งูจงอาง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 3.5–4.5 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาว 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทยลำตัวสีดำ พบที่ หมู่ที่ 4 ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง เมื่อ พ.ศ. 2562 แต่ถ้าหากงูจงอางอยู่ในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ก็สามารถโตได้มากกว่า 6 เมตรได้ แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการว่าพบเจองูจงอางที่ยาวเกิน 6 จริง ๆ มีแต่เรื่องเล่าของคนเก่าแก่ที่เล่ากันมาว่ามีงูจงอางดำที่ยาวถึงขนาดเทียบเท่าตาลซึ่งเชื่อกันว่าเป็นงูเจ้าที่คอยดูแลป่า จึงไม่แปลกที่ทำไมคนภาคใต้ถึงมีความเชื่อและศรัทธาในงูชนิดนี้มากกว่าภาคอื่น ๆ หรือในข่าวที่บันทึกว่ายาวถึง 6-7 เมตรส่วนใหญ่ก็มักจะพบว่ายาวเพียง 4-5 เมตรต้น ๆ เท่านั้น โดยน้ำหนักเฉลี่ยของงูจงอางอยู่ที่ประมาณ 8-15 กิโลกรัม ถึงแม่ว่าจะเป็นงูที่ลำตัวยาวแต่ก็มีน้ำหนักที่เบากว่างูที่มีความยาวพอกันอย่างงูเหลือมหรืองูหลาม ทำให้งูจงอางนั้นจะมีคล่องแคล่วว่องไวทั้งบนบกและในน้ำ มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่ได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสี แต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว หรือลำตัวสีเขียวอมเทา สีดำ สีนํ้าตาล และสีเขียวอ่อนเกือบขาว ส่วนที่พบมากที่สุดคือ สีดำและเขียวอมเทา และสีนํ้าตาล น้อยสุดก็สีเขียวอ่อนเกือบขาว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษซึ่งส่งผลทางระบบประสาทที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75% เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคือ งูสิง งูทางมะพร้าวทุกชนิด งูเห่า งูเหลือม งูหลาม เขียดงู งูสามเหลี่ยม งูกินปลา งูทับสมิงคลา งูเขียว ตุ๊กแก กบ ตะกวด หนู พังพอน กระรอกและกระแต เป็นต้น
งูจงอาง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู |
อันดับย่อย: | Serpentes |
วงศ์: | วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า |
วงศ์ย่อย: | วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า , 1864 |
สกุล: | Ophiophagus , 1836 |
สปีชีส์: | Ophiophagus hannah |
ชื่อทวินาม | |
Ophiophagus hannah , 1836 | |
ถิ่นอาศัยของงูจงอาง (สีแดง) | |
ชื่อพ้อง | |
ชั้นสกุล:
|
งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินแปลว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด ในภาษาใต้เรียกว่า งูบองหลา ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
งูจงอางถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานประจำชาติของอินเดีย มีอิทธิพลสูงในตำนานและประเพณีพื้นบ้านของชาวอินเดีย ศรีลังกา และพม่า ปัจจุบันงูจงอางถูกคุกคามจากการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยโดยมนุษย์ และอยู่ในบัญชีแดงไอยูซีเอ็น
ลักษณะทั่วไป
งูจงอางเป็นงูพิษที่มีลักษณะหัวกลมมน เกล็ดบริเวณส่วนหัวใหญ่ มีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ขากรรไกรด้านบน หน้าตาดุดัน จมูกทู่ มองเผิน ๆ คล้ายกับ ที่บริเวณขอบตาบนมีเกล็ดยื่นงองุ้มออกมา ทำให้หน้าตาของงูจงอางมองดูดุและน่ากลัว ส่วนบริเวณท่อนหางจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด มีม่านตากลม ลำคอมีขนาดสมส่วน ลำตัวขนาดใหญ่เรียวยาว แผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า งูจงอางที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีขนาดลำตัวเท่ากับงูเห่าดงแต่จะยาวกว่า ทำให้คนทั่วไปที่พบเห็นและไม่เคยเห็นงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจผิดว่าเป็นงูเห่าและเรียกว่างูเห่าดง
ตามปกติจะหากินที่พื้นดินแต่ก็สามารถขึ้นต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นงูที่ใช้วิธีการฉกกัดและรัดเหยื่อไม่เป็น ซึ่งไม่สมกับขนาดของลำตัวที่เพรียวยาว ปกติจะเลื้อยช้าแต่จะมีความว่องไวและปราดเปรียวเมื่อตกใจ ถ้าพบเจอสิ่งใดแล้วไม่หยุดชูคอขึ้น จะเลื้อยผ่านไปเงียบ ๆ แต่ถ้าขดตัวเข้ามารวมเป็นกลุ่มแล้วยกหัวสูงขึ้น แสดงว่าพร้อมจู่โจมสิ่งที่พบเห็น เวลาเลื้อยหัวจะเรียบขนานไปกับพื้น แต่เมื่อตกใจหรือโกรธสามารถยกตัวขึ้นชูคอได้สูงประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดความยาวลำตัว เทียบความสูงได้ในระดับประมาณเอวของคน จังหวะที่ยกตัวชูสูงขึ้นในครั้งแรกจะมีความสูงมากและค่อย ๆ ลดลงมาอยู่ในระดับปกติตามเดิม ไม่ส่งเสียงขู่ฟ่อ ๆ เมื่อมีสิ่งใดเข้าใกล้เช่นเดียวกับงูเห่า ที่สามารถพ่นลมออกจากทางรูจมูกซึ่งเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะของงูเห่า แผ่แม่เบี้ยได้เหมือนงูเห่าแต่จะแคบและไม่มีลายดอกจันที่บริเวณศีรษะด้านหลัง มีลายค่อนข้างจางพาดตามขวาง มีลักษณะเป็นบั้ง ๆ แทน
งูจงอางเป็นงูพิษที่สามารถต้านทานพิษงูชนิดอื่น ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น งูเห่า งูกะปะ เมื่อเกิดการต่อสู้และถูกกัดจะไม่ได้รับอันตรายจนถึงตาย แต่จะกัดและกินงูเหล่านั้นเป็นอาหารแทน แต่ไม่สามารถต้านทานพิษงูจงอางด้วยกันเอง งูจงอางมีเกล็ดพิเศษบนส่วนหัวจำนวน 1 คู่ อยู่บริเวณด้านหลังของเกล็ดกระหม่อม (Parietals) มีชื่อเรียกว่า Occipitals ซึ่งจะมีเฉพาะงูจงอางเท่านั้น มีถิ่นอาศัยอยู่ในป่า ไม่ปรากฏว่าพบตามสวนหรือไร่นา ทำรังและวางไข่ประมาณปีละครั้ง ครั้งละประมาณ 20–30 ฟอง ชอบทำรังในกอไผ่ กกและฟักไข่เองจนกว่าลูกงูจะเกิด
งูจงอางมีพฤติกรรมการฉกกัดแบบติดแน่น ไม่กัดฉกเหมือนงูเห่า จึงกัดแล้วจะย้ำเขี้ยว (lock jaw) น้ำพิษมีสีเหลืองและมีลักษณะเหนียวหนืด พิษงูทำลายประสาทเช่นเดียวกับงูเห่าแต่เกิดอาการเร็วและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีน้ำพิษปริมาณมาก เพราะงูจงอางมีขนาดโตกว่างูเห่า ผู้ถูกกัดจะมีอาการหนังตาตก ขากรรไกรแข็ง พูดไม่ชัด กลืนน้ำลายไม่ได้ แน่นหน้าอก ตาพร่า อ่อนเพลีย เป็นอัมพาต อาจตายเพราะการหายใจล้มเหลว น้ำพิษของงูจงอางสามารถฉีดออกมาได้ถึง 380-600 มิลลิกรัมในการฉกกัดแต่ละครั้ง ซึ่งอาจมีปริมาณมากถึง 10 เท่าของงูเห่า ทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ที่อันตรายคือกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจหยุดทำงาน ดังนั้นหากถูกกัดจะถึงแก่ความตายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 15 นาที
