ภาษาฮินดี เป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิเรเนียน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขา ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพาะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี
ภาษาฮินดี | |
---|---|
हिन्दी, हिंदी ฮินดี | |
คำว่า ฮินดี ในอักษรเทวนาครี | |
ออกเสียง | [ˈɦɪndiː] |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดีย |
ภูมิภาค | เอเชียใต้ |
จำนวนผู้พูด | 480 ล้าน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า |
|
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี อักษรละติน (ไม่เป็นทางการ) อักษรเบรลล์เทวนาครี |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ |
[1] | |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | hi |
ISO 639-2 | hin |
ISO 639-3 | hin |
ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรับ
ประวัติ
พัฒนาการของภาษาในอินเดียก่อนภาษาฮินดี
รูปภาษาโบราณของภาษาตระกูลอินโด-ยุโรป ในอินเดียนั้น พบอยู่ในภาษาสันสกฤตพระเวท ต่อมาปาณินิได้ตั้งกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ และจัดให้อยู่ในลักษณะแบบแผน สมัยอารยะของภาษายุคกลาง (500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 1000) เริ่มขึ้นหลังจากสมัยอารยะของภาษายุคโบราณ (1500-500 ปีก่อนคริสตกาล) ในระยะที่หนึ่งของยุคนี้ภาษาบาลีได้พัฒนาขึ้นมา ในระยะที่สองภาษาปรากฤตได้พัฒนาขึ้น ในระยะสุดท้ายนั้นเรียกว่าระยะของ(เศารเสนี มาคธี มหาราษฏรี) ภาษาในอินเดียปัจจุบันพัฒนาขึ้นจากภาษาอัปภรัญศ์นี้เอง
เหตุที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาสันสกฤต ทำให้ในทางทฤษฎีของเสียง คำศัพท์ และไวยากรณ์ของภาษาในปัจจุบันเช่น ภาษาฮินดี ภาษามราฐี ภาษาคุชราต ภาษาเบงกอล เป็นต้น มีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาสันสกฤตยังมีอิทธิพลต่อภาษากลุ่มดราวิเดียนด้วย อันมีสาเหตุจากความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมและการติดต่อสัมพันธ์กันมานับศตวรรษ และจะเห็นได้ว่าภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาอังกฤษที่มาในรูปภาษาของผู้ปกครองนั้นมีอิทธิพลโดยทั่วไปต่อทุกภาษาในอินเดีย
การก่อตัวของภาษาฮินดี
ภาษาฮินดีในรูปมาตรฐาน พัฒนาออกมาจากภาษาขาริโพลี ภาษาขาริโพลีนั้นยอมรับกันว่าคือภาษาท้องถิ่นภาษาหนึ่งของกลุ่มภาษาฮินดีตะวันตก ซึ่งพูดอยู่ในบริเวณเมืองนิวเดลฮี เมรัฐ บิชเนาร์ และสฮารันปุร รูปวรรณกรรมที่สละสลวยในภาษาขาริโพลีนั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาฮินดียุคใหม่ การใช้ภาษาขาริโพลีในสมัยโบราณ พบในศตวรรษที่ 10 ใช้อย่างแพร่หลาย และมีระบบในงานวรรณกรรมของอมีร ขุสโร (ค.ศ. 1253-1325) รูปหนึ่งของภาษาขาริโพลีที่พัฒนาออกมาในศตวรรษที่ 16-17 ปรากฏในภาคใต้ เรียกว่า ภาษาทักขินี ในราชสำนักแห่งนั้นใช้ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย ในขณะที่การใช้ภาษาผสมผสานระหว่างภาษาขาริโพลี กับ ภาษาเปอร์เซีย ของเหล่าทหารและประชาชนทำให้เกิดภาษาอูรดู
