ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (อังกฤษ: Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1625 กระทั่งทรงถูกสำเร็จโทษใน ค.ศ. 1649 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ พระองค์ทรงขัดแย้งทางอำนาจการเมืองกับรัฐสภาอังกฤษ ด้วยทรงดำริว่าการเป็นพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจที่รับมอบหมายจากพระเจ้าโดยตรงตามปรัชญาเทวสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ฝ่ายรัฐสภาต้องการลดพระราชอำนาจของพระองค์ พระองค์ทรงถูกต่อต้านจากประชาชน เนื่องจากการเข้าแทรกแซงในคริสตจักรแห่งอังกฤษและสกอตแลนด์ รวมทั้งการจัดเก็บภาษีโดยปราศจากการอนุมัติจากรัฐสภา ซึ่งทำให้พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นทรราชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระเจ้าชาลส์ที่ 1 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ | |
ครองราชย์ | 27 มีนาคม 1625 – 30 มกราคม 1649 |
ราชาภิเษก | 2 กุมภาพันธ์ 1626 |
ก่อนหน้า | เจมส์ที่ 1 |
ถัดไป | ชาลส์ที่ 2 (โดยนิตินัย) สภาแห่งรัฐ (โดยพฤตินัย) |
พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอต | |
ครองราชย์ | 27 มีนาคม 1625 – 30 มกราคม 1649 |
ราชาภิเษก | 18 มิถุนายน 1633 |
ก่อนหน้า | เจมส์ที่ 6 |
ถัดไป | ชาลส์ที่ 2 |
พระราชสมภพ | 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 สก็อตแลนด์ |
สวรรคต | 30 มกราคม ค.ศ. 1649 พระราชวังไวต์ฮอล, ลอนดอน | (48 ปี)
ฝังพระบรมศพ | 9 กุมภาพันธ์ 1649 , อังกฤษ |
คู่อภิเษก | อ็องเรียต มารีแห่งฝรั่งเศส |
พระราชบุตร รายละเอียด | |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์สจวต |
พระราชบิดา | เจมส์ที่ 6 และ 1 |
พระราชมารดา | แอนน์แห่งเดนมาร์ก |
ศาสนา | อังคลิกัน |
นอกจากความขัดแย้งทางอำนาจแล้วก็ยังมีความขัดแย้งทางศาสนาด้วย รวมทั้งความล้มเหลวในการสนับสนุนกองกำลังโปรเตสแตนต์ระหว่างสงครามสามสิบปี ประกอบกับการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสซึ่งนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจร้าวลึกเกี่ยวกับของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเป็นพันธมิตรกับผู้นำทางศาสนาที่มีความขัดแย้ง รวมทั้ง (Richard Montagu) และวิลเลียม ลอด ผู้ที่พระองค์ทรงแต่งตั้งให้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งทำให้ข้าราชสำนักมีเกรงว่าพระองค์ได้ทรงนำคริสตจักรแห่งอังกฤษเข้าใกล้นิกายโรมันคาทอลิกมากเกินไป ในภายหลังพระเจ้าชาลส์ยังทรงพยายามทรงบังคับให้เกิดการปฏิรูปทางศาสนาในสกอตแลนด์จนกระทั่งนำไปสู่ ซึ่งทำให้รัฐสภาอังกฤษมีอำนาจเพิ่มมากขึ้น และเป็นปัจจัยที่ทำให้พระองค์สูญเสียพระราชอำนาจในที่สุด
ช่วงบั้นปลายชีวิต พระองค์ทรงเผชิญกับสงครามกลางเมืองอังกฤษ ซึ่งเป็นการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามอันประกอบด้วยรัฐสภาอังกฤษและสกอตแลนด์ ผู้ซึ่งท้าทายความพยายามมีอำนาจเหนือและปฏิเสธอำนาจของรัฐสภา ในเวลาเดียวกับที่ได้ชักจูงกลุ่มปรปักษ์ต่อนโยบายทางการศาสนาของพระองค์ที่เอนเอียงไปทางโรมันคาทอลิก เช่น กลุ่มพิวริตัน พระเจ้าชาลส์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามกลางเมืองครั้งแรก (ค.ศ. 1642–1645) โดยฝ่ายรัฐสภาหวังว่าจะพระองค์ทรงยอมรับข้อเรียกร้องให้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ไม่ทรงยอมรับและยังทรงไปสร้างพันธมิตรกับสกอตแลนด์และหนีไป อันนำไปสู่สงครามกลางเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (ค.ศ. 1648–1649) พระองค์ทรงพ่ายแพ้อีกครั้งหนึ่ง ทรงถูกจับกุมและถูกตัดสินสำเร็จโทษในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน ระบอบจึงถูกยุบเลิก และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ โดยมีการประกาศก่อตั้งเครือจักรภพอังกฤษแทนที่ บ้างก็เรียกว่าสมัยอังกฤษไร้พระมหากษัตริย์ เมื่อสมัยการปกครองของริชาร์ด ครอมเวลล์สิ้นสุดลง พระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีก ภายหลังการฟื้นฟูราชาธิปไตย ใน ค.ศ. 1660 ในปีเดียวกัน พระเจ้าชาลส์ที่ 1 ทรงถูกยกย่องให้เป็น "นักบุญชาลส์ สจวต" โดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ
เบื้องต้น
พระเจ้าชาลส์ที่ 1 เป็นพระราชโอรสองที่สองในพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ และพระนางแอนน์แห่งเดนมาร์ก เสด็จพระราชสมภพที่ (Dunfermline Palace) ใน สกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 พระองค์ทรงผ่านพิธีบัพติศมาเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1600 โดยบิชอปแห่งรอส ในพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นที่ และทรงได้รับพระอิสริยยศดยุกแห่งออลบานี เอิร์ลแห่งออร์มอนด์ เอิร์ลแห่งรอส และลอร์ดอาด์มันนอค
เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงเป็นเด็กที่ค่อนข้างอ่อนแอและขี้โรค เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 เสด็จสวรรคตในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1603 พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ก็ได้ขึ้นครองราชบังลังก์อังกฤษเป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ชาลส์ทรงถูกพิจารณาว่าไม่แข็งแรงพอที่จะทรงรอดชีวิตจากการเดินทางมายังกรุงลอนดอน เนื่องจากสุขภาพที่อ่อนแอ พระองค์ยังทรงประทับอยู่ที่สกอตแลนด์ ในขณะที่ครอบครัวทั้งหมดออกเดินทางไปอังกฤษเมื่อเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1603 โดย ประธานศาลสูงสุดแห่งสกอตแลนด์ พระสหายของพระบิดา ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองของพระราชโอรส
จนถึงฤดูใบไม้ผลิแห่ง ค.ศ. 1604 ชาร์ลส์ทรงมีอายุได้ 3 ปีครึ่ง และทรงสามารถดำเนินตามความยาวของห้องโถงใหญ่แห่งดันเฟิร์มไลน์ได้ด้วยพระองค์เอง จึงพิจารณาว่าพระองค์ทรงมีความแข็งแรงมากพอที่จะเดินทางไปยังอังกฤษเพื่อสมทบกับสมาชิกครอบครัวพระองค์อื่น ๆ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1604 ชาร์ลส์ออกเดินทางจากดันเฟิร์มไลน์ไปยังอังกฤษ ที่ซึ่งพระองค์ทรงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เหลือของพระองค์ ในอังกฤษ พระองค์ทรงอยู่ภายใต้การดูแลของอัลเล็ตตา (โฮเก็นโฮฟ) แครีย์ ภรรยาชาวดัทช์โดยดำเนิดของข้าราชสำนัก เซอร์ (Robert Carey) ผู้สอนให้ดำเนินและตรัส และย้ำให้พระองค์ทรงรองเท้าบูทที่ทำจากหนังสเปนที่เสริมด้วยทองเหลืองเพื่อช่วยพยุงข้อเท้าที่อ่อนแอของพระองค์ ความอ่อนแอทางกายภาพของพระองค์ ซึ่งอาจเนื่องมาจากโรคกระดูกอ่อน และเมื่อทรงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ทรงมีความสูงเพียง 5 ฟุต 4 นิ้ว (162.56 เซนติเมตร) เท่านั้น
ชาร์ลส์ไม่ทรงมีลักษณะเป็นที่นิยมเท่ากับเฮนรี เฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ พระเชษฐา ผู้ซึ่งชาลส์ทรงมีความนิยมในตัวของพระองค์และพยายามเลียนแบบพระลักษณะของเชษฐา ในปีค.ศ. 1605 ชาลส์ทรงได้รับพระราชทานอิสริยศขึ้นเป็นดยุกแห่งยอร์ก ซึ่งเป็นตำแหน่งสำหรับพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม เฮนรีสิ้นพระชนม์โดยสงสัยว่าเป็นไข้รากสาดน้อย (หรืออาจเป็น) เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา ในปี ค.ศ. 1612 ชาลส์ก็ได้รับเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ สองสัปดาห์ก่อนหน้าที่จะมีชนมายุได้ 12 พรรษา และกลายเป็นรัชทายาทไปโดยปริยาย เนื่องจากพระองค์เป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ที่ยังมีพระชนม์อยู่ พระองค์จึงทรงได้รับแต่งตั้งพระอิสรริยยศเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก รวมทั้ง ดยุกแห่งคอร์นวอลล์และดยุกแห่งรอธซี ไม่นานหลังจากนั้น พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์และ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1616
ในปี ค.ศ. 1613 พระขนิษฐาของพระองค์ เอลิซาเบธ (Elizabeth of Bohemia) ทรงเสกสมรสกับเฟรเดอริกที่ 5 และทรงย้ายตามพระสวามีไปประทับที่ ในปี ค.ศ. 1617 จักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 2 ผู้ทรงนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย ในปีต่อมา ประชาชนโบฮีเมียก่อกบฏต่อพระมหากษัตริย์ของตน และเลือกที่จะให้เฟรเดอริกที่ 5 แห่งพาลาทิเนตเป็นพระมหากษัตริย์และหัวหน้าแทน การยอมรับมงกุฎของเฟรเดอริกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1619 นำไปสู่ความยุ่งยากซึ่งพัฒนาจนกลายมาเป็นสงครามสามสิบปี ความขัดแย้งดังกล่าวก่อให้เกิดรอยประทับอันยิ่งใหญ่ต่อรัฐสภาอังกฤษและต่อสาธารณชน ผู้ซึ่งมองว่าในยุโรปภาคพื้นทวีป เกิดการต่อสู้แบ่งฝ่ายระหว่างคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ เจมส์ ผู้สนับสนุนของพระเจ้าเฟรเดอริก และได้มองหาการเสกสมรสระหว่างเจ้าชายแห่งเวลส์พระองค์ใหม่ และพระราชธิดาแห่งพระเจ้าแผ่นดินสเปน มาเรีย อันนาแห่งสเปน นับตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายเฮนรี เริ่มจะมองว่าเป็นหนทางที่เป็นไปได้ในการบรรลุสันติภาพในทวีปยุโรป
โชคไม่ดีสำหรับเจมส์ การเจรจาสันติภาพทางการทูตดังกล่าวกับสเปนพิสูจน์ว่าไม่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งต่อสาธารณชนและต่อศาลของเจมส์
ชาลส์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ข้าราชสำนักคนโปรดของพระราชบิดา ทั้งสองเดินทางไปสเปนเป็นการส่วนตัวในปี ค.ศ. 1623 เพื่อไปพยายามทำความตกลงที่ยืดเยื้อมานานในการเสนอการแต่งงานระหว่างชาร์ลส์เองและพระราชธิดาของพระเจ้าเฟลีเปที่ 3 แห่งสเปน แต่ก็ไม่ทรงประสบความสำเร็จเพราะทางฝ่ายสเปนยื่นคำขาดให้ชาลส์เปลื่ยนไปนับถือนิกายโรมันคาทอลิกและประทับในประเทศสเปนปีหนึ่งหลังจากการเสกสมรสเพื่อเป็นตัวประกันในการทำตามข้อตกลงระหว่างอังกฤษและสเปนตามสนธิสัญญาที่อาจจะตกลงกัน ชาลส์พิโรธต่อเงื่อนไขของสเปนและหลังจากที่เสด็จกลับจากสเปน ชาลส์และดยุกแห่งบักกิงแฮมก็เรียกร้องให้พระเจ้าเจมส์ประกาศสงครามกับสเปน
โดยการหนุนหลังของที่ปรึกษานิกายโปรเตสแตนต์ พระเจ้าเจมส์ทรงเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อขอให้รัฐสภาอนุมัติทุนในการทำสงครามกับสเปน และทรงขอให้รัฐสภาอนุมัติการเสกสมรสระหว่างชาลส์และเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส ผู้ที่ชาลส์ทรงพบปะคุ้นเคยที่ปารีสระหว่างที่ทรงเดินทางไปสเปน ซึ่งเป็นคู่หมายที่เหมาะเพราะเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียเป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระราชโอรสธิดาของพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส รัฐสภาตกลงอนุมัติการอภิเษกสมรสแต่วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อความพยายามในการจับคู่กับสเปนก่อนหน้านั้น พระสติสัมปชัญญะของพระเจ้าเจมส์เองก็เริ่มเสื่อมลงและทรงมีความรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมรัฐสภาได้ซึ่งเป็นปัญหาที่ชาลส์เองก็มาทรงประสพเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ต่อมา ในปีสุดท้ายอำนาจทางการเมืองของพระเจ้าเจมส์ก็ตกไปอยู่ในมือของพระโอรสและดยุกแห่งบักกิงแฮม
พระลักษณะนิสัยและความสามารถของชาร์ลส์แตกต่างเป็นอย่างมากจากพระราชบิดาและทรงขาดประสกการณ์ทางด้านการปกครอง ทั้งสองพระองค์มีความเชื่อมั่นในระบอบ (Divine Right) แต่พระเจ้าเจมส์ทรงฟังความเห็นของข้าแผ่นดินและทรงพยายามประนีประนอมและทรงยอมรับการตัดสินโดยเสียงส่วนมาก ชาร์ลส์มีพระนิสัยขึ้อายแต่ขณะเดียวกันก็มีพระนิสัยดื้อรั้น ความคิดเห็นแรง พระทัยเด็ดเดี่ยว ชอบปะทะความคิดเห็นโดยไม่เลี่ยง นอกจากนั้นยังทรงเชื่อว่าความคิดเห็นของพระองค์เองเท่านั้นที่ถูก ทรงเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องประนีประนอมหรือต้องอธิบายนโยบายของพระองค์เองให้ใครฟังเพราะทรงขึ้นอยู่กับพระเจ้าเท่านั้นหรือผู้ที่อยู่เหนือพระองค์มีเพียงผู้เดียวเท่านั้น--พระเจ้า พระดำรัสที่เป็นที่รู้จักคือ “พระมหากษัตริย์ไม่ต้องให้คำอธิบายในพระราชกรณียกิจที่ทรงกระทำต่อผู้ใดนอกไปจากพระเจ้าเท่านั้น”, “ข้าพเจ้าจะแสดงในสิ่งที่ข้าพเจ้าจจะพูดจากการกระทำของข้าพเจ้า” พระราชกรณียกิจต่างๆ ทำให้ถูกตีความไปในทางที่ผิดและเกิดความกลัวกันว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์แบบเผด็จการมาตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 1626
ต้นรัชสมัย
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1625 พระเจ้าชาลส์ทรงอภิเษกสมรสทางฉันทะกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชันษาอ่อนกว่าพระองค์ 9 พรรษา ในการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม สมาชิกสภาหลายคนคัดค้านกับการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เพราะความหวาดระแวงที่ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงผ่อนผันกฎหมายที่มีผลบังคับต่อผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นการทำให้สถาบันการปกครองภายในการนำของผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์อ่อนแอลง ถึงแม้ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงประกาศต่อรัฐสภาว่าจะไม่ทรงผ่อนผันกฎหมายที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ต่างกับศาสนาของรัฐบาล (Recusancy) แต่ในทางส่วนพระองค์แล้วกลับทรงหันไประบุนโยบายที่ตรงกันข้ามกับที่ทรงประกาศต่อรัฐสภาเป็นการลับๆ ในสนธิสัญญาการแต่งงานที่ทำกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาลส์ทรงเสกสมรสกับเจ้าหญิงอ็องเรียต มารีอีกครั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ที่มหาวิหารแคนเทอร์เบอรี และทรงทำพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1626 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ แต่มิได้มีเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียพระชายาเข้าร่วมพิธี อาจจะเป็นได้ว่าทรงกลัวว่าถ้าเสด็จก็จะกลายเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ชาร์ลส์และเฮนเรียตตา มาเรียมีพระโอรสธิดาด้วยกัน 9 พระองค์ 6 พระองค์รอดชีวิตมาจนโต
