การตอบสนองโดยสู้หรือหนี หรือ การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (อังกฤษ: fight-or-flight response, hyperarousal, acute stress response) เป็นปฏิกิริยาทางสรีรภาพที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เสี่ยงต่อถูกทำร้าย หรือเสี่ยงต่อชีวิต โดยมี ศ. นพ. วอลเตอร์ แบรดฟอร์ด แคนนอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวถึงไอเดียนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2472 ทฤษฎีของเขาแสดงว่า สัตว์ (และมนุษย์) มีปฏิกิริยาต่อภัยด้วยการทำงานในระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งช่วยเตรียมสัตว์ให้สู้หรือหนี
โดยเฉพาะก็คือ สมองส่วน adrenal medulla ซึ่งเป็นส่วนของต่อมหมวกไตจะสร้างปฏิกิริยาลูกโซ่ทางฮอร์โมนมีผลเป็นการหลั่งสารประกอบอินทรีย์แบบโมโนอะมีนคือ catecholamines โดยเฉพาะนอร์เอพิเนฟรินและอีพิเนฟริน (คือ อะดรีนาลีน) นอกจากนั้นแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงหลักคือเอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศชายหลักคือเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อเครียดคือคอร์ติซอล กับทั้งสารสื่อประสาทโดพามีนและเซโรโทนิน ก็ยังมีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์อีกด้วย
การตอบสนองเช่นนี้รู้แล้วว่าเป็นระยะแรกของกลุ่มอาการปรับตัวทั่วไป (General Adaptation Syndrome) ที่ควบคุมการตอบสนองต่อความเครียดของสัตว์มีกระดูกสันหลังและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
สรีรวิทยา
ระบบประสาทอิสระ
ระบบประสาทอิสระเป็นระบบควบคุมที่ทำงานใต้จิตสำนึกและควบคุมอัตราหัวใจเต้น การย่อยอาหาร อัตราการหายใจ การตอบสนองของรูม่านตา การถ่ายปัสสาวะ และอารมณ์เพศ เป็นระบบหลักที่ควบคุมการตอบสนองแบบสู้หรือหนี ที่อำนวยโดยส่วนประกอบสองอย่าง ดังที่จะกล่าวต่อไป
ระบบประสาทซิมพาเทติก
ระบบประสาทซิมพาเทติกเริ่มที่ไขสันหลังและทำหน้าที่หลักคือก่อความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพที่เกิดขึ้นในช่วงการตอบสนองโดยสู้หรือหนี ส่วนประกอบของระบบประสาทนี้ ใช้สารสื่อประสาทและส่งสัญญาณให้ปล่อยสารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟรินในปฏิกิริยานี้
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเริ่มจากไขสันหลังและ medulla oblongata โดยทำงานร่วมกับระบบประสาทซิมพาเทติก และทำหน้าที่หลักคือก่อการตอบสนองแบบ "พักและย่อยอาหาร" แล้วคืนสภาพร่างกายไปสู่ภาวะธำรงดุลหลังจากตอบสนองแบบสู้หรือหนี ระบบนี้ใช้สารสื่อประสาทและส่งสัญญาณให้ปล่อยสารสื่อประสาท acetylcholine
ปฏิกิริยา
ในสมอง ปฏิกิริยาเริ่มที่อะมิกดะลา ซึ่งจุดชนวนการตอบสนองในไฮโปทาลามัส ปฏิกิริยาเบื้องต้นจะตามด้วยการทำงานของต่อมใต้สมอง (pituitary gland) และการปล่อยฮอร์โมน Adrenocorticotropic hormone (ACTH) โดยมีต่อมหมวกไตที่เริ่มทำงานเกือบพร้อมกันและปล่อยฮอร์โมนอีพิเนฟริน (อะดรีนาลีน) การปล่อยสารเคมีต่าง ๆ เหล่านี้มีผลเป็นการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเพิ่มความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และระงับระบบภูมิคุ้มกัน การตอบสนองเบื้องต้นนี้และปฏิกิริยาต่อ ๆ มา เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มพลังงานที่มี ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออีพิเนฟรินเข้ายึดกับเซลล์ตับซึ่งผลิตกลูโคสต่อมา นอกจากนั้นแล้ว การไหลเวียนของคอร์ติซอลยังเปลี่ยนกรดไขมันเป็นพลังงาน ซึ่งตระเตรียมกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเพื่อการตอบสนอง ส่วนฮอร์โมนกลุ่ม Catecholamine เช่น อีพิเนฟริน หรือนอร์เอพิเนฟริน (นอร์อะดรีนาลีน) อำนวยปฏิกิริยาทางกายแบบฉับพลันต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับการเตรียมตัวใช้กล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วรุนแรง ปฏิกิริยารวมทั้ง
