พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช ฉายา อินทปญฺโญ หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เขาได้มาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
พระธรรมโกศาจารย์ | |
---|---|
ชื่ออื่น | พุทธทาสภิกขุ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 (87 ปี) |
มรณภาพ | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 3 ประโยค |
ลายมือชื่อ | |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สุราษฎร์ธานี |
รางวัล | บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก |
อุปสมบท | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 |
พรรษา | 67 |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าอาวาส วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อดีตประธานสงฆ์ สวนโมกขพลาราม |
ผลงานเด่นของท่านพุทธทาสคืองานหนังสือ เช่น ตามรอยพระอรหันต์ คู่มือมนุษย์ และเป็นภิกษุไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัต
ประวัติ
ครอบครัว
ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมา เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน
บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย
งานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุคืองานด้าน โดยในเวลาว่าง บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุจะทำการต่อเรือไม้เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสนใจ และชอบในงานด้านนี้ไปด้วย แม้ที่สวนโมกขพลาราม งานไม้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำกันเองของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีความสามารถในทางกวี ซึ่งความสามารถด้านนี้ส่งอิทธิพลต่อท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก โดยผลงานธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุส่วนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ในรูปร้อยกรอง ซึ่งมีความไพเราะ และดึงดูดใจให้คนทั้งหลายเข้าถึงเนื้อหาธรรมะได้ง่ายขึ้น
มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ตาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อเล่ง มียศเป็นขุนสิทธิสาร ปกครองหัวเมืองกระแดะ หรืออำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน ครอบครัวของตายายมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติสมาธิภาวนากันภายในบ้านเรือน ทำให้มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้ได้ส่งต่อมาที่บุตร และหล่อหลอมให้เด็กชายเงื่อม พานิช กลายเป็นท่านพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา
ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ 3 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล
ชีวิตวัยเยาว์
เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา และได้ฝึกหัดการอาชีพต่างๆ ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงชีวิตช่วงที่ตนเองอยู่วัดเอาไว้ว่า
- ผมออกจากบ้านไปอยู่วัดเมื่ออายุ 8-9-10 เรียนหนังสือ ก ข ก กา กระทั่ง มูลบทบรรพกิจกันที่วัด อายุ 11 ปีได้เวลาไปโรงเรียนแล้วถึงกลับมาอยู่บ้าน สมัยก่อนมันเป็นธรรมเนียมเด็กชายต้องอยู่วัดกันทั้งนั้น แต่ละวัดมีเด็กเป็นฝูง จะไปอยู่วัดก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปฝากตัวเป็นศิษย์พระ ทางวัดเขาก็จะมอบหน้าที่ให้อาจารย์องค์หนึ่งหรือสององค์ให้คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน คอยควบคุมให้เด็กมันได้กินกันเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วให้มันได้เรียนหนังสือ ได้รับการอบรมอะไรบ้าง ในเรื่องไหว้พระสวดมนต์ เรื่องอุปัฏฐากพระ เป็นเวรผลัดกันตักน้ำ ขาดไม่ได้ ทำสวนครัวริมสระ ยกร่องปลูกมัน ทำกันทั้งนั้น อาหารนั้นข้าวก็ได้จากบิณฑบาต ส่วนแกงนี่ทางบ้านเขาจะส่งเป็นหม้อเขียว ๆ ของบ้านใครเด็กคนนั้นก็ไปเอามา หม้อแกงจึงมีมาก ข้าวก็พอฉัน แกงก็พอ บ้านพุมเรียง ข้าวปลามันอุดมสมบูรณ์
การได้อยู่วัดทำให้ความรู้เรื่องและสมุนไพรของท่านพุทธทาสภิกขุกว้างขวางขึ้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถูกหัดให้ชกมวย เนื่องจากเมืองไชยาเป็นแหล่งมวยที่มีชื่อเสียง ส่วนการละเล่นของเด็กวัดก็เป็นการละเล่นทั่วไป มีการละเล่นหนึ่งที่เด็กวัดจะนั่งรวมกลุ่มแล้วผลัดกันเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเล่าให้ดี มิฉะนั้นจะถูกติถูกค้าน เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าไว้ว่า คต
- คือพอมานั่งรวมกลุ่มกัน ไอ้เด็กคนที่เป็นหัวโจกหน่อย มันก็จะตั้งประเด็นขึ้น เช่น เอ้าวันนี้ เรามาพูดเรื่องหุงข้าว ใครจะเล่าก่อน ส่วนมากพวกที่อาสาก่อนมันก็จะเป็นพวกที่ฉลาดน้อยกว่าคนอื่น มันก็ต้องเล่าวิธีที่หุงข้าวว่าทำอย่างไร เด็กทั้งหลายก็คอยฟัง ถ้าคนเริ่มต้นมันเป็นคนโง่ๆ หน่อย มันอาจจะเริ่มต้นว่า "กูก็เอาข้าวสารใส่หม้อ ตั้งบนไฟ" เด็กนอกนั้นมันก็จะชวนกันค้านว่า "มึงยังไม่ได้เข้าไปในครัวสักที จะทำได้ยังไงล่ะ" อย่างนี้เป็นต้น หรืออาจจะมีสอดว่า "มึงยังไม่ได้ก่อไฟสักที" ถ้ามีช่องให้ซักค้านได้มาก ๆ มันก็ต้องให้คนอื่นเป็นคนเล่า เวลาถูกค้านได้ทีก็จะเฮกันที มันอาจจะละเอียดถึงขั้นว่ายังไม่ได้เปิดประตูแล้วจะเข้าไปในครัวได้อย่างไร หรือยังไม่ได้หยิบขันมันจะตักน้ำได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น ในที่สุดมันจะต้องได้เล่าถึงขั้นตอนทุกขั้นตอน จนไม่มีอะไรบกพร่อง เหมือนกับการบรรยายของนักประพันธ์ละเอียดถี่ยิบไปหมด เพราะคนค้านมันมีมาก มันก็ค้านได้มาก มันเป็นการฝึกความละเอียดลออถี่ถ้วน ฝึกการใช้ลอจิก คนฉลาดมันมักจะเป็นคนเล่าคนหลังๆ ที่สามารถเล่าได้ละเอียดโดยไม่มีใครค้านได้
ชีวิตวัยหนุ่ม
เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่ หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้
ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนชั้นประถมที่วัดโพธาราม จากนั้นก็ย้ายมาเรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ซึ่งอยู่ในตลาดไชยา ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุต้องจากบ้านที่พุมเรียงมาพักอยู่กับบิดา ซึ่งได้เปิดร้านค้าอีกแห่งเพื่อขายข้าวเปลือกที่ตลาดไชยานี้ บางครั้ง ท่านพุทธทาสภิกขุต้องรับหน้าที่ลำเลียงสินค้าจากบ้านที่ไชยาไปบ้านที่พุมเรียง เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า
- ขาย 2 ร้าน ต้องมีเกวียน ผมต้องขับเกวียนบ้าง ต้องเลี้ยงวัวบ้าง แต่เขาก็มีผู้ใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่เลี้ยงวัวขับเกวียนนะ แต่บางทีผมแทรกแซง นี่สนุกไปเลี้ยงวัวแถบทางรถไฟนี่สนุก รื้อก้อนหินทางรถไฟ หาจิ้งหรีดอยู่ใต้นั้น มันชุม ให้วัวกินหญ้าไปพลางอยู่ที่ทางรถไฟตรงที่เอียง ๆ ลงมา ความจริงเขาห้าม ผิดระเบียบ เราก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ เพราะหญ้ามันมี วัวมันชอบกินหญ้าแถวนั้น บางทีมันก็ขึ้นไปกินข้างบนๆ ต้องไล่ลง เจ้าหน้าที่เขาจะดุ ถ้าเลี่ยงลงมาช้าๆ เขาไม่ดุ ถ้าผู้ใหญ่ที่เป็นคนเลี้ยงโดยตรงไม่ไป เราก็ดูให้จนเย็น หมดเวลาเขาจึงมารับเอากลับไป
แต่แล้วบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เสียชีวิตไปในช่วงที่ท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสืออยู่ชั้น ม. 3 เมื่อจบชั้น ม. 3 ท่านพุทธทาสภิกขุจึงต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยมารดาทำการค้าขาย และส่งน้องชาย ซึ่งในขณะนั้นเป็นสามเณรยี่เกย ให้มีโอกาสได้เรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีรวย
การช่วยทางบ้านเป็นงานที่หนัก แต่บางครั้งท่านพุทธทาสภิกขุก็พักผ่อนหย่อนใจด้วยการออกหาอาหารทะเล การเลี้ยงปลากัด และการฝึกดนตรี แม้มารดาของท่านจะถือว่าดนตรีเป็นของไม่ดีก็ตาม ในส่วนของการเลี้ยงปลากัดนั้น ท่านพุทธทาสภิกขุทำได้ดีถึงขนาดนักเลงปลากัดได้มาแอบขโมยเอาปลากัดของท่านไป ท่านพุทธทาสภิกขุพูดถึงเรื่องเหล่านี้เอาไว้ว่า
- ผมไม่เพียงแต่ขายของ เป็นกรรมกรด้วย แบกของไปส่งตามบ้านเขา อย่างบ้านข้าราชการนี่เขาซื้อน้ำมันก๊าดปี๊บหนึ่งนี่ เราก็ต้องแบกไปส่งให้ ไม่มีลูกจ้าง ไม่มีรถรา มันก็ยุ่ง ทำงานหนักด้วย กระทั่งต้องผ่าฟืนทั้งหมดที่ใช้ในบ้าน อย่างโยมเขาซื้อไม้โกงกางมาทั้งลำเรือ เราต้องเลื่อยให้มันเป็นท่อน แล้วผ่าจนหมด จนเก็บไว้ใต้ถุนบ้านเสร็จ ผ่าไม้โกงกางนี่ก็สนุก มันกรอบ เอาขวานแตะมันกระเด็นออกไป หรือบางทีเอาขวานวางหงาย เอาไม้ซัดลงไปมันก็แตก มันก็สนุก...ตวย
- บางเวลาขอยืมอวนที่โรงโป๊ะนั่นเอง เพื่อลากปลาตรงโรงโป๊ะ ลากขึ้นมาบนหาดทรายครั้งเดียวกินไม่ไหว มีครบ ปูม้าก็มี ปลาหมึกก็มี ปลาอะไรก็มี มีหลายอย่าง ปลาหมึกแบบกระดองแข็ง ที่เขาเอามาทำยาสีฟันผงหมึกก็มี ชนิดกระดองแข็งนะ เอามาต้มทั้งเป็นๆ มันกรอบไม่น่าเชื่อเลย กรอบเกือบเท่าลูกสาลี่กรอบ กรอบกร้วมเลย กินโดยไม่ต้องมีน้ำจิ้มก็อร่อย กินปลาหมึกกับกาแฟก็ยังได้...
