การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย (จีน: 姜維北伐) หมายถึงชุดการทัพ 11 ครั้งที่เป็นการบุกโดยรัฐจ๊กก๊กกระทำต่อรัฐอริวุยก๊กระหว่าง ค.ศ. 240 ถึง ค.ศ. 262 ในยุคสามก๊กของจีน การทัพนำโดยเกียงอุยขุนพลที่มีชื่อเสียงของจ๊กก๊ก ชุดการบุกขึ้นเหนือนี้แตกต่างจากการบุกขึ้นเหนือครั้งก่อน ๆ หน้าที่นำโดยจูกัดเหลียงซึ่งสามารถยึดเมืองปูเต๋าและอิมเป๋งเข้ามาในอาณาเขตของจ๊กก๊กได้ ในขณะที่การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุยไม่เป็นที่ชื่นชอบในทั้งหมู่ทหารและหมู่พลเรือนในจ๊กก๊ก และยังแตกต่างจาการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงซึ่งมักมีกำลังทหารจ๊กก๊ก 60,000 นายหรือบางครั้งถึง 100,000 นาย ในรขณะที่ของเกียงอุยมีมีกจำนวนน้อยกว่าไม่เกิน 30,000 นาย แม้ภายหลังการเสียชีวิตของบิฮุยซึ่งเกียงอุยได้เข้าควบคุมการบัญชาการทหาร ก่อนหน้านี้การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงประสบปัญหาด้านการขนส่งเสบียงสำหรับทัพขนาดใหญ่ เจียวอ้วนที่เป็นผู้สืบทอดอำนาจของจูกัดเหลียงเชื่อว่าภูมิประเทศที่เป็นแถบเทือกเขาของฮันต๋งเองที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้การทัพล้มเหลว จึงพยายามจะเปลี่ยนเส้นทางเดินทัพเป็นทางแม่น้ำฮั่นซุย บิฮุยซึ่งสิืบทอดอำนาจต่อจากเจียวอ้วนก็เห็นด้วยและไม่เคยยอมให้เปิดศึกใหญ่ที่ยกไปจากทางฮันต๋ง แต่เกียงอุยไม่สนใจข้อกังวลเหล่านี้และยังฮันต๋งเป็นฐานทัพหลักเช่นเดียวกับที่จูกัดเหลียงเคยทำ
การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในยุคสามก๊ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จ๊กก๊ก เผ่าและเกี๋ยง | วุยก๊ก | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เกียงอุย เตียวเอ๊ก อองเป๋ง เลียวฮัว ม้าตง เตียวหงี † แฮหัวป๋า (หลัง ค.ศ. 249) | กุยห้วย แฮหัวป๋า (ก่อน ค.ศ. 249) ต้านท่าย ชิจิด † หลี เจี่ยน เตงงาย สุมาหู |
การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 姜維北伐 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 姜维北伐 | ||||||
| |||||||
การทัพบุกทุ่งราบกลางเก้าครั้ง | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 九伐中原 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 九伐中原 | ||||||
|
ท้ายที่สุดในการทัพแต่ละครั้งก็ถูกยกเลิกไปเนื่องจากเสบียงอาหารไม่เพียงพอ ความสูญเสียอย่างหนักในสนามรบ หรือเหตุผลอื่น ๆ การทัพเหล่านี้เป็นการผลาญทรัพยากรที่มีจำกัดอยู่แล้วในจ๊กก๊ก และนำไปสู่การล่มสลายของจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 263
ในวัฒนธรรมประชานิยมและในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 การทัพเหล่านี้ถกเรียกถึงอย่างไม่ถูกต้องว่า "การทัพบุกทุ่งราบกลางเก้าครั้ง" (九伐中原 จิ่วฝาจง-ยฺเหวียน) การเรียกนี้ไม่ถูกต้องเพราะแท้จริงแล้วมีการทัพ 11 ครั้งแทนที่จะเป็น 9 ครั้ง และยุทธการเหล่านี้เกิดขึ้นในสถานที่ที่ห่างไกลจากทุ่งราบกลาง
โหมโรง
ในปี ค.ศ. 227 แผ่นดินจีนถูกแบ่งเป็น 3 รัฐที่สู้รบกัน ได้แก่ รัฐวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก แต่ละรัฐมีความมุ่งหมายจะรวบรวมดินแดนของราชวงศ์ฮั่นที่ล่มสลายไปให้กลับรวมเป็นหนึ่งภายใต้การปกครองของตน ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจ๊กก๊กได้นำการทัพ 5 ครั้งเข้าโจมตีวุยก๊ก แต่ท้ายที่สุดของการทัพแต่ละครั้งจบด้วยความไม่สำเร็จ และผลโดยภาพรวมก็อยู่ในภาวะคุมเชิงกัน จูกัดเหลียงป่วยเสียชีวิตระหว่างการทัพครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 234 หลังการเสียชีวิตจองจูกัดเหลียง เจียวอ้วนและบิฮุยซึ่งสืบทอดอำนาจต่อจากจูกัดเหลียงในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของจ๊กก๊ก ได้ยุตินโยบายแข็งกร้าวต่อวุยก๊กแล้วหันไปมุ่งเน้นนโยบายภายในและการพัฒนาภายในมากขึ้น มีช่วงเวลาแห่งความสงบระหส่างจ๊กก๊กและวุยก๊กยาว 6 ปีจนถึงปี ค.ศ. 240 เมื่อเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กตัดสินใจสานต่อปณิธานของจูกัดเหลียงและโจมตีวุยก๊กต่อไป
การบุกครั้งแรก (ค.ศ. 240)
ลำดับเหตุการณ์การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย | ||
---|---|---|
ช่วงเวลาโดยประมาณ | สถานที่ | เหตุการณ์ |
240 | นคร มณฑลกานซู่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งแรก: |
247 | มณฑลกานซู่และมณฑลชิงไห่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สอง: |
248 | มณฑลกานซู่, มณฑลชิงไห่ และมองโกเลียใน | |
6 ก.พ. – 1 มี.ค. 249 | แฮหัวป๋าแปรพักตร์ไปเข้าด้วยจ๊กก๊กหลังอุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลงเมื่อวันที่ 5 ก.พ. | |
ป. ก.ย. – พ.ย. 249 | มณฑลกานซู่, มณฑลฉ่านซี และมณฑลเสฉวน | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สี่:
|
250 | มณฑลชิงไห่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่ห้า: เกียงอุยโจมตีเมืองเสป๋งและล่าถอยหลังยึดไม่สำเร็จ |
16 ก.พ. – 17 มี.ค. 253 | นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน | บิฮุยถูกลอบสังหารโดยกัว ซิวที่เป็นผู้แปรพักตร์จากวุยก๊ก |
14 มิ.ย. – 9 ก.ย. 253 | นครเหอเฝย์ มณฑลอานฮุย | ยุทธการที่หับป๋า: เตียวเต๊กป้องกันหับป๋าจากการโจมตีของจูกัดเก๊กได้สำเร็จ |
ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่หก: | |
2 – 31 ก.ค. 254 | ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่เจ็ด: |
18 ก.ย. – 11 พ.ย. 255 | ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่แปด: ยุทธการที่เต๊กโตเสีย |
8 ส.ค. – 6 ก.ย. 256 | ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่เก้า: เตงงายขับไล่การรุกรานที่นำโดยเกียงอุย |
ป. มิ.ย. 257 – มี.ค./เม.ย. 258 | มณฑลอานฮุย | : จูกัดเอี๋ยนเริ่มก่อกบฏต่อวุยก๊กในฉิวฉุนโดยได้รับการสนับสนุนจากง่อก๊ก แต่ในที่สุดกบฏก็ถูกทัพวุยก๊กปราบปราม |
มณฑลกานซู่และมณฑลฉ่านซี | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สิบ: เกียงอุยโจมตีกองทหารรักษาการณ์ของวุยก๊กใกล้เตียงเสียหรือกำแพงเมืองจีน และเตงงายนำทหารเข้าล้อมเกียงอุยแต่ไม่ยกเข้ารบ เกียงอุยล่าถอยไปหลังทราบข่าวว่ากบฏจูกัดเอี๋ยนล้มเหลว | |
