แก๊สมีสกุล หรือ แก๊สมีตระกูล <อังกฤษ: Ideal gas> (ในอดีตเรียกว่า แก๊สเฉื่อย หรือบางครั้งใช้ชื่อว่า aerogens) เป็นกลุ่มของธาตุทางเคมีที่มีสมบัติคล้ายกัน ภายใต้ภาวะมาตรฐานสำหรับอุณหภูมิและความดันธาตุเหล่านี้ต่างไม่มีกลิ่น ไม่มีสี เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวซึ่งไม่มีความว่องไวต่อปฏิกริยาเคมี แก๊สมีสกุลที่เกิดในธรรมชาติทั้งหกธาตุ ได้แก่ ฮีเลียม (He), นีออน (Ne), อาร์กอน (Ar), คริปทอน (Kr), ซีนอน (Xe) และเรดอน (Rn)
แก๊สมีสกุล | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||
↓ คาบ | |||||||||||
1 | ฮีเลียม (He) 2 | ||||||||||
2 | นีออน (Ne) 10 | ||||||||||
3 | อาร์กอน (Ar) 18 | ||||||||||
4 | คริปตอน (Kr) 36 | ||||||||||
5 | ซีนอน (Xe) 54 | ||||||||||
6 | เรดอน (Rn) 86 | ||||||||||
7 | โอกาเนสซอน (Og) 118 | ||||||||||
คำอธิบาย
| |||||||||||
โอกาเนสซอน (Og) เป็นธาตุสังเคราะห์มีความเป็นกัมมันตรังสีสูงมาก แม้ว่า IUPAC จัดโอกาเนสซอนเป็นแก๊สมีสกุลหรือหมู่ที่ 18 มันอาจไม่เฉื่อยทางเคมีเหมือนธาตุอื่นในหมู่เดียวกัน และถูกทำนายว่าจะสลายและแผ่กัมมันตรังสีเนื่องจากปรากฏการณ์สัมพัทธ์ เนื่องจากครึ่งชีวิตที่สั้นเพียง 0.7 ไมโครวินาทีของไอโซโทปตัวเดียว ทำให้คุณสมบัติทางเคมีของโอกาเนสซอนยังไม่มีการศึกษามากนัก
สำหรับหกคาบแรกของตารางธาตุ แก๊สมีสกุลเป็นสมาชิกของธาตุหมู่ 18 อย่างแท้จริง แก๊สมีสกุลมักจะไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างมาก ยกเว้นภายใต้สภาวะสุดขั้ว ของแก๊สมีสกุลทำให้มันสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย เนื่องจากความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาน้อย เช่นการเติมอาร์กอนในหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดาเพื่อป้องกันไม่ให้ไส้หลอดทังสเตนเกิดการออกซิไดส์ และฮีเลียมใช้เติมสำหรับนักดำน้ำลึก เพื่อป้องกันภาวะเป็นพิษจากแก๊สออกซิเจน แก๊สไนโตรเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
คุณสมบัติของแก๊สมีสกุลสามารถอธิบายด้วยทฤษฎียุคใหม่ของโครงสร้างอะตอม เปลือกชั้นนอกของเวเลนซ์อิเล็กตรอนเต็ม ทำให้มันมีแนวโน้มน้อยที่เกิดปฏิกิริยาเคมี และสามารถเกิดสารประกอบของแก๊สมีสกุลเพียงร้อยสารประกอบเท่านั้น จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีค่าแตกต่างกันน้อยกว่า 10 องศาเซลเซียส (18 องศาฟาเรนไฮต์) แสดงว่าแก๊สมีสกุลมีสถานะเป็นของเหลวในช่วงอุณหภูมิที่แคบ
นีออน อาร์กอน คริปทอนและซีนอนสามารถแยกออกจากอากาศ ในด้วยวิธี และการกลั่นลำดับส่วน สามารถรวบรวมฮีเลียมได้จาก ซึ่งประกอบด้วยฮีเลียมเข้มข้นสูงในแก๊สธรรมชาติ ด้วยเทคนิคการแยกแก๊สแบบอุณหภูมิต่ำ และเรดอนมักแยกจากการสลายให้กัมมันตรังสีของสารประกอบเรเดียม ทอเรียมหรือยูเรเนียม แก๊สมีสกุลสามารถประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่นหลอดไฟ การเชื่อมและการสำรวจอวกาศ นิยมใช้ในการดำน้ำลึกที่ความลึก 55 เมตร (180 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล หลังจากที่ความเสี่ยงที่เกิดจากความไวไฟของแก๊สไฮโดรเจนเป็นที่แจ่มแจ้งในวินาศภัยฮินเดินบวร์ค จึงแทนที่ไฮโดรเจนด้วยฮีเลียมในเรือเหาะและอื่น ๆ
ประวัติ
แก๊สมีสกุล แปลมาจากคำว่า Edelgas ในภาษาเยอรมัน คำดังกล่าวถูกใช้คำครั้งแรกในปี ค.ศ. 1898 โดย เพื่อบ่งบอกถึงระดับความว่องไวต่อปฏิกิริยาที่ต่ำ ตั้งชื่อดังกล่าวด้วยเหตุผลเดียวกับ "โลหะมีสกุล" ซึ่งมีค่าความว่องไวต่อปฏิกิริยาที่ต่ำเช่นเดียวกัน อีกชื่อของแก๊สมีสกุลอย่างแก๊สเฉื่อยไม่ได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากสารประกอบของแก๊สมีสกุลเป็นที่รู้จักมากกว่าเดิม และ แก๊สหายาก ซึ่งเป็นอีกชื่อที่เคยใช้ ไม่ถูกต้อง เพราะการสลายตัวของกัมมันตภาพรังสี ทำให้อาร์กอนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศของโลกมากถึง 0.94% โดยปริมาตร และ 1.3% โดยมวล
ปีแยร์ ฌ็องซ็องและนอร์แมน ล็อกเยอร์ค้นพบธาตุใหม่ในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1868 ขณะมองไปที่ชั้นโครโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ และตั้งชื่อมันว่าฮีเลียม จากคำว่า ἥλιος (hḗlios) ซึ่งมีความหมายในภาษากรีกว่าดวงอาทิตย์ การวิเคราะห์ทางเคมีที่สามารถพิสูจน์ว่าฮีเลียมเป็นแก๊สมีสกุลเกิดขึ้นในภายหลัง ก่อนการพิสูจน์ดังกล่าว เมื่อปี ค.ศ. 1784 นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เฮนรี คาเวนดิชค้นพบสารจำนวนน้อยในอากาศที่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาต่ำกว่าไนโตรเจน ต่อมาในปี ค.ศ. 1895 จอห์น วิลเลียม สตรัทท์ หรือ ค้นพบว่าสารไนโตรเจนตัวอย่างจากอากาศมีความหนาแน่นต่างจากไนโตรเจนที่ได้จากปฏิกิริยาเคมี ร่วมกันกับนักวิทยาศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ จากยูนิเวอร์ซิตีคอลลิจลันเดิน เรย์ลีได้ตั้งทฤษฎีขึ้นว่าไนโตรเจนที่สกัดได้จากอากาศปนเปื้อนกับแก๊สอื่น นำไปสู่การทดลองที่ประสบความสำเร็จในการสกัดธาตุใหม่อย่างอาร์กอน ซึ่งตั้งชื่อจากคำภาษากรีกว่า ἀργός (argós ซึ่งมีความหมายว่า "ไม่ได้ใช้งาน" หรือ "ขี้เกียจ" หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เฉื่อยชา) การค้นพบใหม่ทำให้พวกเขาตระหนักว่ามีแก๊สจำนวนมากหายไปจากตารางธาตุ ในการทดลองเพื่อหาธาตุอาร์กอน แรมซีย์ก็ยังพบวิธีสกัดฮีเลียมเป็นครั้งแรก ขณะให้ความร้อนแก่แร่ธาตุชื่อ หลังได้รับหลักฐานการมีอยู่ของธาตุฮีเลียมและอาร์กอน ใน ค.ศ. 1902 ดมีตรี เมนเดเลเยฟได้เพิ่มแก๊สมีสกุลทั้งสองลงในกลุ่มที่ 0 ของลำดับการเรียงธาตุของเขา ภายหลังรู้จักในชื่อตารางธาตุ
แรมซีย์ทำการทดลองหาแก๊สมีสกุลต่อไป ด้วยการใช้วิธีในการแยกกลายเป็นส่วนประกอบต่างๆ จน ค.ศ. 1898 เขาได้ค้นพบธาตุคริปทอน, นีออน, และซีนอน ซึ่งตั้งชื่อตามคำภาษากรีกว่า κρυπτός (kryptós, "หาย"), νέος (néos, "ใหม่") และ ξένος (ksénos, "แปลก") ตามลำดับ เรดอนถูกค้นพบตั้งแต่ ค.ศ. 1898 โดย และตั้งชื่อจากการแผ่รังสีเรเดียม แต่เรดอนเพิ่งจัดเป็นแก๊สมีสกุลหลัง ค.ศ. 1904 เมื่อค้นพบว่าคุณสมบัติต่าง ๆ มีลักษณะเหมือนกับแก๊สมีสกุลอื่นๆ เรย์ลีและแรมซีย์ได้รับรางวัลโนเบล ประจำ ค.ศ. 1904 ในสาขาฟิสิกส์และเคมีตามลำดับ จากการค้นพบการมีอยู่ของแก๊สมีสกุล เจ. อี. เซเดอร์บลอม นายกกล่าวไว้ว่า "การค้นพบกลุ่มของธาตุใหม่ทั้งหมด โดยที่ยังไม่มีธาตุใดเป็นต้นแบบของกลุ่มอยู่เลย นับเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และมีเอกลักษณ์มากในประวัติศาสตร์ของเคมี สิ่งนี้จะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญต่อการค้นคว้า" การค้นคว้าเกี่ยวกับแก๊สมีสกุลมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านโครงสร้างอะตอม ใน ค.ศ. 1895 นักเคมี ชาวฝรั่งเศส ได้พยายามสร้างปฏิกิริยาเคมีระหว่างฟลูออรีนที่มีคุณสมบัติอิเล็กโตรเนกาทิวิตีสูง และอาร์กอน หนึ่งในแก๊สมีสกุล แต่การทดลองกลับล้มเหลว การเตรียมสารประกอบอาร์กอนยังเป็นไปไม่ได้จนจบคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่การท้าทายความเป็นไปได้ดังกล่าวทำให้เกิดทฤษฎีของโครงสร้างอะตอมใหม่ ๆ ตามมา ด้วยความรู้จากการทดลองที่ผ่านมา เมื่อ ค.ศ. 1913 นักฟิสิกส์ชาวเดนิช นิลส์ โปร์เสนอทฤษฎีโครงสร้างอะตอมว่า อิเล็กตรอนในอะตอมต่างเรียงอยู่ภายในชั้นพลังงานรอบนิวเคลียส และธาตุทั้งหมดในแก๊สมีสกุลยกเว้นฮีเลียม ล้วนมีอิเล็กตรอนในระดับพลังงานวงนอกครบ 8 อิเล็กตรอนเสมอ ต่อมาใน ค.ศ. 1916 ได้คิดค้นกฎออกเตตซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการจับตัวครบแปดของอิเล็กตรอนในระดับพลังงานวงนอกเป็นการจัดเรียงตัวที่เสถียรที่สุดสำหรับอะตอมใดๆ โดยธาตุที่มีการจัดรูปแบบนี้จะไม่ตอบสนองต่อธาตุอื่น ๆ เนื่องจากไม่ต้องการอิเล็กตรอนมารวมในระดับพลังงานวงนอกอีกแล้ว ใน ค.ศ. 1962 นักเคมี นีล บาร์ตเลตต์ค้นพบซีนอนเฮกซะฟลูออโรแพลทิเนต สารประกอบของแก๊สมีสกุลที่ค้นพบเป็นครั้งแรก สารประกอบของแก๊สมีสกุลชนิดอื่นค้นพบในเวลาต่อมา เช่น สารประกอบของธาตุเรดอนอย่าง (RnF
2) ค้นพบใน ค.ศ. 1962 จากรอยสารกัมมันตภาพรังสี สารประกอบของธาตุคริปทอนอย่าง (KrF
2)ค้นพบใน ค.ศ. 1963 ส่วนสารประกอบอาร์กอนตัวแรกที่เสถียรบันทึกไว้ใน ค.ศ. 2000 เมื่อ (HArF) เกิดการจับตัวที่อุณหภูมิ 40 เคลวิน (−233.2 องศาเซลเซียส; −387.7 องศาฟาเรนไฮต์)
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันร่วมเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์และสามารถสังเคราะห์โอกาเนสซอนซึ่งเป็นธาตุที่ 17 ในกลุ่มที่ 18 ของตารางธาตุได้สำเร็จ โดยการรวมตัวของแคลิฟอร์เนียมกับแคลเซียม
สมบัติทางกายภาพและอะตอม
สมบัติ | ฮีเลียม | นีออน | อาร์กอน | คริปทอน | ซีนอน | เรดอน | โอกาเนสซอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหนาแน่น (g/dm3) | 0.1786 | 0.9002 | 1.7818 | 3.708 | 5.851 | 9.97 | 7200 (ค่าทำนาย) |
จุดเดือด (K) | 4.4 | 27.3 | 87.4 | 121.5 | 166.6 | 211.5 | 450±10 (ค่าทำนาย) |
จุดหลอมเหลว (K) | – | 24.7 | 83.6 | 115.8 | 161.7 | 202.2 | 325±15 (ค่าทำนาย) |
ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ (kJ/mol) | 0.08 | 1.74 | 6.52 | 9.05 | 12.65 | 18.1 | – |
การละลาย ในน้ำที่อุณหภูมิ 20 °C (cm3/kg) | 8.61 | 10.5 | 33.6 | 59.4 | 108.1 | 230 | – |
เลขอะตอม | 2 | 10 | 18 | 36 | 54 | 86 | 118 |
รัศมีอะตอม (จากการคำนวณ) (pm) | 31 | 38 | 71 | 88 | 108 | 120 | – |
พลังงานไอออไนเซชัน (kJ/mol) | 2372 | 2080 | 1520 | 1351 | 1170 | 1037 | 839 (ค่าทำนาย) |
อิเล็กโตรเนกาทิวิตี | 4.16 | 4.79 | 3.24 | 2.97 | 2.58 | 2.60 | 2.59 |
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูต่อที่ แก๊สมีสกุล (หน้าข้อมูล)
แก๊สมีสกุลมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำมาก แก๊สมีสกุลเป็น ภายใต้ภาวะมาตรฐาน รวมถึงเป็นธาตุที่มีมวลอะตอมสูงกว่าธาตุที่เป็นของแข็งทั่วไป ฮีเลียมมีปริมาณที่เป็นเอกลักษณ์กว่าธาตุอื่น โดยมีจุดเดือดที่ 1 บรรยากาศมาตรฐานต่ำกว่าสสารอื่น ฮีเลียมเป็นธาตุเดียวที่แสดงสมบัติของของไหลยวดยิ่งและเป็นธาตุเดียวที่ไม่สามารถทำให้เป็นของแข็งด้วยการลดอุณหภูมิที่ความดันบรรยากาศ (ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัมว่า มากเกินไปที่จะเกิดการเยือกแข็ง) – ต้องให้ความดัน 25 บรรยากาศมาตรฐาน (2,500 กิโลปาสกาล; 370 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ที่อุณหภูมิ 0.95 เคลวิน (−272.200 องศาเซลเซียส; −457.960 องศาฟาเรนไฮต์) เพื่อเปลี่ยนให้ฮีเลียมเป็นของแข็ง ในขณะที่ต้องใช้ความดันประมาณ 115 kbar สำหรับอุณหภูมิห้อง แก๊สมีสกุลจนถึงซีนอนมีไอโซโทปที่เสถียรหลายไอโซโทป เรดอนไม่มีไอโซโทปเสถียร โดยไอโซโทปที่คงตัวได้นานที่สุดคือ ด้วยครึ่งชีวิต 3.8 วันและสลายเป็นฮีเลียมกับพอโลเนียม ซึ่งจะสลายต่อเป็นตะกั่ว จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจะเพิ่มขึ้นไล่จากบนลงล่างของหมู่