ลักษณะทางกายวิภาค
งูจงอางเป็นงูที่มีความผันแปรในเรื่องของขนาดลำตัวและสีสันของเกล็ดอย่างชัดเจน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับแหล่งที่อยู่อาศัยและสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น งูจงอางที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบทางภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศไทย จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่โตกว่างูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ รวมทั้งสีของเกล็ดก็แตกต่างด้วยเช่นกัน งูจงอางในแถบภาคใต้และภาคตะวันตกจะมีสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำหรือสีดำเข้ม ลักษณะลวดลายของเกล็ดบริเวณลำตัวไม่ค่อยชัดเจน แตกต่างจากงูจงอางในแถบภาคอื่น ๆ มีขนาดเฉลี่ย 4-5 เมตร เช่น งูจงอางในภาคเหนือ จะมีเกล็ดสีเข้มจนเกือบดำ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า จงอางดำ และมีนิสัยดุร้ายกว่างูจงอางในแถบภาคใต้ มีขนาดเฉลี่ย 3-4 เมตร ส่วนงูจงอางในแถบภาคกลางและหลาย ๆ จังหวัดในแถบภาคอีสาน มีสีลำตัวน้ำตาลอ่ออนหรือสีเทามักจะมีสีเกล็ดเป็นลายขวั้นตามขวาง ลักษณะเป็นบั้ง ๆ เกือบตลอดทั้งตัว มีนิสัยดุร้ายเช่นเดียวกับงูจงอางแถบภาคเหนือและภาคใต้ แต่มีขนาดของลำตัวที่เล็กกว่า มีขนาดเฉลี่ยเพียง 2-2.5 เมตร ว่องไวและปราดเปรียว
โดยรวมลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอางในแต่ละภาคจะเหมือนกัน มีความแตกต่างเพียงแค่ขนาดของลำตัวเท่านั้น ซึ่งลักษณะทางกายวิภาคของงูจงอาง มีดังนี้ โดยงูจงอางที่พบในภาคใต้ที่เรียกกันว่า งูบองหลา นั้นมีความยาวกว่างูจงอางที่พบในภาคอื่น โดยมีความยาวเฉลี่ย 4 เมตร และแต่ตัวที่สีเข้มมากส่วนใหญ่มักมีความยาวได้ถึง 5-5.5 เมตร เรียกว่า ทวดบองหลาดำ รวมถึงมีลวดลายบนลำตัวที่แคบกว่าด้วย เคยมีตำนานท้องถิ่นแถบภาคใต้ว่ามีพญางูจงอาง ลำตัวสีดำสนิท หัวสีน้ำตาลเข้ม มีความยาว1เส้น15วา(ราวๆ70เมตร) น้ำพิษหนึ่งหยดสามารถฆ่าคนได้ทั้งหมู่บ้าน อาศัยในถ้ำลับแล พรางตัวในความมืดได้ ว่ากันว่า มันคือ พญานาค ที่เคยสังหารครุฑในสงครามและได้รอคอยวันแก้แค้นที่จะสังหารพญาครุฑ จึงได้อาศัยอยู่ในถ้ำเพื่อเก็บพลังพิษ แต่จนวันนี้ก็ยังไม่มีใครค้นพบมันมาก่อน มีแต่เรื่องเล่าชาวท้องถิ่นของภาคใต้เท่านั้น
พิษ
งูพิษ หรือ งูพิษอันตราย (Dangerous Venomous Snakes) มีความหมายเหมือนกันกับคำว่า "งูที่มีความสำคัญในทางการแพทย์" (Snakes of Medical Importance) ซึ่งจะหมายความถึงงูที่มีกลไกของพิษ (Venom apparatus) และปริมาณน้ำพิษที่มีความรุนแรง ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทและระบบโลหิตต่อร่างกายของสัตว์และมนุษย์ ทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งกลไกลของพิษของงูโดยเฉพาะงูจงอาง ที่มีปริมาณพิษร้ายแรงน้อยกว่างูเห่าแต่ปริมาณน้ำพิษมากกว่า สามารถทำให้ผู้ที่ได้รับพิษเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งลักษณะกลไกพิษของงูจงอาง มีดังนี้
- ต่อมผลิตพิษ
- ท่อน้ำพิษ
- เขี้ยวพิษ
- น้ำพิษ
ส่วนประกอบสำคัญต่าง ๆ ของระบบพิษงูจงอาง ได้แก่
ต่อมผลิตพิษ
ต่อมผลิตพิษ (Venom Gland) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สำหรับสร้างพิษงูในงูพิษที่จัดอยู่ในชั้นสูงขึ้นไป ซึ่งได้แก่งูในครอบครัว Elapidae และครอบครัว Viperidae งูจงอางจะมีต่อมพิษที่สามารถเจริญเติบโตและพัฒนาการจนมีขนาดใหญ่ โดยตำแหน่งของต่อมผลิตพิษจะอยู่บริเวณหลังลูกตาทั้ง 2 ข้างในลักษณะของตำแหน่งที่เทียบได้กับกระพุ้งแก้ม
ต่อมผลิตพิษนี้จะมีอยู่ทั้ง 2 ข้างของหัวงูจงอาง ข้างละ 1 อัน โดยบนต่อมผลิตพิษจะมีกล้ามเนื้อพิเศษที่ทำการควบคุมการผลิตพิษของต่อมผลิตพิษ เพื่อเป็นการบังคับให้ต่อมผลิตพิษ บีบตัวและหลั่งน้ำพิษเมื่องูจงอางต้องการ หรือฉกกัดสิ่งที่พบเห็น
ท่อน้ำพิษ
ท่อน้ำพิษ (Venom Duct) เป็นท่อที่มีลักษณะพิเศษที่ทำการเชื่อมต่อกันระหว่างต่อมผลิตพิษ และโคนเขี้ยวพิษของงูจงอาง มีหน้าที่ในการลำเลียงน้ำพิษจากต่อมผลิตพิษ เมื่องูจงอางบีบและหลั่งน้ำพิษไปยังเขี้ยวพิษทั้ง 2 ข้างที่ขากรรไกรด้านล้างด้วย
เขี้ยวพิษ
เขี้ยวพิษ (Venom Fangs) เขี้ยวพิษของงูจงอาง มีลักษณะโค้งงอ มีจำนวน 2 ชุดคือ เขี้ยวพิษจริงและเขี้ยวพิษสำรอง เทียบได้กับลักษณะของ เมื่องูจงอางฉกกัด เขี้ยวพิษจะฝังเข้าไปในเนื้อของเหยื่อหรือผู้ที่ถูกกัดและฉีดพิษเข้าสู่ร่างกายของเหยื่อ ลักษณะเขี้ยวพิษของงูจงอางจัดอยู่ในกลุ่ม Proteroglypha ซึ่งเป็นกลุ่มของงูมีพิษที่มีลักษณะเขี้ยวพิษอยู่ด้านหน้าของขากรรไกรด้านบน เขี้ยวพิษทั้ง 2 จะยึดแน่นติดกับขากรรไกรด้านบน หดพับงอเขี้ยวไม่ได้ ลักษณะของเขี้ยวพิษจะไม่ยาวนัก มีร่องตามแนวยาว (Vertical Groove) อยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเขี้ยว จำนวน 1 ร่อง เพื่อสำหรับให้น้ำพิษจากต่อมผลิตพิษไหลผ่าน
ลักษณะปลายเขี้ยวพิษของงูจงอางจะแหลมคม เพื่อใช้สำหรับเจาะทะลุเข้าไปในบริเวณผิวหนังของเหยื่อที่ฉกกัดได้โดยง่าย งูจงอางมีเขี้ยวพิษสำรองหลายชุดซึ่งเขี้ยวสำรองจะหลบอยู่ภายในอุ้งเหงือก เมื่อเขี้ยวพิษจริงหักหรือหลุดหลังจากการฉกกัดหรือด้วยสาเหตุใดก็ตาม เขี้ยวพิษสำรองจะเลื่อนขึ้นมาแทนที่เขี้ยวพิษจริง และจะทำหน้าที่แทนเขี้ยวพิษจริงอันใหม่ต่อไป
น้ำพิษ
น้ำพิษ (Venom) น้ำพิษของงูจงอางประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโปรตีนและไม่ใช่โปรตีน น้ำพิษของงูจงอางมีลักษณะเป็นของเหลว สีเหลืองเรื่อ ๆ ไม่มีรสและกลิ่น ส่วนประกอบของน้ำพิษที่เป็นโปรตีน จะมีโปรตีนประกอบอยู่ประมาณ 90% ของปริมาณน้ำพิษทั้งหมด และอีก 10% ที่เหลือจะเป็นส่วนที่ไม่ใช่โปรตีน
น้ำพิษของงูจงอางในส่วนที่เป็นโปรตีน สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นน้ำพิษจากต่อมผลิตพิษ (Toxin) และส่วนที่เป็นน้ำย่อย (Enzyme)
กะโหลก เขี้ยวและฟัน