30 ต.ค. – 28 พ.ย. 262 | ตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกานซู่ | การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สิบเอ็ด: เตงงายรบชนะเกียงอุยที่อำเภอโหวเหอ เกียงอุยล่าถอยไปยังท่าจง |
ในปี ค.ศ. 240 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีเมือง (隴西郡 หล่งซี-จฺวิ้น) ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของวุยก๊ก กุยห้วยขุนพลวุยก๊กจึงนำทัพเข้าโจมตีข้าศึกและขับไล่ไปถึงอาณาเขตของชนเผ่าเกี๋ยง (羌 เชียง) เกียงอุยนำกำลังล่าถอยกลับจ๊กก๊ก ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กุยห้วยเข้าโจมตีชนเผ่าเกี๋ยงที่นำโดยปีต๋อง (迷當 หมีตาง) และเอาชนะได้ ตระกูลชนเผ่า มากกว่า 3,000 ตระกูลยอมสวามิภักดิ์ต่อกุยห้วย กุยห้วยให้ย้ายทั้งหมดไปอยู่ภูมิภาค (關中 กวานจง; ปัจจุบันคือตอนกลางของมณฑลฉ่านซี)
การบุกครั้งที่สอง (ค.ศ. 247)
ในปี ค.ศ. 247 ชนเผ่าเกี๋ยงนำโดยโงโห (餓何 เอ้อเหอ), เสียวกั้ว (燒戈 เชาเกอ) ฝาถง (伐同), เอ๋อเจอไซ (蛾遮塞) และคนอื่น ๆ เริ่มก่อกบฏต่อวุยก๊กในสี่เมืองคือ (隴西 หล่งซี; ปัจจุบันอยู่บริเวณนคร มณฑลกานซู่), ลำอั๋น (南安 หนานอาน; ปัจจุบันอยู่บริเวณ มณฑลกานซู่), กิมเสีย (金城 จินเฉิง; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครหลานโจว มณฑลกานซู่) และเสเป๋ง (西平 ซีผิง; ปัจจุบันอยู่บริเวณนคร มณฑลชิงไห่) เข้าโจมตีหลายเมืองและหลายอำเภอในพื้นที่ และเรียกร้องให้ทัพจ๊กก๊กมาช่วยสนับสนุน
ไป๋หู่เหวิน (白虎文) และจื้ออู๋ไต้ (治無戴) ประมุขชนเผ่าที่มีอิทธิพล 2 คนในมณฑลเลียงจิ๋วตอบรับร่วมการก่อกบฏต่อวุยก๊ก เมื่อเกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กไปยังมณฑลเลียงจิ๋วเพื่อสนับสนุนกบฏชาวเกี๋ยง ไป๋หู่เหวินและจื้ออู๋ไต้ก็เข้าด้วยกับเกียงอุย
ราชสำนักวุยก๊กมีคำสั่งให้แฮหัวป๋านำกองกำลังไปรักษาการณ์ที่ด้านข้าง เมื่อกุยห้วยนำกองทัพมายังเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ที่ปรึกษาของกุยห้วยแนะนำว่าควรเข้าโจมตีอำเภอเปาสิว (枹罕縣 ฝูห่านเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ใน มณฑลกานซู่) และสยบเผ่าเกี๋ยงก่อนที่จะจัดการกับทัพจ๊กก๊กที่รุกเข้ามา กุยห้วยคาดการณ์ว่าเกียงอุยจะโจมตีที่ตั้งของแฮหัวป๋า จึงมุ่งลงใต้ไปเสริมกำลังให้แฮหัวป๋า เกียงอุยเข้าโจมตีแฮหัวป๋าที่ฝั่งตะวันตกของ (洮水 เถาฉุ่ย) ตามที่กุยห้วยคาดไว้ แต่เกียงอุยก็ต้องล่าถอยเมื่อกุยห้วยนำกำลังเสริมมาถึง จากนั้นกุยห้วยจึงยกเข้าโจมตีกบฏเผ่าเกี๋ยง สังหารโงโหและเสียวกั้ว และบีบให้ทัพตระกูลชนเผ่าเกี๋ยงหลายพันนายยอมจำนน
การบุกครั้งที่สาม (ค.ศ. 248)
ในปี ค.ศ. 248 เอ๋อเจอไซ (蛾遮塞) และกบฏชนเผ่าเกี๋ยงก่อกบฏยึดป้อมปราการในอำเภอเหอกวาน (河關; ในบริเวณใกล้เคียงกับนคร มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และอำเภอไป๋ถู่ (白土; ใน มณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน) และใช้ในการป้องกันทัพวุยก๊กที่ยกข้าม (洮水 เถาฉุ่ย) กุยห้วยแสร้งทำเป็นว่ากำลังจะเข้าโจมตีจากต้นน้ำ แต่แท้จริงแล้วลอบสั่งกองกำลังให้ข้ามแม่น้ำที่ปลายน้ำเพื่อเข้าโจมตีไป๋ถู่ การโจมตีสำเร็จและฝ่ายกบฏถูกตีแตกพ่าย จื้ออู๋ไต้ (治無戴) นำทัพชนเผ่าของตนเข้าโจมตีเมือง (武威郡 อู่เวย์จฺวิ้น) โดยให้ครอบครัวยังอยู่ที่เมืองซีไห่ (西海郡 ซีไห่จฺวิ้น; ใกล้กับ มองโกเลียใน) เมื่อกุยห้วยทราบเรื่องนี้จึงนำกองกำลังเข้าโจมตีเมืองซีไห่ แต่ก็พบเข้ากับทัพของจื้ออู๋ไต้ซึ่งกำลังยกกลับจากเมืองอู่เวย์ สองทัพปะทะบนทางเหนือของอำเภอหลงอี๋ (龍夷縣 หลงอี๋เซี่ยน; ทางตะวันตกของ มณฑลชิงไห่ในปัจจุบัน) ทัพวุยก๊กได้รับชนะและทัพของจื้ออู่ต้านล่าถอย
เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กจากเซ็กเอ๋ง (石營 ฉืออิ๋ง; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ไปยังเฉียงชฺวาน (彊川; ทางตะวันตกของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อจะสมทบกับทัพจื้ออู๋ไต้ที่กำลังล่าถอย โดยเกียงอุยให้เลียวฮัวอยู่รักษาเขาเฉิงจ้ง (成重山 เฉิงจ้งชาน; อยู่ทางตะวันตกของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อสร้างป้อมปราการ รวบรวมกำลังชาวเกี๋ยงที่เหลืออยู่ และคุมตัวไว้เป็นตัวประกันในป้อม เมื่อกุยห้วยทราบเรื่องที่เกียงอุยนำทัพมา กุยห้วยต้องการจะแบ่งทัพของตนออกเป็น 2 กองเพื่อโจมตีข้าศึก แต่เหล่านายทหารของกุยห้วยมีความเห็นที่แตกต่างออกไป โดยคาดว่าเกียงอุยจะมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเพื่อสมทบกับจื้ออู๋ไต้และรวมกำลังเข้าด้วยกัน ในขณะที่เลียวฮัวยังคงอยู่ป้องกันฐานที่มั่นของจ๊กก๊กที่เขาเฉิงจ้ง หากแบ่งทัพออกเป็น 2 ส่วน พลังโจมตีจะลดลงอย่างมากและอาจจบลงด้วยสถานการณ์ที่ไม่อาจต้านเกียงอุยหรือยึดฐานที่มั่นของเลียวฮัวได้ เหล่านายทหารจึงโน้มน้าวกุยห้วยให้มุ่งเน้นไปทีการบุกไปทางตะวันตกเพื่อโจมตีเกียงอุยและจื้ออู๋ไต้แยกกันก่อนที่ทั้งคู่จะเข้าสมทบกันได้
กุยห้วยยืนกรานจะใช้แผนแรกโดยกล่าวว่า "หากเราโจมตีเลียวฮัว จะทำให้ข้าศึกที่ไม่ทันตั้งตัวได้ เกียงอุยจะต้องหันกลับมาช่วยเลียวฮัวอย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลาที่เกียงอุยกลับมาถึง เราก็เอาชนะเลียวฮัวได้แล้ว ทำเช่นนี้แล้วจะทำให้เกียงอุยและทหารเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไป ๆ มา ๆ หากเกียงอุยไม่พบกับพวกอนารยชนแล้ว พวกอนารยชนก็จะล่าถอยไปเอง นี่เป็นแนวทางที่ดีที่สุด" กุยห้วยจึงมอบหมายให้แฮหัวป๋านำกองกำลังแยกไล่ตามเกียงอุยไปถึงท่าจง (沓中; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ขณะที่ตัวกุยห้วยนำอีกกองกำลังเข้าโจมตีเลียวฮัว เกียงอุยหันกลับมาช่วยเหลือเลียวฮัวจริง ๆ ตามที่กุยห้วยคาดการณ์ไว้ และล้มเหลวในการสมทบกับจื้ออู๋ไต้
การบุกครั้งที่สี่ (ค.ศ. 249)
ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 249 โจซองผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊กถูกปลดและถูกประหารชีวิตในเหตุการณ์รัฐประหารที่ก่อขึ้นโดยสุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมและเข้ากุมอำนาจของราชสำนักวุยก๊กอย่างสมบูรณ์ ในเวลานั้นแฮหัวป๋าเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของแฮเฮาเหียนผู้ดำรงตำแหน่งขุนพลโจมตีภาคตะวันตก (征西將軍 เจิงซีเจียงจฺวิน) แฮเฮาเหียนเป็นญาติของทั้งแฮหัวป๋าและโจซอง หลังการเสียชีวิตของโจซอง สุมาอี้เรียกตัวแฮเฮาเหียนกลับมายังนครหลวงลกเอี๋ยง แล้วให้กุยห้วยมาดำรงตำแหน่งแทน กุยห้วยจึงกลายเป็นผู้บังคับบัญชาคนใหม่ของแฮหัวป๋า แฮหัวป๋าไม่ถูกกันกับกุยห้วยมาโดยตลอดจึงกลัวว่าตนจะมีชะตากรรมเหมือนโจซอง แฮหัวป๋าจึงหนีและแปรพักตร์ไปเข้าด้วยจ๊กก๊ก
ในฤดูใบไม้ร่วง เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กโจมตีมณฑลในอาณาเขตของวุยก๊ก ให้สร้างป้อมปราการสองแห่งที่เขาก๊กสัน (麴山 ชฺวีชาน; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และสั่งให้นายทหารกุอั๋น (句安 โกว อาน) และลิหิม (李歆 หลี่ ซิน) อยู่รักษาทั้งสองป้อม เกียงอุยยังให้ติดต่อกับชนเผ่าเกี๋ยงและขอให้ช่วยคุกคามเมืองต่าง ๆ ในมณฑลยงจิ๋ว กุยห้วยปรึกษากับต้านท่ายข้าหลวงมณฑลยงจิ๋วถึงวิธีการรับมือการบุกของจ๊กก๊ก ต้านท่ายกล่าวว่า "ป้อมปราการที่ก๊กสันคงมีการป้องกันเป็นอย่างดี แต่เส้นทางที่นำไปสู่จ๊กนั้นยากแก่การสัญจร ดังนั้นพวกเขาจึงต้องการเสบียงที่มีปริมาณเพียงพอ เผ่าเกี๋ยงก็กังวลเรื่องจุดอ่อนนี้ของทัพจ๊ก พวกเขาจึงอาจไม่เต็มใจช่วยจ๊ก หากเราล้อมป้อมปราการและเข้าโจมตี เราจะสามารถเข้ายึดได้โดยง่าย แม้ว่าเมื่อกำลังเสริมของจ๊กมาถึง ภูมิประเทศเทือกเขาอันอันตรายก็จะทำให้พวกเขาหมดแรง"
กุยห้วยจึงสั่งให้ต้านท่าย ชิจิด และเตงงายนำทัพวุยก๊กเข้าโจมตีป้อมปราการที่ก๊กสันและตัดทางเสบียงและน้ำ กุอั๋นและลิหิมนำทหารของตนไปยั่วยุเตงงายให้เข้าโจมตีพวกตน แต่เตงงายเพิกเฉย เมื่อเวลาผ่านไป เสบียงของทั้งสองป้อมปราการก็ค่อย ๆ หมด เกียงอุยนำกองกำลังของตนจากเขางิวเทาสัน (牛頭山 หนิวโถวชาน; อยู่ทางตะวันตกของ นคร มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) เพื่อไปเสริมกำลังให้ป้อมปราการ ระหว่างก็พบเข้ากับกองกำลังของต้านท่าย ต้านท่ายกล่าวว่า "พิชัยสงครามซุนจื่อกล่าวว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการชนะศึกคือการชนะโดยไม่ต้องรบ หากเรายึดเขางิวเทาสันได้ ทางถอยของเกียงอุยก็จะถูกปิดผนึก เราก็จะจับตัวได้โดยง่าย" ต้านท่ายจึงสั่งกองกำลังของตนให้สร้างป้อมปราการต้านทัพของเกียงอุยแต่ไม่ออกโจมตีข้าศึก เวลาเดียวกันต้านท่ายยังเขียนหนังสือไปถึงกุยห้วย ขอให้ช่วยโจมตีเขางิวเทาสัน กุยห้วยทำตามนั้นและนำกองกำลังข้ามเตรียมเข้าตีเขางิวเทาสัน
หลังจากเกียงล่าถอย กุอั๋นและลิหิมก็ถูกทอดทิ้งโดดเดี่ยวที่ป้อมปราการที่ก๊กสัน ทั้งคู่ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมจำนนต่อข้าศึก จากนั้นกุยห้วยจึงนำกองกำลังไปทางตะวันตกเพื่อโจมตีชนเผ่าเกี๋ยงที่กำลังสับสน และบีบให้ชนเผ่าเกี๋ยงยอมจำนน เตงงายเตือนกุยห้วยว่า "ข้าศึกไม่ได้ล่าถอยไปไกล พวกเขาอาจจะหันกลับมาโจมตีเราอีก เราควรแบ่งทัพของเราเผื่อพวกเขาโจมตีเราอีกครั้ง"
เตงงายยังคงรักษาการณ์อยู่ทางเหนือของไป๋ฉุ่ย (白水; ปัจจุบันคือ มณฑลเสฉวน) สามวันต่อมา เกียงอุยส่งเลียวฮัวนำทัพเข้าใกล้ค่ายของเตงงายจากทางใต้ของไป๋ฉุ่ย เตงงานบอกกับเหล่านายทหารว่า "เกียงอุยหันกลับมาโจมตีเรา เรามีกำลังน้อย ตามหลักแล้วเราควรข้ามแม่น้ำและไม่สร้างสะพาน ข้าเห็นว่าเกียงอุยจะต้องส่งเลียวฮัวมาขัดขวางเราเพื่อบีบให้เรายังอยู่ที่นี่ ในขณะที่เกียงอุยเข้าโจมตีเถาเฉิง (洮城; อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) จากทางตะวันออก" เถาเฉิงตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำและห่างจากที่ตั้งของเตงงายราว 60 หลี่ เตงงายแบ่งกองกำลังให้เดินทัพตลอดคืนไปยังเถาเฉิงเพื่อป้องกันป้อมปราการ เกียงอุยข้ามแม่น้ำมาโจมตีเถาเฉิงตามที่เตงงายคาดการณ์ไว้ แต่ยึดป้อมปราการไม่สำเร็จเพราะเตงงายได้เสริมกำลังป้องกันไว้แล้ว เกียงอุยเห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่นจึงถอยทัพกลับจ๊กก๊ก
การบุกครั้งที่ห้า (ค.ศ. 250)
ในปี ค.ศ. 250 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กโจมตีเมืองเสเป๋ง (西平郡 ซีผิงจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครซีหนิง มณฑลชิงไห่) เกียงอุยถอยทัพหลังจากยึดเมืองเสเป๋งไม่สำเร็จ
การบุกครั้งที่หก (ค.ศ. 253)
ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 253 ง่อก๊กที่เป็นรัฐพันธมิตรของจ๊กก๊กยกทัพโจมตีชายแดนด้านตะวันออกของวุยก๊ก นำไปสู่ยุทธการที่หับป๋า
เกียงอุยภูมิใจในความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมและประเพณีของชนเผ่าเกี๋ยง (羌 เชียง) และชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวจีนฮั่นอื่น ๆ ที่อาศัยทางด้านตะวันตกของจีน เกียงอุยจึงมักคิดจะเกลี้ยกล่อมผู้คนชนเผ่าเหล่านี้ให้มาเป็นพันธมิตรกับจ๊กก๊กและยกทัพโจมตีประสานเข้าบุกอาณาเขตของวุยก๊กซึ่งอยู่ในมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม บิฮุยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งจ๊กก๊กไม่เห็นด้วยอย่างมากกับความกระหายสงครามของเกียงอุยที่มีต่อวุยก๊ก และพยายามควบคุมเกียงอุยโดยการจำกัดจำนวนกำลังพลที่เกียงอุยนำไปในแต่ละครั้งที่ออกศึกได้ไม่เกิน 10,000 นาย ครั้งหนึ่งบิฮุยเคยบอกเกียงอุยว่าควรหยุดการโจมตีวุยก๊กและมุ่งเน้นไปที่นโยบายส่งเสริมเสถียรภาพและความเจริญรุ่งเรืองภายในจ๊กก๊ก
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253 บิฮุยถูกลอบสังหารโดยกัว ซิว (郭脩) ผู้แปรพักตร์จากวุยก๊กระหว่างงานเลี้ยงในวันแรกของเทศกาลขึ้นปีใหม่ หลังการเสียชีวิตของบิฮุย เกียงอุยได้อำนาจควบคุมทัพจ๊กก๊กมากขึ้นและสามารถทำตามที่ตนต้องการได้ ในฤดูร้อนของปีนั้น หลังทราบข่าวว่าง่อก๊กโจมตีวุยก๊กทางตะวันออก เกียงอุยจึงนำกำลังพลจ๊กก๊กหลายหมื่นนายออกจากเซ็กเอ๋ง (石營 ฉืออิ๋ง; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ข้าล้อมเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)
