ตาเหล่ หรือ ตาเข (อังกฤษ: Strabismus, crossed eyes, squint, cast of the eye) เป็นภาวะที่ตาทั้งสองไม่มองตรงที่เดียวกันพร้อม ๆ กันเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตาข้างหนึ่งจะเบนไปในทางใดทางหนึ่งอย่างไม่คล้องจองกับตาอีกข้างหนึ่ง/หรือกับสิ่งที่มอง และตาทั้งสองอาจสลับเล็งมองที่วัตถุ และอาจเกิดเป็นบางครั้งบางคราวหรือเป็นตลอด ถ้ามีอาการเป็นช่วงเวลานานในวัยเด็ก ก็อาจทำให้ตามัวหรือเสียการรู้ใกล้ไกล แต่ถ้าเริ่มในวัยผู้ใหญ่ ก็มักจะทำให้เห็นภาพซ้อนมากกว่า
ตาเหล่ (Strabismus) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Heterotropia, crossed eyes, squint |
ตาเหล่มีอาการเป็นตาสองข้างที่ไม่เล็งมองไปทางเดียวกัน รูปแสดงแบบเหล่ออก (exotropic) | |
การออกเสียง | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา |
อาการ | ตาส่อน |
ภาวะแทรกซ้อน | ตามัว เห็นภาพซ้อน |
ประเภท | esotropia (เหล่เข้า) exotropia (เหล่ออก) hypertropia (เหล่ขึ้น) |
สาเหตุ | ปัญหากล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง บาดเจ็บ ติดเชื้อ |
ปัจจัยเสี่ยง | คลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ ประวัติครอบครัว |
วิธีวินิจฉัย | สังเกตไฟสะท้อนจากรูม่านตา |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | โรคเส้นประสาทสมอง |
การรักษา | แว่นตา การผ่าตัด |
ความชุก | ~2% (เด็ก) |
อาการอาจมีเหตุจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งการคลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ และประวัติการเป็นโรคในครอบครัว มีแบบต่าง ๆ รวมทั้ง เหล่เข้า (esotropia) ที่ตาเบนเข้าหากัน เหล่ออก (exotropia) ที่ตาเบนออกจากกัน และเหล่ขึ้น (hypertropia) ที่ตาสูงต่ำไม่เท่ากัน อาจเป็นแบบเหล่ทุกที่ที่มอง (comitant คือตาเหล่กลอกคู่) หรืออาจเหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่มองที่ไหน (incomitant)การวินิจฉัยอาจทำโดยสังเกตว่าแสงสะท้อนที่ตาไม่ตรงกับกลางรูม่านตา มีภาวะอีกอย่างที่ทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน คือ โรคเส้นประสาทสมอง (cranial nerve disease)
การรักษาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและเหตุ ซึ่งอาจรวมการใช้แว่นตาและการผ่าตัด มีบางกรณีที่มีผลดีถ้าผ่าตัดตั้งแต่ต้น ๆ เป็นโรคที่เกิดในเด็กประมาณ 2%
คำภาษาอังกฤษมาจากคำกรีกว่า strabismós ซึ่งแปลว่า "เหล่ตา"
อาการ
เมื่อสังเกตคนตาเหล่ อาจจะเห็นได้ชัด คนไข้ที่ตาหันไปผิดทางมากและตลอดจะมองเห็นได้ง่าย แต่ถ้าผิดทางน้อย หรือเป็นบางครั้งบางคราว อาจจะสังเกตตามปกติได้ยาก ในทุก ๆ กรณี แพทย์พยาบาลเกี่ยวกับตาสามารถทดสอบด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นปิดตา เพื่อตรวจดูว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน
อาการของตาเหล่รวมทั้งการเห็นภาพซ้อน และ/หรือตาล้า/ตาเพลีย (asthenopia) เพื่อจะไม่ให้มีภาพซ้อน สมองอาจจะไม่สนใจข้อมูลจากตาข้างหนึ่ง (Suppression) ในกรณีนี้ อาจจะไม่เห็นอาการอะไรในคนไข้ยกเว้นการเสียการรู้ใกล้ไกล และความบกพร่องนี้อาจมองไม่เห็นในคนไข้ที่ตาเหล่แต่กำเนิดหรือตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ เพราะคนไข้อาจได้เรียนรู้(การรู้ระยะใกล้ไกลโดยใช้ตาเดียว)[] ตาเหล่อย่างสม่ำเสมอที่ทำให้ใช้ตาข้างเดียวตลอดอาจทำให้เสี่ยงตามัวในเด็ก ส่วนตาที่เหล่น้อยหรือเป็นบางครั้งบางคราวอาจทำให้เห็นผิดปกติอย่างเฉียบพลัน นอกจากปวดหัวและเมื่อยตาแล้ว อาการอาจรวมการอ่านหนังสือไม่สบาย ความเมื่อยล้าเมื่ออ่านหนังสือ หรือการเห็นที่ไม่คงเส้นคงวา
ผลทางจิต-สังคม
คนทุกวัยที่มีอาการตาเหล่อาจมีปัญหาทางจิต-สังคม และนักวิชาการก็อ้างว่า ผู้ที่มีตาเหล่อย่างมองเห็นได้อาจได้รับผลทางสังคม-เศรษฐกิจด้วย ดังนั้น การตัดสินรักษาจึงต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ด้วย นอกเหนือไปจากการรักษาให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา
งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เด็กตาเหล่มักจะมีพฤติกรรมช่างอาย วิตกกังวล และเป็นทุกข์ บ่อยครั้งทำให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งเป็นอาการที่สัมพันธ์กับการที่เพื่อนมองในแง่ลบ โดยไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องสวย ๆ งาม ๆ เท่านั้น แต่จะเกี่ยวกับธรรมชาติของตาและการมองที่เป็นเครื่องหมายในการสื่อสารอีกด้วย ซึ่งมีบทบาททางสังคมที่สำคัญต่อชีวิตของบุคคล โดยเฉพาะก็คือ การมีตาเหล่จะขัดการสบตากับผู้อื่น ซึ่งสร้างความอับอาย ความโกรธเคือง และความเคอะเขิน และดังนั้นจึงมีผลต่อการสื่อสารทางสังคมโดยพื้นฐาน ซึ่งอาจมีผลลบต่อความภูมิใจในตน สำหรับบางคน ปัญหาเหล่านี้จะดีขึ้นอย่างสำคัญหลังจากการผ่าตัด
มีสิ่งที่บ่งชี้ว่า เด็กที่ตาเหล่ โดยเฉพาะแบบเหล่ออก มีโอกาสมีความผิดปกติทางจิตใจมากกว่าเด็กปกติ โดยนักวิจัยก็ยังเชื่อด้วยว่า ที่ตาเหล่เข้าไม่ปรากฏว่าสัมพันธ์กับโรคจิตก็เพราะพิสัยอายุของเด็กที่ร่วมงานวิจัย และเพราะระยะติดตามผลที่สั้นกว่า คือเด็กที่ตาเหล่เข้าได้ติดตามจนถึงอายุเฉลี่ยที่ 15.8 ปี เทียบกับเด็กตาเหล่ออกที่ติตตามจนถึง 20.3 ปี
ต่อมา งานศึกษากับเด็กในเขตภูมิภาคเดียวกันที่มีตาเหล่เข้าแต่กำเนิด จึงได้ติดตามผลในระยะที่ยาวกว่า แล้วพบว่า เด็กตาเหล่เข้ามีโอกาสเกิดโรคจิตบางอย่างเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ คล้ายกับเด็กตาเหล่ออก โดยเด็กที่ตาเหล่ออกเป็นบางครั้ง และเด็กที่ตาเบนเข้าไม่พอ (convergence insufficiency) มีโอกาสเกิดโรคจิตเป็น 2.6 เท่าของเด็กกลุ่มควบคุม แต่ก็ไม่สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และไม่มีหลักฐานสัมพันธ์โรคจิตที่เกิดขึ้นทีหลัง กับตัวสร้างความเครียดทางจิต-สังคมที่คนไข้ตาเหล่มักจะมี
งานศึกษาต่าง ๆ ได้เน้นผลทั่วไปของความตาเหล่ต่อคุณภาพชีวิต มีงานศึกษาซึ่งผู้ร่วมการทดลองดูภาพของคนตาเหล่และไม่เหล่ แล้วแสดงความเอนเอียงในเชิงลบอย่างสำคัญต่อคนที่ตาเหล่อย่างเห็นได้ ซึ่งแสดงผลที่เป็นไปได้ทางสังคมเศรษฐกิจต่อคนตาเหล่ในเรื่องการหางาน และในเรื่องความสุขทั่วไปในชีวิตอื่น ๆ
ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเห็นการเหล่ขวา (right heterotropia) ว่า น่ารังเกียจมากกว่าตาเหล่ไปทางด้านซ้าย และเด็ก ๆ จะเห็นว่าตาเหล่เข้าจะแย่กว่าตาเหล่ออก การผ่าตัดรักษาตาเหล่ที่สำเร็จผลทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ พบว่าช่วยทำให้ความรู้สึกทางจิตใจดีขึ้น
มีงานวิจัยน้อยมากว่า ผู้ใหญ่มีกลยุทธ์การรับมือกับการมีตาเหล่ได้อย่างไร แต่งานศึกษาหนึ่งแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 หมวด คือ การหลีกเลี่ยงร่วมทำกิจกรรม การเบนความสนใจของคนอื่นไปในเรื่องอื่น และการปรับตัวทำกิจกรรมโดยวิธีอื่น ๆ นักวิจัยเสนอว่า คนไข้อาจได้ประโยชน์จากการสนับสนุนทางจิต-สังคม เช่นการฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ยังไม่มีงานศึกษาว่า การแทรกแซงทางจิต-สังคมมีประโยชน์ต่อคนไข้ที่ผ่าตัดรักษาตาเหล่หรือไม่
เหตุ
ตาเหล่สามารถเห็นได้ในคนไข้กลุ่มอาการดาวน์, Loeys-Dietz syndrome, อัมพาตสมองใหญ่, และ Edwards syndrome คนที่ครอบครัวมีประวัติก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้น[]
เหตุของตาเหล่ในผู้ใหญ่รวมทั้ง
- การจำกัดการทำงานของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles)
- thyroid eye disease/Graves' ophthalmopathy ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อตาขยายตัวได้ถึง 6 เท่า ซึ่งขัดขวางการทำงานของตา
- blowout fractures ซึ่งเป็นการบาดเจ็บเนื่องด้วยวัตถุที่ไม่คม เช่น กำปั้น ข้อศอก หรือลูกบอล ซึ่งปกติจะรวมความบาดเจ็บที่พื้นและ/หรือผนังใกล้กลาง (medial) ของเบ้าตา ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อตาติดขัด
- ความบาดเจ็บของเส้นประสาททรอเคลียร์ (CN IV) ซึ่งจะทำให้เห็นภาพซ้อนเหนือและใต้แถบที่มองเห็นเป็นปกติ
