อะพอพโทซิส (อังกฤษ: Apoptosis) เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing) , การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis)
อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไปทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะโพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน
งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะโพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง
บทบาทหน้าที่ของอะพอพโทซิส
การหยุดการเจริญของเซลล์
อะพอพโทซิสจะเกิดขึ้นในเซลล์ที่เสียหายเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ เช่น ติดเชื้อไวรัส, หรืออยู่ในภาวะกดดันเช่นการอดอาหาร ความเสียหายของดีเอ็นเอภายในเซลล์จากรังสีแตกตัว (ionizing radiation) หรือสารพิษจะชักนำให้เกิดอะโพโทซิสโดยผ่านการทำงานของ (tumour-suppressing gene) ชื่อ p53 การ "ตัดสินใจ" ของเซลล์ว่าจะเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิสอาจขึ้นกับปัจจัยของเซลล์เอง, ปัจจัยของเนื้อเยื่อรอบๆ, และจากเซลล์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน ในกรณีนี้เซลล์จะเกิดการอะพอพโทซิสเพื่อกำจัดเซลล์ที่เสียหาย, เพื่อป้องกันการกระจายของไวรัส, และเพื่อลดจำนวนเซลล์ในภาวะอดอาหารเพื่อจะได้ไม่ต้องดึงอาหารจากสิ่งมีชีวิตตามลำดับ
อะพอพโทซิสยังมีบทบาทในการป้องกันมะเร็ง หากเซลล์ไม่สามารถที่จะเกิดการตายแบบอะพอพโทซิสอันเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ (mutation) หรือการยับยั้งกระบวนการทางชีวเคมีจะทำให้เซลล์แบ่งตัวต่อเนื่องและเจริญกลายเป็นเนื้องอก ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อ จะทำให้ยีนของไวรัสเข้าแทรกในโปรตีน p53 ของเซลล์ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในวิถีอะโพโทซิส การรบกวนกระบวนการอะพอพโทซิสดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญของมะเร็งปากมดลูก
ภาวะธำรงดุล
ในสิ่งมีชีวิตตัวเต็มวัย จำนวนของเซลล์จะค่อนข้างคงที่โดยกระบวนการตายของเซลล์และการแบ่งเซลล์ทดแทน เซลล์จะต้องถูกทดแทนเมื่อเซลล์นั้นเป็นโรคหรือทำหน้าที่ผิดปกติไป แต่การเพิ่มจำนวนของเซลล์ก็ต้องถูกชดเชยด้วยการตายของเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในภาวะธำรงดุล (homeostasis) ที่จำเป็นในสิ่งมีชีวิตเพื่อรักษาภาวะภายในร่างกายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ภาวะธำรงดุลของจำนวนเซลล์ในร่างกายเกิดขึ้นเมื่ออัตราการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสในเนื้อเยื่อสมดุลกับการตายของเซลล์ หากภาวะสมดุลดังกล่าวถูกรบกวน จะทำให้เกิดความผิดปกติซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ 2 แบบ ได้แก่
- เซลล์แบ่งตัวเร็วกว่าที่เซลล์ตาย จะทำให้เกิดการเจริญไปเป็นเนื้องอก
- เซลล์แบ่งตัวช้ากว่าที่เซลล์ตาย จะทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับการสูญเสียเซลล์
ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะต้องมีกระบวนการอันซับซ้อนดังกล่าวเพื่อควบคุมภาวะธำรงดุลภายในร่างกายอย่างเข้มงวดเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ซึ่งต้องอาศัยการส่งสัญญาณของเซลล์ (cell signaling) หลายชนิด การเสียหน้าที่ของการควบคุมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งจะทำให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดโรคได้ เช่น การสูญเสียการควบคุมของวิถีการส่งสัญญาณ (signaling pathway) อาจทำให้เกิดสัญญาณที่มากเกินไปและก่อให้เกิดมะเร็ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเช่นวิถีซึ่งส่งสัญญาณต้านอะพอพโทซิสของเซลล์พบว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งชนิดต่อมของตับอ่อน (pancreatic adenocarcinoma)
พัฒนาการ
Programmed cell death หรือกระบวนการตายของเซลล์ที่มีการโปรแกรมไว้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของทั้งเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ การเจริญเติบโตของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อมักจะเริ่มด้วยการแบ่งเซลล์หรือการเปลี่ยนรูปร่างเซลล์ที่มากเกินควร จากนั้นจึงตามมาด้วยกระบวนการอะพอพโทซิสเพื่อปรับรูปแบบให้เนื้อเยื่อมีขนาดและรูปร่างปกติ โดยเป็นการตายของเซลล์ที่มีลักษณะเซลล์หดตัวและแตกเป็นท่อนๆ ซึ่งต่างจากการตายของเซลล์ที่เกิดจากการบาดเจ็บ การแตกเป็นท่อนๆ ทำให้ซากเซลล์สามารถถูกจับกินและนำองค์ประกอบของเซลล์กลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการหลั่งสารภายในเซลล์ที่ตาย (เช่น เอนไซม์) ซึ่งก่ออันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง
ในการวิจัยเอ็มบริโอของไก่แสดงให้เห็นว่ามีการคัดเลือกการแบ่งเซลล์ (selective cell proliferation) ร่วมกับการคัดเลือกการอะพอพโทซิส (selective apoptosis) ซึ่งช่วยตกแต่งเนื้อเยื่อที่กำลังเจริญพัฒนาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในระหว่างพัฒนาการของเอ็มบริโอของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง โครงสร้างที่เรียกว่า (notochord) และ floor plate หลั่งโมเลกุลส่งสัญญาณชื่อว่า ลาดความเข้มข้น (gradient) นี้จะช่วยนำพาเซลล์เพื่อประกอบเป็นโครงสร้างของ (neural tube) ของเอ็มบริโอ กล่าวคือเซลล์ที่ได้รับสารสื่อสัญญาณ Shh ผ่านทางตัวรับ (receptor) ชื่อว่า Patched1 (Ptc1) บนเยื่อหุ้มเซลล์จะสามารถมีชีวิตอยู่และแบ่งเซลล์ต่อไป ในทางตรงกันข้าม หากไม่มีสาร Shh ส่วนปลายด้านคาร์บอกซีของโมเลกุลตัวรับ Ptc1 ซึ่งอยู่ภายในเซลล์จะถูกตัดโดยเอนไซม์แคสเปส-3 (caspase-3) ซึ่งจะเสนอโดเมนที่กระตุ้นกระบวนการอะโพโทซิส (apoptosis-producing domain)
ในระหว่างการเจริญเติบโต กระบวนการอะพอพโทซิสจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวด และในแต่ละเนื้อเยื่อจะมีสัญญาณในการชักนำอะพอพโทซิสที่แตกต่างกันออกไป ในนกโปรตีนที่ชื่อว่า (BMP) ส่งสัญญาณชักนำอะพอพโทซิสในเนื้อเยื่อระหว่างนิ้ว ในแมลงวัน มีสเตอรอยด์ฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมการตายของเซลล์ ในทางกลับกันนัยของการเจริญเติบโตสามารถชักนำกระบวนการอะพอพโทซิส ตัวอย่างเช่นการตายของเซลล์ที่จำเพาะกับเพศ (sex-specific cell death) ของเส้นประสาท hermaphrodite specific neurons ใน เพศผู้ผ่านทางการแสดงออกที่ลดลงของ transcription factor TRA-1 (ยีน TRA-1 ช่วยป้องกันการตายของเซลล์)
ปฏิกิริยาระหว่างกันของลิมโฟไซต์
พัฒนาการของบีเซลล์ (B cell) และทีเซลล์ (T cell) ซึ่งเป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกายมนุษย์เป็นกระบวนการอันซับซ้อนซึ่งทำให้เกิดกลุ่มของเซลล์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งอาจทำให้มีเซลล์บางเซลล์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่นการเกิดภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเอง อะพอพโทซิสเป็นกลไกของร่างกายที่กำจัดเซลล์ตัวอ่อนในระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยในทีเซลล์จะเริ่มถูกชักนำการตายโดยการขาดสัญญาณที่ช่วยดำรงชีพ (survival signal)
Cytotoxic T-cell เป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถชักนำอะโพโทซิสของเซลล์อื่นโดยตรงโดยการเจาะรูบนพื้นผิวของเป้าหมายและหลั่งสารเคมีซึ่งลัดเข้าสู่วิถีอะพอพโทซิส การเกิดรูบนเมมเบรนเกิดจากสารเคมีที่ชื่อ (perforin) และแกรนูลซึ่งมีสาร (granzyme B) ซึ่งเป็นเอนไซม์ (serine protease) ซึ่งกระตุ้นเอนไซม์แคสเปสหลายตัวโดยการตัดส่วน เรซิดิว (aspartate residue)
กระบวนการ
กระบวนการอะพอพโทซิสถูกควบคุมโดยการส่งสัญญาณของเซลล์ (cell signalling) หลากหลายชนิดซึ่งอาจเริ่มต้นจากภายนอกเซลล์ (extrinsic inducers) หรือภายในเซลล์ (intrinsic inducers) สัญญาณจากภายนอกเซลล์ ได้แก่ (toxin) , ฮอร์โมน, (growth factor) , ไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) หรือไซโตไคน์ (cytokine) ซึ่งอาจเข้ามาภายในเซลล์ผ่านหรือผ่านตัวแปรสัญญาณ (signal transduction) เพื่อทำให้เกิดการตอบสนอง สัญญาณที่เข้ามานั้นอาจกระตุ้นหรือยับยั้งอะพอพโทซิสก็ได้
