เกียงอุย (ค.ศ. 202 – 3 มีนาคม ค.ศ. 264) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เจียง เหวย์ (จีน: 姜維; พินอิน: Jiāng Wéi) ชื่อรอง ปั๋วเยฺว (จีน: 伯約; พินอิน: Bóyuē) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน เกียงอุยเกิดในอำเภอเอ๊กก๋วน เมือง (ปัจจุบันคือ มณฑลกานซู่) และเริ่มรับราชการในฐานะนายทหารในเมืองเทียนซุยซึ่งอยู่ในอาณาเขตของวุยก๊ก ในปี ค.ศ. 228 จ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กเปิดการบุกวุยก๊ก เกียงอุยไม่เป็นที่ไว้วางใจของม้าจุ้นเจ้าเมืองเทียนซุยในขณะนั้น เกียงอุยจึงแปรพักตร์ไปเข้าด้วยด้วยจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กยกย่องเกียงอุยอย่างสูงและตั้งให้เป็นขุนพลของจ๊กก๊ก หลังการเสียชีวิตของจูกัดเหลียงในปี ค.ศ. 234 เกียงอุยยังคงทำหน้าที่เป็นแม่ทัพในสมัยที่เจียวอ้วนและบิฮุยเป็นผู้สำเร็จการ ในที่สุดก็ขึ้นมามียศทางทหารสูงสุดเป็นมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) หลังบิฮุยเสียชีวิตในปี ค.ศ. 253 ระหว่าง ค.ศ. 240 ถึง ค.ศ. 262 เกียงอุยยังคงสานต่อภารกิจของจูกัดเหลียงในการศึกกับวุยก๊ก โดยนำทัพบุกในการทัพอีก 11 ครั้ง แต่การทัพของเกียงอุยมีข้อจำกัดทั้งในแง่จำนวนทหารและระยะเวลาเนื่องจากทรัพยากรของจ๊กก๊กที่มีจำกัดและเสบียงอาหารไม่เพียงพอ รวมถึงปัญหาการเมืองภายใน ในปี ค.ศ. 263 เมื่อวุยก๊กเปิดฉากการบุกจ๊กก๊กครั้งใหญ่ เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กไปต้านข้าศึกที่ท่าจง และ ตัวเกียงอุยป้องกันเกียมโก๊ะจากการโจมตีของจงโฮย ขณะที่เกียงอุยตั้งมั่นสกัดกองกำลังหลักของวุยก๊กที่นำโดยจงโฮย แม่ทัพของวุยก๊กอีกคนชื่อเตงงายก็ใช้ทางลัดผ่านอิมเป๋งบุกไปถึงเซงโต๋โดยฝ่ายจ๊กก๊กไม่คาดคิด เล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กยอมจำนนต่อเตงงายโดยไม่ต่อต้านและมีรับสั่งให้เกียงอุยยอมจำนนต่อจงโฮย เหตุการณ์นี้ถือเป็นการสิ้นสุดของจ๊กก๊ก ในปีถัดมา เกียงอุยยุยงจงโฮยให้ก่อกบฏในเซงโต๋ต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการของวุยก๊ก และหวังจะใช้โอกาสนี้ในการเพิ่มอำนาจทางการทหารและกอบกู้จ๊กก๊ก แต่นายทหารของจงโฮยบางส่วนไม่เต็มใจที่จะร่วมการก่อกบฏและเริ่มก่อการกำเริบสังหารเกียงอุยและจงโฮย
เกียงอุย (เจียง เหวย์) | |
---|---|
姜維 | |
ภาพวาดเกียงอุยสมัยราชวงศ์ชิง | |
มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 258 – พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 263 | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 256 – ค.ศ. 256 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ก่อนหน้า | บิฮุย |
ขุนพลทัพหลัง (後將軍 โฮ่วเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 256 – ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 247 – ค.ศ. 256 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ผู้จัดการกิจการของสำนักราชเลขาธิการ (錄尚書事 ช่างลูชูชื่อ) (ดำรงตำแหน่งร่วมกับบิฮุยตั้งแต่ปี ค.ศ. 247 ถึง ค.ศ. 253) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 247 – พฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史 เหลียงโจวชื่อฉื่อ) (แต่ในนาม) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 243 – ค.ศ. 247 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
มหาขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันตก (鎮西大將軍 เจิ้นซีต้าเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 243 – ค.ศ. 247 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลผู้ช่วยเหลือราชวงศ์ฮั่น (輔漢將軍 ฝู่ฮั่นเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 234 – ค.ศ. 243 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ขุนพลโจมตีภาคตะวันตก (征西將軍 เจิงซีเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 234 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ขุนพลผู้ส่งเสริมความชอบธรรม (奉義將軍 เฟิ่งอี้เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 228 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 202 มณฑลกานซู่ |
เสียชีวิต | 3 มีนาคม พ.ศ. 264 (62 ปี) นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน |
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | ปั๋วเยฺว (伯約) |
บรรดาศักดิ์ | ผิงเซียงโหว (平襄侯) |
ภูมิหลังครอบครัว
เกียงอุยเป็นชาวอำเภอเอ๊กก๋วน (冀縣/兾縣 จี้เซี่ยน) เมือง (天水郡 เทียนฉุ่ยจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือ มณฑลกานซู่ บิดาของเกียงอุยเสียชีวิตตั้งแต่เกียงอุยยังเด็ก เกียงอุยจึงอาศัยอยู่กับมารดาและมีชื่อเสียงว่าสนใจในงานของของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ
ในบันทึกว่าเกียงอุยเป็นผู้แสวงชื่อเสียงที่มีความทะเยอทะยานสูง และยังแอบตั้งกองทหารรักษาการณ์ส่วนตัว
การรับราชการช่วงต้นในวุยก๊ก
เกียงอุยเริ่มรับราชการในเมืองที่เป็นบ้านเกิดและอยู่ในอาณาเขตของวุยก๊กในยุคสามก๊ก เกียงอุยเริ่มราชการในฐานะเสมียนทำหน้าที่บันทึก และภายหลังได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยในที่ว่าการเมืองเทียนซุย หลังจากราชสำนักวุยก๊กพิจารณาว่าบิดาของเกียงอุยเสียชีวิตในหน้าที่ราชการ จึงตั้งให้เกียงอุยเป็นจงหลาง (中郎) และอนุญาตให้เกียงอุยมีส่วนร่วมในกิจการทางทหารของเมืองเทียนซุย
แปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊ก
บันทึกในจดหมายเหตุสามก๊ก
ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 228 จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กได้เปิดการทัพบุกวุยก๊กครั้งแรก จูกัดเหลียงเข้ายึดเขากิสาน (祁山 ฉีซาน; พื้นที่ภูเขาโดยรอบบริเวณที่เป็น มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และส่งกองกำลังไปตั้งมั่นที่นั่น เมืองสามเมืองภายใต้การปกครองของวุยก๊ก ได้แก่ ลำอั๋น (南安 หนานอาน; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และฮันเต๋ง (安定 อานติ้ง; ปัจจุบันอยู่บริเวณ มณฑลกานซู่) แปรพักตร์ไปเข้าด้วยฝ่ายจ๊กก๊ก
ชีวประวัติเกียงอุยในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเวลานั้นเกียงอุยกับเพื่อนร่วมราชการได้แก่เลี้ยงซี (梁緒 เหลียง ซฺวี่) อินเชียง (尹賞 อิ๋น ฉ่าง) และเลี้ยงเขียน (梁虔 เหลียง เฉียน) กำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางตรวจราชการกับม้าจุ้น (馬遵 หม่า จุน) เจ้าเมืองเทียนซุย เมื่อม้าจุ้นทราบข่าวการบุกของจ๊กก๊กและได้ยินว่าหลายอำเภอในเมืองเทียนซุยแปรพักตร์ไปเข้าด้วยข้าศึก ม้าจุ้นจึงระแวงว่าเกียงอุยและคนอื่น ๆ กำลังเดินทางเพื่อไปสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กด้วย ม้าจุ้นจึงหนีไปในเวลากลางคืนและไปหลบภัยอยู่ที่อำเภอเซียงเท้ง (上邽縣 ช่างกุยเซี่ยน; ปัจจุบันอยู่ในเขตนครเทียนฉุ่ย มณฑลกานซู่)
เมื่อเกียงอุยและเพื่อนร่วมราชการรู้ว่าม้าจุ้นละทิ้งพวกตนและหนีไปเพียงลำพัง จึงพยายามไล่ตามม้าจุ้นไปแต่ไม่ทัน พวกเขาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปในอำเภอเซียงเท้งเมื่อทั้งหมดเดินทางมาถึง เกียงอุยจึงนำทั้งหมดไปยังอำเภอเอ๊กก๋วน (冀縣/兾縣 จี้เซี่ยน; ปัจจุบันคือ มณฑลกานซู่) ที่เป็นอำเภอบ้านเกิด แต่ขุนนางผู้รักษาอำเภอเอ๊กก๋วนก็ปฏิเสธไม่ให้พวกเขาเข้ามาเช่นกัน เกียงอุยและเพื่อนร่วมราชการเห็นว่าพวกตนไม่มีทางเลือกอื่น จึงเข้าไปสวามิภักดิ์แปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊ก
บันทึกในเว่ย์เลฺว่
ในบันทึกเรื่องการแปรพักตร์ของเกียงอุยจากวุยก๊กไปจ๊กก๊กที่แตกต่างออกไป
ในช่วงเวลาที่จ๊กก๊กยกทัพบุก ม้าจุ้นและผู้ใต้บังคับบัญชา (รวมถึงเกียงอุย) กำลังอยู่ระหว่างเดินทางตรวจราชการกับกุยห้วยขุนพลวุยก๊กในเวลาที่ได้รับข่าวว่าจูกัดเหลียงและทัพจ๊กก๊กเข้ายึดเขากิสาน กุยห้วยบอกม้าจุ้นว่า "เป็นเจตนาไม่ดีเลย!" แล้วต้องการรีบถอยร่นไปอำเภอเซียงเท้งทางตะวันออกของเมืองเทียนซุย แม้ว่าที่ว่าการเมืองจะอยู่ที่อำเภอเอ๊กก๋วนทางตะวันตกก็ตาม ม้าจุ้นเองก็ไม่ต้องการกลับไปอำเภอเอ๊กก๋วนเพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่สงบในอำเภอเอ๊กก๋วนเนื่องจากการบุกของจ๊กก๊ก ม้าจุ้นจึงตัดสินใจติดตามกุยห้วยย้ายไปอำเภอเซียงเท้งแทน
เกียงอุยขอร้องให้ม้าจุ้นกลับไปอำเภอเอ๊กก๋วน ม้าจุ้นบอกเกียงอุยและคนอื่น ๆ ว่า "หากพวกท่านกลับไป พวกท่านจะกลายเป็นศัตรูของข้า" เกียงอุยเพิกเฉยต่อม้าจุ้นเพราะกำลังกังวลเรื่องความปลอดภัยของครอบครัวในอำเภอเอ๊กก๋วน เกียงอุยจึงตีจากม้าจุ้นกลับมาอำเภอเอ๊กก๋วน พร้อมด้วยเพื่อนร่วมราชการชื่อ ช่างกวาน จื่อซิว (上官子脩) และคนอื่น ๆ
เมื่อเกียงอุยกลับไปถึงอำเภอเอ๊กก๋วน ผู้คนได้ต้อนรับการกลับมาของเกียงอุยและคะยั้นคะยอให้เกียงอุยไปพบกับจูกัดเหลียง เกียงอุยและช่างกวาง จื่อซิวจึงยอมทำตามคำของผู้คนเดินทางไปพบกับจูกัดเหลียง จูกัดเหลียงยินดีที่ได้พบกับทั้งสอง ยังไม่ทันที่เกียงอุยจะกลับไปรับครอบครัว (ได้แก่มารดา ภรรยา และบุตร) ในเอ๊กก๋วน เวลานั้นทัพวุยก๊กภายใต้การนำของเตียวคับและปีเอียวเอาชนะทัพหน้าของจ๊กก๊กได้ในยุทธการที่เกเต๋งแล้ว เกียงอุยจึงไม่สามารถกลับไปเอ๊กก๋วนได้ ไม่มีทางเลือกอื่น จึงตัดสินใจแปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊กและติดตามจูกัดเหลียง หลังจากทัพวุยก๊กยึดอำเภอเอ๊กก๋วนคืนมาได้ ได้จับคนในครอบครัวของเกียงอุยมาขังไว้แต่ไม่นำไปประหารชีวิต เพราะรู้อยู่ว่าเกียงอุยไม่ได้ตั้งใจที่จะแปรพักตร์เข้าด้วยข้าศึกตั้งแต่แรก สมาชิกในครอบครัวของเกียงอุยจึงใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในคุก
ในสมัยที่จูกัดเหลียงเป็นผู้สำเร็จราชการ
หลังกลับมาถึงเมืองฮันต๋ง จูกัดเหลียงแต่งตั้งให้เกียงอุยเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดูแลเสบียงอาหาร (倉曹掾 ชางเฉาเยฺวี่ยน) ภายหลังเกียงอุยได้รับยศเป็นขุนพลผู้ส่งเสริมความชอบธรรม (奉義將軍 เฟิ่งอี้เจียงจฺวิน) และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นตางหยางถิงโหว (當陽亭侯)
ต่อมาเกียงอุยได้เลื่อนขึ้นเป็นขุนพลโจมตีภาคตะวันตก (征西將軍 เจิงซีเจียงจฺวิน) และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้กำกับทัพกลาง (中監軍 จงเจียนจฺวิน)
ในสมัยที่เจียวอ้วนเป็นผู้สำเร็จราชการ
ภายหลังการเสียชีวิตจองจูกัดเหลียงในยุทธการที่ทุ่งราบอู่จ้างในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 234 เกียงอุยกลับไปเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊กและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับทัพซ้าย (右監軍 โย่วเจียงจวิน) และมียศเป็นขุนพลผู้ช่วยเหลือราชวงศ์ฮั่น (輔漢將軍 ฝู่ฮั่นเจียงจฺวิน) เกียงอุยได้รับมอบหมายให้บัญชาการกองทหารติดอาวุธของเซงโต๋ และได้เลื่อบรรดาศักดิ์จากโหวระดับหมู่บ้านเป็นโหวระดับอำเภอคือ "ผิวเซียงโหว" (平襄侯)
ในปี ค.ศ. 238 เกียงอุยติดตามเจียวอ้วนผู้สำเร็จราชการแห่งจ๊กก๊กไปยังเมืองฮันต๋งใกล้กับชายแดนวุยก๊ก-จ๊กก๊ก หลังเจียวอ้วนได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกลาโหม (大司馬 ต้าซือหม่า) ในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 239 ได้แต่งตั้งให้เกียงอุยเป็นนายกองพัน (司馬 ซือหม่า) ในสังกัดของตน และยังมอบหมายให้เกียงอุยคุมกองกำลังแยกในการบุกเข้าอาณาเขตของวุยก๊ก
การบุกขึ้นเหนือครั้งแรก
ในปี ค.ศ. 240 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีเมือง (隴西 หล่งซี) ในอาณาเขตของวุยก๊ก แต่ถูกกองกำลังของวุยก๊กภายใต้การบังคับบัญชาของกุยห้วยขับไล่กลับไป
สามปีต่อมา เกียงอุยได้เลื่อนขึ้นขั้นเป็นมหาขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันตก (鎮西大將軍 เจิ้นซีต้าเจียงจฺวิน) และได้รับการตั้งแต่เป็นข้าหลวงมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史 เหลียงโจวชื่อฉื่อ) แต่ในนาม
ในสมัยที่บิฮุยเป็นผู้สำเร็จราชการ
ภายหลังการเสียชีวิตของเจียวอ้วนในปี ค.ศ. 246 บิฮุยขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการของจ๊กก๊ก
หนึ่งปีต่อมา เกียงอุยได้รับการเลื่อนยศเป็นขุนพลพิทักษ์ (衞將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) และยังได้แบ่งอำนาจกับบิฮุยในการร่วมกันดำรงตำแหน่งผู้จัดการกิจการของสำนักราชเลขาธิการ (錄尚書事 ช่างลูชูชื่อ)
ในปีเดียวกัน เกียงอุยปราบกบฏในอำเภอผิงคาง (平康縣 ผิงคางเซี่ยน; อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สอง
ในปี ค.ศ. 247 ชนเผ่าเกี๋ยง (羌 เชียง) เริ่มก่อกบฏต่อต้านวุยก๊กในสี่เมืองของมณฑลและเลียงจิ๋ว และร้องขอการสนับสนุนจากจ๊กก๊ก ไป๋หู่เหวิน (白虎文) และจื้ออู๋ไต้ (治無戴) กษัตริย์ชนเผ่าสองคนในมณฑลเลียงจิ๋วร่วมก่อกบฏต่อต้านวุยก๊ก เมื่อเกียงอุยนำทัพวุยก๊กเข้ามณฑลเลียงจิ๋วเพื่อสนับสนุนกบฏชนเผ่าเกี๋ยง ไป๋หู่เหวินและจื้ออู๋ไต้ก็นำกองกำลังมาร่วมด้วย
ราชสำนักวุยก๊กตอบโต้ด้วยการส่งแฮหัวป๋าและกุยห้วยให้นำกองกำลังไปปราบกบฏและขับไล่กองทัพจ๊กก๊กที่รุกราน เกียงอุยโจมตีที่มั่นของแฮหัวป๋าทางตะวันตกของ (洮水 เถาฉุ่ย) แต่ก็ต้องถอยทัพกลับจ๊กก๊กเมื่อกำลังเสริมของวุยก๊กนำโดยกุยห้วยยกมาถึง
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สาม
ในปี ค.ศ. 248 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กจากเซ็กเอ๋ง (石營 ฉืออิ๋ง; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ไปยังเฉียงชฺวาน (彊川; อยู่ทางตะวันตกของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อสมทบกับจื้ออู๋ไต้ (治無戴) กษัตริย์คนเผ่าซึ่งเพิ่งพ่ายแพ้ต่อกุยห้วยขุนพลวุยก๊กที่อำเภอหลงอี๋ (龍夷縣 หลงอี๋เซี่ยน; ทางตะวันตกของ มณฑลชิงไห่) เกียงอุยมอบหมายเลียวฮัวผู้ใต้บังคับบัญชาให้อยู่ป้องกันป้อมปราการที่เขาเฉิงจ้งชาน (成重山; ตั้งอยู่ทางตะวันตกของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)