กะโหลกศีรษะของงูสามารถแยกแยะวงศ์และสกุลได้ โดยดูจากลักษณะของกะโหลก ฟันและ ขากรรไกร ซึ่งงูจงอางเป็นงูขนาดใหญ่ทำให้มีการพัฒนาร่างกายเพื่อการล่าอาหาร และกลืนเหยื่อ ทำให้กะโหลกของงูจงอางไม่เหมือนกับงูและสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ที่สามารถฉีกเหยื่อออกเป็นชิ้น ๆ การกินเหยื่อของงูจงอางจะใช้วิธีการขยอกเหยื่อทั้งตัว สามารถกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมันเองได้ เนื่องจากขากรรไกรกว้าง โดยอาจจะกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวมันได้ ได้โดยการถ่างกระดูกปากและกะโหลกออกจากกัน กะโหลกของงูจงอางถูกสร้างให้ข้างบน ข้างล่าง และกระดูกขากรรไกรสามารถเคลื่อนไปข้างหน้า ข้างหลัง และออกด้านข้างได้โดยอิสระ จากกะโหลก ขากรรไกรล่างจะไม่เชื่อมกับกับคาง สามารถออกไปข้างหน้าได้ เมื่อต้องการ ขยอกเหยื่อมาที่คอหอย
งูจงอางมีเขี้ยว 2 เขี้ยวที่ใหญ่และแข็งแรงกว่าฟันอื่น และมีฟันที่ข้างกรรไกรล่าง โดยจะอยู่ชั้นนอก ส่วนฟันบนชั้นใน สามารถใช้ฟันออกมางับเหยื่อได้อย่างรวดเร็ว ดึงเหยื่อเข้าไปในปาก และขยอกลงไป เขี้ยวของงู จะแตกต่างจากฟันใช้ปล่อยพิษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- Opistoglyphous หรือ Rear-Fanged
- Proteroglyphous หรือ Front-Fanged
ซึ่ง Rear-Fanged Snakes จะมี 3 สายพันธุ์ ในวงศ์ของ Colubird จะมีเขี้ยว 1 คู่ ส่วน Front-Fanged Snakes คือพวก Burrowing Asps Cobra Mamba และ Kraits Cobra และ Viper Fangs
ขนาดและรูปร่าง
งูจงอางมีลักษณะและรูปร่างที่เหมือน ๆ กัน คือมีขนาดของลำตัวใหญ่และยาว จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องของขนาด ซึ่งเกิดจากจากวิวัฒนาการของสายพันธุ์และธรรมชาติเป็นผู้กำหนด งูจงอางเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ มีตากลมสีดำใช้สำรวจหาเหยื่อที่อยู่ในระยะไกลได้ ซึ่งการที่งูจงอางมีขนาดใหญ่ สาเหตุหลักเนื่องมาจากต้องการอาหารในการดำรงชีพมาก แต่มีข้อจำกัดด้วยขนาดตัวที่มีขนาดใหญ่ ทำให้การล่าอาหารในบางครั้งอาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก และในเรื่องการปรับอุณหภูมิในร่างกายความใหญ่ของร่างกายทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับอุณหภูมิเป็นเวลานาน รวมทั้งพฤติกรรมการล่า หาอาหาร และสืบพันธุ์ สามารถขึ้นต้นไม้และอาศัยความเร็วในการจู่โจมเหยื่อ โดยใช้หางในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ ทำให้สามารถห้อยตัวลงไปดึงกิ้งก่าหรือนกจากต้นไม้ได้
สีสันของเกล็ด
งูจงอางมีหลายสี เกล็ดของงูจงอางจะเปลี่ยนสีโดยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและถิ่นที่อยู่อาศัย โดยปกติทั่วไปจะเปลี่ยนสีสันของเกล็ดได้เล็กน้อย ให้กลมกลืนกับสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการอำพรางตัวเองจากเหยื่อหรือศัตรู ส่วนมากเกล็ดจะมีสีน้ำตาลอ่อน เหลืองอมน้ำตาล น้ำตาลแก่อมดำ เทาอมดำ เขียวมะกอก ขาวครีมอมเหลืองอ่อน และขาวงาช้างเป็นสีสันของเกล็ดมาตรฐานของงูจงอาง
บริเวณท้องของงูจงอางจะเป็นสีอ่อน มีขอบเกล็ดสีดำลักษณะเป็นปล้องขาว มองคล้ายเส้นเล็ก ๆ ตามขวางอยู่ที่บริเวณเกล็ด เป็นระยะตลอดทั่วทั้งลำตัว ตามปกติถ้าไม่สังเกตจะมองไม่ค่อยเห็น นอกเสียจากเวลาโกรธหรือแผ่แม่เบี้ย ทำให้ลำตัวพองและขยายเกล็ดออกมา หรือเวลากลืนกินเหยื่อจนเกล็ดบริเวณท้องขยายออกจนเห็นได้ชัด ตามปกติปล้องสีขาวนี้จะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในงูจงอางตัวอ่อนที่มีขนาดเล็ก
งูจงอางเพศผู้จะมีสีสันที่แตกต่างจากงูจงอางเพศเมีย ตามปกติจะมีสีส้มแก่พาดขวางบริเวณใต้ลำคอ รอบขึ้นมาจนถึงบริเวณลำคอแล้วค่อย ๆ จางลงจนกลายเป็นสีเหลืองอ่อน เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่างูคอแดง ซึ่งจะไม่มีในงูจงอางเพศเมีย ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนจนซีด สีสันของเกล็ดไม่สวยสดและเข้มเหมือนกับงูจงอางเพศผู้ ซึ่งจะมีสีเหลืองอ่อนบริเวณใต้คางและริมฝีปากล่าง ส่วนงูจงอางเพศเมียจะมีสีขาวครีม และเมื่อขดตัวตามธรรมชาติ สีสันของเกล็ดในส่วนอื่น ๆ จะมองไม่ค่อยเห็น แต่จะสามารถสังเกตเห็นสีขาวบริเวณใต้คางได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถแยกแยกได้ว่าตัวไหนเพศผู้เพศเมีย
การสืบพันธุ์
งูจงอางสืบพันธุ์โดยการวางไข่ปีละ 1 ครั้ง โดยมีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน ในราวต้นฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม–เมษายน วางไข่ครั้งละประมาณ 20–30 ฟอง มากที่สุดคือประมาณ 45 ฟอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ งูจงอางตัวผู้จะเลื้อยเข้าหางูจงอางตัวเมียที่พร้อมการผสมพันธุ์ ซึ่งในแต่ละครั้งการเข้าหางูจงอางตัวเมียนั้น งูจงอางตัวผู้หลาย ๆ ตัวจะทำการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงงูจงอางตัวเมีย (Combat Dance) โดยวิธีการฉกกัดและใช้ลำตัวกอดรัดกัน กดให้คู่ต่อสู้ที่เพลี้ยงพล้ำอยู่ด้านล่างให้อ่อนแรงในลักษณะคล้ายกับมวยปล้ำ ผลัดกันรุกผลัดกันรับแต่จะไม่มีการฉกกัดกันจนถึงตาย เมื่องูจงอางตัวผู้ตัวใดอ่อนแรงก่อน ก็จะยอมแพ้และเลื้อยหนีไป
งูจงอางตัวเมียเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว จะมีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 25–70 วัน โดยทั่วไปลักษณะของไข่งูจงอาง จะมีลักษณะเป็นรูปทรงไข่หรือรูปทรงรียาว มีสีขาวถึงสีครีม เปลือกไข่ค่อนข้างนิ่มแต่ไม่แตก (Leathery) และจะมีขนเส้นเล็ก ๆ บริเวณเปลือกไข่สำหรับดูดซับความชื้นภายในรัง ไข่ของงูจงอางจะไม่ติดกันเป็นแพเหมือนกับไข่ของงูชนิดอื่น ๆ
มีขนาดประมาณ 3.50–6.00 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายไข่เป็ดและจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนในตอนต้นของฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม
ก่อนการวางไข่ งูจงอางตัวเมียจะใช้ลำตัวกวาดเศษใบไม้ร่วง ๆ มากองสุมกัน เพื่อทำเป็นรังสำหรับวางไข่ให้เป็นหลุมลึกเท่ากับขดหางโดยใช้ใบไม้แห้งรองพื้น และหลังจากวางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะใช้เศษใบไม้คลุมไข่อีกชั้นหนึ่ง เพื่อเป็นการป้องกันไข่จากศัตรูอื่นเช่นมนุษย์ และจะคอยเฝ้าหวงและดูแลไข่โดยการนอนขดทับบนรังเฝ้าไข่ของมันตลอดเวลาโดยไม่ยอมออกไปหาอาหาร ซึ่งผิดกับงูชนิดอื่น ๆ ที่ส่วนมากมักจะทิ้งไข่ไว้ภายในรัง ให้ฟักออกมาเป็นตัวเองโดยไม่เหลียวแลคอยดูแลและปกป้อง งูจงอางตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ จะเป็นยามเฝ้ารังและอยู่ใกล้ ๆ บริเวณรัง ในขณะที่งูจงอางตัวเมียจะอยู่แต่ภายในรัง ซึ่งในฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่จะเป็นช่วงที่งูจงอางดุมากเป็นพิเศษ จะคอยไล่ผู้ที่เดินทางผ่านรังของมัน ส่วนงูจงอางตัวเมียจะอยู่กับไข่ภายในรัง ไม่กวดไล่