ความไม่ไว้วางใจในพระราชนโยบายทางศาสนาของรัฐสภายิ่งเพิ่มมากขึ้นในกรณีที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงสนับสนุนนโยบายทางศาสนาต่าง ๆ ที่ไม่ตรงกับนโยบายโดยทั่วไปของรัฐสภา กรณีที่ว่าเกิดขึ้นเมื่อแจกจ่ายใบปลิวออกความเห็นค้านกับคำสอนของจอห์น คาลวิน (John Calvin) มอนทากีวจึงกลายเป็นศัตรูโดยตรงของกลุ่มพิวริตัน หลังจากที่ (John Pym) สมาชิกสภาสามัญกล่าวโจมตีใบปลิวของมอนทากีวระหว่างการประชุมสภา มอนทากีวก็ขอให้พระเจ้าชาร์ลส์ช่วย ใบปลิวฉบับต่อมาชื่อ "ข้ายื่นคำร้องต่อซีซาร์" (Appello Caesarem) ซึ่งมีความหมายเป็นนัยถึงการยื่นคำร้องของนักบุญเปาโลอัครทูตต่อซีซาร์ให้หยุดยั้งการทำร้ายชาวยิว พระเจ้าชาร์ลส์จึงพระราชทานความช่วยเหลือด้วยการทรงแต่งตั้งให้มอนทากีวเป็นนักบวชประจำราชสำนักคนหนึ่ง ซึ่งยิ่งทำให้กลุ่มเพียวริตันไม่พอใจหนักขึ้นและเพิ่มความไม่ไว้วางใจในนโยบายทางศาสนาของพระองค์มากขึ้น
สิ่งสำคัญที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงกังวลเมื่อต้นรัชสมัยคือนโยบายต่างประเทศ สงครามสามสิบปีที่เดิมต่อสู้กันเฉพาะในบริเวณโบฮีเมียเริ่มขยายตัวมาเป็นสงครามระหว่างผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกในยุโรป ในปี ค.ศ. 1620 พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 (Frederick V, Elector Palatine) พระสวามีของพระนางเอลิซาเบธพระขนิษฐาสูญเสียดินแดนให้กับจักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าชาลส์จึงทรงสัญญาจะช่วยยึดดินแดนคืนโดยการประกาศสงครามกับสเปน เพราะทรงหวังจะบังคับให้พระเจ้าเฟลีเปที่ 4 แห่งสเปนเข้าร่วมสงครามเพื่อสนับสนุนพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 5 ในฐานะกษัตริย์โรมันคาทอลิกด้วยกัน
ในการเข้าร่วมสงครามครั้งนี้รัฐสภาประสงค์จะใช้วิธีที่ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าโดยการโจมตีทางเรือในอาณานิคมของสเปนในทวีปอเมริกาเพื่อที่จะยึดกองเรือที่สเปนใช้ในการบรรทุกสมบัติที่ไปขนมาจากอเมริกาเพื่อจะนำมาเป็นทุนในการทำสงคราม แต่พระเจ้าชาร์ลส์มีพระประสงค์ที่จะทำสงครามแบบเผชิญหน้ากับสเปนโดยตรงในยุโรป ซึ่งเป็นนโยบายการสงครามที่สิ้นเปลืองงบประมาณมากกว่าวิธีที่รัฐสภาเสนอ รัฐสภาจึงอนุมัติงบประมาณในการทำสงครามเพียง £140,000 ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่าที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเรียกร้อง นอกจากนั้นสภาสามัญก็ยังจำกัดสิทธิส่วนพระองค์ในการเก็บ “ภาษีตันภาษีปอนด์” (Tonnage and Poundage) เป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งตามปกติแล้วสิทธินี้เป็นสิทธิที่พระมหากษัตริย์ก่อนปี ค.ศ. 1414 มีสิทธิเรียกเก็บได้ตลอดพระชนม์ชีพ การออกข้อบังคับนี้ทำให้รัฐสภาสามารถควบคุมการใช้จ่ายของพระเจ้าชาลส์โดยการบังคับให้พระองค์ต้องต่อสัญญาการเก็บภาษีดังว่าทุกปี แต่สภาขุนนางที่นำโดยดยุกแห่งบัคคิงแฮมคัดค้านเข้าข้างพระเจ้าชาร์ลส์โดยการไม่ยอมผ่านกฎหมายที่ว่า แต่แม้ว่าตามกฎหมายแล้วพระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงได้รับการอนุญาตให้เก็บภาษีตันภาษีปอนด์แต่ก็ยังทรงเก็บภาษีตามที่เคยมา
สงครามกับสเปนสิ้นสุขลงด้วยความล้มเหลวเพราะความขาดสมรรถภาพในการเป็นผู้นำของในฐานะผู้นำทางการทหาร แต่ไม่ว่ารัฐสภาจะประท้วงอย่างใดพระเจ้าชาร์ลส์ก็ไม่ทรงยอมปลดดยุกแห่งบัคคิงแฮมออก และทรงหันกลับไปยุบสภาแทนที่ นอกจากนั้นก็ยังทรงพยายามก่อความขัดแย้งเพิ่มขึ้นโดยเสนอการ “กู้เงินแบบบังคับ” ซึ่งเป็นการเรียกเก็บภาษีโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา แม้ว่าจะทรงมีความสำเร็จในการเก็บภาษีอยู่บ้างแต่เงินที่ได้มาก็ไปถูกเผาผลาญหมดกับการสงครามอีกสงครามหนึ่งที่นำโดยดยุกแห่งบัคคิงแฮมอีกเช่นกัน เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ทรงเรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1628 รัฐสภาก็ยื่นคำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐซึ่งเป็นคำร้องที่เรียกร้องให้พระเจ้าชาร์ลส์ทรงยอมรับว่าพระองค์ไม่มีสิทธิในการเรียกเก็บภาษีโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา; ในการออกกฎอัยการศึก; จำขังประชาชนโดยไม่มีการพิจารณาทางศาล; หรือใช้ที่พักของประชาชนในการที่พำนักของกองทหาร พระเจ้าชาลส์ทรงยอมรับตามคำเรียกร้องแต่ก็ยังทรงยืนยันว่าสิทธิในการเก็บภาษีตันภาษีปอนด์เป็นสิทธิส่วนพระองค์ซึ่งรัฐบาลไม่มีสิทธิมีเสียง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1628 ดยุกแห่งบัคคิงแฮมถูกลอบสังหาร ถึงแม้ว่าความตายของดยุกแห่งบัคคิงแฮมจะเป็นการทำให้สงครามยุติลงโดยปริยาย แต่ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างพระเจ้าชาลส์และรัฐสภาในปัญหาเรื่องการเก็บภาษีและนโยบายทางศาสนาของพระองค์ก็มิได้ยุติลงตามไปด้วย
ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1629 พระเจ้าชาลส์ทรงเปิดสมัยประชุมครั้งที่สองของรัฐสภาที่ได้ถูกปิดไปเมื่อเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 1628 โดยมีพระราชดำรัสเรื่องภาษีศุลกากร “ภาษีตันภาษีปอนด์” สมาชิกสภาสามัญชนเริ่มมีเสียงต่อต้านในกรณีของโรลล์ โรลล์เป็นสมาชิกสภาสามัญผู้ถูกริบสินค้าเพราะไม่สามมารถจ่ายภาษีที่ว่าได้ สมาชิกสภาเห็นว่าการริบสินค้าเพราะการที่ไม่สามารถจ่ายค่าภาษีได้เป็นการฝ่าฝืน โดยอ้างว่าการไม่มีสิทธิในการจับกุมของพระองค์ที่ระบุในคำร้องสิทธิไม่จำกัดเฉพาะแต่การจับกุมบุคคลเท่านั้นแต่ครอบคลุมไปถึงสินค้าด้วย เมื่อพระเจ้าชาลส์พยายามเลื่อนการประชุมรัฐสภาในเดือนมีนาคม สมาชิกสภาก็บังคับให้เซอร์ (Sir John Finch) นั่งเป็นประธานในการอ่านสภามติสามข้อ ข้อสุดท้ายระบุว่าผู้ใดที่จ่ายค่า “ภาษีตันภาษีปอนด์” ที่ไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาถือว่าเป็นผู้ทรยศต่อเสรีภาพของอังกฤษและเป็นศัตรูของชาติ แม้ว่ามติของสภาจะมิได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการแต่ก็มีสมาชิกหลายคนที่ยอมรับ การที่สมาชิกสภาสามัญถูกบังคับให้นั่งประชุมในรัฐสภาอาจจะเป็นการตีความหมายได้ว่าการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าชาลส์มิได้เป็นเสียงเดียวกันกันทั้งสภา แต่กระนั้นความขัดแย้งก็มีผลกระทบกระเทือนทางพระทัยต่อพระเจ้าชาร์ลส์ผู้มีพระราชโองการให้ยุบรัฐสภาในวันเดียวกัน ทันทีหลังจากนั้นพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงทำสัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศสและสเปน ระหว่างสิบเอ็ดปีต่อมาพระองค์ก็ปกครองอังกฤษโดยไม่มีรัฐสภา สมัยนี้เป็นสมัยที่เรียกว่า “สมัยการปกครองส่วนพระองค์” (Personal Rule) หรือ “สมัยสิบเอ็ดปีแห่งความกดขี่” (Eleven Years' Tyranny)
ปัญหาทางเศรษฐกิจ
แม้ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงทำสัญญาสงบศึกกับฝรั่งเศสและสเปนแล้วพระองค์ก็ยังทรงต้องหารายได้เพื่อจะบำรุงพระคลังต่อไป เพื่อที่จะหารายได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเรียกประชุมรัฐสภาพระเจ้าชาลส์ก็รื้อฟื้นพระราชบัญญัติเก่าชื่อ “Distraint of Knighthood” ที่ออกเมื่อ ค.ศ. 1279 ซึ่งระบุว่าผู้ไดที่มีรายได้ £40 ต่อปีขึ้นไปต้องมาปรากฏตัวต่อพระราชพิธีราชาภิเษกและถวายตัวเข้ารับราชการในราชสำนักเป็นขุนนาง พระเจ้าชาร์ลส์ทรงใช้พระราชบัญญัตินี้สืบหาตัวผู้ที่มีรายได้ตามที่ระบุแต่มิได้เข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของพระองค์ในปี ค.ศ. 1626
ต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ทรงนำภาษีขุนนางเก่าที่เรียกว่า “” (ship money) กลับมาเสนอใช้ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความไม่พึงพอใจกันหนักขึ้น ภายใต้พระราชบัญญัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 การเก็บภาษีเรือเป็นการเก็บภาษีที่ใช้เรียกเก็บได้เฉพาะในยามสงคราม แต่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพยายามบังคับใช้กฎหมายนี้ในยามสงบ แม้ว่าการเก็บภาษีเรือครั้งแรกที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1634 มิได้ทำให้เกิดปัญหาเท่าใดนัก แต่เมื่อทรงประกาศเก็บอีกสองครั้งในปี ค.ศ. 1635 และปี ค.ศ. 1636 ก็เริ่มทำให้มีผู้เป็นปฏิปักษ์มากขึ้นเพราะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการเก็บภาษีเรือในยามสงบเป็นสิ่งที่ยกเลิกกันไปแล้ว มีผู้พยายามต่อต้านการจ่ายภาษีแต่ทางสำนักพระราชวังอ้างว่าการเก็บภาษีเป็นสิทธิส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ การเก็บภาษีเรือในยามสงบเป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นที่น่าวิตกในบรรดาชนชั้นปกครอง
“สมัยการปกครองส่วนพระองค์” มาสิ้นสุดลงเมื่อมีการพยายามบังคับของอังกลิคันและการบังคับใช้หนังสือสวดมนต์แบบ (Arminianism) ภายใต้การนำของวิลเลียม ลอด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ในที่สุดทำให้เกิดการปฏิวัติในสกอตแลนด์ในปี ค.ศ. 1640
ความขัดแย้งทางศาสนา
พระเจ้าชาลส์มีพระประสงค์ที่จะแยกคริสตจักรแห่งอังกฤษให้ใกลจากลัทธิคาลวิน (Calvinism) ไปทางที่ใช้ระบอบประเพณีทางศาสนาเช่นที่ใกล้เคียงกับธรรมเนียมโบราณมากขึ้นกว่าที่ปฏิบัติกันในลัทธิคาลวิน พระประสงค์นี้ได้รับการสนับสนุนโดยอาร์ชบิชอปวิลเลียม ลอดที่ปรึกษาทางการเมืองส่วนพระองค์ ผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระองค์ให้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ในปี ค.ศ. 1633 และทรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่เป็นการพยายามเพิ่มอำนาจให้แก่คริสตจักรแห่งอังกฤษมากขึ้น อาร์ชบิชอปลอดพยายามทำให้สถาบันศาสนาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยการปลดนักบวชที่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายและปิดองค์การต่างๆ ของพิวริตัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นการต่อต้านนโยบายการปฏิรูปศาสนาของประชาชนทั้งในราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ พระราชนโยบายของพระองค์เป็นนโยบายที่ค้านกับปรัชญาของลัทธิคาลวินที่ต้องการให้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ทำพิธีศาสนาเช่นที่ระบุไว้ใน “” (Book of Common Prayer) นอกไปจากนั้นอัครบาทหลวงลอดก็ยังนิยมคริสต์ศาสนปรัชญาของ (Arminianism) ของ (Jacobus Arminius) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ผู้เคร่งครัดในลัทธิคาลวินถือว่าแทบจะเป็นปรัชญา “โรมันคาทอลิก”
เพื่อจะเป็นควบคุมผู้เป็นปฏิปักษ์อาร์ชบิชอปวิลเลียม ลอดตั้งระบบศาลที่เป็นที่น่ายำเกรงขึ้นสองศาล “Court of High Commission” และ “Court of Star Chamber” เพื่อใช้ในการลงโทษผู้ที่ไม่ยอมรับการปฏิรูปของท่าน ศาลแรกมีอำนาจที่จะบังคับให้ผู้ถูกกล่าวหาให้การที่ให้ความเสียหายต่อตนเอง ศาลหลังมีอำนาจออกบทลงโทษใดๆ ก็ได้รวมทั้งการทรมานยกเว้นแต่เพียงการประหารชีวิตเท่านั้น
อำนาจเหนือกฎหมายของ “Court of Star Chamber” ในรัชสมัยของพระเจ้าชาลส์เป็นอำนาจที่เหนือกว่าอำนาจใด ๆ ที่เคยใช้กันมาก่อนในรัชสมัยของพระองค์ ภายในรัชสมัยของพระองค์ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกลากตัวขึ้นศาลโดยไม่มีข้อกล่าวหาใด ๆ และไม่มีสิทธิในการคัดค้านข้อกล่าวหาใด ๆ ทั้งสิ้นด้วย นอกจากนั้นคำให้การที่ได้มาก็มักจะได้มาจากการทรมาน
ปีแรกของ “สมัยการปกครองส่วนพระองค์” เป็นสมัยที่บ้านเมืองค่อนข้างจะสงบเพราะรัฐบาลควบคุมอย่างขันแข็ง ก็มีอยู่บ้างที่มีผู้ที่แข็งข้อต่อการเก็บภาษีของพระเจ้าชาร์ลส์หรือนโยบายของอัครบาทหลวงวิลเลียม ลอด เช่นในปี ค.ศ. 1634 เมื่อเรือกริฟฟินที่พยายามบรรทุกผู้ลี้ภัยทางศาสนาที่จะเดินทางไปทวีปอเมริกาเช่นนักเทศน์พิวริตัน (Anne Hutchinson) แต่โดยทั่วไปแล้วบ้านเมืองก็ไม่มีปัญหาที่ใหญ่โตอะไร แต่เมื่อพระเจ้าชาลส์ทรงพยายามดำเนินนโยบายทางศาสนาเช่นเดียวกันในสกอตแลนด์พระองค์ก็ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง เมื่อมีพระราชโองการบังคับใช้หนังสือสวดมนต์คล้าย “” ของอังกฤษในสกอตแลนด์ ซึ่งแม้ว่าพระราชโองการจะได้รับการสนับสนุนจากบาทหลวงในสกอตแลนด์แต่ก็ถูกต่อต้านโดยชาวสกอตแลนด์ที่เป็นเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ที่เห็นว่าหนังสือสวดมนต์เล่มใหม่เป็นเครื่องมือที่จะนำลัทธิอังกลิคันเข้ามายังสกอตแลนด์ เมื่อการประชุมทั่วไปของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ปลดรัฐบาลเอพิสเคอเพเลียน (ระบบการปกครองโดยบิชอป) และแต่งตั้งรัฐบาลเพรสไบทีเรียน (ระบบการปกครองโดยเพรสไบเทอร์) พระเจ้าชาลส์ทรงเห็นว่าการกระทำนี้เป็นการเป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชอำนาจของพระองค์
ในปี ค.ศ. 1639 เมื่อ (Bishops' Wars) เกิดขึ้นพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงพยายามเรียกเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนการสงครามแต่ประชาชนไม่ยอม สงครามจบลงด้วยการลงนามในสัญญาสงบศึก (Treaty of Berwick (1639)) โดยพระเจ้าชาร์ลส์ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ในสนธิสัญญาพระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ประชาชนชาวสกอตแลนด์มีเสรีภาพในทางส่วนบุคคลและในทางศาสนา
การพ่ายแพ้ในทำให้พระเจ้าชาร์ลส์มีปัญหาทั้งทางการทหารและทางเศรษฐกิจและเป็นสาเหตที่ทำให้ “สมัยการปกครองส่วนพระองค์” ต้องสิ้นสุดลง เพราะสภาวะทางเศรษฐกิจอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่จนต้องทรงเรียกประชุมรัฐสภาในปี ค.ศ. 1640 เพื่อที่จะหาทุนเพิ่ม แม้ว่าชนชั้นปกครองในอังกฤษจะไม่พึงพอใจต่อการปกครองแบบราชาธิปไตยของพระเจ้าชาร์ลส์ในช่วงระยะเวลาสิบเอ็ดปีที่ผ่านมา แต่สาเหตุที่ทำให้ระบบการปกครองส่วนพระองค์ของพระองค์มาสิ้นสุดลงก็คือการปฏิวัติในสกอตแลนด์
“รัฐสภาสั้น” และ “รัฐสภายาว”