ภาษาและวรรณกรรมฮินดีพัฒนาขึ้นอย่างสำคัญในสมัยศตวรรษที่ 19 ในขบวนการเรียกร้องอิสรภาพ เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชนทั้งประเทศ จึงยอมรับภาษาฮินดีหรือฮินดุสตานีในรูปภาษาของการสื่อสารระหว่างประชาชน ผู้นำทั้งหลายได้ใช้ภาษาฮินดีเพื่อสร้างความเข้าใจแก่มวลชน
ก่อนหน้ายุคนี้ ในวรรณคดีภาษาฮินดีพบแต่วรรณกรรมประเภทร้อยกรองที่เขียนด้วย ภาษาพรัช และ ภาษาอวธี เท่านั้น แต่ในยุคนี้ ภารเตนดุ หริศจันดระ, อาจารยะ มหาวีร ประสาท ดวิเวดี, ดร.ศยามสุนดัร ดาส, เปรมจันด และประสาท เป็นต้น คือผู้จัดมาตรฐานให้แก่ภาษาฮินดีและแก่วรรณกรรมทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว
ภาษาฮินดีในฐานะภาษาประจำชาติ
ภาษาฮินดีในรูปที่ได้รับการจัดมาตรฐานในปัจจุบัน นอกจากใช้ในงานวรรณกรรมแล้ว ยังใช้ในด้านการศึกษา วิทยาการ เทคโนโลยี และการปกครอง ภาษาฮินดีในรูปดังกล่าวจึงมีการออกเสียง การเขียนและโครงสร้างไวยากรณ์ที่เป็นแบบอย่างมาตรฐาน และในกรอบของรูปมาตรฐานนี้จึงมีความแตกต่างจากภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดกันในประเทศ
ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2492 ภาษาฮินดีได้รับการยอมรับเป็นภาษาประจำชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียส่วนที่ 17 หมวดที่ 1 มาตรา 343 บัญญัติให้ภาษาฮินดีเป็นภาษาประจำชาติและใช้อักษรเทวนาครี ในปัจจุบันภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐอุตตรประเทศ พิหาร มัธยประเทศ ราชสถาน หรยาณา หิมาจัลประเทศและ สำหรับในรัฐปัญจาบ คุชราต มหาราษฏระ และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ให้ภาษาฮินดีอยู่ในสถานะภาษาที่สอง
สำเนียงและการแพร่กระจายของภาษาฮินดี
ในสถานการณ์ของภาษาในประเทศอินเดียนั้น หนึ่งปัจเจกบุคคลสามารถพูดได้อย่างน้อยสองภาษาหรือหลายภาษา ก่อนอื่นในภูมิภาคที่พูดภาษาฮินดีนั้นในระดับต่างๆ พบภาษาพูด 4 รูปแบบ ดังนี้
- ภาษาสันสกฤตและภาษาอาหรับในพิธีการทางศาสนา
- ภาษาฮินดี อังกฤษ และภาษาอูรดู ในการสื่อสารที่เป็นทางการ
- ภาษาพรัช ภาษาอวธี ภาษาโภชปุรี ภาษาราชสถาน เป็นต้น ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการและในระดับครอบครัว
- ภาษากัลกะติยา ภาษาบัมบะอิยา ภาษาไฮดราบะดี เป็นต้น ในระดับภาษาชาวบ้านสำหรับการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นกันเอง
ผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาฮินดีแต่อาศัยอยู่ในภูมิภาคของภาษาฮินดี นอกจากการพูดภาษาแม่ของตนแล้ว อาจใช้ภาษาในลักษณะข้อที่ 2 และ 4 ประการเดียวกันนี้ผู้ที่พูดภาษาฮินดีแต่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่ไม่พูดภาษาฮินดี โดยทั่วไปแล้วอาจใช้ภาษาในลักษณะข้อที่ 2, 3 และ 4
