กุลา, กุหล่า หรือ คุลา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทและปะโอ (หรือ กะเหรี่ยงดำ) ที่อพยพจากรัฐฉาน รัฐมอญ ประเทศพม่า หรือมณฑลยูนนาน ประเทศจีน อพยพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศไทยในช่วงสามทศวรรษสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และบางส่วนตั้งถิ่นอยู่ในจังหวัดไพลิน ทางตะวันตกของประเทศกัมพูชา ในฐานะกองคาราวานพ่อค้าเร่ หรือนักค้าอัญมณี ทำการค้าขายกับหัวเมืองสำคัญต่าง ๆ
ระบำนกยูง ซึ่งชาวกัมพูชารับอิทธิพลจากของชาวกุลาในจังหวัดไพลิน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
ประเทศไทย · ประเทศลาว · ประเทศกัมพูชา | |
ภาษา | |
ไทยถิ่นอีสาน · เขมร อดีต: ไทใหญ่ · ปะโอ | |
ศาสนา | |
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ไทใหญ่ · ปะโอ · พม่า · มอญ · |
แต่เดิมชาวกุลามีรูปพรรณเช่นเดียวกับชาวพม่า มีศิลปกรรมในการสร้างศาสนสถาน พระพุทธรูป และการใช้อักษรอย่างเดียวกับพม่า แต่ในปัจจุบันชาวกุลาเริ่มกลืนไปกับวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ตนอาศัยอยู่ เช่น ชาวกุลาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่หันไปรับวัฒนธรรมลาวอีสานแทน
ศัพทมูลวิทยา
ในพจนานุกรมไทยระบุว่า กุลา มีความหมายว่า "ชนชาติต้องสู้และไทใหญ่, กุลา หรือ คุลา ก็ว่า" และปรากฏคำว่า คุลา เป็นชื่อการละเล่นคือ และกลอนกลบทชื่อว่า ซึ่งเป็นคำเรียกที่มีมาช้านานแล้ว ทั้งนี้ กุลา จากคำพม่าว่า กุลา (พม่า: ကုလား) เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอินเดียในเชิงเหยียดหยัน ในอดีตใช้เรียกทั้งชาวอินเดียและชาวยุโรป สอดคล้องกับภาษาไทยถิ่นเหนือที่มีคำว่า กุลวา ใช้เรียกชาวอินเดีย และ กุลวาขาว ใช้เรียกชาวฝรั่งตะวันตก ในภาษาไทยถิ่นอีสาน กุลา แปลว่า "กุหล่า ชนจำพวกต้องสู้เรียก กุลา กุลากับม่านก็คือชนชาติพม่า ผู้ชายพม่าชอบสักขาและสักคอ สีที่ใช้สักชอบใช้สีชาด สีชาดอีสานเรียก น้ำหาง ลายที่สักจะมีสีแดง ดังนั้นคนอีสานจึงเรียกพม่าว่ากุลาขาก่าน ม่านคอลายใบหูของผู้ชายพม่าชอบเจาะรูหูสำหรับใส่ต้างหรือกระจอนยอย" ส่วน กุหล่า ในภาษาลาว มีความหมายว่า "กลุ่มชนที่มาจากพม่าตอนเหนือ" และ กุฬา (កុឡា, ออกเสียง โกะลา) ในภาษาเขมร มีความหมายว่า "ชาวพม่า" หรือ "ชนชาติหนึ่งที่อยู่ในพม่า"
ขณะที่ชื่อ ตองสู, ต่องสู่ และ ต้องสู้ เป็นคำที่ใช้เรียกชาวกุลาได้เช่นกัน มาจากคำว่า ตองสู (တောင်သူ) เป็นชื่อเรียกชาวปะโอ หรือกะเหรี่ยงดำ ซึ่งเป็นชนชาติที่ขยันและซื่อสัตย์ ชาวไทใหญ่มักเลือกชนเผ่านี้มาร่วมเดินทางจากพม่าเพื่อค้าขายทางไกลด้วยเสมอ ทั้งนี้ชาวกุลาบางส่วนปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้สืบเชื้อสายจากชาวปะโอหรือกะเหรี่ยงดำ หากแต่ยอมรับว่าบรรพบุรุษของตนใช้นามสกุลต่องสู่
ประวัติ
จากงานวิจัยของสุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559) พบว่าปูมหลังของชาวกุลา แบ่งได้สี่กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมาจากปริมณฑลรอบเมืองตองยีในรัฐฉาน กลุ่มที่สองมาจากทางใต้ของเมืองมะละแหม่ง (เอกสารเก่าเรียก มรแม) และเมาะตะมะในรัฐมอญ กลุ่มที่สามมาจากเมืองก่อกะเระ (เอกสารเก่าเรียก ขุกคิก) ในรัฐกะเหรี่ยง และกลุ่มที่สี่มาจากบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ดังจะพบว่า ชาวกุลาจำนวนไม่น้อยเรียกแทนตัวเองว่า ต้องสู้ (คือปะโอ) แต่บางกลุ่มเรียกตนเองว่า ไต (คือไทใหญ่) จากการสืบเสาะข้อมูลลูกหลานชาวกุลาในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าบางส่วนมีเครือญาติที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีลูกหาบที่ติดตามมากับชาวกุลาเป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง พบหลักฐานการเดินทางของพ่อค้าเร่ชาวกุลาเก่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2381 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เข้าไปค้าขายทางเมืองเชียงใหม่ ตาก สวรรคโลก และกำแพงเพชร และมีหลักฐานการเข้าไปค้าขายของชาวกุลาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ดังปรากฏเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างชาวกุลากับเจ้าเมืองร้อยเอ็ด และบานปลายไปถึงการห้ามขายโคกระบือแก่คนต่างด้าว ทำให้ชาวกุลาประสบปัญหาทางธุรกิจมาก
หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 ชาวกุลาซึ่งเป็นคนในบังคับของสหราชอาณาจักรจะได้รับการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกด้านการค้าจากรัฐบาลสยาม ทำให้ชาวกุลาเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว พวกเขาดำเนินกิจกรรมการค้าตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น ตาก เชียงใหม่ แพร่ ลำพูน ลำปาง น่าน นครสวรรค์ สวรรคโลก ลพบุรี หล่มสัก และนครราชสีมา โดยต้องการสินค้าสำคัญ เช่น ช้าง งาช้าง เขาสัตว์ ไม้ซุง ไหม และโคกระบือไปขายที่เมืองพม่า โดยชาวกุลาจะเดินทางเป็นหมู่คณะ มีการพกปืนและดาบเป็นอาวุธประจำกาย ชาวกุลามักนำสินค้ามาขายแก่เศรษฐีและคนจีนในท้องถิ่นต้องการ เช่น ฝิ่น ฆ้อง ผ้า ไหมดิบ ดาบ มีด เครื่องเงิน สีย้อมผ้า ด้วยการแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราหรือแลกกับสิ่งของมีค่ามีราคา เช่น เขาสัตว์ สัตว์พาหนะ และสินค้าพื้นเมืองเป็นอาทิ โดยมีเส้นทางเกวียนห้าเส้นทางที่ชาวกุลาสามารถเข้าไปค้าขายยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใน คือ เส้นทางดงพญาไฟออกไปปากเพรียว สระบุรี เส้นทางไปบ้านสนามช้าง ลพบุรี เส้นทางช่องตะโกออกไปทางกบินทร์บุรี เส้นทางมะละแหม่งออกไปทางตาก และเส้นทางเขมรผ่าน สุรินทร์ ออกไปทางเมืองศรีโสภณ นอกจากนี้ยังมีชาวกุลาตั้งถิ่นฐานและค้าเพชรพลอยจำนวนมาก จากรายงานของกงสุลอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2432 พบว่า มีชาวกุลาในจังหวัดตราด 3,000 คน และจังหวัดพระตะบอง 2,000 คน ครั้น พ.ศ. 2439 พบว่ามีชาวพม่าและกุลาอาศัยอยู่ในจังหวัดไพลินมากถึง 1,500 คน หลังจากนั้นก็โยกย้ายเข้าสู่จังหวัดจันทบุรีหลัง พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
