ตามนุษย์ เป็นอวัยวะที่ตอบสนองต่อแสงและแรงดัน ในฐานะเป็นอวัยวะรับความรู้สึก ตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำให้สามารถเห็นได้ ช่วยให้เห็นภาพเคลื่อนไหวเป็น 3 มิติ และปกติเห็นเป็นสีในช่วงกลางวัน เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในจอตาทำให้สามารถรับรู้แสงและเห็น รวมทั้งแยกแยะสีและรับรู้ความใกล้ไกล ตามนุษย์สามารถแยกแยะสีได้ประมาณ 10 ล้านสี และอาจสามารถตรวจจับโฟตอนแม้เพียงอนุภาคเดียวได้
ตามนุษย์ | |
---|---|
1. 2. 3. กล้ามเนื้อซิลิอารี 4. 5. 6. รูม่านตา 7. 8. กระจกตา 9. 10. 11. 12. 13. เยื่อตา 14. กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ ออบลีก 15. กล้ามเนื้ออินฟีเรียร์ เรกตัส 16. กล้ามเนื้อมีเดียล เรกตัส 17. หลอดเลือดแดงและดำของจอตา 18. 19. เยื่อดูรา 20. 21. 22. เส้นประสาทตา 23. 24. 25. 26. รอยบุ๋มจอตา 27. 28. 29. กล้ามเนื้อซุพีเรียร์ เรกตัส 30. จอตา | |
รายละเอียด | |
ระบบ | ระบบการเห็น |
ตัวระบุ | |
ภาษาละติน | Oculi Hominum |
ภาษากรีก | ἀνθρώπινος ὀφθαλμός |
MeSH | D005123 |
TA98 | A01.1.00.007 A15.2.00.001 |
TA2 | 113, 6734 |
FMA | 54448 |
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ] |
เหมือนกับตาของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ เซลล์ปมประสาทไวแสง (photosensitive ganglion cell) ในจอตามนุษย์ซึ่งไม่ช่วยให้เห็นภาพ จะได้สัญญาณแสงซึ่งมีผลต่อการปรับขนาดรูม่านตา ควบคุมและระงับการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน และปรับตัวทางสรีรภาพและพฤติกรรมตามจังหวะรอบวัน (circadian rhythm)
โครงสร้าง
ตาไม่ได้กลมอย่างสมบูรณ์ เพราะเป็นส่วนสองส่วนที่เชื่อมเข้าด้วยกัน คือส่วนหน้า (anterior segment) และส่วนหลัง (posterior segment) ส่วนหน้ามีกระจกตา รูม่านตา และแก้วตา/เลนส์ตา กระจกตาจะโปร่งแสงและโค้งกว่า และจะเชื่อมเข้ากับส่วนหลังที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีวุ้นตา จอตา คอรอยด์ (choroid) และเปลือกนอกคือส่วนตาขาว (sclera) กระจกตาปกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.5 มม. และหนา 1/2 มม. ใกล้ ๆ ตรงกลาง ส่วนหลังจะเป็นส่วน 5/6 ของตา โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางปกติที่ 24 มม. กระจกตาและตาขาวจะเชื่อมกันโดยส่วนที่เรียกว่า limbus ส่วนม่านตาก็คือโครงสร้างรูปกลมมีสีซึ่งล้อมรอบส่วนกลางของตา คือ รูม่านตา ซึ่งปรากฏเป็นสีดำ ขนาดรูม่านตา ซึ่งควบคุมปริมาณแสงที่เข้ามาในตา จะปรับโดยกล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์ และไอริส สฟิงคเตอร์
พลังงานแสงจะเข้ามาในตาผ่านกระจกตา ผ่านรูม่านตา และจึงผ่านแก้วตา (เลนส์ตา) รูปร่างของแก้วตาจะเปลี่ยนไปเมื่อมองใกล้ ๆ ซึ่งควบคุมโดยกล้ามเนื้อซิลิอารี โฟตอนของแสงซึ่งตกลงที่เซลล์ไวแสงของจอตา (คือ เซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง) จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งไปยังสมองผ่านประสาทตา (optic nerve) แล้วแปลผลให้เป็นการเห็น
ขนาด
ขนาดของตาจะต่าง ๆ กันระหว่างบุคคลเพียง 1-2 มม. โดยสม่ำเสมอมากแม้ข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ขนาดตามขวาง (transverse) ของตาผู้ใหญ่อยู่ที่ประมาณ 24.2 มม. ขนาดด้านตั้ง (sagittal) อยู่ที่ 23.7 มม. และขนาดจากข้างหน้าไปด้านหลัง (axial) อยู่ที่ 22.0-24.8 มม โดยไม่แตกต่างอย่างสำคัญระหว่างเพศ กลุ่มอายุต่าง ๆ และชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดยมีปริมาตรที่ 6 ซม3 และหนัก 7.5 กรัม[]
ลูกตาจะโตเร็วมาก โดยเริ่มจาก 16-17 มม. เมื่อเกิด ไปเป็น 22.5-23 มม. เมื่อถึงอายุ 3 ขวบ โดยอายุ 13 ปี ตาก็จะโตเต็มที่แล้ว
องค์ประกอบ
ตาแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ซึ่งล้อมรอบโครงสร้างทางกายวิภาคต่าง ๆ ชั้นนอกสุดเรียกว่า fibrous tunic ซึ่งประกอบด้วยกระจกตาและส่วนตาขาว (sclera) ชั้นกลางเรียกว่า vascular tunic หรือ uvea ซึ่งประกอบด้วยคอรอยด์ (choroid), ซิลิอารีบอดี (ciliary body), iris pigment epithelium, และม่านตา (iris) ชั้นในสุดคือจอตา ซึ่งได้ออกซิเจนจากหลอดเลือดของคอรอยด์ด้านหลังและจากเส้นเลือดจอตาด้านหน้า
ตาจะเต็มไปด้วยสารน้ำในลูกตา (aqueous humor) ในส่วนหน้าคือระหว่างกระจกตาและแก้วตา และเต็มไปด้วยวุ้นตา (vitreous body) ส่วนหลังแก้วตา คือเต็มส่วนหลังทั้งหมด สารน้ำเป็นน้ำใส ๆ ที่เต็มบริเวณสองบริเวณในตา คือห้องหน้า (anterior chamber) ระหว่างกระจกตาและม่านตา และห้องหลัง (posterior chamber) ระหว่างม่านตาและแก้วตา แก้วตาจะแขวนอยู่กับซิลิอารีบอดีด้วยเอ็นแขวนที่เรียกว่า Zonule of Zinn ซึ่งเป็นเส้นใยละเอียดโปร่งแสงเป็นพัน ๆ และส่งแรงจากกล้ามเนื้อเพื่อเปลี่ยนรูปร่างของแก้วตาเมื่อปรับตาดูใกล้ไกล ส่วนวุ้นตาเป็นวัสดุใส ๆ ทำจากน้ำและโปรตีน ซึ่งทำให้เหมือนวุ้นเหนียว ๆ
การเห็น
ขอบเขตภาพ
ขอบเขตภาพ (field of view) ของตามนุษย์แต่ละคน จะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของใบหน้า แต่ปกติจะจำกัดอยู่ที่ 30° ด้านขึ้น (จำกัดโดยคิ้ว), 45° ด้านจมูก (จำกัดโดยจมูก), 70° ด้านล่าง, และ 100° ด้านขมับ เมื่อรวมการเห็นของตาทั้งสอง ลานสายตาจะจำกัดโดย 135° ด้านตั้ง และ 200° ด้านขวาง เมื่อมองจากด้านข้าง ๆ โดยมุมกว้าง ม่านตาและรูม่านตาอาจจะมองเห็น ซึ่งแสดงว่าบุคคลอาจมองเห็นรอบนอกได้ที่มุมนั้น
ประมาณ 15° ไปทางขมับ และ 1.5° ต่ำกว่าแนวนอน จะเป็นจุดบอด ซึ่งเกิดจากประสาทตาที่อยู่ทางด้านจมูก ซึ่งมีขนาดด้านตั้ง 7.5° และกว้าง 5.5°
พิสัยพลวัต
จอตามีอัตราความเปรียบต่างสถิต (static contrast ratio) ราว ๆ 100:1 (ประมาณ 6.5 f-stop) ทันทีที่มันขยับไปอย่างรวดเร็ว (saccade) แล้วมองที่เป้าหมาย มันก็จะเปลี่ยนการเปิดรับแสงโดยปรับม่านตา ซึ่งเป็นตัวแปลงขนาดรูม่านตา
การปรับตัวต่อความมืดขั้นเบื้องต้นจะเกิดเมื่ออยู่ในที่มืดสนิทติดต่อกันประมาณ 4 วินาที ส่วนการปรับตัวถึง 80% ของเซลล์รูปแท่งไวแสงในจอตาจะเกิดภายใน 30 นาที โดยไม่ได้เกิดอย่างเชิงเส้นแต่มีลักษณะซับซ้อน และการขัดจังหวะรับแสงจะทำให้ต้องเริ่มกระบวนการปรับตัวอีก การปรับตัวได้เต็มที่จะขึ้นอยู่กับการไหลเวียนเลือดที่ดี ซึ่งอาจติดขัดเนื่องจากโรคจอตา การไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี หรือการอยู่ในที่สูง[]
ตามนุษย์สามารถรับแสงสว่างในพิสัยถึง 1014 หรือหนึ่งร้อยล้านล้าน (100,000,000,000,000) ซึ่งเท่ากับ 46.5 f-stop คือตั้งแต่จาก 10−6 cd/m2 หรือ 0.000001 (หนึ่งในล้าน) แคนเดลาต่อตารางเมตร จนถึง 108 cd/m2 หรือร้อยล้าน (100,000,000) แคนเดลาต่อตารางเมตร เป็นพิสัยที่ไม่รวมการมองพระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง (109 cd/m2) หรือฟ้าผ่า
ที่ล่างสุดของพิสัยเป็นระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ของการเห็นเมื่อมีแสงทั่วขอบเขตการเห็น เป็นแสงในระดับ 10−6 cd/m2 ที่บนสุดของพิสัยการเห็นปกติจะอยู่ที่ 108 cd/m2
ตามีเลนส์ (แก้วตา) เหมือนกับที่พบในอุปกรณ์แสงเช่นกล้องถ่ายรูป และอยู่ใต้หลักฟิสิกส์ที่เหมือนกัน โดยรูม่านตาก็คือรูรับแสงของมัน ส่วนม่านตาก็คือกลีบรูรับแสง/ไดอะแฟรมที่เป็นตัวเปิดปิดรูรับแสง แต่การหักเหแสงที่กระจกตาจะมีผลทำให้ขนาดยังผลของรูรับแสงต่างจากเส้นผ่าศูนย์กลางของรูม่านตาจริง ๆ รูม่านตาปกติจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มม. แต่ก็อาจมีพิสัยระหว่าง 2 มม. (f/8.3) ในที่สว่าง จนถึง 8 มม. (f/2.1) ในที่มืด ค่าหลังนี่ยังลดลงช้า ๆ ตามอายุอีกด้วย คือผู้สูงอายุบางครั้งจะไม่ขยายรูม่านตาเกินกว่า 5-6 มม. ในที่มืด และรูอาจเล็กถึง 1 มม. ในที่สว่าง
การเคลื่อนตา
ระบบการเห็นในสมองมนุษย์ช้าเกินที่จะประมวลข้อมูล ถ้าภาพวิ่งข้ามจอตาได้เร็วกว่าไม่กี่องศาต่อวินาที ดังนั้น เพื่อให้มองเห็นเมื่อกำลังเคลื่อนไหว สมองจะต้องชดเชยการเคลื่อนไหวของศีรษะโดยกลอกตา สัตว์ที่มีตาหันไปทางด้านหน้ามจะมีบริเวณเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในจอตาที่เห็นได้ชัดมาก คือ รอยบุ๋มจอตา ซึ่งครอบคลุมมุมการมองเห็นประมาณ 2 องศาในมนุษย์ เพื่อจะให้เห็นได้ชัด สมองจะต้องกลอกตาให้ภาพของวัตถุเป้าหมายตกลงที่รอยบุ๋มจอตา ความล้มเหลวในการเคลื่อนตาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เห็นภาพได้ไม่ดี
การมีสองตาทำให้สมองสามารถรู้ความใกล้ไกลของวัตถุ และให้ความรู้สึกว่าภาพมี 3 มิติ ทั้งสองตาจะต้องมองแม่นพอเพื่อให้วัตถุเป้าหมายตกลงที่จุดซึ่งสอดคล้องกันที่จอตาทั้งสองซึ่งทำให้เห็นเป็น 3 มิติ ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็อาจจะเห็นภาพซ้อน คนที่มีตาเหล่แต่กำเนิดมักจะไม่สนใจสิ่งที่เห็นจากตาข้างหนึ่ง จึงไม่เห็นเป็นภาพซ้อน แต่ก็ไม่เห็นเป็น 3 มิติ
กล้ามเนื้อตา 6 มัดที่ติดอยู่กับตาแต่ละข้าง จะเป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไของตา ซึ่งทำให้เหลือบตาขึ้นลง เหล่ตาเข้า เหล่ตาออก และหมุนตาได้ กล้ามเนื้อเหล่านี้ควบคุมโดยทั้งจิตใต้สำนึกและเหนือสำนึก เพื่อตามมองวัตถุและชดเชยการเคลื่อนไหวศีรษะไปพร้อม ๆ กัน
กล้ามเนื้อตา (extraocular muscles)
ตาแต่ละข้างมีกล้ามเนื้อหกมัดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว คือ กล้ามเนื้อ lateral rectus, medial rectus, inferior rectus, superior rectus, inferior oblique, และ superior oblique เมื่อกล้ามเนื้อหดเกร็งต่าง ๆ กัน ก็จะเกิดทอร์ก/แรงบิดซึ่งหมุนลูกตา โดยเป็นการหมุนเกือบล้วน ๆ และเคลื่อนไปข้าง ๆ เพียงแค่ประมาณมิลลิเมตรเดียว ดังนั้น จึงสามารถมองได้ว่าตาหมุนรอบจุด ๆ เดียวตรงกลาง
