ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ราชวงศ์เหงียน (เวียดนาม: Nhà Nguyễn, หญ่า-งฺเหวียน; จื๋อโนม: 茹阮) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามที่ปกครองเวียดนามมา 143 ปี เริ่มจากในปี ค.ศ. 1802 เมื่อจักรพรรดิซา ล็อง ทรงปราบดาภิเษกหลังจากปราบปรามกบฏเต็ยเซินแล้ว และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงสละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิซา ล็อง เวียดนามมีชื่อว่า เวียดนาม (越南) อยู่อย่างปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิมิญ หมั่ง พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดั่ยนาม (大南, แปลว่า "ชาติยิ่งใหญ่ทางตอนใต้") การปกครองของราชวงศ์เหงียนถูกจำกัดโดยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ประเทศได้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงขณะที่อันนามและตังเกี๋ยกลายเป็นรัฐอารักขาซึ่งมีอิสระเพียงในนาม
Đại Việt quốc 大越國 (1802–1804) (Đại) Việt Nam quốc (大)越南國 (1804–1839, 1945) Đại Nam quốc 大南國 (1839–1945) | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1802–ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||||
ธงชาติ จาก ค.ศ. 1802 ถึง ค.ศ. 1885 ตราประจำราชสำนัก | |||||||||||||||||
เวียดนามในปี ค.ศ. 1839 ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เหงียน | |||||||||||||||||
เมืองหลวง | เว้ | ||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาเวียดนาม | ||||||||||||||||
ศาสนา | ลัทธิขงจื๊อใหม่, พระพุทธศาสนา, คริสต์ศาสนา | ||||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||
• ค.ศ. 1802 – ค.ศ. 1820 | จักรพรรดิซา ล็อง (พระองค์แรก) | ||||||||||||||||
• ค.ศ. 1926 – ค.ศ. 1945 | จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย (พระองค์สุดท้าย) | ||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||
• การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิซา ล็อง | 1 มิถุนายน ค.ศ. 1802 | ||||||||||||||||
• ฝรั่งเศสรุกราน | 1 กันยายน ค.ศ. 1858 | ||||||||||||||||
• | 6 มิถุนายน ค.ศ. 1884 | ||||||||||||||||
9 มีนาคม ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||||
19 สิงหาคม ค.ศ. 1945 | |||||||||||||||||
• จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย สละราชบัลลังก์ | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1945 | ||||||||||||||||
สกุลเงิน | , | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เวียดนาม ลาว กัมพูชา จีน |
ประวัติศาสตร์
พื้นหลัง
ตระกูลเหงียน เป็นหนึ่งในสองตระกูลใหญ่ซึ่งปกครองเวียดนามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดำรงตำแหน่งเป็น เวือง (Vương, 王) หรือ (Chúa Nguyễn, 主阮) หรือ เจ้าญวนใต้ตระกูลเหงียน ปกครองเวียดนามภาคกลาง (อีกตระกูลหนึ่งคือ จั๊วจิ่ญ ปกครองเวียนามภาคเหนือ) จากเมืองฟู้ซวน (Phú Xuân, 富春) หรือเมืองเว้ในปัจจุบัน โดยขึ้นกับพระจักรพรรดิหรือฮว่างเด๊ (Hoàng Đế) ที่เมืองฮานอยแต่เพียงในนามเท่านั้น จั๊วเหงียนได้แผ่ขยายดินแดนและอำนาจไปยังเวียดนามภาคใต้ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นดินแดนของอาณาจักรจามปา และอาณาจักรเขมร
จนกระทั่งเกิดกบฏ (Tây Sơn, 西山) ขึ้นในค.ศ. 1774 นำโดยสามพี่น้องตระกูลเหงียน (ตระกูลเหงียนวัน ซึ่งเป็นคนละตระกูลกับตระกูลเหงียนฟุกที่ดำรงตำแหน่งจั๊วเหงียน) ซึ่งไม่พอใจระบอบการปกครองของจั๊วเหงียน ทัพของกบฏเตยเซินยกทัพเข้ายึดนครฟู้ซวนได้ ทำให้สมาชิกตระกูลเหงียนต้องอพยพหลบหนีไปยังเมืองซาดิ่ญ (Gia Định, 嘉定) หรือเมืองไซ่ง่อนในปัจจุบัน แต่ทว่าทัพของกบฎเตยเซินยกทัพติดตามไปจนถึงเมืองซาดิ่ญ สามารถยึดเมืองซาดิ่ญได้และสังหารสมาชิกตระกูลเหงียนที่เป็นผู้ชายไปจนเกือบหมดสิ้น
กำเนิดราชวงศ์
หลังจากการสังหารหมู่ตระกูลเหงียนที่เมืองซาดิ่ญ เหงียนฟุกอั๊ญ (Nguyễn Phúc Ánh, 阮福暎) หรือที่ปรากฏในพงศาวดารของไทยว่า องเชียงสือ กลายเป็นสมาชิกตระกูลเหงียนที่อาวุโสที่สุดที่ยังคงเหลือรอดชีวิตอยู่ องเชียงสือสามารถเข้ายึดนครไซ่ง่อนคืนจากกบฎเตยเซินได้ในปีค.ศ. 1778 ปกครองเมืองไซ่ง่อนอยู่เป็นเวลาประมาณสามปี จึงถูกทัพเตยเซินขับออกจากเมืองไซ่ง่อนอีกครั้งในปีค.ศ. 1781 เหงียนฟุกอั๊ญจึงเดินทางมายังกรุงรัตนโกสินทร์ ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะที่พำนักอยู่ที่กรุงรัตนโกสินทร์นั้น เหงียนฟุกอั๊ญขอความช่วยเหลือจากบาทหลวง (Pigneau de Béhaine) เหงียนฟุกอั๊ญเห็นว่าวิทยาการทางการทหารของชาวตะวันตกมีความจำเป็นในการกอบกู้ดินแดนเวียดนามคืนจากกบฎเตยเซิน ในค.ศ. 1785 บาทหลวงปิโญ เดอ เบเอนพร้อมกับเหงียนฟุกกั๊ญ (Nguyễn Phúc Cảnh, 阮福景) บุตรชายของเหงียนฟุกอั๊ญ เดินทางทางเรือไปยังเมือง (Pondicherry) เพื่อขอความช่วยเหลือจากทางการอาณานิคมฝรั่งเศส บาทหลวงปิโญ เดอ เบเอน และเหงียนฟุกกั๊ญออกเดินทางต่อไปยังนครแวร์ซายในค.ศ. 1787 ราชสำนักฝรั่งเศสร่วมลงนามกับบาทหลวงปิโญ เดอ เบเอนในฐานะตัวแทนของเหงียนฟุกอั๊ญ ตกลงที่จะส่งกองทัพเรือและทหารเข้าช่วยเหงียนฟุกอั๊ญ เรียกว่า สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles)
หลังจากที่พำนักอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเวลาเจ็ดปี องเชียงสือเหงียนฟุกอั๊ญลักลอบเดินทางออกจากสยามเพื่อยกทัพเข้ายึดเมืองไซง่อนในค.ศ. 1788 เหงียนฟุกอั๊ญ ยกทัพเข้ายึดเมืองไซ่ง่อนได้สำเร็จและเข้าปกครองเมืองไซ่ง่อนอีกครั้ง กองทัพตะวันตกของบาทหลวงเดอเบเอนมาถึงยังไซ่ง่อนในปีค.ศ. 1789 เพื่อช่วยร่วมรบกับองเชียงสือในการกอบกู้บ้านเมืองจากกบฎเตยเซิน ในค.ศ. 1800 เหงียนฟุกกั๊ญผู้เป็นบุตรชายสามารถเข้ายึดเมืองกวีเญินอันเป็นราชธานีของราชวงศ์เตยเซินได้ และในปีต่อมาค.ศ. 1801 เหงียนฟุกอั๊ญเข้ายึดเมืองฟู้ซวนได้สำเร็จและปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระจักรพรรดิซาล็อง (Gia Long, 嘉隆) เป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหงียน ค.ศ. 1802 พระจักรพรรดิซาล็องทรงยกทัพขึ้นทางเหนือเข้ายึดเมืองทังล็องหรือฮานอยได้ ทรงสามารถรวบรวมดินแดนเวียดนามไว้ได้ในพระอาณาเขตตั้งแต่เหนือจรดใต้
การรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางและอานามสยามยุทธ
พระจักรพรรดิซาล็องทรงวางรากฐานการปกครองของราชวงศ์เหงียน ทรงส่งเสริมลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติของเวียดนาม ทรงสร้างพระราชวังเมืองเว้ หรือ ฮว่างถ่าญ (Hoàng thành, 皇城) ขึ้นในค.ศ. 1804 ตามแบบพระราชวังต้องห้ามของจีน พระจักรพรรดิซาล็องทรงแต่งตั้งข้าหลวงไปปกครองในเวียดนามภาคเหนือและเวียดนามภาคใต้ซึ่งข้าหลวงเหล่านั้นมีอำนาจอย่างมากในพื้นที่ของตน ในเวียดนามภาคเหนือทรงแต่งตั้ง บั๊กถ่าญ (Bắc Thành) ไปปกครองที่เมืองฮานอย และในเวียดนามภาคใต้ทรงแต่งตั้ง ซาดิ่ญถ่าญ (Gia Định Thành) ไปปกครองที่เมืองไซ่ง่อน
ในช่วงปลายรัชสมัยพระจักรพรรดิซาล็องนั้น ขุนนางชื่อ เลวันเสวียต (Lê Văn Duyệt, 黎文悅) ซึ่งดำรงตำแหน่งซาดิ่ญถ่าญ มีอำนาจอย่างล้นพ้นในทางตอนใต้ของเวียดนามไปจนถึงกัมพูชา เมื่อพระจักรพรรดิมิญหมั่งเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงตระหนักว่าเลวันเสวียตเปรียบเสมือนเป็นหอกข้างแคร่ ใน ค.ศ. 1832 เลวันเสวียตเสียชีวิต พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ภาคใต้ของเวียดนาม ทรงยกเลิกตำแหน่งซาดิ่ญถั่ญให้ขึ้นกับราชสำนักโดยตรง ทรงมีนโยบายรวบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางและส่งเสริมลัทธิขงจื้อ ขุนนางชุดใหม่ที่พระจักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้เข้าปกครองเวียดนามใต้พบว่าเลวัน เสวียตได้สะสมกำลังทหารอาวุธไว้เป็นจำนวนมากรวมทั้งมีทรัพย์สินร่ำรวยและเป็นที่นิยมของราษฎร พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงมีคำตัดสินให้เลวันเสวียตเป็นกบฏ มีพระราชอาญาลงโทษให้ลบหลู่และทำลายสุสานของเลวันเสวียต เลวันโคย (Lê Văn Khôi, 黎文𠐤) บุตรชายบุญธรรมของเลวันเสวียตจึงก่อการกบฏต่อต้านจักรพรรดิมิญหมั่งขึ้นใน ค.ศ. 1833 ซึ่งกบฏของเลวันโคยนั้นมีราษฎรชาวเวียดนามใต้ฝักใฝ่มาเข้าพวกจำนวนมาก และบรรดาชาวคาทอลิกหรือบาทหลวงชาวตะวันตกต่างก็ให้การสนับสนุน
เมื่อเกิดการกบฏขึ้นในเวียดนามภาคใต้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรเขมรเพื่อที่จะนำนักองค์ด้วงเจ้าชายเขมรซึ่งฝักใฝ่สยามขึ้นครองราชสมบัติกัมพูชา เป็นจุดเริ่มต้นของอานามสยามยุทธ ทัพสยามเข้าครองนครพนมเปญ ฝ่ายทัพเรือนำโดยเจ้าพระยาพระคลังสามารถตียึดเมืองบันทายมาศได้ และเดินทัพเรือขึ้นไปตามคลองหวิญเต๊ (Vĩnh Tế) เข้ายึดเมืองโชฎกหรือเจิวด๊ก (Châu Đốc) ของเวียดนามได้สำเร็จ จักรพรรดิมิญ หมั่ง ทรงแต่งตั้งให้เจืองมิญสาง (Trương Minh Giảng, 張明講) ให้เป็นผู้นำทัพเรือเวียดนามเข้าต้านทานทัพสยาม เจืองมิญสางนำทัพเรือเวียดนามสามารถตอบโต้การรุกรานได้ทำให้ทัพสยามต้องล่าถอย
