สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 และเป็นรัชกาลสุดท้ายแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301 — 7 เมษายน พ.ศ. 2310 มีพระราชสมัญญานามที่สามัญชนเรียกกันอย่างลับว่า ขุนหลวงขี้เรื้อน เนื่องจากพระฉวี (ผิวหนัง) เป็นโรคผิวหนัง โรคเรื้อน หรือโรคกลากเกลื้อน
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ | |
พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ วัดละมุด อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2301 - 7 เมษายน พ.ศ. 2310 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร |
ถัดไป | สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (อาณาจักรธนบุรี) |
สมุหนายก | ดูรายชื่อ |
พระราชสมภพ | พ.ศ. 2252 |
สวรรคต | ประมาณ เมษายน พ.ศ. 2310 (58 พรรษา) |
มเหสี | กรมขุนวิมลพัตร |
พระสนม | เจ้าจอมมารดาเพ็ง เจ้าจอมมารดาแม้น |
พระราชบุตร | เจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี พระองค์เจ้าหญิงสตันสรินทร์ พระองค์เจ้าชายประเวศกุมาร พระองค์เจ้าหญิงสูรา (รุจจาเทวี) พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ (กุมารา) |
ราชวงศ์ | บ้านพลูหลวง |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
พระราชมารดา | กรมพระเทพามาตุ (พลับ) |
พระราชประวัติ
ก่อนครองราชย์
สมเด็จพระบรมราชา มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าเอกทัศ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) เมื่อพระราชบิดาปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2275 จึงโปรดให้ตั้งเป็นกรมขุนอนุรักษ์มนตรี
หนึ่งปีก่อนพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต พระองค์ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต พระอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตทูลว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐา ยังคงอยู่ขอพระราชทานให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลน่าจะสมควรกว่า พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงตรัสว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้น เป็นวิสัยพระทัยปราศจากความเพียร ถ้าจะให้ดำรงฐานานุศักดิ์อุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่ง ก็จะเกิดวิบัติฉิบหายเสีย เห็นแต่กรมขุนพรพินิจ กอปรด้วยสติปัญญาฉลาดเฉลียว ควรจะดำรงเศวตฉัตรรักษาแผ่นดินได้ แล้วรับสั่งกับกรมขุนอนุรักษ์มนตรีว่า "จงไปบวชเสีย อย่าอยู่ให้กีดขวาง" กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเกรงพระราชอาญาจึงจำพระทัยทูลลาผนวชไปประทับ ณ วัดละมุดปากจั่น ส่วนเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้รับอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแทน
การเสด็จขึ้นครองราชย์
เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2301 พระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ ระหว่างนั้นกรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ราว 2 เดือนต่อมา พระเจ้าอุทุมพรเสด็จไปถวายราชสมบัติแก่กรมขุนอนุรักษ์มนตรีแล้วเสด็จออกผนวช ประทับ ณ วัดประดู่ทรงธรรม กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงเสด็จขึ้นราชาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชามหาอดิศร บวรสุจริต ทศพิธธรรมธเรศ เชษฐโลกานายกอุดม บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว
สงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สอง
ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์ พระเจ้าอลองพญาได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าเอกทัศได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ แต่พระเจ้าอลองพญาประชวรสวรรคตเสียก่อน
ต่อมาใน พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ได้เป็นพระเจ้าอังวะและส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพกว่า 70,000 นาย ยกเข้าตีเมืองสยาม 2 ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเข้าทางเมืองมะริด ส่วนทางตอนเหนือตีลงมาจากแคว้นล้านนา และบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนานกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือน ก็เข้าพระนครได้ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและคองบองของพม่า ได้บรรยายให้เห็นว่าในสงครามครั้งนี้ ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเองก็ได้เตรียมการและกระทำการรบอย่างเข้มแข็ง มิได้เหลวไหลอ่อนแอ
การสวรรคต
สาเหตุการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอกทัศมีสันนิษฐานไว้หลายข้อ ในหลักฐานของไทยส่วนใหญ่บันทึกไว้ว่าพระองค์เสด็จสวรรคตจากการอดพระกระยาหารเป็นเวลานานกว่า 10 วัน หลังจากที่เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้กับวัดสังฆาวาส ทหารพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อเสด็จสวรรคต นายทองสุกได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ ตรงหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพขึ้นถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี
ฝ่ายพงศาวดารพม่าระบุว่า เกิดความสับสนระหว่างการหลบหนีในเหตุการณ์กรุงแตก จึงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง
ส่วนคำให้การของแอนโทนี โกยาตัน ตำแหน่ง หัวหน้าฝรั่งต่างด้าว (Head of the foreign Europeans) เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2311 มีว่า "กษัตริย์องค์ที่สูงวัย [พระเจ้าเอกทัศ] ถูกลอบปลงพระชนม์โดยชาวสยามเช่นเดียวกัน" หรือไม่พระองค์ก็ทรงวางยาพิษตนเอง
พระนาม
- ขุนหลวงเอกทัศ (พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
- ขุนหลวงสุริยามรินทร์ (พระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า และพระราชกระแสเรื่องจัดการทหาร มณฑลกรุงเทพฯ ในรัชกาลที่ ๕ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
- ขุนหลวงขี้เรื้อน (พระราชกรัณยานุสร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
- พระเจ้าขี้เรื้อน หรือ พระเจ้าขี้เรื้อนเกลื้อนกราก: 213
- พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์: 26
- สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า: 19
