2008). Snoop. New York: Basic Books.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter ()[] - Fleeson, W.; Gallagher, P. (2009). "The Implications of Big Five Standing for the Distribution of Trait Manifestation in Behavior: Fifteen Experience-Sampling Studies and a Meta-Analysis". Journal of Personality and Social Psychology. 87 (6): 1097–1114. doi:10.1037/a0016786.
- Little, B. R. (1996). "Free traits, personal projects and idio-tapes: Three tiers for personality research". Psychological Inquiry. 8: 340–344. doi:10.1207/s15327965pli0704_6.
- Little, B. R. (2008). "Personal Projects and Free Traits: Personality and Motivation Reconsidered". Social and Personality Psychology Compass. 2 (3): 1235–1254. doi:10.1111/j.1751-9004.2008.00106.x.
- Myers, David G (1992-07-01). "The Secrets of Happiness". Psychology Today.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Pavot, William; Diener, Ed; Fujita, Frank (1990). "Extraversion and happiness". Personality and Individual Differences. 11 (12): 1299–306. doi:10.1016/0191-8869(90)90157-M.
- Fleeson, William; Malanos, Adriane B.; Achille, Noelle M. (2002). "An intraindividual process approach to the relationship between extraversion and positive affect: Is acting extraverted as 'good' as being extraverted?". Journal of Personality and Social Psychology. 83 (6): 1409–22. doi:10.1037/0022-3514.83.6.1409. PMID 12500821.
- Swickert, Rhonda; Hittner, James B.; Kitos, Nicole; Cox-Fuenzalida, Luz-Eugenia (2004). "Direct or indirect, that is the question: A re-evaluation of extraversion's influence on self-esteem". Personality and Individual Differences. 36 (1): 207–17. doi:10.1016/S0191-8869(03)00080-1.
- Cheng, Helen; Furnham, Adrian (2003). "Personality, self-esteem, and demographic predictions of happiness and depression". Personality and Individual Differences. 34 (6): 921–42. doi:10.1016/S0191-8869(02)00078-8.
- . Blind Privilege. 2007-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-25.
- Ryckman, R. (2004). Theories of Personality. Belmont, CA: Thomson/Wadsworth.[]
- Furnham, Adrian; Forde, Liam; Cotter, Tim (1998). "Personality and intelligence". Personality and Individual Differences. 24 (2): 187–92. doi:10.1016/S0191-8869(97)00169-4.
- Gallagher, S. A. (1990). "Personality patterns of the gifted". Understanding Our Gifted. 3 (1): 11–13.
- Hoehn, L.; Birely, M.K. (1988). "Mental process preferences of gifted children". Illinois Council for the Gifted Journal. 7: 28–31.
- Eysenck, H. J. (1971). Readings in Extraversion-Introversion. New York: Wiley.[]
- Ateel, Saqib Ali (2005). "Personality Career Tests".
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Schaller, Mark (2011-10-31). "The behavioural immune system and the psychology of human sociality". Philosophical Transactions B. 366 (1583): 3418–3426. doi:10.1098/rstb.2011.0029.
- Diamond, Stephen A. (2008-11-07). "The Therapeutic Power of Sleep". Psychology Today. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
- "Quiet, Please: Unleashing 'The Power Of Introverts'". NPR. 2012-01-30. สืบค้นเมื่อ 2012-02-04.
- Cain, Susan. . TED. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2012-12-27.
- Fulmer, C. Ashley; Gelfand, Michele J.; Kruglanski, Arie W.; Kim-Prieto, Chu; Diener, Ed; Pierro, Antonio; Higgins, E. Tory (2010). "On 'Feeling Right' in Cultural Contexts: How Person-Culture Match Affects Self-Esteem and Subjective Well-Being". Psychological Science. 21 (11): 1563–9. doi:10.1177/0956797610384742. PMID 20876880.
- McCrae, Robert R.; Costa, Paul T. (1991). "Adding Liebe und Arbeit: The Full Five-Factor Model and Well-Being". Personality and Social Psychology Bulletin. 17 (2): 227–32. doi:10.1177/014616729101700217.
- Furnham, Adrian; Brewin, Chris R. (1990). "Personality and happiness". Personality and Individual Differences. 11 (10): 1093–6. doi:10.1016/0191-8869(90)90138-H.
- Diener, Ed; Suh, Eunkook M.; Lucas, Richard E.; Smith, Heidi L. (1999). "Subjective well-being: Three decades of progress". Psychological Bulletin. 125 (2): 276–302. doi:10.1037/0033-2909.125.2.276.
- Argyle, Michael; Lu, Luo (1990). "The happiness of extraverts". Personality and Individual Differences. 11 (10): 1011–7. doi:10.1016/0191-8869(90)90128-E.
- Hills, Peter; Argyle, Michael (2001). "Emotional stability as a major dimension of happiness". Personality and Individual Differences. 31 (8): 1357–64. doi:10.1016/S0191-8869(00)00229-4.
- Emmons, Robert A.; Diener, Ed (1986). "Influence of impulsivity and sociability on subjective well-being". Journal of Personality and Social Psychology. 50 (6): 1211–5. doi:10.1037/0022-3514.50.6.1211.
- Diener, Ed; Sandvik, Ed; Pavot, William; Fujita, Frank (1992). "Extraversion and subjective well-being in a U.S. National probability sample". Journal of Research in Personality. 26 (3): 205–15. doi:10.1016/0092-6566(92)90039-7.
- Costa, Paul T.; McCrae, Robert R. (1986). "Cross-sectional studies of personality in a national sample: I. Development and validation of survey measures". Psychology and Aging. 1 (2): 140–3. doi:10.1037/0882-7974.1.2.140. PMID 3267390.
- Larsen, Randy J.; Ketelaar, Timothy (1991). "Personality and susceptibility to positive and negative emotional states". Journal of Personality and Social Psychology. 61 (1): 132–40. doi:10.1037/0022-3514.61.1.132. PMID 1890584.
- Zelenski, John M.; Larsen, Randy J. (1999). "Susceptibility to Affect: A Comparison of Three Personality Taxonomies". Journal of Personality. 67 (5): 761–91. doi:10.1111/1467-6494.00072. PMID 10540757.
- Watson, D. (2000). Mood and Temperament. New York, NY: Guilford Press.[]
- Lucas, Richard E.; Le, Kimdy; Dyrenforth, Portia S. (2008). "Explaining the Extraversion/Positive Affect Relation: Sociability Cannot Account for Extraverts' Greater Happiness". Journal of Personality. 76 (3): 385–414. doi:10.1111/j.1467-6494.2008.00490.x. PMID 18399958.
- Eysenck, H. J. (1967). The biological basis of personality. Springfield, IL: Charles C. Thomas.[]
- Campbell, A.; Converse, P.; Rodgers, W. (1976). The quality of American life. New York, NY: Sage.[]
- Eysenck, H. J.; Eysenck, M. W. (1985). Personality and individual differences. New York, NY: Plenum Press.[]
- Snyder, M. (1981). "On the influence of individuals on situations". ใน Cantor, N.; Kihlstrom, J. (บ.ก.). Personality, cognition and social interaction. Hillsdale, NJ: Erlbaum. pp. 309–29.
- Diener, Ed; Larsen, Randy J.; Emmons, Robert A. (1984). "Person × Situation interactions: Choice of situations and congruence response models". Journal of Personality and Social Psychology. 47 (3): 580–92. doi:10.1037/0022-3514.47.3.580. PMID 6491870.
- Srivastava, Sanjay; Angelo, Kimberly M.; Vallereux, Shawn R. (2008). "Extraversion and positive affect: A day reconstruction study of person-environment transactions". Journal of Research in Personality. 42 (6): 1613–8. doi:10.1016/j.jrp.2008.05.002.
- Ashton, Michael C.; Lee, Kibeom; Paunonen, Sampo V. (2002). "What is the central feature of extraversion? Social attention versus reward sensitivity". Journal of Personality and Social Psychology. 83 (1): 245–52. doi:10.1037/0022-3514.83.1.245. PMID 12088129.
- Tellegen, A. (1985). "Structures of mood and personality and their relevance to assessing anxiety, with an emphasis on self-report". ใน Tuma, A. H.; Maser, J. D. (บ.ก.). Anxiety and the anxiety disorders. Hillsdale, NJ: Erlbaum. pp. 681–706.
- Gray, J. A. (1994). "Personality dimensions and emotion systems". ใน Ekman, P.; Davidson, R. (บ.ก.). The nature of emotions: Fundamental questions. New York, NY: Oxford University Press. pp. 329–31.
- Carver, C. S.; Sutton, S. K.; Scheier, M. F. (2000). "Action, Emotion, and Personality: Emerging Conceptual Integration". Personality and Social Psychology Bulletin. 26 (6): 741–51. doi:10.1177/0146167200268008.
- Rusting, Cheryl L.; Larsen, Randy J. (1995). "Moods as sources of stimulation: Relationships between personality and desired mood states". Personality and Individual Differences. 18 (3): 321–329. doi:10.1016/0191-8869(94)00157-N.
- Gable, Shelly L.; Reis, Harry T.; Elliot, Andrew J. (2000). "Behavioral activation and inhibition in everyday life". Journal of Personality and Social Psychology. 78 (6): 1135–49. doi:10.1037/0022-3514.78.6.1135. PMID 10870914.
- Little, Brian R. (2000). "Free traits and personal contexts: Expending a social ecological model of well-being". ใน Welsh, W. Bruce; Craik,, Kenneth H.; Price, Richard H. (บ.ก.). Person-environment Psychology: New Directions and Perspectives. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum and Associates. pp. 87–116. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: extra punctuation () - Lischetzke, Tanja; Eid, Michael (2006). "Why Extraverts Are Happier Than Introverts: The Role of Mood Regulation". Journal of Personality. 74 (4): 1127–61. doi:10.1111/j.1467-6494.2006.00405.x. PMID 16787431.