สุมาสูผู้สำเร็จราชการของวุยก๊กเรียกงีสง (虞松 ยฺหวี ซง) มาถามความเห็นเรื่องวิธีจัดการการบุกของง่อก๊กทางตะวันออกและจ๊กก๊กทางตะวันตก งีสงวิเคราะห์สถานการณ์และกล่าวว่าการป้องกันที่หับป๋านั้นแข็งแกร่งเพียงพอที่จะต้านทานการโจมตีของง่อก๊กได้ระยะเวลาหนึ่ง และท้ายที่สุดทัพง่อก๊กก็จะถอนทัพกลับไปเมื่อหมดขวัญกำลังใจ งีสงแนะนำให้เปิดการโจมตีโต้กลับการบุกของจ๊กก๊กอย่างรวดเร็วไม่ให้ทันตั้งตัวและขับไล่ออกไป สุมาสูเห็นด้วยจึงสั่งให้กุยห้วยและต้านท่ายนำทัพวุยก๊กไปตั้งมั่นในภูมิภาคเพื่อโจมตีทัพจ๊กก๊กและสลายวงล้อมที่เต๊กโตเสีย ต้านท้ายโจมตีทัพจ๊กก๊กแตกพ่ายที่ลั่วเหมิน (洛門; อยู่ใน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ในที่สุดเกียงอุยจึงถอยทัพทั้งหมดกลับไปจ๊กก๊กเมื่อเสบียงอาหารหมด
การบุกครั้งที่เจ็ด (ค.ศ. 254)
ในฤดูร้อน ค.ศ. 254 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีเมืองอีกครั้ง หลี เจี่ยน (李簡) ขุนนางของวุยก๊กที่รักษาเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ยอมสวามิภักดิ์ต่อเกียงอุย เกียงอุยจึงรุกต่อไปเข้าโจมตีอำเภอซงบู๋ก๋วน (襄武縣 เซียงอู่เซี่ยน; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และเข้ารบกับชิจิดขุนพลวุยก๊ก ชิจิดพ่ายแพ้และถูกสังหาร แต่ทัพจ๊กก๊กก็สูยเสียขุนพลเตียวหงีไปในการรบ ทัพจ๊กก๊กที่ได้ชัยชนะเข้ายึดสามอำเภอคือเต๊กโตเสีย เหอกวาน (河關; ในบริเวณใกล้เคียงกับนคร มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และ (臨洮 หลินเถา) และกวาดต้อนราษฎรผู้อาศัยในสามอำเภอให้ย้ายมาอยู่ภายในอาณาเขตของจ๊กก๊ก
การบุกครั้งที่แปด (ค.ศ. 255)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบุกครั้งที่เก้า (ค.ศ. 256)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบุกครั้งที่สิบ (ค.ศ. 257-258)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบุกครั้งที่สิบเอ็ด (ค.ศ. 262)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลสืบเนื่อง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในนิยายสามก๊ก
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
- ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ในศตวรรษที่ 14 โงโหและเสียวกั้วถูกรวมเข้าเป็นตัวละครเดียวกันคือโงโหเสียวกั้ว ซึ่งมีบทบาทในตอนที่ 109 แต่ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80 เรียกแยกเป็น "โงโห" และ "เสียวกั้ว" สองคนเหมือนกับในจดหมายเหตุสามก๊ก
อ้างอิง
- อ้างอิงจากจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ)
- (正始元年,蜀將羌維出隴西。淮遂進軍,追至彊中,維退,遂討羌迷當等,案撫柔氐三千餘落,拔徙以實關中。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (八年,隴西、南安、金城、西平諸羌餓何、燒戈、伐同、蛾遮塞等相結叛亂,攻圍城邑,南招蜀兵,涼州名胡治無戴復叛應之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (討蜀護軍夏侯霸督諸軍屯為翅。淮軍始到狄道,議者僉謂宜先討定枹罕,內平惡羌,外折賊謀。淮策維必來攻霸,遂入渢中,轉南迎霸。維果攻為翅,會淮軍適至,維遁退。進討叛羌,斬餓何、燒戈,降服者萬餘落。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (十年, ... 又出隴西、南安、金城界,與魏大將軍郭淮、夏侯霸等戰於洮西。胡王治無戴等舉部落降,維將還安處之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (九年,遮塞等屯河關、白土故城,據河拒軍。淮見形上流,密於下渡兵據白土城,擊,大破之。治無戴圍武威,家屬留在西海。淮進軍趨西海,欲掩取其累重,會無戴折還,與戰於龍夷之北,破走之。令居惡虜在石頭山之西,當大道止,斷絕王使。淮還過討,大破之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (姜維出石營,從彊川,乃西迎治無戴,留陰平太守廖化於成重山築城,斂破羌保質。淮欲分兵取之。諸將以維衆西接彊胡,化以據險,分軍兩持,兵勢轉弱,進不制維,退不拔化,非計也,不如合而俱西,及胡、蜀未接,絕其內外,此伐交之兵也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (淮曰:「今往取化,出賊不意,維必狼顧。比維自致,足以定化,且使維疲於奔命。兵不遠西,而胡交自離,此一舉而兩全之策也。」乃別遣夏侯霸等追維於沓中,淮自率諸軍就攻化等。維果馳還救化,皆如淮計。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (十二年春正月,魏誅大將軍曹爽等,右將軍夏侯霸來降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- (... 泰曰:「麴城雖固,去蜀險遠,當須運糧。羌夷患維勞役,必未肯附。今圍而取之,可不血刃而拔其城;雖其有救,山道阻險,非行兵之地也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
- (淮從泰計,使泰率討蜀護軍徐質、南安太守鄧艾等進兵圍之,斷其運道及城外流水。安等挑戰,不許,將士困窘,分糧聚雪以稽日月。維果來救,出自牛頭山,與泰相對。泰曰:「兵法貴在不戰而屈人。今絕牛頭,維無反道,則我之禽也。」勑諸軍各堅壘勿與戰,遣使白淮,欲自南渡白水,循水而東,使淮趣牛頭,截其還路,可并取維,不惟安等而已。淮善其策,進率諸軍軍洮水。維懼,遁走,安等孤縣,遂皆降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
- (秋,衞將軍姜維出攻雍州,不克而還。將軍句安、李韶降魏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- (嘉平元年,與征西將軍郭淮拒蜀偏將軍姜維。維退,淮因西擊羌。艾曰:「賊去未遠,或能復還,宜分諸軍以備不虞。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
- (於是留艾屯白水北。三日,維遣廖化自白水南向艾結營。艾謂諸將曰:「維今卒還,吾軍人少,法當來渡而不作橋。此維使化持吾,令不得還。維必自東襲取洮城。」洮城在水北,去艾屯六十里。艾即夜潛軍徑到,維果來渡,而艾先至據城,得以不敗。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
- (十三年,姜維復出西平,不克而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- ([十六年]夏,維率將數萬人出石營,經董亭,圍南安,魏雍州刺史陳泰解圍至洛門,維糧盡退還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (明年,加督中外軍事。復出隴西,守狄道長李簡舉城降。進圍襄武,與魏將徐質交鋒,斬首破敵,魏軍敗退。維乘勝多所降下,拔河間、狄道、臨洮三縣民還, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([十七年]夏六月,維復率衆出隴西。冬,拔狄道、河間、臨洮三縣民,居于緜竹、繁縣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- อ้างอิงจากอรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้)
- อ้างอิงจากจือจื้อทงเจี้ยน
- (是歲,雍、涼羌胡叛降漢,漢姜維將兵出隴右以應之,與雍州刺史郭淮、討蜀護軍夏侯霸戰于洮西。胡王白虎文、治無戴等率部落降維,維徙之入蜀。淮進擊羌胡餘黨,皆平之。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
- (初,右將軍夏侯霸為曹爽所厚,以其父淵死於蜀,常切齒有報仇之志,為討蜀護軍,屯於隴西,統屬征西。征西將軍夏侯玄,霸之從子,爽之外弟也。爽旣誅,司馬懿召玄詣京師,以雍州刺史郭淮代之。霸素與淮不叶,以為禍必相及,大懼,遂奔漢。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
- (秋,漢衞將軍姜維寇雍州,依麴山築二城,使牙門將句安、李歆等守之,聚羌胡質任,侵偪諸郡;征西將軍郭淮與雍州刺史陳泰禦之。泰曰:「麴城雖固,去蜀險遠,當須運糧;羌夷患維勞役,必未肯附。今圍而取之,可不血刃而拔其城;雖其有救,山道阻險,非行兵之地也。」) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
- (淮乃使泰率討蜀護軍徐質、南安太守鄧艾進兵圍麴城,斷其運道及城外流水。安等挑戰,不許,將士困窘,分糧聚雪以引日月。維引兵救之,出自牛頭山,與泰相對。泰曰:「兵法貴在不戰而屈人。今絕牛頭,維無反道,則我之禽也。」敕諸軍各堅壘勿與戰,遣使白淮,使淮趣牛頭截其還路。淮從之,進軍洮水。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
- (維懼,遁走,安等孤絕,遂降。淮因西擊諸羌。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
- (漢姜維復寇西平,不克。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75.
- (漢姜維自以練西方風俗,兼負其才武,欲誘諸羌、胡以為羽翼,謂自隴以西,可斷而有。每欲興軍大舉,費禕常裁制不從,與其兵不過萬人,曰:「吾等不如丞相亦已遠矣;丞相猶不能定中夏,況吾等乎!不如且保國治民,謹守社稷,如其功業,以俟能者,無為希冀徼倖,決成敗於一舉;若不如志,悔之無及。」) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.
