ศิลปะรัตนโกสินทร์ หมายถึงศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นราชธานีตั้งแต่ พ.ศ. 2325 จนถึงสมัยปัจจุบัน
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ช่วงต้นเน้นการเลียนแบบอย่างหรือสืบต่อสายสกุลช่างจากอยุธยาตอนปลาย ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากสมัยอยุธยาตอนปลายอย่างชัดเจน ได้แก่ คตินิยมในการสร้างระเบียงคดล้อมรอบพระอุโบสถ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในสมัยอยุธยา การยกพระแก้วมรกตขึ้นเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดของราชอาณาจักร ความนิยมในการสร้างหน้าบันให้เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมากกว่าที่จะสร้างเป็นรูปพระนารยณ์ทรงครุฑ ตลอดจนภาพเขียนที่นิยมเขียนเกี่ยวกับประวัติพระอินทร์มากอย่างมีนัยสำคัญ และความนิยมที่จะเลือกพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ แตกต่างจากคตินิยมเดิมในสมัยอยุธยาที่นิยมพระพุทธรูปปางมารวิชัย
สถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระสถูปเจดีย์ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ 1–3 นิยมสร้างพระปรางค์กับพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองเป็นหลัก เจดีย์ทรงเครื่อง เป็นอีกรูปแบบของเจดีย์ที่สร้างมาแต่สมัยอยุธยา ถูกนำมาสร้างโดยสามารถกำหนดได้อย่างแน่ชัดว่านิยมสร้างในสมัย รัชกาลที่ 1–3 เท่านั้น เจดีย์ในสมัยรัตนโกสินทร์พบเพียง 4 รูปแบบ คือ เจดีย์ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามและวัดสุทัศน์เทพวราราม และให้บูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างในวัดอื่น ๆ ซึ่งมีมาก่อนสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงดำริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณมาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 3
สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีความโดดเด่นในการรับอิทธิพลทาง จนเกิดเป็นรูปแบบที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม ลักษณะสำคัญของพระอุโบสถและพระวิหารคือ อาคารที่มีขนาดใหญ่ หน้าบันส่วนหนึ่งเป็นแบบก่ออิฐถือปูน และที่สำคัญคือการมีเสาพาไลแท่งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ อันเป็นตัวรองรับน้ำหนักที่สำคัญ ลวดลายประดับหน้าบันที่ไม่นิยมใช้ไม้แกะสลัก แต่จะเป็นปูนปั้นลายพรรณพฤกษา เช่น ดอกโบตั๋น วัดที่สร้างตามแบบพระราชนิยมจะไม่มี คันทวย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และไขราหน้าจั่ว เป็นเครื่องหลังคาตามอย่างวัดที่สร้างแบบประเพณี
สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 4 กลับนิยมแบบดั้งเดิมอย่างคตินิยมสมัยอยุธยา เช่น นิยมมีวิหารอยู่ทางด้านหน้า มีระเบียงคดต่อจากวิหารล้อมรอบเจดีย์ โบสถ์ตั้งขวางอยู่ด้านหลัง เจดีย์ยุคนี้นิยมเจดีย์ทรงกลม ซุ้มประตูหน้าต่างมักทำเป็นรูปปรมาภิไธย สถาปัตยกรรมแบบยุโรปได้เริ่มแพร่หลายในสมัยนี้ เช่น พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี เช่นเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 5 สถานราชการเปลี่ยนเป็นสร้างแบบยุโรป ตลอดจนวังเจ้านาย สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ยังมีวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหารที่ออกแบบอย่างวิหารในสถาปัตยกรรมตะวันตกศิลปะแบบกอทิก
สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 6 ยังปรากฏความนิยมในการก่อสร้างอาคารตามแบบไทยประเพณี แม้จะมีการออกแบบโดยช่างชาวต่างชาติ แต่ก็มีข้อกำหนดว่าจะนำรูปแบบไทยมาเป็นหลักในการออกแบบเสมอ เป็นการประยุกต์แบบจารีตเข้ากับพื้นที่ใช้สอยแบบอาคารตะวันตก ดังจะเห็นได้จากการสร้างอาคารในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันคือ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสมัยรัชกาลที่ 7 ไม่มีการสร้างพระอารามหลวงขึ้นมาใหม่ มีการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าโดยมีบริษัทดอร์แมนลอง ประเทศอังกฤษ ออกแบบและก่อสร้าง ตลอดรัชสมัย มีการก่อสร้างวังเพียงแห่งเดียว คือ วังไกลกังวลที่หัวหิน รูปแบบงานสถาปัตยกรรมมีลักษณะเรียบง่าย แผนผังไม่ซับซ้อน แตกต่างจากสมัยรัชกาลก่อน แสดงออกให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่มีลักษณะเรียบง่ายที่สุดเพราะตระหนักถึงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
ประติมากรรม
ประติมากรรมสมัยรัตนโกสินทร์แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ประติมากรรมแบบดั้งเดิม ประติมากรรมระยะปรับตัว และประติมากรรมร่วมสมัย
ประติมากรรมแบบดั้งเดิมอยู่ในช่วงระหว่างรัชกาลที่ 1–3 งานเป็นการดำเนินรอยตามแบบประเพณีนิยม ที่ทำกันมาแต่อดีตของไทย ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสร้างพระพุทธรูปน้อยมาก เนื่องจากอยู่ในช่วงเริ่มสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สร้างบ้านเมืองใหม่ พระพุทธรูปส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายมาจากสุโขทัย และจังหวัดทางภาคกลาง ที่องค์พระพุทธรูปเหล่านี้ถูกทอดทิ้งอยู่ ตามโบราณสถานที่ปรักหักพัง และนำมาบูรณะใหม่กว่า 1,200 องค์ และส่งไปเป็นประธานตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพ ที่เหลือนำมาประดิษฐานไว้ ณ ระเบียงวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามพันกว่าองค์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการสร้างหล่อพระประธานขนาดใหญ่ ตามวัดที่สร้างใหม่ เช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศนเทพวราราม มีการสร้างพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามญาติขนาดใหญ่ นิยมสร้างไว้เป็นจำนวนมาก ถือเป็นพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยรัชกาลที่ 4–5 เป็นยุคสมัยของการปรับตัว เปิดประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริปั้นรูปเหมือนแบบตะวันตกขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เช่น พระสยามเทวาธิราช เดิมปั้นรูปราชานุสรณ์ โดยใช้การสร้างพระพุทธรูป หรือเทวรูปแทน มาสู่การปั้นรูปราชานุสรณ์เหมือนรูปคนจริงขึ้น และจากจุดนี้เอง ส่งผลให้มีการปรับตัวทางประติมากรรมไปสู่ประติมากรรมสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ระยะต้นรัชกาลมีการปั้นพระบรมราชานุสาวรีย์ประจำรัชกาลที่ 1, 2 และ 3 เป็นการสร้างรูปให้มีความงามแบบพระหรือเทวรูป ที่ต้องการความเกลี้ยงเกลากลมกลึงของรูปทรง และมีการสร้างพระพุทธรูป ขึ้นใหม่เหมือนกัน ที่สำคัญคือ พระพุทธนฤมลธรรมโมภาส พระประธานวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน เป็นศิลปะที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเจริญแบบตะวันตก สมัยรัชกาลที่ 6 งานประติมากรรมไทยที่ทำขึ้นเพื่อศาสนาถึงจุดเสื่อมโทรมลง แม้จะมีการทำกันอยู่ก็เป็นระดับพื้นบ้าน ที่พยายามลอกเลียนสิ่งดีงามในยุคเก่า ๆ ที่ตนนิยม ขาดอารมณ์ความรู้สึกทางการสร้างสรรค์ และไม่มีรูปลักษณะที่เป็นแบบแผนเฉพาะยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหันมาส่งเสริมศิลปะการช่างสมัยใหม่ การสร้างงานศิลปะระดับชาติได้จ้างฝรั่งมาออกแบบ ในสมัยปัจจุบันมีลัทธิทางศิลปะเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา และได้แพร่หลายเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยด้วย ประติมากรรมจึงเข้าสู่รูปแบบของศิลปะร่วมสมัย
