นกกระติ๊ดขี้หมู | |
---|---|
L. p. punctulata (อินเดีย) | |
L. p. topela (จังหวัดสุรินทร์) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
วงศ์: | Estrildidae |
สกุล: | |
สปีชีส์: | L. punctulata |
ชื่อทวินาม | |
Lonchura punctulata (Linnaeus, ) | |
พื้นที่การกระจายพันธุ์ของนกกระติ๊ดขี้หมูในเอเชีย และเอเชียภาคพื้นสมุทร (ยังไม้ได้ระบุประชากรนกบนเกาะบอร์เนียว) | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกกระติ๊ดขี้หมู (อังกฤษ: scaly-breasted munia หรือ spotted munia; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lonchura punctulata) เป็นนกกระติ๊ดที่มีขนาดเท่านกกระจอก และจัดอยู่ในอันดับนกเกาะคอนที่มีขนาดเล็ก ชอบอยู่เป็น มีถิ่นกำเนิดใน นกกระติ๊ดขี้หมูอยู่ในวงศ์นกกระติ๊ด (Lonchura) ได้รับการอย่างเป็นทางการและตั้งชื่อโดยคาโรลัส ลินเนียส ในปี ค.ศ. 1758 ชื่อทวินามตั้งจากลักษณะโดดเด่นของลายบนขนที่คล้ายเกล็ดที่หน้าอกและหน้าท้อง ตัวเต็มวัยครึ่งตัวบนมีสีน้ำตาล และจะงอยปากสั้นหนาแหลม รูปกรวยสีเข้ม นกกระติ๊ดขี้หมูมี 11 ชนิดย่อยที่มีขนาดและสีแตกต่างกันเล็กน้อย
นกกระติ๊ดชนิดนี้กินเมล็ดหญ้าและเมล็ดธัญพืชเป็นหลัก นอกเหนือจากนั้นคือผลไม้พุ่มขนาดเล็ก (พวกเบอร์รี่) และแมลงขนาดเล็ก มีการเป็นฝูง และสื่อสารกันด้วยเสียงร้องเบา ๆ และเสียงคล้ายนกหวีด เป็นนกที่มีความเป็นสูงและบางครั้งอาจจะอยู่ร่วมกับนกกระติ๊ดสายพันธุ์อื่น นกชนิดนี้มักพบในที่ราบและทุ่งหญ้าเขตร้อน นกคู่ผสมพันธุ์จะสร้างรังรูปโดมด้วยใบหญ้า ฟาง หรือใบไผ่
นกกระติ๊ดขี้หมูมีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ครอบคลุมจากอินเดียและศรีลังกา ในทางตะวันออกไปจนถึงประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (ซึ่งเรียกนกชนิดนี้ว่ามายองปะกิง) ยังมีการนำเข้าสู่ภูมิภาคอื่นของโลก นกกระติ๊ดขี้หมูจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นคุกคามในปวยร์โตรีโก และฮิสปันโยลา รวมถึงบางส่วนของออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา และถูกระบุว่ามีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (least concern, LC) โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature, IUCN) นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นนกที่ได้รับการระบุเป็นทั้งศัตรูข้าวโดยหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นสัตว์คุ้มครองบัญชีรายชื่อ ปี 2546 ของประเทศไทย เพื่อคุ้มครองจากผู้ลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายในการจับมาเพื่อการ
อนุกรมวิธาน
นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นหนึ่งในนกจำนวนมากหลายชนิดที่คาโรลัส ลินเนียสขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ไว้ในหนังสือ (Systema Naturae) ฉบับที่ 10 ปี พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) โดยขณะนั้นได้รับการตั้งชื่อทวินามว่า Loxia punctulata ต่อมา (William Henry Sykes) ระบุให้เป็นสกุล Lonchura และเปลี่ยนชื่อทวินามเป็น Lonchura punctulata ในปี พ.ศ. 2366
นกกระติ๊ดขี้หมู เป็นนกกระติ๊ด 1 ใน 8 ชนิดที่พบในประเทศไทย นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นของประเทศไทยที่พบบ่อยมาก และเป็นนกในวงศ์นกกระติ๊ดที่พบบ่อยที่สุดในจำพวกนกกระติ๊ดด้วยกัน
ชนิดย่อย
นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นชนิดของนกกระติ๊ดที่มีมากถึง 11 ชนิดย่อยที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ซึ่งในจำนวนนี้ได้รวมถึงการระบุชนิดย่อยที่พบในที่ราบของอนุทวีปอินเดียไว้ด้วย ซึ่งได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ และศรีลังกา ชื่อ lineoventer เดิมใช้สำหรับระบุเป็นชนิดเฉพาะของประชากรนกนกกระติ๊ดขี้หมูในอินเดีย (Lonchura lineoventer)
นกกระติ๊ดขี้หมูชนิดย่อยในที่อื่น ๆ ได้แก่ subundulata พบในทางทิศตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย, yunnanensis พบทางตอนใต้ของประเทศจีน, topela พบในประเทศไทย, cabanisi ในฟิลิปปินส์ และ fretensis ในสิงคโปร์และสุมาตรา กลุ่มประชากรนกกระติ๊ดขี้หมูชนิดย่อยบนเกาะ ได้แก่ nisoria ในบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา, particeps บนเกาะสุลาเวสี, baweana บนเกาะบาวีน, sumbae บนเกาะซุมบา, blasii ในฟลอเรส ติมอร์ และทานิมบาร์ และ holmesi บอร์เนียวตะวันออกเฉียงใต้
- L. p. punctulata (Linnaeus, 1758) นกกระติ๊ดขี้หมูลายตาข่าย (Lonchura punctulata punctulata) – กระจายพันธุ์ในบริเวณประเทศปากีสถานตอนเหนือ, อินเดีย (ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เขต (Terai Region) ของประเทศเนปาล และศรีลังกา ชนิดย่อย L. p. punctulata นี้ได้ถูกนำเข้าไปเป็นนกกรงในหลายประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน คาบสมุทรอาหรับ ปวยร์โตรีโก ฮิสปันโยลา และบางส่วนของสหรัฐอเมริกา
- L. p. subundulata (Godwin-Austen, 1874) – กระจายพันธุ์ในบริเวณประเทศภูฏาน, บังกลาเทศ, อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ (อัสสัม) และพม่าตะวันตก
- L. p. yunnanensis (Parkes, 1958) – พบในบริเวณประเทศจีนทางตะวันตกเฉียงใต้ (ทิเบตตะวันออกเฉียงใต้ เสฉวนใต้ ยูนนาน) และพม่าตอนเหนือ - ตะวันออกเฉียงเหนือ
- L. p. topela (Swinhoe, 1863) – กระจายพันธุ์ในบริเวณทางตอนใต้ของประเทศพม่า, ไทย, ประเทศจีนทางตะวันออกเฉียงใต้ (หมู่เกาะไหหลำ กวางตุ้ง เจ้อเจียง และเกาะไต้หวัน), ประเทศลาว, กัมพูชา และเวียดนาม
- L. p. fretensis (Kloss, 1931) – ในบริเวณคาบสมุทรมาเลย์ตอนใต้ สิงคโปร์ เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะนียัซ ยังพบทางภาคใต้ตอนล่างของไทย เช่น จังหวัดสงขลา ซึ่งชนิดย่อยนี้ลายเกล็ดจะเข้มและออกดำมากกว่า ลำตัวด้านบนสีจะอ่อนกว่า มีเส้นขนสีขาวแซมเล็กน้อยที่หัว
- L. p. cabanisi (Sharpe, 1890) – อาศัยอยู่ในในบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ (เกาะลูซอน, มินโดโร, คาเลาอิต, ปาลาวัน, ปาเนย์, เนโกรส, เซบู, มินดาเนา) และตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว (ชายฝั่งตะวันตกของรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย และประเทศบรูไน)
- L. p. nisoria (Temminck, 1830) – กระจายพันธุ์หมู่เกาะซุนดาน้อยฝั่งตะวันตก (รวมเกาะลมบก และเกาะซุมบาวา) และเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย แต่อาจพบได้ในบริเวณเกาะบอร์เนียวตอนใต้ (กาลีมันตันตะวันตก และกาลีมันตันใต้) เกาะชวา
- L. p. holmesi (Restall, 1992) – พบบนบริเวณเกาะบอร์เนียวตะวันออกเฉียงใต้ ของอินโดนีเซีย
- L. p. particeps (Riley, 1920) – ในบริเวณเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย
- L. p. baweana (Hoogerwerf, 1963) – คาดว่ามีประชากรน้อยมากและกระจายพันธุ์ในบริเวณประเทศหมู่เกาะ Bawean ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะชวาไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของอินโดนีเซีย
- L. p. sumbae (Mayr, 1944) – พบเห็นได้บนเกาะซุมบา และหมู่เกาะอื่นในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก (หมู่เกาะซุนดาน้อยฝั่งตะวันออกต่อกับเกาะติมอร์ด้านตะวันตก) ของอินโดนีเซีย
- L. p. blasii (Stresemann, 1912) – กระจายพันธุ์ในบริเวณจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก และจังหวัดมาลูกูของอินโดนีเซีย ครอบคลุมหมู่เกาะโมลุกกะตอนใต้ และเกาะอัมบน ในทะเลบันดา เกาะโฟลเร็ซทางตะวันออก ต่อไปยัง ของอินโดนีเซีย และติมอร์เลสเต
ชื่ออื่น
นกกระติ๊ดขี้หมู มีชื่อสามัญอื่นเรียกในภาษาต่าง ๆ ได้แก่
ชื่อภาษาอังกฤษในทางการค้าที่นักเลี้ยงนกรู้จักดี เช่น nutmeg mannikin, spice finch และ nutmeg finch
ชื่อภาษาจีน: 斑文鸟 (Bān wén niǎo)
ชื่อภาษาอินโดนีเซีย: bondol peking หรือ pipit peking (ชื่อในภาษาชวา emprit peking หรือ prit peking; ภาษาซุนดา piit peking หรือ manuk peking)
ชื่อภาษามลายู: pipit pinang
ชื่อภาษาตากาล็อก: mayang paking
ชื่อภาษาเวียดนาม: di đá
ชื่อภาษาอัสสัม: ফুটুকী টুনি (phuṭuka ṭuni)
ชื่อภาษาทมิฬ: புள்ளிச் சில்லை (puḷḷic cillai)
ชื่อภาษาพม่า: စာဝတီပြောက်ငှက် (hcar wate pyawwat nghaat)
ลักษณะทางชีววิทยา
ลักษณะทั่วไป นกกระติ๊ดขี้หมูมีลำตัวยาว 11–12 เซนติเมตร (4.3–4.7 นิ้ว) และหนัก 12–16 กรัม (0.026–0.035 ปอนด์) ตัวเต็มวัยมีจะงอยปากสีเข้มหรือดำคล้ำปลายแหลม ซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไปของนกกินเมล็ดธัญพืช
ลำตัวส่วนบนมีขนสีน้ำตาล ตะโพก ขนคลุมโคนขนหางด้านบน และหางเป็นสีน้ำตาลมักมีสีเหลืองแซม และขนหัวสีน้ำตาลเข้มโดยเฉพาะที่คางและรอบตา ลำตัวส่วนล่างขนสีขาวแกมเทามีลายเกล็ดหรือจุดหรือลายตาข่ายสีน้ำตาลเข้ม ขนกลางท้องและก้นสีขาว หางน้ำตาลแกมเหลือง นกต่างเพศมีความคล้ายคลึงกัน โดยตัวผู้จะมีแถบสีคล้ำที่ลำตัวช่วงล่างและที่ลำคอ ที่มีสีเข้มกว่าตัวเมีย
นกที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีส่วนบนสีน้ำตาลซีด ส่วนหัวไม่มีสีเข้มอย่างที่พบในนกที่โตเต็มวัย ปากล่างสีอ่อนกว่าปากบน มีขนอ่อน ๆ ไม่มีลายเกล็ดที่อก ที่ทำให้ดูเหมือนกันกับนกกระติ๊ดสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น นกกระติ๊ดสามสี (Lonchura malacca) มีกระจายพันธุ์ในเอเชียภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะโดยรอบ และนกกระติ๊ดคอดำ (Lonchura kelaarti) ที่กระจายพันธุ์ในประเทศอินเดียหรือศรีลังกา
พื้นที่การกระจายพันธุ์ของนกกระติ๊ดขี้หมูกินบริเวณกว้าง ทำให้ความเข้มของสีและขนาดของลายขนนกในประชากรนกกระติ๊ดขี้หมูมีรูปแบบแตกต่างกัน ในอนุทวีปอินเดียมีโอกาสถูกแยกชนิดโดยใช้ชื่อว่า นกกระติ๊ดขี้หมูลายตาข่าย (Chequered Munia – L. p. punctulata) ที่ต่างจากชนิดย่อยอื่นตรงที่มีลำตัวสีออกน้ำตาลแดง หางสีเหลืองสดกว่า และมีลายเกล็ดกลม ๆ กว้างออกทางด้านข้าง แทนที่จะเป็นลายเกล็ดทรงยาวและถี่แน่น แล้วมีเส้นขีดกลางคล้ายหัวลูกศรตรงกลางแบบนกกระติ๊ดขี้หมูในประเทศไทย (L. p. topela)
ในความหลากหลายของวงศ์นกกระติ๊ด นกกระติ๊ดขี้หมูมีต้นกำเนิดในเอเชีย แต่ได้ถูกนำเข้าไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของโลก จากความนิยมในฐานะนกกรง ซึ่งจำนวนหนึ่งได้หลุดรอดออกไปและเพิ่มจำนวนประชากรในธรรมชาติ
พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
สังคม