จักรพรรดิมิญหมั่งทรงแต่งตั้งให้เจืองมิญสางเป็นข้าหลวงผู้แทนพระองค์ในการดูแลปกครองเขมร ในค.ศ. 1834 พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงสถาปนาเจ้าหญิงนักองค์มี (Ang Mei) ให้เป็นกษัตรีแห่งเขมรและเป็นหุ่นเชิดของเวียดนาม เป็นกษัตรีองค์มี จักรพรรดิมิญหมั่งมีพระราชประสงค์ที่จะผนวกอาณาจักรเขมรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามโดยสิ้นเชิงทั้งในทางการเมืองและทางวัฒนธรรม ทรงประกาศให้ผนวกอาณาจักรเขมรเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของเวียดนามมีชื่อว่า เจิ๊นเต็ย (Trấn Tây, 鎮西) เจืองมิญสางมีคำสั่งให้ชาวเขมรทุกคนเปลี่ยนมาพูดภาษาเวียดนาม แต่งกายอย่างเวียดนาม และดำเนินชีวิตตามหลักลัทธิขงจื๊อและวัฒนธรรมเวียดนาม เป็นนโยบายการกลืนชาติและเพื่อทำให้ชาวเขมรกลายเป็นชาวเวียดนาม นโยบายนี้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเขมรเป็นอย่างมาก ในค.ศ. 1841 พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงปลดนักองค์มีออกจากราชสมบัติ ทำให้ชาวกัมพูชาก่อการกบฎต่อต้านการปกครองของเวียดนาม เจืองมิญสางจึงนำกองทัพเวียดนามล่าถอยกลับมายังเมืองโจฏก
ในค.ศ. 1841 เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพฝ่ายสยามเข้าครองนครอุดงมีชัยและนครพนมเปญได้อีกครั้ง ฝ่ายสยามนำทัพเรือสยามเข้าโจมตีเมืองบันทายมาศ และทัพบกยกไปทางเมืองโจฏก แต่ทว่าฝ่ายเวียดนามสามารถยกทัพเข้าตีทัพของฝ่ายสยามแตกไปได้ เมื่อสงครามระหว่างเวียดนามและสยามดำเนินมาเป็นเวลานานอย่างไม่ประสบผล ทั้งฝ่ายต่างคุมเชิงกันไม่สามารถเอาชนะซึ่งกันและกันได้ การเจรจาจึงเกิดขึ้น ในค.ศ. 1846 พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงยอมรับให้นักองค์ด้วงเป็นกษัตริย์แห่งเขมร ส่งบรรณาการให้แก่ทั้งราชสำนักเวียดนามเมืองเว้และฝ่ายสยามกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสิ้นสุดความขัดแย้งเหนืออาณาจักรกัมพูชาระหว่างเวียดนามและสยาม
การรุกรานของฝรั่งเศสและการสูญเสียดินแดนโคชินจีน
ในสมัยราชวงศ์เหงียน มิชชันนารีชาวตะวันตกได้เข้ามาเผยแพร่หลักคำสอนของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ราชสำนักเวียดนามมองว่าศาสนาคริสต์เป็นลัทธินอกรีต พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงมีพระราชโองการห้ามมิให้มิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ตั้งแต่ค.ศ. 1825 แต่ทว่าพระราชโองการนั้นถูกบังคับใช้อย่างไม่เต็มที่และยังคงมีมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาในเวียดนามอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีการกดขี่เข่มเหงประหารชาวคริสเตียนจำนวนมาก การประทุษร้ายชาวคริสเตียนในเวียดนามทั้งที่เป็นชาวตะวันตกและชาวเวียดนามนั้น เปิดโอกาสให้มหาอำนาจตะวันตกคือฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ายึดดินแดนเวียดนาม ในค.ศ. 1847 มิชชันนารีดอมีนิก เลอแฟบฟวร์ (Dominique Lefèbvre) ชาวฝรั่งเศสถูกจับได้ลักลอบเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในพระอาณาจักรและถูกกุมขัง แม่ทัพเรือฝรั่งเศสชื่อว่า ฌ็อง- บาติสต์ เซซีย์ (Jean-Baptiste Cécille) นำเรือรบเข้าปิดล้อมเมืองท่าดานัง (ฝรั่งเศสเรียก ตูราน Tourane) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1847 เพื่อกดดันให้ทางการเวียดนามปล่อยตัวมิชชันนารีและเรียกร้องให้พระจักรพรรดิเถี่ยวจิพระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนาให้แก่ชาวคริสเตียน ราชสำนักเวียดนามไม่ยอมประณีประนอม และส่งเรือรบเวียดนามเข้าโจมตีตอบโต้ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงยิงปืนใหญ่เข้าทำลายเรือรบของเวียดนามไปสังหารทหารเวียดนามไปจำนวนมาก เมื่อประสบกับความพ่ายแพ้ราชสำนักเวียดนามจึงยินยอมปล่อยตัวมิชชันนารีทั้งสองแต่โดยดี
ในค.ศ. 1857 พระจักรพรรดิตึดึ๊กทรงลงพระราชอาญาประหารชีวิตมิชชันนารีชาวสเปนจำนวนสองคน ฝ่ายฝรั่งเศสเมื่อทราบเรื่องพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 มีพระราชโอการให้แม่ทัพเรือฝรั่งเศส ชาร์ล รีโกล เดอ เยอนูยยี (Charles Rigault de Genuoilly) ยกทัพเรือฝรั่งเศสมายังเวียดนามเพื่อตอบโต้การกระทำของราชสำนักเวียดนาม นายเดอเยอนูยยียกทัพเรือเข้ายึดเมืองท่าดานังได้ในค.ศ. 1858 ฝ่ายพระจักรพรรดิตึดึ๊กทรงส่งแม่ทัพเหงียนจิเฟือง (Nguyễn Tri Phương, 阮知方) ยกทัพเวียดนามเข้าล้องเมืองดานังไว้ทำให้ทัพฝรั่งเศสถูกขังอยู่ในเมืองท่าดานังไม่สามารถเดินทัพต่อขึ้นบกได้ แม่ทัพฝรั่งเศสเดอเยอนูยยีแบ่งทัพไปยึดเมืองไซ่ง่อนได้สำเร็จอีกเมืองหนึ่งในค.ศ. 1859 ปีต่อมาค.ศ. 1860 ฝ่ายฝรั่งเศสถอนทัพออกจากเมืองดานังไปสมทบรวมกันที่ไซ่ง่อน เหงียนจิเฟืองจึงยกทัพตามไปล้อมเมืองไซ่ง่อนคืนจากฝรั่งเศส นายเลโอนาร์ ชาร์แนร์ (Léonard Charner) นำทัพฝรั่งเศสฝ่าวงล้อมของเหงียนจิเฟืองที่เมืองไซ่ง่อนและสามารถเอาชนะเหงียนจิเฟืองได้ในยุทธการที่กี่ฮว่า (Battle of Kỳ Hòa) ปีค.ศ. 1861 ต่อมาทัพฝรั่งเศสเข้ายึดจังหวัดเบียนฮว่า (Biên Hòa) และจังหวัดหวิ๋ญลอง (Vĩnh Long) จนนำไปสู่การเจรจาระหว่างราชสำนักเวียดนามกับฝ่ายฝรังเศสในค.ศ. 1862 พระจักรพรรดิตึดึ๊กทรงให้ฟานทัญซ๋าน (Phan Thanh Giản, 潘淸簡) เป็นผู้แทนฝ่ายเวียดนามในทำข้อตกลงสนธิสัญญาไซ่ง่อน (Treaty of Saigon) ราชวงศ์เหงียนยกเมืองไซ่ง่อน รวมทั้งจังหวัดซาดิ่ญ จังหวัดเบียนฮว่า และจังหวัดดิ่ญเตื่อง (Định Tường) และเกาะโกนเซิน (Côn Sơn) หรือเกาะปูโลคอนดอร์ (Poulo Condore) ให้แก่ฝรั่งเศส นับว่าเป็นการสูญเสียดินแดนให้แก่ชาติตะวันตกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เวียดนาม รวมทั้งราชสำนักราชวงศ์เหงียนยังต้องเปิดเมืองท่าดานังให้เป็นเมืองท่าเสรีชาวฝรั่งเศสสามารถเข้ามาทำการพาณิชย์ได้ ให้สิทธิแก่ชาวฝรั่งเศสสามารถเดินเรือในแม่น้ำโขงได้อย่างอิสระ และราชสำนักเวียดนามต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศสอีกด้วย
ค.ศ. 1863 พระจักรพรรดิตึดึ๊กทรงแต่งคณะทูตนำโดยฟานทัญซ๋านเดินทางไปยังนครปารีสประเทศฝรั่งเศสเพื่อเจรจาทวงขอดินแดนที่เสียให้แก่ฝรั่งเศสคืนมาแต่ไม่ประสบผล ในค.ศ. 1864 ฝรั่งเศสจัดตั้งอาณานิคมขึ้นในเวียดนามอย่างเป็นทางการ มีชื่อว่า อาณานิคม (Cochinchina) เป็นการย่างเท้าเข้าสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก้าวแรกของฝรั่งเศส ในค.ศ. 1867 ฝ่ายทางการอาณานิคมฝรั่งเศสยกกำลังเข้ายึดจังหวัดเจิวด๊ก จังหวัดห่าเทียน (บันทายมาศ) และจังหวัดหวิ๋ญลอง ครอบครองดินแดนเพิ่มเติมไปจากสนธิสัญญาไซ่ง่อนเมื่อค.ศ. 1862 แม้ว่าพระจักรพรรดิตึดึ๊กจะไม่ทรงยินยอมที่จะยกดินแดนเหล่านั้นให้แก่ฝรั่งเศส แต่ก็มิอาจจะทรงกระทำสิ่งใดได้
สงครามกับฝรั่งเศสในตังเกี๋ยและการสูญเสียเอกราช
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาติมหาอำนาจตะวันตกต่างต้องการที่จะแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปในจักรวรรดิจีน ฝรั่งเศสได้สำรวจดินแดนเวียดนามภาคเหนือแถบลุ่มแม่น้ำแดง (Red River) พบว่าเป็นดินแดนที่สามารถเดินทางไปสู่จีนได้เป็นช่องทางในการขยายอิทธิพลเข้าไปในจีน ในค.ศ. 1873 เกิดความขัดแย้งระหว่างทางการเวียดนามกับพ่อค้าชาวฝรั่งเศสในลุ่มแม่น้ำแดง ทางการอาณานิคมส่งฟร็องซิส การ์นีเย (Francis Garnier) ไปเพื่อทำการไกล่เกลี่ย แต่การ์นีเยกลับนำทัพเข้าบุกยึดนครฮานอย ราชสำนักเวียดนามจึงขอความช่วยเหลือจากกองทัพธงดำ (黑旗軍) ในมณฑลกว่างสีของจีนซึ่งนำโดยแม่ทัพชาวจีน ลิ้ว หย่งฟู้ (劉永福, Liú Yǒngfú) ผู้ซึ่งนำกองทัพธงดำเข้ายึดเมืองฮานอยคืนจากฝรั่งเศสให้แก่เวียดนาม และสังหารแม่ทัพฟรังซีการ์นีเยชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตในที่รบ
ในค.ศ. 1882 แม่ทัพชาวฝรั่งเศสอีกคนหนึ่งชื่อว่า อ็องรี รีเวียร์ (Henri Rivière) ยกทัพเข้าบุกยึดเมืองฮานอยโดยไม่รับอนุญาตจากทางการอาณานิคมฝรั่งเศส ราชสำนักเวียดนามร้องขอความช่วยเหลือไปยังกองทัพธงดำอีกครั้งและไปยังราชสำนักจีนราชวงศ์ชิง ราชสำนักจีนจึงส่งกองทัพเข้ามาประจำการในเวียดนามภาคเหนือเพื่อเตรียมการต่อสู้กับฝรั่งเศส ในค.ศ. 1883 ลิ้วหย่งฟู้ประกาศท้าทายนายรีเวียร์ให้มาพบกันที่เมืองฮานอยเพื่อต่อรบปรบมือ ขณะที่นายรีวีเยกำลังเดินทางไปยังเมืองฮานอยนั้น ถูกกองทัพธงดำลอบโจมตีระหว่างทางในยุทธการที่สะพานกระดาษ (Battle of Paper Bridge) และนายรีเวียร์ถูกสังหารเสียชีวิตไป หลังจากที่ฝ่ายจีนได้สังหารผู้นำทหารของฝ่ายฝรั่งเศสไปถึงสองคน รัฐบาลฝรั่งเศสจึงจัดตั้งกองกำลังเพื่อการเดินทัพสู่ตังเกี๋ย (Tonkin Expeditionary Corps) เพื่อเข้ามาจัดการจีนและเวียดนามโดยเฉพาะ
