อองกี๋, อองตี๋ หรืออองกิ๋ม (ค.ศ. 190 – 9 มิถุนายน ค.ศ. 261) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง จี (จีน: 王基; พินอิน: Wáng Jī) ชื่อรอง ปั๋ว-ยฺหวี (จีน: 伯輿; พินอิน: Bóyú) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เริ่มรับราชการในฐานะข้าราชการชั้นผู้น้อยภายใต้หวาง หลิง (王淩) ข้าหลวงมณฑลเฉงจิ๋ว ในเวลานั้นอองกี๋ได้รับการยกย่องว่าเป็นข้าราชการตัวอย่างที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ดี ภายหลังได้ย้ายไปรับราชการในราชสำนักที่นครลกเอี๋ยง ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง แต่ถูกปลดออกจากตำแหน่งเป็นเวลาสั้น ๆ เมื่อสุมาอี้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กยึดอำนาจจากโจซองที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมในรัฐประหารเมื่อปี ค.ศ. 249 อย่างไรก็ตาม อองกี๋ได้รับการเรียกตัวกลับเข้ารับราชการอย่างรวดเร็ว และได้เลื่อนขึ้นเป็นข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋วและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนพล ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 251 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 261 อองกี๋ยังคงรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานอย่างใกล้ชิดแต่ด้วยความเชี่ยวชาญกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สุมาสูและสุมาเจียว ในช่วงเวลานี้ อองกี๋ได้ดูแลราชการทหารในมณฑลเกงจิ๋ว อิจิ๋ว และยังจิ๋ว และป้องกันชายแดนด้านตะวันออกและด้านใต้ของวุยก๊กจากง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก อองกี๋ยังช่วยสุมาสูและสุมาเจียวในการปราบปราบสองในสามกบฏในฉิวฉุนในปี ค.ศ. 255 และ ค.ศ. 257-258 ตามลำดับ ในปี ค.ศ. 261 ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนก่อนเสียชีวิต อองกี๋ได้คาดการณ์ได้อย่างถูกต้องว่านายทหารง่อก๊กสองนายแสร้งแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก และสามารถป้องกันทัพวุยก๊กจากการตกเข้าสู่กลอุบายของง่อก๊ก
อองกี๋ (หวาง จี) | |
---|---|
王基 | |
ศิลาป้ายสุสานอองกี๋ | |
ขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南將軍 เจิงหนานเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 259 – ค.ศ. 261 | |
กษัตริย์ | โจมอ / โจฮวน |
ขุนพลโจมตีภาคตะวันออก (征東將軍 เจิงตงเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 258 – ค.ศ. 259 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน) (รักษาการ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 257 – ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ข้าหลวงมณฑลอิจิ๋ว (豫州刺史 ยฺวี่โจวชื่อฉื่อ) (รักษาการ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – ค.ศ. 257 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ขุนพลพิทักษ์ภาคใต้ (鎮南將軍 เจิ้นหนานเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – ค.ศ. 257 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ขุนพลเชิดชูความดุดัน (揚烈將軍 หยางเลี่ยเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 250 – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว (荊州刺史 จิงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 250 – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนพลโจมตีกบฏ (討寇將軍 เถ่าโค่วเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เจ้าเมืองตันฉอง (安豐太守 อานเฟิงเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 249 | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
เจ้าเมืองอันเป๋ง (安平太守 อานผิงเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจยอย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 190 นคร มณฑลชานตง |
เสียชีวิต | 9 มิถุนายน ค.ศ. 261 (71 ปี) |
ที่ไว้ศพ | นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ |
|
อาชีพ | ขุนพล |
ชื่อรอง | ปั๋ว-ยฺหวี (伯輿) |
จิ่งโหว (景侯) | |
บรรดาศักดิ์ | อานเล่อเซียงโหว (安樂鄉侯) |
ประวัติช่วงต้น
อองกี๋เป็นชาวอำเภอชฺวีเฉิง (曲城縣 ชฺวีเฉิงเซี่ยน) เมือง (東萊郡 ตงไหลจฺวิ้น) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนคร มณฑลชานตงในปัจจุบัน อองกี๋เกิดในปี ค.ศ. 190 ในช่วงปลายของยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อองกี๋เสียบิดาตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์จึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากหวาง เวิง (王翁) ผู้เป็นอา อองกี๋จึงกตัญญูต่ออาเป็นอย่างสูง
เมื่ออองกี๋อายุ 16 ปี ที่ว่าการเมืองได้รับอองกี๋มารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย อองกี๋ลาออกในเวลาต่อมาหลังตระหนักว่าตนไม่สนใจในราชการ จากนั้นจึงเดินทางไปยังเมือง (琅邪郡 หลางหยาจฺวิ้น; อยู่บริเวณนคร มณฑลชานตงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาเพิ่มเติมกับ (鄭玄 เจิ้ง เสฺวียน) ผู้เป็นบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ
ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาของหวาง หลิง
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 220 และ ค.ศ. 226 ที่ว่าการเมืองตงไหลเสนอชื่ออองกี๋เป็น (孝廉; คำเรียกผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับราชการ) มายังราชสำนักของรัฐวุยก๊ก อองกี๋จึงได้รับการตั้งเป็นมหาดเล็กกลาง (郎中 หลางจง) เวลานั้น หวาง หลิง (王淩) ซึ่งเพิ่งขึ้นรับตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเฉงจิ๋วได้รับอองกี๋มารับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (別駕 เปี๋ยเจี้ย) ของตน ภายหลังอองกี๋ถูกเรียกตัวมายังราชธานีลกเอี๋ยงเพื่อรับราชการเป็นขุนนางห้องสมุดหลวง (秘書郎 มี่ชูหลาง) หวาง หลิงส่งคำร้องมายังราชสำนักกลางเพื่อขอให้อองกี๋ยังคงรับราชการในมณฑลเฉงจิ๋วและได้รับการอนุมัติ
ครั้งหนึ่งอองลองผู้เป็น (司徒 ซือถู) เคยขอให้หวาง หลิงย้ายอองกี๋มายังสำนักของตนในลกเอี๋ยง แต่หวาง หลิงปฏิเสธ อองลองจึงเขียนฎีกาถวายราชสำนักกล่าวหาว่าหวาง หลิงกีดกันผู้มีความสามารถ "ข้าราชการระดับท้องถนนที่ทำงานได้ดีเป็นพิเศษก็ควรจะเลื่อนขั้นเป็นระดับเมือง ข้าราชการระดับเมืองที่ทำงานได้ดีก็ควรได้รับการแนะนำไปยังราชสำนักกลาง แนวปฏิบัตินี้มีต้นกำเนิดมาจากธรรมเนียมโบราณของขุนนางที่เสนอผู้มีความสามารถในท้องถิ่นให้กับผู้ปกครองของตน ข้าพระพุทธเจ้าไม่เคยได้ยินว่ามีเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคคนใดปฏิเสธที่จะให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของตนได้รับราชการในราชสำนักกลาง" แม้จะมีข้อกล่าวหาของอองลอง แต่หวาง หลิงก็ยังคงปฏิเสธที่จะให้อองกี๋ไป ตลอดช่วงเวลาที่หวาง หลิงดำรงตำแหน่งในเฉงจิ๋ว ผลงานส่วนใหญ่ของหวาง หลิงแท้จริงแล้วมาจากความพยายามของอองกี๋
รับราชการในราชสำนัก
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 230 และ ค.ศ. 235สุมาอี้ผู้ดำรงตำแหน่งมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) ของวุยก๊กเรียกตัวอองกี๋มารับราชการกับตน หวาง หลิงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมให้อองกี๋ไป ก่อนที่อองกี๋จะไปถึงสำนักของสุมาอี้ ก็ได้รับการตั้งให้เป็นขุนนางสำนักราชเลขาธิการราชวัง (中書侍郎 จงชูชื่อหลาง)
ในรัชสมัยของโจยอยจักรพรรดิแห่งวุยก๊กระหว่างปี ค.ศ. 226 ถึง ค.ศ. 239 โจยอยทรงเริ่มโครงการก่อสร้างพระราชวังที่หรูหราและฟุ่มเฟือย เนื่องจากโครงการนี้ใช้แรงงานมหาศาล จึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อราษฎรที่ถูกเกณฑ์มาเป็นคนงานในโครงการ อองกี๋เขียนฎีกาถึงโจยอยทูลแนะนำพระองค์ให้หยุดโครงการ:
"ข้าพระพุทธเจ้าได้ยินว่าคนโบราณใช้น้ำเป็นอุปมาในการกล่าวถึงราษฎร 'น้ำอาจทำให้เรือลอย แต่ก็ทำให้เรือจมได้เช่นกัน' ผู้ปกครองที่ทรงปัญญาที่สุดเอาใจใส่คำเตือนนี้อยู่เสมอ ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีเมื่อราษฎรมีชีวิตที่มีความสุขสงบ แต่หากชีวิตยากเข็ญ ราษฎรก็จะคิดถึงการก่อกบฏ นั่นเป็นสาเหตุที่จักรพรรดิองค์ก่อนทรงสนับสนุนความประหยัดและความเรียบง่าย พระองค์มีพระประสงค์จะป้องกันการลุกฮือของประชาราษฎร์ งันเอี๋ยน (顏淵 เหยียน เยฺวียน หรือ 顏回 เหยียน หุย) เคยกล่าวว่าเมื่อตงเหยฺจื่อ (東野子) ยังคงบังคับม้าให้เดินจนหมดแรงขณะขับรถม้าจึงเพิ่งรู้ตัวว่าตนจะล้มเหลว บัดนี้โครงการก่อสร้างพระราชวังใช้ทุนทรัพย์สูงและมีภาระหนักจนทำให้หลายครอบครัวพังทลาย ก่อความไม่พอใจอย่างมากจากเหล่าราษฎร ข้าพระพุทธเจ้าหวังว่าฝ่าบาทจะทรงเรียนรู้จะความผิดพลาดของตงเหยฺจื่อ ขอทรงตรึกตรองเกี่ยวกับอุปมาเรื่องน้ำและราษฎร ให้เวลาม้าที่อ่อนล้าได้พักฟื้น และลดภาระให้กับราษฎร ในช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่น ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิเซี่ยวเหวิน (孝文) เป็นต้นมา มีเพียงสมาชิกของราชวงศ์เท่านั้นที่สามารถเป็นขุนนางได้ (賈誼) รู้สึกกังวลจึงกล่าวว่า 'พวกท่านยังคิดว่าตนปลอดภัยขณะพวกท่านกำลังนอนอยู่บนกองฟืนที่ลุกเป็นไฟ' ทุกวันนี้ศัตรูของเรายังไม่ถูกกำจัด ในขณะที่ขุนพลที่น่าเกรงขามของเราบัญชาการทัพใหญ่ จะยิ่งเป็นการยุ่งยากที่จะรับมือพวกเขาหากพวกเขาร่วมกำลังกันต่อต้านเรา ในระยะยาวก็จะเป็นการยากยิ่งที่ราชวงศ์นี้จะคงอยู่ไปยาวนาน หากผู้ใดไม่ระแวดระวังและมุ่งเน้นไปที่การกำจัดภัยคุกคามในยุคแห่งความเจริญรุ่งเรือง ลูกหลานก็จะอยู่อย่างพออกพอใจได้ไม่นานก่อนหายนะจะเกิดแก่รัฐนี้ หากเจี่ย อี้ฟื้นขึ้นจากตายและเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในบัดนี้ เขาก็จะยิ่งเป็นกังวล"
อองซกมีชื่อเสียงจากการเขียนบทวิจารณ์และอรรถาธิบายของคัมภีร์ในลัทธิขงจื๊อ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระเบียบ จรรยา และขนบธรรมเนียม ทัศนะของอองซกแตกต่างไปอย่างมากจากทัศนะของบัณฑิตลัทธิขงจื๊อ อองกี๋มักจะท้าทายและไม่เห็นด้วยกับอองซกเพราะอองกี๋ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของเต้เหี้ยน
ต่อมาอองกี๋ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมือง (安平郡 อานผิงจฺวิ้น; อยู่บริเวณนคร มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน) ต่อมาอองกี๋ลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลทางราชการ
ในฐานะเจ้าเมืองตันฉอง
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 239 และ ค.ศ. 249โจซองมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) แห่งวุยก๊กเรียกตัวอองกี๋มารับราชการเป็นขุนนางผู้ช่วย (從事中郎 ฉงชื่อจงหลาง) ของตน ภายหลังอองกี๋ได้เลื่อนขั้นเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองตันฉอง (安豐郡 อานเฟิงจฺวิ้น; อยู่บริเวณนคร มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน)
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง อองกี๋ปกครองเมืองอย่างเคร่งครัดแต่ยุติธรรม อองกี๋ยังปฏิบัติด้วยความเมตตาเป็นครั้งคราวเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากมวลชน เมืองตันฉองนั้นตั้งอยู่ใกล้ชายแดนระหว่างวุยก๊กและง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก อองกี๋จึงจัดตั้งและเสริมการป้องกันเพื่อยับยั้งข้าศึก ต่อมาอองกี๋ได้รับยศเพิ่มเติมเป็นขุนพลโจมตีกบฏ (討寇將軍 เถ่าโค่วเจียงจฺวิน)
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 245 และ ค.ศ. 252 มีรายงานว่าทัพของง่อก๊กระดมพลที่ (建業 เจี้ยนเย่; ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) นครหลวงของง่อก๊ก ทัพง่อก๊กยังประกาศว่ากำลังเตรียมการจะบุกอาณาเขตของวุยก๊กในมณฑลยังจิ๋ว จูกัดเอี๋ยนข้าหลวงมณฑลยังจิ๋วขอความเห็นของอองกี๋เกี่ยวกับการโต้ตอบการบุกของง่อก๊ก อองกี๋ตอบว่า:
"ในอดีต ซุนกวนโจมตีหับป๋า (合肥 เหอเฝย์) และกังแฮ (江夏 เจียงเซี่ย) จวนจ๋องโจมตีโลกั๋ง (廬江 หลูเจียง) จูเหียนโจมตีซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) แต่พวกเขาไม่ได้อะไรกลับไปเลยจากยุทธการเหล่านี้ บัดนี้ลกซุนและคนอื่น ๆ ตายไปแล้ว ด้านซุนกวนก็อยู่ในวัยชราและไม่มีทายาทที่มีสติปัญญาหรือหัวหน้านักยุทธศาสตร์ที่เก่งกาจพอจะให้พึ่งพาได้ หากซุนกวนนำทัพด้วยตนเองเพื่อโจมตีเรา ก็จะต้องเป็นกังวลว่าอาจเกิดความขัดแย้งภายในที่เกิดขึ้นจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายระหว่างข้าราชบริพารของตนเองในช่วงที่ตนกำลังออกมาโจมตีฝ่ายเราอยู่ หากซุนกวนยอมให้ขุนพลของตนนำทัพมาโจมตีเรา ก็จะไม่มีขุนพลผ่านศึกเหลืออยู่กับตนให้พึ่งพา และเขายังไม่ไว้วางใจขุนพลใหม่อย่างเต็มที่ สิ่งที่ซุนกวนพยายามจะทำจริง ๆ คือการสับเปลี่ยนตำแหน่งในราชสำนักและตั้งคนที่ตนไว้วางใจในตำแหน่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าการปกครองของตนจะอยู่ได้ในระยะยาว"
อองกี๋วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง ซุนกวนไม่ได้ยกทัพโจมตีวุยก๊กในช่วงเวลานั้น
เมื่อโจซองเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊กระหว่างปี ค.ศ. 239 ถึง ค.ศ. 249 ได้ผูกขาดอำนาจและเอิื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง ทำให้เกิดการทุจริตทางการเมืองและความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรม อองกี๋ได้เขียนตำรา "ฉือเย่าหลุน" (時要論; "ข้อเขียนว่าด้วยความต้องการของยุคสมัย") เพื่อแสดงทัศนะของตนเกี่ยวกับการเมืองร่วมสมัย จากนั้นอองกี๋ลาออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองตันฉองโดยอ้างว่าสุขภาพไม่ดี ต่อมาไม่นานอองกี๋ก็ได้รับการเรียกตัวจากราชสำนักวุยก๊กให้มารับราชการเป็นเจ้าเมือง (河南尹 เหอหนานอิ่น) แต่ก่อนที่อองกี๋จะเข้ารับตำแหน่ง โจซองก็ถูกโค่นล้มจากอำนาจในรัฐประหารที่ก่อการโดยสุมาอี้ที่เป็นผู้สำเร็จราชการร่วม แล้วโจซองก็ถูกประหารชีวิตพร้อมด้วยครอบครัวและพรรคพวก อองกี๋เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจซอง จึงพลอยถูกดึงเข้าไปพัวพันในเรื่องนี้และถูกปลดจากตำแหน่ง
ในฐานะข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว
ในปีเดียวกัน (ค.ศ. 249) หลังถูกปลดจากตำแหน่ง อองกี๋ได้รับการเรียกตัวกลับมารับราชการเป็นราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู) ในสำนักราชเลขาธิการ ในปีถัดมา อองกี๋ได้เลื่อนเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเกงจิ๋วและได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลเชิดชูความดุดัน (揚烈將軍 หยางเลี่ยเจียงจฺวิน) หลังรับตำแหน่งได้ไม่นาน ราชสำนักวุยก๊กมีคำสั่งให้อองกี๋เข้าร่วมกับอองซองขุนพลวุยก๊กในการทัพที่รบกับง่อก๊ก
ระหว่างยุทธการ อองกี๋นำกำลังทหารเข้าโจมตีทัพง่อก๊กที่นำโดย (步恊) ที่อำเภออิเหลง (夷陵縣 อี๋หลิงเซี่ยน; ปัจจุบันคือนคร มณฑลหูเป่ย์) ปู้ เสียและทหารล่าถอยไปหลังกำแพงเมือง ปิดประตูและไม่ยอมออกรบกับอองกี๋ อองกี๋จึงสั่งทหารให้แสร้งทำเป็นเตรียมการจะโจมตีเมือง ขณะเดียวกันก็ลอบส่งทหารไปยึดยุ้งฉางของทัพง่อก๊กที่สฺยงฟู่ (雄父) ทหารอองกี๋สามารถยึดข้าวสารได้มากกว่า 300,000 หู (斛; หน่วยปริมตร) และจับตัวถาน เจิ้ง (譚正) ขุนพลง่อก๊กได้ พลเรือนง่อก๊กหลายพันคนยอมสวามิภักดิ์ต่อทัพง่อก๊ก อองกี๋จัดเตรียมให้พลเรือนได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในอำเภออิเหลง ราชสำนักวุยก๊กตั้งให้อองกี๋มีบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) เพื่อเป็นเกียรติจากผลงานในการศึกของอองกี๋
อองกี๋เขียนหนังสือถึงอองซอง พยายามโน้มน้าวอองซองให้ย้ายฐานปฏิบัติการไปยังเมือง (江夏郡 เจียงเซี่ยจฺวิ้น; อยู่บริเวณ มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) เพื่อให้ใกล้กับชายแดนวุยก๊ก-ง่อก๊กที่แฮเค้า (夏口 เซี่ยโข่ว; อยู่ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน) หลังจากนั้นมา ทัพง่อก๊กก็ไม่กล้าข้ามแม่น้ำมาโจมตีอาณาเขตของวุยก๊กเหมือนที่เคยทำมาก่อน
ในช่วงที่อองกี๋ดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว ได้ปกครองมณฑลอย่างซื่อสัตย์ยุติธรรม รักษาวินัยดีในกองทัพและภาคการเกษตร และสร้างสำนักศึกษาหลายแห่งเพื่อส่งเสริมการศึกษา อองกี๋ได้รับการยกย่องอย่างมากจากชาวมณฑลเกงจิ๋ว
ในช่วงเวลานั้น ราชสำนักวุยก๊กต้องการเริ่มการทัพรบกับง่อก๊ก จึงมีคำสั่งให้อองกี๋คิดกลยุทธิ์ขึ้นมา อองกี๋พูดว่า
"หากเราเริ่มการทัพตอนนี้และพิชิตง่อไม่สำเร็จ เราจะไม่เพียงเสียขวัญกำลังใจ แต่ยังสิ้นเปลืองทรัพยากร ดังนั้น เราควรโจมตีก็ต่อเมื่อเราเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีแล้ว หากเราไม่สร้างคลองเพิ่ม สะสมเสบียงอาหารมากขึ้น และก่อสร้างเรือรบเพิ่มขึ้น แม้เราจะตั้งกำลังทหารไว้เหนือน้ำ แต่เราก็จะไม่ได้รับความได้เปรียบเชิงยุทธวิธีใด ๆ บัดนี้ (江陵 เจียงหลิง) มีพื้นที่เพาะปลูกหลายพันหมู่ (畝; หน่วยพื้นที่) ได้รับน้ำจากแม่น้ำจวี่ (沮) และจาง (漳) เรายังมีผืนดินอุดมสมบูรณ์โดยรอบ (安陸) เราควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาฐานผลิตทางการเกษตรให้แข็งแกร่ง เตรียมการอย่างเพียงพอ จากนั้นจึงส่งทหารเข้าโจมตีกังเหลงและอิเหลง แล้วจึงเข้ายึดแฮเค้า ใช้แม่น้ำจวี่และจางในการขนส่งเสบียงอาหาร ขวัญกำลังใจของข้าศึกจะตกลงเมื่อเห็นว่าเรามีการเตรียมการอย่างดีและใช้สภาพทางภูมิศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ เมื่อถึงเวลานั้น ทหารข้าศึกจำนวนมากก็เริ่มแปรพักตร์มาเข้าด้วยฝ่ายเรา จากนั้นเราสามารถผูกพันธมิตรกับชนเผ่าพื้นเมืองในง่อและร่วมกันโค่นล้มการปกครองของง่อ จากนั้นเราควรแบ่งกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ทางเหนือของแฮเค้าและยึดอาณาเขตของ่อเหนือแม่น้ำแยงซี เมื่อทำเช่นนี้เราก็จะตัดการติดต่อระหว่างง่อและจ๊ก สกัดไม่ให้ทั้งสองฝ่ายส่งกำลังเสริมมาช่วยเหลือกันและกัน เมื่อเป็นเช่นนั้น ง่อก็จะตกเป็นเหยื่อของเราโดยง่าย แต่ในขณะนี้ข้าพเจ้าเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาที่เราจะโจมตีง่อ"
การทัพจึงถูกยกเลิกไป เมื่อสุมาสูสืบทอดอำนาจต่อจากสุมาอี้ผู้บิดาในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊กในปี ค.ศ. 251 อองกี๋เขียนหนังสือถึงสุมาสูว่า:
"แผ่นดินกว้างใหญ่ มีหลายเรื่องที่ต้องจัดการ ท่านควรกระตือรือร้นอยู่เสมอและขยันให้มาก หากปณิธานของท่านสูงส่งและเที่ยงธรรม ท่านจะไม่มีความคิดชั่วร้ายใด ๆ หากใจของท่านบริสุทธิ์และสงบ ท่านจะไม่รู้สึกถูกรบกวนจากเสียงมากมายโดยรอบท่าน หากท่านรอบคอบและระมัดระวัง ท่านจะไม่พบการชี้นำและคำสั่งที่ไปสู่ภารกิจอันยากลำบาก หากท่านใช้ผู้มีปัญญา ความสามารถ และพรสวรรค์เป็นอย่างดี ท่านจะได้รับความเคารพจากทุกคนไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน การกระทำของท่านจะส่งผลต่อการรับรู้ของราษฎรเกี่ยวกับตัวท่าน ในขณะที่ความรอบรอบของท่านจะเป็นสิ่งกำหนดว่าท่านจะรักษาความมั่นคงภายในได้ดีเพียงใด เค้าอิ๋น (許允 สฺวี ยฺหวิ่น), เปาต้าน (傅嘏 ฟู่ กู่), (袁侃) และ (崔贊) เป็นผู้ชอบธรรมและมีคุณธรรม ท่านสามารถร่วมงานกับพวกเขาอย่างใกล้ชิดในเรื่องนโยบายได้"
สุมาสูยอมรับคำแนะนำของอองกี๋
ในปี ค.ศ. 254 หลังสุมาสูปลดโจฮองจักรพรรดิวุยก๊กออกจากตำแหน่ง และตั้งโจมอขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน อองกี๋ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากกวนไล่เหาขึ้นเป็นโหวระดับหมู่บ้านชื่อบรรดาศักดิ์ว่า "ฉางเล่อถิงโหว" (常樂亭侯)
ปราบกบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม
ในปี ค.ศ. 255บู๊ขิวเขียมและบุนขิมขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณ มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) อำเภอเอกของเมืองห้วยหนำ (淮南郡 หฺวายหนานจฺวิ้น) ซึ่งถูกเรียกว่ารัฐฌ้อ (楚國 ฉู่กั๋ว) ในเวลานั้น อองกี๋ได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการผู้กำกับทัพ (監軍 เจียงจฺวิน) ได้รับมอบอาญาสิทธิ์ และได้รับมอบหมายให้บัญชาการทัพวุยก๊กที่ประจำในฮูโต๋ (許昌 สฺวี่ชาง) สุมาสูผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊กนำกำลังทหารจากลกเอี๋ยงนครหลวงของวุยก๊กไปปราบปรามกบฏและพบกับอองกี๋ที่ฮูโต๋
เมื่อสุมาสูถามอองกี๋ว่าคิดอย่างไรกับการกระทำของบู๊ขิวเขียมและบุนขิม อองกี๋ตอบว่า "ข้าราชการท้องถิ่นในห้วยหนำไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อการก่อกบฏ บู๊ขิวเขียมและบุนขิมบังคับให้พวกเขาก่อกบฏโดยขู่ว่าจะฆ่าหากไม่ทำตาม พวกเขาจะแตกกระจายไปเมื่อทัพหลวงยกมาถึง อีกไม่นานเราจะได้เห็นศพของบู๊ขิวเขียมและบุนขิมแขวนอยู่ที่ประตู" สุมาสูเห็นชอบด้วย
สุมาสูมอบหมายให้อองกี๋บัญชาการทัพหน้า ในเวลานั้น นายทหารวุยก๊กหลายคนเชื่อว่าบู๊ขิวเขียมและบุนขิมมีกำลังมากและยากจะเอาชนะ ราชสำนักวุยก๊กจึงมีคำสั่งให้อองกี๋ให้รักษาที่มั่นและงดเข้าปะทะกับกลุ่มกบฏในยุทธการ อองกี๋ไม่เห็นด้วยโดยกล่าวว่า:
"บู๊ขิวเขียมและบุนขิม บู๊ขิวเขียมและบุนขิมมีโอกาสเข้าโจมตีเรา แต่กลับยังไม่ทำเช่นนั้น นี่หมายความว่าพวกเขาไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่างจากที่เห็น และพวกเขาพยายามจะไม่เปิดเผยจุดอ่อนนี้ของพวกตน เราควรใช้โอกาสนี้แสดงแสนยานุภาพของเราและแสดงให้ผู้คนเห็นว่าเราสามารถปราบกบฏได้ หากเราไม่รุดหน้าและมุ่งแต่จะสร้างป้อมปราการ ผู้คนก็จะคิดว่าเรากลัวพวกกบฏ ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการทหาร หากพวกกบฏจับครอบครัวของข้าราชการท้องถิ่นเป็นตัวประกันเพื่อบังคับให้ก่อกบฏ เราก็จะสูญเสียการสนับสนุนจากผู้คน เหล่าผู้ที่ถูกบู๊ขิวเขียมและบุนขิมข่มขู่ต่างก็รู้ว่าพวกตนทำผิด แต่พวกตนก็ไม่กล้าหนีเพราะหลายชีวิตในครอบครัวตกอยู่ในความเสี่ยง นี่เป็นที่ที่มวลชนหลากหลายมารวมตัวกันและเป็นที่ที่พวกกบฏขาดความกล้าหาญในการรบ แต่ก็ยังเป็นโอกาสสำหรับข้าศึกที่จะแสวงประโยชน์ หากพวกง่อใช้โอกาสนี้เข้าโจมตีเรา ก็จะสามารถยึดครองอาณาเขตกว้างขวางในห้วยหนำ หากเป็นเช่นนั้น ดินแดนของเฉียว (譙) เพ่ย์ (沛) หรู (汝) และยฺวี่ (豫) ก็จะตกอยู่ในอันตราย นั้นจะเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวง เราควรเร่งยึดลำเต๋ง (南頓 หนานตุ้น) ซึ่งมียุ้งฉางที่เต็มไปด้วยเสบียงอาหารที่สามารถเลี้ยงทหารของเราได้ถึง 40 วัน ด้วยการยึดลำเต๋งและรักษาตำแหน่งสำคัญไว้ เราก็จะสามารถแสดงแสนยานุภาพต่อพวกกบฏได้ นี่เป็นขั้นตอนสำคัญสู่การปราบปรามกบฏ"
แล้วอองกี๋จึงขออนุญาตโจมตีกลุ่มกบฏหลายครั้ง เมื่อได้รับการอนุมัติในที่สุด อองกี๋นำกองกำลังของตนไปยังแม่น้ำอิ๋นซุย (濦水 อิ๋นฉุ่ย) ที่นั่นอองกี๋ขออนุญาตโจมตีกลุ่มกบฏ:
"กองทัพที่เคลื่อนได้เร็วเป็นกองทัพที่แข็งแกร่ง เราไม่ควรเสียเวลาไปเปล่า ๆ บัดนี้เราอยู่ในสถานการณ์ที่ภายในเรามีกบฏต้องปราบและภายในเรามีข้าศึกที่แข็งแกร่งที่ต้องรับมือ หากเราไม่เด็ดขาดในตอนนี้ ข้าก็คาดไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในภายหลัง หลายคนกล่าวว่าข้าควรระมัดระวังในการนำทัพออกรบ แม้ว่าพวกเขาพูดถูกว่าข้าควรระมัดระวัง แต่ข้าเห็นว่าพวกเขาพูดผิดที่ห้ามไม่ให้ข้ารุดหน้าต่อไป การระมัดระวังไม่ได้หมายความว่าจะต้องรักษาที่มั่นไว้และไม่ทำอะไรเลย หากเราโจมตีตอนนี้ เราก็ชนะได้ บัดนี้เรายึดจุดยุทธศาสตร์และตั้งแนวป้องกันที่แข็งแกร่งแล้ว เราไม่ต้องขนส่งเสบียงอาหารไปแนวหน้าด้วยระยะทางไกลอีกต่อไป การปล่อยให้ข้าศึกเข้าถึงเสบียงอาหารในพื้นที่ได้ต่อไปถือเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง"
สุมาสูต้องการคอยจนกว่าทัพวุยก๊กที่ระดมมาทั้งหมดจะมาถึงแล้วจึงค่อยเปิดการโจมตีฉิวฉุน จึงไม่อนุญาตให้อองกี๋โจมตีก่อน อองกี๋จึงพูดว่า "เมื่อขุนพลออกสู่สนามรบ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายเสมอไป หากพวกกบฏยึดอาณาเขตได้พวกกบฏก็จะยิ่งได้เปรียบ หากเรายึดอาณาเขตได้เราจะยิ่งได้เปรียบ นี่คือความหมายของการยึดครองอาณาเขต ที่ข้าหมายถึงถึงที่ลำเต๋ง" สุมาสูจึงอนุมัติและส่งอองกี๋เข้ายึดลำเต๋ง (南頓 หนานตุ้น; ทางตะวันตกของนคร มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) เมื่อบู๊ขิวเขียมทราบเรื่องนี้ก็นำทัพมุ่งไปลำเต๋งเช่นกัน หลังเดินทางไปได้ประมาณ 10 ลี้ ก็ทราบข่าวว่าอองกี๋ตีกองกำลังฝ่ายตนได้และยึดได้ลำเต๋ง บู๊ขิวเขียมจึงล่าถอยไปอำเภอฮางเสีย (項縣 เซี่ยงเซี่ยน; ปัจจุบันคือ มณฑลเหอหนาน)