- (及禕死,維得行其志,乃將數萬人出石營,圍狄道。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.
- (大將軍師問於虞松曰:「今東西有事,二方皆急,而諸將意沮,若之何?」松曰:「昔周亞夫堅壁昌邑而吳、楚自敗,事有似弱而強,不可不察也。今恪悉其銳衆,足以肆暴,而坐守新城,欲以致一戰耳。若攻城不拔,請戰不可,師老衆疲,勢將自走,諸將之不徑進,乃公之利也。姜維有重兵而縣軍應恪,投食我麥,非深根之寇也。且謂我幷力於東,西方必虛,是以徑進。今若使關中諸軍倍道急赴,出其不意,殆將走矣。」師曰:「善!」乃使郭淮、陳泰悉關中之衆,解狄道之圍;敕毌丘儉按兵自守,以新城委吳。陳泰進至洛門,姜維糧盡,退還。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.
- (狄道長李簡密書請降於漢。六月,姜維寇隴西。 ... 漢姜維自狄道進拔河間、臨洮。將軍徐質與戰,殺其盪寇將軍張嶷,漢兵乃還。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 76.
- อ้างอิงอื่น ๆ
- จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26, 33 และ 44 และจือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 75–78.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
karbukkhunehnuxkhxngekiyngxuy cin 姜維北伐 hmaythungchudkarthph 11 khrngthiepnkarbukodyrthckkkkrathatxrthxriwuykkrahwang kh s 240 thung kh s 262 inyukhsamkkkhxngcin karthphnaodyekiyngxuykhunphlthimichuxesiyngkhxngckkk chudkarbukkhunehnuxniaetktangcakkarbukkhunehnuxkhrngkxn hnathinaodycukdehliyngsungsamarthyudemuxngpuetaaelaximepngekhamainxanaekhtkhxngckkkid inkhnathikarbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyimepnthichunchxbinthnghmuthharaelahmuphleruxninckkk aelayngaetktangcakarbukkhunehnuxkhxngcukdehliyngsungmkmikalngthharckkk 60 000 nayhruxbangkhrngthung 100 000 nay inrkhnathikhxngekiyngxuymimikcanwnnxykwaimekin 30 000 nay aemphayhlngkaresiychiwitkhxngbihuysungekiyngxuyidekhakhwbkhumkarbychakarthhar kxnhnanikarbukkhunehnuxkhxngcukdehliyngprasbpyhadankarkhnsngesbiyngsahrbthphkhnadihy eciywxwnthiepnphusubthxdxanackhxngcukdehliyngechuxwaphumipraethsthiepnaethbethuxkekhakhxnghntngexngthiepntnehtuthithaihkarthphlmehlw cungphyayamcaepliynesnthangedinthphepnthangaemnahnsuy bihuysungsiubthxdxanactxcakeciywxwnkehndwyaelaimekhyyxmihepidsukihythiykipcakthanghntng aetekiyngxuyimsnickhxkngwlehlaniaelaynghntngepnthanthphhlkechnediywkbthicukdehliyngekhythakarbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyswnhnungkhxng sngkhraminyukhsamkkwnthikh s 240 262sthanthiphakhtawntkechiyngehnuxkhxngcin swnihyxyuinmnthlkansuaelamnthlchansiinpccubn phlwuykkchna ckkklathxykhusngkhramckkk ephaaelaekiyngwuykkphubngkhbbychaaelaphunaekiyngxuy etiywexk xxngepng eliywhw matng etiywhngi aehhwpa hlng kh s 249 kuyhwy aehhwpa kxn kh s 249 tanthay chicid hli eciyn etngngay sumahu karbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyxksrcintwetm姜維北伐xksrcintwyx姜维北伐karthxdesiyngphasacinklangmatrthanhny hwiphinxinJiang Wei Beifakarthphbukthungrabklangekakhrngxksrcintwetm九伐中原xksrcintwyx九伐中原karthxdesiyngphasacinklangmatrthanhny hwiphinxinJǐufa Zhōngyuan thaythisudinkarthphaetlakhrngkthukykelikipenuxngcakesbiyngxaharimephiyngphx khwamsuyesiyxyanghnkinsnamrb hruxehtuphlxun karthphehlaniepnkarphlaythrphyakrthimicakdxyuaelwinckkk aelanaipsukarlmslaykhxngckkkinpi kh s 263 inwthnthrrmprachaniymaelainnwniyayxingprawtisastreruxngsamkkinstwrrsthi 14 karthphehlanithkeriykthungxyangimthuktxngwa karthphbukthungrabklangekakhrng 九伐中原 ciwfacng y ehwiyn kareriykniimthuktxngephraaaethcringaelwmikarthph 11 khrngaethnthicaepn 9 khrng aelayuththkarehlaniekidkhuninsthanthithihangiklcakthungrabklangohmornginpi kh s 227 aephndincinthukaebngepn 3 rththisurbkn idaek rthwuykk ckkk aelangxkk aetlarthmikhwammunghmaycarwbrwmdinaednkhxngrachwngshnthilmslayipihklbrwmepnhnungphayitkarpkkhrxngkhxngtn rahwangpi kh s 228 aela kh s 234 cukdehliyngxkhrmhaesnabdiaelaphusaercrachkaraethnphraxngkhkhxngckkkidnakarthph 5 khrngekhaocmtiwuykk aetthaythisudkhxngkarthphaetlakhrngcbdwykhwamimsaerc aelaphlodyphaphrwmkxyuinphawakhumechingkn cukdehliyngpwyesiychiwitrahwangkarthphkhrngthi 5 inpi kh s 234 hlngkaresiychiwitcxngcukdehliyng eciywxwnaelabihuysungsubthxdxanactxcakcukdehliynginthanaphusaercrachkaraethnphraxngkhkhxngckkk idyutinoybayaekhngkrawtxwuykkaelwhnipmungennnoybayphayinaelakarphthnaphayinmakkhun michwngewlaaehngkhwamsngbrahsangckkkaelawuykkyaw 6 picnthungpi kh s 240 emuxekiyngxuykhunphlckkktdsinicsantxpnithankhxngcukdehliyngaelaocmtiwuykktxipkarbukkhrngaerk kh s 240 ladbehtukarnkarbukkhunehnuxkhxngekiyngxuychwngewlaodypraman sthanthi ehtukarn240 nkhr mnthlkansu karbukkhunehnuxkhrngaerk ekiyngxuyocmtiemuxngaetthukkuyhwytiaetkphayklbipkuyhwyyngrbchnachnephaekiyngphayitkarnakhxngpitxngaelabibihyxmswamiphkdi247 mnthlkansuaelamnthlchingih karbukkhunehnuxkhrngthisxng chnephaekiyngkxkbttxtankarpkkhrxngkhxngwuykkinemuxnghlnges laxn kimesiy aelaesepngekiyngxuynathphckkkipsnbsnunkbtchnephaekiyngkuyhwyaelaaehhwpatithphekiyngxuyaetkphayklbipaelaprabpramkbtchnephaekiyng248 mnthlkansu mnthlchingih aelamxngokeliyin kuyhwyprabkbtchnephaekiyngphayitkarnakhxngexxecxisaelacuxxuitinxaephxehxkwan ipthu aelahlngxikarbukkhunehnuxkhrngthi 3 ekiyngxuynathphckkkmasnbsnuncuxxuit odyiheliywhwxyurksaekhaechingcng emuxkuyhwyekhaocmtieliywhw ekiyngxuycungtxngthxyklbmachwyeliywhwaelalmehlwinkarsmthbkbcuxxuit6 k ph 1 mi kh 249 aehhwpaaeprphktripekhadwyckkkhlngxubtikarnsusanokebngehlngemuxwnthi 5 k ph p k y ph y 249 mnthlkansu mnthlchansi aelamnthleschwn karbukkhunehnuxkhrngthisi ekiyngxuyocmtimnthlyngciwaelasrangpxmprakar 2 aehngthiekhakksntanthay chicid aelaetngngayyudpxmprakar 2 aehngthikksnekiyngxuyaesrngthxythphaelasngeliywhwipocmtietngngaythiipchuyaelaebiyngebnkhwamsnic