ภาษาญี่ปุ่น (คันจิ: 日本語 ฮิรางานะ: にほんご/にっぽんごโรมาจิ: Nihongo, Nippongo ทับศัพท์: นิฮงโงะ, นิปปงโงะ, [ɲihoŋŋo, ɲippoŋŋo] ( ฟังเสียง)) เป็นภาษาราชการของประเทศญี่ปุ่นโดยพฤตินัย ปัจจุบันมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่ทั่วโลกประมาณ 125 ล้านคนโดยเป็นผู้อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นประมาณ 124 ล้านคน และมีผู้ใช้เป็นภาษาที่สองประมาณ 120,000 คน นอกจากนี้ รัฐอาเงาร์ สาธารณรัฐปาเลา ยังได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาราชการร่วมกับและภาษาอังกฤษ
ภาษาญี่ปุ่น | |
---|---|
日本語 にほんご/にっぽんご ニホンゴ/ニッポンゴ nihongo/nippongo | |
ออกเสียง | /nihoNɡo/, /niQpoNgo/: [ɲihoŋŋo], [ɲippoŋŋo] |
ประเทศที่มีการพูด | ญี่ปุ่น |
ชาติพันธุ์ | ชาวญี่ปุ่น () |
จำนวนผู้พูด | ประมาณ 125 ล้านคน (2022) |
ตระกูลภาษา | ญี่ปุ่น
|
รูปแบบก่อนหน้า |
|
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ญี่ปุ่น (โดยพฤตินัย) ปาเลา (ในรัฐอาเงาร์) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ja |
ISO 639-2 | jpn |
ISO 639-3 | jpn |
45-CAA-a | |
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษารูปคำติดต่อที่มีลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคแบบ ประธาน-กรรม-กริยา (subject-object-verb: SOV) แม้ว่าที่จริงแล้วลำดับคำจะมีความยืดหยุ่นในระดับหนึ่งก็ตาม มีโครงสร้างพยางค์ที่ไม่ซับซ้อนและส่วนใหญ่เป็นพยางค์เปิด (open syllable) คำศัพท์ที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งคำญี่ปุ่นดั้งเดิม เรียกว่า "วาโงะ" (ญี่ปุ่น: 和語 โรมาจิ: Wago) คำที่มาจากภาษาจีน เรียกว่า "คังโงะ" (ญี่ปุ่น: 漢語 โรมาจิ: Kango) คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เรียกว่า "ไกไรโงะ" (ญี่ปุ่น: 外来語 โรมาจิ: Gairaigo) และคำที่ประกอบด้วยคำจากสองประเภทขึ้นไป เรียกว่า "คนชูโงะ" (ญี่ปุ่น: 混種語 โรมาจิ: Konshugo) ภาษาญี่ปุ่นมีระบบการเขียนที่ใช้อักษรหลายประเภทร่วมกัน ได้แก่ อักษรฮิรางานะและอักษรคาตากานะ (พัฒนามาจากอักษรมันโยงานะ) เป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph) ส่วนอักษรโรมันหรือโรมาจินั้นปัจจุบันมีการใช้ที่จำกัด เช่น ข้อความบนป้ายสาธารณะตามท้องถนน ชื่อและนามสกุลบนหนังสือเดินทาง และการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์
ระบบเสียง
เสียงสระ
สระหน้า (front) | สระกลาง (central) | สระหลัง (back) | |
---|---|---|---|
สระปิด (close) | i | u | |
สระระดับกลาง (mid) | e | o | |
สระเปิด (open) | a |
- หน่วยเสียง /i/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาเล็กน้อย อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [i̞]
- หน่วยเสียง /e/ ในการออกเสียงจริงระดับลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [e] กับ [ɛ] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [e̞]
- หน่วยเสียง /a/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะอยู่ระหว่างเสียง [a] กับ [ɑ] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดขึ้นได้ว่า [a̠]
- หน่วยเสียง /o/ ในการออกเสียงจริงตำแหน่งลิ้นจะลดต่ำลงมาอยู่ระหว่างเสียง [o] กับ [ɔ] อาจเขียนเป็นสัทอักษรให้ละเอียดได้ขึ้นว่า [o̞]
- หน่วยเสียง /u/ ในสำเนียงโตเกียวมีความแตกต่างจากเสียง [u] คือ ริมฝีปากไม่ห่อกลม กล่าวคือ ริมฝีปากจะผ่อนคลายแต่ไม่ถึงขั้นเหยียดริมฝีปากแบบ /i/ แม้ว่าอาจจะมีการหดริมฝีปาก (lip compression) กรณีที่ออกเสียงช้า ๆ อย่างระมัดระวังบ้างก็ตาม อีกทั้งตำแหน่งลิ้นเยื้องมาข้างหน้าค่อนข้างมาก (โดยเฉพาะเมื่อตามหลังเสียงพยัญชนะ [s] [t͡s] [d͡z] [z] ตำแหน่งลิ้นจะเยื้องไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น) ดังนั้นจึงอาจเขียนสัทอักษรโดยละเอียดได้ว่า [ɯ̈] อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงเรื่องความแปลกเด่น (markedness) ที่ไม่สอดคล้องกันแล้ว กล่าวคือ โดยทั่วไปภาษาใดที่มีหน่วยเสียง /ɯ/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดรอง ภาษานั้นก็ควรมีหน่วยเสียง /u/ ซึ่งเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักด้วย ไม่ควรจะมีเพียงแค่หน่วยเสียง /ɯ/ โดยไม่มีหน่วยเสียง /u/ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความประสานทางรูปแบบของการแจกแจง (หน่วยเสียงสระทั้ง 5 เสียงเป็นสมาชิกเสียงสระมาตรฐานชุดหลักเหมือนกันทั้งหมด) เราจึงควรเลือกเสียง [u] ขึ้นมาเป็นตัวแทนของหน่วยเสียงมากกว่าเสียง [ɯ] ดังที่แสดงในตารางข้างต้น
- ความยาวของเสียงสระมีหน้าที่ในการแยกความหมาย เช่น เสียงสระ /i/ สั้น-ยาวในคำว่า ojiisan /ozisaN/ "ลุง, น้าหรืออาเพศชาย" เทียบกับ ojiisan /oziːsaN/ "ตา, ปู่, ชายสูงอายุ" หรือเสียงสระ /u/ สั้น-ยาวในคำว่า tsuki /tuki/ "พระจันทร์" เทียบกับ tsūki /tuːki/ "กระแสลม" อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์ยังคงเห็นไม่ตรงกันว่าระบบเสียงภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงสระยาว /aː/ /iː/ /uː/ /eː/ /oː/ หรือไม่ ทั้งนี้ กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมักกำหนดให้มีหน่วยเสียงพิเศษ เช่น /R/ หรือ /H/ ตามหลังเสียงสระสั้น เช่น ojiisan → /oziRsaN/ หรือ /oziHsaN/, tsūki → /tuRki/ หรือ /tuHki/
เสียงพยัญชนะ
ฐานริมฝีปากทั้งสอง | ฐานปุ่มเหงือก | ฐานปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง | ฐานเพดานแข็ง | ฐานเพดานอ่อน | ฐานลิ้นไก่ | ฐานเส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงกัก | ไม่ก้อง | p | t | k | (ʔ) | |||
ก้อง | b | d | g | |||||
เสียงนาสิก | m | n | (ɲ) | (ŋ) | (ɴ) | |||
เสียงรัวลิ้น | (r) | |||||||
เสียงลิ้นกระทบ | ɾ | |||||||
เสียงเสียดแทรก | ไม่ก้อง | ɸ | s | (x) | h | |||
ก้อง | (β) | z | (ɣ) | |||||
เสียงกักเสียดแทรก | ไม่ก้อง | (t͡s) | (t͡ɕ) | |||||
ก้อง | (d͡z) | (d͡ʑ) | ||||||
เสียงเปิด (เสียงเลื่อน) | j | ɰ (w) | ||||||
เสียงเปิดข้างลิ้น | (l) |
- สัทอักษรที่อยู่ในวงเล็บเป็นหน่วยเสียงย่อย (เสียงแปร) ของหน่วยเสียงใดหน่วยเสียงหนึ่ง
- เสียงกัก ไม่ก้อง /p, t, k/ เมื่อปรากฏในตำแหน่งต้นคำอาจมี (aspiration) ตามมาหลังจากปลดปล่อยการกัก เป็นเสียงแปรอิสระ (ไม่มีหน้าที่ในการแยกความหมาย) เขียนเป็นสัทอักษรโดยละเอียดได้ว่า [pʰ, tʰ, kʰ]
- หน่วยเสียง /t/ (เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง) จะออกเสียงเป็น [t͡ɕ] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ และจะออกเสียงเป็น [t͡s] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /u/
- เสียง [ʔ] (เสียงกัก เส้นเสียง) พบได้ในตำแหน่งท้ายคำ เช่น 「あっ」「あれっ」
- หน่วยเสียง /b/ (เสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง) อาจออกเสียงเป็น [β] (เสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก ก้อง) เมื่ออยู่ระหว่างเสียงสระ
- หน่วยเสียง /n/ (เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก) จะออกเสียงเป็น [ɲ] (เสียงนาสิก เพดานแข็ง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ หรือเสียงพยัญชนะ /j/
- หน่วยเสียง /g/ (เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง) เมื่ออยู่ตำแหน่งที่ไม่ใช่ต้นคำอาจจะออกเสียงเป็น [ŋ] (เสียงนาสิก เพดานอ่อน) หรือ [ɣ] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง)
- หน่วยเสียง /ɾ/ (เสียงลิ้นกระทบ ปุ่มเหงือก) เมื่ออยู่ต้นคำอาจจะออกเสียงเป็น /l/ (เสียงเปิดข้างลิ้น ปุ่มเหงือก) และอาจพบการออกเสียงเป็น [r] (เสียงรัว ปุ่มเหงือก) ในคนบางกลุ่ม เช่น ชาวเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸っ子 โรมาจิ: Edokko ทับศัพท์: เอดกโกะ) ทั้งนี้ ตำราบางเล่มใช้ตัวอักษร /r/ แทน /ɾ/ เพื่อความสะดวก
- หน่วยเสียง /h/ (เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง) จะออกเสียงเป็น [ç] เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ และจะออกเสียงเป็น [ɸ] (เสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก ไม่ก้อง) เมื่อตามด้วยเสียงสระ /u/ และอาจจะออกเสียงเป็น [ɦ] หรือ [x] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ไม่ก้อง) ได้ในบางสภาพแวดล้อม
- หน่วยเสียง /s/ (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง) จะออกเสียงเป็น [ɕ] เมื่อตามด้วยเสียงสระ /i/ หรือเสียงพยัญชนะ /j/
- หน่วยเสียง /z/ (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง) กรณีที่ตามด้วยเสียงสระ /i/ หรือเสียงพยัญชนะ /j/ จะออกเสียงเป็น [d͡ʑ] หรือ [ʑ] ส่วนกรณีที่ตามด้วยเสียงสระอื่น ๆ จะออกเสียงเป็น [d͡z] (เสียงกักเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง) หรือ [z] (เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ก้อง)
- หน่วยเสียง /j/ (เสียงเปิด เพดานแข็ง) จะปรากฏหน้าเสียงสระ /u /o/ /a/ และไม่ปรากฏหน้าเสียงสระ /i/ /e/ ทั้งนี้ ตำราบางเล่มใช้ตัวอักษร /y/ แทน /j/ เพื่อความสะดวก
- หน่วยเสียง /ɰ/ (เสียงเปิด เพดานอ่อน) จะปรากฏหน้าเสียงสระ /a/ เท่านั้น และมีเสียง [w] (เสียงเปิด ริมฝีปาก-เพดานอ่อน ก้อง) เป็นเสียงแปรอิสระ ทั้งนี้ ตำราบางเล่มใช้ตัวอักษร /w/ แทน /ɰ/ เพื่อความสะดวก
- ส่วนอื่น ๆ ของบทความนี้จะใช้ /r/ แทน /ɾ/, ใช้ /y/ แทน /j/ และใช้ /w/ แทน /ɰ/ เมื่อกล่าวถึงหน่วยเสียงด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวกเช่นกัน
เสียงพยัญชนะควบกล้ำ
เสียงพยัญชนะควบกล้ำ (consonant cluster) ในภาษาญี่ปุ่นปรากฏเฉพาะตำแหน่งต้นพยางค์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ /Cy/ กับ /Cw/
- /Cy/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็น /y/ ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「や・ゆ・よ」/「ヤ・ユ・ヨ」 ขนาดเล็ก: 「ゃ・ゅ・ょ」/「ャ・ュ・ョ」เช่น 「きゃ」(/kya/),「にゅ」(/nyu/),「ひょ」(hyo) เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ไคโยอง" (ญี่ปุ่น: 開拗音 โรมาจิ: Kaiyōon)
- /Cw/ คือ เสียงพยัญชนะควบกล้ำที่ตำแหน่งที่สองเป็น /w/ ปัจจุบันเสียงนี้ได้สูญไปจากระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น (ภาษากลาง) แล้ว แม้จะยังคงมีเหลือให้เห็นในการสะกดคำวิสามานยนามบางคำก็ตาม เช่น ชื่อมหาวิทยาลัย "Kwansei Gakuin University" อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่นบางถิ่นยังคงมีเสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้อยู่ เสียงพยัญชนะควบกล้ำชนิดนี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "โกโยอง" (ญี่ปุ่น: 合拗音 โรมาจิ: Gōyōon)
เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก
เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร N ใหญ่ (/N/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์และมีการ (assimilation) กับเสียงที่อยู่รอบข้าง ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「ん」/「ン」 เสียงพยัญชนะท้ายนาสิกแบ่งเป็นหน่วยเสียงย่อยได้ดังนี้
ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย | |
---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก ริมฝีปาก: [m] | 散歩(さんぽ) | /saNpo/ | [samːpo] | เดินเล่น |
เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก: [n] | 本当(ほんとう) | /hoNtoː/ | [honːtoː] | จริง |
เสียงนาสิก (หน้า) เพดานแข็ง: [ɲ] | 筋肉(きんにく) | /kiNniku/ | [kʲiɲːɲikɯ] | กล้ามเนื้อ |
เสียงนาสิก เพดานอ่อน: [ŋ] | 頑固(がんこ) | /gaNko/ | [gaŋːko] | ดื้อรั้น |
เสียงนาสิก ลิ้นไก่: [ɴ] | 不満(ふまん) | /humaN/ | [ɸɯmaɴː] | ไม่พอใจ |
: [Ṽ] | 千円(せんえん) | /seNen/ | [seẽeŋː] | หนึ่งพันเยน |
- จะออกเสียงเป็น [m] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะริมฝีปากที่มีการปิดฐานกรณ์: [p, b, m]
- จะออกเสียงเป็น [n] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนปุ่มเหงือกที่มีการปิดฐานกรณ์: [t, d, n, t͡s, d͡z, ɾ]
- จะออกเสียงเป็น [ɲ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะ (หน้า) เพดานแข็งที่มีการปิดฐานกรณ์: [t͡ɕ, d͡z, ɲ]
- จะออกเสียงเป็น [ŋ] เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะเพดานอ่อนที่มีการปิดฐานกรณ์: [k, g, ŋ]
- จะออกเสียงเป็น [ŋ] หรือ [ɴ] เมื่อไม่มีเสียงอะไรตามมา (เช่น เมื่อพูดจบหรือเว้นช่วงระหว่างพูด)
- จะออกเสียงเป็นเสียง (nasal vowel) เมื่อตามด้วยเสียงที่ไม่มีการปิดฐานกรณ์ โดยอาจจะออกเป็นเสียง [ã, ĩ, ɯ̃, ẽ] หรือ [õ] ขึ้นอยู่กับเสียงรอบข้าง (หากพูดช้า ๆ อาจจะเป็นเสียง [ŋ] หรือ [ɴ])
เสียงพยัญชนะซ้ำ
เขียนแทนหน่วยเสียงได้ด้วยอักษร Q ใหญ่ (/Q/) เป็นเสียงที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายพยางค์และออกเสียงโดยซ้ำเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปตามกระบวนการทางสัทวิทยาที่เรียกว่า (gemination) ทำให้เสียงพยัญชนะเหล่านี้กลายเป็นเสียงพยัญชนะยาว (long consonant) ในระบบการเขียนปัจจุบันแทนเสียงด้วยตัวอักษร 「つ」/「ツ」 ขนาดเล็ก: 「っ」/「ッ」
เสียงพยัญชนะที่ซ้ำ | ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย |
---|---|---|---|---|
เสียงกัก ริมฝีปาก ไม่ก้อง: [p] | 一歩(いっぽ) | /iQpo/ | [ipːo] | หนึ่งก้าว |
เสียงกัก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง: [t] | 夫(おっと) | /oQto/ | [otːo] | สามี |
เสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง: [k] | 真っ赤(まっか) | /maQka/ | [makːa] | สีแดงสด |
เสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง: [s] | 実際(じっさい) | /zyiQsai/ | [d͡ʑisːai̯] | ความเป็นจริง |
: [ɕ] | 雑誌(ざっし) | /zaQsi/ | [d͡zaɕːi] | นิตยสาร |
โดยปกติแล้ว เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับเสียงพยัญชนะไม่ก้องเท่านั้น ยกเว้นคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำที่อาจจะพบการซ้ำเสียงพยัญชนะก้อง อีกทั้งยังพบการซ้ำเสียงพยัญชนะเสียดแทรก [ɸ, ç, h] (เสียงพยัญชนะของอักษรวรรค は) ในคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศบางคำด้วย
เสียงพยัญชนะที่ซ้ำ | ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย |
---|---|---|---|---|
เสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง: [b] | ウェッブ | /weQbu/ | [webːɯ] | เว็บ (ภาษาอังกฤษ: "web") |
เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง: [d] | ベッド | /beQdo/ | [bedːo] | เตียงนอน (ภาษาอังกฤษ: "bed") |
เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง: [g] | バッグ | /baQgu/ | [bagːɯ] | กระเป๋า (ภาษาอังกฤษ: "bag") |
เสียงเสียดแทรก ริมฝีปาก ไม่ก้อง: [ɸ] | ワッフル | /waQfuru/ | [waɸːɯɾɯ] | ขนมรังผึ้ง (ภาษาอังกฤษ: "waffle") |
: [ç] | チューリッヒ | /tyuːriQhi/ | [t͡ɕɯːçːi] | เมืองซือริช (ภาษาเยอรมัน: "Zürich") |
เสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง: [h] | マッハ | /maQha/ | [mahːa] | เลขมัค (ภาษาเยอรมัน: "Mach") |
อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะออกเสียงโดยเปลี่ยนจากเสียงก้องเป็นเสียงไม่ก้องอยู่หลายคำ เช่น [bedːo] → [betːo], [bagːɯ] → [bakːɯ] บ่อยครั้งที่ป้ายหรือโฆษณาสะกดคำโดยใช้อักษรเสียงไม่ก้องแทน เช่น 「バッグ」 เป็น 「バック」
เสียงของอักษรคานะ
-a | -i | -u | -e | -o | -ya | -yu | -yo |
---|---|---|---|---|---|---|---|
あ a [a] | い i [i] | う u [ɯ] | え e [e] | お o [o] | |||
か ka [ka] | き ki [kʲi] | く ku [kɯ] | け ke [ke] | こ ko [ko] | きゃ kya [kja] | きゅ kyu [kjɯ] | きょ kyo [kjo] |
さ sa [sa] | し si [ɕi] | す su [sɯ] | せ se [se] | そ so [so] | しゃ sya [ɕa] | しゅ syu [ɕɯ] | しょ syo [ɕo] |
た ta [ta] | ち ti [t͡ɕi] | つ tu [t͡sɯ] | て te [te] | と to [to] | ちゃ tya [t͡ɕa] | ちゅ tyu [t͡ɕɯ] | ちょ tyo [t͡ɕo] |
な na [na] | に ni [ɲi] | ぬ nu [nɯ] | ね ne [ne] | の no [no] | にゃ nya [ɲa] | にゅ nyu [ɲɯ] | にょ nyo [ɲo] |
は ha [ha] | ひ hi [çi] | ふ hu [ɸɯ] | へ he [he] | ほ ho [ho] | ひゃ hya [ça] | ひゅ hyu [çɯ] | ひょ hyo [ço] |
ま ma [ma] | み mi [mʲi] | む mu [mɯ] | め me [me] | も mo [mo] | みゃ mya [mja] | みゅ myu [mjɯ] | みょ myo [mjo] |
や ya [ja] | ゆ yu [jɯ] | よ yo [jo] | |||||
ら ra [ɾa] | り ri [ɾʲi] | る ru [ɾɯ] | れ re [ɾe] | ろ ro [ɾo] | りゃ rya [ɾja] | りゅ ryu [ɾjɯ] | りょ ryo [ɾjo] |
わ wa [ɰa] | (を) (o) ([o]) | ||||||
が ga [ga/ŋa] | ぎ gi [gʲi/ŋʲi] | ぐ gu [gɯ/ŋɯ] | げ ge [ge/ŋe] | ご go [go/ŋo] | ぎゃ gya [gja/ŋja] | ぎゅ gyu [gjɯ/ŋjɯ] | ぎょ gyo [gjo/ŋjo] |
ざ za [d͡za/za] | じ zi [d͡ʑi/ʑi] | ず zu [d͡zɯ/zɯ] | ぜ ze [d͡ze/ze] | ぞ zo [d͡zo/zo] | じゃ zya [d͡ʑa/ʑa] | じゅ zyu [d͡ʑɯ/ʑɯ] | じょ zyo [d͡ʑo/ʑo] |
だ da [da] | (ぢ) (zi) ([d͡ʑi/ʑi]) | (づ) (zu) ([d͡zɯ/zɯ]) | で de [de] | ど do [do] | (ぢゃ) (zya) ([d͡ʑa/ʑa]) | (ぢゅ) (zyu) ([d͡ʑɯ/ʑɯ]) | (ぢょ) (zyo) ([d͡ʑo/ʑo]) |
ば ba [ba] | び bi [bʲi] | ぶ bu [bɯ] | べ be [be] | ぼ bo [bo] | びゃ bya [bja] | びゅ byu [bjɯ] | びょ byo [bjo] |
ぱ pa [pa] | ぴ pi [pʲi] | ぷ pu [pɯ] | ぺ pe [pe] | ぽ po [po] | ぴゃ pya [pja] | ぴゅ pyu [pjɯ] | ぴょ pyo [pjo] |
ん | หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/ |
っ | หน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ |
- ตัวอักษร 「を」 ออกเสียงเหมือน 「お」
- ตัวอักษร 「ぢ」「ぢゃ」「ぢゅ」「ぢょ」「づ」 ออกเสียงเหมือน 「じ」「じゃ」「じゅ」「じょ」「ず」 ตามลำดับ
- มีนักภาษาศาสตร์บางกลุ่มที่นับจำนวนหน่วยเสียงในภาษาญี่ปุ่นแตกต่างไปจากข้อมูลข้างต้น เช่น
- กลุ่มที่นับเสียง [ŋ] (เสียงนาสิก เพดานอ่อน) แยกจากหน่วยเสียง /g/ (เสียงกัก เพดานอ่อน ก้อง) ออกมาเป็นอีกหนึ่งหน่วยเสียง
- กลุ่มที่มองว่า [tʲi](てぃ/ティ) กับ [tɯ](とぅ/トゥ) ซึ่งใช้กับเฉพาะคำศัพท์ภาษาต่างประเทศ เช่น 「パーティー」 (อังกฤษ: party) 「タトゥー」 (อังกฤษ: tattoo) เป็นสมาชิกในระบบเสียงของภาษาญี่ปุ่นด้วย
- กลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (Q)
- กลุ่มที่วิเคราะห์ว่ามีหน่วยเสียงยาว (R หรือ H) อยู่ในภาษาญี่ปุ่นด้วย
- เสียงพยัญชนะที่อยู่หน้าเสียงสระ /i/ จะมี (palatalization) ประกอบ โดยแบ่งระดับการยกลิ้นได้ 2 ระดับ
- ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งมากจนทำให้จุดกำเนิดเสียงเคลื่อนออกไปจากจุดเดิมจนต้องเปลี่ยนไปใช้สัทอักษรตัวอื่น เช่น /si/ → [ɕi] (เปลี่ยนจาก s เป็น ɕ)
- ยกลิ้นส่วนหน้าขึ้นใกล้เพดานแข็งแต่ไม่มากจนต้องถึงขั้นเปลี่ยนสัทอักษร เช่น /ki/ → [kʲi] (เพิ่มเครื่องหมาย [ʲ] เพื่อแสดงว่ามีการยกลิ้นส่วนหน้าประกอบเท่านั้น)
การลดความก้องของเสียงสระ
การลดความก้องของเสียงสระ (ญี่ปุ่น: 母音無声化 โรมาจิ: Boin-museika อังกฤษ: vowel devoicing) พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) มักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิด (/i/ หรือ /u/) อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ก้องกับเสียงพยัญชนะไม่ก้อง เช่น
(อักษรสีแดง คือ เสียงสระที่ลดความก้อง)
ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย | ตำแหน่งที่ลดความก้อง |
---|---|---|---|---|
/tikai/ | [t͡ɕi̥kai̯] | ใกล้ | 「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥] | |
/oki-ta/ | [okʲi̥ta] | ตื่นแล้ว | 「き」:[kʲi] → [kʲi̥] | |
/siQpai/ | [ɕi̥pːai̯] | ผิดพลาด | 「し」:[ɕi] → [ɕi̥] | |
/gakuseː/ | [gakɯ̥seː] | นักเรียน, นิสิต-นักศึกษา | 「く」:[kɯ] → [kɯ̥] | |
/musuko/ | [mɯsɯ̥ko] | ลูกชาย | 「す」:[sɯ] → [sɯ̥] | |
/tukue/ | [t͡sɯ̥kɯe] | โต๊ะ | 「つ」:[t͡sɯ] → [t͡sɯ̥] |
นอกจากนี้ การลดความก้องของเสียงสระมักจะเกิดขึ้นเมื่อเสียงสระปิดตามหลังเสียงพยัญชนะไม่ก้องและเป็นจังหวะที่ผู้พูดพูดจบหรือเว้นวรรค เช่น
ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย | ตำแหน่งที่ลดความก้อง |
---|---|---|---|---|
/aki/ | [akʲi̥] | ฤดูใบไม้ร่วง | 「き」:[kʲi] → [kʲi̥] | |
お | /okasi/ | [okaɕi̥] | ขนม | 「し」:[ɕi] → [ɕi̥] |
です | /desu/ | [desɯ̥] | (คำกริยานุเคราะห์) | 「す」:[sɯ] → [sɯ̥] |
ます | /masu/ | [masɯ̥] | (คำกริยานุเคราะห์) | 「す」:[sɯ] → [sɯ̥] |
โดยทั่วไป เจ้าของภาษามักจะเลี่ยงการลดความก้องแบบต่อเนื่องกัน ส่งผลให้มีเสียงสระปิดบางตำแหน่งไม่ลดความก้องแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมตามเงื่อนไข แต่ก็เป็นไปได้ที่จะออกเสียงโดยลดความก้องเสียงสระปิดแบบต่อเนื่องกัน
ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย | ตำแหน่งที่ลดความก้อง |
---|---|---|---|---|
/hukusyuu/ | [ɸɯ̥kɯɕɯː] ~ [ɸɯ̥kɯ̥ɕɯː] | ทบทวน | 「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥] (「く」:[kɯ] → [kɯ̥]) | |
/tisiki/ | [t͡ɕiɕi̥kʲi] ~ [t͡ɕi̥ɕi̥kʲi] | ความรู้ | 「し」:[ɕi → ɕi̥] (「ち」:[t͡ɕi] → [t͡ɕi̥]) | |
/kihukiN/ | [kʲiɸɯ̥kʲiŋ] ~ [kʲi̥ɸɯ̥kʲiŋ] | เงินบริจาค | 「ふ」:[ɸɯ] → [ɸɯ̥] (「き」:[kʲi] → [kʲi̥]) |
อย่างไรก็ตาม การลดความก้องของเสียงสระอาจจะพบในเสียงสระที่ไม่ใช่สระปิดได้เช่นกัน
ตัวอย่างคำ | ระดับหน่วยเสียง | เสียงโดยละเอียด | ความหมาย | ตำแหน่งที่ลดความก้อง |
---|---|---|---|---|
ほこり | /hokori/ | [ho̥koɾʲi] | ฝุ่น | 「ほ」:[ho[ → [ho̥] |
かかる | /kakaru/ | [kḁkaɾɯ] | ใช้ (เวลา, เงิน) | 「か」:[ka] → [kḁ] |
/kokoro/ | [ko̥koɾo] | หัวใจ | 「こ」:[ko] → [ko̥] |
การลดความก้องของเสียงสระของคำศัพท์แต่ละคำสามารถตรวจสอบได้จากพจนานุกรมการออกเสียงภาษาญี่ปุ่น เช่น 『
พยางค์และมอรา
พยางค์
พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งตามน้ำหนักของพยางค์ (syllable weight) ได้ดังนี้
1. | พยางค์เบา (light syllable) |
พยางค์เบาในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระสั้น จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้ | |
ตัวอย่าง: /i/ (กระเพาะ), /su/ น้ำส้มสายชู, /tya/ ชา | |
2. | พยางค์หนัก (heavy syllable) |
พยางค์หนักในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยเสียงสระยาวหรือเสียงสระสั้นที่มีเสียงพยัญชนะท้าย จะมีเสียงพยัญชนะต้น/พยัญชนะต้นควบกล้ำหรือไม่ก็ได้ | |
ตัวอย่าง: /oː/ (พระราชา), /zyuN/ (เกณฑ์) | |
3. | พยางค์หนักมาก (superheavy syllable) |
เป็นพยางค์ที่จำนวนหน่วยแยกส่วน (segment) มากกว่าจำนวนของหน่วยแยกส่วนในพยางค์เบาและพยางค์หนัก พยางค์ชนิดนี้มีเฉพาะในบางภาษาและองค์ประกอบของหน่วยส่วนแยกไม่ชัดเจนเพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของพยางค์เบาและพยางค์หนักในภาษานั้น ๆ | |
ตัวอย่าง: /aːN/ (เสียงร้องไห้ของเด็กทารก), /roːN/ (เงินกู้) |
โครงสร้างพยางค์
ชนิดพยางค์ | องค์ประกอบของพยางค์ | ตัวอย่างคำ | ระดับ หน่วยเสียง | ความหมาย |
---|---|---|---|---|
พยางค์เบา (light syllable) | สระสั้น (V) | /i/ | กระเพาะ | |
/o/ | หาง | |||
พยัญชนะต้น+สระสั้น (CV) | /su/ | น้ำส้มสายชู | ||
/yu/ | น้ำร้อน | |||
พยัญชนะต้น++สระสั้น (CyV) | /tya/ | ชา | ||
/syu/ | ชนิด, ประเภท | |||
พยางค์หนัก (heavy syllables) | สระยาว (Vː ) | /eː.ga/ | ภาพยนตร์ | |
/oː/ | พระราชา | |||
พยัญชนะต้น+สระยาว (CVː) | お | /o.toː.saN/ | คุณพ่อ | |
お | /o.niː.saN/ | พี่ชาย | ||
พยัญชนะต้น++สระยาว (CyVː) | /dyuː/ | สิบ | ||
/hyoː/ | ตาราง | |||
สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (VN) | /aN/ | ร่าง (เอกสาร) | ||
/uN/ | โชค | |||
พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVN) | /maN/ | หมื่น | ||
/kiN/ | ทอง | |||
พยัญชนะต้น++สระสั้น+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVN) | /zyuN/ | เกณฑ์ | ||
/a.ka.tyaN/ | ทารก | |||
สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (VQ) | /aQ.ka/ | เลวร้ายลง | ||
/oQ.to/ | สามี | |||
พยัญชนะต้น+สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CVQ) | /saQ.ka/ | นักเขียน | ||
/kiQ.te/ | ไปรษณียากร | |||
พยัญชนะต้น++สระสั้น+พยัญชนะซ้ำ (CyVQ) | /zyaQ.kaN/ | เพียงเล็กน้อย | ||
/kyaQ.ka/ | ยกฟ้อง | |||
พยางค์หนักมาก (superheavy syllable) | สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (VːN) | ああん | /aːN/ | เสียงร้องไห้ของเด็กทารก |
พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CVːN) | ローン | /roːN/ | เงินกู้ | |
พยัญชนะต้น++สระยาว+พยัญชนะท้ายนาสิก (CyVːN) | コミューン | /ko.myuːN/ | พูดคุยกันอย่างสนิทสนม | |
สระยาว+พยัญชนะซ้อน (VːQ) | いいって | /iːt.te/ | "ไม่เป็นไรหรอก" | |
พยัญชนะต้น+สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CVːQ) | /koːQ.ta/ | (น้ำ) แข็งตัว | ||
พยัญชนะต้น++สระยาว+พยัญชนะซ้ำ (CyVːQ) | ひゅうっと | /hyuːQ.to/ | (เสียงลมพัด) |
C หมายถึง เสียงพยัญชนะ (consonant) |
V หมายถึง เสียงสระ (vowel) |
y หมายถึง /y/ |
N หมายถึง เสียงพยัญชนะท้ายนาสิก /N/ |
Q หมายถึง เสียงพยัญชนะซ้ำ /Q/ |
เครื่องหมาย ː ใช้แสดงเสียงยาว (long) |
เครื่องหมาย . ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์ (syllable boundary) |
มอรา
มอรา (ญี่ปุ่น: 拍 โรมาจิ: Haku) เป็นหน่วยการนับในระดับที่เล็กกว่าระดับคำตามทฤษฎี (metrical phonology) เป็นการนับช่วงความยาวของเสียงที่เท่า ๆ กัน และเป็นหน่วยพื้นฐานกำหนด (rhythm) ของคำและประโยคภาษาญี่ปุ่น จำนวนมอราของคำคำหนึ่งในภาษาญี่ปุ่นอาจจะเท่ากับจำนวนพยางค์หรือมากกว่าจำนวนพยางค์ โดยพยางค์เบา 1 พยางค์นับเป็น 1 มอรา พยางค์หนัก 1 พยางค์นับแยกเป็น 2 มอรา และพยางค์หนักมาก 1 พยางค์นับเป็น 3 มอรา เช่น คำว่า 「おばあさん」 (ย่า, ยาย) หากนับจำนวนพยางค์จะได้ 3 พยางค์ แต่หากนับจำนวนมอราจะได้ 5 มอรา
นับตามจำนวนพยางค์ | おばあさん | /o.baː.saN/ | (o|baː|saN) |
---|---|---|---|
นับตามจำนวนมอรา | おばあさん | /o.ba.a.sa.N/ | (o|ba|a|sa|N) |
(เครื่องหมาย "." ใช้แสดงขอบเขตระหว่างพยางค์หรือมอรา) |
แม้ว่าเมื่อวัดค่าตามจริงแล้วมอราแต่ละมอราอาจจะไม่ได้เท่ากันในทางกายภาพ แต่เจ้าของภาษา (ในที่นี้คือผู้พูดภาษาญี่ปุ่น) ทั้งผู้พูดและผู้ฟังจะรับรู้ช่วงความยาวของของแต่ละมอราว่ายาวเท่า ๆ กัน (ความยาวทางจิตวิทยา)
ความแตกต่างระหว่างการนับจำนวนพยางค์กับจำนวนมอราของคำในภาษาญี่ปุ่นสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
1. เสียงสระสั้นทุกเสียง หรือเสียงพยัญชนะตามด้วยเสียงสระสั้น นับเป็น 1 พยางค์ และนับเป็น 1 มอราเท่ากัน
ตัวอย่างคำ | นับตามพยางค์ | นับตามมอรา | ความหมาย | จำนวนพยางค์ต่อมอรา |
---|---|---|---|---|
/e.ki/ | /e.ki/ | สถานีรถไฟ | 2:2 | |
さくら | /sa.ku.ra/ | /sa.ku.ra/ | ดอกซากุระ | 3:3 |
/ti.ka.te.tu/ | /ti.ka.te.tu/ | รถไฟใต้ดิน | 4:4 |
2. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะท้ายนาสิก (/N/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ N
ตัวอย่างคำ | นับตามพยางค์ | นับตามมอรา | ความหมาย | จำนวนพยางค์ต่อมอรา |
---|---|---|---|---|
/hoN/ | /ho.N/ | หนังสือ | 1:2 | |
/eN.gi/ | /e.N.gi/ | การแสดง | 2:3 | |
オランダ | /o.raN.da/ | /o.ra.N.da | ประเทศเนเธอร์แลนด์ | 3:4 |
3. เสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระตามด้วยเสียงพยัญชนะซ้ำ (/Q/) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา คือ CV กับ Q
ตัวอย่างคำ | นับตามพยางค์ | นับตามมอรา | ความหมาย | จำนวนพยางค์ต่อมอรา |
---|---|---|---|---|
/kiQ.pu/ | /ki.Q.pu/ | ตั๋ว | 2:3 | |
びっくり | /biQ.ku.ri/ | /bi.Q.ku.ri/ | ตกใจ | 3:4 |
まっすぐ | /maQ.su.gu/ | /ma.Q.su.gu/ | ตรงไป | 3:4 |
4. เสียงสระยาว หรือเสียงพยัญชนะและเสียงสระยาว นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา
ตัวอย่างคำ | นับตามพยางค์ | นับตามมอรา | ความหมาย | จำนวนพยางค์ต่อมอรา |
---|---|---|---|---|
/to.keː/ | /to.ke.e/ | นาฬิกา | 2:3 | |
お | /o.kaː.saN/ | /o.ka.a.sa.N/ | คุณแม่ | 3:5 |
お | /o.toː.saN/ | /o.to.o.sa.N/ | คุณพ่อ | 3:5 |
5. เสียงสระประสมสองส่วน (diphthong) นับเป็น 1 พยางค์ แต่นับแยกเป็น 2 มอรา
ตัวอย่างคำ | นับตามพยางค์ | นับตามมอรา | ความหมาย | จำนวนพยางค์ต่อมอรา |
---|---|---|---|---|
/sai.kai/ | /sa.i.ka.i/ | การพบกันใหม่ | 2:4 | |
/sya.kai/ | /sya.ka.i/ | สังคม | 2:3 | |
オイル | /oi.ru/ | /o.i.ru/ | น้ำมัน | 2:3 |
ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ
ระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ (ญี่ปุ่น: 高低アクセント โรมาจิ: Kōtei-akusento อังกฤษ: Pitch accent) เป็นหนึ่งใน (sound quality) ที่พบได้ในภาษาญี่ปุ่นหลายถิ่นรวมถึงภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงน้ำหนัก (accent) คำหรือพยางค์ในถ้อยความให้มีความเด่นชัดขึ้น แตกต่างจากเสียงวรรณยุกต์ (tone) ตรงที่เสียงวรรณยุกต์เป็นระดับเสียงภายในพยางค์ (ต่ำ กลาง สูง ขึ้น ตก ฯลฯ ภายในพยางค์) ในขณะที่ระดับเสียงสูงต่ำในภาษาญี่ปุ่นเป็นระดับเสียงระหว่างมอรา (ต้องฟังเปรียบเทียบระหว่างมอราจึงจะทราบว่ามอราใดสูง มอราใดต่ำ)
ประเภทของระดับเสียงแบบเสียงสูง-ต่ำ
คำในภาษากลาง (ภาษาโตเกียว) สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งเสียงตก (ตำแหน่งที่เสียงเริ่มลดระดับต่ำลง ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 「
(เครื่องหมาย 「\」 ใช้เพื่อแสดงตำแหน่งเสียงตก ส่วนเครื่องหมาย 「 ̄」 ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือหน่วยคำนั้นไม่มีตำแหน่งเสียงตก อักษรไม่เข้มใช้เพื่อแสดงว่ามอราดังกล่าวลดความก้องของเสียงสระ)
- คำที่มีตำแหน่งเสียงตกต้นคำ (ญี่ปุ่น:
頭高型 โรมาจิ: Atama-daka-gata ทับศัพท์: อาตามาดากางาตะ) มอราแรกเสียงจะสูง ถัดจากนั้นจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น- 木: [キ\] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「キ」
- 猫: [ネ\コ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ネ」
- 命: [イ\ノチ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「イ」
- 埼玉: [サ\イタマ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「サ」
- คำที่มีตำแหน่งเสียงตกกลางคำ (ญี่ปุ่น:
中高型 โรมาจิ: Naka-daka-gata ทับศัพท์: นากาดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงตำแหน่งเสียงตก จากนั้นเสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลง เช่น- あなた: [アナ\タ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ナ」