นกกระติ๊ดขี้หมู เป็นนกสังคม สามารถรวมฝูงได้มากถึง 100 ตัว นกแต่ละตัวสื่อสารกันด้วยการร้องในหลายรูปแบบ ได้แก่ เสียงหวีดสั้น ๆ เสียงหลายแบบในทำนอง จิ๊ตตี้ - จิ๊ตตี้ - จิ๊ตตี้ และเสียงจิ๊บที่สูงแหลม บางครั้งพวกมันสะบัดหางและปีกในแนวตั้งหรือแนวนอนในขณะที่กระโดด การเคลื่อนไหวสะบัดหางอาจพัฒนามาจากการเคลื่อนไหวโดยเจตนา การเคลื่อนไหวสะบัดหางในเวอร์ชันที่เกินจริงอาจผ่านการทำ พิธี แล้ว ในฐานะสัญญาณทางสังคมการสะบัดหางในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกหลายชนิดทำหน้าที่เป็นสัญญาณบ่งชี้เจตนาที่จะบินและช่วยให้ฝูงอยู่ด้วยกัน
เมื่ออยู่ นกกระติ๊ดขี้หมูจะนั่งเกาะข้างกันอย่างใกล้ชิดกัน นกตัวนอกสุดมักจะเอนตัว (พิง) เข้าหาศูนย์กลาง บางครั้งนกในฝูงจะแต่งขน (ไซ้ขน) ให้กันและกัน โดยนกตัวที่ชี้ชวนจะแสดงตัวโดยการเชิดคางออกไป แก่กันนี้มักจะจำกัดบริเวณเฉพาะใบหน้าและลำคอ นกกระติ๊ดขี้หมูมักไม่ค่อยเป็นศัตรูกัน แต่ในบางครั้งก็จะทะเลาะกันโดยปราศจากการแสดงใด ๆ
การผสมพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูฝน (ส่วนใหญ่เป็นเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมในอินเดียและเอเชียอาคเนย์) แต่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ การศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่าการส่องสว่างในวันที่ยาวนานและความชื้นสูงกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ เสียงร้องของนกตัวผู้มีความนุ่มนวลแต่ซับซ้อนและหลากหลาย ซึ่งได้ยินเฉพาะในระยะใกล้ เสียงร้องสามารถระบุว่าเป็นเพลงที่มักเริ่มด้วย ชุดเสียงโทนสูง ตามด้วยเสียงกังวานแบบโทนเดียวซ้ำ ๆ และจบลงด้วยการทอดเสียงอย่างคลุมเครือ ขณะเปล่งเสียงร้องนกตัวผู้จะนั่งในท่าที่เรียกว่าท่าโน้มตัว (slope) และขนที่หัวออก
ท่าโน้มตัวมี 2 ประเภทคือ แบบก่อนการผสมพันธุ์ และแบบธรรมดา พฤติกรรมก่อนการมีเพศสัมพันธ์ของนกกระติ๊ดขี้หมู ยังรวมถึงลำดับของท่าทาง คือ ท่าแรกตัวผู้หรือตัวเมียจะร่วมกันเล่นวัสดุทำรัง ทันทีที่นกจัดเรียงวัสดุทำรังในจะงอยปากเรียบร้อยนกก็จะเริ่มบินไปรอบ ๆ ในเส้นทางแบบสลับฟันปลา (ซิกแซก) เมื่อนกเข้าหากันตัวผู้จะโค้งเข้าหาตัวเมียและไซ้จะงอยปากของมัน จากนั้นตัวผู้จะส่งเสียงร้องประกอบกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตัวเมียจะชวนให้ผสมพันธุ์โดยแสดงการสั่นหาง
โครงสร้างรังของนกกระติ๊ดขี้หมูเป็นรูปโดมทรงกลมขนาดใหญ่ที่ถักสานกันอย่างหลวม ๆ จากใบหญ้า ฟาง ดอกหญ้า ไม้ไผ่ หรือใบไม้แห้งที่มีใบยาวเรียวอื่น ๆ มีทางเข้าด้านข้าง และภายในรังบุด้วยวัสดุอ่อนนุ่มเช่น ดอกหญ้า ปุยของต้นธูปฤๅษี ขนนก เป็นต้น และมักสร้างรังไว้บนง่ามกิ่งไม้ โดยมีพุ่มไม้เป็นที่กำบังฝนหรือใต้ชายคาบ้าน ช่องทางเข้ารังจะหันหน้าไปในทิศทางที่ลมพัดบ่อยที่สุด ทำรังสูงจากพื้นราว 1.5 - 9 เมตร
การศึกษาทางตอนใต้ของอินเดียพบว่าต้นไม้ที่นกกระติ๊ดขี้หมูชอบทำรังคือ (Toddalia asiatica), กระทงลาย (Gymnosporia montana) และ สีเสียด (Acacia chundra) โดยเฉพาะต้นที่เตี้ยเป็นพุ่ม ทรงพุ่มปกคลุมถึงระดับต่ำ ในทางตอนเหนือของอินเดียนกกระติ๊ดขี้หมูชอบทำรังบนต้น (Acacia nilotica) ที่มักขึ้นโดด ๆ ในพื้นที่นอกเมือง และยังชอบทำรังบนต้น (Thuja orientalis) และอโศกอินเดีย ในสวนที่อยู้ในเมือง
นกกระติ๊ดขี้หมูนกคู่ผัวเมียช่วยกันสร้างรัง หากแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์สามารถทำรังวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่พบว่ามีการทำรังวางไข่สูงอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม (ฤดูร้อนและฤดูฝน) แม่นกวางไข่ครั้งละ 1-8 ฟองต่อรัง จำนวนไข่ที่พบบ่อยที่สุดคือ 4 ถึง 6 ฟอง อาจมากที่สุดถึง 10 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ขนาด 16.4 - 11.6 มม. พ่อแม่นกช่วยกันกกไข่ 10 ถึง 16 วัน ลูกนกจึงฟัก เป็นตัวลูกนกแรกเกิดซึ่งยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ (altricial) และพ่อแม่นกช่วยกันเลี้ยงลูกนกอีก 13-15 วัน ลูกนกจึงบินออกจากรัง
อาหารและการหาอาหาร
นกกระติ๊ดขี้หมูกินเมล็ดหญ้าและเมล็ดธัญพืชเป็นหลัก นอกจากนั้นคือ ผลไม้พุ่มขนาดเล็ก เช่น ผลของผกากรอง และแมลง แม้ว่าจะงอยปากที่หนาของนกกระติ๊ดขี้หมูจะเหมาะสำหรับการขบเมล็ดธัญพืชขนาดเล็ก แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของขากรรไกรล่างในแนวข้าง ซึ่งเป็นการขบกระเทาะเปลือกแบบที่ทำ
การลงกินข้าว ระยะของข้าวที่นกกระติ๊ดขี้หมูและนกอื่นในวงศ์เดียวกัน เช่น นกกระติ๊ดตะโพกขาว จะเริ่มกินข้าว คือตั้งแต่ข้าวเริ่มเป็นน้ำนมใหม่ ๆ จนไปถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว ถ้าข้าวอยู่ในระยะน้ำนมและมีส่วนเป็นไตแข็งเพียงเล็กน้อย นกจะจิกที่รวงแล้วขบเมล็ดข้าวกินเฉพาะเนื้อแข็งและน้ำนม รวงข้าวจะยังคงมีเมล็ดติดอยู่กับรวง แต่จะพบรอยแตกของเปลือกที่ชัดเจน รวงข้าวที่ถูกนกกิน รวงจะตั้งชี้ขึ้น (เนื่องจากน้ำหนักที่หายไปจากการถูกกินเป็นบางส่วน) ถ้าข้าวเลยระยะน้ำนมจนแข็งหมดทั้งเมล็ดแล้ว นกจะใช้ปากรูดเมล็ดออกจากรวง แล้วคาบเมล็ดมาขบกินแต่เนื้อภายใน ส่วนเปลือกปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้นข้าวนั้นเอง
นกกระติ๊ดขี้หมูส่งเสียงร้องตลอดเวลาทั้งขณะหากินและบิน การบินจะบินชิดกันไปทั้งฝูง ไม่มีผู้นำฝูง บินในระดับไม่สูงนัก อาจเกาะพักบนต้นไม้ตามกิ่งขนาดใหญ่บ้าง ก่อนที่จะลงกินเมล็ดพืชในแปลงหญ้า โดยจะไม่ซอกซอนค้นหาหนอนตามกิ่งไม้ใบไม้ เพราะไม่ใช่นกกินแมลงเป็นอาหารหลัก อาจลงกินเมล็ดพืชที่ร่วงหล่นตามพื้นในดงหญ้า หรือแมลงตามพื้นดินใต้กอหญ้า โดยเฉพาะในช่วงเลี้ยงลูกซึ่งต้องป้อนด้วยอาหารโปรตีนจำพวกแมลงเป็นส่วนใหญ่
ในลักษณะเดียวกับอื่น ๆ ยังพบว่านกกระติ๊ดขี้หมูอาจกินสาหร่ายซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่อุดมสมบูรณ์ก่อนฤดูผสมพันธุ์
นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นนกที่เลี้ยงและดูแลง่ายใน ทำให้ได้รับความนิยมใช้ในการศึกษาพฤติกรรมและสรีรวิทยา พฤติกรรมการหาอาหารของนกกระติ๊ดขี้หมูยังสามารถพยากรณ์ได้จาก โดยมีหลักคือ สัตว์จะใช้เวลาและพลังงานน้อยที่สุดเพื่อให้ได้ปริมาณอาหารที่หาได้มากที่สุด ซึ่งนกกระติ๊ดขี้หมูเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ โดยเฉพาะการศึกษาการใช้กลยุทธ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหาอาหาร
ขนาดฝูง
การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการหาอาหาร ซึ่งศึกษาความสัมพันธ์ของขนาดฝูงที่มีผลต่อการลดการใช้เวลาในการเฝ้าระวังจากสัตว์นักล่า ซึ่งยังสัมพันธ์กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการหาอาหาร โดยมีสมมติฐานของการใช้ "หลายตา" การใช้เวลาในการเฝ้าระวังภัยจากสัตว์นักล่าของนกแต่ละตัวที่ลดลงสัมพันธ์กับฝูงที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และยังทำให้มีเวลาใช้ในการค้นหาอาหารและหาอาหารมากขึ้น
ความแวดระวังภัยนี้จะมีระดับสูงสุดหากนกแต่ละตัวหาอาหารแบบโดดเดี่ยว และความแวดระวังของนกแต่ละตัวจะลดลงเมื่อขนาดฝูงเพิ่มขึ้นจากประมาณสี่ตัวขึ้นไป นกหาอาหารเป็นฝูงขนาดใหญ่จะรวบรวมเมล็ดพืชแต่ละเม็ดได้เร็วกว่า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการลดระดับความแวดระวังของนกแต่ละตัว ซึ่งหมายถึงการลดเวลาในการจัดการ ซึ่งนำไปเพิ่มความเร็วในการค้นหาและมุ่งตรงไปที่การหาอาหาร
นกแต่ละตัวอาจใช้ประโยชน์จากการหาอาหารเป็นฝูงโดยการ "เข้าฝูง" ที่มีสมาชิกที่พบอาหารแล้ว ซึ่งทางเลือกในการแสวงหาอาหาร มี 2 ทางคือ หาอาหารเอง หรือ เข้าร่วมกับนกตัวอื่นที่ค้นพบอาหารแล้ว (ซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันข้อมูลการแสวงหาอาหาร)
พฤติกรรมการเลือกของเข้าร่วมกับนกตัวอื่นนี้ได้รับการศึกษาและตั้งเป็นแบบจำลองที่เรียกว่า "แบบจำลองผู้ผลิต–ผู้ขโมย" ซึ่งอธิบายข้อเสียของการหาอาหารแบบฝูง คือ เป็นการเพิ่มการแก่งแย่งทรัพยากรอาหาร ซึ่งระดับความรุนแรงของการแข่งขันในการแย่งอาหารที่เพิ่มอาจส่งผลให้นกลดระดับการแวดระวังภัยจากการถูกล่า งานวิจัยบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราการหาอาหารลดลงด้วย
รูปแบบการหาอาหาร
เมื่อออกหาอาหาร นกกระติ๊ดขี้หมูสามารถค้นหาอาหารในแบบตัวเดียว หรือ ค้นหานกตัวอื่นที่พบอาหารแล้วเพื่อเข้าร่วมฝูง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ผลลัพธ์ของการตัดสินใจเข้าร่วมกับนกตัวอื่น นำไปสร้างแบบจำลองแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
- แบบจำลองของผู้ผลิต–ผู้ขโมย (รูปแบบของผู้หาอาหาร-ผู้ขอแบ่งอาหาร หรือ ผู้แย่งอาหาร – producer-scrounger model)
- แบบจำลองการแบ่งปันข้อมูลของแหล่งอาหาร
แบบจำลองทั้งสองนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานของระดับความแตกต่างของส่วนผสมระหว่าง โหมดการค้นหาอาหาร และ โหมดการเข้าร่วมค้นหาโอกาส (สู่แหล่งอาหาร) ที่สัมพันธ์กัน
กล่าวคือ แบบจำลองการแบ่งปันข้อมูล จะถือว่านกแต่ละตัวเริ่มออกค้นหาพร้อม ๆ กัน ทั้งการหาอาหาร และการเข้าร่วมโอกาส ในขณะที่ในแบบจำลองผู้ผลิต - ผู้ขโมย จะถือว่าโหมดการค้นหาเป็นเอกสิทธิ์ที่นกแต่ละตัวต้องทำและร่วมกัน ไม่มีเจ้าของอาหารที่แท้จริง แบบจำลองทั้งสองเกิดขึ้นและแปรตามปัจจัยเช่น จำนวนนกในฝูงหาอาหาร ปริมาณอาหาร และลักษณะการกระจายตัวของอาหาร
จากการสังเกตพฤติกรรม “การกระโดดและผงกหัวขึ้นลง” มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความถี่ในการเข้าร่วมและการค้นหาของนกตามลำดับ กล่าวคือ ความถี่คงที่ของการกระโดดผงกหัวและกลวิธีผู้ขโมยจะเปลี่ยนไป เมื่อปริมาณเมล็ดพืชที่หามาได้เปลี่ยนแปลง ความถี่สัมพัทธ์ของการกระโดด-ผงกหัวก็เปลี่ยนไปตามนั้น เมื่อส่วนแบ่งเมล็ดพืชไม่ให้ประโยชน์เพียงพอแก่นกที่ใช้กลยุทธผู้ขโมย (scrounger) ความถี่ของการผงกหัวก็ลดลงด้วย ซึ่งพฤติกรรมการกระโดดและผงกหัวนี้ดูเหมือนเป็นส่วนช่วยในการศึกษาและการพยากรณ์ของแบบจำลองของผู้ผลิต - ผู้ขโมย
การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า นกกระติ๊ดขี้หมูมีแนวโน้มที่จะใช้กลยุทธ์ผู้ขโมย เมื่ออาหารจับตัวเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น (ไม่กระจายตัว) และเมื่อขนาดประชากรของฝูงหาอาหารเพิ่มขึ้น นกส่วนใหญ่จะเปลี่ยนมาใช้กลยุทธผู้ขโมย ซึ่งทำให้การใช้เวลาในการค้นพบแหล่งอาหารใหม่ ๆ ก็จะนานมากขึ้น (คือ สัดส่วนจำนวนของผู้ขโมยมากขึ้น ในขณะที่ผู้ค้นหาแหล่งอาหารใหม่ลดลง)
การแวดระวังภัย
นกในฝูงหาอาหารส่วนใหญ่ต้องช่วยกันค้นหาอาหาร ในขณะเดียวกันก็ต้องหลบหลีกเลี่ยงสัตว์ผู้ล่าด้วย เป็นไปได้ว่าแม้แต่นกตัวที่เล่นบทผู้ขโมย ก็ยังสามารถระวังภัยจากนักล่าได้ด้วยอานิสงส์ของการผงกหัว ที่เป็นการส่งสารไปสัตว์ผู้ล่า และยังมีส่วนช่วยในการเฝ้าระวัง