- ผมมีวิธีชนิดที่ทำให้ปลากัดเก่งไม่มีใครสู้ได้ ตัวไหนเลือกดูให้ดี ดูมันแข็งแรงอ้วนท้วนดี เอาใส่ลงในบ่อกลม ๆ แล้วเอาตัวเมียใส่ขวดแก้วผูกเชือกแล้วหย่อนลงไป พอไอ้ตัวผู้เห็น มันวิ่งเลย วิ่งรอบบ่อ มันยิ่งกว่าออกกำลัง ทำไป 3-4 วันเท่านั้นตัวก็ล่ำ ตาเขียว ครีบหนา กัดมือเอาเลยถ้าไปจับ อย่างนี้ถ้าเอาไปกัดชนะแน่ มีนักเลงปลากัดมาลักเอาของเราไป ผมมาเห็นเอ๊ะ ปลาตัวนี้หายไป ตัวอื่นมาแทน ผมถามว่าใครมาที่นี่ โยมบอกชื่อว่าคนนั้นๆ ซึ่งเป็นนักกัดปลาอาชีพ เขามาขโมยเปลี่ยนของเราไป เอาไปกัดแล้วชนะจริงๆ...
- อีกอย่างที่ผมชอบเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่มีโอกาสฝึกก็คือดนตรี มันชอบเอง นายธรรมทาสเขาไม่ชอบเลย รู้สึกจะเกลียดเสียด้วยซ้ำ แต่ผมนี้ชอบดนตรี ชอบเพลง อย่างเรียกว่าสุดเหวี่ยงเลย แต่โยมห้าม ไม่ให้เอาเครื่องดนตรีขึ้นไปบนเรือน ผมจึงไม่ค่อยได้หัด มีบ้านที่เขาหัด เราก็ลองไปดูไปหัด ผมชอบง่ายๆ ชอบขลุ่ย ชอบออแกนที่โยกด้วยมือ มันง่าย มันเป็นนิ้วเป็นโน้ต ถ้าเราร้องเพลงอะไรได้ เราก็ทำเสียงอย่างนั้นได้ แต่ฝึกไม่ได้ เพราะมันอยู่ที่โยม ต้องเอาไปคืนเจ้าของ
ในสมัยก่อนที่ท่านพุทธทาสภิกขุจะมีอายุครบบวชนั้น วงการศาสนาท้องถิ่นในพุมเรียงกำลังตื่นเต้นกับการศึกษานักธรรม ซึ่งเป็นการศึกษาธรรมะแบบใหม่ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำริให้มีขึ้น ท่านพุทธทาสภิกขุในสมัยนั้นก็ค้นคว้าหาหนังสือนักธรรมตรี โท เอก รวมทั้งหนังสือพระอภิธรรมมาอ่าน แล้วอาศัยบ้านของตนเองเป็นเวทีสังกัจฉา คอยพูดคุยตอบโต้ปัญหาธรรมะกับผู้อื่นในละแวกเดียวกัน ซึ่งถึงแม้ท่านพุทธทาสภิกขุจะยังมีอายุน้อย แต่ก็เชี่ยวชาญและฉะฉานในข้อธรรมจนผู้ที่มาคุยด้วยต่างยอมรับ ในเรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้พูดเอาไว้ว่า
- เรื่องคุยธรรมะนี่ ผมทำตัวเป็นอาจารย์ธรรมะกลายๆ ตอนเช้าก็มีคนมาคุยธรรมะ เราต้องโต้ต้องสู้ ข้าราชการคนหนึ่งเข้าอยู่ทางฝ่ายนี้ เขาก็ต้องเดินผ่านที่ร้าน เราไปทำงานยังที่ทำการ แล้วก็ยังมีคนอื่นอีก แถวๆ นั้นที่เป็นญาติๆ กัน ถ้าเห็นตาคนนี้มาเขาจะมาดักเย้าธรรมะกัน กว่าแกจะหลุดไปทำงานก็เป็นชั่วโมง แล้วก็มาที่บ้านเราด้วย ผมต้องซื้อหนังสือนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก อภิธรรมอะไรนี่มาอ่าน ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กกว่าเขาเพื่อน ส่วนใหญ่เขาคนแก่ทั้งนั้น แต่เรามักพูดได้ถูกกว่า เพราะเรามีหนังสืออ่าน เขามันพูดตามข้อสันนิษฐาน มันก็สนุกกับการได้พูดให้คนอื่นฟัง ถ้าว่ากันถึงการเรียนธรรมะ นี่มันเรียนมาก่อนบวช เมื่อบวชก็เกือบจะไม่ต้องเรียนอีกแล้ว ขนาดนักธรรมตรี เกือบจะไม่ต้องเรียนเพราะเคยอ่านมาโต้กันก่อน
บรรพชิต
ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย (อำเภอไชยา) หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่
การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า
- เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า
- เท่าที่นึกได้ เท่าที่จำได้นี่ เขาปรึกษากันบ่อยๆ ในหมู่ผู้ใหญ่ อย่างว่าเวลาอามาพบ ก็จะปรึกษากันเรื่องอยากให้บวช ป้า น้า ญาติพี่น้องก็ปรึกษากันอยากให้บวช แต่จำไม่ได้ว่ามีประโยคที่โยมพูดว่าบวชเถอะๆ เรา ตามใจเขา เราแล้วแต่เขา ความรู้สึกรักษาประเพณีมันทำให้เกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา มันรู้สึกคล้ายๆ กับว่าไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์ถ้าไม่เคยบวช มันจึงยินดีที่จะบวช คำสั่งให้บวชหรือคำชี้แจงแนะนำอย่างโดยตรงก็ไม่เคยได้รับ แต่มันรวมพร้อมกัน จากการได้ยินบ่อยๆ ได้รับความรู้สึกบ่อยๆ แปลกเหมือนกัน ถ้าจะเอากันจริงๆ ว่าใครเป็นคนสั่ง ใครเป็นคนรับ ใครเป็นคนแนะนำ มันไม่มี มันนึกไม่ออก ที่ถูกมันเป็นความเห็นพ้องกันหมดว่าต้องบวช ควรบวช แต่นี่มันรู้แน่ ๆ ก็คือความประสงค์อย่างยิ่งของโยม แต่คำสั่งนั้นไม่เคยได้รับ คำขอร้องก็ไม่เคยได้รับ ส่วนความคิดของตัวเองนั้นผมคงเห็นว่าบวชก็ได้ ไม่บวชก็ได้ ตามพันธสัญญาก็จะบวชให้โยม 1 พรรษา คือ 3 เดือน คนหนุ่มสมัยนั้นเมื่ออายุครบบวชก็บวชกันเป็นส่วนมาก
หลังจากบวชได้เพียง 10 วัน ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นแสดงธรรม ในการนี้ท่านได้ปฏิวัติการเทศน์เสียใหม่ คือแทนที่จะเทศน์โดยอ่านจากคัมภีร์ใบลานอย่างเดียว ก็นำเนื้อหาจากหลักสูตรนักธรรมไปประกอบขยายความ ทำให้การเทศน์เป็นไปด้วยความสนุกและเข้าใจง่าย ผู้ที่ได้ฟังจึงติดใจและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนั้น พระที่พอจะเทศน์ได้ในวัดล้วนแต่อิดเอื้อนไม่อยากเทศน์ จึงเป็นเป็นโอกาสให้ท่านพุทธทาสภิกขุได้ขึ้นเทศน์ทุกวันในพรรษาเทศน์ และเทศน์ทุกวันพระในช่วงนอกพรรษา ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุก็รักชอบที่จะทำงานนี้
นอกจากการเทศน์แล้ว ช่วงพรรษาแรกท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เรียนนักธรรม และเพลิดเพลินอยู่กับการอ่านและเขียนหนังสือ รวมทั้งการคัดลอกและซ้อมแต่งกระทู้ (พระพุทธศาสนา) จนทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานี้เอง กิจวัตรการนั่งกับที่เป็นเวลานานทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นโรคกระษัย แต่ท่านก็รักษาด้วยตนเองจนหายในพรรษาต่อๆ ไป
นอกจากการเทศน์และการเรียนนักธรรมแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เขียนหนังสือพิมพ์เถื่อนลงใน เป็นเรื่องขำขันให้ผู้อื่นได้หัวเราะกันภายในวัด เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังเอาไว้ว่า
- ผมออกหนังสือพิมพ์เถื่อนเป็นกระดาษฟุลสแก๊ป 2 คู่ มันเป็นเรื่องสนุกเท่านั้น เราเขียนก่อนสวดมนต์ต์ตอนค่ำ พอพระสวดมนต์ต์เสร็จ เราก็เอามาให้อ่านกัน เขาอ่านแล้วหัวเราะ วิพากษ์วิจารณ์กัน เรามีความอวดดี ที่จะทำให้คนอื่นเขาหัวเราะได้ รู้สึกว่ามันทำให้เพื่อนสบายใจ จิตมันเป็นบุญเป็นกุศล ไม่ได้คำนึงถึงสาระอะไรในตอนแรก
พรรษาที่สอง
แม้แต่เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียนตามประเพณีเพียง 3 เดือน แต่เมื่อได้ใช้ชีวิตเป็นพระแล้ว ความยินดีในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการเอาอกเอาใจจากพุทธบริษัทรอบข้าง ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุไม่มีความคิดที่จะลาสิกขา อีกทั้งพระภิกษุในวัดหลายรูปเห็นว่าท่านพุทธทาสภิกขุเรียนหนังสือเก่งและเทศนาดี จึงหนุนให้ท่านพุทธทาสภิกขุอยู่ที่วัดต่อไปเพื่อเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา
เล่ากันว่าเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านพุทธทาสภิกขุในพรรษานี้ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุตอบว่า
- ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ให้มากที่สุด... แต่ถ้ายี่เกยจะบวชผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย
ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านพุทธทาสภิกขุว่าท่านพุทธทาสภิกขุควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนน้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้ เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือ เป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่เรียบง่าย และตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ในการนี้ ทำให้นายธรรมทาส น้องชายของท่านพุทธทาสภิกขุ ไม่ได้บวช และยอมละทิ้งการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มารับผิดชอบหน้าที่ทางบ้าน เพื่อให้ท่านพุทธทาสภิกขุเจริญสมณธรรมต่อไป
ชีวิตสมณเพศในพรรษาที่สองของท่านพุทธทาสภิกขุไม่ต่างจากพรรษาแรกมากนัก ท่านพุทธทาสภิกขุได้ศึกษานักธรรมต่อ และสอบได้นักธรรมโทในพรรษานี้
เมื่อออกพรรษาได้ไม่นาน ช่วงต้นปี พ.ศ. 2471 อาเสี้ยง น้องชายของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ผลักดันให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้าศึกษาความรู้ทางธรรมต่อที่กรุงเทพฯ ท่านพุทธทาสภิกขุพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า