- สมเด็จพระเอกทัศ หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๖ เรื่องไทยรบพม่าครั้งกรุงเก่า)
- สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์
- พระเจ้าเอกทัศ
- พระราชาเอกทัศ (วรรณคดีเรื่อง สามกรุง พระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)
- สุริยามเรศ หรือ สุริยอมรอิศ (วรรณคดีเรื่อง สามกรุง พระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)
- พระที่นั่งราชาสุริยามรินทร์
- เจ้าฟ้าเอกาทศราชา หรือ เจ้าฟ้าเอกาทัศ (มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ฉบับแปลโดยนายต่อ)
พระอุปนิสัย
คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวว่า :-
ฝ่ายพระบรมเอกทัศจึงประพฤติตามอย่างธรรมเนียมกษัตริย์แต่ก่อนมา พระองค์ก็บำรุงพระศาสนาครอบครองอาณาประชาราษฎรทั้งปวงตามประเพณี...พระองค์จึงบำรุงพระสาสนาแล้วครอบครองบ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขมา แล้วพระองค์ก็สร้างอารามชื่อวัดลมุดแล้วสร้างวัดครุฑาวัดหนึ่ง พระองค์จึงฉลองเลี้ยงพระสงฆ์พันหนึ่งจึงถวายเครื่องไตรจีวรแลเครื่องสังเฆฏพันหนึ่ง เครื่องเทียบสิ่งละพัน ต้นกัลปพฤกษ์ก็พันหนึ่ง จึงแจกทานสารพัดสิ่งของนานา สิ่งละพัน แจกอาณาประชาราษฎรทั้งปวงเป็นอันมาก จึงปรายเงินทองวันละ ๑๐ ชั่ง เจ็ดวันเป็น ๗๐ ชั่ง จึงให้มีการมหรศพทั้งปวงสรรพสิ่งต่างๆ เป็นการใหญ่ถ้วน ๗ วัน แล้วพระองค์ จึงหลั่งน้ำทักขิโณทกให้ตกลงเหนือแผ่นพสุธาจึงแผ่กุศให้แก่สัตว์ทั้งปวงแล้วเสด็จคืนเข้ายังพระราชวัง พระองค์ตั้ง อยู่ในธรรมสุจริตบพิตรเสด็จไปถวายมนัสการพระศรีสรรเพ็ชญ์ทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิตย์ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธ ๑๐ ประการ แล้ว ครอบครองกรุงขัณฑสีมา ทั้งสมณพราหมณาก็ชื่นชมยินดีปรีดิ์เป็นสุขนิราศทุกขภัย ด้วยเมตตาบารมี ทั้งฝนก็ดี บริบูรณพูนความสุขมิได้กันดาร ทั้งข้าว ปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎรแล้วชาวนิคมชนบทก็อยู่เย็นเกษมสาร มีแต่จักชักชวนกันทําบุญให้ทานและการขัณฑเสมา: 144–145
คำให้การชาวกรุงเก่า แปลจากฉบับหลวงเมืองพม่า กล่าวว่า :-
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระองค์นี้ ทรงพระราชศรัทธาอุตสาหะ บําเพ็ญพระราชกุศลบริจาคพระราชทรัพย์เครื่องประดับอาภรณ์ทั้งปวง พระราชทานแก่ยาจกวณิพกเป็นอันมาก...: 163
เพลงยาวนิราศพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เมื่อครั้งเสด็จไปตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ. 2336 กล่าวว่า :-
๏ ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ | ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา | |
สุภาษิตท่านกล่าวเปนราวมา | จะตั้งแต่งเสนาธิบดี |
ไม่ควรจะให้อัครฐาน | จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี | |
เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี | จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา | |
— นิราสพระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท. |
เหตุการณ์ในรัชสมัย
นายสังข์แอบอ้างเก็บภาษีผักบุ้ง
ภาษีผักบุ้งของนายสังข์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายตรงกับรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ปรากฎใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก หมายเลข ๒/ก ๑๐๔ ฉบับเดียวเท่านั้น
เมื่อ พ.ศ. 2305 นายสังข์ มหาดเล็กบ้านคูจามแอบอ้างว่าเป็นพี่ชายของ พระสนมเอก และ ปาน น้องสาวของตนก็เป็นพระสนมด้วยซึ่งมีอิทธิพลมากอยู่: 29 ส่วน ญาติ ไหวดี กล่าวว่านายสังฆ์เป็นพี่ชายของหม่อมเพ็งกับหม่อมแม้น: 68 นายสังข์จึงกระทำฉ้อราษฎร์ตั้งข้อบังคับโดยไม่ได้รับอนุญาต: 96 : 143 ว่าหากใครเก็บผักบุ้งต้องเอามาขายแก่นายสังข์แต่เพียงผู้เดียวหากขายให้ผู้อื่นจะถูกปรับเงินไหม 5 ตำลึง (หรือ 20 บาท) รวมทั้งราษฎรที่ปลูกผักบุ้งจะต้องเสียภาษีตามขนาดแพผักบุ้ง นายสังข์รับซื้อผักบุ้งโดยกดราคาผักบุ้งแล้วไปขายในท้องตลาดแล้วขึ้นราคาแพง เป็นการผูกขาดภาษีลักษณะเป็นนายทุนผูกขาดสินค้า: 486 ราษฎรที่เคยซื้อขายผักบุ้งมาแต่ก่อนต่างได้รับความเดือดร้อนจึงนำความไปแจ้งต่อทางการแต่ไม่มีข้าราชการผู้ใดนำความขึ้นกราบทูลฯ เนื่องจากนายสังข์กล่าวอ้างว่าเก็บภาษีผักบุ้งเข้าพระคลัง (แต่นายสังเก็บภาษีเข้าส่วนตัว) ตลอดระยะ 3 เดือนนายสังข์เก็บภาษีผักบุ้งได้ถึง 400 ชั่งเศษ (หรือ 32,000 บาท)
ปรากฎใน ปูมโหร ว่า:-
ศักราช ๑๑๒๔ มะเมีย จัตวาศก ทําภาษีผักบุ้ง
วันหนึ่ง สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระประชวรบรรทมไม่หลับโปรดจะทอดพระเนตรละครให้ทรงพระเกษมสำราญ จึงมีรับสั่งให้หาละครเข้าไปเล่น ละครมีผู้เล่น 2 คนคือ นายแทน เล่นเป็นตัวจำอวดฝ่ายชาย และ นายมี เล่นเป็นตัวจำอวดฝ่ายหญิง เมื่อเล่นบทผูดมัดจะเร่งเอาเงินค่าผูกคอ
นายมีจึงร้องเล่นว่า :-
จะเอาเงินมาแต่ไหนจนจะตาย แต่เก็บผักบุ้งขายยังมีภาษี: 97
นายมีร้องเล่นอย่างนี้ซ้ำ 2-3 หน จนสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงประหลาดพระทัยจึงทรงตรัสถามมูลเหตุ นายแทน และนายมีทั้ง 2 คนจึงกราบทูลถวายถึงความเดือดร้อนที่นายสังข์บังอาจเก็บภาษีผักบุ้ง พระองค์ทรงฟังแล้วก็ทรงพระพิโรธ จึงมีรับสั่งให้เสนาบดีกรมพระคลังคืนเงินแก่ราษฎร ส่วนนายสังข์เดิมพระองค์จะทรงให้ประหารชีวิตแต่พระพิโรธลดลงก็โปรดให้ยกเว้นโทษประหารชีวิตไว้
โรคฝีระบาดระหว่างเสียกรุงครั้งที่ 2
เมื่อ พ.ศ. 2308 ปีระกา หลังจากกองทัพของเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธายกทัพมาสมทบด้วยกันที่กรุงศรีอยุธยา และเริ่มเข้าประชิดล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ทุกด้าน ในพระนครผู้คนอดอยาก ปรากฏว่ามีข้าราชการ และชาวกรุงศรีอยุธยาหลบหนีรอดจากพระนครจำนวนมากไปตามหัวเมืองต่างๆ ระหว่างเสียกรุงครั้งที่ 2 พระราชพงศาวดารพม่า ว่า :- "ขุนนางพากันหลบเหลื่อมหนีไปเสียแล้วก่อนเสียกรุงโดยมาก": 136–137 โดยเฉพาะเมืองพิษณุโลกหัวเมืองเหนือซึ่งมิได้เสียเมืองแก่พม่า ข้าราชการและชาวกรุงศรีอยุธยาทราบกิตติศัพท์ของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ว่าเป็นคนเข้มแข็งจึงรักษาเมืองพิษณุโลกไว้ได้: 46 จึงพากันหลบหนีไปเมืองพิษณุโลกจำนวนมาก: 17 ระหว่างที่ชาวกรุงศรีอยุธยากำลังหลบหนีพม่าได้ก็เกิดโรคฝี (ไข้ทรพิษ) ระบาด มีผู้คนล้มตายมาก
จดหมายเหตุโหร ตำราพระยาโหราธิบดี (เถื่อน) เจ้ากรมโหรหลวง กล่าวว่า :-