หากกลยุทธ์ผู้ขโมย สามารถเข้ากันได้กับการแวดระวังภัย การเพิ่มระดับการแวดระวังภัยควรนำไปสู่การรับรู้โอกาสในการร่วมโอกาสขออาหารมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีการเข้าร่วมฝูงมากขึ้น
แต่เดิมเคยคิดว่า เมื่ออยู่นิ่ง (ไม่หาอาหาร) การผงกหัวช่วยในการการแวดระวังภัย อย่างไรก็ตามจากศึกษาพบว่า การสอดส่องในขณะที่กระโดดผงกหัวไม่ได้ช่วยในการแวดระวังภัย ซึ่งเป็นไปได้ว่า กลยุทธ์ผู้ขโมยไม่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังในการแวดระวังภัยของนกกระติ๊ดขี้หมู
การหาอาหารเฉพาะทาง
นกกระติ๊ดขี้หมูมีพฤติกรรมการแข่งขันที่หลากหลายซึ่งทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่จำกัดได้ ทางเลือกในการหาอาหารมีสองทางคือ เป็นผู้ผลิตที่หาแหล่งให้ตัวเองและตัวอื่น กับ เป็นผู้ขโมยอาหารที่พบโดยผู้ผลิต การศึกษาแสดงให้เห็นว่าทางเลือกทั้งสองนี้นำไปสู่ดุลยภาพที่มั่นคงภายในกลุ่ม (คือ ดุลยภาพทางพฤติกรรม หรือ ดุลยภาพของการเลือกกลยุทธ์) เมื่อนกแต่ละตัวมีอิสระที่จะเลือกระหว่างเป็นผู้ผลิตและผู้ขโมย การเลือกที่เป็นไปตามความถี่จะส่งผลให้พฤติกรรมทั้งสองมีความมั่นคง (สมดุล) ซึ่งแต่ละพฤติกรรมได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน (กล่าวคือ นกแต่ละตัวในฝูงเรียนรู้ที่จะเลือกเป็นผู้ผลิต - ผู้ขโมย และปรับเปลี่ยนการเลือกตามความถี่ของทางเลือกก่อนหน้า) การศึกษาระบุว่า หากประชากรส่วนใหญ่ของนกในฝูงเลือกเป็นผู้ผลิต พฤติกรรมการขโมยจะเป็นที่นิยม เป็นไปตามขบวนการของ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ เนื่องจากมีอาหารมากมายให้ขโมย ในทางกลับกันถ้านกส่วนใหญ่เลือกเป็นผู้ขโมย การแข่งขันเพื่อขโมยที่สูงก็จะชี้ชวนให้เลือกเป็นผู้ผลิต
สมมติฐาน 3 ข้อ ที่อาจอธิบายถึงความเชี่ยวชาญในการหาอาหารที่สอดคล้องกันในนกแต่ละตัว ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของแหล่งอาหาร ความแตกต่างของ ฟีโนไทป์ และการเลือกที่ขึ้นอยู่กับความถี่
- สมมติฐานการเปลี่ยนแปลงของแหล่งอาหารคาดการณ์ว่า นกแต่ละตัวจะมีความเชี่ยวชาญทักษะอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อการใช้ทักษะสองอย่าง (การหาและการขโมย) มีต้นทุนสูงกว่าการหาอาหารที่เชี่ยวชาญทักษะเดี่ยว
- สมมติฐานความแตกต่างทางฟีโนไทป์เสนอว่า นกแต่ละตัวมีความสามารถในการใช้ทักษะการหาอาหารแต่ละอย่างแตกต่างกัน และมีความมั่นคงในสิ่งที่ได้ประโยชน์มากที่สุด รูปแบบของความเชี่ยวชาญ (ความเฉพาะทาง) คาดว่าจะคงที่แม้ว่าจำนวนนกแต่ละตัวที่ใช้ทักษะที่กำหนดจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางฟีโนไทป์ของฝูง
- สมมติฐานการเลือกขึ้นอยู่กับความถี่ยังเสนอว่านกแต่ละตัวมีความเชี่ยวชาญในทักษะที่ได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ความสามารถในการได้ประโยชน์ของแต่ละทางเลือกจะลดลง เนื่องจากจำนวนผู้หาอาหารที่เหมือนกันตามธรรมชาติจะค่อยๆเชี่ยวชาญในแต่ละทักษะ ที่จะค่อย ๆ ไปสู่จุดสมดุลของผลตอบแทนในแต่ละตัว นกจะเรียนรู้ที่จะเป็นอิสระจากรูปแบบของความเชี่ยวชาญ นกแต่ละตัวในฝูงปรับการใช้ทักษะทั้งสอง และนกสองตัวในแต่ละฝูงซึ่งเชี่ยวชาญในทักษะที่แตกต่างกันทำให้เกิดความแตกต่างของสมมติฐานการแปรผันของแหล่งอาหารและสมมติฐานการเลือกขึ้นอยู่กับความถี่
การทดลองกับฝูงนกกระติ๊ดขี้หมูในกรง ได้ผลทดสอบว่านกกระติ๊ดขี้หมูจะลองเลือกกลยุทธ์ทั้งผู้ผลิตและผู้ขโมย และจะค่อย ๆ ปรับไปสู่จุดสมดุล (ดู ) ทั้งนี้เมื่อนกแต่ละตัวมีอิสระที่จะเลือกพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวนนกที่เลือกทั้งกลยุทธ์ผู้ผลิตและผู้ขโมยจะมาบรรจบกันในความถี่ที่คงที่ ในขณะเดียวกันผลทดสอบแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของการเลือกกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นมาจากผลลัพธ์ของการเลือกกลยุทธ์การหาอาหารที่แตกต่างกัน (ที่ปรากฏก่อนหน้า)
นอกจากนี้ นกหาอาหารอาจกินอาหารอย่างแข็งขันบนพื้นผิว หรือเลือกเมล็ดพืชที่หล่นลงบนพื้น และอาจปรับเลือกกลยุทธ์เหล่านี้ตามแต่ละสถานการณ์ การออกบิน (จากรัง หรือที่รวมฝูง - roosting) ก่อนเวลาเกิดบ่อยขึ้นเมื่อเวลาในการค้นหาที่คาดไว้ลดลง และเมื่อความเข้มข้นของการแข่งขันเพิ่มขึ้น (นกจะเรียนรู้เรื่องเวลา และปรับเวลาให้ก่อนหน้าคู่แข่งได้) ความเข้มข้นของการแข่งขันคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีผู้ขโมยมากขึ้น หรือเมื่อการรวมฝูงมีขนาดเล็กลง
การพรางอาหาร
จากรูปแบบการหาอาหารที่ผู้ผลิตค้นหาอาหารและผู้ขโมยรอโอกาสที่จะเข้าแย่งอาหาร จึงบังคับให้ผู้ผลิตพรางอาหาร (prey crypsis) ซึ่งจะเปลี่ยนจุดสมดุลของผู้ผลิตผู้ขโมยไปสู่การขโมยมากขึ้น การพรางอาหารส่งผลให้เวลาแฝงในการกินเมล็ดพืชเพิ่มขึ้นและเพิ่มจำนวนข้อผิดพลาดในการตรวจจับ ยิ่งไปกว่านั้นการปรากฏตัวของคู่แข่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการหาอาหารภายใต้พฤติกรรมการพรางอาหารนี้
ประสิทธิภาพการหาอาหารของนกแต่ละตัวหลังจากที่เคยกับหาร่วมกับคู่แข่งที่พรางเมล็ดพืชยังคงต่ำแม้ว่าคู่แข่งจะออกไปแล้วก็ตาม ดังนั้นต้นทุนในการหาอาหารที่ถูกพรางไว้จะสูงกว่าโดยเฉพาะกับฝูงหาอาหารมากกว่าการหาอาหารแบบตัวเดียว
การป้องกันทรัพยากร
แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ล่าสุดของการป้องกันทรัพยากรในบริบทการหาอาหารเป็นฝูง คาดการณ์ว่าความถี่ของการโต้ตอบเชิงรุกควรลดลงเมื่อความหนาแน่นของทรัพยากรเพิ่มขึ้น การศึกษาเกี่ยวในนกกระติ๊ดขี้หมูแสดงให้เห็นว่า ความรุนแรงของการเผชิญหน้ากันนั้นสูงที่สุดเมื่อมีเกิดการปรากฏของตำแหน่งรวมฝูง (patch position) และการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของทรัพยากรขึ้นอยู่กับว่ามีการส่งสัญญาณตำแหน่งรวมฝูงหรือไม่
การส่งสัญญาณตำแหน่งรวมฝูง เทียบเท่ากับการทำให้แหล่งทรัพยากร(แหล่งอาหาร)เป็นที่คาดเดาเชิงพื้นที่ได้มากขึ้น การเปลี่ยนความหนาแน่นของการรวมฝูงไม่มีผลต่อระดับความรุนแรงของการเผชิญหน้ากัน เมื่อไม่มีสัญญาณระบุตำแหน่งของอาหาร เมื่อตำแหน่งอาหารถูกส่งสัญญาณความหนาแน่นของการรวมฝูงที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ระดับความรุนแรงของการเผชิญหน้ากันลดลง
ถิ่นที่อยู่อาศัยและการกระจายพันธุ์
นกกระติ๊ดขี้หมูพบได้ในแหล่งที่อยู่อาศัยหลายประเภท โดยปกติจะอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำและทุ่งหญ้า ในอินเดียพบได้ทั่วไปในพื้นที่นาซึ่งจัดเป็นศัตรูพืชรายย่อยเนื่องจากการกินเมล็ดพืชปริมาณไม่มาก ส่วนใหญ่พบในที่ราบ แต่สามารถพบได้ในบริเวณเชิงเขาของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอาจมีอยู่ในระดับความสูงเกือบ 2,500 เมตร (1.6 ไมล์) และในแถบนิลคีรี (Nilgiris) ซึ่งพบได้ที่ระดับความสูงถึง 2,100 เมตร (6,900 ฟุต) ในช่วงฤดูร้อน ในปากีสถานนกกระติ๊ดขี้หมูพบได้ในบริเวณที่จำกัด ในช่วงเมือง (Swat) ทางตะวันตกของปากีสถาน ไปจนถึงเมืองลาฮอร์ ยกเว้นในเขตพื้นที่ทะเลทราย และตลอดไปจนถึงในอินเดียทางตะวันออกในพื้นที่ระหว่างลุธิอาณา (Ludhiana) และ (Mount Abu) นกกระติ๊ดขี้หมูยังพบเห็นได้ในกัศมีร์ (แคชเมียร์) แม้ว่าจะหายาก
นกกระติ๊ดขี้หมูที่พลัดหลงอยู่นอกถิ่นกำเนิด มักอาศัยในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเหมาะสม และมีประชากรมากพอที่จะสามารถตั้งอาณานิคมใหม่ในบริเวณใกล้เคียงได้ นกกระติ๊ดขี้หมูที่หลบหนีจากกรงสู่ธรรมชาติ ได้รับการบันทึกการพบเห็นได้ในหมู่เกาะเวสต์อินดีส (เปอร์โตริโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514) ฮาวาย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2426) ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และ ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาวซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในฟลอริดาและแคลิฟอร์เนีย ในโออาฮูฮาวาย นกกระติ๊ดขี้หมูต้องแข่งขันเพื่อแย่งแหล่งที่อยู่อาศัยกับนกกระติ๊ดสามสีและมีแนวโน้มที่จะหาได้ยากเมื่อมีนกกระติ๊ดสามสี
ในประเทศไทย นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นนกประจำถิ่น มีแหล่งที่อยู่อาศัยในภาคเหนือตอนล่างจนถึงภาคกลาง ในทุ่งนา ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ และพื้นที่เปิดโล่งใกล้ชุมชนเมือง ในที่ราบจนถึงระดับความสูง 1,500 เมตร ในประเทศไทย นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นนกประจำถิ่น ถิ่นอาศัยของนกกระติ๊ดขี้หมูพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยในที่อากาศค่อนข้างร้อน และ เป็นที่โล่ง ตามทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง และชุมชน จากที่ราบจนถึงความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดย่อย L. p. topela มีแหล่งที่อยู่อาศัยในภาคเหนือตอนล่างจนถึงภาคกลาง แต่พบน้อยทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปเนื่องจากเป็นที่ทึบชื้นหรือเป็นป่าดิบชื้น ในภาคใต้ตอนล่างของไทยเป็นชนิดย่อย L. p. fretensis
นิเวศวิทยาและการอนุรักษ์
นกกระติ๊ดขี้หมู (Lonchura punctulata) เป็นสายพันธุ์ที่มีประชากรอยู่มากมายและจัดอยู่ในประเภท "มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์" (LC) โดย สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) นกกระติ๊ดขี้หมูมีช่วงการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก มีประชากรที่มากที่ยังไม่ได้ถูกนับจำนวนและมีแนวโน้มที่เสถียร โดยภาพรวมทั่วโลกแล้วประชากรนกกระติ๊ดขี้หมูไม่ได้ถูกคุกคาม และยังสามารถพบได้บ่อยถึงบ่อยมากในเกือบทุกช่วงการกระจายพันธุ์ อย่างไรก็ตามประชากรบางส่วนที่อยู่ในหมู่เกาะซุนดาน้อย นั้นจะพบเห็นได้ค่อยข้างยาก[]
ในหลายพื้นที่ นกกระติ๊ดขี้หมูถูกจัดเป็นศัตรูพืชทางการเกษตร จากพฤติกรรมการหาอาหารเป็นฝูงขนาดใหญ่โดยเฉพาะในไร่ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง ข้าวป่า
ในประเทศไทย นกกระติ๊ดขี้หมูเป็นศัตรูข้าว โดยลงกินข้าวพร้อมกันเป็นฝูงตั้งแต่ระยะข้าวเป็นน้ำนม ไปจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเจาะขบเปลือกกินเฉพาะข้าวน้ำนมหรือเมล็ดข้าวอ่อน ขณะเดียวกันการเกาะของนกทำให้คอรวงข้าวหักง่าย ซึ่งหน่วยงานบางหน่วยแนะนำให้ป้องกันและกำจัด เช่น กรมการข้าว โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำลายรังนกและไข่ กำจัดแหล่งอาศัยของนกกระติ๊ด ใช้ตาข่ายคลุมนาทั้งแปลง