- การผ่าตัดแก้จอตาลอกที่มีผลจำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา เช่น superior oblique
- เหตุที่เกิดจากกล้ามเนื้อ
- Myasthenia gravis เป็นภาวะภูมิต้านตนเองที่มีผลทำลายตัวรับ acetylcholine ที่ neuromuscular endplate ของกล้ามเนื้อ
- Myositis ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
- เหตุที่เกิดจากเส้นประสาท
- อัมพาตเส้นประสาทที่ 3 (Third nerve palsy)
- อัมพาตเส้นประสาทที่ 4 (Fourth nerve palsy)
- เหตุอื่น ๆ
- ตาเบนเข้าไม่พอ (convergence insufficiency) ในคนไข้ที่บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นโรคพาร์คินสันหรือโรคฮันติงตัน
- skew deviation เป็นการวินิจฉัยเลือกของ inferior oblique overreaction โดยไม่จำกัดที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักจะปรากฏพร้อมกับอาการของ posterior fossa disease อื่น ๆ
พยาธิสรีรวิทยา
กล้ามเนื้อตา (extraocular muscle) เป็นตัวควบคุมตำแหน่งของตา ดังนั้น ปัญหาที่กล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ สามารถทำให้ตาเหล่ได้ เส้นประสาทสมอง Oculomotor nerve (III), Trochlear nerve (IV), และ Abducens nerve (VI) เป็นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา ปัญหาที่เส้น III จะทำให้ตาที่ได้รับผลเบี่ยงลงและออก และอาจจะมีผลต่อขนาดรูม่านตา ส่วนปัญหาของเส้น IV ซึ่งอาจเป็นแต่กำเนิด อาจทำให้ตาเบี่ยงขึ้นและอาจจะเบนเข้าหน่อย ๆ ส่วนปัญหาของเส้น VI อาจทำให้ตาเบี่ยงเข้า โดยมีเหตุที่เป็นไปได้มากมายเพราะเป็นเส้นประสาทที่ค่อนข้างยาว เช่น ความดันที่เพิ่มขึ้นในกะโหลกศีรษะอาจกดเส้นประสาทเมื่อมันวิ่งผ่านระหว่างส่วน clivus และก้านสมอง[] นอกจากนั้น ถ้าแพทย์ไม่ระวังไปบิดคอของทารกเมื่อคลอดโดยใช้ปากคีม (forceps delivery) ก็จะทำให้เส้นประสาท VI เสียหายได้[] แพทย์บางท่านยังเห็นหลักฐานด้วยว่า เหตุของตาเหล่อาจอยู่ที่สัญญาณประสาทที่ส่งไปยังเปลือกสมองส่วนการเห็น ซึ่งทำให้ตาเหล่โดยไม่มีความเสียหายโดยตรงต่อเส้นประสาทสมองหรือกล้ามเนื้อตา
ตาเหล่ยังอาจทำให้ตามัว เพราะสมองไม่สนใจกระแสประสาทจากจอประสาทตาข้างหนึ่ง อาการตามัวเป็นการที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างไม่สามารถเห็นชัดเจนได้ตามปกติแม้จะไม่มีโครงสร้างอะไรที่ผิดปกติ ในช่วง 7-8 ปีแรกแห่งชีวิต สมองจะเรียนรู้การตีความสัญญาณประสาทที่มาจากตาทั้งสองผ่านกระบวนการพัฒนาการการเห็น แต่ความตาเหล่อาจขัดกระบวนการนี้ได้ถ้าเด็กตรึงตาข้างเดียวโดยไม่ตรึงตาหรือตรึงตาอีกข้างหนึ่งน้อย เพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน สัญญาณที่ส่งมาจากตาที่ผิดปกติสมองจะไม่รับ (Suppression) ซึ่งเมื่อเกิดตลอดที่ตาข้างเดียว ก็จะทำให้เกิดพัฒนาการทางการเห็นที่ผิดปกติ[]
นอกจากนั้น ตามัวก็ยังสามารถเป็นเหตุให้ตาเหล่ได้อีกด้วย ถ้าความชัดเจนต่างกันมากระหว่างตาขวาซ้าย สัญญาณที่ได้อาจจะไม่เพียงพอให้ปรับตาไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง เหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เห็นต่างกันระหว่างซ้ายขวา รวมทั้งต้อกระจกที่ไม่เท่ากัน ความหักเหของแสงที่คลาดเคลื่อน (refractive error) หรือโรคตา ซึ่งอาจเป็นเหตุหรือทำให้ตาเหล่มากขึ้น
Accommodative esotropia เป็นตาเหล่เข้าที่มีเหตุจากความหักเหของแสงที่คลาดเคลื่อน (refractive error) ที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เมื่อบุคคลเปลี่ยนการมองจากวัตถุไกล ๆ มาที่วัตถุที่ใกล้ ๆ ก็จะเกิด accommodation reflex ซึ่งเปลี่ยนการเบนตา (vergence) เปลี่ยนรูปร่างของเลนส์ตา และเปลี่ยนขนาดรูม่านตา โดยการเบนตาจะเป็นแบบเบนเข้า ถ้ารีเฟล็กซ์นี้มีมากกว่าปกติ เช่นบุคคลที่มีสายตายาว การเบนตาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ดูตาเหล่[]
การวินิจฉัย
แพทย์อาจตรวจโดยให้ปิดตาหรือตรวจแบบ Hirschberg test ที่ใช้แสงสะท้อน เพื่อวินิจฉัยและวัดความตาเหล่และผลที่มีต่อสายตา นอกจากนั้น การตรวจแบบ Retinal birefringence scanning ยังสามารถใช้ตรวจคัดตาเหล่ในเด็กเล็ก ๆ โดยแพทย์จะวินิจฉัยแยกแยะความตาเหล่ออกเป็นแบบต่าง ๆ
ภาวะแฝง
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ตาเหล่อาจปรากฏอย่างชัดเจน (ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย -tropia) หรืออาจเป็นภาวะแฝง (ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย -phoria) ตาเหล่แบบชัดเจน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า heterotropia (ซึ่งอาจขึ้นต้นด้วยคำอุปสรรค eso-, exo-, hyper-, hypo-, cyclotropia หรือขึ้นด้วยอุปสรรคผสม) จะเกิดเมื่อคนไข้มองที่วัตถุด้วยสองตา โดยไม่ได้ปิดหรือบังตาข้างใดข้างหนึ่ง แล้วคนไข้ไม่สามารถปรับตาเพื่อให้เห็นเป็นภาพเดียว (fusion) ได้
ภาวะแฝง หรือที่เรียกว่า heterophoria (ซึ่งอาจขึ้นด้วยคำอุปสรรค eso-, exo-, hyper-, hypo-, cyclophoria หรืออุปสรรคผสม) จะปรากฏต่อเมื่อขัดการเห็นด้วยสองตา เช่นปิดตาข้างหนึ่ง คนไข้ประเภทนี้ปกติจะมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ แม้ตาจะมองไม่ตรงเมื่อปล่อยตามสบาย ตาที่เหล่เป็นบางครั้งบางคราวจะเกิดจากรูปแบบสองอย่างนี้ผสม ที่คนไข้จะสามารถมองเห็นเป็นภาพเดียว แต่บางครั้งหรือบ่อยครั้งจะปรากฏว่าเหล่อย่างชัดเจน
การเริ่มต้น
แพทย์อาจจัดหมู่ตาเหล่ตามเวลาที่เริ่มอาการ คือเป็นแต่กำเนิด เป็นทีหลัง หรือเป็นอาการทุติยภูมิของโรคอื่น ๆ ทารกจำนวนมากเกิดโดยมีตาเหล่หน่อย ๆ แต่เด็กจะพัฒนาปรับตาเป็นปกติภายใน 6-12 เดือน ประเภทที่เหลือจะเกิดขึ้นทีหลัง Accommodative esotropia ซึ่งเป็นการเบนเข้าของตาเกินเนื่องจาก accommodation reflex จะเกิดโดยมากในวัยเด็กต้น ๆ ส่วนตาเหล่ที่เกิดทีหลัง จะเกิดหลังจากการมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้พัฒนาเต็มที่แล้ว ในผู้ใหญ่ที่ตอนแรกมองเป็นปกติ การเกิดตาเหล่มักจะทำให้เห็นภาพซ้อน โรคที่ทำให้การเห็นเสียหายก็อาจเป็นเหตุให้ตาเหล่ด้วย และก็อาจเกิดจากความบาดเจ็บต่อตาที่เหล่
ส่วน Sensory strabismus เป็นอาการตาเหล่เนื่องจากเสียหรือพิการทางการเห็น แล้วทำให้ตาเหล่ไปทางด้านข้าง ด้านตั้ง แบบบิด (torsional) หรือแบบผสม โดยตาที่เห็นแย่กว่าจะค่อย ๆ เหล่ไปในระยะยาว แม้มักจะเป็นการเหล่ทางด้านข้างมากที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุที่เกิดความเสียหายด้วย คนไข้ที่พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดมีโอกาสตาเหล่เข้า (esotropia) มากที่สุด เทียบกับคนไข้ที่การเห็นพิการทีหลังมักจะตาเหล่ออก (exotropia) ในแบบสุดโต่งอย่างหนึ่ง ตาที่บอดสิ้นเชิงข้างหนึ่งจะทำให้ตาข้างนั้นอยู่ในตำแหน่งพักตลอด
แม้จะรู้เหตุที่ทำให้ตาเหล่หลายอย่างแล้ว รวมทั้งการบาดเจ็บที่ตาซึ่งเหล่ แต่ก็ยังมีกรณีที่ไม่รู้เหตุ โดยเฉพาะที่เป็นตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ
งานศึกษาตามแผนในสหรัฐอเมริกาพบว่า ความชุกของอาการตาเหล่ในผู้ใหญ่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหลังจากอายุ 60 ปีโดยจะถึงจุดสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 8 และความเสี่ยงตาเหล่ตลอดชีวิตในวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ 4%
ข้าง
ตาเหล่สามารถจัดว่าเป็นข้างเดียว (unilateral) ถ้ามีตาข้างเดียวเท่านั้นที่เหล่ หรือเป็นสลับข้าง (alternating) ถ้าตาทั้งสองข้างเหล่ การสลับข้างอาจเกิดเองโดยที่คนไข้ก็ไม่รู้ตัว หรืออาจสลับเนื่องจากการตรวจตา[] ตาเหล่ข้างเดียวมักจะมาจากการบาดเจ็บต่อตาที่มีปัญหา
ทิศทาง
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
การเหล่ออกข้าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นสองแบบ คำอังกฤษที่ขึ้นด้วยอุปสรรค Eso หมายถึงการเหล่เข้า ที่ขึ้นด้วย Exo หมายถึงการเหล่ออก
การเหล่ขึ้นลงก็สามารถแบ่งเป็นสองแบบได้เหมือนกัน คำอุปสรรค Hyper จะใช้กับตาที่เหล่ขึ้นโดยเทียบกับตาอีกข้าง ในขณะที่ hypo จะใช้กับตาที่เหล่ลง ส่วนคำว่า Cyclo หมายถึงตาเหล่บิด คือตาที่เหล่โดยหมุนรอบ ๆ แกนหน้าหลัง ซึ่งมีน้อยมาก[]