การเคลื่อนตาอย่างรวดเร็ว
การเคลื่อนตาอย่างรวดเร็ว (rapid eye movement, REM) ปกติจะหมายถึงระยะการนอนหลับที่ฝันอย่างชัดเจนที่สุด ในระยะนี้ ตาจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ใช่การเคลื่อนไหวตาชนิดพิเศษ
Saccades
Saccade เป็นการเคลื่อนไหวตาทั้งสองข้างอย่างรวดเร็วพร้อม ๆ กันในทิศทางเดียวกันซึ่งควบคุมโดยสมองกลีบหน้า ยังมีการเบี่ยงตาเล็ก ๆ ที่ไม่ปกติ ซึ่งหมุนตาได้ถึง 1/10 องศา โดยน้อยกว่า saccade แต่มากกว่า microsaccade
Microsaccades
แม้เมื่อเพ่งมองที่จุด ๆ เดียว ตาก็จะเบี่ยงไปรอบ ๆ เพื่อให้เซลล์ไวแสงได้การกระตุ้นที่ต่าง ๆ กัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยนการกระตุ้น เซลล์เหล่านี้จะหยุดส่งสัญญาณ microsaccade จะขยับตาไม่เกิน 0.2° ในมนุษย์ผู้ใหญ่
Vestibulo-ocular reflex
vestibulo-ocular reflex เป็นรีเฟล็กซ์การเคลื่อนไหวตาที่ทำภาพซึ่งตกลงที่จอตาให้เสถียรในช่วงการเคลื่อนไหวศีรษะ โดยขยับตาไปทางทิศตรงกันข้ามของการเคลื่อนไหวศีรษะ เป็นการตอบสนองต่อข้อมูลการเคลื่อนไหวที่ได้จาก vestibular system ในหูชั้นใน ทำให้สามารถดำรงภาพให้อยู่ที่กลางลานสายตาได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อศีรษะขยับไปทางขวา ตาก็จะขยับไปทางซ้าย โดยเป็นอย่างนี้ทั้งหมดเมื่อขยับศีรษะขึ้นลง ซ้ายขวา โดยทั้งหมดให้ข้อมูลแก่กล้ามเนื้อตาเพื่อดำรงความเสถียรของภาพ
Smooth pursuit movement
ตายังสามารถมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นการตามที่ไม่แม่นเท่ากับ vestibulo-ocular reflex เพราะสมองต้องประมวลข้อมูลทางตาแล้วส่งข้อมูลป้อนกลับ การมองตามวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วคงที่ค่อนข้างง่าย แม้ตาอาจจะต้องขยับแบบ saccade ด้วยเพื่อให้ตามทัน การเคลื่อนไหวแบบนี้สามารถขยับตาได้เร็วถึง 100°/วินาทีในผู้ใหญ่
Optokinetic reflex
รีเฟล็กซ์แบบ optokinetic reflex/optokinetic nystagmus จะทำให้ภาพบนจอตาเสถียรผ่านกระบวนการป้อนกลับของการเห็น ซึ่งเกิดเมื่อภาพที่เห็นทั้งหมดเลื่อนข้ามจอตา ทำให้ตาหมุนไปในทางเดียวกันและเร็วพอที่จะลดการเคลื่อนที่ของภาพที่จอตาให้น้อยที่สุด เมื่อสิ่งที่กำลังมองออกนอกการมองเห็นตรง ๆ มากเกินไป ก็จะเกิดการเคลื่อนไหวแบบ saccade ให้กลับมามองที่กลางลานสายตา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมองนอกหน้าต่างที่รถไฟซึ่งกำลังวิ่งไป ตาสามารถโฟกัสที่รถไฟเคลื่อนที่ได้ระยะสั้น ๆ (โดยทำภาพให้เสถียรที่จอตา) จนกระทั่งรถไฟวิ่งออกนอกขอบเขตการเห็น ที่จุดนี้ ตาจะกลับมามองที่จุดซึ่งเริ่มมองเห็นรถไฟด้วยการเคลื่อนที่แบบ saccade
การมองใกล้
การปรับตาให้เห็นใกล้ ๆ เป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอนที่โฟกัสภาพลงที่จอตา
การเบนคนละทิศ (Vergence movement)
เมื่อสัตว์ที่เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตามองที่วัตถุหนึ่ง ๆ ตาจะต้องหมุนรอบแกนแนวตั้งเพื่อให้ภาพตกลงที่กลางจอตาทั้งสองข้าง เพื่อดูวัตถุใกล้ ๆ ตาจะเบนเข้าหากัน แต่สำหรับวัตถุไกล ๆ ตาจะเบนออกจากกัน
การหดรูม่านตา
เลนส์ไม่สามารถเบนแสงที่ขอบ ๆ ได้ดีเท่ากับส่วนตรงกลาง ดังนั้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ทุกอันจะค่อนข้างมัว ๆ ที่ใกล้ ๆ ขอบ (เป็นความพร่าเหตุขอบเลนส์) ซึ่งลดได้ถ้ากันไม่มองแสงที่ขอบ ๆ โดยมองแต่ที่ตรงกลางซึ่งมีโฟกัสดีกว่า ในตา รูม่านตาทำหน้าที่นี้โดยหดลงเมื่อตามองที่วัตถุใกล้ ๆ รูรับแสงที่เล็กยังเพิ่มช่วงความชัด (depth of field) คือทำให้เห็นได้ชัดในช่วงใกล้ไกลที่มากกว่าอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ รูม่านตาจึงมีหน้าที่สองอย่างสำหรับการมองใกล้ คือลดความพร่าเหตุขอบเลนส์และเพิ่มช่วงความชัด
การปรับเลนส์ดูใกล้ไกล
การเปลี่ยนความโค้งนูนของเลนส์เป็นหน้าที่ของกล้ามเนื้อซิลิอารีซึ่งอยู่รอบ ๆ เลนส์ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การปรับตาดูใกล้ไกล (accommodation) ซึ่งลดเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนในของกล้ามเนื้อซิลิอารี คลายใยเอ็นแขวน (suspensory ligament) ที่ยึดอยู่กับส่วนรอบ ๆ ของเลนส์ และคลายเลนส์ให้มีรูปนูนหรือกลมขึ้น เลนส์ที่นูนกว่าจะเบนแสงได้มากกว่าและโฟกัสแสงแบบลู่ออกของวัตถุใกล้ ๆ ลงที่จอตา ทำให้วัตถุใกล้ ๆ มีโฟกัสที่ดีกว่า
การแพทย์
ผู้ดูแลตา
ตามนุษย์ซับซ้อนพอจำเป็นให้มีการใส่ใจและการดูแลนอกเหนือจากที่ทำโดยแพทย์ทั่วไป ผู้ชำนาญในเรื่องตา หรือผู้มีวิชาชีพดูแลตา จะทำหน้าที่ต่าง ๆ กันในประเทศต่าง ๆ และอาจมีสิ่งที่ทำเหลื่อมกันเมื่อดูแลคนไข้ เช่น ทั้งจักษุแพทย์และนักตรวจปรับสายตา (optometrist) สามารถวินิจฉัยโรคตาและวัดสายตาเพื่อทำแว่นตา แต่ปกติแล้ว จักษุแพทย์มีใบอนุญาตให้ผ่าตัดและปฏิบัติการที่ซับซ้อนอื่น ๆ เพื่อรักษาโรค สาขาวิชาชีพที่ดูแลตาต่าง ๆ รวมทั้ง
- จักษุวิทยา
- ทัศนมาตรศาสตร์
- Orthoptics
- นักประกอบแว่น (Optician)
ความระคายเคืองตา
ความระคายเคืองตาอาจนิยามได้ว่า "ความรู้สึกเจ็บ คัน แสบ หรือระคายเคืองอื่น ๆ ที่มาจากตา" มันเป็นปัญหาสามัญที่ทุกคนมี อาการที่เกี่ยวข้องกันรวมทั้งความรู้สึกไม่สบาย ตาแห้ง น้ำตาไหล คัน ระคาย เหมือนมีของแปลกปลอมที่ตา ล้า ปวด แสบ เจ็บ แดง หนังตาบวม เหนื่อย เป็นต้น โดยมีระดับต่าง ๆ ตั้งแต่เบา ๆ จนถึงรุนแรง มีการเสนอว่าอาการเหล่านี้สัมพันธ์กับเหตุเกิดต่าง ๆ กัน และจะสัมพันธ์กับโครงสร้างตาที่เกี่ยวข้อง
มีการศึกษาปัจจัยที่สงสัยว่าเป็นเหตุหลายอย่างสมมติฐานหนึ่งก็คือ มลพิษอากาศภายในอาคารเป็นเหตุให้ระคายเคืองตาและทางลมหายใจ ความระคายเคืองตาจะขึ้นอยู่กับการเสียความเสถียรของฟิลม์น้ำตาด้านนอก ซึ่งกระจกตาส่วนที่แห้ง จะทำให้รู้สึกไม่สบายตา
ปัจจัยทางอาชีพก็น่าจะมีผลต่อความรู้สึกระคายเคืองตาด้วย รวมทั้งแสงไฟ (แสงสว่างเกินและมีความเปรียบต่างต่ำ) อิริยาบถในการมอง อัตราการกะพริบตาที่ลดลง การหยุดพักน้อยเกินในงานที่ใช้ตามาก และการปรับตาดูใกล้ไกลแบบไม่ค่อยเปลี่ยน ภาระต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ และปัญหาระบบประสาทเนื่องกับการเห็น
ปัจจัยอีกอย่างที่อาจเกี่ยวข้องก็คือความเครียดเนื่องกับงาน นอกจากนั้น งานวิเคราะห์โดยการแจกแจงหลายตัวแปรยังพบว่า ปัจจัยทางจิตใจสัมพันธ์กับการระคายเคืองตามากขึ้น สำหรับผู้ที่ใช้จอมอนิเตอร์
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น สารเคมีที่เป็นพิษหรือทำให้ระคายเคือง (เช่น amine, ฟอร์มาลดีไฮด์, acetaldehyde, acrolein, N-decane, สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้, โอโซน, สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์และสารกันเสีย, สารก่อภูมิแพ้ เป็นต้น) ก็อาจทำให้ตาระคายเคืองด้วย สารประกอบอินทรีย์ระเหยได้ที่ทั้งไวปฏิกิริยาและเป็นตัวระคายต่อทางเดินลมหายใจ ก็อาจทำให้ตาระคายเคือง
ปัจจัยส่วนตัวต่าง ๆ (เช่น การใช้เลนส์สัมผัส การแต่งตา และยาบางชนิด) ก็อาจทำให้ฟิลม์น้ำตาเสียความเสถียรและอาจมีผลเป็นอาการทางตาต่าง ๆ อย่างไรก็ดี ถ้าอนุภาคในอากาศเพียงอย่างเดียวทำฟิลม์น้ำตาให้ไม่เสถียรแล้วก่อความระคายเคือง มันก็จะต้องมีสารประกอบที่รบกวนผิวน้ำตาค่อนข้างสูง
แบบจำลองเบ็ดเสร็จของความเสี่ยงทางสรีรภาพซึ่งแสดงว่า ความถี่การกะพริบตา การเกิดความไม่เสถียร และการสลายไปของฟิลม์น้ำตา เป็นปรากฏการณ์ที่แยกจากกันไม่ได้ อาจสามารถอธิบายความระคายเคืองตาของพนักงานในสำนักงานโดยอาศัยอาชีพ สภาพอากาศ และปัจจัยเสี่ยงทางสรีรภาพเกี่ยวกับตา
มีวิธีการวัดความระคายเคืองตาหลัก ๆ สองแบบ แบบแรกก็คือความถี่การกะพริบตา ซึ่งสามารถสังเกตได้โดยพฤติกรรม แบบอื่น ๆ รวมทั้ง break up time, การไหลของน้ำตา, ภาวะเลือดคั่ง, ลักษณะทางเซลล์เกี่ยวกับน้ำตา, และความเสียหายต่อเนื้อเยื่อบุผิว (โดย vital staining) เป็นต้น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพของมนุษย์
ความถี่การกะพริบตานิยามว่า จำนวนการกะพริบตาต่อนาที โดยเกี่ยวข้องกับความระคายเคืองตา ความถี่เฉลี่ยจะต่างกันในบุคคลต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่น้อยกว่า 2-3 ครั้ง/นาที จนถึง 20-30 ครั้ง/นาที และจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เลนส์สัมผัสเป็นต้น ภาวะขาดน้ำ กิจกรรมทางใจ สภาพการทำงาน อุณหภูมิห้อง ความชื้นสัมพัทธ์ และแสงสว่างล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความถี่การกะพริบตา
break up time (BUT) เป็นค่าวัดความระคายเคืองตาและเสถียรภาพของฟิลม์น้ำตาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง โดยมีนิยามเป็นช่วงเวลา (วินาที) ระหว่างการกะพริบตาและการแตกของฟิลม์น้ำตา BUT พิจารณาว่าสะท้อนถึงเสถียรภาพของฟิลม์น้ำตาด้วย ในบุคคลปกติ BUT จะมากกว่าช่วงระหว่างการกะพริบตา และดังนั้น ฟิลม์น้ำตาจึงคงอยู่ได้
งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า ความถี่การกะพริบตาจะมีสหสัมพันธ์ในเชิงลบกับ BUT ปรากฏการณ์นี้ชี้ว่า ความระคายเคืองตาที่รู้สึกจะสัมพันธ์กับการกะพริบตาถี่ขึ้น เพราะทั้งกระจกตาและเยื่อตามีปลายประสาทไวความรู้สึกที่เป็นส่วนสาขาแรกของประสาทไทรเจมินัล
วิธีอื่น ๆ รวมทั้ง ภาวะเลือดคั่ง (hyperemia) ลักษณะต่าง ๆ ทางเซลล์ เป็นต้น ก็ได้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อประเมินความเคืองตา
มีปัจจัยอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับความระคายเคืองตาด้วย สามอย่างที่มีอิทธิพลสูงสุดรวมทั้งมลพิษอากาศภายในอาคาร การใช้เลนส์สัมผัส และความแตกต่างระหว่างเพศ
งานศึกษาในสนามพบว่า ความชุกของอาการระคายเคืองตาที่เป็นปรวิสัย บ่อยครั้งจะต่างอย่างสำคัญระหว่างพนักงานในสำนักงาน เทียบกับตัวอย่างสุ่มจากกลุ่มประชากรทั่วไป งานวิจัยเหล่านี้อาจชี้ว่า มลพิษอากาศภายในอาคารอาจมีบทบาทสำคัญทำให้ตาระคายเคือง
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ใส่เลนส์สัมผัส และตาแห้งดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่บ่นมากที่สุดสำหรับผู้ใส่ แม้ทั้งคนใส่เลนส์สัมผัสและคนใส่แว่นจะประสบอาการตาระคายเคืองเหมือน ๆ กัน แต่ตาแห้ง ตาแดง และการเหมือนกับมีก้อนกรวด/ทรายในตา จะรายงานในคนใส่เลนส์สัมผัสบ่อยครั้งกว่า และรุนแรงมากกว่า เทียบกับคนใส่แว่น
งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่าความชุกของตาแห้งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในหญิง BUT หรือเสถียรภาพของฟิลม์น้ำตา จะต่ำกว่าชายอย่างสำคัญ นอกจากนั้น หญิงยังกะพริบตาถี่กว่าเมื่ออ่านหนังสือ ปัจจัยหลายอย่างอาจมีผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างเพศ อย่างหนึ่งก็คือการใช้เครื่องสำอางแต่งตา อีกอย่างอาจคือว่า หญิงในงานศึกษาที่ว่าทำงานเกี่ยวกับจอมอนิเตอร์มากกว่าชาย รวมทั้งงานในระดับต่ำกว่า เหตุผลที่มักอ้างที่สามก็คือการลดการหลั่งน้ำตาตามอายุ โดยเฉพาะในหญิงอายุมากกว่า 40 ปี
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิสได้ทำงานศึกษาเกี่ยวกับความถี่ของอาการที่รายงานในอาคารอุตสาหกรรม ผลงานแสดงว่า ความเคืองตาเป็นอาการที่รายงานบ่อยที่สุดในอาคารอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาที่ 81%
นอกจากนั้น ความกังวลเกี่ยวกับผลลบต่อสุขภาพของพนักงานที่ทำงานในอาคารสำนักงานที่ใช้เครื่องใช้สำนักงานต่าง ๆ ก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 มีรายงานที่สัมพันธ์อาการที่เยื่อเมือก ที่ผิวหนัง และอาการทั่วไปอื่น ๆ กับกระดาษที่ทำก๊อปปี้เองได้ จึงมีการเสนอละอองธุลีและสารระเหยต่าง ๆ ว่าเป็นเหตุ อาการเหล่านี้ได้สัมพันธ์กับ sick building syndrome (SBS) ซึ่งมีอาการเช่นความเคืองตา เคืองผิวหนัง เคืองทางเดินลมหายใจด้านบน ปวดหัว และล้า
อาการหลายอย่างของ SBS และ multiple chemical sensitivity (MCS) คล้ายกับอาการที่มีเหตุจากสารเคมีระคายเคืองที่อยู่ในอากาศ งานศึกษาหนึ่งตรวจสอบอาการระคายเคืองอย่างเฉียบพลันของตาและทางเดินลมหายใจ ที่ประสบกับฝุ่นโซเดียมบอเรต (sodium borate) เนื่องกับอาชีพ การประเมินอาการของคน 79 คนที่ได้รับฝุ่น และ 27 คนที่ไม่ได้รับรวมการสัมภาษณ์ก่อนช่วงการทำงานและหลังจากนั้นทุก ๆ ชม. ตลอด 6 ชม. ซึ่งเป็นช่วงเวลาการทำงาน โดยประเมิน 4 วันติดต่อกัน การได้รับฝุ่นได้เฝ้าสังเกตไปพร้อม ๆ กันโดยใช้เครื่องตรวจละอองลอยในเวลาจริง การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลการประสบกับฝุ่นในสองรูปแบบ คือค่าเฉลี่ยที่ได้ต่อวัน และค่าเฉลี่ยในระยะสั้น ๆ (คือ 15 นาที) ความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับฝุ่นกับการตอบสนอง ประเมินโดยเชื่อมอัตราความชุกของอาการแต่ละชนิดกับการได้รับฝุ่นทั้งสองรูปแบบ
อัตราความชุกแบบเฉียพลันของความระคายเคืองต่อจมูก ตา และคอ บวกกับการไอและการหายใจไม่ออกพบว่า สัมพันธ์กับการได้รับฝุ่นเพิ่มขึ้นในทั้งสองรูปแบบ แต่ความชันของการได้รับฝุ่น-การตอบสนองจะสูงกว่าเมื่อใช้ข้อมูลการได้รับฝุ่นระยะสั้น การวิเคราะห์โดย multivariate logistic regression แสดงว่า ผู้สูบบุหรี่มักจะไวต่อการประสบกับฝุ่นโซเดียมบอเรตในอากาศน้อยกว่า
บุคคลสามารถทำอะไรได้หลายอย่างเพื่อป้องกันการเคืองตา
- พยายามรักษาการกะพริบตาให้เป็นปกติโดยหลีกเลี่ยงอุณหภูมิห้องที่สูงเกินไป เลี่ยงความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงหรือต่ำเกินไป เพราะจะลดอัตราการกะพริบตาหรืออาจเพิ่มการระเหยน้ำ
- พยายามรักษาฟิลม์น้ำตาไม่ให้เสียโดยทำสิ่งต่อไปนี้
- การกะพริบตาหรือการพักสั้น ๆ อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้จอมอนิเตอร์ เพราะการทำอย่างนี้อาจช่วยรักษาฟิลม์น้ำตา
- แนะนำให้มองลงเพื่อลดพื้นที่ตาและลดการระเหยน้ำ
- ควรวางจอมอนิเตอร์ให้ห่างจากคีย์บอร์ดเป็นระยะน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้มองลงและลดการระเหยน้ำให้น้อยที่สุด
- การฝึกกะพริบตาอาจเป็นประโยชน์
นอกจากนั้น การป้องกันอื่น ๆ รวมทั้งการรักษาเปลือกตาให้ถูกสุขภาพ การเลี่ยงการขยี้ตา และการใช้เครื่องใช้ส่วนตัว (เครื่องสำอาง สบู่ เป็นต้น) และยาให้ถูกต้อง เครื่องสำอางตาควรใช้อย่างระมัดระวัง
พฤติกรรมแบบกามวิปริตคือ การเลียลูกตา (oculolinctus) อาจทำให้เกิดความระคายเคือง การติดเชื้อ หรือความเสียหายต่อตา
โรคตา
มีโรคตา ความผิดปกติทางตา และความเปลี่ยนแปลงตามอายุหลายอย่างที่อาจมีผลต่อตาและโครงสร้างรอบ ๆ
เมื่ออายุมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะจัดได้โดยส่วนเดียวว่ามาจากการมีอายุมากขึ้น กระบวนการทางกายวิภาคและสรีรภาพเหล่านี้โดยมาก เป็นการเสื่อมลงอย่างช้า ๆ เมื่ออายุมากขึ้น คุณภาพการเห็นจะลดลงเนื่องจากเหตุที่เป็นอิสระจากโรคตา แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายอย่างในตาที่ไม่เป็นโรค ความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการทำงานมากที่สุดก็คือ การลดขนาดรูม่านตาและการเสียการปรับตาดูใกล้ไกล คือสมรรถภาพในการโฟกัส (โดยเฉพาะคือ presbyopia) ขนาดของรูม่านตาจะเป็นตัวควบคุมปริมาณแสงที่เข้ามาถึงจอตา ระดับที่รูม่านตาสามารถขยายจะลดลงตามอายุ ทำให้แสงที่เข้ามาถึงจอตาลดลงมาก เทียบกับคนอายุน้อยกว่า คนสูงอายุดูเหมือนจะใส่แว่นกันแดดที่มืดในระดับกลาง ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อต้องใช้ตาทำงานที่จะออกมาดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับระดับแสงสว่าง ผู้สูงอายุจะต้องได้แสงสว่างมากกว่า
โรคตาบางชนิดอาจมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริมหรือหูดหงอนไก่ ถ้ามีการติดต่อสัมผัสระหว่างบริเวณที่ติดเชื้อกับตา โรคอาจไปติดที่ตา
เมื่ออายุมากขึ้น จะเกิดวงแหวนรอบ ๆ กระจกตาที่เรียกว่า เส้นขอบกระจกตาวัยชรา (arcus senilis) นอกจากนั้น หนังตาก็จะหย่อนและไขมันของเบ้าตาก็จะฝ่อลง ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นสมุฏฐานของโรคหนังตาหลายประเภทรวมทั้งขอบตาแบะ (ectropion) ขอบตาม้วนเข้า และหนังตาตก วุ้นตาจะเหลวขึ้น (posterior vitreous detachment, PVD) และจะทึบขึ้น โดยเห็นเป็นวัสดุลอย (floater) มากขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้มีวิชาชีพดูแลตารวมทั้งจักษุแพทย์ นักตรวจปรับสายตา (optometrist) และนักประกอบแว่น (optician) จะเป็นผู้ดูแลบริการในเรื่องตาและโรคตา แผนภาพสเนลเลน (Snellen chart) สามารถวัดการเห็นได้ชัด (visual acuity) วิธีหนึ่ง หลังจากได้ตรวจตา หมอตาอาจจะให้ใบค่าตรวจตาแก่คนไข้เพื่อตัดแว่นสายตา โรคตาบางชนิดที่จำเป็นต้องใช้แว่นสายตารวมทั้งสายตาสั้น ซึ่งประชากรมนุษย์ประมาณ 1/3 จะมี[], สายตายาว (hyperopia) ซึ่งประชากรมนุษย์ประมาณ 1/4 มี, สายตาเอียง, และสายตาผู้สูงอายุ (presbyopia) ซึ่งเป็นการเสียพิสัยการโฟกัสเมื่ออายุมากขึ้น
โรคจุดภาพชัดเสื่อม (Macular degeneration)
โรคจุดภาพชัดเสื่อม (Macular degeneration) จะชุกเป็นพิเศษในสหรัฐอเมริกาโดยมีคนเป็นโรค 1.75 ล้านคนต่อปี โดยการมีระดับลูทีน (lutein) และซีอาแซนทินที่ต่ำในจุดภาพชัด (macula) อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของโรคจุดภาพชัดเสื่อมตามอายุ (age-related macular degeneration, ตัวย่อ AMD)
ลูทีนและซีอาแซนทินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ป้องกันจอตาและจุดภาพชัดจากความเสียหายโดยออกซิเดชันเพราะคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง คือ เมื่อคลื่นแสงเข้าไปในตา มันก็จะปลุกเร้าอิเล็กตรอนที่อาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ในตา แต่ก่อนที่จะสร้างความเสียหายโดยออกซิเดชัน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคจุดภาพชัดเสื่อมหรือต้อกระจก ลูทีนและซีอาแซนทินก็จะจับอิเล็กตรอนที่เป็นอนุมูลอิสระในกระบวนการรีดักชันทำให้ปลอดภัย
มีอาหารหลายอย่างที่สมบูรณ์ไปด้วยลูทีนและซีอาแซนทิน ที่ดีที่สุดก็คือทานผักใบเขียวเข้มรวมทั้งผักกะหล่ำ ผักโขมฝรั่ง (ปวยเล้ง) บรอกโคลี และผักกาด อาหารเป็นเรื่องสำคัญในการได้และรักษาสุขภาพตาที่ดี ลูทีนและซีอาแซนทินเป็นแคโรทีนอยด์สำคัญสองอย่าง ซึ่งพบที่จุดภาพชัดในตา ปัจจุบันมีงานวิจัยเพื่อกำหนดบทบาทในพยาธิกำเนิดของโรคตาต่าง ๆ รวมทั้ง AMD และต้อกระจก
รูปภาพอื่น ๆ
- ตาขวาผ่าตามแนวนอน
- กายวิภาคของตาและเบ้าตาพร้อมกับเส้นประสาทสั่งการ
- ภาพแสดงเบ้าตาที่สามารถเห็นตาและเส้นประสาท (โดยเอาไขมันรอบตาออก)
- ภาพแสดงเบ้าตาโดยเห็นตาและไขมันรอบเบ้าตา (periocular fat)
-
-
- โครงสร้างต่าง ๆ ของตาพร้อมป้าย
- อีกมุมมองหนึ่งของตาและโครงสร้างพร้อมป้าย
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถและอ้างอิง
- Judd, Deane B.; Wyszecki, Günter (1975). Color in Business, Science and Industry. Wiley Series in Pure and Applied Optics (third ed.). New York: Wiley-Interscience. p. 388. ISBN .