เมื่องูจงอางตัวเมียฟักไข่ จะคอยเฝ้าดูแลและรักษาไข่ที่ซ่อนอยู่ในรังเพื่อให้ปลอดภัยจากศัตรูทุกชนิด เมื่อลูกงูฟักเป็นตัวอ่อนหรืองูที่ยังไม่โตเต็มวัย พังพอนเป็นศัตรูตัวฉกาจ และมีชะมด อีเห็นและเหยี่ยวรุ้งคอยไล่ล่า นอกจากนี้ยังมีเกาะกัดดูดเลือดลูกงูจงอางอีกด้วย ลูกงูจงอางแรกฟักออกจากไข่ จะมีขนาดของลำตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โตเท่ากับนิ้วมือ โดยทั่วไปหากไม่เคยรู้จักหรือพบเห็นลูกงูจงอางมาก่อน จะเข้าใจว่าเป็นงูเขียวดอกหมากหรืองูปล้องฉนวนลาว เนื่องจากมองดูคล้ายคลึงกัน แต่จะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างคือ มีความดุร้ายตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อพบเห็นสิ่งใดผิดแปลก จะแผ่แม่เบี้ยอยู่ตลอดเวลา เตรียมพร้อมการจู่โจมทันที
ถึงแม้จะเป็นเพียงลูกงูจงอางแต่พิษของมันก็สามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ ลำตัวเป็นสีดำและมีลายสีเหลืองคาดขวางตามลำตัวเป็นระยะ ๆ เริ่มตั้งแต่ปลายหัวจนสุดปลายหาง บริเวณด้านท้องจะเป็นสีเหลืองอ่อน ซึ่งจะเปลี่ยนสีของลำตัวเมื่อลูกงูจงอางเข้าสู่ระยะของตัวเต็มวัย เมื่อมีขนาดของลำตัวประมาณ 0.8–1 เมตร ลูกงูจงอางเมื่อลอกคราบใหม่ ๆ จะมีสีสันของเกล็ดที่อ่อนสดใส มองดูเป็นมันเลื่อม ซึ่งจะค่อย ๆ ผันแปรสีสันของเกล็ดให้เป็นสีเข้มทั่วทั้งลำตัว ลักษณะของเกล็ดจะด้าน ที่บริเวณดวงตาจะฝ้าขาวมัว และจะลอกคราบใหม่อีกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดไป
ถิ่นอาศัยและการล่าเหยื่อ
งูจงอางมีการกระจายพันธุ์ตลอดทั้งเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพื้นที่ทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออก (ภาคใต้ของประเทศจีน) ที่ซึ่งพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก งูจงอางเป็นงูป่าโดยกำเนิดอย่างแท้จริง โดยจะอยู่กันเป็นคู่ อาศัยอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำทะเลได้ถึง 2,000 เมตร บนภูเขาหรือในป่าไม้ งูจงอางจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลำธาร ตามบริเวณซอกหินหรือในโพรงไม้ หรือในป่าไผ่ทึบที่มีไผ่ต้นเตี้ย ๆ จำนวนมาก รวมทั้งในบริเวณป่าไม้ที่มีความชื้นแฉะที่มีความอบอุ่น และมีต้นไม้สูง ๆ หนาทึบ แต่ไม่ใช่ป่าดงดิบที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างส่องลอดผ่านมาสู่พื้นดิน และอากาศอบชื้น งูจงอางสามารถขึ้นต้นไม้ได้เป็นอย่างดีและรวดเร็ว แต่ตามปกติแล้วมักจะอยู่ตามพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้
งูจงอางเป็นงูที่ออกล่าเหยื่อได้ทั้งในเวลากลางวันที่มีแสงแดดไม่ร้อนจัดมากนัก และในเวลาพลบค่ำ โดยจะเลื้อยออกไปหาเหยื่อตามถิ่นอาศัยที่มีอาหารชุกชุม อาหารหลักของงูจงอางคืองูชนิดอื่น ๆ เช่น หรือแม้กระทั่งงูเหลือมตัวเล็ก ๆ ที่มีขนาดไม่โตนัก นอกจากจะกินงูด้วยกันเองแล้ว ในบางครั้งงูจงอางอาจจะกินสัตว์จำพวกตะกวด กิ้งก่า ตุ๊กแก เหี้ย เป็นอาหารอีกด้วย หรือแม้ในบางครั้งงูจงอางก็กินลูกงูจงอางด้วยกันเอง เคยมีผู้ยิงงูจงอางเพศผู้ได้ และเมื่อผ่าท้องออกพบลูกงูจงอางอยู่ในนั้น แสดงว่างูจงอางกินแม้กระทั่งงูจงอางด้วยกัน เพียงแต่ยังเล็กอยู่เท่านั้น แต่เมื่อโตเต็มวัยก็ยังไม่เคยพบว่างูจงอางกินงูจงอางด้วยกันเอง
การล่าเหยื่อของงูจงอางจะใช้วิธีซุ่มรอคอยเหยื่อในสถานที่ที่เหยื่ออาศัยอยู่ เมื่อเหยื่อเลื้อยหรือผ่านเข้ามาในบริเวณที่งูจงอางซุ่มดักรอคอย จะพุ่งตัวเข้ากัดที่บริเวณลำคอของเหยื่ออย่างรวดเร็ว แล้วจับกินเป็นอาหาร งูจงอางสามารถกลืนเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมันเองได้ทั้งตัว โดยเริ่มการบริเวณศีรษะของเหยื่อ ค่อย ๆ ขยอกเข้าไปในปากจนกระทั่งหมด และหลังจากการล่าเหยื่อเสร็จสิ้นลง งูจงอางจะต้องหาแหล่งน้ำเพื่อดื่มน้ำหลังจากที่กินเหยื่อเรียบร้อยแล้ว
การอนุรักษ์
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งูจงอางถูกคุกคามโดยการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยอันเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่าและการขยายพื้นที่เกษตรกรรม และยังถูกล่าเพื่อเอาเนื้อและผิวหนังไปเป็นอาหาร และถูกใช้เพื่อปรุงเป็นยาจีนโบราณ งูจงอางมีชื่ออยู่ใน อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ได้รับการคุ้มครองในหลายประเทศ โดยในอินเดียอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่าประเภทที่ 2 พ.ศ. 2515 ซึ่งการฆ่างูจงอางมีโทษจำคุกไม่เกินหกปี และในประเทศไทยถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ ยังมีการออกกฎหมายคุ้มครองในเวียดนามและจีน
ดูเพิ่ม
รายการอ้างอิง
- อ้างอิง
- Stuart, B.; Wogan, G.; Grismer, L.; Auliya, M.; Inger, R.F.; Lilley, R.; Chan-Ard, T.; Thy, N.; Nguyen, T.Q.; Srinivasulu, C.; Jelić, D. (2012). "Ophiophagus hannah". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T177540A1491874. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T177540A1491874.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-05.
- "King cobra, facts and photos". Animals (ภาษาอังกฤษ). 2010-09-10.
- "9 of the World's Deadliest Snakes". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- Chanhome, L., Cox, M.J., Vasaruchapong, T., Chaiyabutr, N. and Sitprija, V. (2011). "Characterization of venomous snakes of Thailand". Asian Biomedicine 5 (3): 311–328.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 109
- Capula, Massimo (1989). Simon & Schuster's Guide to Reptiles and Amphibians of the World. New York: Simon & Schuster. ISBN .
{{}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) ((help)) - "Ophitoxaemia (venomous snake bite)". สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
- Sean Thomas. "One most Dangerous Snakes in the World". สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-07. สืบค้นเมื่อ 2007-04-05.