ความไม่ตกลงกันได้ในการตีความหมายของสนธิสัญญาสงบศึกระหว่างพระเจ้าชาลส์และตามมาด้วยความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ทรงพระประสงค์จะหาเงินทุนเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาความสงบในสกอตแลนด์จากรัฐสภาแห่งอังกฤษ พระองค์ก็ทรงเรียกประชุมรัฐสภาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1640 แม้ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงยอมยุบและสภาสามัญชนจะอนุมัติให้เงินทุนในการทำสงคราม แต่สภาและพระองค์ก็ไม่สามารถตกลงกันกันได้ในเรื่องที่รัฐบาลเรียกร้องให้มีการเจรจากันในเรื่องการใช้อำนาจในทางที่ผิดระหว่าง “สมัยการปกครองส่วนพระองค์” ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ยอมแก่กัน พระเจ้าชาร์ลส์จึงทรงยุบรัฐสภาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1640 เพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังจากที่ทรงเรียกประชุม รัฐสภานี้จึงเรียกกันว่า “รัฐสภาสั้น”
ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงโจมตีสกอตแลนด์แต่ก็ทรงพ่ายแพ้อย่างยับเยินใน ครั้งนี้ทรงลงนามใน (Treaty of Ripon) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1640 สนธิสัญญาระบุให้ทรงจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับกองทหารสกอตแลนด์ที่เพิ่งทรงต่อสู้ด้วย พระเจ้าชาลส์จึงทรงเรียกประชุม “magnum concilium” ซึ่งเป็นการเรียกประชุมองคมนตรีแบบโบราณที่มิได้ทำกันมาเป็นร้อยๆ ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นองคมนตรีที่ประกอบด้วยขุนนางแห่งราชอาณาจักรที่มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ องคมนตรีก็ถวายคำปรึกษาให้พระองค์เรียกประชุมรัฐสภาอีกครั้ง ซึ่งต่างจากรัฐสภาครั้งก่อนที่มาเรียกกันว่า “รัฐสภายาว”
รัฐสภายาวประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1640 ภายใต้การนำของ (John Pym) แต่รัฐสภานี้ก็ยังเป็นรัฐสภาที่เป็นปัญหาแก่พระเจ้าชาร์ลส์พอ ๆ กับรัฐสภาสั้น แม้ว่าสมาชิกสภาสามัญชนจะคิดว่าตนเองเป็นสภาที่สนับสนุนระบบการปกครองโดยกษัตริย์และสถาบันศาสนา และช่วยป้องกันพระเจ้าชาลส์จากการปฏิรูปทางศาสนาและการใช้อำนาจในทางที่ผิดของที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดของพระองค์ แต่พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงเห็นเช่นนั้นและทรงมีความเห็นว่าสมาชิกสภาเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์และพยายามบ่อนทำลายพระราชอำนาจ
เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการยุบสภาโดยไม่มีการบอกกล่าวแก่สมาชิกขึ้นอีก รัฐสภาอนุมัติจึง (Triennial Act) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1641 ที่ระบุว่ารัฐสภาต้องเข้าประชุมร่วมกันอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกสามปีและถ้าสภามิได้รับการเรียกประชุมจากพระมหากษัตริย์ในช่วงระยะเวลานั้น รัฐสภาก็สามารถเรียกประชุมด้วยตนเองได้ ในเดือนพฤษภาคมจอห์น พิมก็ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติที่ยิ่งทะเยอทะยานไปกว่าฉบับเดิมที่เสนอว่ารัฐสภาไม่สามารถถูกยุบได้ถ้าไม่รับการอนุมัติจากสมาชิกรัฐสภาเอง หลังจากนั้นพระเจ้าชาลส์ก็ทรงถูกบังคับให้ทรงยอมรับพระราชบัญญัติต่าง ๆ ฉบับแล้วฉบับเล่า เช่นทรงต้องยอมรับร่างพระราชบัญญัติการลงโทษ (Bill of attainder) ที่อนุมัติการประหารชีวิตของทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 และอาร์ชบิชอปวิลเลียม ลอด ส่วนและการเก็บภาษีอื่น ๆ ของพระองค์ถูกประกาศว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ศาล “Court of High Commission” และ “Court of Star Chamber” ถูกสั่งยุบ แม้ว่าพระเจ้าชาลส์จะทรงยอมรับข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของรัฐสภา แต่สถานะการณ์ทางการทหารของพระองค์ก็เริ่มแข็งแรงขึ้นเมื่อทรงได้รับการสนับสนุนจากสกอตแลนด์หลังจากที่ทรงยอมให้สกอตแลนด์ก่อตั้งรัฐบาลเพรสไบทีเรียนซึ่งทำให้ทรงได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายที่ต่อต้านรัฐสภา
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1641 สภาสามัญอนุมัติ (Grand Remonstrance) ซึ่งลำดับรายการอันยาวเหยียดที่ร้องทุกข์เรื่องต่าง ๆ ที่เกิดจากการกระทำขององค์มนตรีหลายคนของพระเจ้าชาลส์ที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดตั้งแต่ต้นรัชสมัย ความตึงเครียดยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อเกิด (Irish Rebellion of 1641) ซึ่งเป็นการแข็งข้อต่ออำนาจการปกครองของชาวอังกฤษของผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ รัฐสภาได้รับข่าวลือทีว่าพระเจ้าชาร์ลส์อาจจะทรงมีส่วนสนับสนุนผู้เป็นกบฏ ซึ่งทำให้รัฐสภาไม่ไว้วางใจเมื่อทรงพยายามรวบรวมกำลังเพื่อปราบกบฏเพราะกลัวว่าจะทรงใช้กองทหารที่ทรงพยายามรวบรวมในทางที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐสภาเองในอนาคต รัฐสภาจึงเสนอ (Militia Bill) เพื่อควบคุมอำนาจในการใช้กองทหารของพระเจ้าชาร์ลส์ แต่พระองค์ไม่ทรงยอมตกลง รัฐสภาจึงออกประกาศ “ปฏิญาณความภักดี” (The Protestation) เพื่อพยายามผ่อนคลายความตึงเครียด โดยการให้สมาชิกลงนามใน “ปฏิญาณความภักดี” ต่อพระเจ้าชาร์ลส์
แต่เมื่อมีข่าวลือว่ารัฐบาลจะสอบสวนพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงโต้ตอบทันที อาจจะเป็นไปได้ว่าพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเป็นผู้ยุยงให้พระเจ้าองค์จับสมาชิกสภาสามัญชนห้าคนที่เป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าชาร์ลส์และตั้งข้อหาว่าเป็นกบฏต่อแผ่นดิน แต่สมาชิกสภารู้ข่าวผู้ถูกกล่าวหารู้ตัวเสียก่อนและหลบหนีไปทันก่อนที่พระเจ้าองค์จะเสด็จมา เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ทรงนำกองทหารมาถึงรัฐสภาเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1642 ก็ทรงพบว่าสมาชิกสภาหนีกันไปหมดแล้วยกเว้น โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ที่มิได้หนีไปกับผู้อื่นแต่ก็เลี่ยงจากการถูกจับกุมได้ พระเจ้าชาลส์ทรงถามประธานสภา (William Lenthall) ว่าสมาชิกสภาหลบหนีกันไปไหนซึ่งเล็นทาลล์ให้คำตอบที่เป็นที่รู้จักกันว่า "ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าไร้ซึ่งทั้งดวงตาและลิ้นเพื่อมองและกล่าวในที่นี้ ทว่า สภาอันข้าพระพุทธเจ้าเป็นข้ารับใช้นั้นได้นำพาข้าพระองค์มานี่ด้วยพระกรุณาธิคุณ" ("May it please your Majesty, I have neither eyes to see nor tongue to speak in this place but as the House is pleased to direct me, whose servant I am here.") ซึ่งเท่ากับว่าเล็นทาลล์ประกาศตนเป็นผู้รับใช้รัฐสภาแทนที่จะเป็นพระมหากษัตริย์
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นวิกฤตกาลที่ทำให้ระบบรัฐบาลของอังกฤษล้มเหลว หลังจากนั้นพระเจ้าชาลส์ก็ไม่ทรงมีความรู้สึกปลอดภัยพอที่จะประทับอยู่ในลอนดอนอีกต่อไปและทรงเริ่มเสด็จหลบหนีไปทางตอนเหนือของอังกฤษเพื่อไปรวบรวมกำลังเพื่อต่อต้านรัฐบาล พระราชินีอ็องเรียต มารีเองก็เสด็จไปแผ่นดินใหญ่ยุโรปเพื่อหาทุนในการทำสงคราม
สงครามกลางเมืองอังกฤษ
สงครามกลางเมืองอังกฤษยังมิได้เกิดขึ้นแต่ทั้งสองฝ่ายก็เริ่มรวบรวมกองทหาร หลังจากการที่พระเจ้าชาลส์ไม่ทรงประสพความสำเร็จในการเจรจาพระองค์ก็ทรง “ยกธง” (raise the royal standard) ซึ่งเป็นพิธีโบราณที่หมายถึงการประกาศศึกที่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1642 และทรงตั้งราชสำนักที่เมืองออกซฟอร์ด ขณะที่รัฐบาลของพระองค์มีอำนาจควบคุมบริเวณทางเหนือและทางตะวันตกของอังกฤษ ฝ่ายรัฐสภามีอำนาจควบคุมกรุงลอนดอนและบริเวณทางใต้และตะวันออกของอาณาจักร พระเจ้าชาร์ลส์ทรงเกณฑ์ทหารด้วยวิธีโบราณที่เรียกว่า “พระราชกฤษฎีการะดมไพร่พล” ที่มอบอำนาจให้พระเจ้าแผ่นดินในการมีสิทธิเรียกเกณฑ์ทหารในการทำสงครามได้ สงครามกลางเมืองเริ่มต้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1642 ด้วยยุทธการเอ็ดจฮิลล์โดยไม่มีฝ่ายใดที่ได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด หลังจากนั้นก็มีการปะทะกันต่อมาตลอดปี ค.ศ. 1643 และปี ค.ศ. 1644 จนถึงยุทธการเนสบีย์ (Battle of Naseby) ซึ่งฝ่ายรัฐสภาเป็นฝ่ายได้เปรียบ หลังจากนั้นฝ่ายสนับสนุนพระเจ้าชาลส์ก็พ่ายแพ้เรื่อยมาอีกหลายครั้ง จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ (Siege of Oxford) ซึ่งต้องทำให้พระองค์ต้องทรงหลบหนีในเดือนเมษายน ค.ศ. 1646 ไปตกอยู่ในมือของกองทหารสกอตเพรสไบทีเรียนที่นิวอาร์ค และทรงถูกนำพระองค์ไปเซาท์เวลล์ที่ไม่ไกลจากนิวอาร์คเท่าใดนักในขณะที่ทหารสกอตพยายามตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับพระองค์ ในที่สุดกองทหารเพรสไบทีเรียนก็ตกลงกับรัฐสภาอังกฤษในการส่งตัวพระองค์คืนในปี ค.ศ. 1647 พระเจ้าชาลส์ทรงถูกจำขังอยู่ที่ (Holdenby House) ใน จนกระทั่งพลทหาร (George Joyce) บังคับนำตัวพระองค์ไปนิวมาร์เค็ตใน ในนามของ “กองทัพตัวแบบใหม่” (New Model Army) ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น แต่ในขณะนั้นทั้งรัฐสภาและกองทัพตัวแบบใหม่ต่างก็ไม่มีความไว้วางใจกันซึ่งกันและกันซึ่งเป็นผลให้พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพยายามหาประโยชน์จากความขัดแย้งนี้
หลังจากนั้นพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงถูกย้ายตัวไป (Oatlands) และต่อมาพระราชวังแฮมพ์ตัน (Hampton court) ที่ติดตามด้วยการเจรจาต่อรองกับรัฐสภาที่ไม่ประสพความสำเร็จหลายครั้ง พระองค์ทรงได้รับการยุยงว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพระองค์ในขณะนั้นคือการหนี — เช่นไปต่างประเทศเช่นฝรั่งเศสหรือไปอยู่ภายใต้การอารักของนายพัน (Robert Hammond) ผู้เป็นข้าหลวงฝ่ายรัฐสภาของ พระเจ้าชาลส์ทรงตัดสินพระทัยทำตามข้อแนะนำหลังโดยเสด็จไปเกาะไวท์เพราะทรงคาดการณ์ว่านายพันแฮมมอนด์จะเป็นฝ่ายสนับสนุนพระองค์ พระเจ้าชาร์ลส์จึงเสด็จหนีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน แต่นายพันแฮมมอนด์กลับเป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าชาลส์และนำพระองค์ไปจำขังไว้ที่ (Carisbrooke Castle) จากปราสาทพระองค์ก็ทรงพยายามเจรจาต่อรองกับหลายฝ่าย ในที่สุดก็ทรงตกลงกับกลุ่มสกอตเพรสไบทีเรียนในอังกฤษและสกอตแลนด์ให้เป็นระยะเวลาปลอดศึกอยู่ระยะหนึ่ง แต่ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ลุกขึ้นต่อสู้อีกครั้งหนึ่งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1648 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเพียงการต่อสู้อย่างย่อย ๆ ซึ่งก็ถูกปราบปรามโดยฝ่ายรัฐสภานอกจากการสู้รบที่เคนต์ และ ส่วนการสู้รบในเวลส์และการรุกรานของสกอตแลนด์ตามข้อตกลงของพระเจ้าชาลส์เป็นสงครามที่ยืดเยื้อกว่า แต่หลังจาการพ่ายแพ้ของสกอตแลนด์ใน (Battle of Preston 1648) ฝ่ายที่สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ก็พ่ายแพ้และพระองค์เองก็ทรงถูกจับกุม
พิจารณาโทษ
พระเจ้าชาร์ลส์ทรงถูกย้ายไปประทับที่ (Hurst Castle) ในปลายปี ค.ศ. 1648 และหลังจากนั้นที่พระราชวังวินด์เซอร์ หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงต่อต้านรัฐสภาและทรงก่อความวุ่นวายต่าง ๆ ในระหว่างที่ทรงถูกจับคุมขังที่นำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 หลังสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งแรกฝ่ายรัฐสภายอมรับว่าการกระทำสงครามของพระองค์แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกแต่ก็ระบุว่ายังทรงมีอำนาจแต่อย่างจำกัดในการเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้การตกลงทางรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อทรงก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองครั้งที่ 2 ขณะที่ยังทรงถูกจำขังก็เหมือนเป็นประกาศว่าพระองค์ไม่ทรงสามารถร่วมมือกับฝ่ายรัฐสภาในการปกครองราชอาณาจักรและทรงเป็นผู้ก่อให้เกิดการนองเลือดโดยใช่เหตุ สภาสามัญชนจึงออกพระราชบัญญัติแต่งตั้ง “” (The High Court of Justice) เพื่อพิจารณาคดีของพระเจ้าชาลส์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1649
การพิจารณาคดีพระมหากษัตริย์เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น ในกรณีที่มีปัญหาพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ๆ ก็อาจจะถูกปลดแต่ไม่มีพระองค์ใดที่ถูกนำขึ้นศาล “ศาลยุติธรรมสูง” ที่ประกอบด้วยมาชิกด้วยกันทั้งสิ้น 135 คนแต่ในจำนวนนั้นมีเพียงครึ่งเดียวที่เคยนั่งศาล; การพิจารณาคดีนำโดย (John Cooke) ผู้มีตำแหน่งเป็น “”(Solicitor General for England and Wales)
ข้อกล่าวหาในการการพิจารณาคดีของพระเจ้าชาร์ลส์คือทรงเป็นกบฏต่อแผ่นดินและ “ความผิดทางอาญาอื่น ๆ” การพิจารณาคดีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่พระเจ้าชาร์ลส์ไม่ทรงยอมรับอำนาจของศาลและทรงอ้างว่าไม่มีศาลใดในแผ่นดินที่มีอำนาจเหนือกว่าพระมหากษัตริย์ ทรงมีความเชื่อว่าอำนาจในการปกครองของพระองค์เป็นอำนาจที่ทรงได้รับโดยตรงจากพระเจ้า และอำนาจจากผู้ที่พยายามพิจารณาพระองค์เป็นอำนาจที่มากจากดินปืน เมื่อทรงถูกถวายคำแนะนำให้ยอมรับผิดพระองค์ก็ไม่ทรงยอมรับและมีพระราชดำรัสว่า “ข้าจะรู้ว่าอำนาจใดที่ข้าถูกเรียกมาที่นี่ อะไรคืออำนาจตามกฏหมาย...?” แต่ศาลประกาศตนว่าเป็นศาลที่มีอำนาจในการดำเนินคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์พระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงได้รับคำร้องให้ยอมรับข้อกล่าวหาสามครั้งแต่ก็ไม่ทรงยอมรับทั้งสามครั้ง ซึ่งตามประเพณีแล้วถือว่าเป็น “pro confesso” คือเป็นการยอมรับว่าผิดโดยปริยาย ซึ่งหมายความว่าอัยการไม่สามารถเรียกพยานมาให้การได้ แต่อันที่จริงแล้วศาลได้ฟังคำให้การจากพยาน ในที่สุด (List of regicides of Charles I) ก็ลงนามตัดสินปลงพระชนม์พระเจ้าชาลส์ การลงนามอาจทำกันที่โรงแรมเรดไลอ็อนที่สเตเธิร์นใน on 29 มกราคม ค.ศ. 1649
เมื่ออัยการจอห์น คุคพยายามอ่านคำพิพากษาพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงพยายามขัดจังหวะโดยการเคาะพระคธาของพระองค์จนส่วนที่เป็นหัวเงินร่วงลงมาแต่อัยการคุคไม่ยอมหยิบขึ้นถวาย ในที่สุดพระเจ้าชาร์ลส์ก็ต้องทรงต้องหยิบขึ้นด้วยพระองค์เองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าอำนาจอันสูงสุดจากเทพต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย หลังจากได้ฟังคำพิพากษาแล้วพระเจ้าชาร์ลส์ก็ทรงถูกนำตัวไปจำขังไว้ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ และต่อมาที่พระราชวังไวท์ฮอล ที่เป็นที่ตั้งของตะแลงแกง