การตั้งชื่อ
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
คำอุปสรรคอังกฤษที่แสดงทิศทางจะใช้ประกอบกับคำว่า -tropia และ -phoria เพื่อกำหนดตาเหล่ประเภทต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น constant left hypertropia หมายถึงตาข้างซ้ายจะอยู่สูงกว่าตาด้านขวาเสมอ ส่วนคนไข้ที่มี intermittent right esotropia จะมีตาขวาที่บางครั้งบางคราเหล่ไปทางจมูก แต่ในเวลาที่เหลือจะมองเป็นปกติ คนไข้ที่มี mild exophoria จะดูปกติในสถานการณ์ทั่วไป แต่เมื่อระบบเกิดขัดข้อง ตาที่ปล่อยตามสบายจะเหล่ออกหน่อย ๆ
เรื่องอื่น ๆ
ความตาเหล่ยังสามารถจัดหมู่ดังต่อไปนี้
- Paretic strabismus เป็นตาเหล่เกิดจากกล้ามเนื้อตาหนึ่ง ๆ หรือหลายมัดอัมพาต
- Nonparetic strabismus เป็นตาเหล่ที่ไม่ได้เกิดจากความอัมพาตของกล้ามเนื้อตา
- Comitant/concomitant strabismus เป็นอาการตาเหล่แบบเท่า ๆ กันไม่ว่าจะมองไปที่ตรงไหน
- Noncomitant/incomitant strabismus เป็นตาที่เหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่จะมองขึ้นลงหรือมองข้าง ๆ
Nonparetic strabismus ปกติจะเป็นแบบเท่า ๆ กันไม่ว่าจะมองไปในที่ใด (concomitant) ตาเหล่ของทารกและเด็กโดยทั่วไปจะเป็นแบบเท่า ๆ กัน ส่วน Paretic strabismus อาจเป็นแบบเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ แบบไม่เท่ากันมักจะเมีเหตุจากตาที่หมุนได้ไม่เต็มที่เนื่องจากปัญหาทางกล้ามเนื้อ เช่น ocular restriction หรือจาก extraocular muscle paresis ตาเหล่แบบไม่เท่ากัน/ตาเหล่เหตุอัมพาตจะไม่สามารถแก้ได้ด้วยแว่นตาปริซึม เพราะจะต้องใช้ปริซึมที่ต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับที่ที่มอง
แบบต่าง ๆ ของตาเหล่ไม่เท่ากันรวมทั้ง Duane syndrome, horizontal gaze palsy, และ congenital fibrosis of the extraocular muscles
ถ้าตาเหล่ออกมากและชัดเจน ก็จะเรียกว่า large-angle (มุมกว้าง) โดยหมายถึงมุมที่เหล่ออกจากเส้นที่ควรมอง ตาที่เหล่ออกน้อยกว่าเรียกว่า small-angle (มุมแคบ) แต่มุมอาจต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับว่ามองใกล้หรือไกล
ตาเหล่ที่เกิดหลังจากผ่าตัดแก้ไขจะเรียกว่า consecutive strabismus
การวินิจฉัยแยกโรค
ส่วนนี้ไม่มีจาก โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่ม เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
Pseudostrabismus เป็นอาการตาเหล่เทียม ซึ่งปกติเกิดขึ้นในทารกหรือเด็กหัดเดินที่ดั้งจมูกกว้างและแบน แล้วทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้า (esotropia) เนื่องจากเห็นตาขาวทางด้านจมูกน้อยกว่าปกติ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ดั้งจมูกก็จะแคบลงและหนังคลุมหัวตาก็จะลดลงแล้วทำให้เห็นตาขาวเป็นปกติ
มะเร็งจอตา (Retinoblastoma) ก็อาจเป็นเหตุให้ตาสะท้อนแสงผิดปกติได้ด้วย
การบริหาร
เหมือนกับโรคเกี่ยวกับการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาอื่น ๆ จุดมุ่งหมายหลักของการรักษาก็เพื่อให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาอย่างสบายตาและเป็นปกติ ในทุก ๆ ระยะและทุก ๆ มุมมอง
ตาเหล่ในประเทศตะวันตกมักจะรักษาแบบผสมโดยใช้แว่นตา การบำบัดการเห็น (vision therapy) และการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เทียบกับตามัว/ตาขี้เกียจ (amblyopia) ซึ่งถ้าเล็กน้อยและตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถแก้ได้โดยใช้ผ้าปิดตาอีกข้างหนึ่งหรือการบำบัดการเห็น แต่การใช้ผ้าปิดตามีโอกาสเปลี่ยนมุมตาเหล่ได้น้อย
แว่นตา
ในคนไข้ Accommodative esotropia ตาจะเหล่เข้าเพื่อพยายามโฟกัสตาที่มีสายตายาว และการรักษากรณีเช่นนี้จะต้องแก้ไขการหักเหของแสง ซึ่งปกติจะทำโดยใช้แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส ในกรณีที่อำนาจการหักเหแสงของนัยน์ตาสองข้างต่างกันมาก (anisometropia) เลนส์สัมผัสอาจดีกว่าแว่นตาเพื่อเลี่ยงปัญหาการเห็นวัตถุเดียวแต่มีขนาดต่างกัน (aniseikonia) ซึ่งอาจเกิดจากแว่นตาที่มีอำนาจการหักเหแสงที่ต่างกันมากระหว่างสองตา ในกรณีเด็กตาเหล่จำนวนหนึ่งที่มี anisometropic amblyopia แพทย์จะลองใช้เลนส์หักเหแสงระดับต่าง ๆ กันก่อนผ่าตัดแก้ตาเหล่
การรักษาตาเหล่ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในวัยทารกอาจลดโอกาสตามัว (amblyopia) หรือมีปัญหาการรู้ความใกล้ไกล แต่งานทบทวนการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสรุปว่า การใช้แว่นสายตาเพื่อป้องกันตาเหล่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน
เด็กโดยมากจะหายจากตามัวถ้าได้ผ้าปิดตาและแว่นสายตา[] แพทยศาสตร์พิจารณามานานแล้วว่า ปัญหาจะเป็นอย่างถาวรถ้าไม่รักษาในช่วงระยะเวลาสำคัญ ซึ่งก็คือก่อนอายุประมาณ 7 ขวบ แต่งานศึกษาเมื่อไม่นานก็ให้เหตุผลคัดค้านมุมมองนี้ และเสนอให้เปลี่ยนช่วงระยะสำคัญ เพื่ออธิบายการกลับรู้ความใกล้ไกลได้ในวัยผู้ใหญ่
ตาที่คงเหล่สามารถมีปัญหาทางการเห็นอื่น ๆ เพิ่มขึ้น แม้จะแก้ตาเหล่ไม่ได้ แว่นปริซึมสามารถใช้ทำให้สบายและป้องกันไม่ให้เห็นภาพซ้อน
การผ่าตัด
การผ่าตัดแก้ตาเหล่ไม่ได้ช่วยให้เด็กไม่ต้องใส่แว่นตา สำหรับเด็ก ปัจจุบันยังไม่รู้ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ระหว่างการผ่าตัดแก้ตาเหล่ก่อนหรือหลังการรักษาตามัว
การผ่าตัดแก้ตาเหล่จะพยายามปรับตาให้ตรงโดยลดความยาว เพิ่มความยาว หรือเปลี่ยนตำแหน่งของกล้ามเนื้อตามัดหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ภายใน ชม. หนึ่ง โดยใช้เวลาฟื้นตัว 1-8 อาทิตย์ ไหมที่แก้ปรับได้อาจใช้เพื่อช่วยให้ปรับตาให้ตรงยิ่งขึ้นหลังการผ่าตัดในระยะต้น ๆ
การมองเห็นเป็นสองภาพอาจเกิดแม้น้อยมาก โดยเฉพาะทันทีหลังผ่าตัด[] และการเสียการเห็นก็มีน้อยมาก แว่นตาจะมีผลต่อตำแหน่งตาเพราะเปลี่ยนรีเฟล็กซ์เนื่องกับการโฟกัสสายตา ส่วนปริซึมจะเปลี่ยนรูปแบบที่แสงและภาพจะมากระทบกับจอตา โดยเป็นการเลียนการเปลี่ยนตำแหน่งของตา
ยา
ยาจะใช้รักษาตาเหล่ในบางกรณี ในปี 2532 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติการบำบัดด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน สำหรับคนไข้ตาเหล่อายุมากกว่า 12 ขวบ เป็นการรักษาที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่โดยมาก แต่ก็ใช้ในเด็กด้วยโดยเฉพาะที่มี infantile esotropia แพทย์จะฉีดท็อกซินเข้าในกล้ามเนื้อตามัดที่แข็งแรงกว่า ซึ่งทำให้อัมพาตชั่วคราว และอาจจะต้องฉีดซ้ำ 3-4 เดือนหลังจากที่ความอัมพาตหายไป ผลข้างเคียงสามัญรวมทั้งการเห็นภาพซ้อน หนังตาตก แก้เกิน และไร้ผล แต่ผลข้างเคียงปกติจะหมดไปภายใน 3-4 เดือน การรักษานี้รายงานว่า ได้ผลดีเท่ากับการผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่สามารถเห็นภาพเดียวด้วยสองตา และได้ผลดีน้อยกว่าสำหรับคนไข้ที่เห็นภาพซ้อนด้วยสองตา
พยากรณ์โรค
ถ้าตาเหล่ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดในช่วงวัยทารก อาจจะเป็นเหตุให้ตามัว (amblyopia) ที่สมองจะไม่สนใจข้อมูลสายตาจากตาที่มีปัญหา แม้จะบำบัดรักษาตามัว การไม่รู้ใกล้ไกล (stereoblindness) ก็ยังอาจเกิดได้ ตาเหล่ยังทำให้เกิดปัญหาภาพพจน์ส่วนบุคคล งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า คนไข้ผู้ใหญ่ 85% "รายงานว่ามีปัญหาในที่ทำงาน ในสถาบันการศึกษา และการกีฬาเพราะตาที่เหล่ของตน" คนไข้งานศึกษาเดียวกัน 70% รายงานว่า ตาเหล่ "มีผลลบต่อภาพพจน์ของตนเอง" บ่อยครั้ง คนไข้ต้องผ่านการผ่าตัดเป็นครั้งที่สองเพื่อทำตาให้ตรง[]
เชิงอรรถและอ้างอิง
- "Strabismus noun - Definition, pictures, pronunciation and usage notes | Oxford Advanced Learner's Dictionary". www.oxfordlearnersdictionaries.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
- . National Eye Institute. National Institutes of Health. 2010-06-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.