- หน้า 29 ข่าวทั่วไทย, 'เขาศูนย์' ดินแดนอาถรรพ์ในอดีต!! มีโอกาสได้สิทธิพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือไม่?!? โดย นพดล ขจรจารุกุล. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,384: จันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2556 แรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง
- "King Cobra- National Reptile of India". www.indiamapped.com.
- https://archive.org/details/venomousreptiles0000mint
- Platt, S.G.; Ko, W.K. and Rainwater, T.R. (2012). "On the Cobra Cults of Myanmar (Burma)". Chicago Herpetological Society. 47 (2): 17–20
- "King Cobra faces loss of habitat". Deccan Herald (ภาษาอังกฤษ). 2012-06-29.
- Jul 2, B. Sivakumar / TNN / Updated:; 2012; Ist, 03:02. "King cobra under threat, put on red list | Chennai News - Times of India". The Times of India (ภาษาอังกฤษ).
{{}}
: CS1 maint: extra punctuation () CS1 maint: numeric names: authors list () - ลักษณะเตรียมพร้อมจู่โจม เกร็ดความรู้เรื่องงูจงอางจากเพชรพระอุมา
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 101
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 147
- จุดประกาย 7 NOW26 Feature, ปริศนาแห่งตำนาน งูจงอางตามหาคู่ โดย นิค-นิรุทธ์ ชมงาม. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10541: วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560
- งูพิษ - พิษทำลายระบบประสาท รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น วันที่ 05 เมษายน 2550[]
- Snake of medical importance. Singapore: Venom and toxins research group.
- . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-29. สืบค้นเมื่อ 2007-04-05.
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 31
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 37
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 38
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 100-110
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 81
- Miller, Harry (September 1970). "The Cobra, India's 'Good Snake'". National Geographic. 20: 393–409.
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 119
- ไพบูลย์ จินตกุล, 2547: หน้า 113
- https://www.iucnredlist.org/species/177540/1491874
- . web.archive.org. 2013-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- บรรณานุกรม
- จินตกุล, ไพบูลย์ (2547). งูพิษในประเทศไทย. สำนักพิมพ์มติชน. ISBN .
แหล่งข้อมูลอื่น
- Ophiophagus hannah Research and Information
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
ngucngxang cdxyuiniflmstwmikraduksnhlng chnstweluxykhlan epnnguphiskhnadihy odythwipmikhwamyawechliypraman 3 5 4 5 emtr cdepnnguphisthimikhnadyawthisudinolk twthiyawepnsthitiolkmikhwamyaw 5 59 emtr epnngucngxangithylatwsida phbthi hmuthi 4 t kalaes x sieka c trng emux ph s 2562 aetthahakngucngxangxyuinpathimikhwamxudmsmburnksamarthotidmakkwa 6 emtrid aetthungkrannmnkyngimmikarbnthukxyangepnthangkarwaphbecxngucngxangthiyawekin 6 cring miaeteruxngelakhxngkhnekaaekthielaknmawamingucngxangdathiyawthungkhnadethiybethatalsungechuxknwaepnnguecathikhxyduaelpa cungimaeplkthithaimkhnphakhitthungmikhwamechuxaelasrththainnguchnidnimakkwaphakhxun hruxinkhawthibnthukwayawthung 6 7 emtrswnihykmkcaphbwayawephiyng 4 5 emtrtn ethann odynahnkechliykhxngngucngxangxyuthipraman 8 15 kiolkrm thungaemwacaepnnguthilatwyawaetkminahnkthiebakwanguthimikhwamyawphxknxyangnguehluxmhruxnguhlam thaihngucngxangnncamikhlxngaekhlwwxngiwthngbnbkaelainna miluktadaaelaklm hwihyklmthu samarthaephidechnediywkbngueha latweriywyaw waynaekng mihlaysi aetodythwipcamisinatalaedngxmekhiyw hruxlatwsiekhiywxmetha sida sinatal aelasiekhiywxxnekuxbkhaw swnthiphbmakthisudkhux sidaaelaekhiywxmetha aelasinatal nxysudksiekhiywxxnekuxbkhaw thxngmisiehluxngcnekuxbkhaw misiaedngekuxbsmthibriewnitkhx miphissungsngphlthangrabbprasaththirunaerng phiskhxngngucngxangsamarththaihkhnhruxstwtayid odymixtrakaresiychiwitsungthung 75 enuxngcakprimanphisthichidxxkcakekhiywphismimak ngucngxangminisykhxnkhangduray aetthaimcwntwhruxthukrukrankxncaimtharay xaharkhxngngucngxangkhux ngusing nguthangmaphrawthukchnid ngueha nguehluxm nguhlam ekhiydngu ngusamehliym ngukinpla nguthbsmingkhla nguekhiyw tukaek kb takwd hnu phngphxn krarxkaelakraaet epntnngucngxangsthanakarxnurks IUCN 3 1 CITES Appendix II CITES karcaaenkchnthangwithyasastrodemn yuaekhrioxtxanackr stwiflm stwmiaeknsnhlngchn stweluxykhlanxndb kingkaaelanguxndbyxy Serpenteswngs wngsnguphisekhiywhnawngsyxy wngsnguphisekhiywhna 1864skul Ophiophagus 1836spichis Ophiophagus hannahchuxthwinamOphiophagus hannah 1836 thinxasykhxngngucngxang siaedng chuxphxngchnskul Hamadryas Cantor 1836 non 1804 Naja Schlegel 1837 ngucngxangcdxyuinskul Ophiophagus sungepnnguephiyngchnidediywethannthixyuinskulni odymiraksphthcakphasalatinaeplwa kinngu sunghmaykhwamthungkarlaehyuxkhxngngucngxang ephraanguinskulni kinnguxunepnxahar phbinpraethsithy praethsxinediy praethsphma praethsxinodniesiy aelapraethsmaelesiy sahrbpraethsithymimakinpacnghwdnkhrswrrkh ephchrburn aelankhrrachsima aelainpathukphakh aetchukchumthangphakhitmakthisud inphasaiteriykwa ngubxnghla pccubnepnstwpakhumkhrxng tamphrarachbyytisngwnaelakhumkhrxngstwpa phuththskrach 2535 ngucngxangthuxepnstweluxykhlanpracachatikhxngxinediy mixiththiphlsungintananaelapraephniphunbankhxngchawxinediy srilngka aelaphma pccubnngucngxangthukkhukkhamcakkarthalayaehlngthixyuxasyodymnusy aelaxyuinbychiaedngixyusiexnlksnathwiplksnahwkhxngngucngxang ngucngxangepnnguphisthimilksnahwklmmn ekldbriewnswnhwihy miekhiyw 2 ekhiywthikhakrrikrdanbn hnatadudn cmukthu mxngephin khlaykb thibriewnkhxbtabnmiekldyunngxngumxxkma thaihhnatakhxngngucngxangmxngduduaelanaklw swnbriewnthxnhangcamilksnakhlaykhlungknmakthisud mimantaklm lakhxmikhnadsmswn latwkhnadihyeriywyaw aephaemebiyidechnediywkbngueha ngucngxangthiyngimotetmwy camikhnadlatwethakbnguehadngaetcayawkwa thaihkhnthwipthiphbehnaelaimekhyehnngucngxangmakxn caekhaicphidwaepnnguehaaelaeriykwanguehadng tampkticahakinthiphundinaetksamarthkhuntnimidxyangkhlxngaekhlw epnnguthiichwithikarchkkdaelardehyuximepn sungimsmkbkhnadkhxnglatwthiephriywyaw pkticaeluxychaaetcamikhwamwxngiwaelapradepriywemuxtkic thaphbecxsingidaelwimhyudchukhxkhun