ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส (อังกฤษ: Solar eclipse) เป็น เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาบางส่วนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ชนิดของสุริยุปราคา
สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่
- สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse): ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
- (partial eclipse) : มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
- (annular eclipse) : ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
- (hybrid eclipse) : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
สุริยุปราคาจัดเป็นอุปราคาประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ
การที่ขนาดของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เกือบจะเท่ากันถือเป็นเหตุบังเอิญ ดวงอาทิตย์มีระยะห่างเฉลี่ยจากโลกไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่า
แล้วก็ใหญ่กว่าประมาณ 400 เท่า ตัวเลขทั้งสองนี้ซึ่งไม่ต่างกันมาก ทำให้ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อมองจากโลก คือปรากฏด้วยขนาดเชิงมุมราว 0.5 องศา
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรีเช่นเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่คงที่อัตราส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ต่อดวงอาทิตย์ขณะเกิดคราส เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุริยุปราคาอาจเป็นชนิดใด ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด (perigee) อาจทำให้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอที่จะบดบังผิวสว่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าโฟโตสเฟียร์ (Photosphere) ได้ทั้งหมด ตัวเลขอัตราส่วนนี้จึงมากกว่า 1 แต่ในทางกลับกัน หากเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุด (apogee) คราสครั้งนั้นอาจเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ อัตราส่วนนี้จึงมีค่าน้อยกว่า 1 สุริยุปราคาวงแหวนเกิดได้บ่อยกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด
การพยากรณ์สุริยุปราคา
รูปแบบ
แผนภาพทางขวาแสดงให้เห็นการเรียงตัวกันของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก ระหว่างการเกิดสุริยุปราคา บริเวณสีเทาเข้มใต้ดวงจันทร์คือเขตเงามืด ซึ่งดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังไปทั้งดวง บริเวณเล็ก ๆ ที่เงามืดทาบกับผิวโลกคือจุดที่สามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ บริเวณสีเทาอ่อนที่กว้างกว่าคือเขตเงามัว ซึ่งจะสังเกตเห็นสุริยุปราคาบางส่วน
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงทำมุมประมาณ 5 องศา กับระนาบวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ ในเวลาที่ดวงจันทร์โคจรมาที่ตำแหน่งจันทร์ดับ ส่วนใหญ่มันจะผ่านไปทางด้านเหนือหรือด้านใต้ของดวงอาทิตย์โดยเงาของดวงจันทร์ไม่สัมผัสผิวโลก จึงไม่เกิดสุริยุปราคา สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อจันทร์ดับเกิดในช่วงที่ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่บริเวณใกล้ของระนาบวงโคจรทั้งสอง
เป็นรูปวงรี ทำให้ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับโลกแปรผันได้ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์จากค่าเฉลี่ย เพราะฉะนั้น ขนาดปรากฏของดวงจันทร์จึงแปรผันไปตามระยะห่างซึ่งส่งผลต่อการเกิดสุริยุปราคา ขนาดเฉลี่ยของดวงจันทร์เมื่อมองจากโลกมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ทำให้สุริยุปราคาส่วนใหญ่เป็นแบบวงแหวน แต่หากในวันที่เกิดสุริยุปราคานั้น ดวงจันทร์โคจรมาอยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด ก็จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ส่วนวงโคจรของโลกก็เป็นวงรีเช่นกัน ระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกก็แปรผันไปในรอบปี แต่ส่งผลไม่มากนักต่อการเกิดสุริยุปราคา
ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน เมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิงคงที่ เรียกว่าเดือนดาราคติ (sidereal month) แต่โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน ทำให้ระยะเวลาจากจันทร์เพ็ญถึงจันทร์เพ็ญอีกครั้งหนึ่งกินเวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 29.6 วัน เรียกว่า เดือนจันทรคติ (lunar month) หรือเดือนดิถี (synodic month)
การนับเวลาที่ดวงจันทร์โคจรผ่านจุดโหนดขึ้น (ascending node) ซึ่งเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่จากใต้ระนาบสุริยวิถีขึ้นไปทางเหนือครบหนึ่งรอบก็เป็นการนับเดือนอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน เดือน แบบนี้สั้นกว่าแบบแรกเล็กน้อย เนื่องจากจุดโหนดเคลื่อนที่ถอยหลังโดยเกิดจากอิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 18.6 ปี เรียกเดือนแบบนี้ว่า (draconic month)