- การเร่งการทำงานของหัวใจและปอด
- หน้าซีด หรือหน้าแดง หรือสลับกัน
- การยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จนกระทั่งการย่อยอาหารช้าลงหรือหยุด
- ผลทั่วไปต่อหูรูด (sphincter) ต่าง ๆ ในร่างกาย
- การตีบของหลอดเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- การปล่อยแหล่งพลังงานเพื่อเผาผลาญ โดยเฉพาะไขมันและไกลโคเจนสำหรับกล้ามเนื้อ
- การขยายหลอดเลือดสำหรับกล้ามเนื้อ
- การยับยั้งต่อมน้ำตาและต่อมน้ำลาย
- รูม่านตาขยาย
- การผ่อนกล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะ (คือทำให้ไม่ปวดปัสสาวะ)
- การยับยั้งการแข็งตัวขององคชาต
- การเสียการได้ยิน (หูหนวก) ชั่วคราว
- การเสียการเห็นรอบข้าง (peripheral vision)
- การเลิกระงับรีเฟล็กซ์จากไขสันหลัง
- การสั่น
หน้าที่ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพเมื่อตอบสนองแบบสู้หรือหนีเกิดขึ้นเพื่อให้กำลังและความเร็วกับร่างกายโดยคาดว่าจะมีการสู้หรือวิ่งหนี การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพมีหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง
- การเพิ่มการไหลของโลหิตไปยังกล้ามเนื้อโดยส่งไปจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- การเพิ่มความดันโลหิต อัตราหัวใจเต้น น้ำตาลและไขมันในเลือด เพื่อให้พลังงานเพิ่มขึ้นแก่ร่างกาย
- การจับลิ่มของเลือดทำงานได้เร็วขึ้นเพื่อป้องกันการเสียเลือดมากถ้าเกิดบาดเจ็บในช่วงการตอบสนอง
- การเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพื่อให้ความเร็วและกำลังเพิ่มแก่ร่างกาย
องค์ประกอบทางอารมณ์
การควบคุมอารมณ์
ในสภาพแวดล้อมของการตอบสนองแบบสู้หรือหนี จะมีการควบคุมอารมณ์ล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด และควบคุมระดับความตื่นตัวทางอารมณ์
ความไวปฏิกิริยาอารมณ์ (Emotional reactivity)
ในช่วงปฏิกิริยา ความรุนแรงทางอารมณ์ที่เกิดจากสิ่งเร้าจะเป็นตัวกำหนดธรรมชาติและความรุนแรงของการตอบสนองทางพฤติกรรมด้วย บุคคลที่ไวปฏิกิริยาทางอารมณ์สูงอาจมีแนวโน้มต่อความวิตกกังวลและความก้าวร้าว ซึ่งแสดงผลที่ตามมาของการมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่สมควรในช่วงการตอบสนองแบบสู้หรือหนี
องค์ประกอบทางการรู้คิด
ความเฉพาะเจาะจงของสิ่งที่คิด
ปัจจัยทางการรู้คิดในช่วงการตอบสนองดูเหมือนจะเป็นในเชิงลบโดยมาก รวมทั้ง การใส่ใจในสิ่งเร้าเชิงลบ ความรู้สึกถึงสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นแบบลบ และการระลึกถึงคำพูดเชิงลบได้อย่างซ้ำ ๆ. และอาจจะมีความคิดเชิงลบที่เฉพาะเจาะจงโดยสัมพันธ์กับอารมณ์ที่มักมีในปฏิกิริยาแบบเดียวกัน
ความรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้
ความรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้ (Perceived control) ต่างจากการควบคุมเหตุการณ์ได้จริง ๆ เพราะว่าความเชื่อของบุคคลเกี่ยวกับสมรรถภาพของตนอาจจะไม่สะท้อนความจริง ดังนั้น การประเมินว่าควบคุมเหตุการณ์ได้เกินหรือน้อยไปอาจทำให้วิตกกังวลและก้าวร้าว
การประมวลข้อมูลทางสังคม (Social information processing)
แบบจำลองการประมวลข้อมูลทางสังคม (social information processing) เสนอปัจจัยหลายอย่างที่กำหนดพฤติกรรม ภายในสภาพแวดล้อมคือสถานการณ์ทางสังคมและความคิดที่มีอยู่ก่อน การตีความว่ามีการมุ่งร้าย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยทางการรู้คิดสำคัญที่สุดที่สัมพันธ์กับการตอบสนอง
สัตว์ต่าง ๆ
มุมมองทางวิวัฒนาการ
จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology) อธิบายว่า สัตว์บรรพบุรุษต้องมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้าที่เป็นภัยอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีเวลาเตรียมตัวเองทั้งทางกายและทางใจ ดังนั้น การตอบสนองแบบสู้หรือหนีจึงเป็นกลไกให้สัตว์สามารถตอบสนองต่อภัยชีวิตอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่าง
ตัวอย่างของการตอบสนองต่อความเครียดที่พบในสัตว์ ก็คือม้าลายที่กำลังกินหญ้าอยู่ ถ้ามันเห็นสิงโตกำลังวิ่งเข้ามาเพื่อฆ่า การตอบสนองต่อความเครียดก็จะเริ่มทำงาน การหนีจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมาก โดยได้รับการสนับสนุนจากระบบอื่น ๆ ของกาย การทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นโดยเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้ง
ตัวอย่างที่คล้าย ๆ กันรวมการสู้ของแมวที่สุนัขกำลังโจมตี แมวจะมีหัวใจเต้นเร็ว มีขนตั้ง (ซึ่งปกติจะทำเพื่อรักษาความร้อน) รูม่านตาขยาย ซึ่งแสดงการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่ว่าให้สังเกตว่า ทั้งม้าลายและแมวยังสามารถดำรงภาวะธำรงดุลได้ในสภาวะต่าง ๆ เหล่านี้
ความหลากหลายของการตอบสนอง
สัตว์ตอบสนองต่อภัยด้วยวิธีที่ซับซ้อนหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น หนูจะพยายามหนีเมื่อเกิดภัย แต่จะสู้ถ้าจนตรอก สัตว์บางชนิดจะยืนอยู่นิ่ง ๆ เพื่อที่สัตว์ล่าเหยื่อจะไม่เห็นมัน สัตว์หลายประเภทจะแข็งตัวและแกล้งตายเมื่อถูกตัวโดยหวังว่าสัตว์ล่าเหยื่อจะเลิกสนใจ และสัตว์อื่น ๆ ก็มีวิธีป้องกันตัวอย่างอื่น ๆ สัตว์เลือดเย็นบางประเภทเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วเพื่ออำพรางตัวเอง
การตอบสนองเหล่านี้เริ่มจากการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่เพื่อให้เข้ากับแบบจำลองสู้หรือหนี แนวคิดเรื่องการหนีต้องขยายรวมทั้งการหนีจากการถูกจับ ไม่ว่าจะโดยทางกายหรือโดยแฝงตัว ดังนั้น อาจจะหนีไปสู่อีกสถานที่หนึ่งหรือว่าเพียงแค่หายตัวอยู่ตรงนั้น และบ่อยครั้ง ทั้งการสู้การหนีจะเกิดรวมกันในสถานการณ์หนึ่ง ๆ การสู้หรือหนียังปรากฏว่ามีสองข้าง คือ สัตว์อาจจะสู้หรือหนีต่อต้านอะไรบางอย่างที่เป็นภัย เช่นสิงโตหิว หรือสู้หรือหนีไปยังอะไรที่ต้องการ เช่นไปสู่ฝั่งเพื่อความปลอดภัยจากแม่น้ำที่กำลังหลากมา
ภัยจากสัตว์อีกตัวหนึ่งไม่ได้มีผลเป็นปฏิกิริยาสู้หรือหนีทันทีทุกครั้ง อาจจะมีช่วงเวลาที่รู้สึกตัวเพิ่มขึ้น เป็นช่วงที่สัตว์ตีความพฤติกรรมของสัตว์อื่น พฤติกรรมเช่น การถอดสี ขนตั้ง การแข็งตัว เสียง และท่าทางอื่น ๆ จะแสดงถึงสถานะและความตั้งใจของสัตว์แต่ละตัว อาจจะมีเหมือนกับระยะการต่อรอง ซึ่งตามด้วยการสู้หรือหนี แต่ก็อาจจะกลายเป็นการเล่นกัน การผสมพันธุ์ หรือไม่เกิดอะไรขึ้นเลย ยกตัวอย่างเช่น การเล่นของลูกแมว แม้ว่าลูกแมวแต่ละตัวจะแสดงการตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติก แต่ก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่กันจริง ๆ
ตัวเมียและตัวผู้มักจะรับมือกับสถานการณ์ก่อความเครียดอย่างแตกต่างกัน ตัวผู้มีโอกาสตอบสนองสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยความก้าวร้าว คือการสู้ สูงกว่า ในขณะที่ตัวเมียมีโอกาสสูงกว่าที่จะหนี หันหน้าไปหาสัตว์อื่นเพื่อให้ช่วย หรือพยายามปลดชนวนสถานการณ์ ที่เรียกว่าการดูแลและผูกมิตร (tend and befriend) คือเมื่อเครียด แม่มีโอกาสสูงเป็นพิเศษที่จะตอบสนองแบบป้องกันลูก และผูกมิตรกับผู้อื่นเพื่อร่วมมือกันตอบสนองต่อภัยที่ปรากฏ
ดูเพิ่ม
สภาวะ
อ้างอิง
- Cannon, Walter (1932). Wisdom of the Body. United States: W.W. Norton & Company. ISBN .
- Cannon, Walter (1929). Bodily changes in pain, hunger, fear, and rage. New York: Appleton-Century-Crofts.