การปลงพระชนม์
พระเจ้าชาร์ลส์ทรงถูกปลงพระชนม์ด้วยการตัดพระเศียรเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ในสมัยนั้นปีใหม่มิได้เริ่มจนถึงเดือนมีนาคมฉะนั้นการสวรรคตของพระองค์บางครั้งจึงมักจะถูกบันทึกว่าเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1648 กล่าวกันว่าในวันที่ทรงถูกประหารชีวิตพระองค์ทรงเสื้อเชิร์ตฝ้ายสองตัวสำหรับป้องกันความหนาวเพื่อที่จะไม่ให้ผู้ใดเห็นว่าพระองค์สั่นจากความประหวั่นที่อาจจะตีความหมายว่าทรงมีความหวาดกลัวและอ่อนแอ พระองค์ทรงวางพระเศียรลงบนตอหลังจากที่ทรงสวดมนต์และทรงให้สัญญาณแก่เพชฌฆาตเมื่อทรงพร้อม พระราชดำรัสประโยคสุดท้ายคือ “ข้าจะไปจากบัลลังก์ที่เสียหายไปยังบัลลังก์ที่ดีที่ไม่มีผู้ใดเป็นปรปักษ์”
ฟิลิป เฮนรีบันทึกเหตุการณ์การปลงพระชนม์ว่าหลังจากที่ถูกตัดพระเศียรแล้วประชาชนที่มามุงดูอยู่ก็ส่งเสียงคราง บางคนก็รีบกรูกันเข้าไปเอาผ้าเช็ดหน้าซับพระโลหิตที่ไหลนองลงมา ซึ่งเป็นที่เริ่มของลัทธิบูชาของ (Society of King Charles the Martyr) แต่ก็ไม่มีบันทึกจากพยานอื่น ๆ นอกไปจากของซามูเอล พีพส์ ส่วนบันทึกของเฮนรีเขียนขึ้นในสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์ ราว 12 ปีหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ทรงถูกปลงพระชนม์เฮนรีก็มีอายุได้ 19 แล้ว แต่เฮนรีและครอบครัวเป็นนักเขียนข้อมูลประชาสัมพันธ์สำหรับฝ่ายผู้สนับสนุนราชวงศ์
เพชฌฆาตต่างก็สวมหน้ากากฉะนั้นจะเป็นใครก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่เป็นที่ทราบกันว่าคณะกรรมการได้ทาบทาม (Richard Brandon) เพชฌฆาตทั่วไปแห่งลอนดอนแต่แบรนดอนปฏิเสธ ฉะนั้นหลักฐานจากสมัยนั้นจึงไม่เชื่อว่าแบรนดอนเป็นผู้ปลงพระชนม์ แต่ “Ellis's Historical Inquiries” กล่าวว่าแบรนดอนเป็นเพชฌฆาตและอ้างว่าแบรนดอนสารภาพก่อนที่จะเสียชีวิต ซึ่งอาจจะเป็นได้ว่าแบรนดอนอาจจะปฏิเสธคณะกรรมการแต่แรกแต่มาเปลี่ยนใจภายหลัง บุคคลอื่นที่เชื่อกันว่าเป็นเพชฌฆาตก็ได้แก่ชาวไอริชชื่อกันนิง แต่ (William Hewlett) มาถูกตัดสินว่าผิดในข้อหา (regicide) ในสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษภายหลัง ในปี ค.ศ. 1661 ชายสองคนที่เรียกกันว่า “เดย์บอร์นและบิคเคอร์สสตาฟฟ์” ถูกจับแต่ต่อมาถูกปล่อย เฮนรี วอล์คเคอร์นักข่าวฝ่ายปฏิวัติถูกสงสัยแต่มิได้ถูกกล่าวหา ตำนานว่าใครเป็นเพชฌฆาตก็ยังมีกระเส็นกระสายโดยทั่วไปแต่ผลการทดสอบในปี ค.ศ. 1813 ที่วินด์เซอร์บ่งว่าผู้ที่เป็นเพชฌฆาตเป็นผู้มีประสบการณ์
ตามธรรมเนียมแล้วหลังจากการตัดหัวผู้ทรยศต่อบ้านเมืองแล้ว เพชฌฆาตก็จะยกหัวขึ้นสูงให้ประชาชนรอบ ๆ ข้างได้ดูและประกาศว่า “นี่คือหัวของผู้ทรยศ!” แต่ในกรณีของพระองค์เพชฌฆาตยกพระเศียรให้ประชาชนดูแต่มิได้ทำการประกาศ หลังจากพระเศียรขาดแล้วโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ก็อนุญาตให้นำพระเศียรกลับมาเย็บต่อกับพระวรกายซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำกันมาก่อนเพื่อที่จะให้พระราชวงศ์มีโอกาสถวายความเคารพ พระวรกายของพระเจ้าชาลส์ถูกฝังอย่างเป็นการภายในเมื่อกลางคืนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649ภายในที่พระราชวังวินด์เซอร์ ต่อมาพระเจ้าชาลส์ที่ 2พระราชโอรสทรงวางแผนการสร้างที่บรรจุพระบรมศพอย่างหรูหราแต่ก็มิได้ทรงสร้าง
สิบวันหลังจากที่ทรงถูกปลงพระชนม์ก็มีผู้พิมพ์ที่อ้างว่าทรงโดยพระเจ้าชาลส์เองออกมาขาย หนังสือ “Eikon Basilike” หรือ “Royal Portrait” มีเนื้อหาที่รวมทั้งการทรงขอขมาในนโยบายของพระองค์ซึ่งกลายมาเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายสนับสนุนราชวงศ์ วิลเลียม เลเว็ทท์มหาดเล็กห้องพระบรรทมผู้ติดตามพระเจ้าชาร์ลส์ในวันที่ทรงถูกปลงพระชนม์สาบานว่าเป็นผู้เห็นว่าพระองค์ทรงเขียนคำว่า “Eikon Basilike” ด้วยตาของตนเองพิมพ์คำปราศัยในโอกาสที่ถ้าพระองค์ทรงยอมรับผิด ส่วนทางรัฐสภาก็จ้างจอห์น มิลตัน (John Milton) ให้เขียนคำปราศัยตอบโต้ผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ใน “The Eikonoklastes” (The Iconoclast) แต่ก็ไร้ประโยชน์
ภายหลัง
หลังจากที่พระเจ้าชาลส์ถูกปลงพระชนม์ อำนาจการปกครองก็ตกไปเป็นของสภารัฐ (Council of State) ซึ่งรวมทั้ง (Lord Fairfax of Cameron) ผู้ขณะนั้นเป็นผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพฝ่ายรัฐนิยมและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ รัฐสภาลอง (ซึ่งขณะนั้นกลายเป็น รัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament)) ที่ถูกเรียกโดยพระเจ้าชาร์ลส์ในปี ค.ศ. 1640 ก็ยังคงอยู่ในสมัยการประชุมจนครอมเวลล์สั่งให้เลิกในปี ค.ศ. 1653 จากนั้นครอมเวลล์ก็ปกครองของอังกฤษแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ทุกอย่างแต่เพียงนาม ครอมเวลล์ถึงกับลงทุนสร้างบัลลังก์ราชาภิเษก เมื่อครอมเวลล์ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658 ริชาร์ด ครอมเวลล์ลูกของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ก็รับหน้าที่ “เจ้าผู้พิทักษ์” ต่ออยู่ชั่วระยะเวลาอันสั้นเพราะเป็นผู้นำที่ขาดสมรรภาพ จนรัฐสภาลองต้องถูกเรียกกลับมาในปี ค.ศ. 1659 และมายุบตนเองในปี ค.ศ. 1660 “” (Convention Parliament) ได้รับเลือกเข้ามาแทนที่หลังจากยี่สิบปีที่ไม่มีการเลือกตั้ง รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่นเป็นรัฐสภาที่มีบทบาทในการนำพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 กลับมาเป็นครองราชบัลลังก์ในพระนามของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2
ในทวีปอเมริกาเหนือตั้งชื่อตามพระนามพระเจ้าชาลส์ รวมทั้งชื่อเมือง ต่อมาอาณานิคมแคโรไลนาแยกตัวเป็นนอร์ทแคโรไลนาและเซาท์แคโรไลนา และต่อมาประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา ทางตอนเหนืออาณานิคมเวอร์จิเนียมี, ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ทรงตั้งชื่อด้วยพระองค์เองและ (Charles City Shire) ซึ่งเป็นเขตการปกครองมาร่วม 400 ปีก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “Charles City County” เวอร์จิเนียต่อมาเป็นอาณานิคมเวอร์จิเนีย (หนึ่งในสี่รัฐในสหรัฐอเมริกาที่เรียกตนเองว่า “อาณานิคม”) และยังคงใช้ชื่อ “The Old Dominion” ซึ่งเป็นนามที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เพราะเวอร์จิเนียมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ
พระราชอิสริยยศ
- 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1625: เจ้าชายชาลส์
- 23 ธันวาคม ค.ศ. 1603 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1625: ดยุกแห่งออลบานี
- 6 มกราคม ค.ศ. 1605 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1625: ดยุกแห่งยอร์ก
- 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1612 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1625: ดยุกแห่งคอร์นวอลล์
- 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1616 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1625: เจ้าชายแห่งเวลส์
- 27 มีนาคม ค.ศ. 1625 – 30 มกราคม ค.ศ. 1649: พระเจ้ากรุงอังกฤษ
พระราชตระกูล
ในบรรดาพระอัยกาอัยกี 16 พระองค์ของพระเจ้าชาลส์, 5 พระองค์เป็นชาวเยอรมัน, 4 พระองค์เป็นชาวสกอตแลนด์, 2 พระองค์เป็นชาวอังกฤษ, 2 พระองค์เป็นชาวฝรั่งเศส และอีกพระองค์หนึ่งเป็นชาวโปแลนด์
การอภิเษกสมรสและพระราชโอรสธิดา
พระเจ้าชาร์ลส์มีพระราชโอรสธิดาจากการเสกสมรสด้วยกันเจ็ดพระองค์ สองพระองค์ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระองค์
รูป | พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 | 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 | เสกสมรสกับกาตารีนาแห่งบรากังซา (ค.ศ. 1638 - ค.ศ. 1705) ในปี ค.ศ. 1663 ไม่มีพระราชโอรสธิดาในการสมรสด้วยกัน แต่ชาร์ลส์ที่ 2 ทรงมีโอรสธิดาอื่น ๆ เช่น ผู้ต่อมาแข็งข้อต่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 | |
เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี | 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1631 | 24 ธันวาคม ค.ศ. 1660 | เสกสมรสกับ (ค.ศ. 1626 - ค.ศ. 1650) ในปี ค.ศ. 1641 มีพระโอรสหนึ่งพระองค์พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ | |
พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ | 14 ตุลาคม ค.ศ. 1633 | 16 กันยายน ค.ศ. 1701 | เสกสมรสกับครั้งที่ 1 กับแอนน์ ไฮด์ (ค.ศ. 1637 - ค.ศ. 1671) ในปี ค.ศ. 1659 มีพระราชโอรสธิดาที่รวมทั้งสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่; เสกสมรสครั้งที่ 2 กับแมรีแห่งโมดีนา (ค.ศ. 1658 - ค.ศ. 1718) ในปี ค.ศ. 1673 มีพระราชโอรสธิดา (เจมส์ ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด สจวตและ) | |
29 ธันวาคม ค.ศ. 1635 | 8 กันยายน ค.ศ. 1650 | ไม่มีโอรสธิดา | ||
17 มีนาคม ค.ศ. 1637 | 8 ธันวาคม ค.ศ. 1640 | สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ไม่มีโอรสธิดา | ||
8 กรกฎาคม ค.ศ. 1640 | 18 กันยายน ค.ศ. 1660 | ไม่มีโอรสธิดา | ||
เจ้าหญิงเฮนเรียตตา แอนนา | 16 มิถุนายน ค.ศ. 1644 | 30 มิถุนายน ค.ศ. 1670 | เสกสมรสกับฟิลิปที่ 1 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง (Philip I, Duke of Orléans) (ค.ศ. 1640 - ค.ศ. 1701) ในปี ค.ศ. 1661 มีพระโอรสธิดา บางพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งซาร์ดิเนียและอิตาลี |
อ้างอิง
- ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 250
- "บีบีซี - ประวัติศาสตร์ - พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (1600 - 1649)". บีบีซี. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- "History of the Monarchy: Charles I". Royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 16 October.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) ((help)) - . British-civil-wars.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- . British-civil-wars.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- "Charles, King and Martyr". SKCM. สืบค้นเมื่อ 2008-10-16.
- "Memorable Christians". justus.anglican.org. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- Carlton, 2
- "ชาลส์ที่ 1 (1625-1649)". Britannia.com. สืบค้นเมื่อ 17 October.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) ((help)) - กิจการ 25:10-12 (NRSV แปล): นักบุญเปาโลกล่าวว่า, “ข้าขอยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการของพระจักรพรรดิ; ข้าควรจะถูกตัดสินต่อหน้าสภานี้ ข้ามิได้ทำความผิดต่อชาวยิว, ซึ่งท่านก็คงทราบดี11 ถ้าข้าทำผิดจริงและทำผิดในสิ่งที่ข้าสมควรจะถูกลงโทษถึงตาย, ข้าก็มิได้พยายามหลบหนีความตาย; แต่ถ้าข้อกล่าวหาต่อข้าปราศจากมูล, (ก็)ไม่สมควรจะมีผู้ใดที่จะส่งตัวข้าให้ผู้กล่าวหากลุ่มนั้น. ข้าขอยื่นคำร้องต่อพระจักรพรรดิ” 12 ดังนั้นเฟลตุส, หลังจากที่ปรึกษากับสมาชิกสภา, ตอบว่า, “ท่านต้องการยื่นคำร้องต่อพระจักรพรรดิ; ท่านก็จงไปยื่นต่อพระจักรพรรดิ”
- เจ พี เค็นยอน, อังกฤษภายใต้การปกครองของราชวงศ์สจวต, หน้า 96-97, 101-05 (ฮาร์มอนด์เวิร์ธ, อังกฤษ, เพ็นกวิน, ค.ศ. 1978); ไซมอน ชามา, ประวัติศาสตร์อังกฤษ, เล่ม 2, หน้า 69-74 (นิวยอร์ก, ไซมอนและชุลสเตอร์, ค.ศ. 2001)
- "Info Please: รัชสมัยพระเจ้าชาร์ลส์". Infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- เค็นยอน. p. 105-06.
- "บุคคลในประวัติศาสตร์: พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 (ค.ศ. 1600 – 1649)". บีบีซี. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2007.
- เมอร์ฟีย์, หน้า 211-235
- . Spiritus-temporis.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-29. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24.
- . British-civil-wars.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24.
- "วิลเลียม ลอด". Nndb.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-24.
- "พระเจ้าชาร์ลส์ (ปกครอง ค.ศ. 1625-ค.ศ. 1649)". Royal.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- "บางคนมีสติดี, บางคนเสียหัว". The Daily Telegraph. 28 ตุลาคม ค.ศ. 2000. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
((help)) - "อินโฟพลีส: สงครามกลางเมืองของพระเจ้าชาร์ลส์". Infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- [List "ผู้ที่ทรงพระประสงค์จะให้ติดตามไปรับใช้ที่เกาะไวท์, "รัฐสภาและประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญของอังกฤษ", ค.ศ. 1763"].
{{}}
: ตรวจสอบค่า|url=
((help)) - , Journal of the House of Lords, vol. 9, ลอนดอน, เซาท์อีสต์, เซาท์เวสต์, อีสต์, มิดแลนด์ส, นอร์ธ, สกอตแลนด์, เวลส์: (History of Parliament Trust), 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1647, pp. 519–522, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28, สืบค้นเมื่อ 2009-02-02
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
,|date=
และ|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน ((help)) - , Journal of the House of Lords, vol. 9, ลอนดอน, เซาท์อีสต์, เซาท์เวสต์, อีสต์, มิดแลนด์ส, นอร์ธ, สกอตแลนด์, เวลส์: (History of Parliament Trust), 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1647, pp. 531–533, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28, สืบค้นเมื่อ 2009-02-02
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
,|date=
และ|year=
/|date=
ไม่ตรงกัน ((help)) - (ค.ศ. 2002). "บทที่ 1 เรื่องของสิทธิมนุษยชน". อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ: การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมของโลก (2nd ed.). เพ็นกวินบุคส์. pp. หน้า 5. ISBN .
