โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม, โรคแคงเกอร์มะนาว หรือ โรคขี้กลากในส้ม (อังกฤษ: citrus canker) เป็นโรคที่มีผลต่อพืชหลายชนิดในสกุลส้ม ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย axonopodis ทำให้เกิดแผลบนใบ ลำต้น และผลของต้นส้ม มะนาว มะกรูด และส้มโอ ซึ่งคล้ายกับอาการของโรคแคงเกอร์ชนิดอื่นคือ เป็นหย่อมแผลตกสะเก็ดนูนของเนื้อเยื่อที่ตายเป็นสีน้ำตาลแก่ แม้ว่าโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความอยู่รอดของต้นพืชในสกุลส้ม ทำให้ใบและผลร่วงก่อนเวลาอันควร ผลที่เป็นโรคแคงเกอร์นั้นกินได้อย่างปลอดภัย แม้ดูไม่น่ากิน
โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม | |
---|---|
แผลบนใบพืช | |
ชื่อสามัญ | โรคแคงเกอร์มะนาว, โรคขี้กลากในส้ม |
เชื้อก่อโรค | Xanthomonas axonopodis pv. citri |
พืชอาศัย | พืชสกุลส้ม ได้แก่ ส้ม มะนาว มะกรูด และส้มโอ |
XANTCI | |
พื้นที่แพร่ระบาด | ไทย อินโดนีเซีย จีน อินเดีย รวมทั้งบราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัยและสหรัฐ |
เชื่อกันว่าเชื้อแบคทีเรียของโรคนี้มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื้อนี้มีความทนทาน (ความสามารถในการอยู่รอด) สูงมากในพื้นที่ระบาด ความพยายามในการกำจัดโรคนี้อาจต้องใช้การรื้อทำลายทิ้งทั้งสวน ปัจจุบันพบการระบาดของโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มในหลายทวีปตั้งแต่ไทย อินโดนีเซีย จีน อินเดีย รวมทั้งบราซิล อาร์เจนตินา อุรุกวัยและสหรัฐ เป็นเชื้อที่ส่าคัญมากชนิดหนึ่งของการกักกันพืชในประเทศสหรัฐ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ซึ่งมีการตรวจสอบการนำเข้าผลส้มหรือกิ่งพันธุ์ส้มอย่างเข้มงวด
ชีววิทยาและอนุกรมวิธาน
Xanthomonas axonopodis | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
ชื่อทวินาม | |
Xanthomonas axonopodis (, 1915) | |
ชื่อพ้อง | |
Pseudomonas citrii |
การค้นพบ
คลารา เอช. ฮาสเซ (Clara H. Hasse) ระบุว่าโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มไม่ได้เกิดจากเชื้อรา แต่เกิดจากการก่อโรคของแบคทีเรีย งานวิจัยของเธอที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการวิจัยทางการเกษตร ปี 1915 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองพืชสกุลส้มในหลายรัฐของสหรัฐในขณะนั้น[]
ลักษณะทางชีววิทยา
Xanthomonas axonopodis เป็นแบคทีเรียแกรมลบรูปแท่งที่มีโพลาร์แฟลกเจลลา ความยาวจีโนมของแบคทีเรียชนิดนี้ประมาณ 5 คู่เมกะเบส กลุ่มชนิดของโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มของแบคทีเรีย X. axonopodis สามารถแบ่งออกในระดับ ได้ดังนี้
- โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มชนิดเอเชีย (แคงเกอร์ เอ; Canker A) คือ X. axonopodis pv. citri เกิดจากกลุ่มของสายพันธุ์ที่พบในเอเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อที่แพร่หลาย (ครอบคลุมชนิดของพืชอาศัย–ที่สุด) และรุนแรงที่สุด
- แคนโครซิส บี (Cancrosis B) เกิดจากกลุ่มของ X. axonopodis pv. aurantifolii พบในอเมริกาใต้เป็นโรคที่เกิดจากเลมอน, มะนาวแป้น, ส้มซ่า และส้มโอ
- แคนโครซิส ซี (Cancrosis C) เกิดจากสายพันธุ์ภายใน X. axonopodis pv. aurantifolii เช่นกัน ติดเชื้อเฉพาะในมะนาวและส้มซ่าเท่านั้น
- สายพันธุ์ เอ* (A* strains) ค้นพบในโอมาน ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และอินเดีย แพร่เชื้อได้เฉพาะมะนาวแป้นเท่านั้น
ลักษณะอาการและพยาธิวิทยา
เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้น ทั้งใบ กิ่ง และผล ซึ่งใบอ่อนมีความอ่อนไหวมากที่สุดเนื่องจากปากใบที่กว้างกว่า มักพบเชื้อนี้เข้าทำลายในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันและอากาศชื้น โดยเข้าทำลายที่ใบจากทางปากใบหรือผ่านปากแผลที่เกิดจากหนอน เช่น (Phyllocnistis citrella) อาการเริ่มแรกที่ใบและใบอ่อนมักพบเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาด 2–3 มิลลิเมตร สีขาวหรือเหลืองอ่อน และกลายเป็นแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ปกติแล้วจะมีรัศมี (วงแหวน) สีเหลืองรอบแผล แผลจะขยายตัวอย่างช้า ๆ และใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เป็นวงซ้อน ๆ กัน ไม่มีรูปทรงแน่นอน ต่อมาทั้งส่วนนั้นจะเหลืองแห้งและหลุดร่วง ส่วนอาการที่เกิดตามกิ่งอ่อนและผลจะพบแผลตกสะเก็ดนูนขึ้นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน แผลที่กิ่งและผลอาจแตกเป็นแผลทำให้เกิดยางไหล ลุกลามไปยังใบทำให้ใบหลุดร่วงและกิ่งแห้งตายไปในที่สุด ท่าให้ต้นพืชทรุดโทรม และแคระแกรน โดยธรรมชาติไม่พบอาการของโรคที่ราก
ในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุม อาการโรคจะปรากฏขึ้นภายใน 14 วันหลังฉีดเชื้อเข้าในต้นพืชตัวอย่างที่อ่อนแอ ในสภาพแวดล้อมภาคสนามพบว่ามีความหลากหลายทั้งเวลาในการแสดงอาการและอาการที่ชัดเจนต่างจากโรคทางใบอื่น ๆ อาจกินเวลาหลายเดือนหลังจากการติดเชื้อ และผันแปรตามปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุณหภูมิที่ต่ำลงจะเพิ่มเวลาแฝงของโรค เป็นต้น แบคทีเรียโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มสามารถคงอยู่ได้ในแผลเก่าและพื้นผิวพืชอื่น ๆ เป็นเวลาหลายเดือน โดยเฉพาะที่กิ่งสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อในฤดูกาลปลูกต่อไปได้
การก่อโรค
แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis มีความสามารถในการเกาะเป็นกลุ่มหนาแน่นที่เรียกว่า ยึดติดแน่นกับ (โฮสต์) ฟิล์มชีวภาพเป็นผลมาจากการผลิตพอลีแซคคาไรด์นอกเซลล์ (แซนแทน) ซึ่งเป็นตัวเสริมศักยภาพก่อโรคและเพิ่มอัตราการอยู่รอดของการอิงอาศัยบนสิ่งมีชีวิตอื่น (เอพิไฟต์) ของแบคทีเรีย X. axonopodis pv. citri ก่อนการพัฒนาเป็นโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม นอกจากนี้แบคทีเรียยังหลั่ง (TALe) ผ่านระบบหลั่งสารคัดหลั่งประเภทที่ 3 (T3SS) โปรตีนนี้ทำหน้าที่โต้ตอบกับกลไกภายในเซลล์ของพืชอาศัยเพื่อเหนี่ยวนำการคัดลอกรหัสของยีนที่ควบคุมฮอร์โมนพืช เช่น จิบเบอเรลลิน และออกซิน
วงจรโรค
แบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis สามารถอยู่รอดข้ามฤดูเพาะปลูกในบริเวณที่มีการแพร่ระบาดซึ่งปรากฏเป็นแผลเปื่อยบนใบหรือลำต้น แบคทีเรียจะค่อย ๆ ไหลซึมออกจากแผลเมื่อมี ในขณะฝนตกลมสามารถพัดพาเชื้อเหล่านี้ไปยังพืชอาศัยที่อ่อนแอต้นอื่น ๆ แบคทีเรียจะแพร่เชื้อเข้าสู่พืชเหล่านี้ผ่านทางปากใบและปากแผล การตัดแต่งกิ่งหรือการเล็มใบสามารถตัดหรือเปิดออกถึงเนื้อเยื่อมีโซฟิลล์ ทำให้เกิดบาดแผลซึ่งพืชอาจติดเชื้อได้โดยตรง ฝนยังสามารถทำให้เกิดน้ำคั่งบนผิวใบ ดันให้น้ำผ่านเข้าทางปากใบ และช่วยการติดเชื้อผ่านช่องเปิดธรรมชาตินี้ การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้บนผล ใบ กิ่ง และต้นอ่อน ใบและลำต้นอ่อนไหวต่อการติดเชื้อมากที่สุดเมื่ออยู่ในระยะหกสัปดาห์แรกของการงอกใหม่ โดยเฉพาะใบอ่อนเนื่องจากปากใบที่กว้างกว่า มักพบการติดเชื้อในผลในช่วง 90 วันหลังจากกลีบดอกร่วง (ช่วงการติดผล) วงรอบ ๆ ของรอยโรคบนผลเกิดจากการติดเชื้อซ้ำ ๆ หลายรอบ และยังสามารถบ่งชี้อายุของการติดเชื้อจากรอยโรคที่แตกต่างกันบนผลเดียวกันได้
สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการก่อโรค
สภาพอากาศที่เหมาะที่สุดต่อการกระจายตัวของ X. axanopodis คือ สภาพอากาศที่มีฝนชุกประกอบกับลมแรง โดยกล่าวกันว่าแบคทีเรียนี้สามารถกระจายตัวได้โดยทันทีจากฝนตกและลมกระโชก แต่ปริมาณของ X. axanopodis จะลดลงอย่างนวดเร็วเมื่อลมที่พัดฝนกระจายตัวหรือเบาบางลง สภาพอากาศที่เหมาะรองลงมาคือ สภาพอากาศร้อน โดยเฉพาะช่วงอุณหภูมิ 28–30°ซ (สูงสุดที่ 38°ซ) ตัวอย่างกรณีของโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มจะรุนแรงกว่าในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกและมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูง เช่น ในรัฐฟลอริดาซึ่งมักเกิดโรคแคงเกอร์อย่างรวดเร็วที่สุดคือ ช่วงกลางถึงปลายฤดูใบไม้ผลิ (โดยเฉพาะในระยะพืชแตกใบอ่อน) รองลงมาคือในช่วงฤดูใบไม้ร่วง แต่เกิดอย่างช้า ๆ ในฤดูหนาว
ในกรณีที่แบคทีเรียนี้การเข้าทำลายทางปากแผล ความชื้นมีอิทธิพลในการติดเชื้อน้อยมาก
การตรวจหาเชื้อ
โรคนี้สามารถตรวจพบได้ในพุ่มใบและบนผลโดยมีลักษณะเป็นแผล การตรวจหาแต่เนิ่น ๆ และวิธีการตรวจหาที่รวดเร็วจะทำให้แก้ไข, ป้องกัน, ก่าจัด หรือกักกันได้ทันสถานการณ์
การตรวจหาเชื้อที่ใช้โดยทั่วไปโดยการแยกเชื้อและปลูกเชื้อกลับบนต้นอ่อนส้ม (หรือพืชสกุลส้มชนิดอื่น ๆ) ให้ต้นอ่อนส้มแสดงอาการ ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจหาเชื้อนานถึง 14–21 วัน การทดสอบวินิจฉัยเพิ่มเติมทำได้โดยการตรวจหาแอนติบอดี, การวิเคราะห์โครงสร้างกรดไขมัน และวิธีทางพันธุกรรมโดยใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลีเมอเรส (PCR) เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและอาจช่วยในการระบุสายพันธุ์โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มได้
ความอ่อนไหวต่อโรค
พืชสกุลส้มแต่ละชนิดมีระดับความอ่อนไหวหรือความทนทานต่อโรคแคงเกอร์แตกต่างกัน พืชบางชนิดทนทานต่อโรคนี้มาก บางชนิดอ่อนแอต่อโรคนี้ แต่โดยทั่วไปในมะนาวทุกพันธุ์ปลูกมักพบโรคนี้ จากข้อมูลผลการทดสอบโรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มซึ่งทำแบบกว้าง ๆ โดยไม่เจาะจงทดสอบทุกชนิดและพันธุ์ปลูก พบความอ่อนไหวต่อโรคดังนี้
ความอ่อนไหวต่อโรค | ชนิดและพันธุ์ปลูก |
---|---|
อ่อนไหวสูง | เกรปฟรูต (Citrus x paradisi), มะนาวแป้น (C. aurantiifolia), มะกรูด (C. hystrix), เลมอน (C. limon) |
อ่อนไหว | (C. latifolia), (Poncirus trifoliata และ P. trifoliata พันธุ์ผสม), ส้มจีน, ส้มแก้ว, (C. reticulata พันธุ์ผสม), ส้มเช้ง (C. sinensis), ส้มซ่า (C. aurantium) |
ทนทาน | มะงั่ว (C. medica), ส้มแมนดาริน (C. reticulata) |
ทนทานสูง | มะปี๊ด (สกุล X Citrofortunella), ส้มจี๊ด (สกุล Fortunella) |
ข้อมูล: |
การแพร่กระจายและการควบคุมการระบาด
โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้มสามารถแพร่กระจายได้ตามกระแสลม น้ำค้าง ฝน จากแมลง และมนุษย์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายกิ่งที่มีโรคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยอุปกรณ์ที่ปนเปื้อน และโดยการขนส่งพืชที่ติดเชื้อหรือพืชที่ดูเหมือนมีสุขภาพดีจากแหล่งหนึ่งไปยังสถานที่อื่น ๆ เป็นระยะทางไกลได้ เนื่องจากเวลาแฝงของโรค พืชอาจดูเหมือนแข็งแรง แต่แท้จริงแล้วติดเชื้อได้ ในประเทศไทยช่วงการระบาดมักเป็นช่วงฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม–กันยายน