- Jansen, A; Nguyen, X; Karpitsky, V; Mettenleiter, M (1995-10-27). "Central Command Neurons of the Sympathetic Nervous System: Basis of the Fight-or-Flight Response". Science Magazine. 5236 (270).
- Cannon, Walter Bradford (1915). Bodily Changes in Pain, Hunger, Fear and Rage: An Account of Recent Researches into the Function of Emotional Excitement. Appleton-Century-Crofts.
- "Adrenaline, Cortisol, Norepinephrine: The Three Major Stress Hormones, Explained". Hufflington Post. 2014-04-19. สืบค้นเมื่อ 2014-08-16.
- Gozhenko, A; Gurkalova, I.P.; Zukow, W; Kwasnik, Z (2009). PATHOLOGY - Theory. Medical Student's Library. Radom. pp. 270–275.
- Schmidt, A; Thews, G (1989). "Autonomic Nervous System". ใน Janig, W (บ.ก.). Human Physiology (2 ed.). New York, NY: Springer-Verlag. pp. 333–370.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Chudler, Eric. "Neuroscience For Kids". University of Washington. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
- Margioris, Andrew; Tsatsanis, Christos (April 2011). . Endotext.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2013. สืบค้นเมื่อ 18 April 2013.
- Padgett, David; Glaser, R (August 2003). "How stress influences the immune response". Trends in Immunology. 24 (8): 444–448. 10.1.1.467.1386. doi:10.1016/S1471-4906(03)00173-X. PMID 12909458.
- King, Michael. "PATHWAYS: GLYCOGEN & GLUCOSE". Washington University, St. Louis.
- . University of Utah. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
- , Alan J. Fridlund and (2004). Psychology (6 ed.). . ISBN .
- Stress Management for Health Course. "The Fight Flight Response". สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
- Olpin, Michael. . Weber State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
- Cistler, Josh; Olatunji, Bunmi O; Feldner, Matthew T; Forsyth, John P (2010). "Emotion Regulation and the Anxiety Disorders: An Integrative Review". Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment. 32 (1): 68–82. doi:10.1007/s10862-009-9161-1. PMC 2901125. PMID 20622981.
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list () - Gross, James (1998). "Sharpening the Focus: Emotion Regulation, Arousal, and Social Competence". Psychological Inquiry. 9 (4): 287–290. doi:10.1207/s15327965pli0904_8.
- Avero, Pedro; Calvo, M (1999-07-01). "Emotional reactivity to social-evaluative stress: genderdifferences in response systems concordance". Personality and Individual Differences. 27 (1): 155–170. doi:10.1016/S0191-8869(98)00229-3.
- Carthy, T; Horesh N; Apter A; Edge MD; Gross JJ (May 2010). "Emotional reactivity and cognitive regulation in anxious children". Behaviour Research and Therapy. 48 (5): 384–393. doi:10.1016/j.brat.2009.12.013. PMID 20089246. S2CID 14382059.
- Valiente, C; Eisenberg N; Smith CL; Reiser M; Fabes RA; Losoya S; Guthrie IK; Murphy BC (December 2003). "The relations of effortful control and reactive control to children's externalising problems: A longitudinal assessment". Personality. 71 (6): 1171–1196. doi:10.1111/1467-6494.7106011. PMID 14633062.
- Reid, Sophie C.; Salmon, Karen; Peter F. Lovibond (October 2006). "Cognitive Biases in Childhood Anxiety, Depression, and Aggression: Are They Pervasive or Specific?". Cognitive Therapy and Research. 30 (5): 531–549. doi:10.1007/s10608-006-9077-y. S2CID 28911747.
- Beck, Aaron (1979). Cognitive Therapy and the Emotional Disorders. United States: Penguin Books.
- Weems, CF; Silverman, WK (April 2006). "An integrative model of control: implications for understanding emotion regulation and dysregulation in childhood anxiety". Journal of Affective Disorders. 91 (2): 113–124. doi:10.1016/j.jad.2006.01.009. PMID 16487599.
- Brendgen, M; Vitaro F; Turgeon L; Poulin F; Wanner B (June 2004). "Is there a dark side of positive illusions? Overestimation of social competence and subsequent adjustment in aggressive and nonaggressive children". Journal of Abnormal Child Psychology. 32 (3): 305–320. doi:10.1023/B:JACP.0000026144.08470.cd. PMID 15228179. S2CID 11239252.
- Crick, Nicki; Dodge, Kenneth (January 1994). "A review and reformulation of social information-processing mechanisms in children's social adjustment". Psychological Bulletin. 115 (1): 74–101. doi:10.1037/0033-2909.115.1.74.
- Dodge, Kenneth (March 1980). "Social cognition and children's aggressive behavior". Journal of Child Development. 51 (1): 162–170. doi:10.2307/1129603. JSTOR 1129603. PMID 7363732.
- Grohol, John. . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-23. สืบค้นเมื่อ 2013-04-18.