- Tamir, Maya (2009). "Differential Preferences for Happiness: Extraversion and Trait-Consistent Emotion Regulation". Journal of Personality. 77 (2): 447–70. doi:10.1111/j.1467-6494.2008.00554.x. PMID 19220724.
- Kuppens, Peter (2008). "Individual differences in the relationship between pleasure and arousal". Journal of Research in Personality. 42 (4): 1053–9. doi:10.1016/j.jrp.2007.10.007.
- Young, R; Bradley, M.T. (2008). "Social withdrawal: self-efficacy, happiness, and popularity in introverted and extroverted adolescents". Canadian Journal of School Psychology. 14 (1): 21–35.
- Hills, P.; Argyle, M. (2001). "Happiness, introversion-extraversion and happy introverts". Personality and Individual Differences. 30: 595–608. doi:10.1016/s0191-8869(00)00058-1.
- Hills, P; Argyle, M. "Emotional stability as a major dimension of happiness". Personality and Individual Differences. 31: 1357–1364. doi:10.1016/s0191-8869(00)00229-4.
- DeNeve, KM; Cooper, H (1998). "The happy personality: A meta-analysis of 137 personality traits and subjective well-being". Psychology Bulletin. 124: 197–229. doi:10.1037/0033-2909.124.2.197. PMID 9747186.
- Hayes, N; Joseph, S. "Big 5 correlates of three measures of subjective well-being". Personality and Individual Differences. 34: 723–727. doi:10.1016/s0191-8869(02)00057-0.
- Emmons, RA (1986). "Personal strivings: an approach to personality and subjective". Annual Review of Psychology. 54: 403–425.
- Cantor, N; Sanderson, CA (1999). "Life task participation and well-being: the importance of taking part in daily life". Well-Being: Foundations of Hedonic Psychology: 230–243.
- Higgins, ET; Grant, H; Shah, J. "Self regulation and quality of life: emotional and non-emotional life experiences". Well-Being: Foundations of Hedonic Psychology: 244–266.
- Scheier, MF; Carver, CS (1993). "On the power of positive thinking: the benefits of being optimistic". Current Directions in Psychological Science. 2 (1): 26–30. doi:10.1111/1467-8721.ep10770572.
- Veenhoven, R (1993). Happiness in Nations: Subjective Appreciation of Life in 56 Nations 1946-1992. Rotterdam, The Netherlands: Erasmus University.
- Oishi, S (2001). "Culture and memory for emotional experiences: on-line vs. retrospective judgments of subjective well-being". Dissertation Abstracts International: Section B: The Sciences and Engineering. 61.
- Diener, E; Oishi, S; Lucas, R (2003). "Personality, Culture, and Subjective Well-Being: Emotional and Cognitive Evaluations Of Life". Annual Review of Psychology. 54: 403–425. doi:10.1146/annurev.psych.54.101601.145056.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Secrets of a super successful introvert Susan Cain article from CNN Living
- TED talks - Susan Cain: The power of introverts 2012-03-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน talk by Susan Cain, author of Quiet: The Power of Introverts in a World That Can't Stop Talking (January 2012), talks about reasons we should celebrate and encourage introversion
- Revenge of the Introvert Laurie Helgoe's article about introversion published in Psychology Today (2010)
- General description of the types Jung's original article (1921)
- BBC - The Human Mind - Personality Description of introversion and extraversion, focusing on reward-seeking behavior
- Changing Minds Another description of introversion and extraversion, taking a Jungian view
- Extraversion Gale Encyclopedia of Childhood & Adolescence. Gale Research, 1998.
- Introversion Gale Encyclopedia of Childhood & Adolescence. Gale Research, 1998.
- USA Today article about CEO introverts/extraverts
- "Caring for Your Introvert" Article in The Atlantic, March 2003
- "Ten Myths About Introverts" Article by Carl King, 2009.
- J. Wilt and W. Revelle review chapter on extraversion
- Scientific American article on Introversion
- Scientific American blogs: What Kind of Introvert are you?
- Temperament and the Brain: Introverts and Extraverts 2016-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lksna khwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayin hrux khwamsnicphaynxk khwamsnicphayin xngkvs extraversion introversion epnmitihlkxyanghnungkhxngthvsdibukhlikphaphmnusy swnkhaphasaxngkvsthngsxngkha khux introversion aela extraversion epnkhathicitaephthy kharl yung idsrangkhwamniym aemwakarichkhathngodyniymaelathangcitwithyacatangipcakthiyungidmunghmay khwamsnictxsingphaynxkmkpraktodyepnkarchxbekhasngkhm ekhakbkhnxunidngay changphud kratuxruxrn michiwitchiwa ethiybkbkhwamsnictxsingphayinthipraktodyepnkhnsngwnthathiaelachxbxyukhnediywaebbcalxngbukhlikphaphihy ekuxbthnghmdmiaenwkhidechnniinrupaebbtang twxyangechnthvsdilksnabukhlikphaphihy 5 xyang analytical psychology khxngyung three factor model khxng s dr hns ixesngkh 16 personality factors khxng s dr Raymond Cattell Minnesota Multiphasic Personality Inventory aelatwchiwdkhxngimexxrs briks radbkhwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayin epnkhathitxenuxngknepnxnediywkn dngnn thakhakhxngxyanghnungsung xikxyanghnungkcatxngta aetwa nph kharl yung aelaphuphthnatwchiwdkhxngimexxrs briks mimummxngtangcakniaelaesnxwa thukkhnmithngdanthisnictxsingphaynxkaeladanthisnictxsingphayin odymidanhnungmikalngkwa aetaethnthicaephngkhwamsnicipthiephiyngphvtikrrmkbkhnxun yungniyamkhwamsnicinsingphayinwa epnaebbthsnkhti kahndidodythisthangkhxngchiwit thikrxngphansingthixyuinicthiepnxtwisy khux snicineruxngphayincitic aelakhwamsnicinphaynxkwa epnaebbthsnkhti kahndidodykarphungkhwamsnicipthiwtthuphaynxk khuxolkphaynxk aebbtang khwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphaynxkepn karkratha sphawa hruxnisythiodymakekiywkbkarhakhwamyindiphxiccaksingthixyunxktwexng khnsnictxsingphaynxkmkcachxbptismphnthkbbukhkhlxun kratuxruxrn chxbphud klaphud assertive aelachxbsngkhm epnkhnthimichiwitchiwaaelamikhwamsukhemuxxyukbphuxun epnphuthiidrbkhwamephlidephlininkickrrmsngkhmthimikhnmak echn nganparti kickrrmchumchn karprathwng aelainklumthurkichruxkaremuxng aelamkcathanganiddiinklum khnsnictxsingphaynxkmkcachxbichewlakbkhnxun aelaidkhwamphxicnxykwaemuxichewlakhnediyw mkcamichiwitchiwaikl khnxun aelamkcaebuxthaxyukbtnexng khwamsnictxsingphayin khwamsnictxsingphayinepn phawahruxkhwamonmexiyngthicaekiywkhxngaelasnicinchiwitphayinickhxngtnthnghmdhruxodymak epnphuthikhnxunehnwasngwnthathiaelachangikhrkhrwymakkwa nkcitwithyathiidrbkhwamniymbangkhnkahndkhnsnictxsingphayinwaepnkhnthimikalngephimemuxikhrkhrwyaelamikalngldlngemuxtxngptismphnthkbphuxun nikhlaykbmummxngkhxngyung aemwayungcaephngkhwamsnicipthikalngicimichthikalngkay aetaenwkhidinpccubnodymakimidaebngaeykinradbni khnsnictxsingphayinbxykhrngmikhwamsukhinkickrrmthithakhnediywechnkarxan ekhiynhnngsux karelnkhxmphiwetxr karedineln aelakartkpla nksilp nkekhiyn nkpratimakrrm wiswkr nkaetngdntri aelankpradisth twxyang lwnaetepnkhnthiisictxsingphayininradbsung epnkhnthichxbichewlakhnediywaelaidkhwamyindiphxicnxykwakbewlathiichkbklumkhnihy aemwayngxacchxbptismphnthkbephuxnthiiklchid khwamechuxicmkcaepneruxngthisakhy hlkchiwitthisakhythisudxyanghnungkhxngphusnicphayinkkhuxkareluxkephuxnthikhukhwr khnechnnimkchxbictngsmathithaxairthilaxyang aelachxbsngektsthankarnkxnthicaekharwm niepnsingthiehnidchdinedkhruxwyrunthikalngetibot epnkhnthikhidkxnphud epnkhnmkcaxudxdewlamisingeracakngansngkhmmakekinip miaemaetkhnthi niyam khwamsnictxsingphayinwa chxbsingaewdlxmthiengiyb aelamisingeranxy aetkareriykkhnsnicsingphayinwakhixayepnkhwamekhaicphidthisamy ephraawaphwkekhachxbkickrrmkhnediywmakkwakickrrmsngkhm aetimidhmaykhwamwaphwkekhacaklwkarekhasngkhmehmuxnkbkhnkhixay nkekhiynphuhnungxangwa