เดือนอีกแบบหนึ่งนับจากที่ดวงจันทร์โคจรผ่าน 2 ครั้งติดกัน เรียกว่า (anomalistic month) มีค่าไม่เท่ากับเดือนดาราคติ เนื่องจากวงโคจรของดวงจันทร์ส่ายไปโดยรอบด้วยคาบประมาณ 9 ปี
ความถี่
วงโคจรของดวงจันทร์ตัดกับสุริยวิถี 2 จุด ซึ่งห่างกัน 180 องศา ดังนั้น ดวงจันทร์ในวันจันทร์ดับจะอยู่บริเวณจุดนี้ปีละ 2 ช่วง ห่างกัน 6 เดือน ทำให้เกิดสุริยุปราคาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง บางครั้งเกิดจันทร์ดับ 2 ครั้งติดกันใกล้ ๆ กับจุดโหนด ส่งผลให้บางปีสามารถเกิดสุริยุปราคาได้มากถึง 5 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เงามืดของดวงจันทร์มักจะทอดเลยออกไปทางเหนือหรือใต้ของโลกโดยไม่สัมผัสผิวโลก จึงเกิดเป็นสุริยุปราคาบางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ เงามืดอาจสัมผัสผิวโลกในที่ห่างไกลบริเวณใกล้ขั้วโลกอย่างอาร์กติก และทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งยากต่อการเดินทางไปสังเกตการณ์
ระยะเวลา
สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดในเวลาสั้น ๆ เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน ทำให้เงามืดที่ตกบริเวณโลกเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วจากตะวันตกไปตะวันออกในระยะเวลาสั้น ๆ
หากสุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรอยู่ใกล้ตำแหน่ง perigee มาก ๆ จะทำให้สุริยุปราคาเต็มดวงสามารถสังเกตได้ในบริเวณกว้าง ประมาณ 250 กิโลเมตร และเวลาในการเกิดนั้นอาจนานประมาณ 7 นาที
สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดจากเงามัวของดวงจันทร์นั้นสามารถเกิดได้ในบริเวณกว้างกว่าสุริยุปราคาเต็มดวงมาก
สุริยุปราคาในประวัติศาสตร์
บันทึกในประวัติศาสตร์เล่าถึงสงครามกับปรากฏการณ์อุปราคาที่เลื่องลือที่สุด คือ เมื่อครั้งเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 28 พฤษภาคม ก่อน พ.ศ. 41 ปี ท้องฟ้าสว่างไสวในตอนกลางวันกลายเป็นกลางคืนไปชั่วขณะหนึ่ง เป็นเหตุให้สงครามเปอร์เซียที่นานยืดเยื้อถึง 6 ปี ระหว่างชาวลิเดียกับชาวเมเดสยุติลงได้ด้วยการเจรจาสันติภาพ และผูกสัมพันธ์ด้วยการแต่งงานกัน 2 คู่ ทั้งนี้ด้วยความยำเกรงในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงอิทธิฤทธิ์ในบัดดล ในครั้งนั้นเธลีส (Thales) นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีกได้ทำนายการเกิดสุริยุปราคาไว้ก่อนแล้ว แต่ทั้งสองชนชาติอาจไม่รู้ถึงการทำนายนั้น
พระเจ้าหลุยส์ จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่แห่งดินแดนยุโรปครั้งนั้น ถึงกับพิศวงงงงวยกับปรากฏการณ์ฟากฟ้าที่ดวงอาทิตย์มืดหมดดวงนานถึง 5 นาที ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 1383 แล้วพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ เล่ากันว่าคงเป็นเพราะความตกใจ หลังจากนั้นเกิดศึกแย่งชิงบัลลังก์ยาวนานถึง 3 ปี มายุติลงด้วยสนธิสัญญาแวร์เดิง (Treaty of Verdun) ซึ่งแบ่งยุโรปออกเป็นดินแดน 3 ประเทศ ที่รู้จักกันทุกวันนี้คือ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การสังเกตสุริยุปราคา
การมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าไม่ว่าจะมองในเวลาใดก็ตามส่งผลเสียต่อดวงตา แม้แต่มองดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคา แต่สุริยุปราคาก็เป็นที่น่าสนใจและศึกษาอย่างมาก การใช้อุปกรณ์ช่วยในการมอง เช่นกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ก็ยิ่งทำให้เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นไปอีก
ดังนั้นการดูดวงอาทิตย์จึงต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยกรองรังสีบางชนิดที่จะเข้าสู่ดวงตา การใช้แว่นกันแดดในการมองเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถป้องกันสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่มองไม่เห็นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเรตินาได้ การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดูดวงอาทิตย์ได้ตรง ๆ
การสังเกตที่ปลอดภัยมากที่สุด คือการฉายแสงจากดวงอาทิตย์ผ่านอุปกรณ์อื่น เช่น กล้องสองตา หรือกล้องโทรทรรศน์ แล้วใช้กระดาษสีขาวมารองรับแสงนั้น จากนั้นมองภาพจากกระดาษที่รับแสง แต่การทำเช่นนี้ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครมองผ่านอุปกรณ์นั้นโดยตรง ไม่เช่นนั้นจะทำอันตรายต่อดวงตาของคนนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะถ้ามีเด็กอยู่บริเวณนั้นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม สามารถดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรงได้เฉพาะในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว สุริยุปราคาเต็มดวงยังสวยงามอีกด้วย ขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงจะเห็นบรรยากาศชั้นโคโรนาแผ่ไปรอบดวงอาทิตย์ บางครั้งอาจเห็นโครโมสเฟียร์ (chromosphere) และเปลวสุริยะ (prominence) ที่พุ่งออกมาจากขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ควรหยุดดูดวงอาทิตย์ก่อนที่จะสิ้นสุดสุริยุปราคาเต็มดวงเล็กน้อย