- Gunton, KB; Wasserman, BN; DeBenedictis, C (2015). "Strabismus". Primary care. 42 (3): 393–407. doi:10.1016/j.pop.2015.05.006. PMID 26319345.
- "Strabismus", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) ตาเหล่ ตาเข
- Brown, Lesley (1993). The New shorter Oxford English dictionary on historical principles. Oxford: Clarendon. pp. Strabismus. ISBN .
- . English: Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
- . English: Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
- Huether, Sue E; Rodway, George; DeFriez, Curtis (2014). "16 - Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function". ใน McCance, Kathryn L; Huether, Sue E; Brashers, Valentina L; Neal S, Rote. (บ.ก.). Pathophysiology: the biologic basis for disease in adults and children (7th ed.). Mosby. Chapter 16 Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function, pp. 509. ISBN .
Strabismus is the deviation of one eye from the other when a person is looking at an object; it results in failure of the two eyes to simultaneously focus on the same image and therefore loss of binocular vision.
- "strabismus (n.)". Online Etymology Dictionary. Douglas Harper. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.
- Satterfield, Denise; Keltner, John L.; Morrison, Thomas L. (1993). "Psychosocial Aspects of Strabismus Study". Archives of Ophthalmology. 111 (8): 1100–5. doi:10.1001/archopht.1993.01090080096024 – โดยทาง JAMA Network.
- Olitsky, S.E.; Sudesh, S.; Graziano, A.; Hamblen, J.; Brooks, S.E.; Shaha, S.H. (1999). "The negative psychosocial impact of strabismus in adults". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 3 (4): 209–211. doi:10.1016/S1091-8531(99)70004-2. PMID 10477222.
- Uretmen, Onder; Egrilmez, Sait; Kose, Süheyla; Pamukçu, Kemal; Akkin, Cezmi; Palamar, Melis (2003). "Negative social bias against children with strabismus". Acta Ophthalmologica Scandinavica. 81 (2): 138–42. doi:10.1034/j.1600-0420.2003.00024.x.
- See peer discussion in: Mets, Marilyn B.; Beauchamp, Cynthia; Haldi, Betty Anne (2003). "Binocularity following surgical correction of strabismus in adults". Transactions of the American Ophthalmological Society. 101: 201–7. PMC 1358989. PMID 14971578.
- "Strabismus". All About Vision. Access Media Group.
- Bernfeld, A. (1982). "Les repercussions psychologiques du strabisme chez l'enfant" [Psychological repercussions of strabismus in children]. Journal francais d'ophtalmologie (ภาษาฝรั่งเศส). 5 (8–9): 523–30. PMID 7142664.
- Tonge, Bruce J.; Lipton, George L.; Crawford, Gwen (1984). "Psychological and Educational Correlates of Strabismus in School Children". Australian and New Zealand Journal of Psychiatry. 18 (1): 71–7. doi:10.3109/00048678409161038 – โดยทาง Taylor & Francis Online.
- Mohney, B.G.; McKenzie, J.A.; Capo, J.A.; Nusz, K.J.; Mrazek, D.; Diehl, N.N. (2008). "Mental Illness in Young Adults Who Had Strabismus as Children". Pediatrics. 122 (5): 1033–1038. doi:10.1542/peds.2007-3484. PMC 2762944. PMID 18977984.
- Beauchamp, George R.; Felius, Joost; Stager, David R.; Beauchamp, Cynthia L. (2005). "The utility of strabismus in adults". Transactions of the American Ophthalmological Society. 103 (103): 164–172. PMC 1447571. PMID 17057800.
- Mojon-Azzi, Stefania M.; Mojon, Daniel S. (2009). "Strabismus and employment: the opinion of headhunters". Acta Ophthalmologica. 87 (7): 784–788. doi:10.1111/j.1755-3768.2008.01352.x. PMID 18976309.
- Mojon-Azzi, Stefania M.; Mojon, Daniel S. (2007). "Opinion of Headhunters about the Ability of Strabismic Subjects to Obtain Employment". Ophthalmologica. 221 (6): 430–3. doi:10.1159/000107506. PMID 17947833.
- Mojon-Azzi, Stefania Margherita; Kunz, Andrea; Mojon, Daniel Stephane (2011). "The perception of strabismus by children and adults". Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology. 249 (5): 753–7. doi:10.1007/s00417-010-1555-y. PMID 21063886.
- Burke, J.P.; Leach, C.M.; Davis, H. (1997). "Psychosocial implications of strabismus surgery in adults". Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 34 (3): 159–64. PMID 9168420.
- Durnian, Jonathan M.; Noonan, Carmel P.; Marsh, Ian B. (2011). "The psychosocial effects of adult strabismus: a review". British Journal of Ophthalmology. 95 (4): 450–3. doi:10.1136/bjo.2010.188425. PMID 20852320.
- Jackson, Sue; Gleeson, Kate (2013). . European Medical Journal Ophthalmology. 1: 15–22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
- MacKenzie, K; Hancox, J; McBain, H; Ezra, DG; Adams, G; Newman, S (2016). "Psychosocial interventions for improving quality of life outcomes in adults undergoing strabismus surgery". Cochrane Database of Systematic Reviews. 5: CD010092. doi:10.1002/14651858.CD010092.pub4. PMID 27171652.
- Billson 2003, Restrictive causes of adult strabismus, pp. 50-53
- Riordan-Eva, Paul; Whitcher, John P, บ.ก. (2007). "12 Strabismus". Vaughan & Asbury's General Ophthalmology (17th ed.). McGraw-Hill Medical. ISBN .
- Tychsen, Lawrence (2012). "The Cause of Infantile Strabismus Lies Upstairs in the Cerebral Cortex, Not Downstairs in the Brainstem". Archives of Ophthalmology. 130 (8): 1060–1. doi:10.1001/archophthalmol.2012.1481 – โดยทาง JAMA Network.
- Nield, Linda S.; Mangano, Linn M. (2009). "Strabismus: What to Tell Parents and When to Consider Surgery". Consultant. 49 (4).
- "Strabismus". MedlinePlus Encyclopedia. US National Library of Medicine, National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05.
- Rosenbaum, Arthur L.; Santiago, Alvina Pauline (1999). Clinical Strabismus Management: Principles and Surgical Techniques. David Hunter. p. 193-194. ISBN . สืบค้นเมื่อ 2016-06-21 – โดยทาง Google Books.
- Havertape, S.A.; Cruz, O.A.; Chu, F.C. (2001). "Sensory strabismus—eso or exo?". Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 38 (6): 327–30. PMID 11759769.
- Havertape, Susan A.; Cruz, Oscar A. (2001). "Sensory Strabismus: When Does it Happen and Which Way Do They Turn?". American Orthopic Journal. 51 (1): 36–38. doi:10.3368/aoj.51.1.36.
- Albert, Daniel M.; Perkins, Edward S.; Gamm, David M. (2017-03-24). "Eye disease". Encyclopædia Britannica. Strabismus (squint).
- Rubin, Melvin L.; Winograd, Lawrence A. (2003). . Taking Care of Your Eyes: A Collection of the Patient Education Handouts Used by America's Leading Eye Doctors. Triad Communications. ISBN . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
- Martinez-Thompson, Jennifer M.; Diehl, Nancy N.; Holmes, Jonathan M.; Mohney, Brian G. (2014). "Incidence, Types, and Lifetime Risk of Adult-Onset Strabismus". Ophthalmology. 121 (4): 877–82. doi:10.1016/j.ophtha.2013.10.030. PMC 4321874. PMID 24321142 – โดยทาง ScienceDirect.
- Friedman, Neil J.; Kaiser, Peter K.; Pineda, Roberto (2009). The Massachusetts Eye and Ear Infirmary illustrated manual of ophthalmology (3rd ed.). Saunders/Elsevier. ISBN .
- "concomitant strabimus". TheFreeDictionary. Farlex.
- Wright, Kenneth Weston; Spiegel, Peter H. (2003). Pediatric Ophthalmology and Strabismus. Springer Science & Business Media. p. 155. ISBN – โดยทาง Google Books.
- . ONE Network. American Association of Ophthalmology. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-06.
- Engle, Elizabeth C. (2007). "Genetic Basis of Congenital Strabismus". Archves of Ophthalmology. 125 (2): 189–195. doi:10.1001/archopht.125.2.189. PMID 17296894.