- CONOVER, EMILY (June 2016). "Human eye spots single photons". Science News. สืบค้นเมื่อ 2016-08-02.
- Zimmer, Carl (February 2012). "Our Strange, Important, Subconscious Light Detectors". Discover Magazine. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
- doi:10.1155/2014/503645
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand "Conclusion. The size of a human adult eye is approximately 24.2mm (transverse)×23.7mm (sagittal)×22.0-24.8mm (axial) with no significant difference between sexes and age groups. In the transverse diameter, the eyeball size may vary from 21mm to 27mm." Full article Full Article PDF (1 MB) - Cunningham, Emmett T.; Riordan-Eva, Paul (2011-05-17). Vaughan & Asbury's General Ophthalmology (18th ed.). New York: McGraw-Hill Medical. ISBN .
- "eye, human". Encyclopædia Britannica from Encyclopædia Britannica Ultimate Reference Suite. 2009.
- Savino, Peter J.; Danesh-Meyer, Helen V. (2012-05-01). Color Atlas and Synopsis of Clinical Ophthalmology -- Wills Eye Institute -- Neuro-Ophthalmology. Lippincott Williams & Wilkins. p. 12. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
- Ryan, Stephen J.; Schachat, Andrew P.; Wilkinson, Charles P.; Hinton, David R.; Sadda, SriniVas R.; Wiedemann, Peter (2012-11-01). Retina. Elsevier Health Sciences. p. 342. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
- Trattler, William B.; Kaiser, Peter K.; Friedman, Neil J. (2012-01-05). Review of Ophthalmology: Expert Consult - Online and Print. Elsevier Health Sciences. p. 255. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
- Dagnelie, Gislin (2011-02-21). Visual Prosthetics: Physiology, Bioengineering, Rehabilitation. Springer Science & Business Media. p. 398. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.
- Dohse, K.C. (2007). Effects of Field of View and Stereo Graphics on Memory in Immersive Command and Control. ProQuest. p. 6. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-11-09.[]
- Spring, K. H.; Stiles, W. S. (1948). "APPARENT SHAPE AND SIZE OF THE PUPIL VIEWED OBLIQUELY". British Journal of Ophthalmology. 32 (6): 347–354. doi:10.1136/bjo.32.6.347. ISSN 0007-1161. PMC 510837. PMID 18170457.
- Fedtke, Cathleen; Manns, Fabrice; Ho, Arthur (2010). "The entrance pupil of the human eye: a three-dimensional model as a function of viewing angle". Optics Express. 18 (21): 22364–76. Bibcode:2010OExpr..1822364F. doi:10.1364/OE.18.022364. ISSN 1094-4087. PMC 3408927. PMID 20941137.
- Mathur, A.; Gehrmann, J.; Atchison, D. A. (2013). "Pupil shape as viewed along the horizontal visual field". Journal of Vision. 13 (6): 3–3. doi:10.1167/13.6.3. ISSN 1534-7362.
- "MIL-STD-1472F, Military Standard, Human Engineering, Design Criteria For Military Systems, Equipment, And Facilities" (PDF). 1999-08-23. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-22. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
- Ivergard, Toni; Hunt, Brian (2008-10-01). Handbook of Control Room Design and Ergonomics: A Perspective for the Future, Second Edition. CRC Press. p. 90. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
- Kaschke, Michael; Donnerhacke, Karl-Heinz; Rill, Michael Stefan (2013-11-25). Optical Devices in Ophthalmology and Optometry: Technology, Design Principles and Clinical Applications. Wiley. p. 26. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
- Banterle, Francesco; Artusi, Alessandro; Debattista, Kurt; Alan Chalmers (2011-02-10). Advanced High Dynamic Range Imaging: Theory and Practice. CRC Press. p. 7. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
- Pode, Ramchandra; Diouf, Boucar (2011-09-15). Solar Lighting. Springer Science & Business Media. p. 62. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-16.
- Davson, Hugh (2012-12-02). The Physiology of The Eye. Elsevier. p. 213. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
- Denton, E. J.; Pirenne, Maurice Henri (1954), "The absolute sensitivity and functional stability of the human eye", The Journal of Physiology, The Physiollogical Society (ตีพิมพ์ 1954-03-29), 123 (3): 417–442, doi:10.1113/jphysiol.1954.sp005062, PMC 1366217, PMID 13152690
- Narisada, Kohei; Schreuder, Duco (2004-11-30). Light Pollution Handbook. Springer Science & Business Media. p. 8. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-15.
- Timiras, Paola S. (2007-08-16). Physiological Basis of Aging and Geriatrics, Fourth Edition. CRC Press. p. 113. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
- McGee, Steven R. (2012). Evidence-based Physical Diagnosis. Elsevier Health Sciences. p. 161. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2014-10-18.
- Westheimer, Gerald; McKee, Suzanne P (1975). "Visual acuity in the presence of retinal-image motion". Journal of the Optical Society of America. 65 (7): 847–50. doi:10.1364/josa.65.000847. PMID 1142031.
- Carpenter, Roger HS (1988). Movements of the eyes (2nd ed.). London: Pion Ltd. ISBN .
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - doi:10.1371/journal.pone.0002055
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand 636 KBPDF - Saladin, Kenneth S. Anatomy & physiology : the unity of form and function (6th ed.). New York, NY: McGraw-Hill. pp. 620–622. ISBN .
- "Human eye". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2012-11-20.
- Mendell, Mark J. (22 April 2004). "Non-Specific Symptoms In Office Workers: A Review And Summary Of The Epidemiologic Literature". Indoor Air. 3 (4): 227–236. doi:10.1111/j.1600-0668.1993.00003.x.
- Wolkoff, P; Skov, P; Franck, C; Petersen, LN (December 2003). "Eye irritation and environmental factors in the office environment—hypotheses, causes and a physiological model". Scandinavian Journal of Work, Environment & Health. 29 (6): 411–430. doi:10.5271/sjweh.748. PMID 14712848.
- Norn, M (April 1992). "Pollution keratoconjunctivitis. A review". Acta Ophthalmologica. 70 (2): 269–273. doi:10.1111/j.1755-3768.1992.tb04136.x. PMID 1609579. S2CID 42248933.
- Versura, P; Profazio, V; Cellini, M; Torreggiani, A; Caramazza, R (1999). "Eye discomfort and air pollution". Ophthalmologica. 213 (2): 103–109. doi:10.1159/000027401. PMID 9885386. S2CID 46791165.
- Lemp, MA (November 1999). "The 1998 Castroviejo Lecture. New strategies in the treatment of dry-eye states". Cornea. 18 (6): 625–632. doi:10.1097/00003226-199911000-00001. PMID 10571289.
- Rolando, M; Zierhut, M (March 2001). "The ocular surface and tear film and their dysfunction in dry eye disease". Survey of Ophthalmology. 45 Suppl 2: S203–210. doi:10.1016/S0039-6257(00)00203-4. :11567/299358. PMID 11587144.
- Murata, K; Araki, S; Kawakami, N; Saito, Y; Hino, E (1991). "Central nervous system effects and visual fatigue in VDT workers". International Archives of Occupational and Environmental Health. 63 (2): 109–113. doi:10.1007/BF00379073. PMID 1889879. S2CID 24238741.
- Rossignol, AM; Morse, EP; Summers, VM; Pagnotto, LD (February 1987). "Video display terminal use and reported health symptoms among Massachusetts clerical workers". Journal of Occupational Medicine. 29 (2): 112–118. PMID 3819890.
- Apter, A; Bracker, A; Hodgson, M; Sidman, J; Leung, WY (August 1994). "Epidemiology of the sick building syndrome". The Journal of Allergy and Clinical Immunology. 94 (2 Pt 2): 277–288. doi:10.1053/ai.1994.v94.a56006. PMID 8077580.
- Thomson, W. David (March 1998). "Eye problems and visual display terminals—the facts and the fallacies". Ophthalmic & Physiological Optics. 18 (2): 111–119. doi:10.1046/j.1475-1313.1998.00323.x. PMID 9692030. S2CID 222083261.
- Aronsson, G; Strömberg, A (1995). "Work Content and Eye Discomfort in VDT Work". International Journal of Occupational Safety and Ergonomics. 1 (1): 1–13. doi:10.1080/10803548.1995.11076300. PMID 10603534.
- Mocci, F; Serra, A; Corrias, GA (April 2001). "Psychological factors and visual fatigue in working with video display terminals". Occupational and Environmental Medicine. 58 (4): 267–271. doi:10.1136/oem.58.4.267. PMC 1740121. PMID 11245744.
- Kjaergaard, SK (2001). Indoor air quality handbook: Chapter 17, the Irritated Eye in the Indoor Environment. New York: McGraw-Hill. ISBN .
- Norn, Mogens S. (1974). External eye : methods of examination. Copenhagen: Scriptor. ISBN .
- Sibony, PA; Evinger, C (1998). Miller, NR; Newman, NJ (บ.ก.). Anatomy and physiology of normal and abnormal eyelid position and movement. Walsh & Hoyt's clinical neuro-ophthalmology. Baltimore, MD: Williams and Wilkins. pp. 1509–92.
- Franck, C; Bach, E; Skov, P (1993). "Prevalence of objective eye manifestations in people working in office buildings with different prevalences of the sick building syndrome compared with the general population". International Archives of Occupational and Environmental Health. 65 (1): 65–69. doi:10.1007/BF00586061. PMID 8354577. S2CID 42611161.
- Franck, C (December 1991). "Fatty layer of the precorneal film in the 'office eye syndrome'". Acta Ophthalmologica. 69 (6): 737–743. doi:10.1111/j.1755-3768.1991.tb02052.x. PMID 1789088. S2CID 28011125.
- Franck, C; Skov, P (February 1989). "Foam at inner eye canthus in office workers, compared with an average Danish population as control group". Acta Ophthalmologica. 67 (1): 61–68. doi:10.1111/j.1755-3768.1989.tb00724.x. PMID 2773640. S2CID 21372866.
- Franck, C (June 1986). "Eye symptoms and signs in buildings with indoor climate problems ('office eye syndrome')". Acta Ophthalmologica. 64 (3): 306–311. doi:10.1111/j.1755-3768.1986.tb06925.x. PMID 3751520. S2CID 28101689.
- Doughty, MJ; Fonn, D; Richter, D; Simpson, T; Caffery, B; Gordon, K (August 1997). "A patient questionnaire approach to estimating the prevalence of dry eye symptoms in patients presenting to optometric practices across Canada". Optometry and Vision Science. 74 (8): 624–631. doi:10.1097/00006324-199708000-00023. PMID 9323733. S2CID 22062179.
- Fonn, D; Situ, P; Simpson, T (October 1999). "Hydrogel lens dehydration and subjective comfort and dryness ratings in symptomatic and asymptomatic contact lens wearers". Optometry and Vision Science. 76 (10): 700–704. doi:10.1097/00006324-199910000-00021. PMID 10524785.
- Vajdic, C; Holden, BA; Sweeney, DF; Cornish, RM (October 1999). "The frequency of ocular symptoms during spectacle and daily soft and rigid contact lens wear". Optometry and Vision Science. 76 (10): 705–711. doi:10.1097/00006324-199910000-00022. PMID 10524786.
- Seal, D. V., and Mackie, I. A. (1986). "The questionable dry eye as a clinical and biochemical entity". In F. J. Holly (Ed.) The preocular tear film – In health, disease, and contact lens wear. Dry Eye Institute, Lubbock, TX, pp. 41–51. ISBN
- Hikichi, T; Yoshida, A; Fukui, Y; Hamano, T; Ri, M; Araki, K; Horimoto, K; Takamura, E; Kitagawa, K; Oyama, M (September 1995). "Prevalence of dry eye in Japanese eye centres". Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology. 233 (9): 555–558. doi:10.1007/BF00404705. PMID 8543205. S2CID 20759190.
- McCarty, C; Bansal, AK; Livingston, PM; Stanislavsky, YL; Taylor, HR (June 1998). "The epidemiology of dry eye in Melbourne, Australia, Historical image". Ophthalmology. 105 (6): 1114–1119. doi:10.1016/S0161-6420(98)96016-X. PMID 9627665.
- Bentivoglio, AR; Bressman, SB; Cassetta, E. Caretta D; Tonali, P; Albanese, A. (1997). "Analysis of blink rate patterns in normal subjects". Mov Disord: 1028–34.
- Mathers, WD; Lane, JA; Zimmerman, MB (May 1996). "Tear film changes associated with normal aging". Cornea. 15 (3): 229–234. doi:10.1097/00003226-199605000-00001. PMID 8713923. S2CID 32866587.
- Mathers, WD; Stovall, D; Lane, JA; Zimmerman, MB; Johnson, S (July 1998). "Menopause and tear function: the influence of prolactin and sex hormones on human tear production". Cornea. 17 (4): 353–358. doi:10.1097/00003226-199807000-00002. PMID 9676904.
- Heating, American Society of; Refrigerating; Engineers, Air-Conditioning (1986). Managing indoor air for health and energy conservation : proceedings of the ASHRAE conference IAQ '86, April 20–23, 1986, Atlanta, GA. Atlanta, GA: American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers. p. 448. ISBN .
- Jaakkola, MS; Jaakkola, JJ (1 December 1999). "Office equipment and supplies: a modern occupational health concern?". American Journal of Epidemiology. 150 (11): 1223–1228. doi:10.1093/oxfordjournals.aje.a009949. PMID 10588083.
- Nordström, K; Norbäck, D; Akselsson, R (March 1995). "Influence of indoor air quality and personal factors on the sick building syndrome (SBS) in Swedish geriatric hospitals". Occupational and Environmental Medicine. 52 (3): 170–176. doi:10.1136/oem.52.3.170. PMC 1128182. PMID 7735389.