ไม่มีการรักษาทางเคมีที่มีประสิทธิภาพสำหรับต้นไม้ที่ติดเชื้อโรคแคงเกอร์ อย่างไรก็ตามการตัดกิ่ง ใบ หรือผลที่ติดเชื้อออก โดยตัดให้ต่ำกว่าแผลเปื่อย 1 นิ้ว หลังจากการตัดแต่ละครั้ง ให้ฆ่าเชื้อโดยการแช่น้ำยาฟอกขาว (คลอรีน) หนึ่งส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อไปยังส่วนที่แข็งแรงของต้นไม้ การตัดแต่งกิ่งกิ่งที่ติดเชื้ออาจยืดอายุต้นไม้ได้ แต่ไม่อาจหยุดการติดเชื้อได้ และอาจเป็นการเพิ่มความเครียดให้ต้นไม้นั้น การกำจัดต้นพืชที่มีอาการรุนแรงทิ้ง เช่น ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ยืนต้นตาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังต้นไม้ที่แข็งแรงรอบข้าง ต้นไม้ที่ไม่ได้รับความเครียดจากความแห้งแล้ง หรือการขาดสารอาหารมักจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า
แม้ว่าหรือสามารถรักษาโรคแคงเกอร์บางชนิดได้ แต่โดยทั่วไปวิธีที่ง่ายและได้ผลเมื่อพบเห็นโรคเกิดขึ้น คือ การเก็บใบ กิ่ง และผลที่ติดเชื้อไปเผาทำลาย เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ดูเพิ่ม
- โรคแคงเกอร์ หรือ โรคแอนแทรคโนส
อ้างอิง
- "โรคแคงเกอร์ หรือ โรคขี้กลากในส้ม (Canker)". Kaset Go แอปชุมชนออนไลน์ของเกษตรกร. 2021-03-15.
{{}}
: CS1 maint: url-status ()[] - "Citrus canker - DAWE". www.awe.gov.au.
- โฆสิตเจริญกุล, ณัฏฐิมา. "โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม". ebook.lib.ku.ac.th (ภาษาอังกฤษ).
{{}}
: CS1 maint: url-status () - Citrus Canker. U.S. Department of Agriculture, 9 มีนาคม 2022.
- ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, รุ่งนภา ทองเคร็ง. การตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย Xanthomomnas axonopodis pv. citri ด้วยเทคนิค Real-time PCR. กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร, 2556.
- PSEUDOMONAS CITRI, THE CAUSE OF CITRUS CANKER (archive.org book reader)PSEUDOMONAS CITRI, THE CAUSE OF CITRUS CANKER (archive.org text version), Clara Hasse, Journal of Agricultural Research, 1915-10, Volume 4, p. 97.
- CITRUS CANKER, Frederick Wolf, Journal of Agricultural Research, 1916-10, Volume 6, p. 68.
- Gottwald, T.R, Graham, J.H. and Schubert, J.S. (2002). Citrus canker: The pathogen and its impact. Online. Plant Health Progress doi:10.1094/PHP-2002-0812-01-RV
- Sapapporn N., Thanikkun N. Bioactive compound produced by isolated Pseudomonas sp. for controlling citrus canker pathogen Xanthomonas sp. www.research.kpru.ac.th, 2017.
- ไพโรจน์ จ๋วงพานิช, วิวัฒน์ แดงสุภา. การศึกษาเบื้องต้นโรคแคงเกอร์ของส้ม. แผนกกีฎวิทยาและโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
- โรคแคงเกอร์มะนาว (Canker) 2022-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กรมวิชาการเกษตร, 2560.
- Pereira, Andre; Carazzolle, Marcelo; Abe, Valeria; Oliveira, Maria; Domingues, Mariane; Silva, Jacqueline; Benedetti, Celso (2014). "Identification of putative TAL effector targets of the citrus canker pathogens shows functional convergence underlying disease development and defense response". BMC Genomics. 15 (15): 157. doi:10.1186/1471-2164-15-157. PMC 4028880. PMID 24564253.
- Rigano, Luciano; Siciliano, Florencia; Enrique, Ramón; Sendín, Lorena; Filippone, Paula; Torres, Pablo; Qüesta, Julia; Marano, Maria Rosa (2007). "Biofilm formation, epiphytic fitness, and canker development in Xanthomonas axonopodis pv. citri". Molecular Plant-Microbe Interactions. 10 (20): 1222–1230. doi:10.1094/MPMI-20-10-1222. PMID 17918624.