- ออกพรรษาแล้วไม่นาน ก็เดินทางไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ อาที่ชุมพรเป็นคนยัดเยียดให้ไป มันเป็นธรรมเนียมโดยมากด้วยว่าเมื่อได้นักธรรมโทแล้ว ถ้าจะเรียนต่อ เป็นโอกาสที่พอเหมาะพอดีที่จะเข้ากรุงเทพฯ พระครูชยาภิวัฒน์ (มหากลั่น) ซึ่งอยู่ทางโน้นก็เห็นว่าดี อาที่ชุมพรมีส่วนยุที่สำคัญ อยากให้เรียนมากๆ เพื่อเป็นเกียรติเป็นอะไรของวงศ์ตระกูลมากกว่า แต่แกไม่มีความคิดว่าจะไม่ให้สึก ถึงแม้จะสึกก็ให้เรียนมากๆ เข้าไว้หลายปี คงจะดีกว่ารีบสึก
ท่านพุทธทาสภิกขุได้เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ที่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร โดยอาศัยกับพระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับท่านพุทธทาสภิกขุ และได้มาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน สำหรับท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งไม่เคยเดินทางไปกรุงเทพฯ มาก่อนเลย มีความคิดว่ากรุงเทพฯ นั้นคือเมืองคือศูนย์กลางความเจริญในทุกด้าน รวมทั้งพระพุทธศาสนา เนื่องกรุงเทพฯ เป็นแหล่งความรู้ด้านปริยัติ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงวาดภาพไว้ว่าพระเณรในกรุงเทพฯ จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ถึงขนาดคิดว่าจะมีพระอรหันต์อยู่เต็มไปทั้งกรุงเทพฯ ดังคำพูดที่ว่า
- ก่อนไปถึงกรุงเทพฯ เราก็เคยคิดว่า พระที่กรุงเทพฯ มันไม่เหมือนที่บ้านเรา พระกรุงเทพฯ จะดี เคยคิดว่าคนที่ได้เปรียญ 9 คือคนที่เป็นพระอรหันต์ด้วยซ้ำไป เคยคิดว่ากรุงเทพฯ ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ควรจะถือเป็นตัวอย่าง เคยนึกว่าพระอรหันต์เต็มไปทั้งกรุงเทพฯ ก่อนไปกรุงเทพฯ มันคิดอย่างนั้น
แต่กรุงเทพฯ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุพบเห็นนั้น ห่างไกลจากกรุงเทพฯ ที่ท่านพุทธทาสภิกขุคิดไว้ลิบลับเหลือเกิน ท่านพุทธทาสภิกขุประสบกับตนเองว่าศีลาจารวัตรของพระเณรเมืองกรุงนั้นออกนอกลู่นอกทางยิ่งกว่าพระเณรบ้านนอก ที่อยู่กันตามประสาคนไม่มีความรู้เสียอีก ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า
- แต่พอไปเจอจริงๆ มันรู้ว่ามหาเปรียญมันไม่มีความหมายอะไรนัก มันก็เริ่มเบื่อ อยากสึก รู้สึกว่าเรียนที่กรุงเทพฯ มันไม่มีอะไรเป็นสาระ เรียนที่กรุงเทพฯ มันอยากจะสึกอยู่บ่อยๆ พระเณรไม่ค่อยมีวินัย มันผิดกับบ้านนอก มันก็เป็นมาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เรื่องสตางค์เรื่องผู้หญิง...
- มันเคร่งกว่ามาก ไม่ใช่เฉพาะที่พุมเรียงหรอก ตลอดปักษ์ใต้แหละ เคร่งกว่าที่กรุงเทพฯ มาก เรื่องเกี่ยวกับการกินการฉันก็สรวลเสเฮฮาเหมือนกับคนเมา ฮาฮาตลอดเวลาฉัน ลักษณะนั้นเราเรียนไปตั้งแต่โรงเรียนนักธรรมว่ามันใช้ไม่ได้นี่ อย่างมาต่อยไข่สดต้มไข่หวานหรือทอดประเคนกันเดี๋ยวนั้นเลย มันผิดวินัย แต่เขาทำกันเป็นธรรมดา เรียกว่ามันไม่มีอะไรที่น่าเลื่อมใสเลย ผิดกับวัดที่บ้านนอก เราก็ต้องเป็นพระที่จับสตางค์ ใช้สตางค์เหมือนเขาไปหมด ตามธรรมดาพระที่พุมเรียง สมัยผมบวชเขาไม่จับเงินจับทองกัน มีผู้ช่วยเก็บให้ แล้วมันค่อยๆ เปลี่ยน ไม่จับแต่ต่อหน้าคน ในกรุงเทพฯ มันเป็นโรคร้ายระบาดทั่วกรุงเทพฯ อยู่หัวเมืองมันยังมีอิทธิพลในทางเคร่งครัดแบบเก่าอยู่
ท่านพุทธทาสภิกขุเห็นเข้าอย่างนี้ก็เกิดเป็นความเอือมระอาในชีวิตสมณเพศอย่างหนัก หลังจากอยู่กรุงเทพฯ ได้เพียง 2 เดือนก็กลับมาที่พุมเรียงเพื่อจะลาสิกขา แต่ขณะนั้นเป็นช่าวงใกล้เวลาจะเข้าพรรษาแล้ว มีผู้ทักท้วงว่าจะลาสิกขาตอนนี้ยังไม่เหมาะ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงตัดสินใจครองสมณเพศอีกพรรษาหนึ่ง และคิดว่าค่อยลาสิกขาบทเมื่อออกพรรษาไปแล้ว
พรรษาที่สามและสี่
ในพรรษาที่สาม ท่านพุทธทาสภิกขุสอบนักธรรมชั้นเอกได้ เมื่อออกพรรษา คุณนายหง้วน เศรษฐภักดี ซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินสร้างโรงเรียนนักธรรมที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร และเป็นญาติของท่านพุทธทาสภิกขุ รวมทั้งพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ท่านพุทธทาสภิกขุมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุไชยาแห่งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุจึงได้เลื่อนกำหนดการลาสิกขาไว้ก่อน และมาเป็นอาจารย์สอนนักธรรมอยู่หนึ่งปี กลวิธีการสอนของท่านพุทธทาสภิกขุชวนติดตาม ทำให้นักเรียนของท่านสอบได้หมดยกชั้น เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุได้เล่าเอาไว้ว่า
- สอนนักธรรมนี่ก็สนุก สอนคนเดียว 2 ชั้น มันคุยได้ว่าสอบได้หมด แต่ตามหลักฐานที่ปรากฏตกไปองค์หนึ่ง เพราะใบตอบหาย ก็กลายเป็นครูที่มีชื่อเสียงขึ้นมาทันที มันสนุก เพราะเป็นของใหม่ และมันชักจะอวด ๆ อยู่ว่าเราพอทำอะไรได้ หาวิธียักย้ายสอนให้มันสนุก ไม่เหมือนกับที่เขาสอนๆ กันอยู่ เช่นผมมีวิธีเล่า วิธีพูดให้ชวนติดตาม หรือให้ประกวดกันตอบปัญหา ทำนองชิงรางวัล นักเรียนก็เรียนกันสนุก ก็สอบได้กัน
เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณนายหง้วนจึงได้ซื้อเครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้อเรมิงตันแบบกระเป๋าหิ้วให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นรางวัล และท่านพุทธทาสภิกขุได้ใช้เครื่องนี้มาเป็นเวลาหลายสิบปี
ในขณะเดียวกันนี้เอง นายธรรมทาสก็ได้รวบรวมญาติมิตรที่สนใจในพระพุทธศาสนามาจัดตั้งเป็นคณะขึ้น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2472 และนี่คือจุดเริ่มก่อนที่จะกลายเป็นในเวลาต่อมา เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังว่า
- นายธรรมทาสเขามีนิสัยอยากส่งเสริมพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ตั้งแต่ตอนที่เขาไปเรียนเตรียมแพทย์ที่จุฬาฯ (พ.ศ. 2469) เขาไปพบบทความเกี่ยวกับการเผยแผ่พุทธศาสนาทางสมาคมมหาโพธิ ของธรรมปาละ และหนังสือยังอิสต์ ของญี่ปุ่น ได้เร้าใจให้เขาเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา และหาหนังสือทางพุทธศาสนามาจากหอสมุดนั้นมาอ่านเสมอ พอกลับมาบ้าน (พ.ศ. 2470) ก็มาตั้งหีบหนังสือให้คนอื่นอ่านกันในเวลาต่อมา (พ.ศ. 2472) รวบรวมหนังสือธรรมะที่หาได้ในสมัยนั้น รวมทั้ง เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ไทยเขษม วิสาขะ เป็นต้น ก็ก่อหวอดให้เกิดความสนใจในหมู่คนแถวนั้น ไม่กี่คนหรอก จับกลุ่มสนทนากันเรื่องจะทำพุทธศาสนาให้มันบริสุทธิ์ ให้มันถูกต้องอย่างไร ต่อมาคนเหล่านี้ก็เป็นกำลังตั้งสวนโมกข์และคณะธรรมทาน มีนายเที่ยง จันทเวช นายดาว ใจสะอาด นายฉัว วรรณกลัด นายเนิน วงศ์วานิช นายกวย กิ่วไม้แดง เป็นตัวตั้งตัวตี นายธรรมทาสเขาได้รู้จักกับชาวลังกาชื่อสิริเสนา ที่มาพักอยู่ที่บ้านท่าโพธิ์ จึงได้รู้เรื่องกิจการของสมาคมมหาโพธิ และอนาคาริกะธรรมปาละ ซึ่งพยายามฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาและอินเดีย นายธรรมทาสเขาก็มีจดหมายติดต่อรับหนังสือมหาโพธิ ต่อมาก็รับ บริติชบุดดิสต์ ของสมาคมมหาโพธิ ลอนดอน บุดดิสต์ อิน อิงแลนด์ และ บุดดิสต์ แอนนวล ออฟซีลอน ทำให้เขารู้ว่าข่าวคราวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับพุทธศาสนาในต่างประเทศ
สู่กรุงเทพฯ อีกครั้ง
เมื่อหมดหน้าที่สอนนักธรรมแล้ว อาเสี้ยงก็เร่งเร้าให้ท่านพุทธทาสภิกขุเข้ากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยหวังให้หยิบพัดยศมหาเปรียญมาไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ท่านพุทธทาสภิกขุจึงเข้ากรุงเทพฯ อีกคราวหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2473 เมื่ออยู่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ ท่านพุทธทาสภิกขุคิดเพียงแต่จะมุ่งเรียนภาษาบาลีเท่านั้น และทิ้งเรื่องการลาสิกขาเอาไว้ก่อน แต่ท่านพุทธทาสภิกขุไม่ได้เข้าเรียนในช่วงกลางวัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสอนที่อืดอาด ไม่ทันใจ จึงให้พระครูชยาภิวัฒน์ (กลั่น) สอนพิเศษในช่วงกลางคืน นอกจากการเรียนภาษาบาลีแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังสนใจในเรื่อง การท่องเที่ยว การถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเล่นวิทยุ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ข่าวสารบ้านเมือง ทั้งยังติดตามงานเขียนของปัญญาชนทั้งหลายในสมั้ยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ครูเทพ น.ม.ส. พระองค์วรรณฯ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และหลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)