- Goldstein, David; Kopin, I (2007). "Evolution of concepts of stress". Stress. 10 (2): 109–20. doi:10.1080/10253890701288935. PMID 17514579.
- Gill, A.C. (2004). Revision of the Indo-Pacific dottyback fish subfamily Pseudochrominae (Perciformes: Pseudochromidae). Smithiana Monographs. pp. 1–123.
- Taylor, Shelley Elizabeth; Klein, LC; Lewis, BP. (PDF). Psychological Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-11.
First described by Walter Cannon in 1932, the fight-or-flight response is characterized physiologically by sympathetic nervous system activation that innervates the adrenal medulla, producing a hormonal cascade that results in the secretion of catecholamines, especially ...
{{}}
: CS1 maint: multiple names: authors list ()
แหล่งข้อมูลอื่น
- Sapolsky, Robert M., 1994. Why Zebras Don't Get Ulcers. W.H. Freeman and Company.
- บทความนี้รวมเอาจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ รัฐบาลกลางสหรัฐ"http://www.surgeongeneral.gov/library/mentalhealth/chapter4/sec2_1.html"
wikipedia, แบบไทย, วิกิพีเดีย, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด, บทความ, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม, มือถือ, โทรศัพท์, Android, iOS, Apple, โทรศัพท์โมบิล, Samsung, iPhone, Xiomi, Xiaomi, Redmi, Honor, Oppo, Nokia, Sonya, MI, PC, พีซี, web, เว็บ, คอมพิวเตอร์
kartxbsnxngodysuhruxhni hrux kartxbsnxngaebbsuhruxhni xngkvs fight or flight response hyperarousal acute stress response epnptikiriyathangsrirphaphthiekidtxbsnxngtxehtukarnthirusukwaepnxntray esiyngtxthuktharay hruxesiyngtxchiwit odymi s nph wxletxr aebrdfxrd aekhnnxnthimhawithyalyharwardklawthungixediyniepnkhnaerkinpi ph s 2472 thvsdikhxngekhaaesdngwa stw aelamnusy miptikiriyatxphydwykarthanganinrabbprasathsimphaethtik sungchwyetriymstwihsuhruxhnicasuhruxhnidi odyechphaakkhux smxngswn adrenal medulla sungepnswnkhxngtxmhmwkitcasrangptikiriyalukosthanghxromnmiphlepnkarhlngsarprakxbxinthriyaebbomonxaminkhux catecholamines odyechphaanxrexphienfrinaelaxiphienfrin khux xadrinalin nxkcaknnaelw hxromnephshyinghlkkhuxexsotrecn hxromnephschayhlkkhuxethsothsetxorn aelahxromnthihlngemuxekhriydkhuxkhxrtisxl kbthngsarsuxprasathodphaminaelaesorothnin kyngmixiththiphltxkartxbsnxngtxkhwamekhriydkhxngstwxikdwy kartxbsnxngechnniruaelwwaepnrayaaerkkhxngklumxakarprbtwthwip General Adaptation Syndrome thikhwbkhumkartxbsnxngtxkhwamekhriydkhxngstwmikraduksnhlngaelasingmichiwitxun srirwithyarabbprasathxisra rabbprasathxisraepnrabbkhwbkhumthithanganitcitsanukaelakhwbkhumxtrahwicetn karyxyxahar xtrakarhayic kartxbsnxngkhxngrumanta karthaypssawa aelaxarmnephs epnrabbhlkthikhwbkhumkartxbsnxngaebbsuhruxhni thixanwyodyswnprakxbsxngxyang dngthicaklawtxip rabbprasathsimphaethtik rabbprasathsimphaethtikerimthiikhsnhlngaelathahnathihlkkhuxkxkhwamepliynaeplngthangsrirphaphthiekidkhuninchwngkartxbsnxngodysuhruxhni swnprakxbkhxngrabbprasathni ichsarsuxprasathaelasngsyyanihplxysarsuxprasathnxrexphienfrininptikiriyani rabbprasathpharasimphaethtik rabbprasathpharasimphaethtikerimcakikhsnhlngaela medulla oblongata odythanganrwmkbrabbprasathsimphaethtik aelathahnathihlkkhuxkxkartxbsnxngaebb phkaelayxyxahar aelwkhunsphaphrangkayipsuphawatharngdulhlngcaktxbsnxngaebbsuhruxhni rabbniichsarsuxprasathaelasngsyyanihplxysarsuxprasath acetylcholine ptikiriya phngaesdngkartxbsnxngodysuhruxhni insmxng ptikiriyaerimthixamikdala sungcudchnwnkartxbsnxnginihopthalams ptikiriyaebuxngtncatamdwykarthangankhxngtxmitsmxng pituitary gland aelakarplxyhxromn Adrenocorticotropic hormone ACTH odymitxmhmwkitthierimthanganekuxbphrxmknaelaplxyhxromnxiphienfrin xadrinalin karplxysarekhmitang ehlanimiphlepnkarphlithxromnkhxrtisxl sungephimkhwamdnolhit natalineluxd aelarangbrabbphumikhumkn kartxbsnxngebuxngtnniaelaptikiriyatx