กุยห้วยแบ่งทัพออกเป็นสองกองกำลังโดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกียงอุยไปสมรบและรวมกองกำลังกับจื้ออู๋ไต้ กุยห้วยนำกองกำลังหนึ่งเข้าโจมตีเลียวฮัวที่เขาเฉิงจ้งชานเพื่อบีบให้เกียงอุยต้องถอยกลับมาช่วยเลียวฮัว ในเวลาเดียวกันกุยห้วยสั่งให้แฮหัวป๋าผู้ใต้บังคับบัญชาให้โจมตีเกียงอุยและผลักดันให้กลับไปยังท่าจง (沓中; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่) แผนของกุยห้วยประสบความสำเร็จเพราะเกียงอุยถอยกลับไปช่วยเลียวฮัวหลังรู้ว่าเขาเฉิงจ้งชานถูกโจมตี ผลก็คือเกียงอุยล้มเหลวในการสมทบกับจื้ออู๋ไต้ ในที่สุดจึงต้องถอยทัพกลับจ๊กก๊ก
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สี่
ในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 249 หลังจากเกียงอุยได้รับอาญาสิทธิ์จากเล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊ก เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีมณฑลที่อยู่ในอาณาเขตของวุยก๊ก และได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าเกี๋ยง เกียงอุยให้สร้างป้อมปราการสองแห่งที่เขาก๊กสัน (麴山 ชฺวีชาน; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)
กุยห้วยขุนพลวุยก๊กตอบโต้การบุกของจ๊กก๊กด้วยการมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แก่ ต้านท่าย ชิจิด และเตงงายเข้าล้อมป้อมปราการทั้งสองแห่งและตัดเส้นทางลำเลียงเสบียง
เมื่อเกียงอุยนำกองกำลังจากเขางิวเทาสัน (牛頭山 หนิวโถวชาน; อยู่ทางตะวันตกของ นคร มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) เพื่อไปเสริมกำลังที่ป้อมปราการทั้งสองแห่ง ต้านท่ายจึงนำทัพวุยก๊กเข้าสกัดทาง ในเวลาเดียวกันต้านท่ายก็ขอความช่วยเหลือจากกุยห้วยให้นำกองกำลังข้ามเข้าโจมตีฐานกำลังของเกียงอุยที่เขางิวเทาสัน เกียงอุยหวาดกลัวจึงถอนกำลังทั้งหมดถอยและทิ้งป้อมปราการทั้งสองไป
สามวันหลังจากการล่าถอยของเกียงอุย เกียงอุยส่งเลียวฮัวนำกองกำลังขนาดเล็กไปเบี่ยงเบนความสนใจของเตงงายที่ไป๋ฉุ่ย (白水; ปัจจุบันคือ มณฑลเสฉวน) ระหว่างที่เกียงอุยทำทัพหลักเข้าโจมตีเถาเฉิง (洮城; อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอหมิน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เตงงายมองอุบายของเกียงอุยออกจึงส่งกำลังไปที่เถาเฉิงในทันที เกียงอุยยึดเถาเฉิงไม่สำเร็จเพราะเตงงายได้เสริมการป้องกันไว้แล้ว เกียงอุยจึงนำกำลังทั้งหมดถอยกลับจ๊กก๊ก
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่ห้า
ในปี ค.ศ. 250 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กโจมตีเมืองเสเป๋ง (西平郡 ซีผิงจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครซีหนิง มณฑลชิงไห่) เกียงอุยถอยทัพหลังจากยึดเมืองเสเป๋งไม่สำเร็จ
บิฮุยไม่เห็นด้วยกับท่าทีกระหายสงครามของเกียงอุย
เกียงอุยเชื่อว่าตนคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของชนเผ่าเกี๋ยงและชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอื่น ๆ ทางภาคตะวันตกของจีน และมีความเชื่อมั่นอย่างสูงในทักษะการเป็นผู้นำทางการทหารของตน เกียงอุยมักโอ้อวดอยู่บ่อยครั้งว่าตนสามารถพิชิตดินแดนที่อยู่ใต้การปกครองของวุยก๊ก (ในมณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ได้อย่างง่ายดายหากตนได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าเกี๋ยงและชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอื่น ๆ ที่อาศัยในบริเวณนั้น
แต่บิฮุยไม่เห็นด้วยกับท่าทีกระหายสงครามและการทำศึกที่แข็งกร้าวต่อวุยก๊กของเกียงอุย จึงพยายามที่จะควบคุมเกียงอุยโดยจำกัดจำนวนกำลังทหารที่เกียงอุยจะนำเข้ายุทธการในแต่ละครั้งไม่เกิน 10,000 นาย
ฮั่นจิ้นชุนชิว (漢晉春秋) บันทึกว่าครั้งหนึ่งบิฮุยพูดกับเกียงอุยว่า "เราไม่ได้เก่งกาจอย่างท่านอัครมหาเสนาบดี (จูกัดเหลียง) ถ้าแม้แต่ท่านอัครมหาเสนาบดียังไม่สามารถทำให้แผ่นดินกลับมาสงบได้ แล้วอะไรที่ทำให้ท่านคิดว่าเราจะทำได้หรือ จะเป็นการดีกว่าหรือไม่ที่จะปกป้องรัฐ ปกครองราษฎรอย่างดี เคารพและคุ้มครองมรดก และส่งต่อไปยังคนรุ่นหลัง โปรดหยุดนึกฝันว่าท่านจะได้ชัยชนะในบัดดล หากท่านพลาดพลั้ง เสียใจไปก็สายเกินแก้"
บิฮุยถูกลอบสังหาร
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253 บิฮุยถูกลอบสังหารระหว่างงานเลี้ยงในวันแรกของเทศกาลปีใหม่ มือสังหารคือกัว ซิว (郭脩) เป็นพลเมืองของวุยก๊กที่ถูกจับโดยเกียงอุยระหว่างยุทธการ หลังจากกัว ซิวยอมสวามิภักดิ์ต่อจ๊กก๊กอย่างไม่เต็มใจ ก็พยายามจะลอบปลงพระชนม์เล่าเสี้ยนแต่เข้าใกล้พระองค์ไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนเป้าเหมายเป็นบิฮุยและทำได้สำเร็จ การเสียชีวิตของบิฮุยทำให้เกียงอุยมีอำนาจปกครองกองทัพจ๊กก๊กได้มากขึ้นและทำสงครามกับวุยก๊กต่อไป
การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่หก
ในฤดูร้อน ค.ศ. 253 เกียงอุยนำกองกำลังจ๊กก๊กหลายหมื่นนายจากเซ็กเอ๋ง (石營 ฉืออิ๋ง; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เข้าล้อมเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) สุมาสูผู้สำเร็จราชการของวุยก๊กโต้ตอบการบุกของจ๊กก๊กด้วยการมอบหมายให้ขุนพลกุยห้วยและต้านท่ายนำทัพวุยก๊กมาตั้งมั่นในภูมิภาคเพื่อโจมตีทัพจ๊กก๊กและสลายวงล้อมที่เต๊กโตเสีย ต้านท้ายโจมตีทัพจ๊กก๊กแตกพ่ายที่ลั่วเหมิน (洛門; อยู่ใน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ในที่สุดเกียงอุยจึงถอยทัพทั้งหมดกลับไปจ๊กก๊กเมื่อเสบียงอาหารหมด
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่เจ็ด
ในฤดูร้อน ค.ศ. 254 หลังราชสำนักจ๊กก๊กให้อำนาจแก่เกียงอุยในการดูแลกิจการทางทหารทั้งภายในและภายนอก เกียงอุยจึงนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีเมืองที่อยู่ในอาณาเขตของวุยก๊กอีกครั้ง หลี เจี่ยน (李簡) ขุนนางของวุยก๊กที่รักษาเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) ยอมสวามิภักดิ์ต่อเกียงอุย เกียงอุยจึงรุกต่อไปเข้าโจมตีอำเภอซงบู๋ก๋วน (襄武縣 เซียงอู่เซี่ยน; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และเข้ารบกับชิจิดขุนพลวุยก๊ก ชิจิดพ่ายแพ้และถูกสังหาร แต่ทัพจ๊กก๊กก็สูยเสียขุนพลเตียวหงีไปในการรบ ทัพจ๊กก๊กที่ได้ชัยชนะเข้ายึดสามอำเภอคือเต๊กโตเสีย เหอกวาน (河關; ในบริเวณใกล้เคียงกับนคร มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และ (臨洮 หลินเถา) และกวาดต้อนราษฎรผู้อาศัยในสามอำเภอให้ย้ายมาอยู่ภายในอาณาเขตของจ๊กก๊ก
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่แปด
ในปี ค.ศ. 255 เกียงอุยยกทัพไปทำศึกกับวุยก๊กอีกครั้งแม้ว่าเตียวเอ๊กขุนพลจ๊กก๊กจะคัดค้านอย่างหนัก โดยเกียงอุยนำเตียวเอ๊กไปเป็นรองแม่ทัพด้วย ในขณะที่ทัพใหญ่ของจ๊กก๊กเตรียมเข้าโจมตีเต๊กโตเสีย (狄道 ตี๋เต้า; อยู่บริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เจ้ามณฑลของวุยก๊กก็ขอความช่วยเหลือจากต้านท่ายขุนพลวุยก๊ก
อองเก๋งพ่ายแพ้ยับเยินต่อทัพจ๊กก๊กที่ฝั่งตะวันตกของ (洮水 เถาฉุ่ย) อองเก๋งและคนที่เหลือจึงล่าถอยไปยังเต๊กโตเสียและหลบภัยอยู่ในป้อมปราการ เกียงอุยต้องการฉวยโอกาสที่กำลังได้เปรียบนี้เข้ารุกล้อมเต๊กโตเสีย เตียวเอ๊กเสนอให้เกียงอุยหยุดรุดหน้าเพราะเสี่ยงที่จะสูญเสียทุกอย่างที่ได้มาจนถึงตอนนี้ เกียงอุยเพิกเฉยต่อคำของเตียวเอ๊กและสั่งกองทัพให้เข้าล้อมเต๊กโตเสีย
ในขณะเดียวกัน ต้านท่าย เตงงาย สุมาหู และนายทหารวุยก๊กคนอื่น ๆ ได้นำกำลังเสริมไปยังเต๊กโตเสียเพื่อช่วยอองเก๋ง ต้านท่ายนำกำลังไปยังเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ของเต๊กโตเสีย และจุดไฟขึ้นพร้อมกับตีกลองศึกเสียงดังเพื่อทำให้ทัพวุยก๊กในเต๊กโตเสียรู้ว่ากำลังเสริมกำลังมาถึง เป็นผลทำให้ทัพวุยก๊กในเต๊กโตเสียมีขวัญกำลังใจเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทัพจ๊กก๊กต้องประหลาดใจ ในเวลาเดียวกันต้านท้ายยังให้แพร่ข่าวลือว่าพวกตนวางแผนจะตัดเส้นทางถอยของทัพจ๊กก๊ก เกียงอุยได้ยินข่าวลือดังนั้นก็รู้สึกกลัว ดังนั้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 255 เกียงอุยจึงถอนทัพจ๊กก๊กทั้งหมดไปยังจงถี (鐘堤; อยู่ทางใต้ของอำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่เก้า
ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 256 เล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กเลื่อนขั้นให้เกียงอุยมีตำแหน่งมหาขุนพลหรือไต้จงกุ๋น (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) ในฤดูใบไม้ร่วง เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กจากจงถี (鐘堤; อยู่ทางใต้ของอำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) เพื่อจะเข้ายึดเขากิสาน (祁山 ฉีชาน; พื้นที่ภูเขาบริเวณ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) แต่ไม่สำเร็จ เพราะเตงงายขุนพลวุยก๊กคาดการณ์การโจมตีของทัพจ๊กก๊กและมาจัดวางกำลังป้องกันอย่างแน่นหนาไว้ก่อนแล้ว เกียงอุยจึงเข้าโจมตีเตงงายที่เขาบูเสียงสัน (武城山 อู่เฉิงชาน; อยู่ใน นคร มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) แต่ถูกตีโต้จนต้องถอยร่น ภายหลังเกียงอุยนำกองกำลังข้าม (渭河 เว่ย์เหอ) เพื่อเปิดการโจมตีประสานที่อำเภอเซียงเท้ง (上邽縣 ช่างกุยเซี่ยน; อยู่ในนคร มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) พร้อมกับอีกกองกำลังของจ๊กก๊กที่นำโดย แต่เอาเจ้ยกกำลังไปไม่ทันกาล เกียงอุยจึงถูกเตงงายโจมตี กองทัพของเกียงอุยได้รับความเสียหายอย่างมาก
เนื่องจากการยกทัพบุกขึ้นเหนือของเกียงอุยส่งผลกระทบต่อราษฎรและทรัพยากรของจ๊กก๊กอย่างมหาศาล ผู้คนจึงเริ่มไม่พอใจเกียงอุยมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเรื่องความกระหายสงครามของเกียงอุย เพื่อบรรเทาความไม่พอใจของราษฎร เกียงอุยจึงเขียนฎีกาถึงราชสำนักจ๊กก๊กเพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างเต็มที่จากความล้มเหลวในการยกทัพบุกขึ้นเหนือครั้งที่เก้าและทูลขอให้ลดตำแหน่งตนเพื่อเป็นการลงโทษ เล่าเสี้ยนอนุมัติคำทูลขอของเกียงอุย ลดยศเกียงอุยเป็นขุนพลทัพหลัง (後將軍 โฮ่วเจียงจฺวิน) แต่ยังคงให้เกียงอุยเป็นรักษาการมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สิบ
ในปี ค.ศ. 257 เมื่อจูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคือ มณฑลอานฮุย) เกียงอุยตัดสินใจใช้ประโยชน์จากสถานการณ์เพื่อทำการบุกวุยก๊กอีกครั้ง เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้าโจมตีกองทหารรักษาการณ์ของวุยก๊กใกล้กับเตียงเสีย (長城 ฉางเฉิง) หรือกำแพงเมืองจีนซึ่งมีเสบียงเพียงพอแต่ด้อยการป้องกัน กองกำลังวุยก๊กที่ประจำการอยู่ที่นั่นเริ่มตื่นตระหนกเมื่อได้ยินว่าทัพจ๊กก๊กยกมาใกล้
ขุนพลวุยก๊กและเตงงายนำกองกำลังแยกไปยังเตียงเสียเพื่อป้องกันการบุกของจ๊กก๊ก เกียงอุยจึงถอยไปยังหมางฉุ่ย (芒水; ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และตั้งค่ายขึ้นโดยหันหลังอิงภูเขา เมื่อทัพวุยก๊กยกกำลังมาล้อม เกียงอุยพยายามท้าให้ทัพวุยก๊กเข้าโจมตีค่ายของตน แต่สุมาปองและเตงงายสั่งกำลังพลให้เพิกเฉยต่อข้าศึกและงดการโจมตี
ในปี ค.ศ. 258 หลังจากเกียงอุยได้รับข่าวว่าทัพวุยก๊กปราบกบฏจูกัดเอี๋ยนได้สำเร็จ เกียงอุยจึงนำกำลังถอยกลับไปเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊ก เล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กให้เกียงอุยคืนกลับสู่ตำแหน่งมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน)
ในช่วงเวลานั้น หลังจากที่ผ่านยุทธการกับวุยก๊กมาหลายปี ผู้คนในจ๊กก๊กก็เบื่อหน่ายกับการอดทนต่อค่าใช้จ่ายและผลกระทบของสงครามที่มากขึ้น เจียวจิ๋วขุนนางจ๊กก๊กก็เขียน "โฉ่วกั๋วลุ่น" (仇國論; "วิจารณ์เรื่องรัฐอริ") งานเขียนเสียดสีที่วิพากย์วิจารณ์เรื่องความกระหายสงครามของเกียงอุย
การบุกขึ้นเหนือครั้งที่สิบเอ็ด
ในฤดูหนาว ค.ศ. 262 เกียงอุยนำทัพจ๊กก๊กเข้ายึดอำเภอเตียวเจี๋ยง (洮陽縣 เถาหยางเซี่ยน; อยู่ใน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และโจมตีทัพวุยก๊กที่นำโดยเตงงายที่อำเภอโหวเหอ (侯和縣 โหวเหอเซี่ยน) แต่พ่ายแพ้ในยุทธการ เกียงอุยถอยทัพไปยังท่าจง (沓中; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และตั้งกองกำลังรักษาการณ์อยู่ทีนั่น
ฮุยโฮขึ้นมามีอำนาจ
เกียงอุยรู้ดีว่าภูมิหลังของตนในฐานะผู้แปรพักตร์จากวุยก๊กทำให้ต้องพิสูจน์ความภักดีที่มีต่อจ๊กก๊ก จึงกระตือรือร้นที่จะได้รับเกียรติยศจากการทำศึก แต่แม้เกียงอุยจะได้นำทัพในการรบกับวุยก๊ก 11 ครั้ง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จที่สำคัญใด ๆ ในระหว่างที่เกียงอุยอยู่ห่างออกไปในแนวหน้า ฮุยโฮขันทีในพระราชวังซึ่งจักรพรรดิเล่าเสี้ยนทรงโปรดได้ค่อย ๆ ขึ้นมามีอำนาจในราชสำนักจ๊กก๊กและครอบงำบทบาทสำคัญทางการเมือง ฮุยโฮสนิทใกล้ชิดกับเงียมอู (閻宇 เหยียน ยฺหวี่) ขุนพลจ๊กก๊ก และเห็นว่าเคยแทนทีเกียงอุยด้วยเงียมอูในตำแหน่งมหาขุนพล เกียงอุยสงสัยมานานแล้วว่าฮุยโฮมีท่าทีต่อต้านตน เกียงอุยจึงยังคงอยู่ที่ท่าจง (沓中; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และไม่กลับไปที่เซงโต๋หลังการยกทัพบุกเหนือครั้งที่สิบเอ็ด