ในค.ศ. 1883 สมเด็จพระจักรพรรดิตึ ดึ๊ก สด็จสวรรคตโดยปราศจากพระโอรส แต่ได้ทรงรับเอาพระราชนัดดามาเป็นพระโอรสบุญธรรมไว้สามพระองค์ กลุ่มขุนนางซึ่งมีอำนาจในขณะนั้นประกอบด้วย เหงียน วัน เตื่อง (Nguyễn Văn Tường, 阮文祥) และโตน เทิ้ต เทวี้ยต (Tôn Thất Thuyết, 尊室説) ได้ยกพระโอรสบุญธรรมของจักรพรรดิตึ ดึ๊กขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระจักรพรรดิสุก ดึ๊ก (Dục Đức, 育德) พระจักรพรรดิสุก ดึ๊ก อยู่ในราชสมมบัติได้เพียงสามวัน ก็ถูกกลุ่มขุนนางนั้นปลดออกจากราชสมบัติ เหงียน วัน เตื่อง และโตน เทิ้ต เทวี้ยต ยกพระโอรสบุญธรรมอีกองค์หนึ่งของพระจักรพรรดิตึ ดึ๊กขึ้นเป็นพระจักรพรรดิเหียป ฮหว่า (Hiệp Hòa, 協和) กองกำลังเพื่อการรุกรานตังเกี๋ยของฝรั่งเศส นำโดยแม่ทัพอาเมดี กูร์แบ (Amédée Courbet) ได้ยกทัพเข้าโจมตีและยึดป้อมปราการถ่วนอาน (Battle of Thuận An) ซึ่งเป็นป้อมปราการที่มีไว้สำหรับป้องกันเมืองเว้ราชธานี หากป้อมนี้ถูกยึดได้พระนครเมืองเว้ก็จะปราศจากการป้องกัน การเสียป้อมถั่วนอันให้แก่ฝรั่งเศสสร้างความตื่นตระหนกอย่างยิ่งให้แก่ราชสำนักเวียดนาม การเจรจาจึงเกิดขึ้นนำไปสู่สนธิสัญญาเว้ (Treaty of Hue) ฝรั่งเศสจัดตั้งรัฐในอารักขาขึ้นในเวียดนามภาคเหนือ เรียกว่า (Protectorate of Tonkin) แม้แต่เวียดนามภาคกลางอันประกอบไปด้วยเมืองเว้ก็ตกเป็นรัฐอารักขาฝรั่งเศส ชื่อว่ารัฐในอารักขาอันนัม (Protectorate of Annam) ราชสำนักเวียดนามราชวงศ์เหงียนสูญสิ้นซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศเวียดนาม สูญเสียเอกราชให้แก่ฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการนับแต่นั้นเป็นต้นมา ท่ามกลางวิกฤตการณ์เหล่านี้ เหงียนวันเตื่องและโตนทั๊ตเทวี้ยตก็ปลดพระจักรพรรดิเหียปฮหว่าออกจากราชสมบัติ ตั้งพระจักรพรรดิเกี๊ยน ฟุก (Kiến Phúc, 建福) ขึ้นแทน ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งปี ราชวงศ์เหงียนผลัดเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิไปถึงสามพระองค์ด้วยกัน เมื่อพระจักรพรรดิเกี๊ยนฟุกเสด็จสวรรคตในค.ศ. 1884 เหงียนวันเตื่องและโตนทั๊ตเทวี้ยตตั้งพระจักรพรรดิห่าม งี (Hàm Nghi, 咸宜) ขึ้นแทน
ฝ่ายจีนกองทัพธงดำซึ่งนำโดยลิ้ว หย่งฟู้ ถูกทัพฝรั่งเศสตีแตกพ่ายแพ้ไปในยุทธการที่เซินเต็ย (Sơn Tây Campaign) ในค.ศ. 1883 ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและจักรวรรดิจีนใหญ่โตลุกลามจนกลายเป็นสงครามจีน-ฝรั่งเศส (Sino-French War) ผลของสงครามจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สนธิสัญญาเทียนสิน (Treaty of Tientsin) ในค.ศ. 1885 จีนยอมรับให้เวียดนามเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ในปีเดียวกันนั้น เหงียน วัน เตื่อง และโตน เทิ้ต เทวี้ยต ให้พระจักรพรรดิห่าม งี มีพระราชโองการให้ชาวเวียดนามทุกคนลุกฮือขึ้นต่อต้านอิทธิพลและอำนาจของฝรั่งเศส เรียกว่า พระราชโองการเกิ่นเวือง (Cần Vương, 勤王) ชาวเวียดนามทุกระดับตั้งแต่ขุนนางจนถึงชาวบ้านที่เข้าร่วมขบวนการต่อสู้เพื่อกอบกู้ประเทศคืนให้แก่พระจักรพรรดินั้นเรียกว่า ขบวนการเกิ่นเวือง แต่ขบวนการเกิ่นเวืองนั้นประกอบด้วยการลุกฮือเพียงเล็กน้อยกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ไม่อาจขจัดอิทธิพลของฝรั่งเศสได้ ทัพฝรั่งเศสเข้ายึดพระราชวังหลวงเมืองเว้ พระจักรพรรดิห่าม งี และพระราชวงศ์ต้องเสด็จหนีออกจากพระราชวัง พระจักรพรรดิห่าม งี เสด็จหนีไปยังป่าเขาลำเนาไพรในประเทศลาวล้านช้าง โตน เทิ้ต เทวี้ยต หลบหนีไปยังมณฑลกว่างซี ในขณะที่เหงียน วัน เตื่อง ถูกทางการฝรั่งเศสจับกุมได้และเนรเทศไปยังเกาะตาฮีตีของฝรั่งเศสในค.ศ. 1886 ทางการฝรั่งเศสจึงยกพระจักรพรรดิขึ้นพระองค์ใหม่คือ พระจักรพรรดิด่ง คั้ญ (Đồng Khánh, 同慶) ขึ้นเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดให้แก่ฝรั่งเศส หลังจากที่ทรงหลบหนีอยู่เป็นเวลาสามปี พระจักรพรรดิห่าม งี ก็ทรงถูกทหารราชองค์รักษ์ทรยศและจับองค์ส่งให้แก่ทางการฝรั่งเศสในค.ศ. 1888 พระจักรพรรดิห่าม งี ทรงถูกเนรเทศไปยังแอลจีเรียในทวีปแอฟริกา นับแต่นั้นมาขบวนการเกิ่นเวืองจึงสิ้นสุดลง
รัฐอารักขาของฝรั่งเศส
รัฐบางฝรั่งเศสจัดตั้งอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส (French Indochina) ขึ้นอย่างเป็นทางการในค.ศ. 1887 เวียดนามกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอินโดจีน ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว และมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน รัฐบาลอินโดจีนมีอำนาจปกครองโดยตรงเหนือรัฐในอารักขาตังเกี๋ย และอาณานิคมโคชินไชนา ส่วนในรัฐในอารักขาอันนัมนั้นพระจักรพรรดิราชวงศ์เหงียนทรงเป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่เพียงในนามเท่านั้น รัฐบาลฝรั่งเศสอนุญาตให้สถาบันพระจักรพรรดิเวียดนามดำรงอยู่ต่อไปได้แต่เพียงในเชิงพิธีการและสัญลักษณ์เท่านั้น สถาบันขุนนางและการสอบจอหงวนยังคงดำเนินไปเช่นเดิม แต่อำนาจที่แท้จริงในการปกครองนั้นมิได้อยู่ที่สถาบันการปกครองของชาวเวียดนามพื้นเมือง แต่อยู่ที่เจ้าผู้ปกครองอาณานิคมสูงสุด (Resident Superior) ของฝรั่งเศสและรัฐบาลอาณานิคมซึ่งกำกับควบคุมราชสำนักเวียดนามอย่างใกล้ชิดอยู่ที่เมืองเว้ รัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศสมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปลดผู้ดำรงตำแหน่งขุนนางต่างๆในราชสำนักเวียดนามหรือแม้กระทั่งปลดพระจักรพรรดิออกจากราชสมบัติ พระจักรพรรดิด่งคั้ญเสด็จสวรรคตในค.ศ. 1889 แม้ว่าพระจักรพรรดิด่งคั้ญจะทรงมีพระราชโอรสอยู่แล้ว แต่ทางอาณานิคมฝรั่งเศสกลับเลือกที่จะยกราชสมบัติให้แก่พระโอรสของอดีตพระจักรพรรดิสุก ดึ๊ก ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย (Thành Thái, 成泰) พระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย ทรงแสร้งว่าทรงเสียพระจริต เพื่อที่จะทรงหลบหลีกจากการตรวจสอบของรัฐบาลฝรั่งเศสและทรงเข้าร่วมขบวนการปลดแอกประเทศเวียดนามจากฝรั่งเศสอย่างลับ ๆ จนกระทั่งพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย ทรงถูกรัฐบาลอาณานิคมจับได้ว่าทรงต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสจึงปลดพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย ออกจากราชสมบัติในค.ศ. 1907 และยกราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระจักรพรรดิถั่ญท้ายพระชนมายุเพียงเจ็ดพรรษาขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระจักรพรรดิซวี เติน (Duy Tân, 維新) การที่รัฐบาลฝรั่งเศสยกพระจักรพรรดิที่ยังทรงพระเยาว์ขึ้นปกครองประเทศก็เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม แต่ทว่าเมื่อพระจักรพรรดิซวี เติน ทรงเจริญพระชันษาขึ้น ทรงวางแผนร่วมกับขุนนางชื่อว่า เจิ่น กาว เวิน (Trần Cao Vân) ก่อการยึดอำนาจจากรัฐบาลฝรั่งเศสด้วยกำลังทหารในค.ศ. 1916 แต่รัฐบาลฝรั่งเศสล่วงรู้แผนการและจับกุมองค์พระจักรพรรดิซวี เติน และเจิ่น กาว เวิน เจิ่น กาว เวินพร้อมพรรคพวกขุนนางผู้สมรู้ร่วมคิดถูกทางการฝรั่งเศสประหารชีวิต ในขณะที่พระจักรพรรดิซวี เติน ทรงถูกปลดจากราชสมบัติ และทรงถูกเนรเทศไปยังเกาะเรอูว์นียงในมหาสมุทรอินเดียพร้อมกับอดีตพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย พระราชบิดา
รัฐบาลฝรั่งเศสกลับไปมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสของพระจักรพรรดิด่ง คั้ญ เป็นพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่คือพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ (Khải Định, 啓定) ในรัชกาลของพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ รัฐบาลฝรั่งเศสเรืองอำนาจอย่างเต็มที่ พระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ ทรงอ่อนน้อมยอมทำตามคำสั่งของรัฐบาลฝรั่งเศสทุกประการ มีพระราชโองการให้ยกเลิกการใช้อักษรจีนในเอกสารของราชสำนักเวียดนาม แล้วเปลี่ยนมาใช้อักษรละตินแทนในค.ศ. 1919 เมื่อพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ สวรรคตในค.ศ. 1925 พระโอรสขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย พระจักรพรรดิแห่งเวียดนามพระองค์สุดท้าย
การเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการยึดครอง ดานัง ในปี ค.ศ. 1858 ฝ่ายอักษะของญี่ปุ่นรุกรานเวียดนามในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1940 อันเป็นความพยายามที่จะสร้างฐานทหารเพื่อต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในปี ค.ศ. 1941 – ค.ศ. 1945 กลุ่มขบวนการต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เรียกกันว่า เวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ จาก ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ. 1945 ทางภาคเหนือของเวียดนามเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงที่ประชากรกว่าหนึ่งล้านคนประสบปัญหาและอดอาหารจนตาย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ด้วยความตะหนักถึงชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นจึงได้กวาดล้างกลุ่มเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสไปจำคุก และได้ให้การรับรองให้เวียดนามมี "เอกราช" ภายใต้ "การคุ้มครอง" ของญี่ปุ่นโดยมีจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงเป็นพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม
การล่มสลายของราชวงศ์
ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคม และได้เกิดการลุกฮือโดยกลุ่มเวียดมินห์ หลังจากได้รับการร้องขอให้สละราชสมบัติ จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ได้ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 สิงหาคม และได้มอบอำนาจให้กับเวียดมินห์ ทรงได้รับตำแหน่ง "ที่ปรึกษาสูงสุด" ให้กับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากนั้นทรงหนีออกไปจากเวียดนามไม่นานเพราะทรงไม่เห็นด้วยกับนโยบายของเวียดมินห์และได้ทรงลี้ภัยไปยังฮ่องกง ตามมาด้วยการกลับมาของฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1946 – ค.ศ. 1954) จึงเป็นการปะทะกันระหว่างฝรั่งเศสและเวียดมินห์
การสืบทอดราชวงศ์และตำแหน่งพระประมุขของราชวงศ์