ที่อ่อน ส่งผลให้อะตอมของแก๊สมีสกุลเช่นเดียวกันกับอะตอมในหมู่ส่วนใหญ่ มีรัศมีอะตอมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากคาบหนึ่งไปอีกคาบหนึ่งเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของอิเล็กตรอน ขนาดของอะตอมสัมพันธ์กับสมบัติหลายประการ ตัวอย่างเช่นพลังงานไอออไนเซชันลดลงกลับกันกับรัศมีที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเวเลนซ์อิเล็กตรอนในแก๊สมีสกุลที่ใหญ่กว่าจะห่างจากนิวเคลียสทำให้อิเล็กตรอนไม่ได้กระจุกตัวอย่างแน่นในอะตอมเท่ากับแก๊สมีสกุลที่เล็กกว่า แก๊สมีสกุลมีพลังงานไอออไนเซชันมากที่สุดเมื่อเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสถียรของการจัดเรียงอิเล็กตรอนและสัมพันธ์กับความไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี แต่อย่างไรก็ตาม แก๊สมีสกุลที่หนักบางธาตุมีพลังงานไอออไนเซชันน้อยพอที่จะเปรียบเทียบกับธาตุและโมเลกุลอื่น ข้อมูลเชิงลึกระบุว่าซีนอนมีพลังงานไอออไนเซชันเท่ากับโมเลกุลออกซิเจน ทำให้บาร์ทเล็ตพยายามออกซิไดส์ซีนอนด้วย (PtF6) ซึ่งเป็นตัวออกซิไดซ์ที่แรงมากพอให้เกิดปฏิกิริยากับออกซิเจน แก๊สมีสกุลไม่สามารถรับอิเล็กตรอนจากไอออนลบ เนื่องจากมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อยกว่าศูนย์
สมบัติทางกายภาพของแก๊สมีสกุลกำหนดโดยแรงแวนเดอร์วาลส์ระหว่างอะตอมที่อ่อน แรงดึงดูดเพิ่มขึ้นตามขนาดของอะตอมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ และการลดลงของพลังงานไอออนไนเซชัน นั่นส่งผลให้เกิดแนวโน้มของค่าต่าง ๆ ไล่จากบนลงล่างตามธาตุหมู่ 18 โดยรัศมีอะตอมและแรงระหว่างอะตอมจะเพิ่มขึ้น ทำให้จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอและความสามารถในการละลาย ส่วนการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นเกิดจากการเพิ่มของมวลอะตอม
แก๊สมีสกุลมีสมบัติใกล้เคียงแก๊สอุดมคติภายใต้ภาวะมาตรฐาน แต่เมื่อพิจารณาค่าเบี่ยงเบนจากกฎของแก๊สอุดมคติจะนำไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับ มักใช้ในการจำลองปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมเลกุล เป็นโมเดลที่เสนอในปี ค.ศ. 1924 โดย จากข้อมูลที่ทดลองกับอาร์บอนก่อนที่กลศาสตร์ควอนตัมจะให้เครื่องมือสำหรับการทำความเข้าใจเรื่องแรงระหว่าโมเลกุลด้วย การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีของปฏิสัมพันธ์เหล่านี้สามารถทำได้ง่ายเพราะแก๊สมีสกุลเป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวและเป็นทรงกลม หมายความว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมไม่ขึ้นกับทิศทางหรือมีสมบัติเป็นไอโซทรอปิก
สมบัติทางเคมี
แก๊สมีสกุลไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่ติดไฟภายใต้สภาวะมาตรฐานครั้งหนึ่งพวกมันถูกระบุว่าเป็นหมู่ 0 ในตารางธาตุเพราะเชื่อว่าพวกมันมีวาเลนซ์เป็นศูนย์ ซึ่งหมายความว่าอะตอมของพวกมันไม่สามารถรวมตัวกับธาตุอื่นเพื่อสร้างสารประกอบได้ อย่างไรก็ตาม มีการค้นพบในภายหลังว่าบางชนิดก่อตัวเป็นสารประกอบ ทำให้ฉลากนี้เลิกใช้ไป
การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ข้อมูลเพิ่มเติม: การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ (หน้าข้อมูล)
เช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ ธาตุในหมู่นี้ในนี้แสดงรูปแบบในโครงแบบอิเล็กตรอน โดยเฉพาะชั้นนอกสุดที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางเคมี:
เลขอะตอม | ธาตุ | จำนวนอิเล็กตรอน/ชั้น |
---|---|---|
2 | ฮีเลียม | 2 |
10 | นีออน | 2, 8 |
18 | อาร์กอน | 2, 8, 8 |
36 | คริปทอน | 2, 8, 18, 8 |
54 | ซีนอน | 2, 8, 18, 18, 8 |
86 | เรดอน | 2, 8, 18, 32, 18, 8 |
118 | โอกาเนสซอน | 2, 8, 18, 32, 32, 18, 8 (คาดคะเน) |
แก๊สมีสกุลมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเต็ม เวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็นอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมและโดยปกติจะเป็นอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียวที่ร่วมสร้างพันธะเคมี อะตอมที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเต็มวงจะเสถียรมาก ดังนั้นจึงไม่มีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะเคมี และมีแนวโน้มน้อยที่จะได้รับหรือสูญเสียอิเล็กตรอน อย่างไรก็ตาม แก๊สมีสกุลที่หนักกว่า เช่น เรดอน จะจับกันด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยกว่าแก๊สมีสกุลที่เบากว่า เช่น ฮีเลียม ทำให้ง่ายต่อการกำจัดอิเล็กตรอนภายนอกออกจากแก๊สมีสกุลหนัก
ใช้ร่วมกับสัญกรณ์โครงแบบอิเล็กตรอนเพื่อสร้างสัญกรณ์แก๊สมีสกุล ในการทำเช่นนี้ แก๊สมีสกุลที่ใกล้ที่สุดซึ่งอยู่ก่อนหน้าองค์ประกอบที่เป็นปัญหาจะเขียนขึ้นก่อน จากนั้นจึงจัดโครงแบบอิเล็กตรอนต่อจากจุดนั้นไปข้างหน้า ตัวอย่างเช่น สัญกรณ์อิเล็กตรอนของฟอสฟอรัสคือ 1s2 2s2 2p6 3s2 3p3 ในขณะที่สัญลักษณ์ของแก๊สมีสกุลคือ [Ne] 3s2 3p3 สัญกรณ์ที่กะทัดรัดกว่านี้ทำให้ระบุธาตุได้ง่ายขึ้น และสั้นกว่าการเขียนสัญกรณ์ทั้งหมดของออร์บิทัลเชิงอะตอม
แก๊สมีสกุลจะข้ามขอบเขตระหว่างบล็อก—ฮีเลียมเป็นธาตุบล็อก s ในขณะที่สมาชิกที่เหลือคือธาตุบล็อก p—ซึ่งผิดปกติในกลุ่ม IUPAC กลุ่ม IUPAC อื่น ๆ ทั้งหมดมีองค์ประกอบจากแต่ละบล็อก สิ่งนี้ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันในแนวโน้มทั่วทั้งตาราง และด้วยเหตุนี้นักเคมีบางคนจึงเสนอว่าควรย้ายฮีเลียมไปยังหมู่ 2 เพื่อให้เข้ากับธาตุ s2 อื่น ๆ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่ได้นำการเปลี่ยนแปลงนี้มาใช้
สารประกอบ
แก๊สมีสกุลมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีที่ต่ำมาก; ดังนั้นจึงมีการสร้างสารประกอบของแก๊สมีสกุล เพียงไม่กี่ร้อยรายการเท่านั้น สารประกอบ ที่เป็นกลางซึ่งฮีเลียมและนีออนมีส่วนร่วมใน พันธะเคมี ยังไม่ก่อตัวขึ้น (แม้ว่าจะมีไอออนที่มีฮีเลียมอยู่บ้าง และมีหลักฐานทางทฤษฎีบางอย่างสำหรับไอออนที่เป็นกลางซึ่งมีฮีเลียมอยู่บ้าง) ในขณะที่ซีนอน คริปทอน และอาร์กอนแสดงปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความไวต่อปฏิกิริยาเป็นไปตามลำดับ Ne < He < Ar < Kr < Xe < Rn ≪ Og
ในปี ค.ศ. 1933 ไลนัส พอลิง ทำนายว่าแก๊สมีสกุลที่หนักกว่าสามารถสร้างสารประกอบที่มีฟลูออรีนและออกซิเจน เขาทำนายการมีอยู่ของ (KrF
6) และ (XeF
6) โดยสันนิษฐานว่า XeF
8 อาจมีอยู่เป็นสารประกอบที่ไม่เสถียร และเสนอว่า สามารถสร้างเกลือ ได้ การคาดคะเนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโดยทั่วไปมีความแม่นยำ ยกเว้นว่า XeF
8 ในขณะนี้ถือว่าไม่เสถียรทั้งทางอุณหพลศาสตร์และทางจลนพลศาสตร์เคมี
สารประกอบซีนอนเป็นสารประกอบของแก๊สมีสกุลจำนวนมากที่สุดที่ก่อตัวขึ้น ส่วนใหญ่มีอะตอมของซีนอนใน สถานะออกซิเดชัน ที่ +2, +4, +6 หรือ +8 ที่สร้างพันธะกับอะตอมที่มี สูง เช่น ฟลูออรีนหรือออกซิเจน เช่นใน ซีนอนไดฟลูออไรด์ (XeF
2), (XeF
4), (XeF
6), ซีนอนเตตรอกไซด์ (XeO
4) และโซเดียมเปอร์ซีเนต (Na
4XeO
6) ซีนอนทำปฏิกิริยากับฟลูออรีนเพื่อสร้างซีนอนฟลูออไรด์จำนวนมากตามสมการต่อไปนี้:
- Xe + F2 → XeF6
- Xe + 2F2 → XeF4
- Xe + 3F2 → XeF6
บางส่วนของ สารประกอบเหล่านี้พบว่าใช้ใน เป็นตัวออกซิไดซ์; โดยเฉพาะอย่างยิ่ง XeF
2 มีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์และสามารถใช้เป็นตัวแทน ในปี ค.ศ. 2007 มีการระบุสารประกอบของซีนอนประมาณห้าร้อยตัวที่จับกับธาตุอื่นๆ รวมทั้งสารประกอบออร์แกนซีนอน (ที่มีซีนอนจับกับคาร์บอน) และซีนอนจับกับไนโตรเจน คลอรีน ทอง ปรอท และซีนอนเอง สารประกอบของซีนอนที่จับกับโบรอน ไฮโดรเจน โบรมีน ไอโอดีน เบริลเลียม กำมะถัน ไททาเนียม ทองแดง และเงิน ยังพบได้เฉพาะที่อุณหภูมิต่ำในแก๊สมีสกุล หรือในแก๊สมีสกุลที่มีความเร็วเหนือเสียง
เรดอนมีปฏิกิริยามากกว่าซีนอน และสร้างพันธะเคมีได้ง่ายกว่าซีนอน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีสูงและครึ่งชีวิตสั้นของ จึงเกิดเรดอนเพียงไม่กี่ และ ออกไซด์ เท่านั้น เรดอนก้าวไปสู่พฤติกรรมของโลหะมากกว่าซีนอน ไดฟลูออไรด์ RnF2 เป็นไอออนิกสูง และ Rn2+ ประจุบวกจะเกิดขึ้นในสารละลายฮาโลเจนฟลูออไรด์ ด้วยเหตุผลนี้ อุปสรรคทางจลนพลศาสตร์ทำให้ยากที่จะออกซิไดซ์เรดอนเกินสถานะ +2 มีเพียงการทดลองตามรอยเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการทำเช่นนั้น อาจสร้าง RnF4 , RnF6 และ RnO3
คริปทอนมีปฏิกิริยาน้อยกว่าซีนอน แต่มีรายงานสารประกอบหลายตัวที่มีคริปทอนใน สถานะออกซิเดชัน ที่ +2 มีความโดดเด่นที่สุดและจำแนกได้ง่ายที่สุด ภายใต้สภาวะที่รุนแรง คริปทอนจะทำปฏิกิริยากับฟลูออรีนเพื่อสร้าง KrF2 ตามสมการต่อไปนี้:
- Kr + F2 → KrF2
สารประกอบที่คริปทอนสร้างพันธะเดี่ยวกับไนโตรเจนและออกซิเจนก็มีลักษณะเช่นกัน แต่จะคงที่ต่ำกว่า −60 องศาเซลเซียส (−76 องศาฟาเรนไฮต์) และ −90 องศาเซลเซียส (−130 องศาฟาเรนไฮต์) ตามลำดับ
อะตอมของคริปทอนจับกันทางเคมีกับอโลหะอื่นๆ (ไฮโดรเจน คลอรีน คาร์บอน) รวมถึง โลหะทรานซิชัน บางส่วน (ทองแดง เงิน ทอง) ที่ยังสังเกตพบ แต่ที่อุณหภูมิต่ำในเมทริกซ์แก๊สมีสกุลเท่านั้น หรือในเครื่องบินไอพ่นที่มีความเร็วเหนือเสียง มีการใช้เงื่อนไขที่คล้ายกันเพื่อให้ได้สารประกอบสองสามชนิดแรกของอาร์กอนในปี ค.ศ. 2000 เช่น (HArF) และบางส่วนจับกับโลหะทรานซิชันช่วงปลายอย่างทองแดง เงิน และทอง ในปี ค.ศ. 2007 ยังไม่มีข้อมูลโมเลกุลที่เป็นกลางที่เสถียรซึ่งเกี่ยวข้องกับฮีเลียมหรือนีออนที่มีพันธะโควาเลนต์
การคาดคะเนจากแนวโน้มจากการทำนายว่าออกาเนสสันควรเป็นแก๊สมีสกุลที่มีปฏิกิริยามากที่สุด การบำบัดทางทฤษฎีที่ซับซ้อนมากขึ้นบ่งชี้ว่ามีปฏิกิริยามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ถึงจุดที่มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้คำอธิบายของ 'แก๊สมีสกุล'โอกาเนสซอนคาดว่าจะค่อนข้างเหมือน ซิลิคอน หรือ ดีบุก ในหมู่ 14: องค์ประกอบปฏิกิริยาที่มีสถานะ +4 ทั่วไปและสถานะ +2 ทั่วไปน้อยกว่า ซึ่งที่อุณหภูมิและความดันห้องไม่ได้เป็นแก๊สแต่เป็นสารกึ่งตัวนำที่เป็นของแข็ง จำเป็นต้องมีการทดสอบเชิงประจักษ์ / เชิงทดลองเพื่อตรวจสอบการคาดการณ์เหล่านี้ (ในทางกลับกัน ฟลีโรเวียม แม้จะอยู่ในหมู่ 14 แต่คาดการณ์ว่าจะระเหยผิดปกติ ซึ่งบ่งชี้ถึงคุณสมบัติคล้ายแก๊สมีสกุล)
แก๊สมีสกุลรวมถึงฮีเลียมสามารถสร้าง ที่เสถียรในเฟสของแก๊ส วิธีที่ง่ายที่สุดคือ , HeH+ ค้นพบในปี ค.ศ. 1925 เนื่องจากประกอบด้วยธาตุที่มีมากที่สุด 2 ชนิดในเอกภพ ได้แก่ ไฮโดรเจนและฮีเลียม จึงเชื่อว่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติใน และในที่สุดก็ตรวจพบในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 โดยใช้อากาศ. นอกจากไอออนเหล่านี้แล้ว ยังมีแก๊สมีสกุลที่เป็นกลาง อีกหลายชนิด เหล่านี้เป็นสารประกอบเช่น ArF และ KrF ที่เสถียรเฉพาะเมื่ออยู่ใน; บางส่วนพบการใช้งานใน
นอกจากสารประกอบที่อะตอมของแก๊สมีสกุลมีส่วนร่วมใน พันธะโควาเลนต์ แล้ว แก๊สมีสกุลยังก่อตัวเป็นสารประกอบ อธิบายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1949 ประกอบด้วยอะตอมของแก๊สมีสกุลที่ติดอยู่ภายในโพรงของ ของสารอินทรีย์และอนินทรีย์บางชนิด เงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการก่อตัวของพวกมันคืออะตอมแก๊สมีสกุล จะต้องมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้พอดีกับโพรงของโครงตาข่ายคริสตัลโฮสต์ ตัวอย่างเช่น อาร์กอน คริปทอน และซีนอนสร้างคลาเทรตด้วย แต่ฮีเลียมและนีออนไม่มีเพราะพวกมันมีขนาดเล็กเกินไปหรือไม่เพียงพอ นีออน อาร์กอน คริปทอน และซีนอนยังก่อตัวเป็นคลาเทรตไฮเดรต ซึ่งแก๊สมีสกุลขังอยู่ในน้ำแข็ง