ประโยชน์ของการสังเกตสุริยุปราคา
นักดาราศาสตร์ใช้การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในการสังเกตบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งตามปกติจะถูกแสงที่สว่างจ้าของบรรยากาศชั้นโฟโตสเฟียร์กลบจนไม่สามารถมองเห็นได้
สุริยุปราคามีระยะเวลา หรือวงรอบของการเกิดที่แน่นอน ทำให้สามารถทำนายการเกิดสุริยุปราคาครั้งต่อไปได้โดยการคำนวณอย่างง่าย ๆ จากความเร็วในการเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ เปรียบเทียบตำแหน่งกับการที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก
สุริยุปราคาในประเทศไทย
จากบันทึกในประวัติศาสตร์
อาณาจักรอยุธยา มีบันทึกการสังเกตสุริยุปราคาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตอนสายของวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่แนวคราสมืดไม่ได้พาดผ่านสยามประเทศ จึงสังเกตเห็นเป็นชนิดบางส่วน
กรุงรัตนโกสินทร์
- ครั้งที่ 1 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ตรงตามเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณไว้ ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย
- ครั้งที่ 2 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 โดยเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่เห็นได้ในกรุงเทพมหานครนับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา โดยกินหมดดวงเวลา 14:31:29 น.–14:35:21 น. ตามเวลามาตรฐานประเทศไทยในปัจจุบัน แต่เส้นกึ่งกลางคราสไม่ผ่านกรุงเทพฯ
- ครั้งที่ 3 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เห็นได้ที่จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรที่จังหวัดปัตตานี โดยมีคณะนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศขนอุปกรณ์มาศึกษาสุริยุปราคาด้วย แต่หลังจากนั้นก็มีการประดิษฐ์เครื่องมือศึกษาดวงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องพึ่งสุริยุปราคาอีก
- ครั้งที่ 4 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในหลายจังหวัด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2498 นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่สองที่เห็นได้ในกรุงเทพฯ
- ครั้งที่ 5 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ในเขต 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดพิจิตร และ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538
การตรวจสอบด้วยคณิตกรณ์
อาณาจักรอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 1893–2310 เวลาถึง 417 ปี ควรมีสุริยุปราคาครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าแบบบางส่วน แบบวงแหวน แบบเต็มดวง และแบบผสม หลายครั้งแนวคราสก็พาดผ่านเข้ามาในเขตสยาม แต่หากเจาะจงเฉพาะเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ความน่าจะเป็นที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่าน มีอย่างน้อย 1–2 ครั้ง เพราะโดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 360 ปีถึงจะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงในจุดเดิมอีกครั้ง แต่จากการตรวจสอบด้วยคณิตกรณ์ มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่แนวคราสพาดผ่านเกาะเมืองอยุธยาถึง 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แต่กลับไม่มีในบันทึกประวัติศาสตร์เลยสักครั้ง
- ครั้งที่ 1 วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2111 แนวคราสกว้างครอบคลุมถึงบางกอก และยังเฉียดไปใกล้กับหงสาวดี
- ครั้งที่ 2 วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2186
- ครั้งที่ 3 วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2285 ตอนเช้าตรู่
- ส่วนสุริยุปราคาเต็มดวง ที่จะเห็นในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิดในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2613 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- Littmann, Mark; Fred Espenak; Ken Willcox (2008). Totality: Eclipses of the Sun. Oxford University Press. pp. 18–19. ISBN .
- . NASA. 2007-03-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-01.
- . University of Tennessee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-16.