ในเวลาต่อมาชาวหรือกุลาหรือตองสู้จำนวนไม่น้อยเป็นเขยสู่หรือเขยลาวเพราะสมรสกับหญิงลาวในท้องถิ่น พบการตั้งถิ่นฐานแพร่หลายทั่วไป โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และภาคตะวันออก ได้แก่ อำเภอเขาสมิง และอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ส่วนในประเทศกัมพูชาพบในจังหวัดไพลิน พระตะบอง และสตึงเตรง ซึ่งวัฒนธรรมของพวกเขาในกัมพูชาใกล้สูญหายหลังผ่านยุคเขมรแดงเป็นต้นมา พวกเขากลายเป็นเป้าสังหารไม่ต่างจากชาวญวนหรือจาม ทำให้ชาวกุลาบางส่วนอพยพออกจากพื้นที่ไปยังพนมเปญหรือสหรัฐ รวมทั้งการสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวเขมรและไทย
ภาษา
ชาวกุลาบางกลุ่มใช้ภาษากะเหรี่ยงผสมพม่าในการสื่อสาร และใช้อักษรอย่างพม่าในการเขียน แต่ใช้กันจำกัดจำเพาะในกลุ่มชาวกุลารุ่นแรกด้วยกันเท่านั้น ไม่นิยมถ่ายทอดวัฒนธรรมทางภาษาแก่ลูกหลาน ด้วยเหตุนี้ลูกหลานชาวกุลาจึงไม่สามารถใช้ภาษากุลาได้อีก และรับอิทธิพลวัฒนธรรมลาวอีสานแทนที่ ส่วนชาวกุลาในจังหวัดจันทบุรีในประเทศไทย จังหวัดไพลิน และจังหวัดสตึงเตรงในประเทศกัมพูชา จะใช้ภาษาไทใหญ่เป็นหลัก มีบ้างที่ใช้ภาษาลูกผสมระหว่างไทใหญ่กับไทยถิ่นเหนือ แต่ปัจจุบันภาษากุลาในกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยสูงมาก และชาวกุลามักใช้ภาษาลาวในการดำเนินธุรกิจ
วัฒนธรรม
ชาวกุลาในจังหวัดอุบลราชธานีมีอาหารที่นิยมบริโภคในครัวเรือน เช่น จอผักกาด น้ำพริกอ่อง ถั่วเน่า แกงฮังเล เจียวใบมะขามอ่อนใส่กระเทียมหรือหอมเจียวโรยเกลือ นิยมดื่มชาทุกวันช่วงพลบค่ำ มีการรับประทานข้าวเหนียวและปลาร้าเป็นครั้งคราว และมีอาหารประยุกต์กับวัฒนธรรมพื้นเมือง คือ ต้มปลาใส่น้ำปลาร้าและใบมะขามอ่อน ชาวกุลาไม่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่อย่างวัวและควาย รวมทั้งไม่บริโภคสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น เขียด กบ งู กิ้งก่า และปลาไหล ส่วนชาวกุลาในประเทศกัมพูชามีอาหารขึ้นชื่อคือ (មីកុឡា) นอกนั้นเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากชาติอื่น เช่น ต้มยำของไทย
ส่วนการแต่งกายของชาวกุลาในจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่ยังอนุรักษ์การแต่งกายอย่างเดิมไว้ คือ การสวมเสื้อทรงจีนแบบมีกระดุม นุ่งกางเกงขาก๊วย มวยผมยาว ครั้นจะออกนอกเคหสถานก็จะใช้ผ้าโพกศีรษะ นอกจากนี้ยังมีขนบธรรมเนียมบางประการที่ได้รับอิทธิพลจากไทใหญ่ เช่น การบวชลูกแก้ว การรำมองเซิง และการออกพรรษาแบบกุลา กระทำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2405 และยกเลิกไปใน พ.ศ. 2470 ทั้งนี้การรำมองเซิงจะมีการแต่งกายแบบชาวปะโอ และมีท่วงท่าการรำที่ช้ากว่าคนปะโอเล็กน้อย
ในจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา มีการระบำนกยูงซึ่งได้อิทธิพลจากการฟ้อนกิงกะหร่า โดยจะมีการระบำเพื่อบูชาผียายยาต หรือชื่อภาษากุลาว่าเซน ติน (Sein Tin) ที่บนวัดพนมยาต ตามความเชื่อชาวบ้าน
อ้างอิง
- สุจิตต์ วงษ์เทศ (10 สิงหาคม 2559). "สุจิตต์ วงษ์เทศ ไปอุบล พบคนกุลา (ทุ่งกุลาร้องไห้) เชื้อสายไทยใหญ่ในพม่า". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - ติ๊ก แสนบุญ (22 ตุลาคม 2564). "ศิลปะงานช่างคนกุลาอีสาน…ทำไมถึงเป็นไทยใหญ่…!?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-24.