wthnthrrmchawtawntkinpccubnekhaickhwamsamarthkhxngkhnthisnictxsingphayinxyangimthuktxng thaihimsamarthichphrswrrkhaelakalngkhxngbukhlakridxyangetmthi phuekhiynsungeriyktnexngwaepnkhnisicphayin chiwasngkhmmixkhtitxkhnsnictxsingphayin ephraawatngaetedk phwkekhacathuksxnihruwakhnthichxbsngkhmcaepnkhnthimikhwamsukh aeladngnn khwamsnictxsingphayinpccubncungepneruxngthi xyurahwangkhwamnaphidhwngkbkhwamepnorkh aelwklawwa khwamsnictxsingphayinimichepnlksna thiepnrxng odyyktwxyangkhnsnicphayinechn nkekhiyn ec ekh orwling nkfisiks ixaesk niwtn aelaxlebirt ixnsitn phuna mhatma khanthi phukakbphaphyntr stiewn spilebirk aelaprathankrrrmkarbristhkuekil aelrri ephc hnngsuxkhxngethxaesdngwathngkhnsnictxsingphayinaelakhnsnictxsingphaynxkthngsxnglwnchwyphthnasngkhm khwamsnictxsingthngsxng aemwacamikhnmxngwa khathamwabukhkhlepnkhnsnictxsingphaynxkhruxepnkhnsnictxsingphayin camiephiyngkhatxbediywcakthiepnipidsxngkhatxb aetwa thvsdiekiywkblksnabukhlikphaphpccubnodymakwdradbkhwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayinodyepnmitiediywthiechuxmtxkn khwamsnictxsingthngsxng Ambiversion xyuaethbcatrngklangphxdi khnsnictxsingthngsxngcarusuksbayphxpramaninklumaelakbptismphnththangsngkhm aetkyngchxbichewlakhnediywxikdwy khwamchuksmphthth hnngsuxpi 2012 Quiet The Power of Introverts in a World That Can t Stop Talking raynganwa mingansuksathiaesdngwa 33 50 khxngkhnxemriknepnkhnsnictxsingphayin odymikhnbangklumthimikhwamchukthisungkwa odymingansarwcpi 2016 thiichtwchiwdkhxngimexxrs briks MBTI txkhn 6 000 khnthiaesdngwa thnay 60 aelathnaythrphysinthangpyya 90 epnkhnsnictxsingphayinkarwdkarwdradbkhwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayinmkcathaodykaraecngexng self report aemwacamikarwdthiihbukhkhlinklumediywkn peer report hruxkhnxunepnphupraemin third party observation kmi karwdodyaecngexngxaccaepnaebbichkha lexical hruxichbthkhwam statements swnkartdsinicwacaichkarwdaebbihnephuxichinnganwicy cakahndodykhawdthangcitwithyaxun psychometric property ewla aelaphunthithimiihichinngansuksa inphasaxngkvs karwdodyichkha lexical caichkhawiessnaetlakhathisathxnthunglksnatang khxngbukhlikphaph echn chxbekhasngkhm ekhakbkhnxunidngay changphud sngwnthathi aelaengiyb khathiepneruxngekiywkbkhwamsnictxsingphayincamikhawdepnlbephuxrwmkhaaennkhxngkhwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayinodyepnkhaediywkn inpi 1992 s dr liwxis okldebxrk idphthnakha 20 khathiichwdlksnabukhlikphaph odyepnswnkhxngkha 100 khathiichwdlksnabukhlikphaphihy 5 xyang Big Five personality traits txmainpi 1994 cungmikarphthnakhaephiyng 8 khathiichwd odyepnswnkhxngkha 40 kha aetwa txmaphbwa khunsmbtithang psychometric khxngkarwdechnniichidimdikbkhnnxkthwipxemrikaehnux inpi 2008 cungmikarprbprungwithikarwdxyangepnrabb thieriykwa International English Mini Markers odyepliynipichkhaphasaxngkvssakl sungmikhwamsmehtusmphl validity aelakhwamsmaesmx reliability thidikwainprachakrthngphayinaelaphaynxkthwipxemrikaehnux khux khwamsmaesmxkhxngkarwdkhwamsnictxsingphaynxksahrbphuphudphasaxngkvsaetkaenidxyuthi 92 aelasahrbphuimidphudphasaxngkvsaetkaenidxyuthi 85 karwdodyichbthkhwam statement mkcaichkhamakkwa dngnnkcaichenuxthiinkarekbkhxmulmakkwakarwdodyichkha twxyangechn camikarthamphurbsxbwa tnsamarth khuykbbukhkhltang hlaykhnthinganpartihruxim hrux mkcaxudxdemuxxyudwyknhlay khnhruxim aemwakarwdodywithinicamikhunlksnathangcitwithyatxprachakrxemrikaehnuxehmuxnkbkarwdodykha aetkarphthnarabbwdthiaefngxyuitwthnthrrm thaihichkbprachakrklumxunimiddietha yktwxyangechn bthkhwamthithamthungkhwamepnkhnchangphudinnganpartibangkhrngyakthicatxbihidkhwamhmaysahrbbukhkhlthiimipnganparti dngthismmutiwaepneruxngpktisahrbkhnxemrikn nxkcaknnaelw khathiepnphasaphudechphaakhnxemrikaehnuxxaccathaihkhathamechnnnimehmaakbphuxunnxkthwip yktwxyangechn bthkhwamechn imkhnkhwaycaepnkhnedn Keep in the background aela ruwithiihkhnxunsnicsingthitwphud Know how to captivate people bangkhrngepneruxngyaksahrbkhnthiimidphudphasaxngkvsaetkaenidthicaekhaicykewnexatamkhaaepltrng tw thvsdikhxng s ixesngkh s dr hns ixesngkhaehngmhawithyalylxndxnklawthungkhwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayin waepnradbthibukhkhlchxbekhasngkhm ekhakbkhnxunidngay aelachxbptismphnthkbphuxun odykhwamaetktangthangphvtikrrmechnnismmutiwaepnphlcakkhwamtangknthangsrirphaphkhxngsmxng khnsnictxsingphaynxksubhakhwamtunetnaelakickrrmthangsngkhmephuxcaephimradbkhwamtuntw inkhnathikhnsnictxsingphayinmkcahlikeliyngsthankarnthangsngkhmephuxthicaldkhwamtuntwihtathisud dr ixesngkhkahndkhwamsnictxsingphaynxkwaepnlksnahnunginsamlksnaihykhxngthvsdi P E N model of personality khxngekha sungrwmlksnaxun khux psychoticism aela neuroticism inebuxngtn dr ixesngkhesnxwa khwamsnictxsingphaynxkepnsphawarwmkhxngkhwamonmexiyngihysxngxyangkhux khwamhunhnphlnaeln impulsiveness aelakhwamekhasngkhmid sociability txcaknnekhaidephimlksnaechphaaxun xikhlayxyang rwmthngkhwamkratuxruxrn liveliness radbkhwammichiwitchiwa activity level aelakhwamtunetnidngay excitability lksnatang ehlanixyuinladbchnbukhlikphaphkhxngekhaaelaechuxmkbnisythiechphaaecaacngbangxyang echn karchxbpartiinwnsudspdah ngansuksainkhuaefdphbwa khwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayinmiswncakkrrmphnthupccythangchiwphaph khwamsakhysmphththrahwangchiwphaphethiybkbsingaewdlxm nature versus environment thiepntwkahndkhwamsnictxsingphaynxkyngepneruxngthkethiyngknimyuti aelaepncudsnickhxngngansuksaepncanwnmak ngansuksainkhuaefdphbwa miswncakkrrmphnthurahwang 39 58 aelasingaewdlxmthiaechrinkhrxbkhrwduehmuxncasakhynxykwapccythangsingaewdlxmxun thiphinxngimidaechrrwmkn dr ixesngkhesnxwa khwamsnictxsingphaynxkmiehtumacakkhwamaetktangknkhxngkhwamtuntwinepluxksmxng cortical arousal odytngsmmtithanwa khnsnictxsingphayinmiradbkhwamtuntwinsmxngthisungkwakhnsnictxsingphaynxk ephraawa khnsnictxsingphaynxktxngkarsingeraphaynxkmakkwakhnsnictxsingphayin dngnn cungtikhwamwaniepnhlkthankhxngsmmtithanni hlkthanxunrwmthng khnchxbictxsingphayinminalayihlxxkmakkwaodyepnptikiriyatxnaelmxn pktimirsxxkepriyw sungmacakradbkarthanganthisungkwainswnsmxngkhux reticular activating system sungtxbsnxngtxsingeraechnxaharaelakarxyukbbukhkhlxun mihlkthanwakhwamsnictxsingphaynxksmphnthkbkhwamiwthisungkwakhxngsmxngswn mesolimbic dopamine system thithaihekidkhwamsukhemuxidsingerathismkhwr rewarding stimuli sungxthibayidswnhnungwathaimphusnictxsingphaynxkcungmixarmnechingbwkinradbsung ephaawa tniwtxkhwamtunetnthiidcaksingerathixacihekidkhwamsukhmakkwa phlxyanghnungkkhux phuthisnictxsingphaynxksamartheriynruekiywkbsthankarnthimikaresrimaerngechingbwk positive reinforcement khuxihekidkhwamphxiciddikwa ephraawaidrbrangwlkhuxkhwamsukhmakkwa ngansuksahnungphbwa phusnictxsingphayinmikarihlewiynkhxngeluxdinsmxngklibhnaaelasmxngswnthalamsdanhna frontal hrux anterior makkwa sungepnswnthiichinkarkhid echn karwangaephnhruxkaraekpyha swnphusnictxsingphaynxkmikarihlewiynkhxngeluxdin Anterior cingulate cortex smxngklibkhmb aelathalamsdanhlng posterior makkwa sungepnswnthiptibtikarekiywkbprasbkarnthangkhwamrusuk sensory hruxthangxarmn emotional ngansuksaniaelanganwicyxunchiwa khwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayinsmphnthkbkarthanganthiaetktangkninsmxnginrahwangbukhkhl swnngansuksaineruxngprimatrkhxngekhtsmxngphbwa khwamsnictxsingphayinmishsmphnthkbprimatrenuxetha grey matter thiephimkhunin prefrontal cortex dankhwaaelacudtxkhxngsmxngklibkhmbkbklibkhang temporoparietal junction aelamishsmphnthkbprimatrenuxethathiephimkhunthnghmdodyrwm swnngansuksaxunphbwa khwamsnictxsingphaynxkmishsmphnthkbprimatrthisungkwakhxng prefrontal cortex dansay aelaodythwipaelw smxngswnnismphnthkbkarekharhskhwamcaxasyehtukarn