- Das, A.K. (January 2003). "Citrus canker - A review" (PDF). Journal of Applied Horticulture. 5: 52–60. doi:10.37855/jah.2003.v05i01.15.
- "Citrus canker". Citrus canker (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- Bock, Clive H; Parker, P.E; Gottwald, Tim R (2005). "Effect of simulated wind-driven rain on duration and distance of dispersal of Xanthomonas axonopodis pv. citri from canker-infected citrus tree". Plant Disease. 89 (89): 71–80. doi:10.1094/PD-89-0071. PMID 30795287.
- Gottwald, Tim R.; Graham, James H.; Schubert, Timothy S. (2017-08-08). "Citrus Canker: The Pathogen and Its Impact". Plant Health Progress. 3: 15. doi:10.1094/php-2002-0812-01-rv. S2CID 85240202.
- Gottwald, T.R. et al. (2002). Citrus canker: The pathogen and its impact. Online. Plant Health Progress
- Damon L. Smith, Jennifer Olson. Seiridium canker of Junipers and Cypress. Oklahoma State University, Plant Disease and Insect Advisory, Vol. 7, No. 26. July 15, 2008.
- Jennifer Olson. Biscongiauxia (Hypoxylon) Dieback and Canker of Pecan. Oklahoma State University, Jul 8, 2013.
ลิ้งค์ภายนอก
- Species Profile- Citrus Canker (Xanthomonas axonopodis), National Invasive Species Information Center, . Lists general information and resources for Citrus Canker.
- Electronic Data Information Source - Citrus Canker, University of Florida IFAS Extension
- Type strain of Xanthomonas axonopodis at BacDive - the Bacterial Diversity Metadatabase
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
orkhaekhngekxrinphuchskulsm orkhaekhngekxrmanaw hrux orkhkhiklakinsm xngkvs citrus canker epnorkhthimiphltxphuchhlaychnidinskulsm sungekidcakkartidechuxaebkhthieriy axonopodis thaihekidaephlbnib latn aelaphlkhxngtnsm manaw makrud aelasmox sungkhlaykbxakarkhxngorkhaekhngekxrchnidxunkhux epnhyxmaephltksaekdnunkhxngenuxeyuxthitayepnsinatalaek aemwaorkhaekhngekxrinphuchskulsmcaimepnxntraytxmnusy aetsngphlkrathbxyangminysakhytxkhwamxyurxdkhxngtnphuchinskulsm thaihibaelaphlrwngkxnewlaxnkhwr phlthiepnorkhaekhngekxrnnkinidxyangplxdphy aemduimnakinorkhaekhngekxrinphuchskulsmaephlbnibphuchchuxsamyorkhaekhngekxrmanaw orkhkhiklakinsmechuxkxorkhXanthomonas axonopodis pv citriphuchxasyphuchskulsm idaek sm manaw makrud aelasmoxXANTCIphunthiaephrrabadithy xinodniesiy cin xinediy rwmthngbrasil xarecntina xurukwyaelashrthrxyorkhaekhngekxrinphuchskulsm bnphlmanaw echuxknwaechuxaebkhthieriykhxngorkhnimitnkaenidinexechiytawnxxkechiyngit echuxnimikhwamthnthan khwamsamarthinkarxyurxd sungmakinphunthirabad khwamphyayaminkarkacdorkhnixactxngichkarruxthalaythingthngswn pccubnphbkarrabadkhxngorkhaekhngekxrinphuchskulsminhlaythwiptngaetithy xinodniesiy cin xinediy rwmthngbrasil xarecntina xurukwyaelashrth epnechuxthisakhymakchnidhnungkhxngkarkkknphuchinpraethsshrth xxsetreliy aelayipun sungmikartrwcsxbkarnaekhaphlsmhruxkingphnthusmxyangekhmngwdchiwwithyaaelaxnukrmwithanXanthomonas axonopodiskarcaaenkchnthangwithyasastrchuxthwinamXanthomonas axonopodis 1915 chuxphxngPseudomonas citrii Xanthomonas campestris pv citri Xanthomonas citrikarkhnphb khlara exch hases Clara H Hasse rabuwaorkhaekhngekxrinphuchskulsmimidekidcakechuxra aetekidcakkarkxorkhkhxngaebkhthieriy nganwicykhxngethxthiidrbkartiphimphinwarsarkarwicythangkarekstr pi 1915 sungmibthbathsakhyinkarkhumkhrxngphuchskulsminhlayrthkhxngshrthinkhnann txngkarxangxing lksnathangchiwwithya Xanthomonas axonopodis epnaebkhthieriyaekrmlbrupaethngthimiophlaraeflkeclla khwamyawcionmkhxngaebkhthieriychnidnipraman 