ในช่วงเวลานั้น เตงงายข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋วนำทหารมาตั้่งมั่นที่งักแกเสีย (樂嘉 เยฺว่เจีย; ปัจจุบันคือนครเซี่ยงเฉิง มณฑลเหอหนาน) เมื่ออองกี๋รู้ว่าบู๊ขิวเขียมส่งบุนขิมให้นำทัพเข้าโจมตีเตงงายที่งักแกเสีย อองกี๋จึงถือโอกาสของสถานการณ์นี้เข้าโจมตีและยึดอำเภอฮางเสียจากกลุ่มกบฏ หลังกบฏถูกปราบปราม อองกี๋ได้รับการเลื่อนขั้นเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคใต้ (鎮南將軍 เจิ้นหนานเจียงจฺวิน) และรับผิดชอบดูแลปฏิบัติการทางการทหารในมณฑลอิจิ๋ว อองกี๋ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการข้าหลวงมณฑลอิจิ๋ว และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากโหวระดับหมู่บ้านเป็นโหวระดับตำบลชื่อบรรดาศักดิ์ว่า "อานเล่อเซียงโหว" (安樂鄉侯) อองกี๋เขียนฎีกาถึงราชสำนักวุยก๊ก เสนอให้มอบศักดินา 200 ครัวเรือนจากเขตศักดินาของตนให้กับหวาง เฉียว (王喬) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้อง เพื่อแสดงความขอบคุณต่อหวาง เวิง (王翁; บิดาของหวาง เฉียว) อาของอองกี๋ที่ล่วงลับไปแล้วที่ช่วยเลี้ยงดูตนตั้งแต่อยู่ในวัยเยาว์ ราชสำนักอนุมัติคำขอพิเศษนี้และตั้งให้หวาง เฉียวมีบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)
ปราบกบฏจูกัดเอี๋ยน
เมื่อจูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณ มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ในปี ค.ศ. 257 อองกี๋ได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน) เพิ่มเติ่มจากตำแหน่งในปัจจุบันคือขุนพลพิทักษ์ภาคใต้ (鎮南將軍 เจิ้นหนานเจียงจฺวิน) อองกี๋ยังได้รับมอบหมายให้ดูแลปฏิบัติการทางทหารในมณฑลยังจิ๋วและอิจิ๋ว ในเวลานั้น ทัพหลวงของวุยก๊กตั้งมั่นอยู่ที่อำเภอฮางเสีย (項縣 เซี่ยงเซี่ยน; ปัจจุบันคือ มณฑลเหอหนาน) ไม่กล้าโจมตีกลุ่มกบฏเพราะรู้ว่ากลุ่มกบฏเป็นทหารที่ชำนาญศึก ราชสำนักวุยก๊กจึงมีคำสั่งให้อองกี๋กำกับการสร้างแนวป้องกันและป้อมปราการ และปฏิเสธคำขอของอองกี๋ที่ขอโจมตีกลุ่มกบฏ
ง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กส่งจูอี้ให้นำทัพง่อก๊กมายังฉิวฉุนเพื่อสนับสนุนจูกัดเอี๋ยน ทัพง่อก๊กตั้งค่ายที่อำเภออานเฉิง (安城縣 อานเฉิงเซี่ยน; ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน)
อองกี๋ปฏิบัติตามคำสั่งและนำกำลังทหารเข้ายึดเนินทางทางเหนือ อองกี๋บอกกับนายทหารว่า "ป้อมปราการแข็งแกร่งมากแล้ว กำลังทหารก็มารวมตัวกันที่นี่ เราเพียงต้องรักษาการป้องกันและรอให้ข้าศึกยกมา หากเรายังคงจัดกำลังทหารมารักษาจุดยุทธศาสตร์ เราจะมีแต่จะยิ่งกระจัดกระจาย เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ว่าคนที่ฉลาดที่สุดก็ไม่สามารถคิดวิธีแก้ปัญหาใด ๆ ได้ " จากนั้นอองกี๋จึงเขียนรายงานถึงราชสำนักวุยก๊กว่า:
"ด้วยสถานการณ์ในบัดนี้ที่เผชิญหน้ากับข้าศึก เราควรรักษาที่มั่นและไม่เคลื่อนไหว หากเราจัดและกระจายกำลังเพื่อป้องกันจุดยุทธศาสตร์ จะยิ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนอย่างมากในหมู่ทหารและทำให้สถานการณ์ไม่มั่นคง กองกำลังทั้งหมดเข้าประจำตำแหน่งในป้อมปราการ การรักษาความมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญของความสามารถของแม่ทัพในการนำกองกำลังในยุทธการ"
ราชสำนักอนุมัติ
สุมาเจียวมหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน) แห่งวุยก๊กนำทัพหลวงไปยังฉิวโถว (丘頭; ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) และจัดกำลังทหารโดยรอบป้อมเมื่อสร้างแนวป้องกัน เวลานั้นอองกี๋บัญชาทหาร 26 หน่วยตั้งมั่นอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของป้อม สุมาเจียวส่งคนนำสารไปพบอองกี๋และมีคำสั่งให้อองกี๋รักษาที่มั่นและงดการออกไปปะทะกับกลุ่มกบฏในสนามรบ ในเวลาไม่นาน ภายในป้อมก็ขาดแคลนเสบียงในขณะที่กลุ่มกบฏเพิ่มความรุนแรงในการโจมตีมากขึ้น อองกี๋ยังคงป้องกันอย่างมั่นคงและรักษาที่มั่นไว้ เมื่อโอกาสมาถึง อองกี๋ก็เปิดฉากโต้กลับและเอาชนะกลุ่มกบฏได้
หลังปรากบฏจูกัดเอี๋ยนได้ อองกี๋เขียนหนังสือถึงสุมาเจียวว่า:
"ในตอนแรกหลังการหารือกันอย่างมาก มีนายทหารหลายนายที่ต้องการจัดกำลังทหารใหม่ ในเวลานั้น ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ในแนวหน้าจึงรับปากพวกเขา ท่านขุนนพล ท่านคิดทุกอย่างรอบคอบ รักษาความสงบมั่นคง และต้านแรงกดดันจากเหล่านายทหารจนถึงขั้นขัดราชโองการ แต่ในท้ายที่สุด ท่านก็เอาชนะกบฏได้สำเร็จ ไม่เคยมีเรื่องเช่นนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์"
สุมาเจียวต้องการขอให้ต๋องจูและผู้แปรพักตร์จากง่อก๊กให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางในการนำทัพวุยก๊กบุกลึกเข้าไปในอาณาเขตของง่อก๊กเพื่อเปิดการโจมตี แต่อองกี๋คัดค้านสุมาเจียวโดยกล่าวว่า:
"ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จูกัดเก๊กต้องการใช้ประโยชน์จากแรงผลักดันที่ได้จากชัยชนะของง่อที่ตงกวาน (東關) จึงระดมกำลังทหารจากกังตั๋งและนำทัพเข้าโจมตีซินเสีย (新城 ซินเฉิง) แต่จูกัดเก๊กไม่เพียงล้มเหลวในการยึดครองซินเสีย แต่ยังได้รับความเสียหายอย่างหนัก เกียงอุยก็ต้องการใช้ประโยชน์จากแรงผลักดันที่ได้จากชัยชนะของจ๊กที่แม่น้ำเตียวซุย (洮水 เถาฉุ่ย) จึงนำกำลังทหารบุกลึกเข้าไปในแดนเราเพื่อโจมตีเรา ท้ายที่สุดเส้นทางขนส่งเสบียงของเกียงอุยก็ยืดยาวเกินไป และเกียงอุยก็พ่ายแพ้ยับเยินที่เซียงเท้ง (上邽 ช่างกุย) ทุกครั้งหลังจากที่ทหารได้ชัยชนะ ก็มีแนวโน้มที่พวกเขาจะดูเบาข้าศึก เมื่อพวกเขาดูเบาข้าศึก ก็มีแนวโน้มที่จะไปสู่ความประมาท บัดนี้ทัพง่อก๊กเพิ่งพ่ายแพ้และยังเผชิญกับภัยคุกคามภายใน พวกเขาอาจจะเพิ่มการป้องกันและระแวดระวัง นอกจากนี้หลังจากทำศึกมาหลายปี ทหารเหนื่อยล้าและอยากกลับบ้าน ในตอนนี้เราได้ทหารกบฏที่ยอมจำนนหลายพันนายและประหารชีวิตจูกัดเอี๋ยนผู้ทรยศแล้ว นับตั้งแต่ศึกสงครามในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นมา ไม่เคยมีมาก่อนที่ฝ่ายชนะจะได้รับชัยชนะโดยสมบูรณ์เช่นนี้ เมื่อครั้งฮูฮ่องเต้ (武皇帝 อู่หฺวางตี้; หมายถึงโจโฉ) ทรงเอาชนะอ้วนเสี้ยวในยุทธการที่กัวต๋อ พระองค์ไม่ได้ไล่ตามตีข้าศึกเพราะพระองค์ทรงเห็นว่าพระองค์ได้รับมามากแล้วจากชัยชนะของพระองค์ และการดันทุรังรุดหน้าไปก็มีแต่จะส่งผลเสียย้อนกลับเท่านั้น"
สุมาเจียวจึงยกเลิกการโจมตีง่อก๊ก
หลังทำให้ภูมิภาคห้วยหนำกลับมาสงบ อองกี๋ได้รับการแต่งตั้งจากตำแหน่งเดิมคือขุนพลพิทักษ์ภาคใต้ (鎮南將軍 เจิ้นหนานเจียงจฺวิน) ให้เป็นขุนพลโจมตีภาคตะวันออก (征東將軍 เจิงตงเจียงจฺวิน) รับผิดชอบดูแลราชการทหารในมณฑลยังจิ๋ว อองกี๋ยังได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์จากโหวระดับตำบลเป็นโหวระดับอำเภอชื่อบรรดาศักดิ์ว่า "ตงอู่โหว" (東武侯) อองกี๋เขียนฎีกาถึงราชสำนักเพื่อปฏิเสธการเลื่อนบรรดาศักดิ์ และมอบความดีความชอบในการปราบกบฏในผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหมด หัวหน้าเสมียนและนายกองพัน 7 คนใต้บังคับบัญชาของอองกี๋ได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์โหว
เมื่อมารดาของอองกี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 258 ราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการให้เก็บข่าวเรื่องการเสียชีวิตของมารดาอองกี๋เป็นความลับ ศพของหวาง เป้า (王豹) บิดาของอองกี๋ได้รับการขุดขึ้นมาและย้ายมายังลกเอี๋ยงเพื่อฝังใหม่พร้อมกับมารดาของอองกี๋ ราชสำนักยังแต่งตั้งย้อนหลังให้หวาง เป้าเป็นเจ้าเมือง (北海 เป๋ย์ไห่)
ในฐานะขุนพลโจมตีภาคใต้
ในปี ค.ศ. 259 อองกี๋ได้รับการแต่งตั้งจากตำแหน่งเดิมคือขุนพลโจมตีภาคตะวันออก (征東將軍 เจิงตงเจียงจฺวิน) ไปเป็นขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南將軍 เจิงหนานเจียงจฺวิน) และรับผิดชอบดูแลปฏิบัติการทางการทหารในมณฑลเกงจิ๋ว ในปีถัดมา ราชสำนักวุยก๊กเพิ่มศักดินาให้อองกี๋ 1,000 ครัวเรือน ทำให้อองกี๋มีศักดินาทั้งหมดเพิ่มเป็น 5,700 ครัวเรือน บุตรชายของอองกี๋ 2 คนได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักด์โหวระดับหมู่บ้านหรือเตงเฮา (亭侯 ถิงโหว) และโหวระดับรองหรือกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว) ตามลำดับ
ในช่วงระหว่างวันที่ 17 เมษายนและ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 261 (胡烈 หู เลี่ย) เจ้าเมืองซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) รายงานว่าเติ้ง โหยว (鄧由) และหลี่ กวาง (李光) นายทหารของง่อก๊กกำลังวางแผนจะนำกำลังทหาร 18 หน่วยแปรพักตร์มาเข้าด้วยวุยก๊ก และได้ส่งผู้ใต้บังคับบัญชาชื่อจาง อู๋ (張吳) และเติ้ง เชิง (鄧生) ข้ามชายแดนมาแล้ว เมื่อได้รับข่าวสุมาเจียวและราชสำนักวุยก๊กมีคำสั่งให้อองกี๋ระดมทหารหลายหน่วยจากทั่วมณฑลเกงจิ๋วรวมถึงซงหยงให้เตรียมการบุกง่อก๊กครั้งใหญ่โดยความช่วยเหลือของผู้แปรพักตร์
เมื่ออองกี๋ได้ยินเรื่องนี้ก็สงสัยว่าเติ้ง โหยวและหลี่ กวางแสร้งทำเป็นแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก อองกี๋จึงเขียนรายงานด่วนถึงราชสำนักว่า: "เราควรตรวจสอบและยืนยันเสียก่อน เราไม่ควรเร่งระดมกำลังทหารและส่งให้ยกลึกเข้าไปในแดนข้าศึก" จากนั้นจึงเขียนรายงานต่อเนื่องไปว่า:
"[...] ตั้งแต่ศักราชเจียผิง (嘉平; ค.ศ. 249-254) เราประสบการก่อกบฏและความขัดแย้งภายในมาหลายครั้ง สิ่งสำคัญที่สุดที่เราควรทำตอนนี้คือการประกันเสถียรภาพของรัฐในระยะยาวและนำความสงบสุขมาสู่ราษฎร เราไม่ควรกระตือรือร้นเกินไปที่จะโจมตีข้าศึกและแสวงหาผลประโยชน์ภายนอก ท้ายที่สุดเราอาจได้รับชัยชนะเพียงเล็กน้อย แต่สูญเสียอย่างหนัก"
หลังสุมาเจียวได้รับรายงาน 2 ฉบับของอองกี๋ในช่วงเวลาสั้น ๆ สุมาเจียวยังเห็นว่าเติ้ง โหยวและหลี่ กวางน่าสงสัย สุมาเจียวจึงสั่งให้กำลังทหารที่ระดมเข้ามาให้หยุดอยู่ ณ ตำแหน่งปัจจุบันทันทีและรอคอยคำสั่งเพิ่มเติม อองกี๋เขียนหนังสือถึงสุมาเจียวอีกครั้งว่า:
"ในอดีต พระเจ้าฮั่นโกโจ (漢高祖 ฮั่นเกาจู่) ทรงต้องการฟังคำแนะนำของ (酈生 ลี่ เชิง) และก่อตั้งหกรณรัฐขึ้นใหม่ แต่พระองค์หยุดพระดำรินั้นเมื่อเตียวเหลียง (張良 จาง เหลียง) ทัดทาน ข้าพเจ้าอาจจะไม่ชาญฉลาดอย่างหลิวโหว (留侯) แต่ข้าพเจ้าก็เกรงว่าเจ้าเมืองซงหยงกำลังทำผิดพลาดแบบเดียวกับ (ลี่) อี้จี (酈食其; คือคนเดียวกันกับหลีเสง)"
สุมาเจียวจึงสั่งการให้กำลังทหารระแวดระวังอย่างมากในทันที จากนั้นจึงเขียนหนังสือถึงอองกี๋ตอบว่า "หลายคนที่ทำงานร่วมกันข้าเป็นเพียงคนช่างประจบประแจงที่หวังจะได้รับความโปรดปรานจากข้าผ่านการเยินยอ มีน้อยคนนักที่กล้าจะพูดออกมาอย่างตรงไปตรงมากับข้า ท่านเป็นที่รู้จักในเรื่องความจงรักภักดี ท่านมอบคำแนะนำที่ดีแก่ข้าอยู่บ่อยครั้ง ข้าควรจะฟังคำแนะนำของท่านอีกครั้ง" เป็นไปตามที่อองกี๋สงสัย เติ้ง โหยวและหลี่กวางแสร้งทำเป็นแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก และไม่ได้นำกำลังทหารมาตามที่ให้คำมั่นไว้
เสียชีวิต
อองกี๋เสียชีวิตในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 261 ขณะอายุ 72 ปี (ตาม) ราชสำนักวุยก๊กแต่งตั้งย้อนหลังให้อองกี๋มีตำแหน่ง (司空 ซือคง) และมอบสมัญญานามให้ว่า "จิ่งโหว" (景侯) พร้อมด้วยบรรดาศักดิ์ "ตงอู่โหว" (東武侯) ซึ่งอองกี๋ปฏิเสธไปเมื่อปี ค.ศ. 258
ชิ้นส่วนของศิลาป้ายสุสานของอองกี๋ถูกค้นพบในนครลั่วหยางในช่วงศักราชเฉียนหลง (ค.ศ. 1735–1795) ในยุคราชวงศ์ชิง ความจารึกบนศิลาถูกบันทึกในเล่มที่ 56 ของเฉฺวียนซานกั๋วเหวิน (全三國文) ที่รวบรวมโดยเหยียน เข่อจฺวิน (嚴可均) ในศตวรรษที่ 19
ครอบครัว
บุตรชายของอองกี๋ชื่อหวาง ฮุย (王徽) ได้สืบทอดบรรดาศักด์ของบิดาและขึ้นเป็นตงอู่โหว (東武侯) คนใหม่ แต่เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 264 และ ค.ศ. 265 ไม่นานก่อนราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนที่รัฐวุยก๊ก ราชสำนักวุยก๊กได้ก่อตั้งระบบบรรดาศักดิ์ 5 ขั้น และตั้งให้หวาง อี้ (王廙) หลานชายของอองกี๋เป็นตงอู่โหวคนใหม่ มีการก่อตั้งเขตศักดินาใหม่จากครัวเรือนส่วนเกินของเขตศักดินาตงอู่ และตั้งให้บุตรชายคนหนึ่งของหวาง อี้มีบรรดาศักดิ์ระดับกวนไล่เหา (關內侯 กวานเน่ย์โหว)