สัญญาณอะพอพโทซิสจากภายในเซลล์เป็นการตอบสนองของเซลล์ต่อภาวะกดดัน (stress) ต่างๆ และมักจะส่งผลสุดท้ายก่อให้เกิดการ "ฆ่าตัวตาย" ของเซลล์ การจับกับตัวรับ (receptor) ของนิวเคลียสของกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid) , ความร้อน, รังสี, การขาดสารอาหาร, การติดเชื้อไวรัส, และภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การปล่อยสัญญาณอะพอพโทซิสภายในเซลล์จากเซลล์ที่เสียหาย องค์ประกอบภายในเซลล์จำนวนมาก เช่น สามารถช่วยควบคุมกระบวนการอะโพโทซิสได้
ก่อนที่กระบวนการตายของเซลล์จะเกิดขึ้นโดยเอนไซม์ สัญญาณอะพอพโทซิสจะต้องเชื่อมกับวิถีการตาย (actual death pathway) โดยกระบวนการของโปรตีนตัวควบคุม (regulatory proteins) ขั้นตอนนี้จะทำให้สัญญาณอะพอพโทซิสนั้นชักนำให้เซลล์นั้นเข้าสู่กระบวนการอะพอพโทซิส หรือสัญญาณนั้นถูกทำลายและเซลล์ไม่ต้องตายก็ได้ กระบวนการดังกล่าวมีโปรตีนหลายตัวที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งสรุปได้ว่ามี 2 วิธีหลักๆ ที่ทำหน้าที่ควบคุม คือวิถีที่ควบคุมโดยไมโทคอนเดรีย (targeting mitochondria functionality) และการแปรสัญญาณโดยตรงผ่านโปรตีนตัวปรับ (adapter proteins) ไปยังกลไกอะโพโทซิส กระบวนการเตรียมการทั้งหมดต่างต้องการพลังงานและการทำงานของเซลล์
การควบคุมโดยไมโทคอนเดรีย
ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) เป็นออร์แกเนลล์ที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ หากเซลล์ไม่มีไมโทคอนเดรียเซลล์นั้นจะหยุดการหายใจแบบใช้ออกซิเจนและตายอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในวิถีชักนำการตายของกระบวนการอะพอพโทซิส โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับอะพอพโทซิสซึ่งมีเป้าหมายที่ไมโทคอนเดรียจะเข้าไปมีผลในหลากหลายทาง เช่น การทำให้ไมโทคอนเดรียบวมโดยการเจาะรูบนผิวเมมเบรน หรืออาจเพิ่มสภาพซึมผ่าน (permeability) ของเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียซึ่งทำให้สารควบคุมกระบวนการอะโพโทซิสรั่วออกมา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานบ่งชี้ว่าไนตริกออกไซด์ (NO) ยังมีส่วนชักนำอะโพโทซิสโดยการลดศักย์เยื่อเซลล์ (membrane potential) ของไมโทคอนเดรียและเพิ่มสภาพซึมผ่านของเยื่อหุ้มไมโทคอนเดรีย
หลังจากที่สภาพซึมผ่านของเยื่อไมโทคอนเดรียเพิ่มขึ้น โปรตีนของไมโทคอนเดรียชื่อว่า SMACs (second mitochondria-derived activator of caspases) จะถูกปล่อยออกมายังสารน้ำในเซลล์ (cytosol) SMAC จะจับและลดการทำงานของโปรตีนต้านการอะพอพโทซิส (IAPs - inhibitor of apoptosis proteins) ซึ่งทำให้โปรตีน IAPs ไม่สามารถไปหยุดกระบวนการอะพอพโทซิส และทำให้กระบวนการนี้ดำเนินต่อไปได้ โดยปกติแล้ว IAP จะทำหน้าที่กดการทำงานของกลุ่มเอนไซม์ (cysteine protease) ที่ชื่อว่า (caspases) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ จะเห็นว่าการทำงานของเอนไซม์แคสเปสนั้นถูกควบคุมทางอ้อมจากสภาพซึมผ่านของไมโทคอนเดรีย
(Cytochrome c) ก็เป็นอีกตัวหนึ่งที่ถูกปล่อยออกมาจากไมโทคอนเดรียจากการสร้างช่องว่างที่ชื่อ ของเยื่อหุ้มชั้นนอกของไมโทคอนเดรีย และทำหน้าที่เป็นโปรตีนควบคุมเพราะมันจะเปลี่ยนรูปร่างก่อนที่จะเกิดกระบวนการอะโพโทซิส เมื่อไซโตโครม ซี ถูกปล่อยออกมาจะเข้าจับกับโปรตีน และ ATP และจับกับ โปรแคสเปส-9 (pro-caspase-9) กลายเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนที่เรียกว่า (apoptosome) อะโพโทโซมจะย่อยโปรแคสเปสไปเป็นเอนไซม์รูปที่ทำงานได้คือ (caspase-9) ซึ่งจะกระตุ้นการทำงานของแคสเปส-3 (caspase-3)
การแสดงออกของโปรตีน MAC ถูกควบคุมโดยโปรตีนหลายตัว เช่นยีน ซึ่งเป็นกลุ่มยีนต้านอะโพโทซิสซึ่งถูกถอดรหัสในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งมีต้นกำเนิดเหมือน (homolog) กับยีน ซึ่งพบใน. โปรตีน Bcl-2 สามารถทำหน้าที่ส่งเสริมหรือยับยั้งอะโพโทซิสจากการควบคุมโดยตรงผ่าน MAC หรือทางอ้อมผ่านทางโปรตีนอื่นๆ น่าสนใจว่าการทำงานของโปรตีน Bcl-2 บางชนิดสามารถหยุดกระบวนการอะโพโทซิสแม้ว่าไซโตโครม ซี จะถูกปล่อยออกจากไมโทคอนเดรียแล้วก็ตาม
การแปรสัญญาณโดยตรง
ตัวอย่างที่สำคัญของการริเริ่มกลไกอะโพโทซิสโดยตรงในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมได้แก่โมเดลของการชักนำโดย TNF () และโมเดลที่ควบคุมโดย Fas-Fas ligand ตัวแบบทั้งสองเกี่ยวข้องกับตัวรับในกลุ่ม TNF receptor (TNFR) family ที่จับกับสัญญาณจากภายนอกเซลล์
TNF เป็นไซโตไคน์ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์แมคโครฟาจที่ถูกกระตุ้น (activated macrophage) และนับเป็นสัญญาณภายนอกเซลล์หลักที่ควบคุมกระบวนการอะโพโทซิส เซลล์ส่วนใหญ่ในร่างกายมนุษย์มีตัวรับ 2 ชนิดที่ใช้จับกับ TNF ได้แก่ TNF-R1 และ TNF-R2 การจับกันระหว่าง TNF และ TNF-R1 จะริเริ่มวิถีซึ่งนำไปสู่การกระตุ้นแคสเปสโดยผ่านโปรตีนตัวกลางบนเมมเบรนชื่อว่า TNF receptor-associated death domain (TRADD) และ Fas-associated death domain protein (FADD) นอกจากนี้การจับกับตัวรับชนิดนี้ยังทำให้เกิดการกระตุ้น ที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของเซลล์และการตอบสนองโดยการอักเสบ ความเชื่อมโยงระหว่าง TNF และกระบวนการอะโพโทซิสแสดงให้ทราบว่าเพราะเหตุใดความผิดปกติในการผลิต TNF จึงมีบทบาทหลักที่ทำให้เกิดโรคจำนวนมากในมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่ม (autoimmune disease)
(Fas receptor หรือ Apo-1 หรือ CD95) จับกับ (FasL) ซึ่งเป็นโปรตีนที่แทรกทะลุผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ (transmembrane protein) ตัวหนึ่งในกลุ่ม TNF family อันตรกิริยาระหว่าง Fas และ FasL ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างเชิงซ้อนชื่อว่า death-inducing signaling complex (DISC) ซึ่งประกอบด้วย FADD, แคสเปส-8, และแคสเปส-10 ในเซลล์บางชนิด (ที่เรียกว่า type I) แคสเปส-8 จะเข้าไปกระตุ้นเอนไซม์ชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มแคสเปส และเหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการอะโพโทซิส ส่วนในเซลล์อีกชนิดหนึ่ง (เรียกว่า type II) Fas-DISC จะมีกลไกย้อนกลับซึ่งทำให้เกิดการปล่อยแฟคเตอร์ที่กระตุ้นอะโพโทซิส (pro-apoptotic factors) จากไมโทคอนเดรียและเพิ่มการกระตุ้นแคสเปส-8 มากขึ้น
หลังจากการเหนี่ยวนำกระบวนการอะโพโทซิสโดยการกระตุ้น TNF-R1 และ Fas ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแล้ว จะเกิดการเพิ่มจำนวนของยีนกระตุ้นอะโพโทซิส (,, , หรือ ) และลดจำนวนยีนต้านอะโพโทซิส ( และ ) ซึ่งยีนทั้งสองกลุ่มต่างเป็นสมาชิกในกลุ่มยีน Bcl-2 family (homodimer) ของโปรตีนกระตุ้นอะโพโทซิสจะทำให้เยื่อหุ้มไมโทคอนเดรียมีความซึมผ่านเพื่อให้เกิดการปล่อยสารที่กระตุ้นเอนไซม์แคสเปสเช่นไซโตโครม ซี และ SMAC ออกมาจากไมโทคอนเดรียซึ่งเป็นการกระตุ้นวิถีที่ควบคุมโดยไมโทคอนเดรียอีกทางหนึ่ง ในปัจจุบันกลไกการควบคุมโปรตีนกระตุ้นอะโพโทซิสในสภาวะปกติของเซลล์ยังไม่เข้าใจแน่ชัด แต่มีการค้นพบว่าโปรตีนที่อยู่ที่เมมเบรนชั้นนอกของไมโทคอนเดรียชื่อ VDAC2 จะทำหน้าที่ควบคุมและยับยั้ง BAK ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดอะโพโทซิสที่สำคัญ เมื่อเซลล์ได้รับสัญญาณกระตุ้นการตาย ผลผลิตจากการกระตุ้นเอนไซม์แคสเปสจะเข้ามาแทนที่ VDAC2 และทำให้ BAK อยู่ในสภาวะที่ทำงานได้
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบวิถีการอะโพโทซิสโดยไม่ต้องอาศัยเอนไซม์แคสเปส ซึ่งถูกควบคุมโดยแฟคเตอร์ชักนำอะโพโทซิส AIF ()
ขั้นตอนการตาย
แม้ว่าจะมีกระบวนการและสารสื่อสัญญาณหลากหลายที่ชักนำให้เกิดกระบวนการอะโพโทซิส สุดท้ายกระบวนการทั้งหมดจะมารวมกันที่กลไกนี้ซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างแท้จริง หลังจากเซลล์ได้รับสิ่งเร้าที่เหมาะสมและผ่านการควบคุมอย่างมากมายแล้วเซลล์จะมีกระบวนการสลายออร์แกเนลล์ภายในเซลล์โดยการกระตุ้นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ (proteolytic caspase) ซึ่งจะมีลักษณะรูปร่างที่จำเพาะซึ่งสามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ดังนี้
- การหดตัวของเซลล์และแตกออกเป็นชิ้นๆ รูปกลมอันเนื่องมาจากการสลายของโปรตีน (cytoskeleton) หรือโครงเซลล์โดยเอนไซม์แคสเปส