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
((help)) - "Red Lion Inn, a Pub and Bar in Stathern, Leicestershire. Search for Leicestershire Pub and Bars". Information Britain. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- "1649 ปฏิทิน". ผู้พิมพ์: Time and Date. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- "พระราชวังประวัติศาสตร์ - การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1". ผู้พิมพ์: History Royal Palace. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- "Info Please: การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1". ผู้พิมพ์: Infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- "ประวัติการเห็นเป็นพยาน: พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1". ผู้พิมพ์: ประวัติผู้เห็นเหตุการณ์. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
- "บทความบางบทจากการพิจารณาคดีและการประหารชีวิตของนายพันแดเนียล แอ็กเซลล์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1660". ผู้พิมพ์: ครอบครัวแอ็กเซลล์. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- "คำบรรยายโดยจอห์น แอชเบิร์นแนมเมื่อเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์, ค.ศ. 1830". กูเกิลบุคส์. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- "บันทึกความจำของสองปีสุดท้ายในรัชสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์, ทอมัส เฮอร์เบิร์ต, ค.ศ. 1815". กูเกิลบุคส์. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- ""พระราชประวัติของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, ผู้พลีชีพ", ชาร์ลส์ วีลเลอร์ ค็อยท์, ฮิวตัน มิฟฟลิน, บอสตัน, ค.ศ. 1926". กูเกิลบุคส์. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- ""พระราชประวัติของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, ผู้พลีชีพ", ชาร์ลส์ วีลเลอร์ ค็อยท์, ฮิวตัน มิฟฟลิน, บอสตัน, ค.ศ. 1926". กูเกิลบุคส์. สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- สจวต, จอร์จ อาร์ (ค.ศ. 1967). ชื่อดินแดน: ประวัติศาสตร์ที่มาของชื่อสถานที่ในสหรัฐอเมริกา (ฉบับเซ็นทรี (ฉบับที่ 3) ed.). ฮิวตัน มิฟฟลิน. pp. หน้า 38.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
((help)) - "บริทานยา: พระมหากษัตริย์อังกฤษ". บริทานยา. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- เหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (World History Database) 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1” (เว็ปไซท์ของราชวงศ์อังกฤษ
- เอกสารของรัฐสภาเกี่ยวกับหมายสั่งการประหารชีวิตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
- สมาคมพระเจ้าชาร์ลส์ผู้พลีชีพ
- สมาคมพระเจ้าชาร์ลส์ผู้พลีชีพ (สหรัฐอเมริกา)
- ชีวประวัติของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1, ค.ศ. 1600-1649 2008-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ | พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ พระมหากษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ (ราชวงศ์สจวต) (27 มีนาคม ค.ศ. 1625 – 30 มกราคม ค.ศ. 1649) | ราชบัลลังก์ว่างลงในสมัยไร้กษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์องค์ถัดไปคือสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 | ||
ว่าง | พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ (ราชวงศ์สจวต) (27 มีนาคม ค.ศ. 1625 – 30 มกราคม ค.ศ. 1649) | ว่าง |
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
lingkkhamphasa inbthkhwamni miiwihphuxanaelaphurwmaekikhbthkhwamsuksaephimetimodysadwk enuxngcakwikiphiediyphasaithyyngimmibthkhwamdngklaw krann khwrribsrangepnbthkhwamodyerwthisud phraecachalsthi 1 xngkvs Charles I 19 phvscikayn kh s 1600 30 mkrakhm kh s 1649 epnphraecaaephndinaehngrachxanackrxngkvssmyrachwngsscwt rwmthngphramhakstriyaehngskxtaelnd aelaixraelnd tngaet kh s 1625 krathngthrngthuksaercothsin kh s 1649 epnphrarachoxrsphraxngkhthisxnginphraecaecmsthi 1 aehngxngkvs phraxngkhthrngkhdaeyngthangxanackaremuxngkbrthsphaxngkvs dwythrngdariwakarepnphramhakstriyepnxanacthirbmxbhmaycakphraecaodytrngtamprchyaethwsiththikhxngphramhakstriy inkhnathifayrthsphatxngkarldphrarachxanackhxngphraxngkh phraxngkhthrngthuktxtancakprachachn enuxngcakkarekhaaethrkaesnginkhristckraehngxngkvsaelaskxtaelnd rwmthngkarcdekbphasiodyprascakkarxnumticakrthspha sungthaihphraxngkhthrngthukmxngwaepnthrrachinrabxbsmburnayasiththirachyphraecachalsthi 1phramhakstriyaehngxngkvsaelaixraelndkhrxngrachy27 minakhm 1625 30 mkrakhm 1649rachaphiesk2 kumphaphnth 1626kxnhnaecmsthi 1thdipchalsthi 2 odynitiny sphaaehngrth odyphvtiny phramhakstriyaehngchawskxtkhrxngrachy27 minakhm 1625 30 mkrakhm 1649rachaphiesk18 mithunayn 1633kxnhnaecmsthi 6thdipchalsthi 2phrarachsmphph16 phvscikayn kh s 1600 1600 11 16 skxtaelndswrrkht30 mkrakhm kh s 1649 1649 01 30 48 pi phrarachwngiwthxl lxndxnfngphrabrmsph9 kumphaphnth 1649 xngkvskhuxphieskxxngeriyt mariaehngfrngessphrarachbutr raylaexiydchalsthi 2 aemri phrarachkumariaelaecahyingaehngxxernc ecmsthi 7 aela 2 ehneriytta maeriy dsechsaehngxxrelxxngsrachwngsrachwngsscwtphrarachbidaecmsthi 6 aela 1phrarachmardaaexnnaehngednmarksasnaxngkhlikn nxkcakkhwamkhdaeyngthangxanacaelwkyngmikhwamkhdaeyngthangsasnadwy rwmthngkhwamlmehlwinkarsnbsnunkxngkalngopretsaetntrahwangsngkhramsamsibpi prakxbkbkarxphiesksmrskbecahyingehneriytta maeriyaehngfrngesssungnbthuxnikayormnkhathxlik thaihekidkhwamimiwwangicrawlukekiywkbkhxngphramhakstriy nxkcakni phraxngkhyngthrngepnphnthmitrkbphunathangsasnathimikhwamkhdaeyng rwmthng Richard Montagu aelawileliym lxd phuthiphraxngkhthrngaetngtngihepnxarchbichxpaehngaekhnethxrebxri sungthaihkharachsankmiekrngwaphraxngkhidthrngnakhristckraehngxngkvsekhaiklnikayormnkhathxlikmakekinip inphayhlngphraecachalsyngthrngphyayamthrngbngkhbihekidkarptirupthangsasnainskxtaelndcnkrathngnaipsu sungthaihrthsphaxngkvsmixanacephimmakkhun aelaepnpccythithaihphraxngkhsuyesiyphrarachxanacinthisud chwngbnplaychiwit phraxngkhthrngephchiykbsngkhramklangemuxngxngkvs sungepnkartxsukbfaytrngkhamxnprakxbdwyrthsphaxngkvsaelaskxtaelnd phusungthathaykhwamphyayammixanacehnuxaelaptiesthxanackhxngrthspha inewlaediywkbthiidchkcungklumprpkstxnoybaythangkarsasnakhxngphraxngkhthiexnexiyngipthangormnkhathxlik echn klumphiwritn phraecachalsthrngphayaephinsngkhramklangemuxngkhrngaerk kh s 1642 1645 odyfayrthsphahwngwacaphraxngkhthrngyxmrbkhxeriykrxngihthrngepnphramhakstriyphayitrththrrmnuy aetimthrngyxmrbaelayngthrngipsrangphnthmitrkbskxtaelndaelahniip xnnaipsusngkhramklangemuxngkhunxikkhrnghnung kh s 1648 1649 phraxngkhthrngphayaephxikkhrnghnung thrngthukcbkumaelathuktdsinsaercothsinkhxhakbttxaephndin rabxbcungthukyubelik aelaepliynaeplngkarpkkhrxngipsurabxbsatharnrth odymikarprakaskxtngekhruxckrphphxngkvsaethnthi bangkeriykwasmyxngkvsirphramhakstriy emuxsmykarpkkhrxngkhxngrichard khrxmewllsinsudlng phrarachoxrskhxngphraecacharls phraecachalsthi 2 thrngkhunepnphramhakstriyxik phayhlngkarfunfurachathipity in kh s 1660 inpiediywkn phraecachalsthi 1 thrngthukykyxngihepn nkbuychals scwt odykhristckraehngxngkvsebuxngtnphraecachalsthi 1 epnphrarachoxrsxngthisxnginphraecaecmsthi 6 aehngskxtaelnd aelaphranangaexnnaehngednmark esdcphrarachsmphphthi Dunfermline Palace in skxtaelnd emuxwnthi 19 phvscikayn kh s 1600 phraxngkhthrngphanphithibphtismaemuxwnthi 23 thnwakhm kh s 1600 odybichxpaehngrxs inphrarachphithisungcdkhunthi aelathrngidrbphraxisriyysdyukaehngxxlbani exirlaehngxxrmxnd exirlaehngrxs aelalxrdxadmnnxkh emuxyngthrngphraeyawthrngepnedkthikhxnkhangxxnaexaelakhiorkh emuxsmedcphrarachininathexlisaebththi 1 esdcswrrkhtineduxnminakhm kh s 1603 phraecaecmsthi 6 aehngskxtaelndkidkhunkhrxngrachbnglngkxngkvsepnphraecaecmsthi 1 aehngxngkvs chalsthrngthukphicarnawaimaekhngaerngphxthicathrngrxdchiwitcakkaredinthangmayngkrunglxndxn enuxngcaksukhphaphthixxnaex phraxngkhyngthrngprathbxyuthiskxtaelnd inkhnathikhrxbkhrwthnghmdxxkedinthangipxngkvsemuxeduxnemsaynaelaeduxnphvsphakhm kh s 1603 ody prathansalsungsudaehngskxtaelnd phrashaykhxngphrabida thrngidrbaetngtngihepnphupkkhrxngkhxngphrarachoxrs cnthungvduibimphliaehng kh s 1604 charlsthrngmixayuid 3 pikhrung aelathrngsamarthdaenintamkhwamyawkhxnghxngothngihyaehngdnefirmilniddwyphraxngkhexng cungphicarnawaphraxngkhthrngmikhwamaekhngaerngmakphxthicaedinthangipyngxngkvsephuxsmthbkbsmachikkhrxbkhrwphraxngkhxun emuxwnthi 13 krkdakhm kh s 1604 charlsxxkedinthangcakdnefirmilnipyngxngkvs thisungphraxngkhthrngichchiwitswnihythiehluxkhxngphraxngkh inxngkvs phraxngkhthrngxyuphayitkarduaelkhxngxleltta oheknohf aekhriy phrryachawdthchodydaenidkhxngkharachsank esxr Robert Carey phusxnihdaeninaelatrs aelayaihphraxngkhthrngrxngethabuththithacakhnngsepnthiesrimdwythxngehluxngephuxchwyphyungkhxethathixxnaexkhxngphraxngkh khwamxxnaexthangkayphaphkhxngphraxngkh sungxacenuxngmacakorkhkradukxxn aelaemuxthrngetibotepnphuihy smedcphraecacharlsthrngmikhwamsungephiyng 5 fut 4 niw 162 56 esntiemtr ethann phraecachalskhnathrngdarngtaaehnngepndyukaehngyxrkaelaxxlbani charlsimthrngmilksnaepnthiniymethakbehnri efredxrik ecachayaehngewls phraechstha phusungchalsthrngmikhwamniymintwkhxngphraxngkhaelaphyayameliynaebbphralksnakhxngechstha inpikh s 1605 chalsthrngidrbphrarachthanxisriyskhunepndyukaehngyxrk sungepntaaehnngsahrbphrarachoxrsxngkhthisxngkhxngphraecaaephndin xyangirktam ehnrisinphrachnmodysngsywaepnikhraksadnxy hruxxacepn emuxphrachnmayuid 18 phrrsa inpi kh s 1612 chalskidrbeluxnkhunepnecachayaehngewls sxngspdahkxnhnathicamichnmayuid 12 phrrsa aelaklayepnrchthayathipodypriyay enuxngcakphraxngkhepnphrarachoxrskhxngphramhakstriythiyngmiphrachnmxyu phraxngkhcungthrngidrbaetngtngphraxisrriyysephimetimxikcanwnmak rwmthng dyukaehngkhxrnwxllaeladyukaehngrxthsi imnanhlngcaknn phraxngkhthrngidrbaetngtngepnecachayaehngewlsaela ineduxnphvscikayn kh s 1616 inpi kh s 1613 phrakhnisthakhxngphraxngkh exlisaebth Elizabeth of Bohemia thrngesksmrskbefredxrikthi 5 aelathrngyaytamphraswamiipprathbthi inpi kh s 1617 ckrphrrdiefxrdinandthi 2 phuthrngnbthuxnikayormnkhathxlik thrngidrbeluxkihepnphramhakstriyaehngobhiemiy inpitxma prachachnobhiemiykxkbttxphramhakstriykhxngtn aelaeluxkthicaihefredxrikthi 5 aehngphalathientepnphramhakstriyaelahwhnaaethn karyxmrbmngkudkhxngefredxrikineduxnphvscikayn kh s 1619 naipsukhwamyungyaksungphthnacnklaymaepnsngkhramsamsibpi khwamkhdaeyngdngklawkxihekidrxyprathbxnyingihytxrthsphaxngkvsaelatxsatharnchn phusungmxngwainyuorpphakhphunthwip ekidkartxsuaebngfayrahwangkhathxlikaelaopretsaetnt ecms phusnbsnunkhxngphraecaefredxrik aelaidmxnghakaresksmrsrahwangecachayaehngewlsphraxngkhihm aelaphrarachthidaaehngphraecaaephndinsepn maeriy xnnaaehngsepn nbtngaetkarsinphrachnmkhxngecachayehnri erimcamxngwaepnhnthangthiepnipidinkarbrrlusntiphaphinthwipyuorp phraecachalsaelaphranangehneriytta maeriy odyaexnothni aewn idkh ochkhimdisahrbecms karecrcasntiphaphthangkarthutdngklawkbsepnphisucnwaimidrbkhwamniymxyangmak thngtxsatharnchnaelatxsalkhxngecms chalstkxyuphayitxiththiphlkhxng kharachsankkhnoprdkhxngphrarachbida thngsxngedinthangipsepnepnkarswntwinpi kh s 1623 ephuxipphyayamthakhwamtklngthiyudeyuxmananinkaresnxkaraetngnganrahwangcharlsexngaelaphrarachthidakhxngphraecaefliepthi 3 aehngsepn aetkimthrngprasbkhwamsaercephraathangfaysepnyunkhakhadihchalsepluynipnbthuxnikayormnkhathxlikaelaprathbinpraethssepnpihnunghlngcakkaresksmrsephuxepntwprakninkarthatamkhxtklngrahwangxngkvsaelasepntamsnthisyyathixaccatklngkn chalsphiorthtxenguxnikhkhxngsepnaelahlngcakthiesdcklbcaksepn chalsaeladyukaehngbkkingaehmkeriykrxngihphraecaecmsprakassngkhramkbsepn odykarhnunhlngkhxngthipruksanikayopretsaetnt phraecaecmsthrngeriykprachumrthsphaephuxkhxihrthsphaxnumtithuninkarthasngkhramkbsepn aelathrngkhxihrthsphaxnumtikaresksmrsrahwangchalsaelaecahyingehneriytta maeriyaehngfrngess phuthichalsthrngphbpakhunekhythiparisrahwangthithrngedinthangipsepn sungepnkhuhmaythiehmaaephraaecahyingehneriytta maeriyepnphrakhnisthakhxngphraecahluysthi 13 aehngfrngess phuepnphrarachoxrsthidakhxngphraecaxxngrithi 4 aehngfrngess rthsphatklngxnumtikarxphiesksmrsaetwiphakswicarnxyangrunaerngtxkhwamphyayaminkarcbkhukbsepnkxnhnann phrastismpchyyakhxngphraecaecmsexngkerimesuxmlngaelathrngmikhwamrusukwaimsamarthkhwbkhumrthsphaidsungepnpyhathichalsexngkmathrngprasphemuxthrngkhunkhrxngrachytxma inpisudthayxanacthangkaremuxngkhxngphraecaecmsktkipxyuinmuxkhxngphraoxrsaeladyukaehngbkkingaehm phralksnanisyaelakhwamsamarthkhxngcharlsaetktangepnxyangmakcakphrarachbidaaelathrngkhadpraskkarnthangdankarpkkhrxng thngsxngphraxngkhmikhwamechuxmninrabxb Divine Right aetphraecaecmsthrngfngkhwamehnkhxngkhaaephndinaelathrngphyayampranipranxmaelathrngyxmrbkartdsinodyesiyngswnmak