เมื่อประกาศผลสอบปีแรก ปรากฏว่าท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และกลายเป็นพระมหาเงื่อม อินทปญฺโญ ในปีเดียวกันนี้เอง ท่านพุทธทาสภิกขุมีงานเขียนเป็นบทความขนาดสั้นชิ้นแรก ชื่อ ประโยชน์แห่งทาน ปรากฏอยู่ในหนังสือที่พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) พระอุปัชฌาย์ของท่านพุทธทาสภิกขุ และมีบทความขนาดยาวเรื่อง พระพุทธศาสนาสำหรับปุถุชน พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกครบรอบโรงเรียนนักธรรม วัดพระบรมธาตุไชยา
มรณภาพ
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น "พุทธทาส" เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า
พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย | แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง |
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง | นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา |
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย | ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา |
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา | ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย |
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย | อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย |
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย | โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ |
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว | แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย |
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย | ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง |
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย | ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง |
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง | เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง |
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด | ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง |
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง | ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ |
เกียรติคุณ
สมณศักดิ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามลำดับ ดังนี้
- พ.ศ. 2473 พระมหาเงื่อม อินทปญฺโญ เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2489 พระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูอินทปัญญาจารย์
- พ.ศ. 2493 พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระอริยนันทมุนี,(สป.)
- พ.ศ. 2500 พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชชัยกวี สมาธินทรีย์คณาธิปัตย์ โมกขพลวัตรธรรมสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2514 พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิเมธี ศรีภาวนาจารย์ สุนทรญาณพิสิฏฐ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2530 พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ในสาขาต่างๆ จากสถาบันต่างๆ ดังนี้
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
- 3 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาปรัชญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อื่นๆ
นอกจากสมณศักดิ์และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้รับการยกย่องจากองค์กรต่าง ๆ ดังนี้
- พ.ศ. 2508 หนังสือแก่นพุทธศาสน์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ หนังสือดีประจำปี พ.ศ. 2508 จากองค์การยูเนสโก
- พ.ศ. 2527 ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลทำประโยชน์ฝ่ายบรรพชิตเนื่องในโอกาส ได้รับรางวัลเป็นสัญลักษณ์เสาอโศก และเงินสดจำนวน 10,000 บาท
- พ.ศ. 2537 คุรุสภาประกาศยกย่องเชิดชูว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์อย่างสูงยิ่งต่อการศึกษาชาติ เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ
- 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์
- พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทย รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมทางธรรมะเนื่องในโอกาสรำลึกครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ท่านพุทธทาสภิกขุ
ผลงาน
ท่านพุทธทาสมีผลงานที่เรียบเรียงเป็นหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น (เรียงลำดับตามตัวอักษร)
- แก่นพุทธศาสน์
- คู่มือมนุษย์
- ตัวกูของกู
- ธรรมโฆษณ์
- ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
- พระพุทธเจ้าสอนอะไร
- พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
- ภาษาคน-ภาษาธรรม
- หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
- อิทัปปัจจยตา (100 หนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน)
- สูตรของเว่ยหล่าง
อ้างอิง
- โสมชยา ธนังกุล. มรดกธรรมจากท่านพุทธทาส. แสตมป์ & สิ่งสะสม. ปีที่ 1 (+42) ฉบับที่ 3. พฤษภาคม 2555. ISSN 2229-2780. หน้า 48
- เป็นชื่อเรียกของตัวเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน
- พุทธทาสภิกขุ, เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา : อัตชีวประวัติของพุทธทาสภิกขุ.
- ชีวิต หลักธรรม การงาน พุทธทาสภิกขุ.
- ตามรอยปณิธานแห่งธรรม.
- ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่มที่ 67, ตอนที่ 67, วันที่ 12 ธันวาคม 2493, หน้า 6320
- ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่มที่ 74, ตอนที่ 107, วันที่ 17 ธันวาคม 2500, หน้า 2953
- ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ฉบับพิเศษ, เล่มที่ 88, ตอนที่ 151, วันที่ 31 ธันวาคม 2514, หน้า 2
- ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ฉบับพิเศษ, เล่มที่ 104, ตอนที่ 253, วันที่ 5 ธันวาคม 2530, หน้า 1-2
- ฉบับย่อความ 2007-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รายละเอียด 2010-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
หนังสืออ่านเพิ่ม
- สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ลายสือไทย, 2522.
- โดแนลด์ เค. สแวเรอร์ และ เสรี พงพิศ, พุทธทาสภิกขุนักปฏิรูปพุทธศาสนาในเมืองไทย / ท่านพุทธทาสกับสังคมไทย, แสงรุ้งการพิมพ์, 2526.
- พุทธทาสภิกขุ และ ปัญญานันทภิกขุ, แม่ / ความรักของแม่, ธรรมสภา.
- พุทธทาสภิกขุ, เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา : อัตชีวประวัติของพุทธทาสภิกขุ, มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2546. .
- ภาพชีวิต 80 ปี พุทธทาสภิกขุ : มิติใหม่ของพระพุทธศาสนา, มูลนิธิเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป, 2529.
- ชีวิต หลักธรรม การงาน พุทธทาสภิกขุ, มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตอันประเสริฐ, 2536.
- พุทธทาสภิกขุ, สิบปีในสวนโมกข์ อัตชีวประวัติในวัยหนุ่มของพุทธทาสภิกขุ, ปาจารยสาร, 2529.
- พุทธทาส สวนโมกขพลาราม กำลังแห่งการหลุดพ้น อาจาริยมรณานุสรณ์, ภาพพิมพ์, 2537.
- ห้าสิบปีสวนโมกข์, สวนอุศมมูลนิธิ, 2525.
- ตามรอยปณิธานแห่งธรรม, ธรรมสภา, 2538.
- พ.ศ. 2476 เริ่มจัดทำ หนังสือพิมพ์พุทธสาสนา
งานศึกษาทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
- แจ็คสัน, ปีเตอร์ เอ. (2556). พุทธทาสภิกขุ: พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและการปฏิบัติรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย. แปลโดย มงคล เดชนครินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ทิวาพร อภัยพัฒน์. (2556). “คนดี สำคัญกว่าทุกสิ่ง”: ญาติธรรมกับการสร้างการยอมรับพุทธทาสภิกขุในสังคมไทย พ.ศ. 2475-2529. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ออนไลน์)
- วิศรุต บวงสรวง. (2556). การเคลื่อนไหวทางความคิดของพุทธทาสภิกขุกับการเมืองไทย พ.ศ. 2516-2536. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (ออนไลน์)[]
- Jackson, Peter A. (2003). Buddhadasa: Theravada Buddhism and Modernist Reform in Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books.