ในเขตภูมิภาคของภาษาฮินดีนั้น ภาษาฮินดีใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมากที่สุด เขตภูมิภาคของภาษาฮินดีคือในรัฐอุตระประเทศ พิหาร หริยาณา มัธยะประเทศ ราชัสถาน นิวเดลฮี และแผ่ไปจนถึงหิมาจัลประเทศ ในรัฐต่างๆ ที่กล่าวถึงนี้ มีภาษาท้องถิ่นใช้สื่อสารในระดับไม่เป็นทางการอีกด้วย ภาษาท้องถิ่นของภาษาฮินดีที่กำลังกล่าวถึง แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้
- ฮินดีตะวันตก ในกลุ่มนี้มี 5 ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาบรัช, ภาษาขรีโบลี, ภาษาหริยนวี (บางกะรู), ภาษาบุนเดลี และภาษากันเนาจี
- ฮินดีตะวันออก ในกลุ่มนี้มี 3 ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาอวธี ภาษาบเฆลี ภาษาฉัตตีสครห์
- ภาษาพิหาร ในกลุ่มนี้มี 3 ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาโภชปุรี ภาษามคธี ภาษาไมถิลี
- ราชสถานี ในกลุ่มนี้มี ภาษาเมวรี ภาษามาร์วารี ภาษาหาเราตี ภาษาเมวาตี เป็นต้น
- ปหารี ในกลุ่มนี้มี ภาษามัณฑิยาลี ภาษาคัรฮะวาลี ภาษากุมาอูนนี เป็นต้น
ภาษาฮินดีไม่เพียงใช้พูดแต่ในรัฐที่เจ้าของภาษาฮินดีอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ยังใช้พูดทั่วทั้งประเทศอินเดีย ภาษาหลักและภาษาท้องถิ่นของภูมิภาคที่ต่างๆ กันนั้นจึงปรากฏอิทธิพลในภาษาฮินดี ด้วยเหตุนี้สำเนียงการออกเสียง การเขียน โครงสร้างและการใช้ จึงทำให้ภาษาฮินดีเริ่มพัฒนารูปที่ต่างออกไปมากมาย และเกิดปัญหายุ่งยากในการทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ในความหลากหลายนั้น หากพิจารณาลักษณะการใช้ จุดประสงค์ และภูมิภาคแล้ว ไม่ว่าภาษาใดๆจะปรากฏความหลากหลายของรูปแบบให้เห็น ในประเด็นทางภูมิภาคจะพบภาษาท้องถิ่นมากมาย ในประเด็นของจุดประสงค์พบรูปแบบภาษาที่หลากหลาย เช่นภาษาที่ใช้ในการติดต่อธนาคาร ในการกีฬา ในธุรกิจการค้าหรือในกิจการต่างๆ ในส่วนของลักษณะการใช้นั้นแบ่งออกได้เป็นแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ภาษาที่ประชาชนทั่วไปใช้ในการติดต่อสื่อสารกันเองคือตัวอย่างของภาษาที่ไม่เป็นทางการซึ่งมีเป็นร้อยๆ ชนิด และโดยทั่วไปในเมืองต่างๆ ก็มีการผสมกับอิทธิพลจากภาษาพูดหรือภาษาท้องถิ่นของเมืองนั้นๆ เช่น ภาษาฮินดีแบบเมืองนิวเดลฮี ภาษาฮินดีแบบเมืองมุมไบ(บัมบะอิยา) ภาษาฮินดีแบบเมืองกัลกัตตา(กัลกะติยา) ภาษาฮินดีแบบเมือง(ไฮดราบะดี) เป็นต้น รูปแบบภาษาที่นำไปใช้โดยทั่วไปแล้วจึงอยู่ในขอบเขตของลักษณะการใช้ จุดประสงค์และเขตภูมิภาคดังกล่าวมา ดังนั้นเมื่อเราจะกล่าวถึงภาษาในระดับชาติของอินเดียซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรูปแบบที่แสดงความเป็นชาติแล้ว ภาษาในรูปที่เรากำลังกล่าวถึงนั้นเรียกว่าภาษามาตรฐานหรือภาษาที่เป็นทางการ ภาษาฮินดีมาตรฐานก็ได้รับความพยายามกระทำให้ถึงซึ่งเกียรติยศอันนั้นด้วยกระบวนการจัดมาตรฐาน ภาษาฮินดีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในรูปแบบเดียวกันตั้งแต่เหนือจดใต้ ตะวันออกจดตะวันตก ในประเทศที่เต็มไปด้วยความหลากหลายอย่างอินเดีย กระบวนการชำระและเปลี่ยนแปลงจึงยังคงดำเนินเรื่อยมาพร้อมๆ กับกาลเวลาที่ดำเนินไป เพื่อทำให้ภาษาฮินดีเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศอินเดียอีกทั้งทรงพละกำลังยิ่งขึ้น ทรงสิทธิโดยสมบูรณ์ และเป็นวิทยาการ