episodic memory ihm aelaphvtikrrmaebbekhaiptrwcsxb approach inkhnathi prefrontal cortex dankhwasmphnthkbkarralukthungkhwamcaxasyehtukarn aelaphvtikrrmaebbhlikhni withdrawal nxkcaknnaelw khwamsnictxsingphaynxkyngsmphnthkbpccythangsrirphaphxun echn karhayic phankarsmphnthkb surgency sungepnkhwamiwptikiriyathangxarmnthibukhkhlonmexiyngipinxarmnechingbwkinradbsungphvtikrrmkhnsnictxsingphaynxkaelakhnsnictxsingphayinmiphvtikrrmhlayxyangthiaetktangkn tamngansuksahnung khnsnictxsingphaynxkmkcaisesuxphathiswyngamkwa ethiybkbkhnsnictxsingphayinthimkcaisesuxphathiphxichidaelaisaelwsbay khnsnictxsingphaynxkmioxkassungkwathicachxbdntrithitunetn eraic aelathrrmda makkwakhnsnictxsingphayin bukhlikphaphmixiththiphltxkarcdthithangan odythwipaelw khnsnictxsingphaynxkpradbthithangankhxngtnmakkwa epidpratuthingiw miekaxisarxngihnng aelamioxkassungkwathicamikhnmihkhnxunthanbnota sungepnkhwamphyayamchkchwnephuxnrwmngansnbsnunihmiptismphnth epriybethiybkbkhnsnictxsingphayin phupradbthithangannxykwaaelamkcacdraebiybihkhnimmaha aemwacamikhwamaetktangknechnni nganwiekhraahxphimaninngansuksa 15 nganaesdngwa mikhwamehluxmlaknxyangmakrahwangphvtikrrmkhxngkhnthngsxngchnid inngansuksaehlani phurwmkarthdlxngichxupkrnekhluxnthiidephuxraynganwatnmiphvtikrrmaebbsnictxsingphaynxk echn kla phudekng mnic chxbsngkhm makaekhihninchwngewlatang inchiwitpracawn nganphbwa khnsnictxsingphaynxkklbmiphvtikrrmaebbsnictxsingphayinepnpraca aelakhnsnictxsingphayinknyediywkn aelacring aelw phvtikrrmsnictxsingphaynxkaetktangkninbukhkhlkhnediywknmakkwaaetktangkninrahwangbukhkhl cudaetktangthisakhythisudkkhux khnsnictxsingphaynxkmkcamiphvtikrrmaebbsnicphaynxkinradbpanklang 5 10 bxykhrngkwakhnsnicphayin dngnn cakmummxngni khnsnictxsingphaynxkaelakhnsnictxsingphayinimichca tangknodyphunthan aetwa khnsnictxsingphaynxkepnbukhkhlthimiphvtikrrmaebbsnicphaynxkbxykhrngkwa sungaesdngwa khwamsnictxsingphaynxkepneruxngekiywkbkartha makkwakarmi mnusyepnstwthisbsxnaelaimehmuxnikhr aelaephraawa khwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayintang knipxyangtxenuxng bukhkhlkhnhnungxaccamilksnathngsxngxyang khnthimiphvtikrrmaebbsnicphayininsthankarnhnung xaccamiphvtikrrmaebbsnicphaynxkinxiksthankarnhnung aelabukhkhlsamartheriynruthicamiphvtikrrmtrngkhamkbthitnpktimiinsthankarnbangxyang yktwxyangechn thvsdi Free Trait Theory esnxwa bukhkhlsamarthrbexalksnaxisra Free Traits odypraphvtitwaebbimichthrrmchatikhxngtn ephuxchwyihnganthisakhytxtnkawhnatxipid aenwkhidtang ehlani xthibaykhwamsnictxsingphaynxkinaengdi khux aethnthicaepneruxngtaytwhruxesthiyr bukhkhlxaccamiphvtikrrmsnicphaynxktang knkhunxyukbkhna aelasamartheluxkpraphvtitwephuxthanganthisakhytxtnihkawhna hruxaemaetephimkhwamsukhkhxngtnphlkaryxmrbwa khwamsnictxsingphaynxkaelakhwamsnictxsingphayinepnphvtikrrmpkti cachwyihyxmrbtwexngaelaekhaicphuxun yktwxyangechn khnsnictxsingphaynxksamarthyxmrbkhwamtxngkarxyukhnediywkhxngkhukhrxngkhxngtn inkhnathikhnsnictxsingphayinsamarthyxmrbkhwamtxngkarptismphnthkhxngkhukhrxng nkwicyidphbwa khwamsnictxsingphaynxkmishsmphnthkbkhwamsukhthitnaecngexng sungkkhux mikhnsnictxsingphaynxkmakkwathiraynganradbkhwamsukhthisungkwakhnsnicphayin aelaminganwicyxunthiaesdngwa karihphurwmkarthdlxngpraphvtiaebbsnicphaynxkchwyephimxarmnthiepnsukh aemsahrbbukhkhlthimilksnaepnkhnsnicphayin aetniimidhmaykhwamwakhnsnicphayincaimmikhwamsukh khnsnicphaynxkephiyngaetraynganwamixarmnechingbwkmakkwa ethiybkbkhnsnicphayinthimkcaxyuikl khwamrusukechy makkwa nixaccaepnephraawa khwamsnicphaynxkepnkhunlksnathiniymkwainsngkhmchawtawntkpccubn aeladngnn khnsnicphayincungxacrusukwatnmikhanxykwa nxkcaknganwicyekiywkbkhwamsukh nganxun phbwa khnsnicphaynxkmkcarayngankhwamnbthuxtn self esteem sungkwa aetkminkwichakarxun thixangwa phlthiidsathxnihehnthungxkhtithangsngkhm wthnthrrmthimiinngansarwc nkwichakarthanhnung dr David Meyers xangwa karmikhwamsukhepnephiyngkarmilksna 3 xyang khux khwamnbthuxtn self esteem karmxngolkinaengdi optimism aelakarsnictxsingphaynxk aelasrupxyangniodyxasyngansuksathiraynganwa khnsnictxsingphaynxkmikhwamsukhkwa aetwa ngansuksakmikhxnasngsyephraakhathamthiihkbphurwmkarthdlxng echn chnchxbxyuknkhnxun I like to be with others xyuknchnsnuk I m fun to be with epntwwdkhwamsukhodyechphaakhxngkhnthisnicphaynxk aelatam nph yung khnsnicphayinyxmrbpyhaaelakhwamtxngkarthangcitickhxngtnidngaykwa ethiybkbkhnsnicphaynxk thimkcaimtrahnkthungsingehlannephraamwsnicaetolkphaynxk aelaaemwa khwamsnictxsingphaynxkcamxngwaepneruxngthinachxbicthangsngkhmkhxngwthnthrrmtawntk aetkimicheruxngdiesmxip yktwxyangechn eyawchnthimilksnasnictxsingphaynxkmkcamiphvtikrrmphidkdhmay aelainnytrngkham aemwa khwamsnicphayinmxngwanachxbicthangsngkhmnxykwa aetksmphnthkblksnabwkxun echn khwamchlad aelaphrswrrkh epnchwngewlananthinkwicyphbwa khnsnictxsingphayinmkcaprasbkhwamsaercmakkwainxachiphwichakar thikhnsnicphaynxkxaccaehnwanaebux phuihkhaaenanadanxachiphbxykhrngcaichlksnabukhlikphaph rwmthngpccyxun echnthksaaelakhwamsnic ephuxihkhaaenana nganwicyaesdngwa rabbphumikhumknthangphvtikrrm behavioral immune system sungepnklikthangicthichwyihstwsamarthtrwccbsingthikxorkhphayinsingaewdlxmrxbtw aelathaihekidphvtikrrmhlikeliyngwtthuhruxbukhkhlehlann xacmixiththiphltxkarchxbsngkhm aemwa khwamsnicphaynxkcasmphnthkbphldihlayxyang echn radbkhwamsukhthisungkwa khnsnicphaynxkmioxkassungkwathicatidorkhtidtxephraawamkcaecxkhnmakkwa thabukhkhlmisukhphaphxxnaex karepnkhnchangsngkhmxaccamirakhasung dngnn khnmkcapraphvtiaebbsnicphaynxknxykwaemuxrusukxxnaex aelanytrngknkhamkehmuxnkn aemwathng khwamsnictxsingphaynxkaelakhwamsnictxsingphayincaimcdwaepnorkh aetwaphubabdorkhcitsamarthphicarnaphunxarmnaetkaenid temperament emuxrksakhnikh ephraawa khnikhxaccatxbsnxngtxkarrksaaebbxuniddikwakhunxyukbwatnxyuincudihnkhxngkhwamsnicphayin khwamsnicphaynxk khruksamarthphicarnaphunxarmnaetkaenidkhxngnkeriyniddwy echn yxmrbwa edkthisnicphayincaepntxngidkhaihkalngicmakkwaemuxtxngphudtxhnaephuxn aelaedkthisnicphaynxkxaccaxyuimepnsukhinchwngthitxngxyusuksaaebbengiyb txngkarxangxing khwamaetktanginphumiphakhtang nkwichakarbangthanxangwa khnxemriknxyuinsngkhmaebbsnictxsingphaynxk thiihkhwamsakhytxphvtikrrmsnicphaynxkaelaimyxmrbkhwamsnicphayin niepnephraawainpccubnshrthxemrikaepnwthnthrrmthiennbukhlikphaphphaynxk ethiybkbwthnthrrmxun thikhnxaccamikhunkhaephraasingthixyuphayinhruxkhunthrrm wthnthrrmxun echn praethsyipun aelaekhtxun thinbthuxsasnakhristxisethirnxxrthxdxks sasnaphuthth aelalththisufi epntn ihkhwamsakhykbkhwamsnictxsingphayin khwamaetktangthangwthnthrrmechnnisamarthphyakrnkhwamsukhkhxngkhninwthnthrrmnn echn phuthimiradbkhwamsnicphaynxksungcamikhwamsukhkwaodyechliy inwthnthrrmthiihkhwamsakhytxkhwamsnicphaynxk aelainthangtrngknkhamkehmuxnkn nkwicyphbwa bukhkhlthixyubnekaamkcaepnkhnsnicphayinmakkwakhnthixyubnphunaephndin aelabukhkhlthimibrrphburusxyubnekaaxyangnxy 20 chwkhnmkcaepnkhnsnicphayinmakkwakhnthiephingma nxkcaknnaelw khnthixphyphcakekaaipyngphunaephndinmkcasnicphaynxkmakkwakhnthiyngkhngxyubnekaa aelamakkwakhnthixphyphipyngekaakhwamsukhdngthiklawmaaelw khnsnicphaynxkbxykhrngmikhwamsukhaelaxarmnechingbwkmakkwakhnsnicphayinbthkhwamthbthwnwrrnkrrmthrngxiththiphlnganhnungsrupwa bukhlikphaph odyechphaakhwamsnicphaynxkaelakhwamesthiyrthangxarmn epntwphyakrnthidithisudekiywkbkhwamrusukxyuepnsukhthiepnxtwisy subjective well being yktwxyang echnngansuksapi 1990 phbwa khwamsnictxsingphaynxkdngthiwdody Extraversion Scale khxngchudkhatham Eysenck Personality Questionnaire EPQ mishsmphnthxyangsakhykbkhwamsukhthiwdody Oxford Happiness Inventory aelaodyichwithiwdediywkn nganpi 2001 kphbechnediywkn swnnganpi 1986 aesdngwa