ในปี ค.ศ. 1948 ฝรั่งเศสได้เชิญชวนจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ให้ทรงกลับมาในฐานะของ "ประมุขรัฐ" (Quốc Trưởng, โกว๊กเจื๋อง) ของรัฐเวียดนาม (Quốc Gia Việt Nam, โกว๊กซาเหวียตนาม) ที่ตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศสในบริเวณพื้นที่ควบคุมของฝรั่งเศส ขณะที่สงครามเลือดกับกลุ่มเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ยังดำเนินต่อไป จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ใช้เวลาส่วนใหญ่ของพระองค์ในช่วงความขัดแย้งทรงเกษมสำราญกับการมีดำรงพระชนม์ชีพในพระตำหนักหรูหราที่ด่าหลัต (ในเขตสูงของเวียดนาม) หรือในปารีส จนกระทั่งฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ต่อเวียดมินห์ที่ เดียนเบียนฟู ในปี ค.ศ. 1954
ฝรั่งเศสได้เจรจาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา เพื่อแบ่งเวียดนาม โดยได้มีการแบ่งเวียดนามเหนือให้กับกลุ่มเวียดมินห์ และเวียดนามใต้ ให้กับรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีของรัฐเวียดนาม โง ดิ่ญ เสี่ยม ได้โค่นล้มจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในการลงประชามติในปี 1955 ซึ่งผู้มีสิทธิลงเลือกตั้งส่วนใหญ่กลับเพิ่มขึ้นมาอย่างโจ่งแจ้ง ไม่เพียงแต่มีผู้ลงมติให้เวียดนามใต้กลายเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งมีอยู่ถึงร้อยละ 98 เท่านั้น แต่จำนวนผู้ลงมติให้เป็นสาธารณรัฐกลับมามากกว่าผู้มีสิทธิลงมติ เสี่ยมจึงได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม (Việt Nam Cộng Hòa, เหวียตนามก่งฮหว่า) ซึ่งทำให้จักรพรรดิบ๋าวดั่ยทรงสิ้นสุดเรื่องราวทางการเมืองอีกครั้งและเป็นการถาวร
จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสและเสด็สวรรคตในปี ค.ศ. 1997 และได้ฝังพระบรมศพที่สุสานปาซี มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง จึงได้สืบทอดตำแหน่งพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนหลังการเสด็จสวรรคตของพระบิดาในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นเจ้าชายบ๋าว ทั้ง ได้ทรงสืบทอดตำแหน่งพระประมุขราชวงศ์เหงียนจนถึงปัจจุบัน
เศรษฐกิจ
ฐานันดรศักดิ์ราชวงศ์เหงียน
- ฮว่างเด๋ (Hoàng đế, 皇帝) พระจักรพรรดิพระเจ้าแผ่นดินเวียดนาม มาจากคำว่า "ฮ่องเต้" ซึ่งได้รับอิทธิพลจากจักรวรรดิจีน ตรงกับคำภาษาเวียดนามพื้นเมืองแท้ว่า วัว (Vua) ใช้คำเรียกแทนพระองค์ว่า "เบะหะ" (Bệ hạ, 陛下) ยกตัวอย่างเช่น พระจักรพรรดิมิญหมั่ง ออกพระนามว่า "วัวมิญหมั่ง" (Vua Minh Mạng)
- ฮว่างเหิ่ว (Hoàng hậu, 皇后) พระจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม ตรงกับคำว่า "ฮองเฮา" ในภาษาจีน ในค.ศ. 1806 พระจักรพรรดิซาล็องทรงสถาปนานางต๊งฟุกถิลานพระชายาให้ขึ้นเป็นฮว่างเห่า นับจากนั้นในรัชกาลต่อมาไม่มีการสถาปนาฮว่างเห่าขึ้นอีก ในสมัยราชวงศ์เหงียนไม่มีการแต่งตั้งพระจักรพรรดินีขึ้นเคียงคู่กับฮว่างเด๊มีเพียงพระสนมนางใน หากว่าเจ้าชายพระองค์ใดได้ขึ้นครองราชสมบัติ ก็จะสถาปนาพระราชมารดาขึ้นเป็นฮว่างไท้เห่า เมื่อฮว่างไท้เห่าสิ้นพระชนม์แล้ว จึงได้รับการสถานปนาเป็นฮว่างเห่าในที่สุด อย่างไรก็ตามในรัชกาลสุดท้ายพระจักรพรรดิบ่าวดั๋ยทรงสถาปนาพระชายาขึ้นเป็นนามเฟืองฮว่างเห่า (Nam Phương hoàng hậu, 南芳皇后) ในค.ศ. 1934 ในสมัยราชวงศ์เหงียนมีฮว่างเห่าที่ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งในขณะที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่เพียงสองพระองค์เท่านั้น ดังกล่าวข้างต้น
- ฮว่างไถเหิ่ว (Hoàng thái hậu, 皇太后) พระพันปีหลวง พระราชชนนีในพระจักรพรรดิ
- ไท้ฮว่างไท้เห่า (Thái hoàng thái hậu, 太皇太后) พระอัยยิกาธิราชในพระจักรพรรดิ หรือพระพันปีหลวงฮว่างไท้เห่าในรัชกาลก่อน เมื่อเริ่มต้นรัชกาลใหม่ได้รับการสถานปนาเลื่อนขึ้นเป็นไท้ฮว่างไท้เห่า
- ฮว่างตี่อ (Hoàng tử, 皇子) เจ้าชายพระราชโอรสในพระจักรพรรดิ เมื่อเจ้าชายฮว่างตื๋อเจริญพระชนมายุได้สิบห้าพรรษา จะได้รับการสถาปนาเป็น กง (Công, 公) และเมื่อเจ้าชายเจริญพระชันษาจนพระชนมายุมากแล้ว จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆเช่น เวือง (Vương, 王) กวั่นเวือง (Quận vương, 郡王) กวั่นกง (Quận công, 郡公) หรือ โกว๊กกง (Quốc công, 國公) ในที่สุด
- ฮว่างไถตื่อ (Hoàng thái tử, 皇太子) เจ้าชายรัชทายาท ในค.ศ. 1815 พระจักรพรรดิซาล็องทรงสถานปนาเจ้าชายเหงียนฟุกด๋ามพระโอรสขึ้นเป็นฮว่างไท้ตื๋อ นับจากนั้นตลอดสมัยราชวงศ์เหงียนไม่มีการแต่งตั้งเจ้าชายรัชทายาทขึ้นมาอีก
- กงจั๊ว (Công chúa, 公主) พระราชธิดาในพระจักรพรรดิ
รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์เหงียน
พระบรมฉายาลักษณ์ | พระนามแต่งตั้ง | พระปรมาภิไธย | พระนามเดิม | ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน | ครองราชย์ | พระนามที่ใช้ในการครองราชย์ | สุสานหลวง | เหตุการณ์ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
世祖 Thế Tổ (ซา ล็อง) | 開天弘道立紀垂統神文聖武俊德隆功至仁大孝高皇帝 Khai Thiên Hoằng Đạo Lập Kỷ Thùy Thống Thần Văn Thánh Vũ Tuấn Đức Long Công Chí Nhân Đại Hiếu Cao Hoàng Đế | 阮福暎 Nguyễn Phúc Ánh เหงียน ฟุก อั๊ญ | ขุนศึกเหงียน | 1802–20 | 嘉隆 1802–20 | 千壽陵 | ทรงรวบรวมประเทศได้และก่อตั้งราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามและเป็นผู้ตั้งชื่อประเทศว่าเวียดนาม | |
聖祖 Thánh Tổ มิญ หมั่ง | 體天昌運至孝淳德文武明斷創述大成厚宅豐功仁皇帝 Thể Thiên Xương Vận Chí Hiếu Thuần Đức Văn Vũ Minh Đoán Sáng Thuật Đại Thành Hậu Trạch Phong Công Nhân Hoàng Đế | 阮福膽 Nguyễn Phúc Đảm เหงียน ฟุก เซิ่ม | พระราชโอรส | 1820–41 | 明命 1820–41 | 孝陵 Hiếu Lăng | รวมอาณาจักรจามปาได้สำเร็จ, ทำสงครามกับสยามและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นดั่ยนาม | |
憲祖 Hiến Tổ เถี่ยว จิ | 紹天隆運至善淳孝寬明睿斷文治武功聖哲章皇帝 Thiệu Thiên Long Vận Chí Thiện Thuần Hiếu Khoan Minh Duệ Đoán Văn Trị Vũ Công Thánh Triết Chượng Chương Hoàng Đế | 阮福綿宗 Nguyễn Phúc Miên Tông เหงียน ฟุก เมี่ยนตง | พระราชโอรส | 1841–47 | 紹治 1841–47 Thiệu Trị | 昌陵 Xương Lăng | ||
翼宗 Dực Tông ตึ ดึ๊ก | 世天亨運至誠達孝體健敦仁謙恭明略睿文英皇帝 Thể Thiên Hanh Vận Chí Thành Đạt Hiếu Thể Kiện Đôn Nhân Khiêm Cung Minh Lược Duệ Văn Anh Hoàng Đế | 阮福洪任 Nguyễn Phúc Hồng Nhậm เหงียน ฟุก โฮ่ง เญิม | พระราชโอรส | 1847–83 | 嗣德 1847–83 | 謙陵 | เผชิญหน้ากับฝรั่งเศสและต้องยกให้กับฝรั่งเศส | |
恭宗 Cung Tông สุก ดึ๊ก | 惠皇帝 Huệ Hoàng Đế | 阮福膺禛 Nguyễn Phúc Ưng Chân เหงียน ฟุก อึง เจิน | พระราชภาติยะ | 1883 | 育德 1883 | 安陵 | เป็นจักรพรรดิได้เพียงสามวัน | |
– เหียป ฮหว่า | 文朗郡王 Văn Lãng Quận Vương | 阮福洪佚 Nguyễn Phúc Hồng Dật เหงียน ฟุก โฮ่ง เซิต | พระปิตุลา (พระราชโอรสของจักรพรรดิเถี่ยว จิ) | 1883 | 協和 1883 | เสียเอกราชให้แก่ฝรั่งเศสในรัชกาลนี้ หลังจากเกิดการลงนามในสนธิสัญญาเมืองเว้(ค.ศ. 1883) | ||
簡宗 Giản Tông เกี๊ยน ฟุก | 紹德志孝淵睿毅皇帝 Thiệu Đức Chí Hiếu Uyên Duệ Nghị Hoàng Đế | 阮福膺登 Nguyễn Phúc Ưng Đăng เหงียน ฟุก อึง ดัง | พระภาติยะ (พระโอรสของพระเชษฐาของจักรพรรดิเหียป ฮหว่า) | 1883–84 | 建福 1883–84 | 陪陵 Bồi Lăng | เป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์เพียงแค่ 4 เดือนท่ามกลางความวุ่นวายสับสน | |
– ห่าม งี | — | 阮福膺𧰡 Nguyễn Phúc Ưng Lịch เหงียน ฟุก อึง ลิก | พระเชษฐา | 1884–85 | 咸宜 1884–85 | Thonac Cemetery, France | ถูกขับออกจากราชสมบัติเพราะความล้มเหลวของอุบายประตูตะวันตกและพยายามก่อกบฏอีกแต่ถูกจับกุมในปี 1888 และถูกเนรเทศไปยังแอลจีเรีย | |
景宗 Cảnh Tông ด่ง คั้ญ | 弘烈統哲敏惠純皇帝 Hoằng Liệt Thống Thiết Mẫn Huệ Thuần Hoàng Đế | 阮福膺祺 Nguyễn Phúc Ưng Kỷ เหงียน ฟุก อึง ขี | พระเชษฐา | 1885–89 | 同慶 1885–89 | 思陵 Tư Lăng | นิยมตะวันตก | |
– ถั่ญ ท้าย | 懷澤公 Hoài Trạch Công | 阮福寶嶙 Nguyễn Phúc Bửu Lân เหงียน ฟุก บื๋ว เลิน | พระภาติยะ (พระราชโอรสของจักรพรรดิสุก ดึ๊ก) | 1889–1907 | 成泰 1889–1907 | 安陵 | ||
– ซวี เติน | — | 阮福永珊 Nguyễn Phúc Vĩnh San เหงียน ฟุก หวิญ ซาน | พระราชโอรส | 1907–16 | 維新 1907–16 | 安陵 | ถูกบังคับสละราชสมบัติ | |
弘宗 Hoằng Tông ขาย ดิ่ญ | 嗣代嘉運聖明神智仁孝誠敬貽謨承烈宣皇帝 Tự Đại Gia Vận Thánh Minh Thần Trí Nhân Hiếu Thành Kính Di Mô Thừa Liệt Tuyên Hoàng Đế | 阮福寶嶹 Nguyễn Phúc Bửu Đảo เหงียน ฟุก บื๋ว ด๋าว | พระญาติ (พระราชโอรสของจักรพรรดิด่ง คั้ญ) | 1916–25 | 啟定 1916–25 | 應陵 | มีความสัมพันธ์อันดีกับฝรั่งเศสและเป็นหุ่นเชิดทางการเมืองให้ฝรั่งเศส พระองค์ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนเวียดนาม ผู้นำชาตินิยมกล่าวหาพระองค์ว่าขายชาติให้กับฝรั่งเศสและใช้ชีวิตอย่างหรูหราขณะที่ประชาชนถูกฝรั่งเศสกดขี่ | |
– บ๋าว ดั่ย | — | 阮福永瑞 Nguyễn Phúc Vĩnh Thụy เหงียน ฟุก หวิญ ทวี | พระราชโอรส | 1926–45 | 保大 1926–45 | , France | ทรงสถาปนาจักรวรรดิเวียดนามในขณะที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้ทรงสละราชสมบัติและมอบอำนาจให้กับโฮจิมินห์ อันเป็นจุดจบของระบอบราชาธิปไตยของเวียดนาม แม้ว่าภายหลังได้ถูกถอดถอนจากฐานะพระประมุขของรัฐของรัฐเวียดนามแล้ว พระองค์ก็ยังไม่เป็นที่นิยมของประชาชนเวียดนาม เพราะถูกมองว่าเป็นหุ่นเชิดของฝรั่งเศส |