อองกี๋มีบุตรสาวชื่อหวาง ช่าน (王粲) มีชื่อรองว่านฺหวี่ อี๋ (女儀) สมรสกับ (司馬肜) ในปี ค.ศ. 264 และขึ้นเป็นพระชายาในปี ค.ศ. 266 เมื่อซือหม่า หรงได้การแต่งตั้งให้มีฐานันดรศักดิ์เลียงอ๋อง (梁王 เหลียงหวาง) โดยราชวงศ์จิ้น หวาง ช่านสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 284 มีการตั้งศิลาป้ายสุสานเพื่อหวาง ช่านในปี ค.ศ. 288 ใกล้กับอำเภอซุยหยาง (睢陽縣 ซุยหยางเซี่ยน; ปัจจุบันคือ นคร มณฑลเหอหนาน)
ในปี ค.ศ. 266 หลังราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนที่รัฐวุยก๊ก ราชสำนักของราชวงศ์จิ้นออกพระราชโองการว่า:
"เสนาบดีโยธาธิการอองกี๋ผู้ล่วงลับไปแล้วได้สร้างคุณงามความดีและปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรม แต่ท่านใช้ชีวิตอย่างถ่อมตนและสมถะ และไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวใด ๆ แม้ว่าท่านดำรงตำแหน่งเป็นเวลานาน แต่ที่บ้านก็ไม่ได้มั่งคั่งมากนัก ความประพฤิตและคุณธรรมทำให้ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีแก่มวลชน ด้วยเหตุนี้ครอบครัวของท่านจึงจะได้รับบำเหน็จเป็นข้ารับใช้สองคน"
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
- ชื่อ "ตันฉอง" ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82 ตรงกับชื่อในภาษาจีนกลางว่า "อานเฟิง" (安豐) เป็นคนละชื่อกับเฉินชาง (陳倉) ซึ่งในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรียกว่า "ตันฉอง" เช่นกัน (ดูเพิ่มที่การล้อมตันฉอง)
- ศิลาป้ายสุสานอองกี๋บันทึกว่าอองกี๋เสียชีวิตในวันซินโฉ่ว (辛丑) ในเดือน 4 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของโจฮวน ขณะอายุ 72 ปี (ตาม) วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 261 ในปฏิทินกริกอเรียน เมื่อคำนวณแล้วปีเกิดของอองกี๋จึงควรเป็น ค.ศ. 190
- ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81
- ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82
- สุมาอี้ดำรงตำแหน่งมหาขุนพลตั้งแต่ปี ค.ศ. 230 ถึง ค.ศ. 235
- โจซองดำรงตำแหน่งมหาขุนพลตั้งแต่ปี ค.ศ. 239 ถึง ค.ศ. 249
- ลกซุนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 245 ส่วนซุนกวนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 252 อิงจากคำตอบของอองกี๋ต่อจูกัดเอี๋ยนแล้ว เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงระหว่าง ค.ศ. 245 และ ค.ศ. 252
- จ้านเลฺว่ (戰畧) ของซือหม่า เปียว (司馬彪) บันทึกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือน 3 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของโจฮวน เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 17 เมษายนถึง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 261 ในปฏิทินกริกอเรียน
- หลิวโหว (留侯) เป็นบรรดาศักดิ์ของเตียวเหลียง
อ้างอิง
- (... 年七十二,景元二年四月辛丑薨。) เฉฺวียนซานกั๋วเหวิน เล่มที่ 56.
- ("สุมาสูก็มานะในใจยืนขึ้นจึงว่า ข้าป่วยเพียงนี้มิพอเปนไรจำจะไปเองจึงจะได้การ ก็ให้สุมาเจียวอยู่รักษาเมือง จึงให้จูกัดตุ้นนายทหารเปนแม่ทัพเมืองอิจิ๋วยกไปตีเมืองชิวฉุน ให้อ้าวจุ๋นนายทหารเปนแม่ทัพเมืองเซงจิ๋ว ยกไปสกัดอยู่ตำบลเจี๋ยวซองเปนทางข้าศึกจะกลับไป ให้อองตี๋นายทหารไปตีตำบลติ่นลำ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- ("ฝ่ายอองกิ๋มคุมทหารตีเข้าไปทางประตูทิศตวันตก พบนายทหารเมืองกังตั๋งเข้าจึงร้องว่า ท่านยังจะรบไปถึงไหน เร่งมาสมัคด้วยเราเถิดจะรอดชีวิต") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
- de Crespigny (2007), p. 818.
- (王基字伯輿,東萊曲城人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (少孤,與叔父翁居。翁撫養甚篤,基亦以孝稱。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (年十七,郡召為吏,非其好也,遂去,入琅邪界游學。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (黃初中,察孝廉,除郎中。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (是時青土初定,刺史王凌特表請基為別駕,後召為秘書郎,凌復請還。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (頃之,司徒王朗辟基,淩不遣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (朗書劾州曰:「凡家臣之良,則升于公輔,公臣之良,則入于王職,是故古者侯伯有貢士之禮。今州取宿衞之臣,留秘閣之吏,所希聞也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (淩猶不遣。淩流稱青土,蓋亦由基恊和之輔也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (大將軍司馬宣王辟基,未至,擢為中書侍郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (明帝盛脩宮室,百姓勞瘁。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基上疏曰:「臣聞古人以水喻民,曰『水所以載舟,亦所以覆舟』。故在民上者,不可以不戒懼。夫民逸則慮易,苦則思難,是以先王居之以約儉,俾不至於生患。昔顏淵云東野子之御,馬力盡矣而求進不已,是以知其將敗。今事役勞苦,男女離曠,願陛下深察東野之弊,留意舟水之喻,息奔駟於未盡,節力役於未困。昔漢有天下,至孝文時唯有同姓諸侯,而賈誼憂之曰:『置火積薪之下而寢其上,因謂之安也。』今寇賊未殄,猛將擁兵,檢之則無以應敵,乆之則難以遺後,當盛明之世,不務以除患,若子孫不競,社稷之憂也。使賈誼復起,必深切於曩時矣。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (散騎常侍王肅著諸經傳解及論定朝儀,改易鄭玄舊說,而基據持玄義,常與抗衡。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (遷安平太守,公事去官。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- ("ฝ่ายทหารกองทัพเมืองกังตั๋งถอยไปอยู่ตำบลตันฉอง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 23, 2024.
- (時吳兵退屯安豐) สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่นอี้) เล่มที่ 112.
- (大將軍曹爽請為從事中郎,出為安豐太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (郡接吳寇,為政清嚴有威惠,明設防備,敵不敢犯。加討寇將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (吳嘗大發衆集建業,揚聲欲入攻揚州,刺史諸葛誕使基策之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基曰:「昔孫權再至合肥,一至江夏,其後全琮出廬江,朱然寇襄陽,皆無功而還。今陸遜等已死,而權年老,內無賢嗣,中無謀主。權自出則懼內釁卒起,癕疽發潰;遣將則舊將已盡,新將未信。此不過欲補定支黨,還自保護耳。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (後權竟不能出。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (時曹爽專柄,風化陵遲,基著時要論以切世事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (以疾徵還,起家為河南尹,未拜,爽伏誅,基甞為爽官屬,隨例罷。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (其年為尚書,出為荊州刺史,加揚烈將軍,隨征南王昶擊吳。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基別襲步恊於夷陵,恊閉門自守。基示以攻形,而實分兵取雄父邸閣,收米三十餘萬斛,虜安北將軍譚正,納降數千口。於是移其降民,置夷陵縣。賜爵關內侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基又表城上昶,徙江夏治之,以偪夏口,由是賊不敢輕越江。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (明制度,整軍農,兼脩學校,南方稱之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (時朝廷議欲伐吳,詔基量進趣之宜。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基對曰:「夫兵動而無功,則威名折於外,財用窮於內,故必全而後用也。若不資通川聚糧水戰之備,則雖積兵江內,無必渡之勢矣。今江陵有沮、漳二水,溉灌膏腴之田以千數。安陸左右,陂池沃衍。若水陸並農,以實軍資,然後引兵詣江陵、夷陵,分據夏口,順沮、漳,資水浮糓而下。賊知官兵有經乆之勢,則拒天誅者意沮,而向王化者益固。然後率合蠻夷以攻其內,精卒勁兵以討其外,則夏口以上必拔,而江外之郡不守。如此,吳、蜀之交絕,交絕而吳禽矣。不然,兵出之利,未可必矣。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (於是遂止。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (司馬景王新統政,基書戒之曰: ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (「天下至廣,萬機至猥,誠不可不矜矜業業,坐而待旦也。夫志正則衆邪不生,心靜則衆事不躁,思慮審定則教令不煩,親用忠良則遠近恊服。故知和遠在身,定衆在心。許允、傅嘏、袁侃、崔贊皆一時正士,有直質而無流心,可與同政事者也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (景王納其言。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (高貴鄉公即尊位,進封常樂亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27
- Sima (1084), vol. 76.
- (毌丘儉、文欽作亂,以基為行監軍、假節,統許昌軍,適與景王會於許昌。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (景王曰:「君籌儉等何如?」基曰:「淮南之逆,非吏民思亂也,儉等誑脅迫懼,畏目下之戮,是以尚群聚耳。若大兵臨偪,必土崩瓦解,儉、欽之首,不終朝而縣於軍門矣。」景王曰:「善。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (乃令基居軍前。議者咸以儉、欽慓悍,難與爭鋒。詔基停駐。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基以為:「儉等舉軍足以深入,而乆不進者,是其詐偽已露,衆心疑沮也。今不張示威形以副民望,而停軍高壘,有似畏懦,非用兵之勢也。若或虜略民人,又州郡兵家為賊所得者,更懷離心;儉等所迫脅者,自顧罪重,不敢復還,此為錯兵無用之地,而成姦宄之源。吳寇因之,則淮南非國家之有,譙、沛、汝、豫危而不安,此計之大失也。軍宜速進據南頓,南頓有大邸閣,計足軍人四十日糧。保堅城,因積穀,先人有奪人之心,此平賊之要也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基屢請,乃聽進據濦水。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (旣至,復言曰:「兵聞拙速,未覩工遟之乆。方今外有彊寇,內有叛臣,若不時決,則事之深淺未可測也。議者多欲將軍持重。將軍持重是也,停軍不進非也。持重非不行之謂也,進而不可犯耳。今據堅城,保壁壘,以積實資虜,縣運軍糧,甚非計也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (景王欲須諸軍集到,猶尚未許。基曰:「將在軍,君令有所不受。彼得則利,我得亦利,是謂爭城,南頓是也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (遂輙進據南頓,儉等從項亦爭欲往,發十餘里,聞基先到,復還保項。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (時兖州刺史鄧艾屯樂嘉,儉使文欽將兵襲艾。基知其勢分,進兵偪項,儉衆遂敗。欽等已平,遷鎮南將軍,都督豫州諸軍事,領豫州刺史,進封安樂鄉侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (上疏求分戶二百,賜叔父子喬爵關內侯,以報叔父拊育之德。有詔特聽。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (諸葛誕反,基以本官行鎮東將軍,都督揚、豫諸軍事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (時大軍在項,以賊兵精,詔基斂軍堅壘。基累啟求進討。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (會吳遣朱異來救誕,軍於安城。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基又被詔引諸軍轉據北山,基謂諸將曰:「今圍壘轉固,兵馬向集,但當精修守備以待越逸,而更移兵守險,使得放縱,雖有智者不能善後矣。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (遂守便宜上疏曰:「今與賊家對敵,當不動如山。若遷移依險,人心搖蕩,於勢大損。諸軍並據深溝高壘,衆心皆定,不可傾動,此御兵之要也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (書奏,報聽。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (大將軍司馬文王進屯丘頭,分部圍守,各有所統。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基督城東城南二十六軍,文王勑軍吏入鎮南部界,一不得有所遣。城中食盡,晝夜攻壘,基輙拒擊,破之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (壽春旣拔,文王與基書曰:「初議者云云,求移者甚衆,時未臨履,亦謂宜然。將軍深筭利害,獨秉固志,上違詔命,下拒衆議,終至制敵禽賊,雖古人所述,不是過也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (文王欲遣諸將輕兵深入,招迎唐咨等子弟,因釁有蕩覆吳之勢。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基諫曰:「昔諸葛恪乘東關之勝,竭江表之兵,以圍新城,城旣不拔,而衆死者太半。姜維因洮上之利,輕兵深入,糧餉不繼,軍覆上邽。夫大捷之後,上下輕敵,輕敵則慮難不深。今賊新敗於外,又內患未弭,是其脩備設慮之時也。且兵出踰年,人有歸志,今俘馘十萬,罪人斯得,自歷代征伐,未有全兵獨克如今之盛者也。武皇帝克袁紹於官渡,自以所獲已多,不復追奔,懼挫威也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (文王乃止。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (以淮南初定,轉基為征東將軍,都督揚州諸軍事,進封東武侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基上疏固讓,歸功參佐,由是長史司馬等七人皆侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (是歲,基母卒,詔祕其凶問,迎基父豹喪合葬洛陽,追贈豹北海太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (甘露四年,轉為征南將軍,都督荊州諸軍事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (常道鄉公即尊位,增邑千戶,并前五千七百戶。前後封子二人亭侯、關內侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (司馬彪戰畧載基此事,詳於本傳。曰:「景元二年春三月,襄陽太守胡烈表上『吳賊鄧由、李光等,同謀十八屯,欲來歸化,遣將張吳、鄧生,并送質任。克期欲令郡軍臨江迎拔』。) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (景元二年,襄陽太守表吳賊鄧由等欲來歸化,基被詔,當因此震蕩江表。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (大將軍司馬文王啟聞。詔征南將軍王基部分諸軍,使烈督萬人徑造沮水,荊州、義陽南屯宜城,承書夙發。若由等如期到者,便當因此震蕩江表。) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基疑其詐,馳驛陳狀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基疑賊詐降,誘致官兵,馳驛止文王,說由等可疑之狀。) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (『且當清澄,未宜便舉重兵深入應之』。) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (且曰:「嘉平以來,累有內難,當今之務,在於鎮安社稷,綏寧百姓,未宜動衆以求外利。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (又曰:『夷陵東道,當由車御,至赤岸乃得渡坦,西道當出箭谿口,乃趣平土,皆山險狹,竹木叢蔚,卒有要害,弩馬不陳。今者筋角弩弱,水潦方降,廢盛農之務,徼難必之利,此事之危者也。昔子午之役,兵行數百里而值霖雨,橋閣破壞,後糧腐敗,前軍縣乏。姜維深入,不待輜重,士衆飢餓,覆軍上邽。文欽、唐咨,舉吳重兵,昧利壽春,身歿不反。此皆近事之鑒戒也。嘉平以來,累有內難。當今之宜,當鎮安社稷,撫寧上下,力農務本,懷柔百姓,未宜動衆以求外利也。得之未足為多,失之傷損威重。』) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (文王累得基書,意疑。尋勑諸軍已上道者,且權停住所在,須後節度。) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (基又言於文王曰:『昔漢祖納酈生之說,欲封六國,寤張良之謀,而趣銷印。基謀慮淺短,誠不及留侯,亦懼襄陽有食其之謬。』) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (文王報書曰:「凡處事者,多曲相從順,鮮能確然共盡理實。誠感忠愛,每見規示,輙敬依來指。」後由等竟不降。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (文王於是遂罷軍嚴,後由等果不降。」) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (是歲基薨,追贈司空,謚曰景侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- Yeh (1985), pp. 400–403.