จิตรกรรม
จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่เขียนขึ้นในอุโบสถ วิหาร และหอไตร เป็นหลัก จิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 1–2 คงเหลืออยู่น้อยเนื่องจากมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลักฐานที่เหลืออยู่เป็นงานไทยประเพณีที่สืบทอดมาจากศิลปะอยุธยาตอนปลาย ส่วนหนึ่งพบในวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายและได้รับการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 เช่น วัดราชสิทธาราม วัดไชยทิศ วัดใหม่เทพนิมิตร เป็นต้น ส่วนจิตรกรรมที่เขียนใหม่สมัยรัชกาลที่ 1 เช่น พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ 2 แทบไม่เหลืออยู่เลย
จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3 มีอิทธิพลจากศิลปะจีน ทั้งที่เป็นงานที่เขียนขึ้นใหม่ เช่น จิตรกรรมเครื่องมงคลอย่างจีน หรือ เครื่องตั้ง ในพระอุโบสถวัดราชโอรสาราม วัดนาคปรก กับลักษณะงานที่ยังสืบทอดแบบประเพณี เช่น วัดสุวรรณาราม และงานเขียนเพิ่มเติมจากการบูรณะในสมัยดังกล่าว โดยหากไม่นับจิตรกรรมในรูปแบบจีนที่เขียนโดยช่างชาวจีนแล้ว เรื่องราวที่ใช้ถ่ายทอดในงานจิตรกรรมยังคงสืบทอดขนบนิยมปรัมปราคติด้วยเรื่อง อดีตพุทธเจ้า นิทานชาดก พุทธประวัติ และเรื่องไตรภูมิโลกสัณฐาน กับอีกส่วนที่เป็นปรัมปราคติแนวใหม่ที่เป็นผลจากพัฒนาการทางสังคมจากทั้งภายในและภายนอก
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา มีการติดต่อกับต่างประเทศทางตะวันตกมากขึ้น อิทธิพลของจิตรกรรมต่างประเทศทางตะวันตกก็เข้ามาปนอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังของไทย ดังอาจเห็นได้จากภาพเขียนบนผนังพระอุโบสถที่วัดมหาพฤฒาราม จากเดิมลักษณะจิตรกรรมซึ่งเป็นภาพแบนราบกลับมามีความลึกไกล เป็นภาพ 3 มิติ และมีลักษณะเหมือนจริงมากขึ้นกว่าแบบเดิม ซึ่งเขียนขึ้นตามแบบอุดมคติ ช่างเขียนที่สำคัญในรัชกาลที่ 4 คือ ขรัวอินโข่ง
อ้างอิง
- "ศิลปะ-สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1: แนวคิด คติสัญลักษณ์ และความหมาย ทางสังคมยุคต้นรัตนโกสินทร์". วารสารวิจิตรศิลป์.
- ศักดิ์ชัย สายสิงค์. งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ. (กรุงเทพฯ : มติชน, 2551) หน้า 91
- (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-10. สืบค้นเมื่อ 2021-06-10.
- "ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24 - ปัจจุบัน". หน้าจั่ว.
- ""วัดนิเวศธรรมประวัติ" วัดไทยสไตล์ฝรั่ง งามแปลกหนึ่งเดียวในไทย". ผู้จัดการออนไลน์.
- ชาตรี ประกิตนนทการ. การเมืองและสังคมในศิลปะสถาปัตยกรรม สยามสมัยไทยประยุกต์ ชาตินิยม. (กรุงเทพฯ: มติชน, 2550), หน้า 213
- ชาตรี ประกิตนนทการ, เรื่องเดิม, หน้า 250.
- "ประติมากรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.
- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. "พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2)".
- "ตัวอย่างงานช่างในรัชกาลที่ ๔ : หันรีหันขวาง". ศิลปวัฒนธรรม.