- Anderson, RC; Anderson, JH (1999). "Sensory irritation and multiple chemical sensitivity". Toxicology and Industrial Health. 15 (3–4): 339–345. doi:10.1177/074823379901500308. PMID 10416286.
- Hu, X; Wegman, DH; Eisen, EA; Woskie, SR; Smith, RG (October 1992). "Dose related acute irritant symptom responses to occupational exposure to sodium borate dusts". British Journal of Industrial Medicine. 49 (10): 706–713. doi:10.1136/oem.49.10.706. PMC 1012146. PMID 1419859.
- Carney, LG; Hill, RM (June 1982). "The nature of normal blinking patterns". Acta Ophthalmologica. 60 (3): 427–433. doi:10.1111/j.1755-3768.1982.tb03034.x. PMID 7136554. S2CID 22362219.
- Henning, R. A; Jacques, P; Kissel, G. V; Sullivan, A. B; Alteras-Webb, S. M (January 1997). "Frequent short rest breaks from computer work: effects on productivity and well-being at two field sites". Ergonomics. 40 (1): 78–91. doi:10.1080/001401397188396. PMID 8995049.
- Nakamori, K; Odawara, M; Nakajima, T; Mizutani, T; Tsubota, K (July 1997). "Blinking is controlled primarily by ocular surface conditions". American Journal of Ophthalmology. 124 (1): 24–30. doi:10.1016/s0002-9394(14)71639-3. PMID 9222228.
- Barbato, G; Ficca, G; Muscettola, G; Fichele, M; Beatrice, M; Rinaldi, F (Mar 6, 2000). "Diurnal variation in spontaneous eye-blink rate". Psychiatry Research. 93 (2): 145–151. doi:10.1016/S0165-1781(00)00108-6. PMID 10725531. S2CID 35982831.
- Sotoyama, M; Villanueva, MB; Jonai, H; Saito, S (1995). "Ocular surface area as an informative index of visual ergonomics". Industrial Health. 33 (2): 43–55. doi:10.2486/indhealth.33.43. PMID 7493821.
- Sotoyama, Midori; Jonai, H; Saito, S; Villanueva, MB (June 1996). "Analysis of ocular surface area for comfortable VDT workstation layout". Ergonomics. 39 (6): 877–884. doi:10.1080/00140139608964508. PMID 8681929.
- Collins, M; Heron, H; Larsen, R; Lindner, R (February 1987). "Blinking patterns in soft contact lens wearers can be altered with training" (PDF). American Journal of Optometry and Physiological Optics. 64 (2): 100–103. doi:10.1097/00006324-198702000-00004. PMID 3826282. S2CID 11828508.
- Piccoli, B; Assini, R; Gambaro, S; Pastoni, F; D'Orso, M; Franceschin, S; Zampollo, F; De Vito, G (May 15, 2001). "Microbiological pollution and ocular infection in CAD operators: an on-site investigation". Ergonomics. 44 (6): 658–667. doi:10.1080/00140130117916. PMID 11373026. S2CID 37127979.
- Lozato, PA; Pisella, PJ; Baudouin, C (June 2001). "The lipid layer of the lacrimal tear film: physiology and pathology". Journal Français d'Ophtalmologie. 24 (6): 643–658. PMID 11460063.
- Heritage, Stuart (2013-06-14). "Eyeball-licking: the fetish that is making Japanese teenagers sick". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-06-14.
- AgingEye Times 2008-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- doi:10.1001/archopht.122.4.564
This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand - Bone, RA; Landrum, JT; Dixon, Z; Chen, Y; Llerena, CM (2000). "Lutein and zeaxanthin in the eyes, serum and diet of human subjects". Experimental Eye Research. 71 (3): 239–245.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Semba, RD; Dagnelie, G (2003). "Are lutein and zeaxanthin conditionally essential nutrients for eye health?". Medical Hypotheses. 61 (4): 465–472.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - Johnson, EJ; Hammond, BR; Yeum, KJ; Qin, J; Wang, XD; Castaneda, C; Snodderly, DM; Russell, RM (2000). "Relation among serum and tissue concentrations of lutein and zeaxanthin and macular pigment density". American Society for Clinical Nutrition. 71 (6): 1555–1562.
{{}}
: CS1 maint: uses authors parameter () - "Lutein and zeaxanthin". American Optometric Association. 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
- 3D Interactive Human Eye
- Interactive Tool to explore the Human Eye
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
tamnusy epnxwywathitxbsnxngtxaesngaelaaerngdn inthanaepnxwywarbkhwamrusuk takhxngstweliynglukdwynmthaihsamarthehnid chwyihehnphaphekhluxnihwepn 3 miti aelapktiehnepnsiinchwngklangwn esllrupaethngaelaesllrupkrwyincxtathaihsamarthrbruaesngaelaehn rwmthngaeykaeyasiaelarbrukhwamiklikl tamnusysamarthaeykaeyasiidpraman 10 lansi aelaxacsamarthtrwccboftxnaemephiyngxnuphakhediywidtamnusytakhxngmnusydankhwakhxngibhna aesdngtakhawthimiesneluxdbangswn siekhiyw aelarumantasida1 2 3 klamenuxsilixari 4 5 6 rumanta 7 8 krackta 9 10 11 12 13 eyuxta 14 klamenuxxinfieriyr xxblik 15 klamenuxxinfieriyr erkts 16 klamenuxmiediyl erkts 17 hlxdeluxdaedngaeladakhxngcxta 18 19 eyuxdura 20 21 22 esnprasathta 23 24 25 26 rxybumcxta 27 28 29 klamenuxsuphieriyr erkts 30 cxtaraylaexiydrabbrabbkarehntwrabuphasalatinOculi Hominumphasakrikἀn8rwpinos ὀf8almosMeSHD005123TA98A01 1 00 007 A15 2 00 001TA2113 6734FMA54448 aekikhbnwikisneths ehmuxnkbtakhxngstweliynglukdwynmxun esllpmprasathiwaesng photosensitive ganglion cell incxtamnusysungimchwyihehnphaph caidsyyanaesngsungmiphltxkarprbkhnadrumanta khwbkhumaelarangbkarhlnghxromnemlaothnin aelaprbtwthangsrirphaphaelaphvtikrrmtamcnghwarxbwn circadian rhythm okhrngsrangswndannxkkhxngta taimidklmxyangsmburn ephraaepnswnsxngswnthiechuxmekhadwykn khuxswnhna anterior segment aelaswnhlng posterior segment swnhnamikrackta rumanta aelaaekwta elnsta kracktacaoprngaesngaelaokhngkwa aelacaechuxmekhakbswnhlngthiihykwa sungmiwunta cxta khxrxyd choroid aelaepluxknxkkhuxswntakhaw sclera kracktapkticamiesnphansunyklang 11 5 mm aelahna 1 2 mm ikl trngklang swnhlngcaepnswn 5 6 khxngta odymiesnphansunyklangpktithi 24 mm kracktaaelatakhawcaechuxmknodyswnthieriykwa limbus swnmantakkhuxokhrngsrangrupklmmisisunglxmrxbswnklangkhxngta khux rumanta sungpraktepnsida khnadrumanta sungkhwbkhumprimanaesngthiekhamainta caprbodyklamenuxixris ideletxr aelaixris sfingkhetxr phlngnganaesngcaekhamaintaphankrackta phanrumanta aelacungphanaekwta elnsta ruprangkhxngaekwtacaepliynipemuxmxngikl sungkhwbkhumodyklamenuxsilixari oftxnkhxngaesngsungtklngthieslliwaesngkhxngcxta khux esllrupkrwyaelaesllrupaethng caepliynepnsyyaniffathisngipyngsmxngphanprasathta optic nerve aelwaeplphlihepnkarehn khnad khnadkhxngtacatang knrahwangbukhkhlephiyng 1 2 mm odysmaesmxmakaemkhamklumchatiphnthutang khnadtamkhwang transverse khxngtaphuihyxyuthipraman 24 2 mm khnaddantng sagittal xyuthi 23 7 mm aelakhnadcakkhanghnaipdanhlng axial xyuthi 22 0 24 8 mm odyimaetktangxyangsakhyrahwangephs klumxayutang aelachatiphnthutang odymiprimatrthi 6 sm3 aelahnk 7 5 krm txngkarxangxing luktacaoterwmak odyerimcak 16 17 mm emuxekid ipepn 22 5 23 mm emuxthungxayu 3 khwb odyxayu 13 pi takcaotetmthiaelw aephnphaphtamnusy sungaesdngphaphphatamkhwangkhxngtakhwaxngkhprakxb taaebngxxkepn 3 chn sunglxmrxbokhrngsrangthangkaywiphakhtang chnnxksuderiykwa fibrous tunic sungprakxbdwykracktaaelaswntakhaw sclera chnklangeriykwa vascular tunic hrux uvea sungprakxbdwykhxrxyd choroid silixaribxdi ciliary body iris pigment epithelium aelamanta iris chninsudkhuxcxta sungidxxksiecncakhlxdeluxdkhxngkhxrxyddanhlngaelacakesneluxdcxtadanhna tacaetmipdwysarnainlukta aqueous humor inswnhnakhuxrahwangkracktaaelaaekwta aelaetmipdwywunta vitreous body swnhlngaekwta khuxetmswnhlngthnghmd sarnaepnnais thietmbriewnsxngbriewninta khuxhxnghna anterior chamber rahwangkracktaaelamanta aelahxnghlng posterior chamber rahwangmantaaelaaekwta aekwtacaaekhwnxyukbsilixaribxdidwyexnaekhwnthieriykwa Zonule of Zinn sungepnesniylaexiydoprngaesngepnphn aelasngaerngcakklamenuxephuxepliynruprangkhxngaekwtaemuxprbtaduiklikl swnwuntaepnwsduis thacaknaaelaoprtin sungthaihehmuxnwunehniyw karehntamnusymxngcakdankhmbpraman 90 aesdngmantaaelarumantathiduehmuxncahmunmathangkhang enuxngcakkhunsmbtiaesngkhxngkracktaaelasarnainluktakhxbekhtphaph khxbekhtphaph field of view khxngtamnusyaetlakhn cakhunxyukbokhrngsrangkhxngibhna aetpkticacakdxyuthi 30 dankhun cakdodykhiw 45 dancmuk cakdodycmuk 70 danlang aela 100 dankhmb emuxrwmkarehnkhxngtathngsxng lansaytacacakdody 135 dantng aela 200 dankhwang emuxmxngcakdankhang odymumkwang mantaaelarumantaxaccamxngehn sungaesdngwabukhkhlxacmxngehnrxbnxkidthimumnn praman 15 ipthangkhmb aela 1 5 takwaaenwnxn caepncudbxd sungekidcakprasathtathixyuthangdancmuk sungmikhnaddantng 7 5 aelakwang 5 5 phisyphlwt cxtamixtrakhwamepriybtangsthit static contrast ratio raw 100 1 praman 6 5 f stop thnthithimnkhybipxyangrwderw saccade aelwmxngthiepahmay mnkcaepliynkarepidrbaesngodyprbmanta sungepntwaeplngkhnadrumanta karprbtwtxkhwammudkhnebuxngtncaekidemuxxyuinthimudsnithtidtxknpraman 4 winathi swnkarprbtwthung 80 khxngesllrupaethngiwaesngincxtacaekidphayin 30 nathi odyimidekidxyangechingesnaetmilksnasbsxn aelakarkhdcnghwarbaesngcathaihtxngerimkrabwnkarprbtwxik karprbtwidetmthicakhunxyukbkarihlewiyneluxdthidi sungxactidkhdenuxngcakorkhcxta karihlewiyneluxdthiimdi hruxkarxyuinthisung txngkarxangxing tamnusysamarthrbaesngswanginphisythung 1014 hruxhnungrxylanlan 100 000 000 000 000 sungethakb 46 5 f stop khuxtngaetcak 10 6 cd m2 hrux 0 000001 hnunginlan aekhnedlatxtarangemtr cnthung 108 cd m2 hruxrxylan 100 000 000 aekhnedlatxtarangemtr epnphisythiimrwmkarmxngphraxathityinewlaethiyng 109 cd m2 hruxfapha thilangsudkhxngphisyepnradbkhiderimepliynsmburnkhxngkarehnemuxmiaesngthwkhxbekhtkarehn epnaesnginradb 10 6 cd m2 thibnsudkhxngphisykarehnpkticaxyuthi 108 cd m2 tamielns aekwta ehmuxnkbthiphbinxupkrnaesngechnklxngthayrup aelaxyuithlkfisiksthiehmuxnkn odyrumantakkhuxrurbaesngkhxngmn swnmantakkhuxklibrurbaesng idxaaefrmthiepntwepidpidrurbaesng aetkarhkehaesngthikracktacamiphlthaihkhnadyngphlkhxngrurbaesngtangcakesnphasunyklangkhxngrumantacring rumantapkticamiesnphasunyklangpraman 4 mm aetkxacmiphisyrahwang 2 mm f 8 3 inthiswang cnthung 8 mm f 2 1 inthimud khahlngniyngldlngcha tamxayuxikdwy khuxphusungxayubangkhrngcaimkhyayrumantaekinkwa 5 6 mm inthimud aelaruxacelkthung 1 mm inthiswang cudswangklm kkhux canprasathta optic disc sungepncudthiesnprasathtaxxkcakcxtaphaph MRI khxngtamnusytaaelaebatathiepnpkti mxngcakdanhnakarekhluxnta rabbkarehninsmxngmnusychaekinthicapramwlkhxmul thaphaphwingkhamcxtaiderwkwaimkixngsatxwinathi dngnn ephuxihmxngehnemuxkalngekhluxnihw smxngcatxngchdechykarekhluxnihwkhxngsirsaodyklxkta stwthimitahnipthangdanhnamcamibriewnelk swnhnungincxtathiehnidchdmak khux rxybumcxta sungkhrxbkhlummumkarmxngehnpraman 2 xngsainmnusy ephuxcaihehnidchd smxngcatxngklxktaihphaphkhxngwtthuepahmaytklngthirxybumcxta