ma ekidkhunephuxephimphlngnganthimi sungekidkhunemuxxiphienfrinekhayudkbeslltbsungphlitkluokhstxma nxkcaknnaelw karihlewiynkhxngkhxrtisxlyngepliynkrdikhmnepnphlngngan sungtraetriymklamenuxthwrangkayephuxkartxbsnxng swnhxromnklum Catecholamine echn xiphienfrin hruxnxrexphienfrin nxrxadrinalin xanwyptikiriyathangkayaebbchbphlntang thismphnthkbkaretriymtwichklamenuxxyangrwderwrunaerng ptikiriyarwmthng karerngkarthangankhxnghwicaelapxd hnasid hruxhnaaedng hruxslbkn karybyngkarthangankhxngkraephaaxaharaelalaiselk cnkrathngkaryxyxaharchalnghruxhyud phlthwiptxhurud sphincter tang inrangkay kartibkhxnghlxdeluxdinswntang khxngrangkay karplxyaehlngphlngnganephuxephaphlay odyechphaaikhmnaelaiklokhecnsahrbklamenux karkhyayhlxdeluxdsahrbklamenux karybyngtxmnataaelatxmnalay rumantakhyay karphxnklamenuxthikraephaapssawa khuxthaihimpwdpssawa karybyngkaraekhngtwkhxngxngkhchat karesiykaridyin huhnwk chwkhraw karesiykarehnrxbkhang peripheral vision karelikrangbrieflkscakikhsnhlng karsn hnathikhxngkarepliynaeplngthangsrirphaph karepliynaeplngthangsrirphaphemuxtxbsnxngaebbsuhruxhniekidkhunephuxihkalngaelakhwamerwkbrangkayodykhadwacamikarsuhruxwinghni karepliynaeplngthangsrirphaphmihnathiodyechphaa rwmthng karephimkarihlkhxngolhitipyngklamenuxodysngipcakswnxun khxngrangkay karephimkhwamdnolhit xtrahwicetn natalaelaikhmnineluxd ephuxihphlngnganephimkhunaekrangkay karcblimkhxngeluxdthanganiderwkhunephuxpxngknkaresiyeluxdmakthaekidbadecbinchwngkartxbsnxng karephimkhwamtungtwkhxngklamenuxephuxihkhwamerwaelakalngephimaekrangkayxngkhprakxbthangxarmnkarkhwbkhumxarmn insphaphaewdlxmkhxngkartxbsnxngaebbsuhruxhni camikarkhwbkhumxarmnlwnghnaephuxhlikeliyngkhwamekhriyd aelakhwbkhumradbkhwamtuntwthangxarmn khwamiwptikiriyaxarmn Emotional reactivity inchwngptikiriya khwamrunaerngthangxarmnthiekidcaksingeracaepntwkahndthrrmchatiaelakhwamrunaerngkhxngkartxbsnxngthangphvtikrrmdwy bukhkhlthiiwptikiriyathangxarmnsungxacmiaenwonmtxkhwamwitkkngwlaelakhwamkawraw sungaesdngphlthitammakhxngkarmiptikiriyathangxarmnthismkhwrinchwngkartxbsnxngaebbsuhruxhnixngkhprakxbthangkarrukhidkhwamechphaaecaacngkhxngsingthikhid pccythangkarrukhidinchwngkartxbsnxngduehmuxncaepninechinglbodymak rwmthng karisicinsingeraechinglb khwamrusukthungsthankarnthiimchdecnwaepnaebblb aelakarralukthungkhaphudechinglbidxyangsa aelaxaccamikhwamkhidechinglbthiechphaaecaacngodysmphnthkbxarmnthimkmiinptikiriyaaebbediywkn khwamrusukwakhwbkhumehtukarnid khwamrusukwakhwbkhumehtukarnid Perceived control tangcakkarkhwbkhumehtukarnidcring ephraawakhwamechuxkhxngbukhkhlekiywkbsmrrthphaphkhxngtnxaccaimsathxnkhwamcring dngnn karpraeminwakhwbkhumehtukarnidekinhruxnxyipxacthaihwitkkngwlaelakawraw karpramwlkhxmulthangsngkhm Social information processing aebbcalxngkarpramwlkhxmulthangsngkhm social information processing esnxpccyhlayxyangthikahndphvtikrrm phayinsphaphaewdlxmkhuxsthankarnthangsngkhmaelakhwamkhidthimixyukxn kartikhwamwamikarmungray odyechphaainsthankarnthiimchdecn duehmuxncaepnpccythangkarrukhidsakhythisudthismphnthkbkartxbsnxngstwtang mummxngthangwiwthnakar citwithyaechingwiwthnakar evolutionary psychology xthibaywa stwbrrphburustxngmiptikiriyatxsingerathiepnphyxyangrwderw odyimmiewlaetriymtwexngthngthangkayaelathangic dngnn kartxbsnxngaebbsuhruxhnicungepnklikihstwsamarthtxbsnxngtxphychiwitxyangrwderw twxyang twxyangkhxngkartxbsnxngtxkhwamekhriydthiphbinstw kkhuxmalaythikalngkinhyaxyu thamnehnsingotkalngwingekhamaephuxkha kartxbsnxngtxkhwamekhriydkcaerimthangan karhnicaepntxngichklamenuxmak odyidrbkarsnbsnuncakrabbxun khxngkay karthangankhxngrabbprasathsimphaethtikthaihekidkartxbsnxngechnnnodyekidkhunimbxykhrng twxyangthikhlay knrwmkarsukhxngaemwthisunkhkalngocmti aemwcamihwicetnerw mikhntng sungpkticathaephuxrksakhwamrxn