- Eskridge, JB (1993). "Persistent diplopia associated with strabismus surgery". Optom Vis Sci. 70 (10): 849–53. doi:10.1097/00006324-199310000-00013. PMID 8247489.
- William F. Astle; Jamalia Rahmat; April D. Ingram; Peter T. Huang (2007). "Laser-assisted subepithelial keratectomy for anisometropic amblyopia in children: Outcomes at 1 year". Journal of Cataract & Refractive Surgery. 33 (12): 2028–2034. doi:10.1016/j.jcrs.2007.07.024.
- Jones-Jordan, L; Wang, X; Scherer, RW; Mutti, DO (2014). "Topical Spectacle correction versus no spectacles for prevention of strabismus in hyperopic children". Cochrane Database Syst Rev. 8 (8): CD007738. doi:10.1002/14651858.CD007738.pub2. PMC 4259577. PMID 25133974.
- Korah, S; Philip, S; Jasper, S; Antonio-Santos, A; Braganza, A (2014). "Strabismus surgery before versus after completion of amblyopia therapy in children". Cochrane Database Syst Rev. 10 (10): CD009272. doi:10.1002/14651858.CD009272.pub2. PMC 4438561. PMID 25315969.
- Parikh, RK; Leffler, CT (2013). . Middle East African Journal of Ophthalmology. 20 (3): 225–8. doi:10.4103/0974-9233.114797. PMC 3757632. PMID 24014986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
- "Re: Docket No. FDA-2008-P-0061" (PDF). Food and Drug Administration. United States Department of Health and Human Services. 2009-04-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
- Kowal, Lionel; Wong, Elaine; Yahalom, Claudia (2007-12-15). "Botulinum toxin in the treatment of strabismus: A review of its use and effects". Disability and Rehabilitation. 29 (23): 1823–31. doi:10.1080/09638280701568189. PMID 18033607.
- Thouvenin, D; Lesage-Beaudon, C; Arné, JL (2008). "Injection de toxine botulique dans les strabismes precoces. Efficacite et incidence sur les indications chirurgicales ulterieures. A propos de 74 cas traites avant l'age de 36 mois" [Botulinum injection in infantile strabismus. Results and incidence on secondary surgery in a long-term survey of 74 cases treated before 36 months of age]. Journal Francais d'Ophtalmologie (ภาษาฝรั่งเศส). 31 (1): 42–50. PMID 18401298.
- de Alba Campomanes, AG; Binenbaum, G; Campomanes Eguiarte, G (2010). "Comparison of botulinum toxin with surgery as primary treatment for infantile esotropia". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 14 (2): 111–116. doi:10.1016/j.jaapos.2009.12.162. PMID 20451851.
- Gursoy, Huseyin; Basmak, Hikmet; Sahin, Afsun; Yildirim, Nilgun; Aydin, Yasemin; Colak, Ertugrul (2012). "Long-term follow-up of bilateral botulinum toxin injections versus bilateral recessions of the medial rectus muscles for treatment of infantile esotropia". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 16 (3): 269–273. doi:10.1016/j.jaapos.2012.01.010. ISSN 1091-8531. PMID 22681945.
- Rowe, FJ; Noonan, CP (2017). "Botulinum toxin for the treatment of strabismus". Cochrane Database Syst Rev (3): CD006499. doi:10.1002/14651858.CD006499.pub4. PMID 28253424.
- . Scribe/Alum Notes. Wayne State University. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26.
แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ
- Billson, Frank (2003). Lightman, Susan (บ.ก.). Strabismus. Fundamentals of Clinical Ophthalmology series. BMJ Books. ISBN .
- Donahue, Sean P.; Buckley, Edward G.; Christiansen, Stephen P.; Cruz, Oscar A.; Dagi, Linda R. (2014). "Difficult problems: strabismus". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus (JAAPOS). 18 (4): e41. doi:10.1016/j.jaapos.2014.07.132.
การจำแนกโรค | D |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
|
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
taehl hrux taekh xngkvs Strabismus crossed eyes squint cast of the eye epnphawathitathngsxngimmxngtrngthiediywknphrxm knemuxkalngcxngduwtthuxairxyangidxyanghnung odytakhanghnungcaebnipinthangidthanghnungxyangimkhlxngcxngkbtaxikkhanghnung hruxkbsingthimxng aelatathngsxngxacslbelngmxngthiwtthu aelaxacekidepnbangkhrngbangkhrawhruxepntlxd thamixakarepnchwngewlananinwyedk kxacthaihtamwhruxesiykarruiklikl aetthaeriminwyphuihy kmkcathaihehnphaphsxnmakkwataehl Strabismus chuxxunHeterotropia crossed eyes squinttaehlmixakarepntasxngkhangthiimelngmxngipthangediywkn rupaesdngaebbehlxxk exotropic karxxkesiyng s t r e ˈ b ɪ z m e s sakhawichacksuwithyaxakartasxnphawaaethrksxntamw ehnphaphsxnpraephthesotropia ehlekha exotropia ehlxxk hypertropia ehlkhun saehtupyhaklamenuxta saytayaw pyhainsmxng badecb tidechuxpccyesiyngkhlxdkxnkahnd xmphatsmxngihy prawtikhrxbkhrwwithiwinicchysngektifsathxncakrumantaorkhxunthikhlayknorkhesnprasathsmxngkarrksaaewnta karphatdkhwamchuk 2 edk tamxngebnekhaphxditaehlekha Esotropia taehlxxk Exotropia esnkhadepnrayathitrungta khnthngsamtrungtadwytakhwa xakarxacmiehtucakkarthanganphidpktikhxngklamenuxta saytayaw pyhainsmxng karbadecb hruxkartidechux pccyesiyngrwmthngkarkhlxdkxnkahnd xmphatsmxngihy aelaprawtikarepnorkhinkhrxbkhrw miaebbtang rwmthng ehlekha esotropia thitaebnekhahakn ehlxxk exotropia thitaebnxxkcakkn aelaehlkhun hypertropia thitasungtaimethakn xacepnaebbehlthukthithimxng comitant khuxtaehlklxkkhu hruxxacehlimethaknaelwaetmxngthiihn incomitant karwinicchyxacthaodysngektwaaesngsathxnthitaimtrngkbklangrumanta miphawaxikxyangthithaihekidxakarkhlay kn khux orkhesnprasathsmxng cranial nerve disease karrksacakhunxyukbrupaebbaelaehtu sungxacrwmkarichaewntaaelakarphatd mibangkrnithimiphldithaphatdtngaettn epnorkhthiekidinedkpraman 2 khaphasaxngkvsmacakkhakrikwa strabismos sungaeplwa ehlta xakaremuxsngektkhntaehl xaccaehnidchd khnikhthitahnipphidthangmakaelatlxdcamxngehnidngay aetthaphidthangnxy hruxepnbangkhrngbangkhraw xaccasngekttampktiidyak inthuk krni aephthyphyabalekiywkbtasamarththdsxbdwywithitang echnpidta ephuxtrwcduwaepnmaknxykhnadihn xakarkhxngtaehlrwmthngkarehnphaphsxn aela hruxtala taephliy asthenopia ephuxcaimihmiphaphsxn smxngxaccaimsnickhxmulcaktakhanghnung Suppression inkrnini xaccaimehnxakarxairinkhnikhykewnkaresiykarruiklikl aelakhwambkphrxngnixacmxngimehninkhnikhthitaehlaetkaenidhruxtngaetwyedktn ephraakhnikhxacideriynrukarrurayaikliklodyichtaediyw txngkarxangxing taehlxyangsmaesmxthithaihichtakhangediywtlxdxacthaihesiyngtamwinedk swntathiehlnxyhruxepnbangkhrngbangkhrawxacthaihehnphidpktixyangechiybphln nxkcakpwdhwaelaemuxytaaelw xakarxacrwmkarxanhnngsuximsbay khwamemuxylaemuxxanhnngsux hruxkarehnthiimkhngesnkhngwa phlthangcit sngkhm taehlkhxngdarachayirxn kxsling thaihduimehmuxnikhr khnthukwythimixakartaehlxacmipyhathangcit sngkhm aelankwichakarkxangwa phuthimitaehlxyangmxngehnidxacidrbphlthangsngkhm esrsthkicdwy dngnn kartdsinrksacungtxngphicarnapyhaehlanidwy nxkehnuxipcakkarrksaihehnepnphaphediywdwysxngta ngansuksahnungaesdngwa edktaehlmkcamiphvtikrrmchangxay witkkngwl aelaepnthukkh bxykhrngthaihmikhwamphidpktithangxarmn sungepnxakarthismphnthkbkarthiephuxnmxnginaenglb odyimichepnephiyngeruxngswy ngam ethann aetcaekiywkbthrrmchatikhxngtaaelakarmxngthiepnekhruxnghmayinkarsuxsarxikdwy sungmibthbaththangsngkhmthisakhytxchiwitkhxngbukhkhl odyechphaakkhux karmitaehlcakhdkarsbtakbphuxun sungsrangkhwamxbxay khwamokrthekhuxng aelakhwamekhxaekhin aeladngnncungmiphltxkarsuxsarthangsngkhmodyphunthan sungxacmiphllbtxkhwamphumiicintn sahrbbangkhn pyhaehlanicadikhunxyangsakhyhlngcakkarphatd misingthibngchiwa edkthitaehl odyechphaaaebbehlxxk mioxkasmikhwamphidpktithangciticmakkwaedkpkti odynkwicykyngechuxdwywa thitaehlekhaimpraktwasmphnthkborkhcitkephraaphisyxayukhxngedkthirwmnganwicy aelaephraarayatidtamphlthisnkwa khuxedkthitaehlekhaidtidtamcnthungxayuechliythi 15 8 pi ethiybkbedktaehlxxkthitittamcnthung 20 3 pi txma ngansuksakbedkinekhtphumiphakhediywknthimitaehlekhaaetkaenid cungidtidtamphlinrayathiyawkwa aelwphbwa edktaehlekhamioxkasekidorkhcitbangxyangemuxthungwyphuihytn khlaykbedktaehlxxk odyedkthitaehlxxkepnbangkhrng aelaedkthitaebnekhaimphx convergence insufficiency mioxkasekidorkhcitepn 2 6 ethakhxngedkklumkhwbkhum aetkimsmphnthkbkarkhlxdkxnkahnd aelaimmihlkthansmphnthorkhcitthiekidkhunthihlng