{{}}
: CS1 maint: archived copy as title () - "กุลา". อีสานร้อยแปด. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - สุรีย์ฉาย สุคันธรัต (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560). มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1:2), หน้า 24
- สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 336
- สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 337
- อิสริยะ นันท์ชัย และโชติมา จตุรวงศ์ (2562). สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอ (ต่องสู้) ในประเทศไทยและเมืองสะเทิม ประเทศพม่า. หน้าจั่ว (16:1), หน้า 15
- ศิริพร แดงตุ้ย (2553). (PDF). มหาวิทยาลัยบูรพา. p. 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-13. สืบค้นเมื่อ 2022-02-13.
- "กุหล่าเมืองจันท์". วารสารเมืองโบราณ. 26 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 339
- สุรีย์ฉาย สุคันธรัต (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560). มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1:2), หน้า 27
- สุรีย์ฉาย สุคันธรัต (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560). มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1:2), หน้า 28
- สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 346
- "ทุ่งกุลาร้องไห้ บนเส้นทางการค้า กับโลกของชาว "กุลา" พ่อค้าเร่แห่งอีสาน". ศิลปวัฒนธรรม. 17 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - สุรีย์ฉาย สุคันธรัต (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560). มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1:2), หน้า 29
- สุรีย์ฉาย สุคันธรัต (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560). มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1:2), หน้า 28
- สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 361
- Ben Kiernan, The Pol Pot Regime: Race, Power and Genocide in Cambodia under the Khmer Rouge, 1975-1979. Page 300
- Simon Lewis & Phorn Bopha (9 มกราคม 2558). "The Kola of Cambodia". The Irrawady. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2565.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - โมไนย-พจน์ (13 กันยายน 2556). "ไทย (โคราช) พลัดถิ่นที่บ้านไพรขะปั๊ว (ឃុំព្រៃខ្ពស់ ป่าสูง) พระตะบอง กัมพูชา". OK Nation. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2564.
{{}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
((help)) - สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 352
- สุธิดา ตันเลิศ และพัชรี ธานี (2559). ประวัติศาสตร์กุลา. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (12:1), หน้า 360
- สุรีย์ฉาย สุคันธรัต (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560). มองเชิง : ศิลปวัฒนธรรมไทยกุลาบ้านโนนใหญ่สายใยจากเผ่าปะโอในเมียนมาร์. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (1:2), หน้า 34
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
kula kuhla hrux khula epnklumchatiphnthuithaelapaox hrux kaehriyngda thixphyphcakrthchan rthmxy praethsphma hruxmnthlyunnan praethscin xphyphekhasuphakhtawnxxkechiyngehnuxaelaphakhtawnxxkkhxngpraethsithyinchwngsamthswrrssudthaykhxngkhriststwrrsthi 19 aelabangswntngthinxyuincnghwdiphlin thangtawntkkhxngpraethskmphucha inthanakxngkharawanphxkhaer hruxnkkhaxymni thakarkhakhaykbhwemuxngsakhytang kularabankyung sungchawkmphucharbxiththiphlcakkhxngchawkulaincnghwdiphlinphumiphakhthimiprachakrxyangminysakhypraethsithy praethslaw praethskmphuchaphasaithythinxisan ekhmr xdit