แก๊สมีสกุลสามารถก่อตัวเป็น ซึ่งอะตอมของแก๊สมีสกุลขังอยู่ภายในโมเลกุล ฟูลเลอรีน ในปี ค.ศ. 1993 มีการค้นพบว่าเมื่อ C
60 ซึ่งเป็นโมเลกุลทรงกลมที่ประกอบด้วย 60 คาร์บอน อะตอม สัมผัสกับแก๊สมีสกุลที่ความดันสูง เช่น He@C
60 สามารถสร้างขึ้นได้ (สัญลักษณ์ @ ระบุว่ามีเขาอยู่ภายใน C
60 แต่ไม่ผูกพันโควาเลนต์กับมัน) ในปี ค.ศ. 2008 เอ็นโดฮีดรัลคอมเพล็กซ์ที่มีฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน และซีนอนได้สร้างขึ้นแล้ว พบสารประกอบเหล่านี้ใช้ในการศึกษาโครงสร้างและความว่องไวต่อปฏิกิริยาของฟูลเลอรีนโดยวิธี ของอะตอมของแก๊สมีสกุล
สารประกอบของแก๊สมีสกุลเช่น ซีนอนไดฟลูออไรด์ (XeF
2) ถูกพิจารณาว่าเป็น เนื่องจากพวกมันละเมิด กฎออกเตต พันธะในสารประกอบดังกล่าวสามารถอธิบายได้โดยใช้แบบจำลอง แบบจำลองนี้เสนอครั้งแรกในปี ค.ศ. 1951 พิจารณาถึงพันธะของอะตอมคอลลิเนียร์สามตัว ตัวอย่างเช่น พันธะใน XeF
2 อธิบายโดยชุดของทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (MO) สามชุดที่ได้มาจาก บนแต่ละอะตอม พันธะผลลัพธ์จากการรวมกันของ p-orbital ที่เติมจาก Xe กับ p-orbital ที่เติมครึ่งหนึ่งจากแต่ละอะตอม F ทำให้เกิดออร์บิทัลที่มีพันธะที่เติมเต็ม, ออร์บิทัลที่ไม่มีพันธะที่เติม และว่างเปล่า อยู่ในช่วงปลายของอะตอมทั้งสอง สิ่งนี้แสดงถึงตำแหน่งของประจุที่อำนวยความสะดวกโดยค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงของฟลูออรีน
คุณสมบัติทางเคมีของแก๊สมีสกุลที่หนักกว่า คริปทอนและซีนอน ได้รับการยอมรับอย่างดี เคมีของสารที่เบากว่า อาร์กอนและฮีเลียมยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในขณะที่ยังไม่สามารถระบุสารประกอบของนีออนได้
ปริมาณในธรรมชาติและการผลิต
ปริมาณของแก๊สมีสกุลในเอกภพมีค่าลดลง เมื่อแก๊สมีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ฮีเลียมเป็นธาตุที่พบได้มากที่สุดในเอกภพถัดมาจากไฮโดรเจนโดยมีเศษส่วนมวลประมาณ 24% ฮีเลียมส่วนใหญ่ในเอกภพเกิดขึ้นระหว่างการสังเคราะห์นิวเคลียสของบิกแบง ในภายหลัง ปริมาณฮีเลียมยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการหลอมรวมของไฮโดรเจนในการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์(และเพิ่มขึ้นน้อยมากจากการสลายให้อนุภาคแอลฟาของธาตุหนัก) ปริมาณของแก๊สบนโลกเป็นไปตามแนวโน้มที่แตกต่างกัน เช่น ฮีเลียมเป็นแก๊สมีสกุลที่มีมากที่สุดเป็นอันดับที่สามในชั้นบรรยากาศ เหตุผลก็คือไม่มีฮีเลียมดั้งเดิมในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากมีมวลอะตอมน้อย ทำให้ฮีเลียมไม่สามารถลอยต้านสนามแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ฮีเลียมบนโลกมาจากการสลายตัวของธาตุหนักอย่างยูเรเนียมและทอเรียมที่พบบนเปลือกโลก และมีแนวโน้มที่จะสะสมในแหล่งแก๊สธรรมชาติ ในทางตรงกันข้าม ปริมาณของอาร์กอนเพิ่มขึ้นจากการสลายให้อนุภาคบีตาของธาตุ เพื่อสร้าง โพแทสเซียมสามารถพบได้บนเปลือกโลก และเป็นไอโซโทปของอาร์กอนที่มีปริมาณมากที่สุดบนโลก แม้จะค่อนข้างหายากในระบบสุริยะก็ตาม กระบวนการสลายอนุภาคนี้เป็นส่วนของ ซีนอนเป็นธาตุที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากในชั้นบรรยากาศ จนมีข้อสงสัยว่าซีนอนหายไปได้อย่างไร ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าซีนอนที่หายไปน่าจะอยู่ในรวมตัวกับแร่ธาตุในแผ่นเปลือกโลก หลังจากการค้นพบ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าซีนอนสามารถใช้แทนซิลิกอนในควอตซ์ได้ เรดอนเกิดขึ้นในธรณีภาคเนื่องจากการสลายให้อนุภาคแอลฟาของเรเดียม โดยเรดอนสามารถซึมผ่านรอยแตกเข้าไปในอาคารและสะสมในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดี เนื่องจากเป็นธาตุที่มีความเป็นกัมมันตภาพรังสีสูง เรดอนจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ทางสถิติเรดอนเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดมีค่าประมาณ 21,000 คนต่อปีในสหรัฐอเมริกา ออกาเนสสันเป็นธาตุที่ไม่สามารถเกิดขึ้นในธรรมชาติ และสร้างได้จากการสังเคราะห์โดยนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น
ปริมาณที่มีอยู่ | ฮีเลียม | นีออน | อาร์กอน | คริปตอน | ซีนอน | เรดอน |
---|---|---|---|---|---|---|
ระบบสุริยะ (ต่อหนึ่งอะตอมซิลิกอน) | 2343 | 2.148 | 0.1025 | 5.515 × 10−5 | 5.391 × 10−6 | – |
ชั้นบรรยากาศโลก (อัตราส่วนปริมาตร ) | 5.20 | 18.20 | 9340.00 | 1.10 | 0.09 | (0.06–18) × 10−19 |
หินอัคนี (อัตราส่วนมวลในล้านส่วน) | 3 × 10−3 | 7 × 10−5 | 4 × 10−2 | – | – | 1.7 × 10−10 |
สำหรับการใช้งานในปริมาณมาก สกัดฮีเลียมด้วยวิธีการกลั่นแบบลำดับส่วนจากแก๊สธรรมชาติ ซึ่งมีฮีเลียมเป็นส่วนประกอบมากถึง 7%
นีออน อาร์กอน คริปทอน และ ซีนอน สามารถผลิตได้จากอากาศด้วยวิธีแก๊สธรรมชาติ และสกัดเรดอนจากการสลายกัมมันตภาพรังสีของสารประกอบเรเดียม ราคาของแก๊สมีสกุลขึ้นอยู่กับปริมาณที่พบทางธรรมชาติ โดยอาร์กอนมีราคาที่ต่ำที่สุด ในขณะที่ซีนอนมีราคาสูงที่สุด ตารางด้านล่างแสดงราคาของแก๊สแต่ละชนิดในปี ค.ศ. 2004 ภายในห้องปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกา
เพื่อเปลี่ยนแก๊สเป็นของเหลว และวิธีการกลั่นแบบลำดับส่วน เพื่อแยกสารประกอบต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนการผผลิตทำโดยการสกัดแก๊ส | ราคาเมื่อ ค.ศ. 2004 (ดอลลาร์ต่อลูกบาศก์เมตร) |
---|---|
ฮีเลียม (เกรดอุตสาหกรรม) | 4.20–4.90 |
ฮีเลียม (เกรดห้องทดลอง) | 22.30–44.90 |
อาร์กอน | 2.70–8.50 |
นีออน | 60–120 |
คริปตอน | 400–500 |
ซีนอน | 4000–5000 |
การใช้ประโยชน์
แก๊สมีสกุลมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวที่ต่ำมาก ซึ่งทำให้แก๊สเหล่านี้ใช้เป็นในเชิงการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) และ (NMR) นีออนเหลวถึงแม้จะไม่สามารถลดอุณหภูมิจนเท่าฮีเลียมเหลว นีออนเหลวยังนำไปใช้ในงานด้านอติสีตศาสตร์เนื่องจากมีวิสัยสามารถทำความเย็นมากกว่าฮีเลียมเหลว 40 เท่าและมากกว่าไฮโดรเจนเหลว 3 เท่า
โดยเฉพาะ ซึ่งเดือดที่ 4.2 เคลวิน (−268.95 องศาเซลเซียส; −452.11 องศาฟาเรนไฮต์) นำไปใช้สร้าง สำหรับฮีเลียมใช้เป็นองค์ประกอบของแทนที่ไนโตรเจน เนื่องจากมีความสามารถในการละลายในของไหลต่ำโดยเฉพาะไขมัน แก๊สทั่วไปมักถูกดูดซึมโดยเลือดและเนื้อเยื่อภายใต้ความดันเช่นการดำน้ำลึก ทำให้เกิดเรียกว่าภาวะเมาไนโตรเจน แต่ด้วยที่ฮีเลียมมีความสามารถในการละลายต่ำ ฮีเลียมจึงซึมเข้าเยื่อหุ้มเซลล์ได้น้อย เมื่อใช้ฮีเลียมเป็นส่วนผสมของแก๊สสำหรับหายใจเช่นใน หรือ จึงช่วยลดอาการเซื่องซึมของนักประดาน้ำภายใต้ความลึก ความสามารถในการละลายของฮีเลียมที่น้อยมีประโยชน์ในการรักษาโรคลดความกดหรือ the bends เมื่อมีปริมาณแก๊สละลายในร่างกายลดลงหมายความว่าจะเกิดฟองแก๊สจำนวนน้อยลงที่ความดันที่ต่ำลง นอกจากนี้อาร์กอนยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการดำน้ำลึกแบบ และฮีเลียมยังใช้เป็นแก๊สเติมแกนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ตั้งแต่วินาศภัยฮินเดินบวร์คในปี ค.ศ. 1937ในเรือเหาะและลูกโป่งใช้ฮีเลียมทดแทนไฮโดรเจน เนื่องจากความเบาและความไม่ติดไฟ แม้ว่าจะมีแรงลอยตัวลดลง 8.6%
ในการประยุกต์ใช้ มีใช้แก๊สมีสกุลในบรรยากาศเฉื่อย อาร์กอนใช้ในการสังเคราะห์นั่นคือไวต่อไนโตรเจน อาร์กอนแข็งใช้ในการศึกษาสารประกอบที่ไม่เสถียรมากเช่นที่ไวต่อปฏิกิริยา โดยการกักในเฉื่อยที่อุณหภูมิต่ำมาก ฮีเลียมใช้เป็นตัวกลางนำพาในเทคนิค เป็นแก๊สเติมในเทอร์โมมิเตอร์และในอุปกรณ์ตรวจวัดการแผ่รังสีเช่นเครื่องนับไกเกอร์–มึลเลอร์และ ฮีเลียมและอาร์กอนมักใช้เป็นกำบังสำหรับการเชื่อมอาร์กและการกระจายของในบรรยากาศขณะเชื่อมหรือตัดโลหะ รวมถึงกระบวนการทางโลหการและการผลิตซิลิคอนในอุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ
แก๊สมีสกุลมักใช้ในเพราะมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีต่ำ อาร์กอนจะผสมกับไนโตรเจนใช้เติมในหลอดไส้ร้อนแบบธรรมดา คริปทอนใช้ในหลอดไฟประสิทธิภาพสูง ซึ่งให้อุณหภูมิสีและประสิทธิภาพสูงกว่า เนื่องจากสามารถลดอัตราการขาดของแกนหลอดไฟได้ดีกว่าอาร์กอน หลอดแฮโลเจนใช้คริปทอนประสมกับสารประกอบของไอโอดีนหรือโบรมีนปริมาณน้อย แก๊สมีสกุลเรืองแสงให้สีที่โดดเด่นเมื่อใช้ในเช่น แม้ว่าหลอดไฟจะเรียกชื่อตามแก๊สนีออนแต่ก็ประกอบด้วยแก๊สชนิดอื่นและ ซึ่งทำให้เกิดเฉดสีหลากหลายได้เป็นสีส้มอมแดงของนีออน ซีนอนมักใช้ใน เนื่องจากคล้ายกับแสงอาทิตย์ จึงมักประยุกต์ในเครื่องฉายภาพยนตร์และไฟหน้ารถ
แก๊สมีสกุลใช้ใน ซึ่งสร้างจากโมเลกุลที่ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าและคงสภาพในระยะเวลาสั้นเรียกว่า โมเลกุลเอ็กไซเมอร์ที่ใช้ในเลเซอร์อาจเป็นไดเมอร์ของแก๊สมีสกุลเช่น Ar2, Kr2 หรือ Xe2 หรือที่นิยมใช้คือแก๊สมีสกุลที่รวมตัวกับธาตุฮาโลเจนในรูปโมเลกุลเอ็กไซเมอร์เช่น ArF, KrF, XeF หรือ XeCl เลเซอร์เหล่านี้สร้างรังสีอัลตราไวโอเล็ต ซึ่งเนื่องจากความยาวคลื่นที่สั้น (193 นาโนเมตรสำหรับ ArF และ 248 นาโนเมตรสำหรับ KrF) ทำให้ใช้ในงานภาพถ่ายรังสีแม่นยำสูงได้ เอ็กไซเมอเลเซอร์ใช้ในด้านอุตสาหกรรม การแพทย์และวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย นอกจากนี้ยังใช้ในงานด้านและด้าน ซึ่งมีความสำคัญในการผลิตวงจรรวม และได้แก่และ
แก๊สมีสกุลบางชนิดมีการประยุกต์ใช้โดยตรงในทางการแพทย์ บางครั้งฮีเลียมจะใช้ช่วยเหลือผู้ป่วยหอบหืดให้หายใจดีขึ้น ซีนอนใช้เป็นเพราะความสามารถในการละลายในไขมันที่สูง ทำให้เกิดฤทธิ์มากกว่าไนตรัสออกไซด์ที่ใช้โดยทั่วไปและเนื่องจากมันถูกกำจัดจากร่างกายโดยทันที ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ซีนอนประยุกต์ในการถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์ของปอดด้วยเทคนิค hyperpolarized MRI เรดอนซึ่งไวต่อปฏิกิริยามากและมีปริมาณน้อยใช้ใน
แก๊สมีสกุลโดยเฉพาะซีนอนใช้มากในเนื่องจากความเฉื่อยของมัน เนื่องจากเครื่องยนต์ไอออนไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยปฏิกิริยาเคมี เชื้อเพลิงที่เฉื่อยเชิงเคมีใช้ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างเชื้อเพลิงรวมถึงสิ่งอื่นในเครื่องยนต์
โอกาเนสซอนถูกค้นพบในบริบทของงานวิจัยเพื่อค้นพบธาตุใหม่เท่านั้น ทำให้ยังผลิตในปริมาณน้อยและไม่เสถียร จึงยังไม่มีการประยุกต์ใช้โอกาเนสซอน
สีในหลอดไฟ
ฮีเลียม | นีออน | อาร์กอน | คริปทอน | ซีนอน |
สีของแก๊สขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยได้แก่:
- พารามิเตอร์การคายประจุ (ค่าสนามไฟฟ้าในแต่ละบริเวณ อุณหภูมิ ฯลฯ – ความหลากหลายของสีจากการเปล่งแสดงในแถวบนสุด); และ
- ความบริสุทธิ์ของแก๊ส (ถึงแม้มีแก๊สปนเปื้อนปริมาณน้อยก็ยังส่งผลต่อสีได้);
- วัสดุของกระเปาะคายประจุ – บริเวณป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตและองค์ประกอบสีน้ำเงินในกระเปาะแถวล่างสุดสร้างจากแก้วครัวเรือนหนา
ดูเพิ่ม
เชิงอรรถ
- Bauzá, Antonio; Frontera, Antonio (2015). "Aerogen Bonding Interaction: A New Supramolecular Force?". Angewandte Chemie International Edition. 54 (25): 7340–3. doi:10.1002/anie.201502571. PMID 25950423.