- 味噌汁: [ミソシ\ル] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「シ」
- 飛行機: [ヒコ\ーキ] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「コ」
- 美術館: [ビジュツ\カン] หรือ [ビジュ\ツカン] เสียงลดระดับต่ำลงหลังจาก 「ツ」 หรือ 「ジュ」
- คำที่มีตำแหน่งเสียงตกท้ายคำ (ญี่ปุ่น:
尾高型 โรมาจิ: O-daka-gata ทับศัพท์: โอดากางาตะ) เสียงจะสูงไปจนถึงท้ายคำ หากมีหน่วยคำ เช่น คำช่วย มาต่อท้าย เสียงจะเริ่มลดระดับต่ำลงตั้งแต่คำช่วยตัวดังกล่าว เช่น- 山: [ヤマ\] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [ヤマ\カ゚]
- 男: [オトコ\] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [オトコ\カ゚]
- 妹: [イモート\] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงเป็น [イモート\カ゚]
- คำที่ไม่มีตำแหน่งเสียงตก (แบบราบ) (ญี่ปุ่น:
平板型 โรมาจิ: Heiban-gata ทับศัพท์: เฮบังงาตะ)- 魚: [サカナ ̄] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [サカナカ゚ ̄]
- 竹: [タケ ̄] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [タケカ゚ ̄]
- 休日: [キュージツ ̄] เมื่อมีคำช่วย 「が」 มาต่อท้ายจะออกเสียงราบต่อเนื่องไป [キュージツカ゚ ̄]
สัญลักษณ์แสดงตำแหน่งเสียงตก
ในอักขรวิธีของภาษาญี่ปุ่นไม่มีสัญลักษณ์ในการแสดงระดับเสียงแบบภาษาไทย (เครื่องหมายวรรณยุกต์) ดังนั้นในการแสดงตำแหน่งเสียงตกจึงจำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษบางอย่างซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของหนังสือหรือพจนานุกรมเล่มนั้น เช่น
สัญลักษณ์ | ความหมาย | ตัวอย่าง | หนังสือหรือพจนานุกรมที่ใช้ |
---|---|---|---|
[\], [ ̄] | [\] ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก [ ̄] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก | ミソシ\ル サカナ ̄ | 『NHK |
[↓], [○] | [↓] ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก [○] ใช้ระบุว่าคำดังกล่าวไม่มีตำแหน่งเสียงตก | みそし↓る さかな○ | 『 |
[┓] หรือ 「❜」 | [┓] หรือ 「❜」 ใช้ระบุตำแหน่งเสียงตก ไม่มีเครื่องหมายเมื่อไม่มีตำแหน่งเสียงตก | みそし┓る (みそし❜る) さかな | "การออกเสียงภาษาญี่ปุ่น จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ" (ยุพกา, 2018) 『 |
นอกจากการใช้สัญลักษณ์ เช่น [\] หรือ [ ┓ ] ในการแสดงตำแหน่งเสียงตก (
(สีน้ำเงินใช้แสดงตำแหน่งแกนเสียงสูง-ต่ำ)
- き(1)【木】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「き」:[キ\]
- いのち(1)【命】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 1 นั่นคือ 「い」:[イ\ノチ]
- みそしる(3)【味噌汁】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 3 นั่นคือ 「し」:[ミソシ\ル]
- ひこうき(2)【飛行機】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 2 นั่นคือ 「こ」:[ヒコ\ーキ]
- いもうと(4)【妹】 หมายถึง แกนเสียงสูง-ต่ำอยู่ที่มอราที่ 4 นั่นคือ 「と」:[イモート\]
- さかな(0)【魚】 หมายถึง ไม่มีแกนเสียงสูง-ต่ำ:[サカナ ̄]
ระบบการเขียน
ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นใช้ระบบการเขียนแบบผสมผสาน โดยใช้อักษรฮิรางานะและอักษรคาตากานะซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยเสียง (phonograph) ระดับพยางค์ และอักษรคันจิซึ่งเป็นตัวอักษรแสดงหน่วยคำ (logograph) ประโยคหนึ่งประโยคอาจมีอักษรทั้ง 3 ประเภทปะปนกัน
ภาษาญี่ปุ่น | 朝食 | に | ハムエッグ | を | 食べ | まし | た |
---|---|---|---|---|---|---|---|
โรมาจิ | chōshoku | ni | hamueggu | o | tabe | mashi | ta |
ความหมาย | อาหารเช้า | (คำช่วย) | แฮมกับไข่ | (คำช่วย) | กิน | (แสดงความสุภาพ) | (อดีตกาลหรือการณ์ลักษณะสมบูรณ์) |
ประโยคข้างต้นประกอบด้วยตัวอักษรทั้ง 3 ประเภท สีเขียวคืออักษรฮิรางานะ สีน้ำเงินคืออักษรคาตากานะ และสีแดงคืออักษรคันจิ
คันจิ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฮิรางานะและคาตากานะ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ไวยากรณ์
โครงสร้างประโยคพื้นฐาน
ลำดับของคำในประโยคภาษาญี่ปุ่นคือ ประธาน กรรม และกริยา โดยประธาน กรรม และส่วนอื่นๆ ในประโยคจะมี "คำช่วย" กำกับอยู่เพื่อบ่งบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้า
โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยหัวเรื่องและส่วนอธิบาย ตัวอย่างเช่น Kochira wa Tanaka-san desu (こちらは田中さんです) kochira แปลว่า "นี้" เป็นหัวเรื่องของประโยคเพราะมี wa กำกับอยู่ ส่วน Tanaka-san desu เป็นส่วนอธิบายของประโยค desu เป็นกริยาของประโยคที่แปลได้ว่า "เป็น" ประโยคนี้แปลคร่าวๆ ได้ว่า "สำหรับคนนี้ เขาคือคุณทานากะ" ภาษาญี่ปุ่นมีความคล้ายกับภาษาในเอเชียหลายๆ ภาษาที่มักจะระบุหัวเรื่องของประโยคแยกจากประธาน กล่าวคือหัวเรื่องของประโยคไม่จำเป็นต้องเป็นประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น Zō wa hana-ga nagai desu (象は鼻が長いです) แปลตามตัวได้ว่า "สำหรับช้าง จมูก(ของพวกมัน)ยาว" หัวเรื่องของประโยคคือ zō (ช้าง) ในขณะที่ประธานของประโยคคือ hana (จมูก)
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ชอบละคำ กล่าวคือ มักจะมีการละประธานหรือกรรมของประโยคที่เป็นที่รู้กันกันอยู่แล้ว นอกจากนี้ ชาวญี่ปุ่นยังรู้สึกว่าประโยคที่สั้นๆดีกว่าประโยคยาวๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาพูด ดังนั้นชาวญี่ปุ่นจึงมักจะละคำต่างๆในประโยคมากกว่าจะอ้างถึงมันด้วยคำสรรพนาม ตัวอย่างเช่น จากประโยคข้างบน hana-ga nagai ก็แปลได้ว่า "จมูก[ของช้าง]ยาว" โดยที่ไม่ต้องระบุหัวเรื่องของประโยคหากเป็นที่เข้าใจตรงกันว่ากำลังกล่าวถึงช้าง นอกจากนี้ กริยาเพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้ เช่น Yatta! แปลว่า "[ฉัน]ทำ[มันสำเร็จแล้ว]" คำคุณศัพท์เพียงตัวเดียวก็ถือว่าเป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้เช่นกัน เช่น Urayamashii! แปลว่า "[ฉันรู้สึก]อิจฉา[มัน]"
แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะมีคำบางคำที่ถือได้ว่าเป็นคำสรรพนาม แต่คนญี่ปุ่นก็ไม่ใช้คำสรรพนามบ่อยเท่ากับภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในทางกลับกัน คนญี่ปุ่นมักจะใช้กริยาพิเศษหรือกริยาช่วยเพื่อบ่งบอกทิศทางของการกระทำ เช่น "ล่าง" เพื่อบ่งบอกว่าการกระทำนี้เป็นการกระทำจากนอกกลุ่มที่เป็นผลประโยชน์ต่อในกลุ่ม และใช้คำว่า "บน" เพื่อบ่งบอกว่าเป็นการกระทำจากภายในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อนอกกลุ่ม ตัวอย่างเช่น oshiete moratta แปลว่า "[เขา/พวกเขา]อธิบายให้[ฉัน/พวกเรา]" ขณะที่ oshiete ageta แปลว่า "[ฉัน/พวกเรา]อธิบายให้[เขา/พวกเขา]" การใช้กริยาช่วยในลักษณะนี้ทำให้รู้ผู้กระทำและผู้ถูกกระทำได้เหมือนกับการใช้คำสรรพนามและคำบุพบทในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน
คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายคลึงกับคำนาม กล่าวคือ เราสามารถใช้คำขยายมาขยายคำสรรพนามได้ ซึ่งแตกต่างจากคำสรรพนามในภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนที่ไม่สามารถกระทำได้ เช่น
- The amazed he ran down the street. (เขาที่กำลังงงวิ่งไปตามถนน)
ประโยคข้างบนนี้ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น
- 驚いた彼は道を走っていた。 Odoroita kare wa michi o hashitte itta.
สาเหตุที่คำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นคล้ายคลึงกับคำนาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะคำสรรพนามบางคำมีต้นกำเนิดมาจากคำนาม เช่น kimi ที่แปลว่า "คุณ" แต่เดิมแปลว่า "เจ้านาย" และ boku ที่แปลว่า "ผม" แต่เดิมแปลว่า "ข้ารับใช้" ดังนั้น นักภาษาศาสตร์บางคนจึงไม่จัดว่าคำสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นเป็นคำสรรพนามที่แท้จริง แต่เป็นคำนามที่ใช้อ้างอิง คนญี่ปุ่นจะใช้คำเรียกตัวเองในกรณีที่ต้องบอกว่าใครกำลังทำอะไรให้ใครเท่านั้น
คำสรรพนามที่ใช้เรียกตัวเองขึ้นอยู่กับเพศของผู้พูดและสถานการณ์ในขณะนั้น ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงและผู้ชายสามารถใช้ watashi หรือ watakushi ได้ ส่วนในสถานการณ์ที่เป็นกันเอง ผู้ชายมักเรียกตัวเองว่า ore คำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้ฟังนั้นขึ้นอยู่กับสถานภาพทางสังคมและความคุ้นเคยระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง คำบางคำอาจเป็นคำที่สุภาพในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่สุภาพในอีกสถานการณ์หนึ่งก็ได้
ชาวญี่ปุ่นมักเรียกบุคคลด้วยตำแหน่งหน้าที่แทนการใช้สรรพนาม ตัวอย่าง เช่น นักเรียนเรียกอาจารย์ว่า sensei (先生, อาจารย์) ไม่ใช่ anata ซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมเพราะคำว่า anata ใช้เรียกบุคคลที่มีสถานภาพเท่ากันหรือต่ำกว่าเท่านั้น
ชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นมักขึ้นต้นประโยคด้วยคำว่า watashi-wa แม้ว่าประโยคนี้จะถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ แต่ก็ฟังดูแปลกมากสำหรับชาวญี่ปุ่น เปรียบเทียบเหมือนกับการใช้คำนามซ้ำๆในภาษาไทย เช่น "สมชายกำลังมา กรุณาทำข้าวผัดให้สมชายเพราะสมชายชอบข้าวผัด ฉันหวังว่าสมชายจะชอบชุดที่ฉันใส่อยู่ ..."
ตัวอย่างประโยค
คำนาม 1 + は + คำนาม 2 + です。 |
มีความหมายว่า "คำนาม 1 นั้นคือ คำนาม 2" ตัวอย่างเช่น
私はソムチャイです。 | Watashi wa Somuchai desu | ฉันชื่อสมชาย |
私はタイ人です。 | Watashi wa Taijin desu | ฉันเป็นคนไทย |
ในโครงสร้างประโยคนี้ใช้ は (อ่านว่า วะ ไม่ใช่ ฮะ) เป็นคำช่วยใช้ชี้หัวข้อเรื่องที่กำลังจะพูด ในที่นี้คือ "ฉัน" ประโยคบอกเล่าสามารถเปลี่ยนให้เป็นประโยคคำถามเพื่อถามว่าใช่หรือไม่ โดยการเติม か ลงท้ายประโยค เวลาพูดให้ออกเสียงสูงท้ายประโยค ตัวอย่างเช่น
あなたは日本人ですか? | Anata wa Nihonjin desu ka? | คุณเป็นคนญี่ปุ่นใช่หรือไม่ |
いいえ、中国人です。 | Iie, Chūgokujin desu | ไม่ใช่, เป็นคนจีน |
คำศัพท์
私 | watashi | ฉัน |
あなた | anata | คุณ |
タイ人 | taijin | คนไทย |
日本人 | Nihonjin | คนญี่ปุ่น |
中国人 | Chūgokujin | คนจีน |
はい | hai | ใช่ |
いいえ | iie | ไม่ใช่ |
ประธาน + は + กรรม + を+ กริยา |
มีความหมายว่า "ประธานกระทำกริยากับกรรม" ตัวอย่างเช่น
私はご飯を食べる。 | Watashi wa gohan o taberu | ฉันกินข้าว |
彼は本を読みます。 | Kare wa hon o yomimasu | เขาอ่านหนังสือ |
ในโครงสร้างประโยคนี้ จะเห็นว่าเราใช้คำช่วย を ต่อท้ายคำที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คำศัพท์
ご飯 | gohan | ข้าว |
本 | hon | หนังสือ |
食べる | taberu | กิน |
読みます | yomimasu | อ่าน |
彼 | kare | เขา (ผู้ชาย) |
กริยารูปอดีต และปฏิเสธ
ภาษาญี่ปุ่นมีการผันรูปของกริยา เป็นไปตามกาล(Tense)เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นในประโยคปฏิเสธมีการผันกริยาเพื่อแสดงความหมายว่า "ไม่" อีกด้วย หลักการผันกริยามีดังนี้
รูปปัจจุบัน บอกเล่า | รูปอดีต บอกเล่า | รูปปัจจุบัน ปฏิเสธ | รูปอดีต ปฏิเสธ |
~ます | ~ました | ~ません | ~ませんでした |
食べます tabemasu | 食べました tabemashita | 食べません tabemasen | 食べませんでした tabemasendeshita |
飲みます nomimasu | 飲みました nomimashita | 飲みません nomimasen | 飲みませんでした nomimasendeshita |
見ます mimasu | 見ました mimashita | 見ません mimasen | 見ませんでした mimasendeshita |
今日テレビを見ます。 | Kyō terebi o mimasu | วันนี้จะดูโทรทัศน์ |
昨日テレビを見ました。 | Kinō terebi o mimashita | เมื่อวานดูโทรทัศน์ |
今日テレビを見ません。 | Kyō terebi o mimasen | วันนี้จะไม่ดูโทรทัศน์ |
昨日テレビを見ませんでした。 | Kinō terebi o mimasendeshita | เมื่อวานไม่ได้ดูโทรทัศน์ |
คำศัพท์
見ます | mimasu | ดู |
テレビ | terebi | โทรทัศน์ |
今日 | kyō | วันนี้ |
昨日 | kinō | เมื่อวาน |
คำนามและคำบ่งชี้
คำสรรพนาม
บุคคลที่ | รูปทั่วไป | รูปสุภาพ | รูปยกย่อง |
---|---|---|---|
หนึ่ง | 僕 (boku, ผู้ชาย) あたし (atashi, ผู้หญิง) 俺(ore,ผู้ชาย) | 私 (watashi) | 私 (watakushi) |
สอง | 君 (kimi) お前 (omae) | あなた (anata) そちら (sochira) | あなた様 (anata-sama) |
สาม | 彼 (kare, ผู้ชาย) 彼女 (kanojo, ผู้หญิง) |
แม้ว่าตำราไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นหลายเล่มจะกล่าวถึงคำสรรพนาม (代名詞 ไดเมชิ) แต่นั่นก็ไม่ใช่คำสรรพนามที่แท้จริง เพราะคำสรรพนามที่แท้จริงนั้นจะต้องไม่มีคำมาขยาย แต่ไดเมชิในภาษาญี่ปุ่นมีคำขยายได้ เช่น 背の高い彼女 (se no takai kanojo หมายถึง "เธอ" ที่มีคำว่า"สูง"มาขยาย) ปัจจุบันมีไดเมชิใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย ในขณะที่ไดเมชิเก่าๆก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว
มีไดเมชิจำนวนหนึ่งที่ถือได้ว่าใกล้เคียงกับคำสรรพนาม เช่น 彼 (kare, เขา) 彼女 (kanojo, เธอ); 私 (watashi, ฉัน) ขณะที่ไดเมชิบางคำถือว่าเป็น"คำนามส่วนตัว" ไม่ใช่สรรพนาม เช่น 己 (onore, ฉัน (ให้ความหมายในทางอ่อนน้อมเป็นอย่างมาก)) หรือ 僕 (boku, ฉัน (เด็กผู้ชาย)) คำเหล่านี้เปรียบเสมือนชื่อตัวเอง นั่นคือคนอื่นอาจเรียกเราด้วยไดเมชิเดียวกับที่เราเรียกตัวเองก็ได้ ผู้อื่นอาจใช้ おのれ (onore) ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงหยาบคาย หรืออาจใช้ boku ซึ่งเป็นการเรียกผู้ฟังในเชิงเห็นผู้ฟังเป็นเด็ก นอกจากนี้ ยังมีไดเมชิบางคำที่มีหลายความหมาย เช่น kare และ kanojo สามารถแปลได้ว่า แฟน(ที่เป็นผู้ชาย) และ แฟน(ที่เป็นผู้หญิง) ตามลำดับ
คนญี่ปุ่นมักไม่ค่อยใช้ไดเมชิเรียกตัวเอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องระบุประธานทุกครั้งในกรณีที่ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกันอยู่แล้ว และโดยปกติ คนญี่ปุ่นมักจะเรียกชื่อหรือใช้คำนามเฉพาะเจาะจงแทนการใช้สรรพนาม เช่น
- 「木下さんは、背が高いですね。」
- Kinoshita-san wa, se ga takai desu ne.
- (กำลังพูดกับคุณคิโนะชิตะ) "คุณคิโนะชิตะสูงจังเลยนะครับ"
- 「専務、明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか?」
- Semmu, asu Fukuoka-shi Nishi-ku no Yamamoto-shōji no shachō ni atte itadakemasuka?
- (กำลังพูดกับผู้จัดการ) "ท่านผู้จัดการจะสามารถไปพบท่านประธานบริษัทยามะโมโตะพรุ่งนี้ได้ไหมคะ?"
คำบ่งชี้
ko- | so- | a- | do- |
---|---|---|---|
kore อันนี้ | sore อันนั้น | are อันโน้น | dore อันไหน? |
kono นี้ | sono นั้น | ano โน้น | dono ไหน? |
konna เหมือนอย่างนี้ | sonna เหมือนอย่างนั้น | anna เหมือนอย่างโน้น | donna อย่างไร? เหมือนอย่างไหน |
koko ที่นี่ | soko ที่นั่น | asoko * ที่โน่น | doko ที่ไหน? |
kochira ทางนี้ | sochira ทางนั้น | achira ทางโน้น | dochira ทางไหน? |
kō แบบนี้ | sō แบบนั้น | ā * แบบโน้น | dō แบบไหน? |
- * รูปพิเศษ
คำบ่งชี้มีทั้งหมดสามแบบคือ คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko, so และ a คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย ko ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวผู้พูดมากกว่าผู้ฟัง คำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย so ใช้ระบุสิ่งที่ใกล้ตัวผู้ฟังมากกว่าผู้พูด และคำบ่งชี้ที่ขึ้นต้นด้วย a ใช้ระบุสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คำบ่งชี้สามารถทำให้เป็นรูปคำถามได้ด้วยการใช้คำว่า do ขึ้นต้น คำบ่งชี้ยังสามารถใช้ระบุบุคลได้ด้วย เช่น
- 「こちらは林さんです。」
- Kochira wa Hayashi-san desu.