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
silpartnoksinthr hmaythungsilpainsmyrtnoksinthr erimtntngaetphrabathsmedcphraphuththyxdfaculaolkmharachthrngsthapnakrungethphmhankhr khunepnrachthanitngaet ph s 2325 cnthungsmypccubnwdphrasrirtnsasdaramkhanginphraprangkhwdxrunwdethphthidaram sthaptykrrmsmyrchkalthi 3 thieriykwa aebbphrarachniymphrathinngckrimhaprasathphraphuththtriolkechsthcitrkrrmfaphnngwdichythiscitrkrrmfaphnngaehngwdmhaphvtharamwrwiharsthaptykrrmsthaptykrrmrtnoksinthrchwngtnennkareliynaebbxyanghruxsubtxsayskulchangcakxyuthyatxnplay khwamaetktangxyangminysakhycaksmyxyuthyatxnplayxyangchdecn idaek khtiniyminkarsrangraebiyngkhdlxmrxbphraxuobsth sungimekhypraktmakxninsmyxyuthya karykphraaekwmrktkhunepnphraphuththrupthisakhythisudkhxngrachxanackr khwamniyminkarsranghnabnihepnrupphraxinthrthrngchangexrawnmakkwathicasrangepnrupphranarynthrngkhruth tlxdcnphaphekhiynthiniymekhiynekiywkbprawtiphraxinthrmakxyangminysakhy aelakhwamniymthicaeluxkphraphuththrupprathanphayinphraxuobsthepnphraphuththruppangsmathi aetktangcakkhtiniymediminsmyxyuthyathiniymphraphuththruppangmarwichy sthaptykrrmsmyrtnoksinthrtxntn phrasthupecdiysungsranginrchkalthi 1 3 niymsrangphraprangkhkbphraecdiyyxmumimsibsxngepnhlk ecdiythrngekhruxng epnxikrupaebbkhxngecdiythisrangmaaetsmyxyuthya thuknamasrangodysamarthkahndidxyangaenchdwaniymsranginsmy rchkalthi 1 3 ethann ecdiyinsmyrtnoksinthrphbephiyng 4 rupaebb khux ecdiythrngprangkh ecdiythrngekhruxng ecdiythrngrakhng aelaecdiyyxmumimsibsxng insmyrchkalthi 1 mikarsrangwdphrasrirtnsasdaramaelawdsuthsnethphwraram aelaihburnaptisngkhrnsingkxsranginwdxun sungmimakxnsthapnakrungrtnoksinthr insmyrchkalthi 2 thrngdarierimsrangphraprangkhwdxrunmasaercinsmyrchkalthi 3 sthaptykrrmsmyrchkalthi 3 thimikhwamoddedninkarrbxiththiphlthang cnekidepnrupaebbthieriykwa aebbphrarachniym lksnasakhykhxngphraxuobsthaelaphrawiharkhux xakharthimikhnadihy hnabnswnhnungepnaebbkxxiththuxpun aelathisakhykhuxkarmiesaphailaethngsiehliymkhnadihy xnepntwrxngrbnahnkthisakhy lwdlaypradbhnabnthiimniymichimaekaslk aetcaepnpunpnlayphrrnphvksa echn dxkobtn wdthisrangtamaebbphrarachniymcaimmi khnthwy chxfa ibraka hanghngs aelaikhrahnacw epnekhruxnghlngkhatamxyangwdthisrangaebbpraephni sthaptykrrmsmyrchkalthi 4 klbniymaebbdngedimxyangkhtiniymsmyxyuthya echn niymmiwiharxyuthangdanhna miraebiyngkhdtxcakwiharlxmrxbecdiy obsthtngkhwangxyudanhlng ecdiyyukhniniymecdiythrngklm sumpratuhnatangmkthaepnrupprmaphiithy sthaptykrrmaebbyuorpiderimaephrhlayinsmyni echn phrankhrkhiri cnghwdephchrburi echnediywkninsmyrchkalthi 5 sthanrachkarepliynepnsrangaebbyuorp tlxdcnwngecanay sthaptykrrmthimichuxesiyng echn phrathinngckrimhaprasath yngmiwdniewsthrrmprawtirachwrwiharthixxkaebbxyangwiharinsthaptykrrmtawntksilpaaebbkxthik