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- พุทธทาสศึกษา
- พุทธทาส.คอม 2021-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพพาโนรามา 360 องศาของสวนโมกขพลาราม
- พระธรรมโกศาจารย์
- การละสังขารของท่านอาจารย์พุทธทาส
- Download MP3 2020-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) | พระธรรมโกศาจารย์ (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536) | พระธรรมโกศาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phrathrrmoksacary namedim enguxm phanich chaya xinthpy oy hruxruckinnam phuthththasphikkhu 27 phvsphakhm ph s 2449 8 krkdakhm ph s 2536 epnchawxaephxichya cnghwdsurasdrthani ekidwnthi 27 phvsphakhm ph s 2449 ph s 2449 erimbwcheriynemuxxayuid 20 pi thiwdbanekid caknnidekhaidmasuksaphrathrrmwinytxthikrungethphmhankhr cnsxbidepriyythrrm 3 praoykh aetaelwthanphuthththasphikkhukphbwasngkhmphraphuththsasnaaebbthiepnxyuinkhnannaepdepuxnebuxnbidipmak aelaimxacthaihekhathunghwickhxngsasnaphuththidely thancungtdsinichnhlngklbmaptibtithrrmthixaephxichya sungepnphumilaenaedimkhxngthanxikkhrng phrxmpwarnatnexngepn phuthththas enuxngcaktxngkarthwaytwrbichphraphuththsasnaihthungthisudphrathrrmoksacarychuxxunphuthththasphikkhuswnbukhkhlekid27 phvsphakhm ph s 2449 87 pi mrnphaph8 krkdakhm ph s 2536nikaymhanikaykarsuksankthrrmchnexk epriyythrrm 3 praoykhlaymuxchuxtaaehnngchnsungthixyutharnaihl swnomkkhphlaram wdphrabrmthatuichyarachwrwihar surasdrthanirangwlbukhkhlsakhykhxngolkchawithyodyyuensokxupsmbth29 krkdakhm ph s 2469phrrsa67taaehnngxditecaxawas wdphrabrmthatuichyarachwrwihar xditprathansngkh swnomkkhphlaram phlnganednkhxngthanphuthththaskhuxnganhnngsux echn tamrxyphraxrhnt khumuxmnusy aelaepnphiksuithyrupaerkthibukebikkarichostthsnupkrnsmyihmsahrbkarephyaephrthrrma aelathanmishaythrrmkhnsakhy khux pyyannthphikkhu wdchlprathanrngsvsd aelathan b ch ekhmaphirtprawtikhrxbkhrw thanphuthththasphikkhuminamedima enguxm phanich ekidemuxwnxathity khun 7 kha eduxn 7 pimaemiy hruxwnthi 27 phvsphakhm ph s 2449 inskulkhxngphxkha thi xaephxichya cnghwdsurasdrthani chwngplayrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw sungkhnannphumeriyngyngepnthitngkhxngtwemuxngichya hruxcnghwdichya kxnthicaklaymaepncnghwdsurasdrthaniinpccubn bidakhxngthanphuthththasphikkhuchux esiyng phanich prakxbxachiphhlkkhuxkarkhakhaykhxngcha bidakhxngthanphuthththasphikkhuepnkhnithyechuxsaycin enuxngcakpukhxngthanphuthththasphikkhuxphyphcakmnthlfueciyn praethscin maepnchangekhiynphaphsibnkrackthiemuxngichya yakhxngthanphuthththasphikkhuchuxsmcin sungechuxsaykhxngyaxphyphcakxaephxpakphnng cnghwdnkhrsrithrrmrach maxyuemuxngichyatngaetsmytnkrungrtnoksinthr aetedimbidakhxngthanphuthththasphikkhuichaesokhwhruxkhx hruxokhw inphasaaetciw txmaemuxmiinrchsmyphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw thangrachkarcungepliynnamskulkhxngbidathanepn phanich ephraatxnnnmiephiyngkhrxbkhrwkhxngthanethannthithakarkhakhay nganxdierkthirkyingkhxngbidathanphuthththasphikkhukhuxngandan odyinewlawang bidakhxngthanphuthththasphikkhucathakartxeruximepnxachiphesrim sungthaihthanphuthththasphikkhusnic aelachxbinngandanniipdwy aemthiswnomkkhphlaram nganimswnihykekidcakkarthaknexngkhxngkhnasngkh nxkcakni bidakhxngthanphuthththasphikkhuyngmikhwamsamarthinthangkwi sungkhwamsamarthdannisngxiththiphltxthanphuthththasphikkhuepnxyangmak odyphlnganthrrmakhxngthanphuthththasphikkhuswnhnungidpraphnthiwinruprxykrxng sungmikhwamipheraa aeladungdudicihkhnthnghlayekhathungenuxhathrrmaidngaykhun mardakhxngthanphuthththasphikkhuchux ekhluxn phanich ekidthixaephxthachang takhxngthanphuthththasphikkhuchuxelng miysepnkhunsiththisar pkkhrxnghwemuxngkraaeda hruxxaephxkaycndisthinpccubn khrxbkhrwkhxngtayaymikhwammnkhnginphraphuththsasna aelamikarptibtismathiphawnaknphayinbaneruxn thaihmardakhxngthanphuthththasphikkhuiklchidkbphraphuththsasnamatngaetedk sungkhwamsrththainphraphuththsasnaniidsngtxmathibutr aelahlxhlxmihedkchayenguxm phanich klayepnthanphuthththasphikkhuinewlatxma thanphuthththasphikkhuminxngsxngkhn sungmixayuhangcakthanphuthththasphikkhu 3 pi aela 6 pi tamladb nxngkhnotepnchay chux yieky phanich sungphayhlngidepliynchuxepn thrrmthas phanich aelaidepnkalnghlkkhxngkhnathrrmthaninkarephyaephrphraphuththsasna aelasnxngngankhxngthanphuthththasphikkhu swnnxngsawkhnsudthxngkhxngthanphuthththasphikkhuchux kimsxy phanich sungphayhlngaetngnganipxyubandxn aelaichnamskulsamiwa ehmakul chiwitwyeyaw emuxxayuid 8 khwb bidamardaidphathanphuthththasphikkhuipfaktwepnedkwdthiwdphumeriyng hruxwdihm sungepnwdthikhninskulphanichekhybwchsubtxknma odyinsmykxnthicamiorngeriynnn phxaemmkcaihlukchayidxyuthiwd ephuxthicaihidrbkarsuksakhntntamaebbobran rwmthngcaidmikarkhunekhykbphraphuththsasna aelaidfukhdkarxachiphtang thanphuthththasphikkhuelathungchiwitchwngthitnexngxyuwdexaiwwa phmxxkcakbanipxyuwdemuxxayu 8 9 10 eriynhnngsux k kh k ka krathng mulbthbrrphkicknthiwd xayu 11 piidewlaiporngeriynaelwthungklbmaxyuban smykxnmnepnthrrmeniymedkchaytxngxyuwdknthngnn aetlawdmiedkepnfung caipxyuwdkmidxkimthupethiynipfaktwepnsisyphra thangwdekhakcamxbhnathiihxacaryxngkhhnunghruxsxngxngkhihkhxyduaeleruxngxaharkarkin khxykhwbkhumihedkmnidkinknepnraebiyberiybrxy aelwihmnideriynhnngsux idrbkarxbrmxairbang ineruxngihwphraswdmnt eruxngxuptthakphra epnewrphldkntkna khadimid thaswnkhrwrimsra ykrxngplukmn thaknthngnn xaharnnkhawkidcakbinthbat swnaekngnithangbanekhacasngepnhmxekhiyw khxngbanikhredkkhnnnkipexama hmxaekngcungmimak khawkphxchn aekngkphx banphumeriyng khawplamnxudmsmburn karidxyuwdthaihkhwamrueruxngaelasmuniphrkhxngthanphuthththasphikkhukwangkhwangkhun nxkcaknithanyngidthukhdihchkmwy enuxngcakemuxngichyaepnaehlngmwythimichuxesiyng swnkarlaelnkhxngedkwdkepnkarlaelnthwip mikarlaelnhnungthiedkwdcanngrwmklumaelwphldknelaeruxng sungtxngelaihdi michanncathuktithukkhan eruxngnithanphuthththasphikkhuelaiwwa kht khuxphxmanngrwmklumkn ixedkkhnthiepnhwockhnxy mnkcatngpraednkhun echn exawnni eramaphuderuxnghungkhaw ikhrcaelakxn swnmakphwkthixasakxnmnkcaepnphwkthichladnxykwakhnxun mnktxngelawithithihungkhawwathaxyangir edkthnghlaykkhxyfng thakhnerimtnmnepnkhnong hnxy mnxaccaerimtnwa kukexakhawsarishmx tngbnif edknxknnmnkcachwnknkhanwa mungyngimidekhaipinkhrwskthi cathaidyngingla xyangniepntn hruxxaccamisxdwa mungyngimidkxifskthi thamichxngihskkhanidmak mnktxngihkhnxunepnkhnela ewlathukkhanidthikcaehknthi mnxaccalaexiydthungkhnwayngimidepidpratuaelwcaekhaipinkhrwidxyangir hruxyngimidhyibkhnmncatknaidxyangir xyangniepntn inthisudmncatxngidelathungkhntxnthukkhntxn cnimmixairbkphrxng ehmuxnkbkarbrryaykhxngnkpraphnthlaexiydthiyibiphmd ephraakhnkhanmnmimak mnkkhanidmak mnepnkarfukkhwamlaexiydlxxthithwn fukkarichlxcik khnchladmnmkcaepnkhnelakhnhlng thisamarthelaidlaexiydodyimmiikhrkhanidchiwitwyhnum emuxxayuid 11 khwb thanphuthththasphikkhuidklbmaxyuthiban aelaekhaeriynthi hruxwdehnux orngeriyninwdniepnorngeriynaephnihm sungichhlksutrthiprbprunginrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw odyinsmynnmikareknthphracakthwpraethsipxbrmkhruthiwdbwrniewsrachwrwihar krungethph kxnthicaklbmasxnyngthxngthinedimkhxngtn thiwdophtharam mikhruthiipxbrminkhrngnnchuxkhruwly caknnksubtxmayng khruthb suwrrn aelathanphuthththasphikkhukidelaeriynkbkhruphuni thanphuthththasphikkhueriynchnprathmthiwdophtharam caknnkyaymaeriynchnmthymthiorngeriynsarphixuthis sungxyuintladichya thaihthanphuthththasphikkhutxngcakbanthiphumeriyngmaphkxyukbbida