rumantakhyay sungaesdngkarthangankhxngrabbprasathsimphaethtik aetwaihsngektwa thngmalayaelaaemwyngsamarthdarngphawatharngdulidinsphawatang ehlani khwamhlakhlaykhxngkartxbsnxng sunkhilkhwaypa stwtxbsnxngtxphydwywithithisbsxnhlayxyang yktwxyangechn hnucaphyayamhniemuxekidphy aetcasuthacntrxk stwbangchnidcayunxyuning ephuxthistwlaehyuxcaimehnmn stwhlaypraephthcaaekhngtwaelaaeklngtayemuxthuktwodyhwngwastwlaehyuxcaeliksnic aelastwxun kmiwithipxngkntwxyangxun stweluxdeynbangpraephthepliynsiidxyangrwderwephuxxaphrangtwexng kartxbsnxngehlanierimcakkarthangankhxngrabbprasathsimphaethtik aetephuxihekhakbaebbcalxngsuhruxhni aenwkhideruxngkarhnitxngkhyayrwmthngkarhnicakkarthukcb imwacaodythangkayhruxodyaefngtw dngnn xaccahniipsuxiksthanthihnunghruxwaephiyngaekhhaytwxyutrngnn aelabxykhrng thngkarsukarhnicaekidrwmkninsthankarnhnung karsuhruxhniyngpraktwamisxngkhang khux stwxaccasuhruxhnitxtanxairbangxyangthiepnphy echnsingothiw hruxsuhruxhniipyngxairthitxngkar echnipsufngephuxkhwamplxdphycakaemnathikalnghlakma phycakstwxiktwhnungimidmiphlepnptikiriyasuhruxhnithnthithukkhrng xaccamichwngewlathirusuktwephimkhun epnchwngthistwtikhwamphvtikrrmkhxngstwxun phvtikrrmechn karthxdsi khntng karaekhngtw esiyng aelathathangxun caaesdngthungsthanaaelakhwamtngickhxngstwaetlatw xaccamiehmuxnkbrayakartxrxng sungtamdwykarsuhruxhni aetkxaccaklayepnkarelnkn karphsmphnthu hruximekidxairkhunely yktwxyangechn karelnkhxnglukaemw aemwalukaemwaetlatwcaaesdngkartuntwkhxngrabbprasathsimphaethtik aetkimidthaxntrayaekkncring twemiyaelatwphumkcarbmuxkbsthankarnkxkhwamekhriydxyangaetktangkn twphumioxkastxbsnxngsthankarnchukechindwykhwamkawraw khuxkarsu sungkwa inkhnathitwemiymioxkassungkwathicahni hnhnaiphastwxunephuxihchwy hruxphyayampldchnwnsthankarn thieriykwakarduaelaelaphukmitr tend and befriend khuxemuxekhriyd aemmioxkassungepnphiessthicatxbsnxngaebbpxngknluk aelaphukmitrkbphuxunephuxrwmmuxkntxbsnxngtxphythipraktduephimaeknihopthalams phithuxithari xadrinl karrbmux citwithya sphawa ptikiriyaechiybphlntxkhwamekhriyd orkhwitkkngwl orkhklwxangxingCannon Walter 1932 Wisdom of the Body United States W W Norton amp Company ISBN 0393002055 Cannon Walter 1929 Bodily changes in pain hunger fear and rage New York Appleton Century Crofts Jansen A Nguyen X Karpitsky V Mettenleiter M 1995 10 27 Central Command Neurons of the Sympathetic Nervous System Basis of the Fight or Flight Response Science Magazine 5236 270 Cannon Walter Bradford 1915 Bodily Changes in Pain Hunger Fear and Rage An Account of Recent Researches into the Function of Emotional Excitement Appleton Century Crofts Adrenaline Cortisol Norepinephrine The Three Major Stress Hormones Explained Hufflington Post 2014 04 19 subkhnemux 2014 08 16 Gozhenko A Gurkalova I P Zukow W Kwasnik Z 2009 PATHOLOGY Theory Medical Student s Library Radom pp 270 275 Schmidt A Thews G 1989 Autonomic Nervous System in Janig W b k Human Physiology 2 ed New York NY Springer Verlag pp 333 370 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint multiple names authors list lingk Chudler Eric Neuroscience For Kids University of Washington subkhnemux 2013 04 19 Margioris Andrew Tsatsanis Christos April 2011 Endotext org khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 6 March 2013 subkhnemux 18 April 2013 Padgett David Glaser R August 2003 How stress influences the immune response Trends in Immunology 24 8 444 448 10 1 1 467 1386 doi 10 1016 S1471 4906 03 00173 X PMID 12909458 King Michael PATHWAYS GLYCOGEN amp GLUCOSE Washington University St Louis University of Utah khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 08 08 subkhnemux 2013 04 18 Alan J Fridlund and 2004 Psychology 6 ed ISBN 978 0 393 97767 7 Stress Management for Health