- (子徽嗣,早卒。咸熈中,開建五等,以基著勳前朝,改封基孫廙,而以東武餘邑賜一子爵關內侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
- (蠡臺直東,又有一臺,世謂之雀臺也。城內東西道北,有晉梁王妃王氏陵表,竝列二碑,碑云:妃諱粲,字女儀,東萊曲城人也。齊北海府君之孫,司空東武景侯之季女,咸熙元年嬪於司馬氏,泰始二年妃於國,太康五年薨,營陵於新蒙之,太康九年立碑。) ฉุ่ยจิงจู้ เล่มที่ 24.
- (晉室踐阼,下詔曰:「故司空王基旣著德立勳,又治身清素,不營產業,乆在重任,家無私積,可謂身沒行顯,足用勵俗者也。其以奴婢二人賜其家。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 27.
บรรณานุกรม
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- (ศตวรรษที่ 6). .
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- เหยียน เข่อจฺวิน (ศตวรรษที่ 19). เฉวียนซานกั๋วเหวิน (全三國文).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN .
- Yeh, Kuo-liang (1985). "A Philological Study of Inscriptions on Five Tombstones from the Wei and Jin Dynasties 魏晉碑記考釋五則" (PDF). Bulletin of the Department of Chinese Literature, National Taiwan University (ภาษาจีน). Department of Chinese Literature, National Taiwan University. 74 (11): 397–408. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xxngki xxngti hruxxxngkim kh s 190 9 mithunayn kh s 261 michuxinphasacinklangwa hwang ci cin 王基 phinxin Wang Ji chuxrxng pw y hwi cin 伯輿 phinxin Boyu epnkhunphlkhxngrthwuykkinyukhsamkkkhxngcin erimrbrachkarinthanakharachkarchnphunxyphayithwang hling 王淩 khahlwngmnthlechngciw inewlannxxngkiidrbkarykyxngwaepnkharachkartwxyangthiptibtihnathiiddi phayhlngidyayiprbrachkarinrachsankthinkhrlkexiyng txmaideluxntaaehnngepnecaemuxng aetthukpldxxkcaktaaehnngepnewlasn emuxsumaxiphusaercrachkaraethnphraxngkhaehngwuykkyudxanaccakocsxngthiepnphusaercrachkarrwminrthpraharemuxpi kh s 249 xyangirktam xxngkiidrbkareriyktwklbekharbrachkarxyangrwderw aelaideluxnkhunepnkhahlwngmnthlekngciwaelaidrbkaraetngtngihepnkhunphl inchwngtngaetpi kh s 251 cnkrathngesiychiwitinpi kh s 261 xxngkiyngkhngrksakhwamsmphnthinkarthanganxyangiklchidaetdwykhwamechiywchaykbphusaercrachkaraethnphraxngkhsumasuaelasumaeciyw inchwngewlani xxngkiidduaelrachkarthharinmnthlekngciw xiciw aelayngciw aelapxngknchayaedndantawnxxkaeladanitkhxngwuykkcakngxkkthiepnrthxrikhxngwuykk xxngkiyngchwysumasuaelasumaeciywinkarprabprabsxnginsamkbtinchiwchuninpi kh s 255 aela kh s 257 258 tamladb inpi kh s 261 inchwngewlaimkieduxnkxnesiychiwit xxngkiidkhadkarnidxyangthuktxngwanaythharngxkksxngnayaesrngaeprphktrekhadwywuykk aelasamarthpxngknthphwuykkcakkartkekhasuklxubaykhxngngxkkxxngki hwang ci 王基silapaysusanxxngkikhunphlocmtiphakhit 征南將軍 ecinghnaneciyngc win darngtaaehnng kh s 259 259 kh s 261 261 kstriyocmx ochwnkhunphlocmtiphakhtawnxxk 征東將軍 ecingtngeciyngc win darngtaaehnng kh s 258 258 kh s 259 259 kstriyocmxkhunphlphithksphakhtawnxxk 鎮東將軍 ecintngeciyngc win rksakar darngtaaehnng kh s 257 257 kh s 258 258 kstriyocmxkhahlwngmnthlxiciw 豫州刺史 y wiocwchuxchux rksakar darngtaaehnng kh s 255 255 kh s 257 257 kstriyocmxkhunphlphithksphakhit 鎮南將軍 ecinhnaneciyngc win darngtaaehnng kh s 255 255 kh s 257 257 kstriyocmxkhunphlechidchukhwamdudn 揚烈將軍 hyangeliyeciyngc win darngtaaehnng kh s 250 250 kh s 255 255 kstriyochxngkhahlwngmnthlekngciw 荊州刺史 cingocwchuxchux darngtaaehnng kh s 250 250 kh s 255 255 kstriyochxngkhunphlocmtikbt 討寇將軍 ethaokhweciyngc win darngtaaehnng kh s kh s 249 249 kstriyochxngecaemuxngtnchxng 安豐太守 xanefingeciyngc win darngtaaehnng kh s kh s 249 249 kstriyochxngecaemuxngxnepng 安平太守 xanphingeciyngc win darngtaaehnng kh s kh s kstriyocyxykhxmulswnbukhkhlekidkh s 190 nkhr mnthlchantngesiychiwit9 mithunayn kh s 261 71 pi thiiwsphnkhrlwhyang mnthlehxhnanbutrhwang huyhwang chanbuphkarihwang epa bida khwamsmphnthhwang ewing xa hwang echiyw lukphiluknxng xachiphkhunphlchuxrxngpw y hwi 伯輿 cingohw 景侯 brrdaskdixanelxesiyngohw 安樂鄉侯 prawtichwngtnxxngkiepnchawxaephxch wieching 曲城縣 ch wiechingesiyn emuxng 東萊郡 tngihlc win sungtngxyuthangtawntkechiyngehnuxkhxngnkhr mnthlchantnginpccubn xxngkiekidinpi kh s 190 inchwngplaykhxngyukhrachwngshntawnxxk xxngkiesiybidatngaetxyuinwyeyawcungidrbkareliyngduepnxyangdicakhwang ewing 王翁 phuepnxa xxngkicungktyyutxxaepnxyangsung emuxxxngkixayu 16 pi thiwakaremuxngidrbxxngkimarbrachkarepnecahnathiphuchwy xxngkilaxxkinewlatxmahlngtrahnkwatnimsnicinrachkar caknncungedinthangipyngemuxng 琅邪郡 hlanghyac win xyubriewnnkhr mnthlchantnginpccubn ephuxsuksaephimetimkb 鄭玄 ecing es wiyn phuepnbnthitlththikhngcuxinthanaphuitbngkhbbychakhxnghwang hlinginchwngrahwangpi kh s 220 aela kh s 226 thiwakaremuxngtngihlesnxchuxxxngkiepn 孝廉 khaeriykphuidrbkaresnxchuxekharbrachkar mayngrachsankkhxngrthwuykk xxngkicungidrbkartngepnmhadelkklang 郎中 hlangcng ewlann hwang hling 王淩 sungephingkhunrbtaaehnngepnkhahlwngmnthl 刺史 chuxchux khxngmnthlechngciwidrbxxngkimarbrachkarepnecahnathiphuchwy 別駕 epiyeciy khxngtn phayhlngxxngkithukeriyktwmayngrachthanilkexiyngephuxrbrachkarepnkhunnanghxngsmudhlwng 秘書郎 michuhlang hwang hlingsngkharxngmayngrachsankklangephuxkhxihxxngkiyngkhngrbrachkarinmnthlechngciwaelaidrbkarxnumti khrnghnungxxnglxngphuepn 司徒 suxthu ekhykhxihhwang hlingyayxxngkimayngsankkhxngtninlkexiyng aethwang hlingptiesth xxnglxngcungekhiyndikathwayrachsankklawhawahwang hlingkidknphumikhwamsamarth kharachkarradbthxngthnnthithanganiddiepnphiesskkhwrcaeluxnkhnepnradbemuxng kharachkarradbemuxngthithanganiddikkhwridrbkaraenanaipyngrachsankklang aenwptibtinimitnkaenidmacakthrrmeniymobrankhxngkhunnangthiesnxphumikhwamsamarthinthxngthinihkbphupkkhrxngkhxngtn khaphraphuththecaimekhyidyinwamiecahnathiswnphumiphakhkhnidptiesththicaihphuitbngkhbbychakhxngtnidrbrachkarinrachsankklang aemcamikhxklawhakhxngxxnglxng aethwang hlingkyngkhngptiesththicaihxxngkiip tlxdchwngewlathihwang hlingdarngtaaehnnginechngciw phlnganswnihykhxnghwang hlingaethcringaelwmacakkhwamphyayamkhxngxxngkirbrachkarinrachsankinchwngrahwangpi kh s 230 aela kh s 235sumaxiphudarngtaaehnngmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win khxngwuykkeriyktwxxngkimarbrachkarkbtn hwang hlingimmithangeluxkxunnxkcakyxmihxxngkiip kxnthixxngkicaipthungsankkhxngsumaxi kidrbkartngihepnkhunnangsankrachelkhathikarrachwng 中書侍郎 cngchuchuxhlang inrchsmykhxngocyxyckrphrrdiaehngwuykkrahwangpi kh s 226 thung kh s 239 ocyxythrngerimokhrngkarkxsrangphrarachwngthihruhraaelafumefuxy enuxngcakokhrngkarniichaerngnganmhasal cungsngphlkrathbxyanghnktxrasdrthithukeknthmaepnkhnnganinokhrngkar xxngkiekhiyndikathungocyxythulaenanaphraxngkhihhyudokhrngkar khaphraphuththecaidyinwakhnobranichnaepnxupmainkarklawthungrasdr naxacthaiheruxlxy aetkthaiheruxcmidechnkn phupkkhrxngthithrngpyyathisudexaiciskhaetuxnnixyuesmx thukxyangepnipdwydiemuxrasdrmichiwitthimikhwamsukhsngb aethakchiwityakekhy rasdrkcakhidthungkarkxkbt nnepnsaehtuthickrphrrdixngkhkxnthrngsnbsnunkhwamprahydaelakhwameriybngay phraxngkhmiphraprasngkhcapxngknkarlukhuxkhxngpracharasdr ngnexiyn 顏淵 ehyiyn ey wiyn hrux 顏回 ehyiyn huy ekhyklawwaemuxtngehy cux 東野子 yngkhngbngkhbmaihedincnhmdaerngkhnakhbrthmacungephingrutwwatncalmehlw bdniokhrngkarkxsrangphrarachwngichthunthrphysungaelamipharahnkcnthaihhlaykhrxbkhrwphngthlay kxkhwamimphxicxyangmakcakehlarasdr khaphraphuththecahwngwafabathcathrngeriynrucakhwamphidphladkhxngtngehy cux khxthrngtruktrxngekiywkbxupmaeruxngnaaelarasdr ihewlamathixxnlaidphkfun aelaldpharaihkbrasdr inchwngtnyukhrachwngshn tngaetrchsmykhxngckrphrrdiesiywehwin 孝文 epntnma miephiyngsmachikkhxngrachwngsethannthisamarthepnkhunnangid 賈誼 rusukkngwlcungklawwa phwkthanyngkhidwatnplxdphykhnaphwkthankalngnxnxyubnkxngfunthilukepnif thukwnnistrukhxngerayngimthukkacd inkhnathikhunphlthinaekrngkhamkhxngerabychakarthphihy cayingepnkaryungyakthicarbmuxphwkekhahakphwkekharwmkalngkntxtanera inrayayawkcaepnkaryakyingthirachwngsnicakhngxyuipyawnan hakphuidimraaewdrawngaelamungennipthikarkacdphykhukkhaminyukhaehngkhwamecriyrungeruxng lukhlankcaxyuxyangphxxkphxicidimnankxnhaynacaekidaekrthni hakeciy xifunkhuncaktayaelaehnsingthiekidkhuninbdni ekhakcayingepnkngwl xxngskmichuxesiyngcakkarekhiynbthwicarnaelaxrrthathibaykhxngkhmphirinlththikhngcux rwmthungkaraesdngkhwamkhidehnekiywkbraebiyb crrya aelakhnbthrrmeniym thsnakhxngxxngskaetktangipxyangmakcakthsnakhxngbnthitlththikhngcux xxngkimkcathathayaelaimehndwykbxxngskephraaxxngkisuksaaelaptibtitamkhasxnkhxngetehiyn txmaxxngkiideluxnkhunepnecaemuxng 太守 ithochw khxngemuxng 安平郡 xanphingc win xyubriewnnkhr mnthlehxepyinpccubn txmaxxngkilaxxkcaktaaehnngdwyehtuphlthangrachkarinthanaecaemuxngtnchxnginchwngrahwangpi kh s 239 aela kh s 249ocsxngmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win aehngwuykkeriyktwxxngkimarbrachkarepnkhunnangphuchwy 從事中郎 chngchuxcnghlang khxngtn phayhlngxxngkiideluxnkhnepnecaemuxng 太守 ithochw khxngemuxngtnchxng 安豐郡 xanefingc win xyubriewnnkhr mnthlxanhuyinpccubn inchwngthidarngtaaehnng xxngkipkkhrxngemuxngxyangekhrngkhrdaetyutithrrm xxngkiyngptibtidwykhwamemttaepnkhrngkhrawephuxihidrbkarsnbsnuncakmwlchn emuxngtnchxngnntngxyuiklchayaednrahwangwuykkaelangxkkthiepnrthxrikhxngwuykk xxngkicungcdtngaelaesrimkarpxngknephuxybyngkhasuk txmaxxngkiidrbysephimetimepnkhunphlocmtikbt 討寇將軍 ethaokhweciyngc win inchwngrahwangpi kh s 245 aela kh s 252 miraynganwathphkhxngngxkkradmphlthi 建業 eciyney pccubnkhuxnkhrhnancing mnthleciyngsu nkhrhlwngkhxngngxkk thphngxkkyngprakaswakalngetriymkarcabukxanaekhtkhxngwuykkinmnthlyngciw cukdexiynkhahlwngmnthlyngciwkhxkhwamehnkhxngxxngkiekiywkbkarottxbkarbukkhxngngxkk xxngkitxbwa inxdit sunkwnocmtihbpa 合肥 ehxefy aelakngaeh 江夏 eciyngesiy cwncxngocmtiolkng 廬江 hlueciyng cuehiynocmtisnghyng 襄陽 esiynghyang aetphwkekhaimidxairklbipelycakyuththkarehlani