- ไซโทพลาซึม (cytoplasm) มีลักษณะหนาแน่นขึ้น และออร์แกเนลล์จะรวมตัวกันเข้าหนาแน่นขึ้น
- โครมาติน (chromatin) หดตัวแน่นขึ้นเป็นปื้นเทียบกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสในกระบวนการที่เรียกว่า "" ซึ่งนับเป็นลักษณะสำคัญ (hallmark) ของอะโพโทซิส
- เยื่อหุ้มเซลล์เกิดบวมเป็นตุ่มหรือหน่อขึ้น เรียกว่า bleb
- เซลล์แตกออกเป็นเม็ดเล็กๆ หรือเวสซิเคิล (vesicles) ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อะโพโทติก บอดี (apoptotic bodies) ซึ่งต่อมาจะถูกจับกิน (phagocytosed) โดยเซลล์อื่นๆ
กระบวนการอะโพโทซิสจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากและเศษซากจากกระบวนการดังกล่าวจะถูกกำจัดออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้อาจตรวจพบหรือมองเห็นได้ยาก ในกระบวนการที่นิวเคลียสแตกเป็นท่อนๆ หรือ karyorrhexis เอนไซม์ (endonuclease) จะย่อยดีเอ็นเอออกเป็นท่อนสั้นๆ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันเป็นจำนวนเท่า ซึ่งทำให้เมื่อนำมาทำกระบวนการอิเล็กโตรโฟรีซิส (electrophoresis) หรือการแยกสารชีวโมเลกุลด้วยไฟฟ้าจะทำให้เห็นลักษณะเป็นขั้นบันได ("laddered" appearance) บนวุ้น (agar) ลักษณะของ DNA laddering ดังกล่าวช่วยจำแนกการตายของเซลล์แบบอะโพโทซิสออกจากการตายจากการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic) หรือจากสารชีวพิษ
การกำจัดซากเซลล์ที่ตาย
เซลล์ที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซิสในขั้นตอนสุดท้ายจะมีการนำเสนอโมเลกุลบนพื้นผิวเพื่อเป็นเครื่องหมายเรียกให้เซลล์เพื่อนบ้านมาช่วยเก็บกิน เช่น (phosphatidylserine) ฟอสฟาทิดิลซีรีนโดยสภาวะปกติแล้วจะอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ด้านใน แต่ระหว่างการอะโพโทซิสจะถูกย้ายออกมาอยู่ด้านนอกโดยเชื่อว่าเกิดจากโปรตีนชื่อ (scramblase) โมเลกุลที่เป็นเครื่องหมายดังกล่าวจะส่งสัญญาณเรียกเซลล์ข้างเคียงที่มีตัวรับที่เหมาะสม เช่น แมคโครฟาจ (macrophage) เข้ามาเกิดการกลืนกินของเซลล์ หลังจากเซลล์ข้างเคียงถูกกระตุ้นและรับรู้แล้ว เซลล์กลืนกิน (phagocyte) จะจัดเรียงไซโตสเกเลตอนใหม่เพื่อโอบกินเซลล์ตาย การกำจัดเศษซากเซลล์ที่ตายโดยเซลล์กลืนกินจะไม่ก่อให้เกิดกระบวนการอักเสบ
บทบาทของอะโพโทซิสต่อโรคต่างๆ
ความบกพร่องของวิถีอะโพโทซิส
วิถีของกระบวนการอะโพโทซิสมีจำนวนมากมายซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบทางชีวเคมีจำนวนมาก ซึ่งหลายอย่างที่ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งมีผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ ในวิถี ในสิ่งมีชีวิตความผิดปกติดังกล่าวจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงและเกิดโรคหรือความผิดปกติได้ การจะอธิบายทุกโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีอะโพโทซิสนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่ทุกโรคนั้นมีหลักการของสาเหตุที่เหมือนกัน นั่นคือวิถีอะโพโทซิสปกติถูกรบกวนทำให้เซลล์มีความผิดปกติในการเข้าสู่การตายแบบอะโพโทซิสตามปกติ ซึ่งทำให้เซลล์นั้นเป็นอมตะและสามารถแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้และเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรม เพิ่มโอกาสที่เซลล์นั้นจะกลายเป็นมะเร็งหรือก่อโรคได้
ตัวอย่างที่แสดงถึงแนวความคิดดังกล่าวพบในการเจริญของมะเร็งปอดชนิด NCI-H460 ยีนที่ชื่อว่า X-linked inhibitor of apoptosis protein () มีการแสดงออกเพิ่มมากขึ้นในเซลล์ตระกูล H460 cell line โปรตีน XIAPs จับกับเอนไซม์แคสเปส-9 และกดการทำงานของ ซึ่งเป็นโปรตีนกระตุ้นอะโพโทซิส ทำให้สารกระตุ้นอะโพโทซิสลดลงและสารต้านอะโพโทซิสเพิ่มมากขึ้น เซลล์ที่มีความเสียหายจะแบ่งตัวเพิ่มแทนที่จะถูกทำลายและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
การขาดการควบคุมจากยีน p53
โปรตีนต้านมะเร็ง p53 จะมีการสะสมมากขึ้นเมื่อดีเอ็นเอเสียหายจากปฏิกิริยาเคมีต่างๆ โดยผ่านวิถีซึ่งมีแอลฟา- (alpha-interferon) และบีตา-อินเตอร์เฟอรอน (beta-interferon) ซึ่งจะชักนำให้เกิดการถอดรหัส (transcription) ยีน p53 และเพิ่มระดับโปรตีน p53 ซึ่งช่วยส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งเกิดการตายแบบอะโพโทซิส โปรตีน p53 จะหยุดยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์โดยการหยุดวัฏจักรเซลล์ที่ระยะ G1 หรืออินเตอร์เฟส (interphase) เพื่อให้เซลล์มีการซ่อมแซมหรือชักนำให้เกิดการตายหากความเสียหายนั้นมากเกินและซ่อมแซมไม่ได้ การขาดการควบคุมจากยีน p53 หรือยีนอินเตอร์เฟอรอนจะทำให้กระบวนการอะโพโทซิสเกิดไม่ได้และอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง
การดำเนินโรคของ HIV
การดำเนินโรคของไวรัสเอชไอวีหรือโรคเอดส์นั้นโดยหลักเกิดจากการลดจำนวนของลิมโฟไซต์ชนิด CD4+ T-helper cell และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลไกหนึ่งที่ทำให้เซลล์ T helper cell ลดลงนั้นเนื่องจากกระบวนการอะโพโทซิส อันเกิดจากวิถีชีวเคมีหลากหลายอย่าง ได้แก่
- เอนไซม์ของไวรัส HIV ยับยั้งยีนต้านอะโพโทซิส Bcl-2 และกระตุ้นยีนกระตุ้นอะโพโทซิส โปรแคสเปส-8 (procaspase-8) แม้ว่ากลไกดังกล่าวไม่ได้ทำให้เซลล์ตายโดยตรงแต่เป็นการเตรียมเซลล์ให้เกิดอะโพโทซิสหลังจากได้รับสัญญาณกระตุ้น
- ผลผลิตจากเชื้อ HIV จะเพิ่มระดับของโปรตีนในเซลล์ซึ่งสนับสนุนให้เกิดกระบวนการอะโพโทซิสที่ควบคุมโดย Fas
- โปรตีนของเชื้อ HIV ลดจำนวนการแสดงออกของโมเลกุลไกลโคโปรตีน CD4 บนเยื่อหุ้มเซลล์
- การปลดปล่อยอนุภาคและโปรตีนของไวรัสออกมาภายนอกเซลล์ ชักนำกระบวนการอะโพโทซิสใน T-helper cell ตัวอื่นๆ
- ไวรัส HIV ลดการผลิตโมเลกุลที่เป็นเครื่องหมาย (marker) ให้เกิดกระบวนการอะโพโทซิส จึงชะลอเวลาให้ไวรัสสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและปล่อยสารอะโพโทซิส (apoptotic agent) และวิริออน (virion) ออกมายังเนื้อเยื่อรอบข้าง
- เซลล์ CD4+ ที่ติดเชื้อสามารถรับสัญญาณกระตุ้นการตายจาก cytotoxic T cell ทำให้เกิดอะโพโทซิส
นอกจากเซลล์ที่ติดเชื้อจะตายจากกระบวนการอะโพโทซิสแล้ว ยังจะตายจากผลของการติดเชื้อไวรัสโดยตรงได้อีกด้วย
การติดเชื้อไวรัส
ไวรัสสามารถกระตุ้นให้เซลล์ที่ติดเชื้อเกิดอะโพโทซิสได้โดยกลไกหลากหลาย เช่น
- การจับกับตัวรับ (receptor binding)
- การกระตุ้น (PKR)
- อันตรกิริยากับโปรตีน p53
- การแสดงออกของโปรตีนไวรัสร่วมกับโปรตีน MHC บนพื้นผิวของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเช่น NK cell หรือ cytotoxic T cell รับรู้ และตอบสนองโดยชักนำให้เซลล์ติดเชื้อเกิดอะโพโทซิส
ไวรัสส่วนใหญ่จะถอดรหัสโปรตีนซึ่งยับยั้งกระบวนการอะโพโทซิส ไวรัสหลายชนิดสร้างโปรตีนซึ่งมีต้นกำเนิดเหมือน (homolog) กับ Bcl-2 ซึ่งสามารถยับยั้งโปรตีนกระตุ้นอะโพโทซิส (pro-apoptotic protein) เช่น BAX และ BAK ตัวอย่างของโปรตีน Bcl-2 ของไวรัสเช่นโปรตีน BHRF1 ของ (Epstein-Barr virus) หรือโปรตีน E1B 19K ของอะดีโนไวรัส (adenovirus) ไวรัสบางชนิดแสดงออกโปรตีนที่ยับยั้งเอนไซม์แคสเปส เช่นโปรตีน CrmA ของไวรัสฝีดาษวัว (cowpox) ในขณะที่ไวรัสหลายชนิดสามารถยับยั้งการทำงานของ TNF และ Fas ตัวอย่างเช่นโปรตีน M-T2 ของมิกโซมาไวรัส (myxoma viruses) สามารถจับกับ TNF เพื่อป้องกันไม่ให้ TNF จับกับตัวรับได้ นอกจากนี้ไวรัสหลายชนิดแสดงออกโปรตีนที่ยับยั้ง p53 ซึ่งทำให้ p53 ไม่สามารถชักนำการแสดงออกของโปรตีนกระตุ้นอะโพโทซิส (pro-apoptotic proteins) และไม่สามารถชักนำให้เซลล์เกิดกระบวนการอะโพโทซิสได้ ตัวอย่างเช่นโปรตีน E1B-55K ของอะดีโนไวรัสและโปรตีน HBx ของ
น่าสนใจว่าไวรัสนั้นยังคงอยู่ภายในเซลล์ที่เกิดอะโพโทซิสโดยไม่ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะท้ายๆ ของการติดเชื้อ ไวรัสสามารถถูกขับออกมาอยู่ภายใน อะโพโทติก บอดี ที่แยกออกมาจากพื้นผิวของเซลล์ที่กำลังตาย และถูกจับกินโดยเซลล์ข้างเคียงซึ่งทำให้เกิดการกระจายของไวรัสยังเซลล์อื่นๆ ต่อไป
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Thompson, CB (1995). "Apoptosis in the pathogenesis and treatment of disease". Science. 267 (5203): 1456–62. doi:10.1126/science.7878464. PMID 7878464.