- ภายหลังการสวรรคตของจักรพรรดิตึ ดึ๊ก และดำเนินตามพระราชพินัยกรรมของพระองค์ จักรพรรดิสุก ดึ๊ก ได้ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 19 กรกฎาคม 1883 อย่างไรก็ตาม พระองค์ถูกขับออกจากบัลลังก์และถูกจำคุกสามวันหลังจากนั้น หลังจากที่พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่าลบข้อความหนึ่งของพระราชพินัยกรรมจักรพรรดิตึ ดึ๊ก พระองค์ทรงไม่ทันได้ประกาศพระนามที่ใช้ในการครองราชย์ จึงเรียกพระองค์ตามชื่อพระตำหนักของพระองค์ว่า สุก ดึ๊ก
- มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง ได้สืบทอดเป็นพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนต่อจากพระบิดาของพระองค์
- หลังจากการสิ้นพระชนม์ของมกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง พระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายบ๋าว ทั้ง จึงได้ทรงสืบต่อฐานะพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนต่อจากพระเชษฐาของพระองค์
พงศาวลี
1 ซา ล็อง 1802–1819 | |||||||||||||
2 มิญ หมั่ง 1820–1840 | |||||||||||||
3 เถี่ยว จิ 1841–1847 | |||||||||||||
4 ตึ ดึ๊ก 1847–1883 | ถวั่ย ท้าย เวือง (อ๋องถวั่ย ท้าย) | เกียน ท้าย เวือง (อ๋องเกียน ท้าย) | 6 เหียป ฮหว่า 1883 | ||||||||||
5 สุก ดึ๊ก 1883 | 9 ด่ง คั้ญ 1885–1889 | 8 ห่าม งี 1884–1885 | 7 เกี๊ยน ฟุก 1883–1884 | ||||||||||
10 ถั่ญ ท้าย 1889–1907 | 12 ขาย ดิ่ญ 1916–1925 | ||||||||||||
11 ซวี เติน 1907–1916 | 13 บ๋าว ดั่ย 1926–1945 | ||||||||||||
อ้างอิง
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisud rachwngsehngiyn ewiydnam Nha Nguyễn hya ng ehwiyn cuxonm 茹阮 epnrachwngssudthaykhxngewiydnamthipkkhrxngewiydnamma 143 pi erimcakinpi kh s 1802 emuxckrphrrdisa lxng thrngprabdaphieskhlngcakprabpramkbtetyesinaelw aelasinsudinpi kh s 1945 emuxckrphrrdibaw dythrngslarachsmbti aelamxbxanacihkbsatharnrthprachathipityewiydnam inrahwangrchkalkhxngckrphrrdisa lxng ewiydnammichuxwa ewiydnam 越南 xyuxyangpccubn aetinrchsmykhxngckrphrrdimiy hmng phraxngkhidepliynchuxepn dynam 大南 aeplwa chatiyingihythangtxnit karpkkhrxngkhxngrachwngsehngiynthukcakdodyxiththiphlthiephimkhunkhxngnklaxananikhmfrngess praethsidthukaebngepn 3 swn khux epnrthxananikhmodytrngkhnathixnnamaelatngekiyklayepnrthxarkkhasungmixisraephiynginnamĐại Việt quốc 大越國 1802 1804 Đại Việt Nam quốc 大 越南國 1804 1839 1945 Đại Nam quốc 大南國 1839 1945 kh s 1802 kh s 1945thngchati cak kh s 1802 thung kh s 1885 trapracarachsankephlngchati Đăng đan cung phrackrphrrdiprathbphrarachbllngkewiydnaminpi kh s 1839 phayitkarpkkhrxngkhxngrachwngsehngiynemuxnghlwngewphasathwipphasaewiydnamsasnalththikhngcuxihm phraphuththsasna khristsasnakarpkkhrxngsmburnayasiththirachyckrphrrdi kh s 1802 kh s 1820ckrphrrdisa lxng phraxngkhaerk kh s 1926 kh s 1945ckrphrrdibaw dy phraxngkhsudthay prawtisastr karkhunkhrxngrachykhxngckrphrrdisa lxng1 mithunayn kh s 1802 frngessrukran1 knyayn kh s 1858 6 mithunayn kh s 1884 karthphxinodcinfrngesskhrngthisxng9 minakhm kh s 1945 karptiwtieduxnsinghakhm19 singhakhm kh s 1945 ckrphrrdibaw dy slarachbllngk25 singhakhm kh s 1945skulengin kxnhna thdiprthinxarkkhaxnnmewiydnamehnuxxinodcinkhxngfrngesspccubnepnswnhnungkhxng ewiydnam law kmphucha cinprawtisastrphunhlng aephnpayhincarukxnusrnkhxngphrackrphrrdielithot trakulehngiyn epnhnunginsxngtrakulihysungpkkhrxngewiydnaminchwngkhriststwrrsthi 17 darngtaaehnngepn ewuxng Vương 王 hrux Chua Nguyễn 主阮 hrux ecaywnittrakulehngiyn pkkhrxngewiydnamphakhklang xiktrakulhnungkhux cwciy pkkhrxngewiynamphakhehnux cakemuxngfuswn Phu Xuan 富春 hruxemuxngewinpccubn odykhunkbphrackrphrrdihruxhwanged Hoang Đế thiemuxnghanxyaetephiynginnamethann cwehngiynidaephkhyaydinaednaelaxanacipyngewiydnamphakhit sungaetedimnnepndinaednkhxngxanackrcampa aelaxanackrekhmr cnkrathngekidkbt Tay Sơn 西山 khuninkh s 1774 naodysamphinxngtrakulehngiyn trakulehngiynwn sungepnkhnlatrakulkbtrakulehngiynfukthidarngtaaehnngcwehngiyn sungimphxicrabxbkarpkkhrxngkhxngcwehngiyn thphkhxngkbtetyesinykthphekhayudnkhrfuswnid thaihsmachiktrakulehngiyntxngxphyphhlbhniipyngemuxngsadiy Gia Định 嘉定 hruxemuxngisngxninpccubn aetthwathphkhxngkbdetyesinykthphtidtamipcnthungemuxngsadiy samarthyudemuxngsadiyidaelasngharsmachiktrakulehngiynthiepnphuchayipcnekuxbhmdsin kaenidrachwngs hnngsuxxingprawtisastrphngsawdarewiydnam sa lxng etiw okwk Gia Long tẩu quốc aesdngchiwprawtikhxngehngiynfukxy hlngcakkarsngharhmutrakulehngiynthiemuxngsadiy ehngiynfukxy Nguyễn Phuc Anh 阮福暎 hruxthipraktinphngsawdarkhxngithywa xngechiyngsux klayepnsmachiktrakulehngiynthixawuosthisudthiyngkhngehluxrxdchiwitxyu xngechiyngsuxsamarthekhayudnkhrisngxnkhuncakkbdetyesinidinpikh s 1778 pkkhrxngemuxngisngxnxyuepnewlapramansampi cungthukthphetyesinkhbxxkcakemuxngisngxnxikkhrnginpikh s 1781 ehngiynfukxycungedinthangmayngkrungrtnoksinthr khxphungphrabrmophthismpharphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolk inkhnathiphankxyuthikrungrtnoksinthrnn ehngiynfukxykhxkhwamchwyehluxcakbathhlwng Pigneau de Behaine ehngiynfukxyehnwawithyakarthangkarthharkhxngchawtawntkmikhwamcaepninkarkxbkudinaednewiydnamkhuncakkbdetyesin inkh s 1785 bathhlwngpioy edx ebexnphrxmkbehngiynfukky Nguyễn Phuc Cảnh 阮福景 butrchaykhxngehngiynfukxy edinthangthangeruxipyngemuxng Pondicherry ephuxkhxkhwamchwyehluxcakthangkarxananikhmfrngess bathhlwngpioy edx ebexn aelaehngiynfukkyxxkedinthangtxipyngnkhraewrsayinkh s 1787 rachsankfrngessrwmlngnamkbbathhlwngpioy edx ebexninthanatwaethnkhxngehngiynfukxy tklngthicasngkxngthpheruxaelathharekhachwyehngiynfukxy eriykwa snthisyyaaewrsay Treaty of Versailles hlngcakthiphankxyuinkrungrtnoksinthrepnewlaecdpi xngechiyngsuxehngiynfukxylklxbedinthangxxkcaksyamephuxykthphekhayudemuxngisngxninkh s 1788 ehngiynfukxy ykthphekhayudemuxngisngxnidsaercaelaekhapkkhrxngemuxngisngxnxikkhrng kxngthphtawntkkhxngbathhlwngedxebexnmathungyngisngxninpikh s 1789 ephuxchwyrwmrbkbxngechiyngsuxinkarkxbkubanemuxngcakkbdetyesin inkh s 1800 ehngiynfukkyphuepnbutrchaysamarthekhayudemuxngkwieyinxnepnrachthanikhxngrachwngsetyesinid aelainpitxmakh s 1801 ehngiynfukxyekhayudemuxngfuswnidsaercaelaprabdaphiesktnexngkhunepnphrackrphrrdisalxng Gia Long 嘉隆 epnpthmckrphrrdiaehngrachwngsehngiyn kh s 1802 phrackrphrrdisalxngthrngykthphkhunthangehnuxekhayudemuxngthnglxnghruxhanxyid thrngsamarthrwbrwmdinaednewiydnamiwidinphraxanaekhttngaetehnuxcrdit karrwmxanacsusunyklangaelaxanamsyamyuthth phrackrphrrdisalxngthrngwangrakthankarpkkhrxngkhxngrachwngsehngiyn thrngsngesrimlththikhngcuxihepnsasnapracachatikhxngewiydnam thrngsrangphrarachwngemuxngew hrux hwangthay Hoang thanh 皇城 khuninkh s 1804 tamaebbphrarachwngtxnghamkhxngcin phrackrphrrdisalxngthrngaetngtngkhahlwngippkkhrxnginewiydnamphakhehnuxaelaewiydnamphakhitsungkhahlwngehlannmixanacxyangmakinphunthikhxngtn inewiydnamphakhehnuxthrngaetngtng bkthay Bắc Thanh ippkkhrxngthiemuxnghanxy aelainewiydnamphakhitthrngaetngtng sadiythay Gia Định Thanh ippkkhrxngthiemuxngisngxn chlxngphraxngkhckrphrrdiaelackrphrrdinismyrachwngsehngiyn inchwngplayrchsmyphrackrphrrdisalxngnn khunnangchux elwneswiyt Le Văn Duyệt 黎文悅 sungdarngtaaehnngsadiythay mixanacxyanglnphninthangtxnitkhxngewiydnamipcnthungkmphucha emuxphrackrphrrdimiyhmngesdckhuneswyrachsmbti thrngtrahnkwaelwneswiytepriybesmuxnepnhxkkhangaekhr in kh s 1832 elwneswiytesiychiwit phrackrphrrdimiyhmngthrngaephkhyayxanacekhasuphakhitkhxngewiydnam thrngykeliktaaehnngsadiythyihkhunkbrachsankodytrng thrngminoybayrwbrwmxanacsusunyklangaelasngesrimlththikhngcux khunnangchudihmthiphrackrphrrdithrngaetngtngihekhapkkhrxngewiydnamitphbwaelwn eswiytidsasmkalngthharxawuthiwepncanwnmakrwmthngmithrphysinrarwyaelaepnthiniymkhxngrasdr phrackrphrrdimiyhmngthrngmikhatdsinihelwneswiytepnkbt miphrarachxayalngothsihlbhluaelathalaysusankhxngelwneswiyt elwnokhy Le Văn Khoi 黎文𠐤 butrchaybuythrrmkhxngelwneswiytcungkxkarkbttxtanckrphrrdimiyhmngkhunin kh s 1833 sungkbtkhxngelwnokhynnmirasdrchawewiydnamitfkifmaekhaphwkcanwnmak