etngngayruwaaethcringaelwekiyngxuymiepahmaycatiethaechingcungsngkalngipesrimthiethaeching ekiyngxuyimmithangeluxkxunnxkcakthxythph250 mnthlchingih karbukkhunehnuxkhrngthiha ekiyngxuyocmtiemuxngespngaelalathxyhlngyudimsaerc16 k ph 17 mi kh 253 nkhrechingtu mnthleschwn bihuythuklxbsngharodykw siwthiepnphuaeprphktrcakwuykk14 mi y 9 k y 253 nkhrehxefy mnthlxanhuy yuththkarthihbpa etiywetkpxngknhbpacakkarocmtikhxngcukdekkidsaerctawnxxkechiyngitkhxngmnthlkansu karbukkhunehnuxkhrngthihk ekiyngxuypidlxmetkotesiysumasusngkuyhwyaelatanthayihipkhbilekiyngxuyekiyngxuyykthphklbemuxesbiyngxaharhmd2 31 k kh 254 tawnxxkechiyngitkhxngmnthlkansu karbukkhunehnuxkhrngthiecd ekiyngxuyocmtiemuxnghli eciynaeprphktraelayxmyketkotesiyihckkkyuththkarthixaephxesiyngxu etiywhngiaelachicidthuksngharinthirbthphckkkyudetkotesiy ehxkwan aelahlimexiy aelwkwadtxnrasdripyngxanaekhtkhxngckkk18 k y 11 ph y 255 tawnxxkechiyngitkhxngmnthlkansu karbukkhunehnuxkhrngthiaepd yuththkarthietkotesiy8 s kh 6 k y 256 tawnxxkechiyngitkhxngmnthlkansu karbukkhunehnuxkhrngthieka etngngaykhbilkarrukranthinaodyekiyngxuyp mi y 257 mi kh em y 258 mnthlxanhuy cukdexiynerimkxkbttxwuykkinchiwchunodyidrbkarsnbsnuncakngxkk aetinthisudkbtkthukthphwuykkprabprammnthlkansuaelamnthlchansi karbukkhunehnuxkhrngthisib ekiyngxuyocmtikxngthharrksakarnkhxngwuykkikletiyngesiyhruxkaaephngemuxngcin aelaetngngaynathharekhalxmekiyngxuyaetimykekharb ekiyngxuylathxyiphlngthrabkhawwakbtcukdexiynlmehlw30 t kh 28 ph y 262 tawnxxkechiyngitkhxngmnthlkansu karbukkhunehnuxkhrngthisibexd etngngayrbchnaekiyngxuythixaephxohwehx ekiyngxuylathxyipyngthacng inpi kh s 240 ekiyngxuynathphckkkekhaocmtiemuxng 隴西郡 hlngsi c win sungxyuinxanaekhtkhxngwuykk kuyhwykhunphlwuykkcungnathphekhaocmtikhasukaelakhbilipthungxanaekhtkhxngchnephaekiyng 羌 echiyng ekiyngxuynakalnglathxyklbckkk inchwngewlaediywknnn kuyhwyekhaocmtichnephaekiyngthinaodypitxng 迷當 hmitang aelaexachnaid trakulchnepha makkwa 3 000 trakulyxmswamiphkditxkuyhwy kuyhwyihyaythnghmdipxyuphumiphakh 關中 kwancng pccubnkhuxtxnklangkhxngmnthlchansi karbukkhrngthisxng kh s 247 inpi kh s 247 chnephaekiyngnaodyongoh 餓何 exxehx esiywkw 燒戈 echaekx fathng 伐同 exxecxis 蛾遮塞 aelakhnxun erimkxkbttxwuykkinsiemuxngkhux 隴西 hlngsi pccubnxyubriewnnkhr mnthlkansu laxn 南安 hnanxan pccubnxyubriewn mnthlkansu kimesiy 金城 cineching pccubnxyubriewnnkhrhlanocw mnthlkansu aelaesepng 西平 siphing pccubnxyubriewnnkhr mnthlchingih ekhaocmtihlayemuxngaelahlayxaephxinphunthi aelaeriykrxngihthphckkkmachwysnbsnun iphuehwin 白虎文 aelacuxxuit 治無戴 pramukhchnephathimixiththiphl 2 khninmnthleliyngciwtxbrbrwmkarkxkbttxwuykk emuxekiyngxuynathphckkkipyngmnthleliyngciwephuxsnbsnunkbtchawekiyng iphuehwinaelacuxxuitkekhadwykbekiyngxuy rachsankwuykkmikhasngihaehhwpanakxngkalngiprksakarnthidankhang emuxkuyhwynakxngthphmayngetkotesiy 狄道 tieta xyubriewn mnthlkansuinpccubn thipruksakhxngkuyhwyaenanawakhwrekhaocmtixaephxepasiw 枹罕縣 fuhanesiyn pccubnxyuin mnthlkansu aelasybephaekiyngkxnthicacdkarkbthphckkkthirukekhama kuyhwykhadkarnwaekiyngxuycaocmtithitngkhxngaehhwpa cungmunglngitipesrimkalngihaehhwpa ekiyngxuyekhaocmtiaehhwpathifngtawntkkhxng 洮水 ethachuy tamthikuyhwykhadiw aetekiyngxuyktxnglathxyemuxkuyhwynakalngesrimmathung caknnkuyhwycungykekhaocmtikbtephaekiyng sngharongohaelaesiywkw aelabibihthphtrakulchnephaekiynghlayphnnayyxmcannkarbukkhrngthisam kh s 248 inpi kh s 248 exxecxis 蛾遮塞 aelakbtchnephaekiyngkxkbtyudpxmprakarinxaephxehxkwan 河關 inbriewniklekhiyngkbnkhr mnthlkansuinpccubn aelaxaephxipthu 白土 in mnthlchingihinpccubn aelaichinkarpxngknthphwuykkthiykkham 洮水 ethachuy kuyhwyaesrngthaepnwakalngcaekhaocmticaktnna aetaethcringaelwlxbsngkxngkalngihkhamaemnathiplaynaephuxekhaocmtiipthu karocmtisaercaelafaykbtthuktiaetkphay cuxxuit 治無戴 nathphchnephakhxngtnekhaocmtiemuxng 武威郡 xuewyc win odyihkhrxbkhrwyngxyuthiemuxngsiih 西海郡 siihc win iklkb mxngokeliyin emuxkuyhwythraberuxngnicungnakxngkalngekhaocmtiemuxngsiih aetkphbekhakbthphkhxngcuxxuitsungkalngykklbcakemuxngxuewy sxngthphpathabnthangehnuxkhxngxaephxhlngxi 龍夷縣 hlngxiesiyn thangtawntkkhxng mnthlchingihinpccubn thphwuykkidrbchnaaelathphkhxngcuxxutanlathxy ekiyngxuynathphckkkcakeskexng 石營 chuxxing xyuthangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn ipyngechiyngch wan 彊川 thangtawntkkhxng mnthlkansuinpccubn ephuxcasmthbkbthphcuxxuitthikalnglathxy odyekiyngxuyiheliywhwxyurksaekhaechingcng 成重山 echingcngchan xyuthangtawntkkhxng mnthlkansuinpccubn ephuxsrangpxmprakar rwbrwmkalngchawekiyngthiehluxxyu aelakhumtwiwepntwprakninpxm emuxkuyhwythraberuxngthiekiyngxuynathphma kuyhwytxngkarcaaebngthphkhxngtnxxkepn 2 kxngephuxocmtikhasuk aetehlanaythharkhxngkuyhwymikhwamehnthiaetktangxxkip odykhadwaekiyngxuycamunghnaipthangtawntkephuxsmthbkbcuxxuitaelarwmkalngekhadwykn inkhnathieliywhwyngkhngxyupxngknthanthimnkhxngckkkthiekhaechingcng hakaebngthphxxkepn 2 swn phlngocmticaldlngxyangmakaelaxaccblngdwysthankarnthiimxactanekiyngxuyhruxyudthanthimnkhxngeliywhwid ehlanaythharcungonmnawkuyhwyihmungennipthikarbukipthangtawntkephuxocmtiekiyngxuyaelacuxxuitaeykknkxnthithngkhucaekhasmthbknid kuyhwyyunkrancaichaephnaerkodyklawwa hakeraocmtieliywhw cathaihkhasukthiimthntngtwid ekiyngxuycatxnghnklbmachwyeliywhwxyangaennxn emuxthungewlathiekiyngxuyklbmathung erakexachnaeliywhwidaelw thaechnniaelwcathaihekiyngxuyaelathharehndehnuxycakkaredinthangip