- Koppenol, W. (2016). "How to name new chemical elements" (PDF). Pure and Applied Chemistry. DeGruyter. doi:10.1515/pac-2015-0802. :10045/55935. S2CID 102245448.
- Renouf, Edward (1901). "Noble gases". Science. 13 (320): 268–270. Bibcode:1901Sci....13..268R. doi:10.1126/science.13.320.268. S2CID 34534533.
- Ozima 2002, p. 30
- Ozima 2002, p. 4
- "argon". Encyclopædia Britannica. 2008.
- Oxford English Dictionary (1989), s.v. "helium". Retrieved 16 December 2006, from Oxford English Dictionary Online. Also, from quotation there: Thomson, W. (1872). Rep. Brit. Assoc. xcix: "Frankland and Lockyer find the yellow prominences to give a very decided bright line not far from D, but hitherto not identified with any terrestrial flame. It seems to indicate a new substance, which they propose to call Helium."
- Ozima 2002, p. 1
- Mendeleev 1903, p. 497
- Partington, J. R. (1957). "Discovery of Radon". Nature. 179 (4566): 912. Bibcode:1957Natur.179..912P. doi:10.1038/179912a0. S2CID 4251991.
- "Noble Gas". Encyclopædia Britannica. 2008.
- Cederblom, J. E. (1904). "The Nobel Prize in Physics 1904 Presentation Speech".
- Cederblom, J. E. (1904). "The Nobel Prize in Chemistry 1904 Presentation Speech".
- Gillespie, R. J.; Robinson, E. A. (2007). "Gilbert N. Lewis and the chemical bond: the electron pair and the octet rule from 1916 to the present day". . 28 (1): 87–97. doi:10.1002/jcc.20545. PMID 17109437.
- Bartlett, N. (1962). "Xenon hexafluoroplatinate Xe+[PtF6]−". (6): 218. doi:10.1039/PS9620000197.
- Fields, Paul R.; Stein, Lawrence; Zirin, Moshe H. (1962). "Radon Fluoride". Journal of the American Chemical Society. 84 (21): 4164–4165. doi:10.1021/ja00880a048.
- Grosse, A. V.; Kirschenbaum, A. D.; Streng, A. G.; Streng, L. V. (1963). "Krypton Tetrafluoride: Preparation and Some Properties". Science. 139 (3559): 1047–1048. Bibcode:1963Sci...139.1047G. doi:10.1126/science.139.3559.1047. PMID 17812982.
- Khriachtchev, Leonid; Pettersson, Mika; Runeberg, Nino; Lundell, Jan; Räsänen, Markku (2000). "A stable argon compound". Nature. 406 (6798): 874–876. Bibcode:2000Natur.406..874K. doi:10.1038/35022551. PMID 10972285. S2CID 4382128.
- Barber, Robert C.; Karol, Paul J.; Nakahara, Hiromichi; Vardaci, Emanuele & Vogt, Erich W. (2011). "Discovery of the elements with atomic numbers greater than or equal to 113 (IUPAC Technical Report)*" (PDF). Pure and Applied Chemistry. IUPAC. 83 (7). doi:10.1515/ci.2011.33.5.25b. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- Oganessian, Yu. Ts.; Utyonkov, V.; Lobanov, Yu.; Abdullin, F.; Polyakov, A.; และคณะ (2006). "Synthesis of the isotopes of elements 118 and 116". Physical Review C. 74 (4): 44602. Bibcode:2006PhRvC..74d4602O. doi:10.1103/PhysRevC.74.044602.
- Greenwood 1997, p. 891
- Smits, Odile; Mewes, Jan-Michael; Jerabek, Paul; Schwerdtfeger, Peter (2020). "Oganesson: A Noble Gas Element That Is Neither Noble Nor a Gas". Angewandte Chemie International Edition. 59 (52): 23636–23640. doi:10.1002/anie.202011976. PMC 7814676. PMID 32959952.
- Liquid helium will only solidify if exposed to pressures well above atmospheric pressure, an effect explainable with quantum mechanics
- Winter, Mark (2020). "Organesson: Properties of Free Atoms". WebElements: THE periodic table on the WWW. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.
- Allen, Leland C. (1989). "Electronegativity is the average one-electron energy of the valence-shell electrons in ground-state free atoms". Journal of the American Chemical Society. 111 (25): 9003–9014. doi:10.1021/ja00207a003.
- Tantardini,Christian; Oganov, Artem R. (2021). "Thermochemical Electronegativities of the Elements". Nature Communications. 12 (1): 2087–2095. Bibcode:2021NatCo..12.2087T. doi:10.1038/s41467-021-22429-0. PMC 8027013. PMID 33828104.
- Wilks, John (1967). "Introduction". The Properties of Liquid and Solid Helium. Oxford: Clarendon Press. ISBN .
- . Department of Physics, University of Alberta. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2008.
- Pinceaux, J.-P.; Maury, J.-P.; Besson, J.-M. (1979). "Solidification of helium, at room temperature under high pressure" (PDF). Journal de Physique Lettres. 40 (13): 307–308. doi:10.1051/jphyslet:019790040013030700. S2CID 40164915.
- Wheeler, John C. (1997). "Electron Affinities of the Alkaline Earth Metals and the Sign Convention for Electron Affinity". Journal of Chemical Education. 74 (1): 123–127. Bibcode:1997JChEd..74..123W. doi:10.1021/ed074p123.; Kalcher, Josef; Sax, Alexander F. (1994). "Gas Phase Stabilities of Small Anions: Theory and Experiment in Cooperation". Chemical Reviews. 94 (8): 2291–2318. doi:10.1021/cr00032a004.
- Mott, N. F. (1955). "John Edward Lennard-Jones. 1894–1954". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 1: 175–184. doi:10.1098/rsbm.1955.0013.
- Wiley-VCH (2003). Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry – Volume 23. John Wiley & Sons. p. 217.
- Ozima 2002, p. 35
- CliffsNotes 2007, p. 15
- Grochala, Wojciech (1 November 2017). "On the position of helium and neon in the Periodic Table of Elements". Foundations of Chemistry. 20 (2018): 191–207. doi:10.1007/s10698-017-9302-7.
- Bent Weberg, Libby (18 January 2019). ""The" periodic table". Chemical & Engineering News. 97 (3). จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
- Grandinetti, Felice (23 April 2013). "Neon behind the signs". Nature Chemistry. 5 (2013): 438. Bibcode:2013NatCh...5..438G. doi:10.1038/nchem.1631. PMID 23609097.
- Grochala, Wojciech (24 สิงหาคม 2007). "Atypical compounds of gases, which have been called noble" (PDF). . 36 (10): 1632–1655. doi:10.1039/b702109g. PMID 17721587. S2CID 13525010.
- Pauling, Linus (1933). "The Formulas of Antimonic Acid and the Antimonates". . 55 (5): 1895–1900. doi:10.1021/ja01332a016.
- Holloway 1968
- Seppelt, Konrad (1979). "Recent developments in the Chemistry of Some Electronegative Elements". . 12 (6): 211–216. doi:10.1021/ar50138a004.
- Moody, G. J. (1974). "A Decade of Xenon Chemistry". Journal of Chemical Education. 51 (10): 628–630. Bibcode:1974JChEd..51..628M. doi:10.1021/ed051p628. สืบค้นเมื่อ 16 October 2007.
- Zupan, Marko; Iskra, Jernej; Stavber, Stojan (1998). "Fluorination with XeF2. 44. Effect of Geometry and Heteroatom on the Regioselectivity of Fluorine Introduction into an Aromatic Ring". The Journal of Organic Chemistry. 63 (3): 878–880. doi:10.1021/jo971496e. PMID 11672087.
- Harding 2002, pp. 90–99
- .Avrorin, V. V.; Krasikova, R. N.; Nefedov, V. D.; Toropova, M. A. (1982). "The Chemistry of Radon". Russian Chemical Reviews. 51 (1): 12–20. Bibcode:1982RuCRv..51...12A. doi:10.1070/RC1982v051n01ABEH002787. S2CID 250906059.
- Stein, Lawrence (1983). "The Chemistry of Radon". Radiochimica Acta. 32 (1–3): 163–171. doi:10.1524/ract.1983.32.13.163. S2CID 100225806.
- Liebman, Joel F. (1975). "Conceptual Problems in Noble Gas and Fluorine Chemistry, II: The Nonexistence of Radon Tetrafluoride". Inorganic and Nuclear Chemistry Letters. 11 (10): 683–685. doi:10.1016/0020-1650(75)80185-1.
- Seppelt, Konrad (2015). "Molecular Hexafluorides". Chemical Reviews. 115 (2): 1296–1306. doi:10.1021/cr5001783. PMID 25418862.
- Lehmann, J (2002). "The chemistry of krypton". Coordination Chemistry Reviews. 233–234: 1–39. doi:10.1016/S0010-8545(02)00202-3.
- Roth, Klaus (2017). "Ist das Element 118 ein Edelgas?" [Is Element 118 a Noble Gas?]. (ภาษาเยอรมัน). 51 (6): 418–426. doi:10.1002/ciuz.201700838.
Translated into English by W. E. Russey and published in three parts in :
Roth, Klaus (3 April 2018). "New Kids on the Table: Is Element 118 a Noble Gas? – Part 1". . doi:10.1002/chemv.201800029.
Roth, Klaus (1 May 2018). "New Kids on the Table: Is Element 118 a Noble Gas? – Part 2". . doi:10.1002/chemv.201800033.
Roth, Klaus (5 June 2018). "New Kids on the Table: Is Element 118 a Noble Gas? – Part 3". . doi:10.1002/chemv.201800046. - Kulsha, A. V. "Есть ли граница у таблицы Менделеева?" [Is there a boundary to the Mendeleev table?] (PDF). www.primefan.ru (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 8 September 2018.
- Fricke, Burkhard (1975). Superheavy elements: a prediction of their chemical and physical properties. Recent Impact of Physics on Inorganic Chemistry. Structure and Bonding. Vol. 21. pp. 89–144. doi:10.1007/BFb0116498. ISBN . สืบค้นเมื่อ 4 October 2013.
- Russian periodic table poster by A. V. Kulsha and T. A. Kolevich
- Mewes, Jan-Michael; Smits, Odile Rosette; Jerabek, Paul; Schwerdtfeger, Peter (25 July 2019). "Oganesson is a Semiconductor: On the Relativistic Band‐Gap Narrowing in the Heaviest Noble‐Gas Solids". Angewandte Chemie. 58 (40): 14260–14264. doi:10.1002/anie.201908327. PMC 6790653. PMID 31343819.
- Kratz, J. V. (2012-08-01). "The impact of the properties of the heaviest elements on the chemical and physical sciences". Radiochimica Acta (ภาษาอังกฤษ). 100 (8–9): 569–578. doi:10.1524/ract.2012.1963. ISSN 2193-3405. S2CID 97915854.
- "Indication for a volatile element 114" (PDF). doc.rero.ch.
- Hogness, T. R.; Lunn, E. G. (1925). "The Ionization of Hydrogen by Electron Impact as Interpreted by Positive Ray Analysis". Physical Review. 26 (1): 44–55. Bibcode:1925PhRv...26...44H. doi:10.1103/PhysRev.26.44.
- Powell, H. M. & Guter, M. (1949). "An Inert Gas Compound". Nature. 164 (4162): 240–241. Bibcode:1949Natur.164..240P. doi:10.1038/164240b0. PMID 18135950. S2CID 4134617.
- Greenwood 1997, p. 893
- Dyadin, Yuri A.; และคณะ (1999). "Clathrate hydrates of hydrogen and neon". Mendeleev Communications. 9 (5): 209–210. doi:10.1070/MC1999v009n05ABEH001104.
- Saunders, M.; Jiménez-Vázquez, H. A.; Cross, R. J.; Poreda, R. J. (1993). "Stable compounds of helium and neon. He@C60 and Ne@C60". Science. 259 (5100): 1428–1430. Bibcode:1993Sci...259.1428S. doi:10.1126/science.259.5100.1428. PMID 17801275. S2CID 41794612.
- Saunders, Martin; Jimenez-Vazquez, Hugo A.; Cross, R. James; Mroczkowski, Stanley; Gross, Michael L.; Giblin, Daryl E.; Poreda, Robert J. (1994). "Incorporation of helium, neon, argon, krypton, and xenon into fullerenes using high pressure". . 116 (5): 2193–2194. doi:10.1021/ja00084a089.
- Frunzi, Michael; Cross, R. Jame; Saunders, Martin (2007). "Effect of Xenon on Fullerene Reactions". . 129 (43): 13343–6. doi:10.1021/ja075568n. PMID 17924634.
- Greenwood 1997, p. 897
- Weinhold 2005, pp. 275–306
- Pimentel, G. C. (1951). "The Bonding of Trihalide and Bifluoride Ions by the Molecular Orbital Method". The Journal of Chemical Physics. 19 (4): 446–448. Bibcode:1951JChPh..19..446P. doi:10.1063/1.1748245.
- Weiss, Achim. . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2007. สืบค้นเมื่อ 23 June 2008.
- Coc, A.; และคณะ (2004). "Updated Big Bang Nucleosynthesis confronted to WMAP observations and to the Abundance of Light Elements". . 600 (2): 544–552. :astro-ph/0309480. Bibcode:2004ApJ...600..544C. doi:10.1086/380121. S2CID 16276658.
- Morrison, P.; Pine, J. (1955). "Radiogenic Origin of the Helium Isotopes in Rock". Annals of the New York Academy of Sciences. 62 (3): 71–92. Bibcode:1955NYASA..62...71M. doi:10.1111/j.1749-6632.1955.tb35366.x. S2CID 85015694.
- Scherer, Alexandra (16 January 2007). . . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2007. สืบค้นเมื่อ 26 June 2008.
- Sanloup, Chrystèle; Schmidt, Burkhard C.; และคณะ (2005). "Retention of Xenon in Quartz and Earth's Missing Xenon". Science. 310 (5751): 1174–1177. Bibcode:2005Sci...310.1174S. doi:10.1126/science.1119070. PMID 16293758. S2CID 31226092.