บันทึกว่าเกียงอุยเกลียดฮุยโฮในเรื่องการเข้ากุมอำนาจ ครั้งหนึ่่งเกียงอุยทูลแนะนำเล่าเสี้ยนให้ประหารชีวิตฮุยโฮเสีย แต่เล่าเสี้ยนปฏิเสธและตรัสว่า "ฮุยโฮเป็นเพียงข้ารับใช้ที่ทำธุระให้เรา ในอดีตเรารู้สึกรำคาญความเกลียดชังล้ำลึกของตั๋งอุ๋นที่มีต่อฮุยโฮ เหตุใดท่านต้องเอาเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของตนเองด้วยเล่า" ในไม่ช้าเกียงอุยจึงตระหนักได้ว่าตนทำพลาดที่ทูลแนะนำเล่าเสี้ยนให้ประหารชีวิตฮุยโฮ เพราะฮุยโฮมีอิทธิพลอย่างมากในราชสำนักจ๊กก๊ก เกียงอุยจึงหาข้ออ้างจากไปอย่างรวดเร็ว ภายหลังเล่าเสี้ยนจึงบอกฮุยโฮให้ไปพบเกียงอุยเพื่อขอขมา เกียงอุยสามารถโน้มน้าวฮุยโฮให้ปล่อยตนให้คงอยู่ที่ท่าจงเพื่อดูแลการผลิตทางการเกษตร แต่เจตนาที่แท้จริงของเกียงอุยคือเพื่อหลีกเลี่ยงการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกับฮุยโฮในเซงโต๋
การล่มสลายของจ๊กก๊ก
การทูลเตือนในช่วงต้นของเกียงอุย
ในปี ค.ศ. 263 เกียงอุยเขียนฎีกาถึงเล่าเสี้ยนทูลว่า:
"กระหม่อมได้ยินว่าจงโฮยกำลังระดมพลใน ดูเหมือนว่ากำลังเตรียมการบุกเรา กระหม่อมเห็นว่าควรส่งเตียวเอ๊กและเลียวฮัวให้นำทัพของเราไปรักษาด่านแฮเบงก๋วนและสะพานอิมเป๋งเกี๋ยวเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน"
ฮุยโฮเชื่อคำทำนายของหมอดูว่าวุยก๊ํกจะไม่บุกจ๊กก๊ก จึงทูลแนะนำเล่าเสี้ยนให้เพิกเฉยต่อฎีกาของเกียงอุย และไม่ยกเรื่องนี้ไปอภิปรายในราชสำนัก
จากท่าจงมาอิมเป๋ง
ราวเดือนสิงหาคมหรือกันยายน ค.ศ. 263สุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊กมอบหมายให้จงโฮย เตงงาย และจูกัดสูนำทัพวุยก๊กบุกจ๊กก๊กจากสามทิศทาง เมื่อจงโฮยยกมาถึงหุบเขาลั่วกู่ (駱谷; อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และเตงงายโจมตีท่าจง (沓中; ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ มณฑลกานซู่) ราชสำนักจ๊กก๊กจึงให้เลียวฮัวนำกำลังเสริมไปสนับสนุนเกียงอุยที่ท่าจง ในเวลาเดียวกันให้เตียวเอ๊ก ตังควด และนายทหารจ๊กก๊กคนอื่น ๆ นำกองกำลังไปรักษาด่านแฮเบงก๋วน (陽安關 หยางอานกวาน; อยู่ใน มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) และช่วยเหลือกองกำลังของจ๊กก๊กรอบนอก
เมื่อกำลังเสริมของจ๊กก๊กไปถึงอิมเป๋ง (陰平 อินผิง; ปัจจุบันคือ มณฑลกานซู่) ก็ได้ยินว่าจูกัดสูกำลังโจมตีเจี้ยนเวย์ (建威; อยู่ทางตะวันออกเฉียงของ นคร มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) จึงหยุดพลอยู่ที่อิมเป๋ง หลังจากนั้นประมาณหนึ่งเดือน เตงงายเอาชนะเกียงอุยและยึดท่าจงได้ เกียงอุยจึงล่าถอยไปยังอิมเป๋ง
ในเวลาเดียวกัน จงโฮยเข้าปิดล้อมอำเภอฮันเสีย (漢城 ฮั่นเฉิง; ปัจจุบันคือ มณฑลฉ่านซี) และก๊กเสีย (樂城 เล่อเฉิง; ปัจจุบันคือ มณฑลฉ่านซี) และส่งผู้ใต้บังคับบัญชาไปโจมตีด่านแฮเบงก๋วน เจียวสี (蔣舒 เจี่ยง ชู) นายทหารจ๊กก๊กเปิดประตูด่านและยอมจำนนต่อทัพวุยก๊ก ส่วนปอเฉียมนายทหารจ๊กก๊กอีกคนเสียชีวิตขณะพยายามป้องกันด่าน หลังจงโฮยยึดอำเภอก๊กเสียไม่สำเร็จจึงปล่อยอำเภอก๊กเสียไปและเคลื่อนทัพไปยังด่านแฮเบงก๋วนหลังทราบข่าวว่าผู้ใต้บังคับบัญชายึดด่านแฮเบงก๋วนได้แล้ว
ป้องกันเกียมโก๊ะ
เมื่อเตียวเอ๊กและตังควดไปถึงอำเภอเซียวเส (漢壽縣 ฮั่นโช่วเซี่ยน; อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) เกียงอุยและเลียวฮัวจึงตัดสินใจทิ้งที่มั่นที่อิมเป๋งและไปสมทบกับเตียวเอ๊กและตังควดที่ด่าน (劍閣 เจี้ยนเก๋อ) อันเป็นด่านภูเขาเพื่อต้านทานการโจมตีของจงโฮย
ครั้งหนึ่งจงโฮยเขียนจดหมายถึงเกียงอุยว่า "ท่านมีทักษะทั้งด้านการพลเรือนและการทหาร มีความเฉียบแหลมด้านกลวิธี และเกียรติคุณของท่านเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภูมิภาคปา-จ๊กและส่วนที่เหลือในแผ่นดิน ผู้คนทั้งทั้งไกลใกล้ต่างนิยมชมชอบท่าน ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าทบทวนถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ก็หวังว่าเราจะได้ร่วมรับใช้ราชวงศ์เดียวกัน ความสัมพันธ์ของเราก็เปรียบเหมือนมิตรภาพระหว่าง (子札) และ (子產)"
เกียงอุยไม่ได้เขียนจดหมายตอบจงโฮย แล้วสั่งให้ทหารขึ้นเสริมการป้องกันที่ด่านเกียมโก๊ะ หลังจงโฮยฝ่าด่านไม่สำเร็จและเสบียงอาหารเหลือน้อย จึงคิดจะถอนกำลังล่าถอย
จ๊กก๊กยอมจำนน
ในขณะเดียวกัน เตงงายนำกองกำลังใช้เส้นทางลัดจากอิมเป๋งผ่านภูมิประเทศภูเขาและไปโผล่ที่ (綿竹 เหมียนจู๋) และเอาชนะกองกำลังป้องกันของฝ่ายจ๊กก๊กที่นำโดยจูกัดเจี๋ยม หลังเตงงานยึดได้กิมก๊กก็รุดหน้าเข้าใกล้นครเซงโต๋ ราชธานีของจ๊กก๊ก ในปลายเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ค.ศ. 263 เล่าเสี้ยนตัดสินพระทัยยอมจำนนต่อเตงงาย นำไปสู้การสิ้นสุดของรัฐจ๊กก๊ก
ขณะเมื่อเกียงอุยเพิ่งได้ข่าวว่ากิมก๊กถูกตีแตก ก็ยังได้รับข่าวสารที่สับสนปนเปเกี่ยวกับสถานการณ์ในนครเซงโต๋ บ้างก็ว่าเล่าเสี้ยนต้องการอยู่ป้องกันเมือง บ้างก็อ้างว่าเล่าเสี้ยนกำลังจะทิ้งเซงโต๋หนีลงใต้ไปยังเมืองเกียมเหลง (建寧郡 เจี้ยนหนิงจฺวิ้น; ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลยูนนานและมณฑลกุ้ยโจวในปัจจุบัน) เกียงอุยจึงเตรียมจะทิ้งด่านเกียมโก๊ะเพื่อนำกำลังไปยังอำเภอชี (郪縣 ชีเซี่ยน; ปัจจุบันคือ มณฑลเสฉวน) ซึ่งอยู่ใกล้นครเซงโต๋เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
ไม่นานหลังจากนั้น เกียงอุยและทหารก็ได้รับคำสั่งจากนครเซงโต๋ให้วางอาวุธและยอมจำนนต่อจงโฮยที่อำเภอโปยเสีย (涪縣 ฝูเซี่ยน; ปัจจุบันคือนคร มณฑลเสฉวน) ทหารจ๊กก๊กหลายคนรู้สึกตกใจและโกรธมากที่รู้ว่าจักรพรรดิเล่าเสี้ยนยอมจำนน พวกเขาชักกระบี่ฟันกับหินเพื่อระบายความคับข้องใจ ในที่สุดเมื่อจงโฮยพบกับเกียงอุย จงโฮยถามว่า "เหตุใดท่านถึงมาช้า" เกียงอุยตอบด้วยสีหน้าจริงจังแต่มีน้ำตาไหลอาบแก้มว่า "การพบกันของเราวันนี้ต่างหากที่มาเร็วเกินไป" จงโฮยประทับใจกับคำตอบของเกียงอุยอย่างมาก
พยายามกอบกู้จ๊กก๊ก
ยุยงจงโฮยให้ก่อกบฏต่อวุยก๊ก
จงโฮยปฏิบัติต่อเกียงอุยอย่างดีและคืนและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่น ๆ ให้กับเกียงอุย ทั้งคู่นั่งบนรถม้าคันเดียวกันและนั่งรับประทานอาหารร่วมโต๊ะกัน จงโฮยยังพูดกับหัวหน้าเลขานุการเตาอี้ว่า "คนที่มีชื่อเสียงจากที่ราบภาคกลางอย่างกงซิว (公休) และไท่ชู (泰初) ไม่อาจเทียบได้กับปั๋วเยฺว"
เกียงอุยรู้สึกได้ว่าจงโฮยมีความคิดจะก่อกบฏต่อวุยก๊ก จึงพยายายามใช้โอกาสนี้ในการก่อการกำเริบและฟื้นฟูจ๊กก๊ก เกียงอุยบอกกับจงโฮยว่า:
"ข้าพเจ้าได้ยินว่าท่านมีความละเอียดรอบคอบอย่างมากในการวางแผนตั้งแต่ท่านมีส่วนร่วมใน (淮南 หฺวายหนาน) ท่านไม่เคยคาดการณ์ผิดพลาดมาก่อน เป็นด้วยความช่วยเหลือของท่าน สุมาเจียวจึงได้เป็นจิ้นกง (晉公) และได้อำนาจควบคุมราชสำนักวุย บัดนี้ท่านพิชิตจ๊กได้ ชื่อเสียงของท่านก็เลื่องลือไปทั่วแผ่นดิน ผู้คนต่างสรรเสริญท่าน สุมาเจียวจะไม่รู้สึกวิตกว่าเกียรติคุณของท่านจะโดดเด่นกว่าเขาหรอกหรือ ท่านยินดีจะอยู่อย่างสันโดษไปตลอดชีวิตที่เหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการนำภัยพิบัติมาสู่ตัวท่านหรือไม่ ในอดีต ฮั่นสิน (韓信 หาน ซิ่น) ไม่ได้ทรยศต่อราชวงศ์ฮั่นแต่จักรพรรดิก็ยังสงสัยในความภักดี (文種 เหวิน จ้ง) ไม่ใส่ใจคำแนะนำของฮวมเล้ (范蠡 ฟ่าน หลี่) ที่ให้ลาออก จึงจบลงด้วยการถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย พวกเขาเป็นผู้ปกครองที่หัวอ่อนกับขุนนางที่โง่เขลาหรือเปล่า ก็ไม่ใช่ พวกเขาถูกบังคับให้ต้องทำเพราะอำนาจการเมือง บัดนี้ท่านทำความชอบครั้งใหญ่และได้รับเกียรติคุณตลอดกาลไปแล้ว เหตุใดท่านจึงไม่ตามรอยฮวมเล้ ลาออกเพื่อรักษาชีวิตไว้เล่า ท่านสามาารถปีนขึ้นยอดเขางูปิสัน (峨嵋山 เอ๋อเหมย์ชาน) หรือไม่ก็ท่องเที่ยวไปทั่วแผ่นดินแบบชื่อซงจื่อ (赤松子)"
จงโฮยตอบว่า "ที่ท่านพูดมาเป็นเรื่องห่างไกลเกินนัก ข้าพเจ้าไม่อาจทำได้ นอกจากนี้่เมื่อพิจารณาสถานการณ์ตอนนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น"
เกียงอุยจึงพูดว่า:
"ข้าพเจ้าเพียงแต่เสนอทางเลือกลาออกให้ท่าน ข้าพเจ้าเห็นว่าด้วยสติปัญญาของท่านแล้ว ท่านสามารถคิดหาทางเลือกอื่นและดำเนินการได้ ท่านไม่จำเป็นต้องให้คนชราเช่นข้าพเจ้าพูดเยิ่นเย้อหรอก"
เกียงอุยและจงโฮยยิิ่งสนิทกันมากขึ้นหลังจากนั้น
เสียชีวิต
จากนั้นจงโฮยจึงใส่ร้ายเตงงายขุนพลวุยก๊กด้วยกันในข้อหาวางแผนก่อกบฏและจับกุมเตงงายส่งกลับไปลกเอี๋ยงราชธานีของวุยก๊กในฐานะนักโทษ เมื่อเตงงายไปแล้ว จงโฮยจึงเข้ายึดนครเซงโต๋และอาณาเขตของจ๊กก๊กเดิม ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 264 จงโฮยเริ่มก่อกบฏต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการของวุยก๊ก และประกาศตนเป็นเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州牧 อี้โจวมู่)
จงโฮยต้องการมอบหมายให้เกียงอุยบัญชาการกองกำลัง 50,000 นายและให้นำทัพหน้าเข้าโจมตีนครลกเอี๋ยง แต่เมื่อเวลาประมาณเที่ยงของวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 นายทหารของวุยก๊กบางคนที่ไม่เต็มใจจะเข้าร่วมการก่อกบฏของจงโฮยได้เริ่มก่อการกำเริบต่อต้านจงโฮย เวลานั้นเกียงอุยกำลังรวบรวมชุดเกราะและอาวุธจากจงโฮย ขณะนั้นพวกเขาก็ได้ยินเสียงโห่ร้องและได้รับข่าวว่าเกิดเพลิงไหม้ ต่อมาไม่นานก็มีรายงานว่าทหารจำนวนมากมารวมตัวที่หน้าประตูเมือง จงโฮยประหลาดใจจึงถามเกียงอุยว่า "คนพวกนั้นก่อปัญหาขึ้นแล้ว เราควรทำอย่างไรดี" เกียงอุยตอบว่า "ฆ่าพวกเขาซะ"
จงโฮยจึงสั่งทหารให้ไปสังหารนายทหารที่ปฏิเสธที่จะเข้าการก่อกบฏ ไม่นานหลังจากนั้นมีรายงานว่าผู้คนใช้บันไดปีนขึ้นกำแพงเมืองและจุดไฟเผาบ้านเรือน ความโกลาหลเกิดขึ้นและมีลูกเกาทัณฑ์ยิงว่อนทุกทิศทาง นายทหารที่ก่อการกำเริบได้รวมกลุ่มกับผู้ที่เข้าร่วมใหม่และเข้าโจมตีจงโฮยและเกียงอุย จงโฮยและเกียงอุยต่อสู้กับทหารที่ก่อการกำเริบและสังหารได้ประมาณห้าหรือหกคน แต่ในที่สุดทั้งจงโฮยและเกียงอุยก็ถูกล้อมและถูกสังหาร ทหารยังสังหารภรรยาและบุตรของเกียงอุยด้วยชื่อ-ยฺหวี่ (世語) บันทึกว่าทหารสังหารเกียงอุยและผ่าร่างของเกียงอุยออก ก็เห็นถุงน้ำดีของเกียงอุยมีขนาดใหญ่หนึ่งโต่ว (斗)
บันทึกจากพงศาวดารหฺวาหยาง
บันทึกว่าเกียงอุยเพียงแสร้งทำเป็นร่วมมือกับจงโฮย ในตอนแรกเกียงอุยยุยงจงโฮยให้ประหารชีวิตนายทหารของวุยก๊กที่ไม่เต็มใจเข้าร่วมการก่อกบฏ จากนั้นเกียงอุยจึงก็จะหาโอกาสเพื่อลอบสังหารจงโฮยแล้วนำพลเมืองจ๊กก๊กสังหารทหารวุยก๊กทั้งหมดเพื่อฟื้นฟูจ๊กก๊ก เกียงอุยยังได้เขียนหนังสือลับทูลเล่าเสี้ยนว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าหวังว่าฝ่าบาทจะทรงอดทนต่อความอัปยศได้ชั่วคราวในไม่ก่ี่วันข้างหน้า ข้าพระพุทธเจ้ากำลังวางแผนจะพลิกสถานการณ์และฟื้นฟูรัฐของเราเฉกเช่นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่เปลี่ยนความมืดให้เป็นความสว่าง"
ครอบครัวและทายาท
บิดาของเกียงอุยชื่อเจียง จฺย่ง (姜冏) รับราชการทหารในเมืองและเสียชีวิตระหว่างการปราบกบฏชนเผ่าเกี๋ยงและชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวฮั่นอื่น ๆ
แม้ว่าชีวประวัติของเกียงอุยในจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ) บันทึกว่าเกียงอุยขาดการติดต่อกับมารดาหลังจากแปรพักตร์ไปเข้าร่วมด้วยจ๊กก๊ก ส่วนในจ๋าจี้ (雜記) บันทึกว่าภายหลังเกียงอุยได้รับจดหมายจากมารดาที่ขอให้เกียงอุยกลับไปบ้าน เกียงอุยจึงเขียนจดหมายตอบไปว่า
"ที่ดินหนึ่งหมู่ (畝; หน่วยพื้นที่) ไม่อาจเทียบได้กับที่นาที่อุดมสมบูรณ์ร้อยฉิ่ง (頃; หน่วยพื้นที่) เมื่อความทะเยอทะยานของผู้ใดอยู่ห่างไกลออกไป คนผู้นั้นก็จะไม่ต้องการจะกลับไปบ้าน"
ชื่อ ต้าถังชื่อซิวเลี่ยชานซื่อเยฺว่เทียนฉุ่ยจฺวิ้นเจียงซิ่งกู๋ผูจ่งชื่อซี่ (大唐敕修烈山四岳天水郡姜姓古譜總世系) จากยุคราชวงศ์ถัง บันทึกว่าภรรยาของเกียงอุยคือสตรีแซ่หลิ่ว (柳氏 หลิ่วชื่อ)
ขุนพลราชวงศ์ถัง (姜寶誼) และ (姜恪) เป็นผู้สืบเชื้อสายของเกียงอุยตามที่ระบุในทำเนียบพงศาวลีของอัครมหาเสนาบดีใน
คำวิจารณ์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในนิยายสามก๊ก
เกียงอุยเป็นตัวละครสำคัญในเนื้่อเรื่องช่วงหลังของนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 ซึ่งเล่าเรื่องเหตุการณ์และบุคคลในประวัติศาสตร์ยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและยุคสามก๊กของจีน ในนวนิยาย เกียงอุยมีฐานะเป็นผู้สืบทอดภารกิจของจูกัดเหลียงในการเป็นผู้นำของทัพจ๊กก๊กในการรบกับวุยก๊ก โดยมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่นตะวันออกที่ล่มสลายไป
เกียงอุยปรากฏครั้งแรกในตอนที่ 92 และตอนที่ 93 ในฐานะนายทหารที่รับราชการในเมืองในช่วงที่จูกัดเหลียงยกทัพบุกเหนือครั้งแรก เมื่อจูกัดเหลียงพยายามจะลวงม้าจุ้นเจ้าเมืองเทียนซุยให้นำกองกำลังออกจากเมืองเทียนซุยไปช่วยแฮหัวหลิมขุนพลวุยก๊กที่เมืองลำอั๋น เกียงอุยมองอุบายของจูกัดเหลียงออกจึงแนะนำม้าจุ้นให้คงอยู่ในเมืองเทียนซุยและวางแผนดักข้าศึก เมื่อเตียวจูล่งขุนพลจ๊กก๊กปรากฏตัวขึ้นหวังจะยึดเมืองเทียนซุยก็ตกอยู่ในกลลวงของเกียงอุยและได้รบตัวต่อตัวกับเกียงอุยเป็นเวลาสั้น ๆ ก่อนที่กองกำลังเสริมของจ๊กก๊กจะมาถึงและช่วยเตียวจูล่งไว้ได้ เตียวจูล่งบอกจูกัดเหลียงว่ารู้สึกประหลาดใจที่เมืองเทียนซุยมีผู้มากความสามารถอย่างเกียงอุย เมื่อเกียงอุยตีโต้การโจมตีของจ๊กก๊กได้อีกครั้ง จูกัดเหลียงก็ยิ่งประทับใจและต้องการจะให้เกียงอุยมาเข้าร่วมด้วยจ๊กก๊ก จูกัดเหลียงจึงลวงม้าจุ้นให้เข้าใจว่าเกียงอุยแปรพักตร์ไปเข้าด้วยจ๊กก๊กแล้วเพื่อป้องกันไม่ให้เกียงอุยกลับไปวุยก๊กได้ จากนั้นวางกลดักจับเกียงอุย เมื่อเกิยงอุยจนมุมก็พยายามจะฆ่าตัวตาย แต่จูกัดเหลียงห้ามไว้และเกลี้ยกล่อมให้เกียงอุยยอมสวามิภักดิ์เข้าด้วยกับจ๊กก๊กได้สำเร็จ