- Guerrero I, Ruiz i Altaba A (Aug 2003). "Development. Longing for ligand: hedgehog, patched, and cell death". Science (journal). 301 (5634): 774–6. doi:10.1126/science.1088625. PMID 12907783.
- Thibert C, Teillet MA, Lapointe F, Mazelin L, Le Douarin NM, Mehlen P (Aug 2003). "Inhibition of neuroepithelial patched-induced apoptosis by sonic hedgehog". Science (journal). 301 (5634): 843–6. doi:10.1126/science.1085405. PMID 12907805.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Werlen G; และคณะ (2003). "Signaling life and death in the thymus: timing is everything". Science. 299 (5614): 1859–63. doi:10.1126/science.1067833. PMID 12649474.
- Cotran RS, Kumar C (1998). Robbins Pathologic Basis of Disease. Philadelphia: W.B Saunders Company. ISBN .
- Popov SG, Villasmil R, Bernardi J; และคณะ (Apr 2002). "Lethal toxin of Bacillus anthracis causes apoptosis of macrophages". Biochem. Biophys. Res. Commun. 293 (1): 349–55. doi:10.1016/S0006-291X(02)00227-9. PMID 12054607.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Brüne B (August 2003). "Nitric oxide: NO apoptosis or turning it ON?". Cell Death and Differentiation. 10 (8): 864–869. doi:10.1038/sj.cdd.4401261. PMID 12867993.
- Chiarugi A, Moskowitz MA (2002). "PARP-1—a perpetrator of apoptotic cell death?". Science. 297 (5579): 259–63. doi:10.1126/science.1074592. PMID 12114611.
- Fesik SW, Shi Y (November 2001). "Structural biology. Controlling the caspases". Science. 294 (5546): 1477–1478. doi:10.1126/science.1062236. PMID 11711663. S2CID 11392850.
- Laurent M. Dejean, Sonia Martinez-Caballero, Kathleen W. Kinnally (2006). "Is MAC the knife that cuts cytochrome c from mitochondria during apoptosis?". Cell Death and Differentiation. 13: 1387–5. doi:10.1038/sj.cdd.4401949.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Dejean LM, Martinez-Caballero S, Manon S, Kinnally KW (Feb 2006). "Regulation of the mitochondrial apoptosis-induced channel, MAC, by BCL-2 family proteins". Biochim. Biophys. Acta. 1762 (2): 191–201. doi:10.1016/j.bbadis.2005.07.002. PMID 16055309.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Lodish, Harvey; และคณะ (2004). Molecular Cell Biology. New York: W.H. Freedman and Company. 0-7167-4366-3.
- Wajant H (2002). "The Fas signaling pathway: more than a paradigm". Science. 296 (5573): 1635–6. doi:10.1126/science.1071553. PMID 12040174.
- Chen G, Goeddel DV (2002). "TNF-R1 signaling: a beautiful pathway". Science. 296 (5573): 1634–5. doi:10.1126/science.1071924. PMID 12040173.
- Goeddel, DV (2007). . . 2007 (382): tw132. doi:10.1126/stke.3822007tw132. S2CID 85404086. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 2004-01-01.
- Wajant H (2007). . . 2007 (380): tr1. doi:10.1126/stke.3802007tr1. S2CID 84909531. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2004-01-01.
- Murphy KM, Ranganathan V, Farnsworth ML, , Lock RB (January 2000). "Bcl-2 inhibits Bax translocation from cytosol to mitochondria during drug-induced apoptosis of human tumor cells". Cell Death and Differentiation. 7 (1): 102–111. doi:10.1038/sj.cdd.4400597. PMID 10713725.
- Cheng EH (2003). "VDAC2 inhibits BAK activation and mitochondrial apoptosis". Science. 301 (5632): 513–7. doi:10.1126/science.1083995. PMID 12881569.
- Susin SA, Lorenzo HK, Zamzami N, Marzo I, Snow BE, Brothers GM, และคณะ (February 1999). "Molecular characterization of mitochondrial apoptosis-inducing factor". Nature. 397 (6718): 441–446. Bibcode:1999Natur.397..441S. doi:10.1038/17135. PMID 9989411. S2CID 204991081.
- Susin SA, Daugas E, Ravagnan L, Samejima K, Zamzami N, Loeffler M, และคณะ (August 2000). "Two distinct pathways leading to nuclear apoptosis". The Journal of Experimental Medicine. 192 (4): 571–580. doi:10.1084/jem.192.4.571. PMC 2193229. PMID 10952727.
- Kihlmark M, Imreh G, Hallberg E (October 2001). "Sequential degradation of proteins from the nuclear envelope during apoptosis". Journal of Cell Science. 114 (Pt 20): 3643–3653. doi:10.1242/jcs.114.20.3643. PMID 11707516.
- Iwata M, Myerson D, Torok-Storb B, Zager RA (December 1994). "An evaluation of renal tubular DNA laddering in response to oxygen deprivation and oxidant injury". Journal of the American Society of Nephrology. 5 (6): 1307–1313. doi:10.1681/ASN.V561307. PMID 7893995.
- Li MO, Sarkisian MR, Mehal WZ, Rakic P, Flavell RA (November 2003). "Phosphatidylserine receptor is required for clearance of apoptotic cells". Science. 302 (5650): 1560–1563. Bibcode:2003Sci...302.1560O. doi:10.1126/science.1087621. PMID 14645847. S2CID 36252352.
- Wang X, Wu YC, Fadok VA, Lee MC, Gengyo-Ando K, Cheng LC, และคณะ (November 2003). . Science. 302 (5650): 1563–1566. Bibcode:2003Sci...302.1563W. doi:10.1126/science.1087641. PMID 14645848. S2CID 25672278. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2017-02-26.
- Savill J, Gregory C, Haslett C (November 2003). "Cell biology. Eat me or die". Science. 302 (5650): 1516–1517. doi:10.1126/science.1092533. :1842/448. PMID 14645835. S2CID 13402617.
- Yang L, Mashima T, Sato S, Mochizuki M, Sakamoto H, Yamori T, และคณะ (February 2003). "Predominant suppression of apoptosome by inhibitor of apoptosis protein in non-small cell lung cancer H460 cells: therapeutic effect of a novel polyarginine-conjugated Smac peptide". Cancer Research. 63 (4): 831–837. PMID 12591734. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-20. สืบค้นเมื่อ 2008-09-04.
- Takaoka A, Hayakawa S, Yanai H, Stoiber D, Negishi H, Kikuchi H, และคณะ (July 2003). "Integration of interferon-alpha/beta signalling to p53 responses in tumour suppression and antiviral defence". Nature. 424 (6948): 516–523. Bibcode:2003Natur.424..516T. doi:10.1038/nature01850. PMID 12872134.
- Alimonti JB, Ball TB, Fowke KR (July 2003). "Mechanisms of CD4+ T lymphocyte cell death in human immunodeficiency virus infection and AIDS". The Journal of General Virology. 84 (Pt 7): 1649–1661. doi:10.1099/vir.0.19110-0. PMID 12810858.
- Everett H, McFadden G (April 1999). "Apoptosis: an innate immune response to virus infection". Trends in Microbiology. 7 (4): 160–165. doi:10.1016/S0966-842X(99)01487-0. PMID 10217831.
- Teodoro JG, Branton PE (March 1997). "Regulation of apoptosis by viral gene products". Journal of Virology. 71 (3): 1739–1746. doi:10.1128/jvi.71.3.1739-1746.1997. PMC 191242. PMID 9032302.
- Polster BM, Pevsner J, Hardwick JM (March 2004). "Viral Bcl-2 homologs and their role in virus replication and associated diseases". Biochimica et Biophysica Acta (BBA) - Molecular Cell Research. 1644 (2–3): 211–227. doi:10.1016/j.bbamcr.2003.11.001. PMID 14996505.