- "นี่คือคุณฮะยะชิ"
คำบ่งชี้ที่ใช้เจาะจงคำนาม ต้องวางไว้หน้าคำนาม เช่น この本 (kono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนี้ และ その本 (sono hon) แปลว่า หนังสือเล่มนั้น
เมื่อใช้คำบ่งชี้ระบุสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ผู้พูดหรือผู้ฟังไม่เห็นในขณะนั้น คำบ่งชี้แต่ละคำจะมีความหมายในเชิงความรู้สึกที่แตกต่างกัน คำบ่งชี้ที่แสดงความไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง มักจะใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดมีร่วมกับผู้ฟัง เช่น
- A:先日、札幌に行って来ました。
- A: Senjitsu, Sapporo ni itte kimashita.
- A: เมื่อไม่นานมานี้ ฉันไปซัปโปโรมา
- B:あそこ(*そこ)はいつ行ってもいい所ですね。
- B: Asoko (*Soko) wa itsu itte mo ii tokoro desu ne.
- B: ไม่ว่าจะไปเมื่อไร ที่นั่นก็เป็นที่ที่ดีเสมอเลยเนอะ
หากใช้ soko แทน asoko ในประโยคนี้ จะหมายความว่า B ไม่มีความรู้เกี่ยวกับซัปโปโร ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะเขาแสดงความเห็นเกี่ยวกับซัปโปโร ดังนั้น จึงใช้ soko แทนไม่ได้ คำบ่งชี้ที่ใช้บอกว่าอยู่ใกล้ผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มักใช้พูดถึงสิ่งหรือประสบการณ์ที่ผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้มีร่วมกัน เช่น
- 佐藤:田中という人が昨日死んだって…
- Satō: Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte…
- ซะโต: ฉันได้ยินว่าคนที่ชื่อทานากะตายเมื่อวานนี้…
- 森:えっ、本当?
- Mori: E', hontō?
- โมริ: เอ๊ะ จริงหรือ?
- 佐藤:だから、その(*あの)人、森さんの昔の隣人じゃなかったっけ?
- Satō : Dakara, sono (*ano) hito, Mori-san no mukashi no rinjin ja nakatta 'kke?
- ซะโต: ฉันถึงได้ถามไง เขาเป็นญาติของเธอไม่ใช่หรือ?
สังเกตว่า ถ้าใช้ ano แทน sono ในประโยคนี้จะไม่เหมาะสม เพราะว่าซะโตะไม่ได้รู้จักกับทานากะเป็นการส่วนตัว
ความสุภาพ
ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ไวยากรณ์พิเศษเพื่อแสดงถึงความสุภาพและความเป็นทางการ ซึ่งแตกต่างจากภาษาตะวันตก
สังคมญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหลายระดับ กล่าวคือ คนหนึ่งมีสถานะสูงกว่าอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยที่มากำหนด อาทิ หน้าที่การงาน อายุ ประสบการณ์ และสถานะทางจิตใจ (ผู้คนจะเรียกร้องให้สุภาพต่อกัน) ผู้ที่มีวุฒิน้อยกว่าจะใช้ภาษาที่สุภาพ ขณะที่ผู้ที่มีวุฒิอาจใช้ภาษาที่เรียบง่าย ผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อนจะใช้ภาษาสุภาพต่อกัน เด็กเล็กมักไม่ใช้ภาษาสุภาพจนกว่าจะเป็นวัยรุ่น เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะพูดภาษาที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
เทเนโงะ (丁寧語) (ภาษาสุภาพ) มักจะเป็นการผันคำเป็นส่วนใหญ่ ส่วนซงเคโงะ (尊敬語) (ภาษายกย่อง) และ เค็นโจโงะ (謙譲語) (ภาษาถ่อมตัว) จะใช้รูปคำกริยาพิเศษที่แสดงถึงการยกย่องและการถ่อมตัว เช่น อิคุ ที่แปลว่า "ไป" จะเปลี่ยนเป็น อิคิมะซุ เมื่ออยู่ในรูปสุภาพ เปลี่ยนเป็น อิรัสชะรุ เมื่ออยู่ในรูปยกย่อง และเปลี่ยนเป็น มะอิรุ เมื่ออยู่ในรูปถ่อมตัว
ภาษาถ่อมตัวจะใช้ในการพูดเกี่ยวกับตัวเอง หรือกลุ่มของตัวเอง (บริษัท, ครอบครัว) ขณะที่ภาษายกย่องจะใช้เมื่อกล่าวถึงผู้สนทนาหรือกลุ่มอื่น เช่น คำว่า -ซัง ที่ใช้ต่อท้ายชื่อ (แปลว่า คุณ-) ถือเป็นภาษายกย่องอย่างหนึ่ง จะไม่ใช้เรียกตนเองหรือเรียกคนที่อยู่ในกลุ่มของตนให้ผู้อื่นฟังเพราะบริษัทถือเป็นกลุ่มของผู้พูด เมื่อพูดกับผู้ที่อยู่สูงกว่าในบริษัทของตน หรือพูดกับพนักงานในบริษัทของตนเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงกว่า ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษายกย่องผู้ที่อยู่สูงกว่าในกลุ่มของตน แต่เมื่อพูดกับพนักงานบริษัทอื่น (คนที่อยู่นอกกลุ่ม) ชาวญี่ปุ่นจะใช้รูปแบบถ่อมตนเมื่ออ้างถึงคนที่สูงกว่าในบริษัทของตน
คำที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นจะเกี่ยวข้องกับบุคคล ภาษาและการกระทำซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละคนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (ทั้งในกลุ่มและนอกกลุ่ม) ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีการกำหนดคำยกย่องทางสังคมที่เรียกว่า"การยกย่องแบบสัมพัทธ์" ซึ่งแตกต่างจากระบบของเกาหลีซึ่งเป็น"การยกย่องแบบสัมบูรณ์" กล่าวคือ ภาษาเกาหลีจะกำหนดคำที่ใช้คุยกับแต่ละคนๆไป (เช่น พ่อของตน, แม่ของตน, หัวหน้าของตน) โดยไม่ขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ดังนั้น ภาษาสุภาพของเกาหลีจึงฟังดูบุ่มบ่ามเมื่อแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตามตัวอักษร เช่นในภาษาเกาหลี เราพูดว่า "ท่านประธานบริษัทของพวกเรา... " กับคนที่อยู่นอกกลุ่มได้ตามปกติ แต่ชาวญี่ปุ่นถือว่าการพูดเช่นนี้ไม่สุภาพ
คำนามหลายคำในภาษาญี่ปุ่นอาจทำให้อยู่ในรูปสุภาพได้ ด้วยการเติมคำอุปสรรค โอะ- หรือ โกะ- นำหน้า คำว่า โอะ- มักใช้กับคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ขณะที่คำว่า โกะ- ใช้กับคำที่รับมาจากภาษาจีน บางครั้ง คำที่เติมนำหน้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำนั้นอย่างถาวร และกลายเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในรูปปกติ เช่นคำว่า โกะฮัง ที่แปลว่าอาหาร การใช้คำเหล่านี้แสดงถึงความเคารพต่อเจ้าของสิ่งของและเคารพต่อสิ่งของ เช่น คำว่า โทะโมะดะชิ ที่แปลว่าเพื่อน จะกลายเป็นคำว่า โอะ-โทะโมะดะชิ เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของบุคคลที่สถานะสูงกว่า (แม้แต่แม่ก็มักจะใช้คำนี้เมื่อกล่าวถึงเพื่อนของลูก) ผู้พูดอาจใช้คำว่า โอะ-มิซุ ที่แปลว่าน้ำ แทนคำว่ามิซุเพื่อแสดงความสุภาพก็ได้
ชาวญี่ปุ่นจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่ยังไม่สนิทสนมกัน นั่นคือ พวกเขาจะใช้ภาษาสุภาพกับผู้ที่เพิ่งรู้จักกันใหม่ๆ แต่หลังจากสนิทสนมกันมากขึ้นแล้ว พวกเขาจะไม่ใช้ภาษาสุภาพอีกต่อไป ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับอายุ สถานะทางสังคม หรือเพศ
คำศัพท์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประวัติศาสตร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วิวัฒนาการของภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistoric age;
先史時代 ) อยู่ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคโจมง ยุคยาโยอิ ยุคโคฟุง และยุคอาซูกะ - ภาษาญี่ปุ่นเก่า (Old Japanese;
上代語 ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ตรงกับยุคนาระ - ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้น (Early Middle Japanese;
中古語 ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 ตรงกับยุคเฮอัง - ภาษาญี่ปุ่นกลางตอนปลาย (Late Middle Japanese;
中世語 ) อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปี ตรงกับยุคคามากูระ ยุคมูโรมาจิ และยุคอาซูจิ-โมโมยามะ - ภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน (Modern Japanese;
近世語 ,現代語 ) เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงปัจจุบัน โดยอาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในยุคเอโดะ (近世語 ) กับภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตั้งแต่ยุคเมจิจนถึงปัจจุบัน (現代語 )
การจำแนกตามภูมิศาสตร์
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษาญี่ปุ่นสามารถแบ่งเป็นภาษาย่อยได้ดังต่อไปนี้
ภาษา | ภาษาย่อย | พื้นที่ |
---|---|---|
ภาษาญี่ปุ่น ( | ญี่ปุ่นตะวันออก ( | ฮอกไกโด ( |
โทโฮกุ ( | ||
คันโต ( | ||
( | ||
( | ||
ญี่ปุ่นตะวันตก ( | โฮกูริกุ ( | |
คิงกิ ( | ||
ชูโงกุ ( | ||
ชิโกกุ ( | ||
คีวชู ( | ||
รีวกีว ( | ( | |
โอกินาวะ ( | ||
( |
อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางคนไม่จัดให้ภาษาที่พูดในหมู่เกาะรีวกีวเป็นภาษาย่อยของภาษาญี่ปุ่นตามตารางข้างต้น แต่จัดให้ภาษาดังกล่าวเป็นภาษาพี่น้องร่วมตระกูลกับภาษาญี่ปุ่น
กลุ่มภาษา
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การเรียนภาษาญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยจำนวนมากทั่วโลกมีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมบางแห่งที่สอนภาษาญี่ปุ่นด้วย ภาษาญี่ปุ่นได้รับความสนใจตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 และเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในช่วงเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูในทศวรรษ 1980 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ของญี่ปุ่น (เช่น อนิเมะ และ วิดีโอเกม) กำลังแพร่หลายไปทั่วโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ใน ค.ศ. 2003 มีผู้ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ทั้งหมด 2.3 ล้านคนทั่วโลก แบ่งเป็น ชาวเกาหลีใต้ 900,000 คน ชาวจีน 389,000 ชาวออสเตรเลีย 381,000 คน และชาวอเมริกัน 140,000 คน ในญี่ปุ่นมีชาวต่างชาติที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นทั้งที่มหาวิทยาลัยและที่โรงเรียนสอนภาษาอยู่ทั้งหมด 90,000 คน แบ่งเป็นชาวจีน 77,000 คน และชาวเกาหลีใต้ 15,000 นอกจากนี้ รัฐท้องถิ่นและกลุ่มองค์กรไม่หวังผลกำไรยังสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาญี่ปุ่นฟรีสำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ รวมถึงชาวบราซิล-ญี่ปุ่น และชาวต่างชาติที่โอนสัญชาติเป็นญี่ปุ่นด้วย
รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้มีการสอบวัดระดับทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติ การทดสอบที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ (JETRO) ที่จัดโดยองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
หมายเหตุ
- แม้จะไม่มีการระบุสถานะของภาษาญี่ปุ่นไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เอกสารทางราชการล้วนเขียนด้วยภาษาญี่ปุ่น และในพระราชบัญญัติศาล มาตราที่ 74 ระบุว่า "ในศาลให้ใช้ภาษาญี่ปุ่น" รวมทั้งยังบรรจุการศึกษาภาษาญี่ปุ่นในฐานะ "ภาษาของชาติ"(ญี่ปุ่น: 国語 โรมาจิ: Kokugo ทับศัพท์: โคคูโงะ)ไว้ในหลักสูตรการศึกษาด้วย
- อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสำมะโนะประชากรเมื่อปี 2005 แสดงให้เห็นว่า ไม่มีผู้อยู่อาศัยถาวรอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปคนใดใช้ภาษาญี่ปุ่นในครัวเรือนเลย
- บางครั้งไกไรโงะอาจรวมถึงคังโงะ (คำที่มาจากภาษาจีน) ด้วย แต่โดยทั่วไปจะไม่นับรวม
- ต่างจากผู้พูดในฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นตั้งแต่นาโงยะเป็นต้นไปที่ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียง [u] นั่นคือ มีการห่อริมฝีปากและตำแหน่งลิ้นเยื้องไปข้างหลังมากกว่า
- อย่างไรก็ตาม Saito (2015) เห็นว่าควรถอดสัทอักษรเป็น [nʲ] มากกว่า เนื่องจากว่าในการออกเสียงจริง ตำแหน่งเกิดเสียงอยู่ที่หน้าเพดานแข็ง (ตำแหน่งปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง) ไม่ใช่เพดานแข็งตามที่สัทอักษร ɲ แสดงเสียง
- เสียง [ŋ] มีชื่อเรียกเฉพาะว่า "เสียงขุ่นนาสิก" (ญี่ปุ่น: 鼻濁音 โรมาจิ: Bidakuon ทับศัพท์: บิดากูอง)
- Saitō (2015) ได้ให้เสียง [ɣ̃] (เสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน นาสิก) เป็นหน่วยเสียงย่อยอีกหนึ่งเสียงด้วย
- ชาวเอโดะ หรือ เอดกโกะ หมายถึง คนที่เกิดและโตในเมืองเอโดะหรือคนที่อาศัยอยู่ในใจกลางเมืองของกรุงโตเกียวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การออกเสียงแบบนี้เป็นลักษณะเด่นของวิธีการพูดแบบ "เบรัมเม คูโจ" (ญี่ปุ่น: べらんめえ口調 โรมาจิ: Beranmē-kuchō ทับศัพท์: เบรัมเมคูโจ) ซึ่งเคยใช้ในหมู่พ่อค้าย่านใจกลางเมืองเอโดะ (กรุงโตเกียวในปัจจุบัน)
- Saitō (2015) ได้ให้เสียง [χ] (เสียงเสียดแทรก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง) เป็นหน่วยเสียงย่อยอีกหนึ่งเสียงด้วย
- เนื่องจากหน่วยเสียง /N/ ออกเสียงยาว 1 มอรา ในที่นี้จึงใช้สัญลักษณ์ "เสียงยาว" (long) ในการแสดงเสียงโดยละเอียดเช่นเดียวกับที่ปรากฏใน Vance (2008) อย่างไรก็ตาม Saito (2015) เลือกใช้สัญลักษณ์ "เสียงยาวครึ่งหนึ่ง" (half-long)
- 「を」 เดิมเคยใช้แสดงเสียง /wo/ ต่อมาในช่วงภาษาญี่ปุ่นกลางตอนต้นจนถึงช่วงต้นของ เสียง /wo/ ได้รวมเข้ากับเสียง /o/ ปัจจุบันคำศัพท์ที่เคยเขียนด้วย 「を」 ได้เปลี่ยนมาเขียนด้วย 「お」 ยกเว้นคำช่วย 「を」
- สามารถเขียนแทนด้วยอักษรฮิรางานะ 「か゚・き゚・く゚・け゚・こ゚」 หรืออักษรคาตากานะ 「カ゚・キ゚・ク゚・ケ゚・コ゚」 นิยมใช้เฉพาะเมื่อมีความจำเป็น เช่น การแสดงเสียงอ่านในพจนานุกรมการออกเสียง
- Hasegawa (2015) ระบุว่าในภาษาคิงกิ (คันไซ) เสียงสระจะออกเป็นเสียงก้องอย่างชัดเจนถึงขนาดที่คำศัพท์ 1 มอรามักจะลากเสียงสระให้ยาวขึ้นเป็น 2 มอรา
- Hasegawa (2015) และนักภาษาศาสตร์บางคนได้รวมโครงสร้างพยางค์แบบ "พยัญชนะ+เสียงเลื่อน+สระ" เข้ากับ "พยัญชนะ+สระ" เนื่องจากมองว่าเสียงเลื่อนเหล่านี้เป็นเพียงการออกเสียงซ้อนของเสียงพยัญชนะ: (Cʲ) ในขณะที่นักภาษาศาสตร์อีกส่วนมองว่าเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำ: (Cj)
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- NHK's New Dictionary of Japanese Pronunciation and Accentuation (ภาษาญี่ปุ่น). NHK Hōsō Bunka Kenkyūjo, 日本放送協会放送文化研究所. Tōkyō: Enueichikēshuppan. 2016. ISBN . OCLC 950889281.
{{}}
: CS1 maint: others () - Akinaga, Kazue; 秋永一枝 (2014). Shin Meikai Nihongo akusento jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Haruhiko Kindaichi, 金田一春彦 (Dai 2-han ed.). Tōkyō Chiyoda-ku. ISBN . OCLC 874517214.
- Nihon kokugo daijiten (ภาษาญี่ปุ่น). Shōgakkan. Kokugo Jiten Henshūbu, 小学館. 国語辞典編集部. (Seisenban, shohan ed.). Tōkyō: Shōgakkan. 2006. ISBN . OCLC 70216445.
{{}}
: CS1 maint: others () - Eberhard, David M., Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). (2021). Ethnologue: Languages of the World. Twenty-fourth edition. Dallas, Texas: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com.[1]
- "Japanese". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ).
- "Constitution of the State of Angaur: 9". www.pacificdigitallibrary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
{{}}
: CS1 maint: url-status () - "2005 Census of Population & Housing" (PDF). Bureau of Budget & Planning. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
- Amano, Midori; 天野みどり (2020). "語順 (word order)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 71. ISBN . OCLC 1160201927.
- Tanaka, Shin'ichi (2020). "音節 (syllable)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 21. ISBN . OCLC 1160201927.
- Ikegami, Nao; 池上尚 (2020). "語彙 (lexicon, vocabulary)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 63. ISBN . OCLC 1160201927.
- Meikyō kokugo jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Yasuo Kitahara, 保雄 北原 (Daisanhan ed.). Tōkyō. 2021. ISBN . OCLC 1232142874.
{{}}
: CS1 maint: others () - Frellesvig, Bjarke (2018). "Part I Overview Chapter 2 The History of the Language". The Cambridge handbook of Japanese linguistics. Yoko Hasegawa. Cambridge. ISBN . OCLC 1030822696.
{{}}
: CS1 maint: date and year () - Iwata, Kazunari; 岩田一成 (2018). "ローマ字 (the Roman alphabet)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 164. ISBN . OCLC 1160201927.
- Saitō, Yoshio; 斎藤純男 (2015). Nihongo onseigaku nyūmon (ภาษาญี่ปุ่น) (Kaiteiban ed.). Tōkyō: Sanseidō. ISBN . OCLC 76917393.
- Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "母音 (vowel)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō: Sanseidō. p. 145. ISBN . OCLC 1160201927.
- Hasegawa, Yoko (2015). Japanese : a linguistic introduction. Cambridge, United Kingdom. ISBN . OCLC 873763304.
- Vance, Timothy J. (2008). The sounds of Japanese. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN . OCLC 227031753.
- Sugitō, Miyoko; 杉藤美代子 (1997). "日本語音声の音声学的特徴". Bme (ภาษาญี่ปุ่น). 11 (4): 2–8. doi:10.11239/jsmbe1987.11.4_2.