khwamsnictxsingphaynxkmishsmphnthxyangsakhykbxarmnechingbwk positive affect aetimmikbxarmnechinglbngansuksatamyawkhnadihypi 1992 kphbphlechnediywkn odypraeminphlcakphurwmkarthdlxng 14 407 khncakekht 100 ekhtinpraethsshrthxemrika aelaichaebbwdkhwamsukh General Well Being Schedule aebbyx sungwdthngxarmnechingbwkaelaechinglb aelaich Revised NEO Personality Inventory aebbsn khxng Costa amp McCrae ephuxwdbukhlikphaph phuekhiynraynganwa phusnicphaynxkprasbkhwamxyuepnsukh well being thidikwainchwngrayaewlasxngrayathiekbkhxmul khux rahwangpi 1971 1975 aela rahwang 1981 1984 nxkcaknnaelw nganpi 1991 aesdngwa khnsnicphaynxktxbsnxngtxxarmnechingbwkmakkwaxarmnechinglb ephraawa phwkekhaaesdngkartxbsnxngdwyxarmnechingbwkinradbthisungkwaemuxchkcungihekidxarmnechingbwk aetwaklbimtxbsnxngdwyxarmnechinglbinradbthisungkwaemuxchkcungihekidxarmnechinglb Instrumental view mummxngaebb instrumental view esnxwa lksnabukhlikphaph personality traits epnpccyihekidsphawatang aelakarkratha sungmiphltxxarmn aeladngnncungsrangkhwamaetktangrahwangbukhkhlineruxngxarmn lksnabukhlikphaphepnehtuihchxbekhasngkhm tam instrumental view khaxthibayxyanghnungthiphusnicsingphaynxkaecngkhwamxyuepnsukhthidikwa xaccaepnephraawa khwamsnictxsingphaynxkchwysrangsthankarnchiwitthioprohmtxarmnechingbwk positive affect inradbsung odyechphaakkhux khwamsnictxsingphaynxkepnekhruxngxanwyihekidptismphnththangsngkhmmakkhun ephraawa khwamtuntwinradbtainepluxksmxngkhxngbukhkhlehlanithaihtxnghasthankarnthangsngkhmephuxcaephimkhwamtuntw smmtithankickrrmthangsngkhm tamsmmtithankickrrmthangsngkhm social activity hypothesis karmiswnrwminkickrrmsngkhmsrangxarmnechingbwk positive affect bxykhrngkhun aelainradbthisungkhun dngnn cungechuxknwaephraawakhnsnictxsingphaynxkepnkhnchxbekhasngkhmmakkwa cungmixarmnechingbwkinradbthisungkwaephraakarmiptismphnththangsngkhm odyechphaakkhux ngansuksapi 1990 aesdngwa khnsnicphaynxkchxbicaelaekharwmkickrrmthangsngkhmmakkwa aeladngnn cungraynganradbkhwamsukhthisungkwa aelainnganpi 1990 khnsnicphaynxkmioxkasnxykwathicahlikeliyngkarekharwmkickrrmsngkhmthixukthuk aelamioxkassungkwathicaekharwmkickrrmsngkhmechn ekminparti elntlk hruxwaipduphaphyntr nganpi 1984 kphbphlechnediywkn khuxphbwa khnsnicsingphaynxkesaahakickrrmthangsngkhmbxykhrngkwa odyechphaakickrrmewlawang aetwa miphlngansuksahlaynganthikhansmmtithankickrrmsngkhm eruxngaerksud khux mikarphbwa khnsnictxsingphaynxkmikhwamsukhkwaaememuxxyukhnediyw odyechphaakkhux khnsnictxsingphaynxkmkcamikhwamsukhwaimwacaxyukhnediywhruxxyukbkhnxun hruxemuxxyuinemuxngthimichiwitchiwahruxxyuinchnbth aelaodykhlay kn nganinpi 1992 aesdngwa aemwakhnsnicphaynxkcaeluxknganthitxngtharwmkbkhnxunbxykhrngkwa 51 ethiybkbkhnsnicphayin 38 aetkyngmikhwamsukhkwaimwangannntxngtharwmkbkhnxunhruxim eruxngthisxngkkhux mikarphbwa khnsnictxsingphaynxkrayngankickrrmthangsngkhmmakkwaepnbangkhrngbangkhrawethann aetodythwipaelw imidmicanwnkarekhasngkhmmakwakhnsnictxsingphayin phlkhlay knkphbinngansuksapi 2008 thiphbwa thngkhnsnicphaynxkaelasnicphayinthngsxnglwnchxbptismphnththangsngkhm aetkhnsnicphaynxkekharwmkickrrmsngkhmmakkwa eruxngthisamkkhux ngansuksatang aesdngwathngkhnsnicphaynxkaelakhnsnicphayinekharwmkickrrmsngkhm aetwa khunphaphkhxngkarekharwmkickrrmtangkn aemwakarekharwmkickrrmsngkhmthibxykhrngkwaxacepnephraakhnsnicphaynxkruckkhnmakkwa aetkhnehlanixaccaimichephuxnthiiklchid ethiybkbkhnsnicphayin thiemuxekharwmngansngkhm caeluxksrrmakkwaaelamiephuxniklchidimkikhnthitniklchidepnphiess thvsdikarisicthangsngkhm yngmikhaxthibayxikxyanghnungekiywkbkhashsmphnthradbsungrahwangkhwamsnicsingphaynxkkbkhwamsukh thimacakngansuksapi 2002 sungesnxwa thrrmchatihlkxyanghnungkhxngkhwamsnicsingphaynxkkkhuxkhwamonmexiyngthicapraphvtitwephuxdungdud tharng aelaephlidephlintx khwamsnicthangsngkhm aelaimicheruxngkhwamiwtxrangwl reward sensitivity hruxkhwamiwtxkhwamsukh odyxangwa khunsmbtiphunthankhxngkhwamisicthangsngkhmxyanghnung kkhuxxacmiphlihkhwamsukh rewarding dngnn thabukhkhlaesdngxarmnechingbwkkhuxkhwamkratuxruxrn khwammichiwitchiwa aelakhwamtunetn khnxunkcamxngkhnnninaengdi aelakhnnnkcaidkhwamisiccakphuxun ptikiriyathidicakkhnxunkcasnbsnunihkhnsnictxsingphaynxkaesdngphvtikrrmaebbnn ephimkhun nganpi 2002 aesdngwa withikarwdkarisicthangsngkhmkhxngphwkekha khux Social Attention Scale miradbshsmphnthkbkhwamsnicsingphaynxkmakkwakhawdkhxngkhwamiwrangwl reward sensitivity phunxarmnaetkaenid mummxngaebbphunxarmnaetkaenid Temperamental view tngxyuinaenwkhidwa lksnabukhlikphaphkhxngbukhkhlsmphnthodytrngkbkhwamiwxarmnbwkaelaxarmnlbkhxngbukhkhl aebbcalxngptikiriyathangxarmn aebbcalxngptikiriyathangxarmn affective reactivity model xangwa kalngptikiriyakhxngbukhkhltxehtukarnthikxihekidxarmnthismkhwr miehtumacakkhwamaetktangthangxarmn affect aebbcalxngnitngxyubnthvsdikhwamiwtxkaresrimaerng reinforcement sensitivity theory khxng s dr ecffriy xaaeln ekry thiklawwa bukhkhlthimi behavioral activation system BAS thimikalngkwacatxbsnxngtxrangwl reward khuxkhwamsukh inradbsung aelamiaenwonmthicamilksnasnicinphaynxk swnkhnthimirabb behavioral inhibition system BIS thimikalngkwa catxbsnxngtxrangwlkhuxkhwamsukhnxykwa aelamiaenwonmthicamilksna neuroticism aelakhwamsnicphayin dngnn cungepnkarmxngkhnsnicphaynxkwa mikhwamonmexiyngthangphunxarmnaetkaenidipthangkarmixarmnechingbwk enuxngcakkarchkcungihekidxarmnechingbwkmiphlmakkwainbukhkhlehlaniethiybkbkhnsnicphayin dngnn khnsnicphaynxkcungmkiwthicamiptikiriyatxpraktkarnthiihkhwamsukh yktwxyangechn nganpi 2000 phbinkarthdlxngtxkn 2 xyangwa khnthimirabb BIS iwkwa raynganradbxarmnechinglbthisungkwaodyechliy inkhnathibukhkhlthimirabb BAS iwkwa raynganradbxarmnechingbwkthisungkwa aelanganpi 1999 phbwa bukhkhlthimirabb BAS iwkwa raynganxarmnechingbwkmakkwaemuxmikarchkcungihmixarmnechingbwk inkhnathiphumirabb BIS iwkwa raynganwamixarmnechinglbmakkwaemuxmikarchkcungihekidxarmnechinglb txngkarxangxing Social reactivity theory thvsdiptikiriyathangsngkhm social reactivity theory xangwa mnusythukkhntxngekharwmsthankarnthangsngkhmimwacachxbichruxim aelaephraakhnsnicphaynxkchxbptismphnththangsngkhmmakkwakhnsnicphayin cungidxarmnechingbwk positive affect caksthankarnechnnnmakkwa hlkthansnbsnunthvsdinimacakngankhxngnkekhiyn ibrxn litetil phuthaaenwkhidekiywkb restorative niches chxngkhunsphaph ihepnthiniym khuxekhaxangwa chiwitbxykhrngbngkhbihbukhkhlmiswnrwminsthankarnthangsngkhm aelaephraawakarpraphvtiihekhakbkhnxunidimepnthrrmchatikhxngkhnsnicphayin cungthaihrusukxyuimepnsukh dngnn withikarhnungthicarksakhwamrusukxyuepnsukhkkhuxtxngcharcaebtihbxythisudinthithitnsamarthklbipsusphawathrrmchatikhxngtn epnthithilitetileriykwa chxngkhunsphaph xyangirkdi kyngmingansuksathiphbwa khnsnicphaynxkimidtxbsnxngtxsthankarnthangsngkhmxyangmikalngkwa aelakimidraynganradbxarmnechingbwkthisungkwainptismphnthechnnnxikdwy karkhwbkhumxarmn swnkhaxthibayxikxyanghnungekiywkbkarmikhwamsukhmakkwa kkhux khnsnicphaynxksamarthkhwbkhumxarmnkhxngtniddikwa sunghmaykhwamwa insthankarnthiimchdecn echn inthithimikarchkcungihekidphunxarmn mood thngechingbwkaelaechinglbrwm kninprimanetha kn khnsnictxsingphaynxkmiradbxarmnechingbwkthildlngchakwa aeladngnn cungmixarmnechingbwkmakkwa khnsnictxsingphaynxkxaccaeluxkkickrrmthixanwykhwamsukh echn khidthungkhwamcathidi makkwakhnsnicphayinemuxkhidthungnganyakthitxngtha set point model hrux affect level model tamaebbcalxngkhidtng set point model radbxarmnechingbwkaelalbpktiodypramanaelwtaytwinaetlabukhkhl aeladngnn hlngcakehtukarnbwkhruxlb phunxarmn mood khxngbukhkhlnncaklbipthicudtng tamthvsdini khnsnicphaynxkprasbkhwamsukhmakkwaephraawaphunxarmnkhxngtnmikhidtngepnbwkkwa aeladngnn cungtxngxasykaresrimaerngechingbwk positive reinforcement