ithihy paoxsasnasasnaphuththnikayethrwathklumchatiphnthuthiekiywkhxngithihy paox phma mxy aetedimchawkulamirupphrrnechnediywkbchawphma misilpkrrminkarsrangsasnsthan phraphuththrup aelakarichxksrxyangediywkbphma aetinpccubnchawkulaerimklunipkbwthnthrrmphunemuxngthitnxasyxyu echn chawkulainphakhtawnxxkechiyngehnuxkhxngithythihniprbwthnthrrmlawxisanaethnsphthmulwithyainphcnanukrmithyrabuwa kula mikhwamhmaywa chnchatitxngsuaelaithihy kula hrux khula kwa aelapraktkhawa khula epnchuxkarlaelnkhux aelaklxnklbthchuxwa sungepnkhaeriykthimimachananaelw thngni kula cakkhaphmawa kula phma က လ epnkhathiicheriykchawxinediyinechingehyiydhyn inxditicheriykthngchawxinediyaelachawyuorp sxdkhlxngkbphasaithythinehnuxthimikhawa kulwa icheriykchawxinediy aela kulwakhaw icheriykchawfrngtawntk inphasaithythinxisan kula aeplwa kuhla chncaphwktxngsueriyk kula kulakbmankkhuxchnchatiphma phuchayphmachxbskkhaaelaskkhx sithiichskchxbichsichad sichadxisaneriyk nahang laythiskcamisiaedng dngnnkhnxisancungeriykphmawakulakhakan mankhxlayibhukhxngphuchayphmachxbecaaruhusahrbistanghruxkracxnyxy swn kuhla inphasalaw mikhwamhmaywa klumchnthimacakphmatxnehnux aela kula ក ឡ xxkesiyng okala inphasaekhmr mikhwamhmaywa chawphma hrux chnchatihnungthixyuinphma khnathichux txngsu txngsu aela txngsu epnkhathiicheriykchawkulaidechnkn macakkhawa txngsu တ င သ epnchuxeriykchawpaox hruxkaehriyngda sungepnchnchatithikhynaelasuxsty chawithihymkeluxkchnephanimarwmedinthangcakphmaephuxkhakhaythangikldwyesmx thngnichawkulabangswnptiesthwatnexngimidsubechuxsaycakchawpaoxhruxkaehriyngda hakaetyxmrbwabrrphburuskhxngtnichnamskultxngsuprawticaknganwicykhxngsuthida tnelis aelaphchri thani 2559 phbwapumhlngkhxngchawkula aebngidsiklum khux klumaerkmacakprimnthlrxbemuxngtxngyiinrthchan klumthisxngmacakthangitkhxngemuxngmalaaehmng exksarekaeriyk mraem aelaemaatamainrthmxy klumthisammacakemuxngkxkaera exksarekaeriyk khukkhik inrthkaehriyng aelaklumthisimacakbriewnphakhehnuxkhxngpraethsithy dngcaphbwa chawkulacanwnimnxyeriykaethntwexngwa txngsu khuxpaox aetbangklumeriyktnexngwa it khuxithihy cakkarsubesaakhxmullukhlanchawkulaincnghwdxublrachthani phbwabangswnmiekhruxyatithicnghwdaemhxngsxn aelamilukhabthitidtammakbchawkulaepnchawcnghwdechiyngihmaelalapang phbhlkthankaredinthangkhxngphxkhaerchawkulaekasudemux ph s 2381 trngkbrchsmyphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw thiekhaipkhakhaythangemuxngechiyngihm tak swrrkholk aelakaaephngephchr aelamihlkthankarekhaipkhakhaykhxngchawkulainphakhtawnxxkechiyngehnuxkhxngithy dngprakteruxngrawkhwamkhdaeyngrahwangchawkulakbecaemuxngrxyexd aelabanplayipthungkarhamkhayokhkrabuxaekkhntangdaw thaihchawkulaprasbpyhathangthurkicmak hlngsnthisyyaebawringmiphlbngkhbichemuxwnthi 5 emsayn ph s 2399 chawkulasungepnkhninbngkhbkhxngshrachxanackrcaidrbkarchwyehluxaelaxanwykhwamsadwkdankarkhacakrthbalsyam thaihchawkulaephimcanwnxyangrwderw phwkekhadaeninkickrrmkarkhatamhwemuxngtang echn tak echiyngihm aephr laphun lapang nan nkhrswrrkh swrrkholk lphburi hlmsk aelankhrrachsima odytxngkarsinkhasakhy echn chang ngachang ekhastw imsung ihm aelaokhkrabuxipkhaythiemuxngphma odychawkulacaedinthangepnhmukhna mikarphkpunaeladabepnxawuthpracakay chawkulamknasinkhamakhayaekesrsthiaelakhncininthxngthintxngkar echn fin khxng pha ihmdib dab