bdnilksunaelakhnxun tayipaelw dansunkwnkxyuinwychraaelaimmithayaththimistipyyahruxhwhnankyuththsastrthiekngkacphxcaihphungphaid haksunkwnnathphdwytnexngephuxocmtiera kcatxngepnkngwlwaxacekidkhwamkhdaeyngphayinthiekidkhuncakkaraebngfkaebngfayrahwangkharachbripharkhxngtnexnginchwngthitnkalngxxkmaocmtifayeraxyu haksunkwnyxmihkhunphlkhxngtnnathphmaocmtiera kcaimmikhunphlphansukehluxxyukbtnihphungpha aelaekhayngimiwwangickhunphlihmxyangetmthi singthisunkwnphyayamcathacring khuxkarsbepliyntaaehnnginrachsankaelatngkhnthitniwwangicintaaehnngsakhy ephuxihmnicwakarpkkhrxngkhxngtncaxyuidinrayayaw xxngkiwiekhraahidxyangthuktxng sunkwnimidykthphocmtiwuykkinchwngewlann emuxocsxngepnphusaercrachkaraethnphraxngkhkhxngwuykkrahwangpi kh s 239 thung kh s 249 idphukkhadxanacaelaexiuxpraoychntxphwkphxng thaihekidkarthucritthangkaremuxngaelakhwamesuxmothrmthangwthnthrrm xxngkiidekhiyntara chuxeyahlun 時要論 khxekhiynwadwykhwamtxngkarkhxngyukhsmy ephuxaesdngthsnakhxngtnekiywkbkaremuxngrwmsmy caknnxxngkilaxxkcaktaaehnngecaemuxngtnchxngodyxangwasukhphaphimdi txmaimnanxxngkikidrbkareriyktwcakrachsankwuykkihmarbrachkarepnecaemuxng 河南尹 ehxhnanxin aetkxnthixxngkicaekharbtaaehnng ocsxngkthukokhnlmcakxanacinrthpraharthikxkarodysumaxithiepnphusaercrachkarrwm aelwocsxngkthukpraharchiwitphrxmdwykhrxbkhrwaelaphrrkhphwk xxngkiekhyepnphuitbngkhbbychakhxngocsxng cungphlxythukdungekhaipphwphnineruxngniaelathukpldcaktaaehnnginthanakhahlwngmnthlekngciwinpiediywkn kh s 249 hlngthukpldcaktaaehnng xxngkiidrbkareriyktwklbmarbrachkarepnrachelkhathikar 尚書 changchu insankrachelkhathikar inpithdma xxngkiideluxnepnkhahlwngmnthl 刺史 chuxchux khxngmnthlekngciwaelaidrbkaraetngtngepnkhunphlechidchukhwamdudn 揚烈將軍 hyangeliyeciyngc win hlngrbtaaehnngidimnan rachsankwuykkmikhasngihxxngkiekharwmkbxxngsxngkhunphlwuykkinkarthphthirbkbngxkk rahwangyuththkar xxngkinakalngthharekhaocmtithphngxkkthinaody 步恊 thixaephxxiehlng 夷陵縣 xihlingesiyn pccubnkhuxnkhr mnthlhuepy pu esiyaelathharlathxyiphlngkaaephngemuxng pidpratuaelaimyxmxxkrbkbxxngki xxngkicungsngthharihaesrngthaepnetriymkarcaocmtiemuxng khnaediywknklxbsngthharipyudyungchangkhxngthphngxkkthis yngfu 雄父 thharxxngkisamarthyudkhawsaridmakkwa 300 000 hu 斛 hnwyprimtr aelacbtwthan ecing 譚正 khunphlngxkkid phleruxnngxkkhlayphnkhnyxmswamiphkditxthphngxkk xxngkicdetriymihphleruxnidtngthinthanihminxaephxxiehlng rachsankwuykktngihxxngkimibrrdaskdiradbkwnileha 關內侯 kwanenyohw ephuxepnekiyrticakphlnganinkarsukkhxngxxngki xxngkiekhiynhnngsuxthungxxngsxng phyayamonmnawxxngsxngihyaythanptibtikaripyngemuxng 江夏郡 eciyngesiyc win xyubriewn mnthlhuepyinpccubn ephuxihiklkbchayaednwuykk ngxkkthiaehekha 夏口 esiyokhw xyuinnkhrxuhn mnthlhuepyinpccubn hlngcaknnma thphngxkkkimklakhamaemnamaocmtixanaekhtkhxngwuykkehmuxnthiekhythamakxn inchwngthixxngkidarngtaaehnngkhahlwngmnthlekngciw idpkkhrxngmnthlxyangsuxstyyutithrrm rksawinydiinkxngthphaelaphakhkarekstr aelasrangsanksuksahlayaehngephuxsngesrimkarsuksa xxngkiidrbkarykyxngxyangmakcakchawmnthlekngciw inchwngewlann rachsankwuykktxngkarerimkarthphrbkbngxkk cungmikhasngihxxngkikhidklyuththikhunma xxngkiphudwa hakeraerimkarthphtxnniaelaphichitngximsaerc eracaimephiyngesiykhwykalngic aetyngsinepluxngthrphyakr dngnn erakhwrocmtiktxemuxeraetriymphrxmepnxyangdiaelw hakeraimsrangkhlxngephim sasmesbiyngxaharmakkhun aelakxsrangeruxrbephimkhun aemeracatngkalngthhariwehnuxna aeterakcaimidrbkhwamidepriybechingyuththwithiid bdni 江陵 eciynghling miphunthiephaaplukhlayphnhmu 畝 hnwyphunthi idrbnacakaemnacwi 沮 aelacang 漳 erayngmiphundinxudmsmburnodyrxb 安陸 erakhwrmungennipthikarphthnathanphlitthangkarekstrihaekhngaekrng etriymkarxyangephiyngphx caknncungsngthharekhaocmtikngehlngaelaxiehlng aelwcungekhayudaehekha ichaemnacwiaelacanginkarkhnsngesbiyngxahar khwykalngickhxngkhasukcatklngemuxehnwaeramikaretriymkarxyangdiaelaichsphaphthangphumisastrihepnpraoychn emuxthungewlann thharkhasukcanwnmakkerimaeprphktrmaekhadwyfayera caknnerasamarthphukphnthmitrkbchnephaphunemuxnginngxaelarwmknokhnlmkarpkkhrxngkhxngngx caknnerakhwraebngkalngthharekhayudphunthithangehnuxkhxngaehekhaaelayudxanaekhtkhxngxehnuxaemnaaeyngsi emuxthaechnnierakcatdkartidtxrahwangngxaelack skdimihthngsxngfaysngkalngesrimmachwyehluxknaelakn emuxepnechnnn ngxkcatkepnehyuxkhxngeraodyngay aetinkhnanikhaphecaehnwayngimthungewlathieracaocmtingx karthphcungthukykelikip emuxsumasusubthxdxanactxcaksumaxiphubidainthanaphusaercrachkaraethnphraxngkhaehngwuykkinpi kh s 251 xxngkiekhiynhnngsuxthungsumasuwa aephndinkwangihy mihlayeruxngthitxngcdkar thankhwrkratuxruxrnxyuesmxaelakhynihmak hakpnithankhxngthansungsngaelaethiyngthrrm thancaimmikhwamkhidchwrayid hakickhxngthanbrisuththiaelasngb thancaimrusukthukrbkwncakesiyngmakmayodyrxbthan hakthanrxbkhxbaelaramdrawng thancaimphbkarchinaaelakhasngthiipsupharkicxnyaklabak hakthanichphumipyya khwamsamarth aelaphrswrrkhepnxyangdi thancaidrbkhwamekharphcakthukkhnimwacaxyuthiihn karkrathakhxngthancasngphltxkarrbrukhxngrasdrekiywkbtwthan inkhnathikhwamrxbrxbkhxngthancaepnsingkahndwathancarksakhwammnkhngphayiniddiephiyngid ekhaxin 許允 s wi y hwin epatan 傅嘏 fu ku 袁侃 aela 崔贊 epnphuchxbthrrmaelamikhunthrrm thansamarthrwmngankbphwkekhaxyangiklchidineruxngnoybayid sumasuyxmrbkhaaenanakhxngxxngki inpi kh s 254 hlngsumasupldochxngckrphrrdiwuykkxxkcaktaaehnng aelatngocmxkhunepnckrphrrdiaethn xxngkiideluxnbrrdaskdicakkwnilehakhunepnohwradbhmubanchuxbrrdaskdiwa changelxthingohw 常樂亭侯 prabkbtbukhiwekhiymaelabunkhiminpi kh s 255bukhiwekhiymaelabunkhimkhunphlwuykkerimkxkbtinchiwchun 壽春 ochwchun xyubriewn mnthlxanhuyinpccubn xaephxexkkhxngemuxnghwyhna 淮南郡 h wayhnanc win sungthukeriykwarthchx 楚國 chukw inewlann xxngkiidrbkaraetngtngepnrksakarphukakbthph 監軍 eciyngc win idrbmxbxayasiththi aelaidrbmxbhmayihbychakarthphwuykkthipracainhuot 許昌 s wichang sumasuphusaercrachkaraehngwuykknakalngthharcaklkexiyngnkhrhlwngkhxngwuykkipprabpramkbtaelaphbkbxxngkithihuot emuxsumasuthamxxngkiwakhidxyangirkbkarkrathakhxngbukhiwekhiymaelabunkhim xxngkitxbwa kharachkarthxngthininhwyhnaimmiswnrbphidchxbtxkarkxkbt bukhiwekhiymaelabunkhimbngkhbihphwkekhakxkbtodykhuwacakhahakimthatam phwkekhacaaetkkracayipemuxthphhlwngykmathung xikimnaneracaidehnsphkhxngbukhiwekhiymaelabunkhimaekhwnxyuthipratu sumasuehnchxbdwy sumasumxbhmayihxxngkibychakarthphhna inewlann naythharwuykkhlaykhnechuxwabukhiwekhiymaelabunkhimmikalngmakaelayakcaexachna rachsankwuykkcungmikhasngihxxngkiihrksathimnaelangdekhapathakbklumkbtinyuththkar xxngkiimehndwyodyklawwa bukhiwekhiymaelabunkhim bukhiwekhiymaelabunkhimmioxkasekhaocmtiera aetklbyngimthaechnnn nihmaykhwamwaphwkekhaimidepnxnhnungxnediywkntangcakthiehn aelaphwkekhaphyayamcaimepidephycudxxnnikhxngphwktn erakhwrichoxkasniaesdngaesnyanuphaphkhxngeraaelaaesdngihphukhnehnwaerasamarthprabkbtid hakeraimrudhnaaelamungaetcasrangpxmprakar phukhnkcakhidwaeraklwphwkkbt sungimsxdkhlxngkbhlkkarthhar hakphwkkbtcbkhrxbkhrwkhxngkharachkarthxngthinepntwpraknephuxbngkhbihkxkbt erakcasuyesiykarsnbsnuncakphukhn ehlaphuthithukbukhiwekhiymaelabunkhimkhmkhutangkruwaphwktnthaphid aetphwktnkimklahniephraahlaychiwitinkhrxbkhrwtkxyuinkhwamesiyng niepnthithimwlchnhlakhlaymarwmtwknaelaepnthithiphwkkbtkhadkhwamklahayinkarrb aetkyngepnoxkassahrbkhasukthicaaeswngpraoychn hakphwkngxichoxkasniekhaocmtiera kcasamarthyudkhrxngxanaekhtkwangkhwanginhwyhna hakepnechnnn dinaednkhxngechiyw 譙 ephy 沛 hru 汝 aelay wi 豫 kcatkxyuinxntray nncaepnkhwamphidphladxnihyhlwng erakhwrerngyudlaetng 南頓 hnantun sungmiyungchangthietmipdwyesbiyngxaharthisamartheliyngthharkhxngeraidthung 40 wn dwykaryudlaetngaelarksataaehnngsakhyiw erakcasamarthaesdngaesnyanuphaphtxphwkkbtid niepnkhntxnsakhysukarprabpramkbt aelwxxngkicungkhxxnuyatocmtiklumkbthlaykhrng emuxidrbkarxnumtiinthisud xxngkinakxngkalngkhxngtnipyngaemnaxinsuy 濦水 xinchuy thinnxxngkikhxxnuyatocmtiklumkbt kxngthphthiekhluxniderwepnkxngthphthiaekhngaekrng eraimkhwresiyewlaipepla bdnieraxyuinsthankarnthiphayineramikbttxngprabaelaphayineramikhasukthiaekhngaekrngthitxngrbmux hakeraimeddkhadintxnni khakkhadimidwacaekidxairkhuninphayhlng hlaykhnklawwakhakhwrramdrawnginkarnathphxxkrb aemwaphwkekhaphudthukwakhakhwrramdrawng aetkhaehnwaphwkekhaphudphidthihamimihkharudhnatxip karramdrawngimidhmaykhwamwacatxngrksathimniwaelaimthaxairely hakeraocmtitxnni erakchnaid bdnierayudcudyuththsastraelatngaenwpxngknthiaekhngaekrngaelw eraimtxngkhnsngesbiyngxaharipaenwhnadwyrayathangiklxiktxip karplxyihkhasukekhathungesbiyngxaharinphunthiidtxipthuxepnkhwamphidphladihyhlwng sumasutxngkarkhxycnkwathphwuykkthiradmmathnghmdcamathungaelwcungkhxyepidkarocmtichiwchun cungimxnuyatihxxngkiocmtikxn xxngkicungphudwa emuxkhunphlxxksusnamrb imcaepntxngptibtitamkhasngkhxngecanayesmxip hakphwkkbtyudxanaekhtidphwkkbtkcayingidepriyb hakerayudxanaekhtideracayingidepriyb nikhuxkhwamhmaykhxngkaryudkhrxngxanaekht thikhahmaythungthungthilaetng sumasucungxnumtiaelasngxxngkiekhayudlaetng 南頓 hnantun thangtawntkkhxngnkhr mnthlehxhnaninpccubn emuxbukhiwekhiymthraberuxngniknathphmungiplaetngechnkn hlngedinthangipidpraman 10 li kthrabkhawwaxxngkitikxngkalngfaytnidaelayudidlaetng bukhiwekhiymcunglathxyipxaephxhangesiy 項縣 esiyngesiyn pccubnkhux mnthlehxhnan inchwngewlann etngngaykhahlwngmnthlkunciwnathharmatngmnthingkaekesiy 樂嘉 ey weciy pccubnkhuxnkhresiyngeching mnthlehxhnan emuxxxngkiruwabukhiwekhiymsngbunkhimihnathphekhaocmtietngngaythingkaekesiy