5 khuemkaebs klumchnidkhxngorkhaekhngekxrinphuchskulsmkhxngaebkhthieriy X axonopodis samarthaebngxxkinradb iddngni orkhaekhngekxrinphuchskulsmchnidexechiy aekhngekxr ex Canker A khux X axonopodis pv citri ekidcakklumkhxngsayphnthuthiphbinexechiy sungepnklumechuxthiaephrhlay khrxbkhlumchnidkhxngphuchxasy thisud aelarunaerngthisud aekhnokhrsis bi Cancrosis B ekidcakklumkhxng X axonopodis pv aurantifolii phbinxemrikaitepnorkhthiekidcakelmxn manawaepn smsa aelasmox aekhnokhrsis si Cancrosis C ekidcaksayphnthuphayin X axonopodis pv aurantifolii echnkn tidechuxechphaainmanawaelasmsaethann sayphnthu ex A strains khnphbinoxman saxudixaraebiy xihran aelaxinediy aephrechuxidechphaamanawaepnethannlksnaxakaraelaphyathiwithyaechuxaebkhthieriy Xanthomonas axonopodis samarthekhathalayidthukswnkhxngtn thngib king aelaphl sungibxxnmikhwamxxnihwmakthisudenuxngcakpakibthikwangkwa mkphbechuxniekhathalayinchwngthifntktidtxknaelaxakaschun odyekhathalaythiibcakthangpakibhruxphanpakaephlthiekidcakhnxn echn Phyllocnistis citrella xakarerimaerkthiibaelaibxxnmkphbepncudchanakhnad 2 3 milliemtr sikhawhruxehluxngxxn aelaklayepnaephltksaekdnunsinatalxxnthungaek pktiaelwcamirsmi wngaehwn siehluxngrxbaephl aephlcakhyaytwxyangcha aelaihykhuneruxy epnwngsxn kn immirupthrngaennxn txmathngswnnncaehluxngaehngaelahludrwng swnxakarthiekidtamkingxxnaelaphlcaphbaephltksaekdnunkhunsinatalechnediywkn aephlthikingaelaphlxacaetkepnaephlthaihekidyangihl luklamipyngibthaihibhludrwngaelakingaehngtayipinthisud thaihtnphuchthrudothrm aelaaekhraaekrn odythrrmchatiimphbxakarkhxngorkhthirak inhxngptibtikarthimikarkhwbkhum xakarorkhcapraktkhunphayin 14 wnhlngchidechuxekhaintnphuchtwxyangthixxnaex insphaphaewdlxmphakhsnamphbwamikhwamhlakhlaythngewlainkaraesdngxakaraelaxakarthichdecntangcakorkhthangibxun xackinewlahlayeduxnhlngcakkartidechux aelaphnaeprtampccyxun echn xunhphumithitalngcaephimewlaaefngkhxngorkh epntn aebkhthieriyorkhaekhngekxrinphuchskulsmsamarthkhngxyuidinaephlekaaelaphunphiwphuchxun epnewlahlayeduxn odyechphaathikingsamarthepnaehlngaephrechuxinvdukalpluktxipidkarkxorkhaebkhthieriy Xanthomonas axonopodis mikhwamsamarthinkarekaaepnklumhnaaennthieriykwa yudtidaennkb ohst filmchiwphaphepnphlmacakkarphlitphxliaeskhkhairdnxkesll aesnaethn sungepntwesrimskyphaphkxorkhaelaephimxtrakarxyurxdkhxngkarxingxasybnsingmichiwitxun exphiift khxngaebkhthieriy X axonopodis pv citri kxnkarphthnaepnorkhaekhngekxrinphuchskulsm nxkcakniaebkhthieriyynghlng TALe phanrabbhlngsarkhdhlngpraephththi 3 T3SS oprtinnithahnathiottxbkbklikphayinesllkhxngphuchxasyephuxehniywnakarkhdlxkrhskhxngyinthikhwbkhumhxromnphuch echn cibebxerllin aelaxxksinwngcrorkhaebkhthieriy Xanthomonas axonopodis samarthxyurxdkhamvduephaaplukinbriewnthimikaraephrrabadsungpraktepnaephlepuxybnibhruxlatn aebkhthieriycakhxy ihlsumxxkcakaephlemuxmi inkhnafntklmsamarthphdphaechuxehlaniipyngphuchxasythixxnaextnxun aebkhthieriycaaephrechuxekhasuphuchehlaniphanthangpakibaelapakaephl kartdaetngkinghruxkarelmibsamarthtdhruxepidxxkthungenuxeyuxmiosfill thaihekidbadaephlsungphuchxactidechuxidodytrng fnyngsamarththaihekidnakhngbnphiwib dnihnaphanekhathangpakib aelachwykartidechuxphanchxngepidthrrmchatini kartidechuxsamarthekidkhunidbnphl ib king aelatnxxn ibaelalatnxxnihwtxkartidechuxmakthisudemuxxyuinrayahkspdahaerkkhxngkarngxkihm odyechphaaibxxnenuxngcakpakibthikwangkwa mkphbkartidechuxinphlinchwng 90 wnhlngcakklibdxkrwng chwngkartidphl wngrxb khxngrxyorkhbnphlekidcakkartidechuxsa hlayrxb