- Hay S, Kannourakis G (July 2002). "A time to kill: viral manipulation of the cell death program". The Journal of General Virology. 83 (Pt 7): 1547–1564. 10.1.1.322.6923. doi:10.1099/0022-1317-83-7-1547. PMID 12075073.
- Wang XW, Gibson MK, Vermeulen W, Yeh H, Forrester K, Stürzbecher HW, และคณะ (December 1995). "Abrogation of p53-induced apoptosis by the hepatitis B virus X gene". Cancer Research. 55 (24): 6012–6016. PMID 8521383.
แหล่งข้อมูลอื่น
- Apoptosis & Caspase 3, – animation
- Apoptosis & Caspase 8, – animation
- Apoptosis & Caspase 7, – animation
- Apoptosis MiniCOPE Dictionary – list of apoptosis terms and acronyms
- Apoptosis (Programmed Cell Death) – The Virtual Library of Biochemistry, Molecular Biology and Cell Biology 2021-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Apoptosis protocols, articles, news, and recent publications.
- Apoptosis Video (WEHI on YouTube )
- The Mechanisms of Apoptosis 2018-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Kimball's Biology Pages. Simple explanation of the mechanisms of apoptosis triggered by internal signals (bcl-2), along the caspase-9, caspase-3 and caspase-7 pathway; and by external signals (FAS and TNF), along the caspase 8 pathway. Accessed 25 March 2007.
- WikiPathways – Apoptosis pathway 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- . CR magazine (Spring 2007). Article on apoptosis and cancer.
- Xiaodong Wang's lecture: Introduction to Apoptosis 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Robert Horvitz's Short Clip: Discovering Programmed Cell Death
- The Bcl-2 Database 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- DeathBase: a database of proteins involved in cell death, curated by experts
- European Cell Death Organization
- Apoptosis signaling pathway created by Cusabio
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
xaphxphothsis xngkvs Apoptosis epnrupaebbhnungkhxngkartaykhxngesllaebbthimikaropraekrmiwaelw programmed cell death khxngsingmichiwithlayesll sungekiywkhxngkbchudkhxngptikiriyathangchiwekhmisungthaiheslltayxyangmilksnathiechphaa hruxklawxyangcaephaakhuxepnchudkhxngptikiriyathangchiwekhmithithaihesllmisnthanwithyaepliynaeplnghlayrupaebb echn karbwmkhxngesll blebbing karepliynaeplngkhxngeyuxhumesllechnkarehiywkhxngesll niwekhliysaetkepnchinswn okhrmatinhnatwkhun aeladiexnexaetkepnthxn krabwnkarkacdesssakesllkcaimthaihekidkarkratunihenuxeyuxkhangekhiyngekidkhwamesiyhaysungtangcakkartayaebbkartayechphaaswnhruxenokhrsis necrosis phaphtdkhwangkhxngtbhnuaesdngesllthitayaebbxaophothsis luksr xaphxphothsisepnkartaythiekidkhuntampktiinkrabwnkarecriyphthnakhxngsingmichiwit sungtangcakkartayechphaaswnthiekidcakkarbadecbkhxngesllaebbechiybphln xaphxphothsisekiywkhxngkbkarphthnaruprangaelaxwywakhxngexmbriox echnkarecriykhxngniwmuxaelaniwethaenuxngcakesllthixyurahwangniwxaphxphothsisipthaihniwthnghaaeykxxkcakkn odyechliyaelwinphuihycamiesllraw 5 hmunlanthung 7 hmunlaneslltayaebbxaophothsisthukwn aelainedkxayu 8 14 picamieslltayraw 2 hmunlanthung 3 hmunlaneslltxwn nganwicyekiywkbkartayaebbxaphxphothsismicanwnephimmakkhuntngaettnthswrrsthi 1990 thaihmikarkhnphbkartayaebbxaophothsisthiphidpktiinorkhtang hakxaphxphothsisekidkhunmakekinipcathaihekidkarfxkhxngxwywa echninphawakarkhadeluxdechphaathi ischemic damage inkhnathikartayaebbxaphxphothsisthiimephiyngphxthaihekidesllthiephimcanwnxyangkhwbkhumimid echnmaerngbthbathhnathikhxngxaphxphothsiskarhyudkarecriykhxngesll xaphxphothsiscaekidkhuninesllthiesiyhayekinkwacasxmaesmid echn tidechuxiwrs hruxxyuinphawakddnechnkarxdxahar khwamesiyhaykhxngdiexnexphayinesllcakrngsiaetktw ionizing radiation hruxsarphiscachknaihekidxaophothsisodyphankarthangankhxng tumour suppressing gene chux p53 kar tdsinic khxngesllwacaekhasukrabwnkarxaphxphothsisxackhunkbpccykhxngesllexng pccykhxngenuxeyuxrxb aelacakesllsungepnswnhnungkhxngrabbphumikhumkn inkrniniesllcaekidkarxaphxphothsisephuxkacdesllthiesiyhay ephuxpxngknkarkracaykhxngiwrs aelaephuxldcanwnesllinphawaxdxaharephuxcaidimtxngdungxaharcaksingmichiwittamladb xaphxphothsisyngmibthbathinkarpxngknmaerng hakesllimsamarththicaekidkartayaebbxaphxphothsisxnenuxngmacakkarklayphnthu mutation hruxkarybyngkrabwnkarthangchiwekhmicathaihesllaebngtwtxenuxngaelaecriyklayepnenuxngxk twxyangechn kartidechux cathaihyinkhxngiwrsekhaaethrkinoprtin p53 khxngesllsungepnoprtinsakhyinwithixaophothsis karrbkwnkrabwnkarxaphxphothsisdngklawepnpccysakhyinkarecriykhxngmaerngpakmdluk phawatharngdul insingmichiwittwetmwy canwnkhxngesllcakhxnkhangkhngthiodykrabwnkartaykhxngesllaelakaraebngesllthdaethn esllcatxngthukthdaethnemuxesllnnepnorkhhruxthahnathiphidpktiip aetkarephimcanwnkhxngesllktxngthukchdechydwykartaykhxngesll sungepnkrabwnkarhnunginphawatharngdul homeostasis thicaepninsingmichiwitephuxrksaphawaphayinrangkayihxyuinradbthiehmaasm phawatharngdulkhxngcanwnesllinrangkayekidkhunemuxxtrakaraebngesllaebbimothsisinenuxeyuxsmdulkbkartaykhxngesll hakphawasmduldngklawthukrbkwn cathaihekidkhwamphidpktisungxacepnxntraythungchiwitid 2 aebb idaek esllaebngtwerwkwathieslltay cathaihekidkarecriyipepnenuxngxk esllaebngtwchakwathieslltay cathaihekidkhwamphidpktiekiywkbkarsuyesiyesll insingmichiwithlayesllcatxngmikrabwnkarxnsbsxndngklawephuxkhwbkhumphawatharngdulphayinrangkayxyangekhmngwdephuxihsamarthdarngchiwittxipid sungtxngxasykarsngsyyankhxngesll cell signaling hlaychnid karesiyhnathikhxngkarkhwbkhuminkhntxnidkhntxnhnungcathaihekidkhwamphidpktihruxekidorkhid echn karsuyesiykarkhwbkhumkhxngwithikarsngsyyan signaling pathway xacthaihekidsyyanthimakekinipaelakxihekidmaerng twxyangthiehnidchdkhuxechnwithisungsngsyyantanxaphxphothsiskhxngesllphbwasamarthkratunihekidmaerngchnidtxmkhxngtbxxn pancreatic adenocarcinoma phthnakar syndactyly epnkarepliynaeplngthiphidpkticakkarkhadkrabwnkarxaphxphothsis Programmed cell death hruxkrabwnkartaykhxngesllthimikaropraekrmiwepnswnhnungkhxngphthnakarkhxngthngenuxeyuxphuchaelastw karecriyetibotkhxngxwywahruxenuxeyuxmkcaerimdwykaraebngesllhruxkarepliynruprangesllthimakekinkhwr caknncungtammadwykrabwnkarxaphxphothsisephuxprbrupaebbihenuxeyuxmikhnadaelaruprangpkti odyepnkartaykhxngesllthimilksnaesllhdtwaelaaetkepnthxn sungtangcakkartaykhxngesllthiekidcakkarbadecb karaetkepnthxn thaihsakesllsamarththukcbkinaelanaxngkhprakxbkhxngesllklbmaichihmodyimmikarhlngsarphayinesllthitay echn exnism sungkxxntraytxenuxeyuxkhangekhiyng inkarwicyexmbrioxkhxngikaesdngihehnwamikarkhdeluxkkaraebngesll selective cell proliferation rwmkbkarkhdeluxkkarxaphxphothsis selective apoptosis sungchwytkaetngenuxeyuxthikalngecriyphthnakhxngstwmikraduksnhlng inrahwangphthnakarkhxngexmbrioxkhxngstwthimikraduksnhlng okhrngsrangthieriykwa notochord aela floor plate hlngomelkulsngsyyanchuxwa ladkhwamekhmkhn gradient nicachwynaphaesllephuxprakxbepnokhrngsrangkhxng neural tube khxngexmbriox klawkhuxesllthiidrbsarsuxsyyan Shh phanthangtwrb receptor chuxwa Patched1 Ptc1 bneyuxhumesllcasamarthmichiwitxyuaelaaebngeslltxip inthangtrngknkham hakimmisar Shh swnplaydankharbxksikhxngomelkultwrb Ptc1 sungxyuphayinesllcathuktdodyexnismaekhseps 3 caspase 3 sungcaesnxodemnthikratunkrabwnkarxaophothsis apoptosis producing domain inrahwangkarecriyetibot krabwnkarxaphxphothsiscathukkhwbkhumxyangekhmngwd aelainaetlaenuxeyuxcamisyyaninkarchknaxaphxphothsisthiaetktangknxxkip innkoprtinthichuxwa BMP sngsyyanchknaxaphxphothsisinenuxeyuxrahwangniw inaemlngwn misetxrxydhxromnthahnathikhwbkhumkartaykhxngesll inthangklbknnykhxngkarecriyetibotsamarthchknakrabwnkarxaphxphothsis