aelabrrdachawkhathxlikhruxbathhlwngchawtawntktangkihkarsnbsnun emuxekidkarkbtkhuninewiydnamphakhit phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhwcungmiphrarachoxngkarihecaphrayabdinthredcha singh singhesni nathphekharukranxanackrekhmrephuxthicanankxngkhdwngecachayekhmrsungfkifsyamkhunkhrxngrachsmbtikmphucha epncuderimtnkhxngxanamsyamyuthth thphsyamekhakhrxngnkhrphnmepy faythpheruxnaodyecaphrayaphrakhlngsamarthtiyudemuxngbnthaymasid aelaedinthpheruxkhuniptamkhlxnghwiyet Vĩnh Tế ekhayudemuxngochdkhruxeciwdk Chau Đốc khxngewiydnamidsaerc ckrphrrdimiy hmng thrngaetngtngihecuxngmiysang Trương Minh Giảng 張明講 ihepnphunathpheruxewiydnamekhatanthanthphsyam ecuxngmiysangnathpheruxewiydnamsamarthtxbotkarrukranidthaihthphsyamtxnglathxy ckrphrrdimiyhmngthrngaetngtngihecuxngmiysangepnkhahlwngphuaethnphraxngkhinkarduaelpkkhrxngekhmr inkh s 1834 phrackrphrrdimiyhmngthrngsthapnaecahyingnkxngkhmi Ang Mei ihepnkstriaehngekhmraelaepnhunechidkhxngewiydnam epnkstrixngkhmi ckrphrrdimiyhmngmiphrarachprasngkhthicaphnwkxanackrekhmrekhamaepnswnhnungkhxngewiydnamodysinechingthnginthangkaremuxngaelathangwthnthrrm thrngprakasihphnwkxanackrekhmrekhaepnmnthlhnungkhxngewiydnammichuxwa ecinety Trấn Tay 鎮西 ecuxngmiysangmikhasngihchawekhmrthukkhnepliynmaphudphasaewiydnam aetngkayxyangewiydnam aeladaeninchiwittamhlklththikhngcuxaelawthnthrrmewiydnam epnnoybaykarklunchatiaelaephuxthaihchawekhmrklayepnchawewiydnam noybaynisrangkhwamimphxicihaekchawekhmrepnxyangmak inkh s 1841 phrackrphrrdimiyhmngthrngpldnkxngkhmixxkcakrachsmbti thaihchawkmphuchakxkarkbdtxtankarpkkhrxngkhxngewiydnam ecuxngmiysangcungnakxngthphewiydnamlathxyklbmayngemuxngoctk inkh s 1841 ecaphrayabdinthredchaykthphfaysyamekhakhrxngnkhrxudngmichyaelankhrphnmepyidxikkhrng faysyamnathpheruxsyamekhaocmtiemuxngbnthaymas aelathphbkykipthangemuxngoctk aetthwafayewiydnamsamarthykthphekhatithphkhxngfaysyamaetkipid emuxsngkhramrahwangewiydnamaelasyamdaeninmaepnewlananxyangimprasbphl thngfaytangkhumechingknimsamarthexachnasungknaelaknid karecrcacungekidkhun inkh s 1846 phrackrphrrdiethiywcithrngyxmrbihnkxngkhdwngepnkstriyaehngekhmr sngbrrnakarihaekthngrachsankewiydnamemuxngewaelafaysyamkrungrtnoksinthr epnkarsinsudkhwamkhdaeyngehnuxxanackrkmphucharahwangewiydnamaelasyam karrukrankhxngfrngessaelakarsuyesiydinaednokhchincin insmyrachwngsehngiyn michchnnarichawtawntkidekhamaephyaephrhlkkhasxnkhxngsasnakhristnikayormnkhathxlik rachsankewiydnammxngwasasnakhristepnlththinxkrit phrackrphrrdimiyhmngthrngmiphrarachoxngkarhammiihmichchnnarichawtawntkekhamaephyaephrsasnakhristtngaetkh s 1825 aetthwaphrarachoxngkarnnthukbngkhbichxyangimetmthiaelayngkhngmimichchnnarichawtawntkekhamainewiydnamxyuepncanwnmak cungmikarkdkhiekhmehngpraharchawkhrisetiyncanwnmak karprathusraychawkhrisetiyninewiydnamthngthiepnchawtawntkaelachawewiydnamnn epidoxkasihmhaxanactawntkkhuxfrngessichepnkhxxanginkarekhayuddinaednewiydnam inkh s 1847 michchnnaridxminik elxaefbfwr Dominique Lefebvre chawfrngessthukcbidlklxbephyaephrsasnakhristinphraxanackraelathukkumkhng aemthpheruxfrngesschuxwa chxng batist essiy Jean Baptiste Cecille naeruxrbekhapidlxmemuxngthadanng frngesseriyk turan Tourane ineduxnminakhm kh s 1847 ephuxkddnihthangkarewiydnamplxytwmichchnnariaelaeriykrxngihphrackrphrrdiethiywciphrarachthanesriphaphinkarnbthuxsasnaihaekchawkhrisetiyn rachsankewiydnamimyxmpranipranxm aelasngeruxrbewiydnamekhaocmtitxbot fayfrngesscungyingpunihyekhathalayeruxrbkhxngewiydnamipsngharthharewiydnamipcanwnmak emuxprasbkbkhwamphayaephrachsankewiydnamcungyinyxmplxytwmichchnnarithngsxngaetodydi inkh s 1857 phrackrphrrditudukthrnglngphrarachxayapraharchiwitmichchnnarichawsepncanwnsxngkhn fayfrngessemuxthraberuxngphrackrphrrdinopeliynthi 3 miphrarachoxkarihaemthpheruxfrngess charl riokl edx eyxnuyyi Charles Rigault de Genuoilly ykthpheruxfrngessmayngewiydnamephuxtxbotkarkrathakhxngrachsankewiydnam nayedxeyxnuyyiykthpheruxekhayudemuxngthadanngidinkh s 1858 fayphrackrphrrditudukthrngsngaemthphehngiynciefuxng Nguyễn Tri Phương 阮知方 ykthphewiydnamekhalxngemuxngdanngiwthaihthphfrngessthukkhngxyuinemuxngthadanngimsamarthedinthphtxkhunbkid aemthphfrngessedxeyxnuyyiaebngthphipyudemuxngisngxnidsaercxikemuxnghnunginkh s 1859 pitxmakh s 1860 fayfrngessthxnthphxxkcakemuxngdanngipsmthbrwmknthiisngxn ehngiynciefuxngcungykthphtamiplxmemuxngisngxnkhuncakfrngess nayeloxnar charaenr Leonard Charner nathphfrngessfawnglxmkhxngehngiynciefuxngthiemuxngisngxnaelasamarthexachnaehngiynciefuxngidinyuththkarthikihwa Battle of Kỳ Hoa pikh s 1861 txmathphfrngessekhayudcnghwdebiynhwa Bien Hoa aelacnghwdhwiylxng Vĩnh Long cnnaipsukarecrcarahwangrachsankewiydnamkbfayfrngessinkh s 1862 phrackrphrrditudukthrngihfanthysan Phan Thanh Giản 潘淸簡 epnphuaethnfayewiydnaminthakhxtklngsnthisyyaisngxn Treaty of Saigon rachwngsehngiynykemuxngisngxn rwmthngcnghwdsadiy cnghwdebiynhwa aelacnghwddiyetuxng Định Tường aelaekaaoknesin Con Sơn hruxekaapuolkhxndxr Poulo Condore ihaekfrngess nbwaepnkarsuyesiydinaednihaekchatitawntkepnkhrngaerkinprawtisastrewiydnam rwmthngrachsankrachwngsehngiynyngtxngepidemuxngthadanngihepnemuxngthaesrichawfrngesssamarthekhamathakarphanichyid ihsiththiaekchawfrngesssamarthedineruxinaemnaokhngidxyangxisra aelarachsankewiydnamtxngchdichkhaptikrrmsngkhramihaekrthbalfrngessxikdwykhnathutbrrnakarewiydnamthikrungparis frngess kh s 1863 kh s 1863 phrackrphrrditudukthrngaetngkhnathutnaodyfanthysanedinthangipyngnkhrparispraethsfrngessephuxecrcathwngkhxdinaednthiesiyihaekfrngesskhunmaaetimprasbphl inkh s 1864 frngesscdtngxananikhmkhuninewiydnamxyangepnthangkar michuxwa xananikhm Cochinchina epnkaryangethaekhasudinaednexechiytawnxxkechiyngitkawaerkkhxngfrngess inkh s 1867 faythangkarxananikhmfrngessykkalngekhayudcnghwdeciwdk cnghwdhaethiyn bnthaymas aelacnghwdhwiylxng khrxbkhrxngdinaednephimetimipcaksnthisyyaisngxnemuxkh s 1862 aemwaphrackrphrrditudukcaimthrngyinyxmthicaykdinaednehlannihaekfrngess aetkmixaccathrngkrathasingididsngkhramkbfrngessintngekiyaelakarsuyesiyexkrach inchwngkhriststwrrsthi 19 chatimhaxanactawntktangtxngkarthicaaephkhyayxiththiphlekhaipinckrwrrdicin frngessidsarwcdinaednewiydnamphakhehnuxaethblumaemnaaedng Red River phbwaepndinaednthisamarthedinthangipsucinidepnchxngthanginkarkhyayxiththiphlekhaipincin inkh s 1873 ekidkhwamkhdaeyngrahwangthangkarewiydnamkbphxkhachawfrngessinlumaemnaaedng thangkarxananikhmsngfrxngsis karniey Francis Garnier ipephuxthakariklekliy aetkarnieyklbnathphekhabukyudnkhrhanxy rachsankewiydnamcungkhxkhwamchwyehluxcakkxngthphthngda 黑旗軍 inmnthlkwangsikhxngcinsungnaodyaemthphchawcin liw hyngfu 劉永福 Liu Yǒngfu phusungnakxngthphthngdaekhayudemuxnghanxykhuncakfrngessihaekewiydnam aelasngharaemthphfrngsikarnieychawfrngessesiychiwitinthirb inkh s 1882 aemthphchawfrngessxikkhnhnungchuxwa xxngri riewiyr Henri Riviere ykthphekhabukyudemuxnghanxyodyimrbxnuyatcakthangkarxananikhmfrngess rachsankewiydnamrxngkhxkhwamchwyehluxipyngkxngthphthngdaxikkhrngaelaipyngrachsankcinrachwngsching rachsankcincungsngkxngthphekhamapracakarinewiydnamphakhehnuxephuxetriymkartxsukbfrngess inkh s 1883 liwhyngfuprakasthathaynayriewiyrihmaphbknthiemuxnghanxyephuxtxrbprbmux khnathinayriwieykalngedinthangipyngemuxnghanxynn thukkxngthphthngdalxbocmtirahwangthanginyuththkarthisaphankradas Battle of Paper Bridge aelanayriewiyrthuksngharesiychiwitip hlngcakthifaycinidsngharphunathharkhxngfayfrngessipthungsxngkhn rthbalfrngesscungcdtngkxngkalngephuxkaredinthphsutngekiy Tonkin Expeditionary Corps ephuxekhamacdkarcinaelaewiydnamodyechphaa inkh s 1883 smedcphrackrphrrditu duk sdcswrrkhtodyprascakphraoxrs aetidthrngrbexaphrarachnddamaepnphraoxrsbuythrrmiwsamphraxngkh klumkhunnangsungmixanacinkhnannprakxbdwy ehngiyn wn etuxng Nguyễn Văn Tường 阮文祥 aelaotn ethit ethwiyt Ton Thất Thuyết 尊室説 idykphraoxrsbuythrrmkhxngckrphrrditu