charlsmiphranisykhuxayaetkhnaediywknkmiphranisyduxrn khwamkhidehnaerng phrathyeddediyw chxbpathakhwamkhidehnodyimeliyng nxkcaknnyngthrngechuxwakhwamkhidehnkhxngphraxngkhexngethannthithuk thrngechuxwaimcaepntxngpranipranxmhruxtxngxthibaynoybaykhxngphraxngkhexngihikhrfngephraathrngkhunxyukbphraecaethannhruxphuthixyuehnuxphraxngkhmiephiyngphuediywethann phraeca phradarsthiepnthiruckkhux phramhakstriyimtxngihkhaxthibayinphrarachkrniykicthithrngkrathatxphuidnxkipcakphraecaethann khaphecacaaesdnginsingthikhaphecaccaphudcakkarkrathakhxngkhapheca phrarachkrniykictang thaihthuktikhwamipinthangthiphidaelaekidkhwamklwknwacaepnphramhakstriyaebbephdckarmatngaettnpi kh s 1626tnrchsmyphaphehmuxnphraecachalsthi 1 ekhiynodyaexnothni aewn idkhemuxediynemsayn kh s 1634phaphehmuxn phraecachalsthi 1 aehngxngkvs mxngcaksammumthiruckkninchux Triple Portrait ody aexnothni aewn idkhphraecachalsaelaphranangehneriytta maeriykbphrarachoxrsxngkhotsxngphraxngkhecachaychals ecachayaehngewlsaelaecms dyukaehngyxrk emuxwnthi 11 phvsphakhm kh s 1625 phraecachalsthrngxphiesksmrsthangchnthakbecahyingehneriytta maeriyaehngfrngessphumiphrachnsaxxnkwaphraxngkh 9 phrrsa inkareriykprachumrthsphakhrngaerkineduxnphvsphakhm smachiksphahlaykhnkhdkhankbkarxphiesksmrskbecahyingehneriytta maeriyphunbthuxnikayormnkhathxlik ephraakhwamhwadraaewngthiwaphraecachalscathrngphxnphnkdhmaythimiphlbngkhbtxphunbthuxnikayormnkhathxlik sungepnkarthaihsthabnkarpkkhrxngphayinkarnakhxngphunbthuxnikayopretsaetntxxnaexlng thungaemwaphraecachalscathrngprakastxrthsphawacaimthrngphxnphnkdhmaythiekiywkbkarcakdsiththikhxngphunbthuxlththisasnathitangkbsasnakhxngrthbal Recusancy aetinthangswnphraxngkhaelwklbthrnghniprabunoybaythitrngknkhamkbthithrngprakastxrthsphaepnkarlb insnthisyyakaraetngnganthithakbphraecahluysthi 13 aehngfrngess phraecachalsthrngesksmrskbecahyingxxngeriyt marixikkhrngemuxwnthi 13 mithunayn kh s 1625 thimhawiharaekhnethxrebxri aelathrngthaphithirachaphieskemuxwnthi 2 kumphaphnth kh s 1626 thiewstminsetxraexbbiy aetmiidmiecahyingehneriytta maeriyphrachayaekharwmphithi xaccaepnidwathrngklwwathaesdckcaklayepnchnwnthikxihekidkhwamkhdaeyng charlsaelaehneriytta maeriymiphraoxrsthidadwykn 9 phraxngkh 6 phraxngkhrxdchiwitmacnot khwamimiwwangicinphrarachnoybaythangsasnakhxngrthsphayingephimmakkhuninkrnithiphraecacharlsthrngsnbsnunnoybaythangsasnatang thiimtrngkbnoybayodythwipkhxngrthspha krnithiwaekidkhunemuxaeckcayibpliwxxkkhwamehnkhankbkhasxnkhxngcxhn khalwin John Calvin mxnthakiwcungklayepnstruodytrngkhxngklumphiwritn hlngcakthi John Pym smachiksphasamyklawocmtiibpliwkhxngmxnthakiwrahwangkarprachumspha mxnthakiwkkhxihphraecacharlschwy ibpliwchbbtxmachux khayunkharxngtxsisar Appello Caesarem sungmikhwamhmayepnnythungkaryunkharxngkhxngnkbuyepaolxkhrthuttxsisarihhyudyngkartharaychawyiw phraecacharlscungphrarachthankhwamchwyehluxdwykarthrngaetngtngihmxnthakiwepnnkbwchpracarachsankkhnhnung sungyingthaihklumephiywritnimphxichnkkhunaelaephimkhwamimiwwangicinnoybaythangsasnakhxngphraxngkhmakkhun singsakhythiphraecacharlsthrngkngwlemuxtnrchsmykhuxnoybaytangpraeths sngkhramsamsibpithiedimtxsuknechphaainbriewnobhiemiyerimkhyaytwmaepnsngkhramrahwangphunbthuxnikayopretsaetntaelaphunbthuxnikayormnkhathxlikinyuorp inpi kh s 1620 phraecaefredxrikthi 5 Frederick V Elector Palatine phraswamikhxngphranangexlisaebthphrakhnisthasuyesiydinaednihkbckrphrrdiaefrdinndthi 2 aehngckrwrrdiormnxnskdisiththi phraecachalscungthrngsyyacachwyyuddinaednkhunodykarprakassngkhramkbsepn ephraathrnghwngcabngkhbihphraecaefliepthi 4 aehngsepnekharwmsngkhramephuxsnbsnunphraecaefredxrikthi 5 inthanakstriyormnkhathxlikdwykn inkarekharwmsngkhramkhrngnirthsphaprasngkhcaichwithithiichkhaichcaynxykwaodykarocmtithangeruxinxananikhmkhxngsepninthwipxemrikaephuxthicayudkxngeruxthisepnichinkarbrrthuksmbtithiipkhnmacakxemrikaephuxcanamaepnthuninkarthasngkhram aetphraecacharlsmiphraprasngkhthicathasngkhramaebbephchiyhnakbsepnodytrnginyuorp sungepnnoybaykarsngkhramthisinepluxngngbpramanmakkwawithithirthsphaesnx rthsphacungxnumtingbpramaninkarthasngkhramephiyng 140 000 sungepncanwnenginthinxykwathiphraecacharlsthrngeriykrxng nxkcaknnsphasamykyngcakdsiththiswnphraxngkhinkarekb phasitnphasipxnd Tonnage and Poundage epnewlahnungpi sungtampktiaelwsiththiniepnsiththithiphramhakstriykxnpi kh s 1414 misiththieriykekbidtlxdphrachnmchiph karxxkkhxbngkhbnithaihrthsphasamarthkhwbkhumkarichcaykhxngphraecachalsodykarbngkhbihphraxngkhtxngtxsyyakarekbphasidngwathukpi aetsphakhunnangthinaodydyukaehngbkhkhingaehmkhdkhanekhakhangphraecacharlsodykarimyxmphankdhmaythiwa aetaemwatamkdhmayaelwphraecacharlsimthrngidrbkarxnuyatihekbphasitnphasipxndaetkyngthrngekbphasitamthiekhyma sngkhramkbsepnsinsukhlngdwykhwamlmehlwephraakhwamkhadsmrrthphaphinkarepnphunakhxnginthanaphunathangkarthhar aetimwarthsphacaprathwngxyangidphraecacharlskimthrngyxmplddyukaehngbkhkhingaehmxxk aelathrnghnklbipyubsphaaethnthi nxkcaknnkyngthrngphyayamkxkhwamkhdaeyngephimkhunodyesnxkar kuenginaebbbngkhb sungepnkareriykekbphasiodyimidrbkarxnumticakrthspha aemwacathrngmikhwamsaercinkarekbphasixyubangaetenginthiidmakipthukephaphlayhmdkbkarsngkhramxiksngkhramhnungthinaodydyukaehngbkhkhingaehmxikechnkn emuxphraecacharlsthrngeriykprachumrthsphaxikkhrnginpi kh s 1628 rthsphakyunkharxngkhxsiththifxngrxngrthsungepnkharxngthieriykrxngihphraecacharlsthrngyxmrbwaphraxngkhimmisiththiinkareriykekbphasiodyimidrbkarxnumticakrthspha inkarxxkkdxykarsuk cakhngprachachnodyimmikarphicarnathangsal hruxichthiphkkhxngprachachninkarthiphankkhxngkxngthhar phraecachalsthrngyxmrbtamkhaeriykrxngaetkyngthrngyunynwasiththiinkarekbphasitnphasipxndepnsiththiswnphraxngkhsungrthbalimmisiththimiesiyng emuxwnthi 23 singhakhm kh s 1628 dyukaehngbkhkhingaehmthuklxbsnghar thungaemwakhwamtaykhxngdyukaehngbkhkhingaehmcaepnkarthaihsngkhramyutilngodypriyay aetkhwamepnptipksrahwangphraecachalsaelarthsphainpyhaeruxngkarekbphasiaelanoybaythangsasnakhxngphraxngkhkmiidyutilngtamipdwy ineduxnmkrakhmpi kh s 1629 phraecachalsthrngepidsmyprachumkhrngthisxngkhxngrthsphathiidthukpidipemuxeduxnmithunaynpi kh s 1628 odymiphrarachdarseruxngphasisulkakr phasitnphasipxnd smachiksphasamychnerimmiesiyngtxtaninkrnikhxngorll orllepnsmachiksphasamyphuthukribsinkhaephraaimsammarthcayphasithiwaid smachiksphaehnwakarribsinkhaephraakarthiimsamarthcaykhaphasiidepnkarfafun odyxangwakarimmisiththiinkarcbkumkhxngphraxngkhthirabuinkharxngsiththiimcakdechphaaaetkarcbkumbukhkhlethannaetkhrxbkhlumipthungsinkhadwy emuxphraecachalsphyayameluxnkarprachumrthsphaineduxnminakhm smachiksphakbngkhbihesxr Sir John Finch nngepnprathaninkarxansphamtisamkhx khxsudthayrabuwaphuidthicaykha phasitnphasipxnd thiimidrbxnumticakrthsphathuxwaepnphuthrystxesriphaphkhxngxngkvsaelaepnstrukhxngchati aemwamtikhxngsphacamiidrbkarxnumtixyangepnthangkaraetkmismachikhlaykhnthiyxmrb karthismachiksphasamythukbngkhbihnngprachuminrthsphaxaccaepnkartikhwamhmayidwakarepnptipkstxphraecachalsmiidepnesiyngediywknknthngspha aetkrannkhwamkhdaeyngkmiphlkrathbkraethuxnthangphrathytxphraecacharlsphumiphrarachoxngkarihyubrthsphainwnediywkn thnthihlngcaknnphraecacharlskthrngthasyyasngbsukkbfrngessaelasepn rahwangsibexdpitxmaphraxngkhkpkkhrxngxngkvsodyimmirthspha smyniepnsmythieriykwa smykarpkkhrxngswnphraxngkh Personal Rule hrux smysibexdpiaehngkhwamkdkhi Eleven Years Tyranny pyhathangesrsthkic aemwaphraecachalscathrngthasyyasngbsukkbfrngessaelasepnaelwphraxngkhkyngthrngtxngharayidephuxcabarungphrakhlngtxip ephuxthicaharayidephimkhunodyimtxngeriykprachumrthsphaphraecachalskruxfunphrarachbyytiekachux Distraint of Knighthood thixxkemux kh s 1279 sungrabuwaphuidthimirayid 40 txpikhuniptxngmaprakttwtxphrarachphithirachaphieskaelathwaytwekharbrachkarinrachsankepnkhunnang phraecacharlsthrngichphrarachbyytinisubhatwphuthimirayidtamthirabuaetmiidekharwmphrarachphithirachaphieskkhxngphraxngkhinpi kh s 1626 txmaphraecacharlsthrngnaphasikhunnangekathieriykwa ship money klbmaesnxichsungyingthaihekidkhwamimphungphxicknhnkkhun phayitphrarachbyytikhxngphraecaexdewirdthi 1 aelaphraecaexdewirdthi 3 karekbphasieruxepnkarekbphasithiicheriykekbidechphaainyamsngkhram aetphraecacharlsthrngphyayambngkhbichkdhmayniinyamsngb aemwakarekbphasieruxkhrngaerkthiprakasichinpi kh s 1634 miidthaihekidpyhaethaidnk aetemuxthrngprakasekbxiksxngkhrnginpi kh s 1635 aelapi kh s 1636 kerimthaihmiphuepnptipksmakkhunephraaepnthithrabknodythwipwakarekbphasieruxinyamsngbepnsingthiykelikknipaelw miphuphyayamtxtankarcayphasiaetthangsankphrarachwngxangwakarekbphasiepnsiththiswnphraxngkhkhxngphramhakstriy karekbphasieruxinyamsngbepnpyhaihythiepnthinawitkinbrrdachnchnpkkhrxng smykarpkkhrxngswnphraxngkh masinsudlngemuxmikarphyayambngkhbkhxngxngklikhnaelakarbngkhbichhnngsuxswdmntaebb Arminianism phayitkarnakhxngwileliym lxd sungepnswnhnungthiinthisudthaihekidkarptiwtiinskxtaelndinpi kh s 1640khwamkhdaeyngthangsasnaphraecachalsmiphraprasngkhthicaaeykkhristckraehngxngkvsihiklcaklththikhalwin Calvinism ipthangthiichrabxbpraephnithangsasnaechnthiiklekhiyngkbthrrmeniymobranmakkhunkwathiptibtikninlththikhalwin phraprasngkhniidrbkarsnbsnunodyxarchbichxpwileliym lxdthipruksathangkaremuxngswnphraxngkh phuidrbkaraetngtngodyphraxngkhihepnxarchbichxpaehngaekhnethxrebxri inpi kh s 1633 aelathrngrierimkarepliynaeplngxun thiepnkarphyayamephimxanacihaekkhristckraehngxngkvsmakkhun xarchbichxplxdphyayamthaihsthabnsasnaepnxnhnungxnediywknodykarpldnkbwchthiepnptipkstxnoybayaelapidxngkhkartang khxngphiwritn karepliynaeplngehlaniepnkartxtannoybaykarptirupsasnakhxngprachachnthnginrachxanackrxngkvsaelarachxanackrskxtaelnd phrarachnoybaykhxngphraxngkhepnnoybaythikhankbprchyakhxnglththikhalwinthitxngkarihnikayechirchxxfxingaelndthaphithisasnaechnthirabuiwin Book of Common Prayer nxkipcaknnxkhrbathhlwnglxdkyngniymkhristsasnprchyakhxng Arminianism khxng Jacobus Arminius sungepnprchyathiphuekhrngkhrdinlththikhalwinthuxwaaethbcaepnprchya ormnkhathxlik xarchbichxpwileliym lxd ephuxcaepnkhwbkhumphuepnptipksxarchbichxpwileliym lxdtngrabbsalthiepnthinayaekrngkhunsxngsal Court of High Commission aela Court of Star Chamber ephuxichinkarlngothsphuthiimyxmrbkarptirupkhxngthan salaerkmixanacthicabngkhbihphuthukklawhaihkarthiihkhwamesiyhaytxtnexng salhlngmixanacxxkbthlngothsid kidrwmthngkarthrmanykewnaetephiyngkarpraharchiwitethann xanacehnuxkdhmaykhxng Court of Star Chamber inrchsmykhxngphraecachalsepnxanacthiehnuxkwaxanacid thiekhyichknmakxninrchsmykhxngphraxngkh phayinrchsmykhxngphraxngkhphuthukklawhamkcathuklaktwkhunsalodyimmikhxklawhaid aelaimmisiththiinkarkhdkhankhxklawhaid thngsindwy nxkcaknnkhaihkarthiidmakmkcaidmacakkarthrman piaerkkhxng smykarpkkhrxngswnphraxngkh epnsmythibanemuxngkhxnkhangcasngbephraarthbalkhwbkhumxyangkhnaekhng kmixyubangthimiphuthiaekhngkhxtxkarekbphasikhxngphraecacharlshruxnoybaykhxngxkhrbathhlwngwileliym lxd echninpi kh s 1634 emuxeruxkriffinthiphyayambrrthukphuliphythangsasnathicaedinthangipthwipxemrikaechnnkethsnphiwritn Anne Hutchinson aetodythwipaelwbanemuxngkimmipyhathiihyotxair aetemuxphraecachalsthrngphyayamdaeninnoybaythangsasnaechnediywkninskxtaelndphraxngkhkidrbkartxtanxyangrunaerng emuxmiphrarachoxngkarbngkhbichhnngsuxswdmntkhlay khxngxngkvsinskxtaelnd sungaemwaphrarachoxngkarcaidrbkarsnbsnuncakbathhlwnginskxtaelndaetkthuktxtanodychawskxtaelndthiepnephrsibthieriyn Presbyterian thiehnwahnngsuxswdmntelmihmepnekhruxngmuxthicanalththixngklikhnekhamayngskxtaelnd emuxkarprachumthwipkhxngkhristckraehngskxtaelndpldrthbalexphisekhxepheliyn rabbkarpkkhrxngodybichxp aelaaetngtngrthbalephrsibthieriyn rabbkarpkkhrxngodyephrsibethxr phraecachalsthrngehnwakarkrathaniepnkarepnptipkstxphrarachxanackhxngphraxngkh inpi kh s 1639 emux Bishops Wars ekidkhunphraecacharlskthrngphyayameriykekbphasiephuxsnbsnunkarsngkhramaetprachachnimyxm sngkhramcblngdwykarlngnaminsyyasngbsuk Treaty of Berwick 1639 odyphraecacharlsineduxnmithunaynpiediywkn insnthisyyaphraxngkhphrarachthanphrarachanuyatihprachachnchawskxtaelndmiesriphaphinthangswnbukhkhlaelainthangsasna karphayaephinthaihphraecacharlsmipyhathngthangkarthharaelathangesrsthkicaelaepnsaehtthithaih smykarpkkhrxngswnphraxngkh txngsinsudlng ephraasphawathangesrsthkicxyuinsphaphthiyaaeycntxngthrngeriykprachumrthsphainpi kh s 1640 ephuxthicahathunephim aemwachnchnpkkhrxnginxngkvscaimphungphxictxkarpkkhrxngaebbrachathipitykhxngphraecacharlsinchwngrayaewlasibexdpithiphanma