เกียงอุยติดตามจูกัดเหลียงในการยกทัพบุกขึ้นเหนือในครั้งถัด ๆ มา ในตอนที่ 107 ถึงตอนที่ 115 ได้เล่าถึงการบุกขึ้นเหนือของเกียงอุยและเรียกว่าเป็น "การทัพบุกที่ราบภาคกลางเก้าครั้ง" ในขณะที่ตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ การทัพมีทั้งหมด 11 ครั้งแทนที่จะเป็น 9 ครั้ง ในตอนที่ 119 เกียงอุยยุยงจงโฮยให้ก่อกบฏต่อวุยก๊ก แต่การก่อกบฏไม่สำเร็จเพราะนายทหารของวุยก๊กบางคนเริ่มก่อการกำเริบต่อจงโฮย เมื่อเกียงอุยถูกข้าศึกต้อนจนมุม เกียงอุยก็ถอนหายใจพูดว่า "เป็นลิขิตฟ้าโดยแท้ที่แผนการของข้าไม่สำเร็จ" จากนั้นจึงเชือดคอฆ่าตัวตาย
บทกวีจากนวนิยายที่แต่งให้เป็นเกียรติแก่เกียงอุยมีความว่า:
天水誇英俊,涼州產異才。นำมาซึ่งวีรชน; เลียงจิ๋วให้กำเนิดผู้มากความสามารถ
系從尚父出,術奉武侯來。สืบเชื้อสายจากช่างฟู่; สืบทักษะจากอู่โหว
大膽應無懼,雄心誓不回。กล้าหาญไม่หวั่นเกรง; จิตใจมั่นคงเสียสละ
成都身死日,漢將有餘哀。วันที่สิ้นชีพในเซงโต๋; ขุนพลฮั่นยังอาดูร
ในวัฒนธรรมประชานิยม
เกียงอุยปรากฏในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในซีรีส์วิดีโอเกมไดนาสตีวอริเออร์และวอริเออร์โอโรจิที่ผลิตโดยบริษัท ในเกมเกียงอุยมีบทบาทเป็นนักรบหนุ่มผู้อุทิศตนให้จูกัดเหลียงผู้เป็นอาจารย์อย่างสุดใจ เกียงอุยยังปรากฏในซีรีส์วิดีโอของโคเอเทคโม
อนุสรณ์
พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์เกียงอุย (姜維紀念館 เจียง เหวย์จิ้นล่างกว่าน) สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1999 ใกล้กับบ้านเกิดของเกียงอุยทางตะวันออกของ นคร มณฑลกานซู่ พิพิธภัณฑ์ครอบคลุมพื้นที่ 360 ตารางเมตร สร้างโดยระดมทุนจากคนท้องถิ่น สิ่งจัดแสดงหลักในพิพิธภัณฑ์ได้แก่ รูปปั้นสูงสี่เมตรของเกียงอุยในโถงใหญ่ และศิลาจารึกที่จารึกคำว่า "บ้านเกิดของเกียงอุย" เป็นอักษรวิจิตรที่เขียนโดยนายพล (楊成武)
(平襄楼 ผิงเซียงโหลว) ใน มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน เป็นอาคารสูง 24 เมตรที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับเกียงอุย ชื่อของหอคอยมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ของเกียงอุยคือผิงเซียงโหว (平襄侯) หอคอยสร้างขึ้นในยุคราชวงศ์ซ่ง ได้รับการบูรณะในปี ค.ศ. 1445 ในยุคราชวงศ์หมิง และได้รับการกำหนดให้เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ได้รับการคุ้มครองในระดับชาติโดยของประเทศจีนในปี ค.ศ. 2006
มีโบราณสถานจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเกียงอุยที่ใน มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน ได้แก่ บ่อน้ำเกียงอุย (姜維井 เจียง เหวย์จิ่ง) ถ้ำเกียงอุย (姜維洞 เจียง เหวย์ต้ง) ป้อมเกียงอุย (姜維城 เจียง เหวย์เฉิง) ศาลเกียงอุย (姜維廟 เจียง เหวย์เมี่ยว) สะพานท่านเกียง (姜公橋 เจียงกงเฉียว) คลังอาวุธเกียงอุย (姜維軍械 เจียง เหวย์จฺวินเซี่ย) และสุสานเกียงอุย (姜維墓 เจียง เหวย์มู่) กวีเช่น (陸游), จั่ว มู่ (左牧), (李調元) และ (莊學和) เคยเขียนบทกวีที่ด่านเจี้ยนเหมินเพื่อสรรเสริญเกียงอุย
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ชีวประวัติเกียงอุยในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเกียงอุยมีอายุ 27 ปี (ตาม) ขณะเมื่อแปรพักตร์จากวุยก๊กไปเข้าด้วยจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 228 ชีวประวัติจงโฮยในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าทั้งจงโฮยและเกียงอุยเสียชีวิตในวันที่ 18 เดือน 1 ศักราชจิ่ง-ยฺเหวียนปีที่ 5 ในรัชสมัยของโจฮวน วันที่นี้ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 264 ในปฏิทินกริโกเรียน เมื่อคำนวณแล้วปีที่เกียงอุยเกิดควรเป็นปี ค.ศ. 202 และมีอายุ 62 ปีขณะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 264
- จดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเลี้ยงซีั อินเชียง และเลี้ยงเขียนแปรพักตร์เข้าด้วยจ๊กก๊กพร้อมกับเกียงอุย ภายหลังได้รับราชการเป็นขุนนางตำแหน่งสูงในราชสำนักจ๊กก๊ก เลี้ยงซีได้เป็นเสนาบดีปฏิคม (大鴻臚 ต้าหงหลู) อินซงได้เป็นเจ้ากรมนครบาล (執金吾 จื๋อจินอู๋) เลี้ยงเขียนได้เป็นจางวางวังจักรพรรดินี (大長秋 ต้าฉางชิว) ทั้งสามเสียชีวิตก่อนการล่มสลายของจ๊กก๊กในปี ค.ศ. 263
- ชื่อรองของจูกัดเอี๋ยน
- ชื่อรองของแฮเฮาเหียน
- ชื่อรองของเกียงอุย
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน(เตงงาย#บทบาทของจงโฮยในการจับกุมเตงงาย)และ(จงโฮย#การจับกุมเตงงาย)
- ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 71
- ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80 ถึงตอนที่ 85
- ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 86
- หมายถึงเจียง จื่อหยา
- หมายถึงจูกัดเหลียง
อ้างอิง
- (亮辟維為倉曹掾,加奉義將軍,封當陽亭侯,時年二十七。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([景元五年正月]十八日日中, ... 姜維率會左右戰,手殺五六人,衆旣格斬維,爭赴殺會。會時年四十,將士死者數百人。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
- de Crespigny (2007), p. 378.
- (姜維字伯約,天水兾人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (以父冏昔為郡功曹,值羌、戎叛亂,身衞郡將,沒於戰場,賜維官中郎,參本郡軍事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (少孤,與母居。好鄭氏學。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (傅子曰:維為人好立功名,陰養死士,不脩布衣之業。) อรรถาธิบายจากฟู่จื่อในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (仕郡上計掾,州辟為從事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- Sima (1084), vol. 71.
- (維昔所俱至蜀,梁緒官至大鴻臚,尹賞執金吾,梁虔大長秋,皆先蜀亡歿。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (建興六年,丞相諸葛亮軍向祁山,時天水太守適出案行,維及功曹梁緒、主簿尹賞、主記梁虔等從行。太守聞蜀軍垂至,而諸縣響應,疑維等皆有異心,於是夜亡保上邽。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (維等覺太守去,追遲,至城門,城門已閉,不納。維等相率還兾,兾亦不入維。維等乃俱詣諸葛亮。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (魏略曰:天水太守馬遵將維及諸官屬隨雍州刺史郭淮偶自西至洛門案行,會聞亮已到祁山,淮顧遵曰:「是欲不善!」遂驅東還上邽。遵念所治兾縣界在西偏,又恐吏民樂亂,遂亦隨淮去。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (時維謂遵曰:「明府當還兾。」遵謂維等曰:「卿諸人[回]復信,皆賊也。」各自行。維亦無如遵何,而家在兾,遂與郡吏上官子脩等還兾。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (兾中吏民見維等大喜,便推令見亮。二人不獲已,乃共詣亮。亮見,大恱。未及遣迎兾中人,會亮前鋒為張郃、費繇等所破,遂將維等却縮。維不得還,遂入蜀。諸軍攻兾,皆得維母妻子,亦以維本無去意,故不沒其家,但繫保官以延之。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (後遷中監軍征西將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- Sima (1084), vol. 34.
- ([建興]十二年,亮卒,維還成都,為右監軍輔漢將軍,統諸軍,進封平襄侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (延熈元年,隨大將軍蔣琬住漢中。琬旣遷大司馬,以維為司馬,數率偏軍西入。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (正始元年,蜀將羌維出隴西。淮遂進軍,追至彊中,維退,遂討羌迷當等,案撫柔氐三千餘落,拔徙以實關中。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ([延熈]六年,遷鎮西大將軍,領涼州刺史。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([延熙九年]冬十一月,大司馬蔣琬卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- ([延熈]十年,遷衞將軍,與大將軍費禕共錄尚書事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (是歲,汶山平康夷反,維率衆討定之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (八年,隴西、南安、金城、西平諸羌餓何、燒戈、伐同、蛾遮塞等相結叛亂,攻圍城邑,南招蜀兵,涼州名胡治無戴復叛應之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- Sima (1084), vol. 75.
- (討蜀護軍夏侯霸督諸軍屯為翅。淮軍始到狄道,議者僉謂宜先討定枹罕,內平惡羌,外折賊謀。淮策維必來攻霸,遂入渢中,轉南迎霸。維果攻為翅,會淮軍適至,維遁退。進討叛羌,斬餓何、燒戈,降服者萬餘落。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (又出隴西、南安、金城界,與魏大將軍郭淮、夏侯霸等戰於洮西。胡王治無戴等舉部落降,維將還安處之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([正始]九年, ... [郭]淮進軍趨西海,欲掩取其累重,會[治]無戴折還,與戰於龍夷之北,破走之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (姜維出石營,從彊川,乃西迎治無戴,留陰平太守廖化於成重山築城,斂破羌保質。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- (淮曰:「今往取化,出賊不意,維必狼顧。比維自致,足以定化,且使維疲於奔命。兵不遠西,而胡交自離,此一舉而兩全之策也。」乃別遣夏侯霸等追維於沓中,淮自率諸軍就攻化等。維果馳還救化,皆如淮計。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 26.
- ([延熈]十二年,假維節, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (淮從泰計,使泰率討蜀護軍徐質、南安太守鄧艾等進兵圍之,斷其運道及城外流水。安等挑戰,不許,將士困窘,分糧聚雪以稽日月。維果來救,出自牛頭山,與泰相對。 ... 勑諸軍各堅壘勿與戰,遣使白淮,欲自南渡白水,循水而東,使淮趣牛頭,截其還路,可并取維,不惟安等而已。淮善其策,進率諸軍軍洮水。維懼,遁走,安等孤縣,遂皆降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 22.
- (於是留艾屯白水北。三日,維遣廖化自白水南向艾結營。艾謂諸將曰:「維今卒還,吾軍人少,法當來渡而不作橋。此維使化持吾,令不得還。維必自東襲取洮城。」洮城在水北,去艾屯六十里。艾即夜潛軍徑到,維果來渡,而艾先至據城,得以不敗。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
- ([延熙]十三年,姜維復出西平,不克而還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- (維自以練西方風俗,兼負其才武,欲誘諸羌、胡以為羽翼,謂自隴以西可斷而有也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (每欲興軍大舉,費禕常裁制不從,與其兵不過萬人。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (漢晉春秋曰:費禕謂維曰:「吾等不如丞相亦已遠矣;丞相猶不能定中夏,況吾等乎!且不如保國治民,敬守社稷,如其功業,以俟能者,無以為希兾徼倖而決成敗於一舉。若不如志,悔之無及。」) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([延熙]十六年歲首大會,魏降人郭循在坐。禕歡飲沈醉,為循手刃所害,謚曰敬侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (魏氏春秋曰:脩字孝先,素有業行,著名西州。姜維劫之,脩不為屈。劉禪以為左將軍,脩欲刺禪而不得親近,每因慶賀,且拜且前,為禪左右所遏,事輙不克,故殺禕焉。) อรรถาธิบายจากเว่ย์ชื่อชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- Sima (1084), vol. 76.
- ([延熙十六年]夏,維率將數萬人出石營,經董亭,圍南安,魏雍州刺史陳泰解圍至洛門,維糧盡退還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([十七年]夏六月,維復率衆出隴西。冬,拔狄道、河間、臨洮三縣民,居于緜竹、繁縣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- (明年,加督中外軍事。復出隴西,守狄道長李簡舉城降。進圍襄武,與魏將徐質交鋒,斬首破敵,魏軍敗退。維乘勝多所降下,拔河間、狄道、臨洮三縣民還, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (... 後[延熙]十八年,復與車騎將軍夏侯霸等俱出狄道, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (... 大破魏雍州刺史王經於洮西,經衆死者數萬人。經退保狄道城,維圍之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (魏征西將軍陳泰進兵解圍,維却住鍾題。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([延熙]十九年春,就遷維為大將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (更整勒戎馬,與鎮西大將軍胡濟期會上邽,濟失誓不至,故維為魏大將鄧艾所破於段谷,星散流離,死者甚衆。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- Sima (1084), vol. 77.
- (衆庶由是怨讟,而隴已西亦騷動不寧,維謝過引負,求自貶削。為後將軍,行大將軍事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([延熙]二十年,魏征東大將軍諸葛誕反於淮南,分關中兵東下。維欲乘虛向秦川,復率數萬人出駱谷,徑至沈嶺。時長城積穀甚多而守兵乃少,聞維方到,衆皆惶懼。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (魏大將軍司馬望拒之,鄧艾亦自隴右,皆軍于長城。維前住芒水,皆倚山為營。望、艾傍渭堅圍,維數下挑戰,望、艾不應。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (景耀元年,維聞誕破敗,乃還成都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([景耀]五年春正月, ... 是歲,姜維復率衆出侯和,為鄧艾所破,還住沓中。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 33.
- ([景耀]五年,維率衆出漢、侯和,為鄧艾所破,還住沓中。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- Sima (1084), vol. 78.
- (維本羈旅託國,累年攻戰,功績不立,而宦臣黃皓等弄權於內,右大將軍閻宇與皓恊比,而皓陰欲廢維樹宇。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (維亦疑之。故自危懼,不復還成都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (華陽國志曰;維惡黃皓恣擅,啟後主欲殺之。後主曰:「皓趨走小臣耳,往董允切齒,吾常恨之,君何足介意!」維見皓枝附葉連,懼於失言,遜辭而出。後主勑皓詣維陳謝。維說皓求沓中種麥,以避內逼爾。) อรรถาธิบายจากพงศาวดารหฺวาหยางในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([景耀]六年,維表後主:「聞鍾會治兵關中,欲規進取,宜並遣張翼、廖化督諸軍分護陽安關口、陰平橋頭以防未然。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (皓徵信鬼巫,謂敵終不自致,啟後主寢其事,而羣臣不知。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (及鍾會將向駱谷,鄧艾將入沓中,然後乃遣右車騎廖化詣沓中為維援,左車騎張翼、輔國大將軍董厥等詣陽安關口以為諸圍外助。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (比至陰平,聞魏將諸葛緒向建威,故住待之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (月餘,維為鄧艾所摧,還住陰平。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (鍾會攻圍漢、樂二城,遣別將進攻關口,蔣舒開城出降,傅僉格鬬而死。會攻樂城,不能克,聞關口已下,長驅而前。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (翼、厥甫至漢壽,維、化亦舍陰平而退,適與翼、厥合,皆退保劒閣以拒會。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (會與維書曰:「公侯以文武之德,懷邁世之略,功濟巴、漢,聲暢華夏,遠近莫不歸名。每惟疇昔,甞同大化,吳札、鄭喬,能喻斯好。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (維不荅書,列營守險。會不能克,糧運縣遠,將議還歸。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (而鄧艾自陰平由景谷道傍入,遂破諸葛瞻於緜竹。後主請降於艾,艾前據成都。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (維等初聞瞻破,或聞後主欲固守成都,或聞欲南入建寧,於是引軍由廣漢、郪道以審虛實。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (尋被後主敕令,乃投戈放甲,詣會於涪軍前,將士咸怒,拔刀斫石。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (干寶晉紀云:會謂維曰;「來何遲也?」維正色流涕曰:「今日見此為速矣!」會甚奇之。) อรรถาธิบายจากจิ้นจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- ([鍾]會厚待[姜]維等,皆權還其印號節蓋。會與維出則同轝,坐則同席,謂長史杜預曰:「以伯約比中土名士,公休、太初不能勝也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (漢晉春秋曰:會陰懷異圖,維見而知其心,謂可構成擾亂以圖克復也, ...) อรรถาธิยายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (... 乃詭說會曰:「聞君自淮南已來,筭無遺策,晉道克昌,皆君之力。今復定蜀,威德振世,民高其功,主畏其謀,欲以此安歸乎!夫韓信不背漢於擾攘,以見疑於旣平,大夫種不從范蠡於五湖,卒伏劒而妄死,彼豈闇主愚臣哉?利害使之然也。今君大功旣立,大德已著,何不法陶朱公泛舟絕迹,全功保身,登峨嵋之嶺,而從赤松游乎?」) อรรถาธิยายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (會曰:「君言遠矣,我不能行,且為今之道,或未盡於此也。」) อรรถาธิยายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (維曰:「其佗則君智力之所能,無煩於老夫矣。」) อรรถาธิยายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (由是情好歡甚。) อรรถาธิยายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (會旣構鄧艾,艾檻車徵,因將維等詣成都,自稱益州牧以叛。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (欲授維兵五萬人,使為前驅。) จดหมายเหตุสากมก๊ก เล่มที่ 44.