- Harasawa, Itsuo; 原沢伊都夫 (2016). Nihongo kyōshi no tame no nyūmon gengogaku : enshū to kaisetsu (ภาษาญี่ปุ่น) (Shohan ed.). Tōkyō. ISBN . OCLC 964677472.
- Daijisen (ภาษาญี่ปุ่น). Akira Matsumura, 松村明, Shōgakkan. "Daijisen" Henshūbu, 小学館. 大辞泉編集部. Tōkyō. 2012. ISBN . OCLC 928950458.
{{}}
: CS1 maint: others () - Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "直音・拗音 (simplex onset mora/complex onset mora)". Meikai nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tokyō. p. 114. ISBN . OCLC 1160201927.
- Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "促音・拗音・撥音 (moraic obstruent/long vowel/moraic nasal)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 107. ISBN . OCLC 1160201927.
- Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "子音 (consonant)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 79. ISBN . OCLC 1160201927.
- Tsujimura, Natsuko (2013). An introduction to Japanese linguistics (3rd ed.). Hoboken. ISBN . OCLC 842307632.
- "文化庁 | 国語施策・日本語教育 | 国語施策情報 | 内閣告示・内閣訓令 | 現代仮名遣い". www.bunka.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-06-22.
- Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "口蓋音 (palatal sound)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 64. ISBN . OCLC 1160201927.
- Tanaka, Shin'ichi; 田中真一 (2020). "有声音・無声音 (voiced sound/voiceless sound)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 157. ISBN . OCLC 1160201927.
- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2017). "heavy syllable พยางค์หนักมาก". พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 420. ISBN . OCLC 1201694777.
- Matsui, Michinao; 松井理直, 日本語開拗音の音声的特徴について (ภาษาญี่ปุ่น), doi:10.14946/00002100, สืบค้นเมื่อ 2021-06-28
- Tanaka, Shin'ichi; 山田真一 (2020). "直音・拗音 (simplex onset mora/complex onset mora)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. p. 114. ISBN . OCLC 1160201927.
- Yamaoka, Kanako; 山岡華菜子 (2020). "モーラ・シラブル (mora/syllable)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō: Sanseidō. p. 153. ISBN . OCLC 1160201927.
- ยุพกา ฟูกุชิม่า (2018). การออกเสียงภาษาญี่ปุ่นจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN . OCLC 900808629.
- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (2017). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตสภา. p. 4. ISBN . OCLC 1201694777.
- Shimoji, Michinori (2018). "Dialects". The Cambridge handbook of Japanese linguistics. Yoko Hasegawa. Cambridge. ISBN . OCLC 1030822696.
- Hayashi, Yuka; 林由華 (2020). "琉球語 (the Ryukyuan language)". Meikai Nihongogaku jiten (ภาษาญี่ปุ่น). Takurō Moriyama, Katsumi Shibuya, 卓郎 森山, 勝己 渋谷. Tōkyō. ISBN . OCLC 1160201927.
ผลงานที่อ้างอิง
- Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese I: Inflection. Journal of the American Oriental Society, 66, pp. 97–130.
- Bloch, Bernard (1946). Studies in colloquial Japanese II: Syntax. Language, 22, pp. 200–248.
- Chafe, William L. (1976). Giveness, contrastiveness, definiteness, subjects, topics, and point of view. In C. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 25–56). New York: Academic Press. ISBN .
- Dalby, Andrew. (2004). "Japanese," 2022-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Dictionary of Languages: the Definitive Reference to More than 400 Languages. New York: Columbia University Press. ISBN , ; OCLC 474656178
- Frellesvig, Bjarke (2010). A history of the Japanese language. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN . จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-17.
- Frellesvig, B.; Whitman, J. (2008). Proto-Japanese: Issues and Prospects. Amsterdam studies in the theory and history of linguistic science / 4. John Benjamins Publishing Company. ISBN . จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-03-26.
- Kindaichi, Haruhiko; Hirano, Umeyo (1978). The Japanese Language. . ISBN .
- Kuno, Susumu (1973). The structure of the Japanese language. Cambridge, MA: MIT Press. ISBN .
- Kuno, Susumu. (1976). "Subject, theme, and the speaker's empathy: A re-examination of relativization phenomena," in Charles N. Li (Ed.), Subject and topic (pp. 417–444). New York: Academic Press. ISBN .
- McClain, Yoko Matsuoka. (1981). Handbook of modern Japanese grammar: 口語日本文法便覧 [Kōgo Nihon bumpō]. Tokyo: Hokuseido Press. ISBN , .
- Miller, Roy (1967). The Japanese language. Chicago: University of Chicago Press.
- Miller, Roy (1980). Origins of the Japanese language: Lectures in Japan during the academic year, 1977–78. Seattle: University of Washington Press. ISBN .
- Mizutani, Osamu; & Mizutani, Nobuko (1987). How to be polite in Japanese: 日本語の敬語 [Nihongo no keigo]. Tokyo: . ISBN .
- Robbeets, Martine Irma (2005). Is Japanese Related to Korean, Tungusic, Mongolic and Turkic?. Otto Harrassowitz Verlag. ISBN .
- Okada, Hideo (1999). "Japanese". Handbook of the International Phonetic Association. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 117–119.
- Shibamoto, Janet S. (1985). Japanese women's language. New York: Academic Press. ISBN . Graduate Level
- Shibatani, Masayoshi (1990). The languages of Japan. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN . ISBN (pbk).
- Tsujimura, Natsuko (1996). An introduction to Japanese linguistics. Cambridge, MA: Blackwell Publishers. ISBN (hbk); ISBN (pbk). Upper Level Textbooks
- Tsujimura, Natsuko (Ed.) (1999). The handbook of Japanese linguistics. Malden, MA: Blackwell Publishers. ISBN . Readings/Anthologies
- (2010). Korea-Japonica: A Re-Evaluation of a Common Genetic Origin. . ISBN . จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-23. สืบค้นเมื่อ 2015-10-18.
อ่านเพิ่ม
- Rudolf Lange, Christopher Noss (1903). A Text-book of Colloquial Japanese (English ed.). The Kaneko Press, North Japan College, Sendai: Methodist Publishing House. สืบค้นเมื่อ 1 March 2012.
- Rudolf Lange (1903). Christopher Noss (บ.ก.). A text-book of colloquial Japanese: based on the Lehrbuch der japanischen umgangssprache by Dr. Rudolf Lange (revised English ed.). Tokyo: Methodist publishing house. สืบค้นเมื่อ 1 March 2012.
- Rudolf Lange (1907). Christopher Noss (บ.ก.). A text-book of colloquial Japanese (revised English ed.). Tokyo: Methodist publishing house. สืบค้นเมื่อ 1 March 2012.
- (1975). A reference grammar of Japanese. New Haven: Yale University Press. ISBN .
- Vovin, Alexander (2017). "Origins of the Japanese Language". Oxford Research Encyclopedia of Linguistics. Oxford University Press. doi:10.1093/acrefore/9780199384655.013.277. ISBN .
- "Japanese Language". MIT. สืบค้นเมื่อ 2009-05-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
- National Institute for Japanese Language and Linguistics
- ภาษาญี่ปุ่น จาก Omniglot
- ภาษาญี่ปุ่น ที่เว็บไซต์ Curlie
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phasayipun khnci 日本語 hirangana にほんご にっぽんごormaci Nihongo Nippongo thbsphth nihngonga nippngonga ɲihoŋŋo ɲippoŋŋo fngesiyng epnphasarachkarkhxngpraethsyipunodyphvtiny pccubnmiphuichepnphasaaemthwolkpraman 125 lankhnodyepnphuxasyxyuinpraethsyipunpraman 124 lankhn aelamiphuichepnphasathisxngpraman 120 000 khn nxkcakni rthxaengar satharnrthpaela yngidkahndihphasayipunepnhnunginphasarachkarrwmkbaelaphasaxngkvsphasayipun日本語 にほんご にっぽんご ニホンゴ ニッポンゴ nihongo nippongoNihongo hrux Nippongo phasayipun ekhiyndwykhnci hnunginxkkhrwithikhxngphasayipunxxkesiyng nihoNɡo niQpoNgo ɲihoŋŋo ɲippoŋŋo praethsthimikarphudyipunchatiphnthuchawyipun canwnphuphudpraman 125 lankhn 2022 trakulphasayipun phasayipunrupaebbkxnhnaphasayipunrabbkarekhiynxksrphsmrahwangkhnci xksrcin kbkhana hirangana khatakana sthanphaphthangkarphasathangkar yipun odyphvtiny paela inrthxaengar rhsphasaISO 639 1jaISO 639 2jpnISO 639 3jpn45 CAA abthkhwamnimisylksnsthxksrsakl hakrabbkhxngkhunimrxngrbkaraesdngphlthithuktxng khunxacehnprsni klxng hruxsylksnxyangxunaethnthixkkhrayuniokhd phasayipunepnphasarupkhatidtxthimilksnathangwakysmphnthhruxkareriyngladbkhainpraoykhaebb prathan krrm kriya subject object verb SOV aemwathicringaelwladbkhacamikhwamyudhyuninradbhnungktam miokhrngsrangphyangkhthiimsbsxnaelaswnihyepnphyangkhepid open syllable khasphththiichinphasayipunmithngkhayipundngedim eriykwa waonga yipun 和語 ormaci Wago khathimacakphasacin eriykwa khngonga yipun 漢語 ormaci Kango khathimacakphasatangpraeths eriykwa ikironga yipun 外来語 ormaci Gairaigo aelakhathiprakxbdwykhacaksxngpraephthkhunip eriykwa khnchuonga yipun 混種語 ormaci Konshugo phasayipunmirabbkarekhiynthiichxksrhlaypraephthrwmkn idaek xksrhiranganaaelaxksrkhatakana phthnamacakxksrmnoyngana epntwxksraesdnghnwyesiyng phonograph radbphyangkh aelaxksrkhncisungepntwxksraesdnghnwykha logograph swnxksrormnhruxormacinnpccubnmikarichthicakd echn khxkhwambnpaysatharnatamthxngthnn chuxaelanamskulbnhnngsuxedinthang aelakarpxnkhxmulekhakhxmphiwetxrrabbesiyngesiyngsra taaehnnglinkhxngesiyngsrainphasayipun aephnphaphidxaaekrmaesdngchxngpakmnusy briewndansaykhxngidxaaekrmepnbriewnthiiklkbfnaelarimfipak briewndankhwakhxngidxaaekrmepnbriewnthiiklkbchxngkhx cudsidaaesdngtaaehnngthilinyktwkhunrahwangkarxxkesiyngsrasrahna front sraklang central srahlng back srapid close i usraradbklang mid e osraepid open ahnwyesiyng i inkarxxkesiyngcringradblincaldtalngmaelknxy xacekhiynepnsthxksrihlaexiydkhunidwa i hnwyesiyng e inkarxxkesiyngcringradblincaldtalngmaxyurahwangesiyng e kb ɛ xacekhiynepnsthxksrihlaexiydkhunidwa e hnwyesiyng a inkarxxkesiyngcringtaaehnnglincaxyurahwangesiyng a kb ɑ xacekhiynepnsthxksrihlaexiydkhunidwa a hnwyesiyng o inkarxxkesiyngcringtaaehnnglincaldtalngmaxyurahwangesiyng o kb ɔ xacekhiynepnsthxksrihlaexiydidkhunwa o hnwyesiyng u insaeniyngotekiywmikhwamaetktangcakesiyng u khux rimfipakimhxklm klawkhux rimfipakcaphxnkhlayaetimthungkhnehyiydrimfipakaebb i aemwaxaccamikarhdrimfipak lip compression krnithixxkesiyngcha xyangramdrawngbangktam xikthngtaaehnnglineyuxngmakhanghnakhxnkhangmak odyechphaaemuxtamhlngesiyngphyychna s t s d z z taaehnnglincaeyuxngipkhanghnamakyingkhun dngnncungxacekhiynsthxksrodylaexiydidwa ɯ xyangirktam emuxkhanungthungeruxngkhwamaeplkedn markedness thiimsxdkhlxngknaelw klawkhux odythwipphasaidthimihnwyesiyng ɯ sungepnsmachikesiyngsramatrthanchudrxng phasannkkhwrmihnwyesiyng u sungepnsmachikesiyngsramatrthanchudhlkdwy imkhwrcamiephiyngaekhhnwyesiyng ɯ odyimmihnwyesiyng u dngnnephuxihekidkhwamprasanthangrupaebbkhxngkaraeckaecng hnwyesiyngsrathng 5 esiyngepnsmachikesiyngsramatrthanchudhlkehmuxnknthnghmd eracungkhwreluxkesiyng u khunmaepntwaethnkhxnghnwyesiyngmakkwaesiyng ɯ dngthiaesdngintarangkhangtn khwamyawkhxngesiyngsramihnathiinkaraeykkhwamhmay echn esiyngsra i sn yawinkhawa ojiisan ozisaN lung nahruxxaephschay ethiybkb ojiisan oziːsaN ta pu chaysungxayu hruxesiyngsra u sn yawinkhawa tsuki tuki phracnthr ethiybkb tsuki tuːki kraaeslm xyangirktam nkphasasastryngkhngehnimtrngknwarabbesiyngphasayipunmihnwyesiyngsrayaw aː iː uː eː oː hruxim thngni klumthiimehndwymkkahndihmihnwyesiyngphiess echn R hrux H tamhlngesiyngsrasn echn ojiisan oziRsaN hrux oziHsaN tsuki tuRki hrux tuHki esiyngphyychna thanrimfipakthngsxng thanpumehnguxk thanpumehnguxk ephdanaekhng thanephdanaekhng thanephdanxxn thanlinik thanesnesiyngesiyngkk imkxng p t k ʔ kxng b d gesiyngnasik m n ɲ ŋ ɴ esiyngrwlin r esiynglinkrathb ɾesiyngesiydaethrk imkxng ɸ s x hkxng b z ɣ esiyngkkesiydaethrk imkxng t s t ɕ kxng d z d ʑ esiyngepid esiyngeluxn j ɰ w esiyngepidkhanglin l sthxksrthixyuinwngelbepnhnwyesiyngyxy esiyngaepr khxnghnwyesiyngidhnwyesiynghnung esiyngkk imkxng p t k emuxpraktintaaehnngtnkhaxacmi aspiration tammahlngcakpldplxykarkk epnesiyngaeprxisra immihnathiinkaraeykkhwamhmay ekhiynepnsthxksrodylaexiydidwa pʰ tʰ kʰ hnwyesiyng t esiyngkk pumehnguxk imkxng caxxkesiyngepn t ɕ esiyngkkesiydaethrk pumehnguxk ephdanaekhng imkxng emuxtamdwyesiyngsra i aelacaxxkesiyngepn t s esiyngkkesiydaethrk pumehnguxk imkxng emuxtamdwyesiyngsra u esiyng ʔ esiyngkk esnesiyng phbidintaaehnngthaykha echn あっ あれっ hnwyesiyng b esiyngkk rimfipak kxng xacxxkesiyngepn b esiyngesiydaethrk rimfipak kxng emuxxyurahwangesiyngsra hnwyesiyng n esiyngnasik pumehnguxk caxxkesiyngepn ɲ esiyngnasik ephdanaekhng emuxtamdwyesiyngsra i hruxesiyngphyychna j hnwyesiyng g esiyngkk ephdanxxn kxng emuxxyutaaehnngthiimichtnkhaxaccaxxkesiyngepn ŋ esiyngnasik ephdanxxn hrux ɣ esiyngesiydaethrk ephdanxxn kxng hnwyesiyng ɾ esiynglinkrathb pumehnguxk emuxxyutnkhaxaccaxxkesiyngepn l esiyngepidkhanglin pumehnguxk aelaxacphbkarxxkesiyngepn r esiyngrw pumehnguxk inkhnbangklum echn chawexoda yipun 江戸っ子 ormaci Edokko thbsphth exdkoka thngni tarabangelmichtwxksr r aethn ɾ ephuxkhwamsadwk hnwyesiyng h esiyngesiydaethrk esnesiyng imkxng caxxkesiyngepn c emuxtamdwyesiyngsra i aelacaxxkesiyngepn ɸ esiyngesiydaethrk rimfipak imkxng emuxtamdwyesiyngsra u aelaxaccaxxkesiyngepn ɦ hrux x esiyngesiydaethrk ephdanxxn imkxng idinbangsphaphaewdlxm hnwyesiyng s esiyngesiydaethrk pumehnguxk imkxng caxxkesiyngepn ɕ emuxtamdwyesiyngsra i hruxesiyngphyychna j hnwyesiyng z esiyngesiydaethrk pumehnguxk kxng krnithitamdwyesiyngsra i hruxesiyngphyychna j caxxkesiyngepn d ʑ hrux ʑ swnkrnithitamdwyesiyngsraxun caxxkesiyngepn d z esiyngkkesiydaethrk pumehnguxk kxng hrux z esiyngesiydaethrk pumehnguxk kxng hnwyesiyng j esiyngepid ephdanaekhng caprakthnaesiyngsra u o a aelaimprakthnaesiyngsra i e thngni tarabangelmichtwxksr y aethn j ephuxkhwamsadwk hnwyesiyng ɰ esiyngepid ephdanxxn caprakthnaesiyngsra a ethann aelamiesiyng w esiyngepid rimfipak ephdanxxn kxng epnesiyngaeprxisra thngni tarabangelmichtwxksr w aethn ɰ ephuxkhwamsadwk swnxun khxngbthkhwamnicaich r aethn ɾ ich y aethn j aelaich w aethn ɰ emuxklawthunghnwyesiyngdwyehtuphleruxngkhwamsadwkechnknesiyngphyychnakhwbkla esiyngphyychnakhwbkla consonant cluster inphasayipunpraktechphaataaehnngtnphyangkh samarthaebngxxkidepn 2 praephth khux Cy kb Cw Cy khux esiyngphyychnakhwbklathitaaehnngthisxngepn y inrabbkarekhiynpccubnaethnesiyngdwytwxksr や ゆ よ ヤ ユ ヨ khnadelk ゃ ゅ ょ ャ ュ ョ echn きゃ kya にゅ nyu ひょ hyo esiyngphyychnakhwbklachnidnimichuxeriykepnphasayipunwa ikhoyxng yipun 開拗音 ormaci Kaiyōon Cw khux esiyngphyychnakhwbklathitaaehnngthisxngepn w pccubnesiyngniidsuyipcakrabbesiyngphasayipun phasaklang aelw aemcayngkhngmiehluxihehninkarsakdkhawisamanynambangkhaktam echn chuxmhawithyaly Kwansei Gakuin University xyangirktam phasathinbangthinyngkhngmiesiyngphyychnakhwbklachnidnixyu esiyngphyychnakhwbklachnidnimichuxeriykepnphasayipunwa okoyxng yipun 合拗音 ormaci Gōyōon