- P. Tiedt (2004-07-24). . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-03.
- "Total Solar Eclipse of -584 May 28". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 840 May 05". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 1875 April 06". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 1929 May 09". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 1995 Oct 24". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 1568 September 21". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 1643 March 20". NASA. 2018-01-29.
- "Total Solar Eclipse of 1742 June 03". NASA. 2018-01-29.
บรรณานุกรม
- Jean Meeus, Hermann Mucke (1992). Canon of Solar Eclipses -2003 to +2526 (2 ed.). Vienna: Astronomisches Büro. OCLC 16111493.
- Harrington, Philip S. (1997). Eclipse! The What, Where, When, Why and How Guide to Watching Solar and Lunar Eclipses. New York: John Wiley and Sons. ISBN .
- Steel, Duncan (1999). Eclipse: The celestial phenomenon which has changed the course of history. London: Headline. ISBN .
- Mobberley, Martin (2007). Total Solar Eclipses and How to Observe Them. Astronomers' Observing Guides. New York: Springer. ISBN .
- Fred Espenak (2015). Thousand Year Canon of Solar Eclipses 1501 to 2500. Portal AZ: Astropixels Publishing. ISBN .
- Fred Espenak (2016). 21st Century Canon of Solar Eclipses. Portal AZ: Astropixels Publishing. ISBN .
- Joseph Needham (1959). Science and Civilization in China. Vol. 3. Cambridge University Press. ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
- สมาคมดาราศาสตร์ไทย
- อุปราคาในปี 2552 ข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
- ลำดับเวลาการเกิดสุริยุปราคา 2017-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- โฮมเพจสุริยุปราคาขององค์การนาซา เก็บถาวร 2012-12-05 ที่ (อังกฤษ)
- การเกิดสุริยุปราคา 11,898 ครั้ง ในอดีตตลอดช่วง 5,000 ปี พร้อมแผนภาพแบบ interactive (อังกฤษ)
- วิธีดูสุริยุปราคาให้ปลอดภัย (ต่อดวงตา) เก็บถาวร 2012-07-16 ที่ โดย F. Espenak (ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด, องค์การนาซา)
- Wikiversity มีการทดลองสุริยุปราคาสำหรับนักเรียน (อังกฤษ)
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisud suriyuprakha hrux suriykhras xngkvs Solar eclipse epn ekidkhunemuxdwngxathity dwngcnthr aelaolk okhcrmaeriyngxyuinaenwediywknodymidwngcnthrxyutrngklang ekidkhunechphaainwnthidwngcnthrmidithitrngkbcnthrdb emuxsngektcakphunolkcaehndwngcnthrekhluxnekhamabdbngdwngxathity odyxacbngmidhmdthngdwnghruxbangswnkid inaetlapisamarthekidsuriyuprakhabnolkidxyangnxy 2 khrng sungsudimekin 5 khrng incanwnnixacimmisuriyuprakhaetmdwngelyaemaetkhrngediyw hruxxyangmakimekin 2 khrng oxkasthicaidehnsuriyuprakhaetmdwngsahrbsthanthiidsthanthihnungbnphunolknnkhxnkhangyak enuxngcaksuriyuprakhaetmdwngaetlakhrngcaekidinbriewnaekhb phayinaethbthiengamudkhxngdwngcnthrphadphanethannsuriyuprakhaetmdwngemuxwnthi 8 emsayn ph s 2567 suriyuprakhaetmdwngepnpraktkarnthrrmchatithiswyngam natunetn aelasrangkhwamprathbicaekkhnthiidchm phukhncanwnmaktangphaknedinthangipyngdinaednxnhangiklephuxkhxyefasngektpraktkarnni suriyuprakhaetmdwngemux ph s 2542 thiehnidinthwipyuorp thaihsatharnchnhnmasnicsuriyuprakhaephimkhunmak sngektidcakcanwnprachachnthiedinthangipefasngektin ph s 2548 aelasuriyuprakhaetmdwngin ph s 2549 suriyuprakhakhrngthiphanmaemuxerw