ศักราช ๑๑๒๗ ปีระกา เศษ ๓ ไอ้พม่าล้อมกรุง ชนออกฝีตายมากแล: 18:เชิงอรรถ ๘ : 73
พระราชกรณียกิจ
ในทัศนะของสุเนตร ชุตินธรานนท์ มีความเห็นว่า ผู้ชำระพงศาวดารไทยไม่ได้ระบุพระราชกรณียกิจของพระเจ้าเอกทัศ ซ้ำยังกล่าวพาดพิงในแง่ร้ายอยู่บ่อยครั้ง หากแต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ กลับมีการกล่าวถึงพระมหากษัตริย์พระองค์นี้อย่างชื่นชม
คำให้การชาวกรุงเก่า ปรากฏความว่า "[พระมหากษัตริย์พระองค์นี้] ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง"
ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ปรากฏความว่า "พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา"
นอกจากนี้ จากหลักฐานทั้งสอง ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าเอกทัศ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องชั่ง ตวง วัดต่าง ๆ, มาตราเงินบาท สลึง เฟื้องให้เที่ยงตรง และโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี รวมทั้ง "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"
พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โปรดให้หล่อพระพุทธรูปขนาดเท่าพระองค์ และบริจาคทรัพย์ทำการเฉลิมฉลองพระพุทธรูปแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปพระองค์นั้นไปยังวัดวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในช่วงต้นรัชกาล ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เพื่อสร้างพระอารามขึ้นมา 2 แห่ง คือ วัดละมุด และวัดครุฑธาราม และยังพระราชดำเนิน ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีเป็นประจำทุกปีอีกด้วย และเมื่อยามสงบสุข พระองค์โปรดทำบุญบริจาคทรัพย์ให้แก่ผู้ยากไร้เป็นประจำเช่นกัน
พระราชโอรสธิดา
บัญชีพระนามเจ้านาย ในคำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าพระเจ้าเอกทัศมีพระราชโอรสธิดา 5 พระองค์
ประสูติแต่กรมขุนวิมลพัตร พระอัครมเหสี คือ
- เจ้าฟ้าหญิงสิริจันทรเทวี (ศรีจันทเทวี)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพ็ง พระสนมเอก มี 2 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้าหญิงสตันสรินทร์ (ประพาลสุริยวงศ์)
- พระองค์เจ้าชายประเวศกุมาร (ประไพกุมาร)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแม้น พระสนมเอก มี 2 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้าหญิงสูรา (รุจจาเทวี)
- พระองค์เจ้าชายสุทัศน์ (กุมารา)
ส่วน บัญชีรายพระนามพระราชวงศ์และข้าราชการสยามที่พม่าว่าจับไปได้จากกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงเสียในปี พ.ศ. 2310 ระบุรายพระนามเจ้านายว่ามีพระราชชายา 4 พระองค์ และมีพระราชโอรส-ธิดา 7 พระองค์ในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ถูกจับไปยังพม่า ได้แก่
|
|
ทัศนะ
ฝ่ายซึ่งเห็นว่าพระองค์มีพระราชประวัติความประพฤติไม่ดีก็ว่า ราษฎรไม่เลื่อมใสศรัทธาเพราะพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติตนไม่เหมาะสม บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย มีข้าราชการลาออกจากราชการอยู่บ้าง สังคมสมัยนั้นมีการกดขี่รีดไถ ข่มเหงรังแกราษฎรอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อขุนนางชั้นผู้น้อยเห็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบ ราษฎรและข้าราชการทั้งหลายหมดที่พึ่งจึงแตกความสามัคคี ดังที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า: "... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น...
"
ในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเอกทัศเป็นพระมหากษัตริย์ที่ถูกกล่าวถึงในแง่ร้ายเรื่อยมา และถูกจดจำในฐานะ "บุคคลที่ไม่มีใครอยากจะตกอยู่ในฐานะเดียวกัน" เหตุเพราะไม่สามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาให้พ้นจากข้าศึก ทั้งนี้ คนไทยที่เหลือรอดมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นถือเอาว่า พระองค์ควรรับผิดชอบการเสียกรุงครั้งที่สองร่วมกับพระเจ้าอุทุมพร
ครั้ง พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก เหตุเพราะช้ำพระราชหฤทัยที่สยามยกดินแดนให้ฝรั่งเศสไป (วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112) โดยทรงพระราชนิพนธ์บทกวีรำพันความทุกข์ร้อน และท้อพระทัยว่าจะถูกนินทาไปตลอดกาล ดังเช่นสองพระมหากษัตริย์ (พระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศ) ผู้ไม่อาจปกป้องกรุงศรีอยุธยาจากศัตรู ในช่วงนั้นก็ทรงพระราชนิพนธ์บทกวีรำพึงถึงความกลัดกลุ้มทุกข์ร้อน ทั้งกลัวว่าจะถูกติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เหมือนสองกษัตริย์ผู้ไม่สามารถจะปกป้องกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ได้จากข้าศึกศัตรู ความดังนี้
"เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ | มะนะเรื่องบำรุงกาย | |
ส่วนจิตบ่มีสบาย | ศิระกลุ้มอุราตรึง |
แม้หายก็พลันยาก | จะลำบากฤทัยพึง | |
ตริแต่จะถูกรึง | อุระรัดและอัตรา |
กลัวเป็นทวิราช | บ่ตริป้องอยุธยา | |
เสียเมืองจึงนินทา | บ่ละเว้นฤๅว่างวาย |
ในวัฒนธรรมสมัยใหม่
มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ได้แก่
- สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ จากภาพยนตร์เรื่อง (2522)
- ต้อย แอคเน่อร์ จากละครเรื่อง (2545)
- ศตวรรษ ดุลยวิจิตร จากละครเรื่อง ฟ้าใหม่ (2547)
- วิทยา วสุไกรไพศาล จากละครเรื่อง บางระจัน (2558)
- นพชัย ชัยนาม จากละครเรื่อง ศรีอโยธยา (2560)
- ธิตินันท์ สุวรรณศักดิ์ จากละครเรื่อง สายโลหิต (2561)
พงศาวลี
พงศาวลีของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- คำให้การชาวกรุงเก่า, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และและเอกสารอื่น, หน้า 627
- จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชกรัณยานุสร พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, กรมศิลปากร, 2543. 123 หน้า. หน้า 31.
- ศิลปากร เล่มที่ 24. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2523. หน้า 12.
- จดหมายของปีแยร์ ปรีโกต์ ถึงผู้อำนวยการคณะมิสซังต่างประเทศ กรุงปารีส ลงวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1759 (พ.ศ. 2302)
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯกรมพระยา. พงศาวดารเรื่องไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555.