sungidepidrankhaxikaehngephuxkhaykhawepluxkthitladichyani bangkhrng thanphuthththasphikkhutxngrbhnathilaeliyngsinkhacakbanthiichyaipbanthiphumeriyng eruxngnithanphuthththasphikkhuklawiwwa khay 2 ran txngmiekwiyn phmtxngkhbekwiynbang txngeliyngwwbang aetekhakmiphuihyepnecahnathieliyngwwkhbekwiynna aetbangthiphmaethrkaesng nisnukipeliyngwwaethbthangrthifnisnuk ruxkxnhinthangrthif hacinghridxyuitnn mnchum ihwwkinhyaipphlangxyuthithangrthiftrngthiexiyng lngma khwamcringekhaham phidraebiyb erakthaimruimchi ephraahyamnmi wwmnchxbkinhyaaethwnn bangthimnkkhunipkinkhangbn txngillng ecahnathiekhacadu thaeliynglngmacha ekhaimdu thaphuihythiepnkhneliyngodytrngimip erakduihcneyn hmdewlaekhacungmarbexaklbip aetaelwbidakhxngthanphuthththasphikkhukidesiychiwitipinchwngthithanphuthththasphikkhueriynhnngsuxxyuchn m 3 emuxcbchn m 3 thanphuthththasphikkhucungtxngxxkcakorngeriynmachwymardathakarkhakhay aelasngnxngchay sunginkhnannepnsamenryieky ihmioxkasideriynthiorngeriynpracacnghwdsurasdrthanirwy karchwythangbanepnnganthihnk aetbangkhrngthanphuthththasphikkhukphkphxnhyxnicdwykarxxkhaxaharthael kareliyngplakd aelakarfukdntri aemmardakhxngthancathuxwadntriepnkhxngimdiktam inswnkhxngkareliyngplakdnn thanphuthththasphikkhuthaiddithungkhnadnkelngplakdidmaaexbkhomyexaplakdkhxngthanip thanphuthththasphikkhuphudthungeruxngehlaniexaiwwa phmimephiyngaetkhaykhxng epnkrrmkrdwy aebkkhxngipsngtambanekha xyangbankharachkarniekhasuxnamnkadpibhnungni eraktxngaebkipsngih immilukcang immirthra mnkyung thanganhnkdwy krathngtxngphafunthnghmdthiichinban xyangoymekhasuximokngkangmathnglaerux eratxngeluxyihmnepnthxn aelwphacnhmd cnekbiwitthunbanesrc phaimokngkangniksnuk mnkrxb exakhwanaetamnkraednxxkip hruxbangthiexakhwanwanghngay exaimsdlngipmnkaetk mnksnuk twybangewlakhxyumxwnthiorngopannexng ephuxlakplatrngorngopa lakkhunmabnhadthraykhrngediywkinimihw mikhrb pumakmi plahmukkmi plaxairkmi mihlayxyang plahmukaebbkradxngaekhng thiekhaexamathayasifnphnghmukkmi chnidkradxngaekhngna examatmthngepn mnkrxbimnaechuxely krxbekuxbethaluksalikrxb krxbkrwmely kinodyimtxngminacimkxrxy kinplahmukkbkaaefkyngid phmmiwithichnidthithaihplakdekngimmiikhrsuid twihneluxkduihdi dumnaekhngaerngxwnthwndi exaislnginbxklm aelwexatwemiyiskhwdaekwphukechuxkaelwhyxnlngip phxixtwphuehn mnwingely wingrxbbx mnyingkwaxxkkalng thaip 3 4 wnethanntwkla taekhiyw khribhna kdmuxexaelythaipcb xyangnithaexaipkdchnaaen minkelngplakdmalkexakhxngeraip phmmaehnexa platwnihayip twxunmaaethn phmthamwaikhrmathini oymbxkchuxwakhnnn sungepnnkkdplaxachiph ekhamakhomyepliynkhxngeraip exaipkdaelwchnacring xikxyangthiphmchxbepnchiwitcitic aetimmioxkasfukkkhuxdntri mnchxbexng naythrrmthasekhaimchxbely rusukcaekliydesiydwysa aetphmnichxbdntri chxbephlng xyangeriykwasudehwiyngely aetoymham imihexaekhruxngdntrikhunipbneruxn phmcungimkhxyidhd mibanthiekhahd eraklxngipduiphd phmchxbngay chxbkhluy chxbxxaeknthioykdwymux mnngay mnepnniwepnont thaerarxngephlngxairid erakthaesiyngxyangnnid aetfukimid ephraamnxyuthioym txngexaipkhunecakhxng insmykxnthithanphuthththasphikkhucamixayukhrbbwchnn wngkarsasnathxngthininphumeriyngkalngtunetnkbkarsuksankthrrm sungepnkarsuksathrrmaaebbihmthismedcphramhasmneca krmphrayawchiryanworrs thrngdariihmikhun thanphuthththasphikkhuinsmynnkkhnkhwahahnngsuxnkthrrmtri oth exk rwmthnghnngsuxphraxphithrrmmaxan aelwxasybankhxngtnexngepnewthisngkccha khxyphudkhuytxbotpyhathrrmakbphuxuninlaaewkediywkn sungthungaemthanphuthththasphikkhucayngmixayunxy aetkechiywchayaelachachaninkhxthrrmcnphuthimakhuydwytangyxmrb ineruxngnithanphuthththasphikkhuidphudexaiwwa eruxngkhuythrrmani phmthatwepnxacarythrrmaklay txnechakmikhnmakhuythrrma eratxngottxngsu kharachkarkhnhnungekhaxyuthangfayni ekhaktxngedinphanthiran eraipthanganyngthithakar aelwkyngmikhnxunxik aethw nnthiepnyati kn thaehntakhnnimaekhacamadkeyathrrmakn kwaaekcahludipthangankepnchwomng aelwkmathibaneradwy phmtxngsuxhnngsuxnkthrrmtri nkthrrmoth nkthrrmexk xphithrrmxairnimaxan txnnnerayngepnedkkwaekhaephuxn swnihyekhakhnaekthngnn aeteramkphudidthukkwa ephraaeramihnngsuxxan ekhamnphudtamkhxsnnisthan mnksnukkbkaridphudihkhnxunfng thawaknthungkareriynthrrma nimneriynmakxnbwch emuxbwchkekuxbcaimtxngeriynxikaelw khnadnkthrrmtri ekuxbcaimtxngeriynephraaekhyxanmaotknkxnbrrphchitthanphuthththasphikkhuidbwcheriyntampraephni emuxwnthi 29 krkdakhm ph s 2469 thiorngxuobsthwdxubl hruxwdnxk kxncayaymapracaxyuthiwdphumeriyng miphraxupchchaykhux phrakhruosphnectsikaram khng wimaol rxngecakhnaemuxnginsmynn aelamiphrapldthum xinthochot ecaxawaswdxubl aela phrakhruskdi thm rk khit ot ecaxawaswdwiny xaephxichya hruxwdhwkhu epnphrakhuswd thanphuthththasphikkhuidrbchayawa xinthpy oy sungaeplwaphumipyyaxnyingihy karbwchkhxngthanphuthththasphikkhuepniptamthrrmeniym aelaimkhidthicabwchimsuk dngthithanpyyannthphikkhuxangthungkhaphudkhxngthanphuthththasphikkhukxnthicabwchiwwa eruxngbychi byna ekbiwkxn emuxsukxxkmaaelwkhxymathatxxik thanphuthththasphikkhuelathungmulehtukarbwchkhxngtnexngiwwa ethathinukid ethathicaidni ekhapruksaknbxy inhmuphuihy xyangwaewlaxamaphb kcapruksakneruxngxyakihbwch pa na yatiphinxngkpruksaknxyakihbwch aetcaimidwamipraoykhthioymphudwabwchethxa era tamicekha eraaelwaetekha khwamrusukrksapraephnimnthaihekidepneruxngepnrawkhunma mnrusukkhlay kbwaimkhrbhruximsmburnthaimekhybwch mncungyindithicabwch khasngihbwchhruxkhachiaecngaenanaxyangodytrngkimekhyidrb aetmnrwmphrxmkn cakkaridyinbxy idrbkhwamrusukbxy aeplkehmuxnkn thacaexakncring waikhrepnkhnsng ikhrepnkhnrb ikhrepnkhnaenana mnimmi mnnukimxxk thithukmnepnkhwamehnphxngknhmdwatxngbwch khwrbwch aetnimnruaen kkhuxkhwamprasngkhxyangyingkhxngoym aetkhasngnnimekhyidrb khakhxrxngkimekhyidrb swnkhwamkhidkhxngtwexngnnphmkhngehnwabwchkid imbwchkid tamphnthsyyakcabwchihoym 1 phrrsa khux 3 eduxn khnhnumsmynnemuxxayukhrbbwchkbwchknepnswnmak hlngcakbwchidephiyng 10 wn thanphuthththasphikkhukidrboxkasihkhunaesdngthrrm inkarnithanidptiwtikarethsnesiyihm khuxaethnthicaethsnodyxancakkhmphiriblanxyangediyw knaenuxhacakhlksutrnkthrrmipprakxbkhyaykhwam thaihkarethsnepnipdwykhwamsnukaelaekhaicngay phuthiidfngcungtidicaelaephimcanwnkhuneruxy inkhnann phrathiphxcaethsnidinwdlwnaetxidexuxnimxyakethsn cungepnepnoxkasihthanphuthththasphikkhuidkhunethsnthukwninphrrsaethsn aelaethsnthukwnphrainchwngnxkphrrsa sungthanphuthththasphikkhukrkchxbthicathanganni nxkcakkarethsnaelw chwngphrrsaaerkthanphuthththasphikkhuyngideriynnkthrrm aelaephlidephlinxyukbkarxanaelaekhiynhnngsux rwmthngkarkhdlxkaelasxmaetngkrathu phraphuththsasna cnthaihthanphuthththasphikkhusxbidnkthrrmtriinphrrsaniexng kicwtrkarnngkbthiepnewlananthaihthanphuthththasphikkhuepnorkhkrasy aetthankrksadwytnexngcnhayinphrrsatx ip nxkcakkarethsnaelakareriynnkthrrmaelw thanphuthththasphikkhuyngidekhiynhnngsuxphimphethuxnlngin epneruxngkhakhnihphuxunidhweraaknphayinwd eruxngnithanphuthththasphikkhuelaihfngexaiwwa phmxxkhnngsuxphimphethuxnepnkradasfulsaekp 2 khu mnepneruxngsnukethann eraekhiynkxnswdmntttxnkha phxphraswdmnttesrc erakexamaihxankn ekhaxanaelwhweraa wiphakswicarnkn eramikhwamxwddi thicathaihkhnxunekhahweraaid rusukwamnthaihephuxnsbayic citmnepnbuyepnkusl imidkhanungthungsaraxairintxnaerkphrrsathisxng aemaetedimthantngiccabwcheriyntampraephniephiyng 3 eduxn aetemuxidichchiwitepnphraaelw khwamyindiinkickrrmtang rwmthngkarexaxkexaiccakphuththbristhrxbkhang thaihthanphuthththasphikkhuimmikhwamkhidthicalasikkha