caeluxyphanipengiyb aetthakhdtwekhamarwmepnklumaelwykhwsungkhun aesdngwaphrxmcuocmsingthiphbehn ewlaeluxyhwcaeriybkhnanipkbphun aetemuxtkichruxokrthsamarthyktwkhunchukhxidsungpraman 1 in 3 khxngkhnadkhwamyawlatw ethiybkhwamsungidinradbpramanexwkhxngkhn cnghwathiyktwchusungkhuninkhrngaerkcamikhwamsungmakaelakhxy ldlngmaxyuinradbpktitamedim imsngesiyngkhufx emuxmisingidekhaiklechnediywkbngueha thisamarthphnlmxxkcakthangrucmuksungepnexklksnphiessechphaakhxngngueha aephaemebiyidehmuxnnguehaaetcaaekhbaelaimmilaydxkcnthibriewnsirsadanhlng milaykhxnkhangcangphadtamkhwang milksnaepnbng aethn ngucngxangepnnguphisthisamarthtanthanphisnguchnidxun idxyangdieyiym echn ngueha ngukapa emuxekidkartxsuaelathukkdcaimidrbxntraycnthungtay aetcakdaelakinnguehlannepnxaharaethn aetimsamarthtanthanphisngucngxangdwyknexng ngucngxangmiekldphiessbnswnhwcanwn 1 khu xyubriewndanhlngkhxngekldkrahmxm Parietals michuxeriykwa Occipitals sungcamiechphaangucngxangethann mithinxasyxyuinpa impraktwaphbtamswnhruxirna tharngaelawangikhpramanpilakhrng khrnglapraman 20 30 fxng chxbtharnginkxiph kkaelafkikhexngcnkwalukngucaekid ngucngxangmiphvtikrrmkarchkkdaebbtidaenn imkdchkehmuxnngueha cungkdaelwcayaekhiyw lock jaw naphismisiehluxngaelamilksnaehniywhnud phisnguthalayprasathechnediywkbnguehaaetekidxakarerwaelarunaerngkwa enuxngcakminaphisprimanmak ephraangucngxangmikhnadotkwangueha phuthukkdcamixakarhnngtatk khakrrikraekhng phudimchd klunnalayimid aennhnaxk taphra xxnephliy epnxmphat xactayephraakarhayiclmehlw naphiskhxngngucngxangsamarthchidxxkmaidthung 380 600 millikrminkarchkkdaetlakhrng sungxacmiprimanmakthung 10 ethakhxngngueha thaihekidxmphatkhxngklamenux thixntraykhuxklamenuxthiichhayichyudthangan dngnnhakthukkdcathungaekkhwamtayxyangrwderwphayinewlaimthung 15 nathilksnathangkaywiphakhngucngxangepnnguthimikhwamphnaeprineruxngkhxngkhnadlatwaelasisnkhxngekldxyangchdecn sungmikhwamekiywkhxngkbaehlngthixyuxasyaelasphaphthangphumisastr echn ngucngxangthimithinxasyxyuinaethbthangphakhitaelaphakhtawntkkhxngpraethsithy camikhnadlatwthiihyotkwangucngxanginaethbphakhxun rwmthngsikhxngekldkaetktangdwyechnkn ngucngxanginaethbphakhitaelaphakhtawntkcamisinatalekhmcnekuxbdahruxsidaekhm lksnalwdlaykhxngekldbriewnlatwimkhxychdecn aetktangcakngucngxanginaethbphakhxun mikhnadechliy 4 5 emtr echn ngucngxanginphakhehnux camiekldsiekhmcnekuxbda sungmkcaeriykknwa cngxangda aelaminisyduraykwangucngxanginaethbphakhit mikhnadechliy 3 4 emtr swnngucngxanginaethbphakhklangaelahlay cnghwdinaethbphakhxisan misilatwnatalxxxnhruxsiethamkcamisiekldepnlaykhwntamkhwang lksnaepnbng ekuxbtlxdthngtw minisydurayechnediywkbngucngxangaethbphakhehnuxaelaphakhit aetmikhnadkhxnglatwthielkkwa mikhnadechliyephiyng 2 2 5 emtr wxngiwaelapradepriyw odyrwmlksnathangkaywiphakhkhxngngucngxanginaetlaphakhcaehmuxnkn mikhwamaetktangephiyngaekhkhnadkhxnglatwethann sunglksnathangkaywiphakhkhxngngucngxang midngni odyngucngxangthiphbinphakhitthieriykknwa ngubxnghla nnmikhwamyawkwangucngxangthiphbinphakhxun odymikhwamyawechliy 4 emtr aelaaettwthisiekhmmakswnihymkmikhwamyawidthung 5 5 5 emtr eriykwa thwdbxnghlada rwmthungmilwdlaybnlatwthiaekhbkwadwy ekhymitananthxngthinaethbphakhitwamiphyangucngxang latwsidasnith hwsinatalekhm mikhwamyaw1esn15wa raw70emtr naphishnunghydsamarthkhakhnidthnghmuban xasyinthalbael phrangtwinkhwammudid waknwa mnkhux phyanakh thiekhysngharkhruthinsngkhramaelaidrxkhxywnaekaekhnthicasngharphyakhruth cungidxasyxyuinthaephuxekbphlngphis aetcnwnnikyngimmiikhrkhnphbmnmakxn miaeteruxngelachawthxngthinkhxngphakhitethann phis nguphis hrux nguphisxntray Dangerous Venomous Snakes mikhwamhmayehmuxnknkbkhawa nguthimikhwamsakhyinthangkaraephthy Snakes of Medical Importance sungcahmaykhwamthungnguthimiklikkhxngphis Venom apparatus aelaprimannaphisthimikhwamrunaerng sungmiphltxrabbprasathaelarabbolhittxrangkaykhxngstwaelamnusy thaihesiychiwitidxyangrwderwinrayaewlaimnan sungkliklkhxngphiskhxngnguodyechphaangucngxang thimiprimanphisrayaerngnxykwanguehaaetprimannaphismakkwa samarththaihphuthiidrbphisesiychiwitidxyangrwderw sunglksnaklikphiskhxngngucngxang midngni txmphlitphis thxnaphis ekhiywphis naphis swnprakxbsakhytang khxngrabbphisngucngxang idaek txmphlitphis txmphlitphis Venom Gland epntxmthithahnathisahrbsrangphisnguinnguphisthicdxyuinchnsungkhunip sungidaeknguinkhrxbkhrw Elapidae aelakhrxbkhrw Viperidae ngucngxangcamitxmphisthisamarthecriyetibotaelaphthnakarcnmikhnadihy odytaaehnngkhxngtxmphlitphiscaxyubriewnhlngluktathng 2 khanginlksnakhxngtaaehnngthiethiybidkbkraphungaekm txmphlitphisnicamixyuthng 2 khangkhxnghwngucngxang khangla 1 xn odybntxmphlitphiscamiklamenuxphiessthithakarkhwbkhumkarphlitphiskhxngtxmphlitphis ephuxepnkarbngkhbihtxmphlitphis bibtwaelahlngnaphisemuxngucngxangtxngkar hruxchkkdsingthiphbehn thxnaphis thxnaphis Venom Duct epnthxthimilksnaphiessthithakarechuxmtxknrahwangtxmphlitphis aelaokhnekhiywphiskhxngngucngxang mihnathiinkarlaeliyngnaphiscaktxmphlitphis emuxngucngxangbibaelahlngnaphisipyngekhiywphisthng 2 khangthikhakrrikrdanlangdwy ekhiywphis ekhiywphis Venom Fangs ekhiywphiskhxngngucngxang milksnaokhngngx micanwn 2 chudkhux ekhiywphiscringaelaekhiywphissarxng ethiybidkblksnakhxng emuxngucngxangchkkd ekhiywphiscafngekhaipinenuxkhxngehyuxhruxphuthithukkdaelachidphisekhasurangkaykhxngehyux lksnaekhiywphiskhxngngucngxangcdxyuinklum Proteroglypha sungepnklumkhxngngumiphisthimilksnaekhiywphisxyudanhnakhxngkhakrrikrdanbn ekhiywphisthng 2 cayudaenntidkbkhakrrikrdanbn hdphbngxekhiywimid lksnakhxngekhiywphiscaimyawnk mirxngtamaenwyaw Vertical Groove xyubriewndanhnakhxngtwekhiyw canwn 1 rxng ephuxsahrbihnaphiscaktxmphlitphisihlphan lksnaplayekhiywphiskhxngngucngxangcaaehlmkhm ephuxichsahrbecaathaluekhaipinbriewnphiwhnngkhxngehyuxthichkkdidodyngay ngucngxangmiekhiywphissarxnghlaychudsungekhiywsarxngcahlbxyuphayinxungehnguxk emuxekhiywphiscringhkhruxhludhlngcakkarchkkdhruxdwysaehtuidktam ekhiywphissarxngcaeluxnkhunmaaethnthiekhiywphiscring aelacathahnathiaethnekhiywphiscringxnihmtxip naphis naphis Venom naphiskhxngngucngxangprakxbipdwyswnthiepnoprtinaelaimichoprtin