twxyangechnkartaykhxngesllthicaephaakbephs sex specific cell death khxngesnprasath hermaphrodite specific neurons in ephsphuphanthangkaraesdngxxkthildlngkhxng transcription factor TRA 1 yin TRA 1 chwypxngknkartaykhxngesll ptikiriyarahwangknkhxnglimofist phthnakarkhxngbiesll B cell aelathiesll T cell sungepnesllinrabbphumikhumknthahnathiinkarkacdsingaeplkplxminrangkaymnusyepnkrabwnkarxnsbsxnsungthaihekidklumkhxngesllthimikhwamhlakhlay sungxacthaihmiesllbangesllthikxihekidxntraytxrangkayid echnkarekidphumitanenuxeyuxtnexng xaphxphothsisepnklikkhxngrangkaythikacdeslltwxxninrabbphumikhumknthiimmiprasiththiphaphhruxkxihekidxntraytxrangkay odyinthiesllcaerimthukchknakartayodykarkhadsyyanthichwydarngchiph survival signal Cytotoxic T cell epnesllinrabbphumikhumknsungsamarthchknaxaophothsiskhxngesllxunodytrngodykarecaarubnphunphiwkhxngepahmayaelahlngsarekhmisungldekhasuwithixaphxphothsis karekidrubnemmebrnekidcaksarekhmithichux perforin aelaaekrnulsungmisar granzyme B sungepnexnism serine protease sungkratunexnismaekhsepshlaytwodykartdswn ersidiw aspartate residue krabwnkarkrabwnkarxaphxphothsisthukkhwbkhumodykarsngsyyankhxngesll cell signalling hlakhlaychnidsungxacerimtncakphaynxkesll extrinsic inducers hruxphayinesll intrinsic inducers syyancakphaynxkesll idaek toxin hxromn growth factor intrikxxkisd nitric oxide hruxisotikhn cytokine sungxacekhamaphayinesllphanhruxphantwaeprsyyan signal transduction ephuxthaihekidkartxbsnxng syyanthiekhamannxackratunhruxybyngxaphxphothsiskid syyanxaphxphothsiscakphayinesllepnkartxbsnxngkhxngeslltxphawakddn stress tang aelamkcasngphlsudthaykxihekidkar khatwtay khxngesll karcbkbtwrb receptor khxngniwekhliyskhxngkluokhkhxrtikhxyd glucocorticoid khwamrxn rngsi karkhadsarxahar kartidechuxiwrs aelaphawaeluxdmixxksiecnnxy hypoxia thnghmdepnpccythinaipsukarplxysyyanxaphxphothsisphayinesllcakesllthiesiyhay xngkhprakxbphayinesllcanwnmak echn samarthchwykhwbkhumkrabwnkarxaophothsisid kxnthikrabwnkartaykhxngesllcaekidkhunodyexnism syyanxaphxphothsiscatxngechuxmkbwithikartay actual death pathway odykrabwnkarkhxngoprtintwkhwbkhum regulatory proteins khntxnnicathaihsyyanxaphxphothsisnnchknaihesllnnekhasukrabwnkarxaphxphothsis hruxsyyannnthukthalayaelaesllimtxngtaykid krabwnkardngklawmioprtinhlaytwthimiswnekiywkhxng sungsrupidwami 2 withihlk thithahnathikhwbkhum khuxwithithikhwbkhumodyimothkhxnedriy targeting mitochondria functionality aelakaraeprsyyanodytrngphanoprtintwprb adapter proteins ipyngklikxaophothsis krabwnkaretriymkarthnghmdtangtxngkarphlngnganaelakarthangankhxngesll karkhwbkhumodyimothkhxnedriy imothkhxnedriy mitochondria epnxxraekenllthicaepnsahrbsingmichiwithlayesll hakesllimmiimothkhxnedriyesllnncahyudkarhayicaebbichxxksiecnaelatayxyangrwderw sungnnepnhnunginwithichknakartaykhxngkrabwnkarxaphxphothsis oprtinthiekiywkhxngkbxaphxphothsissungmiepahmaythiimothkhxnedriycaekhaipmiphlinhlakhlaythang echn karthaihimothkhxnedriybwmodykarecaarubnphiwemmebrn hruxxacephimsphaphsumphan permeability khxngeyuxhumimothkhxnedriysungthaihsarkhwbkhumkrabwnkarxaophothsisrwxxkma nxkcakniyngphbhlkthanbngchiwaintrikxxkisd NO yngmiswnchknaxaophothsisodykarldskyeyuxesll membrane potential khxngimothkhxnedriyaelaephimsphaphsumphankhxngeyuxhumimothkhxnedriy hlngcakthisphaphsumphankhxngeyuximothkhxnedriyephimkhun oprtinkhxngimothkhxnedriychuxwa SMACs second mitochondria derived activator of caspases cathukplxyxxkmayngsarnainesll cytosol SMAC cacbaelaldkarthangankhxngoprtintankarxaphxphothsis IAPs inhibitor of apoptosis proteins sungthaihoprtin IAPs imsamarthiphyudkrabwnkarxaphxphothsis aelathaihkrabwnkarnidaenintxipid odypktiaelw IAP cathahnathikdkarthangankhxngklumexnism cysteine protease thichuxwa caspases sungepnexnismthithahnathithaihesllesuxmsphaph caehnwakarthangankhxngexnismaekhsepsnnthukkhwbkhumthangxxmcaksphaphsumphankhxngimothkhxnedriy Cytochrome c kepnxiktwhnungthithukplxyxxkmacakimothkhxnedriycakkarsrangchxngwangthichux khxngeyuxhumchnnxkkhxngimothkhxnedriy aelathahnathiepnoprtinkhwbkhumephraamncaepliynruprangkxnthicaekidkrabwnkarxaophothsis emuxisotokhrm si thukplxyxxkmacaekhacbkboprtin aela ATP aelacbkb opraekhseps 9 pro caspase 9 klayepnokhrngsrangechingsxnthieriykwa apoptosome xaophothosmcayxyopraekhsepsipepnexnismrupthithanganidkhux caspase 9 sungcakratunkarthangankhxngaekhseps 3 caspase 3 karaesdngxxkkhxngoprtin MAC thukkhwbkhumodyoprtinhlaytw echnyin sungepnklumyintanxaophothsissungthukthxdrhsinstweliynglukdwynanm sungmitnkaenidehmuxn homolog kbyin sungphbin oprtin Bcl 2 samarththahnathisngesrimhruxybyngxaophothsiscakkarkhwbkhumodytrngphan MAC hruxthangxxmphanthangoprtinxun nasnicwakarthangankhxngoprtin Bcl 2 bangchnidsamarthhyudkrabwnkarxaophothsisaemwaisotokhrm si cathukplxyxxkcakimothkhxnedriyaelwktam karaeprsyyanodytrng phaphrwmkhxngwithikaraeprsyyanodytrng signal transduction pathways phaphrwmkhxngkarsngsyyankhxng TNF inkrabwnkarxaophothsis sungepntwxyangkhxngkaraeprsyyanodytrng direct signal transduction phaphrwmkhxngkarsngsyyankhxng Fas inkrabwnkarxaophothsis sungepntwxyangkhxngkaraeprsyyanodytrng direct signal transduction twxyangthisakhykhxngkarrierimklikxaophothsisodytrnginstweliynglukdwynanmidaekomedlkhxngkarchknaody TNF aelaomedlthikhwbkhumody Fas Fas ligand twaebbthngsxngekiywkhxngkbtwrbinklum TNF receptor TNFR family thicbkbsyyancakphaynxkesll TNF epnisotikhnthithuksrangkhunmacakesllaemkhokhrfacthithukkratun activated macrophage aelanbepnsyyanphaynxkesllhlkthikhwbkhumkrabwnkarxaophothsis esllswnihyinrangkaymnusymitwrb 2 chnidthiichcbkb TNF idaek TNF R1 aela TNF R2 karcbknrahwang TNF aela TNF R1 carierimwithisungnaipsukarkratunaekhsepsodyphanoprtintwklangbnemmebrnchuxwa TNF receptor associated death domain TRADD aela Fas associated death domain protein FADD nxkcaknikarcbkbtwrbchnidniyngthaihekidkarkratun thiekiywkhxngkbkarxyurxdkhxngesllaelakartxbsnxngodykarxkesb khwamechuxmoyngrahwang TNF aelakrabwnkarxaophothsisaesdngihthrabwaephraaehtuidkhwamphidpktiinkarphlit TNF cungmibthbathhlkthithaihekidorkhcanwnmakinmnusy odyechphaaklum autoimmune disease Fas receptor hrux Apo 1 hrux CD95 cbkb FasL sungepnoprtinthiaethrkthaluphaneyuxhumesll transmembrane protein twhnunginklum TNF family xntrkiriyarahwang Fas aela FasL thaihekidepnokhrngsrangechingsxnchuxwa death inducing signaling complex DISC sungprakxbdwy FADD aekhseps 8 aelaaekhseps 10 inesllbangchnid thieriykwa type I aekhseps 8 caekhaipkratunexnismchnidxun thixyuinklumaekhseps aelaehniywnaihekidkrabwnkarxaophothsis swninesllxikchnidhnung eriykwa type II Fas DISC camiklikyxnklbsungthaihekidkarplxyaefkhetxrthikratunxaophothsis pro apoptotic factors cakimothkhxnedriyaelaephimkarkratunaekhseps 8 makkhun hlngcakkarehniywnakrabwnkarxaophothsisodykarkratun TNF R1 aela Fas inesllkhxngstweliynglukdwynanmaelw caekidkarephimcanwnkhxngyinkratunxaophothsis hrux aelaldcanwnyintanxaophothsis aela sungyinthngsxngklumtangepnsmachikinklumyin Bcl 2 family homodimer khxngoprtinkratunxaophothsiscathaiheyuxhumimothkhxnedriymikhwamsumphanephuxihekidkarplxysarthikratunexnismaekhsepsechnisotokhrm si aela SMAC xxkmacakimothkhxnedriysungepnkarkratunwithithikhwbkhumodyimothkhxnedriyxikthanghnung inpccubnklikkarkhwbkhumoprtinkratunxaophothsisinsphawapktikhxngesllyngimekhaicaenchd aetmikarkhnphbwaoprtinthixyuthiemmebrnchnnxkkhxngimothkhxnedriychux VDAC2 cathahnathikhwbkhumaelaybyng BAK sungepntwkarthithaihekidxaophothsisthisakhy emuxesllidrbsyyankratunkartay