ni khuxsuriyuprakhawngaehwnemuxwnthi 26 mkrakhm ph s 2552 suriyuprakhaetmdwngemuxwnthi 22 krkdakhm ph s 2552 aelasuriyuprakhabangswnemuxwnthi 26 thnwakhm ph s 2562chnidkhxngsuriyuprakha source source source source source source source dwngcnthrphanhnadwngxathity sngektcakyan emuxwnthi 25 kumphaphnth ph s 2550 thiraya 4 ethakhxngrayarahwangolkkbdwngcnthr suriyuprakhami 4 chnid idaek suriyuprakhaetmdwng total eclipse dwngcnthrbngdwngxathityhmdthngdwng partial eclipse miephiyngbangswnkhxngdwngxathityethannthithukbng annular eclipse dwngxathitymilksnaepnwngaehwn ekidemuxdwngcnthrxyuintaaehnngthihangiklcakolk dwngcnthrcungpraktelkkwadwngxathity hybrid eclipse khwamokhngkhxngolkthaihsuriyuprakhakhrawediywknklayepnaebbphsmid khux bangswnkhxngaenwkhrasehnsuriyuprakhaetmdwng thiehluxehnsuriyuprakhawngaehwn briewnthiehnsuriyuprakhaetmdwngepnswnthixyuikldwngcnthrmakkwa suriyuprakhacdepnxuprakhapraephthhnung ekidkhunechphaainwnthidwngcnthrmidithitrngkbcnthrdb karthikhnadkhxngdwngxathitykbdwngcnthrekuxbcaethaknthuxepnehtubngexiy dwngxathitymirayahangechliycakolkiklkwadwngcnthrpraman 400 etha aelwkihykwapraman 400 etha twelkhthngsxngnisungimtangknmak thaihdwngxathitykbdwngcnthrmikhnadiklekhiyngknemuxmxngcakolk khuxpraktdwykhnadechingmumraw 0 5 xngsa wngokhcrkhxngdwngcnthrrxbolkepnwngriechnediywknkbwngokhcrkhxngolkrxbdwngxathity khnadpraktkhxngdwngxathitykbdwngcnthrcungimkhngthixtraswnrahwangkhnadpraktkhxngdwngcnthrtxdwngxathitykhnaekidkhras epnsingthibngbxkidwasuriyuprakhaxacepnchnidid thakhrasekidkhunrahwangthidwngcnthrxyubriewncudiklolkthisud perigee xacthaihepnsuriyuprakhaetmdwng ephraadwngcnthrcamikhnadpraktihymakphxthicabdbngphiwswangkhxngdwngxathitythieriykwaofotsefiyr Photosphere idthnghmd twelkhxtraswnnicungmakkwa 1 aetinthangklbkn hakekidkhraskhnathidwngcnthrxyubriewncudiklolkthisud apogee khraskhrngnnxacepnsuriyuprakhawngaehwn ephraadwngcnthrcamikhnadpraktelkkwadwngxathity xtraswnnicungmikhanxykwa 1 suriyuprakhawngaehwnekididbxykwasuriyuprakhaetmdwng ephraaodyechliyaelwdwngcnthrxyuhangcakolkmakekinkwacabdbngdwngxathityidthnghmdkarphyakrnsuriyuprakharupaebb aephnphaphaesdngkarekidsuriyuprakha phaphimepniptammatraswn aephnphaphthangkhwaaesdngihehnkareriyngtwknkhxngdwngxathity dwngcnthr aelaolk rahwangkarekidsuriyuprakha briewnsiethaekhmitdwngcnthrkhuxekhtengamud sungdwngxathitycathukdwngcnthrbdbngipthngdwng briewnelk thiengamudthabkbphiwolkkhuxcudthisamarthmxngehnsuriyuprakhaetmdwngid briewnsiethaxxnthikwangkwakhuxekhtengamw sungcasngektehnsuriyuprakhabangswn ranabwngokhcrkhxngdwngcnthrexiyngthamumpraman 5 xngsa kbranabwngokhcrolkrxbdwngxathity dwyehtuni inewlathidwngcnthrokhcrmathitaaehnngcnthrdb swnihymncaphanipthangdanehnuxhruxdanitkhxngdwngxathityodyengakhxngdwngcnthrimsmphsphiwolk cungimekidsuriyuprakha suriyuprakhacaekidkhunktxemuxcnthrdbekidinchwngthidwngcnthrekhluxnmaxyubriewniklkhxngranabwngokhcrthngsxng epnrupwngri thaihrayahangrahwangdwngcnthrkbolkaeprphnidpraman 6 epxresntcakkhaechliy ephraachann khnadpraktkhxngdwngcnthrcungaeprphniptamrayahangsungsngphltxkarekidsuriyuprakha khnadechliykhxngdwngcnthremuxmxngcakolkmikhnadelkkwadwngxathityelknxy thaihsuriyuprakhaswnihyepnaebbwngaehwn aethakinwnthiekidsuriyuprakhann dwngcnthrokhcrmaxyubriewncudiklolkthisud kcaekidsuriyuprakhaetmdwng