- (十八日日中,烈軍兵與烈兒雷鼓出門,諸軍兵不期皆鼓譟出,曾無督促之者,而爭先赴城。時方給與姜維鎧杖,白外有匈匈聲,似失火,有頃,白兵走向城。會驚,謂維曰:「兵來似欲作惡,當云何?」維曰:「但當擊之耳。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
- (會遣兵悉殺所閉諸牙門郡守,內人共舉机以柱門,兵斫門,不能破。斯須,門外倚梯登城,或燒城屋,蟻附亂進,矢下如雨,牙門、郡守各緣屋出,與其卒兵相得。姜維率會左右戰,手殺五六人,衆旣格斬維,爭赴殺會。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 28.
- (魏將士憤發,殺會及維,維妻子皆伏誅。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (世語曰:維死時見剖,膽如斗大。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (華陽國志曰:維教會誅北來諸將,旣死,徐欲殺會,盡坑魏兵,還復蜀祚, ...) อรรถาธิบายจากพงศาวดารหฺวาหยางในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (... 密書與後主曰:「願陛下忍數日之辱,臣欲使社稷危而復安,日月幽而復明。」) อรรถาธิบายจากพงศาวดารหฺวาหยางในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (會馬謖敗於街亭,亮拔將西縣千餘家及維等還,故維遂與母相失。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (孫盛雜記曰:初,姜維詣亮,與母相失,復得母書,令求當歸。) อรรถาธิบายจากจ๋าจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (維曰:「良田百頃,不在一畒,但有遠志,不在當歸也。」) อรรถาธิบายจากจ๋าจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 44.
- (蜀大將軍平襄侯[姜]維,裔孫[姜]明,世居上邽。) จดหมายเหตุราชวงศ์ถังใหม่ เล่มที่ 73 (บรรพ 3).
- "สามก๊ก ตอนที่ ๗๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 29, 2023.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - สามก๊ก ตอนที่ 92-93.
- "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 29, 2023.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "สามก๊ก ตอนที่ ๘๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 29, 2023.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - สามก๊ก ตอนที่ 107-115.
- "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 29, 2023.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - สามก๊ก เล่มที่ 119.
- . www.e3ol.com (ภาษาจีน). 3 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-31. สืบค้นเมื่อ 6 June 2018.
- "State Council's Notice on the Sixth Batch of Major Historical and Cultural Sites Protected at the National Level". www.gov.cn (ภาษาจีน). 25 May 2006. สืบค้นเมื่อ 6 June 2018.
- . country.aweb.com.cn (ภาษาจีน). 8 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-09. สืบค้นเมื่อ 6 June 2018.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- (ป. ศตวรรษที่ 4). (หฺวาหยางกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- ; ; ; ; (eds.) (11th century). (ซินถังชู).
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยี่ยนอี้).
- Lu, Bi (1982). 三國志集解 (Explanatory Commentary to the Sanguozhi) (ภาษาจีน). Beijing: Zhonghua Book Company. ISBN .
- (1985). Modern Chinese Edition of Zizhi Tongjian (ภาษาจีน). Vol. 20. Taipei: Yuan-Liou Publishing. ISBN .
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN .
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ekiyngxuy kh s 202 3 minakhm kh s 264 michuxinphasacinklangwa eciyng ehwy cin 姜維 phinxin Jiang Wei chuxrxng pwey w cin 伯約 phinxin Boyue epnkhunphlaelakhunnangkhxngrthckkkinyukhsamkkkhxngcin ekiyngxuyekidinxaephxexkkwn emuxng pccubnkhux mnthlkansu aelaerimrbrachkarinthananaythharinemuxngethiynsuysungxyuinxanaekhtkhxngwuykk inpi kh s 228 ckkkthiepnrthxrikhxngwuykkepidkarbukwuykk ekiyngxuyimepnthiiwwangickhxngmacunecaemuxngethiynsuyinkhnann ekiyngxuycungaeprphktripekhadwydwyckkk cukdehliyngxkhrmhaesnabdiaelaphusaercrachkaraehngckkkykyxngekiyngxuyxyangsungaelatngihepnkhunphlkhxngckkk hlngkaresiychiwitkhxngcukdehliynginpi kh s 234 ekiyngxuyyngkhngthahnathiepnaemthphinsmythieciywxwnaelabihuyepnphusaerckar inthisudkkhunmamiysthangthharsungsudepnmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win hlngbihuyesiychiwitinpi kh s 253 rahwang kh s 240 thung kh s 262 ekiyngxuyyngkhngsantxpharkickhxngcukdehliynginkarsukkbwuykk odynathphbukinkarthphxik 11 khrng aetkarthphkhxngekiyngxuymikhxcakdthnginaengcanwnthharaelarayaewlaenuxngcakthrphyakrkhxngckkkthimicakdaelaesbiyngxaharimephiyngphx rwmthungpyhakaremuxngphayin inpi kh s 263 emuxwuykkepidchakkarbukckkkkhrngihy ekiyngxuynathphckkkiptankhasukthithacng aela twekiyngxuypxngknekiymokacakkarocmtikhxngcngohy khnathiekiyngxuytngmnskdkxngkalnghlkkhxngwuykkthinaodycngohy aemthphkhxngwuykkxikkhnchuxetngngaykichthangldphanximepngbukipthungesngotodyfayckkkimkhadkhid elaesiynckrphrrdiaehngckkkyxmcanntxetngngayodyimtxtanaelamirbsngihekiyngxuyyxmcanntxcngohy ehtukarnnithuxepnkarsinsudkhxngckkk inpithdma ekiyngxuyyuyngcngohyihkxkbtinesngottxtansumaeciywphusaercrachkarkhxngwuykk aelahwngcaichoxkasniinkarephimxanacthangkarthharaelakxbkuckkk aetnaythharkhxngcngohybangswnimetmicthicarwmkarkxkbtaelaerimkxkarkaeribsngharekiyngxuyaelacngohyekiyngxuy eciyng ehwy 姜維phaphwadekiyngxuysmyrachwngschingmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win darngtaaehnng kh s 258 258 phvscikaynhruxthnwakhm kh s 263 263 darngtaaehnng kh s 256 256 kh s 256 256 kstriyelaesiynkxnhnabihuykhunphlthphhlng 後將軍 ohweciyngc win darngtaaehnng kh s 256 256 kh s 258 258 kstriyelaesiynkhunphlphithks 衛將軍 ewyeciyngc win darngtaaehnng kh s 247 247 kh s 256 256 kstriyelaesiynphucdkarkickarkhxngsankrachelkhathikar 錄尚書事 changluchuchux darngtaaehnngrwmkbbihuytngaetpi kh s 247 thung kh s 253 darngtaaehnng kh s 247 247 phvscikaynhruxthnwakhm kh s 263 263 kstriyelaesiynkhahlwngmnthleliyngciw 涼州刺史 ehliyngocwchuxchux aetinnam darngtaaehnng kh s 243 243 kh s 247 247 kstriyelaesiynmhakhunphlphithksphakhtawntk 鎮西大將軍 ecinsitaeciyngc win darngtaaehnng kh s 243 243 kh s 247 247 kstriyelaesiynkhunphlphuchwyehluxrachwngshn 輔漢將軍 fuhneciyngc win darngtaaehnng kh s 234 234 kh s 243 243 kstriyelaesiynkhunphlocmtiphakhtawntk 征西將軍 ecingsieciyngc win darngtaaehnng kh s kh s 234 234 kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliyngkhunphlphusngesrimkhwamchxbthrrm 奉義將軍 efingxieciyngc win darngtaaehnng kh s 228 228 kh s kstriyelaesiynhwhnarthbalcukdehliyngkhxmulswnbukhkhlekid202 mnthlkansuesiychiwit3 minakhm ph s 264 62 pi nkhrechingtu mnthleschwnbuphkarieciyng c yng bida xachiphkhunphl khunnangchuxrxngpwey w 伯約 brrdaskdiphingesiyngohw 平襄侯 phumihlngkhrxbkhrwekiyngxuyepnchawxaephxexkkwn 冀縣 兾縣 ciesiyn emuxng 天水郡 ethiynchuyc win sungpccubnkhux mnthlkansu bidakhxngekiyngxuyesiychiwittngaetekiyngxuyyngedk ekiyngxuycungxasyxyukbmardaaelamichuxesiyngwasnicinngankhxngkhxngbnthitlththikhngcux inbnthukwaekiyngxuyepnphuaeswngchuxesiyngthimikhwamthaeyxthayansung aelayngaexbtngkxngthharrksakarnswntwkarrbrachkarchwngtninwuykkekiyngxuyerimrbrachkarinemuxngthiepnbanekidaelaxyuinxanaekhtkhxngwuykkinyukhsamkk ekiyngxuyerimrachkarinthanaesmiynthahnathibnthuk aelaphayhlngidklayepnecahnathiphuchwyinthiwakaremuxngethiynsuy hlngcakrachsankwuykkphicarnawabidakhxngekiyngxuyesiychiwitinhnathirachkar cungtngihekiyngxuyepncnghlang 中郎 aelaxnuyatihekiyngxuymiswnrwminkickarthangthharkhxngemuxngethiynsuyaeprphktrekhadwyckkkbnthukincdhmayehtusamkk invduibimphli kh s 228 cukdehliyngxkhrmhaesnabdiaelaphusaercrachkaraehngckkkthiepnrthxrikhxngwuykkidepidkarthphbukwuykkkhrngaerk cukdehliyngekhayudekhakisan 祁山 chisan phunthiphuekhaodyrxbbriewnthiepn mnthlkansuinpccubn aelasngkxngkalngiptngmnthinn emuxngsamemuxngphayitkarpkkhrxngkhxngwuykk idaek laxn 南安 hnanxan xyubriewn mnthlkansuinpccubn aelahnetng 安定 xanting pccubnxyubriewn mnthlkansu aeprphktripekhadwyfayckkk chiwprawtiekiyngxuyincdhmayehtusamkkbnthukwaewlannekiyngxuykbephuxnrwmrachkaridaekeliyngsi 梁緒 ehliyng s wi xinechiyng 尹賞 xin chang aelaeliyngekhiyn 梁虔 ehliyng echiyn kalngxyuinrahwangkaredinthangtrwcrachkarkbmacun 馬遵 hma cun ecaemuxngethiynsuy emuxmacunthrabkhawkarbukkhxngckkkaelaidyinwahlayxaephxinemuxngethiynsuyaeprphktripekhadwykhasuk macuncungraaewngwaekiyngxuyaelakhnxun kalngedinthangephuxipswamiphkditxckkkdwy macuncunghniipinewlaklangkhunaelaiphlbphyxyuthixaephxesiyngethng 上邽縣 changkuyesiyn pccubnxyuinekhtnkhrethiynchuy mnthlkansu emuxekiyngxuyaelaephuxnrwmrachkarruwamacunlathingphwktnaelahniipephiynglaphng cungphyayamiltammacunipaetimthn phwkekhathukptiesthimihekhaipinxaephxesiyngethngemuxthnghmdedinthangmathung ekiyngxuycungnathnghmdipyngxaephxexkkwn 冀縣 兾縣 ciesiyn pccubnkhux mnthlkansu thiepnxaephxbanekid aetkhunnangphurksaxaephxexkkwnkptiesthimihphwkekhaekhamaechnkn ekiyngxuyaelaephuxnrwmrachkarehnwaphwktnimmithangeluxkxun cungekhaipswamiphkdiaeprphktrekhadwyckkk bnthukinewyel w inbnthukeruxngkaraeprphktrkhxngekiyngxuycakwuykkipckkkthiaetktangxxkip inchwngewlathickkkykthphbuk macunaelaphuitbngkhbbycha rwmthungekiyngxuy kalngxyurahwangedinthangtrwcrachkarkbkuyhwykhunphlwuykkinewlathiidrbkhawwacukdehliyngaelathphckkkekhayudekhakisan kuyhwybxkmacunwa epnectnaimdiely aelwtxngkarribthxyrnipxaephxesiyngethngthangtawnxxkkhxngemuxngethiynsuy aemwathiwakaremuxngcaxyuthixaephxexkkwnthangtawntkktam macunexngkimtxngkarklbipxaephxexkkwnephraaekrngwacaekidkhwamimsngbinxaephxexkkwnenuxngcakkarbukkhxngckkk macuncungtdsinictidtamkuyhwyyayipxaephxesiyngethngaethn ekiyngxuykhxrxngihmacunklbipxaephxexkkwn macunbxkekiyngxuyaelakhnxun wa hakphwkthanklbip phwkthancaklayepnstrukhxngkha ekiyngxuyephikechytxmacunephraakalngkngwleruxngkhwamplxdphykhxngkhrxbkhrwinxaephxexkkwn ekiyngxuycungticakmacunklbmaxaephxexkkwn phrxmdwyephuxnrwmrachkarchux changkwan cuxsiw 上官子脩 aelakhnxun emuxekiyngxuyklbipthungxaephxexkkwn phukhnidtxnrbkarklbmakhxngekiyngxuyaelakhaynkhayxihekiyngxuyipphbkbcukdehliyng ekiyngxuyaelachangkwang cuxsiwcungyxmthatamkhakhxngphukhnedinthangipphbkbcukdehliyng cukdehliyngyindithiidphbkbthngsxng yngimthnthiekiyngxuycaklbiprbkhrxbkhrw idaekmarda phrrya aelabutr inexkkwn ewlannthphwuykkphayitkarnakhxngetiywkhbaelapiexiywexachnathphhnakhxngckkkidinyuththkarthieketngaelw ekiyngxuycungimsamarthklbipexkkwnid immithangeluxkxun cungtdsinicaeprphktrekhadwyckkkaelatidtamcukdehliyng hlngcakthphwuykkyudxaephxexkkwnkhunmaid idcbkhninkhrxbkhrwkhxngekiyngxuymakhngiwaetimnaippraharchiwit ephraaruxyuwaekiyngxuyimidtngicthicaaeprphktrekhadwykhasuktngaetaerk smachikinkhrxbkhrwkhxngekiyngxuycungichchiwitthiehluxxyuinkhukinsmythicukdehliyngepnphusaercrachkarhlngklbmathungemuxnghntng cukdehliyngaetngtngihekiyngxuyepnecahnathiphuchwyduaelesbiyngxahar 倉曹掾 changechaey wiyn phayhlngekiyngxuyidrbysepnkhunphlphusngesrimkhwamchxbthrrm 奉義將軍 efingxieciyngc win aelaidrbbrrdaskdiepntanghyangthingohw 當陽亭侯 txmaekiyngxuyideluxnkhunepnkhunphlocmtiphakhtawntk 征西將軍 ecingsieciyngc win aelaidrbkaraetngtngepnphukakbthphklang 中監軍 cngeciync win insmythieciywxwnepnphusaercrachkarphayhlngkaresiychiwitcxngcukdehliynginyuththkarthithungrabxucanginvduibimrwng kh s 234 ekiyngxuyklbipesngotnkhrhlwngkhxngckkkaelaidrbkaraetngtngihepnphukakbthphsay 右監軍 oyweciyngcwin aelamiysepnkhunphlphuchwyehluxrachwngshn 輔漢將軍 fuhneciyngc win ekiyngxuyidrbmxbhmayihbychakarkxngthhartidxawuthkhxngesngot aelaideluxbrrdaskdicakohwradbhmubanepnohwradbxaephxkhux phiwesiyngohw 平襄侯 inpi kh s 238 ekiyngxuytidtameciywxwnphusaercrachkaraehngckkkipyngemuxnghntngiklkbchayaednwuykk ckkk hlngeciywxwnidrbkaraetngtngepnesnabdiklaohm 大司馬 tasuxhma ineduxnemsaynhruxphvsphakhm kh s 239 idaetngtngihekiyngxuyepnnaykxngphn 司馬 suxhma insngkdkhxngtn aelayngmxbhmayihekiyngxuykhumkxngkalngaeykinkarbukekhaxanaekhtkhxngwuykk karbukkhunehnuxkhrngaerk inpi kh s 240 ekiyngxuynathphckkkekhaocmtiemuxng 隴西 hlngsi inxanaekhtkhxngwuykk aetthukkxngkalngkhxngwuykkphayitkarbngkhbbychakhxngkuyhwykhbilklbip sampitxma ekiyngxuyideluxnkhunkhnepnmhakhunphlphithksphakhtawntk 鎮西大將軍 ecinsitaeciyngc win aelaidrbkartngaetepnkhahlwngmnthleliyngciw 涼州刺史 ehliyngocwchuxchux