- Tyler Irving (May 2011). . L'Actualité chimique canadienne (Canadian Chemical News). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2013. สืบค้นเมื่อ 18 May 2012.
- "A Citizen's Guide to Radon". U.S. Environmental Protection Agency. 26 November 2007. สืบค้นเมื่อ 26 June 2008.
- (10 July 2003). (PDF). The Astrophysical Journal. The American Astronomical Society. 591 (2): 1220–1247. Bibcode:2003ApJ...591.1220L. doi:10.1086/375492. S2CID 42498829. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 November 2015. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- "The Atmosphere". . สืบค้นเมื่อ 1 June 2008.
- Häussinger, Peter; Glatthaar, Reinhard; Rhode, Wilhelm; Kick, Helmut; Benkmann, Christian; Weber, Josef; Wunschel, Hans-Jörg; Stenke, Viktor; Leicht, Edith; Stenger, Hermann (2002). "Noble gases". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. Wiley. doi:10.1002/14356007.a17_485. ISBN .
- Winter, Mark (2008). "Helium: the essentials". University of Sheffield. สืบค้นเมื่อ 14 July 2008.
- Hwang, Shuen-Chen; Lein, Robert D.; Morgan, Daniel A. (2005). "Noble Gases". Kirk Othmer Encyclopedia of Chemical Technology. Wiley. pp. 343–383. doi:10.1002/0471238961.0701190508230114.a01.
- "Neon". Encarta. 2008.
- Zhang, C. J.; Zhou, X. T.; Yang, L. (1992). "Demountable coaxial gas-cooled current leads for MRI superconducting magnets". IEEE Transactions on Magnetics. IEEE. 28 (1): 957–959. Bibcode:1992ITM....28..957Z. doi:10.1109/20.120038.
- Fowler, B.; Ackles, K. N.; Porlier, G. (1985). . Undersea Biomedical Research. 12 (4): 369–402. ISSN 0093-5387. OCLC 2068005. PMID 4082343. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2008.
- Bennett 1998, p. 176
- Vann, R. D., บ.ก. (1989). . 38th Undersea and Hyperbaric Medical Society Workshop. Bethesda, Md.: Undersea and Hyperbaric Medical Society. 75: 437. OCLC 78563877. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2008.
- Maiken, Eric (1 August 2004). "Why Argon?". Decompression. สืบค้นเมื่อ 26 June 2008.
- Horhoianu, G.; Ionescu, D. V.; Olteanu, G. (1999). "Thermal behaviour of CANDU type fuel rods during steady state and transient operating conditions". Annals of Nuclear Energy. 26 (16): 1437–1445. doi:10.1016/S0306-4549(99)00022-5.
- "Disaster Ascribed to Gas by Experts". The New York Times. 7 May 1937. p. 1.
- Freudenrich, Craig (2008). "How Blimps Work". HowStuffWorks. สืบค้นเมื่อ 3 July 2008.
- Dunkin, I. R. (1980). "The matrix isolation technique and its application to organic chemistry". Chem. Soc. Rev. 9: 1–23. doi:10.1039/CS9800900001.
- Basting, Dirk; Marowsky, Gerd (2005). Excimer Laser Technology. Springer. ISBN .
- Sanders, Robert D.; Ma, Daqing; Maze, Mervyn (2005). "Xenon: elemental anaesthesia in clinical practice". British Medical Bulletin. 71 (1): 115–135. doi:10.1093/bmb/ldh034. PMID 15728132.
- Albert, M. S.; Balamore, D. (1998). "Development of hyperpolarized noble gas MRI". Nuclear Instruments and Methods in Physics Research A. 402 (2–3): 441–453. Bibcode:1998NIMPA.402..441A. doi:10.1016/S0168-9002(97)00888-7. PMID 11543065.
- Ray, Sidney F. (1999). Scientific photography and applied imaging. Focal Press. pp. 383–384. ISBN .
บรรณานุกรม
- Bennett, Peter B.; Elliott, David H. (1998). The Physiology and Medicine of Diving. SPCK Publishing. ISBN .
- Bobrow Test Preparation Services (5 December 2007). CliffsAP Chemistry. CliffsNotes. ISBN .
- Greenwood, N. N.; Earnshaw, A. (1997). Chemistry of the Elements (2nd ed.). Oxford:Butterworth-Heinemann. ISBN .
- Harding, Charlie J.; Janes, Rob (2002). Elements of the P Block. Royal Society of Chemistry. ISBN .
- Holloway, John H. (1968). Noble-Gas Chemistry. London: Methuen Publishing. ISBN .
- Mendeleev, D. (1902–1903). Osnovy Khimii (The Principles of Chemistry) (ภาษารัสเซีย) (7th ed.). New York, Collier.
- Ozima, Minoru; Podosek, Frank A. (2002). Noble Gas Geochemistry. . ISBN .
- Weinhold, F.; Landis, C. (2005). Valency and bonding. Cambridge University Press. ISBN .
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
aeksmiskul hrux aeksmitrakul lt xngkvs Ideal gas gt inxditeriykwa aeksechuxy hruxbangkhrngichchuxwa aerogens epnklumkhxngthatuthangekhmithimismbtikhlaykn phayitphawamatrthansahrbxunhphumiaelakhwamdnthatuehlanitangimmiklin immisi epnaeksxatxmediywsungimmikhwamwxngiwtxptikriyaekhmi aeksmiskulthiekidinthrrmchatithnghkthatu idaek hieliym He nixxn Ne xarkxn Ar khripthxn Kr sinxn Xe aelaerdxn Rn aeksmiskulHydrogen HeliumLithium Beryllium Boron Carbon Nitrogen Oxygen Fluorine NeonSodium Magnesium Aluminium Silicon Phosphorus Sulfur Chlorine ArgonPotassium Calcium Scandium Titanium Vanadium Chromium Manganese Iron Cobalt Nickel Copper Zinc Gallium Germanium Arsenic Selenium Bromine KryptonRubidium Strontium Yttrium Zirconium Niobium Molybdenum Technetium Ruthenium Rhodium Palladium Silver Cadmium Indium Tin Antimony Tellurium Iodine XenonCaesium Barium Lanthanum Cerium Praseodymium Neodymium Promethium Samarium Europium Gadolinium Terbium Dysprosium Holmium Erbium Thulium Ytterbium Lutetium Hafnium Tantalum Tungsten Rhenium Osmium Iridium Platinum Gold Mercury element Thallium Lead Bismuth Polonium Astatine RadonFrancium Radium Actinium Thorium Protactinium Uranium Neptunium Plutonium Americium Curium Berkelium Californium Einsteinium Fermium Mendelevium Nobelium Lawrencium Rutherfordium Dubnium Seaborgium Bohrium Hassium Meitnerium Darmstadtium Roentgenium Copernicium Nihonium Flerovium Moscovium Livermorium Tennessine Oganessonaeholecn olhaaexlkhailelkhhmutam IUPAC 18chuxtamthatu hmuhieliymhrux hmunixxnchuxsamy aeksmiskulelkhhmutam CAS xemrikn rupaebb A B A VIIIAelkhedimtam IUPAC yuorp rupaebb A B 0 khab1 hieliym He 22 nixxn Ne 103 xarkxn Ar 184 khriptxn Kr 365 sinxn Xe 546 erdxn Rn 867 oxkaenssxn Og 118khaxthibay thatudngedim en thatuodykaraephrngsisikhxngelkhxatxm aedng aeksdkbthkhwamnixangxingkhristskrach khristthswrrs khriststwrrs sungepnsarasakhykhxngenuxha oxkaenssxn Og epnthatusngekhraahmikhwamepnkmmntrngsisungmak aemwa IUPAC cdoxkaenssxnepnaeksmiskulhruxhmuthi 18 mnxacimechuxythangekhmiehmuxnthatuxuninhmuediywkn aelathukthanaywacaslayaelaaephkmmntrngsienuxngcakpraktkarnsmphthth enuxngcakkhrungchiwitthisnephiyng 0 7 imokhrwinathikhxngixosothptwediyw thaihkhunsmbtithangekhmikhxngoxkaenssxnyngimmikarsuksamaknk sahrbhkkhabaerkkhxngtarangthatu aeksmiskulepnsmachikkhxngthatuhmu 18 xyangaethcring aeksmiskulmkcaimwxngiwtxptikiriyaekhmixyangmak ykewnphayitsphawasudkhw khxngaeksmiskulthaihmnsamarthprayuktidhlakhlay enuxngcakkhwamsamarthinkarekidptikiriyanxy echnkaretimxarkxninhlxdisrxnaebbthrrmdaephuxpxngknimihishlxdthngsetnekidkarxxksiids aelahieliymichetimsahrbnkdanaluk ephuxpxngknphawaepnphiscakaeksxxksiecn aeksinotrecnaelaaekskharbxnidxxkisd khunsmbtikhxngaeksmiskulsamarthxthibaydwythvsdiyukhihmkhxngokhrngsrangxatxm epluxkchnnxkkhxngewelnsxielktrxnetm thaihmnmiaenwonmnxythiekidptikiriyaekhmi aelasamarthekidsarprakxbkhxngaeksmiskulephiyngrxysarprakxbethann cudhlxmehlwaelacudeduxdmikhaaetktangknnxykwa 10 xngsaeslesiys 18 xngsafaerniht aesdngwaaeksmiskulmisthanaepnkhxngehlwinchwngxunhphumithiaekhb nixxn xarkxn khripthxnaelasinxnsamarthaeykxxkcakxakas indwywithi en aelakarklnladbswn samarthrwbrwmhieliymidcak sungprakxbdwyhieliymekhmkhnsunginaeksthrrmchati dwyethkhnikhkaraeykaeksaebbxunhphumita aelaerdxnmkaeykcakkarslayihkmmntrngsikhxngsarprakxberediym thxeriymhruxyuereniym aeksmiskulsamarthprayuktichinhlayxutsahkrrm echnhlxdif karechuxmaelakarsarwcxwkas niymichinkardanalukthikhwamluk 55 emtr 180 fut cakradbnathael hlngcakthikhwamesiyngthiekidcakkhwamiwifkhxngaeksihodrecnepnthiaecmaecnginwinasphyhinedinbwrkh cungaethnthiihodrecndwyhieliymineruxehaaaelaxun prawtiaeksmiskul aeplmacakkhawa Edelgas inphasaeyxrmn khadngklawthukichkhakhrngaerkinpi kh s 1898 ody ephuxbngbxkthungradbkhwamwxngiwtxptikiriyathita tngchuxdngklawdwyehtuphlediywkb olhamiskul sungmikhakhwamwxngiwtxptikiriyathitaechnediywkn xikchuxkhxngaeksmiskulxyangaeksechuxyimidrbkhwamniymaelw enuxngcaksarprakxbkhxngaeksmiskulepnthiruckmakkwaedim aela aekshayak sungepnxikchuxthiekhyich imthuktxng ephraakarslaytwkhxngkmmntphaphrngsi thaihxarkxnepnswnprakxbkhxngbrryakaskhxngolkmakthung 0 94 odyprimatr aela 1 3 odymwl phbhieliymkhrngaerkinchnbrryakasrxbdwngxathity enuxngcakkhunsmbtiechphaakhxngmnesnsepktrm piaeyr chxngsxngaelanxraemn lxkeyxrkhnphbthatuihminwnthi 18 singhakhm kh s 1868 khnamxngipthichnokhromsefiyrkhxngdwngxathity aelatngchuxmnwahieliym cakkhawa ἥlios hḗlios sungmikhwamhmayinphasakrikwadwngxathity karwiekhraahthangekhmithisamarthphisucnwahieliymepnaeksmiskulekidkhuninphayhlng kxnkarphisucndngklaw emuxpi kh s 1784 nkekhmiaelankfisikschawxngkvs ehnri khaewndichkhnphbsarcanwnnxyinxakasthimikhwamwxngiwtxptikiriyatakwainotrecn txmainpi kh s 1895 cxhn wileliym strthth hrux khnphbwasarinotrecntwxyangcakxakasmikhwamhnaaenntangcakinotrecnthiidcakptikiriyaekhmi rwmknkbnkwithyasastrchawskxtaelnd cakyuniewxrsitikhxlliclnedin eryliidtngthvsdikhunwainotrecnthiskdidcakxakaspnepuxnkbaeksxun naipsukarthdlxngthiprasbkhwamsaercinkarskdthatuihmxyangxarkxn sungtngchuxcakkhaphasakrikwa ἀrgos argos sungmikhwamhmaywa imidichngan hrux khiekiyc hruxxaccaeriykxikxyanghnungwa echuxycha karkhnphbihmthaihphwkekhatrahnkwamiaekscanwnmakhayipcaktarangthatu inkarthdlxngephuxhathatuxarkxn aermsiykyngphbwithiskdhieliymepnkhrngaerk khnaihkhwamrxnaekaerthatuchux hlngidrbhlkthankarmixyukhxngthatuhieliymaelaxarkxn in kh s 1902 dmitri emnedeleyfidephimaeksmiskulthngsxnglnginklumthi 0 khxngladbkareriyngthatukhxngekha phayhlngruckinchuxtarangthatu aermsiythakarthdlxnghaaeksmiskultxip dwykarichwithiinkaraeykklayepnswnprakxbtang cn kh s 1898 ekhaidkhnphbthatukhripthxn nixxn aelasinxn sungtngchuxtamkhaphasakrikwa kryptos kryptos hay neos neos ihm aela 3enos ksenos aeplk tamladb erdxnthukkhnphbtngaet kh s 1898 ody aelatngchuxcakkaraephrngsierediym aeterdxnephingcdepnaeksmiskulhlng kh s 1904 emuxkhnphbwakhunsmbtitang milksnaehmuxnkbaeksmiskulxun eryliaelaaermsiyidrbrangwlonebl praca kh s 1904 insakhafisiksaelaekhmitamladb cakkarkhnphbkarmixyukhxngaeksmiskul ec xi esedxrblxm naykklawiwwa karkhnphbklumkhxngthatuihmthnghmd odythiyngimmithatuidepntnaebbkhxngklumxyuely nbepnsingthiyingihyaelamiexklksnmakinprawtisastrkhxngekhmi singnicaepnkhwamkawhnathisakhytxkarkhnkhwa karkhnkhwaekiywkbaeksmiskulmiswnchwyxyangmakinkarphthnaxngkhkhwamrudanokhrngsrangxatxm in kh s 1895 nkekhmi chawfrngess idphyayamsrangptikiriyaekhmirahwangfluxxrinthimikhunsmbtixielkotrenkathiwitisung aelaxarkxn hnunginaeksmiskul aetkarthdlxngklblmehlw karetriymsarprakxbxarkxnyngepnipimidcncbkhriststwrrsthi 20 aetkarthathaykhwamepnipiddngklawthaihekidthvsdikhxngokhrngsrangxatxmihm tamma dwykhwamrucakkarthdlxngthiphanma emux kh s 1913 nkfisikschawednich nils opresnxthvsdiokhrngsrangxatxmwa xielktrxninxatxmtangeriyngxyuphayinchnphlngnganrxbniwekhliys aelathatuthnghmdinaeksmiskulykewnhieliym lwnmixielktrxninradbphlngnganwngnxkkhrb 8 xielktrxnesmx txmain kh s 1916 idkhidkhnkdxxkettsungsamarthsrupidwakarcbtwkhrbaepdkhxngxielktrxninradbphlngnganwngnxkepnkarcderiyngtwthiesthiyrthisudsahrbxatxmid odythatuthimikarcdrupaebbnicaimtxbsnxngtxthatuxun enuxngcakimtxngkarxielktrxnmarwminradbphlngnganwngnxkxikaelw in kh s 1962 nkekhmi nil bartelttkhnphbsinxnehksafluxxoraephlthient sarprakxbkhxngaeksmiskulthikhnphbepnkhrngaerk