nxykwaephuxthicarusukepnsukh khwamsmphnthrahwangkhwamsukh khwamtuntw nganwicypi 2008 aesdngwa emuxkalngrusuksukh khnsnicphaynxkaelakhnsnicphayinthasingthiaetktangkn sungxaccaxthibaykarpraeminkhwamthiaelakalngkhxngkhwamsukhthimiodykhnsnicphayinnxyekinip odyechphaakkhux nganphbwa sahrbkhnsnicphaynxk khwamtuntwmishsmphnthechingbwkkbkhwamsukh sungkhmaykhwamwa khwamrusuksukhmioxkassungkwathicaprakxbdwykhwamtuntwinradbsungsahrbkhnsnicphaynxk aelaodynytrngknkham sahrbkhnsnicphayin khwamtuntwmishsmphnthechinglbkbkhwamsukh khuxmiphlwacamikhwamsukhkemuxmikhwamtuntwnxy klawxikxyangkkhux thathukxyangepniptamaephninchiwit sungnamasungkhwamsukh khnsnicphaynxkcaehnsthankarnechnniwaepnoxkasthicaerimthaxairbangxyangaelaephuxtidtamepahmay sungnamasungsphawathiimxyuechy tuntwaelamikhwamsukh aetemuxthukxyangepniptamaephnsahrbkhnsnicphayin bukhkhlcaehnwaepnoxkasthicathatwsbay thaihrusukphxnkhlayaelamikhwamsukh pyhakhashsmphnth aemwa khwamsnictxsingphaynxkcamikhashsmphnththismaesmxaelamikalngkbkhwamsukh happiness aelakhwamxyuepnsukh well being phlnganehlanimipyhaephraamilksnabukhlikphaphxun thikepntwchikhwamsukhthimikalngehmuxnkn Neuroticism aelakhwamsnicphaynxk inngansuksahlayngan neuroticism phbwamiphletha thaimmakkwakhwamsnicphaynxk txkhwamsukhaelakhwamxyuepnsukh nganpi 2008 cdedkihxyuin 4 klumkhunxyukbkhaaennthiidcakkarwdkhwamsnicphaynxkaelakhwamesthiyrthangxarmn neuroticism phlnganniimaesdngkhwamaetktangkhxngradbkhwamsukhxyangsakhykhxngphusnicphayinaelaphusnicphaynxkthimixarmnesthiyr inkhnabukhkhlthimixarmnimesthiyrinaebbthngsxngaesdngkhwamsukhthinxykwabukhkhlthiesthiyr dngnn inngansuksani neuroticism praktwaepnpccythisakhykwatxkhwamepnxyuthidiodythwip inngansuksatx ma nkwicyidichkhathampraemintrwcsxblksnatang echn khwamnbthuxtnexng self esteem aelaepahmayinchiwit sungngankxn phbwamishsmphnthkbkhwamsukh kartxbsnxngkhxngphurwmkarthdlxngtxwithiwdehlaniaesdngwa neuroticism miphltxkhwamxyuepnsukhmakkwakhwamsnictxsingphaynxk lksnabukhlikphaphihy 5 xyangxun aemwa khwamsnictxsingphaynxkaela neuroticism camiphlthiihythisudtxkhwamsukh aetwa pccyxun khxnglksnabukhlikphaphihy 5 xyangkmihlkthanwamishsmphnthkbkhwamsukhaelakhwamepnxyuthidi yktwxyangechn ngansuksahnungaesdngwa khwamphithiphithn conscientiousness aelakhwamyinyxmehnic agreeableness wamikhashsmphnth 0 20 kbkhwamxyuepnsukhthiepnxtwisy subjective well being aemwa phlkhxnglksnaxun ehlanicaimmikalngethakhwamsnictxsingphaynxkaela neuroticism aetkchdecnwayngmiphltxkhwamsukhbang nxkcaknnaelw ptismphnthrahwangkhwamsnicphaynxk neuroticism aelakhwamphithiphithn mixiththiphlxyangsakhytxkhwamxyuepnsukhthiepnxtwisy inngansuksahnung nkwicyichwithikarwd 3 xyang ephuxpraeminkhwamxyuepnsukhthiepnxtwisy aelwphbwa khwamsnictxsingphaynxkbwk neuroticism samarthichphyakrnkhwamxyuepnsukhxyanghnung inkhnathikhwamxyuepnsukhthiwdxik 2 xyang phyakrniddikwaodykhwamphithiphithnaela neuroticism nxkcakkhwamsakhyinkarrwmpccyxun ephuxpraeminkhwamsukh ngansuksaniyngaesdngxikdwywa bthniyamptibtikar operational definition khxngkhwamxyuepnsukh well being caimehmuxnknkhunxyukbwakhwamsnictxsingphaynxkepnhruximepnpccyphyakrnsakhy pccybukhlikphaphxun thimiswn mihlkthandwywa pccythangbukhlikphaphthiimich trait lksna xun xacmishsmphnthkbkhwamsukh yktwxyangechn ngansuksahnungaesdngwa mititang ekiywkbepahmay echn khwamkawhnaipyngepahmaytang thisakhy hruxkhwamkhdaeyngrahwangepahmay samarthmiphltxkhwamxyuepnsukhthngthangxarmnaelathangkhwamkhid nkwicyhlaythanyngesnxxikdwywa xyangnxyinwthnthrrmthiennkhwamepntwkhxngtwexng karekhaicthisxdkhlxnginbukhlikphaphkhxngtnexng aelapraphvtitwtamkhwamekhaicnn smphnthkbkhwamxyuepnsukh dngnn karsnicaetkhwamsnictxsingphaynxk hruxaemaetthngkhwamsnictxsingphaynxkaela neuroticism nacaihkhwamekhaicthiimsmburnineruxngkhwamsmphnthkhxngkhwamsukhkbbukhlikphaph wthnthrrm nxkcaknnaelw wthnthrrmkhxngtnxacmixiththiphltxkhwamsukh happiness aelakhwamxyuepnsukhthiepnxtwisy subjective well being odythwip radbkhwamsukhthwipcatang knipinwthnthrrmtang aelakaraesdngxxkthungkhwamsukhkechnkn karsarwcnanachatiphbwa praethstang aelaaemaetklumchatiphnthutang inpraethsnn mikhwamphungphxicinchiwitodyechliythiaetktangkn yktwxyangechn nkwicykhnhnungphbwarahwangpi 1958 1987 khwamphxicinchiwitkhxngkhnyipunxyuraw 6 etm 10 inkhnathikhnednmarkraw 8 emuxepriybethiybklumchatiphnthutang phayinshrthxemrika nganwicyhnungphbwa khnxemriknechuxsayyuorpraynganwa mikhwamsukhkbchiwitmakkwakhnxemriknechuxsayexechiyxyangsakhy nkwicyidtngsmmtithanpccyhlayxyangthixacepnehtukhxngkhwamaetktanginpraethstang rwmthngkhwamaetktangrahwangrayidkhxngpraeths khwamexnexiyngrbichtnexng self serving karyktnexng self enhancement aelathrrmchatithichxbtrwcsxb approach hruxhlikeliyng avoidance odyrwm knaelw ngansuksaehlaniaesdngwa aemwa khwamsnictxsingphaynxk khwamsnictxsingphayincamikhashsmphnththimikalngkbkhwamsukh aetkyngimsamarthichepntwphyakrnediywkhxngkhwamxyuepnsukhthiepnxtwisy aelatxngrwmpccyxun dwyemuxphyayamthicakahndwapccyxairsmphnthkbkhwamsukhduephimechingxrrthaelaxangxingsx esthbutr extrovert ThaiSoftware Dictionary v 6 0 New Model English Thai Dictionary phuthichxbexaiciskbsingphaynxk sx esthbutr introversion ThaiSoftware Dictionary v 6 0 New Model English Thai Dictionary karsnickbsingphayintw Juung C G 1921 Psychologische Typen Zurich Rascher Verlag a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter translation H G Baynes 1923 Thompson Edmund R 2008 Development and Validation of an International English Big Five Mini Markers Personality and Individual Differences 45 6 542 8 doi 10 1016 j paid 2008 06 013 Jung Carl 1995 Memories Dreams Reflections London Fontana Press pp 414 5 ISBN 0 00 654027 9 attitude type characterised by orientation in life through subjective psychic contents an attitude type characterised by concentration of interest on the external object Extraversion Merriam Webster Collegiate Dictionary 11 ed Springfield Massachusetts USA Merriam Webster Inc 2003 the act state or habit of being predominantly concerned with obtaining gratification from what is outside the self Extraversion or Introversion The Myers amp Briggs Foundation Introversion Merriam Webster Collegiate Dictionary 11 ed Springfield Massachusetts USA Merriam Webster Inc 2003 the state of or tendency toward being wholly or predominantly concerned with and interested in one s own mental life Helgoe Laurie 2008 Introvert Power Why Your Inner Life is Your Hidden Strength Naperville Illinois Sourcebooks Inc a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter txngkarelkhhna Introversion Gale Encyclopedia of Childhood amp Adolescence Gale Research 1998 Laney Marti Olsen 2002 The Introvert Advantage How to Thrive in an Extrovert World Workman Publishing ISBN 0 7611 2369 5 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Cain Susan 2012 Quiet The Power of Introverts in a World That Can t Stop Talking Crown Publishing a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter xangxingody Szalavitz Maia 2012 01 27 Mind Reading Q amp A with Susan Cain on the Power of Introverts ekbcakaehlngedimemux 2012 03 19 subkhnemux 2016 07 24 Cook Gareth The Power of Introverts A Manifesto for Quiet Brilliance Scientific American ekbcakaehlngedimemux 2012 03 16 subkhnemux 2016 07 24 Whitten Meredith 2001 08 21 All About Shyness Psych Central Cain Susan Quiet The Power of Introverts in a World That Can t Stop Talking www cbsnews com subkhnemux 2015 10 05 Book Review Quiet The Power of Introverts in a World That Can t Stop Talking by Susan Cain subkhnemux 2015 10 05 AllPsych Online khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2011 07 07 subkhnemux 2004 03 23 Ambiversion