naphiskhxngngucngxangmilksnaepnkhxngehlw siehluxngerux immirsaelaklin swnprakxbkhxngnaphisthiepnoprtin camioprtinprakxbxyupraman 90 khxngprimannaphisthnghmd aelaxik 10 thiehluxcaepnswnthiimichoprtin naphiskhxngngucngxanginswnthiepnoprtin samarthaebngyxyxxkepn 2 swnkhux swnthiepnnaphiscaktxmphlitphis Toxin aelaswnthiepnnayxy Enzyme kaohlk ekhiywaelafn kaohlksirsakhxngngucngxang kaohlksirsakhxngngusamarthaeykaeyawngsaelaskulid odyducaklksnakhxngkaohlk fnaela khakrrikr sungngucngxangepnngukhnadihythaihmikarphthnarangkayephuxkarlaxahar aelaklunehyux thaihkaohlkkhxngngucngxangimehmuxnkbnguaelastwkinenuxchnidxun thisamarthchikehyuxxxkepnchin karkinehyuxkhxngngucngxangcaichwithikarkhyxkehyuxthngtw samarthkinehyuxthimikhnadihykwatwkhxngmnexngid enuxngcakkhakrrikrkwang odyxaccakinehyuxthimikhnadihykwatwmnid idodykarthangkradukpakaelakaohlkxxkcakkn kaohlkkhxngngucngxangthuksrangihkhangbn khanglang aelakradukkhakrrikrsamarthekhluxnipkhanghna khanghlng aelaxxkdankhangidodyxisra cakkaohlk khakrrikrlangcaimechuxmkbkbkhang samarthxxkipkhanghnaid emuxtxngkar khyxkehyuxmathikhxhxy ngucngxangmiekhiyw 2 ekhiywthiihyaelaaekhngaerngkwafnxun aelamifnthikhangkrrikrlang odycaxyuchnnxk swnfnbnchnin samarthichfnxxkmangbehyuxidxyangrwderw dungehyuxekhaipinpak aelakhyxklngip ekhiywkhxngngu caaetktangcakfnichplxyphis aebngepn 2 klumkhux Opistoglyphous hrux Rear Fanged Proteroglyphous hrux Front Fanged sung Rear Fanged Snakes cami 3 sayphnthu inwngskhxng Colubird camiekhiyw 1 khu swn Front Fanged Snakes khuxphwk Burrowing Asps Cobra Mamba aela Kraits Cobra aela Viper Fangs khnadaelaruprang ngucngxangmilksnaaelaruprangthiehmuxn kn khuxmikhnadkhxnglatwihyaelayaw caaetktangknephiyngelknxyineruxngkhxngkhnad sungekidcakcakwiwthnakarkhxngsayphnthuaelathrrmchatiepnphukahnd ngucngxangepnnguphisthimikhnadihy mitaklmsidaichsarwchaehyuxthixyuinrayaiklid sungkarthingucngxangmikhnadihy saehtuhlkenuxngmacaktxngkarxaharinkardarngchiphmak aetmikhxcakddwykhnadtwthimikhnadihy thaihkarlaxaharinbangkhrngxacepnipdwykhwamyaklabak aelaineruxngkarprbxunhphumiinrangkaykhwamihykhxngrangkaythaihtxngichewlainkarprbxunhphumiepnewlanan rwmthngphvtikrrmkarla haxahar aelasubphnthu samarthkhuntnimaelaxasykhwamerwinkarcuocmehyux odyichhanginkarekaaekiywtnim thaihsamarthhxytwlngipdungkingkahruxnkcaktnimid sisnkhxngekld siekldkhxngngucngxang ngucngxangmihlaysi ekldkhxngngucngxangcaepliynsiodykhunxyukbsphaphphumipraethsaelathinthixyuxasy odypktithwipcaepliynsisnkhxngekldidelknxy ihklmklunkbsphaphphumipraethsaelasingaewdlxm ephuxepnkarxaphrangtwexngcakehyuxhruxstru swnmakekldcamisinatalxxn ehluxngxmnatal natalaekxmda ethaxmda ekhiywmakxk khawkhrimxmehluxngxxn aelakhawngachangepnsisnkhxngekldmatrthankhxngngucngxang briewnthxngkhxngngucngxangcaepnsixxn mikhxbekldsidalksnaepnplxngkhaw mxngkhlayesnelk tamkhwangxyuthibriewnekld epnrayatlxdthwthnglatw tampktithaimsngektcamxngimkhxyehn nxkesiycakewlaokrthhruxaephaemebiy thaihlatwphxngaelakhyayekldxxkma hruxewlaklunkinehyuxcnekldbriewnthxngkhyayxxkcnehnidchd tampktiplxngsikhawnicasamarthmxngehnidxyangchdecninngucngxangtwxxnthimikhnadelk ngucngxangephsphucamisisnthiaetktangcakngucngxangephsemiy tampkticamisismaekphadkhwangbriewnitlakhx rxbkhunmacnthungbriewnlakhxaelwkhxy canglngcnklayepnsiehluxngxxn eriykkntamphasachawbanwangukhxaedng sungcaimmiinngucngxangephsemiy sungcamisiehluxngxxncnsid sisnkhxngekldimswysdaelaekhmehmuxnkbngucngxangephsphu sungcamisiehluxngxxnbriewnitkhangaelarimfipaklang swnngucngxangephsemiycamisikhawkhrim aelaemuxkhdtwtamthrrmchati sisnkhxngekldinswnxun camxngimkhxyehn aetcasamarthsngektehnsikhawbriewnitkhangidxyangchdecn thaihsamarthaeykaeykidwatwihnephsphuephsemiykarsubphnthungucngxangsubphnthuodykarwangikhpila 1 khrng odymivduphsmphnthuthiaennxn inrawtnvdurxnrahwangeduxnminakhm emsayn wangikhkhrnglapraman 20 30 fxng makthisudkhuxpraman 45 fxng emuxthungvduphsmphnthu ngucngxangtwphucaeluxyekhahangucngxangtwemiythiphrxmkarphsmphnthu sunginaetlakhrngkarekhahangucngxangtwemiynn ngucngxangtwphuhlay twcathakartxsuknephuxaeyngchingngucngxangtwemiy Combat Dance odywithikarchkkdaelaichlatwkxdrdkn kdihkhutxsuthiephliyngphlaxyudanlangihxxnaernginlksnakhlaykbmwypla phldknrukphldknrbaetcaimmikarchkkdkncnthungtay emuxngucngxangtwphutwidxxnaerngkxn kcayxmaephaelaeluxyhniip ngucngxangtwemiyemuxidrbkarphsmphnthuaelw camirayaewlakartngthxngnanpraman 25 70 wn odythwiplksnakhxngikhngucngxang camilksnaepnrupthrngikhhruxrupthrngriyaw misikhawthungsikhrim epluxkikhkhxnkhangnimaetimaetk Leathery aelacamikhnesnelk briewnepluxkikhsahrbdudsbkhwamchunphayinrng ikhkhxngngucngxangcaimtidknepnaephehmuxnkbikhkhxngnguchnidxun mikhnadpraman 3 50 6 00 esntiemtr lksnakhlayikhepdaelacafkxxkmaepntwxxnintxntnkhxngvdufnpramaneduxnmithunayn krkdakhm kxnkarwangikh ngucngxangtwemiycaichlatwkwadessibimrwng makxngsumkn ephuxthaepnrngsahrbwangikhihepnhlumlukethakbkhdhangodyichibimaehngrxngphun aelahlngcakwangikhesrceriybrxyaelwkcaichessibimkhlumikhxikchnhnung ephuxepnkarpxngknikhcakstruxunechnmnusy aelacakhxyefahwngaeladuaelikhodykarnxnkhdthbbnrngefaikhkhxngmntlxdewlaodyimyxmxxkiphaxahar sungphidkbnguchnidxun thiswnmakmkcathingikhiwphayinrng ihfkxxkmaepntwexngodyimehliywaelkhxyduaelaelapkpxng ngucngxangtwphuinvduphsmphnthu caepnyamefarngaelaxyuikl briewnrng inkhnathingucngxangtwemiycaxyuaetphayinrng sunginvdukalphsmphnthuaelawangikhcaepnchwngthingucngxangdumakepnphiess cakhxyilphuthiedinthangphanrngkhxngmn swnngucngxangtwemiycaxyukbikhphayinrng imkwdil emuxngucngxangtwemiyfkikh cakhxyefaduaelaelarksaikhthisxnxyuinrngephuxihplxdphycakstruthukchnid emuxlukngufkepntwxxnhruxnguthiyngimotetmwy phngphxnepnstrutwchkac aelamichamd xiehnaelaehyiywrungkhxyilla nxkcakniyngmiekaakddudeluxdlukngucngxangxikdwy lukngucngxangaerkfkxxkcakikh camikhnadkhxnglatwyawpraman 50 esntiemtr otethakbniwmux odythwiphakimekhyruckhruxphbehnlukngucngxangmakxn caekhaicwaepnnguekhiywdxkhmakhruxnguplxngchnwnlaw enuxngcakmxngdukhlaykhlungkn aetcamilksnasakhythiaetktangkhux mikhwamduraytngaetyngelk emuxphbehnsingidphidaeplk caaephaemebiyxyutlxdewla etriymphrxmkarcuocmthnthi