kbtwsrangkhwamekhriydthangcit sngkhmthikhnikhtaehlmkcami ngansuksatang idennphlthwipkhxngkhwamtaehltxkhunphaphchiwit mingansuksasungphurwmkarthdlxngduphaphkhxngkhntaehlaelaimehl aelwaesdngkhwamexnexiynginechinglbxyangsakhytxkhnthitaehlxyangehnid sungaesdngphlthiepnipidthangsngkhmesrsthkictxkhntaehlineruxngkarhangan aelaineruxngkhwamsukhthwipinchiwitxun thngphuihyaelaedkehnkarehlkhwa right heterotropia wa narngekiycmakkwataehlipthangdansay aelaedk caehnwataehlekhacaaeykwataehlxxk karphatdrksataehlthisaercphlthnginedkaelainphuihy phbwachwythaihkhwamrusukthangciticdikhun minganwicynxymakwa phuihymiklyuththkarrbmuxkbkarmitaehlidxyangir aetngansuksahnungaebngklyuththxxkepn 3 hmwd khux karhlikeliyngrwmthakickrrm karebnkhwamsnickhxngkhnxunipineruxngxun aelakarprbtwthakickrrmodywithixun nkwicyesnxwa khnikhxacidpraoychncakkarsnbsnunthangcit sngkhm echnkarfukthksakhwamsmphnthrahwangbukhkhl yngimmingansuksawa karaethrkaesngthangcit sngkhmmipraoychntxkhnikhthiphatdrksataehlhruximehtutaehlsamarthehnidinkhnikhklumxakardawn Loeys Dietz syndrome xmphatsmxngihy aela Edwards syndrome khnthikhrxbkhrwmiprawtikcamioxkasesiyngsungkhun txngkarxangxing ehtukhxngtaehlinphuihyrwmthng karcakdkarthangankhxngklamenuxta extraocular muscles thyroid eye disease Graves ophthalmopathy sungthaihklamenuxtakhyaytwidthung 6 etha sungkhdkhwangkarthangankhxngta blowout fractures sungepnkarbadecbenuxngdwywtthuthiimkhm echn kapn khxsxk hruxlukbxl sungpkticarwmkhwambadecbthiphunaela hruxphnngiklklang medial khxngebata sungxacthaihklamenuxtatidkhd khwambadecbkhxngesnprasaththrxekhliyr CN IV sungcathaihehnphaphsxnehnuxaelaitaethbthimxngehnepnpkti karphatdaekcxtalxkthimiphlcakdkarekhluxnihwkhxngklamenuxta echn superior oblique ehtuthiekidcakklamenux Myasthenia gravis epnphawaphumitantnexngthimiphlthalaytwrb acetylcholine thi neuromuscular endplate khxngklamenux Myositis sungthaihklamenuxxkesb ehtuthiekidcakesnprasath xmphatesnprasaththi 3 Third nerve palsy xmphatesnprasaththi 4 Fourth nerve palsy ehtuxun taebnekhaimphx convergence insufficiency inkhnikhthibadecbthisirsa epnorkhpharkhinsnhruxorkhhntingtn skew deviation epnkarwinicchyeluxkkhxng inferior oblique overreaction odyimcakdthiklamenuxmdidmdhnungodyechphaa sungmkcapraktphrxmkbxakarkhxng posterior fossa disease xun phyathisrirwithyaklamenuxta extraocular muscle epntwkhwbkhumtaaehnngkhxngta dngnn pyhathiklamenuxhruxesnprasaththikhwbkhumklamenux samarththaihtaehlid esnprasathsmxng Oculomotor nerve III Trochlear nerve IV aela Abducens nerve VI epnesnprasaththikhwbkhumklamenuxta pyhathiesn III cathaihtathiidrbphlebiynglngaelaxxk aelaxaccamiphltxkhnadrumanta swnpyhakhxngesn IV sungxacepnaetkaenid xacthaihtaebiyngkhunaelaxaccaebnekhahnxy swnpyhakhxngesn VI xacthaihtaebiyngekha odymiehtuthiepnipidmakmayephraaepnesnprasaththikhxnkhangyaw echn khwamdnthiephimkhuninkaohlksirsaxackdesnprasathemuxmnwingphanrahwangswn clivus aelakansmxng txngkarelkhhna nxkcaknn thaaephthyimrawngipbidkhxkhxngtharkemuxkhlxdodyichpakkhim forceps delivery kcathaihesnprasath VI esiyhayid txngkarxangxing aephthybangthanyngehnhlkthandwywa ehtukhxngtaehlxacxyuthisyyanprasaththisngipyngepluxksmxngswnkarehn sungthaihtaehlodyimmikhwamesiyhayodytrngtxesnprasathsmxnghruxklamenuxta taehlyngxacthaihtamw ephraasmxngimsnickraaesprasathcakcxprasathtakhanghnung xakartamwepnkarthitakhangediywhruxthngsxngkhangimsamarthehnchdecnidtampktiaemcaimmiokhrngsrangxairthiphidpkti inchwng 7 8 piaerkaehngchiwit smxngcaeriynrukartikhwamsyyanprasaththimacaktathngsxngphankrabwnkarphthnakarkarehn aetkhwamtaehlxackhdkrabwnkarniidthaedktrungtakhangediywodyimtrungtahruxtrungtaxikkhanghnungnxy ephuximihehnphaphsxn syyanthisngmacaktathiphidpktismxngcaimrb Suppression sungemuxekidtlxdthitakhangediyw kcathaihekidphthnakarthangkarehnthiphidpkti txngkarxangxing nxkcaknn tamwkyngsamarthepnehtuihtaehlidxikdwy thakhwamchdecntangknmakrahwangtakhwasay syyanthiidxaccaimephiyngphxihprbtaipyngtaaehnngthithuktxng ehtuxun thithaihehntangknrahwangsaykhwa rwmthngtxkrackthiimethakn khwamhkehkhxngaesngthikhladekhluxn refractive error hruxorkhta sungxacepnehtuhruxthaihtaehlmakkhun Accommodative esotropia epntaehlekhathimiehtucakkhwamhkehkhxngaesngthikhladekhluxn refractive error thitakhangediywhruxthngsxngkhang emuxbukhkhlepliynkarmxngcakwtthuikl mathiwtthuthiikl kcaekid accommodation reflex sungepliynkarebnta vergence epliynruprangkhxngelnsta aelaepliynkhnadrumanta odykarebntacaepnaebbebnekha tharieflksnimimakkwapkti echnbukhkhlthimisaytayaw karebntathiephimkhuncathaihdutaehl txngkarxangxing karwinicchyaephthyxactrwcodyihpidtahruxtrwcaebb Hirschberg test thiichaesngsathxn ephuxwinicchyaelawdkhwamtaehlaelaphlthimitxsayta nxkcaknn kartrwcaebb Retinal birefringence scanning yngsamarthichtrwckhdtaehlinedkelk odyaephthycawinicchyaeykaeyakhwamtaehlxxkepnaebbtang phawaaefng swnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk taehlxacpraktxyangchdecn phasaxngkvslngthaydwy tropia hruxxacepnphawaaefng phasaxngkvslngthaydwy phoria taehlaebbchdecn hruxthieriykinphasaxngkvswa heterotropia sungxackhuntndwykhaxupsrrkh eso exo hyper hypo cyclotropia hruxkhundwyxupsrrkhphsm caekidemuxkhnikhmxngthiwtthudwysxngta odyimidpidhruxbngtakhangidkhanghnung aelwkhnikhimsamarthprbtaephuxihehnepnphaphediyw fusion id phawaaefng hruxthieriykwa heterophoria sungxackhundwykhaxupsrrkh eso exo hyper hypo cyclophoria hruxxupsrrkhphsm caprakttxemuxkhdkarehndwysxngta echnpidtakhanghnung khnikhpraephthnipkticamxngehnepnphaphediywdwysxngtaid aemtacamxngimtrngemuxplxytamsbay tathiehlepnbangkhrngbangkhrawcaekidcakrupaebbsxngxyangniphsm thikhnikhcasamarthmxngehnepnphaphediyw aetbangkhrnghruxbxykhrngcapraktwaehlxyangchdecn karerimtn aephthyxaccdhmutaehltamewlathierimxakar khuxepnaetkaenid epnthihlng hruxepnxakarthutiyphumikhxngorkhxun tharkcanwnmakekidodymitaehlhnxy aetedkcaphthnaprbtaepnpktiphayin 6 12 eduxn praephththiehluxcaekidkhunthihlng Accommodative esotropia sungepnkarebnekhakhxngtaekinenuxngcak accommodation reflex caekidodymakinwyedktn swntaehlthiekidthihlng caekidhlngcakkarmxngehnepnphaphediywdwysxngtaidphthnaetmthiaelw inphuihythitxnaerkmxngepnpkti karekidtaehlmkcathaihehnphaphsxn orkhthithaihkarehnesiyhaykxacepnehtuihtaehldwy aelakxacekidcakkhwambadecbtxtathiehl swn Sensory strabismus epnxakartaehlenuxngcakesiyhruxphikarthangkarehn aelwthaihtaehlipthangdankhang dantng aebbbid torsional hruxaebbphsm odytathiehnaeykwacakhxy ehlipinrayayaw aemmkcaepnkarehlthangdankhangmakthisud aetkkhunxyukbxayuthiekidkhwamesiyhaydwy khnikhthiphikarthangsaytatngaetkaenidmioxkastaehlekha esotropia makthisud ethiybkbkhnikhthikarehnphikarthihlngmkcataehlxxk exotropia inaebbsudotngxyanghnung tathibxdsinechingkhanghnungcathaihtakhangnnxyuintaaehnngphktlxd aemcaruehtuthithaihtaehlhlayxyangaelw rwmthngkarbadecbthitasungehl aetkyngmikrnithiimruehtu odyechphaathiepntngaetwyedktn ngansuksatamaephninshrthxemrikaphbwa khwamchukkhxngxakartaehlinphuihycaephimkhuntamxayu odyechphaahlngcakxayu 60 piodycathungcudsungsudinchwngthswrrsthi 8 aelakhwamesiyngtaehltlxdchiwitinwyphuihyxyuthi 4 khang taehlsamarthcdwaepnkhangediyw unilateral thamitakhangediywethannthiehl hruxepnslbkhang alternating thatathngsxngkhangehl karslbkhangxacekidexngodythikhnikhkimrutw hruxxacslbenuxngcakkartrwcta txngkarelkhhna taehlkhangediywmkcamacakkarbadecbtxtathimipyha thisthang swnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk karehlxxkkhang samarthaebngxxkepnsxngaebb khaxngkvsthikhundwyxupsrrkh Eso hmaythungkarehlekha thikhundwy Exo hmaythungkarehlxxk karehlkhunlngksamarthaebngepnsxngaebbidehmuxnkn khaxupsrrkh Hyper caichkbtathiehlkhunodyethiybkbtaxikkhang inkhnathi hypo caichkbtathiehllng swnkhawa Cyclo hmaythungtaehlbid khuxtathiehlodyhmunrxb aeknhnahlng sungminxymak kartngchux swnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk khaxupsrrkhxngkvsthiaesdngthisthangcaichprakxbkbkhawa tropia aela phoria ephuxkahndtaehlpraephthtang yktwxyangechn constant left hypertropia hmaythungtakhangsaycaxyusungkwatadankhwaesmx swnkhnikhthimi