WordNet 2 0 eDocuLab Inc Princeton University 2003 psychology a balanced disposition intermediate between extroversion and introversion Cohen Donald Schmidt James P 1979 Ambiversion Characteristics of Midrange Responders on the Introversion Extraversion Continuum Journal of Personality Assessment 43 5 514 6 doi 10 1207 s15327752jpa4305 14 PMID 16367029 Cain Susan 2012 Quiet The Power of Introverts in a World That Can t Stop Talking page 3 Introduction amp page 280 note 11 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter Goudreau Jenna 2012 01 26 The Secret Power Of Introverts Forbes ekbcakaehlngedimemux 2012 03 14 subkhnemux 2016 07 24 Gordon Leslie A 2016 01 01 ABA Journal khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 01 08 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Goldberg Lewis R Johnson John A Eber Herbert W Hogan Robert Ashton Michael C Cloninger C Robert Gough Harrison G 2006 The international personality item pool and the future of public domain personality measures Journal of Research in Personality 40 1 84 96 doi 10 1016 j jrp 2005 08 007 Goldberg Lewis R 1992 The development of markers for the Big Five factor structure Psychological Assessment 4 1 26 42 doi 10 1037 1040 3590 4 1 26 Saucier Gerard 1994 Mini Markers A Brief Version of Goldberg s Unipolar Big Five Markers Journal of Personality Assessment 63 3 506 16 doi 10 1207 s15327752jpa6303 8 PMID 7844738 Piedmont R L Chae J H 1997 Cross Cultural Generalizability of the Five Factor Model of Personality Development and Validation of the NEO PI R for Koreans Journal of Cross Cultural Psychology 28 2 131 155 doi 10 1177 0022022197282001 Eysenck H J 1967 The biological basis of personality Springfield IL Thomas Publishing txngkarelkhhna Tellegen Auke Lykken David T Bouchard Jr Thomas J Wilcox Kimerly J Segal NL Rich S 1988 Personality similarity in twins reared apart and together Journal of Personality and Social Psychology 54 6 1031 9 doi 10 1037 0022 3514 54 6 1031 PMID 3397862 Lemon juice experiment BBC Home 2014 09 17 Depue RA Collins PF 1999 Neurobiology of the structure of personality Dopamine facilitation of incentive motivation and extraversion The Behavioral and brain sciences 22 3 491 517 discussion 518 69 doi 10 1017 S0140525X99002046 PMID 11301519 Johnson DL Wiebe JS Gold SM Andreasen NC Hichwa RD Watkins GL Boles Ponto LL 1999 Cerebral blood flow and personality A positron emission tomography study The American Journal of Psychiatry 156 2 252 7 PMID 9989562 Forsman LJ de Manzano O Karabanov A Madison G Ullen F 2012 Differences in regional brain volume related to the extraversion introversion dimension a voxel based morphometry study Neuroscience research 72 1 59 67 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Shiner Rebecca Caspi Avshalom 2003 Personality differences in childhood and adolescence Measurement development and consequences Journal of Child Psychology and Psychiatry 44 1 2 32 doi 10 1111 1469 7610 00101 PMID 12553411 Sharma R S 1980 Clothing behaviour personality and values A correlational study Psychological Studies 25 2 137 42 Rentfrow Peter J Gosling Samuel D 2003 The do re mi s of everyday life The structure and personality correlates of music preferences Journal of Personality and Social Psychology 84 6 1236 56 doi 10 1037 0022 3514 84 6 1236 PMID 12793587 Gosling S 2008 Snoop New York Basic Books a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter txngkarelkhhna Fleeson W Gallagher P 2009 The Implications of Big Five Standing for the Distribution of Trait Manifestation in Behavior Fifteen Experience Sampling Studies and a Meta Analysis Journal of Personality and Social Psychology 87 6 1097 1114 doi 10 1037 a0016786 Little B R 1996 Free traits personal projects and idio tapes Three tiers for personality research Psychological Inquiry 8 340 344 doi 10 1207 s15327965pli0704 6 Little B R 2008 Personal Projects and Free Traits Personality and Motivation Reconsidered Social and Personality Psychology Compass 2 3 1235 1254 doi 10 1111 j 1751 9004 2008 00106 x Myers David G 1992 07 01 The Secrets of Happiness Psychology Today a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Pavot William Diener Ed Fujita Frank 1990 Extraversion and happiness Personality and Individual Differences 11 12 1299 306 doi 10 1016 0191 8869 90 90157 M Fleeson William Malanos Adriane B Achille Noelle M 2002 An intraindividual process approach to the relationship between extraversion and positive affect Is acting extraverted as good as being extraverted Journal of Personality and Social Psychology 83 6 1409 22 doi 10 1037 0022 3514 83 6 1409 PMID 12500821 Swickert Rhonda Hittner James B Kitos Nicole Cox Fuenzalida Luz Eugenia 2004 Direct or indirect that is the question A re evaluation of extraversion s influence on self esteem Personality and Individual Differences 36 1 207 17 doi 10 1016 S0191 8869 03 00080 1 Cheng Helen Furnham Adrian 2003 Personality self esteem and demographic predictions of happiness and depression Personality and Individual Differences 34 6 921 42 doi 10 1016 S0191 8869 02 00078 8 Blind Privilege 2007 03 05 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 02 25 Ryckman R 2004 Theories of Personality Belmont CA Thomson Wadsworth txngkarelkhhna Furnham Adrian Forde Liam Cotter Tim 1998 Personality and intelligence Personality and Individual Differences 24 2 187 92 doi 10 1016 S0191 8869 97 00169 4 Gallagher S A 1990 Personality patterns of the gifted Understanding Our Gifted 3 1 11 13 Hoehn L Birely M K 1988 Mental process preferences of gifted children Illinois Council for the Gifted Journal 7 28 31 Eysenck H J 1971 Readings in Extraversion Introversion New York Wiley txngkarelkhhna Ateel Saqib Ali 2005 Personality Career Tests a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint uses authors parameter Schaller Mark 2011 10 31 The behavioural immune system and the psychology of human sociality Philosophical Transactions B 366 1583 3418 3426 doi 10 1098 rstb 2011 0029 Diamond Stephen A 2008 11 07 The Therapeutic Power of Sleep Psychology Today subkhnemux 2012 02 04 Quiet Please Unleashing The Power Of Introverts NPR 2012 01 30 subkhnemux 2012 02 04 Cain Susan TED khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2012 03 15 subkhnemux 2012 12 27 Fulmer C Ashley Gelfand Michele J Kruglanski Arie W Kim Prieto Chu Diener Ed Pierro Antonio Higgins E Tory 2010 On Feeling Right in Cultural Contexts How Person Culture Match Affects Self Esteem and Subjective Well Being Psychological Science 21 11 1563 9 doi 10 1177 0956797610384742 PMID 20876880 McCrae Robert R Costa Paul T 1991 Adding Liebe und Arbeit The Full Five Factor Model and Well Being Personality and Social Psychology Bulletin 17 2 227 32 doi 10 1177 014616729101700217 Furnham Adrian Brewin Chris R 1990 Personality and happiness Personality and Individual Differences 11 10 1093 6 doi 10 1016 0191 8869 90 90138 H Diener Ed Suh Eunkook M Lucas Richard E Smith Heidi L 1999 Subjective well being Three decades of progress Psychological Bulletin 125 2 276 302 doi 10 1037 0033 2909 125 2 276 Argyle Michael Lu Luo 1990 The happiness of extraverts Personality and Individual Differences 11 10 1011 7 doi 10 1016 0191 8869 90 90128 E Hills Peter Argyle Michael 2001 Emotional stability as a major dimension of happiness Personality and Individual Differences 31 8 1357 64 doi 10 1016 S0191 8869 00 00229 4 Emmons Robert A Diener Ed 1986 Influence of impulsivity and sociability on subjective well being Journal of Personality and Social