ma hakekiyngxuyimphbkbphwkxnarychnaelw phwkxnarychnkcalathxyipexng niepnaenwthangthidithisud kuyhwycungmxbhmayihaehhwpanakxngkalngaeykiltamekiyngxuyipthungthacng 沓中 thangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn khnathitwkuyhwynaxikkxngkalngekhaocmtieliywhw ekiyngxuyhnklbmachwyehluxeliywhwcring tamthikuyhwykhadkarniw aelalmehlwinkarsmthbkbcuxxuitkarbukkhrngthisi kh s 249 invduibimphli kh s 249 ocsxngphusaercrachkaraethnphraxngkhkhxngwuykkthukpldaelathukpraharchiwitinehtukarnrthpraharthikxkhunodysumaxithiepnphusaercrachkarrwmaelaekhakumxanackhxngrachsankwuykkxyangsmburn inewlannaehhwpaepnphuitbngkhbbychakhxngaehehaehiynphudarngtaaehnngkhunphlocmtiphakhtawntk 征西將軍 ecingsieciyngc win aehehaehiynepnyatikhxngthngaehhwpaaelaocsxng hlngkaresiychiwitkhxngocsxng sumaxieriyktwaehehaehiynklbmayngnkhrhlwnglkexiyng aelwihkuyhwymadarngtaaehnngaethn kuyhwycungklayepnphubngkhbbychakhnihmkhxngaehhwpa aehhwpaimthukknkbkuyhwymaodytlxdcungklwwatncamichatakrrmehmuxnocsxng aehhwpacunghniaelaaeprphktripekhadwyckkk invduibimrwng ekiyngxuynathphckkkocmtimnthlinxanaekhtkhxngwuykk ihsrangpxmprakarsxngaehngthiekhakksn 麴山 ch wichan thangtawnxxkechiyngitkhxng mnthlkansuinpccubn aelasngihnaythharkuxn 句安 okw xan aelalihim 李歆 hli sin xyurksathngsxngpxm ekiyngxuyyngihtidtxkbchnephaekiyngaelakhxihchwykhukkhamemuxngtang inmnthlyngciw kuyhwypruksakbtanthaykhahlwngmnthlyngciwthungwithikarrbmuxkarbukkhxngckkk tanthayklawwa pxmprakarthikksnkhngmikarpxngknepnxyangdi aetesnthangthinaipsucknnyakaekkarsycr dngnnphwkekhacungtxngkaresbiyngthimiprimanephiyngphx ephaekiyngkkngwleruxngcudxxnnikhxngthphck phwkekhacungxacimetmicchwyck hakeralxmpxmprakaraelaekhaocmti eracasamarthekhayudidodyngay aemwaemuxkalngesrimkhxngckmathung phumipraethsethuxkekhaxnxntraykcathaihphwkekhahmdaerng kuyhwycungsngihtanthay chicid aelaetngngaynathphwuykkekhaocmtipxmprakarthikksnaelatdthangesbiyngaelana kuxnaelalihimnathharkhxngtnipywyuetngngayihekhaocmtiphwktn aetetngngayephikechy emuxewlaphanip esbiyngkhxngthngsxngpxmprakarkkhxy hmd ekiyngxuynakxngkalngkhxngtncakekhangiwethasn 牛頭山 hniwothwchan xyuthangtawntkkhxng nkhr mnthleschwninpccubn ephuxipesrimkalngihpxmprakar rahwangkphbekhakbkxngkalngkhxngtanthay tanthayklawwa phichysngkhramsuncuxklawwawithikarthidithisudinkarchnasukkhuxkarchnaodyimtxngrb hakerayudekhangiwethasnid thangthxykhxngekiyngxuykcathukpidphnuk erakcacbtwidodyngay tanthaycungsngkxngkalngkhxngtnihsrangpxmprakartanthphkhxngekiyngxuyaetimxxkocmtikhasuk ewlaediywkntanthayyngekhiynhnngsuxipthungkuyhwy khxihchwyocmtiekhangiwethasn kuyhwythatamnnaelanakxngkalngkhametriymekhatiekhangiwethasn hlngcakekiynglathxy kuxnaelalihimkthukthxdthingoddediywthipxmprakarthikksn thngkhuimmithangeluxkxunnxkcakyxmcanntxkhasuk caknnkuyhwycungnakxngkalngipthangtawntkephuxocmtichnephaekiyngthikalngsbsn aelabibihchnephaekiyngyxmcann etngngayetuxnkuyhwywa khasukimidlathxyipikl phwkekhaxaccahnklbmaocmtieraxik erakhwraebngthphkhxngeraephuxphwkekhaocmtieraxikkhrng etngngayyngkhngrksakarnxyuthangehnuxkhxngipchuy 白水 pccubnkhux mnthleschwn samwntxma ekiyngxuysngeliywhwnathphekhaiklkhaykhxngetngngaycakthangitkhxngipchuy etngnganbxkkbehlanaythharwa ekiyngxuyhnklbmaocmtiera eramikalngnxy tamhlkaelwerakhwrkhamaemnaaelaimsrangsaphan khaehnwaekiyngxuycatxngsngeliywhwmakhdkhwangeraephuxbibiherayngxyuthini inkhnathiekiyngxuyekhaocmtiethaeching 洮城 xyuthangtawnxxkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn cakthangtawnxxk ethaechingtngxyuthangehnuxkhxngaemnaaelahangcakthitngkhxngetngngayraw 60 hli etngngayaebngkxngkalngihedinthphtlxdkhunipyngethaechingephuxpxngknpxmprakar ekiyngxuykhamaemnamaocmtiethaechingtamthietngngaykhadkarniw aetyudpxmprakarimsaercephraaetngngayidesrimkalngpxngkniwaelw ekiyngxuyehnwaimmithangeluxkxuncungthxythphklbckkkkarbukkhrngthiha kh s 250 inpi kh s 250 ekiyngxuynathphckkkocmtiemuxngesepng 西平郡 siphingc win pccubnxyubriewnnkhrsihning mnthlchingih ekiyngxuythxythphhlngcakyudemuxngesepngimsaerckarbukkhrngthihk kh s 253 invdurxnpi kh s 253 ngxkkthiepnrthphnthmitrkhxngckkkykthphocmtichayaedndantawnxxkkhxngwuykk naipsuyuththkarthihbpa ekiyngxuyphumiicinkhwamkhunekhykbwthnthrrmaelapraephnikhxngchnephaekiyng 羌 echiyng aelachnephathiimichchawcinhnxun thixasythangdantawntkkhxngcin ekiyngxuycungmkkhidcaekliyklxmphukhnchnephaehlaniihmaepnphnthmitrkbckkkaelaykthphocmtiprasanekhabukxanaekhtkhxngwuykksungxyuinmnthlkansuinpccubn xyangirktam bihuyphusaercrachkaraethnphraxngkhaehngckkkimehndwyxyangmakkbkhwamkrahaysngkhramkhxngekiyngxuythimitxwuykk aelaphyayamkhwbkhumekiyngxuyodykarcakdcanwnkalngphlthiekiyngxuynaipinaetlakhrngthixxksukidimekin 10 000 nay khrnghnungbihuyekhybxkekiyngxuywakhwrhyudkarocmtiwuykkaelamungennipthinoybaysngesrimesthiyrphaphaelakhwamecriyrungeruxngphayinckkk inwnthi 16 kumphaphnth kh s 253 bihuythuklxbsngharodykw siw 郭脩 phuaeprphktrcakwuykkrahwangnganeliynginwnaerkkhxngethskalkhunpiihm hlngkaresiychiwitkhxngbihuy ekiyngxuyidxanackhwbkhumthphckkkmakkhunaelasamarththatamthitntxngkarid invdurxnkhxngpinn hlngthrabkhawwangxkkocmtiwuykkthangtawnxxk ekiyngxuycungnakalngphlckkkhlayhmunnayxxkcakeskexng 石營 chuxxing xyuthangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn khalxmetkotesiy 狄道 tieta xyubriewn mnthlkansuinpccubn sumasuphusaercrachkarkhxngwuykkeriykngisng 