dukkhunkhrxngrachsmbtiepnphrackrphrrdisuk duk Dục Đức 育德 phrackrphrrdisuk duk xyuinrachsmmbtiidephiyngsamwn kthukklumkhunnangnnpldxxkcakrachsmbti ehngiyn wn etuxng aelaotn ethit ethwiyt ykphraoxrsbuythrrmxikxngkhhnungkhxngphrackrphrrditu dukkhunepnphrackrphrrdiehiyp hhwa Hiệp Hoa 協和 kxngkalngephuxkarrukrantngekiykhxngfrngess naodyaemthphxaemdi kuraeb Amedee Courbet idykthphekhaocmtiaelayudpxmprakarthwnxan Battle of Thuận An sungepnpxmprakarthimiiwsahrbpxngknemuxngewrachthani hakpxmnithukyudidphrankhremuxngewkcaprascakkarpxngkn karesiypxmthwnxnihaekfrngesssrangkhwamtuntrahnkxyangyingihaekrachsankewiydnam karecrcacungekidkhunnaipsusnthisyyaew Treaty of Hue frngesscdtngrthinxarkkhakhuninewiydnamphakhehnux eriykwa Protectorate of Tonkin aemaetewiydnamphakhklangxnprakxbipdwyemuxngewktkepnrthxarkkhafrngess chuxwarthinxarkkhaxnnm Protectorate of Annam rachsankewiydnamrachwngsehngiynsuysinsungxanacinkarpkkhrxngpraethsewiydnam suyesiyexkrachihaekfrngessxyangepnthangkarnbaetnnepntnma thamklangwikvtkarnehlani ehngiynwnetuxngaelaotnthtethwiytkpldphrackrphrrdiehiyphhwaxxkcakrachsmbti tngphrackrphrrdiekiyn fuk Kiến Phuc 建福 khunaethn inrayaewlaephiyngimthunghnungpi rachwngsehngiynphldepliynxngkhphrackrphrrdiipthungsamphraxngkhdwykn emuxphrackrphrrdiekiynfukesdcswrrkhtinkh s 1884 ehngiynwnetuxngaelaotnthtethwiyttngphrackrphrrdiham ngi Ham Nghi 咸宜 khunaethn faycinkxngthphthngdasungnaodyliw hyngfu thukthphfrngesstiaetkphayaephipinyuththkarthiesinety Sơn Tay Campaign inkh s 1883 khwamkhdaeyngrahwangfrngessaelackrwrrdicinihyotluklamcnklayepnsngkhramcin frngess Sino French War phlkhxngsngkhramcinepnfayphayaeph snthisyyaethiynsin Treaty of Tientsin inkh s 1885 cinyxmrbihewiydnamepnrthinxarkkhakhxngfrngess inpiediywknnn ehngiyn wn etuxng aelaotn ethit ethwiyt ihphrackrphrrdiham ngi miphrarachoxngkarihchawewiydnamthukkhnlukhuxkhuntxtanxiththiphlaelaxanackhxngfrngess eriykwa phrarachoxngkarekinewuxng Cần Vương 勤王 chawewiydnamthukradbtngaetkhunnangcnthungchawbanthiekharwmkhbwnkartxsuephuxkxbkupraethskhunihaekphrackrphrrdinneriykwa khbwnkarekinewuxng aetkhbwnkarekinewuxngnnprakxbdwykarlukhuxephiyngelknxykracdkracaytamthitang imxackhcdxiththiphlkhxngfrngessid thphfrngessekhayudphrarachwnghlwngemuxngew phrackrphrrdiham ngi aelaphrarachwngstxngesdchnixxkcakphrarachwng phrackrphrrdiham ngi esdchniipyngpaekhalaenaiphrinpraethslawlanchang otn ethit ethwiyt hlbhniipyngmnthlkwangsi inkhnathiehngiyn wn etuxng thukthangkarfrngesscbkumidaelaenrethsipyngekaatahitikhxngfrngessinkh s 1886 thangkarfrngesscungykphrackrphrrdikhunphraxngkhihmkhux phrackrphrrdidng khy Đồng Khanh 同慶 khunepnckrphrrdihunechidihaekfrngess hlngcakthithrnghlbhnixyuepnewlasampi phrackrphrrdiham ngi kthrngthukthharrachxngkhrksthrysaelacbxngkhsngihaekthangkarfrngessinkh s 1888 phrackrphrrdiham ngi thrngthukenrethsipyngaexlcieriyinthwipaexfrika nbaetnnmakhbwnkarekinewuxngcungsinsudlng rthxarkkhakhxngfrngess thngrachwngsehngiyn kh s 1885 kh s 1890 rthbangfrngesscdtngxananikhmxinodcinkhxngfrngess French Indochina khunxyangepnthangkarinkh s 1887 ewiydnamklayepnswnhnungkhxngxananikhmxinodcin sungprakxbipdwypraethsewiydnam kmphucha aelalaw aelamisunyklangkarpkkhrxngxyuthiemuxngisngxn rthbalxinodcinmixanacpkkhrxngodytrngehnuxrthinxarkkhatngekiy aelaxananikhmokhchinichna swninrthinxarkkhaxnnmnnphrackrphrrdirachwngsehngiynthrngepnrtthathiptyaetephiynginnamethann rthbalfrngessxnuyatihsthabnphrackrphrrdiewiydnamdarngxyutxipidaetephiynginechingphithikaraelasylksnethann sthabnkhunnangaelakarsxbcxhngwnyngkhngdaeninipechnedim aetxanacthiaethcringinkarpkkhrxngnnmiidxyuthisthabnkarpkkhrxngkhxngchawewiydnamphunemuxng aetxyuthiecaphupkkhrxngxananikhmsungsud Resident Superior khxngfrngessaelarthbalxananikhmsungkakbkhwbkhumrachsankewiydnamxyangiklchidxyuthiemuxngew rthbalxananikhmfrngessmixanacthicaepliynaeplnghruxpldphudarngtaaehnngkhunnangtanginrachsankewiydnamhruxaemkrathngpldphrackrphrrdixxkcakrachsmbti phrackrphrrdidngkhyesdcswrrkhtinkh s 1889 aemwaphrackrphrrdidngkhycathrngmiphrarachoxrsxyuaelw aetthangxananikhmfrngessklbeluxkthicaykrachsmbtiihaekphraoxrskhxngxditphrackrphrrdisuk duk khunkhrxngrachsmbtiepnphrackrphrrdithy thay Thanh Thai 成泰 phrackrphrrdithy thay thrngaesrngwathrngesiyphracrit ephuxthicathrnghlbhlikcakkartrwcsxbkhxngrthbalfrngessaelathrngekharwmkhbwnkarpldaexkpraethsewiydnamcakfrngessxyanglb cnkrathngphrackrphrrdithy thay thrngthukrthbalxananikhmcbidwathrngtxtankarpkkhrxngkhxngfrngess rthbalfrngesscungpldphrackrphrrdithy thay xxkcakrachsmbtiinkh s 1907 aelaykrachsmbtiihaekphraoxrskhxngphrackrphrrdithythayphrachnmayuephiyngecdphrrsakhunkhrxngrachsmbtiepnphrackrphrrdiswi etin Duy Tan 維新 karthirthbalfrngessykphrackrphrrdithiyngthrngphraeyawkhunpkkhrxngpraethskephuxihngaytxkarkhwbkhum aetthwaemuxphrackrphrrdiswi etin thrngecriyphrachnsakhun thrngwangaephnrwmkbkhunnangchuxwa ecin kaw ewin Trần Cao Van kxkaryudxanaccakrthbalfrngessdwykalngthharinkh s 1916 aetrthbalfrngesslwngruaephnkaraelacbkumxngkhphrackrphrrdiswi etin aelaecin kaw ewin ecin kaw ewinphrxmphrrkhphwkkhunnangphusmrurwmkhidthukthangkarfrngesspraharchiwit inkhnathiphrackrphrrdiswi etin thrngthukpldcakrachsmbti aelathrngthukenrethsipyngekaaerxuwniynginmhasmuthrxinediyphrxmkbxditphrackrphrrdithy thay phrarachbidathngchatikhxngckrwrrdiewiydnam sungxyuinthanarthhunechidkhxngyipun 17 emsayn kh s 1945 30 singhakhm kh s 1945 rthbalfrngessklbipmxbrachsmbtiihaekphraoxrskhxngphrackrphrrdidng khy epnphrackrphrrdiphraxngkhihmkhuxphrackrphrrdikhay diy Khải Định 啓定 inrchkalkhxngphrackrphrrdikhay diy rthbalfrngesseruxngxanacxyangetmthi phrackrphrrdikhay diy thrngxxnnxmyxmthatamkhasngkhxngrthbalfrngessthukprakar miphrarachoxngkarihykelikkarichxksrcininexksarkhxngrachsankewiydnam aelwepliynmaichxksrlatinaethninkh s 1919 emuxphrackrphrrdikhay diy swrrkhtinkh s 1925 phraoxrskhunkhrxngrachsmbtiepnphrackrphrrdibaw dy phrackrphrrdiaehngewiydnamphraxngkhsudthay karekidkhunkhxngsngkhramolkkhrngthi 2 erimkhuninwnthi 1 knyayn kh s 1939 sungtrngkbwnkhrbrxbkaryudkhrxng danng inpi kh s 1858 fayxksakhxngyipunrukranewiydnaminwnthi 22 knyayn kh s 1940 xnepnkhwamphyayamthicasrangthanthharephuxtxsukbfaysmphnthmitrinexechiytawnxxkechiyngit inpi kh s 1941 kh s 1945 klumkhbwnkartxtanfaykhxmmiwnistthieriykknwa ewiydminh phayitkarnakhxngohciminh cak kh s 1944 thung kh s 1945 thangphakhehnuxkhxngewiydnamekidphawakhawyakhmakaephngthiprachakrkwahnunglankhnprasbpyhaaelaxdxaharcntay ineduxnminakhm kh s 1945 dwykhwamtahnkthungchychnakhxngfaysmphnthmitr yipuncungidkwadlangklumecahnathifrngessipcakhuk aelaidihkarrbrxngihewiydnammi exkrach phayit karkhumkhrxng khxngyipunodymickrphrrdibaw dy thrngepnphrackrphrrdiaehngewiydnam karlmslaykhxngrachwngs yipunidyxmaephinwnthi 15 singhakhm aelaidekidkarlukhuxodyklumewiydminh hlngcakidrbkarrxngkhxihslarachsmbti ckrphrrdibaw dy idthrngslarachsmbtiinwnthi 30 singhakhm aelaidmxbxanacihkbewiydminh thrngidrbtaaehnng thipruksasungsud ihkbrthbalchudihm hlngcaknnthrnghnixxkipcakewiydnamimnanephraathrngimehndwykbnoybaykhxngewiydminhaelaidthrngliphyipynghxngkng tammadwykarklbmakhxngfrngessineduxntulakhm sngkhramxinodcinkhrngthihnung kh s 1946 kh s 1954 cungepnkarpathaknrahwangfrngessaelaewiydminh ckrphrrdibaw dy esdcphrarachdaeninipyngsusanbrrphburuskhxngrachwngsthiemuxng Thanh Hoa emuxwnthi 17 eduxn 10 4 phvscikayn kh s 1932 karsubthxdrachwngsaelataaehnngphrapramukhkhxngrachwngs inpi kh s 1948 frngessidechiychwnckrphrrdibaw dy ihthrngklbmainthanakhxng pramukhrth Quốc Trưởng okwkecuxng khxngrthewiydnam Quốc Gia Việt Nam okwksaehwiytnam thitngkhunodyfrngessinbriewnphunthikhwbkhumkhxngfrngess khnathisngkhrameluxdkbklumewiydminhphayitkarnakhxngohciminhyngdaenintxip ckrphrrdibaw dy ichewlaswnihykhxngphraxngkhinchwngkhwamkhdaeyngthrngeksmsaraykbkarmidarngphrachnmchiphinphratahnkhruhrathidahlt inekhtsungkhxngewiydnam hruxinparis cnkrathngfrngessidphayaephtxewiydminhthi