xikthngphraphiksuinwdhlayrupehnwathanphuthththasphikkhueriynhnngsuxekngaelaethsnadi cunghnunihthanphuthththasphikkhuxyuthiwdtxipephuxepnkalnginkarephyaephrphraphuththsasna elaknwaecakhnaxaephxekhythamthanphuthththasphikkhuinphrrsaniwamikhwamkhidehnxyangirinkarichchiwit thanphuthththasphikkhutxbwa phmkhidwacaichchiwitihepnpraoychnaekephuxnmnusyihmakthisud aetthayiekycabwchphmktxngsukxxkipxyubankhakhay thanecakhnaxaephxcungipkhuykboymaemkhxngthanphuthththasphikkhuwathanphuthththasphikkhukhwrcaxyuepnphratxip swnnxngchaykhxngthannnimtxngbwchkid ephraamichiwitehmuxnphraxyuaelw khux epnkhnmknxy snods karkinxyueriybngay aelatdphmsnekriyntlxdewla inkarni thaihnaythrrmthas nxngchaykhxngthanphuthththasphikkhu imidbwch aelayxmlathingkarsuksacakkhnaaephthysastr culalngkrnmhawithyaly marbphidchxbhnathithangban ephuxihthanphuthththasphikkhuecriysmnthrrmtxip chiwitsmnephsinphrrsathisxngkhxngthanphuthththasphikkhuimtangcakphrrsaaerkmaknk thanphuthththasphikkhuidsuksankthrrmtx aelasxbidnkthrrmothinphrrsani emuxxxkphrrsaidimnan chwngtnpi ph s 2471 xaesiyng nxngchaykhxngbidathanphuthththasphikkhu idphlkdnihthanphuthththasphikkhuekhasuksakhwamruthangthrrmtxthikrungethph thanphuthththasphikkhuphudthungeruxngniexaiwwa xxkphrrsaaelwimnan kedinthangiperiyntxthikrungethph xathichumphrepnkhnydeyiydihip mnepnthrrmeniymodymakdwywaemuxidnkthrrmothaelw thacaeriyntx epnoxkasthiphxehmaaphxdithicaekhakrungethph phrakhruchyaphiwthn mhakln sungxyuthangonnkehnwadi xathichumphrmiswnyuthisakhy xyakiheriynmak ephuxepnekiyrtiepnxairkhxngwngstrakulmakkwa aetaekimmikhwamkhidwacaimihsuk thungaemcasukkiheriynmak ekhaiwhlaypi khngcadikwaribsuk thanphuthththasphikkhuidekhamaxyukrungethph thiwdpthumkhngkharachwrwihar odyxasykbphrakhruchyaphiwthn kln sungepnphraphuihythiiklchidkbthanphuthththasphikkhu aelaidmasuksatxthikrungethph echnediywkn sahrbthanphuthththasphikkhu sungimekhyedinthangipkrungethph makxnely mikhwamkhidwakrungethph nnkhuxemuxngkhuxsunyklangkhwamecriyinthukdan rwmthngphraphuththsasna enuxngkrungethph epnaehlngkhwamrudanpriyti thanphuthththasphikkhucungwadphaphiwwaphraenrinkrungethph captibtidiptibtichxbtamphrathrrmwiny thungkhnadkhidwacamiphraxrhntxyuetmipthngkrungethph dngkhaphudthiwa kxnipthungkrungethph erakekhykhidwa phrathikrungethph mnimehmuxnthibanera phrakrungethph cadi ekhykhidwakhnthiidepriyy 9 khuxkhnthiepnphraxrhntdwysaip ekhykhidwakrungethph dithisud thuktxngthisud khwrcathuxepntwxyang ekhynukwaphraxrhntetmipthngkrungethph kxnipkrungethph mnkhidxyangnn aetkrungethph thithanphuthththasphikkhuphbehnnn hangiklcakkrungethph thithanphuthththasphikkhukhidiwliblbehluxekin thanphuthththasphikkhuprasbkbtnexngwasilacarwtrkhxngphraenremuxngkrungnnxxknxklunxkthangyingkwaphraenrbannxk thixyukntamprasakhnimmikhwamruesiyxik thanphuthththasphikkhuidelathungeruxngniexaiwwa aetphxipecxcring mnruwamhaepriyymnimmikhwamhmayxairnk mnkerimebux xyaksuk rusukwaeriynthikrungethph mnimmixairepnsara eriynthikrungethph mnxyakcasukxyubxy phraenrimkhxymiwiny mnphidkbbannxk mnkepnmacnkrathngediywni eruxngstangkheruxngphuhying mnekhrngkwamak imichechphaathiphumeriynghrxk tlxdpksitaehla ekhrngkwathikrungethph mak eruxngekiywkbkarkinkarchnksrwlesehhaehmuxnkbkhnema hahatlxdewlachn lksnanneraeriyniptngaetorngeriynnkthrrmwamnichimidni xyangmatxyikhsdtmikhhwanhruxthxdpraekhnknediywnnely mnphidwiny aetekhathaknepnthrrmda eriykwamnimmixairthinaeluxmisely phidkbwdthibannxk eraktxngepnphrathicbstangkh ichstangkhehmuxnekhaiphmd tamthrrmdaphrathiphumeriyng smyphmbwchekhaimcbengincbthxngkn miphuchwyekbih aelwmnkhxy epliyn imcbaettxhnakhn inkrungethph mnepnorkhrayrabadthwkrungethph xyuhwemuxngmnyngmixiththiphlinthangekhrngkhrdaebbekaxyu thanphuthththasphikkhuehnekhaxyangnikekidepnkhwamexuxmraxainchiwitsmnephsxyanghnk hlngcakxyukrungethph idephiyng 2 eduxnkklbmathiphumeriyngephuxcalasikkha aetkhnannepnchawngiklewlacaekhaphrrsaaelw miphuthkthwngwacalasikkhatxnniyngimehmaa thanphuthththasphikkhucungtdsinickhrxngsmnephsxikphrrsahnung aelakhidwakhxylasikkhabthemuxxxkphrrsaipaelw phrrsathisamaelasi inphrrsathisam thanphuthththasphikkhusxbnkthrrmchnexkid emuxxxkphrrsa khunnayhngwn esrsthphkdi sungepnphubricakhenginsrangorngeriynnkthrrmthiwdphrabrmthatuichyarachwrwihar aelaepnyatikhxngthanphuthththasphikkhu rwmthngphrakhruosphnectsikaram exiym rxngecaxawaswdphrabrmthatuichyainsmynn idchkchwnihthanphuthththasphikkhumaepnxacarysxnnkthrrmxyuthiwdphrabrmthatuichyaaehngni thanphuthththasphikkhucungideluxnkahndkarlasikkhaiwkxn aelamaepnxacarysxnnkthrrmxyuhnungpi klwithikarsxnkhxngthanphuthththasphikkhuchwntidtam thaihnkeriynkhxngthansxbidhmdykchn eruxngnithanphuthththasphikkhuidelaexaiwwa sxnnkthrrmniksnuk sxnkhnediyw 2 chn mnkhuyidwasxbidhmd aettamhlkthanthiprakttkipxngkhhnung ephraaibtxbhay kklayepnkhruthimichuxesiyngkhunmathnthi mnsnuk ephraaepnkhxngihm aelamnchkcaxwd xyuwaeraphxthaxairid hawithiykyaysxnihmnsnuk imehmuxnkbthiekhasxn knxyu echnphmmiwithiela withiphudihchwntidtam hruxihprakwdkntxbpyha thanxngchingrangwl nkeriynkeriynknsnuk ksxbidkn emuxepnechnni khunnayhngwncungidsuxekhruxngphimphdidyihxermingtnaebbkraepahiwihthanphuthththasphikkhuepnrangwl aelathanphuthththasphikkhuidichekhruxngnimaepnewlahlaysibpi inkhnaediywknniexng naythrrmthaskidrwbrwmyatimitrthisnicinphraphuththsasnamacdtngepnkhnakhun ineduxnknyayn ph s 2472 aelanikhuxcuderimkxnthicaklayepninewlatxma eruxngnithanphuthththasphikkhuelaihfngwa naythrrmthasekhaminisyxyaksngesrimphuththsasnaihrungeruxng tngaettxnthiekhaiperiynetriymaephthythicula ph s 2469 ekhaipphbbthkhwamekiywkbkarephyaephphuththsasnathangsmakhmmhaophthi khxngthrrmpala aelahnngsuxyngxist khxngyipun ideraicihekhaehnkhunkhakhxngphraphuththsasna aelahahnngsuxthangphuththsasnamacakhxsmudnnmaxanesmx phxklbmaban ph s 2470 kmatnghibhnngsuxihkhnxunxankninewlatxma ph s 2472 rwbrwmhnngsuxthrrmathihaidinsmynn rwmthng ethsnaesuxpa phraphuththecatrsruxair ithyekhsm wisakha epntn kkxhwxdihekidkhwamsnicinhmukhnaethwnn imkikhnhrxk cbklumsnthnakneruxngcathaphuththsasnaihmnbrisuththi ihmnthuktxngxyangir txmakhnehlanikepnkalngtngswnomkkhaelakhnathrrmthan minayethiyng cnthewch naydaw icsaxad naychw wrrnkld nayenin wngswanich naykwy kiwimaedng epntwtngtwti naythrrmthasekhaidruckkbchawlngkachuxsiriesna thimaphkxyuthibanthaophthi cungidrueruxngkickarkhxngsmakhmmhaophthi aelaxnakharikathrrmpala sungphyayamfunfuphuththsasnainlngkaaelaxinediy naythrrmthasekhakmicdhmaytidtxrbhnngsuxmhaophthi txmakrb britichbuddist khxngsmakhmmhaophthi lxndxn buddist xin xingaelnd aela buddist aexnnwl xxfsilxn thaihekharuwakhawkhrawkhwamekhluxnihwekiywkbphuththsasnaintangpraethssukrungethph xikkhrng emuxhmdhnathisxnnkthrrmaelw xaesiyngkerngeraihthanphuthththasphikkhuekhakrungethph xikkhrng odyhwngihhyibphdysmhaepriyymaiwepnekiyrtiaekwngstrakul thanphuthththasphikkhucungekhakrungethph xikkhrawhnung emuxpi ph s 2473 emuxxyukrungethph inkhrngni thanphuthththasphikkhukhidephiyngaetcamungeriynphasabaliethann aelathingeruxngkarlasikkhaexaiwkxn aetthanphuthththasphikkhuimidekhaeriyninchwngklangwn enuxngcakehnwaepnkarsxnthixudxad imthnic cungihphrakhruchyaphiwthn kln sxnphiessinchwngklangkhun nxkcakkareriynphasabaliaelw thanphuthththasphikkhuyngsnicineruxng karthxngethiyw karthayphaph ekhruxngphimphdid ekhruxngelnwithyu phasaxngkvs withyasastr khawsarbanemuxng thngyngtidtamnganekhiynkhxngpyyachnthnghlayinsmynn imwacaepn khruethph n m s phraxngkhwrrn