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย นกกระติ๊ดขี้หมูจำนวนมากถูกจับกักขังเพื่อรอใช้ในพิธีความเชื่อทางพุทธศาสนาเรียกว่า ด้วย นกเหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกปล่อยในภายหลังโดยการ แต่มีจำนวนไม่น้อยที่อ่อนเพลียและตายก่อนจะถูกปล่อย ในประเทศไทย หลังจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2535 นกกระติ๊ดขี้หมูได้รับการบรรจุเป็นสัตว์คุ้มครองบัญชีรายชื่อ ปี 2546 ในลำดับที่ 62 โดยจากสถิติเฉพาะปี 2559 (บก.ปทส.) ได้จับกุมผู้ลักลอบค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายตามวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พบของกลางเป็นนกกระติ๊ดขี้หมู 4,354 ตัว ส่วนใหญ่มาจาก จ.สระบุรี และ จ.ราชบุรี โดยการหว่านแหจับนกกระติ๊ดขี้หมูที่บินลงไปกินข้าวกลางทุ่งนา ใส่กรงนำมาขายให้พ่อค้าแม่ค้าในเมืองใหญ่โดยเฉพาะที่กรุงเทพ ปัจจุบันคาดว่าการลักลอบซึ้อขายนกกระติ๊ดขี้หมูเพื่อการปล่อยนกสะเดาะเคราห์มีจำนวนลดลง และส่วนหนึ่งของการรณรงค์อนุรักษ์นกโดยการผลิตภาพยนคร์สั้นเพื่อปรับแนวคิดในการทำบุญปล่อยนก เรื่อง ปล่อยนก บุญหรือบาป ผลิตโดย สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
ระเบียงภาพ
- L. p. punctulata ที่พบในเกรละ อินเดีย
- L. p. yunnanensis ในฮ่องกง มีสีน้ำตาลอ่อนคล้าย L. p. topela ในประเทศไทย
- L. p. fretensis ภาคใต้ตอนล่างของไทย
- L. p. fretensis ในสิงคโปร์
- L. p. nisoria ในเกาะชวาฝั่งตะวันออก อินโดนีเซีย
- L. p. holmesi เรียกว่า โบนโดล แป้กกิ่ง (Bondol Peking) ในภาษาซุนดา อินโดนีเซีย
- L. p. holmesi ในจาการ์ตา อินโดนีเซีย
- L. p. particeps ในบริเวณเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย
อ้างอิง
- BirdLife International (2016). Lonchura punctulata. The IUCN Red List of Threatened Species 2016. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22719821A94646304.en
- Linnaeus, Carl (1758). Systema Naturae per Regna Tria Naturae, Secundum Classes, Ordines, Genera, Species, cum Characteribus, Differentiis, Synonymis, Locis. Tomus I. Editio decima, reformata (ภาษาละติน). Holmiae (Stockholm, Sweden): Laurentius Salvius. p. 145.
- นกกระติ๊ดขี้หมู 30 ธันวาคม 2551. อ้างอิงจาก Craig Robson, "A Field Guide to the birds of Thailand and South - east Asia"
- Collar, N; Ian Newton; Peter Clement; Vladimir Arkhipov (2010). del Hoyo, Josep; Andrew Elliott; David Christie (บ.ก.). Handbook of the birds of the world. Volume 15. Finches. Barcelona: Lynx Edicions. ISBN .
- Clements, J. F.; T. S. Schulenberg; M. J. Iliff; B.L. Sullivan; C. L. Wood; D. Roberson (2013). The eBird/Clements checklist of birds of the world: Version 6.8. The Cornell Lab of Ornithology.
- eBird นกกระติ๊ดขี้หมู (ลายตาข่าย) สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (nominate). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (subundulata). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (yunnanensis). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (topela). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (fretensis). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (cabanisi). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (holmesi). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (particeps). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (baweana). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (sumbae). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Avibase. Scaly-breasted Munia (blasii). สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2563.
- Rasmussen PC; JC Anderton (2005). Birds of South Asia. The Ripley Guide. Volume 2. Smithsonian Institution and Lynx Edicions. p. 673. ISBN .
- OKnation นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia; Lonchura punctulata) 2020-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มิถุนายน 2560
- Restall, Robin (1997). Munias and Mannikins. Yale University Press. pp. 97–105. ISBN .
- Arnaiz-Villena, A; Ruiz-del-Valle V; Gomez-Prieto P; Reguera R; Parga-Lozano C; Serrano-Vela I (2009). (PDF). The Open Ornithology Journal. 2: 29–36. doi:10.2174/1874453200902010029. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- Burton, M., R. Burton (2002). International Wildlife Encyclopedia. New York, NY: Marshal Cavendish.
- Moynihan, M; M F Hall (1954). "Hostile, Sexual, and Other Social Behaviour Patterns of the Spice Finch (Lonchura punctulata) in Captivity". Behaviour. 7 (1): 33–76. doi:10.1163/156853955X00021.
- สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia) สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2563.
- Luis F. Baptista; Robin Lawson; Eleanor Visser; Douglas A. Bell (April 1999). "Relationships of some mannikins and waxbills in the estrildidae". Journal für Ornithologie. 140 (2): 179–192. doi:10.1007/BF01653597.
- Sikdar M; A Kar; P Prakash (1992). "Role of humidity in the seasonal reproduction of male spotted munia, Lonchura punctulata". Journal of Experimental Zoology. 264 (1): 82–84. doi:10.1002/jez.1402640112.
- นกกระติ๊ดขี้หมู 30 ธันวาคม 2551. อ้างอิงจาก Craig Robson "A Field Guide to the birds of Thailand and South - east Asia".
- Gokula V (2001). "Nesting ecology of the Spotted Munia Lonchura punctulata in Mudumalai Wildlife Sanctuary (South India)". Acta Ornithologica. 36 (1): 1–5. doi:10.3161/068.036.0107.
- Sharma RC; Bhatt D; Sharma RK (2004). "Breeding success of the tropical Spotted Munia Lonchura punctulata in urbanized and forest habitats". Ornithological Science. 3 (2): 113–117. doi:10.2326/osj.3.113.
- ทับทิม มั่นมาก. นกกระติ๊ดขี้หมู (Scaly-breasted Munia) เชียงใหม่นิวส์ 7 มกราคม 62.
- Ali, S; Ripley, SD (1999). Handbook of the Birds of India and Pakistan. Volume 10 (2nd ed.). New Delhi: Oxford University Press. pp. 119–121. ISBN .
- Lamba, BS (1974). "Nest construction technique of the Spotted Munia, Lonchura punctulata". Journal of the Bombay Natural History Society. 71 (3): 613–616.
- Mehta, P (1997). "Spotted Munia Lonchura punctulata feeding on scat?". Newsletter for Birdwatchers. 37 (1): 16.
- Nuijens, FW; GA Zweers (1997). "Characters discriminating two seed husking mechanisms in finches (Fringillidae: Carduelinae) and estrildids (Passeridae: Estrildinae)". Journal of Morphology. 232 (1): 1–33. doi:10.1002/(SICI)1097-4687(199704)232:1<1::AID-JMOR1>3.0.CO;2-G. PMID 29852621.
- องค์ความรู้เรื่องข้าว สัตว์ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด 2020-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เวอร์ชัน 3.0 (ปี 2559) กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. 2559.
- "Scaly-breasted Munia feeding on green alga". Bird Ecology Study Group. 2009-10-21.
- Avery, M. L. (1980). "Diet and breeding seasonality among a population of sharp-tailed munias, Lonchura striata, in Malaysia" (PDF). The Auk. 97: 160–166.
- Stephens, DW (2007). A comprehensive guide to optimal foraging theory. Foraging: The University of Chicago Press.
- Pulliam, R. H. (1973). "On the advantages of flocking". Journal of Theoretical Biology. 38 (2): 419–422. doi:10.1016/0022-5193(73)90184-7. PMID 4734745.
- Beauchamp, G; Barbara Livoreil (1997). "The effect of group size on vigilance and feeding rate in spice finches (Lonchura punctulata)". Canadian Journal of Zoology. 75 (9): 1526–1531. doi:10.1139/z97-776.
- Giraldeau, L.A.; G. Beauchamp (1 March 1999). "Food exploitation: searching for the optimal joining policy". Trends in Ecology and Evolution. 14 (3): 102–106. doi:10.1016/S0169-5347(98)01542-0. PMID 10322509.
- Rieucau, G.; Giraldeau, L.-A. (March–April 2009). "Group size effect caused by food competition in nutmeg mannikins (Lonchura punctulata)". Behavioral Ecology. 20 (2): 421–425. doi:10.1093/beheco/arn144.
- Gauvin, Shawn; Giraldeau, Luc-Alain (2004). "Nutmeg mannikins (Lonchura punctulata) reduce their feeding rates in response to simulated competition". Oecologia. 139 (1): 150–156. doi:10.1007/s00442-003-1482-2. PMID 14722748.
- Giraldeau, L-A.; Beauchamp, G. (1999). "Food exploitation: searching for the optimal joining policy". Trends in Ecology & Evolution. 14 (3): 102–106. doi:10.1016/S0169-5347(98)01542-0. PMID 10322509.
- Giraldeau, L-A.; Beauchamp, G. (1999). "Food exploitation: searching for the optimal joining policy". Trends in Ecology & Evolution. 14 (3): 102–106. doi:10.1016/S0169-5347(98)01542-0. PMID 10322509.
- Coolen, Isabelle; Giraldeau, Luc-Alain; Lavoie, Myriam (May 2001). "Head position as an indication of producer and scrounger tactics in a ground-feeding bird". Animal Behaviour. 61 (5): 895–903. doi:10.1006/anbe.2000.1678.
- Coolen, Isabelle (2002). "Increasing foraging group size increases scrounger use and reduces searching efficiency in nutmeg mannikins (Lonchura punctulata)". Behavioral Ecology and Sociobiology. 52 (3): 232–238. doi:10.1007/s00265-002-0500-4.
- Coolen, Isabelle; Giraldeau, Luc-Alain (1 October 2003). "Incompatibility between antipredatory vigilance and scrounger tactic in nutmeg mannikins, Lonchura punctulata". Animal Behaviour. 66 (4): 657–664. doi:10.1006/anbe.2003.2236.
- Davies, Nicholas (2012). An Introduction to Behavioural Ecology. Competing for Resources: Wiley-Blackwell. pp. 130–131. ISBN .
- Barnard, C.J.; R.M. Sibly (May 1981). "Producers and scroungers: A general model and its application to captive flocks of house sparrows". Animal Behaviour. 29 (2): 543–550. doi:10.1016/S0003-3472(81)80117-0.