sarprakxbkhxngaeksmiskulchnidxunkhnphbinewlatxma echn sarprakxbkhxngthatuerdxnxyang RnF2 khnphbin kh s 1962 cakrxysarkmmntphaphrngsi sarprakxbkhxngthatukhripthxnxyang KrF2 khnphbin kh s 1963 swnsarprakxbxarkxntwaerkthiesthiyrbnthukiwin kh s 2000 emux HArF ekidkarcbtwthixunhphumi 40 ekhlwin 233 2 xngsaeslesiys 387 7 xngsafaerniht ineduxntulakhm kh s 2006 nkwithyasastrcaksthabnrwmephuxkarwicyniwekhliyraelasamarthsngekhraahoxkaenssxnsungepnthatuthi 17 inklumthi 18 khxngtarangthatuidsaerc odykarrwmtwkhxngaekhlifxreniymkbaekhlesiymsmbtithangkayphaphaelaxatxmsmbti hieliym nixxn xarkxn khripthxn sinxn erdxn oxkaenssxnkhwamhnaaenn g dm3 0 1786 0 9002 1 7818 3 708 5 851 9 97 7200 khathanay cudeduxd K 4 4 27 3 87 4 121 5 166 6 211 5 450 10 khathanay cudhlxmehlw K 24 7 83 6 115 8 161 7 202 2 325 15 khathanay khwamrxnaefngkhxngkarklayepnix kJ mol 0 08 1 74 6 52 9 05 12 65 18 1 karlalay innathixunhphumi 20 C cm3 kg 8 61 10 5 33 6 59 4 108 1 230 elkhxatxm 2 10 18 36 54 86 118rsmixatxm cakkarkhanwn pm 31 38 71 88 108 120 phlngnganixxxineschn kJ mol 2372 2080 1520 1351 1170 1037 839 khathanay xielkotrenkathiwiti 4 16 4 79 3 24 2 97 2 58 2 60 2 59 sahrbkhxmulephimetim dutxthi aeksmiskul hnakhxmul aeksmiskulmi en thixxn sngphlihcudeduxdaelacudhlxmehlwtamak aeksmiskulepn en phayitphawamatrthan rwmthungepnthatuthimimwlxatxmsungkwathatuthiepnkhxngaekhngthwip hieliymmiprimanthiepnexklksnkwathatuxun odymicudeduxdthi 1 brryakasmatrthantakwassarxun hieliymepnthatuediywthiaesdngsmbtikhxngkhxngihlywdyingaelaepnthatuediywthiimsamarththaihepnkhxngaekhngdwykarldxunhphumithikhwamdnbrryakas praktkarnnisamarthxthibaydwyklsastrkhwxntmwa en makekinipthicaekidkareyuxkaekhng txngihkhwamdn 25 brryakasmatrthan 2 500 kiolpaskal 370 pxndtxtarangniw thixunhphumi 0 95 ekhlwin 272 200 xngsaeslesiys 457 960 xngsafaerniht ephuxepliynihhieliymepnkhxngaekhng inkhnathitxngichkhwamdnpraman 115 kbar sahrbxunhphumihxng aeksmiskulcnthungsinxnmiixosothpthiesthiyrhlayixosothp erdxnimmiixosothpesthiyr odyixosothpthikhngtwidnanthisudkhux en dwykhrungchiwit 3 8 wnaelaslayepnhieliymkbphxoleniym sungcaslaytxepntakw cudhlxmehlwaelacudeduxdcaephimkhunilcakbnlnglangkhxnghmu krafkhwamsmphnthrahwangphlngnganixxxineschnkbelkhxatxm aeksmiskulthirabuiwmiphlngnganixxxineschnsungthisudinaetlakhab xatxmkhxngaeksmiskulechnediywknkbxatxminhmuswnihy mirsmixatxmephimkhunxyangtxenuxngcakkhabhnungipxikkhabhnungenuxngcakkarephimcanwnkhxngxielktrxn khnadkhxngxatxmsmphnthkbsmbtihlayprakar twxyangechnphlngnganixxxineschnldlngklbknkbrsmithiephimkhun enuxngcakewelnsxielktrxninaeksmiskulthiihykwacahangcakniwekhliysthaihxielktrxnimidkracuktwxyangaenninxatxmethakbaeksmiskulthielkkwa aeksmiskulmiphlngnganixxxineschnmakthisudemuxethiybkbthatuinkhabediywkn sungaesdngihehnthungkhwamesthiyrkhxngkarcderiyngxielktrxnaelasmphnthkbkhwamimwxngiwtxptikiriyaekhmi aetxyangirktam aeksmiskulthihnkbangthatumiphlngnganixxxineschnnxyphxthicaepriybethiybkbthatuaelaomelkulxun khxmulechinglukrabuwasinxnmiphlngnganixxxineschnethakbomelkulxxksiecn thaihbartheltphyayamxxksiidssinxndwy en PtF6 sungepntwxxksiidsthiaerngmakphxihekidptikiriyakbxxksiecn aeksmiskulimsamarthrbxielktrxncakixxxnlb enuxngcakmismphrrkhphaphxielktrxnnxykwasuny smbtithangkayphaphkhxngaeksmiskulkahndodyaerngaewnedxrwalsrahwangxatxmthixxn aerngdungdudephimkhuntamkhnadkhxngxatxmenuxngcakkarephimkhunkhxng en aelakarldlngkhxngphlngnganixxxnineschn nnsngphlihekidaenwonmkhxngkhatang ilcakbnlnglangtamthatuhmu 18 odyrsmixatxmaelaaerngrahwangxatxmcaephimkhun thaihcudeduxd cudhlxmehlw khwamrxnaefngkhxngkarklayepnixaelakhwamsamarthinkarlalay swnkarephimkhunkhxngkhwamhnaaennekidcakkarephimkhxngmwlxatxm aeksmiskulmismbtiiklekhiyngaeksxudmkhtiphayitphawamatrthan aetemuxphicarnakhaebiyngebncakkdkhxngaeksxudmkhticanaipsukarsuksaekiywkb en en mkichinkarcalxngptismphnthrahwangomelkul epnomedlthiesnxinpi kh s 1924 ody en cakkhxmulthithdlxngkbxarbxnkxnthiklsastrkhwxntmcaihekhruxngmuxsahrbkarthakhwamekhaiceruxngaerngrahwaomelkuldwy en karwiekhraahechingthvsdikhxngptismphnthehlanisamarththaidngayephraaaeksmiskulepnaeksxatxmediywaelaepnthrngklm hmaykhwamwaptismphnthrahwangxatxmimkhunkbthisthanghruxmismbtiepnixosthrxpiksmbtithangekhmiaeksmiskulimmisi immiklin immirs aelaimtidifphayitsphawamatrthankhrnghnungphwkmnthukrabuwaepnhmu 0 intarangthatuephraaechuxwaphwkmnmiwaelnsepnsuny sunghmaykhwamwaxatxmkhxngphwkmnimsamarthrwmtwkbthatuxunephuxsrangsarprakxbid xyangirktam mikarkhnphbinphayhlngwabangchnidkxtwepnsarprakxb thaihchlaknielikichip karcderiyngxielktrxn khxmulephimetim karcderiyngxielktrxnkhxngthatu hnakhxmul echnediywkbklumxun thatuinhmuniinniaesdngrupaebbinokhrngaebbxielktrxn odyechphaachnnxksudthisngphlihekidphvtikrrmthangekhmi elkhxatxm thatu canwnxielktrxn chn2 hieliym 210 nixxn 2 818 xarkxn 2 8 836 khripthxn 2 8 18 854 sinxn 2 8 18 18 886 erdxn 2 8 18 32 18 8118 oxkaenssxn 2 8 18 32 32 18 8 khadkhaen aeksmiskulmiewelnsxielktrxnetm ewelnsxielktrxnepnxielktrxnwngnxksudkhxngxatxmaelaodypkticaepnxielktrxnephiyngtwediywthirwmsrangphnthaekhmi xatxmthimiewelnsxielktrxnetmwngcaesthiyrmak dngnncungimmiaenwonmthicasrangphnthaekhmi aelamiaenwonmnxythicaidrbhruxsuyesiyxielktrxn xyangirktam aeksmiskulthihnkkwa echn erdxn cacbkndwyaerngaemehlkiffanxykwaaeksmiskulthiebakwa echn hieliym thaihngaytxkarkacdxielktrxnphaynxkxxkcakaeksmiskulhnk ichrwmkbsykrnokhrngaebbxielktrxnephuxsrangsykrnaeksmiskul inkarthaechnni aeksmiskulthiiklthisudsungxyukxnhnaxngkhprakxbthiepnpyhacaekhiynkhunkxn caknncungcdokhrngaebbxielktrxntxcakcudnnipkhanghna twxyangechn sykrnxielktrxnkhxngfxsfxrskhux 1s2 2s2 2p6 3s2 3p3 inkhnathisylksnkhxngaeksmiskulkhux Ne 3s2 3p3 sykrnthikathdrdkwanithaihrabuthatuidngaykhun aelasnkwakarekhiynsykrnthnghmdkhxngxxrbithlechingxatxm aeksmiskulcakhamkhxbekhtrahwangblxk hieliymepnthatublxk s inkhnathismachikthiehluxkhuxthatublxk p sungphidpktiinklum IUPAC klum IUPAC xun thnghmdmixngkhprakxbcakaetlablxk singnithaihekidkhwamimsxdkhlxngkninaenwonmthwthngtarang aeladwyehtuninkekhmibangkhncungesnxwakhwryayhieliymipynghmu 2 ephuxihekhakbthatu s2 xun aetodythwipaelwimidnakarepliynaeplngnimaich sarprakxb okhrngsrangkhxng XeF4 sungepnhnunginsarprakxbkhxngaeksmiskulklumaerkthithukkhnphb aeksmiskulmikhwamiwtxptikiriyaekhmithitamak dngnncungmikarsrangsarprakxbkhxngaeksmiskul ephiyngimkirxyraykarethann sarprakxb thiepnklangsunghieliymaelanixxnmiswnrwmin phnthaekhmi yngimkxtwkhun aemwacamiixxxnthimihieliymxyubang aelamihlkthanthangthvsdibangxyangsahrbixxxnthiepnklangsungmihieliymxyubang inkhnathisinxn khripthxn aelaxarkxnaesdngptikiriyaephiyngelknxyethann khwamiwtxptikiriyaepniptamladb Ne lt He lt Ar lt Kr lt Xe lt Rn Og inpi kh s 1933 ilns phxling thanaywaaeksmiskulthihnkkwasamarthsrangsarprakxbthimifluxxrinaelaxxksiecn ekhathanaykarmixyukhxng KrF6 aela XeF6 odysnnisthanwa XeF8 xacmixyuepnsarprakxbthiimesthiyr aelaesnxwa samarthsrangeklux id karkhadkhaenehlaniaesdngihehnwaodythwipmikhwamaemnya ykewnwa XeF8 inkhnanithuxwaimesthiyrthngthangxunhphlsastraelathangclnphlsastrekhmi sarprakxbsinxnepnsarprakxbkhxngaeksmiskulcanwnmakthisudthikxtwkhun swnihymixatxmkhxngsinxnin sthanaxxksiedchn thi 2 4 6 hrux 8 thisrangphnthakbxatxmthimi sung echn fluxxrinhruxxxksiecn echnin sinxnidfluxxird XeF2 XeF4 XeF6 sinxnettrxkisd XeO4 aelaosediymepxrsient Na4 XeO6 sinxnthaptikiriyakbfluxxrinephuxsrangsinxnfluxxirdcanwnmaktamsmkartxipni Xe F2 XeF6 Xe 2F2 XeF4 Xe 3F2 XeF6 dd bangswnkhxng sarprakxbehlaniphbwaichin epntwxxksiids odyechphaaxyangying XeF2 micahnayinechingphanichyaelasamarthichepntwaethn inpi kh s 2007 mikarrabusarprakxbkhxngsinxnpramanharxytwthicbkbthatuxun rwmthngsarprakxbxxraeknsinxn thimisinxncbkbkharbxn aelasinxncbkbinotrecn khlxrin thxng prxth aelasinxnexng sarprakxbkhxngsinxnthicbkbobrxn ihodrecn obrmin ixoxdin ebrileliym kamathn iththaeniym thxngaedng aelaengin yngphbidechphaathixunhphumitainaeksmiskul hruxinaeksmiskulthimikhwamerwehnuxesiyng erdxnmiptikiriyamakkwasinxn aelasrangphnthaekhmiidngaykwasinxn xyangirktam enuxngcakkmmntphaphrngsisungaelakhrungchiwitsnkhxng cungekiderdxnephiyngimki aela xxkisd ethann erdxnkawipsuphvtikrrmkhxngolhamakkwasinxn idfluxxird RnF2 epnixxxniksung aela Rn2 pracubwkcaekidkhuninsarlalayhaolecnfluxxird dwyehtuphlni xupsrrkhthangclnphlsastrthaihyakthicaxxksiidserdxnekinsthana 2 miephiyngkarthdlxngtamrxyethannthiprasbkhwamsaercinkarthaechnnn xacsrang RnF4 RnF6 aela RnO3 khripthxnmiptikiriyanxykwasinxn aetmirayngansarprakxbhlaytwthimikhripthxnin sthanaxxksiedchn thi 2 mikhwamoddednthisudaelacaaenkidngaythisud phayitsphawathirunaerng khripthxncathaptikiriyakbfluxxrinephuxsrang KrF2 tamsmkartxipni Kr F2 KrF2 dd sarprakxbthikhripthxnsrangphnthaediywkbinotrecnaelaxxksiecnkmilksnaechnkn aetcakhngthitakwa 60 xngsaeslesiys 76 xngsafaerniht aela 90 xngsaeslesiys 130 xngsafaerniht tamladb xatxmkhxngkhripthxncbknthangekhmikbxolhaxun ihodrecn khlxrin kharbxn rwmthung olhathransichn bangswn thxngaedng engin thxng thiyngsngektphb aetthixunhphumitainemthriksaeksmiskulethann hruxinekhruxngbinixphnthimikhwamerwehnuxesiyng mikarichenguxnikhthikhlayknephuxihidsarprakxbsxngsamchnidaerkkhxngxarkxninpi kh s 2000 echn HArF aelabangswncbkbolhathransichnchwngplayxyangthxngaedng engin aelathxng inpi kh s 2007 yngimmikhxmulomelkulthiepnklangthiesthiyrsungekiywkhxngkbhieliymhruxnixxnthimiphnthaokhwaelnt karkhadkhaencakaenwonmcakkarthanaywaxxkaenssnkhwrepnaeksmiskulthimiptikiriyamakthisud karbabdthangthvsdithisbsxnmakkhunbngchiwamiptikiriyamakkwathikhadkarniw thungcudthimikartngkhathamekiywkbkarichkhaxthibaykhxng aeksmiskul oxkaenssxnkhadwacakhxnkhangehmuxn silikhxn hrux dibuk inhmu 14 xngkhprakxbptikiriyathimisthana 4 thwipaelasthana 2 thwipnxykwa sungthixunhphumiaelakhwamdnhxngimidepnaeksaetepnsarkungtwnathiepnkhxngaekhng caepntxngmikarthdsxbechingpracks echingthdlxngephuxtrwcsxbkarkhadkarnehlani inthangklbkn fliorewiym aemcaxyuinhmu 14 aetkhadkarnwacaraehyphidpkti sungbngchithungkhunsmbtikhlayaeksmiskul aeksmiskulrwmthunghieliymsamarthsrang thiesthiyrinefskhxngaeks withithingaythisudkhux HeH khnphbinpi kh s 1925 enuxngcakprakxbdwythatuthimimakthisud 2 chnidinexkphph idaek ihodrecnaelahieliym cungechuxwaekidkhuntamthrrmchatiin aelainthisudktrwcphbineduxnemsayn kh s 2019 odyichxakas nxkcakixxxnehlaniaelw yngmiaeksmiskulthiepnklang xikhlaychnid ehlaniepnsarprakxbechn ArF aela KrF thiesthiyrechphaaemuxxyuin bangswnphbkarichnganin nxkcaksarprakxbthixatxmkhxngaeksmiskulmiswnrwmin phnthaokhwaelnt aelw aeksmiskulyngkxtwepnsarprakxb xthibaykhrngaerkinpi kh s 1949 prakxbdwyxatxmkhxngaeksmiskulthitidxyuphayinophrngkhxng khxngsarxinthriyaelaxninthriybangchnid enguxnikhthicaepnsahrbkarkxtwkhxngphwkmnkhuxxatxmaeksmiskul catxngmikhnadthiehmaasmephuxihphxdikbophrngkhxngokhrngtakhaykhristlohst twxyangechn xarkxn khripthxn aelasinxnsrangkhlaethrtdwy aethieliymaelanixxnimmiephraaphwkmnmikhnadelkekiniphruximephiyngphx nixxn xarkxn khripthxn aelasinxnyngkxtwepnkhlaethrtihedrt sungaeksmiskulkhngxyuinnaaekhng sarprakxbexnodhidrlfulelxrinthimixatxmkhxngaeksmiskul aeksmiskulsamarthkxtwepn sungxatxmkhxngaeksmiskulkhngxyuphayinomelkul fulelxrin inpi kh s 1993 mikarkhnphbwaemux C60 sungepnomelkulthrngklmthiprakxbdwy 60 kharbxn xatxm smphskbaeksmiskulthikhwamdnsung echn He C60 samarthsrangkhunid sylksn rabuwamiekhaxyuphayin C60 aetimphukphnokhwaelntkbmn inpi kh s 2008 exnodhidrlkhxmephlksthimihieliym nixxn xarkxn khripthxn aelasinxnidsrangkhunaelw