aelayngsamarthbngchixayukhxngkartidechuxcakrxyorkhthiaetktangknbnphlediywknid sphaphaewdlxmthiehmaatxkarkxorkh sphaphxakasthiehmaathisudtxkarkracaytwkhxng X axanopodis khux sphaphxakasthimifnchukprakxbkblmaerng odyklawknwaaebkhthieriynisamarthkracaytwidodythnthicakfntkaelalmkraochk aetprimankhxng X axanopodis caldlngxyangnwderwemuxlmthiphdfnkracaytwhruxebabanglng sphaphxakasthiehmaarxnglngmakhux sphaphxakasrxn odyechphaachwngxunhphumi 28 30 s sungsudthi 38 s twxyangkrnikhxngorkhaekhngekxrinphuchskulsmcarunaerngkwainphunthithimifntkchukaelamixunhphumiechliysung echn inrthflxridasungmkekidorkhaekhngekxrxyangrwderwthisudkhux chwngklangthungplayvduibimphli odyechphaainrayaphuchaetkibxxn rxnglngmakhuxinchwngvduibimrwng aetekidxyangcha invduhnaw inkrnithiaebkhthieriynikarekhathalaythangpakaephl khwamchunmixiththiphlinkartidechuxnxymak kartrwchaechux orkhnisamarthtrwcphbidinphumibaelabnphlodymilksnaepnaephl kartrwchaaetenin aelawithikartrwchathirwderwcathaihaekikh pxngkn kacd hruxkkknidthnsthankarn kartrwchaechuxthiichodythwipodykaraeykechuxaelaplukechuxklbbntnxxnsm hruxphuchskulsmchnidxun ihtnxxnsmaesdngxakar sungtxngichewlainkartrwchaechuxnanthung 14 21 wn karthdsxbwinicchyephimetimthaidodykartrwchaaexntibxdi karwiekhraahokhrngsrangkrdikhmn aelawithithangphnthukrrmodyichptikiriyalukosphxliemxers PCR ephuxyunynkarwinicchyaelaxacchwyinkarrabusayphnthuorkhaekhngekxrinphuchskulsmid khwamxxnihwtxorkh phuchskulsmaetlachnidmiradbkhwamxxnihwhruxkhwamthnthantxorkhaekhngekxraetktangkn phuchbangchnidthnthantxorkhnimak bangchnidxxnaextxorkhni aetodythwipinmanawthukphnthuplukmkphborkhni cakkhxmulphlkarthdsxborkhaekhngekxrinphuchskulsmsungthaaebbkwang odyimecaacngthdsxbthukchnidaelaphnthupluk phbkhwamxxnihwtxorkhdngni khwamxxnihwtxorkh chnidaelaphnthuplukxxnihwsung ekrpfrut Citrus x paradisi manawaepn C aurantiifolia makrud C hystrix elmxn C limon xxnihw C latifolia Poncirus trifoliata aela P trifoliata phnthuphsm smcin smaekw C reticulata phnthuphsm smechng C sinensis smsa C aurantium thnthan mangw C medica smaemndarin C reticulata thnthansung mapid skul X Citrofortunella smcid skul Fortunella khxmul karaephrkracayaelakarkhwbkhumkarrabadorkhaekhngekxrinphuchskulsmsamarthaephrkracayidtamkraaeslm nakhang fn cakaemlng aelamnusysungepnpccysakhyinkarekhluxnyaykingthimiorkhodyruethaimthungkarnodyxupkrnthipnepuxn aelaodykarkhnsngphuchthitidechuxhruxphuchthiduehmuxnmisukhphaphdicakaehlnghnungipyngsthanthixun epnrayathangiklid enuxngcakewlaaefngkhxngorkh phuchxacduehmuxnaekhngaerng aetaethcringaelwtidechuxid inpraethsithychwngkarrabadmkepnchwngvdufn ineduxnphvsphakhm knyayn immikarrksathangekhmithimiprasiththiphaphsahrbtnimthitidechuxorkhaekhngekxr xyangirktamkartdking ib hruxphlthitidechuxxxk odytdihtakwaaephlepuxy 1 niw hlngcakkartdaetlakhrng ihkhaechuxodykaraechnayafxkkhaw khlxrin hnungswntxna 9 swn ephuxpxngknkaraephrkracaykartidechuxipyngswnthiaekhngaerngkhxngtnim kartdaetngkingkingthitidechuxxacyudxayutnimid aetimxachyudkartidechuxid aelaxacepnkarephimkhwamekhriydihtnimnn karkacdtnphuchthimixakarrunaerngthing echn tnimkhnadihythiyuntntay ephuxpxngknkaraephrkracaykhxngkartidechuxipyngtnimthiaekhngaerngrxbkhang tnimthiimidrbkhwamekhriydcakkhwamaehngaelng hruxkarkhadsarxaharmkcamioxkastidechuxnxykwa aemwahruxsamarthrksaorkhaekhngekxrbangchnidid aetodythwipwithithingayaelaidphlemuxphbehnorkhekidkhun khux karekbib king aelaphlthitidechuxipephathalay ephuxkhwbkhumkaraephrrabadkhxngorkhduephimorkhaekhngekxr hrux