- Beauchamp, G.; Giraldeau, L.-A.; Ennis, N. (1 April 1997). "Experimental evidence for the maintenance of foraging specializations by frequency-dependent choice in flocks of spice finches". Ethology Ecology & Evolution. 9 (2): 105–117. doi:10.1080/08927014.1997.9522890.
- Mottley, Kieron; Giraldeau, Luc-Alain (September 2000). "Experimental evidence that group foragers can converge on predicted producer–scrounger equilibria" (PDF). Animal Behaviour. 60 (3): 341–350. doi:10.1006/anbe.2000.1474. PMID 11007643.
- Beauchamp G; Giraldeau, Luc-Alain (1997). "Patch exploitation in a producer-scrounger system: test of a hypothesis using flocks of spice finches (Lonchura punctulata)". Behavioral Ecology. 8 (1): 54–59. doi:10.1093/beheco/8.1.54.
- Barrette, Maryse; Giraldeau, Luc-Alain (2006). "Prey crypticity reduces the proportion of group members searching for food". Animal Behaviour. 71 (5): 1183–1189. doi:10.1016/j.anbehav.2005.10.008.
- Courant, Sabrina; Giraldeau, Luc-Alain (2008). "Conspecific presence makes exploiting cryptic prey more difficult in wild-caught nutmeg mannikins". Animal Behaviour. 75 (3): 1101–1108. doi:10.1016/j.anbehav.2007.08.023.
- Broom, Mark; Ruxton, Graeme D. (1 January 1998). "Evolutionarily stable stealing: game theory applied to kleptoparasitism". Behavioral Ecology. 9 (4): 397–403. doi:10.1093/beheco/9.4.397.
- Sirot, E. (1999). "An evolutionarily stable strategy for aggressiveness in feeding groups". Behavioral Ecology. 11 (4): 351–356. doi:10.1093/beheco/11.4.351.
- Dubois, F. (2002). "Resource defense in a group-foraging context". Behavioral Ecology. 14 (1): 2–9. doi:10.1093/beheco/14.1.2.
- Dubois, Frédérique; Giraldeau, Luc-Alain (July 2004). "Reduced resource defence in an uncertain world: an experimental test using captive nutmeg mannikins". Animal Behaviour. 68 (1): 21–25. doi:10.1016/j.anbehav.2003.06.025.
- Forshaw J; Mark Shephard; Anthony Pridham. Grassfinches in Australia. Csiro Publishing. pp. 267–268.
- Abbass, D.; Rais, M.; Ghalib, S.A.; Khan, M.Z. (2010). "First Record of Spotted Munia (Lonchura punctulata) from Karachi". Pakistan Journal of Zoology. 42 (4): 503–505.
- Ali, S; Ripley, SD (1999). Handbook of the Birds of India and Pakistan. Volume 10 (2nd ed.). New Delhi: Oxford University Press. pp. 119–121. ISBN .
- Akhtar, SA; Rao, Prakash; Tiwari, JK; Javed, Salim (1992). "Spotted Munia Lonchura punctulata (Linn.) from Dachigam National Park, Jammu and Kashmir". Journal of the Bombay Natural History Society. 89 (1): 129.
- Moreno, JA (1997). "Review of the Subspecific Status and Origin of Introduced Finches in Puerto Rico". Caribbean Journal of Science. 33 (3–4): 233–238.
- Moulton, MP (1993). "The All-or-None Pattern in Introduced Hawaiian Passeriforms: The Role of Competition Sustained". The American Naturalist. 141 (1): 105–119. doi:10.1086/285463. JSTOR 2462765.
- Moulton, M. P.; ; Ferris, D. K. (1992). "Competition, resource use and habitat selection in two introduced Hawaiian Mannikins". Biotropica. 24 (1): 77–85. doi:10.2307/2388475. JSTOR 2388475.
- Arnaiz-Villena, A; Ruiz-del-Valle V; Gomez-Prieto P; Reguera R; Parga-Lozano C; Serrano-Vela I (2009). (PDF). The Open Ornithology Journal. 2: 29–36. doi:10.2174/1874453200902010029. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 2020-12-15.
- Eguchi K; Amano; H E (2004). "Invasive Birds in Japan" (PDF). Global Environmental Research. 8 (1): 29–39.
- Duncan RA (2009). "The status of the nutmeg mannikin (Lonchura punctulata) in the extreme western panhandle of Florida" (PDF). Florida Field Naturalist. 37 (3): 96–97.
- Garrett, KL (2000). "The juvenile nutmeg mannikin: identification of a little brown bird" (PDF). Western Birds. 31 (2): 130–131.
- https://www.birdsofthailand.org/bird/scaly-breasted-munia
- https://www.birdsofthailand.org/bird/scaly-breasted-munia
- Bomford, Mary; Ron Sinclair (2002). "Australian research on bird pests: impact, management and future directions". Emu. 102: 29–45. doi:10.1071/MU01028.
- เล่มที่ 109 ตอนที่ 15.
- สรารัตน์ ชินอาน รู้หรือยัง! ทำบุญ สะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกกระติ๊ด ระวังติดคุก -พรากลูกแม่ ก่อบาปไม่รู้ตัว? สำนักข่าวอิศรา. 8 กรกฎาคม 2560.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
nkkratidkhihmuL p punctulata xinediy L p topela cnghwdsurinthr sthanakarxnurkskhwamesiyngta IUCN 3 1 karcaaenkchnthangwithyasastrxanackr Animaliaiflm Chordatachn Avesxndb Passeriformeswngs Estrildidaeskul spichis L punctulatachuxthwinamLonchura punctulata Linnaeus phunthikarkracayphnthukhxngnkkratidkhihmuinexechiy aelaexechiyphakhphunsmuthr yngimidrabuprachakrnkbnekaabxreniyw chuxphxngLoxia punctulata Linnaeus 1758 phaphwadprakxb nkkratidkhihmu Lonchura punctulata nkkratidkhihmu xngkvs scaly breasted munia hrux spotted munia chuxwithyasastr Lonchura punctulata epnnkkratidthimikhnadethankkracxk aelacdxyuinxndbnkekaakhxnthimikhnadelk chxbxyuepn mithinkaenidin nkkratidkhihmuxyuinwngsnkkratid Lonchura idrbkarxyangepnthangkaraelatngchuxodykhaorls lineniys inpi kh s 1758 chuxthwinamtngcaklksnaoddednkhxnglaybnkhnthikhlayekldthihnaxkaelahnathxng twetmwykhrungtwbnmisinatal aelacangxypaksnhnaaehlm rupkrwysiekhm nkkratidkhihmumi 11 chnidyxythimikhnadaelasiaetktangknelknxy nkkratidchnidnikinemldhyaaelaemldthyphuchepnhlk nxkehnuxcaknnkhuxphlimphumkhnadelk phwkebxrri aelaaemlngkhnadelk mikarepnfung aelasuxsarkndwyesiyngrxngeba aelaesiyngkhlaynkhwid epnnkthimikhwamepnsungaelabangkhrngxaccaxyurwmkbnkkratidsayphnthuxun nkchnidnimkphbinthirabaelathunghyaekhtrxn nkkhuphsmphnthucasrangrngrupodmdwyibhya fang hruxibiph nkkratidkhihmumithinkaenidinexechiy khrxbkhlumcakxinediyaelasrilngka inthangtawnxxkipcnthungpraethsithy xinodniesiy aelafilippins sungeriyknkchnidniwamayxngpaking yngmikarnaekhasuphumiphakhxunkhxngolk nkkratidkhihmucdepnchnidphnthutangthinkhukkhaminpwyrotriok aelahispnoyla rwmthungbangswnkhxngxxsetreliyaelashrthxemrika aelathukrabuwamikhwamesiyngtatxkarsuyphnthu least concern LC odyshphaphnanachatiephuxkarxnurksthrrmchati International Union for Conservation of Nature IUCN nkkratidkhihmuepnnkthiidrbkarrabuepnthngstrukhawodyhnwynganinkrathrwngekstraelashkrn aelaepnstwkhumkhrxngbychiraychux pi 2546 khxngpraethsithy ephuxkhumkhrxngcakphulklxbkhastwpathiphidkdhmayinkarcbmaephuxkarxnukrmwithannkkratidkhihmuepnhnunginnkcanwnmakhlaychnidthikhaorls lineniyskhunthaebiynsayphnthuiwinhnngsux Systema Naturae chbbthi 10 pi ph s 2301 kh s 1758 odykhnannidrbkartngchuxthwinamwa Loxia punctulata txma William Henry Sykes rabuihepnskul Lonchura aelaepliynchuxthwinamepn Lonchura punctulata inpi ph s 2366 nkkratidkhihmu epnnkkratid 1 in 8 chnidthiphbinpraethsithy nkkratidkhihmuepnkhxngpraethsithythiphbbxymak aelaepnnkinwngsnkkratidthiphbbxythisudincaphwknkkratiddwykn chnidyxy nkkratidkhihmuepnchnidkhxngnkkratidthimimakthung 11 chnidyxythiepnthiyxmrbodythwip sungincanwnniidrwmthungkarrabuchnidyxythiphbinthirabkhxngxnuthwipxinediyiwdwy sungidaek pakisthan xinediy enpal bngklaeths aelasrilngka chux lineoventer edimichsahrbrabuepnchnidechphaakhxngprachakrnknkkratidkhihmuinxinediy Lonchura lineoventer nkkratidkhihmuchnidyxyinthixun idaek subundulata phbinthangthistawnxxkkhxngethuxkekhahimaly yunnanensis phbthangtxnitkhxngpraethscin topela phbinpraethsithy cabanisi infilippins aela fretensis insingkhopraelasumatra klumprachakrnkkratidkhihmuchnidyxybnekaa idaek nisoria inbahli lxmbxk sumbawa particeps bnekaasulaewsi baweana bnekaabawin sumbae bnekaasumba blasii inflxers timxr aelathanimbar aela holmesi bxreniywtawnxxkechiyngit L p punctulata Linnaeus 1758 nkkratidkhihmulaytakhay Lonchura punctulata punctulata kracayphnthuinbriewnpraethspakisthantxnehnux xinediy ykewnphakhtawnxxkechiyngehnux ekht Terai Region khxngpraethsenpal aelasrilngka chnidyxy L p punctulata niidthuknaekhaipepnnkkrnginhlaypraeths echn xfkanisthan khabsmuthrxahrb pwyrotriok hispnoyla aelabangswnkhxngshrthxemrika L p subundulata Godwin Austen 1874 kracayphnthuinbriewnpraethsphutan bngklaeths xinediytawnxxkechiyngehnux xssm aelaphmatawntk L p yunnanensis Parkes 1958 phbinbriewnpraethscinthangtawntkechiyngit thiebttawnxxkechiyngit eschwnit yunnan aelaphmatxnehnux tawnxxkechiyngehnux L p topela Swinhoe 1863 kracayphnthuinbriewnthangtxnitkhxngpraethsphma ithy praethscinthangtawnxxkechiyngit hmuekaaihhla kwangtung ecxeciyng aelaekaaithwn praethslaw kmphucha aelaewiydnam L p fretensis Kloss 1931 inbriewnkhabsmuthrmaelytxnit singkhopr ekaasumatra aelahmuekaaniys yngphbthangphakhittxnlangkhxngithy echn cnghwdsngkhla sungchnidyxynilayekldcaekhmaelaxxkdamakkwa latwdanbnsicaxxnkwa miesnkhnsikhawaesmelknxythihw L p cabanisi Sharpe 1890 xasyxyuininbriewnpraethsfilippins ekaalusxn minodor khaelaxit palawn paeny enokrs esbu mindaena aelatxnehnuxkhxngekaabxreniyw chayfngtawntkkhxngrthsabahkhxngmaelesiy aelapraethsbruin L p nisoria Temminck 1830 kracayphnthuhmuekaasundanxyfngtawntk rwmekaalmbk aelaekaasumbawa aelaekaabahlikhxngxinodniesiy aetxacphbidinbriewnekaabxreniywtxnit kalimntntawntk aelakalimntnit ekaachwa L p holmesi Restall 1992 phbbnbriewnekaabxreniywtawnxxkechiyngit khxngxinodniesiy L p particeps Riley 1920 inbriewnekaasulaewsikhxngxinodniesiy L p baweana Hoogerwerf 1963 khadwamiprachakrnxymakaelakracayphnthuinbriewnpraethshmuekaa Bawean sungxyuiklkbekaachwaipthangtawnxxkechiyngehnux khxngxinodniesiy L p sumbae Mayr 1944 phbehnidbnekaasumba aelahmuekaaxunincnghwdnusaetingkaratawnxxk hmuekaasundanxyfngtawnxxktxkbekaatimxrdantawntk khxngxinodniesiy L p blasii Stresemann 1912 kracayphnthuinbriewncnghwdnusaetingkaratawnxxk aelacnghwdmalukukhxngxinodniesiy khrxbkhlumhmuekaaomlukkatxnit aelaekaaxmbn inthaelbnda ekaaoflersthangtawnxxk txipyng khxngxinodniesiy aelatimxrelsetchuxxun nkkratidkhihmu michuxsamyxuneriykinphasatang idaek chuxphasaxngkvsinthangkarkhathinkeliyngnkruckdi echn nutmeg mannikin spice finch aela nutmeg finch chuxphasacin 斑文鸟 Ban wen niǎo chuxphasaxinodniesiy bondol peking hrux pipit peking chuxinphasachwa emprit peking hrux prit peking phasasunda piit peking hrux manuk peking chuxphasamlayu pipit pinang chuxphasatakalxk mayang paking chuxphasaewiydnam di đa