- เพลง ภูผา. วิกฤตการณ์วังหน้า เหตุทุรยศบนแผ่นดินสยาม. กรุงเทพฯ : สยามความรู้, 2556. หน้า 170.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และและเอกสารอื่น, หน้า 356
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และและเอกสารอื่น, หน้า 367
- พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน, หน้า 325
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และและเอกสารอื่น, หน้า 370
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และและเอกสารอื่น, หน้า 371
- ก้อนนาค, กันตพงศ์ (14 Jul 2019). "ลือหนัก… พระเจ้าเอกทัศทรงจงกรมจนเสียเมือง ?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
- สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554. หน้า 88
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.
- จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 185.
- กรมตำรา กระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช ๑๑๒๘-๑๑๔๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔ ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, ๒๔๗๒. หน้า ๒๓.
- สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา ๒๕๑๙) หน้า ๑๒๓-๑๒๔.
- จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 198.
- Robert B. Jones, Ruchira C. Mendiones, Craig J. Reynolds. (1976). "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดย ร.ต. นคร ปิ่นสุวรรณ ร.น.", ประมวลความเรียงเบ็ดเตล็ด เล่ม ๑ [THAI CULTURAL READER]. New York: Cornell University, Southeast Asia Program. 517 pp. ISBN
- คณะกรรมการอํานวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๕. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 464 หน้า. ISBN
- ธีระวุฒิ ปัญญา. (2557). ตำนาน วิญญาณแห่งบางระจันที่ประวัติศาสตร์ไม่เคยบันทึก!. กรุงเทพฯ: กู๊ดไลฟ์. 143 หน้า. ISBN
- คําให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547. ISBN
- ถนอม อานามวัฒน์ และคณะ, ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2528). ประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่สมัยเริ่มแรกจนถึงสิ้นอยุธยา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์. 363 หน้า. อ้างใน คำให้การชาวกรุงเก่า: แปลจากฉบับหลวงเมืองพม่า.
- "เพลงยาวนิราศ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จไปตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖", นิราสพระราชนิพนธ์ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าพระศีลวราลังการ (เนตร) วัดชนะสงคราม เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
- ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2525). ประสาพาสำราญ. กรุงเทพฯ: พี.วาทิน. 240 หน้า.
- ญาติ ไหวดี. (2519). การปกครองของไทย เล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2546). ละครฟ้อนรำ : ประชุมเรื่องละครฟ้อนรำกับระบำรำเต้น ตำราฟ้อน ตำนานเรื่องละครอิเหนา ตำนานละครดึกดำบรรพ์. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม, 2546. ISBN
- นิดา มีสุข. (2543). วรรณคดีการละคร. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 152 หน้า. ISBN
- ศิลปวัฒนธรรม, 29(4):15. กุมภาพันธ์ 2551.
- เรย์โนลด์ส, เคร็ก เจ, และนิธิ เอียวศรีวงศ์. (2561). ความคิดแหวกแนวของไทย จิตร ภูมิศักดิ์ และโฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน (Thai Radical Discourse The Real Face of Thai Feudalism Today). แปลโดย อัญชลี สุสายัณห์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 326 หน้า.
- ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2508). "ตำนานละครครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย", ตำนานละครอิเหนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนคร: คลังวิทยา.
- นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2505). พระราชพงศาวดารพม่า เล่ม ๒. พระนคร: ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์. 296 หน้า.
- สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2531). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๑๐): ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 106 หน้า. ISBN
- สมบูรณ์ บำรุงเมือง. (2544). ชุมชนโบราณเมืองพิษณุโลก. พิษณุโลก: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม. 47 หน้า.
- คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). "จดหมายเหตุโหร", ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 428 หน้า. ISBN
- ธันวา วงศ์เสงี่ยม. (2557). "ไข้ทรพิษในสมัยอยุธยา", วารสารศิลปากร, 57(4), (กรกฎาคม-สิงหาคม 2557): 73. ISSN 0125-0531
- จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 3.
- ลือหนัก! พระเจ้าเอกทัศทรงจงกรมจนเสียเมือง ? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563
- นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 1135-1136
- ขจร สุขพานิช. ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531. หน้า 269.
- สองกษัตริย์สุดท้าย 2009-07-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วิชาการ.คอม
- บรรณานุกรม
- จรรยา ประชิตโรมรัน. การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. ISBN
- นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550. 1136 หน้า. ISBN
- ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2553. 536 หน้า. ISBN
- พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์, 2558. 558 หน้า. ISBN [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN
- สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2541). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐: ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง. สำนักพิมพ์ศยาม. หน้า 81-82.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พ.ศ. 2301) | พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2301 — 7 เมษายน พ.ศ. 2310) | สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310-2325) |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