Course The Fight Flight Response subkhnemux 2013 04 19 Olpin Michael Weber State University khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2017 11 20 subkhnemux 2016 10 17 Cistler Josh Olatunji Bunmi O Feldner Matthew T Forsyth John P 2010 Emotion Regulation and the Anxiety Disorders An Integrative Review Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment 32 1 68 82 doi 10 1007 s10862 009 9161 1 PMC 2901125 PMID 20622981 a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk Gross James 1998 Sharpening the Focus Emotion Regulation Arousal and Social Competence Psychological Inquiry 9 4 287 290 doi 10 1207 s15327965pli0904 8 Avero Pedro Calvo M 1999 07 01 Emotional reactivity to social evaluative stress genderdifferences in response systems concordance Personality and Individual Differences 27 1 155 170 doi 10 1016 S0191 8869 98 00229 3 Carthy T Horesh N Apter A Edge MD Gross JJ May 2010 Emotional reactivity and cognitive regulation in anxious children Behaviour Research and Therapy 48 5 384 393 doi 10 1016 j brat 2009 12 013 PMID 20089246 S2CID 14382059 Valiente C Eisenberg N Smith CL Reiser M Fabes RA Losoya S Guthrie IK Murphy BC December 2003 The relations of effortful control and reactive control to children s externalising problems A longitudinal assessment Personality 71 6 1171 1196 doi 10 1111 1467 6494 7106011 PMID 14633062 Reid Sophie C Salmon Karen Peter F Lovibond October 2006 Cognitive Biases in Childhood Anxiety Depression and Aggression Are They Pervasive or Specific Cognitive Therapy and Research 30 5 531 549 doi 10 1007 s10608 006 9077 y S2CID 28911747 Beck Aaron 1979 Cognitive Therapy and the Emotional Disorders United States Penguin Books Weems CF Silverman WK April 2006 An integrative model of control implications for understanding emotion regulation and dysregulation in childhood anxiety Journal of Affective Disorders 91 2 113 124 doi 10 1016 j jad 2006 01 009 PMID 16487599 Brendgen M Vitaro F Turgeon L Poulin F Wanner B June 2004 Is there a dark side of positive illusions Overestimation of social competence and subsequent adjustment in aggressive and nonaggressive children Journal of Abnormal Child Psychology 32 3 305 320 doi 10 1023 B JACP 0000026144 08470 cd PMID 15228179 S2CID 11239252 Crick Nicki Dodge Kenneth January 1994 A review and reformulation of social information processing mechanisms in children s social adjustment Psychological Bulletin 115 1 74 101 doi 10 1037 0033 2909 115 1 74 Dodge Kenneth March 1980 Social cognition and children s aggressive behavior Journal of Child Development 51 1 162 170 doi 10 2307 1129603 JSTOR 1129603 PMID 7363732 Grohol John khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2013 03 23 subkhnemux 2013 04 18 Goldstein David Kopin I 2007 Evolution of concepts of stress Stress 10 2 109 20 doi 10 1080 10253890701288935 PMID 17514579 Gill A C 2004 Revision of the Indo Pacific dottyback fish subfamily Pseudochrominae Perciformes Pseudochromidae Smithiana Monographs pp 1 123 Taylor Shelley Elizabeth Klein LC Lewis BP PDF Psychological Review khlngkhxmulekaekbcakaehlngedim PDF emux 2010 06 11 First described by Walter Cannon in 1932 the fight or flight response is characterized physiologically by sympathetic nervous system activation that innervates the adrenal medulla producing a hormonal cascade that results in the secretion of catecholamines especially a href wiki E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint multiple names authors list lingk aehlngkhxmulxunSapolsky Robert M 1994 Why Zebras Don t Get Ulcers W H Freeman and Company bthkhwamnirwmexacakewbisthruxexksarkhxng rthbalklangshrth http www surgeongeneral gov library mentalhealth chapter4 sec2 1 html