swnwngokhcrkhxngolkkepnwngriechnkn rayahangrahwangdwngxathitykbolkkaeprphnipinrxbpi aetsngphlimmaknktxkarekidsuriyuprakha dwngcnthrokhcrrxbolkichewlapraman 27 3 wn emuxethiybkbkrxbxangxingkhngthi eriykwaeduxndarakhti sidereal month aetolkkokhcrrxbdwngxathityinthisthangediywkn thaihrayaewlacakcnthrephythungcnthrephyxikkhrnghnungkinewlanankwann khux praman 29 6 wn eriykwa eduxncnthrkhti lunar month hruxeduxndithi synodic month karnbewlathidwngcnthrokhcrphancudohndkhun ascending node sungepncudthidwngcnthrekhluxnthicakitranabsuriywithikhunipthangehnuxkhrbhnungrxbkepnkarnbeduxnxikwithihnungechnkn eduxn aebbnisnkwaaebbaerkelknxy enuxngcakcudohndekhluxnthithxyhlngodyekidcakxiththiphlaerngonmthwngkhxngdwngxathitydwykhab 18 6 pi eriykeduxnaebbniwa draconic month eduxnxikaebbhnungnbcakthidwngcnthrokhcrphan 2 khrngtidkn eriykwa anomalistic month mikhaimethakbeduxndarakhti enuxngcakwngokhcrkhxngdwngcnthrsayipodyrxbdwykhabpraman 9 pi khwamthi aesngxathitythilxdphanchxngwangrahwangibimlngiptkbnphunkhnaekidsuriyuprakhabangswn wngokhcrkhxngdwngcnthrtdkbsuriywithi 2 cud sunghangkn 180 xngsa dngnn dwngcnthrinwncnthrdbcaxyubriewncudnipila 2 chwng hangkn 6 eduxn thaihekidsuriyuprakhaxyangnxypila 2 khrng bangkhrngekidcnthrdb 2 khrngtidknikl kbcudohnd sngphlihbangpisamarthekidsuriyuprakhaidmakthung 5 khrng xyangirktam engamudkhxngdwngcnthrmkcathxdelyxxkipthangehnuxhruxitkhxngolkodyimsmphsphiwolk cungekidepnsuriyuprakhabangswnethann nxkcakni engamudxacsmphsphiwolkinthihangiklbriewniklkhwolkxyangxarktik aelathwipaexntarktika sungyaktxkaredinthangipsngektkarn rayaewla suriyuprakhaetmdwngcaekidinewlasn enuxngcakdwngcnthrokhcrrxbolkxyangrwderw inkhnathiolkkokhcriprxbdwngxathitydwyechnkn thaihengamudthitkbriewnolkekhluxnthixyangrwderwcaktawntkiptawnxxkinrayaewlasn haksuriyuprakhaekidkhunemuxdwngcnthrokhcrxyuikltaaehnng perigee mak cathaihsuriyuprakhaetmdwngsamarthsngektidinbriewnkwang praman 250 kiolemtr aelaewlainkarekidnnxacnanpraman 7 nathi suriyuprakhabangswn sungekidcakengamwkhxngdwngcnthrnnsamarthekididinbriewnkwangkwasuriyuprakhaetmdwngmaksuriyuprakhainprawtisastrbnthukinprawtisastrelathungsngkhramkbpraktkarnxuprakhathieluxngluxthisud khux emuxkhrngekidsuriyuprakhaetmdwng wnthi 28 phvsphakhm kxn ph s 41 pi thxngfaswangiswintxnklangwnklayepnklangkhunipchwkhnahnung epnehtuihsngkhramepxresiythinanyudeyuxthung 6 pi rahwangchawliediykbchawemedsyutilngiddwykarecrcasntiphaph aelaphuksmphnthdwykaraetngngankn 2 khu thngnidwykhwamyaekrnginxanacsingskdisiththithiaesdngxiththivththiinbddl inkhrngnnethlis Thales nkdarasastraelankprchyachawkrikidthanaykarekidsuriyuprakhaiwkxnaelw aetthngsxngchnchatixacimruthungkarthanaynn phraecahluys ckrphrrdiphuyingihyaehngdinaednyuorpkhrngnn thungkbphiswngngngngwykbpraktkarnfakfathidwngxathitymudhmddwngnanthung 5 nathi inwnthi 5 phvsphakhm ph s 1383 aelwphraxngkhksinphrachnm elaknwakhngepnephraakhwamtkic hlngcaknnekidsukaeyngchingbllngkyawnanthung 3 pi mayutilngdwysnthisyyaaewreding Treaty of Verdun sungaebngyuorpxxkepndinaedn 3 praeths thiruckknthukwnnikhux frngess eyxrmn aelaxitali swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidkarsngektsuriyuprakhaphaphcalxngaesdngkarekhluxnthikhxngengadwngcnthrkhnaekidsuriyuprakhaemuxwnthi 22 krkdakhm ph s 2552 ehnidinexechiyaelamhasmuthraepsifik trngklangkhuxengamud