smedcphraecaexkths hrux smedcphrabrmrachathi 3 hrux smedcphrathinngsuriyasnxmrinthr epnphramhakstriyithyrchkalthi 6 aelaepnrchkalsudthayaehngrachwngsbanphluhlwng thrngkhrxngrachyrahwang ph s 2301 7 emsayn ph s 2310 miphrarachsmyyanamthisamychneriykknxyanglbwa khunhlwngkhieruxn enuxngcakphrachwi phiwhnng epnorkhphiwhnng orkheruxn hruxorkhklakekluxnsmedcphrathinngsuriyasnxmrinthrsmedcphraecaexkthsphrabrmrupsmedcphraecaexkths wdlamud xaephxnkhrhlwng cnghwdphrankhrsrixyuthyaphraecakrungsrixyuthyakhrxngrachyph s 2301 7 emsayn ph s 2310kxnhnasmedcphraecaxuthumphrthdipsmedcphraecakrungthnburi xanackrthnburi smuhnaykduraychuxphrarachsmphphph s 2252swrrkhtpraman emsayn ph s 2310 58 phrrsa mehsikrmkhunwimlphtrphrasnmecacxmmardaephng ecacxmmardaaemnphrarachbutrecafahyingsiricnthrethwi phraxngkhecahyingstnsrinthr phraxngkhecachaypraewskumar phraxngkhecahyingsura ruccaethwi phraxngkhecachaysuthsn kumara rachwngsbanphluhlwngphrarachbidasmedcphraecaxyuhwbrmoksphrarachmardakrmphraethphamatu phlb phrarachprawtikxnkhrxngrachy smedcphrabrmracha miphranamedimwaecafaexkths epnphrarachoxrsinsmedcphraecaxyuhwbrmoks prasutiaetkrmhlwngphiphithmntri phraphnwssanxy emuxphrarachbidaprabdaphieskinpi ph s 2275 cungoprdihtngepnkrmkhunxnurksmntri hnungpikxnphraecaxyuhwbrmoksswrrkht phraxngkhthrngaetngtngecafakrmkhunphrphinit phraxnuchakhxngecafaexkths ihepnkrmphrarachwngbwrsthanmngkhl aetecafakrmkhunphrphinitthulwa ecafakrmkhunxnurksmntri phraechstha yngkhngxyukhxphrarachthanihepnkrmphrarachwngbwrsthanmngkhlnacasmkhwrkwa phraecaxyuhwbrmokscungtrswa krmkhunxnurksmntrinn epnwisyphrathyprascakkhwamephiyr thacaihdarngthananuskdixuprachsaercrachkickunghnung kcaekidwibtichibhayesiy ehnaetkrmkhunphrphinic kxprdwystipyyachladechliyw khwrcadarngeswtchtrrksaaephndinid aelwrbsngkbkrmkhunxnurksmntriwa cngipbwchesiy xyaxyuihkidkhwang krmkhunxnurksmntriekrngphrarachxayacungcaphrathythullaphnwchipprathb n wdlamudpakcn swnecafakrmkhunphrphinitidrbxuprachaphieskepnkrmphrarachwngbwrsthanmngkhlaethn karesdckhunkhrxngrachy emuxphraecaxyuhwbrmoksesdcswrrkhtinpi ph s 2301 phraecaxuthumphresdckhunkhrxngrachy rahwangnnkrmkhunxnurksmntriesdcmaprathb n phrathinngsuriyasnxmrinthr raw 2 eduxntxma phraecaxuthumphresdcipthwayrachsmbtiaekkrmkhunxnurksmntriaelwesdcxxkphnwch prathb n wdpraduthrngthrrm krmkhunxnurksmntricungesdckhunrachaphiesk n phrathinngsrrephchyprasath thrngphranamwasmedcphrabrmrachamhaxdisr bwrsucrit thsphiththrrmthers echstholkanaykxudm brmnathbrmbphitrphraphuththecaxyuhw sngkhramkhrawesiykrungkhrngthisxng phrabrmsathislksnthimikartikhwamwaepnphraecaxuthumphr hruxphraecaexkths insmudphmachux nnetwngrupsungprabuth n hxsmudbritich British Library krunglxndxn inrahwangthiphraxngkhkhrxngrachy phraecaxlxngphyaidykkxngthphekhamatikrungsrixyuthyaemuxpi ph s 2303 phraecaexkthsidthrngkhxihphraecaxuthumphrlaphnwchmachwybychakarrb aetphraecaxlxngphyaprachwrswrrkhtesiykxn txmain ph s 2307 phraecamngra oxrskhxngphraecaxlxngphya idepnphraecaxngwaaelasngkxngthphmatikrungsrixyuthyaxik iheknthkxngthphkwa 70 000 nay ykekhatiemuxngsyam 2 thang thangthisitekhatiekhathangemuxngmarid swnthangtxnehnuxtilngmacakaekhwnlanna aelabrrcbknthikrungsrixyuthyaepnsukkhnanknsxngkhangodyidlxmkrungsrixyuthyanan 1 pi 2 eduxn kekhaphrankhrid emuxwnthi 7 emsayn ph s 2310 inphngsawdarchbbhxaekwaelakhxngbxngkhxngphma idbrryayihehnwainsngkhramkhrngni phupkkhrxngkrungsrixyuthyaexngkidetriymkaraelakrathakarrbxyangekhmaekhng miidehlwihlxxnaex karswrrkht saehtukaresdcswrrkhtkhxngphraecaexkthsmisnnisthaniwhlaykhx inhlkthankhxngithyswnihybnthukiwwaphraxngkhesdcswrrkhtcakkarxdphrakrayaharepnewlanankwa 10 wn hlngcakthiesdchniipsxntwthipabancik iklkbwdsngkhawas thharphmaechiyesdcipthikhayophthisamtn emuxesdcswrrkht naythxngsukidnaphrabrmsphipfngiwthiokhkphraemru trnghnaphrawiharphramngkhlbphitr txma smedcphraecakrungthnburiidthrngxyechiyphrabrmsphkhunthwayphraephlingtamobranrachpraephni fayphngsawdarphmarabuwa ekidkhwamsbsnrahwangkarhlbhniinehtukarnkrungaetk cungthukpunyingswrrkhtthipratuthaywng swnkhaihkarkhxngaexnothni okyatn taaehnng hwhnafrngtangdaw Head of the foreign Europeans emuxwnthi 26 emsayn ph s 2311 miwa kstriyxngkhthisungwy phraecaexkths thuklxbplngphrachnmodychawsyamechnediywkn hruximphraxngkhkthrngwangyaphistnexngphranamkhunhlwngexkths phngsawdareruxngithyrbphma phraniphnthkhxngsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph khunhlwngsuriyamrinthr phrarachhtthelkhaeruxngesdcpraphaslanamakhametha aelaphrarachkraaeseruxngcdkarthhar mnthlkrungethph inrchkalthi 5 phrarachniphnthkhxngphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw khunhlwngkhieruxn phrarachkrnyanusr phrarachniphnthinrchkalthi 5 khxngphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw phraecakhieruxn hrux phraecakhieruxnekluxnkrak 213 phraecaxyuhwphrathinngsuriyasnxmrinthr 26 smedcphrabrmrachathirach phngsawdareruxngithyrbphma phraniphnthkhxngsmedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph smedcphrabrmrachathiracheca 19 smedcphraexkths hrux smedcphraecaexkths prachumphngsawdar phakhthi 6 eruxngithyrbphmakhrngkrungeka smedcphraecaexkthsn phraecaexkths phrarachaexkths wrrnkhdieruxng samkrung phraniphnthkhxngphrarachwrwngsethx krmhmunphithyalngkrn suriyamers hrux suriyxmrxis wrrnkhdieruxng samkrung phraniphnthkhxngphrarachwrwngsethx krmhmunphithyalngkrn