intermittent right esotropia camitakhwathibangkhrngbangkhraehlipthangcmuk aetinewlathiehluxcamxngepnpkti khnikhthimi mild exophoria cadupktiinsthankarnthwip aetemuxrabbekidkhdkhxng tathiplxytamsbaycaehlxxkhnxy eruxngxun khwamtaehlyngsamarthcdhmudngtxipni Paretic strabismus epntaehlekidcakklamenuxtahnung hruxhlaymdxmphat Nonparetic strabismus epntaehlthiimidekidcakkhwamxmphatkhxngklamenuxta Comitant concomitant strabismus epnxakartaehlaebbetha knimwacamxngipthitrngihn Noncomitant incomitant strabismus epntathiehlimethaknaelwaetcamxngkhunlnghruxmxngkhang Nonparetic strabismus pkticaepnaebbetha knimwacamxngipinthiid concomitant taehlkhxngtharkaelaedkodythwipcaepnaebbetha kn swn Paretic strabismus xacepnaebbethaknhruximethaknkid aebbimethaknmkcaemiehtucaktathihmunidimetmthienuxngcakpyhathangklamenux echn ocular restriction hruxcak extraocular muscle paresis taehlaebbimethakn taehlehtuxmphatcaimsamarthaekiddwyaewntaprisum ephraacatxngichprisumthitang knkhunxyukbthithimxng aebbtang khxngtaehlimethaknrwmthng Duane syndrome horizontal gaze palsy aela congenital fibrosis of the extraocular muscles thataehlxxkmakaelachdecn kcaeriykwa large angle mumkwang odyhmaythungmumthiehlxxkcakesnthikhwrmxng tathiehlxxknxykwaeriykwa small angle mumaekhb aetmumxactang knkhunxyukbwamxngiklhruxikl taehlthiekidhlngcakphatdaekikhcaeriykwa consecutive strabismus karwinicchyaeykorkh swnniimmikarxangxingcakexksarxangxinghruxaehlngkhxmul oprdchwyphthnaswnniodyephimaehlngkhxmulnaechuxthux enuxhathiimmikarxangxingxacthukkhdkhanhruxnaxxk Pseudostrabismus epnxakartaehlethiym sungpktiekidkhunintharkhruxedkhdedinthidngcmukkwangaelaaebn aelwthaihduehmuxntaehlekha esotropia enuxngcakehntakhawthangdancmuknxykwapkti aetemuxxayumakkhun dngcmukkcaaekhblngaelahnngkhlumhwtakcaldlngaelwthaihehntakhawepnpkti maerngcxta Retinoblastoma kxacepnehtuihtasathxnaesngphidpktiiddwy karphatdaekikhtaehlintharkxayu 8 eduxnkarbriharehmuxnkborkhekiywkbkarehnepnphaphediywdwysxngtaxun cudmunghmayhlkkhxngkarrksakephuxihehnepnphaphediywdwysxngtaxyangsbaytaaelaepnpkti inthuk rayaaelathuk mummxng taehlinpraethstawntkmkcarksaaebbphsmodyichaewnta karbabdkarehn vision therapy aelakarphatd khunxyukbsaehtu ethiybkbtamw takhiekiyc amblyopia sungthaelknxyaelatrwcphbtngaetenin kcasamarthaekidodyichphapidtaxikkhanghnunghruxkarbabdkarehn aetkarichphapidtamioxkasepliynmumtaehlidnxy aewnta inkhnikh Accommodative esotropia tacaehlekhaephuxphyayamofkstathimisaytayaw aelakarrksakrniechnnicatxngaekikhkarhkehkhxngaesng sungpkticathaodyichaewntahruxelnssmphs inkrnithixanackarhkehaesngkhxngnyntasxngkhangtangknmak anisometropia elnssmphsxacdikwaaewntaephuxeliyngpyhakarehnwtthuediywaetmikhnadtangkn aniseikonia sungxacekidcakaewntathimixanackarhkehaesngthitangknmakrahwangsxngta inkrniedktaehlcanwnhnungthimi anisometropic amblyopia aephthycalxngichelnshkehaesngradbtang knkxnphatdaektaehl karrksataehltngaetenin inwytharkxacldoxkastamw amblyopia hruxmipyhakarrukhwamiklikl aetnganthbthwnkarthdlxngaebbsumaelamiklumkhwbkhumsrupwa karichaewnsaytaephuxpxngkntaehlimmihlkthansnbsnun edkodymakcahaycaktamwthaidphapidtaaelaaewnsayta txngkarxangxing aephthysastrphicarnamananaelwwa pyhacaepnxyangthawrthaimrksainchwngrayaewlasakhy sungkkhuxkxnxayupraman 7 khwb aetngansuksaemuximnankihehtuphlkhdkhanmummxngni aelaesnxihepliynchwngrayasakhy ephuxxthibaykarklbrukhwamikliklidinwyphuihy tathikhngehlsamarthmipyhathangkarehnxun ephimkhun aemcaaektaehlimid aewnprisumsamarthichthaihsbayaelapxngknimihehnphaphsxn karphatd karphatdaektaehlimidchwyihedkimtxngisaewnta sahrbedk pccubnyngimruwamikhwamaetktangknhruxim rahwangkarphatdaektaehlkxnhruxhlngkarrksatamw karphatdaektaehlcaphyayamprbtaihtrngodyldkhwamyaw ephimkhwamyaw hruxepliyntaaehnngkhxngklamenuxtamdhnunghruxmakkwann sungsamarththaidphayin chm hnung odyichewlafuntw 1 8 xathity ihmthiaekprbidxacichephuxchwyihprbtaihtrngyingkhunhlngkarphatdinrayatn karmxngehnepnsxngphaphxacekidaemnxymak odyechphaathnthihlngphatd txngkarxangxing aelakaresiykarehnkminxymak aewntacamiphltxtaaehnngtaephraaepliynrieflksenuxngkbkarofkssayta swnprisumcaepliynrupaebbthiaesngaelaphaphcamakrathbkbcxta odyepnkareliynkarepliyntaaehnngkhxngta ya yacaichrksataehlinbangkrni inpi 2532 xngkhkarxaharaelayashrthxnumtikarbabddwyobthulinm thxksin sahrbkhnikhtaehlxayumakkwa 12 khwb epnkarrksathiichsahrbphuihyodymak aetkichinedkdwyodyechphaathimi infantile esotropia aephthycachidthxksinekhainklamenuxtamdthiaekhngaerngkwa sungthaihxmphatchwkhraw aelaxaccatxngchidsa 3 4 eduxnhlngcakthikhwamxmphathayip phlkhangekhiyngsamyrwmthngkarehnphaphsxn hnngtatk aekekin aelairphl aetphlkhangekhiyngpkticahmdipphayin 3 4 eduxn karrksaniraynganwa idphldiethakbkarphatdsahrbkhnikhthisamarthehnphaphediywdwysxngta aelaidphldinxykwasahrbkhnikhthiehnphaphsxndwysxngtaphyakrnorkhthataehltngaetkaenidhruxekidinchwngwythark xaccaepnehtuihtamw amblyopia thismxngcaimsnickhxmulsaytacaktathimipyha aemcababdrksatamw karimruiklikl stereoblindness kyngxacekidid taehlyngthaihekidpyhaphaphphcnswnbukhkhl ngansuksahnungaesdngwa khnikhphuihy 85 raynganwamipyhainthithangan insthabnkarsuksa aelakarkilaephraatathiehlkhxngtn khnikhngansuksaediywkn 70 raynganwa taehl miphllbtxphaphphcnkhxngtnexng bxykhrng khnikhtxngphankarphatdepnkhrngthisxngephuxthataihtrng txngkarelkhhna echingxrrthaelaxangxing Strabismus noun Definition pictures pronunciation and usage notes Oxford Advanced Learner s Dictionary www oxfordlearnersdictionaries com phasaxngkvs subkhnemux 2017 08 01 National Eye Institute National Institutes of Health 2010 06 16 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 10 05 subkhnemux 2016 10 02 Gunton KB Wasserman BN DeBenedictis C 2015 Strabismus Primary care 42 3 393 407 doi 10 1016 j pop 2015 05 006 PMID 26319345 Strabismus sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 aephthysastr taehl taekh Brown Lesley 1993 The New shorter Oxford English dictionary on historical principles Oxford Clarendon pp Strabismus ISBN 0 19 861271 0 English Oxford Living Dictionaries Oxford University Press 2016 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 04 21 subkhnemux 2016 04 06 English Oxford Living Dictionaries Oxford University Press khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 11 05 subkhnemux 2017 05 16 Huether Sue E Rodway George DeFriez Curtis 2014 16 Pain Temperature Regulation Sleep and Sensory Function in McCance Kathryn L Huether Sue E Brashers Valentina L Neal S Rote b k Pathophysiology the biologic basis for disease in adults and children 7th ed Mosby Chapter 16 Pain Temperature Regulation Sleep and Sensory Function pp 509 ISBN 978 0 323 08854 1 Strabismus is the deviation of one eye from the other when a person is looking at an object it results in failure of the two eyes to simultaneously focus on the same image and therefore loss of binocular vision strabismus n Online Etymology Dictionary Douglas Harper subkhnemux 2016 10 02 Satterfield Denise Keltner John L Morrison Thomas L 1993 Psychosocial Aspects of Strabismus Study Archives of Ophthalmology 111 8 1100 5 doi 10 1001 archopht 1993 01090080096024 odythang JAMA Network Olitsky S E Sudesh S Graziano A Hamblen J Brooks S E Shaha S H 1999 The negative psychosocial impact of strabismus in adults Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus 3 4 209 211 doi 10 1016 S1091 8531 99 70004 2 PMID 10477222 Uretmen Onder Egrilmez Sait Kose Suheyla Pamukcu Kemal Akkin Cezmi Palamar Melis 2003 Negative social bias against children with strabismus Acta Ophthalmologica Scandinavica 81 2 138 42 doi 10 1034 j 1600 0420 2003 00024 x See peer discussion in Mets Marilyn B Beauchamp Cynthia Haldi Betty Anne 2003 Binocularity following surgical correction of strabismus in adults Transactions of the American Ophthalmological Society 101 201 7 PMC 1358989 PMID 14971578 Strabismus All About Vision Access Media Group Bernfeld A 1982 Les repercussions psychologiques du strabisme chez l enfant Psychological repercussions of strabismus in children