phbsarprakxbehlaniichinkarsuksaokhrngsrangaelakhwamwxngiwtxptikiriyakhxngfulelxrinodywithi khxngxatxmkhxngaeksmiskul karsrangphnthain XeF2 xthibaydwyomedlphntha 3 xatxmklang 4 xielktrxn sarprakxbkhxngaeksmiskulechn sinxnidfluxxird XeF2 thukphicarnawaepn enuxngcakphwkmnlaemid kdxxkett phnthainsarprakxbdngklawsamarthxthibayidodyichaebbcalxng aebbcalxngniesnxkhrngaerkinpi kh s 1951 phicarnathungphnthakhxngxatxmkhxllieniyrsamtw twxyangechn phnthain XeF2 xthibayodychudkhxngthvsdixxrbithlechingomelkul MO samchudthiidmacak bnaetlaxatxm phnthaphllphthcakkarrwmknkhxng p orbital thietimcak Xe kb p orbital thietimkhrunghnungcakaetlaxatxm F thaihekidxxrbithlthimiphnthathietimetm xxrbithlthiimmiphnthathietim aelawangepla xyuinchwngplaykhxngxatxmthngsxng singniaesdngthungtaaehnngkhxngpracuthixanwykhwamsadwkodykhaxielkothrenkatiwitisungkhxngfluxxrin khunsmbtithangekhmikhxngaeksmiskulthihnkkwa khripthxnaelasinxn idrbkaryxmrbxyangdi ekhmikhxngsarthiebakwa xarkxnaelahieliymyngxyuinchwngerimtn inkhnathiyngimsamarthrabusarprakxbkhxngnixxnidprimaninthrrmchatiaelakarphlitprimankhxngaeksmiskulinexkphphmikhaldlng emuxaeksmielkhxatxmephimkhun hieliymepnthatuthiphbidmakthisudinexkphphthdmacakihodrecnodymiessswnmwlpraman 24 hieliymswnihyinexkphphekidkhunrahwangkarsngekhraahniwekhliyskhxngbikaebng inphayhlng primanhieliymyngkhngephimkhunxyangtxenuxngcakkarhlxmrwmkhxngihodrecninkarsngekhraahniwekhliyskhxngdawvks aelaephimkhunnxymakcakkarslayihxnuphakhaexlfakhxngthatuhnk primankhxngaeksbnolkepniptamaenwonmthiaetktangkn echn hieliymepnaeksmiskulthimimakthisudepnxndbthisaminchnbrryakas ehtuphlkkhuximmihieliymdngediminchnbrryakas enuxngcakmimwlxatxmnxy thaihhieliymimsamarthlxytansnamaerngonmthwngkhxngolkid hieliymbnolkmacakkarslaytwkhxngthatuhnkxyangyuereniymaelathxeriymthiphbbnepluxkolk aelamiaenwonmthicasasminaehlngaeksthrrmchati inthangtrngknkham primankhxngxarkxnephimkhuncakkarslayihxnuphakhbitakhxngthatu ephuxsrang ophaethsesiymsamarthphbidbnepluxkolk aelaepnixosothpkhxngxarkxnthimiprimanmakthisudbnolk aemcakhxnkhanghayakinrabbsuriyaktam krabwnkarslayxnuphakhniepnswnkhxng sinxnepnthatuthimikhwamxudmsmburntamakinchnbrryakas cnmikhxsngsywasinxnhayipidxyangir thvsdihnungklawwasinxnthihayipnacaxyuinrwmtwkbaerthatuinaephnepluxkolk hlngcakkarkhnphb karwicyaesdngihehnwasinxnsamarthichaethnsilikxninkhwxtsid erdxnekidkhuninthrniphakhenuxngcakkarslayihxnuphakhaexlfakhxngerediym odyerdxnsamarthsumphanrxyaetkekhaipinxakharaelasasminphunthithimikarrabayxakasimdi enuxngcakepnthatuthimikhwamepnkmmntphaphrngsisung erdxncungepnxntraytxsukhphaphxyangmak thangsthitierdxnepntwaeprhnungthithaihxtrakaresiychiwitdwyorkhmaerngpxdmikhapraman 21 000 khntxpiinshrthxemrika xxkaenssnepnthatuthiimsamarthekidkhuninthrrmchati aelasrangidcakkarsngekhraahodynkwithyasastrethann primanthimixyu hieliym nixxn xarkxn khriptxn sinxn erdxnrabbsuriya txhnungxatxmsilikxn 2343 2 148 0 1025 5 515 10 5 5 391 10 6 chnbrryakasolk xtraswnprimatr 5 20 18 20 9340 00 1 10 0 09 0 06 18 10 19hinxkhni xtraswnmwlinlanswn 3 10 3 7 10 5 4 10 2 1 7 10 10 sahrbkarichnganinprimanmak skdhieliymdwywithikarklnaebbladbswncakaeksthrrmchati sungmihieliymepnswnprakxbmakthung 7 nixxn xarkxn khripthxn aela sinxn samarthphlitidcakxakasdwywithi en ephuxepliynaeksepnkhxngehlw aelawithikarklnaebbladbswn ephuxaeyksarprakxbtang xxkcakkn swnkarphphlitthaodykarskdaeksthrrmchati aelaskderdxncakkarslaykmmntphaphrngsikhxngsarprakxberediym rakhakhxngaeksmiskulkhunxyukbprimanthiphbthangthrrmchati odyxarkxnmirakhathitathisud inkhnathisinxnmirakhasungthisud tarangdanlangaesdngrakhakhxngaeksaetlachnidinpi kh s 2004 phayinhxngptibtikar shrthxemrika aeks rakhaemux kh s 2004 dxllartxlukbaskemtr hieliym ekrdxutsahkrrm 4 20 4 90hieliym ekrdhxngthdlxng 22 30 44 90xarkxn 2 70 8 50nixxn 60 120khriptxn 400 500sinxn 4000 5000karichpraoychnhieliymehlwsahrbichldxunhphumikhxngaemehlktwnayingywd inekhruxngsaekn MRI smyihm aeksmiskulmicudeduxdaelacudhlxmehlwthitamak sungthaihaeksehlaniichepnineching en odyechphaa sungeduxdthi 4 2 ekhlwin 268 95 xngsaeslesiys 452 11 xngsafaerniht naipichsrang sahrbkarsrangphaphdwyerosaennsaemehlk MRI aela NMR nixxnehlwthungaemcaimsamarthldxunhphumicnethahieliymehlw nixxnehlwyngnaipichinngandanxtisitsastrenuxngcakmiwisysamarththakhwameynmakkwahieliymehlw 40 ethaaelamakkwaihodrecnehlw 3 etha hieliymichepnxngkhprakxbkhxngaethnthiinotrecn enuxngcakmikhwamsamarthinkarlalayinkhxngihltaodyechphaaikhmn aeksthwipmkthukdudsumodyeluxdaelaenuxeyuxphayitkhwamdnechnkardanaluk thaihekideriykwaphawaemainotrecn aetdwythihieliymmikhwamsamarthinkarlalayta hieliymcungsumekhaeyuxhumesllidnxy emuxichhieliymepnswnphsmkhxngaekssahrbhayicechnin hrux cungchwyldxakaresuxngsumkhxngnkpradanaphayitkhwamluk khwamsamarthinkarlalaykhxnghieliymthinxymipraoychninkarrksaorkhldkhwamkdhrux the bends emuxmiprimanaekslalayinrangkayldlnghmaykhwamwacaekidfxngaekscanwnnxylngthikhwamdnthitalng nxkcaknixarkxnyngepntweluxkthidithisudsahrbkardanalukaebb aelahieliymyngichepnaeksetimaeknkhxngetaptikrnniwekhliyr eruxehaa Goodyear tngaetwinasphyhinedinbwrkhinpi kh s 1937ineruxehaaaelalukopngichhieliymthdaethnihodrecn enuxngcakkhwamebaaelakhwamimtidif aemwacamiaernglxytwldlng 8 6 inkarprayuktich miichaeksmiskulinbrryakasechuxy xarkxnichinkarsngekhraahnnkhuxiwtxinotrecn xarkxnaekhngichinkarsuksasarprakxbthiimesthiyrmakechnthiiwtxptikiriya odykarkkinechuxythixunhphumitamak hieliymichepntwklangnaphainethkhnikh epnaeksetiminethxrommietxraelainxupkrntrwcwdkaraephrngsiechnekhruxngnbikekxr mulelxraela hieliymaelaxarkxnmkichepnkabngsahrbkarechuxmxarkaelakarkracaykhxnginbrryakaskhnaechuxmhruxtdolha rwmthungkrabwnkarthangolhkaraelakarphlitsilikhxninxutsahkrrmsarkungtwna hlxdifsinxnkalng 15 000 wttthiichinekhruxngchayphaphyntr IMAX aeksmiskulmkichinephraamikhwamiwtxptikiriyaekhmita xarkxncaphsmkbinotrecnichetiminhlxdisrxnaebbthrrmda khripthxnichinhlxdifprasiththiphaphsung sungihxunhphumisiaelaprasiththiphaphsungkwa enuxngcaksamarthldxtrakarkhadkhxngaeknhlxdifiddikwaxarkxn hlxdaeholecnichkhripthxnprasmkbsarprakxbkhxngixoxdinhruxobrminprimannxy aeksmiskuleruxngaesngihsithioddednemuxichinechn aemwahlxdifcaeriykchuxtamaeksnixxnaetkprakxbdwyaekschnidxunaela sungthaihekidechdsihlakhlayidepnsismxmaedngkhxngnixxn sinxnmkichin enuxngcakkhlaykbaesngxathity cungmkprayuktinekhruxngchayphaphyntraelaifhnarth aeksmiskulichin sungsrangcakomelkulthithukkratundwyiffaaelakhngsphaphinrayaewlasneriykwa omelkulexkisemxrthiichinelesxrxacepnidemxrkhxngaeksmiskulechn Ar2 Kr2 hrux Xe2 hruxthiniymichkhuxaeksmiskulthirwmtwkbthatuhaolecninrupomelkulexkisemxrechn ArF KrF XeF hrux XeCl elesxrehlanisrangrngsixltraiwoxelt sungenuxngcakkhwamyawkhlunthisn 193 naonemtrsahrb ArF aela 248 naonemtrsahrb KrF thaihichinnganphaphthayrngsiaemnyasungid exkisemxelesxrichindanxutsahkrrm karaephthyaelawithyasastrxyanghlakhlay nxkcakniyngichinngandanaeladan sungmikhwamsakhyinkarphlitwngcrrwm aelaidaekaela aeksmiskulbangchnidmikarprayuktichodytrnginthangkaraephthy bangkhrnghieliymcaichchwyehluxphupwyhxbhudihhayicdikhun sinxnichepnephraakhwamsamarthinkarlalayinikhmnthisung thaihekidvththimakkwaintrsxxkisdthiichodythwipaelaenuxngcakmnthukkacdcakrangkayodythnthi thaihphupwyfuntwerwkhun sinxnprayuktinkarthayphaphrngsithangkaraephthykhxngpxddwyethkhnikh hyperpolarized MRI erdxnsungiwtxptikiriyamakaelamiprimannxyichin aeksmiskulodyechphaasinxnichmakinenuxngcakkhwamechuxykhxngmn enuxngcakekhruxngyntixxxnimidkhbekhluxndwyptikiriyaekhmi echuxephlingthiechuxyechingekhmiichpxngknkarekidptikiriyathiimphungprasngkhrahwangechuxephlingrwmthungsingxuninekhruxngynt oxkaenssxnthukkhnphbinbribthkhxngnganwicyephuxkhnphbthatuihmethann thaihyngphlitinprimannxyaelaimesthiyr cungyngimmikarprayuktichoxkaenssxnsiinhlxdifsiaelasepktrm aethwlang cakkarkhaypracuthangiffakhxngaeksmiskul echphaaaethwthisxngthiaesdngsikhxngaeksbrisuththi hieliym nixxn xarkxn khripthxn sinxn sikhxngaekskhunxyukbhlakhlaypccyidaek pharamietxrkarkhaypracu kha en aelasnamiffainaetlabriewn xunhphumi l khwamhlakhlaykhxngsicakkareplngaesdnginaethwbnsud khwambrisuththikhxngaeks thungaemmiaekspnepuxnprimannxykyngsngphltxsiid wsdukhxngkraepaakhaypracu briewnpxngknrngsixltraiwoxeltaelaxngkhprakxbsinaengininkraepaaaethwlangsudsrangcakaekwkhrweruxnhnaduephimkdxxkett aeksechuxy olhamiskulechingxrrthBauza Antonio Frontera Antonio 2015 Aerogen Bonding Interaction A New Supramolecular Force Angewandte Chemie International Edition 54 25 7340 3 doi 10 1002 anie 201502571 PMID 25950423 Koppenol W 2016 How to name new chemical elements PDF Pure and Applied Chemistry DeGruyter doi 10 1515 pac 2015 0802 10045 55935 S2CID 102245448 Renouf Edward 1901 Noble gases Science 13 320 268 270 Bibcode 1901Sci 13 268R doi 10 1126 science 13 320 268 S2CID 34534533 Ozima 2002 p 30 Ozima 2002 p 4 argon Encyclopaedia Britannica 2008 Oxford English Dictionary 1989 s v helium Retrieved 16 December 2006 from Oxford English Dictionary Online Also from quotation there Thomson W 1872 Rep Brit Assoc xcix Frankland and Lockyer find the yellow prominences to give a very decided bright line not far from D but hitherto not identified with any terrestrial flame It seems to indicate a new substance which they propose to call Helium Ozima 2002 p 1 Mendeleev 1903 p 497 Partington J R 1957 Discovery of Radon Nature 179 4566 912 Bibcode 1957Natur 179 912P doi 10 1038 179912a0 S2CID 4251991 Noble Gas Encyclopaedia Britannica 2008 Cederblom J E 1904 The Nobel Prize in Physics 1904 Presentation Speech Cederblom J E 1904 The Nobel Prize in Chemistry 1904 Presentation Speech Gillespie R J Robinson E A 2007 Gilbert N Lewis and the chemical bond the electron pair and the octet rule from 1916 to the present day 28 1 87 97 doi 10 1002 jcc 20545 PMID 17109437 Bartlett N 1962 Xenon hexafluoroplatinate Xe PtF6 6 218 doi 10 1039 PS9620000197 Fields Paul R Stein Lawrence Zirin Moshe H 1962 Radon Fluoride Journal of the American Chemical Society 84 21 4164 4165 doi 10 1021 ja00880a048 Grosse A V Kirschenbaum A D Streng A G Streng L V 1963 Krypton Tetrafluoride Preparation and Some Properties Science 139 3559 1047 1048 Bibcode 1963Sci 139 1047G doi 10 1126 science 139 3559 1047 PMID 17812982 Khriachtchev Leonid Pettersson Mika Runeberg Nino Lundell Jan Rasanen Markku 2000 A stable argon compound Nature 406 6798 874 876 Bibcode 2000Natur 406 874K doi 10 1038 35022551 PMID 10972285 S2CID 4382128 Barber Robert C Karol Paul J Nakahara Hiromichi Vardaci Emanuele amp Vogt Erich W 2011 Discovery of the elements with atomic numbers greater than or equal to 113 IUPAC Technical Report PDF Pure and Applied Chemistry IUPAC 83 7 doi 10 1515 ci 2011 33 5 25b subkhnemux 30 May 2014 Oganessian Yu Ts Utyonkov V Lobanov Yu Abdullin F Polyakov A aelakhna 2006 Synthesis of the isotopes of elements 118 and 116 Physical Review C 74 4 44602 Bibcode 2006PhRvC 74d4602O doi 10 1103 PhysRevC 74 044602 Greenwood 1997 p 891 Smits Odile Mewes Jan Michael Jerabek Paul Schwerdtfeger Peter 2020 Oganesson A Noble Gas Element That Is Neither Noble Nor a Gas Angewandte Chemie International Edition 59 52 23636 23640 doi 10 1002 anie 202011976 PMC 7814676 PMID 32959952 Liquid helium will only solidify if exposed to pressures well above atmospheric pressure an effect explainable with quantum mechanics Winter Mark 2020 Organesson Properties of Free Atoms WebElements THE periodic table on the WWW subkhnemux 30 December 2020 Allen