ไวยากรณ์
ไวยากรณ์ของภาษาฮินดีมีความซับซ้อนมากกว่าภาษาอังกฤษมาก การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ไม่มีคำบุพบทแต่ใช้คำปรบทแทน
เพศ
คำนามในภาษาฮินดีแบ่งเป็น 2 เพศ คือ บุรุษลึงค์ และสตรีลึงค์ การกำหนดเพศนี้ใช้กับนามที่ไม่มีชีวิตด้วย เสียงสระท้ายคำจะช่วยบอกเพศของคำ คำยืมจากภาษาสันสกฤตจะกำหนดเพศเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต คำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียจะถูกกำหนดเพศด้วย คำยืมจากภาษาอังกฤษมีการระบุเพศเหมือนกันแต่ไม่แน่นอน
คำถาม
คำสรรพนามแสดงคำถามโดยทั่วไปคือ ใคร (कौन) อะไร (क्या) ทำไม (क्यों) เมื่อใด (कब) ที่ไหน (कहां) อย่างไร (कैसे) มากเท่าใด (कितना) ชนิดใด (कैसा) คำว่า क्या ใช้เป็นตัวบ่งชี้คำถามในคำถามแบบใช่/ไม่ใช่ ได้ด้วย
สรรพนาม
คำสรรพนามทั้งสามบุรุษเป็นเพศเดียวกันหมด โดยการระบุเพศจะแสดงที่คำกริยา มีการกสำหรับคำสรรพนามสองการกคือประธานและความเป็นเจ้าของ คำสรรพนามบุรุษที่สองในภาษาฮินดี แบ่งตามระดับความสุภาพได้สามระดับคือ
- आप เป็นทางการและแสดงความนับถือ ใช้เหมือนกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
- तुम ไม่เป็นทางการ ใช้กับผู้มีอายุหรือตำแหน่งต่ำกว่า
- तूँ ไม่เป็นทางการอย่างมาก ใช้กับเพื่อนสนิท
ภาษาฮินดีไม่มีคำนำหน้านามอย่างคำว่า the ในภาษาอังกฤษ ส่วน a/an ภาษาฮินดีใช้คำว่า एकแทน
การเรียงคำ
การเรียงคำในประโยคเป็น ประธาน-กริยาวิเศษณ์-กรรมรองและคำขยาย-กรรมตรงและคำขยาย-คำแสดงคำถามหรือปฏิเสธ-กริยาและกริยาช่วย รูปปฏิเสธแสดงโดยการเติม नहीं(ไม่) ลงในประโยค หรือเติมคำนำหน้า ता ในบางการก คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม กริยาช่วยตามหลังกริยาหลัก
กาล
กาลในภาษาฮินดีได้แก่ ปัจจุบันกาลไม่สมบูรณ์ ใช้กับเหตุการณ์ทั่วไปหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่พูด ปัจจุบันกำลังกระทำ อดีตกาลกำลังกระทำ อดีตกาลไม่สมบูรณ์ อดีตกาลสัมบูรณ์ นอกจากนี้มีประโยคในรูปคำสั่ง มีเงื่อนไข หรือเหตุการณ์สมมติ โดยปกติแล้วกาลและรูปแบบต่างๆแสดงในรูปกริยาช่วย ส่วนกริยาหลักแสดงจำนวนและเพศของคำนาม
การก
ภาษาฮินดีมีการผันคำน้อย ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามในประโยคแสดงด้วยปรบท คำนามมีสามการกคือการกตรง ไม่ใช้ปรบท มักเป็นประธานของประโยค การกรองใช้กับนามที่มีปรบทต่างๆกัน นามบางคำมีการกเรียกขานด้วย คำคุณศัพท์จะผันไปในทิศทางเดียวกับคำนาม
อ้างอิง
- แปลและเรียบเรียงจากบางส่วนของบทที่ 1 ในหนังสือภาษาฮินดีชื่อ Vyavharik Hindi Vyakaran aur Vartalab ผู้แต่ง Caturbhuj Sahay และ Arun caturvedi พิมพ์โดย Central Hindi Institute, Agra :1998