thiihykwakhuxengamw karmxngdwngxathitydwytaeplaimwacamxnginewlaidktamsngphlesiytxdwngta aemaetmxngdwngxathitykhnaekidsuriyuprakha aetsuriyuprakhakepnthinasnicaelasuksaxyangmak karichxupkrnchwyinkarmxng echnklxngsxngtahruxklxngothrthrrsn kyingthaihepnxntraymakyingkhunipxik dngnnkardudwngxathitycungtxngxasyxupkrnchwykrxngrngsibangchnidthicaekhasudwngta karichaewnknaeddinkarmxngepnwithikarthiimthuktxng ephraaimsamarthpxngknsingthiepnxntray rwmthngrngsixinfraerdthimxngimehnsungcaepnxntraytxertinaid karsngektcaepntxngichxupkrnthithamaodyechphaa cungcasamarthmxngdudwngxathityidtrng karsngektthiplxdphymakthisud khuxkarchayaesngcakdwngxathityphanxupkrnxun echn klxngsxngta hruxklxngothrthrrsn aelwichkradassikhawmarxngrbaesngnn caknnmxngphaphcakkradasthirbaesng aetkarthaechnnitxngmnicwaimmiikhrmxngphanxupkrnnnodytrng imechnnncathaxntraytxdwngtakhxngkhnnnxyangmak odyechphaathamiedkxyubriewnnntxngidrbkarduaelepnphiess xyangirktam samarthdudwngxathitydwytaeplaodytrngidechphaainchwngthiekidsuriyuprakhaetmdwngethann nxkcakcaimepnxntrayaelw suriyuprakhaetmdwngyngswyngamxikdwy khnaekidsuriyuprakhaetmdwngcaehnbrryakaschnokhornaaephiprxbdwngxathity bangkhrngxacehnokhromsefiyr chromosphere aelaeplwsuriya prominence thiphungxxkmacakkhxbdwngxathity sungpkticaimsamarthmxngehnid aetkhwrhyuddudwngxathitykxnthicasinsudsuriyuprakhaetmdwngelknxy praoychnkhxngkarsngektsuriyuprakha nkdarasastrichkarekidsuriyuprakhaetmdwnginkarsngektbrryakaschnokhornakhxngdwngxathity sungtampkticathukaesngthiswangcakhxngbrryakaschnofotsefiyrklbcnimsamarthmxngehnid suriyuprakhamirayaewla hruxwngrxbkhxngkarekidthiaennxn thaihsamarththanaykarekidsuriyuprakhakhrngtxipidodykarkhanwnxyangngay cakkhwamerwinkarekhluxnthiiprxbdwngxathity epriybethiybtaaehnngkbkarthidwngcnthrhmunrxbolksuriyuprakhainpraethsithycakbnthukinprawtisastr xanackrxyuthya mibnthukkarsngektsuriyuprakhainsmysmedcphranaraynmharach intxnsaykhxngwnthi 30 emsayn ph s 2231 epnsuriyuprakhaetmdwngthiaenwkhrasmudimidphadphansyampraeths cungsngektehnepnchnidbangswn krungrtnoksinthr khrngthi 1 ekidsuriyuprakhaetmdwng 18 singhakhm ph s 2411 trngtamewlathiphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhwthrngkhanwniw thitablhwakx cnghwdpracwbkhirikhnth epnsuriyuprakhaetmdwngkhrngaerkinprawtisastrkhxngithy khrngthi 2 ekidsuriyuprakhaetmdwngemuxwnthi 6 emsayn ph s 2418 odyepnsuriyuprakhaetmdwngkhrngaerkthiehnidinkrungethphmhankhrnbtngaetsthapnakrungrtnoksinthrepntnma odykinhmddwngewla 14 31 29 n 14 35 21 n tamewlamatrthanpraethsithyinpccubn aetesnkungklangkhrasimphankrungethph khrngthi 3 ekidsuriyuprakhaetmdwngwnthi 9 phvsphakhm ph s 2472 ehnidthicnghwdstul sngkhla yala pttani nrathiwas odyphrabathsmedcphrapkeklaecaxyuhwesdcipthxdphraentrthicnghwdpttani odymikhnankdarasastrcaktangpraethskhnxupkrnmasuksasuriyuprakhadwy aethlngcaknnkmikarpradisthekhruxngmuxsuksadwngxathityidodyimtxngphungsuriyuprakhaxik khrngthi 4 ekidsuriyuprakhaetmdwng inhlaycnghwd emuxwnthi 20 mithunayn ph s 2498 nbepnsuriyuprakhaetmdwngkhrngthisxngthiehnidinkrungethph khrngthi 5 ekidsuriyuprakhaetmdwng inekht 11 cnghwd idaek cnghwdtak cnghwdkaaephngephchr cnghwdxuthythani cnghwdnkhrswrrkh cnghwdlphburi cnghwdephchrburn cnghwdnkhrrachsima cnghwdburirmy cnghwdsraaekw cnghwdphicitr aela cnghwdchyphumi emuxwnthi 24 tulakhm ph