xxngkicungthuxoxkaskhxngsthankarnniekhaocmtiaelayudxaephxhangesiycakklumkbt hlngkbtthukprabpram xxngkiidrbkareluxnkhnepnkhunphlphithksphakhit 鎮南將軍 ecinhnaneciyngc win aelarbphidchxbduaelptibtikarthangkarthharinmnthlxiciw xxngkiyngidrbkaraetngtngihepnrksakarkhahlwngmnthlxiciw aelaideluxnbrrdaskdicakohwradbhmubanepnohwradbtablchuxbrrdaskdiwa xanelxesiyngohw 安樂鄉侯 xxngkiekhiyndikathungrachsankwuykk esnxihmxbskdina 200 khrweruxncakekhtskdinakhxngtnihkbhwang echiyw 王喬 phuepnlukphiluknxng ephuxaesdngkhwamkhxbkhuntxhwang ewing 王翁 bidakhxnghwang echiyw xakhxngxxngkithilwnglbipaelwthichwyeliyngdutntngaetxyuinwyeyaw rachsankxnumtikhakhxphiessniaelatngihhwang echiywmibrrdaskdiradbkwnileha 關內侯 kwanenyohw prabkbtcukdexiynemuxcukdexiynkhunphlwuykkerimkxkbtinchiwchun 壽春 ochwchun xyubriewn mnthlxanhuyinpccubn inpi kh s 257 xxngkiidrbkaraetngtngepnrksakarkhunphlphithksphakhtawnxxk 鎮東將軍 ecintngeciyngc win ephimetimcaktaaehnnginpccubnkhuxkhunphlphithksphakhit 鎮南將軍 ecinhnaneciyngc win xxngkiyngidrbmxbhmayihduaelptibtikarthangthharinmnthlyngciwaelaxiciw inewlann thphhlwngkhxngwuykktngmnxyuthixaephxhangesiy 項縣 esiyngesiyn pccubnkhux mnthlehxhnan imklaocmtiklumkbtephraaruwaklumkbtepnthharthichanaysuk rachsankwuykkcungmikhasngihxxngkikakbkarsrangaenwpxngknaelapxmprakar aelaptiesthkhakhxkhxngxxngkithikhxocmtiklumkbt ngxkkthiepnrthxrikhxngwuykksngcuxiihnathphngxkkmayngchiwchunephuxsnbsnuncukdexiyn thphngxkktngkhaythixaephxxaneching 安城縣 xanechingesiyn thangtawntkechiyngitkhxng mnthlehxhnaninpccubn xxngkiptibtitamkhasngaelanakalngthharekhayudeninthangthangehnux xxngkibxkkbnaythharwa pxmprakaraekhngaekrngmakaelw kalngthharkmarwmtwknthini eraephiyngtxngrksakarpxngknaelarxihkhasukykma hakerayngkhngcdkalngthharmarksacudyuththsastr eracamiaetcayingkracdkracay emuxepnechnnn aemwakhnthichladthisudkimsamarthkhidwithiaekpyhaid id caknnxxngkicungekhiynraynganthungrachsankwuykkwa dwysthankarninbdnithiephchiyhnakbkhasuk erakhwrrksathimnaelaimekhluxnihw hakeracdaelakracaykalngephuxpxngkncudyuththsastr cayingthaihekidkhwamimaennxnxyangmakinhmuthharaelathaihsthankarnimmnkhng kxngkalngthnghmdekhapracataaehnnginpxmprakar karrksakhwammnkhngepnkuyaecsakhykhxngkhwamsamarthkhxngaemthphinkarnakxngkalnginyuththkar rachsankxnumti sumaeciywmhakhunphl 大將軍 taeciyngc win aehngwuykknathphhlwngipyngchiwothw 丘頭 thangtawnxxkechiyngehnuxkhxng mnthlehxhnaninpccubn aelacdkalngthharodyrxbpxmemuxsrangaenwpxngkn ewlannxxngkibychathhar 26 hnwytngmnxyuthangtawnxxkechiyngitkhxngpxm sumaeciywsngkhnnasaripphbxxngkiaelamikhasngihxxngkirksathimnaelangdkarxxkippathakbklumkbtinsnamrb inewlaimnan phayinpxmkkhadaekhlnesbiynginkhnathiklumkbtephimkhwamrunaernginkarocmtimakkhun xxngkiyngkhngpxngknxyangmnkhngaelarksathimniw emuxoxkasmathung xxngkikepidchakotklbaelaexachnaklumkbtid hlngprakbtcukdexiynid xxngkiekhiynhnngsuxthungsumaeciywwa intxnaerkhlngkarharuxknxyangmak minaythharhlaynaythitxngkarcdkalngthharihm inewlann khaphecaimidxyuinaenwhnacungrbpakphwkekha thankhunnphl thankhidthukxyangrxbkhxb rksakhwamsngbmnkhng aelatanaerngkddncakehlanaythharcnthungkhnkhdrachoxngkar aetinthaythisud thankexachnakbtidsaerc imekhymieruxngechnnimakxninprawtisastr sumaeciywtxngkarkhxihtxngcuaelaphuaeprphktrcakngxkkihthahnathiepnphunathanginkarnathphwuykkbuklukekhaipinxanaekhtkhxngngxkkephuxepidkarocmti aetxxngkikhdkhansumaeciywodyklawwa imkipithiphanma cukdekktxngkarichpraoychncakaerngphlkdnthiidcakchychnakhxngngxthitngkwan 東關 cungradmkalngthharcakkngtngaelanathphekhaocmtisinesiy 新城 sineching aetcukdekkimephiynglmehlwinkaryudkhrxngsinesiy aetyngidrbkhwamesiyhayxyanghnk ekiyngxuyktxngkarichpraoychncakaerngphlkdnthiidcakchychnakhxngckthiaemnaetiywsuy 洮水 ethachuy cungnakalngthharbuklukekhaipinaedneraephuxocmtiera thaythisudesnthangkhnsngesbiyngkhxngekiyngxuykyudyawekinip aelaekiyngxuykphayaephybeyinthiesiyngethng 上邽 changkuy thukkhrnghlngcakthithharidchychna kmiaenwonmthiphwkekhacaduebakhasuk emuxphwkekhaduebakhasuk kmiaenwonmthicaipsukhwampramath bdnithphngxkkephingphayaephaelayngephchiykbphykhukkhamphayin phwkekhaxaccaephimkarpxngknaelaraaewdrawng nxkcaknihlngcakthasukmahlaypi thharehnuxylaaelaxyakklbban intxnnieraidthharkbtthiyxmcannhlayphnnayaelapraharchiwitcukdexiynphuthrysaelw nbtngaetsuksngkhraminchwngplayrachwngshnma imekhymimakxnthifaychnacaidrbchychnaodysmburnechnni emuxkhrnghuhxnget 武皇帝 xuh wangti hmaythungococh thrngexachnaxwnesiywinyuththkarthikwtx phraxngkhimidiltamtikhasukephraaphraxngkhthrngehnwaphraxngkhidrbmamakaelwcakchychnakhxngphraxngkh aelakardnthurngrudhnaipkmiaetcasngphlesiyyxnklbethann sumaeciywcungykelikkarocmtingxkk hlngthaihphumiphakhhwyhnaklbmasngb xxngkiidrbkaraetngtngcaktaaehnngedimkhuxkhunphlphithksphakhit 鎮南將軍 ecinhnaneciyngc win ihepnkhunphlocmtiphakhtawnxxk 征東將軍 ecingtngeciyngc win rbphidchxbduaelrachkarthharinmnthlyngciw xxngkiyngidrbkareluxnbrrdaskdicakohwradbtablepnohwradbxaephxchuxbrrdaskdiwa tngxuohw 東武侯 xxngkiekhiyndikathungrachsankephuxptiesthkareluxnbrrdaskdi aelamxbkhwamdikhwamchxbinkarprabkbtinphuitbngkhbbychathnghmd hwhnaesmiynaelanaykxngphn 7 khnitbngkhbbychakhxngxxngkiidrbkartngihmibrrdaskdiohw emuxmardakhxngxxngkiesiychiwitinpi kh s 258 rachsankwuykkxxkphrarachoxngkarihekbkhaweruxngkaresiychiwitkhxngmardaxxngkiepnkhwamlb sphkhxnghwang epa 王豹 bidakhxngxxngkiidrbkarkhudkhunmaaelayaymaynglkexiyngephuxfngihmphrxmkbmardakhxngxxngki rachsankyngaetngtngyxnhlngihhwang epaepnecaemuxng 北海 epyih inthanakhunphlocmtiphakhitinpi kh s 259 xxngkiidrbkaraetngtngcaktaaehnngedimkhuxkhunphlocmtiphakhtawnxxk 征東將軍 ecingtngeciyngc win ipepnkhunphlocmtiphakhit 征南將軍 ecinghnaneciyngc win aelarbphidchxbduaelptibtikarthangkarthharinmnthlekngciw inpithdma rachsankwuykkephimskdinaihxxngki 1 000 khrweruxn thaihxxngkimiskdinathnghmdephimepn 5 700 khrweruxn butrchaykhxngxxngki 2 khnidrbkartngihmibrrdaskdohwradbhmubanhruxetngeha 亭侯 thingohw aelaohwradbrxnghruxkwnileha 關內侯 kwanenyohw tamladb inchwngrahwangwnthi 17 emsaynaela 16 phvsphakhm kh s 261 胡烈 hu eliy ecaemuxngsnghyng 襄陽 esiynghyang raynganwaeting ohyw 鄧由 aelahli kwang 李光 naythharkhxngngxkkkalngwangaephncanakalngthhar 18 hnwyaeprphktrmaekhadwywuykk aelaidsngphuitbngkhbbychachuxcang xu 張吳 aelaeting eching 鄧生 khamchayaednmaaelw emuxidrbkhawsumaeciywaelarachsankwuykkmikhasngihxxngkiradmthharhlayhnwycakthwmnthlekngciwrwmthungsnghyngihetriymkarbukngxkkkhrngihyodykhwamchwyehluxkhxngphuaeprphktr emuxxxngkiidyineruxngniksngsywaeting ohywaelahli kwangaesrngthaepnaeprphktrekhadwywuykk xxngkicungekhiynrayngandwnthungrachsankwa erakhwrtrwcsxbaelayunynesiykxn eraimkhwrerngradmkalngthharaelasngihyklukekhaipinaednkhasuk caknncungekhiynrayngantxenuxngipwa tngaetskracheciyphing 嘉平 kh s 249 254 eraprasbkarkxkbtaelakhwamkhdaeyngphayinmahlaykhrng singsakhythisudthierakhwrthatxnnikhuxkarpraknesthiyrphaphkhxngrthinrayayawaelanakhwamsngbsukhmasurasdr eraimkhwrkratuxruxrnekinipthicaocmtikhasukaelaaeswnghaphlpraoychnphaynxk thaythisuderaxacidrbchychnaephiyngelknxy aetsuyesiyxyanghnk hlngsumaeciywidrbrayngan 2 chbbkhxngxxngkiinchwngewlasn sumaeciywyngehnwaeting ohywaelahli kwangnasngsy sumaeciywcungsngihkalngthharthiradmekhamaihhyudxyu n taaehnngpccubnthnthiaelarxkhxykhasngephimetim xxngkiekhiynhnngsuxthungsumaeciywxikkhrngwa inxdit phraecahnokoc 漢高祖 hnekacu thrngtxngkarfngkhaaenanakhxng 酈生 li eching aelakxtnghkrnrthkhunihm aetphraxngkhhyudphradarinnemuxetiywehliyng 張良 cang ehliyng thdthan khaphecaxaccaimchaychladxyanghliwohw 留侯 aetkhaphecakekrngwaecaemuxngsnghyngkalngthaphidphladaebbediywkb li xici 酈食其 khuxkhnediywknkbhliesng sumaeciywcungsngkarihkalngthharraaewdrawngxyangmakinthnthi caknncungekhiynhnngsuxthungxxngkitxbwa hlaykhnthithanganrwmknkhaepnephiyngkhnchangpracbpraaecngthihwngcaidrbkhwamoprdprancakkhaphankareyinyx minxykhnnkthiklacaphudxxkmaxyangtrngiptrngmakbkha thanepnthiruckineruxngkhwamcngrkphkdi thanmxbkhaaenanathidiaekkhaxyubxykhrng khakhwrcafngkhaaenanakhxngthanxikkhrng epniptamthixxngkisngsy eting ohywaelahlikwangaesrngthaepnaeprphktrekhadwywuykk aelaimidnakalngthharmatamthiihkhamniwesiychiwitxxngkiesiychiwitinwnthi 9 mithunayn kh s 261 khnaxayu 72 pi tam rachsankwuykkaetngtngyxnhlngihxxngkimitaaehnng 司空 suxkhng aelamxbsmyyanamihwa cingohw 景侯 phrxmdwybrrdaskdi tngxuohw 東武侯 sungxxngkiptiesthipemuxpi kh s 258 chinswnkhxngsilapaysusankhxngxxngkithukkhnphbinnkhrlwhyanginchwngskrachechiynhlng kh s 1735 1795 inyukhrachwngsching khwamcarukbnsilathukbnthukinelmthi 56 khxngech wiynsankwehwin 全三國文 thirwbrwmodyehyiyn ekhxc win 嚴可均 instwrrsthi 19khrxbkhrwbutrchaykhxngxxngkichuxhwang huy 王徽 idsubthxdbrrdaskdkhxngbidaaelakhunepntngxuohw 東武侯 khnihm aetesiychiwitkxnewlaxnkhwr inchwngrahwangpi kh s 264 aela kh s 265 imnankxnrachwngscinkhunmaaethnthirthwuykk rachsankwuykkidkxtngrabbbrrdaskdi 5 khn aelatngihhwang xi 王廙 hlanchaykhxngxxngkiepntngxuohwkhnihm mikarkxtngekhtskdinaihmcakkhrweruxnswnekinkhxngekhtskdinatngxu aelatngihbutrchaykhnhnungkhxnghwang ximibrrdaskdiradbkwnileha 關內侯 kwanenyohw xxngkimibutrsawchuxhwang chan 王粲 michuxrxngwan hwi xi 女儀 smrskb 司馬肜 inpi kh s 264 aelakhunepnphrachayainpi kh s 266 emuxsuxhma hrngidkaraetngtngihmithanndrskdieliyngxxng 梁王 ehliynghwang odyrachwngscin hwang chansinphrachnminpi kh s 284 mikartngsilapaysusanephuxhwang chaninpi kh s 288 iklkbxaephxsuyhyang 睢陽縣 suyhyangesiyn pccubnkhux nkhr mnthlehxhnan inpi kh s 266 hlngrachwngscinkhunmaaethnthirthwuykk rachsankkhxngrachwngscinxxkphrarachoxngkarwa