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- Virtual Hindi Keyboard คีย์บอร์ดฮินดี 2007-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
phasahindi epnphasathiphud swnihyinpraethsxinediyehnuxaelaklang epnphasaklumxinod yuorepiyn xyuinklumyxy xinod xiereniyn miwiwthnakarmacakphasaprakvt insakha khxngyukhklang aelamiwiwthnakarthangxxmcakphasasnskvt phasahindiidnakhasphthchnsungswnihymacakphasasnskvt nxkcakni enuxngcakxiththiphlkhxngchawmusliminxinediyehnux phasahindiyngmikhathiyummacakphasaepxresiy phasaxahrb aela phasaturki epncanwnmak aelainthisudidkxihekidphasaxurdukhun sahrbphasa hindimatrthan hrux hindiaeth nn miichechphaakarsuxsarthiepnthangkar khnathiphasasungichinchiwitpracawninphunthiswnihynn thuxwaepnhnunginphasathinyxy khxngphasahindustaniphasahindiह न द ह द hindikhawa hindi inxksrethwnakhrixxkesiyng ˈɦɪndiː praethsthimikarphudxinediyphumiphakhexechiyitcanwnphuphud480 lan imphbwnthi trakulphasaxinod yuorepiyn xinod xiereniynxinod xarynphasahindirupaebbkxnhnaphasahindirabbkarekhiynxksrethwnakhri xksrlatin imepnthangkar xksrebrllethwnakhristhanphaphthangkarphasathangkar xinediyphasachnklumnxythirbrxngin aexfrikait shrthxahrbexmierts 1 rhsphasaISO 639 1hiISO 639 2hinISO 639 3hin inaengkhwamsmphnththangphasasastrnn phasahindiaelaphasaxurdu thuxwaepnphasaediywkn aetktangtrngthi phasahindinnekhiyndwyxksrethwnakhri Devanagari khnathiphasaxurdunn ekhiyndwyxksrepxresiyaelaxahrbprawtiphthnakarkhxngphasainxinediykxnphasahindi rupphasaobrankhxngphasatrakulxinod yuorp inxinediynn phbxyuinphasasnskvtphraewth txmapaniniidtngkdeknththangiwyakrn aelacdihxyuinlksnaaebbaephn smyxaryakhxngphasayukhklang 500 pikxnkhristkal kh s 1000 erimkhunhlngcaksmyxaryakhxngphasayukhobran 1500 500 pikxnkhristkal inrayathihnungkhxngyukhniphasabaliidphthnakhunma inrayathisxngphasaprakvtidphthnakhun inrayasudthaynneriykwarayakhxng esaresni makhthi mharastri phasainxinediypccubnphthnakhuncakphasaxpphrysniexng ehtuthimitnkaenidmacakphasasnskvt thaihinthangthvsdikhxngesiyng khasphth aelaiwyakrnkhxngphasainpccubnechn phasahindi phasamrathi phasakhuchrat phasaebngkxl epntn mikhwamkhlaykhlungknmak aelaphasasnskvtyngmixiththiphltxphasaklumdrawiediyndwy xnmisaehtucakkhwamkhlaykhlungthangwthnthrrmaelakartidtxsmphnthknmanbstwrrs aelacaehnidwaphasaxahrb phasaepxresiy aelaphasaxngkvsthimainrupphasakhxngphupkkhrxngnnmixiththiphlodythwiptxthukphasainxinediy karkxtwkhxngphasahindi phasahindiinrupmatrthan phthnaxxkmacakphasakhariophli phasakhariophlinnyxmrbknwakhuxphasathxngthinphasahnungkhxngklumphasahinditawntk