thungaemcaepnephiynglukngucngxangaetphiskhxngmnksamarththaihkhnhruxstwtayid latwepnsidaaelamilaysiehluxngkhadkhwangtamlatwepnraya erimtngaetplayhwcnsudplayhang briewndanthxngcaepnsiehluxngxxn sungcaepliynsikhxnglatwemuxlukngucngxangekhasurayakhxngtwetmwy emuxmikhnadkhxnglatwpraman 0 8 1 emtr lukngucngxangemuxlxkkhrabihm camisisnkhxngekldthixxnsdis mxngduepnmneluxm sungcakhxy phnaeprsisnkhxngekldihepnsiekhmthwthnglatw lksnakhxngekldcadan thibriewndwngtacafakhawmw aelacalxkkhrabihmxikkhrng epnechnnitlxdipthinxasyaelakarlaehyuxngucngxangmikarkracayphnthutlxdthngexechiyit exechiytawnxxkechiyngit aelaphunthithangtxnitkhxngexechiytawnxxk phakhitkhxngpraethscin thisungphbehnidimbxynk ngucngxangepnngupaodykaenidxyangaethcring odycaxyuknepnkhu xasyxyuinradbsungkwanathaelidthung 2 000 emtr bnphuekhahruxinpaim ngucngxangcaxasyxyuinaehlngnalathar tambriewnsxkhinhruxinophrngim hruxinpaiphthubthimiiphtnetiy canwnmak rwmthnginbriewnpaimthimikhwamchunaechathimikhwamxbxun aelamitnimsung hnathub aetimichpadngdibthiimkhxymiaesngswangsxnglxdphanmasuphundin aelaxakasxbchun ngucngxangsamarthkhuntnimidepnxyangdiaelarwderw aettampktiaelwmkcaxyutamphundinmakkwaxyubntnim ngucngxangepnnguthixxklaehyuxidthnginewlaklangwnthimiaesngaeddimrxncdmaknk aelainewlaphlbkha odycaeluxyxxkiphaehyuxtamthinxasythimixaharchukchum xaharhlkkhxngngucngxangkhuxnguchnidxun echn hruxaemkrathngnguehluxmtwelk thimikhnadimotnk nxkcakcakinngudwyknexngaelw inbangkhrngngucngxangxaccakinstwcaphwktakwd kingka tukaek ehiy epnxaharxikdwy hruxaeminbangkhrngngucngxangkkinlukngucngxangdwyknexng ekhymiphuyingngucngxangephsphuid aelaemuxphathxngxxkphblukngucngxangxyuinnn aesdngwangucngxangkinaemkrathngngucngxangdwykn ephiyngaetyngelkxyuethann aetemuxotetmwykyngimekhyphbwangucngxangkinngucngxangdwyknexng karlaehyuxkhxngngucngxangcaichwithisumrxkhxyehyuxinsthanthithiehyuxxasyxyu emuxehyuxeluxyhruxphanekhamainbriewnthingucngxangsumdkrxkhxy caphungtwekhakdthibriewnlakhxkhxngehyuxxyangrwderw aelwcbkinepnxahar ngucngxangsamarthklunehyuxthimikhnadihykwatwkhxngmnexngidthngtw odyerimkarbriewnsirsakhxngehyux khxy khyxkekhaipinpakcnkrathnghmd aelahlngcakkarlaehyuxesrcsinlng ngucngxangcatxnghaaehlngnaephuxdumnahlngcakthikinehyuxeriybrxyaelwkarxnurksinexechiytawnxxkechiyngit ngucngxangthukkhukkhamodykarthalayaehlngthixyuxasyxnenuxngmacakkartdimthalaypaaelakarkhyayphunthiekstrkrrm aelayngthuklaephuxexaenuxaelaphiwhnngipepnxahar aelathukichephuxprungepnyacinobran ngucngxangmichuxxyuin xnusyyawadwykarkharahwangpraethssungchnidstwpaaelaphuchpathiiklsuyphnthu idrbkarkhumkhrxnginhlaypraeths odyinxinediyxyuphayitphrarachbyytikhumkhrxngstwpapraephththi 2 ph s 2515 sungkarkhangucngxangmiothscakhukimekinhkpi aelainpraethsithythuxepnstwpakhumkhrxng tamphrarachbyytisngwnaelakhumkhrxngstwpa ph s 2535 nxkcakni yngmikarxxkkdhmaykhumkhrxnginewiydnamaelacinduephimnguphisraykarxangxingxangxingStuart B Wogan G Grismer L Auliya M Inger R F Lilley R Chan Ard T Thy N Nguyen T Q Srinivasulu C Jelic D 2012 Ophiophagus hannah IUCN Red List of Threatened Species 2012 e T177540A1491874 doi 10 2305 IUCN UK 2012 1 RLTS T177540A1491874 en subkhnemux 20 November 2021 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 04 04 subkhnemux 2007 04 05 King cobra facts and photos Animals phasaxngkvs 2010 09 10 9 of the World s Deadliest Snakes Encyclopedia Britannica phasaxngkvs Chanhome L Cox M J Vasaruchapong T Chaiyabutr N and Sitprija V 2011 Characterization of venomous snakes of Thailand Asian Biomedicine 5 3 311 328 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk iphbuly cintkul 2547 hna 109 Capula Massimo 1989 Simon amp Schuster s Guide to Reptiles and Amphibians of the World New York Simon amp Schuster ISBN 0671690981 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a imruckpharamietxr coauthors thuklaewn aenana author help Ophitoxaemia venomous snake bite subkhnemux 2007 09 05 Sean Thomas One most Dangerous Snakes in the World subkhnemux 2007 09 05 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 05 07 subkhnemux 2007 04 05 hna 29 khawthwithy ekhasuny dinaednxathrrphinxdit mioxkasidsiththiphthnaepnaehlngthxngethiywhruxim ody nphdl khcrcarukul edliniwschbbthi 23 384 cnthrthi 21 tulakhm 2556 aerm 2 kha eduxn 11 pimaesng King Cobra National Reptile of India www indiamapped com https archive org details venomousreptiles0000mint Platt S G Ko W K and Rainwater T R 2012 On the Cobra Cults of Myanmar Burma Chicago Herpetological Society 47 2 17 20 King Cobra faces loss of habitat Deccan Herald phasaxngkvs 2012 06 29 Jul 2 B Sivakumar TNN Updated 2012 Ist 03 02 King cobra under threat put on red list Chennai News Times of India The Times of India phasaxngkvs a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint extra punctuation CS1 maint numeric names authors list lingk lksnaetriymphrxmcuocm ekrdkhwamrueruxngngucngxangcakephchrphraxuma iphbuly cintkul 2547 hna 101 iphbuly cintkul 2547 hna 147 cudprakay 7 NOW26 Feature prisnaaehngtanan ngucngxangtamhakhu ody nikh niruthth chmngam krungethphthurkicpithi 29 chbbthi 10541 wnphuththi 2 singhakhm ph s 2560 nguphis phisthalayrabbprasath ruipomd nachati prachachun wnthi 05 emsayn 2550 lingkesiy Snake of medical importance Singapore Venom and toxins research group khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2007 04 29 subkhnemux 2007 04 05 iphbuly cintkul 2547 hna 31 iphbuly cintkul 2547 hna 37 iphbuly cintkul 2547 hna 38 iphbuly cintkul 2547 hna 100 110 iphbuly cintkul 2547 hna 81 Miller Harry September 1970 The Cobra India s Good Snake National Geographic 20 393 409 iphbuly cintkul 2547 hna 119 iphbuly cintkul 2547 hna 113 https www iucnredlist org species 177540 1491874 web archive org 2013 02 01 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 02 01 subkhnemux 2021 10 04 brrnanukrmcintkul iphbuly 2547 nguphisinpraethsithy sankphimphmtichn ISBN 974 323 241 9 aehlngkhxmulxunwikimiediykhxmmxnsmisuxthiekiywkhxngkb Ophiophagus hannah hmwdhmu wikispichismikhxmulphasaxngkvsekiywkb Ophiophagus hannah Ophiophagus hannah Research and Information