phlphlitcakkarkratunexnismaekhsepscaekhamaaethnthi VDAC2 aelathaih BAK xyuinsphawathithanganid nxkcakniyngmikarkhnphbwithikarxaophothsisodyimtxngxasyexnismaekhseps sungthukkhwbkhumodyaefkhetxrchknaxaophothsis AIF khntxnkartay aemwacamikrabwnkaraelasarsuxsyyanhlakhlaythichknaihekidkrabwnkarxaophothsis sudthaykrabwnkarthnghmdcamarwmknthikliknisungthaiheslltayxyangaethcring hlngcakesllidrbsingerathiehmaasmaelaphankarkhwbkhumxyangmakmayaelwesllcamikrabwnkarslayxxraekenllphayinesllodykarkratunexnismthithahnathi proteolytic caspase sungcamilksnaruprangthicaephaasungsamarthmxngehnidphayitklxngculthrrsndngni karhdtwkhxngesllaelaaetkxxkepnchin rupklmxnenuxngmacakkarslaykhxngoprtin cytoskeleton hruxokhrngesllodyexnismaekhseps isothphlasum cytoplasm milksnahnaaennkhun aelaxxraekenllcarwmtwknekhahnaaennkhun okhrmatin chromatin hdtwaennkhunepnpunethiybkbeyuxhumniwekhliysinkrabwnkarthieriykwa sungnbepnlksnasakhy hallmark khxngxaophothsis eyuxhumesllekidbwmepntumhruxhnxkhun eriykwa bleb esllaetkxxkepnemdelk hruxewssiekhil vesicles sungmichuxeriykechphaawa xaophothtik bxdi apoptotic bodies sungtxmacathukcbkin phagocytosed odyesllxun krabwnkarxaophothsiscaekidkhunxyangrwderwmakaelaesssakcakkrabwnkardngklawcathukkacdxxkipxyangrwderw thaihxactrwcphbhruxmxngehnidyak inkrabwnkarthiniwekhliysaetkepnthxn hrux karyorrhexis exnism endonuclease cayxydiexnexxxkepnthxnsn sungmikhnadaetktangknepncanwnetha sungthaihemuxnamathakrabwnkarxielkotrofrisis electrophoresis hruxkaraeyksarchiwomelkuldwyiffacathaihehnlksnaepnkhnbnid laddered appearance bnwun agar lksnakhxng DNA laddering dngklawchwycaaenkkartaykhxngesllaebbxaophothsisxxkcakkartaycakkarkhadeluxdechphaathi ischemic hruxcaksarchiwphis karkacdsakesllthitay esllthitaycakkrabwnkarxaophothsisinkhntxnsudthaycamikarnaesnxomelkulbnphunphiwephuxepnekhruxnghmayeriykihesllephuxnbanmachwyekbkin echn phosphatidylserine fxsfathidilsirinodysphawapktiaelwcaxyuthieyuxhumeslldanin aetrahwangkarxaophothsiscathukyayxxkmaxyudannxkodyechuxwaekidcakoprtinchux scramblase omelkulthiepnekhruxnghmaydngklawcasngsyyaneriykesllkhangekhiyngthimitwrbthiehmaasm echn aemkhokhrfac macrophage ekhamaekidkarklunkinkhxngesll hlngcakesllkhangekhiyngthukkratunaelarbruaelw esllklunkin phagocyte cacderiyngisotsekeltxnihmephuxoxbkineslltay karkacdesssakesllthitayodyesllklunkincaimkxihekidkrabwnkarxkesbbthbathkhxngxaophothsistxorkhtangkhwambkphrxngkhxngwithixaophothsis phaphtdkhxngtbhnuaesdngesllthiekidxaophothsiscanwnmak luksr phaphtdkhxngtbhnuaesdngesllthiekidkrabwnkarxaophothsis sism withikhxngkrabwnkarxaophothsismicanwnmakmaysungprakxbdwyxngkhprakxbthangchiwekhmicanwnmak sunghlayxyangthiyngimmikhaxthibaythichdecn xyangirktamkarepliynaeplnghruxkhwamphidpktikhxngxngkhprakxbidxngkhprakxbhnungmiphlkrathbtxxngkhprakxbxun inwithi insingmichiwitkhwamphidpktidngklawcamiphlkrathbxyangrunaerngaelaekidorkhhruxkhwamphidpktiid karcaxthibaythukorkhthiekidcakkarepliynaeplngkhxngwithixaophothsisnnepnipimid aetthukorkhnnmihlkkarkhxngsaehtuthiehmuxnkn nnkhuxwithixaophothsispktithukrbkwnthaihesllmikhwamphidpktiinkarekhasukartayaebbxaophothsistampkti sungthaihesllnnepnxmtaaelasamarthaebngtwxyangkhwbkhumimidaelaephimoxkasekidkhwamphidpktikhxngsarphnthukrrm ephimoxkasthiesllnncaklayepnmaernghruxkxorkhid twxyangthiaesdngthungaenwkhwamkhiddngklawphbinkarecriykhxngmaerngpxdchnid NCI H460 yinthichuxwa X linked inhibitor of apoptosis protein mikaraesdngxxkephimmakkhunineslltrakul H460 cell line oprtin XIAPs cbkbexnismaekhseps 9 aelakdkarthangankhxng sungepnoprtinkratunxaophothsis thaihsarkratunxaophothsisldlngaelasartanxaophothsisephimmakkhun esllthimikhwamesiyhaycaaebngtwephimaethnthicathukthalayaelaklayepnmaernginthisud karkhadkarkhwbkhumcakyin p53 oprtintanmaerng p53 camikarsasmmakkhunemuxdiexnexesiyhaycakptikiriyaekhmitang odyphanwithisungmiaexlfa alpha interferon aelabita xinetxrefxrxn beta interferon sungcachknaihekidkarthxdrhs transcription yin p53 aelaephimradboprtin p53 sungchwysngesrimihesllmaerngekidkartayaebbxaophothsis oprtin p53 cahyudyngkaraebngtwephimcanwnkhxngesllodykarhyudwtckresllthiraya G1 hruxxinetxrefs interphase ephuxihesllmikarsxmaesmhruxchknaihekidkartayhakkhwamesiyhaynnmakekinaelasxmaesmimid karkhadkarkhwbkhumcakyin p53 hruxyinxinetxrefxrxncathaihkrabwnkarxaophothsisekidimidaelaxacekidkarepliynaeplngepnesllmaerng kardaeninorkhkhxng HIV kardaeninorkhkhxngiwrsexchixwihruxorkhexdsnnodyhlkekidcakkarldcanwnkhxnglimofistchnid CD4 T helper cell aelathaihrabbphumikhumknbkphrxng klikhnungthithaihesll T helper cell ldlngnnenuxngcakkrabwnkarxaophothsis xnekidcakwithichiwekhmihlakhlayxyang idaek exnismkhxngiwrs HIV ybyngyintanxaophothsis Bcl 2 aelakratunyinkratunxaophothsis opraekhseps 8 procaspase 8 aemwaklikdngklawimidthaiheslltayodytrngaetepnkaretriymesllihekidxaophothsishlngcakidrbsyyankratun phlphlitcakechux HIV caephimradbkhxngoprtininesllsungsnbsnunihekidkrabwnkarxaophothsisthikhwbkhumody Fas oprtinkhxngechux HIV ldcanwnkaraesdngxxkkhxngomelkuliklokhoprtin CD4 bneyuxhumesll karpldplxyxnuphakhaelaoprtinkhxngiwrsxxkmaphaynxkesll chknakrabwnkarxaophothsisin T helper cell twxun iwrs HIV ldkarphlitomelkulthiepnekhruxnghmay marker ihekidkrabwnkarxaophothsis cungchalxewlaihiwrssamarthaebngtwephimcanwnaelaplxysarxaophothsis apoptotic agent aelawirixxn virion xxkmayngenuxeyuxrxbkhang esll CD4 thitidechuxsamarthrbsyyankratunkartaycak cytotoxic T cell thaihekidxaophothsis nxkcakesllthitidechuxcataycakkrabwnkarxaophothsisaelw yngcataycakphlkhxngkartidechuxiwrsodytrngidxikdwy kartidechuxiwrs iwrssamarthkratunihesllthitidechuxekidxaophothsisidodyklikhlakhlay echn karcbkbtwrb receptor binding karkratun PKR xntrkiriyakboprtin p53 karaesdngxxkkhxngoprtiniwrsrwmkboprtin MHC bnphunphiwkhxngesllthitidechuxiwrs sungthaihesllinrabbphumikhumknechn NK cell hrux cytotoxic T cell rbru aelatxbsnxngodychknaiheslltidechuxekidxaophothsis iwrsswnihycathxdrhsoprtinsungybyngkrabwnkarxaophothsis iwrshlaychnidsrangoprtinsungmitnkaenidehmuxn homolog kb Bcl 2 sungsamarthybyngoprtinkratunxaophothsis pro apoptotic protein echn BAX aela BAK twxyangkhxngoprtin Bcl 2 khxngiwrsechnoprtin BHRF1 khxng Epstein Barr virus hruxoprtin E1B 19K khxngxadioniwrs adenovirus iwrsbangchnidaesdngxxkoprtinthiybyngexnismaekhseps echnoprtin CrmA khxngiwrsfidasww cowpox inkhnathiiwrshlaychnidsamarthybyngkarthangankhxng TNF aela Fas twxyangechnoprtin M T2 khxngmikosmaiwrs myxoma viruses samarthcbkb TNF ephuxpxngknimih TNF cbkbtwrbid nxkcakniiwrshlaychnidaesdngxxkoprtinthiybyng p53 sungthaih p53 imsamarthchknakaraesdngxxkkhxngoprtinkratunxaophothsis pro apoptotic proteins aelaimsamarthchknaihesllekidkrabwnkarxaophothsisid twxyangechnoprtin E1B 55K khxngxadioniwrsaelaoprtin HBx khxng nasnicwaiwrsnnyngkhngxyuphayinesllthiekidxaophothsisodyimidrbkhwamesiyhayodyechphaaxyangyinginrayathay khxngkartidechux iwrssamarththukkhbxxkmaxyuphayin xaophothtik bxdi thiaeykxxkmacakphunphiwkhxngesllthikalngtay aelathukcbkinodyesllkhangekhiyngsungthaihekidkarkracaykhxngiwrsyngesllxun txipduephimkartayechphaaswn withyaphumikhumknxangxingThompson CB 1995 Apoptosis in the pathogenesis and treatment of disease Science 267 5203 1456 62 doi 10 1126 science 7878464 PMID 7878464 Guerrero I Ruiz i Altaba A Aug 2003 Development Longing for ligand hedgehog patched and cell death Science journal 301 5634 774 6 doi 10 1126 science 1088625 PMID 12907783 Thibert C Teillet MA Lapointe F Mazelin L Le Douarin NM Mehlen P Aug 2003 Inhibition of neuroepithelial patched induced apoptosis by sonic hedgehog