ediynebiynfu inpi kh s 1954 frngessidecrcatxrxngkbshrthxemrika ephuxaebngewiydnam odyidmikaraebngewiydnamehnuxihkbklumewiydminh aelaewiydnamit ihkbrthbalihm naykrthmntrikhxngrthewiydnam ong diy esiym idokhnlmckrphrrdibaw dy inkarlngprachamtiinpi 1955 sungphumisiththilngeluxktngswnihyklbephimkhunmaxyangocngaecng imephiyngaetmiphulngmtiihewiydnamitklayepnsatharnrth sungmixyuthungrxyla 98 ethann aetcanwnphulngmtiihepnsatharnrthklbmamakkwaphumisiththilngmti esiymcungidepnprathanathibdiaehngsatharnrthewiydnam Việt Nam Cộng Hoa ehwiytnamknghhwa sungthaihckrphrrdibawdythrngsinsuderuxngrawthangkaremuxngxikkhrngaelaepnkarthawr ckrphrrdibaw dy thrngliphyipyngfrngessaelaesdswrrkhtinpi kh s 1997 aelaidfngphrabrmsphthisusanpasi mkudrachkumarbaw lxng cungidsubthxdtaaehnngphrapramukhaehngrachwngsehngiynhlngkaresdcswrrkhtkhxngphrabidainwnthi 31 krkdakhm kh s 1997 cnkrathngsinphrachnminwnthi 28 krkdakhm kh s 2007 hlngcaknnecachaybaw thng idthrngsubthxdtaaehnngphrapramukhrachwngsehngiyncnthungpccubnesrsthkicehriyythxnginsmykhxngckrphrrditu dukehriyymngkrbin filxng insmykhxngckrphrrdimiy hmng pi kh s 1833thanndrskdirachwngsehngiynhwanged Hoang đế 皇帝 phrackrphrrdiphraecaaephndinewiydnam macakkhawa hxnget sungidrbxiththiphlcakckrwrrdicin trngkbkhaphasaewiydnamphunemuxngaethwa ww Vua ichkhaeriykaethnphraxngkhwa ebaha Bệ hạ 陛下 yktwxyangechn phrackrphrrdimiyhmng xxkphranamwa wwmiyhmng Vua Minh Mạng hwangehiw Hoang hậu 皇后 phrackrphrrdiniinphrackrphrrdiaehngewiydnam trngkbkhawa hxngeha inphasacin inkh s 1806 phrackrphrrdisalxngthrngsthapnanangtngfukthilanphrachayaihkhunepnhwangeha nbcaknninrchkaltxmaimmikarsthapnahwangehakhunxik insmyrachwngsehngiynimmikaraetngtngphrackrphrrdinikhunekhiyngkhukbhwangedmiephiyngphrasnmnangin hakwaecachayphraxngkhididkhunkhrxngrachsmbti kcasthapnaphrarachmardakhunepnhwangitheha emuxhwangithehasinphrachnmaelw cungidrbkarsthanpnaepnhwangehainthisud xyangirktaminrchkalsudthayphrackrphrrdibawdythrngsthapnaphrachayakhunepnnamefuxnghwangeha Nam Phương hoang hậu 南芳皇后 inkh s 1934 insmyrachwngsehngiynmihwangehathiidrbkarsthapnakhundarngtaaehnnginkhnathiyngmiphrachnmchiphxyuephiyngsxngphraxngkhethann dngklawkhangtn hwangithehiw Hoang thai hậu 皇太后 phraphnpihlwng phrarachchnniinphrackrphrrdi ithhwangitheha Thai hoang thai hậu 太皇太后 phraxyyikathirachinphrackrphrrdi hruxphraphnpihlwnghwangithehainrchkalkxn emuxerimtnrchkalihmidrbkarsthanpnaeluxnkhunepnithhwangitheha hwangtix Hoang tử 皇子 ecachayphrarachoxrsinphrackrphrrdi emuxecachayhwangtuxecriyphrachnmayuidsibhaphrrsa caidrbkarsthapnaepn kng Cong 公 aelaemuxecachayecriyphrachnsacnphrachnmayumakaelw cungidrbkaraetngtngihdarngtaaehnngtangechn ewuxng Vương 王 kwnewuxng Quận vương 郡王 kwnkng Quận cong 郡公 hrux okwkkng Quốc cong 國公 inthisud hwangithtux Hoang thai tử 皇太子 ecachayrchthayath inkh s 1815 phrackrphrrdisalxngthrngsthanpnaecachayehngiynfukdamphraoxrskhunepnhwangithtux nbcaknntlxdsmyrachwngsehngiynimmikaraetngtngecachayrchthayathkhunmaxik kngcw Cong chua 公主 phrarachthidainphrackrphrrdirayphranamckrphrrdirachwngsehngiynmngkudaehngckrphrrdirachwngsehngiynckrphrrdirachwngsehngiyn kh s 1802 kh s 1945 phrabrmchayalksn phranamaetngtng phraprmaphiithy phranamedim khwamsmphnthkbrchkalkxn khrxngrachy phranamthiichinkarkhrxngrachy susanhlwng ehtukarn世祖 Thế Tổ sa lxng 開天弘道立紀垂統神文聖武俊德隆功至仁大孝高皇帝 Khai Thien Hoằng Đạo Lập Kỷ Thuy Thống Thần Văn Thanh Vũ Tuấn Đức Long Cong Chi Nhan Đại Hiếu Cao Hoang Đế 阮福暎 Nguyễn Phuc Anh ehngiyn fuk xy khunsukehngiyn 1802 20 嘉隆 1802 20 千壽陵 thrngrwbrwmpraethsidaelakxtngrachwngssudthaykhxngewiydnamaelaepnphutngchuxpraethswaewiydnam聖祖 Thanh Tổ miy hmng 體天昌運至孝淳德文武明斷創述大成厚宅豐功仁皇帝 Thể Thien Xương Vận Chi Hiếu Thuần Đức Văn Vũ Minh Đoan Sang Thuật Đại Thanh Hậu Trạch Phong Cong Nhan Hoang Đế 阮福膽 Nguyễn Phuc Đảm ehngiyn fuk esim phrarachoxrs 1820 41 明命 1820 41 孝陵 Hiếu Lăng rwmxanackrcampaidsaerc thasngkhramkbsyamaelaepliynchuxpraethsepndynam憲祖 Hiến Tổ ethiyw ci 紹天隆運至善淳孝寬明睿斷文治武功聖哲章皇帝 Thiệu Thien Long Vận Chi Thiện Thuần Hiếu Khoan Minh Duệ Đoan Văn Trị Vũ Cong Thanh Triết Chượng Chương Hoang Đế 阮福綿宗 Nguyễn Phuc Mien Tong ehngiyn fuk emiyntng phrarachoxrs 1841 47 紹治 1841 47 Thiệu Trị 昌陵 Xương Lăng翼宗 Dực Tong tu duk 世天亨運至誠達孝體健敦仁謙恭明略睿文英皇帝 Thể Thien Hanh Vận Chi Thanh Đạt Hiếu Thể Kiện Đon Nhan Khiem Cung Minh Lược Duệ Văn Anh Hoang Đế 阮福洪任 Nguyễn Phuc Hồng Nhậm ehngiyn fuk ohng eyim phrarachoxrs 1847 83 嗣德 1847 83 謙陵 ephchiyhnakbfrngessaelatxngykihkbfrngess恭宗 Cung Tong suk duk 惠皇帝 Huệ Hoang Đế 阮福膺禛 Nguyễn Phuc Ưng Chan ehngiyn fuk xung ecin phrarachphatiya 1883 育德 1883 安陵 epnckrphrrdiidephiyngsamwn ehiyp hhwa 文朗郡王 Văn Lang Quận Vương 阮福洪佚 Nguyễn Phuc Hồng Dật ehngiyn fuk ohng esit phrapitula phrarachoxrskhxngckrphrrdiethiyw ci 1883 協和 1883 esiyexkrachihaekfrngessinrchkalni hlngcakekidkarlngnaminsnthisyyaemuxngew kh s 1883 簡宗 Giản Tong ekiyn fuk 紹德志孝淵睿毅皇帝 Thiệu Đức Chi Hiếu Uyen Duệ Nghị Hoang Đế 阮福膺登 Nguyễn Phuc Ưng Đăng ehngiyn fuk xung dng phraphatiya phraoxrskhxngphraechsthakhxngckrphrrdiehiyp hhwa 1883 84 建福 1883 84 陪陵 Bồi Lăng epnckrphrrdithikhrxngrachyephiyngaekh 4 eduxnthamklangkhwamwunwaysbsn ham ngi 阮福膺𧰡 Nguyễn Phuc Ưng Lịch ehngiyn fuk xung lik phraechstha 1884 85 咸宜 1884 85 Thonac Cemetery France thukkhbxxkcakrachsmbtiephraakhwamlmehlwkhxngxubaypratutawntkaelaphyayamkxkbtxikaetthukcbkuminpi 1888 aelathukenrethsipyngaexlcieriy景宗 Cảnh Tong dng khy 弘烈統哲敏惠純皇帝 Hoằng Liệt Thống Thiết Mẫn Huệ Thuần Hoang Đế 阮福膺祺 Nguyễn Phuc Ưng Kỷ ehngiyn fuk xung khi phraechstha 1885 89 同慶 1885 89 思陵 Tư Lăng niymtawntk thy thay 懷澤公 Hoai Trạch Cong 阮福寶嶙 Nguyễn Phuc Bửu Lan ehngiyn fuk buw elin phraphatiya phrarachoxrskhxngckrphrrdisuk duk 1889 1907 成泰 1889 1907 安陵 swi etin 阮福永珊 Nguyễn Phuc Vĩnh San ehngiyn fuk hwiy san phrarachoxrs 1907 16 維新 1907 16 安陵 thukbngkhbslarachsmbti弘宗 Hoằng Tong khay diy 嗣代嘉運聖明神智仁孝誠敬貽謨承烈宣皇帝 Tự Đại Gia Vận Thanh Minh Thần Tri Nhan Hiếu Thanh Kinh Di Mo Thừa Liệt Tuyen Hoang Đế 阮福寶嶹 Nguyễn Phuc Bửu Đảo ehngiyn fuk buw daw phrayati phrarachoxrskhxngckrphrrdidng khy 1916 25 啟定 1916 25 應陵 mikhwamsmphnthxndikbfrngessaelaepnhunechidthangkaremuxngihfrngess phraxngkhimepnthiniymkhxngprachachnewiydnam phunachatiniymklawhaphraxngkhwakhaychatiihkbfrngessaelaichchiwitxyanghruhrakhnathiprachachnthukfrngesskdkhi baw dy 阮福永瑞 Nguyễn Phuc Vĩnh Thụy ehngiyn fuk hwiy thwi phrarachoxrs 1926 45 保大 1926 45 France thrngsthapnackrwrrdiewiydnaminkhnathiyipunyudkhrxngxinodcininsngkhramolkkhrngthi 2 txmaidthrngslarachsmbtiaelamxbxanacihkbohciminh xnepncudcbkhxngrabxbrachathipitykhxngewiydnam aemwaphayhlngidthukthxdthxncakthanaphrapramukhkhxngrthkhxngrthewiydnamaelw phraxngkhkyngimepnthiniymkhxngprachachnewiydnam ephraathukmxngwaepnhunechidkhxngfrngessphayhlngkarswrrkhtkhxngckrphrrditu duk aeladaenintamphrarachphinykrrmkhxngphraxngkh ckrphrrdisuk duk idkhunkhrxngrachyinwnthi 19 krkdakhm 1883 xyangirktam phraxngkhthukkhbxxkcakbllngkaelathukcakhuksamwnhlngcaknn hlngcakthiphraxngkhthrngthukklawhawalbkhxkhwamhnungkhxngphrarachphinykrrmckrphrrditu duk phraxngkhthrngimthnidprakasphranamthiichinkarkhrxngrachy cungeriykphraxngkhtamchuxphratahnkkhxngphraxngkhwa suk duk mkudrachkumarbaw lxng idsubthxdepnphrapramukhaehngrachwngsehngiyntxcakphrabidakhxngphraxngkh hlngcakkarsinphrachnmkhxngmkudrachkumarbaw lxng phraxnuchakhxngphraxngkh ecachaybaw thng cungidthrngsubtxthanaphrapramukhaehngrachwngsehngiyntxcakphraechsthakhxngphraxngkhphngsawli1 sa lxng 1802 1819 2 miy hmng 1820 1840 3 ethiyw ci 1841 1847 4 tu duk 1847 1883 thwy thay ewuxng xxngthwy thay ekiyn thay ewuxng xxngekiyn thay 6 ehiyp hhwa 1883 5 suk duk 1883 9 dng khy 1885 1889 8 ham ngi 1884 1885 7 ekiyn fuk 1883 1884 10 thy thay 1889 1907 12 khay diy 1916 1925 11 swi etin 1907 1916 13 baw dy 1926 1945 xangxinghttps www gotoknow org posts 217707 wikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb rachwngsehngiyn