esiyngphyychnathaynasik ekhiynaethnhnwyesiyngiddwyxksr N ihy N epnesiyngthipraktintaaehnngthayphyangkhaelamikar assimilation kbesiyngthixyurxbkhang inrabbkarekhiynpccubnaethnesiyngdwytwxksr ん ン esiyngphyychnathaynasikaebngepnhnwyesiyngyxyiddngni twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmayesiyngnasik rimfipak m 散歩 さんぽ saNpo samːpo edinelnesiyngnasik pumehnguxk n 本当 ほんとう hoNtoː honːtoː cringesiyngnasik hna ephdanaekhng ɲ 筋肉 きんにく kiNniku kʲiɲːɲikɯ klamenuxesiyngnasik ephdanxxn ŋ 頑固 がんこ gaNko gaŋːko duxrnesiyngnasik linik ɴ 不満 ふまん humaN ɸɯmaɴː imphxic Ṽ 千円 せんえん seNen seẽeŋː hnungphneyncaxxkesiyngepn m emuxtamdwyesiyngphyychnarimfipakthimikarpidthankrn p b m caxxkesiyngepn n emuxtamdwyesiyngphyychnpumehnguxkthimikarpidthankrn t d n t s d z ɾ caxxkesiyngepn ɲ emuxtamdwyesiyngphyychna hna ephdanaekhngthimikarpidthankrn t ɕ d z ɲ caxxkesiyngepn ŋ emuxtamdwyesiyngphyychnaephdanxxnthimikarpidthankrn k g ŋ caxxkesiyngepn ŋ hrux ɴ emuximmiesiyngxairtamma echn emuxphudcbhruxewnchwngrahwangphud caxxkesiyngepnesiyng nasal vowel emuxtamdwyesiyngthiimmikarpidthankrn odyxaccaxxkepnesiyng a ĩ ɯ ẽ hrux o khunxyukbesiyngrxbkhang hakphudcha xaccaepnesiyng ŋ hrux ɴ esiyngphyychnasa ekhiynaethnhnwyesiyngiddwyxksr Q ihy Q epnesiyngthipraktintaaehnngthayphyangkhaelaxxkesiyngodysaesiyngphyychnatnkhxngphyangkhthdiptamkrabwnkarthangsthwithyathieriykwa gemination thaihesiyngphyychnaehlaniklayepnesiyngphyychnayaw long consonant inrabbkarekhiynpccubnaethnesiyngdwytwxksr つ ツ khnadelk っ ッ esiyngphyychnathisa twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmayesiyngkk rimfipak imkxng p 一歩 いっぽ iQpo ipːo hnungkawesiyngkk pumehnguxk imkxng t 夫 おっと oQto otːo samiesiyngkk ephdanxxn imkxng k 真っ赤 まっか maQka makːa siaedngsdesiyngesiydaethrk pumehnguxk imkxng s 実際 じっさい zyiQsai d ʑisːai khwamepncring ɕ 雑誌 ざっし zaQsi d zaɕːi nitysar odypktiaelw esiyngphyychnasa Q epnpraktkarnthiekidkbesiyngphyychnaimkxngethann ykewnkhathbsphthphasatangpraethsbangkhathixaccaphbkarsaesiyngphyychnakxng xikthngyngphbkarsaesiyngphyychnaesiydaethrk ɸ c h esiyngphyychnakhxngxksrwrrkh は inkhathbsphthphasatangpraethsbangkhadwy esiyngphyychnasa Q thipraktephimetimdwyxiththiphlkhxngphasatangpraeths esiyngphyychnathisa twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmayesiyngkk rimfipak kxng b ウェッブ weQbu webːɯ ewb phasaxngkvs web esiyngkk pumehnguxk kxng d ベッド beQdo bedːo etiyngnxn phasaxngkvs bed esiyngkk ephdanxxn kxng g バッグ baQgu bagːɯ kraepa phasaxngkvs bag esiyngesiydaethrk rimfipak imkxng ɸ ワッフル waQfuru waɸːɯɾɯ khnmrngphung phasaxngkvs waffle c チューリッヒ tyuːriQhi t ɕɯːcːi emuxngsuxrich phasaeyxrmn Zurich esiyngesiydaethrk esnesiyng imkxng h マッハ maQha mahːa elkhmkh phasaeyxrmn Mach xyangirktam khnyipunmiaenwonmthicaxxkesiyngodyepliyncakesiyngkxngepnesiyngimkxngxyuhlaykha echn bedːo betːo bagːɯ bakːɯ bxykhrngthipayhruxokhsnasakdkhaodyichxksresiyngimkxngaethn echn バッグ epn バック esiyngkhxngxksrkhana a i u e o ya yu yoあ a a い i i う u ɯ え e e お o o か ka ka き ki kʲi く ku kɯ け ke ke こ ko ko きゃ kya kja きゅ kyu kjɯ きょ kyo kjo さ sa sa し si ɕi す su sɯ せ se se そ so so しゃ sya ɕa しゅ syu ɕɯ しょ syo ɕo た ta ta ち ti t ɕi つ tu t sɯ て te te と to to ちゃ tya t ɕa ちゅ tyu t ɕɯ ちょ tyo t ɕo な na na に ni ɲi ぬ nu nɯ ね ne ne の no no にゃ nya ɲa にゅ nyu ɲɯ にょ nyo ɲo は ha ha ひ hi ci ふ hu ɸɯ へ he he ほ ho ho ひゃ hya ca ひゅ hyu cɯ ひょ hyo co ま ma ma み mi mʲi む mu mɯ め me me も mo mo みゃ mya mja みゅ myu mjɯ みょ myo mjo や ya ja ゆ yu jɯ よ yo jo ら ra ɾa り ri ɾʲi る ru ɾɯ れ re ɾe ろ ro ɾo りゃ rya ɾja りゅ ryu ɾjɯ りょ ryo ɾjo わ wa ɰa を o o が ga ga ŋa ぎ gi gʲi ŋʲi ぐ gu gɯ ŋɯ げ ge ge ŋe ご go go ŋo ぎゃ gya gja ŋja ぎゅ gyu gjɯ ŋjɯ ぎょ gyo gjo ŋjo ざ za d za za じ zi d ʑi ʑi ず zu d zɯ zɯ ぜ ze d ze ze ぞ zo d zo zo じゃ zya d ʑa ʑa じゅ zyu d ʑɯ ʑɯ じょ zyo d ʑo ʑo だ da da ぢ zi d ʑi ʑi づ zu d zɯ zɯ で de de ど do do ぢゃ zya d ʑa ʑa ぢゅ zyu d ʑɯ ʑɯ ぢょ zyo d ʑo ʑo ば ba ba び bi bʲi ぶ bu bɯ べ be be ぼ bo bo びゃ bya bja びゅ byu bjɯ びょ byo bjo ぱ pa pa ぴ pi pʲi ぷ pu pɯ ぺ pe pe ぽ po po ぴゃ pya pja ぴゅ pyu pjɯ ぴょ pyo pjo hnwyesiyngxun ん hnwyesiyngphyychnathaynasik N っ hnwyesiyngphyychnasa Q twxksr を xxkesiyngehmuxn お twxksr ぢ ぢゃ ぢゅ ぢょ づ xxkesiyngehmuxn じ じゃ じゅ じょ ず tamladb minkphasasastrbangklumthinbcanwnhnwyesiynginphasayipunaetktangipcakkhxmulkhangtn echn klumthinbesiyng ŋ esiyngnasik ephdanxxn aeykcakhnwyesiyng g esiyngkk ephdanxxn kxng xxkmaepnxikhnunghnwyesiyng klumthimxngwa tʲi てぃ ティ kb tɯ とぅ トゥ sungichkbechphaakhasphthphasatangpraeths echn パーティー xngkvs party タトゥー xngkvs tattoo epnsmachikinrabbesiyngkhxngphasayipundwy klumthiimyxmrbwaphasayipunmihnwyesiyngphyychnasa Q klumthiwiekhraahwamihnwyesiyngyaw R hrux H xyuinphasayipundwy esiyngphyychnathixyuhnaesiyngsra i cami palatalization prakxb odyaebngradbkaryklinid 2 radbyklinswnhnakhuniklephdanaekhngmakcnthaihcudkaenidesiyngekhluxnxxkipcakcudedimcntxngepliynipichsthxksrtwxun echn si ɕi epliyncak s epn ɕ yklinswnhnakhuniklephdanaekhngaetimmakcntxngthungkhnepliynsthxksr echn ki kʲi ephimekhruxnghmay ʲ ephuxaesdngwamikaryklinswnhnaprakxbethann karldkhwamkxngkhxngesiyngsra karldkhwamkxngkhxngesiyngsra yipun 母音無声化 ormaci Boin museika xngkvs vowel devoicing phbidinphasayipunhlaythinrwmthungphasaklang phasaotekiyw mkcaekidkhunemuxesiyngsrapid i hrux u xyurahwangesiyngphyychnaimkxngkbesiyngphyychnaimkxng echn xksrsiaedng khux esiyngsrathildkhwamkxng twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmay taaehnngthildkhwamkxng近 ちか い tikai t ɕi kai ikl ち t ɕi t ɕi 起 お きた oki ta okʲi ta tunaelw き kʲi kʲi 失敗 しっぱい siQpai ɕi pːai phidphlad し ɕi ɕi 学生 がくせい gakuseː gakɯ seː nkeriyn nisit nksuksa く kɯ kɯ 息子 むすこ musuko mɯsɯ ko lukchay す sɯ sɯ 机 つくえ tukue t sɯ kɯe ota つ t sɯ t sɯ nxkcakni karldkhwamkxngkhxngesiyngsramkcaekidkhunemuxesiyngsrapidtamhlngesiyngphyychnaimkxngaelaepncnghwathiphuphudphudcbhruxewnwrrkh echn twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmay taaehnngthildkhwamkxng秋 あき aki akʲi vduibimrwng き kʲi kʲi お菓子 かし okasi okaɕi khnm し ɕi ɕi です desu desɯ khakriyanuekhraah す sɯ sɯ ます masu masɯ khakriyanuekhraah す sɯ sɯ odythwip ecakhxngphasamkcaeliyngkarldkhwamkxngaebbtxenuxngkn sngphlihmiesiyngsrapidbangtaaehnngimldkhwamkxngaemcaxyuinsphaphaewdlxmtamenguxnikh aetkepnipidthicaxxkesiyngodyldkhwamkxngesiyngsrapidaebbtxenuxngkn twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmay taaehnngthildkhwamkxng復習 ふくしゅう hukusyuu ɸɯ kɯɕɯː ɸɯ kɯ ɕɯː thbthwn ふ ɸɯ ɸɯ く kɯ kɯ 知識 ちしき tisiki t ɕiɕi kʲi t ɕi ɕi kʲi khwamru し ɕi ɕi ち t ɕi t ɕi 寄付金 きふきん kihukiN kʲiɸɯ kʲiŋ kʲi ɸɯ kʲiŋ enginbricakh ふ ɸɯ ɸɯ き kʲi kʲi xyangirktam karldkhwamkxngkhxngesiyngsraxaccaphbinesiyngsrathiimichsrapididechnkn twxyangkha radbhnwyesiyng esiyngodylaexiyd khwamhmay taaehnngthildkhwamkxngほこり hokori ho koɾʲi fun ほ ho ho かかる kakaru kḁ kaɾɯ ich ewla engin か ka kḁ 心 こころ kokoro ko koɾo hwic こ ko ko karldkhwamkxngkhxngesiyngsrakhxngkhasphthaetlakhasamarthtrwcsxbidcakphcnanukrmkarxxkesiyngphasayipun echn 新明解 しんめいかい 日本語 にほんご アクセント辞典 じてん hrux NHK日本語発音 にほんごはつおん アクセント新辞典 しんじてん thngni praktkarnniphbidnxyinphasayipuntawntk Western Japanese phyangkhaelamxra phyangkh phyangkhinphasayipunsamarthaebngtamnahnkkhxngphyangkh syllable weight iddngni 1 phyangkheba light syllable phyangkhebainphasayipunprakxbdwyesiyngsrasn camiesiyngphyychnatn phyychnatnkhwbklahruximkidtwxyang i kraephaa su nasmsaychu tya cha2 phyangkhhnk heavy syllable phyangkhhnkinphasayipunprakxbdwyesiyngsrayawhruxesiyngsrasnthimiesiyngphyychnathay camiesiyngphyychnatn phyychnatnkhwbklahruximkidtwxyang oː phraracha zyuN eknth 3 phyangkhhnkmak superheavy syllable epnphyangkhthicanwnhnwyaeykswn segment makkwacanwnkhxnghnwyaeykswninphyangkhebaaelaphyangkhhnk phyangkhchnidnimiechphaainbangphasaaelaxngkhprakxbkhxnghnwyswnaeykimchdecnephraakhunxyukblksnakhxngphyangkhebaaelaphyangkhhnkinphasann twxyang aːN esiyngrxngihkhxngedkthark roːN enginku okhrngsrangphyangkh chnidphyangkh xngkhprakxbkhxngphyangkh twxyangkha radb hnwyesiyng khwamhmayphyangkheba light syllable srasn V 胃 い i kraephaa尾 お o hangphyychnatn srasn CV 酢 す su nasmsaychu湯 ゆ yu narxnphyychnatn srasn CyV 茶 ちゃ tya cha種 しゅ syu chnid praephthphyangkhhnk heavy syllables srayaw Vː 映画 えいが eː ga phaphyntr王 おう oː phrarachaphyychnatn srayaw CVː お父 とう さん o toː saN khunphxお兄 にい さん o niː saN phichayphyychnatn srayaw CyVː 十 じゅう dyuː sib表 ひょう hyoː tarangsrasn phyychnathaynasik VN 案 あん aN rang exksar 運 うん uN ochkhphyychnatn srasn phyychnathaynasik CVN 万 まん maN hmun金 きん kiN thxngphyychnatn srasn phyychnathaynasik CyVN 準 じゅん zyuN eknth赤 あか ちゃん a ka tyaN tharksrasn phyychnasa VQ 悪化 あっか aQ ka elwraylng夫 おっと oQ to samiphyychnatn srasn phyychnasa CVQ 作家 さっか saQ ka nkekhiyn切手 きって kiQ te iprsniyakrphyychnatn srasn phyychnasa CyVQ 若干 じゃっかん zyaQ kaN ephiyngelknxy却下 却下 kyaQ ka ykfxngphyangkhhnkmak superheavy syllable srayaw phyychnathaynasik VːN ああん aːN esiyngrxngihkhxngedktharkphyychnatn srayaw phyychnathaynasik CVːN ローン roːN enginkuphyychnatn srayaw phyychnathaynasik CyVːN コミューン ko myuːN phudkhuyknxyangsnithsnmsrayaw phyychnasxn VːQ いいって iːt te imepnirhrxk phyychnatn srayaw phyychnasa CVːQ 凍 こお った koːQ ta na aekhngtwphyychnatn srayaw phyychnasa CyVːQ ひゅうっと hyuːQ to esiynglmphd C hmaythung esiyngphyychna consonant V hmaythung esiyngsra vowel y hmaythung y N hmaythung esiyngphyychnathaynasik N Q hmaythung esiyngphyychnasa Q ekhruxnghmay ː ichaesdngesiyngyaw long ekhruxnghmay ichaesdngkhxbekhtrahwangphyangkh syllable boundary mxra mxra yipun 拍 ormaci Haku epnhnwykarnbinradbthielkkwaradbkhatamthvsdi metrical phonology epnkarnbchwngkhwamyawkhxngesiyngthietha kn aelaepnhnwyphunthankahnd rhythm khxngkhaaelapraoykhphasayipun canwnmxrakhxngkhakhahnunginphasayipunxaccaethakbcanwnphyangkhhruxmakkwacanwnphyangkh odyphyangkheba 1 phyangkhnbepn 1 mxra phyangkhhnk 1 phyangkhnbaeykepn 2 mxra aelaphyangkhhnkmak 1 phyangkhnbepn 3 mxra echn khawa おばあさん ya yay haknbcanwnphyangkhcaid 3 phyangkh aethaknbcanwnmxracaid 5 mxra nbtamcanwnphyangkh おばあさん o baː saN o baː saN nbtamcanwnmxra おばあさん o ba a sa N o ba a sa N ekhruxnghmay ichaesdngkhxbekhtrahwangphyangkhhruxmxra aemwaemuxwdkhatamcringaelwmxraaetlamxraxaccaimidethakninthangkayphaph aetecakhxngphasa inthinikhuxphuphudphasayipun thngphuphudaelaphufngcarbruchwngkhwamyawkhxngkhxngaetlamxrawayawetha kn khwamyawthangcitwithya khwamaetktangrahwangkarnbcanwnphyangkhkbcanwnmxrakhxngkhainphasayipunsamarthsrupodysngekhpiddngni 1 esiyngsrasnthukesiyng hruxesiyngphyychnatamdwyesiyngsrasn nbepn 1 phyangkh aelanbepn 1 mxraethakn twxyangkha nbtamphyangkh nbtammxra khwamhmay canwnphyangkhtxmxra駅 えき e ki e ki sthanirthif 2 2さくら sa ku ra sa ku ra dxksakura 3 3地下鉄 ちかてつ ti ka te tu ti ka te tu rthifitdin 4 4 2 esiyngsratamdwyesiyngphyychnathaynasik N hruxesiyngphyychnaaelaesiyngsratamdwyesiyngphyychnathaynasik N nbepn 1 phyangkh aetnbaeykepn 2 mxra khux CV kb N twxyangkha nbtamphyangkh nbtammxra khwamhmay canwnphyangkhtxmxra本 ほん hoN ho N hnngsux 1 2演技 えんぎ eN gi e N gi karaesdng 2 3オランダ o raN da o ra N da praethsenethxraelnd 3 4 3 esiyngsratamdwyesiyngphyychnasa Q hruxesiyngphyychnaaelaesiyngsratamdwyesiyngphyychnasa Q nbepn 1 phyangkh aetnbaeykepn 2 mxra khux CV kb Q twxyangkha nbtamphyangkh nbtammxra khwamhmay canwnphyangkhtxmxra切符 きっぷ kiQ pu ki Q pu tw 2 3びっくり biQ ku ri bi Q ku ri tkic 3 4まっすぐ maQ su gu ma Q su gu trngip 3 4 4 esiyngsrayaw hruxesiyngphyychnaaelaesiyngsrayaw nbepn 1 phyangkh aetnbaeykepn 2 mxra twxyangkha nbtamphyangkh nbtammxra khwamhmay canwnphyangkhtxmxra時計 とけい to keː to ke e nalika 2 3お母 かあ さん o kaː saN o ka a sa N khunaem 3 5お父 とう さん o toː saN o to o sa N khunphx 3 5 5 esiyngsraprasmsxngswn diphthong nbepn 1 phyangkh aetnbaeykepn 2 mxra twxyangkha nbtamphyangkh nbtammxra khwamhmay canwnphyangkhtxmxra再会 さいかい sai kai sa i ka i karphbknihm 2 4社会 しゃかい sya kai sya ka i sngkhm 2 3オイル oi ru o i ru namn 2 3radbesiyngaebbesiyngsung ta radbesiyngaebbesiyngsung ta yipun 高低アクセント ormaci Kōtei akusento xngkvs Pitch accent epnhnungin sound quality thiphbidinphasayipunhlaythinrwmthungphasaklang phasaotekiyw cdepnrupaebbhnungkhxngkarlngnahnk accent khahruxphyangkhinthxykhwamihmikhwamednchdkhun aetktangcakesiyngwrrnyukt tone trngthiesiyngwrrnyuktepnradbesiyngphayinphyangkh ta klang sung khun tk l phayinphyangkh inkhnathiradbesiyngsungtainphasayipunepnradbesiyngrahwangmxra txngfngepriybethiybrahwangmxracungcathrabwamxraidsung mxraidta praephthkhxngradbesiyngaebbesiyngsung ta khainphasaklang phasaotekiyw samarthaebngpraephthtamtaaehnngesiyngtk taaehnngthiesiyngerimldradbtalng phasayipuneriykwa 下 さ がり目 め iddngni ekhruxnghmay ichephuxaesdngtaaehnngesiyngtk swnekhruxnghmay ichephuxaesdngwakhahruxhnwykhannimmitaaehnngesiyngtk xksrimekhmichephuxaesdngwamxradngklawldkhwamkxngkhxngesiyngsra khathimitaaehnngesiyngtktnkha yipun 頭高型 あたまだかがた ormaci Atama daka gata thbsphth xatamadakangata mxraaerkesiyngcasung thdcaknncaerimldradbtalng echn 木 キ esiyngldradbtalnghlngcak キ 猫 ネ コ esiyngldradbtalnghlngcak ネ 命 イ ノチ esiyngldradbtalnghlngcak イ 埼玉 サ イタマ esiyngldradbtalnghlngcak サ khathimitaaehnngesiyngtkklangkha yipun 中高型 なかだかがた ormaci Naka daka gata thbsphth nakadakangata esiyngcasungipcnthungtaaehnngesiyngtk caknnesiyngcaerimldradbtalng echn あなた アナ タ esiyngldradbtalnghlngcak ナ 味噌汁 ミソシ ル esiyngldradbtalnghlngcak シ 飛行機 ヒコ ーキ esiyngldradbtalnghlngcak コ 美術館 ビジュツ カン hrux ビジュ ツカン esiyngldradbtalnghlngcak ツ hrux ジュ khathimitaaehnngesiyngtkthaykha yipun 尾高型 おだかがた ormaci O daka gata thbsphth oxdakangata esiyngcasungipcnthungthaykha hakmihnwykha echn khachwy matxthay esiyngcaerimldradbtalngtngaetkhachwytwdngklaw echn 山 ヤマ emuxmikhachwy が matxthaycaxxkesiyngepn ヤマ カ 男 オトコ emuxmikhachwy が matxthaycaxxkesiyngepn オトコ カ 妹 イモート emuxmikhachwy が matxthaycaxxkesiyngepn イモート カ khathiimmitaaehnngesiyngtk aebbrab yipun 平板型 へいばんがた ormaci Heiban gata thbsphth ehbngngata 魚 サカナ emuxmikhachwy が matxthaycaxxkesiyngrabtxenuxngip サカナカ 竹 タケ emuxmikhachwy が matxthaycaxxkesiyngrabtxenuxngip タケカ 休日 キュージツ emuxmikhachwy が matxthaycaxxkesiyngrabtxenuxngip キュージツカ sylksnaesdngtaaehnngesiyngtk inxkkhrwithikhxngphasayipunimmisylksninkaraesdngradbesiyngaebbphasaithy ekhruxnghmaywrrnyukt dngnninkaraesdngtaaehnngesiyngtkcungcaepntxngichsylksnphiessbangxyangsungaetktangknipkhunxyukbkhxkahndkhxnghnngsuxhruxphcnanukrmelmnn echn sylksn khwamhmay twxyang hnngsuxhruxphcnanukrmthiich ichrabutaaehnngesiyngtk ichrabuwakhadngklawimmitaaehnngesiyngtk ミソシ ル サカナ NHK日本語発音 にほんごはつおん アクセント新辞典 しんじてん ichrabutaaehnngesiyngtk ichrabuwakhadngklawimmitaaehnngesiyngtk みそし る さかな 