Science journal 301 5634 843 6 doi 10 1126 science 1085405 PMID 12907805 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Werlen G aelakhna 2003 Signaling life and death in the thymus timing is everything Science 299 5614 1859 63 doi 10 1126 science 1067833 PMID 12649474 Cotran RS Kumar C 1998 Robbins Pathologic Basis of Disease Philadelphia W B Saunders Company ISBN 978 0 7216 7335 6 Popov SG Villasmil R Bernardi J aelakhna Apr 2002 Lethal toxin of Bacillus anthracis causes apoptosis of macrophages Biochem Biophys Res Commun 293 1 349 55 doi 10 1016 S0006 291X 02 00227 9 PMID 12054607 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Brune B August 2003 Nitric oxide NO apoptosis or turning it ON Cell Death and Differentiation 10 8 864 869 doi 10 1038 sj cdd 4401261 PMID 12867993 Chiarugi A Moskowitz MA 2002 PARP 1 a perpetrator of apoptotic cell death Science 297 5579 259 63 doi 10 1126 science 1074592 PMID 12114611 Fesik SW Shi Y November 2001 Structural biology Controlling the caspases Science 294 5546 1477 1478 doi 10 1126 science 1062236 PMID 11711663 S2CID 11392850 Laurent M Dejean Sonia Martinez Caballero Kathleen W Kinnally 2006 Is MAC the knife that cuts cytochrome c from mitochondria during apoptosis Cell Death and Differentiation 13 1387 5 doi 10 1038 sj cdd 4401949 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Dejean LM Martinez Caballero S Manon S Kinnally KW Feb 2006 Regulation of the mitochondrial apoptosis induced channel MAC by BCL 2 family proteins Biochim Biophys Acta 1762 2 191 201 doi 10 1016 j bbadis 2005 07 002 PMID 16055309 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Lodish Harvey aelakhna 2004 Molecular Cell Biology New York W H Freedman and Company 0 7167 4366 3 Wajant H 2002 The Fas signaling pathway more than a paradigm Science 296 5573 1635 6 doi 10 1126 science 1071553 PMID 12040174 Chen G Goeddel DV 2002 TNF R1 signaling a beautiful pathway Science 296 5573 1634 5 doi 10 1126 science 1071924 PMID 12040173 Goeddel DV 2007 2007 382 tw132 doi 10 1126 stke 3822007tw132 S2CID 85404086 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 07 10 subkhnemux 2004 01 01 Wajant H 2007 2007 380 tr1 doi 10 1126 stke 3802007tr1 S2CID 84909531 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2009 05 03 subkhnemux 2004 01 01 Murphy KM Ranganathan V Farnsworth ML Lock RB January 2000 Bcl 2 inhibits Bax translocation from cytosol to mitochondria during drug induced apoptosis of human tumor cells Cell Death and Differentiation 7 1 102 111 doi 10 1038 sj cdd 4400597 PMID 10713725 Cheng EH 2003 VDAC2 inhibits BAK activation and mitochondrial apoptosis Science 301 5632 513 7 doi 10 1126 science 1083995 PMID 12881569 Susin SA Lorenzo HK Zamzami N Marzo I Snow BE Brothers GM aelakhna February 1999 Molecular characterization of mitochondrial apoptosis inducing factor Nature 397 6718 441 446 Bibcode 1999Natur 397 441S doi 10 1038 17135 PMID 9989411 S2CID 204991081 Susin SA Daugas E Ravagnan L Samejima K Zamzami N Loeffler M aelakhna August 2000 Two distinct pathways leading to nuclear apoptosis The Journal of Experimental Medicine 192 4 571 580 doi 10 1084 jem 192 4 571 PMC 2193229 PMID 10952727 Kihlmark M Imreh G Hallberg E October 2001 Sequential degradation of proteins from the nuclear envelope during apoptosis Journal of Cell Science 114 Pt 20 3643 3653 doi 10 1242 jcs 114 20 3643 PMID 11707516 Iwata M Myerson D Torok Storb B Zager RA December 1994 An evaluation of renal tubular DNA laddering in response to oxygen deprivation and oxidant injury Journal of the American Society of Nephrology 5 6 1307 1313 doi 10 1681 ASN V561307 PMID 7893995 Li MO Sarkisian MR Mehal WZ Rakic P Flavell RA November 2003 Phosphatidylserine receptor is required for clearance of apoptotic cells Science 302 5650 1560 1563 Bibcode 2003Sci 302 1560O doi 10 1126 science 1087621 PMID 14645847 S2CID 36252352 Wang X Wu YC Fadok VA Lee MC Gengyo Ando K Cheng LC aelakhna November 2003 Science 302 5650 1563 1566 Bibcode 2003Sci 302 1563W doi 10 1126 science 1087641 PMID 14645848 S2CID 25672278 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2021 04 14 subkhnemux 2017 02 26 Savill J Gregory C Haslett C November 2003 Cell biology Eat me or die Science 302 5650 1516 1517 doi 10 1126 science 1092533 1842 448 PMID 14645835 S2CID 13402617 Yang L Mashima T Sato S Mochizuki M Sakamoto H Yamori T aelakhna February 2003 Predominant suppression of apoptosome by inhibitor of apoptosis protein in non small cell lung cancer H460 cells therapeutic effect of a novel polyarginine conjugated Smac peptide Cancer Research 63 4 831 837 PMID 12591734 ekbcakaehlngedimemux 2012 12 20 subkhnemux 2008 09 04 Takaoka A Hayakawa S Yanai H Stoiber D Negishi H Kikuchi H aelakhna July 2003 Integration of interferon alpha beta signalling to p53 responses in tumour suppression and antiviral defence Nature 424 6948 516 523 Bibcode 2003Natur 424 516T doi 10 1038 nature01850 PMID 12872134 Alimonti JB Ball TB Fowke KR July 2003 Mechanisms of CD4 T lymphocyte cell death in human immunodeficiency virus infection and AIDS The Journal of General Virology 84 Pt 7 1649 1661 doi 10 1099 vir 0 19110 0 PMID 12810858 Everett H McFadden G April 1999 Apoptosis an innate immune response to virus infection Trends in Microbiology 7 4 160 165 doi 10 1016 S0966 842X 99 01487 0 PMID 10217831 Teodoro JG Branton PE March 1997 Regulation of apoptosis by viral gene products Journal of Virology 71 3 1739 1746 doi 10 1128 jvi 71 3 1739 1746 1997 PMC 191242 PMID 9032302 Polster BM Pevsner J Hardwick JM March 2004 Viral Bcl 2 homologs and their role in virus replication and associated diseases Biochimica et Biophysica Acta BBA Molecular Cell Research 1644 2 3 211 227 doi 10 1016 j bbamcr 2003 11 001 PMID 14996505 Hay S Kannourakis G July 2002 A time to kill viral manipulation of the cell death program The Journal of General Virology 83 Pt 7 1547 1564 10 1 1 322 6923 doi 10 1099 0022 1317 83 7 1547 PMID 12075073 Wang XW Gibson MK Vermeulen W Yeh H Forrester K Sturzbecher HW aelakhna December 1995 Abrogation of p53 induced apoptosis by the hepatitis B virus X gene Cancer Research 55 24 6012 6016 PMID 8521383 aehlngkhxmulxunScholia has a profile for xaphxphothsis Q29892216 Apoptosis amp Caspase 3 animation Apoptosis amp Caspase 8 animation Apoptosis amp Caspase 7 animation Apoptosis MiniCOPE Dictionary list of apoptosis terms and acronyms Apoptosis Programmed Cell Death The Virtual Library of Biochemistry Molecular Biology and Cell Biology 2021 04 25 thi ewyaebkaemchchin Apoptosis protocols articles news and recent publications Apoptosis Video WEHI on YouTube The Mechanisms of Apoptosis 2018 03 09 thi ewyaebkaemchchin Kimball s Biology Pages Simple explanation of the mechanisms of apoptosis triggered by internal signals bcl 2 along the caspase 9 caspase 3 and caspase 7 pathway and by external signals FAS and TNF along the caspase 8 pathway Accessed 25 March 2007 WikiPathways Apoptosis pathway 2008 09 16 thi ewyaebkaemchchin CR magazine Spring 2007 Article on apoptosis and cancer Xiaodong Wang s lecture Introduction to Apoptosis 2013 10 29 thi ewyaebkaemchchin Robert Horvitz s Short Clip Discovering Programmed Cell Death The Bcl 2 Database 2013 10 23 thi ewyaebkaemchchin DeathBase a database of proteins involved in cell death curated by experts European Cell Death Organization Apoptosis signaling pathway created by Cusabio