sthaptykrrmsmyrchkalthi 6 yngpraktkhwamniyminkarkxsrangxakhartamaebbithypraephni aemcamikarxxkaebbodychangchawtangchati aetkmikhxkahndwacanarupaebbithymaepnhlkinkarxxkaebbesmx epnkarprayuktaebbcaritekhakbphunthiichsxyaebbxakhartawntk dngcaehnidcakkarsrangxakharinorngeriynmhadelkhlwngsungpccubnkhux orngeriynwchirawuthwithyaly aelatukbychakar orngeriynkharachkarphleruxnkhxngphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw pccubnkhux xakharmhaculalngkrn culalngkrnmhawithyaly insmyrchkalthi 7 immikarsrangphraxaramhlwngkhunmaihm mikarsrangsaphanphraphuththyxdfaodymibristhdxraemnlxng praethsxngkvs xxkaebbaelakxsrang tlxdrchsmy mikarkxsrangwngephiyngaehngediyw khux wngiklkngwlthihwhin rupaebbngansthaptykrrmmilksnaeriybngay aephnphngimsbsxn aetktangcaksmyrchkalkxn aesdngxxkihehnthungkhwamepliynaeplnginsmyrchkalthi 7 thimilksnaeriybngaythisudephraatrahnkthungsphaphkarnthangesrsthkicpratimakrrmpratimakrrmsmyrtnoksinthraebngxxkidepn 3 raya khux pratimakrrmaebbdngedim pratimakrrmrayaprbtw aelapratimakrrmrwmsmy pratimakrrmaebbdngedimxyuinchwngrahwangrchkalthi 1 3 nganepnkardaeninrxytamaebbpraephniniym thithaknmaaetxditkhxngithy insmyrchkalthi 1 mikarsrangphraphuththrupnxymak enuxngcakxyuinchwngerimsthapnakrungrtnoksinthr srangbanemuxngihm phraphuththrupswnihyekhluxnyaymacaksuokhthy aelacnghwdthangphakhklang thixngkhphraphuththrupehlanithukthxdthingxyu tamobransthanthiprkhkphng aelanamaburnaihmkwa 1 200 xngkh aelasngipepnprathantamwdtang inkrungethph thiehluxnamapradisthaniw n raebiyngwdphraechtuphnwimlmngkhlaramphnkwaxngkh insmyrchkalthi 3 mikarsranghlxphraprathankhnadihy tamwdthisrangihm echn phraphuththtriolkechsth wdsuthsnethphwraram mikarsrangphraphuththrupyunthrngekhruxngpanghamyatikhnadihy niymsrangiwepncanwnmak thuxepnphrarachniymkhxngphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw smyrchkalthi 4 5 epnyukhsmykhxngkarprbtw epidpraeths phrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw miphrarachdaripnrupehmuxnaebbtawntkkhun epnkhrngaerkinpraethsithy echn phrasyamethwathirach edimpnruprachanusrn odyichkarsrangphraphuththrup hruxethwrupaethn masukarpnruprachanusrnehmuxnrupkhncringkhun aelacakcudniexng sngphlihmikarprbtwthangpratimakrrmipsupratimakrrmsmyihm insmyrchkalthi 5 rayatnrchkalmikarpnphrabrmrachanusawriypracarchkalthi 1 2 aela 3 epnkarsrangrupihmikhwamngamaebbphrahruxethwrup thitxngkarkhwamekliyngeklaklmklungkhxngrupthrng aelamikarsrangphraphuththrup khunihmehmuxnkn thisakhykhux phraphuththnvmlthrrmomphas phraprathanwdniewsnthrrmprawti epntn insmyrchkalthi 6 cnthungrchkalpccubn epnsilpathimiphlsubenuxngmacakkhwamecriyaebbtawntk smyrchkalthi 6 nganpratimakrrmithythithakhunephuxsasnathungcudesuxmothrmlng