chuxphasaxssm ফ ট ক ট ন phuṭuka ṭuni chuxphasathmil ப ள ள ச ச ல ல puḷḷic cillai chuxphasaphma စ ဝတ ပ က င က hcar wate pyawwat nghaat lksnathangchiwwithyankthiyngimotetmwymisinataldanlang phaphcak oklkata xinediy lksnathwip nkkratidkhihmumilatwyaw 11 12 esntiemtr 4 3 4 7 niw aelahnk 12 16 krm 0 026 0 035 pxnd twetmwymicangxypaksiekhmhruxdakhlaplayaehlm sungepnlksnaodythwipkhxngnkkinemldthyphuch latwswnbnmikhnsinatal taophk khnkhlumokhnkhnhangdanbn aelahangepnsinatalmkmisiehluxngaesm aelakhnhwsinatalekhmodyechphaathikhangaelarxbta latwswnlangkhnsikhawaekmethamilayekldhruxcudhruxlaytakhaysinatalekhm khnklangthxngaelaknsikhaw hangnatalaekmehluxng nktangephsmikhwamkhlaykhlungkn odytwphucamiaethbsikhlathilatwchwnglangaelathilakhx thimisiekhmkwatwemiy nkthiyngimotetmwycamiswnbnsinatalsid swnhwimmisiekhmxyangthiphbinnkthiotetmwy paklangsixxnkwapakbn mikhnxxn immilayekldthixk thithaihduehmuxnknkbnkkratidsayphnthuxun echn nkkratidsamsi Lonchura malacca mikracayphnthuinexechiyphakhphunthwipaelahmuekaaodyrxb aelankkratidkhxda Lonchura kelaarti thikracayphnthuinpraethsxinediyhruxsrilngka phunthikarkracayphnthukhxngnkkratidkhihmukinbriewnkwang thaihkhwamekhmkhxngsiaelakhnadkhxnglaykhnnkinprachakrnkkratidkhihmumirupaebbaetktangkn inxnuthwipxinediymioxkasthukaeykchnidodyichchuxwa nkkratidkhihmulaytakhay Chequered Munia L p punctulata thitangcakchnidyxyxuntrngthimilatwsixxknatalaedng hangsiehluxngsdkwa aelamilayekldklm kwangxxkthangdankhang aethnthicaepnlayekldthrngyawaelathiaenn aelwmiesnkhidklangkhlayhwluksrtrngklangaebbnkkratidkhihmuinpraethsithy L p topela inkhwamhlakhlaykhxngwngsnkkratid nkkratidkhihmumitnkaenidinexechiy aetidthuknaekhaipsuswnxun khxngolk cakkhwamniyminthanankkrng sungcanwnhnungidhludrxdxxkipaelaephimcanwnprachakrinthrrmchatiphvtikrrmaelaniewswithyasngkhm nkkratidkhihmu epnnksngkhm samarthrwmfungidmakthung 100 tw nkaetlatwsuxsarkndwykarrxnginhlayrupaebb idaek esiynghwidsn esiynghlayaebbinthanxng citti citti citti aelaesiyngcibthisungaehlm bangkhrngphwkmnsabdhangaelapikinaenwtnghruxaenwnxninkhnathikraodd karekhluxnihwsabdhangxacphthnamacakkarekhluxnihwodyectna karekhluxnihwsabdhanginewxrchnthiekincringxacphankartha phithi aelw inthanasyyanthangsngkhmkarsabdhanginsingmichiwitxun xikhlaychnidthahnathiepnsyyanbngchiectnathicabinaelachwyihfungxyudwykn emuxxyu nkkratidkhihmucanngekaakhangknxyangiklchidkn nktwnxksudmkcaexntw phing ekhahasunyklang bangkhrngnkinfungcaaetngkhn iskhn ihknaelakn odynktwthichichwncaaesdngtwodykarechidkhangxxkip aekknnimkcacakdbriewnechphaaibhnaaelalakhx nkkratidkhihmumkimkhxyepnstrukn aetinbangkhrngkcathaelaaknodyprascakkaraesdngid nkkratidkhihmucaeplngesiyngephuxsuxsarkbfungkhxngmn source source esiyngkhxngnkkratidkhihmukarphsmphnthu vduphsmphnthuxyuinchwngvdufn swnihyepneduxnmithunaynthungsinghakhminxinediyaelaexechiyxakheny aetxacaetktangknipinaetlaphunthi karsuksainhxngptibtikarphbwakarsxngswanginwnthiyawnanaelakhwamchunsungkratunkarecriyetibotkhxngxwywasubphnthu esiyngrxngkhxngnktwphumikhwamnumnwlaetsbsxnaelahlakhlay sungidyinechphaainrayaikl esiyngrxngsamarthrabuwaepnephlngthimkerimdwy chudesiyngothnsung tamdwyesiyngkngwanaebbothnediywsa aelacblngdwykarthxdesiyngxyangkhlumekhrux khnaeplngesiyngrxngnktwphucannginthathieriykwathaonmtw slope aelakhnthihwxxk thaonmtwmi 2 praephthkhux aebbkxnkarphsmphnthu aelaaebbthrrmda phvtikrrmkxnkarmiephssmphnthkhxngnkkratidkhihmu yngrwmthungladbkhxngthathang khux thaaerktwphuhruxtwemiycarwmknelnwsdutharng thnthithinkcderiyngwsdutharngincangxypakeriybrxynkkcaerimbiniprxb inesnthangaebbslbfnpla sikaesk emuxnkekhahakntwphucaokhngekhahatwemiyaelaiscangxypakkhxngmn caknntwphucasngesiyngrxngprakxbkbkarekhluxnihwkhxngrangkay twemiycachwnihphsmphnthuodyaesdngkarsnhang ikhkhxngnkkratidkhihmu Lonchura punctulata okhrngsrangrngkhxngnkkratidkhihmuepnrupodmthrngklmkhnadihythithksanknxyanghlwm cakibhya fang dxkhya imiph hruxibimaehngthimiibyaweriywxun mithangekhadankhang aelaphayinrngbudwywsduxxnnumechn dxkhya puykhxngtnthupvisi khnnk epntn aelamksrangrngiwbnngamkingim odymiphumimepnthikabngfnhruxitchaykhaban chxngthangekharngcahnhnaipinthisthangthilmphdbxythisud tharngsungcakphunraw 1 5 9 emtr karsuksathangtxnitkhxngxinediyphbwatnimthinkkratidkhihmuchxbtharngkhux Toddalia asiatica krathnglay Gymnosporia montana aela siesiyd Acacia chundra odyechphaatnthietiyepnphum thrngphumpkkhlumthungradbta inthangtxnehnuxkhxngxinediynkkratidkhihmuchxbtharngbntn Acacia nilotica thimkkhunodd inphunthinxkemuxng aelayngchxbtharngbntn Thuja orientalis aelaxoskxinediy inswnthixyuinemuxng nkkratidkhihmunkkhuphwemiychwyknsrangrng hakaehlngxaharxudmsmburnsamarththarngwangikhidtlxdthngpi aetchwngthiphbwamikartharngwangikhsungxyurahwangeduxnemsaynthungeduxnsinghakhm vdurxnaelavdufn aemnkwangikhkhrngla 1 8 fxngtxrng canwnikhthiphbbxythisudkhux 4 thung 6 fxng xacmakthisudthung 10 fxng epluxkikhsikhaw khnad 16 4 11 6 mm phxaemnkchwyknkkikh 10 thung 16 wn luknkcungfk epntwluknkaerkekidsungyngimsamarthchwyehluxtwexngid altricial aelaphxaemnkchwykneliyngluknkxik 13 15 wn luknkcungbinxxkcakrngxaharaelakarhaxaharkarihxaharluknkkarkinxaharkhxngnketmwy nkkratidkhihmukinemldhyaaelaemldthyphuchepnhlk nxkcaknnkhux phlimphumkhnadelk echn phlkhxngphkakrxng aelaaemlng aemwacangxypakthihnakhxngnkkratidkhihmucaehmaasahrbkarkhbemldthyphuchkhnadelk aetimidaesdngihehnkarekhluxnihwkhxngkhakrrikrlanginaenwkhang sungepnkarkhbkraethaaepluxkaebbthitha karlngkinkhaw rayakhxngkhawthinkkratidkhihmuaelankxuninwngsediywkn echn nkkratidtaophkkhaw caerimkinkhaw khuxtngaetkhawerimepnnanmihm cnipthungrayakxnekbekiyw thakhawxyuinrayananmaelamiswnepnitaekhngephiyngelknxy nkcacikthirwngaelwkhbemldkhawkinechphaaenuxaekhngaelananm rwngkhawcayngkhngmiemldtidxyukbrwng aetcaphbrxyaetkkhxngepluxkthichdecn rwngkhawthithuknkkin rwngcatngchikhun enuxngcaknahnkthihayipcakkarthukkinepnbangswn thakhawelyrayananmcnaekhnghmdthngemldaelw nkcaichpakrudemldxxkcakrwng aelwkhabemldmakhbkinaetenuxphayin swnepluxkplxythingiwittnkhawnnexng nkkratidkhihmusngesiyngrxngtlxdewlathngkhnahakinaelabin karbincabinchidknipthngfung immiphunafung bininradbimsungnk xacekaaphkbntnimtamkingkhnadihybang kxnthicalngkinemldphuchinaeplnghya odycaimsxksxnkhnhahnxntamkingimibim ephraaimichnkkinaemlngepnxaharhlk xaclngkinemldphuchthirwnghlntamphunindnghya hruxaemlngtamphundinitkxhya odyechphaainchwngeliyngluksungtxngpxndwyxaharoprtincaphwkaemlngepnswnihy inlksnaediywkbxun yngphbwankkratidkhihmuxackinsahraysungepnaehlngoprtinthixudmsmburnkxnvduphsmphnthu nkkratidkhihmuepnnkthieliyngaeladuaelngayin thaihidrbkhwamniymichinkarsuksaphvtikrrmaelasrirwithya phvtikrrmkarhaxaharkhxngnkkratidkhihmuyngsamarthphyakrnidcak odymihlkkhux stwcaichewlaaelaphlngngannxythisudephuxihidprimanxaharthihaidmakthisud sungnkkratidkhihmuepnswnsakhyswnhnunginkarphisucnthvsdini odyechphaakarsuksakarichklyuththephuxephimprasiththiphaphinkarhaxahar khnadfung karsuksaekiywkbphvtikrrmkarhaxahar sungsuksakhwamsmphnthkhxngkhnadfungthimiphltxkarldkarichewlainkarefarawngcakstwnkla sungyngsmphnthkbkarephimprasiththiphaphinkarhaxahar odymismmtithankhxngkarich hlayta karichewlainkarefarawngphycakstwnklakhxngnkaetlatwthildlngsmphnthkbfungthimikhnadihykhun aelayngthaihmiewlaichinkarkhnhaxaharaelahaxaharmakkhun khwamaewdrawngphynicamiradbsungsudhaknkaetlatwhaxaharaebboddediyw aelakhwamaewdrawngkhxngnkaetlatwcaldlngemuxkhnadfungephimkhuncakpramansitwkhunip nkhaxaharepnfungkhnadihycarwbrwmemldphuchaetlaemdiderwkwa sungsathxnihehnthungkarldradbkhwamaewdrawngkhxngnkaetlatw sunghmaythungkarldewlainkarcdkar sungnaipephimkhwamerwinkarkhnhaaelamungtrngipthikarhaxahar funghaxahar nkaetlatwxacichpraoychncakkarhaxaharepnfungodykar ekhafung thimismachikthiphbxaharaelw sungthangeluxkinkaraeswnghaxahar mi 2 thangkhux haxaharexng hrux ekharwmkbnktwxunthikhnphbxaharaelw sungepnkarekiywkhxngkbkaraebngpnkhxmulkaraeswnghaxahar phvtikrrmkareluxkkhxngekharwmkbnktwxunniidrbkarsuksaaelatngepnaebbcalxngthieriykwa aebbcalxngphuphlit phukhomy sungxthibaykhxesiykhxngkarhaxaharaebbfung khux epnkarephimkaraekngaeyngthrphyakrxahar sungradbkhwamrunaerngkhxngkaraekhngkhninkaraeyngxaharthiephimxacsngphlihnkldradbkaraewdrawngphycakkarthukla nganwicybangchinyngaesdngihehnwakaraekhngkhnthiephimkhunsngphlihxtrakarhaxaharldlngdwy rupaebbkarhaxahar emuxxxkhaxahar nkkratidkhihmusamarthkhnhaxaharinaebbtwediyw hrux khnhanktwxunthiphbxaharaelwephuxekharwmfung inechingesrsthsastrphllphthkhxngkartdsinicekharwmkbnktwxun naipsrangaebbcalxngaebngepn 2 rupaebb khux aebbcalxngkhxngphuphlit phukhomy rupaebbkhxngphuhaxahar phukhxaebngxahar hrux phuaeyngxahar producer scrounger model aebbcalxngkaraebngpnkhxmulkhxngaehlngxahar aebbcalxngthngsxngnitngxyubnsmmtithankhxngradbkhwamaetktangkhxngswnphsmrahwang ohmdkarkhnhaxahar aela ohmdkarekharwmkhnhaoxkas suaehlngxahar thismphnthkn klawkhux aebbcalxngkaraebngpnkhxmul cathuxwankaetlatwerimxxkkhnhaphrxm kn thngkarhaxahar aelakarekharwmoxkas inkhnathiinaebbcalxngphuphlit phukhomy cathuxwaohmdkarkhnhaepnexksiththithinkaetlatwtxngthaaelarwmkn immiecakhxngxaharthiaethcring aebbcalxngthngsxngekidkhunaelaaeprtampccyechn canwnnkinfunghaxahar primanxahar aelalksnakarkracaytwkhxngxahar cakkarsngektphvtikrrm karkraoddaelaphngkhwkhunlng mikhwamsmphnththangsthitikbkhwamthiinkarekharwmaelakarkhnhakhxngnktamladb klawkhux khwamthikhngthikhxngkarkraoddphngkhwaelaklwithiphukhomycaepliynip emuxprimanemldphuchthihamaidepliynaeplng khwamthismphththkhxngkarkraodd phngkhwkepliyniptamnn emuxswnaebngemldphuchimihpraoychnephiyngphxaeknkthiichklyuththphukhomy scrounger khwamthikhxngkarphngkhwkldlngdwy sungphvtikrrmkarkraoddaelaphngkhwniduehmuxnepnswnchwyinkarsuksaaelakarphyakrnkhxngaebbcalxngkhxngphuphlit phukhomy karsuksahlaychinaesdngihehnwa nkkratidkhihmumiaenwonmthicaichklyuththphukhomy emuxxaharcbtwepnklumkxnmakkhun imkracaytw aelaemuxkhnadprachakrkhxngfunghaxaharephimkhun nkswnihycaepliynmaichklyuththphukhomy sungthaihkarichewlainkarkhnphbaehlngxaharihm kcananmakkhun khux sdswncanwnkhxngphukhomymakkhun inkhnathiphukhnhaaehlngxaharihmldlng karaewdrawngphy nkinfunghaxaharswnihytxngchwyknkhnhaxahar inkhnaediywknktxnghlbhlikeliyngstwphuladwy epnipidwaaemaetnktwthielnbthphukhomy