sungphudxyuinbriewnemuxngniwedlhi emrth bichenar aelasharnpur rupwrrnkrrmthislaslwyinphasakhariophlinnidrbkaryxmrbwaepnphasahindiyukhihm karichphasakhariophliinsmyobran phbinstwrrsthi 10 ichxyangaephrhlay aelamirabbinnganwrrnkrrmkhxngxmir khusor kh s 1253 1325 ruphnungkhxngphasakhariophlithiphthnaxxkmainstwrrsthi 16 17 praktinphakhit eriykwa phasathkkhini inrachsankaehngnnichphasaxahrbaelaphasaepxresiy inkhnathikarichphasaphsmphsanrahwangphasakhariophli kb phasaepxresiy khxngehlathharaelaprachachnthaihekidphasaxurdu phasaaelawrrnkrrmhindiphthnakhunxyangsakhyinsmystwrrsthi 19 inkhbwnkareriykrxngxisrphaph ephuxkhwamepnhnungediywknkhxngchnthngpraeths cungyxmrbphasahindihruxhindustaniinrupphasakhxngkarsuxsarrahwangprachachn phunathnghlayidichphasahindiephuxsrangkhwamekhaicaekmwlchn kxnhnayukhni inwrrnkhdiphasahindiphbaetwrrnkrrmpraephthrxykrxngthiekhiyndwy phasaphrch aela phasaxwthi ethann aetinyukhni pharetndu hriscndra xacarya mhawir prasath dwiewdi dr syamsundr das eprmcnd aelaprasath epntn khuxphucdmatrthanihaekphasahindiaelaaekwrrnkrrmthngrxykrxngaelarxyaekw phasahindiinthanaphasapracachati phasahindiinrupthiidrbkarcdmatrthaninpccubn nxkcakichinnganwrrnkrrmaelw yngichindankarsuksa withyakar ethkhonolyi aelakarpkkhrxng phasahindiinrupdngklawcungmikarxxkesiyng karekhiynaelaokhrngsrangiwyakrnthiepnaebbxyangmatrthan aelainkrxbkhxngrupmatrthannicungmikhwamaetktangcakphasathxngthinthiichphudkninpraeths inwnthi 14 knyayn ph s 2492 phasahindiidrbkaryxmrbepnphasapracachati tamrththrrmnuyaehngsatharnrthxinediyswnthi 17 hmwdthi 1 matra 343 byytiihphasahindiepnphasapracachatiaelaichxksrethwnakhri inpccubnphasahindiepnphasarachkarkhxngrthxuttrpraeths phihar mthypraeths rachsthan hryana himaclpraethsaela sahrbinrthpycab khuchrat mharastra aelahmuekaaxndamnaelaniokhbarihphasahindixyuinsthanaphasathisxngsaeniyngaelakaraephrkracaykhxngphasahindibriewnthiphudphasahindiepnphasaaem insthankarnkhxngphasainpraethsxinediynn hnungpceckbukhkhlsamarthphudidxyangnxysxngphasahruxhlayphasa kxnxuninphumiphakhthiphudphasahindinninradbtang phbphasaphud 4 rupaebb dngni phasasnskvtaelaphasaxahrbinphithikarthangsasna phasahindi xngkvs aelaphasaxurdu inkarsuxsarthiepnthangkar phasaphrch phasaxwthi phasaophchpuri phasarachsthan epntn inkarsnthnaxyangimepnthangkaraelainradbkhrxbkhrw phasaklkatiya phasabmbaxiya phasaihdrabadi epntn inradbphasachawbansahrbkartidtxsuxsarxyangepnknexng phuthiimidphudphasahindiaetxasyxyuinphumiphakhkhxngphasahindi nxkcakkarphudphasaaemkhxngtnaelw