khwamlmehlwinkarekhluxntaxyangthuktxng xacthaihehnphaphidimdi karmisxngtathaihsmxngsamarthrukhwamikliklkhxngwtthu aelaihkhwamrusukwaphaphmi 3 miti thngsxngtacatxngmxngaemnphxephuxihwtthuepahmaytklngthicudsungsxdkhlxngknthicxtathngsxngsungthaihehnepn 3 miti imechnnnaelw kxaccaehnphaphsxn khnthimitaehlaetkaenidmkcaimsnicsingthiehncaktakhanghnung cungimehnepnphaphsxn aetkimehnepn 3 miti klamenuxta 6 mdthitidxyukbtaaetlakhang caepntwkhwbkhumkarekhluxnikhxngta sungthaihehluxbtakhunlng ehltaekha ehltaxxk aelahmuntaid klamenuxehlanikhwbkhumodythngcititsanukaelaehnuxsanuk ephuxtammxngwtthuaelachdechykarekhluxnihwsirsaipphrxm kn klamenuxta extraocular muscles taaetlakhangmiklamenuxhkmdthikhwbkhumkarekhluxnihw khux klamenux lateral rectus medial rectus inferior rectus superior rectus inferior oblique aela superior oblique emuxklamenuxhdekrngtang kn kcaekidthxrk aerngbidsunghmunlukta odyepnkarhmunekuxblwn aelaekhluxnipkhang ephiyngaekhpramanmilliemtrediyw dngnn cungsamarthmxngidwatahmunrxbcud ediywtrngklang karekhluxntaxyangrwderw karekhluxntaxyangrwderw rapid eye movement REM pkticahmaythungrayakarnxnhlbthifnxyangchdecnthisud inrayani tacaekhluxnihwxyangrwderw aetkimichkarekhluxnihwtachnidphiess Saccades Saccade epnkarekhluxnihwtathngsxngkhangxyangrwderwphrxm kninthisthangediywknsungkhwbkhumodysmxngklibhna yngmikarebiyngtaelk thiimpkti sunghmuntaidthung 1 10 xngsa odynxykwa saccade aetmakkwa microsaccade Microsaccades aememuxephngmxngthicud ediyw takcaebiyngiprxb ephuxiheslliwaesngidkarkratunthitang kn ephraathaimepliynkarkratun esllehlanicahyudsngsyyan microsaccade cakhybtaimekin 0 2 inmnusyphuihy Vestibulo ocular reflex vestibulo ocular reflex epnrieflkskarekhluxnihwtathithaphaphsungtklngthicxtaihesthiyrinchwngkarekhluxnihwsirsa odykhybtaipthangthistrngknkhamkhxngkarekhluxnihwsirsa epnkartxbsnxngtxkhxmulkarekhluxnihwthiidcak vestibular system inhuchnin thaihsamarthdarngphaphihxyuthiklanglansaytaid yktwxyangechn emuxsirsakhybipthangkhwa takcakhybipthangsay odyepnxyangnithnghmdemuxkhybsirsakhunlng saykhwa odythnghmdihkhxmulaekklamenuxtaephuxdarngkhwamesthiyrkhxngphaph Smooth pursuit movement tayngsamarthmxngtamwtthuthikalngekhluxnthi epnkartamthiimaemnethakb vestibulo ocular reflex ephraasmxngtxngpramwlkhxmulthangtaaelwsngkhxmulpxnklb karmxngtamwtthuthiekhluxnihwdwykhwamerwkhngthikhxnkhangngay aemtaxaccatxngkhybaebb saccade dwyephuxihtamthn karekhluxnihwaebbnisamarthkhybtaiderwthung 100 winathiinphuihy Optokinetic reflex rieflksaebb optokinetic reflex optokinetic nystagmus cathaihphaphbncxtaesthiyrphankrabwnkarpxnklbkhxngkarehn sungekidemuxphaphthiehnthnghmdeluxnkhamcxta thaihtahmunipinthangediywknaelaerwphxthicaldkarekhluxnthikhxngphaphthicxtaihnxythisud emuxsingthikalngmxngxxknxkkarmxngehntrng makekinip kcaekidkarekhluxnihwaebb saccade ihklbmamxngthiklanglansayta yktwxyangechn emuxmxngnxkhnatangthirthifsungkalngwingip tasamarthofksthirthifekhluxnthiidrayasn odythaphaphihesthiyrthicxta cnkrathngrthifwingxxknxkkhxbekhtkarehn thicudni tacaklbmamxngthicudsungerimmxngehnrthifdwykarekhluxnthiaebb saccadekarmxngikltathngsxngebnkhnlathisephuxehnwtthuediywkn karprbtaihehnikl epnkrabwnkar 3 khntxnthiofksphaphlngthicxta karebnkhnlathis Vergence movement emuxstwthiehnepnphaphediywdwysxngtamxngthiwtthuhnung tacatxnghmunrxbaeknaenwtngephuxihphaphtklngthiklangcxtathngsxngkhang ephuxduwtthuikl tacaebnekhahakn aetsahrbwtthuikl tacaebnxxkcakkn karhdrumanta elnsimsamarthebnaesngthikhxb iddiethakbswntrngklang dngnn phaphthiekidcakelnsthukxncakhxnkhangmw thiikl khxb epnkhwamphraehtukhxbelns sungldidthaknimmxngaesngthikhxb odymxngaetthitrngklangsungmiofksdikwa inta rumantathahnathiniodyhdlngemuxtamxngthiwtthuikl rurbaesngthielkyngephimchwngkhwamchd depth of field khuxthaihehnidchdinchwngikliklthimakkwaxikdwy dwyehtuni rumantacungmihnathisxngxyangsahrbkarmxngikl khuxldkhwamphraehtukhxbelnsaelaephimchwngkhwamchd karprbelnsduiklikl karepliynkhwamokhngnunkhxngelnsepnhnathikhxngklamenuxsilixarisungxyurxb elns epnkrabwnkarthieriykwa karprbtaduiklikl accommodation sungldesnphansunyklangswninkhxngklamenuxsilixari khlayiyexnaekhwn suspensory ligament thiyudxyukbswnrxb khxngelns aelakhlayelnsihmirupnunhruxklmkhun elnsthinunkwacaebnaesngidmakkwaaelaofksaesngaebbluxxkkhxngwtthuikl lngthicxta thaihwtthuikl miofksthidikwakaraephthyphuduaelta tamnusysbsxnphxcaepnihmikarisicaelakarduaelnxkehnuxcakthithaodyaephthythwip phuchanayineruxngta hruxphumiwichachiphduaelta cathahnathitang kninpraethstang aelaxacmisingthithaehluxmknemuxduaelkhnikh echn thngcksuaephthyaelanktrwcprbsayta optometrist samarthwinicchyorkhtaaelawdsaytaephuxthaaewnta aetpktiaelw cksuaephthymiibxnuyatihphatdaelaptibtikarthisbsxnxun ephuxrksaorkh sakhawichachiphthiduaeltatang rwmthng cksuwithya thsnmatrsastr Orthoptics nkprakxbaewn Optician khwamrakhayekhuxngta eyuxtaxkesb khuxtaaedngthitakhawrxb mantaaelarumanta khwamrakhayekhuxngtaxacniyamidwa khwamrusukecb khn aesb hruxrakhayekhuxngxun thimacakta mnepnpyhasamythithukkhnmi xakarthiekiywkhxngknrwmthngkhwamrusukimsbay taaehng nataihl khn rakhay ehmuxnmikhxngaeplkplxmthita la pwd aesb ecb aedng hnngtabwm ehnuxy epntn odymiradbtang tngaeteba cnthungrunaerng mikaresnxwaxakarehlanismphnthkbehtuekidtang kn aelacasmphnthkbokhrngsrangtathiekiywkhxng mikarsuksapccythisngsywaepnehtuhlayxyangsmmtithanhnungkkhux mlphisxakasphayinxakharepnehtuihrakhayekhuxngtaaelathanglmhayic khwamrakhayekhuxngtacakhunxyukbkaresiykhwamesthiyrkhxngfilmnatadannxk sungkracktaswnthiaehng cathaihrusukimsbayta pccythangxachiphknacamiphltxkhwamrusukrakhayekhuxngtadwy rwmthngaesngif aesngswangekinaelamikhwamepriybtangta xiriyabthinkarmxng xtrakarkaphribtathildlng karhyudphknxyekininnganthiichtamak aelakarprbtaduikliklaebbimkhxyepliyn pharatxkradukaelaklamenux aelapyharabbprasathenuxngkbkarehn aephnphaphkhxngtamnusy takhwaphatamaenwnxn khux horizontal section 1 eyuxta 2 3 krackta 4 5 6 7 phrxmkb 8 9 aela 10 11 12 cxtaphrxmkb 13 14 cudbxd 15 esnprasathtaaephnphaphtamnusy takhwaphatamaenwnxn khux horizontal section 1 2 3 aela 4 phrxmkb 5 karihlkhxng 6 7 phrxmkb 8 krackta 9 aela 10 khxreniyl limbs aela 11 12 eyuxta 13 phrxmkb 14 15 phrxmkb a pars plicata aela b pars plana aela 16 17 18 phrxmkb 19 20 cxta phrxmkb 21 22 rxybumcxta aela 23 cudbxd 24 aeknechingaesngkhxngta Optical axis of the eye 25 aeknkhxngta Axis of eye 26 prasathta phrxmkb 27 eyuxdura 28 29 exn 30 31 32 33 aela 36 esneluxdthicxta 34 35 aela 37 38 39 40 41 kradukexthmxyd 42 klamenuxmiediyl erkts 43 klamenuxaelthethxrl erkts 44 kraduksfinxyd pccyxikxyangthixacekiywkhxngkkhuxkhwamekhriydenuxngkbngan nxkcaknn nganwiekhraahodykaraeckaecnghlaytwaepryngphbwa pccythangciticsmphnthkbkarrakhayekhuxngtamakkhun sahrbphuthiichcxmxnietxr pccyesiyngxun echn sarekhmithiepnphishruxthaihrakhayekhuxng echn amine fxrmaldiihd acetaldehyde acrolein N decane sarprakxbxinthriyraehyid oxosn sarkhastruphuchaelastwaelasarknesiy sarkxphumiaeph epntn kxacthaihtarakhayekhuxngdwy sarprakxbxinthriyraehyidthithngiwptikiriyaaelaepntwrakhaytxthangedinlmhayic kxacthaihtarakhayekhuxng pccyswntwtang echn karichelnssmphs karaetngta aelayabangchnid kxacthaihfilmnataesiykhwamesthiyraelaxacmiphlepnxakarthangtatang xyangirkdi thaxnuphakhinxakasephiyngxyangediywthafilmnataihimesthiyraelwkxkhwamrakhayekhuxng mnkcatxngmisarprakxbthirbkwnphiwnatakhxnkhangsung aebbcalxngebdesrckhxngkhwamesiyngthangsrirphaphsungaesdngwa khwamthikarkaphribta karekidkhwamimesthiyr aelakarslayipkhxngfilmnata epnpraktkarnthiaeykcakknimid xacsamarthxthibaykhwamrakhayekhuxngtakhxngphnknganinsanknganodyxasyxachiph sphaphxakas aelapccyesiyngthangsrirphaphekiywkbta miwithikarwdkhwamrakhayekhuxngtahlk sxngaebb aebbaerkkkhuxkhwamthikarkaphribta sungsamarthsngektidodyphvtikrrm aebbxun rwmthng break up time karihlkhxngnata phawaeluxdkhng lksnathangesllekiywkbnata aelakhwamesiyhaytxenuxeyuxbuphiw ody vital staining epntn sungepnptikiriyathangsrirphaphkhxngmnusy khwamthikarkaphribtaniyamwa canwnkarkaphribtatxnathi odyekiywkhxngkbkhwamrakhayekhuxngta khwamthiechliycatangkninbukhkhltang erimtngaetnxykwa 2 3 khrng nathi cnthung 20 30 khrng nathi aelacakhunxyukbpccythangsingaewdlxmtang rwmthngkarichelnssmphsepntn phawakhadna kickrrmthangic sphaphkarthangan xunhphumihxng khwamchunsmphthth aelaaesngswanglwnaetmixiththiphltxkhwamthikarkaphribta break up time BUT epnkhawdkhwamrakhayekhuxngtaaelaesthiyrphaphkhxngfilmnatathisakhyxikxyanghnung odyminiyamepnchwngewla winathi rahwangkarkaphribtaaelakaraetkkhxngfilmnata BUT phicarnawasathxnthungesthiyrphaphkhxngfilmnatadwy inbukhkhlpkti BUT camakkwachwngrahwangkarkaphribta aeladngnn filmnatacungkhngxyuid ngansuksatang idaesdngwa khwamthikarkaphribtacamishsmphnthinechinglbkb BUT praktkarnnichiwa khwamrakhayekhuxngtathirusukcasmphnthkbkarkaphribtathikhun ephraathngkracktaaelaeyuxtamiplayprasathiwkhwamrusukthiepnswnsakhaaerkkhxngprasathithrecminl withixun rwmthng phawaeluxdkhng hyperemia lksnatang thangesll epntn kidichephimkhuneruxy ephuxpraeminkhwamekhuxngta mipccyxun thismphnthkbkhwamrakhayekhuxngtadwy samxyangthimixiththiphlsungsudrwmthngmlphisxakasphayinxakhar karichelnssmphs aelakhwamaetktangrahwangephs ngansuksainsnamphbwa khwamchukkhxngxakarrakhayekhuxngtathiepnprwisy bxykhrngcatangxyangsakhyrahwangphnknganinsankngan ethiybkbtwxyangsumcakklumprachakrthwip nganwicyehlanixacchiwa mlphisxakasphayinxakharxacmibthbathsakhythaihtarakhayekhuxng pccubnmikhncanwnmakkhuneruxy thiiselnssmphs aelataaehngduehmuxncaepnpyhathibnmakthisudsahrbphuis aemthngkhniselnssmphsaelakhnisaewncaprasbxakartarakhayekhuxngehmuxn kn aettaaehng taaedng aelakarehmuxnkbmikxnkrwd thrayinta caraynganinkhniselnssmphsbxykhrngkwa aelarunaerngmakkwa ethiybkbkhnisaewn ngansuksatang idaesdngwakhwamchukkhxngtaaehngcaephimkhuntamxayu odyechphaainhying BUT hruxesthiyrphaphkhxngfilmnata catakwachayxyangsakhy nxkcaknn hyingyngkaphribtathikwaemuxxanhnngsux pccyhlayxyangxacmiphlihekidkhwamaetktangrahwangephs xyanghnungkkhuxkarichekhruxngsaxangaetngta xikxyangxackhuxwa hyinginngansuksathiwathanganekiywkbcxmxnietxrmakkwachay rwmthngnganinradbtakwa ehtuphlthimkxangthisamkkhuxkarldkarhlngnatatamxayu odyechphaainhyingxayumakkwa 40 pi mhawithyalyaekhlifxreniy lxsaexneclisidthangansuksaekiywkbkhwamthikhxngxakarthiraynganinxakharxutsahkrrm phlnganaesdngwa khwamekhuxngtaepnxakarthiraynganbxythisudinxakharxutsahkrrminshrthxemrikathi 81 nxkcaknn khwamkngwlekiywkbphllbtxsukhphaphkhxngphnknganthithanganinxakharsanknganthiichekhruxngichsankngantang