aemcamikarthaknxyukepnradbphunban thiphyayamlxkeliynsingdingaminyukheka thitnniym khadxarmnkhwamrusukthangkarsrangsrrkh aelaimmiruplksnathiepnaebbaephnechphaayukhsmy phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw thrnghnmasngesrimsilpakarchangsmyihm karsrangngansilparadbchatiidcangfrngmaxxkaebb insmypccubnmilththithangsilpaekidkhunmakmay thnginyuorp aelashrthxemrika aelaidaephrhlayekhamamibthbathinpraethsithydwy pratimakrrmcungekhasurupaebbkhxngsilparwmsmycitrkrrmcitrkrrmfaphnngsmyrtnoksinthrswnihyekhiynkhuninxuobsth wihar aelahxitr epnhlk citrkrrmfaphnnginsmyrchkalthi 1 2 khngehluxxyunxyenuxngcakmikarburnakhrngihyinsmyrchkalthi 3 hlkthanthiehluxxyuepnnganithypraephnithisubthxdmacaksilpaxyuthyatxnplay swnhnungphbinwdthimimatngaetsmyxyuthyatxnplayaelaidrbkarburnaihminsmyrchkalthi 1 echn wdrachsiththaram wdichythis wdihmethphnimitr epntn swncitrkrrmthiekhiynihmsmyrchkalthi 1 echn phraxuobsthwdphraechtuphnwimlmngkhlaram citrkrrmsmyrchkalthi 2 aethbimehluxxyuely citrkrrmfaphnngsmyrchkalthi 3 mixiththiphlcaksilpacin thngthiepnnganthiekhiynkhunihm echn citrkrrmekhruxngmngkhlxyangcin hrux ekhruxngtng inphraxuobsthwdrachoxrsaram wdnakhprk kblksnanganthiyngsubthxdaebbpraephni echn wdsuwrrnaram aelanganekhiynephimetimcakkarburnainsmydngklaw odyhakimnbcitrkrrminrupaebbcinthiekhiynodychangchawcinaelw eruxngrawthiichthaythxdinngancitrkrrmyngkhngsubthxdkhnbniymprmprakhtidwyeruxng xditphuththeca nithanchadk phuththprawti aelaeruxngitrphumiolksnthan kbxikswnthiepnprmprakhtiaenwihmthiepnphlcakphthnakarthangsngkhmcakthngphayinaelaphaynxk tngaetsmyrchkalthi 4 epntnma mikartidtxkbtangpraethsthangtawntkmakkhun xiththiphlkhxngcitrkrrmtangpraethsthangtawntkkekhamapnxyuincitrkrrmfaphnngkhxngithy dngxacehnidcakphaphekhiynbnphnngphraxuobsththiwdmhaphvtharam cakedimlksnacitrkrrmsungepnphaphaebnrabklbmamikhwamlukikl epnphaph 3 miti aelamilksnaehmuxncringmakkhunkwaaebbedim sungekhiynkhuntamaebbxudmkhti changekhiynthisakhyinrchkalthi 4 khux khrwxinokhngxangxing silpa sthaptykrrmsmyrchkalthi 1 aenwkhid khtisylksn aelakhwamhmay thangsngkhmyukhtnrtnoksinthr warsarwicitrsilp skdichy saysingkh nganchangsmyphranngekla krungethph mtichn 2551 hna 91 PDF khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2021 06 10 subkhnemux 2021 06 10 silpasmyrtnoksinthr phuththstwrrsthi 24 pccubn hnacw wdniewsthrrmprawti wdithysitlfrng ngamaeplkhnungediywinithy phucdkarxxniln chatri prakitnnthkar karemuxngaelasngkhminsilpasthaptykrrm syamsmyithyprayukt chatiniym krungethph mtichn 2550 hna 213 chatri prakitnnthkar eruxngedim hna 250 pratimakrrmithysmyrtnoksinthr saranukrmithysahrbeyawchn skdichy saysingh phuththsilpsmyrtnoksinthr phimphkhrngthi 2 twxyangnganchanginrchkalthi 4 hnrihnkhwang silpwthnthrrm