aetsaehtuthithaihrabbkarpkkhrxngswnphraxngkhkhxngphraxngkhmasinsudlngkkhuxkarptiwtiinskxtaelnd rthsphasn aela rthsphayaw phraecachalsrawkhristthswrrs 1640 khwamimtklngknidinkartikhwamhmaykhxngsnthisyyasngbsukrahwangphraecachalsaelatammadwykhwamkhdaeyngthiekidkhun emuxphraecacharlsthrngphraprasngkhcahaenginthunephimkhunephuxrksakhwamsngbinskxtaelndcakrthsphaaehngxngkvs phraxngkhkthrngeriykprachumrthsphaineduxnemsayn pi kh s 1640 aemwaphraecachalscathrngyxmyubaelasphasamychncaxnumtiihenginthuninkarthasngkhram aetsphaaelaphraxngkhkimsamarthtklngknknidineruxngthirthbaleriykrxngihmikarecrcaknineruxngkarichxanacinthangthiphidrahwang smykarpkkhrxngswnphraxngkh thngsxngfaytangkimyxmaekkn phraecacharlscungthrngyubrthsphaineduxnphvsphakhm kh s 1640 ephiyngimthunghnungeduxnhlngcakthithrngeriykprachum rthsphanicungeriykknwa rthsphasn khnaediywknphraxngkhkthrngocmtiskxtaelndaetkthrngphayaephxyangybeyinin khrngnithrnglngnamin Treaty of Ripon ineduxntulakhm kh s 1640 snthisyyarabuihthrngcaykhaichcaysahrbkxngthharskxtaelndthiephingthrngtxsudwy phraecachalscungthrngeriykprachum magnum concilium sungepnkareriykprachumxngkhmntriaebbobranthimiidthaknmaepnrxy pikxnhnann sungepnxngkhmntrithiprakxbdwykhunnangaehngrachxanackrthimihnathiepnthipruksakhxngphramhakstriy xngkhmntrikthwaykhapruksaihphraxngkheriykprachumrthsphaxikkhrng sungtangcakrthsphakhrngkxnthimaeriykknwa rthsphayaw rthsphayawprachumkhrngaerkemuxeduxnphvscikayn kh s 1640 phayitkarnakhxng John Pym aetrthsphanikyngepnrthsphathiepnpyhaaekphraecacharlsphx kbrthsphasn aemwasmachiksphasamychncakhidwatnexngepnsphathisnbsnunrabbkarpkkhrxngodykstriyaelasthabnsasna aelachwypxngknphraecachalscakkarptirupthangsasnaaelakarichxanacinthangthiphidkhxngthipruksathiiklchidkhxngphraxngkh aetphraecacharlsimthrngehnechnnnaelathrngmikhwamehnwasmachiksphaepnptipkstxphraxngkhaelaphyayambxnthalayphrarachxanac ephuxepnkarpxngknimihekidkaryubsphaodyimmikarbxkklawaeksmachikkhunxik rthsphaxnumticung Triennial Act ineduxnkumphaphnthpi kh s 1641 thirabuwarthsphatxngekhaprachumrwmknxyangnxyhnungkhrngthuksampiaelathasphamiidrbkareriykprachumcakphramhakstriyinchwngrayaewlann rthsphaksamartheriykprachumdwytnexngid ineduxnphvsphakhmcxhn phimkidesnxrangphrarachbyytithiyingthaeyxthayanipkwachbbedimthiesnxwarthsphaimsamarththukyubidthaimrbkarxnumticaksmachikrthsphaexng hlngcaknnphraecachalskthrngthukbngkhbihthrngyxmrbphrarachbyytitang chbbaelwchbbela echnthrngtxngyxmrbrangphrarachbyytikarlngoths Bill of attainder thixnumtikarpraharchiwitkhxngthxms ewnthewirth exirlaehngstraffxrdthi 1 aelaxarchbichxpwileliym lxd swnaelakarekbphasixun khxngphraxngkhthukprakaswaepnkarkrathathiphidkdhmay sal Court of High Commission aela Court of Star Chamber thuksngyub aemwaphraecachalscathrngyxmrbkhxeriykrxngtang khxngrthspha aetsthanakarnthangkarthharkhxngphraxngkhkerimaekhngaerngkhunemuxthrngidrbkarsnbsnuncakskxtaelndhlngcakthithrngyxmihskxtaelndkxtngrthbalephrsibthieriynsungthaihthrngidrbkarsnbsnuncakfaythitxtanrthspha phranangehneriytta maeriy raw kh s 1633 odyaexnothni aewn idkh ineduxnphvscikayn kh s 1641 sphasamyxnumti Grand Remonstrance sungladbraykarxnyawehyiydthirxngthukkheruxngtang thiekidcakkarkrathakhxngxngkhmntrihlaykhnkhxngphraecachalsthiichxanacinthangthiphidtngaettnrchsmy khwamtungekhriydyingephimmakkhunemuxekid Irish Rebellion of 1641 sungepnkaraekhngkhxtxxanackarpkkhrxngkhxngchawxngkvskhxngphunbthuxnikayopretsaetnt rthsphaidrbkhawluxthiwaphraecacharlsxaccathrngmiswnsnbsnunphuepnkbt sungthaihrthsphaimiwwangicemuxthrngphyayamrwbrwmkalngephuxprabkbtephraaklwwacathrngichkxngthharthithrngphyayamrwbrwminthangthiepnprpkstxrthsphaexnginxnakht rthsphacungesnx Militia Bill ephuxkhwbkhumxanacinkarichkxngthharkhxngphraecacharls aetphraxngkhimthrngyxmtklng rthsphacungxxkprakas ptiyankhwamphkdi The Protestation ephuxphyayamphxnkhlaykhwamtungekhriyd odykarihsmachiklngnamin ptiyankhwamphkdi txphraecacharls aetemuxmikhawluxwarthbalcasxbswnphrarachiniehneriytta maeriyphraecacharlskthrngottxbthnthi xaccaepnipidwaphrarachiniehneriytta maeriyepnphuyuyngihphraecaxngkhcbsmachiksphasamychnhakhnthiepnphutxngsngsywacaepnxntraytxphraecacharlsaelatngkhxhawaepnkbttxaephndin aetsmachikspharukhawphuthukklawharutwesiykxnaelahlbhniipthnkxnthiphraecaxngkhcaesdcma emuxphraecacharlsthrngnakxngthharmathungrthsphaemuxwnthi 4 mkrakhm kh s 1642 kthrngphbwasmachiksphahnikniphmdaelwykewn oxliewxr khrxmewllthimiidhniipkbphuxunaetkeliyngcakkarthukcbkumid phraecachalsthrngthamprathanspha William Lenthall wasmachiksphahlbhniknipihnsungelnthallihkhatxbthiepnthiruckknwa khxedcha itfalaxxngthuliphrabathpkeklapkkrahmxm khaphraphuththecairsungthngdwngtaaelalinephuxmxngaelaklawinthini thwa sphaxnkhaphraphuththecaepnkharbichnnidnaphakhaphraxngkhmanidwyphrakrunathikhun May it please your Majesty I have neither eyes to see nor tongue to speak in this place but as the House is pleased to direct me whose servant I am here sungethakbwaelnthallprakastnepnphurbichrthsphaaethnthicaepnphramhakstriy ehtukarnkhrngniepnwikvtkalthithaihrabbrthbalkhxngxngkvslmehlw hlngcaknnphraecachalskimthrngmikhwamrusukplxdphyphxthicaprathbxyuinlxndxnxiktxipaelathrngerimesdchlbhniipthangtxnehnuxkhxngxngkvsephuxiprwbrwmkalngephuxtxtanrthbal phrarachinixxngeriyt mariexngkesdcipaephndinihyyuorpephuxhathuninkarthasngkhramsngkhramklangemuxngxngkvsyuththkardnbar sngkhramklangemuxngxngkvsyngmiidekidkhunaetthngsxngfaykerimrwbrwmkxngthhar hlngcakkarthiphraecachalsimthrngprasphkhwamsaercinkarecrcaphraxngkhkthrng ykthng raise the royal standard sungepnphithiobranthihmaythungkarprakassukthiemuxwnthi 22 singhakhm kh s 1642 aelathrngtngrachsankthiemuxngxxksfxrd khnathirthbalkhxngphraxngkhmixanackhwbkhumbriewnthangehnuxaelathangtawntkkhxngxngkvs fayrthsphamixanackhwbkhumkrunglxndxnaelabriewnthangitaelatawnxxkkhxngxanackr phraecacharlsthrngeknththhardwywithiobranthieriykwa phrarachkvsdikaradmiphrphl thimxbxanacihphraecaaephndininkarmisiththieriykeknththharinkarthasngkhramid sngkhramklangemuxngerimtnemuxwnthi 26 tulakhm kh s 1642 dwyyuththkarexdchillodyimmifayidthiidrbchychnaxyangeddkhad hlngcaknnkmikarpathakntxmatlxdpi kh s 1643 aelapi kh s 1644 cnthungyuththkarensbiy Battle of Naseby sungfayrthsphaepnfayidepriyb hlngcaknnfaysnbsnunphraecachalskphayaepheruxymaxikhlaykhrng cnkrathngthungehtukarn Siege of Oxford sungtxngthaihphraxngkhtxngthrnghlbhniineduxnemsayn kh s 1646 iptkxyuinmuxkhxngkxngthharskxtephrsibthieriynthiniwxarkh aelathrngthuknaphraxngkhipesathewllthiimiklcakniwxarkhethaidnkinkhnathithharskxtphyayamtdsinicwacathaxyangirkbphraxngkh inthisudkxngthharephrsibthieriynktklngkbrthsphaxngkvsinkarsngtwphraxngkhkhuninpi kh s 1647 phraecachalsthrngthukcakhngxyuthi Holdenby House in cnkrathngphlthhar George Joyce bngkhbnatwphraxngkhipniwmarekhtin innamkhxng kxngthphtwaebbihm New Model Army thiephingkxtngkhun aetinkhnannthngrthsphaaelakxngthphtwaebbihmtangkimmikhwamiwwangicknsungknaelaknsungepnphlihphraecacharlsthrngphyayamhapraoychncakkhwamkhdaeyngni hlngcaknnphraecacharlskthrngthukyaytwip Oatlands aelatxmaphrarachwngaehmphtn Hampton court thitidtamdwykarecrcatxrxngkbrthsphathiimprasphkhwamsaerchlaykhrng phraxngkhthrngidrbkaryuyngwasingthidithisudsahrbphraxngkhinkhnannkhuxkarhni echniptangpraethsechnfrngesshruxipxyuphayitkarxarkkhxngnayphn Robert Hammond phuepnkhahlwngfayrthsphakhxng phraecachalsthrngtdsinphrathythatamkhxaenanahlngodyesdcipekaaiwthephraathrngkhadkarnwanayphnaehmmxndcaepnfaysnbsnunphraxngkh phraecacharlscungesdchniemuxwnthi 11 phvscikayn aetnayphnaehmmxndklbepnptipkstxphraecachalsaelanaphraxngkhipcakhngiwthi Carisbrooke Castle cakprasathphraxngkhkthrngphyayamecrcatxrxngkbhlayfay inthisudkthrngtklngkbklumskxtephrsibthieriyninxngkvsaelaskxtaelndihepnrayaewlaplxdsukxyurayahnung aetphusnbsnunphraecacharlslukkhuntxsuxikkhrnghnungineduxnkrkdakhm kh s 1648 sungepntnkaenidkhxng aetswnihyaelwkepnephiyngkartxsuxyangyxy sungkthukprabpramodyfayrthsphanxkcakkarsurbthiekhnt aela swnkarsurbinewlsaelakarrukrankhxngskxtaelndtamkhxtklngkhxngphraecachalsepnsngkhramthiyudeyuxkwa aethlngcakarphayaephkhxngskxtaelndin Battle of Preston 1648 faythisnbsnunphraecacharlskphayaephaelaphraxngkhexngkthrngthukcbkumphicarnaothsphaphkarphicarnakhdikhxngphraecachalsemuxwnthi 4 mkrakhm kh s 1649 phraecacharlsthrngthukyayipprathbthi Hurst Castle inplaypi kh s 1648 aelahlngcaknnthiphrarachwngwindesxr hlngcakthiphraecacharlsthrngtxtanrthsphaaelathrngkxkhwamwunwaytang inrahwangthithrngthukcbkhumkhngthinaipsukarekidsngkhramklangemuxngxngkvskhrngthi 2 hlngsngkhramklangemuxngxngkvskhrngaerkfayrthsphayxmrbwakarkrathasngkhramkhxngphraxngkhaemwacaepnkarkrathathiimthukaetkrabuwayngthrngmixanacaetxyangcakdinkarepnphramhakstriyphayitkartklngthangrththrrmnuy aetemuxthrngkxihekidsngkhramklangemuxngkhrngthi 2 khnathiyngthrngthukcakhngkehmuxnepnprakaswaphraxngkhimthrngsamarthrwmmuxkbfayrthsphainkarpkkhrxngrachxanackraelathrngepnphukxihekidkarnxngeluxdodyichehtu sphasamychncungxxkphrarachbyytiaetngtng The High Court of Justice ephuxphicarnakhdikhxngphraecachalsineduxnmkrakhm kh s 1649 karphicarnakhdiphramhakstriyepnehtukarnthiimekhyekidkhunmakxnhnann inkrnithimipyhaphramhakstriyxngkhkxn kxaccathukpldaetimmiphraxngkhidthithuknakhunsal salyutithrrmsung thiprakxbdwymachikdwyknthngsin 135 khnaetincanwnnnmiephiyngkhrungediywthiekhynngsal karphicarnakhdinaody John Cooke phumitaaehnngepn Solicitor General for England and Wales khxklawhainkarkarphicarnakhdikhxngphraecacharlskhuxthrngepnkbttxaephndinaela khwamphidthangxayaxun karphicarnakhdierimkhunemuxwnthi 20 mkrakhm kh s 1649 aetphraecacharlsimthrngyxmrbxanackhxngsalaelathrngxangwaimmisalidinaephndinthimixanacehnuxkwaphramhakstriy thrngmikhwamechuxwaxanacinkarpkkhrxngkhxngphraxngkhepnxanacthithrngidrbodytrngcakphraeca aelaxanaccakphuthiphyayamphicarnaphraxngkhepnxanacthimakcakdinpun emuxthrngthukthwaykhaaenanaihyxmrbphidphraxngkhkimthrngyxmrbaelamiphrarachdarswa khacaruwaxanacidthikhathukeriykmathini xairkhuxxanactamkthmay aetsalprakastnwaepnsalthimixanacinkardaeninkhdithithuktxngtamkdhmay inchwngewlahnungspdahphraecacharlskthrngidrbkharxngihyxmrbkhxklawhasamkhrngaetkimthrngyxmrbthngsamkhrng sungtampraephniaelwthuxwaepn pro confesso khuxepnkaryxmrbwaphidodypriyay sunghmaykhwamwaxykarimsamartheriykphyanmaihkarid aetxnthicringaelwsalidfngkhaihkarcakphyan inthisud List of regicides of Charles I klngnamtdsinplngphrachnmphraecachals karlngnamxacthaknthiorngaermerdilxxnthisetethirnin on 29 mkrakhm kh s 1649 emuxxykarcxhn khukhphyayamxankhaphiphaksaphraecacharlskthrngphyayamkhdcnghwaodykarekhaaphrakhthakhxngphraxngkhcnswnthiepnhwenginrwnglngmaaetxykarkhukhimyxmhyibkhunthway inthisudphraecacharlsktxngthrngtxnghyibkhundwyphraxngkhexngsungepnsylksnwaxanacxnsungsudcakethphtxngxyuphayitkdhmay hlngcakidfngkhaphiphaksaaelwphraecacharlskthrngthuknatwipcakhngiwthiphrarachwngesntecms aelatxmathiphrarachwngiwthhxl thiepnthitngkhxngtaaelngaekngkarplngphrachnmphaphkarsaercothskhxngphraecacharlsinsingphimphineyxrmniinsmyediywkn phraecacharlsthrngthukplngphrachnmdwykartdphraesiyremuxwnxngkharthi 30 mkrakhm kh s 1649 insmynnpiihmmiiderimcnthungeduxnminakhmchannkarswrrkhtkhxngphraxngkhbangkhrngcungmkcathukbnthukwaekidkhuninpi kh s 1648 klawknwainwnthithrngthukpraharchiwitphraxngkhthrngesuxechirtfaysxngtwsahrbpxngknkhwamhnawephuxthicaimihphuidehnwaphraxngkhsncakkhwamprahwnthixaccatikhwamhmaywathrngmikhwamhwadklwaelaxxnaex phraxngkhthrngwangphraesiyrlngbntxhlngcakthithrngswdmntaelathrngihsyyanaekephchchkhatemuxthrngphrxm phrarachdarspraoykhsudthaykhux khacaipcakbllngkthiesiyhayipyngbllngkthidithiimmiphuidepnprpks filip ehnribnthukehtukarnkarplngphrachnmwahlngcakthithuktdphraesiyraelwprachachnthimamungduxyuksngesiyngkhrang bangkhnkribkruknekhaipexaphaechdhnasbphraolhitthiihlnxnglngma sungepnthierimkhxnglththibuchakhxng Society of King Charles the Martyr aetkimmibnthukcakphyanxun nxkipcakkhxngsamuexl phiphs swnbnthukkhxngehnriekhiynkhuninsmykarfunfurachwngs raw 12 pihlngcakehtukarnthiekidkhun thng thiemuxphraecacharlsthrngthukplngphrachnmehnrikmixayuid 19 aelw aetehnriaelakhrxbkhrwepnnkekhiynkhxmulprachasmphnthsahrbfayphusnbsnunrachwngs ephchchkhattangkswmhnakakchanncaepnikhrkyngepnthithkethiyngknxyu aetepnthithrabknwakhnakrrmkaridthabtham Richard Brandon ephchchkhatthwipaehnglxndxnaetaebrndxnptiesth channhlkthancaksmynncungimechuxwaaebrndxnepnphuplngphrachnm aet Ellis s Historical