kidephimkhuneruxy tngaetkhristthswrrs 1970 miraynganthismphnthxakarthieyuxemuxk thiphiwhnng aelaxakarthwipxun kbkradasthithakxppiexngid cungmikaresnxlaxxngthuliaelasarraehytang waepnehtu xakarehlaniidsmphnthkb sick building syndrome SBS sungmixakarechnkhwamekhuxngta ekhuxngphiwhnng ekhuxngthangedinlmhayicdanbn pwdhw aelala xakarhlayxyangkhxng SBS aela multiple chemical sensitivity MCS khlaykbxakarthimiehtucaksarekhmirakhayekhuxngthixyuinxakas ngansuksahnungtrwcsxbxakarrakhayekhuxngxyangechiybphlnkhxngtaaelathangedinlmhayic thiprasbkbfunosediymbxert sodium borate enuxngkbxachiph karpraeminxakarkhxngkhn 79 khnthiidrbfun aela 27 khnthiimidrbrwmkarsmphasnkxnchwngkarthanganaelahlngcaknnthuk chm tlxd 6 chm sungepnchwngewlakarthangan odypraemin 4 wntidtxkn karidrbfunidefasngektipphrxm knodyichekhruxngtrwclaxxnglxyinewlacring karwiekhraahichkhxmulkarprasbkbfuninsxngrupaebb khuxkhaechliythiidtxwn aelakhaechliyinrayasn khux 15 nathi khwamsmphnthrahwangkaridrbfunkbkartxbsnxng praeminodyechuxmxtrakhwamchukkhxngxakaraetlachnidkbkaridrbfunthngsxngrupaebb xtrakhwamchukaebbechiyphlnkhxngkhwamrakhayekhuxngtxcmuk ta aelakhx bwkkbkarixaelakarhayicimxxkphbwa smphnthkbkaridrbfunephimkhuninthngsxngrupaebb aetkhwamchnkhxngkaridrbfun kartxbsnxngcasungkwaemuxichkhxmulkaridrbfunrayasn karwiekhraahody multivariate logistic regression aesdngwa phusubbuhrimkcaiwtxkarprasbkbfunosediymbxertinxakasnxykwa bukhkhlsamarththaxairidhlayxyangephuxpxngknkarekhuxngta phyayamrksakarkaphribtaihepnpktiodyhlikeliyngxunhphumihxngthisungekinip eliyngkhwamchunsmphthththisunghruxtaekinip ephraacaldxtrakarkaphribtahruxxacephimkarraehyna phyayamrksafilmnataimihesiyodythasingtxipni karkaphribtahruxkarphksn xacmipraoychnsahrbphuichcxmxnietxr ephraakarthaxyangnixacchwyrksafilmnata aenanaihmxnglngephuxldphunthitaaelaldkarraehyna khwrwangcxmxnietxrihhangcakkhiybxrdepnrayanxythisudethathiepnipid ephuxihmxnglngaelaldkarraehynaihnxythisud karfukkaphribtaxacepnpraoychn nxkcaknn karpxngknxun rwmthngkarrksaepluxktaihthuksukhphaph kareliyngkarkhyita aelakarichekhruxngichswntw ekhruxngsaxang sbu epntn aelayaihthuktxng ekhruxngsaxangtakhwrichxyangramdrawng phvtikrrmaebbkamwipritkhux kareliylukta oculolinctus xacthaihekidkhwamrakhayekhuxng kartidechux hruxkhwamesiyhaytxta orkhta miorkhta khwamphidpktithangta aelakhwamepliynaeplngtamxayuhlayxyangthixacmiphltxtaaelaokhrngsrangrxb emuxxayumakkhun khwamepliynaeplngbangxyangcacdidodyswnediywwamacakkarmixayumakkhun krabwnkarthangkaywiphakhaelasrirphaphehlaniodymak epnkaresuxmlngxyangcha emuxxayumakkhun khunphaphkarehncaldlngenuxngcakehtuthiepnxisracakorkhta aemcamikhwamepliynaeplngsakhyhlayxyangintathiimepnorkh khwamepliynaeplngthimiphltxkarthanganmakthisudkkhux karldkhnadrumantaaelakaresiykarprbtaduiklikl khuxsmrrthphaphinkarofks odyechphaakhux presbyopia khnadkhxngrumantacaepntwkhwbkhumprimanaesngthiekhamathungcxta radbthirumantasamarthkhyaycaldlngtamxayu thaihaesngthiekhamathungcxtaldlngmak ethiybkbkhnxayunxykwa khnsungxayuduehmuxncaisaewnknaeddthimudinradbklang xyutlxdewla dngnn emuxtxngichtathanganthicaxxkmadihruximdikhunxyukbradbaesngswang phusungxayucatxngidaesngswangmakkwa orkhtabangchnidxacmacakorkhtidtxthangephssmphnth echn erimhruxhudhngxnik thamikartidtxsmphsrahwangbriewnthitidechuxkbta orkhxaciptidthita emuxxayumakkhun caekidwngaehwnrxb kracktathieriykwa esnkhxbkracktawychra arcus senilis nxkcaknn hnngtakcahyxnaelaikhmnkhxngebatakcafxlng khwamepliynaeplngechnniepnsmutthankhxngorkhhnngtahlaypraephthrwmthngkhxbtaaeba ectropion khxbtamwnekha aelahnngtatk wuntacaehlwkhun posterior vitreous detachment PVD aelacathubkhun odyehnepnwsdulxy floater makkhuneruxy phumiwichachiphduaeltarwmthngcksuaephthy nktrwcprbsayta optometrist aelankprakxbaewn optician caepnphuduaelbrikarineruxngtaaelaorkhta aephnphaphsenleln Snellen chart samarthwdkarehnidchd visual acuity withihnung hlngcakidtrwcta hmxtaxaccaihibkhatrwctaaekkhnikhephuxtdaewnsayta orkhtabangchnidthicaepntxngichaewnsaytarwmthngsaytasn sungprachakrmnusypraman 1 3 cami txngkarxangxing saytayaw hyperopia sungprachakrmnusypraman 1 4 mi saytaexiyng aelasaytaphusungxayu presbyopia sungepnkaresiyphisykarofksemuxxayumakkhun orkhcudphaphchdesuxm Macular degeneration orkhcudphaphchdesuxm Macular degeneration cachukepnphiessinshrthxemrikaodymikhnepnorkh 1 75 lankhntxpi odykarmiradbluthin lutein aelasixaaesnthinthitaincudphaphchd macula xacsmphnthkbkhwamesiyngephimkhunkhxngorkhcudphaphchdesuxmtamxayu age related macular degeneration twyx AMD luthinaelasixaaesnthinepnsartanxnumulxisra thipxngkncxtaaelacudphaphchdcakkhwamesiyhayodyxxksiedchnephraakhlunaesngthimiphlngngansung khux emuxkhlunaesngekhaipinta mnkcaplukeraxielktrxnthixacepnxntraytxesllinta aetkxnthicasrangkhwamesiyhayodyxxksiedchn sungxacnaipsuorkhcudphaphchdesuxmhruxtxkrack luthinaelasixaaesnthinkcacbxielktrxnthiepnxnumulxisrainkrabwnkarridkchnthaihplxdphy mixaharhlayxyangthismburnipdwyluthinaelasixaaesnthin thidithisudkkhuxthanphkibekhiywekhmrwmthngphkkahla phkokhmfrng pwyelng brxkokhli aelaphkkad xaharepneruxngsakhyinkaridaelarksasukhphaphtathidi luthinaelasixaaesnthinepnaekhorthinxydsakhysxngxyang sungphbthicudphaphchdinta pccubnminganwicyephuxkahndbthbathinphyathikaenidkhxngorkhtatang rwmthng AMD aelatxkrackrupphaphxun takhwaphatamaenwnxn kaywiphakhkhxngtaaelaebataphrxmkbesnprasathsngkar phaphaesdngebatathisamarthehntaaelaesnprasath odyexaikhmnrxbtaxxk phaphaesdngebataodyehntaaelaikhmnrxbebata periocular fat okhrngsrangtang khxngtaphrxmpay xikmummxnghnungkhxngtaaelaokhrngsrangphrxmpayduephimsaytasnechingxrrthaelaxangxingJudd Deane B Wyszecki Gunter 1975 Color in Business Science and Industry Wiley Series in Pure and Applied Optics third ed New York Wiley Interscience p 388 ISBN 0 471 45212 2 CONOVER EMILY June 2016 Human eye spots single photons Science News subkhnemux 2016 08 02 Zimmer Carl February 2012 Our Strange Important Subconscious Light Detectors Discover Magazine subkhnemux 2012 05 05 doi 10 1155 2014 503645 This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Conclusion The size of a human adult eye is approximately 24 2mm transverse 23 7mm sagittal 22 0 24 8mm axial with no significant difference between sexes and age groups In the transverse diameter the eyeball size may vary from 21mm to 27mm Full article Full Article PDF 1 MB Cunningham Emmett T Riordan Eva Paul 2011 05 17 Vaughan amp Asbury s General Ophthalmology 18th ed New York McGraw Hill Medical ISBN 978 0 07 163420 5 eye human Encyclopaedia Britannica from Encyclopaedia Britannica Ultimate Reference Suite 2009 Savino Peter J Danesh Meyer Helen V 2012 05 01 Color Atlas and Synopsis of Clinical Ophthalmology Wills Eye Institute Neuro Ophthalmology Lippincott Williams amp Wilkins p 12 ISBN 978 1 60913 266 8 subkhnemux 2014 11 09 Ryan Stephen J Schachat Andrew P Wilkinson Charles P Hinton David R Sadda SriniVas R Wiedemann Peter 2012 11 01 Retina Elsevier Health Sciences p 342 ISBN 1 4557 3780 1 subkhnemux 2014 11 09 Trattler William B Kaiser Peter K Friedman Neil J 2012 01 05 Review of Ophthalmology Expert Consult Online and Print Elsevier Health Sciences p 255 ISBN 1 4557 3773 9 subkhnemux 2014 11 09 Dagnelie Gislin 2011 02 21 Visual Prosthetics Physiology Bioengineering Rehabilitation Springer Science amp Business Media p 398 ISBN 978 1 4419 0754 7 subkhnemux 2014 11 09 Dohse K C 2007 Effects of Field of View and Stereo Graphics on Memory in Immersive Command and Control ProQuest p 6 ISBN 978 0 549 33503 0 subkhnemux 2014 11 09 lingkesiy Spring K H Stiles W S 1948 APPARENT SHAPE AND SIZE OF THE PUPIL VIEWED OBLIQUELY British Journal of Ophthalmology 32 6 347 354 doi 10 1136 bjo 32 6 347 ISSN 0007 1161 PMC 510837 PMID 18170457 Fedtke Cathleen Manns Fabrice Ho Arthur 2010 The entrance pupil of the human eye a three dimensional model as a function of viewing angle Optics Express 18 21 22364 76 Bibcode 2010OExpr 1822364F doi 10 1364 OE 18 022364 ISSN 1094 4087 PMC 3408927 PMID 20941137 Mathur A Gehrmann J Atchison D A 2013 Pupil shape as viewed along the horizontal visual field Journal of Vision 13 6 3 3 doi 10 1167 13 6 3 ISSN 1534 7362 MIL STD 1472F Military Standard Human Engineering Design Criteria For Military Systems Equipment And Facilities PDF 1999 08 23 cakaehlngedimemux 2017 07 22 subkhnemux 2018 04 09 Ivergard Toni Hunt Brian 2008 10 01 Handbook of Control Room Design and Ergonomics A Perspective for the Future Second Edition CRC Press p 90 ISBN 978 1 4200 6434 6 subkhnemux 2014 10 15 Kaschke Michael Donnerhacke Karl Heinz Rill Michael Stefan 2013 11 25 Optical Devices in Ophthalmology and Optometry Technology Design Principles and Clinical Applications Wiley p 26 ISBN 978 3 527 64899 3 subkhnemux 2014 10 15 Banterle Francesco Artusi Alessandro Debattista Kurt Alan Chalmers 2011 02 10 Advanced High Dynamic Range Imaging Theory and Practice CRC Press p 7 ISBN 978 1 56881 719 4 subkhnemux 2014 10 15 Pode Ramchandra Diouf Boucar 2011 09 15 Solar Lighting Springer Science amp Business Media p 62 ISBN 978 1 4471 2134 3 subkhnemux 2014 10 16 Davson Hugh 2012 12 02 The Physiology of The Eye Elsevier p 213 ISBN 978 0 323 14394 3 subkhnemux 2014 10 15 Denton E J Pirenne Maurice Henri 1954 The absolute sensitivity and functional stability of the human eye The Journal of Physiology The Physiollogical Society tiphimph 1954 03 29 123 3 417 442 doi 10 1113 jphysiol 1954 sp005062 PMC 1366217 PMID 13152690 Narisada Kohei Schreuder Duco 2004 11 30 Light Pollution Handbook Springer Science amp Business Media p 8 ISBN 978 1 4020 2665 2 subkhnemux 2014 10 15 Timiras Paola S 2007 08 16 Physiological Basis of Aging and Geriatrics Fourth Edition CRC Press p 113 ISBN 978 1 4200 0709 1 subkhnemux 2014 10 18 McGee Steven R 2012 Evidence based Physical Diagnosis Elsevier Health Sciences p 161 ISBN 1 4377 2207 5 subkhnemux 2014 10 18 Westheimer Gerald McKee Suzanne P 1975 Visual acuity in the presence of retinal image motion Journal of the Optical Society of America 65 7 847 50 doi 10 1364 josa 65 000847 PMID 1142031 Carpenter Roger HS 1988 Movements of the eyes 2nd ed London Pion Ltd ISBN 0 85086 109 8 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter doi 10 1371 journal pone 0002055 This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand 636 KB PDF Saladin Kenneth S Anatomy amp physiology the unity of form and function 6th ed New York NY