Journal francais d ophtalmologie phasafrngess 5 8 9 523 30 PMID 7142664 Tonge Bruce J Lipton George L Crawford Gwen 1984 Psychological and Educational Correlates of Strabismus in School Children Australian and New Zealand Journal of Psychiatry 18 1 71 7 doi 10 3109 00048678409161038 odythang Taylor amp Francis Online Mohney B G McKenzie J A Capo J A Nusz K J Mrazek D Diehl N N 2008 Mental Illness in Young Adults Who Had Strabismus as Children Pediatrics 122 5 1033 1038 doi 10 1542 peds 2007 3484 PMC 2762944 PMID 18977984 Beauchamp George R Felius Joost Stager David R Beauchamp Cynthia L 2005 The utility of strabismus in adults Transactions of the American Ophthalmological Society 103 103 164 172 PMC 1447571 PMID 17057800 Mojon Azzi Stefania M Mojon Daniel S 2009 Strabismus and employment the opinion of headhunters Acta Ophthalmologica 87 7 784 788 doi 10 1111 j 1755 3768 2008 01352 x PMID 18976309 Mojon Azzi Stefania M Mojon Daniel S 2007 Opinion of Headhunters about the Ability of Strabismic Subjects to Obtain Employment Ophthalmologica 221 6 430 3 doi 10 1159 000107506 PMID 17947833 Mojon Azzi Stefania Margherita Kunz Andrea Mojon Daniel Stephane 2011 The perception of strabismus by children and adults Graefe s Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology 249 5 753 7 doi 10 1007 s00417 010 1555 y PMID 21063886 Burke J P Leach C M Davis H 1997 Psychosocial implications of strabismus surgery in adults Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus 34 3 159 64 PMID 9168420 Durnian Jonathan M Noonan Carmel P Marsh Ian B 2011 The psychosocial effects of adult strabismus a review British Journal of Ophthalmology 95 4 450 3 doi 10 1136 bjo 2010 188425 PMID 20852320 Jackson Sue Gleeson Kate 2013 European Medical Journal Ophthalmology 1 15 22 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 06 21 subkhnemux 2017 11 30 MacKenzie K Hancox J McBain H Ezra DG Adams G Newman S 2016 Psychosocial interventions for improving quality of life outcomes in adults undergoing strabismus surgery Cochrane Database of Systematic Reviews 5 CD010092 doi 10 1002 14651858 CD010092 pub4 PMID 27171652 Billson 2003 Restrictive causes of adult strabismus pp 50 53 Riordan Eva Paul Whitcher John P b k 2007 12 Strabismus Vaughan amp Asbury s General Ophthalmology 17th ed McGraw Hill Medical ISBN 978 0071104456 Tychsen Lawrence 2012 The Cause of Infantile Strabismus Lies Upstairs in the Cerebral Cortex Not Downstairs in the Brainstem Archives of Ophthalmology 130 8 1060 1 doi 10 1001 archophthalmol 2012 1481 odythang JAMA Network Nield Linda S Mangano Linn M 2009 Strabismus What to Tell Parents and When to Consider Surgery Consultant 49 4 Strabismus MedlinePlus Encyclopedia US National Library of Medicine National Institutes of Health subkhnemux 2013 04 05 Rosenbaum Arthur L Santiago Alvina Pauline 1999 Clinical Strabismus Management Principles and Surgical Techniques David Hunter p 193 194 ISBN 978 0 7216 7673 9 subkhnemux 2016 06 21 odythang Google Books Havertape S A Cruz O A Chu F C 2001 Sensory strabismus eso or exo Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus 38 6 327 30 PMID 11759769 Havertape Susan A Cruz Oscar A 2001 Sensory Strabismus When Does it Happen and Which Way Do They Turn American Orthopic Journal 51 1 36 38 doi 10 3368 aoj 51 1 36 Albert Daniel M Perkins Edward S Gamm David M 2017 03 24 Eye disease Encyclopaedia Britannica Strabismus squint Rubin Melvin L Winograd Lawrence A 2003 Taking Care of Your Eyes A Collection of the Patient Education Handouts Used by America s Leading Eye Doctors Triad Communications ISBN 0 937404 61 6 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2018 08 25 subkhnemux 2017 11 30 Martinez Thompson Jennifer M Diehl Nancy N Holmes Jonathan M Mohney Brian G 2014 Incidence Types and Lifetime Risk of Adult Onset Strabismus Ophthalmology 121 4 877 82 doi 10 1016 j ophtha 2013 10 030 PMC 4321874 PMID 24321142 odythang ScienceDirect Friedman Neil J Kaiser Peter K Pineda Roberto 2009 The Massachusetts Eye and Ear Infirmary illustrated manual of ophthalmology 3rd ed Saunders Elsevier ISBN 978 1 4377 0908 7 concomitant strabimus TheFreeDictionary Farlex Wright Kenneth Weston Spiegel Peter H 2003 Pediatric Ophthalmology and Strabismus Springer Science amp Business Media p 155 ISBN 978 0 387 95478 3 odythang Google Books ONE Network American Association of Ophthalmology 2013 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2014 09 07 subkhnemux 2014 09 06 Engle Elizabeth C 2007 Genetic Basis of Congenital Strabismus Archves of Ophthalmology 125 2 189 195 doi 10 1001 archopht 125 2 189 PMID 17296894 Eskridge JB 1993 Persistent diplopia associated with strabismus surgery Optom Vis Sci 70 10 849 53 doi 10 1097 00006324 199310000 00013 PMID 8247489 William F Astle Jamalia Rahmat April D Ingram Peter T Huang 2007 Laser assisted subepithelial keratectomy for anisometropic amblyopia in children Outcomes at 1 year Journal of Cataract amp Refractive Surgery 33 12 2028 2034 doi 10 1016 j jcrs 2007 07 024 Jones Jordan L Wang X Scherer RW Mutti DO 2014 Topical Spectacle correction versus no spectacles for prevention of strabismus in hyperopic children Cochrane Database Syst Rev 8 8 CD007738 doi 10 1002 14651858 CD007738 pub2 PMC 4259577 PMID 25133974 Korah S Philip S Jasper S Antonio Santos A Braganza A 2014 Strabismus surgery before versus after completion of amblyopia therapy in children Cochrane Database Syst Rev 10 10 CD009272 doi 10 1002 14651858 CD009272 pub2 PMC 4438561 PMID 25315969 Parikh RK Leffler CT 2013 Middle East African Journal of Ophthalmology 20 3 225 8 doi 10 4103 0974 9233 114797 PMC 3757632 PMID 24014986 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2014 02 01 subkhnemux 2017 11 30 Re Docket No FDA 2008 P 0061 PDF Food and Drug Administration United States Department of Health and Human Services 2009 04 30 subkhnemux 2014 04 06 Kowal Lionel Wong Elaine Yahalom Claudia 2007 12 15 Botulinum toxin in the treatment of strabismus A review of its use and effects Disability and Rehabilitation 29 23 1823 31 doi 10 1080 09638280701568189 PMID 18033607 Thouvenin D Lesage Beaudon C Arne JL 2008 Injection de toxine botulique dans les strabismes precoces Efficacite et incidence sur les indications chirurgicales ulterieures A propos de 74 cas traites avant l age de 36 mois Botulinum injection in infantile strabismus Results and incidence on secondary surgery in a long term survey of 74 cases treated before 36 months of age Journal Francais d Ophtalmologie phasafrngess 31 1 42 50 PMID 18401298 de Alba Campomanes AG Binenbaum G Campomanes Eguiarte G 2010 Comparison of botulinum toxin with surgery as primary treatment for infantile esotropia Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus 14 2 111 116 doi 10 1016 j jaapos 2009 12 162 PMID 20451851 Gursoy Huseyin Basmak Hikmet Sahin Afsun Yildirim Nilgun Aydin Yasemin Colak Ertugrul 2012 Long term follow up of bilateral botulinum toxin injections versus bilateral recessions of the medial rectus muscles for treatment of infantile esotropia Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus 16 3 269 273 doi 10 1016 j jaapos 2012 01 010 ISSN 1091 8531 PMID 22681945 Rowe FJ Noonan CP 2017 Botulinum toxin for the treatment of strabismus Cochrane Database Syst Rev 3 CD006499 doi 10 1002 14651858 CD006499 pub4 PMID 28253424 Scribe Alum Notes Wayne State University 2001 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2015 06 26 aehlngxangxingxun Billson Frank 2003 Lightman Susan b k Strabismus Fundamentals of Clinical Ophthalmology series BMJ Books ISBN 0727915622 Donahue Sean P Buckley Edward G Christiansen Stephen P Cruz Oscar A Dagi Linda R 2014 Difficult problems strabismus Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus JAAPOS 18 4 e41 doi 10 1016 j jaapos 2014 07 132 karcaaenkorkhDICD 10 H49 h H50 hICD 378 185100MeSH D013285 29577thrphyakrphaynxk 001004 taehl