aetinnaminsmythibihuyepnphusaercrachkarekiyngxuy phayhlngkaresiychiwitkhxngeciywxwninpi kh s 246 bihuykhunepnphusaercrachkarkhxngckkk hnungpitxma ekiyngxuyidrbkareluxnysepnkhunphlphithks 衞將軍 ewyeciyngc win aelayngidaebngxanackbbihuyinkarrwmkndarngtaaehnngphucdkarkickarkhxngsankrachelkhathikar 錄尚書事 changluchuchux inpiediywkn ekiyngxuyprabkbtinxaephxphingkhang 平康縣 phingkhangesiyn xyuthangtawntkechiyngitkhxng mnthleschwninpccubn karbukkhunehnuxkhrngthisxng inpi kh s 247 chnephaekiyng 羌 echiyng erimkxkbttxtanwuykkinsiemuxngkhxngmnthlaelaeliyngciw aelarxngkhxkarsnbsnuncakckkk iphuehwin 白虎文 aelacuxxuit 治無戴 kstriychnephasxngkhninmnthleliyngciwrwmkxkbttxtanwuykk emuxekiyngxuynathphwuykkekhamnthleliyngciwephuxsnbsnunkbtchnephaekiyng iphuehwinaelacuxxuitknakxngkalngmarwmdwy rachsankwuykktxbotdwykarsngaehhwpaaelakuyhwyihnakxngkalngipprabkbtaelakhbilkxngthphckkkthirukran ekiyngxuyocmtithimnkhxngaehhwpathangtawntkkhxng 洮水 ethachuy aetktxngthxythphklbckkkemuxkalngesrimkhxngwuykknaodykuyhwyykmathung karbukkhunehnuxkhrngthisam inpi kh s 248 ekiyngxuynathphckkkcakeskexng 石營 chuxxing xyuthangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn ipyngechiyngch wan 彊川 xyuthangtawntkkhxng mnthlkansuinpccubn ephuxsmthbkbcuxxuit 治無戴 kstriykhnephasungephingphayaephtxkuyhwykhunphlwuykkthixaephxhlngxi 龍夷縣 hlngxiesiyn thangtawntkkhxng mnthlchingih ekiyngxuymxbhmayeliywhwphuitbngkhbbychaihxyupxngknpxmprakarthiekhaechingcngchan 成重山 tngxyuthangtawntkkhxng mnthlkansuinpccubn kuyhwyaebngthphxxkepnsxngkxngkalngodymicudprasngkhephuxpxngknimihekiyngxuyipsmrbaelarwmkxngkalngkbcuxxuit kuyhwynakxngkalnghnungekhaocmtieliywhwthiekhaechingcngchanephuxbibihekiyngxuytxngthxyklbmachwyeliywhw inewlaediywknkuyhwysngihaehhwpaphuitbngkhbbychaihocmtiekiyngxuyaelaphlkdnihklbipyngthacng 沓中 thangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansu aephnkhxngkuyhwyprasbkhwamsaercephraaekiyngxuythxyklbipchwyeliywhwhlngruwaekhaechingcngchanthukocmti phlkkhuxekiyngxuylmehlwinkarsmthbkbcuxxuit inthisudcungtxngthxythphklbckkk karbukkhunehnuxkhrngthisi invduibimrwng kh s 249 hlngcakekiyngxuyidrbxayasiththicakelaesiynckrphrrdickkk ekiyngxuynathphckkkekhaocmtimnthlthixyuinxanaekhtkhxngwuykk aelaidrbkarsnbsnuncakchnephaekiyng ekiyngxuyihsrangpxmprakarsxngaehngthiekhakksn 麴山 ch wichan thangtawnxxkechiyngitkhxng mnthlkansuinpccubn kuyhwykhunphlwuykktxbotkarbukkhxngckkkdwykarmxbhmayihphuitbngkhbbychaidaek tanthay chicid aelaetngngayekhalxmpxmprakarthngsxngaehngaelatdesnthanglaeliyngesbiyng emuxekiyngxuynakxngkalngcakekhangiwethasn 牛頭山 hniwothwchan xyuthangtawntkkhxng nkhr mnthleschwninpccubn ephuxipesrimkalngthipxmprakarthngsxngaehng tanthaycungnathphwuykkekhaskdthang inewlaediywkntanthaykkhxkhwamchwyehluxcakkuyhwyihnakxngkalngkhamekhaocmtithankalngkhxngekiyngxuythiekhangiwethasn ekiyngxuyhwadklwcungthxnkalngthnghmdthxyaelathingpxmprakarthngsxngip samwnhlngcakkarlathxykhxngekiyngxuy ekiyngxuysngeliywhwnakxngkalngkhnadelkipebiyngebnkhwamsnickhxngetngngaythiipchuy 白水 pccubnkhux mnthleschwn rahwangthiekiyngxuythathphhlkekhaocmtiethaeching 洮城 xyuthangtawnxxkechiyngehnuxkhxngxaephxhmin mnthlkansuinpccubn etngngaymxngxubaykhxngekiyngxuyxxkcungsngkalngipthiethaechinginthnthi ekiyngxuyyudethaechingimsaercephraaetngngayidesrimkarpxngkniwaelw ekiyngxuycungnakalngthnghmdthxyklbckkk karbukkhunehnuxkhrngthiha inpi kh s 250 ekiyngxuynathphckkkocmtiemuxngesepng 西平郡 siphingc win pccubnxyubriewnnkhrsihning mnthlchingih ekiyngxuythxythphhlngcakyudemuxngesepngimsaerc bihuyimehndwykbthathikrahaysngkhramkhxngekiyngxuy ekiyngxuyechuxwatnkhunekhykbwthnthrrmkhxngchnephaekiyngaelachnephathiimichchawhnxun thangphakhtawntkkhxngcin aelamikhwamechuxmnxyangsunginthksakarepnphunathangkarthharkhxngtn ekiyngxuymkoxxwdxyubxykhrngwatnsamarthphichitdinaednthixyuitkarpkkhrxngkhxngwuykk inmnthlkansuinpccubn idxyangngaydayhaktnidrbkarsnbsnuncakchnephaekiyngaelachnephathiimichchawhnxun thixasyinbriewnnn aetbihuyimehndwykbthathikrahaysngkhramaelakarthasukthiaekhngkrawtxwuykkkhxngekiyngxuy cungphyayamthicakhwbkhumekiyngxuyodycakdcanwnkalngthharthiekiyngxuycanaekhayuththkarinaetlakhrngimekin 10 000 nay hncinchunchiw 漢晉春秋 bnthukwakhrnghnungbihuyphudkbekiyngxuywa eraimidekngkacxyangthanxkhrmhaesnabdi cukdehliyng thaaemaetthanxkhrmhaesnabdiyngimsamarththaihaephndinklbmasngbid aelwxairthithaihthankhidwaeracathaidhrux caepnkardikwahruximthicapkpxngrth pkkhrxngrasdrxyangdi ekharphaelakhumkhrxngmrdk aelasngtxipyngkhnrunhlng oprdhyudnukfnwathancaidchychnainbddl hakthanphladphlng esiyicipksayekinaek bihuythuklxbsnghar inwnthi 16 kumphaphnth kh s 253 bihuythuklxbsngharrahwangnganeliynginwnaerkkhxngethskalpiihm muxsngharkhuxkw siw 郭脩 epnphlemuxngkhxngwuykkthithukcbodyekiyngxuyrahwangyuththkar hlngcakkw siwyxmswamiphkditxckkkxyangimetmic kphyayamcalxbplngphrachnmelaesiynaetekhaiklphraxngkhimsaerc cungepliynepaehmayepnbihuyaelathaidsaerc karesiychiwitkhxngbihuythaihekiyngxuymixanacpkkhrxngkxngthphckkkidmakkhunaelathasngkhramkbwuykktxipkarbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyruppnkhxngekiyngxuyinsalcukdehliyngthinkhrechingtu ruppnsrangemuxpi kh s 1672karbukkhunehnuxkhrngthihk invdurxn kh s 253 ekiyngxuynakxngkalngckkkhlayhmunnaycakeskexng 石營 chuxxing xyuthangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn ekhalxmetkotesiy 狄道 tieta xyubriewn mnthlkansuinpccubn sumasuphusaercrachkarkhxngwuykkottxbkarbukkhxngckkkdwykarmxbhmayihkhunphlkuyhwyaelatanthaynathphwuykkmatngmninphumiphakhephuxocmtithphckkkaelaslaywnglxmthietkotesiy tanthayocmtithphckkkaetkphaythilwehmin 洛門 xyuin mnthlkansuinpccubn inthisudekiyngxuycungthxythphthnghmdklbipckkkemuxesbiyngxaharhmd karbukkhunehnuxkhrngthiecd invdurxn kh s 254 hlngrachsankckkkihxanacaekekiyngxuyinkarduaelkickarthangthharthngphayinaelaphaynxk ekiyngxuycungnathphckkkekhaocmtiemuxngthixyuinxanaekhtkhxngwuykkxikkhrng hli eciyn 李簡 khunnangkhxngwuykkthirksaetkotesiy 狄道 tieta xyubriewn mnthlkansuinpccubn yxmswamiphkditxekiyngxuy ekiyngxuycungruktxipekhaocmtixaephxsngbukwn 襄武縣 esiyngxuesiyn xyuthangtawnxxkechiyngitkhxng mnthlkansuinpccubn aelaekharbkbchicidkhunphlwuykk chicidphayaephaelathuksnghar aetthphckkkksuyesiykhunphletiywhngiipinkarrb thphckkkthiidchychnaekhayudsamxaephxkhuxetkotesiy ehxkwan 河關 inbriewniklekhiyngkbnkhr mnthlkansuinpccubn aela 臨洮 hlinetha aelakwadtxnrasdrphuxasyinsamxaephxihyaymaxyuphayinxanaekhtkhxngckkk karbukkhunehnuxkhrngthiaepd inpi kh s 255 ekiyngxuyykthphipthasukkbwuykkxikkhrngaemwaetiywexkkhunphlckkkcakhdkhanxyanghnk odyekiyngxuynaetiywexkipepnrxngaemthphdwy inkhnathithphihykhxngckkketriymekhaocmtietkotesiy 狄道 tieta xyubriewn mnthlkansuinpccubn ecamnthlkhxngwuykkkkhxkhwamchwyehluxcaktanthaykhunphlwuykk xxngekngphayaephybeyintxthphckkkthifngtawntkkhxng 洮水 ethachuy xxngekngaelakhnthiehluxcunglathxyipyngetkotesiyaelahlbphyxyuinpxmprakar ekiyngxuytxngkarchwyoxkasthikalngidepriybniekharuklxmetkotesiy etiywexkesnxihekiyngxuyhyudrudhnaephraaesiyngthicasuyesiythukxyangthiidmacnthungtxnni ekiyngxuyephikechytxkhakhxngetiywexkaelasngkxngthphihekhalxmetkotesiy inkhnaediywkn tanthay etngngay sumahu aelanaythharwuykkkhnxun idnakalngesrimipyngetkotesiyephuxchwyxxngekng tanthaynakalngipyngeninekhathangtawnxxkechiyngitkhxngetkotesiy aelacudifkhunphrxmkbtiklxngsukesiyngdngephuxthaihthphwuykkinetkotesiyruwakalngesrimkalngmathung epnphlthaihthphwuykkinetkotesiymikhwykalngicephimkhun inkhnathithphckkktxngprahladic inewlaediywkntanthayyngihaephrkhawluxwaphwktnwangaephncatdesnthangthxykhxngthphckkk ekiyngxuyidyinkhawluxdngnnkrusukklw dngnninwnthi 11 phvscikayn kh s 255 ekiyngxuycungthxnthphckkkthnghmdipyngcngthi 鐘堤 xyuthangitkhxngxaephxhlinetha mnthlkansuinpccubn karbukkhunehnuxkhrngthieka invduibimphli kh s 256 elaesiynckrphrrdickkkeluxnkhnihekiyngxuymitaaehnngmhakhunphlhruxitcngkun 大將軍 taeciyngc win invduibimrwng ekiyngxuynathphckkkcakcngthi 鐘堤 xyuthangitkhxngxaephxhlinetha mnthlkansuinpccubn ephuxcaekhayudekhakisan 祁山 chichan phunthiphuekhabriewn mnthlkansuinpccubn aetimsaerc ephraaetngngaykhunphlwuykkkhadkarnkarocmtikhxngthphckkkaelamacdwangkalngpxngknxyangaennhnaiwkxnaelw ekiyngxuycungekhaocmtietngngaythiekhabuesiyngsn 武城山 xuechingchan xyuin nkhr mnthlchansiinpccubn aetthuktiotcntxngthxyrn phayhlngekiyngxuynakxngkalngkham 渭河 ewyehx ephuxepidkarocmtiprasanthixaephxesiyngethng 上邽縣 changkuyesiyn xyuinnkhr mnthlkansuinpccubn phrxmkbxikkxngkalngkhxngckkkthinaody aetexaecykkalngipimthnkal ekiyngxuycungthuketngngayocmti kxngthphkhxngekiyngxuyidrbkhwamesiyhayxyangmak enuxngcakkarykthphbukkhunehnuxkhxngekiyngxuysngphlkrathbtxrasdraelathrphyakrkhxngckkkxyangmhasal phukhncungerimimphxicekiyngxuymakkhuneruxy ineruxngkhwamkrahaysngkhramkhxngekiyngxuy ephuxbrrethakhwamimphxickhxngrasdr ekiyngxuycungekhiyndikathungrachsankckkkephuxaesdngkhwamrbphidchxbxyangetmthicakkhwamlmehlwinkarykthphbukkhunehnuxkhrngthiekaaelathulkhxihldtaaehnngtnephuxepnkarlngoths elaesiynxnumtikhathulkhxkhxngekiyngxuy ldysekiyngxuyepnkhunphlthphhlng 後將軍 ohweciyngc win aetyngkhngihekiyngxuyepnrksakarmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win karbukkhunehnuxkhrngthisib inpi kh s 257 emuxcukdexiynkhunphlwuykkeriminchiwchun 壽春 ochwchun pccubnkhux mnthlxanhuy ekiyngxuytdsinicichpraoychncaksthankarnephuxthakarbukwuykkxikkhrng ekiyngxuynathphckkkekhaocmtikxngthharrksakarnkhxngwuykkiklkbetiyngesiy 長城 changeching hruxkaaephngemuxngcinsungmiesbiyngephiyngphxaetdxykarpxngkn kxngkalngwuykkthipracakarxyuthinnerimtuntrahnkemuxidyinwathphckkkykmaikl khunphlwuykkaelaetngngaynakxngkalngaeykipyngetiyngesiyephuxpxngknkarbukkhxngckkk ekiyngxuycungthxyipynghmangchuy 芒水 thangtawnxxkechiyngitkhxng mnthlchansiinpccubn aelatngkhaykhunodyhnhlngxingphuekha emuxthphwuykkykkalngmalxm ekiyngxuyphyayamthaihthphwuykkekhaocmtikhaykhxngtn aetsumapxngaelaetngngaysngkalngphlihephikechytxkhasukaelangdkarocmti inpi kh s 258 hlngcakekiyngxuyidrbkhawwathphwuykkprabkbtcukdexiynidsaerc ekiyngxuycungnakalngthxyklbipesngotnkhrhlwngkhxngckkk elaesiynckrphrrdickkkihekiyngxuykhunklbsutaaehnngmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win inchwngewlann hlngcakthiphanyuththkarkbwuykkmahlaypi phukhninckkkkebuxhnaykbkarxdthntxkhaichcayaelaphlkrathbkhxngsngkhramthimakkhun eciywciwkhunnangckkkkekhiyn ochwkwlun 仇國論 wicarneruxngrthxri nganekhiynesiydsithiwiphakywicarneruxngkhwamkrahaysngkhramkhxngekiyngxuy karbukkhunehnuxkhrngthisibexd invduhnaw kh s 262 ekiyngxuynathphckkkekhayudxaephxetiyweciyng 洮陽縣 ethahyangesiyn xyuin mnthlkansuinpccubn aelaocmtithphwuykkthinaodyetngngaythixaephxohwehx 侯和縣 ohwehxesiyn aetphayaephinyuththkar ekiyngxuythxythphipyngthacng 沓中 xyuthangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn aelatngkxngkalngrksakarnxyuthinn huyohkhunmamixanac ekiyngxuyrudiwaphumihlngkhxngtninthanaphuaeprphktrcakwuykkthaihtxngphisucnkhwamphkdithimitxckkk cungkratuxruxrnthicaidrbekiyrtiyscakkarthasuk aetaemekiyngxuycaidnathphinkarrbkbwuykk 11 khrng aetkimprasbphlsaercthisakhyid inrahwangthiekiyngxuyxyuhangxxkipinaenwhna huyohkhnthiinphrarachwngsungckrphrrdielaesiynthrngoprdidkhxy khunmamixanacinrachsankckkkaelakhrxbngabthbathsakhythangkaremuxng huyohsnithiklchidkbengiymxu 閻宇 ehyiyn y hwi khunphlckkk aelaehnwaekhyaethnthiekiyngxuydwyengiymxuintaaehnngmhakhunphl ekiyngxuysngsymananaelwwahuyohmithathitxtantn ekiyngxuycungyngkhngxyuthithacng 沓中 xyuthangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansuinpccubn aelaimklbipthiesngothlngkarykthphbukehnuxkhrngthisibexd bnthukwaekiyngxuyekliydhuyohineruxngkarekhakumxanac khrnghnungekiyngxuythulaenanaelaesiynihpraharchiwithuyohesiy aetelaesiynptiesthaelatrswa huyohepnephiyngkharbichthithathuraihera inxditerarusukrakhaykhwamekliydchnglalukkhxngtngxunthimitxhuyoh ehtuidthantxngexaeruxngnimaepneruxngkhxngtnexngdwyela inimchaekiyngxuycungtrahnkidwatnthaphladthithulaenanaelaesiynihpraharchiwithuyoh ephraahuyohmixiththiphlxyangmakinrachsankckkk ekiyngxuycunghakhxxangcakipxyangrwderw phayhlngelaesiyncungbxkhuyohihipphbekiyngxuyephuxkhxkhma ekiyngxuysamarthonmnawhuyohihplxytnihkhngxyuthithacngephuxduaelkarphlitthangkarekstr aetectnathiaethcringkhxngekiyngxuykhuxephuxhlikeliyngkartxsuaeyngchingxanackbhuyohinesngotkarlmslaykhxngckkkkarthuletuxninchwngtnkhxngekiyngxuy inpi kh s 263 ekiyngxuyekhiyndikathungelaesiynthulwa krahmxmidyinwacngohykalngradmphlin duehmuxnwakalngetriymkarbukera krahmxmehnwakhwrsngetiywexkaelaeliywhwihnathphkhxngeraiprksadanaehebngkwnaelasaphanximepngekiywephuxepnkarpxngkniwkxn huyohechuxkhathanaykhxnghmxduwawuykkcaimbukckkk cungthulaenanaelaesiynihephikechytxdikakhxngekiyngxuy aelaimykeruxngniipxphiprayinrachsank cakthacngmaximepng raweduxnsinghakhmhruxknyayn kh s 263sumaeciywphusaercrachkaraehngwuykkmxbhmayihcngohy etngngay aelacukdsunathphwuykkbukckkkcaksamthisthang emuxcngohyykmathunghubekhalwku 駱谷 xyuthangtawntkechiyngitkhxng mnthlchansiinpccubn aelaetngngayocmtithacng 沓中 thangtawntkechiyngehnuxkhxng mnthlkansu rachsankckkkcungiheliywhwnakalngesrimipsnbsnunekiyngxuythithacng inewlaediywknihetiywexk tngkhwd aelanaythharckkkkhnxun nakxngkalngiprksadanaehebngkwn 陽安關 hyangxankwan xyuin mnthlchansiinpccubn aelachwyehluxkxngkalngkhxngckkkrxbnxk emuxkalngesrimkhxngckkkipthungximepng 陰平 xinphing pccubnkhux mnthlkansu kidyinwacukdsukalngocmtieciynewy 建威 xyuthangtawnxxkechiyngkhxng nkhr mnthlkansuinpccubn cunghyudphlxyuthiximepng hlngcaknnpramanhnungeduxn etngngayexachnaekiyngxuyaelayudthacngid ekiyngxuycunglathxyipyngximepng inewlaediywkn cngohyekhapidlxmxaephxhnesiy 漢城 hneching pccubnkhux mnthlchansi aelakkesiy 樂城 elxeching pccubnkhux mnthlchansi aelasngphuitbngkhbbychaipocmtidanaehebngkwn eciywsi 蔣舒 eciyng chu naythharckkkepidpratudanaelayxmcanntxthphwuykk swnpxechiymnaythharckkkxikkhnesiychiwitkhnaphyayampxngkndan hlngcngohyyudxaephxkkesiyimsaerccungplxyxaephxkkesiyipaelaekhluxnthphipyngdanaehebngkwnhlngthrabkhawwaphuitbngkhbbychayuddanaehebngkwnidaelw pxngknekiymoka emuxetiywexkaelatngkhwdipthungxaephxesiywes 漢壽縣 hnochwesiyn xyuthangtawnxxkechiyngehnuxkhxng mnthleschwninpccubn ekiyngxuyaelaeliywhwcungtdsinicthingthimnthiximepngaelaipsmthbkbetiywexkaelatngkhwdthidan 劍閣 eciynekx xnepndanphuekhaephuxtanthankarocmtikhxngcngohy khrnghnungcngohyekhiyncdhmaythungekiyngxuywa thanmithksathngdankarphleruxnaelakarthhar mikhwamechiybaehlmdanklwithi aelaekiyrtikhunkhxngthanepnthieluxngluxipthwphumiphakhpa ckaelaswnthiehluxinaephndin phukhnthngthngiklikltangniymchmchxbthan thukkhrngthikhaphecathbthwnthungeruxngrawinprawtisastr khwngwaeracaidrwmrbichrachwngsediywkn khwamsmphnthkhxngerakepriybehmuxnmitrphaphrahwang 子札 aela 子產 ekiyngxuyimidekhiyncdhmaytxbcngohy aelwsngihthharkhunesrimkarpxngknthidanekiymoka hlngcngohyfadanimsaercaelaesbiyngxaharehluxnxy cungkhidcathxnkalnglathxy ckkkyxmcann inkhnaediywkn etngngaynakxngkalngichesnthangldcakximepngphanphumipraethsphuekhaaelaipophlthi 綿竹 ehmiyncu aelaexachnakxngkalngpxngknkhxngfayckkkthinaodycukdeciym hlngetngnganyudidkimkkkrudhnaekhaiklnkhresngot rachthanikhxngckkk inplayeduxnphvscikaynhruxthnwakhm kh s 263 elaesiyntdsinphrathyyxmcanntxetngngay naipsukarsinsudkhxngrthckkk khnaemuxekiyngxuyephingidkhawwakimkkthuktiaetk kyngidrbkhawsarthisbsnpnepekiywkbsthankarninnkhresngot bangkwaelaesiyntxngkarxyupxngknemuxng bangkxangwaelaesiynkalngcathingesngothnilngitipyngemuxngekiymehlng 建寧郡 eciynhningc win khrxbkhlumphunthikhxngmnthlyunnanaelamnthlkuyocwinpccubn ekiyngxuycungetriymcathingdanekiymokaephuxnakalngipyngxaephxchi 郪縣 chiesiyn pccubnkhux mnthleschwn sungxyuiklnkhresngotephuxtrwcsxbkhxethccring imnanhlngcaknn ekiyngxuyaelathharkidrbkhasngcaknkhresngotihwangxawuthaelayxmcanntxcngohythixaephxopyesiy 涪縣 fuesiyn pccubnkhuxnkhr mnthleschwn thharckkkhlaykhnrusuktkicaelaokrthmakthiruwackrphrrdielaesiynyxmcann phwkekhachkkrabifnkbhinephuxrabaykhwamkhbkhxngic inthisudemuxcngohyphbkbekiyngxuy cngohythamwa ehtuidthanthungmacha ekiyngxuytxbdwysihnacringcngaetminataihlxabaekmwa karphbknkhxngerawnnitanghakthimaerwekinip cngohyprathbickbkhatxbkhxngekiyngxuyxyangmakphyayamkxbkuckkkyuyngcngohyihkxkbttxwuykk cngohyptibtitxekiyngxuyxyangdiaelakhunaelaekhruxngrachxisriyaphrnxun ihkbekiyngxuy thngkhunngbnrthmakhnediywknaelanngrbprathanxaharrwmotakn cngohyyngphudkbhwhnaelkhanukaretaxiwa khnthimichuxesiyngcakthirabphakhklangxyangkngsiw 公休 aelaithchu 泰初 imxacethiybidkbpwey w ekiyngxuyrusukidwacngohymikhwamkhidcakxkbttxwuykk cungphyayayamichoxkasniinkarkxkarkaeribaelafunfuckkk ekiyngxuybxkkbcngohywa khaphecaidyinwathanmikhwamlaexiydrxbkhxbxyangmakinkarwangaephntngaetthanmiswnrwmin 淮南 h wayhnan thanimekhykhadkarnphidphladmakxn epndwykhwamchwyehluxkhxngthan sumaeciywcungidepncinkng 晉公 aelaidxanackhwbkhumrachsankwuy bdnithanphichitckid chuxesiyngkhxngthankeluxngluxipthwaephndin phukhntangsrresriythan sumaeciywcaimrusukwitkwaekiyrtikhunkhxngthancaoddednkwaekhahrxkhrux thanyindicaxyuxyangsnodsiptlxdchiwitthiehluxephuxhlikeliyngkarnaphyphibtimasutwthanhruxim inxdit hnsin 韓信 han sin imidthrystxrachwngshnaetckrphrrdikyngsngsyinkhwamphkdi 文種 ehwin cng imisickhaaenanakhxnghwmel 范蠡 fan hli thiihlaxxk cungcblngdwykarthukbngkhbihkhatwtay phwkekhaepnphupkkhrxngthihwxxnkbkhunnangthiongekhlahruxepla kimich phwkekhathukbngkhbihtxngthaephraaxanackaremuxng bdnithanthakhwamchxbkhrngihyaelaidrbekiyrtikhuntlxdkalipaelw ehtuidthancungimtamrxyhwmel laxxkephuxrksachiwitiwela thansamaarthpinkhunyxdekhangupisn 峨嵋山 exxehmychan hruximkthxngethiywipthwaephndinaebbchuxsngcux 赤松子 cngohytxbwa thithanphudmaepneruxnghangiklekinnk khaphecaimxacthaid nxkcakniemuxphicarnasthankarntxnniaelwkimcaepntxngthaechnnn ekiyngxuycungphudwa khaphecaephiyngaetesnxthangeluxklaxxkihthan khaphecaehnwadwystipyyakhxngthanaelw thansamarthkhidhathangeluxkxunaeladaeninkarid thanimcaepntxngihkhnchraechnkhaphecaphudeyineyxhrxk ekiyngxuyaelacngohyyiingsnithknmakkhunhlngcaknn esiychiwit caknncngohycungisrayetngngaykhunphlwuykkdwykninkhxhawangaephnkxkbtaelacbkumetngngaysngklbiplkexiyngrachthanikhxngwuykkinthanankoths emuxetngngayipaelw cngohycungekhayudnkhresngotaelaxanaekhtkhxngckkkedim ineduxnminakhm kh s 264 cngohyerimkxkbttxtansumaeciywphusaercrachkarkhxngwuykk aelaprakastnepnecamnthlexkciw 益州牧 xiocwmu cngohytxngkarmxbhmayihekiyngxuybychakarkxngkalng 50 000 nayaelaihnathphhnaekhaocmtinkhrlkexiyng aetemuxewlapramanethiyngkhxngwnthi 3 minakhm kh s 264 naythharkhxngwuykkbangkhnthiimetmiccaekharwmkarkxkbtkhxngcngohyiderimkxkarkaeribtxtancngohy ewlannekiyngxuykalngrwbrwmchudekraaaelaxawuthcakcngohy khnannphwkekhakidyinesiyngohrxngaelaidrbkhawwaekidephlingihm txmaimnankmiraynganwathharcanwnmakmarwmtwthihnapratuemuxng cngohyprahladiccungthamekiyngxuywa khnphwknnkxpyhakhunaelw erakhwrthaxyangirdi ekiyngxuytxbwa khaphwkekhasa cngohycungsngthharihipsngharnaythharthiptiesththicaekhakarkxkbt imnanhlngcaknnmiraynganwaphukhnichbnidpinkhunkaaephngemuxngaelacudifephabaneruxn khwamoklahlekidkhunaelamilukekathnthyingwxnthukthisthang naythharthikxkarkaeribidrwmklumkbphuthiekharwmihmaelaekhaocmticngohyaelaekiyngxuy cngohyaelaekiyngxuytxsukbthharthikxkarkaeribaelasngharidpramanhahruxhkkhn aetinthisudthngcngohyaelaekiyngxuykthuklxmaelathuksnghar thharyngsngharphrryaaelabutrkhxngekiyngxuydwychux y hwi 世語 bnthukwathharsngharekiyngxuyaelapharangkhxngekiyngxuyxxk kehnthungnadikhxngekiyngxuymikhnadihyhnungotw 斗 bnthukcakphngsawdarh wahyang bnthukwaekiyngxuyephiyngaesrngthaepnrwmmuxkbcngohy intxnaerkekiyngxuyyuyngcngohyihpraharchiwitnaythharkhxngwuykkthiimetmicekharwmkarkxkbt caknnekiyngxuycungkcahaoxkasephuxlxbsngharcngohyaelwnaphlemuxngckkksngharthharwuykkthnghmdephuxfunfuckkk ekiyngxuyyngidekhiynhnngsuxlbthulelaesiynwa khaphraphuththecahwngwafabathcathrngxdthntxkhwamxpysidchwkhrawinimkiwnkhanghna khaphraphuththecakalngwangaephncaphliksthankarnaelafunfurthkhxngeraechkechndwngxathityaeladwngcnthrthiepliynkhwammudihepnkhwamswang khrxbkhrwaelathayathbidakhxngekiyngxuychuxeciyng c yng 姜冏 rbrachkarthharinemuxngaelaesiychiwitrahwangkarprabkbtchnephaekiyngaelachnephathiimichchawhnxun aemwachiwprawtikhxngekiyngxuyincdhmayehtusamkk sankwcux bnthukwaekiyngxuykhadkartidtxkbmardahlngcakaeprphktripekharwmdwyckkk swnincaci 雜記 bnthukwaphayhlngekiyngxuyidrbcdhmaycakmardathikhxihekiyngxuyklbipban ekiyngxuycungekhiyncdhmaytxbipwa thidinhnunghmu 畝 hnwyphunthi imxacethiybidkbthinathixudmsmburnrxyching 頃 hnwyphunthi emuxkhwamthaeyxthayankhxngphuidxyuhangiklxxkip khnphunnkcaimtxngkarcaklbipban chux tathngchuxsiweliychansuxey wethiynchuyc wineciyngsingkuphucngchuxsi 大唐敕修烈山四岳天水郡姜姓古譜總世系 cakyukhrachwngsthng bnthukwaphrryakhxngekiyngxuykhuxstriaeshliw 柳氏 hliwchux khunphlrachwngsthng 姜寶誼 aela 姜恪 epnphusubechuxsaykhxngekiyngxuytamthirabuinthaeniybphngsawlikhxngxkhrmhaesnabdiinkhawicarnswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidinniyaysamkkruppnekiyngxuyinsalxuohw thungrabxucang ekiyngxuyepntwlakhrsakhyinenuxeruxngchwnghlngkhxngnwniyayxingprawtisastreruxngsamkkinstwrrsthi 14 sungelaeruxngehtukarnaelabukhkhlinprawtisastryukhrachwngshntawnxxkaelayukhsamkkkhxngcin innwniyay ekiyngxuymithanaepnphusubthxdpharkickhxngcukdehliynginkarepnphunakhxngthphckkkinkarrbkbwuykk odymicudprasngkhephuxfunfurachwngshntawnxxkthilmslayip ekiyngxuypraktkhrngaerkintxnthi 92 aelatxnthi 93 inthananaythharthirbrachkarinemuxnginchwngthicukdehliyngykthphbukehnuxkhrngaerk emuxcukdehliyngphyayamcalwngmacunecaemuxngethiynsuyihnakxngkalngxxkcakemuxngethiynsuyipchwyaehhwhlimkhunphlwuykkthiemuxnglaxn ekiyngxuymxngxubaykhxngcukdehliyngxxkcungaenanamacunihkhngxyuinemuxngethiynsuyaelawangaephndkkhasuk emuxetiywculngkhunphlckkkprakttwkhunhwngcayudemuxngethiynsuyktkxyuinkllwngkhxngekiyngxuyaelaidrbtwtxtwkbekiyngxuyepnewlasn kxnthikxngkalngesrimkhxngckkkcamathungaelachwyetiywculngiwid etiywculngbxkcukdehliyngwarusukprahladicthiemuxngethiynsuymiphumakkhwamsamarthxyangekiyngxuy emuxekiyngxuytiotkarocmtikhxngckkkidxikkhrng cukdehliyngkyingprathbicaelatxngkarcaihekiyngxuymaekharwmdwyckkk cukdehliyngcunglwngmacunihekhaicwaekiyngxuyaeprphktripekhadwyckkkaelwephuxpxngknimihekiyngxuyklbipwuykkid caknnwangkldkcbekiyngxuy emuxekiyngxuycnmumkphyayamcakhatwtay aetcukdehliynghamiwaelaekliyklxmihekiyngxuyyxmswamiphkdiekhadwykbckkkidsaerc ekiyngxuytidtamcukdehliynginkarykthphbukkhunehnuxinkhrngthd ma intxnthi 107 thungtxnthi 115 idelathungkarbukkhunehnuxkhxngekiyngxuyaelaeriykwaepn karthphbukthirabphakhklangekakhrng inkhnathitamkhxethccringthangprawtisastr karthphmithnghmd 11 khrngaethnthicaepn 9 khrng intxnthi 119 ekiyngxuyyuyngcngohyihkxkbttxwuykk aetkarkxkbtimsaercephraanaythharkhxngwuykkbangkhnerimkxkarkaeribtxcngohy emuxekiyngxuythukkhasuktxncnmum ekiyngxuykthxnhayicphudwa epnlikhitfaodyaeththiaephnkarkhxngkhaimsaerc caknncungechuxdkhxkhatwtay bthkwicaknwniyaythiaetngihepnekiyrtiaekekiyngxuymikhwamwa 