kyngsamarthrawngphycaknklaiddwyxanisngskhxngkarphngkhw thiepnkarsngsaripstwphula aelayngmiswnchwyinkarefarawng hakklyuththphukhomy samarthekhaknidkbkaraewdrawngphy karephimradbkaraewdrawngphykhwrnaipsukarrbruoxkasinkarrwmoxkaskhxxaharmakkhun dwyehtunicungmikarekharwmfungmakkhun aetedimekhykhidwa emuxxyuning imhaxahar karphngkhwchwyinkarkaraewdrawngphy xyangirktamcaksuksaphbwa karsxdsxnginkhnathikraoddphngkhwimidchwyinkaraewdrawngphy sungepnipidwa klyuththphukhomyimekiywkhxngkbkarefarawnginkaraewdrawngphykhxngnkkratidkhihmu karhaxaharechphaathang nkkratidkhihmumiphvtikrrmkaraekhngkhnthihlakhlaysungthaihsamarthichpraoychncakthrphyakrthicakdid thangeluxkinkarhaxaharmisxngthangkhux epnphuphlitthihaaehlngihtwexngaelatwxun kb epnphukhomyxaharthiphbodyphuphlit karsuksaaesdngihehnwathangeluxkthngsxngninaipsudulyphaphthimnkhngphayinklum khux dulyphaphthangphvtikrrm hrux dulyphaphkhxngkareluxkklyuthth emuxnkaetlatwmixisrathicaeluxkrahwangepnphuphlitaelaphukhomy kareluxkthiepniptamkhwamthicasngphlihphvtikrrmthngsxngmikhwammnkhng smdul sungaetlaphvtikrrmidrbphltxbaethnechliythiiklekhiyngkn klawkhux nkaetlatwinfungeriynruthicaeluxkepnphuphlit phukhomy aelaprbepliynkareluxktamkhwamthikhxngthangeluxkkxnhna karsuksarabuwa hakprachakrswnihykhxngnkinfungeluxkepnphuphlit phvtikrrmkarkhomycaepnthiniym epniptamkhbwnkarkhxng karkhdeluxkodythrrmchati enuxngcakmixaharmakmayihkhomy inthangklbknthankswnihyeluxkepnphukhomy karaekhngkhnephuxkhomythisungkcachichwniheluxkepnphuphlit khunkkratidkhihmukinthyphuch smmtithan 3 khx thixacxthibaythungkhwamechiywchayinkarhaxaharthisxdkhlxngkninnkaetlatw idaek karepliynaeplngkhxngaehlngxahar khwamaetktangkhxng fionithp aelakareluxkthikhunxyukbkhwamthi smmtithankarepliynaeplngkhxngaehlngxaharkhadkarnwa nkaetlatwcamikhwamechiywchaythksaxyangidxyanghnungemuxkarichthksasxngxyang karhaaelakarkhomy mitnthunsungkwakarhaxaharthiechiywchaythksaediyw smmtithankhwamaetktangthangfionithpesnxwa nkaetlatwmikhwamsamarthinkarichthksakarhaxaharaetlaxyangaetktangkn aelamikhwammnkhnginsingthiidpraoychnmakthisud rupaebbkhxngkhwamechiywchay khwamechphaathang khadwacakhngthiaemwacanwnnkaetlatwthiichthksathikahndcakhunxyukbxngkhprakxbthangfionithpkhxngfung smmtithankareluxkkhunxyukbkhwamthiyngesnxwankaetlatwmikhwamechiywchayinthksathiidpraoychnmakthisud aetkhwamsamarthinkaridpraoychnkhxngaetlathangeluxkcaldlng enuxngcakcanwnphuhaxaharthiehmuxnkntamthrrmchaticakhxyechiywchayinaetlathksa thicakhxy ipsucudsmdulkhxngphltxbaethninaetlatw nkcaeriynruthicaepnxisracakrupaebbkhxngkhwamechiywchay nkaetlatwinfungprbkarichthksathngsxng aelanksxngtwinaetlafungsungechiywchayinthksathiaetktangknthaihekidkhwamaetktangkhxngsmmtithankaraeprphnkhxngaehlngxaharaelasmmtithankareluxkkhunxyukbkhwamthi karthdlxngkbfungnkkratidkhihmuinkrng idphlthdsxbwankkratidkhihmucalxngeluxkklyuthththngphuphlitaelaphukhomy aelacakhxy prbipsucudsmdul du thngniemuxnkaetlatwmixisrathicaeluxkphvtikrrmxyangidxyanghnung canwnnkthieluxkthngklyuththphuphlitaelaphukhomycamabrrcbkninkhwamthithikhngthi inkhnaediywknphlthdsxbaesdngihehnwa karepliynaeplngkhxngkareluxkklyuthththiekidkhunmacakphllphthkhxngkareluxkklyuththkarhaxaharthiaetktangkn thipraktkxnhna nxkcakni nkhaxaharxackinxaharxyangaekhngkhnbnphunphiw hruxeluxkemldphuchthihlnlngbnphun aelaxacprbeluxkklyuththehlanitamaetlasthankarn karxxkbin cakrng hruxthirwmfung roosting kxnewlaekidbxykhunemuxewlainkarkhnhathikhadiwldlng aelaemuxkhwamekhmkhnkhxngkaraekhngkhnephimkhun nkcaeriynrueruxngewla aelaprbewlaihkxnhnakhuaekhngid khwamekhmkhnkhxngkaraekhngkhnkhadwacaephimkhunemuxmiphukhomymakkhun hruxemuxkarrwmfungmikhnadelklng karphrangxahar cakrupaebbkarhaxaharthiphuphlitkhnhaxaharaelaphukhomyrxoxkasthicaekhaaeyngxahar cungbngkhbihphuphlitphrangxahar prey crypsis sungcaepliyncudsmdulkhxngphuphlitphukhomyipsukarkhomymakkhun karphrangxaharsngphlihewlaaefnginkarkinemldphuchephimkhunaelaephimcanwnkhxphidphladinkartrwccb yingipkwannkarprakttwkhxngkhuaekhngsngphlesiytxprasiththiphaphkarhaxaharphayitphvtikrrmkarphrangxaharni prasiththiphaphkarhaxaharkhxngnkaetlatwhlngcakthiekhykbharwmkbkhuaekhngthiphrangemldphuchyngkhngtaaemwakhuaekhngcaxxkipaelwktam dngnntnthuninkarhaxaharthithukphrangiwcasungkwaodyechphaakbfunghaxaharmakkwakarhaxaharaebbtwediyw karpxngknthrphyakr aebbcalxngthangesrsthsastrlasudkhxngkarpxngknthrphyakrinbribthkarhaxaharepnfung khadkarnwakhwamthikhxngkarottxbechingrukkhwrldlngemuxkhwamhnaaennkhxngthrphyakrephimkhun karsuksaekiywinnkkratidkhihmuaesdngihehnwa khwamrunaerngkhxngkarephchiyhnaknnnsungthisudemuxmiekidkarpraktkhxngtaaehnngrwmfung patch position aelakarepliynaeplngkhwamhnaaennkhxngthrphyakrkhunxyukbwamikarsngsyyantaaehnngrwmfunghruxim karsngsyyantaaehnngrwmfung ethiybethakbkarthaihaehlngthrphyakr aehlngxahar epnthikhadedaechingphunthiidmakkhun karepliynkhwamhnaaennkhxngkarrwmfungimmiphltxradbkhwamrunaerngkhxngkarephchiyhnakn emuximmisyyanrabutaaehnngkhxngxahar emuxtaaehnngxaharthuksngsyyankhwamhnaaennkhxngkarrwmfungthiephimkhunsngphlihradbkhwamrunaerngkhxngkarephchiyhnaknldlngthinthixyuxasyaelakarkracayphnthunkkratidkhihmu chnidyxy topela idtngxananikhmihminphunthithangtawnxxkkhxngxxsetreliyechn khwinsaelnd nkkratidkhihmuphbidinaehlngthixyuxasyhlaypraephth odypkticaxasyxyuiklkbaehlngnaaelathunghya inxinediyphbidthwipinphunthinasungcdepnstruphuchrayyxyenuxngcakkarkinemldphuchprimanimmak swnihyphbinthirab aetsamarthphbidinbriewnechingekhakhxngethuxkekhahimaly sungxacmixyuinradbkhwamsungekuxb 2 500 emtr 1 6 iml aelainaethbnilkhiri Nilgiris sungphbidthiradbkhwamsungthung 2 100 emtr 6 900 fut inchwngvdurxn inpakisthannkkratidkhihmuphbidinbriewnthicakd inchwngemuxng Swat thangtawntkkhxngpakisthan ipcnthungemuxnglahxr ykewninekhtphunthithaelthray aelatlxdipcnthunginxinediythangtawnxxkinphunthirahwangluthixana Ludhiana aela Mount Abu nkkratidkhihmuyngphbehnidinksmir aekhchemiyr aemwacahayak nkkratidkhihmuthiphldhlngxyunxkthinkaenid mkxasyinphunthithimisphaphxakasehmaasm aelamiprachakrmakphxthicasamarthtngxananikhmihminbriewniklekhiyngid nkkratidkhihmuthihlbhnicakkrngsuthrrmchati idrbkarbnthukkarphbehnidinhmuekaaewstxindis epxrotrioktngaetpi ph s 2514 haway tngaet ph s 2426 xxsetreliy yipun aela thangtxnitkhxngshrthxemrikawsungswnihyxyuinflxridaaelaaekhlifxreniy inoxxahuhaway nkkratidkhihmutxngaekhngkhnephuxaeyngaehlngthixyuxasykbnkkratidsamsiaelamiaenwonmthicahaidyakemuxminkkratidsamsi inpraethsithy nkkratidkhihmuepnnkpracathin miaehlngthixyuxasyinphakhehnuxtxnlangcnthungphakhklang inthungna thunghya palaemaa aelaphunthiepidolngiklchumchnemuxng inthirabcnthungradbkhwamsung 1 500 emtr inpraethsithy nkkratidkhihmuepnnkpracathin thinxasykhxngnkkratidkhihmuphbidthwipthukphakhkhxngpraethsithy xasyinthixakaskhxnkhangrxn aela epnthiolng tamthunghya paoprng aelachumchn cakthirabcnthungkhwamsung 1 500 emtrcakradbnathael chnidyxy L p topela miaehlngthixyuxasyinphakhehnuxtxnlangcnthungphakhklang aetphbnxythangphakhittngaetcnghwdpracwbkhirikhnthlngipenuxngcakepnthithubchunhruxepnpadibchun inphakhittxnlangkhxngithyepnchnidyxy L p fretensisniewswithyaaelakarxnurksnkkratidkhihmu Lonchura punctulata epnsayphnthuthimiprachakrxyumakmayaelacdxyuinpraephth mikhwamesiyngtatxkarsuyphnthu LC ody shphaphrahwangpraethsephuxkarxnurksthrrmchati IUCN nkkratidkhihmumichwngkarkracayphnthuthikwangmak miprachakrthimakthiyngimidthuknbcanwnaelamiaenwonmthiesthiyr odyphaphrwmthwolkaelwprachakrnkkratidkhihmuimidthukkhukkham aelayngsamarthphbidbxythungbxymakinekuxbthukchwngkarkracayphnthu xyangirktamprachakrbangswnthixyuinhmuekaasundanxy nncaphbehnidkhxykhangyak txngkarxangxing inhlayphunthi nkkratidkhihmuthukcdepnstruphuchthangkarekstr cakphvtikrrmkarhaxaharepnfungkhnadihyodyechphaainirthyphuch echn khaw khawfang khawpa inpraethsithy nkkratidkhihmuepnstrukhaw odylngkinkhawphrxmknepnfungtngaetrayakhawepnnanm ipcnthungekbekiyw odyecaakhbepluxkkinechphaakhawnanmhruxemldkhawxxn khnaediywknkarekaakhxngnkthaihkhxrwngkhawhkngay sunghnwynganbanghnwyaenanaihpxngknaelakacd echn krmkarkhaw odywithikartang echn thalayrngnkaelaikh kacdaehlngxasykhxngnkkratid ichtakhaykhlumnathngaeplng inexechiytawnxxkechiyngit idaek praethsithy nkkratidkhihmucanwnmakthukcbkkkhngephuxrxichinphithikhwamechuxthangphuththsasnaeriykwa dwy nkehlaniswnihycathukplxyinphayhlngodykar aetmicanwnimnxythixxnephliyaelataykxncathukplxy inpraethsithy hlngcakkarbngkhbichphrarachbyyti ph r b sngwnaelakhumkhrxngstwpa pi 2535 nkkratidkhihmuidrbkarbrrcuepnstwkhumkhrxngbychiraychux pi 2546 inladbthi 62 odycaksthitiechphaapi 2559 bk pths idcbkumphulklxbkhastwpathiphidkdhmaytamwdaelasthanthiskdisiththi phbkhxngklangepnnkkratidkhihmu 4 354 tw swnihymacak c sraburi aela c rachburi odykarhwanaehcbnkkratidkhihmuthibinlngipkinkhawklangthungna iskrngnamakhayihphxkhaaemkhainemuxngihyodyechphaathikrungethph pccubnkhadwakarlklxbsuxkhaynkkratidkhihmuephuxkarplxynksaedaaekhrahmicanwnldlng aelaswnhnungkhxngkarrnrngkhxnurksnkodykarphlitphaphynkhrsnephuxprbaenwkhidinkarthabuyplxynk eruxng plxynk buyhruxbap phlitody smakhmpxngknkartharunstwaehngpraethsithyraebiyngphaphL p punctulata thiphbinekrla xinediy L p yunnanensis inhxngkng misinatalxxnkhlay L p topela inpraethsithy L p fretensis phakhittxnlangkhxngithy L p fretensis insingkhopr L p nisoria inekaachwafngtawnxxk xinodniesiy L p holmesi eriykwa obnodl aepkking Bondol Peking inphasasunda xinodniesiy L p holmesi incakarta xinodniesiy L p particeps inbriewnekaasulaewsikhxngxinodniesiyxangxingBirdLife International 2016 Lonchura punctulata The IUCN Red List of Threatened Species 2016 doi 10 2305 IUCN UK 2016 3 RLTS T22719821A94646304 en Linnaeus Carl 1758 Systema Naturae per Regna Tria Naturae Secundum Classes Ordines Genera Species cum Characteribus Differentiis Synonymis Locis Tomus I Editio decima reformata phasalatin Holmiae Stockholm Sweden Laurentius Salvius p 145 nkkratidkhihmu 30 thnwakhm 2551 xangxingcak Craig Robson A Field Guide to the birds of Thailand and South east Asia Collar N Ian Newton Peter Clement Vladimir Arkhipov 2010 del Hoyo Josep Andrew Elliott David Christie b k Handbook of the birds of the world Volume 15 Finches Barcelona Lynx Edicions ISBN 978 84 96553 68 2 Clements J F T S Schulenberg M J Iliff