小学館 しょうがくかん デジタル大辞泉 だいじせん 物書堂版 ものかきどうばん hrux hrux ichrabutaaehnngesiyngtk immiekhruxnghmayemuximmitaaehnngesiyngtk みそし る みそし る さかな karxxkesiyngphasayipun cakthvsdisuptibti yuphka 2018 日本語音声学入門 にほんごおんせいがくにゅうもん Saitō 2015 nxkcakkarichsylksn echn hrux inkaraesdngtaaehnngesiyngtk 下 さ がり目 め khxngkhasphthaelw yngmikarichtwelkhinkaraesdngaeknesiyngsung ta mxratwsudthaykxnthiesiyngcaerimldradbtalng phasayipuneriykwa アクセント核 かく echn inphcnanukrmphasayipun 大辞林 だいじりん hrux 新明解国語辞典 しんめいかいこくごじてん sinaengin ichaesdngtaaehnngaeknesiyngsung ta き 1 木 hmaythung aeknesiyngsung taxyuthimxrathi 1 nnkhux き キ いのち 1 命 hmaythung aeknesiyngsung taxyuthimxrathi 1 nnkhux い イ ノチ みそしる 3 味噌汁 hmaythung aeknesiyngsung taxyuthimxrathi 3 nnkhux し ミソシ ル ひこうき 2 飛行機 hmaythung aeknesiyngsung taxyuthimxrathi 2 nnkhux こ ヒコ ーキ いもうと 4 妹 hmaythung aeknesiyngsung taxyuthimxrathi 4 nnkhux と イモート さかな 0 魚 hmaythung immiaeknesiyngsung ta サカナ rabbkarekhiynpccubnphasayipunichrabbkarekhiynaebbphsmphsan odyichxksrhiranganaaelaxksrkhatakanasungepntwxksraesdnghnwyesiyng phonograph radbphyangkh aelaxksrkhncisungepntwxksraesdnghnwykha logograph praoykhhnungpraoykhxacmixksrthng 3 praephthpapnkn praoykhtwxyang 朝食にハムエッグを食べました kinaehmkbikhepnxaharecha phasayipun 朝食 に ハムエッグ を 食 べ まし たormaci chōshoku ni hamueggu o tabe mashi takhwamhmay xaharecha khachwy aehmkbikh khachwy kin aesdngkhwamsuphaph xditkalhruxkarnlksnasmburn praoykhkhangtnprakxbdwytwxksrthng 3 praephth siekhiyw khuxxksrhirangana sinaengin khuxxksrkhatakana aelasiaedng khuxxksrkhnci khnci swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidhiranganaaelakhatakana swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidiwyakrnokhrngsrangpraoykhphunthan ladbkhxngkhainpraoykhphasayipunkhux prathan krrm aelakriya odyprathan krrm aelaswnxun inpraoykhcami khachwy kakbxyuephuxbngbxkhnathikhxngkhathinahna okhrngsrangpraoykhphunthaninphasayipunprakxbdwyhweruxngaelaswnxthibay twxyangechn Kochira wa Tanaka san desu こちらは田中さんです kochira aeplwa ni epnhweruxngkhxngpraoykhephraami wa kakbxyu swn Tanaka san desu epnswnxthibaykhxngpraoykh desu epnkriyakhxngpraoykhthiaeplidwa epn praoykhniaeplkhraw idwa sahrbkhnni ekhakhuxkhunthanaka phasayipunmikhwamkhlaykbphasainexechiyhlay phasathimkcarabuhweruxngkhxngpraoykhaeykcakprathan klawkhuxhweruxngkhxngpraoykhimcaepntxngepnprathankhxngpraoykh twxyangechn Zō wa hana ga nagai desu 象は鼻が長いです aepltamtwidwa sahrbchang cmuk khxngphwkmn yaw hweruxngkhxngpraoykhkhux zō chang inkhnathiprathankhxngpraoykhkhux hana cmuk phasayipunepnphasathichxblakha klawkhux mkcamikarlaprathanhruxkrrmkhxngpraoykhthiepnthiruknknxyuaelw nxkcakni chawyipunyngrusukwapraoykhthisndikwapraoykhyawodyechphaaxyangyinginphasaphud dngnnchawyipuncungmkcalakhatanginpraoykhmakkwacaxangthungmndwykhasrrphnam twxyangechn cakpraoykhkhangbn hana ga nagai kaeplidwa cmuk khxngchang yaw odythiimtxngrabuhweruxngkhxngpraoykhhakepnthiekhaictrngknwakalngklawthungchang nxkcakni kriyaephiyngtwediywkthuxwaepnpraoykhthismburnid echn Yatta aeplwa chn tha mnsaercaelw khakhunsphthephiyngtwediywkthuxwaepnpraoykhthismburnidechnkn echn Urayamashii aeplwa chnrusuk xiccha mn aemwaphasayipuncamikhabangkhathithuxidwaepnkhasrrphnam aetkhnyipunkimichkhasrrphnambxyethakbphasaklumxinod yuorepiyn inthangklbkn khnyipunmkcaichkriyaphiesshruxkriyachwyephuxbngbxkthisthangkhxngkarkratha echn lang ephuxbngbxkwakarkrathaniepnkarkrathacaknxkklumthiepnphlpraoychntxinklum aelaichkhawa bn ephuxbngbxkwaepnkarkrathacakphayinklumthiepnpraoychntxnxkklum twxyangechn oshiete moratta aeplwa ekha phwkekha xthibayih chn phwkera khnathi oshiete ageta aeplwa chn phwkera xthibayih ekha phwkekha karichkriyachwyinlksnanithaihruphukrathaaelaphuthukkrathaidehmuxnkbkarichkhasrrphnamaelakhabuphbthinphasaklumxinod yuorepiyn khasrrphnaminphasayipunmilksnakhlaykhlungkbkhanam klawkhux erasamarthichkhakhyaymakhyaykhasrrphnamid sungaetktangcakkhasrrphnaminphasaklumxinod yuorepiynthiimsamarthkrathaid echn The amazed he ran down the street ekhathikalngngngwingiptamthnn praoykhkhangbnniimthuktxngtamhlkiwyakrnphasaxngkvs aetthuxwathuktxngtamhlkiwyakrnphasayipun 驚いた彼は道を走っていた Odoroita kare wa michi o hashitte itta saehtuthikhasrrphnaminphasayipunkhlaykhlungkbkhanam swnhnungepnephraakhasrrphnambangkhamitnkaenidmacakkhanam echn kimi thiaeplwa khun aetedimaeplwa ecanay aela boku thiaeplwa phm aetedimaeplwa kharbich dngnn nkphasasastrbangkhncungimcdwakhasrrphnaminphasayipunepnkhasrrphnamthiaethcring aetepnkhanamthiichxangxing khnyipuncaichkhaeriyktwexnginkrnithitxngbxkwaikhrkalngthaxairihikhrethann khasrrphnamthiicheriyktwexngkhunxyukbephskhxngphuphudaelasthankarninkhnann insthankarnthiepnthangkar phuhyingaelaphuchaysamarthich watashi hrux watakushi id swninsthankarnthiepnknexng phuchaymkeriyktwexngwa ore khasrrphnamthiicheriykphufngnnkhunxyukbsthanphaphthangsngkhmaelakhwamkhunekhyrahwangphuphudkbphufng khabangkhaxacepnkhathisuphaphinsthankarnhnung aetxacimsuphaphinxiksthankarnhnungkid chawyipunmkeriykbukhkhldwytaaehnnghnathiaethnkarichsrrphnam twxyang echn nkeriyneriykxacarywa sensei 先生 xacary imich anata sungthuxwaimehmaasmephraakhawa anata icheriykbukhkhlthimisthanphaphethaknhruxtakwaethann chawtangchatithiphudphasayipunmkkhuntnpraoykhdwykhawa watashi wa aemwapraoykhnicathuktxngtamhlkiwyakrn aetkfngduaeplkmaksahrbchawyipun epriybethiybehmuxnkbkarichkhanamsainphasaithy echn smchaykalngma krunathakhawphdihsmchayephraasmchaychxbkhawphd chnhwngwasmchaycachxbchudthichnisxyu twxyangpraoykh khanam 1 は khanam 2 です mikhwamhmaywa khanam 1 nnkhux khanam 2 twxyangechn 私はソムチャイです Watashi wa Somuchai desu chnchuxsmchay私はタイ人です Watashi wa Taijin desu chnepnkhnithy inokhrngsrangpraoykhniich は xanwa wa imich ha epnkhachwyichchihwkhxeruxngthikalngcaphud inthinikhux chn praoykhbxkelasamarthepliynihepnpraoykhkhathamephuxthamwaichhruxim odykaretim か lngthaypraoykh ewlaphudihxxkesiyngsungthaypraoykh twxyangechn あなたは日本人ですか Anata wa Nihonjin desu ka khunepnkhnyipunichhruximいいえ 中国人です Iie Chugokujin desu imich epnkhncin khasphth 私 watashi chnあなた anata khunタイ人 taijin khnithy日本人 Nihonjin khnyipun中国人 Chugokujin khncinはい hai ichいいえ iie imich prathan は krrm を kriya mikhwamhmaywa prathankrathakriyakbkrrm twxyangechn 私はご飯を食べる Watashi wa gohan o taberu chnkinkhaw彼は本を読みます Kare wa hon o yomimasu ekhaxanhnngsux inokhrngsrangpraoykhni caehnwaeraichkhachwy を txthaykhathithahnathiepnkrrmkhxngpraoykh khasphth ご飯 gohan khaw本 hon hnngsux食べる taberu kin読みます yomimasu xan彼 kare ekha phuchay kriyarupxdit aelaptiesth phasayipunmikarphnrupkhxngkriya epniptamkal Tense echnediywkbphasaxngkvs nxkcaknninpraoykhptiesthmikarphnkriyaephuxaesdngkhwamhmaywa im xikdwy hlkkarphnkriyamidngni ruppccubn bxkela rupxdit bxkela ruppccubn ptiesth rupxdit ptiesth ます ました ません ませんでした食べます tabemasu 食べました tabemashita 食べません tabemasen 食べませんでした tabemasendeshita飲みます nomimasu 飲みました nomimashita 飲みません nomimasen 飲みませんでした nomimasendeshita見ます mimasu 見ました mimashita 見ません mimasen 見ませんでした mimasendeshita今日テレビを見ます Kyō terebi o mimasu wnnicaduothrthsn昨日テレビを見ました Kinō terebi o mimashita emuxwanduothrthsn今日テレビを見ません Kyō terebi o mimasen wnnicaimduothrthsn昨日テレビを見ませんでした Kinō terebi o mimasendeshita emuxwanimidduothrthsn khasphth 見ます mimasu duテレビ terebi othrthsn今日 kyō wnni昨日 kinō emuxwankhanamaelakhabngchi khasrrphnam khasrrphnamthiichknthwip bukhkhlthi rupthwip rupsuphaph rupykyxnghnung 僕 boku phuchay あたし atashi phuhying 俺 ore phuchay 私 watashi 私 watakushi sxng 君 kimi お前 omae あなた anata そちら sochira あなた様 anata sama sam 彼 kare phuchay 彼女 kanojo phuhying aemwataraiwyakrnphasayipunhlayelmcaklawthungkhasrrphnam 代名詞 idemchi aetnnkimichkhasrrphnamthiaethcring ephraakhasrrphnamthiaethcringnncatxngimmikhamakhyay aetidemchiinphasayipunmikhakhyayid echn 背の高い彼女 se no takai kanojo hmaythung ethx thimikhawa sung makhyay pccubnmiidemchiihmekidkhunmakmay inkhnathiidemchiekakkalnghayipxyangrwderw miidemchicanwnhnungthithuxidwaiklekhiyngkbkhasrrphnam echn 彼 kare ekha 彼女 kanojo ethx 私 watashi chn khnathiidemchibangkhathuxwaepn khanamswntw imichsrrphnam echn 己 onore chn ihkhwamhmayinthangxxnnxmepnxyangmak hrux 僕 boku chn edkphuchay khaehlaniepriybesmuxnchuxtwexng nnkhuxkhnxunxaceriykeradwyidemchiediywkbthieraeriyktwexngkid phuxunxacich おのれ onore sungepnkareriykphufnginechinghyabkhay hruxxacich boku sungepnkareriykphufnginechingehnphufngepnedk nxkcakni yngmiidemchibangkhathimihlaykhwamhmay echn kare aela kanojo samarthaeplidwa aefn thiepnphuchay aela aefn thiepnphuhying tamladb khnyipunmkimkhxyichidemchieriyktwexng swnhnungepnephraaphasayipunimcaepntxngrabuprathanthukkhrnginkrnithiphuphudaelaphufngekhaictrngknxyuaelw aelaodypkti khnyipunmkcaeriykchuxhruxichkhanamechphaaecaacngaethnkarichsrrphnam echn 木下さんは 背が高いですね Kinoshita san wa se ga takai desu ne kalngphudkbkhunkhionachita khunkhionachitasungcngelynakhrb 専務 明日福岡市西区の山本商事の社長に会っていただけますか Semmu asu Fukuoka shi Nishi ku no Yamamoto shōji no shachō ni atte itadakemasuka kalngphudkbphucdkar thanphucdkarcasamarthipphbthanprathanbristhyamaomotaphrungniidihmkha khabngchi khabngchi ko so a do kore xnni sore xnnn are xnonn dore xnihn kono ni sono nn ano onn dono ihn konna ehmuxnxyangni sonna ehmuxnxyangnn anna ehmuxnxyangonn donna xyangir ehmuxnxyangihnkoko thini soko thinn asoko thionn doko thiihn kochira thangni sochira thangnn achira thangonn dochira thangihn kō aebbni sō aebbnn a aebbonn dō aebbihn rupphiess khabngchimithnghmdsamaebbkhux khabngchithikhuntndwy ko so aela a khabngchithikhuntndwy ko ichrabusingthixyuikltwphuphudmakkwaphufng khabngchithikhuntndwy so ichrabusingthiikltwphufngmakkwaphuphud aelakhabngchithikhuntndwy a ichrabusingthixyuiklthngphuphudaelaphufng khabngchisamarththaihepnrupkhathamiddwykarichkhawa do khuntn khabngchiyngsamarthichrabubukhliddwy echn こちらは林さんです Kochira wa Hayashi san desu nikhuxkhunhayachi khabngchithiichecaacngkhanam txngwangiwhnakhanam echn この本 kono hon aeplwa hnngsuxelmni aela その本 sono hon aeplwa hnngsuxelmnn emuxichkhabngchirabusingthiepnnamthrrmhruxsingthiphuphudhruxphufngimehninkhnann khabngchiaetlakhacamikhwamhmayinechingkhwamrusukthiaetktangkn khabngchithiaesdngkhwamiklthngphuphudaelaphufng mkcaichphudthungsinghruxprasbkarnthiphuphudmirwmkbphufng echn A 先日 札幌に行って来ました A Senjitsu Sapporo ni itte kimashita A emuximnanmani chnipspoporma B あそこ そこ はいつ行ってもいい所ですね B Asoko Soko wa itsu itte mo ii tokoro desu ne B imwacaipemuxir thinnkepnthithidiesmxelyenxa hakich soko aethn asoko inpraoykhni cahmaykhwamwa B immikhwamruekiywkbspopor sungepnipimidephraaekhaaesdngkhwamehnekiywkbspopor dngnn cungich soko aethnimid khabngchithiichbxkwaxyuiklphufngmakkwaphuphud mkichphudthungsinghruxprasbkarnthiphuphudaelaphufngimidmirwmkn echn 佐藤 田中という人が昨日死んだって Satō Tanaka to iu hito ga kinō shinda tte saot chnidyinwakhnthichuxthanakatayemuxwanni 森 えっ 本当 Mori E hontō omri exa cringhrux 佐藤 だから その あの 人 森さんの昔の隣人じゃなかったっけ Satō Dakara sono ano hito Mori san no mukashi no rinjin ja nakatta kke saot chnthungidthaming ekhaepnyatikhxngethximichhrux sngektwa thaich ano aethn sono inpraoykhnicaimehmaasm ephraawasaotaimidruckkbthanakaepnkarswntw khwamsuphaph phasayipunmikarichiwyakrnphiessephuxaesdngthungkhwamsuphaphaelakhwamepnthangkar sungaetktangcakphasatawntk sngkhmyipunmikhwamsmphnthrahwangbukhkhlinhlayradb klawkhux khnhnungmisthanasungkwaxikkhnhnung sungmipccythimakahnd xathi hnathikarngan xayu prasbkarn aelasthanathangcitic phukhncaeriykrxngihsuphaphtxkn phuthimiwuthinxykwacaichphasathisuphaph khnathiphuthimiwuthixacichphasathieriybngay phuthiimruckknmakxncaichphasasuphaphtxkn edkelkmkimichphasasuphaphcnkwacaepnwyrun emuxotkhun phwkekhacaphudphasathiepnphuihymakkhun ethenonga 丁寧語 phasasuphaph mkcaepnkarphnkhaepnswnihy swnsngekhonga 尊敬語 phasaykyxng aela ekhnoconga 謙譲語 phasathxmtw caichrupkhakriyaphiessthiaesdngthungkarykyxngaelakarthxmtw echn xikhu thiaeplwa ip caepliynepn xikhimasu emuxxyuinrupsuphaph epliynepn xirscharu emuxxyuinrupykyxng aelaepliynepn maxiru emuxxyuinrupthxmtw phasathxmtwcaichinkarphudekiywkbtwexng hruxklumkhxngtwexng bristh khrxbkhrw khnathiphasaykyxngcaichemuxklawthungphusnthnahruxklumxun echn khawa sng thiichtxthaychux aeplwa khun thuxepnphasaykyxngxyanghnung caimicheriyktnexnghruxeriykkhnthixyuinklumkhxngtnihphuxunfngephraabrisththuxepnklumkhxngphuphud emuxphudkbphuthixyusungkwainbristhkhxngtn hruxphudkbphnknganinbristhkhxngtnekiywkbphuthixyusungkwa chawyipuncaichphasaykyxngphuthixyusungkwainklumkhxngtn aetemuxphudkbphnknganbristhxun khnthixyunxkklum chawyipuncaichrupaebbthxmtnemuxxangthungkhnthisungkwainbristhkhxngtn khathiichinphasayipuncaekiywkhxngkbbukhkhl phasaaelakarkrathasungaetktangkniptamaetlakhnkhunxyukbkhwamsmphnth thnginklumaelanxkklum rahwangphuphudkbphufng dwyehtuni yipuncungmikarkahndkhaykyxngthangsngkhmthieriykwa karykyxngaebbsmphthth sungaetktangcakrabbkhxngekahlisungepn karykyxngaebbsmburn klawkhux phasaekahlicakahndkhathiichkhuykbaetlakhnip echn phxkhxngtn aemkhxngtn hwhnakhxngtn odyimkhunkbkhwamsmphnthrahwangphuphudkbphufng dngnn phasasuphaphkhxngekahlicungfngdubumbamemuxaeplepnphasayipuntamtwxksr echninphasaekahli eraphudwa thanprathanbristhkhxngphwkera kbkhnthixyunxkklumidtampkti aetchawyipunthuxwakarphudechnniimsuphaph khanamhlaykhainphasayipunxacthaihxyuinrupsuphaphid dwykaretimkhaxupsrrkh oxa hrux oka nahna khawa oxa mkichkbkhathimacakphasayipun khnathikhawa oka ichkbkhathirbmacakphasacin bangkhrng khathietimnahnakklayepnswnhnungkhxngkhannxyangthawr aelaklayepnkhasphththixyuinruppkti echnkhawa okahng thiaeplwaxahar karichkhaehlaniaesdngthungkhwamekharphtxecakhxngsingkhxngaelaekharphtxsingkhxng echn khawa othaomadachi thiaeplwaephuxn caklayepnkhawa oxa othaomadachi emuxklawthungephuxnkhxngbukhkhlthisthanasungkwa aemaetaemkmkcaichkhaniemuxklawthungephuxnkhxngluk phuphudxacichkhawa oxa misu thiaeplwana aethnkhawamisuephuxaesdngkhwamsuphaphkid chawyipuncaichphasasuphaphkbphuthiyngimsnithsnmkn nnkhux phwkekhacaichphasasuphaphkbphuthiephingruckknihm aethlngcaksnithsnmknmakkhunaelw phwkekhacaimichphasasuphaphxiktxip thngniimkhunkbxayu sthanathangsngkhm hruxephskhasphthswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidprawtisastrswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid wiwthnakarkhxngphasayipunsamarthaebngxxkepnyukhtang iddngni yukhkxnprawtisastr Prehistoric age 先史時代 せんしじだい xyuinchwngkxnkhriststwrrsthi 8 trngkbyukhocmng yukhyaoyxi yukhokhfung aelayukhxasuka phasayipuneka Old Japanese 上代語 じょうだいご xyuinchwngkhriststwrrsthi 8 trngkbyukhnara phasayipunklangtxntn