mid ekhruxngengin siyxmpha dwykaraelkepliyndwyengintrahruxaelkkbsingkhxngmikhamirakha echn ekhastw stwphahna aelasinkhaphunemuxngepnxathi odymiesnthangekwiynhaesnthangthichawkulasamarthekhaipkhakhayyngphakhtawnxxkechiyngehnuxtxnin khux esnthangdngphyaifxxkippakephriyw sraburi esnthangipbansnamchang lphburi esnthangchxngtaokxxkipthangkbinthrburi esnthangmalaaehmngxxkipthangtak aelaesnthangekhmrphan surinthr xxkipthangemuxngsriosphn nxkcakniyngmichawkulatngthinthanaelakhaephchrphlxycanwnmak cakrayngankhxngkngsulxngkvsemux ph s 2432 phbwa michawkulaincnghwdtrad 3 000 khn aelacnghwdphratabxng 2 000 khn khrn ph s 2439 phbwamichawphmaaelakulaxasyxyuincnghwdiphlinmakthung 1 500 khn hlngcaknnkoykyayekhasucnghwdcnthburihlng ph s 2498 epntnma inewlatxmachawhruxkulahruxtxngsucanwnimnxyepnekhysuhruxekhylawephraasmrskbhyinglawinthxngthin phbkartngthinthanaephrhlaythwip odyechphaainphakhtawnxxkechiyngehnux echn xaephxkuchinarayn cnghwdkalsinthu xaephxkhachaxi cnghwdmukdahar aelaxaephxekhuxngin cnghwdxublrachthani aelaphakhtawnxxk idaek xaephxekhasming aelaxaephxbxir cnghwdtrad swninpraethskmphuchaphbincnghwdiphlin phratabxng aelastungetrng sungwthnthrrmkhxngphwkekhainkmphuchaiklsuyhayhlngphanyukhekhmraedngepntnma phwkekhaklayepnepasngharimtangcakchawywnhruxcam thaihchawkulabangswnxphyphxxkcakphunthiipyngphnmepyhruxshrth rwmthngkarsmrskhamchatiphnthukbchawekhmraelaithyphasachawkulabangklumichphasakaehriyngphsmphmainkarsuxsar aelaichxksrxyangphmainkarekhiyn aetichkncakdcaephaainklumchawkularunaerkdwyknethann imniymthaythxdwthnthrrmthangphasaaeklukhlan dwyehtunilukhlanchawkulacungimsamarthichphasakulaidxik aelarbxiththiphlwthnthrrmlawxisanaethnthi swnchawkulaincnghwdcnthburiinpraethsithy cnghwdiphlin aelacnghwdstungetrnginpraethskmphucha caichphasaithihyepnhlk mibangthiichphasalukphsmrahwangithihykbithythinehnux aetpccubnphasakulainkmphuchaidrbxiththiphlcakphasaithysungmak aelachawkulamkichphasalawinkardaeninthurkicwthnthrrmnkaesdngaelankdntrichawekhmr swmekhruxngaetngkayxyangchawkula chawkulaincnghwdxublrachthanimixaharthiniymbriophkhinkhrweruxn echn cxphkkad naphrikxxng thwena aeknghngel eciywibmakhamxxniskraethiymhruxhxmeciyworyeklux niymdumchathukwnchwngphlbkha mikarrbprathankhawehniywaelaplaraepnkhrngkhraw aelamixaharprayuktkbwthnthrrmphunemuxng khux tmplaisnaplaraaelaibmakhamxxn chawkulaimniymbriophkhenuxstwihyxyangwwaelakhway rwmthngimbriophkhstweluxykhlanhruxstwkhrungbkkhrungna echn ekhiyd kb ngu kingka aelaplaihl swnchawkulainpraethskmphuchamixaharkhunchuxkhux ម ក ឡ nxknnepnxaharthiidrbxiththiphlcakchatixun echn tmyakhxngithy swnkaraetngkaykhxngchawkulaincnghwdxublrachthani swnihyyngxnurkskaraetngkayxyangedimiw khux karswmesuxthrngcinaebbmikradum nungkangekngkhakwy mwyphmyaw khrncaxxknxkekhhsthankcaichphaophksirsa nxkcakniyngmikhnbthrrmeniymbangprakarthiidrbxiththiphlcakithihy echn karbwchlukaekw karramxngesing aelakarxxkphrrsaaebbkula krathamatngaet ph s 2405 aelaykelikipin ph s 2470 thngnikarramxngesingcamikaraetngkayaebbchawpaox aelamithwngthakarrathichakwakhnpaoxelknxy incnghwdiphlin praethskmphucha mikarrabankyungsungidxiththiphlcakkarfxnkingkahra odycamikarrabaephuxbuchaphiyayyat hruxchuxphasakulawaesn tin Sein Tin thibnwdphnmyat tamkhwamechuxchawbanxangxingsucitt wngseths 10 singhakhm 2559 sucitt