xacichphasainlksnakhxthi 2 aela 4 prakarediywknniphuthiphudphasahindiaetxasyxyuinphumiphakhthiimphudphasahindi odythwipaelwxacichphasainlksnakhxthi 2 3 aela 4 inekhtphumiphakhkhxngphasahindinn phasahindiichinkartidtxsuxsarrahwangknmakthisud ekhtphumiphakhkhxngphasahindikhuxinrthxutrapraeths phihar hriyana mthyapraeths rachsthan niwedlhi aelaaephipcnthunghimaclpraeths inrthtang thiklawthungni miphasathxngthinichsuxsarinradbimepnthangkarxikdwy phasathxngthinkhxngphasahindithikalngklawthung aebngepnklumtang iddngni hinditawntk inklumnimi 5 phasathxngthinkhux phasabrch phasakhriobli phasahriynwi bangkaru phasabunedli aelaphasaknenaci hinditawnxxk inklumnimi 3 phasathxngthinkhux phasaxwthi phasabekhli phasachttiskhrh phasaphihar inklumnimi 3 phasathxngthinkhux phasaophchpuri phasamkhthi phasaimthili rachsthani inklumnimi phasaemwri phasamarwari phasahaerati phasaemwati epntn phari inklumnimi phasamnthiyali phasakhrhawali phasakumaxunni epntn phasahindiimephiyngichphudaetinrththiecakhxngphasahindixasyxyuethann aetyngichphudthwthngpraethsxinediy phasahlkaelaphasathxngthinkhxngphumiphakhthitang knnncungpraktxiththiphlinphasahindi dwyehtunisaeniyngkarxxkesiyng karekhiyn okhrngsrangaelakarich cungthaihphasahindierimphthnarupthitangxxkipmakmay aelaekidpyhayungyakinkarthakhwamekhaicxyangsmburninkhwamhlakhlaynn hakphicarnalksnakarich cudprasngkh aelaphumiphakhaelw imwaphasaidcapraktkhwamhlakhlaykhxngrupaebbihehn inpraednthangphumiphakhcaphbphasathxngthinmakmay inpraednkhxngcudprasngkhphbrupaebbphasathihlakhlay echnphasathiichinkartidtxthnakhar inkarkila inthurkickarkhahruxinkickartang inswnkhxnglksnakarichnnaebngxxkidepnaebbepnthangkaraelaimepnthangkar phasathiprachachnthwipichinkartidtxsuxsarknexngkhuxtwxyangkhxngphasathiimepnthangkarsungmiepnrxy chnid aelaodythwipinemuxngtang kmikarphsmkbxiththiphlcakphasaphudhruxphasathxngthinkhxngemuxngnn echn phasahindiaebbemuxngniwedlhi phasahindiaebbemuxngmumib bmbaxiya phasahindiaebbemuxngklktta klkatiya phasahindiaebbemuxng ihdrabadi epntn rupaebbphasathinaipichodythwipaelwcungxyuinkhxbekhtkhxnglksnakarich cudprasngkhaelaekhtphumiphakhdngklawma dngnnemuxeracaklawthungphasainradbchatikhxngxinediysungepnthiyxmrbwaepnrupaebbthiaesdngkhwamepnchatiaelw phasainrupthierakalngklawthungnneriykwaphasamatrthanhruxphasathiepnthangkar phasahindimatrthankidrbkhwamphyayamkrathaihthungsungekiyrtiysxnnndwykrabwnkarcdmatrthan phasahindimatrthanepnthiyxmrbinrupaebbediywkntngaetehnuxcdit tawnxxkcdtawntk inpraethsthietmipdwykhwamhlakhlayxyangxinediy