phrathinngrachasuriyamrinthr ecafaexkathsracha hrux ecafaexkaths mharachwngsphngsawdarphma chbbaeplodynaytx phraxupnisykhaihkarkhunhlwngwdpraduthrngthrrm klawwa fayphrabrmexkthscungpraphvtitamxyangthrrmeniymkstriyaetkxnma phraxngkhkbarungphrasasnakhrxbkhrxngxanapracharasdrthngpwngtampraephni phraxngkhcungbarungphrasasnaaelwkhrxbkhrxngbanemuxngkxyueynepnsukhma aelwphraxngkhksrangxaramchuxwdlmudaelwsrangwdkhruthawdhnung phraxngkhcungchlxngeliyngphrasngkhphnhnungcungthwayekhruxngitrciwraelekhruxngsngekhtphnhnung ekhruxngethiybsinglaphn tnklpphvkskphnhnung cungaeckthansarphdsingkhxngnana singlaphn aeckxanapracharasdrthngpwngepnxnmak cungprayenginthxngwnla 10 chng ecdwnepn 70 chng cungihmikarmhrsphthngpwngsrrphsingtang epnkarihythwn 7 wn aelwphraxngkh cunghlngnathkkhionthkihtklngehnuxaephnphsuthacungaephkusihaekstwthngpwngaelwesdckhunekhayngphrarachwng phraxngkhtng xyuinthrrmsucritbphitresdcipthwaymnskarphrasrisrrephchythukephlamiidkhad phrabathcngkrmxyuepnnity bphitrtngxyuinthsphith 10 prakar aelw khrxbkhrxngkrungkhnthsima thngsmnphrahmnakchunchmyindipridiepnsukhnirasthukkhphy dwyemttabarmi thngfnkdi briburnphunkhwamsukhmiidkndar thngkhaw plaxaharaelaphlimmirsoxcha fungxanapracharasdraelwchawnikhmchnbthkxyueyneksmsar miaetckchkchwnknthabuyihthanaelakarkhnthesma 144 145 khaihkarchawkrungeka aeplcakchbbhlwngemuxngphma klawwa phraecakrungsrixyuthyaphraxngkhni thrngphrarachsrththaxutsaha baephyphrarachkuslbricakhphrarachthrphyekhruxngpradbxaphrnthngpwng phrarachthanaekyackwniphkepnxnmak 163 ephlngyawnirasphrarachniphnthkhxngsmedcphrabwrrachecamhasursinghnath emuxkhrngesdciptiemuxngphma emux ph s 2336 klawwa imrurxbprakxbinrachkic praphvtikaraetthiphiddwyxicchasuphasitthanklawepnrawma catngaetngesnathibdiimkhwrcaihxkhrthan caesiykaraephndinkrungsriephraaimfngtananobranmi cungesiythiesiywngskstra nirasphrarachniphnth krmphrarachwngbwrmhasursinghnath ehtukarninrchsmynaysngkhaexbxangekbphasiphkbung phasiphkbungkhxngnaysngkhepnehtukarnthiekidkhuninsmyxyuthyatxnplaytrngkbrchkalsmedcphrathinngsuriyasnxmrinthr prakdin phrarachphngsawdarkrungsrixyuthyachbbplik hmayelkh 2 k 104 chbbediywethann emux ph s 2305 naysngkh mhadelkbankhucamaexbxangwaepnphichaykhxng phrasnmexk aela pan nxngsawkhxngtnkepnphrasnmdwysungmixiththiphlmakxyu 29 swn yati ihwdi klawwanaysngkhepnphichaykhxnghmxmephngkbhmxmaemn 68 naysngkhcungkrathachxrasdrtngkhxbngkhbodyimidrbxnuyat 96 143 wahakikhrekbphkbungtxngexamakhayaeknaysngkhaetephiyngphuediywhakkhayihphuxuncathukprbenginihm 5 talung hrux 20 bath rwmthngrasdrthiplukphkbungcatxngesiyphasitamkhnadaephphkbung naysngkhrbsuxphkbungodykdrakhaphkbungaelwipkhayinthxngtladaelwkhunrakhaaephng epnkarphukkhadphasilksnaepnnaythunphukkhadsinkha 486 rasdrthiekhysuxkhayphkbungmaaetkxntangidrbkhwameduxdrxncungnakhwamipaecngtxthangkaraetimmikharachkarphuidnakhwamkhunkrabthul enuxngcaknaysngkhklawxangwaekbphasiphkbungekhaphrakhlng aetnaysngekbphasiekhaswntw tlxdraya 3 eduxnnaysngkhekbphasiphkbungidthung 400 chngess hrux 32 000 bath prakdin pumohr wa skrach 1124 maemiy ctwask thaphasiphkbung wnhnung smedcphrathinngsuriyasnxmrinthrthrngphraprachwrbrrthmimhlboprdcathxdphraentrlakhrihthrngphraeksmsaray cungmirbsngihhalakhrekhaipeln lakhrmiphueln 2 khnkhux nayaethn elnepntwcaxwdfaychay aela naymi elnepntwcaxwdfayhying emuxelnbthphudmdcaerngexaenginkhaphukkhx naymicungrxngelnwa caexaenginmaaetihncncatay aetekbphkbungkhayyngmiphasi 97 naymirxngelnxyangnisa 2 3 hn cnsmedcphrathinngsuriyasnxmrinthrthrngprahladphrathycungthrngtrsthammulehtu nayaethn aelanaymithng 2 khncungkrabthulthwaythungkhwameduxdrxnthinaysngkhbngxacekbphasiphkbung phraxngkhthrngfngaelwkthrngphraphiorth cungmirbsngihesnabdikrmphrakhlngkhunenginaekrasdr swnnaysngkhedimphraxngkhcathrngihpraharchiwitaetphraphiorthldlngkoprdihykewnothspraharchiwitiw orkhfirabadrahwangesiykrungkhrngthi 2 emux ph s 2308 piraka hlngcakkxngthphkhxngenemiywsihbdiaelamngmhanrthaykthphmasmthbdwyknthikrungsrixyuthya aelaerimekhaprachidlxmkrungsrixyuthyaiwidthukdan inphrankhrphukhnxdxyak praktwamikharachkar aelachawkrungsrixyuthyahlbhnirxdcakphrankhrcanwnmakiptamhwemuxngtang rahwangesiykrungkhrngthi 2 phrarachphngsawdarphma wa khunnangphaknhlbehluxmhniipesiyaelwkxnesiykrungodymak 136 137 odyechphaaemuxngphisnuolkhwemuxngehnuxsungmiidesiyemuxngaekphma kharachkaraelachawkrungsrixyuthyathrabkittisphthkhxngecaphrayaphisnuolk eruxng waepnkhnekhmaekhngcungrksaemuxngphisnuolkiwid 46 cungphaknhlbhniipemuxngphisnuolkcanwnmak 17 rahwangthichawkrungsrixyuthyakalnghlbhniphmaidkekidorkhfi ikhthrphis rabad miphukhnlmtaymak cdhmayehtuohr taraphrayaohrathibdi ethuxn ecakrmohrhlwng klawwa skrach 1127 piraka ess 3 ixphmalxmkrung chnxxkfitaymakael 18 echingxrrth 8 73 phrarachkrniykicinthsnakhxngsuentr chutinthrannth mikhwamehnwa phucharaphngsawdarithyimidrabuphrarachkrniykickhxngphraecaexkths sayngklawphadphinginaengrayxyubxykhrng hakaetinhlkthanthangprawtisastrxun klbmikarklawthungphramhakstriyphraxngkhnixyangchunchm khaihkarchawkrungeka praktkhwamwa phramhakstriyphraxngkhni thrngphrakrunakbxanapracharasdrthngpwng aephemttaipthwsarphdstwthngpwng in khaihkarkhunhlwngwdpraduthrngthrrm praktkhwamwa phraxngkhtngxyuinthrrmsucrit bphitresdcipthwaynmskarphrasrisrrephchthukephlamiidkhad phrabathcngkrmxyuepnnic bphitrtngxyuinthsphithsibprakar aelwkhrxbkhrxngkrungkhnthsima thngsmnphrahmnkchunchmyindipriepnsukhnirachthukkhiphy