orkhaexnaethrkhonsxangxing orkhaekhngekxr hrux orkhkhiklakinsm Canker Kaset Go aexpchumchnxxnilnkhxngekstrkr 2021 03 15 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk lingkesiy Citrus canker DAWE www awe gov au okhsitecriykul ntthima orkhaekhngekxrkhxngphuchtrakulsm ebook lib ku ac th phasaxngkvs a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint url status lingk Citrus Canker U S Department of Agriculture 9 minakhm 2022 ndthima okhsitecriykul thiphwrrn knhayati burni phwwngsaephthy rungnpha thxngekhrng kartrwcsxbechuxaebkhthieriy Xanthomomnas axonopodis pv citri dwyethkhnikh Real time PCR klumwicyorkhphuch sankwicyphthnakarxarkkhaphuch krmwichakarekstr 2556 PSEUDOMONAS CITRI THE CAUSE OF CITRUS CANKER archive org book reader PSEUDOMONAS CITRI THE CAUSE OF CITRUS CANKER archive org text version Clara Hasse Journal of Agricultural Research 1915 10 Volume 4 p 97 CITRUS CANKER Frederick Wolf Journal of Agricultural Research 1916 10 Volume 6 p 68 Gottwald T R Graham J H and Schubert J S 2002 Citrus canker The pathogen and its impact Online Plant Health Progress doi 10 1094 PHP 2002 0812 01 RV Sapapporn N Thanikkun N Bioactive compound produced by isolated Pseudomonas sp for controlling citrus canker pathogen Xanthomonas sp www research kpru ac th 2017 iphorcn cwngphanich wiwthn aedngsupha karsuksaebuxngtnorkhaekhngekxrkhxngsm aephnkkidwithyaaelaorkhphuch mhawithyalyekstrsastr orkhaekhngekxrmanaw Canker 2022 08 12 thi ewyaebkaemchchin krmwichakarekstr 2560 Pereira Andre Carazzolle Marcelo Abe Valeria Oliveira Maria Domingues Mariane Silva Jacqueline Benedetti Celso 2014 Identification of putative TAL effector targets of the citrus canker pathogens shows functional convergence underlying disease development and defense response BMC Genomics 15 15 157 doi 10 1186 1471 2164 15 157 PMC 4028880 PMID 24564253 Rigano Luciano Siciliano Florencia Enrique Ramon Sendin Lorena Filippone Paula Torres Pablo Questa Julia Marano Maria Rosa 2007 Biofilm formation epiphytic fitness and canker development in Xanthomonas axonopodis pv citri Molecular Plant Microbe Interactions 10 20 1222 1230 doi 10 1094 MPMI 20 10 1222 PMID 17918624 Das A K January 2003 Citrus canker A review PDF Journal of Applied Horticulture 5 52 60 doi 10 37855 jah 2003 v05i01 15 Citrus canker Citrus canker phasaxngkvsaebbxemrikn Bock Clive H Parker P E Gottwald Tim R 2005 Effect of simulated wind driven rain on duration and distance of dispersal of Xanthomonas axonopodis pv citri from canker infected citrus tree Plant Disease 89 89 71 80 doi 10 1094 PD 89 0071 PMID 30795287 Gottwald Tim R Graham James H Schubert Timothy S 2017 08 08 Citrus Canker The Pathogen and Its Impact Plant Health Progress 3 15 doi 10 1094 php 2002 0812 01 rv S2CID 85240202 Gottwald T R et al 2002 Citrus canker The pathogen and its impact Online Plant Health Progress Damon L Smith Jennifer Olson Seiridium canker of Junipers and Cypress Oklahoma State University Plant Disease and Insect Advisory Vol 7 No 26 July 15 2008 Jennifer Olson Biscongiauxia Hypoxylon Dieback and Canker of Pecan Oklahoma State University Jul 8 2013 lingkhphaynxkSpecies Profile Citrus Canker Xanthomonas axonopodis National Invasive Species Information Center Lists general information and resources for Citrus Canker Electronic Data Information Source Citrus Canker University of Florida IFAS Extension Type strain of Xanthomonas axonopodis at BacDive the Bacterial Diversity Metadatabase