Leland C 1989 Electronegativity is the average one electron energy of the valence shell electrons in ground state free atoms Journal of the American Chemical Society 111 25 9003 9014 doi 10 1021 ja00207a003 Tantardini Christian Oganov Artem R 2021 Thermochemical Electronegativities of the Elements Nature Communications 12 1 2087 2095 Bibcode 2021NatCo 12 2087T doi 10 1038 s41467 021 22429 0 PMC 8027013 PMID 33828104 Wilks John 1967 Introduction The Properties of Liquid and Solid Helium Oxford Clarendon Press ISBN 978 0 19 851245 5 Department of Physics University of Alberta 2008 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 31 May 2008 Pinceaux J P Maury J P Besson J M 1979 Solidification of helium at room temperature under high pressure PDF Journal de Physique Lettres 40 13 307 308 doi 10 1051 jphyslet 019790040013030700 S2CID 40164915 Wheeler John C 1997 Electron Affinities of the Alkaline Earth Metals and the Sign Convention for Electron Affinity Journal of Chemical Education 74 1 123 127 Bibcode 1997JChEd 74 123W doi 10 1021 ed074p123 Kalcher Josef Sax Alexander F 1994 Gas Phase Stabilities of Small Anions Theory and Experiment in Cooperation Chemical Reviews 94 8 2291 2318 doi 10 1021 cr00032a004 Mott N F 1955 John Edward Lennard Jones 1894 1954 Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society 1 175 184 doi 10 1098 rsbm 1955 0013 Wiley VCH 2003 Ullmann s Encyclopedia of Industrial Chemistry Volume 23 John Wiley amp Sons p 217 Ozima 2002 p 35 CliffsNotes 2007 p 15 Grochala Wojciech 1 November 2017 On the position of helium and neon in the Periodic Table of Elements Foundations of Chemistry 20 2018 191 207 doi 10 1007 s10698 017 9302 7 Bent Weberg Libby 18 January 2019 The periodic table Chemical amp Engineering News 97 3 cakaehlngedimemux 1 February 2020 subkhnemux 27 March 2020 Grandinetti Felice 23 April 2013 Neon behind the signs Nature Chemistry 5 2013 438 Bibcode 2013NatCh 5 438G doi 10 1038 nchem 1631 PMID 23609097 Grochala Wojciech 24 singhakhm 2007 Atypical compounds of gases which have been called noble PDF 36 10 1632 1655 doi 10 1039 b702109g PMID 17721587 S2CID 13525010 Pauling Linus 1933 The Formulas of Antimonic Acid and the Antimonates 55 5 1895 1900 doi 10 1021 ja01332a016 Holloway 1968 Seppelt Konrad 1979 Recent developments in the Chemistry of Some Electronegative Elements 12 6 211 216 doi 10 1021 ar50138a004 Moody G J 1974 A Decade of Xenon Chemistry Journal of Chemical Education 51 10 628 630 Bibcode 1974JChEd 51 628M doi 10 1021 ed051p628 subkhnemux 16 October 2007 Zupan Marko Iskra Jernej Stavber Stojan 1998 Fluorination with XeF2 44 Effect of Geometry and Heteroatom on the Regioselectivity of Fluorine Introduction into an Aromatic Ring The Journal of Organic Chemistry 63 3 878 880 doi 10 1021 jo971496e PMID 11672087 Harding 2002 pp 90 99 Avrorin V V Krasikova R N Nefedov V D Toropova M A 1982 The Chemistry of Radon Russian Chemical Reviews 51 1 12 20 Bibcode 1982RuCRv 51 12A doi 10 1070 RC1982v051n01ABEH002787 S2CID 250906059 Stein Lawrence 1983 The Chemistry of Radon Radiochimica Acta 32 1 3 163 171 doi 10 1524 ract 1983 32 13 163 S2CID 100225806 Liebman Joel F 1975 Conceptual Problems in Noble Gas and Fluorine Chemistry II The Nonexistence of Radon Tetrafluoride Inorganic and Nuclear Chemistry Letters 11 10 683 685 doi 10 1016 0020 1650 75 80185 1 Seppelt Konrad 2015 Molecular Hexafluorides Chemical Reviews 115 2 1296 1306 doi 10 1021 cr5001783 PMID 25418862 Lehmann J 2002 The chemistry of krypton Coordination Chemistry Reviews 233 234 1 39 doi 10 1016 S0010 8545 02 00202 3 Roth Klaus 2017 Ist das Element 118 ein Edelgas Is Element 118 a Noble Gas phasaeyxrmn 51 6 418 426 doi 10 1002 ciuz 201700838 Translated into English by W E Russey and published in three parts in Roth Klaus 3 April 2018 New Kids on the Table Is Element 118 a Noble Gas Part 1 doi 10 1002 chemv 201800029 Roth Klaus 1 May 2018 New Kids on the Table Is Element 118 a Noble Gas Part 2 doi 10 1002 chemv 201800033 Roth Klaus 5 June 2018 New Kids on the Table Is Element 118 a Noble Gas Part 3 doi 10 1002 chemv 201800046 Kulsha A V Est li granica u tablicy Mendeleeva Is there a boundary to the Mendeleev table PDF www primefan ru phasarsesiy subkhnemux 8 September 2018 Fricke Burkhard 1975 Superheavy elements a prediction of their chemical and physical properties Recent Impact of Physics on Inorganic Chemistry Structure and Bonding Vol 21 pp 89 144 doi 10 1007 BFb0116498 ISBN 978 3 540 07109 9 subkhnemux 4 October 2013 Russian periodic table poster by A V Kulsha and T A Kolevich Mewes Jan Michael Smits Odile Rosette Jerabek Paul Schwerdtfeger Peter 25 July 2019 Oganesson is a Semiconductor On the Relativistic Band Gap Narrowing in the Heaviest Noble Gas Solids Angewandte Chemie 58 40 14260 14264 doi 10 1002 anie 201908327 PMC 6790653 PMID 31343819 Kratz J V 2012 08 01 The impact of the properties of the heaviest elements on the chemical and physical sciences Radiochimica Acta phasaxngkvs 100 8 9 569 578 doi 10 1524 ract 2012 1963 ISSN 2193 3405 S2CID 97915854 Indication for a volatile element 114 PDF doc rero ch Hogness T R Lunn E G 1925 The Ionization of Hydrogen by Electron Impact as Interpreted by Positive Ray Analysis Physical Review 26 1 44 55 Bibcode 1925PhRv 26 44H doi 10 1103 PhysRev 26 44 Powell H M amp Guter M 1949 An Inert Gas Compound Nature 164 4162 240 241 Bibcode 1949Natur 164 240P doi 10 1038 164240b0 PMID 18135950 S2CID 4134617 Greenwood 1997 p 893 Dyadin Yuri A aelakhna 1999 Clathrate hydrates of hydrogen and neon Mendeleev Communications 9 5 209 210 doi 10 1070 MC1999v009n05ABEH001104 Saunders M Jimenez Vazquez H A Cross R J Poreda R J 1993 Stable compounds of helium and neon He C60 and Ne C60 Science 259 5100 1428 1430 Bibcode 1993Sci 259 1428S doi 10 1126 science 259 5100 1428 PMID 17801275 S2CID 41794612 Saunders Martin Jimenez Vazquez Hugo A Cross R James Mroczkowski Stanley Gross Michael L Giblin Daryl E Poreda Robert J 1994 Incorporation of helium neon argon krypton and xenon into fullerenes using high pressure 116 5 2193 2194 doi 10 1021 ja00084a089 Frunzi Michael Cross R Jame Saunders Martin 2007 Effect of Xenon on Fullerene Reactions 129 43 13343 6 doi 10 1021 ja075568n PMID 17924634 Greenwood 1997 p 897 Weinhold 2005 pp 275 306 Pimentel G C 1951 The Bonding of Trihalide and Bifluoride Ions by the Molecular Orbital Method The Journal of Chemical Physics 19 4 446 448 Bibcode 1951JChPh 19 446P doi 10 1063 1 1748245 Weiss Achim khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 8 February 2007 subkhnemux 23 June 2008 Coc A aelakhna 2004 Updated Big Bang Nucleosynthesis confronted to WMAP observations and to the Abundance of Light Elements 600 2 544 552 astro ph 0309480 Bibcode 2004ApJ 600 544C doi 10 1086 380121 S2CID 16276658 Morrison P Pine J 1955 Radiogenic Origin of the Helium Isotopes in Rock Annals of the New York Academy of Sciences 62 3 71 92 Bibcode 1955NYASA 62 71M doi 10 1111 j 1749 6632 1955 tb35366 x S2CID 85015694 Scherer Alexandra 16 January 2007 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 14 October 2007 subkhnemux 26 June 2008 Sanloup Chrystele Schmidt Burkhard C aelakhna 2005 Retention of Xenon in Quartz and Earth s Missing Xenon Science 310 5751 1174 1177 Bibcode 2005Sci 310 1174S doi 10 1126 science 1119070 PMID 16293758 S2CID 31226092 Tyler Irving May 2011 L Actualite chimique canadienne Canadian Chemical News khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 9 February 2013 subkhnemux 18 May 2012 A Citizen s Guide to Radon U S Environmental Protection Agency 26 November 2007 subkhnemux 26 June 2008 10 July 2003 PDF The Astrophysical Journal The American Astronomical Society 591 2 1220 1247 Bibcode 2003ApJ 591 1220L doi 10 1086 375492 S2CID 42498829 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 7 November 2015 subkhnemux 1 September 2015 The Atmosphere subkhnemux 1 June 2008 Haussinger Peter Glatthaar Reinhard Rhode Wilhelm Kick Helmut Benkmann Christian Weber Josef Wunschel Hans Jorg Stenke Viktor Leicht Edith Stenger Hermann 2002 Noble gases Ullmann s Encyclopedia of Industrial Chemistry Wiley doi 10 1002 14356007 a17 485 ISBN 3 527 30673 0 Winter Mark 2008 Helium the essentials University of Sheffield subkhnemux 14 July 2008 Hwang Shuen Chen Lein Robert D Morgan Daniel A 2005 Noble Gases Kirk Othmer Encyclopedia of Chemical Technology Wiley pp 343 383 doi 10 1002 0471238961 0701190508230114 a01 Neon Encarta 2008 Zhang C J Zhou X T Yang L 1992 Demountable coaxial gas cooled current leads for MRI superconducting magnets IEEE Transactions on Magnetics IEEE 28 1 957 959 Bibcode 1992ITM 28 957Z doi 10 1109 20 120038 Fowler B Ackles K N Porlier G 1985 Undersea Biomedical Research 12 4 369 402 ISSN 0093 5387 OCLC 2068005 PMID 4082343 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 25 thnwakhm 2010 subkhnemux 8 emsayn 2008 Bennett 1998 p 176 Vann R D b k 1989 38th Undersea and Hyperbaric Medical Society Workshop Bethesda Md Undersea and Hyperbaric Medical Society 75 437 OCLC 78563877 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 7 tulakhm 2008 subkhnemux 31 phvsphakhm 2008 Maiken Eric 1 August 2004 Why Argon Decompression subkhnemux 26 June 2008 Horhoianu G Ionescu D V Olteanu G 1999 Thermal behaviour of CANDU type fuel rods during steady state and transient operating conditions Annals of Nuclear Energy 26 16 1437 1445 doi 10 1016 S0306 4549 99 00022 5 Disaster Ascribed to Gas by Experts The New York Times 7 May 1937 p 1 Freudenrich Craig 2008 How Blimps Work HowStuffWorks subkhnemux 3 July 2008 Dunkin I R 1980 The matrix isolation technique and its application to organic chemistry Chem Soc Rev 9 1 23 doi 10 1039 CS9800900001 Basting Dirk Marowsky Gerd 2005 Excimer Laser Technology Springer ISBN 3 540 20056 8 Sanders Robert D Ma Daqing Maze Mervyn 2005 Xenon elemental anaesthesia in clinical practice British Medical Bulletin 71 1 115 135 doi 10 1093 bmb ldh034 PMID 15728132 Albert M S Balamore D 1998 Development of hyperpolarized noble gas MRI Nuclear Instruments and Methods in Physics Research A 402 2 3 441 453 Bibcode 1998NIMPA 402 441A doi 10 1016 S0168 9002 97 00888 7 PMID 11543065 Ray Sidney F 1999 Scientific photography and applied imaging Focal Press pp 383 384 ISBN 0 240 51323 1 brrnanukrmwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb aeksmiskul wikiphcnanukrm mikhwamhmaykhxngkhawa aeksmiskul wikitaramikhumuxinhwkhx aeksmiskul wikiwithyalymiaehlngeriynruekiywkb Noble gases Bennett Peter B Elliott David H 1998 The Physiology and Medicine of Diving SPCK Publishing ISBN 0 7020 2410 4 Bobrow Test Preparation Services 5 December 2007 CliffsAP Chemistry CliffsNotes ISBN 978 0 470 13500 6 Greenwood N N Earnshaw A 1997 Chemistry of the Elements 2nd ed Oxford Butterworth Heinemann ISBN 0 7506 3365 4 Harding Charlie J Janes Rob 2002 Elements of the P Block Royal Society of Chemistry ISBN 0 85404 690 9 Holloway John H 1968 Noble Gas Chemistry London Methuen Publishing ISBN 0 412 21100 9 Mendeleev D 1902 1903 Osnovy Khimii The Principles of Chemistry phasarsesiy 7th ed New York Collier Ozima Minoru Podosek Frank A 2002 Noble Gas Geochemistry ISBN 0 521 80366 7 Weinhold F Landis C 2005 Valency and bonding Cambridge University Press ISBN 0 521 83128 8