dwyemttabarmithngfnkdibriburnphulkhwamsukmiiddal thngkhawplaxaharaelaphlimmirsoxcha fungxanapracharasdraelachawnikhmchnbthkxyueyneksmsant miaetcachkchwnknthabuyihthan aelakarmohrsphtang thngnkprachphuyakphudimiaetkhwamsukthithukkhxbkhnthsima nxkcakni cakhlkthanthngsxng yngidklawthungphrarachkrniykicthisakhykhxngphraecaexkths echn thrngxxkphrarachbyytiekhruxngchng twng wdtang matraenginbath slung efuxngihethiyngtrng aelaoprdihykelikphasixakrtang epnewla 3 pi rwmthng thrngthanubarungphraphuththsasna banemuxngsngb karkhakhayecriy thrngbricakhphrarachthrphyihaekkhnyakcncanwnmak phrarachkrniykicdankarsasna thrngthanubarungphraphuththsasna oprdihhlxphraphuththrupkhnadethaphraxngkh aelabricakhthrphythakarechlimchlxngphraphuththrupaelwxyechiyphraphuththrupphraxngkhnnipyngwdwiharhlwngwdphrasrisrrephchy inchwngtnrchkal thrngbricakhphrarachthrphyephuxsrangphraxaramkhunma 2 aehng khux wdlamud aelawdkhruththaram aelayngphrarachdaenin ipnmskarphraphuththbathsraburiepnpracathukpixikdwy aelaemuxyamsngbsukh phraxngkhoprdthabuybricakhthrphyihaekphuyakirepnpracaechnknphrarachoxrsthidabychiphranamecanay inkhaihkarchawkrungeka rabuwaphraecaexkthsmiphrarachoxrsthida 5 phraxngkh prasutiaetkrmkhunwimlphtr phraxkhrmehsi khux ecafahyingsiricnthrethwi sricnthethwi prasutiaetecacxmmardaephng phrasnmexk mi 2 phraxngkh khux phraxngkhecahyingstnsrinthr praphalsuriywngs phraxngkhecachaypraewskumar praiphkumar prasutiaetecacxmmardaaemn phrasnmexk mi 2 phraxngkh khux phraxngkhecahyingsura ruccaethwi phraxngkhecachaysuthsn kumara swn bychirayphranamphrarachwngsaelakharachkarsyamthiphmawacbipidcakkrungsrixyuthya emuxkrungesiyinpi ph s 2310 raburayphranamecanaywamiphrarachchaya 4 phraxngkh aelamiphrarachoxrs thida 7 phraxngkhinsmedcphrathinngsuriyasnxmrinthrthukcbipyngphma idaek phrarachchayaphranangemali hruxema hmxmming hmxmsri hmxmsila phrarachbutrphraxngkhecachaypraephth phraxngkhecachaysuredch phraxngkhecachayesrsth phraxngkhecahyingpraphimph phraxngkhecahyingnxy phraxngkhecahyingdxkmaedux phraxngkhecahyingelisatrathsnafaysungehnwaphraxngkhmiphrarachprawtikhwampraphvtiimdikwa rasdrimeluxmissrththaephraaphramhakstriythrngpraphvtitnimehmaasm banemuxngekidkhwamrasarasay mikharachkarlaxxkcakrachkarxyubang sngkhmsmynnmikarkdkhiridith khmehngrngaekrasdrxyangimepnthrrm emuxkhunnangchnphunxyehnkhunnangchnphuihythakeliynaebb rasdraelakharachkarthnghlayhmdthiphungcungaetkkhwamsamkhkhi dngthibathhlwngfrngessidekhiyncdhmayehtubnthukiwwa banemuxngaeprprwn ephraafayin phrarachchaya idmixanacethakbphraecaaephndinphumikhwamphidthankbt khakhntayexaifephabaneruxncatxngidrbothsthungpraharchiwit aetkhwamolphkhxngfayinihepliynepnribthrphysin ribidktkepnkhxngfayinthngsin phwkkharachkarehnkhwamolphkhxngfayin kaeswnghaphlpraoychnkbphutxnghakhdiihidmakthisudthicahaid caidaebngexabang khwameduxdrxnlaekhykyingthbthmrasdrmakkhun inprawtisastrithy phraecaexkthsepnphramhakstriythithukklawthunginaengrayeruxyma aelathukcdcainthana bukhkhlthiimmiikhrxyakcatkxyuinthanaediywkn ehtuephraaimsamarthpxngknkrungsrixyuthyaihphncakkhasuk thngni khnithythiehluxrxdmathungsmythnburiaelartnoksinthrtxntnthuxexawa phraxngkhkhwrrbphidchxbkaresiykrungkhrngthisxngrwmkbphraecaxuthumphr khrng ph s 2436 phrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhwprachwrhnk ehtuephraachaphrarachhvthythisyamykdinaednihfrngessip wikvtkarn r s 112 odythrngphrarachniphnthbthkwiraphnkhwamthukkhrxn aelathxphrathywacathukninthaiptlxdkal dngechnsxngphramhakstriy phraecaxuthumphraelaphraecaexkths phuimxacpkpxngkrungsrixyuthyacakstru inchwngnnkthrngphrarachniphnthbthkwiraphungthungkhwamkldklumthukkhrxn thngklwwacathuktichinninthaimrucbsin ehmuxnsxngkstriyphuimsamarthcapkpxngkrungsrixyuthyaexaiwidcakkhasukstru khwamdngni ecbnannukhnaynity manaeruxngbarungkayswncitbmisbay siraklumxuratrungaemhaykphlnyak calabakvthyphungtriaetcathukrung xurardaelaxtraklwepnthwirach btripxngxyuthyaesiyemuxngcungnintha blaewnviwangwayinwthnthrrmsmyihmminkaesdngphurbbth smedcphrathinngsuriyasnxmrinthr idaek sursiththi stywngs cakphaphyntreruxng 2522 txy aexkhenxr caklakhreruxng 2545 stwrrs dulywicitr caklakhreruxng faihm 2547 withya wsuikriphsal caklakhreruxng bangracn 2558 nphchy chynam caklakhreruxng srixoythya 2560 thitinnth suwrrnskdi caklakhreruxng sayolhit 2561 phngsawliphngsawlikhxngsmedcphrathinngsuriyasnxmrinthr 8 smedcphraephthracha 17 thawsriscca phranmeprm 4 smedcphraecasurieynthrathibdi 18 phyaaesnhlwng 9 nangkusawdi 2 smedcphraecaxyuhwbrmoks 5 smedcphraphnwsa 1 smedcphrathinngsuriyasnxmrinthr 6 naycbkhchprasiththi 3 krmhlwngphiphithmntri 7 impraktnam strichawbansmxprux duephimrayphranamphramhakstriyithyxangxingechingxrrthkhaihkarchawkrungeka phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaaelaexksarxun hna 627 culcxmeklaecaxyuhw phrabathsmedcphra phrarachkrnyanusr phrarachniphnthinrchkalthi 5 krungethph kxngwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr 2543 123 hna hna 31 ISBN 974 721 913 1 silpakr elmthi 24 krungethph krmsilpakr 2523 hna 12 cdhmaykhxngpiaeyr priokt thungphuxanwykarkhnamissngtangpraeths krungparis lngwnthi 23 singhakhm kh s 1759 ph s 2302 darngrachanuphaph smedckrmphraya phngsawdareruxngithyrbphma krungethph mtichn 2555 ephlng phupha wikvtkarnwnghna ehtuthurysbnaephndinsyam krungethph syamkhwamru 2556 hna 170 ISBN 978 616 3440 35 8 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaaelaexksarxun hna 356 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaaelaexksarxun hna 367 phrarachphngsawdar chbbsmedcphraphnrtn wdphraechtuphn trwcsxbcharacakexksartwekhiyn hna 325 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaaelaexksarxun hna 370 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaaelaexksarxun hna 371 kxnnakh kntphngs 14 Jul 2019 luxhnk phraecaexkthsthrngcngkrmcnesiyemuxng silpwthnthrrm subkhnemux 27 May 2020 suentr chutinthrannth dr phmarbithy phimphkhrngthi 10 krungethph mtichn 2554 hna 88 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 10 25 subkhnemux 2010 01 31 crrya prachitormrn hna 185 krmtara krathrwngthrrmkar phrarachphngsawdarkrungthnburi aephndinsmedcphrabrmrachathi 4 phraecataksin culskrach 1128 1144 phimphkhrngthi 4 phrankhr orngphimphkrmtarakrathrwngphrathrrmkar 2472 hna 23 sunthrphu nirassunthrphu txnnirasphrabath phrankhr khuruspha 2519 hna 123 124 crrya prachitormrn hna 198 Robert B Jones Ruchira C Mendiones Craig J Reynolds 1976 smedcphraecataksinmharach ody r t nkhr pinsuwrrn r n pramwlkhwameriyngebdetld elm 1 THAI CULTURAL READER New York Cornell University Southeast Asia Program 517 pp ISBN 978 087 7 27503 9 khnakrrmkarxanwykarcdnganchlxngsirirachsmbtikhrb 50 pi 2542 prachumphngsawdarchbbkaycnaphiesk elm 5 krungethph kxngwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr 464 hna ISBN 974 419 220 8 thirawuthi pyya 2557 tanan wiyyanaehngbangracnthiprawtisastrimekhybnthuk krungethph kudilf 143 hna ISBN 978 616 2 92310 4 khaihkarkhunhlwnghawd nnthburi mhawithyalysuokhthythrrmathirach 2547 ISBN 978 974 6 45767 5 thnxm xanamwthn aelakhna phakhwichaprawtisastr mhawithyalysrinkhrinthrwiorth 2528 prawtisastrithytngaetsmyerimaerkcnthungsinxyuthya phimphkhrngthi 3 krungethph xmrkarphimph 363 hna xangin khaihkarchawkrungeka aeplcakchbbhlwngemuxngphma ephlngyawniras krmphrarachwngbwrmhasursinghnath esdciptiemuxngphma emux ph s 2336 nirasphrarachniphnth krmphrarachwngbwrmhasursinghnath phimphinnganphrarachthanephlingsph hmxmecaphrasilwralngkar entr wdchnasngkhram emuxpikhal ph s 2469 phrankhr osphnphiphrrththnakr pracks praphaphithyakr 2525 prasaphasaray krungethph phi wathin 240 hna yati ihwdi 2519 karpkkhrxngkhxngithy elm 1 2 krungethph oxediynsotr darngrachanuphaph smedc krmphraya 2546 lakhrfxnra prachumeruxnglakhrfxnrakbrabaraetn tarafxn tananeruxnglakhrxiehna tananlakhrdukdabrrph krungethph silpwthnthrrm 2546 ISBN 974 322 927 2 nida misukh 2543 wrrnkhdikarlakhr sngkhla khnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalythksin 152 hna ISBN 978 974 4 51028 0 silpwthnthrrm 29 4 15 kumphaphnth 2551 eryonlds ekhrk ec aelanithi exiywsriwngs 2561 khwamkhidaehwkaenwkhxngithy citr phumiskdi aelaochmhnakhxngskdinaithyinpccubn Thai Radical Discourse The Real Face of Thai Feudalism Today aeplody xychli susaynh phimphkhrngthi 2 krungethph mulnithiokhrngkartarasngkhmsastraelamnusysastr 326 hna darngrachanuphaph smedc krmphraya 2508 tananlakhrkhrngkrungsrixyuthyatxnplay tananlakhrxiehna phimphkhrngthi 4 phrankhr khlngwithya nrathippraphnthphngs phraecabrmwngsethx krmphra 2505 phrarachphngsawdarphma elm 2 phrankhr suksaphnthphanichy 296 hna suentr chutinthrannth 2531 sngkhramkhrawesiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 ph s 2310 suksacakphngsawdarphmachbbrachwngskhxngbxng krungethph sthabnithykhdisuksa mhawithyalythrrmsastr 106 hna ISBN 978 974 315 313 6 smburn barungemuxng 2544 chumchnobranemuxngphisnuolk phisnuolk sanksilpaaelawthnthrrm sthabnrachphtphibulsngkhram 47 hna khnakrrmkarxanwykarcdnganchlxngsirirachsmbtikhrb 50 pi 2542 cdhmayehtuohr prachumphngsawdarchbbkaycnaphiesk elm 1 krungethph kxngwrrnkrrmaelaprawtisastr krmsilpakr 428 hna ISBN 974 419 215 1 thnwa wngsesngiym 2557 ikhthrphisinsmyxyuthya warsarsilpakr 57 4 krkdakhm singhakhm 2557 73 ISSN 0125 0531 crrya prachitormrn hna 3 luxhnk phraecaexkthsthrngcngkrmcnesiyemuxng silpwthnthrrm subkhnemux 26 krkdakhm 2563 nrathippraphnthphngs phraecabrmwngsethx krmphra phrarachphngsawdarphma phimphkhrngthi 2 nnthburi sripyya 2550 hna 1135 1136 khcr sukhphanich khxmulprawtisastr smybangkxk krungethph orngphimphkhurusphaladphraw 2531 hna 269 sxngkstriysudthay 2009 07 13 thi ewyaebkaemchchin wichakar khxm brrnanukrmcrrya prachitormrn karesiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 ph s 2310 krungethph sankphimphaehngculalngkrnmhawithyaly 2547 ISBN 974 13 2907 5 nrathippraphnthphngs phraecabrmwngsethx krmphra phrarachphngsawdarphma nnthburi sripyya 2550 1136 hna ISBN 978 974 7088 10 6 prachumkhaihkarkrungsrixyuthya rwm 3 eruxng krungethph aesngdaw 2553 536 hna ISBN 978 616 508 073 6 phrarachphngsawdar chbbsmedcphraphnrtn wdphraechtuphn trwcsxbcharacakexksartwekhiyn krungethph xmrinthr khxrepxerchns 2558 558 hna ISBN 978 616 92351 0 1 cdphimphodyesdcphrarachkuslinkarphrarachthanephlingsphphrathrrmpyyabdi thawr tis sanukor p th 4 phrarachphngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim aelaexksarxun nnthburi sripyya 2553 800 hna ISBN 978 616 7146 08 9 suentr chutinthrannth 2541 sngkhramkhrawesiykrungsrixyuthyakhrngthi 2 ph s 2310 suksacakphngsawdarphmachbbrachwngskhxngbxng sankphimphsyam hna 81 82 kxnhna smedcphrathinngsuriyasnxmrinthr thdipsmedcphraecaxuthumphr ph s 2301 phraecakrungsrixyuthya rachwngsbanphluhlwng ph s 2301 7 emsayn ph s 2310 smedcphraecakrungthnburi ph s 2310 2325