McGraw Hill pp 620 622 ISBN 978 0 07 337825 1 Human eye Encyclopaedia Britannica subkhnemux 2012 11 20 Mendell Mark J 22 April 2004 Non Specific Symptoms In Office Workers A Review And Summary Of The Epidemiologic Literature Indoor Air 3 4 227 236 doi 10 1111 j 1600 0668 1993 00003 x Wolkoff P Skov P Franck C Petersen LN December 2003 Eye irritation and environmental factors in the office environment hypotheses causes and a physiological model Scandinavian Journal of Work Environment amp Health 29 6 411 430 doi 10 5271 sjweh 748 PMID 14712848 Norn M April 1992 Pollution keratoconjunctivitis A review Acta Ophthalmologica 70 2 269 273 doi 10 1111 j 1755 3768 1992 tb04136 x PMID 1609579 S2CID 42248933 Versura P Profazio V Cellini M Torreggiani A Caramazza R 1999 Eye discomfort and air pollution Ophthalmologica 213 2 103 109 doi 10 1159 000027401 PMID 9885386 S2CID 46791165 Lemp MA November 1999 The 1998 Castroviejo Lecture New strategies in the treatment of dry eye states Cornea 18 6 625 632 doi 10 1097 00003226 199911000 00001 PMID 10571289 Rolando M Zierhut M March 2001 The ocular surface and tear film and their dysfunction in dry eye disease Survey of Ophthalmology 45 Suppl 2 S203 210 doi 10 1016 S0039 6257 00 00203 4 11567 299358 PMID 11587144 Murata K Araki S Kawakami N Saito Y Hino E 1991 Central nervous system effects and visual fatigue in VDT workers International Archives of Occupational and Environmental Health 63 2 109 113 doi 10 1007 BF00379073 PMID 1889879 S2CID 24238741 Rossignol AM Morse EP Summers VM Pagnotto LD February 1987 Video display terminal use and reported health symptoms among Massachusetts clerical workers Journal of Occupational Medicine 29 2 112 118 PMID 3819890 Apter A Bracker A Hodgson M Sidman J Leung WY August 1994 Epidemiology of the sick building syndrome The Journal of Allergy and Clinical Immunology 94 2 Pt 2 277 288 doi 10 1053 ai 1994 v94 a56006 PMID 8077580 Thomson W David March 1998 Eye problems and visual display terminals the facts and the fallacies Ophthalmic amp Physiological Optics 18 2 111 119 doi 10 1046 j 1475 1313 1998 00323 x PMID 9692030 S2CID 222083261 Aronsson G Stromberg A 1995 Work Content and Eye Discomfort in VDT Work International Journal of Occupational Safety and Ergonomics 1 1 1 13 doi 10 1080 10803548 1995 11076300 PMID 10603534 Mocci F Serra A Corrias GA April 2001 Psychological factors and visual fatigue in working with video display terminals Occupational and Environmental Medicine 58 4 267 271 doi 10 1136 oem 58 4 267 PMC 1740121 PMID 11245744 Kjaergaard SK 2001 Indoor air quality handbook Chapter 17 the Irritated Eye in the Indoor Environment New York McGraw Hill ISBN 978 0 07 445549 4 Norn Mogens S 1974 External eye methods of examination Copenhagen Scriptor ISBN 978 8787473033 Sibony PA Evinger C 1998 Miller NR Newman NJ b k Anatomy and physiology of normal and abnormal eyelid position and movement Walsh amp Hoyt s clinical neuro ophthalmology Baltimore MD Williams and Wilkins pp 1509 92 Franck C Bach E Skov P 1993 Prevalence of objective eye manifestations in people working in office buildings with different prevalences of the sick building syndrome compared with the general population International Archives of Occupational and Environmental Health 65 1 65 69 doi 10 1007 BF00586061 PMID 8354577 S2CID 42611161 Franck C December 1991 Fatty layer of the precorneal film in the office eye syndrome Acta Ophthalmologica 69 6 737 743 doi 10 1111 j 1755 3768 1991 tb02052 x PMID 1789088 S2CID 28011125 Franck C Skov P February 1989 Foam at inner eye canthus in office workers compared with an average Danish population as control group Acta Ophthalmologica 67 1 61 68 doi 10 1111 j 1755 3768 1989 tb00724 x PMID 2773640 S2CID 21372866 Franck C June 1986 Eye symptoms and signs in buildings with indoor climate problems office eye syndrome Acta Ophthalmologica 64 3 306 311 doi 10 1111 j 1755 3768 1986 tb06925 x PMID 3751520 S2CID 28101689 Doughty MJ Fonn D Richter D Simpson T Caffery B Gordon K August 1997 A patient questionnaire approach to estimating the prevalence of dry eye symptoms in patients presenting to optometric practices across Canada Optometry and Vision Science 74 8 624 631 doi 10 1097 00006324 199708000 00023 PMID 9323733 S2CID 22062179 Fonn D Situ P Simpson T October 1999 Hydrogel lens dehydration and subjective comfort and dryness ratings in symptomatic and asymptomatic contact lens wearers Optometry and Vision Science 76 10 700 704 doi 10 1097 00006324 199910000 00021 PMID 10524785 Vajdic C Holden BA Sweeney DF Cornish RM October 1999 The frequency of ocular symptoms during spectacle and daily soft and rigid contact lens wear Optometry and Vision Science 76 10 705 711 doi 10 1097 00006324 199910000 00022 PMID 10524786 Seal D V and Mackie I A 1986 The questionable dry eye as a clinical and biochemical entity In F J Holly Ed The preocular tear film In health disease and contact lens wear Dry Eye Institute Lubbock TX pp 41 51 ISBN 978 0961693800 Hikichi T Yoshida A Fukui Y Hamano T Ri M Araki K Horimoto K Takamura E Kitagawa K Oyama M September 1995 Prevalence of dry eye in Japanese eye centres Graefe s Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology 233 9 555 558 doi 10 1007 BF00404705 PMID 8543205 S2CID 20759190 McCarty C Bansal AK Livingston PM Stanislavsky YL Taylor HR June 1998 The epidemiology of dry eye in Melbourne Australia Historical image Ophthalmology 105 6 1114 1119 doi 10 1016 S0161 6420 98 96016 X PMID 9627665 Bentivoglio AR Bressman SB Cassetta E Caretta D Tonali P Albanese A 1997 Analysis of blink rate patterns in normal subjects Mov Disord 1028 34 Mathers WD Lane JA Zimmerman MB May 1996 Tear film changes associated with normal aging Cornea 15 3 229 234 doi 10 1097 00003226 199605000 00001 PMID 8713923 S2CID 32866587 Mathers WD Stovall D Lane JA Zimmerman MB Johnson S July 1998 Menopause and tear function the influence of prolactin and sex hormones on human tear production Cornea 17 4 353 358 doi 10 1097 00003226 199807000 00002 PMID 9676904 Heating American Society of Refrigerating Engineers Air Conditioning 1986 Managing indoor air for health and energy conservation proceedings of the ASHRAE conference IAQ 86 April 20 23 1986 Atlanta GA Atlanta GA American Society of Heating Refrigerating and Air Conditioning Engineers p 448 ISBN 978 0 910110 48 8 Jaakkola MS Jaakkola JJ 1 December 1999 Office equipment and supplies a modern occupational health concern American Journal of Epidemiology 150 11 1223 1228 doi 10 1093 oxfordjournals aje a009949 PMID 10588083 Nordstrom K Norback D Akselsson R March 1995 Influence of indoor air quality and personal factors on the sick building syndrome SBS in Swedish geriatric hospitals Occupational and Environmental Medicine 52 3 170 176 doi 10 1136 oem 52 3 170 PMC 1128182 PMID 7735389 Anderson RC Anderson JH 1999 Sensory irritation and multiple chemical sensitivity Toxicology and Industrial Health 15 3 4 339 345 doi 10 1177 074823379901500308 PMID 10416286 Hu X Wegman DH Eisen EA Woskie SR Smith RG October 1992 Dose related acute irritant symptom responses to occupational exposure to sodium borate dusts British Journal of Industrial Medicine 49 10 706 713 doi 10 1136 oem 49 10 706 PMC 1012146 PMID 1419859 Carney LG Hill RM June 1982 The nature of normal blinking patterns Acta Ophthalmologica 60 3 427 433 doi 10 1111 j 1755 3768 1982 tb03034 x PMID 7136554 S2CID 22362219 Henning R A Jacques P Kissel G V Sullivan A B Alteras Webb S M January 1997 Frequent short rest breaks from computer work effects on productivity and well being at two field sites Ergonomics 40 1 78 91 doi 10 1080 001401397188396 PMID 8995049 Nakamori K Odawara M Nakajima T Mizutani T Tsubota K July 1997 Blinking is controlled primarily by ocular surface conditions American Journal of Ophthalmology 124 1 24 30 doi 10 1016 s0002 9394 14 71639 3 PMID 9222228 Barbato G Ficca G Muscettola G Fichele M Beatrice M Rinaldi F Mar 6 2000 Diurnal variation in spontaneous eye blink rate Psychiatry Research 93 2 145 151 doi 10 1016 S0165 1781 00 00108 6 PMID 10725531 S2CID 35982831 Sotoyama M Villanueva MB Jonai H Saito S 1995 Ocular surface area as an informative index of visual ergonomics Industrial Health 33 2 43 55 doi 10 2486 indhealth 33 43 PMID 7493821 Sotoyama Midori Jonai H Saito S Villanueva MB June 1996 Analysis of ocular surface area for comfortable VDT workstation layout Ergonomics 39 6 877 884 doi 10 1080 00140139608964508 PMID 8681929 Collins M Heron H Larsen R Lindner R February 1987 Blinking patterns in soft contact lens wearers can be altered with training PDF American Journal of Optometry and Physiological Optics 64 2 100 103 doi 10 1097 00006324 198702000 00004 PMID 3826282 S2CID 11828508 Piccoli B Assini R Gambaro S Pastoni F D Orso M Franceschin S Zampollo F De Vito G May 15 2001 Microbiological pollution and ocular infection in CAD operators an on site investigation Ergonomics 44 6 658 667 doi 10 1080 00140130117916 PMID 11373026 S2CID 37127979 Lozato PA Pisella PJ Baudouin C June 2001 The lipid layer of the lacrimal tear film physiology and pathology Journal Francais d Ophtalmologie 24 6 643 658 PMID 11460063 Heritage Stuart 2013 06 14 Eyeball licking the fetish that is making Japanese teenagers sick The Guardian subkhnemux 2013 06 14 AgingEye Times 2008 09 13 thi ewyaebkaemchchin doi 10 1001 archopht 122 4 564 This citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Bone RA Landrum JT Dixon Z Chen Y Llerena CM 2000 Lutein and zeaxanthin in the eyes serum and diet of human subjects Experimental Eye Research 71 3 239 245 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Semba RD Dagnelie G 2003 Are lutein and zeaxanthin conditionally essential nutrients for eye health Medical Hypotheses 61 4 465 472 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Johnson EJ Hammond BR Yeum KJ Qin J Wang XD Castaneda C Snodderly DM Russell RM 2000 Relation among serum and tissue concentrations of lutein and zeaxanthin and macular pigment density American Society for Clinical Nutrition 71 6 1555 1562 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter Lutein and zeaxanthin American Optometric Association 2013 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb tamnusy 3D Interactive Human Eye Interactive Tool to explore the Human Eye