Early Middle Japanese 中古語 ちゅうこご xyuinchwngkhriststwrrsthi 9 thungkhriststwrrsthi 12 trngkbyukhehxng phasayipunklangtxnplay Late Middle Japanese 中世語 ちゅうせいご xyuinchwngkhriststwrrsthi 13 thungkhriststwrrsthi 16 pi trngkbyukhkhamakura yukhmuormaci aelayukhxasuci omomyama phasayipunpccubn Modern Japanese 近世語 きんせいご 現代語 げんだいご erimtngaetkhriststwrrsthi 17 cnthungpccubn odyxacaebngyxyidepn 2 chwng idaek phasayipunthiichinyukhexoda 近世語 きんせいご kbphasayipunthiichtngaetyukhemcicnthungpccubn 現代語 げんだいご karcaaenktamphumisastrswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniid phasayipunsamarthaebngepnphasayxyiddngtxipni phasayxykhxngphasayipun phasa phasayxy phunthiphasayipun 日本語 にほんご yipuntawnxxk 東日本 ひがしにほん hxkikod 北海道 ほっかいどう othohku 東北 とうほく khnot 関東 かんとう 東海東山 とうかいとうさん 八丈島 はちじょうじま yipuntawntk 西日本 にしにほん ohkuriku 北陸 ほくりく khingki 近畿 きんき chuongku 中国 ちゅうごく chiokku 四国 しこく khiwchu 九州 きゅうしゅう riwkiw 琉球 りゅうきゅう 奄美 あまみ oxkinawa 沖縄 おきなわ 先島 さきしま xyangirktam nkphasasastrbangkhnimcdihphasathiphudinhmuekaariwkiwepnphasayxykhxngphasayipuntamtarangkhangtn aetcdihphasadngklawepnphasaphinxngrwmtrakulkbphasayipunklumphasaswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkareriynphasayipunmhawithyalycanwnmakthwolkmikareriynkarsxnphasayipun nxkcakniyngmiorngeriynmthymaelaorngeriynprathmbangaehngthisxnphasayipundwy phasayipunidrbkhwamsnictngaetkhristthswrrs 1800 aelaepnthiaephrhlaymakkhuninchwngesrsthkicyipunkalngefuxngfuinthswrrs 1980 swnhnungepnephraawthnthrrmpxppularkhxngyipun echn xniema aela widioxekm kalngaephrhlayipthwolktngaetthswrrs 1990 in kh s 2003 miphusuksaphasayipunxyuthnghmd 2 3 lankhnthwolk aebngepn chawekahliit 900 000 khn chawcin 389 000 chawxxsetreliy 381 000 khn aelachawxemrikn 140 000 khn inyipunmichawtangchatithisuksaphasayipunthngthimhawithyalyaelathiorngeriynsxnphasaxyuthnghmd 90 000 khn aebngepnchawcin 77 000 khn aelachawekahliit 15 000 nxkcakni rththxngthinaelaklumxngkhkrimhwngphlkairyngsnbsnunihmikareriynphasayipunfrisahrbchawtangchatithiphankxasyxyu rwmthungchawbrasil yipun aelachawtangchatithioxnsychatiepnyipundwy rthbalyipunsnbsnunihmikarsxbwdradbthksakarichphasayipunsahrbchawtangchati karthdsxbthiepnthiruckknmakthisudkhux karsxbwdradbphasayipun JLPT aelakarsxbwdradbphasayipunthurkic JETRO thicdodyxngkhkarsngesrimkarkhatangpraethskhxngyipunhmayehtuaemcaimmikarrabusthanakhxngphasayipuniwinrththrrmnuy aetexksarthangrachkarlwnekhiyndwyphasayipun aelainphrarachbyytisal matrathi 74 rabuwa insalihichphasayipun rwmthngyngbrrcukarsuksaphasayipuninthana phasakhxngchati yipun 国語 ormaci Kokugo thbsphth okhkhuonga iwinhlksutrkarsuksadwy xyangirktam cakkhxmulsamaonaprachakremuxpi 2005 aesdngihehnwa immiphuxyuxasythawrxayutngaet 5 pikhunipkhnidichphasayipuninkhrweruxnely bangkhrngikirongaxacrwmthungkhngonga khathimacakphasacin dwy aetodythwipcaimnbrwm tangcakphuphudinfngtawntkkhxngyipuntngaetnaongyaepntnipthixxkesiyngiklekhiyngkbesiyng u nnkhux mikarhxrimfipakaelataaehnnglineyuxngipkhanghlngmakkwa xyangirktam Saito 2015 ehnwakhwrthxdsthxksrepn nʲ makkwa enuxngcakwainkarxxkesiyngcring taaehnngekidesiyngxyuthihnaephdanaekhng taaehnngpumehnguxk ephdanaekhng imichephdanaekhngtamthisthxksr ɲ aesdngesiyng esiyng ŋ michuxeriykechphaawa esiyngkhunnasik yipun 鼻濁音 ormaci Bidakuon thbsphth bidakuxng Saitō 2015 idihesiyng ɣ esiyngesiydaethrk ephdanxxn nasik epnhnwyesiyngyxyxikhnungesiyngdwy chawexoda hrux exdkoka hmaythung khnthiekidaelaotinemuxngexodahruxkhnthixasyxyuinicklangemuxngkhxngkrungotekiywmatngaetbrrphburus karxxkesiyngaebbniepnlksnaednkhxngwithikarphudaebb ebrmem khuoc yipun べらんめえ口調 ormaci Beranme kuchō thbsphth ebrmemkhuoc sungekhyichinhmuphxkhayanicklangemuxngexoda krungotekiywinpccubn Saitō 2015 idihesiyng x esiyngesiydaethrk linik imkxng epnhnwyesiyngyxyxikhnungesiyngdwy enuxngcakhnwyesiyng N xxkesiyngyaw 1 mxra inthinicungichsylksn esiyngyaw long inkaraesdngesiyngodylaexiydechnediywkbthipraktin Vance 2008 xyangirktam Saito 2015 eluxkichsylksn esiyngyawkhrunghnung half long を edimekhyichaesdngesiyng wo txmainchwngphasayipunklangtxntncnthungchwngtnkhxng esiyng wo idrwmekhakbesiyng o pccubnkhasphththiekhyekhiyndwy を idepliynmaekhiyndwy お ykewnkhachwy を samarthekhiynaethndwyxksrhirangana か き く け こ hruxxksrkhatakana カ キ ク ケ コ niymichechphaaemuxmikhwamcaepn echn karaesdngesiyngxaninphcnanukrmkarxxkesiyng Hasegawa 2015 rabuwainphasakhingki khnis esiyngsracaxxkepnesiyngkxngxyangchdecnthungkhnadthikhasphth 1 mxramkcalakesiyngsraihyawkhunepn 2 mxra Hasegawa 2015 aelankphasasastrbangkhnidrwmokhrngsrangphyangkhaebb phyychna esiyngeluxn sra ekhakb phyychna sra enuxngcakmxngwaesiyngeluxnehlaniepnephiyngkarxxkesiyngsxnkhxngesiyngphyychna Cʲ inkhnathinkphasasastrxikswnmxngwaepnesiyngphyychnakhwbkla Cj duephimkarekhiynkhathbsphthphasayipun karsxbwdradbkhwamsamarththangphasayipun karsuksaphasayipuninpraethsithy ormaci khnci hirangana khatakanaxangxingNHK s New Dictionary of Japanese Pronunciation and Accentuation phasayipun NHK Hōsō Bunka Kenkyujo 日本放送協会放送文化研究所 Tōkyō Enueichikeshuppan 2016 ISBN 978 4 14 011345 5 OCLC 950889281 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint others lingk Akinaga Kazue 秋永一枝 2014 Shin Meikai Nihongo akusento jiten phasayipun Haruhiko Kindaichi 金田一春彦 Dai 2 han ed Tōkyō Chiyoda ku ISBN 978 4 385 13672 1 OCLC 874517214 Nihon kokugo daijiten phasayipun Shōgakkan Kokugo Jiten Henshubu 小学館 国語辞典編集部 Seisenban shohan ed Tōkyō Shōgakkan 2006 ISBN 4 09 521021 4 OCLC 70216445 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint others lingk Eberhard David M Gary F Simons and Charles D Fennig eds 2021 Ethnologue Languages of the World Twenty fourth edition Dallas Texas SIL International Online version http www ethnologue com 1 Japanese Ethnologue phasaxngkvs Constitution of the State of Angaur 9 www pacificdigitallibrary org phasaxngkvs subkhnemux 20 June 2021 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk 2005 Census of Population amp Housing PDF Bureau of Budget amp Planning subkhnemux 20 June 2021 Amano Midori 天野みどり 2020 語順 word order Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 71 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Tanaka Shin ichi 2020 音節 syllable Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 21 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Ikegami Nao 池上尚 2020 語彙 lexicon vocabulary Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 63 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Meikyō kokugo jiten phasayipun Yasuo Kitahara 保雄 北原 Daisanhan ed Tōkyō 2021 ISBN 978 4 469 02122 6 OCLC 1232142874 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint others lingk Frellesvig Bjarke 2018 Part I Overview Chapter 2 The History of the Language The Cambridge handbook of Japanese linguistics Yoko Hasegawa Cambridge ISBN 978 1 316 88446 1 OCLC 1030822696 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint date and year lingk Iwata Kazunari 岩田一成 2018 ローマ字 the Roman alphabet Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 164 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Saitō Yoshio 斎藤純男 2015 Nihongo onseigaku nyumon phasayipun Kaiteiban ed Tōkyō Sanseidō ISBN 4 385 34588 0 OCLC 76917393 Tanaka Shin ichi 田中真一 2020 母音 vowel Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō Sanseidō p 145 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Hasegawa Yoko 2015 Japanese a linguistic introduction Cambridge United Kingdom ISBN 978 1 107 61147 4 OCLC 873763304 Vance Timothy J 2008 The sounds of Japanese Cambridge UK Cambridge University Press ISBN 978 0 521 61754 3 OCLC 227031753 Sugitō Miyoko 杉藤美代子 1997 日本語音声の音声学的特徴 Bme phasayipun 11 4 2 8 doi 10 11239 jsmbe1987 11 4 2 Harasawa Itsuo 原沢伊都夫 2016 Nihongo kyōshi no tame no nyumon gengogaku enshu to kaisetsu phasayipun Shohan ed Tōkyō ISBN 978 4 88319 739 2 OCLC 964677472 Daijisen phasayipun Akira Matsumura 松村明 Shōgakkan Daijisen Henshubu 小学館 大辞泉編集部 Tōkyō 2012 ISBN 9784095012131 OCLC 928950458 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint others lingk Tanaka Shin ichi 田中真一 2020 直音 拗音 simplex onset mora complex onset mora Meikai nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tokyō p 114 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Tanaka Shin ichi 田中真一 2020 促音 拗音 撥音 moraic obstruent long vowel moraic nasal Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 107 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Tanaka Shin ichi 田中真一 2020 子音 consonant Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 79 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Tsujimura Natsuko 2013 An introduction to Japanese linguistics 3rd ed Hoboken ISBN 978 1 118 58411 8 OCLC 842307632 文化庁 国語施策 日本語教育 国語施策情報 内閣告示 内閣訓令 現代仮名遣い www bunka go jp subkhnemux 2021 06 22 Tanaka Shin ichi 田中真一 2020 口蓋音 palatal sound Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 64 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Tanaka Shin ichi 田中真一 2020 有声音 無声音 voiced sound voiceless sound Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 157 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 sanknganrachbnthityspha 2017 heavy syllable phyangkhhnkmak phcnanukrmsphthphasasastr phasasastrthwip chbbrachbnthityspha krungethph sanknganrachbnthityspha p 420 ISBN 978 616 389 060 3 OCLC 1201694777 Matsui Michinao 松井理直 日本語開拗音の音声的特徴について phasayipun doi 10 14946 00002100 subkhnemux 2021 06 28 Tanaka Shin ichi 山田真一 2020 直音 拗音 simplex onset mora complex onset mora Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō p 114 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 Yamaoka Kanako 山岡華菜子 2020 モーラ シラブル mora syllable Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō Sanseidō p 153 ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 yuphka fukuchima 2018 karxxkesiyngphasayipuncakthvsdisuptibti krungethph sankphimphmhawithyalyekstrsastr ISBN 978 616 556 144 0 OCLC 900808629 sanknganrachbnthityspha 2017 phcnanukrmsphthphasasastr phasasastrthwip chbbrachbnthityspha krungethph sanknganrachbnthitspha p 4 ISBN 978 616 389 060 3 OCLC 1201694777 Shimoji Michinori 2018 Dialects The Cambridge handbook of Japanese linguistics Yoko Hasegawa Cambridge ISBN 978 1 316 88446 1 OCLC 1030822696 Hayashi Yuka 林由華 2020 琉球語 the Ryukyuan language Meikai Nihongogaku jiten phasayipun Takurō Moriyama Katsumi Shibuya 卓郎 森山 勝己 渋谷 Tōkyō ISBN 978 4 385 13580 9 OCLC 1160201927 phlnganthixangxing Bloch Bernard 1946 Studies in colloquial Japanese I Inflection Journal of the American Oriental Society 66 pp 97 130 Bloch Bernard 1946 Studies in colloquial Japanese II Syntax Language 22 pp 200 248 Chafe William L 1976 Giveness contrastiveness definiteness subjects topics and point of view In C Li Ed Subject and topic pp 25 56 New York Academic Press ISBN 0 12 447350 4 Dalby Andrew 2004 Japanese 2022 03 27 thi ewyaebkaemchchin in Dictionary of Languages the Definitive Reference to More than 400 Languages New York Columbia University Press ISBN 978 0 231 11568 1 978 0 231 11569 8 OCLC 474656178 Frellesvig Bjarke 2010 A history of the Japanese language Cambridge Cambridge University Press ISBN 978 0 521 65320 6 cakaehlngedimemux 2022 03 27 subkhnemux 2021 11 17 Frellesvig B Whitman J 2008 Proto Japanese Issues and Prospects Amsterdam studies in the theory and history of linguistic science 4 John Benjamins Publishing Company ISBN 978 90 272 4809 1 cakaehlngedimemux 2022 03 27 subkhnemux 2022 03 26 Kindaichi Haruhiko Hirano Umeyo 1978 The Japanese Language ISBN 978 0 8048 1579 6 Kuno Susumu 1973 The structure of the Japanese language Cambridge MA MIT Press ISBN 0 262 11049 0 Kuno Susumu 1976 Subject theme and the speaker s empathy A re examination of relativization phenomena in Charles N Li Ed Subject and topic pp 417 444 New York Academic Press ISBN 0 12 447350 4 McClain Yoko Matsuoka 1981 Handbook of modern Japanese grammar 口語日本文法便覧 Kōgo Nihon bumpō Tokyo Hokuseido Press ISBN 4 590 00570 0 0 89346 149 0 Miller Roy 1967 The Japanese language Chicago University of Chicago Press Miller Roy 1980 Origins of the Japanese language Lectures in Japan during the academic year 1977 78 Seattle University of Washington Press ISBN 0 295 95766 2 Mizutani Osamu amp Mizutani Nobuko 1987 How to be polite in Japanese 日本語の敬語 Nihongo no keigo Tokyo ISBN 4 7890 0338 8 Robbeets Martine Irma 2005 Is Japanese Related to Korean Tungusic Mongolic and Turkic Otto Harrassowitz Verlag ISBN 978 3 447 05247 4 Okada Hideo 1999 Japanese Handbook of the International Phonetic Association Cambridge Cambridge University Press pp 117 119 Shibamoto Janet S 1985 Japanese women s language New York Academic Press ISBN 0 12 640030 X Graduate Level Shibatani Masayoshi 1990 The languages of Japan Cambridge Cambridge University Press ISBN 0 521 36070 6 ISBN 0 521 36918 5 pbk Tsujimura Natsuko 1996 An introduction to Japanese linguistics Cambridge MA Blackwell Publishers ISBN 0 631 19855 5 hbk ISBN 0 631 19856 3 pbk Upper Level Textbooks Tsujimura Natsuko Ed 1999 The handbook of Japanese linguistics Malden MA Blackwell Publishers ISBN 0 631 20504 7 Readings Anthologies 2010 Korea Japonica A Re Evaluation of a Common Genetic Origin ISBN 978 0 8248 3278 0 cakaehlngedimemux 2020 08 23 subkhnemux 2015 10 18 xanephimRudolf Lange Christopher Noss 1903 A Text book of Colloquial Japanese English ed The Kaneko Press North Japan College Sendai Methodist Publishing House subkhnemux 1 March 2012 Rudolf Lange 1903 Christopher Noss b k A text book of colloquial Japanese based on the Lehrbuch der japanischen umgangssprache by Dr Rudolf Lange revised English ed Tokyo Methodist publishing house subkhnemux 1 March 2012 Rudolf Lange 1907 Christopher Noss b k A text book of colloquial Japanese revised English ed Tokyo Methodist publishing house subkhnemux 1 March 2012 1975 A reference grammar of Japanese New Haven Yale University Press ISBN 0 300 01813 4 Vovin Alexander 2017 Origins of the Japanese Language Oxford Research Encyclopedia of Linguistics Oxford University Press doi 10 1093 acrefore 9780199384655 013 277 ISBN 9780199384655 Japanese Language MIT subkhnemux 2009 05 13 aehlngkhxmulxunwikiphiediy saranukrmesri inphasayipun phasayipun thiokhrngkarphinxngkhxngwikiphiediy hakhwamhmaycakwikiphcnanukrmphaphaelasuxcakkhxmmxnshnngsuxcakwikitara National Institute for Japanese Language and Linguistics phasayipun cak Omniglot phasayipun thiewbist Curlie