esthiyrokess nakhaprathip aelahlwngwicitrwathkar wicitr wicitrwathkar emuxprakasphlsxbpiaerk praktwathanphuthththasphikkhusxbidepriyythrrm 3 praoykh aelaklayepnphramhaenguxm xinthpy oy inpiediywknniexng thanphuthththasphikkhuminganekhiynepnbthkhwamkhnadsnchinaerk chux praoychnaehngthan praktxyuinhnngsuxthiphimphaeckinnganphrarachthanephlingsphphrakhruosphnectsikaram khng wimaol phraxupchchaykhxngthanphuthththasphikkhu aelamibthkhwamkhnadyaweruxng phraphuththsasnasahrbputhuchn phimphinhnngsuxthiralukkhrbrxborngeriynnkthrrm wdphrabrmthatuichyamrnphaphphrathrrmoksacary enguxm xin thpy oy idlasngkharxyangsngb n swnomkkhphlaram emuxwnthi 8 krkdakhm ph s 2536 sirirwmxayu 87 pi 67 phrrsa khngehluxiwaetphlnganthithrngkhunkhaaethntwthanihxnuchnkhnrunhlngidsubsanpnithankhxngthanrbmrdkkhwamepn phuthththas ephuxphuthththascaidimtayipcakphraphuththsasnadngbthpraphnthkhxngthanthiwa phuthththas ckxyuip immitay aemrangkaycadbipimfngesiyngrangkayepn rangkayip imlaexiyng nnepnephiyngsingepliynipinewlaphuthththas khngxyuip immitay thungdiraykcaxyukhusasnasmkbmxb kayic rbichma tambychaxngkhphraphuththimhyudelyphuthththas yngxyuip immitay xyurbich ephuxnmnusyimhyudechydwythrrmokhsntamthiwangiwxyangekhy oxephuxnexymxngehnihmxairtayaemchntay kaylb iphmdaelw aetesiyngsng yngaecw aewwhushaywaekhyphlxdknxyangirimesuxmkhlay kehmuxnchnimtay kaythrrmyngthakbchn xyangkachn nnimtay yngxyukb thanthnghlayxyanghnhlngmixairmaekhiyikh ihknfng ehmuxnchnnng rwmdwy chwychiaecngthakbchn xyangkachn imtayethid yxmcaekid phlsnxng hlayaekhnngthukwnnd snthna xyaelikaelng thaihaecng thisudid eliktayknekiyrtikhunsmnskdi thanphuthththasphikkhuidrbphrarachthansmnskdicakphrabathsmedcphraecaxyuhwtamladb dngni ph s 2473 phramhaenguxm xinthpy oy epriyythrrm 3 praoykh ph s 2489 phrakhrusyyabtr thi phrakhruxinthpyyacary ph s 2493 phrarachakhnachnsamyepriyy thi phraxriynnthmuni sp ph s 2500 phrarachakhnachnrach thi phrarachchykwi smathinthriykhnathipty omkkhphlwtrthrrmsunthr ytikhnissr bwrsngkharam khamwasi ph s 2514 phrarachakhnachnethph thi phraethphwisuththiemthi sriphawnacary sunthryanphisitth mhakhnissr bwrsngkharam khamwasi ph s 2530 phrarachakhnachnthrrm thi phrathrrmoksacary sunthryandilk tripidkthrrmphusit ytikhnissr bwrsngkharam khamwasipriyyadusdibnthitkittimskdi thanphuthththasphikkhuidrbkarthwaypriyyadusdibnthitkittimskdiinsakhatang caksthabntang dngni 8 phvscikayn ph s 2522 phuththsastrdusdibnthitkittimskdi cakmhaculalngkrnrachwithyaly 8 phvscikayn ph s 2528 xksrsastrdusdibnthitkittimskdisakhaprchyaaelasasna cakmhawithyalysilpakr 3 thnwakhm ph s 2528 prchyadusdibnthitkittimskdisakhawichasuksasastr cakmhawithyalyramkhaaehng 1 kumphaphnth ph s 2530 priyyadusdibnthitkittimskdisakhakhrusastr cakmhawithyalysngkhlankhrinthr 16 krkdakhm ph s 2530 priyyadusdibnthitkittimskdisakhaprchya cakculalngkrnmhawithyaly 9 kumphaphnth ph s 2533 priyyadusdibnthitkittimskdisakhaphthnsuksasastr cakmhawithyalysrinkhrinthrwiorth 29 kumphaphnth ph s 2536 silpsastrdusdibnthitkittimskdi cakmhawithyalythrrmsastrxun nxkcaksmnskdiaelapriyyadusdibnthitkittimskdiaelw thanphuthththasphikkhuyngidrbkarykyxngcakxngkhkrtang dngni ph s 2508 hnngsuxaeknphuththsasn idrbrangwlchnaelis hnngsuxdipracapi ph s 2508 cakxngkhkaryuensok ph s 2527 idrbkhdeluxkepnbukhkhlthapraoychnfaybrrphchitenuxnginoxkas idrbrangwlepnsylksnesaxosk aelaenginsdcanwn 10 000 bath ph s 2537 khurusphaprakasykyxngechidchuwaepnphuthakhunpraoychnxyangsungyingtxkarsuksachati enuxnginoxkaskhrbrxb 100 pi krathrwngsuksathikar 20 tulakhm ph s 2548 xngkhkaryuensok prakasykyxngihthanphuthththasphikkhuepnbukhkhlsakhykhxngolk dansngesrimkhntithrrm sntithrrm wthnthrrm khwamsmphnthaelakhwamekhaicxndikhxngmwlmnusy ph s 2549 rthbalithy rwmthnghnwyngantang idphrxmickncdkickrrmthangthrrmaenuxnginoxkasralukkhrbrxb 100 pi chatkal thanphuthththasphikkhuphlnganthanphuthththasmiphlnganthieriyberiyngepnhnngsuxekiywkbphuththsasnaepncanwnmak xathiechn eriyngladbtamtwxksr aeknphuththsasn khumuxmnusy twkukhxngku thrrmokhsn pticcsmupbathcakphraoxsth phraphuththecasxnxair phuththprawticakphraoxsth phasakhn phasathrrm hnngsuxphimphphuththsasna xithppccyta 100 hnngsuxdithikhnithykhwrxan sutrkhxngewyhlangxangxingosmchya thnngkul mrdkthrrmcakthanphuthththas aestmp amp singsasm pithi 1 42 chbbthi 3 phvsphakhm 2555 ISSN 2229 2780 hna 48 epnchuxeriykkhxngtwemuxngsurasdrthaniinpccubn phuthththasphikkhu elaiwemuxwysnthya xtchiwprawtikhxngphuthththasphikkhu chiwit hlkthrrm karngan phuthththasphikkhu tamrxypnithanaehngthrrm rachkiccanuebksa aecngkhwamsanknaykrthmntri eruxngphrarachthansyyabtrtngsmnskdi elmthi 67 txnthi 67 wnthi 12 thnwakhm 2493 hna 6320 rachkiccanuebksa aecngkhwamsanknaykrthmntri eruxngphrarachthansyyabtrtngsmnskdi elmthi 74 txnthi 107 wnthi 17 thnwakhm 2500 hna 2953 rachkiccanuebksa aecngkhwamsanknaykrthmntri eruxngphrarachthansyyabtrtngsmnskdi chbbphiess elmthi 88 txnthi 151 wnthi 31 thnwakhm 2514 hna 2 rachkiccanuebksa prakassanknaykrthmntri eruxngphrarachthansyyabtrtngsmnskdi chbbphiess elmthi 104 txnthi 253 wnthi 5 thnwakhm 2530 hna 1 2 chbbyxkhwam 2007 02 12 thi ewyaebkaemchchin raylaexiyd 2010 01 28 thi ewyaebkaemchchin hnngsuxxanephim sulksn siwrks laysuxithy 2522 odaenld ekh saewerxr aela esri phngphis phuthththasphikkhunkptirupphuththsasnainemuxngithy thanphuthththaskbsngkhmithy aesngrungkarphimph 2526 phuthththasphikkhu aela pyyannthphikkhu aem khwamrkkhxngaem thrrmspha phuthththasphikkhu elaiwemuxwysnthya xtchiwprawtikhxngphuthththasphikkhu mulnithiokmlkhimthxng 2546 ISBN 9747233541 phaphchiwit 80 pi phuthththasphikkhu mitiihmkhxngphraphuththsasna mulnithiesthiyrokess nakhaprathip 2529 chiwit hlkthrrm karngan phuthththasphikkhu mulnithiephyaephrchiwitxnpraesrith 2536 phuthththasphikkhu sibpiinswnomkkh xtchiwprawtiinwyhnumkhxngphuthththasphikkhu pacarysar 2529 phuthththas swnomkkhphlaram kalngaehngkarhludphn xacariymrnanusrn phaphphimph 2537 hasibpiswnomkkh swnxusmmulnithi 2525 tamrxypnithanaehngthrrm thrrmspha 2538 ph s 2476 erimcdtha hnngsuxphimphphuththsasnangansuksathangwichakarthiekiywkhxngaeckhsn pietxr ex 2556 phuthththasphikkhu phraphuththsasnanikayethrwathaelakarptibtirupechingnwsmyniyminpraethsithy aeplody mngkhl edchnkhrinthr krungethph sankphimphaehngculalngkrnmhawithyaly thiwaphr xphyphthn 2556 khndi sakhykwathuksing yatithrrmkbkarsrangkaryxmrbphuthththasphikkhuinsngkhmithy ph s 2475 2529 withyaniphnth x m prawtisastr krungethph phakhwichaprawtisastr khnaxksrsastr culalngkrnmhawithyaly xxniln wisrut bwngsrwng 2556 karekhluxnihwthangkhwamkhidkhxngphuthththasphikkhukbkaremuxngithy ph s 2516 2536 withyaniphnth ss m prawtisastr krungethph phakhwichaprawtisastr khnasilpsastr mhawithyalythrrmsastr xxniln lingkesiy Jackson Peter A 2003 Buddhadasa Theravada Buddhism and Modernist Reform in Thailand Chiang Mai Silkworm Books duephimswnomkkhphlaramaehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb phrathrrmoksacary enguxm xin thpy oy wikikhakhmmikhakhmekiywkb phuthththasphikkhu wikitaramitarainhwkhx phuthththasphikkhu phuthththassuksa phuthththas khxm 2021 01 27 thi ewyaebkaemchchin phaphphaonrama 360 xngsakhxngswnomkkhphlaram phrathrrmoksacary karlasngkharkhxngthanxacaryphuthththas Download MP3 2020 10 19 thi ewyaebkaemchchinkxnhna phrathrrmoksacary enguxm xin thpy oy thdipphrathrrmoksacary chxb xnucari phrathrrmoksacary ph s 2530 ph s 2536 phrathrrmoksacary pn pthumut tor