wngseths ipxubl phbkhnkula thungkularxngih echuxsayithyihyinphma mtichnxxniln subkhnemux 11 kumphaphnth 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help tik aesnbuy 22 tulakhm 2564 silpanganchangkhnkulaxisan thaimthungepnithyihy silpwthnthrrm subkhnemux 11 kumphaphnth 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2008 07 24 subkhnemux 2009 05 24 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a CS1 maint archived copy as title lingk kula xisanrxyaepd subkhnemux 11 kumphaphnth 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help suriychay sukhnthrt krkdakhm thnwakhm 2560 mxngeching silpwthnthrrmithykulabanonnihysayiycakephapaoxinemiynmar warsarkhnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphtsrisaeks 1 2 hna 24 suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 336 suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 337 xisriya nnthchy aelaochtima cturwngs 2562 sthaptykrrmcxngwdpaox txngsu inpraethsithyaelaemuxngsaethim praethsphma hnacw 16 1 hna 15 siriphr aedngtuy 2553 PDF mhawithyalyburpha p 35 khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2022 02 13 subkhnemux 2022 02 13 kuhlaemuxngcnth warsaremuxngobran 26 tulakhm 2561 subkhnemux 11 kumphaphnth 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 339 suriychay sukhnthrt krkdakhm thnwakhm 2560 mxngeching silpwthnthrrmithykulabanonnihysayiycakephapaoxinemiynmar warsarkhnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphtsrisaeks 1 2 hna 27 suriychay sukhnthrt krkdakhm thnwakhm 2560 mxngeching silpwthnthrrmithykulabanonnihysayiycakephapaoxinemiynmar warsarkhnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphtsrisaeks 1 2 hna 28 suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 346 thungkularxngih bnesnthangkarkha kbolkkhxngchaw kula phxkhaeraehngxisan silpwthnthrrm 17 knyayn 2564 subkhnemux 11 kumphaphnth 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help suriychay sukhnthrt krkdakhm thnwakhm 2560 mxngeching silpwthnthrrmithykulabanonnihysayiycakephapaoxinemiynmar warsarkhnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphtsrisaeks 1 2 hna 29 suriychay sukhnthrt krkdakhm thnwakhm 2560 mxngeching silpwthnthrrmithykulabanonnihysayiycakephapaoxinemiynmar warsarkhnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphtsrisaeks 1 2 hna 28 suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 361 Ben Kiernan The Pol Pot Regime Race Power and Genocide in Cambodia under the Khmer Rouge 1975 1979 Page 300 Simon Lewis amp Phorn Bopha 9 mkrakhm 2558 The Kola of Cambodia The Irrawady subkhnemux 11 kumphaphnth 2565 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help ominy phcn 13 knyayn 2556 ithy okhrach phldthinthibaniphrkhapw ឃ ព រ ខ ពស pasung phratabxng kmphucha OK Nation subkhnemux 19 phvsphakhm 2564 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite web title aemaebb Cite web cite web a trwcsxbkhawnthiin accessdate help suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 352 suthida tnelis aelaphchri thani 2559 prawtisastrkula warsarsilpsastr mhawithyalyxublrachthani 12 1 hna 360 suriychay sukhnthrt krkdakhm thnwakhm 2560 mxngeching silpwthnthrrmithykulabanonnihysayiycakephapaoxinemiynmar warsarkhnamnusysastraelasngkhmsastr mhawithyalyrachphtsrisaeks 1 2 hna 34