Psychology 50 6 1211 5 doi 10 1037 0022 3514 50 6 1211 Diener Ed Sandvik Ed Pavot William Fujita Frank 1992 Extraversion and subjective well being in a U S National probability sample Journal of Research in Personality 26 3 205 15 doi 10 1016 0092 6566 92 90039 7 Costa Paul T McCrae Robert R 1986 Cross sectional studies of personality in a national sample I Development and validation of survey measures Psychology and Aging 1 2 140 3 doi 10 1037 0882 7974 1 2 140 PMID 3267390 Larsen Randy J Ketelaar Timothy 1991 Personality and susceptibility to positive and negative emotional states Journal of Personality and Social Psychology 61 1 132 40 doi 10 1037 0022 3514 61 1 132 PMID 1890584 Zelenski John M Larsen Randy J 1999 Susceptibility to Affect A Comparison of Three Personality Taxonomies Journal of Personality 67 5 761 91 doi 10 1111 1467 6494 00072 PMID 10540757 Watson D 2000 Mood and Temperament New York NY Guilford Press txngkarelkhhna Lucas Richard E Le Kimdy Dyrenforth Portia S 2008 Explaining the Extraversion Positive Affect Relation Sociability Cannot Account for Extraverts Greater Happiness Journal of Personality 76 3 385 414 doi 10 1111 j 1467 6494 2008 00490 x PMID 18399958 Eysenck H J 1967 The biological basis of personality Springfield IL Charles C Thomas txngkarelkhhna Campbell A Converse P Rodgers W 1976 The quality of American life New York NY Sage txngkarelkhhna Eysenck H J Eysenck M W 1985 Personality and individual differences New York NY Plenum Press txngkarelkhhna Snyder M 1981 On the influence of individuals on situations in Cantor N Kihlstrom J b k Personality cognition and social interaction Hillsdale NJ Erlbaum pp 309 29 Diener Ed Larsen Randy J Emmons Robert A 1984 Person Situation interactions Choice of situations and congruence response models Journal of Personality and Social Psychology 47 3 580 92 doi 10 1037 0022 3514 47 3 580 PMID 6491870 Srivastava Sanjay Angelo Kimberly M Vallereux Shawn R 2008 Extraversion and positive affect A day reconstruction study of person environment transactions Journal of Research in Personality 42 6 1613 8 doi 10 1016 j jrp 2008 05 002 Ashton Michael C Lee Kibeom Paunonen Sampo V 2002 What is the central feature of extraversion Social attention versus reward sensitivity Journal of Personality and Social Psychology 83 1 245 52 doi 10 1037 0022 3514 83 1 245 PMID 12088129 Tellegen A 1985 Structures of mood and personality and their relevance to assessing anxiety with an emphasis on self report in Tuma A H Maser J D b k Anxiety and the anxiety disorders Hillsdale NJ Erlbaum pp 681 706 Gray J A 1994 Personality dimensions and emotion systems in Ekman P Davidson R b k The nature of emotions Fundamental questions New York NY Oxford University Press pp 329 31 Carver C S Sutton S K Scheier M F 2000 Action Emotion and Personality Emerging Conceptual Integration Personality and Social Psychology Bulletin 26 6 741 51 doi 10 1177 0146167200268008 Rusting Cheryl L Larsen Randy J 1995 Moods as sources of stimulation Relationships between personality and desired mood states Personality and Individual Differences 18 3 321 329 doi 10 1016 0191 8869 94 00157 N Gable Shelly L Reis Harry T Elliot Andrew J 2000 Behavioral activation and inhibition in everyday life Journal of Personality and Social Psychology 78 6 1135 49 doi 10 1037 0022 3514 78 6 1135 PMID 10870914 Little Brian R 2000 Free traits and personal contexts Expending a social ecological model of well being in Welsh W Bruce Craik Kenneth H Price Richard H b k Person environment Psychology New Directions and Perspectives Mahwah NJ Lawrence Erlbaum and Associates pp 87 116 ISBN 978 0 8058 2470 4 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint extra punctuation Lischetzke Tanja Eid Michael 2006 Why Extraverts Are Happier Than Introverts The Role of Mood Regulation Journal of Personality 74 4 1127 61 doi 10 1111 j 1467 6494 2006 00405 x PMID 16787431 Tamir Maya 2009 Differential Preferences for Happiness Extraversion and Trait Consistent Emotion Regulation Journal of Personality 77 2 447 70 doi 10 1111 j 1467 6494 2008 00554 x PMID 19220724 Kuppens Peter 2008 Individual differences in the relationship between pleasure and arousal Journal of Research in Personality 42 4 1053 9 doi 10 1016 j jrp 2007 10 007 Young R Bradley M T 2008 Social withdrawal self efficacy happiness and popularity in introverted and extroverted adolescents Canadian Journal of School Psychology 14 1 21 35 Hills P Argyle M 2001 Happiness introversion extraversion and happy introverts Personality and Individual Differences 30 595 608 doi 10 1016 s0191 8869 00 00058 1 Hills P Argyle M Emotional stability as a major dimension of happiness Personality and Individual Differences 31 1357 1364 doi 10 1016 s0191 8869 00 00229 4 DeNeve KM Cooper H 1998 The happy personality A meta analysis of 137 personality traits and subjective well being Psychology Bulletin 124 197 229 doi 10 1037 0033 2909 124 2 197 PMID 9747186 Hayes N Joseph S Big 5 correlates of three measures of subjective well being Personality and Individual Differences 34 723 727 doi 10 1016 s0191 8869 02 00057 0 Emmons RA 1986 Personal strivings an approach to personality and subjective Annual Review of Psychology 54 403 425 Cantor N Sanderson CA 1999 Life task participation and well being the importance of taking part in daily life Well Being Foundations of Hedonic Psychology 230 243 Higgins ET Grant H Shah J Self regulation and quality of life emotional and non emotional life experiences Well Being Foundations of Hedonic Psychology 244 266 Scheier MF Carver CS 1993 On the power of positive thinking the benefits of being optimistic Current Directions in Psychological Science 2 1 26 30 doi 10 1111 1467 8721 ep10770572 Veenhoven R 1993 Happiness in Nations Subjective Appreciation of Life in 56 Nations 1946 1992 Rotterdam The Netherlands Erasmus University Oishi S 2001 Culture and memory for emotional experiences on line vs retrospective judgments of subjective well being Dissertation Abstracts International Section B The Sciences and Engineering 61 Diener E Oishi S Lucas R 2003 Personality Culture and Subjective Well Being Emotional and Cognitive Evaluations Of Life Annual Review of Psychology 54 403 425 doi 10 1146 annurev psych 54 101601 145056 aehlngkhxmulxunSecrets of a super successful introvert Susan Cain article from CNN Living TED talks Susan Cain The power of introverts 2012 03 15 thi ewyaebkaemchchin talk by Susan Cain author of Quiet The Power of Introverts in a World That Can t Stop Talking January 2012 talks about reasons we should celebrate and encourage introversion Revenge of the Introvert Laurie Helgoe s article about introversion published in Psychology Today 2010 General description of the types Jung s original article 1921 BBC The Human Mind Personality Description of introversion and extraversion focusing on reward seeking behavior Changing Minds Another description of introversion and extraversion taking a Jungian view Extraversion Gale Encyclopedia of Childhood amp Adolescence Gale Research 1998 Introversion Gale Encyclopedia of Childhood amp Adolescence Gale Research 1998 USA Today article about CEO introverts extraverts Caring for Your Introvert Article in The Atlantic March 2003 Ten Myths About Introverts Article by Carl King 2009 J Wilt and W Revelle review chapter on extraversion Scientific American article on Introversion Scientific American blogs What Kind of Introvert are you Temperament and the Brain Introverts and Extraverts 2016 03 14 thi ewyaebkaemchchin