虞松 y hwi sng mathamkhwamehneruxngwithicdkarkarbukkhxngngxkkthangtawnxxkaelackkkthangtawntk ngisngwiekhraahsthankarnaelaklawwakarpxngknthihbpannaekhngaekrngephiyngphxthicatanthankarocmtikhxngngxkkidrayaewlahnung aelathaythisudthphngxkkkcathxnthphklbipemuxhmdkhwykalngic ngisngaenanaihepidkarocmtiotklbkarbukkhxngckkkxyangrwderwimihthntngtwaelakhbilxxkip sumasuehndwycungsngihkuyhwyaelatanthaynathphwuykkiptngmninphumiphakhephuxocmtithphckkkaelaslaywnglxmthietkotesiy tanthayocmtithphckkkaetkphaythilwehmin 洛門 xyuin mnthlkansuinpccubn inthisudekiyngxuycungthxythphthnghmdklbipckkkemuxesbiyngxaharhmdkarbukkhrngthiecd kh s 254 invdurxn kh s 254 ekiyngxuynathphckkkekhaocmtiemuxngxikkhrng hli eciyn 李簡 khunnangkhxngwuykkthirksaetkotesiy 狄道 tieta xyubriewn mnthlkansuinpccubn yxmswamiphkditxekiyngxuy ekiyngxuycungruktxipekhaocmtixaephxsngbukwn 襄武縣 esiyngxuesiyn xyuthangtawnxxkechiyngitkhxng mnthlkansuinpccubn aelaekharbkbchicidkhunphlwuykk chicidphayaephaelathuksnghar aetthphckkkksuyesiykhunphletiywhngiipinkarrb thphckkkthiidchychnaekhayudsamxaephxkhuxetkotesiy ehxkwan 河關 inbriewniklekhiyngkbnkhr mnthlkansuinpccubn aela 臨洮 hlinetha aelakwadtxnrasdrphuxasyinsamxaephxihyaymaxyuphayinxanaekhtkhxngckkkkarbukkhrngthiaepd kh s 255 swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarbukkhrngthieka kh s 256 swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarbukkhrngthisib kh s 257 258 swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarbukkhrngthisibexd kh s 262 swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidphlsubenuxngswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidinniyaysamkkswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidhmayehtuinnwniyayxingprawtisastreruxngsamkk sankwehyiynxi instwrrsthi 14 ongohaelaesiywkwthukrwmekhaepntwlakhrediywknkhuxongohesiywkw sungmibthbathintxnthi 109 aetinsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 80 eriykaeykepn ongoh aela esiywkw sxngkhnehmuxnkbincdhmayehtusamkkxangxingxangxingcakcdhmayehtusamkk sankwcux 正始元年 蜀將羌維出隴西 淮遂進軍 追至彊中 維退 遂討羌迷當等 案撫柔氐三千餘落 拔徙以實關中 cdhmayehtusamkk elmthi 26 八年 隴西 南安 金城 西平諸羌餓何 燒戈 伐同 蛾遮塞等相結叛亂 攻圍城邑 南招蜀兵 涼州名胡治無戴復叛應之 cdhmayehtusamkk elmthi 26 討蜀護軍夏侯霸督諸軍屯為翅 淮軍始到狄道 議者僉謂宜先討定枹罕 內平惡羌 外折賊謀 淮策維必來攻霸 遂入渢中 轉南迎霸 維果攻為翅 會淮軍適至 維遁退 進討叛羌 斬餓何 燒戈 降服者萬餘落 cdhmayehtusamkk elmthi 26 十年 又出隴西 南安 金城界 與魏大將軍郭淮 夏侯霸等戰於洮西 胡王治無戴等舉部落降 維將還安處之 cdhmayehtusamkk elmthi 44 九年 遮塞等屯河關 白土故城 據河拒軍 淮見形上流 密於下渡兵據白土城 擊 大破之 治無戴圍武威 家屬留在西海 淮進軍趨西海 欲掩取其累重 會無戴折還 與戰於龍夷之北 破走之 令居惡虜在石頭山之西 當大道止 斷絕王使 淮還過討 大破之 cdhmayehtusamkk elmthi 26 姜維出石營 從彊川 乃西迎治無戴 留陰平太守廖化於成重山築城 斂破羌保質 淮欲分兵取之 諸將以維衆西接彊胡 化以據險 分軍兩持 兵勢轉弱 進不制維 退不拔化 非計也 不如合而俱西 及胡 蜀未接 絕其內外 此伐交之兵也 cdhmayehtusamkk elmthi 26 淮曰 今往取化 出賊不意 維必狼顧 比維自致 足以定化 且使維疲於奔命 兵不遠西 而胡交自離 此一舉而兩全之策也 乃別遣夏侯霸等追維於沓中 淮自率諸軍就攻化等 維果馳還救化 皆如淮計 cdhmayehtusamkk elmthi 26 十二年春正月 魏誅大將軍曹爽等 右將軍夏侯霸來降 cdhmayehtusamkk elmthi 33 泰曰 麴城雖固 去蜀險遠 當須運糧 羌夷患維勞役 必未肯附 今圍而取之 可不血刃而拔其城 雖其有救 山道阻險 非行兵之地也 cdhmayehtusamkk elmthi 22 淮從泰計 使泰率討蜀護軍徐質 南安太守鄧艾等進兵圍之 斷其運道及城外流水 安等挑戰 不許 將士困窘 分糧聚雪以稽日月 維果來救 出自牛頭山 與泰相對 泰曰 兵法貴在不戰而屈人 今絕牛頭 維無反道 則我之禽也 勑諸軍各堅壘勿與戰 遣使白淮 欲自南渡白水 循水而東 使淮趣牛頭 截其還路 可并取維 不惟安等而已 淮善其策 進率諸軍軍洮水 維懼 遁走 安等孤縣 遂皆降 cdhmayehtusamkk elmthi 22 秋 衞將軍姜維出攻雍州 不克而還 將軍句安 李韶降魏 cdhmayehtusamkk elmthi 33 嘉平元年 與征西將軍郭淮拒蜀偏將軍姜維 維退 淮因西擊羌 艾曰 賊去未遠 或能復還 宜分諸軍以備不虞 cdhmayehtusamkk elmthi 28 於是留艾屯白水北 三日 維遣廖化自白水南向艾結營 艾謂諸將曰 維今卒還 吾軍人少 法當來渡而不作橋 此維使化持吾 令不得還 維必自東襲取洮城 洮城在水北 去艾屯六十里 艾即夜潛軍徑到 維果來渡 而艾先至據城 得以不敗 cdhmayehtusamkk elmthi 28 十三年 姜維復出西平 不克而還 cdhmayehtusamkk elmthi 33 十六年 夏 維率將數萬人出石營 經董亭 圍南安 魏雍州刺史陳泰解圍至洛門 維糧盡退還 cdhmayehtusamkk elmthi 44 明年 加督中外軍事 復出隴西 守狄道長李簡舉城降 進圍襄武 與魏將徐質交鋒 斬首破敵 魏軍敗退 維乘勝多所降下 拔河間 狄道 臨洮三縣民還 cdhmayehtusamkk elmthi 44 十七年 夏六月 維復率衆出隴西 冬 拔狄道 河間 臨洮三縣民 居于緜竹 繁縣 cdhmayehtusamkk elmthi 33 xangxingcakxrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu xangxingcakcuxcuxthngeciyn 是歲 雍 涼羌胡叛降漢 漢姜維將兵出隴右以應之 與雍州刺史郭淮 討蜀護軍夏侯霸戰于洮西 胡王白虎文 治無戴等率部落降維 維徙之入蜀 淮進擊羌胡餘黨 皆平之 cuxcuxthngeciyn elmthi 75 初 右將軍夏侯霸為曹爽所厚 以其父淵死於蜀 常切齒有報仇之志 為討蜀護軍 屯於隴西 統屬征西 征西將軍夏侯玄 霸之從子 爽之外弟也 爽旣誅 司馬懿召玄詣京師 以雍州刺史郭淮代之 霸素與淮不叶 以為禍必相及 大懼 遂奔漢 cuxcuxthngeciyn elmthi 75 秋 漢衞將軍姜維寇雍州 依麴山築二城 使牙門將句安 李歆等守之 聚羌胡質任 侵偪諸郡 征西將軍郭淮與雍州刺史陳泰禦之 泰曰 麴城雖固 去蜀險遠 當須運糧 羌夷患維勞役 必未肯附 今圍而取之 可不血刃而拔其城 雖其有救 山道阻險 非行兵之地也 cuxcuxthngeciyn elmthi 75 淮乃使泰率討蜀護軍徐質 南安太守鄧艾進兵圍麴城 斷其運道及城外流水 安等挑戰 不許 將士困窘 分糧聚雪以引日月 維引兵救之 出自牛頭山 與泰相對 泰曰 兵法貴在不戰而屈人 今絕牛頭 維無反道 則我之禽也 敕諸軍各堅壘勿與戰 遣使白淮 使淮趣牛頭截其還路 淮從之 進軍洮水 cuxcuxthngeciyn elmthi 75 維懼 遁走 安等孤絕 遂降 淮因西擊諸羌 cuxcuxthngeciyn elmthi 75 漢姜維復寇西平 不克 cuxcuxthngeciyn elmthi 75 漢姜維自以練西方風俗 兼負其才武 欲誘諸羌 胡以為羽翼 謂自隴以西 可斷而有 每欲興軍大舉 費禕常裁制不從 與其兵不過萬人 曰 吾等不如丞相亦已遠矣 丞相猶不能定中夏 況吾等乎 不如且保國治民 謹守社稷 如其功業 以俟能者 無為希冀徼倖 決成敗於一舉 若不如志 悔之無及 cuxcuxthngeciyn elmthi 76 及禕死 維得行其志 乃將數萬人出石營 圍狄道 cuxcuxthngeciyn elmthi 76 大將軍師問於虞松曰 今東西有事 二方皆急 而諸將意沮 若之何 松曰 昔周亞夫堅壁昌邑而吳 楚自敗 事有似弱而強 不可不察也 今恪悉其銳衆 足以肆暴 而坐守新城 欲以致一戰耳 若攻城不拔 請戰不可 師老衆疲 勢將自走 諸將之不徑進 乃公之利也 姜維有重兵而縣軍應恪 投食我麥 非深根之寇也 且謂我幷力於東 西方必虛 是以徑進 今若使關中諸軍倍道急赴 出其不意 殆將走矣 師曰 善 乃使郭淮 陳泰悉關中之衆 解狄道之圍 敕毌丘儉按兵自守 以新城委吳 陳泰進至洛門 姜維糧盡 退還 cuxcuxthngeciyn elmthi 76 狄道長李簡密書請降於漢 六月 姜維寇隴西 漢姜維自狄道進拔河間 臨洮 將軍徐質與戰 殺其盪寇將軍張嶷 漢兵乃還 cuxcuxthngeciyn elmthi 76 xangxingxun cdhmayehtusamkk elmthi 26 33 aela 44 aelacuxcuxthngeciyn elmthi 75 78 brrnanukrmtnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk sankwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu suxhma kwang 1084 cuxcuxthngeciyn lxkwntng stwrrsthi 14 samkk snkwehyiynxi