s 2538 kartrwcsxbdwykhnitkrn xanackrxyuthya rahwang ph s 1893 2310 ewlathung 417 pi khwrmisuriyuprakhakhrbthukrupaebb imwaaebbbangswn aebbwngaehwn aebbetmdwng aelaaebbphsm hlaykhrngaenwkhraskphadphanekhamainekhtsyam aethakecaacngechphaaekaaemuxngkrungsrixyuthya khwamnacaepnthicaidehnsuriyuprakhaetmdwngphadphan mixyangnxy 1 2 khrng ephraaodyechliythwolkaelw caichewlapraman 360 pithungcaidehnsuriyuprakhaetmdwngincudedimxikkhrng aetcakkartrwcsxbdwykhnitkrn misuriyuprakhaetmdwngthiaenwkhrasphadphanekaaemuxngxyuthyathung 3 khrng sungthuxwasungkwakhaechliythwolk aetklbimmiinbnthukprawtisastrelyskkhrng khrngthi 1 wnthi 21 knyayn ph s 2111 aenwkhraskwangkhrxbkhlumthungbangkxk aelayngechiydipiklkbhngsawdi khrngthi 2 wnthi 20 minakhm ph s 2186 khrngthi 3 wnthi 3 mithunayn ph s 2285 txnechatruswnsuriyuprakhaetmdwng thicaehninpraethsithykhrngtxip caekidinwnthi 11 emsayn ph s 2613 thicnghwdpracwbkhirikhnthduephimsthaniyxyrabbsuriyaxuprakha cnthruprakhaxangxingLittmann Mark Fred Espenak Ken Willcox 2008 Totality Eclipses of the Sun Oxford University Press pp 18 19 ISBN 0199532095 NASA 2007 03 12 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2010 04 01 University of Tennessee khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2016 07 16 P Tiedt 2004 07 24 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2006 09 03 Total Solar Eclipse of 584 May 28 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 840 May 05 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 1875 April 06 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 1929 May 09 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 1995 Oct 24 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 1568 September 21 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 1643 March 20 NASA 2018 01 29 Total Solar Eclipse of 1742 June 03 NASA 2018 01 29 brrnanukrmJean Meeus Hermann Mucke 1992 Canon of Solar Eclipses 2003 to 2526 2 ed Vienna Astronomisches Buro OCLC 16111493 Harrington Philip S 1997 Eclipse The What Where When Why and How Guide to Watching Solar and Lunar Eclipses New York John Wiley and Sons ISBN 0 471 12795 7 Steel Duncan 1999 Eclipse The celestial phenomenon which has changed the course of history London Headline ISBN 0 7472 7385 5 Mobberley Martin 2007 Total Solar Eclipses and How to Observe Them Astronomers Observing Guides New York Springer ISBN 978 0 387 69827 4 Fred Espenak 2015 Thousand Year Canon of Solar Eclipses 1501 to 2500 Portal AZ Astropixels Publishing ISBN 978 1 941983 02 7 Fred Espenak 2016 21st Century Canon of Solar Eclipses Portal AZ Astropixels Publishing ISBN 978 1 941983 12 6 Joseph Needham 1959 Science and Civilization in China Vol 3 Cambridge University Press ISBN 978 0521058018 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb suriyuprakha smakhmdarasastrithy xuprakhainpi 2552 khxmulcaksmakhmdarasastrithy ladbewlakarekidsuriyuprakha 2017 09 29 thi ewyaebkaemchchin xngkvs ohmephcsuriyuprakhakhxngxngkhkarnasa ekbthawr 2012 12 05 thi xngkvs karekidsuriyuprakha 11 898 khrng inxdittlxdchwng 5 000 pi phrxmaephnphaphaebb interactive xngkvs withidusuriyuprakhaihplxdphy txdwngta ekbthawr 2012 07 16 thi ody F Espenak sunykarbinxwkaskxdedird xngkhkarnasa Wikiversity mikarthdlxngsuriyuprakhasahrbnkeriyn xngkvs