B L Sullivan C L Wood D Roberson 2013 The eBird Clements checklist of birds of the world Version 6 8 The Cornell Lab of Ornithology eBird nkkratidkhihmu laytakhay subkhnemux 15 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia nominate subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia subundulata subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia yunnanensis subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia topela subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia fretensis subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia cabanisi subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia holmesi subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia particeps subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia baweana subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia sumbae subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Avibase Scaly breasted Munia blasii subkhnemux 16 thnwakhm 2563 Rasmussen PC JC Anderton 2005 Birds of South Asia The Ripley Guide Volume 2 Smithsonian Institution and Lynx Edicions p 673 ISBN 978 84 87334 66 5 OKnation nkkratidkhihmu Scaly breasted Munia Lonchura punctulata 2020 02 06 thi ewyaebkaemchchin mithunayn 2560 Restall Robin 1997 Munias and Mannikins Yale University Press pp 97 105 ISBN 978 0 300 07109 2 Arnaiz Villena A Ruiz del Valle V Gomez Prieto P Reguera R Parga Lozano C Serrano Vela I 2009 PDF The Open Ornithology Journal 2 29 36 doi 10 2174 1874453200902010029 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2012 03 21 subkhnemux 2020 12 15 Burton M R Burton 2002 International Wildlife Encyclopedia New York NY Marshal Cavendish Moynihan M M F Hall 1954 Hostile Sexual and Other Social Behaviour Patterns of the Spice Finch Lonchura punctulata in Captivity Behaviour 7 1 33 76 doi 10 1163 156853955X00021 smakhmphthnakhunphaphsingaewdlxm nkkratidkhihmu Scaly breasted Munia subkhnemux 15 thnwakhm 2563 Luis F Baptista Robin Lawson Eleanor Visser Douglas A Bell April 1999 Relationships of some mannikins and waxbills in the estrildidae Journal fur Ornithologie 140 2 179 192 doi 10 1007 BF01653597 Sikdar M A Kar P Prakash 1992 Role of humidity in the seasonal reproduction of male spotted munia Lonchura punctulata Journal of Experimental Zoology 264 1 82 84 doi 10 1002 jez 1402640112 nkkratidkhihmu 30 thnwakhm 2551 xangxingcak Craig Robson A Field Guide to the birds of Thailand and South east Asia Gokula V 2001 Nesting ecology of the Spotted Munia Lonchura punctulata in Mudumalai Wildlife Sanctuary South India Acta Ornithologica 36 1 1 5 doi 10 3161 068 036 0107 Sharma RC Bhatt D Sharma RK 2004 Breeding success of the tropical Spotted Munia Lonchura punctulata in urbanized and forest habitats Ornithological Science 3 2 113 117 doi 10 2326 osj 3 113 thbthim mnmak nkkratidkhihmu Scaly breasted Munia echiyngihmniws 7 mkrakhm 62 Ali S Ripley SD 1999 Handbook of the Birds of India and Pakistan Volume 10 2nd ed New Delhi Oxford University Press pp 119 121 ISBN 978 0 19 563708 3 Lamba BS 1974 Nest construction technique of the Spotted Munia Lonchura punctulata Journal of the Bombay Natural History Society 71 3 613 616 Mehta P 1997 Spotted Munia Lonchura punctulata feeding on scat Newsletter for Birdwatchers 37 1 16 Nuijens FW GA Zweers 1997 Characters discriminating two seed husking mechanisms in finches Fringillidae Carduelinae and estrildids Passeridae Estrildinae Journal of Morphology 232 1 1 33 doi 10 1002 SICI 1097 4687 199704 232 1 lt 1 AID JMOR1 gt 3 0 CO 2 G PMID 29852621 xngkhkhwamrueruxngkhaw stwstrukhaw aelakarpxngknkacd 2020 09 20 thi ewyaebkaemchchin ewxrchn 3 0 pi 2559 kxngwicyaelaphthnakhaw krmkarkhaw 2559 Scaly breasted Munia feeding on green alga Bird Ecology Study Group 2009 10 21 Avery M L 1980 Diet and breeding seasonality among a population of sharp tailed munias Lonchura striata in Malaysia PDF The Auk 97 160 166 Stephens DW 2007 A comprehensive guide to optimal foraging theory Foraging The University of Chicago Press Pulliam R H 1973 On the advantages of flocking Journal of Theoretical Biology 38 2 419 422 doi 10 1016 0022 5193 73 90184 7 PMID 4734745 Beauchamp G Barbara Livoreil 1997 The effect of group size on vigilance and feeding rate in spice finches Lonchura punctulata Canadian Journal of Zoology 75 9 1526 1531 doi 10 1139 z97 776 Giraldeau L A G Beauchamp 1 March 1999 Food exploitation searching for the optimal joining policy Trends in Ecology and Evolution 14 3 102 106 doi 10 1016 S0169 5347 98 01542 0 PMID 10322509 Rieucau G Giraldeau L A March April 2009 Group size effect caused by food competition in nutmeg mannikins Lonchura punctulata Behavioral Ecology 20 2 421 425 doi 10 1093 beheco arn144 Gauvin Shawn Giraldeau Luc Alain 2004 Nutmeg mannikins Lonchura punctulata reduce their feeding rates in response to simulated competition Oecologia 139 1 150 156 doi 10 1007 s00442 003 1482 2 PMID 14722748 Giraldeau L A Beauchamp G 1999 Food exploitation searching for the optimal joining policy Trends in Ecology amp Evolution 14 3 102 106 doi 10 1016 S0169 5347 98 01542 0 PMID 10322509 Giraldeau L A Beauchamp G 1999 Food exploitation searching for the optimal joining policy Trends in Ecology amp Evolution 14 3 102 106 doi 10 1016 S0169 5347 98 01542 0 PMID 10322509 Coolen Isabelle Giraldeau Luc Alain Lavoie Myriam May 2001 Head position as an indication of producer and scrounger tactics in a ground feeding bird Animal Behaviour 61 5 895 903 doi 10 1006 anbe 2000 1678 Coolen Isabelle 2002 Increasing foraging group size increases scrounger use and reduces searching efficiency in nutmeg mannikins Lonchura punctulata Behavioral Ecology and Sociobiology 52 3 232 238 doi 10 1007 s00265 002 0500 4 Coolen Isabelle Giraldeau Luc Alain 1 October 2003 Incompatibility between antipredatory vigilance and scrounger tactic in nutmeg mannikins Lonchura punctulata Animal Behaviour 66 4 657 664 doi 10 1006 anbe 2003 2236 Davies Nicholas 2012 An Introduction to Behavioural Ecology Competing for Resources Wiley Blackwell pp 130 131 ISBN 978 1 4051 1416 5 Barnard C J R M Sibly May 1981 Producers and scroungers A general model and its application to captive flocks of house sparrows Animal Behaviour 29 2 543 550 doi 10 1016 S0003 3472 81 80117 0 Beauchamp G Giraldeau L A Ennis N 1 April 1997 Experimental evidence for the maintenance of foraging specializations by frequency dependent choice in flocks of spice finches Ethology Ecology amp Evolution 9 2 105 117 doi 10 1080 08927014 1997 9522890 Mottley Kieron Giraldeau Luc Alain September 2000 Experimental evidence that group foragers can converge on predicted producer scrounger equilibria PDF Animal Behaviour 60 3 341 350 doi 10 1006 anbe 2000 1474 PMID 11007643 Beauchamp G Giraldeau Luc Alain 1997 Patch exploitation in a producer scrounger system test of a hypothesis using flocks of spice finches Lonchura punctulata Behavioral Ecology 8 1 54 59 doi 10 1093 beheco 8 1 54 Barrette Maryse Giraldeau Luc Alain 2006 Prey crypticity reduces the proportion of group members searching for food Animal Behaviour 71 5 1183 1189 doi 10 1016 j anbehav 2005 10 008 Courant Sabrina Giraldeau Luc Alain 2008 Conspecific presence makes exploiting cryptic prey more difficult in wild caught nutmeg mannikins Animal Behaviour 75 3 1101 1108 doi 10 1016 j anbehav 2007 08 023 Broom Mark Ruxton Graeme D 1 January 1998 Evolutionarily stable stealing game theory applied to kleptoparasitism Behavioral Ecology 9 4 397 403 doi 10 1093 beheco 9 4 397 Sirot E 1999 An evolutionarily stable strategy for aggressiveness in feeding groups Behavioral Ecology 11 4 351 356 doi 10 1093 beheco 11 4 351 Dubois F 2002 Resource defense in a group foraging context Behavioral Ecology 14 1 2 9 doi 10 1093 beheco 14 1 2 Dubois Frederique Giraldeau Luc Alain July 2004 Reduced resource defence in an uncertain world an experimental test using captive nutmeg mannikins Animal Behaviour 68 1 21 25 doi 10 1016 j anbehav 2003 06 025 Forshaw J Mark Shephard Anthony Pridham Grassfinches in Australia Csiro Publishing pp 267 268 Abbass D Rais M Ghalib S A Khan M Z 2010 First Record of Spotted Munia Lonchura punctulata from Karachi Pakistan Journal of Zoology 42 4 503 505 Ali S Ripley SD 1999 Handbook of the Birds of India and Pakistan Volume 10 2nd ed New Delhi Oxford University Press pp 119 121 ISBN 978 0 19 563708 3 Akhtar SA Rao Prakash Tiwari JK Javed Salim 1992 Spotted Munia Lonchura punctulata Linn from Dachigam National Park Jammu and Kashmir Journal of the Bombay Natural History Society 89 1 129 Moreno JA 1997 Review of the Subspecific Status and Origin of Introduced Finches in Puerto Rico Caribbean Journal of Science 33 3 4 233 238 Moulton MP 1993 The All or None Pattern in Introduced Hawaiian Passeriforms The Role of Competition Sustained The American Naturalist 141 1 105 119 doi 10 1086 285463 JSTOR 2462765 Moulton M P Ferris D K 1992 Competition resource use and habitat selection in two introduced Hawaiian Mannikins Biotropica 24 1 77 85 doi 10 2307 2388475 JSTOR 2388475 Arnaiz Villena A Ruiz del Valle V Gomez Prieto P Reguera R Parga Lozano C Serrano Vela I 2009 PDF The Open Ornithology Journal 2 29 36 doi 10 2174 1874453200902010029 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2012 03 21 subkhnemux 2020 12 15 Eguchi K Amano H E 2004 Invasive Birds in Japan PDF Global Environmental Research 8 1 29 39 Duncan RA 2009 The status of the nutmeg mannikin Lonchura punctulata in the extreme western panhandle of Florida PDF Florida Field Naturalist 37 3 96 97 Garrett KL 2000 The juvenile nutmeg mannikin identification of a little brown bird PDF Western Birds 31 2 130 131 https www birdsofthailand org bird scaly breasted munia https www birdsofthailand org bird scaly breasted munia Bomford Mary Ron Sinclair 2002 Australian research on bird pests impact management and future directions Emu 102 29 45 doi 10 1071 MU01028 elmthi 109 txnthi 15 srartn chinxan ruhruxyng thabuy saedaaekhraah plxynkkratid rawngtidkhuk phraklukaem kxbapimrutw sankkhawxisra 8 krkdakhm 2560