天水誇英俊 涼州產異才 namasungwirchn eliyngciwihkaenidphumakkhwamsamarth 系從尚父出 術奉武侯來 subechuxsaycakchangfu subthksacakxuohw 大膽應無懼 雄心誓不回 klahayimhwnekrng citicmnkhngesiysla 成都身死日 漢將有餘哀 wnthisinchiphinesngot khunphlhnyngxadurinwthnthrrmprachaniymekiyngxuypraktinthanatwlakhrthielnidinsiriswidioxekmidnastiwxriexxraelawxriexxroxorcithiphlitodybristh inekmekiyngxuymibthbathepnnkrbhnumphuxuthistnihcukdehliyngphuepnxacaryxyangsudic ekiyngxuyyngpraktinsiriswidioxkhxngokhexethkhomxnusrnphiphithphnthxnusrnekiyngxuy 姜維紀念館 eciyng ehwycinlangkwan srangkhuninpi kh s 1999 iklkbbanekidkhxngekiyngxuythangtawnxxkkhxng nkhr mnthlkansu phiphithphnthkhrxbkhlumphunthi 360 tarangemtr srangodyradmthuncakkhnthxngthin singcdaesdnghlkinphiphithphnthidaek ruppnsungsiemtrkhxngekiyngxuyinothngihy aelasilacarukthicarukkhawa banekidkhxngekiyngxuy epnxksrwicitrthiekhiynodynayphl 楊成武 平襄楼 phingesiyngohlw in mnthleschwninpccubn epnxakharsung 24 emtrthisrangkhunephuxxuthisihkbekiyngxuy chuxkhxnghxkhxymithimacakbrrdaskdikhxngekiyngxuykhuxphingesiyngohw 平襄侯 hxkhxysrangkhuninyukhrachwngssng idrbkarburnainpi kh s 1445 inyukhrachwngshming aelaidrbkarkahndihepnsthanthisakhythangprawtisastraelawthnthrrmthiidrbkarkhumkhrxnginradbchatiodykhxngpraethscininpi kh s 2006 miobransthancanwnhnungthiekiywkhxngkbekiyngxuythiin mnthleschwninpccubn idaek bxnaekiyngxuy 姜維井 eciyng ehwycing thaekiyngxuy 姜維洞 eciyng ehwytng pxmekiyngxuy 姜維城 eciyng ehwyeching salekiyngxuy 姜維廟 eciyng ehwyemiyw saphanthanekiyng 姜公橋 eciyngkngechiyw khlngxawuthekiyngxuy 姜維軍械 eciyng ehwyc winesiy aelasusanekiyngxuy 姜維墓 eciyng ehwymu kwiechn 陸游 cw mu 左牧 李調元 aela 莊學和 ekhyekhiynbthkwithidaneciynehminephuxsrresriyekiyngxuyduephimraychuxbukhkhlinyukhsamkkhmayehtuchiwprawtiekiyngxuyincdhmayehtusamkkbnthukwaekiyngxuymixayu 27 pi tam khnaemuxaeprphktrcakwuykkipekhadwyckkkinpi kh s 228 chiwprawticngohyincdhmayehtusamkkbnthukwathngcngohyaelaekiyngxuyesiychiwitinwnthi 18 eduxn 1 skrachcing y ehwiynpithi 5 inrchsmykhxngochwn wnthinitrngkbwnthi 3 minakhm kh s 264 inptithinkriokeriyn emuxkhanwnaelwpithiekiyngxuyekidkhwrepnpi kh s 202 aelamixayu 62 pikhnaesiychiwitinpi kh s 264 cdhmayehtusamkkbnthukwaeliyngsi xinechiyng aelaeliyngekhiynaeprphktrekhadwyckkkphrxmkbekiyngxuy phayhlngidrbrachkarepnkhunnangtaaehnngsunginrachsankckkk eliyngsiidepnesnabdiptikhm 大鴻臚 tahnghlu xinsngidepnecakrmnkhrbal 執金吾 cuxcinxu eliyngekhiynidepncangwangwngckrphrrdini 大長秋 tachangchiw thngsamesiychiwitkxnkarlmslaykhxngckkkinpi kh s 263 chuxrxngkhxngcukdexiyn chuxrxngkhxngaehehaehiyn chuxrxngkhxngekiyngxuy duraylaexiydephimetiminetngngay bthbathkhxngcngohyinkarcbkumetngngayaelacngohy karcbkumetngngay trngkbsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 71 trngkbsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 80 thungtxnthi 85 trngkbsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 86 hmaythungeciyng cuxhya hmaythungcukdehliyngxangxing 亮辟維為倉曹掾 加奉義將軍 封當陽亭侯 時年二十七 cdhmayehtusamkk elmthi 44 景元五年正月 十八日日中 姜維率會左右戰 手殺五六人 衆旣格斬維 爭赴殺會 會時年四十 將士死者數百人 cdhmayehtusamkk elmthi 28 de Crespigny 2007 p 378 姜維字伯約 天水兾人也 cdhmayehtusamkk elmthi 44 以父冏昔為郡功曹 值羌 戎叛亂 身衞郡將 沒於戰場 賜維官中郎 參本郡軍事 cdhmayehtusamkk elmthi 44 少孤 與母居 好鄭氏學 cdhmayehtusamkk elmthi 44 傅子曰 維為人好立功名 陰養死士 不脩布衣之業 xrrthathibaycakfucuxincdhmayehtusamkk elmthi 44 仕郡上計掾 州辟為從事 cdhmayehtusamkk elmthi 44 Sima 1084 vol 71 harv error no target CITEREFSima1084 維昔所俱至蜀 梁緒官至大鴻臚 尹賞執金吾 梁虔大長秋 皆先蜀亡歿 cdhmayehtusamkk elmthi 44 建興六年 丞相諸葛亮軍向祁山 時天水太守適出案行 維及功曹梁緒 主簿尹賞 主記梁虔等從行 太守聞蜀軍垂至 而諸縣響應 疑維等皆有異心 於是夜亡保上邽 cdhmayehtusamkk elmthi 44 維等覺太守去 追遲 至城門 城門已閉 不納 維等相率還兾 兾亦不入維 維等乃俱詣諸葛亮 cdhmayehtusamkk elmthi 44 魏略曰 天水太守馬遵將維及諸官屬隨雍州刺史郭淮偶自西至洛門案行 會聞亮已到祁山 淮顧遵曰 是欲不善 遂驅東還上邽 遵念所治兾縣界在西偏 又恐吏民樂亂 遂亦隨淮去 xrrthathibaycakewyel wincdhmayehtusamkk elmthi 44 時維謂遵曰 明府當還兾 遵謂維等曰 卿諸人 回 復信 皆賊也 各自行 維亦無如遵何 而家在兾 遂與郡吏上官子脩等還兾 xrrthathibaycakewyel wincdhmayehtusamkk elmthi 44 兾中吏民見維等大喜 便推令見亮 二人不獲已 乃共詣亮 亮見 大恱 未及遣迎兾中人 會亮前鋒為張郃 費繇等所破 遂將維等却縮 維不得還 遂入蜀 諸軍攻兾 皆得維母妻子 亦以維本無去意 故不沒其家 但繫保官以延之 xrrthathibaycakewyel wincdhmayehtusamkk elmthi 44 後遷中監軍征西將軍 cdhmayehtusamkk elmthi 44 Sima 1084 vol 34 harv error no target CITEREFSima1084 建興 十二年 亮卒 維還成都 為右監軍輔漢將軍 統諸軍 進封平襄侯 cdhmayehtusamkk elmthi 44 延熈元年 隨大將軍蔣琬住漢中 琬旣遷大司馬 以維為司馬 數率偏軍西入 cdhmayehtusamkk elmthi 44 正始元年 蜀將羌維出隴西 淮遂進軍 追至彊中 維退 遂討羌迷當等 案撫柔氐三千餘落 拔徙以實關中 cdhmayehtusamkk elmthi 26 延熈 六年 遷鎮西大將軍 領涼州刺史 cdhmayehtusamkk elmthi 44 延熙九年 冬十一月 大司馬蔣琬卒 cdhmayehtusamkk elmthi 33 延熈 十年 遷衞將軍 與大將軍費禕共錄尚書事 cdhmayehtusamkk elmthi 44 是歲 汶山平康夷反 維率衆討定之 cdhmayehtusamkk elmthi 44 八年 隴西 南安 金城 西平諸羌餓何 燒戈 伐同 蛾遮塞等相結叛亂 攻圍城邑 南招蜀兵 涼州名胡治無戴復叛應之 cdhmayehtusamkk elmthi 26 Sima 1084 vol 75 harv error no target CITEREFSima1084 討蜀護軍夏侯霸督諸軍屯為翅 淮軍始到狄道 議者僉謂宜先討定枹罕 內平惡羌 外折賊謀 淮策維必來攻霸 遂入渢中 轉南迎霸 維果攻為翅 會淮軍適至 維遁退 進討叛羌 斬餓何 燒戈 降服者萬餘落 cdhmayehtusamkk elmthi 26 又出隴西 南安 金城界 與魏大將軍郭淮 夏侯霸等戰於洮西 胡王治無戴等舉部落降 維將還安處之 cdhmayehtusamkk elmthi 44 正始 九年 郭 淮進軍趨西海 欲掩取其累重 會 治 無戴折還 與戰於龍夷之北 破走之 cdhmayehtusamkk elmthi 26 姜維出石營 從彊川 乃西迎治無戴 留陰平太守廖化於成重山築城 斂破羌保質 cdhmayehtusamkk elmthi 26 淮曰 今往取化 出賊不意 維必狼顧 比維自致 足以定化 且使維疲於奔命 兵不遠西 而胡交自離 此一舉而兩全之策也 乃別遣夏侯霸等追維於沓中 淮自率諸軍就攻化等 維果馳還救化 皆如淮計 cdhmayehtusamkk elmthi 26 延熈 十二年 假維節 cdhmayehtusamkk elmthi 44 淮從泰計 使泰率討蜀護軍徐質 南安太守鄧艾等進兵圍之 斷其運道及城外流水 安等挑戰 不許 將士困窘 分糧聚雪以稽日月 維果來救 出自牛頭山 與泰相對 勑諸軍各堅壘勿與戰 遣使白淮 欲自南渡白水 循水而東 使淮趣牛頭 截其還路 可并取維 不惟安等而已 淮善其策 進率諸軍軍洮水 維懼 遁走 安等孤縣 遂皆降 cdhmayehtusamkk elmthi 22 於是留艾屯白水北 三日 維遣廖化自白水南向艾結營 艾謂諸將曰 維今卒還 吾軍人少 法當來渡而不作橋 此維使化持吾 令不得還 維必自東襲取洮城 洮城在水北 去艾屯六十里 艾即夜潛軍徑到 維果來渡 而艾先至據城 得以不敗 cdhmayehtusamkk elmthi 28 延熙 十三年 姜維復出西平 不克而還 cdhmayehtusamkk elmthi 33 維自以練西方風俗 兼負其才武 欲誘諸羌 胡以為羽翼 謂自隴以西可斷而有也 cdhmayehtusamkk elmthi 44 每欲興軍大舉 費禕常裁制不從 與其兵不過萬人 cdhmayehtusamkk elmthi 44 漢晉春秋曰 費禕謂維曰 吾等不如丞相亦已遠矣 丞相猶不能定中夏 況吾等乎 且不如保國治民 敬守社稷 如其功業 以俟能者 無以為希兾徼倖而決成敗於一舉 若不如志 悔之無及 xrrthathibaycakhncinchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 44 延熙 十六年歲首大會 魏降人郭循在坐 禕歡飲沈醉 為循手刃所害 謚曰敬侯 cdhmayehtusamkk elmthi 44 魏氏春秋曰 脩字孝先 素有業行 著名西州 姜維劫之 脩不為屈 劉禪以為左將軍 脩欲刺禪而不得親近 每因慶賀 且拜且前 為禪左右所遏 事輙不克 故殺禕焉 xrrthathibaycakewychuxchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 4 Sima 1084 vol 76 harv error no target CITEREFSima1084 延熙十六年 夏 維率將數萬人出石營 經董亭 圍南安 魏雍州刺史陳泰解圍至洛門 維糧盡退還 cdhmayehtusamkk elmthi 44 十七年 夏六月 維復率衆出隴西 冬 拔狄道 河間 臨洮三縣民 居于緜竹 繁縣 cdhmayehtusamkk elmthi 33 明年 加督中外軍事 復出隴西 守狄道長李簡舉城降 進圍襄武 與魏將徐質交鋒 斬首破敵 魏軍敗退 維乘勝多所降下 拔河間 狄道 臨洮三縣民還 cdhmayehtusamkk elmthi 44 後 延熙 十八年 復與車騎將軍夏侯霸等俱出狄道 cdhmayehtusamkk elmthi 44 大破魏雍州刺史王經於洮西 經衆死者數萬人 經退保狄道城 維圍之 cdhmayehtusamkk elmthi 44 魏征西將軍陳泰進兵解圍 維却住鍾題 cdhmayehtusamkk elmthi 44 延熙 十九年春 就遷維為大將軍 cdhmayehtusamkk elmthi 44 更整勒戎馬 與鎮西大將軍胡濟期會上邽 濟失誓不至 故維為魏大將鄧艾所破於段谷 星散流離 死者甚衆 cdhmayehtusamkk elmthi 44 Sima 1084 vol 77 harv error no target CITEREFSima1084 衆庶由是怨讟 而隴已西亦騷動不寧 維謝過引負 求自貶削 為後將軍 行大將軍事 cdhmayehtusamkk elmthi 44 延熙 二十年 魏征東大將軍諸葛誕反於淮南 分關中兵東下 維欲乘虛向秦川 復率數萬人出駱谷 徑至沈嶺 時長城積穀甚多而守兵乃少 聞維方到 衆皆惶懼 cdhmayehtusamkk elmthi 44 魏大將軍司馬望拒之 鄧艾亦自隴右 皆軍于長城 維前住芒水 皆倚山為營 望 艾傍渭堅圍 維數下挑戰 望 艾不應 cdhmayehtusamkk elmthi 44 景耀元年 維聞誕破敗 乃還成都 cdhmayehtusamkk elmthi 44 景耀 五年春正月 是歲 姜維復率衆出侯和 為鄧艾所破 還住沓中 cdhmayehtusamkk elmthi 33 景耀 五年 維率衆出漢 侯和 為鄧艾所破 還住沓中 cdhmayehtusamkk elmthi 44 Sima 1084 vol 78 harv error no target CITEREFSima1084 維本羈旅託國 累年攻戰 功績不立 而宦臣黃皓等弄權於內 右大將軍閻宇與皓恊比 而皓陰欲廢維樹宇 cdhmayehtusamkk elmthi 44 維亦疑之 故自危懼 不復還成都 cdhmayehtusamkk elmthi 44 華陽國志曰 維惡黃皓恣擅 啟後主欲殺之 後主曰 皓趨走小臣耳 往董允切齒 吾常恨之 君何足介意 維見皓枝附葉連 懼於失言 遜辭而出 後主勑皓詣維陳謝 維說皓求沓中種麥 以避內逼爾 xrrthathibaycakphngsawdarh wahyangincdhmayehtusamkk elmthi 44 景耀 六年 維表後主 聞鍾會治兵關中 欲規進取 宜並遣張翼 廖化督諸軍分護陽安關口 陰平橋頭以防未然 cdhmayehtusamkk elmthi 44 皓徵信鬼巫 謂敵終不自致 啟後主寢其事 而羣臣不知 cdhmayehtusamkk elmthi 44 及鍾會將向駱谷 鄧艾將入沓中 然後乃遣右車騎廖化詣沓中為維援 左車騎張翼 輔國大將軍董厥等詣陽安關口以為諸圍外助 cdhmayehtusamkk elmthi 44 比至陰平 聞魏將諸葛緒向建威 故住待之 cdhmayehtusamkk elmthi 44 月餘 維為鄧艾所摧 還住陰平 cdhmayehtusamkk elmthi 44 鍾會攻圍漢 樂二城 遣別將進攻關口 蔣舒開城出降 傅僉格鬬而死 會攻樂城 不能克 聞關口已下 長驅而前 cdhmayehtusamkk elmthi 44 翼 厥甫至漢壽 維 化亦舍陰平而退 適與翼 厥合 皆退保劒閣以拒會 cdhmayehtusamkk elmthi 44 會與維書曰 公侯以文武之德 懷邁世之略 功濟巴 漢 聲暢華夏 遠近莫不歸名 每惟疇昔 甞同大化 吳札 鄭喬 能喻斯好 cdhmayehtusamkk elmthi 44 維不荅書 列營守險 會不能克 糧運縣遠 將議還歸 cdhmayehtusamkk elmthi 44 而鄧艾自陰平由景谷道傍入 遂破諸葛瞻於緜竹 後主請降於艾 艾前據成都 cdhmayehtusamkk elmthi 44 維等初聞瞻破 或聞後主欲固守成都 或聞欲南入建寧 於是引軍由廣漢 郪道以審虛實 cdhmayehtusamkk elmthi 44 尋被後主敕令 乃投戈放甲 詣會於涪軍前 將士咸怒 拔刀斫石 cdhmayehtusamkk elmthi 44 干寶晉紀云 會謂維曰 來何遲也 維正色流涕曰 今日見此為速矣 會甚奇之 xrrthathibaycakcinciincdhmayehtusamkk elmthi 44 鍾 會厚待 姜 維等 皆權還其印號節蓋 會與維出則同轝 坐則同席 謂長史杜預曰 以伯約比中土名士 公休 太初不能勝也 cdhmayehtusamkk elmthi 44 漢晉春秋曰 會陰懷異圖 維見而知其心 謂可構成擾亂以圖克復也 xrrthathiyaycakhncinchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 44 乃詭說會曰 聞君自淮南已來 筭無遺策 晉道克昌 皆君之力 今復定蜀 威德振世 民高其功 主畏其謀 欲以此安歸乎 夫韓信不背漢於擾攘 以見疑於旣平 大夫種不從范蠡於五湖 卒伏劒而妄死 彼豈闇主愚臣哉 利害使之然也 今君大功旣立 大德已著 何不法陶朱公泛舟絕迹 全功保身 登峨嵋之嶺 而從赤松游乎 xrrthathiyaycakhncinchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 44 會曰 君言遠矣 我不能行 且為今之道 或未盡於此也 xrrthathiyaycakhncinchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 44 維曰 其佗則君智力之所能 無煩於老夫矣 xrrthathiyaycakhncinchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 44 由是情好歡甚 xrrthathiyaycakhncinchunchiwincdhmayehtusamkk elmthi 44 會旣構鄧艾 艾檻車徵 因將維等詣成都 自稱益州牧以叛 cdhmayehtusamkk elmthi 44 欲授維兵五萬人 使為前驅 cdhmayehtusakmkk elmthi 44 十八日日中 烈軍兵與烈兒雷鼓出門 諸軍兵不期皆鼓譟出 曾無督促之者 而爭先赴城 時方給與姜維鎧杖 白外有匈匈聲 似失火 有頃 白兵走向城 會驚 謂維曰 兵來似欲作惡 當云何 維曰 但當擊之耳 cdhmayehtusamkk elmthi 28 會遣兵悉殺所閉諸牙門郡守 內人共舉机以柱門 兵斫門 不能破 斯須 門外倚梯登城 或燒城屋 蟻附亂進 矢下如雨 牙門 郡守各緣屋出 與其卒兵相得 姜維率會左右戰 手殺五六人 衆旣格斬維 爭赴殺會 cdhmayehtusamkk elmthi 28 魏將士憤發 殺會及維 維妻子皆伏誅 cdhmayehtusamkk elmthi 44 世語曰 維死時見剖 膽如斗大 xrrthathibaycakchux y hwiincdhmayehtusamkk elmthi 44 華陽國志曰 維教會誅北來諸將 旣死 徐欲殺會 盡坑魏兵 還復蜀祚 xrrthathibaycakphngsawdarh wahyangincdhmayehtusamkk elmthi 44 密書與後主曰 願陛下忍數日之辱 臣欲使社稷危而復安 日月幽而復明 xrrthathibaycakphngsawdarh wahyangincdhmayehtusamkk elmthi 44 會馬謖敗於街亭 亮拔將西縣千餘家及維等還 故維遂與母相失 cdhmayehtusamkk elmthi 44 孫盛雜記曰 初 姜維詣亮 與母相失 復得母書 令求當歸 xrrthathibaycakcaciincdhmayehtusamkk elmthi 44 維曰 良田百頃 不在一畒 但有遠志 不在當歸也 xrrthathibaycakcaciincdhmayehtusamkk elmthi 44 蜀大將軍平襄侯 姜 維 裔孫 姜 明 世居上邽 cdhmayehturachwngsthngihm elmthi 73 brrph 3 samkk txnthi 71 wchryan subkhnemux August 29 2023 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk samkk txnthi 92 93 samkk txnthi 80 wchryan subkhnemux August 29 2023 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk samkk txnthi 85 wchryan subkhnemux August 29 2023 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk samkk txnthi 107 115 samkk txnthi 86 wchryan subkhnemux August 29 2023 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk samkk elmthi 119 www e3ol com phasacin 3 March 2009 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2019 12 31 subkhnemux 6 June 2018 State Council s Notice on the Sixth Batch of Major Historical and Cultural Sites Protected at the National Level www gov cn phasacin 25 May 2006 subkhnemux 6 June 2018 country aweb com cn phasacin 8 September 2006 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 02 09 subkhnemux 6 June 2018 brrnanukrmtnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk sankwcux p stwrrsthi 4 h wahyangkwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu suxhma kwang 1084 cuxcuxthngeciyn eds 11th century sinthngchu lxkwntng stwrrsthi 14 samkk snkwehyiynxi Lu Bi 1982 三國志集解 Explanatory Commentary to the Sanguozhi phasacin Beijing Zhonghua Book Company ISBN 978 7 101 01019 0 1985 Modern Chinese Edition of Zizhi Tongjian phasacin Vol 20 Taipei Yuan Liou Publishing ISBN 9573208423 de Crespigny Rafe 2007 A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23 220 AD Leiden Brill ISBN 9789004156050