Inquiries klawwaaebrndxnepnephchchkhataelaxangwaaebrndxnsarphaphkxnthicaesiychiwit sungxaccaepnidwaaebrndxnxaccaptiesthkhnakrrmkaraetaerkaetmaepliynicphayhlng bukhkhlxunthiechuxknwaepnephchchkhatkidaekchawixrichchuxknning aet William Hewlett mathuktdsinwaphidinkhxha regicide insmykarfunfurachwngsxngkvsphayhlng inpi kh s 1661 chaysxngkhnthieriykknwa edybxrnaelabikhekhxrsstaff thukcbaettxmathukplxy ehnri wxlkhekhxrnkkhawfayptiwtithuksngsyaetmiidthukklawha tananwaikhrepnephchchkhatkyngmikraesnkrasayodythwipaetphlkarthdsxbinpi kh s 1813 thiwindesxrbngwaphuthiepnephchchkhatepnphumiprasbkarn tamthrrmeniymaelwhlngcakkartdhwphuthrystxbanemuxngaelw ephchchkhatkcaykhwkhunsungihprachachnrxb khangidduaelaprakaswa nikhuxhwkhxngphuthrys aetinkrnikhxngphraxngkhephchchkhatykphraesiyrihprachachnduaetmiidthakarprakas hlngcakphraesiyrkhadaelwoxliewxr khrxmewllkxnuyatihnaphraesiyrklbmaeybtxkbphrawrkaysungepnsingthiimekhythaknmakxnephuxthicaihphrarachwngsmioxkasthwaykhwamekharph phrawrkaykhxngphraecachalsthukfngxyangepnkarphayinemuxklangkhunwnthi 7 kumphaphnth kh s 1649phayinthiphrarachwngwindesxr txmaphraecachalsthi 2phrarachoxrsthrngwangaephnkarsrangthibrrcuphrabrmsphxyanghruhraaetkmiidthrngsrang sibwnhlngcakthithrngthukplngphrachnmkmiphuphimphthixangwathrngodyphraecachalsexngxxkmakhay hnngsux Eikon Basilike hrux Royal Portrait mienuxhathirwmthngkarthrngkhxkhmainnoybaykhxngphraxngkhsungklaymaepnekhruxngmuxokhsnachwnechuxthimiprasiththiphaphkhxngfaysnbsnunrachwngs wileliym elewththmhadelkhxngphrabrrthmphutidtamphraecacharlsinwnthithrngthukplngphrachnmsabanwaepnphuehnwaphraxngkhthrngekhiynkhawa Eikon Basilike dwytakhxngtnexngphimphkhaprasyinoxkasthithaphraxngkhthrngyxmrbphid swnthangrthsphakcangcxhn miltn John Milton ihekhiynkhaprasytxbotphucngrkphkditxrachwngsin The Eikonoklastes The Iconoclast aetkirpraoychnphayhlnghlngcakthiphraecachalsthukplngphrachnm xanackarpkkhrxngktkipepnkhxngspharth Council of State sungrwmthng Lord Fairfax of Cameron phukhnannepnphubngkhbbychakarthharsungsudkhxngkxngthphfayrthniymaelaoxliewxr khrxmewll rthsphalxng sungkhnannklayepn rthspharmph Rump Parliament thithukeriykodyphraecacharlsinpi kh s 1640 kyngkhngxyuinsmykarprachumcnkhrxmewllsngihelikinpi kh s 1653 caknnkhrxmewllkpkkhrxngkhxngxngkvsaebbsatharnrthinthana ecaphuphithks Lord Protector aehngxngkvs skxtaelndaelaixraelnd sungepnkstriythukxyangaetephiyngnam khrxmewllthungkblngthunsrangbllngkrachaphiesk emuxkhrxmewllthungaekxsykrrminpi kh s 1658 richard khrxmewlllukkhxngoxliewxr khrxmewllkrbhnathi ecaphuphithks txxyuchwrayaewlaxnsnephraaepnphunathikhadsmrrphaph cnrthsphalxngtxngthukeriykklbmainpi kh s 1659 aelamayubtnexnginpi kh s 1660 Convention Parliament idrbeluxkekhamaaethnthihlngcakyisibpithiimmikareluxktng rthsphakhxnewnthchnepnrthsphathimibthbathinkarnaphrarachoxrsxngkhotkhxngphraecacharlsthi 1 klbmaepnkhrxngrachbllngkinphranamkhxngphraecacharlsthi 2 inthwipxemrikaehnuxtngchuxtamphranamphraecachals rwmthngchuxemuxng txmaxananikhmaekhorilnaaeyktwepnnxrthaekhorilnaaelaesathaekhorilna aelatxmaprakasxisrphaphcakrachxanackrbrietnihyinkarkxtngshrthxemrika thangtxnehnuxxananikhmewxrcieniymi sungphraecacharlsthrngtngchuxdwyphraxngkhexngaela Charles City Shire sungepnekhtkarpkkhrxngmarwm 400 pikxnthicaepliynmaepn Charles City County ewxrcieniytxmaepnxananikhmewxrcieniy hnunginsirthinshrthxemrikathieriyktnexngwa xananikhm aelayngkhngichchux The Old Dominion sungepnnamthiidrbphrarachthancakphraecacharlsthi 2 ephraaewxrcieniymikhwamcngrkphkditxphraxngkhrahwangsngkhramklangemuxngxngkvsphrarachxisriyys19 phvscikayn kh s 1600 27 minakhm kh s 1625 ecachaychals 23 thnwakhm kh s 1603 27 minakhm kh s 1625 dyukaehngxxlbani 6 mkrakhm kh s 1605 27 minakhm kh s 1625 dyukaehngyxrk 6 phvscikayn kh s 1612 27 minakhm kh s 1625 dyukaehngkhxrnwxll 4 phvscikayn kh s 1616 27 minakhm kh s 1625 ecachayaehngewls 27 minakhm kh s 1625 30 mkrakhm kh s 1649 phraecakrungxngkvsphrarachtrakulinbrrdaphraxykaxyki 16 phraxngkhkhxngphraecachals 5 phraxngkhepnchaweyxrmn 4 phraxngkhepnchawskxtaelnd 2 phraxngkhepnchawxngkvs 2 phraxngkhepnchawfrngess aelaxikphraxngkhhnungepnchawopaelnd phrarachwngskhxngphraecachalsthi 1 16 8 17 4 18 9 19 2 ecmsthi 1 aehngxngkvs 20 ecmsthi 4 aehngskxtaelnd 10 ecmsthi 5 aehngskxtaelnd 21 19 5 aemrithi 1 aehngskxtaelnd 22 11 23 1 phraecacharlsthi 1 aehngxngkvs 24 12 khrisetiynthi 3 aehngednmark 25 6 efredxrikthi 2 aehngednmark 26 13 27 3 aexnnaehngednmark 28 14 29 imich 25 7 osfiaehngemkhelinbwrkh kusothr 30 24 15 exlisaebthaehngednmark 31 karxphiesksmrsaelaphrarachoxrsthidaphraecacharlsmiphrarachoxrsthidacakkaresksmrsdwyknecdphraxngkh sxngphraxngkhtxmaidkhunkhrxngrachyepnphraecaaephndintxcakphraxngkh rup phranam prasuti sinphrachnm hmayehtuphraecachalsthi 2 aehngxngkvs skxtaelnd aelaixraelnd 29 phvsphakhm kh s 1630 6 kumphaphnth kh s 1685 esksmrskbkatarinaaehngbrakngsa kh s 1638 kh s 1705 inpi kh s 1663 immiphrarachoxrsthidainkarsmrsdwykn aetcharlsthi 2 thrngmioxrsthidaxun echn phutxmaaekhngkhxtxphraecaecmsthi 2ecahyingaemri phrarachkumari 4 phvscikayn kh s 1631 24 thnwakhm kh s 1660 esksmrskb kh s 1626 kh s 1650 inpi kh s 1641 miphraoxrshnungphraxngkhphraecawileliymthi 3 aehngxngkvsphraecaecmsthi 2 aehngxngkvs 14 tulakhm kh s 1633 16 knyayn kh s 1701 esksmrskbkhrngthi 1 kbaexnn ihd kh s 1637 kh s 1671 inpi kh s 1659 miphrarachoxrsthidathirwmthngsmedcphrarachininathaemrithi 2 aehngxngkvsaelasmedcphrarachininathaexnnaehngbrietnihy esksmrskhrngthi 2 kbaemriaehngomdina kh s 1658 kh s 1718 inpi kh s 1673 miphrarachoxrsthida ecms fransis exdewird scwtaela 29 thnwakhm kh s 1635 8 knyayn kh s 1650 immioxrsthida17 minakhm kh s 1637 8 thnwakhm kh s 1640 sinphrachnmtngaetyngthrngphraeyaw immioxrsthida8 krkdakhm kh s 1640 18 knyayn kh s 1660 immioxrsthidaecahyingehneriytta aexnna 16 mithunayn kh s 1644 30 mithunayn kh s 1670 esksmrskbfilipthi 1 dyukaehngxxrelxxng Philip I Duke of Orleans kh s 1640 kh s 1701 inpi kh s 1661 miphraoxrsthida bangphraxngkhepnkstriyaehngsardieniyaelaxitalixangxingrachbnthitysthan saranukrmpraethsinthwipyuorp chbbrachbnthitysthan rachbnthitysthan 2550 hna 250 bibisi prawtisastr phraecachalsthi 1 1600 1649 bibisi subkhnemux 2008 04 20 History of the Monarchy Charles I Royal gov uk subkhnemux 16 October a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help imruckpharamietxr accessyear thuklaewn aenana access date help British civil wars co uk khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 04 08 subkhnemux 2008 04 20 British civil wars co uk khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2020 04 08 subkhnemux 2008 04 20 Charles King and Martyr SKCM subkhnemux 2008 10 16 Memorable Christians justus anglican org subkhnemux 2008 04 20 Carlton 2 chalsthi 1 1625 1649 Britannia com subkhnemux 17 October a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help imruckpharamietxr accessyear thuklaewn aenana access date help kickar 25 10 12 NRSV aepl nkbuyepaolklawwa khakhxyunkharxngtxkhnakrrmkarkhxngphrackrphrrdi khakhwrcathuktdsintxhnasphani khamiidthakhwamphidtxchawyiw sungthankkhngthrabdi11 thakhathaphidcringaelathaphidinsingthikhasmkhwrcathuklngothsthungtay khakmiidphyayamhlbhnikhwamtay aetthakhxklawhatxkhaprascakmul k imsmkhwrcamiphuidthicasngtwkhaihphuklawhaklumnn khakhxyunkharxngtxphrackrphrrdi 12 dngnnefltus hlngcakthipruksakbsmachikspha txbwa thantxngkaryunkharxngtxphrackrphrrdi thankcngipyuntxphrackrphrrdi ec phi ekhnyxn xngkvsphayitkarpkkhrxngkhxngrachwngsscwt hna 96 97 101 05 harmxndewirth xngkvs ephnkwin kh s 1978 ismxn chama prawtisastrxngkvs elm 2 hna 69 74 niwyxrk ismxnaelachulsetxr kh s 2001 Info Please rchsmyphraecacharls Infoplease com subkhnemux 2008 04 20 ekhnyxn p 105 06 bukhkhlinprawtisastr phraecacharlsthi 1 kh s 1600 1649 bibisi subkhnemux 17 tulakhm 2007 emxrfiy hna 211 235 Spiritus temporis com khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 08 29 subkhnemux 2008 04 24 British civil wars co uk khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 05 15 subkhnemux 2008 04 24 wileliym lxd Nndb com subkhnemux 2008 04 24 phraecacharls pkkhrxng kh s 1625 kh s 1649 Royal gov uk subkhnemux 2008 10 27 bangkhnmistidi bangkhnesiyhw The Daily Telegraph 28 tulakhm kh s 2000 subkhnemux 2008 10 27 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite news title aemaebb Cite news cite news a trwcsxbkhawnthiin date help xinofphlis sngkhramklangemuxngkhxngphraecacharls Infoplease com subkhnemux 2008 04 20 List phuthithrngphraprasngkhcaihtidtamiprbichthiekaaiwth rthsphaaelaprawtisastrrththrrmnuykhxngxngkvs kh s 1763 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkha url help Journal of the House of Lords vol 9 lxndxn esathxist esathewst xist midaelnds nxrth skxtaelnd ewls History of Parliament Trust 12 phvscikayn kh s 1647 pp 519 522 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 09 28 subkhnemux 2009 02 02 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Citation title aemaebb Citation citation a trwcsxbkhawnthiin year date aela year date imtrngkn help Journal of the House of Lords vol 9 lxndxn esathxist esathewst xist midaelnds nxrth skxtaelnd ewls History of Parliament Trust 18 phvscikayn kh s 1647 pp 531 533 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 09 28 subkhnemux 2009 02 02 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Citation title aemaebb Citation citation a trwcsxbkhawnthiin year date aela year date imtrngkn help kh s 2002 bththi 1 eruxngkhxngsiththimnusychn xachyakrrmtxmnusychati kartxsuephuxkhwamyutithrrmkhxngolk 2nd ed ephnkwinbukhs pp hna 5 ISBN 978 0141010144 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a trwcsxbkhawnthiin year help Red Lion Inn a Pub and Bar in Stathern Leicestershire Search for Leicestershire Pub and Bars Information Britain subkhnemux 2008 10 27 1649 ptithin phuphimph Time and Date subkhnemux 2008 10 27 phrarachwngprawtisastr karplngphrachnmkhxngphraecachalsthi 1 phuphimph History Royal Palace subkhnemux 2008 04 20 Info Please karplngphrachnmkhxngphraecacharlsthi 1 phuphimph Infoplease com subkhnemux 2008 04 20 prawtikarehnepnphyan phraecacharlsthi 1 phuphimph prawtiphuehnehtukarn subkhnemux 2008 04 20 bthkhwambangbthcakkarphicarnakhdiaelakarpraharchiwitkhxngnayphnaedeniyl aexkesllineduxntulakhm kh s 1660 phuphimph khrxbkhrwaexkesll subkhnemux 2008 10 27 khabrryayodycxhn aexchebirnaenmemuxefaphraecacharls kh s 1830 kuekilbukhs subkhnemux 2008 10 27 bnthukkhwamcakhxngsxngpisudthayinrchsmykhxngphraecacharls thxms ehxrebirt kh s 1815 kuekilbukhs subkhnemux 2008 10 27 phrarachprawtikhxngphraecachalsthi 1 phuphlichiph charls wilelxr khxyth hiwtn mifflin bxstn kh s 1926 kuekilbukhs subkhnemux 2008 10 27 phrarachprawtikhxngphraecachalsthi 1 phuphlichiph charls wilelxr khxyth hiwtn mifflin bxstn kh s 1926 kuekilbukhs subkhnemux 2008 10 27 scwt cxrc xar kh s 1967 chuxdinaedn prawtisastrthimakhxngchuxsthanthiinshrthxemrika chbbesnthri chbbthi 3 ed hiwtn mifflin pp hna 38 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a trwcsxbkhawnthiin year help brithanya phramhakstriyxngkvs brithanya subkhnemux 2008 04 20 duephimphramhakstriy rabxbsmburnayasiththirachy smyirkstriyxngkvs ekhruxckrphphaehngxngkvs rthsphayaw oxliewxr khrxmewllaehlngkhxmulxunCharles I of England thiokhrngkarphinxngkhxngwikiphiediy hakhwamhmaycakwikiphcnanukrmphaphaelasuxcakkhxmmxnsenuxhakhawcakwikikhawkhakhmcakwikikhakhmkhxmultnchbbcakwikisxrshnngsuxcakwikitara wikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb phraecachalsthi 1 aehngxngkvs ehtukarnsakhyinchiwitkhxngphraecacharlsthi 1 aehngxngkvs World History Database 2007 05 18 thi ewyaebkaemchchin phraecacharlsthi 1 ewpisthkhxngrachwngsxngkvs exksarkhxngrthsphaekiywkbhmaysngkarpraharchiwitkhxngphraecacharlsthi 1 smakhmphraecacharlsphuphlichiph smakhmphraecacharlsphuphlichiph shrthxemrika chiwprawtikhxngphraecacharlsthi 1 kh s 1600 1649 2008 05 11 thi ewyaebkaemchchinkxnhna phraecachalsthi 1 aehngxngkvs thdipsmedcphraecaecmsthi 1 aehngxngkvs hrux smedcphraecaecmsthi 6 aehngskxtaelnd phramhakstriyaehngxngkvs phramhakstriyaehngixraelnd rachwngsscwt 27 minakhm kh s 1625 30 mkrakhm kh s 1649 rachbllngkwanglnginsmyirkstriyxngkvs phramhakstriyxngkhthdipkhuxsmedcphraecacharlsthi 2wang phramhakstriyaehngskxtaelnd rachwngsscwt 27 minakhm kh s 1625 30 mkrakhm kh s 1649 wang