krabwnkarcharaaelaepliynaeplngcungyngkhngdaenineruxymaphrxm kbkalewlathidaeninip ephuxthaihphasahindiepnrupaebbediywknthngpraethsxinediyxikthngthrngphlakalngyingkhun thrngsiththiodysmburn aelaepnwithyakariwyakrniwyakrnkhxngphasahindimikhwamsbsxnmakkwaphasaxngkvsmak kareriyngpraoykhepnaebbprathan krrm kriya immikhabuphbthaetichkhaprbthaethn ephs khanaminphasahindiaebngepn 2 ephs khux buruslungkh aelastrilungkh karkahndephsniichkbnamthiimmichiwitdwy esiyngsrathaykhacachwybxkephskhxngkha khayumcakphasasnskvtcakahndephsechnediywkbphasasnskvt khayumcakphasaxahrbaelaphasaepxresiycathukkahndephsdwy khayumcakphasaxngkvsmikarrabuephsehmuxnknaetimaennxn khatham khasrrphnamaesdngkhathamodythwipkhux ikhr क न xair क य thaim क य emuxid कब thiihn कह xyangir क स makethaid क तन chnidid क स khawa क य ichepntwbngchikhathaminkhathamaebbich imich iddwy srrphnam khasrrphnamthngsamburusepnephsediywknhmd odykarrabuephscaaesdngthikhakriya mikarksahrbkhasrrphnamsxngkarkkhuxprathanaelakhwamepnecakhxng khasrrphnamburusthisxnginphasahindi aebngtamradbkhwamsuphaphidsamradbkhux आप epnthangkaraelaaesdngkhwamnbthux ichehmuxnknthngexkphcnaelaphhuphcn त म imepnthangkar ichkbphumixayuhruxtaaehnngtakwa त imepnthangkarxyangmak ichkbephuxnsnith phasahindiimmikhanahnanamxyangkhawa the inphasaxngkvs swn a an phasahindiichkhawa एकaethn kareriyngkha kareriyngkhainpraoykhepn prathan kriyawiessn krrmrxngaelakhakhyay krrmtrngaelakhakhyay khaaesdngkhathamhruxptiesth kriyaaelakriyachwy rupptiesthaesdngodykaretim नह im lnginpraoykh hruxetimkhanahna त inbangkark khakhunsphthmakxnkhanam kriyachwytamhlngkriyahlk kal kalinphasahindiidaek pccubnkalimsmburn ichkbehtukarnthwiphruxehtukarnthiekidkhuninkhnathiphud pccubnkalngkratha xditkalkalngkratha xditkalimsmburn xditkalsmburn nxkcaknimipraoykhinrupkhasng mienguxnikh hruxehtukarnsmmti odypktiaelwkalaelarupaebbtangaesdnginrupkriyachwy swnkriyahlkaesdngcanwnaelaephskhxngkhanam kark phasahindimikarphnkhanxy khwamsmphnthrahwangkhanaminpraoykhaesdngdwyprbth khanammisamkarkkhuxkarktrng imichprbth mkepnprathankhxngpraoykh karkrxngichkbnamthimiprbthtangkn nambangkhamikarkeriykkhandwy khakhunsphthcaphnipinthisthangediywkbkhanamxangxingaeplaelaeriyberiyngcakbangswnkhxngbththi 1 inhnngsuxphasahindichux Vyavharik Hindi Vyakaran aur Vartalab phuaetng Caturbhuj Sahay aela Arun caturvedi phimphody Central Hindi Institute Agra 1998duephimkarekhiynkhathbsphthphasahindiaehlngkhxmulxunwikiphiediy saranukrmesri inphasahindi Virtual Hindi Keyboard khiybxrdhindi 2007 06 02 thi ewyaebkaemchchin