esnabdioythathikarxxngkiphulwnglbipaelwidsrangkhunngamkhwamdiaelaptibtihnathidwykhunthrrm aetthanichchiwitxyangthxmtnaelasmtha aelaimidepnecakhxngkickarswntwid aemwathandarngtaaehnngepnewlanan aetthibankimidmngkhngmaknk khwampraphvitaelakhunthrrmthaihthanepnaebbxyangthidiaekmwlchn dwyehtunikhrxbkhrwkhxngthancungcaidrbbaehncepnkharbichsxngkhn duephimraychuxbukhkhlinyukhsamkkhmayehtuchux tnchxng praktinsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 82 trngkbchuxinphasacinklangwa xanefing 安豐 epnkhnlachuxkbechinchang 陳倉 sunginsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn eriykwa tnchxng echnkn duephimthikarlxmtnchxng silapaysusanxxngkibnthukwaxxngkiesiychiwitinwnsinochw 辛丑 ineduxn 4 khxngskrachcing y ehwiyn 景元 pithi 2 inrchsmykhxngochwn khnaxayu 72 pi tam wnthiniethiybidkbwnthi 9 mithunayn kh s 261 inptithinkrikxeriyn emuxkhanwnaelwpiekidkhxngxxngkicungkhwrepn kh s 190 chuxthipraktinsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 81 chuxthipraktinsamkk chbbecaphrayaphrakhlng hn txnthi 82 sumaxidarngtaaehnngmhakhunphltngaetpi kh s 230 thung kh s 235 ocsxngdarngtaaehnngmhakhunphltngaetpi kh s 239 thung kh s 249 lksunesiychiwitinpi kh s 245 swnsunkwnesiychiwitinpi kh s 252 xingcakkhatxbkhxngxxngkitxcukdexiynaelw ehtukarnehlaniekidkhuninchwngrahwang kh s 245 aela kh s 252 canel w 戰畧 khxngsuxhma epiyw 司馬彪 bnthukwaehtukarnniekidkhunineduxn 3 khxngskrachcing y ehwiyn 景元 pithi 2 inrchsmykhxngochwn eduxnniethiybidkbchwngewlarahwangwnthi 17 emsaynthung 16 phvsphakhm kh s 261 inptithinkrikxeriyn hliwohw 留侯 epnbrrdaskdikhxngetiywehliyngxangxing 年七十二 景元二年四月辛丑薨 ech wiynsankwehwin elmthi 56 sumasukmanainicyunkhuncungwa khapwyephiyngnimiphxepnircacaipexngcungcaidkar kihsumaeciywxyurksaemuxng cungihcukdtunnaythharepnaemthphemuxngxiciwykiptiemuxngchiwchun ihxawcunnaythharepnaemthphemuxngesngciw ykipskdxyutableciywsxngepnthangkhasukcaklbip ihxxngtinaythhariptitabltinla samkk txnthi 81 wchryan subkhnemux July 19 2024 fayxxngkimkhumthhartiekhaipthangpratuthistwntk phbnaythharemuxngkngtngekhacungrxngwa thanyngcarbipthungihn erngmasmkhdwyeraethidcarxdchiwit samkk txnthi 82 wchryan subkhnemux July 19 2024 de Crespigny 2007 p 818 王基字伯輿 東萊曲城人也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 少孤 與叔父翁居 翁撫養甚篤 基亦以孝稱 cdhmayehtusamkk elmthi 27 年十七 郡召為吏 非其好也 遂去 入琅邪界游學 cdhmayehtusamkk elmthi 27 黃初中 察孝廉 除郎中 cdhmayehtusamkk elmthi 27 是時青土初定 刺史王凌特表請基為別駕 後召為秘書郎 凌復請還 cdhmayehtusamkk elmthi 27 頃之 司徒王朗辟基 淩不遣 cdhmayehtusamkk elmthi 27 朗書劾州曰 凡家臣之良 則升于公輔 公臣之良 則入于王職 是故古者侯伯有貢士之禮 今州取宿衞之臣 留秘閣之吏 所希聞也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 淩猶不遣 淩流稱青土 蓋亦由基恊和之輔也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 大將軍司馬宣王辟基 未至 擢為中書侍郎 cdhmayehtusamkk elmthi 27 明帝盛脩宮室 百姓勞瘁 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基上疏曰 臣聞古人以水喻民 曰 水所以載舟 亦所以覆舟 故在民上者 不可以不戒懼 夫民逸則慮易 苦則思難 是以先王居之以約儉 俾不至於生患 昔顏淵云東野子之御 馬力盡矣而求進不已 是以知其將敗 今事役勞苦 男女離曠 願陛下深察東野之弊 留意舟水之喻 息奔駟於未盡 節力役於未困 昔漢有天下 至孝文時唯有同姓諸侯 而賈誼憂之曰 置火積薪之下而寢其上 因謂之安也 今寇賊未殄 猛將擁兵 檢之則無以應敵 乆之則難以遺後 當盛明之世 不務以除患 若子孫不競 社稷之憂也 使賈誼復起 必深切於曩時矣 cdhmayehtusamkk elmthi 27 散騎常侍王肅著諸經傳解及論定朝儀 改易鄭玄舊說 而基據持玄義 常與抗衡 cdhmayehtusamkk elmthi 27 遷安平太守 公事去官 cdhmayehtusamkk elmthi 27 faythharkxngthphemuxngkngtngthxyipxyutabltnchxng samkk txnthi 82 wchryan subkhnemux July 23 2024 時吳兵退屯安豐 samkk sankwehyinxi elmthi 112 大將軍曹爽請為從事中郎 出為安豐太守 cdhmayehtusamkk elmthi 27 郡接吳寇 為政清嚴有威惠 明設防備 敵不敢犯 加討寇將軍 cdhmayehtusamkk elmthi 27 吳嘗大發衆集建業 揚聲欲入攻揚州 刺史諸葛誕使基策之 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基曰 昔孫權再至合肥 一至江夏 其後全琮出廬江 朱然寇襄陽 皆無功而還 今陸遜等已死 而權年老 內無賢嗣 中無謀主 權自出則懼內釁卒起 癕疽發潰 遣將則舊將已盡 新將未信 此不過欲補定支黨 還自保護耳 cdhmayehtusamkk elmthi 27 後權竟不能出 cdhmayehtusamkk elmthi 27 時曹爽專柄 風化陵遲 基著時要論以切世事 cdhmayehtusamkk elmthi 27 以疾徵還 起家為河南尹 未拜 爽伏誅 基甞為爽官屬 隨例罷 cdhmayehtusamkk elmthi 27 其年為尚書 出為荊州刺史 加揚烈將軍 隨征南王昶擊吳 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基別襲步恊於夷陵 恊閉門自守 基示以攻形 而實分兵取雄父邸閣 收米三十餘萬斛 虜安北將軍譚正 納降數千口 於是移其降民 置夷陵縣 賜爵關內侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基又表城上昶 徙江夏治之 以偪夏口 由是賊不敢輕越江 cdhmayehtusamkk elmthi 27 明制度 整軍農 兼脩學校 南方稱之 cdhmayehtusamkk elmthi 27 時朝廷議欲伐吳 詔基量進趣之宜 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基對曰 夫兵動而無功 則威名折於外 財用窮於內 故必全而後用也 若不資通川聚糧水戰之備 則雖積兵江內 無必渡之勢矣 今江陵有沮 漳二水 溉灌膏腴之田以千數 安陸左右 陂池沃衍 若水陸並農 以實軍資 然後引兵詣江陵 夷陵 分據夏口 順沮 漳 資水浮糓而下 賊知官兵有經乆之勢 則拒天誅者意沮 而向王化者益固 然後率合蠻夷以攻其內 精卒勁兵以討其外 則夏口以上必拔 而江外之郡不守 如此 吳 蜀之交絕 交絕而吳禽矣 不然 兵出之利 未可必矣 cdhmayehtusamkk elmthi 27 於是遂止 cdhmayehtusamkk elmthi 27 司馬景王新統政 基書戒之曰 cdhmayehtusamkk elmthi 27 天下至廣 萬機至猥 誠不可不矜矜業業 坐而待旦也 夫志正則衆邪不生 心靜則衆事不躁 思慮審定則教令不煩 親用忠良則遠近恊服 故知和遠在身 定衆在心 許允 傅嘏 袁侃 崔贊皆一時正士 有直質而無流心 可與同政事者也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 景王納其言 cdhmayehtusamkk elmthi 27 高貴鄉公即尊位 進封常樂亭侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 Sima 1084 vol 76 harv error no target CITEREFSima1084 毌丘儉 文欽作亂 以基為行監軍 假節 統許昌軍 適與景王會於許昌 cdhmayehtusamkk elmthi 27 景王曰 君籌儉等何如 基曰 淮南之逆 非吏民思亂也 儉等誑脅迫懼 畏目下之戮 是以尚群聚耳 若大兵臨偪 必土崩瓦解 儉 欽之首 不終朝而縣於軍門矣 景王曰 善 cdhmayehtusamkk elmthi 27 乃令基居軍前 議者咸以儉 欽慓悍 難與爭鋒 詔基停駐 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基以為 儉等舉軍足以深入 而乆不進者 是其詐偽已露 衆心疑沮也 今不張示威形以副民望 而停軍高壘 有似畏懦 非用兵之勢也 若或虜略民人 又州郡兵家為賊所得者 更懷離心 儉等所迫脅者 自顧罪重 不敢復還 此為錯兵無用之地 而成姦宄之源 吳寇因之 則淮南非國家之有 譙 沛 汝 豫危而不安 此計之大失也 軍宜速進據南頓 南頓有大邸閣 計足軍人四十日糧 保堅城 因積穀 先人有奪人之心 此平賊之要也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基屢請 乃聽進據濦水 cdhmayehtusamkk elmthi 27 旣至 復言曰 兵聞拙速 未覩工遟之乆 方今外有彊寇 內有叛臣 若不時決 則事之深淺未可測也 議者多欲將軍持重 將軍持重是也 停軍不進非也 持重非不行之謂也 進而不可犯耳 今據堅城 保壁壘 以積實資虜 縣運軍糧 甚非計也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 景王欲須諸軍集到 猶尚未許 基曰 將在軍 君令有所不受 彼得則利 我得亦利 是謂爭城 南頓是也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 遂輙進據南頓 儉等從項亦爭欲往 發十餘里 聞基先到 復還保項 cdhmayehtusamkk elmthi 27 時兖州刺史鄧艾屯樂嘉 儉使文欽將兵襲艾 基知其勢分 進兵偪項 儉衆遂敗 欽等已平 遷鎮南將軍 都督豫州諸軍事 領豫州刺史 進封安樂鄉侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 上疏求分戶二百 賜叔父子喬爵關內侯 以報叔父拊育之德 有詔特聽 cdhmayehtusamkk elmthi 27 諸葛誕反 基以本官行鎮東將軍 都督揚 豫諸軍事 cdhmayehtusamkk elmthi 27 時大軍在項 以賊兵精 詔基斂軍堅壘 基累啟求進討 cdhmayehtusamkk elmthi 27 會吳遣朱異來救誕 軍於安城 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基又被詔引諸軍轉據北山 基謂諸將曰 今圍壘轉固 兵馬向集 但當精修守備以待越逸 而更移兵守險 使得放縱 雖有智者不能善後矣 cdhmayehtusamkk elmthi 27 遂守便宜上疏曰 今與賊家對敵 當不動如山 若遷移依險 人心搖蕩 於勢大損 諸軍並據深溝高壘 衆心皆定 不可傾動 此御兵之要也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 書奏 報聽 cdhmayehtusamkk elmthi 27 大將軍司馬文王進屯丘頭 分部圍守 各有所統 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基督城東城南二十六軍 文王勑軍吏入鎮南部界 一不得有所遣 城中食盡 晝夜攻壘 基輙拒擊 破之 cdhmayehtusamkk elmthi 27 壽春旣拔 文王與基書曰 初議者云云 求移者甚衆 時未臨履 亦謂宜然 將軍深筭利害 獨秉固志 上違詔命 下拒衆議 終至制敵禽賊 雖古人所述 不是過也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 文王欲遣諸將輕兵深入 招迎唐咨等子弟 因釁有蕩覆吳之勢 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基諫曰 昔諸葛恪乘東關之勝 竭江表之兵 以圍新城 城旣不拔 而衆死者太半 姜維因洮上之利 輕兵深入 糧餉不繼 軍覆上邽 夫大捷之後 上下輕敵 輕敵則慮難不深 今賊新敗於外 又內患未弭 是其脩備設慮之時也 且兵出踰年 人有歸志 今俘馘十萬 罪人斯得 自歷代征伐 未有全兵獨克如今之盛者也 武皇帝克袁紹於官渡 自以所獲已多 不復追奔 懼挫威也 cdhmayehtusamkk elmthi 27 文王乃止 cdhmayehtusamkk elmthi 27 以淮南初定 轉基為征東將軍 都督揚州諸軍事 進封東武侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基上疏固讓 歸功參佐 由是長史司馬等七人皆侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 是歲 基母卒 詔祕其凶問 迎基父豹喪合葬洛陽 追贈豹北海太守 cdhmayehtusamkk elmthi 27 甘露四年 轉為征南將軍 都督荊州諸軍事 cdhmayehtusamkk elmthi 27 常道鄉公即尊位 增邑千戶 并前五千七百戶 前後封子二人亭侯 關內侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 司馬彪戰畧載基此事 詳於本傳 曰 景元二年春三月 襄陽太守胡烈表上 吳賊鄧由 李光等 同謀十八屯 欲來歸化 遣將張吳 鄧生 并送質任 克期欲令郡軍臨江迎拔 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 景元二年 襄陽太守表吳賊鄧由等欲來歸化 基被詔 當因此震蕩江表 cdhmayehtusamkk elmthi 27 大將軍司馬文王啟聞 詔征南將軍王基部分諸軍 使烈督萬人徑造沮水 荊州 義陽南屯宜城 承書夙發 若由等如期到者 便當因此震蕩江表 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 基疑其詐 馳驛陳狀 cdhmayehtusamkk elmthi 27 基疑賊詐降 誘致官兵 馳驛止文王 說由等可疑之狀 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 且當清澄 未宜便舉重兵深入應之 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 且曰 嘉平以來 累有內難 當今之務 在於鎮安社稷 綏寧百姓 未宜動衆以求外利 cdhmayehtusamkk elmthi 27 又曰 夷陵東道 當由車御 至赤岸乃得渡坦 西道當出箭谿口 乃趣平土 皆山險狹 竹木叢蔚 卒有要害 弩馬不陳 今者筋角弩弱 水潦方降 廢盛農之務 徼難必之利 此事之危者也 昔子午之役 兵行數百里而值霖雨 橋閣破壞 後糧腐敗 前軍縣乏 姜維深入 不待輜重 士衆飢餓 覆軍上邽 文欽 唐咨 舉吳重兵 昧利壽春 身歿不反 此皆近事之鑒戒也 嘉平以來 累有內難 當今之宜 當鎮安社稷 撫寧上下 力農務本 懷柔百姓 未宜動衆以求外利也 得之未足為多 失之傷損威重 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 文王累得基書 意疑 尋勑諸軍已上道者 且權停住所在 須後節度 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 基又言於文王曰 昔漢祖納酈生之說 欲封六國 寤張良之謀 而趣銷印 基謀慮淺短 誠不及留侯 亦懼襄陽有食其之謬 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 文王報書曰 凡處事者 多曲相從順 鮮能確然共盡理實 誠感忠愛 每見規示 輙敬依來指 後由等竟不降 cdhmayehtusamkk elmthi 27 文王於是遂罷軍嚴 後由等果不降 xrrthathibaycakcanel wkhxngsuxhma epiywincdhmayehtusamkk elmthi 27 是歲基薨 追贈司空 謚曰景侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 Yeh 1985 pp 400 403 子徽嗣 早卒 咸熈中 開建五等 以基著勳前朝 改封基孫廙 而以東武餘邑賜一子爵關內侯 cdhmayehtusamkk elmthi 27 蠡臺直東 又有一臺 世謂之雀臺也 城內東西道北 有晉梁王妃王氏陵表 竝列二碑 碑云 妃諱粲 字女儀 東萊曲城人也 齊北海府君之孫 司空東武景侯之季女 咸熙元年嬪於司馬氏 泰始二年妃於國 太康五年薨 營陵於新蒙之 太康九年立碑 chuycingcu elmthi 24 晉室踐阼 下詔曰 故司空王基旣著德立勳 又治身清素 不營產業 乆在重任 家無私積 可謂身沒行顯 足用勵俗者也 其以奴婢二人賜其家 cdhmayehtusamkk elmthi 27 brrnanukrmtnsiw stwrrsthi 3 cdhmayehtusamkk sankwcux ephy sngcux stwrrsthi 5 xrrthathibaycdhmayehtusamkk sankwcuxcu stwrrsthi 6 suxhma kwang 1084 cuxcuxthngeciyn ehyiyn ekhxc win stwrrsthi 19 echwiynsankwehwin 全三國文 de Crespigny Rafe 2007 A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23 220 AD Leiden Brill ISBN 9789004156050 Yeh Kuo liang 1985 A Philological Study of Inscriptions on Five Tombstones from the Wei and Jin Dynasties 魏晉碑記考釋五則 PDF Bulletin of the Department of Chinese Literature National Taiwan University phasacin Department of Chinese Literature National Taiwan University 74 11 397 408 subkhnemux 11 December 2017